รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
คํานํา
คํานํา โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานที่อยู่อาศัยและชุมชน เพื่อคงไว้ซ่งึ เอกลักษณ์และคุณค่าของ เมือง เป็ นการศึกษาวิจยั ในลักษณะของการสํารวจ ระบุ รวบรวม และบันทึกข้อมูลเกีย่ วกับชุมชนทีอ่ ยู่ อาศัย ดัง้ เดิมที่มีค วามสํา คัญ ทางประวัติศ าสตร์ สถาป ตั ยกรรม และวัฒ นธรรมประเพณีเ พื่อ การ กําหนดแนวปฏิบตั ิในการพัฒนาในเชิงรักษาให้คงคุณค่าไว้ การศึกษาดังกล่ าวจําเป็ นต้องอาศัย แนวคิดหลายด้าน โดยมีวธิ ดี าํ เนินงาน 4 ประการหลักๆ ได้แก่ ก) การรวบรวมเอกสารรายชื่อชุมชนที่ เข้าลักษณะเป็ นชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมในประเทศไทยเพื่อการจัดหมวดหมู่และจัดทําบัญชีรายชื่อ เบือ้ งต้น รวมทัง้ การประเมินสถานการณ์ในภาพรวม ข) การทบทวนกรณีศกึ ษาต่างประเทศเพื่อให้ได้ กรอบหรือแนวปฏิบตั ใิ นการรักษาชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมอย่างยังยื ่ น ทัง้ นี้เพราะในประเทศไทยยังไม่ มีแนวทางในการดําเนินงานในด้านนี้อย่างเป็ นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรือ่ งของการริเริม่ จากภาคชุมชน และท้องถิน่ ภายใต้นโยบายถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นท้องถิน่ และการทํางานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล ค) การศึกษาความเป็ นไปได้ทางด้านกฎมายซึง่ ได้เน้นสองลักษณะ คือมาตรการในการ ปกป้องคุ้มครองและความเป็ นไปได้ในการจัดหาแรงจูงใจให้ภาคเอกชนในการอนุ รกั ษ์อาคารที่มี คุณค่า และ ง) การดําเนินการในชุมชนนํ าร่องในส่วนภูมภิ าค 4 ชุมชน เพื่อให้โครงการสามารถ ดําเนินงานต่อไปได้ในอนาคต คณะผูด้ าํ เนินโครงการ หวังเป็ นอย่างยิง่ ว่า รายงานการศึกษาโครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานที่ อยู่อาศัยและชุมชน เพื่อคงไว้ซ่งึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมืองฉบับนี้ จะเป็ นประโยชน์สําหรับผูท้ ่ี เกีย่ วข้อง ทัง้ ทีเ่ ป็ นบุคคล องค์กร หน่ วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทัง้ ผูท้ ส่ี นใจในบริบทเกีย่ วกับการ พัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยและการฟื้นฟูอนุรกั ษ์ยา่ นชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยทีม่ คี ุณค่ามรดกวัฒนธรรมของประเทศ. คณะผูด้ าํ เนินโครงการ คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กันยายน 2553
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
ก
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ การดําเนินการในโครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของ เมืองนี้ สําเร็จได้ดว้ ยดีดว้ ยการสนับสนุ นทัง้ ทางด้านงบประมาณ ข้อมูลเบือ้ งต้น การออกพืน้ ทีแ่ ละการให้คําปรึกษา ตลอดระยะเวลาดําเนินการจากการเคหะแห่งชาติ คณะผูด้ าํ เนินโครงการ ขอขอบพระคุณเป็ นอย่างสูงมา ณ ทีน่ ้ี ในระหว่างทําการศึกษา คณะผูด้ ําเนินโครงการได้รบั ความอนุ เคราะห์จากบุคคลชุมชนและหน่ วยงานเป็ น จํานวนมาก โดยเฉพาะคณาจารย์และนิสติ นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยรวมทัง้ หน่ วยงานที่เกี่ยวข้องทัง้ ภาครัฐ และเอกชน รวมทัง้ กลุ่มองค์กรอิสระต่างๆ ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาชุมชนดัง้ เดิม ขอขอบพระคุณชุมชนและ ผู้แทนชุมชนนํ าร่องทัง้ 4 ชุมชน ประกอบไปด้วย ชุมชนตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก ชุมชนริมนํ้ าจันทบูร จังหวัด จันทบุร ี ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร จังหวัดนครพนม และชุมชนบริเวณถนนหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยมีผแู้ ทน ชุมชนจากชุมชนต่างๆ ได้แก่ นางวิไลวรรณ อินทร์อยู่ อาจารย์ศรีรวญ โสภโณดร นายคม กาญจนสุต นางนิตยา แซ่แต้ อาจารย์ปรู ณ์ ขวัญสุวรรณ นายรุจนิ ัมพร เกษเกษมสุข อาจารย์ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย นายอุกฤษณ์ วงษ์ทองสาลี และคณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมนํ้าจันทบูร นางสาวสุภรา ปราบใหญ่ นายมงคล ตันสุวรรณ นายกอบโชค เมธเมาลี นางสาวมณีพรรณ รัตนโกศล นายดุสติ วงค์พนิตกฤต ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ พวงเพชร รัตนรามาและ นายกฤษณะ ฉายากุล นอกจากนัน้ ยังรวมไปถึงเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองตาก ผูว้ ่าราชการจังหวัดจันทบุร ี (นายพูลศักดิ ์ ประณุ ทนรพาล) สํานักงานพาณิชย์จงั หวัดจันทบุร ี (นายเลิศหล้า นาคะเกศ) นักวิชาการพาณิชย์ชํานาญการ จังหวัดจันทบุร ี (นางสาวสายฝน แหล่งหล้า) เทศบาลเมืองจันทบุร ี รองนายกเทศมนตรีเมืองจันทบุรแี ละคณะ (นายประวุฒ ิ จิตงามสุจริต) เทศบาลเมืองนครพนม นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม (นายนิวตั เจียวิรยิ บุญญา) รอง นายกเทศมนตรีเมืองนครพนมฝ่ายการศึกษา (นายวัฒนศักดิ ์ เจียวิรยิ บุญญา) รองปลัดเทศบาลเมืองนครพนม (นางสาวกัญญพัชร แย้มกมล) ผูอ้ ํานวยการกองช่างเทศบาลเมืองนครพนม (นายสุรชัย พงษ์จาํ นง) องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครพนม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม (ดร.สมชอบ นิตพิ จน์) รองนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครพนม (นายธนพส รัตนรามา) ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ) เทศบาล เมืองหลังสวน นายกเทศมนตรีเมืองหลังสวน (นายอวยชัย วรดิลก) รองนายกเทศมนตรีเมืองหลังสวน (นายฉัตรชัย มีสถิตย์) ทีไ่ ด้ให้ขอ้ มูลและเข้าร่วมหารือให้คาํ แนะนํา ระหว่างการออกสํารวจพืน้ ทีใ่ นรายละเอียด นอกจากนัน้ ในการศึกษากรณีศกึ ษาของต่างประเทศ ในประเทศญี่ปุ่นคณะผูด้ ําเนินโครงการได้รบั ความ อนุ เคราะห์ขอ้ มูลบางส่วนจาก อาจารย์พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีศกึ ษาประเทศสหรัฐอเมริกา หัวหน้าโครงการได้รบั โอกาสไปศึกษาดูงานด้านการอนุ รกั ษ์ย่านประวัตศิ าสตร์ จากมูลนิธกิ ารศึกษาไทย – อเมริกนั (ฟูลไบรท์) ซึง่ ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ทีน่ ้ี สุดท้ายนี้คณะผู้ดําเนินโครงการ ขอขอบคุณ บุคคล องค์กร และหน่ วยงานต่างๆ ที่ไม่ได้เอ่ยนามในที่น้ี เนื่องจากยังมีอกี เป็ นจํานวนมาก ในการได้กรุณาให้ขอ้ มูล ข้อคิดเห็น และคําแนะนําให้รายงานฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ ได้ดว้ ยดี. คณะผูด้ าํ เนินโครงการ ั คณะสถาปตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กันยายน 2553
ข
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ในเมืองแทบทุกเมืองมักจะมีย่านชุมชนดัง้ เดิมทีม่ พี ฒ ั นาการเกี่ยวข้องกับประวัตคิ วามเป็ นมาของเมืองนัน้ นับ เป็ น ย่า นที่อ ยู่อ าศัย ที่น อกจากจะรองรับ ประชากรของเมือ งแล้ว ยัง เป็ น สถานที่ท่ีมคี วามสําคัญ ทาง ประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม ทัง้ ด้านกายภาพและวิถชี วี ติ ทําให้เมืองแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน นํามา ซึ่งความภาคภูมใิ จแก่ผอู้ ยู่อาศัยในเมืองนัน้ จึงสมควรดํารงรักษาคุณค่าไว้อย่างยิง่ อย่างไรก็ตาม โครงการ พัฒนาสมัยใหม่ กรรมสิทธิ์ทีด่ นิ ทีห่ ลากหลายและการขาดปจั จัยในการดํารงรักษาสิง่ ทีม่ คี ุณค่าในชุมชน ทํา ให้ยา่ นชุมชนดังกล่าวมีสภาพเสือ่ มโทรมและบางแห่งกําลังสูญสลาย จึงควรมีการศึกษาเพือ่ หาหนทางในการ ดํา รงรักษาย่า นชุม ชนดัง้ เดิม เหล่านี้ โดยมีว ตั ถุ ประสงค์ห ลัก เพื่อ จัดทํา ฐานข้อ มูลเบื้อ งต้น และประเมิน สถานการณ์ของย่านชุมชนดัง้ เดิมตามเมืองต่างๆ ทัวประเทศ ่ เพื่อจัดทํามาตรฐานทีอ่ ยู่อาศัยสําหรับชุมชน ดัง้ เดิมเพือ่ ให้ยงั สามารถดํารงคุณค่าเป็ นเอกลักษณ์ของเมืองได้อย่างยังยื ่ น โดยมีวธิ ดี าํ เนินการภายใต้หวั ข้อ หลัก 4 ข้อ ได้แก่ 1) การสํารวจและบันทึกชุมชนดัง้ เดิมทัวประเทศ ่ 2) การศึกษาทบทวนการรักษาย่าน ชุมชนดัง้ เดิมในต่างประเทศ 3) การทบทวนกฎหมายและระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนดัง้ เดิมใน ประเทศไทย และ 4) การคัดเลือกชุมชนนําร่องเพือ่ การดําเนินการขับเคลือ่ นร่วมกับชุมชนและท้องถิน่ ั่ านวน 140 แห่งรวมทัง้ โดยอาจแบ่งได้ จากการสํารวจได้บนั ทึกย่านชุมชนดัง้ เดิมไว้ทวประเทศจํ เป็ น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ชุมชนเรือนแพ 2) ย่านชุมชนริมนํ้า 3) ย่านถนนการค้า 4) ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5) ย่านตลาด โดยชุมชนประเภทย่านถนนการค้ามีมากที่สุดและรองลงมาคือย่านตลาด และจากการ ศึกษา ทบทวนการดํารงรักษาชุมชนดัง้ เดิมในต่างประเทศมีประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปนุ่ พบว่าเกิดมา จากกระบวนการในการอนุ รกั ษ์ภาคประชาชนและท้องถิ่นภายใต้กระแสการกระจายอํานาจซึ่งได้มกี าร ปรับปรุงกฎหมายผังเมืองให้ทอ้ งถิน่ วางและประกาศใช้ผงั เมืองเองได้โดยกฎหมายท้องถิน่ ในขณะทีข่ องไทย ยังใช้เป็ นกฎกระทรวงซึ่งมาจากส่วนกลาง นอกจากนัน้ ยังปรับปรุงกฎหมายโบราณสถานให้มกี ารประกาศ ย่านชุมชนเป็ นโบราณสถานได้ การเปลีย่ นแปลงดังกล่าวทําให้เกิดการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์โดยมี การลดภาษีและเงินสมทบการบูรณะซ่อมแซมเพือ่ สนับสนุ นการอนุ รกั ษ์ภาคประชาชน ในประเทศไทยยังไม่ มีการสร้างแรงจูงใจดังกล่าวแต่อาจทําได้โดยเฉพาะการลดภาษีเงินได้และการยกเว้นภาษีทด่ี นิ และส่งปลูก สร้างทีร่ ฐั บาลกําลังจัดทําร่างกฎหมายนี้อยู่ จากข้อมูลดังกล่าวสามารถนํามาจัดทําเป็ นมาตรฐานทีอ่ ยู่อาศัยสําหรับย่านชุมชนดัง้ เดิมได้ 4 กลุ่ม มาตรฐาน ได้แก่ ก) มาตรฐานด้านการระบุคุณค่าความสําคัญของชุมชน ข) มาตรฐานด้านการดํารงรักษา คุณค่าความสําคัญ ค) มาตรฐานด้านองค์กรและกฎหมายข้อบังคับ และ ง) มาตรฐานด้านการจัดทําแผน บูรณาการ โดยแต่ละมาตรฐานจะมีมาตรฐานย่อยและตัวชีว้ ดั เพือ่ ให้ชุมชนและท้องถิน่ สามารถดํารงคุณค่าไว้ ได้ทงั ้ ในด้านกายภาพและวิถชี วี ติ ในโครงการได้ คดั เลือกชุมชนนําร่ อง 4 ชุมชนเพื่อดําเนินการให้ เป็ นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ อย่าง ต่อเนื่องได้ แก่ ชุมชนตรอกบ้ านจีน จังหวัดตาก ชุมชนริ มนํ ้าจันทบูร จังหวัดจันทบุรี ชุมชนบริ เวณถนนสุนทร วิจิตร จังหวัดนครพนม และชุมชนบริ เวณถนนหลังสวน จังหวัดชุมพร.
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
ค
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ABSTRACT
ABSTRACT Each city has a traditional community that is related to its origin. The traditional community plays its role not only as an existing housing stock, but also as a place of historic and cultural significances that are worthy of conservation. Due to its special characteristics, traditional community makes each city unique that brings pride and economic base to the residents. However, modern development projects, ownership pattern and the lack of factors supporting the continuation of the community have led to the loss or degradation of many traditional communities. There is, therefore, a need to seek ways to maintain traditional communities to be in good conditions. Whereas no comprehensive study on traditional community is available, this project aims at providing a preliminary inventory of the traditional communities throughout Thailand and formulating a set of housing standards for the maintenance and conservation. The study comprises 4 main activities which are 1) survey and documentation of traditional communities in the country; 2) review the conservation system of traditional communities in foreign countries; 3) review existing laws and management system in Thailand; and 4) select pilot communities for local collaboration. From the nationwide survey, 140 communities are identified as traditional communities. They can be classified into 5 categories, which are 1) raft house; 2) waterfront community; 3) commercial street; 4) urban and rural villages; and 5) marketplace. The largest number is commercial street communities followed by marketplace. The study from the three foreign countries, i.e., United States England, and Japan finds that the movement of conserving traditional communities is from the efforts of local residents and local government under decentralization process which leads to the amendments of city planning laws providing local government to adopt the plan at local level whereas in Thailand the local plan is issued under centralized ministerial regulations. Another progress is the declaration of a conservation area which is possible by the provision of both city planning and heritage or monument laws. Such movement has brought about the provision of economic incentives to private sector through tax relief and matching grant for building restoration. It is unfortunate that Thailand has no such incentives but here the recommendation is made to the income tax relief and the property tax abatement for the upcoming land and building tax bill proposed by the government. The study proposes 4 sets of housing standards for the conservation of traditional communities as follows: a) the identification of community’s values standards; b) the maintenance of values standards; c) the organizational and legal frameworks standards; and d) the integrated conservation plan standards. Apart from housing standards, four communities from four different regions are selected as pilot communities. They are a) Trok Ban Cheen, Tak province representing the north; b) Rim Nam Chantaboon, Chantaburi province representing the central and east; c) Soonthon Vijit, Nakorn Panom Province representing the northeast, and d) Lang Suan, Chumphon province representing the south.
ง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
สารบัญ
สารบัญ คํานํา กิ ตติ กรรมประกาศ บทคัดย่อ ABSTRACT สารบัญ สารบัญรูป สารบัญตาราง
หน้ า ก ข ค ง จ ช ญ
บทที่ 1 บทนํา 1.1 ความเป็ นมาและความสําคัญของปญั หา 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 วิธกี ารศึกษา 1.4 ขอบเขตการดําเนินงาน 1.5 ผลทีค่ าดว่าจะได้รบั
1 1 2 2 4 5
บทที่ 2 นิยามและสถานการณ์ชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมในประเทศไทย 2.1 นิยามและคุณค่าความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม 2.2 ประเภทของชุมชนดัง้ เดิม 2.3 ประเด็นปญั หาเบือ้ งต้นทีเ่ กีย่ วข้องกับการรักษาชุมชนดัง้ เดิม
6 6 9 18
บทที่ 3 กฎหมายและองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์และพัฒนาชุมชนดัง้ เดิมในประเทศไทย 3.1 กฎหมายปกป้องและสงวนรักษาอาคาร 3.2 กฎหมายปกป้องพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ในเมือง 3.3 กฎหมายภาษีทเ่ี กีย่ วข้องกับแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ 3.4 องค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการศึกษาชุมชนดัง้ เดิม
21 21 22 26 30
บทที่ 4 การทบทวนกรณีศกึ ษาต่างประเทศและกรอบการพิจารณาเมืองมรดกโลก 4.1 ประเด็นหัวข้อทีศ่ กึ ษา 4.2 กรณีศกึ ษาประเทศญีป่ นุ่ 4.3 กรณีศกึ ษาประเทศสหรัฐอเมริกา
35 35 36 54
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
จ
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
4.4 กรณีศกึ ษาประเทศอังกฤษ 4.5 กรณีศกึ ษาประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป 4.6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศกึ ษา 4.7 กรอบการพิจารณามรดกโลกกรณีเมืองและชุมชนประวัตศิ าสตร์
สารบัญ
หน้ า 68 82 98 102
บทที่ 5 รายงานการสํารวจภาคสนาม 5.1 แผนงานการออกสํารวจ 5.2 บัญชีรายชื่อชุมชนดัง้ เดิมทีไ่ ด้จากการสํารวจและเก็บข้อมูล 5.3 สรุปสถานการณ์และประเด็นหลักของชุมชนดัง้ เดิมในประเทศไทย
106 106 108 121
บทที่ 6 กรณีศกึ ษาชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม 4 พืน้ ที่ 6.1 การคัดเลือกชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมเพือ่ เป็ นโครงการนําร่อง 6.2 ชุมชนนําร่องภาคเหนือ: ชุมชนตรอกบ้านจีน 6.3 ชุมชนนําร่องภาคกลางและภาคตะวันออก: ชุมชนริมนํ้าจันทบูร 6.4 ชุมชนนําร่องภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร 6.5 ชุมชนนําร่องภาคใต้: ชุมชนถนนหลังสวน
123 123 125 133 142 153
บทที่ 7 การกําหนดมาตรฐานและตัวชีว้ ดั เพือ่ การรักษาชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม 7.1 มาตรฐานด้านการระบุคณ ุ ค่าความสําคัญ 7.2 มาตรฐานด้านการดํารงรักษาคุณค่าความสําคัญ 7.3 มาตรฐานด้านองค์กรและกฎหมายข้อบังคับ 7.4 มาตรฐานด้านการจัดทําแผนบูรณาการ
168 168 173 177 179
บทที่ 8 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 8.1 ประเด็นในด้านกฎหมาย 8.2 ประเด็นด้านแรงจูงใจ 8.3 ประเด็นด้านองค์กร 8.4 บทบาทของการเคหะแห่งชาติ
181 181 183 184 185
บรรณานุกรม คณะผูด้ าํ เนิ นโครงการ
186
ฉ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
สารบัญ
สารบัญรูป รูปที่ 2-1 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนดัง้ เดิมซ้อนทับเส้นทางถนนปจั จุบนั รูปที่ 2-2 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนดัง้ เดิมซ้อนทับเส้นทางนํ้าและทางรถไฟ รูปที่ 2-3 เรือนแพแม่น้ําสะแกกรัง อําเภอเมือง จังหวัดอุทยั ธานี (ประเภทเรือนแพ) รูปที่ 2-4 เรือนแพแม่น้ําน่าน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (ประเภทเรือนแพ) รูปที่ 2-5 ตลาดบางพลี อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (ย่านชุมชนริมนํ้า) รูปที่ 2-6 ตลาดอัมพวา อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ย่านชุมชนริมนํ้า) รูปที่ 2-7 กาดกองต้า อําเภอเมือง จังหวัดลําปาง (ประเภทย่านการค้า) รูปที่ 2-8 ถนนหลวง อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ประเภทย่านการค้า) รูปที่ 2-9 ชุมชนคาทอลิกท่าแร่ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ประเภทย่านชุมชนหมูบ่ า้ น) รูปที่ 2-10 ย่านสถานีรถไฟขอนแก่น อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ประเภทย่านชุมชนหมูบ่ า้ น) รูปที่ 2-11 ชุมชนตลาดบางแก้ว อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง (ประเภทย่านตลาดบก) รูปที่ 2-12 ชุมชนตลาดปกั ธงชัย อําเภอปกั ธงชัย จังหวัดนครราชสีมา (ประเภทย่านตลาดบก) รูปที่ 2-13 แผนทีแ่ สดงตัวอย่างชุมชนประเภทต่างๆ 5 ประเภท รูปที่ 2-14 การแทนทีข่ องอาคารสมัยใหม่บนถนนควนขนุ น-ทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รูปที่ 2-15 การเสือ่ มสลายของอาคารดัง้ เดิมบนถนนปากแพรก อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รูปที่ 2-16 การขายทีด่ นิ ด้านหน้าคฤหาสน์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต รูปที่ 2-17 การขายทีด่ นิ ด้านหน้าคฤหาสน์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต(ต่อ) รูปที่ 2-18 ตึกแถวทีช่ ุมชนท่าเตียน รูปที่ 4-1 หมูบ่ า้ น Shirakawa เมือง Ogi จังหวัด Gifu รูปที่ 4-2 หมูบ่ า้ น Kameyama จังหวัด Mie รูปที่ 4-3 หมูบ่ า้ น Hakodate จังหวัด Hokkaido รูปที่ 4-4 หมูบ่ า้ น Kurashiki จังหวัด Okayama รูปที่ 4-5 หมูบ่ า้ น Kashima จังหวัด Saga รูปที่ 4-6 หมูบ่ า้ น Imai-cho จังหวัด Nara รูปที่ 4-7 ย่าน Gion จังหวัด Kyoto รูปที่ 4-8 เมือง Hagi ตําบล Horiuchi จังหวัด Yamaguchi รูปที่ 4-9 อาคาร Independence Hall เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลวาเนีย รูปที่ 4-10 อาคาร Mount Vernon บ้านพักอดีตประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน รูปที่ 4-11 เมือง Williamsburg มลรัฐเวอร์จเิ นีย โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
