บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 55

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 55 จากเวนิสตะวันออก...สู่เวนิส เบียนนาเล่ โดย ถาวร โกอุดมวิทย์ หากจะกล่าวถึงมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ผู้คนในแวดวงศิลปะของไทยแทบทุกคน ย่อมจะรู้จักและเคยได้พบเห็นข่าวสารหรือเยี่ยมชมนิทรรศการนี้กันมาบ้างแล้ว ด้วยความเป็นมายาวนานกว่า 114 ปีของมหกรรมศิล ปะนานาชาตินี้ ซึ่งบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่และยืนยงเสมอเสมือนงานโอลิมปิกทาง ศิล ปกรรม และเป็น ที่ยอมรั บ จากผู้ คนในวงการศิล ปะร่วมสมัยทั่ว โลกกว่า เป็นสุดยอดมหกรรมศิล ปะที่มี ความสาคัญ มีชื่อเสียงและมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก

รูปที่ 1 จากเวนิสตะวันออก....สู่เวนิส เบียนนาเล่ ถาวร โกอุดมวิทย์

ความยิ่งใหญ่ยาวนานของมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ มีปรากฏชื่อศิลปินไทยที่ได้ร่วมแสดง ผลงาน มาแล้วหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น มณเฑียร บุญมา ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ธวัชชัย พันธุ์ สวัสดิ์ กมล เผ่าสวัสดิ์ มานิต ศรีวานิชภูมิ มนตรี เติมสมบัติ ไมเคิล เชาวนาศัย วสันต์ สิทธิเขตต์ สาครินทร์ เครืออ่อน อารยา ราษฎร์จาเริญสุข อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ และนิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ สาหรับในปีนี้ 53 rd International Art Exhibition La Biennale di Venizia มหกรรม เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งล่าสุดนี้มี Daniel Birnbaum ภัณฑารักษ์ชื่อดังจากสถาบันศิลปะ Stadelschule ที่มีชื่อเสียง โด่งดังในแฟรงค์เฟิร์ตและเคยคิวเรตงาน ตูริน เทรียนนาเล่ ครั้งที่สอง มาเป็นภัณฑารักษ์ที่อายุน้อยที่สุดใน ประวัติศาสตร์การจัดงานเวนิสเบียนนาเล่ ร่วมกับ Jochen Volz, Savita Apte, Tom Eccles, Maria Finders และ Hu Fang ภายใต้แนวความคิด “Making Worlds” โดยได้รับแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อมาจาก


หนังสือ Ways of World Making ของ Nelson Goodman ที่ว่าด้วยเรื่องความสาคัญของศิลปะซึ่งไม่ด้อยไป กว่าปรัชญาหรือวิทยาศาสตร์

รูปที่ 2 ภาพบรรยากาศในงานเวนิส เบียนนาเล่ ปีที่ผ่านๆ มา

พื้นที่ของการจัดแสดงงานเวนิส เบียนนาเล่ ในปีนี้ยังคงเป็น Giardini di Castello สวนเจียร์ดินีริมทะเล ทางตะวันออกของเมืองเวนิสที่มี 29 พาวิลเลี่ยนตั้งอยู่ และที่ Arsennale อู่ต่อเรือเก่าที่ถูกดัดแปลงเพื่อเป็น สถานที่แสดงนิทรรศการหลักของเบียนนาเล่ รวมไปถึงโบสถ์และอาคารเก่ารอบเมืองเวนิสที่เปิดให้เช่ าเพื่อจัด แสดงผลงานจากแต่ละประเทศความพิเศษอย่างหนึ่งในปีนี้คือการย้ายพาวิลเลี่ยนอิตาลีจากอาคาร Palazzo delle Esposizioni ในสวนเจียร์ตินี่ไปสู่อาคาร Padiglione Italia ในอาร์เซนาเล่ และมอบหมายหน้าที่ใหม่ให้ Palazzo delle Esposizioni กลายเป็นอาคารส่วนกลางของงานเบียนนาเล่ ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการจากศิลปิน นานาชาติที่ได้รับเชิญโดยตรงจากทีมภัณฑารักษ์ ประจาปี และมีพื้นที่สาหรับหอสมุดประวัติศาสตร์และศิลปะ ร่วมสมัยเบีย นนาเล่ ร้ านขายหนังสือและของที่ระลึก ร้านกาแฟ และห้ องกิจกรรมการศึกษาอยู่ในอาคาร เดียวกันนั้นด้วย นอกจากนั้นยังมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสวนเจียร์ ดินีกับอาร์เซนาเล่เพื่อให้ผู้ชมงาน สามารถเดินทางเข้าถึงส่วนต่างๆ ของนิทรรศการได้มากขึ้น สาหรับประเทศไทย จาก 7 โครงการศิลปะที่ได้รับการนาเสนอเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย โครงการ “นาวาสู่สวรรค์ กัมปะนี” (Gondola al Paradiso Co;Ltd.) ที่มีศิลปินเข้าร่วมแสดงผลงาน ประกอบด้วย ไม เคิล เชาวนาศัย สาครินทร์ เครืออ่อน สุดศิริ ปุยอ๊อก ศุภร ชูทรงเดช และวันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร โดยมี ทีมภัณฑารักษ์ประกอบด้วย ถาวร โกอุดมวิทย์ เป็นภัณฑารักษ์ มีอาจารย์อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ เป็นภัณฑารักษ์ ร่วม และฉัตรติยา นิตย์ผลประเสริฐ เป็นผู้ช่วยภัณฑารักษ์ ก็ได้รับการคัดเลือกจากสานักงานศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ให้ไปจัดแสดงในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 53 ระหว่าง วันที่ 7 มิถุนายน – 22 พฤศจิกายน 2552 ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี


