Do Fish Sleep

Page 1

ปลานอนหลับ (หรือเปล่ า ?) Do fish sleep ? โดย...อดุลย์ แมเร๊ าะ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล ต.ปากนํ้า อ.ละงู จ.สตูล 91110 adulmr@gmail.com หลายท่านอาจจะเคยนึกสงสัยว่า สัตว์ที่อาศัยอยูใ่ นนํ้าอย่างพวกปลา ในแต่ละวันนี่มนั ใช้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนเหมือนกับคนเราหรื อสัตว์บก กระทัง่ สัตว์อากาศทัว่ ๆไปบ้างไหม หนอ ? ถ้าหากว่าพวกมันนอนหลับแล้วจะหลับกันอีท่าไหน อย่างไร ? นอนตะแคง นอนควํ่า หรื อ ว่านอนหงาย และในขณะที่นอนหลับ ปลามันจะฝันถึงแฟนหรื ออุตริ ฝันถึงเลขท้าย 3 ตัว แบบคน ไทยเราหลายคนบ้างหรื อเปล่า ? แล้วมันนอนกรนบ้างมั้ย ? ปั ญหาเหล่านี้น่าสนใจนะครับ ด้วยว่าเราไม่ได้อาศัยอยูใ่ นนํ้าแบบพวกปลา จึงไม่มี ปัญญาที่จะดํานํ้าติดตามไปดูวา่ ปลามันนอนหลับที่ไหนอย่างไร ผมจึงได้ไปค้นข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ในเรื่ องเหล่านี้ ทั้งจากภาษาไทยและต่างประเทศ มาให้พวกเราได้อ่านเป็ นความรู ้เล็กๆ ประดับ สมอง หรื อเอาไว้เล่าให้นอ้ งนุ่งลูก ๆ หลาน ๆ ได้ฟังกัน ก่อนที่จะว่าไปถึงเรื่ องการนอนหลับของปลา เรามาพูดถึงอากัปกิริยาหรื อขั้นตอนใน การนอนหลับของคนเราเสี ยก่อนเป็ นการปูพ้ืน คือว่าคนหรื อมนุษย์เรานี่ นะครับ เมื่อเกิดอาการง่วง นอนในตอนกลางคืน (หรื อเวลาไหนก็ตาม) ก็จะเอนราบหงายหลังหรื อนอนตะแคงลงบนพื้น โดย อาจจะมีเบาะ ฟูก เสื่ อ หรื อวัสดุอนั ใดรองรับหรื อไม่ก็แล้วแต่ พร้อมกับปิ ดเปลือกตาจนเข้าสู่ ภวังค์ หรื อบางคนเมื่อหลับไปสักพักก็จะมีน้ าํ ลายไหลยืดย้วยออกมาที่มุมปากเป็ นที่น่าขยะแขยงยิง่ นัก สุ ภาพบุรุษบางรายอาจจะละเมอพรํ่าเพ้อเรี ยกชื่อกิ๊กออกมาจนภรรยาจับได้ก็เคยมี หรื อกระทัง่ หลาย คนมี sound effects ประกอบการนอนหลับโดยการส่ งเสี ยงกรนออกมา ไล่โทนเสี ยงตั้งแต่ระดับ ความถี่ต่าํ ๆ เบาๆ ไปจนกระทัง่ ถึงระดับความดังเป็ นร้อยเดซิเบลก็เคยปรากฏ คราวหนึ่งได้มีข่าว ลงหนังสื อพิมพ์ความว่า คุณป้ าวัย 60 ปี ชาวเมืองเคมบริ ดจ์เชียร์ ในประเทศอังกฤษ แกนอนหลับ แล้วส่ งเสี ยงกรนดังสนัน่ โดยมีคนได้ลองเอาเครื่ องวัดความดังไปตั้งไว้ใกล้ ๆ กับที่คุณป้ าแกนอน หลับอยู่ (สงสัยเป็ นพวกว่างงาน