Nostalgia Issue Editorial Pirun Anusuriya วันเวลาคือค่าประสบการณ์ของเรา เมื่อมองย้อนกลับไปคงเสมือนการเปิดลิ้นชักใบเก่า ภาพหรือเสียงบางอย่างอาจลางเลือนไป แต่บางสิ่งกลับแจ่มชัดเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ วาน ความรู้สึกที่ก่อตัวขึ้นนั้นบางครั้งท�ำให้เราอบอุ่นหัวใจ และบางครั้งก็ท�ำให้อาวรณ์ถึง สิ่งที่ไม่อาจหวนคืนกลับมาได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุกข์หรือสุข ผมอยากให้เราแต่ละ คนหันกลับไปยังอดีตอีกครั้ง อดีตที่แต่ละคนเติบโตมา ฉบับนี้เราจึงได้มีคอลัมน์ที่กล่าว ถึง เจ้าพ่อแห่งความเหงาแห่งโลกภาพยนตร์อย่าง หว่องกาไว ผู้ซึ่งตีคู่มากับนักเขียนดังที่ ร�ำพันถึงห้วงอารมณ์คล้ายคลึงกันอย่าง มุราคามิ ระหว่างที่ผมเขียนคอลัมน์ดังกล่าว ก็ได้กลับไปส�ำรวจหนังเรื่องเก่าของเขา และได้หวนร�ำลึกถึงความรู้สึกโรแมนติคแบบ หว่องๆ ขึ้นมาอีกครั้ง รวมถึงขอร้องแกมบังคับให้คอลัมนิสต์รับเชิญทั้งหลาย ช่วยเขียน อะไรที่ ‘โหยหาอดีต’ ให้ที อยากให้ลองพลิกหน้าไปอ่านได้ว่า แต่ละคนนั้นนิยามความ รู้สึกนั้นกันอย่างไร
Contributor Zipcy 집시
Molly Thamrongvoraporn
ชาญชนะ หอมทรัพย์ ณัฐพล โลวะกิจ Anna Deenok
เชตี หญิงร้ายในกายทราม
Contents
WWW. FACEBO O K. CO M/BEIN G ALTER
4
Cover Feature - หญิงของหว่องกาไว
14
INTERVIEW - In memory of จักรวาล นิลธ�ำรงค์
8
Wide Angle - Madadayo - 20th Century Boys - ปี หนึ่งเพื่อนกัน กับวันอัศจรรย์ของผม
One late autumn night, the disciple awoke crying. So the master asked the disciple, “Did you have a nightmare?” “No.” “Did you have a sad dream?” “No,” said the disciple. “I had a sweet dream.” “Then why are you crying so sadly?” The disciple wiped his tears away and quietly answered, “Because the dream I had can’t come true. - Sun Woo
FONTS CS PraJad / ThaiSans Neue / Cambria Math / Century Gothic / Engravers MT / Lucida Sans Unicode / Trajan Pro / Trebuchet MS
CO VER F EATURE
เรียบเรียง โดย พิรุณ อนุสุริยา
หว่องกาไว ผู ้ก�ำกับภาพยนตร์ท่ีมีลายเซ็นเป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดประเด็นว่าด้วย ความเหงา บาดแผลจากความรัก และความทรงจ�ำที่แสนหวาน บุ รุษผู ้นี้ได้สร้าง แรงกระเพื่อมให้กับแวดวงภาพยนตร์โลก ไม่ว่ากี่ครัง้ ที่งานเขาไปเฉิดฉายที่คานส์ มัน มักจะเป็นที่สนใจของมหาชนอยู ่เสมอ ครัง้ นี้เราจะพาคุณย้อนรอยไปส�ำรวจถึงเศษ เสี้ยวความทรงจ�ำที่ในหนังแต่ละเรื่องทิ้งร่องรอยเอาไว้ ซึ่งเป็นการเรียบเรียงข้อมู ลจาก นิตยสาร Pulp ฉบับ 2046 และหนังสือ เดียวดายอย่างโรแมนติก ของ Bioscope 4 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
ลักษณะหนึ่งที่มักปรากฏในงานก�ำกับทุกชิ้นของหว่องกาไว ตั้งแต่เรื่อง As Tears Go By ในปี 1988 จนถึง 2046 คือ รายละเอียดบางอย่างที่ชวนให้นึกถึงและเชื่อมโยงไปยังหนังเรื่องอื่นๆ ซึ่งในมหากาพย์ความโรแมนซ์ของหว่องกาไว ไม่มีใครจะโดดเด่นมากไปกว่า โซวไหล่เจิน หญิง สาวที่มีตัวตนตั้งแต่ Days of Being Wild เรื่อยมาจนถึง 2046 หญิงสาวที่รับบทโดยจางมั่นอวี้ใน Days of Being Wild และ In the Mood for Love ชื่อ โซวไหล่เจิน เหมือนกัน และมีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งคู่จะเป็นคนคนเดียวกัน นักข่าวเคยตั้งค�ำถามนี้ต่อจางมั่นอวี้ เมื่องานแถลงข่าว In the Mood for Love ที่เทศกาลหนัง แห่งหนึ่ง เธออธิบายว่า เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นในระหว่างการถ่ายท�ำ In the Mood for Love ซึ่งเธอไปรบ เร้าถามหว่องกาไวอยู่บ่อยๆ ว่า “ฉันเล่นเป็นใคร…ตัวละครของฉันเป็นใครกันแน่” เนื่องด้วยการ ที่หว่องกาไวจะถ่ายหนังแบบไม่มีสคริปต์ แต่จะบอกนักแสดงเพียงคร่าวๆ ว่า ตัวละครของเขา หรือเธอมีบุคลิกประมาณไหน และแต่ละวันตัวละครนั้นตกอยู่ในสถานการณ์อะไรบ้าง เมื่อถามบ่อยเข้า วันหนึ่งหว่องกาไวจึงโพล่งออกมาว่า “เอาล่ะ คุณเล่นเป็นโซวไหล่เจินก็แล้วกัน” แม้ว่าจางมั่นอวี้จะรู้สึกข�ำๆ ว่าหว่องกาไว คงตอบไปแบบตัดร�ำคาญเสียมากกว่า แต่ค�ำตอบนี้ก็ ท�ำให้เธอพอใจและหยุดถามได้ จนกระทั่งทั้งสองคุยกันอีกครั้งและตั้งข้อสังเกตร่วมกันว่า อาจ เป็นไปได้ที่โซวไหล่เจินใน Days of Being Wild จะกลายมาเป็นโซวไหล่เจินใน In the Mood for Love ในหนังของหว่องการปรากฏตัวของ ‘โซวไหล่เจิน’ นั้นมีพัฒนาการจากหญิงสาวไร้เดียงสา อ่อน ไหวต่อความรัก จากเรื่อง Days of Being Wild ที่ถูกหนุ่มนักรักอย่างหยกไจ๋หักอก จนต้อง มาระบายความช�้ำในอกกับหนุ่มต�ำรวจกะดึกที่พบกันโดยบังเอิญ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเธอ กับต�ำรวจหนุ่มก็ไม่ได้ไปไกลกว่า ‘เพื่อนคุยในยามเหงา’ ขณะที่ใน In the Mood for Love ‘โซวไหล่เจิน’ เป็นแม่บ้านช�้ำรัก ที่สามีแอบไปมีความ สัมพันธ์กับภรรยาของคนข้างห้อง