บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ข้อคิดเห็นในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัตถุประสงค์อันสาคัญของการแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาตินั้น ก็เพื่อ ส่งเสริมความสนใจในศิลปะของประชาชนให้สูงขึ้น และเพื่อให้ทางราชการและเอกชนเห็นความจาเป็นของการ มีของสวยงามไว้ประดับประดาอาคารเคหสถาน แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะได้เป็นที่ประจักษ์กันอยู่ หลังจากที่ได้จัดให้มีการแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติมาแล้ว 11 ครั้งก็ตาม เรายังคงอยู่ห่างไกลจากจุดหมาย ปลายทางในศิลปกรรมร่วมสมัย ซึ่งเราจาต้องก้าวไปให้ถึง ฉะนั้นจึงเป็นความจาเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้อง ดาเนินการโฆษณาศิลปะของเราต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง มิฉะนั้นศิลปะของประเทศไทยก็จะอยู่ล้าหลังประเทศ เพื่อนบ้านเขาทั้งหลาย
อังคาร กัลยาณพงศ์ กินรี เทคนิค วาดเส้นเครยองบนกระดาษ ขนาด 53.5 x 77.5 ซม.
เกี่ยวกับศิลปะไทยนั้น ใคร่ขอกล่าวต่อไปว่า การเขียนบทความหรือการทางานศิลปก็เพื่อปลุกให้ ประชาชนมีความเข้าใจว่า ศิลปะไม่ใช่เป็นสิ่งฟุุมเฟือย หรือเป็นสิ่งสนุกสนานของ “คนบ้า” ซึ่งทางานจิตรกรรม ประติมากรรม หรืองานภาพพิมพ์ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามด้วยความเสียสละ
ศิลปะเป็นสมการที่สาคัญที่สุด ซึ่งจากศิลปะนั้นเองวัฒนธรรมของคนเราได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ชนชาติอื่น ๆ และอนุชนในชาติของเรา จากศิลปะเท่านั้นที่เราอาจวินิจฉัยความเจริญทางจิตใจของคนเราได้
กรุงโรมยังไม่
สิ้นเชื่อ เพราะมีงานศิลปกรรมเป็นอนุสรณ์ เช่นเดียวกับประเทศกรีซ ศิลปะสุโขทัยเป็นสิ่งเชิดชูเกียรติคุณของ ชาติไทย เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาที่ยังไม่สูญสิ้นไปเพราะมีเทวาลัยอันมหัศจรรย์ให้เห็นอยู่ ชีวิตสลาย อาณาจักรพินาศ ผลประโยชน์ของบุคคลมลายหายสิ้นไป แต่ศิลปเท่านั้นที่ยังคงเหลือเป็น พยานแห่งความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์อยู่ตลอดกาล
รางวัล เกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ เรือ เทคนิค สีน้ามันบนผ้าใบ ขนาด 50 X 83 ซม. ปี 2501
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในครั้งก่อน ๆ ว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งมหัศจรรย์สาหรับผลทางวัตถุที่มีอยู่ต่อ มนุษยชาติแต่มิใช่จากผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เราอาจวินิจฉัยคุณค่าทางพุทธิปัญญาของมนุษย์ชาติได้ เพราะ ในทุกกรณีความเจริญทางวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับเงินเป็นสาคัญใครที่มีอานาจทางเศรษฐกิจการเงินสูง ก็อาจ สร้างสิ่งพิเศษขึ้นมาได้ แต่สิ่งที่เราสร้างขึ้นเหล่านั้นชนผู้เจริญแล้วก็อาจดาเนินการให้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วย เหมือนกัน ถ้าเราอุดหนุนการเงินให้แก่เขา ตรงกันข้าม ศิลปมิอาจสร้างขึ้นจากการกาหนด กฎเกณฑ์หรือจากสูตรที่วางไว้แน่นอนได้ ศิลปะเป็นสิ่งที่ออกมาจากวิญญาณของมนุษย์ ฉะนั้นเอง ศิลปจึงเป็น เรื่อง “เฉพาะตน” อันสูงส่ง
ลาวัณย์ อุปอินทร์ ลูกสาว เทคนิค สีน้ามันบนผ้าใบ ขนาด 44 x 49 ซม. ปี 2532 ประพันธ์ ศรีสุตา กรุงเทพราตรี เทคนิค สีน้ามันบนผ้าใบ ขนาด 90 x 120 ซม.
ด้วยเหตุนี้จึงขอกล่าวย้าว่าศิลปินที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ “คนบ้า” แต่เป็นบุคคลที่เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อสนองความเรียกร้องทางจิตใจอันเป็นความเรียกร้องของศิลปะนั่นเอง ตามสภาพการณ์เช่นนี้ ศิลปินจึงเป็น เสมือนนักพรตผู้สละทุกสิ่ง เพื่อความเชื่อมั่นทางจิตของตน ศิลปินที่แท้จริงย่อมมีความรู้สึกไวเป็นพิเศษ ซึ่งอานวยให้เขาจับความเป็นแก่นสารของชีวิตความเป็นอยู่ ของเขาไว้ได้ ทั้งนี้ย่อมหมายถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชนในชาติด้วย ฉะนั้นเองศิลปของเขาจึงแสดงให้เห็นถึง แก่นสารแห่งวัฒนธรรมของประชาชนในชาตินั้นอย่างแท้จริง
มานิตย์ ภู่อารีย์
ชลูด นิ่มเสมอ ปลูกปุา 1 เทคนิค สีฝุนปิดทอง ขนาด 50 x 70 ซม. ปี 2533
เราใช้คาว่า “เจริญ” และ “เสื่อม” เช่นนี้ ฟังดูออกจะทาให้เกิดความฉงน กล่าวตามหลักแล้ว ความเจริญหรือความเสื่อมของวัฒนธรรมนั้นไม่ได้เกิดมาจากความปรารถนาของประชาชน ไม่มีใครอาจ ขัดขวางปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น หรือยืนยันว่าวัฒนธรรมอย่างนั้นสูงกว่าวัฒนธรรมอย่างนี้ได้ นอกจาก ประวัติศาสตร์เท่านั้น ที่อาจวินิจฉัยคุณค่าของวัฒนธรรมแต่ละสมัยได้ เราต้องยอมรับอย่างจริงใจว่า เรากาลังอยู่ในยุคพิเศษยุคหนึ่ง ซึ่งเป็นยุคของลัทธิวัตถุนิยม ที่นาความ เป็นทาสมาสู่มนุษยชาติยิ่งขึ้นทุกวัน เรารีบร้อนโดยไม่รู้ว่าเราจะไปไหน ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องทาให้เสร็จอย่าง เร่งรีบที่สุด จนคาว่า “วิจิตร” หรือ “คุณภาพสูง” ไม่มีความหมายอะไร นอกจากเวลาเท่านั้นเอง เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทาให้ท้อแท้ใจเช่นนี้ ผู้ที่ยังคงห่วงใยเรื่อง “จิตใจ” อยู่ย่อมมองดูโดยรอบตัว และเห็นได้ว่า ศิลปะเท่านั้นเองที่ยังคงให้ความสงบ ให้ความพอใจทางพุทธิปัญญาแก่ตน ศิลปเท่านั้นเองที่ กระชับตนไว้ให้มั่นอยู่กับความเป็นอมตะแห่งจักรวาล ดนตรี วรรณคดี และงานศิลปกรรมอันวิจิตรงดงาม เท่านั้นที่ช่วยให้วิญญาณของเราพ้นจากห้วงแห่งความมืดมนของความเจริญทางวัตถุได้
พิชัย นิรันต์ ดอกบัว เทคนิค สื่อผสม ขนาด 108 x 108 ซม. ปี 2534 สิ่งสาคัญยิ่ง และทาให้เรามั่นใจว่า อีกไม่นานนักประชาชนจะเห็นความจาเป็นของการมีสิ่งสวยงาม ตกแต่งประดับประดา ก็คือเหตุที่ว่าเมื่อปีที่แล้วมีบริษัทห้างร้านและเอกชนได้ให้ศิลปินไทยทางานศิลปตกแต่ง สถานที่และเคหสถานบ้านเรือนหลายแห่ง หากการกระทาเช่นนี้ได้ดาเนินไปโดยไม่หยุดยั้ง กล่าวคือบรรดา บริษัทห้างร้านและบ้านช่องของเอกชนต่างพากันตกแต่งด้วยงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ และ ประติมากรรมมาก ขึ้น และประการสาคัญถ้าสถาปนิกของเราร่วมมือกับจิตรกรยิ่งขึ้นด้วยแล้ว ภายในสองสามปี ประเทศไทยก็จะ มีศิลปินทางานเป็นอิสระ เป็นกลุ่มแรกขึ้นมาได้อันเป็นสิ่งจาเป็นยิ่งสาหรับความเจริญก้าวหน้าของศิลป นอกจากบริษัท ห้างร้าน และบ้านเรือนของเอกชนแล้ว เรายังใคร่ทจี่ ะได้เห็นกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ได้มีงบประมาณสักก้อนหนึ่ง สาหรับซื้องานศิลปกรรมไว้ตกแต่งอาคารสถานที่ราชการอีกด้วย เพราะ การปฏิบัติดังกล่าวนี้ได้กระทากันอยู่เป็นปกติในหลายประเทศ และคงจะได้ประโยชน์ไม่น้อย ถ้าหากจะมีการ ปฏิบัติทานองนี้ในประเทศไทยบ้าง
