บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 37

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ศิลปเป็นสิ่งจาเป็นหรือไม่ เขียนโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แปลโดย เขียน ยิ้มศิริ จาก Is Art Necessary ?

มีเซียม ยิบอินซอย “รูปเหมือน”

มนุษย์เราได้เพียรพยายามอยู่ตลอดมา ในอันที่จะปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากเครื่องผูกมัดด้วยวัตถุ ทางกาย จิ ตใจของมนุ ษย์ ย่ อมปรารถนาสิ่ งอันสู งส่ ง และบรรเจิ ดอย่างแท้ จริงและเพื่อความมุ่ งหมายเป็ น อุดมการณ์ เช่นนี้ บรรดาท่านปรัชญาเมธี นักวิทยาศาสตร์และศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย จึงได้พากันอุทิศชีวิต ตลอดอายุขัยของตนเพื่อสิ่ งนั้น ปรัชญาวิทยาศาสตร์และศิลป ต่างก็เป็นสิ่งช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ร่วม ก่อสร้างสิ่งที่เราหมายรู้กันว่า “อารยธรรม” ขึ้น วิทยาศาสตร์เป็นหลักการสําคัญที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ยาก ทางกายของมนุษย์ชาติในด้า นวัตถุให้เพลาลง ตรงกันข้าม ศิลปซึ่งเป็นเช่นเดียวกับศาสนาบันดาลให้มนุษย์มี มโนธรรมอันสู งส่ง ประสิทธิ์ประสาทสิ่ งสะเทือนใจให้ช่ว ยขัดเกลาวิญญาณและจิตใจของมนุษย์ให้ผุ ดผ่อง ประณีตขึ้น


นายประหยัด พงษ์ดํา “สามแม่ลูก” นายสันต์ สารากรบริรักษ์ “เพื่อนเก่า”

นายพิชัย นิรันต์ “ผนังและความศรัทธา” นายธวัชชัย ศิริทรัพย์ “ชีวิตไทย”


นายประพันธ์ ศรีสุตา “ความงามบนบาทวิถี” นายพจน์ สง่าวงศ์ “พราย”

เมื่อกล่ าวถึงศิล ป เราหมายถึงดนตรี วรรณคดี สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม อันมี ประจักษ์การหลายสถาน และโดยเหตุที่ศิลปบริสุทธิ์นั้นมิได้ขึ้นอยู่กับการแสวงผลใด ๆ อันเป็นไปในทางแข่งขัน ชิงดีกัน ฉะนั้น ศิลปบริสุทธ์จึงเป็นสมบัติของโลกโดยแท้จริงศิลปบริสุทธ์ มีความหมายที่จะให้มนุษยชาติรวม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ จริงทีเดียวเมื่อเราดูชมงานศิลปชั้นเยี่ยมของอิตาเลี่ยนยุคฟื้นฟู (๑) เราย่อมจะรู้สึก เห็นอกเห็นใจชาวอิตาเลียน เมื่อเราฟังดนตรีของเยอรมัน เราก็รู้สึกรักชาวเยอรมัน เช่นเดียวกัน เมื่อเราได้เห็น ภาพเขียนอันน่ามหัศจรรย์ของชาวอิ นเดียที่ในถ้ําอชันตะ หรือดูศิลปของจีน หรือของญี่ปุ่นก็ตาม หรือได้อ่าน วรรณกรรมของชนชาติเหล่านั้น ความรู้สึกเป็นญาติพี่น้องร่วมวงศ์ตระกูลเดียวกันก็ย่อมบังเกิดขึ้นแก่เรานี้เป็น ความจริงอันถูกต้อง เพราะการแสดงออกทางศิลปนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจและจิตใจของมนุษย์ก็หามีขอบเขตกีดกั้น ไว้ด้วยการเมืองและเชื้อชาติไม่ ศิลปย่อมแยกอยู่ต่างหากจากความชั่วร้ายในดวงจิตของคนเราที่เกี่ยวข้องอยู่กับ วัตถุ จนแม้ระหว่างสงครามเมื่อสัญชาตญาณอันต่ําทรามที่สุดของมนุษย์มีอํานาจบงการสัมปชัญญะทั้งมวลของ มนุษย์ได้ ศิลปะก็ยังคงอยู่ได้โดยมิได้ถูกสิ่งร้ายกาจเหล่านี้เข้ามาพ้องพานเลย ด้วยเหตุนี้ ใคร ๆ ที่คิดว่าศิลป เป็นผลิตผลของคนไร้สติบางจําพวก เขาผู้นั้นก็เ ป็นคนไร้ความคิด หรือไม่เขาก็ยังไม่ผ่านพ้นจากสัญชาตญาณ อันป่าเถื่อน โดยการที่เขาวินิจฉัยเอาว่า คนเราเป็นคนอยู่ได้ ก็แต่เพียงทางด้านรูปกาย และความหฤหรรษ์ทาง กายเท่านั้น ศิลปย่อมมีผลบังคับจิตใจของมนุษย์มากมาย ศิลปอาจทําให้มนุษย์เปลี่ยนกิริยาอาการได้อย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่นเราเอาเด็กขะมุกขะมอมมาแต่งตัวเสียใหม่ให้สวยงาม สักประเดี๋ยวก็จะเห็นว่าอย่างน้อยเด็กคน นั้นจะมีกิริยามารยาทดีขึ้นกว่าที่แกมีอยู่ในสภาพคลุกฝุ่น ลองคิดดู ถ้าภายในห้องที่สวยงาม ปูพรมไว้อย่าง


