บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 ศิลปะกับปฏิสัมพันธ์ของผู้ดู โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ วงการศึกษาศิลปะของไทยในปัจจุบัน ศิลปะร่วมสมัยหลายประเภทและหลายรูปแบบ ดูเหมือนว่าจะยัง ไม่เป็นที่เข้าใจในกลุ่มของนักศึกษาศิลปะเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลปะประเภทที่ต้องใช้ปฏิสัมพันธ์จากผู้ ดูคือ ศิลปะที่เรียกว่า “Interactive Art” งานศิลปะประเภทนี้จะมีความแตกต่างจากงานศิลปะทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้ดู เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายใน คือ การโต้ตอบทางความรู้สึกหรือความคิดใน แง่มุมต่าง ๆ แต่ศิลปะ “Interactive Art” เป็นประเภทของศิลปะที่ศิลปินมีความคิดและมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ ดูมี ปฏิสัมพันธ์กับงานของเขาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับงาน “ทางกายภาพ” เช่น การจับต้อง การกดปุ่ม การสัมผัสกับตัวงานด้วยวิธีการต่าง ๆ การเคลื่อนไหวไปในงาน บนงาน การใช้เสียง การสร้างเสียง หรือการมีส่วนร่วมกับงานที่เป็นไปตามกาหนดของศิลปิน หรือ เป็นลักษณะของการสร้างสรรค์งานร่วมกับ ศิลปินโดยอิสระ ซึ่งก่อให้เกิดสิ่งใหม่ หรือความหมายใหม่ ให้กับงานของศิลปิน งานประเภท “Interactive Art” จะมีความสมบูรณ์และสัมฤทธิ์ผลได้จะต้องมีปฏิสัมพันธ์จากผู้ดูเป็นส่วนสาคัญ ศิลปะแนวนี้ส่ วนใหญ่จะเป็นศิลปะประเภทอินสตอลเลชั่น (Installation) ศิลปะเพอร์ฟอร์มานส์ (Performance Art) และงานศิลปะที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อนา การใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่รับสัญญาณการ เคลื่ อนไหว และการใช้เ สี ย ง ส่ ว นประเภทที่เ ป็น ที่นิย มกั นมากในปัจ จุบั นคือ การสร้ างงานด้ว ยการใช้สื่ อ อิเลคทรอนิคต่าง ๆ อาทิ Virtual Internet Art ศิลปะในแนวปฏิสัมพันธ์จากผู้ดูงาน มีปรากฏในยุโรปในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ประจักษ์ได้ในผลงาน ของ มาแซล ดูฌองพ์ (Marcel Duchamp) ที่มีชื่อว่า “Rotary Glass Plates” เป็นงานที่ผลิตขึ้นในช่วง ศตวรรษของปี ค.ศ. 1920 ซึ่งผู้ดูงานจะต้องมีส่วนร่วมในการทาให้งานเกิดการเคลื่อนไหว ในช่วงทศวรรษของ ปี ค.ศ. 1960 และ 1970 ศิลปะประเภทนี้เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุโรปและสหรัฐอเมริกาศิลปินได้นา เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น วีดีโอ และระบบดาวเทียม (Satellite) ที่พัฒนาขึ้นในยุคนั้นมาเป็นสื่อในการสร้าง ผลงาน มี ก ารถ่ า ยทอดแพร่ ภ าพสด การท างานของศิ ล ปิ น กั บ การมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ข องผู้ ดู ด้ ว ย ส่ ว นการใช้ คอมพิว เตอร์ ใ นการสร้ างงานในแนวนี้ เ ริ่ ม ขึ้น ในทศวรรษของปี ค.