Copyright © The Art Centre Silpakorn University
ในช่วงปีที่ผ่านมานี้มีปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองที่น่าสนใจและสามารถส่งผลกระทบต่อการแสดงออกของศิลปินรุ่นใหม่อย่าง มากมาย การขยับเพดานในการพูดถึงเรื่องราวบริบทและสถานการณ์ทางสังคมที่รายรอบอยู่ในปัจจุบันส่งผลที่น่ายินดีต่อวงการศิลปะ ร่วมสมัยไทยที่ยังคงรอสารอาหารที่ดีจากผืนดินเพื่อรอการเบ่งบาน ศิลปะได้ขยับขยายหยอกล้อกับสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานของเยาวชนที่กล้าทดลองแสดงออกในทางความคิดอ่านทางศิลปะที่สอดคล้องไปกับสภาพสังคมศิลปะควรที่จะเป็นดังกระจกเงา ที่สะท้อนสังคมในขณะที่รับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นกัน การแสดงออกทางศิลปะจากวันนี้ ไปยังอนาคตคงไม่ ใช่ชุดความคิดที่มา จากความดี ความงามเท่านั้น หากแต่ศิลปะกับการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพต่างๆ คงผุดขึ้นมาเป็นต้นกล้าตามทิศทางของกระแสสังคม ครั้งนี้การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ผลงานมีความน่าสนใจเข้ามาอยู่ไม่น้อย และที่ประจักษ์ชัดให้เห็นคือผล งานที่มีนัยทางสังคมจำ�นวนมากกว่าทุกครั้งในทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งรูปแบบและวิธีการนำ�เสนอมีความเป็นร่วมสมัยมากขึ้นกว่า ปีก่อนๆ พัฒนาการของการแสดงออกของศิลปินรุ่นใหม่ในครั้งนี้มีความสนุก กล้าเล่นกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ อย่างสดใหม่ ผลงานมีการเคลื่อนตัวออกห่างจากคติความดีความงามทางพุทธศาสนามากขึ้น แต่ก็ยังมีการปรากฏของความเชื่อเรื่อง เล่าต่างๆที่เป็นพื้นบ้านชายขอบซึ่งนับว่าเป็นการนำ�วิธีคิดทางศิลปะออกนอกศูนย์กลางความเชื่อได้อย่างน่าตื่นตา แม้ผลงานครั้งนี้จะ มิได้ขยับมิติการแสดงออกไปสู่การติดตั้งหรือจัดวางมากนัก แต่ก็ยังคงความเป็นมาตรฐานของความเป็นพื้นฐานในการแสดงออกทาง ศิลปะได้อย่างดี ในครั้งนี้มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 16 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี” 1 รางวัล รางวัลเกียรตินิยม ยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” 9 รางวัล และรางวัลสนับสนุน 6 รางวัล โดยในแต่ละรางวัลนั้นล้วนมีเทคนิคและเนื้อหาแนวทาง การสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจ ผลงานที่ได้รับรางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี” ในครั้งนี้ ได้แก่ ผลงานของ สาคร วงษ์ราชสีห์ ในผลงานชื่อ “ในห้วงคำ�นึงถึงจำ�ปาสีต่ น้ ” เทคนิคผสม ด้วยแนวความคิดทีว่ า่ “ผลงานที่ได้รบั แรงบันดาลใจจากนิทานพืน้ บ้านอีสานเรือ่ ง “จำ�ปาสีต่ น้ ” ที่
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
จากแนวคิดของศิลปินที่มีการนำ�เสนอเรื่องราวตำ�นานพื้นบ้านอีสานในอดีต ภาพการแสดงออกทางศิลปะในลักษณะศิลปะไทยที่มีการประยุกต์ตัดทอน/ลด ทอน มีการใช้วัสดุเก็บตกมาเป็นส่วนประกอบในผลงาน ซึ่งทำ�ให้ผลงานมีมิติที่ น่าค้นหาไม่ต่างจากเรื่องราวที่ศิลปินได้นำ�เสนอ การลดทอนสู่การแสดงออก ทางศิลปะเป็นทิศทางที่นักเรียน นักศึกษารวมถึงศิลปินรุ่นใหม่ที่สร้างสรรค์ผล งานแนวศิลปะไทยนิยมสร้างสรรค์ ในยุคสมัยนี้เป็นอย่างมาก ศิลปะไทยที่เป็น ลักษณะเรื่องราวอันสูงส่งประยุกต์กับความเป็นชายขอบพื้นบ้าน เรื่องเล่าใน วัฒนธรรมมุขปาฐะ ซึ่งทำ�ให้การแสดงออกของศิลปะไทยร่วมสมัยเริ่มค่อยๆ ลดทอนสิ่งที่ ไม่จำ�เป็นไปสู่การแสดงออกทางวิธีคิดมากขึ้นกว่าการนำ�เสนอ ลวดลายอันชดช้อยสวยงามตามขนบของศิลปะไทยในเมืองหลวง ผลงานชิ้นดัง
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
สาคร วงษ์ราชสีห์ “ในห้วงค�ำนึงถึงจ�ำปาสี่ต้น” เทคนิคผสม 200 x 200 ซม.
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
เคยได้รับฟังมาจากแม่และยายเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เต็มไป ด้วยจินตนาการ ตำ�นาน พิธีกรรม และจิตวิญญาณ เคล้าประสบการณ์ชีวิตของ ตนเอง ที่เกี่ยวเนื่องมาจากบรรพชนคนอีสานในอดีต สถานที่เรื่องเล่า และผู้คน ที่เคยพบเจอ เคยสัมผัสและใกล้ชิด ทั้งที่ยังอยู่และจากไปแล้ว จึงได้น�ำ สิ่งเหล่านี้ มาประกอบสร้างเป็นโลกของห้วงคำ�นึงถึงจำ�ปาสีต่ น้ ทีเ่ กีย่ วข้องกับประสบการณ์ ชีวติ ประเพณีและวัฒนธรรม ที่เคยประสบพบเจอทั้งจากอดีตและในปัจจุบันเข้า ด้วยกันในบริบทใหม่ เพื่อให้ผู้ชมได้ค้นหาแก่นสาร สาระ และความหมายจากสิ่ง ที่ได้น�ำ เสนอ ด้วยการปะติดปะต่อเรื่องราวที่อาจจะขาดหายไปบางส่วนเข้าด้วย กัน เพียงเพื่อจะย้ำ�เตือนความทรงจำ�ให้รู้สึกว่า “ทุกสิ่งซึ่งดำ�รงอยู่ ณ ช่วงเวลา ขณะหนึ่ง อาจเลือนหายไปแล้วในห้วงเวลาเดียวกันนี้”
3
กล่าวแม้ภาพลักษณ์ยังคงไม่น่าดึงดูดใจด้วยความทันสมัยของสุนทรียศาสตร์ ใหม่ แต่สาระที่แฝงอยู่นั้นสามารถนำ�เสนอแก่นแกนของแนว ความคิดที่ศิลปินต้องการนำ�เสนอ ในมิติของความเป็นร่วมสมัยไทยพื้นบ้านได้อย่างน่าสนใจ รางวัลถัดมาคือ รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” มีศิลปินได้รับรางวัลทั้งสิ้นจำ�นวน 9 ท่าน แต่ละผลงานมีความน่าสนใจ ในมิติการแสดงออกและการเลือกใช้เทคนิคและวัสดุสร้างสรรค์ที่มองเห็นพัฒนาการของศิลปินรุ่นใหม่ที่มีความพยายามที่จะก้าวข้ามข้อจำ�กัด เดิมๆของการสร้างสรรค์ ในพื้นที่แห่งนี้ ศิลปินที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ 1. กันต์ มหาเปารยะ ในผลงานชื่อ “เทวรูปแห่งอำ�นาจ” เทคนิคผสม ด้วยแนวความคิดที่ว่า “โทเท็ม (Totem) คือ หนึ่งในรูปแบบของรูปเคารพ แทนสิ่งที่มองไม่เห็น ปลาใหญ่ ในระบบบริโภคนิยม เชื่อว่าการได้สิทธิ์ครอบครองพลังงานคือการได้สิทธิ์กุมอำ�นาจและเป็นใหญ่ ในระบบนี้ โทเท็มนี้คือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพลังงานไฟฟ้า เป็นเทวรูปแห่งยุคสมัยปัจจุบัน เทพเจ้าแห่งพลังอำ�นาจ ใครคุมพลังงานได้ จะสามารถคุมระบบ ได้” ในผลงานชิ้นนี้หากดูผิวเผินก็เป็นเพียงผลงานประติมากรรมที่น่าตื่นตา มีแสงไฟ มีวัสดุที่ดูแล้วสนุกสนาน หากแต่เมื่อรับทราบถึงแนวคิด แล้ว ผลงานมีพลังทางความคิดและรูปลักษณ์ทางการแสดงออกอย่างมาก เทวรูปที่ศิลปินต้องการอธิบายไม่ใช่รูปเคารพอย่างที่เคยเห็นมาใน ศตวรรษก่อน หากแต่เป็นเทวรูปแห่งอนาคต รูปเคารพแห่งจิตวิญญานสมัยใหม่ที่ทุกสิ่งมุ่งตรงไปที่พลังงาน ในการแสดงออกของผลงานนั้น หากมองให้ลึกลงไปแล้วมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบนายทุนผูกขาดในประเด็นของพลังงานหรือในหลายๆประเด็นที่ยึดโยงกับอำ�นาจเบ็ดเสร็จ สร้างตนเป็นเทวะ รูปเคารพต้องกราบไหว้เท่านั้นจึงจะได้สิ่งที่ต้องการ 2. จิราวัฒน์ ดุงโคกกรวด ในผลงานชื่อ “ความเชื่อผีไทย หมายเลข 2” เทคนิค ภาพพิมพ์คอลโลกราฟ ด้วยแนวความคิดที่ว่า “ศิลปินได้ รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งลี้ลับในสังคมไทย ที่มีเรื่องราวหรือตำ�นานเล่าขานสืบต่อกันมา คือ เหล่าผีไทย ซึ่งได้สะท้อนถึงความเชื่อที่ด�ำ รงอยู่ คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน และปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นพลวัต จากประสบการณ์
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
จิราวัฒน์ ดุงโคกกรวด “ความเชื่อผี ไทย หมายเลข 2” ภาพพิมพ์คอลโลกราฟ 124 x 169 ซม.