รูปที่ 3 วันแถลงข่าวโครงการนาวาสู่สวรรค์ โครงการที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วม มหกรรมศิลปะนานาชาติ

“นาวาสู่สวรรค์ กัมปะนี” คือโครงการศิลปะที่มีหัวใจหลักอยู่ที่การ Reconstruction ซึ่งในที่นี้ หมายถึง การบูรณาการทางความคิด ภายใต้รูปแบบของร้านบริการการท่องเที่ยวและโฆษณาประเทศไทยแบบเหนือจริง ผ่านสื่อต่าง ๆ เมื่อ “ระบอบทุนนิยม” ที่นิยมใช้โฆษณาชวนเชื่อฉายภาพลวงผู้คน ได้แทรกซึมเข้าสู่วิธีคิดของ คน จนทาให้ “ความลวง” กลายเป็น “ความจริง” โครงการศิลปะนี้จึงเป็นการตั้งคาถามต่อระบบทุนนิย มว่า เหมาะสมดีแล้วหรือไม่ และถึงเวลาหรือยังที่เราจะหวนกลับไปพิจารณาวิถีชีวิตในอดีตก่อนจะสายเกินไป จุดมุ่งหมายหลักของโครงการ คือเพื่อเปิดเผยธาตุแท้ของระบบทุนนิยม ในขณะเดียวกันก็เป็นการ นาเสนอแนวคิดทางเลือกที่เรียกว่า “Reconstruction” หรือ การฟื้นฟูที่ไม่ได้หมายความถึงเพียงการฟื้นฟูใน เชิงภายภาพ แต่ยังหมายถึงการฟื้นฟูหรือบูรณะทางความคิดของผู้คนให้รู้เท่าทันต่อสถานการณ์และมายาคติ ต่าง ๆ ในสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งนับวันจะยิ่งเคลื่อนตัวเข้าสู่ระบบทุนนิยมที่รายล้อมไปด้วย ภาพลักษณ์และหลุมพรางต่างๆ ที่คอยหลอกล่อให้เราตกเป็นหนึ่งในผลประโยชน์ที่มีอยู่อย่างมหาศาลของมัน “นาวาสู่สวรรค์” จึงเชื้อเชิญให้ทุกคนร่วมล่องไปในลาเรือเดียวกัน ท่ามกลางกระแสคลื่นของความจริงและ ความลวง โดยมีจุดหมายปลายทางคือ การรู้เท่าทันกระแสโลกที่กาลังมุ่งไปอย่างเป็นปัจจุบัน แน่นอนว่าในโครงการใหญ่ระดับชาติเช่นนี้ย่อมต้องการงบประมาณและการสนับสนุนที่มากตามไปด้วย แต่ภายใต้ข้อจากัดหลายอย่างที่มีอยู่ก็เป็นเหตุให้เราต้องแก้ไขและปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการไปตาม เงื่อนไขนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากทาง สศร. และมีบริษัท ไทย เบฟเวอเรจ เป็น สปอนเซอร์รายใหญ่ร่วมกับหลายหน่วยงานที่มองเห็นถึงความสาคัญของผลกาไรทางวัฒนธรรมจากโครงการนี้ ปัญหาและสถานการณ์ที่เราต้องพบเผชิญส่วนใหญ่จึงไปอยู่ที่การจัดการกับสิ่งของ ระยะเวลา ระยะทาง และ การประสานงานกับบุคคล


