บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 52 คิดกันคนละอย่าง* เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แปลโดย เขียน ยิ้มศิริ (จาก Extremities หน้า 13) ปฏิกิริยาของศิลปินและประชาชนที่มีแก่ศิลปสมัยใหม่นั้น แบ่งออกได้เป็นสองฝุายตรงกันข้ามคือ ฝุาย หนึ่งได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มีความเสียใจที่งานจิตรกรรมและประติมากรรมตามแบบประเพณีที่สร้างขึ้น เพื่อ บรรยายเรื่องต่าง ๆ ในงานวรรณคดีนั้น ไม่มีใครทากันอีก อีกฝุายหนึ่ งได้แก่ศิลปิน และนักวิจารณ์ศิลป ซึ่ง ส่งเสริมงานศิลปแบบใหม่ ๆ แปลก ๆ ที่ไม่ค่อยจะมีใครเข้าใจ ได้เคยกล่าวหลายครั้งแล้วว่า ศิลปนั้นเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติของศิลปินที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ เรา คราวใดที่วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปมาก ศิลปก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะกล่าวว่า ของเก่าหรือของใหม่ดีกว่ากัน ไม่มีใครมีอานาจหยุดยั้งความจริงหรือความเสื่อมของอารยธรรมได้ อาจเป็นการ ไร้เหตุผลที่จะมาถกเถียงกันว่าขี่ช้างดีกว่าหรือขี่รถยนต์ดีกว่า ปัจจุบันนี้เราใช้รถยนต์เป็นพาหนะถ้าหากว่าใคร เกิดหาญขี่ช้างไปตามถนนเจริญกรุง ก็คงถูกจับหรือไม่ก็ถูกส่งไปอยู่โรงพยาบาลโรคจิตเป็นแน่ หากว่าสิ่งที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นถูก เราก็ควรเข้าใจได้ว่า ศิลปปัจจุบันนั้นไม่อาจมีลักษณะอย่างเช่นศิลป โบราณได้
ภาพที่ 1 ขลุ่ยทิพย์ โดย เขียน ยิ้มศิริ, สาริด 55 x 38 ซม. 2492 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 2492 ภาพที่ 2 อาหารค่า โดย ชลูด นิ่มเสมอ แม่พิมพ์ไม้ 60 x 49 ซม., 2492
ฝุายตรงข้ามกับฝุายแรก ซึ่งได้แก่ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลป ก็มีความคิดเห็นก้าวไปไกลมากพากันยก ย่องการแสดงออกซึ่งความรู้สึกที่ไม่อาจเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งมีค่าและโดยเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ สามารถ
เข้าใจงานศิลปเหล่านั้น ก็ว่าประชาชนขาดความนิยมชมชอบ และความรู้สึกในศิลป มีหนังสือหลายต่อหลาย เล่ ม ที่เ ขี ย นอธิ บ ายความหมายของศิ ล ปสมั ย ใหม่ ซึ่ง ยิ่ งอ่ า นก็ยิ่ ง ท าให้ เ ราโง่ การสร้ า งรู ป เขีย นรู ปปั้ น ที่ มี องค์ประกอบอันแปลกประหลาด มุ่งเพื่อให้เกิดความกลัว แต่ไม่ใช่ ความกลัว ซึ่งเกิดขึ้นโดยงานศิลปที่แท้ ที่มี ความมุ่งหมายจะแก้ไขความต่าของสัญชาตญาณและความเสื่อมโทรมนานาประการ ดังนั้น จึงกลายเป็นสร้าง ความน่าเกลียดเพื่อความน่าเกลียดนั่นเองปฏิกิริยา ซึ่งบังเกิดแก่ลัทธินิยมในความงาม ได้นาเอาลัทธินิยมความ ปุาเถื่อนมาสู่เรา ที่แท้จริงนั้น ศิลปมีจุดหมายปลายทางเช่นเดียวกับศาสนา กล่าวคือ มุ่งหมายเพื่อยกระดับจิต ใจของ มนุษย์ให้ขึ้นสู่ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง เมื่อกล่าวว่า ศิลปเพื่อศิลป ก็ดูเป็นเรื่องเหลวไหลสาหรับการวิพากษ์วิจารณ์ ในยุคปัจจุบัน โบราณนั้นสร้างศิลปเพื่อประโยชน์ของประชาชน มิใช่เพื่อประโยชน์ของศิลปิน ศิลปินจาต้องให้ ประโยชน์แก่สังคม มิฉะนั้นเขาก็ประสบผลล้มเหลวในความมุ่งหมายส่วนใหญ่ การวินิจฉัยงานศิลปนั้น ควรปฏิบัติโดยปราศจากความโน้มเอียง แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว หลักทางทฤษฎี นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะคนเราทุกคนมีความพอใจในศิลปเป็ นพิเศษแตกต่างกัน อันขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติของ แต่ละบุคคล ตามความเป็นจริงนั้น ความแตกต่างกันในความนิยมชมชอบศิลปเป็นสิ่งจาเป็นถ้าหากว่าเกิดความ นิยมเช่นเดียวกันหมด ความนิยมนั้นก็ปราศจากความหมาย เพราะไม่มีการเปรียบเทียบให้เห็นสิ่งซึ่งเป็นตรงกัน ข้าม อย่างไรก็ดี เราต้องไม่วินิจฉัยงานศิลปตามอารมณ์ความรู้สึกของเรา เราต้องพยายามเข้าใจความคิดและ แบบศิลปส่วนบุคคลของศิลปินโดยไม่เข้ากับตัวเรา จากการปฏิบัติเช่นนี้ เราก็อาจชื่นชมสิ่งซึ่งเมื่อก่อนเราคิดว่า ปราศจากค่าไม่น่าสนใจได้
ภาพที่ 3 หมู่บ้านชาวประมง โดย ดารง วงศ์อุปราช สีฝุนบนผ้าใบ 92 x 112 ซม., 2003 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11, 2503
เราต้องวินิจฉัยงานศิลปด้วยหลักพื้นฐานบางประการ ซึ่งเห็นได้โดยง่าย ในการแสดงออกซึ่งความรู้สึก ทางศิลปที่สาคัญทั้งหลาย ประการแรกและสาคัญที่สุด คือความรู้สึกทางอารมณ์ เมื่อเราดูงานจิตรกรรม งาน
