บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 39

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ศิลปสุโขทัย บรรดาอารยธรรมที่สาคัญทุกอย่าง ย่อมมียุครุ่งเรืองหรือยุคทอง ซึ่งยุคดังกล่าวนี้ก็ขึ้นอยู่กับความ เจริญอย่างสูงทางด้านวัตถุ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ความเจริญทางจิตใจ สมการซึ่งประเทศไทยเราเกี่ยวข้อง อยู่กับยุคทองของสมัยสุโขทัยนั้นก็คือเอกราชและศาสนาประจาชาตินั่นเอง ไม่เคยปรากฏเลยว่าชนชาติที่เป็น ไทแก่ตัวเองในอดีต จะมีชาติใดสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยเชื้อชาติอย่างเป็นปึกแผ่น โดยปราศจากความนับถือ ร่วมกัน สาหรับชนชาวไทยนั้น ความนับถือดังกล่าวนี้ ทั้งที่มีมาแล้วในอดีตและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็คือความ นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน การที่ชาวไทยเลือกนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานเป็นศาสนาประจา ชาติ ก็เพราะเห็นกันว่าคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสอดคล้องต้องกันเป็นอย่างดีกับความต้องการทางจิตใจของ ตน อันที่จริงเมื่อครั้งชนชาวไทยตกอยู่ภายใต้อานาจปกครองของชนชาติเขมร ชาวไทยก็ได้มีโอกาสรู้จัก พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาฮินดูมาก่อนแล้ว แต่ชนชาวไทยไม่นิยมปรัชญาในศาสนาทั้งสองนั้น เมื่อเราเข้าใจว่า ชาวไทยเคารพนั บถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานเพราะมีความดื่มด่าในรสพระ สัทธรรมคาสั่งสอนอันแผ่ไพศาลไปในโลกอยู่ในดวงจิตของตนแล้ว เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่า การเนรมิตศิลปอัน ยิ่งใหญ่ของคนไทย ก็คือการสร้างพระรูปขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราตรวจดินแดนในพื้นที่ตั้งแต่แคว้น คันธาระเรื่อยมาจนถึงอินเดีย พม่า อินโดจีน อินโดนีเซีย จีน และญี่ปุน เราจะเห็นได้ว่าในระยะเวลาสองพันปีที่ ผ่านพ้นมานี้ ได้มีผู้สร้างพระพุทธรูปกันขึ้นนับด้วยจานวนล้านๆ องค์ โดยหล่อขึ้นด้วยทองสาริดก็มี จาหลักด้วย ศิลาก็มี ทาด้วยปูนปั้นหรือบุด้วยโลหะก็มี แต่เมื่อศึกษาถึงการสร้างพระพุทธรูปอันมีหลายแบบอย่างและต่าง ยุคต่างสมัยกันอย่างมากมายเช่นนี้แล้ว ก็ไม่เป็นการยากที่จะสังเกตเห็นได้ว่า มีพระพุทธรูปน้อยองค์ที่แสดงให้ เห็ น ถึ ง ความหมายของพระพุ ท ธลั ก ษณะส่ ว นพระองค์ ข องพระบรมศาสดา ซึ่ ง ตามความเป็ น จริ ง แล้ ว พระพุทธรูปจานวนมากมายดังกล่าวนั้น มักจะถ่ายแบบหรือเลียนแบบจากพระพุทธรูปที่มีฝีมือช่างชั้นสูงเสีย เป็นส่วนมาก การสร้างสรรค์หรือเนรมิตพระพุทธรูปนั้น จะบังเกิดขึ้นได้ก็แต่ในสภาพการณ์พิเศษเท่านั้น ดังเช่นที่ทา กันอยู่ในสมัยสุโขทัย คุณสมบัติประการสาคัญของประติมากรรมที่แสดงออกมาเป็นพระพุทธรูปนั้น คือความสัมพันธ์อัน วิจิตรที่มีอยู่ระหว่างรูปทรงทางด้านกายวิภาค ซึ่งช่างได้ตัดทอนส่วนละเอียดออกเสียบ้างให้เหลืออยู่แต่สาระ ส่วนใหญ่ ผสมเข้าด้วยกันกับฝีมือปั้นอันเต็มไปด้วยความรู้สึกและคุณสมบัติทางจิต ซึ่งเร้าความสะเทือนใจทาง สุนทรียะของเราให้บังเกิดขึ้น ธรรมดาพุทธศาสนิกชน เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปแม้ที่ไม่มีคุณค่าทางศิลปเป็น พิเศษ ก็อาจเกิดอารมณ์รู้ สึกขึ้น ได้ เนื่ องจากตนเองมีศรัทธาอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบ ประสาทของตนอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ได้เห็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ความสะเทือนใจย่อมเกิดขึ้นได้ ด้วยความ


งดงามมโหฬารและความมีวิญญาณขององค์พระพุทธรูปดื่มด่าเข้าสู่จิตใจ เมื่อพบเห็นงานศิลปกรรมชิ้นสาคัญ เช่นนั้น แม้บุคคลต่างศาสนา ก็ย่อมจะรู้สึกซาบซึ้งและเกิดปีติได้เช่นกัน ย่อมเป็นสิ่งแน่นอนที่ว่า พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนั้น ในระยะแรกได้รับอิทธิพลจากแบบพระพุทธรูป ของสกุลช่างอื่นๆ โดยเฉพาะอย่ างยิ่ง ใคร่อ้างถึงพระพุทธรูปหล่อสาริดซึ่งนาเข้ามาในเมืองไทยจากประเทศ ลังกาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตั้งแต่โบราณลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระพุทธรูปส่วนมากของอินเดีย อินโดนีเซีย และอินโด จีนนั้น จาหลักด้วยศิลา มีสร้างพระพุทธรูปสาริดกันบ้าง แต่มิอาจเปรียบกับปริมาณของพระพุทธรูปจาหลัก ศิลาได้ ทั้งพระพุทธรูปสาริดสมัยนั้นเล่า ก็ยังมีลักษณะเป็นอย่างพระพุทธรูปจาหลักหินอีกด้วย ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปทางภาคเหนือของไทยที่เรียกกันว่า “สมัยเชียงแสน” นั้น แม้ว่าจะสร้างด้วย สาริดก็ตาม แต่ยังคงมีลักษณะของพระพุทธรูปแบบคุปตะ หรือแบบคุปตะสมัยหลังซึ่งสร้างด้วยศิลาปรากฏให้ เห็นอยู่ ตรงกันข้ามพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ไม่มีแบบอย่างเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปของสกุลช่างคุปตะเลย เป็น ผลผลิ ต ที่ ส ร้ า งขึ้ น ด้ ว ยส าริ ด ของแบบสุ โ ขทั ย โดยแท้ การแตกต่ า งกั น อย่ า งแท้ จ ริ ง ในระหว่ า งงานสร้ า ง ประติมากรรมรูปเคารพที่ทาขึ้นด้วยศิลาและสาริดนั้น อาจอธิบายให้เห็นได้ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อศาสนา ฮินดูกลับรุ่งเรืองขึ้นอีก เป็นศาสนาประจาชาติในอินเดีย ก็มี อิทธิพลครอบงาอานาจทางใจของชาวอินเดีย ปรัชญาและวรรณคดีทางศาสนาย่อมดลใจให้ศิลปินคิดสร้างเทวรูปต่างๆ ทั้งชั้นสูงและชั้ นรองขึ้น ทารูปให้เห็น ว่ามีอานาจอันทรงมหิทธานุภาพต่างๆ ความต้องการของชาวอินเดียที่จะได้เทวรูปขนาดเล็กๆ ไว้สักการบูชาก็ เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ วิชาการหล่อรูปสาริดในประเทศอินเดียตอนใต้ตลอดลงมาจนใน ประเทศลังกา มีความเจริญก้าวหน้ามาก ด้วยเหตุนั้นเองงานสร้างประติมากรรมประเภทสาริดซึ่งมีลักษณะ พิเศษเกี่ยวกับการใช้เทคนิคของช่างจึงเกิดขึ้น ว่าที่จริง การตระเตรียมงานหล่อประติมากรรมประเภทสาริดนั้น ประการแรกจาต้องขึ้นหุ่นด้วยดิน เหนียวผสมกับทรายก่อน เมื่อหุ่นเสร็จเรียบร้อยและดินทรายแห้งสนิทดีแล้ว จึงหุ้มด้วยแผ่นขี้ผึ้งให้ทั่วในการ ปั้นรูปด้วยดินเหนียวและทรายนั้น ศิลปินอาจทาให้เส้นอ่อนช้อยตามความรู้สึกได้ดี ซึ่งในการจาหลักหินมิอาจ ทาได้ และในตอนหุ้มหุ่นดินทรายด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นวัตถุอ่อนนุ่ม ก็เป็นโอกาสให้ศิลปินได้ใช้ฝีมืออันเต็มไปด้วย ความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ภายในได้เป็นอย่างดี กรณีของศิลปสุโขทัยเป็นเช่นกล่าวนี้ ซึ่งใช้วัตถุธาตุสร้างพระพุทธรูปแตกต่างไปจากของที่ใช้กันใน สมัยก่อนๆ และโดยที่การสร้างพระพุทธรูปนั้น ศิลปินสร้างขึ้นด้วยความรู้สึกเชื่อมั่นในพระธรรมของ พระ ศาสดาอย่างแท้จริง กอปรด้วยความเป็นอัจฉริยะของคนไทยโบราณด้วย การเนรมิตงานศิลปขึ้นใหม่และความ เป็นไปทางจิตใจจึงเจริญงอกงามขึ้นในระหว่างตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ขอกล่าวเพิ่มเติมถึงกรรมวิธีของการหล่อสาริดอีกสักเล็กน้อยว่าเมื่อปั้นหุ่นขี้ผึ้งสาเร็จเรียบร้อยแล้วก็ เอาหุ่นขี้ผึ้งมาหุ้มด้วยดินผสมทรายอีกหลายชั้น ขั้นต่อจากนั้นจึงนาหุ่นไปสุมไฟ ให้ขี้ผึ้งละลายไหลออกทางสาย


