NisitJournal KohLarn

Page 1

หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับ มิถุนายน 2559

ฉบับ ชุมชนเกาะล้าน ‘หมึกซาชิมิ’ ออกทะเล ตกหมึก ท�ำซาชิมิ

มหากาพย์กองขยะ ปัญหาที่รอวันแก้ไข

‘มองมุมใหม่’ ท�ำความเข้าใจนักท่องเที่ยวจีน


"หาดทรายขาว ทะเลใส ปะการั ง สวย แร่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ " ค� ำ ขวั ญ เกาะล้ า น

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 2


ทรัพยากรบนโลกนี้ล้วนมีอยู่อย่างจ�ำกัด และ มีแต่จะลดน้อยถอยลงไปทุกวันจากการบริโภคของ ประชากรทีม่ เี พิม่ มากขึน้ ขณะทีแ่ ทบทุกพืน้ ทีต่ า่ งก�ำลัง แสวงหาการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร แนวคิ ด ‘การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ’ ที่ มี ใ จหลั ก คื อ การตอบสนองความต้องการของคนรุน่ ปัจจุบนั โดยไม่ ส่งผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุน่ ต่อ ไปในอนาคต จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ทุกพื้นที่ต้องค�ำนึงถึง ‘เกาะล้าน’ พื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่ อย่างจ�ำกัดภายในพืน้ ทีเ่ พียง 4.07 ตารางกิโลเมตรกับ การตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยบนเกาะ ราว 3,000 กว่าคน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามากว่า วันละหมื่นคน จึงเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีความท้าทายใน น� ำ แนวคิ ด การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น มาปรั บ ใช้ ข้อจ�ำกัดหนึ่งคือ เกาะล้านนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ การควบคุมของอุทยานแห่งชาติ การน�ำกฎเกณฑ์หรือ ข้อบังคับมาใช้เพือ่ การจัดการทรัพยากรดังเช่นอุทยาน แห่งชาติทางทะเลอื่น ๆ จึงท�ำได้ยาก แต่กระนั้นก็ยัง มีความพยายามของชาวชุมชนที่หวังจะให้พื้นที่นี้เป็น แหล่งท่องเทีย่ วทีย่ งั่ ยืน เป็นทีอ่ ยูท่ กี่ นิ และเลีย้ งชีพของ พวกเขาไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่การเปลี่ยนแปลงเพื่อ อนาคต ต้องมาจากหลายฝ่าย ล�ำพังเพียงคนในชุมชน เองอาจไม่สามารถท�ำได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจาก ผู้มาเยือน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ จะต้องตระหนักถึงการกระท�ำของตนว่าก�ำลังก่อให้ เกิดผลกระทบหรือไม่ เพื่อช่วยให้เกาะล้านแห่งนี้ได้ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป

Editor’s talk : บทบรรณาธิ ก าร โดย อภิ ส รา บรรทั ด เที่ ย ง

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 3


CONTENT : สารบั ญ

6

8 10

แผนที่

6 สั ม ภาษณ์

20

บทความ

8 ท่ อ งเที่ ย ว

24

เกาะล้านในความทรงจ�ำ กับ ทิพ ทิพวิภา หัถพลายเจริญสุข

แผนที่เกาะล้าน

'มองมุมใหม่' เพื่อท�ำความเข้าใจ นักท่องเที่ยวจีน

12

วั ฒ นธรรม

ความเชื่อ เรือ เกาะล้าน

10 อาหาร

หมึกซาชิมิ ออกทะเล ตกหมึก ท�ำซาชิมิ

เรื่ อ งเล่ า จากชุ ม ชน 12 เรื่องเล่าเกาะล้าน

สารคดี

มหากาพย์กองขยะ ปัญหาที่รอวันแก้ไข

14

หนีร้อน หนีรัก... พักเกาะล้าน

26

20

กระบอกเสี ย งชุ ม ชน 28 ปัญหาอะไรที่พบบนเกาะล้าน

14 เกร็ ด ท่ อ งเที่ ย ว

ท�ำความรู้จัก 'หอยเม่น' วายร้ายแห่งท้องทะเล

Infographic

พกอะไรไปเกาะล้าน

30 31

24

กองบรรณาธิ ก าร

หนั ง สื อ พิ ม พ์ ฝ ึ ก ปฎิ บั ติ ภาควิ ช าวารสารสนเทศ คณะนิ เ ทศศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา - อ.พรรษาสิ ริ กุ ห ลาบ บรรณาธิ ก ารผู ้ พิ ม พ์ ผู ้ โ ฆษณา - ผศ.ดร.ณรงค์ ข� ำ วิ จิ ต ร์ บรรณาธิ ก ารฝ่ า ยเนื้ อ หา อภิ ส รา บรรทั ด เที่ ย ง บรรณาธิ ก ารฝ่ า ยศิ ล ป์ มั น ตา อ� ำ นวยเวโรจน์ กองบรรณาธิ ก าร กษิ ดิ ศ ศรี วิ ลั ย , กนต์ ธ ร พิ รุ ณ รั ต น์ , เกศญา เกตุ โ กมุ ท , นริ ศ รา สื่ อ ไพศาล, ชนมน ยาหยี ที่ อ ยู ่ 254 ถนนพญาไท แขวงวั ง ใหม่ เขตปทุ ม วั น กรุ ง เทพมหานคร 10330 โทร 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @Nisit_journal

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 4


MISSION STATEMENT : พั น ธกิ จ

การพั ฒ นาอย่ า งรวดเร็ ว ของสั ง คมเมื อ งใน ยุคโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปตาม ระบบเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงปรากฏทางกายภาพ แต่ยัง มีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนเก่าแก่ต่าง ๆ การเปลีย่ นแปลงดังกล่าวยังท�ำให้ชมุ ชนทีอ่ ดุ ม ไปด้วยทรัพยากรที่น่าสนใจและมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คน เติบโตอย่างก้าวกระโดดผ่านธุรกิจการท่องเทีย่ ว ชุมชน หลายแห่งได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จัก ภายในข้ามคืน และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง หลายแห่งมีการเปลีย่ นแปลงอย่างฉับพลันเพือ่ รองรับ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ห ลั่ ง ไหลเข้ า มา ส่ ง ผลให้ จ ากพื้ น ที่ ที่อยู่อาศัยกลายเป็นสถานบริการ โรงแรม ร้านอาหาร บริ ษั ท ทั ว ร์ ฯลฯ วิ ถี ชี วิ ต เดิ ม ของคนในชุ ม ชนนั้ น ได้ถูกผสานรวมกับอาชีพการท่องเที่ยว จึงเกิดเป็น ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่อสังคมชุมชน กองบรรณาธิการ ‘นิสิตนักศึกษา’ จึงอยาก เป็นส่วนหนึ่งในการน�ำเสนอการด�ำเนินชีวิต และวิถี วัฒนธรรมของชุมชน ทัง้ ในแบบท่เี คยเป็นมาและทีเ่ พิง่ ก่อร่างขึ้น เพื่อบันทึกเรื่องราวของชุมชนในช่วงเวลา หนึ่ ง ไว้ ไ ม่ ใ ห้ ก ลื น หายไปกั บ กาลเวลา และเพื่ อ ให้ คนนอกทีเ่ ข้ามาในชุมชนได้รบั รูถ้ งึ รากฐานและคุณค่า ประวัติศาสตร์ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และ ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อก่อให้เกิด ความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชนต่อไป

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 5


แผนที่เกาะล้าน หาดแสม

หาดนวล

ท่าเร


หาดเทียน

รือหน้าบ้าน

หาดสังวาลย์

ท่าเรือหาดตาแหวน

หาดตาแหวน

หาดทองหลาง

หาดตายาย


ARTICLE ARTICLE : : บทความ บทความ

มองมุมใหม่ ทำ�ความเข้าใจนักท่องเที่ยวจีนบนเกาะล้าน เรื่องและภาพโดย : กษิดิศ ศรีวิลัย กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา รายงานว่ายอดนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทยพุ่ง ทะลุ ก ว่ า 800,000 คน เมื่ อ เดื อ นมี น าคมที่ ผ ่ า นมา ถือเป็นจ�ำนวนมากที่สุดในประวัติการณ์ และน�ำมาซึ่ง รายได้สปู่ ระเทศไทยจ�ำนวนมหาศาล ทว่าด้วยวัฒนธรรม ที่แตกต่าง นักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทยจ�ำนวนมาก จึงมักถูกมองในแง่ลบ ทั้งจากคนไทยเจ้าบ้านเอง และ นักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ เกาะล้านเป็นอีกสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วซึง่ เป็นทีน่ ยิ ม ในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีน สอดคล้องกับค�ำกล่าวของนาย ปกรณ์ สุคนธชาติ ปลัดเมืองพัทยา ว่าปริมาณนักท่องเทีย่ ว จีนทีม่ าเยือนเกาะเฉลีย่ สูงถึงสามล้านคนต่อปี หรือ 8,000 คนต่อวัน แต่จากการส�ำรวจความเห็นพ่อค้าแม่ค้าบริเวณ หาดตาแหวนและหาดแสม ‘นิสติ นักศึกษา’ พบว่าทัศนคติ

ของคนในพื้นที่ต่อนักท่องเที่ยวจีนมักเป็นไปในทางลบ เพราะต้องเจอความประพฤติทไี่ ม่นา่ ประทับใจหลายอย่าง เช่น การต่อรองราคาสินค้าและอาหารแบบครึ่งต่อครึ่ง การส่ ง เสี ย งดั ง โวยวายเมื่ อ เดิ น ทางเป็ น หมู ่ ค ณะ และ พฤติกรรมโลดโผนระหว่างการเล่นน�้ำ เมือ่ ได้มโี อกาสพบปะกับนักท่องเทีย่ วจีนบนเกาะ ‘นิสิตนักศึกษา’ จึงพูดคุยเพื่อถามความเห็นของพวกเขา เรื่องการมาเยือนเมืองไทยและความไม่พอใจของชาวไทย เจียฮวุย อาน นักศึกษาแลกเปลี่ยนหญิง วัย 22 ปี จาก มหาวิทยาลัยฉงชิง่ ซึง่ มาพักผ่อนทีเ่ กาะล้านเป็นครัง้ ทีส่ อง แล้ว กล่าวว่าเธอเคยมาทีน่ กี่ บั ครอบครัวในช่วงตรุษจีนเมือ่ ห้าปีทแี่ ล้ว เพราะเจอคลิปวิดโี อของคนทีม่ าเทีย่ วเกาะล้าน ใน mafengwo.cn ซึ่งเป็นเว็บไซต์ส�ำหรับคนชอบเที่ยว ด้วยตัวเอง เมือ่ มาถึงก็ประทับใจเพราะเกาะอยูไ่ ม่ไกลจาก

