บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ศิลป และ ศีลธรรม ART AND MORALITY เขียนโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี แปลโดย อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ มีคนไม่น้อยสงสัยเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของศิลปะ และไม่ค่อยจะทราบกันเสียด้วยว่าศิลปมีอิทธิพลทาง สังคมและทางศีลธรรมเหนือความเป็นอยู่ของประชาชน ว่าโดยหลักการ ศิลปมีความมุ่งหมายในทางเกื้อกูลศีลธรรมและยกระดับทางจิตใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ของมวลมนุษย์ทุกชาติ แต่ละชาติย่อมมีการแสดงออกทางศิลปแตกต่างกันอยู่มาก การแสดงออกบางอย่างก็ พอจะเข้าใจได้ บางอย่างที่ก้าวหน้าไปมากจนยากที่จะเข้าใจก็มี แต่จุดหมายปลายทางของศิลปินทุก ๆ คน ก็ คือต้องการสร้างงานศิลปที่เกื้อกูลพุทธิปัญญาและจิตใจของมนุษยชาติ งานศิลปเหล่านั้น จึงอาจเป็นกุศล เป็น อัพยากฤต และ กลายเป็น อกุศลไปก็มี คาว่า อกุศล หมายถึง ไร้ศีล ธรรม หรือทุศีล ตรงข้ามกับกุศล คือ ประกอบด้วยศีลธรรม แต่จะต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าบางครั้งบางคราวศิลปินก็ต้องใช้เรื่องที่เป็นอกุศล หรือเป็นเรื่อง ทุศีล เพื่อแก้ไขมิให้เราลงไปสู่ทางชั่วช้าตกต่า ศิลปินหาทางนาเอา “ปีศาจ” หรือสิ่งชั่วร้าย มาเป็นเครื่องแสดง ให้เราเห็นทางที่ถูกที่ชอบทีเ่ ราจะต้องดาเนินตาม ตัวอย่าง ถ้าเราดูจิตรกรรม ชื่อ “Au Salou De La Rue Des Moulins” ของลอแทร็ก1 เป็นภาพแสดง ถึงพวกผู้หญิงคนชั่ว เราอาจคิดเห็นกันว่าลอแทร็กเขียนภาพอกุศล ไร้ศีลธรรม ตรงข้ามในการเขียนภาพผู้หญิง ที่อับโชคเหล่านั้นขึ้นก็เนื่องจากลอแทร็กเองเป็นคนร่างกายพิการ จึงมองเห็นความทุกข์ยากของผู้อื่นได้ดีกว่า คนธรรมดาเขามุ่งหมายจะชี้ให้เราเห็นข้อบกพร่องที่น่าละอายเป็นอย่างยิ่งของสังคมปัจจุบันด้วยภาพเขียนของ เขา จึงเกิดเป็นปฏิกิริยาให้เราเกิดสงสารสังเวชต่อสตรีผู้ไร้ความสุขเหล่านั้น แล้วสานึกถึงว่าเป็นหน้ าที่ของเรา ที่จะต้องช่วยกันแก้ไขหาทางขจัดสมุฏฐานแห่งความทุกข์เช่นนี้เสีย อนึ่ง ในปัจจุบันนี้ เมื่อเราอ่านหนังสือนวนิยายเรื่อง เดคาเมรอน จะเห็นเป็นเรื่องขัดต่อหลักศีลธรรม ปัจจุบันอยู่มาก แต่เมื่อครั้ง บ็อกกาจจิโอ เขียนนวนิยายอันปราศจากศีลธรรมเหล่านั้นขึ้น บ็ อกกาจจิโอเป็นคน มีศีลธรรม และงานประพันธ์ของเขามีส่วนช่วยแก้ไขสถานะของสังคมอยู่ด้วย เมื่อปี พ.