MARGIN
MAY I 2016
มีความเชื่อ ตามคัมภีร์เก่าแก่กล่าวไว้ว่า พระเจ้าได้สร้างมนุษย์ ผู้ชายคนแรกขึ้นจากดินซึ่งนั้นก็คือ “ อดัม “ และต่อมาก็ได้ใช้กระดูก ซี่โครงของอดัมสร้าง “ อีฟ “ ที่เป็นเพศหญิงขึ้นมา โลกถูกสร้างคู่มากับ เพศเพียงแค่ 2 เพศ แต่เมื่อโลกหมุนเวียนเปลี่ยนไป จนถึงปัจจุบัน ชาย และหญิงไม่จำ� เป็นต้องคูก่ นั เพศเริม่ มีความหลากหลายมากขึน้ เกิดเป็น ชายรักชาย ที่ถูกสังคมนิยามว่าเป็น กระเทย หรือ เกย์ หญิงรักหญิง ที่ ถูกเรียกว่า ทอมดี้ และเลสเบี้ยน บางประเทศอาจเปิดกว้างมากพอที่จะยอมรับในความต่าง และ เคารพในสิทธิมนุษยชน แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ปิดกั้นเรื่องนี้ถึงขั้น เกลียดกลัว จนถูกบัญญัติขึ้นเป็นโรคที่ชื่อว่า Homophobia หรือในชื่อ ภาษาไทยที่ว่า โรคเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนไทยมองและเข้าใจ เรือ่ งเพศภาวะและเพศวิถแี บบผิวเผิน บรรทัดฐานรักต่างเพศ ถูกสถาปนา ตัวเองบนฐานคติและมายาคติเกีย่ วกับ “เพศตามธรรมชาติ” ซึง่ เอาเรือ่ ง ของสภาพภายนอก สรีระและอวัยวะเพศมาตัดสินตัวตนทางเพศบุคคล และตัดสินว่าเพศแบบไหนดีและไม่ดี แบบไหนผิดธรรมชาติหรือถูก ธรรมชาติ การแบ่งแยกคูต่ รงข้ามและการจัดช่วงชัน้ ทางเพศมีให้พบเห็น มากในสังคมไทย ถึงแม้ทุกคนจะพูดว่ายอมรับ และเปิดกว้างพอ แต่การ ดูหมิ่น หรือกดขี่กลุ่มคนรักเพศเดียว หรือ เพศหลากหลายก็ยังปรากฏ ให้เห็น ในเดือนพฤษภาคมนี้ มีความส�ำคัญต่อเพศที่สาม และคนรักเพศ เดียวกัน เนื่องจากวันที่ 17 พฤษภาคม คือวันสากลยุติความเกลียดกลัว คนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ วันดังกล่าวถูกเลือก ขึ้นมาเพื่อระลึกว่าองค์การอนามัยโลกประกาศให้รักเพศเดียวกันไม่ใช่ ความผิดปกติทางจิตเพือ่ ดึงความสนใจของผูม้ อี ำ� นาจตัดสินใจ สือ่ มวลชน ประชาชนทั่วไป ผู้น�ำทางความคิด และเจ้าหน้าที่รัฐมาสู่สถานการณ์ที่ น่าเป็นกังวลส�ำหรับหญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ และคนที่มีลักษณะแสดงเพศทั้งสองเพศ (LGBTI) รวมถึงบุคคลอื่นที่มี ความเป็นเพศไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี กระแสหลัก เนื้ อ หาใน Margin ฉบั บ นี้ จึ ง อยากร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการ เคลื่อนไหว ส่งเสริมการยอมรับสิทธิมนุษยชนของทุกคน ไม่ว่าจะมีเพศ ภาวะ เพศวิถี หรือการแสดงออกทางเพศอย่างไร หากกระแสะความ หวาดกลัว และการดูหมิ่นเพศที่หลากหลายยังคงอยู่ มันจะกลายเป็นสิ่ง ทีอ่ นั ตราย เนือ่ งจากชุดความคิดนีเ้ ป็นการไม่ให้เกียรติไม่ให้ความเคารพ ต่อปัจเจกบุคคล ตัดสินอย่างเหมารวม เราควรสร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้อง และสร้างภาพแบบใหม่ในทิศทางที่ดีต่อเพศที่หลากหลาย
EDITOR’S TALK
CONTENTS Documentary news LGBTI & Queer Review Movie Up to date Feature Columnist Activities and Highlights Interview Subscription Form Activists Photo Essay Infographic
เมื่อตุ๊กตาเป็นมากกว่าของเล่น Children’s streotyped toy : โดย มันตา อ�ำนวยเวโรจน์
4I
MARGIN magzine
สองสามวันก่อน ในวันอากาศร้อน อบอ้าวเหมือนเช่นทุกวัน ฉันสาละวนอยู่ กับเก็บข้าวของที่กระจัดกระจายบนพื้น มือข้างที่ว่างคอยปาดเหงื่อเม็ดโตที่ผุด ออกมาตามไรผมกันไม่หยุดหย่อน คิว้ ไม่ ได้ทำ� หน้าทีข่ องมันได้ดเี ท่าไรนัก ฉันคว้า ตุ ๊ ก ตาตั ว นึ ง ขึ้ น มาด้ ว ยความหงุ ด หงิ ด ด้วยตาที่พร่าและแสบจากเหงื่อ และยิ่ง ไม่สบอารมณ์มากขึ้น เมื่อเห็นรอยยิ้ม แปลกๆ กั บ นั ย น์ ต าที่ ว ่ า งเปล่ า จาก ใบหน้าของสาวผมสีทองอร่าตัวนี้คงจะ เป็น ‘พิงกี้ชาร์ล็อต’ หรือ ‘แมรีโพซา’ หรือ อะไรสักอย่างที่ฉันก็ไม่แน่ใจนัก รู้ แต่ว่าตุ๊กตาตัวนี้เป็นหนึ่งในสิบหรืออาจ จะยีส่ บิ ตัวของ ‘หลานสาว’ ของฉันอย่าง แน่นอน ฉันอดไม่ได้ที่จะมอง ส�ำรวจไปรอบๆห้อง ก่อน จะพบเพี ย งแต่ สี ช มพู ชมพูมาก ชมพูน้อย ถูก แต่งแต้มอยู่ทุกส่วนของ ห้ อ ง ไม่ ว ่ า จะเตี ย ง ผ้าปูที่นอน(ที่มีหน้าของ ตุก๊ ตาตัวนี)้ เก้าอี้ โต๊ะ แก้ว น�้ำ หวี เครื่องเขียน ก็ ล้วนจะเป็นสีชมพูหน้า
หญิงสาวร่างบาง คอยาว เอวคอด นีห้ รือ สาวสวยเพื่อนรักของหลานสาวตัวน้อย วัย 4 ขวบของฉัน หน้าตาน่ากลัวกับ ร่างกายผิดสัดส่วน จะดูอย่างไรก็หา่ งไกล จากค�ำว่าปกติมากนัก กระบวนการน�ำสีสีหนึ่งให้กลาย เป็นความหมายเชิงสัญลักษณ์นนั้ เป็นสิง่ ทีแ่ นบเนียนเสียจนท�ำให้ครัง้ หนึง่ ฉันเคย เชื่อว่า ‘อ้อ สีชมพูเป็นของเด็กผู้หญิง’ และ ‘สีฟ้าเป็นของเด็กผู้ชาย’ จะชอบสี อื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ก็ได้ แต่เมื่อมา ถึงการเลือกซื้อของให้หลานครั้งไหน ก็ จ�ำต้องเลือกสีชมพูให้ทุกครั้งเพราะมีให้ เลือกอยูส่ องสี และยังมีปา้ ยก�ำกับชัดเจน ทีข่ องสีชมพูวา่ ‘ส�ำหรับเด็กผูห้ ญิง’ และ ทีข่ องสีฟา้ ว่า ‘ส�ำหรับเด็กผูช้ าย’ ทุกครัง้ ที่เหลือบไปเห็นป้ายก�ำกับนั้น ว่าหลาน สาวฉันมีสิทธิจะเล่นรถถังสีฟ้านั้นไหม ฉันเคยอ่านผลการศึกษาอ้างอิง จากหนั ง สื อ เรื่ อ ง Cordelia Fine’s Delusions of Gender กล่าวว่า เด็ก ผู้ชายมีความชอบและต้องการเข้าหา ตุ๊กตาเช่นเดียวกับเด็กหญิง จนถึงช่วง เวลาที่ได้รับการสอนให้เข้าใจว่าตุ๊กตา เป็นเพียงของเล่นส�ำหรับเด็กหญิง เด็ก ชายเหล่ า นั้ น จึ ง เริ่ ม ปฏิ เ สธตุ ๊ ก ตาและ เบี่ยงความสนใจไปหาของเล่นชิ้นอื่น ผ ลการวิ จั ย นี้ เ ป็ น อี ก หนึ่ ง ข้ อ สนับสนุนความคิดของฉันได้อย่างดี ซึ่ง ฉันมักมองข้ามตุก๊ ตาพวกนีไ้ ปเสมอ ด้วย ว่ามันดูไร้พิษสงเสียจริงๆ นอกจากว่า
เด็กๆจะพยายามแทะเล็มตัวตุ๊กตาหรือ เอาเท้าของตุ๊กตาตัวนั้นยัดเล่นเข้าไปใน จมูก จนฉันลืมคิดไปว่า สิ่งที่แฝงเข้ามา พร้อมกับตุ๊กตาข้างกายเด็กๆนั้น มักมี มากกว่าที่ฉันมองเห็น ห ลั ง จากเก็ บ ข้ า วของใช้ ส ่ ว นตั ว ของตุก๊ ตาเสร็จ ฉันก็หนั มาพับเสือ้ ผ้าของ หลานเข้าชั้นวาง หยิบพับขึ้นมาตัวแล้ว ตั ว เล่ า ที่ ห ยิ บ ขึ้ น มาล้ ว นเป็ น ชุ ด แบบ เดียวกัน แขนมีระบาย กระโปรงฟูฟ่อง โบ สายรุ้ง เสื้อผ้าทุกชิ้นแทบไม่ต่างกับ ของตุ๊กตาเลย เพียงแต่อยู่ในรุ่นขยาย ใหญ่ขึ้นมาส�ำหรับเด็กสี่ขวบ แต่แกจะ ปฏิเสธการแต่งตัวตามเพื่อนได้อย่างไร เล่า หลานฉันก็คงจะมีแบบอย่างของเขา เป็นเจ้าตุ๊กตาตัวนี้ นอกจากหลานของ ฉันจะมีรูปร่าง หน้าตาและการแต่งตัว ของผู ้ ห ญิ ง เอวกิ่ ว เป็ น แบบอย่ า งแล้ ว ความคิดเบื้องหลังที่ได้สอดแทรกเข้ามา พร้อมกับเรือ่ งราวทีส่ ร้างสรรค์ขนึ้ มาเพือ่ ให้ตัวตุ๊กตาเหล่านี้เป็นที่ชื่นชอบ ก็ยังได้ รับการส่งต่อเรื่อยมา เนื้อเรื่องของบรรดาหญิงสาวของ เหล่าเจ้าหญิง ก็เป็นอีกสิ่งที่สร้างมายา คติ และความคิดเหมารวมในหลายด้าน เมื่อมองกลับไปส�ำรวจการด�ำเนินเรื่อง เหล่านี้ เรือ่ งทีฉ่ นั เห็นชัดเจนคือ ความรัก เพศตรงข้ามหรือรักต่างเพศ (heterosexual) และ การปลูกฝังความรักแบบ โรแมนติก (romantic love) หากมองผ่านมุมมองลัทธิสตรีนยิ ม