ดารง วงศ์อุปราช จิตรกรรม SYMPHONIC หมายเลข 3 เทคนิค สีฝุนบนผ้าใบ ขนาด 100 x 135 ซม. ปี 2534
ในการวิจารณ์เหตุการณ์เกี่ยวกับศิลปเพียงสั้น ๆ นี้ คงไม่อยู่นอกวัตถุประสงค์ของเราที่จะแจ้งให้ท่าน ผู้ชมงานแสดงศิลปกรรมได้ทราบว่า เมื่อปีกลาย มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ส่งภาพพิมพ์ของศิลปินไทยหลายสิบ ชิ้น ไปแสดงยังประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุน คณะมนตรีศิลปแห่งเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมณี ศูนย์กลางภาพพิมพ์ของสถาบันแพรตต์แห่งนครนิวยอร์ก ได้จัดแสดงภาพพิมพ์ของศิลปินไทยในสหรัฐอเมริกา การแสดงสองแห่งนี้ได้ประสบความสาเร็จเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง ในประเทศญี่ปุน ศิลปินไทยได้มีโอกาสส่ง งานศิลปภาพพิมพ์ไปร่วมในการแสดงงานภาพพิมพ์ระหว่างชาติครั้งที่สองด้วย ผู้เชี่ยวชาญศิลปะชาวต่างประเทศหลายท่านได้ขอให้เราส่งงานศิลปร่วมสมัยไปร่วมการแสดงงาน ศิลปกรรมในประเทศของเขา ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติแก่ชาติไทยมาก แต่เราก็ให้ความร่วมมือได้ไม่มากพอ เนื่องจากขาดเงินอุดหนุนสาหรับใช้จ่ายในการนี้ เรื่องสาคัญอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับศิลปร่วมสมัยก็คือการตั้งหอศิลป ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติประเทศหนึ่ง ฉะนั้น จึงต้องติดต่อกับโลกภายนอก ศิลป โบราณของเราได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง และชาวต่างประเทศที่มาเยือนประเทศไทย ที่มุ่งมาชมความ รุ่งเรืองของอดีตก็ใคร่จะเห็นความเป็นไปของศิลปปัจจุบันด้วย
รางวัล เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เขียน ยิ้มศิริ เสียงขลุ่ยทิพย์ เทคนิค สาริด ขนาด 35 x 58.5 ซม. ปี 2492 นพรัตน์ ลิวิสิทธิ์ ต้นไม้ที่เขาสามมุก เทคนิค สีเทียนบนกระดาษ ขนาด 36.8 x 52 ซม. ปี 2497
สิ่งแรกที่ชาวต่างประเทศเหล่านี้ถามคือ หอศิลปะสมัยใหม่ เราก็ได้แต่ตอบซ้า ๆ อยู่เสมอว่า “เสียใจ เสียใจจริง เรายังไม่มีหอศิลปสมัยใหม่” คาตอบเช่นนี้ย่อมเป็นสิ่งไม่สบายใจแก่ผู้ที่เข้าใจถึงค่าของคาถามอยู่ มาก ประเทศอินเดีย ปากีสถาน จีน ญี่ปุน ฟิลิปปินส์ และมลายู เขามีคณะมนตรีศิลปและหอศิลปสมัยใหม่ หลายแห่ง เรามีความใฝุสูงอย่างเต็มที่ในเรื่องการแข่งขันกันในชาติ เราอาจใช้เงินสักสองหรือสามล้านบาท สาหรับสร้างหอศิลปะอันถาวรขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนของเราได้นิยมชมชอบการแสดงออกของศิลปินร่วมสมัย ได้ในที่สุด ในขั้นเริ่มต้นขอเพียงอาคารที่เหมาะสมสักอาคารหนึ่งเท่านั้น มิฉะนั้นแล้วการที่เราจะแข่งขันกับชาติ อื่น ๆ เขาในเรื่องเกี่ยวกับศิลปก็มิอาจเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากการตั้งหอศิลปแล้ว เราจาเป็นต้องให้โอกาสศิลปินหนุ่ม ๆ ได้ทางานให้ได้ผลเต็มที่ โดยเปิดการ แสดงแข่งขันขึ้นในการทางานประติมากรรม จิตรกรรม หรือภาพพิมพ์ ตกแต่งสาธารณสถาน จากวิธีการ แข่งขันกันนั้นเอง ศิลปินหนุ่มจะได้พัฒนาจิตใจและมีโอกาสแสดงความคิดและเนรมิตงานใหม่ ๆ ยิ่งขึ้นไปอีก
รางวัล เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19 อนันต์ ปาณินท์ เพนท์ติ้ง เทคนิค สีน้ามันบนผ้าใบ ขนาด 88 x 88 ซม. ปี 2521
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ วัตถุประสงค์สาคัญของการจัดงานแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาตินั้น ก็เพื่อแสดงงานศิลปกรรมที่มี คุณภาพสูงกว่างานแสดงศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นกันอยู่อย่างธรรมดา เราเน้นในคุณภาพของงาน ดังนั้นจึงไม่ อาจสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมการแสดงด้วยปริมาณ เพราะการได้ชมงานศิลปกรรมที่สวยงามเท่านั้นจะ ช่วยให้เรามีรสนิยมสูงขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่าการคัดเลือกงานศิลปเข้าแสดงนั้นเราได้ดาเนินไปอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เพื่อให้งานศิลปะที่จะเสนอต่อประชาชนนั้นอยู่ในขั้นดีจริง ๆ นี้เป็นนโยบายของเรา วินิจฉัยจากงานที่ส่งเข้าแสดงทั้งหมดแล้ว สังเกตได้ว่างานจิตรกรรมมีความก้าวหน้าไปเป็นอย่างมากโดย เฉพาะงานประเภทภาพพิมพ์ ส่วนงานประติมากรรมมีผู้ส่งเข้าแสดงไม่กี่คน เพราะประติมากร (เท่าที่มีความ เป็นไปอยู่ขณะนี้) มีงานราชการมัดตัวอยู่มากแต่มีประติมากรบางคน เช่น เขียน ยิ้มศิริ ซึ่งแม้จะมีงานสอน และงานราชการอื่นอยู่มาก ก็ได้พยายามทางานส่งเข้าแสดงทุกปี ย่อมเป็นที่เข้าใจดีว่าศิลปินที่ไม่ได้ทางานเข้า แสดงนั้น เพราะหมดกาลังใจเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ประติมากรของเราหลายคนได้ สร้างงานประติมากรรมที่ สาคัญหลายต่อหลายชิ้น ซึ่งงานเหล่านั้นมิได้รับความสนใจแต่ประการใดเลย แต่ขอให้เชื่อเถิดว่าศิลปินนั้นเกิด มาเพื่อเสียสละเพื่อศิลป หากว่าแวนก็อก* หมดกาลังใจทางานเพราะไม่ประสบผลสาเร็จจากงานศิลปของตน เสีย มนุษยชาติก็คงจะไม่ได้มีโอกาสชื่นชมกับจิตรกรรมชิ้นเยี่ยม ๆ อันมีค่าของแวนก็อกเป็นแน่
เป็นสิ่งภาคภูมิใจที่สังเกตว่า ศิลปินที่ดีที่สุดของเรานั้นยังดารงความเป็นไทยไว้ งานของเขาแสดงให้เห็น ถึงลักษณะง่าย ๆ สะท้อนออกซึ่งชีวิตประจาวันอันบริสุทธิ์สดใสอย่างจริงใจ ถ้าเราอาจรักษาลักษณะง่าย ๆของ ความคิดและความรู้สึกเช่นนี้ไว้ได้ ต่อไปในอนาคตเราจะพ้นอันตรายอันเกิดจากการเลียนแบบอย่างศิลป สมัยใหม่ของตะวันตกซึ่งเต็มไปด้วยความสับสนยุ่งยากเราจะยังดารงความเป็นไทยอยู่เสมอ แม้จะแสดงออกซึ่ง ความรู้สึกในแบบอย่างและความเข้าใจอย่างสมัยใหม่ก็ตาม
สวัสดิ์ ตันติสุข ฤดูฝน เทคนิค สีน้า ขนาด 38 x 49 ซม. ปี 2534
