หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉบับ ชุมชนชาติพันธุ์มอญ 'บางกระดี่' ศูนย์รวมภูมิปัญญามอญ
ดื่มชิลล์ ๆ บนเกาะเกร็ด พื้นที่ผสม ของความเก่าและใหม่
'ปัจอะห์ต๊ะห์' เรื่องเล่าสงกรานต์มอญ
ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา เดียวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย นิราศภูเขาทอง - สุนทรภู่ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 2
Editor’s talk : บทบรรณาธิ ก าร โดย กษิ ด ิ ศ ศรี ว ิ ล ั ย
"แตกต่ า ง อย่ า ง งดงาม"
“ท่ามกลางสังคมของมวลมนุษย์ คุณอาจรู้สึก เหมื อ นไม่ มี ชี วิ ต เลย หากปราศจากซึ่ ง อั ต ลั ก ษณ์ ” ค�ำกล่าวนี้ของ อีริค เอช อีริคสัน นักจิตวิทยาชื่อดังผู้ ศึกษาเรื่องวิกฤตอัตลักษณ์ อาจท�ำให้เข้าใจว่าเหตุใด ชนชาติพลัดถิ่นอย่าง ‘มอญ’ จึงยังคงความพยายาม ที่จะรักษาอัตลักษณ์เฉพาะของกลุ่มตนไว้ แม้พวกเขา จะอาศัยอยู่ในประเทศไทย และถือสัญชาติไทยอยู่ก็ตาม การได้เรียนรูเ้ รือ่ งชุมชนชาวมอญระหว่างการผลิต วารสารฉบับนีท้ ำ� ให้ผมได้ฉกุ คิดถึงค�ำพูดของเพือ่ นคนหนึง่ ที่มักเล่าให้ฟังถึงความคับข้องใจที่มีต่อประเทศที่แห่งนี้ เขาระบายความอึดอัดที่ท�ำให้เขาอยากโยกย้ายตัวเองไป อยู่ใน ‘ที่ ๆ ดีกว่า’ และที่ส�ำคัญ เขายังปรารภว่าพร้อมจะ ละทิ้งอัตลักษณ์เดิม ๆ เพื่อให้กลมกลืนกับ ‘ที่ ๆ ดีกว่า’ นั้นได้ ผมไม่เคยเห็นด้วยกับเขา อะไรท�ำให้เขาแน่ใจว่า สังคมใหม่นั้นจะปฏิเสธอัตลักษณ์ของเขา และยิ่งได้เรียนรู้ เรื่องราวของชาวมอญพลัดถิ่น ผมก็ยิ่งไม่เชื่อว่าเพื่อนคนนี้ จะสามารถละทิ้งตัวตนของเขาได้อย่างสมบูรณ์ และได้แต่ ตั้งค�ำถามว่า เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างไร หากต้องละทิ้งสิ่งที่ ก่อร่างขึ้นมาเป็นตัวเขาในวันนี้ กรณีของชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยถือเป็น ตัวอย่างที่ดีของการผสมกลมกลืนอย่างไม่ละทิ้งตัวตน พวกเขาได้ประคับประคองสิ่งที่ท�ำให้พวกเขา ‘แตกต่าง’ ให้ อ ยู ่ ร อดมาได้ ทั้ ง ในยุ ค สมั ย ที่ ค วามเป็ น หนึ่ ง เดี ย ว คือแนวคิดหลักของสังคม ในยุคที่สังคมตื่นเต้นกับการ เปิดพื้นที่ให้กับความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งในยุคที่ พื้นที่ของความหลากหลายถูกท�ำให้ลดหายลงไปอีกครั้ง ชาวมอญยังท�ำให้เห็นว่า การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของสั ง คมใหม่ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู ่ ภ ายใต้ เ งื่ อ นไขของการละทิ้ ง ความเป็นตนเอง หากผูอ้ า่ นได้เรียนรูเ้ รือ่ งราวของชาวมอญ ผ่าน ‘นิสิตนักศึกษา’ ฉบับนี้แล้ว คงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ‘ความแตกต่าง’ ที่ชาวมอญมีไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด กลับกัน มันคือความสวยงามที่มีคุณค่าทั้งต่อพวกเขาเอง และสังคม หากพวกเขาละทิ้ง ‘ความแตกต่าง’ ที่มีแล้ว คุณค่าในชุมชนที่พวกเขาอยู่ก็คงหายไปด้วยเช่นกัน หวังว่านอกจากคนในชุมชนชาวมอญ และผูท้ สี่ นใจ ในประเด็นชาติพันธุ์ เพื่อนคนนี้จะได้อ่านและเรียนรู้จาก วารสารฉบับนี้ว่า “ความแตกต่างนั้นงดงามอย่างไร”
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 3
CONTENT : สารบั ญ
6
8 10
แผนที่
6 สั ม ภาษณ์
20
บทความ
8 ท่ อ งเที่ ย ว
24
มองมอญอีกมุม กับ ธวัชพงศ์ มอญดะ
แผนที่ท่องเที่ยวเกาะเกร็ด และบางกระดี่
12
‘จากอ่าวเมาะตะมะถึงสยาม’ การอพยพของชาวมอญสู่ ประเทศไทยในอดีต
ดื่มชิลล์ ๆ บนเกาะเกร็ดพื้นที่ผสม ของความเก่าและใหม่
26 10 อาหาร ‘ข้าวแช่มอญ’ ความพิถีพิถัน
วั ฒ นธรรม
ไขกลอนเรือนมอญ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
แห่งชนชาติ
เรื่ อ งเล่ า จากชุ ม ชน 12 ‘ปัจอะห์ต๊ะห์’เรื่องเล่าสงกรานต์ มอญ
14
สารคดี
‘บางกระดี่’ ศูนย์รวมภูมิปัญญามอญ
14
20
กระบอกเสี ย งชุ ม ชน 28 ชาวมอญชอบประเพณีไหน?
ภาษา
30
Infographic
31
“เมียะ เง่อระอาว” 6 เอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของชาวมอญ
24
กองบรรณาธิ ก าร
หนั ง สื อ พิ ม พ์ ฝ ึ ก ปฎิ บั ติ ภาควิ ช าวารสารสนเทศ คณะนิ เ ทศศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา - อ.พรรษาสิ ริ กุ ห ลาบ บรรณาธิ ก ารผู ้ พิ ม พ์ ผู ้ โ ฆษณา - ผศ.ดร.ณรงค์ ข� ำ วิ จิ ต ร์ บรรณาธิ ก ารฝ่ า ยเนื้ อ หา กษิ ดิ ศ ศรี วิ ลั ย บรรณาธิ ก ารฝ่ า ยศิ ล ป์ กนต์ ธ ร พิ รุ ณ รั ต น์ กองบรรณาธิ ก าร เกศญา เกตุ โ กมุ ท , นริ ศ รา สื่ อ ไพศาล, มั น ตา อ� ำ นวยเวโรจน์ , อภิ ส รา บรรทั ด เที่ ย ง, ชนมน ยาหยี ที่ อ ยู ่ 254 ถนนพญาไท แขวงวั ง ใหม่ เขตปทุ ม วั น กรุ ง เทพมหานคร 10330 โทร 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @Nisit_journal
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 4
MISSION STATEMENT : พั น ธกิ จ
สั ง คมไทยเป็ น สั ง คมพหุ วั ฒ นธรรมที่ มี ก าร รวมตัวกันของชาติพันธุ์ต่างๆ กว่า 56 กลุ่ม ท�ำให้มี ความแตกต่าง และหลากหลายด้านวัฒนธรรมสูง แต่ใน ขณะเดียวกัน ด้วยการให้ความส�ำคัญกับฐานคิดแบบ รัฐชาติ อ�ำนาจน�ำในสังคมไทยจึงมีความพยามยามที่จะ หล่อหลอมความเป็นชาติ สร้างความเป็นอันหนึง่ อันเป็น เดียวกัน และตีกรอบ ‘ความเป็นไทย’ ด้วยความหมาย เพียงชุดเดียว ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นสังคมไทยก่อร่าง มาจากส่วนผสมที่หลากหลาย แนวคิดในการพัฒนาประเทศให้เจริญตามแบบ สากลก็มีส่วนในการลดทอน ‘ส่วนผสม’ ที่แตกต่างของ ความของความเป็นไทย เห็นได้จากชุมชนชาติพนั ธุด์ งั้ เดิม ต่าง ๆ ที่เริ่มมีขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ ทั้งจากการย้าย ถิน่ ฐานของคนในชุมชนเพือ่ แสวงหาวิถชี วี ติ สมัยใหม่ และ จากการผสมกลมกลืนไทยผ่านการแต่งงาน ส่งผลให้คน ไทยรุ่นหลังให้ความส�ำคัญกับความเป็นชาติพันธุ์ต่าง ๆ น้ อ ยลง ทว่ า ยั ง คงมี ก ลุ ่ ม คนชาติ พั น ธุ ์ บ างส่ ว นที่ ยั ง พยายามจะรักษาไว้ซงึ่ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ ไม่ให้ถูกกลืนหายไป อีกทั้งยังใช้แนวคิดการพัฒนาใน รูปแบบที่แตกต่างมาเป็นเครื่องมือเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ ของกลุ่มตนด้วย กองบรรณาธิการ ‘นิสิตนักศึกษา’ จึงอยากเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ในการน� ำ เสนออั ต ลั ก ษณ์ ท างชาติ พั น ธุ ์ ท่ี หลากหลายนีใ้ ห้สาธารณะได้รจู้ กั และเข้าใจและเพือ่ เป็น พื้นที่ให้ชุมชนชาติพันธุ์ได้สื่อสารเพื่อบอกเล่าเรื่องราว และประเด็นปัญหาของกลุม่ ตน อีกทัง้ น�ำเสนอความเป็น มาทางประวัติศาสตร์ของชุมชน เพื่อให้ทั้งคนที่อยู่ใน บริเวณชุมชนและคนภายนอกได้รับทราบ และเพื่อช่วย ด�ำรงไว้ซึ่ง ‘ความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์’ อันงดงามนี้
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 5
แผนที่ ท ่ อ งเที่ ย วเกาะเกร็ ด
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 6
แผนที่ ชุ ม ชนบางกระดี่
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 7
ARTICLE : บทความ
‘จากอ่าวเมาะตะมะถึงสยาม’ การอพยพของชาวมอญสู่ประเทศไทยในอดีต
เรื ่ อ งโดย : กษิ ด ิ ศ ศรี ว ิ ล ั ย , มั น ตา อำ�นวยเวโรจน์
เป็ น เวลากว่ า ห้ า ศตวรรษแล้ ว ที่ ช าวมอญได้ อพยพเข้ามาในแผ่นดินไทย พวกเขาได้กระจายตัวไป ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย และ ผสมกลมกลื น จนกลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คมไทย แม้กระทั่งวัฒนธรรมของพวกเขาก็ยังถูกหล่อหลอมจน กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ‘วัฒนธรรมไทย’ ในปัจจุบัน ชนชาติอันร�่ำรวยซึง่ ศิลปวัฒนธรรมนีม้ ที มี่ าทีไ่ ปอย่างไร ก่อนที่พวกเขาจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย อย่างทุกวันนี้ ‘นิสติ นักศึกษา’ จึงขออาสาพาผูอ้ า่ นย้อน เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์การอพยพของชาวมอญอีกครัง้ ต้นก�ำเนิดของอารยธรรมมอญนั้นได้ถูกระบุไว้ ในหนังสือ ‘มอญสยาม’ โดยบุญยงค์ เกศเทศ ซึ่งตีพิมพ์ ในปีพ.ศ. 2557 ผู้เขียนอ้างถึงพงศาวดารมอญที่บันทึก ว่า อารยธรรมมอญนั้นเริ่มมาตั้งแต่ 241 ปีก่อนพุทธกาล โดยพระราชโอรสของพระเจ้าติสสะแห่งแคว้นหนึ่งของ อินเดียได้เกณฑ์ผคู้ นลงเรือส�ำเภามาตัง้ หลักปักฐาน เขาได้สร้าง อาณาจักรขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำอิรวดี บริเวณ ตอนล่างของพม่าในปัจจุบนั จนในช่วงเวลาต่อมาได้พฒ ั นา เป็นอาณาจักรของชาวมอญที่มีชื่อเรียกว่า ‘สะเทิม’ บุญยงค์ยงั อธิบายอีกว่า ตลอดระยะเวลากว่า 700 ปี ทีม่ อญได้สร้างอาณาจักรขึน้ มา มอญต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อ
