Self guided materials from the 61st National Exhibition of Art

Page 1

หนังสือน�ำชม 1


ในปีนก ี้ ารแสดงศิลปกรรมแห่งชาติได้จด ั ขึ้ น เป็ น ครั้ ง ที่ 61 ซึ่ ง ผ่ า นเวลามาเกิ น กว่ า ครึ่ ง ทศวรรษในเส้นทางของศิลปะสมัยใหม่และร่วม สมัยในประเทศไทย โดยพืน ้ ทีด ่ งั กล่าวนีจ ้ ด ั ขึน ้ ครัง้ แรกโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เมื่อปีพ.ศ. 2492 เพือ ่ หวังว่าจะให้เป็นพืน ้ ทีใ่ นการแสดงออก ในทางศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย และตลอดเวลากว่า 60 ปี พืน ้ ทีแ ่ ห่งนีไ้ ด้ผา่ นเรือ ่ ง ราว ทัง้ ร้อนหนาว เจ็บปวด สุขสันต์ และพร้อมทัง้ เป็นแหล่งบ่มเพาะศิลปะสมัยใหม่อีกสายธารหนึ่ง ที่ส�ำคัญของประเทศไทย พัฒนาการที่ค่อยๆเป็น ค่อยๆไปของพื้นที่กระแสหลักแห่งนี้ได้ต่อยอด ความคิดอ่านของศิลปินให้พัฒนาผลงานศิลปะ อย่างต่อเนื่อง และพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพของ สุนทรียภาพของผู้คนในสังคมไปพร้อมๆกันอีก ทางหนึ่ง และในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 นี้ ภาพรวมผลงานก็ยงั คงมีคณ ุ ภาพและน่าสนใจใน มิติของเรื่องราวภายในที่มีเรื่องราวต่างๆเข้ามา 2

กระทบจิตใจ โดยในผลงานหลายๆชิ้นกล่าวถึง สภาวะภายในดังกล่าวไม่วา่ จะเป็นในผลงานรางวัล หรือร่วมแสดง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครัง้ ที่ 61 นีม ้ รี างวัล สู ง สุ ด คื อ รางวั ล ประกาศนี ย บั ต รเกี ย รติ นิ ย ม อันดับ 2 เหรียญเงิน ในทุกประเภท โดยภาพรวม ของผลงานนัน ้ มีมต ิ ท ิ างวัฒนธรรม ความเชือ ่ และ การแสดงออกส่วนบุคคลอย่างน่าสนใจ โดยมีผล งานที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล ประกาศนี ย บั ต รเกี ย รติ นิ ย ม เหรียญประเภทต่างๆรวมทัง้ สิน ้ จ�ำนวน 15 รางวัล และยังมีรางวัลสนับสนุนธนาคารกรุงไทยอีก 10 รางวัล โดยรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินย ิ มนัน ้ จะแบ่ ง เป็ น 4 ประเภท ได้ แ ก่ จิ ต รกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม ในประเภทจิ ต รกรรม รางวั ล สู ง สุ ด ประเภท จิตรกรรมคือรางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ซึ่งเป็นผลงานของ นางสาว ธิตพ ิ รหม อ่อนเปีย ่ ม ในผลงานงานชือ ่ “บรรพบุรษ ุ ร� ำ ลึ ก ” ด้ ว ยความคิ ด ที่ เ กี่ ย วกั บ การนั บ ถื อ ผี