ประติมากรรม หรืองานภาพพิมพ์ความรู้สึกทางอารมณ์นี้ไม่อาจพรรณนาเป็นถ้อยคาได้ เพราะเป็นคุณลักษณะ ทางจิตอันเร้นลับ ซึ่งปลุกมโนภาพของเราให้ตื่นตัวขึ้น ย่อมเป็นสิ่งแน่ว่าความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ ควรจะเกิดขึ้นจาก การได้เห็นชิ้นงานศิลปที่สวยงามอย่างฉาบฉวย หรือเร้าอารมณ์ชั่วขณะ เพราะงานประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ บุคคลสามัญพอใจอันจัดเข้าเป็นประเภทพาณิชยศิลป ประการที่สอง ถ้าเป็นงานประติมากรรมก็อยู่ที่มวลและ ปริมาตร ถ้าเป็นภาพพิมพ์ก็อยู่ที่เส้นและน้าหนักอ่อนแก่อันถ่วงกันอย่างพอเหมาะพอดี เกี่ยวกับภาพคนนั้นเรา ไม่จาเป็นต้องเข้มงวดในส่วนสัดเท่าใดนัก ในทางศิลปเรายอมให้เปลี่ยนแปลงส่วนสัดและรูปนอกของภาพได้ ตราบเท่าที่ยังมีความประสานกลมกลืนกันดีอยู่ ถ้าหากเกิดความไม่ประสานกลมกลืนชิ้นในงานศิลปแล้ว ศิลปิน ก็จะประสบความล้มเหลวในความพยายามที่มีอยู่ในงานของตน คุณสมบัติต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เมื่อนามาเปรียบเทียบกับงานศิลปสมัยใหม่แล้ว จะเห็นได้ว่าการ ทางานอย่างมีความประณีตงดงามนั้นไม่เป็ นสิ่งสาคัญเลย ปัจจุบันนี้เทคนิคเป็นเรื่องส่วนตัวทีเดียว ดังนั้น ศิลปินทุกคนจึงทางานอย่างตามใจชอบ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ความเห็นของทั้งสองฝุายนั้นผิด เพราะมีความรุนแรงเกินไปไม่อยู่ในสายกลาง เคราะห์ดีที่ศิลปินไทยปัจจุบันได้รับพิษร้ายจากผลิตผลงานศิลปที่เหมาะสาหรับโลกพระอังคารเท่านั้น จะมีบ้าง ก็มีน้อยเต็มที ศิลปินของเราพยายามเนรมิตงานใหม่ ๆ ชิ้น ทั้งทางด้านความคิดและแบบอย่าง แต่ก็ยังเป็นงาน ที่ ดู เ ข้ า ใ จ ไ ด้ ที่ ส า คั ญ ยิ่ ง ก ว่ า นั้ น คื อ เ ป็ น ง า น ศิ ล ป ซึ่ ง อ า จ ค้ น พ บ ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ไ ท ย เ ร า ไ ด้
ภาพที่ 4 ลูกม้า โดย ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ปูนพลาสเตอร์ 72 x 100 ซม., 2493 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2, 2493 ภาพที่ 5 หมูปุา โดย เรืองสุข อรุณเวช ปูนพลาสเตอร์, 2503
ขอยกตัวอย่างงานภาพพิมพ์ของนายชลูด นิ่มเสมอ อันน่าดูนั้น ว่าเรื่องราวของภาพเป็นเช่นเดียวกันกับ ศิลปินไทยโบราณได้เคยกระทามาแล้ว ความแตกต่างของศิ ลปทั้งสองแบบนั้นอยู่ที่ความรู้สึกของเราที่มีความ เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน ซึ่งมีที่มาจากอารยธรรมแผนใหม่ นายชลูด นิ่มเสมอ เป็นศิลปินที่มีชื่อที่สุดในงานภาพ พิมพ์ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านศิลป และประสบผลสาเร็จอย่างงดงาม นอกจากงานภาพพิมพ์สีแล้ว นาย ชลูด ยังได้แสดงงานจิ ตรกรรมสีน้ ามัน อีกด้วย มีภาพวัด ภาพนิ่ง เช่น ปลาในกระจาด ภาพหญิงไทยแบบ ชาวบ้านมีลักษณะตามทัศนะของนายชลูด แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ กัน เช่น กาลังทางาน กาลังพักผ่อน กาลัง อ่านหนังสือ เป็นต้น รูปหญิงสาวเหล่านี้เขียนด้วยสีสว่างให้ความรู้สึกจูงใจเราให้เลื่อนลอย อยู่ในภวังค์แห่ง ความคิดฝัน
ภาพที่ 6 ภาพเหมือน โดย เกวล ชไนบูร
นายดารง วงศ์อุปราช เป็นช่างเขียนหนุ่ม ซึ่งจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากความเป็นไทยเช่นเดียวกับงาน แสดงศิลปกรรมปีที่แล้ว ปีนี้ดารงได้แสดงภาพพิมพ์ทิวทัศน์ เช่น ชีวิตชาวนา ชีวิตชาวประมง ดารงเขียนภาพ ให้มีส่วนละเอียดได้อย่างถูกต้องเหมือนอย่างศิลปินโบราณทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันก็ระมัดระวัง อย่างที่สุดที่ จะให้คุณค่าของความเป็นปึกแผ่นแก่วัตถุต่าง ๆ ในภาพ ไม่ว่าภาพกระท่อม ภาพเรือ ต้นไม้ ดินหรือน้า ต่างก็มี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี และทั้งหมดก็มีความสัมพันธ์กันกับเนื้อที่ด้วย เมื่อดูภาพนี้เรารู้สึกสบาย ใจและมีความใฝุฝันที่จะไปอยู่ในดินแดนเช่นนั้นกับบุคคลเหล่านั้นขอย้าว่าเราได้กล่าวถึงภาพเขียนเหล่านี้เมื่อปี ที่แล้วว่าช่างเขียนมิได้เขียนภาพคน แต่ทว่าเรามีความรู้สึกประทับใจอย่างยิ่งในอันที่ จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาว ชนบทที่ดีมีสุขภาพแข็งแรง เมื่อได้เห็นภาพของชนบทเช่นนั้น ภาพปั้ น หญิ ง สาวกาลั ง หวีผ มของนายเขี ยน ยิ้ ม ศิริ ก็ เ ป็น การแสดงออกซึ่ ง ความรู้ สึ ก ของไทยที่ มี ความสัมพันธ์กับงานประติมากรรมตามประเพณีของเรา การให้ลักษณะกายวิภาคอย่างง่าย ๆ ของรูปทรงและ ลีลาอันประสานกลมกลืนอย่างอ่อนไหวของปริมาตรแห่งงานประติมากรรมนั้นแน่ละ ผู้ที่ไม่เข้าใจเหตุผล ย่อม กล่าวว่าภาพอย่างนี้โบราณไม่เห็นกระทากัน ความจริงงานประติมากรรมโบราณของเรานั้นมีแต่พระพุทธรูป เท่านั้นความคิดเช่นนี้อาจพันพัวเข้ามาถึงงานปั้นภาพสัตว์อย่างเหมือนจริงของ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นาย สนั่น ศิลากร หรือของนายเรืองสุข อรุณเวช ด้วย เพราะในสมัยโบราณการปั้นภาพสัตว์เหมือนจริงเช่นนั้นก็ มิได้กระทากัน ดังนั้นความสัมพันธ์ของความรู้สึกระหว่างสมัยโบราณกับสมัยปัจจุบันจึงมิอาจมีได้ เราคิดว่าใน ทวีปเอเชียในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาก็ดี รูปร่างของกวาง ช้าง เสือ หมู ฯลฯ ก็เหมือนกันทั้งสิ้น และเมื่อเรา ปั้นหรือเขียนสัตว์เหล่านี้อย่างเหมือนจริงก็ทาได้ ไม่อยู่ในความผูกขาดของชาติใดแต่โดยเฉพาะ ตรงกันข้าม ศิลปินมีสิทธิที่จะปั้นหรือเขียนสิ่งที่เขาชอบตามอุปนิสัยของตน ตัวอย่างเช่ น นายไพฑูรย์ เป็นศิลปินซึ่งเกิดมา สาหรับปั้นภาพสัตว์เหมือนจริงและในงานประเภทนี้แล้วนับว่าหาตัวจับยาก จะยุติธรรมหรือถ้าเราห้ามไม่ให้ เขาทางานเช่นนั้น เพราะเหตุว่าในศิลปตามแบบประเพณีของเรา ไม่เคยมีใครปั้นรูปสัตว์เหมือนจริง ? จะเป็น การดีแก่วัฒนธรรมปัจจุบันหรือไม่ ถ้าเราสนับสนุนให้ศิลปินปัจจุบันทางานตามอุปนิสัยของตนตามที่ธรรมชาติ ให้มา
ภาพเขียนอันวิจิตรสองภาพของนายประสงค์ ปัทมานุช แสดงให้เห็นถึงความฉลาดในการจัดโครงการสี ให้เข้ากันอย่างสวยงาม นายประสงค์มี ความรู้สึกทางสีสูงยิ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปโบราณของเรา อย่างแท้จริง นายประสงค์เป็นผู้ที่รักศิลปของตน แม้จาต้องทางานซึ่งไม่ตรงกับอุปนิสัยของตนก็ตาม ก็พยายาม ส่งงานจิตรกรรมแสดงทุกปี นี่คือการเรียกร้องที่แท้จริงของศิลป และด้วยเหตุนี้เองที่เรากล่าวกันว่า ศิลปเพื่อ ศิลป
ภาพที่ 7 วัว โดย มาโนช กงกะนันท์ สีน้ามันบนกระดาษ 53 x 55 ซม., 2503
ปีนี้ นายจารัส เกียรติก้อง ส่งภาพเหมือนสีสวยงามที่สุดเข้าแสดงภาพหนึ่ง ซึ่งไม่จาเป็นจะต้องยืนยันก็ เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า นายจารัสเป็นช่างเขียนภาพเหมือนที่ดีที่สุดของเรา ศิลปอีกสาขาหนึ่งซึ่งดูเหมือนว่าไทยเรามีอุปนิสัย เป็นพิเศษ ก็คือศิลปการทาภาพพิมพ์ ยกเว้นนายชลูด นิ่มเสมอแล้ว ศิลปินหนุ่มๆ ยังจะต้องศึกษาเรื่องเทคนิคอีกมากเพราะการพิมพ์ยังพิมพ์ไม่ได้ดี และอีกหลาย กรณีด้วยกันที่ภาพพิมพ์ขาดคุณลักษณะของน้าหนักอ่อนแก่ ศิลปินมุ่งในประสิทธิภาพของน้าหนักดาขาวโดย ไม่คานึงถึงน้าหนักกลาง นายสมยศ ทรงมาลัย เป็นนักฝัน ชอบงานของโกแกง 1 มาก เราอาจรู้สึกถึงอิทธิพล ของศิลปินฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่แฝงอยู่ในงานภาพพิมพ์ของเขา นายสมยศเป็น คนหนุ่มที่มีทั้งความอุตสาหะและ ความสามารถ ฉะนั้นภายในสองสามปีข้างหน้าก็คงจะสร้างแบบอย่างศิลปขึ้นมาเป็นลักษณะเฉพาะของตนได้ ศิลปินหนุ่มอีกผู้หนึ่งซึ่งเราหวังว่าจะมีอนาคตก้าวไปไกล คือ นายอนันต์ ปาณินท์ งานจิตรกรรมของเขา แสดงให้เห็นความรู้สึกของอารมณ์อันแรง และบุคลิกภาพอันเด่นชัด นายอนันต์เพิ่งเริ่มงานศิลปจึงหวังว่า ความสาเร็จขั้นแรกของเขาจะไม่เป็นผลร้าย แต่หากว่าจะช่วยกันกระตุ้นให้เขาทางานมากขึ้นและดีขึ้นกว่านี้อีก คาว่าทาให้ดียิ่งขึ้น ควรจะทาให้ดียิ่งขึ้นอีก นั้นต้องเป็นอุดมคติที่ศิลปินหนุ่ม ๆ ทั้งหลายควรยึดถือไว้เป็นประจา ภาพปั้นหล่อทองสัมฤทธิ์ชื่อ “ความพอใจ” ของนางมีเซียม ยิบอินซอย มีคุณลักษณะให้เห็นอย่างเช่นที่ เราเคยหวังไว้จากศิลปินผู้นี้ เธอแสดงอารมณ์ส่วนลึกออกมาโดยปราศจากความคิดลังเลใจว่า จะเนรมิตแบบ งานเป็นสมัยเก่าหรือสมัยใหม่ สิ่งที่เธอทานั้นขึ้นอยู่กับความรู้ สึกของเธอเอง ดังนั้น จึงบังเกิดผลดีอย่างน่า ประหลาดใจ ภาพแสดงให้เห็นถึงหญิงสาวนั่งพักผ่อนกาลังยิ้มในสิ่งที่ทาให้เธอมีความสุขอาจเป็นไปได้ว่า ณ
เบื้องหน้าเธอนั้นมีดวงอาทิตย์กาลังทอแสงและธรรมชาติกาลังครวญโศกแห่งความสวยงามอยู่ เธอจึงมิอาจงด เว้นซึ่งความพึงพอใจเสียได้
ภาพที่ 8 วัดปรก โดย ปราณี ตันติสุข สีน้ามันบนผ้าใบ 65 x 80 ซม., 2503