ปกป้องอาณาจักรของตนจากการรุกรานของพม่าซึง่ ตัง้ อยู่ ทางเหนื อ การต่ อ สู ้ ร ะหว่ า งสองอาณาจั ก รยื ด เยื้ อ จน พ.ศ. 1600 กษัตริย์บุเรงนองของพม่าได้ท�ำการยึดครอง รัฐมอญส�ำเร็จ จึงแบ่งอาณาเขตมอญออกเป็นรายหัวเมือง อีกทั้งได้พยายามหลอมรวมวัฒนธรรมมอญให้กลายเป็น วัฒนธรรมของพม่า บุญยงค์ระบุวา่ ความบีบคัน้ ทางการเมือง ภายใต้การปกครองของพม่าท�ำให้ความเป็นอยูข่ องชาวมอญ มี ค วามยากล� ำ บาก ทั้ ง จากการถู ก กดขี่ รี ด ไถผลผลิ ต การเกษตร และการถูกเกณฑ์เป็นแรงงานก่อสร้างหรือ เกณฑ์เข้ากองทัพพม่า ด้วยเหตุผลนี้เอง ชาวมอญจึงเริ่ม ต้นอพยพเข้ามายังประเทศไทยตัง้ แต่สมัยของพระนเรศวร มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เรือ่ ยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ บุญยงค์ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ชาวมอญ เลือกอพยพมาในไทยว่า ไทยและมอญมีความคล้ายคลึง กันทั้งด้านภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่ออาชีพเกษตรกรรม และมี วัฒนธรรมที่ยึดถือศาสนาพุทธเป็นแกนกลาง อีกทั้งยังอยู่ ในพื้นที่ใกล้เคียง ประเทศไทยจึงเป็นจุดหมายปลายทาง ทีเ่ หมาะสมเป็นอย่างมากในการอพยพย้ายถิน่ ของชาวมอญ เส้นทางต่าง ๆ ทีช่ าวมอญใช้อพยพเข้ามาตัง้ แต่สมัย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาจนถึ ง สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ไ ด้ ถู ก ระบุ ไ ว้ ใ น วิทยานิพนธ์เรือ่ งชาวมอญในประเทศไทย โดยสุภรณ์ โอเจริญ
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 8
และพม่า ชาวมอญจ�ำนวนมากเป็นก�ำลังพลส�ำคัญของ กองทัพไทย ทัง้ ยังมีการอ้างถึงชาวมอญในฐานะประชาชน ทีอ่ ยูภ่ ายใต้กฏหมายหรือประกาศต่าง ๆ ของทางการเสมอ ทางการจึงปฏิบัติต่อชาวมอญอย่างไม่ถือเป็นชาวต่างชาติ ทั้งยังให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพ และก�ำหนดหน้าที่ ให้ชายฉกรรจ์มอญต้องเข้าเวรท�ำราชการเกณฑ์ จ่ายส่วย รวมทัง้ ยังมีโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้ชาวมอญมียศศักดิต์ า่ ง ๆ เช่นเดียวกันกับชาวไทย ซึ่งถือเป็นวิธีกลมกลืนชาวมอญ ให้เข้ากับสังคมไทยไปอย่างแนบสนิท
ภาพจาก : ้http://www.flickr.com
เมือ่ ปีพ.ศ. 2519 ว่า การอพยพล้วนแล้วแต่มีต้นทางมาจาก เมืองมะละแหม่ง และเมืองเมาะตะมะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ปากแม่น�้ำสาละวิน ริมฝั่งอ่าวเมาะตะมะ ทางทิศตะวันตก ของประเทศพม่าในปัจจุบัน โดยการอพยพแบ่งออกเป็น ทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก ทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี และทางเมือง อุทยั ธานี ทว่าสองเส้นทางแรกเป็นเส้นทางทีช่ าวมอญเลือก ใช้ในการอพยพมากกว่าเส้นทางอื่น เพราะเป็นเส้นทางที่ คุ้นเคยจากการที่พม่าเคยยกกองทัพมาท�ำสงครามกับไทย รวมทัง้ เป็นเส้นทางทีพ่ วกเขาใช้ในการติดต่อค้าขายกับไทย สุภรณ์ยังกล่าวว่า ชาวมอญจ�ำนวนมากที่อพยพ เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณปากเกร็ด นนทบุรี และสามโคก ปทุมธานี ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวมอญก็ได้สนองพระราชโองการสร้าง ‘นครเขื่อนขันธ์’ ขึ้นบริเวณปากลัด ตอนล่างของกรุงเทพ พื้นที่เหล่านี้จึง กลายเป็ น ที่ ตั้ ง ของชุ ม ชนชาวมอญขนาดใหญ่ ที่ ส� ำ คั ญ หลายชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน สุภรณ์ โอเจริญ ยังได้ระบุในหนังสือ ‘มอญในแผ่น ดินสยาม’ ซึง่ ตีพมิ พ์เมือ่ ปีพ.ศ. 2552 ว่า ชาวมอญทีอ่ พยพ เข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก กษัตริยไ์ ทย สืบเนือ่ งมาจากเมือ่ ครัง้ สงครามระหว่างอยุธยา
ขณะเดียวกัน สุภรณ์ยังชี้ให้เห็นว่า กระบวนการ ผสมกลมกลื น ชาวมอญเข้ า กั บ สั ง คมไทยไม่ ไ ด้ เ ป็ น ไป โดยเสรี เ สี ย ที เ ดี ย ว แต่ยงั แฝงไปด้วยเงือ่ นไขบางประการ เช่น การที่ชาวมอญต้องเปลี่ยนชื่อนามสกุลให้เป็นไทย แลกกั บ การได้ รั บ ที่ ดิ น เพื่ อ อยู ่ อ าศั ย และการมอบ ยศถาบรรดาศั ก ดิ์ แ บบไทยให้ กั บ ขุ น นางชาวมอญที่ อพยพมา ซึ่ ง เงื่อนไขเหล่านี้ล้วนมีนัยยะในการลดทอน ความแตกต่างโดยให้ชาวมอญละทิ้งอัตลักษณ์ของตน ทว่าชาวมอญ กลับไม่ได้ละทิ้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของพวกเขาไป ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่พวกเขา ด�ำรงไว้จึงเป็นดั่งเส้นใยที่เชื่อมโยงชาวมอญในทุกหนแห่ง ให้พวกเขาได้ระลึกถึงความเป็นชนชาติที่มีร่วมกัน จนกระทัง่ ปัจจุบนั ชาวมอญอพยพในประเทศไทย ยั ง สามารถคงไว้ ซึ่ ง อั ต ลั ก ษณ์ ข องตนผ่ า นรายละเอี ย ด ทางวัฒนธรรม เช่น ภาษา เครื่องแต่งกาย อาหาร ดนตรี การละเล่ น และการแสดงต่างๆ โดยมีความเชื่อเรื่อง การนับถือผีและความยึดมั่นในศาสนาพุทธเป็นแกนกลาง ส�ำคัญ ความเชื่อเหล่านี้ท�ำให้เกิดประเพณีประจ�ำชาติ ที่ เ ป็ น แบบฉบั บ ของมอญโดยเฉพาะ เช่ น ประเพณี สงกรานต์พระประแดง ลอยกระทงสาย และล้างเท้าพระ เป็ น ต้ น มากไปกว่ า นั้ น ชาวมอญอพยพยั ง ได้ ส ร้ า ง สัญลักษณ์เพื่อแสดงออกในเชิงการเมือง ผ่านเพลงชาติ มอญ สัตว์สัญลักษณ์ (หงส์) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัน ชาติมอญ ที่ถูกก�ำหนดให้ตรงกับวันแรม 1 ค�่ำเดือน 3 โดย มี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ สร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ของชนชาติ ที่ มี ประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกัน เพื่อปฏิเสธการตกอยู่ภาย ใต้ อ� ำ นาจของพม่ า และเพื่ อ ระลึ ก ถึ ง บรรพบุ รุ ษ ของ พวกเขา
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 9
CULTURE : วั ฒ นธรรม
ไขกลอนเรื อ นมอญ ' ปลูกเรือ นตามใจผู ้ อยู ่ เรื่ อ งโดย : เกศญา เกตุ โ กมุ ท ภาพโดย : อภิ ส รา บรรทั ด เที่ ย ง
“บ้ า นที่ ป ลู ก ตามต� ำ ราความเชื่ อ ได้ อ ย่ า ง ครบถ้วนแม่นย�ำ ย่อมส่งผลดีตอ่ ผูอ้ ยูอ่ าศัย ผีบา้ นผีเรือน จะปกปักษ์รักษา ให้อยู่ดีสุขสบาย” ลุงกัลยา ปุงบางกระดี่ อายุ 73 ปี ชาวบ้านชุมชนบางกระดี่ เล่าถึงความเป็นมา ของบ้านเรือนแบบชาวมอญ ทีส่ งั เกตได้ทนั ทีเมือ่ ก้าวย่าง เข้ามาในชุมชนซึง่ มีรปู แบบบ้านคล้ายคลึงกันแทบทุกหลัง
ต้องอิงตามต�ำราโลกสิทธิ ต�ำราระบุรายละเอียดไว้มากมาย อย่างเสาบ้านจะต้องมีสามเสาส�ำคัญ ได้แก่ เสาตัวผู้ ตั้งไว้ ให้ผีบรรพบุรุษเข้ามาสิงสู่อาศัย เสาต้นนี้จึงห้ามน�ำสิ่งของ ไปแขวนเด็ดขาด เสาทีส่ องคือเสาตัวเมีย และเสาทีส่ ามเป็น เสาพระที่ทุกบ้านต้องมี แต่ละเสาจะมีสัญลักษณ์บอกให้รู้ จากการแต่งกายให้กับเสา”
สาเหตุที่บ้านในชุมชนมีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ ลุงกัลยา อธิบายให้ฟังว่า เป็นเพราะชาวบ้านเชื่อเรื่องการ ปลูกสร้างบ้านตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์โลกสิทธิ ต�ำรารวม ความเชือ่ ทีเ่ ป็นแบบแผนปฏิบตั ติ นของชาวมอญ ซึง่ รวมไป ถึงพิธกี รรมและรูปแบบในการสร้างบ้าน ตามความเชือ่ ของ ชาวมอญนัน้ หากบ้านหลังใดไม่ได้ปลูกให้ถกู ต้องตามต�ำรา จะเกิดเภทภัยขึ้นกับบ้านหลังนั้น เช่น คนในบ้านเจ็บป่วย บ้างก็ว่า ผีบ้านผีบรรพบุรุษอาจไม่พอใจ
ธวัชพงศ์ มอญดะ หรือ ‘พี่โอ’ อายุ 40 ปี ผู้ริเริ่มศูนย์วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ อธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากเสาทั้งสามต้นถือเป็นหัวใจของการก่อสร้างบ้าน เจ้าของบ้านจึงต้องท�ำพิธไี หว้เสาเสียก่อน และแต่งกายให้กบั เสาทั้ ง สามต้ น ตามเพศของเสา เช่ น เสาตั ว ผู ้ ต ้ อ งมี ผ้าขาวม้า เสาตัวเมียมีผา้ ถุงหรือสไบ ส่วนเสาพระจะแขวน ด้วยกล้วยและข้าวต้มลูกโยน ทัง้ นีใ้ นเชิงปฏิบตั กิ ารแต่งเสา นัน้ เอือ้ ต่อการท�ำงานของช่างก่อสร้าง เป็นเหมือนกลอุบาย ที่แฝงไว้ในภูมิปัญญา “เวลาท�ำงานนาน ๆ กลางอากาศ ร้อน ช่างจะได้ใช้สิ่งใกล้ตัว อย่าง ผ้าขาวม้า สไบ ที่ผูกไว้ กับเสา มาบังแดดได้ กล้วยหรืออาหารอื่น ๆ ที่น�ำมาไหว้ เสาก็สามารถไหว้ลาน�ำมากินได้” พี่โอเสริม