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

บรรพบุ รุ ษ และชี วิ ต หลั ง ความตาย การสื่ อ สาร ระหว่ า งบุ ค คลที่ มี ชี วิ ต และไม่ มี ชี วิ ต โดย สอดคล้องกับความเชือ ่ ของชาวล้านนาซึง่ มีมาแต่ เดิม ความเชือ ่ นีจ ้ งึ มีอท ิ ธิพลต่อการเกิดพิธก ี รรม และประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า ซึ่งแสดงออกถึง ความผูกพันระหว่างโลกต่างสถานะ ด้วยกลวิธี ของการแสดงออกของความเป็นสตรีเพศ ด้วย เทคนิคจิตรกรรม 2 มิติ ทีส ่ รรค์สร้างจากการเย็บ ปัก จนสร้างมิติทางความงามด้านจิตรกรรมได้ อย่างงดงาม และสร้างอารมณ์ของภาพได้อย่าง น่าสนใจ ด้วยการน�ำความงามของระนาบแสงทีเ่ ข้า มากระทบโต๊ะหมู่เครื่องไหว้ ล้วนเป็นการสร้าง บรรยากาศร่วมของผูค ้ นทีเ่ มือ ่ ใครมีประสบการณ์ นี้ย่อมที่จะรับรู้และเข้าใจความงามที่เกิดได้อย่าง สมบูรณ์ หรือหากใครที่มิได้มีประสบการณ์ดัง กล่าวก็จะยังรับรู้ความงามดังกล่าวได้เช่นกัน

นางสาวธิติพรหม อ่อนเปี่ยม “บรรพบุรุษร�ำลึก” เย็บปัก, 280 x 205 ซม.

ในรางวัลต่อมาของประเภทจิตรกรรม คือ รางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญ ทองแดง ซึง่ มีผท ู้ ไี่ ด้รบ ั รางวัลทัง้ สิน ้ จ�ำนวน 3 ท่าน ดังนี้ 3


1. นายเนติกร ชินโย ในผลงานชือ ่ “The Truth No.7” ด้วยเทคนิค เกรยองบน กระดาษ ผลงานชิ้ น นี้ มี เ ทคนิ ค การ สร้างสรรค์ที่เรียบง่ายไม่สลับซับซ้อน หากแต่ พ ลั ง ของภาพที่ ป รากฏบนน�้ ำ หนั ก ขาว เทา ด� ำ นั้ น สามารถสะท้ อ น แนวคิดของศิลปินได้เป็นอย่างดี โดย แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การย่ อ ยสลายของ สรรพสิ่ง ที่ทุกสิ่งในโลก จักรวาล หรือ ความเชือ ่ ใดๆล้วนไม่เทีย ่ งแท้ ทีซ่ งึ่ ย่อย สลายและพร้อมทีจ ่ ะเปลีย ่ นแปลงได้ทก ุ เมื่อ

นายเนติกร ชินโย, “ The Truth No.7“ เกรยองบนกระดาษ, 241 x 131 ซม.

4

2. นายสันติ หวังชื่น ในผลงานชื่อ “อีสานงานถักทอ หมายเลข 2” ด้วย แนวคิ ด ที่ ศิ ล ปิ น บอกเล่ า ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ที่ เติบโตมาในสังคมชนบทพื้นถิ่นอีสาน ความใกล้ชิดความผูกพันใน “งานถัก ทอ” เป็นการแสดงออกถึงรูปทรงอิสระ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทคนิคงาน ช่างพื้นบ้าน ซึ่งมีคุณค่าในด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและสังคม ในท้องถิน ่ ของไทย และน�ำมาสร้างสรรค์

ผลงานนามธรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึง ค ว า ม ง า ม ท า ง อุ ด ม ค ติ ข อ ง สั ง ค ม วัฒนธรรมอีสาน 3. นายสุวัฒน์ บุญธรรม ในผลงานชื่อ “ สั ญ ลั ก ษ ณ ์ แ ล ะ ร ่ อ ง ร อ ย แ ห ่ ง อารยธรรม” ด้วยเทคนิควาดเส้นแกะ ดิ น สอพอง ด้ ว ยแนวความคิ ด ของ การน� ำ เสนอร่ อ งรอยของการด� ำ เนิ น ชีวต ิ มนุษย์ทม ี่ ล ี ก ั ษณะความเป็นอยูแ ่ บบ ผสมผสานระหว่างเกษตรกรรมและวิถี เมืองที่ก�ำลังจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบ วัตถุนิยมสมัยใหม่ซึ่งทุกอย่างก�ำลังจะ ขยายตั ว และเปลี่ ย นแปลง ผลงาน สะท้อนผ่านองค์ประกอบของภาพที่มี การแผ่ขยายกว้างไกลสุดตา เสมือนกับ วิ ถี เ มื องก� ำ ลั ง จะกลื นกิ นวิ ถี เ ก่ า อย่ า ง หมดสิ้น ในประเภทผลงานจิตรกรรมนั้นผู้ที่ได้ รับคัดเลือกรางวัลผลงานมักจะมีการ แสดงออกถึงสภาวะต่างๆไม่ว่าจะเป็น สังคม วัฒนธรรม ศาสนา ซึ่งทั้งหมดนี้


