Self guided materials from the 65th National Exhibition of Art

Page 1

1


การแสดงออกทางศิลปะในประเทศไทยได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการสอดรับกับสถาบันหลักของชาติ ศาสนา หรือแม้แต่ รัฐ และในทิศทางตรงกันข้ามก็ตาม ศิลปะได้มีการปรับเปลี่ยนด้วยกระบวนการทางสังคม ซึ่งท�ำให้รูปแบบและการแสดงออกทางศิลปะแปรเปลี่ยน บางยุค แปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ขยับไปข้างหน้า บางยุคขยับถอยหลัง ซึ่งเป็นธรรมดาของการแปรเปลี่ยนของสังคมที่มีก้าวหน้ามีถอยหลังสลับกันไป ศิลปะก็ดู เหมือนจะแปรเปลีย่ นไปตามสังคม หากเป็นการดีทโี่ ลกทุกวันนีม้ งุ่ เข้าสูโ่ ลกาภิวตั น์อย่างเต็มรูปแบบ สือ่ และเทคโนโลยีตา่ งๆ เข้ามาตอบสนองเพือ่ การเรียน รูอ้ ย่างถึงทีส่ ดุ จุดบอดทางความรูไ้ ด้ถกู คลีค่ ลายผ่านเทคโนโลยีการสือ่ สาร การสร้างสรรค์กเ็ ช่นกัน ความมืดบอดทางการสร้างสรรค์ดเู หมือนจะคลีค่ ลาย ไปด้วยโลกยุคที่มีการเปิดกว้างทางการเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ที่คู่ขนานไปกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างน่าสนใจ ในปัจจุบัน การแสดงออกทางศิลปะที่อยู่ในขอบเขตอาณาบริเวณของสถาบันศิลปะหลักดูเหมือนจะยังไม่ตื่นตัวเปิดรับสิ่งต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนรายรอบตัว มากเท่าไรนัก การแสดงออกทางศิลปะยังคงเป็นไปในทิศทางทีร่ กั ษาขนบไว้อย่างเหนียวแน่น การผลิดอกออกผลของความเป็นร่วมสมัยดูเหมือนจะไม่คอ่ ย ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม สิ่งที่เห็นอาจเป็นเพียงล�ำต้นที่กล้าแกร่งผ่านร้อนผ่านหนาวอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลากว่า 6 ทศวรรษ (ครัง้ แรกเมือ่ ปี พ.ศ. 2492) ของเวทีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติซงึ่ ได้เดินทางเก็บเกีย่ วศิลปินทีส่ ร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ที่รักษาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ดังกล่าวได้แสดงภาพส�ำคัญของพัฒนาการศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศไทยได้อย่างชัดเจนซึ่งมีหลาย ระนาบที่ซ้อนทับได้อย่างน่าสนใจ ในปีนี้ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติได้ก้าวสู่ครั้งที่ 65 การตัดสินรางวัลนั้นยังคงยึดตามคุณภาพของผลงานเป็นหลัก โดยในปีนี้มีรางวัลสูงสุดคือรางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงินเพียงรางวัลเดียวในสาขาสื่อประสม ทั้งนี้การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปีนี้ ได้มีผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมในเหรียญประเภทต่างๆ ทั้ง สิ้นจ�ำนวน 13 ผลงาน โดยรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมนั้นจะแบ่งเป็นแต่ละประเภทได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม

2


หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปี 2562

นายพีรพล อินทร์ตุ้ม “ละครของเล่น” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 150 x 280 ซม.