ม.จ.การวิก จักรพันธุ์ เป็นผู้มีชื่อทางด้านงานจิตรกรรมสีน้าอันวิจิตร มีอุปนิสัยพิเศษในศิลปประเภทนี้ ภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ นั้น ใช้พู่กันปูายสีสองสามครั้งก็สาเร็จ ภาพงานวัด (ดอกไม้ ลายไทย) นั้น จะเห็นได้ว่า ม.จ. การวิกเขียนรูปคนขนาดเล็กโดยวิธีใช้สีแต้มเป็นจุดๆ อย่างฉลาด ภาพทิวทัศน์ของนายทวี รัชนีกร มีแบบอย่างเป็นส่วนของตนอย่างแท้จริง นายทวีเป็นช่างเขียนหนุ่มซึ่ง อาจสร้ างงานศิล ปให้ ดีกว่ านี้ ถ้ าเขาท างานหนักยิ่ งขึ้ นอี กในบรรดางานของนายทวี เราชอบ “วัด ” และ “ภาพนิ่ง” มาก เพราะมีสีสดสว่างอันเป็นบรรยากาศของประเทศเมืองร้อนของเรา ภาพเขียนประเภทมัณฑนะศิลป (ศิลปตกแต่ง) ของนายมาโนช กงกะนันท์ สร้างความสนใจในคุณค่า ของสีและขององค์ประกอบมาก เมื่อพิจารณาถึงอุปนิสัยตามธรรมชาติที่ศิลปินหนุ่มผู้นี้มีอยู่ในงาน ศิลปแล้ว เราคิดว่า ถ้านายมาโนชฝึกฝนวิชาวาดเขียนให้มากกว่านี้เขาอาจสร้างงานศิลปชิ้นสาคัญๆ ขึ้นได้ ปราณี ตันติสุข มีความก้าวหน้ามากทั้งในอารมณ์ความรู้สึกและทางเทคนิค บรรดางานจิตรกรรมของ เธอ กล้องยาเส้น และกล่องไม้ขีดไฟบนโต๊ะ ซึ่งอยู่ตอนล่างของภาพและหมวกใบหนึ่งแขวนอยู่ข้างบนฝาผนัง ใครที่เห็นภาพนี้ อาจอธิบายความรู้สึกเฉพาะตนได้ สาหรับเรา ภาพนี้ให้ความรู้สึกอ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว ความรู้สึกคิดถึงใครคนหนึ่ง ซึ่งจากไปไกลก็แต่กายใจนั้นยังอยู่ใกล้
ภาพที่ 9 ต้นไม้ โดย ทวี รัชนีกร สีน้ามันบนผ้าใบ 76 x 101.5 ซม., 2503 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11, 2503
นายเกวล ชไนบูร ได้ส่งงานภาพเหมือนเขียนด้วยสีชอล์ค ภาพที่ดีที่สุดคือ ภาพเด็กหนุ่ม สีที่ใช้นั้นลด และวิธีก็เขียนอย่างแน่ใจ แสดงให้เห็นถึงความเป็นศิลปินฝีมือสูงผู้หนึ่ง ภาพเขียนสีน้าของนายดนัย ปฏิรูปปาณุสรณ์ นั้นมีคุณค่าทั้งในทางเทคนิคและทางศิลปแม้ว่าการเขียน ภาพสีน้าจะเป็นวิธีใช้สีบางและเป็นการยากลาบากที่จะเขียนให้มีน้าหนักเป็นกลุ่มก้อนได้ก็ตาม นายดนัยก็มี ความสาเร็จในการให้คุณค่าของสีมืดในภาพ โดยไม่ปรากฏเป็นสีดา หรือสีสกปรกแต่อย่างใด นายมานิตย์ ภู่อารีย์ได้ส่งงานเขียนเอกรงค์แสดงถึงชีวิตหญิงสาวชนบท นายมานิตย์เขียนภาพคนอย่าง รวดเร็ว และมีลักษณะเป็นภาพล้อเกือบทั้งหมด ย่อมเป็นสิ่งแน่ว่าภาพเหล่านี้มีแบบอย่างเป็นส่วนของตนและ น่าดู แต่เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของนายมานิตย์แล้วเราใคร่ที่จะได้เห็นงานที่สาคัญยิ่งกว่านี้ ในบรรดาศิลปินชาวต่างประเทศ เราขอแนะนาให้ชมภาพเขียนประเภทมัณฑนะศิลปของนายเบอร์นีช เอส. กอร์คอน คือ “กรุงเทพฯ หมายเลข 14” และภาพ “คลอง” โดย นางกาติงก้า บรุก กับภาพ “หน้า” โดย นางชารินา อาร์.อาลาสมี สาหรับภาพเขียนสองภาพของนายฮอร์ส เกอร์ต นั้นชอบเป็นพิเศษ นายฮอร์ส เกอร์ต เป็นศิลปินหนุ่มชาวเยอรมันที่กล้าใช้สีแรงและเส้นวาดนั้นหนัก ย้าให้เห็นถึงลักษณะส่วนบุคคลของแบบ โดยการเขียนเส้นรูปนอกของภาพให้เกินความเป็นจริง และมีความรู้ สึกแรงภาพเขียนแสดงให้เห็น ถึงหญิงสาว เผ่าหนึ่งของอินเดียใต้ ซึ่งสีต่าง ๆ ของภาพมีการประกอบเข้าด้วยกันอย่างน่าดู ส่วนภาพศีรษะของหญิงสาว ชาวจังหวัดสงขลานั้นเล่าก็มีวรรณะของสีอันเร้นลับ ทาให้เราเกิดอารมณ์สั่นสะเทือน
* บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 1 โกแกง (Gauguin) เป็นช่างเขียนชาวฝรั่งเศสในกลุ่ม Post – Impressionists ค.ศ. 1848 – 1903
บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 52 การวิจารณ์งานศิลป เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แปลโดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน การให้ความเห็นของตนในเรื่องค่าทางศิลปของศิลปกรรมใด ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทุกคน เพราะทุกคน มีสิทธิ์จะติชม หรือให้คาวิจารณ์ตามข้อวินิจฉัยของตนเองได้ แต่ข้อวินิจฉัยนั้นอาจผิดไปก็ได้ ถึงกับทาให้ผู้ วิจารณ์เห็นเขวไป คือเห็นศิลปกรรมชั้นสามัญที่สุดเป็นชั้นเยี่ยม หรือกลับกัน เห็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมว่าเป็นชั้น สามัญ ก็ได้ การวิจารณ์มอี ยู่ 3 อย่าง คือ 1. จิตวิจารณ์ (Impressionistic Criticism) คือ วิจารณ์ในแง่ความรู้สึก 2. อรรถวิจารณ์ (Interpretative Criticism) คือ วิจารณ์ในแง่แปลความหมาย 3. วิพากษ์วิจารณ์ (Judicial Criticism) คือ วิจารณ์ในแง่ให้คาพิพากษาตัดสิน กล่าวไว้ในเรื่องสุนทรียภาพ และเรื่องความรู้ค่า ว่า บุคคลซึ่งมีพื้นการศึกษาดีโดยเฉพาะการศึกษาทาง ศิลปอาจเข้าใจได้ดี และให้ความเห็นวิจารณ์ศิลปกรรมชิ้นใดว่าเป็นศิลปที่แท้จริงได้ การศึกษาทางศิลปเริ่มต้น ตั้งแต่โรงเรียนชั้นประถม ต่อเนื่องขึ้นไปในโรงเรียนชั้นสูงโดยลาดับ การศึกษามีฝึกหัดปั้นรูปปฏิมากรรม การ พาไปชมศิลปกรรมตามศิลปสถาน การแสดงดนตรี และการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับ นาฏศิลป การพาไป เที่ยวตามทุ่งนา ปุาเขา เพื่ออบรมนักศึกษาให้รู้ จักรักความงามแห่งธรรมชาติ เมื่อนักศึกษาเหล่านั้นเติบโตเป็น ผู้ใหญ่แล้ว อาจไปรู้จักมักคุ้นกับพวกศิลปิน ซึ่งมีความรู้ในวิชาชีพทางศิลป ศิลปินเหล่านี้จะเป็นผู้ขัดเกลานิสัย ของนักศึกษา ให้ มีชีวิตจิตใจรั กแต่สิ่ง ดีงามเมื่อเป็นเช่นนี้ นักศึกษาเหล่ านี้ต่อไปอาจเป็นผู้ รู้ค่าและวิจารณ์ ศิลปกรรมได้ถูกต้อง การให้คาวิจารณ์ที่ถูกต้องถ่องแท้ในเรื่องศิลปเป็นสิ่งยากยิ่งที่สุด ถ้าจะกล่าวโดยทั่วไป ในการวิจารณ์ เราไม่ควรจะด่วนให้คาวินิจฉัยแก่ศิลปกรรม เมื่อได้เห็น ได้ฟัง หรือได้อ่านเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะเรื่องแบบ และวิธีแสดง และเรื่องทางเทคนิคทั้งสองประการนี้ หรือแต่ประการหนึ่งประการใดด้วย เห็นมีไม่ตรงกับที่เรา นิยมชมชอบหรือที่เราเคยได้เห็นได้ฟัง หรือได้อ่านมาในชีวิตของเรา เพราะเป็นศิลปกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม ของต่างชาติหรือต่างสมัย หลักที่จะให้คาวิจารณ์แก่ศิลปกรรม อาจเป็นดังต่อไปนี้ 1. มโนภาพ (Conception) คือความคิดเห็นที่สร้างเป็นศิลปกรรมชิ้นนั้นเป็นมโนภาพที่สูงคู่ควรกับศิลป ที่สูงหรือไม่ ภาพนิ่ง เช่น ภาพถ้วยชาม ภาพดอกไม้ ภาพในสมุดหนังสือ เป็นต้น จะนับว่าเป็นการประจักษ์ทาง ศิลปที่สูงหาได้ไม่ เพราะขาดมโนภาพซึ่งปลุกประสาทอินทรีย์อันสูงของผู้ดู ขอให้พิจารณาเปรียบเทียบบท เพลงของดนตรีลีลา เช่น ฟูอกสตรอด และแทงโก้ กับบทเพลงดนตรีของเบโธเฟน และบทเพลงอุปรากรของ
ว้ากเนอร์ จะรู้สึกเห็นได้ว่า บทเพลงอย่างฟูอกสตรอดและแทงโก้ ถ้าเข้ าไปรวมอยู่ด้วยกันกับบทเพลงของเบโธ เฟนและว้ากเนอร์ ก็เป็นแต่การประจักษ์ศิลปอย่างง่าย ๆ ผิดกับบทเพลงของเบโธเฟนและว้ากเนอร์ ซึ่งเป็น ศิลปสูงและยิ่งใหญ่กว่ากัน และมีความคิดเห็นทางศิลปอันสูงเลิศ 2. ความรู้สึกสะเทือนใจ ศิลปกรรมที่แท้จริงก็คือ ที่ไม่ใช่เป็นเพราะดูงามตา แต่เป็นเพราะมีอานาจอัน แรงกล้ าแก่ความรู้ สึ กทางจิ ตใจของเราอย่ า งถาวร เพราะฉะนั้นเราอาจถือว่ าคุณสมบั ติทางศิล ปของการ ประจักษ์แห่งศิลปอยู่ที่ความรู้สึกสะเทือนใจซึ่งเราได้รับจากสิ่งนั้น 3. การแสดงออก การแสดงออกของศิลปเป็นสิ่งสาคัญที่สุดที่ควรจะเข้าใจไว้ ถ้าเราต้องการจะวิจารณ์ ศิลปกรรมให้ถ่องแท้ คนสามัญมักจะวินิจฉัยคุณค่าของศิลปกรรมเอาที่มีการแสดงท่าทีของศิลปที่เห็นจริงเห็น จังเหมือนของจริง ยิ่งการแสดงออกนั้นปรากฏว่าเหมือนกับของจริงมากขึ้นเพียงใดก็ถือเอาเป็นศิลปที่แท้จริง ความคิดเห็นข้อนี้ไม่ตรงกับลักษณะศิลปที่แท้จริง เป็นเพียงศิลปเรื่องความเป็นไปของคนสามัญ หรือเป็นศิลป พาณิชย์เท่านั้น การแสดงออกแห่งรูปศิลปของศิลปกรรมเป็นสิ่งที่สูงและสุขุมยิ่งกว่าการแสดงออกอย่างที่เหมือนของ จริง เพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นซึ่งเกิดจากความเพ่งของศิลปินให้ประจักษ์ออกมาเป็นศิลป ขอให้พิจารณาดูพระเศียรของพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง เมื่อท่านเพ่งดู ท่านจะเกิดความรู้สึกคิดเห็นเป็น มโนภาพขึ้นได้กี่ปราการ กระทาให้เกิดกระทบใจสะเทือนใจในอารมณ์ของท่าน เพราะด้วยการแสดงออกซึ่ง ไม่ใช่เหมือนกับของจริง ขึ้นได้กี่ประการ เมื่อท่านฟังเสียงซอซึ่งไพเราะจับใจ ท่านอาจมีใจเคลิบเคลิ้มทาให้รู้สึกเป็นที่ประโลมละลานใจ ทาให้ หลงใหลใฝุฝัน หรือทาให้สลดใจเหี่ยวหู่ หรือทาให้ปลาบปลื้มร่าเริงใจ หรือทาให้รู้สึกเป็นอย่างอื่น ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็มาจากการแสดงออกที่ไม่ใช่เหมือนกับของจริง เพราะฉะนั้นในการวิจารณ์ศิลปกรรมเราไม่ควรถือเอา ข้อที่ว่าการถอดเอาออกมาแสดงเหมือนกับของจริงก็เป็นศิลปกรรมที่สูงที่ยิ่งใหญ่ เราควรถือเอาว่าศิลปกรรมที่ สูงที่ยิ่งใหญ่ก็แต่เมื่อศิลปกรรมนั้นมีอานาจการแสดงออกอันสามารถทาให้เราถึงกับต้องเพ่งใจคิด ลืมตัวลืมโลก ที่อยู่ภายนอกตัวเราเสียสิ้นเพ่งใจอยู่แต่ที่จะแสวงหาความหมายอันลึกซึ้งและความหวังที่สูงในชีวิตประจาวัน ของเรา อันมีอยู่ในศิลปกรรมนั้น 4. องค์ ป ระกอบในการวิ จ ารณ์ ศิ ล ปกรรมเราควรจะศึ ก ษาดู ว่ า องค์ ป ระกอบของศิ ล ปกรรมนั้ น ประสานกันหรือไม่ กล่าวคือ ส่วนประกอบนับตั้งแต่ที่เป็นภาคส่วนประธานขององค์ประกอบตลอดลงมาถึงที่ เป็นภาคส่วนรอง ประสานเข้ากันหรือไม่ แม้ส่วนประกอบเหล่านั้นมีลักษณะหลายอย่างต่างชนิดกัน แต่ก็ทาให้ เกิดความรู้สึกว่าเข้ากันเป็นเอกภาพ (Unity) คือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือไม่ เพราะเรารู้อยู่ว่าเอกภาพที่ไม่มี ส่วนประกอบหลายหลากแปลก ๆ ต่าง ๆ กัน (Diversities) ก็ทาให้ดูจืดตา แต่ถ้ามีส่วนประกอบหลายหลาก กันแต่ไม่มเี อกภาพ ก็ทาให้ดูยุ่งรกตาไป 5. ท่วงทีที่แสดงออกทั่วไปและเฉพาะตน (General Style and Personal Style) ศิลปินทุกคนไม่ว่า ยุคไหน ย่อมถือแบบอย่างของศิลปชนิดที่ประชาชนผู้มีพุทธิปัญญาชนของยุคนั้นนิยมชมชอบและรับรองกัน