ศ. 1990 เรื่ อยมา โดยเฉพาะอย่า งยิ่ ง ปฏิสัมพันธ์ของผู้ดูกับงานศิลปะที่ใช้สื่อดิจิตอล (Digital Media) ได้รับความสนใจและถูกนามาใช้อย่างต่อเนื่อง ในวงการศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันแทบทุกมุมโลก นอกจากนี้แล้ว Interactive Art ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของการทางานศิลปะที่ข้ามศาสตร์ (Cross Disciplinary) ซึ่งศิลปินอาจทางานร่วมกับสถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ผู้กากับภาพยนตร์ หรือ ศิลปิน และบุคคลในสาขาต่าง ๆ ศิลปะแนวนี้มิได้มีปรากฏในสาขาทัศนศิลป์เท่านั้น ในสายของภาพยนตร์ ดนตรี นาฏศิลป์และสาขาอื่นๆ ก็ยังมีการสร้างสรรค์งานในเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วย
ศิลปินไทยที่ทาศิลปะในแนวนี้มีหลายท่านด้วยกัน ผู้เขียนขอยกตัวอย่างผลงานของศิลปิน ซึ่งเป็นที่รู้จัก อย่ างกว้ างขวาง ทั้ งในระดั บ ประเทศและระดับ นานาชาติ รวมทั้ งผลงานของศิ ล ปิ นรุ่ นใหม่ บางท่ าน มา ประกอบการอธิบายในบทความนี้ ได้แก่ ผลงานของธรรมศักดิ์ บุญเชิด, มณเฑียร บุญมา, พินรี สัณฑ์พิทักษ์, สุธี คุณาวิชยานนท์, บัณฑิต พูน สมบัติเลิ ศ และวิทยา จันมา ศิลปินแต่ล ะท่านมีแนวความคิด รูปแบบ เทคนิค วิธีการการใช้สื่อ และการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์กับงานของเขาในลักษณะที่แตกต่างกัน ธรรมศักดิ์ บุญเชิด ได้แสดงผลงาน Interactive Art เป็นครั้งแรก ณ หอศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2533 ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า “Lines on Walls” ศิลปินใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อหุ้มงานจิตรกรรมซึ่งเป็นรูปทรงแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวและความหนา แตกต่างกัน พื้นที่ของห้องแสดงงานถูกสร้างให้เป็นงานศิลปะที่เต็มไปด้วยแท่งกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ถูกจัดวาง บนผนังเป็นจังหวะ ผู้ดูได้รับการเชิญชวนให้ฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์ที่หุ้มห่อแท่งสี่เหลี่ยมเหล่านั้น งาน จิตรกรรมหลากสีที่ถูกปกปิดไว้ปรากฏแทนที่กระดาษหนังสือพิมพ์ หลังจากนั้นผู้ดูจะนากระดาษที่ฉีกแล้ว ทั้งหมดมากองรวมกันเป็นรูปทรงใหม่บนพื้นห้องและใช้ตะแกรงเหล็กวางทับซ้อนอยู่ด้านบนอีกทีหนึ่ง นับเป็น งานที่ผู้ดูมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งใหม่ ให้ความหมายใหม่กับงาน นามาซึ่งความประหลาดใจและความ สนุกสนานให้กับผู้ดูที่มาร่วมงานในช่วงเวลานั้น ความจริงแล้วผู้ดูแต่ละคนมิได้คาดคิดมาก่อนว่าจะต้องมี ปฏิสัมพันธ์และทางานร่วมกับศิลปินในลักษณะดังกล่าว
รูปที่ 1 มณเฑียร บุญมา “Room” อินสตอลเลชั่น บนพื้นที่ขนาด 19 x 8 เมตร ในสวนพฤกษชาติ อะติเลด ประเทศออสเตรเลีย ไม้สน ผ้าฝ้ายทอและพิมพ์ด้วยมือ ตาปู ขนาดปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ 2537
“Room” ผลงานอินสตอลเลชั่นเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) ของมณเฑียร บุญมา สร้าง ขึ้นบนพื้นที่ของสวนพฤกษชาติในเมืองอะดิเลด (Adelaide) ประเทศออสเตรเลีย มณเฑียรใช้ไม้สนประกอบ ขึ้นเป็นโครงสร้างเสมือนห้องหรือสิ่งก่อสร้างที่ มีความโปร่ง จานวนทั้งหมด 7 ห้อง มีการเว้นพื้นที่ตรงส่วนล่าง
