ANNUAL REPORT 2017

Page 1



A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

1

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

CONTENTS สารบัญ

002

จุดเด่นทางการเงิน

004

040

006

042

008

044

010

054

012

069

014

073

021

074

035

080

038

122

สารจากประธานกรรมการ รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานจากคณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริหาร การประกอบธุรกิจ นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ ลักษณะการประกอบธุรกิจ ปัจจัยความเสี่ยง ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลสำ�คัญอื่นๆ เอกสารแนบ 1

1.1 รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอำ�นาจควบคุม และเลขานุการบริษัท 1.2 การดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริ​ิษัทฯ

การจัดการ และกำ�กับดูแลกิจการ ข้อมูลหลักทรัพย์ และผู้ถือหุ้น โครงสร้างการจัดการ

การกำ�กับดูแลกิจการ

ความรับผิดชอบต่อสังคม การควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยง

รายการระหว่างกัน งบการเงิน การวิเคราะห์และคำ�อธิบายของฝ่ายจัดการ เอกสารแนบ 2 เอกสารแนบ 3

รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย รายละเอียดเกี่ยวกับหัวหน้างานตรวจสอบภายใน


รา ย งา น ป ระ จำ � ปี 2 5 6 0

2

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ็ ม .ที . ไ อ . จำ � กั ด (ม หาชน )

จุดเด่นทางการเงิน รายได้จากการบริการ

หน่วย : ล้านบาท

รายได้จากการให้บริการ

1,179.2

1,147.9

2559

2560

486.3 263.3

261.5 136.7

Q1/2560

Q2/2560

Q3/2560

Q4/2560

สัดส่วนรายได้จากการให้บริการ

หน่วย : ล้านบาท

งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ / งานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุก / งานการตลาดทางเลือก งานตกแต่งภายใน

1,179.2 45%

527.6

1,147.9 53% 609.6

486.3 263.3 74% 26%

194.5 68.8

Q1/2560

54% 46%

136.7 74.2

62.5

Q2/2560

26% 74%

261.5

56%

192.9

44%

272.2

651.6

538.3

68.6

Q3/2560

214.1

Q4/2560

55%

47%

2559

2560


3

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ความสามารถในการทำ�กำ�ไร กำ�ไรขั้นต้น

หน่วย : ล้านบาท

กำ�ไรสุทธิ

183.8

100.5

94.7 68.6

5.3

61.4

1.4 -20.4

-12.5 -39.8

-15.4

-23.8

Q1/2560

Q2/2560

Q3/2560

Q4/2560

2559

2560

กำ�ไรขั้นต้น

2.0%

-9.2%

0.5%

20.7%

18.8%

8.3%

กำ�ไรสุทธิ

-7.8%

-29.1%

-9.0%

14.1%

5.2%

-1.3%

หน่วย

2558

2559

2560

รายได้จากการให้บริการ

ล้านบาท

952.3

1,179.2

1,147.9

กำ�ไรสุทธิ

ล้านบาท

53.5

61.4

-15.4

สินทรัพย์รวม

ล้านบาท

650.4

730.7

747.5

หนี้สินรวม

ล้านบาท

249.4

286.4

338.0

ส่วนของผู้ถือหุ้น

ล้านบาท

401.0

444.3

405.5

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA)

%

14.6

11.5

-2.3

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)

%

21.4

14.3

-3.6

อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E)

เท่า

0.6

0.6

0.8

ตัวเลขสำ�คัญทางการเงิน


รา ย งา น ป ระ จำ � ปี 2 5 6 0

4

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ็ ม .ที . ไ อ . จำ � กั ด (ม หาชน )

สารจากประธานกรรมการ สำ�หรับภาพรวมในปี 60 ของ K รายได้รวมมีการปรับตัวลงจากปีกอ่ น เกิดการชะลอตัวเล็กน้อยของธุรกิจ ในบางส่วนประกอบกับการปรับโครงสร้างภายในองค์กร ทัง้ ในด้านการบริหารและการผลิตทัง้ หมด และด้านการ ลงทุนสำ�หรับการย้ายสำ�นักงาน เพือ่ ปรับตัวให้กา้ วทันยุคดิจติ อล 4.0 ในอนาคต อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯ เริม่ ฟืน้ ตัว ในไตรมาสที่ 4 ดังจะเห็นได้จากผลประกอบการ และกำ�ไรซึง่ ถือว่าเป็นไตรมาสทีบ่ ริษทั ฯ สามารถทำ�กำ�ไรได้สงู ทีส่ ดุ เป็นประวัตกิ าร สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการดำ�เนินการ และการพลิกฟืน้ ตัวทีถ่ อื ว่าเร็วกว่าปกติ ด้านบริษัทย่อยในต่างประเทศอย่าง Kingsmen Myanmar Co., Ltd แม้ยังมีผลกำ�ไรที่ยังไม่เป็นบวก แต่มี การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 3 ของการจัดตั้งสำ�นักงานในประเทศพม่า คิงส์เมนฯ โตสวน กระแสในเรื่องของยอดขายกับสภาพเศรษฐกิจของพม่าที่มีการเปลี่ยนแปลง และปัญหาภายในประเทศอย่างปัญหา เรื่องชนชาติ การเมืองการปกครอง จนเกิดการชะลอตัวของการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานของ บริษัทที่แข็งแรง ทำ�ให้ยอดขายเราเพิ่มจากปีที่แล้วกว่า 100% ขณะเดียวกัน บริษัทคิงส์เมนในประเทศกัมพูชา ก็กำ�ลัง อยู่ในช่วงการก่อตั้งสำ�นักงาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่สำ�หรับการรับงานในปี 2561 บริษัทฯ ยังคงมุ่งสู่การเติบโตแบบยั่งยืน โดยยึดมั่นบนการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์และ โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดถือในหลักธรรมาภิบาลเป็นตัวตั้งในการประกอบธุรกิจที่เป็นธรรม ซึ่งบริษัทฯ เอง ร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต จากการดำ�เนินงานของบริษัทฯ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เกิดจากความร่วมมือและการสนับสนุน จากผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้า ในโอกาสนี้ผมขอแสดงความขอบคุณคณะกรรมการบริษัท คณะผู้บริหาร รวมทั้งพนักงานทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนการดำ�เนินงานของบริษัทฯด้วยดีเสมอมาด้วยวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ ที่คณะกรรมการได้วางไว้ ตลอดจนมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถของบุคลากรทุกระดับ

“ผมขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรที่ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงต่อไป”

(นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์) ประธานกรรมการ บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน)


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

5

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


รา ย งา น ป ระ จำ � ปี 2 5 6 0

6

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ็ ม .ที . ไ อ . จำ � กั ด (ม หาชน )

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ผู้ถือหุ้น บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ จำ�กัด (มหาชน) ประกอบด้วยกรรมการอิสระผู้ทรงคุณวุฒิ จำ�นวน 3 ท่านทีม่ ปี ระสบการณ์และมีคณ ุ สมบัตคิ รบถ้วน ได้ปฎิบตั หิ น้าทีต่ ามขอบเขต หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบตามทีไ่ ด้รบั มอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2560 ที่ผ่านมาคณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ดังรายนามและจำ�นวนครั้งที่ แต่ละท่านได้เข้าร่วมประชุมดังนี้ 1. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประธานกรรมการตรวจสอบ เข้าร่วมประชุม 4/4 ครั้ง 2. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร กรรมการตรวจสอบ เข้าร่วมประชุม 4/4 ครั้ง 3. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ กรรมการตรวจสอบ เข้าร่วมประชุม 4/4 ครั้ง

ผลการปฎิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบมีสาระสำ�คัญสรุปได้ดังนี้

รายงานทางการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาสอบทานข้อมูลทางการเงินทั้งรายไตรมาสและงบการเงินประจำ�ปี 2560 ร่วมกับฝ่าย บริหารและผู้สอบบัญชี ในด้านนโยบายทางการบัญชี ความเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูล ความครบถ้วน และเชื่อถือได้ รวมถึงประเด็น สำ�คัญที่ตรวจพบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายงานทางการเงินของบริษัทได้จัดทำ�ขึ้นโดยถูกต้องในสาระสำ�คัญตาม มาตรฐานรายงานทางการเงินที่รับรองโดยทั่วไป มีความเหมาะสมและสามารถสะท้อนภาพการดำ�เนินงาน รวมถึงฐานะการเงินของ กิจการได้อย่างเหมาะสม ระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยพิจารณาจาก รายงานผลการตรวจสอบภายใน และการติดตามผลจากผู้ตรวจสอบภายในเป็นประจำ�ทุกไตรมาส ซึ่งจัดทำ�โดย บริษัท สอบบัญชีธรรม นิติ โดยใช้หลักเกณฑ์การควบคุมภายในของ COSO (The Committee Of Sponsoring Organizations) นอกจากนี้ ได้พิจารณา ทบทวนระบบการควบคุมภายในของบริษัทตามแบบประเมิน COSO ที่ปรับปรุงใหม่ของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำ�คัญ ทำ�ให้มีความมั่นใจต่อประสิทธิผลของระบบควบคุมภายในมากขึ้น การบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานให้บริษัทมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Management) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล การป้องกันความเสี่ยงตามความจำ�เป็น รวมถึงจัดทำ�รายงานการติดตามความเสี่ยงเป็นรายไตรมาส เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและ มีผลต่อการดำ�เนินธุรกิจ


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

7

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

รายการที่เกี่ยวโยงกัน คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับ บริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่ารายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา เป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็น ปกติ มีเงื่อนไขข้อตกลงที่สมเหตุสมผล เป็นธรรม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ การปฎิบัติตามกฏเกณฑ์ คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาสอบทานการปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กฎระเบียบของคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ คณะ กรรมการกำ�กับตลาดทุนและกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ ไม่พบประเด็นที่เป็นสาระสำ�คัญในเรื่องการปฎิบัติ ที่ขัดกฎหมายและข้อกำ�หนดดังกล่าว การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญในการบริหารงานตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มีความโปร่งใสและมีจริยธรรมในการ ดำ�เนินธุรกิจ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การพิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชี และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาประเมินความเป็นอิสระและผลการปฎิบัติงานของผู้สอบบัญชี สำ�หรับปี 2560 และได้ เปรียบเทียบค่าสอบบัญชีสำ�หรับปี 2560 ที่เสนอมาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำ�นวนและเวลาของคุลากรที่ใช้ในการตรวจสอบเพิ่มมากขึ้นจาก รายการของกลุ่มบริษัทที่เพิ่มขึ้น คณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นชอบเสนอผู้สอบบัญชี และนำ�เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือ หุ้นพิจารณาแต่งตั้ง นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 218 และ นางสาวนงราม เลาหอารีดิลก ผู้สอบบัญชีรับ อนุญาตเลขที่ 4334 จากสำ�นักงาน เอ เอส ที มาสเตอร์ เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ สำ�หรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้น สุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 โดยกำ�หนดค่าตอบแทนแก่ผู้สอบบัญชีประจำ�ปี 2560 เป็นจำ�นวนเงินรวม 1,070,000 บาท ความเห็นและข้อสังเกตโดยรวม คณะกรรมการตรวจสอบได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ประกอบกับความระมัดระวังรอบคอบและมีความอิสระอย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่มีข้อจำ�กัดใดๆ ในการได้รับข้อมูล และความร่วมมือจากผู้บริหาร พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ความเห็นและข้อ เสนอแนะต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ

พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ


รา ย งา น ป ระ จำ � ปี 2 5 6 0

8

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ็ ม .ที . ไ อ . จำ � กั ด (ม หาชน )

รายงานคณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาลประจำ�ปี 2560 เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล (“กรรมการสรรหาฯ”) บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2560 ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำ�นวน 2 ท่าน และกรรมการบริหาร 1 ท่าน ได้แก่ 1. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร ประธาน /กรรมการอิสระ 2. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท รองประธาน /กรรมการอิสระ 3. คุณชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ กรรมการ/ ประธานกรรมการบริษัท คณะกรรมการสรรหาฯ มีหน้าที่ในการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการบริษัท โดย คำ�นึงถึงคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้พิจารณาถึงจำ�นวนของคณะ กรรมการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อการบริหารจัดการที่ดี และมีประสิทธิภาพ สำ�หรับหน้าที่พิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ ให้กำ�หนดนโยบายจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมถึงจำ�นวน ค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นให้แก่กรรมการและผู้มีอำ�นาจในการจัดการโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส โดยเปรียบ เทียบกับสภาพอุตสาหกรรม ภาวะเศษฐกิจ ผลประกอบการของบริษัทฯ และปัจจัยอื่นๆ และนำ�เสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาอนุมัติ และ/หรือ นำ�เสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี และสำ�หรับหน้าที่ในด้านบรรษัทภิบาล คณะกรรมการมีหน้าที่กำ�หนดนโยบาย และกำ�กับดูแลให้การปฏิบัติงานเป็น ไปตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำ�ปีของคณะกรรมการทุกชุด พร้อมทั้ง ทบทวนแนวปฏิบัติด้านการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีอย่างสม่ำ�เสมอ โดยในปี 2560 นี้บริษัทได้รับรางวัลด้านบรรษัทภิบาล ดังนี้ • รางวัล Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2016 ระดับดีมาก หรือ 4 ดาว โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นจาก 82% เป็น 86% จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) • ผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2560 ร้อยละ 96 โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ซึ่งมีผลคะแนนร้อยละ 92 สำ�หรับในปี 2560 คณะกรรมการมีการประชุม 2 ครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องสำ�คัญต่างๆและรายงานผลการประชุม พร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ในนามคณะกรรมการสรรหาฯ

รศ.ดร. ธีระพร วีระถาวร

ประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

9

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


รา ย งา น ป ระ จำ � ปี 2 5 6 0

10

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ็ ม .ที . ไ อ . จำ � กั ด (ม หาชน )

คณะกรรมการบริษัท

นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ ประธานกรรมการ

นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล

นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์

นายสงวน ศรีนคารินทร์

พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี

รศ.ดร. ธีระพร วีระถาวร

อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์

กรรมการ

กรรมการอิสระ

กรรมการ

กรรมการอิสระ

กรรมการ

กรรมการอิสระ


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

11

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

คณะกรรมการบริหาร

นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์

นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล

นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์

นายดำ�รงค์ วงษ์ประยูร

นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์

นางสาวกัญญา วัฒนแต้ตระกูล

ปี 2560 : ประธานกรรมการบริหาร ปัจจุบัน : ที่ปรึกษา

รองกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจตกแต่งภายใน

กรรมการผู้จัดการ

รองกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจการแสดงสินค้า พิพิธภัณฑ์ การตลาดทางเลือก / วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน

ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชี และการเงิน


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

12

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

13

การประกอบธุรกิจ

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

14

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ ภาพรวมและนโยบายธุรกิจ บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นหนึ่งในผู้นำ�ในธุรกิจออกแบบ ตกแต่งและก่อสร้าง (Design & Build) อย่างบูรณาการ โดยสามารถจำ�แนกธุรกิจหลักของบริษัทออก เป็น 5 ประเภทดังนี้ 1) ธุรกิจงานตกแต่งภายใน (Interiors) 2) ธุรกิจงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) 3) ธุรกิจการตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) 4) ธุรกิจงานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด (Thematic & Museums) 5) ธุรกิจงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architecture & Engineering) บริษัทฯ มีนโยบายในการให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณภาพ ด้วยพนักงานมืออาชีพสำ�หรับการออกแบบ การสร้างสรรค์งานสำ�หรับ งานแสดงสินค้าและงานกิจกรรมที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า อย่างมีมาตรฐานและเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยการเป็นพันธมิตร ทางธุรกิจ ภายใต้หลักการดำ�เนินงาน “ยุติธรรมแบ่งปัน”และอยู่บน หลักจริยธรรม จรรยาบรรณทางธุรกิจ บริ ษั ท ฯ มี ผู้ ร่ ว มทุ น ที่ เ ป็ น พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ คื อ Kingsmen Creatives Ltd. ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท จดทะเบี ย นใน ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ สิ ง ค์ โ ปร์ เป็ น หนึ่ ง ในบริ ษั ท ชั้ น นำ � ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ออกแบบ ตกแต่ ง และสื่ อ สารการตลาดระดั บ โลก โดยปั จ จุ บั น Kingsmen Creatives Ltd. มี 20 สำ�นักงานใน 15 ประเทศในภูมภิ าค เอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง ทำ�ให้บริษัทฯ สามารถเชื่อม โยง เข้าถึงลูกค้าในกลุ่ม Kingsmen และสามารถให้บริการแก่ลูกค้า ที่แนะนำ�ให้ระหว่างกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบัน บริษัทฯ มีบริษัทย่อยจำ�นวน 2 บริษัท ได้แก่ 1. Kingsmen Myanmar Company Limited (“คิงส์เมนเมียนมาร์”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเมียนมาร์ 2. Kingsmen C.M.T.I. (Cambodia) Company Limited (“คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. แคมโบเดีย”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของ ประเทศกัมพูชา โดยทั้ ง 2 บริ ษั ท มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการประกอบธุ ร กิ จ ออกแบบและตกแต่งงาน (Design & Build) ในงานตกแต่งภายใน (Interiors) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) กิจกรรม การตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) งานพิพธิ ภัณฑ์และสวน สนุก (Thematic & Museums) และงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architecture & Engineering) ในอาณาเขตประเทศเมียนมาร์และ กัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

15

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหลัก และเป้าหมายในการดำ�เนินธุรกิจ บริษัทฯ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหลัก และเป้าหมายในการดำ�เนินธุรกิจดังนี้

วิสัยทัศน์

พันธกิจ

ค่านิยมหลัก

บริษัทฯ ที่ได้รับความไว้วางใจ ในการให้บริการด้วยคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล เพือ่ สูค่ วาม เป็นเลิศในระดับนานาชาติ

สร้างสรรค์งานบริการที่มี คุณภาพ โดยยึดหลักการ ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ อย่ า งยั่ ง ยื น เพื่ อ ความพึ ง พอใจและ ประโยชน์สูงสุดของลูกค้า พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ และ ผู้ถือหุ้น

“ยุติธรรม แบ่งปัน”

เป้าหมายในการดำ�เนินธุรกิจ 1) ให้บริการอย่างบูรณาการและเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าทั้งทางด้านการออกแบบ ตกแต่ง และผลิต สำ�หรับธุรกิจ ตกแต่งภายใน ธุรกิจการแสดงสินค้า ธุรกิจพิพิธภัณฑ์และสวนสนุก ธุรกิจการตลาดทางเลือก และธุรกิจสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่มุ่งเป้าไว้ 2)

ขยายขอบเขตการดำ�เนินธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

3)

เป็นผู้ให้บริการที่ลูกค้าให้ความไว้ใจในการทำ�งาน และใช้บริการอย่างต่อเนื่อง


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

16

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ความเป็นมาและพัฒนาการที่สำ�คัญ 2555 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) ในงานประชุมระดับโลก Rotary International Convention ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 40,000 คน จัดโดย Rotary International และ Thai Rotary Districts Foundation - ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�เนินการออกแบบและผลิตงานตกแต่งภายใน ให้กับร้านค้าแบรนด์ชั้นนำ� “Uniqlo” “Mango” “Cotton On” “Cath Kidston” “KPN” “Forever XXI” และพื้นที่ส่วนกลางจำ�นวนรวมกว่า 7,000 ตารางเมตร ในศูนย์การค้าชั้นนำ�ต่างๆ

2547

ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) ในงานประชุมระดับโลก International AIDS Conference จัดโดย World AIDS Association จากประเทศสวีเดน

2545

2544 2543

ร่วมทุนกับ Kingsmen Creatives Ltd. จากประเทศสิงคโปร์ หนึ่งในบริษัทชั้นนำ�ในธุรกิจ ออกแบบ ตกแต่งและสื่อสารการตลาดระดับโลก - เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด - เริ่มธุรกิจให้บริการออกแบบและผลิตงานตกแต่งภายใน (Interiors) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) สำ�หรับ งาน Money Expo ซึ่งเป็นงานมหกรรมการเงินการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และได้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

2547

ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสี่ของผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) ในงาน BOI Fair 2000 ซึ่งเป็นมหกรรมแสดงนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

2534

2548

2545 2544

2548

2543 เริ่มธุรกิจให้บริการการตลาดทางเลือก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Alternative Marketing) (Official Contractor) สำ�หรับงาน Thailand International Motor Expo หนึ่งในงานแสดงยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุด 2538 ในประเทศไทย และได้เป็นผู้รับเหมา 2538 อย่างเป็นทางการ จนปัจจุบัน 2534 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) สำ�หรับ งาน Bangkok International Motor Show ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานแสดงยานยนต์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการอย่างต่อเนื่อง 2532 มากว่ า 5 ปี จนถึงปี 2542 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอนุมัติอย่างเป็น 2532 ทางการ (Approved Contractor) จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นในนาม บริษัท ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด โดยครอบครัวนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อเริ่ม ดำ�เนินธุรกิจออกแบบและผลิตงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions)


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

17

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

2558 จัดตั้ง Kingsmen Myanmar Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเมียนมาร์ ในวันที่ 9 มกราคม 2558 มีทุนจดทะเบียน 300,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ และมีทุนชำ�ระแล้ว 300,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ บริษัทฯ ถือหุ้นในคิงส์เมนเมียนมาร์ ร้อยละ 100 - วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำ�กัด 2560 มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท - วันที่ 18 ธันวาคม 2558 บริษัทฯได้นำ�หุ้นเข้าซื้อขาย 2559 ในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) เป็นวันแรก

2553

2558

เริ่มธุรกิจให้บริการออกแบบและผลิต สำ�หรับงานพิพิธภัณฑ์ สวนสนุกแนวคิด (Thematic & Museums) และศูนย์การเรียนรู้ 2555 (Learning Center)

2554 2553

2554

2556

2556

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�เนินการ ออกแบบและผลิตงานตกแต่งภายใน ให้กับร้านค้าแบรนด์ชั้นนำ�ของโลก “Polo” “Ralph Lauren” “Montblanc” “Piaget” “Victoria Secret” “Dior” “Mark & Spencer” และ “Leica”

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�เนินการ ออกแบบและผลิตงานตกแต่ง ภายในให้กับร้านขายสินค้า แบรนด์ชั้นนำ� “Uniqlo” รวมกว่า 30 ร้านทั่วประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่อง

2559

- ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) ในงาน Myanmar Build & Decor 2016 เทรดแฟร์ ด้านการก่อสร้าง การตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เมียนมาร์ - ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) ในงาน ITU Telecom World 2016 ซึ่งเป็นงาน มหกรรมด้านไอซีทีระดับโลก โดยมีผู้นำ�ในแวดวงโทรคมนาคมกว่า 4,000 คน จากกว่า 100 ประเทศมาร่วมงาน - ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) ในงาน Myanmar FoodBev and Myanmar Retail Expo 2016 - บริษัทได้มีการขยายโรงงานการผลิตไปที่ ลำ�ลูกกา คลอง 6 - เริ่มให้บริการในการตกแต่งงานพื้นที่ส่วนกลางของห้างสรรพ สินค้า อาคารสำ�นักงานและเอนกประสงค์ โรงแรมชั้นนำ� สนามบิน ธนาคาร โรงพยาบาล เป็นต้น - ขยายขอบเขตการให้บริการของบริษัท คือการให้บริการด้านงาน สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architecture & Engineering) - บริษัทฯได้รับสัญญางานก่อสร้างและตกแต่งภายในให้กับร้านค้า ปลีกสำ�หรับแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ�ระดับโลก “Ralph Lauren” พื้นที่ รวม 70 ตารางเมตร ในเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

2560

- ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมาด้านงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architecture & Engineering) คือ งานก่อสร้างปรับปรุง และอนุรักษ์ อาคารตึกแถวเก่า ณ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ - ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำ� ให้ทำ�การออกแบบ ก่อสร้าง คูหาในงานแสดงสินค้า ที่จัดขึ้นต่างประเทศหลากหลายบริษัท อาทิ คูหาบริษัท L&E และ HAFELE ณ งาน Myanmar Build & Décor 2017 ประเทศเมียนมา และคูหาบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ ณ งาน Top Thai Brand 2017 ประเทศจีน - ได้รับงานออกแบบ ก่อสร้างและบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) ให้แก่ Kohler บริษัทจำ�หน่ายสุขภัณฑ์ชั้นนำ�ระดับโลก - ได้รับงานปรับปรุงส่วนตกแต่งภายในของห้องพักผู้โดยสารต่างประเทศ TG Lounge ณ สนามบินนานาชาติภูเก็ต - ได้รับงานตกแต่งภายใน Rosewood Hotel โรงแรมหรูระดับ 6 ดาว ณ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ - บริษัทฯ ริเริ่มจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) เป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่องานว่า K Forum 2017 ให้แก่ลูกค้า คู่ค้าของบริษัท เข้าร่วมรับฟังข้อมูล ข่าวสาร ธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย - ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านการออกแบบ ก่อสร้าง คูหาภายในงาน Money Expo Bangkok 2017 ธนาคาร CIMB Thai และรางวัลดีเด่น คูหา บมจ. ช. การช่าง, ETDA และธนาคาร Citibank - จัดตั้ง Kingsmen C.M.T.I. (Cambodia) Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา มีทุนจดทะเบียน 300,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ สำ�นักงานตั้งอยู่ที่เขต Sen Sok ในพนมเปญ บริษัทฯ ถือหุ้นในกัมพูชา ร้อยละ 100 - บริษัทฯ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร โดยนายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล เข้ามาดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นตำ�แหน่งผู้บริหารสูงสุด ของบริษัท และนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ ดำ�รงตำ�แหน่งที่ปรึกษาบริษัทและประธานกรรมการต่อไป


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

18

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

รางวัลและมาตรฐานต่างๆ ที่ได้รับ ปี 2546

ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 ซึ่งเป็น มาตรฐานด้านคุณภาพในส่วนของการออกแบบและติดตั้ง คูหาสำ�หรับงานนิทรรศการ

ปี 2549

ได้รับรางวัลจรรยาบรรณดีเด่นของชมรมจรรยาบรรณ หอการค้าไทยปี 2549

ปี 2552 - ได้รับรางวัลชมเชยในการออกแบบ Kids World ที่โรงแรมแมริออท ชะอำ� ของ A.R.E. design Awards ที่ Las Vegas, USA - ได้รับรางวัลสุดยอดในการออกแบบร้านค้า (Excellence in Store Design) ของ Marks & Spencer International ที่ประเทศอังกฤษ - ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น ของสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสมาคมธนาคารไทย

ปี 2555 - เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรภาคีสีขาว เพื่อร่วมส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจของภาคเอกชนให้ยึดหลักการบริหารกิจการ อย่างมีหลักบรรษัทภิบาล โดยสำ�นักงานฑูตความดีแห่ง ประเทศไทย - เข้าร่วมเป็นสมาชิกตาวิเศษ ซึ่งเป็นโครงการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม โดยสมาคมสร้างสรรค์ไทย

ปี 2553

ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008 ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านคุณภาพในส่วนของการออกแบบ และติดตั้งคูหาสำ�หรับงานนิทรรศการ

ปี 2556 - ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 20121 ซึ่งเป็นมาตรฐาน การจัดการกิจกรรมอย่างยั่งยืน (Event Sustainability Management System) สำ�หรับการวางแผน และส่งมอบงานส่วนกลางงาน Money Expo - ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านจริยธรรมการจ้างงาน ของผู้ประกอบการทางการค้า จาก SEDEX ซึ่งเป็น มาตรฐานสากลจากประเทศอังกฤษ


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

19

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ปี 2557

ได้รับรางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ของสำ�นักงานคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (NAC)

ปี 2558

ได้รับประกาศนียบัตร โปรแกรมการตรวจประเมิน สภาพสถานประกอบการ การรับรองมาตรฐาน สถานประกอบการที่ถูกต้องตามหลักชีวอนามัย (Workplace Conditions Assessment: WCA) จาก Intertek ตอกย้ำ�ถึงการดำ�เนินงานที่ได้มาตรฐาน สากลได้รับการยอมรับจากองค์กรระดับโลก

ปี 2559

- ได้รับการรับรองจากธนาคารกสิกรไทยในการเข้าร่วมกิจกรรม โครงการอาคารสีเขียว ตามข้อกำ�หนด Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) ของสภาอาคารเขียวแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา - บริษัทได้รับ รางวัล Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2016 ระดับดีมาก หรือ 4 ดาว จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) - บริษัทได้รับรางวัลบรรษัทภิบาลดีเด่น ประจำ�ปี 2559 (CG Awards 2016) ของสำ�นักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกับคณะ กรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณและต่อต้านคอร์รัปชัน หอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งยกย่อง ผู้ประกอบการทั่วไป ที่มีแนวทางในการประกอบธุรกิจการค้า ด้วยหลักบรรษัทภิบาล ในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลความ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และรักษาความสุจริต

ปี 2560

- วันที่ 28 มิถุนายน 2560 บริษัทฯ ได้รับ ใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านกระบวนการรับรอง และเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชน ไทยในการต่อต้านทุจริตอย่างสมบูรณ์จากแนว ร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้าน คอรัปชั่น (CAC) - บริษัทฯได้รับเกียรติบัตรรับรองว่าเป็น “อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 ปฏิบัติการ สีเขียว” จากการดำ�เนินกิจกรรมเพื่อลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำ�เร็จตามมุ่งมั่นที่ตั้งใจ จากกระทรวงอุตสาหกรรม


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

20

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) มีบริษัทย่อย 2 บริษัท คือ Kingsmen Myanmar Company Limited (“คิงส์เมนเมียนมาร์”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้ง ขึ้นตามกฎหมายของประเทศเมียนมาร์ และ Kingsmen C.M.T.I. (Cambodia) Company Limited (“คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. แคมโบเดีย”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา จัดตั้ง

แล้วเสร็จเดือน ก.พ. 2561 เพื่อประกอบธุรกิจออกแบบและตกแต่ง งาน (Design & Build) ในงานตกแต่งภายใน (Interiors) งานแสดง สิ น ค้ า และนิ ท รรศการ (Exhibitions) และกิ จ กรรมการตลาด ทางเลือก (Alternative Marketing) โดยบริษทั ฯ ถือหุน้ ในบริษทั ย่อยทัง้ 2 แห่ง ร้อยละ 100 และมีโครงสร้างการถือหุ้นแสดงดังแผนภาพ ต่อไปนี้

บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน 110,000,000 บาท

Kingsmen Myanmar Company Limited ทุนจดทะเบียน 300,000 USD

Kingsmen C.M.T.I. (Cambodia) Company Limited ทุนจดทะเบียน 300,000 USD

ความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่ ม บริ ษั ท ได้ มี ก ารพึ่ ง พิ ง ร่ ว มธุ ร กิ จ กั บ Kingsmen Creatives Ltd. ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนจากประเทศสิงคโปร์และเป็นหนึ่ง ในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ช่วยให้กลุ่มบริษัทสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ลูกค้า

ในระดับสากลของกลุ่ม Kingsmen Creatives Ltd. และสามารถให้ บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมตลาดมากขึ้น


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

21

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างรายได้ โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย จำ�แนกตามประเภทการให้บริการ ตามงบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ถึง 2559 และ 2560 มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ธุรกิจงานตกแต่งภายใน (Interiors) 475.4 49.9 651.6 55.3 538.3 46.9 ธุรกิจงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) 391.6 41.1 429.7 36.4 392.9 34.2 ธุรกิจการตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) 73.0 7.7 87.5 7.4 202.0 17.6 ธุรกิจงานพิพธิ ภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด (Thematic Park & Museums) 12.3 1.3 10.4 0.9 14.8 1.3 รวมรายได้จากการให้บริการ 952.3 100 1,179.2 100 1,148 100

ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ บริษทั ฯ ประกอบธุรกิจให้บริการออกแบบและตกแต่งงาน (Design & Build) อย่างบูรณาการ (Intergration) ในงานตกแต่ง ภายใน (Interiors) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) การตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) งานพิพิธภัณฑ์และ สวนสนุกแนวคิด (Thematic & Museums) และงานสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม (Architecture & Engineering) โดยมีลักษณะการ ให้บริการดังนี้ 1) งานตกแต่งภายใน (Interiors) ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ ทางการตลาดทีผ่ ขู้ ายสินค้าและบริษทั นำ�มาใช้ เพือ่ สะท้อนภาพลักษณ์ ของตราสั ญ ลั ก ษณ์ข องสินค้าและบริษัท รวมทั้งดึงดูดกลุ่มลูก ค้า ให้เข้ามาในร้านมากขึ้น ซึ่งบริษัทฯ ให้บริการในการตกแต่งภายใน (Interiors) ครบวงจร โดยดำ�เนินการออกแบบ ผลิตและติดตั้งงาน ตกแต่งภายในทัง้ หมด รวมไปถึงการจัดหาอุปกรณ์ตกแต่งภายใน และ เฟอร์นิเจอร์ เพื่อให้เข้ากับภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้าและบริษัท โดยเน้นกลุม่ ผูข้ ายสินค้าและบริษทั ทีอ่ ยูใ่ นตลาดระดับกลางถึงบน ซึง่ มีแผนการขยายสาขาจำ�นวนมากและเป็นแบรนด์ชั้นนำ�ระดับโลก ใน ธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และสำ�นักงาน ผลงานสำ�คัญในปี 2560 ของบริษัทฯ - ตกแต่งภายใน ห้องพัก พื้นที่ส่วนกลาง และภัตตาคาร ในโรงแรม Rosewood Hotel เพลินจิต - ตกแต่งภายใน พื้นที่ส่วนกลาง The ICONSIAM Superlux Residence กรุงเทพ - ตกแต่งภายในพื้นที่ส่วนกลาง และโรงภาพยนต์ Century Movie Plaza อ่อนนุช - ตกแต่งภายในอาคารสำ�นักงานใหญ่ ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ - ตกแต่งภายในร้าน PAUL, Siam Paragon, Central World & The Emporium กรุงเทพ - ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลาง Central Plaza พระราม 3 - ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลาง Central Festival ภูเก็ต

• ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

- ตกแต่งภายในงานโรงแรม Sleep Box ท่าอากาศยาน นานาชาติดอนเมือง - ตกแต่งภายในพื้นที่ส่วนกลาง Central Plaza มหาชัย - ตกแต่งภายในร้าน Tumi ที่ Central Plaza ชิดลม - ตกแต่งภายในธนาคารธนชาต สาขาห้างสรรพสินค้า มาบุญครอง และ Siam Paragon - ตกแต่งภายใน BMW Showroom เชียงใหม่ เชียงราย และ ระยอง - ปรับปรุงและตกแต่งภายใน ห้องรับรองผู้โดยสารต่าง ประเทศของสายการบินไทย ท่าอากาศยานนานาชาติภเู ก็ต - ปรับปรุงและตกแต่งภายในร้าน True Branding Shop ที่สยามพารากอน - ตกแต่งภายใน ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความ ยั่งยืน (RISC) กรุงเทพ

ผลงานที่สำ�คัญในปี 2560 ของ Kingsmen Myanmar - ตกแต่งภายใน BreadTalk, Junction City, Yangon, Myanmar - ตกแต่งภายใน Café Amazon, Myanmar - ตกแต่งภายใน Estee Lauder Shop, Junction City, Yangon, Myanmar


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

22

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

• SLEEP BOX 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง

2) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ งานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด การตลาดทางเลือก และงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Exhibitions, Thematic & Museums, Alternative Marketing and Architecture & Engineering or EMAI) 2.1) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ เป็นส่วนหนึ่งของ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าสามารถสื่อสารกับผู้ บริโภคได้โดยตรง โดยผู้บริโภคหรือผู้ชมงานสามารถสัมผัสตัวสินค้า ชมการสาธิต และสอบถามข้อมูลจากผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทฯ มีขอบเขตการให้บริการในธุรกิจงานแสดง สินค้าและนิทรรศการ แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้ 2.1.1) ให้บริการแก่ผู้ออกงานแสดงสินค้าและ นิทรรศการ (Exhibitors) บริษัทฯ ให้บริการในการเป็นผู้รับเหมา (Service Provider) อย่างครบวงจร แก่ผู้ออกงานแสดงสินค้าและ นิทรรศการ ตัง้ แต่การวางแนวคิด ออกแบบ ผลิต และติดตัง้ คูหาแสดง สินค้า ตลอดจนการบริหารจัดการคูหาแสดงสินค้าในระหว่างการจัด งาน • ฺBMW MOTORRAD, Motor Expo 2017 2.1.2) ให้บริการแก่ผู้จัดงานแสดงสินค้าและ นิทรรศการ (Organizers) บริษทั ฯ ให้บริการในการเป็นผูร้ บั เหมาอย่าง เป็นทางการ (Official Contractor) และครบวงจร แก่ผู้จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ตั้งแต่การวางผังงาน (Floor Plan) ออกแบบ ผลิตและ ติดตั้งงานส่วนกลาง เช่น คูหามาตรฐาน (Standard Booth) ซุ้มทางเข้างาน เวที ป้ายบอกทาง และส่วนตกแต่งอื่นของงาน รวมไปถึงบริการอื่นๆ เช่น งานระบบไฟฟ้า และการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

23

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ผลงานสำ�คัญในปี 2560 ของบริษัทฯ - Bangkok International Motor Show 2017 &Thailand International Motor Expo 2017

• BMW • BMW Motorrad • MINI • Nissan • Aston Martin • Rolls Royce • Maserati • TATA • Jaguar Land Rover

- VIV Asia 2017

• Tecnessenze • Woogen • Ceresco • Silvachimica S.r.l. • Hatchtech • Dox-Al • Facncom

- Money Expo 2017

• Citibank • CIMB Thai • Umay+ • ETDA • CK. Group • BKI • กรมธนารักษ์

- Defense & Security 2017

• ฺCitiBank, Money Expo 2017

2.2) ธุ ร กิ จ งานพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ละสวนสนุ ก แนวคิ ด (Thematic & Museums) ถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการสื่ อ สาร ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมความรู้ เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้รับความรู้ และความเข้าใจในเนื้อหาของโครงการนั้นๆ โดยจะอยู่ในรูปของศูนย์ การเรียนรู้ (Learning Center) และพิพธิ ภัณฑ์ (Museums) ส่วนงาน สวนสนุกแนวคิด (Thematic Park) คือ สถานทีท่ มี่ เี รือ่ งราวตามหัวข้อ หลักที่กำ�หนด อาจจะเป็นสถานที่ให้ความรู้ หรือความสนุก ขึ้นอยู่กับ รูปแบบของโครงการนั้นๆ อาทิ สวนสนุก สวนน้ำ� เป็นต้น บริษัทฯ ให้ บริการอย่างครบวงจรแก่เจ้าของโครงการ โดยดำ�เนินการวางแนวคิด ของโครงการ ออกแบบ และผลิตโครงการ ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการในการบริหารจัดการ โครงการ ออกแบบพัฒนาเนือ้ หา ออกแบบสือ่ ภาพและเสียง ออกแบบ สภาพแวดล้อม และออกแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ เรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาที่จัดแสดงมากยิ่งขึ้น บริษัทฯ มีบริการในการ บริหารและดำ�เนินกิจกรรมทางการตลาดของพิพิธภัณฑ์และศูนย์การ เรียนรู้ภายหลังการเปิดโครงการ เพื่อให้มีผู้เข้าชมงานอย่างต่อเนื่อง ผลงานสำ�คัญปี 2560 ของบริษัทฯ • ศูนย์การเรียนรู้ Kohler’s Museum of Sanitary ware จังหวัดสระบุรี • นิทรรศการกิจการธนบัตร ณ โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย • ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

• USA Pavilion • Lockheed Martin • TKMS • Terma • Tyco Electronics Singapore • KAI • RV Connex • Kallman Worldwide • ศูนย์การเรียนรู้ Kohler’s Museum of Sanitary Ware จ.สระบุรี


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

24

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

2.3) ธุรกิจการตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) แบ่งการให้บริการเป็น 2 ประเภทดังนี้ 2.3.1) ให้บริการบริหารจัดการกิจกรรมทาง การตลาด (Event Management) สำ�หรับกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Event) เป็นการประชาสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งที่แตกต่าง จากงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ เนือ่ งจาก เป็นการสือ่ สารทางการ ตลาดของเจ้าของสินค้าเพียงรายใดรายหนึง่ เท่านัน้ และมีวตั ถุประสงค์ ในการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่หลากหลาย เช่น การส่งเสริมการ ขายสินค้า การนำ�เสนอสินค้าใหม่ หรือการสื่อสารและสร้างความ สัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภค ทั้งนี้จะจัดเป็นงานระยะเวลาสั้นๆ ในสถาน ที่ที่หลากหลาย ตามแต่วัตถุประสงค์ของงานและลูกค้า เช่น ห้าง สรรพสินค้า โรงแรม เป็นต้น บางกรณีอาจมีการจัดงานแบบต่อเนื่อง โดยเปลี่ยนสถานที่จัดไปตามสถานที่และจังหวัดต่างๆ ซึ่งนับเป็นการ ทำ�การตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ทั้งนี้บริษัทฯ ให้บริการในการเป็นผู้จัดกิจกรรมทางการตลาด (Event Organizer) อย่างครบวงจร ทั้งวางแนวคิด ออกแบบ ผลิตและติดตั้งกิจกรรม การ บริหารการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จะมีขึ้นทั้งหมด รวมถึงการหาสถานที่ จัดงาน การสรรหาผู้เข้าชมงาน การวางแผนโฆษณากิจกรรมก่อนการ ออกงาน และการวิเคราะห์ขอ้ มูลผูเ้ ข้าชมงาน ส่วนกลุม่ ลูกค้า ส่วนใหญ่ จะอยู่ในธุรกิจยานยนต์และธุรกิจการเงิน

• ฺCIMB Asean Day

• MINI Roadshow, เชียงใหม่

ผลงานสำ�คัญในปี 2560 ของบริษัทฯ

• The All-New BMW 5 Series Exclusive Preview ที่ตึกมหานคร กรุงเทพมหานคร • Grand Opening Ceremony, Motor Expo 2017 ที่อิมแพค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี • The All-New Nissan Note ที่ GMM LIVE HOUSE กรุงเทพมหานคร • GPX Battle of Custom Contest 2017 ที่อิมแพค เมืองทองธานี • MAI Forum ที่เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร • Kids Charity ที่เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร • Launching K+ Application กสิกรไทยสำ�นักงานใหญ่ • The All-New BMW 5 Series (G30) Press Drive 2017 เขาใหญ่ • The All-New MINI Countryman (F60) Press Drive & Test Drive 2017 หัวหิน • CIMB Asean Day ที่หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • MINI Roadshow ที่จังหวัดเชียงใหม่ และ พิษณุโลก

2.3.2) ให้บริการในการบริหารจัดงานแสดง สินค้าและนิทรรศการด้วยการเป็นผู้บริหารจัดงานแสดงสินค้าและ นิท รรศการ (Show Manager) อย่างครบวงจร แก่เจ้าของงาน นั้นๆ โดยวางแนวคิดของงาน การสรรหาผู้ออกงาน (Exhibitors) การขายพื้นที่แสดงในงาน การสรรหาผู้เข้าชมงาน การจัดสัมมนา ในงาน การหาวิทยากรและผูเ้ ข้าร่วมสัมมนา การวางแผนด้านโฆษณา และประชาสัมพันธ์งาน รวมถึงการบริหารด้านปฎิบัติการในภาพรวม ทั้งหมด • ฺGPX Battle of Custom Contest 2017


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

25

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

2.4) งานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architecture & Engineering) ให้บริการรับเหมาก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม และ วิศวกรรมที่เกี่ยวของ พร้อมให้คำ�ปรึกษาด้านการก่อสร้างให้เป็นไป ตามหลักการก่อสร้างและกฎหมายอาคารต่างๆ ตั้งแต่รากฐานอาคาร ไปจนถึงสถาปัตยกรรมภายใน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความคุ้มค่าของ ลูกค้าเป็นสำ�คัญ ผลงานสำ�คัญในปี 2560 ของบริษัทฯ

• งานสถาปัตยกรรมบูรณะโครงสร้าง ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เยาวราช กรุงเทพมหานคร • งานตีเส้นจราจรและติดตั้งกันชน อาคารจอดรถตรีเพชร อีซูซุ กรุงเทพมหานคร

• ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เยาวราช

• งานตีเส้นจราจรและติดตั้งกันชน อาคารจอดรถตรีเพชร อีซูซุ กรุงเทพมหานคร

การตลาดและภาวะการแข่งขัน 2.1.1 นโยบายทางการตลาด

บริษัทฯ ให้บริการออกแบบและตกแต่งงาน (Design & Build) อย่างครบวงจร โดยมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำ�คัญดังนี้ · การวิจัยและออกแบบที่สร้างสรรค์และตรงตามความต้องการ ของลูกค้า ถือเป็นส่วนสำ�คัญที่สุดของงาน และเป็นพื้นฐานของงาน ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีการวิจัยเป็นลำ�ดับแรกเพื่อให้เข้าใจลูกค้า และนำ�มาใช้ออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ และมีความแตกต่าง เพื่อให้ งานมีความโดดเด่น และเป็นที่น่าประทับใจแก่ลูกค้า ทั้งยังตรงตาม วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละความต้องการของลูกค้า สามารถใช้งานได้จริง นอกจากนี้ ยังออกแบบงานโดยพิจารณาถึงงบประมาณของลูกค้า โดย เลือกใช้วสั ดุทคี่ มุ้ ค่าในการลงทุน และสามารถปรับปรุงนำ�มาใช้ใหม่ได้ เพื่อลดการสิ้นเปลือง ประหยัดพลังงาน และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม โดยบริษทั ฯ มีกลุม่ นักออกแบบทีม่ ปี ระสบการณ์กว่า 40 คนทีพ่ ร้อมให้ บริการแก่ลกู ค้า นอกจากนีเ้ รายังมีโครงการขยาย Design Studio เพือ่ รองรับกลุม่ ลูกค้าทีต่ อ้ งการเฉพาะงานออกแบบ และสามารถพัฒนาไป เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์และนักออกแบบกราฟฟิคในอนาคตอีกด้วย

· การมีมาตรฐานและคุณภาพของงานในระดับสากล บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญกับมาตรฐานและคุณภาพของงาน ที่ตรงตามรายละเอียดในแบบงาน และส่งมอบงานตามความต้องการ ของลูกค้า โดยกลุ่มงานของบริษัทฯ จะทำ�การควบคุมตรวจสอบ คุณภาพของงานในทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการติดตั้ง เพื่อ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดของงาน และทำ�ให้บริษัทฯ สามารถส่งมอบ งานได้ก่อนเวลาและเป็นที่พอใจของลูกค้า ทั้งนี้บริษัทฯ ได้รับการ รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000 ในปี 2546 และ ISO 9001:2008 ในปี 2553 ซึง่ เป็นมาตรฐานด้านคุณภาพในส่วนของการออกแบบและ ติดตั้งคูหาสำ�หรับงานนิทรรศการ รวมถึงมาตรฐาน ISO20121 ในปี 2556 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการจัดการกิจกรรมอย่างยั่งยืน (Event Sustainability Management System) และมาตรฐาน SEDEX ใน ปี 2556 ซึง่ เป็นมาตรฐานทางด้านจริยธรรมการจ้างงานของผูป้ ระกอบ การจากประเทศอังกฤษ ในปี 2558 ได้รับการรับรองมาตรฐานสถาน ประกอบการที่ถูกต้องตามหลักชีวอนามัย (WCA) และในปี 2559 บริษทั ได้รบั การรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการอาคารสีเขียว ตาม ข้อกำ�หนด Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) ของสภาอาคารเขียวแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และรางวัล


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

26

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บรรษัทภิบาลดีเด่น ประจำ�ปี 2559 (CG Awards 2016) และได้รับ ผลการประเมินการกำ�กับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) อยู่ในระดับดีมากหรือ 4 ดาว จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย · กลุ่มงานมีความเป็นมืออาชีพ และพร้อมด้วยประสบการณ์ บริ ษั ท ฯ เน้ น การสร้ า งกลุ่ ม งานและระบบงานที่ มี ประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้า และ รองรับการขยายตัวของงานได้อย่างต่อเนือ่ งและสามารถคงมาตรฐาน และคุณภาพของงานให้อยูใ่ นระดับสูงได้ โดยบริษทั ฯ จัดให้มโี ครงสร้าง ในการบริหารจัดการในแต่ละงาน ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าโครงการ ทีมบริหารโครงการ ทีมออกแบบ และทีมผลิต ที่ความเป็นมืออาชีพ และมีประสบการณ์สูง และมีการแบ่งขอบเขตและความรับผิดชอบ ระหว่างทีมงานที่ชัดเจน · การให้บริการที่ดีของกลุ่มงาน บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญกับการให้บริการที่ดีกับลูกค้า โดย บุคลากรของบริษัทฯ ทุกคนล้วนมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ�และต่อ ลูกค้า แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีรวดเร็ว บริหารจัดการงานได้อย่าง ราบรื่ น และส่ ง มอบงานให้ต รงเวลา ซึ่งจะส่งผลให้งานที่ออกมา มีคุณภาพดี และทำ�ให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำ�งานกับลูกค้า ซึ่ง จะทำ�ให้บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ให้ผลิตผลงานอย่าง ต่อเนื่อง และสามารถบอกต่อไปยังลูกค้ารายอื่น · การให้บริการอย่างครบวงจร บริ ษั ท ฯ สามารถให้ บ ริ ก ารออกแบบ ตกแต่ ง งาน (Design & Build) และการบริการอื่นอย่างครบวงจรในงานตกแต่ง ภายใน (Interiors) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) งาน พิพธิ ภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด (Thematic Park & Museums) และ การตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) ตั้งแต่การวางแนวคิด การออกแบบ การผลิต และติดตั้งงานทั้งหมด รวมไปถึงการจัดหา อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน ทั้งที่เป็นงานพื้นฐานก่อสร้าง เช่น งาน โครงสร้าง งานพื้น งานไม้ และงานเหล็ก เป็นต้น · การให้ความสำ�คัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษทั ฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุก ฝ่าย เช่น ชุมชนหรือสังคมโดยรอบ ลูกค้า ผู้รับเหมาช่วง ผู้จำ�หน่าย วัสดุ รวมถึงพนักงานของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีเพื่อสร้างพันธมิตรและเครือข่ายทางธุรกิจให้กว้างขวางขึ้น ส่งผล ให้บริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเติบโตไปพร้อมๆกัน

นโยบายการกำ�หนดราคา

บริษัทฯ มีนโยบายกำ�หนดราคาให้บริการจากต้นทุนการ ให้บริการ บวกอัตรากำ�ไรเบื้องต้น (gross profit) ในอัตราที่เหมาะ สม สามารถเปรียบเทียบกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน และอยู่ในระดับ ที่สามารถแข่งขันได้ โดยกำ�ไรเบื้องต้นนั้นจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความซับซ้อนในการออกแบบ ความ ยากง่ายในการผลิตงาน และความเสี่ยงของงาน เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการตัดราคากับคู่แข่งรายอื่น หากบริษัทฯ มีนโยบาย ทางการตลาดในระยะยาว โดยพิจารณาราคาให้เหมาะสมกับลูกค้า เป็นรายไป หรือกรณีงานที่ได้รับมีปริมาณงานสูง มีความต่อเนื่อง ในระยะยาว และสามารถนำ�ไปสู่งานอื่นๆ ในอนาคตได้

ลักษณะลูกค้า

บริษัทฯ มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าชั้นนำ�ระดับนานาชาติจากต่าง ประเทศและในประเทศที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมี ศักยภาพทางการแข่งขันสูงในตลาดโลก มีนโยบายในการทำ�การตลาด ทีต่ อ่ เนือ่ ง มีแผนการตลาดในการกระตุน้ ยอดขายสม่�ำ เสมอ และมีการ ขยายตัวของพื้นที่ค้าปลีกอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแบ่ง ออกได้ดังนี้ 1. กลุ่มลูกค้าเอกชน มีสัดส่วนรายได้ประมาณร้อยละ 98 ของรายได้จากการให้บริการรวม ส่วนมากจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่อยู่ใน อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตและการแข่งขันสูง · กลุ่มธุรกิจค้าปลีก: เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตสูงตาม การขยายตัวของห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าใน กลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่นในตลาดระดับกลางถึงบน และเป็นลูกค้า ที่มีแบรนด์จากต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะให้บริการในรูปของงาน ตกแต่งภายใน (Interiors) เป็นหลัก · กลุ่มธุรกิจยานยนต์: เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการจัดงานแสดง สินค้าและนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดงานประชาสัมพันธ์ กระตุ้นยอดขายสม่ำ�เสมอทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ทั่วทุก ภูมิภาค โดยบริษัทฯ จะให้บริการ ในรูปแบบของงานแสดงสินค้า และนิทรรศการ (Exhibitions) และการตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) เป็นส่วนใหญ่ · กลุ่มธุรกิจการเงิน/ธนาคาร: เป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่มีการจัด งานแสดงสินค้าและงานส่งเสริมกิจกรรมตลอดปี ทัง้ ในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด ส่วนมากจะเป็นงานประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยว กับการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าชมงานตัดสินใจในการทำ�ธุรกรรม ทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ส่วนใหญ่บริษทั ฯ จะให้บริการในรูปแบบ ของงานแสดงสินค้าและงานกิจกรรม (Exhibitions & Events) และ การตลาดทางเลือก (Alternative Marketing)


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

27

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เติบโตอย่างสม�่ำ เสมอ ส่วน มากจะเป็นการจัดงานหรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้รับ ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างกระแสผลักดันการเติบโตในอุตสาหกรรม เป้าหมายต่อไป นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเห็นถึงโอกาสการเติบโตของ ศูนย์ส่งเสริมความรู้และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลเช่นเดียวกัน โดยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมทางการเงิน อุตสาหกรรมเกี่ยว กับการศึกษา ซี่งบริษัทฯ จะให้บริการในรูปของงานพิพิธภัณฑ์และ ศูนย์การเรียนรู้ (Museums & Learning Center) เป็นหลักแก่ลูกค้า ในกลุ่มนี้

· กลุม่ ธุรกิจอืน่ ๆ : บริษทั ฯ ยังมีกลุม่ ลูกค้ารายใหญ่และราย ย่อยที่ประกอบธุรกิจอื่นๆ อีก เช่น ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจ วัสดุกอ่ สร้าง ธุรกิจเครือ่ งจักรอุตสาหกรรม ธุรกิจอาหาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสถาบันการศึกษา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจความงามและ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และธุรกิจบรรจุภัณฑ์และสิ่งพิมพ์ เป็นต้น 2. กลุ่มลูกค้าภาครัฐ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ประมาณร้อยละ 2 ของรายได้จากการให้บริการรวม เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการ

ลูกค้าหลัก

บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากลูกค้า จำ�แนกตาม ประเภทกลุม่ ลูกค้า ตามงบการเงินรอบปีบญ ั ชีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ถึง 2559 และ 2560 มีรายละเอียดดังนี้

ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ

กลุ่มลูกค้าเอกชน - กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 373.2 39.2 534.3 - กลุ่มธุรกิจยานยนต์ 358.4 37.6 358.3 - กลุ่มธุรกิจการเงิน 79.3 8.3 69.4 - กลุ่มธุรกิจอื่น1/ 120.7 12.7 195.7

45.3 30.4 5.9 16.6

488.20 423.9 117.9 104.6

42.5 36.9 10.3 8.4

กลุ่มลูกค้าภาครัฐ

20.7

2.2

21.5

1.8

13.4

1.9

รวมรายได้จากการให้บริการ

952.3

100.0

1,179.2

100

1,148

100

หมายเหตุ: 1/ กลุ่มธุรกิจอื่น ได้แก่ ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเครื่องจักรอุตสาหกรรม ธุรกิจ อาหาร และธุรกิจบรรจุภัณฑ์และสิ่งพิมพ์ เป็นต้น


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

28

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ช่องทางการให้บริการ 1. การเสนอผลงานให้ลกู ค้าคัดเลือก บริษทั ฯ จะมีทมี การ ตลาดคอยรับหน้าที่ติดตามตารางการจัดงาน ตารางแผนการตลาด การประชาสัมพันธ์ หรือแผนการดำ�เนินงานของลูกค้าเป้าหมาย เพื่อ หาโอกาสติดต่อลูกค้าและนำ�เสนอผลงานให้ลูกค้าคัดเลือกในเวลาที่ เหมาะสม หรือบางกรณี บริษัทฯ อาจได้รับคำ�เชิญจากลูกค้าเพื่อให้ บริษัทฯ ส่งแบบงานเข้านำ�เสนอ 2. ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเก่า บริษัทฯ มุ่งเน้นการให้ บริการด้วยงานออกแบบที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพและได้ มาตรฐาน ทำ�ให้ลกู ค้าเกิดความพึงพอใจ มีความสัมพันธ์ทดี่ กี บั บริษทั ฯ ทำ�ให้กลุ่มลูกค้าส่วนมากยังคงใช้บริการกับบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ ล้วนดำ�เนินธุรกิจที่มีการเจริญ เติบโตอย่างต่อเนื่อง อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง จึงมีงบ ประมาณและแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายเสมอมา

3. การแนะนำ�จากลูกค้าเก่าและพันธมิตรทางการค้า

4. เครือข่ายของกลุ่ม Kingsmen ในประเทศต่างๆ ซึ่ง ปัจจุบันมี 20 สำ�นักงานใน 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ ตะวันออกกลาง โดยมีการร่วมมือกันระหว่างบริษัทฯ และเครือข่าย ของกลุ่ม Kingsmen ในการประสานงานและแนะนำ�ลูกค้าที่มีความ ต้องการที่จะเข้ามาใช้บริการในประเทศไทย เมียนมาร์และกัมพูชา 5. การทำ�การตลาดผ่านการจัดแสดงนิทรรศการ บริษัทฯ ออกงานแสดงสิน ค้าในรูปแบบคูหาแสดง เพื่อเพิ่มโอกาสในการ ประชาสัมพันธ์เพิ่มช่องทางการตลาด การให้บริการ และช่องทางใน การติดต่อลูกค้า

บริษทั ฯ มีชอ่ งทางการติดต่อสือ่ สาร เพือ่ อำ�นวยความสะดวกให้กบั บุคคลทีส่ นใจ หรือติดต่อสอบถาม และเป็นช่องทางในการรับส่งข้อมูล ข่าวสารจากบริษัทในรูปแบบต่างๆ โดยมีช่องทาง หรือ K Channels 7 ช่องทาง ได้แก่

Facebook (เฟสบุ๊ค) facebook.com/kingsmencmtiplc

Website (เวปไซด์) www.kingsmen-cmti.com Twitter (ทวิตเตอร์) @KCMTI1989 / Kingsmen C.M.T.I.

Youtube (ยูทูป) KCMTI Plc.

Line@ (ไลน์แอด) @kingsmen-cmti

Linkedin (ลิ้งค์อิน) Kingsmen C.M.T.I. Email (อีเมล) kingsmen@kingsmen-cmti.com


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

29

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน จากรายงานสภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมปี 2561 ของสำ�นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ชี้ให้เห็นว่า ภาพรวม เศรษฐกิจมีแนวโน้มสดใสขึ้น GDP อาจโตถึงร้อยละ 4 ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม (MPI) ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง ร้อยละ 1.5 -2.5 การส่งออกและลงทุนภาครัฐยังเป็นกลจักรสำ�คัญที่ผลักดันเศรษฐกิจ ของประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ตา่ งๆ สำ � หรั บ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย ว เป็ น อุ ต สาหกรรมหลั ก ที่ เ กื้ อ หนุนและมีผลต่อบริษัทโดยตรง ซึ่งจากผลการวิเคราะห์จากสภา อุตสาหกรรมท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (สทท.) ดัชนีความเชือ่ มัน่ คาด การณ์ในไตรมาสที่ 1/2561 เท่ากับ 102 เป็นการคาดการณ์ในระดับ ใกล้เคียงปกติต่อเนื่องมา ตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจาก การขยายตัวของสายการบินต้นทุนต�่ำ โดยในไตรมาส 1/2561 นัน้ คาด ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.65 ล้านคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 จากปี ก่อน และคาดการณ์โดยรวมปี 2561 จะมี นักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 37.18-37.92 ล้านคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ5.06-7.15 และมีรายได้จากนัก ท่องเทีย่ วต่างชาติรวม 2.12-2.16 ล้านล้านบาท ซึง่ ล้วนแล้วแต่เป็นผล ดีตอ่ ภาพรวมของธุรกิจให้บริการออกแบบและตกแต่งงาน (Design & Build) อย่างครบวงจรของบริษทั ฯ ทัง้ ในงานตกแต่งภายใน งานแสดง สินค้าและนิทรรศการ งานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด การตลาด ทางเลือก และงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม

แนวโน้มและการแข่งขันภาคธุรกิจงานตกแต่งภายใน เนื่องจากธุรกิจงานตกแต่งภายในของบริษัทฯ มุ่งเน้นการ ให้บริการในการตกแต่งภายในครอบคลุมเกือบทุกภาคส่วน จากข้อมูล จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก เผยว่า ธุรกิจ ค้าปลีกในปี 2560 คาดว่ามีแนวโน้มเติบโตได้ร้อยละ 3.0-3.5 จาก มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ สำ�หรับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ คาดว่ายังคงขยายตัวได้เพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะยอดขายของผูป้ ระกอบการ ค้าปลีกสมัยใหม่ที่คาดว่าจะขยายตัวจากการลงทุนขยายสาขาใหม่ และปรับปรุงสาขาเดิม รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ให้เช่า ซึ่งจะช่วยทำ�ให้ รายได้ของผูป้ ระกอบการจะเติบโตได้อย่างต่อเนือ่ ง และแนวโน้มธุรกิจ โรงแรมในภาพรวมยังคงเติบโต ไม่มากนักและการแข่งขันที่มีอยู่สูงส่ง ผลให้ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ยังคงชะลอการลงทุนเพิ่มและหันมา ปรับปรุงห้องพักแทนการก่อสร้างใหม่ ส่งผลให้บริษัทฯ มีโอกาสจาก งานตกแต่งภายในเพิ่มมากขึ้น ในปี 2561 เป็นต้นไปโครงการอาคารเอนกประสงค์หรือ Mixed-use จะเป็นแนวโน้มที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ เลือกเป็น ทางออกของการรับมือราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น และรองรับกลุ่มผู้อยู่ อาศัยที่อยากอยู่ใกล้แหล่งงานและสิ่งอำ�นวยความสะดวกรายล้อม หลังจากที่ผ่านมาในปี 2560 เป็นยุคที่บิ๊กแบรนด์ร่วมทุนกับต่างชาติ หรือพันธมิตรอื่น

แนวโน้มและการแข่งขันภาคธุรกิจงานแสดงสินค้า และนิทรรศการ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การ มหาชน) เผยว่าอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) หรือ การประชุม การท่อง เที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมวิชาการนานาชาติและการจัดงาน แสดงสินค้า หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า MICE (Meeting, Incentive, Convention, และ Exhibition) จึงเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว เชิงธุรกิจ ปัจจุบันอุตสาหกรรมไมซ์ได้รับ การยอมรับมากขึ้นในฐานะ กลไกสําคัญของเศรษฐกิจของประเทศที่มีการเติบโตสูงและมีความ สําคัญต่อการ สร้างรายได้และการจ้างงานให้แก่ประเทศ เนื่องจาก นักเดินทางกลุ่มไมซ์มีเป้าหมายเฉพาะทางธุรกิจ มีอํานาจซื้อสูง และ มีความต้องการสินค้าและบริการทีม่ คี ณ ุ ภาพดีทงั้ อาหารและเครือ่ งดืม่ สายการบิน โรงแรม ธุรกิจการขนส่ง สินค้า การเดินทางในประเทศ เป็นต้น ทําให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของกลุ่มไมซ์จึงอยู่ในระดับที่สูงกว่านัก ท่องเที่ยวทั่วไป ประมาณ 2-3 เท่า จากรายงานของศูนย์กลางการสำ�รวจอุตสาหกรรมงาน แสดงสินค้า 2559 (CEIR) คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2561 อุตสาหกรรม งานแสดงสิ น ค้ า โลก จะเติ บ โตสู ง สุ ด ทำ � ลายสถิ ติ ปี ที่ ผ่ า นๆมา ซึ่ ง มี อุ ต สาหกรรมสำ � คั ญ ได้ แ ก่ อุ ต สาหกรรมเครื่ อ งจั ก รกลหนั ก อุตสาหกรรมก่อสร้าง ซ่อมตึก และบ้าน และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น รายงานระบุว่า ในปี 2560 จะมีแนวโน้มการเจริญเติบโตของ อุตสาหกรรมการแสดงสินค้าของโลกอยู่ที่ ร้อยละ 2.7 และ ร้อยละ 3 ในปี 2561 ทางด้านการแข่งขันการให้บริการแก่ผอู้ อกงานแสดงสินค้า และนิทรรศการในฐานะผู้ให้บริการ (Service Providers) มีการ แข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากบริษัทฯ จะต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการใน การออกแบบและก่อสร้างคูหาเป็นจำ�นวนมากทั้งรายใหญ่และราย เล็ก ในขณะที่พื้นที่งานที่จัดและจำ�นวนคูหาที่จัดมีจำ�กัด ผู้ให้บริการ รายใหญ่มกั มีขอ้ ได้เปรียบเนือ่ งจากมีความพร้อมทางด้านบุคลากรและ เทคโนโลยี ทำ�ให้สามารถส่งมอบงานที่มีมาตรฐานสูงกว่า นอกจากนี้ ผู้รับเหมารายใหญ่ยังรับงานในจำ�นวนที่มากกว่า ส่งผลให้มีอำ�นาจใน การต่อรองสั่งซื้อวัสดุมากขึ้น ทำ�ให้ต้นทุนลดต่ำ�ลง ด้านการให้บริการแก่ผู้จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ในฐานะผูร้ บั เหมาอย่างเป็นทางการ (Official Contractor) นัน้ มีการ แข่งขันในระดับปานกลาง เนือ่ งจากมีบริษทั ทีแ่ ข่งขันกันในตลาดเพียง ไม่กรี่ าย ซึง่ เป็นผูป้ ระกอบการรายใหญ่ทอี่ ยูใ่ นวงการมายาวนาน ผูจ้ ดั งานมักใช้บริการผูป้ ระกอบการรายใดรายหนึง่ เป็นประจำ� โดยผูจ้ ดั งาน และผูใ้ ห้บริการมีประสบการณ์ในการทำ�งานร่วมกัน ผูใ้ ห้บริการเข้าใจ เนือ้ หาของการจัดงานเป็นอย่างดี และในบางกรณีผใู้ ห้บริการสามารถ นำ�ชิ้นส่วนของงานบางอย่างกลับมาใช้ใหม่ ทำ�ให้ผู้จัดงานสามารถลด ต้นทุนในการจัดงานลงได้


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

30

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

คู่แข่งทางตรงของบริษัทฯ ในธุรกิจนี้ ได้แก่ บริษัทขนาด ใหญ่ที่สามารถให้บริการออกแบบและตกแต่งงาน มีกำ�ลังการผลิต มากพอในการรับงานทั้งในฐานะผู้ให้บริการ และผู้รับเหมาอย่างเป็น ทางการ และสามารถส่งมอบงานที่มีมาตรฐานในระดับสูงแก่ลูกค้า ได้ ซึ่งมีจำ�นวนประมาณ 10 ราย อาทิ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ซีเอ็มโอ จำ�กัด (มหาชน) เป็นต้น บริษัทฯ เป็นผู้นำ� ในธุรกิจออกแบบและก่อสร้างคูหาในงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ในฐานะผู้ให้บริการ เนื่องจาก บริษัทฯ มีประสบการณ์ในธุรกิจมา ตั้งแต่แรกเริ่ม มีความรู้ความชำ�นาญในธุรกิจมานาน มีบุคลากรดี ทำ� ให้บริษัทฯ สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าได้ นอกจากนี้ ยังรับงานขนาดใหญ่ได้จำ�นวนมากในระยะเวลาเดียวกันและส่งมอบ งานที่มีคุณภาพได้ตามสัญญา ส่งผลให้บริษัทฯ มีข้อได้เปรียบในการ แข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี

แนวโน้มและการแข่งขันภาคธุรกิจงานการตลาดทางเลือก ด้านการแข่งขันในธุรกิจการตลาดทางเลือกมีการแข่งขันใน ระดับสูง เนือ่ งจากมีคแู่ ข่งจำ�นวนมาก ทัง้ ผูใ้ ห้บริการโดยตรงในการรับ จัดงานกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Event Management) และผู้ให้บริการด้านการออกแบบและตกแต่งอย่างครบวงจร ซึ่ง ครอบคลุมถึงการรับจัดงานกิจกรรมทางการตลาด ทั้งนี้ ผู้ประกอบ การทีม่ งี บประมาณทางการตลาดสูง และมีนโยบายในการจัดกิจกรรม ทางการตลาดอยู่เป็นประจำ� มักเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการเพียงไม่ กี่รายในรอบปี เนื่องจาก ผู้ประกอบการต้องการความต่อเนื่องของ กิจกรรมทางการตลาดต่างๆ รวมถึงการออกแบบและคงแนวคิดของ กิจกรรมให้ไปในทิศทางเดียวกันตลอดทัง้ ปี ซึง่ ทิศทางการเจริญเติบโต ของงานกิจกรรมในประเทศไทย มีความเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน เรื่องของธุรกิจงานกิจกรรมประเภทสันทนาการ (Entertainment) ที่กลับมามีบทบาทอีกครั้งในปี 2560 ส่วนงานกิจกรรมที่จัดในพื้นที่ ค้าปลีก มีการจัดขึ้นหลายรูปแบบ ขณะเดียวกันกิจกรรมขององค์กร (Corporate Event) กิจกรรมสันทนาการ (Entertainment Event) กิจกรรมการจัดทำ�ซุ้มนิทรรศการในงานค้าปลีกขนาดใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะ เป็นในอุตสาหกรรมรถยนต์ทุกค่าย หรืองานมหกรรมทางการเงินของ สถาบันการเงิน หรืองานแสดงด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ก็คกึ คักตลอดทัง้ ปี นอกจากนี้ ทิศทางการเติบโตของอีเว้นท์ประเทศไทยจะเข้าไปมี บทบาทมากขึน้ ในตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยมาจากการที่ บ ริ ษั ท ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ของไทยในหลายๆ อุตสาหกรรม มีแผนการตลาดที่จะขยายงานไปยังต่างประเทศ ทำ�ให้ ต้องมีการจัดกิจกรรมการตลาด ส่งผลให้อีเว้นท์เติบโตไปด้วย สำ�หรับคูแ่ ข่งทางตรงของบริษทั ฯ ซึง่ ดำ�เนินธุรกิจการตลาด ทางเลือก จะรวมถึงผูป้ ระกอบการทุกขนาดทีส่ ามารถให้บริการในการ จัดงานกิจกรรมทางการตลาดได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัทฯ มีกลุ่ม ลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าขนาดกลางถึงขนาด ใหญ่ ที่มีนโยบายในการทำ�การตลาดทางเลือกเป็นประจำ� ดังนั้นคู่ แข่งทางตรงของบริษัทฯ จึงเป็นบริษัทที่สามารถให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพและมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกันกับบริษัทฯ

แนวโน้มและการแข่งขันภาคธุรกิจงานพิพิธภัณฑ์ และสวนสนุกแนวคิด อนาคตพิพิธภัณฑ์ไทย ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคที่สังคม เปลีย่ นแปลงทัง้ ยังมีความซับซ้อนสูง พิพธิ ภัณฑ์จะมิใช่เป็นแหล่งเรียน รู้เพียงอย่างเดียว แต่พิพิธภัณฑ์ยุคใหม่มีการออกแบบพิพิธภัณฑ์เพื่อ ให้ตอบโจทย์ต่อการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการเรียน รู้ที่ขยายวงกว้าง ซึ่งปกติธุรกิจงานพิพิธภัณฑ์จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบ ของการประชาสัมพันธ์ เพือ่ ให้ผเู้ ข้าชมทราบข้อมูลและมีความเข้าใจดี สำ�หรับงานแสดงนั้นๆ โดยมักอยู่ในรูปของการศึกษา หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น โดยลักษณะการจัดแสดงจะมีแบบถาวรและกึ่งถาวร ซึ่งใน ปัจจุบันได้มีองค์กรต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สำ�หรับ เก็บรวบรวมความรู้ ความเป็นมา และภูมิปัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ตนเองนำ�มาจัดแสดงเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กว้างขวางมาก ขึน้ จึงมีแนวโน้มทีจ่ ะจัดตัง้ และก่อสร้างพิพธิ ภัณฑ์เพิม่ มากขึน้ ในทุกๆ ปี โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 2.8 นอกจากนี้ ยังมีการ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสถานที่สำ�หรับเก็บรวมรวมข้อมูลความ รู้ เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง โดยส่วนมากจะจัดตั้งอยู่ ภายในหน่วยงานราชการโดยส่วนใหญ่มักจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติม ข้อมูลใหม่ๆ ภายใน 3-5 ปี เพื่อปรับให้ทันสมัย และเป็นข้อมูลความ รู้ที่ถูกต้องแม่นยำ� ซึ่งบริษัทฯ สามารถรองรับการสร้างพิพิธภัณฑ์และ สวนสนุกได้อย่างครบวงจร เป็นผูใ้ ห้บริการด้านออกแบบ ตกแต่ง และ ก่อสร้าง หรือกำ�หนดสื่อจัดแสดงต่างๆทั้งหมด


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

ในส่วนของงานสวนสนุกแนวคิด (Themed Park) ใน ประเทศไทยนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปของสวนน้ำ� ซึ่งตั้งอยู่ตามจังหวัด ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา ภูเก็ต หัวหิน เป็นต้น ปัจจุบันสวนสนุกใน ประเทศไทย ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากยังไม่มีสวนสนุกที่มีชื่อ เสียงระดับโลกมาเปิดบริการ อย่างไรก็ดี ธุรกิจสวนสนุกในเอเซียมีการ เติบโตเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับธุรกิจสวนสนุกในทวีปอื่นๆ จาก รายงานประจำ�ปีของ Themed Entertainment Association ปี 2556 ระบุว่า สวนสนุกในทวีปเอเซียแปซิฟิกมีจำ�นวนผู้เข้าชมเติบโต ขึน้ กว่าร้อยละ 7.5 เติบโตขึน้ มากทีส่ ดุ เมือ่ เทียบกับจำ�นวนผูเ้ ข้าชมสวน สนุกในทวีป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และยุโรป ประกอบกับการเปิด AEC ในปี 2558 ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันให้สวนสนุกระดับโลก ตัดสิน ใจเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนหรือประเทศไทยในอนาคต อย่างไร ก็ดี ภูมิภาคอาเซียนจะยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพ หากแต่ความอิ่ม ตัวว่าด้วยการลงทุนสร้างสวนสนุกแนวคิดเพือ่ ดึงดูดนักท่องเทีย่ วอาจมี ปัจจัยอืน่ ๆ ทีจ่ ะเป็นดัชนีชวี้ ดั มากกว่าปริมาณนักท่องเทีย่ วหรือแบรนด์ ทีจ่ ะนำ�มาเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในมิตขิ องระบบสาธารณูปโภคและ การคมนาคม ซึ่งจะเป็นข้อบ่งชี้ความสามารถในการเข้าถึง รวมถึง ศักยภาพของประชากรในเขตพื้นที่ที่จะเข้าไปเปิดที่อาจถือเป็นพลังที่ จะรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจ ทั้งนี้การแข่งขันในธุรกิจงานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุกใน ประเทศไทย มีการแข่งขันในระดับสูง เนื่องจากจำ�นวนงานในแต่ละปี มีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการที่มีจำ�นวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ ว่าจ้างโดยทั่วไปมักคัดเลือกผู้ให้บริการเบื้องต้น จากผลงานที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้ให้บริการที่มีประวัติการทำ�งานยาวนานและจำ�นวนผลงาน สะสมมาก มักมีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการ ที่มีงานสะสมไม่มากพอ ทั้งนี้ คู่แข่งโดยตรงของบริษัทฯ ได้แก่ บริษัท ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ที่สามารถให้บริการด้านงานตกแต่งและ ออกแบบแบบครบวงจร ซึ่งส่วนมากจะให้บริการครอบคลุมถึงธุรกิจ งานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด โดยบริษัทดังกล่าว มักเป็นคู่แข่ง ในธุรกิจงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ และการตลาดทางเลือกด้วย อาทิ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ซิตี้นีออน ดิส เพลส์ แอนด์ คอนสตรั๊คชั่นส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด และ บริษัท ไร้ท์ แมน จำ�กัด เป็นต้น

31

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศเมียนมาร์ รัฐบาลเมียนมาให้ความสำ�คัญในการเสริมสร้างความเข้ม แข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำ�หนดทิศทางการลงทุน ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การท่องเที่ยว โทรคมนาคมและ บริการด้านการเงิน รวมทัง้ การลงทุนด้านพลังงาน ระบบคมนาคม เขต เศรษฐกิจพิเศษ และนิคมอุตสาหกรรมของเมียนมาร์ ซึง่ คาดว่าต้องใช้ งบประมาณถึง 120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐาน ทัง้ นี้ เมียนมาร์มแี นวโน้มในการพัฒนาทีด่ ี โดย World Bank คาด การณ์ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาร์จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.1 ต่อปี ใน 3 ปีขา้ งหน้า โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์อตั รา การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเมียนมาร์ ระหว่างปี 2558-2563 ว่ามีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.0 โดยใน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเมียนมาร์มีการขยายตัวกว่าร้อยละ 8 ซึ่ง นับว่าเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างสูง แต่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ยังมีการคาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาร์จะขยายตัวได้ ในระดับร้อยละ 8.4 ในปีนี้ และร้อยละ 8.3 ในปี 2560 ซึ่งถือว่าเป็น อัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกัมพูชา ประเทศที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ทั้งเมือง หลวง และเมืองรอง สู่ความทันสมัย เนื่องจากการหลั่งไหลเข้าไป ทำ�งานและที่กฎหมายกัมพูชาอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารตั้งแต่ชั้นที่ไม่ติดกับพื้นดิน ส่งผลให้ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์มกี ารขยายตัวอย่างมาก ทัง้ บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ โรงแรม ศูนย์การค้าทันสมัย ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 3 ปี กรุงพนมเปญจะมีจำ�นวนคอนโดมีเนียมเพิ่มขึ้นประมาณปีละร้อย ละ 40 และจำ�นวนห้องพักจะเพิ่มขึ้นถึงอย่างน้อย 1 หมื่นยูนิต ซึ่ง เศรษฐกิจกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตดี และมั่นคงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยในปี 2016 เศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 7 ด้วยแรงส่งจาก อุปสงค์ภายในประเทศ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเติบโตร้อย ละ 10 และร้อยละ 6.8 ตามลำ�ดับ ด้านการลงทุนทางตรงจากต่าง ประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 โดยอีไอซีคาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชา จะเติบโตราวร้อยละ 6.8 ในปี 2017-2018 และยังคงมีแรงสนับสนุน หลักจากปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐาน เช่น ทางถนน รถไฟ พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ที่เป็นหนึ่งในตัวแปรสำ�คัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชา ในปี 2016 ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวของกัมพูชาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของ GDP และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 9 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ปี 2017 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียน ปราสาทสมโบร์ไพรกุก (Sambor Prei Kuk) ในเมืองกัมปงธมให้เป็น มรดกโลกแห่งใหม่ นับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 3 ในกัมพูชา ซึ่งกระทรวง การท่องเทีย่ วแห่งกัมพูชาวางแผนกระตุน้ ภาคการท่องเทีย่ วจากมรดก โลกแห่งใหม่นี้ และคาดว่าจำ�นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 ล้านคนต่อปีภายในปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 5 ล้านคนในปี 2016


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

32

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ขั้นตอนการทำ�งานในแต่ละโครงการในการออกแบบและผลิตงานโดยทั่วไปของบริษัทฯ บริษทั ฯ ดำ�เนินธุรกิจหลักในการให้บริการงานตกแต่งภายใน และการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ซึง่ ในแต่ละธุรกิจมีขนั้ ตอนดำ�เนิน งานที่ใกล้เคียงกัน ตามแผนภูมิภาพได้ดังนี้

การให้บริการในแผนภาพภูมิเป็นตัวอย่างการให้บริการแบบครบวงจร เกิดขึ้นหลังจากการที่ฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายบริหารโครงการได้ ติดตามและได้รบั การยืนยันงานจากลูกค้าได้แล้ว ซึง่ บริษทั ฯ บริหารระบบงานโดยแบ่งกลุม่ งานออกเป็น 3 กลุม่ หลัก ได้แก่ งานออกแบบ งานบริหาร โครงการ และงานผลิต โดยขั้นตอนการทำ�งานของแต่ละทีมจะมีขั้นตอนการทำ�งานที่แตกต่างกันตามช่วงติดตั้งเวลาของงาน โดยความรับผิดชอบ หลักของแต่ละกลุ่มมีดังนี้ 1) กลุ่มออกแบบ มีหน้าที่หลักในการรับแนว ความคิดจากลูกค้าเกี่ยวกับการจัดแสดงงาน หรือแบบตกแต่งภายในของร้านค้า แล้วนำ� มาทำ�การออกแบบงานให้สอดคล้องกับโจทย์ ที่ได้รับ หรือทำ�การออกแบบแนวคิดทั้งหมด ของงาน รวมถึงรายละเอียดต่างๆ นอกจาก นี้กลุ่มออกแบบยังมีหน้าที่ในการควบคุมดูแล การก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบทีว่ างไว้อกี ด้วย

2) กลุ่มบริหารโครงการ มีหน้าที่หลักในการ ควบคุมการทำ�งานในภาพรวม โดยมีหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับลูกค้า การจัดเตรียม สัญญาจ้าง การกำ�หนดราคาขาย การประสาน งานกับผูร้ บั เหมาช่วงรายอืน่ ส่งมอบงานให้แก่ ลูกค้า รวมถึงการประสานงานกับลูกค้าเกี่ยว กับบริการหลังการส่งมอบงาน เช่น บริการจัด เก็บชิ้นงานให้แก่ลูกค้าสำ�หรับนำ�มาใช้ใหม่ใน งานถัดไป เป็นต้น

3) กลุ่มผลิตและติดตั้ง มีหน้าที่หลักในการ ก่อสร้าง การแปรรูปวัสดุ การตกแต่ง การติด ตั้งงาน รวมถึงการรื้อถอนงานเมื่อถึงกำ�หนด เวลา อย่างไรก็ตามถึงแม้ทางบริษัทฯ จะมี ทีมงานก่อสร้างที่สามารถให้บริการแก่ลูกค้า ได้ แต่เนื่องจากปริมาณงานมีมาก ประกอบ กับงานบางลักษณะต้องการบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน บริษัทฯ จึงมีการจัดจ้าง ผูร้ บั เหมาช่วง (Sub-Contractor) ซึง่ ได้รบั การ คัดเลือกตามคุณสมบัติและมาตรฐานในการ ทำ�งานที่จำ�เป็นและเหมาะสม


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

33

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

การจัดหาวัสดุเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการ บริษัทฯ จัดหาวัสดุเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามบัญชีแสดงปริมาณวัสดุ (Bill of Quantity) สำ�หรับงานตกแต่ง ภายใน หรือบัญชีตน้ ทุนก่อนการทำ�งาน (Pre Cost) สำ�หรับงานแสดง สินค้าและนิทรรศการ ซึง่ เป็นบัญชีทรี่ ะบุชนิดและปริมาณวัสดุทตี่ อ้ งใช้ ในงานโครงการนัน้ ๆ โดยบริษทั ฯ สามารถจำ�แนกการจัดหาวัสดุเพือ่ ให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ 2 ช่องทางหลักคือ 1. การจัดจ้างผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor) ซึ่งโดย ส่วนมากจะเป็นช่างฝีมือภายนอก และผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง ด้านระบบต่างๆ โดยรูปแบบในการว่าจ้างผู้รับเหมาช่วงของบริษัทฯ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้ 1.1) การจัดจ้างผู้รับเหมาช่วง แบบจ้างเฉพาะ ค่าแรง และบริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหาวัสดุให้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการ ว่าจ้างในงานผลิตและติดตั้งชิ้นงาน งานตกแต่งภายใน งานไม้ และ งานโลหะ เป็นต้น 1.2) การว่าจ้างผู้รับเหมาช่วง แบบจ้างเหมาทั้ง ค่าแรง และค่าวัสดุซงึ่ บริษทั ฯ จะเป็นผูก้ �ำ หนดคุณภาพวัสดุให้ตรงตาม แบบของบริษทั ฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานโครงสร้างเหล็ก งานกระจก งานระบบไฟฟ้า งานฝ้า เพดาน และงานพื้น เป็นต้น ในการจัดจ้างผู้รับเหมาช่วงของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ มี นโยบายในการจัดทำ�เป็นสัญญาว่าจ้าง กรณีที่มีมูลค่างานมากกว่า 500,000 บาท นอกจากนี้ กำ�หนดให้ผู้รับเหมาช่วงวางเงินค้ำ�ประกัน สัญญาจ้าง ในรูปแบบหนังสือค้�ำ ประกันของธนาคาร หรือเช็ค แล้วแต่ กรณี ในมูลค่าประมาณร้อยละ 5-10 ของมูลค่าการจัดจ้าง และจะ คืนให้แก่ผู้รับเหมาช่วงเมื่องานแล้วเสร็จ หรือครบกำ�หนดระยะเวลา ประกันผลงานหรือ ซึ่งโดยทั่วไปประมาณ 6 เดือน แล้วแต่กรณี และ มีนโยบายในการชำ�ระเงินสำ�หรับการว่าจ้างผูร้ บั เหมาช่วง โดยให้มกี าร วางบิลในวันที่ 8 และ 20 ของทุกเดือน และทำ�การจ่ายเงินวันที่ 10 25 และ 26 ของทุกเดือน โดยมี Credit term เป็นเวลา 30-60 วัน บริษัทฯ มีนโยบายในการพิจารณาหรือคัดเลือกผู้รับเหมาช่วง ดังนี้ 1. คัดเลือกผู้รับเหมาช่วงมากกว่า 1 ราย เพื่อเปรียบเทียบ ราคา และราคาต้องไม่เกินกว่าราคากลางของบริษัทฯ หรือควรมีตัว เปรียบเทียบหากเกินกว่าราคากลางในบางกรณี 2. ความน่าเชื่อถือของผู้รับเหมา โดยพิจารณาจากผล งานการทำ�งานในอดีตที่ผ่านมา ประสบการณ์การทำ�งาน ฝีมือและ คุณภาพ โดยพิจารณาจากผลงานในอดีตของผู้รับเหมาช่วง 3. ความพร้อมของทีมงานผู้รับเหมาช่วง 4. การส่งมอบงานที่ตรงเวลาหรือก่อนกำ�หนด 5. ความโปร่งใสของผู้รับเหมาช่วง เช่น งบการเงิน การใช้ แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

6. บริษัทฯ มีทะเบียนผู้ให้บริการ และมีการจัดกลุ่มและ ประเมินศักยภาพของผู้รับเหมาช่วงทั้งก่อนและหลังการจ้างงาน 7. บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการจัดจ้างผู้รับเหมาช่วงรายใด รายหนึง่ ให้ท�ำ งานทีม่ ขี นาดใหญ่เกินกว่า 2 งานในเวลาเดียวกัน เพือ่ ไม่ ให้กระทบต่อคุณภาพของงาน และระยะเวลาการส่งมอบงาน อย่างไร ก็ดี บริษทั ฯ อาจพิจารณาศักยภาพของบุคลากรผูร้ บั เหมาช่วงเป็นราย กรณีไป ทัง้ นี้ บริษทั ฯ มีความสัมพันธ์อนั ดีกบั ผูร้ บั เหมาช่วง และมีนโย บายในการจัดจ้างผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง หากผู้รับเหมาช่วงดังกล่าว มีศักยภาพเพียงพอ และบริหารคุณภาพที่ดีอย่างสม่ำ�เสมอ 2. การจัดซื้อวัสดุสำ�หรับการก่อสร้างในแต่ละโครงการ ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุประเภท ไม้ สี และวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ บริษัทฯ จะมีการเตรียมความพร้อมในจัดซื้อให้เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละ โครงการตามแบบการผลิต และจะจัดซือ้ วัสดุทนั ทีเมือ่ ทราบว่าบริษทั ฯ ได้รับงานโครงการนั้นๆ แล้ว บริษัทฯ มีนโยบายในการชำ�ระเงินสำ�หรับการจัดซื้อวัสดุ โดยให้มีการวางบิลในวันที่ 8 ของทุกเดือน และทำ�การจ่ายเงินวันที่ 25 และ 26 ของทุกเดือน โดยมี Credit term เป็นเวลา 30-60 วัน บริ ษั ท ฯ มี น โยบายในการพิ จ ารณาหรื อ คั ด เลื อ กผู้ จั ด จำ�หน่ายวัสดุ (Supplier) ดังนี้ 1. คัดเลือกผู้จัดจำ�หน่ายวัสดุ มากกว่า 1 เพื่อเปรียบเทียบ ราคา และราคาต้องไม่เกินกว่าราคากลางของบริษัทฯ 2. พิจารณาคุณภาพวัสดุให้ตรงตามมาตรฐานและตามที่ ลูกค้าได้ระบุไว้ 3. ความพร้อมในจัดส่งวัสดุให้ตรงเวลาหรือก่อนกำ�หนด 4. ความน่าเชื่อถือของผู้จัดจำ�หน่าย โดยพิจารณาจากงบ การเงิน หรือความมีตัวตน ทั้งนี้ ในการให้บริการแก่ลูกค้าของบริษัทฯนั้น บริษัทฯ มีนโยบายที่จะผลิตชิ้นงานด้วยตนเอง (In-house production) เป็น อันดับแรก และบริษทั ฯจะว่าจ้างผูร้ บั เหมาช่วงในกรณีทงี่ านมีปริมาณ มาก และในส่วนทีเ่ ป็นงานระบบต่างๆ โดยปัจจุบนั บริษทั ฯมีการผลิต ชิน้ งานที่ สถานทีผ่ ลิตชิน้ งานลำ�ลูกกาคลอง 6 และสถานทีผ่ ลิตชิน้ งาน รังสิตคลอง 11 บริษทั ฯ มีการประเมินผูร้ ับเหมาช่วงและร้านค้าผูจ้ �ำ หน่าย เป็ น ประจำ � ทุ ก ครึ่ ง ปี แ ละพู ด คุ ย กั บ ทุ ก รายเพื่ อ แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ข้อแนะนำ�ในการทำ�งานร่วมกันเป็นประจำ�


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

34

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

4) ขยะมูลฝอย ขยะหมุนเวียน และขยะอันตราย: บริษทั มีนโยบายในการจัดการขยะต่างๆ ภายในองค์กร ทัง้ ส่วนสำ�นักงานและโรงงาน ซึง่ ขยะทัว่ ไปทีไ่ ม่สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ ได้ ทางบริษทั ส่งไปกำ�จัดกับหน่วยงานของเทศบาลหรือท้องถิน่ บริษทั คัดกรองขยะหมุนเวียนเพือ่ นำ�มาใช้ใหม่ในการทำ�ชิน้ งานเพือ่ ให้ชมุ ชน พนักงาน เกษตรกร หรือผู้ประกอบการอื่นๆ นำ�ไปใช้ประโยชน์ ส่วน ขยะอันตราย บริษัทส่งไปกำ�จัดอย่างถูกวิธีโดยใช้บริการกับบริษัท ที่ ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีแผนกความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน ตรวจสอบเป็นระยะ

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจ เกิดขึ้นจากการผลิตงาน เช่น ฝุ่นละอองจากไม้ เสียงจากการผลิตงาน กลิ่นของสีและน้ำ�เสียที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น โดยบริษัทฯ ปฎิบัติตาม กฎระเบียบ และขั้นตอนการปฎิบัติงานอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการดำ�เนินการเพือ่ ควบคุมและจัดการผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมดังนี้

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ และ/หรือ ให้องค์การบริหารส่วนตำ�บลที่เกี่ยวข้อง มาประเมินผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมเป็นประจำ�ทุกปี ในทุกสถานทีท่ บี่ ริษทั ฯ ดำ�เนินการผลิต และ ทีผ่ า่ นมา บริษทั ฯ ไม่เคยมีขอ้ พิพาทหรือการฟ้องร้องเกีย่ วกับการสร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เคยได้รับการตักเตือนหรือปรับจาก หน่วยงานของรัฐตามกฎหมายที่บริษัทฯ ต้องปฎิบัติแต่อย่างใด

1) ฝุ่นละอองจากไม้: บริษัทฯ มีการติดตั้งระบบดูดฝุ่น จากการผลิตเพื่อกำ�จัดฝุ่นละอองจากไม้ระหว่างการผลิตชิ้นงาน ใน ทุกสถานที่ที่บริษัทฯ ดำ�เนินการผลิต 2) เสียงจากการผลิตงาน: ในกระบวนการผลิต อาจมี เสียงจากการผลิตงาน แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่มีเครื่องจักรหนัก ทีจ่ ะทำ�ให้เกิดเสียงดังจนรบกวนผูอ้ นื่ และมีการตรวจวัดเฝ้าระวังเสียง โดยการทำ�งานจากหน่วยงานภายนอกและจัดส่งรายงานให้ทางกรม สวัสดิการคุ้มครองแรงงานทราบ 3) กลิน่ จากการทำ�สีชนิ้ งาน: โรงงานผลิตชิน้ งานทีล่ �ำ ลูกกา คลอง 6 มีการติดตั้งระบบกำ�จัดกลิ่นสีจากชิ้นงาน ซึ่งจะดูดอากาศ พร้อมกลิ่นของสีผ่านม่านน้ำ� เพื่อแปรสภาพเป็นน้ำ�ปนกากสี และมี การแยกกากสีออกจากน�้ำ ทิง้ ส่งไปให้หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบกำ�จัดต่อ ไป นอกจากนี้ บริษัทฯ อาจมีการทำ�สีชิ้นงานในโกดังและสถานที่ผลิต ชิน้ งานย่อย โดยเป็นการซ่อมเก็บสีชนิ้ งานขนาดเล็ก และดำ�เนินการใน พื้นที่ที่เป็นสัดส่วน

งานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษัทฯและบริษัทย่อย มี งานที่อยู่ระหว่างดำ�เนินการและยังไม่ได้ส่งมอบและยังไม่ได้รับรู้ราย ได้จำ�นวน 609 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นงานตกแต่งภายใน และ งานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โดยบริษัทฯ คาดว่าจะส่งมอบงาน ทั้งหมดได้ภายในปี 2561


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

35

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ปัจจัยความเสี่ยง บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำ�เนินธุรกิจ และ ประกอบการ ให้ได้ผลตามเป้าหมาย แต่ยังคงต้องคำ�นึงถึงผลกระทบจาก ปัจจัย ความเสีย่ งต่างๆ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ โดยไม่ทราบล่วงหน้า แต่อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯ ได้พจิ ารณาถึงโอกาสทีจ่ ะเกิดความเสีย่ ง ในด้านต่างๆ และได้ ประเมินไว้ตามสถานการณ์และข้อมูลทีม่ อี ยู่ ณ ปัจจุบนั ซึง่ อาจยังคงมี ปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ที่บริษัทฯ ไม่ทราบในขณะนี้ ที่อาจจะมีผลกระ ทบต่อ การดำ�เนินงาน ของบริษทั ฯ ในอนาคต และอาจจะ กระทบต่อ ผลตอบแทนจากการลงทุน ของนักลงทุนอย่างมีนยั สำ�คัญ โดยบริษทั ฯ มีแนวทางในการป้องกันความเสี่ยง สรุปได้ดังนี้

1. ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของ แผนการตลาดและการขยายกิจการของ ลูกค้า ความไม่แน่นอนและผันผวนทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงเสถียรภาพของการเมืองในประเทศ ย่อมส่ง ผลกระทบต่อการวางแผนการตลาดและงบประมาณของลูกค้าในกลุม่ ธุรกิจการแสดงสินค้า งานกิจกรรม และ กลุ่มธุรกิจงานตกแต่งภายใน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างยิ่งหากกำ�ลังการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวใน และต่างประเทศ ลดน้อยลง อันเป็นผลให้เกิดการยกเลิกงานแสดง สินค้า งานกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือแม้แต่การเลื่อนกำ�หนดการ เปิดร้านค้า หรือ ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ อย่างไรก็ดี ธุรกิจของบริษัทรองรับกับการขยายตัวของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในขณะที่การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้บริษัทขยายกิจการเพื่อเติบโตไป พร้อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย บริษัทฯ ตระหนักถึงปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนี้ จึงมุ่ง เน้นไปยังการขยายฐานลูกค้าในหลากหลายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อ กระจายความเสี่ยงของการถดถอยจากการชะลอตัวของธุรกิจในกลุ่ม ต่างๆ ที่อาจจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน อีกทั้งยังมุ่งเป้าไปยัง กลุ่มลูกค้า ที่เป็นเจ้าของตราสินค้า(แบรนด์)ระดับโลก ที่มีศักยภาพในการเจริญ เติบโตอย่างต่อเนื่อง และขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในตลาด โลก หรือในประเทศไทย รวมทั้งมีการขยายตัวของพื้นที่ค้าปลีกอย่าง ต่อเนื่อง ส่วนใหญ่กลุ่มลูกค้าดังกล่าวจะมีนโยบายและงบประมาณที่ ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก กลุ่มธุรกิจ อาหาร โรงแรม และ สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เป็นต้น อีกทัง้ บริษทั ฯ มีแผนงานเพือ่ ขยายและพัฒนาธุรกิจ เพือ่ รองรับกับสถานการณ์ความ ไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ กระตุ้นยอดขายอย่างสม่ำ�เสมอ

2. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกต่างๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความไม่ แน่นอนทางการเมือง หรือภัยธรรมชาติ อาจนำ�ไปสู่ การถดถอยของ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รวมทัง้ การดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ฯ เนือ่ งจาก ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีความไม่แน่นอนต่างๆ เกิดขึน้ เป็นผลให้ กำ�ลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และทำ�ให้ผู้ประกอบการอาจชะลอการ ขยายกิจการ หรือปรับปรุงร้านค้า หรือปรับเปลี่ยนนโยบายจากการ กระตุ้นยอดขายไปใช้วิธีอื่นแทน บริษัทฯ ตระหนักถึงความไม่แน่นอนและความผันผวน เหล่านี้ จึงได้มีแผนให้พนักงาน ใส่ใจและติดตามสถานการณ์ และ ปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลต่อแผนงานของลูกค้า อีกทั้งการใกล้ ชิดกับลูกค้าหลัก และ ลูกค้าประจำ�ของบริษัท ทำ�ให้สามารถทราบ สถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงแผนงานหรืองบประมาณของลูกค้า ได้อย่างรวดเร็ว หรือ อย่างน้อยทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมุ่งขยายฐานลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้นเสมอ เพื่อกระจาย ความเสีย่ ง ไปยังกลุม่ อืน่ ๆทีอาจจะมีผลกระทบน้อยกว่ากลุม่ ทีบ่ ริษทั ฯ ให้บริการอยู่ อย่างไรก็ดี นอกจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลเสียแล้ว ยังคง มีปัจจัยบวกจากการขยายตัวในตลาด CLMV ในอนาคตอันใกล้ส่งผล ให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ความสนใจในการงานแสดง สินค้า และการจัดกิจกรรม มากขึน้ จากจำ�นวนผูป้ ระกอบการ นักท่อง เที่ยว และนักเดินทางจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้ และ ประเทศไทยมากยิง่ ขึน้ ทำ�ให้เกิดการขยายตัวของห้างสรรพสินค้า และ ร้านค้าปลีกสำ�หรับสินค้าชัน้ นำ�ออกสูห่ วั เมืองหลัก ในประเทศ รวมถึง ประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจของบริษัทฯอย่าง ต่อเนือ่ ง พร้อมกันนี้ บริษทั ฯ ได้ท�ำ ประกันภัยทีค่ รอบคลุมถึงความเสีย หายอันเนื่องมาจากการเสี่ยงภัยทุกชนิด ซึ่งรวมไปถึงความเสียหายที่ เกิดจากน้ำ�ท่วม และประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักไว้ด้วย


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

36

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

3. ความเสี่ยงจากการที่ลูกค้า ไม่ชำ�ระเงินตามสัญญา ลูกค้าของบริษทั ฯ ส่วนใหญ่เป็นบริษทั ข้ามชาติและบริษทั ที่ น่าเชือ่ ถือในประเทศ โอกาสไม่ช�ำ ระเงินตามสัญญา จะเกิดขึน้ น้อยมาก ธุรกิจงานตกแต่งภายใน บริษทั ฯจะเก็บเงินมัดจำ�งวดแรกประมาณร้อย ละ 20-30 ของมูลค่าสัญญา ก่อนการเริ่มทำ�งาน และทยอยเก็บเงิน ส่วนที่เหลือตามความสำ�เร็จของงาน ส่วนธุรกิจงานแสดงสินค้าและ งานกิจกรรมนั้น บริษัทฯ จะเก็บเงินมัดจำ�งวดแรกประมาณร้อยละ 40-60 ของมูลค่าสัญญาก่อนการเริ่มทำ�งาน และเก็บเงินส่วนที่เหลือ ภายหลังจากที่การจัดงานดังกล่าวจบลง นอกจากนี้ ในระหว่างการ ทำ�งานลูกค้าอาจมีการปรับเพิ่มหรือลดงาน ซึ่งจะถูกปรับปรุงในการ เก็บเงินงวดสุดท้าย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ อาจมีความเสี่ยงจากการที่ลูกค้าไม่ ชำ�ระเงินตามสัญญาในบางงวดหรือทั้งหมด อันเนื่องมาจากการตรวจ รับงานของลูกค้าที่ล่าช้ากว่าที่กำ�หนดส่งมอบงานตามแผนงาน หรือ จากสถานการณ์ดา้ นการเงิน ของลูกค้าเองก็ตาม ทำ�ให้บริษทั ฯ อาจได้ รับผลกระทบด้านกระแสเงินสด ฐานะทางการเงิน และผลการดำ�เนิน งานของบริษัทฯ ได้ บริษัทฯ มีการบริหารจัดการลูกหนี้การค้าโดยในงานที่มี มูลค่าสูงบริษัทฯ จะกำ�หนดงวดการชำ�ระเงินให้มีความถี่ มากขึ้นตาม ความสำ�เร็จของงาน และให้เครดิตเทอมแก่ลกู ค้าประมาณ 30-60 วัน นอกจากนี้ หากลูกหนีร้ ายใดมีปญ ั หา การชำ�ระเงินหรือมียอดค้างชำ�ระ สะสมเป็นจำ�นวนหนึง่ บริษทั ฯ จะติดตามทวงถามเป็นระยะๆ และจะ ชะลอการให้บริการ ครัง้ ใหม่จนกว่าลูกค้ารายดังกล่าวจะชำ�ระเงินของ งานเดิมก่อน นอกจากนี้ บริษัทฯ หาแหล่งเงินทุนสำ�รองจากธนาคารไว้ ล่วงหน้าเพื่อใช้ในกรณีที่เกิดสภาวะการรับชำ�ระหนี้ล่าช้าหรือกระแส เงินสดตึงตัว

4. ความเสี่ยงจากวิวัฒนาการ และวิทยาการ ยุค 4.0 ยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมใหม่ หรือ การนำ� วิทยาการด้านสารสนเทศ และ ดิจิทอลเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ธุรกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบนั อาจมีผลกระทบต่อการดำ�เนินธุรกิจ ของบริษทั เนือ่ งจากมีการใช้เทคโนโลยีทที่ �ำ ให้พฤติกรรมการดำ�รงชีวติ ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป จาก Internet ไปสู่ Mobile Internet และ เปลี่ยนไปเป็น Internet of Things (IOT) ซึ่งแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่ Artificial Intelligence (AI) ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯได้มกี ารประชุมร่วมกันกับผูบ้ ริหารใน กลุ่มบริษัทในเครือ ทั่วเอเชียแปซิฟิก เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ เกี่ยวกับยุคเศรษฐกิจและสถานการณ์ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียม ความพร้อม จึงทำ�ให้บริษัทพร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่มี ผลกระทบต่อธุรกิจของบริษทั รวมถึงการวางแผนล่วงหน้าในทุกๆด้าน ของธุรกิจ

5. ความเสี่ยงจากการมีกลุ่มผู้ถือหุ้น รายใหญ่ 2 กลุ่ม ถือหุ้นของบริษัท รวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 กลุม่ ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ทง้ั 2 กลุม่ ได้แก่ กลุม่ ครอบครัวพิเศษสิทธิ์ ถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 48.2 และ Kingsmen Creatives Ltd. ถือ หุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 10 รวมถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 58.2 ของ จำ�นวนหุ้นทั้งหมดซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ทำ�ให้กลุ่มผู้ถือหุ้น ใหญ่ทงั้ 2 กลุม่ สามารถควบคุมมติทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ได้เกือบทุกเรือ่ งที่ ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ เว้นแต่เรือ่ งทีก่ ฎหมายหรือ ข้อบังคับของบริษัทฯ กำ�หนดให้ต้องได้รับเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ อาจไม่สามารถรวบรวม คะแนนเสียงเพือ่ ตรวจสอบและถ่วงดุลเรือ่ งทีผ่ ถู้ อื หุน้ ดังกล่าวเสนอให้ ที่ประชุมพิจารณาได้ ทั้ ง นี้ ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ ทั้ ง 2 กลุ่ ม ล้ ว นแต่ เ ป็ น ผู้ ที่ มี ประสบการณ์ในการบริหารงานธุรกิจของบริษัทฯ เป็นอย่างดี โดย นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ เป็นผู้ริเริ่มและก่อตั้งบริษัทฯ เป็นผู้ที่มีความ รู้ความสามารถในธุรกิจ มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจมา อย่างยาวนานกว่า 28 ปี เช่นเดียวกันกับ Kingsmen Creatives Ltd. ทีม่ ปี ระสบการณ์และความชำ�นาญในธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 41 ปี และมีเครือข่ายสำ�นักงานทั่วโลก ดังนั้น การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ทั้ง 2 กลุ่ม จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริหารของบริษัทฯ บริหารงานเพื่อ ผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และผู้เกี่ยวข้องอื่นที่มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทต่อ ไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ได้ถ่ายโอนอำ�นาจ บริหารไปยังกลุม่ ผูบ้ ริหารมืออาชีพให้ก�ำ กับดูและและกำ�หนดนโยบาย การดำ�เนินธุรกิจของบริษัทต่อไปในระยะยาว


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

37

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

นโยบายการลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม บริษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) มีนโยบายการ ลงทุนและบริหารงานในบริษทั ย่อยและบริษทั ร่วม ทัง้ ในประเทศและ ต่างประเทศ โดยจะลงทุนในธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่อง ใกล้เคียง หรือ ก่อให้เกิดประโยชน์และสนับสนุนการดำ�เนินธุรกิจของบริษทั เพือ่ เสริม สร้างความมั่นคง และผลการดำ�เนินงานของบริษัท ในการกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของบริษทั ย่อยและบริษทั ร่วมนัน้ บริษทั ฯ จะส่งตัวแทนทีม่ คี ณ ุ สมบัตแิ ละประสบการณ์ทเี่ หมาะ สมกับธุรกิจทีบ่ ริษทั ฯ เข้าลงทุน เข้ามาเป็นกรรมการในบริษทั ย่อยและ บริษัทร่วมของบริษัทดังกล่าว โดยตัวแทนของบริษัทฯ ต้องปราศจาก ผลประโยชน์ขัดแย้งกับธุรกิจของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเหล่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทสามารถควบคุมดูแลกิจการ และการดำ�เนินงาน ของบริษทั ย่อยและบริษทั ร่วมได้เสมือนเป็นหน่วยงานหนึง่ ของบริษทั

โดยตัวแทนของบริษัทจะต้องบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทย่อยและ บริษัทร่วมให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ ตามข้อบังคับ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยตัวแทนที่ส่งไปนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนการ ถือหุน้ ของบริษทั และ/หรือข้อตกลงร่วมกันในกรณีของบริษทั ร่วม ซึง่ ทางบริษทั จะติดตามผลประกอบการและผลการดำ�เนินงานของบริษทั ย่อยและบริษัทร่วมอย่างใกล้ชิด รวมถึงกำ�กับให้มีการจัดเก็บข้อมูล และบันทึกบัญชีของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมให้บริษัทตรวจสอบ ทั้งนี้ การขออนุมัติในการลงทุนของบริษัทจะต้องเป็นไป ตามกฎ ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ว่าด้วยการได้มาหรือจำ�หน่ายไปซึ่ง สินทรัพย์ตามทีไ่ ด้ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

โครงการลงทุนในอนาคต โครงการลงทุนในประเทศกัมพูชา

บริษัทฯ มองเห็นศักยภาพและการเติบโตของตลาดใน ประเทศกัมพูชา ซึง่ มีการเติบโตตามการคาดหมายของธนาคารโลกอยู่ ในระดับสูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017 และจะยังคงมีแนวโน้มเช่นนี้ ต่อไปอีกหลายปี สืบเนือ่ งจากการทีร่ ฐั บาลกัมพูชาได้ให้ความสำ�คัญใน การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรม ภาค บริการและการท่องเที่ยว การพัฒนาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และ สาธารณูปโภค ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนจากต่างชาติสามารถ เข้ามาลงทุนโดยการจดทะเบียนบริษทั ภายในประเทศกัมพูชาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องมีคนท้องถิน่ ร่วมถือหุน้ ประกอบกับอัตรา ภาษีกำ�ไรนิติบุคคลที่อยู่ในอัตราร้อยละ 20 นั้น ก็เป็นแรงจูงใจให้เกิด การลงทุนมากยิ่งขึ้น บริษัทฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำ�รวจศึกษาข้อมูล และพบว่าการ เติบโตในส่วนของการออกแบบ การก่อสร้างอาคารสำ�นักงาน โรงแรม ห้างสรรสินค้า และการจัดนิทรรศการต่างๆ มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อ เทียบกับปีที่ผ่านมา และบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพและชื่อเสียง

ของบริษทั ฯ ทีม่ ขี อ้ ได้เปรียบทางด้านการแข่งขันกับบริษทั ท้องถิน่ อาทิ เรือ่ งการออกแบบ คุณภาพมาตรฐานของงาน การใช้เทคโนโลยีในการ ผลิตชิน้ งานทีท่ นั สมัย ตลอดจนการให้บริการอย่างเป็นกันเองนัน้ จะทำ� ให้บริษทั ฯ สามารถเข้าไปทำ�ตลาดได้ในกัมพูชาภายใต้แบรนด์ Kingsmen ภายใต้สญ ั ญาอนุญาตให้ใช้ชอื่ ทางการค้าและเครือ่ งหมายการค้า (License Agreement) โดยคาดว่าจะสามารถดำ�เนินการจดทะเบียน บริษัทได้ภายในต้นปี 2561 และมีทุนจดทะเบียน 300,000 ดอลล่าร์ สหรัฐฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยบริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) เพื่อดำ�เนินธุรกิจในประเทศกัมพูชา


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

38

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสำ�คัญอื่น ข้อมูลบริษัทฯ บริษัท

:

บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”)

ประเภทธุรกิจ

:

ให้บริการออกแบบและตกแต่งงาน (Design & Build) งานตกแต่งภายใน (Interiors)

งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) การตลาดทางเลือก (Alternative

Marketing) งานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุกแนวคิด (Thematic Park & Museums)

และธุรกิจงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (Architecture & Engineering)

ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่

:

122/4 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10250

เลขทะเบียนบริษัท

:

0107558000296

ทุนจดทะเบียน

:

110,000,000 บาท ชำ�ระแล้ว 109,999,992 บาท

จำ�นวนหุ้นสามัญ

:

219,999,984 หุ้น ราคาที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท

แห่งประเทศไทย

:

18 ธันวาคม 2558

รอบปีบัญชี

:

1 มกราคม - 31 ธันวาคม

Home Page

:

www.kingsmen-cmti.com

โทรศัพท์

:

02-735-8000

นักลงทุนสัมพันธ์

:

02-735-8000 ต่อ 244

โทรสาร

:

02-735-8005

ปีที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์

โทรศัพท์ -


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

39

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

นายทะเบียนหลักทรัพย์ บริษัท

:

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด

ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่

:

93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์

:

02-009-9000

โทรสาร

:

02-009-9991

บริษัท

:

บริษัท เอเอสที มาสเตอร์ จำ�กัด

ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่

:

790/12 อาคารทองหล่อทาวเวอร์ ซอยทองหล่อ 18 ถนนสุขุมวิท 55

แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

โทรศัพท์

:

02-714-8842 หรือ 02-185-0342

โทรสาร

:

02-185-0225

บริษัท

:

บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำ�กัด

ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่

:

178 อาคารธรรมนิติ ซอยเพิ่มทรัยพ์ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

โทรศัพท์

:

02-596-0500

บริษัท

:

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด

ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่

:

เลขที่ 44 อาคารสมูทไลฟ์ ชั้นที่ 18 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก

กรุงเทพฯ 10500

:

02-633-9088 / 02-633-9089

ผู้สอบบัญชี

ผู้ตรวจสอบภายใน

ที่ปรึกษากฏหมาย

โทรศัพท์ / โทรสาร


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

40

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

41

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

การจัดการและกำ�กับดูแลกิจการ


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

42

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ข้อมูลหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้น จำ�นวนทุนจดทะเบียนและทุนชำ�ระแล้ว

ผู้ถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษทั ฯ มีทนุ จดทะเบียนจำ�นวน 110,000,000 บาท และมีทุนชำ�ระแล้ว 109,999,992 บาท เป็นหุ้น สามัญจำ�นวน 219,999,984 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท

ณ วันปิดสมุดทะเบียนผูถ้ อื หุน้ ล่าสุด เมือ่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 รายชือ่ ผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ของบริษทั ฯ โดยนับรวมผูถ้ อื หุน้ ทีเ่ กีย่ วข้อง และผูถ้ อื หุน้ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้ผมู้ อี �ำ นาจควบคุมเดียวกัน มีรายละเอียดดังนี้

ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุด เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่

จำ�นวนหุ้น

1. ครอบครัวพิเศษสิทธิ์ 1

1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6

นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ 1.1 นายวงศกร พิเศษสิทธิ์ 1.2 นางสาวขิม พิเศษสิทธิ์ 1.3 นายพิทักษ์ พิเศษสิทธิ์ 1.4 นายพิชัย พิเศษสิทธิ์ 1.4

76,784,340 10,340,000 1,375,000 1,375,000 10,010,000 1,320,000

34.90 4.70 0.63 0.63 4.55 0.60

นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล นายดำ�รงค์ วงษ์ประยูร นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์

6,779,700 3,052,999 5,500,000

3.08 1.39 2.50

รวมครอบครัวพิเศษสิทธิ์

2. กลุ่มผู้บริหาร

2.1 2.2 2.3

สัดส่วน (ร้อยละ)

รวมกลุ่มผู้บริหาร

101,204,340

15,332,699

46.00

6.97

3

Kingsmen Creatives Ltd. 2

22,000,000

10.00

4

นายกำ�พล พลัสสินท์

7,886,980

3.58

5

นายบัญชา ลิ้มวรรัตน์

4,553,999

2.07

6

นายวินัย ตั้งคำ�

3,300,000

1.50

7

นางแนนซี่ เฉลิมกาญจนา

3,100,000

1.41

8

นางสาวสฤษดิ์พร พุทธสัมฤทธิ์

3,000,000

1.36

9

นายไชยรัตน์ หอมเศรษฐ์นันท์

2,300,000

1.05

10

นายวรุต มหาวาณิชย์วงศ์

2,300,000

1.05

หมายเหตุ

บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ มีดังต่อไปนี้ 1.1 นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ เป็นภรรยาของนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ 1.2 นายวงศกร พิเศษสิทธิ์ เป็นบุตรชายของนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ และนางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ 1.3 นางสาวขิม พิเศษสิทธิ์ เป็นบุตรสาวของนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ และนางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ 1.4 นายพิทักษ์ พิเศษสิทธิ์ และนายพิชัย พิเศษสิทธิ์ เป็นพี่น้องของนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ 2/ Kingsmen Creatives Ltd. เป็นผู้ร่วมทุนที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสิงค์โปร์ และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์ 1/


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

43

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

การเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของกรรมการ และผู้บริหารทั้งทางตรงและทางอ้อม ในปี 2560 รายชื่อกรรมการ และผู้บริหาร

ตำ�แหน่ง

1. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ ์ ประธานกรรมการ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

จำ�นวนหุ้น ณ วันที่ จำ�นวนหุ้น ณ วันที่ การเปลี่ยนแปลง 21 กุมภาพันธ์ 2560 12 กุมภาพันธ์ 2561 การถือครอง 81,784,340 -

2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล กรรมการ/ 7,524,500 กรรมการผู้จัดการ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

-

3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ ์ กรรมการ/

10,340,000 รองกรรมการผูจ้ ดั การ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ -

76,784,340 -

(5,000,000) -

6,779,700

(744,800)

-

-

10,340,000

-

-

-

4. นายสงวน ศรีนคารินทร์ กรรมการ

- -

- -

5. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิศ์ รี กรรมการ/

กรรมการอิสระ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

-

381,500

381,500

-

-

6. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร กรรมการ/

กรรมการอิสระ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

220,000

320,000

100,000

22,000

0

(22,000)

7. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ กรรมการ/

1,177,000

1,177,000

660,000

660,000

-

8. นายดำ�รงค์ วงษ์ประยูร รองกรรมการผูจ้ ดั การ 6,049,999

3,052,999 3,000,000

(2,997,000) 3,000,000

9. นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์ รองกรรมการผู้จัดการ 5,500,000

5,500,000

คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

กรรมการอิสระ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

-

-

-


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

44

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

การออกหลักทรัพย์อื่น

ไม่มี

นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำ�ไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหัก ภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล และเงินสำ�รองต่างๆ ทุกประเภทตามทีก่ �ำ หนดไว้ ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษทั ฯ อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผล ดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความจำ�เป็น และความ เหมาะสมอื่นๆ

ในการพิจารณาจ่ายเงินปันผลของบริษทั ย่อยนัน้ จะอยูภ่ าย ใต้อำ�นาจการพิจารณาอนุมัติของ (ก) คณะกรรมการของบริษัทฯและ (ข) คณะกรรมการและ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแต่ละ บริษทั โดยจะพิจารณาจากกำ�ไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหัก ภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล และเงินสำ�รองต่างๆ ทุกประเภทตามทีก่ �ำ หนดไว้ ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทย่อยแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความ จำ�เป็น และความเหมาะสมอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของบริษัทเห็น สมควร

โครงสร้างการจัดการ

โครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ ประกอบด้วย

1. คณะกรรมการบริษัท 2. คณะกรรมการชุดย่อย จำ�นวน 3 คณะ 2.1 คณะกรรมการตรวจสอบ 2.2 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 2.3 คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล 3. คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริษัทฯ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีคณะกรรมการบริษัทฯ จำ�นวน 7 ท่าน ดังนี้

ชื่อ

1. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ 2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล 3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ 4. นายสงวน ศรีนคารินทร์ 5. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 6. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร 7. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์

ตำ�แหน่ง

ประธานกรรมการ กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน กรรมการ กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง

โดยมี นางสาวณัฐรียา สุลัยมาน เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯ


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

45

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

กรรมการผู้มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัทฯ นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ หรือ นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ หรือ นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล สองในสาม ลงลายมือชื่อและประทับตราสำ�คัญของบริษัทฯ

คณะกรรมการตรวจสอบ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ มีจำ�นวน 3 ท่าน ดังนี้

ชื่อ

1. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 2. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร 3. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์

ตำ�แหน่ง

กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ

โดยมี นางสาวพัชรินทร์ นิโรจน์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ มีจำ�นวน 3 ท่าน ดังนี้

ชื่อ

1. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ 2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล 3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์

ตำ�แหน่ง

ประธาน / กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ

โดยมี นายเรวัตร์ หนิดภักดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล (คณะกรรมการสรรหาฯ)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ มีจำ�นวน 3 ท่าน ดังนี้

ชื่อ

1. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร 2. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ 3. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์

ตำ�แหน่ง

ประธาน / กรรมการอิสระ กรรมการ / กรรมการอิสระ กรรมการ

โดยมี นายเรวัตร์ หนิดภักดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

46

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

การเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ

การเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน สามารถสรุปได้ดังนี้ จำ�นวนเข้าร่วมประชุม / จำ�นวนการประชุมทั้งหมดที่กรรมการต้องเข้าร่วม (ครั้ง) ปี 2560 ชื่อ

1. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ 2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล 3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ 4. นายสงวน ศรีนคารินทร์ 5. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 6. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร 7. นายธีรธัช โปษยานนท์

คณะกรรมการ บริษัท 6/6 6/6 6/6 6/6 6/6 6/6 6/6

คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการสรรหา ตรวจสอบ ความเสี่ยง ค่าตอบแทน และ บรรษัทภิบาล

- - - - 4/4 4/4 4/4

- 4/4 4/4 - - - 4/4

2/2 - - - - 2/2 2/2

การประชุม ผู้ถือหุ้น 1/1 1/1 1/1 1/1 1/1 1/1 0/1


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

47

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

โครงสร้างการบริหารจัดการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการสรรหา / ค่าตอบแทน / และบรรษัทภิบาล

คณะกรรมการบริหาร ผู้ตรวจสอบภายใน

กรรมการผู้จัดการ

รองกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจตกแต่งภายใน

รองกรรมการผูจ้ ดั การ สายธุรกิจการแสดงสินค้า พิพธิ ภัณฑ์ การตลาดทางเลือก/ วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

ฝ่ายบริหารโครงการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายประมาณราคา ฝ่ายจัดหา ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต

ฝ่ายบริหารโครงการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายประมาณราคา ฝ่ายจัดหา ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม

รองกรรมการผู้จัดการ

ฝ่ายบัญชีและการเงิน

ฝ่ายบุคคลและธุรการ ฝ่ายสื่อสารการตลาด ฝ่ายเลขา/นักลงทุนสัมพันธ์/ สื่อสารองค์กร

สายการบังคับบัญชา ฝ่าย > ส่วน > แผนก


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

48

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ผู้บริหาร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ผู้บริหารของบริษัทฯ มีจำ�นวน 6 ท่าน ดังนี้

ชื่อ

1. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ 2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล 3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ 4. นายดำ�รงค์ วงษ์ประยูร 5. นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์ 6. นางสาวกัญญา วัฒนแต้ตระกูล

ตำ�แหน่ง

ประธานกรรมการบริหาร (ปัจจุบัน : ที่ปรึกษา) กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน รองกรรมการผู้จัดการสายงานตกแต่งภายใน รองกรรมการผู้จัดการสายงานแสดงสินค้า พิพิธภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด / วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน (Financial Controller)

เลขานุการบริษัทฯ คณะกรรมกรรมบริษัทได้พิจารณาแต่งตั้ง นางสาวณัฐรียา สุลัยมาน เป็นเลขานุการบริษัทฯ เพื่อทำ�หน้าที่ในนามบริษัท และ/ หรื อ คณะกรรมการบริ ษั ท ในการจั ด ทำ � และเก็ บ รั ก ษาทะเบี ย น กรรมการ หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริษทั รายงานการประชุม คณะกรรมการบริษัท รายงานประจำ�ปีของบริษัท หนังสือนัดประชุม ผู้ถือหุ้น รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งเก็บรักษารายงานการมี ส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร ตลอดจนดำ�เนินการ อื่นใดตามที่คณะกรรมการกำ�กับตลาดทุนประกาศกำ�หนด และจัด ส่งสำ�เนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา 89/14 ซึ่งจัดทำ�โดย กรรมการให้ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบทราบ ภายใน 7 วันทำ�การนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น

นอกจากนี้ เลขานุการบริษัท ยังมีหน้าที่ดังนี้ 1) ให้ค�ำ แนะนำ�เบือ้ งต้นเกีย่ วกับข้อกฎหมาย และระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัท ที่คณะกรรมการบริษัทต้องการทราบและ ติดตามให้มีการปฏิบัติตามอย่างถูกต้องสม่ำ�เสมอ รวมถึงรายงาน การเปลี่ยนแปลงข้อกำ�หนด และ/หรือกฎหมายที่มีนัยสำ�คัญให้คณะ กรรมการบริษัทรับทราบ 2) จัดการประชุมผู้ถือหุ้นและการประชุมคณะกรรมการ บริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท และข้อพึงปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้อง 3) บันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น และการประชุมของ คณะกรรมการบริษทั รวมทัง้ ติดตามให้มกี ารปฏิบตั ติ ามมติทปี่ ระชุมผู้ ถือหุ้น และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท 4) ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศใน ส่วนทีร่ บั ผิดชอบต่อหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ตามระเบียบและข้อกำ�หนด ของหน่วยงานดังกล่าว 5) ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัท และการดำ�เนิน การอืน่ ใดให้เป็นไปตามกฎหมาย และ/หรือ ตามทีค่ ณะกรรมการกำ�กับ ตลาดทุนประกาศกำ�หนด และ/หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะ กรรมการบริษัท ทั้ ง นี้ รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ประวั ติ แ ละคุ ณ สมบั ติ ข อง กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอำ�นาจควบคุม และเลขานุการบริษัทฯ อยู่ใน เอกสารแนบ 1


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนกรรมการโดยคำ�นึงถึงความเป็นธรรมและ เหมาะสม สะท้อนถึงหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ และพิจารณาเปรียบเทียบ กับอัตราค่าตอบแทนของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือ ใกล้เคียงกับบริษัทฯ

49

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

1. ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนกรรมการ ในปี 2560 คณะกรรมการได้พจิ ารณาทบทวน และนำ�เสนอ ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2560 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 เพื่อพิจารณาอนุมัติการกำ�หนดค่าตอบแทนกรรมการประจำ�ปี 2560 โดยมีอัตราโครงสร้างค่าตอบแทนดังนี้

ค่าตอบแทนในรูปแบบเบี้ยประชุม

1. ค่าเบี้ยประชุม ปี 2560

คณะกรรมการบริษัท และ คณะกรรมการตรวจสอบ

• ประธานกรรมการ 30,000 บาท • กรรมการ 20,000 บาท

คณะกรรมการสรรหาฯ และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

• ประธานกรรมการ 20,000 บาท • กรรมการ 10,000 บาท

2. โบนัสประจำ�ปี

(ต่อครั้ง/ต่อคน) (ต่อครั้ง/ต่อคน)

คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาลได้ กำ�หนดให้กรรมการทีม่ ใิ ช่ผบู้ ริหารของบริษทั ฯ ได้รบั โบนัสปีละ 1 ครัง้ โดยกรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ สละสิทธิใ์ นการรับเบีย้ ประชุม และโบนัสประจำ�ปีดงั กล่าว และได้ก�ำ หนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายโบนัส ประจำ�ปีดังนี้

หลักเกณฑ์

จำ�นวนเงินโบนัส

กำ�ไรน้อยกว่า 50 ล้านบาท

กรรมการไม่ขอรับเงินโบนัส

กำ�ไรสุทธิ 50-100 ล้านบาท

จ่าย 100,000 - 200,000 บาท

กำ�ไรสุทธิมากกว่า 100-200 ล้านบาท

จ่าย 200,000 - 400,000 บาท

กำ�ไรสุทธิ 200 ขึ้นไป

แล้วแต่พิจารณา แต่รวมกันไม่เกิน 3 ล้านบาท

ในปี 2560 บริษัทฯ มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กรรมการบริษัทฯ รวม 4 ราย จำ�นวน 0.95 ล้านบาท โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปของเบี้ย ประชุม ทั้งนี้ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของบริษัทฯ สละสิทธิ์ในการรับเบี้ยประชุมดังกล่าว


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

50

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ และกรรมการตรวจสอบ สำ�หรับปี 2560 สรุปได้ดังนี้

ชื่อ

ตำ�แหน่ง

ค่าตอบแทนกรรมการปี 2560 (บาท) คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ บริษัท ตรวจสอบ บริหาร สรรหา (6 ครั้ง) (4 ครั้ง) ความเสี่ยง ค่าตอบแทน (4 ครั้ง) และบรรษัท ภิบาล (2 ครั้ง)

1. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์

ประธาน คณะกรรมการ 2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล กรรมการ/ กรรมการผู้จัดการ 3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์ กรรมการ/ รองกรรมการผู้จัดการ 4. นายสงวน ศรีนคารินทร์ กรรมการ 5. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการอิสระ 6. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ/ 7. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ ประธานกรรมการสรรหาฯ กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ/ ประธานกรรมการ บริหารความเสี่ยง

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

120,000 180,000

120,000

-

-

120,000 300,000

120,000

80,000

-

40,000

240,000

120,000

80,000

70,000

20,000

290,000

ค่าตอบแทนผู้บริหาร ในปี 2560 บริษัทฯ ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร ประกอบด้วยเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยงต่างๆ และเงินสมทบเข้ากองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ ดังนี้

ปี 2560 เงินเดือนและโบนัส

จำ�นวนราย

ค่าตอบแทน (ล้านบาท)

5

18.3

กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ

1.4

สวัสดิการอื่นๆ

1.7

รวม

21.4

2. ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน

รวม

บริษัทฯ มีสวัสดิการอื่นให้แก่ผู้บริหาร เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าโทรศัพท์ เป็นต้น


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

51

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บุคลากร จำ�นวนบุคลากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2558 - 2560 บริษัทฯ มีพนักงาน ประจำ� (ไม่รวมผู้บริหาร) จำ�นวนทั้งสิ้น 190 คน 220 คน และ 277 คน ตามลำ�ดับ โดยแบ่งตามสายงาน ดังนี้

สายงาน/ฝ่าย (หน่วย: คน)

31 ธันวาคม 2558

31 ธันวาคม 2559

31 ธันวาคม 2560

ฝ่ายออกแบบ

29

36

46

ฝ่ายบริหารโครงการ และการตลาด

46

52

71

ฝ่ายปฏิบัติการ และโรงงาน

74

86

104

แผนกจัดหา

13

16

26

แผนกทรัพยากรมนุษย์/ธุรการ

16

17

16

แผนกสารสนเทศ

2

2

3

ฝ่ายบัญชีและการเงิน

10

11

11

รวม

190

220

277

บริษัทฯ ยังมีพนักงานรายวัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2558 - 2560 จำ�นวนทั้งสิ้น 122 คน 114 คน และ 136 คน ตามลำ�ดับ ประกอบด้วย ช่างไม้ ช่างสี ช่างปูน ช่างเหล็ก และแรงงานทั่วไป


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

52

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ค่าตอบแทนพนักงาน ในปี 2558 ปี 2559 และปี 2560 บริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานประจำ�และรายวัน (ไม่รวมผู้บริหาร) ซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าว รวมถึง เงินเดือนและโบนัส กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ สวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่าล่วงเวลา และอื่นๆ โดยสรุปได้ดังนี้

ค่าตอบแทน

ปี 2558 (ล้านบาท)

ปี 2559 (ล้านบาท)

ปี 2560 (ล้านบาท)

- เงินเดือนและโบนัส

88.5

98

115.2

- กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ

2.4

3.6

5.3

- สวัสดิการอื่นๆ

11.6

10.3

16.6

รวมพนักงานประจำ�

102.5

111.9

137.1

21.1

23.67

19.3

-

-

-

- สวัสดิการอื่นๆ

0.9

1.39

3.9

รวมพนักงานรายวัน

22.0

25.06

23.2

124.59

136.96

160.3

พนักงานประจำ�

พนักงานรายวัน - เงินเดือนและโบนัส - กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ

รวมทั้งสิ้น

บริษัทฯ ยังมีสวัสดิการเพิ่มเติมแก่พนักงาน คือ การให้เงิน กูย้ มื ช่วยเหลือพนักงาน ตามเหตุฉกุ เฉินหรือความจำ�เป็นทีเ่ กิดขึน้ จริง โดยบริษัทฯ จำ�กัดวงเงินกู้ทั้งหมดจำ�นวน 500,000 บาทต่อปี และ กำ�หนดหลักเกณฑ์ของพนักงานที่สามารถขอเงินกู้ได้ เช่น พนักงาน ต้องเป็นพนักงานประจำ� มีการกำ�หนดอายุงานขั้นต่ำ� มีการกำ�หนด วงเงินกู้และการผ่อนชำ�ระคืน และกำ�หนดเหตุจำ�เป็นในการขอเงินกู้ เป็นต้น โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษัทฯ มียอดเงินกู้ยืมช่วง เหลือพนักงานจำ�นวน 434,564.82 บาท และพนักงานยังผ่อนชำ�ระ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น บริษัทฯจึงไม่มีการตั้งสำ�รองหนี้สูญแต่อย่างใด

กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ บริ ษัท ฯ ได้ จั ด ตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ ตามพระราช บัญญัติกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่ม เติม) ตั้งแต่ปี 2537 โดยพนักงานที่เข้าร่วมกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพนั้น บริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบร้อยละ 5 – 10 (ขึ้นอยู่กับอายุการทำ�งาน) ของเงินเดือนของพนักงานเข้ากองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ และพนักงาน จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนของพนักงาน แต่ละราย

ข้อพิพาทด้านแรงงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2560 บริษัทฯ ไม่มขี อ้ พิพาทด้านแรงงานทีม่ นี ยั สำ�คัญต่อการดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ฯ

นโยบายในการพัฒนาบุคลากร บริษทั ฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนือ่ งทุก ระดับชั้น ตั้งแต่ระดับพนักงานไปจนถึงระดับผู้บริหาร เพื่อเสริมสร้าง ทักษะ ความรู้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างผล งานทีโ่ ดดเด่นและรองรับกับการแข่งขันทางธุรกิจและการขยายกิจการ ของบริษัทฯ โดยมีกลยุทธ์ดังนี้

1. การพัฒนาความรู้ความสามารถในสายงาน อย่างตรงตามเป้าหมาย

บริษทั ฯ จัดให้มกี ารพัฒนาความรูค้ วามสามารถให้ตรงตาม ความต้องการของสายงานเพื่อสามารถนำ�มาพัฒนาทักษะความรู้ใน การปฏิบัตงานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำ�มาแก้ปัญหาของงาน ได้อย่างมีความชำ�นาญและเชี่ยวชาญในสายงาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

53

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ขององค์กร นอกจากนี้ยังรวมถึงได้ทบทวนความรู้ทักษะการอบรมที่ จำ�เป็น เหมาะสม มีประโยชน์ประจำ�ปีให้สอดคลองกับนโยบายองค์กร

4. การกำ�หนดแผนการสืบทอดตำ�แหน่ง และการทดแทน ตำ�แหน่งงาน

2. การพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการปฏิบตั งิ าน

บริษัท ส่งเสริมและสนับสนุนพนักงานที่มีทักษะความรู้ ความสามารถจากภายในมากกว่าการสรรหาจากภายนอก เพราะยึด หลัก คนดีมาก่อนคนเก่ง รวมทัง้ ยังสร้างขวัญและกำ�ลังใจของบุคลากร ภายใน ที่มีความจงรักภักดีต่อองค์กรตลอดมา และที่สำ�คัญยังมีความ รู้ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ที่จะเดินควบคู่ไปกับคนรุ่นใหม่ไฟแรง ได้อย่างมั่นคงอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ ได้มีแนวทางและวัฒนธรรมในการสืบทอดการ พัฒนาศักยภาพ และการเตรียมความพร้อมในการปฏิบติงานอย่าง ชัดเจน โดยมุ่งเน้นการสอนงานแบบ OJT (ฝึกงานโดยการปฏิบัติงาน จริง) และเข้าใจถึงความเป็นมาขององค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบันโดย บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญ และมีความภาคภูมิใจ โดยผู้บริหาร ระดับ ประธานกรรมการ เป็นผู้เล่าความเป็นมาด้วยตนเอง รวมทั้งส่งเสริม ให้พนักงานได้พัฒนางานในหน้าที่ และเติบโตในสายงานได้อย่าง ยั่งยืน ทั้งนี้บริษัทได้กำ�หนดหลักเกณฑ์การสืบทอดตำ�แหน่งที่สำ�คัญ ของบริษัท

3. การรักษาบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ให้อยู่กับองค์กร บริษัท มีนโยบายในการรักษาบุคคลากรที่มีความรู้ความ สามารถในการปฏิบัติงานให้เติบโตในหน้าที่การงานอย่างมีคุณภาพ โดยมีการส่งเสริมให้บุคคลากรเข้าฝึกอบรมทักษะในสายงานต่างๆ ทีจ่ ะนำ�มาพัฒนาองค์กร และเสริมสร้างคุณภาพ รวมทัง้ การให้บริการ ในธุรกิจขององค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันให้คนรุ่นใหม่ และคน รุ่นเก่าไฟแรงที่มีแนวความคิด แปลกใหม่ ก้าวเข้ามาเป็นหัวหน้างาน ที่มีคุณภาพ และนอกจากนี้ยังได้ดำ�เนินการปรับปรุงการประเมิน ผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำ�มาเป็นเกณฑ์เลื่อนขั้นตำ�แหน่งประจำ�ปี เพื่อความยุติธรรม ตามนโยบายบริษัท ส่งเสริมคนดีคนเก่ง เป็นกำ�ลัง สำ�คัญในการเติบโตควบคูก่ บั บริษทั อย่างยัง่ ยืน ตามค่านิยม “ยุตธิ รรม

5. ระบบบริหารงานคุณภาพ บริษทั ได้สนับสนุนและมีเจตนารมอย่างชัดเจนทีจ่ ะพัฒนา ปรับปรุงระบบคุณภาพต่างๆ อย่างต่อเนื่องและยังคงรักษาระบบ มาตรฐานสากล ISO 9001 และในปี 2561 บริษัท ได้ Upgrade Version จากระบบ ISO 9001: 2008 มาเป็น ISO 9001: 2015 เพื่อ รักษามาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง

6. ด้านจริยธรรม ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการดำ�เนินกิจการบนพื้นฐานของ จริยธรรมตามหลักธรรมภิบาล ยึดหลักคนดีมาก่อนคนเก่ง จึงให้ความ สำ�คัญในการปลูกจิตสำ�นึกกับพนักงานทุกระดับชั้น ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงนโยบายการต่อต้านทุจริต คอร์รปั ชัน่ เพือ่ ส่งเสริมให้ พนักงานทุกท่านมอบสิ่งๆกลับสู่สังคม และชุมชนรอบข้างบริษัท รวม ทั้งตอบแทนความเชื่อใจของลูกค้าและผู้ถือหุ้นทุกราย

แบ่งปัน”

สรุปชั่วโมงการอบรมทั้งสิ้น 368 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้

11 11

23

55


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

54

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

การกำ�กับดูแลกิจการ ในปี 2560 คณะกรรมการบริษทั ได้รบั ทราบการปรับเปลีย่ น หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (CG) ปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เป็นหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (CG Code) ฉบับปี 2560 ของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2560 ได้พิจารณาความเหมาะสมของการนำ�หลักการกำ�กับ ดูแลกิจการ (CG Code) ของบริษัทฯ มาปรับใช้ในการดำ�เนินธุรกิจ ดังนี้

1. บริษัทฯ กำ�หนดนโยบายหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ไว้อย่างเพียงพอ เหมาะสม ครบถ้วน 2. บริษทั ฯ อยูร่ ะหว่างการศึกษา เพือ่ ปรับปรุง/เพิม่ เติมแนว ปฏิบัติที่ดีบางส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (CG Code) ฉบับปี 2560 โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายจัดการ ไปดำ�เนินการและรายงาน ความคืบหน้าให้คณะกรรมการทราบเป็นระยะ เพือ่ มัน่ ใจได้วา่ บริษทั ฯ ได้น�ำ แนวปฏิบตั ทิ ดี่ ไี ปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้อย่างแท้จริง และนำ�ไปสูก่ ารสร้าง คุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน

1. นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท รวมทั้ง ได้ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจด ทะเบียน (The Principles of Good Corporate Governance of Listed Companies) ตามแนวทางทีต่ ลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำ�หนด เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำ�เนินงาน และความเชือ่ มัน่ ใน กลุ่มผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้ ง นี้ ค ณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ มี ก ารพิ จ ารณาทบทวน ปรับปรุงนโยบายกำ�กับดูแลกิจการ เพื่อให้นโยบายดังกล่าวมีความ สมบูรณ์ มีความทันสมัยสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์และเป็น ปัจจุบันโดยนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทครอบคลุม หลักการ 5 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders) บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำ�คัญในสิทธิขั้นพื้นฐาน ต่างๆ ของผู้ถือหุ้น ทั้งในฐานะของนักลงทุนในหลักทรัพย์และเจ้าของ บริษัทฯ เช่น สิทธิในการซื้อ ขาย โอน หลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ สิทธิ ในการทีจ่ ะได้รบั ส่วนแบ่งผลกำ�ไรจากบริษทั ฯ สิทธิในการได้รบั ข้อมูล อย่างเพียงพอ สิทธิต่างๆ ในการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการแสดง ความคิดเห็น สิทธิในการร่วมตัดสินใจในเรื่องสำ�คัญของบริษัทฯ เช่น การจัดสรรเงินปันผล การแต่งตัง้ หรือถอดถอนกรรมการ การแต่งตัง้ ผู้ สอบบัญชี การอนุมตั ธิ รุ กรรมทีส่ �ำ คัญและมีผลต่อทิศทางในการดำ�เนิน ธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ ของบริษัทฯ เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทได้ดำ�เนินการส่งเสริมและอำ�นวยความสะดวก ในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้

1) บริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งข้อมูล ประกอบการประชุมตามวาระต่าง ๆ ให้ผถู้ อื หุน้ รับทราบล่วงหน้าก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือระยะเวลาอื่นใดตามที่กฎหมายหรือ กฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องกำ�หนด โดยในแต่ละวาระการประชุมจะมีความ เห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบ รวมทั้งข้อมูลประกอบการ ประชุมที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาในการศึกษาข้อมูลล่วงหน้า ก่อนวันประชุม นอกจากนี้ บริษัทฯ จะนำ�ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ลง ในเว็บไซต์ของบริษัทก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นด้วย 2) ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตัวเอง บริษทั ฯ จะเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ สามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระ หรือบุคคลอืน่ ใดเข้าร่วมประชุมแทนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบ หนึ่งแบบใดตามที่บริษัทฯได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

3) ในการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ บริษทั ฯ จะใช้สถานทีซ่ งึ่ สะดวก แก่การเดินทาง โดยจะแนบแผนที่ซึ่งแสดงสถานที่จัดการประชุมผู้ ถือหุ้นไว้ในหนังสือเชิญประชุม รวมถึงเลือกวันเวลาที่เหมาะสม และ จัดสรรเวลาในการประชุมอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตาม นโยบายที่จะอำ�นวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น 4) ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะเปิดโอกาสให้ผู้ถือ หุน้ สามารถส่งความเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อซักถามได้ลว่ งหน้าก่อน วันประชุมตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำ�หนด โดยบริษัทจะเผยแพร่หลัก เกณฑ์ดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท 5) ในการประชุมผูถ้ อื หุน้ บริษทั ฯ จะเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ทุกรายมีสทิ ธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือตัง้ คำ�ถามในวาระต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องได้อย่างอิสระก่อนการลงมติใน วาระใดๆ และจะมีกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องเข้า ร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตอบคำ�ถามในที่ประชุม 6) บริษัทฯ จะสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียง ในทุกวาระ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการนับผลการลง คะแนน

55

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

7) บริษัทฯ จะจัดให้มีบุคคลากรที่เป็นอิสระทำ�หน้าที่ช่วย ในการตรวจนับคะแนนเสียงในแต่ละวาระ 8) ภายหลังการประชุมผูถ้ อื หุน้ แล้วเสร็จ บริษทั ฯ จะจัดทำ� รายงานการประชุมที่บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนในสาระ สำ�คัญ รวมทั้งบันทึกประเด็นข้อซักถาม ความคิดเห็น และข้อเสนอ แนะที่สำ�คัญไว้ในรายงานการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจ สอบได้ โดยจะจัดให้มกี ารบันทึกวีดที ศั น์ภาพการประชุมเพือ่ เก็บรักษา ไว้และใช้อา้ งอิง นอกจากนี้ จะนำ�ผลการลงคะแนนในแต่ละวาระ รวม ทัง้ รายงานการประชุมเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษทั ฯ เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ ได้พิจารณา 9) บริษัทฯ จะอำ�นวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นในการได้ รับเงินปันผล โดยจะจ่ายเงินปันผลด้วยวิธกี ารโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลตรงเวลา และป้องกันปัญหาเรื่อง เช็คชำ�รุด สูญหาย หรือส่งถึงผู้ถือหุ้นล่าช้า

