บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ศิลปกรรมแห่งชาติ 5 ทศวรรษ โดย สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (สิงหาคม พ.ศ. 2542) มรดกของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คือผลิตผลของศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยทั้งหมด รูปธรรมของ มรดกที่ชัดเจนที่เป็นสถาบันทางศิลปะ คือ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และที่เป็ นกิจ กรรมทางศิล ปะร่ ว มสมัยที่ส าคัญและยังดาเนินอยู่ทุกปีคือ การจัดการแสดงศิล ปกรรมแห่งชาติ ผลิตผลทั้ง 2 ประการช่วยสร้างสรรค์วงการศิลปะให้เจริญเติบโตขึ้นเป็นรากฐานอันมั่นคงเชื่อมต่อผลิตผลอื่น ๆ ใน วงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยยุคต่อ ๆ มา เป็นบ่อเกิดสถาบันการศึกษาศิลปะ หอศิลป์และการจัดประกวด ศิลปกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างมากมายในปัจจุบัน

ภาพที่ 1 วิถีแห่งความฝัน มีเซียม ยิบอินซอย, สีน้ามันบนผ้าใบ 112 x 9 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492 ภาพที่ 2 เสร็จสรง แสวง สงฆ์มั่งมี, ปูนปลาสเตอร์, 150 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 ภาพที่ 3 ขลุ่ยทิพย์ เขียน ยิ้มศิริ, สาริด, 55 x 38 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินับเป็นการแสดงและการจัดประกวดผลงานศิลปกรรมที่มีประวัติศาสตร์ความ ต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดถึง 5 ทศวรรษ กล่าวคือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้มีบทบาทผลักดันให้เกิดการ แสดงดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแสดงศิลปกรรมลักษณะนี้ใน สังคมไทย1 เป็นการแสดงที่พยายามพิสูจน์ความถูกควรและความดีงามของศิลปะสมัยใหม่ให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็สามารถทาสาเร็จได้ในระดับหนึ่งเพียงทศวรรษแรกขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่


หลังงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2505 เมื่อสิ้นยุคท่าน 36 ปีต่อมาจนถึงปัจจุบัน แม้การ แสดงศิลปกรรมแห่งชาติยังจัดติดต่อมาตลอด แต่ดูเสมือนว่าศิลปกรรมแห่งชาติและเหล่าศิลปินผู้ส่งงานเข้า ประกวดจะขาดหลัก ขาดผู้นา ที่เป็นที่เคารพไว้วางใจ ขาดคนมุ่งมั่นทุ่มเทเช่นท่าน การจัดงานบางครั้งจึงเสมือน เป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติที่ต้องกระทาให้ผ่านไปแต่ละปี เกิดกระแสวิกฤตขึ้นมากมายที่เห็นได้ชัด กล่าวคือ ใน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2507 เพียง 2 ปีหลังสิ้นศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เกิดความขัดแย้ง ที่รุนแรง เพราะมีการประท้วงที่มีประเด็นหลักไม่เห็นด้วยกับเหรียญทองเหรียญเดียวที่ผ่านการตัดสินของ คณะกรรมการ แม้การประท้วงจะได้รับการแก้ไขต่อมา แต่นับเป็นรอยด่างในศิลปกรรมแห่งชาติ ทาให้ศักดิ์ศรีของ งานลดน้อยลงเป็นอันมากและเป็นลางว่าประเด็นสาคัญอาจจะตามมาภายหลังซึ่งก็เป็นจริงขึ้นในทศวรรษต่อมา ประมาณปี พ.ศ. 2520 – 2526 งานศิลปกรรมแห่งชาติต้องเผชิญกับกระแสการวิจารณ์จากนักวิ ชาการรุ่น หนุ่ม เป็นบุคลากรจากสถาบันทางการศึกษาศิลปศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคนั้น คนรุ่นนี้แทนที่จะช่วยกันสร้างงาน ศิลปที่ดี ๆ กลับช่วยกันสร้างเสียงที่ดัง ๆ ดุจกบเขียดหลังสิ้นฝนฉ่า เรียงแถววิจารณ์ในหนังสือต่าง ๆ เช่น สยามรัฐ มาตุภูมิ โลกศิลปะหรือสู่อนาคต โดยมีเป้าหมายหลักในแนวเดียวกันว่างานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติที่มหาวิทยาลัย ศิลปากรเป็นผู้ดาเนินการจัดอยู่นี้เป็นการจัดดาเนินงานแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว ถูกผูกขาดโดยบุคลากรของ มหาวิทยาลัยศิลปากรเอง ไม่เป็นงานแห่งชาติอย่างแท้จริง เช่น คาวิจารณ์ ที่ชี้ให้เห็นว่า “ในการแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2523 ในจานวนผู้ส่งประกวด 61 คน 50 คนเป็นบุคลากรจากคณะจิตรกรรมฯ ทั้งที่จบไป แล้วและยังศึกษาอยู่ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 18 คน ล้วนมาจากคณะจิตรกรรมฯ ทั้งสิ้น และย้อนหลัง ไปอีก 3 ปี ไม่มีคนนอกใดได้รับ รางวั ลเลย”2 โดยลื มไปว่าศิล ปากรคือ สถาบันอุดมศึกษาที่สอนศิล ปะสายตรง สถาบันเดียวในสังคมยุคนั้นและมีรากฐานการสร้างคนทางานศิลปะมาไม่น้อยกว่า 40 ปี ศักยภาพและปริมาณย่อม สูงกว่าที่ใดเป็นเรื่องปรกติธรรมดา แต่แทบไม่น่าเชื่อเสียงวิจารณ์ดังกล่าวกลับทาให้ผู้บริหารมหาวิทยาลั ยศิลปากร ยุคนั้นหวั่นไหวไปตามกระแส ซวนเซไปจากหลักการและเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง หันมาปรับปรุงรูปลักษณ์ของงาน แสดงใหม่ โดยเปลี่ยนโครงสร้างการได้มาของกรรมการ เห็นได้จากการแสดงครั้งที่ 30 พ.ศ. 2527 ด้วยการเชิญ ผู้แทนสถาบันศิลปะอุดมศึกษาอื่น ๆ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการดาเนินงานและคณะกรรมการตัดสิน ทั้งที่ มาตรฐานกรรมการตัดสินเป็นหัวใจสาคัญของผู้ส่งงานเข้าประกวดมากกว่าผู้วิจารณ์ และมีส่วนทาให้ผลการตัดสิน มีคุณภาพ ยุติธรรม ทันสมัย ล้าสมัย และที่สาคัญมีผลต่อค่ามาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยน เพื่ อ ภาพพจน์ โ ดยไม่ มีก ารพิ สู จ น์ วิ เ คราะห์ พิ จ ารณา ให้ ถ่ อ งแท้ ว่า มี ค วามจ าเป็ น มากน้ อ ยแค่ ไ หนที่ ใ ช้ ผู้ แ ทน สถาบันการศึกษาเข้ามาตัดสินงานศิลปะระดับนี้ หวังเพียงสร้างภาพพจน์ใหม่ที่ศิลปกรรมแห่งชาติมิได้เป็นของ คณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่ง แต่เป็นของส่วนรวมซึ่งดูเป็นภาพสวยงามทางรูปแบบเท่านั้น ผลที่ตามมาอาจจะ ช่วยลดกระแสการวิจารณ์ แก้ไขการกระจุก เพื่อกระจายได้ แต่กลับเป็นการกระจายให้หลากหลายภายใต้เงื่อนไข หลักแห่งสถาบันการศึกษา การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทาให้ศิลปินบางคนที่กาลังสร้างความเจริญงอกงามของวุฒิภาวะ ทางการทางานศิลปกรรมของตน โดยใช้เวทีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติและหรือบางคนเคยเป็นศิลปินที่ส่งงาน ร่วมแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ แต่มีตัวแปรด้านอื่นจึงหยุดทางานสร้างสรรค์ศิลปะไปนานแล้ว บุคคลเหล่านี้กลับ ได้รับเกียรติจากเงื่อนไขใหม่ ได้รับเชิญเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการตัดสิน เหตุเพราะไปประสบผลสาเร็จ จนเป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาเหล่านั้น 3 การเปลี่ยนโครงสร้างกรรมการตัดสินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 น่าจะเป็น


สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาใหม่เป็นปัญหาใหญ่ปลายทศวรรษที่ 4 และชัดเจนขึ้นในทศวรรษ ที่ 5 ถึงปัจจุบัน ปัญหาดังกล่าวคือมีการวิจารณ์กันมากเรื่องมาตรฐานศิลปินที่ส่งเข้าประกวดใน 2 ทศวรรษหลัง ศิลปิน อิสระ ศิลปินรุ่นใหญ่และรุ่นกลางเริ่มลดจานวนลงเรื่อย ๆ ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่เป็นศิลปินภายใต้ระบบสถาบัน แม้ งานจะมีคุณค่างดงามน่าพึงชมเพียงใด แต่เป็นศิลปะใต้หลักสูตรการเรียนการสอน ผลงานที่ส่งเข้าประกวดส่วน ใหญ่เป็นผลงานที่ทาเพื่อรับคะแนน ผ่านการขัดเกลาแนะนาจากอาจารย์ผู้สอนกลุ่มศิลปินเหล่านี้จึงเป็นเพียง เยาวชนที่เป็ น ผู้ใช้ภาษีมากกว่าเสี ยภาษี เยาวชนเหล่ านี้เมื่อจบการศึกษาแม้มีประวัติเคยส่ งงานเข้าประกวด ศิลปกรรมแห่งชาติและเคยได้รับรางวัล เมื่อออกไปประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม มี เยาวชนรุ่นใหม่เข้ามาส่งงานและได้รับรางวัลแทน ศิลปินชั้นเยี่ยมในยุคหลังนี้จึงขาดแคลนและหายากเต็มที (ดู ตารางสถิ ติ ข้อ มู ล ประกอบ) ท าให้ เ วทีศิ ล ปกรรมแห่ ง ชาติเ ป็ น เวที ส าหรั บ เยาวชนเปรี ยบเสมอกั บ การแสดง ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ที่จัดแสดงช่วงเวลาใกล้เคียงกัน บทวิจารณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดจากบทความ เรื่อง “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติสนามแข่งขันของใคร” ที่เขียนโดย ทวีเกียรติ ไชยยงยศ เมื่อ พ.ศ. 2531 ว่า “จากการสังเกตการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติช่วง 4 – 5 ปีหลัง ๆ นี้ไม่ค่อยมีศิลปินจริง ๆ ส่งผลงานศิลปะเข้า ประกวด ส่ ว นใหญ่ ผู้ ส่ ง งานศิ ล ปะเข้ า ประกวดมั ก เป็ น นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาอายุ ร ะหว่ า ง 22 – 26 ปี ไม่ ท ราบว่ า คณะกรรมการอานวยการประกวดศิลปกรรมแห่ งชาติจะมองเห็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับช่วงวัยของผู้ส่ งงานเข้า ประกวดหรือเปล่า ผู้เขียนใคร่ขอเสนอให้พิจาณาว่า นิสิตนักศึกษาช่วงวัยดังกล่าวจัดเป็นศิลปินได้หรือยัง? ตาม ความคิดของผู้เขียนเห็นว่านิสิตนักศึกษานั้นยังเป็นวัยกาลังเรียน ยังขาดประสบการณ์ยังต้องสร้างงานศิลปะภายใต้ คาแนะนาของครูอาจารย์อยู่ ความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์งานศิลปะยังไม่ครบถ้ วนร้อยเปอร์เซ็นต์ จริงอยู่ แม้ว่าผลงานของนักศึกษาบางชิ้นจะงดงามน่าพึงชมเพียงใด แต่ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นภายใต้ระบบ โรงเรียน มีครูอาจารย์คอยให้คาแนะนา และที่สาคัญนิสิตนักศึกษามิได้มีอาชีพเป็นศิลปินจริง ๆ”4 การวิจารณ์ ดังกล่าวเป็นภาพที่เห็น ได้ชัดโดยไม่ต้องพิสูจน์ เพราะหลายปีที่ผ่านมากลุ่ มศิลปินผู้ส่งงาน ผู้รับรางวัล ในงาน ศิลปกรรมแห่งชาติและงานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ทั้ง 2 งานที่จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร เกือบจะกลายเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หลักฐานที่เห็นได้ชัดคือศิลปินผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองสูงสุดคนเดียวและ เหรียญเดียวในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 31 พ.ศ. 2528 ก็ส่งงานประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิน รุ่ น เยาว์ใ นปี เดี ย วกัน กลั บ ไม่รั บ รางวัล ใดเลย ได้ ร่ว มแสดงเท่า นั้น นั บเป็น การลดทอนศัก ดิ์ศ รีข องการแสดง ศิลปกรรมลงไปอย่างมาก ไม่มีผู้รับผิดชอบคนใดลงมาวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวในเชิงลึก เพื่อหาจุดบกพร่องและ นาไปสู่การหาหนทางแก้ไข กลับถือเป็นเรื่องปกติ ปล่อยให้การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในลักษณะดังกล่าวดาเนิน ต่อไปในรูปแบบเดิม เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท่ามกลางกระแสคาวิจารณ์เหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน


ภาพที่ 4 ชายฉกรรจ์ จารัส เกียรติก้อง, สีน้ามันบนผ้าใบ 54 x 37 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 ภาพที่ 5 ลูกม้า ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ปูนปลาสเตอร์, 72 x 100 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493

