บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 40 ปัญหาการเข้าถึงศิลปะ โดย ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ไม่ว่าจะในสังคมยุคไหน ศิลปะก็เป็นอาหารที่จาเป็นสาหรับจิตวิญญาณของมนุษย์ตลอดมา ยิ่งในสังคม ยุคใหม่ที่ฝุายวัตถุเจริญขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็วท่วมท้น บดบังด้านจิตใจเกือบมิดเช่นนี้ ศิลปะก็ยิ่งเป็น สิ่งจาเป็นมากขึ้นในการถ่วงดุลให้ชีวิตดารงอยู่ได้ศิลปะเป็นผลิตผลทางพุทธิปัญญาของมนุษย์ ไม่ว่าจะสร้างขึ้น ในสมัยใด จะใช้วัสดุวิธีการหรือแนวความคิด อย่างไรความเป็นศิลปะแท้ของมันก็คงเป็นอย่างเดียวกัน ให้ผลต่อ จิตวิญญาณของมนุษย์ในการรับรู้แบบเดียวกันสิ่งที่แตกต่างเป็นเพียงวัสดุวิธีการ แนวความคิดและรายละเอียด บางส่วนซึ่งเป็นสิ่งภายนอกเท่านั้น เช่นเดียวกับมนุษย์ที่ยังคงมีแกมหรือความเป็นมนุษย์อยู่เช่นเดิม ไม่ ว่าจะอยู่ ในวัฒนธรรมใด ในสิ่งแวดล้อมเช่นไร การรับรู้และเข้าใจในธาตุแท้ของความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ร่วมกันทั้งโลกที่ สื่อถึงกันโดยศิลปะนี้เอง ทาให้มนุษย์มีความรัก ความเมตตา ความเข้าใจและความเห็นใจซึ่งกันและกัน เฉลี่ย ความงาม ความดีให้แก่กันโดยปราศจากการเห็นแก่ตัว ศิลปะใช้ไม่รู้จักหมดยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม ยิ่งเผื่อแผ่ยิ่งมีความสุข อาจมีคนแปลก ๆ บางคนเท่านั้นที่หวงเพลงเพราะ ๆ ไว้ฟังคนเดียวแทนที่จะเผื่อแผ่แนะนาให้คนอื่นได้รับ ความสุขความพอใจร่วมด้วย การเข้าถึงศิลปะ การที่ศิลปะจะทาหน้าที่เป็นอาหารใจ ยกจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สูงขึ้น สร้างความรัก ความ เห็นใจ ความเข้าใจในเพื่อนร่วมโลกสมกับหน้าที่แท้จริงของมันได้นั้น คนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้รับผลอันนี้จะต้องเข้าใจ ภาษาศิลปะ จะต้องเข้าถึงเนื้อหาแท้จริงของศิลปะ หรือรับรสของศิลปะได้อย่างเต็มที่เสียก่อน การเข้าถึงศิลปะ จึงเป็นปัญหาอันดับแรกที่สาคัญที่สุด และเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาทุกยุคทุกสมัยและเกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะ ในประเทศไทยที่ศิลปะยังอยู่ในระยะเพิ่งสอนเดิน (คาว่าศิลปะที่ใช้ในที่นี้ส่วนใหญ่หมายถึงทัศนศิลป์ เน้น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อผสม) ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนส่วนมากยังขาดความ เข้าใจในคุณค่าอันสูงส่งของศิลปะคิดว่าเป็นสิ่งสวย ๆ งาม ๆ ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็รับรู้ได้ ตัดสินได้ โดยใช้รสนิยม ส่วนตัวเป็นเครื่องตัดสินศิลปะประเภทการค้าและกึ่งการค้าจึงเป็นที่นิยมซื้อหากั นทั่วไป เพราะสวยล่อตาเข้า กับรสนิยม บางคนอาจเข้าถึงในศิลปะสาขาอื่น เช่น วรรณศิลป์ ก็คิดว่าตัว เป็นผู้เชี่ยวชาญทางทัศนศิลป์ได้
โดยใช้มาตรฐานหรือวิธีการเข้าถึงอันเดิมของตน เราจึงมีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญทางทัศนศิลป์เป็นจานวนไม่น้อยที่ยังลูบ คลาอยู่กับเปลือกของศิลปะ อันที่จริงความงามของงานศิลปะที่มีคุณค่าจริงนั้นส่วนมากมักจะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างผิวเผินด้วย ความสวยความน่ารักภายนอก การให้ผลทางสะเทือนอารมณ์หรือกระตุ้นปัญญาความคิดจะเป็นลักษณะเด่น มากกว่า และหลังจากนั้นความรู้สึกนึกคิดอันงดงาม จึงเกิดและทวีขึ้นในใจด้วยพลัง ของศิลปะต่อเนื่องไปเป็น ปฏิกิริยาลูกโซ่ เรามีหนังสือการเข้าถึงศิลปะที่ เขียนขึ้นเป็นภาษาไทยในชื่อศิลปนิยมบ้าง ศิลปวิจักษ์บ้าง ซึ่งตรงกับ Art Appreciation ในภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังไม่ใช่หนังสือ เพื่อการเข้าถึง อย่างดีก็เป็นเพียงการแนะนาศิลปะ แบบต่าง ๆ สมัยและท้องถิ่นต่าง ๆ รวมทั้งเทคนิคของศิลปะแต่ละประเภทด้วยเท่านั้น และถึงแม้จะมีหนังสือที่ ดีที่เขียนแนะนาการเข้าถึงอย่างถูกต้องสักเพียงใดก็ตาม ก็ยังเป็นเพียงการแนะนาหรือการให้ความรู้เบื้องต้น การเข้าถึงศิลปะต้องอยู่ที่ตัวคนดูเองต้องมีทักษะ ต้องได้รับการปลูกฝั งและฝึกฝนความรู้ใช้แทนทั กษะไม่ได้ การสอนวิชาเข้าถึงศิลปะที่ได้ผลที่สุดคือการฝึกทักษะเป็นภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีเป็นเรื่องของประสบการณ์ ของผู้จะเข้าถึงเองไม่ใช่ความรู้ความคิด อย่าว่าแต่การเข้าถึงศิลปะซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากและต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเลย แม้แต่การเข้าถึง สิ่งที่มีความงามตามธรรมชาติก็ยังต้องมีทักษะและต้องเป็นทักษะที่ถูกต้อง ที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เป็นเด็ก เล็ก การเข้าถึงศิลปะจึงต้องเริ่มต้นอย่างถูกต้องในครอบครัวและโรงเรียน ทั้งนี้เพราะการเข้าถึงความงามหรือ สุนทรียะในธรรมชาติเป็นต้นทางของการเข้าถึงศิลปะ ถ้าสถาบันทั้งสองนี้ขาดความเข้าใจ ก็อาจฝังทัศนคติที่ผิด ๆ ติดตัวมาจนโต จนยากที่จะแก้ไขความเข้าใจไม่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณค่าเป็นเหตุสาคัญเรามักจะเอาเรื่องคุณค่า ไปปนกับประโยชน์และราคาค่างวดเด็กที่นั่งดูท้องฟูาตอนเย็น ดูใบไม้ใบหญ้าที่สั่นไหวอยู่ในน้าอย่างปล่อย อารมณ์ จะถูกหาว่าเกียจคร้านเพราะพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ก่อประโยชน์ แต่ผู้ใหญ่ก็หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการปลูกฝัง และบารุงทักษะทางสุนทรียะในเบื้องต้นที่จะต้องทากัน ในวัยเด็กในขณะที่ความรับผิดชอบทางความรู้ อาชีพ การใช้เหตุผล กาไร ขาดทุน ยังไม่เข้ามาเป็นอุปสรรคปิดกั้น และด้วยเหตุนี้เรามักจะเห็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถสูงในวิชาชีพต่าง ๆ ไม่มีทักษะในการเข้าถึงศิลปะหรือความงามเลย ผู้ที่มีความถนัดในการสร้างสรรค์ศิลปะเองบางคนก็อาจเข้าถึงศิลปะสาขาที่ตนปฏิบัติอยู่ได้เพียงใน วงจากัด เพราะขาดการฝึกทักษะในด้านนี้อ ย่างถูกต้องเราจึงเห็นได้บ่อย ๆ ในวงการศิลปะบ้านเราที่มักมีการ ขัดแย้งกันเองในศิลปะแขนงเดียวกันแต่แสดงออกต่างขั้วกัน พวกที่นิยมการแสดงออกทางอารมณ์ ส่วนมากจะ
ไม่ยอมรับการแสดงออกทางปัญญาที่ดูราบเรียบสุขุมไม่ร้อนแรงเหมือนที่พวกตนนิยมอยู่ นักศึกษาศิลปะจึง จาเป็นต้องฝึกทักษะการเข้าถึงศิลปะอย่างจริงจังทั้งในสาขาของตนเองและสาขาอื่น เพื่อยกระดับจุดหมายใน การสร้างสรรค์ของตนให้สูงขึ้น เพราะการได้เข้าถึงรสของศิลปะโดยเฉพาะศิลปะ
ชั้นยอดเยี่ยม หรือ Great
Art ที่สร้างขึ้นโดยศิลปิ นบรมครูของโลกถึงแม้จะเป็นบางโอกาสที่ห ายากสาหรับคนไทยก็ตามเราจะได้รับ คุณค่าซึ่งเป็นพลังอันยิ่งใหญ่มาเป็นแรงจูงใจเป็นสิ่งนาใจให้มุ่งมั่นไปสู่จุดหมายที่สูงสุดในแนวทางของเราเอง นอกจากนั้ น การเข้ าถึง และเข้า ใจศิล ปะสาขาอื่นจะช่ว ยให้ การชื่นชมและการสร้า งสรรค์ใ นสาขาของตน กว้างขวางและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยิ่งในปัจจุบั นการสร้างสรรค์ได้ขยายขอบเขตทับซ้อนกันหลายสาขา เช่น งาน สื่อผสม งานศิลปะหลากสื่อและอื่น ๆ เพราะเชื่อกันว่าสัมฤทธิ์ผลสูงกว่าการใช้สื่อเพียงสื่อเดียวด้วยแล้ว การ เข้าถึงศิลปะทุกสาขาของผู้สร้างสรรค์จึงเป็นความจาเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รูปทรงของศิลปะในปัจจุบัน ได้ ขยายความหมายกว้างออกจากเดิมไปมากมาย ไม่เพียงแต่เป็นรูปที่เห็นได้เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงที่ว่าง