แบบอย่างศิลปะของศิลปินบางคนมีลักษณะเป็นอิมเพรสชั่นอิสติค กล่าวคือจากลัทธินิยมแบบจริงตาม ธรรมชาติมาสู่แนวทางสมัยใหม่อันเป็นลักษณะพิเศษซึ่งแสดงออกมาตามธรรมชาติ ในขณะที่ศิลปินถ่ายทอด ธรรมชาติเข้ามาอยู่ในงานของตนโดยปราศจากการคิดมาก่อน ซึ่งการคิดมาก่อนนั้นจัดเข้ามาอยู่ในงานฝุาย “ลัทธิปฏิบัตินิยม” หรือ “ลัทธิทฤษฎีนิยม” เมื่อเราดูงานจิตรกรรมหรืองานภาพพิมพ์ของชลูด นิ่มเสมอ ความรู้สึกของเราเต็มไปด้วยความสงบ อย่างแท้จริง งานศิลปของศิลปินผู้นี้ทาให้เราลืมชีวิตอันยุ่งยากรวดเร็วของเราไป ในบรรดาภาพพิมพ์ของชลูด นั้นไม่อาจชี้ได้ว่าภาพไหนดีที่สุด ณ ที่นี้เราอยู่ในที่ซึ่งมีท่วงทานองอันเดียวกัน คล้ายดนตรีซึ่งจะแตกต่างกันก็ เพียงแนวทาง แต่ก็พาเราไปสู่โลกแห่งความบริสุทธิ์ผุดผ่องซึ่งบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์งานของตนขึ้นมา นั่นเอง
ดอกไม้ เทคนิค สีน้า ขนาด 47 x 52 ซม. ปี 2533
ภาพเขียนสีน้ามันสองภาพของชลูด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันนั้น ควรได้รับการยกย่อง ภาพหนึ่งแสดงให้ เห็นถึงงานบวชนาค มีกระตั้วแทงเสือ ผู้เล่นสวมหน้ากากและแต่งกายแปลกน่าดู สีอันสว่างทุกสีมีความ กลมกลืนประสานเข้ากันด้วยดีกับความเคลื่อนไหวของภาพคน ทั้งหมดถ่ายทอดให้เห็นถึงความสนุกสนานของ งานบวชนาค อีกภาพหนึ่งนั้นตรงกันข้ามทีเดียวภาพนี้แสดงให้เห็นถึงเด็กหญิงคนหนึ่งกาลังกลับจากโรงเรียน มี บ้านหลายหลังและสะพานหนึ่งสะพานของสะพานทั้งหลายที่เชื่อมคลองเป็นร้อย ๆ ของจังหวัดธนบุรี เด็กหญิง ผู้นี้ดูประหนึ่งว่าอยู่โดดเดี่ยวในเนื้อที่อันกว้างใหญ่ บรรยากาศสงบเงียบและร้อน ทุกสิ่งทุกอย่างเอิบอาบไป ด้วยแสงสีแห่งเมืองร้อน ซึ่งความร้อนแรงได้ข่มสีของบ้านและสิ่งอื่น ๆ ที่จัดลดน้อยลงไปด้วยการที่ช่างเขียนใช้ สีค่อนข้างขาวอุ่นจึงทาให้ภาพมีความสว่างและสดใสเป็นอย่างยิ่ง นอกจากงานจิตรกรรมภาพนิ่งอันงดงามบางชิ้นแล้ว ปีนี้ มานิตย์ ภู่อารีย์ ได้แสดงงานภาพพิมพ์เป็นรูป สัตว์ต่าง ๆ ด้วยอีกหลายชิ้น ภาพพิมพ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม ความสังเกตอย่างดี และความรู้สึกไวเป็นพิเศษของศิลปินผู้นี้ ภาพไก่แย่งอาหารกันนั้นมีชีวิตชีวาเหลือเกิน และในขณะเดียวกัน ความงามของภาพพิมพ์ก็มิได้บังเกิดจากกลวิธีใด ๆ หากเกิดจากคุณค่าทางศิลปอย่างแท้จริงของการออกแบบ นั่นเอง ในจานวนงานประติมากรรมสามชิ้นของ เขียน ยิ้มศิริ รูปคนเตะตะกร้อนั้นน่าดูมาก รูปนอกอันโค้งและ พวยพุ่งนั้น ให้ความรู้สึกในการเคลื่อนไหวอย่างกลมกลืนของผู้เล่นกีฬาประเภทนี้ ซึ่งทุกอิริยาบถขึ้นอยู่กับการ เคลื่อนไหวอันมีลีลาติดต่อกันไม่ขาดระยะนี้เป็นลักษณะพิเศษของเกมกีฬาไทยทุกประเภทอย่างแท้จริงแม้กีฬา มวยไทยก็มอี ิริยาบถอยู่ในกฎของความประสานกลมกลืนด้วยเช่นกัน
ภาพปั้น “นักตะกร้อ” มีทรวดทรงรูปนอกอย่างง่าย ๆ ซึ่งเป็นแบบอย่างศิลปไทยและโดยเฉพาะ อย่าง ยิ่งเป็นลักษณะส่วนตนของศิลปินผู้นี้
ยามเย็น เทคนิค สีน้า ขนาด 38 x 45 ซม. ปี 2534 ภาพพิมพ์ขนาดใหญ่ของอินสนธิ์ วงศ์สาม แสดงให้เห็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่กับ
เด็ก
เล็ก ๆ มีสถาปัตยกรรมภาคเหนือเป็นฉากหลัง ภาพนี้มีคุณค่าสูงมากในการจัดองค์ประกอบการให้น้าหนักอ่อน แก่ของภาพ รวมทั้งการแสดงออกซึ่งความรู้สึกอย่างจริงใจของศิลปิน หมู่นกซึ่งกาลังบินเป็นเส้นโค้งนั้นเป็น คุณลักษณะส่วนตนของศิลปินเองแต่โดยเฉพาะ ประพันธ์ ศรีสุตา เป็นศิลปินหนุ่ม มีงานภาพพิมพ์เข้าแสดงสามชิ้น ภาพที่ดีได้แก่รูปเด็กชายกาลังดู เครื่องรับโทรทัศน์ เด็กคนนี้ยืนแขนพาดศีรษะ และดูเหมือนกาลังคิดว่าเมื่อใดหนอตนจะได้เป็นเจ้าของ เครื่องรับโทรทัศน์อันมหัศจรรย์นั้นบ้าง ภาพนี้ให้ความรู้สึกแก่เรามากกว่าความเป็นจริง ความรู้สึกนั้นเป็น ความหมายของความหวังและความคิดผ่านจากสมองของเด็กคนนั้นออกมา สีของภาพก็สวยและน่าดู ไม่ น้อย งานจิตรกรรมที่ให้ความรู้สึกแข็งแรง และมีสีสดใสมากชิ้นหนึ่งเป็นของพิชัย นิรันต์ เป็นรูปท่าเรือ ซีเมนต์เรือ และตอนส่วนบนของภาพ แทรกให้เห็นฝั่งแม่น้าตรงข้ามอยู่ด้วย อย่าดูภาพนี้อย่างของจริง แต่ดูสิ่ง ต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ซึ่งทาให้เรารู้สึกในระยะของภาพมากกว่าที่เขียนไว้ ความรู้สึกประทับใจครั้งแรกที่ดูภาพนี้
อยู่ที่ความเป็นปึกแผ่น ซึ่งทาให้เราไม่เห็นส่วนละเอียดหรือความสัมพันธ์ของวัตถุจริง ๆ ถ้าหากไม่พิจารณา อย่างใกล้ชิด เราเชื่อว่าศิลปินหนุ่มผู้นี้มีคุณสมบัติซึ่งถ้าได้นาออกมาใช้แล้ว ก็อาจทางานศิลปได้ ดียิ่ง พนม สุวรรณบุณย์ ผู้ซึ่งส่งงานจิตรกรรมเข้าแสดงทุกปี มีภาพเขียนที่ดีภาพหนึ่งเป็นรูปชาวนาอุ้มไก่ครั้ง นี้พนมพยายามทางานเป็นแบบสมัยใหม่มากขึ้น โดยเขียนรูปชาวนาค่อนไปในลักษณะเป็นแท่ง พนมประสบ ความสาเร็จในการให้ความเป็นปึกแผ่นในงานจิตรกรรมของเขา ภาพชาวนาสามคนกาลังพักผ่อนหลังจากเก็บเกี่ยวอันเหน็ดเหนื่อย โดยปรีชา อรชุนกะ มีความเข้าใจใน การให้ปริมาตรเป็นอย่างงานประติมากรรม สีต่าง ๆ ที่ใช้นั้นเข้มและอุ่น ถ้าศิลปินหนุ่มผู้นี้มีความก้าวหน้า ในทางวาดเส้นและยังคงรักษาคุณสมบัติสองประการที่กล่าวแล้วเขาก็อาจสัมฤทธิ์ผลในงานศิลปได้ งานจิตรกรรมของทวี รัชนีกร นั้นขาดสี ดูเหมือนว่าศิลปินผู้นี้มุ่งแสดงภาพไปในทางเอกรงค์ จึงมี ประสิทธิภาพของสีเย็นและจืดชืด ตรงกันข้าม ภาพฝูงไก่มีความน่าดูทั้งสีและแบบอย่าง ดังนั้นจึงใคร่แนะนาให้ ทวีพยายามในการใช้สีเช่นนี้ต่อไป นพรัตน์ ลีวิสิทธิ์ เป็นผู้รักศิลปของตน งานที่เขาปฏิบัติอยู่เป็นประจาไม่อานวยให้เขามีเวลาทางานศิลป ได้เต็มที่ แต่ด้วยความอุตสาหะ เขาจึงส่งงานจิตรกรรมเข้าแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอยู่เสมอ ปีนี้ นพรัตน์มีภาพวาดทิวทัศน์สวยงามมากหนึ่งภาพ และภาพดอกไม้อันวิจิตรอย่างยิ่งอีกภาพหนึ่ง ศิลปินหนุ่มอีกผู้หนึ่งซึ่งงานของมีลักษณะพิเศษน่าดูมากคือ ชวลิต เสริมปรุงสุข ภาพเขียนเกี่ยวกับ ท้องถนนของเขามีลักษณะกร้าวมาก ภาพในท้องถนนอันน่าสนใจแสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพอันแข็งแกร่งและ น่าชมเป็นส่วนตนโดยเฉพาะ ชวลิตได้ส่งภาพพิมพ์จานวนหนึ่งเข้าแสดงด้วย ในบรรดาศิลปินประเภทมัณฑนะศิลปด้วยกัน มาโนช กงกะนันทน์ มีงานอันน่าชมอย่างยิ่งเข้าแสดง หลายชิ้น ศิลปินหนุ่มผู้นี้มีอุปนิสัยมากในการใช้สี และเป็นการยากที่จะชี้ให้เห็นว่างานชิ้นใดดีที่สุด เพราะแต่ละ ชิ้นมีความดึงดูดใจและน่าดูโดยเฉพาะ
หนาว เทคนิค สีน้ามันบนผ้าใบ ขนาด 90 x 70 ซม.
