บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56 ซอล เลวิตต์ และศิลปะคอนเซ็ปชวล : ภาพสะท้อนของสุนทรียศาสตร์ และรูปทรงทางศิลปกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป (Sol LeWitt and Conceptual Art : The Reflection of Changing Aesthetics and Art Forms) โดย รศ. ดร. ไพโรจน์ ชมุนี* วทบ. (มหิดล) BFA highest honor MFA (Pratt Art Institute) EdD. (School of Education New York University) อาจารย์ประจาภาควิชาประยุกต์ศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Abstract Twentieth century is the time of great change in art, in the aesthetic or philosophy as well as in the art work and art form. Dada is the first critical change, Marcel Duchamp introduced his “Fountain” and a common object used in male toilet got a new status as art object, Critical changes in art and aesthetics does not stop at dada but it continues in conceptual art. The definition and nature of art and its art form has tremendously changed again. Old theories such as imitation, expression and formalist cannot explain the new art. This article is the author’s point of view on the nature of changes in aesthetics and art. The author presented his opinion based on his long term observation as an art professor how art changes, in its definition, art form theoretical and social context that enable viewers to experience, gain pleasure and perceive art in the way that art viewers in the past never have. The changes took place, from the last decade of the twentieth century and continued to the present. บทนา ศิลปะคอนเซ็ปชวล เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อแนวทางใหม่ ๆ ที่จะสร้างศิลปะดูเหมือน จะตีบตันไปหมด แต่ขึ้นชื่อว่ามนุษย์แล้วย่อมไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ ศิลปินใช้มันสมองอันเลอเลิศแสวงหามิติ หรือองค์ความรู้ (Parameter/dimension and domain) ที่จะสร้างหลักการที่จะเป็นพื้นฐานทางปรัชญาของ ศิลปกรรมกลุ่มใหม่ที่แตกต่างไปจากเก่าได้เสมอ ในช่วงสมัยใหม่ตอนกลางศิลปกรรมได้พัฒนาออกไปไกลทั้ง สองขั้วในทิศทางที่ตรงข้ามกัน คือศิลปะนามธรรมที่มีความเหมือนจริงเท่ากับศูนย์ และศิลปะเหนือจริงที่มี ความเหมือนจริงแบบเกิน 100


