ปีที่ 19 ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 - มีนาคม 2565
ทช. ขอคุย Editor’s Talk
แม้อากาศจะร้อน ทั้งยังมีพายุฝนอีก แต่วารสารกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ฉบับประจ�ำเดือน กุมภาพันธ์ 2565 ถึง มีนาคม 2565 ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายในทุกคอลัมน์ครับ เพราะถือได้ ว่ามีฤกษ์งามยามดีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม วางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานข้าม ทะเลสาบสงขลา และโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ และอัพเดทโครงการก่อสร้างที่ส�ำคัญของ ทช. มาบอกเล่ากันเช่นเคยครับ และคอลัมน์ที่น่าสนใจ อาทิ ข้อคิดและความรู้ดีดีที่ได้จากคอลัมน์คุยตามมุม สถานที่ท่องเที่ยวสุด ประทับใจกับสายทางทีเ่ ดินทางไปท่องเทีย่ วได้อย่างสะดวกสบายในคอลัมน์ travel on Rural Roads หรือ ภาพเรือ่ งราวสุดประทับใจในคอลัมน์รมิ ทางชนบท ซึง่ ตัวอย่างเหล่านีเ้ ป็นเพียงส่วนหนึง่ ในความรู้ สาระและ ความบันเทิงทีห่ ลากหลายในฉบับนีเ้ ท่านัน้ ครับ หากอยากรูร้ ายละเอียดเรือ่ งราวดีดอี ย่างทีเ่ กริน่ มาแล้วล่ะ ก็ ไปติดตามกันเลยครับ...
OF Contents DEPARTMENTRURAL ROADS สารบัญ
กองบรรณาธิการ ผู้อำ�นวยการสำ�นักบริหารกลาง สำ�นักส่วนกลาง สำ�นักงานทางหลวงชนบท แขวงทางหลวงชนบท หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบท กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
จัดทำ�โดย สำ�นักบริหารกลาง กรมทางหลวงชนบท เลขที่ 9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 โทรศัพท์ 0 2551 5202 www.drr.go.th
3 4-5 6-7 8-9 10 - 13 14 - 15 16 - 19 20 - 21 22 - 23 24 25 26 27 28 - 29 30 31
ทช. รวมใจภักดิ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒ เมษายน ๒๕๖๕
ทช. โฟกัส กรมทางหลวงชนบท เปิดใช้ “สะพานรัตนมรรคา” เข้าศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี ทช. อัพเดท กรมทางหลวงชนบท (ทช.) รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบท สาย สป.1011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 – เทพารักษ์ อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
DRR. Future กรมทางหลวงชนบท สำ�รวจออกแบบพัฒนาเส้นทาง สาย บก.4011 จ.บึงกาฬ ระยะทางกว่า 17 กิโลเมตร
Travel on Rural Roads โครงการหลวงขุนแปะ กับ ทุ่งดอกไฮเดรนเยีย บานสะพรั่ง สุดอลังการ กิจกรรมผู้บริหาร สร้าง ซ่อม ส่งเสริม บ้านเลขที่ 9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม วางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่
คุยตามมุม นายธันว์ สินธวาลัย ผู้อำ�นวยการแขวงทางหลวงชนบทเลย ทช. เพื่อประชาชน กรมทางหลวงชนบท ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ มอบถุงยังชีพบรรเทาความ เดือดร้อนให้ประชาชนใน จ.ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส
กฎหมายน่ารู้ รถบรรทุกสิ่งของ
Safety รู้หรือไม่ เสาคอนกรีตทาสีดำ�สลับขาวข้างถนน มีไว้ทำ�ไม? มองผ่านเลนส์
ว้าว!! จุด check in แห่งใหม่ ของ จ.กระบี่ และจ.พัทลุง
Spotlight “การทำ�งานเพื่อประชาชนคือความสุข” นิยามการทำ�งานของวิศวกรหนุ่มวัย 27 ริมทางชนบท กรมทางหลวงชนบท จับมือกับ JICA Expert Team เพื่อพัฒนาศักยภาพและวิธีการดำ�เนินงาน ของหน่วยงานด้านความปลอดภัยการจราจรบนท้องถนน
เรื่องเล่าจากนายช่าง นางดวงมาลย์ เกตุทิพย์ ตำ�แหน่ง นายช่างโยธาชำ�นาญงาน
1011
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
3
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท เปิ ดใช้ “สะพานรัตนมรรคา” เข้าศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี
เพิ่ มคุณภาพชีวิตที่ดี อำ�นวยความสะดวกรวดเร็วให้กับประชาชน
รองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ด�ำเนิ น โครงการก่ อ สร้ า งสะพาน คอนกรีตเสริมเหล็กเข้าศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี อ�ำเภอเมือง จังหวัด สระบุรี หรือ สะพานรัตนมรรคา เสร็จสมบูรณ์ ส่งเสริมการคมนาคม ให้มปี ระสิทธิภาพ รองรับการขยายตัวของเมือง พัฒนาสาธารณูปโภค ขัน้ พืน้ ฐาน เพิม่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ใี ห้กบั ประชาชน ตามนโยบายของนายศักดิ์ สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เดิมประชาชนทีต่ อ้ งการเดินทางจากฝัง่ ต�ำบลปากเพรียว อ�ำเภอเมือง (ถนนมิตรภาพ) เพือ่ เข้าไปยังศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี จะต้องเดินทางอ้อม อ่างเก็บนำ�้ คลองเพรียวเป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร ประกอบกับ หากประชาชนที่ต้องการเดินทางไปยังศูนย์ราชการจะมีเส้นทางเข้าออก เพียงเส้นทางเดียว คือ บริเวณซอยแยกจากถนนสายตะกุด – ทางเลี่ยง เมืองสระบุรี ซึ่งท�ำให้การสัญจรเกิดความไม่สะดวก ส่งผลให้การเดิน ทางล่าช้า ทช.จึงได้ด�ำเนินการก่อสร้างสะพานรัตนมรรคา (สะพาน คอนกรีตเสริมเหล็กเข้าศูนย์ราชการจังหวัดสระบุร)ี เพือ่ บรรเทาความเดือด ร้อนของประชาชน ร่นระยะทางให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว วารสาร กรมทางหลวงชนบท
4
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ปลอดภัย อีกทัง้ ยังเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรทีห่ นาแน่นในเขตชุมชน เนือ่ งจากเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางทีเ่ ชือ่ มถนนมิตรภาพและ เป็นเส้นทางที่สามารถต่อเชื่อมไปยังจังหวัดลพบุรีและจังหวัดนครราชสีมาได้อีกทางหนึ่ง โดยสะพานรัตนมรรคา มีลักษณะการก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาวสะพาน 670 เมตร สะพานมีความกว้าง 20.60 เมตร ทางเท้ากว้าง 2 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมสะพานความยาวรวม 485 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ใช้งบประมาณใน การก่อสร้างทั้งสิ้น 274 ล้านบาท เป็นงบผูกพันปี 2562 – 2565 ซึ่งปัจจุบันสะพานดังกล่าวได้ด�ำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์และ เปิดให้ประชาชนได้ใช้สัญจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
5
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) รายงานความคืบหน้า
โครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบท สายสป.1011 แยกทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3 – เทพารักษ์ อ�ำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 76 ขณะนี้อยู่ระหว่างการด�ำเนินงานแผ่นพื้ นคอนกรีตเสริมเหล็ก รองรับโครงสร้างทาง งานชั้นโครงสร้างทางและงานผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก
จากนโยบายของนายศักดิส์ ยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงคมนาคม ทีไ่ ด้ให้ความส�ำคัญในเรือ่ งการแก้ไขปัญหาจราจร ทีห่ นาแน่น รองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต ส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่ง การท่องเทีย่ วในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัด ใกล้เคียง สนับสนุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor ; EEC) ทช.จึงได้ด�ำเนินโครงการ ก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย สป.1011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 – เทพารักษ์ อ�ำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยการขยายถนนจากเดิม 2 ช่องจราจร เป็นถนน 4 ช่องจราจร ก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จาก กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 2+200 และกม.ที่ 2+900 ถึง กม.ที่ 3+875 ระยะทาง 3.175 กิโลเมตร และช่วงบริเวณหน้าสถาบันการแพทย์ จักรีนฤบดินทร์ ก่อสร้างเป็น 6 ช่องจราจร จาก กม.ที่ 2+200 ถึง กม.ที่ 2+900 ระยะทาง 0.700 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 3.875 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 แห่ง และระบบระบายน�้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายจราจร สิ่งอ�ำนวยความปลอดภัย รวมถึงได้มีการตอกเสาเข็มปูพรมเต็มพื้นที่พร้อมแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กก่อนก่อสร้างโครงสร้าง คันทาง เพื่อป้องกันการทรุดตัวบนพื้นที่ดินอ่อนอีกด้วย ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 590 ล้านบาท วารสาร กรมทางหลวงชนบท
6
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
เมือ่ ก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยให้การคมนาคมในพืน้ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ ประชาชนทีต่ อ้ งการเดินทางไปยังสถานทีแ่ ละ หน่วยงานราชการส�ำคัญต่าง ๆ เช่น โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชด�ำริ, ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและพยากรณ์ อากาศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ, สถาบันการแพทย์จกั รีนฤบดินทร์ ฯลฯ และจังหวัดใกล้เคียง สามารถเดินทาง ได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัย ประหยัดเวลา/ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่าง เป็นรูปธรรม วารสาร กรมทางหลวงชนบท
7
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
D R R.
