JOURNAL OF DEPARTMENT OF RURAL ROADS
กรมทางหลวงชนบท
วารสาร
ปี ที่ 19 ฉบั บ เดื อ นเมษายน - พฤษภาคม 2565
10
4
D R R.
u r e F u t
8
กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้
หาดบางเบน อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง
สาย ชพ.4019 จ.ชุมพร กว่า 19 กิโลเมตร ่ วอย่างยัง ่ ยืน เสร็จสมบูรณ์ ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเทีย
กรมทางหลวงชนบท
ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ส�ำรวจออกแบบสะพานข้ามท่าส้ม ต.ต�ำมะลัง อ.เมือง จ.สตูล มุ่งบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านกาลันบาตู พร้อมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ้ ตอน ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขัน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ถนนเลียบชายฝั่ งทะเลภาคใต้ สาย ชพ.4019 จ.ชุมพร
www.drr.go.th
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ทช. ขอคุย Editor’s Talk
วารสารกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ฉบับประจ�ำเดือนเมษายน 2565 ถึง พฤษภาคม 2565 เป็น ฉบับที่ต้องห้ามพลาดจริง ๆ ครับ เพราะเป็นช่วงที่มีเทศกาลและวันหยุดยาวค่อนข้างบ่อย ท�ำให้เราจะได้ เห็นถึงการดูแลพี่น้องประชาชนที่ใช้สายทางของกรมทางหลวงชนบท ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว รวมถึง ข่าวสารที่น่าสนใจต่าง ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะความคืบหน้าโครงการก่อสร้างที่น่าสนใจและมีประโยชน์ ต่อประชาชนเป็นอย่างมากอีกด้วย ซึ่งนอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันอีกมากมาย อาทิ สาระความรู้ที่ ได้จากคอลัมน์ สร้าง ซ่อม ส่งเสริม คอลัมน์บ้านเลขที่ 9 ที่จะพูดถึงการดูแลประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และ คอลัมน์ Safety ทีจ่ ะเป็นประโยชน์และมีความรูท้ จี่ ำ� เป็นส�ำหรับคุณผูอ้ า่ นอย่างแน่นอนครับ รับรองว่าฉบับนี้ จะท�ำให้คณ ุ ผูอ้ า่ นเพลิดเพลินและเต็มอิม่ ไปกับสาระดีดที ่ีได้จากวารสารกรมทางหลวงชนบทอย่างเต็มทีค่ รับ ไปติดตามกันเลยครับ...
OF Contents DEPARTMENTRURAL ROADS สารบัญ
กองบรรณาธิการ ผู้อำ�นวยการสำ�นักบริหารกลาง สำ�นักส่วนกลาง สำ�นักงานทางหลวงชนบท แขวงทางหลวงชนบท หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบท กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
จัดทำ�โดย สำ�นักบริหารกลาง กรมทางหลวงชนบท เลขที่ 9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 โทรศัพท์ 0 2551 5202 www.drr.go.th
3 4-5 6-7 8-9 10 - 13 14 - 15 16 - 19 20 - 21 22 - 23 24 25 26 27 28 - 29 30 31
ทช. รวมใจภักดิ์ วันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ทช. โฟกัส
กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ สาย ชพ.4019 จ.ชุมพร กว่า 19 กิโลเมตร เสร็จสมบูรณ์ ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทช. อัพเดท กรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างถนนสาย ข9, ค3 ผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย – ท้ายเหมือง จ.พังงา ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว รองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต คาดแล้วเสร็จปี 2566 DRR. Future กรมทางหลวงชนบท สำ�รวจออกแบบสะพานข้ามท่าส้ม ต.ตำ�มะลัง อ.เมือง จ.สตูล มุ่งบรรเทา ความเดือดร้อนให้ชาวบ้านกาลันบาตูฯ Travel on Rural Roads หาดบางเบน อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง
กิจกรรมผู้บริหาร สร้าง ซ่อม ส่งเสริม บ้านเลขที่ 9 กรมทางหลวงชนบทกับภารกิจสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง คุยตามมุม นายไกวัล วัฒนา ผู้อำ�นวยการแขวงทางหลวงชนบทนครนายก ทช. เพื่อประชาชน กรมทางหลวงชนบท เตรียมความพร้อมป้องกันอุทกภัยในช่วงฤดูฝน
อำ�นวยความสะดวกปลอดภัยด้านการเดินทางให้ประชาชน ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ฯ
กฎหมายน่ารู้ การตกทอดมรดกของพระภิกษุ Safety รู้หรือไม่ แซงอย่าไรให้ปลอดภัย มองผ่านเลนส์
ถนนมโนราห์
Spotlight นายพงศธร โง้วกาญจนนาค วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สังกัดกลุ่มติดตามและประเมินผล สำ�นักอำ�นวยความปลอดภัย
ริมทางชนบท กรมทางหลวงชนบท ดำ�เนินโครงการพัฒนาเส้นทางในพื้นที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ตั้งแต่ปี 2555-2565 เรื่องเล่าจากนายช่าง นายวิชิต บุญนายก ตำ�แหน่งนายช่างโยธาชำ�นาญงาน สังกัดสำ�นักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
3
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนเลียบชายฝั่ งทะเลภาคใต้ สาย ชพ.4019 จ.ชุมพร กว่า 19 กิโลเมตร
เสร็จสมบูรณ์ ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ด�ำเนินโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ถนนทางหลวงชนบทสาย ชพ. 4019 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม.ที่ 13+100) – บ้านแหลมสันติ อ�ำเภอหลังสวน, ละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 19.891 กิโลเมตร เสร็จสมบูรณ์ ตามทีค่ ณะรัฐมนตรีเห็นชอบในโครงการพัฒนาการท่องเทีย่ วถนนเลียบชายฝัง่ ทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทยอย่างยัง่ ยืน ครอบคลุม พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เพื่อพัฒนาโครงข่ายถนนดังกล่าวให้มีความต่อเนื่อง ส่งเสริม เศรษฐกิจการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลระดับสากลอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้อย่าง สะดวกรวดเร็วปลอดภัย รวมถึงยังเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้มอบหมายให้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องด�ำเนินการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการท่องเทีย่ ว เพือ่ พัฒนาโครงข่ายถนนให้มคี วามสมบูรณ์และส่งเสริมให้เป็น ถนนท่องเทีย่ วอย่างเป็นรูปธรรม ถนนทางหลวงชนบทสาย ชพ.4019 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม.ที่ 13+100) – บ้านแหลม สันติ อ�ำเภอหลังสวน, ละแม จังหวัดชุมพร มีจุดเริ่มต้นโครงการจาก กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 19+891 โดยก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบ แอสฟัลท์ติกคอนกรีต กว้าง 7 เมตร ไหล่ทางกว้าง 0.50 - 2.50 เมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แห่ง
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
4
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง พร้อมเครื่องหมายจราจรเพื่อความปลอดภัย ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 172.082 ล้านบาท ซึ่งสายทาง ดังกล่าวเป็นเส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ หาดคอเขา หาดตะวันฉาย และหาดละแม อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ทช.ยังมีโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝัง่ ทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ทีอ่ ยูร่ ะหว่างก่อสร้างอีก จ�ำนวน 3 โครงการ ดังนี้ - ถนนสายเพชรเกษม – สถานีรถไฟทุ่งประดู่ – วัดทับสะแก อ�ำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 3.418 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้มีผลงานความคืบหน้ากว่าร้อยละ 45 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ ช่วงกลางปี 2565 นี้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 20.650 ล้านบาท - ถนนสายบ้านบางคอย – บ้านทุง่ คาน้อย อ�ำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ระยะทาง 8.658 กิโลเมตร ซึง่ ขณะนีม้ ผี ลงานความคืบหน้ากว่า ร้อยละ 11 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 นี้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 31.984 ล้านบาท - ถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม.ที่ 13+100) – บ้านแหลมสันติ (ตอนที่ 2) อ�ำเภอหลังสวน, ละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 6.753 กิโลเมตร ซึ่งได้เริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างไปเมื่อเดือนเมษายน 2565 และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 105.440 ล้านบาท
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
5
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างถนนสาย ข9, ค3 ผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย – ท้ายเหมือง จ.พั งงา
ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว รองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต คาดแล้วเสร็จปี 2566
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
6
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
จังหวัดพังงาเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักเที่ยวทั้ง ในประเทศและต่างประเทศให้เข้ามาท่องเทีย่ วเป็นจ�ำนวนมาก มีแนว โน้มการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่อง จึงจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านงานทาง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการค้า การ ท่องเที่ยว และรองรับการขยายตัวของเมืองอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็น ไปตามนโยบายของนายศักดิส์ ยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง คมนาคม ด้านการพัฒนาการคมนาคมขนส่งให้มีความสมบูรณ์ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จึงด�ำเนินโครงการก่อสร้างถนน สาย ข9, ค3 ผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย – ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา รวมระยะทาง 4.229 กิโลเมตร เพือ่ แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเทีย่ วในระยะยาว และรองรับการขยายตัว ของเมือง ซึง่ ปัจจุบนั มีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 21 ขณะนี้อยู่ระหว่างด�ำเนินการในส่วนของงานผิวจราจรคอนกรีต งานโครงสร้างสะพาน และงานระบบระบายน�้ำ โครงการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว เป็นแนวถนนก่อสร้างใหม่ แบ่งการด�ำเนินงานออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้ - ช่วงที่ 1 จุดเริ่มต้นโครงการ (สาย ค3 กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 1+998) โดยเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4303 (บริเวณ กม.ที่ 2+512) ไปบรรจบกับถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 402 - ช่วงที่ 2 จุดเริ่มต้นโครงการ (สาย ข9 กม.ที่ 1+998 ถึง กม.ที่ 4+228) ต่อเนื่องกับช่วงที่ 1 สาย ค3 โดยเชื่อมต่อกับถนนทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 402 (บริเวณ กม.ที่ 2+050) ไปสิ้นสุดช่วงที่ 2 บนสาย ข9 บรรจบกับทางหลวงชนบทสาย พง.3006 ซึ่งลักษณะ การก่อสร้างถนนเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 ช่องจราจร ไป - กลับ กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.5 เมตร ทางเท้ากว้างข้างละ 2.5 เมตร ทางจักรยานกว้างไม่เกิน 1.5 เมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 แห่ง งานก่อสร้างท่อ ลอดเหลี่ยมคอนกรีตเสริมเหล็ก 7 แห่ง งานก่อสร้างระบบระบาย น�้ำ พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจร ตลอดระยะทางในโครงการ
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
7
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
D R R.