แนวคิดสาคัญในการพัฒนาหลักสุนทรียศาสตร์ของศิลปินคอนเซ็ปชวลคือ ศิลปะไร้รูปทรง (Formless art) ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่าทางตันทั้งสองขั้ว จึงไม่เป็นอุปสรรคหรือผลกระทบใดในการพัฒนาศิลปกรรมของกลุ่ม คอนเซ็ปชวลที่เกิดในยุคปลายสมัยใหม่ (Late Modern Art) พวกคอนเซ็ปชวล เรียกศิลปะกลุ่มอื่น ๆ รวมกันว่า เป็นศิลปะแบบทางการหรือ Formal Art ศิลปะ คอนเซ็ปชวลยึดแนวคิดว่าเป็นสิ่งสาคัญที่สุด ส่วนฝีมือและความประณีตนั้นไม่สาคัญ พวกเขาเป็นเสมือนเกาะ ที่แยกตัวออกจากแผ่นดินใหญ่ของศิลปะกลุ่มอื่น ในบรรดาศิลปินมากมายที่สร้างงานในแนวคอนเซ็ปชวล ไม่ว่า จะอยู่ในทวีปใด บุคคลเหล่านี้สามารถแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ประเภทแรก คอนเซ็ปชวลขนานแท้ อาจ เรียกว่า Hard Core พวกนี้มีคาประกาศ สามารถอธิบายหลักการหรือปรัชญาที่เขาตั้งให้กับงานแต่ละชิ้นได้ อย่างชัดเจน ส่วนประเภทที่สองมีจานวนมากกว่า คือ ผู้ที่สร้างผลงานแบบคอนเซ็ปชวลที่แสดงความคิด มุมมอง ความรู้สึก โลกส่วนตัวของแต่ละคนเป็นอย่างมาก ทาให้คนดูจานวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงความคิดของเขาได้ ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าประเภทที่สองเป็นศิลปินที่อ่อนด้อยหรือสร้างงานคุณภาพงานศิลปะที่ต่ากว่า แต่เป็น ความต้องการที่จะแสดงจุดเน้นต่างกัน ประเภทแรก ตั้งหลักการในงานแต่ละชิ้นไว้อย่างชัดเจน สรุปเป็นคาพูดหรือหลักการ ทฤษฎีได้ง่าย ประเภทที่สอง คือการแสดงความคิดหรือมุมมองส่วนตัว ใช้ผลงานบอกความคิด สะท้อนภาพบางอย่าง ออกมาว่าศิลปินมองโลกและชีวิตอย่างไร ในกลุ่มนี้ การสรุปหลักการหรือแนวคิดอาจทาได้ยากเพราะขีดจากัด ของภาษา ดังนั้นศิลปินจึงใช้งานศิลปกรรมเป็นสื่อบอกความหมายที่ไม่อาจจะพูดหรือเขียนเป็นถ้อยคาภาษา ชัด ๆ ได้ บทความนี้ เป็นมุมมองเฉพาะตัวของผู้เขียนที่ได้ใช้เวลาเกินกว่า สองทศวรรษ สังเกตธรรมชาติของการ เปลี่ ยนแปลงทางสุนทรียศาสตร์ นั บตั้ งแต่การตั้งหลั กการ การนาเสนอด้วยรูปทรงที่มีความสอดคล้ องกับ ความคิ ด และบริ บ ทอื่ น ๆ ที่ ก่อ ให้ เกิ ด ความเปลี่ ย นแปลง ไม่ ว่ าจะเป็น มิ ติ ทางศิ ล ปะ วัฒ นธรรม รูป ทรง ศิลปกรรม มิติสังคม ความหมายของศิลปะ และอื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในย่อหน้าต่อไปจะเป็นการนาเสนอตัว อย่างความคิดของศิลปินบางคน โดยผู้เขียนวางกรอบแบ่งศิลปิน ออกเป็นสองประเภท ประเภทแรก สะท้อนหลักการ ความคิดเป็นลายลักษณ์อักษรหรือคาพูดได้อย่างชัดเจน รัดกุม และประเภทที่สอง คือผู้ที่ต้องการแสดงความคิด หรือมุมมอง โลกส่วนตัวที่ไม่อาจเขียนเป็นความเรียง เป็นภาษาหนังสือที่รัดกุมได้ จึงใช้ศิลปกรรมเป็นสื่อแทน ตัวอย่างความคิดของศิลปินบางคน เช่น Joseph Kosuth, และ Jenny Holtzer, Adrian Piper ตาม ด้วยข้อเขียน Conceptual Art by Sol LeWitt ที่ประกาศหลักการของกลุ่มอย่างชัดเจนและข้อเขียนของเขา เป็นที่ยอมรับ