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 8


กรุงเทพฯ แต่มนี ำ�้ ทะเลทีใ่ สมาก แถมอาหารทะเลก็สดและ ถูกกว่าที่ฉงชิ่งมาก แต่ปีนี้เมื่อเธอได้กลับมาอีกครั้งกลับ รู้สึกว่าเกาะเปลี่ยนไปอย่างน่าตกใจ เจี ย ฮวุ ย เล่ าว่ า เมื่อห้าปีที่แ ล้ว เธอมาที่นี่กับ ครอบครัวโดยไม่ได้ซื้อทัวร์ เพราะครอบครัวของเธอชอบ เดินทางแบบส่วนตัวมากกว่าเดินทางเป็นหมู่คณะ และ สมัยนั้นทัวร์ที่พามาเที่ยวเกาะล้านยังมีอยู่น้อย “ตอนนั้น นักท่องเที่ยวยังไม่เยอะขนาดนี้ เพราะยังไม่ค่อยมีกลุ่ม คนจีนคณะใหญ่ ๆ อาจเพราะคนจีนยังไม่ค่อยรู้จักเกาะนี้ แต่เดี๋ยวนี้มากันเยอะมาก ราคาอาหารทะเลก็ราคาสูงขึ้น มาก แถมชายหาดใหญ่ ๆ ยังสกปรก ก็เลยไปพักผ่อนตาม หาดเล็ก ๆ ที่คนน้อยอย่างหาดแสมแทน” เจียฮวุยบอก เจียฮวุยยังได้ให้ความเห็นเกีย่ วกับข้อกล่าวหาเรือ่ ง พฤติ ก รรมการท่ อ งเที่ ย วของนั ก ท่ อ งเที่ ย วจี น ไว้ อ ย่ า ง น่าสนใจว่า เธอเองไม่อยากให้คนไทยและชาวต่างชาติ มองนักท่องเที่ยวจีนด้วยสายตาเหมารวม เพราะประเทศ จีนเป็นประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่และมีประชากร จ�ำนวนมหาศาล พฤติกรรมของคนก็ย่อมมีความหลาก หลายตามไปด้วย และทุกวันนี้คนจีนเองก็ตระหนักเรื่อง มารยาทสังคมแบบสากลมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการเปิด ประเทศ “คนจีนในแต่ละที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แค่คน ในฉงชิ่งกับเมืองที่ห่างออกไปไม่ถึงร้อยกิโลยังมีมารยาท คนละแบบกันเลย ฉันไม่ได้ดูถูกคนนอกเมือง แต่คิดว่า พวกเราคนในเมืองจะตระหนักเรื่องมารยาทแบบสากล มากกว่า เพราะมีโอกาสเข้าถึงวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่า” เจียฮวุยอธิบาย ขณะที่ จางหยง หวัง ชายชาวปักกิ่งวัย 32 ปี ทีเ่ ข้ามาท�ำงานในกรุงเทพเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว ได้มาเทีย่ ว เกาะล้านพร้อมแฟนสาวชาวไทย และครอบครัวของเขา ที่บินมาเยี่ยม “ผมตัดสินใจพาครอบครัวมาที่นี่เพราะมัน ใกล้และทะเลสวย แม่ผมเขาเคยเห็นเกาะล้านจากรายการ ในช่อง BTV ของปักกิ่งด้วย เขาเลยยิ่งอยากมาใหญ่” จางหยงกล่าว เมื่ อ สอบถามความคิ ด เห็ น ของหวั ง เกี่ ย วกั บ พฤติกรรมการต่อราคาของคนจีน เขาเองไม่ได้ปฏิเสธ แต่ กลับมองเป็นวัฒนธรรมทีค่ นจีนคุน้ ชิน “พวกเราเคยชินกับ การต่อราคา ทีโ่ น่นของแทบทุกอย่างจะตัง้ ราคาไว้เกือบจะ

นักท่องเที่ยวต่างชาติลงเรือมายังเกาะล้าน

คูณสองเพื่อให้ต่อได้ ทั้งเสื้อผ้า ของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ แม้กระทั่งของกิน อย่างพอมาเมืองไทย ที่เกาะล้าน ตาม ร้านค้ามีป้ายภาษาจีนเต็มไปหมด คนจีนหลายคนเขาเลย เข้าใจว่าต่อราคาได้” จางหยงอธิบาย ความคิดเห็นของทั้ง เจียฮวุย และ จางหยง สะท้อนถึงทัศนคติผ่านพื้นฐานวัฒนธรรมอันแตกต่างของ ชาวจี น ซึ่ ง เมื่ อ เดิ น ทางมาสู ่ พื้ น ที่ ต ่ า งวั ฒ นธรรมอย่ า ง ประเทศไทย การปะทะทางความคิดย่อมเกิดขึ้นเป็นเรื่อง ธรรมดา แต่หากมองในมุมกลับ บางสิง่ ทีเ่ ราพอใจ อาจเป็น สิ่งที่เขาอาจไม่พอใจก็เป็นได้ ดังนั้นการปรับมุมมองเพื่อ ลดอคติต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง และการหลีกเลี่ยงความ คิดเหมารวมจึงมีความส�ำคัญ เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้วา่ ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาเม็ดเงินการท่องเที่ยวจ�ำนวน มหาศาลจากนักท่องเทีย่ วชาวจีนเพือ่ ความอยูร่ อดในวิกฤต เศรษฐกิจโลกเช่นนี้

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 9


CULTURE : วั ฒ นธรรม

ความเชื่อ เรือ เกาะล้าน เรื่องและภาพโดย : กษิดิศ ศรีวิลัย

วิถีชีวิตของชาวเกาะนั้นผูกไว้กับ “เรือ” พาหนะที่ไม่เพียง น�ำพาพวกเขาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งบนเกาะและบนฝั่ง แต่ยัง เป็นพาหนะที่ต้องพึ่งพาเพื่อเลี้ยงชีพ ทั้งท�ำการประมง และขนส่ง นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเกาะ ดังนั้นจึงไม่แปลกหากเราจะเห็น ธรรมเนียมและพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อที่ชาวเกาะ และชาวเรือมีต่อพาหนะที่ขับเคลื่อนชีวิตของพวกตน การเดินทางด้วยเรือนัน้ มีความเสีย่ งจากคลืน่ ลมทะเล ชาวเรือ ที่เกาะล้านจึงมีความเชื่อในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ปลอดภัยจาก อันตรายทั้งการบูชาแม่ย่านาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพทั่วไปของ ชาวเรือไทย และที่พิเศษไปกว่านั้น ชาวเรือเกาะล้านยังมีความเชื่อ เฉพาะถิน่ นัน่ คือการบูชาแร่ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ ทีช่ าวเกาะเชือ่ กันว่าสามารถหา ได้ที่เกาะล้านที่เดียวเท่านั้น พี่สมพร ชาวเกาะล้านซึ่งประกอบอาชีพคนขับเรือข้ามฝั่ง เกาะล้าน-แหลมบาลีฮาย มากว่า 20 ปี ได้เล่าให้ฟังถึงความเชื่อเรื่อง การบูชาแม่ยา่ นางว่า “ปกติเราต้องเชิญแม่ยา่ นางมาสถิตบนเรือตัง้ แต่ ประกอบเรือเสร็จ ก่อนจะเอาเรือมาลงในทะเลด้วยซ�้ำ เวลาอันเชิญ แม่ย่านาง เขาก็จะเอาช่อดอกไม้สีสด ๆ อย่างกล้วยไม้ หรือดาวเรือง

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 10


มาผูกไว้กบั โขนเรือ แล้วมัดด้วยผ้าสามสีอกี ทีหนึง่ หลังจาก นั้ น ก็ เ อาน�้ ำ ใส่ แ ก้ ว กั บ ผลไม้ ลู ก สองลู ก ไปจุ ด ธู ป ไหว้ ” พี่สมพรยังเสริมว่า ในกรณีของเรือที่ไม่มีหัวโขนอย่าง เรือข้ามฟากที่พี่สมพรขับอยู่ หรือเรือสมัยใหม่อื่น ๆ เช่น เรือสปีดโบ๊ท อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการน�ำช่อดอกไม้และ ผ้าสีมาผูกกับส่วนทีอ่ ยูห่ น้าสุดของเรือ “เรือแบบทีไ่ ม่มโี ขน ก็ดไี ปอย่าง คือไม่ตอ้ งกลัวโขนเรือหัก เพราะตามความเชือ่ ถ้าโขนเรือหัก แม่ย่านางจะไร้ที่อาศัยและไม่สามารถสถิต อยู่กับเรือได้อีกแล้ว” เมื่อสอบถามถึงข้อห้ามที่คนเรือไม่ควรปฏิบัติเพื่อ ไม่ให้ระคายเคืองต่อแม่ยา่ นาง พีส่ มพร ถึงกับนิง่ คิดอยูน่ าน แล้วหัวเราะออกมา ก่อนจะกระซิบบอกอย่างติดตลกว่า ชาวเรืออย่างพวกเขาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ชายถูกสั่งสอน มาจากรุ่นสู่รุ่นว่าห้ามพาผู้หญิงขึ้นมาหลับนอนบนเรือ เพราะจะท�ำให้แม่ย่านางไม่พอใจ ต� ำ นานของแม่ ย ่ า นางถู ก กล่ า วถึ ง ในหนั ง สื อ ‘ประมงพืน้ บ้านวิถแี ห่งภูมปิ ญ ั ญา’ โดยวรานุช สุทธิจนั ทร์ นภา ว่าเป็นทีม่ าเชิงเทพนิยาย โดยเริม่ มาตัง้ แต่สมัยโบราณ ทีม่ นุษย์มพี ธิ รี อ้ งทุกข์ไปถึงพระอินทร์บนสวรรค์เมือ่ มีทกุ ข์ หรือเภทภัยเกิดขึน้ วันหนึง่ พระอินทร์จงึ ส่งนางฟ้าองค์หนึง่ ลงมาเกิดบนโลกมนุษย์เพื่อเป็นตัวแทนในการปัดเป่า ความเดือดร้อนให้เหล่ามนุษย์ วันหนึง่ เมือ่ เธอต้องโดยสาร กับเรือประมง ด้วยเคราะห์ร้ายเรือกลับต้องเจอมรสุมจน เกือบจะล่ม เธอจึงสื่อสารไปพระอินทร์ช่วยเหลือ ทว่า พระอินทร์ได้ให้ข้อแม้ว่าจะต้องแลกชีวิตของเธอกับความ แร่ที่ขายอยู่บริเวณท่าหน้าบ้าน

