1
การแสดงศิ ล ปกรรมร่ ว มสมั ย ของศิ ล ปิ น รุ ่ น เยาว์ ครั้ ง ที่ 33 ในการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 33 นี้ ภาพรวมของงานส่วนใหญ่แสดง ให้เห็นมุมมองของศิลปินในวัยที่ก�ำลังจะก้าวเป็นผู้ใหญ่ ผลงานส่วนมากจึงเป็นการแสดงออกที่ เป็นอัตวิสย ั มาจากประสบการณ์สว่ นตัว ความรูส ้ ก ึ ภายในจิตใจทีส ่ ะท้อนการเดินทางของวัย หาก แต่ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวโยงกับบริบทสังคม หรือมีการกล่าวถึงสภาวะสังคมที่เป็นไปในทิศทางที่ เสื่อมถอยซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนเเปลงทางสังคมที่มุ่งเข้าสู่โลกทุนนิยม รวมถึงความ เชื่อตามจารีตประเพณี และวัฒนธรรมที่มีการอิงเเอบกับเรื่องราวเเละวิธีคิดของพุทธศาสนา ซึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าศิลปินยังคงโหยหาความจริงแท้ ทัง้ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการใช้ชวี ต ิ ในครัง้ ที่ 33 นี้ มีศล ิ ปินผูไ้ ด้รบ ั รางวัลทัง้ สิน ้ 16 ท่าน แบ่งเป็นรางวัลเกียรตินย ิ มยอดเยีย ่ มเหรียญ ทอง “ศิลป์ พีระศรี” 1 รางวัล รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” 9 รางวัล และรางวั ล สนั บ สนุ น 6 รางวั ล โดยในแต่ ล ะรางวั ล นั้ น ล้ ว นมี เ ทคนิ ค และเนื้ อ หาแนวทางการ สร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจ
2
รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี”
นายอนันต์ยศ จันทร์นวล “เนื้ออันโอชะ หมายเลข 2” สีอะครีลิคและสีน�้ำมัน, 131 x 200 ซม.
ผลงานทีไ่ ด้รบ ั รางวัลเกียรตินย ิ มยอดเยีย ่ มเหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี” ในครัง้ นี้ ได้แก่ผลงานของ นายอนันต์ยศ จันทร์นวล ในผลงานชือ ่ “เนือ ้ อันโอชะ หมายเลข 2” ซึง่ เป็นผลงานในเทคนิคจิตรกรรมสีอะครีลค ิ และสีนำ�้ มันบนผ้าใบ ด้วยเเนวความคิด ที่ว่าด้วย “การเสียดสีสังคมปัจจุบันที่ยิ่งนับวันยิ่งเห็นความเสื่อมถอยของมนุษย์ ทั้งความคิด และการกระท�ำที่น่าเกลียด น่า ขยะแขยง ล้วนแต่เกิดจากกิเลสทัง้ สิน ้ ” จากการทีศ ่ ล ิ ปินมองสังคมเสือ ่ มถอยมาจากการกระท�ำของมนุษย์ทเี่ ต็มไปด้วยกิเลส นี้ ท�ำให้ภาพที่ปรากฏออกมาในผลงานคือซากหมูเน่าตายตัวหนึ่งก�ำลังโดนสิ่งมีชีวิตเล็กๆรุมเเย่งชิงซากเน่าๆของตนเอง