บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation art) โดย สมพร รอดบุญ ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation art) เริ่มแพร่หลายเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกาและยุโรปใน ทศวรรษ ของปี ค.ศ. 1980 เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะหลังลัทธิสมัยใหม่ (Post Modernism) ได้เข้ามามีบทบาทต่อ วงการศิลปะของโลก แอพโพรพริเอชั่นในงานศิลปะคืออะไรนั้นยังเป็นคาถามที่มีผู้สงสัยอยู่เป็นจานวนมาก เอกลักษณ์สาคัญของศิลปะแอพโพรพริเอชั่นคือ การหยิบยืม (borrow) รูปแบบงานศิลปะในอดีตหรือใน ประวัติศาสตร์หรือของศิลปินคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของคนในวงการ ศิลปะหรือผู้คนทั่วไป มาสร้างขึ้นใหม่ด้วยการผสมผสานกับงานของศิลปินผู้ยืมในบริบทใหม่มีความหมายใหม่ ซึ่งเป็นไปตามความคิด หรือความต้องการของศิลปินที่มีความหลากหลาย
Paul Wunderlich, Luncheon on the Glass after Manet, acrylic on canvas, 130 x 162 cm.1977
การขอยืมหรือการนางานของศิลปินคนอื่นมาใช้นั้น มิใช่เป็นการลอกเลียนหรือก็อปปี้ (Reproduction) ให้เหมือนงานต้นฉบับทุกประการ และการยืมงานต้นฉบับมาสร้างขึ้นใหม่ (recreate)
ในงานของศิลปินก็
มิได้มีเจตนาที่จะนางานที่ยืมมานั้นมาใช้ในแง่ลบ หรือเป็นการทาลายอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่เป็นเรื่อง ของการใช้สติปัญญาความคิดการใช้เหตุผลสัมพันธ์กับเรื่องราวสถานการณ์ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏ รอบๆตัว ศิล ปิน สังคม และโลกในการสร้างสรรค์ศิล ปะของเขา โดยทั่วไปแล้ วนั้นความหมายเดิมในงาน ต้นฉบับมิได้ถูกนามาใช้การยืมงานของศิลปินในอดีตหรือในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการยืมรูปแบบ การจัดวาง องค์ประกอบ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของงานต้นฉบับ มาใช้อย่างมีเหตุผลมีความหมายและสาระ
ความจริงแล้วการหยิบยืมหรือการนางานของผู้อื่นมาใช้ในงานของศิลปิน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีความ แตกต่างกันในช่วงเวลาเป็นการมองย้อนกลับไปในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปะชิ้นเอกของศิลปินผู้มี ชื่อเสียงระดับโลก เช่นภาพโมนาลิซ่าของลิโอนาโด ดาวินชี่ จะถูกนามาใช้อยู่บ่อยครั้งทั้งในวงการศิลปะและ การโฆษณาและงานในลักษณะนี้จะเห็นได้จากงานของมาเน่ต์ (Manet) ที่มีชื่อว่า “Luncheon on the