ส่วนตัวของศิลปินที่ได้รับอิทธิพลและซึมซับเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับผีไทยจากสิ่งแวดล้อมในการดำ�เนินชีวิต ทำ�ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด จินตนาการเป็นรูปร่างลักษณะ ผ่านกระบวนการทางศิลปะในเทคนิคภาพพิมพ์คอลโลกราฟถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกถึงบรรยากาศให้ เห็นถึงรูปร่างรูปทรง พืน้ ผิว และน้�ำ หนัก จากจินตนาการของผูส้ ร้างสรรค์ และมอบข้อคิดแก่ผชู้ มให้ได้ตระหนักถึงชีวติ หลังความตายในเรือ่ ง ของกฎแห่งกรรม” ความน่าสนใจในผลงานชิ้นดังกล่าวนี้คงหนีไม่พ้นการนำ�เรื่องราวพื้นบ้านที่เป็นเรื่องลี้ลับของสังคมไทยในอดีตมาเล่าขาน ต่อในรูปแบบของศิลปะซึ่งสะท้อนให้เห็นในมิติความเชื่อหลายๆอย่างที่ยังส่งต่อมายังยุคปัจจุบันและความโดดเด่นที่ตามมาจากวิธีคิด เรื่องลี้ลับของผลงาน คือการเลือกใช้เทคนิคภาพพิมพ์คอลโลกราฟที่สามารถแสดงร่องรอยของอารมณ์และบรรยากาศแห่งความหวาด กลัวได้เป็นอย่างดี ซึ่งเทคนิคดังกล่าวน้อยคนนักที่จะทำ�แล้วออกมาสอดคล้องกับแนวความคิดที่น�ำ เสนอได้อย่างกลมกลืน
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
กันต์ มหาเปารยะ “เทวรูปแห่งอ�ำนาจ” สื่อผสม 180 x 80 x 200 ซม.
5
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
ธนพล ดาทุมมา “อาลัยรักเพื่อนสาว” เย็บปัก 150 x 200 ซม.
3. ธนพล ดาทุมมา ในผลงานชื่อ “อาลัยรักเพื่อนสาว” เทคนิค เย็บปัก ด้วยแนวความคิดที่ว่า “นำ�เสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเพศที่สาม ในภาพนี้เป็นภาพบรรยากาศงานศพ เป็นภาพเหตุการณ์ที่ดูโศกเศร้า เสียใจ แต่เมื่อกลุ่มเพศที่สามมาร่วมในงานนั้นกลับทำ�ให้เหตุการณ์นั้น เปลี่ยนไปเป็นภาพที่ดูย้อนแย้ง ขัดแย้งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นมุมมองของกะเทยคนหนึ่งซึ่งเป็นมุมมองที่ดูตลก สนุกสนาน แม้ เหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้นจะดูโหดร้ายสะเทือนใจมากเพียงใด กะเทยก็สามารถทำ�ให้เรื่องต่างๆเหล่านั้นดูมีความสุขและมีชีวิตชีวาได้เหมือน กับเป็นตัวสร้างสีสันให้กับสังคม” ด้วยเทคนิคเย็บปักกับเรื่องราวเกี่ยวกับเพศที่สามสามารถสื่อสารอะไรหลายๆอย่างในผลงานได้เป็น อย่างดี สีสันที่สนุกสนานย้อนแยงกับเหตุการณ์ที่เป็นงานโศกเศร้า ศิลปินมีการใช้เรื่องราวทางศิลปะเข้าไปเป็นตัวแทนในการบำ�บัดความเศร้า หมอง ผันแปรไปสู่เรื่องราวของมิตรภาพและความเป็นเพศที่สามได้อย่างไม่เขินอายและน่าสนใจ 4. ปรัชญา เจริญสุข ในผลงานชื่อ “ขยะ-สังคม หมายเลข 2” เทคนิคจัดวางขยะทะเล และสื่อผสม ด้วยแนวคิดที่ว่า “ปัญหาสภาพแวดล้อม เกิดจากความก้าวหน้า และการมีอยู่ของมนุษย์ สิ่งแปลกปลอมที่มนุษย์สร้างขึ้นจำ�นวนมากกำ�ลังคุกคามโลกใบนี้ และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ต่อทุกสิ่งอย่างรอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ และกลไกของสภาพฟ้าดิน อากาศ มนุษย์ก�ำ ลังทำ�ให้โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผลงาน
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