ซึ่ง ก็ไม่ต่างอะไรไปจากสังคมปัจจุบัน ที่ศิลปินพยายามจะเปรียบเปรยว่ากิเลสนั้นเองที่ท�ำให้เกิดความโกลาหลในสังคม กิเลสนั้น เมือ ่ เกิดขึน ้ เเล้วจะส่งผลโยงใยไปในหลายๆภาคส่วนของสังคม ด้วยรายละเอียดของผลงานนัน ้ สร้างสรรค์ออกมาได้สอดคล้อง กับเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสารออกมาอย่างน่าสนใจ เเม้ด้วยเทคนิคเเละวิธีการน�ำเสนอจะเป็นการใช้สื่อสร้างสรรค์ในเเบบ จิตรกรรมตามขนบทีไ่ ม่ได้มอ ี ะไรเเปลกใหม่ เเต่ผลทีไ่ ด้รบ ั สอดคล้องกับเรือ ่ งราวว่าด้วยความโกลาหลวุน ่ วายทีม ่ ท ี ม ี่ าจากกิเลส ของมนุษย์ ด้วยองค์ประกอบที่ดึงความสนใจไปที่กลางภาพที่ปรากฏซากสัตว์ตาย มองเห็นเครื่องในเเละอวัยวะภายในไหล ออกมา ในการสร้างสรรค์ผลงานชิน ้ นีเ้ ป็นการเน้นย�ำ้ จุดเด่นของภาพอย่างตรงไปตรงมา เเละยังมีรายละเอียดอืน ่ ๆทีไ่ ม่สามารถ บ่งบอกได้ว่าเป็นสัตว์ประเภทใดรายล้อมอยู่ที่ซากสัตว์คอยดึงชิ้นส่วนต่างๆออกอย่างสนุกสนาน 3
รางวัลถัดมาที่มีคุณภาพไม่ต่างกัน นั่นคือ รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” มีศิลปินได้รับรางวัลทั้งสิ้น จ�ำนวน 9 ท่าน ผลงานแต่ละชิ้นนั้นล้วนมีการแสดงออกในทิศทางเฉพาะตัว ซึ่งมุ่งเน้นการแสดงออกจากประสบการณ์ภายใน ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ 1. นายคณพศ สารักษ์ ในผลงานชือ ่ “การเคลือ ่ นไหวของจินตนาการและกลไก” ด้วยเทคนิค สือ ่ ประสม (ประติมากรรมโลหะ) ผลงานกล่าวถึงเรือ ่ งราวความทรง จ�ำในวัยเด็กทีเ่ ป็นทีม ่ าของการสร้างสรรค์ผลงานชิน ้ ดังกล่าว ว่าเป็นความผูกพัน ส่วนตัวกับยานพาหนะในวัยเยาว์ ซึ่งสะท้อนเทคโนโลยีของมนุษย์ในการสร้าง ระบบกลไกง่ายๆให้เป็นยานพาหนะ นั่นคือ จักรยาน จากระบบกลไกที่เรียบง่าย กลายเป็นความหลงใหลต่อความเรียบง่ายนั้น ศิลปินจึงเริ่มถอด รื้อ ประกอบ สร้างจักรยานด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่ได้รับเกิดเป็นความรู้สึกพิเศษต่อ ชิน ้ ส่วนต่างๆ และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่ เผยให้เห็นฟันเฟือง การเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนต่างๆ
นายคณพศ สารักษ์ “การเคลื่อนไหวของจินตนาการและกลไก” สื่อประสม, 160 x 160 x 190 ซม.
4
นางสาวณัฐชยา วังศิลาบัตร “วอเตอร์ ลิลลี่” แม่พิมพ์หิน, 101 x 130 ซม.