ดารง วงศ์อุปราช จิตรกรหนุ่มซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่างานของเขาได้สร้างความสนใจให้แก่ผู้ชมในการ แสดงในปีที่แล้วเป็นอย่างมากนั้น กาลังเปลี่ยนแบบอย่างงานศิลปะของเขา แต่เราก็ยังมิอาจยืนยันได้ว่า การ เปลี่ยนแปลงอย่างนี้จะดีขึ้นหรือเลวลง เป็นธรรมชาติของศิลปินที่พยายามทาสิ่งใหม่อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ภาพ คลองกับเรือและกระท่อม เขียนด้วยสีค่อนข้างขาวและน้าตาล เพิ่มด้วยสีแดงจุดเล็ก ๆ นั้นมีผลมาจากการ ค้นคว้าของเขา เป็นสิ่งแน่นอนว่าภาพนี้สร้างความสนใจมากทีเดียว เราต้องรอดูไปสักหน่อยว่าดารงจะทางาน แบบใหม่ต่อไปหรือหวนกลับไปทางานตามแบบเก่า อังคาร กัลยาณพงศ์ ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษในความสามารถวาดเส้นปากกาอย่างมีอารมณ์และฝีมือ สูงยิ่ง ศิลปินผู้นี้ฝันถึงคนในโลกของตนเองโดยสร้างภาพขึ้นมาให้เหมาะกับมโนภาพ ศิลปของเขาเป็นไทยอย่าง แท้จริง สมโภชน์ อุปอินทร์ มีแบบอย่างศิลปของศิลปินประเภทอุดมคติ งานจิตรกรรมของเขาดูเหมือนอยู่ใน บรรยากาศครอบคลุมไว้ด้วยหมอกซึ่งรูปคนดูไม่เห็นจริง ในงานทั้งหมดของสมโภชน์เราชอบรูปสตรีครึ่งตัว และรูปคู่รัก รูปนี้เขียนด้วยสีแรงและมีชีวิตชีวามากกว่ารูปอื่น ๆ และให้ความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ของมนุษย์ หนุ่มสาวซึ่งเป็นคูร่ ักกัน อยู่ตามลาพังในอวกาศแต่ความรักของเขาทั้งสอง การร่วมกันทางจิตใจอยู่เหนือความ ยากลาบากใด ๆ ของชีวิต ซึ่งทาให้เรารู้สึกว่ามีความแน่นอนของชีวิตมนุษย์อยู่ในภาพนี้
“ฝน” โดยประยุทธ ฟักผล แม้จะมีลักษณะบางประการเป็นศิลปมัณฑนะศิลป และก็มีอารมณ์ เร้นลับ แฝงอยู่ในภาพ ศิลปินผู้นี้มีลักษณะเฉพาะเป็นส่วนตน ถ้าได้ทางานอยู่เสมอแล้วจะเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง ตามปรกติงานจิตรกรรมของปราณี ตันติสุข ใช้สีเพียงไม่กี่สี ภาพที่ชื่อว่า “สโมสรเครื่องปั้น” นั้น วินิจฉัยจากทัศนะของความเป็นต้นแบบแล้ว จัดว่าดีกว่าภาพอื่น ภาพแจกันกับดอกไม้ก็นับว่าเป็นงาน จิตรกรรมที่เต็มไปด้วยความอ่อนหวานที่นิ่มนวล ประหยัด พงษ์ดา ซึ่งงานภาพพิมพ์ของเขาได้รับการยกย่องจากประชาชนมาแล้ว ขณะนี้กาลังศึกษาอยู่ ในกรุงโรม ได้ส่งภาพพิมพ์มาแสดงด้วย เห็นได้ว่างานครั้งหลังของประหยัดมีความก้าวหน้าทางเทคนิคมากไม่ แพ้การออกแบบ ภาพควายขวิดกันและภาพไก่นั้นเขียนอย่างกล้าและมีองค์ประกอบภาพถ่วงกันอย่าง พอเหมาะพอดี ในปีนี้ ชุมพล รัตนชัยวรรณ ได้แสดงงานภาพพิมพ์เกี่ยวกับรูปสัตว์ เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าศิลปินผู้นี้จดจา ภาพที่ตนได้เห็นเมื่อครั้งยังเยาว์ในอดีต มาบันทึกไว้ในแผ่นภาพด้วยฝีมือที่มั่นใจ อนันต์ ปาณินท์ มีอารมณ์ทางศิลปแรงมากเป็นผู้ที่สามารถผู้หนึ่งในการสร้างงานจิตรกรรมอันน่าสนใจ อนันต์มีความรู้สึกทางสีและมีการสร้างองค์ประกอบขนาดใหญ่ แต่ยังดูเหมือนว่าเขายังไม่มีความลึกซึ้งพอ กล่าวคือมีความเชื่อตนเองมากเกินไป ถ้าหากว่าได้มีการควบคุมตนเองไม่ให้มีอิสระจนเกินไป และมีการวิจารณ์ งานของตนเองจริงจังมากขึ้นแล้วก็จะสร้างงานจิตรกรรมที่มีค่ากว่านี้ได้ อนันต์มีความสามารถ และมี พัฒนาการในอุปนิสัยตามธรรมชาติอันขึ้นอยู่กับตัวเองทั้งสิ้น งานจิตรกรรมและประติมากรรมอันวิจติ รของบรรดาศิลปินอาวุโส ที่ส่งเข้าแสดงในปีนี้ ก็นับว่าสร้าง ความสนใจมิใช่น้อย งานแสดงศิลปกรรมครั้งนี้มีการแสดงออกซึ่งความรู้สึกของงานต่าง ๆ กันอย่างมากมาย ศิลปินหนุ่ม ๆ ได้ก้าวขึ้นมาพร้อมกับงานชิ้นสาคัญ ๆ เราหวังว่าเขาเหล่านั้นจะก้าวต่อไปอีกอย่างไม่หยุดยั้ง โดยปราศจาก ความลืมตัวมัวเมาจากความสาเร็จที่ตนได้รับในครั้งแรกศิลปไม่มีขอบเขตจากัดของความสมบูรณ์ และศิลปินที่ แท้จริงนั้น แม้จะหนุ่มเพียงใดก็มิอาจพอใจในงานของเขา เพราะว่าลัทธิอุดมคตินิยมนั้นอยู่เหนือกว่าประจักษ์ ทางวัตถุ
เราขอยุติความเห็นอันสั้นนี้โดยขอกล่าวถึงชลูด นิ่มเสมอ อีกครั้งหนึ่ง สาหรับเครื่องปั้นดินเผาอัน สวยงามของเขาที่นามาแสดงในครั้งนี้ ซึ่งเราหวังว่าศิลปินทั้งหลายจะช่วยกันสนับสนุนให้เขาเนรมิตงานอันเป็น ต้นแบบเช่นนี้อยู่ตลอดไป เพราะเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าสูงและเป็นที่นิยมกันอย่างมากในต่างประเทศ
ใต้น้า เทคนิค สีน้ามันบนผ้าใบ ขนาด 90 x 70 ซม. งานจิตรกรรมของสวัสดิ์ ตันติสุข การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งนี้ได้แสดงงานศิลปกรรมส่วนตัวของสวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินผู้นี้ทางาน อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อศิลป แม้จะมีงานราชการอยู่มากกว่าศิลปินอื่น ๆ อีกหลายคนก็ตามหลังจากที่ สวัสดิ์ได้สาเร็จอนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ก็ได้รับทุนการศึกษาศิลปจากสภาวัฒนธรรมอิตาลี แห่งภาคตะวันออกกลางและตะวันออกไกลไปศึกษาวิชาจิตรกรรมต่อ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เขาได้ใช้เวลา ศึกษาอยู่สี่ปี ได้ส่งงานจิตรกรรมเข้าแข่งขันและแสดงหลายครั้ง และได้รับรางวัลเกียรตินิยมและเงินรางวัล ระหว่างที่อยู่ในกรุงโรม สวัสดิ์ได้ส่งงานจิตรกรรมเข้าแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติของไทยด้วย สาหรับแบบอย่างของสวัสดิ์เป็นอย่างแบบจริงตามธรรมชาติตามอุปนิสัย เขาเขียนทั้งสีน้ามันและ สีน้า เฉพาะสีน้ามันนั้นมีฝีมืออย่างหาตัวจับยาก เป็นความจริงสวัสดิ์เขียนภาพสีน้าด้วยปลายพู่กันมีสีสดและสะอาด โดยไม่ต้องใช้เทคนิคมากนัก
ระหว่างการศึกษาในอิตาลี ศิลปินผู้นี้ได้มีโอกาสพบปะกับจิตรกรสมัยใหม่หลายคนซึ่งทาให้แบบอย่าง ศิลปของสวัสดิ์สูงขึ้นมาก ข้าพเจ้ากล่าวในฐานะผู้วิจารณ์ว่า งานจิตรกรรมบางชิ้นของสวัสดิ์ควรจะมีวรรณะ สว่างขึ้น ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ศิลปินผู้นี้ของเรามีฝีมือในการเขียนภาพสีน้าเป็นเยี่ยม และเป็นจริงว่าภาพเขียน สามภาพแห่งนครเวนีสของเขานั้น แสดงส่วนละเอียดแต่น้อย และความสัมพันธ์อันเป็นปึกแผ่นระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เขียนนั้นมีอยู่ต่อกันอย่างดีที่สุด แม้สวัสดิ์จะได้แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างศิลปอันแสดงออกซึ่งอารมณ์อย่าง แรงแน่นอนก็ตาม เราก็คิดว่าเขามีอารมณ์อ่อนไหวและกล่อมเกลาอยู่ในวรรณะของสี ซึ่งไม่อาจอธิบายได้เช่น ภาพจัตุรัสแห่งบรัคชาโนในวันฝนตก เป็นต้น เพียงภาพนี้ก็พอแล้วที่ทาให้คุณสมบัติทางศิลปของสวัสดิ์เป็นที่ เข้าใจและชื่นชม ยิ่งมองภาพก็ยิ่งทาให้เราเกิดความรู้สึกดื่มด่ามากขึ้น ด้วยสีเพียงไม่กี่สี และเส้นเพียงไม่กี่เส้นที่ ใช้เขียนมวลของสถาปัตยกรรมและรูปคน ศิลปินผู้นี้ก็ได้แสดงออกซึ่งความสาคัญของงานเท่าที่เขาสามารถ ด้วยสื่อทางอารมณ์ของเขา ภาพเขียนอีกสองภาพซึ่งมีน้าหนักค่อนข้างแก่นั้นเป็นภาพจัตุรัสโบราณของเมืองมิลาน มีลักษณะตรงกัน ข้ามอย่างแท้จริงกับภาพจตุรัสของเมืองบรัคชาโนภาพนี้เราสังเกตเห็นความประสานกลมกลืนของสีอันสั่นไหว ของสวัสดิ์ได้ ศิลปินผู้นี้ได้ทดลองแบบอย่างต่างๆ กันหลายแบบ จากลัทธิแห่งความประทับใจมาสู่ลัทธินิยม ความเป็นแท่ง จากลัทธินิยมแบบจริงมาสู่ลัทธินิยมนามธรรม ภาพเครื่องครัวนั้นแสดงให้เห็นถึงศิลปะอีกแบบหนึ่งของสวัสดิ์ ศิลปินขูดเส้นเป็นทางๆ ลงบนฉากหลัง ของภาพซึ่งเป็นสีขาวคร่าให้เป็นรูปเครื่องใช้ต่างๆ ในครัวอันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกของ ศิลปิน แต่อย่างไรก็ดี ภาพนี้ก็มีประสิทธิภาพน่าชมมากทีเดียว
บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 38 สวนประติมากรรมที่ฮาโกเน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร รอดบุญ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ที่ฮาโกเน เป็นสวนประติมากรรมใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุน หรืออาจจะกล่าวได้ ว่าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียก็ว่าได้ พิพิธภัณฑ์นี้มีชื่อเรียกว่า “ฮาโกเน โอเพน แอร์ มิวเซียม” (HAKONE OPEN-AIR MUSEUM) แต่ก่อนที่จะทราบความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์นี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงสถานที่อันเป็น ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เสียก่อน พอเป็นสังเขป ความจริงแล้ว ฮาโกเน เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ในด้านความสวยงามของ ภูมิประเทศ เมื่อถึงฤดูกาลของใบไม้เปลี่ยนสีฮาโกเนจะกลายเป็นบริเวณที่เปรียบได้กับแดนสวรรค์สะพรั่งไป ด้วยสีสัน
“EVE” ผลงานของ ALEXANDER LIBERMAN ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ วัสดุเหล็กขนาด ๔๙๕ x ๑.๓๔๑ x ๗๕๑.๘ ซม.