ประเภทจิตรกรรม มีรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง จ�ำนวน 3 รางวัล ได้แก่ผลงานของ 1. นายพีรพล อินทร์ตุ้ม ในผลงานชื่อ “ละครของเล่น” เทคนิคสีอะครีลิคบนผ้าใบ ด้วยแนวความคิดที่ว่า “จากเรื่องราวที่พูดถึงความเป็นมาในสังคมปัจจุบันและอดีต โดยเกีย่ วข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ และมีผลมาถึงสังคมโดยส่วนรวมภายใต้สภาวะแวดล้อมของกาลเวลาต่างๆ กันตามที่ปรากฏหลักฐาน จึงได้หยิบยกความเป็นมา ในสังคมปัจจุบนั และอดีตโดยใช้สญ ั ญะทีม่ อี ยูใ่ นวัตถุสงิ่ ของทีต่ นเองผูกพันหรือเก็บสะสม น�ำมาเล่าเรือ่ งราวปะติดปะต่อให้เกิดความหมายใหม่ทสี่ งั คมเผชิญอยูใ่ นปัจจุบนั โดยน�ำมาพูดถึงในรูปแบบของตนเอง การจัดองค์ประกอบให้ราวกับการแสดงละครเวทีทา่ ทางของวัตถุสงิ่ ของในภาพถูกจัดวางอย่างมีระบบและเต็มไปด้วยนัยยะทีส่ ำ� คัญ” สิง่ ทีน่ า่ สนใจของผลงานชิน้ ดังกล่าวนีค้ งหนีไม่พน้ การใช้ทกั ษะฝีมอื ในแนวทางจิตรกรรมทีแ่ สดงให้เห็นถึงความเป็นงานจิตรกรรมทีค่ อ่ นข้างจะสมบูรณ์ ทัง้ เรือ่ งราวการน�ำ เสนอและฝีมือที่แสดงออกมานั้นล้วนคล้องจองและลื่นไหลไปด้วยกันอย่างไม่เขินอาย ด้วยความเหมือนจริงท�ำให้ผู้ชมลุ่มหลงไปกับตัวละครมากมายในผืนผ้าใบที่ทุกสิ่ง อย่างล้วนมีสัญญะแฝงกายอยู่ในทุกสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นการเรียงล�ำดับภาพของตัวละครต่างๆ ทิศทางของสัตว์ที่ปรากฏออกมาล้วนท�ำให้ผู้ชมสามารถตีความได้ อย่างสนุกสนาน โลกสมมติทปี่ รากฏในผลงานล้วนมีทมี่ าแฝงจากความจริงในสังคม และความพยายามของศิลปินทีต่ อ้ งการน�ำเสนอเรือ่ งราวทีแ่ สดงให้เห็นถึงสภาวะของ สังคมปัจจุบันที่ถูกแทนค่าด้วยของเล่นที่เต็มไปด้วยจินตนาการที่อิงแอบเรื่องราวในสังคมความจริง 3


นายวิทยา หอทรัพย์ “สะพานพระราม 8” สีอะครีลิค และปากกาเคมี 220 x 280 ซม.

4

2. นายวิทยา หอทรัพย์ ในผลงานชือ่ “สะพานพระราม 8” เทคนิค สีอะครีลคิ และปากกาเคมี ด้วยแนวความคิดทีว่ า่ “การเฝ้ามองพืน้ ทีร่ อบๆ ตัวด้วยสายตาทีห่ ว่ งใย ท�ำให้ได้รบั รูถ้ งึ ความเปลีย่ นแปลง และตระหนักถึงความผูกพันกับอดีต ซึง่ น�ำไปสูก่ ารสร้างสรรค์ผลงาน จิตรกรรม 2 มิติ ชิน้ นี้ “สะพานพระราม 8” ซึง่ เกิดขึน้ เพือ่ ท�ำความ เข้าใจสังคมที่มีความซับซ้อนและเต็มไปด้วยความหลากหลาย ใน บางเหตุการณ์หรือในบางการเปลี่ยนแปลงเราไม่สามารถแยกแยะ ได้ว่าอะไรคือความจริงหรือไม่จริง ดีหรือไม่ดี เนื่องด้วยไม่มีเส้น แบ่งทีบ่ อกเราไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ศิลปินยังคงมองหาสิง่ ดี ๆ จากการเปลีย่ นแปลงดังกล่าวแม้ทา้ ยทีส่ ดุ แล้วภาพของสังคม ในอนาคตอาจจะเหลือเพียงเศษซากหรือสิง่ ปรักหักพังเท่านัน้ ” ใน ผลงานดังกล่าวนี้มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง การซ้อนทับกัน ระหว่ า งอดี ต กั บ ปั จ จุ บั น และการคาดการณ์ อ นาคตซึ่ ง มี ก าร แสดงออกผ่านงานวาดเส้นด้วยปากกาและการใช้สอี ะครีลคิ ซึง่ ผล งานชิ้นนี้เป็นการสืบเสาะเส้นสายต่างๆที่ปรากฏในผลงาน ความ เสือ่ มสลายทีป่ รากฎให้เห็นเป็นเพียงการคาดเดาจากสภาวะปัจจุบนั ไม่ว่าในประเด็นสิ่งแวดล้อม ชีวิตและสังคมต่างๆ ผลงานดังกล่าว อาจเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนใจให้ย้อนกลับมามองว่าเราก�ำลังท�ำอะไร กับโลกที่ก�ำลังจะแหลกสลาย


หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปี 2562

นายศักชัย อุทธิโท “ความดีงามแห่งบรรพชน หมายเลข 1” สีน�้ำมัน 200 x 251 ซม.