ให้ผู้ชมสามารถเข้าไปยืน นอน และนั่งทาสมาธิเพื่อให้จิตสงบได้ พื้นที่แต่ละพื้นที่ค่อนข้างจะจากัด ภายในตัว โครงสร้างที่เป็นสัญลักษณ์แทนค่าโบสถ์ในความคิดของมณเฑียร จะมีผ้าฝ้ายสีดาพิมพ์เป็นเครื่องหมายคาถาม และเครื่องหมายตกใจสีทอง วัตถุประสงค์ของมณเฑียรคือต้องการให้ผู้ชมงานได้เข้าไปอยู่ภายในตัวงานและได้ มองดูเครื่องหมายทั้งสอง ด้วยการพิจารณาและด้วยสติปัญญา การใช้เวลาในพื้นที่ดังกล่าวท่ามกลางความ เงียบสงบของธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ มีอิทธิพลอย่างมากในการนาผู้ชมไปสู่ความสงบ มีสมาธิและทาจิตใจให้ บริสุทธิ์ งานของมณเฑียรชุดนี้เป็นเสมือนการนาผู้ชมจากโลกภายนอกเข้าสู่โลกภายในอาจเป็นประสบการณ์ ใหม่สาหรับชาวออสเตรเลียที่ได้สัมผัสกับความเชื่อและความศรัทธาในพุทธปรัชญาของมณเฑียร ปฏิสัมพันธ์ จากคนต่างชาติ ต่างศาสนาและวัฒนธรรมครั้งนี้สามารถทาให้จุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์งานของมณเฑียร ประสบความสาเร็จและได้รับผลตอบสนองดียิ่ง
รูปที่ 2 พินรี สัณฑ์พิทักษ์ “หนุนนม” อินสตอลเลชั่นในพื้นที่ขนาด 93 ตารางเมตร ผ้าออร์แกนซ่า ผ้าใยสังเคราะห์ ขนาดปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ 2544-2545
ส่วนงาน “หนุนนม” ของ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ เป็นหนึ่งในงานประเภทอินสตอลเลชั่นที่ศิลปินได้ผลิตไว้ เป็นจานวนหลายชุด งานชิ้นนี้ใช้พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 93 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ของห้องแสดงงานซึ่งถูกแปร สภาพจากเดิมให้กลายเป็นพื้นที่ศิลปะที่เต็มไปด้วยรูปทรงของนมเป็นจานวนมาก รูปทรงแต่ละรูปทรงมีความ แตกต่างในรายละเอียด บางรูปทรงที่มีความกลม ความป้าน ความแหลมหลายลักษณะวัสดุที่ใช้เป็นผ้าใยแก้ว และผ้าสังเคราะห์มีสีนุ่มนวลเป็นส่ว นมากและมีสีดาแทรกอยู่บ้างบางที่ เนื้อวัสดุมีความละเอียดอ่อนบางเบา ชวนสัมผัส ปฏิสัมพันธ์จากผู้ชมเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เมื่อผู้ชมเข้าไปอยู่ท่ามกลางงานและสัมผัสกับงานใน ลักษณะต่าง ๆ กัน “หนุนนม” เป็นผลงานที่มีชีวิตชีวา ผู้ชมบางคนจะนอนหนุนนม นั่งพิงหรือเอนกายพั กผ่อน
บนงานอย่างมีความสุข เป็นปฏิสัมพันธ์ที่นาผู้ชมไปสู่จินตนาการ ความทรงจา และประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต เขาเหล่านั้นสามารถย้อนกลับไปสู่อดีตสมัยเยาว์วัย ผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย เมื่อได้สัมผัสจับต้องงานแล้วดูจะมีความ พึงพอใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กเล็ก ๆ จะมีความสนุกสนานเล่นกับงานเป็นพิเศษ งานของพินรีเต็มไปด้วย การเคลื่อนไหวอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของผู้ชม บทสนทนาอย่างเงียบ ๆ เกิดขึ้นภายในจิตใจระหว่างผู้ชมกับ งานศิลปะและการสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ชมด้วยกันเองก็เป็นไปอย่างน่าสนใจ ความหมายที่แฝงอยู่ในงานมีส่ว นสาคัญในการโน้มน้าวให้ผู้ดูมองลึกเข้าไปในจิตวิญญาณของผู้หญิงคน หนึ่ง ซึ่งเป็นทั้งปุถุชนธรรมดาเป็นแม่และเป็นศิลปินที่สามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์ของตนเองในงานศิลปะ งาน ของพินรีมิใช่เป็นงานที่มีเนื้อหาสาระเฉพาะตน ทว่าผลงานชิ้นนี้ส่งผลถึงผู้หญิงอีกเป็นจานวนมาก คุณค่า ทาง ความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกในงานล้วนท้าทายให้ผู้ชมได้ใช้สติปัญญา ความคิดในการหยั่งลึกถึงจิต วิญญาณ ความรู้สึกของสตรีเพศหลายแง่หลายมุม
