บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50 10 คาถาม “คุณรู้หรือไม่?” เกี่ยวกับ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ โดย สุธี คุณาวิชยานนท์ 1. คุณ รู้ หรื อไม่ว่ า “แห่ งชาติ ” ในสมัย ก่อ นเขาไม่ไ ด้จั ดกั น แบบนี้ การแบ่ง ประเภทงานในการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ครั้งที่ 1 ปี 2492 มีประเภท จิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะตกแต่ง ครั้งที่ 2 ปี 2493 เพิ่มประเภท ภาพเอกรงค์ (Monochrome) เข้ามาด้วย และมีมาจนถึงครั้ง สุดท้าย คือ ครั้งที่ 12 ปี 2504 ครั้งที่ 3 ปี 2494 มีประเภท ภาพโฆษณาโปสเตอร์ มีปีเดียวเลิก ครั้งที่ 4 ปี 2496 มีประเภท ศิลปประยุกต์ (Applied Arts) มีจนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อ ครั้งที่ 14 ปี 2506 แต่ในครั้งที่ 9 มีการแยกประเภท มัณฑนศิลป์ (Decorative art) ออกมา ต่างหาก ครั้งที่ 2 มีงานศิลปะเด็กเข้าร่วมแสดง แต่ไม่ปรากฏจานวน ไม่ตีพิมพ์ภาพในสูจิบัตรเพิ่งเริ่ม ปรากฏในสูจิบัตรเมื่อ ครั้งที่ 5 ปี 2496 – 2497 มีศิลปกรรมเด็กอายุไม่เกิน 8 ขวบ มีจนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อ ครั้งที่ 14 ปี 2506 หนึ่งในเด็กนักเรียนที่ได้รางวัล ซึ่งปัจจุบันเป็นศิลปินมืออาชีพที่มี ชื่อเสียง คือ ช่วง มูลพินิจ ด.ช. ช่วง ได้รางวัลที่ 2 ประเภทอายุสูงกว่า 8 ปี แต่ไม่ เกิน 14 ปี จากการประกวดในครั้งที่ 6 ปี 2498 ตั้งแต่ครั้งที่ 15 ปี 2507 เหลือเพียงประเภท จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ครั้งที่ 15 ปี 2507 เริ่มมีประเภท ภาพพิมพ์ ครั้งที่ 10 – 11 มีประเภทย่อยเรียกว่า “แกะแม่พิมพ์ไม้” (woodcut) เริ่มมาเรียกว่าเป็น ภาพพิมพ์ เมื่อ ครั้งที่ 12 ปี 2504 ครั้งที่ 27 ปี 2524 เริ่มมีประเภท สื่อประสม (Mixed Media) มีจนถึงครั้งที่ 28 ปี 2526 แล้วก็หายไป กลับมาอีกครั้งเมื่อครัง้ 37 ปี 2534 ประเภท ภาพเอกรงค์ มีการใช้คาสลับไปมาระหว่าง วาดเขียน วาดเส้น ซึ่งหมายถึง ภาพ ลายเส้น ภาพวาดระบายสีและภาพถ่าย แต่ไม่เคยมีภาพถ่ายเข้าสู่การประกวด บางครั้งก็มีการแยกประเภทวาดเขียนออกจากเอกรงค์ บ้างก็รวมเป็น monochrome drawing ครั้งที่ 4 มีการแยกประเภทเป็น จิตรกรรมแบบไทย มีอยู่ 6 ชิ้น ยุค ศิลป์ พีระศรี มีการแยก จิตรกรรมออกเป็น จิตรกรรมในลักษณะไทย, จิตรกรรมในลักษณะสมัยใหม่,


ประติมากรรมแบบไทย (รูปปั้น รูปสลักในลักษณะแบบไทย, การออกแบบ พระพุทธรูป, ประติมากรรมตามลักษณะสมัยใหม่) คนต่างชาติเคยมีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด แต่ต่อมายกเลิกไปเมื่อ ครั้งที่ 29 ปี 2526 ก่อน หน้านี้ศิลปินต่างชาติมีสิทธิ์ได้รับรางวัลเป็นประกาศนียบัตรเกียรติยศแต่ไม่ได้เงิน รางวัล

2. คุณรู้หรือไม่ว่าใครเป็นกรรมการฯ “แห่งชาติ” บ่อยที่สุด 10 อันดับกรรมการตัดสินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติที่เป็นบ่อยที่สุด อันดับ 1 สวัสดิ์ ตันติสุข 35 ครั้ง อันดับ 2 ชลูด นิ่มเสมอ 24 ครั้ง อันดับ 3 ม.จ. การวิก จักรพันธุ์ 22 ครั้ง อันดับ 4 มีเซียม ยิบอินซอย 20 ครั้ง อันดับ 5 มานิตย์ ภู่อารีย์ 19 ครั้ง หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ 19 ครั้ง อันดับ 6 เฟื้อ หริพิทักษ์ 18 ครั้ง ถวัลย์ ดัชนี 18 ครั้ง อันดับ 7 ปรีชา เถาทอง 15 ครั้ง อิทธิพล ตั้งโฉลก 15 ครั้ง อันดับ 8 ประหยัด พงษ์ดา 14 ครั้ง นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 14 ครั้ง อันดับ 9 ทวี นันทขว้าง 13 ครั้ง อันดับ 10 เดชา วราชุน 12 ครั้ง


และที่น่าแปลกใจที่สุดก็คือ ตามเอกสารที่ได้รับการบันทึก ศิลป์ พีระศรี ผู้ผลักดันการแสดงศิลปกรรม แห่งชาติคนสาคัญ เคยเป็นกรรมการฯ เพียงแค่ 7 ครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีบุคคลอีกหลายคน ที่คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่า เขาเหล่านั้นเคยเป็นกรรมการฯ มาก่อน อาทิ เช่น ประเทือง เอมเจริญ 7 ครั้ง ครั้งที่ 27, 29, 30, 32, 35, 37และ 40 พิริยะ ไกรฤกษ์ 8 ครั้ง ครั้งที่ 26, - 30, 32, 33 และ 35 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล 1 ครั้ง ครั้งที่ 1 โมเนต์ ซาโตมิ ครั้งที่ 1 และ 2 เหม เวชกร 9 ครั้ง ครั้งที่ 11 – 19 อารี สุทธิพันธุ์ 6 ครั้ง ครั้งที่ 27 และ 32 – 36 วิรุณ ตั้งเจริญ 2 ครั้ง ครั้งที่ 36 และ 42

3. คุณรู้หรือไม่ว่า วันเวลาผ่านไป ศิลปประยุกต์ ได้กลายเป็น วิจิตรศิลป์ ชิต เหรียญประชา ศิลปินชั้นเยี่ยม เจ้าของผลงานประติมากรรมระดับคลาสิกอย่าง ราไทย; ระบา สวรรค์ (เหรี ย ญทอง ครั้ ง ที่ 2) และ ร ามะนา (เหรี ย ญทอง ครั้ ง ที่ 3) ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ศิ ล ปิ น ชั้ น เยี่ ย ม สาขา ประติมากรรม แต่เป็นสาขาศิลปประยุกต์ ประสงค์ ปัทมานุช ศิลปินชั้นเยี่ยมแต่เพียงหนึ่งเดียวในประเภทมัณฑนศิลป์ แต่ในปัจจุบันผลงานกลับ ได้รับการอ้างอิงและยกย่องในฐานะงานจิตรกรรมแบบวิจิตรศิลป์ ภาพสีฝุนในปี พ.ศ. 2493 วัดพระแก้วที่ฉันพบ (Wat Phra keo) โดยประสงค์ ปัทมานุช “ศิลปินชั้น เยี่ยม” จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2496 ในสาขามัณฑนศิลป์ และในปี พ.ศ. 2529 ได้รับ การยกย่องเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาทัศนศิลป์ ด้านจิตรกรรม