หน้ า 10 11 12 12 13 13 14 14 15 15 16 16 17 18 18 19 19 20 46 46 46 46 47 47 47 47 56 56 56 ช
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
สารบัญ
สารบัญรูป(ต่อ) หน้ า รูปที่ 4-12 เมือง Chester 73 รูปที่ 4-13 เมือง Chichester 73 รูปที่ 4-14 เมือง Bath 73 รูปที่ 4-15 เมือง York 73 รูปที่ 5-1 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม หมูบ่ า้ นต้นแหนน้อย อ.สันปา่ ตอง จ.เชียงใหม่ 116 รูปที่ 5-2 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม ถนนยมจินดา อ.เมือง จ.ระยอง 117 รูปที่ 5-3 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม ถนนสุนทรวิจติ ร อ.เมือง จ.นครพนม 118 รูปที่ 5-4 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม ชุมชนลําปํา อ.เมือง จ.พัทลุง 119 รูปที่ 5-5 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม สามแพร่ง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 120 รูปที่ 6-1 ชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมรายภาคทีม่ ศี กั ยภาพเป็ นชุมชนนําร่อง 124 รูปที่ 6-2 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนตรอกบ้านจีน 126 รูปที่ 6-3 กิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถชี วี ติ ทีน่ ่าสนใจในชุมชนตรอกบ้านจีน 127 รูปที่ 6-4 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนตรอกบ้านจีน 129 รูปที่ 6-5 ลักษณะทางกายภาพในพืน้ ทีช่ มุ ชนตรอกบ้านจีน 130 รูปที่ 6-6 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีน 131 รูปที่ 6-7 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายในพืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีน 132 รูปที่ 6-8 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนริมนํ้าจันทบูร 134 รูปที่ 6-9 กิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถชี วี ติ ทีน่ ่าสนใจในชุมชนริมนํ้าจันทบูร 136 รูปที่ 6-10 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนริมนํ้าจันทบูร 138 รูปที่ 6-11 ลักษณะทางกายภาพในพืน้ ทีช่ มุ ชนริมนํ้าจันทบูร 139 รูปที่ 6-12 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ทีช่ ุมชนริมนํ้าจันทบูร 140 รูปที่ 6-13 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายพืน้ ทีช่ ุมชนริมนํ้าจันทบูร 141 รูปที่ 6-14 อนุ สรณ์หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ ก่อสร้างเมือ่ ปี พ.ศ. 2503 143 รูปที่ 6-15 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร 144 รูปที่ 6-16 สถานทีส่ ะท้อนวัฒนธรรม ประเพณีทน่ี ่าสนใจของคนชุมชน 145 รูปที่ 6-17 วิถชี วี ติ และการผสมผสานวัฒนธรรมทางเชือ้ ชาติของคนในชุมชน 146 รูปที่ 6-18 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร(ตอนบน) 148 รูปที่ 6-19 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร(ตอนกลาง) 149 รูปที่ 6-20 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร(ตอนล่าง) 149 รูปที่ 6-21 รูปแบบอาคารบนถนนสุนทรวิจติ ร 150 รูปที่ 6-22 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่ 151 ซ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
สารบัญ
สารบัญรูป(ต่อ) รูปที่ 6-23 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายพืน้ ทีช่ ุมชนบริเวณถนน สุนทรวิจติ ร รูปที่ 6-24 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนถนนหลังสวน รูปที่ 6-25 ประเพณีวฒ ั นธรรมภายในพืน้ ที่ รูปที่ 6-26 กิจกรรมเศรษฐกิจทีอ่ ยูภ่ ายในพืน้ ทีย่ า่ นชุมชนถนนหลังสวน รูปที่ 6-27 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนถนนหลังสวน รูปที่ 6-28 ลักษณะทางกายภาพในพืน้ ทีช่ มุ ชนถนนหลังสวน รูปที่ 6-29 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ทีช่ ุมชนถนนหลังสวน รูปที่ 6-30 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายพืน้ ทีช่ ุมชนถนนหลังสวน รูปที่ 7-1 ตัวอย่างอนุ สาร อสท. ทีน่ ําเสนอข้อมูลชุมชนดัง้ เดิมทีเ่ ผยแพร่สสู่ าธารณชน รูปที่ 7-2 ตัวอย่างเอกสารรายงานการสํารวจโบราณสถาน ในกรุงรัตนโกสินทร์ รูปที่ 7-3 การหารือกับผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุรชี แ้ี จงถึงความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม รูปที่ 7-4 การประชุมภายในเทศบาลเมืองนครพนมชีแ้ จงถึงความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม รูปที่ 7-5 เรือไฟจําลองทีต่ งั ้ อยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์จวนผูว้ า่ ราชการ (หลังเก่า) จังหวัดนครพนม รูปที่ 7-6 เรือทีใ่ ช้ในการแข่งขันขึน้ โขนชิงธงถูกเก็บรักษาไว้เป็ นอย่างดีของอําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รูปที่ 7-7 ตัวอย่างเอกสารแผนทีช่ ุมชน เมืองเก่าน่าน รูปที่ 7-8 ตัวอย่างเอกสารแผนทีช่ ุมชน เมืองเก่าลพบุรี รูปที่ 7-9 อาคารไม้ทโ่ี ดนเพลิงไหม้ ทีอ่ าํ เภอกงไกรลาศ จังหวัดนครสวรรค์ รูปที่ 7-10 อาคารไม้ทโ่ี ดนรือ้ ถอนออกแล้วก่อสร้างอาคารใหม่ขน้ึ มาทดแทนบริเวณด้านหลัง สถานีรถไฟท่าสัก อําเภอพิชยั จังหวัดอุตรดิตถ์ รูปที่ 7-11 ช่างฝีมอื ทีจ่ งั หวัดลําปาง (สล่า) ในปจั จุบนั เริม่ หาได้ยากมากขึน้ รูปที่ 7-12 ช่างแกะสลักกําลังแกะสลักช่อฟ้า รวมไปถึงส่วนประกอบอื่นๆ ทีจ่ งั หวัดลําปาง รูปที่ 7-13 ทีท่ าํ การชมรมอย่าลืม...โพธาราม อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี รูปที่ 7-14 เอกสารเผยแพร่ทจ่ี ดั ทําโดยชมรมอย่าลืม...โพธาราม
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
หน้ า 153 155 157 157 159 160 161 163 169 169 170 170 171 171 172 172 174 175 176 176 178 178
ฌ
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
สารบัญ
สารบัญตาราง ตารางที่ 4-1 ลําดับวิวฒ ั นาการการอนุ รกั ษ์ในประเทศญีป่ นุ่ ตารางที่ 4-2 จํานวนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมของญีป่ นุ่ จําแนกตามประเภทการขึน้ ทะเบียน ตารางที่ 4-3 จํานวนชุมชนประวัตศิ าสตร์ทข่ี น้ึ ทะเบียนตามกฎหมายอนุรกั ษ์ของญีป่ นุ่ จําแนก ตามประเภท ตารางที่ 4-4 ลําดับวิวฒ ั นาการการอนุ รกั ษ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตารางที่ 4-5 แสดงวิวฒ ั นาการของการอนุรกั ษ์ในอังกฤษ ตารางที่ 4-6 สรุปการเรียกชื่อชุมชนดัง้ เดิมในกฎหมายอนุรกั ษ์ของประเทศต่างๆ ตารางที่ 4-7 สรุปแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ด้านการอนุ รกั ษ์ในประเทศทีศ่ กึ ษา ตารางที่ 5-1 แสดงแผนงานการออกสํารวจ ตารางที่ 5-2 แสดงจํานวนชุมชนดัง้ เดิมจําแนกตามรายภาคและประเภทชุมชน ตารางที่ 5-3 แสดงจํานวนชุมชนดัง้ เดิมจําแนกตามรายภาคและระดับของการฟื้นฟู ตารางที่ 5-4 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคเหนือ ตารางที่ 5-5 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคกลางและภาคตะวันออก ตารางที่ 5-6 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตารางที่ 5-7 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคใต้ ตารางที่ 5-8 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม กรุงเทพมหานคร ตารางที่ 6-1 สรุปจํานวนอาคารทีม่ คี ุณค่าประเภทต่างๆ ภายในชุมชนนําร่อง 4 ชุมชน (จากการสํารวจ) ตารางที่ 6-2 สรุปความสัมพันธ์ขององค์กรขับเคลื่อน (actors) ในการฟื้นฟูชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัย ดัง้ เดิม
ญ
หน้ า 41 45 48 57 74 99 101 107 109 110 111 112 113 114 115 163 164
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 1
บทที่ 1 ส่วนนํา 1.1 ความเป็ นมาและความสําคัญของปัญหา เมืองจํานวนมากมีย่านที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมซึ่งมีความเป็ นเอกลักษณ์ มีคุณค่ามรดกวัฒนธรรมและมี ความหมายต่อผูอ้ ยู่อาศัยในชุมชน ย่านทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมนี้มวี วิ ฒ ั นาการมาเป็ นเวลานานหลายสิบปี หรือบางแห่งนับเป็ นร้อยปี กม็ ี มีสงิ่ ก่อสร้างทางสถาปตั ยกรรมทีส่ วยงามโดดเด่น อีกทัง้ ยังมีวถิ ชี วี ติ มี ประเพณีทส่ี บื ทอดต่อเนื่องกันมานาน ซึ่งมีส่วนส่งเสริมเอกลักษณ์และนํ ามาซึ่งความภาคภูมใิ จของ เมือง แต่ปจั จุบนั ย่านชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมนี้เกิดปญั หาการเสื่อมโทรมทางกายภาพ รวมทัง้ การ เสื่อมสลายทางระเบียบประเพณีวถิ ีชวี ติ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวติ ของผู้อยู่อาศัยและโอกาสในการ พัฒ นาเมือ งที่ม าจากรากฐานดัง้ เดิม เป็ น ต้ น ทุ น ในการพัฒ นาเศรษฐกิจ สร้า งสรรค์ (creative economy) ซึง่ เป็ นนโยบายหลักประการหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ปจั จุบนั ชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมหลายแห่งมีช่อื เสียงในด้านการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม เป็ นที่ นิยมของผู้คนต่างถิ่น ทําให้ท้องถิ่นและประชาชนในชุมชนพยายามรักษาย่านชุมชนไว้ทงั ้ ในด้าน กายภาพและวิถชี วี ติ แต่ประสบอุปสรรคหลายประการ เช่น การบูรณะซ่อมแซมอาคารโบราณทีผ่ ุพงั ลงไปอาจไม่เป็ นไปตามมาตรฐานทีก่ ําหนดตามกฎหมายควบคุมอาคารในด้านขนาด สัดส่วนช่องเปิ ด และการใช้วสั ดุทนไฟ หรือต้องใช้งบประมาณสูงในการซ่อมแซม หรือการเข้ามาของร้านค้าปลีกขนาด ใหญ่และการผลิตแบบอุตสาหกรรม รวมทัง้ การเน้นการพัฒนาเพื่อตอบสนองนักท่องเทีย่ วมากเกินไป ก็อ าจทํา ให้กิจ กรรมทางเศรษฐกิจ และระเบีย บประเพณีข องชุ ม ชนมีก ารเปลี่ย นแปลง ซึ่ง ป จั จัย ดังกล่าวเป็ นตัวเร่งทําให้เกิดการสูญสลายทัง้ ทางกายภาพและวิถชี วี ติ ของชุมชนดัง้ เดิม ทีผ่ า่ นมาได้มหี น่วยงานต่างๆ ทําการศึกษาวิจยั และดําเนินการในเรื่องการพัฒนาและอนุ รกั ษ์ ย่านชุมชนเมืองที่มีคุณค่าทางสถาป ตั ยกรรม แต่ มกั เป็ นการศึกษาเฉพาะแห่ง เฉพาะชุมชน ไม่ ปรากฏว่ามีหน่วยงานใดให้ความสนใจการศึกษาในภาพรวม การเคหะแห่งชาติในฐานะหน่วยงานทีม่ ี ภารกิจหลักในด้านการพัฒนาทีอ่ ยู่อาศัยและเมือง ตระหนักถึงคุณค่าความสําคัญของย่านทีอ่ ยู่อาศัย ดัง้ เดิมที่เป็ นเอกลักษณ์ นับเป็ นส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมของชาติ จึงเล็งเห็นความจําเป็ นที่ จะต้องนํ าเสนอการศึกษาในภาพรวม เพื่อให้ได้ขอ้ เท็จจริงอันเป็ นปญั หาและอุปสรรคต่อการคงอยู่ อย่างมีคุณภาพของย่านที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งปญั หาและอุปสรรคดังกล่าวมีทม่ี าจากความแตกต่าง ทางด้านช่วงเวลาของการพัฒนาระหว่างชุมชนดัง้ เดิมกับตัวบทกฎหมายทีเ่ พิง่ จะมีการบัญญัตใิ ช้ใน สังคมสมัยใหม่ รวมทัง้ แนวความคิดและวิถชี วี ติ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ทัง้ นี้ เพื่อเป็ นการรักษาชุมชนทีอ่ ยู่ อาศัยดัง้ เดิมให้สามารถคงอยู่ได้ในสภาพการณ์ปจั จุบนั และมีพฒ ั นาการทีม่ าจากรากฐานเดิมอันมี คุณค่าของชุมชน นับว่าเป็ นการรักษาจํานวนทีอ่ ยูอ่ าศัยปจั จุบนั (housing stock) ในประเทศ ซึง่ จะทํา
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
1
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 1
ให้ย่านชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมในเมืองต่างๆ ไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม หรือไม่ก็ถูก ทําลายมากขึน้ ดังนัน้ จึงเห็นสมควรพิจารณาศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปญั หา โดยการจัดทํา เกณฑ์พ้นื ฐานเฉพาะสําหรับย่านชุมชนและที่อยู่อาศัยดัง้ เดิม ซึ่งเป็ นเกณฑ์ขนั ้ ตํ่าที่เหมาะสมกับ สภาพการณ์และบริบทของชุมชน มีความสอดคล้องกับกฎหมายข้อบังคับ และบทบาทของหน่วยงาน ทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ นี้ เพือ่ นําไปสูก่ ารแก้ไขปญั หาอย่างยังยื ่ นและมีประสิทธิภาพ 1.2 วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ในทีน่ ้ีเป็ นวัตถุประสงค์เชิงปฏิบตั กิ าร (operational objectives) ซึง่ จะนําไปสูห่ นทางใน การแก้ไขปญั หาและแนวทางในการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม มี 4 ข้อ คือ 1) เพือ่ ระบุสถานการณ์ ประเด็นปญั หาและอุปสรรคในการดํารงรักษาย่านชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัย ดัง้ เดิมอย่างยังยื ่ น 2) เพือ่ วิเคราะห์หาปจั จัยและอุปสรรคทีม่ ผี ลต่อการรักษาฟื้นฟูยา่ นทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม ทัง้ ใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม กายภาพ นโยบาย และกฎหมาย 3) เพือ่ หาแนวทางในการรักษาฟื้นฟูเพือ่ อนุ รกั ษ์ยา่ นทีอ่ ยูอ่ าศัยทีม่ คี ณ ุ ค่าดังกล่าว ให้คงอยู่ เป็ นเอกลักษณ์ และเป็ นพืน้ ทีท่ ม่ี คี ุณค่ามรดกวัฒนธรรมของเมือง มีคุณภาพชีวติ ทีด่ ี และมีสว่ น ส่งเสริมความเป็ นเมืองน่าอยู่ 4) เพือ่ จัดทําเกณฑ์พน้ื ฐานทีเ่ ป็ นมาตรฐานเฉพาะสําหรับทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชนในย่านทีอ่ ยู่ อาศัยดัง้ เดิมทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ มีคุณค่ามรดกวัฒนธรรมและมีความหมายต่อชุมชน 1.3 วิ ธีการศึกษา เพื่อให้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ การวิจยั นี้ได้กําหนดวิธกี ารศึกษาหลายวิธกี ารประกอบกันเนื่องจาก เป็ นการวิจยั เชิงประยุกต์ (applied research) และเป็ นการวิจยั เชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยมีวธิ กี ารศึกษา ดังนี้ 1) การทบทวนเอกสาร (literature review) ได้แก่ การศึกษาเอกสาร รายงาน สิง่ ตีพมิ พ์ ข้อมูลดิจติ อล ทีเ่ กีย่ วข้องกับชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมและการอนุรกั ษ์ชุมชนเมืองทัง้ ในและต่างประเทศ สามารถแบ่งกลุ่มการทบทวนเอกสารได้ ดังนี้ ก) การทบทวนเอกสารเกี่ย วกับ การศึก ษาชุ ม ชนที่อ ยู่ อ าศัย ดัง้ เดิม ในประเทศ ประกอบไปด้วยรายงานการศึกษาวิจยั วิทยานิพนธ์ บทความวิจยั และบทความวิชาการ ทัง้ ในรูปของ สิง่ ตีพมิ พ์และเว็บไซต์ รวมทัง้ การสรุปประเด็นที่ได้จากการประชุมสัมมนาล่ว งหน้ ากับการเคหะ แห่งชาติ 4 ครัง้ เพื่อประโยชน์ในการจัดทําฐานข้อมูลเบือ้ งต้น ช่วยในการระบุปญั หาและประเด็นที่ เกีย่ วข้อง (วัตถุประสงค์ขอ้ 1 และ 2) 2
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 1
ข) การทบทวนเอกสารต่ า งประเทศที่เ กี่ย วข้อ งกับ การอนุ ร ัก ษ์ เ มือ งและชุ ม ชน ประวัตศิ าสตร์ เนื่องจากการรักษาเอกลักษณ์ชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมเกีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ชุมชน ประวัตศิ าสตร์ในระดับสากล จึงได้มกี ารทบทวนเอกสารรายงานและบทความวิชาการของต่างประเทศ ที่ได้มกี ารดําเนิ นการอนุ รกั ษ์ชุมชนหรือย่านประวัติศาสตร์ โดยมีเกณฑ์พจิ ารณาคือ การกําหนด คุ ณ ค่ า ความสํา คัญ องค์ก รที่เ กี่ย วข้อ ง กฎหมายและการให้แ รงจูง ใจ โดยมีก รณีศึก ษาในยุ โ รป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น (ดูเอกสารเบื้องต้นในบรรณานุ กรม) ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยในการกําหนด แนวทางและกลไกในการรักษา ฟื้นฟูยา่ นชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมตามแนวปฎิบตั ิ (วัตถุประสงค์ขอ้ 3) ค) การทบทวนกฎหมายในประเทศที่เ กี่ย วข้อ งกับ การรัก ษาชุ ม ชนดัง้ เดิม การ กระจายอํานาจและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ แบ่งเป็ นกฎหมายหลัก 6 ฉบับ ได้แก่ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (2) พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติ พ.ศ. 2504 และ 2535 (3) พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518, 2525 และ 2535 (4) พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อม พ.ศ. 2535 (5) พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ 2535 (6) พ.ร.บ. กําหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัตเิ ทศบาล พ.ศ. 2496 นอกจากนัน้ ยังทบทวนกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องกับระบบภาษีและกฎหมายที่ดนิ ได้แก่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและทีด่ นิ และพ.ร.บ. ภาษีบาํ รุงท้องที่ เป็ นต้น (วัตถุประสงค์ขอ้ 2) 2) การจัดประชุมหารือ เป็ นวิธกี ารเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพทัง้ ในระดับภาพรวมและระดับพืน้ ที่ ประกอบไปด้วยกิจกรรมดังนี้ ก) การประชุมกลุ่มย่อยแนะนําโครงการ มีการดําเนินการล่วงหน้าโครงการนี้แล้วโดย การเคหะแห่งชาติ มีการประชุมทัง้ หมด 4 ครัง้ ได้แก่ การแนะนําโครงการและเปิดประเด็น (16 ธันวาคม 2551) การประชุมหารือกับสถาบันการศึกษา (4 กุมภาพันธ์ 2552) การประชุมหารือกับ หน่วยงานภาครัฐ (24 มีนาคม 2552) และ การประชุมกับหน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรอิสระ (18 พฤษภาคม 2552) ผลจากการประชุมจะได้ประเด็นและปญั หาเบือ้ งต้นเกีย่ วกับการรักษาชุมชน ดัง้ เดิม โดยจะมีการประมวลเป็ นปญั หาในภาพรวม (วัตถุประสงค์ขอ้ 1 และ 2) ข) การประชุมหารือกับชุมชนระดับพืน้ ที่ เป็ นการประชุมหลังจากได้มกี ารออกสํารวจ พืน้ ที่โดยรวมและประมวลข้อมูลและได้ชุมชนที่น่าจะเป็ นชุมชนนํ าร่องเพื่อหารือกิจกรรมที่จะมีการ ดําเนินงานให้มกี ารขับเคลื่อนต่อไปอย่างยังยื ่ น การประชุมนี้จะจัดในพืน้ ทีช่ ุมชนเป้าหมาย 4 พืน้ ที่ รายภาค (วัตถุประสงค์ขอ้ 2 และ 3) ค) การประชุมวิชาการเพือ่ เสนอผลงานและรับฟงั ความคิดเห็น ซึง่ จะดําเนินการ หลังจากได้สาํ รวจพืน้ ทีท่ งั ้ 4 ภาคและประมวลผลข้อมูลแล้ว (วัตถุประสงค์ขอ้ 3 และ 4) โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
3
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 1
3) การสํารวจพืน้ ที่ เป็ นการเดินทางไปสํารวจพืน้ ทีจ่ ริง โดยการสํารวจมี 2 ระดับ คือ การสํารวจอย่างเร็ว (reconnaissance survey) หมายถึงการเก็บข้อมูลในพืน้ ทีช่ ุมชน ทีจ่ ดั ไว้ในฐาน ข้อมูล แต่ทย่ี งั ไม่มรี ายละเอียดครบถ้วน โดยเฉพาะด้านกายภาพ ได้แก่ ทีต่ งั ้ ลักษณะ การตัง้ ถิน่ ฐาน รูปแบบสถาปตั ยกรรม องค์ประกอบทางกายภาพและวิถชี วี ติ (วัตถุประสงค์ขอ้ 2) การสํารวจระดับละเอียด (detailed survey) หมายถึงการเก็บข้อมูลชุมชนที่มี ศักยภาพในการดําเนินการ ซึ่งนอกจากข้อมูลด้านกายภาพและวิถชี วี ติ แล้ว ยังรวมถึงข้อมูลในด้าน ความพร้อมในด้านการมีส่วนร่วมของทัง้ ประชาชน ท้องถิ่น และจังหวัด การบริหารจัดการ และ งบประมาณ 4) การสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) เน้นการสัมภาษณ์ผดู้ าํ เนินการหรือขับเคลื่อน โครงการ (actors) ในชุมชนที่มศี กั ยภาพ ซึ่งมีทงั ้ ประชาชน เจ้าของอาคาร กลุ่มองค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น ในเรื่องเกี่ยวกับจุดกําเนิดกิจกรรมที่ผ่านมา ปญั หา อุปสรรค รวมทัง้ หารือเกีย่ วกับความเป็ นไปได้ในการให้มรี ะบบแรงจูงใจรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการอนุ รกั ษ์ และพัฒนาฟื้นฟูในระดับท้องถิน่ อย่างยังยื ่ น 1.4 ขอบเขตการดําเนิ นงาน ขอบเขตของการศึกษาในโครงการนี้แบ่งเป็ น 2 ส่วน คือ ขอบเขตด้านเนื้อหา และขอบเขตด้านพืน้ ที่ 1) ขอบเขตด้านเนื้อหา เพื่อให้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ได้กําหนดเนื้อหาทีเ่ กี่ยวข้องกับการ ่ น โดยแบ่งหัวข้อเพื่อกําหนด จัดทํามาตรฐานสําหรับการรักษาชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมอย่างยังยื มาตรฐานแต่ละกลุ่ม ดังนี้ ก) ด้านการระบุคุณค่าความสําคัญ (identification of cultural values and significance) หมายถึงการกําหนดคุณสมบัตหิ รือตัวชีว้ ดั ว่าชุมชนใดเข้าข่ายในการเป็ นชุมชนดัง้ เดิมที่ มีคุณค่าถือเป็ นมรดกวัฒนธรรมของเมือง ซึง่ ควรจะมีทงั ้ ในด้านกายภาพซึง่ จับต้องได้ (tangible) และ ด้านวิถชี วี ติ จารีตประเพณีซง่ึ จับต้องไม่ได้ (intangible) ข) ด้านการดํารงรักษาและส่งเสริมคุณค่าความสําคัญ (promotion and maintenance of cultural values) หมายถึงวิธกี ารในการรักษาลักษณะดัง้ เดิม ทัง้ ทางด้านกายภาพ และวิถชี วี ติ เช่น การจัดหาและสืบทอดช่างฝี มอื การจัดหาวัสดุดงั ้ เดิม การจัดเทศกาลเพือ่ รักษา ประเพณีตามแบบดัง้ เดิมและการจัดหาระบบแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ค) ด้านองค์กรรับผิดชอบและกฎหมาย (institutional and legal frameworks) หมายถึง ช่องทางในการดําเนินการภายใต้นโยบายการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นภูมภิ าค ซึง่ เป็ นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับกฎหมายทีเ่ อือ้ ให้สามารถทําได้
