ระบบงานวิจัย

Page 1

บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับการสอนวิชาโครงการ รศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป

ความนํา พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 วรรค 5 ไดระบุไววา “... ใหสถานศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการสงเสริม สนับสนุนใหผูสอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดลอม สื่อการเรียน และอํานวยความสะดวก เพื่ อ ให ผู เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู แ ละมี ค วามรอบรู รวมทั้ ง สามารถใช ก ารวิ จั ย เป น ส ว นหนึ่ ง ของ กระบวนการเรียนรู...” (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, มปป.: 14) และจากนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ ที่ไดประกาศเจตนารมณใหป 2549 เปนปแหงการปฏิรูป การเรียนการสอน การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัด สํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา นักเรียน/นักศึกษาตองลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ ภายใต การชี้แนะของอาจารยที่ปรึกษา ซึ่งรายวิชาดังกลาวมีจุดประสงคเพื่อใหผูเรียนประมวลความรูและ ทักษะจากการศึกษามาประยุกตในการสรางผลงานของตนเอง ดังนั้นเพื่อเปนการฝกทักษะการวิจัย ในการแสวงหาองคความรูใหแกผูเรียน ผูสอนควรจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่ มุงใหผูเรียน เกิดความเขาใจในกระบวนการวิจัย และสามารถนํากระบวนการวิจัยมาใชในการจัดทําโครงการได ซึ่งการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ นอกจากจะเพิ่มพูนทักษะการวิจัยใหแกผูเรียนแลว ยังเปนการ ฝกทักษะการคิดวิเคราะหเชิงเหตุผลอีกดวย

ความหมายของการวิจัย “การวิจัย” หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรูเพื่อตอบคําถาม หรือ ปญหาที่มีอยู อยางเปนระบบ และมีวัตถุประสงคที่ชัดเจน โดยมีการกําหนดคําถามวิจัย ซึ่งอาจไดมาจากการศึกษา เอกสารและ/หรือประสบการณตรง มีการวางแผนการวิจัย หรือเขียนโครงการวิจัย สรางเครื่องมือ เพื่อรวบรวมขอมูลในการวิจัย รวบรวมขอมูล วิเคราะหขอมูล และเขียนรายงานการวิจัย

ตัวแปรและประเภทของตัวแปร ตัวแปร คือคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งตาง ๆ หรือเหตุการณตางๆ ที่สามารถแปรคา ไดหลายคา ซึ่งคาของตัวแปรเปนไดทั้งเชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณลักษณะ เชน “สีผม” เปนตัวแปร เนื่องจาก “สีผม” เปนคุณลักษณะของผม ซึ่งมีหลายคา ดํา น้ําตาล แดง เปนตน ซึ่งคาของตัวแปร “สีผม” เปนคาเชิงคุณลักษณะ “น้ําหนัก” เปนตัวแปร เนื่องจาก “น้ําหนัก” เปนคุณสมบัติของสิ่งของ ซึ่งคา