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

นายสันติ หวังชื่น “อีสานงานถักทอ หมายเลข 2” ผูก มัด ถัก รัดร้อย, 280 x 280 ซม.

นายสุวัฒน์ บุญธรรม “สัญลักษณ์และร่องรอยแห่งอารยธรรม” แกะดินสอพองผสมวาดเส้น, 190 x 275 ซม.

แสดงให้เห็นว่าศิลปะมักจะถูกน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบันทึกเรื่องราวความเป็นไปทางสังคม วัฒนธรรม จิตใจ หรือแม้แต่การค้นหาความจริงที่แท้จริง แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ศิลปะไม่ว่าจะกล่าวถึง เรื่องราวใดก็แล้วแต่ (ในพื้นที่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ) ก็มักจะมีการแสดงออกในมิติของความ งามที่เป็นความงามที่สามารถรับรู้ได้ง่าย กล่าวคือความงามที่เป็นชุดความงามทางสายตา มีความเป็น สาธารณะ เข้าถึงผู้คนธรรมดาได้ง่าย 5


และมาถึงในประเภทประติมากรรม ซึ่งมีผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัลสูงสุด ได้แก่ รางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ซึ่งเป็นผลงานของ นายพรสวรรค์ นนทะภา ในผลงานชื่อ “ความทรงจ�ำในวิถีชีวิตชนบทอีสาน” ด้วยเทคนิค ดินเผา (บ้านหม้อ, บ้านโก) ผลงานกล่าวถึง วิถีที่พอเพียงเรียบง่ายในสังคมเกษตรกรรม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดม สมบูรณ์แบบอินทรีย์ ไม่มีสารเคมี สังคมมีอยู่มีกิน ร่างกายปลอดสารพิษ สุขภาพแข็งแรง จิตใจเป็นสุข เมือ ่ กายสุข จิตใจสุข สังคมก็เป็นสุข โดยศิลปินแสดงออกทางความคิดผ่านการ สร้างสรรค์ผลงานจากประติมากรรมดินเผาที่เรียบง่าย มั่นคง แต่ในขณะเดียวกันก็เปราะบาง

6

นายพรสวรรค์ นนทะภา “ความทรงจ�ำในวิถีชีวิตชนบทอีสาน” ดินเผาบ้านหม้อ, บ้านโก, 200 x 200 x 209 ซม.

นายบุญเกิด ศรีสุขา “กลมเกลียว หมายเลข 1” เชื่อมโลหะ, 200 x 220 x 229 ซม.


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

ในรางวัลต่อมาของประเภทประติมากรรม คือ รางวัล ประกาศนี ย บั ต รเกี ย รติ นิ ย ม อั น ดั บ 3 เหรี ย ญ ทองแดง ซึ่งมีผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้นจ�ำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1. นายบุญเกิด ศรีสุขา ในผลงานชื่อ “กลมเกลียว หมายเลข 1” ด้วยเทคนิค เชือ ่ มโลหะ ผลงานสะท้อน แนวคิ ด ที่ ว ่ า ทุ ก สิ่ ง ในธรรมชาติ น้ั น เกี่ ย วโยงและ สัมพันธ์กบ ั ชีวต ิ และสรรพสิง่ อืน ่ ๆโดยหลีกเลีย ่ งมิได้ ธรรมชาติคือสื่อกลางในการประสาน เชื่อมโยงทุก ชีวิตและทุกสรรพสิ่งต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน 2. นายอริยะ กิตติเจริญวิวฒ ั น์ ในผลงานชือ ่ “แตก หน่อต่อรวง” ด้วยเทคนิค เชือ ่ มสแตนเลสและไททา เนียม ในผลงานชิน ้ นี้ ศิลปินต้องการกล่าวถึง สิง่ เร้น ลับที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ต่างเฝ้ารอการดูแล บ่ม เพาะและเสาะหา ด้ ว ยการสร้ า งสรรค์ ผ ลงาน ประติ ม ากรรมจากรู ป ทรงที่ มี ที่ ม าจากธรรมชาติ อย่างลงตัว โดยผสานกับเทคนิคชัน ้ สูงของการเชือ ่ ม ต่อจึงท�ำให้ผลงานศิลปะชิ้นนี้อุดมไปด้วยความงาม ทางสายตาที่ผสานกับแนวความคิดที่มีการอิงแอบ กับโลกปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ

นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ “แตกหน่อต่อรวง” สแตนเลส, ไททาเนียม, 180 x 245 x 175 ซม.

7


นายประวีณ เปี่ยงชมภู “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2” ภาพพิมพ์แกะไม้, 77 x 120 ซม.

8

มาถึงผลงานประเภทภาพพิมพ์และในครัง้ นีม ้ รี างวัลสูงสุดคือรางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินย ิ มอันดับ 2 เหรียญ เงิน ซึง่ เป็นผลงานของ นายประวีณ เปียงชมภู ในผลงานชือ ่ “พืน ้ ทีส ่ ภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2” ด้วยเทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ ด้วยผลงานมีแนวคิด ที่สะท้อน “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต” เป็นการสร้างเอกภาพทางสุนทรีย์แห่งความสุขสงบ โดยน�ำลักษณะพื้นที่ภายในห้องส่วนตัวแสดงออกร่วมกับ การจัดวางโดยใช้สื่อเป็นวัตถุสิ่งของ ร่วมกับบรรยากาศ สี แสง เงา ที่ผสานกันเป็นสัญลักษณ์ความหมาย เนือ ้ หา ผ่านกระบวนการเทคนิคแม่พม ิ พ์แกะไม้ ในลักษณะทีเ่ บาบางทางสายตา สอดคล้องกับการขัดเกลาจิตใจ ที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักการด�ำเนินชีวิตส่วนตัวที่สุขสงบ ในผลงานดังกล่าวนี้ความน่าสนใจคงจะหลีกไม่พ้น อารมณ์ที่ปรากฏในผลงานที่มีการแสดงออกได้อย่างถึงใจ ระนาบแสงที่อ่อนน้อมผนวกกับมิติความเหมือน จริงที่ผสานกับอารมณ์ภายในส่วนตนท�ำให้ผลงานมีแรงดึงดูดที่จะเข้าไปพินิจอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ชมกับผล งานศิลปะ นับได้ว่าผลงานชิ้นนี้ลงตัวทั้งแนวความคิดและเทคนิคการสร้างสรรค์ขั้นสูงที่แสดงออกได้อย่างน่า สนใจและน่าติดตาม


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

ในรางวั ล ต่ อ มาของประเภทภาพพิ ม พ์ คื อ รางวั ล ประกาศนียบัตรเกียรตินย ิ มอันดับ 3 เหรียญทองแดง ซึ่งมีผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้นจ�ำนวน 3 ท่านดังนี้ 1. นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย ในผลงานชื่อ “Suffering No.2” ด้วยเทคนิค C-Type print และตัด กระดาษด้วยมือ ในผลงานชิ้นนี้มีความน่าสนใจในการ เสนอมิติของผลงานภาพพิมพ์ท่ีแตกต่างออกไปจาก ผลงานภาพพิ ม พ์ ต ามขนบด้ ว ยการใช้ ก ระบวนการ ภาพถ่ายและการอัดภาพราวกับผลงานภาพถ่าย ซึ่ง เป็นการท้าทายต่อนิยามของผลงานภาพพิมพ์ได้อย่าง น่าสนใจ และอีกประการที่ส�ำคัญคือการตัดกระดาษ ด้วยความประณีตเป็นริว้ เส้นนัน ้ สร้างมิตท ิ างความงาม ที่เข้ากับเรื่องราวได้ดี ในส่วนเรื่องราวของผลงานนั้น กล่าวถึง “ความคิดที่ยึดติดกับตัวตนก่อให้เกิดความ ทุ ก ข์ แม้ ใ นความเป็ น จริ ง แล้ ว ความคิ ด ที่ เ กี่ ย วกั บ ตนเองนี้ เป็นสิ่งสมมติขึ้นที่ท�ำให้เกิดสภาวะอารมณ์ ต่างๆ ความคิด รวมไปถึงร่างกายที่ยึดติดว่าเป็นของ ตนเอง และคิดว่ามีอยู่นั้น แท้จริงแล้วคือความว่าง เปล่าตามหลักค�ำสอนพุทธ”

นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย “Suffering No.2” ภาพพิมพ์ C-print type และตัดกระดาษด้วยมือ, 142 x 87 ซม. 9


2. นายญาณวิทย์ กุญแจทอง ในผลงานชื่อ “เสียงร้องจาก ธรรมชาติ” ด้วยเทคนิค แม่พิมพ์สีธรรมชาติจากครามและน�้ำผึ้ง โดยผลงานกล่าวถึง ปัจจุบน ั ธรรมชาติกำ� ลังเกิดการเปลีย ่ นแปลง ทางกายภาพอย่างรวดเร็ว จากการลักลอบบุกรุก ตัดไม้ทำ� ลายป่า การก่อมลพิษ ท�ำร้ายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทุกรูปแบบ เป็น ผลต่อปัจจัยทางชีวภาพมีผลกระทบต่อสภาพดินน�ำ้ อากาศสัตว์ปา่ สิง่ แวดล้อมอืน ่ ๆ ท�ำให้ชนิดของพืชพันธุส ์ ญ ู หาย สัตว์ปา่ มีจำ� นวน และชนิดลดลง เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น เกิดน�้ำท่วมอย่างรุนแรง ธรรมชาติก�ำลังเจ็บป่วยอย่างหนักหนาสาหัส ด้วยภาพพิมพ์สี ธรรมชาติจากครามและน�้ำผึ้งชุดนี้ ต้องการสะท้อนและกระตุ้น เตือนสติให้ทุกคนได้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับ ธรรมชาติและการน�ำธรรมชาติมาใช้อย่างยัง่ ยืน มนุษย์ควรให้ความ ส�ำคัญในการอนุรก ั ษ์สบ ื สานภูมป ิ ญ ั ญาจากการใช้ธรรมชาติอย่าง ระมัดระวัง เพือ ่ สิง่ แวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา และความงดงามของ วิถีชีวิต ที่มีอยู่บนโลกใบนี้มิให้สูญสลาย

10

3. นายบุญมี แสงข�ำ ในผลงานชื่อ “ดอกหญ้า หมายเลข 2” ด้วยเทคนิคเมสโซตินท์ (Mezzotint) ในผลงานชิ้นมีการกล่าวถึง สาระในความจริง (สัจธรรม) ซึง่ เป็นกฏแห่งเหตุและผลสาระในทาง พุทธศาสนาถือว่าทุกสิง่ ทีม ่ อ ี ยูใ่ นธรรมชาติ ย่อมเกิดขึน ้ เป็นไปตาม อ�ำนาจของกฎแห่งเหตุและปัจจุบัน มุ่งเน้นหลักเข้าใจในภาวะ ธรรมชาติ เป็นหลักในการด�ำรงชีวิตอย่างสงบสุข สันโดษ ในผล

นายญาณวิทย์ กุญแจทอง “เสียงร้องจากธรรมชาติ” แม่พิมพ์สีธรรมชาติจากครามและน�้ำผึ้ง, 98 x 108 ซม.


การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

งานนี้หากได้ชมของผลงานตรงหน้าแล้วคงรับรู้ได้ถึงความงาม ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าอย่างแน่นอน และด้วยเนื้อหา/เรื่องราวที่ มิได้สลับซับซ้อนผนวกกับความช�ำนาญด้านเทคนิคผลงานศิลปะ ภาพพิมพ์ชิ้นดังกล่าวนี้ ท�ำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานศิลปะที่มี ความสมบูรณ์ตามมาตรฐานอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สังเกตได้วา่ ผลงานภาพพิมพ์ทไี่ ด้รบ ั รางวัลทัง้ หมดนีส ้ ว่ นมากจะ มีการให้ความส�ำคัญไปที่เทคนิคการสร้างสรรค์ที่มีทักษะการ แสดงออกสูง ความละเอียดอ่อน ความประณีต ทัง้ ความช�ำนาญ ด้านน�ำ้ หนักจะพบเห็นมากในผลงานประเภทภาพพิมพ์ทไี่ ด้กล่าว มาแล้วข้างต้น ทั้งนี้นับว่าเป็นการดีที่บรรดาศิลปินเหล่านี้ล้วนมี ความสามารถความรู้ความเข้าใจในด้านทักษะอย่างสูง ซึ่งหาก เรียนรูแ ้ ละรักทีจ ่ ะพัฒนาการไปข้างหน้า (ไม่ยด ึ ติด) ผลงานศิลปะ ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ย่อมเต็มไปด้วยคุณภาพทั้งทางด้านสมอง และทักษะฝีมอ ื อย่างถึงทีส ่ ด ุ เช่นผลงานของ กมลพันธุ์ ทีก ่ ล้า ท้าทายออกจากขนบเดิม เหมือนดังที่กล่าวไว้เมื่อการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติในครั้งที่ 60 พัฒนาการของเธอก็ยังคงน่า สนใจและน่าติดตาม และอีกผลงานทีน ่ า่ สนใจไม่แพ้กน ั คือผลงาน ของ ประวีณ ที่แม้ผลงานจะเข้าอยู่ในขนบเดิมของผลงานศิลปะ ภาพพิมพ์ หากแต่ความสามารถในการสร้างอารมณ์ความรู้สึก ได้แสดงออกมาอย่างเต็มก�ำลัง ถึงแม้จะเรียบง่าย แต่กม ็ าพร้อม ความสมบูรณ์ของผลงานศิลปะ

นายบุญมี แสงข�ำ “ดอกหญ้า หมายเลข 2” เมซโซทินท์, 174 x 126 ซม.

11


นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร “แก่นมนุษย์” สื่อประสม, 100 x 200 x 110 ซม.

และมาถึงรางวัลประเภทสื่อประสมซึ่งมีผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัลจ�ำนวน 4 ท่าน และรางวัลสูงสุดส�ำหรับประเภท นี้คือ รางวัล ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ได้แก่ นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร ในผลงานชื่อ “แก่น มนุษย์” ด้วยเทคนิคผสม จากความคิดทีว่ า่ “ในยุคสมัยทีก ่ ารแสดงตัวตนของปัจเจกชนบนโลกออนไลน์มค ี วามส�ำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตัวตนที่ปรากฎในโลกแห่งความเป็นจริง การปรุงแต่งอัตลักษณ์ของตัวบุคคลในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ได้กลายเป็นสิง่ ทีก ่ ระท�ำกันอย่างแพร่หลาย การกระท�ำดังกล่าวส่งผลให้อต ั ลักษณ์ทถ ี่ ก ู สร้างขึน ้ มานัน ้ มีความไม่มน ั่ คง เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปรียบเสมือนกิ้งก่าที่ปรับเปลี่ยนสีสันของผิวหนังไปตามสภาวะแวดล้อม” โดย แนวความคิดของศิลปินดังกล่าวจึงถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยการใช้เทคนิคและสื่อหลายชนิด เพื่อเป็นการตั้งค�ำถามกับ สังคมว่า ความส�ำคัญและแก่นกลางที่แท้ของความเป็นมนุษย์นั้นอยู่ที่ใดกันแน่ ในรางวัลต่อมาของประเภทสื่อประสมคือ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ซึ่งมีผู้ที่ได้รับ รางวัลทั้งสิ้นจ�ำนวน 3 ท่านดังนี้ 12