ชนวนพิเศษซึ่งติดอยู่ตอนส่วนล่างของหุ่น เมื่อหมดขี้ผึ้งแล้ว ก็เททองลงไปในตัวหุ่น ทองก็ จะไหลลงไปแทนที่ ขี้ผึ้งซึง่ ละลายหมดไปแล้วนั้น วัตถุธาตุที่ใช้สาหรับทาหุ่นย่อมแตกต่างกันไป แล้วแต่ภูมิประเทศ ตัวอย่างเช่น ในยุโรปใช้อิฐปุนให้ ละเอียดจนเป็นผงผสมกับปูนพลาสเตอร์ปารีสแทนการใช้ดินผสมทรายอย่างของเรา ส่วนกรรมวิธีต่างๆก็ทา เช่นเดียวกัน ความสาเร็จของงานทั้งของชาวยุโรปและของไทย จึงได้ผลอย่างเดียวกัน จินตนาการในการสร้างพระพุทธรูป ศิลปในการสร้างพระพุทธรูปที่งดงามของสมัยสุโขทัยชอบสร้างเป็นพระพุทธศากยโคดม ภายหลังที่ ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ฉะนั้น ระบบกล้ามเนื้อจึงอยู่ในสภาพผ่อนคลาย และ พระ วรกายอยู่ในอาการพักผ่อนอย่างแท้จริง ลักษณะพระพักตร์สงบมียิ้มน้อยๆ สะท้อนออกซึ่งสภาวะแห่งปีติสุข อันมีอยู่ภายในอย่างสมบูรณ์ ภายหลังที่พระพุทธองค์สาเร็จพระโพธิญาณแล้ว พระองค์ก็ทรงสถิตอยู่ในแดน แห่งพระนิพพานมากกว่าที่จะข้องอยู่ในแดนโลกีย์ ดังนั้นศิลปินไทยจึงคิดสร้างพระพุทธรูปให้ดูเหมือนหนึ่งลอย อยู่ในอากาศ (ภาพหมายเลข ๑๙) ตามความจริงนั้น บรรดาพระพุ ทธรูปไม่ว่าจะอยู่ในท่าประทับนั่ ง ท่าลีลา หรือไสยาสน์ก็ตาม ล้วนแต่ให้เกิดความรู้สึกเหมือนเบาลอยอยู่ในอากาศและเคลื่อนไหวคล้ายคลื่น เช่นที่เคย กล่าวอยู่เนืองๆ แล้ว ลักษณะการเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปสาริดนั้น ปราศจากความเป็นตัวตน แต่ ขอย้ าว่ า ลั ท ธิวิ ญ ญาณนิ ย มเช่ น นั้ น ไม่ ก่ อให้ เกิ ด ผลเสี ย แก่คุ ณ สมบั ติท างประติ ม ากรรมของพระพุ ทธรู ป เพราะว่าถึงแม้จะสร้างขึ้นอย่างง่ายๆ และเป็นอุดมคติก็ตาม แต่ก็ได้ปั้นขึ้นตามรูปทรงของมนุษย์ที่งดงามยิ่ง ถึงแม้ว่าคุณสมบัติทางความรู้สึกเหมือนเบาลอย และทางรูปทรงประติมากรรมดูจะขัดแย้งกันอยู่ก็ตาม แต่เราจะไม่มองเห็นความไม่ประสานกลมกลืนกันในระหว่างความคิดอันเป็นนามธรรมกับความเป็นจริงในทาง วัตถุธรรมปรากฏอยู่ในพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเลย บรรดาพระพุทธรูปที่เป็นของฝีมือช่างชั้นสูง ยกตัวอย่าง เช่น พระพุทธรูปสมัยคุปตะลางองค์ เราจะเห็นว่าปริมาตรทางประติมากรรม ปรากฏเหมือนหนักมากเกินไป กว่าที่จะเป็นพระรูปแทนพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามคติของพระพุทธศาสนา โปรดดูภาพหมายเลข ๑ และ ๒ เปรียบเทียบ การที่จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นแทนพระองค์พระพุทธเจ้านั้นมิใช่ของง่าย เพียงแต่คุณสมบัติในด้าน ความงามอย่างเดีย วหาเป็ นการเพียงพอไม่ เพราะว่าในขณะเดียวกันรูปที่สร้างขึ้นตามอุดมคตินั้น จะต้อง ถ่ายทอดให้รู้ซึ้งถึงแก่นสารแห่งพระธรรมของพุทธองค์ด้วย ย่อมเป็นความจริงที่ว่า พระธรรมของพระพุทธองค์ นั่นเอง ที่ดลบันดาลใจให้ศิลปินคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้น ศิลปินจึงต้องสร้างรูปคนตามแบบอุดมคติ ซึ่งเป็นโล กุตตรธรรมให้ปรากฏขึ้นมาจากวัสดุอันเป็นโลกีย์ ช่างปั้นหล่อโบราณสมัยสุโขทัยเป็นผู้ที่แก้ปัญหาดังกล่าวนี้ได้ด้วยวิธีอันมหัศจรรย์ตามความจริงนั้นการ แสดงออกซึ่งความรู้สึกของพระพุทธรูปที่ศิลปินสร้างขึ้นเช่นนั้น ก็เพื่อที่จะให้เกิดพลังข่มความเร่าร้อนแห่งกิเลส