4
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 1
ง) การจัดทําแผนบูรณาการ (formulation of integrated plan) หมายถึง การบูรณา การแผนการรักษา อนุ รกั ษ์ พัฒนา และ/หรือฟื้ นฟู ชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมให้สอดคล้องกับแผนการ พัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยและแผนพัฒนาเมือง 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ การศึกษานี้ทําการรวบรวมข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนดัง้ เดิมใน ประเทศไทยเพื่อจัดทําฐานข้อมูลเบือ้ งต้น โดยแบ่งพืน้ ทีเ่ ป็ น 4 ภูมภิ าค และกรุงเทพมหานครซึง่ ได้ แยกเป็ นพืน้ ทีเ่ ฉพาะอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ภาคเหนือ 17 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮอ่ งสอน พะเยา ลํ า ปาง ลํ า พู น แพร่ น่ า น ตาก สุ โ ขทัย อุ ต รดิต ถ์ พิษ ณุ โ ลก เพชรบู ร ณ์ กํ า แพงเพชร พิจิต ร นครสวรรค์ และอุทยั ธานี) ภาคกลางและภาคตะวันออก 25 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรขี นั ธ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด (หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี เลย หนองบัวลําภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อํานาจเจริญ ชัย ภูมิ สุริน ทร์ อุบ ลราชธานี นครราชสีมา บุ รีรมั ย์ และศรีส ะเกษ) และภาคใต้ 14 จังหวัด (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปตั ตานี ยะลา และนราธิวาส) แต่ละภูมภิ าคจะได้มกี ารประสานงานกับสถาบันการศึกษาในพืน้ ที่ ใน การรวบรวมและจัดทําบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ภาคละไม่น้อยกว่า 25 ชุมชน รวมทัง้ สิน้ จะเป็ นบัญชี รายชื่อเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 125 แห่ง เพื่อเป็ นใช้เป็ นฐานข้อมูลในการระบุคุณค่าและจัดทําบัญชี รายชื่อทีส่ มบูรณ์ต่อไป 1.5 ผลที่คาดว่าจะได้รบั การศึกษานี้คาดว่าจะมีสว่ นช่วยในการรักษาชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมทีม่ เี อกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ ชาติได้รวมทัง้ เป็ นแหล่งทีท่ าํ ให้เกิดรายได้ให้ชุมชนอย่างยังยื ่ น โดยมีผลดังนี้ 1) บัญชีรายชือ่ ชุมชนดัง้ เดิม ไม่น้อยกว่า 125 รายการ 2) เครือข่ายเพือ่ การรักษาและฟื้นฟูชุมชนดัง้ เดิมในระดับต่างๆ 3) การรับรูใ้ นระดับนโยบายเรือ่ งความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม 4) มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยทีเ่ ป็ นชุมชนดัง้ เดิมทีม่ เี อกลักษณ์ 5) ร่างกฎหมาย หรือข้อเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายเพือ่ ให้เกิดการรักษาชุมชนดัง้ เดิมที่ สอดคล้องกับนโยบายการกระจายอํานาจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นท้องถิน่
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
5
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
บทที่ 2 นิยามและสถานการณ์ชมุ ชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมในประเทศไทย 2.1 นิ ยามและคุณค่าความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิ ม คําว่า ชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิม ในการศึกษานี้หมายถึงชุมชนที่อยู่อาศัยที่มลี กั ษณะพิเศษในแง่ของ คุ ณ ค่า ทางวัฒ นธรรม ซึ่ง เกี่ย วพัน กับ การเป็ น มรดกวัฒ นธรรมด้ว ย ชุ ม ชนที่อ ยู่อ าศัย ดัง้ เดิม นี้ มี ความสําคัญต่ อเมืองสมัยใหม่ใ นหลายแง่มุม ทัง้ ในด้านการเป็ นแหล่งที่อยู่อาศัยปจั จุบนั ที่รองรับ ประชากร (housing stock) เป็ นพืน้ ทีท่ ท่ี ําให้เมืองนัน้ มีเอกลักษณ์ดว้ ยความแตกต่างของลักษณะ สถาปตั ยกรรม การตัง้ ถิน่ ฐาน และวิถชี วี ติ นอกจากนัน้ ยังเป็ นแหล่งเรียนรูเ้ กี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม ซึ่งอาจมีผลในด้านการเป็ นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองนัน้ ด้วย ลักษณะพิเศษที่ทําให้ ชุ ม ชนดัง้ เดิม มีค วามแตกต่ า งมีป ระเด็น ที่ต้อ งพิจ ารณา คือ ความสํา คัญ ทางประวัติศ าสตร์แ ละ โบราณคดี (historical and archaeological significance) อายุ (age) ลักษณะเฉพาะ (character) และวิถชี วี ติ (way of life) โดยมีการพิจารณาดังนี้ 1) ด้านความสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี นับเป็ นคุณค่าทีส่ าํ คัญมากโดยเฉพาะ ทางด้านประวัตศิ าสตร์ เนื่องจากชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมเป็ นหลักฐานทีแ่ สดงออกถึงความ เจริญรุง่ เรือง ภูมปิ ญั ญา และพัฒนาการของมนุษย์ ซึง่ แต่ละพืน้ ทีจ่ ะไม่เหมือนกันตามคติความเชื่อ ลักษณะภูมปิ ระเทศและความสามารถในการปรับตัวของมนุษย์ในพืน้ ทีน่ นั ้ นอกจากนัน้ ประวัตศิ าสตร์ ในบางพืน้ ทีย่ งั เกีย่ วพันกับเหตุการณ์หรือบุคคลสําคัญของประเทศหรือของโลก ซึง่ เป็ นคุณค่าพิเศษที่ ทําให้พน้ื ทีน่ นั ้ มีความสําคัญกว่าพืน้ ทีอ่ ่นื ส่วนคุณค่าทางโบราณคดีมคี วามเกีย่ วพันกับการมีหลักฐาน ทีแ่ สดงให้เห็นถึงอารยธรรมของคน เช่น ชีวติ ความเป็ นอยู่ ประเพณี ความเชื่อต่างๆ ในสมัยก่อน 2) ด้านอายุ ตามหลักปฏิบตั สิ ากลได้กาํ หนดเส้นแบ่งระหว่างอดีตกับปจั จุบนั ไว้ท่ี 50 ปี (กอง โบราณคดี 2532) จึงมักใช้เป็ นเกณฑ์ในการกําหนดอายุของโบราณสถานว่าต้องมากกว่า 50 ปี ซึง่ ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ใช้เกณฑ์น้ี และอังกฤษใช้ 30 ปีเป็ นอย่างน้อย ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมือ่ พ.ศ. 2469 หน่วยงานทีด่ แู ละด้านการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมคือราชบัณฑิตยสภา ได้กาํ หนดอายุของ โบราณสถานไว้โดยประมาณว่าตัง้ แต่ 100 ปีขน้ึ ไป แต่ปจั จุบนั กรมศิลปากรซึง่ เป็ นหน่วยงานที่ รับผิดชอบด้านการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมมิได้มกี ารกําหนดอายุของโบราณสถานหรืออาคารทีค่ วร ค่าแก่การอนุ รกั ษ์ไว้อย่างเป็ นทางการ ซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดสมัยใหม่ในหลายประเทศทีว่ า่ ไม่ จําเป็ นต้องกําหนดอายุโดยเฉพาะฝรังเศสซึ ่ ง่ ถือเป็ นผูน้ ําในด้านการอนุ รกั ษ์ ก็มอี าคารทีส่ ร้างมาไม่ นานแต่ได้อยูใ่ นฐานข้อมูลโบราณสถาน (ฝรังเศสเรี ่ ยก inventaire หรือ inventory ในภาษาอังกฤษ) แล้ว เช่น อาคาร Betelgueuse และ โรงแรม Le Flaine ทีส่ ร้างใน ค.ศ. 1966 ก็ขน้ึ บัญชีเป็ น
6
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
supplementary inventory ใน ค.ศ. 1991 แต่สาํ หรับในประเทศอังกฤษ อาคารเก่าแก่ทม่ี อี ายุมากมี ผลต่อจํานวนทีข่ น้ึ บัญชีมรดกวัฒนธรรมด้วย โดยมีหลักการทีน่ ่าสนใจสมควรบันทึกไว้ดงั นี้ ก) อาคารทีส่ ร้างก่อน ค.ศ. 1700 ขึน้ บัญชีทุกอาคาร ข) อาคารทีส่ ร้างระหว่าง ค.ศ. 1700-1840 ขึน้ บัญชีเกือบทุกแห่ง โดยจะมีกระบวน การคัดเลือกโดยคณะกรรมการผูเ้ ชีย่ วชาญ ค) อาคารทีส่ ร้างระหว่าง ค.ศ. 1840-1914 ขึน้ บัญชีเฉพาะทีเ่ ป็ นแบบอย่างทีด่ ที ส่ี ดุ หรือมีลกั ษณะเฉพาะตัว ง) อาคารทีส่ ร้างหลัง ค.ศ. 1914 ขึน้ บัญชีเฉพาะทีม่ คี ุณภาพสูง (high quality) จ) อาคารทีม่ อี ายุ 10-30 ปี ต้องมีคุณค่าโดดเด่น (outstanding) จริงๆ และมีเงือ่ นไข ตกอยูภ่ ายใต้ภยั คุกคาม (under threat) 3) ลักษณะเฉพาะ (character) นอกจากนัน้ บางชุมชนยังอาจมีอาคารหรือสิง่ ก่อสร้างเดีย่ วนี้ มีลกั ษณะพิเศษ มีความสวยงามหรือมีลกั ษณะแห่งการก่อสร้างทีเ่ ป็ นแบบอย่างหรือเป็ นเอกลักษณ์ ก็ คือเป็ นองค์ประกอบที่ทําให้เกิดลักษณะเฉพาะในย่านหรือพื้นที่นัน้ ๆ ด้วยถือเป็ นคุณภาพที่สําคัญ ชุมชนดัง้ เดิมไม่จําเป็ นต้องมีสถาปตั ยกรรมทีม่ คี วามสวยงามเป็ นทีส่ ุด แต่ควรมีลกั ษณะโดยรวมทีม่ ี ความเฉพาะ อาจมีความเป็ นพืน้ ถิน่ (vernacular) สูง ในทีน่ ้ีได้ยดึ ตามแนวคิดของ Manley and Guise (1998: 72) ทีไ่ ด้พจิ ารณาลักษณะเฉพาะทัง้ กายภาพและการรับรู้ ในด้านกายภาพได้แก่ ภูมิ ประเทศ รูปแบบการเข้าถึง โครงข่ายการสัญจร ลักษณะการจัดผัง ภูมทิ ศั น์ และพืชพรรณ รูปแบบ สถาปตั ยกรรม วัสดุและพืน้ ผิวอาคาร และอายุสมัย ส่วนในด้านการรับรู้ ได้แก่ จินตภาพที่รบั รูโ้ ดย กลุ่มคนต่างๆ บทบาทของชุมชนทัง้ อดีตและปจั จุบนั การใช้พน้ื ที่ สภาพอาคาร ลักษณะการถือครอง มุมมอง เสียง กลิน่ และกิจกรรม 4) ด้านวิถชี วี ติ (way of life) เป็ นคุณสมบัตทิ ป่ี จั จุบนั ให้ความสําคัญมากขึน้ ไม่ได้พจิ ารณา เฉพาะกายภาพหรือการรับรูก้ ายภาพอย่างเดียว อีกนัยหนึ่ง อาจนับได้ว่าเป็ นมรดกวัฒนธรรมด้าน จิตใจซึง่ จับต้องไม่ได้ (intangible cultural heritage) ซึง่ หมายถึงภูมปิ ญั ญา โดยกรมศิลปากรได้ แบ่งกลุ่มภูมปิ ญั ญาของไทยทีส่ ร้างสรรค์ในอดีตและต่อเนื่องมาถึงปจั จุบนั ออกเป็ น 8 ด้านด้วยกัน (สํานักโบราณคดี กรมศิลปากร 2550: 15-17) ซึง่ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาดังนี้ ก) ปจั จัยพืน้ ฐานการดํารงชีวติ เช่น ความสามารถในการแสวงหาอาหาร ข) ภาษาและวรรณกรรม ทัง้ การพูด การเขียน การอ่าน ค) ศาสนา ปรัชญา จริยธรรม ง) ศิลปะ การบันเทิง ดนตรีทเ่ี ป็ นเอกลักษณ์ในแต่ละภาค แต่ละท้องถิน่ จ) ความสัมพันธ์ทางสังคม ระบบครอบครัวและชุมชน ระบบเครือญาติ ฉ) เศรษฐกิจ ระบบการค้า การคมนาคมขนส่ง ช) อุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี วิธกี ารผลิต ซ) การเมืองการปกครอง เช่น ระบอบการปกครอง โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
7
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
นอกจากกรมศิลปากรแล้ว สํานักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ได้แบ่งหมวดหมู่ วัฒนธรรมพืน้ บ้านออกเป็ น 5 หมวด ดังนี้ (สวช. 2551 (ก): 37-44) (1) ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนา โดยแบ่งเป็ นหัวข้อย่อย ได้แก่ ความเชื่อ ปรัชญา ศาสนา ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ กฎหมาย ธรรมเนียมการปกครอง การปลูกฝงั และการสืบทอด และประเพณี (2) ภาษาและวรรณกรรม ได้แก่ ข่าวสาร วรรณกรรม ภาษาศาสตร์และหลักภาษา ภาษาท้องถิน่ และภาษาชนต่างกลุ่ม นิทานและภูมนิ าม ความเรียงฉันทลักษณ์ ปริศนาคําทาย วาท การภาษิต (3) ศิลปกรรมและโบราณคดี ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปตั ยกรรม ศิลปหัตถกรรม โบราณคดี การวางผังเมืองและชุมชน วัฒนธรรมสถาน (4) การละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ ได้แก่ การขับร้องและดนตรี ระบํารํา ฟ้อน มหรสพ เพลงเด็กและเพลงกล่อมเด็ก เพลงปฏิพากย์ (เพลงพืน้ บ้านทีใ่ ช้รอ้ งโต้ตอบกัน) การละเล่นพืน้ บ้าน กีฬานันทนาการ การท่องเทีย่ ว ธุรกิจ (5) ชีวติ ความเป็ นอยูแ่ ละวิทยาการ ได้แก่ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ คหกรรมศาสตร์ การ สาธารณสุข ทีอ่ ยูอ่ าศัย ชีวประวัติ เกษตรกรรมและบริการ (อาชีพในสาขาการบริการ) การจัด หัว ข้อ และหมวดหมู่ ข องวัฒ นธรรมดัง กล่ า ว ทัง้ จากกรมศิล ปากรและสํา นั ก งาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะได้นํามาใช้เป็ นแนวทางในการเก็บข้อมูลด้านวิถชี วี ติ ของชุมชน ดัง้ เดิม ดังนัน้ ในการกําหนดนิยามชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมจึงควรเป็ นชุมชนทีม่ คี ุณสมบัตดิ งั นี้ 1) เป็ นชุมชนที่ยงั มีผอู้ ยู่อาศัยในปัจจุบนั มีที่ตงั ้ ทัง้ ในเขตเมืองและเขตชนบท 2) มีการตัง้ ถิ่ นฐานมาเป็ นเวลานาน 3) มีประวัติศาสตร์ ความเป็ นมาที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์หรือบุคคลสําคัญ 4) มีลกั ษณะเฉพาะทางกายภาพที่โดดเด่นเป็ นเอกลักษณ์ 5) มีวิถีชีวิตทางด้านสังคม เศรษฐกิ จและประเพณี สืบทอดกันต่อๆ มา ความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม มีดงั นี้ 1) เป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยปจั จุบนั (housing stock) ทีร่ องรับความต้องการของประชากร 2) เป็ นต้นทุนทางวัฒนธรรมของท้องถิน่ ทําให้เกิดเอกลักษณ์ 3) เป็ นแหล่งพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าของท้องถิน่ และการท่องเทีย่ ว 4) เป็ นแหล่งเรียนรูใ้ นด้านประวัตศิ าสตร์ สถาปตั ยกรรม วิถชี วี ติ ทําให้เกิดความ ภาคภูมใิ จในชาติและท้องถิน่ รวมทัง้ ความรักชาติรกั ตระกูลรักท้องถิน่
8
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
2.2 ลักษณะ ที่ตงั ้ และการจัดประเภทชุมชนดัง้ เดิ ม จากนิยามของชุมชนดัง้ เดิมทีเ่ ป็ นชุมชนทีย่ งั มีผอู้ ยู่อาศัยในปจั จุบนั มีประวัตพิ ฒ ั นาการมาเป็ นเวลา พอสมควรนัน้ จากการศึก ษาพบว่า มีเ ป็ น จํา นวนมากตามเมือ งต่ า งๆ ทัวประเทศ ่ ส่ว นมากจะมี พัฒนาการในช่วงการปรับปรุงประเทศในช่วงจักรวรรดินิยมตะวันตกหรือราวรัชกาลที่ 4-5 (ประมาณ พ.ศ. 2400) จนถึงช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 (ประมาณ พ.ศ. 2480) โดยมีปจั จัยที่ทําให้เกิดชุมชน ดังกล่าวพอสรุปได้ ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบคมนาคม โดยในช่วงแรกมักเป็ นการคมนาคมทางนํ้า มีการขุดคูคลองเพื่อ การสัญจรมากในส่วนภูมภิ าค ในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 โดยเฉพาะอย่างยิง่ พืน้ ทีล่ ุ่มนํ้ าภาคกลาง มี ชุมชนเกิดขึน้ จากการขุดคลอง เช่น ชุมชนคลองอัมพวา ชุมชนศรีสุราษฎร์ทค่ี ลองดําเนินสะดวก หรือ ชุมชนริมนํ้าหลายชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงเวลาเดียวกันก็มกี ารพัฒนาเส้นทางรถไฟในสมัย รัชกาลที่ 5 จึงได้มชี ุมชนย่านสถานีรถไฟเกิดขึ้นเป็ นจํานวนมากทัวประเทศ ่ แต่ภายหลังจากการ พัฒนาทางหลวงจังหวัดในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ชุมชนเมืองได้เกิดขึน้ ใหม่เป็ นจํานวนมาก ตาม เส้นทางถนนสายต่างๆ ในขณะทีก่ ารใช้แม่น้ําลําคลองและทางรถไฟได้รบั ความนิยมน้อยลง มีผลให้ ในปจั จุบนั ชุมชนดัง้ เดิมเหล่านี้กลายเป็ นชุมชนทีม่ กี ารเข้าถึงได้ไม่งา่ ยนัก 2) การพัฒนาระบบการเมืองการปกครอง ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2435) ได้ทรงยกเลิก การปกครองแบบจตุสดมภ์ ทีม่ รี ากฐานมาตัง้ แต่สมัยอยุธยาให้เป็ นแบบกรม (ต่อมาคือกระทรวง) ใน ส่วนกลางและส่วนภูมภิ าคให้เป็ นมณฑลซึ่งมี 14 มณฑลทัวประเทศ ่ การเปลี่ยนแปลงการระบบ ปกครองนี้ผนวกกับการเสด็จประพาสต้นตามหัวเมืองต่างๆ ทําให้เกิดชุมชนเมืองในส่วนภูมภิ าคขึน้ เป็ นจํานวนมาก บางชุมชนได้พฒ ั นาจากชุมชนที่มอี ยู่เดิม เช่นชุมชนถนนหลังสวนจังหวัดชุมพร ชุมชนเมืองภูเก็ต และอีกหลายชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้กลายเป็ นย่านเมืองเก่าไป แล้ว 3) การพัฒ นาการค้า และอุ ต สาหกรรม จากการปรับ ปรุง ประเทศอัน เนื่ อ งมาจากการทํา สนธิสญ ั ญากับชาติตะวันตก เช่น สนธิสญ ั ญาบาวริง่ (พ.ศ. 2398) ในสมัยรัชกาลที่ 4-6 ทําให้เกิดการ พัฒนาสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากรถไฟแล้วยังมีเรือยนต์และรถยนต์ รวมทัง้ การผลิตในลักษณะ มวล (mass production) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้แปรรูป มีโรงเลื่อยทัวประเทศทํ ่ าให้เกิดความ สะดวกในการสร้างอาคารที่ทําด้วยไม้เป็ นจํานวนมากและมีลกั ษณะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะที่เป็ น เรือนแถวไม้ซ่งึ มีความแตกต่างจากเรือนไทยเดิม นอกจากนัน้ เมื่อมีเรือยนต์และรถไฟทําให้เกิด การค้าแลกเปลี่ยนสินค้าและการอพยพกันมากขึ้น เช่น ชาวจีนได้อพยพมาอยู่ตามชุมชนหัวเมือง ต่างๆ ทีท่ าํ การค้า จึงมักพบว่ามีการสร้างศาลเจ้า โรงเรียน ร้านค้า ทีเ่ ป็ นของชาวจีนมากซึง่ ต่อมาได้ ผสมผสานกับคนไทยเชือ้ สายอื่นๆ หลอมรวมเป็ นชุมชนทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะ และหลากหลายแห่งเป็ น จุดเริม่ ต้นของการพัฒนาเมืองในปจั จุบนั
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
9
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
รูปที่ 2-1 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนดัง้ เดิมซ้อนทับเส้นทางถนนปจั จุบนั เห็นได้วา่ ส่วนใหญ่อยูน่ อกเส้นทางหลัก
10
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
รูปที่ 2-2 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนดัง้ เดิมซ้อนทับเส้นทางนํ้าและทางรถไฟ เห็นได้วา่ มีการเข้าถึงได้ดกี ว่าถนนสายหลัก
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
11
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
ในการเก็บข้อมูลชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมดังกล่าวได้ใช้วธิ ีการออกแบบสอบถามผู้เข้าร่วม ประชุมในการประชุมหารือ จากเอกสารการศึกษา รายงานการวิจยั เว็บไซต์ทเ่ี กีย่ วข้อง การหารือกับ ท้องถิน่ และการสํารวจพืน้ ทีท่ วประเทศ ั่ ได้ชุมชนทีเ่ ข้าลักษณะตามนิยามทีใ่ ห้ไว้ขา้ งต้น จํานวน 140 แห่ง ทัง้ 4 ภูมภิ าค และรวมกรุงเทพมหานครซึง่ ได้แยกเป็ นพืน้ ทีเ่ ฉพาะอีกพืน้ ทีห่ นึ่ง จํานวนชุมชนนี้ เป็ นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านัน้ และจากการประมวลลักษณะชุมชนอาจแบ่งตามลักษณะการตัง้ ถิน่ ฐานได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1) เรือนแพ (Raft Houses) หมายถึง กลุ่มอาคารทีอ่ ยูอ่ าศัยทีเ่ ป็ นแพอยูบ่ นนํ้าและไม่ เคลื่อนย้าย ส่วนใหญ่อยูภ่ าคเหนือและภาคกลางตามลักษณะภูมปิ ระเทศ ในการศึกษาพบว่ามีอยูน่ ้อย มากเพียง 2 ชุมชน คือ เรือนแพแม่น้ําน่าน จังหวัดพิษณุโลก และเรือนแพแม่น้ําสะแกกรัง จังหวัด อุทยั ธานี
รูปที่ 2-3 เรือนแพแม่น้ําสะแกกรัง อําเภอเมือง จังหวัดอุทยั ธานี (ประเภทเรือนแพ)
รูปที่ 2-4 เรือนแพแม่น้ําน่าน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (ประเภทเรือนแพ)
12
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
2) ย่านชุมชนริมนํ้า (Water-base Community) หมายถึง ย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยผสมพาณิชยกรรมที่ ตัง้ อยู่รมิ นํ้ าโดยอาศัยการเข้าถึงทางนํ้ าในอดีตและยังมีการใช้ในปจั จุบนั แต่น้อยลง ส่วนใหญ่มกั มี องค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น ตลาด ร้านค้า โรงมหรสพ ศาสนสถาน เช่น ศาลเจ้า อาคารบ้านเรือนมัก เป็ นแบบห้องแถวไม้ลกั ษณะเด่นคือมีการหันหน้ าอาคารออกสู่ทางนํ้ า ชุมชนลักษณะนี้พบมากใน พืน้ ทีล่ ุ่มนํ้าภาคกลางและภาคตะวันออก มี 16 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตลาดต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สมุทรสงคราม พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เช่น ตลาดอัมพวา ตลาดบ้านใหม่ ตลาดคลองสวน ฯลฯ ชุมชนเหล่านี้ในปจั จุบนั หลายชุมชนเป็ นทีร่ จู้ กั ของนักท่องเทีย่ ว มักใช้ช่อื ตาม อายุทต่ี งั ้ มานานว่าตลาดนํ้าหรือตลาดร้อยปี
รูปที่ 2-5 ตลาดบางพลี อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (ย่านชุมชนริมนํ้า)