(feminism) ความรักแบบโรแมนติกถูก สร้างขึ้นมาในยุคที่หลายชาติต้องการ สร้ า งรั ฐ เพื่ อ ให้ มี ก ารเพิ่ ม จ� ำ นวน ประชากร การกระตุ้นให้คนสนใจค�ำว่า ‘เสรีภาพ’ และ ‘ความเสมอภาค’ น�ำไป สู่สภาพที่เราทุกคนสามารถรักกันข้าม ชนชั้น ฝ่าอุปสรรคทุกอย่างได้ อย่างไร ก็ตามในความรักนีก้ จ็ ะแบ่งหน้าทีช่ ดั เจน ว่า ผู้หญิงท�ำงานในบ้านในขณะที่ผู้ชาย ท�ำงานนอกบ้านตามกลไกที่รัฐวางไว้ซึ่ง จะสนับสนุนหรือเอื้ออ�ำนวยเฉพาะคู่รัก ต่างเพศเท่านัน้ คูร่ กั เพศเดียวกันจึงกลาย เป็นสิง่ ทีผ่ ดิ ไปจากขนบ เมือ่ เกิดการขบถ ในเรื่องรสนิยมทางเพศ สังคมจะมอง กลุ่มคนเหล่านี้เป็นอื่น (otherness) ที่ ไม่สามารถมีความรักที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ ฉันส่ายหัวเบาๆกับความคิดที่พรั่ง พรูเข้ามาในหัว สิง่ ของใกล้ตวั ชิน้ เล็กกระ จ้ อ ยร่ อ ยสามารถปลู ก ฝั ง และตอกย�้ ำ ความไม่เท่าเทียมทางเพศได้ย่ิงใหญ่ตรง ข้ามกับขนาดของมันได้มากเท่านี้จริง หรื อ และปั ญ หาเหล่ า นี้ ยั ง น� ำ มาซึ่ ง ประเด็นสังคมอื่นๆ อีกต่างหาก ส่วนตัวฉันได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า ฉั น มี สิ ท ธิ ที่ จ ะหยิ บ ยื่ น แทนการยั ด เหยียด หลังๆนี้ฉันตัดสินใจในการเลือก ซื้อของเล่นมากกว่าแต่ก่อน นอกจากดู ความคุ้มค่าของราคา ฉันก็มักพิจารณา ถึงสิ่งที่เด็กจะได้รับ ทั้งผลกระทบทาง ความคิดทางตรงและทางอ้อม ฉันลอง เปลี่ยนจากการซื้อตุ๊กตาสีชมพูตัวน้อย
เหมือนครั้งก่อนๆ ให้มาเป็นของเล่น เสริมทักษะใหม่ๆทีม่ คี วามเป็นกลางทาง เพศแทนที่ เช่น เครื่องดนตรี หนังสือ เสริมทักษะ ตัวต่อ และก็พบว่าหลานสาว ของฉันมีท่าที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่จดจ่ออยู่ กับตุ๊กตาเหล่านั้นเพียงล�ำพัง นั้นแปลว่า เธอไม่ได้ชื่นชอบแค่เพียงตุ๊กตาร่างบาง เท่านัน้ แต่เธอสามารถเล่นของเล่นได้ทกุ รูปแบบ นอกเหนือจากทักษะต่างๆทีเ่ ธอ จะได้รบั วัยเด็กเป็นวัยเริม่ ต้นการเรียนรู้ ที่ส�ำคัญ หากต้องการพัฒนาสังคมให้ดี ขึน้ ก็เริม่ ต้นได้ไม่ยาก เริม่ จากครอบครัว สถาบันแห่งแรก ด้วยการเลือกซื้อของ เล่นในแบบทีอ่ ยูบ่ นรากฐานของเหตุและ ผล เพือ่ เป็นจุดเริม่ ต้นของความคิดทีด่ ใี น อนาคต
MAY I 2016
MOVIES REVIEW มันตา อำ�นวยเวโรจน์
Director: Kirby Dick Writer: Kirby Dick Region: USA Genre: Documentary Stars: Andrea Pino, Annie Clark, Claire Potter |See full cast & crew
สารดดี ‘The Hunting Ground’ : ขอต้อนรับเข้าสู่รั้วปัญญาชน Documentary Club น�ำเสนอ สารคดี ตี แ ผ่ ค วามรุ น แรงทางเพศใน มหาวิทยาลัยและการปกปิดความจริง ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วสหรัฐอเมริกา ผ่านประสบการณ์และการต่อสูร้ ว่ มกัน ของเหล่านักศึกษาหญิงผูไ้ ม่ยอมจ�ำนน ในฐานะเหยื่ออีกต่อไป ส ารคดี น� ำ เสนอข้ อ มู ล อั ต ราคดี ข่ ม ขื น ที่ ไ ด้ รั บ การร้ อ งเรี ย นในรั้ ว มหาวิทยาลัยเป็นจ�ำ.นวนมาก รวมทั้ง วิจยั ในเรือ่ งดังกล่าว ชีใ้ ห้เห็นว่า ผูก้ อ่ เหตุ อาจมีเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์แต่มักก่อเหตุ ซ�้ำเกินกว่าสองครั้งโดยด�ำเนินเรื่องผ่าน ประสบการณ์ ก ารจากผู ้ ที่ ถู ก คุ ก คาม ทางเพศในมหาวิทยาลัยร่วมกว่าสิบแห่ง
6I
MARGIN magzine
มาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นถึง ประสบการ์ ร ่ ว มที่ ทุ ก คนได้ ถู ก ท�ำ ร้ า ย จนเกิ ด บาดแผลลึ ก และบอบช�้ ำ ทั้ ง ทางร่ า งกายและจิ ต ใจบาดแผลจาก การกระท�ำที่ไร้จิตส�ำนึก ก่อนจะถูกราด น�้ำเกลือลงบนแผลสดด้วยการหักหลัง จากหาวิทยาลัยตนเอง ไม่ใช่สถานการณ์ ที่พวกเธอจะผ่านไปได้ง่ายดาย บางส่วน ได้รับการเยียวยาสภาพจิตใจที่อ่อนแอ จากครอบครัว เพื่อนและคนรอบข้าง ท�ำให้กลับมาเป็นปกติ เข้มแข็งขึน้ อีกครัง้ ในขณะที่ มี นั ก ศึ ก ษาจ� ำ นวนมากไม่ สามารถกลับมาสู่สังคมได้ ความทรมาน จากแผลเหวอะนั้นได้คร่าชีวิตของพวก เธอลงไปในที่สุด
แม้เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ กับแต่ละคน จะแตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่สิ่ง หนึ่งที่พวกเธอเห็นพ้องต้องกันคือความ รู้สึกที่ว่าหากการที่เธอถูกลวนลามหรือ ข่มขืนได้ฆ่าเธอทั้งเป็น มีสิ่งที่เลวร้ายไป กว่า คือการที่พวกเธอถูกเพิกเฉยจาก มหาวิทยาลัยที่พวกเธอเชิดชูบูชานั้นเอง วงจรนี้ยังคงด�ำเนินต่อไปไม่รู้จบ เมือ่ เกิดคดีขม่ ขืนทุกครัง้ สิง่ แรกทีจ่ ะเกิด ขึน้ ก่อนการสืบสวนหาความจริง คือฝ่าย กิ จ การนั ก เรี ย นหรื อ คณะบดี เลื อ กที่ จะโยนความผิดและตราบาปมาให้กับ เหยื่ อ ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งการดื่ ม ของมึ น เมา การแต่ ง ตั ว ล่ อ แหลมและการออกไป สถานที อ่ โคจรในยามวิกาล การผูกโยง
Andrea Pino (ขวา) Annie Clark (ซ้าย) สาว University of North Carolina ผู้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับมหาวิทยาลัยตัวเอง และยัง สร้างเครือข่ายรวมพลังหญิงสาวผู้ผ่านพ้น ที่มาภาพ : www.marieclaire.com
เรื่อง ค ่ า นิ ย มและศี ล ธรรมเข้ า กั บ คดี คุกคามทางเพศ เป็นการกระท�ำทีต่ อกย�ำ้ ให้เห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่งว่าสังคมนี้ยังคง เป็นสังคมปิตาธิปไตย หรือสังคมชายเป็น ใหญ่ (Patriarchy) เสียงของผู้หญิงที่ถูก ท�ำร้ายเป็นเพียงเสียงที่ไร้ความหมาย การร้องขอความช่วยเหลือใดๆไม่ส่งผล กระดาษค�ำร้องถูกกวาดเข้าใต้พรมเก่าๆ เหม็นอับ ก่อนจะฉีดน�้ำหอมกลิ่นเดิม กลบ ปล่ อ ยให้ มั น ย่ อ ยสลายไปตาม กาลเวลา สถาบั น การศึ ก ษาเกื อ บทุ ก แห่ ง ปกปิ ด คดี ข ่ ม ขื น ด้ ว ยกลั ว เสี ย อ� ำ นาจ ชื่อเสียงและเงินทุนจ�ำนวนมหาศาล จึง ไม่รับร้องเรียนอย่างไม่แยแส และถึงแม้
รับ คดีประเภทนี้จะมีบทลงโทษที่เบา หวิว เพือ่ เลีย่ งข่าวฉาวทีจ่ ะเสือ่ มเสียงสัน่ คลอนสถาบั น ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นชาย ที่ เ หยี ย บย�่ ำ ความเป็ น มนุ ษ ย์ ข อง นั ก เรี ย นคนอื่ น ๆ ต้ อ งท� ำ เพี ย งจ่ า ย ค่าปรับ พักการเรียนสองวัน หรือเขียน ค�ำขอโทษ ลงบนกระดาษ ก่อนทีจ่ ะกลับ เข้ า มาสู ่ ม หาวิ ท ยาลั ย สนามล่ า เหยื่ อ รายต่อไปอีกครั้งกลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์ นี้ไม่รู้จบ การกระท�ำที่ไร้จรรยาบรรณของ มหาวิ ท ยาลั ย ในหลายรั ฐ ของสหรั ฐ อเมริกา ถูกตัง้ ค�ำถามจากสังคม ทว่าก่อน ทีม่ นั จะถูกเปิดเผย เบือ้ งหลังความส�ำเร็จ นี้ แลกมาความกล้าหาญ การก้าวผ่าน
แรงกายและแรงใจอย่างแรงกล้าจาก นั ก เรี ย นหลายพั น คนผู ้ ต กเป็ น เหยื่ อ ความเห็นแก่ตวั ของสถาบัน และผลผลิต จากความเน่าเฟะของสังคม สารดดี ‘The Hunting Ground : ชมรมล่ า หญิ ง ’ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง วัฒนธรรมข่มขืนในมหาวิทยาลัย ที่มีตัว สถาบันเป็นผู้สนับสนุนหลัก ซึ่งกระตุ้น ให้ตระหนักถึงความผิดปกติทแี่ นบเนียน จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินี้ อาจถึง เวลาทีค่ นในสังคมจะได้มองย้อนกลับมา พิจารณาดูลึกลงไปภายใต้ชื่อเสียงของ สถานศึกษาที่สั่งสมมายาวนานเป็นร้อย ปีนั้น อาจแลกมาด้วยการย�่ำยีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ได้อย่างเลือดเย็น
การประท้วงของนักศึกษามหาวิทยาลัย ท่ีมาภาพ : thepotomacreporter.com
MAY I 2016
LGBTI AND QUEER มันตา อำ�นวยเวโรจน์
กลัวเกย์ ท�ำไมกัน?