u r e F u t
กรมทางหลวงชนบท สำ�รวจออกแบบพั ฒนาเส้นทาง สาย บก.4011 จ.บึงกาฬ ระยะทางกว่า 17 กิโลเมตร
สนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ยกระดับมาตรฐานความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง ตามนโยบายของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ด�ำเนินโครงการส�ำรวจออกแบบและปรับปรุงภูมทิ ศั น์ พร้อมจัดท�ำรายงานประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อม ถนนทางหลวงชนบทสาย บก.4011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2026 – บ้านต้อง อ�ำเภอบึงโขงหลง, เซกา จังหวัด บึงกาฬ เพือ่ พัฒนาโครงข่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเทีย่ วภายในจังหวัด และภูมภิ าค ยกระดับมาตรฐานเส้นทางการคมนาคม ขนส่งให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการ พัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่มิติใหม่ของการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทช.ได้ด�ำเนินโครงการส�ำรวจ ออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนทางหลวงชนบทสาย บก.3009 อ�ำเภอเมือง, เซกา, บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นเส้น ทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญของจังหวัดบึงกาฬ อาทิ ภูทอก น�้ำตกเจ็ดสี และหาดค�ำสมบูรณ์ แต่เนื่องจากปัจจุบันการจราจรมี ปริมาณทีเ่ พิม่ มากขึน้ จากการท่องเทีย่ วและการคมนาคมขนส่งผลผลิตทางการเกษตรบริเวณบึงโขงหลง จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องพัฒนา โครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรองรับการเดินทางในอนาคต ดังนั้น ทช.จึงด�ำเนินโครงการส�ำรวจออกแบบและปรับปรุง ภูมิทัศน์ถนนทางหลวงชนบทสาย บก.4011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2026 – บ้านต้อง อ�ำเภอบึงโขงหลง, อ�ำเภอเซกา วารสาร กรมทางหลวงชนบท
8
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
D R R.
u r e F u t
จังหวัดบึงกาฬ เพือ่ เชือ่ มโยงโครงข่ายเส้นทางการท่องเทีย่ วให้สมบูรณ์มากยิง่ ขึน้ สนับสนุนการคมนาคมขนส่งของประชาชนรอบ บึงโขงหลงให้มีความสะดวกปลอดภัย ตลอดจนสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้าการลงทุน น�ำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง โครงการส�ำรวจออกแบบถนนทางหลวงชนบทสาย บก.4011 แยกทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2026 – บ้านต้อง อ�ำเภอบึงโขงหลง, เซกา จังหวัดบึงกาฬ มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณจุดเชื่อมกับถนนทางหลวงแผ่น ดินหมายเลข 2026 และสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดเชื่อมกับถนนทางหลวงชนบทสาย บก.3009 (ช่วง กม.ที่ 30+240) รวมระยะ ทาง 17.688 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่การศึกษาครอบคลุม 4 ต�ำบล ในอ�ำเภอบึงโขงหลงและอ�ำเภอเซกา ได้แก่ ต�ำบลบึงโขงหลง, โพธิห์ มากแข้ง, บ้านต้อง และโสกก่าม อีกทัง้ ได้จดั ท�ำรายงานประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีถ่ นนทางหลวงชนบทสาย บก. 4011 และถนนทางหลวงชนบทสาย บก.3009 (ช่วง กม.ที่ 30+000 ถึง กม.ที่ 46+026) นอกจากนีใ้ นส่วนของการพัฒนาเส้นทาง ได้ออกแบบถนนเป็นผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 0 – 2.50 เมตร ปรับปรุงทางแยก จ�ำนวน 7 แห่ง และปรับปรุงจุดชมวิวให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวด�ำเนินการส�ำรวจออกแบบแล้วเสร็จ เตรียมพร้อมจัดท�ำแผนการด�ำเนินงานเพื่อจัดตั้งงบประมาณส�ำหรับการ ก่อสร้างในล�ำดับต่อไป วารสาร กรมทางหลวงชนบท
9
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
โครงการหลวงขุนแปะ กับ ทุ่งดอกไฮเดรนเยีย บานสะพรั่ง
สุดอลังการ
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ ตั้งอยู่ใน ต�ำบลบ้านแปะ อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2526 ตามพระราชด�ำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพือ่ ช่วยเหลือชาวเขาเผ่ากะเหรีย่ งและม้ง โดยการสร้าง อาชีพทดแทนการปลูกฝิ่นและท�ำไร่เลื่อนลอย ท�ำให้ชาวเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเริ่มแรกนั้นได้พัฒนา และส่งเสริมด้านไม้ผลเป็นอันดับแรก ต่อมาเลยได้ไปท�ำสวนผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร และพืชไร่อีกด้วย แต่ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย นั่นก็คือ ทุ่งดอกไฮเดรนเยีย ที่เป็นหนึ่งในแปลงปลูกพืชทดลองของ โครงการหลวงขุน แปะ โดยจะเริ่มบานตั้งแต่เดือนตุลาคม และบานเต็มที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เลยที เดียวค่ะ แต่แนะน�ำว่าให้โทรสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ก่อนมานะ เผื่อบางทีดอกไม้ไม่บาน หรือบานแล้วแต่เก็บ เกี่ยวไปแล้วก็เป็นไปได้ และถ้าใครที่เดินทางไปเที่ยวในช่วงหน้าฝนนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่เห็นอะไรสวย ๆ นะคะ เพราะช่วงนี้จะตรงกับ ฤดูท�ำนา ท�ำให้จะได้เห็นภาพของ นาขั้นบันไดสีเขียว ที่เรียงลดหลั่นกันตามความสูงของภูเขา และหลังจาก กลางเดือนตุลาคมไปแล้ว จนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ข้าวก็จะเริ่มออกรวงเป็นสีเหลืองทองทั่วทั้งบริเวณของ โครงการฯ เลยนะ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
10
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
นอกจากจะได้ชม วิวธรรมชาติสวย ๆ ที่แสนบริสุทธิ์นี้ไปพร้อมกับบรรยากาศเงียบสงบ ที่เหมาะแก่การมาเที่ยวพัก ผ่อนแล้วก็ยังได้ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งและชาวกะเหรี่ยงในหมู่บา้ นอีกด้วย ซึ่งวิถีชีวิตนั้นค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์ มากเลยทีเดียว ที่นี่นั้นสามารถแวะไปเที่ยวแบบวันเดียวแล้วกลับ หรือจะนอนพักค้างสักคืนเพื่อเก็บเกี่ยวบรรยากาศให้ มากที่สุดนั้นก็ท�ำได้ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
11
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ตลอดเส้นทางจากบ้านแปะ – บ้านขุนแปะ มีสถานที่ท่องเที่ยวให้ ไล่เก็บที่น่าสนใจหลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็น วัดถ�้ำตอง, นาขั้นบันไดบ้าน แปะ, เวียงหิน (ที่ประทับ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2110 สมัยขัติยกษัตรย์ตรีศรี ล้านนา พระนางวิสทุ ธิเทวี), วัดบ้านแปะราชวิสทุ ธาราม หรือ วัดหลวงบ้าน แปะ (เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี สร้างพร้อมกับเวียงหิน), จุดชมวิวดอย ผาแตก (ดอยงวงช้าง หรือ ดอยผาแดง), น�ำ้ ตกวังค�ำ, นำ�้ ตกขุนแปะ, นำ�้ ตก ตาดโจ้, น�้ำตกตาดเหมย, จุดชมวิวบนวัดพุทธศรีคีรี, นาขั้นบันไดบ้านบน นา, นาขั้นบันไดบ้านป่ากล้วย, นาขั้นบันไดบ้านขุนแปะ, โครงการหลวง ขุนแปะ, ชมวิถีชีวิตชาวบ้านแปะ + เที่ยวชมวัดบ้านแปะ ลานกางเต้นท์ ดอยขี้ค้างคาว, จุดชมวิวทะเลหมอก ดอย 360 องศา (เขา 360) และอื่น ๆ อีกมากมาย ส�ำหรับการเดินทาง หากมาจากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวง หมายเลข 108 (สายเชียงใหม่ – ฮอด) จะต้องผ่านตัวเมืองจอมทอง มุง่ หน้า ไปยัง อ.ฮอด พอถึงช่วง กม. 82-83 บริเวณสามแยกทางขึ้นไปบ้านแปะ และวัดตอง ให้เลี้ยวขวาตรงไป ผ่านบ้านแปะ บ้านทุ่งพัฒนา บ้านบนนา บ้านขุนแปะ ประมาณ 22 กม. ส่วนกรณีไม่น�ำรถขึน้ มาเองมีรถจากชุมชน รับ– ส่งจากปากทางบ้านแปะติดกับริมถนนเชียงใหม่ – ฮอด บริการพา เข้าชมทุง่ ดอกไฮเดรนเยีย 1,500บาท (ในราคาหารเฉลีย่ ควรมากันหลาย วารสาร กรมทางหลวงชนบท
12
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