แร่สีด�ำที่พบมากในบริเวณถ�้ำแร่ เกาะล้าน มี ชื่ อ ทางวิ ท ยาศาสตร์ ว ่ า Psilomelane (Barium Manganese Hydrous Oxide) โดยมีคุณสมบัติเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลว ต�่ ำ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น โดยธรรมชาติ จ ากซิ ลิ เ กต ใต้พื้นโลก *อ้างอิงจาก รายงานธรณีวิทยาจังหวัดชลบุรี โดย นรรัตน์ บุญกันภัย ส่วน มาตรฐานธรณีวิทยา ส�ำนักธรณีวิทยา

ปลอดภัยของทุกคนบนเรือ ด้วยความเมตตา เธอจึงยอม สละชีวติ และกลายเป็นวิญญาณทีอ่ ยูค่ กู่ บั เรือ คอยปกปักษ์ รักษาเรือ จึงกลายเป็นความเชือ่ ของชาวประมงในเวลาต่อ มาว่าจะต้องไหว้บชู าแม่ยา่ นางทีห่ วั เรือเสมอ เพือ่ ให้คลาด แคล้วต่อภัยอันตรายทั้งปวง นอกจากแม่ย่านางแล้ว บนเรือข้ามฟากของ เกาะล้านยังมีวัตถุบูชาที่ต่างจากเรือในที่อื่น ๆ นั่นคือ แร่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นแร่เหล็กไหลที่มาจากบนเกาะล้านเอง ลุงเลี่ยม วัย 69 ปี เจ้าของซุ้มขายแร่เหล็กไหลศักดิ์สิทธิ์ บริเวณท่าเรือหน้าบ้าน เล่าถึงความเชื่อในการบูชาแร่ของ คนเกาะล้านว่า “มันเริม่ จากสมัยลุงยังหนุม่ ๆ ตัง้ แต่ยงั ไม่มี ฝรั่งมาเที่ยวที่เกาะเลย ตอนนั้นมีพระจากทางเหนือมา ที่เกาะ จู่ ๆ เค้าก็มาจ้างคนบนเกาะให้เดินเก็บแร่สีด�ำ ชิ้นเล็ก ๆ ตามถ�้ำแถวหาดนวล เพราะเค้าบอกว่ามันเป็น เหล็กไหลศักดิส์ ทิ ธิ์ ใครได้ไปเป็นครอบครองจะคลาดแคล้ว ต่อภัยอันตราย ยิงไม่เข้า ฟันไม่เข้า สัตว์ดุร้ายเจอแล้วต้อง หลีกหนี” ลุงเลี่ยมยังเล่าอีกว่า หลังจากที่ชาวเกาะล้าน เริ่มรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของแร่เหล็กไหลดังกล่าว ชาวเกาะ ล้านจึงแห่กันเข้าไปขุดหาแร่ในบริเวณภูเขาหินของหาด นวลจนเกื อ บหมดเพื่ อ น� ำ มาพิ สู จ น์ ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ “หลายคนไปได้แร่มาแขวนคอ ไปโดนยิงก็หาลูกกระสุนไม่ เจอ บางคนโดนหมากัดกางเกงขาดทะลุแต่มีแผลเลย สักนิด ทีนี้เรือทุกล�ำบนเกาะล้านก็เอาแร่ไปตั้งบูชาไว้ใน ห้องคนเรือกันหมด เรือจะได้ปลอดภัยจากคลื่นลม” และ ลุงเลี่ยมได้ยืนยันว่าไม่มีเรือล�ำไหนของเกาะล้านที่ไม่แร่ตั้ง ไว้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำเรือ หากเรือล�ำไหนไม่มีแสดงว่า ไม่ใช่เรือของคนเกาะล้าน

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 11


COMMUNITY’S TALE : เรื ่ อ งเล่ า ชุ ม ชน

‘เรื่ อ งเล่ า เกาะล้ า น’ เรื ่ อ งและภาพโดย : ชนมน ยาหยี

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 12


นอกจากจะขึน้ ชือ่ ว่าเป็นแหล่งท่องเทีย่ วยอดนิยม แห่งหนึ่งในประเทศแล้วนั้น เกาะล้านก็ยังมีความเป็นมา ทีน่ กั ท่องเทีย่ วส่วนใหญ่อาจไม่เคยรูม้ าก่อนว่าครัง้ หนึง่ เคย เป็นสถานที่ที่ผู้คนมีความมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเงินทองจาก การค้าขาย ในขณะที่พวกเขามีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ก่อนที่ จะกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่เรารู้จักกัน ในทุกวันนี้ จากค�ำบอกเล่าของ บุญเชิด บุญยิง่ ประธานชุมชน เกาะล้าน สมัยก่อนเกาะล้านเป็นเพียงเกาะว่างเปล่าที่ เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จนราวพ.ศ. 2430 ในสมัย รัชกาลที่ 5 จึงเริม่ มีผคู้ นอพยพย้ายถิน่ ฐานมาอยูอ่ าศัย โดย คนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยที่เกาะแห่งนี้คือนักโทษหนีคดี หลังจากนัน้ จึงเริม่ มีคนจากจังหวัดชลบุรยี า้ ยถิน่ ฐานมาบ้าง รวมไปถึ ง ชาวจี น ที่ อ พยพมาจากจี น แผ่ น ดิ น ใหญ่ เ มื่ อ ประมาณห้าสิบปีที่แล้ว พวกเขาได้เดินทางมาที่เกาะล้าน ด้วยเรือใบจากท่าเรือแหลมฉบัง “ครอบครัวของผมเป็น คนจีน ตอนทีพ่ อ่ กับแม่ยา้ ยมาอยูท่ นี่ ี่ แม่ยงั ท้องผมอยูเ่ ลย ตอนนั้นก็มาทางเรือใบนั่นแหละ สมัยก่อนมันไม่มีเรือ เครื่องแบบตอนนี้” บุญเชิดเล่า ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2503 ชาวเกาะล้านส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ท�ำไร่ท�ำสวน ท�ำประมง ดังหลักฐานคือสวนมะพร้าวที่มีต้นมะพร้าวอายุมากกว่า ร้อยปี ที่ตั้งอยู่ทั่วไปบริเวณริมทางเดิน นอกจากนี้ยัง มีชื่อเรียกของสถานที่ต่าง ๆ เช่น ท่าบรรทุก ท่าไร่ และ ท่าตลิ่งชัน ซึ่งเป็นท่าที่ใช้ขนผลผลิตทางการเกษตร เช่น สั บ ปะรดและแตงโมที่ ป ลูก บนเกาะไป ขาย โดยเกษตรกรจะขนผลผลิตเหล่านี้ ไปขึ้นท่าเรือที่แหลมฉบังเพื่อส่งออกไป ขายยังจังหวัดเพชรบุรี “แต่กอ่ นชาวบ้าน บนเกาะเป็นคนมีฐานะ ร�่ำรวยกันทุกคน ทรั พ ย์ สิ น เงิ น ทองก็ ม าก เพราะว่ า ท� ำ เกษตรกับประมงนี่แหละ” บุญเชิดเสริม นอกจากจะมี ท รั พ ยากรทาง การเกษตรแล้ว ในหนังสือ ‘เหล็กไหล ธาตุกายสิทธิ์’ โดยเวชยันต์ ยังระบุด้วย ว่าทีเ่ กาะแห่งนีเ้ คยมีแหล่งแร่ทองค�ำ โดย มี ก ารค้ น พบในปี พ .ศ. 2475 บริ เ วณ

หาดแสมที่ต่อมามีช่ือว่าแหลมทอง จนท�ำให้มีโจรสลัดมา ปล้นทองบนเกาะล้านในปี พ.ศ. 2490 และเป็นข่าวโด่งดัง ในตอนนั้น ว่ากันว่า โจรสลัดหรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ‘เสือ’ เดินทางมาจากจังหวัดเพชรบุรเี มือ่ มีขา่ วว่าบนเกาะ ล้านมีแร่ทองค�ำอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก โจรสลัดกลุม่ นีจ้ งึ ปลอม ตัวมาคลุกคลีกับชาวบ้านและขุดทองค�ำออกไปไม่น้อย ประธานชุมชนยังเล่าต่อว่า ในเวลาใกล้เคียงกันก็ มีการระบาดของโรคอหิวาต์บนเกาะ ในขณะที่ปัญหา โจรสลัดก็ยงั เกิดขึน้ เรือ่ ยมา จนกระทัง่ โจรกลุม่ นีถ้ กู ทหาร เรือจับได้กลางทะเล เนื่องจากในยุคนั้นยังไม่มีเรือที่ใช้ เครื่องยนต์ พวกโจรจึงต้องใช้เรือใบ แต่ในวันนั้นเกิดไม่มี ลมพัดท�ำให้เรือต้องจอดค้างอยูก่ ลางทะเล ส่วนทองทีเ่ ป็น ของกลางก็ถูกเก็บไว้เป็นของหลวง และไม่มีใครพบวี่แวว ของโจรสลัดกลุม่ นีอ้ กี เลยนับแต่นนั้ เป็นต้นมา ส่วนทองค�ำ ซึ่งเป็นสมบัติล�้ำค่าของเกาะล้านก็ได้ค่อยๆ หายไปพร้อม กับการระบาดของโรคอหิวาต์ บุญเชิดยังบอกอีกว่า เกาะล้านเริ่มเป็นที่รู้จักของ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติมากขึ้น ตั้งแต่เมื่อ ชาวอเมริกันบุกเบิกมาเที่ยวเกาะในช่วงปี พ.ศ. 25112513 จากนัน้ นักท่องเทีย่ วชาวไทยและชาติอนื่ ๆ ก็ทยอย มาเยือนในเวลาต่อมา อาชีพของชาวเกาะจึงค่อย ๆ เปลี่ยนตามไป จากการท�ำเกษตรกรรมและประมงก็เริ่ม หายไป เปลีย่ นมาเป็นอาชีพเกีย่ วกับการท่องเทีย่ วมากขึน้ ตั้งแต่การเปิดร้านอาหารตามสั่ง ธุรกิจร้านค้าไปจนถึง รีสอร์ทที่มีมากมายในทุกวันนี้