ผลงานจิตรกรรมของประสงค์ที่ได้รับรางวัลสาคัญและต่อมาได้กลายเป็นผลงานชิ้นเอกของวงการศิลปะ ไทย (เช่น วัดพระแก้วที่ฉันพบ (Wat Phra keo), นางฟ้าแห่งนครวัด ปี พ.ศ. 2494 และเจดีย์วัดโพธิ์ ปี พ.ศ. 2501 ล้วนแล้วแต่ถูกประทับตราว่าเป็นศิลปะสาหรับตกแต่ง หรือไม่ก็เป็นงานมัณฑนศิลป์บ้าง เป็นศิลป ประยุกต์บ้าง (คาศัพท์เหล่านี้ แม้แต่ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติยังใช้สลับเปลี่ยนกันอยู่หลายครั้ง) ใน วงการศิลปะเมืองไทย โดยเฉพาะในสมัยก่อน (ก่อนพุทธศตวรรษ 2530 โดยประมาณ) การแบ่งและการ จัดลาดับขัน้ สูง ต่าระหว่าง “วิจิตรศิลป์” และ “ศิลปประยุกต์” นั่นค่อนข้างจะเคร่งครัด จิตรกรรม, ประติมากรรมและภาพพิมพ์จะจัดอยู่ในวิจิตรศิลป์ ศิลปะของการตกแต่ง, งานออกแบบต่าง ๆ และ มัณฑนศิลป์จะจัดอยู่ในศิลปประยุกต์ หรือไม่ก็เรียกว่า “พาณิชย์ศิลป์” บ้าง “อุตสาหกรรมศิลป์” บ้างก็มี ค่านิยมของคนในวงการศิลปะและคนโดยทั่วไปจะยกย่องว่าจิตรกรรม, ประติมากรรมที่อยู่ในทัศนศิลป์และ เป็นวิจิตรศิลป์ มีคุณค่าและอยู่สูงกว่าศิลปประยุกต์

ในกรณีของประสงค์ ปัทมานุช ผลงานของเขาจะเกี่ยวกับ 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ผลงานที่มีแนว คิวบิสติคผสมอยู่ถูกจัดว่าเป็นมัณฑนศิลป์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ริเริ่มการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติและเป็นกรรมการ ตัดสินการประกวดคนสาคัญเขียนถึงประสงค์ไว้ว่า “...Prasong Padmanuja, this artist was born a painter decorator with a peculiar tendency to modern expressions.” ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินหัวก้าวหน้ารุ่นอาวุโส ศิษย์เอกของ ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานจิตรกรรมของ ประสงค์ว่า “อาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช นาภาพสถานที่ที่บอกความเป็นไทยชัดเจน เช่น วัดพระแก้วหรือรูป คนที่มีลักษณะไทยวรรณคดี มาแบ่งส่วนคล้ายงานแบบ Cubism แล้วระบายสีสลับกันตามช่องเหล่านั้น มีการ ประสานกันของสีอย่างสวยงามกลมกลืนเป็นเลิศ ท่านชนะการประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลาย


ครั้งจนได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมประเภทศิลปะตกแต่ง อาจารย์ศิลป์ท่านบอกว่าเป็นงาน Decorative ไม่ใช่ Emotional Art” ในกรณีของประสงค์ ปัทมานุช กับงานวิจิตรศิลป์และมัณฑนศิลป์ เช่นกัน มาโนช กงกะนันท์ อดีต นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2499 ได้อ้างถึง ศิลป์ พีระศรี ที่ให้ความเห็น ว่างานมัณฑนศิลป์จะให้ความรู้สึกแก่ผู้ชมเพียงสถานเดียว “คือเห็นผลงานประเภทนี้แล้ว จะต้องรื่นเริง สดใส ความสุข สนุกสนาน ร่าเริง เป็นศิลปะประเภทที่ให้ ความรู้สึกอย่างนี้แต่อย่างเดียว ถ้าเป็นจิตรกรรมทาง fine arts แล้วจะให้ความรู้สึกลึกซึ้งในอีกลักษณะหนึ่ง เช่น ของที่เราเห็นสกปรก น้าครา ตะไคร่ มีคุณค่า มีความงามในตัวมันเองได้ ศิลปินถ่ายทอดออกมาได้ แต่ทาง มัณฑนศิลป์ต้องสบายเท่านั้นจึงจะเหมาะกับการตกแต่งสถานที่...นี่เป็นความคิดเห็นของอาจารย์ศิลป์ที่คุยกัน อย่างไม่เป็นทางการ กระผมรู้สึกอึดอัดใจมากตอนนั้น ท่านถามถึงผลงานของอาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ท่านถามว่า นายชอบไหม สวยไหม ผมก็ตอบว่าชอบครับ สวย ท่านก็ตบหลัง บอกว่านั่นแหละพอแล้ว” จิตรกรรมของประสงค์แม้ว่าจะชนะการประกวดในสาขามัณฑนศิลป์ แต่ผลงานเหล่านั้นเป็นผลงานที่ สร้างขึ้นใหม่สาหรับส่งเข้าประกวด ไม่ใช่ผลงานที่ใช้ในการตกแต่งอาคารจริง ๆ การที่ผลงานเหล่านั้นเข้าไปอยู่ ในประเภทมัณฑนศิลป์จึงไม่ใช่เพราะหน้าที่การใช้งาน แต่เป็นเพราะจิตรกรจงใจเขียนแนวตกแต่งเพื่อเข้า ประกวดในสาขานั้น ๆ และคงเป็นเพราะภาพเขียนของประสงค์มีรูปแบบที่เน้นความสวยงามดูแล้วสบายใจไม่ ต้องคิดมาก ไม่ใช่ผลงานที่ให้อารมณ์สะเทือนใจ ผลงานของประสงค์ ปัทมานุช ที่เขียนภาพเป็นเรขาคณิต ได้รับการยอมรับว่ามีลักษณะเป็น คิวบิสติค บ้างก็เรียกว่า “คิวบิสม์” เลยก็มี แต่การที่ภาพของประสงค์มีลักษณะแบบนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็น วิจิ ต รศิ ล ป์ ดัง เช่น ที่ “คิ ว บิ ส ม์ ” ได้รั บ การยอมรับ ว่า เป็น วิจิ ตรศิล ป์ หากดูจ ากผลงานที่ไ ด้ร างวั ล ในสาขา จิตรกรรมในยุคนั้นและผลงานแนวคิวบิสติคได้รางวัลในช่วงต้นพุทธศตวรรษ 2500 (เช่น อาหารกลางวัน ในปี พ.ศ. 2502 โดยชลูด นิ่มเสมอ) จะพบว่าล้วนแล้วแต่มีลักษณะเป็นคิวบิสติค มีการระบายสีแบบทิ้งฝีแปรง (painterly) ส่วนจิตรกรรมที่เขียนเป็นคิวบิสติค แต่เป็นแบบสีเรียบแบน เช่น ผลงานของประสงค์, สนิท ดิษฐ พันธุ์, พินิจ สุวรรณบุณย์ และงานในยุคแรกของมานิตย์ ภู่อารีย์ ล้วนแล้วแต่จัดอยู่ในสาขามัณฑนศิลป์หรือ จิตรกรรมประเพณีทั้งสิ้น ดังนั้นข้อสรุปที่พบคือ ความแบนเรียบแบบกราฟฟิคของผลงาน และความที่มัน ปราศจากฝีแปรงที่แสดงอารมณ์สะเทือนใจ ดังที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ทาให้ผลงานถูกประเมินคุณค่าให้เป็นงานเชิง ตกแต่งเป็นงานออกแบบ ประเด็นที่สองเกิดจากข้อสงสัยที่ว่า ภาพเขียนแบบเรขาคณิตของประสงค์ที่ดูคล้ายคิวบิสม์ ดูเป็น คิวบิ สติค แท้ที่จริงแล้วมีที่มาจากคิวบิสติคในยุโรปหรือไม่ ปรากฏว่าไม่สามารถหาหลักฐานรูปธรรมใด ๆ ที่จะ เชื่อมโยงภาพเขียนเหล่านั้นของประสงค์กับคิวบิสม์ในยุโรปโดยตรง จากข้อสังเกตประการแรกเกี่ยวกับค่านิยม ของคนในสมัยนั้นที่จัดประเภทว่างานแนวเรขาคณิตแบนเรียบที่ประสงค์ทาเป็นมัณฑนศิลป์ เมื่อลองสารวจ งานออกแบบโฆษณา งานสิ่งพิมพ์กราฟฟิคต่าง ๆ ในไทยสมัยพุทธทศวรรษ 2480 – 2490 จะพบว่ามีความ