คนจะคุ้มมาก ๆ ) ส่วนใครน�ำรถส่วนตัวจะขึ้นไปขุนแปะ สามารถขับขี่ขึ้นไปได้ แต่ไม่แนะน�ำรถที่โหลดเตี้ย ถนนทางไป ขุนแปะเป็นทางลาดยาง สลับกับถนนคอนกรีต ระยะทาง 22 กม. จนถึงโครงการหลวงขุนแปะ ส่วนการเข้า ไปเยี่ยมชมทุ่งดอกไฮเดรนเยีย โดยรอบของโครงการหลวงขุนแปะ นักท่องเที่ยวจะต้องขับรถไป จอดไว้บริเวณที่ท�ำการโครงการหลวงขุนแปะ หรือจอดรถภายในหมู่บ้าน และจะมีบริการรถน�ำเที่ยวชมของชาวบ้าน พาเข้าไปยังทุง่ ดอกไฮเดรนเยียอีกทอดหนึง่ เพราะเส้นทางจากโครงการหลวง ไปยังทุง่ ดอกไฮเดรนเยียต่าง ๆ นัน้ ค่อนข้าง เล็ก แคบ ทางล�ำบากมาก ๆ บางช่วงชั น ไม่เหมาะกับรถยนต์ทั่ วไป ส่วนค่าบริการรถน�ำเที่ยวคันละ 500 - 600 บาท นั่งได้ 6 - 8 ท่าน มีค่าบ�ำรุงแต่ละสวนอีกประมาณ 20 - 30 บาท/ ท่าน จุดชมวิวดอยผาแตก ดอยผางวงช้าง ริมทางขึ้นไปยังขุนแปะ เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ ที่ใคร ๆ เมื่อขับรถผ่าน ต้องแวะ ถ่ายภาพชมวิ ว โดยมีจุดชมวิวมุมสูง ซึ่งต้องเดินเท้าบริเวณศาลาด้านล่าง ขึ้นมายังจุดชมวิวประมาณ 300 เมตร ลอง แวะไปเที่ยวชมกันนะคับ มาเที่ยวเชียงใหม่ทั้งที ถ้าไม่ได้รูปสวย ๆ กลับไป ก็คงเศร้าแน่นอน เพราะฉะนั้น ต้องปักหมุดมาที่ โครงการหลวง ขุนแปะ แพลนกั นล่วงหน้าไว้เลย ดอกไม้บานเต็มที่เมื่อไหร ก็มาได้เลย ถ้าใครที่อยากมาพักที่นี่ แนะน�ำจองก่อนล่วง หน้าเลยนะ เพราะอาจจะเต็มในช่วงที่ดอกไม้บานก็ได้ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
13
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กิจกรรม ผู บร�หาร
อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ประชุมเตรียมความพร้อมพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้าง
สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา จ.พัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะลันตา จ.กระบี่ประจำ�ปี 2564 (Digital Government Awards 2021) นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อมพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพาน ข้ามทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยมีนายไกวัลย์ โรจนานุกูล นายผดุงศักดิ์ สรุจิก�ำจร วัฒนะ นายสมชาย ลีลาประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท คณะผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings ณ ห้องประชุมกองแผนงาน กรมทางหลวงชนบท ทัง้ นีอ้ ธิบดีกรมทางหลวงชนบท ได้มอบหมายผูท้ เี่ กีย่ วข้องด�ำเนินการเตรียมความพร้อมรายละเอียด ในพิธีการวางศิลาฤกษ์ สถานที่ในการจัดงาน และล�ำดับขั้นตอนพิธี เพื่อเตรียมและน�ำเสนอความคืบหน้าในการประชุมในครั้งถัดไป
รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ประชุมติดตามโครงการก่อสร้างถนนสาย
แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3097 (ทล.375) – ศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม จ.นครปฐม นายผดุงศักดิ์ สรุจิกําจรวัฒนะ รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ประชุมติดตามโครงการก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3097 (ทล.375) – ศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อรับฟังความคืบหน้างานเวนคืนที่ดิน ความคืบหน้างานสาธารณูปโภค และ รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้าง ปัจจุบนั การก่อสร้างมีความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 74.025 โดยมีนายประสิทธิ์ เลีย้ งรักษา วิศวกรโยธาปฏิบตั ิ การ ส�ำนักก่อสร้างทาง รายงานผลการด�ำเนินงาน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเพิ่มประสิทธิภาพในการสัญจรไปมายังศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐมและ เป็น การแบ่งเบาการจราจรและขนส่ง ตลอดจนเป็นการขยายโครงข่ายระบบคมนาคมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไป ยังศูนย์ราชการฯ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัย วารสาร กรมทางหลวงชนบท
14
กิจกรรม ผู บร�หาร
รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท
ลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบท สาย ชพ.4019 แยก ทล. 4002 นายไกวัลย์ โรจนานุกลู รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบทลงพืน้ ทีต่ ดิ ตามโครงการก่อสร้างถนนทางหลวง ชนบทสาย ชพ.4019 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม.ที่ 13+100) – บ้านแหลมสันติ อ�ำเภอ หลังสวน, ละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง 19.891 กิโลเมตร เพือ่ ติดตามความก้าวหน้า พร้อมรับฟังความคิด เห็นข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อย ละ 82.66 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 โดยมีนายสมเกียรติ ตระกูลฮุน ผูอ้ �ำนวยการ แขวงทางหลวงชนบทชุมพร น�ำลงพืน้ ทีพ่ ร้อมรายงานผลการด�ำเนินงานและปัญหา/ อุปสรรค เมือ่ โครงการ ดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่ ยกระดับและพัฒนาให้เป็นถนน ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลระดับสากลอีกด้วย
รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ประชุมคณะทำ�งานเพื่อหาแนวทางในการตัดโอน สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานที่ ไม่อยู่ในความรับผิดชอบ
นายสมชาย ลีลาประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ประชุมคณะท�ำงานเพื่อหาแนวทางในการตัดโอนสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบ และพิจารณาแนวทางในการตัดโอนสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมติดตามและประเมินผล ส�ำเร็จของการด�ำเนินการตามแนวทางที่ก�ำหนด โดยมีนายเจษฎา วินสน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารกลาง พร้อมผู้แทน กองแผนงาน ส�ำนักบ�ำรุงทาง ส�ำนักกฎหมาย และส�ำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคาร 1 กรมทางหลวงชนบทปัตตานี
วิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบทประชุมติดตามโครงการก่อสร้างถนนสาย ปท.3004 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
นายวิศว์ รัตนโชติ วิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบท (ด้านบ�ำรุงรักษาทางและสะพาน) พร้อมคณะ ประชุมติดตามโครงการก่อสร้างถนนสาย ปท.3004 แยกทางหลวงหมายเลข 305 – บ้านล�ำลูกกา อ�ำเภอธัญบุร,ี ล�ำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ครัง้ ที่ 1 เพือ่ ติดตามความก้าวหน้าผลการด�ำเนินงาน และปัญหาอุปสรรค ปัจจุบนั มีความก้าวหน้า 3.896% โดยมีนายวชรพล ชัยศิรนิ ริ นั ดร์ วิศวกรโยธาปฏิบตั กิ าร ส�ำนักก่อสร้างทาง บรรยายสรุปผลการด�ำเนินงาน ณ ห้องประชุมส�ำนักงานโครงการฯ และประชุมผ่าน Application Zoom Cloud Meeting ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ทัง้ นีว้ ศิ วกรใหญ่ฯ ได้เน้นยำ�้ เรือ่ ง การเตรียมความพร้อมช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 พร้อมก�ำชับป้ายเตือนไฟฟ้าส่องสว่าง ผิวจราจร เพือ่ อ�ำนวย ความสะดวกให้กบั ประขาชนผูใ้ ช้เส้นทาง มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) และความปลอดภัยในการปฏิบตั งิ าน วารสาร กรมทางหลวงชนบท
15
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ดำ�เนินการซ่อมบำ�รุง สัญญาณไฟกระพริบเตือน สาย จบ.5051 แยกเฉลิมบูรพาชลทิต ช่วง กม.ที่ 1+848, กม.ที่ 2+377 หมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ด�ำเนินการซ่อมบ�ำรุงสัญญาณไฟกระพริบเตือน สาย จบ.5051 แยกเฉลิมบูรพา ชลทิต ช่ ว ง กม.ที่ 1+848, กม.ที่ 2+377 เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาสะดวกและปลอดภัย ในช่วงเวลากลางคืน ตามนโยบายกรมทางหลวงชนบท
หมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทเฉลิมบูรพาชลทิต ด�ำเนินการปรับปรุงป้ายจราจรสงเคราะห์ สาย รย. 4036 เฉลิมบูรพาชลทิต เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทาง เดินทางด้วยความประทับใจ ตามนโยบายของกรมทางหลวงชนบท
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
16
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท ปรับปรุงซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต ถนนสาย ชบ.1073 แยกทางหลวงหมายเลข 7 – บ้านหนองกระเสริม อำ�เภอเมือง จังหวัดชลบุรี กรมทางหลวงชนบท โดยส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 3 (ชลบุร)ี ได้ด�ำเนินการซ่อมสร้างถนนสาย ชบ.1073 แยกทางหลวงหมายเลข 7 – บ้านหนองกระเสริม อ�ำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นการปรับปรุงเส้นทางเดิมโดยใช้วสั ดุเดิมกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สงู สุด ด้วย วิธี Pavement In – Place Recycling ผิวจราจรแบบ AC กว้าง 10.50 เมตร (ช่วง กม.ที่ 0+670 ถึง กม. ที่ 2+140) ระยะทาง 1.470 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 14,905,000.- บาท ปัจจุบันได้ด�ำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้ประชาชนสัญจรได้ตามปกติ นายส�ำราญ สวัสดิ์พูน กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจในหลายรูปแบบทั้งด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวซึ่งเป็น ที่นิยมของนักเดิน ทางมาท่ องเที่ยวท�ำกิจกรรม เพื่อเป็นการตอบโจทย์ พร้อมอ�ำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง ส่งเสริม คุณภาพชีวติ ของประชาชนในพืน้ ทีแ่ ละผูใ้ ช้เส้นทาง เพิม่ ศักยภาพด้านคมนาคมในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชลบุรแี ละจังหวัดใกล้เคียง จึงได้ด�ำเนินการ ซ่อมสร้างถนนสายดังกล่าวให้สอดรับกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) และนโยบายของอธิบดี กรมทางหลวงชนบท (นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย)
หมวดบำ�รุงทางหลวงชนบทแม่สอด ดำ�เนินการมอบหมายให้ชุดจราจรเข้าเก็บกวาด ทำ�ความสะอาดผิวจราจร ตก. 3050 ถนนพัฒนานครแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อให้ ป ระชาชนผู้ ใ ช้ เส้นทางสัญจรไปมาสะดวกและปลอดภัย ตามนโยบายกรมทางหลวงชนบท
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
17
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
คณะเจ้าหน้าที่ส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ สำ�นักงาน ทางหลวงชนบทที่ 5 (นครราชสีมา) คณะเจ้าหน้ า ที่ส่ว นตรวจสอบและวิเคราะห์ ส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 5 (นครราชสีมา) ลงพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน Spot Check ตามระบบ QCS ของโครงการก่อสร้างทาง และสะพานประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในเขตพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของ แขวงทางหลวงชนบท บุรรี มั ย์ การตรวจเป็นไปตามมาตรฐานทางหลวงชนบทก�ำหนด และเพือ่ เป็นการสร้างความ มั่นใจให้ กั บ ประชาชนผู้ ใ ช้ เส้นทางได้รับความปลอดภัยในการสัญจรบนทางหลวงชนบท ต่อไป
แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์ ดำ�เนินการซ่อมปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สาย ปข.1002 แยกทางหลวงหมายเลข 4 – บ้านยางชุม อำ�เภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์ ด�ำเนินการซ่อมปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สาย ปข.1002 แยกทางหลวงหมายเลข 4 – บ้านยางชุม อ�ำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ตามนโยบาย ของกรมทางหลวงชนบท วารสาร กรมทางหลวงชนบท
18
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี ดำ�เนินการเก็บป้ายผิดกฎหมายที่รุกล้ำ�เขต ทางหลวงชนบท ถนนสาย พบ.5047 แยกทางหลวงชนบทสาย พบ.4016 อำ�เภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี ด�ำเนินการเก็บป้ายผิดกฎหมายทีร่ กุ ลำ�้ เขตทางหลวงชนบท ถนนสาย พบ.5047 แยกทางหลวงชนบท สาย พบ.4016 อ�ำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เพือ่ เป็นการปรับปรุงทัศนียภาพ และเป็นการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัตทิ างหลวง
แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี ดำ�เนินการปรับปรุงเครื่องหมายจราจร (ทางม้าลาย) ถนนสาย พบ.4008 แยกทางหลวงหมายเลข 3204 – บ้านมะขามโพรง อำ�เภอบ้านลาด, แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี (ช่วงกม.ที่ 11+750) แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี ด�ำเนินการปรับปรุงเครื่องหมายจราจร (ทางม้าลาย) ถนนสาย พบ.4008 แยกทางหลวงหมายเลข 3204 –บ้านมะขามโพรง อ�ำเภอบ้านลาด, แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี (ช่วงกม.ที่ 11+750) เพื่อการเดินทางด้วยความมั่นใจ อ�ำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้ที่ใช้เส้นทาง
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
19
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม วางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้าง สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ส�ำหรับ พิธดี งั กล่าวมีนายพิพฒ ั น์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา พร้อมคณะผูบ้ ริหารกระทรวงคมนาคม ประชาชน ในพื้นที่ และสื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีฯ วันนี้คอลัมน์บ้านเลขที่ 9 ขอมาอัพเดทความคืบหน้าล่าสุด!! ของโครงการทั้งสองสะพานกันครับ เริ่มกันที่สะพานข้ามทะเลสาบ สงขลา เชื่อมพัทลุง – สงขลา จาก ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ถึง ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา ต้องเกริ่นก่อนครับว่า การ เดินทางจาก จ.สงขลา แถบ อ�ำเภอ ระโนด อ�ำเภอ กระแสสินธุ์ อ�ำเภอ สทิงพระ และอ�ำเภอที่อยู่รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาของฝั่ง จ.พัทลุง หากต้องการเดินทางไปมาหาสู่กันต้องเดินทางมากกว่า 80 กิโลเมตร ใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ตลอดแนวทะเลสาบสงขลามี สะพานอยู่เพียง 2 แห่ง ได้แก่ สะพานชะแล้ ตั้งอยู่ด้านล่างของทะเลสาบสงขลาเชื่อมต่อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา กับ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง และสะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (หรือ สะพานไสกลิ้ง – หัวป่า) ตั้งอยู่ด้านบนของทะเลสาบสงขลา เชื่อมต่อ อ.ระโนด จ.สงขลา กับ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยสะพานทั้ง 2 แห่ง มีระยะทางห่างกัน 60 กิโลเมตร ท�ำให้ประชาชนที่อยู่พื้นที่ตรงกลาง ของทะเลสาบต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้น�ำชุมชน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ จึงขอรับ การสนับสนุนการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา จากกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม โดยโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกจากถนนทางหลวงชนบท พท.4004 (กม.ที่ 3+300) บ้านแหลมจองถนน ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง วางแนวข้ามทะเลสาบสงขลา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีจดุ สิน้ สุดทีถ่ นนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ถนนรอบเกาะใหญ่ บริเวณ หมู่ 2 บ้านแหลมยาง ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา รวมระยะทางทัง้ สิน้ 7 กิโลเมตร โดยสะพานมีขนาด 2 ช่องจราจร และสามารถขยายเป็น 4 ช่องจราจรได้ในอนาคต มีรูปแบบสะพานที่เหมาะสม คือ สะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานคอนกรีตรูปกล่องความหนาคงที่ (Box Segmental Bridge) นอกจากนี้ บริเวณราวสะพานได้ออกแบบให้มคี วามสวยงาม โดยน�ำรูปแบบทางจิตรกรรมมโนราห์ของท้องถิน่ มาประยุกต์ ประกอบกับลักษณะทางโครงสร้างของสะพาน ทีแ่ ตกต่างจากสะพานอืน่ และ สถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม ท�ำให้สะพานแห่งนี้จะเป็นแลนด์มาร์ค (Landmark) ที่ส�ำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดในอนาคต อีกทั้งยัง สามารถใช้เป็นเส้นทางอพยพประชาชนในพื้นที่ จ.สงขลา ให้สามารถเดินทางไปยัง จ.พัทลุงได้รวดเร็วมากขึ้นหากเกิดภัยพิบัติ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