สารวจความคิดของศิลปิน การทาความเข้าใจกับศิลปะคอนเซ็ปชวลให้ชัดเจน น่าจะทาได้ด้วยการศึกษาตัวอย่างความคิดที่สะท้อน ออกมาในข้อเขียน หรืองานศิลปกรรม ในสายตาของนักวิชาการ ไม่ว่าประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือศิลปวิจารณ์ การแบ่งประเภทของผู้ที่อยู่ในกลุ่มแนวร่วมเดียวกัน ใครจะเป็นศิลปินคอนเซ็ปชวลขนานแท้หรือเทียม (Hard core or Soft core) เป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ อิมเพรสชันนิสม์เป็นตัวอย่าง โมเน็ตเป็นผู้นาหลักการสาคัญคื อเน้นเรื่องสี ผู้ตามแนวคิดมีตัวอย่างเช่น เปียร์ ออกุส เรนัวร์ (Piere August Renoir) ส่วนอีกฝ่ายเน้นเส้น ฝีมือที่ประณีต มีความเหมือนจริงมากกว่า อีกฝ่าย เช่น เอ็ดกา เดกา และคามิล พิซาโร ปัญหาของกลุ่มคอนเซ็ปชวลอาร์ตก็เช่นกัน ซอล เลวิตต์ เป็นผู้นา เขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง เล วิตต์ คือผู้ตั้งหลักการและประกาศตัวตนธาตุแท้ของคอนเซ็ปชวล คนที่ทาตามเขาอย่างจริงจังคนหนึ่งก็คือโจ เซ็ป โคซูต (Joseph Kosuth) ผลงานของโคชู ต ที่ ชื่ อ เก้ า อี้ 1965 ประกอบด้ ว ยภาพถ่ า ยเอกสารความหมายของค าว่ า เก้ า อี้ จ าก พจนานุกรม วางอยู่ทางซ้ายของผนังหรือด้านขวาของผู้ดู เก้าอี้จริงตั้งอยู่กลาง ตัวอย่างข้อเขียนของ เอเดรียน ไปเปอร์ (Adrian Piper) แสดงให้เห็นว่า คอนเซ็ปชวลอาร์ตเป็นศิลปะที่ ทรงประสิทธิภาพมาก เพราะความรู้สึกที่อัดอั้น บีบคั้น หลายอย่างไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยการเขีย นภาพ แบบเหนื อจริ ง สั ญลั กษณ์นิ ย ม หรื อ ส าแดงนิ ยม ตั ว อย่า งได้แ ก่เ รื่อ งการเหยีย ดผิ ว ในสหรั ฐ อเมริก า การ แสดงออกตามแบบศิลปะคอนเซ็ปชวล นับว่าได้ผลดีมาก ผู้เขียนสามารถที่จะจินตนาการ เปรียบเทียบวิธีการที่ ต่างกันในปัญหาเหยียดผิวได้ ถ้าปัญหาเหยียดผิวจะถูกเขียนในแบบเหนือจริง คนขาวจะถูกนาเสนอเป็นเทวดา เข้าห้องน้าที่หรู สะอาด สวยปานวิมาน ตรงข้ามกับห้องน้าสกปรกสาหรับคนผิวสีที่ดูเหมือนสัตว์น่าเกลียด วิธีการแบบส าแดงนิ ย มก็น าเสนอคล้ ายกัน แต่ ถ้าใช้วิธีแบบคอนเซ็ปชวล เพียงแค่ใช้ป้ายห้ อ งน้า ที่ส ร้า ง เลียนแบบให้เหมือนป้ายห้องน้าในสมัยเหยียดผิวจริง ๆ มีคาว่า “คนขาว” วางเทียบกับ “นิโกร” (ช่วงทศวรรษ 1950-60 คาว่า นิโกรแปลว่าคนดา ใช้กันแพร่หลายแบบไม่เกรงใจ คาว่าคนผิวสีเป็นคาอ่อน เกิดขึ้นภายหลัง) ย่อมมีแรงกระตุ้นที่มากกว่า เพราะมันเป็นการกระตุ้นปมด้อย เจ็บแค้นอย่างได้ผล ไม่ต้องสร้างภาพคนน่า เกลียดหรือน่าสมเพช เหยื่อผู้ไร้ศักดิ์ศรีแต่ประการใด ข้อเขียนของ เจนนี ฮอลเซอร์ Jenny Holtzer เป็นการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกตรง ๆ ไม่มีการ ตั้งหลักการซับซ้อนเธอแสดงความเศร้าใจที่ต้องสูญเสียเพื่อนหลายคนที่ตายเพราะโรคเอดส์ แต่ก็ไม่มีการเขียน คาเตือนที่ตรงไปตรงมา บอกถึงภัยอันตรายอย่างชัดเจน ผลงานของฮอลเซอร์ที่มีความโดดเด่นมาก ก็คือผลงานชุดที่แสดงความเกลียด หวาดกลัวต่อโรคเอดส์ที่ คร่าชีวิตเพื่อนของเธอหลายคนที่พานักอยู่ในเขตซานฟรานซิ สโก บุคคลเหล่านี้เป็นผู้นาสาคัญในวงการแสดง เขียนบทละคร ภาพยนตร์ หรือเป็นนักแสดง ในปี ค.ศ. 1990 ห้องแสดง มีผนังทาสีขาว หินอ่อนสีดาทาเป็น รูปร่างเหมือนโลงศพขนาดเท่าคนจริง ที่ผนังมีโคมไฟ หลอดไฟฟ้ากระพริบ ให้บรรยากาศของห้องดูราวกับเป็น โบสถ์ที่ตั้งศพจริง ๆ สิ่งที่ไม่เหมือนกับโลงศพจริงก็คือการเพิ่มคาประพันธ์ที่เขียนไว้ที่ฝาโลง