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 13


FEATURE : สารคดี

มหากาพย์กองขยะ ปัญหาที่รอวันแก้ไข เรื่องและภาพโดย : เกศญา เกตุโกมุท


เกาะล้าน ทะเลสวย ราคาประหยัด เป็นจุดดึงดูด นั ก ท่ อ งเที่ ย วจากทุ ก สารทิ ศ ไม่ ว ่ า จะไทยหรื อ เทศ ต่างพร้อมใจลงเรือข้ามฝั่งไปเยือน นักท่องเที่ยวหลาย คนไปแบบสบาย ๆ พร้อมกับกระเป๋าสะพายหนึ่งใบ บ้างที่มาเป็นกลุ่มก็จะหอบข้าวของ ไม่ว่าจะเป็นลังโฟม ที่บรรจุด้วยเครื่องดื่ม หรือถุงพลาสติกที่เต็มไปด้วย อาหารที่น�ำมากินระหว่างเดินทาง ดาบสองคมจากการท่องเที่ยว ปั จ จุ บั น เกาะล้ า นก� ำ ลั ง เป็ น ที่ นิ ย มมากขึ้ น เรือ่ ย ๆ รายงานเศรษฐกิจของประชาชาติธรุ กิจออนไลน์ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ระบุว่า มีนักท่อง เที่ ย วมาเยื อ นเกาะล้ า นปี ล ะเกื อ บ 3 ล้ า นคน หรื อ เฉลี่ย 8,000 คนต่อวัน ท�ำให้เกาะมีรายได้ไม่ต�่ำกว่า วันละ 2 ล้านบาท หรือประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี โดยมีนักท่องเที่ยวหลัก คือ ชาวจีน อินเดีย รัสเซีย และไทย สรศักดิ์ ทองบงเพชร เลขานุการชุมชนเกาะล้าน เล่ า ถึ ง จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น ว่ า ตั้ ง แต่ พ .ศ. 2551 มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วเข้ า มาเฉลี่ ย วั น ละ 1,000 คน และเพิ่มขึ้นจนแตะหลักหมื่นในปัจจุบัน “หลังปีพ.ศ. 2555 ก็เหมือนระเบิด นักท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ หลายเท่ า ตั ว ปั จ จุ บั น ถ้ า เป็ น วั น หยุ ด ก็ สู ง ถึ ง วั น ละ

20,000 คน ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่สามารถรับได้แบบเต็มที่ แต่ก็ยังรองรับนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอ นอกจากที่พัก ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยว ระบบต่าง ๆ บนเกาะ ก็ เ ติ บ โตไม่ ทั น เหมื อ นกั น เช่ น ระบบการก� ำ จั ด ขยะ ระบบสาธารณูปโภคทรัพยากร อย่าง น�ำ้ ไฟฟ้า ทีเ่ ดิมสร้าง มาเพื่อชาวบ้าน แต่ตอนนี้ได้กลายมาเป็นปัญหาหลักของ เกาะ” เลขานุการชุมชนบอกด้วยน�้ำเสียงจริงจัง สะท้อน ความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาที่ตามมาพร้อมกับจ�ำนวน นักท่องเที่ยวที่มีท่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ “เกาะล้านเปลีย่ นแปลงแบบก้าวกระโดด ไม่ได้เริม่ แบบ 1 2 3 แต่มันข้ามไป 5 6 7 เลย นักท่องเที่ยวเพิ่ม ขึ้นเท่าตัว จากเดิมมีที่พัก 10 แห่ง แต่ปัจจุบันมีถึง 130 แห่ง บางวันเยอะจนไม่มีที่พักเพียงพอส�ำหรับรองรับ นักท่องเที่ยว ถึงขั้นต้องเปิดศาลาวัดให้นอน” สรศักดิ์เล่า ถึงความเปลีย่ นแปลงของเกาะล้านในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา ด้วยน�้ำเสียงกังวล ขยะล้น คนเกาะหน่าย หากขับมอเตอร์ไซค์ขึ้นไปยังเขานม เส้นทางมุ่ง หน้าไปยังหาดแสม หลายคนอาจตกใจ เมื่อต้องพบกับ บ่อขยะขนาดใหญ่คลุง้ ไปด้วยกลิน่ เหม็นและแมลงวันทีบ่ นิ ว่อน ขยะนับไม่ถ้วนถูกกองรวมกันอยู่ในเวิ้งจนเป็นภาพที่ ไม่อยากแม้จะเหลือบมอง เรือขนขยะที่ท่าเรือหน้าบ้าน

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 15


กองขยะที่เขาระหว่างทางไปหาดแสม

“นั ก ท่ อ งเที่ ย วมาเยอะ เวลามาจากฝั ่ ง พั ท ยา เขาก็ ห้ิ ว ของมาด้ ว ย ของที่ อื่ น กลายมาเป็ น ขยะที่ นี่ น้ อ ยคนจะเอากลั บ ไป” เสี ย งสะท้ อ นจาก ‘ป้ า อ้ อ ย’ แม่ค้าใจดี ช่างเจรจา ประจ�ำหาดตาแหวน วัย 51 ปี ผูซ้ งึ่ อาศัยอยูบ่ นเกาะล้านมานานถึง 40 ปี ป้าอ้อยเล่าด้วย น�้ำเสียงจริงจังเมื่อถูกถามถึงสิ่งที่เป็นปัญหากวนใจของ ชาวเกาะล้านว่า “ปัญหาขยะคือปัญหาใหญ่ที่สุดของที่นี่ เนื่องจากบนเกาะมีจ�ำนวนขยะสะสมอยู่มาก เป็นขยะที่ ส่วนใหญ่เกิดจากร้านอาหาร ยิ่งนักท่องเที่ยวมาเยอะ เท่าไหร่ เศษอาหารก็เยอะเท่านั้น วันไหนรถขยะเสียก็จะ มีขยะสะสมจนส่งกลิน่ เหม็น และสร้างภาพลักษณ์ทไี่ ม่ด”ี สรศักดิ์ ได้เผยข้อมูลที่น่าตกใจอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่ อ ค� ำ นวณจากภาพถ่ า ยทางดาวเที ย มแล้ ว พบว่ า บ่อขยะแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 8-10 ไร่ หรือใหญ่กว่า สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน 2 สนามเสียอีก โดยมีขยะ สะสมมากถึง 20,000 ตัน ซึง่ ขยะเหล่านีส้ ะสมมาเป็นระยะ เวลา 7 ปี จากปริมาณขยะ 20-30 ตันต่อวันและสูงขึ้น เป็นเท่าตัวหากเป็นช่วงวันหยุด ยิ่งเยอะ ยิ่งยากจะก�ำจัด เวลาประมาณ 4 โมง ที่ท่าเรือหน้าบ้าน นอกจาก เรือโดยสารที่รอรับนักท่องเที่ยวกลับไปยังเมืองพัทยา ยัง

มีเรือรูปร่างแปลกตาขนาดใหญ่มาจอดรอขนขยะจ�ำนวน มากที่ ส ะสมมาทั้ ง วั น เพื่ อ น� ำ ไปทิ้ ง ที่ พั ท ยาเพี ย ง วันละรอบ โดยสามารถบรรทุกได้เพียงประมาณ 20-25 ตัน ในวันธรรมดาอาจจะจัดการขยะได้หมด แต่หากเป็น วันช่วงหยุดเทศกาลคงต้องมีตกค้างและน�ำไปทิง้ ทีบ่ อ่ ขยะ เหมือนเช่นเคย ในส่วนของภาครัฐ เทศบาลเมืองพัทยาได้เข้ามา จัดประชาคมกับชุมชนเกาะล้าน เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 เพื่อร่วมพูดคุยถึงวิธีการจัดการขยะ โดยทาง เทศบาลเมืองพัทยาได้รับปากว่าจะด�ำเนินการเรื่องระบบ ก�ำจัดขยะ โดยจะน�ำวิธีการหลอมขยะ ซึ่งเป็นการท�ำลาย ขยะโดยใช้แก๊สร้อน มีลักษณะการคล้ายกับการเผาแต่ไม่ ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งได้รูปแบบมาจากอังกฤษมาใช้ โดยตั้ง เป้าไว้ว่าจะเริ่มด�ำเนินการในเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2559 หลังจากนัน้ 8-10 เดือน ปริมาณขยะจะต้องลดลงเกินครึง่ ส่วนขยะทีไ่ ม่สามารถหลอมได้จะถูกคัดแยกและน�ำกลับไป ทิ้งที่ฝั่งพัทยาเช่นเดิม นี่ จึ ง เป็ น นิ มิ ต หมายอั น ดี เ มื่ อ เมื อ งพั ท ยาหั น มา สนใจท�ำให้เกาะล้านเข้าสูก่ ระบวนการก�ำจัดของเสียอย่าง ถูกต้องและปลอดภัย เพือ่ ลดความเดือดร้อนของชาวบ้าน ในพื้นที่

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 16


นอกจากนั้นเลขาธิการชุมชนยังเล่าว่า ในส่วน ของชุมชนเองเคยมีโครงการท�ำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะ แต่กต็ อ้ งล้มพับไปเพราะสร้างรายได้นอ้ ยจนไม่มคี นเข้าไป สานต่อ เมื่อโครงการสร้างประโยชน์จากขยะไม่เป็นผล ผู้น�ำชุมชนและชาวบ้านจึงรวมตัวกันจัดการด้วยตนเอง หาช่องทางอื่น ๆ ในการลดปริมาณขยะ เช่น จะต้องขอ ความร่วมมือจากทางผู้ประกอบธุรกิจบนเกาะล้านทั้ง รีสอร์ทและร้านอาหารให้ช่วยกันลดปริมาณขยะและช่วย กันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “หากท่านน�ำสิ่งของติดตัวมากรุณาน�ำกลับ หรือ หากไม่มที ที่ งิ้ มาซือ้ กินทีเ่ กาะล้านดีกว่า อย่างน้อยเงินของ นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถน�ำมาบริหารจัดการปัญหาขยะ บนเกาะได้” อีกหนึ่งเสียงขอร้องจากเลขานุการชุมชนที่ ต้องการส่งไปยังนักท่องเที่ยว น�้ำไม่ไหล ไฟดับ อีกปัญหาที่ชาวเกาะต้องเผชิญ นอกจากปั ญ หาขยะที่ ร บกวนใจ เกาะล้ า นยั ง เผชิญปัญหาน�้ำไม่ไหล ไฟไม่มา ส่งผลกระทบไปทั้งเกาะ “เพิ่งเคยมาที่นี่ครั้งแรก ไฟก็ดับ น�้ำก็ไม่ไหล ต้องรอ ประมาณสามชัว่ โมง สงสัยอยูว่ า่ เป็นแค่ทพ่ี กั ของผมทีเ่ ดียว หรือเปล่า มารู้ทีหลังว่าเป็นทั้งเกาะ เลยตกใจเพราะที่นี่ เป็นทีท่ อ่ งเทีย่ ว ความพร้อมน่าจะดี คราวหน้าถ้าจะมาใหม่ ก็คงต้องคิดอีกที” จิรฏั ฐ์ ศรีหาผลวรกิจ นักท่องเทีย่ วจาก จังหวัดเชียงใหม่ เล่าพร้อมปาดเหงือ่ ทีไ่ หลจากอากาศร้อน ใบเสร็จค่าน�้ำของป้าแจ่ม