ลุงกัลยายังเล่าอีกว่า ชาวมอญบางกระดี่จะตั้ง บ้านเรือนเป็นแนวตามขวางคลองสนามชัยทัง้ สองฝัง่ อย่าง หนาแน่น ซึ่งบ้านมอญดั้งเดิมจะอยู่ฝั่งเดียวกับวัดและ หันหน้าเข้าหาคลอง โดยมีลกั ษณะเป็นเรือนใต้ถนุ สูงคล้าย กับบ้านเรือนไทย แต่จะมุงหลังคาด้วยใบจาก ทว่าปัจจุบัน บางหลังดัดได้แปลงให้เป็นครึง่ ปูนครึง่ ไม้เพือ่ เหมาะกับการ เป็ น อยู ่ ใ นยุ ค สมั ย “บ้ า นมอญจะให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ องค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเป็นอย่างมาก เพราะการสร้าง
นอกจากพิธกี รรมในการสร้าง บ้านมอญยังมีราย ละเอียดทีแ่ สดงถึงความใส่ใจทีม่ ตี อ่ ผูอ้ ยูอ่ าศัย ไม่วา่ จะเป็น สั ด ส่ ว นความยาวของเสาและคานบ้ า น ต�ำ แหน่ ง ที่ ต้ั ง ของบ้าน ทิศทางของห้องพัก หรือแม้แต่แสงและเงา
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 10
ที่ตกสู่ตัวบ้าน เช่น ห้องที่มีเสาผี หรือห้องของเจ้าของบ้าน ควรได้ รั บ แสงตะวั น ก่ อ นในยามเช้ า เพราะแดดอ่ อ น ยามเช้าส่งผลดีต่อร่างกายผู้อยู่ อีกทั้งในช่วงเย็น ห้องนี้ก็ จะมีอากาศเย็นก่อนห้องอื่น ๆ เพราะไม่ถูกแดดบ่ายส่อง เป็ น เวลานาน เจ้ า ของบ้ า นจะเข้ า นอนได้ อ ย่ า งสบาย ส่งผลให้คนในครอบครัวสบายใจตามไปด้วย เมือ่ ถามว่าชาวมอญในชุมชนจะเลือกไม่ปลูกบ้าน ตามความเชื่อได้หรือไม่ ค�ำตอบที่ได้รับจากคนในชุมชน บางกระดี่ แ ทบไม่ แ ตกต่ า งกั น แม้ จ ะเป็ น เหตุ ผ ลของ บุคคลคนละรุ่นก็ตาม ผู้สูงวัยอย่างลุงกัลยาให้ค�ำตอบที่ หนักแน่นว่า “เป็นไปไม่ได้ คัมภีร์โลกสิทธิมีมาตั้งแต่ บรรพบุ รุ ษ ถ้ า ไม่ ต ามจะเกิ ด เรื่ อ งไม่ ดี ” ส่ ว นธวั ช ชั ย ให้เหตุผลว่า “บ้านหลังไหนไม่ได้ปลูกตามคัมภีร์แสดงว่า ไม่ใช่คนเชื้อสายมอญ เพราะชาวมอญที่นี่จะอนุรักษ์รูป แบบบ้านเก่าไว้ และในชุมชนยังมีผเู้ ฒ่าผูแ้ ก่อยู่ ถ้าจะสร้าง แบบโมเดิรน์ คงไม่มใี ครกล้าท�ำ เพราะยังกลัวในเรือ่ งผีและ การท�ำผิดประเพณี ความเชื่อนี้จึงยังคงถูกสืบทอดจนถึง ปัจจุบัน” แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องพิธีกรรมของชาว มอญในชุมชนยังคงถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในแง่มุมสถาปัตยกรรม จักรพร สุวรรณนคร นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายว่า บ้านมอญมีลกั ษณะ พิเศษ เช่น การมีแท่นวางของเพื่อเตรียมใส่บาตรพระ มี ห ้ อ งบู ช าผี ที่ อ อกแบบไว้ อ ย่ า งแม่ น ย� ำ ซึ่ ง แสดงถึ ง ความเชื่อด้านศาสนาและพิธีกรรม ต่างจากบ้านเรือนไทย ที่ค�ำนึงเรื่องประโยชน์การใช้สอยเป็นหลัก
จักรพรยังชี้ว่า การออกแบบบ้านเรือนที่มีใต้ถุน สูงนั้นเอื้อต่อการใช้ชีวิตในช่วงหน้าฝน เพราะชาวมอญ จะอาศัยอยูร่ มิ น�ำ้ น�ำ้ จะได้ทว่ มไม่ถงึ ตัวบ้าน หลังคามุงจาก ของบ้านมอญต้องการองศาที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ เพื่อให้ บ้านระบายอากาศได้ดี “แม้จะยึดถือเอาความเชือ่ เป็นหลัก แต่บา้ นมอญก็เอือ้ ต่อความสะดวกสบายของผู้ อย่างระดับ ของพื้นบ้านที่สูงต�่ำไม่เท่ากัน ตามแปลนของบ้านมอญ อันนี้ ลานบ้านจะอยู่ต�่ำสุด สูงขึ้นมาอีกหนึ่งระดับจะเรียก ว่าเฉลียง และระดับสูงสุดคือห้องนอน การเล่นระดับแบบ นี้ คือการท�ำให้ตัวบ้านมีชั้นเชิง บ่งบอกถึงการเข้าถึงของ การใช้พื้นที่แต่ละส่วน จากพื้นที่สาธารณะเข้าสู่พ้ืนที่ส่วน ตัว อย่างการวางห้องนอนให้อยู่สูงสุด ก็เพื่อให้ยากต่อการ เข้าถึง” ตามความเชื่อของมอญ การที่ผู้อาศัยอยู่ในบ้าน อย่างสุขสบายเป็นผลมาจากการปฏิบัติตามคัมภีร์อย่าง เคร่ ง ครั ด ท� ำ ให้ ผี บ ้ า นผี เ รื อ นปกปั ก ษ์ รั ก ษา แต่ ห าก พิจารณาอย่างลึกซึ้งตามหลักสถาปัตยกรรม จะพบว่าทุก องค์ประกอบของการปลูกสร้างล้วนถูกออกแบบมาให้ สอดคล้องกับวิถชี วี ติ ความเป็นอยู่ และเอือ้ ประโยชน์สงู สุด ต่อผู้อาศัย ซึ่งความเชื่อต่าง ๆ ที่แฝงมากับคติมงคลหรือ ความเชือ่ ตามทีต่ ำ� ราได้ระบุไว้ ล้วนมีพนื้ ฐานมาจากความ เข้าใจอย่างถ่องแท้ที่บรรพบุรุษชาวมอญมีต่อภูมิสัณฐาน ภูมิอากาศ และธรรมชาติที่แวดล้อมตนอยู่
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 11
COMMUNITY’S TALE : เรื ่ อ งเล่ า ชุ ม ชน
‘ปั จ อะห์ ต ๊ ะ ห์ ’ เรื่องเล่าสงกรานต์มอญ เรื ่ อ งโดย : นริ ศ รา สื ่ อ ไพศาล ภาพจาก : http://www.suwatchaitubtim.com
ใกล้ถึงวัน ‘ปัจอะห์ต๊ะห์’ ประจ�ำปีเข้าไปทุกที แน่นอนว่าเป็นวันที่ชาวมอญแห่งเกาะเกร็ดเฝ้ารอให้มาถึง ‘ปัจอะห์ต๊ะห์’ หรือ สงกรานต์ ถือเป็นประเพณีที่ส�ำคัญของชาวมอญ เนื่องจากปฏิทินเทศกาลประจ�ำปีของ ชาวมอญนั้นเริ่มต้นด้วยวันสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน วันนี้จึงถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวมอญนั่นเอง ความส�ำคัญของวันสงกรานต์ยังรวมถึงการที่พี่น้องชาวมอญได้รวมตัวกัน สังสรรค์ ท�ำบุญ ตักบาตร รดน�้ำด�ำหัว ผูใ้ หญ่ และต้อนรับปีใหม่ไปพร้อม ๆ กัน เกาะเกร็ดเองก็เป็นชุมชนมอญทีส่ ำ� คัญของประเทศไทย ทีท่ กุ ปีในวันปีใหม่มอญ ชาวมอญจากแต่ละท้องที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวจากที่ต่าง ๆ จะพากันขึ้นเรือข้ามมายังเกาะเพื่อร่วมประเพณีส�ำคัญนี้ ชาวมอญเป็นชนชาติทมี่ คี วามผูกพันแน่นแฟ้นกับพุทธศาสนา การจัดงานสงกรานต์จงึ มีการท�ำบุญท�ำทานใหญ่โต และยังจัดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม โดยพิธีจะเริ่ม จากการท�ำบุญฉลองสงกรานต์ การท�ำบุญกลางบ้าน และร�ำประจ�ำปีของแต่ละหมูบ่ า้ น ทัง้ ยังมีการจัดเฉลิมฉลองการท�ำบุญ รักษาศีลเพื่อต้อนรับศักราชใหม่และเพื่อบูชาพระรัตนตรัยและนางสงกรานต์ ในช่วงสัปดาห์ก่อนเทศกาลปีใหม่ คนในชุมชนจะเตรียมข้าวแช่ กวนกะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว เป็นขนมส�ำหรับท�ำบุญ ทั้งยังมีการท�ำ ‘คะนอมจิน’ ขนมจีนต�ำรับมอญ เพื่อท�ำบุญรวม ณ ‘ถนนข้าวแช่’ ซึ่งถือเป็น สถานที่ส�ำคัญประจ�ำเทศกาลปีใหม่บนเกาะเกร็ด ชาวบ้านจะจัดงานเลี้ยงข้าวแช่กันบนถนนแห่งนี้ในวันที่ 14 เมษายน ถนนข้าวแช่เป็นชื่อซึ่งคนในชุมชนเรียกถนนที่ตั้งอยู่หน้าวัดไผ่ล้อม วัดส�ำคัญวัดหนึ่งของเกาะเกร็ด ในวันที่ 14 เมษายน ณ ถนนแห่งนี้จะมีการแห่ ‘เปิงชังกราน’ หรือ ข้าวแช่ ไปถวายพระสงฆ์ โดยในวันที่ 14 เมษายน ชาวบ้านจะน�ำข้าวแช่ไปถวายพระสงฆ์แต่เช้าตรู่ และหลังจากที่พระสงฆ์ฉันเพลเสร็จ จะเดินออกมาให้ศีลให้พร พรมน�้ำมนต์ บนถนนข้าวแช่ที่แน่นขนัดด้วยผู้คน จากนั้นหลังสิ้นสัญญาณนกหวีดของ แม่งาน ก็จะเป็นช่วงเวลาทีท่ กุ ๆ คนร่วมกันทานข้าวแช่ โดยบ้านทีเ่ ตรียมอาหารมาก็จะเลีย้ งอาหารทัง้ คนในชุมชน รวมถึง นักท่องเที่ยวทีม่ าร่วมงาน ในขณะเดียวกันทีบ่ า้ นของชาวบ้าน ก็จะมีการท�ำพิธบี ชู านางสงกรานต์หรือ ‘มิห๊ ซ์ งกราน’ โดย การสร้างศาลเพียงตาหน้าบ้าน และน�ำข้าวแช่ถวายบูชา นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 12
ป้าเรือ
จากนั้น ในวันที่ 15 เมษายน จะมีการแห่นางสงกรานต์ ปล่อยนก ปล่อยปลา มีการแห่น�้ำหวานไปถวายพระตามวัดต่าง ๆ จากนั้นชาวบ้านจะ แห่หงส์ ธงตะขาบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมอญ น�ำไปชักขึ้นประจ�ำเสาแต่ละวัด ‘ป้าเรือ’ หรือ แก้ว สว่างเนตร วัย 54 ปี ชาวมอญซึ่งเกิดและเติบโต ณ เกาะเกร็ดแห่งนี้ ปัจจุบนั มีอาชีพขายน�ำ้ หวานอยูห่ น้าวัดไผ่ลอ้ ม เล่าถึงสีสันวัน งานสงกรานต์ในความทรงจ�ำว่า สงกรานต์มอญนั้นขึ้นชื่อ จัดงานกันเรียกได้ ว่าเป็นเดือน ๆ บ้านไหนร�่ำรวยก็เป็นตัวตั้งตัวตีท�ำบุญรวม ทุกหมู่บ้านจะมีการ จัดงานร้องร�ำท�ำเพลงสนุกสนาน เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะกัน “แต่เดี๋ยวนี้งานฉลองสงกรานต์ก็จะเริ่มประมาณวันที่ 14 ไปจนไม่เกิน วันที่ 20-21 จะมีขบวนแห่น�้ำหวานปล่อยนกปล่อยปลา ทุกหมู่ ก็จะประมาณ อาทิตย์เดียว ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ โอโห ตอนนั้นเป็นเดือนเลย เลี้ยงกันแบบ จริง ๆ จัง ๆ ทั้งกลางคืนกลางวัน” ป้าเรือเสริมว่า แต่ก่อนที่งานสงกรานต์ของชาวมอญจัดใหญ่โตขนาดนี้ เพราะต้องการอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมเอาไว้ เพราะสงกรานต์ของชาวมอญนัน้ เต็มไป ด้วยเอกลักษณ์และพิธกี ารส�ำคัญต่าง ๆ อย่างไรก็ตามเมือ่ วันเวลาผ่านไปเทศกาล อันยิง่ ใหญ่กค็ อ่ ย ๆ ลดขนาดงานลงด้วยหลายปัญหาและหลายปัจจัย แม้จะยังคง ความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อชาวมอญก็ตาม แต่จากทีเ่ คยจัดงานเป็นเดือนก็ลดเหลือ เพียงราวสัปดาห์หนึ่งเท่านั้น
ภาพจาก http://travelnonthaburi.com
