บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 48

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ทางเลือก ทางเลี้ยวหรือทางแยกของศิลปะ ? โดย พัทยา สายหู ศิลปินผู้มีกิจกรรมหลักของชีวิต คือ ศิลปะ ไม่มีปัญหาว่าศิลปะคืออะไร ชาวบ้านผู้มีกิจกรรมหลักอย่าง อื่นในชีวิตที่ไม่ใช่ศิลปะ ก็ไม่มีปัญหากับศิลปะเช่นกัน เพราะไม่เคยมีความคิดติดใจเลย แต่ชาวบ้านที่ไม่ใช่ ศิลปิน ไม่มีกิจกรรมหลักที่เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะ แล้วอยากจะสนใจและเสพงานศิลปะของศิลปิน มี ปัญหาความเข้าใจเรื่องศิลปะเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยปัจจุบัน และเป็นปัญหาพิเศษสาหรับคนใน กลุ่มนี้ที่พอจะรู้บ้าง และสนใจมากเรื่องงานศิลปะเชิงเปรียบเทียบกับของคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรม ที่มีเกณฑ์มาตรฐานและการสร้างสรรค์งานศิลปะกันคนละขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เพราะสังเกตว่าศิลปินสมัยนี้ของโลกที่ไร้พรมแดนด้วยกระแสโลกาภิวัฒน์ สามารถเลือกสร้างสรรค์งานของตน ได้จากต่าง ๆ ขนบและจารีตของศิลปะที่หลากหลายและสามารถเสนอธรรมเนียมและประเพณีใหม่ของตนเอง ได้ถ้าต้องการและสามารถหาผู้ยอมรับได้ ศิลปินในโลกปัจจุบันจึงมี “ทางเลือก” ของศิลปะได้มากมายกว่าศิลปินในอดีตที่โลกยังมีพรมแดนกีดกั้น การติดต่อสมาคมกันเพราะความจากัดของการสื่อสารคมนาคมศิลปินในสังคมเกษตรกรรมแบบสมัยเก่าก่อนที่ จะเกิดมีสังคมอุตสาหกรรมแบบสมัยใหม่ (จนถึงแบบ “หลังสมัยใหม่ post - modern” ที่เริ่มมีแล้วในสังคมที่ เป็นอุตสาหกรรมนาทางมาก่อน) ไม่มีทางเลือกว่าจะสร้างงานศิลปะแบบประเพณีหรือศิลปะแบบสมัยใหม่ อย่างเก่งก็มีทางเลือกแต่เพียงจะสร้างงานศิลปะแบบชาวบ้านหรือศิลปะแบบราชสานัก ศิลปะแนวทางโลกที่ยั่ว กิเลสตัณหาของโลกียชนหรือศิลปะแนวทางธรรมเผยแพร่คาสอนของศาสนา ฯลฯ แต่อาจสังเกตได้ว่า ศิลปะ แบบราชสานักหรือศิลปะแนวทางธรรมของศาสนานั้น มักมีต้นแบบที่มาจากงานหรือแนวคิดของสังคม วัฒนธรรมอื่นอันเป็นที่ยกย่องนับถือว่าเจริญอารยะกว่าที่สังคมและศิลปินของตนมีอยู่เดิมเสมอ ศิลปะไทยที่ปัจจุบันยังต้องจาแนกให้ชัดเจนอีกว่าเป็นศิลปะไทยแบบประเพณี แบบประยุกต์แบบ สมัยใหม่ หรือร่วมสมัย แบบสากล ฯลฯ ก็เท่ากัน ได้สร้างสรรค์ตามทางเลือกที่เปิดกว้างเป็นหลายทางกว่า สมัยก่อนจนทาให้ “ศิลปะไทย” มีความหมายให้ถกเถียงอภิปรายกันได้ต่าง ๆ


“ศิลปะไทย” กับ “ศิลปะในประเทศไทย” กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกันได้คงเพราะมาพบ “ทางเลี้ยว” สาคัญในสมัยปรับประเทศให้เป็นสมัยใหม่ในรัชกาลที่ 5 ที่ปรากฏศิลปะแบบตะวันตกอย่างชัดเจนที่ช่างไทย สนใจและเริ่มศึกษากันต่อมาอย่างจริงจังในระบบการศึกษาของโรงเรียนแบบสมัยใหม่ (แบบตะวันตก) เป็น โรงเรียนเพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันที่สอนวิชาการทางศิลปะอื่นๆ ในประเทศทุกระดับ ของปัจจุบัน ทางเลี้ยวที่ค่อนจะไปในทิศทางตะวันตกในยุคเริ่มแรกเมื่อศตวรรษก่อน พอถึงศตวรรษนี้ก็ดูจะไม่ เป็นทิศตะวันตกที่ตรงข้ามกับตะวันออกชัดเจน กลายเป็น “ทิศสากล” ที่ไม่ยอมให้ชาติใดกลุ่มใดกลุ่มเดียวเป็น เจ้าของ แต่เป็นทิศที่ทุกชาติทุกกลุ่มอ้างความเป็นเจ้าของได้ด้วยการมีส่วนร่วม ทางเลี้ยวของศิลปะปัจจุบันจึง ไปในทุกทิศทางที่เป็นสากล เหมือนระบบการจราจรในกรุงเทพฯ วันนี้ ทั้งที่เป็นทางระดับพื้นดินและทางด่วน ยกระดับที่ถูกกาหนดให้เลี้ยวได้ทุกทิศทางโดยไม่ได้คาดฝัน จนบางทีเลี้ยวผิดทางแล้วหาทางลงทางออกไม่ได้ “ทางแยก” ของศิลปะวันนี้อาจสืบเนื่องจากทางเลือกและทางเลี้ยวที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้ว แต่คราวนี้อาจ ทาให้ทางเลือกและทางเลี้ยวที่ยังอาจวกมาพบกันได้ กลายเป็นทางแยกที่ต่างไปแล้วไม่กลับมาร่วมทางกันอีก เลยก็เป็นได้ ทางแยกล่าสุดนี้ซึ่งอาจปรากฏในทุกวงการที่ไม่จากัด แต่วงการศิลปะดูจะเกิดจากความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสื่อซึ่งเปลี่ยนแปลงลักษณะวัสดุอุปกรณ์ที่เคยใช้ในการผลิตและบริโภคงาน ศิลปะ จนทาให้ทั้งผู้ผลิตและผลผลิตงานศิลปะแบบที่อาจเรียกเป็น “หลังสมัยใหม่” ในความหมายหนึ่งได้ใช้ เทคนิควิธีการที่ศิลปินยุคก่อนไม่เคยรู้เคยใช้จนอาจทาให้การเรียนการสอนทักษะของผู้จะเป็นศิลปินต้องใช้ วิธี ฝึกฝนและวัสดุอุปกรณ์สร้างงานที่มีลักษณะต่างไปจากที่เคยคุ้นกันมาอย่างสิ้นเชิง ผลผลิตสุดท้ายก็มีรูปร่าง ขนาด แบบอย่าง ฯลฯ ต่างไปจนผู้บริโภคต้องฝึกวิธีการและแนวคิดในการเสพสมงานศิลปะต่างไปจากทางที่ เคยเดิน สภาพที่ว่านี้มีจริงหรือไม่ ผู้ที่ได้ติดตามการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติตั้งแต่ ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 48 นี้ อาจมี ข้อสังเกตที่ว่านี้เช่นกัน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.