I spit and write With the wet The wet says what must stop…. I want bad ideas to stay In the mind to make Pleasure without harm. ฉันถ่มถุยและเขียนมัน ขึ้นด้วยน้าลาย ว่าเราจะต้องหยุดทาสิ่งใด ฉันต้องการให้ความคิดชั่วช้าต่าง ๆ (หมายถึงความอยากทางกาม) กักอยู่แค่เพียงในใจ เพื่อชีวิตจะได้มีความสุขไม่ทาร้ายใคร

ภาพที่ 1 OCEAN STONE CIRCLE, ANGLES GALLERY LOS ANGELLES 1990


สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ฮอลเซอร์ใช้ความรู้สึกเป็นตัวนา ความรู้สึกกลัว การเร้าอารมณ์ผู้ชมให้เศร้าและ หวาดกลัว สาคัญกว่าการใช้ตรรกะ ตัวอย่างต่อไปคือผลงานของ ริชาร์ด ลอง (Richard Long) ศิลปินผู้นี้เกิดในอังกฤษ เดินทางไปเยี่ยม ดินแดนหลายแห่งในโลก เช่น ไอร์แลนด์ แอฟริกาเหนือ เนปาล ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา การเดินทางไปใน ดินแดนต่าง ๆ ได้เห็นสภาพภูมิประเทศ อากาศ และสภาพชีวิตที่ต่างกัน แรงบันดาลใจที่เขาเห็นป่าไม้ ทุ่ง หญ้า หุบเขา เป็นแรงกระตุ้นให้เขาเขียนบทกวีที่มีลักษณะพิเศษ คือไม่เคร่งครัดในรูปแบบ จะเห็นได้ว่าตอนที่เขาทางานแบบคอนเซ็ปชวล ความคิดและการเชื่อมโยงความคิดไม่จาเป็นต้องเป็น ตรรกะเสมอไป แต่ต้องคิดเป็น ตัดสินใจเลือกวัตถุ รูปร่ าง และกาหนดขบวนการนาเสนออย่างฉลาดเพื่อทาให้ กระแสความคิดไหลไปสู่ผู้ชม บทกวี หรือการจัดอักษร คาในผลงานของริชาร์ด ลองไม่เน้นเรื่องจังหวะสัมผัส (Rhyme) ในผลงานชิ้น อื่น ๆ ของเขามีการเขียนอักษรในแนวเอียง หรือจัดเป็นวงกลมก็มี สาหรับงาน Installation Art ของ ริ ชาร์ด ลอง เขาจะนาเศษหินหรือไม้ที่เก็บมาจากสถานที่ ที่เขาเดินผ่านมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินไปตามถนน หรือผ่านทุ่งหญ้า นามาจัดเรียงเป็นวงกลมหรือรูปอื่น ๆ ริชาร์ด ลอง อธิบายว่าคุณค่าของผลงานแต่ละชิ้นอยู่ในตัวของมันเอง เพราะผลงานเหล่านี้ประกอบด้วย หินหรือไม้แต่ละชิ้นที่เก็บมาจากสถานที่จริง เป็นตัวแทน เป็นชีวิต จิตวิญญาณของสถานที่ ช่วยให้ศิลปินนาแรง บันดาลใจมาจากสถานที่ที่เคยไปเยี่ยมเยียน รับรู้ความรู้สึก ความประทับใจ นาออกมาเขียนเป็นบทกวีหรือ สร้างงานศิลปะ