ของมวลมนุษย์ให้ดับสิ้นลง ซึ่งในขณะเดียวกันการที่พระพุทธองค์ทรงยิ้มน้อยๆ นั้น แสดงให้เ ราได้รู้กันว่า มนุษย์จะมีความสุขเพียงใด ถ้าสามารถเอาชนะสัญชาตญาณดั้งเดิมของตนเสียได้ เกี่ยวกับความรู้สึกเช่นนี้ ข้าพเจ้า ยังจาเรื่องที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ดี กล่าวคือ มี สุภาพสตรีสูงอายุผู้หนึ่งมีความวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าบุตรของเธอสองคนกาลังรบอยู่ในยุทธภูมิที่ ยุโรป สุภาพสตรีผู้นี้ได้มาที่บ้านข้าพเจ้าเสมอ และทุกครั้งที่มาเธอมักจะไปสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง ณ เบื้องหน้าของ เศียรพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ข้าพเจ้าไม่กล้ารบกวนสมาธิของเธอ แต่วันหนึ่งได้ไต่ถามถึงสิ่งที่เธอรู้สึกเมื่ออยู่ เบื้องหน้าพระพุทธรูปนั้นว่าเป็นอย่างไร เธอกล่าวว่าความสงบของพระพักตร์พระพุทธรูปช่วยให้เธอรู้สึกสงบ จิตสบายใจขึ้น ความรู้สึกดังกล่าวนี้เกิดด้วยอานาจทางจิตของศิลปสุโขทัยโดยแท้ เศียรพระพุทธรูปแบบดีที่สุดของสมัยสุโขทัยนั้น ปั้นขึ้นอย่างวิจิตรงดงามยิ่ง ทาให้บังเกิดความรู้สึกนึก คิดคล้ายภาพทิพย์ในสรวงสวรรค์ ซ้ายังเน้นให้เห็นความมีชีวิตจิตใจของพระพุทธรูปเด่นชัดยิ่งขึ้นด้วยเส้นขนาน อันพวยพุ่งอ่อนหวานของรอยริ้วพระโอษฐ์ฐานพระนาสิก และเส้นขอบพระเนตร (ภาพหมายเลข ๓) พระพุ ท ธรู ป ปางลี ล าสมั ย สุ โ ขทั ย มี ก ารแสดงออกเป็ น พิ เ ศษของศิ ล ปิ น สมั ย นั้ น และการสร้ า ง พระพุ ท ธรู ป แบบนี้ ศิ ล ปิ น ได้ ป ระสบความส าเร็ จ ในฝี มื อ การเนรมิ ต งานศิ ล ปชั้ น สู ง โดยแท้ เมื่ อ ได้ เ ห็ น พระพุทธรูปปางลีลาอันประณีตงดงามเหล่านี้ เราจะบังเกิดความรู้สึกเหมือนหนึ่งว่า พระพุทธองค์กาลังเสด็จ ดาเนินไปเบื้องหน้าอย่างแช่มช้อยพร้อมด้วยอาการกรีดของนิ้วพระหัตถ์ ซึ่งแสดงเป็นสัญลักษณ์ของ “พระ ธรรมจักร” ที่พระบรมศาสดาทรงมุ่งพระทัยประกาศพระธรรมคาสั่งสอน พระสรีกายเล่าก็เต็มไปด้วยอาการ อ่อนไหวนุ่มนวลที่สุด ส่วนพระวรกายที่ทรงเอี้ยวนิดๆ ไปทางด้านข้างนั้น แสดงให้เห็นว่ากาลังอยู่ในท่าย่างพระ บาท ในขณะเดียวกัน พระกรซึ่งห้อยลงมาสู่เบื้องล่างอย่างมีจังหวะนั้น ก็ประสานไปตามความรู้สึกอ่อนไหว ของพระวรกาย พระเศียรมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม และพระศอก็ตั้งผายไปตามพระอังสาติดต่อกลมกลืนกัน เป็นอันดี จะเห็นได้ว่า ทุกส่วนของพระพุทธรูป เช่นเส้นขอบรอบนอกอันอ่อนหวานของใบพระกรรณซึ่งงอน ออกเล็กน้อยนั้น ยิ่งเน้นให้เห็นส่วนประสานกลมกลืนขององค์ประกอบโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น พระหัตถ์ทั้งสองเล่า ก็ดูมีลักษณะเป็นของทิพย์เสียยิ่งกว่าเป็นของมนุษย์ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า การปั้นพระพุทธรูปลีลาของศิลปิน สมัยสุโขทัยนั้น นับเป็นฝีมือช่างวิเศษสุด (ภาพหมายเลข ๔) พระพุทธรูปลางองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เช่น พระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก (ภาพหมายเลข ๕ ) จะสังเกตเห็น กันได้ว่าทานิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากันหมดทั้งสี่นิ้ว ลักษณะพิเศษเช่นนี้ ควร กาหนดไว้ว่า เป็นเครื่องหมายของความเสื่อมของศิลปสมัยสุโขทัย ความพวยพุ่งอ่อนไหวที่สังเกตเห็นได้จากทรวดทรงเส้นขอบรอบนอกของพระพุทธรูปสุโขทัยนั้นต่อมา ได้กลายเป็นลักษณะที่จาต้องมีโดยทั่วไปในศิลปของไทย (ภาพหมายเลข ๖) เพื่อที่จะให้เป็นไปตามพุทธลักษณะที่ได้กาหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด ช่างจึงปั้นพระบาทของพระพุทธรูป ลีลาให้แบนราบ นิ้วพระบาทก็ทาให้ยาวเท่ากัน และทาส้นพระบาทให้ยื่นออกไปข้างหลังมากจนดูเกินงาม