20
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
โดยสถานะปัจจุบนั ได้ด�ำเนินการส�ำรวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ และได้ผา่ นการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบ สิง่ เเวดล้อมจากคณะกรรมการผูช้ �ำนาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิง่ เเวดล้อม ของส�ำนักนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติ เเละสิ่งเเวดล้อม เรียบร้อยเเล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมน�ำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือ (กก.วล.) เพื่อพิจารณาและ ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และในปี 2566 ได้จดั ท�ำค�ำขอภายในกรอบวงเงินงบประมาณ เพือ่ เตรียมเสนอของบประมาณ จ�ำนวน 4,841 ล้านบาท โดยจะใช้เงินกู้และงบสมทบจากงบประมาณประจ�ำปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณปี 2566 และคาดว่าจะด�ำเนินการ แล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ในปี 2569 และมีอีก 1 โครงการที่ส�ำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือ โครงการสะพานเชื่อม เกาะลันตา จ.กระบี่ เกาะลันตาเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีม่ ชี อื่ เสียง มีความส�ำคัญทางด้านเศรษฐกิจแห่งหนึง่ ของจังหวัดกระบี่ โดยในปี 2561 มีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางมาที่เกาะลันตามากกว่า 2 ล้านคนต่อปี แต่การเดินทางข้ามฝั่งจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะลันตาต้องใช้แพ ขนานยนต์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางนาน มีข้อจ�ำกัดด้านการบรรทุกและช่วงเวลาการให้บริการกรมทางหลวงชนบทจึงได้ด�ำเนิน โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต�ำบลเกาะกลาง – ต�ำบลเกาะลันตาน้อย อ�ำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อช่วยร่นระยะทางและลด ระยะเวลาการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดหรือเทศกาลจะใช้เวลาเพียง 2 นาที จากเดิม 2 ชั่วโมง รวมทั้งสามารถอพยพประชาชน ได้อย่างรวดเร็วกรณีเกิดภัยพิบัติ โดยแนวเส้นทางโครงการจะเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 (กม.ที่ 26+620) ต�ำบลเกาะ กลาง ไปบรรจบกับทางหลวงชนบทสาย กบ.5035 ต�ำบลเกาะลันตาน้อย ระยะทางรวม 2,240 เมตร ซึ่งก่อสร้างสะพานเป็นรูปแบบผสม ผสานระหว่างสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานยื่น (Balanced Cantilever Bridge) ความยาวสะพาน 1,825 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ช่องละ 3.75 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมทั้งสองฝั่งรวมระยะทาง 415 เมตร โดยสถานะปัจจุบนั ได้ด�ำเนินการส�ำรวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ และได้ผา่ นการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบ สิง่ เเวดล้อมจากคณะกรรมการผูช้ �ำนาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิง่ เเวดล้อม ของส�ำนักนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติ เเละสิ่งเเวดล้อม เรียบร้อยเเล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมน�ำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือ (กก.วล.) เพื่อพิจารณาและ ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งในปี 2566 ได้จัดท�ำค�ำขอภายในกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อเตรียมเสนอของบประมาณ จ�ำนวน 1,854 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปี 2566 - 2569) โดยจะใช้เงินกู้และงบสมทบจากงบประมาณประจ�ำปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้าง ประมาณปี 2566 โดยจะแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้บริการได้ในช่วงกลางปี 2569 ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและสนับสนุนการ พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน วารสาร กรมทางหลวงชนบท
21
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
“ความสำ�เร็จวัดที่การเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง” นายธันว์ สินธวาลัย ผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทเลย
กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจการเชือ่ มโยงการคมนาคมขนส่ง การสัญจร การท่องเทีย่ ว
การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมือง การต่อเชื่อมทางเลี่ยงทางลัด ให้โครงข่ายทางหลวงชนบทอยู่ ในสภาพพร้อมใช้งานและได้มาตรฐาน โดยเราอยากจะถ่ายทอดความเป็นอยู่และแนวคิดของกลุ่ม ภาคอีสานเหนือ ทีม่ ที รัพยากรการท่องเทีย่ วทีโ่ ดดเด่น เส้นทางการท่องเทีย่ วเรียบชายแดนไทย-สปป.ลาว มีวฒ ั นธรรมและมีอตั ลักษณ์ของ จังหวัด โดยคนในพื้นที่จะเรียกกันว่า “เมืองเลย” หรือจังหวัดเลย เพราะถ้าใครมาเลยจะได้อยู่แล้วอยู่เลย ตามความเชื่อ และผู้ที่จะมาเล่า เกี่ยวกับจังหวัดเลยได้ดีที่สุดคือผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ คือ นายธันว์ สินธวาลัย ผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทเลย เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ จังหวัดเลย เป็นจังหวัดติดชายแดน มีแหล่งท่องเทีย่ วและมีวฒ ั นธรรมทีเ่ ก่าแก่ มีภมู ปิ ระเทศเป็นทีร่ าบสูง มีอากาศ หนาวเย็น ดังเช่น ค�ำขวัญประจ�ำจังหวัดทีว่ า่ เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู จังหวัดเลยมีแหล่งท่องเทีย่ วจ�ำนวน มาก แขวงทางหลวงชนบทเลย จึงมีถนนโครงข่ายทีเ่ ชือ่ มโยงกับแหล่งท่องเทีย่ ว อาทิ เช่น ถนนสาย ลย.2010 บ้านก่อไผ่โทน เป็นอ่างเก็บนำ�้ ห้วยกระทิง, สาย ลย.3029 สวนหินผางามและภูป่าเปาะหรือฟูจิเมืองเลย, สาย ลย.3011 หมู่บ้านวัฒนธรรมไทด�ำและ สาย ลย.4014 สกายวอล์คอ�ำเภอเชียงคาน เป็นต้น การศึกษาและพัฒนาจังหวัดเลย ผอ.ธันว์ เชือ่ ว่า การท�ำถนนให้ดดู ี เสริมสร้างความมัน่ ใจกับนักท่องเทีย่ ว สามารถน�ำนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในจังหวัดได้เพิ่มมาขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีและในช่วงปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิด-19 ท�ำให้จังหวัดเลยมีนักท่องเที่ยวลดลง แต่เป็นโอกาสที่ดี “เราจะได้สร้างบ้านแปลงเมือง” ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวจังหวัดเลย ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ก่อนที่ ผอ.ธันว์ จะได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่จังหวัดเลย นั้น เคยได้ปฏิบัติงานในส่วนกลาง อยู่ที่ส�ำนักก่อสร้างสะพาน ปฏิบัติงาน โครงการขนาดใหญ่ ควบคุมงานโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม หรือ สะพานภูมิพล 1 และ สะพานภูมิพล 2 อยู่ตั้งแต่เริ่มโครงการจน แล้วเสร็จ หลังโครงการแล้วเสร็จต้องหาทีมงานดูแลต่อ โดยเริม่ จากการประสานศูนย์ควบคุมจราจร การดูแลพืน้ ทีส่ าธารณะ จ�ำนวน 3 แห่ง และการจราจรบนสะพานพูดง่าย ๆ ว่าตอนก่อสร้าง เรามีบริษัทที่ปรึกษาอยู่ คิดไม่ออกก็ให้บริษัทช่วยด�ำเนินการให้ แต่พอมาดูแลเอง เราต้องเริ่มใหม่ นี้ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ของกรมทางหลวงชนบทที่ต้องรับผิดชอบ ตลอดจนการดูแลงานระบบต่าง ๆ ของสะพานขึง ข้ามแม่น�้ำเจ้าพระยา และต่อมา ผอ.ธันว์ ได้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวงชนบทกระบี่ ด้วยวัยเพียง 38 ปี ซึง่ ไปปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นส่วนภูมภิ าคครัง้ แรก แต่ ผอ.ธันว์ เล่าว่าตนได้นอ้ มน�ำหลักการทรงงานตามแนวพระราชด�ำริ ร.9 มายึดถือในการปฏิบตั งิ าน คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เริ่มจากการศึกษาพื้นที่ เข้าถึงปัญหาและพัฒนา โดยจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยว
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
22
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
มากมาย ผอ.ธันว์ ได้จดั ท�ำแผนการเชือ่ มทางสูท่ า่ เรือ การเชือ่ มต่อของจังหวัดกระบี-่ ภูเก็ต เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สนามบิน และการอ�ำนวยความสะดวกของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผอ.ธันว์ ปฏิบัติงานเป็นผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวง ชนบทกระบี่ถึง 5 ปีครึ่ง ต่อมาได้ยา้ ยมาปฏิบตั งิ านเป็นผูอ้ �ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร ซึง่ เป็น จังหวัดท่องเที่ยวเช่นเดียวกันกับจังหวัดกระบี่ แต่มีภูมิประเทศต่างจังหวัดอื่น คือมีพื้นที่ แคบ เขตทางน้อย มีทางคดเคี้ยว ท�ำให้ ผอ.ธันว์ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เน้นความปลอดภัย จุดเสี่ยงจุดอันตราย สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ของจังหวัด และปัจจุบัน ผอ.ธันว์ ปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทเลย ซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่ 3 ที่ ผอ.ธันว์ ได้มาปฏิบัติงาน สังเกตได้ว่า ผอ.ธันว์ จะเก่ง ในเรื่องพัฒนาจังหวัดท่องเที่ยวจริง ๆ เพราะ 3 จังหวัด 3 ภูมิภาค เลยก็ว่าได้จริง ๆ จังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่ก�ำลังพัฒนา ไม่วา่ จะเป็นด้านถนนทีเ่ ชือ่ มโยงกับแหล่งท่องเทีย่ ว และนอกจากนัน้ ผอ.ธันว์ ยังให้ความ ส�ำคัญในการปรับปรุง ถนน สาย ลย 2002 บ้านนาซ�ำแซง อ.วังสะพุง, ภูเรือ หรือชื่อ เดิมเรียกว่า “โค้งร้อยศพ” โดยที่ผ่านมาถนนสายนี้มีอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อยเพราะสภาพ ภูมิศาสตร์มีความชันและมีเส้นทางคดเคี้ยว สองข้างทางเป็นทั้งป่าไม้และเนินเขา โดย เบื้องต้นมีการแก้ไขคือการตัดเนินเขา ไม่เกิดโค้งอันตราย ติดตั้งอุปกรณ์ป้ายเตือน และ แก้ปัญหาทางกายภาพเบื้องต้นไปแล้ว และอนาคตอาจจะมีการเสริมช่องจอดฉุกเฉิน นอกจาก ผอ.ธันว์ จะมีหลักในการบริหารเก่ง ๆ หลายด้านแล้ว ยังมีความใส่ใจบุคคล รอบข้าง ลูกน้องใต้บงั คับบัญชา ผอ.ธันว์ มีหลักการท�ำงานคือการให้ หมายถึงการให้ความ รัก ให้ความรู้ ให้ความปรารถนาดี ให้ความเมตตา และให้อภัย ให้ทกุ คนมีความสุข มีความ สนุกในการท�ำงาน ตามหลักการ “เรือ่ งพลังแห่งการให้ ทีว่ า่ ยิง่ ให้ยงิ่ ได้รบั กลับมาเพิม่ ขึน้ ” ทุกคนล้วนมีความตั้งใจอยู่แล้ว ผอ.ธันว์ จึงเสริมสร้างให้ทุกคนมีความสะดวกสบาย เรื่อง ความเป็นอยู่ของลูกน้อง ทั้งด้านสุขภาพ ที่พักอาศัย อุปกรณ์ในการอ�ำนวยความสะดวก ของเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกัน ผอ.ธันว์ ยังคงดูแลทุกคนเหมือนคนในครอบครัวปกครอง คนด้วยใจ มีความห่วงใยเจ้าหน้าที่ทุกคนในแต่ละส่วน โดย ผอ.ธันว์ เชื่อว่า ผลงานที่ดี คนท�ำต้องเก่งและเข้าใจงาน นี้เป็นเรื่องราวดี ๆ ที่อยากส่งต่อให้ผู้อ่านและหวังว่าจะเป็น ประโยชน์และแรงบันดาลใจในการสร้างงานสร้างคน เพือ่ เป็นสิง่ ตอบแทนต่อสังคมต่อไป
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
23
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยในพื้ นที่ภาคใต้ มอบถุงยังชีพบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนใน จ.ปั ตตานี, ยะลา และนราธิวาส
นอกจากภารกิจหลักในการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่าย คมนาคมให้ มี ค วามสมบู ร ณ์ แ ล้ ว ตลอดช่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมา กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้อ�ำนวยความสะดวกและความ ปลอดภัยด้านการเดินทางในทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมุ่งให้ ความช่วยเหลือประชาชนเพือ่ บรรเทาความเดือดร้อนกรณีได้รบั ผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งในช่วง ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศ ตำ�่ ก�ำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดนำ�้ ท่วม เฉียบพลันในหลายพื้นที่ ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ท�ำการเกษตรได้ รับผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี จังหวัด ยะลา และจังหวัดนราธิวาส ด้วยเหตุนี้กรมทางหลวงชนบทได้ มีความห่วงใยและค�ำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนที่ได้ รับผลกระทบจากสถานการณ์อทุ กภัย จึงเข้าให้ความช่วยเหลือ
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
24
โดยการมอบถุงยังชีพทีบ่ รรจุเครือ่ งอุปโภคบริโภคและเครือ่ งใช้ จ�ำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้กับประชาชน ผู้ประสบอุทกภัย นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยบนสายทางในโครงข่ายทางหลวง ชนบทอย่างใกล้ชิด พร้อมติดตั้งป้ายเตือนและป้ายแนะน�ำ เส้นทางเลี่ยงในบริเวณสายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อเป็นการอ�ำนวยความสะดวกและความปลอดภัยด้านการ เดินทางให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ทช. จะด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือและ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในทุกพื้นที่อย่างเต็ม ความสามารถต่อไป กรณีเกิดเหตุบริเวณสายทาง ประชาชน สามารถแจ้งเหตุได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กฎหมาย
น ารู
นางสาวจีรนุช โหนดแจ่ม ผู้อ�ำนวยการกลุ่มกฎหมาย ส�ำนักกฎหมาย
รถบรรทุก
สิ่งของ
ผู้ขับขี่รถบรรทุกสิ่งของทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบรรทุกพืชผลทางการเกษตร บรรทุกชิ้นส่วนเครื่องจักร หรือบรรทุกเหล็ก หิน ดิน ทราย ก็ตาม ผูข้ บั ขีจ่ ะต้องไม่บรรทุกนำ�้ หนักเกินกว่าอัตราทีผ่ อู้ �ำนวยการทางหลวงประกาศก�ำหนด เพราะการบรรทุกน�ำ้ หนัก เกินกว่าอัตราที่ก�ำหนดนั้นจะส่งผลให้ทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันพังเสียหายก่อนเวลาอัน ควร ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในการสัญจรไปมา และยังท�ำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการน�ำมาใช้ ซ่อมแซมบ�ำรุงรักษาทางหลวงที่ได้รับความเสียหายดังกล่าว หากผู้ขับขี่รายใดไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดดังกล่าว มีความผิดตาม พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 61 ประกอบกับมาตรา 73/2 โทษจ�ำคุก ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ และอาจถูกริบรถบรรทุกที่ใช้ในการกระท�ำความผิดนั้นอีกด้วย
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
25
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
รู้หรือไม่ เสาคอนกรีต ทาสีดำ�สลับขาวข้างถนน
มีไว้ทำ�ไม?