Grass” (1863) เป็นภาพของหญิงเปลือยนั่งอยู่กับชายสองคนซึ่งแต่งกายเรียบร้อย และในภาพนั้น หญิง เปลือยหันหน้าจ้องมองมาทางผู้ดู ภาพเขียนนี้แสดงความขัดแย้งและได้รับการวิจารณ์อย่างรุนแรงในยุคสมัย ของมาเน่ต์ และที่น่าสนใจนั้นคือภาพเขียนนี้มาเน่ต์ได้นาการจัดวางองค์ประกอบของบุคคลทั้งสามจาก ภาพเขียนของราฟาเอล (Raphael) เป็นภาพที่ชื่อ “The Judgment of Paris” (1525-1530) ส่วนที่นามาใช้ จากงานของราฟาเอล คือลักษณะการจัดท่านั่งของชายสองคน และหญิงเปลือยที่นั่งท้าวคางหันหน้ามาทางผู้ดู ภาพ และต่อมาวอร์ด คิมบอล(Ward Kimball) นักเขียนภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (animation) คนสาคัญของ วอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney) ได้นามาสร้างขึ้นใหม่ในลักษณะเดียวกันกับงานของมาเน่ต์โดยเปลี่ยนสาระใน งานมาเป็นการเล่นไพ่ในที่สาธารณะ ไม่ใช่ภาพอาหารกลางวันดังที่ปรากฏในงานของมาเน่ต์ และยิ่งไปกว่านั้น ศิลปินเยอรมัน คือ พอล วูนเดอร์ลิช (Paul Wunderlich) ได้หยิบยืมงานของมาเน่ต์ชิ้นนี้มาสร้างขึ้นใหม่ใน รูปแบบของศิลปะเหนือจริง (Surrealistic) ด้วยการใช้องค์ประกอบเดิมของงาน ต้นฉบับแต่รูปทรงของบุคคล ในภาพจะมีลักษณะบิดเบือนไปจากความเป็นจริง ประกอบกับบรรยากาศภายในภาพให้ความรู้สึกหลอน เสมือนอยู่ในอีกมิติหนึ่งซึ่งเป็นสภาวะของจิตใต้สานึก
Banksy, Water Lilly Trash
แบงซี (Banksy) ศิลปินกราฟพิตี้ (Graffiti) ชาวอังกฤษซึ่งมีผลงานตามท้องถนน (Street Art) และ สถานที่ต่างๆ ในกรุงลอนดอนและทั่วโลก แบงซี่ ยืมงาน “The Japanese Bridge” (1899) ของมาเน่ต์ (Monet) ศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionist) ชาวฝรั่งเศสมาสร้างขึ้นในบริบทใหม่ภาพต้นฉบับของ โม เน่ต์เป็นภาพสะพานญี่ปุ่นข้ามสระน้าในสวนของโมเน่ต์เอง ในสระนั้นเต็มไปด้วยดอกบัว ต้นไม้ร่มรื่น เป็นภาพ ที่มีชื่อเสี ย งเป็ น ที่รู้ จั กของชาวโลกภาพหนึ่ ง แบงซีต้องการนาภาพนี้มาสร้ างขึ้นใหม่เพื่อ สะท้อนความคิ ด เกี่ยวกับนิเวศวิทยา การรักษาธรรมชาติ และสานึกในความรับผิดชอบของมนุษย์ในเชิงเสียดสีประชดประชันใน ภาพ “Water Lilly Trash” นั้นสิ่งที่เขาเขียนเพิ่มเติมขึ้นใหม่ในงานคือขยะและรถเข็นที่ใช้ใส่สิ่งของตาม
ห้างสรรพสิ น ค้ายุคใหม่ที่ทิ้งอยู่ในสระ นอกจากนี้ยังมีกรวยที่ใช้กั้นตามท้องถนนลอยอยู่ในน้าด้ว ยเช่นกัน ถึงแม้ว่าภาพของแบงซีอาจจะดูขบขันชวนให้ยิ้ม แต่ความหมายที่แฝงนั้นเป็นการเตือนจิตสานึกให้คนในสังคม ได้คานึงถึงสิ่งที่ไม่ควรกระทาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทิ้งสิ่งของและขยะลงในน้า นามาซึ่งการทาลายธรรมชาติ ผลกระทบและความเสียหายที่จะตามมาอีกมากมายหลายประการ