แน่นอน ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายว่า ศิลปินสมัยสุโขทัยจะไม่สามารถปั้นส่วนใดส่วนหนึ่งของรูปคนได้ตามที่ตน ปรารถนา แต่ด้วยความเคารพต่อทุกสิ่ง ซึ่งกล่าวว่ามีอยู่ในพระองค์บรมศาสดานั้นสาคัญยิ่งจนศิลปินไม่คิดถึง สิ่งอื่น นอกจากพยายามดาเนินตามกฎเกณฑ์ของการสร้างพระพุทธรูปให้ถูกต้องพุทธลักษณะที่ท่านโบราณ จารย์กาหนดขึ้น ไว้ในพระคัมภีร์ ซึ่งเมื่อพิจารณาในด้านคุณสมบัติทางประติมากรรมแล้ว การดาเนินตาม เช่นนั้น ย่อมทาให้ขาดคุณค่าทางศิลปไป ส่วนพระพุทธรูปในท่าประทับนั่ง เราจะไม่มองเห็นสิ่งที่ไม่ประสานกลมกลืนใดๆ เกิดขึ้นในระหว่าง พระบาทกับองคาพยพอื่นๆ เลย ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเส้นวงพระพักตร์ของพระพุทธรูปนั้นเต็มไปด้วย ความรู้สึกสงบ ซึ่งทาให้ผู้เห็นได้รับความสงบและมีความเข้มแข็งที่จะเอาชานะความเร่าร้อนแห่งมวลกิเลส ทั้งหลายของตนได้ พระพุทธรูปสุโขทัยลางองค์งดงามยิ่ง จนดูมีลักษณะคล้ายกับเป็นสตรีเพศ มีน้อยคนที่จะตระหนักว่า ลักษณะเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับความเคารพนับถืออย่างลึกซึ้งของศิลปินโบราณที่มีอยู่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย เหตุนี้เอง ศิลปินจึงสร้างพระพุทธรูปไม่ให้มีเพศ ได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อพระพุทธโคดมได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิ ญาณแล้ว พระองค์ก็ทรงสถิตอยู่ในแดนแห่งนามธรรม ซึ่งลักษณะของเพศไม่มีอยู่อีกเลย เพราะฉะนั้น เรื่อง พระพุทธรูปจึงเป็นโลกุตตระมากกว่าโลกีย์ การที่จะมองเห็นคุณค่าในด้านความงามของพระพุทธรูปไทยนั้น เราควรดูพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐาน อยู่ บ นที่ ซึ่ ง ช่า งมุ่ งหมายจะให้ ไ ปตั้ง ไว้ แต่ แ รกสร้ าง ว่ าที่ จ ริ งแล้ ว พระพุท ธรู ปขนาดใหญ่เ ป็ น ส่ ว นมากเขา ประดิษฐานไว้ในซุ้มจระนา เพื่อให้มองเห็นจากส่วนด้านหน้าโดยตรง แต่โดยปกติ พระพุทธรูป เหล่านี้ได้ถูก เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิม นาไปประดิษฐานไว้ในที่ต่างๆ กัน โดยมิได้พิจารณาถึงความสูงต่าของสถานที่ตั้งและ แสงสว่างให้เหมาะกับพระพุทธรูป ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปลีลาองค์ใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็น พระพุทธรูปที่มีฝีมือช่างของไทยอย่างยอดเยี่ยม และแสดงความมีชีวิตจิตใจอย่างสูงสุดองค์หนึ่ง นั้น เมื่อเรา มองดูพระพุทธรูปปรากฏออกมาอย่างดีที่สุด แต่เมื่อไปมองทางด้านข้าง เราจะสังเกตเห็นว่า พระกรขวาไม่ ประสานกลมกลืนกันกับพระวรกาย หากว่าเรานาพระพุทธลีลาองค์นี้ไปประดิษฐานไว้ในซุ้มจระนา และยกฐานไว้ให้สูงกว่าระดับที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันแล้ว เราอาจได้ชื่นชมความงามที่เลอเลิศอย่างมีชีวิตจิตใจตามที่ศิลปินผู้เนรมิตได้มีมโนภาพไว้แต่แรก สร้าง (ภาพหมายเลข ๗) นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังได้หล่อเทวรูปสาริดในศาสนาพราหมณ์ขึ้นไว้อีกด้วย เมื่อ เอ่ยถึงการสร้างเทรวรูป ท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจว่า เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกที่คนไทยโบราณมีความนับถือ ทางศาสนาปะปนร่วมกัน นับแต่โบราณมาจนทุกวันนี้ บรรดาประเทศในอาเชียอาคเนย์ ลางประเทศที่เคยนับ ถือศาสนาพราหมณ์ก็ยังรักษาประเพณีที่จะต้องมีพวกพราหมณ์ไว้ประกอบพิธีกรรมในราชสานัก และในพิธี ของบ้านเมืองอยู่ ด้วยเหตุผลและความมุ่งหมายเช่นนี้ ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาจึงได้มีการหล่อเทวรูปของ ศาสนาพราหมณ์ขึ้น แม้ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็หล่อกันขึ้นไว้เช่นกัน


เพราะฉะนั้นเทวรูปของฮินดูจึงมีการสร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามแบบอย่างโบราณ เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญสาหรับประชาชนในสมัยโน้นโดยทั่วไปผู้ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจาก อินเดีย เทวรูปฮินดูที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยนั้นขาดมหิทธานุภาพ ไม่เหมือนเทวรูปของอินเดียซึ่งเต็มไปด้วยพ ลานุภาพต่างๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวไทยมีความเชื่อมั่นในพุทธศาสนา ถือเสียว่าศาสนาพราหมณ์เป็นต่าง ศาสนา ต่างความเชื่อถือ แต่อย่างไรก็ตาม เทวรูปศาสนาพราหมณ์สมัยสุโขทัย (ภาพหมายเลข ๘) ก็มีความ สวยงามเป็นพิเศษด้วยคุณค่าทั้งในด้านประติมากรรมและด้านจินตนาการ ภาพปูนปั้นสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยทั้งประเภทปั้นหล่อลอยตัว ทั้งประเภทนูนสูงและนูนต่านั้นมีทั้งหล่อด้วยสาริด และปูนปั้น ในเรื่องเกี่ยวกับการแสดงออกทางเทคนิค กล่าวคือลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะเกี่ยวกับวัตถุธาตุที่ใช้ ในการหล่อสาริดและปูนปั้นต่างได้รับผลคล้ายคลึงกันมาก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการปั้นหุ่น ขี้ผึ้งเพื่อหล่อเป็นสาริดหรือทาเป็นปูนปั้นก็ตาม ศิลปินย่อมมีโอกาสที่จะถ่ายทอดความรู้สึกภายในของตนลงไป ในงานปั้นขี้ผึ้งหรือปูนปั้น ซึ่งเป็นวัสดุประเภทอ่อนได้ดีกว่าการจาหลักหิน ปูนปั้นมีความสาคัญอย่างยิง่ แก่ศิลปินในสมัยทราวดี เขมรและไทย บรรดาโบราณสถานทาง สถาปัตย์ ที่สร้างด้วยศิลาแลงหรืออิฐก็ตาม ย่อมจะโบกผิวชั้นนอกและปั้นลวดบัว ตลอดจนปั้นลวดลายตกแต่งอย่าง วิจิตรอลังการ ล้วนทาด้วยปูนปั้นทั้งสิ้น การตกแต่งด้วยปูนปั้นนี้ ประกอบขึ้นด้วยรูปมนุษย์ รูปสัตว์และรูปจากนิทานชาดกหรือด้วยลวดลาย ประดับต่างๆ เพราะว่าปูนปั้นประกอบด้วยส่วนผสมของปูนขาว ทรายและน้าอ้อย ซึ่งจะแข็งตัวภายในเวลา ไม่กี่ชั่วโมง ดังนั้น ศิลปินจาต้องทางานให้เสร็จอย่างรวดเร็วด้วยฝีมืออันชานาญ แม้ว่าอาจจะต้องแก้ไขงานนั้น โดยเสริมปูนเข้าไปในลวดลายอีกก็ตาม ความสวยงามของลวดลายประดับย่อมขึ้นอยู่กับฝีมือ ปั้นอันมีสัมผัสเต็ม ไปด้วยความรู้สึกของศิลปิน ถ้าปั้นโดยศิลปินมีสติปัญญาสูง ก็จะเห็นว่าลวดลายเหล่านั้นมีชีวิตชีวา ถ้าปั้นโดย ฝีมือช่างอย่างธรรมดา ก็จะดูจืดชืด ภาพปูนปั้นนั้นแม้จะถูกลมฟูาอากาศโดยเฉพาะคือฝนก็จะยังแข็งคงอยู่ใน สภาพเดิมได้เป็นเวลานาน มีความจริงอยู่ว่า ถ้าหากไม่เป็นเพราะโบราณสถานปรั กหักพังหรือถูกทาลายโดย น้ามือของผู้ที่ลักขุดเจาะโบราณสถานและพระพุทธรูปเพื่อค้นหาของมีค่าแล้ว งานปูนปั้นที่สร้างกันไว้ตั้งหลาย ศตวรรษที่ผ่านมาแล้วก็คงจะยังอยู่ในสภาพดีเช่นเดิมเป็นแน่ ขนาดของพระพุทธรูปที่ปั้นด้วยปูน มิได้ทาให้ศิลปินโบราณเกิดความยากลาบากในการปั้ นให้มีส่วนสัด งดงามตามแบบของมนุษย์ในอุดมคติแต่อย่างใด พระพุทธรูปขนาดมหึมาเช่นที่วัดสะพานหินนอกเมืองสุโขทัย เก่า และพระพุทธรูปที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในอาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยนั้นแสดงให้เห็นถึงความ ประสานกลมกลืนทางด้านประติมากรรม พร้อมด้วยความมีชีวิต จิตใจทั้งสองสถานความยากลาบากในการ สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เช่นนั้นมีมากมาย ซึ่งว่าโดยทั่วไปแล้วมักจะสร้างขึ้นมาให้ดูเทอะทะไปเสียหมด แต่ ความเทอะทะเช่นว่านี้ มิได้ปรากฏอยู่ในศิลปสุโขทัยสมัยรุ่งเรืองเลย (ภาพหมายเลข ๙)