ทุกท่านที่เคยสัญจรบนท้องถนนน่าจะเคยสังเกตเห็นเสา คอนกรีตสีขาวสลับด�ำที่ปักเรียงกันอยู่ข้างทาง บางคนอาจจะ แค่มองผ่านแต่ก็คงมีไม่น้อยที่อาจจะเคยสงสัยว่ามันจะมีไว้ เพื่ออะไร วันนี้ส�ำนักอ�ำนวยความปลอดภัยจะมาเล่าให้ฟังครับ เสาคอนกรีตขาวด�ำนี้ มีชื่อเรียกว่า “หลักน�ำทาง” หรือ “Guide Post” หรืออาจเรียก “หลักน�ำโค้ง” เมื่อติดตั้ง บริเวณทางโค้ง บางครั้งเมื่อเราพิจารณาจากชื่อเรียกของมันก็ น่าจะพอเดา ๆ ได้ว่ามันน่าจะเอาไปไว้แนะน�ำอะไรบางอย่าง ใช่มั้ยครับ ใช่แล้วครับหน้าที่ของหลักน�ำทางก็คือ การช่วยให้ ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นขอบเขตทางเดินรถได้ชัดเจนขึ้น โดย เฉพาะในเวลากลางคืน และช่วยลดอุบัติเหตุรถหลุดออกนอก เส้นทางเนื่องจากการมองไม่เห็นขอบทางได้ โดยปกติแล้วหลัก น�ำทางจะติดตั้งอยู่ในบริเวณข้างทางของถนนที่มีลักษณะเป็น ทางโค้งราบหรือทางโค้งดิ่ง หรืออยู่ในบริเวณทางตรงที่มีการ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
26
เปลี่ยนแปลงความกว้างของผิวทาง และมีแสงสว่างไม่เพียง พอในเวลากลางคืน โดยการทาสีหลักน�ำทางด้วยสีขาวสลับสี ด�ำก็เพื่อเพิ่มความแตกต่างกับสภาพข้างทางเพื่อให้เกิดความ โดดเด่นและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในเวลากลางวัน นอกจากนีท้ ห่ี ลักน�ำทางจะมีการติดแผ่นสะท้อนแสงไว้ทตี่ วั หลัก น�ำทางเพือ่ การสะท้อนแสงกับไฟหน้ารถเป็นการท�ำให้มองเห็น ได้ชัดเจนในเวลากลางคืน เห็นมัย้ ครับว่าหน้าทีห่ ลักของหลักน�ำทาง ก็คอื การน�ำทาง (Guide) ผู ้ ขั บ ขี่ ทุ ก ๆ ท่ า นสั ญ จรผ่ า นโค้ ง หรื อ บริ เ วณ เสี่ยงอันตรายไปได้อย่างปลอดภัย แต่มิได้มีหน้าที่ป้องกันการ หลุดออกนอกถนนแต่อย่างใดซึง่ อุปกรณ์ทปี่ อ้ งกันการหลุดออก นอกถนนนั้นจะเป็นอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งส�ำนักอ�ำนวย ความปลอดภัยจะได้มาเล่าให้ฟงั ต่อในบทความต่อ ๆ ไปนะครับ “ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ว้าว!! จุด check in แห่งใหม่
ของ จ.กระบี่ และจ.พั ทลุง โดยจำ�ลองจากแบบ สะพานข้ามเกาะลันตา สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา
สวย อลังการเข้ากับบรรยากาศมากจ้า
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
27
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
นายวรัญญู พันธ์กระวี วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สังกัดกลุ่มออกแบบโครงสร้าง ส�ำนักส�ำรวจและออกแบบ
“การทำ�งานเพื่ อประชาชนคือความสุข” นิยามการทำ�งานของวิศวกรหนุ่มวัย 27
พร้อมเติบโตอย่างมั่นคงแข็งแรงไปกับองค์กร เพื่ อสร้างผลงานให้กับประเทศ บรรเทาความเดือดร้อน ให้กับประชาชนอย่างเป็ นรูปธรรมและยั่งยืน
คอลัมน์ Spotlight ครั้งที่ 3 ของกรมทางหลวงชนบท ในครั้ ง นี้ เ ราจะพามารู ้ จั ก กั บ อี ก หนึ่ ง ความภู มิ ใ จของ กรมทางหลวงชนบท วิศวกรหนุม่ วัย 27 ปี ดีกรีนกั เรียนทุน ก.พ. ประเภทบุคคลทั่วไป ในระดับปริญญาโท จาก University of Illinois at Urbana - Champaign (UIUC) ในสาขา Pavement Engineering ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาระดับ ปริญญาตรีจาก สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย นายวรัญญู พันธ์กระวี (แพนด้า) วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สังกัดกลุ่มออกแบบโครงสร้าง ส�ำนักส�ำรวจและออกแบบ ได้แชร์แนวคิดเรื่องการท�ำงานให้ทางทีมงานฟังว่า “การรับ ราชการเหมือนเป็นประตูบานส�ำคัญ ให้ผมได้ท�ำตามความ ฝันในวัยเด็ก ทีว่ า่ สักวันหนึง่ ผมจะสร้างอะไรทีย่ งิ่ ใหญ่ทงิ้ ไว้ให้ วารสาร กรมทางหลวงชนบท
28
กับประเทศ ให้ทกุ คนได้รบั ประโยชน์ และชืน่ ชมกับสิง่ ทีผ่ มท�ำ ถึงแม้วา่ เงินเดือนข้าราชการจะไม่ได้มากมาย แต่คณ ุ ค่าทีแ่ ท้ จริง คือ ความสุขของผูค้ นทีเ่ กิดขึน้ ต่างหาก ส�ำหรับผมมันคุม้ ค่าโดยหาอะไรเปรียบไม่ได้เลยครับ และผมดีใจที่ได้มาบรรจุ เป็นข้าราชการในสังกัดกรมทางหลวงชนบท เพราะหน้าทีเ่ รา คือ การกระจายความเจริญไปสูภ่ มู ภิ าค ให้คนในชนบทได้เข้า ถึงโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวติ ให้ดขี นึ้ ผมมีความตัง้ ใจ ทีจ่ ะเรียนรูง้ านหลากหลายด้าน เพือ่ ทีจ่ ะน�ำความรูม้ าพัฒนา กระบวนการท�ำงานของกรมฯ ให้แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น” โดยปัจจุบันแพนด้ามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การออกแบบ การค�ำนวณโครงสร้างสะพาน โครงสร้างอาคาร การวางแนวถนน และมีอีกงานหนึ่งที่ส�ำคัญ คือ โครงการจัด ท�ำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและส�ำรวจออกแบบ “ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
ถนนรอบเกาะช้าง ช่วง บ้านบางเบ้า ถึง บ้านสลักเพชร อ�ำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นโครงการที่ประชาชนรอคอยมานานกว่า 20 ปี เนื่องจากถนนบนเกาะช้างไม่ได้เป็นถนนรอบเกาะ หากโครงการดัง กล่าวได้ด�ำเนินการก่อสร้าง นอกจากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ กับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังสงเสริมการทอ งเทีย่ วใหเ กาะชาง รวมถึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่อีกด้วย โครงการนี้นับเป็น ผลงานที่มีความท้าทายและซับซ้อน เพราะเกาะช้างอยู่ในเขตอุทยาน แห่งชาติ ท�ำให้ต้องด�ำเนินการจัดท�ำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่ง แวดล้อม (EIA) ประกอบกับแนวถนนและโครงสร้างสะพานทีจ่ ะน�ำมาใช้ รอบเกาะต้องมีความพิเศษ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ท�ำให้แพนด้า ต้องเรียนรู้งานหลายด้าน ซึ่งทุกประสบการณ์จะเป็นส่วนส�ำคัญในการ หล่อหลอมให้เติบโตเป็นวิศวกรที่สมบูรณ์มากขึ้นในอนาคต ส�ำหรับผลงานส�ำคัญที่ภูมิใจ คือ การจัดท�ำแบบมาตรฐานงาน สะพาน ฉบับปี 2564 ซึ่งเป็นงานที่ได้น�ำแบบมาตรฐานเดิมมาปรับปรุง ใหม่ให้ทันสมัย และประยุกต์ใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ ส่งผลให้ ภารกิจด้านการพัฒนาโครงข่ายสะพานของกรมฯ มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนอย่างแน่นอน หากถามถึงต้นแบบของข้าราชการในอุดมคติ แพนด้า เล่าว่า เป็น ใครไปไม่ได้นอกจากคุณแม่ (ดร.ชลิดา พันธ์กระวี) เพราะคุณแม่เป็น คนมีความสามารถและขยันมาก ภาพการท�ำงานทีม่ งุ่ มัน่ ตัง้ ใจ เป็นสิง่ ที่ ผมเห็นคุณแม่มาตั้งแต่เด็ก และรู้สึกว่าอยากจะเป็นข้าราชการที่ดีตาม แบบคุณแม่ให้ได้ นอกจากนี้ แพนด้ายังได้กล่าวถึง พีเ่ ลีย้ งคนแรกสมัยมา บรรจุขา้ ราชการใหม่ (ดร.ชาครีย์ บ�ำรุงวงศ์) ซึง่ เป็นคนทีข่ ยัน ไม่เคยหยุด เรียนรู้ และเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา อีกทั้งมีความรู้ครอบคลุม หลากหลายด้าน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมอยากพัฒนาตัวเองให้เก่ง เพื่อที่จะเติบโตไปเป็นผู้บริหารที่ดีในอนาคตต่อไป ก่อนจบคอลัมน์นี้ วิศวกรหนุม่ ขอฝากถึงรุน่ น้องทีอ่ ยากเป็นวิศวกร ว่า...ชีวติ คือการเรียนรู้ เราต้องกล้าทีจ่ ะท�ำอะไรใหม่ ๆ กล้าทีจ่ ะต่อสูก้ บั ความยากล�ำบาก กล้ายอมรับความผิดพลาด ขอโทษ เรียนรู้ แล้วลงมือ ท�ำอีกครั้งหนึ่ง อย่าไปยอมแพ้อะไรง่าย ๆ ลุกขึ้นมาเอาความขยันและ ความมุ่งมั่นเข้าสู้ แล้วจะพบกับความส�ำเร็จอย่างแน่นอน...