สะอาดเรียบร้อย คงไม่มีใครกล้าโยนเปลือกกล้วยทิ้งลงไปแน่ เพราะมีอํานาจประหลาดสิ่งหนึ่งในตัวคนเรา คอยบังคับห้ามมิให้กระทําเช่นนั้นหากขืนทําลงไป เราก็จะรู้สึกว่าเรากําลังทําลายกฎ ซึ่งมิได้บัญญัติไว้เป็นลาย ลักษณ์อักษร กล่าวคือ กฎของสุนทรียะแห่งความมีระเบียบและความงาม เมื่อเราเดินไปตามถนนอันสะอาด สะอ้าน สองฟากข้างตึกรามอัน งดงาม เราก็จะเดินอย่างผึ่งผายและได้รับความเพลิดเพลินจากกฎของความมี ระเบียบและความงามนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ศิลปจึงเป็นผู้บุกเบิกทางแห่งอารยธรรม ศิลปแสดงให้เห็นถึงระดับทางวัฒนธรรมของ ประชาชน คําว่า “วัฒนธรรม” มิใช่เป็นไวพจน์ของคําว่า “ความก้าวหน้า ” ความจริงนั้นคนป่าก็อาจขับ เครื่องบินได้ หัดขับรถยนต์ได้ เขาอาจจะเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ยิ่งต่องานด้านเครื่องจักรยนต์กลไกได้ดี แต่ วัฒนธรรมของเขาก็ยังคงเป็นป่าเถื่อนอยู่นั่นเอง วัฒนธรรมอันสูงส่งขึ้นอยู่กับเหตุหลายประการ และที่สําคัญก็ คือศาสนาและศิลป ศาสนาเป็นรากฐานการศึกษาที่มีอํานาจสร้า งปัญญาความคิดและจารีตประเพณีเหล่านั้น เพราะความรู้สึกนึกคิดภายในเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ ดั้งนั้นการสําแดงออกทางศิลปของ ศิลปินจึงหันเหไปตามสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะเข้าใจข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ดีขึ้น เราควรเปรียบเทียบ ปฏิกิริยาทางสมองและทางปรัชญาของศิลปิน ที่ได้ใช้เวลาตลอดชีวิตของเขาอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติ กับศิลปินอีกพวกหนึ่งที่ใช้เวลาในชีวิตจําเจอยู่ในกรุงอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่า งานศิลปของศิลปิน 2 จําพวกนั้นแตกต่างกันอย่างมากมายที เดียว ด้วยเหตุนี้เองศิลปจึงเป็นสิ่งที่ถูกดลบันดาล จากความเป็นไปในชีวิตประจําวัน และเป็นการจารึกไว้ซึ่งสิ่งสะเทือนใจที่ศิลปินได้รับไว้ ผู้ใดที่เข้าใจความจริง ข้อนี้ ผู้นั้นย่อมตระหนักว่า การช่วยเหลือศิ ลปินปัจจุบันของเราให้ทํางานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อนํา ศิลป ของไทยปัจจุบันให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้งนั้นเป็นสิ่งจําเป็นอย่างรีบด่วน การที่ศิลปินปัจจุบันแสดงงานของเขาออกมาด้วยวิธีการอย่างใดนั้นก็ต้องขึ้นอยู่แก่อารมณ์เฉพาะตัว และการตัดสินใจของศิ ลปินเอง เขาเป็นคนไทย ฉะนั้นศิลปของเขาก็ต้องเป็นไทยด้วย แม้ว่ าสายตาของคน ทั่วไปยังไม่อาจมองเห็นลักษณะความเป็นไทยเช่นนั้นได้แจ่มแจ้งก็ตาม ความต้องการโดยเร่งด่วนในปัจจุบันนี้ คือ จะต้องมีศิล ปิน เพิ่มจํ านวนให้มากขึ้นกว่านี้เพื่อสร้างสรรค์งานศิลป จากการผลิ ตงานศิลปออกมาเป็น จํานวนมากนี้เอง เราก็มีโอกาสที่จะเลือกชิ้นงานที่มีค่า ส่งออกไปร่วมแสดงในงานศิลปกรรมระหว่างชาติใน ต่างประเทศ ให้เป็นเกียรติแก่ประเทศชาติของเราได้ กรมศิล ปากร ได้ ป ฏิ บั ติห น้ าที่อ ย่ างดีที่สุ ด ในการส่ งเสริม ความสนใจในด้า นศิล ปปัจ จุบัน ให้ เ กิดแก่ ประชาชน โดยจัดให้มีงานแสดงศิลปกรรมประจําปี หรือจัดขึ้นในนามของมหาวิทยาลัยศิ ลปากร แต่ทว่าลําพัง กรมศิลปากรผู้เดียวเท่านั้นมิส ามารถดําเนินกิจการสร้างเสริมศิลปปัจจุบันให้สําเร็จก้าวหน้าไปด้วยดี เรายัง