u r e F u t
กรมทางหลวงชนบท สำ�รวจออกแบบสะพานข้ามท่าส้ม ต.ตำ�มะลัง อ.เมือง จ.สตูล มุ่งบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านกาลันบาตู พร้อมจัดประชุม รับฟั งความคิดเห็นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ด�ำเนินโครงการส�ำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบสิง่ แวดล้อมสะพานข้ามท่าส้ม ต�ำบลต�ำมะลัง อ�ำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเดินทางระหว่างบ้านกาลันบาตูและแผ่นดินใหญ่ได้อย่างสะดวก รวดเร็วปลอดภัย พร้อมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จากที่ ทช.ได้เล็งเห็นความส�ำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชนหมูบ่ า้ นกาลันบาตูและประชาชนทัว่ ไปทีต่ อ้ งการ สัญจรระหว่างแผ่นดินใหญ่และหมู่บ้านกาลันบาตู เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีคลองล้อมรอบและการเดินทางระหว่างสองฝั่งต้อง โดยสารเรือข้ามฟากเท่านั้น ท�ำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทาง ทช.จึงมีแผนที่จะด�ำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามท่าส้ม เพื่อยกระดับคุณภาพด้านการคมนาคมในพื้นที่ให้มีความสะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือการอพยพ เมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ และส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่งสินค้าทางการเกษตรในพืน้ ทีอ่ ย่างยัง่ ยืน ซึง่ ปัจจุบนั อยูร่ ะหว่างการจัดท�ำรายงาน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและส�ำรวจออกแบบโครงการ โดยมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ของต�ำบลต�ำมะลัง, ต�ำบล คลองขุด อ�ำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีลกั ษณะโครงการเป็นการก่อสร้างสะพานข้ามคลองตะเมียง บริเวณท่าเรือท่าส้ม และปรับปรุง ถนนต่อเชือ่ ม ซึง่ มีจดุ เริม่ ต้นโครงการบนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 (ถนนสายปากจ่า - ต�ำมะลัง) บริเวณ กม.ที่ 69+150 วารสาร กรมทางหลวงชนบท
8
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
D R R.
u r e F u t
(สามแยกไปบ้านกาลันบาตู) แนวเส้นทางโครงการมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวถนนเดิม จนกระทั่งถึงคลองตะเมียง สิ้นสุดโครงการที่ถนนต่อเชื่อมของหมู่บ้านกาลันบาตู รวมระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนี้ ระหว่างการด�ำเนินโครงการจะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ จ�ำนวน 3 ครั้ง เพื่อน�ำเสนอข้อมูลโครงการ แนวทางและขอบเขตการด�ำเนินงาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งจะช่วย ให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่ายมากที่สุด โดยครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) ได้จัดขึ้นไปแล้ว จ�ำนวน 2 เวที เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ต�ำบลในเมืองเเละต�ำบลต�ำมะลัง ซึ่งในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยและต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว วารสาร กรมทางหลวงชนบท
9
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
หาดบางเบน
อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง
หาดบางเบนเป็นหาดทรายยาว ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน ซึ่งอุทยานแห่งชาติแหลมสนนั้นได้รับการประกาศ เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และภายในอุทยานมีป่าสนที่ให้ร่มเงาอยู่บริเวณริมหาด และยังเป็นที่อยู่ อาศัยของนกนานาชนิดอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหาดทรายสีขาวเนียนละเอียด ท�ำให้เหมาะกับการพักผ่อนและชมวิวสวย ๆ และ เป็นมุมที่เหมาะกับการถ่ายรูปชมบรรยากาศและธรรมชาติที่สวยงามของหาดบางเบนอีกด้วย และเมื่อเข้ามาที่อุทยานแห่งชาติ แหลมสนแล้ว จะได้พบกับต้นสนจ�ำนวนมาก ซึ่งป่าสนแห่งนี้เป็นป่าสนที่มีอายุมากกว่า 100 ปีแล้ว และส�ำหรับใครที่มาเที่ยว วารสาร กรมทางหลวงชนบท
10
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ในฤดูหนาว ก็จะได้พบกับอีกหนึ่งบรรยากาศ เพราะว่ายิ่งถ้ามาเที่ยวในช่วงฤดูหนาว จะได้พบกับฝูงนกปากห่าง ทีบ่ นิ มาอาศัยอยูท่ หี่ าดอีกด้วย และส�ำหรับช่วงเวลาทีพ่ ลาดไม่ได้เมือ่ มาถึงหาดบางเบนคือ การดูพระอาทิตย์ตกดิน ที่หาดบางเบน และในบางวันอาจมีสายหมอกมาปกคลุมบริเวณป่าสนกับแนวเขาด้วย วิธกี ารเดินทางมาทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติแหลมสน สามารถเดินทางได้ทงั้ รถยนต์สว่ นตัว และ รถประจ�ำทาง ส�ำหรับ รถยนต์สว่ นตัว เดินทางตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จากจังหวัดระนองไปทางอ�ำเภอกะเปอร์ ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าหาดบางเบน (สามแยกบ้านส�ำนัก ต�ำบลม่วงกลวง อ�ำเภอกะเปอร์) ก่อนถึงอ�ำเภอกะเปอร์ประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนทางหลางชนบทสาย รน.1037 เข้าที่ท�ำการอุทยาน แห่งชาติเป็นระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร และส�ำหรับผูท้ เี่ ดินทางโดยใช้รถประจ�ำทางสามารถเลือกใช้บริการ จากบริษทั ขนส่งจ�ำกัด 999,99 (สถานีขนส่งสายใต้ใหม่), บริษทั สมบัตทิ วั ร์, สายใต้บริษทั บัสเอ็กซ์เพรสจ�ำกัด (Bus Express) สายใต้ใหม่, บริษัทนิวมิตรทัวร์, บริษัทโชคอนันต์ทัวร์ เมื่อเดินทางมาที่อุทยานแห่งชาติแหลมสนแล้ว นอกเหนือจากหาดบางเบน ยังมีเกาะอีกหลาย ๆ เกาะ ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ไปเทีย่ วอีกด้วย เรียกได้วา่ มาจุดเดียวแต่ไปเทีย่ วได้คมุ้ มาก ๆ แต่การเทีย่ วในเขตอุทยานแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็น การเล่นน�้ำ การนั่งเรือชมทิวทัศน์ การเล่นกีฬา การด�ำผิวน�้ำดูปะการัง การพักแรมค้างคืน การก่อไฟ จะท�ำได้เฉพาะในเขตหรือบริเวณที่เจ้าหน้าที่ก�ำหนดไว้เท่านั้น และควรปฏิบัติตนตามที่เจ้าหน้าที่ก�ำหนด หรือ ตามที่เจ้าหน้าที่ได้ท�ำเครื่องหมายไว้เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และอุทยานแห่งชาติแหลมสน เปิดให้ นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมตั้งแต่ 08.00 - 16.30 น. ช่วงเวลาเย็น ๆ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการมาเดินเล่น ชมวิวธรรมชาติ และพระอาทิตย์ได้อย่างสวยงาม วารสาร กรมทางหลวงชนบท
11
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ก้องวัลเลย์