วารสาร กรมทางหลวงชนบท
29
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
กรมทางหลวงชนบท จับมือกับ JICA Expert Team เพื่ อพั ฒนาศักยภาพและวิธีการด�ำเนินงาน ของหน่วยงานด้านความปลอดภัยการจราจรบนท้องถนน ฉบับนี้คอลัมน์ริมทางชนบทจะต่างไปจากฉบับก่อนหน้านี้ที่จะน�ำเสนอเรื่อง สาระทั่วไป แต่วันนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงานที่น่าสนใจคือการร่วมมือของกรม ทางหลวงชนบท กับทีมงาน JICA Expert Team จากประเทศญีป่ นุ่ ภายใต้โครงการ THE PROJECT ON CAPACITY IMPROVEMENT FOR ROAD TRAFFIC SAFETY INSTITUTIONS AND IMPLEMENTATION IN THE KINGDOM OF THAILAND โดยจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ทั้งหมด 3 จังหวัด จังหวัดละ 3 ครั้ง ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นที่ จ.นครราชสีมา (ครั้งที่ 1) วัตถุประสงค์ของร่วมมือกันใน ครั้งนี้เพื่อศึกษาลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ ค้นหาปัญหาสาเหตุที่ เกิดอุบัติเหตุ และเสนอมาตรการรับมือการลดอุบัติเหตุจากการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วน โดยมีนายสันติภาพ ศิริยงค์ ผู้อ�ำนวยการกลุ่มพัฒนาวิศวกรรมจราจร ส�ำนักอ�ำนวยความปลอดภัย และ นายธนะชัย อินทรศร ผู้อ�ำนวยการหมวดบ�ำรุง ทางหลวงชนบทวังน�้ำเขียว ด�ำเนินงานการประชุม พร้อมน�ำลงพื้นที่ Workshop บนสายทางหลวงชนบท นม.3052 แยกทางหลวงหมายเลข ทล.304 - บ้านท่า มะปรางค์ อ�ำเภอวังน�้ำเขียว, ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน ความปลอดภัยทางถนนจากประเทศญีป่ นุ่ , ผูน้ �ำชุมชน, สถานีต�ำรวจภูธรทีเ่ กีย่ วข้อง, ส�ำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และหมวด บ�ำรุงทางหลวงชนบทวังน�้ำเขียว เข้าร่วม Workshop ในครั้งนี้ด้วย ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่มีสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนน สูงเป็น อันดับต้น ๆ ของโลก แม้ปัจจุบันอันดับจะลดลงมาบ้าง แต่ในอนาคตผู้เขียนหวัง ว่าการร่วมมือกับ JICA Expert Team จากประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้จะน�ำไปสู่การ พัฒนาด้านความปลอดภัยของการจราจรบนท้องถนนอย่างยั่งยืน วารสาร กรมทางหลวงชนบท
30
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”
นางดวงมาลย์ เกตุทิพย์ ต�ำแหน่ง นายช่างโยธาช�ำนาญงาน
“ทำ�ทุกวันให้ดีท่สุ ี ด เพราะ ถ้าผ่านไปแล้วไม่สามารถแก้ไขอะไรได้” สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านวารสารกรมทางหลวงชนบทดิฉัน นางดวงมาลย์ เกตุทิพย์ นายช่างโยธาช�ำนาญงาน พีเ่ รียนจบจาก วิทยาลัยเทคนิคดุสติ จริง ๆ พีส่ อบติดทีพ่ ระจอมเกล้าพระนครเหนือ แต่ไม่มคี า่ เทอมเรือ่ งมันเศร้า เนอะ (555) ทีพ่ ระนครเหนือเรียน 4 ปี ค่าใช้จา่ ยเยอะ ทีว่ ทิ ยาลัยเทคนิคดุสติ สาขา สถาปัตย์ เรียน 2 ปี พอไหวอยู่ และหลังจากเรียนจบก็ได้เริ่มเข้ารับราชการ วันที่ 3 ก.พ. พ.ศ. 2535 ที่กองวิศวกรรมสะพาน กรมโยธาธิการ ต�ำแหน่ง นายช่างเขียนแบบ เมือ่ ปี 2545 ได้มกี ารปฏิรปู ระบบราชการก็ได้ปรับเปลีย่ น ต�ำแหน่งมาเป็นนายช่างโยธา สังกัดกรมทางหลวงชนบทที่ ส�ำนักทางหลวงชนบทที่ 9 (อุตรดิตถ์) และปี 2556 ย้ายมาแขวงทางหลวงชนบท พิจิตร ปัจจุบันได้รับการไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ให้ด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการส่วนปฏิบัติการ และผู้อ�ำนวย การหมวดบ�ำรุงทางหลวงชนบทพิจิตร ส�ำหรับงานช่างหลาย ๆ คนอาจจะมองว่าเป็นงานของผู้ชาย แต่พี่ว่าข้อได้ เปรียบของการเป็นสุภาพสตรีคอื ความใสใจในรายละเอียดของเนือ้ งาน เรือ่ งเล็ก ๆ น้อย ๆ ทีส่ �ำคัญ ผูช้ ายอาจจะ มองข้ามไป การเข้าถึงจิตใจผู้บังคับบัญชา และใต้บังคับบัญชา มีการผ่อนหนักผ่อนเบาในเรื่องต่าง ๆ สิ่งที่ประทับใจและภูมิใจในการท�ำงานก่อนอื่นเลยพี่ต้องขอบคุณผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน ทีใ่ ห้การยอมรับ ให้โอกาสในการท�ำงาน มีการแนะน�ำในสิง่ ต่าง ๆ ทีด่ ี ๆ ท�ำให้งานทีไ่ ด้รบั มอบหมายบรรลุวตั ถุประสงค์ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการท�ำงาน ในแต่ละแง่มุมของการท�ำงานนั้น ๆ และร่วมแก้ไขปัญหา ไปด้วยกัน แนะน�ำในสิ่งดี ๆ ให้กับแต่ละคนที่ได้ประสบปัญหาจากการท�ำงาน จนได้รับรางวัลเอกลักษณ์ ทช. ประจ�ำปี 2561 และ ปี 2563 ที่เกิดจากความสามัคคีกันในองค์กร และสิ่งภูมิใจที่สุดในการท�ำงานเชื่อว่าหลาย คนทีร่ บั ราชการต้องภูมใิ จเหมือนกันคือ ได้รบั ใช้ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนทีม่ คี วามเดือดร้อนในการเดินทาง ประชาชนที่ร้องเรียนความเดือดร้อน โดยที่ได้เราได้ไปให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาหารือ และแก้ไขปัญหาให้กับผู้ที่ เดือดร้อน ให้ได้รับความถูกต้อง เป็นธรรม เกิดความสบายใจ พี่ภูมิใจที่ได้ท�ำงานในกรมทางหลวงชนบทค่ะ พี่มีข้อคิดจากเจ้านายที่ประทับใจ (หลายท่านเลยค่ะ) ที่ได้ยึดมาเป็นแบบอย่างในการท�ำงานมา โดยตลอด คือ - อธิบดีปฐม เฉลยวาเรศ สมัยอยู่กองวิศวกรรมสะพาน กรมโยธาธิการ ท่านสอนว่า “ท�ำงานด้วยความซื่อสัตย์และตั้งใจท�ำในสิ่งที่ดี” - ผส.สมบูรณ์ ชัยศิรินิรันดร์ สมัยที่ท่านเป็นผู้อ�ำนวยการส�ำนักทางหลวงชนบทที่ 9 (อุตรดิตถ์) ปัจจุบัน ท่านเกษียณแล้ว ท่านสอนว่า “ให้ท�ำดีกับเขาก่อนแล้วความดีจะกลับมาหาเราและจะดีกว่าที่เราเคยให้เขา” - ผอ.วิชยั สนมฉำ�่ สมัยทีท่ า่ นเป็นผูอ้ �ำนวยการส�ำนักงานทางหลวงชนบทพิจติ ร ปัจจุบนั ท่านเกษียณแล้ว ท่านสอนว่า “เงินเดือนไม่เคยหยุดจ่ายเรา ดังนั้น เมื่อมีการติดต่อเวลาใดก็ตามต้องรับเรื่องไว้ตลอด” - ผส.ทักษิณ บุญต่อ สมัยที่ท่านเป็นผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 (นครสวรรค์) ปัจจุบัน ท่านเกษียณแล้ว ท่านสอนว่า “การให้มีค่ามากกว่าการรับ” - ผอ.อ�ำนาจ หงส์แสนยาธรรม ผู้อ�ำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพิจิตร ท่านสอนว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเราอย่ามองอะไรมุมเดียว” สุดท้ายนี้พี่ขอฝากถึงน้อง ๆ ในเรื่องของการท�ำงาน “ให้ใช้ความตั้งใจและความจริงใจ แสดงออกที่ การกระท�ำทั้งแววตาและสิ่งที่ปฏิบัติ” วารสาร กรมทางหลวงชนบท
31
“ทางหลวงชนบท เชื่อมโยงทัว่ ไทย เชื่อมใจคนทัง ้ ชาติ”