สรศักดิ์ ทองบงเพชร “ไฟดับไม่ได้ส่งผลแค่นักท่องเที่ยวที่ต้องทนร้อน แต่ผู้ประกอบธุรกิจที่พักอย่างเรา ก็แย่ไปด้วย ไฟไม่พอ มันส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ตัดบ่อยมันก็จะพัง ไฟดับ แบบนี้บอ่ ยมาก อยากให้แก้ไขเร็ว ๆ” ผูป้ ระกอบการธุรกิจ ที่พักท่านหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์ออกนามกล่าวเสริม เลขานุการชุมชนให้เหตุผลต่อปัญหานี้ว่า ไฟฟ้าที่ เข้ามาบนเกาะทางสายเคเบิ้ลจากพัทยาค่อนข้างพอใช้ แต่ด้วยระบบไฟบนเกาะที่เคยเดินสายไฟกันไว้ใช้ส�ำหรับ ชาวบ้าน หม้อแปลงหนึ่งหม้อใช้ได้ 50 หลังคาเรือน เมื่อบ้านถูกพัฒนาเป็นรีสอร์ท การใช้ไฟจึงเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้า บนเกาะอยู่เรื่อย ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสายไฟฟ้า นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 17


หม้อแปลงไฟฟ้า และเริม่ ให้สถานบริการทีพ่ กั ท�ำหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นของ ตนเองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน อีกทั้งทางการไฟฟ้าเมืองพัทยาก็ได้ เร่งปักเสาไฟฟ้าแรงสูงให้ครอบคลุมทัว่ ทัง้ เกาะ และยังมีโครงการในส่วนของระบบ ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการเข้าจัดการระบบไฟตามที่พักโดยเริ่มจากการ เปลี่ยนหลอดให้เป็นแอลอีดีที่ประหยัดพลังงานบ้างแล้ว นอกจากไฟฟ้า การขาดแคลนน�้ำประปาก็เป็นปัญหาเช่นกัน เพราะน�้ำที่ ชาวเกาะล้านใช้ เป็นน�้ำที่ได้จากการแปลงน�้ำทะเลเป็นน�้ำจืดที่สามารถผลิต ได้วนั ละ 200 ลูกบาศก์เมตรเท่านัน้ ขณะทีจ่ ากอ้างอิงศูนย์สารสนเทศสิง่ แวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบุไว้ว่า ในหนึ่งวันคนทั่วไปจะใช้น�้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 180-200 ลิตร หากนักท่องเที่ยวจ�ำนวน 20,000 คน ร่วมกันใช้น�้ำ เท่ากับว่า น�้ำบนเกาะล้านจะถูกใช้ไป 3.6 ล้าน - 4 ล้านลิตร หรือคิดเป็น 40,000 ลูกบาศก์เมตร มากกว่าที่เกาะล้านผลิตได้ถึง 200 เท่า ส่งผลให้ทั้งรีสอร์ทและ ชาวบ้านต้องซื้อน�้ำมากักตุน ‘ป้าแจ่ม’ กัลยา พันธุ แม่ค้าขายแร่ เล่าด้วยความคับข้องใจพร้อมโชว์ ใบเสร็จค่าน�้ำที่มียอดสูงถึงหมื่นบาทว่า “น�้ำที่นี่แพง นี่ไม่มีน�้ำอาบมาสามวันแล้ว เขาเอาน�้ำไปให้นักท่องเที่ยวก่อน เราต้องเสียค่าน�้ำประปาท�ำน�้ำเค็มเป็นน�้ำจืด เสียเดือนเป็นหมื่น” ค�ำพูดของป้าแจ่มสอดคล้องกับค�ำบอกเล่าของเลขานุการ ชุ ม ชน ที่ เ ล่ า ว่ า ชาวเกาะล้ า นต้ อ งจ่ า ยค่ า น�้ ำ ที่ สู ง กว่ า ปกติ ถึ ง 10 เท่ า

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 18


โดยน�้ำบาดาลบนเกาะจะอยู่ที่คิวละ 73-74 บาท ถ้าเป็นน�้ำจากฝั่งพัทยา ตกคิวละ 150-200 บาท เมื่อทราบราคาเช่นนี้ คงไม่แปลกใจหากหลังเล่นน�้ำ ทะเลแล้วต้องการจะล้างตัว แต่กลับไม่ค่อยพบห้องอาบน�้ำสาธารณะเหมือน ทะเลแห่ ง อื่ น ไว้ ใ ห้ บ ริ ก าร หรื อ ต้ อ งพบเจอกั บ น�้ ำ ที่ ไ หลอ่ อ นตามที่ พั ก เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สามารถสู้ราคาเพื่อรองรับความต้องการ นักท่องเที่ยวได้จริง ๆ วันนี้ชาวเกาะล้านต้องเผชิญทั้งปัญหาขยะที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง ขณะที่น�้ำไฟก็มีไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทว่านักท่องเที่ยวที่มาในแต่ละวันกลับ ไม่เคยรู้ถึงปัญหานี้ ในมุมมองของชาวบ้าน แม้นักท่องเที่ยวเป็นผู้สร้างเม็ดเงิน หมุนเวียนให้เกาะ แต่ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวก็น�ำปัญหาเหล่านี้เข้ามาด้วย เช่นกัน ทางออกในวันนีน้ อกจากการสนับสนุนของภาครัฐแล้ว ความร่วมมือของ นักท่องเที่ยวในการในการช่วยกันดูแลเกาะล้าน ไม่สร้างปัญหา คือสื่งที่ชาวบ้าน ต้องการเช่นกัน

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 19


INTERVIEW : สั ม ภาษณ์

เกาะล้าน ในความทรงจำ�

กับ ‘ทิพ’ ทิพวิภา หัถพลายเจริญสุข

เรื่องโดย : กนต์ธร พิรุณรัตน์ ภาพโดย : อภิสรา บรรทัดเที่ยง

ถึงแม้ไม่ได้เกิดทีเ่ กาะล้าน แต่ความทรงจ�ำของเธอ กว่าครึ่งชีวิตต้องเกี่ยวพันกับเกาะล้านอยู่เสมอ วันนี้เราได้มีโอกาสมานั่งคุยกับ ‘ทิพ’ ทิพวิภา หัถพลายเจริญสุข หญิงสาวชาวพัทยาวัยสามสิบต้น ๆ ที่ ต ลอดวั ย เด็ ก ของเธออยู ่ ที่ เ กาะล้ า นตามแบบฉบั บ เด็กเกาะ ก่อนจะออกไปร�่ำเรียนและท�ำงานที่กรุงเทพฯ จนในท้ า ยที่ สุ ด กลั บ มาเปิ ด คาเฟ่ เ ล็ ก ๆ ที่ เ กาะล้ า น ชื่อว่า ‘Maharak Cafe’ “พี่เกิดจริง ๆ ที่พัทยา แต่พอเกิดปุ๊ป ก็โดนเอามา อยู่เกาะล้านตั้งแต่เด็ก เพราะคุณปู่ คุณย่าพี่อยู่เกาะล้าน และคุ ณ พ่ อ และคุ ณ แม่ ข องพี่ เ องก็ เ ป็ น คนเกาะล้ า น ตั้งแต่ก�ำเนิด แม่พี่ท้องแล้วคลอดที่พัทยา แล้วก็เอามาให้ คุณปู่คุณย่าเลี้ยง จนถึงอายุ 2 ขวบ พี่ถึงกลับไปที่พัทยา เพราะต้องกลับไปเรียนหนังสือที่นั้น” ทิพเล่าย้อนให้เรา ฟังถึงวัยเด็กของเธอที่ต้องเดินทางไป ๆ มา ๆ ระหว่าง เกาะล้านในตลอดช่วงวัยเด็ก ถึงแม้จะต้องกลับไปเรียนหนังสือที่พัทยาแต่ทิพ เล่าว่า ชีวิตของเธอไม่เคยต้องห่างจากเกาะล้าน เพราะ เมื่อถึงวันหยุดสุดสัปดาห์และปิดเทอมพ่อกับแม่ไม่พลาด

ทีจ่ ะเอาเธอมาปล่อยไว้ทเี่ กาะล้านจนเธอเองได้ทำ� กิจกรรม หลาย ๆ อย่าง เสมือนเป็นเด็กเกาะเต็มตัว “พีเ่ หมือนเด็กเกาะ เด็กทะเลทัว่ ๆ ไปท�ำกิจกรรม ทุกอย่างเหมือนเด็กคนอื่น เล่นน�้ำ เล่นทราย เล่นกับเต่า จับหอยนางรม โดยเฉพาะหอยนางรม มันมีให้เก็บได้ เยอะมาก เพราะมันลอยอยู่ที่หน้าบ้าน นอกจากเก็บ หอยนางรมที่อยู่ที่หน้าบ้านของพี่แล้ว ก็เป็นทะเลนี่แหละ พี่สามารถกระโดดจากบ้านแล้วลงไปเล่นน�้ำทะเลได้เลย เพราะว่าหน้าบ้านของพี่ติดกับชายหาดหน้าบ้าน” นอกเหนือจากกิจกรรมความสนุกทีท่ พิ ได้กล่าวมา ข้างต้นแล้ว ทิพเล่าว่าเกาะล้านยังมีอกี หนึง่ กิจกรรมส�ำคัญ ที่ท�ำให้คนเกาะมารวมตัวกัน “เรามี ป ระเพณี ก องข้ า วที่ ค นทั้ ง เกาะจะมาท� ำ ร่วมกัน ในวันที่ 18 ของเดือนเมษายน ประเพณีนเี้ ป็นส่วน หนึ่ ง ของสงกรานต์ ถึ ง วั น งานเมื่ อ สรงน�้ ำ พระเสร็ จ ชาวบ้ า นก็ จ ะมากองข้ า วกั น โดยประเพณี นี้ มี ขึ้ น เพื่ อ กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเกาะล้าน คือ เจ้าพ่อด�ำ และ ผีป่า ที่เปรียบเสมือนบรรพบุรุษของเรา ที่ดูแลเกาะล้าน ให้กับเรา ให้เรามีที่ได้อยู่อาศัย”