HOMOPHOBIA
ที่มาภาพ : genderfork.com
Homophobia เกิดจาก ค�ำสองค�ำคือ ค�ำว่า homo ซึ่ง ย่อมาจาก homosexual คือผูท้ ี่ มีรสนิยมทางเพศต่อเพศเดียวกัน และ ค�ำว่า phobia คือ อาการ ข อ ง ค น ที่ มี ค ว า ม ก ลั ว ห รื อ ความเกลียดชังต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไร้ ส าเหตุ เมื่ อ มารวมกั น Homophobia จึงแปลว่าความ กลัวหรือความเกลียดชังซึง่ น�ำมา สู ่ พ ฤติ ก รรมต่ อ ต้ า นและเลื อ ก ปฎิบัติต่อบุคคลรักเพศเดียวกัน หรือ LGBTI ( lesbian (เลสเบี้ย น) gay (เกย์) bisexual (ไบเซ็ก ชวล) transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) และ intersex (อินเตอร์เซ็กส์) 8I
MARGIN magzine
จากผลการทดสอบ ของ Henry Adam และคณะ พบว่ า โรคโฮโมโฟเบี ย จะพบมากกว่ า ในชายรั ก ต่ า งเพศ (heterosexaul) เขาทดลองน�ำกลุม่ ชายรักต่างเพศทีม่ ลี กั ษณะ โฮโมโฟเบี ย มาทดลอง ด้ ว ยการดู วี ดี โ อการมี เ พศสั ม พั น ธ์ สามแบบคือ ชาย-หญิง หญิง-หญิง และชาย-ชาย โดยวัดความ ตื่นตัวทางเพศที่มีต่อวีดีโอดังกล่าว ด้วยวัดเส้นรอบวงของ อวัยวะเพศ เพื่อดูการขยายตัวของอวัยวะเพศขณะดูหนังแบบ ต่าง ๆ ปรากฏว่า ชายทีม่ ลี กั ษณะโฮโมโฟเบียจ�ำนวนมาก ทีถ่ กู กระตุ้นเร้าโดยภาพการร่วมเพศแบบชาย-ชาย อย่างไรก็ตาม ชายโฮโมโฟเบียทุกคนกลับรายงานว่า ไม่ได้รสู้ กึ ถูกเร้าจากภาพ ชาย-ชายร่วมเพศกันแต่อย่างใด พวกเขาให้คำ� อธิบายความขัด แย้งดังกล่าวว่า แม้จะรายงานว่าไม่มีความรู้สึกใดเมื่อเห็นภาพ ชายร่วมเพศ แต่พวกเขาไม่สามารถสั่งการการตอบสนองของ ร่างกายได้ นั้นหมายความว่าชายโฮโมโฟเบียเหล่านั้น ถูก กระตุ้นอารมณ์ทางเพศด้วยภาพการร่วมเพศของชาย-ชาย ประเด็นการท�ำร้ายร่างกายกลุม่ LGBTI โดยกลุม่ ต่อต้าน (anti-gay) เป็นพฤติกรรมสืบเนื่องมาจากโรคโฮโมโฟเบีย
ดังทีก่ ล่าวมาเป็นความรุนแรงซึง่ มีมาอย่างยาวนานและต่อเนือ่ ง มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงต่อกลุ่ม LGBTI ทีส่ งั คมได้ตระหนักถึงนัน้ เป็นเพียงเศษเสีย้ วของสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริง ภั ย คุ ก คามนี้ ส ่ ง ผลอย่ า งมากต่อการด�ำรงชีวิต ของคนกลุ่ม LGBTI แม้มกี ฏหมายออกมารองรับและกลุม่ คนจ�ำนวนมากที่ คอยเรียกร้องสิทธิความเสมอภาค ก็ไม่อาจจะหยุดความรุนแรง ทีท่ วีคณ ู ตามวันและเวลาลงได้ การพัฒนาการก้าวหน้าของโลก กลับส่งผลตรงกันข้ามต่อจิตใจของมนุษย์ที่มีแต่เสื่อมถอยลง การแสดงความเกลียดชังทางค�ำพูด (hate speech) ท�ำได้งา่ ย ขึ้นเมื่อผนวกรวมกับการใช้โลกดิจิตัล (cyber bullying) เป็น เครื่องมือส่งต่อและกระตุ้นความเกลียดชังอย่างไร้เหตุผล เหล่านี้ได้อย่างดี เช่นใน รัสเซีย ยูเครน คาซัคสถาน อุซเบกิ สถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถา มีกลุ่มวัยรุ่นจ�ำนวนมาก ที่มีพฤติกรรมต่อต้านคนรักร่วมเพศและนิยมใช้ความรุนแรง กลุ่มวัยรุ่นที่ก่อการดังกล่าว มีแพร่กระจายในโลกออนไลน์ นี้กว่า 500 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่เป็นที่รู้จักกันมากและมีเครื่อข่าย ทั่ ว ประเทศ คื อ กลุ ่ ม Occupy Gerontophillia และ Occupy Kamensky มีรูปแบบการกระท�ำรุนแรงต่อกลุ่ม LGBTI โดยใช้เว็บไซต์วีเคในการค้นหาชายรักชายในบริเวณ ใกล้เคียง เพือ่ ลวงมาพบและถ่ายวิดโี อการท�ำร้ายร่างกาย ข่มขู่ ด้วยอาวุธ บังคับให้ผู้เสียหายดื่มน�้ำปัสสาวะและราดลงบน ศีรษะตัวเอง เพือ่ เป็นการลงโทษต่อความผิดปกติทางจิตใจของ ผู้เสียหายตามที่พวกเขาเชื่อ เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ บ่อยครัง้ ต่อกลุม่ LGBTI มักเกิดจากชายรักต่างเพศทีเ่ ป็นโฮโมโฟเบีย ทัง้ นีเ้ พราะ บางกลุ่มความเชื่อของหลายสถาบันน�ำมาสู่เกิด ‘Stereotypical Gender-role’ ว่าผูช้ ายเป็นสัญลักษณ์ ของความแข็งแรงและเพศชายอยู่เหนือกว่าทุกสิ่ง หรือ ชาย เป็นใหญ่ ความคิดเหล่านั้นล่อหลอมให้เชื่อว่าสิ่งที่ถูกต้องของ ตนเองคือสิ่งที่ถูกปกติเพียงสิ่งเดียวและกลุ่ม LGBTI คือภัย คุกคามความเชื่อของเขา จึงน�ำมาซึ่งปัญหาความรุนแรงและ การลิดรอนสิทธิกลุ่ม LGBTI ซึ่งความรุนแรงเหล่านั้นท้ายสุด แล้วอาจสร้างขึน้ มาเพียงเพือ่ ปกป้องตัวเองจากสิง่ ทีก่ ลัว ทีอ่ าจ ไม่ใช่กลุ่มคน LGBTI แต่เป็นความกลัวที่จะสูญเสียความเป็น ใหญ่ในบทบาทครอบครัวรวมถึงสังคม ดังที่ศาสนาและระบบ สั ง คมดั้ ง เดิ ม เคยเป็ น มา และอี ก เหตุ ผ ลหลั ก คื อ ความ หวาดระแวงกลัวว่าตนจะถูกกระตุ้นทางเพศจากเพศเดียวกัน ก็เป็นได้ ที่มาภาพ : corpsey.trubbleclub.com
MOVIES REVIEW ชนมน ยาหยี
The Case Against
Eight
ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นประเทศมหาอ�ำนาจที่ เรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัว มีรัฐบาลที่ พยายามก�ำหนดนโยบายบริหารประเทศให้ประชาชนทุกคน มีสทิ ธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันบนพืน้ ฐานของมนุษยชน แต่ ก็น่าแปลกใจที่ในการร่างกฎหมายบางฉบับยังค่อนข้างขัด แย้งกับหลักการประชาธิปไตยอยูม่ าก ตัวอย่างหนึง่ ทีเ่ ห็นได้ ชัดคือกฎหมายที่มีชื่อว่า proposition 8 เป็นกฎหมายที่ ก�ำหนดว่าการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องเป็นการ สมรสที่เกิดขึ้นระหว่างหญิงกับชายเท่านั้น ซึ่งข้อกฎหมาย ดังกล่าวได้ท�ำให้เกิดปัญหาการถูกลิดรอนสิทธิของกลุ่ม บุคคลทีม่ คี วามหลากหลายทางเพศ หรือชาว LGBT ซึง่ ท�ำให้ พวกเขาต้องลุกขึ้นสู้และน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
the protestants in front of California court ที่มาภาพ : www.independent.co.uk
ภาพยนตร์เชิงสารคดีเรื่อง The Case Against 8 ที่ สร้างโดย Ben Cotner และ Ryan White ได้น�ำเสนอ กระบวนการการต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องความเสมอ ภาคทางกฎหมายให้คู่สมรสเพศเดียวกันได้รับสิทธิเสรีภาพใน การสมรสตามกฎหมาย โดยเน้นการถ่ายทอดอย่างรวบรัดไป ยังมุมมองของฝ่ายโจทก์และกระบวนการต่อสูใ้ นระยะเวลากว่า สี่ปี แต่สิ่งที่น่าสนใจเห็นจะเป็นการที่ผู้สร้างถือโอกาสให้ ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็น“แคมเปญ” ต่อ “ผู้ชมนอกศาล” เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มุ่งขายฉากเลิฟซีนระหว่างคู่รัก เพศเดียวกันเหมือนงานภาพยนตร์อื่นๆ แต่ถ่ายทอด “ความ จริง” ของคูร่ กั เพศเดียวกันผ่านตัวละครหลักซึง่ เป็นบุคคลจริง 10 I
MARGIN magzine
ได้แก่ นักกฎหมาย Theodore B. “Ted” Olson และ David Boies ที่ร่วมทีมกับ American Foundation for Equal Rights (AFER) ในการยกเลิกบทบัญญัตริ ฐั ธรรมนูญนี้ โดยเลือก คู่รักสองคู่คือ Kristin Perry กับ Sandra Stier และ Jeffrey Zarrillo กับ Paul Katami ภาพยนตร์มีการสอดแทรกค�ำถามให้ผู้ชมได้คิดตาม อยู่ตลอดเวลาว่า คนรักร่วมเพศแต่งงานกันแล้วไม่ดีอย่างไร อย่างเช่นการที่ตัวละครคนหนึ่งแสดงอคติอย่างชัดเจนกับ การแต่งงานของชาวรักร่วมเพศเพียงเพราะสิง่ ทีเ่ ขาได้อา่ นจาก อินเตอร์เน็ต เหตุการณ์นเี้ ป็นการสะท้อนลักษณะของสังคมใน ปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาที่มีการแบ่งชนชั้นเรื่องเพศอีกด้วย
Kris Perry and Sandy Stier get married an hour after legal ruling ที่มาภาพ : www.independent.co.uk
แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถโต้ตอบได้อย่างชาญฉลาดจาก การน�ำเสนอทัง้ ประเด็นการต่อสูท้ างกฎหมายควบคูไ่ ปกับการ ด�ำเนินชีวติ ของชาวรักร่วมเพศทีใ่ ช้ชวี ติ อย่างมีความสุขสลับกับ อารมณ์ขนั ทีว่ างไว้อย่างพอดีให้ภาพยนตร์เรือ่ งนีม้ เี สน่หย์ งิ่ ขึน้ เห็นชัดจากตัวละครคูแ่ รกคือคริสกับแซนดีท้ งั้ สองมีลกู ติดฝ่าย ละสองคน โดยพี่ชายน้องชายทั้งสี่คนต่างปรับตัวเข้าหากันได้ ดี ต่างได้เป็นส่วนหนึง่ ในเหตุการณ์สำ� คัญของชีวติ นัน่ คือได้เข้า พิธจี บการศึกษาระดับมัธยมและเป็นสักขีพยานในการแต่งงาน อย่างถูกต้องตามกฎหมายของผู้ปกครองของตน ส่วนเจฟฟ์ และพอล ภาพยนตร์เลือกน�ำเสนอการยอมรับความสัมพันธ์ ของทั้งคู่จากครอบครัวฝั่งของเจฟฟ์เป็นหลัก เมื่อพ่อแม่ของ เขาปลืม้ และมัน่ ใจในความสุขของลูกชายกับคนรัก กล่าวอีกแง่ ทั้งสองเป็นคู่รักเพศเดียวกันที่ได้รับการสนับสนุนจากคนรอบ ข้างและมีวิถีชีวิตปกติที่ไม่ต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม นอกจากที่แซดดี้และคริสหรือเจฟฟ์และพอลต่างต้อง เป็นตัวแทนของชาวรักร่วมเพศในการต่อสู้กับศัตรูตัวฉกาจ ผู ้ พ รากสิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพของพวกเขาไปนั่ น คื อ กฎหมาย prop8 แล้ว ยังน่าแปลกใจว่าในสหรัฐอเมริกามีคนที่เป็นโรค Homophobia หรือกลุ่มคนเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน อยู่เป็นจ�ำนวนค่อนข้างมาก นี่อาจเป็นงานที่หนักขึ้นส�ำหรับ เขาทั้งสี่คน แน่นอนว่าเครื่องมือชิ้นส�ำคัญในการต่อสู้ก็คือ ความรักอีกเช่นเคยแต่ “ความรัก” เพียงอย่างเดียวอาจไม่ สามารถใช้ขจัด “ความเกลียด” ได้เสมอไป บางทีจงึ จ�ำเป็นต้อง มีการอดทนอดกลั้น ซึ่งเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง ความอดทน อดกลั้ น เองก็ ค วรต้ อ งแปรไปเป็ น ความเข้ า ใจและยอมรั บ มากกว่าจะเป็นการเก็บกดความเกลียดไว้จนปะทุออกมา
ดังนั้นการมี “ดรีมทีม” เป็นที่ปรึกษาด้านการเมือง รวมถึงขบวนการเคลือ่ นไหวส�ำคัญต่างๆทีเ่ คยมีมา และบทบาท ทีโ่ ดดเด่นของเกย์ เลสเบีย้ น ในหลายสาขาอาชีพ มาช่วยแสดง พลังการต่อรอง จูงใจ โน้มน้าวกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและกลุ่มที่ เข้าขัน้ เกลียดชัง และอีกบททดสอบของฝ่ายเรียกร้องสิทธิความ เท่าเทียมทางเพศอีกบทก็อยู่ที่ “ทนายนักชก” ต่างอุดมการณ์ สองคน ได้แก่ Theodore B. “Ted” Olson ผู้อยู่ฝั่งอนุรักษ์ นิ ย มและเป็ น รี พั บ ลิ กั น เคยเป็ น หั ว เรี่ ย วหั ว แรงส� ำ คั ญ ใน การค้านแทนประธานาธิบดีบชุ ในขณะที่ David Boies ทนาย ฝ่ายเสรีนยิ มเดโมแครตและเป็นผูค้ า้ นแทนอัล กอร์ ในคดี Bush v. Gore ซึ่งสีสันของการหันมาจับมือกันเพื่อน�ำทัพต่อสู้เพื่อ ความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในห้วงเวลา ทีบ่ ารัค โอบามา ตัวแทนจากเดโมแครตได้ขนึ้ เป็นผูน้ ำ� ประเทศ จึงเป็นความท้าทายของเหตุการณ์ครั้งนี้ เมือ่ ความพยายามอยูท่ ไี่ หนความส�ำเร็จก็อยูท่ นี่ นั่ ส�ำหรับ คริสและแซนดี้กับเจฟฟ์และพอลก็เช่นเดียวกัน เมื่อการต่อสู้ อันหนักหน่วงล่วงเลยมาได้สี่ปี ชัยชนะก็มาถึง เมื่อศาลตัดสิน อย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2012ให้กฎหมายการ สมรสของเพศเดียวกันเป็นอันผ่าน มากไปกว่านั้นยังส่งผลให้ อีกหลายๆรัฐ ประกาศใช้เช่นเดียวกัน เหตุการณ์จาก The case against 8 นอกเหนือจาก ทีต่ อ้ งการสะท้อนเสียงของชาวรักร่วมเพศท่ามกลางสังคมส่วน ใหญ่ที่ไม่ให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาแล้ว แต่ยังต้องการสื่อ อีกด้วยว่าท�ำไมเราถึงต้องให้ความส�ำคัญกับเรื่องสิทธิการ แต่งงานในชาวรักร่วมเพศ เพราะนัน่ คือ ”การคืนสิทธิความเท่า เทียมในการเป็นมนุษย์ให้กับประชาชน” MAY I 2016
= Gender neutral fashion
12 I
MARGIN magzine
UP TO DATE เกศญา เกตุโกมุท
มีสไตล์แบบไม่จ�ำกัดเพศ กับแฟชั่ นที่ตรงใจ เ มือ่ พูดถึงเครือ่ งแต่งกาย หรือ แนวทาง การแต่งตัวในแต่ละยุคสมัยนับว่ามีความแตก ต่างกันไปตามความนิยมและสถาพสังคมยิง่ ต่างเมืองต่างประเทศก็จะเห็นความแตก ต่างได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งที่ยังคงเหมือน ๆ กันแทบจะทุกที่ในโลกใบนี้นั่นก็คอื ผูช้ ายมัก จะใส่กางเกงส่วนผู้หญิงก็ยังคงใส่กระโปรง หากต้องการแสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง อย่างแท้จริงแต่เมือ่ โลกเปลีย่ นหมุนไปสังคม เริ่ ม มี เ พศทางเลื อ กเกิ ด ขึ้ น แฟชั่ น ก็ ค งไม่ สามารถหยุดนิง่ หรือยึดติดกับค่านิยมเดิม ๆ ได้ จึงเกิดเป็นแฟชั่นที่เรียกว่า Gender neutral fashion หรือ Unisex fashion
สีชมพูไม่ได้เหมาะแต่กับผู้หญิง
ป ัจจุบันแบรนด์เสื้อผ้าจ�ำนวนมากพยายามที่จะปรับ การออกแบบให้สามารถแสดงอัตลักษณ์ของคนสวมใส่ให้ ชั ด เจน คงความโดดเด่ น และท� ำ ให้ ผู ้ บ ริ โ ภคจดจ� ำ สิ น ค้ า บางแบรนด์เน้นความสวยหรูแสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง และผูช้ ายอย่างโดดเด่นแต่เคยสงสัยกันหรือไม่ทำ� ไมแฟชัน่ ต้อง แบ่งหญิง-ชาย ท�ำไมผูช้ ายต้องใส่แต่กางเกงจะแปลกไหม หาก วันหนึ่งผู้ชายหันมาใส่กระโปรง วันนี้เราจะพาไปท�ำความรู้จัก กับแฟชัน่ อีกหนึง่ สไตล์ทเี่ รียกกันว่า gender neutral fashion การสร้างสรรค์เสื้อผ้าที่ไม่แบ่งเพศ ไม่ว่าใครก็สามารถสวมใส่ ได้ ซึ่งกล่าวได้ว่า เสื้อผ้าแนวนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจของ กลุ่มเค วียร์เป็นที่แน่นอน และยังเข้าถึงได้ทุกเพศแบบไม่มีขีดจ�ำกัด
G ender neutral fashion อาจจะเรียกอีกอย่างได้ว่า Unisex fashion ว่าด้วยเรื่องการแต่งกายทีไม่แบ่งแยกความ เป็นชายหรือหญิงซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เห็นกันอยู่หลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแบรด์ชั้นน�ำ หรือตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้าที่เป็น Street Fashion จากประเทศเกาหลีที่ได้รับความนิยมใน กลุ่มวัยรุ่นไทยจ�ำนวนไม่น้อยก็นับเข้าอยู่ในกลุ่มของเสื้อผ้าไม่ แบ่งเพศได้เหมือนกันซึง่ แบรนด์ทไี่ ด้รบั ความนิยมค่อนข้างมาก ในเกาหลีนนั้ ได้แก่ H.V.P.E ทีก่ ำ� ลังได้รบั ความสนใจอย่างมาก จากศิลปินเพลงฮิปฮอปใต้ดินในประเทศเกาหลีรวมทั้งนาย แบบและนางแบบจากค่ายต่างๆก็หันมานิยมใส่เสื้อผ้าจาก แบรนด์นี้กันมากขึ้นด้วย MAY I 2016
"เสื้ อ ผ้ า ที่ ส ามารถใส่ ไ ด้ ทุ ก เพศ ถื อ เป็ น พั ฒ นาการครั้ง ส� ำ คั ญ ของวงการแฟชั่ น" เจสสิกา ลาพิดอส และ ทอม บาร์รันกา ( Jessica Lapidos and Tom Barranca)
น อกจากนัน้ ยังมีเสือ้ ผ้าอีกแนวทีก่ ลายมาเป็นแฟชัน่ ใหม่ ในแวดวงเสื้อผ้า นั่นคือ เสื้อผ้าสไตล์ “Normcore” สไตล์ที่ไม่ สามารถระบุชื่อได้แน่ชดั แต่เป็นการผสมค�ำระหว่าง Normal กับ Hardcore ทีล่ ะม้ายคล้ายคลึงกับสไตล์ Minimal ทีใ่ ช้โทน Basic อย่าง ขาว ด�ำ เทา น�้ำเงินกรมท่า หรือแม้แต่ยีนส์ ไอเท็มที่ใส่นั้นก็เป็นอะไรที่ธรรมดาสามารถใส่ได้ทั้งสองเพศ อย่างเสื้อยืด กางเกงเดนิมยีนส์ เรียกได้ว่า “DressNormal” ก็ถูกจับเข้ามาอยู่ในกลุ่ม unisex ด้วย แต่ที่ยกตัวอย่างมา ข้างต้นก็ยังคงไม่สุดโต่งในเรื่องของการ แต่งกาย เพราะเสื้อผ้า ที่ใส่ได้ทั้งสองเพศทั้ง ยังคงเน้นไปในแนวกางเกง ที่เทน�้ำหนัก ให้ กั บ ผู ้ ช ายอยู ่ ดี แ ต่ เ มื่ อ ลองข้ า มจากฝั ่ ง เอเชี ย ไปยั ง แถบ โซนตะวันตกเมื่อช่วงปีที่แล้ว 2558 เกิดเป็นกระแสฮือฮา ในนิวยอร์กเมื่อ TILLYandWILLIAM แบรนด์ดังจากบรูคลิน นครนิวยอร์ก กลายเป็นแบรนด์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแบรนด์ หนึง่ ในงานนิวยอร์กแฟชัน่ วีคแต่คงคอนเซปการออกแบบเสือ้ ผ้า ด้วยหัวใจหลัก 4 ข้อ คือ สวมใส่ได้ทุกเพศ , ปรับเปลี่ยนได้ตาม ที่ผู้ใส่ต้องการ, ใส่แล้วสบายตัว และสุดท้ายคือ เคลื่อนไหวได้ อย่างเต็มที่ การออกแบบตามหลักดังกล่าว เป็นการออกแบบซึง่ ตอบ โจทย์กบั กลุม่ เควียร์เป็นอย่างมากแนวคิดนีท้ ำ� ให้กลุม่ เควียร์ใน สหรัฐฯหันมาสนใจ TILLYandWILLIAM มากขึ้น และยกให้ เป็นแบรนด์ส�ำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งทาง ผู้ผลิตแบรนด์นี้ ได้แก่ Jessica Lapidos และ Tom Barranca ได้พูดไว้ว่า พวกเขาเพียงต้องการผลิตเสื้อผ้าให้คนทั่วไปสวม ใส่ง่ายโดยไม่ต้องค�ำนึงว่าเป็นเพศอะไร และมองว่า เสื้อผ้าที่ สามารถใส่ได้ทุกเพศ ถือเป็นพัฒนาการครั้งส�ำคัญของวงการ แฟชั่น หยิบมาใส่ได้ทั้งชายและหญิง
14 I
MARGIN magzine
โ ดยปกติแล้วกลุ่มชาวเควียร์มักจะไม่แปะป้ายตัวเองว่า มีความชอบหรือสนใจในรสนิยมทางเพศแบบใดเป็นพิเศษ การที่ แ บรนด์ สั ก แบรนด์ ห นึ่ ง สามารถเข้ า ไปตี ต ลาดกลุ ่ ม ผู้บริโภคเหล่านี้ได้ถือว่าเป็นความส�ำเร็จขั้นหนึ่งของวงการ ธุรกิจแฟชั่นหากให้ลองยกตัวอย่าง ศิลปินดังที่หันมาใส่เสื้อผ้า แบบไม่แคร์เพศ บุคคลหนึ่งในแวดวงบันเทิงเกาหลีที่โด่งดัง อย่าง G-dragon วง Big bang ก็ไม่ได้มีความรู้สึกผิดปกติกับ การใส่เสือ้ ผ้าของผูห้ ญิง ถ้ารูส้ กึ ว่าใส่แล้วมันออกมาดูดี นัน่ คือ สิ่งที่ G-Dragon ต้องการซึ่งมีหลายครั้งที่เขาหยิบเอาเสื้อผ้า ผูห้ ญิงมามิกซ์แอนด์แมชให้ออกมาเป็นสไตล์เฉพาะของตนเอง ซึ่งมักเห็นได้ตามการแสดงคอนเสิร์ต หรือ แฟชั่นสนามบิน ที่เขามักจะมาพร้อมกับแฟชั่นที่ไม่คาดคิดโดยเขานั้นก็ไม่มี รสนิยม หรือ เป็นชาวเควียร์แต่อย่างใด อย่างนัน้ แล้วอย่าให้คำ� ว่าเพศมาขีดขวาง สไตล์ในตัวคุณ แค่กล้าท�ำตามใจ ใส่เสื้อผ้าแบบไหนก็ไม่มีผิดถูก
ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ใส่ได้ทั้งสองเพศ
MAY I 2016
ที่มาภาพ : www.daily.bangkokbiznews.com
ม.อ.ปั ตตานีจุดแสงแรก
เปิ ดโอกาส ‘คนชายขอบ’คว้าปริญญา “เป็นเรื่องยากที่จะให้เด็ก ไร้สัญชาติเหล่านี้ เข้าถึง การศึกษาด้วยตัวเอง โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาที่ต้อง ใช้ ห ลั ก ฐานแสดงการมี สั ญ ชาติ ซึ่ ง นั บ เป็ น การปิ ด กั้ น โอกาสทางการศึกษาของเด็ก” สุรพงษ์ กองจันทึก ผู้ก่อตั้ง “ศู น ย์ ศึ ก ษากะเหรี่ ย งและพั ฒ นา” และประธานคณะ อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผูไ้ ร้สญ ั ชาติ แรงงาน ข้ามชาติ และผูพ้ ลัดถิน่ สภาทนายความ ได้สะท้อน ข้อจ�ำกัด ทางการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ ที่ยังด�ำรงอยู่แม้จะมีมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดทางมาแล้วนับ 10 ปีก็ตาม เขาบอกว่า นับตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.2548 ครม. มีมติให้ ความเห็นชอบระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วย หลักฐาน ในการรับนักเรียน เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยให้เด็กที่ไม่มี หลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือเด็ก ไร้สัญชาติได้มีโอกาส ทางการศึกษา รวมทั้งให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนเป็นค่าใช้ จ่ายรายหัว แต่มีสิทธิในการศึกษาถึงแค่ระดับ ชั้นมัธยมศึกษา เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า เมื่อนักเรียนกลุ่มนี้ศึกษาจบชั้น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 แล้ ว ก็ จ ะไม่ ส ามารถเรี ย นต่ อ ในระดั บ อุดมศึกษาได้ และทุกวันนี้ก็ยังมีเด็กไร้สัญชาติที่ยังขาดโอกาส ทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป อีกนับแสนคน แต่ทว่าโอกาสทางการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติในระดับ อุดมศึกษาก็ไม่ได้มืดมน ไปเสียทั้งหมด เพราะมหาวิทยาลัย สงขลา- นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หรือ ม.อ. ปัตตานีได้จุด เทียนส่องแสงน�ำทางขึ้นอีกครั้ง โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บณ ั ฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ซึง่ เป็น หลักสูตรพิเศษ 16 I
MARGIN magzine
ส�ำหรับเด็กไร้สัญชาติ พรปวีณ์ ศรีงาม รองคณบดีฝ่าย วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บอกว่า หลักสูตรพิเศษจะ เปิดรับกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ บุตรแรงงาน ต่างด้าว และทายาทศิลปินพื้นบ้านในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มคน เหล่านี้จัดว่าเป็นคน “ชายขอบ” ที่สังคมไม่ให้ความส�ำคัญ “หลักสูตรพิเศษที่จัดขึ้นจึงถือเป็น ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ มี ก ารเปิ ด ให้ ก ลุ ่ ม นั ก เรี ย นเหล่ า นี้ ไ ด้ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ อุดมศึกษา” อาจารย์พรปวีณ์ บอกด้วยว่า หลักสูตรนี้ จะเน้นการเรียน เฉพาะทางเกี่ยวกับความเป็นมา ของตนเองโดยตรง พร้อมทั้ง การแลกเปลี่ยนความหลากหลายของวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่ ความรู ้ ข องพวกเขาให้ กั บ เพื่ อ นกลุ ่ ม อื่ น ๆ ด้ ว ย ส� ำ หรั บ คุณสมบัติผู้ที่เข้ามาเรียนหลักสูตรนี้จะต้องมีวุฒิการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในประเทศไทยเท่านั้น เพื่อ เป็นการการันตีวา่ ผูส้ มัครมีประสบการณ์พนื้ ฐานทางการศึกษา การเปิดโอกาสการศึกษาให้เด็ก ไร้สัญชาติของม.อ. ปัตตานีในครั้งนี้ นายสุรพงษ์ มองว่า เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วย ปิดช่องโหว่ทางการศึกษาให้แก่เด็กด้อยโอกาสในประเทศไทย แม้จะเปิดรับในจ�ำนวนจ�ำกัดแต่เปรียบเหมือนประตูเบิกทางให้ สังคมไทยเริ่มยอมรับ และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ท่ัวถึง โดยไม่น�ำเรื่องสัญชาติมาเป็นข้อจ�ำกัดอีกต่อไป หลักสูตรนี้นับ เป็นความก้าวหน้าครั้งส�ำคัญของการศึกษาไทยอีกครั้ง ‘เป็นประตูเบิกทางให้สังคมไทยยอมรับและเพิ่มโอกาส ทางการศึกษาโดยไม่น�ำสัญชาติมาเป็นข้อจ�ำกัด’
ขอ (ไม่) จ�ำกัดไว้เพียง
“นาย” และ “นางสาว ” โดย ธนภรณ์ สาลีผล
นาย หรือ นางสาว? ค�ำถามที่คนหลากหลายทาง เพศไม่อยากตอบ “กว่าจะเป็นแบบนี้ได้คือพูดได้เลยว่าใช้ชีวิตแลกมา ถ้าจะให้ไปท�ำตัวเป็นผูห้ ญิง เงินเท่าไหร่กซ็ อื้ เราไม่ได้” นีค่ อื ค�ำพูดอันหนักแน่นของ ก้าวหน้า เสาวกุล หรือ โตโต้ ประธานร่วมสมาคมอิลก้า เอเชีย และ คณะกรรมการ สมาคมอิลก้า (International Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Intersex Association - ILGA) ซึ่งนิยามตนเอง เป็นผู้ชายข้ามเพศ เพราะมีความต้องการจะแปลงเพศ เป็นผู้ชาย และอยู่ในขั้นตอน ของการใช้ฮอร์โมนเพื่อเข้าสู่ ขั้นตอนของแปลงเพศจากหญิงเป็นชายต่อไป แต่กว่าจะมาท�ำงานกับอิลก้าอย่างทุกวันนีไ้ ด้ เขาต้อง เผชิญกับความยากล�ำบากในการหางาน แรงกดดันจาก ครอบครัว และเพื่อนสมัยมหาวิทยาลัยอย่างหนักจนเป็น โรคซึมเศร้า ต้องเข้าออกโรงพยาบาลและพบจิตแพทย์เป็น เวลานานหลายปี โตโต้เล่าว่าเขาเคยโดนปฏิเสธหลังสัมภาษณ์งานเป็น สิบๆครั้ง “พอเห็นเราแล้ว เขาก็ขอดูบัตรประชาชน และ บอกว่าวันมาสัมภาษณ์ใส่กระโปรงมาได้ไหม... เคยไปสมัคร งานธนาคารใหญ่ แ ห่ ง หนึ่ ง เขาก็ ถ ามว่ า คุ ณ จะไปเป็ น ที่ปรึกษาการลงทุน จะมีบุคลิกแบบนี้ได้อย่างไร” ซึ่งแสดง
ให้ เ ห็ น ว่ า เขาถู ก กี ด กั น จากที่ ท� ำ งาน ไม่ ใ ช่ เ พราะไม่ มี คุณสมบัติเพียงพอ แต่เพราะการแสดงออกทางเพศ “..เรี ย นก็ เ รี ย นโรงเรี ย นเตรี ย มอุ ด มฯ จบก็ จ บ ธรรมศาสตร์ ชีวิตควรจะไปได้ดีในทางที่คนทั่วไปเป็น เข้า บริษัท ท�ำงานไป มีครอบครัว ถ้าเราเป็นผู้หญิงก็เลี้ยงลูก เลี้ยงผัวอะไรไป แต่ขณะที่เราเป็นแบบนี้ มันเหมือนมืดแปด ด้าน ไม่รู้จะไปทางไหน” โตโต้กล่าว การสมัครงานเป็นหนึง่ ในหลายปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ต่อกลุม่ คนกลุ่มนี้ เมื่อภาพที่คนทั่วไปเห็นไม่ตรงกับค�ำน�ำหน้าบน เอกสารทางราชการว่า “นาย” และ “นางสาว” ศุภพร วาจาสัตย์ หรือ พีช ผู้หญิงข้ามเพศที่ผ่าน การแปลงเพศจากชายเป็นหญิงแล้วเล่าว่า “ตอนนัน้ ไปทัวร์ ต่ า งประเทศ พอไปถึ ง ตม. หน้ า ตาเราเป็ น ผู ้ ห ญิ ง แต่ พาสปอร์ตเราเป็น Mr. เขาไม่เชือ่ ว่าเราเป็นตัวเราจริงๆ ต้อง เรียกเราไปห้องตรวจสอบ และสอบสวนว่าท�ำอะไรมาบ้าง” นอกจากอุปสรรคในการเดินทางไปต่างประเทศแล้ว คนข้ามเพศยังต้องเจอปัญหาในการพบแพทย์, การระบุตัว ในสถานศึกษา และการสวมเครื่องแบบ แต่สิ่งที่ท�ำให้ผู้มี ความหลากหลายทางเพศอึดอัดใจมากที่สุดคือความรู้สึก กระอักกระอ่วนใจทุกครั้งที่ต้องแสดงค�ำน�ำหน้าตามเพศ ก�ำเนิด MAY I 2016