“เดี๋ยวนี้มันไม่มีแล้ว เพราะว่ามันไม่มีตัวตั้งตัวตีจัดเลี้ยง เศรษฐกิจมัน ไม่คอ่ ยดี บางคนก็แบบว่า โอ้ย จะไปเลีย้ งเขาท�ำไม เงินทองหายาก แต่สมัยก่อน ตอนป้าเป็นเด็ก เช้าตืน่ ขึน้ มาก็ได้กนิ แล้ว ข้าวต้มหมูขา้ วต้มปลา เขาตัง้ เป็นโรงทาน เลีย้ งเลย เลีย้ งทัง้ วัน” ป้าเรือว่า “กลางคืนยังมีอกี มีรำ� วงด้วย เหมือนร�ำวงย้อนยุค ทีเ่ ขาเล่นกัน ผูห้ ญิงคนไหนทีเ่ สียงดีกข็ นึ้ ไปร้องเพลง แต่สมัยนีม้ นั ท�ำไม่ได้ เพราะ หนุม่ สาวชอบเขม่นกันในวงร�ำแล้วตีกนั งานเมือ่ ก่อนดีมากเลยนะ ผิดกับสมัยนี”้
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 13
แม้ ว ่ า จะมี ป ั ญ หามากมาย เกิ ด ขึ้ น แต่ ป ้ า เรื อ ยั ง คงยื น ยั น ว่ า เทศกาลปีใหม่ยังคงเป็นงานที่ต้อง จั ด ขึ้ น ทุ ก ปี เ พื่ อ สื บ สานประเพณี อันมีมาแต่เดิม และด้วยเป็นงานที่ จัดเพียงแค่ปีละครั้ง จึงเป็นงานใหญ่ ที่ชาวมอญจากหลายที่มารวมตัวกัน รวมถึ ง คนในชุ ม ชนที่ ย ้ า ยไปตั้ ง ถิ่นฐานที่อื่นก็จะกลับมาเยี่ยมเยือน กันในวันพิเศษนี้ “คนที่ แ ต่ ง งานมี ค รอบครั ว ไปแล้ ว ก็ อ อกไปอยู ่ ก รุ ง เทพฯ พอ สงกรานต์อยากกลับมา ก็ชวนคนใน ครอบครั ว กลั บ มาด้ ว ยเยอะแยะ” ป้าเรือบอกด้วยรอยยิ้ม สงกรานต์ ณ เกาะเกร็ด จึงมี ความส� ำ คั ญ ต่ อ ชาวมอญในชุ ม ชน อย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นงานที่ ยิ่งใหญ่ หรือเป็นเทศกาลเต็มไปด้วย คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถชี วี ติ เท่านัน้ แต่มากไปกว่านัน้ คื อ ความสั ม พั น ธ์ ข องผู ้ ค นที่ี มี ต ่ อ ชุมชน ไม่ว่าจะย้ายถิ่นฐานไป ณ ที่ แ ห่ ง ใดแต่ ใ นเทศกาลส� ำ คั ญ นี้ ที่นี่คือบ้านของพวกเขาเสมอ
FEATURE : สารคดี
‘บางกระดี่’
ศูนย์รวมภูมิปัญญามอญ เรื ่ อ งโดย : ชนมน ยาหยี , กษิ ด ิ ศ ศรี ว ิ ล ั ย ภาพโดย : เกศญา เกตุ โ กมุ ท
“อารยธรรมมอญมีอยู่ก่อนการเกิดขึ้นของรัฐไทยและพม่าเป็นเวลานาน มอญจึงเป็นชนชาติที่เคยมีบทบาท ส�ำคัญในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นแบบของอารยธรรมด้านการเมืองการปกครอง ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมของประเทศแถบนี้ อีกทั้งยังเป็นผู้น�ำศาสนาพุทธแบบเถรวาทมาสู่ภูมิภาคตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาล” ค�ำกล่าวข้างต้นของไบรอัน ลี ฟอสเตอร์ นักวิจัยด้านชาติพันธุ์ ในการศึกษาเรื่อง Ethnicity and Economy : The Case of The Mons in Thailand เมื่อ ค.ศ.1972 ท�ำให้ทราบว่า มอญเป็นชนชาติที่มีความร�่ำรวยในอารยธรรม มากเพียงใดก่อนพวกเขาจะกลายเป็นชนชาติที่ไร้ดินแดนอันเป็นเอกราชและอยู่ภายใต้ความกดดันทางการเมืองจาก การปกครองของพม่า จนกระทั่งบางส่วนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางเป็น ต้นมา ในประเทศไทยจึงมีชุมชนชาวมอญกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น�้ำในภาคกลาง เมื่อมนุษย์อพยพย้ายถิ่นฐานไปที่ใด ย่อมน�ำอารยธรรมของตนติดไปด้วยเป็นธรรมดา ชาวมอญเองก็เช่นกัน เมื่อ อพยพเข้ามาในประเทศไทย พวกเขาได้พกพาเอาอารยธรรมของชนชาติตดิ ตัวมาด้วย ซึง่ อารยธรรมทีว่ า่ รวมไปถึงภูมปิ ญ ั ญา ที่พวกเขาใช้เพื่อด�ำรงชีพ เช่น การผลิตข้าวของเครื่องใช้ หรือแม้กระทั่งการละเล่นและการดนตรี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ภูมิปัญญาที่พวกเขาพกพามาเหล่านี้ได้กลมกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย จนอาจท�ำให้เอกลักษณ์ที่เคยสร้าง ความแตกต่างให้กับชาวมอญเลือนหายไป ทว่าชุมชนชาวมอญหลายแห่งในประเทศไทยยังคงพยายามรักษาเอกลักษณ์ที่มาจากอารยธรรมของชนชาติ เอาไว้ ท ่ า มกลางยุ ค สมั ย ที่ เ ปลี่ ย นแปลง หนึ่ ง ในนั้ น คื อ ‘ชุ ม ชนมอญบางกระดี่ ’ ในกรุ ง เทพมหานคร ชุ ม ชนที่ ใ ช้ ‘การท่องเทีย่ ว’ เข้ามาเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญเพือ่ ท�ำให้เอกลักษณ์ของชนชาติยงั คงเป็นทีร่ บั รูต้ อ่ ไปในสังคม จนกระทัง่ ชุมชน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง เห็นได้จากรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 14
ชุมชนมอญบางกระดี่ แขวงแสมด�ำ เขตบางขุนเทียน ชุมชนแห่งนี้มีเรื่องราวความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่น่าสนใจ เป็นชุมชนซึ่งเป็นศูนย์รวมของทั้งงานฝีมือที่ สืบทอดวิธีท�ำมาจากบรรพบุรุษ และภูมิปัญญาในการหา เลี้ยงชีพจากวัสดุตามธรรมชาติ เช่น การท�ำเครื่องดนตรี มอญ การท�ำอาหารและขนมมอญ และการท�ำแส้ใบจาก เป็นต้น ธวัชพงศ์ มอญดะ หรือ ที่คนในชุมชนรู้จักกันใน นาม ‘พี่โอ’ ผู้ก่อตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญที่บางกระดี่ เล่าว่า ชุมชนมอญบางกระดี่ได้รวมตัวกันเป็นชุมชนขึ้นมา ตั้งแต่ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั หรือกว่า 1,302 ปีทแี่ ล้ว ปัจจุบนั ชุมชนมีสมาชิก ประมาณ 1,700 หลังคาเรือน หรือราว 5,000 คน และ ที่ส�ำคัญชาวบ้านร้อยละ 80 ยังใช้ภาษามอญอยู่ ธวัชพงศ์ยงั อธิบายอีกว่าทางทิศตะวันตกของชุมชน ติดกับคลองสนามชัยที่กั้นชุมชนกับป่าจากซึ่งเป็นพื้นที่ท�ำ มาหากินของคนในชุมชน ส่วนปากทางเข้าหมู่บ้านคือวัด บางกระดีซ่ งึ่ เป็นศูนย์กลางของชุมชนวัดแห่งนีเ้ ป็นสถานที่ ประกอบศาสนกิจของคนในชุมชน และเป็นพื้นที่รักษา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนทีท่ ำ� ให้ชมุ ชนเชือ่ ม ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับคนในชุมชนเองได้อีกทางหนึ่ง
น อ ก จ า ก นั้ น ใ น ชุ ม ช น ม อ ญ แ ห ่ ง นี้ ก็ ยั ง มี ‘ศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมมอญ’ ซึ่ ง เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห ลั ก ที่ รวบรวมหลักฐานทางวัฒนธรรมของชาวมอญเอาไว้ ศูนย์วัฒนธรรม ชุมชนบางกระดี่ ธวัชพงศ์ได้เล่าว่า เดิมทีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชนนัน้ เกิดขึน้ จาก ‘ความเสียดาย’ ของเขาเอง เนือ่ งจาก สมัยทีเ่ ขายังศึกษาอยูช่ นั้ ประถมศึกษาปีที่ 4 พระครูอนุกลู สิกขากรและคณะกรรมการชุมชนบางกระดี่เคยมีแนวคิด จะจั ด ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ขึ้ น เพื่ อ รวบรวมข้ า วของเครื่ อ งใช้ ของชาวมอญ แต่กลับไม่เป็นผล เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนจาก ภายนอกเข้ามากว้านซื้อข้าวของเครื่องของใช้ในชุมชนไป เป็นจ�ำนวนมาก ธวัชพงศ์ซึ่งก�ำลังบวชเรียนอยู่จึงตัดสินใจ สึกเพื่อออกมาสร้างศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญที่ใต้ถุนบ้าน ตนเอง เพื่อให้เป็นสถานที่รวบรวมผลงานจากภูมิปัญญา ท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง สะท้ อ นเรื่ อ งราวประเพณี ต ่ า ง ๆ ของมอญ โดยจัดแสดงทั้งการท�ำแส้ การท�ำอาหารประจ�ำชาติอย่าง ข้าวแช่ กาละแม และลอดช่อง หลั ง จากจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมมอญได้ สองปี ศู น ย์ ฯ ก็ เ ริ่ ม มี ชื่ อ เสี ย งขึ้ น มากขึ้ น หลั ง จาก ที่ ‘โครงการเดินตามรอยชลมารคของพระเจ้าเสือ’ ของ
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 15
กรุงเทพมหานครได้ลอ่ งเรือผ่านบริเวณชุมชนบางกระดี่ ซึ่ง เป็นทางผ่านไปสู่ศาลพันท้ายนรสิงห์ “ตอนนั้นมีสมาชิก คนหนึ่ ง ในคณะเดิ น เรื อ อยากแวะเข้ า ห้ อ งน�้ ำ แล้ ว พอ ลงมาเห็ น ว่ า ชุ ม ชนดู ก ว้ า งขวางเค้ า ก็ เ ลยเดิ น แวะชม เลยเห็นว่าชุมชนของเราน่าสนใจ น่าท่องเทีย่ ว หลังจากนัน้ ก็มรี ายการทีวเี ริม่ เข้ามาถ่ายอีกหลายช่อง” ธวัชพงศ์กล่าว อย่างภาคภูมิใจ แน่นอนว่าจ�ำนวนผูท้ เี่ ข้ามาเยีย่ มชมชุมชนมีมาก ขึ้ น เรื่ อ ยๆ บวกกั บ ขนาดใต้ ถุ น บ้ า นของธวั ช พงศ์ ที่เล็กเกินกว่าจะเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวมอญจาก ทั่วประเทศได้หมด ชุมชนจึงร่วมกับส�ำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเทีย่ ว กรุงเทพมหานคร และสถาบันไทยคดี ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีเ่ ห็นถึงความส�ำคัญของ การอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมมอญ เพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ “คราวนี้เราก็ ใช้ลักษณะบ้านในชุมชนที่เป็นใต้ถุนสูงให้เป็นประโยชน์ เราให้ ช าวบ้ า นจั ด การภู มิ ป ั ญ ญาอย่ า งเป็ น ระบบ ให้ชาวบ้านเสนอว่า ครัวเรือนของตนมีความถนัดอะไร หลังจากนัน้ ก็กระจายข้าวของเครือ่ งใช้ทร่ี วมไว้ไปตามบ้าน แต่ ล ะหลั ง เราจึ ง แบ่ ง ภู มิ ป ั ญ ญาหลั ก ๆ ได้ เ ป็ น บ ้ าน ท ะแย ม อญ บ ้ า น ข น ม บ ้ า น แ ส ้ แ ล ้ ว ก็ มี ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมที่นี่เป็นศูนย์กลางอยู่ด้านในสุดของ ชุมชน” ธวัชพงศ์อธิบายให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนา ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเขายังได้ เสริมอีกว่าแนวทางนี้ท�ำให้บ้านแต่ละหลังในชุมชนเป็นดั่ง ‘พิพธิ ภัณฑ์ทมี่ ชี วี ติ ’ จากคลังความรูข้ องผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่เจ้าของ บ้านหลังนั้น ๆ เอง บ้านทะแยมอญ บ้านภูมิปัญญาหลังแรกที่ ‘นิสิตนักศึกษา’ จะ พาผู ้ อ่ านไปเยี่ยมชม คือ ‘บ้านทะแยมอญ’ ซึ่งเปรียบ เสมือนพิพธิ ภัณฑ์ขนาดย่อมส�ำหรับจัดแสดงเครือ่ งดนตรีที่ ใช้ใน ‘วงทะแยมอญ’ วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวัฒนธรรมดนตรี ของปี่พาทย์มอญ โดย ณรงค์ฤทธิ์ คงปิ่น เมื่อ พ.ศ.2539 ได้ระบุว่า”ทะแยมอญ”เป็นเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของ
ชาวมอญที่ สื บ ทอดกั น มาแต่ โ บราณกาล โดยค� ำ ว่ า ‘ทะแย’ ในภาษามอญเรียกว่า ‘ถะเยะ’ แปลว่า ขับร้อง การแสดงทะแยมอญนั้นคล้ายคลึงกับการละเล่นพื้นเมือง ของไทย โดยมีลักษณะคล้ายกับการเล่นเพลงฉ่อย เพลง ล�ำตัด หรือเพลงพวงมาลัย แต่แตกต่างกันทีท่ ะแยมอญจะ ไม่มีการร้องค�ำหยาบโลน ซึ่งความต่างตรงนี้ถือเป็นเสน่ห์ อย่างหนึง่ ของทะแยมอญ การเล่นทะแยมอญมีทงั้ การร้อง และร�ำประกอบกับดนตรี และเนื้อหาหรือค�ำร้องจะขึ้น อยู่กับโอกาสในการแสดงเป็นส�ำคัญ ทั้งในงานมงคลและ งานอวมงคล ตลอดจนเทศกาลต่างๆ อย่างเช่นในเทศกาล สงกรานต์มอญที่เรามักจะได้ยินเสียงการเล่นทะแยมอญ อยู่ตลอดเวลา บ้ า นทะแยมอญแห่ ง ชุ ม ชนบางกระดี่ นั้ น อยู ่ ใ น ความดูแลของลุงกัลยา ปุงบางกระดี่ ผูเ้ ป็นทัง้ เจ้าของบ้าน และผู้สร้างสรรค์ผลงานเครื่องดนตรีทุกชิ้นในบ้านเอง โดยจะเน้ น รวบรวมเครื่ อ งดนตรี ป ระเภทเครื่ อ งสาย เป็นหลัก ประกอบด้วย จะเข้มอญ ซึ่งแตกต่างไปจากจะเข้ โดยทั่วไป เพราะเป็นการสลักไม้ให้เป็นรูปร่างจระเข้จริง และใช้เม็ดพลอยประดับให้เป็นนัยน์ตาของจระเข้ ทั้ง ยังมีซอสามสายมอญมีรปู ร่างคล้ายไวโอลิน หัวซอเป็นปลอก ไม้ส ลั ก ลวดลายสวยงาม นอกจากนี้ ยั ง มี เ ครื่ อ งดนตรี ประเภทอื่น เช่น กลองมอญสองหน้า และขลุ่ยมอญ “วงเครื่องสายมอญนั้นส�ำคัญต่อการเล่นทะแย มอญทุ ก ครั้ ง เพราะมี ห น้ า ที่ ค ลอเสี ย งของผู ้ ขั บ ร้ อ ง เพราะวงทะแยมอญมีเสียงเบา จะไม่กลบเสียงร้อง ท�ำให้ ผูฟ้ งั จะได้จบั ใจความเนือ้ ร้องทีเ่ ป็นเรือ่ งพุทธประวัติ หลักธรรม คติสอนใจ ชาดกต่าง ๆ ได้” ลุงกัลยากล่าว ลุ ง กั ล ยายั ง ได้ อ ธิ บ ายเกี่ ย วกั บ วงทะแยมอญนี้ เพิ่มเติมว่า ท�ำนองเพลงที่นิยมร้องในวงทะแยมอญนั้น มีสองท�ำนอง คือ เพลงของฝ่ายชายทีเ่ รียกว่า ‘เจิก้ มัว่ ’ เป็น เพลงที่ฝ่ายชายร้องน�ำขึ้นก่อนเพื่อให้ฝ่ายหญิงร้องโต้ตอบ ส่วนอีกท�ำนองเป็นเพลงทีฝ่ า่ ยหญิงร้องน�ำขึน้ ก่อนแล้วฝ่าย ชายร้องโต้ตอบเรียกว่า ‘โป้ตเซ่' น่าเสียดายที่ผู้เล่นในวง ทะแยมอญนั้นลดลงเรื่อย ๆ
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 16
เนื่องจากการเล่นต้องใช้ภาษามอญในการขับร้อง เกือบทั้งเพลง ขณะที่จ�ำนวนผู้ที่สามารถสื่อสารและเข้าใจ ภาษามอญได้อย่างถูกต้อง ในชุมชนก็ลดลงไปตามยุคสมัย ทว่าผูใ้ หญ่ในชุมชนอย่างลุงกัลยายังคงไว้ซง่ึ ความพยายาม ที่จะรักษาศิลปะอันงดงามนี้ไว้ โดยลุงกัลยาได้ร่วมกับผู้สูง อายุอีกท่านในชุมชนคือ ลุงจ�ำเรียน แจ้งสว่าง จัดตั้ง วงทะแยมอญ‘คณะหงส์ฟ้ารามัญ’ ขึ้น ซึ่งถือเป็นวงทะแย มอญวงเดียวทีเ่ หลืออยูใ่ นประเทศไทย “หงส์ฟา้ รามัญเป็น คณะเดียวที่มีการแสดงทะแยมอญในไทย ว่าง ๆ เราก็ พยายามฝึกเด็ก ๆ ละแวกนี้ให้เล่นดนตรีเอาไว้ จะได้ช่วย กันอนุรักษ์ของมอญอย่างเดิม ๆ ไว้ อยากให้หมู่มอญเรา อนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นดนตรีมอญ เครื่องสายมอญ เอาไว้ เขาจะได้รวู้ า่ ทะแยมอญเป็นวัฒนธรรมประเพณีของ มอญ ของคนไทยเชื้อสายมอญที่ยังมีอยู่” ลุงกัลยากล่าว
ลุงกัลยา ปุงบางกระดี่
บ้ า นขนมสมจิ ต ร “คนมอญนิ ย มซื้ อ ขนมไปใส่ บ าตรในวั น พระ แล้วก็เแบ่งไปให้ญาติพี่น้องด้วย นี่เป็นประเพณีที่สืบทอด มานานแล้ว เวลาเอาขนมไปให้ญาติ ส่วนใหญ่จะให้ลูก หลานเป็นคนน�ำเอาไป พอไปถึงบ้านญาติผู้ใหญ่ เขาจะได้ สวดอาราธนาศีลให้พรกับลูกหลานเป็นสิริมงคล” ป้าสมจิตร เตียเปิ้น เจ้าของบ้านขนมสมจิตร อีกบ้านทีเ่ ป็นหนึง่ ในเหล่าบ้านภูมปิ ญ ั ญาของชุมชน เล่าให้ ฟังถึงความส�ำคัญของขนมหวานที่มีต่อชาวมอญในชุมชน บางกระดี่ ชุมชนมอญบางกระดีแ่ ห่งนี้ ยังคงรักษาภูมปิ ญ ั ญา การท�ำอาหารหวาน หรือ ‘ขนมชาวรามัญ’ ที่คนมอญรุ่น บรรพบุรษุ เรียนรูส้ ตู รมาจากชาวโปรตุเกสในยุคอาณานิคม โดยมี ‘บ้านขนมสมจิตร’ เป็นบ้านหลังแรกในชุมชนที่ท�ำ ขนม เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด และเม็ดขนุน ป้าสมจิตร เตียเปิ้น นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 17
นอกจากนักท่องเทีย่ วทีเ่ ข้ามาเยีย่ มชมชุมชนแล้ว ลูกค้าของบ้านขนมมักเป็นคนใน ชุมชนที่มาซื้อเพื่อน�ำไปถวายพระในเทศกาลส�ำคัญ “ร้านอยู่มาได้ถึงทุกวันนี้เพราะชาวบ้าน ในชุมชน เวลามาซื้อเขาเข้ามาเหมาทีละหลายบาท เอาไปประกอบพิธีส�ำคัญ ๆ มากสุดก็มี ครั้งหนึ่งเหมาไปเกือบหมื่น” ป้าสมจิตรกล่าวอย่างออกรส “ไม่ใช่แต่พิธีมงคลนะที่ใช้ขนม งานศพก็ยังใช้ไว้เลี้ยงแขก” ป้าสมจิตรเสริม บ้านขนมสมจิตรตั้งอยู่ริมถนนบางกระดี่ ก่อนทางขึ้นสะพานข้ามไปวัดบางกระดี่ บ้านขนมแห่งนี้สามารถสังเกตได้ง่ายเพราะมีป้ายร้านที่ค่อนข้างใหญ่ รวมไปถึงขนมมากมาย ที่วางขายอยู่ด้านหน้า ลักษณะขนมของที่นี่ค่อนข้างแตกต่างจากร้านขนมในตัวเมืองอย่าง ชัดเจน เนื่องจากชาวมอญมีวิธีการท�ำขนมที่เป็นเอกลักษณ์จากการปั้นด้วยมือ ท�ำให้ขนาด ของขนม โดยเฉพาะเม็ดขนุน ใหญ่กว่าขนมโดยทั่วไปมาก ต่างกับร้านขนมส่วนใหญ่ในยุคนี้ ที่ใช้เครื่องอัดในการท�ำ ส่งผลให้เนื้อขนมค่อนข้างแข็งและมีขนาดเล็ก
ฝอยทอง วั ต ถุ ดิ บ
1. ไข่แดงของไข่เป็ด 3 ฟอง 2. ไข่แดงของไข่ไก่ 2 ฟอง 3. กลิ่นดอกมะลิ 1/2 ช้อนชา 4. ใบเตย 1 ใบ 5. น�้ำตาลทราย 600 ก. 6. น�้ำเปล่า 400 มล.
วิ ธี ท� ำ
1. น�ำน�้ำเปล่า น�้ำตาลทราย ใบเตย กลิ่น มะลิ ลงต้มในกระทะทองเหลือง เปิดไฟแรง 2. ตีไข่ไก่และไข่เป็ดให้เข้ากัน น�ำไปกรอด้วย กระชอนตาถี่ จากนั้นตักไข่ใส่กรวยส�ำหรับท�ำ ฝอยทอง 3. ตักใบเตยออก และหยอดไข่ให้เป็นสาย วน ให้รอบกระทะทองเหลืองประมาณ 20-30 รอบ ต่อ 1 ชิ้น 4. ใช่ไม้ปลายแหลม ค่อยๆ ช้อนฝอยทองขึ้น มาให้เป็นแผ่น วางพักไว้บนตะแกรง 30 นาที ที่มา : http://www.foodtravel.tv ภาพจาก : http://www.centerwedding.com นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 18
บ้านแส้ นอกเหนือจากภูมิปัญญาด้านดนตรีและการท�ำ ขนมแล้ว ทีช่ มุ ชนบางกระดีแ่ ห่งนีย้ งั มีการท�ำเครือ่ งใช้ทหี่ า ได้ยากในปัจจุบัน อย่าง ‘แส้’ ที่มีความคงทนแข็งแรง สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ด้วยการปัดยุงและแมลงและ อาจน�ำไปใช้ปัดฝุ่นท�ำความสะอาดบ้านได้อีกด้วย เมื่ อ เดิ น เข้ า มาที่ ด ้ า นในของชุ ม ชนจะพบ ‘บ้านแส้’ ซึ่งเป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีแส้แขวนอยู่จ�ำนวน มาก ทัง้ สีสม้ และสีนำ�้ ตาลอ่อนสลับกันไป เจ้าของบ้านแห่ง นี้คือ ลุงรอด และป้าบุปผา นิ่มตานี สองสามีภรรยาที่มี ฝีมอื ในการท�ำแส้จากใบจาก จนกระทัง่ มีผคู้ นจากภายนอก สนใจและติดต่อเข้ามาขอเรียนรูก้ ารท�ำแส้ ซึง่ ส่วนใหญ่เป็น นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แม้จะเป็นคนไทยทีแ่ ต่งงานกับมอญแล้วย้ายเข้า มาอยู่ในชุมชนในภายหลัง แต่ลุงรอดก็ยังเห็นความส�ำคัญ ของการท� ำ ให้ ชุ ม ชนบางกระดี่ เ ป็ น พื้ น ที่ ท ่ อ งเที่ ย วเชิ ง วัฒนธรรมอย่างแท้จริง ลุงรอดบอกว่าแส้ที่ท�ำขึ้นในบ้าน จะไม่ขาย ให้คนภายนอกเพื่อการพาณิชย์โดยตรง แต่จะ ขายให้ ชาวบ้านใน ชุมชนได้ใช้สอย หรือขายให้กับผู้ที่เข้า มาเที่ยวชมชุมชนเท่านั้น
แส้ที่ท�ำตั้งใจท�ำด้วยมือเอง อยากให้เป็นมรดกของชุมชน ให้คนมาเที่ยวดู มาซื้อที่ชุมชนนี้ อยากให้เป็นการอนุรักษ์ สมบัติของชุมชน ไม่ใช่เน้นขายเอาเงิน" ลุงรอดกล่าว ลุ ง รอดยั ง ได้ อ ธิ บ ายขั้ น ตอนในการท� ำ แส้ ว ่ า เริ่มแรกจะต้องใช้ ‘ดอกจาก’ ที่เก็บมาทั้งก้านจากดงต้น จากบริเวณสองฝั่งคลองสนามชัย เมื่อได้ดอกจากมาแล้ว ต้องท�ำการเลือกก้านดอกที่เป็น ‘ก้านโหม่ง’ คือมีลักษณะ ก้านดอกเป็นเปลือกแข็งสีนำ�้ ตาล จากนัน้ ตัดส่วนดอกออก แล้วน�ำส่วนก้านดังกล่าวมาตีจนแตกเป็นเส้นใยให้ยาวตาม ความต้องการ ระหว่างตีตอ้ งคอยใช้มอื สางเส้นใยจากไม่ให้ พันกัน จะย้อมสีหรือไม่ก็แล้วแต่ความชอบ