รูปที่ 4 โครงการศิลปะนาวาสู่สวรรค์ จัดแสดงให้คนไทยได้ชมที่หอศิลป์กทม. ก่อนเดินทางไปเวนิส ในเดือนพฤษภาคม

การประชุม วางแผน และการเตรี ย มตัวตั้งรับปัญหาเฉพาะหน้าที่เราคาดไว้ เกิดขึ้นเป็นระยะตาม กาหนดการทางานที่รัดกุม หากแม้ด้วยความระมัดระวังที่สุด เราก็จาต้องพบกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากเรือส่ง สินค้าที่เราว่าจ้างไม่อาจส่งของให้เราได้ทันเวลา และไม่ว่าเราจะเรียกร้องหรือเพียรพยายามค้นคิดหนทางแก้ไข อย่างไร ผลงานที่เราสร้างและส่งไปล่วงหน้า ก็ไม่อาจเดินทางไปถึงเราได้ทันเวลาอยู่ดี

รูปที่ 5 ทีมงานกาลังตระเตรียมพื้นที่ภายในศาลาไทยระหว่างที่รอให้ของมาถึง

ระยะเวลาในการตัดสินใจนี้ เป็นนาทีที่เรามองเห็นถึงความผิดพลาดหลายประการทั้งที่เราเตรียมตัวและ คิดหาหนทางเผื่อเวลาเอาไว้มากมายตั้งแต่แรก แต่ก็ไม่สามารถจัดการกับความบกพร่องของการขนส่งด้วย บริษัทที่ขาดประสิทธิภาพได้ คล้ายจะเป็นอาถรรพ์ “ศาลาไทย” ที่มักมีปัญหาไม่คาดฝันเกิดขึ้นทุกปี สิ่งที่เรา ต้องทาจึงกลายเป็นการสร้างผลงานชุดใหม่ในแนวความคิดเดิม เพื่อให้พิธีเปิดงานที่เราประชาสัมพันธ์ไปแล้ว เกิดขึ้นได้ตามกาหนดการ


ช่วงเวลาหลายวันของการทางานภายใต้ข้อจากัด ของต่างแดน ความเร่งเร้าของกาหนดเวลา และขวัญ กาลังใจของผู้ร่วมทีมที่สั่นคลอนจากความผิดพลาดหลายประการเราจาต้องเดินฝ่าอุปสรรคนานาเหล่านั้นมา ด้วยความมุมานะอุตสาหะ ความเป็นทีมเวิร์ค และความมุ่งหมายที่จะนาผลงานศิลปะจากประเทศให้ยืนเด่น สง่างามบนเวทีศิลปะระดับโลก ที มงานทุกคนลงมือทางานทุกอย่างที่ทาได้อย่างฉับไวและตั้งอกตั้งใจ ตระเวน ทั่วทั้งเมืองเพื่อควานหาข้าวของอุปกรณ์จาเป็น และละวางสมมติสัจจะเดิมที่เคยถือครองออกไป เพื่อการ ประสานเป็นทีมงานที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทาได้ และเมื่อเราทาได้สาเร็จ เมื่อพิธีเปิดงานของเราผ่าน ไปอย่างราบรื่น เป็นที่นิยมและถูกกล่าวถึงในวงกว้างของสื่อมวลชนนานาชาติ ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่เรือ สินค้าของเราเพิ่งจอดเทียบท่า ณ เมืองเวนิสนั่นเอง

รูปที่ 6 ผศ. ถาวร โกอุดมวิทย์ กาลังปรึกษาถึงวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ไมเคิล เชาวนาศัย และฉัตรติยา นิตย์ผลประเสริฐ