จะเห็นได้ว่า 36 ปีหลังสิ้นศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คนรุ่นหลังอย่างพวกเราเพียงแค่รักษามาตรฐานและ คุณค่าในมรดกที่ท่านทิ้งไว้เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนไปของสังคมต้อง มีแน่ แต่เปลี่ยนอย่างไร แค่ไหน ต้องมีความละเอียดประณีตพอสมควร การไหล ร้อนรน และละลายไปกับกระแส ต่าง ๆ รอบด้านไม่เป็นคุณเป็นอย่างยิ่ง ยังแต่จะสร้างปัญหาขึ้นมาใหม่ไม่จบสิ้น หลักการที่ตั้งไว้ก็จะเอนเ อียง มาตรฐานและศักดิ์ศรีก็จะลดต่าลงอย่างช่วยไม่ได้ ในวาระที่การจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเวียนมาครบรอบ 50 ปีในปีนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการทบทวนบทบาทของการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ สิ่งที่น่าจะทาเป็น อันดับแรกคือน่าจะศึกษาอุดมคติวิถีการดาเนินการของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นแบบอย่าง ยึดถือเป็นครูว่า ท่านมีวิถีปฏิบัติอย่างไรจึงใช้ระยะเวลาอันสั้นในการสร้างคนสร้างวงการและสร้างศิลปะร่วมสมัยให้เกิดและตั้งหลัก มั่นในสังคมได้

ภาพที่ 6 จันทบุรี ประยูร อุลุชาฏะ สีน้ามันบนผ้าใบ 70 x 101 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2498 ภาพที่ 7 ดอกบัว ทวี นันทขว้าง สีน้ามันบนกระดาษอัด 120x189 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2499

เมื่อศึกษาจากข้อมูลต่าง ๆ มีข้อน่าสังเกตว่าแนววิถีปฏิบัติของท่านที่มีต่อการดาเนินงานแสดงศิลปกรรม แห่งชาติน่าจะประกอบขึ้นด้วยหลัก 4 ประการ คือ ตั้งเป้า ตั้งมั่น ตั้งใจและตั้งความหวัง และเพื่อความเป็นหนึ่ง สิ่งสาคัญต้องมุ่งมั่นทุ่มเททุกขั้นตอนของการดาเนินการ ความสัมฤทธิ์ผลจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งจะขอพยายามอธิบายทีละ ประการ กล่าวคือ


ประการที่ 1 ตั้งเป้า ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องนี้ต้องย้อนภาพบรรยากาศทั่วไปของสังคมก่อนการแสดงศิลปกรรม แห่งชาติไปเกือบ 2 ทศวรรษ สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ศิลปะแบบราช สานักถูกถ่ายบทบาทมาสู่รัฐ ศิลปะแบบประเพณีนิยมกาลังเสื่อมสูญ ศิลปะที่เหมาะสมกับสังคมที่กาลัง เปลี่ยนแปลงยังไม่เกิด เกิดสุญญากาศในวงการศิลปะ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ขณะนั้นเป็นข้าราชการกรม ศิลปากร ทางานตามความประสงค์ของเจ้านาย หรือรัฐ และเพิ่งเสร็จจากการเปิดและติดตั้งพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ไม่ถึง 3 เดือน งานของท่านที่ กระทาอยู่ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเป็นงานประติมากรรมรูปเหมือนเน้นความถูกต้องทางวิชาการ จินตนาการความโดด เด่นเป็นพิเศษทางศิลปะล้วนจากัดอยู่ในกรอบ เนื่องจากท่านเป็นคนมีหัวก้าวหน้า มีไฟทางศิลปะอยู่ในตัวอย่างเต็ม เปี่ยมมีความคิดกว้างไกลไม่หยุดนิ่งหรือปล่อยตัวไปตามกระแสไหล ไม่ทางานที่รับผิดชอบไปวัน ๆ แต่เห็นถึง ความสาคัญของศิลปะโดยเฉพาะศิลปะร่วมสมัยต่อสังคม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คงมีการตั้งเป้าที่เป็นนามธรรมขึ้นในใจท่านคงเห็นปัญหาช่องว่างทางศิลปกรรม เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะนาคุณค่าอันดีงามของศิลปสมัยใหม่มอบแก่สังคมตั้งแต่บัดนั้น จึง นาแนวคิดมากาหนดเป้าหมายแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นระบบผลักดันให้มีการดาเนินการให้เกิดเป็นรูป ธรรมขึ้น มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร งานแสดงศิ ล ปกรรมแห่ ง ชาติ จึ ง เกิ ด ขึ้ น ในสั ง คมไทยด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ อั น ยาวไกลของ ศาสตราจารย์ศิลป์ ณ จุดนี้เอง จะเห็นได้จากหลักฐานภารกิจน้อยใหญ่ที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ มาคือ พ.ศ. 2477 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ร่วมกับพระสาโรจน์รัตนนิมมานก์ ตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น ในกรมศิลปากร พ.ศ. 2480 จั ด ให้ มี ก ารประกวดงานศิ ล ปกรรมของนัก เรี ย นโรงเรี ยนประณีต ศิ ล ปกรรมในงานฉลอง รัฐธรรมนูญ เป็นงานประจาปีที่จัดขึ้นปีแรก นับเป็นการนาผลงานนักเรียนออกแสดงสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2486 ได้เชิญจอมพล ป. พิบูลสงครามมาเยี่ยมชมโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจนนาไปสู่การยกระดับ เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2486 โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมคณะเดียวและ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคนแรก พ.ศ. 2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้รับมอบหมายจากรั ฐบาลให้นางานสมัยใหม่ในยุคนั้นไปแสดงเผยแพร่ที่ สถานเอกอัครราชทูตในกรุงลอนดอน มีนายดิเรก ชัยนาม เอกอัครราชทูตแห่งสานักเซนต์เจมส์เป็นผู้ให้ความ อนุเคราะห์และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อธิบายความรู้ความเข้าใจในงาน ได้รับความสาเร็จอย่างสูง พ.ศ. 2492 ได้จัดให้มีการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่ท่านได้ปูพื้นฐานสร้างความรู้ ความเข้าใจศิลปะสมัยใหม่แก่สังคมไทยมาพอสมควรแล้ว โดยท่านให้เหตุผลในการจัดเป็นเบื้องต้นไว้ว่า “เพื่อเป็น เครื่องสารวจและวิจารณ์ถึงความก้าวหน้าและความเคลื่อนไหวแห่งศิลปินของเราและเป็นเครื่องกระตุ้นให้มหาชน ชาวไทยมีความสนใจในศิลปะปัจจุบันด้วย”5