3. นายศักชัย อุทธิโท ในผลงานชื่อ “ความดีงามแห่งบรรพชน หมายเลข 1” เทคนิคสีน�้ำมัน ด้วยแนวความคิดที่ว่า “อาภรณ์แห่งจิตวิญญาณ คือ รากเหง้าทาง วัฒนธรรมของบรรพบุรุษที่สืบสานสั่งสมกันมาตั้งแต่บรรพกาล ผู้สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอดสัญญะตีความจากผ้าทอพื้นถิ่นอีสาน ด้วยการใช้ทัศนธาตุ เส้น สีสัน สร้างความรู้สึกใหม่ด้วยฐานจากอดีตด้วยความรู้สึกของปัจจุบัน เพื่อเชื่อมโยงความเป็นอยู่และแสดงออกถึงความสงบสุข และความดีงามของสังคมชนบทผ่านเส้น ตัง้ เส้นนอน และสีสนั ในจิตวิญญาณของบรรพชน” ผลงานชิน้ ดังกล่าวนีแ้ สดงออกอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาว่าด้วยเรือ่ งวัฒนธรรมพืน้ ถิน่ ทีศ่ ลิ ปินน�ำพามาสูผ่ ล งานจิตรกรรมสมัยใหม่ ซึง่ ความน่าสนใจอยูท่ กี่ ารใช้เทคนิคทีผ่ สานกับเรือ่ งราวทีต่ อ้ งการจะกล่าวได้อย่างน่าสนใจ ความว่องไวและความช�ำนาญในการสร้างสรรค์งาน จิตรกรรมสีน�้ำมันด้วยเทคนิคเช็ดสี กับการสร้างรูปร่างที่ผสานกับเนื้อหาที่กล่าวถึงอดีตที่ผ่านไป ราวกับศิลปินได้น�ำ จุด เส้น สี น�้ำหนักจากอดีตกลับมายื้อให้เห็นใน ปัจจุบันอย่างชั่วขณะที่เลือนรางและพร่ามัว 5


นายภัควี แก่งทองหลาง “บทสนทนาระหว่างฉัน...กับ...ฉัน” ดินเผาขึ้นรูปด้วยมือ 250 x 280 x 170 ซม.

ประเภทประติมากรรม มีรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดงจ�ำนวน 3 รางวัล ได้แก่ผลงานของ 1. นายภัควี แก่งทองหลาง ในผลงานชื่อ “บทสนทนาระหว่างฉัน...กับ...ฉัน” เทคนิค ดินเผาขึ้นรูปด้วยมือ ด้วยแนวความคิดที่ว่า “ด้วยแรงบันดาลใจจากหลักค�ำสอน ของพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั ตเถร ทีว่ า่ การพิจารณากายนี้ เป็นของส�ำคัญ ผูท้ จี่ ะพ้นทุกข์ลว้ นแต่ตอ้ งพิจารณากายนีท้ งั้ สิน้ สิง่ สกปรกน่าเกลียดนัน้ ก็คอื ตัวเรานีเ้ อง ร่างกาย นี้เป็นที่ประชุมแห่งโสโครก เป็นอสุภะปฏิกูลน่าเกลียด เพราะฉะนั้นจึงพิจารณาร่างกายนี้ให้ช�ำนิช�ำนาญ ให้มีสติ พิจารณา ในทุกสภาพ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ท�ำ คิด พูด ก็ให้มีสติรอบคอบในกายอยู่เสมอ จึงน�ำมาเป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตและสร้างสรรค์เป็นประติมากรรมดินเผาเพื่อใช้ในการเตือนสติตนเองอยู่เสมอ” ผลงาน ประติมากรรมดินเผาจัดวางนี้มีการเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาและแสดงเรื่องราวนั้นๆ ผ่านองค์ประกอบของการจัดวางที่เป็นวงกลมสะท้อนการเวียนว่าย มีการใช้รูป ลักษณ์รา่ งกายมนุษย์แสดงกิรยิ าของการเดินภาวนาส�ำรวจตัวตน ความเปราะบางและไม่ยงั่ ยืนของวัสดุสามารถท�ำให้เรานึกถึงความไม่แน่นอนของกายหยาบมนุษย์และ ความไม่แน่นอนของทุกสิ่งที่ไม่เว้นแม้แต่ศิลปะชิ้นดังกล่าวนี้เช่นกัน 6


หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปี 2562

2. นางสาวสุกัญญา สอนบุญ ในผลงานชื่อ “แปร - รูป หมายเลข 5” เทคนิค ประกอบไม้ดว้ ยเดือยกลม ด้วยแนวความคิดทีว่ า่ “ด้วยวัตถุประสงค์ทตี่ อ้ งการน�ำ เสนอผลงานศิลปะร่วมสมัย อันมีความบันดาลใจจากสภาวะความเป็นจริงของการ แปรเปลี่ยนในธรรมชาติสามัญ และการแปรรูปลักษณะ เทคนิค ในกรรมวิธีงาน ช่างไม้จากบิดาที่ส่งต่อมา จึงก่อให้เกิดเป็นการเรียนรู้ต่อยอดจากรากฐานความรู้ เดิม โดยใช้วธิ กี ารตัดไม้ตามแนวเสีย้ นและการตัดไม้ขวางแนวเสีย้ นเพือ่ สร้างค่าน�ำ้ หนักอ่อน-แก่ที่แตกต่างจากไม้ชนิดเดียวกันและใช้วิธีการ สกัด ขัด เกลา เพื่อ ก�ำจัดความหยาบกระด้างของไม้จนความหยาบกระด้างนั้นหายไป เปลี่ยนความ แข็งกร้าวของไม้ให้อ่อนนุ่มดั่งการขัดเกลาจิตใจ เพื่อตีความหมาย สร้างเนื้อหา ของการแปร-รูปทางด้านความคิด กระบวนการสร้างสรรค์ ให้เกิดเป็นนัยยะใหม่ โดยแฝงให้เห็นว่าความแข็งแกร่ง ความเข้มแข็ง ความอดทนนั้นต้องอยู่ควบคู่กับ ความอ่อนโยน อ่อนน้อม ถือเป็นความแข็งแกร่งที่มีความยืดหยุ่นอยู่ในตัวหรือ อาจกล่าวได้วา่ “อ่อนโยนแต่ไม่ออ่ นแอ แข็งแกร่งแต่ไม่แข็งกระด้าง” เพือ่ น�ำมาใช้ เป็นหลักในการวางตัวและการด�ำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน” ผลงานชิ้นดังกล่าวนี้ นับได้ว่ามีพัฒนาการจากชิ้นอื่นก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด การท�ำไม้ให้มีความอ่อน ไหว/อ่อนหวานแต่ยังคงความแข็งแรงของวัสดุได้อย่างเข้าใจในนัยของวัสดุ ด้วย วิธีคิดที่กลมกล่อมสอดคล้องไปกับเทคนิคที่สมบูรณ์ท�ำให้ผลงานชิ้นดังกล่าวนี้ สามารถฉายแสงขึน้ มาอย่างไม่ตอ้ งสงสัย หากภายภาคหน้าศิลปินสามารถคิดไกล ถึงรายละเอียดอย่างเนื้อแท้และสัจจะ/ความหมายของวัสดุที่น�ำมาใช้จะท�ำให้ผล งานชิ้นดังกล่าวนี้สมบูรณ์ขึ้นไปอีกหนึ่งขั้น

นางสาวสุกัญญา สอนบุญ “แปร - รูป หมายเลข 5” ประกอบไม้ด้วยเดือยกลม 215 x 180 x 160 ซม.

7


นายอ�ำนาจ ปานพืช “The Coffin” ประติมากรรมสื่อประสม 154 x 68 x 54 ซม.

3. นายอ�ำนาจ ปานพืช ในผลงานชื่อ “The Coffin” เทคนิค ประติมากรรมสื่อประสม ด้วยแนวความคิดที่ว่า “มูลค่าของเงินไม่ได้ท�ำให้ชีวิตคนมีคุณค่า” ด้วยแนวความ คิดทีไ่ ด้ใจความนีผ้ สานกับการน�ำรูปทรงของโลงศพมาผนวกกับรูปลักษณ์ของธนบัตรท�ำให้ผชู้ มสามารถตีความได้อย่างไม่ตอ้ งสงสัย ผลงานนีน้ บั ได้วา่ เป็นประติมากรรม ที่เลือกใช้วัสดุมาประกอบได้หลากหลายดูแตกต่างออกไปจากผลงานประติมากรรมที่ผ่านมาในพื้นที่แห่งนี้ ประเภทภาพพิมพ์ มีรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดงจ�ำนวน 4 รางวัล ได้แก่ผลงานของ 1. นางสาวกูซอฟียะฮ์ นิบือซา ในผลงานชื่อ “สุข ใต้ วิถี” เทคนิค ภาพพิมพ์ประกอบ ด้วยแนวความคิดที่ว่า “ผลงานชิ้นนี้เกิดจากความต้องการถ่ายทอดเรื่องราววิถี การด�ำเนินชีวิตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดินแดนที่ผ่านอารยธรรมยุคสมัย และการด�ำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ระหว่างคนไทยพุทธ คนไทยมลายู และคนไทยเชื้อสายจีน ก่อให้เกิดความงามอันเรียบง่าย ซึ่งเป็นอัตลักษณ์วิถีที่สมบูรณ์ โดยแสดงออกผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ใน รูปแบบสามมิติ (นูนสูง) เทคนิคภาพพิมพ์ประกอบ เปรียบเสมือนการก่อรูปทรงสัญลักษณ์ให้เกิดความสมบูรณ์ของวัฒนธรรม คุณค่าความดีงามของความรูส้ กึ จากภายใน สู่ภายนอก” ในผลงานชิ้นนี้ความน่าสนใจคงหนีไม่พ้นการใช้เทคนิคภาพพิมพ์มาประกอบสร้างเป็นผลงานนูนสูง ซึ่งมีความก�้ำกึ่งระหว่างจิตรกรรมและประติมากรรม โดย 8


นายจักรี คงแก้ว “ผาหิน” ภาพพิมพ์แกะไม้ 139 x 237 ซม.