ภาพที่ 2


ซอล เลวิตต์ (Sol LeWitt) ข้อเขียนของ เลวิตต์ ถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ของศิลปะคอนเซ็ปชวลศิล ปินส่ว นมากยอมรับ แต่จะนามา ปฏิบั ติมากน้อยแค่ไหน แล้วแต่บุคลิกภาพทางศิลปะของแต่ละคน จะเลือกทิศทาง หลั กเกณฑ์ข้อปรัชญา ชัดเจนหรือการเผยความรู้สึก มุมมองจากโลกส่วนตัว ผลงานของ เลวิตต์ ชื่อ “Sculpture series A 1967” ประกอบด้วยไม้ระแนงสีขาวต่อกันโดยยึดทุกมุม เป็นมุมฉาก งานนี้มีลักษณะเหมือนงานของกลุ่ม ดีสติจจิล (De Stijl) คือไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก แต่งานชิ้น นี้ยังไม่จัดเป็นประเภทคอนเซ็ปชวล

ภาพที่ 3

หลักการศิลปะ คอนเซ็ปชวลอาร์ต ของ ซอล เลวิตต์ (Sentences on Conceptual Art by Sol LeWitt) ซอล เลวิตต์ ได้เขียนหลักการคอนเซ็ปชวลอาร์ตไว้ 35 ข้อ เรียงลาดับตามต้นฉบับเดิมดังนี้ ข้อที่ 1-4 คอนเซ็ปชวลอาร์ตมีความลึกลับมากกว่าเหตุผล ความคิดที่ขาดเหตุผลยอมรับได้ แต่ผู้สร้าง งานต้องรู้กลไกของความคิดที่จะนามาใช้ ข้อที่ 5-8 ศิลปะแบบอื่น หรือ Formal Art อยู่ในครรลองที่เป็นเหตุผลมากกว่าคอนเซ็ปชวล ในศิลปะ คอนเซ็ปชวล การแบ่งประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และภาพถ่าย ไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นคาว่า จิตรกรรม ประติมากรรม ไม่เหมาะที่จะนามาใช้ ข้อที่ 9-12 แนวคิด หรือ Concept เป็นสิ่งมีทิศทางประกอบขึ้นมาจากความคิด (Idea) ซึ่งในตัวของมัน เองยังไม่มีทิศทาง ความคิดอาจไม่ดาเนินไปตามครรลองของเหตุผล และเมื่อถึงเวลาสร้างงานก็ยังมีตัวแปร