พระพุทธรูปปูนปั้นที่งามๆ ในวัดเจดีย์เจ็ดแถว อาเภอศรีสัชนาลัย มีคุณค่าทั้งในทางสุนทรียะและทาง ศาสนาเป็ น พิเ ศษโดยเฉพาะ เพราะมีฝี มื อ ปั้ นอั น เต็ม ด้ ว ยความรู้สึ ก และประณีต งดงามอย่ างยิ่ ง แต่ ตาม ความเห็นของข้าพเจ้า งานปูนปั้นชิ้นเยี่ยม ซึ่งงามประทับใจเป็นอันมากนั้น คือพระพุทธรูปลีลาปูนปั้นนูนสูง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในซุ้มมณฑปวัดตระพังทองหลาง นอกเมืองสุโขทัยเก่า พระพุทธรูปองค์นี้เป็นภาพเสด็จลง จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จดาเนินด้วยทิพยลีลา ทรวดทรงของพระพุทธรูปแบบอุดมคติ องค์นี้ดูมีชีวิตจิตใจ ที่สุด ผู้มีความรู้สึกทางด้านสุนทรียะ เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปองค์นี้แล้ว ย่อมจะเกิดความสะเทือนใจอย่างลึกซึ้ง และคงทนอยู่ตลอดกาล ที่กล่าวว่า “คงทนอยู่ตลอดกาล” นั้นเราหมายถึงความทรงจาที่มีต่องานศิลปชิ้นเอกนี้ ก่อให้เกิดความรู้สึกสงบและบริสุทธิ์ผุดผ่องแก่เราอยู่เสมอ ความรู้สึกเช่นนี้จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เพราะว่า พระพุทธรูปนั้นหุ้มห่ออยู่ด้วยสาระสาคัญอย่างแท้จริงของหลักธรรมในพุทธศาสนา กล่าวคือ ความบริสุทธิ์ทาง กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นสุนทรียชน จึงมิได้สร้างงานสักแต่ให้คล้อยตามตัวอักษรที่ อธิบายพระพุทธลักษณะของพระบรมศาสดาเช่นที่บรรยายไว้ในพระคัมภีร์ เพราะรู้ดีว่า ถ้าปั้นพระบาทให้ เป็นไปตามพระพุทธลักษณะที่บรรยายไว้ ก็จะทาให้เกิดผลเสียต่อความประสานกลมกลืนของพระพุทธรูปที่ตน เนรมิตขึ้น เหตุนั้น ช่างจึงปั้นพระพุทธรูปไปตามหลักวินิจฉัยอันสูงส่งทางด้านศิลปของตนสองข้างพระพุทธรูป ที่วัดตระพังทองหลางนั้น ปั้นเป็นรูปพระพรหม พระอินทร์และเทวดาอื่นๆ ให้มีขนาดเล็กกว่า ความแตกต่างทางด้านศิลปะระหว่างพุทธรูปกับเทวรูปนั้นอยู่ที่เราเข้าใจในเรื่องปริมาตรของงาน ประติมากรรมประเภทสูง ในเรื่ององค์ประกอบและในฝีมือปั้นของประติมากร ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าบรรดารูป เทวดาที่ล้อมรอบพระพุทธรูปนั้น ปั้นโดยศิลปินบางคนที่มีฝีมืออ่อน จิตรกรรมสมัยสุโขทัย เป็นสิ่งเศร้าใจยิ่งนักที่งานจิตรกรรมของสุโขทัยได้ชารุดเสียหายไปโดยสิ้นเชิง ที่เหลืออยู่บ้างก็เพียง ส่วนที่เป็นลวดลายประดับเท่านั้น ตรวจดูจากจิตรกรรมฝาผนังในวัดเจดีย์เจ็ดแถว อาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย เราพอจะกาหนดได้ว่างานจิตรกรรมแห่งนี้มีอายุอยู่ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสองปีที่แล้วมา นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบหมายให้นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ไปทาการคัดลอกจิตรกรรมฝาผนัง ดังกล่าวอย่างรักษาต้นแบบที่สุดไว้ ที่ทาไว้ได้ ดังนั้นนับเป็นเคราะห์ดีเหลือเกิน เพราะขณะนี้จิตรกรรมดังกล่าว นั้นได้ลบเลือนจนมองเกือบไม่เห็นอยู่ แน่นอน ภาพจาหลักลายเส้นบนแผ่นหินที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัยนั้น จาหลักขึ้นโดยพระภิกษุสงฆ์ ชาวลังกา ซึ่งเข้ามายังกรุงสุโขทัย เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาลั ทธิหินยานแก่ประชาชนชาวไทยและช่างไทย บางพวกก็ได้ช่วยกระทาการจาหลักภาพลายเส้นนั้นด้วย อันที่จริงภาพจาหลักลายเส้นซึ่งองค์ประกอบเป็นเรื่อง พุทธประวัติและชาดกต่างๆ เหล่านั้น เห็นได้ชัดว่ามีลักษณะเป็นแบบอย่างของอินเดีย (ภาพหมายเลข ๑๒) แต่ รูปคนและสัตว์ลางรูปก็แสดงให้เห็นความรู้สึกเป็ นแบบไทย ด้วยเหตุนี้เองเราจึงเชื่อว่ามีศิลปินไทยลางคนได้ ร่วมทางานจาหลักภาพลายเส้นเหล่านี้ด้วย