อำ�เภอกระบุรี จังหวัดระนอง กาแฟคั่วมือ นั่งริมล�ำธาร ก้องวัลเลย์ เป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูป ผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วมือและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตั้งอยู่ที่อ�ำเภอ กระบุรี จังหวัดระนอง และคุณก้อง ผูท้ เี่ ป็นคนก่อตัง้ ก้องวัลเลย์ จะเป็นคน ทีค่ อยให้ความรูก้ บั ผูท้ สี่ นใจเรือ่ งของกาแฟ ซึง่ ภาคใต้ของประเทศไทยเรียก ได้ว่าเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงมามากกว่า 40 ปี ตั้งแต่ยุค Coffee Rush หรือยุคตืน่ กาแฟ ท�ำให้ในยุคนัน้ ราคาของกาแฟมีราคาทีส่ งู มาก คน ส่วนใหญ่จึงหันมาปลูกกาแฟกันเป็นจ�ำนวนมาก จนกระทั่งคุณก้องได้มี โอกาสอ่านพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในเรือ่ งกสิกรรม และอาชีพเกษตรกร จึงท�ำให้คุณก้องหันมาสนใจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ กาแฟ เป็นกาแฟคั่วในชื่อก้องคอฟฟี่ โดยรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร และให้เกษตรกรเป็นผู้ก�ำหนดราคาขายเอง ท�ำให้ได้กาแฟคุณภาพสูง น�ำ มาคัดเมล็ด คั่ว บด และบรรจุลงถุงที่มีมาตรฐาน และความโดดเด่นของ กาแฟก้องวัลเลย์คือการคั่วด้วยมือทุกเมล็ด ที่ยังคงรักษากลิ่นหอมซึ่งเป็น เอกลักษณ์ของโรบัสต้าและรสชาติรวมถึงความหวานของเมล็ดกาแฟไว้ได้ และภายในพืน้ ทีน่ อกจากเป็นร้านกาแฟแล้วยังมีรา้ นอาหารริมล�ำธารด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาถึงได้พักผ่อนและทานอาหารท่ามกลางธรรมชาติ และอีกหนึง่ กิจกรรมทีพ่ ลาดไม่ได้คอื การทดลองคัว่ กาแฟแบบโบราณด้วย ตัวเอง นอกจากนีท้ กี่ อ้ งวัลเลย์ยงั มีทพี่ กั รูปแบบโฮมสเตย์ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติอีกด้วย วารสาร กรมทางหลวงชนบท
12
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
และส�ำหรับวิธกี ารเดินทางมาทีก่ อ้ งวัลเลย์ หากเดินทางด้วยรถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เมื่อถึง กม. ที่ 556-557 ฝั่งขาเข้าอ�ำเภอเมืองระนองให้เลี้ยวเข้าไปตามป้ายน�้ำตกบกกรายประมาณ 3 กิโลเมตร โดย ใช้เส้นถนนทางหลวงชนบทสาย รน.1008 ก้องวัลเล่ยจ์ ะอยูบ่ ริเวณทางเข้าน�ำ้ ตกบกกราย ซึง่ ถือว่าเป็นเส้นทางการเดิน ทางที่ค่อนข้างสะดวก ก้องวัลเล่ย์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 19.00 น. เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่คนชื่นชอบกาแฟห้ามพลาดเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะได้รับความรู้เกี่ยวกับ กาแฟแล้ว ยังถือว่าได้มาเทีย่ วในสถานทีท่ เี่ ป็นการท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์อกี ด้วย ได้มโี อกาสในการลองท�ำกาแฟ ได้เรียนรู้ ตั้งแต่การปลูก เก็บเมล็ด ตาก บ่ม และคั่วมือในกระทะเล็ก ๆ และบดด้วยมือ และอุปกรณ์ทุกอย่างทั้งกาและแก้วยัง เป็นแบบทองเหลืองแบบโบราณซึ่งหาชมได้ยาก ซึ่งถือว่าเป็นการรักษากลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของกาแฟโรบัสต้า รวมถึงรสชาติและความหวานของเมล็ดกาแฟไว้ได้ ด้วยเอกลักษณ์และความโดดเด่นนี้ ท�ำให้ก้องคอฟฟี่ มีรสชาติที่ เฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร และกลายเป็นกาแฟที่มีชื่อเสียงและส่งขายไปทั่วโลก และแม้แต่คนที่ไม่ดื่มกาแฟ ก็สามารถ เข้ามาเที่ยวที่ก้องวัลเลย์ได้ด้วย เพราะที่นี้ไม่ได้เด่นแค่กาแฟ ยังมีโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาพักผ่อน ดื่มด�่ำกับ ธรรมชาติที่สวยงามได้อีกด้วย วารสาร กรมทางหลวงชนบท
13
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กิจกรรม ผู บร�หาร
อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ประชุมตัวชี้วัดการดำ�เนินงานตามระบบ QCS ประจำ�ปี 2565 นายอภิรฐั ไชยวงศ์นอ้ ย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เป็นประธานการประชุมตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จในการด�ำเนินงานตามระบบควบคุมคุณภาพวัสดุ และงานก่อสร้าง (Qulity Control System : QCS) ของกรมทางหลวงชนบท ประจ�ำปีงบประมาณ 2565 โดยมีผบู้ ริหารระดับสูง ผูอ้ �ำนวยการส�ำนัก ในส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค พร้อมเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านระบบสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรม Zoom) ณ ห้องประชุมธารสิทธิพ์ งษ์ กรมทางหลวงชนบท กรุงเทพฯ ในการนี้ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ได้ตดิ ตามการพัฒนาตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จของระบบ QCS เพือ่ ปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การควบคุมตรวจสอบ จากการรวบรวมจุดบกพร่องหรือปัญหาในการด�ำเนินโครงการก่อสร้าง พร้อมก�ำชับให้ก�ำหนดมาตรการควบคุมคุณภาพดังกล่าวให้สอดคล้องกับ มาตรฐานงานทางของกรมทางหลวงชนบท เพื่อใช้เป็นแนวทางของทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ลงพื้นที่
ถนนสาย สส.2021 จ.สมุทรสงคราม (Thailand Riviera) และตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ ประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 นายผดุงศักดิ์ สรุจกิ าํ จรวัฒนะ รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบทพร้อมคณะ ตรวจเยีย่ มหน่วยบริการประชาชน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ของ แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม ซึง่ จะมีเจ้าหน้าทีค่ อยให้ค�ำแนะน�ำให้ขอ้ มูลเส้นทาง มีการจัดชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็ว เพือ่ เข้าช่วยเหลืออ�ำนวยความสะดวก ให้กบั ประชาชนอย่างทันท่วงทีหากได้รบั การแจ้งเหตุ โดยประชาชนสามารถแจ้งเหตุหรือสอบถามเส้นทางเลีย่ งได้ทสี่ ายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146 ทั้งนี้ รองอธิบดีฯ ได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจช่วงเทศกาลเพื่อประชาชนอย่างเต็มก�ำลัง รวมถึงได้ให้แนวทางในการปฏิบัติ งานในเรื่องการป้องกันและลดจ�ำนวนการเกิดสถิติอุบัติเหตุ เสริมสร้างความเชื่อมั่น สร้างความอุ่นใจในการเดินทางให้กับประชาชน ภายใต้หัวข้อ รณรงค์ “เดินทางสะดวก ปลอดภัย ห่างไกล COVID-19” ตามนโยบายของนายศักดิส์ ยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงคมนาคม และนายอภิรฐั ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท จากนั้น รองอธิบดีฯ ได้ลงพื้นที่จุดเริ่มต้น (Thailand Riviera) ดูสภาพการจราจรบริเวณถนนทางหลวงชนบทสาย สส.2021 แยกทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 35 - ชะอ�ำ (ตอนสมุทรสงคราม) อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีนายอนุพงศ์ จงหวัง ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวง ชนบทที่ 4 นายกิตติ มโนคุน้ ผูอ้ �ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม น�ำลงพืน้ ทีพ่ ร้อมรายงานการปฏิบตั งิ านในภาพรวม ซึง่ ถนนสายดังกล่าว มีปริมาณการจราจรประมาณ 9,478 คันต่อวัน ประชาชนสามารถใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.4 เริ่มจากทล.35 (ถนนพระราม 2) กม.ที่ 73+070 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงชนบทสาย สส.2021 เดินทางต่อไปเป็นระยะทาง 23.7 กิโลเมตร จนถึง กม.ที่ 23+700 เลี้ยวขวาเข้าสู่ ทล.3176 เดินทางต่อไปเป็นระยะทาง 12.6 กิโลเมตร เพื่อเข้าสู่ จังหวัดเพชรบุรี และสามารถเลี่ยงการจราจรจากจังหวัดเพชรบุรีไปยังอ�ำเภอชะอ�ำ โดยเริ่มจากทางหลวงชนบทสาย สส.2021 เดินทางต่อไปเป็น ระยะทาง 36.3 กิโลเมตร จนถึง กม.ที่ 60+000 เลี้ยวขวาเข้าสู่ ทล.3187 เดินทางต่อไปเป็นระยะทาง 18.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ทล.4 กม.ที่ 169+070 เพื่อมุ่งสู่อ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี วารสาร กรมทางหลวงชนบท
14
กิจกรรม ผู บร�หาร
รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท
ตรวจติดตามการดำ�เนินงานโครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ จ.นนทบุรี พร้อมเน้นย้ำ�เรื่องความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง นายไกวัลย์ โรจนานุกูล รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท พร้อมคณะ ลงพื้นที่ประชุมติดตามการด�ำเนินงานของ โครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี เพือ่ ติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ ซึง่ ปัจจุบนั มีความก้าวหน้าไปแล้ว กว่าร้อยละ 12.4 โดยมีนายอภิชัย วชิระปราการพงษ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักก่อสร้างสะพาน และนายวลาวัต บินอุมาร์ ผู้อ�ำนวยการกลุ่มโครงสร้างพิเศษ ส�ำนักก่อสร้างสะพาน รายงานผลการด�ำเนินงาน ณ ส�ำนักงานโครงการฯ จังหวัด นนทบุรี ทั้งนี้ รองอธิบดีฯ ได้เน้นย�้ำในเรื่องของความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง และการประสานงานกับหน่วยงาน ต่าง ๆ เพือ่ ให้การด�ำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามแผนทีว่ างไว้ โดยงานก่อสร้างแบ่งเป็น งานปรับปรุง ถนนคูข่ นานระดับดิน ขนาด 2 ช่องจราจร ต่อทิศทาง จากเชิงลาดสะพานพระราม 4 ถึงทางแยกต่างระดับถนนราชพฤกษ์ และงานปรับปรุงขยายผิวจราจร ขนาด 1 ช่องจราจร ต่อทิศทาง จากทางแยกต่างระดับถนนราชพฤกษ์ถงึ ถนนบางกรวย – ไทรน้อย รวมระยะทางทัง้ หมด 6.892 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างสะพานข้ามคลองพระอุดม, สะพานข้ามคลองบางภูมิ 4 แห่ง และงานก่อสร้างทางเท้า ระบบระบายน�้ำ ไฟฟ้าส่องสว่าง ซึ่งคาดว่าจะ ก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2567 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้งานของถนนชัยพฤกษ์ให้สมบูรณ์ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และรองรับปริมาณการจราจรในอนาคตได้เป็นอย่างดี
รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ
ประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ของแขวงทางหลวงชนบทสระบุรี และลงพื้นที่บนถนนสาย สบ.3021 จ.สระบุรี พร้อมเน้นย้ำ�ให้เฝ้าระวัง บริเวณจุดเสี่ยง เพื่อความสะดวกปลอดภัยของประชาชน นายสมชาย ลีลาประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท พร้อมด้วยนายสันติภาพ ศิรยิ งค์ ผูอ้ �ำนวยการกลุม่ พัฒนาวิศวกรรมจราจร และคณะ ตรวจเยีย่ ม หน่วยบริการประชาชนของแขวงทางหลวงชนบทสระบุรี ซึง่ ภายในแขวงฯ มีการจัดชุดตรวจการณ์ถนนในความรับผิดชอบ จ�ำนวน 36 สายทาง รวมถึงมีชดุ เคลือ่ นที่ เร็วตลอด 24 ชัว่ โมง เพือ่ เข้าช่วยเหลืออ�ำนวยความสะดวกให้กบั ประชาชนอย่างทันท่วงที จากนัน้ รองอธิบดีฯ ได้ลงพืน้ ทีบ่ ริเวณจุดเสีย่ งบนถนนทางหลวงชนบท สาย สบ.3021 แยก ทล.362 บ้านหนองกระดี่ อ�ำเภอเมือง, หนองแค จังหวัดสระบุรี ช่วงกม.ที่ 3+200 โดยรองอธิบดีฯ ได้ก�ำชับให้ติดตั้งอุปกรณ์อ�ำนวยความ ปลอดภัยเพิ่มเติม และได้เน้นย�้ำเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยให้เป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม และนายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เพื่ อร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของสายทางให้มี ความสะดวกปลอดภัย ภายใต้การรณรงค์ “เดินทางสะดวก ปลอดภัย ห่ างไกล COVID-19” ที่มีเป้าหมายในการป้องกันและลดจ�ำนวนการเกิดสถิติอุบัติเหตุลง เนือ่ งจากสายทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเลีย่ งช่วยแบ่งเบาการจราจรบนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) จึงท�ำให้ชว่ งเทศกาลมีปริมาณการจราจร ประมาณ 5,200 คันต่อวัน ส�ำหรับการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้มีนายวิทย์ วรวงศ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 2 นายศิริชัย ลิ้มเลิศตระกูล ผู้อ�ำนวยการ แขวงทางหลวงชนบทสระบุรี น�ำลงพืน้ ทีแ่ ละรายงานการด�ำเนินงานในภาพรวม ทัง้ นี้ ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามเส้นทางเลีย่ งของกรมทางหลวงชนบทหรือ แจ้งเหตุได้ที่สายด่วน 1146 และติดตามข่าวสาร แผนที่เส้นทางเลี่ยงได้ที่ Facebook กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม
วิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบท ประชุมติดตามผลการดำ�เนินงานของ สำ�นักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี)
นายวิศว์ รัตนโชติ วิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบท (ด้านบ�ำรุงรักษาทางและสะพาน) พร้อมคณะ ประชุมติดตามผลการด�ำเนินงานของส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี) เพื่อติดตาม ผลการด�ำเนินงานตามแผนงบกลุม่ จังหวัดปี 2565 ผลการปฏิบตั งิ านของหมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบท การควบคุมคุณภาพ (QUALITY CONTROL TEAM :QCT) การประเมินเอกลักษณ์ ทช. ความก้าวหน้า การขายทอดตลาดเครื่องจักรกลพร้อมยานพาหนะ ความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างของหน่วยงาน ส่วนกลางในเขตพืน้ ที่ การส�ำรวจความต้องการพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ ของบุคลากรกรม กลุม่ โยธา เครื่องกล พัสดุ การเงิน ธุรการ และแนวทางค่าใช้เขตทางหลวง โดยมี นายณัฐวุฒิ ธีระเสถียรโสภณ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 พร้อมผู้อ�ำนายการแขวงทางหลวงชนบท ผู้อ�ำนวยการ หมวดบ�ำรุงทางในสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมแขวงทางหลวงชนบท กาญจนบุรี ทั้งนี้วิศวกรใหญ่ฯได้เน้นย�้ำ เรื่องมาตราการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด (COVID - 19) และ ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ช่วยกันอ�ำนวยความสะดวกแก่ประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
15
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
แขวงทางหลวงชนบทตาก จัดชุดเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์และ เครื่องจักร ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน ดำ�เนินการเปิดช่องระบายน้ำ� ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ แขวงทางหลวงชนบทตาก จัดชุดเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์และเครื่องจั กร ลงพื้นที่ช่วยเหลือ ประชาชน ด�ำเนินการเปิดช่องระบายน�้ำ ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากมีต้นไม้ กิ่งไม้และวัชพืช จ�ำนวนมาก ขวางทางน�้ำไหลบริเวณใต้สะพานชุมชน ตก.017 สะพานข้ามคลองห้วยทราย ต�ำบล หนองบัวใต้ อ�ำเภอเมือง จังหวัดตาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุ
แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์ จัดประชุมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนระหว่าง ก่อสร้างและหารือรับทราบปัญหาจากชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการแก้ ไขและ ป้องกันนำ�้ ท่วมจากการขยายถนนสาย ปข.4007 แยกทางหลวงหมายเลข 3169 - บ้าน หนองระแวง อ�ำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายครรชิต อิ่มสมบัติ ผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยนายจิรพัฒน์ สุพรรณพงศ์ ผู้อ�ำนวยการหมวด บ�ำรุงทางหลวงชนบททับสะแก และผูค้ วบคุมงานก่อสร้างจัดประชุมการมีสว่ นร่วมภาคประชาชนระหว่างก่อสร้างและหารือรับทราบปัญหา จากชาวบ้านในพืน้ ที่ เพือ่ หาแนวทางการแก้ไขและป้องกันนำ�้ ท่วมจากการขยายถนนสาย ปข.4007 แยกทางหลวงหมายเลข 3169 - บ้าน หนองระแวง อ�ำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ เพือ่ บรรเทาความเดือดร้อนให้กบั ประชาชน ตามนโยบายของกรมทางหลวงชนบท