และเมื่อค้นพบว่า ตนเองอาจจะหวั่นไหวไปกับสามีคนอื่น เหมือนกัน เธอเลือกที่จะปฏิเสธความรักผิดท�ำนองคลองธรรมนี้ หลังจากได้รับรู้ความในใจสามี คนอื่นอย่าง ‘โจวมู่หวั่น’ เมื่อปลายสายโทรศัพท์ที่เป็นค�ำถามกึ่งชักชวนจากเขาให้หนีตามกันไป อยู่ที่สิงคโปร์ นั่นท�ำให้เธอเลิกติดต่อหรือสานสันพันธ์ใดๆ และหายไปจากชีวิตของโจวมู่หวั่น ตลอดกาล และหากจะยึดโยงตัวตนของคาแรคเตอร์นี้ จากหนังก�ำลังภายในของหว่องกาไว อย่าง Ashes of Time เราอาจจะได้เห็นเค้าลางของโซวไหล่เจิน ในบทบาทของ ‘พี่สะใภ้’ ของอาวเอียงฮง แม้ เธอรู้ทั้งรู้ว่าอาวเอียงฮงนั้นชอบพอเธออยู่ แต่เธอกลับปฏิเสธและเลือกไปแต่งงานกับพี่ชายเขา แทน แม้ว่าในคืนที่แต่งงานนั้น อาวเอียงฮง จะชวนเธอให้หนีไปตามกัน แต่ส�ำหรับพี่สะใภ้ เธอ บอกแต่เพียง ‘มันสายเกินไปที่จะมาเอาชนะใจฉัน’ ส่วนคนที่รับบทพี่สะใภ้นั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน จางมั่นอวี้ นั่นเอง
“ท่านรู ้ไหมว่าอะไรที่ส�ำคัญที่สุดในชี วิตข้า…ข้าเคยคิดว่าลูกข้าคือสิ่งส�ำคัญที่สุดในชี วิต แต่พอเห็นเขาเติบโตขึ้น ข้าก็รู้ว่าสักวันเขาก็ต้อง ทิ้งข้าไป ไม่มีอะไรที่ส�ำคัญกับข้าอีกแล้ว ข้าเคยยึดติดกับประโยคที่ว่า ‘ข้ารักเจ้า’ ข้าเคยคิดว่ามันคือ พันธะสัญญาแห่งชี วิต แต่เมื่อ มองกลับไป มันกลับไม่ใช่ อีกแล้ว เพราะทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง ข้าเคยคิดว่าตัวเองเป็นผู ้ชนะ จนกระทั่งวันหนึ่งข้าส่องกระจก ข้ากลับ เห็นเพียงใบหน้าของผู ้แพ้ ในช่ วงเวลาที่ดีท่สี ุด ข้ากลับไม่มีคนที่รักที่สุดอยู ่เคียงข้าง” - พี่สะใภ้
ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 5
“เขาบอกกันว่า อกหักนี่มันเจ็บปวดมาก แต่ผมก็ รู้สึกว่ามันไม่เท่าไหร่ มันก็แปลกเหมือนกัน หลัง จากวันนั้นแล้ว ผมทองของผมก็หายไป หายไป เหมือนรักแรกของผม ผมเริ่มรู้สึกตัวว่าที่ท�ำลงไป เมื่อก่อนนั้น มันค่อยไม่ถูกต้องนัก ผมไม่ควรไป เที่ยวงัดร้านของคนอื่น แล้วก็เข้าไปตามอ�ำเภอใจ เพราะร้านค้าทุกร้าน มันก็มีหัวใจเหมือนกัน” - เหอจื่ออู่
6 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
ใน Chungking Express ผู้หญิงผมทองที่สวมโอเวอร์โค้ทและแว่นตา ด�ำ ได้เติมเต็มคืนวันอันแสนเปลี่ยวเหงาของต�ำรวจหนุ่ม ‘เหอจื่ออู่’ ผ่าน ข้อความอวยพรวันเกิดทางเพจเจอร์ หลังจากนั้นเธอยังมีภารกิจที่ต้องไป สังหารฝรั่งที่บาร์ แล้วกล้องก็จับภาพให้เห็นกระป๋องปลาซาร์ดีน ที่มีวัน หมดอายุไปแล้วในวันนั้น คือวันที่ 1 พฤษภาคม อันเป็นเดือนที่มีชื่อเดียว กับแฟนเก่าของเหอจื่ออู่ เช้าวันนั้น เธอจึงได้มอบทั้งชีวิตใหม่และความตายในเวลาไล่เลี่ยกัน และ เมื่อทุกอย่างจบสิ้น เธอก็ตัดสินใจถอดวิกผมบลอนด์ทิ้ง ถ้าหากฝรั่งคน นั้นแทนค่าความรักที่หมดอายุ บัดนี้เธอก็ไม่ต้องพึ่งพาวิกทองของเขา ไม่ ต้องจมอยู่ในอดีต เธอหยิบยื่นอิสระและอนาคตให้ตัวของเธอเอง ผู้หญิงผมทองในเรื่องนี้ น�ำแสดงโดย ไอคอนแห่งโลกภาพยนตร์จีนก�ำลัง ภายใน หลินชิงเสีย เธอเป็นที่รู้จักในบทบาทของ ตงฟางปุป้าย และ นางพญาผมขาว และใน Ashes of Time เธอแสดงเป็นตัวละครที่มีปม แปลกแยกกับจิตใจตัวเอง เธอเป็นทั้ง มู่หยงอิ๋น หญิงสาวที่เปี่ยมไปด้วย ความรัก และมู่หยงหยาง ชายหนุ่มผู้เปี่ยมด้วยความแค้น ทั้งสองต้อง อาศัยอยู่ในร่างเดียวกัน
ตัวตนของตัวละครในหนังของหว่องกาไว มีการยักย้ายถ่ายเท สลับ ที่กันไปมาอยู่บ่อยครั้ง และในหนังที่เป็นเหมือนจักรวาลคู่ขนานของ Chungking Express คือ Fallen Angels ‘ผมสีทอง’ ถูกตีค่า ถึงการเป็นที่ถูกจดจ�ำ การปรากฏตัวของหญิงสาวลึกลับที่ตกหลุม รักแบบแรกพบกับมือปืนหนุ่มที่ร้านแม็คโดนัลด์ น�ำไปสู่ความ สัมพันธ์แบบไม่ผูกมัด ครั้งหนึ่งเธออ้างว่าที่ต้องย้อมผมเป็นสีทอง ‘เพื่อที่จะได้ไม่ถูกลืม’ ผู้หญิงผมทองใน Chungking Express กับ Fallen Angles เป็นบุคคลนิรนาม เธอไม่เคยเอ่ยชื่อเสียงเรียงนาม ขณะที่ในเรื่อง แรก ผู้หญิงผมทองดูลึกลับ สงวนท่าที ระแวดระวังตัว ผู้หญิงผม ทองในเรื่องต่อมากลับเปิดเผย แต่งตัวเปรี้ยว และปรารถนาที่จะได้ รับความรักจนดูเหมือนใจง่าย เธอกลายเป็นตัวละครที่ต้องเจ็บปวด จากความรัก โดยรู้ทั้งรู้ว่าในที่สุดความสัมพันธ์ก็ต้องลงเอยเช่นนี้
ความฉาบฉวยในเมืองใหญ่ถูกขับเน้นให้เห็น จากการตกหลุมรักใครสักคนง่ายๆ การ ปรากฏตัวอีกครั้งของ ‘เหอจื่ออู่’ แต่กลับไม่ใช่ ต�ำรวจคนเดิม ใน Fallen Angles เขาคือ หนุ่มใบ้ที่มีนิสัยอันธพาลชอบงัดร้านค้าชาว บ้านเพื่อท�ำการค้าในยามวิกาล เขาบังเอิญ เข้ามาช่วยสาวคนหนึ่งที่พยายามหนีความเจ็บ ปวดจากความรัก และในที่สุดเขาก็ตกหลุมรัก เธอ พลางเกิดสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งกับเขา คือ สีผมของเขาได้กลายเป็นสีทอง โดยอ้าง เหตุผลว่า เขาอาจได้รับกรรมพันธุ์จากแม่ที่ เป็นชาวรัสเซีย ในขณะที่หญิงสาวที่เขา ชอบพอนั้น ก็เยียวยาตัวเอง ด้วยการอุปโลกน์ ตัวตนของผู้หญิงที่แย่งแฟนเธอขึ้นมาในชื่อ ‘นังหลิงผมทอง’ และออกผจญภัยตามหากัน อย่างสนุกสนานกับเหอจื่ออู่ แต่ไม่ว่าอย่างไร ความรักของเหอจื่ออู่ ก็ต้อง ผิดหวังไม่ต่างจากผู้หญิงผมทอง เขาอาจจะ อ่อนเดียงสากว่าก็ตรงที่คิดว่า ตนเองอาจจะ มาแทนที่ใครสักคนได้ในยามที่คนๆ หนึ่งผิด หวังเพราะรัก ในที่สุดคืนหนึ่งเขาตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยร้านสุดท้ายที่เขาแอบ เข้าไปท�ำกิจการให้ในกลางดึกนั้น คือร้าน Midnight Express อันเป็นร้านเดียวกับที่ ตัวละครในหนังเรื่อง Chungking Express ขายของกันในเวลาปกติ
ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 7
WIDE ANGLE
Madadayo ความงดงามของโลกเก่า
มาดาดาโย คือ ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ อากิระ คุโรซาว่า ผู ท้ ่ไี ด้ช่ื อว่าเป็นปรมาจารย์ภาพยนตร์แห่งยุ ค เขาเคยสร้างผลงานลือลั่นอย่าง ราโชมอน และ เจ็ดเซี ยนซามู ไร แต่สำ� หรับมาดาดาโยกลับเป็นผลงานที่ถอื ว่า ประสบความล้มเหลวทางด้านรายได้ และยังขาดทุนด้วย แม้จะเป็นหนังที่ตวั แทนญี่ป่ ุ นในเวทีออสการ์สาขาต่าง ประเทศแต่กก็ ลับไม่ได้รบั การเข้าชิ งแต่อย่างใด
เนื้อเรื่องกล่าวถึง อาจารย์ อุจิดะ ผู้เคยด�ำรงตนในฐานะอาจารย์วิชาภาษาเยอรมัน ในวัยเกษียณเขาใช้เวลาส่วนใหญ่กับงาน เขียนและใคร่ครวญถึงชีวิตที่ผ่านมา โดยขณะที่ใช้ชีวิตอย่างสงบที่บ้านของตนกับภรรยา ต่างก็มีลูกศิษย์ลูกหาที่เคยเรียนด้วย แวะเวียนมาเยี่ยม พบปะพูดคุยสังสรรค์อยู่เสมอ แลดูจะเป็นชีวิตที่สงบเงียบ จนกระทั่งญี่ปุ่นเกิดภาวะสงคราม อาจารย์อุจิดะจึง ต้องระหกระเหินไปอยู่บ้านโกโรโกโสที่คับแคบ แต่ไม่ว่าชะตากรรมของเขานั้นจะเป็นอย่างไร ก็ไม่เคยสิ้นหวังในชีวิต ด้วยความเป็นที่รักของลูกศิษย์ ทุกๆ ปี ลูกศิษย์จะจัดงานร�ำลึก มาดาไก แปลได้ว่า ‘งานยัง’ ซึ่ง ‘ยัง’ในที่นี้ น�ำมาจากการเล่น ซ่อนหาของญี่ปุ่น ที่ฝ่ายหาจะขานว่า ‘พร้อมหรือยัง’ ส่วนฝ่ายที่ซ่อนตัวอยู่ หากยังหาที่ซ่อนไม่ได้ ก็จะขานกลับไปว่า ‘มาดาดา โย’ คือ ‘ยังหรอกนะ’ ซึ่งนัยยะของค�ำนี้ก็คือ ฉันยังอยู่ ยังไม่ยอมตายง่ายๆ จากปากค�ำของอาจารย์อุจิดะนั่นเอง
8 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
ชีวิตของผู้คนที่ในหนังถ่ายทอดออกมา เต็มไปด้วยท่าทีเป็นมิตร ถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้จะอยู่ในสภาพที่แร้นแค้นจากผลพวงของ สงคราม ทุกคนต่างก็ยังมีศรัทธาต่อวันข้างหน้า และด�ำรงตนอยู่ในวิถีทางที่ถูกต้อง จนแทบจะกลายเป็นแฟนตาซีของคนใน โลกยุคนี้ ทั้งหมดอาจน�ำไปสู่การย้อนกลับไปมองตัวผู้สร้างอย่างคุโรซาว่า หลังจากได้ถ่ายทอดความเป็นจริงของมนุษย์มาเนิ่น นานด้วยศาสตร์ของภาพยนตร์ สิ่งเขาตกผลึกในช่วงบั้นปลายของชีวิต ก็ยังคงว่าด้วยระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน ที่ในที่สุด ไม่มีสิ่งใดส�ำคัญกว่าความสัมพันธ์และมิตรภาพ หากพิจารณาสังคมแบบตะวันตกแล้ว ความชราย่อมน�ำมาซึ่งการถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว การใช้ชีวิตที่ซ�้ำซาก และรอความตาย แต่ ในมาดาดาโย มันคือภาพสะท้อนของสังคมอุดมคติแห่งโลกตะวันออก คนวัยเกษียณอย่างอาจารย์อุจิดะ เป็นภาพแทนของ ชายผู้ยังคงความไร้เดียงสาแบบเด็กๆ และความคิดอ่านที่สร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร ห้อมล้อมด้วยลูกศิษย์ที่รักใคร่ และยังคง สร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบตัวได้อยู่ทุกครั้ง แม้ทุกปีที่ผ่านไปจะหมายถึง การเฉียดใกล้ความตายที่คืบคลานเข้าหา และ ความโรยราของสังขาร ซึ่งอุดมคติแบบนี้กลายเป็นความ feel good ที่คนในยุคสมัยนี้อาจหลงลืมไปแล้ว เมื่อสื่อต่างๆ มุ่งน�ำ เสนอให้แต่ละคนมุ่งหาความเป็นปัจเจก ความส�ำเร็จที่วัดกันด้วยชื่อเสียงเงินทอง มองข้ามอุดมการณ์ของบุคคลที่มีหน้าที่ ขัดเกลาสั่งสอนคนในสังคม ซึ่งสะท้อนออกมาจากสถานะของอุจิดะที่เป็นอาจารย์
ฉากหนึ่งในหนังที่ทั้งดีงามและประดักประเดิดมาก คือ หลังจากที่อาจารย์อุจิดะได้ย้ายที่พักมาอยู่บ้านหลังใหม่ในช่วงที่ผลพวง ของสงครามเริ่มเบาบางลง ในละแวกนั้นได้มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินที่อยู่ตรงข้ามบ้านของอาจารย์อุจิดะ แน่นอนว่าภายหลัง สงครามเจ้าของพื้นที่คงต้องอยากขายที่ดินผืนนี้เพื่อเอาไปตั้งตัวใหม่ แต่แล้วข้อเสนอของนายทุนกลับเปลี่ยนไป เขาต้องการที่ จะสร้างตึกสูงสามชั้นขึ้นมาเพราะมองว่าพื้นที่ที่มีอยู่น้อยเกินไป เจ้าของที่ตระหนักได้ว่า หากสร้างขึ้นมาสูงขนาดนั้น ความสูง ของตึกย่อมไปบดบังแดดที่จะส่องในบ้านใกล้เคียง (ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นว่าที่พักอาศัยต้องได้รับแสงแดด) ใน ที่สุดเจ้าของที่กัดฟันไม่ยอมขายที่ให้นายทุนคนนั้น อาจารย์อุจิดะได้เห็นความจริงใจของเจ้าของที่ผืนนั้น แต่ก็อดสงสารแทนเจ้าของที่ไม่ได้ เขาได้แต่กล่าวขอบคุณในความมีน�้ำใจ ขณะที่พวกลูกศิษย์ลูกหาของอาจารย์ต่างเห็นเหตุการณ์อยู่ จึงแอบไปติดต่อเพื่อซื้อที่ดินกับเจ้าของที่ภายหลัง โดยไม่ให้ อาจารย์รู้ และเห็นร่วมกันว่า ถึงจะต้องหาเงินมาจ่ายค่าที่อย่างน้อยพวกเราก็จะได้อยู่ใกล้ชิดอาจารย์ และก็ช่วยเจ้าของที่ดินที่ ยังยึดมั่นในความดีคนนี้ ฉากดังกล่าวถ่ายทอดออกมาอย่างซื่อตรงและเรียบง่าย ยิ่งหากพิจารณาว่านี่คือหนังแห่งยุค 1993 มันสะท้อนความเชื่อในวิถี ทางดั้งเดิมก่อนยุคนั้นที่ผู้คนจะไม่สั่นคลอนไปกับผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ยอมสูญเสียความนับถือตัวเองแม้ว่าต้องแลกมาด้วย ความยากล�ำบาก แต่ส�ำหรับโลกยุคนี้ ความคิดแบบนี้ช่างล้าหลังและเพ้อฝันอย่างหาที่สุดไม่ได้ ราวกับว่าสิ่งที่เล่าออกมา ช่าง ดู ‘โลกสวยเกินเหตุ’ แต่ความรู้สึกเช่นนี้ที่เกิดขึ้น มันท�ำให้เราอดที่จะอาลัยอาวรณ์ไม่ได้ ว่าวิถีแห่งโลกเก่าที่คงความดีงามของ ผู้คนไว้ มันได้สูญสิ้นไปแล้วจริงๆ
พิรุณ อนุสรุ ยิ า
ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 9
WIDE ANGLE
20th Century Boys ่ เพือน ความทรงจ�ำ อาชญากรรมร�ำลึก
หากเราขอให้คณ ุ ลองหลับตานึกถึงหน้าเพื่อน เพื่อนของคุณคือใคร? เพื่อนสนิทสมัยประถม มัธยม หรือ มหาวิทยาลัยจะมีใครบ้างไหมที่นกึ ถึงเพื่อนที่เราไม่ชอบหน้า จะมีใครบ้างที่นกึ ไปถึงเพื่อนที่ไม่เคยมีปฏิสมั พันธ์ กัน หรือที่รา้ ยยิ่งไปกว่านัน้ เพื่อนคนนัน้ ยังมีตวั ตนอยู ใ่ นความทรงจ�ำของคุณหรือเปล่า?
20th Century Boys เล่าเรื่องย้อนไปถึงปี 1969 แก๊งเคนจิ ที่มีโอ๊ตโจะ โยชิสึเนะ มารุโอะ ยูคิจิพวกเขาสร้างฐานทัพลับ อัน เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลที่อนุญาตเฉพาะผู้ที่เป็นเพื่อนในกลุ่มเท่านั้น พวกเขาแชร์มังงะ หนังสือโป๊ และฟังเพลงจากวิทยุร่วมกันที่นี่ โอ๊ตโจะวาดตราของฐานทัพลับเป็นรูปดวงตาบนหลังมือที่ชูนิ้วชี้ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพของพวกเขา ต่อมายูคิจิ และ ดองกี้เข้ามาร่วมกลุ่ม พวกเขาแต่งเรื่องลงใน “สมุดบันทึกค�ำท�ำนาย” ที่กล่าวถึงโลกในอนาคตว่าจะมีการท�ำลายล้างโลกด้วยวิธี การต่างๆ โดยพวกเขาจะช่วยกันกอบกู้โลก
10 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
ความทรงจ�ำในอดีตที่ถูกกลบฝัง และสถานะความเป็นผู้ใหญ่ของเคนจิและแก๊งเพื่อนที่จะดู ผ่านพ้นวัยของ “การเล่น” แบบเด็กๆ ภาระรับผิดชอบที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องแบกรับ ทั้งหน้าที่ การงานและครอบครัวท�ำให้พวกเขาหลงลืมเรื่องราวในอดีต แม้แต่บางเรื่องราวก็แทบไม่ เคยผุดขึ้นในความทรงจ�ำ แต่นั่นเป็นเพราะ “เพื่อน” บางคนไม่มีค่าพอให้พวกเขาจดจ�ำ ความพยายามปะติดปะต่อเรื่องราวว่า “เพื่อน” เป็นใครจึงเต็มไปด้วยอุปสรรค ความทรง จ�ำที่กระท่อนกระแท่นที่เมื่อพวกเขายิ่งพยายาม “รื้อ” มากขึ้นเท่าไหร่กลับกลายเป็นการ “สร้าง” ขึ้นมาใหม่ ทุกภาคของภาพยนตร์เรื่องนี้ ความลับที่ว่า “เพื่อน” เป็นใครจึงเปลี่ยน ไปเรื่อยๆ ตามการคาดเดาของแก๊งเคนจิ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “เพื่อน” ไม่เคยมีตัวตนอยู่ใน พื้นที่ความทรงจ�ำของเคนจิและแก๊งเพื่อนเลย ทั้งที่“เพื่อน” ก็เคยขอเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มเคนจิ แต่เคนจิไม่เคยตอบรับ เมื่อมนุษย์ถือเป็นสัตว์สังคม การไม่ได้ “เล่น” ด้วยกันของ “เพื่อน” และแก๊งเคนจิจึงกลาย เป็นการปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นสังคมเดียวกันโดยปริยาย และยิ่งท�ำให้ “เพื่อน” ตกอยู่ใน สถานะของคนชายขอบมากยิ่งขึ้น เขากลายเป็นบุคคลที่ไร้ตัวตนเสมือนไม่ได้สังกัดอยู่ใน สังคม เหมือนที่ “เพื่อน” ได้กล่าวกับสาวกในลัทธิว่า ปี 1969 เป็นปีที่ยานอพอลโล 11 ลง จอดที่ดวงจันทร์ ผู้ที่ได้เหยียบดวงจันทร์ที่คนทั้งโลกจดจ�ำคือ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong)ขณะที่ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ซึ่งต้องอยู่ควบคุมยานท�ำให้ ไม่ได้ลงดวงจันทร์ กลับไม่มีใครพูดถึงเขา ในปีเดียวกัน แก๊งเพื่อนของเคนจิก็ตื่นเต้นกับ ปฏิบัติการอพอลโล 11 เช่นกัน แต่ไม่มีใครสนใจคอลลินส์ผู้เปรียบเสมือน “เพื่อน” นั่นเอง ทั้งนี้ภาพยนตร์เองก็กีดกัน “เพื่อน” ออกไปจากการรับรู้ของผู้ชมเช่นกัน ผู้ชมจึงไม่อาจ เข้าใจและรู้จักตัวตนของ “เพื่อน” พอๆ กับเคนจิ นอกจาก “เพื่อน” จะไม่ได้เข้าร่วมแก๊งเคนจิแล้ว การใส่หน้ากากปกปิดใบหน้าก็ท�ำให้เขา ถูกกลั่นแกล้งและเข้าใจผิดจากคนอื่นๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเรียกร้อง “ความเป็นหนึ่ง เดียวกัน” สูงจนไม่ยอมให้ผู้ที่มีความแตกต่างได้มีพื้นที่ยืนในสังคม เด็กที่ถูกรังแกอย่าง ซา ดาคิโยะ ที่เข้าใจความรู้สึกของ “เพื่อน” เมื่อเขาร�ำลึกความทรงจ�ำได้ว่าตนเคยใส่หน้ากาก เหมือน “เพื่อน” และถูกซ้อมโดยไม่มีใครสนใจฟังว่าเขาคือใคร การใส่หน้ากากกลายเป็น ภาพแทนของความเป็นอื่น และเมื่อการ “เป็น” เหมือนคนอื่นๆ ถือเป็นกฎเกณฑ์หนึ่งสังคม ในเมื่อเพื่อนไม่ยอม “เล่น” ตามกติกาของสังคม เขาจึงถูกสังคมลงโทษ ซึ่งบ่มเพาะความ รู้สึกฝังใจว่าโลกช่างโหดร้าย การก่ออาชญากรรมของ “เพื่อน” ตามสมุดบันทึกค�ำท�ำนายคือการกระตุ้นเตือนความทรงจ�ำของ เคนจิให้หวนระลึกถึงอดีตที่ไม่มีใครโหยหาความเป็นเด็กถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ทุกคนล้วนก้าวไปข้าง หน้าด้วยภาระของผู้ใหญ่ที่แสวงหาความมั่นคง กลับกันกับ “เพื่อน” ที่มีพร้อมทุกอย่างตามค่านิยม ของสังคมทุนนิยมทั้งชื่อเสียงเงินทอง แต่มีตัวตนที่ไม่ได้รับการเติมเต็มจากอดีตที่แหว่งวิ่นของเขา ดังนั้นสิ่งที่เพื่อนท�ำจึงเป็นการชวนเคนจิ “มาเล่นกันเถอะ มาเล่นกันเถอะ” (ตามที่มักจะพูดใน ภาพยนตร์) เพื่อทดแทนอดีตที่เขาโหยหาและขาดหายไป โดยในครั้งนี้เพื่อนได้สวมบทบาทพระเอกในคราบผู้ร้าย เมื่อสามารถผลิตวัคซีนมาช่วยคนทั้งโลกได้ ทั้งที่ตนเองเป็นผู้ผลิตไวรัส ขณะที่ผลักเคนจิกับเพื่อนไปเป็นผู้ร้ายแทน การสร้างความหวาดกลัวได้ แผ่ขยายไปทั่วโลก แต่ตัวเขาพร้อมหยิบยื่นความหวังท�ำให้ “เพื่อน” ยิ่งมีอ�ำนาจมากขึ้น แต่เขาก็ยัง ไม่หยุดแผนการท�ำลายโลกครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตามเพื่อนก็เก็บสถานที่แห่งความทรงจ�ำในวัยเด็ก ไว้คือ งานเอ็กซ์โป การพยายามรื้อฟื้นความทรงจ�ำในอดีตที่มี “เพื่อน” อยู่ด้วยของเคนจิกินเวลายาวนานมาจนถึงปี 2017 เขาปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดคือ เมื่อเพื่อนก�ำลังจะท�ำลายล้างโลก การ เรียกคืนความทรงจ�ำเกี่ยวกับ “เพื่อน” ที่ขาดหายไปส�ำเร็จ ท�ำให้เคนจิเชื่อมั่นและท�ำในสิ่งที่ดู เหมือนเป็นไปไม่ได้ที่สุดนั่นคือ เล่น “เพลงร็อค” ที่เขาเคยกล่าวเอาไว้ในวัยเด็กว่าเพลงร็อคจะกู้ โลก เพื่อเป็นการให้ความหวังผู้คน ซึ่งเขาก็ท�ำได้ส�ำเร็จ ดนตรีกลายเป็นการต่อสู้กับอ�ำนาจรัฐ (“เพื่อน” เป็นประธานาธิบดีในเวลานั้น) ระหว่างทางไปงานเอ็กซ์โป เคนจิผ่านเมืองจ�ำลองในอดีตรวมทั้งฐานทัพลับที่ “เพื่อน” สร้างขึ้น และแทบจะเป็นฉากสุดท้ายในภาพยนตร์ที่เคนจิได้เผชิญหน้า กับ “เพื่อน” ที่ยอมเปิดเผยใบหน้าตนเอง “เพื่อน” ยังคงชวนเคนจิ “มาเล่นกัน” พร้อมทั้งบอกว่าเขายอมเล่นเป็นตัวร้าย แต่ตัวร้ายอย่างเขาก็อยากให้ พระเอกช่วยเหมือนกัน “เพื่อน” จึงต้องการเพียง “การมีตัวตน” ในสังคมหรือในความทรงจ�ำของคนอื่น เขาเป็นคนเดียวที่โหยหาอดีตที่ขาดหายไป การ จ�ำลองทุกสิ่งในอดีตให้เคนจิและแก๊งหวนร�ำลึกถึง จึงเป็นความพยายามให้ตัวตนของเขายังคงด�ำรงอยู่ การหวนกลับไปในความทรงจ�ำของ “เพื่อน” ด้วยการเข้าไปในโปรแกรมจ�ำลองความทรงจ�ำเพื่อแก้ไขอดีต ท�ำให้เคนจิเติบโตไปอีกขั้น เขาได้เรียนรู้ว่าที่ผ่าน มา เขาได้สร้างบาดแผลให้ใครต่อใครบ้าง รวมทั้งการเผชิญหน้ากับความจริง การยอมรับผิดและการแก้ไขปัญหาอันเป็นวิถีที่ผู้ใหญ่ควรจะท�ำ การดูหนัง เรื่องคงท�ำให้เราต้องหันกลับมามอง “เพื่อน” ในชีวต ิ จริงว่า เรานับใครเป็นเพื่อนบ้าง และเราหลงลืมใครในชีวิตไปหรือเปล่า เพื่อที่วันหนึ่งจะได้ไม่มีคนมา พูดกับเราว่า “มาเล่นกันเถอะ มาเล่นกันเถอะ”
เชตี หญิงร้ายในกายทราม
ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 11
WIDE ANGLE
ปี หนึ่งเพื่อนกัน และวันอัศจรรย์ของผม การฟื้ นคืนชี พของ Stand Alone
ถ้าให้ยอ้ นไปไกลกว่านี้ 30-40 ปี กอ่ น คงไม่มใี ครเชื่ อว่าโรงหนังเดี่ยว (โรงหนังสแตนด์อโลน) อันใหญ่โตมโหฬาร จุ คนได้นบั พันสบายๆ บางแห่ง จอกว้างสูงเท่าตึก 3 ชั้น ฉายหนังเรื่องเดียวโปรแกรมเดียว ส่วนตัวโรงเองบางแห่งกินพืน้ ที่กว่าครึ่งสนามฟุ ตบอล และส่วนใหญ่เป็นศูนย์กลาง ของชุมชนสมัยใหม่ แหล่งนัดพบวัยรุ น่ , ครอบครัว วงดนตรีหลายวงเคยแจ้งเกิดจากการเปิ ดแสดงสดในโรงหนัง ไม่มีใครคิดว่าวัฒนธรรมการดู หนังในโรงเดี่ยว จะล่มสลายด้วยน�้ำมือของเครื่องเล่นวีดีโอเทปขนาดเท่าหมอนหนุน และเทปวิดีโอขนาดเท่าหนังสือหนึ่งเล่ม
12 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
“ปีหนึ่งเพื่อนกัน และวันอัศจรรย์ของผม” น่าจะเป็นหนังไทย เพียงไม่กี่เรื่องที่บันทึกสถานการณ์ดังกล่าวเอาไว้แทบจะครบ ถ้วน ผ่านเรื่องราวของ ต้น (ปฏิภาณ ปฐวีกานต์) เด็กหนุ่มผู้รัก หนังเป็นชีวิตจิตใจ ไล่ดูหนังเก่าทั้งตามการฉายในสถาบันต่างๆ ตลอดจนเช่า/ซื้อวิดีโอเทปมาดู ความรักในหนังของต้นถูกปลูก ฝังโดย เต้ย (ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง) พี่ชายคนเดียวของเขาที่จาก ไปนานแล้ว สมัยเด็กๆ เต้ยมักพาต้นซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปดูหนัง ที่ศาลาเฉลิมธานี (โรงหนังนางเลิ้ง) เสมอ แต่หลังเต้ยจากไป ต้นก็ไม่ได้เหยียบโรงหนังอีกเลย ระหว่างหนังด�ำเนินเรื่องไป เราค่อยๆ เรียนรู้จากต้นว่า เขาอยู่ ในยุคที่โรงหนังเดี่ยวเริ่มทยอยปิดตัวลง กลายเป็นโรงฉายหนัง ชั้นสอง (หนังหลุดโปรแกรมควบสองเรื่อง) ที่ไม่มีใครเหลียวแล บางแห่งปิดตัวถาวรกลายเป็นอาคารร้างไปเลย เช่นที่โรงหนัง เฉลิมธานี แต่เมื่อวันหนึ่งจู่ๆ ต้น