นิยมการสร้างภาพที่เน้นความแบนเรียบ การใช้ สีสดแบน การลดทอนรายละเอียดของภาพ แม้ว่าจะไม่ได้เป็น ภาพเหลี่ยมเรขาคณิตมาก ๆ อย่างภาพของประสงค์ ข้อสันนิษฐานคือ ประสงค์อาจจะได้รับอิทธิพลคิวบิสม์โดยอ้อมจากสื่ออื่น ๆ ด้วย เช่น รูปแบบการ ทางานออกแบบโฆษณาสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้รั บอิทธิพลจากงานออกแบบแนวอาร์ต เดโค (Art Deco) จาก ต่างประเทศ ซึ่งก็เป็นแนวศิลปะและการออกแบบที่มีความเกี่ยวข้องกับคิวบิสม์ด้วย และประสงค์อาจจะได้ดู ภาพเขียนแนวคิวบิสม์ของยุโรปจากหนังสือศิลปะต่าง ๆ ที่นาเข้ามาในเมืองไทยขณะนั้น (อันเป็นวิธีการที่ นักศึกษาและศิลปินปฏิบัติกันโดยทั่วไป) ชีวิตศิลปินของประสงค์ มีการเดินทางที่อาจจะแตกต่างไปจากศิลปินไทยโดยทั่วไป แต่เป็นการเดินทางที่ คู่ขนานไปกับความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของวงการศิลปะและสังคมไทย ในช่วงครึ่งแรกของชีวิตประสงค์ เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบและศิลปินชั้นเยี่ยมในสาขามัณฑนศิลป์ แต่ในบั้นปลายชี วิต ประสงค์ ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ในสาขาทัศนศิลป์ ด้านจิตรกรรม ซึ่งก็คือวิจิตรศิลป์ นั่นเอง พูดง่าย ๆ ก็คือ ประสงค์และผลงานของเขาได้ถูกย้ายจากแวดวงมัณฑนศิลป์มาสู่วิจิตรศิลป์ เช่นเดียวกับความ เปลี่ยนแปลงในวงการที่แนวงานอย่างจิตรกรรม 2 มิติที่เน้นการระบายสีแบนเรียบ, มีคุณค่าเชิงกราฟฟิคและ ภาพแนวไทยประเพณี ที่เคยถูกจัดว่าเป็นมัณฑนศิลป์ ได้เลื่อนขั้นเป็น วิจิตรศิลป์

4. คุณรู้เกี่ยวกับเกร็ดเหล่านี้ของงาน “แห่งชาติ” บ้างหรือไม่ ใคร? ทาอะไร? เมื่อไหร่? แล้วเขาไปไหนทา อะไรกัน หลังจากผ่านเวทีนี้ไปแล้ว ประหยัด พงษ์ดา ใช้เวลา 25 ปี ตั้งแต่ปี 2499 – 2524 กว่าจะเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมในสาขาภาพพิมพ์ เข็มรัตน์ กองสุข เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาประติมากรรม คนแรกในรอบ 42 ปี หลังจากคนล่าสุด ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ เมื่อปี 2496


ปรีชา เถาทอง ได้รางวัลเหรียญทอง 3 ปีติดกัน ในครั้งที่ 23 – 25 กลายเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขา จิตรกรรม ในปี 2522 ต่อมาได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสิน และเคยเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ ส่งผลงานเข้าประกวดได้รางวัลไปทั้งหมด 14 เหรียญ กว่าจะได้เป็นศิลปินชั้น เยี่ยม สาขาจิตรกรรม รองลงมาอันดับสองก็คือ รุ่ง ธีระพิจิตร จานวน 13 เหรียญ อันดับ 3 คือ ปริญญา ตันติ สุข จานวน 12 เหรียญ อันดับ 4 คือ ชาเรือง วิเชียรเขตต์ ได้ 11 เหรียญ แต่อันดับสองถึงสี่ ยังไม่ได้เป็นศิลปิน ชั้นเยี่ยม (นับถึงครั้งที่ 50 ปี 2547) พิษณุ ศุภนิมิตร เป็นศิลปินคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้ 3 เหรียญทอง แต่ไม่ได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม เพราะเขาได้ 2 เหรียญทองจากสาขาภาพพิมพ์ และอีก 1 เหรียญทองจากสาขาจิตรกรรม (ตามกติกาคือ หาก ได้ 3 เหรียญทอง หรือได้รับ 2 เหรียญทอง กับอีก 2 เหรียญเงินในสาขาเดียวกัน ก็จะได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินชั้นเยี่ยมในสาขานั้นๆ) มณเฑียร บุญมา ไม่เคยได้รางวัลจากศิลปกรรมแห่งชาติ แต่ผลงาน วีนัส ออฟ แบงคอค ที่เคยส่งเข้า ร่วมแสดงในฐานะรับเชิญ ได้กลายเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นสาคัญของเขาและของไทย สุรสีห์ กุศลวงศ์ อดีตนักล่ารางวัล ได้เหรียญจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติไป 4 เหรียญ ปัจจุบันเลิก ส่งเข้าประกวด แต่ไปโด่งดังในระดับนานาชาติ กมล ทัศนาญชลี ได้ 1 เหรียญ แล้วเดินทางไปอยู่ต่างประเทศ ต่อมากลับมาดังในไทย ปัจจุบันเป็น ศิลปินแห่งชาติ คามิน เลิศชัยประเสริฐ ได้เหรียญเดียว ปัจจุบันดังระดับนานาชาติ จิตต์สิงห์ สมบุญ ได้ 1 เหรียญ ต่อมาเป็นดีไซน์เนอร์ชื่อดังของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่น “เกรย์ฮาวน์” เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้แค่ 1 เหรียญ แต่ปัจจุบันเป็นศิลปินทัศนศิลป์ที่คนไทยรู้จักมากที่สุด ชาติชาย ปุยเปีย ได้ 2 เหรียญ ปัจจุบันดังทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ ได้ 1 เหรียญ ต่อมาได้เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ทวีศักดิ์ ศรีทองดี และ ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ ได้คนละ 1 เหรียญ ต่อมาดังในวงการศิลปะและวง สังคม ธนะ เลาหกัยกุล ได้ 1 เหรียญ จากภาพ ละครโรงใหญ่ ในครั้งที่ 16 ปี 2508 แต่เป็นชิ้นที่ดังมาก เพราะถูกนาไปอ้างอิงกล่าวถึง ทั้งในแง่อิทธิพลของเซอร์เรียลลิสม์ และงานแนวเสียดสีสังคมหรือการเมืองชิ้น แรก ๆ ของวงการศิลปะสมัยใหม่ไทย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมฯ และได้ เป็นกรรมการ ตัดสินในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติด้วย นนทิชัย รัตนคุปต์ นักเขียนเรื่องสั้นและนักเขียนภาพประกอบที่มีชื่อเสียง ในสมัยนิตยสาร “ลลนา” เฟื่องฟู เคยได้ 1 เหรียญ นที อุตฤทธิ์ และ ธีระวัฒน์ คะนะมะ เคยได้ 1 เหรียญ แต่ก็โด่งดังในสายงานจิตรกรรมทั้งคู่ ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินไร้สานัก เรียนศิลปะด้วยตนเอง มีภาพลักษณ์เป็น “ศิลปินคนนอก” ก็เคย ได้ถึง 5 เหรียญจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ


ประพัฒน์ โยธาประเสริฐ เคยได้ 2 เหรียญ แต่หนึ่งในนั้นมีชื่อเสียงมาก เพราะถูกประท้วงในปี 2507 ประวัติ เล้าเจริญ ศิลปินที่ไปเอาดีทางด้านช่างพิมพ์งานให้ศิลปินระดับโลกในนิวยอร์ก และเป็นศิลปิน ทางานศิลปะจัดวางและคอนเซ็ปชวลที่มีชื่อเสียงของไทย เคยได้ 4 เหรียญ ปัญญา วิจินธนสาร เคยได้เพียง 1 เหรียญ แต่ก็ดังมากในฐานะศิลปินแนวไทยประเพณีใหม่ ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือ ท่านกูฏ เคยได้ 1 เหรียญ ต่อมาไปดังจากงานจิตรกรรมฝาผนังยุคสมัยใหม่ที่ ไปปรากฏอยู่ตามโรงแรมระดับแนวหน้า ไพศาล ธีรพงษ์วิษณุพร ผู้มีภาพลักษณ์ของ ศิลปินเพื่อชีวิตแห่งกลุ่มกังหัน และต่อมาเป็นนักวิจารณ์ ฝีปากกล้า วิพากษ์วิจารณ์วงการศิลปะและการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติไว้มากมาย เคยได้ 1 เหรียญทองแดง สาขาจิตรกรรม เมื่อครั้งที่ 27 ปี 2524 สุวรรณี นันทขว้าง อดีตอาจารย์สอนศิลปะและนักเขียนชื่อดัง นามปากกาว่า สุวรรณี สุคนธา เคยได้ 1 เหรียญทองแดง สาขาศิลปตกแต่ง เมื่อครั้งที่ 7 ปี 2499 อภิ นั น ท์ โปษยานนท์ เคยได้ 1 เหรี ย ญทองแดง สาขาจิ ต รกรรม ในครั้ ง ที่ 28 ปี 2525 อี ก 1 เหรียญเงิน สาขาภาพพิมพ์ และ 1 เหรียญทองแดง สาขาประติมากรรม ในครั้งที่ 31 ในปี 2528 ต่อมาเป็นนัก ประวัติศาสตร์ศิลปะ เขียนหนังสือ Modern Art in Thailand และเป็นภัณฑารักษ์ระดับนานาชาติ ปัจจุบัน เป็นผู้อานวยการคนแรกของ สานักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

5. คุณรู้หรือไม่ว่างาน “แห่งชาติ” เคยถูกประท้วงจนเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้ว ในระหว่า งปี 2505 – 2508 เฉลิ ม นาคี รั กษ์ แห่ ง โรงเรี ยนเพาะช่ า ง ได้เ ป็ น ผู้ นากลุ่ ม ศิล ปิ น ร่ ว ม อุดมการณ์ในการรักษาความเป็นไทยในงานจิตรกรรม อันเป็นการแสดงปฏิกิริยาต่อกระแสศิลปะสมัยใหม่ที่ กาลังเป็นที่นิยมในหมู่ศิลปินรุ่นใหม่ (ซึ่งมักจะถูกกล่าวหาว่าลอกฝรั่งและสูญเสี ยความเป็นไทย) สมาชิกของ จิตรกรกลุ่มนี้ประกอบด้วย เหม เวชกร, จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ และนักศึกษาอย่าง กมล ทัศนาญชลี แนวคิดและรูปแบบผลงานของศิลปินเหล่านี้ได้ก่อกาเนิดรูปเขียน “แนวตลาดน้า” ซึ่งนอกจากภาพตลาดน้า ตามชื่อแนวแล้ว กลุ่มนี้ยังนิยมเขียนภาพชีวิตไทยแบบอุ ดมคติ ทั้งภาพการชนไก่, งานกฐิน และงานบุญแบบ


ไทย ๆ ทั้งหลาย ภาพแนวนี้เป็นที่นิยมและขายได้ในหมู่ชาวต่างชาติที่พานักอยู่ในไทย หรือบ้างก็อาจเข้ ามา เที่ยวทางานช่วงสั้น ๆ ในไทย ในปัจจุบันนี้ (ปี 2547) ภาพแนวนี้ได้ถูกคัดลอกดัดแปลงจนกลายเป็นสินค้า ระดับล่างสาหรับนักท่องเที่ยวไปเสียแล้ว ความขัดแย้งระหว่างเก่า กับใหม่ไม่ได้ปรากฏในรูปของการรวมกลุ่มศิลปินแล้วสร้างงานที่แตกต่างกัน เท่านั้น ในบางครั้งก็ถึงขั้นทาการประท้วง จนเป็นข่าวอื้อฉาวในหน้าหนังสือพิมพ์ทีเดียว ในปี 2507 นี่เองที่ได้ เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหัวใหม่กับหัวเก่า กลุ่มศิลปินหนุ่ม 14 คนอาทิเช่น ดารง วงศ์อุปราช, พิชัย นิ รั น ต์, ถวั ล ย์ ดัช นี และ ปรี ช า อรชุน กะ ได้ทาการประท้ว งผลการตัด สิ นศิ ล ปกรรมแห่ งชาติ ครั้ง ที่ 15 เนื่องจากไม่พอใจที่กรรมการลาเอียงให้เหรียญทองแก่ภาพแนวไทยประเพณี ภาพ ชักกระดาน หมายเลข 2 ของ ประพัฒน์ โยธาประเสริฐ (หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซื้อภาพเขียนของประพัฒน์ไป ก่อนการประกวดในครั้งนั้น) งานสมัยใหม่หลายชิ้นถูกปฏิเสธ ศิลปินทั้ง 14 คนได้ขอถอนผลงานออกจากการ แสดง จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงพระราชทานอาหารกลางวันแก่ทั้งสองฝุายร่ วมกันเพื่อยุติข้อ ขัดแย้ง แม้ว่าการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติก็ยังคงดาเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ศักดิ์ศรีที่เคยมีมาแต่เดิมก็มีอัน ต้องถูกทาให้มัวหมองไปจากความขัดแย้งดังกล่าวประกอบกับเรื่องอื้อฉาวอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา

6. คุณรู้หรือไม่ว่าคนเหล่านี้เคยร่วมแสดงงาน “แห่งชาติ” มาแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ฯ นักเรียนโรงเรียนจิตรลดา ชั้น ป.4 ได้พระราชทาน ผลงานรูปปั้นเซรามิก ที่ทาขึ้นเมื่อตอนศึกษาอยู่ชั้น ป.3 เข้าร่วมแสดง ครั้งที่ 14 ปี 2506 (ดู สยามนิกร 7 ม.ค. 2506 หน้า 6) นักเรียนโรงเรียนคนตาบอด ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงในครั้งที่ 5 ปี 2496 – 2497 หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์, หม่อมเจ้าหญิงมารศรีสุขุมพันธุ์ บริพัตร, หม่อมเจ้าหญิง พิลัยเลขา ดิศกุล และหม่อมอลิซาเบ็ท จักรพันธุ์ ก็เคยส่งผลงานเข้าร่วม S.E.Nguyen-knoa Toan รัฐมนตรีเวียดนามส่งภาพเข้าร่วมแสดง เมื่อครั้งที่ 3 ปี 2499


7. คุณรู้หรือไม่ว่างาน “แห่งชาติ” เคยโดนโจมตีเรื่องอะไรบ้าง เรื่องผลการตัดสิน คงจะเป็นเรื่องยากที่จะทาการคัดเลือกตัดสินผลงานศิลปะ ได้อย่างถูกอกถูกใจคนทุก คน แต่กรณีที่เป็นการประท้วงผลการตัดสิ น รางวัลการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างเปิดเผย คือ กรณีงาน รางวัลเหรียญทอง สาขาจิตรกรรม ในงานครั้งที่ 15 ปี 2507 (ดูข้อ 5) และรางวัลเหรียญทอง สาขาภาพพิมพ์ ในงานครั้งที่ 26 ปี 2523 (ดูข้อ 8)

เรื่ องการผู กขาดของกลุ่ มบุ ค คล ในทศวรรษ 2520 (พ.ศ. 2520 – 2529 โดยประมาณ) มี เสี ย ง วิพากษ์วิจารณ์ มาก ในเรื่องที่ว่า มีการผูกขาดทั้งกรรมการตัดสิน และศิลปินผู้ได้รับรางวัล กล่าวคือ มีการ กล่าวหาว่ากรรมการล้วนแล้วแต่เป็นคนมาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินที่ชนะรางวัลก็เป็นบุคลากรจาก สถาบันเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคณะจิตรกรรมฯ การวิจารณ์เหล่านี้ปรากฏตามสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างเช่น สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, มาตุภูมิ, โลกศิลปะและสื่อ อนาคต นักเขียนนักวิจารณ์ที่แสดงความเห็นในแนวทางดังกล่าวมีอาทิ กะออม พันเมือง 5 และบรรณาธิการ นิตยสารโลกศิลปะ เสียงวิจารณ์เหล่านั้นได้มีส่วนผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างของการสรรหากรรมการ เช่น ตั้งแต่การ แสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 27 ปี 2524 ได้จัดให้มีการเชิญผู้แทนสถาบันศิลปะอุดมศึกษาอื่น ๆ เข้าร่วม เป็นคณะกรรมการดาเนินงานและตัดสิน ด้วยวิธีการสรรหากรรมการผ่านหยั่งเสียง จากแบบสอบถาม แต่ก็ยัง มีข้อเคลือบแคลงใจจากกลุ่มนิตยสารโลกศิลปะอยู่อีกว่า การส่งแบบสอบถามนั้น ครอบคลุมกลุ่มบุคคลมาก น้อยเพียงใด มีหลักเกณฑ์อย่างไร เพราะพวกเขาเห็นว่า ผลที่ออกมายังเป็นภาพของคณะกรรมการที่แทบไม่ แตกต่างไปจากเดิม6 สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการ จากภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ ได้วิจารณ์เรื่องการปรับโครงสร้างการประกวดและการสรรหากรรมการ ไว้ว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ศิลปากรในช่วงปี 2527 ที่ทาการปรับการสรรหากรรมการนั้น หวั่นไหวไปตามกระแส ซวนเซไปจากหลักการ และเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง ทั้งที่มาตรฐานกรรมการตัดสินเป็นหัวใจสาคัญของผู้ส่งเข้าประกวด มากกว่าผู้ วิจารณ์การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปเพื่อภาพพจน์ โดยไม่มีการพิสูจน์วิเคราะห์พิจารณา การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทา ให้ศิลปินบางคนที่เคยส่งงานเข้าประกวดในงานนี้ แต่หยุดการทางานศิลปะไปนานแล้ว ได้รับเชิญเข้ามาเป็น กรรมการตัดสิน เพราะได้เป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาตามที่ต่าง ๆ


สุรศักดิ์ตั้งข้อสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนโครงสร้างกรรมการตัดสินตั้งแต่ในราวปี 2527 น่าจะเป็นสาเหตุ หลักสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดปัญหาใหม่ในปลายทศวรรษที่ 4 และชัดเจนขึ้น ในทศวรรษที่ 5 ของการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน (บทความของสุรศักดิ์ชิ้นนี้ตีพิมพ์เมื่อปี 2542) ปัญหาที่ว่านี้ก็คือ มาตรฐาน ของศิลปินที่ส่งงานเข้าประกวด ในช่วงสองทศวรรษหลัง ศิลปินอิสระ ศิลปินรุ่นใหญ่และรุ่นกลางเริ่มลดจานวน ลง7 ศิลปินที่ส่งงานเข้าประกวดโดยมากจะเป็นระดับเยาวชน ทาให้การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติกลายเป็น เวทีสาหรับเยาวชน เทียบเท่ากับการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ซึ่งข้อสังเกตของสุรศักดิ์ เป็นไปในทิศทางเดียวกับความเห็นของหลายคนในวงการศิลปะ ตัวอย่างเช่น ทวีเกียรติ ไชยยงยศ เรื่องโครงสร้างของการประกวด มีการถกเถียงกันเรื่องนี้อยู่มากว่า การประกวดควรจะมีโครงสร้างแบบ ไหน เช่น อิทธิ คงคากุล เสนอว่าการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ไม่ต้องมีการประกวด มีแต่การแสดงผลงาน 9 อารี สุทธิพันธุ์ เสนอว่าควรแบ่งการแข่งขันออกเป็นประเภท ศิลปินอาชีพ, นักเรียน, อาจารย์ มีการกาหนด ขนาด ไม่เอาขนาดเล็กไปแข่งกับขนาดใหญ่10