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
16
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
โครงการเสริมผิว ลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต นม.4057 แยกทางหลวงหมายเลข 2285 บ้านหนองบัววง อำ�เภอประทาย, ลำ�ทะแมนชัย จังหวัดนครราชสีมา นายธนกฤต เกตุสงเคราะห์ ผูอ้ �ำนวยการส่วนบูรณะ ลงพืน้ ทีต่ รวจติดตามความคืบหน้า โครงการเสริมผิว ลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต นม.4057 แยกทางหลวงหมายเลข 2285 - บ้านหนองบัววง อ�ำเภอประทาย, ล�ำทะแมนชัย จังหวัดนครราชสีมา เพือ่ ตรวจสอบความคืบหน้า ของโครงการ
หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบทอาจสามารถ ดำ�เนินการ ซ่อมบำ�รุงทางหลวงชนบท สายทาง รอ.021 ช่วงกิโลเมตรที่ 0+300 บ้านท่าค้อ ตำ�บลบ้านแจ้ง อำ�เภออาจสามารถ หมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทอาจสามารถ ด�ำเนินการซ่อมบ�ำรุงทางหลวงชนบท สายทาง รอ.021 ช่วงกิโลเมตรที่ 0+300 บ้านท่าค้อ ต�ำบลบ้านแจ้ง อ�ำเภออาจสามารถ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางได้เดินทางอย่างสะดวกและปลอดภัย
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
17
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
แขวงทางหลวงชนบท เพชรบุรี ดำ�เนินการซ่อมบำ�รุง ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง พบ.5020 (กม.6+100) จ.เพชรบุรี แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี ด�ำเนินการซ่อมบ�ำรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ถนนสาย พบ.5020 แยกทางหลวงชนบทสาย พบ.4037 - บ้านโพธิ์ลอย อ�ำเภอบ้านลาด, ท่าช้าง, หนองกระปุก จังหวัดเพชรบุรี (ช่วงกม. ที่ 6+100) เพือ่ การเดินทางด้วยความมัน่ ใจ อ�ำนวย ความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้เส้นทาง
หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ดำ�เนินการ ซ่อมบำ�รุงผิวจราจร สาย รย.4036 เฉลิมบูรพาชลทิต เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาสะดวกและ ปลอดภัย หมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ด�ำเนินการ ซ่อมบ�ำรุงผิวจราจร สาย รย.4036 เฉลิมบูรพาชลทิต เพื่อให้ประชาชน ผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาสะดวกและปลอดภัย ตามนโยบายกรมทางหลวงชนบท
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
18
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ดำ�เนินการซ่อมบำ�รุงไฟฟ้าแสงสว่าง สาย รย.4036 เฉลิมบูรพาชลทิต เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาสะดวกและ ปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืน หมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ด�ำเนินการซ่อมบ�ำรุงไฟฟ้าแสงสว่าง สาย รย.4036 เฉลิมบูรพาชลทิต เพือ่ ให้ประชาชน ผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาสะดวกและปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืน ตามนโยบายกรมทางหลวงชนบท
หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบทแม่สะเรียง ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพเส้นทาง สาย มส.4003 แยกทล.1194 - บ้านหม้อเหล้า อำ�เภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
หมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทแม่สะเรียง ส่งเจ้าหน้าทีต่ รวจสภาพเส้นทาง สาย มส.4003 แยกทล.1194 - บ้านหม้อเหล้า อ�ำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบต้นไม้ริมทาง มีสภาพล�ำต้นเอียงเข้าหาถนน หากเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนัก พายุ หรือลมพัดแรง มีโอกาส ที่ต้นไม้หักลงมาขวางเส้นทางหรือหักลงมาทับผู้ขับขี่รถบนท้องถนนได้ จึงได้ท�ำการตัดแต่ง ต้นไม้ให้มีสภาพเรียบร้อยปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายแก่ประชาชนผู้สัญจรในเส้นทาง บนถนนทางหลวงชนบทเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัย วารสาร กรมทางหลวงชนบท
19
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
โครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 – บ้านขุนยะ ต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 17.611 กิโลเมตร
กรมทางหลวงชนบทกับภารกิจสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง นอกจากการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับ ภูมภิ าคแล้ว อีกหนึง่ ภารกิจส�ำคัญทีค่ อื การเชือ่ มโยงโครงข่ายเส้นทางเข้าสูเ่ ขตพืน้ ทีศ่ นู ย์พฒ ั นาโครงการหลวง ซึง่ ส่วนใหญ่ ตัง้ อยูบ่ นภูเขาสูงและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทัง้ ปี จึงเป็นอีกหนึง่ จุดหมายทีน่ กั ท่องเทีย่ วนิยมเดินทางไปชมความสวยงาม ของธรรมชาติและสัมผัสวัฒนธรรมของชาวบ้านในพืน้ ที่ แต่เนือ่ งจากการเดินทางไปยังพืน้ ทีด่ งั กล่าวในอดีตค่อนข้างล�ำบาก ด้วยความที่เส้นทางส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกรัง อีกทั้งยังส่งผลต่อการขนส่งพืชผักเมืองหนาวของเกษตรกร โดยเฉพาะใน ช่วงฤดูฝนทีบ่ างเส้นทางไม่สามารถสัญจรไป-มาได้เลย กรมทางหลวงชนบทจึงมองเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและได้เข้าไปพัฒนา เส้นทางเข้าสู่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเพื่อให้การเดินทางในพื้นที่ดังกล่าวมีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น เกษตรกร สามารถขนส่งพืชผลทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ทุกฤดูกาล 47 โครงการ กับ ระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร – กรมทางหลวงชนบท เริ่มเข้าไปพัฒนาเส้นทางในพื้นที่โครงการ หลวงตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบนั เป็นจ�ำนวน 47 โครงการ รวมแล้วกว่า 500 กิโลเมตร ซึง่ ในแต่ละโครงการ ก่อสร้างจะต้องค�ำนึงถึงสภาพภูมิประเทศและผลกระทบต่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ด้านการขนส่งให้กับเกษตรกรในพื้นที่และการเดินทางของประชาชนหรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปยังศูนย์พัฒนา โครงการหลวง เมื่อการเดินทางมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ก็จะน�ำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เป็นการสร้างงานสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งเสริมด้านอาชีพที่นอกเหนือจากการท�ำเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบัน ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วกว่า 450 กิโลเมตร จ�ำนวน 43 โครงการ เช่น ถนนสายบ้านแม่แฮน้อย - บ้านแม่สะงะใต้ ต�ำบล แม่นาจร อ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และถนนทางเข้าศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงเลอตอ อ�ำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก, อ�ำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น วารสาร กรมทางหลวงชนบท
20
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ถนนสายบ้านแม่แฮน้อย - บ้านแม่สะงะใต้ ต�ำบลแม่นาจร อ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (ระยะทาง 20 กิโลเมตร)