นึกครึ้มผ่านโรงหนังดังกล่าว และตัดสินใจเดินเข้าไปในส�ำรวจโรงหนังร้าง ความทรงจ�ำเก่าๆ ค่อยหวนคืนและพบว่า เต้ย กลับมาหาเขาอีกครั้ง ต้น ชวนเต้ย ไปดูหนังในโรงมินิเธียร์เตอร์ (โรงหนังติดห้างซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ทั้งขนาดโรงและขนาดจอ) และโรงหนังมัลติเพล็กซ์ (มีหนังให้ เลือกมากมาย มีหลายจอให้เลือกดู) แต่ส�ำหรับเต้ย นี่ไม่ใช่โลก ที่เขาคุ้นเคย มันเปลี่ยนไปทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวต้นเองก็เช่นกัน หนังให้เราเห็นความสัมพันธ์ของสองพี่น้อง ต้น-เต้ย พันผูกกัน ด้วยความรักในการดูหนัง ซึ่งท�ำให้ความขัดแย้งทางเทคโนโลยี และวัฒนธรรมการดูหนังที่เปลี่ยนไป สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิด วิธี การมองโลก และวิถีชีวิตของสองพี่น้องต่างกันด้วย เต้ย ซึ่ง แท้จริงเป็นวิญญาณยึดติดไม่ไปไหน เลือกจะฝังตัวอยู่ในโรง หนังเฉลิมธานี หนึ่งในฉากส�ำคัญของเรื่องคือการพาตัวละคร ต้น เข้าไปภายในโรงหนังเฉลิมธานี เห็นความผุพัง ช�ำรุด ทรุด โทรม อ้างว้างของโรงหนังที่เคยใหญ่ในอดีต แต่กลับกลายเป็น โรงไม้ร้างที่ไม่มีใครเหลียวแล เว้นแต่วิญญาณพี่ชายเขาเอง กับ ลุงสมชาย (ส.อาสนจินดา) คนเก็บตั๋วประจ�ำโรงที่ปัจจุบันผันตัว มาเป็นภารโรงดูแลโรงหนังเก่าร้างแห่งนี้ บทบาทของ ส.อาสนจินดา ในเรื่องอาจเป็นบทเล็กๆ แต่กับ สถานะส่วนตัวของ ส.อาสนจินดา ในฐานะต�ำนานหนังไทย เป็น ทั้งผู้สร้าง-นักแสดงที่ยิ่งใหญ่ ผ่านยุคสมัยตั้งไข่กันใหม่เป็นนัก แสดงหนัง 16 มม. (2493-2513) เริ่มแสดงสลับก�ำกับในยุค หนัง 35 (2513-2530) จนล่วงเข้ายุคกระโปรงบานขาสั้น หนังวัยรุ่นล้นตลาด (2530-2538) ผ่านทั้งจุดสูงสุดและตกต�่ำ สุดในวงการหนังไทยมาหมดแล้ว ส.อาสนจินดา จึงเสมือนหนึ่ง ในต�ำนานควบคู่กับตัวโรงหนังเฉลิมธานีเอง ที่ยืนยงฉายหนังมา ร่วมครึ่งศตวรรษ เริ่มฉายหนังครั้งแรกในปี 2461 ในสมัยแผ่น ดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มาปิด ตัวเอาในปี 2536 หลังวัฒนธรรมการดูหนังในโรงหนังเดี่ยวถึง จุดจบ
ตัวละครอย่าง ต้น ที่แม้ผูกพันกับโรงหนังเฉลิมธานีและตัวลุงสมชาย ตามท้องเรื่องจริงอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรากลับพบว่า ต้นเองนับเป็น คนรุ่นหลังสุดท้ายที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ดูหนังในโรงหนังเดี่ยว เป็นความทรงจ�ำฝังใจแรกของการดูหนัง และพร้อมจะลืมเลือนไปเมื่อ เทคโนโลยีใหม่มาถึง ตรงกันข้ามกับเต้ย ความตายของเขาท�ำให้ตัว เขาเองติดอยู่ในความทรงจ�ำในโรงหนังเก่า ไม่เคยมีโอกาสรับรู้ถึงการ เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการดูหนังใดๆ ดังนั้นตลอดทั้งเรื่อง ความ พยายามของ ต้น ที่จะท�ำให้ เต้ย ลองรับประสบการณ์ดูหนังในรูป แบบใหม่ๆ จึงกลายเป็นความสนุกชั่วครู่ชั่วยาม เช่นเดียวกับการที่ ต้น พยายามหวนหาอดีตโดยคลุกคลีอยู่กับ เต้ย ให้มากที่สุด กลาย เป็นการพยายามฉุดรั้งสิ่งที่เปลี่ยนไปแล้วให้กลับคืนดั่งเดิม ซึ่งในท้าย สุด ต้น ได้รับบทพิสูจน์ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ความตายของ เต้ย และความตายของโรงหนังเก่า ของวัฒนธรรมการ ดูหนังแบบเก่า จึงเป็นเรื่องเดียวกันส�ำหรับต้น แต่ส�ำหรับคนดู 1 ปีหลังจากหนังเรื่อง “ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ ของผม” ออกฉาย วิชัยและวิชา พูลวรลักษณ์บุกเบิกโรงหนังแบบมัลติ เพล็กซ์ EGV และซีนีเพล็กซ์ Major โดยมีแนวคิดรวมโรงหนังเข้ากับ ห้างสรรพสินค้า (cinema บวก complex) จนกลายเป็นการสร้าง ยุคสมัยใหม่ของโรงหนังหลายจออยู่รวมกัน มีร้านค้า-ร้านอาหาร แบรนด์ดังมากมาย ยกระดับโรงหนังขึ้นไปเจาะกลุ่มฐานคนชนชั้น กลางและสูง พลอยผลท�ำให้โรงหนังเดี่ยวที่ยังหลงเหลืออยู่ ถูกลด ระดับลงเป็นโรงหนังชั้นสองไปโดยปริยายแทบทั้งหมด นับจากนั้นโรง หนังเดี่ยวก็กลายเป็นอดีตส�ำหรับคนดูรุ่นใหม่ๆ เวลาผ่านมา 22 ปี ใครจะเชื่อว่าปาฏิหาริย์ซึ่งเคยเกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ อาจจะกลับมาเกิดขึ้นจริงในโอกาสครบรอบ 100 ปีของโรงหนังศาลา เฉลิมธานี (ซึ่งจะครบร้อยในปี 2561) ด้วยความร่วมมือของส�ำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และ คนในชุมชนนางเลิ้ง ที่หวังพัฒนาให้โรงหนังไม้ที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของโลกแห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ทั้งจัดฉายหนัง, ให้ความรู้ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หนังและโรงหนังไทยโดยโครงการนี้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกันในงานภาพยนตร์สนทนา “การชุบชีวิตโรงภาพยนตร์ เก่า” ซึ่งจัดขึ้นโดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา หวังว่าถ้าโรงหนังเฉลิมธานีกลับมาฉายหนังได้อีกครั้ง “ปีหนึ่งเพื่อนกัน และวันอัศจรรย์ของผม” จะเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ชวนคอหนังรุ่นใหม่ มาสร้างความทรงจ�ำต่อการดูหนังในโรงเดี่ยวให้กลับมา