“เวลาเขียนชือ่ ในห้องเรียนหรือเมือ่ อาจารย์เช็คชือ่ เราไม่อยากถูกเรียก ว่านางสาว ถ้าเลือกได้กไ็ ม่อยากให้มใี ครมาเรียกนางสาว ทุกวันนีเ้ ลยพยายาม ไม่เขียนค�ำน�ำหน้า” กัลยารวิศ พูลสวัสดิ์ หรือ ยูยู่ หญิงรักหญิงทีม่ บี คุ ลิกแบบ ชายกล่าว เขารู้สึกว่าการต้องใช้ค�ำน�ำ ‘นางสาว’ คล้ายกับเป็นตัวบีบบังคับ และตอกย�้ำความรู้สึกว่าจ�ำเป็นต้องท�ำตัวให้เป็น ‘สาว’ หรือเป็นผู้หญิง ความพยายามในอดีต เมื่อปีพ.ศ. 2550 เคยมีความพยายามแก้ไขกฏหมายให้คนข้ามเพศ สามารถเปลี่ยนแปลงค�ำน�ำหน้านามได้ โดยมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ค�ำน�ำหน้านามบุคคล[1] (พ.ศ. ...) โดยนางจุรี วิจิตรวาทการ ในที่ประชุม สภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ แต่สดุ ท้ายถูกอภิปรายต่อต้านอย่างหนักและตัดทอน เหลือเพียงพระราชบัญญัติค�ำน�ำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551[2] เนื่องจากมี ข้อกังวลว่าจะมีการใช้ชอ่ งว่างทางกฏหมายในทางทุจริต เช่น ก่ออาชญากรรม แล้วไปเปลีย่ นแปลงเพศ เปลีย่ นค�ำน�ำหน้า และการหลบหนีการเกณฑ์ทหาร แต่อย่างไรก็ตาม โตโต้เห็นว่าร่างพรบ.เมื่อพ.ศ. 2550 ยังคงมีช่องโหว่ อยู่มาก เพราะจะท�ำให้เกิดการกดทับทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการแปลงเพศ มีคา่ ใช้จา่ ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิง่ การแปลงเพศจากหญิงเป็นชายซึง่ มีคา่ ใช้จา่ ยเกือบหนึง่ ล้านบาท ส่งผลให้คนทีจ่ ะสามารถเปลีย่ นค�ำน�ำหน้านาม ได้ก็คือคนมีฐานะเท่านั้น กลายเป็นว่ากฏหมายจะออกมาเพื่อให้อภิสิทธิ์กับ คนบางกลุม่ เท่านัน้ “กะเทยชัน้ แรงงาน หรือคนรากหญ้า ทีเ่ รามองไม่เห็นว่า เขามีตวั ตนอยู่ และพวกเขาเข้าไม่ถงึ ข้อมูลทางการแพทย์หรือ ข่าวสารต่างๆ ก็จะไม่สามารถได้รับสิทธินี้เลย” โตโต้กล่าว ความก้าวหน้าของค�ำน�ำหน้าคนเพศก�ำกวม (Intersex) อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการอนุญาตให้คนเพศ ก�ำกวม (Intersex) สามารถเปลี่ยนค�ำน�ำหน้าของตนเองได้ โดยต้องมี การผ่าตัดอวัยวะเพศออก เพื่อเลือกเพศใดเพศหนึ่ง เช่น ในกรณีของ น.ส.กฤตภัค ดวงไชย หรือ วิว ได้ยื่นค�ำร้องขอเปลี่ยนค�ำน�ำหน้านามจาก “นางสาว” เป็น “นาย” หรือ กรณีของ นายสิริลดา โคตรพัฒน์ หรือ ดา สามารถขอเปลีย่ นค�ำน�ำหน้าชือ่ จาก “นาย” เป็น “นางสาว” ได้สำ� เร็จ เพราะ มีอวัยวะสืบพันธุ์ก�ำกวม แต่ถูกเลือกให้เป็นชายตามความต้องการของพ่อ ซึ่งดาได้เข้ารับการผ่าตัดตกแต่งอวัยวะเพศแล้วเช่นกัน แต่ถึงแม้รัฐจะรับรองบุคคลเพศก�ำกวม แต่ฐานคิดในการแก้ไขค�ำน�ำ หน้าก็ยังอยู่บนแนวคิดการแบ่งเพศสองขั้ว คือแบ่งเป็นเพศหญิง (นางสาว) และเพศชาย (นาย) เท่านั้น โดยยังใช้ลักษณะทางกายภาพเป็นตัวก�ำหนด ค�ำน�ำหน้าของบุคคล ในขณะที่ประเทศมัลต้ามีการออกกฏหมายให้คนเพศ ก�ำกวม สามารถใช้เพศ Intersex ได้เลย โดยไม่จ�ำเป็นจะต้องท�ำการตกแต่ง อวัยวะเพศหรือเลือกเพศใดเพศหนึ่ง 18 I
MARGIN magzine
[1] มาตรา 7 ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิง โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการทางแพทย์ และมีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะใช้คำ�นำ�หน้านามตาม มาตรา 4 ก็ได้ (หญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และ ยังไม่ได้สมรสให้ใช้คำ�นำ�หน้านางว่า นางสาว) มาตรา 8 หญิงที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นชาย โดย ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการทางแพทย์ และ มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะใช้คำ�นำ�หน้าว่า “นาย” ก็ได้ [2] อนุญาตให้หญิงที่สมรสแล้วสามารถเลือกใช้ นางสาว และเปลี่ยนจาก นาง เป็น นางสาว หลัง จากจดทะเบียนหย่าแล้วได้
ทลายกรอบกฏหมายสองเพศ อาร์เจนตินา่ คือประเทศต้นแบบของกฏหมายรับรอง ความหลากหลายทางเพศที่สามารถทลายก�ำแพงเพศสอง ขั้วลงได้อย่างราบคาบ โดยใช้หลักการสิทธิในการก�ำหนด ตัวตนของตนเอง (rights to self-determination) อนุญาต ให้ประชากรสามารถเปลี่ยนเพศและค�ำน�ำหน้าได้ โดยไม่ ต้องได้รบั การอนุมตั จิ ากแพทย์หรือผูพ้ พิ ากษา เท่ากับว่าไม่ ว่าจะเกิดมาเป็นเพศอะไร จะแปลงเพศแล้วหรือไม่แปลง ก็ สามารถเปลีย่ นเพศ เลือกค�ำน�ำหน้า หรือจะไม่ระบุเลยก็ได้ ทางเลือกกฏหมายแบบนี้ตรงกับความคิดของ ยูยู่ที่ ว่าเขาอยากเลือกใช้คำ� น�ำหน้า “นาย” ทัง้ ทีไ่ ม่ได้อยากแปลง เพศเป็นผูช้ าย และอยากให้กฏหมายเปิดพืน้ ทีใ่ ห้กบั คนทีไ่ ม่ ได้แปลงเพศ แต่อยากเปลี่ยนค�ำน�ำหน้าด้วย ไม่ใช่จ�ำกัดแค่ นาย นางสาว หรือแค่เพศชาย เพศหญิง ขณะที่ โ ตโต้ ก็ คิ ด ว่ า ควรให้ มี ตั ว เลื อ กระบุ เ พศ x ส�ำหรับที่ไม่อยากบอกเพศด้วย ดังตัวอย่างจากประเทศ ออสเตรเลีย และเยอรมันนี “เราไม่ได้คิดไปไกลเกินกว่า สังคมจะรับได้นะ แต่ว่าสังคมเองจะต้อง เรียนรู้รับความ เปลีย่ นแแปลง จริงๆแล้วสภาพแบบนีม้ นั มีอยูใ่ นสังคม เพียง แต่ว่าคุณไม่เคยตระหนัก ... เราควรมีพื้นที่ให้ทุกคน คนที่ สบายใจกับการอยู่ในกรอบ (กรอบเพศแบ่งชายหญิง) ก็อยู่
ไป คนอยากออกก็ควรจะมีทางเลือกที่จะเลือก” กระแสสังคมไทยส่วนมากต่อต้านการเรียกร้องการ เปลี่ยนค�ำน�ำหน้านาม เพราะเห็นว่าจะเป็นการท�ำให้เกิด ความสับสนและไม่ยุติธรรมกับคนที่มีเพศวิถีตรงกับเพศ ก�ำเนิด แต่พชี มองว่าคนในสังคมไม่ควรใช้ตนเองเป็นเครือ่ ง ตัดสินหรือคิดแทนคนที่มีความหลากหลายทางเพศ “คน ชอบพูดว่า เราชอบมาเรียกร้อง อะไรมากมาย แต่เขาไม่ เข้าใจหรอกว่ากว่าเราจะผ่านจุดทีข่ า้ มเพศมาอย่างนีไ้ ด้ เรา ล�ำบากแค่ไหน ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง ตอนนี้เราไม่ใช่ ผู้ชายแล้ว เราไม่สามารถท�ำให้ผู้หญิงท้อง ดังนั้นกฏหมาย จึงคุ้มครองสิทธิเราและรับรองเราในฐานะผู้หญิง” ในที่สุดแล้วความหลากหลายแตกต่างล้วนมีอยู่ใน สังคมทุกสังคม เสียงของพีช โตโต้ และยูยู่ ได้แสดงให้เห็น แล้วว่าคนในสังคมทุกคนไม่ได้มคี วามต้องการแบบเดียวกัน หมด เพศไม่ได้ถกู แบ่งตามลักษณะทางกายภาพเพียงอย่าง เดียว ดังนั้นเวลาออกกฏหมาย รัฐจึงไม่สามารถขีดเส้น นิยามชีวติ ทุกคนได้วา่ คุณต้องมีอวัยวะเพศแบบใดจึงจะถูก เรียกว่าอะไร แต่รัฐต้องเปิดกว้างและเคารพในความเป็น มนุษย์ของคนในสังคม เพื่อให้คนที่มีความหลากหลาย สามารถยืนได้อย่างเต็มภาคภูมิ MAY I 2016
ACTIVITIES AND นิ ท ร ร ศ ก า ร ภ า พ ถ่ า ย ผู ้ ลี้ ภั ย แ ล ะ ผู ้ อ พ ย พ ภาพเรือที่ทรุ ดโทรมในทะเลอันดามันเต็มเตือน ให้โลกรู ้ว่า วิกฤตผู ้อพยพและผู ้ลี้ภัยไม่ได้มี แค่ ใ นทวี ป ยุ โรปส� ำ นั ก ข่ า วเอเอฟพี จั ด ร� ำ ลึ ก ถึ ง การรายงานสถานการณ์ ผู้ ลี้ ภั ย และผู ้ อ พยพที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั้ งในยุ โ รปและเอเชี ย ช่ างภาพเอเอฟพีได้บันทึกภาพความทุกข์ ทรมานและชะตากรรมของเหล่ า ครอบครั ว ที่แสวงหาชี วิตที่ ดีกว่า วันที่ : 3 - 29 พฤษภาคม 2559 เวลา : 10.00 - 21.00 น. สถานที่ : หอศิ ล ปวั ฒ นธรรมแห่ ง กรุ งเทพมหานคร ชุ ม ช น แ ห่ ง ก า ร ฟั ง ในสังคมที่เร่งรีบบีบคัน้ ความเร็วและการแข่งขัน ท�ำให้ พื้นที่การฟั งในชี วิตนัน้ เลือนหายไป มีแต่คนอยาก พู ด ไม่มใี ครฟั งใคร ท�ำให้ความเข้าใจผิดเล็กน้อย เกิดเป็นความขัดแย้งและเพิกเฉยต่อกัน เมื่อการ สื่อสารเป็นเรื่องยาก กิจกรรมดังกล่าวจะช่ วย ให้เกิดการฟั งอย่างใส่ใจ ไม่ด่วนตัดสิน ก่อ ก� ำ เนิ ด มิ ต รภาพใหม่ ๆ และสร้ า งสั ง คมแห่ ง สันติสุข วันที่ : ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา : 9.00 - 12.30 น. จ�ำกัดรอบละ 50 ท่าน สถานที่ : Thinktank ถ.นางลิ้นจี่ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
พ ม่ า ร ะ ย ะ ป ร ะ ชิ ด
ตีแผ่เรื่องราวของชาวพม่าในประเทศไทย ตั้งแต่ ความเป็นอยู ่ ที่มาที่ไป รวมถึงจุ ดเริ่มต้นการออก เดิ น ทางตลอดจนกลยุ ทธ์ ก ารด� ำ เนิ น ชี วิ ตใน ประเทศไทย และสะท้ อ นประสบการณ์ ก าร ท�ำงาน การวางแผนชี วิต และน�ำเสนอแง่มุม ทางวัฒนธรรมที่ทั้งสองชาติมีรากฐานร่วม กัน โดยมุ ่งเน้นให้คนไทยได้รู้จัก “เพื่อนบ้าน” ในมุ ม มองใหม่ ๆ และเปิ ดใจยอมรั บ ความ หลากหลายในสังคม วันที่ : 15 มีนาคม - 31 กรกฎาคม 2559 เวลา : เ0.00 - 18.00 น. สถานที่ : มิวเซี ยมสยาม เข้าชมฟรี!! 20 I
MARGIN magzine
Subscription Form ใบสมัครสมาชิกนิตยสาร MARGIN
ชื่ อ - สกุล ........................................................................................................ ว/ด/ป เกิด ........................................................................................................ เบอร์โทรศัพท์ ........................................................................................................ อีเมลล์ ........................................................................................................ ที่อยู ่ส�ำหรับจัดส่ง ........................................................................................................