ปัจจุบัน รองอธิการบดีฝุายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ หนึ่ งในกรรมการอ านวยการ, ประธานกรรมการดาเนินงานและกรรมการคัด เลื อกและตัดสิ น การแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47 – 50 และศิลปินชั้นเยี่ยมประเภทภาพพิมพ์ เมื่อปี 2535 เผยว่าระบบการสรรหา กรรมการคัดเลือกและตัดสินในปัจจุบัน เป็นระบบที่ใช้มาในราว 10 ปีแล้ว มหาวิทยาลัยศิลปากรจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการอานวยการ ซึ่งประกอบด้วยคณบดีจากคณะวิชาที่ เปิดการเรียนการสอนศิลปะ เช่น จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนคริ นทรวิ โ รฒประสานมิ ตร, มหาวิ ท ยาลั ย เชีย งใหม่, มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น , มหาวิ ทยาลั ยบูร พา, สถาบั น เทคโนโลยี ร าชมงคลและคณะจิ ตรกรรมฯ มหาวิทยาลั ยศิล ปากร และยังตัว แทนจากผู้ ส นับ สนุน เอกชน,


ผู้อานวยการหอศิลป์แห่งชาติและมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธาน และอธิบดีกรมศิลปากร เป็นรองประธานกรรมการ

คณะอานวยการนี้จะประชุมเพื่อดูหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการแสดงและการประกวด และจะเป็นผู้เสนอ ชื่อกรรมการคัดเลือกและตัดสิน โดยมีการแบ่งกลุ่มกรรมการออกเป็น กลุ่มวิจารณ์, นักวิชาการ, ศิลปินชั้น เยี่ยม, ศิลปินอิสระและภัณฑารักษ์ รวมแล้วประมาณ 14 – 16 คน 8. คุณรู้หรือไม่ว่างานรางวัลเหรียญทองเคยโดนกล่าวหาว่าไปลอกเลียนงานคนอื่นมา กะออม พันเมือง นามปากกาของนักเขียนนักวิจารณ์ ที่มีนิ ตยสาร “โลกศิลปะ” เป็นเวทีหลักในการ แสดงความคิดเห็น นักวิจารณ์ผู้นี้เขียนถึงการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ หลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะ อย่าง ยิ่งในประเด็นการเรียกร้องให้การประกวดเป็นไปอย่างยุติธรรม และต้องการให้การสรรหากรรมการตัดสินเป็น ประชาธิปไตย กะออมมักจะวิจารณ์การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างดุเดือด ใน “โลกศิลปะ” ฉบับที่ 1 ปีที่ 2 เดือนมกราคม – มีนาคม 2525 หน้า 14 คอลัมน์ “บทความพิเศษ” ในชื่อบทความว่า เบื้องหลังศิลปกรรมแห่งชาติ กะออมได้ขึ้นต้นด้วยข้อความตัวหนาว่า เกียรติยศจอมปลอม แล้วก็ตามด้วยข้อเขียนย่อหน้าแรกว่า จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นักศึกษาจากคณะจิตรกรรมฯ ได้ลอกเลียนภาพถ่ายจาก หนังสือ National Geographic ฉบับเดือนมกราคม 2523 หน้า 54 ดังภาพที่นามาเปรียบเทียบให้ดู กาลัง สร้างความฮือฮาให้กับผู้คนในวงการศิลปะ เหนือข้อเขียนดังกล่าว เป็นภาพประกอบขาวดา 2 ภาพ วางเคียงคู่กัน ภาพซ้ายเป็นภาพกลุ่มดอกไม้สี่ ดอก ที่มีอยู่สามดอกหันหัวไปทางซ้ายของภาพ ส่วนทางขวามีกลุ่มลูกนกในราวสองตัว ทั้งหมดนี้อยู่ใน กอหญ้า ภาพนี้เป็นภาพถ่ายจากนิตยสารที่กะออมกล่าวถึง


ภาพที่สองทางขวา เป็นภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะของ อารยา ราษฎร์จาเริญสุข เป็นภาพกลุ่มดอกไม้สี่ ดอกที่มีอยู่สามดอกหันไปทางขวาของภาพ กอดอกไม้นี้อยู่ในท้องทุ่ง ที่เห็นลึกไกลเข้าไปในความมืด ท้องฟูา ด้านบนมืดทึบแล้วค่อย ๆ จางลงมาจนสว่างอยู่ที่ขอบฟูา ภาพนี้เป็นภาพที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภท ภาพพิมพ์ ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 26 ปี 2523 เมื่อไปค้นดูนิตยสาร “เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก” ฉบับตามที่กะออมกล่าวอ้าง ก็พบภาพถ่ายดังกล่าว แต่ ภาพในนิตยสารนี้ต่างไปจากที่นาไปตีพิมพ์ใน “โลกศิลปะ” ตรงที่ ภาพใน “เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก” เป็น ภาพแนวนอน ที่เห็นทุ่งหญ้ามาก กว้างและลึกไกล เห็นท้องฟูาในยามกลางวัน ภาพประกอบที่ตีพิมพ์ใน “โลกศิลปะ” ได้รับการ “จัดการ” จัดองค์ประกอบภาพใหม่ ให้เป็นภาพ แนวตั้งและมีสัดส่วนที่คล้ายกับภาพพิมพ์ของอารยา ทั้งที่ภาพพิมพ์ของอารยากับภาพถ่ายดังกล่าวมีส่วนที่ แตกต่างอยู่อีกมากก็ตาม ภาพที่ตีพิมพ์คู่กันผ่านการ “จัดการ” ให้ดูว่าเป็นการลอกเลียนภาพถ่ายให้มากที่สุด อารยานาภาพต้นแบบจาก “เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก” มาเขียนสร้างเป็นแม่พิมพ์ แต่มันเป็นเพียงข้อมูล ดิบขั้นพื้นฐาน อารยาได้ทาการแปลงให้เป็นของใหม่ของตัวเอง (จัดองค์ประกอบใหม่, เขียนขึ้นใหม่, ย้ายจาก ซ้ายไปขวา ทาการแปรจากบรรยากาศและเวลาเดิม (กลางวัน) ให้เป็นบรรยากาศและเวลาใหม่ (กลางคืน) จาก ภาพถ่ายที่แสดงความจริ งแนวสารคดี ที่ค่อนข้างจะดูแข็ง ๆ ให้ กลายเป็นภาพพิมพ์ที่เต็มไปด้ว ยอารมณ์ ความรู้สึกที่สะเทือนใจ จากภาพถ่ายนั้น อารยาได้นามา “ปรุง” จนกลายเป็นผลงานใหม่ของตนอย่างแท้จริง คนที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างเสียหาย มีจิตใจที่ค่อนข้างคับแคบ การลงภาพประกอบเปรียบเทียบ แบบจัดการตัดภาพให้เหมือน ก็ดูมีเจตนาจะโจมตีด้วยการบิดเบือน หรือนาความจริงแค่ครึ่งหนึ่งมาแสดงให้ดู เพื่อโน้มน้าวใจผู้คนให้คล้อยตาม 9. คุณรู้ไหมว่าใครเป็นใครในภาพ “กลุม่ ” ของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต จักรพันธุ์ โปษยกฤต เขียนภาพเหมือนของ สุวรรณี นันทขว้าง (นามสกุลเดิมคือ สุคนธ์เที่ยง และมี นามปากกาในการเขียนหนังสือว่า สุวรรณี สุคนธา) ไม่ต่ากว่า 3 ภาพ แต่มีอยู่ 2 ภาพที่ดังที่สุด คอศิลปะได้ เห็นบ่อยที่สุด ทั้งจากงานจริงและที่ตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ มากมาย ภาพแรกชื่อว่า ภาพเหมือน (สุ วรรณี สุ คนธา) ได้รางวัลเหรียญเงิน สาขาจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ในปี 2510 ภาพนี้ จักรพันธุ์จงใจเลือกเอาท่านั่งเท้าคางที่สุวรรณีชอบนั่งจนติดนิสัย จักรพันธุ์เล่าในหนังสือ งานศพ ของสุวรรณี ในปี 2527 ว่า “ถึงแม้อาจารย์จะดูกระฉับกระเฉง ร่าเริง ระคนแหวอยู่เสมอ แต่ลึกลงไปแล้ว ดูจะหมองหม่นว้าเหว่ รันทดหรืออย่างไร หรืออ้างว้างไม่เห็นหนทางที่จะพึ่งพิงใคร ตัวอาจารย์เองคงจะทราบดีกว่าใคร ๆ ข้าพเจ้าได้ เขียนรูปอาจารย์เมื่อ พ.ศ. 2509 เป็นรูปนั่งเท้าคางมองเหม่ออยู่คนเดียว สวมเสื้อแขนกุดสีเขียวมะกอกคร่​่า...” 11