ผู้ที่ไปชมภาพจาหลักลายเส้นบนแผ่นหินที่วัดศรีชุมจะสังเกตเห็นได้ว่าแผ่นดินเหล่านั้นไม่เข้ากันกับ ผนังของตัวมณฑปเลย ที่เป็นเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าแผ่นภาพจาหลักลายเส้น เหล่านั้น ได้กระทาขึ้นไว้สาหรับ ตกแต่งสิ่งก่อสร้างแห่งอื่น ซึ่งยังมิได้สร้างขึ้น หรือหากสร้างขึ้นแล้ว ก็คงปรักพังเสียหายไปแล้วและโดยที่แผ่น ภาพจาหลักลายเส้นเหล่านั้นเป็นงานบุญงานกุศล จึงมีผู้นามาผนึกไว้ภายในช่องผนังมณฑปของวัดศรีชุม ในระหว่างแผ่นภาพจาหลักลายเส้นเหล่านี้ กับภาพเขียนเก่าแก่ที่สุดในวัดเจดีย์เจ็ดแถว อาเภอศรีสัช นาลั ยนั้ น มีแบบอย่างอัน แตกต่างกันอยู่ มาก ตามที่ได้กล่ าวแล้ วข้างต้นว่าแผ่นภาพจาหลั กลายเส้ นนั้น มี องค์ประกอบเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดกต่างๆ ส่วนองค์ประกอบภาพเขียนที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวท้องเรื่ องที่ กาหนดขึ้นเป็นภาพลายเส้นโค้งสูงต่าอยู่ในเส้นระดับ มีพระพุทธรูปประทับนั่ง ขนาบด้วยภาพ เหล่าท้าวพระยามหากษัตริย์นั่งเฝูากระทาการสักการบูชาอยู่ข้างๆ ท้องเรื่องเช่นนี้ได้นิยมทากันอยู่ทั่วไปและ กระทาติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ภาพหมายเลข ๑๓) ในภาพเขียนที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว สิ่งซึ่งกระตุ้นให้เกิดความสนใจแก่เรายิ่งขึ้น ก็คือความแตกต่างของ แบบอย่างระหว่างองค์พระพุทธรูปกับรูปอื่นๆ เพราะองค์พระพุทธรูปนั้นมีลักษณะมาเป็นแบบพระพุทธรูปสมัย สุโ ขทัย แล้ ว แต่บ รรดารู ป ของท้าวพระยามหากษัตริย์ยังคงมีลั กษณะให้ เ ห็ นเป็นศิล ปแบบลั งกาอยู่ (ภาพ หมายเลข ๑๒และ ๑๓) ความแตกต่างดังนี้นับว่ามีความสาคัญอยู่มากในการที่จะทาความเข้าใจกับศิลปของ ไทย ว่าที่จริงแล้ว รูปขอบรอบนอกอันอ่อนไหวนิ่มนวลขององค์พระพุทธรูปแบบสุโขทัยและความวิจิตรบรรจง ในส่วนละเอียดต่างๆ นั้น เกี่ยวโยงไปถึงลักษณะและอุปนิสัยใจคอของชนชาติไทยอยู่ด้วย ถ้าเราศึกษาความ เป็นไปของชนชาติไทยตลอดจนสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ก็จะเห็นได้ว่ามีลักษณะรูปร่างทรวดทรงทางกาย วิภาคเช่นเดียวกันกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แม้แต่รูปใบหน้าของชาวสุโขทัยลางคน เราก็อาจพบว่าเหมือน พระพักตร์พระพุทธรูปหล่อสุโขทัยด้วย (ภาพหมายเลข ๑๔, ๒๔ และ ๒๕) สีที่ใช้เขียนภาพในวัดเจดีย์เจ็ ดแถว ได้แก่ สีขาว สีแดง และสี ดา กล่าวคือ สีที่แสดงออกมาเป็นสี ประเภทเอกรงค์ และงานจิตรกรรมของไทยที่ใช้สีจาพวกเอกรงค์เช่นนี้ ยังคงใช้กันสืบมาจนถึงสมัยหลังๆ นี้ ลักษณะเช่นนี้ชวนให้คิดเห็นว่า งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัยนั้น เลียนแบบอย่างลักษณะของงานประติมากรรมอยู่ บ้างไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่า ศิลปินสมัยสุโขทัยได้บรรจุลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะของชนเชื้อชาติไทยไว้ใน งานประติมากรรมของตนเอง ซึ่งลั กษณะของเชื้อชาติเหล่ านี้ ได้ถ่ายทอดจากงานประติมากรรมมาสู่ งาน จิตรกรรมอีกต่อหนึ่งด้วย และลักษณะของเชื้อชาติดังกล่าวนั้น เราอาจพบเห็นในงานศิลปทุกยุคสมัยไม่เฉพาะ แต่ในงานศิลปสมัยปัจจุบัน เพราะว่าศิลปินปัจจุบันนั้น จะโดยจิตสานึกหรือปราศจากจิตสานึกก็ตาม ได้ยอมรับ เอาความบันดาลใจจากศิลปแห่ง “ยุคทอง” ของเราไว้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความรู้สึกของการลอกเลียนแบบ หรือ ความปรารถนาที่จะเนรมิตศิลปในลัทธินิยมการฟื้นฟูศิลปของยุครุ่งเรืองแต่อย่างใดหากแต่เป็นดังที่ได้กล่าว มาแล้วว่าเป็นเพราะศิลปินสมัยสุโขทัยได้ประทับลักษณะที่แท้จริงของชนชาติไทยลงไว้ในศิลปของตน และ ลักษณะของเชื้อชาติดังกล่าวนี้ จะดารงคงอยู่ชั่วกาลนิรันดร (ภาพหมายเลข ๑๔)


อิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของศิลปสุโขทัยนั้น มีอยู่ทั่วไปในแบบอย่างอื่นๆ ของศิลปไทย ซึ่งอาจสังเกตเห็นได้ จากพระพุทธรูปในภาคเหนือและในสมัยอยุธยาด้วย ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยยิ่งให้อิทธิพลแก่พระพุทธรูปทางภาคเหนือในด้านจิตใจ มากขึ้น ทั้งฝีมือในการปั้นให้งดงามถูกต้องตามหลักกายวิภาคยิ่งขึ้นและในลางครั้งจากการที่ศิลปของทั้งสอง สกุล กล่าวคือ สกุลช่างสุโขทัยกับสกุลช่างทางภาคเหนือได้ผสมคลุกเคล้ากัน ก่อให้เกิดผลดีขึ้นเป็นพิเศษ ดั งจะ เห็นได้ เช่นพระประธานปางสมาธิ (พระศรีศากยมุนี) ในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ เป็น ต้น เป็นความจริงที่พระพุทธรูปสาริดองค์นี้ อาจนับได้ว่าเป็นงานศิลปฝีมือเยี่ยมชิ้นหนึ่งในงานพุทธศิลป (ดูภาพ เปรียบเทียบหมายเลข ๑๖ และ ๑๗) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็น ต้นมา พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา แม้ว่าจะเลียนแบบอย่าง ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่สู้จะบรรลุผลถึงขั้นมาตรฐานของงานศิลปะชั้นสูงอันที่ จริงพระพุทธรูปสาริดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยานั้น มักจะสร้างเลียนแบบจากพระพุทธรูปชั้นสูงของสมัยก่ อนๆ ไม่มากก็น้อย แต่ก็มีน้อยองค์ที่จะมีความงามเป็นพิเศษ (ภาพหมายเลข ๑๘) เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย คุณลักษณะของเครื่องปั้นดินเผานั้น เกี่ยวกับทรวดทรงรูปนอก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงมีความสัมพันธ์กับงาน ประติมากรรม เพราะดังนั้น เมื่องานประติมากรรมของสมัยสุโขทัยเป็นงานศิลปที่เต็มไปด้วยความยิ่งใหญ่ งาน เครื่องปั้นดินเผาของสมัยสุโขทัยจึงมีความสาคัญเป็นอย่างดียิ่งด้วย งานเครื่องปั้นดินเผาของสมัยอยุธยาที่เรียก กันว่า “เบญจรงค์” นั้นตกแต่งประดับประดาให้มีสีหลายสี ด้วยเหตุนี้จึงมีความสัมพันธ์กับงานประติมากรรม และงานจิตรกรรมทั้งสองอย่าง แต่เครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัยและสวรรคโลกนั้นใช้สีเป็นเอกรงค์ ความงดงาม จึงขึ้นอยู่กับรูปทรงอันวิจิตรบรรจง สีอันนุ่มนวลที่ใช้เคลือบเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยโดยทั่วไป เป็นสีเขียวไข่ กาที่งามมาก งานเครื่องปั้นดินเผามีที่ใช้กว้างขวางมาก เป็นจาพวกกระถางแจกันที่ทาขึ้นไว้มากมายหลายขนาด และตามความต้องการต่างๆ กัน มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ สาหรับใส่น้าหอมและน้ามัน ไปจนถึงตุ่มใส่น้าขนาดใหญ่ ทรงรูปนอกของกระถางแจกันที่เผาจากเตาสวรรคโลกและสุโขทัย นับว่ามีชื่อเสียงโด่งดังมาก ทั้งในด้านความ วิจิตรและความสมบูรณ์อย่างหาที่ติมิได้ คุณสมบัติเช่นนี้ย่อมมีอยู่ในเครื่องปั้นดินเผาชั้นฝีมือ โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะเป็นดังได้กล่าวมาแล้ว งานศิลปประเภทนี้จึงนับเป็นสาขาหนึ่งของประติมากรรมงานเครื่องเคลือบนี้ใช้ เป็นส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรมอยู่ด้วยเป็นอย่างมาก อาทิเช่น กระเบื้องมุงหลังคาเคลือบด้วยสีน้าเงิน แกมเขียวหม่น บราลีรูปสามเหลี่ยม ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสันหลังคา รูปมกระ ใช้แต่งมุมฐานของหน้าบรรณ รูป สิงห์ รูปยักษ์มาร และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นงานเครื่องเคลือบทั้งสิ้น ยังมีบรรดาเครื่องภาชนะที่ใช้ในบ้านและในพิธี ต่างๆ อีกมากมายและสวยงามมาก ส่วนตุ๊กตาดินเผาเล็กๆ ที่ใช้ในพิธีเกี่ยวกับภูตผีก็กระทาขึ้นไว้มิใช่น้อย ตุ๊กตาเหล่านี้แม้จะดูฝีมือหยาบ แต่ก็มีคุณค่าในการแสดงออกซึ่งความรู้สึกทางศิลปอันเป็นไปอย่างธรรมชาติ