บรรยากาศ เสียง ความเคลื่อนไหว สิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางวัฒนธรรม ฯลฯ ที่รวมกันสร้างรูปหรือ ภาพรวมให้แก่งานศิลปะชิ้นหนึ่ง การเข้าถึงศิลปะไม่ใช่การใช้เหตุผล ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของกฎเกณฑ์ที่ใช้ความรู้โดยสานึก เพียงด้านเดียว และไม่ใช่การฝึกทักษะทางกาย หรือทางฝีมือ แต่เป็นการฝึกทักษะทางใจซึ่งต้องอาศัยสิ่งหนึ่งที่ ซ่อนอยู่ภายในหรือในจิตไร้สานึก ซึ่งเราอาจเรียกว่า “การเห็นแจ้ง” หรือ Intuition ซึ่งไม่ใช่เป็นการใช้เหตุผล หรืออารมณ์ส่วนตัว กล่าวกันว่าการเข้าถึง หรือการตัดสินศิลปะนั้น ความรู้ทางทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์มีโอกาส ใช้ได้เพียงร้อยละ ๐.๒ เท่านั้น ที่เหลืออีก ๙๙.๙๘ เป็นหน้าที่ของความสามารถที่ซ่อนเร้นหรือ Intuition นี้ ดั้ ง นั้ น ทั ศ นคติ ห รื อ ท่ า ที ต่ อ การรั บ รู้ ศิ ล ปะจึ ง เป็ น ความส าคั ญ อั น ดั บ แรก เราดู ศิ ล ปะเพื่ อ ศิ ล ปะ เช่นเดียวกับที่เราเคยดูความงามในธรรมชาติเพื่อความงามเรารับสัมผัสการสอดประสานกันอย่างพอเหมาะของ สิ่งต่าง ๆ จนเกิดผลรวมทางความงาม ความน่าพอใจขึ้นในธรรมชาติ เราไม่สานึกว่านั่นเป็นต้ นไม้นั่นเป็นภูเขา แม่น้า ท้องฟูา การดูงานศิลปะก็เช่นเดียวกัน เรารับรสของศิลปะซึ่งเป็นผลรวมของปัจจัยต่าง ๆ ในงานนั้นเรา ไม่นึกถึงข้อเท็จจริง เราไม่สานึกในความเป็นสิ่งใดของรูปทรง ไม่มีสิ่งใดผิด
สิ่งใดถูก เราเห็นรูปทรงที่สาน
ทอเข้าด้วยกันของทัศนธาตุต่าง ๆ (Visual Elements) อย่างมีเอกภาพที่เรียกกันว่ารูปทรงศิลปะหรือรูปทรงที่ เป็นศิลปะ หรือ Artistic Form ซึ่งถือกันว่าเป็นเนื้อแท้ของงานศิลปะ เป็นตัวศิลปะแท้ ถ้าเราฟังเพลงเขมรไทรโยคแล้วยังคิดว่าจะได้ยินเสียงน้าตก เสียงนกยูงร้องอยู่เพียงเท่านั้น เราก็คงยัง เข้าไม่ถึงศิลปะของเพลงนั้น เพราะคุณค่าของศิลปะในเพลงคือตัวดนตรี ที่ประกอบขึ้นจากโสตธาตุ ต่าง ๆ อันได้แก่ เสียง ความเงียบ จังหวะ ที่สอดประสานกันที่ทาให้ความรู้สึกของเรา ใจของเราเลื่อนไหล หวั่นไหวไป
กับศิลปะชิ้นนี้ เป็นความรู้สึกทางนามธรรมเป็นคุณค่า เป็นความยิ นดี เป็นความสุข ไม่ใช่สิ่งนั้นสิ่งนี้ น้าตกก็ดี นกยูงก็ดีจะมาให้ความยินดีอะไรแก่เราได้ เมื่อเทียบกับความไพเราะจับใจของดนตรี ในทัศนศิลป์ก็ทานอง เดียวกัน ถ้าเรายังเห็นและให้ความสาคัญต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏตัวอยู่ในภาพแทนที่จะเห็นรูปทรงส่วนรวม หรือ ยังเห็นเป็นเรื่องราว เป็นเหตุการณ์อยู่ เราก็ยังเข้าไม่ถึงศิลปะ เรายังวนเวียนอยู่ที่ขอบนอก ๆ เท่านั้น การเข้าถึงศิลปะในทัศนศิลป์ดูจะยากกว่าการเข้าถึงดนตรี เพราะดนตรีแพร่หลายและเป็นศิลปะที่ ประชาชนสนใจ คุ้นเคยมาตั้งแต่ดึกดาบรรพ์ แต่ที่สาคัญกว่านั้น ก็คือ ดนตรีมีรูปแบบที่เป็นนามธรรมอยู่แล้ว การที่คนฟังจะให้เป็นเรื่องเป็นราวก็คงฝืนทาได้ไม่ถนัดนัก ผิดกับงานทัศนศิลป์ เช่นจิตรกรรม ที่มักจะมีสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ ทิวทัศน์ ปรากฏให้เห็นมีเรื่องต่าง ๆ มีศาสนา สงคราม ฯลฯ ที่แล่นเข้าสู่การรับรู้ของคนดูได้ รวดเร็ว และแรงกว่ารูปทรงนามธรรมที่เป็นโครงสร้างรวมของภาพ จึงเป็นความลาบากของผู้ที่กาลังฝึก การ เข้าถึง หรือของคนทั่วไปที่จะทาใจให้เป็นกลางต่อสิ่งเหล่านั้นได้ แต่สาหรับผู้ที่พอจะเข้าถึงได้บ้างแล้ว สิ่งและ เรื่องราวจะไม่เข้ามารบกวนมากนัก เพราะในงานที่เป็นศิลปะนั้น รูปทรงที่เรียกว่า Artistic Form จะมีอานาจ มากกว่า มีพลังมากกว่า แทรกตัวเข้าในใจและยึดครองบริเวณของการรับรู้ไว้ก่อนได้เกือบสิ้นเชิง หน้าที่ของผู้ดู มีเพียงประการเดียวคือปล่อยใจอย่าขัดขวางการเข้ามาของพลังอันนั้น อย่าเอาความเคยชิน รสนิยมส่วนตัว หรือความคิดจากประสบการณ์เก่า ๆ แม้จะเป็นประสบการณ์จากงานศิลปะสาขาเดียวกันก็ตาม มาใช้กับงานที่ เรากาลังเข้าถึง เราต้องชื่นชมกับรสชาติของศิลปะชิ้นนั้นตามที่ศิลปินผู้สร้างได้ปรุง ขึ้นไว้ ไม่ใช่เพื่อได้รสชาติ ที่เราชอบเราคุ้นเคย เรื่องอย่างนี้ดูจะเป็นลักษณะหนึ่งของคนไทย ขอยกคาของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ เคยพูดกับพวกลูกศิษย์ของท่านว่า “คนไทยนี่ ฉันไม่เข้าใจ ทาไมไม่