5
รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”
2. นางสาวณัฐชยา วังศิลาบัตร ในผลงาน ชื่อ “วอเตอร์ ลิลลี่” ซึ่งเป็นผลงานภาพ พิ ม พ์ เ ทคนิ ค แม่ พิ ม พ์ หิ น ผลงานชิ้ น นี้ มี การน�ำเสนอเเนวคิดทีว่ า่ ด้วยจิตไร้สำ� นึกของ มนุษย์ ที่ต้องการเก็บกักความสุข ความพึง พอใจตามสัญชาตญาณ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ มี บ างสิ่ ง กระตุ ้ น ให้ จิ ต ไร้ ส� ำ นึ ก ของเรา ตอกย�้ำระลึกถึงประสบการณ์ที่เจ็บปวดใน อดีตและเผยตัวออกมาในรูปแบบของความ ฝัน ความรัก ความกดดัน ความคาดหวัง ความหวาดกลัวที่มากเกินไป จนส่งเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อการด�ำเนินชีวิต ศิลปินจึงได้ สร้างโลกส่วนตนของตัวเองขึน ้ มา ด้วยการ ก่อก�ำแพงภายในจิตใจ ปิดกัน ้ ตนเองไว้ จาก ความรู้สึกแปลกแยกนี้ กลับกลายมาเป็น แ ร ง ผ ลั ก ดั น ใ น ก า ร จิ น ต น า ก า ร ส ร ้ า ง ภาพเสมือนตนมาทับซ้อนกัน เกิดรูปลักษณ์ ที่ แ ปลกประหลาดที่ ดู อึ ด อั ด กดดั น และ สับสน อยู่ในพื้นที่ส่วนนั้น
3. นางสาวเดือนวิสาข์ ชลศิริ ในผลงานชื่อ “Grow” ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์ผสม Marbling และ Screenprinting จากเเนวความคิดที่ว่า การที่จะต้องเติบโต เป็นผูใ้ หญ่ มีความรับผิดชอบมากมายในชีวต ิ ท�ำให้เกิด ความรู้สึกอึดอัด และต่อต้านภายในจิตใจ แต่เมื่อเวลา ด�ำเนินผ่านไป ความรู้สึกเหล่านี้ก็เริ่มคลี่คลายลง เริ่ม ตระหนักได้วา่ ถึงเวลาทีจ ่ ะต้องเลิกยึดติดกับความรูส ้ ก ึ ในอดีต และมองไปข้างหน้า เก็บความรูส ้ ก ึ โหยหาความ สนุกสนานในวัยเด็กไว้เพียงในห้วงเวลาแห่งความทรง จ�ำ เพือ ่ เป็นเครือ ่ งเตือนใจให้ใช้ชวี ต ิ อย่างสนุกสนานต่อ ไปในอนาคตเช่นกัน ในผลงานชิน ้ นีจ ้ ด ุ ทีน ่ า่ สนใจคือการ ใช้เทคนิคภาพพิมพ์ทผ ี่ สมผสานกับเทคนิคใหม่ได้อย่าง น่าสนใจ นั่นคือ การน�ำเทคนิคที่ต้องใช้การควบคุม อย่างเเม่นย�ำซึ่งก็คือ Screenprinting มาผสมกับ เทคนิคที่ไร้การควบคุมอย่าง Marbling ซึ่งปล่อยให้ งานที่เกิดเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ การผสมผสาน สองเทคนิคนี้สามารถสื่อสารเเนวความคิดในเรื่องการ ยึดติดเเละการปลดปล่อยได้อย่างดี
6
นางสาวเดือนวิสาข์ ชลศิริ “Grow” Marbling & Screenprinting on Paper, 166 x 120 ซม.
นายธนพล เสือโรจน์ “แดนหิมพานต์ หมายเลข 2” สีฝุ่น, 193 x 132 ซม.
5. นายธนวัฒน์ จันทร์นิมิตร ในผลงานชื่อ “หมา หมู ่ ” ผลงานชิ้ น นี้ ว ่ า ด้ ว ยเรื่ อ งความอยากที่ มี ใ น มนุษย์เชื่อมโยงกับสัญชาตญาณการล่าของสัตว์ ซึง่ แสดงถึงการไล่ลา่ แย่งชิงเพือ ่ เอาตัวรอดตามวิถี รูปแบบสัตว์ตามชนบทที่มีเอกลักษณ์ เพื่อสะท้อน ถึ ง สั ง คมมนุ ษ ย์ ที่ อ ยากได้ อยากมี แย่ ง ชิ ง หิ ว กระหาย ซึ่งเป็นความอยากที่มากเกินขอบเขตของ ธรรมชาติ ก็ ไ ม่ ต ่ า งจากสั ต ว์ ที่ ใ ช้ แ ต่ ก� ำ ลั ง ขาด จิตส�ำนึกและการไตร่ตรอง โดยผลงานชิ้นนี้ได้ใช้ วัสดุเป็นหนังสัตว์มาถ่ายทอดเป็นรูปสัตว์ทด ี่ ส ู มจริง ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว เพื่อย�้ำชัดถึงแนว ความคิดที่ศิลปินต้องการจะสื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นายธนวัฒน์ จันทร์นิมิตร “หมาหมู่” งานหนัง, 141 x 186 ซม.