ต้องการความสนับสนุนอย่างเต็มอกเต็มใจโดยแท้จริงจากผู้มีอํานาจในวงการรัฐบาลและจากประชาชนไป พร้อม ๆ กันไปอีกด้วย ว่าโดยความจริงแล้วประชาชนชาวไทยมีความสนใจในศิลปอยู่เป็นอย่างยิ่ง การแสดง งานศิลปกรรมแห่งชาติทุก ๆ ปี มาได้มีผู้มาชมเป็นจํานวนพัน ๆ ทุก ๆ วัน อาทิตย์มีประชาชนจํานวนมาก พา กันไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปชมความงามที่เขากระหายใคร่เห็นไฉนเล่าเราจึงจะไม่สร้างอาคารถาวร หรือหอศิลปสมัยใหม่ขึ้นไว้ เพื่อแสดงงานศิลปให้ประชาชนได้ชมกันบ้าง ซึ่งถ้ากระทําได้ก็จะบังเกิดผลถึง 3 ประการ คือ ประการแรก เป็นโอกาสอันดีของประชาชนชาวไทยที่จะได้ชมความงดงามของศิลปกรรมสมัย ปัจจุบัน ประการที่ 2 เป็นการกระตุ้นเตือนศิลปินไทยให้มีกําลังใจสร้างศิลปให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และ ประการที่ 3 เป็นการแสดงให้อารยประเทศทั้งหลายได้เห็นว่าประเทศไทยของเราก็มีความเข้าใจ อันดีต่อความสําคัญของศิลปร่วมสมัยอยู่เหมือนกัน


บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 37 (จากบทความ “อันเนื่องมาจาก MIXED MEDIA” โดย สมพร รอดบุญ การแสดงงานประติมากรรมของกลุ่มประติมากรไทย ครั้งที่ 2, อมรินทร์การพิมพ์ 2525) ศิลปะแนวสื่อผสม MIXED MEDIA โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ ผู้อํานวยการโครงการจัดตั้งสถาบันศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันนี้ คําว่า “MIXED MEDIA” หรือ “สื่อผสม” ได้นํามาใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการศิลปะร่วม สมัยของไทยผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะและศิลปินบางท่านได้ให้คํานิยามและอธิบายความหมายของคํานี้ไว้ หลายแง่หลายมุมด้วยกัน แต่ดูเหมือนว่าคนในวงการศิลปะ ทั้งที่เป็นประชาชนที่สนใจศิลปะ

ครูอาจารย์

ผู้สอนศิลปะ นักศึกษาศิลปะ และแม้กระทั่งในกลุ่มของศิลปินด้วยกันเองก็ยังมีความสับสนและยังไม่สู้กระจ่าง ในความหมายที่แท้จริงของ “MIXED MEDIA” เท่าที่ควร

“หลอดสี” ศิลปะแนวสื่อผสม ผลงานของกมล ทัศนาญชลี ทําขึ้นในปี พ.ศ. 2534 “บิลบอร์ด” ศิลปะแนวสื่อผสมกับสิ่งแวดล้อม ( MIXED MEDIA ENVIRONMENT) ผลงานของจอร์จ ซีกัล ทําขึ้นในปี พ.ศ. 2509