“SPHERIC THEME” ผลงานของ NAUM GABO ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ วัสดุ ซเทนเล็ช ขนาด ๒๔๐ x ๒๔๐ x ๒๔๐ ซม. “FLOATING SCULPTURE 3” ผลงานของ MARTAPAN ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ วัสดุ โพลิเอสเตอร์ ขนาด ๒๒๖ x ๒๒๖ X ๑๑๓, ๑๘๓ x ๗๐ x ๑๘๓ ซม.
ฮาโกเนอยู่ในจังหวัด คานากาวา (KANAGAWA) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฮาโกเน ประมาณ 40 ไมล์จะเป็นบริเวณของภูเขา ฟูจิ นอกจากนี้ยังอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ โยโกฮามา (YOKOHAMA) และอยู่ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ หากขับรถไปก็จะใช้เวลาราว ๆ ประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งถึงสอง ชั่วโมง สภาพภูมิประเทศเป็นบริเวณของภูเขาไฟ ซึ่งดับไปนานแล้ว พื้นที่แถบนี้อุดมไปด้วยบ่อน้าพุร้อน ทิวทัศน์แถบนี้สวยงามมาก สามารถจะมองเห็นภูเขาฟูจิ ได้ในระยะใกล้ และมีทะเลสาบอีกเป็นจานวนไม่น้อย ฮาโกเนเป็นสถานที่ตากอากาศ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สาหรับชาวญี่ปุนทั่วสารทิศ โดยเฉพาะ อย่าง ยิ่งชาวโตเกียว นิยมหลีกหนีความแออัดของเมืองหลวง ไปหาความสงบสุขในวันหยุดและวันสุดสัปดาห์กันมาก บรรดาผู้มีอันจะกินทั้งหลายจะมีบ้านพักอยู่บนภูเขาไว้สาหรับชมทิวทัศน์อันกว้างไกลมีน้าตกและทะเลสาบไว้ สาหรับตกปลา เล่นเรือกันได้อย่างเพลิดเพลินใจ
“PARK IN ROME” ผลงานของ TOSHIO YODOI ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ วัสดุ บรอนซ์ ขนาด ๑๒๐ x ๑๘๕ x ๙๐ ซม.
ประเทศญี่ปุนเป็นประเทศที่มีความรุ่งเรืองและมีความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมอย่างสูงประเทศหนึ่ง แม้ว่าชาวญี่ปุนส่วนมากจะได้รับการปลูกฝังให้เป็นนักอนุรักษ์นิยม คืออนุรักษ์ศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของตนอย่างเคร่งครัดแล้วก็ตาม แต่อีกส่วนหนึ่งก็มีนิสัยรักความก้าวหน้า สนใจที่จะเรียนรู้ในสิ่ง ใหม่ แล้วนาสิ่งที่ดีมีประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของตนในด้านศิลปกรรมนั้น ถึงจะมีศิลปะประจา ชาติที่เขาภูมิใจกันหนักหนาแล้วก็ตาม แต่ทว่าศิลปินญี่ปุนก็ได้เปิดตัวเองเพี่อเรียนรู้และยอมรับศิลปะสมัยใหม่ จากซีกโลกตะวันตก และประเทศใกล้เคียง ยิ่งในปัจจุบันนี้ ชาวญี่ปุนตื่นตัวมากกับการสะสมซื้อหางานศิลปะ อันมีคุณค่าของศิลปินยุโรป อเมริกัน และจากนานาประเทศในซีกโลกเดียวกันมาก
ความนิยมในศิลปะของชาวญี่ปุนโดยส่วนรวมในปัจจุบันนี้หากจะเปรียบกันระหว่างงานศิลปะในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์แล้ว จะเห็นว่าประติมากรรมซึ่งเป็นแบบสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่นิยมกันน้อยที่สุด เพราะเหตุนี้เองประติมากรชาวญี่ปุนจึงต่างพากันพยายามที่จะหาหนทางที่จะทาให้ ผลงานของตนเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการนางานประติมากรรมมาสร้างสรรค์ให้มีบทบาทร่วมกับ ธรรมชาติ และพื้นที่ในบริเวณชานเมืองผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินเหล่านั้น ล้วนมีที่มาจากจินตนาการและ ความมุ่งมั่นที่จะให้ผลงานได้มีส่วนเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของสังคมให้ดีขึ้น ดังนั้น กลุ่ม “ฟูจิ ซังเกอิ” (FUJI – SANKEI) จึงได้ตัดสินใจที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งสาหรับงานประติมากรรมโดยเฉพาะขึ้น เขาได้เลือก สถานที่ที่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สาหรับติดตั้งงานประติมากรรม ให้เป็นงานศิลปะที่มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมขึ้นที่ฮาโกเนนับเป็นการเปิดศักราชใหม่สาหรับโลกศิลปะในประเทศญี่ปุน
“STURM” ผลงานของ MATSCHINSKY-DENNINGHOFF ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๘๐ วัสดุ ซเทนเล็ซ ขนาด ๔๐๐ x ๒๒๐ x ๒๔๐ ซม.
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งฮาโกเนนั้น แวดล้อมไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ ในส่วนที่เป็นสวนสาธารณะ แห่งชาติ ซึ่งอยู่บนเขาสูง พิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางวัฒนธรรมที่กลุ่มฟูจิซังเกอิ ต้องการให้สวน แห่งนี้เป็นสาธารณประโยชน์ ด้วยอาคารและบริเวณพิพิธภัณฑ์ได้รับการออกแบบตลอดจนสร้างขึ้นด้วย จุดมุ่งหมายที่จะนาความงามของธรรมชาติมาผสมผสานกับงานศิลปะ นอกจากนั้นยังมีความประสงค์ที่จะ แนะนาให้ชาวญี่ปุนได้มีโอกาสสัมผัสและรู้จักกับประติมากรรมร่วมสมัยของโลกปัจจุบันที่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย คุ้นเคยของชาวญี่ปุน
“PERSONNAGE” ผลงานของ JOAN MIRO ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๗๒ วัสดุ พลาสติก ขนาด ๒๐๖ x ๒๘๙ x ๒๔๕ ซม.
มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ในปี ค.ศ. 1969 อันเป็นวันที่ทาพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งนั้นที่ ฮาโกเนฝนตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตาทีเดียว ครั้นเวลาบ่ายหลังจากฝนหยุดแล้ว มีรุ้งกินน้าปรากฏอยู่บน ท้องฟูาในบริเวณนั้น นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่บ่งบอกให้เห็นถึงอนาคตและการก้าวไปสู่ความสาเร็จอย่าง งดงามของพิพิธภัณฑ์ ต่อจากนั้นเป็นต้นมาการขยับขยาย ตลอดจนการสะสมผลงานดี ๆ เริ่มเพิ่มเข้ามาในคอล เลคชั่นมากขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะทางพิพิธภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากหลาย ๆ ฝุาย รวมทั้งได้รับกาลังใจจาก ประชาชนคนดูอย่างล้นหลาม พิพิธภัณฑ์ฮาโกเน เปิดบริการโดยไม่มีวันหยุดเวลาที่ให้สาธารณชนเข้าชมได้นั้นแบ่งเป็นสองช่วงในแต่ ละปี ช่วงแรกคือระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งจะเปิดเวลาเก้าโมงเช้า และปิดเวลาห้าโมงเย็น ช่วงที่ สองคือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เปิดเวลาเก้าโมงเช้าเช่นกัน แต่จะปิดเร็วขึ้นคือ ปิดเวลาสี่ โมงเย็น สาหรับบัตรผ่านประตูนั้นผู้ใหญ่จะเสียคนละหนึ่งพันสามร้อยเยน นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและ นักเรียนระดับมัธยมจะเสียคนละหนึ่งพันหนึ่งร้อยเยน ส่วนเด็กระดับประถมจะเสียคนละแปดร้อยเยน ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์นั้น มีสิ่งอานวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้าชมนานาประการ เช่น มี ร้านอาหาร มีที่นั่งออกทางหน้าต่างกระจก ซึ่งสามารถจะชมทิวทัศน์ของบริเวณพิพิธภัณฑ์ และบริเวณ ใกล้เคียงที่เป็นทิวเขาในขณะที่รับประทานอาหารอย่างสบาย ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีร้านจาหน่ายอาหารประเภท ฟาส์ตฟููด ซึ่งต้องใช้คูปอง มีห้องรับประทานน้าชา และทีเฮ้าส์ ตั้งอยู่บนเนิน ท่ามกลางธรรมชาติมีบรรยากาศ โรแมนติก ถัดจากเนินลงไปเป็นที่ราบริมสระน้า มีที่นั่งรับประทานน้าชาใต้ร่มไม้ อากาศสดชื่นในบริเวณนี้จะมี ประติมากรรมสีสดลอยอยู่ในสระ มีประติมากรรมขนาดเล็กตั้งอยู่เป็นระยะผสมผสานกันไปกับเหล่าไม้เลื้อย