2. นางเมตตา สุวรรณศร ในผลงานชื่อ “เส้นใยความรักของแม่ต่อ ลูกน้อยออทิสติก” ด้วยเทคนิค ถักโครเชต์และโลหะ จากแนวความ คิดที่พูดถึง ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่แม่มีต่อลูก ซึ่งตัวศิลปินได้น�ำเรื่องราว ส่วนตัวมาถ่ายทอดลงในผลงาน “แม้ลก ู นัน ้ จะป่วยด้วยภาวะเด็กออทิส ซึม ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดจึงท�ำให้ลูกต้องสื่อสารด้วยการ วาดเส้น ที่แฝงไว้ด้วยความหมายอันเต็มเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ ที่ บริสท ุ ธิส ์ ะอาด ไม่มท ี ก ั ษะหรือการฝึกฝนใดมาเคลือบแฝง เป็นเรือ ่ งราว แห่งจินตนาการคิดฝันบิดเบี้ยว ขาด ๆ เกิน ๆ โย้เย้ไปมา ในแบบพิเศษ แตกต่างจากเด็กปกติ ในวัยเดียวกัน จากการเฝ้าสังเกต ท�ำให้ข้าพเจ้า เห็นถึงความงามจากความไม่สมบูรณ์ทเี่ กิดจากผลงานวาดเส้นของลูก น�ำมาผสมผสานกับงานถักโครเชต์ที่ข้าพเจ้ารัก ที่ต้องใช้เวลารวมถึง สมาธิและความอดทน ในการถัก ควักเข็มขึ้นลงนับล้านๆ ครั้ง เพื่อก่อ รูปเส้นด้าย ที่อ่อนนุ่ม ห่มคลุมลายเส้นของลูก เป็นการหลอมรวม ศาสตร์สองแขนงคือ ผลงานวาดภาพของลูกออทิสติกกับเทคนิค งาน หั ต ถกรรมถั ก โครเชต์ ที่ ป ระณี ต อ่ อ นหวาน ก่ อ เกิ ด เป็ น ผลงานที่

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

1. นางสาวจิรนันท์ จุลบท ในผลงานชือ ่ “กลายพันธุ” ์ ด้วยเทคนิคผสม (แสตมป์ , รั บ บิ้ ง , ภาพพิ ม พ์ นู น ) จากแนวความคิ ด ที่ พู ด ถึ ง ความ ก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี ใ นปั จ จุ บั น จนสามารถพั ฒ นาปรั บ เปลี่ ย น โครงสร้างการผลิตและรูปแบบให้สอดคล้องเข้ากับสภาวะกระแสนิยม บริโภคได้ สิ่งนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจผ่านจินตนาการของศิลปินในการ สร้างสรรค์รูปทรงจากรูปทรงทางธรรมชาติที่มีการประยุกต์ดัดแปลง โดยน�ำเสนอผ่านรูปแบบภาพพิมพ์สามมิติ

นางสาวจิรนันท์ จุลบท “กลายพันธุ์” สื่อประสม (แสตมป์,รับบิ้ง,ภาพพิมพ์นูน), 280 x 280 x 134 ซม.

13


นางเมตตา สุวรรณศร “เส้นใยความรักของแม่ต่อลูกน้อยออทิสติก” ถักโครเชต์และโลหะ, แปรผันตามพื้นที่ นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์ “The State of the Suffering” สื่อประสม ถักสานวัสดุ, สูง 280 ซม.