รูปที่ 2-6 ตลาดอัมพวา อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ย่านชุมชนริมนํ้า)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
13
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
3) ย่านถนนการค้า (Main Commercial Street) หมายถึง กลุ่มอาคารทีอ่ ยูอ่ าศัยผสมพาณิชยกรรมทีต่ งั ้ อยูส่ องฟากถนน เป็ นส่วนหนึ่งของย่านพาณิชยกรรมใจกลางเมือง หรือเคยเป็ นย่านถนน สายหลักของเมืองเมื่อแรกสร้าง หลายแห่งมีการสร้างถนนขนานไปกับแม่น้ํ าหรือลําคลองอาคารมัก เป็ นรูปแบบตึกแถวมีทงั ้ ทีเ่ ป็ นไม้และคอนกรีตหรือปูน ย่านถนนการค้านี้พบได้ทวทุ ั ่ กภาค มีทงั ้ หมด 67 ชุมชน เช่น กาดกองต้า จังหวัดลําปาง ถนนยมจินดา จังหวัดระยอง ถนนพานิช จังหวัด ฉะเชิงเทรา ถนนปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี ถนนหลวง จังหวัดอุบลราชธานี ถนนนางงาม ถนน นครนอก นครใน จังหวัดสงขลา ถนนชายโขง จังหวัดเลย ในกรุงเทพมหานครก็พบมาก เช่น กลุ่ม ตึกแถวบริเวณถนนพระอาทิตย์ แยกแม้นศรี ถนนทรงวาด ถนนบํารุงเมือง ฯลฯ
รูปที่ 2-7 กาดกองต้า อําเภอเมือง จังหวัดลําปาง (ประเภทย่านการค้า)
รูปที่ 2-8 ถนนหลวง อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ประเภทย่านการค้า)
14
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
4) ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น (Urban Village) มีลกั ษณะทีต่ งั ้ อยูใ่ นพืน้ ทีใ่ จกลางเมืองเป็ นส่วนใหญ่ ลักษณะทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็ นบ้านเดีย่ วทีม่ ลี กั ษณะสถาปตั ยกรรมทีส่ วยงาม มักพบจํานวนหลายหลังในย่าน เดี ย วกั น แต่ อ ยู่ แ บบกระจั ด กระจาย ชุ ม ชนประเภทนี้ ย ั ง พบมากในภาคเหนื อ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ทัง้ ทีเ่ ป็ นบ้านของเอกชน เช่น ชุมชนคาทอลิกท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ย่านท่ามะ โอ จังหวัดลําปาง บ้านสิงห์ท่า จังหวัดยโสธร ตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก นอกจากนัน้ ยังนับรวมชุมชน นิคมพักอาศัยของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยตามจังหวัดชุมทางต่างๆ เช่น ย่านสถานีรถไฟ จังหวัดเชียงใหม่ ลําปาง ขอนแก่น อุบลราชธานี และในภาคใต้ เช่น ทีจ่ งั หวัดชุมพร และอําเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึง่ มีแผนผังและลักษณะอาคารเป็ นเอกลักษณ์สมควรอนุ รกั ษ์ไว้อย่างยิง่ โดย มีทงั ้ หมด 24 ชุมชน
รูปที่ 2-9 ชุมชนคาทอลิกท่าแร่ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ประเภทย่านชุมชนหมูบ่ า้ น)
รูปที่ 2-10 ย่านสถานีรถไฟขอนแก่น อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ประเภทย่านชุมชนหมูบ่ า้ น) โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
15
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
5) ย่านตลาด (Market Place) หมายถึง ชุมชนทีป่ ระกอบไปด้วยทีอ่ ยูอ่ าศัยผสมพาณิชยก รรม ส่วนมากเป็ นตึกแถวหรือห้องแถวไม้สร้างล้อมรอบหรืออยูใ่ กล้ตลาดทีต่ งั ้ อยูบ่ นบก มักอยูใ่ นพืน้ ที่ ศูนย์กลางเมืองดัง้ เดิมหรืออยู่ในพื้นที่เมืองเก่า มีต้นกําเนิดมาจากการเป็ นศูนย์กลางหรือศูนย์รวม กิจกรรม (node) ของการค้าทีม่ าจากเส้นทางคมนาคม ไม่ว่าจะเป็ นแม่น้ําลําคลอง ทางรถไฟ หรือ ถนน บางแห่งโดยเฉพาะทีอ่ ยู่ในภาคกลางได้พฒ ั นามาจากตลาดนํ้ าเมื่อมีถนนก็มกี ารสร้างตลาดบก และตึกแถว เรือนแถวเพื่อค้าขายประกอบกันไปด้วย โดยมีความแตกต่างจากชุมชนริมนํ้าคืออาคาร ในย่านนี้เกือบทัง้ หมดจะไม่ได้หนั หน้าสู่น้ํ า ตัวอย่างเช่น ตลาดท่าเตียน ตลาดท่านา ตลาดเก้าห้อง ตลาดศรีประจันต์ ตลาดบางหลวง ตลาดเจ็ดเสมียน บางแห่งเกิดขึน้ จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟกับ ระบบถนน เช่น ชุมชนตลาดบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ตลาดชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตลาดท่าสัก จังหวัดอุตรดิตถ์ และตลาดบางมูลนาค จังหวัดพิจติ ร ในขณะทีบ่ างชุมชน เกิดจากการพัฒนาระบบ ถนน เช่ น ชุ ม ชนตลาดป กั ธงชัย และตลาดโชคชัย จัง หวัด นครราชสีม า ชุ ม ชนแพร่ ง ภู ธ รใน กรุงเทพมหานคร มีจาํ นวน 31 ชุมชน
รูปที่ 2-11 ชุมชนตลาดบางแก้ว อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง (ประเภทย่านตลาด)
รูปที่ 2-12 ชุมชนตลาดปกั ธงชัย อําเภอปกั ธงชัย จังหวัดนครราชสีมา (ประเภทย่านตลาด) 16
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
ประเภทเรือนแพ เรือนแพแม่น้ําสะแกกรัง จังหวัดอุทยั ธานี
ประเภทย่านชุมชนริมนํ้า ชุมชนอัมพวา สมุทรสงคราม
ประเภทย่านถนนการค้า ชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลําปาง
ประเภทย่านชุมชนหมูบ่ า้ น ชุมชนนครชุม จังหวัดกําแพงเพชร
ประเภทย่านตลาด ชุมชนตลาดทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดเพชรบุร ี
รูปที่ 2-13 แผนทีแ่ สดงตัวอย่างชุมชนประเภทต่างๆ 5 ประเภท (ไม่ตามมาตราส่วน) โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
17
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
2.3 ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาชุมชนดัง้ เดิ ม ชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมทัง้ 5 ประเภท ต่างก็มคี ุณค่าและความสําคัญดังได้กล่าวแล้ว ทัง้ ในด้านการ เป็ นมรดกวัฒนธรรมทีม่ คี ุณค่าทางจิตใจ การเป็ นแหล่งเศรษฐกิจท้องถิน่ การเป็ นสัญลักษณ์ของพืน้ ที่ และจังหวัด เป็ นแหล่งรายได้และความภาคภูมใิ จรวมทัง้ การเป็ นแหล่งเรียนรูร้ ากเหง้าของคนรุ่นหลัง หลายชุมชนได้รบั การทํานุบาํ รุงฟื้นฟูและส่งเสริมประชาสัมพันธ์จนกลายเป็ นแหล่งท่องเทีย่ วซึง่ นํามา ทัง้ ผลดีในแง่เศรษฐกิจแต่อาจมีผลกระทบด้านการทําลายความสงบสุขและความเป็ นอยูข่ องคนดัง้ เดิม ซึง่ ทําให้บนทอนคุ ั่ ณภาพชีวติ แต่อกี หลายพืน้ ทีไ่ ม่ได้รบั ความสนใจในด้านการบํารุงรักษามีผลทําให้ เกิดการทิง้ ร้างและสูญสลายไปในทีส่ ดุ ปญั หาทีเ่ กิดขึน้ กับชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม โดยเฉพาะในประเด็นทีเ่ กีย่ วกับการรักษาและ ฟื้นฟูให้มสี ภาพทางกายภาพและกิจกรรมทีม่ คี ุณค่าความสําคัญนัน้ มาจากข้อคิดเห็นและการนําเสนอ ในทีป่ ระชุมหารือ 4 ครัง้ ทีจ่ ดั โดยการเคหะแห่งชาติ การสรุปจากรายงานการศึกษาต่างๆ และการ สํารวจพืน้ ที่ โดยอาจแบ่งปญั หาได้ 5 ประการ ดังนี้ 1) การเสื่อมสลายของชุมชน นับว่าเป็ นปญั หาหลักของการรักษาชุมชนดัง้ เดิม การเสื่อม สลายนี้มที งั ้ ในด้านกายภาพและวิถชี วี ติ ในด้านกายภาพพบว่าอาคารบ้านเรือนและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ตลาด เป็ นจํานวนมากในชุมชนทีม่ กี ารผุพงั ตามอายุขยั และมักมีการสร้างขึน้ มาใหม่ทดแทนเป็ น ลักษณะของอาคารสมัยใหม่ทม่ี คี วามขัดแย้งกับลักษณะดัง้ เดิม ทําให้คุณค่าทางกายภาพของชุมชน ลดลงหรือหายไป นอกจากนัน้ ยังรวมถึงการตัดถนนใหม่และการพัฒนาสาธารณู ปโภคที่ทําลายผัง บริเวณของชุมชนดัง้ เดิม การสูญสลายของอาคารมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การขาดแคลนวัสดุ ดัง้ เดิม ขาดแคลนช่า งฝี มือ การขาดป จั จัย ในการบํ า รุง รัก ษา ความต้อ งการวัส ดุ แ ละโครงสร้า ง สมัยใหม่เพื่อการอยู่อาศัยทีท่ นั สมัย รวมทัง้ การให้ความรูค้ วามเข้าใจถึงคุณค่าความสําคัญและการ สนับสนุนในด้านการรักษาอาคาร
รูปที่ 2-14 การแทนทีข่ องอาคารสมัยใหม่บน ถนนควนขนุ น-ทะเลน้อย อําเภอควนขนุ น จังหวัดพัทลุง
18
รูปที่ 2-15 การเสือ่ มสลายของอาคารดัง้ เดิมบน ถนนปากแพรก อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุร ี
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
2) การให้นิยาม ในการประชุมหารือ ได้มผี ตู้ งั ้ ข้อสังเกตเกีย่ วกับคําว่าชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม ว่าใช้อะไรเป็ นหลัก เพราะชุมชนประกอบไปด้วยอาคาร คน และวิถชี วี ติ ซึง่ หากพิจารณาหรือมีการ อนุ รกั ษ์แค่อาคาร/สถาปตั ยกรรม ก็อาจจะทําให้เกิดผลกระทบต่อวิถชี วี ติ ของผูอ้ ยู่อาศัยได้ แต่หาก พิจารณาวิถีชีวิต เป็ นหลัก ก็อาจจะก่อให้เ กิดการเปลี่ยนแปลงต่ อสถาปตั ยกรรมได้ ตัว อย่างเช่น ชุมชนบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรที ม่ี วี ถิ ชี วี ติ ดัง้ เดิมคือทํานาเกลือ แต่สภาพแวดล้อมเปลีย่ นไปทําให้ ทํานาเกลือไม่ได้ จะอนุ รกั ษ์วถิ ชี วี ติ ได้อย่างไร ชุมชนนี้ไม่ได้มลี กั ษณะทีอ่ ยู่อาศัยทางกายภาพทีโ่ ดด เด่น ไม่มคี ุณค่าทางสถาปตั ยกรรมให้อนุ รกั ษ์ จะถือว่าเป็ นชุมชนดัง้ เดิมตามนิยามหรือไม่ ตัวอย่าง แบบนี้มเี ป็ นจํานวนมาก โดยเฉพาะตลาดเก่า ตลาดร้อยปี หลายแห่งมีวถิ ชี วี ติ มาเป็ นเวลานาน แต่ไม่ หลงเหลือสถาปตั ยกรรมที่เป็ นหลักฐานของอดีต อีกตัวอย่างหนึ่งคือชุมชนตึกแถวเก่าบริเวณถนน บ้า นหม้อและปากคลองตลาด กรุง เทพมหานคร เป็ นตึก แถวเก่า แก่มีค วามสวยงาม คุณ ค่า ทาง สถาปตั ยกรรมสูง แต่ปจั จุบนั ผูอ้ ยู่อาศัยเป็ นผูม้ รี ายได้น้อยทีเ่ ช่าห้องอยู่ ไม่มปี จั จัยและความสนใจใน การบูรณะซ่อมแซมอาคาร อย่างนี้จะต้องรักษาวิถชี วี ติ และผูเ้ ช่าไว้หรือไม่ 3) กรรมสิทธิ ์และการถือครอง เป็ นปญั หาทีเ่ กีย่ วพันกับการสูญเสียอาคารทีม่ คี ุณค่าในชุมชน ดัง้ เดิมซึง่ ส่วนใหญ่เป็ นของเอกชนทีไ่ ด้รบั มรดกตกทอดมาจากบรรพบุรษุ เจ้าของทีไ่ ด้รบั มรดกมาอาจ ไม่ได้อยูใ่ นพืน้ ทีม่ านาน จึงไม่สนใจจะรักษาไว้และขายทอดตลาด หากอาคารนัน้ ไม่ได้มมี าตรการทาง กฎหมายคุม้ ครอง เช่น การขึน้ ทะเบียนโบราณสถาน ก็อาจถูกทําลายได้ ปญั หาเกีย่ วกับกรรมสิทธิ ์อีก ประการหนึ่ ง คื อ ชุ ม ชนดัง้ เดิ ม หลายแห่ ง อยู่ ใ นความดู แ ลของวัด สํ า นั ก งานทรัพ ย์ ส ิ น ส่ ว น พระมหากษัตริย์ หรือกรมธนารักษ์ มีผเู้ ช่าเป็ นจํานวนมากซึง่ หากหน่ วยงานทีเ่ ป็ นเจ้าของทรัพย์สนิ ไม่ได้มนี โยบายในการรักษาไว้แม้ผเู้ ช่าจะต้องการรักษา ก็ไม่สามารถทําได้หากไม่มกี ระบวนการใน การร่วมตัดสินใจ
รูปที่ 2-16 การขายทีด่ นิ ด้านหน้าคฤหาสน์ในย่านเมือง เก่าภูเก็ตทําให้มโี ครงการสร้างตึกแถวขึน้ แทนที่
รูปที่ 2-17 การขายทีด่ นิ ด้านหน้าคฤหาสน์ในย่านเมือง เก่าภูเก็ตทําให้มโี ครงการสร้างตึกแถวขึน้ แทนที่ (ต่อ)
4) ข้อกฎหมาย ปญั หานี้ส่งผลต่อการสูญสลายของอาคารในชุมชนดัง้ เดิมด้วยเช่นกัน เนื่องจากชุมชนดัง้ เดิมมีการพัฒนามานาน อาคารเดิมทีม่ คี ุณค่าส่วนใหญ่มกี ารสร้างมามากกว่า 50 ปี โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
19
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 2
หรือกว่า 100 ปีในบางพืน้ ที่ ซึง่ เกิดมาก่อนกฎหมายควบคุมอาคารในปจั จุบนั จึงทําให้เกิดการขัดแย้ง กับข้อกฎหมายบางประการ ตัวอย่างเช่น อาคารตึกแถวเก่ามีความกว้างไม่ถงึ 4.00 เมตรซึ่งเป็ น ความกว้างตึกแถวตํ่าสุดทีก่ ําหนดในกฎหมายควบคุมอาคารปจั จุบนั (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55) หากตึกแถวเก่านัน้ ไม่ได้มมี าตรการคุม้ ครองตามกฎหมายเช่น การขึน้ ทะเบียนโบราณสถาน เมื่อผุพงั ลงไปก็ไม่สามารถสร้างขึน้ ให้เหมือนเดิมได้เนื่องจากความกว้างเดิมไม่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย ปจั จุบนั อีกตัวอย่างหนึ่งคือลักษณะของชุมชนอาจถูกมองว่าล้าสมัย ไม่ได้มาตรฐาน เช่นกรณีของ เมืองเก่าภูเก็ตหรือชุมชนวัดเกตุการามทีเ่ ชียงใหม่ ทีใ่ นผังเมืองรวมหรือร่างผังเมืองกําหนดให้มกี าร ขยายถนนเพื่อให้ได้มาตรฐานของถนนในย่านพาณิชยกรรม โดยไม่ได้ดําเนินกระบวนการรับฟงั ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทําให้ตอ้ งรือ้ ถอนอาคารหรืออาคารทีส่ ร้างใหม่จะต้องมีระยะร่น ทีท่ าํ ให้เสียเอกลักษณ์ของพืน้ ทีไ่ ปได้ ทําให้เกิดการต่อต้านจากประชาชน ปญั หาเกีย่ วกับกฎหมายอีก ประการหนึ่งคือชุมชนดัง้ เดิมทีเ่ ป็ นเรือนแพ ซึง่ ตามกฎหมายของกรมเจ้าท่าจะมีสงิ่ ก่อสร้างเช่นเรือน แพไม่ได้ จึงกลายเป็ นสิง่ ผิดกฎหมาย หรือกรณีอาคารเก่าเป็ นอาคารไม้ซง่ึ ถือว่าเป็ นวัสดุไม่ทนไฟ ก็ อาจจะผิดเทศบัญญัตคิ วบคุมอาคารในเขตเทศบาลได้ ความขัดแย้งในข้อกฎหมายนี้เป็ นตัวเร่งให้เกิด การทําลายอาคารในชุมชนดัง้ เดิม เพราะถือว่าผิดกฎหมาย
รูปที่ 2-18 ตึกแถวทีช่ ุมชนท่าเตียนมีความกว้างแต่ละคูหาเฉลีย่ 3.50 เมตร น้อยกว่าความกว้างของตึกแถวตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) คือ 4.00 เมตร
5) ผลกระทบจากการพัฒนา ปญั หาในข้อนี้มผี ลก่อให้เกิดการสูญสลายทัง้ ทางกายภาพและ วิถชี วี ติ ในทางกายภาพ การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ทัง้ สาธารณูปโภคและอาคาร ทําให้เกิดการ ทําลายอาคารดัง้ เดิม ส่วนในด้านวิถชี วี ติ การพัฒนาชุมชนดัง้ เดิมให้เป็ นแหล่งท่องเทีย่ วอาจก่อให้เกิด การเข้ามาแทนทีข่ องคนนอกพืน้ ทีท่ ม่ี าลงทุนหรืออยูอ่ าศัย (gentrification) ทําให้วถิ ชี วี ติ เปลีย่ นแปลง ไปจากเดิม บางแห่งคนดัง้ เดิมต้องย้ายออกเนื่องจากมีขอ้ เสนอผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทีส่ ูง หรือ เนื่องจากถูกผลักดันจากวิถชี วี ติ ทีเ่ ปลีย่ นไปจากเดิมแล้ว
20
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
บทที่ 3 กฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรกั ษ์และพัฒนาชุมชนดัง้ เดิม ในประเทศไทย ประเทศไทยยังไม่มนี โยบายจากรัฐบาลกลางทีจ่ ะรักษาชุมชนดัง้ เดิมชัดเจนเหมือนในต่างประเทศทีไ่ ด้ ทําการศึกษาเป็ นกรณีตวั อย่าง (ดูบทที่ 4) ดังนัน้ ในการศึกษากฎหมายและองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการ อนุ รกั ษ์พฒ ั นาชุมชนดัง้ เดิมจะต้องอาศัยประเด็นในส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยในด้านกฎหมายจะ พิจารณา 3 ด้านคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุ รกั ษ์อาคารเดี่ยว กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ อนุ รกั ษ์เชิงพืน้ ที่ และกฎหมายทีเ่ กีย่ วกับภาษีเพื่อวิเคราะห์หาความเป็ นไปได้ในการกําหนดแรงจูงใจ ทางเศรษฐศาสตร์ ส่วนในด้านองค์กรจะพิจารณาบทบาทขององค์กรต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ มรดกวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง 3.1 กฎหมายปกป้ องและสงวนรักษาอาคาร กฎหมายที่เ กี่ย วข้อ งกับ การสงวนรัก ษาอาคาร คือ พระราชบัญ ญัติโ บราณสถาน โบราณวัต ถุ ศิลปวัตถุ และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และ พ.ศ. 2535 ซึ่งในกรณีของประเทศไทย อาคารใดก็ต ามหากมีคุ ณ ค่ า ตามที่ก ฎหมายนี้ กํ า หนด ก็ถือ ว่ า เป็ น “โบราณสถาน” โดยคํ า ว่ า “โบราณสถาน” ตามนิยามในมาตรา 4 หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ ซึง่ มีคุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่ ก) อายุ หมายถึงมีการก่อสร้างหรือมีหลักฐานพิสูจน์ ได้ว่าได้เกิดขึ้นมาเป็ นระยะเวลานานตามที่ กําหนด ข) ลักษณะแห่งการก่อสร้าง หมายถึงลักษณะทางสถาปตั ยกรรม โครงสร้าง หรือเทคนิคการ ก่อสร้างทางวิศวกรรม หรือ ค) มีประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัตศิ าสตร์ หรือโบราณคดี ซึง่ ได้รวมไป ถึงแหล่งโบราณคดีแหล่งประวัตศิ าสตร์ และอุทยานประวัตศิ าสตร์ดว้ ย จากนิยามจะเห็นว่าหากอาคารใดมีคุณสมบัตติ ามด้านต่างๆ นับเป็ นโบราณสถาน โดยทีไ่ ม่ จําเป็ นที่จะต้องขึน้ ทะเบียนก็ได้ แต่การขึน้ ทะเบียนโบราณสถานนัน้ ก็เพื่อให้รฐั สามารถเข้าไปดูแล รัก ษาและควบคุ ม โบราณสถานได้ โดยไม่ คํ า นึ ง ถึ ง การเป็ น เจ้ า ของว่ า จะเป็ น เอกชนหรือ ไม่ นอกจากนัน้ ในการขึน้ ทะเบียนโบราณสถานตามอํานาจของอธิบดีกรมศิลปากร อาจกําหนดเขตทีด่ นิ โดยรอบก็ได้ ไม่จําเป็ นต้องกําหนดเฉพาะอาคารอย่างเดียว อย่างไรก็ตามในการขึ้นทะเบียนหาก เจ้าของไม่ยนิ ยอม ก็สามารถอุทธรณ์ขอให้มกี ารระงับการขึน้ ทะเบียนได้ ซึง่ ต้องผ่านกระบวนการทาง ศาล ตามมาตรา 7 นอกจากนัน้ การขึ้น ทะเบีย น ยัง มีผ ลทํา ให้เ จ้า ของต้อ งมีก ารแจ้ง อธิบ ดีก รม ศิลปากร หากมีการชํารุดหรือเสียหาย (มาตรา 9) และรัฐสามารถซ่อมแซมบูรณะอาคารของเอกชนได้ เพือ่ รักษาให้คงสภาพเดิมซึง่ จะต้องแจ้งให้เจ้าของทราบก่อน (มาตรา 11)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
21
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
อาคารที่เป็ นโบราณสถาน ไม่ว่าจะขึน้ ทะเบียนหรือไม่กต็ าม จะมีการปกป้องโดยกฎหมาย ฉบับนี้ตามมาตรา 10 ซึง่ การปกป้องนี้ คือ การห้ามมิให้มกี ารซ่อมแซม แก้ไข เปลีย่ นแปลง รือ้ ถอน ต่ อ เติม ทํ า ลาย หรือ เคลื่อ นย้า ย นอกจากจะได้ร ับ อนุ ญ าตจากอธิบ ดีก รมศิล ปากรโดยในทาง ปฏิบตั กิ ารปกป้องนี้หมายถึง การกําหนดให้มกี ระบวนการกลันกรองโดยคณะกรรมการที ่ จ่ ดั ตัง้ โดย กรมศิลปากรเพื่อให้ขอ้ เสนอแนะแด่อธิบดีในการอนุ ญาตหรือไม่อนุ ญาต ดังนัน้ กฎหมายฉบับนี้เป็ น กฎหมายที่ลิด รอนสิท ธิใ นทรัพ ย์ส ิน ของบุ ค คล ซึ่ง ในประเทศยุโ รปหลายประเทศก็ไ ด้มีก ารออก กฎหมายปกป้ อ งอาคารที่มีคุ ณ ค่ า ในลัก ษณะเดีย วกัน อย่า งไรก็ต ามในการลิด รอนสิท ธิใ นที่ดิน ดังกล่าว ในพระราชบัญญัตนิ ้ีมไิ ด้กล่าวถึงเหตุผล ซึง่ น่ าจะมีการระบุเหตุผลด้วยว่าเหตุใดจึงต้องออก กฎหมายเพื่อปกป้อง โดยเหตุผลทีจ่ ะน่ าจะนํามาใช้คอื โบราณสถานถือเป็ นทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม ทีม่ คี ุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชนคนไทย ทีน่ ํามาซึง่ ความภาคภูมใิ จ และไม่สามารถจะสร้างขึน้ ใหม่เพื่อทดแทนได้จงึ ต้องมีการปกป้อง ทัง้ นี้เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงเหตุผลของการขึ้น ทะเบียนและการปกป้องโบราณสถาน และรัฐมีความจําเป็ นต้องลิดรอนสิทธิบางประการ นอกจากนัน้ ในขณะทีป่ ระเทศต่างๆ มีมาตรการในการลดแรงกดดันจากการพัฒนาและการ ลิดรอนสิทธิ ์ด้วยการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ทัง้ ในด้านการให้เงินช่วยเหลือในการซ่อมแซมที่ เป็ นไปตามมาตรฐาน หรือการนํ าค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมาลดภาษีรูปแบบต่างๆ ปรากฏว่าใน ประเทศไทย ไม่มลี กั ษณะของการจัดหาแรงจูงใจดังกล่าวปรากฏใน พ.ร.บ. โบราณสถานฯ หรือ กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องแต่อย่างใด 3.2 กฎหมายที่เกี่ยวกับการปกป้ องพืน้ ที่อนุรกั ษ์ในเมือง เนื่ องจากการอนุ รกั ษ์ ในป จั จุ บนั ได้ขยายขอบเขตจากอาคารเดี่ยว เป็ นกลุ่มอาคารและเป็ นพื้นที่ บริเวณหรือเป็ นย่านหรือบางแห่งเป็ นเมืองทัง้ เมือง ซึ่งการกําหนดให้มกี ารปกป้องพื้นที่อนุ รกั ษ์ใน ประเทศไทยนัน้ อาจใช้ชอ่ งทางตามกฎหมายได้ 4 ฉบับดังนี้ 1) พระราชบัญญัตโิ บราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับนี้สามารถขึน้ ทะเบียนโบราณสถานไม่เฉพาะตัว อาคารเท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงพืน้ ทีโ่ ดยรอบได้ดว้ ยตามมาตรา 7 ซึง่ อธิบดีกรมศิลปากรมีอาํ นาจกําหนด เขตทีด่ นิ ตามทีเ่ ห็นสมควร เป็ นเขตของโบราณสถานได้ ในกรณีของอาคารเดีย่ ว หรือกลุ่มอาคารเช่น วัด กรมศิลปากรอาจกําหนด เขตวัดเป็ นเขตโบราณสถานได้เพื่อให้มอี าํ นาจในการควบคุมการพัฒนา ซึง่ ในกรณีของย่านประวัตศิ าสตร์ในเมือง ยังไม่ปรากฏว่ามีการขึน้ ทะเบียนทัง้ ย่านหรือบริเวณ ทัง้ นี้ เพราะอาจมีขอ้ สังเกตดังนัน้ ก) การกําหนดเขตโบราณสถาน หมายความว่าทัง้ พื้นที่นัน้ จะต้องอยู่ภายใต้การ อนุ ญ าตของกรมศิล ปากร (ซึ่ง กฎหมายให้อํา นาจแก่ อ ธิบ ดี) ในกรณีย่า นประวัติศ าสตร์ ซึ่ง อาจ
22
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