ชอบยุง่ เรื่ องของชาวบ้าน) พบว่าสเกลของเครื่ องวัดพุง่ ขึ้นไปถึง 116 เดซิเบล ลองเทียบดูกบั เสี ยงรถแทรกเตอร์ ซ่ ึ งมีระดับความดังแค่ 100 เดซิเบล นับว่าเสี ยงกรน ของคุณป้ าแกชนะเสี ยงรถแทรกเตอร์ แบบขาดลอย คราวนี้มาพูดถึงปลากันครับ อันที่จริ งแล้วหากจะบอกว่าปลา “นอนหลับ” ในลักษณะ เดียวกับคนเรานั้น มันก็คงไม่ใช่ ไม่เหมือนกันครับ ด้วยว่าปลาเกือบทุกชนิดไม่มีเปลือกตา (ยกเว้น ปลากระเบนและปลาฉลามซึ่งมีเปลือกตา) ดังนั้นปลาโดยทัว่ ไปจึงไม่สามารถปิ ดหรื อหลับตาได้


ผมมาลองนึกดูเล่น ๆ ว่า ถ้าหากพวกปลามีการนัง่ เรี ยนในชั้นเรี ยนเหมือนคนเรา เห็นท่าจะยุง่ แน่ๆ เพราะอาจารย์ (ปลา) ไม่สามารถจะรู ้ได้วา่ ลูกศิษย์ปลาตัวไหนสนใจการเรี ยนหรื อว่าตัวไหนกําลังนัง่ หลับอยู่ น่ากลุม้ ใจแทนนะครับ ดังนั้น เราอย่าไปเรี ยกว่าปลานอนหลับ(ตา) เลยครับ พูดว่าปลาอยูใ่ นช่วงของการ พักผ่อน (แบบลึกๆ) ดูจะใกล้เคียงกว่า หรื อจะใช้คาํ ว่า “ปลานอน” เฉยๆ โดยไม่ตอ้ งมีคาํ ว่า “หลับ” ดูน่าจะเหมาะสม คือ ในการนอนของปลานั้น เป็ นช่วงเวลาของการลดการระบบใช้พลังงานหรื อลด กระบวนการ metabolism ภายในร่ างกายหรื อทุกส่ วนของปลา หรื อกล่าวได้วา่ เป็ นช่วงเวลาของการ ผ่อนคลายสุ ดๆ โดยอวัยวะภายนอกเกือบทุกส่ วนอยูใ่ นสภาวะค่อนข้างนิ่ง หรื อปลาบางตัวเพียงแค่ โบกพัดครี บอย่างช้า ๆ เบา ๆ แต่ในขณะเดียวกันประสาทรับความรู ้สึกของปลาในช่วงเวลานี้ก็ยงั คง ทํางานหรื อ “ตื่น” อยูต่ ลอดเวลา ดังนั้น ถ้าหากมีการจู่โจมจากศัตรู ในขณะที่ปลากําลังนอนอยู่ มัน จะรู ้สึกตัวขึ้นมาทันทีและรี บว่ายนํ้าพุง่ หลบหนีไป แต่จะหนีทนั หรื อว่าหลุดเข้าไปอยูใ่ นปากหรื อ ท้องของศัตรู น้ นั เป็ นอีกเรื่ องหนึ่ง สําหรับเวลาในการนอนของปลาก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยูก่ บั ชนิดของปลา หลายชนิด นอนในตอนกลางคืน ในขณะที่ปลาบางชนิดนอนในเวลากลางวันแล้วตื่นขึ้นมาเที่ยว เอ้ย !...