ชุดนี้จึงเป็นเหมือนภาพสะท้อนความวิตกกังวล และย้ำ�เตือนปัญหาที่เราทุก คนกำ�ลังเผชิญอยู่ ผลงานศิลปะถูกสร้างขึ้นจากการเก็บรวบรวม สะสมเศษซาก วัสดุ ขยะจากชายทะเลใกล้บ้าน นำ�มาจัดวางร่วมกับสื่ออื่น เพื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึง ปริมาณผลผลิตของนวัตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละวัน และถูกทิ้งสู่ธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงโลกกำ�ลังถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่ธรรมชาติไม่ได้สร้างมากขึ้นเรื่อยๆ ผลก็ คือพฤติกรรมของมนุษย์กำ�ลังทำ�ลายสิ่งที่เอื้อต่อการมีชีวิตของตนเอง” ผลงาน ดังกล่าวมีการก้าวเข้าไปสู่ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งนับได้ว่าศิลปะเป็นเครื่องมือ หนึ่งที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือหรือเข้าไปชี้ ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ต่างๆได้เป็นอย่างดี วัสดุและเทคนิคที่ศิลปินเลือกใช้สอดคล้องกันอย่างปฏิเสธไม่ ได้ และสิ่งที่น่าชื่นชมและน่าสนใจคือศิลปินเลือกที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีขนาด พอเหมาะแก่การนำ�เสนอเรื่องราวในประเด็นสิ่งแวดล้อมดังกล่าวให้ ไม่เกิดความ ย้อนแย้งในแนวคิด เนื่องจากหากมองอีกนัยหนึ่ง ศิลปะเองก็อาจเป็นส่วนหนึ่งใน การสร้างมลภาวะกับโลกโดยในที่นี้ขนาดของผลงานมิได้คุกคามหรือเป็นภัยต่อสิ่ง แวดล้อม เมื่อเทียบกับศิลปินในยุคก่อนหน้าที่อาจสร้างผลงานใหญ่โตเมื่อพูดเรื่อง สิ่งแวดล้อม 5. ปิยะพงษ์ ภูมิไธสง ในผลงานชือ่ “ความสัมพันธ์มนุษย์กบั ผ้าไหม หมายเลข 4” เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ ด้วยแนวคิดที่ว่า “ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมา จากผ้าไหม ผูส้ ร้างสรรค์ผลงานเกิดและเติบโตในชนบททีค่ รอบครัวประกอบอาชีพ ทอผ้า จึงมีความรู้สึกผูกพันกับอาชีพทอผ้า เพราะผ้าไหมมีความสำ�คัญต่อการ
ปรัชญา เจริญสุข “ขยะ-สังคม หมายเลข 2” จัดวางขยะทะเล และสื่อผสม 200 x 124 x 175 ซม.
7
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
ดำ�รงชีวิตของมนุษย์เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และผู้สร้างสรรค์ผล งานประทับใจในการนำ�ผ้าไหมมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ ทำ�ให้ รู้สึกถึงความงามในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับผ้าไหม จึงอยากถ่ายทอดความรู้สึกของความงาม ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้สร้างสรรค์ออกมา โดยผ่านกระบวนการภาพพิมพ์แกะไม้” ความตรง ไปตรงมาของแนวคิดของผลงานชิ้นดังกล่าวนี้คงไม่มีอะไรมากไปกว่าในสิ่งที่ศิลปินอธิบายไว้ข้าง ต้น หากแต่อยากจะให้ผู้ชมพินิจไปที่ความสามัญของเทคนิคที่น�ำ เสนอออกมาอย่างขั้นสูง ความ ประณีตของการแกะไม้ราวกับการสกรีนนี้สามารถยกระดับเทคนิคดังกล่าวที่ทุกวันนี้เห็นแต่เพียง สีดำ�ที่ง่ายและรวบรัดของเทคนิคภาพพิมพ์สู่การนำ�สีสันและความประณีตต่างๆกลับมาสู่เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้อีกครั้ง
ปิยะพงษ์ ภูมิ ไธสง “ความสัมพันธ์มนุษย์กับผ้าไหม หมายเลข 4” ภาพพิมพ์แกะไม้ 187 x 118 ซม.
