บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 ศิลปินรับเชิญ: สวัสดิ์ ตันติสุข โดย โอชนา พูลทองดีวัฒนา 2497-2498 ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทเอกรงค์ จากการแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 6 และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม ในปี พ.ศ. 2498 ได้รับปริญญา ศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับการเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับเกียรติเป็ นราชบัณฑิต ประเภทวิจิตร ศิลป์ สาขาจิตรกรรม ในปี พ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา ประเภทวิจิตร ศิลป์ ในปี พ.ศ. 2544 ตลอดช่วงชีวิตของสวัสดิ์ สามารถแบ่งช่วงเวลาของการสร้างสรรค์ออกเป็น 5 ช่วงด้วยกัน คือ ระยะแรก ในช่วงปี พ.ศ. 2483-2499 ขณะศึกษาที่โรงเรียนเพาะช่าง และมหาวิทยาลั ยศิลปากร ส่วนใหญ่เป็นการ สร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นและสีน้า เพื่อถ่ายทอดความงามจากธรรมชาติ ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรม แห่งชาติหลายครั้ง จนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม ในปี พ.ศ. 2498 ต่อมาในช่วงที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2500-2503 ขณะไปศึกษาต่อที่กรุงโรม ได้น้าความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับมาใช้การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม โดยเน้นการแสดงออกด้วยเส้น สี และบรรยากาศมากขึ้น และเริ่ม ปฏิบัติงานนามธรรม ได้รับรางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดภาพเขียน เมืองราเวนนา ประเทศอิตาลี และรางวัลที่ 1 การประกวดภาพเขียนของมหาวิทยาลัยแห่งกรุงโรม ช่ว งที่ 3 หลั ง เดิน ทางกลั บ จากกรุ ง โรม ได้ส ร้ า งสรรค์ผ ลงานนามธรรมอี ก ระยะเวลาหนึ่ ง และได้ สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเข้าร่วมแสดงทั้งในประเทศแลต่างประเทศหลายครั้งได้รับรางวัลที่ 2 จากการแสดง ศิลปะนานาชาติ กรุงไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม ช่วงที่ 4 ก่อนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2528 ได้รับทุนจากองค์การ Aspac ไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ไปประชุมเชิงปฏิบัติงานอาเซียน ประเทศมาเลเซีย และได้ปฏิบัติงาน ส้าคัญของชาติ คือ การปั้น ขยายภาพลวดลายประติมากรรมองค์พระธาตุพนม และการปั้นขยายพระพาหา พระกร พระพุทธรูปประธานพุทธมณฑล ช่วงที่ 5 หลังเกษียณอายุราชการ นอกเหนือจากการไปศึกษาดูงาน และได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสิน การประกวดศิลปกรรมหลายแห่งแล้ว สวัสดิ์จะใช้เวลาไปกับการพักผ่อนชายทะเล เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวาด เส้นและสีน้า สวั ส ดิ์ มีค วามโดดเด่ น ในการสร้ า งสรรค์ผ ลงานจิ ตรกรรม ทั้ งเทคนิค สี น้ า และสี น้ ามั น โดยเฉพาะ จิตรกรรมสีน้า ซึ่งได้รับการยกย่องจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ว่ามีฝีมือเป็นเยี่ยม ผลงานของสวัสดิ์มีทั้ง รูปแบบกึ่งนามธรรม ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และตัดทอนรูปทรงบางส่วนเพื่อเน้นการแสดงอารมณ์


ความรู้ สึกส่ วนตน มากกว่าการแสดงความเป็นจริงตามธรรมชาติและรูปแบบนามธรรม ที่เน้นการจัดวาง องค์ประกอบของทัศนธาตุ ตามความคิดและจินตนาการ ในส่วนการแสดงออกด้านเนื้อหา มีทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ แสดงออกถึงความประทั บใจในความ งามของธรรมชาติจากบรรยากาศในช่วงเวลาต่าง ๆ เนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก แสดงออกผ่าน ความงามของทัศนธาตุและการจั ดวางองค์ประกอบ และเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุ เช่น วัดวาอาราม บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เทคนิคกลวิธีในการใช้สีเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ แต่ตัดทอนบางส่วนตาม จินตนาการ เป็นการใช้สีอย่างอิสระแสดงความรู้สึกด้วยสี ไม่ใช้สีเลียนแบบตามที่ตาเห็นใช้วิธีการระบายสีด้วย การปาดป้ าย แตะแต้ม สลั ด หยด จุ ด ขีด แสดงร่อ งรอยคราบน้​้ า และคราบสี ซึ่ งเป็ นวิธี การระบายสี ที่ อิสระเสรี สนุกกับการเล่นสี และแสดงพลังแห่งความรู้สึกแบบฉับพลัน ผลงานจิตรกรรมของสวัสดิ์เป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวสูง มีความเป็นต้นแบบ ด้วยการแสดงออกที่ เรียบง่าย แต่สามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้ง และเปี่ยมไปด้วยพลั งของความงามอัน บริสุทธิ์ แม้ร่างกายของท่านได้จากไปแล้ว แต่จิตวิญญาณของ “สวัสดิ์ ตันติสุข” นั้นยังคงปรากฏอยู่ในผลงาน ศิลปะอันทรงคุณค่าของท่าน และพร้อมจะเติบโตต่อไปในใจของผู้รับและชื่นชม