คําว่า “MIXED MEDIA” ในแง่ของศิลปะสามารถจําแนกได้เป็นสองความหมายคือ วัสดุที่ใช้เป็นสื่อใน การแสดงออกในงานศิล ปะ และกรรมวิธีหรือวิธีการในการสร้างสรรค์ศิลปะ ดังนั้นความหมายของคําว่า “MIXED MEDIA” คือ การใช้วัสดุผสม หรือการใช้กรรมวิธีหรือวิธีการในการสร้างสรรค์ในลักษณะผสม “สื่อผสม” ในแง่ของการใช้วัสดุเป็นส่วนในการแสดงออกของศิลปินนั้น ชนิดของวัสดุจะไม่มีข้อกําหนด ที่ตายตัว วัสดุที่ศิลปินนํามาใช้ผสมผสานกันในงาน อาจเป็นได้ทั้งวัสดุที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ หรื อวัสดุซึ่งเป็น ผลผลิตของมนุษย์ สําหรับ “สื่อผสม” ที่เน้นในด้านของกรรมวิธี หรือวิธีการในการแสดงออกของศิลปิน ก็เป็น สื่อที่ไร้ขอบเขตอันจํากัด ศิลปินจะใช้กรรมวิธีอะไรก็ได้โดยอิสระ ยกตัวอย่างเช่น สื่อผสมที่เป็นวิธีการทาง จิ ต รกรรมประกอบกั บ วิ ธี ก ารทางประติ ม ากรรม ภาพถ่ ายผสมกั บ จิ ต รกรรม หรื อ เสี ย งประกอบกั บ ประติมากรรมก็ได้ อย่างไรก็ตามคําว่าสื่อผสม หรือ “MIXED MEDIA” นั้น ได้ถูกนํามาใช้กับวงการศิลปะทาง ซีกโลกตะวันตกในศตวรรษที่ยี่สิบนี้เอง “MIXED MEDIA” มิได้มีความหมายอะไรที่พิสดาร หรือลึกซึ้งนอกเหนือไปจากการระบุให้ทราบว่าใน งานของศิลปินนั้น ๆ ได้ใช้วัสดุผสม กรรมวิธีหรือสื่ออื่น ๆ ในการสร้างสรรค์อันเป็นลักษณะผสม ศิลปินบาง ท่านอาจจะไม่ใช้คําว่า “MIXED MEDIA” กับงานของเขา แต่จะระบุให้แน่นอนลงไปเลยทีเดียวว่า เขาใช้วัสดุ หรือกรรมวิธีอะไรบ้างศิลปินบางท่านยังใช้คําอื่น ๆ ซึ่งมีความหมายในทํานองเดียวกันกับ “MIXED MEDIA” เช่น ASSORTED MATERIALS, COMBINE MATERIALS, COMBINE PAINTING,

INTERMEDIA,

MULTIMEDIA และ MIXED MEDIUMS การใช้คําเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเลือก ตลอดจนความพึงพอใจของศิลปิน ศิลปะในแนวสื่อผสมมิใช่แยกเป็นเพียงแต่ประเภทของงานเท่านั้น บางครั้ง “สื่อผสม” ยังแทรกและแฝง อยู่ในงานศิลปะประเภทต่าง ๆ งานจิตรกรรมที่มีวัสดุเข้าไปผสมปนเปอยู่ด้วยนั้นเรียกว่า “MIXED MEDIA PAINTING” หมายความว่าจิตรกรรมนั้นมิใช่เป็นการระบายสีลงบนแผ่นระนาบซึ่งเป็นจิตรกรรมบริสุทธิ์ (PURE PAINTING) ส่วนประติมากรรมที่มีวัสดุหลายประเภทประกอบเข้าด้วยกัน เรียกว่า (MIXED MEDID SCULPTURE”) นอกจากนี้ศิลปินบางท่านยังใช้คําว่า MIXED MEDIA ENVIRONMENT หรือ MIXED MEDIA INSTALLATION เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาใช้วัสดุและกรรมวิธีผสมกันในลักษณะต่าง ๆ ประกอบกันขึ้น เป็น รูปทรง และสร้างพื้นที่ ตลอดจนสร้างบรรยากาศของบริเวณที่ติดตั้ง ผลงานให้มีการสื่อความหมายและมีความ เป็นเอกภาพ สังเกตได้จากภาพประกอบซึ่งเป็นผลงานของ กมล ทัศนาญชลี และจอร์จ ซีกัลป์ (GEORGE SEGAL)