การดาเนินการที่กล่าวมาแสดงขั้นตอนเป็นชั้น ๆ แสดงการเกิด เติบโต และพัฒนาทางศิลปะตามเป้าที่ตั้งไว้ จากสุญญากาศศิลปะในสังคม เปิดแหล่งผลิต ปลุกกระแสสร้างสรรค์ สร้างสถาบันเผยแพร่ เป็นภาพความต่ อเนื่อง ของผลงานที่เห็นได้ชัด การเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญของการ วางรากฐานศิลปร่วมสมัยที่ครบวงจรในสังคมไทย เป็นการเปิดโลกของศิลปะร่วมสมัยแก่ลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของ ท่านและคนที่ทางานศิลปะในยุคนั้นได้มีกาลังใจในการสร้างสรรค์ มีเวทีในการแสดงออกเผยแพร่แก่ประชาชน และประชาชนได้มีโอกาสได้ชื่นชมคุณค่าความงดงามของศิลปกรรมสมัยปัจจุบัน ประการที่ 2 ตั้งมั่น เมื่อมีหลักและเป้าหมายในการจัด การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติแล้ว ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี แสดงการยึดมั่นต่อหลักการและเป้าหมายนั้น ท่านทาตัวเป็นเสมือนแม่ทัพ ตั้งมั่นในการต้าน กระแสการวิจารณ์ต่าง ๆ รอบด้านโดยใช้บทความประกอบสูจิบัตรในงานแสดงศิลปกรรมเป็นสื่อที่เขียนทั้งทฤษฎี ทางวิชาการ บทวิจารณ์ประเมินค่าศิลปะ เรียบเรียง ชี้แจงตอบแก้การวิจารณ์ด้วยเหตุด้วยผลสอดแทรกข้อมูล ความรู้ทางวิชาการศิลปะในการแสดงครั้งนั้นถัดมาหรือในโอกาสจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ดังจะเห็นได้จากการ แสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช วิจารณ์งานศิลปกรรมแห่งชาติใน สยามรัฐอย่างตรงไปตรงมาว่า “ภาพเขียนของศิลปินตะโกนกู่ก้องด้วยเสียงอันดังว่า ” “โกแก็ง” “แวนก็อค” หรือ “ดาลี” หรือมิฉะนั้นก็เป็นเส้นขยุกขยิกเหมือนเด็กวาด”6 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้โต้แย้งการวิพากษ์วิจารณ์ ทานองนี้ว่า “การที่ศิลปินแสดงงานของเขาออกมาด้ วยวิธีการอย่างนั้นก็ต้องขึ้นอยู่ แก่อารมณ์เฉพาะตัว และการ ตัดสินใจของศิลปินเอง เขาเป็นคนไทย ฉะนั้นศิลปะของเขาต้องเป็นไทยด้วย”7 และ “ไม่ควรเข้าใจว่าเป็นการเอา อย่างสกุลช่างอิมเพรสชั่นนิสม์ของยุโรป ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์หมายถึงการแสดงออกต่อสิ่งที่เขาเห็นอย่างจริงใจ และก็เช่น กันต่อสิ่งที่เรารู้สึ กโดยปราศจากความคิดทางด้านพุทธิปัญญาเข้ามาแทรกแซง”8 และในการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติในครั้งแรก ๆ มีการวิจารณ์กันมากจากพวกกลุ่มอนุรักษ์หัวโบราณที่ตะขิดตะขวงใจ และมี ทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยกับภาพเปลือย โดยวิจารณ์ทานองว่าการแสดงภาพลักษณ์ดังกล่าวเป็นการล่วงละเมิดแบบ แผนประเพณี ข องสั ง คมไทยที่ เ ห็ น ว่ า ไม่ ค วรน าภาพลั ก ษณะนี้ อ อกแสดงแบบเปิ ด เผย แต่ ทั ศ นะดั ง กล่ า ว ศาสตราจารย์ศิล ป์ พีระศรี ได้พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจนาเสนอด้านสุนทรียศาสตร์ ความงาม หลั ก วิชาการ ตอบข้อสงสัยในบทความเรื่องศิลปะกับราคะจริตและภาพเปลือยเป็นศิลปะหรืออนาจารจนสังคมส่วน ใหญ่ยอมรับในการแสดงภาพประเภทดังกล่าวในที่สุด นอกจากนั้นท่านยังมีความตั้งมั่นในการปลุกกระแสการพัฒนาศิลปกรรมประจาชาติ โดยมีการฟื้นฟูลักษณะ ศิลปไทยในศิลปร่วมสมัย สร้างสรรค์ใหม่เป็นงานศิลปะประเพณีผสมผสานกับความเป็นสากลที่เห็นได้จากงาน ประติมากรรมของ เขียน ยิ้มศิริ, สิทธิเดช แสงหิรัญ งานประติมากรรมและงานจิตรกรรมประเพณีที่แสดงรูปร่าง และจังหวะเส้นแบบไทย ระยะแรกถูกจัดอยู่ในงานมัณฑนศิลป์และศิลปะประยุกต์ จะเห็นได้จากภาพ “นางฟ้า แห่งนครวัด” ของ ประสงค์ ปัทมานุช ได้รับรางวัลเหรียญทองสาขามัณฑนศิลป์ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2494 หรืองาน “รามะนา” ของ ชิต เหรียญประชา ประติมากรรมสลักไม้มะฮอกกานี ได้รับรางวัล เหรียญทองประเภทมัณฑนศิลป์ ซึ่งในครั้งต่อ ๆ มาศิลปะแนวนี้ได้ถูกเลื่อนจากประยุกต์ศิลป์และมัณฑนศิลป์ เป็น วิจิตรศิลป์ อาจจะเป็นเพราะความมุ่งมั่นที่จะเสนอศิลปร่วมสมัยในทุกระดับแก่สังคม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ


7 ครั้งแรกจึงมีการกระจายประเภทรางวัลไปในระดับต่าง ๆ เพื่อให้สังคมทั่วไปได้รับรู้ศิลปะทีละขั้น จากประยุกต์ ศิลป์ถึงศิลปะชั้นสูง เมื่อสังคมโดยองค์รวมปรับระดับการรับรู้ร่วมกันแล้ว กรอบประเภทศิลปะจึงแคบและน้อยลง การพัฒนาศิลปะแนวไทยประเพณีจึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ในช่วงท้าย ๆ ของชีวิตท่านจะเห็นศิลปินร่วมสมัยยุค นั้นแสดงภาพบ้านเรือน การดารงชีพที่อยู่ใต้ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ประเพณีกิจกรรมในพุทธศาสตร์ วิถีชีวิต ในบ้านเรือนสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เริ่มปรากฏในงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์มากขึ้น เช่น งานของ ทวี นันทขว้าง, ชลูด นิ่มเสมอ, มานิตย์ ภู่อารีย์, ประหยัด พงษ์ดา และศิลปินหนุ่มในยุคนั้นคือดารง วงศ์อุปราช ซึ่งเขียนสภาพความ เป็นจริงของบ้านเรือนชนบทหรือหมู่บ้านชาวประมง เป็นต้น ศิลปร่วมสมัยของศิลปินเหล่านี้แสดงเอกลักษณ์และ ความเป็นเชื้อชาติไทยอย่างชัดเจน เปิดลักษณะการแสดงออกของศิลปกรรมให้หลากหลาย จากการแสดงออก ส่วนตัวที่เป็นแนวตะวันตกจนถึงแนวลักษณะศิลปะไทย ความตั้งมั่นจริงจังของท่านศาสตราจารย์ศิลป์ที่เป็นหลักในการต้านกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากภายนอกด้วย ความเข้าใจตอบข้อสงสัย สร้างความกระจ่างชัดจนงานศิลปกรรมแห่งชาติตั้งมั่นคงในสังคมไทย และเป็นหลักใน การปลุกกระแสศิลปะประจาชาติให้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ในงานศิลปกรรมแห่งชาติ นั บเป็นรากฐานให้เกิดการตื่นตัว ค้นคว้าทางศิลปะไทย เป็นรากฐานประการหนึ่งของการเกิดภาควิชาศิลปไทยรวมไปถึงเกิดการพัฒนาศิลปะแนว ไทยประเพณีในยุคปัจจุบัน