ชาญชนะ หอมทรัพย์ ส.อาสนจินดา ในสถานะของคนท�ำหนัง
ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 13
INTERVIEW
In memory of จักรวาล นิลธ�ำรงค์ INTERVIEWED BY PIRUN ANUSURIYA PHOTO : NATTAPOL LOVAKIJ
ผมเป็นอาจารย์สอนภาพยนตร์ที่ธรรมศาสตร์ ขณะเดียวกันก็ท�ำงาน ศิลปะไปด้วย หนังก็เป็นส่วนหนึ่งในงานศิลปะหมวดภาพเคลื่อนไหว การ ท�ำหนังของผมจึงไม่ได้มุ่งไปในทางแมสตั้งแต่แรก การท�ำศิลปะมาก่อน แล้วมาท�ำหนังก็เป็นงานที่ประนีประนอมแล้วประมาณหนึ่ง มากกว่าที่ จะไปท�ำศิลปะคนเดียว แต่ในแง่หนังที่มันเป็นศิลปะก็ต้องดีลกับคนเยอะ ขึ้นกว่าตอนท�ำศิลปะ แต่คงไม่ถึงขั้นไปดีลกับลูกค้า อันนั้นดูเกินกว่าสิ่งที่ ตั้งใจไว้เกินไปหน่อย ความคิดที่จะท�ำหนังยาวมีมาตั้งแต่ตอนเรียนจบเมื่อปี 2006 พอดีช่วง นั้นได้ทุนไปท�ำศิลปะที่เนเธอร์แลนด์ ผมก็เลยเขียนโปรเจคจะท�ำหนังขึ้น มาระหว่างอยู่ที่นั่น โปรเจคถูกพัฒนาบทขึ้นมา ท�ำไพล็อทเป็นหนังสั้น แต่ในที่สุดโปรเจคเรื่องนี้มันดันไม่เกิด แต่ตัวบทถูกพัฒนาจนกลายเป็น หนังเรื่อง Vanishing Point ในที่สุด เวลาที่เริ่มท�ำงานหลายๆ ชิ้น ตัวผมเองเริ่มต้นจากการหา Landscape ก่อน หา Space ที่มันมีกายภาพที่สวย และมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ที่เล่าเรื่องตัวเองได้ มันก็อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่หนังมักจะถ่ายด้วยภาพ กว้าง แต่ถึงแม้จะถ่ายภาพที่ใกล้มาก ก็มีนักวิจารณ์หลายคนมองว่าเป็น Landscape เหมือนกัน พอมันมีคาแรคเตอร์ใส่เข้าไปในหนัง มันก็ท�ำให้รู้สึกว่าดูคลุมเครือ ไม่รู้ ว่าตัวละครตัวนี้ก�ำลังคิดอะไร ตรงนี้อาจจะเรียกว่า คลีเช (Cliché) ก็ได้ ยิ่งส�ำหรับหนังอาร์ตที่ใครๆ ก็ใช้กัน แต่ส�ำหรับผมมันเหมือนการที่เรา มองใครซักคนทีแรก แล้วเหมือนเรา “อ่าน” เขาไม่ออก ว่าเขาคิดอะไร อยู่ ดังนั้นหนังก็เหมือนการน�ำเสนอจุดนี้ เรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ ว่าต้องใช้การค่อยๆ มอง ศึกษารายละเอียดคนๆ นั้น แม้แต่เวลาผมสอนหนังสือให้เด็กก็ตาม ผมว่าเราไม่สามารถแบ่งชัดเจน ได้ว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจ แล้วอะไรคือสิ่งที่ถูกสร้างให้มันเกิดขึ้นมา ใหม่จากแรงบันดาลใจนั้น หนังเรื่อง Vanishing Point ก็เช่นเดียวกัน ต้นตอเรื่องนี้มาจากภาพถ่ายภาพอุบัติเหตุของพ่อแม่ผม เริ่มพัฒนาเรื่อง จากตรงนั้น มีเรื่องราวของพ่อผม ทั้งที่มีส่วนจริงด้วยและส่วนที่แต่งขึ้น กับอีกส่วนหนึ่งที่ผมสมมติตัวเองเป็นพ่อคนว่ามันจะเป็นยังไง และยังมี ตัวละครพระ ที่เป็นบุคลิกหนึ่งของผมด้วย ดังนั้นอาจพูดได้ว่า คาแรคเตอร์ทั้งสามก็คือตัวผมเอง
14 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
เก่ง จักรวาล นิลธ�ำรงค์ นักท�ำหนังอิสระและผู้สร้างสรรค์วิดีโออาร์ท กับหนังเรื่องล่าสุด Vanishing Point หนังไทยนอกกระแส ที่ได้รางวัลไทเกอร์ อวอร์ด จากเทศกาลหนังร็อตเตอร์ดาม เรื่องราวของ หนังได้พัฒนาเรื่องมาจากภาพข่าวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของเขา ผนวกเข้ากับเรื่องแต่งที่สะท้อนภาวะ ความเป็นพ่อ ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 15
สไตล์งานของเขา มักจะน�ำเสนอ เรื่องราวของคนที่แบกรับสิ่งหนึ่งอยู่ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจจาก การศึกษาศาสนาพุทธ ความคิดเหล่านี้สั่งสมมาตั้งแต่สมัยท�ำหนังสั้น นอกจากเลือกที่จะหยิบจับ เรื่องราวในชีวิตจริง ยังมีสิ่งที่สะท้อนความคิดต่อปัจเจกบุคคล พื้นที่และความทรงจ�ำ
หนังสั้นที่ผมท�ำมาก่อนหน้าเรื่อง Man and Gravity เป็นพื้นฐานความ คิดของหนังเรื่อง Vanishing Point โดยอิงเรื่องของท่านพุทธทาสที่น�ำ เสนอเรื่องการเอาชนะอุปสรรค หรือก�ำลังแบกวัตถุที่หนัก ซึ่งเรามักมอง ไปที่วัตถุที่ท�ำให้หนัก ท�ำให้เราทุกข์ร้อน ไม่สบายใจ แต่เรามองข้ามแรง โน้มถ่วง ที่มันอยู่ตรงนี้ แต่เราไม่เคยมองเห็น ท่านพุทธทาสจึงเปรียบสิ่ง นี้เสมือนกรรม Man and Gravity สะท้อนเป็นภาพชีวิตของคนๆ หนึ่ง ที่เดินทางไปยังจุดหมายที่ไร้สาระ และยังแบกของที่ไร้สาระ แม้แต่ชีวิต ของเราก็เป็นเรื่องไร้สาระ จนวันหนึ่งที่ถึงปลายทางก็แบกภาระนั้นไปไม่ ได้อยู่ดี ส่วนใน Vanishing Point มันก็มีการแบกภาระนั้น คือแบกทั้งอดีต ความผูกพันเอาไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่นามธรรมกว่า โลเคชั่นก็เป็นการถ่าย จากตะวันออกสุดกับตะวันตกสุดของประเทศ แต่ไม่ได้ระบุในหนัง มัน บอกแค่ที่นั่นเคยมีการรบมาเมื่อหลายสิบปีก่อน และมีนักข่าวคนหนึ่ง เดินทางมาเพื่อท�ำข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในบริเวณนี้ แต่สุดท้าย อุดมการณ์ต่างๆ ก็หายไป และตัดสินใจมาตั้งรกราก สร้างครอบครัวอยู่ ที่นี่ ซึ่งคือโรงแรม แต่หนังมันก็ไม่ได้เล่ารู้เรื่องขนาดนี้นะ คนที่ดูแล้วรู้ เรื่องผมยังแปลกใจเลยด้วยซ�้ำ (ฮา) แต่ก็มีบางคนดูรู้เรื่อง เช่น นัก วิจารณ์ที่เขียนใน Hollywood Reporter ตัวละครนักข่าว มันก็คือภาวะของคนที่ยังเป็นหนุ่ม มีอุดมการณ์ อยาก จะท�ำอะไรให้มันส�ำเร็จ แต่เมื่อเราโตขึ้น มองย้อนกลับไป สิ่งที่เราท�ำเรา เคยคิดว่ามันเป็นความดี แต่จริงๆ มันก็คือกิเลสอย่างหนึ่ง ที่ท�ำให้รู้สึก ว่าตัวเองดี ซึ่งการเป็นนักข่าว ขุดคุ้ยอะไรต่อมิอะไร ตัวเราอาจจะมองได้ ว่าเป็นการท�ำดี สะท้อนความจริงต่อสังคม แต่จริงๆ แล้วมันก็คือการ สนองตัวเองอยู่ดี