ศ. 1891 นครฟลอเรนช์ ซึ่งมีพลเมืองประมาณแสนคนได้ประสบ “ไข้ดา” ทาลายชีวิตประชาชนเสียราว 70,000 คน ผู้ที่มีชีวิตรอดอยู่ก็ เสียขวัญ บทประพันธ์ของบ็อกกาจจิโอจึงเท่ากับนาเอาชีวิตมาคืนให้ประชาชนพลเมืองผู้มีใจหดหู่อยู่แล้ว ให้ กลับมีความแช่มชื่นเบิกบาน เพราะฉะนั้น เรื่องที่เป็นทุศีลของบ็อกกาจจิโอ จึงเป็นเรื่องที่มีความมุ่งหมาย ก่อให้เกิดศีลธรรม เกี่ยวกับศิลปทางกามวิสัยของอินเดีย ก็มีเรื่องจะพูดได้เช่นเดียวกัน ตามเทวสถานของอิน เดีย เราจะ สังเกตเห็นรูปแกะสลักเป็นภาพเมถุนกอดรัดกัน ตลอดจนแสดงเมถุนสังวาส นั่น เป็นสิ่งไร้ศีลธรรมหรือ ? เปล่า
เลย ประติมากรรมเหล่านั้นแกะสลักขึ้นด้วยความมุ่งหมาย ก่อให้เกิดประโยชน์ทางศีลธรรมและสังคมในครั้ง โบราณโรคระบาดได้ทาลายประชาชนส่วนใหญ่ให้สูญเสียชีวิตไปมากมายเพื่อที่จะให้ธรรมชาติมีส่วนสมดุลย์กัน ทั้งศิลปและศาสนาจึงจาต้องช่วยกันกระตุ้นและสนับสนุนเรื่องการให้กาเนิดแก่มนุษย์ ตามที่กล่าวนี้ มิได้เว้นศาสนาที่เกิดในอินเดีย (เพราะ) ศาสนาทุกศาสนาในโลกก่อเป็นความคิดขึ้นและ มุ่งให้ดาเนินไปตามบทบัญญัติทางศาสนาอันที่จริงความเป็นไปทุกวันนี้ก็มีอาการผันแปรไป เพราะวิทยาศาสตร์ (สมัยใหม่) ได้บิดผันแปรเปลี่ยนสิ่งธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ อะไรที่ถือว่าเป็นกุศลกันมาแต่ก่อน ครั้งมาถึงสมัยเรา กลับกลายเป็นอกุศลไป ภาพเขีย นเป็ น กลุ่ มคนขี้เมา แสดงอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ ตามแบบของคนขี้เมา โดยเฉพาะ ซึ่ ง ก่อให้เกิดอาการน่าสังเวชแก่คนดูที่ไม่เมานั้น อาจเป็นผลดีที่จะช่วยแก้สันดานคนติดเหล้าได้ โดยชี้ให้เขาเห็นว่า ขณะที่เมามายนั้น เป็นสิ่งเลวทรามน่าสังเวชเพียงใด ภาพที่แสดงถึงผู้หญิงเปลือยในลักษณะที่น่ารังเกียจอดสูก็ อาจกล่าวเปรียบเทียบได้เช่นเดียวกับภาพคนขี้เมา อันที่จริง ภาพเช่นนั้น ก็แสดงอาการให้เราเห็นว่าเป็นภาพ อกุศล แต่เมื่อเราเห็นรูปวัตถุเช่นนี้แล้วเกิดอาการที่น่ารังเกียจหรือสยะแสยงก็เท่ากับเตือนเราไม่ให้ปล่อยตัวไป ตามสัญชาตญาณฝ่ายต่าเยี่ยงสัตว์มากนัก เพราะรูปวัตถุที่ไม่เกื้อกูลต่อจิตใจเป็นสิ่ง ที่น่ารังเกียจ เมื่อเราพูดถึง ภาพเปลือย โปรดอย่ านาเอาภาพที่มีอาการแสดงออกอันน่ารังเกียจเช่นที่กล่าวข้างต้น มาปะปนกับภาพ ประติมากรรมหรือภาพจิ ตรกรรมที่ส ร้ างขึ้นโดยบันดาลใจจากรูปร่างของมนุษย์อันประเสริฐ และบริสุ ทธิ์ ประติมากรรมรูปเปลือยของกรีก