ภาพที่ 8 หมู่บ้านชาวประมง ดารง วงศ์อุปราช สีฝุ่นบนผ้าใบ 89x109 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2503 ภาพที่ 9 องค์ประกอบ 2512 เดชา วราชุน แม่พิมพ์โลหะ 91x76 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2512

ประการที่ 3 ตั้งใจ คือความตั้งใจที่จะแสดงความดีงามของศิลปสมัยใหม่ให้สังคมยอมรับด้วยการทุ่มเท กาลังกายและกาลังใจอย่างที่สุดทุกด้าน บทความ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่พร้อมกับการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ นอกจากจะแสดงการต้านกระแสและปลุกกระแสดังกล่าวมาแล้ว การตั้งใจให้การศึกษาสร้างความรู้ความ เข้าใจ และคุณประโยชน์ที่มีจากงานศิลปะมีความสาคัญ มากอีกด้านหนึ่ง โดยท่านได้เขียนยกย่องสรรเสริญคุณค่าของ ศิลปะในสูจิบัตรงานหลาย ๆ ครั้ง เช่น “มนุษย์ใช้ศิลปเพื่อความสุขทางสุนทรียบริสุทธิ์และผลที่ได้รับจากความสุข ทางสุนทรียะนี้แหละที่ทาให้มนุษย์เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ขึ้น โดยอาศัยศิลปะ มนุษย์อาจจะขยับสูงขึ้นขั้นเทียมเทพ เจ้า และโดยวิธีนี้มนุษย์จะพ้น จากความป่าเถื่อนและสัญชาตญาณของสัตว์โลกธรรมดา” 9 หรือ “ศิล ปะเป็น


เช่นเดียวกับศาสนาบันดาลให้มนุษย์มีมโนธรรมอันสูงส่งประสิทธิ์ประสาทสิ่งสะเทือนใจให้ช่วยขัดเกลาวิญญาณ และจิตใจของมนุษย์ให้ผุดผ่องประณีตขึ้น” 10 ท่านยังกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของศิลปที่ส่งถ่ายวัฒนธรรมต่อกันไว้ว่า “ศิลปะเป็นสมการที่สาคัญที่สุด ซึ่งจาก ศิลปะนั้นเอง วัฒนธรรมของคนเราได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ชนชาติอื่น ๆ และอนุชนในชาติของเรา จากศิลปเท่านั้นที่เรา อาจวินิจฉัยความเจริญทางจิตใจของคนเราได้ กรุงโรมยังไม่สิ้นชื่อเพราะมีงานศิลปกรรมเป็นอนุสรณ์ เช่นเดียวกับ ประเทศกรีซ ศิลปสุโขทัยเป็นสิ่งเชิดชูเกียรติคุณของชาติไทย เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาที่ยังไม่สูญไปเพราะมี เทวาลัยมหัศจรรย์ให้เห็นอยู่”11 ที่ยกมาเป็นตัวอย่างเล็กน้อยของบทความของท่านแสดงทัศนคติ ความคิด ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ คุณค่า ความดีงามของศิล ปกรรมแก่สั งคมด้ว ยบทความทางวิช าการทุกครั้งของการแสดงศิล ปกรรมแห่ งชาติเพื่อให้ ประชาชนยอมรับความสาคัญและคุณค่าของงานศิลปกรรมร่วมสมัยปัจจุบัน ความตั้งใจของท่านนอกจากใช้บทความประกอบงานศิลปกรรมแห่งชาติเพื่อกระตุ้นความสนใจในศิลป ร่วมสมัยต่อสาธารณชนแล้ว ท่านยังเขียนบทความในทานองร้องขอแรงสนับสนุนจากภาครัฐอยู่เป็นระยะทุกครั้งที่ มีโอกาส เช่น ข้อความบางตอนในบทความที่ว่า “ลาพังกรมศิลปากรผู้เดียวเท่านั้น มิอาจดาเนินการสร้างเสริมศิลป ปัจจุบันให้สาเร็จก้าวหน้าไปด้วยดี เรายังต้องการการสนับสนุนอย่างเต็มอกเต็มใจโดยแท้จริงจากผู้มีอานาจใน วงการรัฐบาลและจากประชาชนไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย”12 หรือที่ท่านกล่าวว่ า “ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัตถุประสงค์อันสาคัญของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินั้นก็เพื่อส่งเสริมความสนใจในศิลปะของประชาชนให้สูงขึ้น และเพื่อให้ทางราชการและเอกชนเห็นความจาเป็นของการมีของสวยงามไว้ประดับประดาอาคารเคหสถาน ” 13 “เรายังใคร่ที่จะเห็นกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้มีงบประมาณสักก้อนหนึ่งสาหรับซื้องานศิลปกรรมไว้ตกแต่ง อาคารสถานที่ราชการอีกด้วย เพราะปฏิบัติการดังกล่าวได้กระทากันอยู่เป็นปกติในหลายประเทศ และคงจะได้ ประโยชน์ไม่น้อยถ้าหากว่าจะมีการปฏิบัติทานองนี้ในประเทศไทยบ้าง”14

ภาพที่ 10 พิมพ์ไม้ กุมภาพันธ์ 2 อิทธิพล ตั้งโฉลก แกะไม้ 81x61 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2514 ภาพที่ 11 ภาวะจิตใต้สานึก เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ สีน้ามันบนผ้าใบ 140x120 ซม. รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2523