หากิน ในช่วงกลางคืน ปลาบางชนิดนอนเป็ นพักๆโดยไม่จาํ กัดเวลาหรื อใช้เวลานอนต่อเนื่องในแต่ละ คราวไม่นานมากนัก แต่ก็คงไม่มีปลาชนิดใดที่ใช้เวลานอนทั้งวันทั้งคืนประเภทที่เรี ยกว่าขี้เกียจตัว เป็ นขนดัง่ เช่นคนเราบางคนนะครับ จากการสังเกตปลาทะเลบางชนิดที่อาศัยอยูต่ ามแนวปะการังพบว่า ส่ วนใหญ่แล้ว มักจะนอนในช่วงกลางคืน ไม่ต่างไปจากคนเราส่ วนมากนี่แหละครับ (ไม่นบั คนส่ วนน้อย ที่อาจจะ มีการนอนกลางวันด้วยภาวะจําเป็ นในเรื่ องของอาชีพมาบังคับ) โดยเมื่อใกล้ถึงเวลานอน ปลาพวกนี้ มันก็จะว่ายนํ้าเมียงมองหาที่เหมาะสมในการนอน เช่น ปลาบางตัวจะสอดหรื อขัดตัวอยูต่ ามซอก ปะการัง แง่หิน หรื อโพรงถํ้า ซึ่งมักเป็ นสถานที่เงียบสงบพ้นจากกระแสนํ้าที่รุนแรง และปลอดภัย จากการโจมตีของศัตรู ปลาบางตัวจะเข้าไปนอนในหว่างกลางของปะการังทรงถ้วย แล้วนอนใน ลักษณะขดตัวให้โค้งตามรู ปทรงของปะการังถ้วย ไม่ใช่แบบฤษีดดั ตนนะครับ แบบนี้ ถา้ เป็ นสัตว์ บกก็คงคล้าย ๆ กับลักษณะของแมวนอนหวด คือ โค้งตัวไปตามภาชนะที่พวกมันลงไปนอนอยู่ ปลาทะเลบางชนิดที่อาศัยอยูต่ ามแนวกองหิ น เมื่อถึงเวลานอนมันจะลอยตัวอยูเ่ ฉย ๆ นิ่ง ๆ ที่บริ เวณผิวนํ้าหรื อพื้นทะเล ส่ วนปลาในกลุ่มปลานกแก้วบางชนิด ค่อนข้างจะแปลกไปกว่า ปลาชนิดอื่นสักหน่อย คือ พอตกกลางคืนได้เวลานอน พวกมันจะคลี่แผ่นเยื่อเมือกคลุมร่ างกาย ทั้งตัว แล้วแทรกตัวเข้าไปนอนตามซอกหิ นจนถึงรุ่ งเช้า ขณะที่กาํ ลังนอนอยูน่ ้ นั ดวงตาของปลาเกือบทุกชนิดยังคงเปิ ดอยูเ่ นื่องจากมันไม่มี หนังตาตามที่บอกมาตั้งแต่ตอนต้น หากนักดํานํ้าว่ายเข้าไปใกล้ ก็จะสามารถแอบมองหรื อสังเกต การนอนของมันได้ แต่ถา้ มีการขยับตัวหรื อเคลื่อนไหวกะทันหัน จะทําให้ปลารู้สึกตัวทันทีและ


ว่ายนํ้าหนีไป หรื อศัตรู อย่างอื่นก็เช่นกัน หากมีการขยับตัวหรื อจู่โจมเข้าใส่ ปลาที่กาํ ลังนอนอยูจ่ น นํ้ากระเพื่อมอย่างรุ นแรง ก็จะ “ปลุก” ปลาที่กาํ ลังนอนอยูใ่ ห้วา่ ยนํ้าหนีไป การนอนของปลาฉลามดูจะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ คือว่าในขณะที่นอนอยูน่ ้ นั มันยังคงว่ายนํ้าอยูต่ ลอดเวลา ทั้งนี้เป็ นเพราะว่าปลาฉลามต้องหายใจเอาออกซิ เจนอยูท่ ุกขณะ จึง ต้องว่ายนํ้าเพื่อให้น้ าํ ผ่านเหงือก สําหรับการแลกเปลี่ยนออกซิ เจนระหว่างนํ้าและเหงือกปลา ไหน ๆ เราก็พดู ถึงปลากันแล้ว งั้นมาดูถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยูใ่ นนํ้าเป็ นของ แถม เช่น ปลาโลมาและปลาวาฬ พบว่ามันมีพฤติกรรมในการนอนที่ต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมที่อาศัยอยูบ่ นบก โดยปลาโลมาและปลาวาฬ จะนอนโดยการอยูน่ ิ่ง ๆ ลอยตัวที่บริ เวณผิวนํ้าหรื อ ทอดตัวบนพื้นทะเล ถึงแม้วา่ พวกมันมีหนังตา แต่เวลานอนปลาโลมาจะหลับตาเพียงข้างเดียว มี หลักฐานทางวิชาการว่า เป็ นเพราะสมองของปลาโลมาได้พกั ผ่อนเพียง (ครั้งละ) ซีกเดียวเท่านั้น แต่ในกรณี ของลูกปลาโลมาจมูกขวดและลูกปลาวาฬเพชฌฆาตวัยแรกเกิด ไม่มีการ หลับตาเลยในช่วงเดือนแรก และในช่วงอายุ 4-5 เดือน พวกมันจะว่ายนํ้าอยูต่ ลอดเวลาไม่เคยหยุด จนทําให้ผเู ้ ชี่ยวชาญด้านการนอนของสัตว์ยงั แปลกใจและหาข้อสรุ ปยังไม่ได้วา่ ลูกปลาดังกล่าว มี การนอนกันบ้างหรื อไม่ ? พูดถึงเรื่ องการนอนของปลาแล้ว ทําให้นึกถึงเรื่ องหนึ่งขึ้นมาได้ คือ วันหนึ่งผมได้ไป นัง่ เล่นที่บา้ นของเพื่อน ขณะที่กาํ ลังนัง่ คุยกันอยูน่ ้ นั ลูกสาวของเพื่อนซึ่ งกําลังอยูใ่ นวัยกําลังหัดพูด เจื้อยแจ้วน่ารักน่าชัง ได้เข้ามาบอกพ่อว่า “พ่อๆ รี บไปดูนี่เร็ ว ปลาทองในตูป้ ลามันกําลังนอนหลับอยู”่ ผมกับเพื่อนเลยลุกขึ้นตามหลังเด็กน้อยไปที่ตูเ้ ลี้ยงปลา อยากรู ้เหมือนกันว่าปลาทอง มันนอนหลับยังไง ? โธ่ ! ที่แท้ก็ปลาทองมันพลิกหงายท้องขึ้นอืดตายอยูบ่ นผิวนํ้านัน่ เอง เด็กน้อยเลยเข้าใจ เอาว่ามันกําลังนอนหลับแบบคนเราที่หงายหลังนอนนัน่ เอง พูดถึงการนอนของปลาทอง เอกสารบางเล่มบอกว่ามันจะนอนในช่วงเวลาประมาณ เที่ยงคืน โดยจะอยูน่ ิ่งๆแทบจะไม่เคลื่อนไหว อยูท่ ี่บริ เวณพื้นตูป้ ลาหรื อแทรกตัวอยูต่ ามไม้น้ าํ ที่ ปลูกประดับตู ้ ในบางครั้งมันจะโบกพัดครี บเบา ๆ เพื่อรักษาตําแหน่งลําตัวให้ต้งั อยูใ่ นนํ้าในท่าที่ ปกติ สําหรับปลาตูโ้ ดยทัว่ ๆ ไป ไม่วา่ จะเป็ นปลานํ้าจืดหรื อปลาทะเล มีขอ้ แนะนําว่าใน เวลากลางคืน ควรปิ ดไฟฟ้ าที่อยูเ่ หนื อตูป้ ลาหรื อปิ ดไฟในห้องที่ติดตั้งตูป้ ลาอยูน่ ้ นั ทั้งนี้ก็เพื่อเป็ น การลดการรบกวนของแสงไฟต่อการนอนของปลา เนื่องจากปลาก็มีพฤติกรรมคล้ายกับสิ่ งมีชีวติ โดยทัว่ ไป คือ ในช่วงของการนอน บรรยากาศหรื อสิ่ งแวดล้อมต่างๆ เช่น แสง เสี ยง หรื อการ สั่นสะเทือน ต้องพยามลดหรื อให้มีนอ้ ยที่สุด ซึ่งจะทําให้ปลาเหล่านั้นมีการพักผ่อนได้อย่าง สมบูรณ์เต็มที่นนั่ เองครับ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.