ย่อมปรากฏอาการเป็นทิพย์เยี่ยงเทวดามากว่ารูปมนุษย์ ประติมากรรม หรือ จิตรกรรมรู ปเปลือยของอินเดีย ก็แสดงถึงลั กษณะของผู้ มีอนามัยสมบูรณ์ มีทรวดทรงงดงามพร้อมที่จะให้ กาเนิดแก่มนุษยชาติ จิตรกรสมัยเรอเนชัง โดยเฉพาะพวกสานักช่างเยอรมันและฮอลันดา ได้เขียนรูป “มารีผู้ พรหมจารี” มีถันงาม กาลังบารุงเลี้ยงพระเยซูเมื่อเวลาเป็นทารก ไม่มีผู้ใดกล้ากล่าวปฏิเสธได้ว่าภาพเขียน เหล่านี้ แสดงถึงความมีจิตใจสูง เมื่อศิลปินสร้างงานศิลปด้วยความรู้สึกอันบริสุทธิ์แล้ว งานศิลปนั้นจะกระตุ้น ให้เกิดความคิดใฝ่ต่าหรือหยาบช้า หาได้ไม่ แน่นอน งานศิลปที่เป็นกุศลจริง ๆ ก็มี งานศิลปอกุศลเหล่านั้น ย่อมทาลายความรู้สึกนึกคิดเยี่ยงมนุษยชนผู้มีอนามัยสมบูรณ์ของเรา ให้เศร้าหมองไป แต่งานศิลปเช่นนี้ จะจัด เข้าเป็ นพวกศิลปจริง ๆ หาได้ไม่ งานศิล ปเหล่ านั้นเป็นของศิล ปินผู้ ไร้ศีลธรรมสร้างกันขึ้น โดยเห็นแก่เงิน ถ่ายเดียวผู้ซื้อก็เป็นบุคคลจาพวกขาดสุขภาพอนามัย ซึ่งต้องการเร่งเร้าความรู้สึกใฝ่ต่าขึ้นมาเป็นเครื่องปลุก ปลอบชีวิต ขอย้าว่าศิลปกรรมเช่นกล่าวนี้ เราไม่ควรถือว่าเป็นศิลป เพราะสาแดงอาการตรงข้ามกับจุดหมาย ปลายทางของศิลป ความมีศีลธรรม หมายถึงดาเนินตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนสังคม ซึ่งได้วางเป็นหลักคุ้มครอง กลุ่มชนผู้มีจริยาต่าง ๆ กัน และแต่ละกลุ่มต่างก็มีระเบียบแบบแผนเป็นของตนโดยเฉพาะ แต่นอกเหนือไปจาก กฎหมายและระเบียบแบบแผนที่ใช้คุ้มครองตนเองแล้ว ยังมีหลักศีลธรรมซึ่งเป็นของครอบครัวมนุษย์โดย ส่วนรวมเป็นกฎแห่งความประพฤติดี ความดาริชอบ กฎแห่งความใฝ่ฝันอันบริสุทธิ์ กฎที่สอนกันได้ทั้ง ทาง
ศาสนาและศิลป ความแตกต่างกันระหว่างศาสนาและศิลป ก็อยู่ที่ศาสนาก่อให้เกิดความสบายใจถ้าเราเชื่อ ถือ ศิลปก่อให้เกิดความสบายใจเป็นผล ถ้าเรามีความรู้สึก การแสดงออกของศิลป แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งใช้ประวัติศาสตร์ จริยธรรม ศาสนา ตลอดจน การเมือง เป็นหัวข้อเรื่อง ชนิดนี้เป็นประโยชน์ในด้านการศึกษา และเพราะเหตุนี้ จึงมีบทบาทสาคัญอยู่ใน วงการสังคมของชาติ การแสดงออกของศิลปชนิดนี้บันดาลความก้าวหน้าทางสังคมก่อให้เกิดความรักชาติ สอน ให้ดารงชีวิตในทางที่ถูกและกระตุ้นเตือนทุกวิถีทางที่จะให้เกิดความรักสวยรักงามในการที่จะกล่าวว่าศิลปชนิด นี้เป็นเรื่องเข้าใจกันซึมซาบในประชาชนส่วนใหญ่นั้น มิได้หมายความว่า ศิลป เช่นนั้นมีลักษณะเป็นการค้า ระหว่างศิลปกับ การค้า ย่ อมมีความแตกต่างกันอยู่มาก ศิลป ก่อให้ เกิดกระแสความคิดและความใฝ่ฝั นที่ ประเสริ ฐ และสู ง ส่ ง การค้ า เป็ น เพี ย งก่ อ ให้ เ กิ ด ความเพลิ ด เพลิ น ใจเท่ า นั้ น จะเห็ น ได้ จ ากตั ว อย่ า ง เช่ น อนุสาวรีย์ของวีรชน ประชาชนพลเมืองส่วนมากอาจเข้าใจและช่วยบันดาลใจผู้เห็นให้เกิดความทะเยอทะยานที่ จะเอาอย่างสีรชนผู้มีเกียรติ ส่วนอนุสาวรีย์ของกวี ย่อมบันดาลใจให้เกิดการกระทาทางพุทธิปัญญา ตรงกันข้าม คนบางคนอาจพออกพอใจที่ได้เห็นปกหนังสืองาม ๆ ได้เห็นเครื่องเฟอร์นิเจอร์สวย ๆ ได้เห็นแจกันงาม ๆ แต่ วัตถุเหล่านั้น หามีอานาจที่จะผลักดันสมองมนุษย์ให้เข้าไปในจินตนาการอันดีเลิศไม่ ศิลปอีกชนิดหนึ่ง เป็นศิลปที่เรียกกันว่า ศิลปเพื่อศิลป โดยปรกติ คานี้ มักใช้กันผิดและเข้าใจกันผิด ๆ เพราะโดยทั่วไป ๆ แล้ว ประชาชนพากันคิดไปว่า ศิลปินผู้สร้างศิลปในกรณีนี้ เป็นผู้มีเสรีที่จะทาอะไร ๆ ได้ ตามชอบใจ โดยไม่คานึงถึงประโยชน์ที่จะพึงมีแก่มนุษยชาติ ถ้ากรณีเป็ นจริงดังนั้น ศิลปินก็อาจกลายเป็น กาฝากของสังคมไป แต่ความจริงแท้นั้นมีอยู่ว่า ศิลปินหาได้สร้างงานเพื่อตนเองไม่ ตรงข้าม เขามีความเชื่อมั่น ว่า งานศิลปของเขาจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ เมื่อเราพูดว่า ศิลปเพื่อศิลป เราหมายความว่า ศิลปินสร้างงานศิลปขึ้นตามหลักการตัดสิน ใจและความ บันดาลใจของตนเอง ไม่คานึงถึงว่าประชาชนจะชอบงานศิลปที่เขาสร้างขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม ในเรื่องเช่นนี้ ศิลปินย่อมจะใช้สี เส้น หรือ ปริมาตร มาสร้างความคิดเห็นอันเป็นนามธรรมของตนให้เป็นรูปร่างขึ้น ศิลป เช่นนี้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ย่อมจะเป็นที่เข้าใจกันอยู่แต่ในหมู่ชนส่วนน้อย เพราะว่า ถ้าพูดกันตามหลักการแล้ว ออกจะเป็นความคิดใหม่ ๆ ที่นาหน้าอยู่สักหน่อยชีวิตของฟานโคะ 2 เป็นตัวอย่างอันดียิ่งของเรื่องที่ได้กล่าว ข้างต้น ตลอดเวลาที่ฟานโคะมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยขายภาพเขียนของท่านแม้ แต่แผ่นเดียว แต่ภายหลังที่ท่าน วายชนม์ไปแล้วสัก 2-3 ปี ภาพเขียนของท่านภาพหนึ่ง ๆ มีค่าหลายแสนบาท ตัวอย่างนี้ ซึ่งมีรายอื่น ๆ ที่จะ อ้างได้อีกหลายราย ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะมองเห็นความจริงได้ว่ามีอยู่หลายกรณีทีเดียวที่ศิลปินผู้สร้างงาน ศิลปหาใช่เป็นผู้ผิดไม่แต่ประชาชนต่างหาก ซึ่งมีความเคยชินอยู่แต่ศิลปชนิดดั้งเดิม ไม่เข้าใจวิธีการแสดงออก อย่างใหม่ของฟานโคะ