แสดงออกให้เห็นถึงความรักสายสัมพันธ์ของแม่กับลูก ที่โยงใยตั้งแต่ในครรภ์จนลูกเติบใหญ่ แม้ลูกจะมีความผิดปกติใน หลายด้าน หรือบททดสอบจากคนบนฟ้านั้นแสนยากเข็ญ แต่แม่เชื่อเสมอว่า เราสองคนแม่ลูกจะต้องผ่าน ทุก ๆ อุปสรรค ไปด้วยกัน เติบโตและเรียนรู้ไปด้วยกัน ด้วยพลังใจอันยิ่งใหญ่ ในหัวใจของคนเป็นแม่” 3. นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์ ในผลงานชื่อ “The State of the Suffering” ด้วยเทคนิค ถักสานลวด จากแนวความ คิดทีพ ่ ด ู ถึงความทุกข์ ทีเ่ กิดจากความทรงจ�ำอันเลวร้ายเมือ ่ ครัง้ วัยเด็ก เป็นการพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นทีร่ ก ั ครอบครัว แตกร้าว ซึง่ ยังคงซ่อนอยูภ ่ ายในจิตใจของศิลปินตลอดมา จึงถ่ายทอดผ่านเส้นทีห ่ มุนวนทับซ้อนไม่มวี น ั สิน ้ สุดของเส้นลวด ที่น�ำมาเป็นสื่อ ที่กล่าวมาในผลงานประเภทสื่อประสมนี้ล้วนแล้วแต่มีการน�ำวัสดุหลากหลายชนิดมาเล่าเรื่องราวใหม่ด้วยวิธีคิดทางศิลปะ 14


1. นายจอมพล พัวทวี 2. นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ 3. นายเทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง 4. นายธีรยุทธ ม่วงทอง 5. นายบุญศรี เจริญยิ่ง 6. นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ 7. นายรวีพล ประดิษฐ 8. นายวัชรินทร์ รังกระโทก 9. นางสาวสุกัญญา สอนบุญ 10. นางสาวอิสรีย์ บารมี

ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ ผลงานชื่อ

“สมบัติ หมายเลข 8” “บึงบัวในตัวคน” “ยุ้งข้าว หมายเลข 1” “เจ้ามะลิ” “ระนาบแสงริมน�้ำ” “ก�ำหนดพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์” “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 6” “พื้นที่แห่งความฝัน” “รูปทรงลูกชิด (ฉัน) ที่บิดเบี้ยว” “เปี่ยมสุข”

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

นายจอมพล พัวทวี “สมบัติ หมายเลข 8” เกรยองและชาร์โคล บนผ้าใบ, 180 x 270 ซม.

นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ “บึงบัวในตัวคน” ศิลปะจัดวาง (อะลูมิเนียมเส้นดัด, ใบบัว, หลอดไฟ LED), 280 x 280 x 280 ซม.

นายเทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง “ยุ้งข้าว หมายเลข 1” ภาพพิมพ์แกะไม้, 214 x 265 ซม.

นายธีรยุทธ ม่วงทอง “เจ้ามะลิ” ภาพพิมพ์แกะไม้, 131 x 121 ซม.

15

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 ประจ�ำปี 2558

นอกจากนั้นยังมีผลงานที่ได้รับรางวัลสนับสนุนจากธนาคารกรุงไทย ซึ่งได้รับรางวัลสูงสุดคือ รางวัลที่ 2 อีกจ�ำนวน 10 รางวัล ได้แก่


16

นายบุญศรี เจริญยิ่ง “ระนาบแสงริมน�้ำ” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 280 x 190 ซม.

นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ “ก�ำหนดพิจารณา ลงสู่ไตรลักษณ์ หมายเลข1” จิตรกรรมสีน�้ำมันผสม, 243 x 192 x 27 ซม.

นายรวีพล ประดิษฐ “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 6” เทคนิคผสม, 250 x 280 ซม.

นายวัชรินทร์ รังกระโทก “พื้นที่แห่งความฝัน” ไฟเบอร์กลาส, 92 x 240 x 167 ซม.

นางสาวสุกัญญา สอนบุญ “รูปทรงลูกชิด (ฉัน) ที่บิดเบี้ยว” ประกอบไม้, 280 x 280 x 195 ซม.

นางสาวอิสรีย์ บารมี “เปี่ยมสุข” ไฟเบอร์กลาส, 70 x 65 x198 ซม.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.