บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 28 (คัดลอกจาก จากสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1) เก่ากับใหม่ เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แปลโดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ผู้ที่เคยไปต่างประเทศ คงจะเคยสังเกตเห็นว่าในประเทศเหล่านั้นเขาจัดให้มีการแสดงศิลปกรรมมาก รายและเป็นคราวไป ถ้าเป็นเมืองใหญ่และเมืองศูนย์กลางของประเทศ ผู้ไปเที่ยวจะสังเกตได้ว่ามีการแสดง อย่างนี้พร้อม ๆ กันมากแห่งในเมืองเดียวกัน ทุกวันนี้ การแสดงศิลปะก็เหมือนการแสดง (คอนเสิร์ต) ดนตรี การแสดงปาฐกถาและการแสดงอื่นๆ คือ เป็นสิ่งที่จาเป็นแก่มหาชน เพื่อให้ได้รับความบันเทิงใจ สาหรับอบรมอินทรีย์และขัดเกลาจิตใจให้เกิดความรู้สึก ดีงามทางสุนทรียภาพประณีตยิ่งขึ้น เพราะด้วยการแสดงเหล่านี้ ที่ศิลปินสามารถแสดงบุคลิกลักษณะของตน ให้ปรากฏออกมาได้อย่างเสรี เพราะไม่มีข้อผูกมัดเป็นพันธกรณีในการที่จะรับใช้แก่งานอย่างอื่นนอกจากแสดง ความนึกเห็นและความรู้สึกของตนเท่านั้น เมื่อมาคานึงถึงเรื่องนี้ในประเทศของเรายังไม่มีการจัดแสดงศิลปะแห่งชาติขึ้น ทางราชการกรมศิลปากร และศิลปินไทยหมู่หนึ่ง จึงคิดเห็นว่าจาเป็นจะจัดให้มีการแสดงอย่างนี้ขึ้นเป็นงานประจาปี และครั้งนี้เป็นครั้ง แรก (พ.ศ. 2492) เพื่อเป็นเครื่องช่วยการสารวจวิจารณ์ถึงความก้าวหน้า และความเคลื่อนไหวแห่งศิลปินของ เรา และทั้งเป็นเครื่องกระตุ้นให้มหาชนชาวไทย มีความสนใจศิลปะแบบปัจจุบันด้วย ศิลปะแบบปัจจุบันในประเทศไทย ก็เป็นทานองเหมือนสิ่งที่แปลกทีใ่ หม่ ซึ่งจะต้องวินิจฉัยจากแง่หนึ่ง เป็นพิเศษ เพราะศิลปะอย่างนี้ไม่ได้เจริญคลี่คลายมาจากแบบอย่างของเก่าในลักษณะเป็นวิวัฒนาการเหมือน ดังที่เป็นอยู่ในที่ต่างๆ ในโลกนี้หลายแห่ง ศิลปะแบบเก่าของเรากล่าวแต่ที่เป็นเนื้อหาสาระก็เป็นศิลปะที่ กาหนดนิยมกันเป็นประเพณีมาเพื่อรับใช้ทางพระศาสนา หรือเพิ่มพูนความงามให้แก่ปราสาทราชมณเฑียรและ สิ่งอันเป็นเครื่องราชูปโภค มาในสมัยปัจจุบันของเราศิลปะก็มาเป็นส่วนหนึ่งแห่งความเป็นอยู่ของมหาชน อัน เป็นบุญลาภอย่างใหญ่แก่บุคคลซึ่งมีความสนใจที่จะอบรมจิตใจของตนให้ประณีตรู้ค่าอันดีของสิ่งงาม ศิลปิน สมัยปัจจุบันสร้างภาพรูปคน ทิวทัศน์ อนุสาวรีย์ รูปคนทั้งตัว สิ่งสาหรับตกแต่งบ้านเรือนและอื่นๆ อีกอเนก ประการ เป็นชนิดของงานทางศิลปะ ซึ่งศิลปินโบราณาจารย์ไม่ได้ทา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาจะเอาศิลปะซึ่ง เป็นสาแดงออกมาในสมัยปัจจุบัน ไปเทียบกันได้กับศิลปะสืบต่อเป็นประเพณีกันมาแต่ก่อน ความจริง อดีตก็เป็นวิถีทางแห่งความรุ่งเรืองของเราทุกคน สาหรับให้เรารู้ ให้เราศึกษาและเป็นสิ่ง บันดาลใจแก่เราในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ แท้ที่จริงว่าในแดนแห่งศิลปะ ความบันดาลใจเช่นนี้ย่อมช่วยเราให้รักษา