รูปที่ 3 สุธี คุณาวิชยานนท์ “ห้องเรียนประวัติศาสตร์” ถนนราชดาเนิน อินสตอลเลชั่น โต๊ไม้ 14 ตัว ขนาดปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ 2543
สุธี คุณาวิชยานนท์ เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งสร้างผลงานที่มีคุณค่าทางความคิด การปลุกจิตสานึก รวมทั้ง สะท้อนเอกลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของความเป็นไทย สุธีเป็นศิลปินที่มิได้แสวงหาสาระที่ไกล จากตัวงานศิลปะของเขาจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ ที่ให้คุณประโยชน์ทางความคิดและ การใช้สติปัญญา สิ่งที่เขาหยิบยกมาเป็นบริบทสาคัญของงานนั้น มีที่มาจากสุภาษิตของไทย ประวัติศาสตร์ทาง การเมืองและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสังคมและค่านิยมของคนไทยในแง่มุมต่าง ๆ งานศิลปะส่วนใหญ่ของสุธี จะต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ของผู้ดูเป็นหัวใจสาคัญในการทางานให้สัมฤทธิ์ผล “ห้องเรียนประวัติศาสตร์ ” เป็นงานที่สุธีกาหนดให้พื้นที่สาธารณะบริเวณถนนราชดาเนินกลางใกล้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของงาน สุธีใช้โต๊ะนักเรียนทาด้วยไม้ จานวน 14 ตัว โดยแกะพื้นผิวของ โต๊ะเป็นภาพและข้อความต่าง ๆ ซึ่งมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประชาธิปไตยในประเทศ
ไทย เรื่องราวดังกล่าวที่แกะสลักบันทึกไว้จะเริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ย้อนหลังกลับไปใน รศ. 103 สมัย รัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยในปี พ.ศ. 2475 รวมถึงเหตุการณ์ ต่าง ๆ ทางการเมือง เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ของพฤษภาทมิฬ ผู้ชมงานทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับงานได้ ด้วยการใช้กระดาษทาบบนโต๊ะและใช้ดินสอที่ศิลปินเตรียมไว้ให้ฝนระบายบนกระดาษ ทาให้เกิดภาพพิมพ์ของ งานที่แกะไว้บนผิวของโต๊ะผู้ดู นอกจากจะได้งานศิลปะจากการเลือกฝนภาพและเลือกสีด้วยตัวเองแล้ว ยังได้ เรียนรู้ประวัติศาสตร์และบุคคลสาคัญทางการเมืองของไทยด้วยงานชุดนี้สร้างสรรค์ขึ้น เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของนายปรีดี พนมยงค์ จัดแสดงขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2543 เป็นงานที่สาธารณะชนได้ ร่วมปฏิสัมพันธ์เป็นจานวนมาก เป็นปรากฏการณ์ที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง
รูปที่ 4 สุธี คุณาวิชยานนท์ “ช้างเผือก” ยางซิลิโคน ผ้าพลาสติกเป่าลม สายยาง โลหะ หลอด 120 x 257x380 ซม. 2544
ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของสุธี คืองาน “ช้างเผือก” เป็นรูปทรงของช้างสีขาวที่ทาด้วยยางซิลิโคนขนาดเท่า จริงมีสายยางสาหรับเป่าลมเชื่อมต่อกับตัวช้างหลายตาแหน่ง ช้างอยู่ในสภาพนอนกองอยู่กับพื้นดูปราศจาก ชีวิตและไร้เรี่ยวแรงผู้ชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับงานได้โดยการบริจาคลมหายใจด้วยการเป่าลมผ่านสายยาง ช้างนี้จะแปรสภาพได้เมื่ออากาศที่เป่าเข้าไปภายใน ทาให้ช้างพองโตขึ้นและดูมีชีวิต การเป่าลมเป็นเสมือนการ ให้ชีวิตแก่ช้าง เมื่ออากาศภายในเริ่มระบายออกจนหมดช้างก็จะเหี่ยวแฟบกลับสู่สภาพเดิม สุธีต้องการให้ผู้ดู งานเล็งเห็นความสาคัญของช้าง ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านานแล้วและนับวันจะค่อย ๆ ลดจานวนลงและ อาจสูญพันธุ์ไปได้ในอนาคต ปฏิสัมพันธ์ร่วมกับงานในลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงการร่วมกันดูแลเอาใจใส่ช้าง ไทยในปัจจุบันที่ดูเหมือนจะเริ่มสูญเสียความหมายและความสาคัญลงไปมาก งานชิ้นนี้ของสุธีต้องการเรียกร้อง และปลุกจิตสานึกให้คนช่วยกันให้ช้างกลับมามีชีวิต มีความหมายอีกครั้งหนึ่ง
รูปที่ 5 บัณฑิต พูนสมบัติเลิศ “Dwelling in Perennial Dreams” อินทอร์แอคทีฟอินสตอลเลชั่น เปลไม้ (แต่ละเปล ขนาด 31x45x33 นิ้ว) วีดีโอ มอนิเตอร์ คอมพิวเตอร์ ขนาดปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ 2552-2553
บัณฑิต พูนสมบัติ ปัจจุบันสร้างสรรค์ผลงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา งานส่วนใหญ่ที่เขาทาขึ้นนั้น เป็นงานที่ใช้สื่อทางเทคโนโลยีสมัยใหม่แทบทั้งสิ้น “Dwelling in Perennial Dreams” เป็นอินสตอลเลชั่นที่ ต้องให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับงาน ผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2553 งานชุดนี้ บัณฑิตได้ความบันดาลใจมาจากเพลง “กาเหว่า” ซึ่งเป็นเพลงกล่อมเด็กของไทย “อินสตอล เลชั่นของศิลปินประกอบด้วย เปลไม้ขนาดใหญ่ 3 เปล ในแต่ละเปลจะมีจอมอนิเตอร์วางหงายอยู่ภายใน 2 จอ ด้วยกัน ส่วนบนจะเป็นวีดิโอภาพส่วนศีรษะของทารกและส่วนจอภาพด้านล่างจะเป็นภาพส่วนร่างกายของเด็ก บัณฑิตได้ติดระบบรับสัญญาณเสียงไว้กับงานด้วย วีดิโอแสดงภาพของทารกกาลังหลับในความเงียบ เมื่อทารก จากเปลหนึ่งตื่นจะส่งเสียงร้องไห้ เสียงจะปลุกเด็กในเปลอื่น ๆ ให้ตื่นและร้องไห้ตามกันไปด้วย หากผู้ดูทาเสียง ดังจะปลุกเด็กให้ตื่นได้เช่นกัน ในงานนี้มีผู้หญิงตั้ งครรภ์ซึ่งเป็นอาสาสมัครทาหน้าที่เสมือนผู้ดูแลเด็ก เชิญชวน ให้ผู้ช มโยกเปล เพื่อให้เด็กหลั บ สื่ อให้เห็นถึงการดูแลเอาใจใส่ จากมารดาหรือจากผู้ใหญ่ บัณฑิตใช้ระบบ คอมพิวเตอร์ควบคุมงานทั้งหมด การที่ผู้ดูได้มีโอกาสโยกเปลให้เด็กหลับนั้น มีผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสูง ทาให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอ่อนโยน มีเมตตา และมีความรู้สึกรับผิดชอบในการให้เด็กหยุดร้องไห้และหลับต่อไป การนอนหลับและการร้องไห้อย่างต่อเนื่องของเด็กจากเปลหนึ่งไปยังอีกเปลนี้มีนัยยะแฝงเร้นเชื่อมโยงไปถึงคน และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคม ความสงบเปรียบเสมือนการนอนหลับ การร้องไห้สะท้อนให้ เห็นถึงความ