หมวดที่ 2 การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (The Equitable Treatment of Shareholders) บริษทั ฯ กำ�หนดให้มกี ารปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ ทุกรายอย่างเท่า เทียมกัน ไม่วา่ จะเป็นผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ ผูถ้ อื หุน้ รายย่อย ผูถ้ อื หุน้ ทีเ่ ป็น ผูบ้ ริหารหรือมิได้เป็นผูบ้ ริหาร ผูถ้ อื หุน้ สัญชาติไทยหรือต่างชาติ โดยมี รายละเอียดดังนี้ 1) บริษทั ฯ จะแจ้งกำ�หนดการประชุมผูถ้ อื หุน้ รวมทัง้ วาระ การประชุมที่เกี่ยวข้องต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเผย แพร่กำ�หนดการประชุมดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ อย่าง น้อย 28 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งจะจัดทำ�และเผยแพร่ หนังสือเชิญประชุมทัง้ ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์ของ บริษัทฯ 2) บริษัทฯ จะอำ�นวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย สามารถเสนอชื่อกรรมการหรือเสนอวาระเพิ่มเติมได้ก่อนวันประชุม ผู้ถือหุ้น โดยจะกำ�หนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นการล่วงหน้าเกี่ยวกับ วิธีการที่ให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการ รวมทั้งหลักเกณฑ์ให้พิจารณาว่าบริษัทฯ จะเพิ่มวาระการ ประชุมที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอหรือไม่ 3) ในการประชุมผูถ้ อื หุน้ แต่ละครัง้ บริษทั ฯ จะให้โอกาสแก่ ผูถ้ อื หุน้ ทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน โดยก่อนเริม่ การประชุม ประธานใน ที่ประชุมจะชี้แจงวิธีการใช้สิทธิออกเสียง และวิธีนับคะแนนเสียงของ ผู้ถือหุ้นที่ต้องลงมติในแต่ละวาระ และยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและ ผู้รับมอบฉันทะที่เข้าร่วมประชุมทุกรายสามารถแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมทั้งซักถามในแต่ละวาระโดยใช้เวลาอย่างเหมาะ สม และเพียงพอ โดยประธานในที่ประชุมจะดำ�เนินการประชุมตาม ระเบียบวาระที่กำ�หนดไว้ รวมทั้งไม่ให้ผู้บริหารเพิ่มวาระการประชุม ทีไ่ ม่แจ้งให้ผถู้ อื หุน้ ทราบล่วงหน้าโดยไม่จ�ำ เป็น โดยเฉพาะวาระสำ�คัญ ซึ่งผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ

4) ในวาระเลือกตัง้ กรรมการ บริษทั ฯ จะสนับสนุนให้มกี าร เลือกตั้งเป็นรายคน 5) กำ�หนดให้กรรมการรายงานการมีสว่ นได้เสียในวาระการ ประชุมใด ๆ อย่างน้อยก่อนการพิจารณาในวาระที่เกี่ยวข้องในการ ประชุมคณะกรรมการบริษทั และบันทึกส่วนได้เสียดังกล่าวในรายงาน การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งห้ามมิให้กรรมการที่มีส่วน ได้เสียอย่างมีนยั สำ�คัญในลักษณะทีจ่ ะไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่าง อิสระในวาระที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการประชุมในวาระนั้นๆ 6) กำ�หนดแนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการนำ� ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้ โดยห้ามบุคคลหรือหน่วยงานที่ทราบ ข้อมูลภายในนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยต่อหน่วยงานหรือบุคคลอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่บุคคลใดเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวหรือนำ�ข้อมูล นั้นไปใช้ ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำ�รายการ ทีอ่ าจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรง และจะถูกลงโทษทางวินยั นอกจากนี้ ยังได้ก�ำ หนดให้กรรมการทุกคน และผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย มีหน้าที่จัดส่งรายงานดังกล่าวให้แก่เลขานุการบริษัทฯ เป็นประจำ� และเปิดเผยในรายงานประจำ�ปี


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

56

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (The Role of Interested Persons) บริษัทฯ ได้ให้ความสำ�คัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุก กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงาน ของบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เช่น คู่ค้า ลูกค้า โดยตระหนัก ดีว่าการสนับสนุนและข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มจะเป็น ประโยชน์ในการดำ�เนินการและการพัฒนาธุรกิจ ดังนั้น บริษัทฯ จะ ปฏิบตั ติ ามกฎหมายและข้อกำ�หนดทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ให้สทิ ธิของผูม้ สี ว่ น ได้เสียดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างดี นอกจากนี้ ในการดำ�เนินธุรกิจ บริษัทฯ ได้คำ�นึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ตามแนวทางดังนี้

ผู้ถือหุ้น 1. บริ ษั ท ฯ จะดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยความโปร่ ง ใสและมี ประสิทธิภาพ โดยมุง่ มัน่ ทีจ่ ะสร้างผลการดำ�เนินงานทีด่ แี ละการเจริญ เติบโตที่มั่นคง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว 2. เปิดเผยข้อมูลสารสนเทศทัง้ ทางการเงินและไม่ใช่ทางการ เงิน ทีเ่ กีย่ วกับธุรกิจและผลประกอบการของบริษทั ทีเ่ ป็นจริงอย่างครบ ถ้วนเพียงพอ สม�่ำ เสมอ และแสดงให้เห็นถึงสถานภาพทางการเงินทีแ่ ท้ จริงของบริษัท โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา นอกจากรายละเอียดที่ได้กล่าวไว้ใน “สิทธิของผู้ถือหุ้น” และ “การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม” แล้ว บริษัทฯได้สื่อสารข้อมูลต่างๆที่สำ�คัญ อาทิ ผลการดำ�เนินงานแก่ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำ�เสมอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. เว็ปไซต์ Social Media และกิจกรรมต่างๆ เช่น การพบปะนักลงทุนในกิจกรรม Opportunity Day ของ ตลท. ทุกไตรมาส การจัดทำ�เว็บไซต์ในหัวข้อ “นักลงทุน สัมพันธ์”

พนักงาน

1. บริษัทฯ จะปฏิบัติต่อพนักงานทุกรายอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ทั้งยังให้ความสำ�คัญต่อ การพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถและศักยภาพของพนักงาน อย่างสม่ำ�เสมอ เช่น การจัดอบรม การสัมมนา และการฝึกอบรม โดยให้โอกาสอย่างทั่วถึงกับพนักงานทุกคน และพยายามสร้างแรง จูงใจให้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถสูงให้คงอยู่กับบริษัทฯ เพื่อ พัฒนาองค์กรต่อไป อีกทั้งยังได้กำ�หนดแนวทางในการต่อต้านการ ทุจริตคอรัปชั่น รวมทั้งปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น การห้ามใช้ข้อมูลภายในอย่าง เคร่งครัด เป็นต้น 2. บริ ษั ท ฯ มี น โยบายและแนวปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ความ ปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ทำ�งานแก่พนักงาน รวมถึงสร้าง สภาพแวดล้อมในการทำ�งานทีด่ ี ส่งเสริมให้พนักงานมีสขุ ภาพกายและ สุขภาพจิตทีด่ แี ละทำ�งานได้อย่างมีความสุข โดยมีการจัดกิจกรรมออก กำ�ลังกายทุกสัปดาห์ และมีกจิ กรรมสัมนาเพือ่ สร้างสัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่าง พนักงานเป็นประจำ�ทุกๆ ปี

3. บริษทั ฯ มีนโยบายและแนวปฏิบตั ทิ เี่ ป็นรูปธรรมเปิดเผย ถึงการปฏิบัติเกี่ยวกับค่าตอบแทนและสวัสดิการให้กับพนักงานอย่าง เสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่ เหมาะสมและเป็นธรรม ตลอดจนจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ ซึ่งมากกว่า ที่กฎหมายกำ�หนด และมากกว่าบริษัทในอุตสาหกรรมเทียบเคียง 4. บริษัทให้ความสำ�คัญในการพัฒนาบุคลากรเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอย่างยิ่ง โดยได้จัดทำ�แผนพัฒนาบุคลากรภายใน ที่ชัดเจน ส่งเสริมให้พ นัก งานทุกระดับชั้น ให้ได้รับการฝึกอบรม เพื่ อ พั ฒ นาให้ มี ค วามรู้ ความสามารถ ที่ จ ะปฏิ บั ติ ง านได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ รวมทัง้ การจ้างงานทีย่ ตุ ธิ รรมเหมาะสมกับสภาวะตลาด และสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน 5. การให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม ตามระบบการประเมิน ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนางาน และผลตอบแทนที่เชื่อมโยงกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและ สอดคล้องกับผลการดำ�เนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

57

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

คู่ค้า 1. บริษัทฯ มีกระบวนการในการคัดเลือกคู่ค้าโดยการ ให้คู่ค้าแข่งขันบนข้อมูลที่เท่าเทียมกัน และคัดเลือกคู่ค้าด้วยความ ยุตธิ รรมภายใต้หลักเกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือกคูค่ า้ ของบริษทั ฯ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ�รูปแบบสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่คู่ สัญญาทุกฝ่าย และจัดให้มรี ะบบติดตามเพือ่ ให้มนั่ ใจว่าได้มกี ารปฏิบตั ิ ตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างครบถ้วน และป้องกันการทุจริตและการ ประพฤติมิชอบในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดหา โดยบริษัทฯ ซื้อ สินค้าจากคู่ค้าตามเงื่อนไขทางการค้า ตลอดจนปฏิบัติตามสัญญาต่อ คู่ค้าอย่างเคร่งครัด

2. บริ ษั ท ฯ มี น โยบายการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งเพื่ อ รั ก ษาผล ประโยชน์ร่วมกับคู่ค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกระบวนการคัดกรองคู่ค้าตามเกณฑ์ที่บริษัทกำ�หนดไว้ชัดเจน รวมถึงมีวธิ กี ารคัดเลือก และการบันทึกผลอย่างเป็นระบบ เพือ่ ให้เกิด ความโปร่งใสสูงสุด 3. บริษทั ยังมีกจิ กรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์กบั คูค่ า้ ลูกค้า ในปี 2560 โดยมีการจัดงาน K-Forum ขึ้นในเดือน มีนาคม และ กันยายน เพื่อเผยแพร่มุมมองความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจ และแนวโน้ม ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้า

1. บริษัทฯ รับผิดชอบต่อลูกค้าโดยการรักษาคุณภาพและ มาตรฐานของสินค้าและบริการ รวมถึงการตอบสนองต่อความต้องการ ของลูกค้าให้ครบถ้วนและครอบคลุมให้มากที่สุด เพื่อสร้างความพึง พอใจแก่ลูกค้าในระยะยาว ทั้งยังให้บริการหลังการขาย ตลอดจน ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทฯ รวมทั้งจัด ช่องทางให้ลูกค้าของบริษัทสามารถแจ้งปัญหาหรือการให้บริการที่ไม่ เหมาะสม เพือ่ ทีบ่ ริษทั ฯ จะได้ปอ้ งกัน และแก้ไขปัญหาเกีย่ วกับสินค้า และบริการได้อย่างรวดเร็ว 2. บริษทั ฯ มีนโยบายและแนวปฏิบตั ทิ เี่ ป็นธรรมและรับผิด ชอบต่อลูกค้าอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ปฏิบตั ติ อ่ ลูกค้าด้วยความ เต็มใจ และรักษาความลับของลูกค้า โดยไม่นำ�ไปใช้เพื่อประโยชน์ ของตนเองและผู้อื่นโดยมิชอบ ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะ

3. ส่ ง มอบงานที่ มี คุ ณ ภาพ และตรงเวลา ตามที่ ต กลง ไว้กับลูกค้า 4. มี ก ระบวนการให้ ลู ก ค้ า ร้ อ งเรี ย นเกี่ ย วกั บ คุ ณ ภาพ ความปลอดภัยของงาน การส่งมอบ และการดำ�เนินการอย่างถึงที่สุด เพื่อให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว 5. ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด หาก ไม่สามารถปฏิบัติได้ จะรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อร่วมกันหาแนวทาง แก้ไขเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อลูกค้าและองค์กร

เจ้าหนี้

คู่แข่ง

1. บริษัทฯ จะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ตามสัญญาที่มีต่อ เจ้าหนี้เป็นสำ�คัญ รวมทั้ง การชำ�ระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยและการดูแล หลักประกันต่างๆ ภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 2. ในกรณีทบี่ ริษทั ไม่สามารถปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไข จะรีบแจ้ง และเจรจากับเจ้าหนี้เป็นการล่วงหน้า เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขและ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

1. บริษทั ฯ ประพฤติตามกรอบการแข่งขันทีด่ ี มีจรรยาบรรณ และอยู่ในกรอบของกฎหมาย 2. สนับสนุนและส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม 3. ไม่เข้าข้อมูลของคู่แข่งที่เป็นความลับโดยวิธีไม่สุจริต 4. ไม่ท�ำ ลายชือ่ เสียงของคูแ่ ข่งด้วยทางมิชอบ หรือกล่าวหา ข้อมูลอันเป็นเท็จ


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

58

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

สังคมและส่วนรวม บริษทั ฯ ใส่ใจและให้ความสำ�คัญต่อความปลอดภัยต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำ�เนิน งานของบริษัทฯ และส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำ�นึกและความรับผิด ชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ได้ พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการสร้างและรักษา ไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมในท้องถิ่น ที่บริษัทฯ ดำ�เนินกิจการอยู่

นอกจากนี้ ผูม้ สี ว่ นได้เสียสามารถสอบถามรายละเอียด แจ้ง ข้อร้องเรียน หรือเบาะแสการกระทำ�ผิดทางกฎหมาย ความไม่ถกู ต้อง ของรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง หรือการผิด จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ผ่านกรรมการอิสระ หรือกรรมการ ตรวจสอบของบริษัทได้ ทั้งนี้ ข้อมูลร้องเรียนและเบาะแสที่แจ้งมาจะ ถูกเก็บไว้เป็นความลับ โดยกรรมการอิสระหรือกรรมการตรวจสอบจะ ดำ�เนินการสั่งการตรวจสอบข้อมูลและหาแนวทางแก้ไข (หากมี) และ จะรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) 1) คณะกรรมการบริษัทให้ความสำ�คัญต่อการเปิดเผย ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ โปร่งใส และทันเวลา ทั้ง ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทัว่ ไป ตลอดจนข้อมูลอืน่ ทีม่ ผี ลหรืออาจมี ผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท ซึ่งล้วนมีผลต่อกระบวนการ ตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ โดยจะเปิดเผย ข้อมูลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำ�กับหลัก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ คณะกรรมการกำ� กั บ ตลาดทุ น และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) จัดให้มเี จ้าหน้าทีฝ่ า่ ยนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพือ่ ทำ�หน้าทีต่ ดิ ต่อสือ่ สารกับนักลงทุนหรือผูถ้ อื หุน้ โดยบริษทั ฯ จะจัดให้มกี ารประชุมเพือ่ วิเคราะห์ผลการดำ�เนินงานเป็นประจำ� รวม ทัง้ เผยแพร่ขอ้ มูลของบริษทั ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทัว่ ไปแก่ผถู้ อื หุน้ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษทั จัดอันดับความน่าเชือ่ ถือ และหน่วย งานรัฐทีเ่ กีย่ วข้องรับทราบผ่านช่องทางต่างๆ กล่าวคือ การรายงานต่อ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัท นอกจากนี้ ยังให้ความสำ�คัญในการเปิดเผยข้อมูลอย่างสม�่ำ เสมอทัง้ ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ ได้รบั ข่าวสารเป็นประจำ�ผ่านทางเว็บไซต์ ของบริษทั โดยข้อมูลทีอ่ ยูบ่ นเว็บไซต์ของบริษทั ฯ จะมีการปรับปรุงให้ ทันสมัยอยูเ่ สมอ ซึง่ ข้อมูลดังกล่าวรวมถึงวิสยั ทัศน์ พันธกิจ งบการเงิน ข่าวประชาสัมพันธ์ รายงานประจำ�ปี โครงสร้างบริษัทและผู้บริหาร ตลอดจนโครงสร้างการถือหุน้ และผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หนังสือเชิญประชุม เอกสารทางทะเบียนของบริษัท กฎบัตรต่างๆ เป็นต้น 3) บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญต่องบการเงินของบริษัท และ สารสนเทศทางการเงินทีป่ รากฏในรายงานประจำ�ปี โดยคณะกรรมการ

ตรวจสอบจะเป็นผู้สอบทานคุณภาพของรายงานทางการเงินและ ระบบควบคุมภายใน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญอย่างเพียงพอ ในหมายเหตุประกอบงบการเงินและรายงานให้คณะกรรมการบริษัท ทราบ และจะจัดให้มีรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อ รายงานทางการเงินแสดงควบคูก่ บั รายงานของผูส้ อบบัญชีในรายงาน ประจำ�ปี นอกจากนี้ คณะกรรมการยังสนับสนุนให้มีการจัดทำ�คำ� อธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis) เพื่อประกอบการเปิดเผยงบการเงินในทุกไตรมาส 4) บริษัทฯ จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการแต่ละท่าน บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุด ย่อยของบริษัท จำ�นวนครั้งของการประชุมและการเข้าประชุมในปี ที่ผ่านมา และความเห็นจากการทำ�หน้าที่ รวมทั้งการฝึกอบรมและ พัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในรายงานประจำ�ปี และแบบ แสดงรายการข้อมูลประจำ�ปีของบริษัท รวมถึงการเปิดเผยนโยบาย การจ่ายค่าตอบแทน ลักษณะและรายละเอียดของค่าตอบแทนของ กรรมการและผู้บริหารระดับสูงในบริษัทและบริษัทย่อย (หากมี) ด้วย 5) บริษัทฯ จะเปิดเผยค่าสอบบัญชีและค่าบริการอื่นที่ผู้ สอบบัญชีให้บริการ 6) บริษทั ฯ จะจัดให้มรี ายงานนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง และนโยบาย เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ได้ให้ความเห็น ชอบไว้โดยสรุป และผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว รวมทั้งกรณี ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวได้พร้อมด้วยเหตุผล โดย รายงานผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น รายงานประจำ�ปี และเว็บไซต์ของ บริษัท เป็นต้น


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

59

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Responsibilities of the Board of Directors) 1) โครงสร้างคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย

2) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท โดยเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญในการกำ�หนดนโยบายและภาพรวมของ องค์กร ตลอดจนมีบทบาทสำ�คัญในการกำ�กับดูแล ตรวจสอบ และ ประเมินผลการดำ�เนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ปัจจุบนั คณะกรรมการบริษทั มีจ�ำ นวน 7 ท่าน ประกอบด้วย กรรมการบริษทั ทีเ่ ป็นผูบ้ ริหารจำ�นวน 3 ท่าน (Executive Directors) และกรรมการบริษทั ทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหารจำ�นวน 4 ท่าน (Non-executive Directors) โดยมีกรรมการที่มีคุณสมบัติเป็นอิสระ 3 ท่าน ซึ่งคิดเป็น จำ�นวนเกินกว่า 1 ใน 3 ของจำ�นวนกรรมการบริษัท แม้ว่ากรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหารจำ�นวน 1 ท่านจะไม่เป็นกรรมการอิสระก็ตาม แต่ กรรมการท่านดังกล่าวเป็นตัวแทนที่ Kingsmen Creatives Ltd. เสนอ มาเพื่อดูแลกิจการในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่ง และมีการตัดสิน ใจที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ ประธานกรรมการ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มาอย่าง ยาวนาน และเป็นผู้ที่มีบทบาทในการกำ�หนดนโยบายและบริหาร จัดการธุรกิจมาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราว ละไม่เกิน 3 ปีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำ�หนด โดยกรรมการอิสระ จะมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งต่อเนือ่ งไม่เกิน 8 ปี เว้นแต่คณะกรรมการ บริษทั จะเห็นว่าบุคคลนัน้ สมควรดำ�รงตำ�แหน่งเป็นกรรมการอิสระของ บริษัทต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท นอกจากนี้ กรรมการและ ผู้บริหารของบริษัทสามารถเข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการหรือผู้บริหาร ของบริษัทในเครือหรือบริษัทอื่นได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำ�หนดของ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ กำ�กับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงาน ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยจะต้ อ งแจ้ ง ต่ อ ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท ให้รับทราบด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบเพื่ อ ช่ ว ยในการกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การของบริ ษั ท โดยคณะ กรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการตรวจสอบจำ�นวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อทำ�หน้าที่ช่วยสนับสนุนคณะกรรมการบริษัทในการกำ�กับ ดูแลและตรวจสอบการบริหารงาน การควบคุมภายในและการปฏิบตั ิ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดทำ�รายงานทางการเงิน เพื่อ ให้การปฏิบตั งิ านและการเปิดเผยข้อมูลของบริษทั เป็นไปอย่างโปร่งใส และน่าเชื่อถือ และบริษัทได้จัดให้มีเลขานุการบริษัท เพื่อทำ�หน้าที่ใน การดำ�เนินการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการบริษัท และ การประชุมผูถ้ อื หุน้ รวมทัง้ สนับสนุนงานของคณะกรรมการบริษทั โดย การให้ค�ำ แนะนำ�ในเรือ่ งข้อกำ�หนดตามกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการ รวมทัง้ ประสานงาน ให้มีการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษทั มีความรับผิดชอบต่อผูถ้ อื หุน้ เกีย่ วกับ การดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ฯ และมีหน้าทีก่ �ำ หนดนโยบายและทิศทาง การดำ�เนินงานของบริษทั ฯ รวมทัง้ กำ�กับดูแลให้การบริหารจัดการเป็น ไปตามเป้าหมายและแนวทางเพื่อประโยชน์ระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้นภาย ใต้กรอบข้อกำ�หนดของกฎหมายและหลักจรรยาบรรณในการดำ�เนิน ธุรกิจ ขณะเดียวกันก็คำ�นึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกฝ่าย ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดตามที่กำ�หนดไว้ในกฎบัตรของคณะ กรรมการบริษัท (1) นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ บริษัทฯ จัดให้มีนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการของบริษัทเป็นลาย ลักษณ์อักษร เพื่อนำ�เสนอที่ประชุมคณะกรรมการได้ให้ความเห็น ชอบนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ การจัดทำ�คู่มือการกำ�กับดูแลกิจการมี วัตถุประสงค์เพือ่ เป็นแนวทางแก่กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงาน ใน การปฏิบตั ติ ามนโยบายดังกล่าว โดยจะจัดให้มกี ารทบทวนนโยบายดัง กล่าวเป็นประจำ�ทุกปี (2) หลักจรรยาบรรณในการดำ�เนินธุรกิจ บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ในการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทอย่างโปร่งใส มี คุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้กำ�หนดข้อพึงปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อ ให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นหลักในการ ปฏิบัติ ดังนี้ ก. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ข. จรรยาบรรณว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ค. จรรยาบรรณว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อคู่ค้า คู่แข่งทางการค้า และเจ้าหนี้ ง. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อพนักงาน จ. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ทัง้ นี้ บริษทั จะประกาศและแจ้งให้พนักงานทุกคนรับทราบ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด (3) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษทั ฯ มีนโยบายขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อย่างรอบคอบ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต มีเหตุผลและเป็นอิสระภายใต้ กรอบจริยธรรมทีด่ ี เพือ่ ผลประโยชน์ของบริษทั เป็นสำ�คัญ โดยกำ�หนด ให้ผทู้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้องหรือเกีย่ วโยงกับรายการทีพ่ จิ ารณาเปิดเผยข้อมูล เกีย่ วกับส่วนได้เสียของตนและผูท้ เี่ กีย่ วข้องให้บริษทั ทราบ และต้องไม่ เข้าร่วมการพิจารณา รวมถึงไม่มีอำ�นาจอนุมัติในรายการดังกล่าว


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

บริษัทฯ มีนโยบายในการทำ�รายการเกี่ยวโยงกัน และ รายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่สอดคล้องกับกฎหมาย ตลอดจนข้อบังคับของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำ�กับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งจะเปิดเผยรายการดังกล่าวไว้ในรายงานประจำ�ปี และแบบ แสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี (แบบ 56-1) (4) การควบคุมภายใน บริษัทฯ จัดให้มีระบบการควบคุมภายในเพื่อการกำ�กับ ดูแลและการควบคุมภายใน ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัทเพื่อทำ� หน้าทีป่ ระเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายในและรายงานผล ต่อคณะกรรมการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบที่วางไว้ (5) การบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ในการกำ�หนดนโยบายด้าน การบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร รวมทั้งกำ�กับดูแลให้มี ระบบหรือกระบวนการบริหารจัดการความเสีย่ งเพือ่ ลดผลกระทบต่อ ธุรกิจของบริษัทอย่างเหมาะสม (6) รายงานของคณะกรรมการ

60

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

(7) การดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดังสูง ที่บริษัทอื่น เพื่อให้บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์สูงสุดในการที่กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูงสุดสามารถอุทิศ เวลาสำ�หรับการ ปฏิบัติงาน และหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธภาพ โดยบริษัทได้กำ�หนดให้ กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูงดำ�รงตำ�แหน่งในบริษัท และ ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา โดยมิได้ดำ�รงตำ�แหน่งในบริษัทอื่น (8) แผนสืบทอดตำ�แหน่ง บริษัทได้มีแผนสืบทอดตำ�แหน่งที่ชัดเจน โดยได้แต่งตั้ง กรรมการผู้จัดการซึ่งจะมารับช่วงตำ�แหน่งประธานกรรมการบริหาร และได้ แ ต่ ง ตั้ ง รองกรรมการผู้ จั ด การอี ก 2 คน ซึ่ ง จะเติ บ โตเป็ น กรรมการผู้จัดการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารและพัฒนาตนเองพร้อมสู่การ สืบทอดตำ�แหน่งในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้บริษัทสามารถ บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมือ่ มีการสืบทอดตำ�แหน่งของ กรรมการและผู้บริหารระดับสูงในในช่วงเวลาที่เหมาะสม (9) การกำ�หนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ในการร่วมกับคณะกรรมการ บริหาร กำ�หนด ทบทวน วิสยั ทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ รวมทัง้ ติดตาม การดำ�เนินงานให้เป็นไปตามวิสยั ทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ทไี่ ด้รว่ มกัน กำ�หนดไว้

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าทีส่ อบทานรายงานทางการ เงิน โดยมีฝ่ายบัญชีและผู้สอบบัญชีมาประชุมร่วมกัน และนำ�เสนอ รายงานทางการเงินต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส โดยคณะ กรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและ บริษทั ย่อย รวมทัง้ สารสนเทศทางการเงินทีป่ รากฏในรายงานประจำ�ปี

การแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับฝ่ายจัดการ บริษัทได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่าง คณะกรรมการบริษัทกับฝ่ายจัดการบริษัทอย่างชัดเจน โดยกรรมการ บริษัททำ�หน้าที่ในการกำ�หนดนโยบายและกำ�กับดูแลการดำ�เนินงาน ของฝ่ายจัดการในระดับนโยบาย ขณะทีฝ่ า่ ยจัดการจะทำ�หน้าทีบ่ ริหาร งานในด้านต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายที่กำ�หนด ดังนั้นถึงแม้ว่าใน ปี 2560 ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหารยังคงเป็น บุคคลคนเดียวกัน แต่ทั้ง 2 ตำ�แหน่งนี้ก็ได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ ไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันนี้ประธานกรรมการมิได้ดำ�รงตำ�แหน่งประธาน กรรมการบริหาร คงไว้เพียงตำ�แหน่งประธานกรรมการบริษัทและ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารเท่านั้น โดยบริษัทฯ ได้กำ�หนดอำ�นาจ หน้าที่ของกรรมการผู้จัดการไว้อย่างชัดเจนดังนี้ 1) มีอ�ำ นาจหน้าทีด่ �ำ เนินการควบคุม ดูแล กิจการของบริษทั ให้เป็นไปตามนโยบาย ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการ บริหาร

2) มีอำ�นาจอนุมัติการเข้าทำ�นิติกรรมใดๆ ซึ่งมีผลผูกพัน บริ ษั ท ในวงเงิ น ไม่ เ กิ น 50,000,000 บาท (ห้ า สิ บ ล้ า นบาทถ้ ว น) ต่อการทำ�นิติกรรมแต่ละครั้ง 3) บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง รวมถึงการบรรจุ แต่ง ตัง้ ถอดถอน เลือ่ น ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินยั ตลอด จนให้ออกจากตำ�แหน่งตามระเบียบ ข้อกำ�หนด หรือคำ�สั่งที่คณะ กรรมการบริษัท และ/หรือ บริษัทฯ กำ�หนด 4) มีอำ�นาจในการมอบอำ�นาจช่วง และ/หรือมอบหมาย ให้บุคคลอื่นปฏิบัติงานเฉพาะแทนได้ โดยการมอบอำ�นาจช่วง และ/ หรือ การมอบหมายดังกล่าวให้อยูภ่ ายใต้ขอบเขตแห่งการมอบอำ�นาจ ตามหนังสือมอบอำ�นาจ และ/หรือ ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อกำ�หนด หรือคำ�สั่งที่คณะกรรมการบริษัท และ/หรือ บริษัทฯ กำ�หนดไว้ 5) ดำ � เนิ น การอื่ น ๆ ตามที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจากคณะ กรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริหาร


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

61

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

การประชุมคณะกรรมการ บริ ษั ท ฯ ได้ มี ก ารกำ � หนดวั น ประชุ ม ของกรรมการล่ ว ง หน้าของปีถัดไปในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งสุดท้ายของ ปี เพื่อให้กรรมการสามารถบริหารจัดการเวลา และวางแผนเข้าร่วม การประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทจัดให้มีการประชุมคณะ กรรมการบริษัทอย่างน้อยทุกไตรมาส และมีการประชุมพิเศษโดย เป็นการประชุมสำ�หรับกรรมการโดยไม่มีกรรมการที่เป็นผู้บริหารเข้า ร่วมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และกำ�หนดวาระประชุมชัดเจนล่วงหน้า และมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำ�เนินงานเป็นประจำ� โดยจะจัด ส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสาร ประกอบการประชุมให้กรรมการทุกท่านล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม เพือ่ ให้คณะกรรมการได้มเี วลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียง พอก่อนเข้าร่วมประชุม เว้นแต่กรณีมีเหตุจำ�เป็นเร่งด่วน 1. จัดให้มกี ารบันทึกรายงานการประชุมและจัดเก็บรวบรวม เอกสารทีร่ บั รองแล้วเพือ่ ใช้ในการอ้างอิงและสามารถตรวจสอบได้ โดย ในการประชุมทุกครั้ง ควรจัดให้มีผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมเพื่อให้ข้อมูลและรายละเอียดประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้อง และทันเวลา 2. ในการลงมติขั้นต่ำ� ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติใน ทีป่ ระชุมคณะกรรมการว่า ต้องมีกรรมการอยูไ่ ม่นอ้ ยกว่า 2 ใน 3 ของ จำ�นวนกรรมการทั้งหมด และในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ถือ มติของเสียงข้างมาก โดยให้กรรมการหนึง่ คนมีหนึง่ เสียง โดยกรรมการ ที่มีส่วนได้เสียในวาระใดจะไม่เข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียงลง คะแนนในวาระนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานใน ที่ประชุมจะออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทสนับสนุนให้มีการประเมินผลการ ปฏิบตั งิ านอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ เพือ่ ปรับปรุงและแก้ไขการดำ�เนินงาน โดยมีการกำ�หนดหัวข้อทีจ่ ะประชุมชัดเจนก่อนทีจ่ ะวัดผลการประเมิน ดังกล่าว เพือ่ รวบรวมความเห็นและนำ�เสนอต่อทีป่ ระชุม เพือ่ ทบทวน การปฏิบตั หิ น้าที่ และเพิม่ ประสิทธิภาพในการทำ�งาน รวมทัง้ สนับสนุน หลักธรรมาภิบาล โดยสรุปผลการประเมินกรรมการด้วยตนเองของปี 2560 โดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ ดี ถึง ดีมาก โดยการประเมินการทำ�งาน ของคณะกรรมการจะแบ่งเป็น

1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 2. การประชุมคณะกรรมการ 3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการ

ในปี 2560 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีการพิจารณา ประเมินผลการปฏิบัติงานใน 4 รูปแบบ คือ (1) การประเมินผลการ ปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้งคณะ (2) การประเมินผลการปฏิบัติ งานของคณะกรรมการรายบุคคล (ประเมินตนเอง) (3) การประเมิน การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการย่อยทั้ง 3 คณะ (4) การประเมิน การปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้จัดการ

การประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ดังนี้ 1 2 3 4

การประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ การประเมินคณะกรรมการย่อย 2.1 คณะกรรมการตรวจสอบ 2.2 คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล 2.3 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง การประเมินตนเองของคณะกรรมการรายบุคคล ผลการประเมิน CEO

ปี 2560

ปี 2559

3.97 3.96 3.94 3.91 3.84

3.95 3.96 3.89 3.88 3.97

3.85

3.84

โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินดังนี้ 1. คณะกรรมการเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้งคณะโดยรวม โดยนำ�ผลคะแนนมาเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก 2. ระยะเวลาการประเมิน ตามปีปฏิทินและให้เสร็จสิ้นภายในปีนั้น และนำ�ผลการประเมินเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1 ของปีถัดไป 3. ประเมินปีละ 1 ครั้ง วิธีการให้คะแนน

0 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือไม่มีการดำ�เนินการในเรื่องนั้น 1 = ไม่เห็นด้วย หรือมีการดำ�เนินการในเรื่องนั้นเล็กน้อย 2 = เห็นด้วย หรือมีการดำ�เนินการในเรื่องนั้นพอสมควร 3 = เห็นด้วยค่อนข้างมาก หรือมีการดำ�เนินการในเรื่องนั้นดี 4 = เห็นด้วยอย่างมาก หรือมีการดำ�เนินการในเรื่องนั้นอย่างดีเยี่ยม


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

62

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนของกรรมการ คือ ค่าเบี้ยประชุม และโบนัส ประจำ�ปีตามจำ�นวนที่ได้อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่ง จะต้องอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยจะ คำ�นึงถึงความเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริษัท โดยกรรมการที่เป็นผู้บริหารขอสละสิทธิในการ รับค่าเบี้ยประชุม ส่วนผู้บริหารจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นเงินเดือน และโบนัสประจำ�ปี โดยพิจารณาจากผลการดำ�เนินงานของบริษทั เป็น สำ�คัญ ทั้งนี้ ค่าตอบแทนรายปีของคณะกรรมการและผู้บริหารรวม กันจะต้องไม่เป็นจำ�นวนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำ�คัญเมื่อเทียบกับผล ตอบแทนของกรรมการและผูบ้ ริหารโดยเฉลีย่ ของบริษทั ทีจ่ ดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะคำ�นึงถึงประโยชน์สูงสุด ของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก

การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายส่งเสริมและอำ�นวยความสะดวกให้ มีการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องในระบบการกำ�กับดูแล กิจการของบริษัท เช่น กรรมการ กรรมการตรวจสอบ ผู้บริหาร และ เลขานุการบริษัท เป็นต้น เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนือ่ ง การฝึกอบรมและให้ความรูอ้ าจกระทำ�เป็นการภายในบริษทั หรือใช้บริการของสถาบันภายนอกก็ได้

โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา กรรมการและผู้บริหารได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ตำ�แหน่ง

ชื่อ – สกุล

กรรมการ

นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ (ประธานกรรมการ)

• Ethical Leadership Program (ELP 7/2017) • Group Management Conference 2017 ณ ประเทศสิงคโปร์ (Digital Technologies & Solution Opportunities)

ผู้บริหาร

นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล (กรรมการ/กรรมการผู้จัดการ)

Group Management Conference 2017 ณ ประเทศสิงคโปร์ (Digital Technologies & Solution Opportunities)

นายดำ�รงค์ วงษ์ประยูร (รองกรรมการผู้จัดการ)

Group Leader Conference 2017 ณ ประเทศสิงคโปร์ (Business Trends)

นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์ (รองกรรมการผู้จัดการ)

Group Leader Conference 2017 ณ ประเทศสิงคโปร์ (Business Trends)

นางสาวกัญญา วัฒนแต้ตระกูล

• Orientation Course CFO รุ่นที่3/2017 สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ • ประกาศนียบัตร Professional Controller รุ่นที่ 7/2017 สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์

นางสาวณัฐรียา สุลัยมาน

• การอบรมหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน S01/S02/S03/S04/S06 2017 • Company Reporting Program รุ่น 20/2018

ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน

เลขานุการบริษัท

หลักสูตรการอบรม

ในกรณีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลงกรรมการหรือมีกรรมการเข้าใหม่ ฝ่ายจัดการจะจัดให้มเี อกสารและข้อมูลทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การปฏิบตั หิ น้าที่ ของกรรมการเข้าใหม่ รวมถึงจัดให้มีการแนะนำ�ลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทให้แก่กรรมการใหม่ คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีการหมุนเปลี่ยนงานที่ได้รับมอบหมายตามความถนัดของผู้บริหารและพนักงาน โดยพิจารณาตามความ เหมาะสมของงานและเวลาเป็นหลัก โดยกรรมการผูจ้ ดั การจะกำ�หนดช่วงเวลาและพิจารณาผลการปฏิบตั งิ านดังกล่าวเพือ่ เป็นแผนพัฒนาและสืบทอด งานของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาผู้บริหารและพนักงานให้มีความรู้ความสามารถในการทำ�งานมากขึ้นและให้สามารถทำ�งานแทนกันได้


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

63

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

2 คณะกรรมการชุดย่อย

บริษัทฯ มีคณะกรรมการชุดย่อย 3 ชุด คือคณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง และคณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษทั ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการตรวจสอบเพือ่ ช่วยในการกำ�กับดูแลกิจการของบริษทั โดยคณะกรรมการตรวจสอบประกอบ ด้วยกรรมการตรวจสอบจำ�นวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพือ่ ทำ�หน้าทีช่ ว่ ยสนับสนุนคณะกรรมการบริษทั ในการกำ�กับดูแลและตรวจสอบการบริหารงาน การ ควบคุมภายในและการปฏิบตั ติ ามกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ การจัดทำ�รายงานทางการเงิน เพือ่ ให้การปฏิบตั งิ านและการเปิดเผยข้อมูลของบริษทั เป็นไปอย่างโปร่งใสและน่าเชื่อถือ และบริษัทได้จัดให้มีเลขานุการบริษัท เพื่อทำ�หน้าที่ในการดำ�เนินการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการ บริษัท และการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งสนับสนุนงานของคณะกรรมการบริษัทโดยการให้คำ�แนะนำ�ในเรื่องข้อกำ�หนดตามกฎหมายและกฎระเบียบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริษัท

• ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ มีจำ�นวน 3 ท่าน ดังนี้ • โดยกรรมการตรวจสอบลำ�ดับที่ 3 เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำ�หน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือ ของงบการเงิน

ชื่อ 1. พลตำ�รวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี 2. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร 3. อาจารย์อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์

ตำ�แหน่ง กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ

โดยมี นางสาวพัชรินทร์ นิโรจน์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ มีจำ�นวน 3 ท่าน ดังนี้

ชื่อ 1. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ 2. นายประวิชย์ ศรีบัณฑิตมงคล 3. นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์

ตำ�แหน่ง ประธาน / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ กรรมการ / รองกรรมการบริหารฝ่าย บัญชีและการเงิน

โดยมี นายเรวัตร์ หนิดภักดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ขอบเขตอำ�นาจหน้าที่

1. กำ�หนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และให้นำ�เสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ 2. กำ�หนดแผนจัดการความเสี่ยงและกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร 3. ติดตาม กำ�กับ ดูและ เป็นประจำ�ทุกปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการบริหารความเสี่ยงเหมาะสมต่อเหตุการณ์ และได้นำ�ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

64

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล มีจำ�นวน 3 ท่าน ดังนี้

ชื่อ

ตำ�แหน่ง

1. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร 2. อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ 3. นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์

ประธาน / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ รองประธาน / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ กรรมการ

โดยมี นายเรวัตร์ หนิดภักดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ

หน้าที่และความรับผิดชอบด้านการสรรหา

• สรรหาและเสนอบุคคลผู้ที่เหมาะสมเพื่อดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ แทนกรรมการที่ครบวาระประจำ�ปี เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการและ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติ • สรรหาและเสนอบุคคลผู้ที่เหมาะสมเพื่อดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการแทนกรรมการที่ลาออกหรือพ้นจากตำ�แหน่งก่อนครบวาระเพื่อเสนอ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่ออนุมัติ • สรรหาและเสนอบุคคลผู้ที่เหมาะสมเพื่อดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อ อนุมัติ

ด้านค่าตอบแทน

• กำ�หนดนโยบายจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมถึงจำ�นวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นให้แก่กรรมการและผู้ มีอำ�นาจในการจัดการโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส โดยเปรียบ เทียบกับสภาพอุตสาหกรรม ภาวะเศษฐกิจ ผลประกอบการของ บริษทั ฯ และปัจจัยอืน่ ๆ และนำ�เสนอให้คณะกรรมการบริษทั พิจารณา อนุมัติ และ/หรือ นำ�เสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี • ดูแลให้กรรมการบริษทั และผูม้ อี �ำ นาจในการจัดการได้รบั ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ • กำ�หนดแนวทางในการประเมินผลงานของกรรมการ บริษทั และผูม้ อี �ำ นาจในการจัดการเพือ่ พิจารณาผลตอบแทนประจำ�ปี • เปิดเผยนโยบายเกี่ยวกับการกำ�หนดค่าตอบแทนและ เปิดเผยค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ รวมทัง้ จัดทำ�รายงานการกำ�หนด ค่าตอบแทน โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย การ ดำ�เนินงาน และความเห็นของคณะกรรมการสรรหาฯ ไว้ในรายงาน ประจำ�ปีของบริษัท

ด้านบรรษัทภิบาล

• กำ�หนดนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีจริยธรรมและ จรรยาบรรณในการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทและนโยบายการดำ�เนิน งานด้านกิจกรรมเพือ่ สังคมเพือ่ เสนอต่อคณะกรรมการบริษทั พิจารณา ให้ความเห็นชอบ • กำ�กับดูแลให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ และฝ่ายบริหารเพื่อให้เป็นไปตามหลัก การกำ�กับดูแลกิจการที่ดีและแนวปฏิบัติที่ดีของจริยธรรมและจรรยา บรรณในการดำ�เนินธุรกิจ • จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำ�ปีของคณะ กรรมการ กรรมการรายบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อย • ทบทวนแนวปฏิบัติด้านการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีของ บริษทั โดยเปรียบเทียบกับหลักการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ขี องมาตรฐาน สากลและของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเสนอต่อคณะ กรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาปรับปรุงอย่างสม่ำ�เสมอ


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

65

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

3 การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด 1.กรรมการอิสระ บริษัทฯ กำ�หนดองค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทให้ประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำ�นวนกรรมการทั้งหมดของ บริษัทฯ โดยที่คณะกรรมการบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการอิสระ เข้าร่วมในคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายแต่งตั้งกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ และมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระอิงตามหลักเกณฑ์ การคัดเลือกกรรมการบริษทั โดยคุณสมบัตขิ องผูท้ จี่ ะมาทำ�หน้าทีเ่ ป็น กรรมการอิสระ พิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กรรมการตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด และกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศ ข้อบังคับ และ/ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการอิสระจะมีคุณวุฒิการศึกษา ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ทำ�งาน และความเหมาะสม อื่นๆ ประกอบกัน เพื่อนำ�เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่ง ตั้งเป็นกรรมการของบริษัทต่อไป ทั้งนี้ หากมีกรรมการอิสระคนหนึ่ง คนใดพ้นจากตำ�แหน่งก่อนครบวาระ คณะกรรมการบริษทั อาจแต่งตัง้ กรรมการอิสระทีม่ คี ณ ุ สมบัตติ ามทีก่ �ำ หนดข้างต้นเข้ามาดำ�รงตำ�แหน่ง แทน โดยกรรมการอิสระที่เข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ในตำ�แหน่งได้ เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการอิสระที่ตนแทน ทั้งนี้ กรรมการอิสระจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) ถือหุน้ ไม่เกินร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุน้ ทีม่ สี ทิ ธิออกเสียง ทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นราย ใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้น ของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆด้วย 2) ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษาทีไ่ ด้เงินเดือนประจำ� หรือผูม้ อี �ำ นาจควบคุม ของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับ เดียวกัน ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือของผูม้ อี �ำ นาจควบคุมของบริษทั ฯ เว้น แต่จะได้พน้ จากการมีลกั ษณะดังกล่าวมาแล้วไม่นอ้ ยกว่าสองปี ก่อนวัน ทีย่ นื่ คำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงานกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดย การจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดา มารดา คู่สมรส พีน่ อ้ ง และบุตร รวมทัง้ คูส่ มรสของบุตร ของกรรมการรายอืน่ ผูบ้ ริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้ เป็นกรรมการ ผูบ้ ริหารหรือผูม้ อี �ำ นาจควบคุมของบริษทั ฯ หรือบริษทั ย่อย 4) ไม่มหี รือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษทั ฯ บริษทั ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุม ของบริษทั ฯ ในลักษณะทีอ่ าจเป็นการขัดขวางการใช้วจิ ารณญาณอย่าง อิสระของตน รวมทัง้ ไม่เป็นหรือเคยเป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั หรือผูม้ อี �ำ นาจ

ควบคุมของผูท้ มี่ คี วามสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษทั ฯ บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ก่อนวันที่ยื่นขออนุญาตต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ 5) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของ บริษทั ฯ และไม่เป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั ผูม้ อี �ำ นาจควบคุม หรือหุน้ ส่วนของ สำ�นักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัท ย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัท สังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พน้ จากการมีลกั ษณะดังกล่าวมาแล้วไม่นอ้ ยกว่า สองปีกอ่ นวันทีย่ นื่ คำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 6) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวม ถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่ง ได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของ บริษทั ฯ และไม่เป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั ผูม้ อี �ำ นาจควบคุม หรือหุน้ ส่วนของ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดัง กล่าวมาแล้วไม่นอ้ ยกว่าสองปีกอ่ นวันทีย่ นื่ คำ�ขออนุญาตต่อสำ�นักงาน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 7) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทน ของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่ เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 8) ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการ แข่งขันทีม่ นี ยั กับกิจการของบริษทั ฯหรือบริษทั ย่อยหรือไม่เป็นหุน้ ส่วน ทีม่ นี ยั ในห้างหุน้ ส่วน หรือเป็นกรรมการทีม่ สี ว่ นร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษาทีร่ บั เงินเดือนประจำ� หรือถือหุน้ เกินร้อยละ 1 ของ จำ�นวนหุน้ ทีม่ สี ทิ ธิออกเสียงทัง้ หมดของบริษทั อืน่ ซึง่ ประกอบกิจการที่ มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันทีม่ นี ยั กับกิจการของบริษทั ฯ หรือบริษัทย่อย 9) ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่าง เป็นอิสระเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของบริษัทฯ


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

66

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

2. กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริ ษั ท หรื อ ที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น (แล้ ว แต่ กรณี) เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ โดยมีจำ�นวนอย่างน้อย 3 ท่าน และกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน จะต้องเป็นผู้มีความ รู้และประสบการณ์เพียงพอสำ�หรับทำ�หน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน โดยที่กรรมการตรวจสอบแต่ละรายจะต้อง เป็นกรรมการอิสระ และต้องไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ไม่เป็นผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมบริษัทฯ ไม่เป็นกรรมการของ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกันเฉพาะที่เป็น บริษัทจดทะเบียน และมีหน้าที่ในลักษณะที่กำ�หนดไว้ในประกาศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการ ดำ�เนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