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 20


ทิพ-ทิพวิภา หัถพลายเจริญสุข

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 21


หาดนวล

ประเพณีนี้ไม่เพียงเป็นกิจกรรมประจ�ำปีที่คนใน ครอบครัวมารวมตัวกัน แต่ยังมีอาหารจานเด่นที่หาทาน ไม่ได้ง่าย ๆ “หมี่แดง คือเมนูพิเศษที่จะหาทานได้เฉพาะ วันนี้เท่านั้นค่ะ ลักษณะของหมี่แดงก็คือ เส้นหมี่ที่ผัดรวม กับเต้าหู้ใส่ซอสแดงเป็นเมนูที่ทุกบ้านท�ำ แต่จะท�ำเฉพาะ วันนีเ้ ท่านัน้ เนือ่ งจากเป็นของไหว้ทสี่ ำ� คัญส�ำหรับการไหว้” นอกเหนือจากหมีแ่ ดงทีเ่ ป็นอาหารเฉพาะเทศกาล ทิพยังเล่าถึงเมนูอาหารหลากหลายเมนู ซึ่งเป็นอาหาร พิเศษของคนเกาะล้าน เช่น ปิง้ งบ ทอดมัน ข้าวเกรียบอ่อน หรือแกงส้ม ความพิเศษที่ท�ำให้เมนูที่ดูธรรมดาแตกต่าง จากที่อื่นคือ สูตรเด็ดเคล็ดลับของชาวเกาะล้าน ที่ทิพเล่า ว่าชาวเกาะล้านมีสตู รน�ำ้ พริกต�ำเองทีท่ ำ� ให้เมนูเหล่านีโ้ ดด เด่นจากที่อื่น แต่สูตรน�้ำพริกเหล่านี้ล้วนไม่มีคนส่งต่อ จึงยากที่จะหาทานในปัจจุบัน “มันหาคนท�ำไม่ได้แล้วใน สมัยนี้ เช่น ถ้าพี่อยากกิแกงส้ม พี่ก็ไม่รู้จะไปหาซื้อได้จาก ที่ไหนในเกาะล้าน มันไม่มีคนท�ำแล้ว ก็ต้องรอบ้านคุณอา ของพี่ ที่ท�ำแล้วแบ่งมาให้พี่ทาน เพราะกินที่ไหนก็ไม่ เหมือน ไม่ใช่แค่เมนูนี้นะยังมี ข้าวเกรียบปากอ่อนที่สมัย ก่อนขายประจ�ำอยู่ที่หน้าวัด แต่เดียวนี่ก็ไม่ค่อยได้กินแล้ว เพราะคุณยายทีท่ ำ� ก็อายุมากแล้ว แถมยังไม่มคี นมาส่งต่อ”

ทิพไม่เก็บความสนุกของเกาะล้านไว้กับตัวเอง แต่ ยั ง เล่ า ให้ เ พื่ อ น ๆ ฟั ง จนต้ อ งชวนกั น มาเที่ ย ว “ปิดเทอมตอน ม.2 เราชวนเพื่อนมาเที่ยวที่เกาะล้าน โดยกิจกรรมหลัก ๆ ที่พี่จะชวนเพื่อนไปเล่นเมื่อมาเที่ยว ยังเกาะล้านก็คือ บานาน่าโบ๊ท แต่เพื่อนส่วนใหญ่ก็จะไป เล่ น น�้ ำ ที่ ช ายหาดมากกว่ า เพราะปลอดภั ย มากกว่ า หาดที่พี่ชอบพาเพื่อนไปเล่นก็คือหาดนวลนี่แหละ” นอกจากการเล่ น บานาน่ า โบ๊ ท และการท่ อ ง ชายหาดแล้ว ทิพยังเตรียมที่พักสุดพิเศษไว้ให้เพื่อน ๆ นามว่า เกาะล้านอินน์เลิฟ ซึ่งนับเป็นโรงแรมแรกของ เกาะล้านเลยก็วา่ ได้ “เวลาเพือ่ นมาก็จะให้เพือ่ นไปนอนที่ เกาะล้านอินน์เลิฟ ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของ คนเกาะมาก เพราะเป็นโรงแรมแห่งแรกของเกาะล้าน ไม่เท่านั้นยังมีการตกแต่งที่ทันสมัยและแปลกตาจากบ้าน เรือนอื่น ๆ ของคนเกาะ เพราะมีระเบียงที่ทอดลงไปยัง ทะเล สามารถลงไปเล่นน�้ำทะเลจากระเบียงบ้านได้เลย ซึ่งไม่ใช่แค่เพื่อนที่ตื่นเต้นเท่านั้น พี่เองตอนเห็นโรงแรมนี้ ที่ตั้งขึ้นแรก ๆ ยังตื่นเต้นเลย” แม้เกาะล้านจะเริ่มมีนักท่องเที่ยวและมีโรงแรม เปิดมาแล้ว แต่ทิพเล่าว่า เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 22


ทิพและครอบครัวในประเพณีกองข้าว

สาธารณูปโภคยังไม่เข้าถึงเกาะล้านอย่างเช่นทุกวันนี้ ชาวชุมชนจึงยังต้องอาศัยการปั่นไฟอยู่ “สมัยก่อนคนใน ชุมชนเกาะล้านต้องปัน่ ไฟกันเอง ไม่มไี ฟฟ้าใช้อย่างเช่นทุก วันนี้ พอถึงเทีย่ งคืนไฟฟ้าก็จะดับ และจะกลับมาอีกทีตอน หกโมงเช้ า ซึ่ ง ส� ำ หรั บ ตั ว พี่ เ อง ตอนเด็ ก พี่ ไ ม่ รู ้ สึ ก ว่ า เดือนร้อน แต่ปู่ของพี่มาเล่าให้ฟังที่หลังว่า ปู่ต้องคอยพัด ให้พี่ตลอด เพราะพี่จะงอแงเพราะร้อนและนอนไม่ได้” เธอเล่าอย่างติดตลกต่อว่า น�้ำจืดก็เป็นอีกหนึ่ง สาธารณูปโภคที่ขาดแคลน ชาวเกาะล้านต้องสร้างบ่อน�ำ้ ขึ้นมาเพื่อรองน�้ำไว้ใช้ เพราะไม่มีนำ�้ ประปา และบ่อน�ำ้ นี่เองที่กลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของบ้านชาวเกาะล้าน แบบดั้งเดิม “ในเกาะล้านทุกบ้านจะมีบ่อน�้ำขนาดใหญ่ไว้ เก็บน�้ำฝน เป็นบ่อปูน ถ้านึกไม่ออกว่าใหญ่ขนาดไหน ก็คือมีขนาดใหญ่เท่าบ้านเลย ด้วยขนาดที่ใหญ่เช่นนี้เอง บ้านส่วนใหญ่ของเกาะล้านจึงสร้างบ้านทับบ่อน�้ำไว้เลย สมัยก่อนก็สามารถวัดฐานะกันได้ทบี่ อ่ เก็บน�ำ้ เลยบ้านไหน มีบ่อใหญ่ ก็แสดงว่ามีฐานะดี เล็กลงมารองลงมาก็ตาม ล�ำดับฐานะ ทุกวันนี้บ่อน�้ำก็มีเหลือบางบ้านนะ บางบ้าน ก็ยงั จ�ำเป็นต้องใช้อยู่ เผือ่ คลาดแคลนจริง ๆ เพราะถึงแม้วา่ ตอนนี้น�้ำประปาจะเข้าถึงเกาะล้านแล้วแต่ก็การประปา

ที่เกาะล้านก็ยังไม่ดีมาก อยู่ดี ๆ บางทีก็หยุดไหลเฉย ๆ ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่มากนะ” เมื่ อ เล่ า ถึ ง ความหลั ง ที่ ผ ่ า นมากั บ เกาะล้ า น ทิพรูส้ กึ ว่าเกาะล้านคือสถานทีพ่ เิ ศษส�ำหรับเธอ มีเสน่หใ์ น ตัวเอง ทัง้ ทะเลน�ำ้ ใส และอยูใ่ กล้กบั กรุงเทพฯ นอกจากนัน้ ผูค้ นทีเ่ กาะล้านในความทรงจ�ำของเธอ คือผูค้ นทีค่ อยช่วย เหลือและอยู่กันเหมือนญาติ “ส� ำ หรั บ พี่ แ ล้ ว เกาะล้ า น คื อ บ้ า นเกิ ด ของพี่ พี่กล้าพูดได้เต็มปากว่าพี่คือคนเกาะล้าน พี่รักเกาะล้าน พีเ่ ข้ามาท�ำธุรกิจทีเ่ กาะล้าน นอกจากทีพ่ ตี่ อ้ งการจะมาอยู่ ใกล้กับญาติผู้ใหญ่แล้ว พี่ยังอยากมาพัฒนาเกาะล้านให้ เป็ น เมื อ งท่ อ งเที่ ย ว ให้ เ ป็ น สถานที่ ที่ เ มื่ อ ใครก็ เ ขาจะ สบายใจที่ได้มา กลับไปก็อยากให้บอกต่อชวนคนมาเที่ยว เหมือนทีพ่ เี่ คยชวนเพือ่ นมาเทีย่ วยังเกาะล้านในสมัยเด็ก” ทิพกล่าวกับเราด้วยสายตาทีเ่ ชือ่ มัน่ ถึงเวลาทีร่ า้ น Maharak Cafe จะต้ อ งเตรี ย มเปิ ด รั บ ลู ก ค้ า ช่ ว งเย็ น ทิพขอตัวลาพวกเราเพื่อไปเตรียมต้อนรับลูกค้าที่ทยอย เตรียมตัวมานั่งพักผ่อน หลังจากเดินทางตระเวนเที่ยว เกาะล้านทั้งวัน ตะวันเริ่มตกดิน แต่อนาคตของเกาะล้าน ที่เราเห็นในสายตาของทิ คือกความมุ ่งมัฒ่นนธรรมมอญในพม่า ธวัชพงศ์ขณะเดินพทางศึ ษาศิลปะวั