แล้ ว แต่กระนั้ น ศิลปิ น ของยุ คนั้น แต่ละคนก็มีท่ว งทีที่ แสดงออกของตนเอง อันเนื่องมาจากลั กษณะพิเศษ เกี่ยวกับพุทธิปัญญา และความรู้สึกทางจิตใจเป็นเฉพาะตัว เหตุนี้ท่าทีที่แสดงออกของศิลปินแต่ละคน จะเป็นที่ ดึงดูดใจได้มากหรือน้อยก็แล้วแต่ความสามารถทางศิลปของผู้นั้น เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงความบริสุทธิ์ใน ท่วงทีที่แสดงออกของศิลปกรรมใด ก็หมายความว่าเมื่อศิลปกรรมนั้นมีองค์ประกอบคลี่คลายสบายตาสบายใจ เรื่อยไป ดุจกระแสน้าไหล ไม่ทาให้รู้สึกอึดอัดขัดข้องอะไรแก่ความรู้สึกเมื่อฟังหรือเมื่ออ่าน 6. เทคนิค คานี้หมายถึงความสามารถและวิธีทาทางวิชาชีพของศิลปินคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ เทคนิค เป็นสิ่งช่วยทาให้ศิลปกรรมถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์ แต่อย่าเพิ่งคิดว่า ลาพังมีความสมบูรณ์ทางเทคนิค เป็น ความสมบูร ณ์ของงานศิลปทั้งหมดก็หาไม่ ความจริงเทคนิคดีแสดงว่าศิลปินผู้ ทามีความชานาญแก่กล้าใน วิชาชีพของตน แต่กระนั้นก็ดีจะถือว่าเป็นส่วนที่เป็นประธานในเรื่ องทางศิลปหาความไม่ ควรถือได้แต่เพียงว่า เป็นเพียงส่วนรองเท่านั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนเอาเรื่องผิวพรรณในร่างกายคนเข้าไปเปรียบเทียบกับลักษณะ รูปร่างหน้าตาของคนฉะนั้น คนที่มีรูปทรงดี มีส่วนประกอบต่าง ๆ ประสานกัน ก็จะดูเป็นคนงาม และถ้ามีผิวพรรณเปล่งปลั่งก็จะทา ให้ดูงามยิ่งขึ้น ถ้าชายคนเดียวกันนั้นมีผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ก็จะดูงามสมบูรณ์น้อยไป แต่ก็ยังดูเป็นคนงามอยู่ นั่นเอง เพราะส่วนต่าง ๆ ของโครงร่างมีความประสานกัน หากว่าโครงร่างนั้นผิด คือไม่ประสานกัน เช่น แขน ขาและสิ่งอื่นไม่ได้ส่วนเหมาะเจาะถึงว่าจะมีผิวพรรณงามก็ไม่ช่วยให้รูปร่างของชายคนนั้นแลดูงามขึ้นได้ เหตุ ฉะนี้ในการวิจารณ์ศิลปกรรมเราไม่ควรถือเอาเทคนิคเป็นส่วนสาคัญเด็ดขาดในการตีค่าของศิลปกรรม เพราะ ศิลปกรรมที่มีการแสดงเป็นศิลปแท้ ๆ ก็มีอยู่มาก ซึ่งขาดค่าทางเทคนิค แต่ต้องขอกล่าวย้าไว้อีกครั้งเพื่อไม่ให้ เข้าใจผิดว่า เทคนิคเป็นสิ่งช่วยนาให้ศิลปกรรมถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์ เมื่อไม่แน่ใจในเรื่องค่าของศิลปกรรม ใดก็ควรจะนาเอาไปเปรียบเทียบกับศิลปกรรมชิ้นอื่น ซึ่งมีลักษณะพิเศษเหมือนกับศิลปกรรมชิ้นที่เราต้องการ วิ จ ารณ์ แ ล้ ว ด าเนิ น การพิ จ ารณาไปตามที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น ก็ จ ะได้ ผ ลเป็ น ข้ อ คิ ด เห็ น ยุ ติ ล งได้ ต ามสมควร ศิลปกรรมนั้นมีการประจักษ์ทางศิลปอันแท้จริงหรือไม่
บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ภาพเปลือย เป็นศิลปหรืออนาจาร เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (แปลจาก NUDE – ART OR OBSCENITY) ในประเทศไทยเมื่อราว 40 ปีมาแล้ว เรายังไม่รู้ สึกนึกคิดกันถึงเรื่องการเปลือยกาย ผู้ชายนุ่งผ้าขาวม้า ออกไปนอกบ้าน ผู้หญิงผู้เป็นมารดาของเด็กอาจเปลือยอกออกไปนอกบ้านโดยไม่ต้องขวยเขินสะเทิ้นอายใคร ๆ เด็กชายเด็กหญิงโตจนอายุ 13 ปี หรือมากกว่านั้นยังเปลือยกายล่อนจ้อนเล่นหัวด้วยกันอย่างไม่เดียงสา การศึกษา ดาเนิ นมาด้ว ยความมีป ระโยชน์ยิ่งใหญ่และกอปรด้วยเหตุผล กาลั งครอบงาวิถีชีวิตตาม ธรรมชาติของเราอยู่ ต่อไปภายหน้าความคิดเห็นอันกอปรด้วยเหตุผลในเรื่องอะไรควรอะไรไม่ควรจะหยั่งราก ฝังลึกลงไปในดวงใจของเรา ซึ่งทาให้เราคิดเห็นว่าเป็นความจาเป็นที่จะต้องปกปิดร่างกายทุกส่วน แล้วก็มาถึง ปัญหาขัดแย้งที่ว่าเด็กอายุ 3 ขวบจะต้องแต่งตัวนุ่งห่มตามแบบตะวันตกด้วยเหมือนกัน มีอยู่บ่อย ๆ ที่เรา มักจะได้ยินได้ฟังเพื่อนร่วมชาติร่วมประเทศของเรา บางคนกล่าววิพากษ์วิจารณ์ในเมื่อเขาเห็นพวกเด็กเปลือย กายกลุ่มหนึ่งเล่นหัวอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นภาพที่น่าเอ็นดูเป็นอย่างยิ่ง แต่เพราะเหตุที่เปลือยกาย บุคคลช่างตาหนิ พวกเดียวกันนี้จึงมองดูพวกเด็กกลุ่มนั้นด้วยอาการเคร่งขรึมแล้วพลางก็บ่นว่าภาพเช่นนี้ไม่เหมาะสมที่จะเป็น เครื่องประดับบ้านเมืองของเราเลย ปัญหาขัดแย้งเช่นนี้ไ ม่เกี่ยวแก่เหตุผลทางด้านศีลธรรม แต่มันเกี่ยวกับการ ยึดมั่นต่ออารยธรรมต่างประเทศ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับวัฒนธรรมของเราเอง หรือดินฟูาอากาศในบ้านเมือง ของเราเลยสิ่งใดที่เป็นของจาเป็นในประเทศตะวันตกซึ่งมีอุณหภูมิต่าย่อมจะเป็นของยุ่งยากในประเทศที่มี อากาศร้อน (เช่นในประเทศเรา) ก็ได้ อันที่จริง (เวลานี้) พวกเราก็กาลังเสียสละความสุขสาราญของเราอุทิศให้เป็นพลีกรรมแก่วัฒนธรรม ต่างประเทศกันอยู่แล้ว