เดินหน้าพัฒนาความสะดวกปลอดภัยด้านการเดินทางอย่างต่อเนื่อง – ขณะนี้มีโครงการก่อสร้างที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง จ�ำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 – บ้านขุนยะ ต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 17.611 กิโลเมตร 2) โครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 – บ้านแม่แอบ ต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 10.985 กิโลเมตร 3) โครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 - ศูนย์วิจัยโครงการหลวงขุนห้วยแห้ง ต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 18.744 กิโลเมตร 4) โครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 – บ้านทุ่งยาว (ช่วงที่ 2) ต�ำบลแม่เจดีย์ใหม่ อ�ำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 16.875 กิโลเมตร ถนนทางเข้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อ�ำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อ�ำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ (ระยะทาง 74.014 กิโลเมตร)
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
21
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
นายไกวัล วัฒนา
ผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทนครนายก สวัดดีครับ ผม ไกวัล วัฒนา ผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทนครนายก รับราชการมาตั้งแต่ปี 2544 เริ่มท�ำงานครั้งแรกที่ กรมโยธาธิการ ท�ำงานอยู่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีกรมทางหลวงชนบท เมื่อปี 2545 ก็เลยเลือกมาที่กรมทางหลวงชนบท ตอนนั้น มีทางเลือกหลายกรมครับ แต่เรารู้สึกว่าเราชอบท�ำงานถนนเลยเลือกกรมทางหลวงชนบท อยู่ส่วนภูมิภาคที่ จ.พัทลุง ประมาณ 3 ปี ช่วงท�ำงานใหม่ ๆ ก็สนุกครับแต่พอท�ำงานไปช่วงหนึง่ เราอยากได้มคี วามรูเ้ พิม่ เลยขอลาเรียนต่อ ป.โท เกีย่ วกับวิศวกรรมขนส่งทีจ่ ฬุ าลงกรณ์ เป็นเวลา 2 ปี จบกลับมาก็ย้ายมาอยู่ที่ส�ำนักส�ำรวจและออกแบบ เพราะอยากท�ำงานออกแบบอย่างจริงจัง ตอนนั้นท�ำงานที่ ส�ำนักส�ำรวจและออกแบบ เป็นต�ำแหน่งที่ได้ออกแบบโครงสร้าง ออกแบบสะพาน รู้สึกชอบ และสนุกเมื่อท�ำงาน ไปเรื่อย ๆ ก็อยากมีความรู้เพิ่มอีก ตอนนั้นอยู่มา 4 ปีกว่าครับปี 2556 ได้รับทุนของกรมฯ เลยสมัครเรียนต่อ ป.เอก ที่ Yokohama National University ประเทศญีป่ นุ่ สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง พอเรียนจบกลับมา ได้มโี อกาสไปท�ำงานที่ ส�ำนักตรวจสอบความปลอดภัย งานทาง ท�ำเรือ่ งเกีย่ วกับความปลอดภัย และกลับมาท�ำงานที่ ส�ำนักส�ำรวจและออกแบบ ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งผูอ้ �ำนวยการแขวงทางหลวง ชนบทนครนายก การท�ำงานคือการอยูร่ ว่ มกับคนอืน่ ให้ได้ ก็คอื พยายามมีความสุขกับคนรอบข้าง เมือ่ งานส�ำเร็จเราต้องกลับไปแบ่งปันความส�ำเร็จนัน้ ให้เพือ่ นร่วมงาน ไม่ได้เป็นความส�ำเร็จของใครคนเดียวแต่เป็นของทุกคน เมือ่ เกิดปัญหาก็เช่นกัน ไม่ตอ้ งไปหาว่าใครท�ำผิด ช่วยกันแก้ปญ ั หา ครับ ให้มันส�ำเร็จ ความส�ำเร็จนั้นก็จะกลายเป็นความสุขที่ได้ช่วยเหลือกันครับ พูดถึงผลงานที่ประทับใจที่สุดก็คืองานชิ้นแรกที่รับราชการเลย เป็นงานเล็ก ๆ ครับ เป็นการออกแบบแบบรั้วของส�ำนักงานป่าไม้ ของ จ.เพชรบูรณ์ใช้เวลานานมาก ทุกวันนี้เวลาไปเพชรบูรณ์แล้วขับรถผ่านได้เห็นผลงานของเราก็รู้สึกภูมิใจครับ และความภูมิใจอีกอย่าง คือโชคดีที่ได้มาออกแบบสะพาน เพราะผมมั่นใจว่าเกือบทุกจังหวัดในประเทศ มีสะพานที่เราได้มีส่วนในการส�ำรวจออกแบบให้พี่น้อง ประชาชนได้ใช้สัญจร อีกทั้งได้ท�ำแบบมาตรฐานของกรม ที่ได้ตั้งทีมกับน้อง ๆ เริ่มตั้งแต่เรื่องดินเรื่องเสาเข็มจนถึงราวสะพาน โดยทีมงาน เราด�ำเนินการเองทุกขั้นตอน โชคดีที่ได้น้องทีมงานที่เก่งกันมาก ๆ
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
22
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ถัดมาก็เป็นงานขนาดใหญ่ อย่างเช่นสะพานข้ามทางเดินช้าง จ.ระยอง ที่โครงสร้าง เป็ น สะพานเหล็ ก ซึ่ ง เราไม่ ไ ด้ เ คยออกแบบสะพานประเภทนี้ ม าก่ อ นโชคดี ที่ เ รามี Connection กับสมาคมเหล็กเขาก็ชว่ ยไกด์ไลน์ให้โดยมีทา่ นผูบ้ ริหารก็ได้ให้ค�ำแนะต่าง ๆ จนท�ำให้งานออกมาส�ำเร็จ ก็รสู้ กึ ภูมใิ จเพราะทีมงานเราท�ำเองทุกอย่างจริง ๆ งานทุกอย่าง เราท�ำเองได้ครับ แม้งานที่ท�ำเองมักจะเหนื่อย และมีปัญหา แต่เราก็สามารถแบกรับ ความเสี่ยงนั้นได้ การบริหารคน 2 GEN ที่แตกต่างกัน รุ่นเก่าเราต้องเคารพและให้เกียรติ ส่วนมาก กิจกรรมนอกเวลางานท�ำให้เราสนิทกัน (555) รุน่ พีท่ กี่ รมทางหลวงชนบททุกท่านใจดีครับ เลยไม่มปี ญ ั หากับคนทีอ่ ายุเยอะกว่า ส่วนผูบ้ ริหารทีเ่ ป็นรุน่ พีก่ ไ็ ม่เคยมีปญ ั หาเลยไม่ได้พดู เอาใจนะครับเพราะว่าผูบ้ ริหารเราเข้าถึงง่ายท�ำให้รสู้ กึ เป็นเหมือนพีส่ อนน้องมากกว่าไม่ได้ ท�ำตัวเป็นเจ้านาย ส่วนน้องรุ่นใหม่ ด้วยการที่เขาเรียนรู้มาอีกแบบจากเรา เราก็ต้องปรับ ตัวเข้าหาเขาบ้างต้องรับฟังเขาเยอะ ๆ และบางส่วนก็ให้เขาเรียนรู้จากเรา บุคคลต้นแบบคือหัวหน้าเราทุกท่านเป็นต้นแบบได้หมดในแต่ละมุมมองนะครับ แต่ละคนมีข้อดีที่แตกต่างกันอยู่ที่เราเรียนรู้ครับ ผมถือว่าโชคดีที่ผ่านมาเจอกับหัวหน้า ทุกท่าน รวมถึงท่านผูบ้ ริหารหลาย ๆ ท่าน อย่างปัจจุบนั ผมได้น�ำหลักการบริหารจากท่าน อธิบดีอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย มาเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน และเป็นแบบอย่างให้หลาย ๆ เรื่องไม่ใช่แค่ระดับผู้บริหารนะครับ น้อง ๆ ที่เข้ามาใหม่ก็เป็นต้นแบบให้เราได้ด้วย ว่าเขามีความกระตือรือร้นมีความอดทน คือเราไม่ได้มองเห็นแค่ข้างบนมองไปข้างล่างก็ เป็นแรงบันดาลใจให้เราได้ ฝากถึงรุน่ น้องนะครับเวลาผ่านไปเร็วมากพีบ่ รรจุมา 20 ปีกร็ สู้ กึ เหมือนกับแป๊บเดียว อยากท�ำอะไรให้รบี ท�ำนะครับ รีบท�ำสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ รีบเรียนรู้ ทีผ่ า่ นมามีหลายอย่าง ที่ผมมองไปแล้วเสียดาย ว่าตอนนั้นเราน่าจะท�ำให้มันดี แต่ว่าเราก็ไม่รู้สึกเสียใจเพราะว่า เราบอกกับตัวเองจะไม่ท�ำอย่างนั้นอีก เมื่อมีโอกาสจะท�ำให้มันดีให้มันถูก แนะน�ำด้วยว่า อย่าท�ำคนเดียวให้ปรึกษาคนอื่นด้วย ก็กลับไปอันเดิมที่บอกว่าความส�ำเร็จมันคือความ ส�ำเร็จร่วมกันไม่ใช่ว่าเป็นความส�ำเร็จของใครคนเดียว ไม่ต้องคิดว่าท�ำงานนี้เสร็จแล้วเรา Happy ต้องดูเพื่อนร่วมงานด้วยว่าเขา Happy กับงานที่เราท�ำด้วยหรือเปล่า ถ้าเรามี ความสุขกับคนรอบข้าง มีความสุขกับเพื่อนร่วมงานเราจะอยากมาท�ำงาน มันจะท�ำงาน สนุก นีค้ อื Keyword เมือ่ มีความสุขต้องมีสขุ ด้วยกัน เมือ่ มีความทุกข์ตอ้ งร่วมกันแก้ปญ ั หา ไม่มีงานไหนที่มีความสุขตลอดมันจะต้องมีความทุกข์มีปัญหา หากเราช่วยกันความทุกข์ เหล่านั้นจะกลายเป็นความสุขท�ำให้มีไฟมีแรงที่จะท�ำงาน ก็ที่บอกว่า 20 ปีเหมือนแป๊บ เดียวเพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาพี่มีความสุขตลอด และหวังว่าในอนาคตอยากจะมีความ รู้สึกแบบว่าไม่อยากเกษียณครับ (555)
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
23
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท เตรียมความพร้อมป้ องกันอุทกภัยในช่วง ฤดูฝน อำ�นวยความสะดวกปลอดภัยด้านการเดินทางให้ประชาชน