เอ็นจอยผลไม้แต่ละชนิดตาม
รสชาติที่วิเศษของมัน ไม่ว่าจะกินอะไรก็เอาไปจิ้มพริกกะเกลือจนมันเป็นรสอย่างเดียวกันหมด” เมื่ อ พู ด ถึ ง สุ น ทรี ย ะในธรรมชาติ ใบไม้ ใ บเดี ย วที่ ร่ ว งลงสู่ ผิ ว น้ า ด้ ว ยรู ป ร่ า ง ด้ ว ยความสงบ ของ สภาพแวดล้อม อาจให้ความพอใจยินดีแก่เรา จนถึงขนาดลืมตัวได้ด้วยอานาจของสุนทรียะ ถ้าเราไม่ไปคิด เสียก่อนว่านี่ใบอะไรหนอ นกคงไปเกาะกระมังจึง ร่วงลงมา นี่คงใกล้เข้าหน้าหนาวแล้ว ถ้าคิดเสียอย่างนี้ก็เป็น อันหมดหวังทางสุนทรียะ แม่ที่ชี้ให้ลูกดูสีที่สลับบนท้องฟูาเวลาพระอาทิตย์ตกดินควรบอกกับลูกพียง “ดูซิลูก สวยนะ” เท่านั้น การจะอธิบายถึงที่มาของปรากฏการณ์นั้นควรพูดกันตอนหลัง ใครที่ชอบให้เด็กดูก้อนเมฆ แล้วถามว่าเหมือนกับตัวอะไร ก็ไม่ใช่วิธีของการปลูกฝังทักษะทางสุนทรียะ ควรพูดเหมื อนแม่คนนั้นว่า “ดูเมฆ ก้อนนั้นซี สวยนะ” สุนทรียะเป็นสิ่งที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมมาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ดังได้กล่าวมาแล้ว ผู้ที่พบว่าการเข้าถึง ศิลปะเป็นเรื่องยากก็อาจเป็นเพราะเขาขาดการฝึกฝนด้านสุนทรียะของธรรมชาติมาก่อน เขาจึงปล่อยวาง
ความคิด เรื่องเหตุผล ข้อเท็จจริง ประโยชน์หรือทฤษฎีที่เขาศึกษามาไม่ได้ สมองของเขาทางานเพียงด้านเดียว ชีวิตของเขาดารงอยู่ซีกเดียว ไม่มีทางด้านความงาม ความฝัน จินตนาการเข้ามาถ่วงดุลด้วยชีวิตที่มีความสุขนั้น ควรเป็นชีวิตที่สมดุลระหว่างกายกับใจวัตถุกับจิต ซึ่งเป็นที่รู้และยอบรับกันทั่วไปแล้วในหมู่ชนที่พัฒนาแล้ว อันที่จริง ความพอใจ ความนิยมยินดีในความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในมนุษย์ทุกคน จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่ง เพียงแต่เราไม่ไปปิดกั้นด้วยทัศนะและวิธีการที่ผิด ๆ ปัญหาของการเข้าถึงในขั้น แรกก็จะลดลงเหลือแต่เพียงการฝึกฝน กล่อมเกลาให้อินทรีย์ทางด้านนี้พัฒนาขึ้น ถ้าเราเข้าถึงสุนทรียะใน ธรรมชาติได้ เราก็เข้าถึงสุนทรียะในศิลปะในขั้นต่อไปได้ไม่ยาก เพราะงานศิลปะมีพลังอานาจดึงดูดเราให้เข้า ไปหา หรือแทรกตัวเข้ามาในใจของเราได้รุนแรงกว่าธรรมชาติ สุนทรียะในงานศิลปะเป็นสุนทรียะที่เข้มข้น ลึกซึ้ง กว้างไกลและยาวนานมากกว่าของธรรมชาติอย่างไม่อาจเทียบกันได้ เพราะสุนทรียะหรือศิลปะในงาน ศิลปะมีจุดหมายเพื่อการนี้โดยตรง สร้างสรรค์ขึ้นด้วยเจตนาและความสามารถของศิลปิน คั้น กรอง และเคี่ยว จากสุนทรียะของธรรมชาติจนเป็นหัวเชื้อที่เข้มข้นที่สุด ต่างจากของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เมื่อปัจจัย หลายอย่างมาประจวบกันเข้าเอง เมื่อเราเข้าถึงศิลปะได้แล้ว การรับสุนทรียรสของธรรมชาติของเราในชีวิตประจาวันจะมีความไวและ ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยประสบการณ์ที่ได้จากธรรมชาติและจากศิลปจะส่งเสริมซึ่งกันและกันให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกของความงาม ความกลมกลืนตลอดไป เรามีความงามอยู่ในดวงตาของเราเองแล้ว จะดู อะไรก็งามกลมกลืนไปหมด เราเห็นความงามสง่า ความหนักแน่นของภูเขาทั่วไปจากการเข้าถึงศิลปะของเซ ซาน แวนโก๊ะ ชี้ให้เราเห็นความงามและความหมายของความเป็นต้นไม้ในจิตรกรรม