การสร้างสรรค์ผลงานสาหรับโครงการใหญ่อย่างเวนิส เบียนนาเล่ ถือเป็นขั้นหนึ่งของประสบการณ์ใน การทางานด้านการบริหารจัดการทางศิลปะที่เต็มไปด้วยข้อจากัดมากมาย ด้วยประสบการณ์การทางานด้าน การจัดการทางศิลปะซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากระบบระเบียบและวิธีการทางานแบบไทย ๆ ความเป็นผู้นาและ การตัดสินใจเมื่อเกิดปัญหาเป็นหัวใจหลักที่ทาให้ผ่านพ้นวิกฤติตอนนั้นมาได้ รวมไปถึงความร่วมมือร่วมใจของ ทีมงานความทุ่มเททางานหนักของศิลปิน ผู้ช่วยผู้ประสานงาน และอาสาสมัครอีกหลายคน ซึ่งหากเทียบเคียง กับการบริหารจัดการงานศิลปะในเมืองไทย คงต้องกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่าต่างกันราวฟ้ากับดิน อย่างไรก็ตาม ผลตอบรับจากการนิทรรศการ “นาวาสู่สวรรค์ กัมปะนี ” ที่เราได้รับจากสังคมศิลปะ ระดับโลกในครั้งนี้ก็เกินความคาดหมายไปอย่างไม่น่าเชื่อ สื่อต่างชาติหลากหลายสถาบันให้ความสนใจใน ผลงานที่เราสรรค์สร้าง และกระตือรือร้นที่จะนาเสนอข่าวสู่สาธารณชน นิตยสารหลายฉบับตีพิมพ์ บท วิจารณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับศาลาไทยในปีนี้ อาทิ นิตยสาร Asian Art News, Art Asia Pacific, Art in


America, Vogue ฯลฯ บทความวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้บอกเล่าถึงความชื่นชมที่สัง คมศิลปะนานาชาติมี ต่อ งานศิลปะจากประเทศไทย

รูปที่ 7 บรรยากาศขณะกาลังติดตั้งงาน

รูปที่ 8 ในที่สุดก็ถึงพิธีเปิดงานหลังจากที่ได้รับมือกับเรื่องต่างๆมากมาย

สิ่งหนึ่งที่ผมได้พบเผชิญในการจัดงานครั้งนี้ บ่งบอกถึงแนวโน้มของระบบการจัดการทางศิลปะที่อยู่ใน ห้วงคิดมาช้านาน ว่าศิลปินควรมี “สถาบัน” หรือ ”หน่วยงาน” ที่ดาเนินการจัดการในส่วนที่ให้อย่างเต็มที่ เพราะการทางานศิลปะของศิลปินได้จบลงแล้วที่ผลงานซึ่งถือเป็น Final Product ที่จะบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวของมันเอง มันเป็น Disinterestedness ที่จะตอบโจทย์ได้ด้วยตัวมันเอง สิ่งที่เหลือต่อจากนั้น คือการ สานต่อโดยสถาบันทางศิลปะที่มีเสถียรภาพและมีมาตรฐานมากพอที่จะเชิดชู Sublime ของผลงานนั้นๆ ให้ เปล่งประกายจรัสแสงในเวทีโลกได้ เพราะหากเราเชื่อว่า ศิลปินคือคนที่มีสิ่งพิเศษสาหรับการสร้างสรรค์งาน ศิลปะที่ทรงคุณค่า เราก็ควรจะเชื่อด้วยว่า คนทางานด้านการจัดการทางศิลปะอย่างมีจรรยาบรรณ คือคนที่มี วิสัยทัศน์และความคิดอ่านที่รอบคอบกว้างไกลเพียงพอที่จะนาเสนอผลงาน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และทาทุก วิถีทางเพื่อให้นิทรรศการดาเนินต่อไปได้อย่างน่าภาคภูมิที่สุด


รูปที่ 9 บรรยากาศภายในศาลาไทย

รูปที่ 10 แล้วเรือก็เทียบท่า ทีมงานจึงเริ่มทางานกันอีกครั้งเพื่อให้งานสมบูรณ์ที่สุด

แน่นอนว่าในวันนี้ บทบาทและหน้าที่ของคนทางานศิลปะในประเทศไทยที่ปรารถนาจะสร้างความ เติบโตให้กับวงการศิลปะร่วมสมัยของเราก็ยังคงมีแนวทาง มีความเป็นไปได้ และมีความหลากหลายในการก้าว ไปข้างหน้าอีกมาก แม้ว่าในขึ้นหนึ่งของการทางานตอนนี้ เราจะถือได้ว่าประสบความสาเร็จในระดับที่น่าพึง พอใจ หากในก้าวต่อ ๆ ไป เราก็ยังมีปราการอีกมากมายที่ รอให้ก้าวพ้น และในฐานะของคนหนึ่งที่ยืนหยัดอยู่ ในวงการศิลปะมาเนิ่นนาน ผมจึงปรารถนาที่จะเห็นความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปขององค์ประกอบ สาคัญต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวช่วยสนับสนุนความรุ่งเรืองของการจัดการทางศิลปะและความรุ่งโรจน์ของผลงาน ศิลปะในประเทศไทย ให้เจริญทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างยั่งยืนถาวรต่อไปในอนาคต