Ward Kimball, After Bottcelli ‘ s Birth of Venus 1967
วอร์ด คิมบอล (Ward Kimball) ยืมภาพ “Birth of Venus” (1480) ของบอททิเชลลี่ (Botticelli) ศิล ปิ นชาวอิตาเลี่ ย นในยุ คฟื้น ฟูศิล ปะวิทยา (Renaissance)
ในศตวรรษที่ 15 มาสร้างขึ้นใหม่ ด้วยการ
เปลี่ยนแปลงตัววีนัส ซึ่งในงานต้นฉบับดั้งเดิมมีรูปทรงที่งดงามมาแปลงโฉมให้เป็นทั้งนางงาม และ
นางเส
ริฟที่มีการแต่งกายเสมือนนางกระต่ายมีหูอยู่ด้านหลังของศีรษะ แม้จะดูขบขันในทานองเดียวกันกับงานของ แบงซีที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่สิ่งที่คิมบอลต้องการสื่อคือค่านิยมของการจัดประกวดนางงามและค่านิยมใน การหาความสุขของผู้ชายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในโลก ความฉลาดและความช่างคิดของศิลปินนักยืม ที่ สร้างสรรค์ผลงานในแนวแอพโพรพริเอชั่น นั้นคือการรู้จักมอง รู้จักเลือกสิ่งที่คนโดยทั่วไปมักจะนึกไม่ถึง มา สร้างเป็นงานที่ดูเหมือนจะไม่มีสาระลึกซึ้ งแต่ก็เป็นงาน ที่สะท้อนความเป็นจริงในแง่มุมต่างๆ ที่ไม่อาจปฏิเสธ ได้
Roy Lichtenstein, Still Life with Goldfish Bowl and Painting of a Golf Ball. 1972 Oil and Magna on canvas 52 x 42 cm.
รอย ลิชเช่นสไตน์ (Roy Lichtenstein) ศิลปินกลุ่มพ็อพ (Pop) ชื่อดัง นางานของมาติสส์ (Matisse) มาสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบของเขาในงาน “Still Life with Goldfish and Painting of a Golf Ball” ด้วย การนาจุดแมกน่า (Magna) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเขารวมทั้งการใช้รูปทรง สีสัน พื้นที่ (Space) มิติใน งานที่เป็น 2 มิติและการใช้เส้นดาตัดเส้นรอบนอกรูปทรงของเขามาใช้กับภาพของมาติสส์คือภาพปลาทองใน โหลแก้วและรูปทรงซึ่งเป็นลักษณะอินทรียรูป (organic form) ในงานศิลปะที่ใช้เทคนิคตัดกระดาษ (Paper cutout) ของมาติสส์ปรากฏตรงส่วนบนของโหลปลา ทางด้านขวามีภาพเขียนของลูกกอล์ฟ รวมทั้งการใช้ วงกลมและครึ่งวงกลมที่ล้อกับจุดแมกน่าของเขา สาระในงานคงเป็นการแสดงภาพส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผู้คนนิยม มีไว้ในบ้านและเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันทางด้านของจิตใจด้วยเช่นกัน
Yasumasa Morimura, Self-portrait as Art History: Portrait (Van Gogh), 1985, color photograph, 120 x 100 cm.