ศิลปินเลือกให้เทคนิคภาพพิมพ์เป็นตัวน�ำทีเ่ ล่าเรือ่ งต่างๆในวิถชี วี ติ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทมี่ คี วามงดงามแฝงอยูใ่ นทุกการด�ำเนินชีวติ ทีอ่ ดุ มไป ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ และศาสนา ผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นเพียงแค่การหยิบยกฉากหนึ่งของชีวิตที่งดงาม ที่ดินแดนแห่งนี้มี และด�ำรงอยู่ แต่ฉากชีวิตนี้สามารถบ่งบอกถึงการด�ำรงอยู่ด้วยกันในฐานะมนุษย์ที่มิได้แยกเขตพรมแดนทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม 2. นายจักรี คงแก้ว ในผลงานชือ่ “ผาหิน” เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ ด้วยแนวความคิดทีว่ า่ “ถ่ายทอดเรือ่ งราวความงามของธรรมชาติ การเปลีย่ น ผัน สัจธรรม ความคงอยู่และการเสื่อมสลายของหน้าผาหินที่ถูกท�ำลายด้วยน�้ำมือมนุษย์ เพื่อน�ำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์” ในผลงานชิ้น ดังกล่าวนี้ ความน่าตืน่ ตาคงไม่พน้ ทักษะฝีมอื ทีส่ ร้างสรรค์ออกมาในมิตขิ องความเหมือนจริงทีอ่ าศัยเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ ในแนวคิดผลงานมีการ กล่าวถึงการท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์น�ำมาใช้ประโยชน์ ในแนวคิดผลงานมิได้มีการกล่าวว่าสิ่งใดควรไม่ควร เป็นเพียงเปิดประเด็น ให้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์ที่เหมือนจริง 9

หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปี 2562

นางสาวกูซอฟียะฮ์ นิบือซา “สุข ใต้ วิถี” ภาพพิมพ์ประกอบ 225 x 243 ซม.


3. นายภูริธิป สุริยภัทรพันธ์ ในผลงานชื่อ “Inheritance” เทคนิค ภาพพิมพ์หิน ด้วยแนวความคิดที่ว่า “อิสรภาพ เป็นเป้าหมายหรือสาระส�ำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพในจิตใจของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่อยู่ ภายใต้ความกดดันและตกอยู่ในสภาวะของการจ�ำยอมต่ออิสรภาพที่มีอยู่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ สมควรที่จะได้รับอิสรภาพอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจและการเลือกสรรทุกๆ สิ่งตามแต่ใจต้องการ รวมถึง มีอสิ รภาพในการก�ำหนดชีวติ ของตนเองโดยไม่มสี งิ่ ใดมาจ�ำกัดขอบเขตหรือตีกรอบ หากแต่ในสังคมปัจจุบนั นี้ มนุษย์ทุกคนล้วนแต่ไม่ได้รับสิทธิ์นั้น รวมถึงยังไม่ได้รับโอกาสที่จะสามารถไขว่คว้าหรือตามหาสิ่งที่มี ความหมายต่อชีวิติอย่างแท้จริง ไม่ว่าด้วยข้อจ�ำกัดทางสังคม วัฒนธรรม กรอบของความคิดของผู้คนใน สังคม รวมถึงยังมีกรอบต่าง ๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วน จากความต้องการถ่ายทอด สภาวะของมนุษย์ ที่เต็มไปด้วยความอึดอัด ความกดดัน และความทุกข์ที่เกิดจากการถูกจ�ำกัดริดรอนอิสรภาพทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่าน “วัตถุเชิงสัญญะ” ในการสื่อสารดังกล่าว บางทีอาจถึงเวลาที่มนุษย์ในสังคมควรต้องรับ รู้และรู้สึกถึงภยันอันตรายที่ค่อย ๆ ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องการให้ผลงานภาพพิมพ์นี้สร้างความ มุ่งมั่นที่จะด�ำเนินชีวิตก้าวไปข้างหน้า ผ่านม่านหมอกของสรรพสิ่งที่บดบังวิสัยทัศน์และหลุดพ้นจากกรอบ ของโฆษณาชวนเชือ่ ทัง้ หลาย เพือ่ เริม่ ต้นเดินทางไปสูส่ ภาวะของอิสรภาพทีแ่ ท้จริงซึง่ หลุดพ้นจากความทุกข์ และเต็มไปด้วยความสงบสุขอันไร้ซึ่งขอบเขตใด ๆ” ในผลงานชิ้นดังกล่าวนี้มีความแตกต่างไปจากผลงาน รางวัลชิ้นอื่นๆอย่างมาก ในภาพที่ปรากฏนี้กายภาพมีความเหมือนจริงและอุดมไปด้วยทักษะฝีมืออย่าง ปฎิเสธไม่ได้ หากแต่ความน่าสนใจมิได้ตนื้ เขินหยุดเพียงแค่ความเหมือนจริงหรือความสวยงามเพียงเท่านัน้ เทคนิคในผลงานชิ้นนี้เป็นเพียงพาหนะน�ำพาผู้ชมไปสู่แกนกลางของสาระในแนวความคิดซึ่งอิงแอบอยู่ใน สัญญะทีป่ รากฏในผลงาน ด้วยแนวความคิดคงไม่อาจกล่าวอะไรได้มากเพราะศิลปินได้สง่ มอบความกระจ่าง ชัดในการสื่อสารระดับหนึ่งผ่านแนวความคิดของผลงาน แต่ศิลปินมีความพยายามที่จะให้แนวคิดของผล งานนั้นสามารถด�ำรงอยู่ได้ภายในสภาวะและบริบทสังคมรายรอบที่มีแต่ความอ่อนไหวต่อค�ำว่า อิสรภาพ/ เสรีภาพ ซึ่งศิลปินท�ำออกมาได้ดีและกล้าหาญที่จะสื่อสารออกมาได้อย่างแยบยล ซึ่งผลงานสามารถผลิใบ “อิสรภาพ/เสรีภาพ” ให้เห็นแม้จะมีม่านหมอกที่หนาทึบบดบังอยู่ก็ตาม 10