รูปที่ 11 ภาพรวมทั้งหมดของนาวาสู่สวรรค์หลังจากที่ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์


บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 55 ศิลปะมัลติมีเดีย (MULTIMEDIA ART) โดย สมพร รอดบุญ

รูปที 1 ศิลปะมัลติมีเดีย (MULTIMEDIA ART) โดย สมพร รอดบุญ

ศิลปะมัลติมีเดีย (MULTIMEDIA ART) เป็นประเภทของศิลปะที่เริ่มมีการพัฒนาควบคู่กันไปกับความ เจริญก้าวหน้าของสื่อที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ (NEW MEDIA TECHNIQUE) ซึ่งได้แก่วีดีโอคอมพิวเตอร์ภาพถ่าย อินเตอร์เน็ตสื่ออิเลคทรอนิคต่าง ๆ เป็นต้นคาว่ามัลติมีเดีย (MULTIMEDIA) ถูกนาไปใช้ในวงการต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็ น ในวงการวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม การโฆษณาธุรกิจ การศึกษา วงการบันเทิง การแพทย์ และ ทัศนศิลป์ ซึ่งในแต่ละวงการดังกล่าวมีการนาสื่อทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้โดยมีวั ตถุประสงค์และวิธีการที่ แตกต่างกัน ส่วนในสายของทัศนศิลป์ศิลปะมัลติมีเดีย (MULTIMEDIA ART) นั้น หลาย ๆ คนยังเข้าใจว่าเป็น สิ่งเดียวกันกับศิลปะสื่อประสม (MIXED MEDIA ART) เนื่องจากมีการใช้สื่อในลักษณะต่าง ๆ ในการทาศิลปะ เหมือนกัน ความจริงแล้วศิลปะสื่อประสม คือการประสมประสานของรูปแบบทางศิลปะที่แตกต่างกัน เช่น จิตรกรรมและภาพพิมพ์ หรือเป็นการนาวัสดุต่าง ๆ ที่แตกต่างกันมาใช้ร่วมกัน เช่น วัสดุที่เป็นไม้กับเหล็ก หรือ งานจิตรกรรมที่ใช้วัสดุต่าง ๆ มาปะปิด เป็นต้น ศิลปะแนวนี้มีรูปแบบของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางศิลปะ ซึ่งเป็นที่ เข้าใจกันโดยทั่วไปและได้นามาใช้ในการสร้างสรรค์เป็นเวลานานแล้ว ส่วนศิลปะมัลติมีเดีย จะมีความหมายที่ ครอบคลุมเรื่องการใช้สื่อที่กว้างกว่า ศิลปะในแนวนี้สามารถจะรวมลักษณะการสร้างสรรค์ที่เป็นงานประเภท ทัศนศิลป์เช่น จิตรกรรมหรือ ประติมากรรม ผสมผสานกับรูปแบบของศาสตร์แขนงอื่นไว้ด้วยกัน (CROSS MEDIA) เช่น การนาวรรณกรรม ดนตรี นาฏกรรม มาใช้ในผลงานเดียวกัน หรือที่กาลังเป็นที่นิยมมากคือ การ นาสื่อซึ่งเป็นสื่อใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (NEW MEDIA) เช่น วีดีโอ คอมพิวเตอร์ แอนิเมชั่น แสง เสียง หรือ


ภาพถ่าย มาใช้ร่วมกันเพื่อสร้างเป็นผลงานที่สื่อความหมาย อาจจะเป็นงานในแนวอินสตอลเลชั่น งานศิลปะที่ ใช้พื้นที่ เวลา หรือปฏิสัมพันธ์จากผู้ดู (INTERACTIVE) ในงานของศิลปินบางคนผู้ดูอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของ งานด้วย ศิลปินบางคนใช้สื่อทางเทคโนโลยี สร้างศิลปะในรูปแบบของวีดีโอเกม ศิลปะในรูปแบบ “ONLINE” อินเตอร์เน็ต หรือเว็ บไซท์ (WEBSITE) ที่ผู้ดูต้องมีส่วนร่วมกับงาน ด้วยการเปิดโปรแกรมในรูปแบบดังกล่าว เพื่อที่จะได้ดูภาพ ได้ยินเสียง และได้กดแป้นคอมพิวเตอร์ทางานร่วมกับสิ่งที่ศิลปินต้องการนาเสนอ สิ่งเหล่านี้ ล้วนต้องใช้เวลาและการเคลื่อนไหวไปพร้อมๆกันด้วย ในกรณีของวีดีโออาร์ตบางประเภทจะเน้นในเรื่องของ เสียงมากกว่าภาพ เป็นศิลปะในแนวที่เรียกว่า “SOUND ART” ประเภทหนึ่ง