ต้องการ อารมณ์และอะไรอีกหลาย ๆอย่างที่เกิดขึ้นในเชิงลบ ความต่อเนื่องจากเปลหนึ่งไปยังอีกเปลหนึ่ง เปรียบได้กับจุดเริ่มต้นของพฤติกรรม หรือการทาสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เริ่มจากจุดเล็ก ๆ และขยายขอบเขตต่อไปในวง กว้างดังที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วไป การให้เด็กนอนหลับ (ด้วยการโยกเปล) ไปนาน ๆ เท่ากับเป็นการหลีกหนีจาก ความวุ่นวายสับสนของสังคมไปสู่ความสงบ” จุดประสงค์ของการนาเรื่องราวจากเนื้อเพลงกล่อมเด็กและภาพของทารกไทยไปแสดงที่ต่างแดนเป็นอีก ส่วนหนึ่งที่ทาให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงพื้นที่ของศิลปะและเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและในขณะเดียวกันผู้ร่วม ปฏิสัมพันธ์ กับงานต้องมองย้อนกลับไปทาความเข้าใจกับพื้นที่และเอกลักษณ์ของตนเองด้วย
รูปที่ 6 วิทยา จันมา “เวลา” คอมพิวเตอร์ ปุ่มควบคุม โปรเจคเตอร์ กล้องวงจรปิด ขนาดปรับเปลี่ยนตามพื้นที่
วิทยา จันมา ศิลปินรุ่นใหม่ ใช้คอมพิวเตอร์ ปุ่มควบคุมโปรเจคเตอร์และกล้องวงจรปิดในการสร้าง ผลงานชุดเรื่องของ “เวลา” ศิลปินต้องการให้ผู้ชมงานและภาพเคลื่อนไหวเป็นตัวแทนของเวลาจริงกับเวลาที่ สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะของผลงานเป็นภาพและการเคลื่อนไหวที่ทับซ้อนกันบนสกรีน โดยช่วงเวลาทั้ งสองต่าง ดาเนินไปพร้อมกัน คือ เวลาที่เป็นจริงและเวลาที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ภาพที่ทับซ้อนกันในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิด ความสับสนระหว่างเวลาที่เกิดขึ้น เนื่องจากตัวผู้ชมจะอยู่ ในช่วงเวลาจริงและในผลงานจะเป็นเวลาที่สร้างขึ้น ใหม่ด้วยตัวของมันเองเวลาทั้งสองประเภทนี้ จะสัมพันธ์กัน ดังนั้นผู้ชมที่กาลังชมผลงานอยู่ในขณะนั้น จะ กลายเป็นองค์ประกอบสาคัญส่วนหนึ่งของงานตลอดจนเป็นตัวแปรในการสื่อความหมาย ซึ่งความหมายที่เกิด ณ ขณะนั้นจะขึ้นอยู่กับการตีความจากความรู้สึกของผู้ชมที่มีต่อผลงานในเวลานั้น ถึงแม้ว่าเวลาหรือเรื่องราวที่ สร้างใหม่ จะไม่เคยเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับผู้ชมมาก่อนเลยก็ตามปฏิสัมพันธ์ของผู้ชมงานจะเกิดจากการกด ปุ่มบนแผงควบคุม ปุ่มแต่ละปุ่มจะมีภาพการเคลื่อนไหว ที่เล่นกับผู้ชมบนสกรีนในลักษณะต่าง ๆ กัน ผู้ชมงาน จะรู้ สึ ก ราวกั บ ว่ า อยู่ ใ นระหว่ า งพื้ น ที่ แ ละเวลาที่ มี อ ยู่ จ ริ ง กั บ มิ ติ ข องพื้ น ที่ แ ละเวลาที่ เ สมื อ นจริ ง ในงาน ปฏิสัมพันธ์ของผู้ชมงานจะเป็นเรื่องของความสนุกสนาน ความท้าทาย
การค้นพบประสบการณ์ใหม่และการใช้เวลาที่มีอยู่จริงในการค้นหาสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในโลกของความ เสมือนจริง INTERACTIVE ART เป็นศิลปะที่สลายขอบเขตของพื้นที่และเวลาระหว่างศิลปิน งานศิลปะกับผู้ดูศิลปะ ในแนวนี้หากปราศจากปฏิสัมพันธ์ของผู้ดูดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็จะเป็นเพียงงานที่ติดตั้งไว้เพื่อแสดงและ ให้ชมเท่านั้น สมพร รอดบุญ สิงหาคม 2554
เอกสารอ้างอิง สูจิบัตรนิทรรศการ Multimedia, Multivision, ARDEL Gallery of Modern Art