ประกอบไปด้วยอาคารที่มคี ุณค่า อาคารที่ไม่มคี ุณค่า และพื้นที่อ่นื ๆ พระราชบัญญัติโบราณสถาน ไม่ได้มกี ารกําหนดหลักการ หรือแนวคิดในการบริหารจัดการในลักษณะนี้ ข) การกําหนดเขตโบราณสถาน จะต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สนิ ทราบทุกราย ซึง่ ส่วนใหญ่ กรณียา่ นประวัตศิ าสตร์ชุมชนดัง้ เดิมผูค้ รอบครอง มักเป็ นเอกชน โอกาสที่ เจ้าของจะไม่ยนิ ยอมนัน้ มีสงู มากเพราะเป็ นการลิดรอนสิทธิ หากไม่มมี าตรการแรงจูงใจในการลดแรง กดดันทีเ่ กิดจากความต้องการการพัฒนา 2) พระราชบัญญัตกิ ารผังเมือง พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2525 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับนี้มสี ่วนเกีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์พน้ื ทีข่ องเมืองโดยกําหนดไว้ในนิยามของการผังเมือง ตามมาตรา 4 คือ เป็ นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการวางและจัดทําผังเมือง “เพื่อดํารงรักษาหรือบูรณะ สถานที่แ ละวัต ถุ ท่ีมีป ระโยชน์ ห รือ คุ ณ ค่ า ในทางศิล ปกรรม สถาป ตั ยกรรม ประวัติศ าสตร์ หรือ โบราณคดี” ซึง่ หมายถึงพืน้ ทีท่ ม่ี คี ุณค่ามรดกวัฒนธรรมนัน้ เอง ในการดําเนินการทางปฏิบตั นิ นั ้ อาจทําได้ 2 วิธี คือ 1) การกําหนดให้เป็ นย่านอนุ รกั ษ์ในผัง เมืองรวมซึง่ มีการประกาศเป็ นกฎกระทรวง และ 2) การกําหนดพืน้ ทีต่ ามผังเมืองเฉพาะซึง่ ต้องมีการ ประกาศเป็ นพระราชบัญญัติ โดยวิธีการที่ 2) นี้ไม่เคยมีการนํ ามาปฏิบตั ิในประเทศไทย จึงไม่ขอ กล่าวถึงในทีน่ ้ี การกําหนดให้เป็ นย่านอนุ รกั ษ์นัน้ ตามผังเมืองรวมมักใช้คําว่า “ที่ดนิ ประเภทอนุ รกั ษ์เพื่อ ส่ ง เสริ ม เอกลัก ษณ์ ศิ ล ปวัฒ นธรรมไทย” ซึ่ ง ให้ ใ ช้ ป ระโยชน์ ท่ี ดิ น “เพื่ อ ส่ ง เสริ ม เอกลัก ษณ์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรม และสถาป ตั ยกรรมท้ อ งถิ่ น การอนุ รั ก ษ์ โ บราณสถาน โบราณคดี หรื อ สาธารณประโยชน์ เ ท่า นัน้ ” จะเห็น ได้ว่ า ตรงกับ กรณี ข องย่า นประวัติศ าสตร์ หรือ ชุ ม ชนดัง้ เดิม อย่างไรก็ตาม สถานะของการกําหนดพืน้ ที่อนุ รกั ษ์ดงั กล่าวเป็ นไปในเชิงการควบคุมไม่ได้เชื่อมโยง กับ ระบบแรงจู ง ใจ(ซึ่ง ไม่ มีร ะบบนี้ ใ นประเทศไทย) นอกจากนั น้ ยัง ไม่ ไ ด้ มีก ารบู ร ณาการกับ พระราชบัญญัตโิ บราณสถานฯ หรือกฎหมายอื่นๆ ในกระบวนการของการวางและจัดทําผังเมืองรวม มีประเด็นทีแ่ ตกต่างจากการวางแผนเมือง ของประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วทัง้ อังกฤษ สหรัฐอเมริกาและญีป่ นุ่ คือ ก) การถ่ า ยโอนภารกิจ ทางผัง เมือ ง โดยท้อ งถิ่น สามารถประกาศใช้แ ผนการใช้ ประโยชน์ทด่ี นิ โดยข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ (local ordinance) ไม่ใช่เป็ นกฎหมายจากรัฐบาลกลาง ดังเช่น กฎกระทรวงแบบของไทย เพื่อมิให้มกี ารแทรกแซงจากรัฐบาลกลาง โดยรัฐบาลกลางเป็ นผูก้ ําหนด มาตรฐานหรือกระบวนการไต่สวน เพือ่ ป้องกันมิให้เกิดการใช้อาํ นาจโดยมิชอบในท้องถิน่ ข) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในต่างประเทศ มีการส่งเสริมให้ประชาชน เข้ามามีส่วนในการกําหนดวัตถุประสงค์และร่วมวางแผนด้วยวิธกี ารต่างๆ ในขณะทีข่ องไทยกลับลด บทบาทของการมีส่วนร่วม โดยการลดจํานวนการจัดประชุมรับฟงั ความคิดเห็นจากไม่ต่ํากว่า 2 ครัง้ เป็ นไม่ต่าํ กว่า 1 ครัง้ ในการวางและจัดทําผังเมืองรวม ในคราวแก้ไขพระราชบัญญัตกิ ารผังเมือง ในปี พ.ศ. 2535 (มาตรา 19) ในทางการปฏิบตั กิ ารมีสว่ นร่วมของประชาชนในการวางและจัดทําผังเมือง โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
23
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
รวมจึงมักถูกมองจากหน่ วยงานวางผังว่าเป็ นภาระและเป็ นอุปสรรคมากกว่าจะเป็ นหนทางในการ กําหนดกรอบนโยบายการพัฒนา ค) ในต่ างประเทศมีกระบวนการในการกลันกรองรู ่ ปแบบสถาปตั ยกรรม (design review process) ซึง่ มักจะกําหนดในกฎหมายให้มคี ณะกรรมการกลันกรอง ่ (review commission) ระดับท้องถิน่ แต่ในประเทศไทย มีแต่การควบคุมเท่านัน้ ส่วนการกลันกรองนั ่ น้ มีเพียงคณะกรรมการ ระดับประเทศ คือ คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าซึ่งไม่มภี าคประชาชนทีเ่ ป็ นกลุ่มผูม้ ี ส่วนได้สว่ นเสียหลักรวมอยูด่ ว้ ย ง) พืน้ ที่อนุ รกั ษ์มกั มีการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การลด ภาระค่าซ่อมแซมโดยนําค่าใช้จา่ ยไปหักภาษีในรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทยไม่มแี รงจูงใจในด้านนี้ 3) พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมและรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับ นี้ให้อํานาจกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ในการปกป้องคุ้มครองพื้นที่สงิ่ แวดล้อม ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมศิลปกรรม ซึง่ ย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ หรือชุมชนดัง้ เดิม อาจเป็ นพืน้ ทีท่ ม่ี ี อาคารที่มีคุณค่าด้านศิล ปกรรมเป็ นหลัก และอาจมีพ้นื ที่ธรรมชาติเ ช่น ภูเ ขา แม่น้ํ าลําธาร เป็ น องค์ประกอบอยูด่ ว้ ย พืน้ ทีด่ งั กล่าวนี้มกี ารปกป้องคุม้ ครองโดยกฎหมายนี้มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ก) การประกาศเป็ นเขตพืน้ ทีค่ ุม้ ครองสิง่ แวดล้อม โดยออกเป็ นกฎกระทรวง (มาตรา 43) ซึง่ มีมาตรการคุม้ ครองในด้านการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ การห้ามทํากิจกรรมทีก่ ่อให้เกิดผลกระทบต่อ ระบบนิเวศหรือคุณค่าสิง่ แวดล้อมศิลปกรรม การเสนอรายงานผลกระทบสิง่ แวดล้อมหากมีการพัฒนา ในการกําหนดวิธกี ารจัดการและมาตรการอื่นๆ ตามสมควร (มาตรา 44) ข) การคุม้ ครองพืน้ ทีท่ ม่ี กี ารอนุรกั ษ์อยูแ่ ล้ว เช่นกฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายผัง ั หาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มเข้ า ขัน้ วิ ก ฤตที่ ต้ อ งแก้ ไ ขโดยเร่ ง ด่ ว น กระทรวง เมื อ ง แต่ ย ัง มี ป ญ ทรัพ ยากรธรรมชาติแ ละสิ่ง แวดล้อ ม สามารถออกมาตรการคุ้ม ครองเพิ่ม เติม ได้ โดยออกเป็ น กฎกระทรวง ภายใต้ ร ะยะเวลาที่ กํ า หนด (มาตรา 45) ตั ว อย่ า งเช่ น ประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เรื่องกําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิง่ แวดล้อม ใน บริเวณพืน้ ที่ จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2546 ซึง่ ได้กําหนดให้ยา่ นพาณิชยกรรมใจกลางเมืองภูเก็ต เป็ นเขต อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมศิลปกรรมหรือย่านอาคารเก่า อย่างไรก็ตาม การคุม้ ครองพืน้ ทีต่ ามข้อ ข) นัน้ เป็ นการคุม้ ครองเพียงชัวคราว ่ เช่นคราวละ 5 ปี และอาจมีการต่ออายุประกาศกระทรวงได้หากไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงทางการเมืองหรือนโยบาย แต่ การอนุ รกั ษ์พน้ื ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ รวมทัง้ พืน้ ที่ธรรมชาติจําเป็ นต้องมีมาตรการปกป้อง คุม้ ครอง และ ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องให้ถาวร ซึง่ อาจจะต้องใช้กฎหมายในลักษณะอื่นต่อไป 4) ข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ หลังจากได้มนี โยบายกระจายอํานาจและประกาศเป็ นกฎหมาย ตัง้ แต่ พ.ศ. 2540 เป็ นต้นมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ได้มสี ว่ นสําคัญในความรับผิดชอบด้านการอนุ รกั ษ์ มรดกวัฒนธรรมมากขึน้ ซึง่ หมายรวมถึงการอนุ รกั ษ์พน้ื ทีช่ ุมชนประวัตศิ าสตร์ดว้ ย โดยในการแก้ไข ปรับปรุงพระราชบัญญัตเิ ทศบาลใน พ.ศ. 2542 ได้มกี ารเพิม่ หน้าทีข่ องเทศบาลทัง้ 3 ระดับ (เทศบาล 24
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
ตําบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร)1 ให้มกี ารบํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมปิ ญั ญาท้องถิ่นและ วัฒนธรรมอันดี (มาตรา 50) ในขณะทีเ่ ทศบาลเมืองและเทศบาลนคร มีหน้าทีเ่ พิม่ เติมในการปรับปรุง แหล่งเสื่อมโทรม (มาตรา 53) และเทศบาลนคร มีหน้ าที่เพิม่ เติมในด้านการวางผังเมืองและการ ควบคุมการก่อสร้าง (มาตรา 55) เมื่อ พิจ ารณาอํา นาจหน้ าที่ข องเทศบาลดัง ข้า งต้น แล้ว จะเห็นได้ว่า เทศบาลอาจกํา หนด บริเวณให้เป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมได้ ทัง้ ในรูปแบบของผังเมืองทีเ่ ทศบาลนคร จะต้องวางผังเอง หรือเทศบาลอาจจะใช้อาํ นาจตามมาตรา 60(1) ตามพระราชบัญญัตเิ ทศบาลในการ ออกเทศบัญญัติ ซึง่ เป็ นกฎหมายท้องถิน่ เพื่อปฏิบตั กิ ารให้เป็ นไปตามหน้าทีข่ องเทศบาล ซึง่ หนึ่งใน หน้าทีน่ นั ้ ก็คอื การทํานุบาํ รุงรักษาศิลปวัฒนธรรมของท้องถิน่ นอกจากนัน้ เทศบาลอาจออกเทศบัญญัติ ซึ่งเป็ นข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายอื่นได้ (มาตรา 60(2)) โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ท้องถิ่นสามารถออก ข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ แก่การรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อม การผังเมือง การสถาปตั ยกรรม (มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร) ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ หากพื้นที่นัน้ ได้มกี ารออก กฎกระทรวง ประโยชน์ดงั ข้างต้น และเทศบาลสามารถออกเทศบัญญัตใิ น 2 กรณี คือ (มาตรา 10) ก) เป็ นการกําหนดรายละเอียด เพิม่ เติมจากทีก่ ฎกระทรวงกําหนด ข) มีความจําเป็ นที่ต้องออกข้อกําหนดขัดแย้งกับกฎกระทรวง เนื่ องจากมีความ จําเป็ นหรือเหตุผลเฉพาะท้องถิ่น เช่น การกําหนดระยะร่นของอาคารเก่า หรือสัดส่วนช่องเปิ ดที่มี ลักษณะพิเศษกว่ามาตรฐานทัวไป ่ ดังนัน้ หากเทศบาลหรือท้องถิน่ ใดมีความประสงค์จะปกป้องพืน้ ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ของตนเองก็ สามารถทําได้ อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการออกกฎหมายท้องถิน่ ดังกล่าว อาจมาจากการไม่มรี ะบบ แรงจูงใจและการขาดวิสยั ทัศน์ในการเห็นความสําคัญของย่านประวัตศิ าสตร์ของเทศบาลเอง ซึง่ มัก พบข้อขัดแย้งระหว่างการอนุ รกั ษ์และการพัฒนาในเทศบาลอยูเ่ สมอ นอกจากช่องทางกฎหมายหลักทัง้ 4 ประการดังกล่าวแล้ว ภายใต้กรอบการทํางานของ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (สผ.) ยังได้มกี ารใช้ระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุ รกั ษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 ซึง่ หมายถึง เมืองโบราณที่มคี วามสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี ที่ส่วนใหญ่มอี งค์ประกอบคือ คูเมือง กําแพงเมืองหรือป้อม ซึ่งบางเมืองมีการซ้อนทับของเมืองในยุคต่างๆ จนถึงปจั จุบนั เช่น ลําพูน ลพบุรี พิมาย ลําปาง ฯลฯ ซึ่งโดยนัย จะมีขนาดกว้างขวางกว่าชุมชนดัง้ เดิมตามโครงการนี้และ 1
เทศบาลตําบลเป็ นเขตเมืองทีม่ ปี ระชากรเบาบาง เทศบาลเมืองต้องมีจาํ นวนประชากร 10,000 คนขึน้ ไป ความ หนาแน่นเฉลีย่ ไม่ต่าํ กว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร เทศบาลนครต้องมีจาํ นวนประชากรมากกว่า 50,000 คนขึน้ ไป ความหนาแน่นเฉลีย่ ไม่ต่าํ กว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
25
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
วิธีการประกาศเขตก็ไม่ค่อยสัมพันธ์กบั กระบวนการทางผังเมือง และการพัฒนาท้องถิ่น จึงไม่ขอ กล่าวรายละเอียดในทีน่ ้ี 3.3 กฎหมายภาษี ที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ เพือ่ เป็ นการส่งเสริมการอนุ รกั ษ์ในระดับท้องถิน่ และชุมชนซึง่ ทรัพย์สนิ เป็ นของเอกชนในต่างประเทศ ทัง้ ในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา และญีป่ นุ่ ได้มกี ารใช้แรงจูงใจทางการเงินด้านการลดภาษีทงั ้ จากการ หักภาษีโดยตรง (tax credit) กับการลดหย่อนรายได้ก่อนการหักภาษี (tax deduction) และการ ยกเว้นอัตราภาษีชวคราว ั่ (tax abatement) ในภาษีต่างๆ ได้แก่ ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (property tax) (ดูบทที่ 4) ซึง่ ในประเทศไทยไม่มแี ต่มภี าษีโรงเรือนและทีด่ นิ (building and land tax) ภาษีบาํ รุง ท้องที่ (local development tax) และภาษีเงินได้ (income tax) ซึง่ มีสาระสําคัญดังนี้ 1) พระราชบัญญัตภิ าษีโรงเรือนและทีด่ นิ พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัตภิ าษีโรงเรือนและทีด่ นิ พ.ศ. 2475 ใช้บงั คับแก่อาคารและทีด่ นิ ของเอกชนทีม่ ี การให้เช่า โดยเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่าเช่ารายปี ซึง่ ต้องเป็ นค่าเช่าทีเ่ หมาะสม (มาตรา 8) ส่วนทรัพย์สนิ ทีเ่ จ้าของอยู่เองและไม่ได้ใช้เป็ นทีป่ ระกอบกิจการทีม่ รี ายได้จะได้รบั การยกเว้นไม่ ต้องเสียภาษีน้ี (มาตรา 10) ดังนัน้ การเก็บรายได้ของรัฐจากภาษีโรงเรือนและทีด่ นิ จึงค่อนข้างน้อย และมีข้อจํากัด และตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งจัดเก็บในท้องถิ่น จะเป็ นรายได้ของ ท้องถิน่ นัน้ (มาตรา 23) 2) พระราชบัญญัตภิ าษีบาํ รุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ภาษีบํารุงท้องทีเ่ ป็ นภาษีทน่ี ํามาเป็ นรายได้โดยตรงของรัฐบาลท้องถิน่ ได้แก่ เทศบาล อบต. เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร (มาตรา 10) ซึ่งเป็ นการเก็บภาษีตามราคาประเมินทีด่ นิ (ไม่รวม อาคาร) ซึ่งใช้เก็บในที่ดนิ ที่เอกชน หรือประชาชนทัวไปเป็ ่ นเจ้าของ โดยการกําหนดราคาประเมิน ทีด่ นิ จะมีคณะกรรมการพิจารณา (มาตรา 14) โดยมีการประเมินทุกๆ 4 ปี (มาตรา 16) ในการเสีย ภาษีบํารุงท้องที่ ไมว่าจะเป็ นพืน้ ที่ท่ใี ช้อยู่อาศัยหรือทําเกษตรกรรมก็ต้องเสียภาษีทงั ้ สิน้ อย่างไรก็ ตามได้มกี ารกําหนดข้อลดหย่อน ให้แก่ผูท้ ่มี ที ่ดี นิ ขนาดเล็กจะได้รบั การยกเว้นหรือลดภาษีตามที่ ท้องถิน่ กําหนด โดยกฎหมายได้กาํ หนดหลักเกณฑ์การยกเว้นหรือลดภาษีดงั นี้ (มาตรา 22) ก) ที่ดนิ นอกเขตเทศบาล ลดหย่อนได้ 3-5 ไร่ หมายถึง ท้องถิ่นจะกําหนดให้ผูท้ ่มี ี ทีด่ นิ ขนาดน้อยกว่า 3 ถึง 5 ไร่ไม่ตอ้ งเสียภาษี หรือได้รบั การลดภาษีบาํ รุงท้องที่ ข) ทีด่ นิ ในเขตเทศบาลตําบล ลดหย่อนได้ไม่เกินอยูใ่ นช่วง 200 ตารางวา ถึง 1 ไร่ ค) ที่ดนิ ในเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร เมืองพัทยา ลดหย่อนได้ในช่วง 50 ถึง 100 ตารางวา
26
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
ง) ทีด่ นิ ในเขต กรุงเทพมหานคร แบ่งการลดหย่อนดังนี้ (1) เขตชุมชนหนาแน่นมาก ลดหย่อนได้ 50-100 ตารางวา (2) เขตชุมชนหนาแน่นปานกลาง ลดหย่อนได้ 100 ตารางวา ถึง 1 ไร่ (3) เขตชนบท ลดหย่อนได้ในช่วง 3-5 ไร่ อัตราการเสียภาษีขน้ึ อยูก่ บั ราคาประเมินทีด่ นิ อัตราดังกล่าวถือว่าตํ่ามากคืออยูใ่ นช่วงร้อยละ 0.25-0.5 ของราคาประเมินทีด่ นิ ซึง่ ราคาทีด่ นิ สูงกว่าไร่ละ 30,000 บาท จะเสียในอัตราร้อยละ 0.25 ของราคาประเมินทีด่ นิ เท่านัน้ จากอัตราภาษีดงั กล่าว ผูท้ ม่ี ที ด่ี นิ สําหรับการอยูอ่ าศัยในเมือง ประเภทตึกแถว และไม่มที ด่ี นิ อื่นใดที่มขี นาดแปลงที่ดนิ อยู่ในช่วงลดหย่อนจะไม่ต้องเสียภาษี รัฐบาลท้องถิน่ จึงมีรายได้จากภาษี บํารุงท้องทีน่ ้ีค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพืน้ ทีท่ ร่ี บั ผิดชอบ การกําหนดข้อลดหย่อนเป็ นขนาด แปลงทีด่ นิ อาจมีความไม่เป็ นธรรมในสังคม โดยเฉพาะทีด่ นิ ทีอ่ ยูใ่ จกลางเมือง แม้จะมีขนาดแปลงเล็ก แต่ก็มมี ูลค่าสูงผูค้ รอบครองจะต้องมีรายได้สูงจึงควรเสียภาษีในส่วนนี้ดว้ ยแต่ไม่ต้องเสียเนื่องจาก ได้ร ับ ข้อ ยกเว้น เรื่อ งขนาดแปลงที่ดิน ในขณะที่ผู้ท่ีค รองครองแปลงใหญ่ อ าจเป็ น เกษตรกรที่ จําเป็ นต้องใช้พน้ื ทีม่ ากในการดํารงชีพแต่ตอ้ งเสียภาษีน้ี 3) ร่างพระราชบัญญัตภิ าษีทด่ี นิ และสิง่ ปลูกสร้างและร่างพระราชบัญญัตภิ าษีมรดก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมารัฐบาลได้มนี โยบายในการปรับโครงสร้างภาษีท่เี กี่ยวข้องกับที่ดนิ และสิง่ ปลูกสร้างใหม่ โดยได้มคี วามพยายามในการยกเลิกพระราชบัญญัตภิ าษีโรงเรือนและทีด่ นิ และ พระราชบัญญัตภิ าษีบํารุงท้องที่ ด้วยเหตุผลของการเปลีย่ นแปลงสภาพการณ์ของสังคมและความไม่ เป็ นธรรมดังตัวอย่างทีก่ ล่าวไปแล้ว ซึง่ กฎหมายภาษีทงั ้ สองฉบับได้มกี ารประกาศใช้มาเป็ นเวลานาน รวมทัง้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกระจายอํานาจซึ่งจะทําให้ทอ้ งถิ่นมีรายได้เป็ นของตนเองมาก ยิง่ ขึน้ และในปจั จุบนั ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกตกตํ่าอย่างรุนแรง ซึ่งทําให้รฐั บาลปจั จุบนั (มีนาย อภิสทิ ธิ ์ เวชชาชีวะ เป็ นนายกรัฐมนตรี) ได้มกี ารนํ าแนวคิดการปรับปรุงระบบภาษีทด่ี นิ และสิง่ ปลูก สร้างมาใช้แทนพระราชบัญญัตภิ าษีโรงเรือนและทีด่ นิ และภาษีบาํ รุงท้องที่ ร่างพระราชบัญญัตภิ าษีทด่ี นิ และสิง่ ปลูกสร้างนี้ใช้หลักการของภาษีอสังหาริมทรัพย์ (property tax) ทีห่ ลายประเทศใช้กนั คือ เป็ นภาษีทเ่ี ก็บจากราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ (ad valorem แปลว่า according to value) ซึง่ รวมทัง้ ทีด่ นิ และอาคารโดยมีอตั ราในร่างพระราชบัญญัตดิ งั นี้ ก) อสังหาริมทรัพย์ทวไป ั ่ ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของราคาประเมิน ข) อสังหาริมทรัพย์ทใ่ี ช้เป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยเท่านัน้ ไม่เกินร้อยละ 0.1 ของราคาประเมิน ค) อสังหาริมทรัพย์ทใ่ี ช้ประกอบเกษตรกรรม ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของราคาประเมิน โดยการขอลดหย่อนภาษีดงั กล่าวสามารถทําได้โดยประกาศเป็ นพระราชกฤษฎีกา ภาษีน้ีจะจัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นและเป็ นรายได้ของท้องถิ่นนัน้ ซึ่งแต่ล ะ ท้องถิน่ สามารถกําหนดอัตราภาษีของตนเองได้โดยไม่เกินอัตราตามทีเ่ สนอไว้ขา้ งต้น โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
27
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
จะเห็นว่าหากมีการเก็บภาษีทด่ี นิ และสิง่ ปลูกสร้างจริง จะทําให้ทอ้ งถิน่ มีรายได้เพิม่ ขึน้ มาก เพราะระบบภาษีเดิมนัน้ มีขอ้ จํากัดทีม่ กี ารเก็บภาษีเฉพาะทีด่ นิ และเฉพาะผูท้ ม่ี ที ด่ี นิ ขนาดใหญ่ รวมทัง้ การเก็บภาษีเฉพาะการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ตามพระราชบัญญัตภิ าษีโรงเรือนและทีด่ นิ ) ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้เสนอให้มกี ารเก็บภาษีจากมรดกจากผูต้ าย (death tax) ด้วย แต่ ได้รบั การคัดค้านจากกลุ่มผูเ้ สียผลประโยชน์ จึงไม่ได้มกี ารดําเนินการในรายละเอียด นโยบายการ ปรับปรุงระบบการเก็บภาษีน้ีจะเป็ นโอกาสสําหรับการอนุ รกั ษ์ คือ เนื่องจากอาคารอนุ รกั ษ์จะต้องมี ค่าใช้จา่ ยในการบํารุงรักษาอาคารค่อนข้างสูง รวมทัง้ การขาดโอกาสในการพัฒนา ซึง่ น่าทีจ่ ะมีการนํา แนวคิดการยกเว้นภาษี หรือการลดภาษีทด่ี นิ และสิง่ ปลูกสร้างมาใช้ดว้ ยเพื่อเป็ นแรงจูงใจให้เจ้าของ อาคารหันมาอนุรกั ษ์อาคารมากขึน้ 4) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็ นภาษีทอ่ี ยู่ในประมวลรัษฎากรซึ่งรัฐบาลจัดเก็บจากกิจการบางประเภท เริม่ ใช้ใน พ.ศ. 2535 เช่นเดียวกับภาษีมลู ค่าเพิม่ โดยภาษีทงั ้ สองประเภทนี้ใช้แทนภาษีการค้าทีไ่ ด้ ยกเลิกไป กิจการทีต่ อ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีอยู่ 8 ประเภท ส่วนใหญ่เป็ นกิจการทีเ่ กีย่ วข้องธุรกิจ การเงิน การประกันภัย โรงรับจํานํ า และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมคือกิจการ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าหรือหากําไร โดยการค้าอสังหาริมทรัพย์ท่ตี ้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนัน้ ได้แก่ - การขายอสังหาริมทรัพย์ท่เี ป็ นธุรกิจปกติ ไม่ว่าจะเป็ นการจัดสรรที่ดนิ และอาคาร หรือการขายอาคารชุดทีด่ าํ เนินการโดยผูป้ ระกอบการอสังหาริมทรัพย์ หรือการสร้างอสังหาริมทรัพย์ อื่นๆ เพือ่ ขาย - การขายอสังหาริมทรัพย์ท่ไี ม่ได้เป็ นธุรกิจปกติ หมายถึงการขายอาคารและที่ดนิ ของบุคคล คณะบุคคล นิตบิ ุคคล หรืออื่นๆ ทีท่ ําให้เกิดรายได้ และเพื่อเป็ นการป้องกันการเก็งกําไร กฎหมายได้กําหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ทค่ี ล้ายการจัดสรรทีด่ นิ หรืออาคารชุดหากขายภายใน 5 ปีนบั แต่ได้มาจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะในกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์นนั ้ กําหนดไว้ทร่ี อ้ ยละ 3 ของยอดรายรับ ่ อรวมแล้วผูข้ าย ก่อนหักค่าใช้จ่าย ทัง้ นี้ไม่รวมภาษีทอ้ งถิน่ ทีต่ อ้ งเสียเพิม่ อีกร้อยละ 10 ของภาษี นันคื จะต้องเสียภาษีถงึ ร้อยละ 3.3 (แต่ในช่วงของการศึกษาเป็ นช่วงทีร่ ฐั บาลฟื้ นฟูเศรษฐกิจจึงลดอัตรา ภาษีน้ีชวคราวเหลื ั่ อร้อยละ 0.1 ระหว่าง 29 มีนาคม 2551-28 มีนาคม 2552) จุ ด ประสงค์ข องการเก็บ ภาษี ธุ ร กิจ เฉพาะคือ การเก็บ ภาษีท่ีม าจากรายได้จ ากการขาย อสังหาริมทรัพย์ ดังนัน้ การขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์ท่มี ไิ ด้ทําเพื่อการหากําไรหรือรายได้ จะมี ข้อยกเว้นไม่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการดังกล่าวได้แก่ - การขายหรือถูกเวนคืนตามกฎหมาย - การขายอสังหาริมทรัพย์ทไ่ี ด้มาทางมรดกหรือโอนให้แก่ทายาท