เนือ่ งจากในช่วงนีป้ ระเทศไทยก�ำลังจะเข้าสูฤ่ ดูฝน บริเวณ ความกดอากาศสู ง หรื อ มวลอากาศเย็ น จากประเทศจี น ที่ พัดเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของ ประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก�ำลังปานกลาง พัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ส่งผลให้มี ฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ กรมทางหลวง ชนบท (ทช.) จึงได้มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและ รับมือกับสถานการณ์อทุ กภัยทีอ่ าจเกิดขึน้ บนสายทางในโครงข่าย โดยมอบหมายให้แขวงทางหลวงชนบทตากลงพื้นที่สายทาง ที่ รั บ ผิ ด ชอบบริ เ วณทางหลวงชนบทสาย ตก.4051 และ ตก.4017 เพือ่ ท�ำความสะอาดโครงสร้างระบายนำ�้ ก�ำจัดวัชพืช และดินโคลนที่อาจกีดขวางทางน�้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
24
นอกจากนี้ ยังได้จดั เจ้าหน้าทีเ่ ข้าให้ความช่วยเหลือด้านการเดิน ทางให้กบั ประชาชนในเบือ้ งต้น โดยการเปิดช่องระบายน�ำ้ และ ก�ำจัดกิ่งไม้บริเวณถนนทางหลวงชนบทสาย ตก.017 สะพาน ข้ามคลองห้วยทราย ต�ำบลหนองบัวใต้ อ�ำเภอเมือง จังหวัดตาก หลังจากมีฝนตกหนักต่อเนื่องจนเกิดน�้ำท่วมฉับพลันและน�้ำป่า ไหลหลากจากอิทธิพลของพายุฝนฟ้าคะนอง อย่างไรก็ตาม ทช.ได้มอบหมายให้ทั้งส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยในทุกพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมในการอ�ำนวยความสะดวกปลอดภัย ด้านการเดินทาง และขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังใน การสัญจรผ่านพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง หากเกิดเหตุบริเวณสาย ทางสามารถแจ้งเหตุได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กฎหมาย
น ารู
การตกทอดมรดก
ของพระภิกษุ
กฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้ แยกเป็น 2 กรณี 1. ได้ทรัพย์มาก่อนบวช กฎหมายบัญญัติคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินไว้ว่า ทรัพย์สินใดของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาได้ตกเป็นของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจ�ำหน่ายโดย ประการใดตามกฎหมายก็ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1624) เช่น นาย ก ก่อนบวชมีภรรยาแล้ว มีบตุ รหนึง่ คน มีฐานะร�่ำรวยมีทรัพย์สินอยู่ 50 ล้าน ภายหลังสึกออกมาทรัพย์สินทั้งหมดยังคงเป็นสิทธิของนาย ก อยู่ เพราะกฎหมายคุ้มครอง ทรัพย์สินทั้งหมดที่นาย ก มีอยู่ก่อนบวชเรียน ทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นสมบัติของวัด 2. ได้ทรัพย์มาระหว่างอยูใ่ นสมณเพศ กฎหมายบัญญัตเิ รือ่ งนีไ้ ว้วา่ “ทรัพย์สนิ ของพระภิกษุทไี่ ด้มาในระหว่างเวลาทีอ่ ยูใ่ น สมณเพศนัน้ เมือ่ พระภิกษุนนั้ ถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัตขิ องวัดทีเ่ ป็นภูมลิ �ำเนาของพระภิกษุนนั้ เว้นแต่พระภิกษุนนั้ จะได้ จ�ำหน่ายไปในระหว่างมีชวี ติ หรือโดยพินยั กรรม” (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623) และศาลฎีกาเคยพิพากษาว่า ทีด่ นิ พิพาทพระภิกษุ ได้มาในระหว่างเวลาทีอ่ ยูใ่ นสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิข์ องพระภิกษุแล้วในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็น ของวัดทีพ่ ระภิกษุนนั้ สังกัดอยู่ (ฎ.1816/2542) ดังนัน้ เมือ่ พระรูปใดมรณภาพ และมิได้จ�ำหน่ายหรือท�ำพินยั กรรมไว้เป็นอย่างอืน่ ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินนั้น จึงตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิล�ำเนาของพระรูปนั้นนั่นเอง
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
25
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
26
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ถนน มโนราห์
เป็นถนนสายหลักอีกหนึ่งสายของจังหวัดพัทลุง เป็นการรองรับการเจริญ เติบโตของเมือง และเป็นเส้นทางที่ลดความแออัดของถนนสายหลักอีกด้วย การ ถ่ายภาพมุมสูงของถนน ท�ำให้เห็นมุมมองที่แปลกใหม่ ทัศนียภาพที่สวยงาม องค์ประกอบทีห่ ลากหลาย ไม่วา่ จะเป็นถนน บ้านเรือน สีเขียวของธรรมชาติ บวกกับ ท้องฟ้าทีส่ ดใส เรียกได้วา่ เป็นภาพวิวมุมกว้างแบบ 180 องศา ทุกองค์ประกอบรวมกัน ท�ำให้ภาพนี้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วย
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
27
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
นายพงศธร โง้วกาญจนนาค วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สังกัดกลุ่มติดตามและประเมินผล ส�ำนักอ�ำนวยความปลอดภัย
ทุกชีวิตบนท้องถนนมีค่า ผมจึงทุ่มเทให้กับทุกรายละเอียดในการทำ�งาน เพื่ อให้ประชาชนเดินทางบนถนนทางหลวงชนบทให้ถึงที่หมายอย่าง ปลอดภัย เปิ ดใจวิศวกรหนุ่มเลือดใหม่ “พงศธร โง้วกาญจนนาค” นักเรียนทุน UIS จาก University of Leeds ประเทศอังกฤษ คอลัมน์ Spotlight ครั้งที่ 4 ของกรมทางหลวงชนบท แน่นอนว่าเราได้คัดสรรอีกหนึ่งความภูมิใจของกรมทางหลวง ชนบท ที่รับรองว่านอกจากจะโปรไฟล์แน่น ๆ แล้ว ยังเป็น วิศวกรหนุ่มที่มีวิสัยทัศน์ในการท�ำงานที่โดดเด่น ซึ่งในรอบนี้ เราจะพามาท�ำความรูจ้ กั กับ นายพงศธร โง้วกาญจนนาค (บาส) วิศวกรโยธาปฏิบัติการ วัย 27 สังกัดกลุ่มติดตามและประเมิน ผล ส�ำนักอ�ำนวยความปลอดภัย ดีกรีปริญญาตรีวิศวกรรม โยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็น นักเรียนทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงฯ (UIS) ในระดับ ปริญญาโท Degree of Master of Science (Engineering) สาขา Transport Planning and Engineering จาก University of Leeds ประเทศอังกฤษ บาส ได้แชร์เรื่องราวที่เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็น วิศวกรให้ทางทีมงานฟังว่า “ด้วยความที่เติบโตมากับคุณพ่อ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
28
ที่เป็นวิศวกรไฟฟ้าและคุณแม่ที่รับราชการเป็นนางพยาบาล เลยท�ำให้ผมคุน้ ชินกับทัง้ สองแวดวงนี้ อย่างงานช่างก็ซมึ ซับ ช่วยคุณพ่อเดินสายไฟมาตั้งแต่เด็ก พอสมัยเรียนมัธยมก็ ถนัดคณิตศาสตร์ เมื่อเรียนมาถึง ม.6 ระบบก็ให้เราเลือกว่า จะเรียนภาควิชาอะไร คณะอะไร สาขาอะไร จนในที่สุดก็มา ตกผลึกได้ว่าการเป็นวิศวกรน่าจะเหมาะกับเรามากที่สุด” จากนั้นด้วยจังหวะชีวิตขณะที่ศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ที่จุฬาฯ ก็ได้สอบชิงทุน UIS ซึ่งในตอนนั้นก็มีหน่วยงานที่ให้ เราเลือกบรรจุเข้ารับราชการหลายหน่วย แต่กไ็ ด้ตดั สินใจเลือก บรรจุที่กรมทางหลวงชนบท สังกัดกระทรวงคมนาคม เพราะ โดยส่วนตัวรู้สึกภูมิใจที่ได้เลือกมาอยู่กรมนี้ มองว่าเป็นหน่วย งานที่เกิดขึ้นมาไม่นาน ถึงวันนี้กรมก็ได้ก่อตั้งมาราว ๆ 20 ปี แต่ผมรู้สึกภูมิใจมาก เหมือนว่าเป็นกรมน้องใหม่ของกระทรวง คมนาคมแต่ได้ดูแลรับผิดชอบงานระดับประเทศขนาดใหญ่ “ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