6. ภคนันท์ กงชัยภูมิ ในผลงานชื่อ “ความหลงใหล หมายเลข 5” เทคนิค ภาพพิมพ์โลหะ ด้วย แนวคิดที่ว่า “ในปัจจุบันการรับรู้ข้อมูลข่าวสารนั้นง่ายขึ้น การเมืองจึงเป็นที่สนใจในกลุ่มคนเกือบ ทุกกลุ่ม ศิลปินจึงได้รับแรงบันดาลใจจากการชมข่าวสารด้านการเมืองในเรื่องการใช้งบประมาณ การจัดการต่างๆ จึงได้นำ�เอาของเล่นที่คนมักจะหลงใหล และสะสมเพื่อความสุขของตนเองมาเป็น สื่อกลางในการถ่ายทอด” นี่เป็นตัวอย่างผลงานที่น่าชื่นชมและเป็นปรากฏการณ์ของพื้นที่การ แสดงศิลปกรรมแห่งนี้อย่างมาก ผลงานที่เคลื่อนตัวไปพร้อมๆกับสังคมการเมืองได้เข้ามาสู่พื้นที่ นี้ได้อย่างภาคภูมิ ผลงานมีลักษณะของการตั้งคำ�ถาม เสียดสีถึงการใช้จ่ายภาษีอย่างสนุกสนาน กับยุทโธปกรณ์ทางการทหาร ศิลปินเลือกแทนค่าดังของเล่นซึ่งเป็นการอุปมาที่ฉลาดและน่าสนใจ ทำ�ให้ความก้าวร้าวของประเด็นการเสียดสีลดน้อยลง แต่ยังคงอุดมไปด้วยเนื้อหาแห่งการตั้ง คำ�ถามอย่างเข้มข้น ซึ่งขอชื่นชมและเป็นกำ�ลังใจให้ท�ำ ผลงานซึ่งเป็นกระจกที่สามารถสะท้อนความ เป็นไปของสังคมต่อไป
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
7. ภานุชิต ศรีวิชัย ในผลงานชื่อ “สงครามสมมติ หมายเลข 1”เทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ ด้วยแนวคิดที่ว่า “ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันและได้นำ�เรื่องราวเหล่านั้นมาสมมติเหตุการณ์จ�ำ ลองจากจินตนาการ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นจะไม่มีวันเกิด ขึ้นจริง นั่นคือการเกิดสงครามสมมติระหว่างเหล่าทหารผู้มีอ�ำ นาจกับเทพเจ้าและตัวละครในวรรณคดีไทย โดยเหตุการณ์ที่สมมติขึ้นนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เหล่าทวยเทพได้ทำ�การปกป้อง และร่วมต่อสู้ไปกับประชาชนธรรมดาหรือกลุ่มที่ร่วมพลังเพื่อทวงคืนอะไรสักอย่างที่ถูก ชิงและขาดหายไป โดยในเหตุการณ์ดังกล่าว ศิลปินได้นำ�สถานที่และวัตถุหรือเหตุการณ์ที่อ้างอิงมาจากเรื่องจริงในปัจจุบันที่ผ่านกระบวน ความคิดและปรุงแต่งมานำ�เสนอผ่านเทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้” ในผลงานนี้ความน่าสนใจอยู่ที่การนำ�เสนอเรื่องราวทางการเมืองที่ผ่านการ อุปมาอุปไมยด้วยการใช้เรื่องราวในวรรณคดีซึ่งศิลปินพยายามสร้างเรื่องราวสมมติที่มีตัวละครต่างๆที่เทียบเคียงกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทางสังคม การแสดงออกทางศิลปะอย่างเทียบเคียงนี้นับได้ว่าเป็นการนำ�เสนอได้อย่างน่าสนใจ เปิดกว้างต่อกลุ่มผู้รับชมผลงานและมอบ เสรีภาพในการตีความในมิติต่างๆของผู้ชม และการเลือกใช้เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยกระบวนการภาพพิมพ์คือกระบวนการผลิตซ้�ำ ที่ทุก อย่างวนไปเป็นวงจร อาจคล้ายกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่กำ�ลังจะเข้าสู่จุดที่วนกลับไปจุดเดิม
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
ภคนันท์ กงชัยภูมิ “ความหลงใหล หมายเลข 5” ภาพพิมพ์โลหะ 92 x 154 ซม.
9
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
ภานุชิต ศรีวิชัย “สงครามสมมติ หมายเลข 1” ภาพพิมพ์แกะไม้ 128 x 154 ซม.