ความไม่แน่นอนที่เป็นปัญหาให้ศิลปินคิด หรือควบคุม อีกมาก ถ้าไม่ควบคุม ผลงานจะกลายเป็นการสื่อสารที่ กากวม คนดูจะอ่านไม่ออก ข้อที่ 13-16 งานคอนเซ็ปชวลเหมือนสายไฟต่อความคิดจากสมอง ศิลปินมาสู่คนดูแต่บางทีระบบก็ไม่ ทางาน คาพูดของศิลปินคนหนึ่งสามารถไปกระตุ้นขบวนความคิดของศิลปินคนอื่น บางที ศิลปินก็ไม่เข้าใจงาน ของตนเอง ในข้อ 16 คา ภาษาสามารถใช้ได้แต่การใช้คาในคอนเซ็ปชวลไม่เหมือนการใช้ในทางวรรณกรรมใน ทานองเดียวกันศิลปินอาจใช้ตัวเลขแต่ไม่เหมือนการใช้ทางคณิตศาสตร์ ผลงานประกอบด้วยรูปทรง (Form) ที่ ไม่มีอันใดด้อย หรือเด่นกว่าอันอื่น ข้อที่ 17-20 ความคิดเกี่ยวกับแบบแผนศิลปะแต่ละยุคต่างกัน อย่าใช้ความคิดปัจจุบันไปตัดสินศิลปะ ในอดีต งานศิลปกรรมสามารถรบกวนหรือเปลี่ยนความคิดความเข้าใจของเราเกี่ยวกับศิลปะ ในแบบแผนยุค สมัยนั้น เพราะเราต้องไม่ลืมว่าศิลปินทุกคนไม่ได้สร้างงานโดยทาตามกฎเกณฑ์ ทฤษฎีทุกอย่างนี้อ่ านพบใน ตารา ในทางตรงข้าม ตาราทฤษฎีถูกเขียนขึ้น ในหลายกรณี ถูกเขียนขึ้นภายหลังผลงานถูกสร้างและผลงาน หลายชิ้นก็แหวกกฎ ทาในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแนวสไตล์หรือแบบแผนของศิลปะ เช่นภาพคนของเอล เดร็คโคที่ สูงชะลูดจนดูผิดส่วน ดังนั้นในข้อ 20 ผลงานที่ได้รับความสาเร็จสามารถเปลี่ยนความคิดของผู้ดูได้ ข้อที่ 21-26 เกี่ยวกับการพิจารณาความคิด ผลงานและทาความเข้าใจ คาว่าดู สัมผัส รับรู้ (Perceive) ต่องานนั้นเป็นไปในลักษณะที่เป็นอัตตนิยม (Subjective) ทุกคนเอาความคิด ส่วนตัวไปใส่ และมีความเป็นไปได้ที่คนอื่นอาจเข้าใจผลงานของศิลปินได้ดีกว่าผู้สร้างเอง ข้อที่ 27-30 ความคิดสามารถเกี่ยวข้องกับเรื่องชิ้นของวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นงาน หลังจากนั้นศิลปิน ต้องคิดหา Form ที่จะนามาใช้สร้างงาน แต่ในขบวนการนี้อาจมีผลข้างเคียง (Side effect) ที่ศิลปินคาดไม่ถึง ขบวนการเป็นเรื่องสาคัญ อย่าให้ความคิดไปถู กสกัดกลางทาง ถ้าเกิดความผิดพลาด บางครั้งความผิดพลาด อาจนาไปสู่การสร้างผลงานชิ้นใหม่ ข้อ 30 ถ้าผลงานเกี่ยวข้องกับหน่วย หรือวัตถุ (Elements) หลายชิ้น ชิ้นที่ สาคัญจะแสดงความเด่นขึ้นมาเอง ข้อที่ 31 ในกลุ่มวัตถุที่ Form เหมือนกันแต่ทาจากวัตถุต่างกัน เช่น ศิลปินใช้ทั้งไข่สด ไข่เค็ม ปูน ปลาสเตอร์ ไม้ และโลหะทาเป็นรูปไข่ ต้องระวัง คนดูจะอ่านงานผิด ไข่สดสิบลูกความหมายไม่เหมือนไข่ ปลอม ทาจากไม้กลึง 6 ลูก โลหะ 2 ลูก และปูนปั้น 2 ลูก ข้อที่ 32 และ 34 ความคิดต้องดี แยบคาย จึงสร้างงานได้ ความคิดไม่ดี เรื่องที่เป็นพื้ น ๆ แม้มีช่างฝีมือ ดีมาทาตัววัตถุให้เป็นผลงาน งานออกมาก็ยังด้อย ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด ข้อที่ 33 ความคิดดี ทาลายยาก : ความคิดที่ดี หลักแหลม ศิลปินไม่ควรละเลย ควรนามาสร้างงานศิลปะ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเสียโอกาสทอง ข้อที่ 35 สิ่งที่เขียนมานี้ ข้อ 1-34 ไม่ใช่งานศิลปกรรม


หลักการนี้ไม่ใช่งานศิลปะ แต่เป็นบรรทัดฐานของการสร้างงานศิลปะในแนวคอนเซ็ปชวล เพื่อให้เข้าใจ ได้ง่าย จึงขอสรุปสาระสาคัญอย่างย่อไว้ดังนี้ 1. ศิลปะคอนเซ็ปชวลมีความลึกลับมากกว่าเป็นตรรก 2. ความคิด ถือว่าเป็นรูปแบบศิลปะชนิดหนึ่ง 3. การแบ่งประเภท จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ใช้ไม่ได้ในศิลปะคอนเซ็ปชวล 4. ฝีมือไม่ได้ช่วยให้งานดีขึ้น 5. ความคิดเปรียบเหมือนกระแสไฟ ผลงานเป็นสาย แต่บางทีระบบส่งจากสมองก็ไม่ทางาน 6. ความคิดไม่เหมือนแนวคิด อย่างหลังมีทิศทาง ต่อกันเป็นขบวนได้ ผู้สร้างไม่ควรเปลี่ยนแนวคิด กะทันหันเมื่อยังทางานไม่เสร็จ 7. ขบวนการเลือกวัสดุและการนาเสนอ มีความสาคัญกว่าแนวคิด เพราะวัสดุและการนาเสนออาจ ทาให้เปลี่ยนความหมายได้ 8. การใช้ตัวอักษร เลข ทาได้แต่ไม่เหมือนกวี และนักคณิตศาสตร์ 9. ระวังการเปลี่ยนวัตถุที่เป็นสื่อ แม้จะมีรูปทรงเดียวกัน เพราะจะทาให้งานศิลปะเปลี่ยนความหมาย ได้ 10. การจินตนาการผลงาน ทาไม่ได้ และผู้ชมอาจตีความผลงานชิ้นนั้นต่างจากศิลปิน 11. ข้อเขียน 35 ข้อ ของ ซอล เลวิตต์ ศิลปินยืนยันว่าไม่ใช่งานศิลปะคอนเซ็ปชวล