ไม่เพียงเท่านั้น พิพิธภัณฑ์นี้ยังมีบริการ “LOST AND FOUND” ด้วย หากผู้เข้าชมผู้ใดของหายก็ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ไว้ เมื่อหาของพบหรือมีผู้เก็บมาคืนให้ก็จะมีบริการแจ้งและเก็บรักษาให้ด้วย เท่าที่ สอบถามชาวญี่ปุนดูนั้น เขาบอกว่าของที่หายส่วนใหญ่จะได้คืนในเวลาอันรวดเร็ว ผู้คนของเขามีความกินดีอยู่ดี และมีความซื่อตรง ดังนั้นโอกาสที่ของจะหาย อันเกิดจากการลักเล็กขโมยน้อย หรือการฉกฉวยสิ่งของที่ไม่ใช่ เป็นของตนเอง จึงมีน้อยมาก
บริเวณด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ ปิคาสโซ
ภายในห้องแสดงงานศิลปะของ ปิคาสโซ
สวนประติมากรรมแห่งฮาโกเน มิได้มีเพียงงานประติมากรรม ซึ่งอยู่กลางแจ้งเท่านั้น ยังมีหอศิลปะ และ ห้องแสดงงานศิลปะอยู่ภายในบริเวณเดียวกันด้วยสาหรับห้องศิลปะที่ใช้แสดงงานศิลปกรรมภายในอาคาร (INDOOR EXHIBITION HALL) มีด้วยกันประมาณ 4 - 5 แห่ง มีผลงานของศิลปินในยุคสมัยใหม่และร่วมสมัย ในปัจจุบัน ทั้งชาวญี่ปุน ชาวยุโรป และอเมริกันที่มีชื่อเสียง นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ อีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง ได้ทาการเปิดขึน้ เมื่อเดือนกรกฎาคม ในปี ค.ศ. 1984 หลาย ๆ คนจากประเทศอื่น ๆ ที่ไม่เคยมาที่ฮาโกเน จะ
พากันประหลาดใจมาก เมื่อทราบว่าพิพิธภัณฑ์นี้คือ “พิพิธภัณฑ์ปิคัสโซ” (PICASSO MUSEUM) ทีอ่ าจกล่าว ได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ปิคัสโซ อันเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกของโลก งานศิลปะที่นามาติดตั้งที่ฮาโกเน ไม่ว่าจะเป็นของศิลปินต่างชาติ หรือของศิลปินชาวญี่ปุนเองก็ตาม ล้วนเป็นงานที่ได้รับการเลือกสรรมาแล้วทั้งสิ้น ผู้ที่เข้าชมสวนประติมากรรมนี้ไม่เพียงแต่จะได้ชื่นชมกับผลงาน ศิลปะเท่านั้น แต่ยังจะเกิดอารมณ์อันสุนทรีย์จากความงามอันบริสุทธิ์ของธรรมชาติบนภูเขา ฮาโกเนมีอากาศ เย็นสบายในฤดูร้อน ไม้ดอกบานสะพรั่งในฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้นานาพันธุ์เปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นหลากสีในฤดู ใบไม้ร่วง และความงามของหิมะสีขาวที่ปกคุลมไปทั่วอาณาบริเวณในฤดูหนาว ประติมากรรม ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ ในสวนนั้น ดูเหมือนว่าจะมีสภาพต่างกัน ซึ่งในที่นี้มิได้หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตัวของมันเอง หากแต่การแปรเปลี่ยนของภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ และบรรยากาศที่เกิดขึ้นมีอิทธิพลต่องานอีกทั้ง ยังผลให้งานเหล่านั้นดูแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล
“FEMME” แจกันดินเผาทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๑
พิพิธภัณฑ์นี้มีงานศิลปะอยู่ในคอลเลคชั่นเป็นจานวนมาก งานศิลปะเหล่านั้นเป็นงานจิตรกรรมไม่น้อย กว่าสองร้อยภาพ งานประติมากรรมซึ่งเป็นผลงานของศิลปินสมัยใหม่ชั้นนาในปัจจุบันและอดีตฝีมือศิลปินชาว ญี่ปุนรวมทั้งศิลปินต่างชาติ เช่น โรแด็ง (RODIN) บิดาแห่งประติมากรรมสมัยใหม่ เฮนรี่ มัวร์ (HENRY MOORE) ศิลปินชาวอังกฤษผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ส่วนประติมากรรมนี้ มีบริเวณกว้างถึงห้าหมื่นห้าพัน ตารางเมตร มีอาณาบริเวณและสภาพของพื้นที่ที่เหมาะแก่การติดตั้งงานประติมากรรมนานาชนิดได้ดียิ่ง ประติมากรรมที่ผู้เขียนนามาเป็นตัวอย่างนั้นจะเห็นได้จากผลงานชื่อ “EVE” เป็นประติมากรรมของ อเล็กซานเดอร์ ลิเบอร์แมน (ALEXANDER LIBERMAN, 1912) ศิลปินอเมริกัน เชื้อสายรัสเซียผลงานของ
ศิลปินท่านนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปทรงเป็นแบบเรขาคณิต จัดเป็นศิลปะประเภทนามธรรมประติมากรรมที่เขา ทาขึ้นมักจะมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้ง มีสีสันสดใสสะดุดตา วัสดุโดยทั่ว ๆ ไปที่นามาประกอบเป็นรูปทรง ประติมากรรมนั้นเป็นอะลูมินัม หรือเหล็ก บางทีก็จะนาท่อเหล็กสาเร็จรูปมาตัดหรือนาเสาโลหะขนาดใหญ่ ซึ่ง มีความกรวงมาตัดทามุมเฉียงประกอบกันขึ้นเป็นรูปทรงประติมากรรม
งานออกแบบจาน ซึ่งเป็นภาพหน้าคนของ ปิคาสโซ ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๓
“EVE” มีขนาดใหญ่มาก ทาด้วยโลหะล้วน ๆ เป็นรูปทรงกระบอกขนาดยักษ์สองรูปทรง และท่อโลหะ ยาวสองท่อ ท่อหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรง อีกท่อหนึ่งได้รับการตัดให้โค้งงอไขว้อยู่กับท่อตรงและรองรับ น้าหนักรูปทรงกระบอก ซึ่งบุบงอเชื่อมติดอยู่ส่วนบนสุดของงาน สีที่ใช้เคลือบโลหะทั้งหมดนั้นเป็นสีแดงปนส้ม มีความสดตัดกับพื้นหญ้าสีเขียวขจีได้อย่างน่าชมยิ่ง ทาให้สภาพบรรยากาศในบริเวณนั้นดูมีสีสันเต็มไปด้วย ชีวิตชีวา “SPHERIC THEME” ผลงานของ NAUM GABO ทาขึ้นในปี ค.ศ.1976 วัสดุสแตนเลส ขนาด 240 x 240 x 240 ซม.
ประติมากรรมทาด้วยทองคาแท้ของ ปิคาสโซ ทาขึ้นในระหว่าง ปี ค.ศ. ๑๙๖๐-๑๙๖๗
“SPHERIC THEME” เป็นผลงานของโนมกาโบ (NAUM GABO. 1890-1977) ศิลปินอเมริกันเชื้อสาย รัสเซียอีกผู้หนึ่ง งานชิ้นนี้ทาขึ้นจากวัสดุที่เป็นสแตนเลส ตัดเป็นแผ่นบาง ๆ สามแผ่นในลักษณะเกือบเป็น รูปทรงครึ่งวงกลมซึ่งบิดโค้งเชื่อมติดกับบริเวณช่วงกลางของรูปทรงนี้ จะเป็นเส้นโลหะบาง ๆ ซึ่งในลักษณะบิด ไขว้กัน ให้ผลทางการลวงตาเป็นประติมากรรมที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความโปร่งบางอันเกิดจากเส้น บริเวณที่เป็นแผ่นระนาบเป็นแผ่นโลหะมีความทึบ กาโบมิได้ใช้สีเคลือบบนแผ่นโลหะ แต่เขาปล่อยให้โลหะได้ แสดงเนื้อแท้และพื้นผิวของมันเอง ประติมากรรมนี้เมื่อกระทบกับแสงแดดจะมีประกายสว่างวาบเป็นมันวาว แสดงความงามของรูปทรง ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างงดงามระหว่างวัตถุ อันเป็นผลิตผลทาง เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นธรรมชาติ “FLOATING SCULPTURE 3” ผลงานของ MARTAPAN ทา ขึ้นในปี ค.ศ. 1969 วัสดุ โพลิเอสเตอร์ ขนาด 226 x 226 x 113 , 183 x 70 x 183 ซม. สาหรับของ มิโร (MIRO, 1893-1983) ที่ชื่อ ”PERSONNAGE” นั้นเป็นงานที่มีสีสันสะอาดตาน่ารัก มาก ทาด้วยพลาสติกเคลือบด้วยสีขาว ส่วนรูปทรงต่าง ๆ ที่ปรากฏบนตัวงานนั้น จะมีลักษณะเป็นร่องลึกอยู่ โดยรอบ มีหลายสี เช่น สีฟูา สีแดง และสีเหลือง ส่วนที่เป็นร่องลึกนั้นเป็นสีเข้มเกือบดาดูคล้ายกับเส้นตัดรอบ นอกของรูปทรงที่เป็นสีอีกทีหนึ่งประติมากรรมนี้เป็นผลงานที่เขาทาขึ้นในระยะหลังคือประมาณสามปีก่อน สิ้นชีวิต รูปทรงโดยส่วนรวมที่ปรากฏนั้น มีลักษณะคล้ายงานของเด็ก เป็นที่ดึงดูดความสนใจของเหล่าเด็ก ๆ ที่ ได้พบเห็นมาก และเมื่อนามาตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติแล้ว สีเขียวของพฤกษชาติที่อยู่โดยรอบ ช่วยเน้นให้ รูปทรงซึ่งเป็นสีขาวดูเด่นชัดขึ้น
“VENUS AU COLLIER” ประติมากรรม ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๔๗
ส่วน “FLOATING SCULPTURE 3” ผลงานของศิลปินชาวฝรั่งเศส เชื้อสายฮังกาเรียนมีนามว่า มาร์ ตา แพน (MARTA PAN, 1923) นั้นทาด้วยโพลิเอสเตอร์ มีความเบา สามารถเคลื่อนไหวในน้าได้อย่างอิสระ ประติมากรรมชิ้นนี้ประกอบด้วยรูปทรงสองรูปทรง มีสีแดงเจือส้ม ดูสว่างสดใส เร้าตาเร้าใจ เป็นรูปทรงแบบ เรขาคณิต ลอยอยู่ในสระน้า ซึ่งใสแจ๋ว มองเห็นเงาสะท้อนได้อย่างแจ่มชัด สิ่งพิเศษยิ่งไปกว่านั้นคือ ในสระจะ มีฝูงปลาทองนับสิบแหวกว่ายไปมารอบ ๆ ประติมากรรม เป็นภาพที่น่าดูมาก ประติมากรรมชั้นนาทาให้ผู้ดูได้ ประจักษ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ประติมากรรมจะเคลื่อนที่ได้ต่อเมื่อ ปะทะกับกระแสลมและการสั่นสะเทือนของน้า “PARK IN THE ROME” ผลงานของโตชิโอะ โยโดอิ (TOSHIO YODOI, 1911) ศิลปินชาวญี่ปุน เป็น ประติมากรรมหล่อบรอนซ์ เป็นผลงานที่ผู้เขียนและอีกหลาย ๆ คนประทับใจมาก ประติมากรรมเป็นรูปของ คนสองคนนั่งพักผ่อนคุยกันอยู่บนเก้าอี้ในสวนสาธารณะ รูปทรงของคนเป็นรูปทรงง่าย ๆ ไม่แสดงรายละเอียด ให้เหมือนจริง ผิวของประติมากรรมดูขรุขระ แต่ในความขรุขระนั้นแฝงไว้ด้วยความมีชีวิตและวิญญาณ