“รูปทรงมนุษย์” ผลงานของชาวเปรู เป็นศิลปะในช่วง PRE COLUMBIAN ART ทําขึ้นในราวศตวรรษที่ 13 จัดเป็นศิลปกรรมที่ใช้สื่อผสมแนวหนึ่ง “แม่และเด็ก” ประติมากรรมแนวสื่อผสม ผลงานของพาโบล ปิคัสโซ ทําขึ้นในปี พ.ศ. 2493

อันที่จริงแล้ว หากเราได้ศึกษาถึงวิวัฒนาการของความคิด รูปแบบ และวิธีการต่าง ๆ ในงานศิลปะอย่าง ถ่องแท้ จะพบว่า “MIXED MEDIA” มิใช่เป็นของใหม่แต่ประการใด การใช้ “MIXED MEDIA” ในงานศิลปะ นั้นมีมาช้านานแล้ว เพียงแต่ว่าศิลปินในอดีตมิได้นํามาใช้อย่างเป็นทางการเช่นปัจจุบัน ในงานศิลปะของพวกอ นารยชน (PRIMITIVE ART) เช่น การสร้างรูปบูชาไว้เป็นเครื่องราง หรือสร้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของ คนเหล่านั้นมักจะใช้วัสดุต่าง ๆ เท่าที่อํานวยให้ เช่น เปลือกไม้ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย

หนังสัตว์ และวัสดุ

อื่น ๆ มาประกอบกัน ขึ้ น เป็ น รู ป ทรงในลั ก ษณะสามมิติ นอกจากนี้ ยัง มี การนํา กรรมวิ ธี ทางจิ ต รกรรมมา ผสมผสานกับกรรมวิธีทางประติมากรรมด้วย ดังจะเห็นได้จ ากหน้ากากสําหรับพิธีกรรมของชาวแอฟริกัน ซึ่งมี การระบายสี และหน้ากากมัมมี่ของชาวอินคาในเปรู ซึ่งใช้ทั้งวัสดุผสมและกรรมวิธีผสมคือ การนําดินเผา เชือก วัสดุ คล้ายผ้ากระสอบมาประกอบกันเป็นรูปทรงและมีการระบายสีลงบนหน้ากาก เช่นกัน นอกจากศิลปะขอ งอนารยชนแล้ว ศิลปะของชาวอียิปต์ยังมีการใช้กรรมวิธีผสมคือ การระบายสีลงบนงานประติมากรรม ส่วน ประติมากรรมของชาวกรีกมีการใช้งาช้าง ทอง หิน และวัสดุอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย หรือแม้แต่ศิลปะของไทย เราก็เช่นกันมีทั้งการใช้วัสดุผสมและกรรมวิธีผสม ดังจะเห็นได้จากการแกะสลักไม้บนหน้าบันหรือธรรมาสน์ ซึ่ง มีการลงรัก ปิดทอง ล่องขาด หรือมีการประดับตกแต่งด้วยกระจกสีต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของใช้ “MIXED


MEDIA” ที่เห็นได้ชัดอีกตัวอย่างหนึ่งคือศิลปะยุคบาร็อกในระหว่างศตวรรษที่สิบเจ็ดและสิบแปด การตกแต่ง ประดับประดาสถาปัตยกรรมของยุคนั้น มีทั้งการใช้กรรมวิธีผสมและวัสดุผสม คือการนํางานประติมากรรม และงานจิตรกรรมมาประกอบไว้ด้วยกันอย่างผสมผสานกลมกลืน ซึ่งทําให้เกิดลักษณะการลวงตาขึ้น ผู้ที่ได้พบ เห็นงานเหล่านั้นยากที่จะแยกได้ว่าส่วนไหนคืองานจิตรกรรมส่วนไหนคืองานประติมากรรม

“การกระโดดครั้งแรก” ศิลปะแนวสื่อผสม ผลงานของโรเบิร์ด เราเซนเบอร์ก ทําขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ศิลปินนิยมเรียกงานสื่อผสมของเขาว่า “COMBINE PAINTING”