3. คณะกรรมการบริษัท บริษัทมีคณะกรรมการสรรหา กำ�หนดค่าตอบแทน และ บรรษัทภิบาล ที่ดูแลการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการหรือผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ ซึง่ มีกระบวนการสรรหากรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทฯ โดยให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือตัวแทนผู้ ถือหุ้นรายใหญ่ของแต่ละกลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิตามสายงานที่เกี่ยวข้อง กรรมการ กรรมการอิสระ และผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ ร่วมกันเสนอราย ชื่อบุคคลที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ศักยภาพ โดยจะพิจารณาให้ความ สำ�คัญต่อผูม้ ที กั ษะ ประสบการณ์ทมี่ คี วามจำ�เป็นต่อการประกอบธุรกิจ ของบริษทั ฯ รวมถึงพิจารณาถึงขนาด ประเภท และความซับซ้อนของ ธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลักทีบ่ ริษทั ดำ�เนินกิจการอยู่ โดยจะพิจารณา จากคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1) กรรมการต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรมในการดำ�เนินธุรกิจและมีเวลาเพียงพอในการทำ�งาน ให้กับบริษัทฯ อย่างเต็มที่ 2) กรรมการต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ไม่มีลักษณะต้อง ห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษทั มหาชนจำ�กัดและกฎหมายว่าด้วยหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาด ความเหมาะสมในการบริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามที่คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศ กำ�หนด 3) ในกรณี ข องการพิ จ ารณาสรรหากรรมการอิ ส ระ กรรมการอิสระจะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎบัตรคณะกรรมการ ตรวจสอบของบริษัทและหลักเกณฑ์ที่สำ�นักงาน ก.ล.ต. กำ�หนด นอกจากนี้ ในกรณีหากกรรมการอิสระเดิมทีจ่ ะกลับเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง อีกวาระ ควรมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งต่อเนือ่ งนับจากวันทีไ่ ด้รบั แต่งตัง้ ให้ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการอิสระครั้งแรกไม่เกิน 9 ปี ในกรณีที่จะแต่ง ตัง้ ให้กรรมการอิสระนัน้ ดำ�รงตำ�แหน่งต่อไปจะมีการพิจารณาอย่างสม เหตุสมผลถึงความจำ�เป็นดังกล่าวด้วย 4) กรรมการไม่สามารถประกอบกิจการอันมีสภาพอย่าง

เดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ หรือเข้าเป็นหุ้น ส่วน หรือกรรมการในนิตบิ คุ คลอืน่ ทีมสี ภาพอย่างเดียวกันและเป็นการ แข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ ไม่ว่าจะทำ�เพื่อประโยชน์ของตนหรือ ประโยชน์ของบุคคลอื่น เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อน ที่จะมีมติแต่งตั้ง 5) พิจารณาการอุทิศ เวลาของกรรมการ โดยหากเป็น กรรมการเดิมที่จะกลับเข้าดำ�รงตำ�แหน่งอีกวาระ ควรพิจารณาจาก ผลการปฏิบัติงานในช่วงที่ดำ�รงตำ�แหน่ง รวมถึงพิจารณาถึงจำ�นวน บริษัทที่กรรมการแต่ละคนไปดำ�รงตำ�แหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะ หรือสภาพธุรกิจของบริษัท ซึ่งไม่ควรเกิน 5 บริษัทจดทะเบียน เพื่อ ให้มั่นใจว่าประสิทธิภาพการทำ�งานจะไม่ลดลง ทัง้ นี้ บริษทั กำ�หนดหลักเกณฑ์และขัน้ ตอนในการแต่งตัง้ และถอดถอน กรรมการบริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำ�นวนไม่ น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำ�นวนกรรมการ ทั้งหมดจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร 2) ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการบริษัทตามหลัก เกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ผูถ้ อื หุน้ คนหนึง่ มีคะแนนเสียงเท่ากับหนึง่ หุน้ ต่อหนึ่งเสียง (2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ ทั้งหมดเลือกตั้งบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ ในกรณีที่ เลือกตั้งบุคคลหลายคนเป็นกรรมการ จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใด มากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) ในกรณีเลือกตัง้ บุคคลหลายคนเป็นกรรมการ ให้บคุ คลทีไ่ ด้รบั คะแนนเสียงสูงสุดตามลำ�ดับลงมาเป็นผูไ้ ด้รบั เลือกตัง้ เป็นกรรมการเท่าจำ�นวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้ง นั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำ�ดับถัดลงมามีคะแนน เสียงเท่ากันเกินจำ�นวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้ง นั้น ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

67

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

3) ในการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น สามั ญ ประจำ � ปี ทุ ก ครั้ ง ให้ กรรมการออกจากตำ�แหน่งจำ�นวนหนึง่ ในสาม ถ้าจำ�นวนกรรมการไม่ สามารถแบ่งออกให้เป็นสามส่วนได้ ให้ออกโดยจำ�นวนใกล้ทสี่ ดุ จำ�นวน หนึ่งในสาม โดยกรรมการซึ่งพ้นจากตำ�แหน่ง อาจได้รับเลือกให้กลับ เข้ามารับตำ�แหน่งอีกได้ ทั้งนี้ กรรมการที่จะต้องออกจากตำ�แหน่งใน ปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้จับสลากกัน ใน ส่วนของปีต่อๆไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำ�แหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ ออกจากตำ�แหน่ง 4) กรรมการคนใดจะลาออกจากตำ�แหน่งให้ยื่นใบลาออก ต่อบริษัท โดยการลาออกดังกล่าวจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ใบลาออกไป ถึงบริษัท 5) ในกรณี ที่ ตำ � แหน่ ง กรรมการว่ า งลงเพราะเหตุ อื่ น นอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทเลือกบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท มหาชนจำ�กัดและกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้า เป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการบริษทั คราวถัดไป เว้น แต่วาระของกรรมการผูน้ นั้ จะเหลือน้อยกว่าสองเดือน โดยบุคคลซึง่ เข้า เป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยูใ่ นตำ�แหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระ ทีย่ งั เหลืออยูข่ องกรรมการทีต่ นเข้ามาแทน โดยมติของคณะกรรมการ ตามความในวรรคข้างต้นจะต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่นอ้ ยกว่า สามในสี่ของจำ�นวนกรรมการที่ยังเหลืออยู ่ 6) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจาก ตำ�แหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำ�นวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมี หุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำ�นวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

4. ผู้บริหาร

การกำ�หนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัท

การกำ�หนดค่าตอบแทนผู้บริหาร

ค่าตอบแทนกรรมการคือค่าเบีย้ ประชุมและโบนัสประจำ�ปี ซึ่งจะต้องอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยจะ คำ�นึงถึงความเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริษัท โดยกรรมการที่เป็นผู้บริหารขอสละสิทธิ์ในการ รับค่าเบี้ยประชุม ส่วนผู้บริหารจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นเงินเดือน และโบนัสประจำ�ปี โดยพิจารณาจากผลการดำ�เนินงานของบริษทั เป็น สำ�คัญ ทัง้ นี้ ค่าตอบแทนรายปีของคณะกรรมการและผูบ้ ริหารจะต้อง ไม่เป็นจำ�นวนทีแ่ ตกต่างอย่างมีนยั สำ�คัญเมือ่ เทียบกับผลตอบแทนของ โดยเฉลี่ยของคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะคำ�นึงถึงประโยชน์สงู สุดของ ผู้ถือหุ้นเป็นหลัก บริษทั ฯ มีกระบวนการกำ�หนดค่าตอบแทนกรรมการโดยให้ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการเป็นผูก้ �ำ หนดอัตราค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ การกำ�หนดค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษทั ข้างต้น และจะต้องได้รบั การอนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปีของบริษทั รวมถึงมีการ เปิดเผยค่าตอบแทนทีจ่ า่ ยให้กรรมการตามรูปแบบทีส่ �ำ นักงาน ก.ล.ต. กำ�หนด

ผู้บริหารบริษัทจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นเงินเดือนและ โบนัสประจำ�ปี โดยพิจารณาจากผลการดำ�เนินงานของบริษัทเป็น สำ�คัญ โดยมีกระบวนการกำ�หนดค่าตอบแทนผูบ้ ริหารของบริษทั ดังนี้ - ค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการบริษทั เป็นผูม้ สี ทิ ธิเสนอและพิจารณาอนุมตั ิ การกำ�หนดค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ ทั้งนี้ ค่าตอบแทนราย ปีของกรรมการผู้จัดการจะต้องไม่เป็นจำ�นวนที่แตกต่างอย่างมีนัย สำ�คัญเมือ่ เทียบกับผลตอบแทนโดยเฉลีย่ ของผูบ้ ริหารของบริษทั ทีจ่ ด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - ค่าตอบแทนผูบ้ ริหารในระดับทีต่ �ำ่ กว่ากรรมการผูจ้ ดั การ กรรมการผู้จัดการเป็นผู้มีสิทธิเสนอและพิจารณาอนุมัติ การกำ�หนดค่าตอบแทนของผู้บริหารของบริษัทฯในระดับที่ต่ำ�กว่า กรรมการผู้จัดการภายใต้กรอบและนโยบายที่คณะกรรมการบริษัท กำ�หนดไว้ ทั้งนี้ ค่าตอบแทนรายปีของผู้บริหารดังกล่าวจะต้องไม่ เป็นจำ�นวนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำ�คัญเมื่อเทียบกับผลตอบแทนโดย เฉลี่ยของผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย

บริษทั ฯ มีนโยบายในการสรรหาผูท้ เี่ หมาะสมในการเข้ามา เป็นผู้บริหารของบริษัท โดยคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับธุรกิจ ซึง่ จะดำ�เนินการคัดเลือกตาม ระเบียบที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล และจะต้องได้รับการ อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัท มอบหมาย บริษัทฯจึงมีกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหารของ บริษัทดังนี้ - การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ บริษัทมีขั้นตอนกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการโดยการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ/หรือตัวแทนผู้ถือหุ้นราย ใหญ่ของแต่ละกลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิตามสายงานที่เกี่ยวข้อง กรรมการ และผู้บริหารสามารถเสนอรายชื่อบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถและ ศักยภาพที่จะดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยที่ประชุมคณะ กรรมการบริษทั จะเป็นผูพ้ จิ ารณาคัดเลือกและอนุมตั แิ ต่งตัง้ บุคคลเข้า ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการ - การสรรหาและแต่งตัง้ ผูบ้ ริหารในระดับทีต่ �่ำ กว่ากรรมการผูจ้ ดั การ กรรมการผูจ้ ดั การ มีอ�ำ นาจในการสรรหาและตัง้ แต่งบุคคล ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถและประสบการณ์ในธุรกิจของบริษทั เข้าเป็นผู้ บริหารในระดับทีต่ �่ำ กว่ากรรมการผูจ้ ดั การและพนักงานในระดับต่างๆ ภายใต้กรอบและนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำ�หนดไว้ ทั้งนี้ การ แต่งตั้งหัวหน้าหรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านการตรวจสอบและ ควบคุมภายในจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจ สอบก่อน


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

68

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

4 การกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนและบริหารงานในบริษัทย่อย และบริษทั ร่วม ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ โดยจะลงทุนในธุรกิจที่ มีความเกีย่ วเนือ่ ง ใกล้เคียง หรือก่อให้เกิดประโยชน์และสนับสนุนการ ดำ�เนินธุรกิจของบริษัท เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง และผลการดำ�เนิน งานของบริษัท นอกจากนี้ ในการกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของบริษทั ย่อย และบริษัทร่วมนั้น บริษัทจะส่งตัวแทนของบริษัทซึ่งมีคุณสมบัติและ ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจที่บริษัทเข้าลงทุนเข้าเป็นกรรมการ ในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัทดังกล่าว โดยตัวแทนดังกล่าว อาจเป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ กรรมการ ผู้บริหาร ระดับสูง หรือบุคคลใดๆ ของบริษัทที่ปราศจากผลประโยชน์ขัดแย้ง กับธุรกิจของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเหล่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัท สามารถควบคุมดูแลกิจการ และการดำ�เนินงานของบริษัทย่อยและ บริษัทร่วมได้เสมือนเป็นหน่วยงานหนึ่งของบริษัท บริษัทจึงกำ�หนด

ให้ตัวแทนของบริษัทจะต้องบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทย่อยและ บริษทั ร่วมให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ซงึ่ กำ�หนดไว้ในข้อบังคับ และกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ย่อย และ/หรือ บริษทั ร่วมนัน้ ๆ นอกจากนี้ การส่งตัวแทนเพือ่ เป็นกรรมการในบริษทั ย่อยและบริษทั ร่วมดังกล่าวให้เป็นไปตามสัดส่วนการถือหุน้ ของบริษทั และ/หรือข้อตกลงร่วมกันในกรณีของบริษัทร่วม ทั้งนี้ การขออนุมัติในการลงทุนของบริษัทจะต้องเป็นไป ตามกฎ ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ว่าด้วยการได้มาหรือจำ�หน่ายไปซึ่ง สินทรัพย์ตามทีไ่ ด้ประกาศโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ บริษัทจะติดตามผลประกอบการและผลการดำ�เนินงาน ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมอย่างใกล้ชิด รวมถึงกำ�กับให้มีการจัด เก็บข้อมูลและบันทึกบัญชีของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมให้บริษัท ตรวจสอบ

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญต่อการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน ของบริษทั โดยบริษทั มีนโยบายห้ามมิให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทนำ�ความลับและ/หรือข้อมูลภายในของบริษัท ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปเปิดเผยหรือแสวงหาประโยชน์แก่ ตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และไม่ว่าจะได้รับผล ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งต้องไม่ทำ�การซื้อขายหลักทรัพย์ของ บริษัทโดยใช้ข้อมูลภายใน ทั้งนี้ บริษัทได้กำ�หนดแนวทางป้องกันการ ใช้ข้อมูลภายใน ดังนี้ 1) ให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหารของบริษัทเกี่ยวกับ หน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตนเอง คู่สมรส และ บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 และบทกำ�หนดโทษตาม มาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) รวมทั้งการรายงานการได้ มาหรือจำ�หน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 246 และบทกำ�หนดโทษตามมาตรา 298 แห่งพระราชบัญญัตหิ ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวม ทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) 2) กำ�หนดให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัท รวมทั้งคู่ สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจัดทำ� และเปิดเผยรายงานการ ถือครองหลักทรัพย์ และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลัก ทรัพย์ของบริษัทต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 และบทกำ�หนดโทษตามมาตรา 275

แห่งพระราชบัญญัตหิ ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวม ทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) และจัดส่งสำ�เนารายงานนี้ให้แก่บริษัทในวัน เดียวกันกับที่ส่งรายงานต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ 3) กำ�หนดให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของ บริษทั และบริษทั ย่อยทีไ่ ด้รบั ทราบข้อมูลภายในทีเ่ ป็นสาระสำ�คัญซึง่ มี ผลหรืออาจมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงราคาหลักทรัพย์จะต้องงดการซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษัทนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาสหรือวัน สิ้นสุดของรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท (แล้วแต่กรณี) จนถึงวันที่ งบการเงินหรือข้อมูลภายในที่เกี่ยวข้องนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชน และในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงภายหลังจากที่ข้อมูลดังกล่าวของบริษัท ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว และผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวจะ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นให้ผู้อื่นทราบจนกว่าจะได้มีการแจ้งข้อมูลนั้น ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หากมีการกระทำ�อันฝ่าฝืน ระเบียบปฏิบตั ดิ งั กล่าวข้างต้น บริษทั จะถือเป็นความผิดทางวินยั ตาม ข้อบังคับการทำ�งานของบริษทั โดยจะพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี ตั้งแต่ การตักเตือนด้วยวาจา การตักเตือนเป็นหนังสือ การภาคทัณฑ์ ตลอดจนการเลิกจ้างให้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ในปี 2559 และปี 2560 บริษัทฯ มีการจ่ายค่าตอบแทน ในการสอบบัญชีทั้งสิ้น 1,070,000 บาท และ 1,120,000 บาท ตาม ลำ�ดับ ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรายเดียวกับปีก่อน และไม่มีค่าบริการอื่นๆ


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

69

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญของการดำ�เนินธุรกิจให้ เติบโตอย่างยัง่ ยืนภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมและการต่อต้านการ ทุจริตคอรัปชั่น (Corporate Social Responsibilities and AntiCorruption) โดยมุ่งเน้นการประกอบกิจการด้วยความดูแลเอาใจใส่ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ซึ่งบริษัทหวังว่าการดำ�เนินธุรกิจภาย ใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมพร้อม กับการเจริญเติบโตของบริษัทควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทำ� นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมโดยแบ่งเป็น 8 หัวข้อ ดังนี้

1. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม

บริษัทฯ มุ่งเน้นประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม มีจรรยาบรรณ และตั้งมั่นที่จะแข่งขันทางการค้าตามหลัก จริยธรรมในการประกอบการค้า กฎหมาย และหลักการแข่งขัน ทางการค้าอย่างเสมอภาคกัน รวมถึงปฏิเสธพฤติกรรมใดๆ ก็ตาม ที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เช่น การแสวงหาข้อมูลที่เป็น ความลับของคู่แข่งทางการค้า การเรียก รับ และไม่ให้ผลประโยชน์ ใดๆ ที่ไม่สุจริตทางการค้าในการจัดซื้อเครื่องจักร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้เคารพต่อสิทธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญาของผูอ้ นื่ โดยมีนโยบายให้ บุคลากรปฏิบตั ติ ามกฎหมายหรือข้อกำ�หนดเกีย่ วกับสิทธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญา อาทิ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตาม กฎหมาย เป็นต้น อีกทั้ง ยังมีโครงการรณรงค์ส่งเสริมและปลูกจิตใต้ สำ�นึกให้แก่บุคลากรของบริษัทในทุกระดับชั้นให้เกิดความรับผิดชอบ ต่อสังคมด้วย


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

70

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

• Kids Charity @ Central World 2016

• K-Think คิดก่อนทิ้ง โรงเรียนศรีพฤฒา กรุงเทพมหานคร

2. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

• ส่งต่อเฟอร์นิเจอร์และชุดโครงไม้ โรงเรียนวัดสระบัว ปทุมธานี

บริษัทฯ มีการบริหารกิจการบนพื้นฐานความโปร่งใส มี จริยธรรม ยึดมั่นในหลักการการกำ�กับดูแลกิจการ และปฏิบัติตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การให้หรือรับสินบนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือภาคเอกชน โดยบริษัท ได้ กำ � หนดโครงสร้ า งองค์ ก รให้ มี ก ารแบ่ ง หน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบ กระบวนการทำ�งาน และสายการบังคับบัญชาในแต่ละหน่วยงานให้มี ความชัดเจน เพือ่ ให้มกี ารถ่วงดุลอำ�นาจและมีความรัดกุมในการตรวจ สอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม รวมทั้งกำ�หนดแนวทางการปฏิบัติให้ แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย ดังนี้ 1. ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ดำ�เนินการหรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรง หรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้มีการ สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่าง สม่ำ�เสมอ 2. กรรมการ ผูบ้ ริหารและพนักงานของบริษทั มีหน้าทีต่ อ้ ง รายงานให้บริษัททราบถึงการกระทำ�ที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยแจ้งต่อผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ 3. บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้ร้องเรียนที่ แจ้งเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งบุคคลที่ให้ความร่วมมือในการ รายงานและในกระบวนการสอบสวนการทุจริตคอร์รัปชั่น


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

4. คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และฝ่าย จัดการต้องปฏิบตั ติ นเป็นแบบอย่างในการต่อต้านการทุจริตคอร์รปั ชัน่ และมีหน้าที่ในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการ ทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้ท่ีเกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อ ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำ�หนดของกฎหมาย 5. ผูท้ กี่ ระทำ�การทุจริตคอร์รปั ชัน่ จะต้องได้รบั การพิจารณา โทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกำ�หนดไว้ และอาจได้รับโทษตาม กฎหมาย หากการกระทำ�นั้นผิดกฎหมาย 6. บริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมและการเผยแพร่ความรู้ ให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทให้มีความเข้าใจใน การปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และส่งเสริม ด้านคุณธรรม ความซื่อสัตย์ความรับผิดชอบ และภาระหน้าที่ของตน 7. บริษัทฯ สนับสนุนให้คู่สัญญา คู่ค้า หรือบุคคลอื่นที่ต้อง ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทรายงานการละเมิดนโยบายต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัท 8. บริ ษั ท ฯ มี น โยบายในการสรรหาหรื อ การคั ด เลื อ ก บุคลากร การเลื่อนตำ�แหน่ง การฝึกอบรมการประเมินผลการปฏิบัติ งาน และการกำ�หนดค่าตอบแทนของพนักงานและลูกจ้างของบริษัท อย่างเป็นธรรมและเพียงพอ เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นภายใน องค์กร และเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่พนักงานและลูกจ้างของ บริษัท 9. เพือ่ ความชัดเจนในการดำ�เนินการในเรือ่ งทีม่ คี วามเสีย่ ง สูงกับการเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้กรรมการ ผูบ้ ริหารและพนักงานของบริษทั ต้องปฏิบตั ดิ ว้ ยความระมัดระวัง และ ตรวจสอบให้แน่ชัด 9.1. การให้ มอบหรือรับของกำ�นัล และการ เลีย้ งรับรองจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นตาม ธรรมเนียมทางการค้าปกติหรือประเพณีนยิ มในมูลค่าทีเ่ หมาะสม อาทิ การไม่รบั กระเช้าและของขวัญทุกประเภทในช่วงเทศกาลปีใหม่จากคู่ ค้า ผู้รับเหมา และร้านค้าต่างๆ โดยบริษัทฯ ดำ�เนินการออกจดหมาย ชีแ้ จงยังกลุม่ ต่างๆ เหล่านีท้ กุ รายเป็นประจำ�ทุกปีเพือ่ ขอความร่วมมือ ในการปฏิบัติ 9.2. การให้หรือรับเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมัน่ ใจว่าการ ให้หรือรับเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนดังกล่าวไม่ได้เป็นการอำ�พราง การติดสินบน 9.3. ในการดำ�เนินกิจการ การติดต่อ การเจรจา การประมูล และการดำ�เนินการอืน่ ๆ กับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน จะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทจะต้องไม่ ให้หรือรับสินบนในทุกขั้นตอนของการดำ�เนินกิจการ ทัง้ นี้ บริษทั ได้เข้าร่วมการประกาศเจตนารมย์เป็นแนวร่วม ปฎิบตั ิ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อ ต้านการทุจริต เป็นเครือข่ายองค์กรภาคีสีขาว ซึ่งยึดหลักธรรมภิบาล ในการดำ�เนินธุรกิจ ทำ�ให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถ ตรวจสอบได้ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้โดยไม่ถูก

71

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

กีดกัน ทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน และทำ�ให้เกิดเป็นกลไกการ ตรวจสอบซึ่งมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับการรับรองเป็นสมาชิก แนวร่ ว มปฏิ บั ติ ข องภาคเอกชนไทยในการต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต จาก โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition) ตามที่บริษัทได้ผ่านกระบวนการ ประเมินตนเองว่ามีแนวนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริต ภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำ�หนด

3. การเคารพสิทธิมนุษยชน

บริ ษั ท มี น โยบายสนั บ สนุ น และเคารพการปกป้ อ งสิ ท ธิ มนุษยชน โดยการปฏิบัติต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ชุมชน และสังคมรอบข้างด้วยความเคารพในคุณค่าของความเป็น มนุษย์ คำ�นึงถึงความเสมอภาคและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน ไม่ละเมิด สิทธิขั้นพื้นฐาน และไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว เพศ อายุ การศึกษา สภาวะทางร่างกาย หรือสถานะทางสังคม รวมถึงการดูแลไม่ให้ธุรกิจของบริษัทเข้าไปมี ส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงานเด็ก และการคุกคามทางเพศ เป็นต้น ทัง้ ยังได้สง่ เสริมให้มกี ารเฝ้าระวังการ ปฏิบัติตามข้อกำ�หนดด้านสิทธิมนุษยชน โดยจัดให้มีการมีส่วนร่วมใน การแสดงความคิดเห็น และช่องทางในการร้องเรียนสำ�หรับผู้ที่ได้รับ ความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิอันเกิดจากการดำ�เนินธุรกิจของ บริษัท และดำ�เนินการเยียวยาตามสมควร ทั้ ง นี้ เพื่ อ ให้ ก ารเคารพสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนเป็ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ บริษทั ฯ ได้ด�ำ เนินการสร้างองค์ความรูด้ า้ นสิทธิมนุษยชน และปลูกจิตสำ�นึกให้บคุ ลากรของบริษทั ปฏิบตั ติ ามหลักสิทธิมนุษยชน

4. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญของการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์และปฏิบตั ติ อ่ แรงงานอย่างเป็นธรรม อันเป็นปัจจัยทีจ่ ะช่วยเพิม่ มูลค่าของกิจการและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและการ เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทในอนาคต โดยได้กำ�หนดนโยบาย และแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1. เคารพสิทธิของพนักงานตามหลักสิทธิมนุษยชน และ ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน 2. จัดให้มกี ระบวนการจ้างงาน และเงือ่ นไขการจ้างงานเป็น ธรรม รวมถึงการกำ�หนดค่าตอบแทน และการพิจารณาผลงานความดี ความชอบภายใต้กระบวนการประเมินผลการทำ�งานที่เป็นธรรม 3. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร โดยจัดให้มกี ารจัดอบรมสัมนา ฝึกอบรม รวมถึงส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนา และฝึกอบรมวิชาการด้าน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและศักยภาพของ บุคลากร รวมถึงปลูกฝังทัศนคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และการ ทำ�งานเป็นทีมแก่บุคลากร 4. จัดให้มีสวัสดิการด้านต่างๆ สำ�หรับพนักงานตามที่ กฎหมายกำ�หนด เช่น ประกันสังคม เป็นต้น และนอกเหนือจากที่ กฎหมายกำ�หนด เช่น ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือประเภทต่างๆ แก่พนักงาน เช่น ทุนการ ศึกษาแก่บุตร และเงินช่วยเหลืองานฌาปนกิจ เป็นต้น


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

5. จัดให้มบี ริการตรวจสุขภาพประจำ�ปีแก่บคุ ลากรทุกระดับ ชั้นของบริษัท โดยพิจารณารายการตรวจจากปัจจัยความเสี่ยงตาม ระดับ อายุ เพศ และสภาพแวดล้อมในการทำ�งานของแต่ละบุคคล 6. ดำ�เนินการให้พนักงานปฏิบตั งิ านได้อย่างปลอดภัย และ มีสขุ อนามัยในสถานทีท่ �ำ งานทีด่ ี โดยจัดให้มมี าตรการป้องกันการเกิด อุบตั เิ หตุ และเสริมสร้างให้พนักงานมีจติ สำ�นึกด้านความปลอดภัย รวม ถึงจัดการฝึกอบรม และส่งเสริมให้พนักงานมีสุขอนามัยที่ดี และดูแล สถานที่ทำ�งานให้ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยอยู่เสมอ 7. เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ร้องเรียนเกี่ยวกับปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมหรือการกระทำ�ที่ไม่ถูกต้อง ในบริษัท รวมถึงมีมาตรการให้การคุ้มครองพนักงานที่รายงานเรื่อง ดังกล่าว 8. นำ�ระบบ D Passport มาใช้เพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้ พนักงานทุกคนมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยระบบ D Passport เป็นระบบทีบ่ นั ทึกคะแนนจากพฤติกรรมทีด่ ขี องพนักงานแต่ละคน ซึง่ กำ�หนดโดยบริษัท ซึ่งคะแนนดังกล่าวนำ�มาใช้ประกอบการพิจารณา โบนัสของพนักงาน นอกจากนี้ บริ ษั ท ยั ง นำ � มาตรฐานสากล SEDEX จาก ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นมาตรฐานเรื่องจริยธรรมทางการค้า ในเรื่อง ความยุติธรรมในการจ้างงาน สวัสดิภาพ และความปลอดภัยของ พนักงานในทีท่ �ำ งานเข้ามาใช้ในองค์กร เพือ่ รักษามาตรฐานของบริษทั ในการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้กับ พนักงานของบริษัท

5.ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

บริษัทฯ มีวิสัยทัศน์ในการดำ�เนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นการให้ บริการด้วยคุณภาพและมาตรฐานสากล และยึดหลักการดำ�เนินธุรกิจ อย่างยัง่ ยืน เพือ่ ความพึงพอใจและประโยชน์สงู สุดของลูกค้า พันธมิตร ทางธุรกิจ และผู้ถือหุ้น ดังนั้นคุณภาพของผลงานที่ส่งมอบให้แก่ ลูกค้าจึงมีความสำ�คัญเป็นอย่างมาก บริษัทฯ จึงนำ�มาตรฐานในการ ให้บริการต่างๆ อาทิ ISO 9001:2000 และ ISO 9001:2008 ซึ่งเป็น มาตรฐานด้านคุณภาพในส่วนของการออกแบบและติดตัง้ คูหาสำ�หรับ งานนิทรรศการ และมาตรฐาน ISO20121ซึง่ เป็นมาตรฐานด้านระบบ บริหารจัดการอย่างยั่งยืน เข้ามาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ และมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่างานที่ได้รับการ ส่งมอบมีความคุ้มค่า คงทน สามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้ นอกจากนี้ ยังมุง่ เน้นการสร้างความสัมพันธ์ทดี่ กี บั ลูกค้า ให้บริการด้วย ความยืดหยุน่ เป็นกันเอง และมีการรับประกันผลงานให้แก่ลกู ค้า เพือ่ สร้างความมั่นใจในงานที่ส่งมอบมากขึ้น

6.การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

บริษทั ฯ ให้ความสำ�คัญต่อความรับผิดชอบต่อสังคมในการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทดำ�เนินการและควบคุมให้การผลิต สินค้าและการให้บริการของบริษทั และบริษทั ในเครือมีการปฏิบตั ติ าม กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อมอย่างเคร่งครัด บริษทั ได้ยึดหลักองค์กรสีเขียว และเข้าร่วมโครงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการเข้าเป็นสมาชิกโครงการตาวิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ ดูแลรักษา และหลีกเลี่ยงการทำ�ลายสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการ

72

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

ออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุไม่สิ้นเปลืองและสามารถ นำ�กลับมาใช้ได้หลายครั้ง จัดหาระบบรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งที่กำ�หนด เป็นแนวทางปฏิบตั ิ และเป็นอุปกรณ์ในการดำ�เนินธุรกิจ รวมทัง้ มีการ ดำ�เนินการและปลูกจิตสำ�นึกให้กบั พนักงานในการประหยัดทรัพยากร และลดมลพิษ เช่น ลดการใช้โฟม หรือถุงพลาสติก อาทิ โครงการ K-Think คิดก่อนทิ้ง ร่วมกับสมาคมสร้างสรรค์ ไทย “ตาวิเศษ” มอบถังขยะแยกประเภท พร้อมอบรมความรู้เกี่ยว กับวิธกี ารคัดแยกขยะ และกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจถึงปัญหา และ ผลกระทบจากขยะในปัจจุบนั ให้กบั โรงเรียนบริเวณโดยรอบสำ�นักงาน โรงงาน ได้แก่ โรงเรียนศรีพฤฒา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560

7.การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม

บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม จึงมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาสังคมโดยมีนโยบาย ที่จะให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาแก่เยาวชน โดยการบริจาค แบบเรียน สื่อและอุปกรณ์เสริมทักษะเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ รวมถึง การสนับสนุนทุนการศึกษา นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบายที่จะให้ ความสนับสนุนต่อสังคมรอบข้าง ไม่วา่ จะเป็นการให้เงินสนับสนุนและ อุปกรณ์เสริมทักษะเพือ่ การเรียนรูต้ า่ งๆ แก่โรงเรียน รวมทัง้ ตอบสนอง ต่อเหตุการณ์ทมี่ ผี ลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิง่ แวดล้อมอันเนือ่ งมา จากการดำ�เนินงานของบริษทั ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีก ทั้ง บริษัทยังได้ส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทมีจิตสำ�นึกและความรับ ผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย โดยบริษัทได้จัดกิจกรรมและ ได้เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมทางการ ศึกษาของเยาวชน อาทิ บริษทั ฯ พาคณะผูบ้ ริหาร พนักงาน มอบแบบ เรียน อุปกรณ์เสริมเพื่อการเรียนรู้ รวมถึงการทำ�ความสะอาด ทาสี โรงเรียน สนามเด็กเล่น ให้กับโรงเรียนบ้านโป่งกะสัง จ.นครราชสีมา ในกิจกรรม “เชื่อมสัมพันธ์ สร้างสรรค์ สามัคคี เพื่อพัฒนา” เมื่อวัน ที่ 10 กรกฎาคม 2560 บริษัทฯ ร่วมกับธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย และ วารสารการเงินธนาคาร ในการสนับสนุนจัดทำ�ห้องสมุดแก่โรงเรียน ต่ า งๆ ในโครงการ “ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ ค อมพิ ว เตอร์ แ ละห้ อ งสมุ ด ชุมชน” มีจำ�นวน 4 โรงเรียนต่อปี ซึ่งในปี 2560 บริษัทฯได้ทำ�การ สนับสนุนที่ โรงเรียนบ้านหนองประจับ จ. เชียงใหม่, โรงเรียนบ้าน ต้นปริง จ.สงขลา, โรงเรียนวัดเหมสู จ. นครราชสีมา, โรงเรียนบ้าน ซำ�ป่าหัน จ.อุดรธานี

8.การมีนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรม ซึ่งได้จากการ ดำ�เนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ มีนโยบายด้านการดำ�เนินงานที่ตระหนักถึงผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการติดตั้งระบบควบคุมมลพิษต่างๆ ใน กระบวนการผลิต อาทิ เครือ่ งดูดฝุน่ เพือ่ กำ�จัดฝุน่ ไม้ในระหว่างการผลิต ชิ้นงาน ระบบห้องพ่นสีที่มีการติดตั้งระบบกำ�จัดกลิ่น เพื่อแปรสภาพ เป็นน้ำ�ปนกากและแยกกากสีออกจากน้ำ�ทิ้ง เพื่อนำ�ส่งให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำ�เนินการกำ�จัดต่อไป นอกจากนี้ในธุรกิจงานแสดงสินค้าและการจัดกิจกรรม บริษัทฯ มีการดำ�เนินงานด้านการผลิตชิ้นงานที่ลูกค้าสามารถนำ�กลับ ไปใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ทำ�ให้เกิดการลดใช้ทรัพยากรในการผลิต อีกทั้ง


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

73

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

เป็นการลดต้นทุนให้กับลูกค้าอีกด้วย นอกเหนือจากนวัตกรรมต่างๆ ที่ปัจจุบันบริษัทได้ดำ�เนินการอยู่ บริษัทฯ ยังไม่หยุดนิ่งที่จะศึกษา และหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำ�มาพัฒนาและปรับปรุงการดำ�เนินงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนต่อไป

การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาคุณสมบัติของบริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำ�กัด และนางสาวกรกช วนสวัสดิ์ แล้วเห็นว่ามี ความเหมาะสมเพียงพอกับการปฏิบตั หิ น้าทีด่ งั กล่าว เนือ่ งจากมีความ เป็นอิสระ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบ ภายในไม่น้อยกว่า 7 ปี นอกจากนี้ นางสาวกรกช วนสวัสดิ์ เคยเข้ารับ การอบรมในหลักสูตรทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั งิ านด้านการตรวจสอบ ภายใน ได้แก่ หลักสูตร COSO 2013 ภาคทฤษฎีและปฏิบตั ิ หลักสูตร IT Audit ของสภาวิชาชีพบัญชี ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายใน CPIAT โครงการดำ�รงและปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายใน ของหน่วยงาน และการประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการ คอร์รัปชั่น เป็นต้น ทั้งนี้ การพิจารณาและอนุมัติ แต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้ายผู้ ดำ�รงตำ�แหน่งหัวหน้างานตรวจสอบภายในของบริษัทฯ จะต้องผ่าน การอนุมตั ิ หรือได้รบั ความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ โดย คุณสมบัตขิ องผูด้ �ำ รงตำ�แหน่งหัวหน้างานตรวจสอบภายในปรากฎตาม รายละเอียดเอกสารแนบ 3 – รายละเอียดเกี่ยวกับหัวหน้างานตรวจ สอบภายใน คณะกรรมการบริษทั ได้มอบหมายให้คณะทำ�งานด้านความ เสี่ยงขององค์กรเป็นผู้มีหน้าที่ประเมิณการควบคุมภายใน โดยอ้างอิง กรอบแนวทางปฎิบัติด้านการควบคุมภายในของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission : COSO โดยบริษทั ฯ ได้ให้ความสำ�คัญต่อการควบคุมภายในอย่างต่อ เนื่อง เนื่องจากเป็นกลไกสำ�คัญที่ทำ�ให้บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจให้บรรลุ วัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การใช้ทรัพยากร และการดูแลทรัพย์สิน การรายงานข้อมูลทางการเงิน การปฎิบัติตาม กฎหมาย ระบียบและข้อบังคับต่างๆ รวมทั้งการป้องกันหรือลดความ เสี่ยงจากการกระทำ�ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ

บริษัทฯ มีการกำ�หนดนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบบรรณในการดำ�เนินธุรกิจทั้งของกรรมการ ผู้บริหารและ พนักงานของบริษัทฯ นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น และนโยบาย การแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งส่ง เสริมรณรงค์ให้พนักงานทุกคนมีจิตสำ�นึกและปฎิบัติอย่างต่องเนื่อง โดยการอบรมปฐมนิเทศน์ให้แก่พนักงานทุกปี เพื่อให้การปฎิบัติงาน เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน รวม ถึงการจัดให้มีกระบวนการติดตามและบทลงโทษอย่างชัดเจน นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัท ได้ทำ�การประเมินความ เพียงพอของระบบการควบคุมภายในประจำ�ปี ตามแนวทางของคณะ กรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต) โดยทำ�การ ประเมินการควบคุมภายในในด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. การควบคุมภายในองค์กร 2. การประเมินความเสี่ยง 3. การควบคุมการปฎิบัติงาน 4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล 5. ระบบการติดตาม ทั้งนี้คณะกรรมการ ไม่พบข้อบกพร่องที่มีนัยสำ�ตัญต่อ ระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ และมีความเพียงพอ เหมาะสมโดย จัดให้มีบุคลากรอย่างเพียงพอที่จะดำ�เนินการตามระบบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้บริษัทได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส โดยมี การประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายในครั้งล่าสุดในการ ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบของบริษทั วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

74

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

รายการระหว่างกัน 1.รายละเอียดรายการระหว่างกันของบุคคลและนิติบุคคลที่มีความขัดแย้ง 1.1 บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งและลักษณะความสัมพันธ์ บริษัทฯ มีการทำ�รายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งสามารถสรุปความสัมพันธ์ได้ดังนี้

บริษัท/บุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ลักษณะความสัมพันธ์

Kingsmen Creatives Ltd (Singapore)

ให้บริการออกแบบและผลิตงานสื่อสาร - เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 20 ในบริษัทฯ การตลาด และลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

Kingsmen Exhibits Pte Ltd (Singapore)

ให้บริการออกแบบและผลิตงานสื่อสาร - มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives การตลาด Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 100 ใน Kingsmen Exhibits Ptd Ltd

Kingsmen Project Pte Ltd (Singapore)

ให้บริการออกแบบและตกแต่งภายใน และงานพิพิธภัณฑ์

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 100 ใน Kingsmen Project Pte Ltd

Kingsmen Design Pte Ltd (Singapore)

ให้บริการที่ปรึกษาการด้านการ ออกแบบและวางแผนการจัดการ งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 100 ใน Kingsmen Design Pte Ltd

Kingsmen Environmental ให้บริการออกแบบและก่อสร้าง Graphics Pte Ltd (Singapore) งานกราฟฟิค

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 100 ใน Kingsmen Exhibits Pte Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 80 ใน Kingsmen Environmental Graphics Pte Ltd

Kingsmen Sdn Bhd (Malaysia)

ให้บริการด้านงานสื่อสารการตลาด และลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 71 ใน Kingsmen Sdn Bhd

Kingsmen-Keb Systems Sdn Bhd (Malaysia)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 71 ใน Kingsmen Sdn Bhd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 100 ใน Kingsmen-Keb Systems Sdn Bhd

Kingsmen Vietnam Co., Ltd. (Vietnam)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 90 ใน Kingsmen Indochina Pte Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 100 ใน Kingsmen Vietnam Co., Ltd.


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

บริษัท/บุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์

75

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ลักษณะความสัมพันธ์

Kingsmen Taiwan International Co. Limited (Taiwan)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 92.2 ใน Kingsmen (North Asia) Limited ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 93 ใน Kingsmen Taiwan International Co. Limited

Kingsmen Korea Limited (Korea)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 38 ใน Kingsmen Korea Limited

Kingsmen Nikko Limited (Japan)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 30 ใน Kingsmen Nikko Limited

Kingsmen Middle East LLC (UAE)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 56 ใน Kingsmen Middle East LLC

PT Kingsmen Indonesia (Indonesia)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 95 ใน PT Kingsmen Indonesia

Kingsmen Hong Kong Ltd. (Hong Kong)

ให้บริการออกแบบและผลิต งานสื่อสารการตลาด

- มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดียวกันกับบริษัทฯ ได้แก่ Kingsmen Creatives Ltd ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทฯ และถือหุ้นร้อยละ 96 ใน Kingsmen Hong Kong Ltd.

นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์

-

- เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 34.9 ในบริษัทฯ - เป็นกรรมการ และประธานกรรมการบริหารของบริษัทฯ

นางพูนสุข พิเศษสิทธิ์

-

- เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 4.7 ในบริษัทฯ - เป็นกรรมการ และกรรมการบริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน ของบริษัทฯ - เป็นภรรยานายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ ซึ่งเป็นกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ

นางอาริยา พิเศษสิทธิ์

-

- เป็นภรรยานายพิทักษ์ พิเศษสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 4.6 ในบริษัทฯ และเป็นพี่ชายของนายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์ ซึ่งเป็น กรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

76

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

1.2 รายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบุคคลที่อาจมีความขัด แย้งทางผลประโยชน์ สำ�หรับรอบปีบญ ั ชีสนิ้ สุด วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษทั ฯ มีรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สรุปได้ดังนี้

การรับเหมาช่วง (Sub-contractor) ระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทในเครือ Kingsmen บริษัทฯ ให้บริการรับเหมาช่วง (Sub-Contractor) แก่ ลูกค้าของบริษทั ในเครือ Kingsmen ทีเ่ ข้ามาใช้บริการออกแบบและ ตกแต่งงานในอาณาเขตทีบ่ ริษทั ฯ ได้ให้บริการตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า (License Agreement) โดย บริษัทในเครือ Kingsmen เป็นผู้รับงานทำ�สัญญา และรับเงินจาก ลูกค้า อย่างไรก็ตามบริษัทฯ และบริษัทในเครือ Kingsmen อาจมี การเข้ารับงานร่วมกันและแบ่งปันผลประโยชน์จากกำ�ไรทีไ่ ด้รบั ในบาง งาน โดยอัตรากำ�ไรส่วนเพิม่ (Profit Margin) ทีบ่ ริษทั ฯ ได้รบั จากงาน ดังกล่าวนั้น สามารถเทียบเคียงได้กับอัตรากำ�ไรที่บริษัทฯ ได้รับจาก บุคคลภายนอก บริษทั ฯ ใช้บริการรับเหมาช่วง (Sub-Contractor) จาก บริษัทในเครือ Kingsmen โดยบริษัทฯ เป็นผู้ทำ�สัญญาและรับเงิน จากลูกค้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ อาจใช้บริการรับเหมาช่วง ในบางงานจากบริษทั ในเครือ Kingsmen อาจมีการเข้ารับงานร่วมกัน และแบ่งปันผลประโยชน์จากกำ�ไรทีไ่ ด้รบั ในบางงาน โดยกำ�ไรส่วนเพิม่ (Profit Margin) ที่บริษัทฯ ได้รับจากงานดังกล่าวนั้น สามารถเทียบ เคียงได้กับอัตรากำ�ไรที่บริษัทฯ ได้รับจากบุคคลภายนอกเช่นกัน

การใช้ชื่อทางการค้า และเครื่องหมายการค้า Kingsmen บริ ษั ท ฯ มี ข้ อ ตกลงในสั ญ ญาร่ ว มกั บ Kingsmen Creatives Ltd. (Singapore) เพือ่ ชำ�ระค่าธรรมเนียมรายปีในการใช้ ชื่อทางการค้า และเครื่องหมายการค้า Kingsmen โดยค่าธรรมเนียม เป็นไปตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า (License Agreement) โดยมีสตู รคำ�นวณอัตราค่าธรรมเนียมเป็นแบบ อัตราที่ลดลงร้อยละ 0.5 ถึงร้อยละ 1.5 ของยอดขายของบริษัทฯ แต่ รวมไม่เกินกว่า 148,000 เหรียญสิงค์โปร์ตอ่ ปี ทัง้ นีอ้ ตั ราค่าธรรมเนียม ดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกันกับที่ Kingsmen Creatives Ltd. ได้ให้กับ บริษัทในเครือ Kingsmen ทั่วไป

การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้ทำ�สัญญากับ นางอาริยา พิเศษสิทธิ์ เพื่อเช่าที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ ตั้งอยู่ที่ 83 ถนนหมู่บ้านบางเตย ตำ�บลบางเตย อำ�เภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

พื้นที่รวม 1,812 ตารางเมตร โดยบริษัทฯ ได้ทำ�สัญญาเช่า 10 ปี โดยมีอัตราดังนี้

ปีที่

ราคาผู้ประเมินอิสระ

1-3 4-6 7-10

83,452 91,797 100,977

จากตัวเลขค่าเช่าตามตารางนี้ จะแสดงให้เห็นว่าเป็นราคาเทียบเคียงได้กับราคาประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ ซึ่งมีเงื่อนไขการชำ�ระเงิน ที่เป็นปกติธุรกิจ และสัญญาเริ่มตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ถึง 31 มกราคม 2568 และสามารถต่อสัญญาได้อีกคราวละ 10 ปี


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

77

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ในปี 2560 บริษัทฯ มีการทำ�รายการระหว่างกันกับบุคคล ทีเ่ กีย่ วข้องกันหลายรายการทีส่ �ำ คัญ ซึง่ การทำ�รายการดังกล่าวมีความ จำ�เป็นและสมเหตุสมผล เนือ่ งจากเป็นการดำ�เนินธุรกิจตามปกติ และ สนับสนุนธุรกิจปกติของบริษัทฯ โดยมีการกำ�หนดราคาของการทำ� รายการต่างๆทีส่ ามารถเทียบเคียงได้กบั ราคาตลาด หรือราคาประเมิน โดยผู้ประเมินอิสระ หรือเป็นอัตรากำ�ไรที่สามารถเทียบเคียงได้กับ อัตรากำ�ไรที่บริษัทฯได้รับจากบุคคลภายนอก หรือเป็นราคาเดียวกัน กับที่ Kingsmen Creatives Ltd. ได้ให้กับบริษัทในเครือ Kingsmen ซึง่ การทำ�รายการระหว่างกันต่างๆทีผ่ า่ นมา ล้วนมีความสมเหตุสมผล และมีราคาที่ยุติธรรม

คณะกรรมการตรวจสอบได้ พิ จ ารณารายการระหว่ า ง กันดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีความเห็นว่ามีความจำ�เป็นและสมเหตุสม ผล ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ (รายละเอียดในหัวข้อ 1.2 รายการระหว่างกันของบริษทั ฯ กับบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผล ประโยชน์)

มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำ�รายการระหว่างกัน บริษัทฯ กำ�หนดนโยบายและขั้นตอนในการทำ�รายการ ระหว่างกันของบริษัทฯและบริษัทย่อยกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ มีสว่ นได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในอนาคตกับบริษัทฯ อาทิ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มี อำ�นาจควบคุม หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันนั้น บริษัทฯจะปฏิบัติตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ประกาศ และคำ�สั่งของคณะกรรมการกำ�กับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนได้เสียจะไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วม ในการพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าวได้ ในกรณีที่กฎหมายกำ�หนดให้รายการระหว่างกันนั้นต้อง ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ บริษัทฯจะจัดให้มี คณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาและให้ความ เห็นเกีย่ วกับความจำ�เป็นในการทำ�รายการและความสมเหตุสมผลของ รายการนั้นๆ ทั้งนี้ ในการเข้าทำ�รายการที่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่มี เงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป และรายการที่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่ไม่ เป็นเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักการดังนี้ ก. การทำ�รายการที่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่มีเงื่อนไขการค้าโดย ทั่วไป คณะกรรมการบริษทั ฯได้อนุมตั เิ ป็นหลักการให้ฝา่ ยจัดการ สามารถอนุมตั กิ ารทำ�รายการระหว่างกันทีเ่ ป็นข้อตกลงทางการค้าทีม่ ี เงื่อนไขการค้าโดยทั่วไประหว่างบริษัทฯและบริษัทย่อย กับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องได้ หากรายการดังกล่าวนั้นมี ข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำ�กับคู่ สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำ�นาจต่อรองทางการค้าที่ ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (แล้วแต่กรณี)