“การศึกษาสร้างสรรค์งานศิลปะ ควรท้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ตามประสบการณ์ของตนเองโดย ปฏิบัติการให้สมอง (ความคิด) จิตใจ (บริสุทธิ์ จริงใจ) และมือ (ฝีมือ) มีความสัมพันธ์ไปพร้อมกัน ”

บรรณานุกรม ปริญญา ตันติสุข. สูจิบัตรนิทรรศการพิเศษเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจ้าปีพุทธศักราช 2551 : ศิลปกรรม ย้อนหลัง สวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติ กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ้ากัด (มหาชน), 2551 ______ ที่ระลึกนายสวัสดิ์ ตันติสุข. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ้ากัด (มหาชน), 2553 พิเชษฐ สุนทรโชติ. การศึกษาภาพจิตรกรรมสีน้าของ สัวสดิ์ ตันติสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏ สวน ดุสิต, 2547


“ภาพเหมือนตัวเอง” 2551 สีน้ามันบนผ้าใบ, 50 x 50 ซม.

“พลังลม พายุฝน” 2547 สีน้ามันบนผ้าใบ, 80 x 100 ซม.


“วิกฤตการณ์การเมือง” 2550 สีน้ามันบนผ้าใบ, 70 x 90 ซม.

“เย็นสัตหีบ” 2533 สีน้ามันบนผ้าใบ, 37 x 45 ซม.


GUEST ARTIST: Sawasdi Tantisuk By Ochana Poonthongdeewatthana Sawasdi Tantisuk, born in 1925, has received certificate of Art Education from PohChang School of Art & Craft in 1942 before continued his art education as the first class student of the Faculty of Painting Sculpture and Graphic Art, Silpakorn University, in which Professor Silpa Bhirasri was the faculty’s dean at that time. Sawasdi graduated in 1945 and started his career at the Fine Art Department in 1947. He was granted the scholarship from Council of Italian Cultural Affairs in the Middle East and the Far East take Diploma degree in Painting at the Academy of Fine Art in Rome, Italy, where he finally achieved this degree in 1960. In the following year, Sawasdi has returned to Thailand and became the head master of the School of Fine Arts and later became the Director of College of Fine Art from 1975 until retirement in 1985. He passed away in 2009 with the age of 84. In the first National Exhibition of Art in 1949, Sawasdi has won the 3rd Prize, Bronze Medal Award in Painting, followed by the 2nd Prize, Silver Medal Awards in Painting from the 2nd to the 4th National Exhibition of Art in 1950 to 1953. He has won the 1st Prize, Gold Medal Awards in Painting from the 5th and the 6th National Exhibition of Art in 1954 – 1955 and also the 2nd Prize, Silver Medal Award in Mono-chrome from the 6th National Exhibition of Art in 1955. Within the same year, he was honored the Artist of Distinction in Painting. In 1984 Sawasdi has been granted the Ph.D. Honorary Degree in Painting from Silpakorn University. He was honoured as the National Artist in Visual Art (Painting) in 1991 and the member of Royal Institute in Fine Art (Painting) in the following year. Lastly in 2001, he was granted the Dushdi Mala, the royal honorable medal granted from His Majesty the king. During his lifetime, his art creation can be divided into 5 periods. The first period was between 1940 and 1956 when he was studying at Poh Chang School of Art & Craft and Silpakorn University. Most of his works are drawing and watercolour painting, which reflect beauty from the nature. During this period, he has won several national prizes, including being honoured as Artist of Distinction. His second period of his creation was between 1957 and 1960 when he was in Rome. His experience and knowledge gained from his study there has benefrted to his painting technique with more expression on lines, colours, and atmosphere. His abstract painting has won the first prize, Gold Medal from the Competition of Painting in Ravenna, Italy and the first prize from Exhibition of Painting of University of Rome, Italy.


The third period of work was after he has returned to Thailand and continued creating abstract paintings for a while. His works have exhibited both locally and international, and won the 2nd Prize from International Art Exhibition from Saigon, Vietnam. His fourth period of work was the period prior to his retirement, which was in 1985, when he was selected from ASPAC to travel to New Zealand and Australia, and participated in ASEAN workshop in Malaysia. Moreover, he was responsible for enlarging the decorative stucco of Phra That Phanom, as well as enlarging sculpture model of the arms and the hands of principle Buddha image of Phutthamonthon. The final period of his work was after his retirement. Apart from his visiting trips to several countries and was a juror in several art competitions, Sawasdi would spend time relaxing by the beach to create his drawing and watercolour painting. His most distinguished skill painting in both watercolour and oil. His great watercolour skill also received compliment from Professor Silpa Bhirasri. His works comprise of semiabstract works, which were inspired by nature but reduced its forms to express personal emotions rather than trying to copy the nature, and abstract works, which focus on the composition of his imaginative visual elements. The content of his works reflect the impression of the beautiful natural surroundings, personal feelings and emotions, and other encountered objects, such as temples, town, and building. He imitated the colour of nature but minimize it with his imagination. His colour technique is free and full of expression: each stroke he painted can show freedom, fun, and immediate power of emotion. It can be said that all of Sawasdi’s paintings have unique characteristics. The simple expression can simply reveal profound emotion and feelings, as well as embrace the power of pure beauty. Even though Sawasdi already passed away, his spirit still lingers in all of his invaluable art works and they are going to grow gracefully inside the audience’s minds.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.