รูปที่ 2 นาม จูน เพ็ค (NAM JUNE PIAK) “TV BUDDHA” 1974 มอนิเตอร์ กล้องถ่ายภาพ และพระพุทธรูป

MULTIMEDIA ART นั้นบางครั้งใช้ชื่อเรียกต่าง ๆกันอาทิ INTERMEDIA INTERDISCIPLINARY หรือ CROSS MEDIA หมายถึงการรวมกันของสื่อที่มีความหลากหลาย ซึ่งศิลปินนามาสร้างเป็น งานศิลปะ ที่มีความ สมบูรณ์อย่างมีเอกภาพ ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้นคงไม่มีข้อจากัด ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับความต้องการของศิลปิน จะให้งานของเขาออกมาในลักษณะใด นาม จูน ไพค์ (NAM JUNE PIAK) ผู้บุกเบิก วีดีโอ อาร์ตและวีดีโออินสตอลเลชั่น ใช้สื่อทางเทคโนโลยี สร้างศิลปะมัลติมีเดีย โน้มน้าวจูงใจให้ผู้ที่ได้ชมผลงานของเขาเกิดความรู้สึก จินตนาการและความคิดเขา สามารถนาผู้ดูเข้าสู่โลกของอิเลคทรอนิค และในขณะเดียวกันผู้ดูก็สามารถที่จะมีอารมณ์ ตลอดจนความรู้สึก นึกคิดร่วมอยู่กับงานของเขาด้วย ผู้เขียนขอยกตัวอย่างงานของศิลปินร่วมสมัยของไทยบางท่านที่สร้างสรรค์ผลงาน (MULTIMEDIA ART) ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบการอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น


รูปที่ 3 ทวีศักดิ์ ศรีทองดี “ฮีโร่ 2006” รถ มอเตอร์ไซด์ อนุสาวรีย์ สติกเกอร์ โทรทัศน์ และวีดีโอ

ผลงานชุด “ฮีโร่” เป็นส่วนหนึ่งของความคิดที่ทวีศักดิ์ ศรีทองดี ได้มาจากหนังสือและภาพยนตร์ ซึ่งมี เนื้อหาเกี่ยวกับความขัดแย้งของมนุษย์ที่มีมาช้านานแล้วในประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน การแก่งแย่ง ชิงดี อานาจ ความแตกต่างของชาติพันธุ์ รวมทั้งสีผิวก่อให้เกิดสงครามล้างเผ่าพันธุ์ เป็นความขัดแย้งที่ต้องมีฮีโร่มา เป็นผู้พิทักษ์รักษาป้องกันโลกให้พ้นจากอันตราย และมนุษย์สามารถดารงชีวิตอยู่อย่างสันติสุข ฮีโร่ของทวีศักดิ์ ในภาพเขียนและในภาพถ่ายเท่าขนาดคนจริงของเขาไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายมักจะอยู่ในท่วงท่าที่ดูแข็งแรงมี พลัง รูปทรงและท่าทางของฮีโร่ให้ความรู้สึ กของการเป็นผู้นา ตามร่างกายจะมีภ าพเสือคล้ายรอยสั กเป็น สัญลักษณ์ของความมีพลัง ความเข้มแข็งซึ่งเป็นความเชื่อของไทยและคนชาติต่าง ๆ ในเอเชีย เอกลักษณ์หนึ่ง ในภาพเขียนของทวีศักดิ์คือ ภาพใบหน้าของฮีโร่แต่ละคนให้ความรู้สึกที่หลากหลายแก่ผู้ชม สีหน้าและแววตา ของฮีโร่ดูนิ่งลึกไม่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึก ยากต่อการคาดเดา ว่าเป็นความรู้สึกแบบไหน รูปทรงของมนุษย์ แนวใหม่ที่ทวีศักดิ์สร้างขึ้นนั้น หากดูเพียงผิวเผินอาจจะดูคล้ายภาพการ์ตูน แต่สาระที่แฝงนั้นแสดงนัยยะของ ความเป็นมนุษย์ในเชิงเสียดสีประชดประชัน ให้แง่คิดกับผู้ดูในลักษณะต่าง ๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้งานของ ทวีศักดิ์จะเป็นรูปแบบที่สะท้อนวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน (POP CULTURE) แต่ในขณะเดียวกัน รากฐานทางวัฒนธรรมไทยและความเป็นชาวเอเชียของศิลปินยังคงปรากฏให้เห็นได้ นอกจากนี้งานของเขายัง ประกอบด้วย วีดีโอ และวัสดุต่าง ๆ เช่นรถ มอเตอร์ไซด์ ที่มีภาพเขียนเป็นลายเส้น บางครั้งศิลปินจะทางาน ร่วมกับเด็ก ๆ ด้วย (COLLABORATIVE)