จะเห็นได้ว่าศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีความละเอียดประณีตต่อองค์ประกอบที่มีผลต่อคุณภาพของ การจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในทุกจุดมีความตั้งใจ เพียรพยายามและมีความอดทนสูง ทุ่มเท มุ่งมั่นใส่ใจในทุก ขั้น ตอนตั้งแต่ปัจ จัย การประกวดและแสดง ระบบการพิจารณาตัดสิ น ระบบการจัดการแสดงงาน ระบบการ เผยแพร่ด้านเอกสารวิชาการ ระบบการตรวจสอบและติดตาม รวมทั้งการประเมินคุณภาพของผลการแสดงแต่ละ ครั้งมีการติดตามแก้ปัญหาเสนอแนะ ชี้แจง สร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ได้งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติที่มี คุณภาพตามที่มุ่งหวัง ประการที่ 4 ตั้งความหวัง เป็นการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เรื่องสาคัญที่สุดที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ตั้งความหวังไว้ว่า การจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจนเป็นที่ยอมรับจะเป็นรากฐานของการได้มา 2 อย่าง ที่สาคัญของศิลปะร่วมสมัยคือ การได้มาซึ่งหอศิลปสมัยใหม่และการที่ศิลปะสมัยใหม่ได้รับการรับรองใน สังคมไทยโดยส่วนรวม เพื่อเป็นโอกาสให้ศิลปินได้เนรมิตงานใหม่ ๆ ยิ่งขึ้ นในเรื่องของหอศิลป ท่านเขียนบทความ ไว้หลายครั้ งเช่น “การแสดงศิล ปกรรมแห่งชาติทุก ๆ ปีมาได้มีผู้ มาชมเป็นจานวนพัน ๆ ทุก ๆ วันอาทิตย์ มี ประชาชนจานวนมากพากันไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปชมความงามที่เขากระหายใคร่เห็นไฉนเล่าเราจึงไม่ สร้างอาคารถาวรหรือหอศิลปสมัยใหม่ขึ้นไว้ เพื่อแสดงงานศิลปให้ประชาชนได้ชมกันบ้าง ซึ่งถ้ากระทาได้ก็จะ บังเกิดผลถึง 3 ประการคือ ประการแรก เป็นโอกาสอันดีของประชาชนชาวไทยที่จะได้ชมความงดงามของศิลปกรรมสมัยปัจจุบัน ประการที่ 2 เป็นการกระตุ้นเตือนศิลปินไทยให้มีกาลังใจสร้างศิลปให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และ ประการที่ 3 เป็นการแสดงให้อารยประเทศทั้งหลายได้เห็นว่าประเทศไทยของเรามีความเข้าใจอันดีต่อ ความสาคัญของศิลปร่วมสมัยอยู่เหมือนกัน”15 หรือที่ท่านเขียนบทความไว้ว่า “ประเทศอินเดีย ปากีสถาน จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และมาลายู เขามีคณะมนตรีทาง ศิลปะและหอศิลปสมัยใหม่หลายแห่ง เรามีความใฝ่สูงอย่างเต็มที่ในเรื่องการแข่งขันกันในชาติ เราอาจใช้เงินสัก สองหรื อสามล้ านบาท ส าหรั บ การสร้ างหอศิล ป์อันถาวรขึ้นมา เพื่อ ให้ ประชาชนของเราได้นิ ยมชมชอบการ แสดงออกของศิลปินร่วมสมัยในที่สุด ในขั้นเริ่มต้นขอแต่เพียงอาคารที่เหมาะสมสักอาคารหนึ่งเท่านั้น มิฉะนั้นแล้ว การที่เราจะแข่งขันกับชาติอื่น ๆ เขาในเรื่องเกี่ยวกับศิลปะก็มิอาจเป็นไปอย่างสมบูรณ์”16 ส่ ว นด้ า นความหวั ง ของการที่ ต้ อ งการให้ สั ง คมคนไทยส่ ว นรวมยอมรั บ ศิ ล ปร่ ว มสมั ย ท่ า นเขี ย นไว้ ว่ า “การศึกษาในระดับสูงและความรู้ที่กว้างขวางขึ้นในด้านค่านิยมทางปัญญา รวมกับวัฒนธรรมของประเทศจะนามา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในอีกยี่สิบหรือสามสิบปีข้างหน้า อันทาให้ศิลปะสมัยใหม่ได้รับการรับรอง” “สถานการณ์ด้าน ศิลปะของประเทศไทยกาลังเปลี่ย นแปลงในระยะสิบกว่าปีที่แล้ วมาเห็นได้ว่ามีการส่งเสริมศิลปยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทางพุทธิปัญญา เป็นเหตุให้อนุชนสนใจในงานศิลปะสมัยใหม่อย่างน่าพอใจ อัน เป็นเครื่องหมายที่ให้ความหวังแก่เราว่าในอนาคตความนิยมชมชอบศิลปะที่แสดงออกในรูปร่วมสมัยจะสัมฤทธิ์ผล ในที่สุด”17 ความหวังและความฝันของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ผลิดอกออกผลขึ้นทดแทนความรู้สึกเจ็บปวดที่ ท่านเคยเขียนในบทความเมื่อปี 2504 ไว้ว่า “สิ่งแรกที่ชาวต่างประเทศเหล่านั้น ถามก็คือหอศิลปสมัยใหม่เราได้แต่