ภาพที่ 4

บทสรุป เมื่อเกิดศิล ปะคอนเซ็ป ซวลในปลายคริส ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีศิล ปะในอดีตสองทฤษฎี คือ ทฤษฎี สถาบัน และทฤษฎีวัฒนธรรมเท่านั้นที่สามารถอธิบายแนวคิดคอนเซ็ปซวลอาร์ตได้ เพราะศิลปะคอนเซ็ปซวล ไม่เกี่ยวกับฝีมือความประณีตที่จะทาให้เหมือน ถ้ายึดตามหลักการของ ซอล เลวิตต์ กับ โจเซ็ป โคซูต (Joseh kosuth) เป็นศิลปินคอนเซ็ปซวลแท้ในขณะที่ เจนนี ฮอลเซอร์ โรเบอร์ตโกเบอร์ และริชาร์ด ลอง เป็นผู้ที่ขอ


ยืมวิธีการของคอนเซ็ปซวลไปใช้กับงานของเขา ซึ่งเป็นการมองโลก จากมุมมอง และสื่อความรู้สึกที่เขียนเป็น ถ้อยคาออกมาไม่ได้ เจนนี ฮอลเซอร์ แสดงความรู้สึกว่าเกลียดกลัวโรคเอดส์ แต่ก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าควรจะป้องกันโรคเอดส์ หรือมี หลักการเฉพาะเจาะจงอื่น ในงานของ ริ ชาร์ ด ลอง บอกความผูกพันกับธรรมชาติ ในสถานที่ต่าง ๆ แต่ความรู้สึ กนี้ไม่ได้เขียน ออกมาแบบชี้ชัดตรง ๆ ในข้อเขียนที่ แอนน์ เซย์มอร์ (Ane Seymour) เขียนไว้เกี่ยวกับ ริชาร์ด ลอง ว่าศิลปินคนนี้ไม่เกาะติด กับทฤษฎีอะไร แต่ผู้เขียนกลับเห็นว่าทฤษฎีหลายทฤษฎี ตั้งแต่การเลือก แสดงออก รูปทรงล้วนมีส่วนช่วย อธิบายงานของริชาร์ด ลองได้ ส่วนของ ซอล เลวิตต์ น่าจะเป็นทฤษฎีสถาบัน กับทฤษฎีวัฒนธรรมเท่านั้น ซอล เลวิตต์ กับ เพียต์ มองเตรียน มีแนวคิ ดคล้ายกัน คือ เป็นศิลปะแบบไม่มีอารมณ์ผูกพันกับอะไร งานของเขาคล้ายกับคณิตศาสตร์หรือตรรกวิทยา มิติของอารมณ์ ความรู้สึก มุมมองอย่างมนุษย์ไม่มี เหลือแต่ หลักการที่ไม่มีเหตุผล โจเซ็ฟ โคซูต ตอนแรกก็ทาตามแนวของ ซอล เลวิตต์ ต่อมาเขาได้เสนอข้อเขียนว่า ปรัชญากาลังจะจบสิ้น ศิลปะแบบที่ปฏิเสธ Formal Art กาลังจะมาแทน โจเซ็ป โคซูต (Joseph Kosuth) กล่าวว่ายุคนี้ ปรัชญาจบสิ้นแล้วเหลือแต่ศิลปะ ที่จริงเขาน่าจะ หมายความว่า ในยุคโพสต์โมเดอร์นนี้ ความซับซ้อนและสับสนของสังคม ความนึกคิดจิตใจของคน ความผัน ผวนในสังคมมีมาก จนภาษาซึ่ง มีข้อจากัดไม่สามารถใช้อธิบายปัญหาทางปรัชญาได้ ดังนั้น การสร้างภาพของ สิ่งที่คลุมเครือจึงเหลือแต่วิธีการใช้ศิลปะ พูดด้วยภาษาทางทัศน ไม่ใช่ภาษาหนังสือ คอนเซ็ปซวลอาร์ต พัฒนาต่อมาในสมัยโพสต์โมเดอร์น ซึ่งเป็นยุคของความไม่ชัดเจนคลุมเครือ ศิลปิน บางคนต้องการเพียงยืมบางส่วนของหลักการคอนเซ็ปซวลไปใช้ โดยไม่สนใจว่างานของเขาจะจัดเป็นอะไร