เราจึ ง เห็ น ได้ ว ่ า
‘ภู มิ ป ั ญ ญา’ ที่ ช าวมอญ บางกระดีไ่ ด้ พกติดตัวมาตัง้ แต่รนุ่ บรรพบุรษุ นัน้ มีบทบาท ส�ำคัญมากเพียงใดต่อการด�ำรงชีพของคนในชุมชน เพราะ นอกจากมันจะท�ำให้ชุมชนมีความงดงามที่ชวนให้นักท่อง เที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว ภูมิปัญญาอันเป็นผลผลิตจาก อารยธรรมเก่าแก่ของชาวมอญยังเป็นดัง่ เครือ่ งมือส�ำคัญที่ พวกเขาใช้เพือ่ ต่อรองอัตลักษณ์แห่งชนชาติ ไม่ให้เลือนหาย ไปท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เชี่ยวแรง
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 19
INTERVIEW : สั ม ภาษณ์
มองมอญอี ก มุ ม กั บ
ธวัชพงศ์ มอญดะ เรื่ อ งและภาพโดย : อภิ ส รา บรรทั ด เที่ ย ง
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 20
ท�ำความรู้จักกับที่มา เอกลักษณ์ และการรักษา ไว้ซึ่งชาติของมอญ ผ่านมุมมองของ ธวัชพงศ์ มอญดะ ชายเชื้ อ สายมอญในชุ ม ชนมอญบ้ า นบางกระดี่ แขวงแสมด� ำ เขตบางขุ น เที ย น กรุ ง เทพมหานคร มหาดเล็ ก รั ก ษาพระองค์ ในสมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และผู้ก่อตั้ง ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมมอญ ทีค่ รัง้ หนึง่ ได้เคยลักลอบเข้าไป ในรั ฐ มอญ ประเทศพม่ า เพื่ อ ค้ น หาต้ น ก� ำ เนิ ด ของ บรรพบุรุษ มอญมาอยู่ในไทยได้อย่างไร โดยเฉพาะที่บางกระดี่ แห่งนี้? มีการจดบันทึกว่ามอญอพยพเข้ามาไทยถึงเก้าครัง้ แต่จริง ๆ แล้วมากกว่านั้นเพราะว่ามอญมีการติดต่อและ ค้าขายระหว่างไทยกับมอญนานมาแล้ว การอพยพเข้ามา ของคนมอญก็คือ หนีสงครามที่สู้รบกับพม่า โดยสงคราม ครัง้ ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ เกีย่ วกับการแย่งชิงพระไตรปิฎก คนมอญก็ เลยร่นหนีเข้าสู่ประเทศไทย มอญบางกระดี่จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่มอญที่มาจาก เมืองมอญเลยซะทีเดียว เป็นมอญอพยพเข้ามาอยูใ่ นชุมชน อืน่ ๆ แล้วค่อยมาตัง้ ถิน่ ฐานทีน่ ี่ เดิมทีบางกระดีเ่ ป็นป่าจาก และป่าฟืน คนมอญมีความรู้เรื่องการท�ำจากท�ำฟืนก็เลย มาตัดจากตัดฟืนตรงนี้ การไปมาหลายหนไม่สะดวก ก็ตั้ง ถิ่นฐานที่นี่ซะเลย เราสามารถแยกแยะลักษณะคนมอญออกจากคนไทยได้ อย่างไรบ้าง หรือมีวัฒนธรรมอะไรของมอญที่แตกต่าง จากไทยอย่างชัดเจน? คนมอญกับคนไทยจะแยกกันยากมาก แต่คนมอญ ส่ ว นใหญ่ จ ะผิ ว สี ด� ำ แดง ตาโต ดั้ ง จมู ก คม ใบหน้ า รูปไข่ ถ้าผู้หญิงจะแยกได้อย่างชัดเจนที่การเกล้ามวย ในส่วนวัฒนธรรม คนมอญนับถือพระพุทธศาสนาก็จริง แต่ก็ยังนับถือผีคู่ไปด้วย การถือผีของคนมอญก็ถือว่าเป็น กรอบอย่างหนึ่งที่ใช้สอนให้ลูกหลานท�ำคุณงามความดี ไม่ท�ำความชั่วต่อวงศ์ตระกูลและผู้อื่น ประเพณีของเรา ก็ แ ตกต่ า ง ไม่ ว ่ า จะเป็ น ประเพณี ก ารเกิ ด การตาย การด�ำรงชีวิต
“เราได้เห็นประเพณีมอญ มาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เล็กจนโต ปู่ยาตา ยายก็จูงมือเราเข้าวัด พ่อเราเองก็ชอบแอบไป ช่วยเหลือทหารมอญ” การที่เป็นคนมอญในไทย เคยมีใครตั้งค�ำถามถึงชนชาติ ของพี่บ้างมั้ย? ก็มีบ้าง สมัยเด็กตอนเรียนลิลิตตะเลงพ่าย ก็จะมี การพูดถึงมอญอยู่ในบทเรียนก็จะโดนล้อ แต่เราก็ไม่ได้คิด อะไร เราภูมิใจซะอีกที่ท�ำให้เขารู้จักมอญ โดยส่วนตัวมีความภูมิใจกับมอญอย่างไร แล้วอะไรเป็น แรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมาท�ำงานเกี่ยวกับมอญ? เราได้เห็นประเพณีมอญมาตัง้ แต่เด็ก ตัง้ แต่เล็กจน โตเราก็ได้เข้าวัด ปูย่ าตายายก็จงู มือเราเข้าวัด เห็นการร�ำผี พิธีกรรม งานบวช งานแต่ง พ่อเราเองก็ชอบแอบไปช่วย เหลือด้านทหารมอญ เอายาเอาน�้ำเกลือ แม้กระทั่งแอบ ซ่อนพวกกระสุน อาวุธไปส่งให้คนมอญให้ทหารมอญตาม ชายแดน พ่อไปทีเป็นเดือน กลับมาได้ที 10 วันก็ไปอีก ยิ่งท�ำให้เราฝังใจ อยากจะท�ำแบบพ่อ กลายเป็นความ ภาคภูมิใจในความเป็นมอญของเรา ก็เลยท�ำให้เราลุกขึ้น มาท�ำงานเรื่องมอญ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญนี้มีที่มาอย่างไร? ตอนทีเ่ ราอยูป่ . 4 มีคณะกรรมการในชุมชนเขาพูด ว่าจะท�ำพิพิธภัณฑ์มอญขึ้นที่วัด เราโตขึ้นมาจบม.3 ก็ยัง ไม่มีพิพิธภัณฑ์ จนกระทั่งเราไปเรียนปวช. แล้วบวชอยู่ที่ วัดบางกระดี่ เราเห็นเขารื้อโรงลิเกเก่า น่าเสียดายมาก บอกจะท�ำพิพิธภัณฑ์ก็ยังไม่เห็นท�ำสักที ช่วงที่เราบวชได้
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 21
เข้าเดือนที่ 8 ก็เห็นรถเข้ามากว้านซื้อของเก่าในชุมชน เราเห็นก็เสียดาย เลยคุยกับเจ้าอาวาสบอกให้ทำ� พิพธิ ภัณฑ์ ท่านเจ้าอาวาสก็เห็นดีด้วยแต่ไม่มีที่ให้ท�ำ เลยขอสึกแล้ว ออกมาเริ่มรวบรวมข้าวของเริ่มท�ำพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา กลาย เป็นศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมมอญ มาจนถึงปัจจุบนั นีก้ ป็ ระมาณ สิบเก้าปีแล้ว ท�ำมาตั้งแต่อายุ 21 ได้ยินว่าครั้งหนึ่งที่เคยลักลอบเข้ารัฐมอญในพม่า ช่วย เล่าให้ฟังหน่อยว่าท�ำไมถึงต้องเข้าไป? กชภรณ์ ตราโมท นักวิจัยจากสถาบันไทยคดีศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ซึ่ ง ได้ รั บ ทุ น จาก จิม ทอมป์สนั เขาก�ำลังท�ำวิจยั เรือ่ งการท�ำผ้ามอญ เขาเลือก เราเป็นผู้ช่วยวิจัย อาจารย์บอกว่าจะต้องเก็บตัวอย่างผ้า มอญในรัฐมอญมาให้ได้ ซึ่งต้องลงพื้นที่มะละแหม่ง ซึ่งแต่ เดิ ม พื้ น ที่ นี้ เ ป็ น รั ฐ ต้ อ งห้ า ม จะไม่ ค ่ อ ยให้ ค นไทยและ นักท่องเทีย่ วเข้าไป แต่ดว้ ยความอยากไปเห็น อยากรูเ้ รือ่ ง ราวของแผ่นดินมอญ เลยตัดสินใจไป เข้าไปได้อย่างไร อยู่ที่นั่นเป็นอย่างไรบ้าง? การเดินทางของเราเป็นการลักลอบเข้าไป ไปถึง แม่สอดก็ไม่รู้จะข้ามไปยังไง ถ้าข้ามตรงสะพานที่นักท่อง เที่ยวข้ามแล้วเราไม่กลับมามันก็จะเป็นปัญหาระหว่าง ประเทศว่าคนไทยหายเข้าไป ก็เลยนั่งอยู่ที่ตีนสะพานตรง แม่สอด พอได้ยินเสียงคนพูดภาษามอญคุยกันก็เลยเดิน ตามเขา เราโชคดีทเี่ ราพูดภาษามอญได้ ก็บอกเขาว่าจะไป หมูบ่ า้ นเกาะสักทีม่ ะละแหม่ง เขาเลยพาเรานัง่ มอเตอร์ไซค์ เข้าไปถึงค่ายทหารมอญที่เมียวดีเพื่อขึ้นรถไปมะละแหม่ง พอไปถึงที่นั่นก็ไปพึ่งวัด เจ้าอาวาสเลยพาไปฝากให้อยู่กับ ชาวบ้านที่หมู่บ้าน แล้วก็โกหกคนอื่นว่าเป็นมอญพม่า อยู่ได้สักหกเดือน คนก็เริ่มรู้แล้ว เพราะเขาจับ ส�ำเนียงเราได้ เขาก็เรียกเราว่ามอญไทย แล้วก็เริ่มมีทหาร พม่ามาตามจับ แต่กเ็ ป็นความโชคดีของเราได้รบั ความช่วย เหลือจากทหารมอญ แล้วพอดีมที หารมอญทีย่ งิ กันกับพม่า เสียชีวิตไปคนหนึ่ง ก็เลยเอาชื่อเราเข้าสวมให้ แล้วให้เรา ไปท�ำบัตรประชาชน บัตรทหารมอญ เราจึงได้ชอื่ เป็นทหาร มอญ เป็นประชาชนคนมอญ ก็เลยตัดสินใจกลับไปบวชกับ เจ้าอาวาสที่วัดในเกาะสักหนึ่งปี และได้เดินทางไปนู้นไปนี่ ธวัชพงศ์ขณะบวชที่พม่า
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 22
“กาลเวลาท�ำให้ อะไรหลายอย่างเปลี่ยนไป แต่ชุมชนเรายังโชคดี ที่ยังมีคนแก่คนเฒ่า เป็นคลังสมองให้เราอยู่ ประเพณีก็ยังปฎิบัติ กันอยู่”
ถูกกลืน แต่ถ้าถามว่าวันข้างหน้าอีกสิบปีมันจะหายไปมั้ย มันพูดไม่ได้ ที่เราท�ำอยู่ตรงนี้ เราแค่ท�ำให้เต็มที่ให้ดีที่สุด ที่จริงเด็กในชุมชนรุ่นหลัง ๆ เขาก็ยังมีความภูมิใจ ในความเป็นมอญของเขานะ เขาก็ยังรู้ภาษา เวลามีงาน กิจกรรมประเพณีอะไรในชุมชนก็จะได้ก�ำลังจากพวกเขา มาช่วยเยอะมาก พวกเขารู้ว่าประเพณีนี้เด็กต้องมาท�ำ อันนี้ จะรู้โดยอัตโนมัติเลยว่าหน้าที่ของเขาในชุมชน คือ อะไร ทุกอย่างถือเป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอยู่แล้ว เป็นการปลูกฝังให้เห็นวัฒนธรรมไปในตัว อยากให้หน่วยงานใดของรัฐเข้ามาช่วยเหลือเรื่องนี้เป็น พิเศษมั้ย? ภาครัฐเราก็อยากให้เข้ามาช่วย โดยเฉพาะของ กระทรวงวัฒนธรรม เราก็เคยท�ำหนังสือไปหลายหนแล้ว แต่ก็เงียบ เราก็เลยต้องดิ้นรนท�ำกันเองในแบบฉบับที่เรา ท�ำได้