ตอบซ้า ๆ อยู่เสมอว่า ”เสียใจ เสียใจจริง ๆ เรายังไม่มีหอศิลปสมัยใหม่ ” คาตอบเช่นนี้ย่อมเป็นสิ่งไม่สบายใจแก่ผู้ ที่เข้าใจถึงค่าของคาถามอยู่มาก”18 เพราะก่อนหน้าที่ท่านจะเสียชีวิตไม่กี่เดือน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับ ทุนจากรัฐบาล เงินบริจาคจากเอกชนให้สร้างอาคารดังกล่าว 19 หลังจากท่านเสียชีวิตแล้วได้มีการตั้งมูลนิธิหอศิลป์ พีระศรี ในปี 2505 และเปิดหอศิลป์ พีระศรี ในปี 2517 และหอศิลปทั้งภาครัฐและเอกชนก็ถือกาเนิดตามกันมา เช่น 2520 กรมศิลปากร เปิดหอศิลปแห่งชาติ ณ ถนนเจ้าฟ้า 2521 มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดหอศิลปที่ท้องพระ โรง วังท่าพระ 2524 ธนาคารกรุงเทพ เปิดหอศิลป์ผ่านฟ้า ศูนย์สังคีตศิลป เป็นต้น ปี 2517 เป็นปีริเริ่มที่ภาคเอกชนโดยเฉพาะธนาคารและสถาบันการเงินเข้ามามีบทบาทอุปถัมภ์ศิลปะแทน รัฐบาลมีการสนับสนุนงานแสดง และจัดประกวดโดยมีความเชื่อที่ว่า “ธุรกิจและศิลปะนั้นไม่ได้แยกออกจากกัน เสียเลยทีเดียว แต่ว่าทั้ง 2 สิ่งประกอบกันและเป็นประโยชน์แก่กันและกัน”20 โดยเริ่มจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารศรีนคร และเอกชนอื่น ๆ ที่เปิดตัวตามมาเป็นลาดับ จึงนับได้ ว่าศิล ปร่ วมสมัย ได้พัฒ นาเข้าไปมีบ ทบาทส าคัญส่ ว นหนึ่งของสังคมสมตามที่ท่านศาสตราจารย์ศิล ป์ พีระศรี มุ่งหวังไว้ ความสาเร็จของการจัดงานศิลปกรรมแห่งชาติสูงสุดในยุคศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็คือได้รับพระมหา กรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนินมาทรงเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ณ วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2505 ก่อนศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เสียชีวิตเพียง 2 เดือน 24 วัน พระราช ดารัส เปิดงานแสดงศิล ปกรรมครั้ งนั้น เป็น ที่จับใจยิ่งนัก ทรงมีพระราชดารัส ว่า “การที่ทางราชการได้จัดงาน ศิลปกรรมแห่งชาติเป็นงานประจาปีและในปีนี้ก็ได้คัดเลือกงานศิลปะทุกประเภทเข้าแสดง เพื่อผดุงรักษาศิลปะ ของชาติให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นนั้นเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ศิลปะของไทยเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลบรรพบุรุษของ เราได้พยายามค้นคว้าประดิษฐ์ ด้ว ยความประณีตบรรจงเป็นที่ยกย่องสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ จึงขอให้ ศิล ปิน ทั้งหลายรักษาสิ่งที่มีค่านี้ไว้และช่วยกันเสริมสร้างงานด้านนี้ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ศิลปกรรมเป็นการแสดงออกถึง จิตใจของชาติ ฉะนั้นผู้เป็นศิลปินไม่ว่าประเภทใดจึงควรได้พยายามศึกษาหาความรู้ให้กว้างขวาง เพื่อจะได้แสดง จิตใจนั้นได้ด”ี จากนั้นในปีถัดมาพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพฝีพระหัตถ์เข้าร่วมในการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้ง ที่ 14 มาจนถึงปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนินทรงเปิดงาน จนถึงครั้งที่ 21 พ.ศ. 2515 และตั้งแต่ครั้งที่ 22 พ.ศ. 2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เป็น ประธานในพิธีเปิดการแสดงจนถึงปัจจุบัน ที่กล่าวกันมาอย่างยืดยาว ย้อนยุคไปหลายทศวรรษเท้าความวนเวียนอยู่ในช่วงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังดารงชีวิตอยู่ เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงวิถีปฏิบัติของท่านต่อการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน 13 ครั้งของการจัดจะเห็นถึงการทุ่มเท มุ่งมั่นอย่างเต็มกาลังความรู้ความสามารถ เข้าไปมีส่วนในการดูแล สร้าง พัฒนา ติดตามและตรวจสอบการดาเนินต่าง ๆ ของแต่ละองค์ประกอบในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างมี ประสิทธิภาพ กาหนดมาตรการแนวทาง เกณฑ์การประกวด ตัดสิน จัดแสดง เผยแพร่ เสนอแนะ วิจารณ์ ติดตาม


และประเมินผล เพื่อให้งานที่จัดแสดงแต่ละครั้ง แต่ละปีพัฒนาองค์คุณค่าศิลปกรรมให้เป็นมาตรฐานสากลและให้ เป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งที่สาคัญคือบทความต่าง ๆ ที่ท่านเขียนในสูจิบัตรประกอบการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ทุกครั้งเป็นเครื่องกระตุ้นบุคลากร สถาบัน วงการศิลปะให้มีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาคุณภาพ ต่าง ๆ อยู่เสมอ ท่านให้ความสาคัญด้าน “คุณภาพ” มากกว่าด้านอื่น ๆ เช่น เคยเขียนไว้ว่า “กรมศิลปากรมี ความประสงค์เพียงแต่จะแสดงงานศิลปะที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น เพราะตั้งเป้าหมายไว้ที่คุณภาพมิใช่ปริมาณ”21 กระแสการวิจารณ์สมัยที่ท่านเริ่มผลักดันให้มีการแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติในครั้งแรก ๆ ดูจะรุนแรงและรอบด้าน มากกว่าช่วง พ.ศ. 2520 – 2526 มากนั ก แต่ท่านมีจุดยืนที่มั่นคงที่จะรักษา “มาตรฐานคุณภาพ” มากกว่า “ภาพลักษณ์” เห็นคุณค่าในรสมากกว่ารูป มีสติ หนักแน่น ใช้ความแหลมคมด้วยปัญญา มีหลักการหลักวิชาการ ชี้แจงตอบโต้ด้วยเหตุด้วยผล ด้ วยความเข้าใจ แจ่มแจ้ง ลึกซึ้ง เผยแพร่และนาเสนอชี้นาความรู้ความเข้าใจใน คุณค่าศิลปกรรมออกไปอย่างต่อเนื่องก่อความเชื่อมั่นศรัทธาจากสังคมให้เห็นความถูกควรดีงามของศิลปะ จน สามารถเปลี่ยนกระแสต้านเป็นกระแสเสริมได้ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในยุคศาสตราจารย์ศิลป์ที่สาเร็จผลพึงประสงค์ได้นั้น เพราะท่านดาเนินการทุก สิ่งด้วยรากฐานและจิตใจที่มีความมุ่งมั่นมีความกล้าและยึดมั่นในหลักการ ในเจตนารมณ์ ในเป้าหมายและใน ประโยชน์ที่คิดว่าชอบธรรม เห็นมาตรฐานและคุณค่าของศิลปะเป็นสิ่งสาคัญยิ่ง ใช้ปัญญาความฉลาดถูกกา ละ มีกุศโลบายอันแยบคาย พากเพียรสร้างสรรค์ การจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจึงงอกงามก้าวหน้าและมั่นคง ขึ้นมาตามลาดับ หลังสิ้นศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปกรรมแห่งชาติก็สิ้นหลัก สิ้นบุคคลที่ถือประโยชน์ของศิลปะมากกว่า ประโยชน์ใด ๆ สิ้นคนที่รู้รอบรู้ลึกใส่ใจที่จะถ่ายทอดบทความทางวิชาการศิลปะ ให้ความรู้หลักวิชา สุนทรียศาสตร์ การวิจารณ์อย่างต่อเนื่อง มรดกงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติแม้ยังมีการจัดอยู่ทุกอย่างยังมีลมหายใจสมกับคาที่ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ชีวิตสลาย” อาณาจักรพินาศผลประโยชน์ของบุคคลมลายสิ้นไป แต่ศิลปะเท่านั้นที่ยังคงเหลือ เป็นพยานแห่งความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์อยู่ตลอดกาล”22 แน่นอนศิลปะไม่มีวันตาย ศิลปกรรมแห่งชาติจึงจัด ต่อ ๆ เนื่องกันจนจะครบ 50 ปีในปัจจุบัน แต่ลมหายใจของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ โดยเฉพาะทศวรรษหลังดู เริ่มแผ่วลงซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการผ่าตัดรูปลักษณ์ใหญ่เมื่อปี 2527 ผลงานโดยรวมพิจารณาโดยปริมาณก็ยัง คึกคักพิจารณาโดยคุณภาพก็ยังงดงามน่าพึงชมเหมาะสมสอดคล้องกับยุคสมัย พิจารณาจากศิลปินที่ได้รับรางวัล และเข้าร่วมแสดงแยกประเภทที่มาจากสถาบันการศึกษาก็กระจายสมเจตนาความต้องการที่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้า พิจารณาแยกประเภทที่มาตามวัยวุฒิ อาวุโส วุ ฒิภาวะและความมีอิสระในการแสดงออกทางศิลปะ ศิลปินส่วน ใหญ่จะกระจุกอยู่ในช่วงวัยเยาวชน มาตรฐานคุณค่า คุณภาพของงานก็มีความงดงามน่าพึงชมแบบเยาวชน ผลต่าง จึงไม่แตกต่างไปจากศิลปกรรมร่วมสมัยศิลปินรุ่นเยาว์ หรือการประกวดและการแสดงอื่น ๆ ศักดิ์ศรีและมาตรฐาน ความเป็นสนามใหญ่ ความเป็นหนึ่ง ความเป็นผู้นา และความเป็นแห่งชาติ จึงหดหายเกือบหมด เหลือแต่เพียง ชื่อเสียงที่ดูใหญ่โตโอ่อ่าเท่านั้น ทศวรรษครึ่ ง นานเต็มทนแล้วที่ปล่ อยให้การจัดแสดงศิล ปกรรมแห่งชาติไหลไปตามกระแสไม่มีทิศทาง เหมือนออกมหาสมุทรไม่เห็นฝั่ง การจัดดาเนินการแต่ละปีเป็นไปตามประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติ ไม่เคยจัดใช้