8. มาริษา แย้มเสนาะ ในผลงานชื่อ “ความเชื่อกึ่งสำ�เร็จรูป” เทคนิค สื่อผสม ด้วยแนวคิดที่ว่า “ความเชื่อกึ่งสำ�เร็จรูป เป็นนิยามที่แสดงถึงวิถี ชีวิตของคนไทยในยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งต้องการความสะดวกรวดเร็วในชีวิต แต่ก็ยังสอดคล้องไปกับความเชื่อของตนเองที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความ เชื่อทางศาสนา หรือความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ทำ�ให้รูปแบบของพิธีกรรมในความเชื่อเหล่านั้นถูกลดบทบาทลงเพื่อให้ง่ายและกระชับมากขึ้น จึงได้นำ�เสนอผลงานศิลปะเทคนิคการทำ�บล็อกกระดาษ โดยนำ�รูปทรงของความเชื่อต่างๆมาแยกส่วนประกอบและจัดเตรียมชิ้นส่วนอย่างเป็น ระบบ เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนต่างๆ จนเกิดเป็นรูปทรงความเชื่อที่สมบูรณ์ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของรูปแบบ ความเชื่อกับวิถีของคนในปัจจุบัน เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวจนนำ�ไปสู่ความเคยชิน ที่ไม่สามารถแยกความเชื่อกับความจริงออกจาก กันได้อย่างชัดเจน” ผลงานดังกล่าวมีการนำ�เสนอรูปลักษณ์ ใหม่ของความเชื่อที่มีการปรับตัวให้เข้ากับการเคลื่อนตัวของโลกซึ่งความเชื่อต่างๆ ถูกลดทอนในแบบกึ่งสำ�เร็จรูปด้วยการสร้างภาพแทนของความเชื่อที่มีการประยุกต์ ให้เข้าถึงง่ายและรวดเร็ว ในผลงานมีการหยอกล้อกับกลไก
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
9. อรุณกมล ทองมอญ ในผลงานชื่อ “สุนทรียภาพของการแปลงรูป” เทคนิค สื่อผสม (พับกระดาษ วัตถุ และวัสดุ) ด้วยแนวคิดที่ว่า “เนื่องจาก ผู้สร้างสรรค์เคยทำ�งานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รู้สึกคุ้น เคยกับอะไหล่เครื่องยนต์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำ�งาน เพื่อประกอบ สร้างสินค้าที่เป็นผลผลิตของโรงงาน จึงรู้สึกสะเทือนใจในความเป็นระบบ ระเบียบ และความรวดเร็วในการประกอบการของเครื่องจักรที่มีอำ�นาจ เหนือกว่าความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ดี ผู้สร้างสรรค์มีความประทับใจใน ลักษณะพิเศษของวัสดุที่บ่งบอกถึงความเป็นอุตสาหกรรม เช่น ลักษณะ ทางกายภาพ ตัวเลขรหัสบางอย่างบนวัตถุที่เป็นภาษาของอุตสาหกรรม เศษวัสดุที่หมดอายุการใช้งานนั้น คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นสิ่งสกปรก ดูเกรอะกรัง ไร้ค่า แต่ผู้สร้างสรรค์กลับเห็นความมีชีวิต ความงาม ทางกายภาพที่ปรากฏอยู่บนวัตถุ จึงได้ใช้เทคนิคการพับกระดาษเป็น เครื่องมือในการแปลงรูปเศษวัสดุ เป็นงานศิลปะสื่อผสมจากจินตนาการ กระบวนการทำ�ซ้ำ�ด้วยแรงมือที่แฝงไว้ซึ่งความเอาใจใส่และความละเอียด ประณีต ซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้สร้างสรรค์พยายามเรียกคืนความเป็นมนุษย์ จากวัตถุเดิมที่มีความหมายและหน้าที่ในทางอุตสาหกรรม ไปสู่รูปทรง
มาริษา แย้มเสนาะ “ความเชื่อกึ่งส�ำเร็จรูป” สื่อผสม 195 x 68 x 192 ซม.
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
ของโลกอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตซ้ำ�ของสินค้า แม้แต่ความเชื่อก็อาจถูก ทำ�ให้เป็นสินค้าในโลกทุนนิยม
11
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
อรุณกมล ทองมอญ “สุนทรียภาพของการแปลงรูป” สื่อผสม (พับกระดาษ วัตถุ และวัสดุ) 162 x 121 x 125 ซม.