นายภูริธิป สุริยภัทรพันธ์ “Inheritance” ภาพพิมพ์หิน 135 x 105 ซม.


หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปี 2562

นายอภิรัฐ ฤกษ์ดี “The Truth, Dimension and the Truth? No.1” Screenprint 90 x 121 ซม.

4. นายอภิรัฐ ฤกษ์ดี ในผลงานชื่อ “The Truth, Dimension and the Truth? No.1” เทคนิค Screenprint ด้วยแนวความคิดที่ว่า “ในสังคมปัจจุบนั การกระท�ำ และค�ำพูดของคนรอบตัว รวมไปถึงสือ่ รูปแบบต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการด�ำรงชีวติ ประจ�ำวันมากขึน้ สือ่ เหล่านี้สามารถถูกบิดเบือนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยที่ขาดการตรวจสอบอย่างถูกต้องว่าสิ่งเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ เราเสพติด การรับรู้อย่างฉาบฉวย มัวเมากับความสนุกสนาน และส่งผ่านเรื่องราวนั้นออกไป แม้จะเป็นการรับรู้เพียงมุมมองใดมุมมองหนึ่งเท่านั้น จึง ต้องการแสดงออกถึงความตระหนักต่อการรับรู้ที่ไม่เพียงพอต่อการตัดสิน โดยใช้วัตถุสะท้อนให้เห็นความจริงกับความลวงเพื่อต้องการ ให้ผชู้ มเกิดการตัง้ ค�ำถามกับความจริงในการมองเห็น ทีไ่ ม่สามารถรับรูไ้ ด้จากการมองเพียงมุมมองเดียว แต่ภาพสะท้อนทีป่ รากฏนัน้ เป็น เพียงแค่ภาพทีแ่ ทนความจริงเท่านัน้ ไม่ใช่ความจริงทีส่ ามารถจับต้องได้ เหมือนกับความจริงทีอ่ ยูต่ รงหน้า” ผลงานชิน้ ดังกล่าวมีการ “เล่น” กับความจริง ความลวงทีม่ รี ะนาบเคียงข้างกันไม่ตา่ งอะไรกับสังคมทีม่ คี วามฉาบฉวยซึง่ สามารถท�ำให้ความจริงเป็นสิง่ ลวง สิง่ ลวงเป็นความ จริง ในผลงานความน่าสนใจอยู่ที่การสร้างภาวะเหนือจริงให้อยู่เคียงของกับความเหมือนจริงจนยากที่จะแยกออกจากกัน

11


นายวรรณวิทย์ เพ็ชรตีบ “วิถีชีวิตชนบทร่วมสมัย” ประติมากรรมสื่อประสม 245 x 275 x 146 ซม.

ประเภทสื่อประสมในครั้งนี้มีรางวัลสูงสุดคือ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ได้แก่ผลงานของ นายวรรณวิทย์ เพ็ชรตีบ ในผลงานชือ่ “วิถชี วี ติ ชนบทร่วมสมัย” ด้วยแนวความคิดทีว่ า่ “เนือ่ งจากเติบโตมาจากชนบททางภาคใต้ของประเทศไทย สิง่ หนึง่ ทีเ่ ห็นมาตัง้ แต่เด็กคือการเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ความสัมพันธ์ซงึ่ กันระหว่างคน สัตว์ สิง่ ของ จวบจนปัจจุบนั ได้จากชนบทมาสูเ่ มืองทีม่ คี วามเจริญ และรวดเร็วทางด้านต่าง ๆ แต่สงิ่ ทีไ่ ด้เห็นจากวิถชี วี ติ ชนบทยังคงอยู่ แม้จะมีการเปลีย่ นแปลงไปบ้าง ผลงานชุดนีจ้ งึ เปรียบเทียบเสมือนความทรง จ�ำในวัยเด็กกับเวลาปัจจุบัน” ในผลงานชิ้นนี้ได้มีการใช้วัสดุที่หลากหลายที่มีการผสานกันระหว่างวัสดุเเฟชั่นทุนนิยมสมัยใหม่เเละวัสดุพื้นบ้านที่ เข้ามาผสมโดยเป็นไปในลักษณะการเเสดงออกถึงวิถีชีวิตพื้นบ้านที่เรียบง่ายของศิลปินที่อยู่ในสังคมเกษตรกรรม ผลงานถูกจัดเเสดงเป็นกลุ่ม ก้อนมีเรื่องราวมากกว่าการเน้นเเสดงเป็นตัวสัตว์เดี่ยวๆ ผลงานสื่อประสมชิ้นนี้นับได้ว่ามีการใช้วัสดุที่มีกลิ่นอายเเห่งพื้นบ้านอย่างน่าสนใจ 12


หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประจ�ำปี 2562

รางวัลต่อมาคือรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินยิ ม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ซึง่ มีผทู้ ไี่ ด้รบั รางวัล ทั้งสิ้นจ�ำนวน 2 ท่านดังนี้ 1. นายไชยันต์ นิลบล ในผลงานชื่อ “ไม่ปรากฏให้เห็นตัว” เทคนิค ปั้นหล่อ และประกอบสังกะสี ด้วยแนวความคิดทีว่ า่ “ ด้วยความต้องการน�ำเสนอผลงานศิลปะ เพือ่ เตือนสติให้มนุษย์ได้ตระหนัก ถึงปัญหาการแบ่งแยกชนชัน้ จากค่านิยมผิดๆ ทีว่ ดั คุณค่าของคนด้วยค่าของเงิน โดยเฉพาะในยุค สมัยที่บ้านเมืองก�ำลังพัฒนา กลไกส�ำคัญ คือ แรงงาน ซึ่งแรงงานเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือ ชาวต่างด้าว ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค�ำ่ ทีม่ รี ายได้ตำ�่ คุณภาพชีวติ ไม่ดเี ท่าทีค่ วร ไม่สามารถเข้า ถึงสวัสดิการของรัฐและมักถูกมองว่าด้อยค่าจากคนทีม่ รี ายได้มากกว่า” ว่าด้วยแนวความคิดของ ผลงานชิ้นดังกล่าวที่มีการพูดถึงประเด็นทางสังคมในชนชั้นแรงงาน คนรากหญ้า หรือมีการแตะ ไปถึงนโยบายรัฐดังทีไ่ ด้ปรากฏในแนวความคิดนีท้ ำ� ให้ผลงานชิน้ ดังกล่าวมีความน่าสนใจมิได้เพียง แต่ผลงานเป็นประติมากรรมที่ขยับได้เท่านั้น การแสดงออกสอดรับกับแนวความคิดของผลงาน ที่ศิลปินเลือกวัสดุอย่างสังกะสี ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามเพิงพักของผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ อย่างยิง่ เกษตรกร ผลงานมิได้แสดงออกในมิตปิ ระติมากรรมอย่างตืน้ เขิน หากแต่แยบยลแฝงไป ด้วยวิธีคิดที่ผูกโยงกับสังคมซึ่งพื้นที่การแสดงศิลปกรรมนี้หาได้ยากนัก 2. นายพีรพันธ์ จันทรชิต ในผลงานชื่อ “จังหวะกล” เทคนิค ประกอบไม้ร่วมกับวัตถุ และวัสดุ ด้วยแนวความคิดที่ว่า “การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสื่อประสมโดยการน�ำวัตถุ วัสดุ เช่น ไม้ เหล็ก ล้อ โซ่ จักรเย็บผ้า ถังสังกะสี ลูกเหล็ก เฟือง มอเตอร์ ที่พบเจอในช่วงเวลาในวัยเด็ก และเกิดการช�ำรุด ผุพัง เสียหายจากการใช้งาน มาสร้างสรรค์คุณค่าและความหมายในรูปแบบ ของโครงสร้างประติมากรรมสื่อประสม สอดแทรกจังหวะลีลาของเส้นและเสียง ด้วยกลไกการ เคลือ่ นทีข่ องวัสดุโดยใช้พลังงานไฟฟ้า เพือ่ ถ่ายทอดแนวคิดจากความทรงจ�ำ ประสบการณ์ทแี่ ฝง ไปด้วยองค์ความรู้ ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสื่อประสมที่ทรงคุณค่าต่อจิตใจ และ

นายไชยันต์ นิลบล “ไม่ปรากฏให้เห็นตัว” ปั้นหล่อ และประกอบสังกะสี 260 x 270 x 240 ซม.