28
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
- การขายอสังหาริมทรัพย์ทผ่ี ขู้ ายยังมีช่อื ในทะเบียนบ้านและเข้าครอบครองมาเป็ น เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่หากอสังหาริมทรัพย์นนั ้ ได้มาในระยะเวลาต่างกันภายใน 5 ปี ให้นับเวลา จากปีทไ่ี ด้มาหลังสุดเป็ นเกณฑ์ - การโอนกรรมสิทธิ ์ให้สว่ นราชการหรือองค์กรของรัฐโดยไม่มคี า่ ตอบแทน - การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กบั ส่วนราชการ โดยมิได้รบั ค่าตอบแทนเป็ นอย่างอื่น นอกจากนัน้ การยกเว้นกิจการอื่นๆ ทีไ่ ม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะส่วนใหญ่จะเป็ นกิจการที่ ไม่แสวงหาผลกําไร กิจการเพื่อการรักษาสิง่ แวดล้อม การพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยของผูม้ รี ายได้น้อยซึง่ รวม กิจการของการเคหะแห่งชาติดว้ ย กิจการเพือ่ การเกษตรหรือสหกรณ์ทใ่ี ห้ผลประโยชน์แก่สว่ นรวม ในด้านของอาคารอนุ รกั ษ์หรือทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็ นโบราณสถาน ในกฎหมายไม่ได้กําหนดไว้เป็ น ข้อยกเว้นของการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงไม่ได้เป็ นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเกิดการอนุ รกั ษ์อาคารแต่ อย่างใด ทัง้ นี้ ทรัพย์สนิ ที่เป็ นมรดกวัฒนธรรมนัน้ หากมีกระบวนการปกป้องเช่นมีการขึน้ ทะเบียน โบราณสถาน จะไม่สามารถรือ้ ทิง้ หรือพัฒนาให้เป็ นอื่นใดได้ และหากมีการขายหรือเปลีย่ นกรรมสิทธิ ์ ก็ไม่สามารถรื้อทําลายได้ การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดจากการขายอสังหาริมทรัพย์นัน้ จึงน่ าจะ ได้รบั การยกเว้นด้วย 5) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เป็ นรายได้หลักของรัฐบาลกลาง ไม่ใช่รฐั บาลท้องถิ่น มีการจัดเก็บสองกลุ่มคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (individual income tax) และภาษีเงินได้นิตบิ ุคคล (corporation income tax) ประเทศไทยได้ช่อื ว่ามีการเก็บภาษีเงินได้แบบขัน้ บันไดในอัตราทีส่ ูง เช่น กรณีภาษีเงินได้ส่วน บุคคล หากมีเงินได้สุทธิเกิน 4 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีรอ้ ยละ 37 ซึง่ อัตราทีส่ ูงนี้หลายประเทศใน ยุโรปและอเมริกาได้มกี ารจ่ายคืนให้กบั ผูเ้ สียภาษีในรูปแบบของระบบเงินบํานาญ เงินทดแทนกรณีไม่ มีรายได้ หรือเป็ นสวัสดิการรักษาพยาบาลกลับสู่ประชาชนผูเ้ สียภาษีมาตลอด แต่ในประเทศไทย ไม่ได้มรี ะบบดังกล่าวจึงอาจเป็ นส่วนหนึ่งทีท่ าํ ให้มกี รณีของการเลีย่ งภาษีในทุกวิถที างเนื่องจาก ไม่มี แรงจูงใจให้เสียภาษีเงินได้นนเอง ั่ กรณีการอนุ รกั ษ์ ในสหรัฐอเมริกาได้มกี ารนําค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งใน การฟื้นฟูอาคารอนุ รกั ษ์มาหักลดภาษีได้โดยตรง (Rehabilitation Tax Credit Program) ภาษีเงินได้น้ี ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ได้มกี ารลดหย่อนในกรณีมกี าร บริจาคให้กบั การอนุ รกั ษ์หรือองค์กรทีเ่ กี่ยวกับการอนุ รกั ษ์ ซึ่งเป็ นการลดหย่อนที่นอกเหนือไปจาก การบริจาคให้องค์กรสาธารณกุศล หรือองค์กรทีเ่ กีย่ วกับการศึกษา ศาสนา และสาธารณสุข ซึ่งของ ไทยมีเพียงการลดหย่อนให้กบั การบริจาคเพื่อการศึกษา ศาสนาและสาธารณสุขเท่านัน้ ไม่มกี ารระบุ ในด้านของการบริจาคเพือ่ สนับสนุ นการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมแต่อย่างใด
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
29
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
3.4 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาชุมชนดัง้ เดิ ม เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มกี ารดําเนินการเชิงนโยบายเกีย่ วกับการรักษาและฟื้ นฟูชุมชนดัง้ เดิมใน ระดับชาติ เพียงแต่มโี ครงการทีด่ ําเนินการในทางปฏิบตั ใิ นระดับชุมชนและระดับท้องถิน่ เท่านัน้ ใน ทีน่ ้ีจงึ ขออธิบายบทบาทขององค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการรักษาชุมชนดัง้ เดิมจากประสบการณ์ของรัฐบาล ท้องถิน่ และชุมชนดัง้ เดิมทีไ่ ด้มกี ารดําเนินการมาแล้วโดยอาจแบ่งได้เป็ น องค์กรระดับชาติ องค์กร ระดับท้องถิน่ และองค์กรภาคประชาชน 1) องค์กรระดับชาติ หน่ วยงานระดับชาติทเ่ี กี่ยวข้องกับการรักษาชุมชนดัง้ เดิม เมื่อพิจารณาตามบทบาทหน้าที่ อาจมี 5 หน่ วยงาน ได้แก่ กรมศิลปากร สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กรม โยธาธิการและผังเมือง สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม(สผ.) และการ เคหะแห่งชาติ(กคช.) ก) กรมศิ ล ปากร มีบ ทบาทในด้ า นการระบุ แ ละปกป้ อง พื้น ที่ห รือ สถานที่ท่ีมี ความสํ า คัญ ทางประวัติศ าสตร์ วัฒ นธรรม โบราณคดี โดยผ่ า นทางการประกาศขึ้น ทะเบีย น โบราณสถาน ซึ่ ง หากพื้น ที่ ชุ ม ชนดัง้ เดิ ม ใดมี คุ ณ สมบัติ เ ป็ น โบราณสถานตามมาตรา 4 ใน พระราชบัญญัตโิ บราณสถานฯ ก็อาจจะได้รบั การปกป้องโดยการขึน้ ทะเบียนโบราณสถาน อย่างไรก็ ตาม การขึ้น ทะเบียนโบราณสถานดังกล่า วมีข้อ จํากัดในด้านการลิดรอนสิท ธิในการพัฒนา และ ขัน้ ตอนการพิจารณาเมื่อมีการพัฒนาในพืน้ ทีท่ ่ปี ระกาศเป็ นเขตโบราณสถาน ซึ่งต้องได้รบั อนุ ญาต จากอธิบดีกรมศิลปากร จึงอาจทําให้ชุมชนไม่ต้องการใช้ช่องทางของกรมศิลปากรในการปกป้อง ่ เนื่องจากทิศทางของชุมชนมีพลวัตร มีการเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา กระบวนการกลันกรองของกรม ศิลปากร ทีด่ ําเนินการในระดับชาติอาจใช้เวลานาน นอกจากนัน้ ยังไม่มรี ะบบแรงจูงใจในการลดแรง กดดันในเรือ่ งการลิดรอนสิทธิ ในการขึน้ ทะเบียนโบราณสถาน ข) สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เป็ นองค์กรระดับชาติอกี แห่ง หนึ่งทีอ่ าจมีบทบาทสําคัญในการรักษาชุมชนดัง้ เดิม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในด้านมรดกวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้และวัฒนธรรมพื้นบ้าน ปจั จุบนั สวช. ได้เป็ นหน่ วยงานระดับชาติท่สี ่งเสริมวัฒนธรรมใน ระดับ ท้อ งถิ่น โดยใช้ห ลัก การกระจายอํานาจอย่า งแท้จริง (ไม่ใ ช่ก าร “ขยาย” อํา นาจ) โดยการ สนับสนุ นให้ทุกจังหวัดมีการจัดตัง้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดทีป่ ระกอบไปด้วย ภาคี 5 ส่วน (เบญจภาคี) คือ รัฐ เอกชน ชุมชน ธุรกิจ และวิชาการ รวมไปถึงการกําหนดมาตรฐานและคู่มอื สําหรับการบริหาร จัดการงานวัฒนธรรมในหลายมิติ สวช.ได้แบ่งหมวดหมูง่ านวัฒนธรรมพืน้ บ้านเป็ น 5 ประเภท (สวช. 2551ก: 37-38) ได้แก่ 1) ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา 2) ภาษาและวรรณกรรม 3) ศิลปกรรมและโบราณคดี 4) การละเล่นดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ และ 5) ชีวติ ความเป็ นอยูแ่ ละ วิทยาการ ซึ่งอาจใช้เ ป็ นแนวทางในการรักษาชุมชนดัง้ เดิมได้ นอกจากนัน้ สวช. ยังได้เ น้ นการ ดํ า เนิ น การในด้า นการสร้า งภาคี สร้า งเครือ ข่ า ย สร้า งความเข้ม แข็ง ให้ก ับ ชุ ม ชน รวมทัง้ การ 30
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
รับผิดชอบดูแลองค์กรประเภทมูลนิธแิ ละสมาคม ซึง่ จะช่วยสนับสนุ นในกระบวนการเรียนรูแ้ ละการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาชุมชนดัง้ เดิมได้ อย่างไรก็ตาม ในการดําเนินงานไม่ได้มกี ารผนวก ปจั จัยของการให้แรงจูงใจไว้ด้วย เช่นการกําหนดให้การบริจาคให้สมาคมหรือมูลนิธิท่ดี ําเนินการ เกีย่ วกับวัฒนธรรม สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้ ค) กรมโยธาธิการและผังเมือง มีสว่ นในการรักษาชุมชนดัง้ เดิมผ่านทางการวางและ จัดทําผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ ในการวางผังเมืองรวมกรมโยธาธิการและผังเมืองในอดีตมี บทบาทสําคัญมากในการวางและจัดทําผังเมืองรวม โดยออกเป็ นข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ซึ่ง หากมีการกําหนดบริเวณชุมชนดัง้ เดิมให้เ ป็ นย่านการใช้ประโยชน์ ท่ีดินเพื่ออนุ รกั ษ์ แ ละส่งเสริม ศิล ปวัฒ นธรรม ก็จ ะสามารถช่ ว ยในด้า นการออกข้อ กํ า หนดควบคุ ม การพัฒ นาอาคารได้ ซึ่ง ใน กระบวนการในการวางผังเมืองรวมกรมโยธาธิการและผังเมือง จะต้องมีกระบวนการในการประชุมรับ ฟงั ความคิดเห็นทีเ่ ป็ นธรรมและมีการให้ขอ้ มูลกับประชาชนทีช่ ดั เจนก่อนการตัดสินใจโดยเฉพาะอย่าง ยิง่ การวางแผนโครงข่ายถนนในผังเมืองรวมที่อาจทําลายโครงสร้างของชุมชนดัง้ เดิมดังที่เคยเกิด เป็ นกรณีมาแล้วในชุมชนวัดเกตุการาม ด้านนโยบายถ่ายโอนอํานาจ ในอนาคตกรมโยธาธิการและผัง เมือ งน่ าจะมีบ ทบาทในการกํา หนดมาตรฐานหรือขัน้ ตอนในการวางและจัดทําผังเมือ งรวม โดย หน่ วยงานทีว่ างผังน่ าจะเป็ นองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยเฉพาะเทศบาลและองค์การบริหารส่วน ตําบล ซึง่ จะได้รบั การถ่ายโอนอํานาจในด้านการผังเมือง ตามพระราชบัญญัตกิ าํ หนดแผนและขัน้ ตอน การกระจายอํานาจ ง) สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (สผ.) เป็ น หน่ วยงานทีส่ ่งเสริมในด้านการรักษาสิง่ แวดล้อมซึ่งในส่วนทีเ่ กี่ยวข้องกับชุมชนดัง้ เดิมอาจเป็ นเรื่อง ของสิง่ แวดล้อมศิลปกรรม ซึ่งอาจมีการประกาศโดยใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิง่ แวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้เป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์สงิ่ แวดล้อมศิลปกรรมได้ โดยมีการควบคุมในด้านการใช้ ประโยชน์ ท่ี ดิ น ขนาดและรู ป แบบของอาคาร อย่ า งไรก็ ต าม เช่ น เดี ย วกับ การควบคุ ม โดย พระราชบัญญัตโิ บราณสถานฯ และผังเมืองรวม การใช้กฎหมายควบคุมการพัฒนาด้วยเหตุผลของ การอนุ รกั ษ์นนั ้ ยังไม่มกี ารผนวกแรงจูงใจเข้าไปด้วย จึงทําให้ รวมทัง้ กระบวนการในการปรึกษาหารือ กับ ภาคประชาชนและชุ มชน รวมทัง้ รัฐ บาลท้อ งถิ่น จึงทํา ให้ไม่ค่อยมีก ารประกาศพื้น ที่อ นุ ร กั ษ์ สิง่ แวดล้อมศิลปกรรม ในขณะเดียวกัน สผ. ก็ยงั ไม่มกี ารกําหนดมาตรฐานสําหรับการบริหารจัดการ ในพืน้ ทีส่ งิ่ แวดล้อมศิลปกรรมทีจ่ ะเป็ นแนวทางในการปฏิบตั สิ าํ หรับท้องถิน่ จ) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ภายใต้พระราชบัญญัตกิ ารเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2550 บทบาทของ กทช. ได้ขยายจากการจัดหาทีอ่ ยูอ่ าศัยเพียงอย่างเดียวมาในเรือ่ งของ การฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนเมืองด้วย ซึง่ ภายใต้กรอบของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมันคงของ ่ มนุ ษย์ทาํ ให้ กทช. สามารถดําเนินการทีเ่ กีย่ วข้องกับชุมชนดัง้ เดิมในหลายช่องทาง เช่น (1) จัดให้เป็ นพืน้ ทีฟ่ ้ื นฟูย่านชุมชนดัง้ เดิม ภายใต้แผนพัฒนาทีอ่ ยู่อาศัย ระดับเมืองโดยเป็ นการบูรณาการระหว่าง กคช. กับท้องถิน่ และองค์กรอื่นๆ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
31
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
(2) ในชุมชนที่มสี ภาพเป็ นชุมชนผู้มรี ายได้น้อย หรือเข้าข่ายชุมชนแออัด กทช. อาจดําเนินการภายใต้แผนการพัฒนาชุมชนแออัด (3) ในอนาคต หากมีกฎหมายฟื้ นฟูเมือง พื้นที่ชุมชนดัง้ เดิมอาจเป็ นส่วน หนึ่งของพืน้ ทีฟ่ ้ืนฟูซง่ึ อาจทําให้ได้รบั งบประมาณสนับสนุนในการอนุ รกั ษ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ 2) องค์กรระดับท้องถิน่ องค์ก รระดับ ท้อ งถิ่น ที่เ กี่ย วข้อ งกับ การอนุ รกั ษ์ คือ องค์ก ารปกครองส่ว นท้อ งถิ่น ในทุ ก รูปแบบ ซึง่ มีอํานาจหน้าทีใ่ นการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิน่ การบํารุงรักษา ศิลปะจารีตประเพณี ภูมิ ปญั ญาท้องถิน่ การผังเมือง การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกีย่ วกับทีอ่ ยูอ่ าศัย การผัง เมือง การควบคุมอาคาร รวมทัง้ การจัดให้มพี พิ ธิ ภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ ตามมาตรา 16 ของ พระราชบัญญัตกิ าํ หนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แต่หากพิจารณาเฉพาะพระราชบัญญัตเิ ทศบาลซึง่ ได้กําหนดอํานาจหน้าทีข่ องเทศบาลตําบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนครไว้ต่างกัน โดยเทศบาลทัง้ 3 ระดับ มีหน้าที่ในการบํารุงศิลปะ จารีต ประเพณี ภูมปิ ญั ญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดี (มาตรา 50) ซึ่งหากเทศบาลจะมีแผนงานในการ รักษาชุมชนดัง้ เดิมก็สามารถใช้มาตรานี้ในการดําเนินการได้ ในขณะทีเ่ ทศบาลเมืองและเทศบาลนคร มีอํานาจหน้าทีเ่ พิม่ ขึน้ ในการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม ซึง่ หลายพืน้ ทีอ่ าจมีคุณค่าทางประวัตศิ าสตร์ หรือเป็ นชุมชนดัง้ เดิมอยู่กไ็ ด้ ในขณะทีเ่ ทศบาลนคร มีอํานาจหน้าทีเ่ พิม่ เติมในด้านการวางผังเมือง และการควบคุมก่อสร้าง ซึ่งจะทําให้สามารถใช้กฎหมายท้องถิน่ ในการประกาศพืน้ ที่อนุ รกั ษ์เองได้ และบูรณาการการอนุ รกั ษ์ในกระบวนการพัฒนาเมืองได้ในระดับท้องถิน่ นอกจากนัน้ ยังสามารถออก ข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมอาคารได้ด้วย ซึ่งปจั จุบนั เพื่อสร้างกระบวนการให้ประชาชนทราบ ท้องถิน่ ควรมีการจัดทําประชาคมที่มสี ่วนร่วมอย่างจริงจัง ก่อนการออกข้อบัญญัตกิ จ็ ะแก้ไขปญั หา การแทรกแซงทางการเมืองได้ ปจั จุบนั มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หลายแห่งได้ดําเนินการด้านการอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิม เช่น กรุงเทพมหานครซึ่งมีก องจัดรูป ที่ดิน และปรับ ปรุงพื้น ฟู เ มือ งในสํานัก ผังเมือง ซึ่งทํา หน้ า ที่ เกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์โดยเฉพาะ นอกจากนัน้ ก็มเี ทศบาลนครระยอง (โครงการถนนยมจินดา) เทศบาล นครลําปาง (โครงการเมืองเก่าลําปาง) เทศบาลนครภูเก็ต (โครงการเมืองเก่าภูเก็ต) และเทศบาล เมืองอัมพวา (โครงการตลาดนํ้าอัมพวา) เป็ นต้น 3) องค์กรชุมชน องค์กรชุมชนอาจนับได้ว่าเป็ นหน่ วยทีส่ าํ คัญทีส่ ุดในการอนุ รกั ษ์และพัฒนาชุมชนดัง้ เดิม ใน ทิศทางของการพัฒนาที่ยงยื ั ่ นที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็ นสําคัญ ทัง้ นี้เพราะหาก ชุมชนไม่เห็นคุณค่าความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิมซึ่งเป็ นที่อยู่อาศัยของตนเองแล้ว การดําเนินงาน ต่างๆ จะเกิดขึน้ มิได้ การรวมกลุ่มของชุมชนเป็ นองค์กรมีหลายรูปแบบ ที่เป็ นที่นิยมในปจั จุบนั คือ คณะกรรมการชุมชนซึง่ มีการจัดตัง้ โดยระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยมีหลักการคือการ ให้องค์กรชุมชนเป็ นช่องทางสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชนที่จะทําให้รฐั ทราบถึงความต้องการ 32
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
ของประชาชน โดยไม่ผา่ นระบบตัวแทนของการเมือง ดังนัน้ การจัดรูปแบบและการจัดการของชุมชน เพื่อที่จะให้ได้ทราบถึงปญั หาและความต้องการที่แท้จริงของผูท้ อ่ี ยู่อาศัยในชุมชน จึงมีความสําคัญ มิฉะนัน้ จะกลายเป็ นช่องทางหาผลประโยชน์สว่ นตนของผูแ้ ทนในชุมชนนัน้ ๆ การรวมกลุ่มของผูอ้ ยูอ่ าศัยมักมีความเข้มแข็งเมื่อทุกคนเผชิญปญั หาร่วมกัน ดังนัน้ จึงพบว่า มีองค์กรชุมชนทีม่ คี วามเข้มแข็งในชุมชนผูม้ รี ายได้น้อย หรือชุมชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบทางสิง่ แวดล้อม จากโครงการพัฒนาหรือจากนโยบายของรัฐทีต่ อ้ งการไล่รอ้ื ชุมชน หรือในชนบทมักจะเป็ นชุมชนทีม่ ี ผลผลิตทางการเกษตรตกตํ่าเกิดความเสียหายจากภัยพิบตั ิต่ างๆ แต่ ในชุมชนที่ไม่มีปญั หาด้าน เศรษฐกิจ ด้านทีอ่ ยูอ่ าศัย ก็มกั จะไม่เกิดการรวมตัวกัน ในกรณีของชุมชนดัง้ เดิม การรวมกลุ่มของชุมชนมีหลายลักษณะ บางชุมชนมีการรวมกลุ่มที่ เข้มแข็งหลังจากเกิดปญั หาจากโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น ชุมชนท่าเตียน ชุมชนซอยเลื่อนฤทธิ ์ ชุมชนสามชุก ซึง่ เจ้าของทีด่ นิ ได้เคยมีโครงการพัฒนาและต้องรือ้ ย้ายชุมชน ในขณะทีห่ ลายพืน้ ทีต่ อ้ ง อาศัยระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจให้ชุมชนเห็นคุณค่าความสําคัญ จึงจะเกิดองค์กรที่เข้มแข็ง หลังจากทีไ่ ด้มกี ารดําเนินงานอนุ รกั ษ์มาแล้วระยะหนึ่ง เช่น เมืองเก่าภูเก็ต เมืองเก่าลําปาง แต่ในบาง กรณีกเ็ กิดจาก การเห็นคุณค่าในพืน้ ทีข่ องชุมชนเอง เช่นชุมชนปากแพรกเมืองกาญจนบุรี ในขณะที่ อีกหลายชุมชนมีผรู้ อู้ ยู่ในชุมชนที่ศกึ ษาและเห็นความสําคัญของชุมชนแต่ยงั มิได้มกี ารขยายความรู้ ความเข้าใจหรือความตระหนักไปสูช่ ุมชนทัง้ ชุมชน เช่นทีถ่ นนหลังสวน จังหวัดชุมพร แต่กย็ งั มีชุมชน อีกเป็ นจํานวนมากทีผ่ ูอ้ ยู่อาศัยยังมิได้เห็นคุณค่าความสําคัญ ซึ่งในกรณีน้ีจะต้องมีองค์กรสนับสนุ น หรือรัฐบาลท้องถิน่ หรือหน่วยงานอนุรกั ษ์อ่นื ๆ ของรัฐมาช่วยในการสร้างความตระหนักรู้ นอกจากนัน้ หากองค์กรชุมชนมีความเข้มแข็งและมีการสร้างช่องทางการสื่อสารทีเ่ ป็ นธรรม ภายในชุมชนและระหว่างชุมชนกับรัฐบาล ก็จะเป็ นปจั จัยทีม่ คี วามสําคัญอย่างยิง่ ต่อความสําเร็จของ การรักษาชุมชนดัง้ เดิม ซึง่ เป็ นหนึ่งในหัวข้อการพัฒนาท้องถิน่ ด้วยเช่นกัน ในการศึกษานี้ มีข้อสัง เกตคือ ชุมชนที่รวมกลุ่ มกันเพื่อรักษาชุมชนดัง้ เดิมของตนเองนัน้ มัก จะไม่ ไ ด้ เ ป็ นชุ ม ชนที่ ไ ม่ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นกั บ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (ยกเว้ น ในเขต กรุงเทพมหานคร) ส่วนมากองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จะแบ่งชุมชนจดทะเบียนครอบคลุมทัง้ เขต ปกครองตามขอบเขตการปกครองย่อยโดยเฉพาะเทศบาลต่างๆ ซึ่งไม่สมั พันธ์กบั กลุ่มชุมชนที่มี ลักษณะเป็ นชุมชนดัง้ เดิมและมีพน้ื ทีค่ าบเกีย่ วกับพืน้ ทีช่ ุมชนทีม่ กี ารจดทะเบียน การคาบเกีย่ วพืน้ ทีน่ ้ี จึงทํา ให้ชุ มชนดัง้ เดิมขาดโอกาสในการเชื่อมโยงนโยบายและการเสนอความต้องการแก่รฐั บาล ท้องถิน่ ตามกลไกของการจัดทําแผนพัฒนาเทศบาล 4) องค์กรสนับสนุ น ในต่ างประเทศองค์กรสนับสนุ นในด้านการอนุ รกั ษ์ มีบทบาทสําคัญมากในการทําให้การ รักษาชุมชนประวัตศิ าสตร์ หรือชุมชนดัง้ เดิมประสบความสําเร็จ องค์กรสนับสนุ นส่วนใหญ่จะอยูใ่ นรูป ของมูลนิธิ สมาคม หรือกองทุน ซึ่งเป็ นองค์กรจดทะเบียนทีไ่ ม่แสวงหาผลกําไร มีการดําเนินงานใน หลายรูปแบบ ตัง้ แต่การศึกษา สํารวจทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเบื้องต้น การโน้มน้าวหน่ วยงาน โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
33
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 3
อนุ รกั ษ์ของรัฐ ทัง้ ส่วนกลางและท้องถิน่ บางแห่งมีการให้ทุนช่วยเหลือ และบางแห่งก็มบี ทบาทสําคัญ ในการบู ร ณะซ่อ มแซมอย่า งถู ก ต้อ งตามหลัก วิช าการด้ว ย ในประเทศไทยองค์ก รสนับ สนุ น ยัง มี บทบาทไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับในต่างประเทศ ทัง้ นี้ส่วนหนึ่งอาจจะเป็ นเพราะรัฐบาลไทยยัง ไม่สง่ เสริมการดําเนินงานโดยองค์กรสนับสนุ นในด้านการอนุ รกั ษ์ โดยจะเห็นได้จากการไม่มนี โยบาย สนับสนุ นให้มกี ารบริจาคให้องค์กรสนับสนุนในด้านการอนุรกั ษ์ แล้วนําเงินบริจาคไปลดภาษีได้.