ส่วนศิลปินชื่อดังชาวญี่ปุ่น ยาซุมาสะ โมริมูระ (Yasumasa Morimura) ใช้ใบหน้าของตนเอง (Self Portrait) สอดแทรกเข้าไปในงานของศิลปินบรมครูของยุโรปได้อย่างกลมกลืน ศิลปินผู้นี้สร้างสรรค์ผลงานใน แนวแอพโพรพริเอชั่นเป็นส่วนใหญ่ ภาพใบหน้าที่แทรกเข้าไปในงานเป็นภาพถ่าย และนาไปทาเป็น อิงค์เจ็ท (Inkjet) บนผืนผ้าใบ ในงานภาพเหมือนของแวนโก๊ะ (Van Gogh) นั้นเป็นภาพของศิลปินมีผ้าพันแผลพันใบหู ซึ่งแวนโก๊ะห์เขียนขึ้นหลังจากที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทกับโกแกง (Gauguin) ที่บ้านของเขาในเมืองอาร์ล (Aries) เมื่อปี ค.ศ. 1889 ภาพนี้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกเนื่องจากว่าเป็นภาพที่สะท้อนชีวประวัติสาคัญของแวนโก๊ะ ห์ ช่วงหนึ่งภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและปัญหาทางจิตของเขาเหตุผลที่โมริมูระ เลือกภาพนี้มาสร้างขึ้นใหม่นั้นนอกเหนือจากการยกย่ องแวนโก๊ะห์แล้ว เขายังใช้ภาพนี้ซึ่งมีใบหน้าของเขา แทรกอยู่ นั้ น แสดงตนเองเป็ น บุ ค คลส าคั ญในประวัติ ศาสตร์ วิ พากษ์วิ จารณ์ วงการอุ ตสาหกรรมทางด้า น วั ฒ นธรรมที่ น าภาพต้ น ฉบั บ ของแวนโก๊ ะ ห์ ม าผลิ ต เป็ น โปสเตอร์ ศิ ล ปะหรื อ ผลิ ต เป็ น งานลอกเลี ย นแบบ (Reproduction) ออกจาหน่ายเป็นจานวนมาก นอกเหนือจากงานดังกล่าวแล้ว โมริมูระยังหยิบยืมงานที่เป็น ภาพของดอกทานตะวันในแจกัน “Still-life : Sunflowers” (1888) ของแวนโก๊ะห์ มาใช้โดยมีความคิด เช่นเดียวกับงานภาพเหมือนของแวนโก๊ะห์ด้วย จะเห็นได้จากงาน “Singing Sunflowers” ในความเป็นจริง นั้น ภาพดอกทานตะวันนี้ แวนโก๊ะห์วาดขึ้นเพื่อใช้ประดับห้องทางานของเขา และได้เขียนภาพดอกทานตะวัน ชุดนี้ด้วยกันทั้งหมด 6 ภาพ บางภาพจะมีดอกทานตะวัน 12 ดอก และบางภาพจะมี 14 ดอก ส่วนในงานของ โมริมูระนั้นในแต่ละดอกจะมีหน้าของเขากาลังร้องเพลงอย่างมีความสุข ชวนให้ผู้ดูงานอดคิดไม่ไ ด้ว่าศิลปินคิด อะไรและงานของเขาต้องการสื่ออะไร เขาต้องการตั้งคาถามเกี่ยวกับคุณค่าของงานศิลปะหรือไม่
Yasumasa Marimura, Self-portrait as Art History : Singing Sunflowers, 1998 color photograph mounted on canvas, 93 x 73 cm.
จะเห็นได้ว่า จากตัวอย่างงานทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ศิลปะแอพโพรพริเอชั่น เป็นบทบาทที่เกิดขึ้นใน ยุค ของโพสต์โมเดรินและยังคงมีศิลปินที่สร้างสรรค์งานในแนวนี้อย่างต่อเนื่องทั่วโลกจนกระทั่งทุกวันนี้ ในช่วง แรกๆ ศิลปินในแนวนี้ ก่อให้เกิดปัญหาการฟ้องร้อง ทางด้านลิขสิทธิ์จากเจ้าของงานและผู้ครอบครองงานแต่ ต่อมาภายหลังได้เป็นที่ยอมรับเพราะว่างานศิลปะแอพโพรพริเอชั่นไม่ได้เป็นงานที่ลอกเลียนแบบแต่เป็นงานที่ ศิลปินยืมรูปแบบ องค์ประกอบ หรือส่วนต่างๆ ในงานต้นฉบับมาใช้ร่วมกับงานของเขา ซึ่งมีความคิดใหม่ เทคนิคใหม่ งานในแนวนี้ที่ปรากฏในวงการศิลปะร่วมสมัย จะมีทิศทางการสร้างในลักษณะใหม่ที่ยังคงเค้าโครง ของงานต้นฉบับไว้ หรือการสร้างรูปแบบขึ้นใหม่ที่แสดงความเป็นตัวตนของศิลปินผู้ยืม