13


อารมณ์ความรูส้ กึ ภายในตัวตนของผูส้ ร้างสรรค์” ผลงานของศิลปินท่านนี้ ให้ความรูส้ กึ แรกเริม่ ทีผ่ ชู้ มเข้าไป ปะทะกับผลงาน คือ ความสนุกสนานที่ผลงานศิลปะชิ้นดังกล่าวนี้ได้ “เล่น” ด้วยตัวมันเอง ศิลปินได้สร้าง ของเล่นจากเศษวัสดุ/เศษจินตนาการที่ยังคงหลงเหลือในวัยเด็กมาสร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมที่ ไม่ได้หยุดนิ่งรอให้ผู้ชมยืนดูอย่างเปลือยเปล่า หากแต่การขยับของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่หลบซ่อนอยู่ในราย ละเอียดผลงานนัน้ ท�ำให้เราติดตามไปถึงจุดเริม่ ต้นและจุดจบของมัน แม้ศลิ ปินจะสร้างสรรค์ผลงานทีม่ คี วาม คล้ายคลึงกับของเล่นแต่ด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์งานไม้ท่ีค่อนข้างประณีตเป็นการยกระดับผลงานชิ้นนี้ ขึ้นมาจากของเล่นธรรมดาๆ สู่ผลงานศิลปะได้อย่างน่าตื่นตา ตื่นใจ

นายพีรพันธ์ จันทรชิต “จังหวะกล” ประกอบไม้ร่วมกับวัตถุ และวัสดุ 280 x 240 x 200 ซม.

ภาพรวมของการแสดงผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 นี้ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ผลงานยังคงเน้น ความงามตามขนบ องค์ประกอบศิลป์ทัศนธาตุที่สมบูรณ์ ความประณีตด้านทักษะฝีมือของศิลปินรุ่นใหม่ สูงขึ้นจากปีก่อนหน้า แต่มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่ในศิลปินบางท่านคือการน�ำประเด็นสังคม การเมืองเข้ามาพูด ในผลงานศิลปะ ซึง่ นับได้วา่ น่าสนใจอย่างมาก การกล่าวถึงก็มไิ ด้ใสซือ่ ตรงไปตรงมาจนท�ำให้เรือ่ งทีต่ อ้ งการ จะพูด พูดไม่ได้ หากแต่ความแยบยลของศิลปินสร้างสัญญะให้จมดิง่ ไปกับทักษะฝีมอื ทีส่ ามารถซ่อนแนวคิด ทีน่ า่ สนใจอยูเ่ บือ้ งหลัง เมือ่ รับชมงาน ผูช้ มต้องมองผ่านม่านหมอกแห่งทักษะฝีมอื ดิง่ ลงลึกไปสูส่ าระทีร่ ว่ ม สมัย ทีม่ ไิ ด้องิ แอบกับเรือ่ งราวเดิมๆ นับได้วา่ พืน้ ทีแ่ ห่งนีย้ งั คงเปิดกว้างให้กบั การผลิดอกออกผลในผลงาน ทีม่ วี ธิ คี ดิ ทีผ่ กู โยงกับสังคมการเมืองอยูบ่ า้ ง ถึงแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เมล็ดพันธุข์ องศิลปะร่วมสมัยก�ำลัง จะหยั่งรากลงในดินแดนนี้อย่างยั่งยืนหรือไม่ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันในโอกาสต่อๆ ไป กฤษฎา ดุษฎีวนิช

14


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นเวทีการประกวดระดับชาติที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดในประเทศไทย ริเริ่มโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 เพื่อเป็นการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้มีเวทีแห่ง การสร้างสรรค์ในระดับชาติ ในครั้งที่ 1–14 ดําเนินการจัดประกวดร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร และ นับตัง้ แต่ครัง้ ที่ 15 เรือ่ ยมา มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ดาํ เนินการจัดการประกวดมาจนถึงปัจจุบนั โดยได้รบั ความร่วมมือจาก สถาบันการศึกษาหลักจากทัว่ ทุกภูมภิ าค และมีหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผูด้ แู ลการจัดประกวดและจัดแสดง ในแต่ละปี คณะกรรมการอาํ นวยการฯ ทีป่ ระกอบด้วยผูแ้ ทนจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จะดาํ เนินการคัดเลือกผูท้ รงคุณวุฒใิ นหลากหลาย สาขาด้านศิลปะเพื่อทําหน้าที่เป็นคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน และเปิดรับผลงานศิลปกรรมเพื่อเข้าประกวด 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม โดยคณะกรรมการจะถือเอาคุณภาพของผลงานเป็นหลัก ในการพิจารณารางวัล ส่งผลให้มีรางวัลในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป และมีการคัดเลือกผลงานอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้ร่วม แสดง เมื่อสิ้นสุดการแสดงในส่วนกลาง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป แล้วทางหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงนําผล งานไปจัดแสดงนิทรรศการในสถาบันส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

15


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 The 65th National Exhibition of Art เจ้าของและผู้จัดพิมพ์ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02 221 3841 Website : www.art-centre.su.ac.th Email : su.artcentre@gmail.com 16

พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2562 จ�ำนวนที่พิมพ์ 5,000 เล่ม พิมพ์ท ี่ โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ 45/14 หมู่4 ถนนบางกรวย-จงถนอม ต�ำบลบางขนุน อ�ำเภอบางกรวย นนทบุรี 11130


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.