หลายชิ้นของเขา ปรีชา เถาทอง เปิดดวงตาของเราให้เห็นความงามความน่าสนใจของบริเวณแสงและเงาที่มีอยู่ทั่วไปเหล่านี้ล้วนเป็น ของธรรมดาที่อยู่รอบตัวเรา แต่เราไม่เคยให้ความสนใจไม่เคย “เห็น” มาก่อน ดวงตาเห็นความงามนี้เป็น ของขวัญชิ้นหนึ่งที่ศิลปะมอบแก่เราในฐานะผลพลอยได้ของการเข้าถึง ศิลปะจะเกิดขึ้นได้ต้องมีศิลปินเป็นผู้สร้างและจะมีคุณค่าสมบูรณ์ได้ต้องมีผู้เข้าถึงศิลปะที่ครบวงจรจึง ต้องมีทั้งการสร้างสรรค์และการเข้าถึง และควรเน้นเพื่อการเข้าถึงเป็นพิเศษ เพราะเป็นผลดีอย่างมหาศาลต่อ ประชาชนในวงกว้าง เราศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อการเข้าถึงศิลปะของยุคสมัยและท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้ เราซาบซึ้งในความเป็นมนุษย์ของบรรพบุรุษและพี่น้องของเราที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกผ่านทางผลงานศิลปะไม่ใช่ เรียนเพื่อ “รู้” ว่าที่ไหนมีอะไร ทาอย่างไร ด้วยเหตุใด โดยไม่ได้เอาใจเข้าไปสัมผัสกับเนื้อแท้ของงานศิลปะของ ยุคและท้องถิ่นนั้น ๆ เราเรียนสุนทรียศาสตร์ เพื่อการเข้าถึงสุนทรียภาพและศิลปะให้กว้างขวางและลึกซึ้ง มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่เพื่อจาว่าหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร นักปราชญ์คนไหนพูดถึงศิลปะว่าอย่างไรด้ว ย
ดวงตาที่บอดต่อความงาม เราเรียนศิลปวิจารณ์ ก็เพื่อเข้าใจวิธีบรรยายผลของการเข้าถึงศิลปะของเราต่อผู้อื่น ชี้คุณค่าของศิลปะที่เราได้รับมาด้วยประสบการณ์ให้ผู้อื่นรับรู้ เพื่อคนทั่วไปจะได้เข้าถึงได้บริโภคเนื้อของศิลปะ หรือเพื่อฝุายศิลปินจะได้ใช้เป็นการปูอนกลับให้ตัวเองสาหรับพัฒนาการสร้างสรรค์ ของตนต่อไป ถ้าไม่คานึงถึง ความสาคัญข้อนี้ จะด้วยการวางหลั กสูตรหรือการสอนที่ขาดความเข้าใจก็ตาม วิชาเหล่านี้จะน่าเบื่อและ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าถึงหรือการเข้าใจคุณค่า
ในศิลปะแทนที่จะเป็น Appreciation อาจกลับเป็น
Depreciation ในศิลปะไปก็ได้ เราจะได้ชิมเพียงเปลือกที่ฝาดเฝื่อน แทนที่จะได้กินเนื้อที่แสนโอชะของศิลปะ ทุกฝุายต่างก็ปรารถนา ขั้นตอนโดยย่อของการเข้าถึงศิลปะ ๑. ก่อนอื่นต้องมีศรัทธาในศิลปะ ให้ความสนใจและเห็นว่าศิลปะเป็นสิ่งมีค่าด้วยความเป็นศิลปะเอง มีความตั้งใจที่จ ะเข้าถึงที่จ ะรั บรสศิล ปะเตรียมตัวส ารวมใจจดจ่อเฉพาะผลงานที่อยู่ตรงหน้า ปล่อยวางความนึกคิดต่าง ๆ ปล่อยวางรสนิยมส่วนตัว อย่าคาดหวังสิ่งใดล่วงหน้า พร้อมที่จะ ยอมรับความเป็นอย่างนั้นของตัวงานเอง ทาตัวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงานที่อยู่ตรงหน้า ๒. รูปทรงที่เป็นศิลปะหรือที่เรียกว่า Artistic Form ซึ่งประกอบขึ้นจากทัศนธาตุต่าง ๆ คือ เส้น สี น้าหนัก เป็นต้น จะเริ่มแทรกตัวเข้ามาในการรับรู้ของเราทีละน้อยต่อเนื่องหรือปะทะเราอย่าง หนักหน่วง รุนแรง แล้วแต่การแสดงออกของศิลปิน ในขณะนี้จิตของเราจะตกอยู่ในภวังค์ ลืม ตัวด้วยอานาจของศิลปะใน Form นั้นสมองส่วนที่เป็นฝุายเหตุผลจะทางานน้อยลง ๆ ปล่อยให้ สัญชาตญาณ หรือความเห็นแจ้ง (Intuition) ทางานเต็มที่เพียงฝุายเดียว Artistic Form นี้เป็น หัวใจของทัศนศิลป์ทุกประเภททุกสมัยทั้งแบบรูปธรรม และนามธรรม ถ้ารูปทรงในงานชิ้นใดไม่ ทางานร่วมกันจนเป็น Artistic Form งานชิ้นนั้นก็ยากที่จะเรียกว่าเป็นงานศิลปะ เขาเรียกรูปทรง แบบนี้ว่า Decorative Form ที่ให้ความสวยได้เพียงผิว ๓. เนื้อหาหรือ Content ของงานปรากฏขึ้นเต็มที่ จากการทางานประสานกันในรูปทรงจนกลายเป็น Artistic Form แล้วเนื้อหานี้คือเนื้อหาศิลปะหรือพลังของศิลปะ พลังนี้จะแล่นเข้าในส่วนลึกของ จิตทาให้เกิดสมาธิยิ่งขึ้น มีจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเนื้อหาทางศิลปะนั้นเกิดความปีติ เอิบ อาบ เป็นความสุขที่เหนือกว่าที่เคยได้รับจากประสบการณ์อื่น อาจเทียบได้กับประสบการณ์ทาง ศาสนา พัฒนาจิตวิญญาณให้สูงขึ้นพ้นจากความรู้สึกธรรมดาของโลก ประสบการณ์ทางศิลปะแท้ ๆ จะสิ้นสุดลงในขั้นนี้ โดยเฉพาะงานประเภทที่ไม่แสดงรูป (Nonobjective Art) พวกที่เคร่งครัด ต่อการรับรสแท้ของศิลปะถือว่าประสบการณ์จากเนื้อหาของรูปทรงนี้เป็นศิลปะบริสุทธิ์ แสดง