“FEMME AU CHAPEAU BLUE GARNI DU NE GUIRLANDE” สีชอล์ก เขียนขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๒๓-๔
ผู้ที่จัดการการติดตั้งมีความเฉลียวฉลาดในการจัดวางตาแหน่งมาก เพราะเลือกมุมได้เหมาะ เมื่อเวลา แดดจัดจะเกิดเงาที่น่าสนใจ ลักษณะท่าทางของบุคคลทั้งสองดูสบาย ๆ มีอิริยาบถคล้ายคนจริง ๆ นั่งคุยกัน อย่างสงบ ประติมากรรมชิ้นนี้ตั้งอยู่ปลายเนินเป็นมุมเงียบ ผู้คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ใครก็ตามที่เดินผ่านมักจะ ต้องหยุดดูด้วยความทึ่ง ศิลปินสามารถจาลองภาพชีวิตของคนในสังคมที่มีอยู่จริงมาเสนอให้เป็นที่ประจักษ์ได้ อย่างที่เราท่านได้พบเห็นกันเสมอ ๆ ตามที่สาธารณะทั่ว ๆ ไป
งานประติมากรรมชิ้นสุดท้ายที่จะพูดถึงนี้เป็นประติมากรรมมีชื่อว่า “STURM” เป็นงานที่ดูเหมือนว่าจะ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้ชม งานชิ้นนี้สาเร็จลงได้ด้วยการสร้างสรรค์ของศิลปินสองท่าน ซึ่งเป็นชาว เยอรมัน คือ แม็ทชิงสกี้ (MATSCHINKY, 1921) และบริจิต ไมเออร์ เดนนิงฮอฟ (BRIGITTE MEIER DENNINGHOFF, 1923) ประติมากรรมมีรูปทรงคล้ายตอไม้ไร้ใบ ทาด้วยสแตนเลส รูปทรงนี้คล้ายต้นไม้ถูกตัด กิ่งก้านสาขาออกเหลือเพียงซากที่เป็นตอ ดูประหลาดตา ตอไม้ซึ่งเป็นโลหะนี้ ส่งประกายวาววาบเมื่อต้อง แสงแดด ผิวของลาต้นมีลักษณะเป็นเส้นซึ่งขีดโค้งไปตามรูปทรงที่กาหนดไว้อย่างละเอียด จังหวะการโค้งงอ ของเส้นซึ่งเป็นลาต้นและกิ่งก้านโค้งรับกันอย่างมีเอกภาพ ประติมากรรมนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ เทคโนโลยีที่มีส่วนสาคัญอย่างมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกวันนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่างานประติมากรรมแต่ละชิ้นที่ตั้งอยู่กลางแจ้งนั้น ผู้ดูสามารถเดินดูได้รอบ เนื่องจากเป็นงานสามมิติ ผู้ดูยังมีโอกาสที่จะให้ตนเองมีส่วนร่วมกับงานเหล่านั้นได้อย่างใกล้ชิด งาน ประติมากรรมบางชิ้นเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ โปรดปรานมาก เพราะเขาสามารถที่จะวิ่งลอดไปมาหรือเล่นซ่อนหา อยู่ภายในงานได้อย่างสนุกสนาน ส่วนพิพิธภัณฑ์ปิคาสโซ หรือปิคาสโซ มิวเซียม (PICASSO MUSEUM) ที่ฮาโกเน (HAKONE) นี้ได้เปิด ให้สาธารณชนได้เข้าชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1984 โดยมีนายโนบุตากะ ชิกานาอิ ((NOBUTAKA SHIKANA) ประธานของกลุ่มฟูจิ ซังเกอิ เป็นประธานบริหารการดาเนินงานของพิพิธภัณฑ์ การ ที่เปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น ก็เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ในการฉลองครบรอบ 50 ปี ของหนังสือพิมพ์ ซังเกอิ ชิมบุน “(SANKEI SHIMBUN)” การครบรอบ 30 ปีของบริษัท NIPPON BROADCAST SYSTEM และการครบรอบ 25 ปี ของบริษัท FUJI TELEVISION NETWORK
“MINOTAURO MACHIE” เป็นม่านประดับผนัง (TAPESTRY) ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๘๒
พิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ฮาโกเน บริเวณโดยรอบเป็นธรรมชาติที่สวยงามตัว อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นตึกสีขาว มีตัวอักษรสีดาเป็นชื่อของปิคาสโซ ติดอยู่บนผนังด้านหน้า แลดูเด่นและสะดุด ตามาก ในบริเวณใกล้เคียงจะปรากฏเป็นประติมากรรมซึ่งถอดแบบมาจากงานต้นแบบของไมเคิล
แอน
เจโล ในประเทศอิตาลี เช่น ประติมากรรมเป็นรูปของพระแม่มารีกาลังอุ้มพระเยซู (PIETA) เดวิด และโมเสส ซึ่งมีขนาดเท่าของจริงทั้งสิ้น ผู้ที่ได้เคยพบเห็นงานต้นแบบของไมเคิล แอนเจโล มาก่อนนั้น อาจจะรู้สึกแปลก ๆ เมื่อได้เห็นประติมากรรมของประติมากรผู้ยิ่งใหญ่ ตั้งอยู่ในสวนกลางแจ้งบนภูเขาในประเทศญี่ปุน พิพิธภัณฑ์นี้ ได้รวบรวมผลงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ของปิคาสโซไว้มากมายหลายร้อยชิ้นด้วยกัน เช่น ภาพพิมพ์ จิตรกรรม งานวาดเส้นประติมากรรมเซรามิก และม่านแขวนบนผนัง (TAPESTRY) เป็นต้น พิพิธภัณฑ์ที่กาลังกล่าวถึงนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัด ผู้เข้าชมสามารถเดินดูผลงานได้อย่างทั่วถึง โดยใช้เวลา ประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง ห้องแสดงงานได้รับการจัดไว้อย่างน่าดู แสดงให้เห็นถึงการวางแปลนไว้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการ จัดพื้นที่ การจัดแสง และที่สาคัญคือการจัดงานที่ติดตั้งอยู่ตามผนังดูสบายตา ไม่แน่นจนทาให้รู้สึก อึดอัด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด และความมีรสนิยมในการเลือกสรรค์ผลงานมาแสดงนี้ก็ยังเป็นที่ ประทับใจของคนเป็นจานวนมาก บรรยากาศภายในห้องแสดงงานเต็มไปด้วยความสงบ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะ มีคนเข้าชมงานมากก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนว่าทุกคนเดินดูงานอย่างมีมารยาท ไม่พูดคุยวิพากษ์วิจารณ์กันเสียงดัง และไม่จับต้องผลงานให้เกิดความเสียหาย นอกเหนือจากการจัดแสดงผลงานศิลปะหลายประเภทของปิคาสโซแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดพิมพ์ หนังสือรวบรวมผลงานส่วนใหญ่ของปิคาสโซที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ออกจาหน่ายเป็นภาษาญี่ปุน ภายในหนังสือได้ นาการสนทนาระหว่างประธานของพิพิธภัณฑ์นี้คือ นายโนบุตากะ และธิดาคนโตของปิคาสโซ คือ นางมายา วิดแมเออร์ มาพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุน ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ข้อความการสนทนาของบุคคลทั้งสองให้ ข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตในบางแง่มุมของปิคาสโซได้มากพอสมควร ก่อนหน้าที่นายโนบุตากะ จะได้พบกับธิดาของปิคาสโซเป็นการส่วนตัวนั้น ทางญี่ปุนได้เคยจัด นิทรรศการผลงานเซรามิกของปิคาสโซมาก่อนในปี ค.ศ. 1981 ณ พิพิธภัณฑ์อูเอโนะ (UENO ROYAL MUSEUM) ในโตเกียว การแสดงครั้งดังกล่าวประสบความสาเร็จอย่างสูง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแสดงครั้งพิเศษ และครั้งสาคัญทางด้านศิลปกรรมในประเทศญี่ปุนทีเดียว
แต่เดิมนั้นปิคาสโซในทรรศนะของชาวญี่ปุนเป็นเพียงแค่ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของโลกในศตวรรษที่ 20และมี ชื่อเสียงทางด้านการเป็นจิตรกรเท่านั้น คงมีชาวญี่ปุนเป็นจานวนมาก ศิลปินยอดอัจฉริยะผู้นี้มีความสามารถ และมีพรสวรรค์ทางด้านการทาเซรามิกด้วย จนกระทั่งได้มีการจัดนิทรรศการผลงานเซรามิกของปิคาสโซ ชาว ญี่ปุนจึงได้มีโอกาสสัมผัสกับงานเหล่านั้น และยังได้ประจักษ์ในความปรีชาสามารถของ ปิคาสโซในด้านเซรามิก
“AVANT LA PIQUE” ภาพพิมพ์ ลีโนคัท (LINOCUT) ทาขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๕๙