สมาชิ กครึ่งปี 6 ฉบับ 500 บาท สมาชิ กหนึ่งปี 12 ฉบับ 800 บาท สมาชิ กอุ ปถัมป์ 1 ปี ให้กับห้องสมุ ด............................................ ที่อยู ่ .......................................................................... เริ่มต้นตัง้ แต่ฉบับที่ ..........................................................................
วิิธีชำ�ระค่าสมัครสมาชิก/สั่งซื้อนิตยสารย้อนหลัง ธนาณัติส่ังจ่าย ในนาม นางสาวมันตา อ�ำนวยเวโรจน์ โอนเงินเข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาชาบางรัก ชื่ อบัญชี นางสาวมันตา อ�ำนวยเวโรจน์ เลขที่บัญชี 3332-4535-672
ส่งใบสมัครสมาชิ กพร้อมหลักฐานการช� ำระเงินไปที่ นิตยสาร MARGIN บริษัท มาร์จิ้น จ�ำกัด แขวงห้วยขวาง เขตสามเสนนอก กรุ งเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 089-3443-3344 อีเมลล์ margin.m@gmail.com
Subscribe us ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่
MARGIN
ถุงผ้า ฟรี! สำ�หรับสมาชิกและผู้อุปถัมภ์
Margin Magzine @MarginMagzine @MarginMagzine
MAY I 2016
ACTIVISTS : นักต่อสู้เพื่อสังคม เราคงเคยได้ยินกันหนาหูเกี่ยวกับชื่อนักเรียกร้องสิทธิจากองค์กรต่างๆ เช่น องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ (Green peace),องค์กรเพือ่ สิทธิมนุษยชน (Human rights),องค์กรคุม้ ครองสัตว์และองค์กรเพือ่ สิทธิดา้ นอืน่ อีกมากมาย แต่คำ� ถามทีนา่ สนใจคือนักเรียกร้องเหล่านัน้ คือใคร? ดังนัน้ เราจึงต้องท�ำความเข้าใจค�ำจ�ำกัดความของนักเรียกร้องหรือ activistก่อน “นักเรียก ร้อง”ถูกจ�ำกัดความว่าเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในข้อก�ำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งกฏเกณฑ์หรือข้อก�ำหนดนั้นอาจ
อาร์เธอ โรเบิร์ต แอช จูเนียร์ Arthur Robert Ashe Jr. (1943- 1993) นั ก กี ฬ าเทนนิ ส และนั ก กิ จ กรรม อาร์เทอร์ เป็นนักกีฬาสัญชาติแอฟริกันอเมริกันคนแรกทีได้ชัยไชนะรอบชาย เดี่ยวที่วิมเบอร์ดันประเทศอังกฤษแต่ แล้วในปี 1979 อาร์เทอร์ต้องออกจาก วงการเทนนิ ส หลั ง จากที่ เ ขาทนทุ ก ข์ ทรมานกับโรคหัวใจอยู่เป็นเวลาหลายปี ที่ร้ายไปกว่านั้นแพทย์พบว่าเขาได้รับ เชื้อเอชไอวีในขณะที่ท�ำการถ่ายเลือด จากการผ่านตัดหัวใจครั้งที่สอง จึงเป็น เหตุให้เขาได้รณรงค์สร้างความตระหนัก ต่อเรื่อง HIV/AIDS ก่อนที่เขาจะต้อง จ�ำนนต่อมันในบั้นปลายชีวิต นอกจานี้ อาร์ เ ทอร์ ยั ง เป็ น นั ก เรี ย กร้ อ งคนดั ง ที่ต่อต้านนโยบายการแบ่งแยกสีผิวใน แอฟริกาใต้อกี ด้วยและในเวลาต่อมาเขา ถูกจัดให้เป็นชายชาวอเมริกันผิวสีคนที่ หนึ่งของโลกอีกด้วย
วังการี มาไท Wangari Maathai (1940) ศาสตราจารย์ ดร.วังการี มาไท “นักต่อสูส้ ตรีชาวเคนยา” ถือเป็นผูห้ ญิง คนแรกของทวีปแอฟริกาที่ได้รับรางวัล โนเบล สาขาสันติภาพ รวมถึงเป็นหญิง แอฟริ กั น คนแรกที่ ไ ด้ รั บ ดี ก รี ร ะดั บ ด็อกเตอร์ ด้วยผลงานทีโ่ ดดเด่น มาไทได้ ริเริ่มจัดตั้งกลุ่ม “Green Belt Movement” (ขบวนการแนวร่วมสีเขียว) จาก การก่อตั้งองค์กรระดับรากหญ้าร่วมกัน รณรงค์ทางด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ด้ ว ยการปลู ก ต้ น ไม้ ใ นแอฟริ ก า เธอ ตระหนักว่านอกจากต้นไม้จะสร้างสภาพ แวดล้อมทีด่ ใี ห้กบั ชาวแอฟริกา ต้นไม้จะ ท�ำให้พวกเขามีอาหารกิน คณะกรรมการ พิจารณารางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2004 เห็นควรมอบรางวัลให้แก่ เธอด้วย เหตุผล “ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบองค์ รวมเพือ่ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ซึง่ ครอบคลุมไปถึงการปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย ค�ำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และสิทธิสตรีชาวแอฟริกัน”
เลเวิร์น คอกซ์ Laverne Cox (1984) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม โซเฟีย เบอเซท ในซีรีส์สัญชาติอเมริกันที่ก�ำลัง เป็นที่นิยม เรื่อง Orange is the New Black เลเวิร์น คอกซ์ ผู้หญิงข้ามเพศผิว สีทไี่ ด้เป็นนักแสดงน�ำในช่องกระแสหลัก และเป็ น คนแรกที่ ไ ด้ ขึ้ น ปกนิ ต ยสาร Time นอกจากความสามารถและความ สวยของเธอแล้ง เธอยังเป็นนักกิจกรรม สังคมตัวยง เธอจัดท�ำสารคดีที่มีชื่อว่า Fee CeCe ผู้หญิงข้ามเพศผิวสีผู้ซึ่งถูก พิพากษาจ�ำคุกเป็นเวลา 41 เดือน หลัง จากที่ เ ธอโดนรุ ม ท� ำ ร้ า ยเนื่ อ งมาจาก ความเกลียดกลัวในสีผวิ และเพศของเธอ หลังจากนั้น เลเวิร์นจึงออกมาพูดและ เขียนถึงประเด็นเกีย่ วกับความเท่าเทียม ทางเพศของผู ้ ห ญิ ง ข้ า มเพศและการ ออกตัวตนทางเพศ
แฝงอยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวันของเราในหลายรูปแบบ ทว่าเรือ่ งราวการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิดา้ นต่างๆนัน้ อาจไม่ใช่เรือ่ งใหม่เพราะ มันได้เกิดขึ้นมานานหลายปีแล้วจนถึงปัจจุบัน บุคคลเหล่านี้ อาจเริมต้นจากสิ่งเล็กๆ จนไปถึงรางวัลระดับโลก ทุกคนแตกต่าง ความคิด แตกต่างสัญชาติ อาขีพ และอายุ อย่างไรก็ตามจุดเชื่อมโยงเหล่านั้น คือความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกให้เป็นที่ที่ดี ขึ้น คนล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ และจุดประกายให้ผู้คนที่ได้ติดตามลุกขึ้นมาสู้ไปพร้อม ๆ กับพวกเขา
เจน เคคอบส์ Jane Jacobs (1916 – 2006) เจน เจคอบส์ อดีตนักข่าวจากรัฐ เพนซิลเวเนียและยังเป็นนักเขียนอิสระ ที่ได้สร้างผลงานหนังสือชิ้นส�ำคัญไว้อีก ด้วยอย่างเช่น “The Death of Life of American cities” ที่ เ กี่ ย วกั บ การ รณรงค์ตอ่ สูเ้ พือ่ พัฒนาชุมชนชนบททีถ่ กู ตีพิมพ์ในปี 1961 ในหนังสือเธอได้เขียน เกี่ ย วกั บ วิ ถี ช นบทที่ ก� ำ ลั ง จะหายไป เพราะความทันสมัยที่จะเข้ามาในพื้นที่ ทั้งนี้เธอยังยกตัวอย่างชุมชนที่แข็งแรง เอาไว้ในหนังสือด้วย นั่นก็คือหมู่บ้าน New York Greenwich ผลงานชิ้น สุ ด ท้ า ยของเธอชื่ อ ว่ า “Dark Age Ahead (2004)” ที่เจนได้แสดงออก อย่างชัดเจนเกี่ยวกับความกังวลเรื่อง การย่อยสลายของวัฒนธรรม นอกเหนือ จากงานเขียนแล้วเจนก็ยังรณรงค์เรื่อง การรักษาชุมชนที่ส�ำคัญไว้อีกหลายแห่ง
คริสโตเฟอร์ แอนโทนี จอห์น มาร์ติน Christopher Anthony John Martin (1977) นักเปียโน มือกีต้าร์ นักร้อง และ นักกิจกรรม หรือ คริส มาร์ติน เกิดวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1977 เป็นนักร้องนักแต่ง เพลงชาวอังกฤษ และมีฐานะเป็นนักร้อง น�ำแห่งวงโคลด์เพลย์ วงอัลเทอร์เนทีฟร็ อ กจากประเทศอั ง กฤษนั ก ร้ อ งน� ำ วงนอกจากการท�ำอัลบั้มเพลงที่เป็นที่ โด่ ง ดั ง มาร์ ติ น ยั ง เป็ น ผู ้ ที่ ส นใจกั บ ประเด็ น ทางสั ง คมอย่ า งชั ด เจน เขา รณรงค์การส่งเสริมการค้าแบบยุติธรรม ในเฮติ รวมถึงสาธารณรัฐโดมินิกัน และ ให้เงินสนับสนุนกับองค์กรการกุศลเพื่อ ช่วยเหลือชาวซูดานในค่ายลีภ้ ยั ทีด่ าร์ฟรู ์ อีกด้วย
เอ็มมา วัตสัน Emma Watson (1991) นักแสดงและทูตสันถวไมตรีเพื่อ สตรี แ ห่ ง สหประชาชาติ นอกจากจะ เป็นนักแสดงชื่อดังจากภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในบทเฮอร์ไมโอนี่แล้ว เอ็มมาก็ยังมีบทบาทในการท�ำงานเกี่ยว กับสิทธิสตรีอกี ด้วย เธอสนับสนุนแนวคิด เพื่อสิทธิสตรีแต่ก็ได้ย�้ำตลอดว่าแนวคิด นี้เป็น คนละเรื่องกับการเกลียดผู้ชาย เพราะสิทธิสตรี ก็คอื ความเชือ่ ทีว่ า่ ผูห้ ญิง และผู้ชายควรจะมีทั้งสิทธิและโอกาสที่ เท่าเทียมกัน เป็นทฤษฎีเพื่อความเท่า เทียมทัง้ ทางการเมือง,เศรษฐศาสตร์และ ทางสังคมผลงานที่น่าสนใจของเอ็มมา อย่างเช่น โครงการ “ฮี ฟอร์ ชี” ที่เธอ ก่อตั้งขึ้นในฐานะทูตสันถวไมตรีด้านผู้ หญิ ง ของยู เ อ็ น โดยโครงการนี้ มี วัตถุประสงค์ในการดึงผู้ชายให้เข้ามา ร่วมต่อสูเ้ รือ่ งความเท่าเทียมกันทางเพศ ให้มากขึ้น นอกจากนี้ สาวเอ็มมายังตั้ง กลุ่มอ่านหนังสือเฟมินิสต์ที่ชื่อว่า “Our Shared Shelf” ทางทวิตเตอร์อีกด้วย