ในศตวรรษที่ยี่สิบ การใช้วัสดุผสมได้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของศิลปินเป็นจํานวน มากปิคาสโซ (PICASSO) และบราค (BRAQUE) ศิลปินในลัทธิคิวบิสม์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกในการนําวัสดุต่าง ๆ ที่มีความแบนเป็นสองมิติมาปิดปะ (COLLAGE) ลงบนงานจิตรกรรมซึ่งทําบนแผ่นระนาบ วัสดุที่ศิลปินทั้ง สองนิยมใช้นั้นเป็นวัสดุที่อยู่ใกล้ตัวศิลปินเอง เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ ฉลาก ซองบุหรี่ วอลเปเปอร์ และปิ คาสโซอีกเช่นกันได้นําวัสดุสําเร็จรูป เช่น เกรียงปาดสีมาประกอบในงานประติมากรรม มีลักษณะเป็นสามมิติ แบบลอยตัว (ASSEMBLAGE) นอกจากนี้ ยังมีคูร์ท ชวิทแทร์ส (KURT SCHWITTERS) ศิล ปินเยอรมัน สร้างสรรค์ผลงานในแนวดังกล่าววัสดุต่าง ๆ ที่เขานํามาใช้มักจะเป็นวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการค้า แล ะโฆษณา เช่น ฉลาก ป้ายสินค้า หนังสือพิมพ์ และฝาขวด เป็นต้น การเสนอความคิดในการใช้วัสดุของศิลปินผู้นี้เป็นไป


อย่างตรงไปตรงมา ส่งผลถึงการสร้างสรรค์ของศิลปินในกลุ่มดาด้าอีกท่านหนึ่ง คือมาแซล ดูฌอง ซึ่งนําวัสดุ เหลือใช้ (FOUND OBJECT) หรือวัสดุสําเร็จรูป (READY MADE OBJECT) เช่น วงล้อรถจักรยานมาตรึงอยู่กับ ส่วนบนของเก้าอี้นั่ งทรงสู ง เพื่อสื่ อความหมายถึงการสู ญสิ้นซึ่งอิสรภาพ อันเป็นความคิดที่เสี ยดสีประชด ประชัน การเมือง และสงคราม คริสโต (CHRISTO) ศิลปินเชื้อชาติบัลแกเรียน นําผ้าใบมาชุบสีให้แลดูเก่าคร่ํา คร่าแล้วนํามาห่อหุ้มขวด ซึ่งมีรูปทรงและขนาดแตกต่างกัน และใช้เชือกมัดโดยรอบขวดเหล่านั้น แล้วผูกเป็น ปมอี ก ที ห นึ่ ง ศิ ล ปิ น ผู้ นี้ ต้ อ งการแปรสภาพของวั ต ถุ ที่เ ราคุ้ น เคยให้ เ ป็ น วั ต ถุ ที่ อ ยู่ ใ นอี ก สภาพหนึ่ ง และมี ความหมายแตกต่างไปจากเดิม ศิลปินร่วมสมัยบางท่านได้รับความบันดาลใจในการใช้วัสดุผสมจากศิลปะของอ นารยชน แต่จุดมุ่งหมายในการแสดงออกอาจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ศิลปะของอนารยชนเน้นในเรื่องของจิต วิญญาณและไสยศาสตร์ แต่ศิลปิน

ร่วมสมัยอาจเน้นในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รูปแบบ

หรือโครงสร้างโดยส่วนรวมของงาน ทั้งสองยุคอาจใกล้เคียงกัน แต่การใช้วัสดุนั้นไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น งานประติมากรรมแถบคองโก

ตอนใต้ซึ่งเป็นรูปบูชา ประกอบด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น เหล็กแหลมคล้ายตะปู

ไม้และวัสดุอื่น ๆ และในงาน ประติมากรรมของศิลปินร่วมสมัยอาจทําเป็นรูปของมนุษย์อวกาศ โดยใช้วัสดุต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเจริญทางเทคโนโลยีมาประกอบเข้าด้วยกัน

“ดอกไม้สีดํา” ศิลปะแนวสื่อผสมของแครอล รัดยาร์ด ทําขึ้นในปี พ.ศ. 2533

ศิลปินในปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะกลุ่มดาด้าในด้านการนําวัสดุหรือวัตถุประเภทต่าง ๆ มาเป็น หัวใจสําคัญในการแสดงออกซึ่งความคิดคือ โรเบิร์ต เราเชนเบอร์ก (ROBERT