ปิคาสโซเริ่มสนใจงานทางด้านเซรามิกมาเป็นเวลานานแล้ว ในระยะแรก ๆ มิได้คิดจะทาเป็นงานศิลปะ อย่างจริงจัง เพียงแต่อยากจะลองทาดูเล่น ๆ เท่านั้น ครั้นเมื่อลองจับงานในแนวนี้ดูสักพักหนึ่ง จึงเกิดความ สนใจและเริม่ มีความคิดทีส่ ร้างสรรค์งานทางด้านนี้อย่างจริงจัง จุดเริ่มต้นของการทาเซรามิกของปิคาสโซเริ่ม จากการได้ไปเยือนหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “VALLAURIS” เป็น หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงทางด้านการทาเครื่องปั้นดินเผาว่ากันว่ามีชื่อเป็นที่รู้จักกันมาช้านานแล้ว ตั้งแต่สมัยโรมัน โบราณ ปิคาสโซหัดทาเครื่องปั้นดินเผา โดยเรียนจากช่างชาวบ้าน เขาปั้นเป็นภาชนะต่าง ๆ ทดลองหารูปทรง แปลกใหม่อย่างสนุกสนาน ปิคาสโซประทับใจกับการใช้น้ายาเคลือบของเซรามิก เพราะก่อนจะนาเข้าเตาเผา นั้นจะเป็นสีหนึ่ง และเมื่อเผาเสร็จแล้วก็จะกลายเป็นอีกสีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1940 เซรามิกได้กลายเป็นส่วนสาคัญส่วนหนึ่งในชีวิตการ สร้างสรรค์ศิลปะของปิคาสโซ เขาได้คิดนากรรมวิธีหรือขบวนการของการทาเซรามิกมาทาเป็นงาน ประติมากรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะ สะท้อนให้เห็นถึงความคิดในการสร้างสรรค์ ความงาม และความรู้สึกของ ศิลปินเอง
งานเซรามิกของปิคาสโซมีรูปทรงหลากหลายระยะเริ่มแรกเขาทดลองปั้นถ้วยชามที่คานึงถึงประโยชน์ ทางการใช้สอยก่อน ต่อมาภายหลังเริ่มมีการตกแต่งประดับประดาเป็นภาพต่าง ๆ บนภาชนะเหล่านั้น ภาพที่ปิ คาสโซเขียนลงบนงานเซรามิก มักจะเป็นภาพของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความทรงจา ความ ประทับใจ และชีวิตในอดีตในขณะที่พานักอยู่ในประเทศสเปน อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเขา ภาพที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ในงานเซรามิกของเขาเสมอ ๆ นั้นคือ ภาพของวัวกระทิง และการต่อสู้วัวกระทิงอันเป็นกีฬาที่ชาว สเปนโปรดปรานมาก พิพิธภัณฑ์ปิคาสโซ ทีฮ่ าโกเน มีงานเซรามิกฝีมือของปิคาสโซประมาณไม่ต่ากว่า 250 ชิ้น งานแต่ละชิ้น นั้น ได้รับการจัดวางอย่างพิถีพิถัน ในการจัดงานเหล่านั้นจะเป็นไปตามความต้องการของปิคาสโซที่ได้เคย ปรารภไว้ กล่าวคือการจัดวางงานเซรามิกแต่ละชิ้นเพื่อแสดงนั้น จะต้องให้ความสาคัญกับเนื้อที่มากแสงก็ควร จะต้องจัดให้เหมาะสม และแม้กระทั่งสีของผนังที่อยู่ด้านหลังของผลงานแต่ละชิ้น ก็จะต้องเป็นสีที่เข้ากันได้กับ สีของเซรามิก หรือไม่ก็ต้องเป็นสีที่ช่วยส่งเสริมให้งานดูเด่นขึ้น นอกจากนี้งานเซรามิกบางชิ้นที่ปิคาสโซเขียน ภาพตกแต่งประดับอยู่ทุก ๆ ด้านนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จะใช้กระจกเงาวางอยู่โดยรอบ เพื่อสะท้อนภาพเหล่านั้น ให้ผู้ชมได้เห็นกันอย่างถ้วนหน้า
“HOMME ASSIS LES BRAS CROISES” ภาพเขียนสีน้ามัน เขียนขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๔
นอกเหนือจากการเขียนภาพวัวกระทิงบนเซรามิกแล้ว ปิคาสโซยังเขียนภาพของปลา นก และภาพ ใบหน้าของคนในลักษณะต่าง ๆ ซึง่ ดูงา่ ย คล้ายภาพเขียนของเด็ก สีทเ่ี ขาใช้นน้ั หลากหลาย บางครัง้ จะเป็นสีท่ี สดใสตัดกันอย่างสวยงาม ต่างกับเซรามิกของญี่ปุน ที่มีการโชว์รูปทรงและสีในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ดูมีความนิ่ง ในด้านของรูปทรง ส่วนสีก็ไม่ฉูดฉาดอย่างงานของปิคาสโซ งานเซรามิกของปิคาสโซไม่สู้จะแตกต่างไปจากศิลปะในรูปแบบอื่น ๆ ของเขาเท่าใดนัก ในเรื่องของการ แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก เซรามิกแต่ละชิ้นมักจะมีรูปทรงที่ค่อนข้างอิสระ บางครั้งบิดเบี้ยว แต่เป็น รูปทรงที่น่าสนใจ มีชีวิตชีวา แสดงให้เห็นบุคลิกลักษณะนิสัยของศิลปะไปในตัวด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีจะมีใครสักกี่คนที่สังเกตเห็นว่าหลังจากที่ปิคาสโซได้นาเซรามิกมาทาเป็นงานศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนามาทาเป็นประติมากรรมแล้วนั้น ผลที่ตามคือ เซรามิกได้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจ ตลอดจนเป็นที่แพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับกันในฐานะที่เป็นศิลปะบริสุทธิ์อีกแขนงหนึ่ง งานศิลปะอื่น ๆ ของปิคาสโซ ที่ฮาโกเน เป็นงานที่ได้รับการเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดี ผลงานอีกชิ้น หนึ่งที่น่าสนนั้น คือม่านประดับบนผนัง (TAPESTRY) ซึ่งเป็นภาพ “MINOTAUROMACHY” เดิมทีเดียวภาพ นี้เป็นภาพที่ปิคาสโซนามาจากภาพพิมพ์ของเขาเอง เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์จากแม่พิมพ์โลหะ (ETCHING) ทา ขึ้นในปี ค.ศ. 1935 ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 ปิคาสโซได้นามาเขียนเป็นภาพสีน้ามันบนผืนผ้าใบ เป็นภาพที่มีพลัง มาก อาจกล่าวได้ว่าเรื่องราวเนื้อหาของภาพนั้นแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อต้านคัดค้านสงครามที่สาคัญที่สุด ภาพหนึ่งของปิคาสโซ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงต้นของทศวรรษ ปี ค.ศ. 1930 นั้นเป็นช่วงที่ประเทศสเปนกาลังมีปัญหา ยุ่งยากทางด้านการเมือง ปิคาสโซได้รับความกระทบกระเทือนใจ และมีความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในเวลานั้น ผลงานต่าง ๆ ที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นในระยะนี้มักจะทวีความรุนแรง และมีเรื่องราวเนื้อหา ประชดประชันต่อเหตุการณ์ทางการเมืองด้วย ภาพ ”MINOTAUROMACHY” เป็นภาพที่ปิคาสโซคงจะจงใจทาขึ้น เพื่อเสียดสีประชดประชันการทิ้ง ระเบิดถล่มเมืองเกอร์นิก้า (GUERNICA) ซึ่งการกระทาครั้งนี้ได้คร่าชีวิตของชาวเมืองผู้บริสุทธิ์ไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง และเด็ก ๆ ไร้เดียงสาอย่างโหดเหี้ยมทารุณ วัว กระทิงในภาพมีตัวเป็นมนุษย์นั้น คือ MINOTAUR เป็น สัตว์ดุร้าย นามาจากเทพนิยายกรีก ปิคาสโซให้ MINOTAUR เป็นสัญลักษณ์ของความโหดร้ายและความมืดมิด ในงานของเขา
ภาพนี้เป็นภาพที่ได้รับความบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเมืองเกอร์นิก้าเช่นเดียวกับ ภาพเขียนอันลือชื่อของปิคาสโซเอง คือ ภาพ “เกอร์นิก้า” เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1937 เป็นภาพแสดงความ เหี้ยมโหดอันเกิดจากสงครามกลางเมืองในประเทศสเปน ขณะนั้น ปิคาสโซได้นาภาพนี้มาเป็นแบบทอเป็นม่าน สาหรับแขวนบนผนังขึ้น มีขนาดใหญ่มากพอควร สูงประมาณ 318 เซนติเมตร กว้าง 450 เซนติเมตร ม่าน ประดับผนังชิ้นนี้ติดประดับบนผนังในพิพิธภัณฑ์ ปิคาสโซ ซึ่งสามารถดูได้จากห้องแสดง ชั้นล่างและจาก ระเบียงที่ทายื่นออกไปเป็นพิเศษ เพื่อดูงานนี้โดยเฉพาะจากห้องแสดงชั้นบน สาหรับประชาชนชาวญี่ปุนนั้นดู เหมือนว่าจะได้รับความสนใจกับม่านนี้มากกว่างานชิ้นอื่น ๆ พิพิธภัณฑ์ ปิคาสโซ เป็นผลงานที่ชาวญี่ปุนภูมิใจ เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เขาสามารถซื้อหา งานศิลปะของศิลปินดังระดับโลกมาสะสมไว้เป็นจานวนไม่น้อย นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่พิสูจน์ยืนยันให้เห็นว่า ชาวญี่ปุนให้ความสาคัญกับงานศิลปะ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่ศิลปะของตนเองเท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างยอมรับงาน ศิลปะที่มีคุณค่าจากซีกโลกตะวันตกด้วย