2

ของตัวแปร ”น้ําหนัก” มีหลายคา เชน 20, 25, 30 กิโลกรัม เปนตน คาของตัวแปร ”น้ําหนัก” เปนคา เชิงปริมาณ ประเภทของตัวแปร การจําแนกประเภทของตัวแปร สามารถจําแนกไดหลายวิธี ขึ้นอยูกับ วาจะจะใชอะไรเปนเกณฑในการจําแนกประเภทของตัวแปร ในที่นี้จะกลาวถึงการจําแนกตัวแปร เพียง 3 วิธีเทานั้น 1. ใชคุณสมบัติของตัวแปรเปนเกณฑ เมื่อใชคุณสมบัติของตัวแปรเปนเกณฑ จําแนกได เปน 2 ประเภท คือ 1.1 ตัวแปรเชิงคุณลักษณะ (Qualitative variable) หมายถึงตัวแปรที่คาของตัวแปรเปน คุณลักษณะตาง ๆ ไมใชคาที่เปนจํานวนนับหรือเชิงปริมาณ เชน เพศ ซึ่งคาของตัวแปรเพศ เปนเชิง คุณลักษณะ คือ ชาย และหญิง 1.2 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variable) หมายถึงตัวแปรที่คาของตัวแปรเปน จํานวนนับ หรือเชิงปริมาณ เชน อายุ ซึ่งคาของตัวแปรอายุ เปนจํานวนนับ หรือเชิงปริมาณ 2. ใชธรรมชาติของตัวแปรเปนเกณฑ เมื่อใชธรรมชาติของตัวแปรเปนเกณฑ จําแนกได เปน 2 ประเภท คือ 2.1 ตัวแปรตอเนื่อง (Continuous variable) หมายถึงตัวแปรที่มีคายอย ๆ ระหวางคา ของตัวแปรที่ 1, 2, 3 . . .ฯลฯ เชน ตัวแปรอายุ สมมุติวานายแดงอายุ 30 นายดําอายุ 31 อาจจะมีบางคน ที่อายุ 30 ป 6 เดือน 10 วัน 5 ชั่วโมง 20 นาที 10 วินาที เปนตน จะเห็นไดวาระหวางคาของ 30 และ 31 จะไมขาดตอนจากกันโดยเด็ดขาด แตจะมีคายอย ๆ ระหวางคาเหลานั้น 2.2 ตัวแปรไมตอเนื่อง หรือตัวแปรขาดตอน (Discrete variable) หมายถึงตัวแปรที่ไมมี คายอย ๆ ระหวางคาของตัวแปรที่ 1, 2, 3 . . .ฯลฯ เชน ตัวแปรเพศ คาของตัวแปรเพศ มีเพียง 2 คา คือ ชาย และหญิง จะไมมีคายอย ๆ ระหวาง ชาย และ หญิง ตัวแปรผลการโยนลูกเตา 1 ลูก คาของตัวแปร คือ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 จะไมมีคายอย ๆ ระหวาง คาเหลานั้น เชนการโยนลูกเตา 1 ลูก ไมมีโอกาสที่จะไดคา 1.3 หรือ 2.7 3. ใช ค วามสั ม พั น ธ เ ชิ ง เหตุ ผ ลเป น เกณฑ เมื่ อ ใช ค วามสั ม พั น ธ เ ชิ ง เหตุ ผ ลเป น เกณฑ จําแนกไดเปน 3 ประเภท คือ 3.1 ตัวแปรตน หรือ ตัวแปรอิสระ (Independent variable) หมายถึงตัวแปรที่เปนเหตุ หรือตัวแปรที่สงผลกระทบตอตัวแปรอื่น เมื่อเปลี่ยนแปลงคาของตัวแปรตน ทําใหคาของตัวแปรตาม เปลี่ยนแปลงไปดวย เชน ผูวิจัยตองการศึกษาวาการปลูกขาวโพด 2 พันธุ จะสงผลใหปริมาณ


3

ผลผลิตของขาวโพดตางกันหรือไม ถาใชปุยชนิดเดียวกัน และใชปุยในปริมาณที่เทากัน ในกรณีนี้ ตัวแปรตน คือ พันธุของขาวโพด ซึ่งมี 2 ระดับ คือ พันธุชนิดที่ 1 และพันธุชนิดที่ 2 3.2 ตัวแปรตาม (Dependent variable) หมายถึงตัวแปรที่มีความสัมพันธเชิงเหตุผลกับ ตัวแปรตน การเปลี่ยนแปลงคาของตัวแปรตามเกิดจากผลกระทบของตัวแปรตน เมื่อคาของตัวแปรตน เปลี่ยนแปลงไป ทําใหคาของตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไปดวย ดังเชนกรณีตัวอยางในขอ 3.1 ปริมาณ ผลผลิตของขาวโพดคือตัวแปรตาม 3.3 ตัวแปรเกิน (Extraneous variable) หมายถึงตัวแปรอื่น ๆ ที่ผูวิจัยไมไดสนใจ แต สงผลกระทบกับตัวแปรตาม โดยที่ผูวิจัยไมไดทําการควบคุมหรือจัดการกับตัวแปรเหลานั้นเลย เชน ในกรณีดังกลาวขางตน ตัวแปรที่อาจจะสงผลกระทบกับปริมาณผลผลิตของขาวโพด คือ ชนิดของ ดิน ดังนั้นถาบังเอิญดินที่ใชปลูกขาวโพด 2 พันธุนั้น เปนดินคนละชนิด ดังนั้นถาปริมาณผลผลิต ของขาวโพด 2 พัน ธุนั้นแตกตางกั น ผูวิจัยไมสามารถสรุ ปไดวาการที่ปริมาณผลผลิ ตขาวโพด ตางกันเปนเพราะใชขาวโพดคนละพันธุ เนื่องจากปริมาณผลผลิตของขาวโพดที่ตางกันนั้น อาจจะ เนื่องมาจากชนิดของดินที่แตกตางกัน หรืออาจจะเปนเพราะใชพันธุที่ตางกัน หรืออาจจะเปนเพราะ เนื่องมากจากชนิดของดิน และ ชนิดของพันธุที่แตกตางกัน ในกรณีเชนนี้ ตัวแปรชนิดของดิน คือ ตัวแปรเกิน