RAUSCHENBERG) และ


แจสเปอร์ จอห์น (JASPER JOHN) ศิลปินทั้งสองได้นําวัตถุ สิ่งของในชีวิตประจําวัน ซึ่งเป็นวัสดุสําเร็จรูปและ วัสดุเหลือใช้ มาประกอบเป็นงานศิลปะ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาวะการณ์และค่านิยมของสังคมในปัจจุบัน ผลงานสร้างสรรค์ของเขาได้กลายเป็นแบบฉบับของศิลปะแนว “พ็อพ” ไปในที่สุด ในงานสถาปัตยกรรมยังมีการใช้วัสดุผสม เช่น ผลงานของแอนโทนี่ เกาดี้ (ANTONI GAUDI) คือ โบสถ์ ชื่อ (CHURCH OF THE SAGADA FAMILIA) ที่เมืองบาเซโลน่าในประเทศสเปนและผลงานของ ไซมอน โร เดีย (SIMONRODIA) คือ WATTS TOWERS ในนครลอสแองเจลิส รูปทรงของสถาปัตยกรรม ทั้งสองแห่ง ดังกล่าว โดยส่วนรวมมีลักษณะเหมือนงานประติมากรรมซึ่งประกอบด้วยวัสดุหลายประเภท นํามาประดับ ประดาตกแต่งให้เป็นลวดลาย และมีสีสันแปลกตา คล้ายงานจิตรกรรม วัสดุหลากชนิดที่นํามาใช้นั้นผสมผสาน กลมกลืนกันอย่างมีเอกภาพจนดูแทบไม่ออกว่าเป็นวัสดุผสม สถาปัตยกรรมทั้งสองนั้น นอกจากจะให้คุณค่า ทางด้านการแสดงออกซึ่งความคิดของสถาปนิกแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าทางด้านความงามอีกด้วย การกําหนดหรื อจํ ากัดว่างานจิ ตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรือศิล ปะแขนงอื่น ๆ จะต้องมี รูปแบบ หรือกรรมวิธีที่ แน่นอนตายตัวเช่นในอดีตนั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะล้าสมัยสําหรับศิลปินในปัจจุบัน ตราบใดที่มนุษย์ยังมีการสร้างสรรค์การคิดค้น รูปแบบและกรรมวิธีย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและ สภาพแวดล้อมเช่นกัน กฎเกณฑ์ในอดีตอาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของโลกสมัยใหม่ ดั้งนั้ นศิลปะร่วม สมัยที่มีการใช้วัสดุผสมหรือกรรมวิธีผสม ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหายุ่งยาก ใครจะดูหรือจะแบ่งให้เป็นศิลปะประเภท ใดนั้น ย่อมจะทําได้หากมีความเข้าใจ แต่การดูงานศิลปะนั้นเราควรให้ความสําคัญที่คุณค่ามากกว่าพยายามดู ให้ได้ว่าต้องเป็นงานประเภทไหนผู้ดูควรเคารพในความคิดและคํานึงถึงจุดมุ่งหมายของศิลปินผู้สร้างงานว่าเขา ต้องการให้งานเขาเป็นอะไร เป็ นที่น่าสั งเกตว่า เมื่อใดก็ตามที่ศิล ปินร่วมสมัยในยุโ รปและอเมริกาใช้คําว่า “MIXED

MEDIA”

ประกอบการอธิบายผลงานของเขา จะเห็นได้ว่าในงานนั้น ๆ ไม่ว่าจะมีรูปแบบ หรือกรรมวิธีเช่นไรก็ตาม มักจะ นิยมการนําวัสดุเหลือใช้และวัสดุสําเร็จรูปมาประกอบกันขึ้นในงานของเขาไม่ว่างานนั้น ๆ จะมีความเป็นสอง มิติ ซึ่งเป็ นลักษณะปิ ดปะ (COLLAGE) หรือการก่อรูปขึ้นเป็นแบบสามมิติ (ASSEMBLAGE) หรือการ ผสมผสานกันระหว่างสองมิติและสามมิติ