7
รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”
4. นายธนพล เสือโรจน์ ในผลงานชื่อ “แดนหิมพานต์ หมายเลข 2” สร้างสรรค์ด้วยเทคนิค สีฝุ่น เป็นผลงานจิตรกรรมที่แสดงเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนหิมพานต์ตามคติความเชื่อ เรือ ่ งไตรภูมใิ นพระพุทธศาสนา ซึง่ เป็นแดนทิพย์ทม ี่ ค ี วามงามน่ามหัศจรรย์ ความลีล ้ บ ั ทีน ่ า่ ค้นหา จากคติความเชื่อที่มีต่อดินแดนทิพย์แห่งนี้ น�ำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานในแนวทางของศิลปะ ไทยร่วมสมัย ที่ผสานกลมกลืนด้วยเทคนิคใหม่ในลักษณะเฉพาะตน ด้วย จุด เส้น และสีที่มี ความสด ด้วยความละเอียดลออ ประณีต และวิจิตรบรรจง
6. นางสาวธิดารัตน์ จันทเชื้อ ในผลงานชื่อ “การเดินทางตามรอย สถาปัตยกรรมอิสลาม หมายเลข 2” ในเทคนิคเย็บปัก จากเเนว ความคิดทีศ ่ ล ิ ปินต้องการแสดงออกถึงความละเอียดอ่อนของความ เป็นปัจเจกบุคคลของคนมุสลิมที่ต้องอาศัยการเชื่อมสัมพันธ์ การ มีปฏิสัมพันธ์ต่อบุคคลในการสร้างความเป็นเอกภาพที่มั่นคงในสิ่ง ทีศ ่ รัทธา นัน ่ คือศาสนาอิสลาม โดยใช้วธ ิ ก ี ารเปรียบเทียบระหว่างคน กั บ เส้ น ด้ า ย คนที่ มี ค วามเปราะบางและแข็ ง แกร่ ง กั บ ด้ า ยที่ มี คุณสมบัตค ิ ล้ายกัน ด้ายทีม ่ ห ี น่วยเล็กและบอบบาง แต่เมือ ่ อัดแน่น และรวมตั ว กั น ก็ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความงามความแข็ ง แกร่ ง เหมื อ น สถาปัตยกรรมทางศาสนา และยังสื่อถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง กับชีวต ิ ประจ�ำวัน เพือ ่ ยืนยันความสัมพันธ์ของบุคคลในศาสนาทีแ ่ ม้ ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ก็สามารถร่วมพิธีกรรมเดียวกันได้ นับได้ว่า เป็นผลงานที่น่าติดตามอีกผลงานหนึ่งที่มีการใช้วัสดุผสานกับเเนว ความคิดทางศาสนาอิสลามทีล ่ งตัว ความปราณีตทีป ่ รากฏในผลงาน นั้นราวกับภาพโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีการการถ่ายทอด แสงเงา รู ป ทรง ออกมาให้ มี มิ ติ ข องการตั ด ทอนภาพให้ เ ป็ น สัญลักษณ์ได้อย่างน่าสนใจท�ำให้ผลงานชิ้นดังกล่าวนี้มีเเรงดึงดูด จนสามารถดึงให้เข้าไปในบรรยากาศเเห่งศรัทธาของพิธีกรรมทาง ศาสนา นางสาวธิดารัตน์ จันทเชื้อ “การเดินทางตามรอยสถาปัตยกรรมอิสลาม หมายเลข 2” เย็บปัก, 186 x 124 ซม. 8
รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”
นายภูริธิป สุริยภัทรพันธ์ “The Descender” แม่พิมพ์หิน, 95 x 173 ซม.