จ�ำนวนมากและท�ำได้ดีด้วย ทั้งที่จ�ำนวนบุคลากรไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับหน่วย งานอื่น ผมเข้ารับราชการเมื่อเดือนธันวาคม 2560 ได้ท�ำงานที่ส�ำนักตรวจสอบ ความปลอดภัยงานทาง ดูแลรับผิดชอบเรื่องการวิเคราะห์ความปลอดภัยเป็นหลัก ตอนนั้นเป็นจังหวะที่ดี เป็นความโชคดีของผมที่ได้เจอผู้บังคับบัญชาและรุ่นพี่ที่ดี อย่าง ดร.ชาครีย์ บ�ำรุงวงศ์ (ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก ส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงคมนาคม) ซึ่งเป็นผู้อ�ำนวยการส�ำนักฯ ในขณะนั้น รวมทั้ง ดร.ไกวัล วัฒนา (ผอ.แขวงทางหลวงชนบทนครนายก) และนายวุฒชิ ยั ธรรมวงศ์ชยั (ผอ.แขวง ทางหลวงชนบทลพบุรี) เป็นรุ่นพี่ที่ทันสมัย เข้าใจเด็กรุ่นใหม่ ทั้ง 3 ท่านให้ความรู้ ให้การดูแลเราเป็นอย่างดี อย่างบางทีอาจจะมีบางครั้งที่ท�ำงานเครียดมากเกินไป พวกพี่ ๆ เขาก็จะคอยให้ก�ำลังใจเรา รวมถึงได้มีการเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่าเคย เจอประเด็นแบบไหนมาบ้าง ควรระวังหรือแก้ไขยังไง ทั้งเรื่องกฎหมาย การควบคุม งาน การก่อสร้าง มีอะไรก็แชร์ก็แบ่งปันกัน มันไม่เพียงแต่การดูแลเท่านั้น มันท�ำให้ เรารู้สึกได้ว่าเป็นการสอนและส่งต่อความเป็นมืออาชีพจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ปัจจุบันผมได้มาท�ำงานอยู่ในสังกัดกลุ่มติดตามและประเมินผล ส�ำนักอ�ำนวย ความปลอดภัย ซึ่งหลัก ๆ ผมจะดูแลเรื่องข้อมูลอุบัติเหตุเป็นหลัก และในขณะนี้ ผมได้ร่วมดูแลงานส�ำคัญกับ ผอ.ของผม (นายพรหมชาติ เชื้อทอง) คือ โครงการติด ตั้งก�ำแพงคอนกรีตบนถนนราชพฤกษ์กับถนนนครอินทร์รองรับการปรับความเร็ว จ�ำกัดไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นหนึ่งในโครงการส�ำคัญตามนโยบายของ กระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นับเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ ท้าทายและเป็นประสบการณ์ที่ดีอีกหนึ่งชิ้นงานของผม ในการร่วมเป็นส่วนส�ำคัญ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นตาม เป้าหมายขององค์กร ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาชีพวิศวกรเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน บาสได้กล่าวทิ้ง ท้ายถึงถึงอาชีพของตัวเองให้ฟังว่า “ถ้าให้ผมพูดถึงการเป็นวิศวกรจริง ๆ แล้ว ทุกอาชีพจะมีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตัวเอง ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ การงาน ยิ่งเป็นงานวิศวกรรม ไม่ว่าจะออกแบบหรือสร้างถนน เราต้องค�ำนึงถึง ความปลอดภัย มันเป็นการแสดงความใส่ใจและให้ความส�ำคัญของทุกชีวติ ทีเ่ ดิน ทางบนท้องถนนอย่างเท่าเทียม ผมจึงมุ่งมั่นตั้งใจใส่ใจทุกรายละเอียดของงาน นอกจากมันจะท�ำให้มคี วามผิดพลาดน้อยทีส่ ดุ แล้ว ผลลัพธ์ทไี่ ด้ตามมามันก็ท�ำให้ ผมภูมใิ จทุกครัง้ ทีไ่ ด้ทมุ่ เทไปกับงานตรงนัน้ เพือ่ ประชาชน นอกจากนีใ้ นอนาคตที่ ผมวางแผนไว้คอื การท�ำงานอยูท่ สี่ ว่ นกลางเป็นหลัก เพือ่ ให้เข้าใจงานเชิงนโยบาย และเชิงวิชาการให้มากที่สุด เพราะมองว่าจะส่งผลต่อภาพรวมของหน่วยปฏิบัติ ทั้งหมดในส่วนภูมิภาค และเมื่อถึงวาระที่เหมาะสมจะได้ไปปฏิบัติงานต่อยอดใน ส่วนภูมภิ าคอย่างเต็มความสามารถ เพือ่ ให้ทกุ การเดินทางของประชาชนเป็นไป ด้วยความสะดวกรวดเร็วถึงที่หมายอย่างปลอดภัยต่อไป” วารสาร กรมทางหลวงชนบท
29
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
30
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
นายวิชิต บุญนายก ต�ำแหน่ง นายช่างโยธาช�ำนาญงาน สังกัดส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) “แม้บางครั้งงานที่ทำ�อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ ด้วยเงื่อนไขของเวลาหรือ ภาระต้องรับผิดชอบหลายอย่าง แต่เราก็สามารถกลับมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่ ม เติมให้มันถูกต้องได้เหมือนกันโดยการไม่ปล่อยผ่านไป ถึงแม้ว่ามันจะเสีย เวลาสักหน่อยแต่ก็สบายใจได้ว่ามันถูกต้องและปลอดภัย”
สวัสดีครับผม นายวิชิต บุญนายก ต�ำแหน่งนายช่างโยธา ช�ำนาญงาน สังกัดส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) กรมทางหลวงชนบท เริ่มรับราชการ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540 ต�ำแหน่งนายช่างโยธา 2 กองสาธารณสถานและทางหลวงท้องถิ่น กรมโยธาธิการ เดือนตุลาคม 2545 โอนไปสังกัดกรมทางหลวงชนบท ระยะเวลาปฏิบัติงาน 25 ปี เริ่ ม ต้ น เข้ า ท�ำงานที่ ก องสาธารณะและทางหลวงท้ อ งถิ่ น ที่ 2 กรมโยธาธิการ ต�ำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน และได้รับ มอบหมายให้เป็นผู้ช่วยควบคุมงานถนนลาดยางครั้งแรกออกไป ปฏิบัติติหน้าที่ประจ�ำจังหวัดบุรีรัมย์ สมัยก่อนโทรศัพท์เคลื่อนที่ยัง มีไม่แพร่หลาย ดังนั้นการติดต่อสื่อสารการประสานงานค่อนข้าง ล�ำบาก จ�ำเป็นต้องศึกษางานที่รับผิดชอบจากหนังสือและหน้างาน จริง ๆ ปฏิบัติงานอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นเวลา 2 ปี และได้มีโอกาส สอบบรรจุเป็นข้าราชการ ในต�ำแหน่ง นายช่างโยธา 2 สังกัดกรม โยธาธิการ ก่อนย้ายไปปฏิบัติงานจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเวลาอีก 2 ปี และได้ย้ายกลับมาปฏิบัติติงานที่ส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) ปัจจุบัน อยู่กลุ่มวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ท�ำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมงาน โดยส่วนมากจะเป็นงานก่อสร้างถนน และงานก่อสร้างสะพานเป็นหลัก ซึ่งงานก่อสร้างทั้งสองประเภท ก่อนหรือระหว่างด�ำเนินการจะเจอปัญหาอุปสรรคที่แตกต่างกัน ปัญหาหลัก ๆ เรื่องเขตทางหรือการรุกล�้ำเข้ามาในเขตทาง หรือ การขออนุญาตหน่วยงานภายนอก เช่นการย้ายเสาไฟฟ้า ประปา ซึ่งแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานมีความส�ำคัญสามารถแก้ไข ปัญหาอุปสรรคได้มากที่สุด คือ การประชุมการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชน สามารถเข้าถึงชาวบ้านในพื้นที่ได้สรุปชี้แจงปัญหา วารสาร กรมทางหลวงชนบท
อุปสรรค ข้อเท็จจริง ตลอดจนได้รบั ความยินยอมให้สามารถก่อสร้าง ได้ตามแบบรูปและผูน้ �ำชุมชนเป็นส่วนหนึง่ ทีส่ ามารถช่วยประสานให้ งานประสบความส�ำเร็จตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาเริม่ ต้นการก่อสร้างและการก่อสร้างแล้วเสร็จ มีความประทับใจจากการให้ความร่วมมือ ร่วมใจ การช่วยเหลือจาก ประชาชน ผูน้ �ำชุมชนในพืน้ ที่ ทีม่ คี วามเสียสละอุทศิ ทีด่ นิ และการรือ้ ย้ายอาคารทีพ่ กั อาศัย ให้กบั โครงการซึง่ สามารถก่อสร้างให้เป็นตาม รูปแบบ ถนนมีความสวยงาม ประชาชนเกิดความปลอดภัยในการ ขับขี่ ซึง่ ผูร้ บั ผิดชอบกรมทางหลวงชนบท มีหน้าทีด่ �ำเนินการก่อสร้าง ให้เป็นตามรูปแบบถนนมีความสวยงาม ในส่วนของประชาชนก็ได้ รับความสะดวกในการสัญจรและเกิดความปลอดภัยในการขับขีบ่ น ถนนกรมทางหลวงชนบท แบบอย่างในการท�ำงานในที่นี้ คิดว่าผู้น�ำองค์กรที่เราท�ำงาน อยู่มีความส�ำคัญต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งจะมีแนวคิดมีแนวทางการ แก้ไขปัญหา มีทักษะและความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะสนับสนุน การปฏิบัติงาน เปิดโอกาสในการท�ำงานและที่ส�ำคัญความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น คือคุณสมบัติที่ท�ำให้สามารถปฏิบัติเป็นแนวทางในการ ท�ำงานในปัจจุบัน อยากจะฝากถึงน้อง ๆ ทุกวันนี้การปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิด ชอบ จ�ำเป็นอย่างยิ่งจะต้องศึกษา ให้มีความแม่นย�ำในทุกมิติ ซึ่ง หากมีความบกพร่อง เพียงด้านใดด้านหนึ่ง มากหรือน้อย ย่อมส่ง ผลกระทบกับหน้าที่การงานของเราทั้งสิ้น ดังนั้นการปฏิบัติงานให้ มีความถูกต้อง เป็นตามข้อก�ำหนด จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า เรานั้น ท�ำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดแล้ว
31
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”