นามธรรมที่ให้สาระและสุนทรียภาพทางวัตถุใหม่ในภาษาของศิลปะ” ในผลงานชิ้นดังกล่าวศิลปินมีความต้ังใจนำ�เสนอความเป็นนามธรรมของ วัตถุผ่านการใช้เทคนิคที่น่าสนใจด้วยการพับกระดาษโอริกามิ การเลือกนำ�วัสดุสำ�เร็จรูปมาประสานกับอีกเทคนิคพับกระดาษนับได้ ว่าเป็นกระบวนการประกอบสร้างรูปทรงทางศิลปะได้อย่างน่าสนใจซึ่งแสดงให้เห็นถึงชั้นบางๆของกาลเวลา และวัฒนธรรมที่ก�ำ ลังแปรเปลี่ยน ไปอย่างช้าๆ ด้วยการกระทำ�ของมือมนุษย์นี้เองทำ�ให้วัตถุที่ไร้ชีวิตกลับมามีชีวิตโลดแล่นในโลกแห่งศิลปะอีกครั้ง นับเป็นการสร้างภาษาที่ผสาน กันระหว่างโลกแห่งวัตถุที่แข็งกระด้างให้เข้ากับความมีชีวิตของมนุษย์ ได้อย่างน่าสนใจ
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
1. ญาณิศา เทิดรัตนพงศ์ ในผลงานชื่อ “มุมมองความเป็นไปได้ของชีวิตผ่านเม็ดทราย” เทคนิค สื่อผสม ด้วยแนวคิดที่ว่า “ในการทำ�งานศิลปะ บ่อยครั้งที่การเริ่มต้นนั้นเป็นการ สนทนาระหว่างศิลปินกับผลงาน กระทำ�การโต้ตอบซึ่งกันและกันอย่างชี้ชวนให้เห็นถึงความ จริงบางประการ ถึงการมีชีวิตอยู่ อีกทั้งยังได้เห็นความเชื่อมโยงของวัสดุอย่างเม็ดทรายกับ สรรพสิ่ง นั่นคือความเป็นสสารที่ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่จริง สัมผัสถึงการมีอยู่ได้จริงด้วยการนำ� เม็ดทรายมาประกอบสร้างร่วมกับวัสดุอื่น เพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราวทั้งในรูปแบบ งานจิตรกรรมสองมิติและศิลปะการจัดวาง โดยมุ่งเน้นไปที่กระบวนการ การทำ�ความเข้าใจและ ค้นหาความหมายของความจริงที่คาดว่าจะเป็นได้”
ญาณิศา เทิดรัตนพงศ์ “มุมมองความเป็นไปได้ของชีวิตผ่านเม็ดทราย” สื่อผสม 150 x 65 x 178 ซม.
2. จตุสดมภ์ แซ่ซิ้ม ในผลงานชื่อ “ฉันเคยเห็น” เทคนิค สีน้ำ�มัน และสีอะครีลิคบนผ้าใบ ด้วย แนวคิดที่ว่า “ศิลปินนำ�เสนอเรื่องราวบางอย่างจากสิ่งที่พบเจอด้วยจินตนาการและจิตใต้ส�ำ นึก ผ่านตัวละครที่เลือกนำ�มาใช้ ซึ่งตัวละครแต่ละตัวก็มีบริบทที่แตกต่างกัน” 3. ณัฐนิชา สัมฤทธิ์ ในผลงานชื่อ “Complex from being pressured” เทคนิค ภาพพิมพ์ ตะแกรงไหม ด้วยแนวคิดที่ว่า “เรือในความหมายของข้าพเจ้าเปรียบเสมือนกับยานพาหนะที่พา ไปสู่จุดหมายได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นจึงเลือกใช้สัญลักษณ์เป็นเรือที่ท�ำ จากกระดาษข้อสอบ แทนตัวเอง เพราะเป็นกระดาษที่ไม่แข็งแรง สามารถพังได้ง่าย และมีการบันทึกถ้อยคำ�หรือคำ�
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
จตุสดมภ์ แซ่ซิ้ม “ฉันเคยเห็น” สีน�้ำมัน และสีอะครีลิคบนผ้าใบ 140 x 200 ซม.
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
นอกจากรางวัลที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรางวัลสนับสนุนที่เป็นรางวัลส่งเสริมการสร้างสรรค์ แก่ศิลปินรุ่นเยาว์อีก 6 รางวัล ได้แก่
13
ณัฐนิชา สัมฤทธิ์ “Complex from being pressured” ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม 92 x 124 ซม.
พิมพ์เพ็ญ หอมสมบัติ “สัมพันธภาพในความแตกต่าง” ภาพพิมพ์โลหะ 118 x 66 ซม.
พูดลงไปในเรือกระดาษ ที่มีประเด็นมาจากการบีบบังคับ มีคำ�พูดที่ดูถูก ไปจนถึงการเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำ�ให้เกิดความน้อยใจจนก่อเกิดเป็น ความเครียด และสามารถส่งผลเป็นปัญหาที่ร้ายแรงตามมาได้ ข้าพเจ้าจึงต้องการบันทึกถ้อยคำ�ต่างๆลงไปเพื่อให้ผู้ใหญ่ในสังคมได้ฉุกคิดและ ตระหนักถึงคำ�พูดที่ได้พูดออกไป” 4. พิมพ์เพ็ญ หอมสมบัติ ในผลงานชื่อ “สัมพันธภาพในความแตกต่าง” เทคนิค ภาพพิมพ์โลหะ ด้วยแนวคิดที่ว่า “ความแตกต่างทางกายภาพ ไม่สามารถปิดกั้นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันได้ ทุกชีวิตต่างมีจิตใจ มีอารมณ์ ความรู้สึก ความรัก ความผูกพัน และความปรารถนาดีต่อกัน จึง เปรียบเสมือนของขวัญที่ธรรมชาติได้มอบไว้ในหัวใจของทุกๆชีวิต เพื่อช่วยให้โลกใบนี้ขับเคลื่อนไปอย่างสันติสุข” 5. อภิชาติ วาหะมงคล ในผลงาชื่อ “เย็บกระดุมหลาน” เทคนิค จิตรกรรมผสม ด้วยแนวคิดที่ว่า “ผู้สร้างสรรค์ต้องการประกาศเกียรติคุณ เรื่องราวความประทับใจเกี่ยวกับบทบาท ภาระ และหน้าที่ของสตรีเพศ ที่ทำ�หน้าที่ประดุจเป็นทั้งยายและแม่ในเวลาเดียวกัน และมีความผูกพัน อันลึกซึ้งทางเครือญาติในครอบครัว อีกทั้งเป็นบุคคลผู้มีอุปการคุณในการอบรมเลี้ยงดูลูกหลาน เป็นผู้ที่คอยมอบความรักอันบริสุทธิ์ ความ
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
ชนิยา มณีนวล “เพลิดเพลินบันเทิงแสงสี” ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม 82 x 102 ซม.