7. นายภูริธิป สุริยภัทรพันธ์ ในผลงานชื่อ “The Descender” ซึ่งเป็นผลงานภาพพิมพ์ในเทคนิคแม่พิมพ์หิน สะท้อนแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องราวของ “อิสรภาพ” ที่ทุกคนได้รับและคิดว่ามีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม แต่จริงแล้วกลับเป็น เพียงแค่เปลือกของอิสรภาพ หรือเป็นอิสรภาพที่ถูกตีกรอบ ด้วยพรมแดนแห่งข้อก�ำหนดในบริบทต่าง ๆ ทั้งระบบ ทางสังคมวัฒนธรรม หรือ จากภายนอกกาย และภายในจิตใจของตนเอง มนุษย์ที่อยู่บนความประมาท ย่อมท�ำได้ เพียงการใช้ชวี ต ิ ให้สม ั พันธ์และสอดคล้องไปตามกระแสแห่งโลกวัตถุนย ิ ม ทีว่ นเวียนอยูก ่ บ ั ความอยากความหลงใหล ทีล ่ ม ุ่ หลงในมายาคติ แห่งความสุขทางกายภาพอันฉาบฉวย โดยปราศจากสติและการน�ำพุทธิปญ ั ญามาก�ำหนดสร้าง รูปแบบชีวิตเพื่อให้เป็นชีวิตที่พร้อมต่อการตั้งรับและก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลาอย่างรู้เท่าทัน นับได้ว่าผลงานชิ้นดัง กล่าวมีการก้าวหลุดพ้นไปจากเรื่องราวส่วนตน เเละก้าวออกสู่เรื่องราวสังคมภายนอกได้อย่างน่าสนใจ เเละการใช้ ภาพเเทนในเชิงเเนวความคิดที่เป็นการเน้นย�้ำเรื่องผลงานศิลปะว่าย่อมสะท้อนแนวความคิดมากกว่ารูปแบบการ สร้างสรรค์ ซึ่งถือได้ว่าผลงานชิ้นนี้น�ำเสนอออกมาได้ดีเเละเห็นพัฒนาการทางความคิดที่น่าติดตามของศิลปิน
9
นางสาวสุนิศา นวมเผือก “เลขที่ออก...” ไฟเบอร์กลาส, 150 x 70 x 180 ซม.
8. นางสาวสุนิศา นวมเผือก ในผลงานชือ ่ “เลขทีอ ่ อก...” ผลงานประติมากรรมไฟเบอร์กลาสชิน ้ นี้สะท้อน แนวคิดทีว่ า่ มนุษย์นน ั้ มีรากฐานความเชือ ่ ผูกพันอยูก ่ บ ั สิง่ ศักดิส ์ ท ิ ธิแ ์ ละไสยศาสตร์อยูเ่ สมอ ยึดติดและพึง่ พา อยูก ่ บ ั ศรัทธาและความเชือ ่ ดัง้ เดิม โดยหลงเชือ ่ ไปก่อนจะค้นหาข้อเท็จจริง จนกลายเป็น “สังคมไม่เชือ ่ อย่า ลบหลู” ่ โดยการปฏิบต ั ต ิ ามความเข้าใจทีม ่ แ ี ต่ศรัทธาเพียงอย่างเดียว แต่ไร้ซงึ่ เหตุผลทีป ่ ระกอบด้วยปัญญา และวิจารณญาณ สิง่ เหล่านีอ ้ าจน�ำมาซึง่ ค่านิยมและพฤติกรรมทีใ่ ห้โทษมากกว่า สิง่ เหล่านีไ้ ด้เป็นแรงบันดาล ใจให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม และสร้างเรื่องราวใหม่เป็นการเสียดสี หยอกเย้ากึ่งตั้งค�ำถาม และท้วงติงถึงคติความเชื่อในสังคมไทย เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเนื่องจากความ เชื่อ ศรัทธา และความหวัง
10
รางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”
9. นางสาวอริชมา ผกาเพชร์ ในผลงานชื่อ “สัจจะชีวิต” ผลงานชิ้นนี้สร้างสรรค์ขึ้นด้วย เทคนิควัสดุผสม จากการผูก มัด ถักวัสดุจาก ธรรมชาติ โดยมีแนวความคิดที่ว่าด้วย ความ งามของธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง ความ เชื่อ ความศรัทธาในศาสนาอิสลาม ที่เป็นดั่งตัว ประสานระหว่ า งเส้ น ทางการด� ำ เนิ น ชี วิ ต กั บ ธรรมชาติ สะท้อนความสัมพันธ์ทเี่ ชือ ่ มโยงจาก จิตภายในสู่ร่างกายภายนอก ผ่านการใช้วัสดุที่ ผ่านกระบวนการผูก มัด ถักด้วยมือ สะท้อนให้ เห็นถึงความจริงของชีวต ิ ทีม ่ ค ี วามละเอียดอ่อน ที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต จังหวะการซ�้ำของเส้นที่ ปรากฏเปรียบดังจังหวะของลมหายใจ ทีแ ่ สดง ให้เห็นถึงความรูส ้ ก ึ ภายในทีม ่ ค ี วามชัดเจน หนัก แน่น และมั่นคง นางสาวอริชมา ผกาเพชร์ “สัจจะชีวิต” ผูก มัด ถักวัสดุจากธรรมชาติ, 200 x 160 ซม.