รูปที่ 4 จักรกริช ฉิมนอก “ร่างกาย-จินตนาการ-ใบตองแห้ง 2006” เสื้อผ้าตัดเย็บด้วยใบตองแห้ง หุ่นและ ภาพถ่าย (ภาพนี้เป็น ส่วนหนึ่งของงานทั้งหมด)

จักกริช ฉิมนอก สร้างสรรค์งานที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมดั้งเดิมอันเป็นวัฒนธรรม ท้องถิ่น และค่านิยมที่มีการแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ศิลปินให้ความสาคัญกับคุณค่าของวัสดุธรรมชาติ คือ ใบตอง ซึ่งมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน จักกริช นาใบตองแห้งจานวนมาก มาเย็บต่อกันเป็นผืนใหญ่และนามาตัดเป็นเสื้อผ้าในรูปแบบที่ทันสมัย สามารถสวมใส่ได้จริง เขานาชุดเสื้อผ้าใบตองในลักษณะต่าง ๆ มาจัดการใหม่ในรูปแบบของศิลปะอินสตอล เลชั่น งานศิลปะของจักกริชเป็นการผสมผสานระหว่างความคิดร่วมสมัยกับวัสดุท้องถิ่นจากธรรมชาติ ผลงานนี้นอกจากจะประกอบด้วยชุดเสื้อผ้าต่าง ๆ ที่ตัดเย็บด้วยใบตองแล้ว จักกริชยังได้นาภาพถ่ายขนาดเท่า คนจริง ซึ่งเป็นภาพของบิดาและมารดาของเขาเป็นนางแบบและนายแบบสวมใส่ชุดนางงามจักรวาลและชุด มนุษย์อวกาศมาแสดงด้วย ชุดเหล่านี้ทาจากใบตองแห้งทั้งหมด จักกริชใช้ภาพถ่ายของบิดา มารดา กับภาพ เหตุการณ์ในปัจจุบันคือการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ (มนุษย์อวกาศ) และค่านิยมของสังคมโลก (นางงาม จักรวาล) ผสมผสานกับวัฒนธรรมการใช้ใบตองของไทยเป็นการแสดงความขัดแย้งที่โน้มน้าวให้ผู้ชมได้ใช้ ความคิดพิจารณาสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ ค่านิยม ยุคสมัย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและ วิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ใบตองในงานของจักรกริชมีส่วนในการทาให้ผู้ชมได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติและความ เป็นคนมากยิ่งขึ้น นอกจากภาพถ่ายแล้วในงานนี้ยังมีวีดีโอซึ่งมีเรื่องราวเดียวกันเป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย


รูปที่ 5 บัณฑิต พูนสมบัติเลิศ “เส้นทางสายสมมุติ” 2545-47 คอมพิวเตอร์คีย์บอร์ด ระบบควบคุมอิเล็คทรอนิค ไฟเบอร์กลาส ท่ออลูมิเนียม LED LIGHTS และมอเตอร์