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 23


TRAVEL : ท่ อ งเที ่ ย ว

เรื ่ อ งและภาพ โดย : นริ ศ รา สื ่ อ ไพศาล

หนีร้อน หนีรัก... พักเกาะล้าน เรื ่ อ งและภาพโดย : นริ ศ รา สื ่ อ ไพศาล

“คนมาทะเลไม่หนีร้อน ก็หนีรัก” เรามักจะได้ยินประโยคนี้ และเกาะล้าน จังหวัด ชลบุรี ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่ใกล้ กรุงเทพฯ ซึง่ มีหาดทรายสวยงาม ดึงดูดใจบรรดานักท่อง เที่ยวให้หนีร้อนหรือ หนีรัก แวะเวียนพักผ่อน หย่อน ใจกันตลอดทั้งปี นั ก ท่ อ งเที่ ย วแวะมาเกาะล้ า นทั้ ง แบบเช้ า ไปเย็นกลับ และค้างคืน เพือ่ พักผ่อน ทานอาหารทะเล เล่นน�ำ้ อาบแดด ตามชายหาดยอดนิยม ทั้งหาดตาแหวนและ หาดแสม หรืออาจจะนั่งชิลล์ตามร้านคาเฟ่หลากหลาย นอกจากนั้นเกาะล้านยังมีกิจกรรมทางทะเลที่น่าสนใจ อยู่อีกหลายอย่างด้วย กิจกรรมอย่างหนึง่ คงหนีไม่พน้ การด�ำน�ำ้ ดูปะการัง บริ เ วณเกาะสาก ซึ่ ง ใช้ เ วลาขึ้ น เรื อ จากเกาะล้ า นไป ประมาณสิบนาที โดยทีน่ กั ท่องเทีย่ วนิยมคือการด�ำน�ำ้ แบบ สน็อกเกิล (Snorkeling) ซึ่งเป็นการด�ำผิวน�้ำส�ำหรับ

ชมปะการังน�้ำตื้น โดยใช้อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้น คือ หน้ากากด�ำ น�้ำ ท่อหายใจ และเสื้อชูชีพ คนว่ายน�้ำไม่เป็นหรือว่ายน�้ำ ไม่แข็งก็รู้สึกสนุกไปด้วยได้ หลังจากจองทัวร์ด�ำน�้ำไว้กับบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง ในวันแรกของการมาเยือนเกาะล้าน ในเช้าวันที่ 2 เวลา ราวแปดโมงครึ่ง เราก็มาถึงท่าเรือหน้าบ้าน เพื่อขึ้นเรือไป ด�ำน�ำ้ รอบ 9 โมงเช้า โดยการด�ำน�ำ้ จะใช้เวลาราว 2 ชัว่ โมง พอขึ้นเรือ ลูกเรือก็แจกเสื้อชูชีพให้นักท่องเที่ยว คนละตั ว หลั ง จากเรื อ แล่ น ออกจากหน้ า บ้ า นไปได้ ราวสิบนาที กว่า ๆ ก็จอดใกล้กับชายหาดเกาะสากซึ่ง อยู่ไม่ไกลจากเกาะล้าน จากนั้น ‘ลุงไข่เมีย’ วัย 55 ปี เจ้าของเรือก็เดินมาพูดคุยกับนักท่องเที่ยว แนะน�ำถึง วิธีการสวมใส่และการปฏิบัติตัวในการด�ำน�้ำ “วิธีการใส่หน้ากากคือให้เก็บรวบผมให้หมดนะ ส่วนสายรัดหน้ากากต้องไม่แน่นหรือไม่หลวมจนเกินไป คาดไว้เหนือใบหูเล็กน้อย” ลุงไข่เมียบอก การสวมหน้ากาก

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 24


ที่ถูกต้องจะท�ำให้น�้ำไม่เข้าไประหว่างด�ำน�้ำ “เมื่อด�ำไป สักพักหน้ากากอาจจะเป็นฝ้าได้เพราะลมหายใจของเรา วิธีแก้ก็คือให้ถอดออกมาล้าง หรือดันหน้ากากเปิดออก เล็กน้อยแล้วเอานิ้วเช็ด ๆ ออก” หลังจากแนะน�ำวิธีการ ใช้งานเสร็จเรียบร้อย ลูกเรือก็น�ำนักท่องเที่ยวลงด�ำน�้ำ ซึ่งจุดจอดเรือจะอยู่ไม่ไกลจากชายหาดมากนัก ลุงไข่เมีย บอกเสริมว่าหากอยากเห็นปะการังมากขึ้นต้องว่ายเข้าไป ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น ระหว่างด�ำน�้ำ ลูกเรืออธิบายให้ฟังว่าสิ่งมีชีวิต ใต้ท้องทะเลที่พบมีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ปลาที่พบจะเป็น ปลาเข็มซึง่ เป็นกลุม่ ปลาตัวเล็ก ๆ ทีว่ า่ ยกันเป็นฝูง ปลาเสือ ปลาการ์ ตู น อิ น เดี ย น ปะการั ง หมวก ปะการั ง สมอง ปะการังเขากวาง ปะการังกาบและดอกไม้ทะเลด้วย เรามีโอกาสได้พดู คุยกับลุงไข่เมียเพิม่ เติม ลุงเล่าว่า ลุงเป็นคนเกาะล้านมาตัง้ แต่กำ� เนิด จับธุรกิจทัวร์และท่องเทีย่ ว มาราว 4 ปี นับตัง้ แต่การมาท่องเทีย่ วเกาะล้านเป็นทีน่ ยิ ม ของคนไทย เนื่องจากแต่ก่อนนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มา เกาะล้านมักเป็นชาวต่างชาติที่มาเช้าไป-เย็นกลับ “ถ้าถามว่ามาด�ำน�้ำเกาะล้านสวยไหม ลุงว่ามัน ขึน้ อยูก่ บั น�ำ้ เลยนะ อย่างตอนนีห้ น้าร้อนน�ำ้ ก็จะขุน่ หน่อย

ไม่ใสมากเพราะพายุฤดูรอ้ น” ลุงพูดและบอกต่อว่า เกาะล้าน ด�ำน�ำ้ ได้แทบทุกทีท่ นี่ ำ�้ ใส หาดตาแหวนก็ดำ� น�ำ้ ได้เหมือนกัน แต่ไม่คอ่ ยเหมาะสมในหลายกรณี “หาดตาแหวนก็ดำ� น�ำ้ ได้ แต่มนั อันตรายเพราะสปีดโบ๊ทมันวิง่ กันเยอะ ไม่ปลอดภัย แต่เกาะล้านน่ะสวยนะ ธรรมชาติให้เขามา” ระหว่ า งด� ำ น�้ ำ เราพบว่ า แม้ น�้ ำ ใต้ ท ้ อ งทะเล เกาะล้านจะขุ่นบ้างตามฤดูกาล แต่ก็ยังคงเห็นปะการัง และปลาสวยงาม อีกเรื่องน่าประทับใจที่อยากเก็บมาเล่า ให้ฟังคือ ในระหว่างด�ำน�้ำนั้น ลูกเรือของอีกบริษัทได้ ด�ำลงไปหยิบปะการังขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวดู ท�ำให้ลูกเรือ รุ่นพี่คนหนึ่งได้เข้าไปปรามพร้อมบอกอีกฝ่ายว่านี่เป็น สิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะการเก็บของใต้ทะเลขึ้นมาเป็น การท�ำลายธรรมชาติ การด�ำน�้ำที่เกาะล้านอาจจะเป็นอีกหนึ่งในที่ ๆ น่าประทับใจ และน่าแนะน�ำ บอกต่อ เนื่องจากเป็นแหล่ง ด�ำน�้ำซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก นอกจากนั้น เกาะล้านยังคงมีธรรมชาติทสี่ วยงาม ซึง่ ภาพความงามเช่นนี้ จะยังคงมีอยู่ต่อไป หากทั้งผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และชาวชุ ม ชนเกาะล้ า นร่ ว มมื อ กั น รั ก ษาระบบนิ เ วศ ไว้ให้สมบูรณ์

ภาพจาก : เพจ เกาะล้าน ลุงไข่เมีย ด�ำน�้ำตกหมึก

ภาพบรรยากาศใต้ท้องทะเล นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 25


FOOD : อาหาร

‘หมึ ก ซาชิ ม ิ ’ ออกทะเล ตกหมึก ท�ำซาชิมิ เรื่องและภาพโดย : ชนมน ยาหยี

นอกเหนือจากเมนูอาหารทะเลต่าง ๆ ทีห่ าทานได้ทวั่ ไปแล้ว เกาะล้านยังมีอกี หนึง่ เมนู น่าสนใจที่ธุรกิจทัวร์ตกหมึกบนเกาะล้านประยุกต์จากอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมที่รู้จักกันว่า “หมึกซาชิมิ” ซึ่งคือการรับประทานหมึกสดที่ถูกหั่นเป็นชิ้น ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ลอง รับประทานระหว่างการตกหมึก บนเกาะแห่งนี้มีกิจการตกหมึกอยู่สองเจ้าไว้คอยบริการ ส�ำหรับผูท้ สี่ นใจ เวลาส�ำหรับการออกไปตกหมึกจะเริม่ ตัง้ แต่เวลาประมาณหกโมงครึง่ ไปจนถึง ประมาณสี่ทุ่ม โดยนักท่องเที่ยวสามารถจองคิวขึ้นเรือได้ที่ตัวแทนขายที่ตั้งโต๊ะอยู่บริเวณ ท่าเรือหน้าบ้าน เรือจะออกจากฝั่งเวลาประมาณหนึ่งทุ่มและใช้เวลาเดินเรือไปยังจุดตกหมึก ประมาณสิบนาที เมือ่ ถึงทีห่ มายแล้ว ทุกคนบนเรือจะได้รบั คันเบ็ดของตัวเอง หากใครไม่เคยตกหมึกมาก่อน ก็จะมีเจ้าหน้าที่ประจ�ำเรือคอยสอนอย่างใกล้ชิด ศักดิ์ชัย พรหมมัน หรือ ‘พี่โหนก’ กัปตันหรือ ไต๋เรือของร้านตกหมึกลุงไข่เมีย กิจการด�ำน�้ำและตกหมึกเจ้าหนึ่งบนเกาะล้าน อธิบายว่า “การตกหมึกไม่ใช่เรื่องยาก แค่ต้องรู้จังหวะในการโยกคันเบ็ด คือเมื่อหย่อนเบ็ดลงน�้ำให้นับหนึ่ง ถึงสิบและโยกขึ้นท�ำแบบนี้จนกว่าหมึกจะติดคันเบ็ดเพื่อให้หมึกเข้าใจว่าเหยื่อมีชีวิต” ส่วนเหตุผลที่ชาวประมงต้องใช้ไฟสีเขียวส่องลงน�้ำเวลาตกหมึก พี่โหนกบอกว่าล�ำแสง สีเขียวจะส่องถึงก้นน�้ำได้ลึกกว่าแสงไฟธรรมดาท�ำให้หมึกมองเห็นเหยื่อปลอมหรือชื่อที่ชาวเรือ เรียกกันว่า “โย” ได้ชัดขึ้น เหยื่อปลอมที่ใช้นั้นมีที่มาที่น่าสนใจเพราะมันถูกออกแบบมาให้มี ลักษณะคล้ายกุ้งอาหารอันโอชะของหมึก นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 26