ในรัฐมอญ เก็บตัวอย่างผ้าทอมอญ พวกผ้าต่าง ๆ ผ้าผี ผ้านุ่งทั่วไป ผ้าเก่า ในเมืองไทยไม่มีแล้วไปให้ทีมวิจัย และ ก็ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นสองปีอย่างมีความสุขแล้วกลับมา ผ้ามอญทีต่ อนนีไ้ ม่มใี นไทยแล้ว หรือภาษามอญทีค่ นพูด ได้น้อยลง คิดอย่างไรกับวัฒนธรรมมอญในไทยก�ำลัง เจือจางไป? ผมว่าวัฒนธรรมมอญมันก็ใกล้เคียงกับของคนไทย ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาของชุมชน ว่าใครจะเก็บอะไรได้ มากได้น ้อยขนาดไหน เพราะตอนนี้ความเจริญ ถนน หนทาง กาลเวลามันท�ำให้อะไรหลายอย่างเปลีย่ นแปลงไป อยูแ่ ล้ว แต่ชมุ ชนเรายังโชคดีทมี่ คี นเฒ่าคนแก่ทยี่ งั เป็นคลัง สมองให้เราอยู่เยอะ ประเพณีก็ยังปฏิบัติกันอยู่ มันก็เลย ท�ำให้อะไรหลาย ๆ อย่างยังอยู่คู่คนมอญ แล้วในอนาคตมองว่าจะรักษาอัตลักษณ์ชนชาติเราไว้ได้ อย่างไร สามารถฝากความหวังไว้กบั เด็กรุน่ หลังได้ไหม? เราพูดไม่ได้หรอกครับ อย่างถ้าเกิดผู้ชายมอญ แต่งงานกับผูห้ ญิงไทย ทางผูห้ ญิงเขาก็ตอ้ งมาเข้าทางมอญ เพราะว่าผีจะอยู่กับลูกผู้ชาย แต่ถ้าเกิดผู้หญิงมอญไปแต่ง กับคนไทย เขาก็แค่หมดผี เพราะฉะนัน้ มันยังยากทีจ่ ะท�ำให้ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 23
ธวัชพงศ์ขณะเดินทางศึกษาศิลปะวัฒนธรรมมอญ
TRAVEL : ท่ อ งเที ่ ย ว
ดื่ ม ชิ ล ล์ ๆ บนเกาะเกร็ ด พื้ น ที่ ผ สมของความเก่ าและใหม่ เรื ่ อ งและภาพ โดย : นริ ศ รา สื ่ อ ไพศาล
บ่ายวันเสาร์หนึง่ ในหน้าร้อนอันอบอ้าว หลังจาก ขับรถมาเกือบชั่วโมง ยานพาหนะสี่ล้อจึงได้เคลื่อนตัว ผ่านทางด่วนด่านที่ 3 แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด อีก 4 กิโลเมตรเราก็จะไปถึงท่าเรือข้ามฟากไปยังเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นหมุดหมายของเราในวันนี้
เปิ ด ต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วให้ เ ข้ า มานั่ ง ชิ ล ล์ ซึ บ ซั บ บรรยากาศไลฟ์สไตล์บนพื้นที่ชุมชนเก่าของชาวมอญที่ เข้ากันได้อย่างไม่ขัดเขิน
ท่าเรือไปยังเกาะเกร็ดอยู่ที่วัดสนามเหนือ ซึ่งจะ พาเราข้ามแม่นำ�้ เจ้าพระยาไปยังวัดปรมัยกิ าวาส วัดส�ำคัญ บนเกาะเกร็ดในราคาไม่แพงเพียงเทีย่ วละ 2 บาท หลังจาก ตากแดดยืนรออยู่ราว 5 นาที เรือข้ามฟากก็เข้าเทียบท่า พาหนะลอยน�้ำที่แล่นเอื่อยท่ามกลางแดดยามบ่ายค่อย ๆ พาเราข้ามไปยังเกาะเกร็ด เกาะกลางน�ำ้ แห่งแม่นำ�้ เจ้าพระยา แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อด้านเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัด นนทบุรี ที่ส�ำคัญยังเป็นชุมชนชาวมอญเก่าแก่นับตั้งแต่ สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช
ตลอดทางเดินจากปากทางเข้าหมู่ที่ 1 ทั้ง 2 ฝั่งมี ร้ า นอาหารและร้ า นกาแฟที่ ต กแต่ ง อย่ า งทั น สมั ย อยู ่ ประปราย จุดหมายของเราในวันนี้คือร้าน ‘CHIT BEER’ ร้านคราฟเบียร์รมิ น�ำ้ ทีก่ ำ� ลังโด่งดังในโลกออนไลน์เพือ่ ลอง เบียร์โฮมเมดสัก 2-3 แก้ว โดยมี ‘พี่ชิต’ วิชิต ซ้ายเกล้า เจ้าของร้านช่วยแนะน�ำเบียร์ที่น่าสนใจ นอกจากจะขาย คราฟท์เบียร์แล้ว ทีน่ ยี่ งั เป็นโรงเรียนสอนท�ำคราฟท์เบียร์ให้ กับคนที่สนใจ และยังเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนส�ำหรับชาว ต่ า งชาติ ที่ ส นใจในเรื่ อ งกระบวนการท� ำ เบี ย ร์ อี ก ด้ ว ย ยืนยันได้จากจ�ำนวนนักดืม่ ทีเ่ ต็มร้านจนไม่มที นี่ งั่ และเกือบ ครึ่งเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางมาเพื่อดื่มเบียร์โดยเฉพาะ
หลังจากลงจากเรือข้ามฟาก นักท่องเที่ยวต่างก็ เลีย้ วขวามุ่งหน้าเข้าสู่โซนตลาดนัดเพื่อจับจ่ายซื้อของ บ้าง ก็หาเช่าจักรยานขี่รอบเกาะตลอดระยะทาง 6 กิโลเมตร แต่จุดหมายของ ‘นิสิตนักศึกษา’ ไม่ใช่การเดินชมตลาด เราเดินเลี้ยวซ้ายเข้าสู่หมู่ 1 ซึ่งเป็นชุมชนบ้านริมน�้ำ ที่มี บรรดาร้านกาแฟและร้านอาหารหลายเจ้าจับจองพื้ น ที่
เบียร์แก้วแรกที่ได้ลิ้มลองคือ Kolsch เป็นเบียร์ ชนิดลาเกอร์ (Lager) ซึง่ เป็นเบียร์สเี หลืองใส ๆ รสชาติเบา ให้ความรู้สึกสดชื่น ส่วนแก้วต่อมาคือ Amber เป็นเบียร์ ชนิดเอล (Ale) ซึ่งมีสีค่อนไปทางเหลืองอ�ำพันตามชื่อ โดยรสชาติและกลิ่นจะเข้มข้นกว่า โดยรวมแล้วรสชาติ เบียร์ดี คุ้มค่าราคาแก้วละ 120 บาท บวกกับบรรยากาศ
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 24
ริมแม่นำ�้ เจ้าพระยาน่านัง่ แล้ว ถือเป็นจุดทีค่ นชอบดืม่ เบียร์ ยั ง ใช้ ส อยได้ จ ริ ง อี ก ด้ ว ยนอกจากนั้ น พี่ เ บญยั ง ได้ สั่ ง ท� ำ ไม่ควรพลาดหากแวะมาเยือนเกาะเกร็ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อื่ น ๆ เช่ น กาน�้ ำ และถ้ ว ยบดกาแฟด้ ว ยมื อ ขนาดเล็ก แม้ว่าร้านกาแฟของเธอจะเป็นร้านที่มีรูปแบบ ช่วงบ่ายแก่ ๆ เพราะร้านเบียร์คนแน่นจนไม่มีที่นั่ง ทันสมัย ตกแต่งแบบโมเดิร์น ตอบรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ‘พีเ่ บญ’ หรือ เบญจมาศ แก้วเก็บ เจ้าของร้านกาแฟ ‘คัว่ มือ’ ที่ชอบจิบกาแฟและถ่ายภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็เหมือน ร้านกาแฟทันสมัยถ่ายรูปสวย ซึ่งเปิดอยู่ตรงข้ามร้านเบียร์ เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม การอยู่ร่วมกันกับผู้ที่อยู่ จึงใจดีให้เรายกเบียร์มานั่งจิบที่ร้านของเธอแทน เธอไม่ใช่ อาศัยมาก่อนนั้นเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนเกาะ คนเกาะเกร็ดโดยพื้นเพ เพียงแต่มาเช่าที่เปิดร้านกาแฟที่นี่ เกร็ด แต่เธอก็มองเห็นถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของชุมชน ได้ 7 เดือนแล้ว นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 แห่งนี้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้บางอย่างในร้านมีความ กลมกลืน ผสมผสานไปกับวัฒนธรรมถิ่นเดิม “ร้านพี่จะเน้นความสดใหม่ของกาแฟ และเน้นให้ ลูกค้ามาท�ำเอง” พี่เบญบอก โดยจุดขายของร้านคือจะมี “ก็ปรับตัวอยู่กันได้” พี่เบญเสริมว่าการที่หมู่ 1 มี เมนูทใี่ ห้ลกู ค้าท�ำกาแฟด้วยตนเอง เริม่ ตัง้ แต่ควั่ เมล็ดกาแฟ คาเฟ่และร้านค้าทันสมัยเกิดขึน้ เป็นการเรียกนักท่องเทีย่ ว จากนั้นน�ำมาบด ชง และดื่ม โดยเมนูกาแฟท�ำมืออยู่ที่ชุด ต่างชาติให้เพิ่มมากขึ้นด้วย “ร้านแบบนี้ฝรั่งเขาชอบแนว ๆ ละ 200 บาทเท่านั้น ดื่มได้หลายคนอีกต่างหาก นี้น่ะ ฝรัง่ เขาจะไม่ชอบเดินทางโน้น (ตลาดหมู่ 7) เมือ่ เช้าพี่ ก็ขายกาดินเผาไปใบหนึ่ง ฝรั่ง คนญี่ปุ่น เขาชอบ” พี่เบญ แม้ว่าจะไม่ใช่คนท้องที่ แต่พี่เบญก็สนิทสนมกับ บอก ก่อนขอตัวไปต้อนรับลูกค้าต่างชาติชุดใหม่ที่เดิน เพื่อนบ้านเป็นอย่างดี ที่ส�ำคัญในร้านกาแฟ ‘คั่วมือ’ นั้น เหงื่อซ่กเข้ามาในร้าน เป็นแก้วกาแฟที่ท�ำจากเครื่องปั้นดินเผาซึ่งสั่งท�ำโดยตรง จาก ‘กลุม่ หัตถกรรมเครือ่ งปัน้ ดินเผา หมู่ 1 โอทอปต้นแบบ’ เกาะเกร็ดยังคงเป็นที่ ๆ มีนกั ท่องเทีย่ วแวะเวียนมา ทีก่ อ่ ตัง้ แต่ปี พ.ศ.2540 เพือ่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิก เยี่ยมชมเรื่อย ๆ ร้านค้าจากแต่ก่อนที่เป็นของคนในชุมชน ในกลุ ่ ม การท� ำ หั ต ถกรรมเครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผาของชาวไทย ท�ำกันเอง ก็เริ่มมีคนนอกเข้ามาจับจองพื้นที่มากขึ้นพร้อม เชื้อสายมอญในพื้นที่ จนได้มีการพัฒนาฝีมือ คุณภาพ และ กับความทันสมัยที่เข้ามาด้วย หลายคนอาจจะคิดว่าเกาะ รูปแบบผลิตภัณฑ์ตามสมัยปัจจุบันและเพื่อให้ชุมชนมอญ เกร็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ เต็มไปด้วยวัฒนธรรม เกาะเกร็ดเป็นศูนย์การเรียนรู้และศูนย์กลางการผลิตและ และวิถีชีวิตดั้งเดิม แต่ในอีกมุมหนึ่ง เกาะเกร็ดก็เริ่มมีร้าน จ�ำหน่ายเครื่องปั้นดินเผา คาเฟ่ ฮิ ป ๆ เกิ ด ขึ้ น หลายแห่ ง โดยที่ ร ้ า นบางร้ า นก็ พยายามผสมผสานไลฟ์สไตล์ทนั สมัยให้เข้ากับความเก่าแก่ แก้วกาแฟของร้าน ‘คัว่ มือ’ จึงเป็นถ้วยกาแฟดินเผา และดั้งเดิมของชุมชน เพื่อให้มีจุดขายเรียกนักท่องเที่ยวให้ ทรงกลมมีหจู บั ทีผ่ ลิตจากดินเหนียวท้องนา มีการสกรีนโลโก้ แวะเวียนเข้ามามากขึน้ เป็นความสัมพันธ์แบบพึง่ พาอาศัย ของร้านบนแก้ว ซึ่งนอกจากจะเป็นของที่ระลึกได้แล้ว เพือ่ รักษาการท่องเที่ยวแห่งเกาะเกร็ดให้ยั่งยืน
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 25
FOOD : อาหาร
ความพิถีพิถัน แห่งชนชาติ
เรื ่ อ งโดย : มั น ตา อำ�นวยเวโรจน์