34
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
บทที่ 4 การทบทวนกรณี ศึกษาต่างประเทศและกรอบการพิจารณาเมืองมรดกโลก การเกิดขบวนการอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมมิได้มเี ฉพาะในประเทศไทยเท่านัน้ ในประเทศต่างๆ ได้มี พัฒนาการมาเป็ นลําดับ ในหลายประเทศเกิดขึน้ ก่อนประเทศไทยหลายสิบปี ดว้ ยซํ้าไป ประเทศต่างๆ ทีม่ พี ฒ ั นาการดังกล่าวมักเริม่ จากการอนุ รกั ษ์สงิ่ ก่อสร้างทีม่ คี วามสําคัญ และมีการขยายขอบเขตจาก โบราณสถานมาถึงการอนุ รกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์หรือชุมชนดัง้ เดิม ซึ่งได้มกี ารปรับปรุงกฎหมาย การงบประมาณ และการจัดตัง้ องค์กรเพื่อให้ประชาชนและให้ทอ้ งถิน่ สามารถดําเนินการได้ ทัง้ นี้เป็ น เพราะส่วนใหญ่พน้ื ทีช่ ุมชนดัง้ เดิมทีม่ อี าคารสําคัญทางประวัตศิ าสตร์นนั ้ มักเป็ นทรัพย์สนิ ของเอกชน รัฐบาลไม่มงี บประมาณจะเวนคืนหรือเข้าครอบครองมาอนุ รกั ษ์เองได้ นอกจากนัน้ ยังมีประเด็นเรื่อง การใช้ป ระโยชน์ เศรษฐกิจ สัง คม ซึ่ง ต่ า งจากแนวคิด การอนุ ร กั ษ์ วัด วัง โบราณสถาน แหล่ ง โบราณคดี ซึง่ มักอยู่ในพืน้ ทีร่ ฐั บาลเป็ นเจ้าของเป็ นส่วนใหญ่ และมีการปกป้องคุม้ ครองทีช่ ดั เจนอยู่ แล้ว ประเทศที่นํามาใช้เป็ นกรณีศึกษาเป็ นประเทศที่ประสบความสําเร็จและเป็ นแม่แบบของ หลายๆ ประเทศ ซึ่งในการศึกษานี้ได้คดั เลือกกรณีศกึ ษาทัง้ ในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย โดยต้องเป็ นประเทศทีใ่ ช้ระบอบประชาธิปไตย และมีประวัตกิ ารถ่ายโอนอํานาจสูท่ อ้ งถิน่ ชัดเจน โดย ทวีปยุโรป คือ ประเทศอังกฤษ ทวีปอเมริกาเหนือ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และทวีปเอเชีย คือ ั นาการด้านการด้านการอนุรกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์ ประเทศญีป่ นุ่ และเนื่องจากยุโรปเป็ นทวีปทีม่ พี ฒ ทีเ่ ก่าแก่ทส่ี ุดและเป็ นพืน้ ทีท่ เ่ี ป็ นแบบอย่างแก่ประเทศต่างๆ ทัง้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น จึงได้ทําการ ทบทวนการอนุ รกั ษ์ของประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น ฝรังเศส ่ อิตาลี สเปน เบลเยีย่ ม สาธารณรัฐเช็ก ฯลฯ แต่จะไม่เสนอรายละเอียดมากนักเนื่องจากข้อจํากัดด้านงบประมาณ ข้อมูลทีเ่ ป็ นภาษาอังกฤษและ ระยะเวลาในการศึกษาทบทวน 4.1 ประเด็นหัวข้อที่ศึกษา ในการนํ า กรณี ศึก ษาของต่ า งประเทศมาวิเ คราะห์เ ปรีย บเทีย บนั น้ ไม่ ไ ด้ใ ช้ส าระในเรื่อ งของ ประวัตศิ าสตร์ของแต่ละประเทศ รูปแบบลักษณะสถาปตั ยกรรม หรือวิธกี ารอนุ รกั ษ์มาเปรียบเทียบ เพราะแต่ละประเทศ แต่ละภูมภิ าคมีประวัติศาสตร์และบริบทของการสร้างสรรค์งานที่มคี ุณค่าทาง ประวัติศ าสตร์เ ป็ นมรดกวัฒนธรรมของตนเอง แต่ส ิ่งที่สําคัญ คือ การวิเคราะห์ว่าประเทศต่ างๆ เหล่านัน้ ได้ขยายขอบเขตการพิจารณามรดกวัฒนธรรมจากอาคารเดีย่ วมาเป็ นกลุ่มอาคาร และพืน้ ที่ ชุมชนประวัตศิ าสตร์ได้อย่างไร มีสถานการณ์แวดล้อมให้เกิดการเปลีย่ นแปลงแนวคิดได้อย่างไร และ เมือ่ ได้ขยายขอบเขตมรดกวัฒนธรรมมาถึงชุมชนดัง้ เดิมหรือชุมชนประวัตศิ าสตร์แล้ว รัฐบาลได้มกี าร
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
35
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตอบสนองในด้านการบริหารจัดการอย่างไร โดยเฉพาะในด้านการประกาศกฎหมาย และการจัดตัง้ องค์กร และสุดท้ายเนื่องจากชุมชนดัง้ เดิมเป็ นทรัพย์สนิ ของเอกชน ประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้มกี าร กําหนดระบบแรงจูงใจอย่างไร ประเด็นทีศ่ กึ ษาดังกล่าว มีหวั ข้อศึกษารายละเอียด ดังนี้ 1) การขยายขอบเขตจากอาคารเดีย่ วมาเป็ นชุมชนประวัตศิ าสตร์มขี อ้ พิจารณา คือ การศึกษาวิวฒ ั นาการการอนุ รกั ษ์ และวิเคราะห์วา่ มีเหตุการณ์แวดล้อมอะไรบ้างทีท่ าํ ให้เกิดการ เปลีย่ นแปลงแนวคิดการอนุ รกั ษ์ โดยการทบทวนประวัตคิ วามเป็ นมาของการอนุ รกั ษ์และเสนอเป็ น การลําดับเหตุการณ์ (chronology) ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ของประเทศนัน้ ๆ 2) กฎหมายและองค์กร พิจารณากฎหมายทีใ่ ช้ในปจั จุบนั ว่ามีการประกาศพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ ชุมชนประวัตศิ าสตร์อย่างไร และมีองค์กรใดบ้างทีเ่ กีย่ วข้อง มีสว่ นการพิจารณาทัง้ ในส่วนของรัฐบาล กลาง รัฐบาลท้องถิน่ และองค์กรเอกชน 3) ระบบแรงจูง ใจ พิจ ารณาว่ า แต่ ล ะประเทศมีร ะบบแรงจูง ใจที่ใ ห้ภ าคประชาชนหรือ เจ้าของอาคารเอกชนได้หนั มาอนุ รกั ษ์ ซึง่ ประเทศในโลกเสรีประชาธิปไตยไม่สามารถใช้อํานาจรัฐใน การบัง คับ ให้ป ระชาชนเจ้ า ของทรัพ ย์ สิน อนุ ร ัก ษ์ อ าคารได้ แรงจู ง ใจดัง กล่ า วได้เ น้ น ทางด้ า น เศรษฐศาสตร์หรือการเงินเป็ นหลัก เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มกี ารดําเนินการในด้านนี้เลย ในขณะ ทีต่ ่างประเทศทุกกรณีศกึ ษามีระบบนี้แล้วทัง้ สิน้ 4.2 กรณี ศึกษาประเทศญี่ปนุ่ ญีป่ นุ่ เป็ นประเทศในทวีปเอเชียทีม่ บี ทบาทในการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมในภูมภิ าคมากทีส่ ุดประเทศ หนึ่ง เนื่องจากเป็ นผูใ้ ห้ทุนในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องการอนุ รกั ษ์มากทีส่ ุด กฎหมาย อนุ รกั ษ์ของญี่ปุ่นมีอทิ ธิพลต่อกฎหมายอนุ รกั ษ์ในประเทศเอเชียตะวันออกโดยเฉพาะเกาหลีใต้และ ไต้หวัน และโครงการอนุ รกั ษ์ภายใต้ความร่วมมือระหว่างญีป่ นุ่ กับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ก็มเี พิม่ มาก ขึน้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 (Asano 1999: 242) ปจั จุบนั ญี่ปนุ่ ได้ขยายขอบเขตการอนุ รกั ษ์ มรดกวัฒนธรรมจากอาคารเดีย่ วทีม่ คี วามยิง่ ใหญ่มาถึงชุมชนประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมนันเอง ่ โดยมีองค์กร กฎหมาย และระบบแรงจูงใจทีส่ นับสนุ นการอนุ รกั ษ์ภาค ประชาชนมาตัง้ แต่ ค.ศ. 1975 4.2.1 วิ วฒ ั นาการอนุรกั ษ์: จากอาคารเดี่ยวสู่ชมุ ชนดัง้ เดิ ม ประวัตศิ าสตร์การอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นนับเริม่ จากการปฏิรปู ญี่ปุ่นสมัย เมจิ (Meiji restoration) เข้าสูย่ ุคสมัยใหม่หรือโมเดิรน์ ใน ค.ศ. 1868 (ตรงกับต้นรัชกาลที่ 5 ของกรุง รัตนโกสินทร์) ซึง่ ญีป่ นุ่ ได้เปลีย่ นแปลงระบอบการปกครองจากระบบศักดินาทีม่ จี กั รพรรดิ โชกุนและ 36
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ซามูไ รเป็ นผู้ป กครองและปกป้อ งประเทศหรือที่รู้จกั กันว่ายุค เอโดะ (Edo) มาเป็ น ระบอบ ประชาธิปไตยซึ่งยังคงมีจกั รพรรดิแต่มไิ ด้ทรงมีบทบาททางการเมือง มีการจัดตัง้ รัฐบาลและการ ประกาศรัฐธรรมนูญในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1880 ในขณะเดียวกันก็มอี ทิ ธิพลจากการล่าอาณานิคม ของชาติตะวันตกทัง้ อเมริกาและยุโรปเข้ามาด้วย การปกครองแม้จะก้าวเข้าสู่การเป็ นประชาธิปไตย แต่กย็ งั เป็ นการปกครองแบบรวมศูนย์ (centralized) ในช่วงนัน้ สมบัตทิ างประวัตศิ าสตร์ได้ถูกทําลาย หรือถูกขนย้ายออกนอกประเทศเป็ นจํานวนมาก รวมทัง้ การต่อต้านพุทธศาสนาของชาวตะวันตก ทํา ให้ในปี ค.ศ. 1871 รัฐบาลต้องออกกฎหมายฉบับแรก คือ “ประกาศเรื่องการอนุ รกั ษ์วตั ถุ ทาง ประวัตศิ าสตร์ (Kokikyubutsu Hozonho no Fukoku-The Proclamation of Historic Objects Preservation) ซึ่งเป็ นกฎหมายทีป่ กป้องการทําลายหรือขนย้ายโบราณวัตถุออกนอกประเทศ (ใน ทํานองเดียวกันในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ได้มกี ฎหมายบูรณะซ่อมแซมวัดและสถานที่ สํ า คัญ ทางประวัติ ศ าสตร์ แ ละประกาศห้ า มขุ ด ค้ น โบราณสถานเนื่ อ งจากการปกป้ องมรดก ประวัตศิ าสตร์จากชาติตะวันตกเช่นเดียวกัน) อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ของญี่ปุ่นมิได้เน้นเรื่อง การอนุ รกั ษ์อาคาร เพียงแต่ป้องกันมิให้มกี ารทําลายหรือนําชิน้ ส่วนอาคารโบราณซึง่ ถือเป็ นวัตถุทาง ประวัติศ าสตร์อ อกนอกประเทศ ในส่ว นของการอนุ ร กั ษ์ อ าคารนัน้ ในช่ ว งแรกยัง มิไ ด้มีก ารออก กฎหมายแต่ อ ย่ า งใด แต่ ไ ด้มีก ารจัด สรรงบประมาณในช่ ว งปี ค.ศ. 1880-1894 ในการ บูรณะปฏิสงั ขรณ์ศาลเจ้าชินโต (Shinto shrines) และวัดในพุทธศาสนา (Buddhist temples) โดย กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Home Affairs) ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 จึงได้มกี ารออกกฎหมาย อนุ รกั ษ์ศาลเจ้าชินโตและวัดในพุทธศาสนา (Koshaji Hozonho-Historic Shinto Shrines and Buddhist Temples Preservation Law) ซึง่ กฎหมายฉบับนี้ประกาศหลังสงครามจีน-ญีป่ นุ่ (SinoJapan War) (ค.ศ. 1894-1895) ซึง่ อาคารทีม่ คี วามสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมถือเป็ น สมบัตขิ องชาติและรัฐบาลมีหน้าทีจ่ ดั สรรงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซม จากนัน้ ในปี ค.ศ. 1911 (ตรงกับต้นรัชกาลที่ 6 ของกรุงรัตนโกสินทร์) ได้มกี ารร่างกฎหมายเพื่อการอนุ รกั ษ์พน้ื ที่ท่มี ี ความสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และธรรมชาติ ปี ค.ศ. 1919 นับเป็ นปี ท่สี ําคัญของการเปลี่ยนแปลงการอนุ รกั ษ์และการพัฒนาเมืองของ ญี่ปุ่น หลังจากสิ้นสุดยุคจักรพรรดิเมจิเข้าสู่ยุคจักรพรรดิไทโช (Taicho) ได้มกี ารปรับปรุงร่าง กฎหมายอนุ รกั ษ์เดิมจนกลายเป็ นกฎหมายอนุ รกั ษ์แหล่งประวัตศิ าสตร์ พืน้ ทีท่ ม่ี ที ศั นียภาพสวยงาม และอนุ สรณ์สถานทางธรรมชาติ (Shiseki Meishou Tenenkinen butsu Hozonho-Historic Sites, Scenic Beauty and Natural Monuments Preservation Law) ซึง่ กฎหมายฉบับนี้ได้กลายเป็ น รากฐานของการอนุ รกั ษ์ในยุคสมัยใหม่ของญีป่ นุ่ ในเวลาต่อมา (Asano 1999: 238) ตัวอย่างของการ ใช้กฎหมายนี้คอื การประกาศให้พน้ื ที่ 34 ตารางกิโลเมตรของเมืองเกียวโตเป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ใน ค.ศ. 1930 (Holm 1997: 219) ในด้านการพัฒนาเมือง ปี ค.ศ. 1919 นัน้ เองก็ได้มกี ารประกาศใช้กฎหมาย ผังเมือง (City Planning Law) และกฎหมายควบคุมอาคารในเขตเมือง (Urban Building Law) ด้วย นับเป็ นกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ฉบับแรกของญี่ปุ่นทีผ่ ่านความยากลําบากกว่าจะ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
37
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ประกาศใช้ได้เพราะถูกต่อต้านจากกลุ่มนักการเมือง (Sorensen 2004: 69-70) กฎหมายผังเมืองและ กฎหมายควบคุ มอาคารของญี่ปุ่นมีรูป แบบพื้นฐานจากกฎหมายผังเมืองและควบคุ มอาคารของ เยอรมัน1 ทีถ่ อื ว่ามีความก้าวหน้ามากทีส่ ดุ ในยุโรป (Ishida 1988: 84) ในช่วงเดียวกันนี้ (ค.ศ. 1919-1930s) แม้ว่ารัฐบาลยังมีการปกครองแบบรวมศูนย์ แต่กไ็ ด้ เกิดความเคลื่อนไหวภาคประชาชนโดยเกิดลักษณะประชาคม (civil society) หลายกลุ่ม ได้แก่ สหภาพแรงงาน ขบวนการผูเ้ ช่าทรัพย์สนิ กลุ่มการเมือง และกลุ่มสตรี (Sorensen 2004: 95) ช่วง ทศวรรษที่ 1920s มีการพัฒนาองค์กรชุมชน (neighborhood association) โดยมีระบบผูแ้ ทนเขต (Homen iin-District Commissioner System) ซึง่ ได้รบั การคัดเลือกโดยสมัครใจจากกลุ่มชุมชน ต่อมาได้มกี ารพัฒนาไปสู่กลุ่มผลประโยชน์ อ่นื ๆ เช่น กลุ่มผูค้ ้ารายย่อย กลุ่มเยาวชน ชนชัน้ กลาง ฯลฯ เรียก “โชไค” (Chokai or Chonaikai-local neighborhood association) โดยเริม่ จากเขต Honjo ทางตะวันออกของกรุงโตเกียวก่อนและขยายไปทัวประเทศช่ ่ วง ค.ศ. 1930 (Sorensen 2004: 104105) ซึ่งถือได้ว่าเป็ นความเคลื่อนไหวภาคประชาชนในยุคแรกๆ ของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยทีย่ งั รวมศูนย์ของญีป่ นุ่ อยู่ อย่างไรก็ตามหลังจากนัน้ ในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 (ค.ศ. 1914-1918) อาคาร ประวัตศิ าสตร์ทร่ี ฐั บาลดูแล เช่น ปราสาทต่างๆ เสื่อมโทรมลงมาก กฎหมายทีม่ อี ยูไ่ ด้เน้นการอนุ รกั ษ์ อาคารทางศาสนาเป็ นส่ว นใหญ่ ดังนัน้ จึงได้มกี ารออกกฎหมายอนุ รกั ษ์สมบัติของชาติ (Kokuho Hozonho-National Treasures Preservation Law) ใน ค.ศ. 1929 และปรับปรุงกฎหมายโบราณวัตถุ เดิมออกเป็ นกฎหมายอนุ รกั ษ์ศลิ ปวัตถุสําคัญ (Juyobitsuhinto no Hozonnikansuru HoritsuImportant Art Objects Preservation Law) ในปี ค.ศ. 1933 ซึง่ สามารถขึน้ บัญชีปกป้องอาคารไม้ท่ี จะถูกถอดออกเป็ นชิน้ ส่วนเพื่อนําไปขายได้จาํ นวน 299 หลัง (Asano 1999: 238) ต่อมากฎหมายนี้ ถูกยกเลิกไปในช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง เนื่องจากรัฐบาลได้ไปเน้นการปรับปรุงอาคารให้มลี กั ษณะ ทนไฟและทนต่อการทําลายล้างจากสงครามแทน ซึ่งทําให้อาคารเดิมๆ เปลี่ยนวัสดุเป็ นอิฐและ คอนกรีตเสริมเหล็กกันมากขัน้ และอาคารไม่มจี าํ นวนลดลง หลังจากเสร็จสิน้ สงครามโลกครัง้ ที่ 2 แล้ว รัฐบาลญีป่ นุ่ ได้ประกาศใช้รฐั ธรรมนูญ ค.ศ. 1947 โดยเริม่ กระจายอํานาจซึ่งในปี เดียวกันได้ออกกฎหมายให้รฐั บาลท้องถิน่ ปกครองตนเองได้ (Local Autonomy Law) ในด้านการเลือกตัง้ ส่วนแบ่งภาษี การศึกษา และการป้องกันอาชญากรรม แต่การ อนุ รกั ษ์และการผังเมืองยังคงรวมศูนย์อํานาจอยู่ รัฐบาลได้กําหนดแผน 5 ปี ขน้ึ ในช่วง ค.ศ. 19481952 เพือ่ การบูรณะทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมของชาติ ซึง่ แผนนี้เป็ นรากฐานในการให้เงินสนับสนุ นใน การบูรณะทรัพย์สนิ ทีม่ คี วามสําคัญในเวลาต่อมาจนถึงปจั จุบนั ในช่วงแผนบูรณะฯ 5 ปี นัน้ ได้มกี าร 1
อิทธิพลของกฎหมายผังเมืองและกฎหมายควบคุมอาคารของญีป่ นุ่ ทีม่ าจากเยอรมันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากนายแพทย์ Mori Okai (18621922) ซึง่ ได้ศกึ ษาวิชาสาธารณสุขทีเ่ ยอรมนีและได้นําแนวคิดเรือ่ งมาตรฐานการก่อสร้างอาคารและการวางผังเมืองทีต่ อ้ งคํานึงถึง สุขอนามัยของประชาชนมาสูส่ งั คมญีป่ นุ่ และต่อมาได้เป็ นหนึ่งในคณะกรรมการร่างกฎหมายควบคุมอาคารของโตเกียวใน ค.ศ. 1889
38
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
สังคายนากฎหมายอนุ รกั ษ์ครัง้ ใหญ่ในปี ค.ศ. 1950 คือได้มกี ารรวมกฎหมายอนุ รกั ษ์ก่อนหน้าทัง้ 3 ฉบับ ได้แก่ 1) กฎหมายอนุ รกั ษ์พน้ื ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ พืน้ ทีท่ ม่ี ที ศั นียภาพสวยงาม และอนุ สรณ์สถาน ทางธรรมชาติ (1919) 2) กฎหมายอนุ รกั ษ์สมบัตขิ องชาติ (1929) และ 3) กฎหมายอนุ รกั ษ์ศลิ ปวัตถุ สําคัญ (1933) มาปรับปรุงเป็ นฉบับเดียวเรียก “กฎหมายอนุ รกั ษ์ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม” (Bunkazai Hogoho-Cultural Property Preservation Law) กฎหมายฉบับนี้มคี วามสําคัญคือเกิดการจัดลําดับ ความสําคัญของทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมเป็ น 2 ระดับ คือ ระดับชาติ (National Treasure-Grade I) และทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญ (Important Cultural Property-Grade II) (Asano 1999: 239) รวมถึ ง การตัง้ องค์ ก รรับ ผิด ชอบคือ คณะกรรมการปกป้ องทรัพ ย์ส ิน ทางวัฒ นธรรม (Cultural Properties Protection Commission) มีหน้าที่ในการดูแลใช้กฎหมาย ทําวิจยั และจัดลําดับ ความสําคัญของการอนุ รกั ษ์ (Sorensen 2004: 320) การอนุ รกั ษ์ในช่วงนี้ถอื ได้ว่ามีความมันคง ่ แต่ ยังเน้นในเรือ่ งของทรัพย์สนิ ของชาติทร่ี ฐั บาลกลางเป็ นผูด้ แู ล กระแสการกระจายอํานาจของญี่ปุ่นในด้านการอนุ รกั ษ์และการพัฒนาเมืองเริม่ ระลอกแรก ในช่วง ค.ศ. 1954-1968 โดยมีเหตุการณ์ทส่ี าํ คัญคือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอนุ รกั ษ์ทรัพย์สนิ ทาง วัฒนธรรม (1950) ครัง้ ที่ 1 ทีใ่ ห้อํานาจรัฐบาลท้องถิน่ เป็ นผูต้ ดั สินใจในการขึน้ บัญชีทรัพย์สนิ ทาง วัฒนธรรมของตนเองได้และสามารถออกกฎหมายปกป้องของตนเองได้ ต่อมาในช่วงปี 1962-1965 คณะกรรมการปกป้องทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม ได้มกี ารศึกษาสํารวจบ้านโบราณของเอกชน (Survey of Important Traditional Private Houses) ซึง่ เป็ นผลให้รฐั บาลเห็นความสําคัญของทรัพย์สนิ ทาง วัฒนธรรมทีเ่ ป็ นของเอกชนด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1968 ได้มกี ารปรับปรุงกฎหมายอนุ รกั ษ์ (ฉบับที่ 2) โดยขยายอํานาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการปกป้องทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมโดยให้ยุบรวมกับหน่วยงาน ของกระทรวง ศึกษาธิการและจัดตัง้ “สํานักงานการวัฒนธรรม (Bunka-Cho-Agency for Cultural Affairs)” ขึน้ เป็ นองค์กรภาครัฐทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับการรักษามรดกวัฒนธรรมของประเทศใน ทุกระดับ ในขณะเดียวกันทางด้านการผังเมือง ในปี เดียวกันคือ ค.ศ. 1968 ได้มกี ารปรับปรุงกฎหมาย ผังเมืองปี 1919 ทีร่ วมศูนย์อํานาจโดยกระทรวงก่อสร้างเป็ นผูว้ างผังทัง้ ประเทศก็ได้ถ่ายโอนอํานาจ ให้ทอ้ งถิน่ ทัง้ ระดับรัฐบาลกลางและจังหวัดวางผังเองทัง้ กระบวนการ ตัง้ แต่การจัดเตรียม การอนุ มตั ิ ผัง การประกาศใช้ และการนําผังมาปฏิบตั ิ ซึง่ ต่างจาก พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ของไทยทีใ่ ห้ ท้องถิน่ หรือส่วนกลางวางผังก็ได้แต่อํานาจการอนุ มตั ยิ งั ขึน้ กับส่วนกลางคือคณะกรรมการผังเมือง และการออกกฎหมายข้อ กํ า หนดการใช้ป ระโยชน์ ท่ีดิน ก็ย ัง มาจากส่ ว นกลางคือ ประกาศเป็ น กฎกระทรวงไม่ได้เป็ นกฎหมายท้องถิน่ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ญีป่ นุ่ มีการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรมมากจนส่งผลให้เกิดมลภาวะ เมืองเก่ามีสภาพเสือ่ มโทรม ทัง้ รัฐบาลและประชาชนเห็นความสําคัญของสภาพแวดล้อมของเมืองเก่า ในส่วนของรัฐบาลในปี ค.ศ. 1966 ได้ออกกฎหมายอนุ รกั ษ์เมืองหลวงเก่า (Koto Hozonho-The Ancient Capitals Preservation Law) ซึง่ เป็ นการใช้กฎหมายคุม้ ครองอาคารและสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติของเมืองหลวงหรือเมืองสําคัญตัง้ แต่สมัยโบราณของญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันในกฎหมายผัง โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
39
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