ภาพที่ 1 หญิงเปลือย โดย จารัส เกียรติก้อง สีน้ามันบนผ้าใบ 103 x 148 ซม., 2492 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 2492
ด้วยความคลั่งไคล้ใหลหลงต่อความมีศีลธรรมและความสุภาพอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เราพากันมาถึงจุดของ การค้นหาความผิ ดในประติมากรรมและจิตรกรรมที่เป็นภาพเปลือย ซึ่งประติมากรรมและจิตรกรรมภาพ เปลือยเหล่านั้นวางกิริยาท่าทีถูกต้องตรงตามตาราศิลปและความมีศีลธรรมของชาติอารยะบางชาติ ในการ ค้นหาความผิดเช่นนั้นเราเลยพากันไม่รับรู้เรื่องศิลปและเรื่องธรรมชาติไปเสียเลย คราวนี้ อะไรเล่ าคือความแตกต่างที่มีอยู่ระหว่างร่างกายของคนกั บของม้า ว่าโดยหลั ก กายวิภ าคก็ เกือบจะเหมือนกัน ทางที่ต่างกันมากก็อยู่ในข้อเท็จจริงที่ว่า คนเป็นเพื่อนมนุษย์ของเราซึ่งเรารักและอาจติดต่อ รู้จักมักคุ้นกันได้ โดยทางพุทธิปัญญามันเป็นการถูกต้องเพราะเราสนใจอยู่แต่ในเรื่องเผ่าพงศ์วงศ์วานของพวก มนุษย์เรา ซึ่งทาให้เราเห็นคนเป็นสัตว์ที่ถูกต้องสมบูรณ์และงดงามยิ่งกว่าสัตว์ชนิดอื่นใด เพราะเหตุนี้ตั้งแต่สมัย ดึกดาบรรพ์มาร่างกายของมนุษย์จึงกระตุ้นให้เกิดความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ในการแสดงทางศิลปทั้งตะวันตก และตะวันออกได้ผลิตประติมากรรมและจิตรกรรมภาพเปลือยขึ้นมากมายหาประมาณมิได้เพื่ อแสดงให้คน ธรรมดาสามัญได้เห็นว่าเมื่อเราได้สร้างสรรค์ร่างกายของมนุษย์ขึ้นมาเป็นศิลปนั้น ร่างกายของเรามี ส่วนสัด สมบูรณ์เพียงใด และช่วยให้เราได้รับความเพลิดเพลินตามแง่ความงามอย่างใด เพราะฉะนั้น การแสดงศิลปภาพเปลือย ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง หมายถึงความแจ่มใสเจิดจ้าแห่ง วงศ์วานของมนุษย์เราเอง มันเป็นของขวัญที่เราควรขอบใจต่อสากลมหิ ทธยานุภาพ (Cosmic Energy) ซึ่งเรา ไม่ทราบว่าเป็นใครผู้ได้สร้างสรรค์ร่างกายอันงดงามของเราขึ้นไว้ ด้วยเหตุนี้ การคอยจับผิดในการแสดงรูปเปลือยก็เท่ากับยอมรับว่ามโนจักษุของเราบอด หรือเราขาด ความนิยมนับถือต่อธรรมชาติ
ภาพที่ 2 นางแบบ (องค์ประกอบ) โดยเฟื้อ หริพิทักษ์ สีน้ามันบนผ้าใบ 89 x 66 ซม., 2499 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 8, 2500
กล่ าวโดยทั่ว ไป การวิพากษ์วิ จ ารณ์ เกี่ย วกับศิ ล ปภาพเปลื อยนั้น เกิดจากกลุ่ มบุค คลที่มี ความเห็ น แตกต่างกัน 2 จาพวก นักวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มแรก คือ จาพวกที่หัวใจของเขาได้ชักนาให้เกิดความคิดชั่วต่อรูปที่ บริสุทธิ์อยู่แล้ว จึงมีบ่อย ๆ ที่บุคคลจาพวกนี้ซึ่งเป็นผู้มีใจเพ่งเล็งไปแต่ในด้า นเดียว ความประพฤติของคนพวก นี้ก็ไม่เป็นแบบอย่างของความมีศีลธรรม นักวิพากษ์วิจารณ์จาพวกนี้จึงต้องการแสดงตัวให้เป็นที่ปรากฏเปิดเผย มิให้ใครเห็นว่าตนเองบกพร่อง โดยใช้วิธีวิพากษ์วิจารณ์ตามทฤษฎีเข้ากับตัวเองแล้วตาหนิสิ่งที่ตนเองก็ไม่เข้าใจ บุคคลกลุ่มที่ 2 คือบุ คคลซึ่งถูกประจานโดยประติมากรรมหรือจิตรกรรมที่เป็นภาพเปลือยที่ทากันขึ้นโดย ประชาชน ซึ่งธรรมชาติมิได้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ประสิทธิ์ประสาทความงามให้แก่รางกายของพวกเขา หรือเพราะ เหตุบางอย่าง ทาให้ชีวิตของบุคคลจาพวกนี้เป็นชีวิตที่บกพร่อง ก่อให้เกิดอารมณ์ไม่พึงพอใจ ไม่ เหมาะสมที่จะ รองรับทัศนะแห่งความสวยงามต่อไป เป็นเคราะห์ดีของเราที่มีบุคคลกลุ่มที่ 3 เป็นผู้มีสุ ขภาพดีทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย ผู้ซึ่ง เห็นภาพ เปลือยเป็นสิ่งสร้างสรรค์อันมหัศจรรย์ เขาชื่นชมภาพเปลือยไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมหรือจิตรกรรม ท่าน ผู้อ่านจะต้องไม่คิดเห็นไปว่าเรากาลังอยู่ในอาณานิคมของคนเปลือย (หรือนิคมอาบแดด) อันที่จริงในฐานะที่เรา เป็นนักศึกษาทางศาสตร์แห่งความงาม เราไม่เห็นด้วยกับการแสดงตัวเปลือยชนิดนั้นเพราะเหตุผลง่าย ๆ ทีว่า ในอาณานิคมของคนเปลือยนั้ นเราจะสังเกตเห็ นคนมีร่างงามเพียงจานวนน้อยคน ส่ว นมากเป็ นบุคคลที่มี ร่างกายไม่ได้ส่วนสัดเช่น อ้วนไป หรือผอมไป หรือแก่ไป จึงไม่เป็นการเหมาะสมเพราะเหตุนี้ ซึ่งว่าโดยปรกติ ธรรมดาแล้วเมื่อดูกันในแง่ความสวยงาม คนที่นุ่งห่มเสียอีกยังน่าดูน่าชมกว่าคนเปลือยกาย อย่างน้อยเสื้อผ้าก็ ยังจะช่วยปิดซ่อนเร้นส่วนบกพร่องในร่างกายของเรา หรือเราอาจใช้สิ่งประดิษฐ์แก้ไขปรับปรุงส่วนบกพร่องนั้น ๆ เสียก็ได้