คุณภาพของการวิจัย การพิจารณาคุณภาพของการวิจัย จะพิจารณาใน 2 ประเด็นใหญ ๆ คือ 1. ความตรงภายใน (Internal validity) งานวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึงงานวิจัย ที่ไมมีตัวแปรเกินแทรกซอน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ผลของความแตกตางของตัวแปรตามที่เกิดขึ้น เปนผลเนื่องมาจากตัวแปรตนเทานั้น ตามตัวอยางของปริมาณผลผลิตขาวโพดดังกลาวแลวขางตน ถาผูวิจัยไมไดควบคุมตัวแปรเกิน คือชนิดของดินที่ใชแตกตางกัน และชนิดของดินเปนตัวแปร ตัวหนึ่งที่สงผลกระทบตอปริมาณผลผลิตของขาวโพด งานวิจัยชิ้นนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มี ความตรงภายในต่ํา แตถาผูวิจัยปลูกขาวโพด 2 พันธุนั้นโดยใชดินชนิดเดียวกัน ใชปุยชนิดเดียวกัน ในปริมาณที่เทากัน ดังนั้นความแตกตางของปริมาณผลผลิตขาวโพดที่เกิดขึ้น เปนผลเนื่องมาจาก ความแตกตางของพันธที่ตางกันเทานั้น งานวิจัยชิ้นนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรงภายในสูง การที่ จ ะทํ า ให ง านวิ จั ย มี ค วามตรงภายในสู ง ผู วิ จั ย ต อ งควบคุ ม หรื อ กํ า จั ด ตั ว แปรเกิ น ไม ใ ห มี ผลกระทบตอตัวแปรตาม 2. ความตรงภายนอก (External validity) งานวิจัยที่มีความตรงภายนอกสูง หมายถึง งานวิจัยที่สรุปผลการวิจัยอางอิงไปสูประชากรเปาหมายไดอยางถูกตอง เชน ผูวิจัยตองการศึกษา ความคิดเห็นของผูใชโทรศัพทมือถือตอการทํางานและรูปลักษณของโทรศัพท ซึ่งความคิดเห็นของ


4

วัยรุนและผูใหญจะแตกตางกัน ปรากฏวาผูวิจัยรวบรวมขอมูลจากกลุมวัยรุนเทานั้น แตผูวิจัยสรุป ผลการวิจัยไปสูผูใชโทรศัพทมือถือทั้งหมด งานวิจัยชิ้นนี้กลาวไดวาเปนงานวิจัยที่มีความตรง ภายนอกต่ํา เนื่องจากสรุปผลอางอิงไปสูกลุมเปาหมายไมถูกตอง ขั้นตอนที่สําคัญประการหนึ่งที่จะ สงผลใหงานวิจัยมีความตรงภายนอกสูง คือการสุมตัวอยาง ผูวิจัยตองใชเทคนิคการสุมตัวอยางที่ เหมาะสม เพื่อใหไดกลุมตัวอยางที่เปนตัวแทนที่ดีของประชากรเปาหมาย

ประเภทของการวิจัย การวิจัยที่ใชในวงการศึกษามีอยูหลายประเภท สําหรับการวิจัยที่เหมาะสมกับการเรียน การสอนในรายวิชาโครงการ ผูเขียนขอเสนอแนะไวเพียง 3 ประเภท คือ การวิจัยเชิงสํารวจ การวิจัย เชิงทดลอง และการวิจัยและพัฒนา