“สองทุย” ศิลปะแนวสื่อผสมของ มณเฑียร บุญมา ทําขึ้นในปี พ.ศ. 2531

ศิลปะแนวสื่อผสม มิได้เป็นศิลปะที่จํากัดรูปแบบ หรือกรรมวิธีในการสร้างสรรค์แต่อย่างใด และการใช้ คําคํานี้มิได้เป็นปัญหายุ่งยากสําหรับศิลปิน หรือสร้างความสับสนให้กับผู้ชมศิลปะในต่างประเทศแต่ประการใด และตราบใดที่มีการใช้วัสดุผสมหรือกรรมวิธีผสมแล้วการใช้เทคนิคผสมย่อมตามมาอย่างแน่นอนที่สุด เพียงแต่ ว่าเขาไม่นิยมและไม่เห็นความจําเป็นในการที่จะต้องระบุว่าเป็นเทคนิคผสม หรือแยกออกเป็นงานศิลปะอีก ประเภทหนึ่งต่างหาก เพราะถือว่าเมื่อใช้ “MIXED MEDIA” แล้วก็น่าที่จะเข้าใจได้โดยปริยาย สําหรับปัญหาที่ว่า งานศิลปะที่ใช้วัสดุผสมหรือ กรรมวิธีผสมนั้นจะจัดอยู่ในศิลปะประเภทใดหรือไม่นั้น ก่อนอื่นต้องพยายามเข้าใจสภาพการณ์ของโลกปัจจุบันเสียก่อนว่า นอกเหนือจากวงการศิลปะแล้ว สิ่งอื่น ๆ ในสังคมหรือค่านิยมของคนเราดูเหมือนจะมีการผสมปนเปกันไปหมด ในวงการแฟชั่นไม่ว่าจะเป็นทรงผมก็ดี เสื้อผ้าเครื่องประดับ หรือรองเท้าก็ดี ก็ยังมีการใช้ปะปนกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย การกําหนดกฎเกณฑ์ ตายตัวที่แน่นอนจึงเป็นสิ่งที่ทําได้ยากและไม่สู้จะมีความหมายอย่างใดนัก อย่างไรก็ตาม ศิลปะสื่อผสมจะมีคุณค่ามากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของศิลปิน การนําวัสดุ หรือกรรมวิธีของงานศิลปะที่แตกต่างกันมาประกอบเป็นงานศิลปะอย่างผิวเผิน ย่อมไม่บังเกิดผลเท่าที่ควร ศิลปินจะต้องมีแนวคิด ประกอบกับมีการแสดงออกอย่างชัดเจน ประการสําคัญงานศิลปะที่สร้างขึ้นนั้นควรจะ สื่อความหมาย รวมทั้งสะท้อนความงามและคุณค่าทางศิลปะด้วย มิใช่เป็นเพียงแค่การ จัดวางองค์ประกอบ โดยไร้จุดมุ่งหมายเท่านั้น


ส่วนการจําแนกประเภทศิลปกรรมในการจัดนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ โดยมีประเภทของศิลปะ สื่อผสมรวมอยู่ด้วยนั้น มีผลสืบเนื่องมาจากการปรับประเภทของงานศิลปกรรมเพื่อรองรับวิวัฒนาการทางด้าน การสร้างสรรค์ของศิลปินในปัจจุบัน ซึ่งเป็นลักษณะสากล อีกทั้งศิลปินบางท่านมิได้ต้องการทํางานแนวของ จิตรกรรม ประติมากรรม หรือภาพพิมพ์อย่างแท้จริง แต่มีความประสงค์จะผลิตผลงานที่มีลักษณะเป็นอิสระ หลุ ด พ้ น ไปจากข้ อ กํ า หนดของศิ ล ปะทั้ ง สามประเภทดั ง กล่ า ว คณะกรรมการดํ า เนิ น การจั ด นิ ท รรศการ ศิลปกรรมแห่งชาติเห็นสมควรในการเปิดโอกาสให้กับศิลปินที่ทํางานในรูปแบบใหม่ และเล็งเห็นว่าการกําหนด ประเภทงานศิลปกรรมเพียงแค่สามลักษณะนั้นคับแคบเกินไป นอกจากนี้ในวงการศิลปะร่วมสมัย ศิลปินไทย อีกหลายท่านกําลังให้ความสนใจกับการสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ที่ได้อิทธิพล และแรงบันดาลใจมาจากความ เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ อาร์ตและวีดิ โออาร์ต ซึ่งมิใช่เป็นศิลปะใน แนวสื่อผสม แต่เป็นศิลปะอีกประเภทหนึ่ง ทางตะวันตก เรียกว่า

“MEDIA ART” ดังนั้นปัญหาที่ตามมาคือ

ในอนาคตข้างหน้าคงจะต้องมีการพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่งว่าศิลปกรรมประเภทศิลปะสื่อผสมจะ ยังคงใช้ต่อไปได้หรือไม่ หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยหาคําที่เหมาะสมกว่ามาใช้ เพื่อให้ครอบคลุมรูปแบบ ทางศิลปะที่กําลังเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างทั่วถึง

บรรณานุกรม - ALLANKAPROW, “ASSEMBLAGE, ENVIRONMENTS AND HAPPENINGS” HARRY N’ ABRAMS, INC. PUBLISHERS, NEW YORK, 1966 - EDMUND BURKE FELDMAN, “VARIETIES OF VISUAL EXPERIENCE”, SECOND EDITION PRENTICEHALL, INC., 1981 - EDWARD LUCIE – SMITH, “MOVEMENTS IN ART SINCE 1945” THAME & AND HUDSON, NEW YORK 1985. - GREGORY BATTCOCK, “THE NEW ART” E.P. DUTTON AND CO; INC. NEWYORK 1973.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.