อบอุ่น ความเมตตา ควรค่าแก่การระลึกนึกถึง โดยนำ�ความประทับใจ ความสุข ความทรงจำ�ที่ซ่อนไว้ภายในมานำ�เสนอถ่ายทอดผ่านผล งานศิลปะสร้างสรรค์เป็นรูปธรรม แสดงเนื้อหาสารัตถะของบทบาทยายที่มีนัยยะของความเป็นแม่ด้วยมุมมองวิถีชีวิตชนบท อบอุ่นเรียบ ง่าย ผ่านกระบวนการเทคนิคจิตรกรรมไทยแนวประเพณีในรูปแบบเรียบง่าย ซื่อตรง อันสอดคล้องกับเจตจำ�นงและจิตใต้ส�ำ นึกอันดีของผู้ สร้างสรรค์” 6. ชนิยา มณีนวล ในผลงานชื่อ “เพลิดเพลินบันเทิงแสงสี” เทคนิค ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ด้วยแนวคิดที่ว่า “ผลงานชิ้นนี้ได้น�ำ เอา ประสบการณ์จากบ้านเกิดพื้นถิ่น อัตลักษณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตภาคใต้ สถานที่ที่รายล้อมไปด้วยครอบครัว ธรรมชาติ บรรยากาศอัน แสนสนุกอบอุ่น ความสุข กิจกรรม ประเพณี วัฒนธรรมที่คนหมู่มากทำ�ร่วมกัน ในผลงานชิ้นนี้คือบรรยากาศงานวัดหรือเทศกาลที่มีแสงสี เสียง ความเพลิดเพลิน สีสัน มีหนังกลางแปลง และหนังตะลุงให้ผู้คนภายในงานได้รับชมเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งเป็นประเพณีที่เป็นจุดเด่น มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวิถีชีวิตชาวภาคใต้ ข้าพเจ้าจึงได้นำ�สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตบางส่วนจากความเป็นจริง คลุกเคล้ากับจินตนาการ ของความรู้สึกที่ยังอยู่ในห้วงความทรงจำ�ยังหวนให้คิดถึงอยู่เสมอ” กฤษฎา ดุษฎีวนิช
Copyright © The Art Centre Silpakorn University
หนังสือน�ำชม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี 2563
อภิชาติ วาหะมงคล “เย็บกระดุมหลาน” จิตรกรรมผสม 150 x 112 ซม.
15
การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ เป็นเวทีการประกวดศิลปกรรมที่จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ของศิลปินในระดับเยาวชนอายุระหว่าง 16-25 ปี จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 และต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลจัดการประกวดและจัดแสดง และร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลักในทุกภูมิภาค ในแต่ละปีคณะกรรมการอำ�นวยการฯที่ประกอบด้วยผู้แทน ๐ จากสถาบั น การศึ ก ษาด้ า นศิ ลปะต่ า งๆ จะดาเนิ นการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะเพื่อทําหน้าที่เป็น คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินและเปิดรับผลงานศิลปกรรมที่ ไม่จำ�กัดประเภทและแนวคิดเข้าประกวด โดยคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะพิจารณาผลงานให้ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยม เหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี” 1 รางวัล รางวัลเกียรตินิยม เหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” 9 รางวัลและรางวัลสนับสนุนจากหน่วย งานเอกชน รวมถึ ง คั ด เลื อ กผลงานส่ ว นหนึ ่ ง เข้ า ร่ ว มแสดง เมื ่ อ สิ ้ น สุ ด การจั ด แสดงในส่ ว นกลาง ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมแล้ว ทางหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงนำ�ผลงานไปจัดแสดงสัญจรยังสถาบัน ต่างๆ ในส่วนภูมิภาค
Copyright © The Art Centre Silpakorn University