“ตกหมึกไม่ใช่เรื่องยาก แค่ต้องรู้จังหวะ การโยกคันเบ็ด คือเมื่อ หย่อนเบ็ดลงน�้ำให้นับ หนึ่งถึงสิบและโยกขึ้น ท�ำแบบนี้จนกว่า หมึกจะติดคันเบ็ด”

หมึกที่พบบริเวณเกาะล้านมีอยู่สามชนิด คือหมึก กระดอง หมึกกล้วย และหมึกศอก หมึกศอกจะมีขนาด ประมาณฝ่ามือยาวถึงข้อศอก ใหญ่กว่าหมึกกล้วยและหมึก กระดองที่มีความยาวเพียงฝ่ามือ โดยหมึกกล้วยเป็นหมึก ที่พบมากที่สุดในบริเวณนี้ เมื่อตกหมึกได้เรียบร้อยแล้วก็มาถึงกระบวนการ ท�ำอาหาร นักท่องเที่ยวสามารถน�ำหมึกของตนมาให้

พนักงานบนเรือท�ำเมนูตา่ ง ๆ ไม่วา่ จะเป็น หมึกย่าง หมึกต้ม หรือเมนูยอดนิยมอย่างหมึกซาชิมิ แต่กว่าจะตกได้หมึก แต่ละตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าไม่ช�ำนาญในการตก จริง ๆ หมึกก็จะไม่คอ่ ยติดเบ็ด ทางเรือจึงมีบริการตกหมึก ให้นักท่องเที่ยวด้วย แถมยังมีเมนูหอยแมลงภู่อบ หมึกต้ม น�้ำด�ำ และน�้ำเปล่าบริการ ส�ำหรับการท�ำหมึกซาชิมใิ ห้อร่อย อภิสร ขวัญเมือง ทายาทรุ่นเล็กของร้านลุงไข่เมียบอกว่า ต้องใช้หมึกสดที่ พึ่งตกมาได้ จากนั้นต้องล้างหมึกด้วยน�้ำเค็มเพราะน�้ำเค็ม จะช่วยรักษาความสดและไม่ทำ� ให้มกี ลิน่ คาว เมือ่ ล้างหมึก เรียบร้อยแล้วจึงค่อยเอาไส้ออกและหั่นเป็นชิ้นในแนวตั้ง คื อ เริ่ ม จากส่ ว นหั ว ลงมาเท่ า นั้ น เพราะหากหั่ น เป็ น แนวนอนจะท�ำให้เนื้อของหมึกแข็งเกินไปไม่สามารถท�ำ ซาชิมิได้ จากนั้นน�ำซาชิมิที่ได้ใส่บนจานทานคู่หัวไชเท้า และผักชีเพื่อกลบความเผ็ดของวาซาบิ ส่วนใครที่ไม่ชอบ น�ำ้ จิม้ แบบญีป่ นุ่ ก็จะมีนำ�้ จิม้ ซีฟดู๊ รสแซ่บให้อกี ด้วย อภิสร ยังบอกอีกว่า นักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่ทมี่ าจะติดใจเมนูหมึก ซาชิ มิเ พราะมี ค วามพิ เ ศษตรงที่ ต กขึ้ น มาสดจากทะเล ไม่ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่อาจท�ำให้สกปรก เมนูหมึกซาชิมิอาจเป็นทางเลือกใหม่ส�ำหรับคนที่ เบื่ออาหารทะเลแบบเดิม ๆ นอกจากจะอิ่มท้องแล้วก็ยัง ได้ประสบการณ์ดีๆจากการตกหมึกอีกด้วย เมนูหมึกซาชิมิ

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 27


COMMUNITY'S VOICES : กระบอกเสี ย งชุ ม ชน

ปั ญ หาอะไรที่ พ บบนเกาะล้ า น? เรื่ อ งและภาพโดย : มั น ตา อ� ำ นวยเวโรจน์

ไม่ มี น�้ ำ อาบมาสามวั น แล้ ว เค้ า ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วก่ อ น เราเสี ย ค่าน�้ ำ ประปาท� ำ น�้ำเค็มเป็นน�้ำจืด เดือนเป็นหมื่น

นางกัลยา พันธุ อาชีพ ขายแร่

ปัญหาวัยรุ่น ดื่มเบียร์เสียงดัง จนถึ ง เที่ ย งคื น ตี หนึ่ ง -ตี สอง บางที ก็ ทะเลาะวิวาทกัน นอนไม่ได้เลยครับ นายณัฐพงษ์ สายพันธุ์ อาชีพ ท�ำประตู


เราไม่ได้จองห้อง แล้วมัน เป็นวันหยุด เลยหาห้องพักไม่ได้ นักท่องเที่ยวเยอะมาก เลยต้อง กลับพัทยา

นางสาวยุฤดี แช่มนิ่ม อาชีพ พนักงานบริษัท

ถนนแคบ ไม่ ไ ด้ แ บ่ ง เลนส์ อีกอย่างถนนเป็นตัวหนอนมันปูไม่ดี เราขับจักรยานยนต์แล้วลื่นง่าย นายพชรพล ขจรฤทธิ์ อาชีพ สถาปนิก

ขยะล้นเกาะครับ เก็บไม่ทัน กลิน่ แรงมากตรงหาดแสม ทัง้ ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวก็บ่น นายสุวิทย์ ยอดอินทร์ อาชีพ ขับมอเตอไซค์รับจ้าง


TRAVEL TIPS : เกร็ดท่องเที่ยว

ภาพจาก https://c7staticflickr.com

ท�ำความรู้จัก ‘หอยเม่น’ วายร้ายแห่งท้องทะเล เรื่องและภาพโดย : นริศรา สื่อไพศาล

เกาะล้านแม้จะได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่มีชายหาดสวยงาม แต่ใต้ท้องทะเลก็แอบมีภัยร้ายแฝงตัวอยู่ นักท่องเที่ยว ทีล่ งเล่นน�ำ้ ทะเลหลายคนอาจจะได้เจอกับความเจ็บปวดทีไ่ ด้รบั จาก ‘หอยเม่น’ ทีม่ กั จะแอบซ่อนตัวอยูต่ ามแนวปะการัง หรือโขดหินบริเวณใกล้ชายฝั่ง หากลงเล่นน�้ำหรือด�ำน�้ำแล้วเผลอไปเหยียบเข้าคงบอกได้เลยว่าเจ็บจนเข็ดทะเล ไปสักพักเลย หอยเม่น หรือ เม่นทะเล เป็นสิง่ มีชวี ติ รูปร่างกลมมน หรืออาจจะค่อนข้างแบนแล้วแต่ชนิด รอบ ๆ ตัวเจ้าสิง่ มีชวี ติ ชนิดนี้จะเต็มไปด้วยหนามสีด�ำ เม่นทะเลมีหนาม 2 ขนาดบนตัว หนามยาวใช้สำ� หรับการผลักดันพืน้ ผิวแข็ง ขุดคุย้ สิง่ ต่าง ๆ และช่วยในการฝังตัว ส่วนหนามเล็กสั้นใช้ยึดเกาะและปีนป่าย เม่นทะเลที่มีพิษจะมีหนามที่กลวงและมีพิษภายใน ซึ่งหนามของหอยเม่นนั้น เป็นผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีความเปราะบางมาก แต่แทงทะลุผิวหนังได้ง่าย เมื่อหักติดผิวหนังจะปล่อยสารพิษ ท�ำให้เกิดความเจ็บปวด บ่งออกไม่ได้เพราะความเปราะ จึงต้องทิ้งไว้สัก 2-3 วันจะสลายหายไปเอง ‘ลุงไข่เมีย’ ผูป้ ระกอบการธุรกิจด�ำน�ำ้ เกาะล้าน แนะน�ำถึงวิธปี ฐมพยาบาลเมือ่ โดนหอยเม่นต�ำว่า โดยปกติแล้ว บรรดาลูกทะเลจะใช้มะนาวบีบใส่ผิวหนังที่โดนหนามหอยเม่นฝัง เนื่องจากมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดจึงเป็นตัวช่วยใน การสลายหนาม ก่อนจะใช้ของแข็ง เช่น ขวดแก้ว ทุบบริเวณบาดแผลเพื่อให้หนามหอยเม่นซึ่งฝังตัวอยู่แหลกละเอียด หลังจากนั้นหนามจะค่อย ๆ สลายหายไปเอง วิธีการป้องกันการโดนหอยเม่นต�ำง่าย ๆ คือ ให้สังเกตดูใต้น�้ำตลอดเวลาที่ด�ำน�้ำ ไม่เหยียบลงบนปะการังซึ่ง มักเป็นที่แอบซ่อนตัวของเจ้าหอยเม่น และลอยตัวเมื่ออยู่บริเวณน�้ำตื้น ไม่แกว่งขาลงใต้น�้ำ แต่ใช่ว่าเม่นทะเลจะมีแต่ข้อเสียอย่างเดียว เม่นทะเลเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทะเล เพราะโดนปกติหอยเม่นจะเติบโตและมีชวี ติ อยูไ่ ด้ในบริเวณทีน่ ำ�้ สะอาดและมีคณ ุ ภาพทีด่ เี ท่านัน้ การปรากฏตัวของหอยเม่น ในทะเลรอบเกาะล้านจึงแสดงให้เห็นว่าท้องทะเลแถบนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 30


พกอะไรไปเกาะล้านดี?

vinegar

น�้ำสมสายชู ส�ำหรับแก้พิษจาก แมงกระพรุ นและ หอยเม่น

ถุงพลาสติก

ส�ำหรับใส่เสื้อผ้าเปี ยก และเผื่อ อาเจียน เนื่องจากอาการเมาเรือ

อุ ปกรณ์กันแดด

เกาะล้านมีแดดที่แรงและไม่มีร่มเงา มากนักอุ ปกรณ์เหล่านี้ จึงจ�ำเป็นอย่างมาก

ชุดหน้ากากสน็อกเกิล ส�ำหรับผู ้ท่ตี ้องการด�ำน�้ำ และไม่ต้องการใช้ร่วมกับผู ้อ่ืน

ของใช้ส่วนตัว

จ�ำพวกสบู ่ ยาสระผม ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า ควรพกมาเอง เพราะบางอย่างมีราคาแพง



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.