คุณค่าเฉพาะที่เป็นศิลปะเท่านั้น เป็นการดูศิลปะเพื่อศิลปะ เหมือนกับการฟังดนตรีเพื่อดนตรี ใน ทัศนะสมัย ใหม่ไม่ใช่เพื่อการเร้าอารมณ์หรือเพื่อรู้เรื่องราว เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นอารมณ์ ธรรมดาของมนุษย์ ไม่อาจเทียบกันได้กับประสบการณ์ทางศิลปะแท้ แต่ถ้าเป็นงานที่มีเรื่องเป็นงานที่ศิลปินต้องการแสดงสาระทางเรื่องราว เหตุการณ์หรือ ความคิดอื่นกระบวนการเข้าถึงจะดาเนินต่อไปอีก ๔. จิตที่เป็นสมาธิและอิ่มเอิบด้วยรสของศิลปะจะสะท้อนเรื่องหรื อสาระที่มีอยู่ในงานนั้นได้อย่างเห็น แจ้งลึกซึ้ง สาระเหล่านี้เป็นแนวเรื่องที่ศิลปินเจตนาแสดงออกอาจเป็นความอบอุ่ นหรือความร้อนแรงของ ชีวิต ความรักความเมตตาในมนุษย์ ความสงบสุข ความเหี้ยมโหดของสงครามด้วยพลัง ส่วนของเนื้อหาศิลปะหรือ เนื้อหาทางรูปทรงในข้อ ๓ งานชิ้นใดมีพลังรุนแรงและต่อเนื่องมาก เพราะมีการแสดงออกด้วยการประสานกัน ของรูปทรงอย่างดีเลิศแล้ว ก็สามารถผลักดันเนื้อหาทางเรื่องหรือสาระของงานเหล่านี้ให้แจ่มแจ้งขึ้นในใจของผู้ ดูได้อย่างชนิดที่ความคิดด้านเหตุผลใด ๆ ไม่อาจทาให้เกิดขึ้นได้เลย สาระทางเรื่องนี้ในศิลปะสมัยใหม่อาจไม่สู้ นิยมแสดงกัน มักปล่อยให้สมบูรณ์อยู่เพียงเนื้อหาทางสุนทรียะหรือทางศิลปะเท่านั้น ทั้งนี้อาจมีแนวความว่าใน แต่ละสาขาของกิจกรรมยกจิตวิญญาณของมนุษย์นั้น ควรกระทาให้ดีที่สุดในขอบเขตหน้าที่ของตนเท่านั้น ผลงานจะได้ตรงตามเปูาหมายและสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด กล่าวคือขอบเขตและหน้าที่ของทัศนศิลป์นั้นให้การ รับรู้ด้วยรูปทรงไม่ใช่ด้วยการบรรยายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ เหมือนในสาขาวรรณศิลป์ ประสบการณ์ทางศิลปะที่กล่ าวนี้ จะมีขึ้นได้จากการเข้าถึงศิล ปะที่ถูกวิธีและจากงานที่เป็นศิล ปะ เท่านั้น ความอ่อนแก่ของประสบการณ์ที่ได้รับก็ย่อมแตกต่างกันไปตามคุณภาพของงานด้วย ถ้าเป็นศิลปะที่ ยิ่งใหญ่ประสบการณ์จะเข้มข้นรุนแรง ต่อเนื่อง ให้ความปีติฝังใจเนิ่นนานเป็นวัน ๆ รับรู้สิ่งธรรมดา ๆ รอบ ๆ ตัว เป็นความดีความงาม ความประสานกลมกลืนไปหมดถ้างานที่เราจะเข้าถึงนั้นไม่เป็นศิลปะ เพราะรูปทรงไม่ ทางาน ไม่เป็น Artistic Form เนื้อหาทางศิลปะจึงไม่มีเหลือเพียงสาระทางเรื่องราว (ถ้ามี) ที่บอกเล่าไว้ในงาน เท่านั้น สาระแบบนี้ให้การรับรู้แก่เราได้เพียงตื้น ๆ รู้ว่าเป็นเรื่องอะไรเท่านั้น รู้ว่าเป็นแม่กับลูก แต่เราจะไม่ได้ รับสัมผัสกับความรักความผูกพันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิตของงานนั้นเลย นี่คือความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ระหว่างรูปเขียน รูปปั้นธรรมดา กับงานศิลปะที่ผู้เข้าถึงเพียงขั้นต้นก็สามารถเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน การเข้าถึงศิลปะต้องปล่อยให้ศิลปะค่อย ๆ แทรกซึมเข้ามาเอง อย่าตั้งใจจนเกินไปนักจะทาให้เครียด ปล่ อยวางไม่ได้จะเป็ นการปิดกั้นการเข้าถึงอีกทางหนึ่งความคุ้นเคยกับงานศิล ปะด้ว ยการดูบ่อย ๆ อยู่ ใน สิ่งแวดล้อมที่มีงานศิลปะดี ๆ พูดคุย อ่านเกี่ยวกับศิลปะจะทาให้การเข้าถึงเป็นไปโดยง่ายและโดยไม่รู้สึกตัว