ถูกแล้ว ที่เรากล่าวอ้างมาข้างต้นนั้น มิได้กล่าวจาแนกไว้ว่า ในบรรดาศิลปินจานวนมากมายนั้น ก็ย่อมจะ มีศิลปินบางคน ซึ่งแม้จะได้สร้างงานศิลปขึ้น ไว้อย่างบริสุทธิ์ใจแต่เขาก็ไม่ประสบผลสาเร็จ (เช่น ฟานโคะ) ก็มี เหมือนกัน ความมีศี ล ธรรม หมายถึ งความประพฤติ ดี ด าเนิ นตามกฎเกณฑ์แ ห่ งอารยธรรมทางสั งคมของเรา เพื่อที่จะบรรลุถึงความประพฤติดีดังกล่าวนี้ได้ การศึกษาเป็นปัจจัยอันสาคัญที่สุดและศิลปินเป็นจุดศูนย์กลาง แห่งการศึกษาอันสาคัญประการหนึ่งในทุก ๆ ประเทศที่มีอารยธรรม ศิลปก่อให้เกิดภาวะที่ถูกต้องทางรู้สึกนึก คิดของมนุษย์ ประชาชนที่เกิดมาในแหล่งเสื่อมโทรมย่อมจะเติบโตมาในท่ามกลางความรู้สึกอันขมขื่น และไม่ คานึงถึงหลักเกณฑ์ใดๆ ทางศีลธรรม เพราะสิ่งแวดล้อมของเขาขาดระเบีย บขาดปัจจัยสาคัญที่จะให้ มีความ ประพฤติดี ความไม่มีระเบียบก่อให้เกิดความไม่มีระเบียบก่อให้เกิดความเกลียดชัง ก่อให้เกิดความสิ้นหวัง และ ความบกพร่องทางจิตใจ ตรงกันข้าม ประชาชนที่ได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมอันมีระเบียบในบ้านเมืองที่วางผังไว้ เป็นอันดี มีถนนสะอาดสะอ้าน สองฝั่งถนนขนานไปด้วยอาคารที่สวยงาม มีอุทยานประดับตกแต่งด้วยปูนปั้น หล่อสลั ก มีน้ าพุและพิพิธภัณฑสถาน ฯลฯ สิ่ งเหล่ านี้ย่อมจะผู กพันให้ เขาดื่มด่าเอาความงามเข้าไว้ตั้งแต่ เยาว์วัย ความงามจะค่อย ๆ สร้างปราสาทรู้สึกทางสุนทรียภาพของเขาอย่างช้า ๆ แต่ติดต่อไม่ขาดสาย เด็กที่ ทาให้คุ้นเคยต่อการพบเห็นสิ่งประณีตสวยงามนั้นต่อไปก็จะกลายเป็นของจาเป็นต่อชีวิตของเด็กผลลัพธ์อันน่า พิศวง ซึ่งความงามมีอยู่เหนือธรรมชาติของเรา ก็คือ ทาให้ความคิดของเราประณีตสุขุมขึ้น ด้วยอาศัยศิลป เรา จะค่อยกลายเป็นคนดีขึ้น และประพฤติปฏิบัติไปตามกฎแห่งศีลธรรม ซึ่งสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้เมื่อ ราว 2500 ปีล่วงมาแล้ว ตามนี้ เราจะได้เห็นว่า ศิลปกับศาสนามีจุดมุ่งหมายปลายทางเกี่ยวกับจิตใจอย่างเดียวกัน ศาสนาสอน ให้เราเป็นคนดีโดยอาศัยการเรียนรู้หลักธรรม ส่วนศิลปทาให้เราเป็นคนดี โดยอาศั ยการเรียนรู้ส่วนประสาน กลมกลืนและความงาม ด้วยคาว่า “ศิล ป” เราจะต้องเข้าใจว่า มุ่งหมายถึงวรรณคดี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม รวมทั้งวิธีการแสดงออกใหญ่น้อยอันไม่จากัดขอบเขตของศิลปเหล่านั้นด้วย