บุคลากร เครื่องมือและกลไกที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความพร้อมเข้าไปควบคุม ติดตาม วิจัย และประเมินผล คุณภาพในเชิงลึก วิเคราะห์และหาหนทางแก้ ปัญหา ไม่เคยแสดงว่าการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจะต้องถื อ ประโยชน์ ของศิล ปะยิ่งไปกว่าประโยชน์ใด ๆ ไม่เคยแสดงว่ายึดมั่นในหลั กการและเจตนารมณ์ของการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติแบบที่ท่านศาสตราจารย์ศิลป์วางไว้ ปล่อยวางเจตนารมณ์เหมือนเป็นเพียงบันทึกประวัติศาสตร์ หรือคัมภีร์เก่า ๆ ไร้ค่า และดูเหมือนจะภาคภูมิใจในผลการผ่าตัดใหญ่ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ รูปแบบดูเป็นประชาธิปไตยดี โดยเฉพาะโครงสร้างคณะกรรมการตัดสินช่างสวยงาม สามารถประสานประโยชน์ ของคนร่วมสาขาแต่ต่างสถาบันไว้ได้ แม้จะเกิดผลใหญ่ตามมาทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผลทางรูปธรรม สนาม ศิล ปกรรมแห่งชาติกลายเป็ น สนามแข่งขั น ของศิล ปินเยาวชน ศิล ปินนิสิ ตนักศึกษา ผลกระทบทางนามธรรม หลักการปัจจุบันเบี่ยงเบนห่างไปจากเจตนารมณ์และจุดมุ่งหมายของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติที่ย้าอยู่หลายครั้ง ในบทความของท่านว่า “เราจะแสดงศิล ปกรรมที่มีคุณภาพสู งเท่านั้น ” ผู้ รับผิ ดชอบกลั บปล่ อยให้ งานแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติที่รับผิดชอบอยู่แสดงศักดิ์ศรี มาตรฐาน คุณภาพ ราบเรียบ เคียงบ่าเคียงไหล่กับงานแสดง ศิลปกรรมอื่น ๆ รอบตัว แม้แต่งานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยศิลปินรุ่นเยาว์ที่จัดอยู่ใกล้เคียงกันโดยไม่คิดแก้ไขอะไร เลย ชอบความเสมอภาค สมเป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบานโดยแท้ ในยุคทีม่ หาวิทยาลัยศิลปากรกาลังตื่นตัว กับการประกันคุณภาพ งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติกาลังจะครบ ปีที่ 50 มหาวิทยาลัยศิลปากรน่าจะหันมาประกันคุณภาพงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติด้วย น่าจะขยับตัวลุกขึ้นมา ทบทวนบทบาทเหมือนกับ การผ่ าตัดใหม่อีกครั้งหนึ่ง แม้จะต้องเจ็บตัว ก็ควรทาเป็นอย่างยิ่งใช้ระบบประกัน คุณภาพโดยระดมศักยภาพของบุคลากร เครื่องมือ กลไกต่าง ๆ เพื่อปรับหลักการ ระเบียบระบบ โครงสร้าง องค์ประกอบ ให้ก้าวหน้าตรงทิศตรงทาง อาจจะนาหลักการทางานและแนวทางปฏิบัติงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ทวนกระแสวิจารณ์ใช้ความเพียรพยายามความอดทน จนบารมีของงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติปรากฏ ตามที่กล่าวมาเบื้องต้นมาใช้เป็ นแนวทางดาเนินรอยตาม เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานที่มีอยู่แล้ วให้งอกงาม ก้าวหน้ามั่นคงขึ้นเป็นลาดับ เพื่อการได้มาซึ่งความมีมาตรฐานและคุณภาพที่เป็นหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง มหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ควรพึงพอใจแต่เพียงว่า เรามีงานระดับชาติเป็นสมบัติเก่าอันมีค่า เป็นกิจกรรมทาง ศิลปะที่มีคาว่า “แห่งชาติ” ต่อท้ายเป็นมรดกที่ส่งต่อกันมาถึง 5 ทศวรรษจนตกมาอยู่ในมือรุ่นเรา เป็นสมบัติที่ สามารถเชิดหน้าชูตา ถ้าคิดแต่เพียงแค่นี้และทาหน้าที่เพียงแค่ต้องจัดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติให้ผ่านไปแต่ละ ปี จัดเพราะเป็นหน้าที่เพราะเข้ามาเป็นผู้บริหารสถาบัน จัดเพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเพราะผู้บริหารรุ่นที่แล้ว ๆ ทาสืบ ต่อกัน มาจั ดเพียงเพื่อต่อลมหายใจจากอดีตให้ ดาเนินต่อไป คิดและพึงพอใจเพียงแค่นั้นงานศิล ปกรรม แห่ งชาติก็คงมีแต่ทรงกับ ทรุดไม่ มีทางงอกงามก้าวหน้ามั่นคงได้อนาคตต่อไปอาจจะเป็นเพียง “สนามซ้อม” สาหรับพวกศิลปินเยาวชนไว้สั่งสมกาลังเพื่อการแข่งขันใหญ่ในสนามการประกวดศิลปกรรมเอกชน โดยเฉพาะการ ประกวดศิลปกรรมของธนาคารต่าง ๆ เพราะนอกจากจะได้ชื่อเสียง ได้เหรียญแล้วยังได้เงินรางวัลเป็นกอบเป็นกา อีกด้วย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.