ทัง้ นี้ บริษทั ฯจะจัดทำ�รายงานสรุปการทำ�ธุรกรรมดังกล่าวเพือ่ รายงาน ในการประชุม คณะกรรมการตรวจสอบ และการประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯทุกไตรมาส ข. การทำ�รายการที่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่ไม่เป็นเงื่อนไขการ ค้าโดยทั่วไป การทำ�รายการที่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่ไม่เป็นเงื่อนไข การค้าโดยทั่วไปจะต้องได้รับการพิจารณาและให้ความเห็นโดยคณะ กรรมการตรวจสอบก่อนนำ�เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯหรือที่ ประชุมผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ให้ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้ง ข้อบังคับ ประกาศ และคำ�สั่งของคณะกรรมการกำ�กับตลาดทุน และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำ�หนด เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกัน ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำ�นาญใน การพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจจะเกิดขึ้น บริษัทฯจะแต่งตั้งผู้ เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยว กับรายการระหว่างกันดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ คณะ กรรมการบริษัทฯ หรือผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) ใช้เป็นข้อมูลประกอบ การตัดสินใจ เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าการเข้าทำ�รายการดังกล่าวมีความจำ�เป็น และมีความสมเหตุสมผล โดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯเป็น สำ�คัญ ทั้งนี้ บริษัทฯจะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ในแบบแสดง รายการข้อมูลประจำ�ปี และหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการ ตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

78

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

นโยบายและแนวโน้มการทำ�รายการระหว่างกันในอนาคต บริษัทฯ คาดว่ารายการระหว่างกันที่เกิดจากการประกอบ ธุรกิจปกติและสนับสนุนธุรกิจปกติของบริษัทฯ เช่น การรับเหมาช่วง (Sub-contracts) ระหว่างบริษทั ฯ กับบริษทั ในเครือ Kingsmen การ ใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า Kingsmen การซื้ออุปกรณ์ หรือบริการส่วนกลางที่ใช้ภายในบริษัทในเครือ Kingsmen และการ เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ จะยังคงมี อยู่ต่อไป แต่สำ�หรับการค้ำ�ประกันเงินกู้ยืมให้แก่บริษัทฯ นั้น บริษัทฯ อาจได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวจากสถาบันการเงิน ภายหลัง จากที่บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากบริษทั ฯ มิได้รบั การผ่อนปรนเงือ่ นไขดังกล่าวจาก สถาบันการเงิน กรรมการและผูถ้ อื หุน้ ดังกล่าวของบริษทั ฯ จะยังคงค�้ำ ประกันเงินกู้ยืมให้แก่บริษัทฯ ต่อไป โดยไม่มีการคิดค่าตอบแทนใดๆ โดยรายการระหว่างกันที่ยังคงมีต่อไปหรืออาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต จะมีการกำ�หนดนโยบายการคิดราคาระหว่างกันอย่างชัดเจน ตาม

ราคาและเงื่อนไขตลาดที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่ก่อให้เกิดการ ถ่ายเทผลประโยชน์ รวมทั้งคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยเป็นสำ�คัญ โดยคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ จะ สอบทานและให้ความเห็นต่อรายการระหว่างกันที่เป็นรายการธุรกิจ ปกติหรือสนับสนุนธุรกิจปกติเป็นรายไตรมาส รายการระหว่ า งกั น ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในอนาคตนั้ น คณะ กรรมการบริษทั จะต้องปฏิบตั ใิ ห้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อบังคับ ประกาศ และคำ�สั่งของคณะ กรรมการกำ � กั บ ตลาดทุ น และตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำ�หนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำ� รายการเกี่ยวโยงกันของบริษัท หรือบริษัทย่อยตามมาตรฐานการ บัญชีที่กำ�หนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่ง ประเทศไทย


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

79

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

งบการเงินของบริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) และงบการเงินรวมของบริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้จัดทำ�ขึ้นตามข้อกำ�หนดพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554 ออกตามความในมาตรา 11 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดยปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ประกาศใช้โดยสภา วิชาชีพบัญชีฯ คณะกรรมการบริษัทฯ รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัทฯที่จัดทำ�ขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจว่าได้แสดงฐานะ การเงิน ผลการดำ�เนินงาน และกระแสเงินสดถูกต้องในสาระสำ�คัญ และจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล มีการ บันทึกข้อมูลทางบัญชีทถี่ กู ต้อง ครบถ้วน และเพียงพอทีจ่ ะดำ�รงรักษาไว้ซงึ่ ทรัพย์สนิ รวมทัง้ ป้องกันการทุจริตและการดำ�เนินการ ที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำ�คัญ ในการจัดทำ�รายงานทางการเงิน ได้มีการพิจารณาเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติ โดยสม่ำ�เสมอ และเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมทั้งได้มีการเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุ ประกอบการเงิน ซึง่ ผูส้ อบบัญชีได้แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) และงบการเงิน รวมของบริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ จำ�กัด (มหาชาน) และบริษัทย่อย ไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

(นายชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์) ประธานกรรมการ บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน)


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

80

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

81

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

82

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

AST MASTER

บริษัท เอเอสที มาสเตอร์ จากัด 790/12 ทองหล่ อทาวเวอร์ ซอยทองหล่ อ 18 ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุ งเทพฯ 10110 โทร : 0-2714-8842-3, 0-2185-0342 แฟ็ กซ์ : 0-2185-0225

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ คณะกรรมการและผูถ้ ือหุน้ บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) ความเห็น ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงิ น รวมของบริ ษัท คิงส์ เมน ซี .เอ็ม .ที.ไอ. จากัด (มหาชน) และบริ ษัทย่ อย (“กลุ่มบริ ษทั ”) ซึ่ งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวม งบแสดงการเปลี่ ย นแปลง ส่ วนของผูถ้ ือหุ้นรวม และงบกระแสเงินสดรวม สาหรับปี สิ้นสุดวันเดียวกัน และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม รวมถึง หมายเหตุสรุ ปนโยบายการบัญชี ที่สาคัญ และได้ตรวจสอบงบการเงิ นเฉพาะกิ จการของบริ ษัท คิงส์ เมน ซี .เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ผลการดาเนิ นงานและกระแสเงินสด สาหรับปี สิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย และเฉพาะของบริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสาคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เกณฑ์ ในการแสดงความเห็น ข้าพเจ้าได้ป ฏิ บัติ งานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญ ชี ความรั บ ผิ ด ชอบของข้าพเจ้าได้ก ล่ าวไว้ในวรรคความ รับผิดชอบของผูส้ อบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงินในรายงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเป็ นอิสระจากกลุ่มบริ ษทั ตาม ข้อกาหนดจรรยาบรรณของผูป้ ระกอบวิชาชี พบัญชี ที่กาหนดโดยสภาวิชาชี พบัญชี ในส่ วนที่ เกี่ ยวข้องกับการตรวจสอบ งบการเงิน และข้าพเจ้าได้ปฏิบตั ิตามความรับผิดชอบด้านจรรยาบรรณอื่นๆซึ่ งเป็ นไปตามข้อกาหนดเหล่านี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า หลักฐานการสอบบัญชีที่ขา้ พเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็ นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า เรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ เรื่ อ งส าคัญ ในการตรวจสอบคื อ เรื่ อ งต่ างๆที่ มี นัยสาคัญ ที่ สุด ตามดุ ล ยพิ นิ จเยี่ย งผูป้ ระกอบวิช าชี พ ของข้าพเจ้าในการ ตรวจสอบงบการเงิ น สาหรับ งวดปั จจุ บัน ข้าพเจ้าได้น าเรื่ องเหล่านี้ มาพิจารณาในบริ บทของการตรวจสอบงบการเงิ น โดยรวมและในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ทั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้แสดงความเห็นแยกต่างหากสาหรับเรื่ องเหล่านี้

หน้า 2


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

83

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

AST MASTER บริษัท เอเอสที มาสเตอร์ จากัด เรื่ องสาคัญในการตรวจสอบพร้อมวิธีการตรวจสอบมีดงั ต่อไปนี้ การรับรู้ รายได้ งานก่ อสร้ างตกแต่ งสถานที่ กลุ่มบริ ษทั รับรู้รายได้จากงานก่อสร้างตกแต่งสถานที่ตามอัตราส่ วนของงานก่อสร้างที่แล้วเสร็ จตามวิธีอตั ราส่ วนของงาน ที่ทาเสร็ จคานวณโดยการเปรี ยบเทียบต้นทุนงานที่เกิดขึ้นแล้วจนถึงวันสิ้ นปี กับต้นทุนงานทั้งหมดที่ คาดว่าจะใช้ในการทางาน ตามสัญญา โดยกลุ่มบริ ษทั ได้เปิ ดเผยนโยบายการรับรู ้รายได้จากงานก่อสร้างตกแต่งสถานที่ ประมาณการต้นทุนโครงการไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4.15 เนื่องจากรายได้จากงานก่อสร้างตกแต่งสถานที่กลุ่มบริ ษทั รับรู ้ในงบกาไรขาดทุนเป็ น จานวนเงินที่มีสาระสาคัญเมื่อเปรี ยบเทียบกับรายได้รวมของกลุ่มบริ ษทั (คิดเป็ นร้อยละ 46 ของยอดรายได้รวมของกลุ่มบริ ษทั ) ตามที่ เปิ ดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิ นข้อ 25 นอกจากนี้ กระบวนการในการวัดมูลค่า รวมถึ งรอบระยะเวลาที่ เหมาะสมในการรับรู ้รายได้เป็ นเรื่ องที่ตอ้ งใช้ดุลยพินิจของผูบ้ ริ หารในการประเมินต้นทุนงานที่คาดว่าจะใช้ในการทางานตาม สัญญา ดังนั้นข้าพเจ้าจึ งพิจารณาว่าการรับรู ้รายได้จากงานก่ อสร้างตกแต่งสถานที่ เป็ นรายการที่ มี ผลกระทบต่องบการเงิ น โดยรวมอย่างเป็ นสาระสาคัญ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบเรื่ องการรับรู ้รายได้จากงานก่อสร้างตกแต่งสถานที่ โดยการประเมินความเหมาะสมและทดสอบระบบ การควบคุมภายในที่ เกี่ ยวข้องกับวิธีการที่ ฝ่ายบริ หารใช้ในการติดตามและพิจารณาความสมเหตุสมผลของการประเมิน ขั้น ความสาเร็ จของงานก่ อสร้ างตกแต่ งสถานที่ และการประมาณการต้นทุ นโครงการก่ อสร้ าง รวมถึ งการทดสอบความมี ประสิ ทธิ ภาพของระบบการควบคุมภายในที่ เกี่ ยวข้องกับการจัดซื้ อจัดจ้างและการบันทึ กต้นทุนของงานก่อสร้าง ข้าพเจ้าได้ พิจารณาความสมเหตุสมผลของการประเมินขั้นความสาเร็ จ การประมาณการต้นทุนโครงการก่อสร้าง โดยการสอบถามฝ่ าย บริ หาร วิเคราะห์เปรี ยบเทียบขั้นความสาเร็ จที่ คานวณโดยการเปรี ยบเที ยบต้นทุนโครงการที่ เกิดขึ้นแล้วจนถึงวันสิ้ นปี กับ ประมาณการต้นทุนโครงการที่คาดว่าจะใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดกับขั้นความสาเร็ จที่ประเมินโดยผูจ้ ดั การโครงการ อ่าน สัญญาบริ การและวิเคราะห์เปรี ยบเทียบอัตรากาไรขั้นต้นเพื่อตรวจสอบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ข้ อมูลอื่น ผูบ้ ริ หารเป็ นผูร้ ับผิดชอบต่อข้อมูลอื่น ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่รวมอยูใ่ นรายงานประจาปี ของบริ ษทั แต่ไม่รวมถึงงบการเงินและ รายงานของผูส้ อบบัญชีที่แสดงอยูใ่ นรายงานนั้น ซึ่งคาดว่าจะถูกจัดเตรี ยมให้กบั ข้าพเจ้าภายหลังวันที่ในรายงานของผูส้ อบบัญชีน้ ี ความเห็นของข้าพเจ้าต่องบการเงินไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลอื่นและข้าพเจ้าไม่ได้ให้ขอ้ สรุ ปในลักษณะการให้ความเชื่อมัน่ ใน รู ปแบบใดๆ ต่อข้อมูลอื่น ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าที่เกี่ยวเนื่ องกับการตรวจสอบงบการเงินคือ การอ่านและพิจารณาว่าข้อมูลอื่นนั้นมีความขัดแย้ง ที่มีสาระสาคัญกับงบการเงินหรื อกับความรู ้ที่ได้รับจากการตรวจสอบของข้าพเจ้าหรื อไม่ หรื อปรากฏว่าข้อมูลอื่นแสดงขัด ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญหรื อไม่ เมื่ อ ข้าพเจ้าได้อ่ านรายงานประจ าปี ของบริ ษ ัท ตามที่ ก ล่ าวข้างต้น แล้ว และหากสรุ ป ได้ว่ามี ก ารแสดงข้อ มู ล ที่ ข ัด ต่ อ ข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญ ข้าพเจ้าจะสื่ อสารเรื่ องดังกล่าวให้ผมู ้ ีหน้าที่ ในการกากับดูแลทราบเพื่อให้มีการดาเนิ นการ แก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

หน้า 3


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

84

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

AST MASTER บริษัท เอเอสที มาสเตอร์ จากัด ความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้มหี น้ าทีใ่ นการกากับดูแลต่ องบการเงิน ผูบ้ ริ หารมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทาและนาเสนองบการเงินเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผบู ้ ริ หารพิจารณาว่าจาเป็ นเพื่อให้สามารถจัดทางบการเงินที่ ปราศจาก การแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริ ตหรื อข้อผิดพลาด ในการจัดทางบการเงินผูบ้ ริ หารรับผิดชอบในการประเมินความสามารถของบริ ษทั ในการดาเนิ นงานต่อเนื่อง การเปิ ดเผย เรื่ องที่เกี่ยวกับการดาเนินงานต่อเนื่องในกรณี ที่มีเรื่ องดังกล่าว และการใช้เกณฑ์การบัญชีสาหรับกิจการที่ดาเนินการต่อเนื่อง เว้นแต่ผบู ้ ริ หารมีความตั้งใจที่จะเลิกบริ ษทั หรื อหยุดดาเนินงานหรื อไม่สามารถดาเนินงานต่อเนื่องอีกต่อไปได้ ผูม้ ีหน้าที่ในการกากับดูแลมีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลกระบวนการในการจัดทารายงานทางการเงินของบริ ษทั ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงิน การตรวจสอบของข้าพเจ้ามีวตั ถุประสงค์เพื่อให้ได้ความเชื่อมัน่ อย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินโดยรวมปราศจากการแสดง ข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญหรื อไม่ ไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริ ตหรื อข้อผิดพลาด และเสนอรายงานของผูส้ อบบัญชี ซึ่ งรวมความเห็ นของข้าพเจ้าอยูด่ ว้ ย ความเชื่อมัน่ อย่างสมเหตุสมผลคือความเชื่อมัน่ ในระดับสู งแต่ไม่ได้เป็ นการรับประกัน ว่าการปฏิบตั ิงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีจะสามารถตรวจพบข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญที่มี อยูไ่ ด้เสมอไป ข้อมูลที่ ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอาจเกิ ดจากการทุจริ ตหรื อข้อผิดพลาดและถือว่ามีสาระสาคัญเมื่อคาดการณ์อย่าง สมเหตุสมผลได้วา่ รายการที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งแต่ละรายการหรื อทุกรายการรวมกันจะมีผลต่อการตัดสิ นใจทางเศรษฐกิจของ ผูใ้ ช้งบการเงินจากการใช้งบการเงินเหล่านี้ ในการตรวจสอบของข้าพเจ้าตามมาตรฐานการสอบบัญชี ข้าพเจ้าใช้ดุลยพินิจและการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผูป้ ระกอบ วิชาชีพตลอดการตรวจสอบ และข้าพเจ้าได้ปฏิบตั ิงานดังต่อไปนี้ดว้ ย • ระบุและประเมินความเสี่ ยงที่อาจมีการแสดงข้อมูลที่ขดั ต่อข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญในงบการเงินไม่วา่ จะเกิดจาก การทุจริ ตหรื อข้อผิดพลาด ออกแบบและปฏิบตั ิงานตามวิธีการตรวจสอบเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ ยงเหล่านั้น และได้ หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อเป็ นเกณฑ์ในการแสดงความเห็ นของข้าพเจ้า ความเสี่ ยงที่ไม่พบ ข้อมูลที่ ขดั ต่อข้อเท็ จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญ ซึ่ งเป็ นผลมาจากการทุ จริ ตจะสู งกว่าความเสี่ ยงที่ เกิ ดจากข้อผิดพลาด เนื่องจากการทุจริ ตอาจเกี่ยวกับการสมรู ้ร่วมคิด การปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน การตั้งใจละเว้นการแสดงข้อมูล การ แสดงข้อมูลที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริ งหรื อการแทรกแซงการควบคุมภายใน • ทาความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม กับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อความมีประสิ ทธิผลของการควบคุมภายในของบริ ษทั • ประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผบู ้ ริ หารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีและการ เปิ ดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ผบู ้ ริ หารจัดทา

หน้า 4


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

85

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

AST MASTER บริษัท เอเอสที มาสเตอร์ จากัด • สรุ ปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้เกณฑ์การบัญชี สาหรับการดาเนิ นงานต่อเนื่ องของผูบ้ ริ หารและจากหลักฐาน การสอบบัญชีที่ได้รับ สรุ ปว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสาคัญที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรื อสถานการณ์ที่อาจเป็ นเหตุให้ เกิดข้อสงสัยอย่างมีนัยสาคัญต่อความสามารถของบริ ษทั ในการดาเนิ นงานต่อเนื่ องหรื อไม่ ถ้าข้าพเจ้าได้ขอ้ สรุ ปว่ามี ความไม่แน่ นอนที่ มีสาระสาคัญ ข้าพเจ้าต้องกล่าวไว้ในรายงานของผูส้ อบบัญชีของข้าพเจ้า โดยให้ขอ้ สังเกตถึงการ เปิ ดเผยข้อ มู ล ในงบการเงิ น ที่ เกี่ ย วข้อ ง หรื อ ถ้าการเปิ ดเผยข้อ มู ล ดัง กล่ าวไม่ เพี ย งพอ ความเห็ น ของข้า พเจ้าจะ เปลี่ยนแปลงไป ข้อสรุ ปของข้าพเจ้าขึ้นอยูก่ บั หลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับจนถึงวันที่ในรายงานของผูส้ อบบัญชีของ ข้าพเจ้า อย่างไรก็ตามเหตุการณ์หรื อสถานการณ์ในอนาคตอาจเป็ นเหตุให้บริ ษทั ต้องหยุดการดาเนินงานต่อเนื่อง • ประเมินการนาเสนอโครงสร้างและเนื้อหาของงบการเงินโดยรวม รวมถึงการเปิ ดเผยข้อมูลว่างบการเงินแสดงรายการ และเหตุการณ์ในรู ปแบบที่ทาให้มีการนาเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรหรื อไม่ • รวบรวมเอกสารหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินของเงินลงทุนที่บนั ทึกตาม วิธีส่วนได้เสี ยของบริ ษทั เพื่อแสดงความเห็ นต่องบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสี ย ข้าพเจ้ารับผิดชอบต่อ การกาหนดแนวทางการควบคุมดูแล และการปฏิ บัติงานตรวจสอบงบการเงิ นที่ แสดงเงิ นลงทุ นตามวิธีส่วนได้เสี ย ข้าพเจ้าเป็ นผูร้ ับผิดชอบแต่เพียงผูเ้ ดียวต่อความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้สื่อสารกับผูม้ ีหน้าที่ ในการกากับดูแลในเรื่ องต่างๆ ที่สาคัญ ซึ่ งรวมถึงขอบเขตและช่วงเวลาของการตรวจสอบ ตามที่ ได้วางแผนไว้ ประเด็นที่ มีนัยสาคัญที่ พบจากการตรวจสอบรวมถึงข้อบกพร่ องที่ มีนัยสาคัญในระบบการควบคุ ม ภายในหากข้าพเจ้าได้พบในระหว่างการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ให้คารับรองแก่ผมู ้ ีหน้าที่ ในการกากับดูแลว่า ข้าพเจ้าได้ปฏิบตั ิตามข้อกาหนดจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับความ เป็ นอิสระและได้สื่อสารกับผูม้ ีหน้าที่ในการกากับดูแลเกี่ ยวกับความสัมพันธ์ท้ งั หมดตลอดจนเรื่ องอื่นซึ่ งข้าพเจ้าเชื่ อว่ามี เหตุผลที่บุคคลภายนอกอาจพิจารณาว่ากระทบต่อความเป็ นอิสระของข้าพเจ้าและมาตรการที่ ขา้ พเจ้าใช้เพื่อป้ องกันไม่ให้ ข้าพเจ้าขาดความเป็ นอิสระ จากเรื่ องทั้งหลายที่สื่อสารกับผูม้ ีหน้าที่ในการกากับดูแล ข้าพเจ้าได้พิจารณาเรื่ องต่าง ๆ ที่มีนยั สาคัญที่สุดในการตรวจสอบ งบการเงินในงวดปั จจุบนั และกาหนดเป็ นเรื่ องสาคัญในการตรวจสอบ ข้าพเจ้าได้อธิบายเรื่ องเหล่านี้ ไว้ในรายงานของผูส้ อบบัญชี เว้นแต่กฎหมายหรื อข้อบังคับห้ามไม่ให้เปิ ดเผยเรื่ องดังกล่าวต่อสาธารณะ หรื อในสถานการณ์ ที่ยากที่ จะเกิ ดขึ้นข้าพเจ้า พิ จ ารณาว่า ไม่ ค วรสื่ อ สารเรื่ อ งดัง กล่ าวในรายงานของข้าพเจ้า เพราะการกระท าดัง กล่ าวสามารถคาดการณ์ ไ ด้อ ย่า ง สมเหตุสมผลว่าจะมีผลกระทบในทางลบมากกว่าผลประโยชน์ที่ผมู ้ ีส่วนได้เสี ยสาธารณะจะได้จากการสื่ อสารดังกล่าว

นางสาวนงราม เลาหอารี ดิลก ผูส้ อบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 4334 บริ ษทั เอเอสที มาสเตอร์ จากัด วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 หน้า 5


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

86

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษทั คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษทั ย่อย งบแสดงฐำนะกำรเงิน ณ วันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม สินทรัพย์หมุนเวียน

สิ นทรัพย์

หมายเหตุ

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

6

เงินลงทุนชัว่ คราว - เงินฝากประจา

7

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

8

วัสดุคงเหลือและงานระหว่างทา รวมสิ นทรัพย์หมุนเวียน

2560 95,030,026 -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559

172,602,412 50,000,000

2560 89,479,471 -

2559 169,830,349 50,000,000

442,994,200

335,513,717

453,399,360

342,170,551

3,271,234

3,518,707

3,271,234

3,518,707

541,295,460

561,634,836

546,150,065

565,519,607

13,930,151

13,325,056

13,930,151

13,325,056

10,153,973

5,139,473

สิ นทรัพย์ ไม่ หมุนเวียน เงินฝากประจาที่ติดภาระค้าประกัน

9

เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย

10

-

-

เงินลงทุนระยะยาวอื่น

11

-

-

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

12

100,822,726

อสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน - ที่ดิน

13

17,763,270

ต้นทุนอุปกรณ์รอตัดบัญชี

14

7,337,990

11,553,652

7,337,990

11,553,652

สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน

15

3,636,297

3,460,252

3,573,875

3,365,045

สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

24

5,874,712

3,796,145

5,874,712

3,796,145

ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรี ยกคืน

43,268,251

29,146,952

43,115,259

29,120,299

เงินประกันและเงินมัดจา

13,521,168

11,663,871

13,521,168

11,663,871

206,154,565

169,040,583

215,221,334

173,000,110

747,450,025

730,675,419

761,371,399

738,519,717

รวมสิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

96,094,655 -

99,950,936 17,763,270

95,036,569 -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หน้า 6


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

87

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษทั คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษทั ย่อย งบแสดงฐำนะกำรเงิน (ต่ อ) ณ วันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม หนีส้ ิ นและส่ วนของผู้ถือหุ้น หนีส้ ิ นหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินส่วนที่ครบกาหนดชาระในหนึ่งปี หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน หนีส้ ิ นไม่ หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนีส้ ิน ส่ วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรื อนหุน้ ทุนจดทะเบียน หุน้ สามัญ 220,000,000 หุน้ มูลค่าหุน้ ละ 0.50 บาท

หมายเหตุ

2560

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559

2560

2559

16 17

315,271,391 2,295,641 2,973,414 320,540,446

269,449,599 1,614,556 1,759,023 272,823,178

315,056,827 2,295,641 2,973,414 320,325,882

268,223,390 1,614,556 1,759,023 271,596,969

17 18

3,387,549 14,059,544 17,447,093 337,987,539

1,390,523 12,200,345 13,590,868 286,414,046

3,387,549 14,059,544 17,447,093 337,772,975

1,390,523 12,200,345 13,590,868 285,187,837

19

110,000,000

110,000,000

110,000,000

110,000,000

ทุนที่ออกและชาระแล้ว หุน้ สามัญ 219,999,984 หุน้ มูลค่าหุน้ ละ 0.50 บาท ส่ วนเกินมูลค่าหุน้ กาไร(ขาดทุน)สะสม ทุนสารองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จดั สรร องค์ประกอบอื่นของส่วนของผูถ้ ือหุน้ รวมส่ วนของผู้ถือหุ้น

109,999,992 277,491,764

109,999,992 277,491,764

109,999,992 277,491,764

109,999,992 277,491,764

11,000,000 10,544,005 426,725 409,462,486

11,000,000 45,720,209 49,408 444,261,373

11,000,000 25,106,668 423,598,424

11,000,000 54,840,124 453,331,880

รวมหนีส้ ินและส่ วนของผู้ถือหุ้น

747,450,025

730,675,419

761,371,399

738,519,717

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หน้า 7


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

88

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขำดทุนเบ็ดเสร็จ สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

รายได้จากการให้บริ การ

2560 1,147,994,068

2559 1,179,248,747

2560 1,133,334,591

2559 1,173,093,431

ต้นทุนการให้บริ การ

(1,053,341,230)

(995,417,433)

(1,039,484,230)

(988,878,957)

กำไรขั้นต้ น

94,652,838

183,831,314

93,850,361

184,214,474

รายได้อื่น

2,149,015

2,882,225

2,149,015

2,882,225

กำไรก่ อนค่ ำใช้ จ่ำย

96,801,853

186,713,539

95,999,376

187,096,699

ค่าใช้จ่ายในการขาย

(9,788,700)

(8,881,556)

(9,566,603)

(8,829,465)

(103,795,892)

(98,792,084)

(97,772,764)

(93,688,704)

(113,584,592)

(107,673,640)

(107,339,367)

(102,518,169)

(16,782,739)

79,039,899

(11,339,991)

84,578,530

(672,033)

(444,386)

(672,033)

(444,386)

(17,454,772)

78,595,513

(12,012,024)

84,134,144

2,078,567

(17,201,348)

2,078,567

(17,201,348)

(15,376,205)

61,394,165

(9,933,457)

66,932,796

ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร รวมค่าใช้จ่าย กำไร(ขำดทุน)ก่ อนต้ นทุนทำงกำรเงินและรำยได้ (ค่ ำใช้ จ่ำย)ภำษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน กำไร(ขำดทุน)ก่ อนรำยได้ (ค่ ำใช้ จ่ำย)ภำษีเงินได้ รายได้(ค่าใช้จ่าย)ภาษีเงินได้

24

กำไร(ขำดทุน)สำหรับปี กำไรขำดทุนเบ็ดเสร็จอื่น รำยกำรทีจ่ ะไม่ ถูกจัดประเภทใหม่ ไว้ ในกำไรหรื อขำดทุนในภำยหลัง การวัดมูลค่าใหม่ของภาระผูกพันผลประโยชน์หลังออกจากงาน ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย

-

(1,353,904)

-

(1,353,904)

หัก ผลกระทบของภาษีเงินได้

-

270,781

-

270,781

377,317

24,144

-

(14,998,888)

60,335,186

(9,933,457)

65,849,673

(15,376,205)

61,394,165

(9,933,457)

66,932,796

(14,998,888)

60,335,186

(9,933,457)

65,849,673

(0.07)

0.28

(0.05)

0.30

219,999,984

219,999,984

219,999,984

219,999,984

รำยกำรทีอ่ ำจถูกจัดประเภทใหม่ ไว้ ในกำไรหรื อขำดทุนในภำยหลัง ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรขำดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี

-

การแบ่ งปั นกาไร(ขาดทุน)สาหรับปี ส่ วนที่เป็ นของบริ ษทั ใหญ่ การแบ่ งปั นกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ส่ วนที่เป็ นของบริ ษทั ใหญ่ กำไร(ขำดทุน)ต่ อหุ้นขั้นพืน้ ฐำน กำไร(ขำดทุน)ส่ วนที่เป็ นของบริ ษทั ใหญ่ จานวนหุ ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนัก (หุ้น) หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หน้า 8


9,999,992

21 21

หุ ้นปันผลจ่าย

เงินปันผลจ่าย กาไรสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสาหรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ่งของงบการเงินนี้

109,999,992

277,491,764

277,491,764 -

109,999,992 -

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2560 เงินปันผลจ่าย ขาดทุนสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสาหรับปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560

277,491,764

109,999,992

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559

-

-

-

277,491,764

ส่ วนเกินมูลค่าหุ้น

11,000,000

11,000,000 -

11,000,000

-

-

5,144,000

5,856,000

ตามกฎหมาย

ทุนสารอง

10,544,005

45,720,209 (19,799,999) (15,376,205) (15,376,205)

45,720,209

(17,111,120) 61,394,165 (1,083,123) 60,311,042

(9,999,992)

(5,144,000)

17,664,279

ยังไม่ได้จดั สรร

-

-

-

-

426,725

377,317 377,317

49,408

49,408

24,144 24,144

25,264

จากการแปลงค่างบการเงิน

องค์ประกอบอื่นของ ส่ วนของผูถ้ ือหุ้น กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน

หน้า 9

409,462,486

444,261,373 (19,799,999) (15,376,205) 377,317 (14,998,888)

444,261,373

(17,111,120) 61,394,165 (1,058,979) 60,335,186

-

-

401,037,307

รวม

89

21

-

ทุนสารองตามกฎหมาย -

100,000,000

ชาระแล้ว

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2559

หมายเหตุ

ทุนที่ออกและ

บาท กาไร(ขาดทุน)สะสม

สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560

งบแสดงกำรเปลีย่ นแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้นรวม

บริษทั คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษทั ย่ อย

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


9,999,992

21 21

หุน้ ปันผลจ่าย

เงินปันผลจ่าย กาไรสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสาหรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560

109,999,992

-

109,999,992

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2560

เงินปันผลจ่าย ขาดทุนสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่นสาหรับปี กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จรวมสาหรับปี

109,999,992

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559

277,491,764

-

277,491,764

277,491,764

-

-

-

277,491,764

ส่วนเกินมูลค่าหุน้

11,000,000

-

11,000,000

11,000,000

-

-

5,144,000

5,856,000

25,106,668

(19,799,999) (9,933,457) (9,933,457)

54,840,124

54,840,124

(17,111,120) 66,932,796 (1,083,123) 65,849,673

(9,999,992)

(5,144,000)

21,245,563

บาท กาไร(ขาดทุน)สะสม ทุนสารอง ตามกฎหมาย ยังไม่ได้จดั สรร

หน้า 10

423,598,424

(19,799,999) (9,933,457) (9,933,457)

453,331,880

453,331,880

(17,111,120) 66,932,796 (1,083,123) 65,849,673

-

-

404,593,327

รวม

90

21

-

ทุนสารองตามกฎหมาย -

100,000,000

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2559

หมายเหตุ

ทุนที่ออกและ ชาระแล้ว

บริษทั คิงส์ เมน ซี .เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) งบแสดงกำรเปลี่ยนแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้นเฉพำะกิจกำร สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

91

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริ ษทั คิงส์ เมน ซี .เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษทั ย่ อย งบกระแสเงินสด สำหรั บปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม กระแสเงินสดจำกกิจกรรมดำเนินงำน กาไร(ขาดทุน)ก่อนรายได้(ค่าใช้จ่าย)ภาษีเงินได้

2560

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

2559

(17,454,772)

78,595,513

(12,012,024)

84,134,144

480,738

1,689

13,069

(32,749)

หนี้ สูญและหนี้ สงสัยจะสูญ (กลับรายการ)

(160,845)

1,700,261

(160,845)

1,700,261

กลับรายการขาดทุนจากการลดมูลค่าเงินลงทุน

-

รายการปรับกระทบกาไร(ขาดทุน)เป็ นเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดาเนินงาน (กาไร)ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริ ง

ค่าเสื่ อมราคา

(65,802)

-

(65,802)

12,424,419

11,893,103

12,141,952

11,672,140

ภาษีเงินได้รอเรี ยกคืนตัดจาหน่าย

2,822,486

1,128,076

2,822,486

1,128,076

กาไรจากการจาหน่ายและตัดจาหน่ายอุปกรณ์

(217,151)

(366,405)

(217,151)

(366,405)

ค่าตัดจาหน่ายสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน

1,478,408

1,439,951

1,453,060

1,413,511

ค่าตัดจาหน่ายต้นทุนอุปกรณ์รอตัดบัญชี

4,215,662

4,262,328

4,215,662

4,262,328

ผลประโยชน์พนักงานเมื่อเกษียณอายุ

1,859,199

1,592,935

1,859,199

1,592,935

672,033

444,386

672,033

444,386

6,120,177

100,626,035

10,787,441

105,882,825

(107,340,337)

(85,583,880)

(111,088,663)

(89,621,149)

247,473

(1,286,192)

247,473

(1,286,192)

(1,857,297)

4,323,383

(1,857,297)

4,323,383

45,829,422

33,625,084

46,841,067

33,586,485

1,214,391 -

284,500 (71,100)

1,214,391 -

284,500 (71,100)

(55,786,171)

51,917,830

(53,855,588)

53,098,752

(28,826,074)

(33,297,898)

(28,699,735)

(33,271,245)

11,882,289

23,056,797

11,882,289

23,056,797

(72,729,956)

41,676,729

(70,673,034)

42,884,304

ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย กาไรจากการดาเนิ นงานก่อนการเปลี่ยนแปลง ในสิ นทรัพย์และหนี้ สินดาเนินงาน สิ นทรัพย์ดาเนิ นงานลดลง(เพิ่มขึ้น) ลูกหนี้ การค้าและลูกหนี้ อื่น วัสดุคงเหลือและงานระหว่างทา เงินประกันและเงินมัดจา หนี้ สินดาเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้ การค้าและเจ้าหนี้ อื่น หนี้ สินหมุนเวียนอื่น ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานเมื่อเกษียณอายุ เงินสดรับ(จ่ำย)จำกกำรดำเนินงำน จ่ายภาษีเงินได้ รับคืนภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจาก(ใช้ไปใน)กิจกรรมดาเนินงาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หน้า 11


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

92

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริ ษทั คิงส์ เมน ซี .เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษทั ย่ อย งบกระแสเงินสด (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม กระแสเงินสดจำกกิจกรรมลงทุน เงินลงทุนชัว่ คราวลดลง

2560 50,000,000

เงินฝากประจาที่ติดภาระค้าประกัน(เพิ่มขึ้น)ลดลง

(605,095)

เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในบริ ษทั ย่อย

-

2559 15,979,046 -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559 50,000,000

-

(605,095)

15,979,046

(5,014,500)

(3,510,000)

253,058 (30,582,830) (1,661,890) 12,388,743

65,802 634,728 (35,773,549) (1,284,450) (23,888,423)

เงินสดรับจากการเลิกกิจการบริ ษทั อื่น เงินสดรับจากการจาหน่ายอุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้ อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ข้อมูลกระแสเงินสดเพิ่มเติม) เงินสดจ่ายเพื่อซื้ อสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน-โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เงินสดสุ ทธิ ได้มาจาก(ใช้ไปใน)กิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจำกกิจกรรมจัดหำเงิน

253,058 (30,761,916) (1,661,890) 17,224,157

65,802 634,728 (36,302,484) (1,284,450) (20,907,358)

จ่ายดอกเบี้ย จ่ายชาระหนี้ สินตามสัญญาเช่าการเงิน จ่ายชาระเงินกูย้ ืมระยะยาว เงินสดจ่ายเงินปั นผล เงินสดสุทธิ ใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรำยกำรเทียบเท่ำเงินสดเพิ่มขึน้ (ลดลง) - สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี เงินสดและรำยกำรเทียบเท่ำเงินสด ณ วันสิ้นปี

(672,033) (1,594,555) (19,799,999) (22,066,587) (77,572,386) 172,602,412 95,030,026

(444,386) (1,177,303) (305,424) (17,111,120) (19,038,233) 1,731,138 170,871,274 172,602,412

(672,033) (1,594,555) (19,799,999) (22,066,587) (80,350,878) 169,830,349 89,479,471

(444,386) (1,177,303) (305,424) (17,111,120) (19,038,233) (42,352) 169,872,701 169,830,349

(35,034,582) 4,272,666 (30,761,916)

(38,100,068) 1,797,584 (36,302,484)

(34,855,496) 4,272,666 (30,582,830)

(37,571,133) 1,797,584 (35,773,549)

ข้อมูลกระแสเงินสดเปิ ดเผยเพิ่มเติม เงินสดจ่ายในการซื้ อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ รายละเอียดที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ได้มาในระหว่างปี มีดงั นี้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาในระหว่างปี หนี้ สินตามสัญญาเช่าการเงินเพิ่มขึ้น เงินสดจ่ายเพื่อซื้ อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่วนหนึ่ งของงบการเงินนี้

หน้า 12


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

93

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 1. ข้ อมูลทัว่ ไป บริ ษทั คิงส์เมน ซี .เอ็ม.ที .ไอ. จากัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจเป็ นผูร้ ับทางานโครงสร้างของการออกบูธและให้เช่าอุปกรณ์ งานแสดงสิ นค้าและนิทรรศการ การตลาดทางเลือก,งานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุก และรับออกแบบและตกแต่งภายใน ผูถ้ ือหุ ้น รายใหญ่ของบริ ษทั ได้แก่ ตระกูลพิเศษสิ ทธิ์ สถานที่ต้ งั ของบริ ษทั อยูท่ ี่ สานักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยูเ่ ลขที่ 122/4 ถนนกรุ งเทพกรี ฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุ งเทพมหานคร สานักงานสาขา 1 ตั้งอยูเ่ ลขที่ 83 หมู่ 2 ตาบลบางเตย อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สานักงานสาขา 2 ตั้งอยูเ่ ลขที่ 122/5 ถนนกรุ งเทพกรี ฑา แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุ งเทพมหานคร ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ได้รับหุ ้นสามัญของบริ ษทั เป็ นหลักทรัพย์จดทะเบียนและเริ่ มทาการซื้ อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตั้งแต่วนั ที่ 18 ธันวาคม 2558 2. หลักเกณฑ์ ในกำรจัดทำงบกำรเงิน งบการเงินนี้จดั ทาขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงแนวปฏิบตั ิทางการบัญชีที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) กฎระเบียบและประกาศคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง งบการเงิ นได้จดั ทาขึ้ นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุ นเดิ มในการวัดมูลค่าขององค์ประกอบของงบการเงิ น เว้นแต่จะได้เปิ ดเผยเป็ น อย่างอื่นในนโยบายการบัญชี การจัดทางบการเงินให้สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทัว่ ไปในประเทศไทยซึ่ งกาหนดให้ฝ่ายบริ หารประมาณการและ กาหนดสมมติฐานที่เกี่ยวข้องอันจะมีผลต่อตัวเลขของสิ นทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งเปิ ดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ นทรัพย์และหนี้ สินที่ อาจเกิดขึ้น ณ วันที่ในงบการเงิน และข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาที่เสนองบการเงินดังกล่าวตัวเลข ที่เกิดขึ้นจริ ง อาจแตกต่างจากตัวเลขประมาณการ ถึงแม้วา่ ฝ่ ายบริ หารได้จดั ทาตัวเลขประมาณการขึ้นจากความเข้าใจในเหตุการณ์และสิ่ งที่ได้ กระทาไปในปั จจุบนั อย่างดีที่สุดแล้ว บริ ษทั ได้ลงทุนใน Kingsmen Myanmar Company Limited เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 โดยบริ ษทั ถือหุ ้นในอัตราร้อยละ 100 ของ ทุนจดทะเบียนและงบการเงินรวมของกลุ่มบริ ษทั ได้รวมผลการดาเนินงานของบริ ษทั ย่อยดังกล่าวตั้งแต่วนั ที่ 9 มกราคม 2558 “บริ ษทั ” หมายถึง บริ ษทั คิงส์เมน ซี .เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) “กลุ่มบริ ษทั ” หมายถึง บริ ษทั คิงส์เมน ซี .เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) และบริ ษทั ย่อย คือ Kingsmen Myanmar Company Limited. รายการบัญชีที่สาคัญระหว่างบริ ษทั และบริ ษทั ย่อยที่รวมในงบการเงินระหว่างกาลรวมได้หกั กลบลบกันแล้ว เพื่อความสะดวกของผูใ้ ช้งบการเงินจึงได้มีการแปลงบการเงินเป็ นภาษาอังกฤษจากงบการเงินที่จดั ทาเป็ นภาษาไทย

หน้า 13


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

94

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 3. มำตรฐำนกำรรำยงำนทำงกำรเงินใหม่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เริ่ มมีผลบังคับในปี บัญชีปัจจุบนั และที่จะมีผลบังคับในอนาคตมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 มำตรฐำนกำรรำยงำนทำงกำรเงินทีเ่ ริ่มมีผลบังคับใช้ ในปี ปัจจุบัน ในระหว่างปี กลุ่มบริ ษทั ได้นามาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุ ง (ปรับปรุ ง 2559) รวมถึงแนวปฏิ บตั ิทางบัญชี ฉบับใหม่ ซึ่ งมีผลบังคับใช้สาหรับงบการเงินที่ มีรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่ มใน หรื อหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 มาถือปฏิ บัติ มาตรฐานการรายงานทางการเงิ นดังกล่าวได้รับการปรับปรุ งหรื อจัดให้มีข้ ึ น เพื่อให้มีเนื้ อหาเท่ าเที ยมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิ นระหว่างประเทศ โดยส่ วนใหญ่ เป็ นการปรับปรุ งถ้อยคาและ คาศัพท์ การตีความและการให้แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีกบั ผูใ้ ช้มาตรฐาน การนามาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวมา ถือปฏิบตั ิน้ ีไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสาคัญต่องบการเงินของบริ ษทั 3.2 มำตรฐำนกำรรำยงำนทำงกำรเงินทีจ่ ะมีผลบังคับใช้ ในอนำคต ในระหว่างปี ปั จจุบนั สภาวิชาชี พบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิ นและการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับปรับปรุ ง (ปรับปรุ ง 2560) จานวนหลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้สาหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ ม ในหรื อหลังวันที่ 1 มกราคม 2561 มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวได้รับการปรับปรุ งหรื อจัดให้มีข้ ึนเพื่อให้มีเนื้อหา เท่าเที ยมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ โดยส่ วนใหญ่เป็ นการปรับปรุ งและอธิ บายให้ชดั เจนเกี่ ยวกับ การเปิ ดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ฝ่ ายบริ หารของกลุ่มบริ ษทั เชื่ อว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุ ง จะไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสาคัญต่อ งบการเงินเมื่อนามาถือปฏิบตั ิ 4. สรุปนโยบำยกำรบัญชีทสี่ ำคัญ 4.1 เงินสดและรำยกำรเทียบเท่ ำเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสู ง ซึ่งถึงกาหนดจ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีขอ้ จากัดในการเบิกใช้ เงิ นฝากสถาบันการเงิ นที่ มีขอ้ จากัดในการใช้ได้แสดงไว้แยกต่างหากในบัญชี “เงิ นฝากประจาที่ ติดภาระค้ าประกัน ” ภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นในงบแสดงฐานะการเงิน 4.2 ลูกหนีก้ ำรค้ ำ ลูกหนี้ การค้าแสดงด้วยมู ลค่ าตามใบแจ้งรายการ หัก ด้วยค่ าเผื่อหนี้ สงสัยจะสู ญ ซึ่ งประมาณจากการสอบทานยอด คงเหลือ ณ วันสิ้นปี มูลค่าของค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญก็คือผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีของลูกหนี้การค้าเมื่อเปรี ยบเทียบ กับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้การค้า หนี้สูญที่เกิดขึ้นในระหว่างปี ตัดเป็ นค่าใช้จ่ายเมื่อสามารถระบุได้ 4.3 วัสดุคงเหลือ วัสดุคงเหลือคานวณโดยใช้วธิ ีเข้าก่อนออกก่อนหรื อมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ากว่า วัสดุระหว่างการประกอบเพื่อใช้ในการติดตั้งและงานระหว่างทาแสดงในราคาทุน บริ ษทั บันทึกเท่าที่จาเป็ นสาหรับบัญชีค่าเผื่อการลดมูลค่าของสิ นค้าเก่า ล้าสมัยหรื อเสื่ อมคุณภาพ หน้า 14


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

95

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 4.4 เงินลงทุนในบริษัทย่ อย บริ ษทั ย่อยหมายถึงกิ จ การที่ กลุ่มบริ ษทั ควบคุม กลุ่มบริ ษทั ควบคุมกิ จการเมื่ อกลุ่มบริ ษทั มี การเปิ ดรับหรื อมีสิทธิ ใน ผลตอบแทนผันแปรจากการเกี่ยวข้องกับผูไ้ ด้รับการลงทุนและมีความสามารถทาให้เกิดผลกระทบต่อผลตอบแทนจาก การใช้อานาจเหนื อ ผูไ้ ด้รั บ การควบคุ ม กลุ่ม บริ ษ ัท รวมงบการเงิ น ของบริ ษ ัท ย่อ ยไว้ในงบการเงิ น รวมตั้งแต่ วนั ที่ กลุ่มบริ ษทั มีอานาจในการควบคุมบริ ษทั ย่อย กลุ่มบริ ษทั จะไม่นางบการเงินของบริ ษทั ย่อยมารวมไว้ในงบการเงินรวม นับจากวันที่กลุ่มบริ ษทั สูญเสี ยอานาจควบคุม กิ จ การจะตัดรายการบัญ ชี ระหว่างกิ จการ ยอดคงเหลื อ และรายการกาไรหรื อขาดทุ น ที่ ยงั ไม่ได้เกิ ดขึ้ นจริ งระหว่าง กลุ่มบริ ษทั นโยบายการบัญ ชี ของบริ ษทั ย่อยได้ถูกเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบัญชี ของกลุ่มบริ ษทั ใน งบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยจะบันทึ กบัญชีดว้ ยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่า ต้นทุนจะมีการปรับ เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสิ่ งตอบแทนที่เกิดขึ้นจากสิ่ งตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ต้นทุนนั้นจะรวมส่วนแบ่งต้นทุน ทางตรงรายการและส่ วนได้เสี ยที่ ไม่มีอานาจควบคุม กลุ่มบริ ษทั ปฏิ บตั ิต่อรายการกับส่ วนได้เสี ยที่ ไม่มีอานาจควบคุมเช่นเดี ยวกันกับส่ วนที่ เป็ นของผูถ้ ือหุ ้นกลุ่มบริ ษทั สาหรับ การซื้ อ ส่ ว นได้เ สี ย ที่ ไ ม่มีอานาจควบคุม ผลต่า งระหว่า งสิ ่ ง ตอบแทนที ่ จ่า ยให้แ ละมูล ค่า ตามบัญ ชี ข อง สิ นทรัพย์สุทธิ ของหุ ้นที่ ซ้ื อมาในบริ ษทั ย่อยจะถูกบันทึ กในส่ วนของผูถ้ ือหุ ้น และกาไรหรื อขาดทุนจากการขายใน ส่ วนได้เสี ยที่ ไม่มีอานาจควบคุมจะถูกบันทึ กในส่ วนของผูถ้ ือหุ ้น 4.5 เงินลงทุนในบริษัทอื่น เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยูใ่ นความต้องการของตลาดถือเป็ นเงินลงทุนทัว่ ไปแสดงมูลค่าตามราคาทุน บริ ษทั จะบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่า (ถ้ามี) ของเงินลงทุนทัว่ ไปในงบกาไรขาดทุน 4.6 ทีด่ นิ อำคำรและอุปกรณ์ ที่ ดิ น อาคารและอุป กรณ์รับ รู ้เมื่อ เริ่ ม แรกตามราคาทุน สิ น ทรัพ ย์ทุกประเภทแสดงในงบแสดงฐานะการเงิ น ด้ว ย ราคาทุนเดิ มหักค่าเสื่ อมราคาสะสม ค่าเสื่ อ มราคาส่ ว นปรั บ ปรุ ง ที่ ดิ น อาคารและอุ ป กรณ์ ค านวณโดยวิธีเ ส้น ตรงตามอายุก ารใช้งานโดยประมาณของ สิ นทรัพย์ดงั นี้ ส่วนปรับปรุ งที่ดิน อาคารและส่วนปรับปรุ ง เครื่ องตกแต่งและเครื่ องใช้สานักงาน ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์จดั งานแสดงสิ นค้า