สุวรรณี ผู้ นี้เป็น ทั้งอาจารย์ ที่เคยสอน วิช าวิจัยศิลปไทยให้แก่จักรพันธุ์ เมื่อสมัยที่เขาเรียนอยู่คณะ จิ ตรกรรม ชั้ น ปี ที่ 3 และเป็ น คนชักชวนให้ เขี ยนหนัง สื อในนามปากกา “ศศิวิ มล” ลงตีพิม พ์ในนิตยสาร “ลลนา” ที่ที่สุวรรณีนั่งแท่นเป็นบรรณาธิการ หลังจากลาออกจากการสอนในมหาวิทยาลัย ในภาพเขียนนี้ สุวรรณีนั่งอยู่ในชุดโต๊ะและเก้าอี้ไม้แบบพนักพิงสูง เป็นบรรยากาศใน “ร้าน(ไอ้)เนี้ยว” ของชาวหน้าพระลาน (ชื่อตามปูายร้านคือ “พงเต้ง”) ร้านอาหารและเครื่องดื่มมึนเมา ที่สุวรรณีและพรรคพวก มักไปพบปะสังสรรค์กันเกือบทุกเย็น บ่อยครั้งที่ร้านเนี้ยวจะเป็นฉากหนึ่งในนิยายหลายเรื่องของสุวรรณี สุวรรณี มักจะเรียกขาน ร้านเนี้ยว ในหนังสือของตัวเองว่า “ร้านตรงข้ามประตูวิเศษฯ” เป็นประตูวิเศษ ไชยศรี ทางเข้าหลักของพระบรมมหาราชวัง ที่อยู่ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากรนั่นเอง อีก 2 ปีต่อมา จักรพันธุ์ส่งภาพสีน้ามันอีกภาพ เข้าประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19 ปี 2512 ได้รางวัลเหรียญเงินอีกเช่นเคย มีชื่อภาพว่า กลุ่ม (หรือ Flock อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ เป็นผู้ตั้งชื่อภาพให้) 12 ภาพของสุวรรณีอยู่ตรงกึ่งกลางภาพ เธออยู่ในท่าประจาตัวอีกครั้ง แต่คราวนี้ รายล้อมไปด้วยคนสนิทที่ ใกล้ชิดเธอ ผู้ชายที่ยืนอยู่คือ “เต๋อ” หรือ ชาญณรงค์ ดิษฐานนท์ อาจารย์และนักเขียนภาพประกอบให้กับ ลลนา อดีตผู้อานวยการโรงเรียนเพาะช่าง ผู้หญิงสวยที่นั่งหันหน้าหาคนดูคือ วิสาข์ สุเรนทรานนท์ ปัจจุบันอยู่ต่างประเทศ ผู้หญิงอีกคนที่นอนฟุบ อยู่กับโต๊ะคือ “ตุ๊กแก” ภรรยาของประติมากร แหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์ ปัจจุบันแหลมสิงห์เป็นเจ้ าของ โรง หล่อ เคยเป็นนายกสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ในภาพนี้แหลมสิงห์อยู่ทางขวาบน “แพ็ท” ชื่อ เล่นของ ศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต คือชายหนุ่มที่นั่งใกล้กับสุวรรณีมากที่สุด แพ็ทหรือ “น้าแพ็ท” ของรุ่นน้อง ๆ เป็นนักวาดภาพเหมือน, ภาพล้อและการ์ตูน ที่เก่งกาจ เชี่ยวชาญและวาดได้สวยอย่างหาใครมาเทียบได้ลาบาก เขาคือกาลังสาคัญคนหนึ่งในการผลิต ลลนา ทั้งทาภาพประกอบและทาอาร์ตเวิร์คหนังสือ ศิริสวัสดิ์คือสามีใหม่ของ สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง ส่วนผู้ชายหน้าแดงก่า มือขวาถือแก้วเหล้า มือซ้ายคีบ บุหรี่ คือ สาโรช จารักษ์ ประติมากรและอดีตผู้อานวยการสร้างพระพุทธมณฑล ประจาอยู่ในกรมศิลปากรผู้ ล่วงลับไปแล้ว ภาพนี้จักรพันธุ์นาเอาเฟอร์นิเจอร์ในร้านเนี้ยวมาจัดวางในบรรยากาศที่ดูแปลกตา ทั้งเหงาลึกลับ แต่ละ คนต่างมีบุคลิกที่ต่างกัน ทั้งท่าทางและสีสันที่ปรากฏออกมาแบบเกินจริง13 10. คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในงาน “แห่งชาติ” ไขศรี ศรีอรุณ เคยเป็นกรรมการตัดสิน 3 ครั้ง (ครั้งที่ 34 – 36) เป็นที่ปรึกษา 6 ครั้ง (ครั้งที่ 37 – 42) นฤมล โชติเวช เคยเป็นกรรมการตัดสิน 1 ครั้ง (ครั้งที่ 31) หม่อมเจ้าหญิงพิลัยเลขา ดิศกุล 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 – 2) มีเซียม ยิบอินซอย 20 ครั้ง (ครั้งที่ 6, 11 – 26 และ 28 – 30) สมพร รอดบุญ 3 ครั้ง (ครั้งที่ 34, 47, และ 48) อารยา ราษฎร์จาเริญสุข 3 ครั้ง (ครั้งที่ 46 – 48)