11
จากผลงานทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นทั้งรางวัลเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญทองและเกียรตินิยมยอดเยี่ยมเหรียญ เงินนั้น จะสังเกตได้ว่า ผลงานต่างๆล้วนมีความหลากหลายทั้งทางด้านเทคนิคเเละวิธีคิดที่ทั้งเกี่ยวโยงกับสังคม ตนเอง เรื่องราวภายใน เเละภาพเเทนทางความคิด ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเส้นทางของศิลปินรุ่นเยาว์ได้อย่างน่าติดตาม นอกจากรางวัลทีก ่ ล่าวมาแล้ว ยังมีรางวัลสนับสนุนทีเ่ ป็นรางวัลส่งเสริมการสร้างสรรค์แก่ศล ิ ปินรุน ่ เยาว์อก ี 6 รางวัล ได้แก่ 1. นางสาวชลิตา ตันติวิชญ์โกศล ในผลงานชื่อ “Wing Glasses” เทคนิคแม่พิมพ์หิน 2. นายนภนันท์ รังสีธรรมคุณ ในผลงานชื่อ “สับเปลี่ยน” เทคนิคสีน�้ำมันบนผ้าใบ 3. นางสาวนอเดียนา บีฮิง ในผลงานชื่อ “บ้านฉัน หมายเลข 3” เทคนิคจิตรกรรมผสม เย็บปัก 4. นางสาวนิลยา บรรดาศักดิ์ ในผลงานชื่อ “เส้นสายแห่งความสุข หมายเลข 2” เทคนิคจิตรกรรมผสม 5. นางสาวบทม์มาลิน เกิดหนุนวงศ์ ในผลงานชื่อ “สยามมิติ” เทคนิคสื่อประสม 6. นายศิริเดช แม้นอิ่ม ในผลงานชื่อ “วิถีชีวิตในพื้นที่เสื่อมโทรม” เทคนิคสีน�้ำมันผสมดิจิตอลปริ้นท์ กฤษฎา ดุษฎีวนิช
12
รางวัลสนับสนุนศิลปินรุ่นเยาว์
นางสาวชลิตา ตันติวิชญ์โกศล “Wing Glasses” แม่พิมพ์หิน, 130 x 101 ซม.
นายนภนันท์ รังสีธรรมคุณ “สับเปลี่ยน” สีน�้ำมันบนผ้าใบ, 125 x 175 ซม.
13
นางสาวนอเดียนา บีฮิง “บ้านฉัน หมายเลข 3” จิตรกรรมผสม เย็บปัก, 180 x 130 ซม.
14
นางสาวนิลยา บรรดาศักดิ์ “เส้นสายแห่งความสุข หมายเลข 2” จิตรกรรมผสม, 180 x 160 ซม.
รางวัลสนับสนุนศิลปินรุ่นเยาว์
นางสาวบทม์มาลิน เกิดหนุนวงศ์ “สยามมิติ” สื่อประสม, 120 x 125 ซม.
นายศิริเดช แม้นอิ่ม “วิถีชีวิตในพื้นที่เสื่อมโทรม” สีน�้ำมันผสมดิจิตอลปริ้นท์, 140 x 180 ซม.
15
ขอขอบคุณ คุณดิสพล จันศิริ
C50 M80 Y90 K40
16