ศิลปะอันมีลักษณะเป็นพิเศษของชาติไว้ให้มีชีวิตยืนยงต่อไป แต่เราไม่บังควรจะอาศัยแบบอย่างของเก่าที่สืบ เป็นประเพณีกันมาให้เป็นเหมือนดังกรงทองที่ขังความนึกเห็นของศิลปินไว้ เสรีภาพเป็นสิ่งจาเป็นแก่การเนรมิต สร้างศิลปะ ถ้าเราตั้งตนวางเป็นข้อบังคับสาหรับเราขึ้นไว้ก็เหมือนกับเราผูกล่ามความคิดของมนุษย์ไว้ ซึ่ง เปรียบเหมือนมีปีกบินได้ให้ถูกบังคับอยู่ในกรง ว่าเป็นพิเศษสถานหนึ่ง กล่าวคือ ศิลปะของเราที่สืบเป็นประเพณีกันมา เราจะทาสิ่งที่เป็นแบบวิธีของ เก่าก็ได้ เพื่อประโยชน์ในทางพาณิช เพราะจะได้กาไรเป็นเงินเป็นทองมา และเป็นชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ เรา ต้องมีศิลปินไทยที่สามารถเป็นผู้ทาสิ่งอันเป็นศิลปะสืบเป็นประเพณีกันมาบูรณะฟื้นฟูโบราณสถานที่เป็นศิลปะ และสร้างของใหม่เพื่อมีการสร้างวัดตามแบบวิธีเก่าของไทย แต่ศิลปะนั้นไม่ใช่อยู่ที่เลียนหรือออกแบบของเก่า เอามาอย่างไม่กระดิก ศิลปินซึ่งเป็นผู้เนรมิตสร้างอันแท้จริงย่อมมีอะไรใหม่มาด้วยเสมอไป มีอะไรที่เป็นความ บันดาลใจจากความคิดเห็นและจากอารมณ์ให้สะเทือนใจอุบัติขึ้นแก่โลกที่ตนอยู่ นี้คือเหตุผลที่ว่าทาไมศิลปะจึง ย่อมเป็นลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลและเป็นของเกิดใหม่เสมอไป ศิลปะมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ ก็คือการสาแดงออกมาแห่งศิลปะของสมัยหนึ่ง ๆ ในประวัติศาสนา ของประเทศชาติซึ่งอาจสังเกตเห็นได้จากที่ประชาชนชาวไทยมีความสนใจและต้องการศิลปกรรมสมัยปัจจุบัน ทวีขึ้นเรื่อย ข้อนี้ดูก็ไม่สู้มีสลักสาคัญอะไร แต่ที่แท้จริงเป็นเรื่องสาคัญยิ่งและเป็นส่วนทาความอุ่นใจให้แก่เรา เพราะความสนใจและความต้องการนี้ ทาให้เรามองเห็นล่วงหน้าว่า ความเจริญคลี่คลาย อย่างใหญ่ที่ศิลปะจะ บรรลุถึง อาจมีมาได้ในชั่วระยะสองสามปีข้างหน้าก็ได้ความจริงคงจะไม่ช้านานที่เราอาจได้เห็นด้วยความเบิก บานใจถึงความรักเก่าของเรา ที่มีอยู่กับสิ่งงามกลับฟื้นคืนมาสู่จิตใจของชนชาติไทยได้บริบูรณ์ เพราะศิลปะเคย เป็นและเป็นสิ่งที่สาแดงและปรากฏออกมา ในทางวัฒนธรรมของเราอย่างสาคัญยิ่ง ในการแสดงคราวนี้ จะได้เห็นงานศิลปะซึ่งลักษณะพิเศษต่าง ๆ กันในวิธีแสดงและเทคนิค มีทั้งงาน ศิลปะเหมือนของจริงที่ถือเป็นแบบนิยมกันมา งานศิลปะที่สืบต่อของเก่าเป็นประเพณีกันมา แต่แก้ไขใหม่ให้ เข้ากับสมัยปัจจุบัน และงานศิลปะซึ่งเป็นการสาแดงออกมาแห่งศิลปะอย่างสมัยใหม่เจี๊ยบก็มี ถ้าจะว่าอย่างทั่ว ๆ ไปศิลปกรรมมีลักษณะเหมือนของจริงนั้นดูเข้าใจง่าย ส่วนศิลปกรรมบางชิ้นซึ่งสาแดงออกแห่งศิลปะอย่าง สมัยใหม่มาก อาจจะทาให้ท่านต้องลมจับก็ได้ แต่ขอให้มหาชนผู้ได้วินิจฉัยศิลปกรรมอันเป็นการสาแดงออกมา แห่งศิลปะอย่างสมัยใหม่ที่สุดนี้ ด้วยหลักที่ว่าศิลปะเป็นการเนรมิตสร้างแห่งส่วนตัวของบุคคล และ บุคลิกลักษณะของบุคคลในอันที่จะสาแดงรูปลักษณะ และความนึกคิดแห่งศิลปะออกมานั้นไม่มีขอบเขตจากัด ศิลปผลิตกรรมใดที่สร้างขึ้นด้วยความจริงใจ ย่อมเป็นสิ่งสมควรได้รับการศึกษาเสมอเพราะไม่อาจรู้ได้ว่า สิ่งที่ เกิดจากความนึกเห็นอันแปลกประหลาดนี้ จะเป็นเหมือนดังเมล็ดพืชแห่งดอกไม้งามก็ได้ด้วยประการฉะนี้