นักเรียกร้องคนไหน ที่เป็นแรงผลักดันหรือแรงบันดาลใจ ที่ทำ�ให้คุณลุกขึ้นมาทำ�หรือเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อสังคม เขียนชื่อนักเรียกร้องคนนั้นและเหตุผลสั้นๆ พร้อมติดแฮชแทกและชื่อActivist_MARGINmagazine ร่วมสนุกชิงรางวัล กระเป๋าผ้าMARGIN จำ�นวน 3 ใบ ประกาศผลรางวัล ทางหน้าเฟซบุคMARGINmagazine ประจำ�วันที่ 1 เดือน มิถุนายน 2559
MAY I 2016
INTERVIEW สัมภาษณ์
‘บิ๊ก’
กฤชณัท วิริยถิรธนา
ความสามารถระดับบิ๊ก ไร้เพศจำ�กัด
บิก๊ กฤชณัท วิรยิ ถิรธนา นิสติ ชัน้ ปีที่ 4 ภาคประชาสัมพันธ์ โทวาทวิทยา ทีก่ ำ� ลังจะจบการศึกษาจากรัว้ จามจุรี หนึง่ ในกลุม่ เพศหลากหลาย เป็นเพียงหนึง่ เดียวทีไ่ ด้รบั คัดเลือกจากบริษทั แบ๊บลา (Bab.la) ณ เมืองฮัมบูรก์ (Hamburg) ประเทศเยอรมนี เพื่อเข้ารับการฝึกงาน ผ่านโครงการ ISEC ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึง่ ถือว่าเป็นความประสบความส�ำเร็จทีน่ า่ ชืน่ ชม โครงการ ISEC เป็นโครงการที่ส่งนิสิตไปต่างประเทศเพื่อเข้า รับการฝึกงานในบริษัท ซึ่งรูปแบบการฝึกจะให้เราท�ำงานจริง และได้ รั บ ผลตอบแทน ลั ก ษณะต่ า งกั บ การไปโครงการ work&travel เพราะงานทีท่ ำ� เป็นงานทีจ่ ริงจังและตรงกับสาย 24 I
MARGIN magzine
ทีเ่ รียนมาพอสมควร และยังมีอกี รูปแบบคือการไปท�ำงานเป็น อาสาสมัคร การเลือกจะดูองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่แค่ผลการ เรียนเท่านั้น จะมีเรื่องของการท�ำกิจกรรมและความสามารถ อื่น ๆ เข้ามาเป็นตัวตัดสินด้วย บิ๊ก ได้บอกว่า โดยส่วนตัวคิด ว่าที่ตัวเองได้รับเลือก น่าจะเป็นในส่วนของเรื่องทักษะที่เรามี จากการเรียนด้านสื่อสารมวลชน และมีความถนัดทางด้าน ภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ และ ภาษาเยอรมัน ซึ่งตรงกับความ ต้องการของบริษัทที่เยอรมัน มันเลยบังเอิญเหมาะเจาะ ท�ำให้ เราได้รับงานนี้มา เพศเป็นอุปสรรคต่อการท�ำงานไหม ? “เราเคยท�ำงานเป็นพีอาร์ของบริษทั หนึง่ ในประเทศไทย มาก่อน ในช่วงของการฝึกงาน มันท�ำให้เรารู้ว่า การเป็นเพศ ทางเลือกคือของขวัญ เพราะสิง่ ทีเ่ ราเป็นสามารถช่วยและเสริม งานของเราได้ ในการท�ำงานเพศไม่ใช่ข้อจ�ำกัดและตัวตัดสินก็ จริง แต่ในขณะเดียวกัน เพศทางเลือกอย่างเรากลับโดดเด่น และน่าสนใจ รวมถึงให้ความรู้สึกเป็นกันเองกับลูกค้าหรือคน ที่เราต้องติดต่อได้อย่างมาก การเป็นอย่างที่เราเป็นไม่เคยมี อุปสรรคต่อการท�ำงานเลย” นอกจากนี้ บิ๊กยังมีอีกหนึ่งบทบาทคือการเป็นอาจารย์ พิเศษ สอนทั้งวิชาภาษาอังกฤษและเยอรมัน ให้กับน้องๆชั้น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น และปลาย “เราไม่ เ คยปิ ด บั ง ตั ว เอง แสดงออกอย่างเปิดเผยเสมอว่าเรามีรสนิยมอย่างไร เราอยาก ปฏิบัติตัวอย่างไร การแสดงออกของเรามันยิ่งท�ำให้เรามี เอกลักษณ์ ผู้ปกครองหลายคนอาจมองว่า ไม่สมควรไม่ดี แต่ เด็ก ๆ ที่มาเรียนกับเรา ต่างชอบในความเป็นเราค่อนข้างมาก จนท�ำให้ผปู้ กครองเชือ่ ใจเพราะผลลัพธ์ของการกระท�ำของเรา เป็นสิ่งที่ดี ๆ ทั้งสิ้น” การเป็นเพศทางเลือกในสังคมไทยอาจถูกผูกไว้กบั ความ ผิดปกติ แต่สำ� หรับเรา เราคิดว่าสิง่ ทีเ่ ราเป็นมันถูกผูกกับความ สดใส สนุกสนาน และความเป็นอิสระ อิสระในการเป็นตัวเอง สนุกสนานกับความคิดของตน และสดใสจนท�ำให้คนอื่น ๆ มี ความสุขไปด้วย ถามว่าอยากเป็นผู้หญิงไหม ตอนเด็ก ๆ เคยมีความคิด แบบนั้น ชอบอะไรเหมือนผู้หญิง อยากแต่งตัวใส่กระโปรงน่า รัก ๆ แต่พอโตขึ้นมา เรารับรู้ได้ว่าเราอยากเป็นแบบนี้ เป็น แบบที่หลาย ๆ คนเรียกว่าเพศทางเลือก เราชอบและยอมรับ กับมัน
‘อาย’
ชญานันท์ สายศักดิ์สิทธิ์
มุมมองความคิด ในบทบาทของครูทอม
อาย ชญานันท์ สายศักดิ์สิทธิ์ นิสิตครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่พ่วงต�ำแหน่งนักกีฬารักบี้ ในระดับแนวหน้าของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คือ บุคคลหนึ่งที่เปิดเผยและยอมรับว่า ตนเอง เป็นทอม หรือที่หลายคนนิยามว่า เป็นกลุ่มคนเพศที่สาม เธอประสบความส�ำเร็จทั้งเรื่องเรียน และ การเล่นกีฬา รักบี้ โดยไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเป็นอุปสรรค โดยเธอเล่าว่า เริ่ม เล่นกีฬาตั้งแต่ ป.2 กีฬาชนิดแรกที่เล่น คือ เทควันโด ซึ่งเล่น ได้สกั พักก็ตอ้ งห่างไปเพราะตัง้ ใจกับการเรียนเป็นหลัก เมือ่ เข้า มหาลัย ก็มโี อกาสได้เข้ามาเล่นรักบี้ ผ่านการชวนของรุน่ พี่ ตอน แรก ๆ คิดแค่ว่าเล่นเอาสนุกเฉย ๆ แต่พอมีโอกาสได้ไปแข่ง ก็ ติดใจและกลายมาเป็นนักกีฬารักบี้เต็มตัว และเข้าแข่งหลาย รายการมากขึ้น เช่น กีฬาชิงแชมป์ประเทศไทย การแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัย และการแข่งย่อย ๆ ที่ถูกจัดขึ้น ส่วนผลการ แข่งขันก็มีแพ้ ชนะ ปะปนกันไป แต่ที่ภาคภูมิใจที่สุดส�ำหรับ อาย คือได้รางวัลเหรียญทองแดง 2 เหรียญจากการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยที่จังหวัดขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเกษตร วิทยาเขตก�ำแพงแสน “หลายคนมองว่า กีฬารักบี้ คือ กีฬาของผู้ชายเท่านั้น เพราะต้องอาศัยพละก�ำลัง และเป็นกีฬาที่เล่นกันรุนแรง อาย
อยากให้มองใหม่ กีฬารักบี้ไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด และทุกเพศ ก็เล่นได้ เราอย่าเอาแค่ภาพลักษณ์ภายนอกของกีฬามาเป็นก รอบในการตัดสินเลยว่า ใครเหมาะสมที่จะเล่นมัน” ความส�ำเร็จของอายในวันนี้ไม่ได้มีแต่เพียงแค่เส้นทาง ของนักกีฬาของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่เธอก�ำลังจะประสบ ความส�ำเร็จในเส้นทางของครุศาสตร์บณ ั ฑิตอีกด้วย อายตัดสิน ใจเลือกศึกษาในคณะครุศาสตร์ เพราะอายมองว่าทุกสิง่ ในชีวติ ของเราล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการถ่ายทอด ด้วยกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่การเล่นรักบี้ และกีฬาอื่น ๆ ที่ต้อง เรียนเรียนรู้ทักษะเบื้องต้น ในด้านของความเป็นครู หรือ แม่พิมพ์ของชาติ อายมัก ถูกถามและปรามาศว่า การเป็นทอม เป็นเพศที่สามจะไม่ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี อายให้ความคิดเห็นว่า “ถ้ามีคน มองว่าการมีครูเป็นทอมอย่างเรา จะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีหรือ ไม่น่าเชื่อถือต่อเด็ก ๆ จะท�ำให้เกิดการลอกเลียนแบบ ค�ำพูด หรือ ความคิดแบบนี้ ไม่ท�ำให้เรารู้สึกโกรธเลย เพราะเราไม่ สามารถห้ามความคิดของใครได้ ทุกคนมีสทิ ธิท์ จี่ ะพูดหรือแสดง ความคิดเห็นได้ ซึ่งเป็นเรื่องของเขา แต่ส�ำหรับตัวอายเอง คิด ว่า ครูทุกคนมีหน้าที่ส�ำคัญ คือ ให้ความรู้กับเด็ก ๆ คุณค่าของ ความเป็นครู ควรมาจากความสามารถในการถ่ายทอดความ รู้มากกว่าการแสดงออกว่าตนเองเป็นเพศใดเพศหนึ่ง” “เพศไม่สามารถตัดสินได้วา่ ใครดีหรือไม่ดี ตราบใดทีเ่ รา ประพฤติตัวและแสดงออกในทางที่ดี มันก็เพียงพอแล้ว อาย ไม่เคยรู้สึกไม่ดีกับห้องเรียนที่ถูกสอนโดยอาจารย์ หรือคุณครู ที่เป็นเพศที่สาม แต่กลับมองว่า ครูเพศที่สาม น่าสนใจ น่า เข้าหา และมีความสนุกนานในการสอนมากกว่าคุณครูบางท่าน ที่เป็นชายจริงหญิงแท้เสียอีก “อายเชื่อว่า เด็ก ๆ หลายคนสามารถแยกแยะในส่วนนี้ ได้ และอายอยากจะให้ลองเปิดใจ มองเพศทีส่ ามให้เหมือนคน ปกติคนหนึ่งในสังคม ทุกเพศมีความเท่าเทียมกันหมด เพศที่ สามก็มีศักยภาพมากพอในการท�ำงานเช่นกัน ในฐานะที่อาย เรียนครุศาสตร์ ในอนาคตต้องจบออกไปเป็นแม่พิมพ์ของชาติ MAY I 2016
You don't have to be gay to be a supporter. You just have to be human. คุณไม่จำ�เป็นจะต้องเป็นเกย์เพื่อที่จะเป็นผู้สนับสนุน คุณเพียงแค่ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (Daniel Radcliffe) นักแสดง ดารา / คนดัง ดาราฮอลลีวู้ด