จาพวกตุ๊กตาเคลือบขนาดเล็กปั้นเป็นรูปช้างและสัตว์อื่นๆบางอย่างก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงอย่างน่าดูน่า ชม (ภาพหมายเลข ๒๒ และ ๒๓) กล่าวทางด้านเทคนิค งานเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยนั้นนับเป็นสิ่งวิเศษยิ่งยวดในข้อที่ว่าสามารถ แข่งขันกับงานเครื่องปั้นดินเผาของจีนในตลาดต่างประเทศได้เป็นอย่างดีในสมัยนั้น ประเทศญี่ปุน ได้สะสมงาน เครื่องปั้นดินเผาของไทยเราไว้มาก แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นของที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกดินที่ใช้ทาเครื่องปั้นดินเผา เป็นดินที่มีคุณภาพดี หลังจากที่ได้รับการเผาด้วยไฟแรงสูงแล้วจะแข็งมากการเคลือบก็นับได้ว่าเป็นเยี่ยม น้ายา จับ ผิว สนิ ทแน่ น ภาชนะและกระถางแจกั นต่างๆ นิยมใช้น้ายาเคลื อบสี เขียวไข่กา ที่เรียกกันว่าเซลาดอน (Celadon) และมักจะมีลวดลายเขียนด้วยสีดาหรือน้าหนักสีค่อนข้างแก่ ซึ่งเป็นสีเดียวกับภาชนะ แจกันลางใบ มีพื้นเป็นสีขาว และเขียนลวดลายเป็นสีดา แต่ตามปกติสีขาว (ซึ่งมักจะแกมเหลืองหม่นๆ นั้น ใช้เคลือบงาน ประติมากรรมประเภทตกแต่ง เช่น ตัวมกระ สิงห์ ยักษ์ มารและอื่นๆ ลายเส้นที่เขียนลงบนสิ่งของเหล่านี้ใช้สี ดาหรือสีน้าตาล สีที่ใช้เคลือบงานเครื่องปั้นดินเผาลางอย่างใช้ไปอีกสีหนึ่ง คือ สีดินเหลืองหม่น ลางครั้งก็ขุด ลายเส้นตื้นๆ ลงไปบนผิวของเครื่องปั้นดินเผาแทนลวดลายซึ่งเขียนด้วยสีแก่ ดูคล้ายกับเครื่องปั้นดินเผาของ จีนสมัยราชวงศ์ซ้อง กล่ าวกัน ว่า เตาเครื่ องปั้ น ดินเผาที่สุ โ ขทัยและสวรรคโลกนั้น สร้างขึ้นโดยจีน ซึ่งเป็นความจริงที่ พิจารณาเห็นได้ เพราะจีนได้รับผลสาเร็จอันยิ่งใหญ่ในศิลปประเภทนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง เป็นการแน่นอนที่ว่าเราได้เป็นหนี้บุญคุณชาวจีนที่ได้ให้ความรู้ทางวิชาการเผาและเคลือบแก่เรา แต่ก็ ใคร่ขอเน้นไว้ด้วยว่า คุณค่าทางศิลปของเครื่องปั้นดินเผาของเรานั้นเป็นศิลปของไทยแท้ เมื่อเราชื่นชมเครื่อง ปั้นของจีนกันอย่างยิ่ง ก็อดที่จะกล่าวเสียมิได้ว่ารู ปทรงของเครื่องปั้นดินเผาของจีนนั้น ขึ้นอยู่กับรสนิยมตาม แบบโบราณ อั น เป็ น ที่ นิ ย มกั น ในหมู่ ช าวจี น เท่ า นั้ น ชาวต่ า งประเทศอาจไม่ นิ ย มชมชอบก็ ไ ด้ ส่ ว น เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยและสวรรคโลกนั้น เป็นที่นิยมกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง ข้อสังเกตดังกล่าวนี้มุ่งหมาย กล่าวเฉพาะในด้ านสุนทรียะ และมีเจตนาที่จะเน้นให้เห็นว่า งานเครื่องปั้นดินเผาทั้งของจีนและของไทย มี ลักษณะพิเศษของตนแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางศิลปอันแตกต่างกันของประชาชนในชาติทั้งสอง (ภาพหมายเลข ๒๑, ๒๒, และ ๒๓)


ภาพหมายเลข ๑ พระพุทธรูปของอินเดีย สมัยคุปตะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นลักษณะของงานประติมากรรมที่สร้างด้วยหิน เมื่อเปรียบเทียบกับรูปที่ ๒ จะสังเกตเห็น ความแตกต่ า งกั น ของการแสดงออกซึ่ ง ความรู้ สึ ก อั น ขึ้ น อยู่ กั บ วั ต ถุ ธ าตุ ที่ ใ ช้ แ ละความหมายของการสร้ า งพระพุ ท ธรู ป โดยเฉพาะ ภาพหมายเลข ๒ พระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นพระพุทธรูปที่เต็มไปด้วยความมีชวี ิตจิตใจอย่างสูงสุดแสดงให้เห็นว่าความเคารพอย่างพิเศษ สุดของคนไทยโบราณมีอยู่ต่อพระบรมศาสดาเพียงใด และความเคารพนั้นบันดาลใจให้เขาสร้างพระพุทธรูปดูดังลอยอยู่ในสวรรค์ชั้นฟูา แสดงให้ เห็นว่าภายหลังที่ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเสด็จดาเนินเยื้องกรายไปเบื้องหน้า เพื่อทรงสั่งสอนพระธรรมของพระองค์ด้วยพระอิรยิ าบถ อันนุ่มนวล

ภาพหมายเลข ๓ ความมีชีวิตจิตใจและความสงบนิ่ง ปรากฏอยู่ในพระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งเกิดจากศิลปการปั้นที่เต็มไปด้วยความรู้สึกและฝีมืออย่าง วิเศษ ลีลาของเส้นวงพระพักตร์อันอ่อนไหวขนานกันไปนั้น เน้นให้เห็นถึงความมีชีวิตจิตใจยิ่งขึ้นอีก


ภาพหมายเลข ๔ พระหัตถ์ของพระพุทธรูปปางลีลาหมายเลข ๒ แสดงให้เห็นศิลปการปั้นอย่างวิเศษของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยพระหัตถ์อยู่ในท่าแสดงเป็นรูป “ธรรมจักร” ซึ่งเป็นหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ภาพหมายเลข ๕ พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีลักษณะของศิลปสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งสังเกตได้โดยเฉพาะจากศิลปแห่งการปั้นพระ ชงฆ์ ที่ โ ค้ ง ได้ ง ามมากเกิ น ไปการแสดงออกซึ่ ง ความรู้ สึ ก ทางจิ ต ใจก็ เ พลาลง และปลายนิ้ ว พระพั ก ตร์ ทั้ ง สี่ ก็ ปั้ น ให้ เ สมอเท่ า กั น หมด

ภาพหมายเลข ๖ รูปเขียนลายเส้นแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกอ่อนไหวและพวยพุ่ง ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในศิลปไทย A วาดจากพระพิมพ์สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ B เส้นขอบรอบนอกของพระพุทธรูปประทับนั่งสมัยสุโขทัย C ลายไทยที่เรียกกันว่า “ลายกนก”