ศิลปินมีวิธีสร้างงานศิลปะ ด้วยการว่าจ้างช่างฝีมือทาตามแบบที่เขียน เช่นม้านั่ง ที่พักรถเมล์ ก็สามารถ มองเป็นศิลปวัตถุ นี้คืออีกทัศนหนึ่ง ลูเซียน ฟาโบล (ศิลปินอิตาเลียน) นาเอาแผ่นหินอ่อนที่ไม่สื่อความรู้สึกความหมายใดมาตั้งแสดงใน พิพิธภัณฑ์เพื่อสอนบทเรียนอันเจ็บแสบให้คนดูให้ได้คิดว่า อย่าเชื่อศิลปินง่ายนัก สิ่งที่ศิลปินผู้มีชื่อเสียงระดับ โลกเลือกไปแสดงอาจไม่ใช้ผลงานสูงค่าทางศิลปะแต่อย่างใด วิธีคิดแบบ ซอล เลวิตต์ ลูเซียน ฟาโบล และโจ เซ็ป โคซูต เปรียบเสมือนเกาะแห่งใหม่สาหรับความคิดทางศิลปะ แต่ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดศิลปะคอน เซ็ปชวลนี้จะเป็นกระแสหลักของศิลปกรรมในโลกแต่เพียงอย่างเดียว


Bibliography Alexander Alberorro and Blake Simpson, ed, Conceptual Art,: Acritical Anthology Aranason, HH, History of Modern Art, Engle Wood Cliff, New Jersey: Prentice Hall Inc. and New York : Harry N. Abrams Inc. 1994 Bell, Clive, “Art” in Stephen David Ross ed, Art and Its Significance: An anthology of Aesthetic Theory, Albany: New York State University, 1984-187192 Harrison, Charles, Alexander Alberorro and Blake Simpson, ed, “Conceptual Art and Critical Judgement” Conceptual Art, Kosuth, Joseph, “Art after Philosophy” , in Charles Harrison and Paulwood eds, simmon JOxford: Blackwell, 1997., 840-849 Jooselitz, David, Simon, Joan, and Saleci, Renata, Jenny Holtzer, London: Phaidon, nd/ /End of File, August 8th , 2010, 21:50/ LeWitt, Sol, 569-57 1 the same book of Bell (Also in Harrison and wood LeWill, Sol, ;Autobiography Sol Lewill 1980, Multiples, Inc., New York Phaidon, The Art Book, (For Lewitt: Open Geometric structure IV, 1990-p273) Piper, Adrian, “On Conceptual Art” Alexander Alberorro and Blake Rijks Museum, Energeen, Amsterdam: Rijks Museum, 1991 Ruhrberg, Schneckenburges, Fricke, Honnef; Art of the 20th Century, TASCHEN, 2000 Simpson, ed, Conceptual Art,: Acritical Anthology 424-425. Tate Gallery, Waldman, Diane, Jenny Holtzer, N. York Guggenheim Musem, 1997 ew


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.