อุษณา ปราโมท 1 ครั้ง (ครั้งที่ 1) ศิ ล ปิ น ชั้ น เยี่ ย มหญิ ง หนึ่ ง เดี ย ว อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ผู้ ที่ ไ ด้ ก ารยกย่ อ งนี้ ค นแรกอี ก ด้ ว ย ก็ คื อ มี เ ซี ย ม ยิบอินซอย กรธนา (จันทรดี) กองสุข ครั้งที่ 43 กัญญา (เอ็งเจริญอมร) เจริญศุภกุล ครั้งที่ 21, 25 กัณจณา ดาโสภี (ครั้งที่ 37) โคลด สารสาสน์ ครั้งที่ 2 และ 3 จุฑารัตน์ วิทยา ครั้งที่ 34 ทัศนีย์ ทีปรักษพันธุ์ ครั้งที่ 25 ทิพย์ธารา ขาวัฒนพันธุ์ ครั้งที่ 31 นพวรรณ โกมลเสน ครั้งที่ 19 นัยนา โชติสุข ครั้งที่ 29, 32 นุชนาฏ ใจกล้า ครั้งที่ 49 นุชรี พิเดช ครั้งที่ 45 เบอร์นีช เอส. กอร์ดอน (Bernice S. Gordon) ครั้งที่ 7, 8, 11 ปราณี (ศรีวิภาต) ตันติสุข ครั้งที่ 6, 8, 11, 12, 13 ปาริชาติ ศุภพันธุ์ ครั้งที่ 49 เพ็ญแข เพ็งยา ครั้งที่ 49 พูนสุข ศิลปคุปต์ ครั้งที่ 14 มณี มีมาก ครั้งที่ 49 ม.จ. หญิงมารศรีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ครั้งที่ 3, 4 มิวเรียล เอส.คล๊าก ครั้งที่ 9 มีเซียม ยิบอินซอย ครั้งที่ 1 – 3 ยุพา (ชั่งกุล) มหามาตร ครั้งที่ 40, 41, 42, 47 ราษี ศรบรรจง ครั้งที่ 25 รัศมิ์ระวี ขาดี ครั้งที่ 44 เรณู (ธรรมเจริญ) คฤคราช ครั้งที่ 25 เรวดี ใจชุ่ม ครั้งที่ 32, 33 ลักษมี (หงษ์นคร) ตั้งโฉลก ครั้งที่ 20, 21 ลาวัณย์ (ดาวราย) อุปอินทร์ ครั้งที่ 14 วัชรี (วงศ์วัฒนอนันต์) ธีระพิจิตร ครั้งที่ 25 วัฒนา พึ่งวิชา ครั้งที่ 11


วิมลมาลย์ ขันธะชวนะ ครั้งที่ 35, 36 วิรัญญา ดวงรัตน์ ครั้งที่ 47 วิริยา พูลสวัสดิ์ ครั้งที่ 44, 45 ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร ครั้งที่ 49 ศิริกร อินคา ครั้งที่ 41 ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ ครั้งที่ 23, 24 สมศิลป พจนานนท์ ครั้งที่ 10 สุวรรณี (สุคนเที่ยง) นันทขว้าง ครั้งที่ 7 เสริมสุข เธียรสุนทร ครั้งที่ 26 เสาวภา (แสนสุข) วิเชียรเขตต์ ครั้งที่ 6 อาภรณ์ สิงหเรือง ครั้งที่ 27, 28, 31 อารยา ราษฎร์จาเริญสุข ครั้งที่ 26, 27, 28, 30, 31, 33 (ได้เหรียญทอง 1 เหรียญ, เหรียญเงิน 4 เหรียญและเหรียญทองแดง 1 เหรียญ ขาดเหรียญทองอีกแค่หนึ่งเหรียญก็จะได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมหญิงคนที่ สอง) เออร์ซูลา เดอร์โนว์ ครั้งที่ 10 ฮารี คอนโนเวอร์ ครั้งที่ 7 มีผู้ที่เคยได้รับรางวัลทั้งหมด 374 คน (สารวจถึงครั้งที่ 49) เป็นชาย 330 คน หญิง 44 คน


หนังสือและสูจิบัตรประกอบการเขียนบทความ สูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 – 13 2492 - 2505 (กรุงเทพ : หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545). 5 ทศวรรษแห่งชาติ (กรุงเทพ : หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544). 1 สุธี คุณาวิชยานนท์ “Cubism in Thailand: แบบฝึกหัดสู่นามธรรม” (เอกสารนาเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง Cubism in Asia ระหว่างวันที่ 2 – 3 กุมภาพันธ์ 2547 เดอะ เจแปน ฟาวด์เดชั่น คอนเฟอเรนส์ ฮอลล์, โตเกียว, ญี่ปุน) 2 Apinan Poshyananda, Modern Art in Thailand, Nineteenth and Twentieth Centuries (Singapore: Oxford University Press), pp.100101. 3 พิริยะ ไกรฤกษ์ และ เผ่าทอง ทองเจือ, “ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475”, ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475 (กรุงเทพ : สถาบันไทย คดีศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526), หน้า 35-36 4 สุธี คุณาวิชยานนท์, จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่ : ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วมสมัย (กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์บ้านหัวแหลม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2546), หน้า 78 5 กะออม พันเมือง “เบื้องหลังศิลปกรรมแห่งชาติ”, นิตยสารโลกศิลปะ (กรุงเทพฯ : ชมรมศิลปกรรมแห่งประเทศไทย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – กันยายน 2525) หน้า 15 6 บทนา “ตัวแทนกลุ่มกับตัวแทนความคิด”, นิตยสารโลกศิลปะ (กรุงเทพฯ : ชมรมศิลปกรรมแห่งประเทศไทย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 มกราคม – เมษายน 2526) หน้า 3 7 สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, ศิลปกรรมแห่งชาติ 5 ทศวรรษ, การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45 (กรุงเทพ : หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542), หน้า 9 – 10 8 ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ สนามแข่งขันของใคร”, 3 มิติทัศนะทางศิลปะและศิลปศึกษา (ตารา เอกสารวิชาการ กรุงเทพฯ: ฉบับที่ 33 ภาคพัฒนาตาราและเอกสารวิชาการ หน่วยนิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 2533), หน้า 13 – 14 9 อิทธิ คงคากุล, “ศิลปวิจารณ์”, นิตยสารโลกศิลปะ (กรุงเทพฯ : ชมรมศิลปกรรมแห่งประเทศไทย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 มกราคม – เมษายน 2526), หน้า 18 10 นายหมึก : ผู้บันทึก, “เสียงจากกรรมการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 27”, นิตยสารโลกศิลปะ (กรุงเทพ : ชมรม ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย, เมษายน- มิถุนายน 2524, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3), หน้า 49 – 50 มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545), 5 ทศวรรษแห่งชาติ (กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิยาลัยศิลปากร, 2544 11 จักรพันธุ์ โปษยกฤต, “วันวาน”, สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง (กรุงเทพฯ : เรียงพิมพ์ บูรพาคอมพิว, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) หน้า 134 12 จักรพันธุ์ โปษยกฤต, วันวาน,... หน้า 135 13 สุธี คุณาวิชยานนท์, “ชีวิต หนัง นิยายและภาพเขียน”, กรุงเทพธุรกิจ (กรุงเทพฯ : เนชั่นกรุ๊ป, ปีที่ 16 ฉบับที่ 5267 (342), อาทิตย์ 23 กุมภาพันธ์ 2546), หน้า 2-3


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.