ชาวมอญมีชื่อเสียงในเรื่องการสืบทอดวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านอาหาร อันละเอียดลออและเต็มไปด้วยขั้นตอนการปรุงที่พิถีพิถัน วัฒนธรรมอาหารของพวกเขา มักมาควบคู่กับพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ นอกจากนั้นวัฒนธรรม อาหารของชาวมอญยั ง ได้ ก ลายมาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของวั ฒ นธรรมอาหารไทยในปั จ จุ บั น หากกล่าวถึงอาหารไทยที่ได้รับอิทธิพลจากมอญ ข้าวแช่คงเป็นจานแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง ทว่าข้าวแช่ในแบบฉบับมอญแท้ๆ นั้นเป็นอย่างไร เรือ่ งราวของข้าวแช่มอญได้ถกู บันทึกไว้ในงานวิชาการจ�ำนวนมากทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับวิถชี วี ติ ของชาวมอญ อรสา เงินฉาย ได้ระบุไว้ในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมชุมชนชาวมอญเกาะเกร็ด เมื่อปีพ.ศ.2550 ว่า ข้าวแช่เป็นอาหารที่ชนชาติมอญนิยมน�ำมาทําในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ใน ภาษามอญเรียกว่า ‘เปิงด้าจก์’ แปลตรงตัวว่า ‘ข้าวนํ้า’ จะรับประทานกับเครื่องเคียงห้าถึงเจ็ด ชนิด เช่น ผัดผักกาดกับกะทิ เนื้อเค็มผัดกะทิ ลูกกะปิทอด กระเทียมดองผัดไข่ หอมแดงสอดไส้ ปลาเค็มผัดหวาน พริกหยวกสอดไส้ไข่เค็ม เป็นต้น ทว่าข้าวแช่มอญไม่ได้มีอยู่แค่ที่เกาะเกร็ดเท่านั้น ถวิล มอญดะ หรือ ป้าพู หญิงอาวุโส เชื้อสายมอญซึง่ อาศัยอยูใ่ นชุมชนมอญบางกระดีม่ าร่วม 60 ปี และยังคงรักษาสูตรการท�ำข้าวแช่ ต�ำหรับมอญทีไ่ ด้รบั สืบทอดมาจากบรรพบุรษุ ได้เล่าว่า กรรมวิธกี ารท�ำข้าวแช่ตามสูตรบรรพบุรษุ ของป้านั้นต้องอาศัยความละเมียดละไมและใช้เวลาข้ามคืนกว่าจะครบกระบวนการ โดยเริ่มต้น ตั้งแต่การเลือกเมล็ดข้าวที่ควรเป็นข้าวสารเมล็ดสวย ไม่ยาวมากและไม่หัก จากนั้นน�ำมาซาวน�้ำ ประมาณเจ็ดครั้งจนสะอาดแล้วจึงน�ำข้าวไปใส่ลงในหม้อดิน นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 26
ภาพจาก : manager.co.th
‘ข้ า วแช่ ม อญ’
ป้าพูยำ�้ ว่าหม้อทีใ่ ส่ขา้ วแช่ตอ้ งเป็นหม้อดินเผาใหม่ ที่ ไ ม่ เ คยถู ก ใช้ ม าก่ อ น ซึ่ ง อาจมี ชื่ อ เรี ย กหลากหลาย ตามแต่ละชุมชนมอญ ทัง้ หม้อตาล หม้อทะนน หม้อคะนน และหม้อขนม หม้อเหล่านีจ้ ะต้องน�ำไปลนด้วยกาบมะพร้าว เพื่ อ ให้ ห ม้ อ หอมกลิ่ น ควั น ก่ อ นจะน� ำ มาใช้ หุ ง ให้ ไ ด้ ข้าวเมล็ดสวย “การหุงข้าวที่จะเอามาแช่ต้องห้ามหุงให้ ข้าวแฉะไปและห้ามไหม้ด้วย พอข้าวสุกให้เทน�้ำออก แล้ว เอาข้าวเม็ดอูมผึง่ ทิง้ ไว้บนผ้าขาวบาง ๆ จนข้าวเย็น หลังจาก นั้นยังต้องซาวข้าวที่ผึ่งเย็นแล้วอีกสองสามครั้งให้ข้าว สะอาดจริง ๆ” ป้าพูเสริม เมื่อถามถึงน�้ำที่จะน�ำมาแช่ข้าว ป้าพูเล่าว่าน�้ำ ต้ อ งผ่ า นการให้ เ ดื อ ดจนสะอาดแล้ ว ทิ้ ง ไว้ ใ ห้ เ ย็ น ก่ อ น จะลอยดอกไม้ เช่น มะลิ กุหลาบมอญ หรือชมนาด ลงไป และอาจตามด้วยการอบควันเทียนเพือ่ เพิม่ กลิน่ หอมขึน้ อีก ก็ได้ “ยิ่งอบเทียนซ�้ำหลายครั้ง ก็จะยิ่งได้รสชาติที่ดีและ กลิ่นที่หอมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน” ป้าพูเผยเคล็ดลับ ป้ าพู อ ธิ บ ายกรรมวิธีอย่างเพลิด เพลิน จนมาถึ ง ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ย นั่ น คื อ การเทข้ า วสุ ก ผสมกั บ น�้ ำ ที่ อ บ กลิ่นหอมลงไปในหม้อดินอีกครั้ง ก่อนจะผูกปิดปากหม้อ ด้วยผ้าขาว ป้าพูยังเสริมว่า ด้วยธรรมชาติของหม้อดิน จะท�ำให้อณ ุ หภูมขิ องข้าวเย็นลงอีกและยังช่วยเก็บกลิน่ หอม ของข้าวให้คงอยู่นานยิ่งขึ้น ผสมรวมกับกลิ่นหอมดินไหม้ ของตัวหม้อด้วย
แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันในการปรุง อย่างเช่นการปรุง รสปลาแห้งป่น จะต้องน�ำปลามาท�ำเค็มก่อนตากแห้ง จาก นั้นน�ำมาย่างจนสุกแล้วน�ำไปบดเนื้อให้ละเอียด คลุกลงใน ครก ใส่เกลือและน�้ำตาลลงไปเพื่อรสชาติที่กลมกล่อม “แต่บางเครื่องเคียงก็ท�ำไม่ยาก อย่างไข่เค็มคนส่วนใหญ่ ก็มตี ดิ บ้านอยูแ่ ล้ว น�ำมาย�ำก็ได้ ผัดไชโป๊หรือกระเทียมดอง ก็ง่ายแตกต่างกันไปแล้วแต่ฐานะบ้าน” ป้าพูกล่าว นอกจากนัน้ ป้าพูยงั ได้แยกให้เห็นว่า ข้าวแช่สตู รใหม่ ทีช่ าวไทยน�ำมาประยุกต์วธิ ที ำ� เช่น การหุงข้าวพร้อมใบเตย การดัดแปลงเพิ่มรสชาติให้กับเครื่องเคียงให้มีรสจัดขึ้น แตกต่างจากต้นต�ำหรับของชาวมอญ ทั้งความใส่ใจใน รายละเอี ย ดการปรุ ง อั น พิ ถี พิ ถั น ที่ ล ดน้ อ ยลงไปมาก จากการเลือกใช้ข้าวเม็ดแข็งเนื่ องจากหุงง่าย และจาก กรรมวิธีการอบควันเทียนหรืออบน�้ำดอกไม้ที่น้อยครั้งลง “ข้าวแช่ไทยที่วางขายตามตลาดทั่วไปดูเผิน ๆ อาจไม่เห็น ว่าแตกต่าง แต่ถา้ ได้ลองลิม้ รสข้าว แล้วซดน�ำ้ ข้าวแช่เข้าไป ก็จะรู้ได้ทันทีว่าข้าวแช่หม้อไหนเป็นข้าวแช่ตามฉบับมอญ ที่แท้จริง”
ส่วนเครื่องเคียงหรือเครื่องรับประทานกับข้าวแช่ ป้าพูบอกว่าสูตรข้าวแช่ของตนนั้นมีเครื่องเคียงไม่มาก
‘ความเชื่อของมอญเกี่ยวกับข้าวแช่’
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 27
ภาพจาก : manager.co.th
ในอดี ต ชาวมอญได้ ถื อ การหุ ง ข้ า ว แช่เป็นพิธีกรรมบูชาเทวดาอย่างหนึ่ง เมื่อจัด เตรียมข้าวแช่เสร็จ ชาวมอญจะจุดธูปเทียนเชิญ ท้าวกบิลพรหมลงมาเสวยข้าวแช่ จากนั้นจะ พากันนำ�ข้าวแช่ไปถวายพระ เมื่อจบจากงาน บุญที่ วัดหนุ่มสาวจะตั้งขบวนแห่ข้าวแช่ไปให้ ผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชน เหลือจากนั้นจึงจะนำ�มา กินกันเอง
COMMUNITY'S VOICES : กระบอกเสี ย งชุ ม ชน
ชาวมอญชอบประเพณี ไ หน เรื่ อ งและภาพโดย : กนต์ ธ ร พิ รุ ณ รั ต น์ , เกศญา เกตุ โ กมุ ท
?
ชอบทะแยมอญแต่ลุงเล่นไม่เป็นนะ เพราะลุงไม่ใช่คนมอญดั้งเดิมแท้ แต่ลุงชอบดูมันสวยและมีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร นายรอด นิ่ ม ตานี อาชี พ ท� ำ แส้
เทศกาลสงกรานต์ที่เกาะเกร็ดนี่ ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะการสรงน�้ำพระ หรือแม้กระทั่งก่อนไปวัด คนมอญก็จะมี พิธีกรรมที่โดดเด่น นายสายั น ต์ สอนส� ำ แดง อาชี พ ธุ ร กิ จ ส่ ว นตั ว
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 28
ผมชอบภาษามอญเวลาอยู่ที่บ้านปู่ พ่อและแม่ก็พูดภาษามอญ แต่พอไป โรงเรียนผมไม่กล้าพูดภาษามอญ เพราะที่โรงเรียนไม่มีใครพูดภาษามอญ ด.ช.ธนวั ฒ น์ ปุ ง บางกะดี่ นั ก เรี ย น
ชอบการท�ำบุญไปวัดไปทุกวันพระและ ทุกเทศกาลต่างๆ เวลาไปวัด พระก็จะ สวดเป็นภาษามอญ คนไทยไปฟังก็จะฟัง ภาษาสวดไม่เข้าใจ นางสมบู ร ณ์ พุ ด เครื อ อาชี พ แม่ บ ้ า น
ชื่นชอบภาษามอญ ภาษามอญมี เอกลักษณ์และส�ำเนียงที่ไม่เหมือน ใคร เวลาคนพูด เราเองยังชอบฟัง เลยมันเพราะ นางเอกจิ ต รา เอี่ ย มหล่ อ อาชี พ แม่ บ ้ า น
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 29
CULTURE : วั ฒ นธรรม
“เมียะ เงอระอาว” เรื่ อ งและภาพโดย : เกศญา เกตุ โ กมุ ท
“เมี ย ะ เง อ ระอาว สวั ส ดี ค ะ สวั ส ดี ค รั บ ” คํ า ทั ก ทายลอยผ า นเข า หู เ มื่ อ ก า วเข า สู ชุ ม ชนมอญ บางกระดี่ ภาษาที่ฟงดูแปลกหูและเปนเอกลักษณขาง ตนนั้นคือภาษาพื้นเมืองของชาวมอญที่คนเฒาคนแก ของชุมชนแหงนีย้ งั คงใชพดู สือ่ สารในชีวติ ประจําวันและ พวกเขายังตองการสืบทอดใหคงอยูตอไป ในชุมชนบางกระดีช่ าวบานทีม่ อี ายุประมาณ 40 ปขึ้นไปยังใชภาษามอญในการสื่อสารสลับกับภาษาไทย ภาคกลาง หากแตมชี าวบานเพียงไมกคี่ นเทานัน้ ทีส่ ามารถ เขียนและอานตัวอักษรมอญได ทวาทางชุมชนแหงนี้ยังคง รวมมือกันเพือ่ อนุรกั ษภาษามอญไว เห็นไดจากภาษามอญ บนปายบอกทางและปายชือ่ บานแตละหลังในชุมชนทัง้ ยัง มีการรวมมือกันเพือ่ จัดสอนภาษามอญใหกบั พระสงฆและ เด็ก ๆ ภายในชุมชนดวย คุณลุงกัลยา ปุงบางกระดี่ คือหนึ่งในผูที่ตองการ สืบสานการใชภาษามอญ เขารับอาสาทําหนาทีเ่ ปนครูสอน ภาษามอญซึ่งเปนดั่งหัวใจในการอนุรักษภาษาประจํา
ชนชาติใหกับพระสงฆและเด็ก ๆ ภายในชุมชน คุณลุงให เหตุผลสั้น ๆ วาเขามีใจรักและอยากใหความเปนมอญ ยังคงอยูต อ ไปเรือ่ ย ๆ “การรักษาภาษาเอาไวเปนเรือ่ งทีไ่ ม งาย เพราะเด็กรุนใหมเริ่มที่จะไมเปดรับกับภาษาเกา ๆ แบบนี้ แตก็ยังโชคดีที่มีบางสวนที่สนใจ และรูสึกสนุกไป กับการพูดไดหลากหลายภาษา” ลุงกัลยาเสริม ด.ญ.ณั ฐ วรรณ เปลื้ อ งผานก หรื อ ส ม โอ นักเรียนชั้นป.6 โรงเรียนบางกะดี่ ผูซึ่งสามารถสอบวัดผล ภาษามอญไดคะแนนอยูในกลุมสูงของผูสอบ นั่นคือ รอย ละ 77 เลาวา ภาษามอญเปนเรื่องยากสําหรับเธอเพราะ ตองเรียนตัวอักษรใหมทั้งหมด แตเนื่องจากยาและแมใช ภาษามอญพูดสือ่ สารกันในบาน เธอจึงอยากทีจ่ ะเรียนรูใ ห สามารถอานเขียนและสามารถรวมพูดภาษามอญกับพวก เขาได “หนูไมอายที่จะพูดมอญในชีวิตประจําวัน เพราะ หนูคดิ วา ในเมือ่ บานเราเปนมอญ เราก็ควรพูดมอญไดและ เขาใจเวลาใครพูดกับเรา ภาษาทําใหคนเขารูว า เราเปนใคร ไมเห็นตองอาย”
คําทักทายภาษามอญ
สวัสดี : แหม็ะ เงยระอาว / เมียเงอ ระอาว สบายดีไหม : หมองหมิบหมองยา บานอยูที่ไหนหรือ : ออยหนุมอะลอเรา พูดภาษามอญไดไหม : ฮามอะเหรหมอนเกอะเหอะเกอะฮา ที่มา : www.monstudies.com
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 30
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา 31