การเข้าถึงศิลปะเป็นทักษะ ต้องใช้ประสบการณ์ตรง เป็นวิชาปฏิบัติ ต้องฝึกฝนการเข้าถึงต่อเนื่องกัน ไป เช่นเดียวกับการฝึกทักษะอื่น ๆ ไม่ใช่เป็นทฤษฎีเวลาเราเข้าถึงนั้นไม่มีความรู้หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ อยู่ใน สานึกเลย อุปสรรคของการเข้าถึงศิลปะในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็นข้อใหญ่ ๆ ๒ ข้อคือ ๑. อุปสรรคทางฝุายผู้ที่จะเข้าถึง ๒. อุปสรรคทางฝุายงานศิลปะที่จะให้คนเข้าถึง ในข้อ ๑ ที่เกี่ยวกับตัวคนที่จะเข้าถึงนั้น ปัญหารวมน่าจะมีประการเดียวคือ ขาดการศึกษา ฝึกฝน อบรมเกี่ยวกับศิลปะและการเข้าถึงศิลปะที่ถูกต้อง จึงทาให้เกิดปัญหาย่อย ๆ ขึ้นดังต่อไปนี้ ๑. ดูศิลปะเพื่อเอาเรื่อง ดูให้รู้เรื่องเหมือนอ่านหนังสือหรือดูละคร ๒. ดูเพื่อให้รู้ว่าเป็นรูปอะไร ๓. พอใจกับรูปที่เหมือนธรรมชาติ ยิ่งเหมือนมากเท่าไหร่ยิ่งพอใจ ๔. พอใจกับความสวยงามของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในงาน เช่น คนสวย ทิวทัศน์สวย และอาจ รวมไปถึงความสวยงามแนบเนียนของเทคนิคของเส้นและสีที่เน้นความสวยเพียงผิว ๆ ด้วย ๕. ถือรสนิยมของตัวเองเป็นสาคัญ ชอบสีชมพูก็พอใจอยู่แต่งานที่มีสีอย่างนั้น งานจะมีคุณค่าทาง ศิลปะหรือไม่ ไม่คานึงถึง ชอบอะไรฝัน ๆ ก็รับความรู้สึกแบบอื่นไม่ได้ ๖. ชาตินิยมเกินไป อะไรที่ผิดไปจากประเพณีนิยมของชาติก็ไม่ยอมรับ ๗. พอใจกับความรู้ที่เป็นผลพลอยได้จากงานศิลปะ เช่น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี โบราณคดี ฯลฯ ๘. มีนิสัยหนักไปทางใช้เหตุผล ข้อเท็จจริงตัวเลขมากเกินไป จนปล่อยใจให้เป็นกลางไม่ได้ ๙. ตั้งใจมากเกินไป มุ่งมั่นให้ได้ผลเร็วเกินไป จนทาให้เครียด ข้อ ๒ เกี่ยวกับงานศิลปะที่จะให้คนเข้าถึงปัญหาก็คือ ขาดงานศิลปะที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง ขาดงานศิลปะที่ต่อเนื่องจากโบราณถึ งปัจจุบัน ทั้งแบบไทยประเพณีและแบบร่วมสมัย ทั้งของตะวันออกและ ของตะวันตกที่เป็นเช่นนี้เพราะ ๑. ศิลปะโบราณของไทยมีแบบประเพณีนิยมเพียงแบบเดียว ขาดการพัฒนาต่อเนื่อง มาถึงปัจจุบัน ๒. จากข้อ ๑ ศิลปะร่วมสมัยของไทยจึงต้องมีฐานจากการศึกษาแบบตะวันตก เพราะไม่สามารถ คลี่คลายจากแบบประเพณีที่ลงตัวแบบตายตัวแล้วได้ ๓. อิทธิพลของศิลปะร่วมของตะวันตกที่มีต่อศิลปะร่วมสมัยของไทย ทาให้มีการกระโดดไกล ขาดตอน เป็นช่องว่างขนาดใหญ่ที่มีคนดูอยู่อีกด้านหนึ่ง
๔. ผลงานศิลปะที่มีค่าสูงขนาด Great Art ที่สร้างขึ้นโดยศิลปินไทยในปัจจุบันกล่าวได้ว่าแทบจะ ไม่มีที่พอจะมีคุณค่าอยู่บ้างก็มีเพียงไม่กี่ชิ้น และในจานวนนี้ก็อยู่กระจัดกระจาย คนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เห็น เพราะศิลปินแท้ที่ทางานเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปะมีน้อยที่สุด เรามีแต่ศิลปิน ข้าราชการ ศิลปินอาจารย์ ศิลปินรับจ้าง และศิลปินที่ต้องแบ่งปันความเป็นศิลปะให้กับรสนิยมของตลาด ๕. เราไม่มีหอศิลป์ที่มีงานศิลปะจริง ๆ แสดงอยู่ข้างใน หอศิลป์ของทางราชการที่มีอยู่ ๒-๓ แห่งก็ เล็กนิดเดียว รวมกันอยู่เป็นกระจุกในมุมหนึ่งของกรุงเทพฯ แสดงได้แต่นิทรรศการหมุนเวียนครั้งละไม่กี่ภาพ เรายังไม่มีหอศิลป์แห่งชาติจริง ๆ สมกับคาว่าแห่ง ชาติ ในหอศิลปแห่งชาติที่เป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ของกอง พิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร ถึงจะมีห้องนิทรรศการถาวรอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ผลงานที่แสดงอยู่ในนั้นส่วนมากเหมือน ได้มาจากการบริจาคของศิลปิน งานที่รวบรวมแสดงไว้ไม่กี่ชิ้นนั้นจึงเป็นเพียงการเรียงลาดับของประวัติศาสตร์ ศิลปะของไทยช่วงสั้น ๆ แทนที่จะเป็นงานที่แสดงคุณค่าทางศิลปะของศิลปินไทย เพียงเท่านี้เรายังมีไม่ได้ การ ที่จะคิดไปถึงเรื่องซื้องานหรือขอยืมงานชั้นเยี่ยม ๆ ของศิลปินระดับโลกมาติดตั้งแสดงให้คนไทยดูจึงเป็นเรื่อง เหลือวิสัยของพวกเราจริง ๆ การเข้าถึงศิลปะนั้น เราต้องมีความคุ้นเคยกับงานศิลปะทุกแบบและทุกระดับโดยเฉพาะระดับที่เป็น Great Art ถ้าขาดสิ่งนี้ การเข้าให้ถึงศิลปะหรือ Art Appreciation ก็จะเป็นเพียงชื่อของวิชาหนึ่งเท่านั้น ข้อเสนอแนะเพื่อการเข้าให้ถึงศิลปะ ๑. ให้ผู้มีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ฝึกฝนตัวเองให้เข้าถึงศิลปะได้อย่างจริงจังเสียก่อน เพื่อจะได้เห็นค่าและมีความรัก ความสนใจ สนับสนุนให้กิจกรรมนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง ๒. คนทาหลักสูตร คนวางแนวการสอนและคนสอนวิชาศิลปศึกษาต้องเข้าถึงศิลปะอย่าง กว้างขวางและลึกซึ้งเสียก่อน ไม่ใช่ให้นักทฤษฎีที่อาจมีความรู้เพียงจากตารา แต่ขาดประสบการณ์ทางการ เข้าถึงศิลปะมาเป็นคนดาเนินการ ๓. จัดตั้งกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจ มีความรักในศิลปะและเข้าถึงศิลปะอย่างแท้จริง เพื่อ ดาเนินการจัดอบรม ฝึกฝนการเข้าถึงสุนทรียะและศิลปะอย่างหัวถึงและต่อเนื่องให้กับครูอาจารย์ตั้งแต่ระดั บ อนุบาลขึ้นมา เพื่ออบรมสั่งสอนนักเรียนให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในด้านการปลูกฝังทัศนคติและทักษะในการเข้าถึง สุนทรียะทั้งในธรรมชาติและศิลปะตามความเหมาะสมกับวัยและระดับการเรียน ๔. เผยแพร่วิธีเข้าถึงสุนทรียะเบื้องต้นที่ถูกวิธีทางสื่อมวลชน โดยเฉพาะทางโทรทัศน์เพื่อการ เริ่มต้นทีถ่ ูกต้องในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก ๕. จัดตั้งหอศิลป์แห่งชาติที่แท้จริงขึ้น รวบรวมผลงานที่มีคุณค่าทุกสมัยทั้งของศิลปินไทย และต่างชาติจัดเป็นนิทรรศการถาวรให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาและชื่นชม ๖. จัดการแสดงการประกวดระดับชาติและนานาชาติด้วยการดาเนินการที่ถูกต้องโดยให้เป็นไป เพื่อพัฒนาคุณภาพ คุณค่าของศิลปะ และยกฐานะการเข้าถึงศิลปะของประชาชน
๗. กระจายหอศิลป์และกิจกรรมศิลปะออกไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ จัดนิทรรศการทั้งถาวร และชั่วคราว หมุนเวียนไปตามหอศิลป์ต่าง ๆ ๘. สนับสนุนการสร้างสรรค์ของศิลปินที่ทางานเพื่อสัจจะของศิลปะทั้งด้านวัตถุและกาลังใจ โดยสรุป การแก้ปัญหาการเข้าถึงศิลปะในประเทศไทย ก็คือ ขอให้ทุกฝุายที่เกี่ยวข้องทุกระดับเห็น คุณค่าและความสาคัญของศิลปะอย่างจริงใจ และตระหนักว่าศิลปะเป็นสิ่งจาเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนไทยไม่น้อยกว่าปัจจัยด้านอื่น แล้วลงมือกระทากันอย่างจริงจังเสียที กระทาอย่างถูกต้อง เพ่งเล็งที่ คุณภาพแท้จริง เราต้องการบุคลากรที่มีความรักมีน้าใจต่อศิลปะ ซึ่งเป็นผลมาจากการได้เข้าถึงและซาบซึ้งใน คุณค่าของศิลปะด้วยจิตและวิญญาณของเขาเอง แล้วมาช่วยกันดาเนินการ ข้อ เสนอแนะทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น เพี ย งความคิ ด ในการแก้ ปัญ หาส าหรับ ประชาชนจ านวนเล็ ก น้ อ ยที่ มี การศึกษาและความสนใจบางระดับเท่านั้น ยังไม่กล้าคิดไปถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ยังขาดแม้แต่ ปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ศิลปะจึงเป็นสิ่งที่เขาผันไปไม่ถึง เพราะแม้แต่การประคองชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยไปวัน หนึ่ง ๆ ก็เป็นภาระที่หนักที่สุดของพวกเขาอยู่แล้ว ผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมืองจะต้องเร่งรัดกระทาควบกันไปทั้ง การพัฒนาคุณภาพพื้นฐานทางกายอันได้แก่การกินอยู่ที่ดี ขึ้นและคุณภาพทางจิตด้ วยกิจกรรมทางด้านพุทธิ ปัญญาอันมีศิลปะเป็นตัวนา