ประติมากรรม จิตรกรรม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถานที่ประดับประดาด้วยงานศิลปบางอย่าง ร้านค้าที่ประดับตกแต่งอย่างน่าดู อาคารสาธารณะและอาคารเอกชนที่สวยงาม รถยนต์ อนุสาวรีย์ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ ปากกาหมึกซึม ปก สมุด หนังสือ และสิ่งของเครื่องใช้ประจาวันที่มีศิลป วัตถุสิ่งของยิ่งสวยงาม ก็ยิ่งเป็นเครื่องดึงดูด ใจ มากขึ้น เมื่อเราได้ลิ้มรสสิ่งสวยงามเราก็ต้องการจะมีมัน ความต้องการเช่นนี้แหละที่แสดงถึงระดับแห่งความมีอารย ธรรมของเรา หมู่ชนล้าหลังที่อยู่แยกย้ายกระจัดกระจายกันตามพื้นที่นับแต่พวกอยู่ตามป่าเขาลาเนาไม้ ลงมาจนพวก ที่อยู่ตามพื้นที่ริมชายน้า ไม่ต้องการก่อสร้างสถานีรถไฟ หรืออาคารสาธารณะและอาคารอยู่อาศัยที่สง่างาม แต่
เมื่อใดมนุษย์มาอยู่แออัดกันในบ้านในเมืองนับด้วยแสนด้วยล้าน เมื่อนั้น ศิลปทุกแบบทุกลักษณะ จะกลายเป็น ของจาเป็นที่ขาดเสียมิได้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางอารยธรรม ตัวอย่างที่พอจะมองเห็นง่าย ๆ เกี่ยวกับ ความมีระเบียบและความสวยงามที่จาเป็นในบ้านเมืองอย่างหนึ่ง ก็คือ ขณะที่เ ราเดินไปตามพื้นที่กว้าง ถ้าเรา กินกล้วย เราอาจโยนเปลือกกล้วยลงไปบนพื้ นดิน โดยไม่ทาให้ธรรมชาติเสียส่วนประสานกลมกลืน แต่ถ้าเรา ทิ้งเปลือกกล้วยกลางถนนที่สะอาดสะอ้าน เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ได้ทาให้ความประสานกลมกลืนและความมี ระเบียบเรียบร้อยบนพื้นถนนนั้นเสียไป การปฏิเสธประโยชน์ของศิลปินในหน้าที่ทางสังคมก็เท่ากับไม่ยอมรับความมีประโยชน์ทาง พุทธิปัญญา เยี่ยงมนุษย์เรา ซึ่งจะต้องยอมรับเสียด้วย ว่าความรู้สึกและความใฝ่ฝันของเราต่าต้อยเสียยิ่งกว่าของมนุษย์ชาว ป่าเถื่อนผู้ซึ่งยังรู้จักประดับร่างกายและตกแต่งกระท่อมที่อยู่ของเขา ด้วยสี ด้วยขนนก ด้วยดอกไม้ และด้วย เปลือกหอย เพื่อต้องการความสวยงาม
1 Henri De Toulouse Lautrec จิตรกรฝรั่งเศส มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2407 – 2444 (อายุ 37 ปี) เป็นคนพิการ ร่างเตี้ย สูงเพียง 4 ฟุต 6 นิ้ว แต่เป็นคนมีฐานะดีบรรพบุรุษสืบสกุลมาจากขุนนางตั้งแต่รัชสมัย พระเจ้าชาลมาญ 2 ฟานโคะ (Vincent Van Gogh) จิตรกรชาวฮอลันดา ผู้มีชื่อเสียงในทางนาเอาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ใน การสร้างงานศิลป มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2396 - 2433