จานวนปี 10-20 5-20 และตามอายุสญ ั ญาเช่า 5 5 5

ในกรณี ที่ราคาตามบัญชีสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนซึ่ งคานวณจากมูลค่าปั จจุบนั ของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิด ในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่ อง หรื อจานวนที่ จะได้รับจากการจาหน่ ายสิ นทรัพย์หักด้วยต้นทุนจากการ จาหน่ายสิ นทรัพย์น้ นั แล้วแต่จานวนใดจะสูงกว่า ราคาตามบัญชีจะถูกปรับลดให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หน้า 15


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

96

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 การซ่อมแซมและบารุ งรักษา จะรับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุนในระหว่างงวดบัญชีที่เกิดรายการขึ้น ต้นทุนของการปรับปรุ งให้ดี ขึ้นอย่างสาคัญจะถูกรวมไว้ในราคาตามบัญชีของสิ นทรัพย์เมื่อมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิ จ ในอนาคตที่ จะไหลเข้าสู่ บริ ษทั จะมีมูลค่าสู งเกิ นกว่ามาตรฐานการใช้ประโยชน์เดิ มของสิ นทรัพย์ที่มีไว้ต้ งั แต่ตน้ เมื่อ ได้มาซึ่ งสิ นทรัพย์ที่มีอยูใ่ นปั จจุบนั การปรับปรุ งหลักจะถูกตัดค่าเสื่ อมราคาตลอดอายุการให้ประโยชน์ที่เหลืออยูข่ อง สิ นทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง กาไรขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กาหนดขึ้นจากราคาตามบัญชีและได้รวมอยูใ่ นการคานวณกาไรจาก การดาเนินงาน เครื่ องจักรและอุปกรณ์ระหว่างติดตั้งแสดงในราคาทุนโดยที่ยงั ไม่มีการตัดค่าเสื่ อมราคาจนกระทัง่ สิ นทรัพย์น้ นั จะแล้วเสร็ จ และพร้อมที่จะใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ ทุ กสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน ได้มีการทบทวนและปรั บปรุ งมูลค่าคงเหลื อและอายุการให้ประโยชน์ของสิ นทรัพย์ให้ เหมาะสม 4.7 อสังหำริมทรัพย์ เพื่อกำรลงทุน บริ ษทั บันทึ กมูลค่าเริ่ มแรกของอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนในราคาทุ นซึ่ งรวมต้นทุนการทารายการ หลังจากนั้น บริ ษทั จะบันทึกอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยราคาทุนหักค่าเสื่ อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า (ถ้ามี) บริ ษทั รับรู ้ผลต่างระหว่างจานวนเงินที่ ได้รับสุ ทธิ จากการจาหน่ ายกับมูลค่าตามบัญชี ของสิ นทรัพย์ในส่ วนของกาไร หรื อขาดทุนในปี ที่ตดั รายการอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนออกจากบัญชี 4.8 ต้ นทุนอุปกรณ์ รอตัดบัญชี ต้นทุนอุปกรณ์รอตัดบัญชี ประกอบด้วยต้นทุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่ใช้งานบริ การสาหรับการจัดงานแสดงสิ นค้า งานนิทรรศการและงานบันเทิงต่างๆ แสดงมูลค่าตามใบแจ้งหนี้ ค่าตัดจาหน่ ายของต้นทุนอุปกรณ์รอตัดบัญชี จะถูกตัดจาหน่ ายและรับรู ้เป็ นต้นทุนการให้บริ การเมื่องานให้บริ การแล้ว เสร็ จ ภายในระยะเวลา 3 – 5 ปี 4.9 สินทรัพย์ ไม่ มตี วั ตน สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนแสดงตามราคาทุ นหักค่าตัดจาหน่ ายสะสม ค่าตัดจาหน่ ายของสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนคานวณโดย วิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานของสิ นทรัพย์โดยประมาณ 5 ปี 4.10 กำรด้ อยค่ ำของสินทรัพย์ บริ ษทั ได้สอบทานการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์และสิ นทรัพย์อื่นเมื่อมีเหตุการณ์หรื อการเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์ที่เป็ นข้อบ่งชี้วา่ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสิ นทรัพย์มีจานวนต่ากว่ามูลค่าสิ นทรัพย์ที่บนั ทึกบัญชีไว้โดย บริ ษทั จะรับรู ้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าเป็ นค่าใช้จ่ายและจะบันทึกกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ เป็ นรายได้เมื่ อมูลค่าของสิ นทรั พย์ที่ คาดว่าจะได้รับคื นสู งกว่ามูลค่าที่ บัน ทึ กบัญ ชี ไว้ ทั้งนี้ จานวนผลขาดทุ น ที่ กลับ รายการนี้ ตอ้ งไม่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี (สุ ทธิ จากค่าเสื่ อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชีที่เกี่ยวข้อง) ที่ควรจะเป็ นหากบริ ษทั ไม่เคยรับรู ้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ในงวดก่อนๆ

หน้า 16


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

97

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 4.11 กำรบัญชีสัญญำเช่ ำระยะยำว - กรณีทบี่ ริษัทเป็ นผู้เช่ ำ สัญญาเช่าสิ นทรัพย์ที่ความเสี่ ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของส่ วนใหญ่ได้โอนไปให้กบั ผูเ้ ช่าถือเป็ นสัญญาเช่า การเงิน สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกเป็ นรายจ่ายฝ่ ายทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์ที่เช่า หรื อมูลค่าปั จจุบนั สุทธิของ จานวนเงินที่ ตอ้ งจ่ายตามสัญญาเช่า แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ากว่า โดยจานวนเงินที่ ตอ้ งจ่ายจะปั นส่ วนระหว่างหนี้ สินและ ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพื่อให้ได้อตั ราดอกเบี้ ยคงที่ ต่อหนี้ สินคงค้างอยู่โดยพิจารณาแยกแต่ละสัญญา ภาระผูกพันตาม สัญญาเช่าหักค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึกเป็ นหนี้สินระยะยาว ส่วนดอกเบี้ยจ่ายจะบันทึกในงบกาไรขาดทุนตลอดอายุ ของสัญญาเช่า สิ นทรัพย์ที่ได้มาตามสัญญาเช่าการเงินจะคิดค่าเสื่ อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสิ นทรัพย์ที่เช่า สัญญาระยะยาวเพื่อเช่าสิ นทรัพย์โดยที่ ความเสี่ ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของส่ วนใหญ่ตกอยูก่ บั ผูใ้ ห้เช่าจะ จัดเป็ นสัญญาเช่าดาเนิ นงาน เงินที่ตอ้ งจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดาเนิ นงาน (สุ ทธิ จากสิ่ งตอบแทนจูงใจที่ได้รับจากผูใ้ ห้เช่า) จะบันทึกในงบกาไรขาดทุนโดยใช้วธิ ีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่านั้น 4.12 รำยกำรบัญชีทเี่ ป็ นเงินตรำต่ ำงประเทศ รายการบัญชีที่เป็ นเงินตราต่างประเทศที่เกิดขึ้ นในระหว่างปี บันทึกไว้ในบัญชีเป็ นเงินบาทโดยใช้อตั ราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ ยอดคงเหลือของสิ นทรัพย์และหนี้ สินที่เป็ นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน แปลงค่าเป็ นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กาไรหรื อขาดทุนจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศรับรู ้เป็ นรายได้ หรื อค่าใช้จ่ายในผลการดาเนินงานของแต่ละปี 4.13 ประมำณกำรหนีส้ ิน บริ ษทั จะบันทึกประมาณการหนี้ สินเมื่อมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ของภาระผูกพันในปั จจุบนั ตามกฎหมายหรื อ จาก การอนุมานอันเป็ นผลสื บเนื่ องมาจากเหตุการณ์ในอดีต ภาระผูกพันดังกล่าวคาดว่าจะส่ งผลให้ตอ้ งเกิ ดการไหลออกของ ทรัพยากรเพื่อจ่ายชาระภาระผูกพันและจานวนที่ ตอ้ งจ่ายสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่ อถือรายจ่ายที่จะได้รับคืน บันทึ ก เป็ นสิ นทรัพย์แยกต่างหากก็ต่อเมื่อการได้รับคืนคาดว่าจะได้รับอย่างแน่นอนเมื่อได้จ่ายชาระประมาณการหนี้สินไปแล้ว 4.14 ผลประโยชน์ ของพนักงำน ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน กลุ่มบริ ษทั รับรู ้ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็ นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โครงการสมทบเงิน กลุ่มบริ ษทั และพนักงานของบริ ษทั ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสารองเลี้ยงชี พ ซึ่ งประกอบด้วยเงินที่ พนักงานจ่ายสะสม และเงินที่ บริ ษทั จ่ายสมทบให้เป็ นรายเดือน สิ นทรัพย์ของกองทุนสารองเลี้ยงชี พได้แยกออกจากสิ นทรัพย์ของบริ ษทั เงินที่บริ ษทั จ่ายสมทบกองทุนสารองเลี้ยงชีพบันทึกเป็ นค่าใช้จ่ายในปี ที่เกิดรายการ โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน บริ ษทั มีภาระสาหรับเงินชดเชยที่ตอ้ งจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งบริ ษทั ถือว่าเงินชดเชย ดังกล่าวเป็ นโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานสาหรับพนักงาน หน้า 17


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

98

บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 บริ ษทั คานวณหนี้ สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โดยใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณ การไว้ (Projected Unit Credit Method) โดยผู ้เชี่ ย วชาญอิ ส ระ ได้ ท าการประเมิ น ภาระผู ก พัน ดั ง กล่ า วตามหลัก คณิ ตศาสตร์ประกันภัย ผลกาไรหรื อขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial gains and losses) สาหรับโครงการ ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงานจะรับรู ้ทนั ทีในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น 4.15 กำรรับรู้ รำยได้ รายได้จากการรับจ้างจัดงานแสดงสาธารณะ งานนิทรรศการและงานบริ การรับรู ้เป็ นรายได้เมื่องานแล้วเสร็ จ รายได้จากงานก่อสร้างตกแต่งสถานที่ตามวิธีอตั ราส่ วนของงานที่ทาเสร็ จ อัตราส่ วนของงานที่ทาเสร็ จคานวณโดยการ เปรี ยบเทียบต้นทุนงานที่เกิดขึ้นแล้วจนถึงวันสิ้นปี กับต้นทุนงานทั้งหมดที่คาดว่าจะใช้ในการทางานตามสัญญา ดอกเบี้ยรับรับรู ้ตามเกณฑ์สดั ส่วนของเวลาโดยคานึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริ งของสิ นทรัพย์ 4.16 ภำษีเงินได้ ภาษีเงินได้ประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภำษีเงินได้ ปัจจุบัน กลุ่มบริ ษทั บันทึกภาษีเงินได้ปัจจุบนั ตามจานวนที่คาดว่าจะจ่ายให้กบั หน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐ โดยคานวณจากกาไรทาง ภาษีตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎหมายภาษีอากร ภำษีเงินได้ รอกำรตัดบัญชี กลุ่มบริ ษทั บันทึ กภาษีเงิ นได้รอการตัดบัญชี ของผลแตกต่างชัว่ คราวระหว่างราคาตามบัญชี ของสิ นทรัพย์และหนี้ สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานกับฐานภาษีของสิ นทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องนั้น โดยใช้อตั ราภาษีที่มีผลบังคับใช้ ณ วันสิ้ น รอบระยะเวลารายงาน กลุ่มบริ ษทั รับรู ้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลแตกต่างชัว่ คราวที่ตอ้ งเสี ยภาษีทุกรายการ แต่รับรู ้สินทรัพย์ภาษีเงิน ได้รอการตัดบัญชี สาหรับผลแตกต่างชัว่ คราวที่ ใช้หักภาษี รวมทั้งผลขาดทุนทางภาษี ที่ยงั ไม่ได้ใช้ในจานวนเท่ าที่ มีความ เป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ที่บริ ษทั จะมีกาไรทางภาษีในอนาคตเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชัว่ คราวที่ใช้หกั ภาษี และผลขาดทุนทางภาษีที่ยงั ไม่ได้ใช้น้ นั กลุ่มบริ ษทั จะทบทวนมูลค่าตามบัญชี ของสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทุกสิ้ นรอบระยะเวลารายงานและจะทาการ ปรั บลดมู ลค่ าตามบัญชี ดังกล่ าว หากมี ความเป็ นไปได้ค่ อนข้างแน่ ว่าบริ ษ ัทฯจะไม่ มี ก าไรทางภาษี เพี ยงพอต่ อการน า สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีท้ งั หมดหรื อบางส่วนมาใช้ประโยชน์ กลุ่มบริ ษทั จะบันทึ กภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี โดยตรงไปยังส่ วนของผูถ้ ือหุ ้นหากภาษีที่เกิ ดขึ้นเกี่ ยวข้องกับรายการที่ ได้ บันทึกโดยตรงไปยังส่วนของผูถ้ ือหุน้ 4.17 กำไรต่ อหุ้นขั้นพื้นฐำน กาไรต่อหุน้ ขั้นพื้นฐานคานวณโดยการหารกาไรสุทธิดว้ ยจานวนหุน้ สามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนักที่ชาระแล้วในระหว่างปี ของแต่ละปี หน้า 18


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

99

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 4.18 เครื่ องมือทำงกำรเงิน สิ นทรัพย์ทางการเงินที่ แสดงในงบแสดงฐานะการเงิ นประกอบด้วยเงิ นสดและรายการเที ยบเท่ าเงิ นสด เงิ นลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้ การค้า และลูกหนี้ อื่น หนี้ สินทางการเงินที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงินประกอบด้วย เจ้าหนี้ การค้า ภาษีเงินได้ ค้าง จ่าย และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ซึ่งนโยบายบัญชีเฉพาะรายการแต่ละรายการได้เปิ ดเผยแยกไว้ในแต่ละหัวข้อที่เกี่ยวข้อง 4.19 กำรวัดมูลค่ ำยุตธิ รรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่ คาดว่าจะได้รับจากการขายสิ นทรัพย์หรื อเป็ นราคาที่ จะต้องจ่ายเพื่อโอนหนี้ สินให้ผูอ้ ื่นโดย รายการดังกล่าวเป็ นรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผูซ้ ้ื อและผูข้ าย (ผูร้ ่ วมในตลาด) ณ วันที่วดั มูลค่า บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยใช้ราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องในการวัดมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์และหนี้สินซึ่งมาตรฐานการรายงานทาง การเงินที่เกี่ยวข้องกาหนดให้ตอ้ งวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ยกเว้นในกรณี ที่ไม่มีตลาดที่มีสภาพคล่องสาหรับสิ นทรัพย์หรื อ หนี้ สินที่มีลกั ษณะเดียวกันหรื อไม่สามารถหาราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องได้ บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยจะประมาณ มูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิ คการประเมินมูลค่าที่ เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และพยายามใช้ขอ้ มูลที่สามารถสังเกตได้ที่ เกี่ยวข้องกับสิ นทรัพย์หรื อหนี้สินที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมนั้นให้มากที่สุด ลาดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมที่ใช้วดั มูลค่าและเปิ ดเผยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์และหนี้ สินในงบการเงินแบ่งออกเป็ นสาม ระดับตามประเภทของข้อมูลที่นามาใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรม ดังนี้ ระดับ 1 ใช้ขอ้ มูลราคาเสนอซื้อขายของสิ นทรัพย์หรื อหนี้สินอย่างเดียวกันในตลาดที่มีสภาพคล่อง ระดับ 2 ใช้ขอ้ มูลอื่นที่สามารถสังเกตได้ของสิ นทรัพย์หรื อหนี้สิน ไม่วา่ จะเป็ นข้อมูลทางตรงหรื อทางอ้อม ระดับ 3 ใช้ขอ้ มูลที่ไม่สามารถสังเกตได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดในอนาคตที่กิจการประมาณขึ้น ทุกวันสิ้ นรอบระยะเวลารายงาน บริ ษทั จะประเมินความจาเป็ นในการโอนรายการระหว่างลาดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมสาหรับ สิ นทรัพย์และหนี้สินที่ถืออยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานที่มีการวัดมูลค่ายุติธรรมแบบเกิดขึ้นประจา 4.20 กำรใช้ ดุลยพินิจและประมำณกำรทำงบัญชีทสี่ ำคัญ ในการจัดทางบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทัว่ ไป ฝ่ ายบริ หารจาเป็ นต้องใช้ดุลยพินิจและการประมาณการในเรื่ อง ที่มีความไม่แน่นอนเสมอ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบต่อจานวนเงินที่แสดงในงบการเงิน และต่อข้อมูลที่ แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิ นผลที่ เกิ ดขึ้นจริ งอาจแตกต่างไปจากจานวนที่ ประมาณการไว้ การใช้ ดุลยพินิจและการประมาณการที่สาคัญมีดงั นี้ ประมาณการต้นทุนงานบริ การ กลุ่มบริ ษทั ประมาณการต้นทุนงานบริ การของแต่ละโครงการจากรายละเอียดของแบบงานโครงการและนามาคานวณ จานวนและมูลค่าวัสดุที่ตอ้ งใช้ในโครงการดังกล่าว รวมถึงค่าแรง ค่าโสหุย้ ที่ตอ้ งใช้ในการให้บริ การจนเสร็ จ ประกอบ กับการพิจารณาถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กลุ่มบริ ษทั จะทาการ ทบทวนประมาณการต้นทุนอย่างสม่าเสมอ และทุกคราวที่ตน้ ทุนที่เกิดขึ้นจริ งแตกต่างจากประมาณการต้นทุนอย่างเป็ น สาระสาคัญ

หน้า 19


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

100 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริ ษทั ใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้ประกอบกับการประเมินสถานภาพทางการเงินปั จจุบนั ของลูกหนี้ เป็ น เกณฑ์ในการพิจารณาการตั้งค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสู ญโดยมีการกาหนดช่วงอายุลูกหนี้ และสถานภาพของลูกหนี้ ไว้เป็ น เกณฑ์ในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ที่มีอายุหนี้คา้ งชาระ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และค่าเสื่ อมราคา ในการคานวณค่าเสื่ อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ฝ่ ายบริ หารจาเป็ นต้องทาการประมาณอายุการให้ประโยชน์และ มูลค่าคงเหลือเมื่อเลิกใช้งานของอาคารและอุปกรณ์ และต้องทบทวนอายุการให้ประโยชน์และมูลค่าคงเหลือใหม่หากมี การเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเกิดขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายบริ หารจาเป็ นต้องสอบทานการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในแต่ละช่วงเวลาและบันทึกขาดทุน จากการด้อยค่าหากคาดว่ามูลค่ าที่ คาดว่าจะได้รับ คื น ต่ ากว่ามู ลค่าตามบัญ ชี ข องสิ น ทรั พ ย์น้ ัน ในการนี้ ฝ่ ายบริ ห าร จาเป็ นต้องใช้ดุลยพินิจที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสิ นทรัพย์น้ นั สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริ ษทั จะรับรู ้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสาหรับผลแตกต่างชัว่ คราวที่ใช้หกั ภาษีและขาดทุนทางภาษีที่ไม่ได้ใช้ เมื่ อมี ค วามเป็ นไปได้ค่ อนข้างแน่ ว่าบริ ษทั จะมี กาไรทางภาษี ในอนาคตเพี ยงพอที่ จะใช้ป ระโยชน์ จากผลแตกต่าง ชัว่ คราวและขาดทุนนั้น ในการนี้ ฝ่ายบริ หารจาเป็ นต้องประมาณการว่าบริ ษทั ควรรับรู ้จานวนสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอ การตัดบัญชีเป็ นจานวนเท่าใด โดยพิจารณาถึงจานวนกาไรทางภาษีที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตในแต่ละช่วงเวลา สัญญาเช่า ในการพิจารณาประเภทของสัญญาเช่าว่าเป็ นสัญญาเช่าดาเนิ นงานหรื อสัญญาเช่าทางการเงิน ฝ่ ายบริ หารได้ใช้ดุลยพินิจ ในการประเมิ น เงื่ อนไขและรายละเอี ยดของสัญ ญาเพื่ อ พิ จารณาว่ากลุ่ ม บริ ษ ัท ได้โอนหรื อรั บ โอนความเสี่ ยงและ ผลประโยชน์ในสิ นทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวแล้วหรื อไม่ ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงานตามโครงการผลประโยชน์ หนี้ สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน ประมาณขึ้นตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย ซึ่ งต้อง อาศัยข้อสมมติฐานต่างๆในการประมาณการนั้น เช่น อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดื อนในอนาคต อัตรามรณะ และ อัตราการเปลี่ยนแปลงในจานวนพนักงาน เป็ นต้น 4.21 บุคคลหรื อกิจกำรทีเ่ กีย่ วข้ องกัน บุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริ ษทั หมายถึงบุคคลหรื อกิจการที่มีอานาจควบคุมบริ ษทั ถูกควบคุมโดยบริ ษทั ไม่ ว่าจะเป็ นโดยทางตรงหรื อทางอ้อม หรื ออยูภ่ ายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริ ษทั รวมถึงบริ ษทั ที่ทาหน้าที่ถือหุ ้นบริ ษทั ย่อย และกิจการที่เป็ นบริ ษทั ย่อยในเครื อเดียวกัน นอกจากนี้ บุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริ ษทั ร่ วม และบุคคลซึ่งถือหุน้ ที่มีสิทธิออกเสี ยงไม่วา่ ทางตรงหรื อทางอ้อมและมีอิทธิ พลอย่างเป็ นสาระสาคัญกับบริ ษทั ผูบ้ ริ หาร สาคัญ กรรมการหรื อ พนักงานของบริ ษ ัท ตลอดทั้งสมาชิ กในครอบครัวที่ ใกล้ชิดกับบุ คคลดังกล่าว และกิ จการที่ เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น ในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรื อกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริ ษทั แต่ละรายการ บริ ษทั คานึงถึงเนื้อหาของ ความสัมพันธ์มากกว่ารู ปแบบทางกฎหมาย หน้า 20


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

101

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 5. รำยกำรธุรกิจกับกิจกำรทีเ่ กีย่ วข้ องกัน 5.1 ลักษณะควำมสัมพันธ์ และนโยบำยในกำรกำหนดรำคำ ลักษณะความสัมพันธ์และนโยบายในการกาหนดราคาระหว่างบริ ษทั และบริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกันมีดงั นี้ : ลักษณะควำมสัมพันธ์ บริษัทย่ อย Kingsmen Myanmar Company Limited.

ถือหุน้ โดยบริ ษทั และกรรมการร่ วมกัน

บริษัททีเ่ กีย่ วข้ องกัน Kingsmen Creatives Ltd. Kingsmen-keb systems sdn bhd Kingsmen Exhibits Pte Ltd. Kingsmen sdn bhd Kingsmen Taiwan (Int'l) Co., Ltd. Kingsmen Middle East L.L.C. Kingsmen Projects Pte Ltd. Kingsmen Design Pte Ltd. Kingsmen Vietnam Co., Ltd. Kingsmen Nikko Limited Kingsmen Environmental Graphics Pte Ltd. PT. Kingsmen Indonesia Co., Ltd. Kingsmen Korea Co., Ltd. Kingsmen Hong kong Co., Ltd. Kingsmen Shanghai Co., Ltd. Kingsmen E&E Korea Co., Ltd. บุคคลทีเ่ กีย่ วข้ องกัน

ผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน ผูถ้ ือหุน้ ร่ วมกัน กรรมการและผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั และ ญาติสนิทของกรรมการและผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั นโยบำยรำคำ

รายได้จากการให้บริ การ ค่าบริ หารจัดการ ค่าบริ การจ่าย ค่าเช่า

ราคาปกติธุรกิจเทียบเคียงราคาที่คิดกับคู่คา้ รายอื่น อัตราที่ตกลงร่ วมกันตามสัญญา ราคาปกติธุรกิจเทียบเคียงราคาที่คิดกับคู่คา้ รายอื่น ราคาที่ตกลงร่ วมกันตามสัญญา

หน้า 21


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

102 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 5.2 ยอดคงเหลือกับบริษัททีเ่ กีย่ วข้ องกัน ยอดคงเหลือระหว่างบริ ษทั กับบริ ษทั ย่อยและบริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 มีดงั นี้ บาท งบการเงินรวม 2560 2559

ลูกหนีก้ ำรค้ ำ บริ ษทั ย่อย

บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน รวม เงินทดรองจ่ ำย บริ ษทั ย่อย เจ้ ำหนีก้ ำรค้ ำ

บริ ษทั ย่อย

บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน รวม

3,759,423 3,759,423 4,190,280 4,190,280

7,181,682 7,181,682 3,773,169 3,773,169

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559 5,524,919 2,949,194 8,474,113

3,176,124 7,181,682 10,357,806

9,357,132

6,870,700

574,350 4,190,280 4,764,630

3,773,169 3,773,169

5.3 รำยได้ และค่ ำใช้ จ่ำยระหว่ ำงบริษัทกับบริษัททีเ่ กีย่ วข้ องกัน รายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างบริ ษทั กับบริ ษทั ย่อยและบริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกันสาหรับปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 มีดงั นี้ บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559 2560 2559 รำยได้ จำกกำรให้ บริกำร บริ ษทั ย่อย 4,577,052 3,206,612 บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน 8,198,508 8,675,839 7,373,762 8,675,839 รวม 8,198,508 8,675,839 11,950,814 11,882,451 รำยได้ อื่น บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน ต้ นทุนกำรให้ บริกำร บริ ษทั ย่อย บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน รวม

2,924,550 2,924,550

160,040 8,610,959 8,610,959

574,350 2,924,550 3,498,900

160,040 8,610,959 8,610,959

หน้า 22


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

103

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม 2560 2559 ค่ ำบริหำรจัดกำร บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน ค่ ำเช่ ำจ่ ำย บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ค่ ำใช้ จ่ำยในกำรบริหำร บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน ค่ ำตอบแทนกรรมกำรและผู้บริหำร ผลประโยชน์ระยะสั้น ผลประโยชน์หลังออกจากงาน รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

3,682,708

3,836,006

3,682,708

3,836,006

996,000

896,000

996,000

896,000

698,867

974,100

698,867

974,100

17,845,141 611,425 18,456,566

18,766,617 581,404 19,348,021

17,845,141 611,425 18,456,566

18,766,617 581,404 19,348,021

สัญญาค่าบริ หารจัดการ บริ ษทั ได้ทาสัญญาค่าบริ หารจัดการ โดยค่าธรรมเนี ยมเป็ นไปตามสัญญา Corporate Service Agreement ระหว่างบริ ษทั กับ Kingsmen Creatives Ltd. (Singapore) โดยมีสูตรคานวณอัตราค่าธรรมเนี ยมเป็ นแบบอัตราที่ ลดลงโดยคานวณจากรายได้ จากการให้บริ การ แต่รวมแล้วไม่เกินกว่า 148,000 เหรี ยญสิ งคโปร์ ต่อปี บริ ษทั มีภาระผูกพันต้องจ่ายค่าธรรมเนี ยมภายใต้ สัญญาดังกล่าวตามอัตราที่ตกลงร่ วมกันตามสัญญาโดยสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องจนกว่าทั้งสองฝ่ ายจะบอกเลิก สัญญา ต่ อมาเมื่ อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 บริ ษ ัทได้มีการท าสัญญาฉบับใหม่กับ Kingsmen Creatives Ltd. (Singapore) สัญญาอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าและเครื่ องหมายการค้า (License Agreement) โดยอัตราค่าธรรมเนี ยมเป็ นไปตามสัญญา ฉบับเดิม และเป็ นสัญญาที่ไม่มีกาหนดระยะเวลาสิ้นสุด 6. เงินสดและรำยกำรเทียบเท่ ำเงินสด บาท

เงินสด เงินฝากสถาบันการเงินประเภทกระแสรายวัน เงินฝากสถาบันการเงินประเภทออมทรัพย์ รวม

งบการเงินรวม 2560 2559 2,865,818 2,247,897 91,741,259 85,896,253 422,949 84,458,262 95,030,026 172,602,412

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559 2,001,618 87,054,904 422,949 89,479,471

1,756,345 83,615,742 84,458,262 169,830,349

เงินฝากสถาบันการเงินมีอตั ราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยร้อยละ 0.375 - 0.75 ต่อปี (2559 : ร้อยละ 0.375 - 0.40 ต่อปี )

หน้า 23


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

104 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 7. เงินลงทุนชั่วครำว – เงินฝำกประจำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริ ษทั มีเงินฝากสถาบันการเงินประเภทฝากประจา 8 เดือนจานวนเงิน 50.0 ล้านบาท มีอตั รา ดอกเบี้ยร้อยละ 1.98 ต่อปี 8. ลูกหนีก้ ำรค้ ำและลูกหนีอ้ ื่น บาท งบการเงินรวม 2560 2559 ลูกหนี้การค้า บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ (หมายเหตุ 5.2) ลูกหนี้การค้า บริ ษทั อื่น - สุทธิ รวมลูกหนี้การค้า รายได้ที่ยงั ไม่เรี ยกชาระ รวมลูกหนี้การค้าและรายได้ที่ยงั ไม่เรี ยกชาระ ลูกหนี้เงินประกันผลงาน เงินทดรองจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เงินมัดจาค่าสิ นค้า ลูกหนี้อื่น รวมลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

3,759,423 159,843,064 163,602,487 218,337,441 381,939,928 49,932,335 2,110,201 2,856,772 4,955,745 1,199,219 442,994,200

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

7,181,682 130,032,608 137,214,290 142,129,867 279,344,157 41,492,775 1,330,986 3,295,274 8,798,051 1,252,474 335,513,717

8,474,113 157,813,254 166,287,367 218,337,441 384,624,808 49,932,335 11,140,524 1,546,729 4,955,745 1,199,219 453,399,360

10,357,806 128,217,316 138,575,122 142,129,867 280,704,989 41,492,775 8,063,410 2,042,100 8,798,051 1,069,226 342,170,551

ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 แยกตามอายุหนี้ที่คา้ งชาระได้ดงั นี้ บาท

ลูกหนีก้ ำรค้ ำ - บริษัททีเ่ กีย่ วข้ องกัน ยังไม่ครบกาหนดชาระ เกินกาหนดชาระ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 7 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน สุทธิ

งบการเงินรวม 2560 2559

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

2,952,132

4,815,421

5,576,247

807,291 3,759,423

791,891 242,090 77,082 1,255,198 7,181,682

2,256,916 640,950 8,474,113

5,122,337 791,891 922,590 2,265,790 1,255,198 10,357,806

หน้า 24


105

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 บาท งบการเงินรวม 2560 2559 ลูกหนีก้ ำรค้ ำ - บริษัทอื่น ยังไม่ครบกาหนดชาระ เกินกาหนดชาระ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 7 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

131,061,334

85,862,287

130,471,336

85,293,018

18,290,137 7,943,404 2,462,109 5,295,487

37,149,920 4,085,328 2,062,561 7,928,054

17,705,382 7,874,930 1,754,879 5,216,134

35,903,897 4,085,328 2,062,561 7,928,054

165,052,471 (5,209,407) 159,843,064

137,088,150 (7,055,542) 130,032,608

163,022,661 (5,209,407) 157,813,254

135,272,858 (7,055,542) 128,217,316

9. เงินฝำกประจำทีต่ ดิ ภำระคำ้ ประกัน วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั มีเงินฝากประจา จานวน 13.9 ล้านบาท (ปี 2559 : 13.3 ล้านบาท)ใช้เป็ นหลักทรัพย์ค้ าประกัน จากการที่ธนาคารออกหนังสื อค้ าประกันการใช้ไฟฟ้า การปฏิบตั ิตามสัญญาการให้บริ การตามหมายเหตุ 27.3 และค้ าประกัน วงเงินกูย้ มื ระยะสั้น 10. เงินลงทุนในบริษัทย่ อย งบกำรเงินเฉพำะกิจกำร ณ วันที่ 31 ธันวำคม 2560 และ 2559 ประเภทกิจการ Kingsmen Myanmar ผูร้ ับจัดงานของการออกบูธ Company Limited. แสดงสิ นค้าและนิทรรศการ รับออกแบบและตกแต่ง ภายใน

ประเทศที่ จดทะเบียน สาธารณรัฐเมียนมาร์

ทุนชาระแล้ว (บาท) 2560 2559 10,153,973 5,139,473

สัดส่ วน เงินลงทุน ร้อยละ 100

ในปี 2560 บริ ษทั ได้ลงทุนในหุ ้นเพิ่มทุนของ Kingsmen Myanmar Company Limited.โดยจ่ายชาระเป็ นเงินสดจานวน 0.2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐอเมริ กา (ประมาณ 5.0 ล้านบาท)

หน้า 25


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

106 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 11. เงินลงทุนระยะยำวอื่น งบกำรเงินรวมและงบกำรเงินเฉพำะกิจกำร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559

บจ.ยูเท็กซ์ เหนือ หัก ค่าเผือ่ การลดมูลค่าเงินลงทุน เงินลงทุนระยะยาว –สุ ทธิ

ประเภทกิจการ รับเหมางานระบบ ไฟฟ้าสาหรับงาน แสดงสิ นค้า

ทุนชาระแล้ว (บาท)

1,100,000

สัดส่ วนเงินลงทุน (ร้อยละ)

2560

2559

12.73

12.73

จานวนเงิน (บาท)

2560

140,000 (140,000) -

2559

140,000 (140,000) -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ราคาตามบัญชีของหุน้ ทุนของบริ ษทั ที่บริ ษทั ไปลงทุนไว้ (ซึ่งถือตามงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วล่าสุ ด) ต่ากว่าราคาทุนของเงินลงทุนที่บริ ษทั ได้จ่ายลงทุนไป ผลต่างของราคาได้บนั ทึกไว้ในบัญชี "ค่าเผื่อการลดมูลค่าเงินลงทุน"

หน้า 26


มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

การปรับปรุ งการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีสิ้นปี

ค่าเสื่ อมราคา

หัก จาหน่ายสิ นทรัพย์

30,489,175 (1,916,863) 28,572,312

(99,144) 28,572,312

-

10,504,500

48,592,812 (17,237,095) 31,355,717

(4,178,043) 31,355,717

-

20,695,500

25,610,915 (9,511,150) 16,099,765

(2,334,848) 16,099,765

(12,476)

597,191

17,849,898

17,849,898

(7,181,564)

25,031,462

เครื่ องจักรและ เครื่ องมือเครื่ องใช้

33,491,818 (24,831,247) 8,660,571

(2,655,122) (4,328) 8,660,571

(103,335)

4,165,012

7,258,344

7,258,344

(22,941,443)

30,199,787

เครื่ องตกแต่งและ เครื่ องใช้สานักงาน

บาท

16,269,825 (9,808,418) 6,461,407

(1,211,217) (4,686) 6,461,407

(152,507)

2,024,691

5,805,126

5,805,126

(9,223,463)

15,028,589

ยานพาหนะ

51,200,737 (48,849,854) 2,350,883

(1,414,729) 2,350,883

(5)

507,174

3,258,443

3,258,443

(48,142,912)

51,401,355

2,594,000 2,594,000

2,594,000

-

(394,000)

2,988,000

2,988,000

-

2,988,000

วัสดุอุปกรณ์ สิ นทรัพย์ จัดงานแสดงสิ นค้า ระหว่างก่อสร้าง

หน้า 27

208,249,282 (112,154,627) 96,094,655

(11,893,103) (9,014) 96,094,655

(268,323)

38,100,068

70,165,027

70,165,027

(102,366,153)

172,531,180

รวม

107

บวก ซื้อสิ นทรัพย์

14,838,260

14,838,260

18,166,956

มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี

18,166,956

(13,059,052)

(1,817,719)

หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

รายการระหว่างปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีตน้ ปี

27,897,312

อาคารและ ส่ วนปรับปรุ ง

19,984,675

ที่ดินและ ส่ วนปรับปรุ งที่ดิน

ราคาทุน

ณ วันที่ 1 มกราคม 2559

12. ทีด่ นิ อำคำรและอุปกรณ์ งบกำรเงินรวม

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี

หัก จาหน่ายสิ นทรัพย์ ค่าเสื่ อมราคา การปรับปรุ งการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีสิ้นปี

รายการระหว่างปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีตน้ ปี บวก ซื้อสิ นทรัพย์ โอนไปอสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุน รับโอน (โอนออก)

งบกำรเงินรวม

12,725,905 (1,967,720) 10,758,185

(50,857) 10,758,185

-

28,572,312 (17,763,270)

ที่ดินและ ส่ วนปรับปรุ งที่ดิน

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560

73,017,262 (21,421,303) 51,595,959

24,424,450 (4,184,208) 51,595,959

31,355,717 -

27,856,446 (11,824,739) 16,031,707

16,099,765 1,053,141 1,260,000 (4) (2,381,195) 16,031,707 25,537,165 (15,002,967) 10,534,198

8,660,571 5,331,649 (9,649) (3,392,714) (55,659) 10,534,198

อาคารและ เครื่ องจักรและ เครื่ องตกแต่งและ ส่ วนปรับปรุ ง เครื่ องมือเครื่ องใช้ เครื่ องใช้สานักงาน

บาท

17,732,254 (9,850,115) 7,882,139

6,461,407 2,939,342 (26,242) (1,465,112) (27,256) 7,882,139

ยานพาหนะ

50,770,939 (49,344,401) 1,426,538

2,350,883 26,000 (12) (950,333) 1,426,538

วัสดุอุปกรณ์ จัดงานแสดงสิ นค้า

2,594,000 2,594,000

2,594,000 25,684,450 (25,684,450) 2,594,000

สิ นทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

หน้า 28

210,233,971 (109,411,245) 100,822,726

(35,907) (12,424,419) (82,915) 100,822,726

35,034,582 (17,763,270) -

96,094,655

รวม รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

108 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


28,572,312

มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีสิ้นปี

28,572,312

(1,916,863)

หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี

30,489,175

ราคาทุน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559

(99,144)

-

หัก จาหน่ายสิ นทรัพย์

31,355,717

(17,237,095)

48,592,812

31,355,717

(4,178,043)

-

20,695,500

16,099,765

(9,511,150)

25,610,915

16,099,765

(2,334,848)

(12,476)

597,191

17,849,898

17,849,898

(7,181,564)

25,031,462

เครื่ องจักรและ เครื่ องมือเครื่ องใช้

7,951,943

(24,650,085)

32,602,028

7,951,943

(2,531,997)

(103,335)

3,640,041

6,947,234

6,947,234

(22,885,107)

29,832,341

เครื่ องตกแต่งและ เครื่ องใช้สานักงาน

บาท

6,111,949

(9,661,052)

15,773,001

6,111,949

(1,113,379)

(152,507)

2,020,727

5,357,108

5,357,108

(9,175,073)

14,532,181

ยานพาหนะ

2,350,883

(48,849,854)

51,200,737

2,350,883

(1,414,729)

(5)

507,174

3,258,443

3,258,443

(48,142,912)

51,401,355

วัสดุอุปกรณ์ จัดงานแสดงสิ นค้า

2,594,000

-

2,594,000

2,594,000

-

-

(394,000)

2,988,000

2,988,000

-

2,988,000

สิ นทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

หน้า 29

95,036,569

(111,826,099)

206,862,668

95,036,569

(11,672,140)

(268,323)

37,571,133

69,405,899

69,405,899

(102,261,427)

171,667,326

รวม

109

ค่าเสื่ อมราคา

10,504,500

บวก ซื้อสิ นทรัพย์

14,838,260

14,838,260

18,166,956

มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี 18,166,956

(13,059,052)

(1,817,719)

หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม

รายการระหว่างปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีตน้ ปี

27,897,312

อาคารและ ส่ วนปรับปรุ ง

19,984,675

ที่ดินและ ส่ วนปรับปรุ งที่ดิน

ราคาทุน

ณ วันที่ 1 มกราคม 2559

งบกำรเงินเฉพำะกิจกำร

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


73,017,261 (21,421,303) 51,595,958

24,424,450 (4,184,209) 51,595,958

-

-

31,355,717

อาคารและ ส่ วนปรับปรุ ง

27,856,446 (11,824,739) 16,031,707

(4) (2,381,195) 16,031,707

1,260,000

-

1,053,141

16,099,765

24,546,507 (14,655,940) 9,890,567

(9,649) (3,204,290) 9,890,567

-

5,152,563

7,951,943

เครื่ องจักรและ เครื่ องตกแต่งและ เครื่ องมือเครื่ องใช้ เครื่ องใช้สานักงาน

บาท

17,279,104 (9,625,123) 7,653,981

(26,242) (1,371,068) 7,653,981

-

2,939,342

6,111,949

ยานพาหนะ

50,770,939 (49,344,401) 1,426,538

(12) (950,333) 1,426,538

-

26,000

2,350,883

วัสดุอุปกรณ์ จัดงานแสดงสิ นค้า

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั มียานพาหนะและอุปกรณ์ซ่ ึงได้มาตามสัญญาเช่าการเงินโดยมีมูลค่าสุทธิตามบัญชีเป็ นจานวนประมาณ 8.7 ล้านบาท (ปี 2559 : 5.2 ล้านบาท)

2,594,000 2,594,000

(25,684,450) 2,594,000

-

25,684,450

2,594,000

สิ นทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 บริ ษทั ได้จดจานองที่ดินซึ่งมีมูลค่าตามบัญชีจานวน 28.5 ล้านบาท ไว้เป็ นหลักทรัพย์ค้ าประกันเงินกูย้ มื ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

ราคาทุน หัก ค่าเสื่ อมราคาสะสม มูลค่าสุ ทธิตามบัญชี 12,725,905 (1,967,720) 10,758,185

(50,857) 10,758,185

ค่าเสื่ อมราคา มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีสิ้นปี

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560

-

-

(17,763,270)

28,572,312 -

ที่ดินและ ส่ วนปรับปรุ งที่ดิน

หัก จาหน่ายสิ นทรัพย์

รับโอน (โอนออก)

โอนไปอสังหาริ มทรัพย์เพือ่ การลงทุน

บวก ซื้อสิ นทรัพย์

รายการระหว่างปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มูลค่าสุ ทธิตามบัญชีตน้ ปี

งบกำรเงินเฉพำะกิจกำร

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560

หน้า 30

208,790,162 (108,839,226) 99,950,936

(35,907) (12,141,952) 99,950,936

(17,763,270) -

34,855,496

95,036,569

รวม

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

110 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

111

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 13. อสังหำริมทรัพย์ เพื่อกำรลงทุน อสังหาริ มทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริ ษทั ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 แสดงมูลค่าตามบัญชี ของที่ ดินของบริ ษทั ที่ ถือครอง ไว้โดยที่ ยงั มิได้ระบุวตั ถุประสงค์ของการใช้ในอนาคต มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริ ม ทรัพย์เพื่อ การลงทุน ซึ่ งประเมิน โดยผูป้ ระเมินราคาอิสระโดยใช้เกณฑ์ราคาตลาด ณ วัน ที่ 31 ธันวาคม 2560 เป็ นจานวนเงิน 17.7 ล้านบาท 14. ต้ นทุนอุปกรณ์ รอตัดบัญชี งบการเงินรวมและงบการเฉพาะกิจการ บาท 2560

2559

11,553,652 (4,215,662) 7,337,990

15,815,980 (4,262,328) 11,553,652

รายการระหว่างปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มูลค่าสุทธิตามบัญชีตน้ ปี หัก ค่าตัดจาหน่ายสาหรับปี มูลค่าสุทธิตามบัญชีสิ้นปี 15. สินทรัพย์ ไม่ มตี วั ตน บาท งบการเงินรวม งบการเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ราคาทุน หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม มูลค่าสุทธิตามบัญชี

13,389,902 (9,929,650) 3,460,252

13,255,994 (9,890,949) 3,365,045

3,460,252 1,661,890 (1,478,408) (7,437) 3,636,297

3,365,045 1,661,890 (1,453,060) 3,573,875

15,040,019 (11,403,722) 3,636,297

14,917,884 (11,344,009) 3,573,875

รายการระหว่างปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มูลค่าสุทธิตามบัญชีตน้ ปี บวก ซื้อสิ นทรัพย์ หัก ค่าตัดจาหน่ายสาหรับปี การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ มูลค่าสุทธิตามบัญชีสิ้นปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ราคาทุน หัก ค่าตัดจาหน่ายสะสม มูลค่าสุทธิตามบัญชี

หน้า 31


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

112 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 16. เจ้ ำหนีก้ ำรค้ ำและเจ้ ำหนีอ้ ื่น

บาท งบการเงินรวม 2560 2559

เจ้าหนี้การค้า - บริ ษทั ที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 5.2) เจ้าหนี้การค้า - บริ ษทั อื่น รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้กรมสรรพากร รวม

4,190,280 269,885,807 2,391,857 22,479,184 4,906,931 11,417,332 315,271,391

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

3,773,169 207,419,628 16,504,545 26,860,032 4,172,967 10,719,258 269,449,599

4,764,630 269,662,335 2,391,857 22,453,040 5,360,634 10,424,331 315,056,827

3,773,169 206,895,594 16,504,545 26,741,020 4,163,528 10,145,534 268,223,390

17. หนีส้ ินตำมสัญญำเช่ ำกำรเงิน งบกำรเงินรวมและงบกำรเฉพำะกิจกำร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 บาท หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน หัก ดอกเบี้ยและภาษีซ้ือรอตัดบัญชี หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินส่วนที่ครบ กาหนดชาระในหนึ่งปี สุทธิ

2560 6,522,715 (839,525)

2559 3,401,531 (396,452)

(2,295,641) 3,387,549

(1,614,556) 1,390,523

บริ ษทั ได้ทาสัญญาเช่าการเงินกับบริ ษทั ลีสซิ่ งเพื่อเช่ายานพาหนะที่ใช้ในการดาเนิ น งานของกิจการโดยมีกาหนดการชาระ ค่าเช่าเป็ นรายเดือน อายุของสัญญามีระยะเวลา 4-5 ปี หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั มีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าขั้นต่าตามสัญญาเช่าการเงินดังนี้

ผลรวมของจานวนเงินขั้นต่าที่ตอ้ งจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าการเงินรอการตัดบัญชี มูลค่าปั จจุบนั ของจานวนเงินขั้นต่าที่ตอ้ งจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

ไม่เกิน 1 ปี 2,528,498 (232,857) 2,295,641

บาท 1 - 5 ปี รวม 3,567,497 6,095,995 (179,948) (412,805) 3,387,549 5,683,190

หน้า 32


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

113

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริ ษทั มีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าขั้นต่าตามสัญญาเช่าการเงินดังนี้

ผลรวมของจานวนเงินขั้นต่าที่ตอ้ งจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าการเงินรอการตัดบัญชี มูลค่าปั จจุบนั ของจานวนเงินขั้นต่าที่ตอ้ งจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

บาท 1 - 5 ปี รวม 1,462,923 3,179,002 (72,400) (173,923) 1,390,523 3,005,079

ไม่เกิน 1 ปี 1,716,079 (101,523) 1,614,556

18. ภำระผูกพันของผลประโยชน์ พนักงำน บริ ษ ัท จ่ ายค่ าชดเชยผลประโยชน์ ห ลังออกจากงานและบ าเหน็ จ ตามข้อ ก าหนดของพระราชบัญ ญัติ คุ ้ม ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการให้ผลประโยชน์เมื่อเกษียณ และผลประโยชน์ระยะยาวอื่นแก่พนักงานตามสิ ทธิและอายุงาน งบการเงินรวมและงบการเฉพาะกิจการ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าปั จจุบนั ของภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์ บาท 2560 ภาระผูกพันผลประโยชน์ระยะยาวพนักงาน ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนที่รับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุน ต้ต้นนทุทุนนบริ บริ กการปั ารปั จจจุจุบบนนั​ั ดอกเบี้​้ ยยจากภาระผู พันน ดอกเบี จากภาระผูกกพั