ภาพที่ 3 เสร็จสรง โดย แสวง สงฆ์มั่งมี ปูนปลาสเตอร์ ขนาดเท่าคนจริง, 2493 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2, 2493
บุคคลซึ่งกล่าวโจมตีศิลปภาพเปลือยพวกเดียวกันนั้นได้อุปการะสนับสนุนการถ่ายภาพยนตร์ผู้หญิง เปลือยกายทั้งหมดหรือเปลือยครึ่ง ๆ ซึ่งมิใช่ภาพนิ่ง แต่ทากิริยาเคลื่อนไหวในทางยั่วยวนความรู้สึกทางเพศ อย่างมากมาย บุคคลพวกเดียวกันนี้ชอบดูหนังสือพิมพ์ภาพรายสัปดาห์ ที่ลงรูปภาพสตรีในท่าทีโน้มน้าวไป ในทางปลุกความรู้สึกนึกคิดแม้แต่ของปรกติชน การปลุ กความรู้สึกนึกคิดปรกติชนเช่นนี้เป็นการเลวทรามเสีย ยิ่ ง กว่ าปลุ ก ความรู้ สึ กของคนเจ้ า ราคะ ซึ่ง อาจพิสู จ น์ ให้ เ ห็ น ได้ จ ากการดู ป ระติ ม ากรรมภาพเปลื อ ยหรื อ จิตรกรรมภาพเปลือยตามข้อเท็จจริงเช่นกล่าวมาข้างต้นที่ว่าการวางท่าทางของอวัยวะร่างกายในศิลปนั้น ศิลปินจะสร้างขึ้นโดยมุ่งให้มีสง่าผ่าเผยและดูงาม ด้วยเหตุนี้จึงมิใช่เรื่องยั่วยวนกวนราคะเลย ถ้าภาพเปลือยมีลักษณะยั่วยวนอย่างแรงจนมิอาจยับยั้งได้ต่อผู้ชายหรือตามที่พวกนักศีลธรรมกล่าวกัน คือต่อพวกวัยรุ่นแล้ว สถานที่ตากอากาศชายทะเลในปัจจุบันนี้ก็ควรจะเป็นสถานที่รื่นรมย์ของพวกคลั่งราคะไป เพราะมีสุภาพสตรีที่พยายามเป็นอย่างดีที่สุดที่จะปกปิดร่างกายของเธอด้วยผ้าชิ้นน้อย ๆ แต่ทว่าอาการกิริยา ท่าทางของสุภาพสตรีเหล่านี้ก็เป็นไปตามแบบฉบับอันมีเกียรติของพลเมืองดี บรรดาผู้ ชายทั้งหลายต่างก็พากัน ชื่นชมรูปร่างทรวดทรงของเธอ แต่หาได้รู้สึกเป็นการยวนยั่วทางเพศจนมิอาจอดกลั้นไม่ สุภาพสตรีที่แต่งตัวอย่างสวยเช้ง สวมเสื้อคอลึกและกว้างมากดูจะเป็นการยั่วยวนราคะได้มากเสียยิ่ง กว่าสุภาพสตรีที่สวมเสื้อผ้าชุดอาบน้าซึ่งยังแสดงให้เห็นทรวดทรง (ของผู้แต่ง) อันมีส่วนประสานกลมกลืนกัน เป็นอย่างยิ่ง
ภาพที่ 4 ธารทอง โดย แสวง สงฆ์มั่งมี ปูนพลาสเตอร์, ขนาดเท่าคนจริง, 2494 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3, 2494
ยังมีบุคคลอีกจาพวกหนึ่งซึ่งไม่เคยพลาดที่จะดูภาพยนตร์ที่แสดงโดยดาราหญิงจอมยั่ว แต่เมื่อเขาได้เห็น จิตรกรรมภาพเปลือยในหนังสือพิมพ์รายคาบที่มีผู้ จาลองจากจิตรกรรมภาพเปลือยของศิลปินที่มีชื่อเสียงแล้ว มาลงไว้ บุคคลจาพวกนี้จะมีความกังวลห่วงใยเกรงไปว่าภาพศิลปเช่นนี้ อาจแพร่หลายไปในทางให้เกิดผลเสีย
แก่ศีลธรรม แต่เขาหาได้คานึงถึงผลเสียที่ภาพยนตร์ดังกล่าวข้างต้นก่อให้เกิดขึ้น ไม่ อย่างนี้จะมิเป็นความ คิดเห็นที่ขัดแย้งไม่เข้าไม่กินกันไปหรือ? จาเป็นที่จะต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าที่เราพูดถึงศิลปภาพเปลือยนั้น มิได้ขยายกว้างไปถึงศิล ปในการเปลือยที่ ทากันขึ้นให้วางกิริยาท่าทีเพื่อกระตุ้นให้ผู้ดูเกิดตัณหาราคะ งานศิลปเช่นนี้พวกศิลปินเขาไม่ยอมรับว่าเป็นศิลป และไม่มีทางจะเรียกได้ว่าเป็นศิลป การผลิตศิลปสาธารณ์ให้เกี่ยวข้องไปในทางภาพลามกเช่นนี้ มีแพร่หลายอยู่ อย่ า งลั บ ๆ ในหมู่ ป ระชาชนผู้ มี โ รคทางจิ ต ซึ่ ง ต้ อ งการความกระตุ้ น เตื อ นทางศิ ล ป เพื่ อ ให้ ร่ า งกายเกิ ด สัญชาตญาณฝุายต่า ภาพชั่วร้ายชนิดเป็นอันตรายอย่างร้ายกาจแก่เยาวชนของเรา เป็นสิ่งพึงละอาย เป็นการ ทาให้นิสัยเสื่อมเสีย ซึ่งเราได้รับมรดกมาจากตะวันตกเพื่อมุ่งผลให้ทางการค้า นี่แหละเป็นเรื่องที่เราควรทุ่ มเท ความพากเพียรพยายาม ขจัดช่องโหว่ซึ่งเป็นโรคแห่งสังคมปัจจุบันของเรา มันมิใช่ประติมากรรม มิใช่จิตรกรรม หรือรูปถ่ายของผู้หญิงเปลือยร่างที่สร้างหรือวาดขึ้นไว้ในท่าทีอย่าง มีศิลป ซึ่งมีอิทธิพลชั่วร้ายอยู่เหนือศีลธรรมของเรา จากผลผลิตอย่างมีศิล ปเช่นนี้ เราย่อมจะเรียนรู้ถึงวิธีชื่นชม ธรรมชาติในลักษณะการสร้างสรรค์อย่างประสานกลมกลืนกันมากมายหลายแบบ มันเป็นภาพของร่างผู้หญิงที่ เปลือยทั้งหมดหรือเปลือยครึ่งๆ หรือเขียนเป็นภาพนุ่งห่มในท่ายั่วยวน (นั่นต่างหาก) ที่จะถูกกล่าวประณาม และต้องปราบปรามให้หมดไป แต่ได้โปรดเถิด ขออย่าได้นาเอาสิ่งเลวทรามเช่นนี้ซึ่งได้สร้างขึ้นเพื่อรีดเงินจาก คนอ่อนแอมาปะปนกับศิลปเลย