ภาพหมายเลข ๗ จากการเปรียบเทียบรูปถ่ายด้านข้างและด้านหน้าของพระพุทธรูปลีลาองค์เดียวกันนี้ ย่อมเป็นที่สังเกตได้ว่าข้อต่อของพระอังสากับพระกรข้างขวา นั้นมีปริมาตรมากเกินไป ที่เป็นเช่นนี้ เพราะช่างปั้นต้องการเน้นให้พระอุระมีความกลมมากขึ้นเมื่อมองพระพุทธรูปจากด้านหน้า เพราะแต่เดิมนั้น พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในซุ้มซึ่งจะมองเห็นแต่ด้านหน้าเท่านั้น จากรูปถ่ายด้านข้าง เห็นได้ว่าช่างปั้นๆ ส้นพระบาทยื่นออกมามาก เนื่ องจาก ศิลปินโบราณยึดมั่นต่อพระพุทธลักษณะตามที่กาหนดไว้เข้มงวดจนเกินไป

ภาพหมายเลข ๘ พระวิษณุสาริด องค์สวยงาม สร้างในสมัยสุโขทัย ศิลปินมีมโนภาพที่จะสร้างให้เกิดความสง่าตามคติของศาสนาพราหมณ์ ภาพหมายเลข ๙ พระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูงในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สวรรคโลกอิริยาบถอันกาหนดขึ้นเป็นประเพณีของพระพุทธรูปลีลานั้นปรากฏอยู่ในพระพุทธรูป สาริด และปูนปั้นทั้งลอยตัวและปั้นนูน


ภาพหมายเลข ๑๐ พระพุทธรูปลีลาปูนปั้นองค์สวยงาม ที่วัดตระพังทองหลางสุโขทัยเก่า พุทธศตวรรษที่ ๒๐ อาการเคลื่อนไหวอันนุ่มนวลและการปั้นอันวิจิตร ทาให้ เห็นทิพยลักษณะ ภาพหมายเลข ๑๑ ส่วนละเอียดของจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๑ แสดงให้เห็นวิธีการขององค์ประกอบภาพซึ่งนิยมกัน โดยทั่วไปในงานจิตรกรรมไทยจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ นอกจากจิตรกรรมฝาผนังที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแห่งพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เท่านั้นที่มีองค์ประกอบภาพแตกต่างกันไปจากที่นิยมกันอยู่เดิม

ภาพหมายเลข ๑๒ ส่วนละเอียดของภาพจาหลักลายเส้นจากวัดศรีชุม สุโขทัยเก่า แสดงให้เห็นลักษณะของศิลปอินเดีย ภาพหมายเลข ๑๓ ส่วนละเอียดของงานจิตรกรรมฝาผนัง ในเจดีย์ราย วัดเจดีย์เจ็ดแถว อาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นของตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จาก ภาพนี้ สังเกตได้ว่าพระพุทธรูปมีลักษณะกลายมาเป็นอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยแล้ว แต่รูปท้าวพระยามหากษัตริย์ที่กาลังกระทาการสักการบูช านั้น ยังคงมีลักษณะเป็นศิลปอินเดีย


ภาพหมายเลข ๑๔ ศิลปินโบราณสมัยสุโขทัย นับเป็นนักสังเกตธรรมชาติอย่างดียิ่ง ได้บรรจุลักษณะของชนชาติไทยไว้ในพระพุทธรูปที่ตนปั้นขึ้นนั้นด้วย A รูปลายเส้นเศียรพระพุทธรูปด้านข้าง B รู ป ลายเส้ น ศี ร ษะสตรี ช าวสุ โ ขทั ย ด้ า นข้ า ง อาจสั ง เกตเห็ น ความสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด ระหว่ า งเศี ย รพระพุ ท ธรู ป กั บ ศี ร ษะสตรี

ภาพหมายเลข ๑๕ ศิลปปัจจุบัน รูปผู้หญิงสาริด ฝีมือปั้นของนายเขียน ยิ้มศิริ แสดงให้เห็นความอ่อนไหวของเส้นรูปนอกอันเป็นลักษณะโดยเฉพาะของชนชาติ ไทย ภาพหมายเลข ๑๖ พระพุทธรูปแบบเชียงแสนมีความสวยงามยิ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย


ภาพหมายเลข ๑๗ พระพุทธรูปแบบเชียงแสนแท้ จากการเปรียบเทียบพระพุทธรูปหมายเลข ๑๖ และ ๑๗ สององค์นี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า ศิลปสกุลช่างเชียงแสนและ สุโขทัยผสมกันได้เพียงใด ภาพหมายเลข ๑๘ เศียรพระพุทธรูปสาริดสมัยอยุธยา ซึ่งได้รับความบันดาลใจจากศิลปสุโขทัย

ภาพหมายเลข ๑๙ พระพุทธรูปสวยงามของพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร อิริยาบถของพระพุทธรูปบ่งถึงความสาเร็จ พระสัมมาสัมโพธิ ญาณของพระพุทธองค์พระวรกายแสดงให้เห็นถึงอาการผ่อนคลายอย่างสงบของระบบกล้ามเนื้อ พระอาการยิ้มน้อยๆ อันเป็นลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะของศิลปสุโขทัยนั้น สะท้อนให้เห็นถึงพระวิมุตติสุขภายใน อันเป็นนามธรรม พระหัตถ์ขวาอยู่ในท่าสัมผัสพระธรณี ขอให้เป็นพยานต่ อ การบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ขอให้สังเกตว่าพระบาทนั้นปั้นให้มีลักษณะเหมือนจริงโดยธรรมชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับพระบาทของพระพุทธรูป ลีลา


ภาพหมายเลข ๒๐ พระพุทธรูปไสยาสน์ สาริด ขนาดเล็ก แสดงให้เห็นแดนสงบอย่างแท้จริงของพระนิพพาน พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพิเศษ เกิดจากความรู้สึกอั น อ่อนไหว ประสานกลมกลืนกันอย่างยิ่ง

ภาพหมายเลข ๒๑ เครื่องปั้นดินเผา เป็นส่วนบนของมณฑปเล็กๆ ทาด้วยดินเผาไฟเคลือบ ภาพหมายเลข ๒๒ เครื่องปั้นดินเผา เศียรยักษ์ ทาด้วยดินเผาไฟเคลือบความดุร้ายเป็นลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของงานทางนิยาย เช่นนี้ และได้ถ่ายทอดไปสู่งาน จิตรกรรม ประติมากรรม และนาฎศิลป์ด้วย เช่น หน้ากากโขนละคอน สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ภาพหมายเลข ๒๓ เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้นคน เทวดา ยักษ์ และสัตว์ต่างๆ ขนาดเล็กๆ สร้างขึ้นอย่างมากมาย จากเตาเผาของสุโขทัยและสวรรคโลก งานปฏิมากรรม เหล่านี้ใช้สาหรับตกแต่งสถาปัตยกรรม หรือไม่ก็ใช้สาหรับพิธีทางศาสนาและทางภูตผี รูปช้างกับควาญบนหลังขนาดเล็กนี้ทาขึ้นอย่างง่ายๆ แต่ก็ได้ ลักษณะของสัตว์ประเภทนี้เป็นอย่างดียิ่ง


ภาพหมายเลข ๒๔ เศียรพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เปรียบเทียบกับรูปสตรีชาวสุโขทัย แสดงให้เห็นว่า ศิลปินชั้นครูสมัยโบราณนั้น สังเกตธรรมชาติและถ่ายทอดลักษณะของชนชาติไทยไว้ในงานของ ตนได้อย่างดีเพียงใด

ภาพหมายเลข ๒๕ เศียรพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เปรียบเทียบกับรูปสตรีชาวสุโขทัย แสดงให้เห็นว่า ศิลปินชั้นครูสมัยโบราณนั้น สังเกตธรรชาติและถ่ายทอดลักษณะของชนชาติไทยไว้ในงานของตน ได้อย่างดียิ่งเพียงใด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.