บัณฑิต พูนสมบัติเลิศ นาเสนองานแนว MULTIMEDIA ด้วยการแสดงความคิด จินตนาการ ความรู้สึก รวมทั้งการอุปมาอุปมัยระหว่างสิ่งที่เป็นจริงและสิ่งสมมติได้อย่างสมเหตุผล จะเห็นได้จาก ผลงาน “เส้นทาง สายสมมติ” (2545-2547) แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าในระบบอุตสาหกรรม การ สร้างกระแสต่าง ๆ จากการโฆษณาเป็นตัวหลักในการกาหนดเส้นทางใหม่ให้กับสังคม และทาให้ผู้คนเดินหลง ไปตามทางที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ มีความขัดแย้งกับทางที่เป็นจริงตามธรรมชาติ ทิวทัศน์ สมมติที่บัณฑิตสร้างขึ้นนั้น มีทัศนียวิทยาในลักษณะลวงตา เส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีเสาไฟที่ใช้อยู่ตามความเป็นจริงตามพื้นที่สาธารณะ มี 5 ขนาดแตกต่างกัน วางเรียงรายลดหลั่นไปตามขนาด ลักษณะการซ้าของเสาไฟคือลักษณะการซ้าของการ ผลิตสินค้าในระบบอุตสาหกรรม ส่วนเสาไฟมีหน้าที่ส่องแสงสว่างให้แก่ผู้คนยามค่าคืนถูกตีความหมายใหม่ผ่าน กระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าไปสัมผัส รับรู้และส่งผ่านข้อความที่ต้องการแสดงออกด้วย การพิมพ์ข้อความที่ต้องการโดยใช้แป้นพิมพ์ตรงส่วนล่างที่อยู่รอบเสาไฟแต่ละต้น แป้นพิมพ์ที่ศิลปินสร้างขึ้น ใหม่นี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ร่วมสมัย ที่ไม่กาหนดเขตแดนชัดเจน หลักจากผู้ชมพิมพ์ข้อความซึ่งเป็นได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามที่ต้องการแล้ว ข้อความเหล่านั้นจะไปปรากฏอยู่บนโคมไฟด้านบนเป็นสีแดง หมุน เวีย นส่ องแสงสื่ อสารความนึ กคิดผ่ านไปยังผู้ ช มคนอื่น ๆ ในห้ องแสดงงานคล้ ายกับ จินตนาการทาง ความคิดที่ส่องสว่างในมิติสลัวของทิวทัศน์ท่ามกลางบรรยากาศอันสงบนิ่ง งานศิลปะของบัณฑิต มีสาระที่ให้คุณประโยชน์ทางความคิด และมีส่วนกระตุ้นจิตสานึกของผู้ชมให้ ตระหนักถึงข้อเท็จจริงและการเปลี่ยนแปลงของสังคมซึ่งกาลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน งานของบัณฑิตนั้นมีคาถามที่ ท้าทายให้ผู้ชมต้องแสวงหาคาตอบด้วนตนเองโดยปราศจากเงื่อนไขและขอบเขตอันจากัด


ศิลปินร่วมสมัยของไทยที่สร้างสรรค์งานในลักษณะมัลติมีเดีย อาร์ตยังมีอีกหลายท่าน เช่น กมล เผ่า สวัสดิ์ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ สาครินทร์ เครืออ่อน และอารยา ราฎร์จาเริญสุข ซึ่งมี ผลงานเป็นที่แพร่หลายและมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ข้อยุติของศิลปะมัลติมีเดีย ยังคงเป็นไปได้ยาก เพราะนับวันความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ การค้นคว้า ทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการใช้เทคนิคของศิลปินจะมีชั้นเชิง มีความซับซ้อนและก้าวหน้า มากยิ่ ง ขึ้ น มี ข้ อ สั ง เกตที่ น่ า สนใจเกี่ ย วกั บ ศิ ล ปะในแนวนี้ คื อ ศิ ล ปิ น หลายคนต้ อ งท างานร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น (COLLABORATIVE PROJECT) ในการสร้างงานและต้องการปฏิสัมพันธ์จากคนดู เป็นศิลปะที่เรียกว่า “INTERACTIVE ART” ได้ด้วยเช่นกัน ศิลปะในแนวนี้ของศิลปินหลาย ๆ คน มีลักษณะคล้ายวีดีโออาร์ต คอมพิวเตอร์อาร์ต หรือดิจิทัลอาร์ต ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของพื้นที่สาหรับงานศิลปะ ในกรณี ดังกล่าวผู้ดูสามารถซื้อหางานได้ในรูปแบบของซีดีรอม โดยเปิดดูที่บ้านและชื่นชมกับงานได้โดยไม่ต้องไปหอ ศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ บางรายก็เป็นลักษณะ ONLINE ซึ่งผู้ดูเพียงแค่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่กับบ้านเท่านั้น ศิลปะ มัลติมีเดียมีส่วนสาคัญในการสลายเส้นแบ่งที่ขีดขั้นระหว่างศิลปะกับประชาชนและเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนที่ เคยรู้สึกว่าศิลปะเป็นสิ่งที่เข้าใจยากให้หมดสิ้นไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.