การวิจัยเชิงสํารวจ การวิจัยเชิงสํารวจ เปนการวิจัยที่เนนการศึกษารวบรวมขอมูลตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในปจจุบัน การดําเนินการวิจัยไมมีการสรางสถานการณเพื่อศึกษาผลที่ตามมา แตเปนการคนหาขอเท็จจริงหรือ เหตุการณตางๆ ที่เกิดขึ้นอยูแลว นักวิจัยไมสามารถกําหนดคาของตัวแปรตนไดตามใจชอบ เชน ผูวิจัยตองการสํารวจความคิดเห็นของนักเรียน/นักศึกษาตอการใหบริการทางดานการเรียนการสอน ของวิทยาลัย และตองการศึกษาวาเพศชายและเพศหญิงจะมีความคิดเห็นตางกันหรือไม ในกรณีนี้ ตัวแปรตนคือเพศ และคาของตัวแปรตนคือ ชาย และหญิง จะเห็นไดวาคาของตัวแปรตนเปนสิ่งที่ เปนอยูแลว นักวิจัยไมสามารถกําหนดไดเองวาตองการใหคาของตัวแปรเพศเปนอยางอื่นที่ไมใช เพศชายหรือเพศหญิง

การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงทดลองเปนการวิจัยที่มุงสรางสถานการณแลวศึกษาผลที่ตามมา ผูวิจัยสามารถ กําหนดคาของตัวแปรอิสระไดตามตองการ เปนวิธีการวิจัยที่ใชศึกษาความสัมพันธระหวางตัวแปร ในเชิงเหตุผล (Causal relationship) ซึ่งเปนที่นิยมใชกันมากในงานวิจัยทางดานวิทยาศาสตร หรือ วิทยาศาสตรประยุกต สําหรับงานวิจัยทางดานการศึกษา หรือสังคมศาสตรสามารถนําวิธีการวิจัย เชิงทดลองมาใชได แตการควบคุมตัวแปรเกินจะทําไดยากกวาการวิจัยทางดานวิทยาศาสตร เชน ผูวิจัยตองการศึกษาวาการปลูกขาวโพดพันธุ ก และพันธุ ข จะสงผลใหปริมาณผลผลิตของขาวโพด ตางกันหรือไม ผูวิจัยสามารถนําขาวโพดพันธุ ก และ พันธุ ข มาทดลองปลูกโดยควบคุมตัวแปรเกิน ต าง ๆ ไมใ ห สง ผลกระทบตอตัว แปรตาม โดยการนํ า ข าวโพดทั้ ง สองพั น ธุ ม าปลูก ในดิ น ชนิ ด เดียวกัน ใชปุยชนิดเดียวกันในปริมาณที่เทากัน สภาพแวดลอมตาง ๆ เหมือนกัน ตางกันเฉพาะพันธุ ของขาวโพดเทานั้น จะเห็นไดวาในกรณีนี้พันธุของขาวโพดเปนตัวแปรตน ซึ่งคาของตัวแปรตน คือ


5

พันธุ ก และ พันธุ ข ซึ่งผูวิจัยจะนําพันธุอะไรมาใชในการทดลองนั้น ผูวิจัยสามารถกําหนดไดเองตาม ตองการ และหลังจากนั้นผูวิจัยจะศึกษาผลที่ตามมา

การวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนาเปนการวิจัยที่มุงสรางองคความรู ผลิตภัณฑ หรือ เทคโนโลยีใหม ๆ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตรและมีการพัฒนาปรับปรุงอยางตอเนื่อง เพื่อใชในการพัฒนา ชุมชน องคกร สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีจุดเนนในการนําผลลัพธไปสูผูใช ดังนั้นจึง กอใหเกิดกระบวนการรวมมือระหวางนักวิจัย และผูใชผลการวิจัย หรือกลุมเปาหมาย

เอกสารอางอิง บุญเรียง ขจรศิลป. วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : หจก. พี.เอ็น. การพิมพ, 2543. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟค จํากัด. มปป. Johnson, Burke and Christensen, Larry. Educational Research Quantitative, Qualitative, and Mixed Approaches (2nd ed.). Boston: Pearson Education, Inc. 2004.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.