16 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
ส่วนหนึ่งตอนที่ผมเขียนบทเรื่องนี้ มันเกิดเหตุการณ์ช่วงสึนามิพอดี ตอนนั้นใจมันพุ่งคิดอยากไปช่วยแล้ว แต่เมื่อมาลองคิดดูให้ดี ที่เราอยาก จะช่วยคน เพราะว่าเราเสพติดความดีหรือเปล่า แนวคิดที่ว่านี้จึงเป็นที่มาของตัวละครนักข่าว ตัวละครเจ้าของโรงแรม มันคือภาพสะท้อนคนที่เคยเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตของเรา เมื่อเราเป็นเด็ก เขาคือคนที่เราเคยมองเป็นฮีโร่ เป็นไอ ดอล ซึ่งน่าจะเป็นผู้ใหญ่ในแบบที่เราอยากเป็น แต่พอเอาเข้าจริงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ตัวเขาก็ยอมแพ้ ทอดทิ้งอุดมการณ์ มีลูกมีเมีย ใช้ชีวิตที่น่า เบื่อ จึงพยายามไปหาความสุขด้วยการไปแอบถ�้ำมองชาวบ้าน สถานที่ที่ผมไปถ่ายที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยท�ำวีดิโออาร์ทมาแล้ว นั่นคือโรงพยาบาลราชบุรี ที่เคยมีเหตุการณ์เกี่ยวกับก็อด อาร์มี่ และรัฐบาลก็บุกเข้าไปฆ่าพวกเขาหมดเลย ซึ่งในสมัยนั้นผมก็ท�ำวีดิโออาร์ทขึ้นมา แต่ส�ำหรับหนังเรื่องนี้เราแค่กล่าวถึงมุมมองชีวิต มากกว่าจะพูดถึงปัญหาชายแดน เช่น ฉากที่ตัวละครหนึ่งพูดถึงพื้นที่แถวนี้ที่เคยมีการรบกัน กล่าวถึงเพื่อนคนที่เป็น ตชด. ในช่วงพักรบ แล้วไปเจอผู้ก่อการร้ายอีกฝั่งของรั้วลวดหนาม แล้วสองคนนี้ก็กลายเป็นเพื่อนกัน ซึ่งมันพูดในที่มุมว่า มนุษย์เราต่างก็มีหน้าที่ แม้ว่าจะพูด เรื่องสงคราม เราก็ย้อนกลับมาพูดวิธีคิดของมนุษย์ที่มันฝังใจตัวเอง
ผมเพิ่งไปบวชมาเดือนที่แล้ว ตอนที่บวชตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องคิดงานให้ได้หนึ่งชิ้น ก่อน นั้นมีเรื่องหนึ่งที่เขียนไว้แล้วกะว่าต้องเขียนให้เสร็จตอนบวชนี่แหละ แต่พอเขียนไป แล้วเกิดไม่ชอบ เลยเลิกเขียนเรื่องนั้น ผมอยากจะเขียนจากสิ่งที่ตัวเองสัมผัสจาก สภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้นมากกว่า ชื่อที่ตั้งไว้ตอนนี้คือ Present Simple เป็น เรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้จากธรรมชาติ กับเรื่องของแม่ ผมเลือกใช้ธรรมชาติเล่า เพราะธรรมชาติใช้ได้กับทุกศาสนา พอผมสึกออกมา กลับรู้สึกว่า แม้แต่ศาสนาพุทธมันก็คือฟอร์มอย่างหนึ่ง เอาเข้าจริง กลับท�ำให้ผมสนใจศาสนาอื่นด้วยซ�้ำ มันท�ำให้อยากค้นหาว่า จุดสูงสุดที่เรียกว่า Nirvana ของแต่ละศาสนาคืออะไร ที่ผ่านมาผมท�ำแต่เรื่องราวเหล่านี้ ยิ่งพอไปบวช มาแล้ว ตอนนี้ลงใจเลยว่า การท�ำเรื่องแบบนี้มันมีประโยชน์ เพราะถ้าไม่มีประโยชน์ ผมคงไม่ท�ำ
จริงๆ ผมไม่ได้แบ่งแยกว่าหนังบันเทิง หนังอินดี้ มันมีแค่หนังดีกับหนังไม่ดี หนังได้ร้อยล้าน ถ้าไม่ดี มันก็คือหนังไม่ดี ผมจึงไม่ได้คิดว่านี่ ต้องท�ำหนังบันเทิงดีกว่า แล้วเราก็คงไม่ไปเสนอโปรเจคกับค่าย เรารู้ดีอยู่แล้วว่าค่ายไม่เอา เพราะตอนที่เขียนโปรเจคผมก็พอรู้อยู่แล้ว ว่าสิ่งที่เราท�ำมันเหมาะกับอะไร การที่ผมเป็นอาจารย์ ผมมองเห็นว่าเด็กแต่ละรุ่นก็เก่งทุกรุ่น มันมีการพัฒนาฝีไม้ลายมือ ความพร้อมอุปกรณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัด ที่เป็น มาตั้งแต่อดีต คือ นักเรียนยังติดอยู่กับกรอบ อย่างวิชาหนังทดลอง ที่จะเรียนก่อนท�ำธีสส ิ เขาจะได้เรียนในสิ่งที่ไม่อยู่ในกรอบของหนัง บันเทิงเลย แต่พอหลุดวิชานี้ไป ทุกคนก็เหมือนจะกลับเข้าไปในกรอบเดิม พอทุกคนจะท�ำหนังธีสส ิ ก็กลับมามีโจทย์ว่ากลัวคนดูไม่รู้เรื่อง ทั้งที่คุณเคยได้ออกนอกกรอบมาแล้ว หนังทดลอง มันอาจไม่ใช่สิ่งจ�ำเป็นกับชีวิต เป็นปัจจัยที่ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นหนังก็มี ถ้าคนอยากหาพุทธิปัญญา เขาก็ไปหาทางอื่นก็ได้ ไม่ จ�ำเป็นต้องมาหาจากหนัง เราเข้าใจว่าเราเป็นสิ่งที่คนอื่นเขาไม่ต้องการเอง ผมบอกนักศึกษาตลอดว่า หนังมันสอนไม่ได้ อย่างเช่นการก�ำกับภาพยนตร์ ไม่ต้องเรียนก็ได้ แต่ต้องมีประสบการณ์ชีวิต ผมเลยไม่รู้จะ สอนอะไร นอกจากจะกระตุ้นให้เด็กได้คิด อย่างวิชาถ่ายท�ำยังพอสอนได้ เรื่องอุปกรณ์อะไรว่าไป แต่การก�ำกับภาพยนตร์มันคือการสอน ประสบการณ์ชีวิต ดูอย่างบางคนไม่ได้เรียนภาพยนตร์ก็ก�ำกับหนังได้ การก�ำกับก็เป็นแค่ฟอร์มอย่างหนึ่ง มันอยู่ที่คนๆ นั้นมีแรงผลักดัน ให้สร้างงานหรือเปล่า
ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE / 17
18 / ALTERNATIVE NOSTALGIA ISSUE
Credit: http://www3.hiendy.com