2559

12,200,345

9,324,606

1,494,686

1,273,687

364,513

319,248

ส่วนที่รับรู ้ในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น การวัดมูลค่าใหม่ของภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราคิดลด

-

490,258

ส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเสี ยชีวติ

-

240,498

ส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนเวียนพนักงาน

-

(3,443)

-

626,591 (71,100)

ส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการปรับปรุ งประสบการณ์ ผลประโยชน์ที่จ่ายในระหว่างปี ภาระผูกพันของผลประโยชน์พนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

14,059,544

12,200,345

หน้า 33


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

114 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานรับรู ้ในรายการต่อไปนี้ในส่วนของกาไรหรื อขาดทุน บาท 2560 ต้นทุนบริ การ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร รวมค่าใช้จ่ายที่รับรู ้ในกาไรหรื อขาดทุน

2559

824,030 32,852 1,002,317

363,249 97,457 1,132,229

1,859,199

1,592,935

บริ ษทั คาดว่าจะจ่ายชาระผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานภายใน 1 ปี ข้างหน้า เป็ นจานวนประมาณ 0.4 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ระยะเวลาเฉลี่ยถ่วงน้ าหนักในการจ่ายชาระผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานของบริ ษทั 10 ปี ข้อสมมติหลักในการประมาณการตามหลักการคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ณ วันที่รายงาน สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 อัตราคิดลด ร้อยละ 3.0209 ต่อปี อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน ร้อยละ 3.0 - 11.0 อัตราการหมุนเวียนพนักงาน ผันแปรตามอายุพนักงาน ร้อยละ 0 - 30 อัตรามรณะ อัตราตามตารางมรณะไทยปี 2551 แยกเกณฑ์ตามเพศชายและหญิง

กำรวิเครำะห์ ควำมอ่ อนไหว การเปลี่ยนแปลงในแต่ละข้อสมมติฐานที่ เกี่ ยวข้องในการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัยที่ อาจเป็ นไปได้ อย่างสมเหตุสมผล ณ วันที่ รายงาน โดยถื อว่าข้อสมมติ ฐานอื่ นๆ คงที่ จะมี ผลกระทบต่อภาระผูกพันผลประโยชน์ ที่ กาหนดไว้เป็ นจานวนเงินดังต่อไปนี้ บาท ปี 2560 ภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม อัตราคิดลด (เปลี่ยนแปลงร้อยละ 1) การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต (เปลี่ยนแปลงร้อยละ 1) อัตราการหมุนเวียนพนักงาน (เปลี่ยนแปลงร้อยละ 20)

ปี 2559

เพิม่ ขึ้น ลดลง เพิม่ ขึ้น (1,077,720) 1,229,016 (990,100) 1,337,095 (1,192,476) 1,096,402 (1,332,038) 1,758,589 (1,054,573)

ลดลง 1,129,166 (982,856) 1,378,319

แม้วา่ การวิเคราะห์น้ ีไม่ได้คานึงการกระจายตัวแบบเต็มรู ปแบบของกระแสเงินสดที่คาดหวังภายใต้โครงการดังกล่าว แต่ได้ แสดงประมาณการความอ่อนไหวของข้อสมมติฐานต่างๆ

หน้า 34


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

115

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 19. ทุนเรื อนหุ้นและส่ วนเกินมูลค่ ำหุ้น ทุนจดทะเบียน จานวนเงิน จานวนหุ้น (บาท)

ทุนที่ออกและชาระแล้ว จานวนเงิน จานวนหุ้น (บาท)

ส่ วนเกิน มูลค่าหุ ้น จานวนเงิน (บาท)

วันที่ 31 ธันวาคม 2560 (มูลค่าหุ ้นละ 0.50 บาท)

220,000,000

110,000,000

219,999,984

109,999,992

277,491,764

วันที่ 1 มกราคม 2559 (มูลค่าหุ้นละ 0.50 บาท) เพิ่มทุนจดทะเบียนและออกหุ ้นเพิ่มทุน วันที่ 31 ธันวาคม 2559 (มูลค่าหุ ้นละ 0.50 บาท)

200,000,000 20,000,000

100,000,000 10,000,000

200,000,000 19,999,984

100,000,000 9,999,992

277,491,764 -

220,000,000

110,000,000

219,999,984

109,999,992

277,491,764

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 บริ ษทั มีทุนจดทะเบียนเป็ นจานวนเงิน 110 ล้านบาท (หุ ้นสามัญจานวน 220 ล้าน หุ ้น มูลค่าหุ ้น ละ 0.50 บาท) และบริ ษ ทั มีทุน ที่ ชาระแล้วเป็ นจานวนเงิ น 110 ล้านบาท (หุ ้น สามัญ จานวน 220 ล้าน หุ ้น มูลค่าหุ ้นละ 0.50 บาท) 20. ทุนสำรองตำมกฎหมำย ตามพระราชบัญญัติมหาชนจากัด พ.ศ. 2535 บริ ษทั ต้องจัดสรรทุนสารองตามกฎหมายอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกาไร ประจาปี หักขาดทุนสะสมต้น ปี (ถ้ามี) จนกว่าทุนสารองตามกฎหมายดังกล่าวมีจานวนเท่ากับร้อยละ 10 ของทุน จด ทะเบี ยน ทุนสารองตามกฎหมายนี้ ไม่อาจนาไปจ่ายเป็ นเงิ นปั นผลได้ 21. เงินปันผลจ่ ำย อนุมตั ิโดย เงินสดปันผล จ่ายเงินปันผลจากกาไรสะสมและ ผลการดาเนินงานปี 2559 จ่ายเงินปันผลจากผลการดาเนินงาน ของบริ ษทั ปี 2558 จ่ายเงินปันผลจากผลการดาเนินงาน ของบริ ษทั สาหรับงวด 9 เดือน สิ้ นสุ ดวันที 30 กันยายน 2559 รวมเงินสดปันผลจ่ายปี 2559

จานวนหุน้ อัตราหุน้ ละ จานวนเงิน (หุน้ ) (บาท) (ล้านบาท)

จ่ายเงินปันผล

ที่ประชุมวิสามัญผูถ้ ือหุน้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560

220 ล้าน

0.09

19.80 พฤษภาคม 2560

ที่ประชุมใหญ่สามัญผูถ้ ือหุน้ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559

200 ล้าน

0.08

16.00 พฤษภาคม 2559

ที่ประชุมวิสามัญผูถ้ ือหุน้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559

200 ล้าน

0.006

1.11 พฤศจิกายน 2559 17.11

หุ้นปันผล เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559 ที่ ประชุมวิสามัญผูถ้ ือหุ ้น มีมติอนุ มตั ิการจ่ายหุ ้นปั นผลจากผลการดาเนิ นงานสาหรับงวด 6 เดือน สิ้ นสุ ดวันที่ 30 มิถุนายน 2559 โดยจ่ายปั นผลเป็ นหุ ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผถู ้ ือหุ ้นของบริ ษทั จานวน 20,000,000 หุ ้น มูลค่าที่ ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ในอัตรา 10 หุ ้นเดิ มต่อ 1 หุ ้นปั นผลรวมมูลค่า 10.0 ล้านบาทหรื อคิดเป็ นอัตราการจ่ายปั นผลในอัตรา 0.05 บาทต่อหุ ้น ทั้งนี้ ในกรณี ที่ผถู ้ ือหุ ้นรายใดมีเศษหุ ้นเดิมหลังจากการจัดสรรหุ ้นปั นผลแล้ว ให้จ่ายปั นผลเป็ นเงินสดแทน การจ่ายหุน้ ปั นผลในอัตราหุน้ ละ 0.05 บาท หน้า 35


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

116 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 22. เงินกองทุนสำรองเลีย้ งชีพพนักงำน บริ ษทั และพนักงานของบริ ษทั ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสารองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งประกอบด้วย เงินที่พนักงานจ่ายสะสมเป็ นรายเดือนในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือน และเงินที่บริ ษทั จ่ายสมทบให้ในอัตรา ร้อยละ 5 - 10 ของเงิ นเดื อน ในระหว่างปี สิ้ นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชี พ จานวน 5.5 ล้านบาท (ปี 2559 : 5.0 ล้านบาท) 23. ค่ ำใช้ จ่ำยตำมลักษณะ รายการค่าใช้จ่ายตามลักษณะที่สาคัญสาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 ได้แก่ บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559 2560 2559 929,154,874 876,225,577 ต้นทุนงานบริ การ 911,597,946 867,217,422 183,266,312 166,646,864 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 179,197,037 163,346,300 18,118,489 17,595,382 ค่าเสื่ อมราคาและค่าตัดจาหน่าย 17,810,674 17,347,979 24. ภำษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 สรุ ปได้ดงั นี้

บาท

งบการเงินรวม 2560 2559 ภำษีเงินได้ ทรี่ ับรู้ ในกำไรหรื อขำดทุน ภำษีเงินได้ ปัจจุบัน: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภำษีเงินได้ รอกำรตัดบัญชี: ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากการเกิดผลแตกต่างชัว่ คราว (157,301) และการกลับรายการผลแตกต่างชัว่ คราว (157,301) รวม ภาษีเงินได้ที่รับรู ้ในกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอื่น ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย สาหรับโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน

17,513,156

(311,808) 17,201,348

270,781

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559

-

(157,301) (157,301)

-

17,513,156

(311,808) 17,201,348

270,781

หน้า 36


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

117

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริ ง

กาไร(ขาดทุน)ก่อนภาษีเงินได้ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (ร้อยละ) จานวนภาษีตามอัตราเงินได้ ค่าใช้จ่ายที่มีสิทธิหกั ได้เพิ่ม ผลขาดทุนทางภาษีไม่ได้ใช้สิทธิ ผลขาดทุนในปี ปั จจุบนั ที่รับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี ภำษีเงินได้ ของงวดปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของผลแตกต่างชัว่ คราว ค่ ำใช้ จ่ำยภำษีเงินได้

บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2560 2559 2560 2559 (17,454,772) 78,595,513 (12,012,024) 84,134,144 20 20 20 20 (3,490,955) 15,719,103 (2,402,405) 16,826,829 (884,573) (543,257) (884,573) (543,257) 1,088,550 1,107,726 1,921,266 1,365,712 (157,301) (157,301)

1,229,584 17,513,156 (311,808) 17,201,348

1,921,266 1,365,712 (157,301) (157,301)

1,229,584 17,513,156 (311,808) 17,201,348

สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 ประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้ บาท 2560 2559 สินทรัพย์ ภำษีเงินได้ รอกำรตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,041,881 1,411,108 ค่าเผื่อการลดราคาเงินลงทุนในบริ ษทั อื่น 28,000 28,000 ขาดทุนสะสมทางภาษี 1,921,266 หนี้สินผลประโยชน์พนักงานเมื่อเกษียณอายุ 2,811,909 2,440,069 5,803,056 3,879,177 รวมสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนีส้ ินภำษีเงินได้ รอกำรตัดบัญชี 71,656 (83,032) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 5,874,712 3,796,145 ภำษีเงินได้ รอกำรตัดบัญชี – สุ ทธิ

หน้า 37


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

118 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 25. ข้ อมูลเกีย่ วกับกำรดำเนินงำนจำแนกตำมส่ วนงำน ข้อมูลส่ วนงานดาเนิ นงานที่ นาเสนอนี้ สอดคล้องกับรายงานภายในของบริ ษทั ที่ ผูม้ ี อานาจตัดสิ นใจสู งสุ ดด้านการ ดาเนิ นงานได้รับ และสอบทานอย่างสม่ าเสมอเพื่ อใช้ในการตัดสิ น ใจในการจัดสรรทรั พยากรให้กับ ส่ วนงานและ ประเมินผลการดาเนินงานของส่วนงาน กลุ่มบริ ษทั ดาเนิ น ธุ รกิ จเฉพาะในประเทศเป็ นส่ วนใหญ่ ดังนั้นฝ่ ายบริ หารจึ งพิจ ารณาว่ากลุ่มบริ ษทั มีส่วนงานทาง ภูมิศาสตร์เพียงส่วนงานเดียว และบริ ษทั ได้แบ่งส่วนงานดาเนินงานออกเป็ น 2 ส่วนงานหลัก คือ 1. ธุรกิจงานก่อสร้างตกแต่งภายใน 2. ธุ รกิ จ งานแสดงสิ น ค้านิ ท รรศการ การตลาดทางเลื อ ก และอื่ น ๆ ซึ่ งประกอบด้ว ย ธุ รกิ จ งานแสดงสิ น ค้าและ นิทรรศการ ธุรกิจกิจกรรมทางการตลาด ธุรกิจนิทรรศการถาวรและพิพิธภัณฑ์ ข้อมูลรายได้ กาไร และสิ นทรัพย์ของส่วนงานของกลุ่มบริ ษทั สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และ 2559 มีดงั นี้ ประเภทรายได้ รายได้จากการให้บริ การ รายได้อื่น รวมรายได้ ผลการดาเนินงานแต่ละส่ วนงาน ต้นทุนส่ วนที่ปันส่ วนไม่ได้ กาไรสาหรับปี สิ นทรัพย์ถาวรที่ใช้ในส่ วนงาน สิ นทรัพย์ถาวรส่ วนกลาง สิ นทรัพย์ถาวรรวม ค่าเสื่ อมราคาสะสม สิ นทรัพย์ถาวร สิ นทรัพย์ส่วนกลาง สิ นทรัพย์รวม

งานก่อสร้างตกแต่งภายใน 2560 2559 538,312,420 651,646,444

งานแสดงสิ นค้านิทรรศการ การตลาดทางเลือก และอื่นๆ รวม 2560 2559 2560 2559 609,681,648 527,602,303 1,147,994,068 1,179,248,747 2,149,015 2,882,225 1,150,143,083 1,182,130,972

(66,609,948)

23,534,967

51,233,743

39,380,312

(15,376,205) (15,376,205)

62,915,279 (1,521,114) 61,394,165

100,838,414

74,642,596

82,892,035

82,628,307

183,730,449 26,503,522 210,233,971 (109,411,245) 100,822,726 644,706,033 745,528,759

157,270,903 50,978,380 208,249,283 (112,154,628) 96,094,655 634,580,764 730,675,419

ข้ อมูลเกีย่ วกับลูกค้ ำรำยใหญ่ ในปี 2560 บริ ษทั มีรายได้จากลูกค้ารายใหญ่ จานวน 2 ราย คิดเป็ นร้อยละ 24 ของรายได้รวม (ปี 2559 : จานวน 2 ราย คิดเป็ นร้อยละ 19 ของรายได้รวม)

หน้า 38


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

119

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 26. เครื่ องมือทำงกำรเงิน 26.1 ควำมเสี่ยงด้ ำนกำรให้ สินเชื่ อ บริ ษทั มีความเสี่ ยงด้านการให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่ องกับลูกหนี้ ของกิจการ อย่างไรก็ตามหากมีลูกหนี้ ที่บริ ษทั คาดว่าอาจจะ มีปัญหาด้านการชาระเงินแล้วผูบ้ ริ หารของกิจการมีนโยบายที่จะบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้เพียงพอกับโอกาสที่จะ เกิดความสูญเสี ยดังกล่าว 26.2 ควำมเสี่ยงจำกอัตรำแลกเปลีย่ นและกำรบริหำรควำมเสี่ยง บริ ษทั มีความเสี่ ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากบริ ษทั มีลูกหนี้การค้าและเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ ในสกุลเงินเหรี ยญสหรัฐอเมริ กาและดอลลาร์ สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม บริ ษทั ไม่ได้ใช้ตราสารอนุ พนั ธ์ทางการเงิ นเพื่อ ป้ องกันความเสี่ ยงดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั มีสินทรัพย์และหนี้สินที่ที่ไม่ได้ทาการป้ องกันความเสี่ ยง ดังนี้ สกุลเงิน จำนวนเงิน ลูกหนี้การค้า เหรี ยญสหรัฐอเมริ กา 46,846 ลูกหนี้การค้า ดอลลาร์สิงคโปร์ 48,765 ลูกหนี้การค้า ฟรังก์สวิตเซอร์แลนด์ 15,493 เจ้าหนี้การค้า ดอลลาร์สิงคโปร์ 148,000 เจ้าหนี้การค้า หยวน 104,455 26.3 ควำมเสี่ยงจำกอัตรำดอกเบีย้ บริ ษทั มีความเสี่ ยงจากอัตราดอกเบี้ย เนื่ องจากมีเงินฝากกับสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม เนื่ องจากสิ นทรัพย์ทางการเงิน ดังกล่ าวส่ วนใหญ่ จ ัดอยู่ในประเภทระยะสั้น บริ ษ ัทเชื่ อว่าความผันผวนของอัตราดอกเบี้ ยในตลาดในอนาคตจะ ไม่ ส่ งผลกระทบอย่างเป็ นสาระสาคัญต่ อผลการดาเนิ นงานและกระแสเงิ นสดของกิ จการ ดังนั้นบริ ษ ัทจึ งมิ ได้ใช้ ตราสารอนุพนั ธ์ทางการเงินเพื่อป้ องกันความเสี่ ยงดังกล่าว 26.4 มูลค่ ำยุตธิ รรมของเครื่ องมือทำงกำรเงิน เนื่ องจากเครื่ องมื อทางการเงิ นส่ วนใหญ่ ของบริ ษทั จัดอยู่ในประเภทระยะสั้น บริ ษทั จึ งเชื่ อว่าสิ นทรั พย์และหนี้ สิน ทางการเงินของบริ ษทั มีมูลค่ายุติธรรมใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จานวนเงิ นที่ ผซู ้ ้ื อและผูข้ ายตกลงแลกเปลี่ยนสิ นทรัพย์กนั ในขณะที่ ท้ งั สองฝ่ ายมีความรอบรู ้ และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็ นอิสระในลักษณะที่ ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วิธีการ กาหนดมูลค่ายุติธรรมขึ้นอยูก่ บั ลักษณะของเครื่ องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกาหนดจากราคาตลาดล่าสุ ด หรื อ กาหนดขึ้นโดยใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม

หน้า 39


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

120 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 27. ภำระผูกพันและหนีส้ ินทีอ่ ำจเกิดขึน้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั มีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้ 27.1 บริ ษทั มีภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่ดินและอาคารที่จะต้องจ่ายค่าเช่าในแต่ละปี ดังนี้ ปี ล้านบาท 2560 13.7 2561 14.9 2562 11.9 27.2 บริ ษทั มีภาระผูกพันเกี่ยวเนื่องกับการจ้างผูร้ ับเหมาช่วงและซื้อวัตถุดิบเป็ นจานวนเงิน 84.6 ล้านบาท 27.3 บริ ษ ัทมี หนี้ สิ น ที่ อาจเกิ ดขึ้ นจากการที่ สถาบัน การเงิ น ออกหนั งสื อค้ าประกัน เพื่ อ ค้ าประกัน การใช้ไฟฟ้ า และ การปฏิบตั ิงานตามสัญญาให้บริ การจานวนเงิน 52.7 ล้านบาท โดยมีเงินฝากประจา ตามหมายเหตุ 9 28. กำรบริหำรจัดกำรทุน วัตถุประสงค์ในการบริ หารจัดการทุนที่สาคัญของบริ ษทั คือการจัดให้มีซ่ ึ งโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมและการดารงไว้ ซึ่งความสามารถในการดาเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2560 งบการเงิ น รวมและงบการเงิ น เฉพาะกิ จ การแสดงอัต ราส่ วนหนี้ สิ น ต่ อ ทุ น เท่ ากับ 0.83 :1 (ปี 2559 : 0.64 :1) 29. เหตุกำรณ์ ภำยหลังรอบระยะเวลำรำยงำน ตามมติ ที่ ประชุ มคณะกรรมการ เมื่ อวันที่ 13 พฤศจิ กายน 2560 มี มติ ให้บริ ษ ัทลงทุ นใน Kingsmen C.M.T.I. Cambodia Company Limited. ซึ่งเป็ นบริ ษทั ที่จดั ตั้งใหม่ จานวน 300,000 หุน้ โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 เหรี ยญสหรัฐอเมริ กา คิดเป็ น จานวนเงิน 300,000 เหรี ยญสหรัฐอเมริ กาหรื อเทียบเท่า 9.8 ล้านบาท คิดเป็ นสัดส่ วนการลงทุนร้อยละ 100 ซึ่ งบริ ษทั ดังกล่าว ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริ ษทั ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริ ษทั ครั้งที่ 1/2561 มีมติอนุมตั ิ………………. ทั้งนี้ มติดงั กล่าวจะนาเสนอต่อที่ประชุมสามัญผูถ้ ือหุน้ ประจาปี 2560 เพื่อพิจารณาอนุมตั ิต่อไป

หน้า 40


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

121

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

บริษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำกัด (มหำชน) และบริษัทย่ อย หมำยเหตุประกอบงบกำรเงิน (ต่ อ) สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2560 30. กำรจัดประเภทรำยกำรในงบกำรเงิน บริ ษทั ได้จ ัดประเภทรายการบัญชี ใหม่บางรายการเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้ น ทั้งนี้ การจัดประเภทรายการบัญชี ดังกล่าวไม่ มี ผลกระทบต่อกาไรสาหรับปี หรื อส่วนของเจ้าของตามที่เคยรายงานไว้ การจัดประเภทรายการใหม่มีดงั ต่อไปนี้ บาท งบการเงินรวม ตามที่จดั ประเภท ตามที่เคย รายการใหม่ รายงานไว้

งบการเงินเฉพาะกิจการ ตามที่จดั ประเภท ตามที่เคย รายการใหม่ รายงานไว้

สำหรับปี สิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวำคม 2559 งบกำไรขำดทุนเบ็ดเสร็จ ต้นทุนการให้บริ การ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร

995,417,433 8,881,556 98,792,084

957,060,116 20,522,814 125,508,143

988,878,957 8,829,465 93,688,704

950,521,640 20,470,723 120,404,763

31. กำรอนุมตั งิ บกำรเงิน งบการเงินนี้ได้รับอนุมตั ิให้ออกโดยคณะกรรมการของบริ ษทั เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

หน้า 41


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

122 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

การวิเคราะห์และคำ�อธิบายของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis: MD&A)

บริษัท คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จำ�กัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย


A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

123

K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .

คำ�อธิบายและการวิเคราะห์การดำ�เนินงาน และฐานะทางการเงิน ภาพรวมการดำ�เนินงาน บริษทั มีรายได้จากการให้บริการในปี 2560 รวมเป็นจำ�นวน 1,147.99 ล้านบาท ลดลงจากปีทแี่ ล้ว คิดเป็นจำ�นวน 31.25 ล้านบาท เนือ่ งจากบริษทั ฯ มียอดขายลดลงในช่วงครึง่ ปีแรกประกอบกับการส่ง มอบพืน้ ทีล่ า่ ช้าทำ�ให้การรับรูร้ ายได้ในส่วนของงานตกแต่งภายในเลือ่ น ออกไป บริ ษั ท มี ต้ น ทุ น การให้ บ ริ ก ารในปี 2560 เป็ น จำ � นวน 1,053.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว คิดเป็น จำ�นวน 57.92 ล้าน บาท เทียบสัดส่วนกับยอดขาย แล้ว พบว่าต้นทุนการให้บริการเพิม่ ขึน้ ในปี 2560 บริษัทฯมีกำ�ไรขั้นต้น เป็นจำ�นวน 94.65 ล้าน บาท ลดลง 89.18 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว บริษทั มีคา่ ใช้จา่ ยในการขายและบริหารในปี 2560 เพิม่ ขึน้ เป็นจำ�นวน รวม 5.91 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่แล้วสำ�เหตุดังนี้ เนือ่ งจากบริษทั ฯ มีคา่ ใช้จา่ ยในส่วนของการประชาสัมพันธ์ ควบคูก่ บั ส่งเสริมการขายโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพือ่ ตอบแทนสังคม เพิ่มขึ้น อาทิ ในเรื่องของการให้ความรู้เชิงวิชาการแนวโน้มเศรษฐกิจ จากนักวิชาการชั้นนำ�กับคู่ค้าทางธุรกิจทุกภาคส่วนเพื่อให้เป็นการ พบปะและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่นงาน K-forum, ร่วมกิจกรรม กับโครงการตาวิเศษ, กิจกรรม CSR เพื่อสังคมอื่นๆ เป็นต้น บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายส่วนของการศึกษาดูงาน, การดำ�เนิน การเกีย่ วกับการจัดตัง้ ย่อยในประเทศกัมพูชา ตัง้ แต่ไตรมาส 3 เป็นต้น มาจนถึงสิ้นปี (ซึ่งดำ�เนินการจดทะเบียนแล้วเสร็จ เมื่อ 5 กพ. 2561) บริษัทมีผลประกอบการรวม ขาดทุนสุทธิ 15.38 ล้านบาท ในปี 2560 สาเหตุหลักโดยสรุปเป็น 3 ช่วงดังนี้

• ช่วงต้นปี - ครึ่งปีแรก

ยอดขายธุรกิจตกแต่งภายในที่ลดลงกว่าเท่าตัว, เศรษฐกิจ ชะลอตัว, กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาทิ ธุรกิจห้างสรรพสินค้าเลื่อน กำ�หนดการเปิดตัวออกไปถึงต้นปี 2561 ส่งผลให้รายได้จากการรับ งานพื้นที่ส่วนกลาง และ ลูกค้า Shop Brand Name ลดลง

ลูกค้าบางโครงการที่มูลค่างานสูงมากกว่า 100 ล้านบาท ระยะเวลาในการทำ�งานยาวขึ้น (8-20 เดือน) ซึ่งมีกำ�ไรขั้นต้นต่ำ�กว่า Shop Brand name ส่งมอบพืน้ ทีล่ า่ ช้าทำ�ให้บริษทั ต้องแบกรับต้นทุน ในส่วนของ Overhead ในช่วงที่รอเข้าทำ�งาน บริษทั มีการปรับโครงสร้างและควบรวมสายธุรกิจบางส่วน เนื่องจากผู้บริหารท่านหนึ่งแยกตัวออกไป จึงต้องจัดทีมใหม่เข้ามารับ ช่วงต่อและจ้างผู้รับเหมาเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนเพื่อดูแลในส่วนงานที่ ค้างและสามารถส่งมอบงานให้ลูกค้าได้ทันตามกำ�หนดเดิม ช่วงรอย ต่อทำ�ให้สายธุรกิจชะงัก, ชะลอตัว มีต้นทุนซ้ำ�ซ้อนและสูง

• ช่วงไตรมาสที่ 3

เป็นช่วงฤดูกาลชะลอตัวของธุรกิจงานแสดงสินค้าและการ จัดกิจกรรมที่มีรายได้ไม่สูงมาก (งานใหญ่ๆ จะจัดช่วงไตรมาส 4 ของ ทุกปี นอกจากนี้ บริษทั ฯได้รบั งานโครงการหนึง่ (กึง่ รัฐวิสาหกิจ) เป็นลูกค้าใหม่ มีกฏระเบียบที่เข้มงวดและมีข้อจำ�กัดในการทำ�งานที่ เคร่งครัดสูง ประกอบกับการขาดประสบการณ์ จึงเป็นอุปสรรคในการ บริหารและเป็นอุปสรรคในการเข้าปฏิบัติงาน ทำ�ให้บริษัทฯมีต้นทุน ส่วนนี้สูงกว่าปกติมาก

• ธุรกิจงานแสดงสินค้านิทรรศการ การตลาดทางเลือก

ยอดขายสูงมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ลูกค้ามีการจัดงาน ปลายปีมากขึ้น โดยเฉพาะงานกิจกรรม มีทั้ง RoadShow และ เปิด ตัวแคมเปญ, ผลิตภัณฑ์ใหม่จำ�นวนมาก และงานธุรกิจตกแต่งภายใน ส่งมอบงานได้ทันภายในสิ้น ปีหลายโครงการสามารถรับรู้รายได้ที่ถูกเลื่อนมาจากกำ�หนดเดิม ผล ประกอบการในไตรมาส 4 จึงมีกำ�ไรสูง ส่งผลให้ภาพรวมของกิจการ ทั้งปี 2560 เหลือขาดทุนสุทธิเพียง 15.38 ล้านบาท


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

124 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )

เอกสารแนบ attachment


อายุ (ปี )

66

54

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

นายชยวัฒน์ พิเศษสิ ทธิ์ ประธานกรรมการ / ประธานกรรมการบริ หาร (ปี 2532)

นางพูนสุข พิเศษสิ ทธิ์ กรรมการ / กรรมการบริ หารฝ่ ายบัญชีและการเงิน (ปี 2537)

ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค สาขา การบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิ ชย การสยาม ประกาศนียบัตร Finance for The Boss (2009) จากสถาบัน Management and Psychology Institute

คู่สมรสของนาย ชยวัฒน์ พิเศษ สิ ทธิ์

เอกสารแนบ 1 หน้า 1

4.70

2559 - ปัจจุบนั

2537 - ปัจจุบนั

กรรมการ / กรรมการบริ หาร บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. ฝ่ ายบัญชีและการเงิน จากัด (มหาชน) กรรมการบริ หารความเสี่ ยง บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน

125

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) การถือหุ้น ครอบครัว ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ ธุรกิจ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร 37.17 คู่สมรสของนาง 2532 – ปัจจุบนั ประธานกรรมการ / บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. ปริ ญญาตรี วท.บ. วิทยาศาสตร์ พูนสุข พิเศษสิ ทธิ์ ประธานกรรมการบริ หาร จากัด (มหาชน) การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสรรหา บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. 2559 - ปัจจุบนั การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน ค่ า ตอบแทน และบรรษั ท ภิ จ ากัด (มหาชน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) บาล - Director Accreditation Program 2545 - ปัจจุบนั กรรมการอิสระ / กรรมการ บริ ษทั โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (DAP) รุ่ นที่ 97/2555 ตรวจสอบ / กรรมการกากับ จากัด (มหาชน) - Audit Committee Program กิจการที่ดี / กรรมการสรร (ACP) รุ่ นที่ 41/2555 หาและพิจารณาค่าตอบแทน - Role of the Chairman Program 2557 - ปัจจุบนั นายกสมาคม สมาคมกีฬาบริ ดจ์แห่งประเทศ รุ่ นที่ 37/2558 ไทย 2557 - ปัจจุบนั อุปนายก สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตา วิเศษ)

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

เอกสารแนบ 1 - รายละเอียดเกีย่ วกับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้มอี านาจควบคุม และเลขานุการของบริษทั ฯ

เอกสารแนบ 1

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


อายุ (ปี )

57

64

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

นายประวิชย์ ศรี บณั ฑิตมงคล กรรมการ / กรรมการผูจ้ ดั การ (ปี 2546)

นายสงวน ศรี นคาริ นทร์ กรรมการ (ปี 2545)

เอกสารแนบ 1

ปริ ญญาตรี (สาขาบริ หารธุรกิจ) California State University - ด้าน เศรษฐศาสตร์ และบริ หารการเกษตร การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 114/2558

การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 114/2558 ประกาศนี ยบัตรวิชาชีพชั้นสูง Assumption Commercial College การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 119/2558

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

เอกสารแนบ 1 หน้า 2

-

3.42

-

-

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง การถือหุ้น ครอบครัว ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร

2548 - ปัจจุบนั 2548 - ปัจจุบนั

2557 - ปัจจุบนั

2558 - ปัจจุบนั

2558 - ปัจจุบนั

2545 - ปัจจุบนั

2535 – 2546 2524 – 2535

2546 – 2558

2559 - ปัจจุบนั

2558 - ปัจจุบนั

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน กรรมการ / กรรมการบริ หาร บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด Vice President - Industry Reed Tradex Co., Ltd. Trader for export/import of C.P.Intertrade Co., Ltd. grains กรรมการ บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) กรรมการ บริ ษทั ซี แอนด์ เอส กรุ งเทพ (2015) จากัด กรรมการ บริ ษทั ซี แอนด์ เอส พัทยา2015 จากัด กรรมการ บริ ษทั เอสเคอาร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จากัด กรรมการบริ หาร บริ ษทั เดอะ ไฮด์ อะเวย์ จากัด กรรมการ บริ ษทั อีเทคแอทไทย จากัด

กรรมการ / กรรมการ ผูจ้ ดั การ กรรมการบริ หารความเสี่ ยง

ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ธุรกิจ

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

126 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


อายุ (ปี )

64

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

พลตารวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ (25/2/2558)

เอกสารแนบ 1

 ปริ ญญาโท สาขาศิลปศาสตร (กฎหมาย เศรษฐกิจ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปริ ญญาโท สาขาบริ หารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปริ ญญาโท รัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์  รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรี ยนนาย ร้อยตารวจ  หลักสูตรวิทยาลัยป้ องกันราชอาณาจักร รุ่ นที่ 388  Overseas Command Course, The Police Staff College, England.  FBI National Academy, USA.  หลักสูตรผูบ้ ริ หารระดับสูง รุ่ นที่ 6 สถาบันวิทยาการตลาดทุน  หลักสูตรการเมืองการปกครองใน ระบบประชาธิปไตยสาหรับนักบริ หาร ระดับสู ง รุ่ นที่ 12 สถาบันพระปกเกล้า

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

-

ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ / กรรมการ ตรวจสอบ กรรมการอิสระ / ประธาน กรรมการตรวจสอบ ประธานที่ปรึ กษา

2557 - 2559 2557 - ปัจจุบนั

2557 - ปัจจุบนั

2557 - ปัจจุบนั

กรรมการอิสระ / ประธาน กรรมการตรวจสอบ

ผูจ้ ดั การ

2528 – ปัจจุบนั

2558 - ปัจจุบนั

กรรมการ

2531 – ปัจจุบนั

ประธานคณะกรรมการ สอบสวนอุบตั ิเหตุของ อากาศยาน ในราชอาณาจักร

กรรมการบริ หาร

2532 – ปัจจุบนั

2558 - ปัจจุบนั

กรรมการ

2538 - ปัจจุบนั

บริ ษทั แปซิฟิกไพพ์ จากัด (มหาชน) บริ ษทั วนชัย กรุ๊ ป จากัด (มหาชน) บริ ษทั เอเชียน อินซูเลเตอร์ จากัด (มหาชน) บริ ษทั ซี.พี.แลนด์ จากัด (มหาชน)

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

บริ ษทั เมาน์เท่น ไบค์ โปร เฟชชัน่ แนล เซอร์ กิต จากัด บริ ษทั โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด บริ ษทั โพลิเมอร์ เอ็นจิเนียริ่ ง แอนด์ เทรดดิ้ง จากัด ห้างหุ ้นส่วนจากัด ฟูยไี ทยการ ไฟฟ้า

ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ธุรกิจ

127

เอกสารแนบ 1 หน้า 3

-

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง การถือหุ้น ครอบครัว ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


อายุ (ปี )

64

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ (25/2/2558)

เอกสารแนบ 1

 ปริ ญาเอก สาขาสถิติ - The University of Michigan, USA  ปริ ญญาโท สาขาสถิติ - Michigan State University, USA  ปริ ญญาตรี วท.บ คณิ ตศาสตร์ เกียรติ นิยมอันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 114/2558

 หลักสูตรผูบ้ ริ หารกระบวนการยุติธรรม ระดับสู ง รุ่ นที่ 16 สถาบันพัฒนา ข้าราชการฝ่ ายตุลาการ ศาลยุติธรรม  การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Certification Program (DCP) รุ่ นที่ 46/2547 - Advanced Audit Committee Program (AACP) รุ่ นที่ 2/2547 - Role of the Chairman Program (RCP) รุ่ นที่ 33/2557 - Financial Statements for Directors (FSD) รุ่ นที่ 23/2557

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

เอกสารแนบ 1 หน้า 4

0.10

-

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง การถือหุ้น ครอบครัว ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร

2552 – ปัจจุบนั

2557 – ปัจจุบนั

2554 - ปัจจุบนั

2552 - ปัจจุบนั

2559 - ปัจจุบนั

2558 – ปัจจุบนั

กรรมการอิสระ / กรรมการ ตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิ บาล กรรมการอิสระ / กรรมการ ตรวจสอบ ที่ปรึ กษาคณะกรรมการ สถานศึกษาฯ ประธานบุคลากรผู้ เกษียณอายุราชการ กรรมการดาเนินการ โครงการแผนการดาเนินการ

ประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม เลขาธิ การสภาความมัน่ คง แห่งชาติ ผูบ้ ญั ชาการตารวจแห่ งชาติ

2554 - 2556 2555 - 2556 2554 – 2555 2553 – 2554

กรรมการ

2555- 2556

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริ ษทั เมืองไทยประกันชี วิต จากัด (มหาชน) โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษา

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

บริ ษทั การบินไทย จากัด (มหาชน) การทางพิเศษแห่ งประเทศไทย

ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ธุรกิจ

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

128 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


อายุ (ปี )

55

48

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

อาจารย์ธีรธัช โปษยานนท์ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ (25/2/2558)

นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์ กรรมการบริ หารฝ่ ายงานแสดงสิ นค้า พิพิธภัณฑ์ และกิจกรรมการตลาด

เอกสารแนบ 1

 Master of Business Administration (Marketing), Oklahoma City University, USA.  ปริ ญญาตรี คณะพาณิ ชยศาสตร์และ การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 31/2558

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

เอกสารแนบ 1 หน้า 5

-

-

กรรมการอิสระ / กรรมการ ตรวจสอบ ประธานกรรมการบริ หาร ความเสี่ ยง / กรรมการสรร หา ค่าตอบแทน และบรรษัท ภิบาล ที่ปรึ กษาฝ่ ายบัญชีและ การเงิน อาจารย์ประจาวิชา กรรมการ และกรรมการ บริ หารฝ่ ายบัญชีและการเงิน

ปัจจุบนั 2557 – 2558 2558 - ปัจจุบนั

2558 - ปัจจุบนั

2543 - ปัจจุบนั 2533 - 2550

2550 - ปัจจุบนั

2559 - ปัจจุบนั

กรรมการบริ หารฝ่ ายงาน แสดงสิ นค้า พิพิธภัณฑ์ และ กิจกรรมการตลาด

กรรมการตรวจสอบ ที่ปรึ กษานายกสมาคม

2558 – ปัจจุบนั ปัจจุบนั

เพื่อทาการศึกษาและวาง แผนการดาเนินการ กรรมการส่งเสริ มความเป็ น เลิศทางวิชาการ สมาชิกที่ได้รับคัดเลือก

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

บริ ษทั ทรี แพค อินโนเวชัน่ จากัด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) บริ ษทั เรพแพค คอนสตรัคชัน่ จากัด

The International Statistical Institute มหาวิทยาลัยบูรพา สมาคมนักเรี ยนเก่าเตรี ยม อุดมศึกษา บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษา

ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ธุรกิจ

129

2.50

0.54

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง การถือหุ้น ครอบครัว ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


เอกสารแนบ 1 หน้า 6

2.75

-

2558 - ปัจจุบนั

Post Graduated Certificate 3D Imaging in Architecture, London Institute, England  Bachelor in Interior and Spatial Design, London Institute, England  Bachelor in Sociology and Anthropology มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 124/2559 - Director Certification Program (DCP) รุ่ นที่ 219/2559

2548 - 2549 2543 - 2547

2549 - 2558

2545 - 2547 2538 - 2545

2547 - 2558

นายดารงค์ วงษ์ประยูร กรรมการบริ หารฝ่ ายตกแต่งภายใน (ปี 2549)

49

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

กรรมการบริ หารฝ่ ายตกแต่ง ภายใน ผูอ้ านวยการธุรกิจตกแต่ง ภายใน Project Manager Graphic Designer

ผูอ้ านวยการธุรกิจงานแสดง สิ นค้า พิพิธภัณฑ์ และ กิจกรรมการตลาด ที่ปรึ กษาอาวุโส Marketing Communications Manager Marketing & Advertising Manager

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน) บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด Boonsuy Construction Co., Ltd. Rick Mather Architects Co., Ltd.

Modern Group Real Property Co., Ltd.

PR & Associates Co., Ltd. Reed Tradex Co., Ltd.

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด

ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ธุรกิจ

2536 – 2538

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง การถือหุ้น ครอบครัว ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร

Bachelor in Political Science, International Relations มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - Director Accreditation Program (DAP) รุ่ นที่ 124/2559

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

อายุ (ปี )

(ปี 2547)

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

เอกสารแนบ 1

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

130 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


อายุ (ปี )

39

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

นางสาวกัญญา วัฒนแต้ตระกูล

เอกสารแนบ 1

- Financial Statements for Directors (FSD) รุ่ นที่ 30/2559 ปริ ญญาตรี คณะบริ หารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยบูรพา Orientation Course CFO รุ่ นที่3/2017 สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรม ราชูปถัมภ์ ประกาศนียบัตร Professional Controller รุ่ นที่ 7/2017 สภาวิชาชีพ บัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

เอกสารแนบ 1 หน้า 7

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง การถือหุ้น ครอบครัว ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร

2555 – 2559

2560 - ปัจจุบนั

ผูจ้ ดั การแผนกบัญชีและ การเงิน

Financial Controller

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ จากัด

บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ จากัด (มหาชน)

ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ธุรกิจ

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7

131 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


อายุ (ปี )

28

ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันที่ได้รับแต่ งตั้ง

นางสาวณัฐรี ยา สุลยั มาน เลขานุการบริ ษทั ฯ (ปี 2558)

เอกสารแนบ 1

 ปริ ญญาตรี คณะศิลปศาสตร์บณ ั ฑิต สาขา ภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอกเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง AFS Training of Trainer (TOT) workshop in Istanbul, Turkey หลักสูตรผูป้ ฏิบตั ิงานเลขานุการ บริ ษทั Advances for Corporate Secretaries (รุ่ น 1/2558) โดย ชมรม เลขานุการบริ ษทั ไทย การอบรมสมาคมส่ งเสริ มสถาบัน กรรมการบริ ษทั ไทย (IOD) - หลักสูตร Company Secretary Program (CSP) รุ่ น 65/2015 - หลักสูตร Effective Minutes Taking (EMT) รุ่ น 34/2016 - หลักสูตร Company Reporting Program (CRP) รุ่ น 20/2018

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัติอบรม

เอกสารแนบ 1 หน้า 8

2555 - 2556

2557 Corporate Personal Tutor

Flight Attendant

Wall Street Institute (Thailand)

Singapore Airlines

สัดส่ วน ความสัมพันธ์ ทาง ประสบการณ์ทางานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) การถือหุ้น ครอบครัว ช่ วงเวลา ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษทั /ประเภท ในบริษทั ฯ ระหว่างกรรมการ ธุรกิจ (ร้ อยละ) และผู้บริหาร 2558 – ปัจจุบนั เลขานุการบริ ษทั ฯ บริ ษทั คิงส์เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

132 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


นายชยวัฒน์ พิเศษสิ ทธิ์ นางพูนสุข พิเศษสิ ทธิ์ นายประวิชย์ ศรี บณ ั ฑิตมงคล นายสงวน ศรี นคาริ นทร์ พลตารวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี C, M D, M D, M D D, A

บริษัทฯ 1 D, A

D

2

D

3

D

5

เอกสารแนบ 1 หน้า 9

6=บริ ษทั อีเทคแอทไทย จากัด 7=บริ ษทั เอสเคอาร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จากัด 8=ห้างหุ ้นส่วนจากัด ฟูยไี ทยการไฟฟ้า 9=บริ ษทั แปซิ ฟิกไพพ์ จากัด (มหาชน) 10=บริ ษทั วนชัย กรุ๊ ป จากัด (มหาชน)

D

4

D

6

D

D D, A

10

D, A

11

ที่ ปรึ กษา

12

D

13

11=บริ ษทั เอเชียน อินซูเลเตอร์ จากัด (มหาชน) 12=บริ ษทั ซี.พี.แลนด์ จากัด (มหาชน) 13=บริ ษทั ซี แอนด์ เอส กรุ งเทพ (2015) จากัด 14=บริ ษทั ซี แอนด์ เอส พัทยา2015 จากัด 15=บริ ษทั เมืองไทยประกันชีวิต จากัด (มหาชน)

C

บริษัททีเ่ กีย่ วข้ อง 7 8 9

D

14

D, A

15

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

133

1=บริ ษทั โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จากัด (มหาชน) 2=บริ ษทั เดอะ ไฮด์ อะเวย์ จากัด 3=บริ ษทั โพลิเมอร์ เอ็นจิเนี ยริ่ ง แอนด์ เทรดดิ้ง จากัด 4=บริ ษทั โพลิเมอร์ มาร์ เก็ตติ้ง จากัด 5=บริ ษทั เมาน์เท่น ไบค์ โปรเฟชชัน่ แนล เซอร์ กิต จากัด

6. รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร D, A 7. นายธีรธัช โปษยานนท์ D, A 8. นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์ M 9. นายดารงค์ วงษ์ประยูร M 10. นางสาวกัญญา วัฒนแต้ตระกูล M หมายเหตุ: C=ประธานกรรมการ D=กรรมการ A=กรรมการตรวจสอบ M=ผูบ้ ริ หาร รายชื่อบริ ษทั ที่เกี่ยวข้อง:

1. 2. 3. 4. 5.

รายชื่ อ

เอกสารแนบ 1.2 - การดารงตาแหน่ งของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มอี านาจควบคุมของบริษัทฯ

เอกสารแนบ 1

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

1) นายดารงค์ วงษ์ประยูร (ประธานกรรมการบริ หาร) 2) นางสาวสุนิสา รัตนเนนย์ (กรรมการบริ หาร) 3) นายวงศกร พิเศษสิทธิ์ (กรรมการบริ หาร)

เอกสารแนบ 2 หน้า 1

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริ ษทั ฯ มีบริ ษทั ย่อยทั้งสิ้น 1 บริ ษทั ได้แก่ Kingsmen Myanmar Company Limited โดยมีรายชื่อกรรมการ ดังนี้

เอกสารแนบ 2 – รายละเอียดเกีย่ วกับกรรมการของบริษัทย่ อย

เอกสารแนบ 2

รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

134 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )


ชื่ อ-สกุล/ตาแหน่ ง/วันทีไ่ ด้ รับแต่ งตั้ง

อายุ (ปี )

คุณวุฒิทางการศึกษา/ประวัตอิ บรม

นางสาวกรกช วนสวัสดิ์ หัวหน้างานตรวจสอบภายใน (ปี 2558)

38

 

ความสั มพันธ์ ทาง ครอบครัวระหว่ าง กรรมการและ ผู้บริหาร -

เอกสารแนบ 3 หน้า 1

ปริ ญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปริ ญญาตรี คณะบริ หารธุ รกิจ สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยรามคาแหง หลักสู ตร COSO 2013 ภาคทฤษฎีและ ปฏิบตั ิ อบรมหลักสู ตร IT Audit ของสภาวิชาชีพ บัญชี อมรมประกาศนียบัตรผูต้ รวจสอบภายใน CPIAT โครงการดารงและปรับปรุ งคุณภาพงาน ตรวจสอบภายในของหน่วยงาน หลักสู ตรมาตรฐานการบัญชี ที่ปรับปรุ ง ใหม่ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการ ต่อต้านการคอร์รัปชัน่ (แนวทางการ ประเมินระบบบัญชี การเงิน) แนวทางการสื บสวน สอบสวนทุจริ ต Asia Confederation of Institutes of Internal Auditors Conference 2016

สั ดส่ วนการ ถือหุ้นใน บริษัทฯ (ร้ อยละ) -

2555 – 2559

มิ.ย. 2559 – ปัจจุบนั ม.ค. – พ.ค. 2559

ช่ วงเวลา

รองประธานกรรมการบริ หาร ผูจ้ ดั การอาวุโสแผนก ตรวจสอบภายใน ผูจ้ ดั การแผนกตรวจสอบ ภายใน

บริ ษทั สอบบัญชีธรรมนิติ จากัด

ประสบการณ์ ทางานในระยะ 5 ปี ย้ อนหลัง ตาแหน่ ง ชื่ อหน่ วยงาน/บริษัท/ ประเภทธุรกิจ

บริ ษัท คิงส์ เมน ซี.เอ็ม.ที.ไอ. จากัด (มหาชน)

135

เอกสารแนบ 3 – รายละเอียดเกีย่ วกับหัวหน้ างานตรวจสอบภายใน

เอกสารแนบ 3

A N N UA L R E P O R T 2 0 1 7 K i n g s m e n C . M . T. I . P l c .


รา ย งา น ป ระ จำ � ป ี 2 5 6 0

136 บริ ษ ั ท คิ ง ส์ เ ม น ซี . เอ ็ ม .ที . ไ อ . จ ำ � กั ด (ม หาชน )




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.