แต่ยังคงยึดแนวการจัด วางองค์ประกอบของงานต้นฉบับโดยไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย โดยทั่วไปงานศิลปะต่าง ๆ ที่ถูกขอยืมมาใช้มักจะเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว เมื่อถูกนามาใช้ในบริบทใหม่ จะมีเรื่องของเวลาเข้ามา เกี่ยวข้องด้วยเป็นลักษณะของการมองจากศิลปินปัจจุบันที่ย้อนกลับไปในอดีตและนาความเป็นอดีตมาสร้างใน บริบทใหม่ จึงมีความหมายแตกต่างไปจากเดิมซึ่งเป็นงานต้นฉบับ สาระในงานที่สร้างขึ้นใหม่นั้นเปิดกว้าง ครอบคลุ มแง่มุมต่าง ๆ ในสั งคม ชีวิตความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี จริยธรรม นิเวศวิทยา และพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ งานเหล่านี้มักจะให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ชมอย่าง มีเหตุผลและจุดมุ่งหมาย ไม่ใช่งานที่ศิลปินทาขึ้นเพียงเพื่อความขบขันแต่เพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากการ หยิบยืมงานศิลปะของผู้อื่น มาสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นภาพเขียนแล้วงานในลักษณะนี้ยังมีปรากฏในงานภาพถ่าย ภาพยนตร์ วงการสื่อการโฆษณา ดนตรี และการละครอีกด้วย ในบางกรณีศิลปะในแนวนี้แสดงความคิดของ ศิลปินในยุคโพสต์โมเดิร์นและในปัจจุบัน ที่ต่อต้านและขัดแย้งต่อความเคร่งครัดในการเป็นต้นฉบับของศิลปิน ในยุคของลัทธิศิลปะสมัยใหม่ (Modernism) นอกจากนี้บุคคลสาคัญที่ต้องกล่าวถึง ณ ที่นี้ที่เป็นผู้ริเริ่มการ เปลี่ยนแปลงวงการศิลปะในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1960 คือ แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) ได้นาขวด โค๊ก กระป๋องชุปแคมเบล (Campbell) และกล่องบรรจุผงซักฟอกยี่ห้อบริลโล่ (Briilo) ที่เป็นสินค้ามีลิขสิทธิ์ มาสร้างเป็นงานศิลปะในยุคของพ็อพอาร์ต สะท้อนให้เห็นถึงระบบอุตสาหกรรมและสังคมบริโภคตลอดจน สินค้าสาเร็จรูป ได้เข้ามามีบทบาทสาคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคใหม่ ส่วนการหยิบยืมที่ปรากฏใน งานศิลปะแอพโพรพริเอชั่นไม่ใช่รูปแบบ ทว่าเป็นเพียงเทคนิควิธีการของศิลปินในการทางานที่นาไปสู่การเปิด กว้างทางความคิดอันหลากหลาย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีทั้งแง่บวก การกระตุ้นความคิดและการวิพากษ์วิจารณ์ ใน เชิงสร้างสรรค์ลักษณะต่าง ๆ เป็นการท้าทายความคิดและความเห็นจากผู้ดูงานด้วยกันเช่น ศิลปินที่ทางานใน แนวนี้มีเป็นจานวนมากเช่น เจฟห์ คูนส์ (Jeff Koons) จูเลียน ชนาเบล (Julian Schnabel) ซิกมาร์ โพลเก้ (Slgmar Polke) และเดวิด แชลลี่ (David Salle) ส่วนศิลปินไทยก็มีหลายท่าน อาทิ พงษ์เดช ไชยคุตร กับ งานภาพพิมพ์ของเขา และ อารยา ราษฎร์จาเริญสุข กับงานวีดิโอ “หมู่บ้านและที่อื่น ๆ” (Village and Elsewhere) งานของศิลปินดังกล่าวล้วนเป็นงานที่มีคุณค่าทางความคิดและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เอกสารอ้างอิง Robert Atkins, Art Speak, Abbeville Press Publishers, New York, 1990