เมืองก็ได้บรรจุพน้ื ที่อนุ รกั ษ์ดงั กล่าวไว้เป็ นประเภทหนึ่งของย่านการใช้ประโยชน์ ทด่ี นิ ด้วย คือย่าน การใช้ท่ีดินประเภท พื้นที่อนุ ร กั ษ์ภูมิท ศั น์ ทางประวัติศ าสตร์ (Rekishitekifudo Tokubetsu Hozonchiku-Special Historic Landscape Preservation Areas) เมืองทีม่ กี ารประกาศตามกฎหมาย นี้คอื เกียวโต นารา คามาคูระ เทนริ คาชิฮารา ซาคุราอิ อิคารุงะ และหมูบ่ า้ นอะซุกะ (Asano 1999: 239) ซึง่ ทีก่ ล่าวมาเป็ นเมืองและพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามสําคัญต่อประวัตศิ าสตร์และโบราณคดีของญี่ปุ่นมาก ในส่วนภาคประชาชน การเห็นความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิมทีป่ ระกอบไปด้วยบ้านเรือนของเอกชนได้ เกิดขึน้ ในเวลาไล่เลีย่ กันในปี ค.ศ. 1968 เมืองขนาดเล็ก 2 เมืองคือคูราชิกแิ ละคานาซาวาทีม่ ยี ่าน พาณิชยกรรมและอยู่อาศัยดัง้ เดิมในเมืองได้ออกเทศบัญญัติของตนเองในการอนุ รกั ษ์ (Sorensen 2004: 320-321) ซึง่ ทําได้จากกฎหมายกระจายอํานาจของรัฐบาลท้องถิน่ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1947 ดังได้ กล่าวแล้ว แต่ยงั ไม่มกี ฎหมายหลักรับรองเนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าหากมีการประกาศพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ใน ย่านชุมชนเอกชนแล้วรัฐบาลจะไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยได้ ซึ่งในช่วงนัน้ รัฐบาลยังคงมีแนวคิดการ อนุ รกั ษ์แบบรวมศูนย์และการเข้าครอบครองเป็ นเจ้าของอยู่ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1975 เมื่อได้มกี ารปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอนุ รกั ษ์ ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (ค.ศ. 1950) ครัง้ ที่ 3 โดยเพิม่ เติมพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ขน้ึ ใหม่ใช้ช่อื ว่า “ย่านอนุ รกั ษ์ อาคารดัง้ เดิม (Dentotekikenzobutsugan Hozonchiku-Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings)” ซึง่ ถือเป็ นการเปลีย่ นแปลงครัง้ สําคัญของรัฐทีข่ ยายขอบเขตมรดก วัฒนธรรมจากวัด ศาลเจ้า ปราสาทโบราณ เมืองเก่า มาสูช่ ุมชนทีม่ อี าคารบ้านเรือนของประชาชน ซึง่ ได้มกี ารปรับปรุงในกฎหมายผังเมืองให้รองรับย่านนี้ดว้ ยเช่นเดียวกัน และย่านชุมชนทีไ่ ม่ได้อยูใ่ นเขต วางผังเมือง เช่น ชุมชนเกษตรกรรมอยูใ่ นพืน้ ทีช่ นบททีม่ อี าคารบ้านเรือนทีม่ คี ุณค่าพืน้ ถิน่ ก็สามารถ ประกาศให้เป็ นย่านอนุ รกั ษ์ตามกฎหมายนี้ดว้ ย การมีกฎหมายรองรับนี้ทําให้เกิดระบบการขึน้ บัญชี ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (listed cultural properties) และการกําหนดแรงจูงใจด้านเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะเงินช่วยเหลือและการลดภาษี (ดูรายละเอียดในหัวข้อ 4.2.3) ลักษณะของย่านอนุ รกั ษ์อาคารดัง้ เดิมนี้คอื เป็ นพื้นที่ท่มี กี ารพัฒนามาแต่โบราณ ส่วนใหญ่ เป็ นย่านถนนการค้าหรือย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม มีอาคารทีค่ ุณค่าทางสถาปตั ยกรรมพืน้ ถิน่ ทัง้ ทีส่ ร้าง ด้วยไม้หรือปูน ซึ่งหากเป็ นอาคารในยุคโมเดิร์นอาจนับรวมด้วยหากมีคุณค่าตามที่สํานักงานการ วัฒนธรรมกําหนด ข้อแตกต่างจากแหล่งมรดกวัฒนธรรมอื่นๆ คือ การทีม่ ปี ระชาชนยังอาศัยและทํา การค้าอยู่ทําให้เกิดการพัฒนาขึ้นตลอดเวลา จึงต้องมีกฎเกณฑ์ในการพัฒนาอาคารหรือพื้นที่โล่ง รวมทัง้ การออกแบบอุปกรณ์ประดับถนนต่างๆ พืน้ ทีท่ ม่ี กี ารประกาศนี้เช่น เมืองคุราชิกิ คานาซาวา ฟุรุคาวา และ ทากายามา จนถึงปี ค.ศ. 1997 สํานักงานการวัฒนธรรมได้ทําการสํารวจชุมชนทีม่ ี ่ านวนเกือบ 100 แห่ง (เช่นเดียวกับการสํารวจใน ศักยภาพเป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมทัวประเทศจํ โครงการนี้) และได้มชี ุมชนทีป่ ระกาศเป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมตามกฎหมายจํานวน 48 แห่ง (Asano 1999: 241) ประเด็นสําคัญของการประกาศให้เป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมนัน้ จะคล้ายกับทุกประเทศคือ จะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากประชาชนผูอ้ ยู่อาศัยในพืน้ ที่ ซึง่ ในญี่ปุ่นได้มกี ระบวนการทีส่ นับสนุ น 40
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
การมีสว่ นร่วมของประชาชนคือ Machizukuri คําว่า Machizukuri มาจากคําสองคํา Machi แปลว่า เมืองขนาดเล็กหรือย่านหรือชุมชนก็ได้ ส่วนคําว่า Zukuri มาจากคําว่า Tsukuru แปลว่าการปรุง เช่น ปรุงอาหาร หรือสร้างหรือทํา (เข้าลักษณะคํา “สร้างบ้านแปงเมือง” ของทางภาคเหนือของไทย) เป็ น คําทีใ่ ช้กนั อย่างกว้างขวางและมีผตู้ คี วามไปได้มากจนยากทีจ่ ะหาคํานิยามได้ชดั เจน อย่างไรก็ตามใน การพัฒนาเมืองคําว่า Machizukuri ใช้ในกระบวนการการมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือที่ทําใน ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับย่านและชุมชนเพื่อให้ได้ขอ้ สรุปในการวางแผนพัฒนาเมืองและออกเป็ น ่ อ “การวางแผนโครงการพัฒนาเมือง กฎหมายท้องถิน่ (local ordinances) เช่น เทศบัญญัตหิ รือ นันคื ระดับเล็กทีม่ ปี ระชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย” โดยอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ ก) การวางผังเฉพาะ ระดับย่าน (District Plan Machizukuri Ordinances) ข) การวางผังการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ (Land Use Control Machizukuri Ordinances) และ ค) การอนุ รกั ษ์พน้ื ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ (Historic Preservation Ordinances) (Sorensen 2004: 308-325) กระบวนการ Machizukuri นี้ช่วยให้การประกาศเป็ นย่าน อนุรกั ษ์อาคารดัง้ เดิมเป็ นไปได้งา่ ยขึน้
ตารางที่ 4-1 ลําดับวิวฒ ั นาการการอนุรกั ษ์ในประเทศญีป่ นุ่ ค.ศ. 1868 1871
พ.ศ. เหตุการณ์ 2411 การปฏิรปู ญีป่ นุ่ (Meiji Restoration) เข้าสูส่ มัยใหม่และความเป็ นประชาธิปไตย 2414 ประกาศการอนุ รกั ษ์วตั ถุทางประวัตศิ าสตร์ (Kokikyobutsu Hozonho no Fukoku-Historic Objects Preservation Proclamation) เป็ นกฎหมายอนุ รกั ษ์ฉบับแรก เพือ่ ปกป้องสมบัตทิ างวัฒนธรรมการ เข้ามาของชาติตะวันตกและการต่อต้านพุทธศาสนา 1880- 2423- รัฐบาลจัดสรรงบประมาณในการอนุ รกั ษ์ศาลเจ้าชินโตและวัดในพุทธศาสนา โดยใช้งบประมาณจาก 1894 2437 กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Home Affairs) 1897 2440 กฎหมายอนุ รกั ษ์และศาลเจ้าชินโตและวัดในพุทธศาสนา (Koshaji Hozonho-Historic Shinto Shrines and Buddhist Temples Preservation Laws) การปกป้องวัฒนธรรมของตนเองเนื่องจาก สงครามจีน -ญี่ปุ่ น อาคารทางศาสนาจึง ต้อ งปกป้ องเป็ น พิเ ศษ เป็ น สมบัติข องชาติ (KokuhouNational Treasures) จึงต้องตราเป็ นกฎหมายเพือ่ ให้ได้รบั งบประมาณมาซ่อมแซม 1911 2454 ร่างกฎหมายอนุ รกั ษ์พน้ื ทีท่ างประวัตศิ าสตร์และธรรมชาติ (Draft of Historic Sites and Natural Monuments Preservation Law Proposal) 1912 2455 สิน้ สุดยุคเมจิ เข้าสูย่ คุ ไทโช (Taisho) 1919 2462 ตรากฎหมายผังเมืองและกฎหมายอาคารแบบสมัยใหม่ เป็ นการเริม่ การพัฒนาผังเมืองสมัยใหม่แบบ ตะวันตก 1919 2462 กฎหมายอนุ รกั ษ์พน้ื ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ พื้นทีท่ ม่ี ที ศั นียภาพสวยงาม และอนุ สรณ์ สถานทางธรรมชาติ (Historic Sites, Scenic Beauty and Natural Monuments Preservation Law) 1920- 2463- เกิดการพัฒนาองค์กรภาคประชาชน Civil Society กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มีการพัฒนาองค์กรชุมชน 1930s 2473 Neighborhood Association โดยมี District Commissioner (homen iin) System เลือกโดยสมัครใจจาก กลุ่ม ชาวบ้า น ต่ อ มาเป็ น กลุ่ม ผู้ค้า รายย่ อ ยและชุ ม ชน กลุ่ม เยาวชน ชนชัน้ กลาง ฯลฯ เรีย ก Local Neighborhood Association-Chokai or Chonaikai เริม่ จากเขต Honjo (east Tokyo) และขยายไปทัว่ ประเทศช่วง 1930s โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
41
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
1926- 2469- มีการรือ้ บ้านไม้โบราณเพือ่ นํางานศิลปะออกนอกประเทศ อาคารประวัตศิ าสตร์ทร่ี ฐั ดูแลมีสภาพเสือ่ ม 1945 2488 โทรมเนื่องจากกฎหมายเดิมคุม้ ครองเฉพาะอาคารทางศาสนา 1929 2472 กฎหมายอนุรกั ษ์สมบัตขิ องชาติ (Kokuho Hozonho-National Treasures Preservation Law) 1930 2473 ประกาศเมืองเกียวโตเป็ นพื้นทีอ่ นุ รกั ษ์ (ขนาดพื้นที่ 34 ตร.กม.) ภายใต้กฎหมายอนุ รกั ษ์พ้นื ที่ ประวัตศิ าสตร์ฯ 1919 1933 2476 กฎหมายอนุ รกั ษ์ศลิ ปวัตถุสาํ คัญ (Juuyobijutsuhinto no Hozonnikansuru Horitsu-Important Art Objects Preservation Law) เพือ่ ปกป้องศิลปวัตถุและชิน้ ส่วนจากอาคารไม้ออกนอกประเทศ มีการ ทําบัญชีอาคารภายใต้กฎหมายนี้ 299 หน่ วย ช่วงสงครามโลกกฎหมายนี้ถูกยกเลิกเพราะรัฐต้องการ สร้างความมันคงแข็ ่ งแรงให้อาคารรอดพ้นจากการทําลายของสงคราม 1947 2490 กฎหมายกระจายอํานาจจากส่วนกลางสูส่ ่วนท้องถิน่ (Local Autonomy Law) โดยมีการกระจาย อํา นาจทัง้ ในด้า น การเมือ ง (การเลือ กตัง้ ) รายได้ (ส่ว นแบ่ ง ภาษี) การศึก ษา และการป้ อ งกัน อาชญากรรม (Police power) 1950 2493 สังคายนากฎหมายอนุ รกั ษ์ เกิด กฎหมายรวบยอดฉบับ ใหม่ คือ กฎหมายอนุ รกั ษ์ทรัพย์สนิ ทาง วัฒนธรรม (Cultural property Preservation Law) เกิดการแบ่งลําดับทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมเป็ น 2 ลําดับ (Grade I & Grade II) และจัดตัง้ คณะกรรมการปกป้องทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมแห่งชาติ (Cultural Property Protection Commission-CPPC) เพือ่ ดูแลกฎหมาย ทําวิจยั และจัดลําดับ ความสําคัญของการอนุรกั ษ์ 1954 2497 แก้ไขกฎหมายอนุ รกั ษ์ 1950 โดยให้รฐั บาลท้องถิน่ ตัดสินใจขึน้ ทะเบียนมรดกฯ ของตนได้และออก กฎหมายระดับท้องถิน่ เพือ่ ปกป้องเองได้ 1960s 2503 เศรษฐกิจญีป่ นุ่ เติบโตสูงสุด มีอตั ราการพัฒนาเมืองสูงมาก เกิดความกังวลเกีย่ วกับมรดกวัฒนธรรม เกิดการรวมตัวของชุมชนในด้านการอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์เพือ่ รักษาสิง่ แวดล้อม 1962- 2505- คณะกรรมการปกป้องทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (CPPC) ทําการสํารวจบ้านโบราณของเอกชน 1965 2508 (important traditional private houses) 1968 2511 การกระจายอํานาจทางการผังเมือง กฎหมายผังเมืองเดิม (1919) รวมศูนย์อํานาจโดยกระทรวง ก่อสร้างวางผังทัง้ ประเทศ แต่กฎหมายผังเมือง 1968 (ยกเลิกของปี ค.ศ. 1919) ให้ทอ้ งถิน่ วางผังเอง ทัง้ กระบวนการ ตัง้ แต่การจัดเตรียม การอนุ มตั ผิ งั และการนํ าผังมาปฏิบตั ิ (ท้องถิน่ หมายถึงระดับ เทศบาลหรือจังหวัด-prefecture ก็ได้) 1968 2511 แก้ไขกฎหมายอนุรกั ษ์ 1950 (ครัง้ ที่ 2) จัดตัง้ สํานักงานการวัฒนธรรม (Bunka-Cho) ซึง่ เป็ นการรวม คณะกรรมการปกป้องฯ (CPPC) เข้ากับหน่ วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบ เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ทงั ้ หมดมีอาํ นาจตัดสินใจตามกฎหมายในด้านต่างๆทีเ่ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์ 1968 2511 กฎหมายท้องถิน่ เพือ่ การอนุ รกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์ 2 พืน้ ทีแ่ รก คือ Kanazawa และ Kurashiki ออกเป็ นเทศบัญญัติ แต่ยงั ไม่มกี ฎหมายหลัก (Sorensen 2004: 320-321) 1975 2518 แก้ไขกฎหมายอนุรกั ษ์ 1950 (ครัง้ ที่ 3) ให้ทอ้ งถิน่ ประกาศพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์อาคารพืน้ ถิน่ (Dentotekiken zobutsugan Hozonchiku-Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings)การ ปรับปรุงกฎหมายผังเมืองให้มปี ระเภทการใช้ประโยชน์ทส่ี อดคล้องกัน 1990 2533 การสํารวจอาคารโมเดิร์นเพื่อการอนุ รกั ษ์ (Modern heritage comprehensive survey) โดย สํานักงานการวัฒนธรรม
42
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
1990s 2533 การให้เงินอุดหนุ นเพือ่ การอนุ รกั ษ์อาคารประวัตศิ าสตร์ในพืน้ ทีฟ่ ้ืนฟูเมือง โดยกระทรวงการก่อสร้าง (Ministry of Construction) 1996 2539 แก้ไขกฎหมายอนุ รกั ษ์ 1950 (ครัง้ ที่ 4) ให้มกี ารขึ้นบัญชีทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (Toroku Bunkasai-Listed Cultural Property) ทีเ่ สนอโดยภาคประชาชน 1997 2540 การสํารวจชุมชนประวัตศิ าสตร์เกือบ 100 แห่ง และมีชุมชนทีป่ ระกาศตามกฎหมายปี 1975 จํานวน 46 แห่ง (อัตราการเพิม่ ประมาณ 2-3 แห่งต่อปี) 2005 2548 แก้ไขกฎหมายอนุรกั ษ์ ให้มภี ูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรมด้วย
4.2.2 การขึน้ ทะเบียน การแบ่งประเภทและจัดลําดับมรดกวัฒนธรรม กฎหมายอนุ รกั ษ์ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (Cultural Property Preservation Law) ที่ ประกาศใช้ตงั ้ แต่ปี ค.ศ. 1950 ได้มกี ารปรับปรุงแก้ไขให้มยี ่านอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิม (Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings) ในปี ค.ศ. 1975 และตัง้ แต่ปี ค.ศ. 2005 ได้มี การขยายขอบเขตทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมไปถึงภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม (Cultural Landscape) แล้ว (MEXT 2006) กฎหมายอนุ รกั ษ์ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมของญี่ปนุ่ นี้มคี วามซับซ้อนในเรื่องของการ แบ่งประเภทมรดกวัฒนธรรม (ญีป่ นุ่ ใช้คาํ ว่า ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม) มากกว่ากฎหมายของประเทศ อื่น ลักษณะการขึน้ ทะเบียนก็มหี ลายอย่างด้วยเช่นกันพอสรุปได้ดงั นี้ ลักษณะการขึน้ ทะเบียนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น มี 3 รูปแบบหลัก คือ 1) การประกาศ (Designation) 2) การคัดเลือก (Selection) และ 3) การจดทะเบียน (Registration) 1) การประกาศ (Designation) หมายถึง ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมทีม่ คี วามสําคัญทีร่ บั รองโดย รัฐบาลซึง่ อาจเป็ นได้ทงั ้ รัฐบาลกลางและรับบาลท้องถิน่ ในกลุ่มนี้มที รัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมทัง้ หมด 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ ก) ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญ (Important Cultural Properties) แบ่งได้เป็ น 2 ประเภทย่อย คือ (1) งานศิลปะบริสทุ ธิ ์และศิลปะประยุกต์ (Fine and Applied Arts) (2) อาคารและสิง่ ก่อสร้าง (Buildings and Other Structures) ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมทัง้ สองประเภทย่อยนี้ ยังมีการแบ่งระดับความสําคัญอีก โดย ระดับปกติทวไปก็ ั ่ จะใช้ช่อื Important Cultural Properties แต่ระดับทีส่ งู สุดในกลุ่มนี้จะเรียก National Treasure หรือสมบัติของชาติ ซึ่งสมบัติของชาติน้ีก็รวมอยู่ในกลุ่มของ Important Cultural Properties อีกด้วย คือมีสองระดับความสําคัญ ข) แหล่ ง ประวัติศ าสตร์ สถานที่ท่ีมีท ัศ นี ย ภาพสวยงามและอนุ ส รณ์ ส ถานทาง ธรรมชาติ (Historic Sites, Places of Scenic Beauty, and Natural Monuments) หมายถึงพืน้ ทีท่ ม่ี ี คุณสมบัตพิ เิ ศษทีจ่ ะต้องรักษาไว้อย่างเคร่งครัด โดยมากรัฐบาลจะหาทางเข้าครอบครองเป็ นเจ้าของ เพือ่ ทีด่ าํ เนินการบริหารจัดการในพืน้ ทีไ่ ด้ แบ่งได้เป็ น 3 กลุ่มย่อยตามชื่อประเภท ได้แก่ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
43
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
(1) แหล่งประวัตศิ าสตร์ (Historic Sites) (2) สถานทีท่ ม่ี ที ศั นียภาพสวยงาม (Places of Scenic Beauty) (3) อนุสรณ์ทางธรรมชาติ (Natural Monuments) ทรัพ ย์ ส ิน ทางวัฒ นธรรมทัง้ สามประเภทย่ อ ยนี้ ก็ มีก ารแบ่ ง ระดับ ความสํ า คัญ เช่นเดียวกัน คือระดับปกติ (เรียกชื่อตามเดิม) และระดับพิเศษ (มีคาํ ว่า Special นําหน้า) ซึง่ หมายถึง มีความสําคัญสูงสุด การแบ่งระดับนี้ใช้ในการจัดลําดับความสําคัญในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ และจัดสรรงบประมาณด้วย ค) ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมพืน้ บ้านสําคัญทีจ่ บั ต้องได้ (Important Tangible Folk Cultural Properties) หมายถึงงานพืน้ บ้านทีจ่ บั ต้องได้ (มีอาคาร สิง่ ก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ เป็ น ต้น) และมีความสําคัญต่อวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์ของประเทศ ไม่มกี ารจัดลําดับความสําคัญใน ประเภทนี้ ง) ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมพืน้ บ้านสําคัญทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (Important Intangible Folk Cultural Properties) หมายถึงงานพืน้ บ้านทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (เช่น การละเล่น คติความเชื่อ) และมี ความสําคัญต่อวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์ของประเทศ ไม่มกี ารจัดลําดับความสําคัญในประเภทนี้ จ) ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (Important Intangible Cultural Properties) แบ่งเป็ นสองประเภท ได้แก่ (1) นาฏกรรม (Performing Arts) (2) เทคนิคงานฝี มอื (Craft Techniques) ทัง้ สองประเภทนี้มที งั ้ ทีเ่ ป็ นงานส่วนบุคคล (Individuals) และคณะบุคคลหรือกลุ่ม บุคคล (Groups) 2) การคัดเลือก (Selection) หมายถึง การขึน้ ทะเบียนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมทีจ่ ะต้องมา จากการเสนอ (nomination) จากองค์กรส่วนท้องถิน่ เพื่อให้สาํ นักงานการวัฒนธรรมพิจารณาคัดเลือก ขึน้ ทะเบียน การขึน้ ทะเบียนในส่วนนี้มที รัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสองประเภท ดังนี้ ก) ย่านอนุ รกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์ (Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings) ซึง่ คล้ายคลึงกับชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมในโครงการนี้ ข) เทคนิคการอนุ รกั ษ์ (Selected Conservation Techniques) ซึง่ มีทงั ้ ทีเ่ ป็ นงาน ส่วนบุคคล (Individuals) กับกลุ่มบุคคล (Groups) 3) การจดทะเบียน (Registration) คือ การระบุว่ามีความสําคัญแต่ยงั ไม่ได้มกี ารประกาศว่า เป็ นทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญ ใช้กบั ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องได้ เหตุผลก็เพราะรัฐยังไม่ มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลทรัพย์สนิ กลุ่มนี้ แต่กจ็ ะต้องทางปกป้องในชัน้ แรกก่อน ในปี ค.ศ. 2005 สํานักงานการวัฒนธรรมของญีป่ นุ่ ได้สรุปจํานวนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมทีม่ ี การขึน้ ทะเบียนประเภทต่างๆ ไว้ดงั แสดงในตารางที่ 4-2
44
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตารางที่ 4-2 จํานวนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมของญีป่ นุ่ จําแนกตามประเภทการขึน้ ทะเบียน (มีนาคม ค.ศ. 2005) ประเภทการขึน้ ทะเบียน จํานวนทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม 1. การประกาศ (Designation) รวมทัง้ หมด ระดับชาติ 1.1 ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญ 12,435 1,069 - ศิลปะบริสทุ ธ์และศิลปะประยุกต์ 10,166 857 - อาคารและสิง่ ก่อสร้าง 2,269 212 รวมทัง้ หมด ระดับ “พิเศษ” 1.2 แหล่งประวัตศิ าสตร์และธรรมชาติ 2,732 161 - แหล่งประวัตศิ าสตร์ 1,511 60 - พืน้ ทีท่ ม่ี ที ศั นียภาพสวยงาม 290 29 - อนุสรณ์ทางธรรมชาติ 931 72 1.3 ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมพืน้ บ้านสําคัญทีจ่ บั ต้องได้ 202 1.4 ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมพืน้ บ้านสําคัญทีจ่ บั ต้องไม่ได้ 237 1.5 ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญทีจ่ บั ต้องไม่ได้ - นาฏกรรม (บุคคล) 58 (กลุม่ ) 11 - เทคนิคงานช่างฝีมอื (บุคคล) 53 (กลุม่ ) 14 2. การคัดเลือก (Selection) 2.1 ย่านอนุ รกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์ 66 2.2 เทคนิคการอนรักษ์ (บุคคล) 50 (กลุม่ ) 25 3. การจดทะเบียน (Registration) 3.1 ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมสําคัญทีจ่ บั ต้องได้ 4,609 (ทีม่ า MEXT 2006)
ในส่วนทีเ่ กี่ยวข้องกับการศึกษานี้คอื ย่านอนุ รกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์นนั ้ ดังได้กล่าวแล้วว่า ได้มกี ารสํารวจและศึกษาชุมชนเกือบ 100 แห่งในปี ค.ศ. 1997 ในขณะนัน้ มีการขึน้ ทะเบียนแบบ คัดเลือกไปแล้วจํานวน 48 แห่ง (Asano 1999: 241) ในขณะทีใ่ นปี ค.ศ. 2005 ตามตารางข้างต้น จํานวนชุมชนทีข่ น้ึ ทะเบียนเพิม่ เป็ น 66 แห่ง และในปี ค.ศ. 2009 มีจาํ นวนรวมถึง 80 แห่ง ซึง่ นับว่า อัตราการเติบโตของการขึน้ ทะเบียนชุมชนในระยะหลังนี้จะสูงกว่าในช่วงแรกเนื่องจากจากชุมชนและ รัฐบาลท้องถิน่ เห็นประโยชน์ ของการอนุ รกั ษ์เพื่ออนาคตของชาติมากขึน้ นอกจากนัน้ ยังมีการแบ่ง ประเภทชุมชนประวัตศิ าสตร์อย่างไม่เป็ นทางการ (เนื่องจากไม่ได้กําหนดในกฎหมายเพราะละเอียด เกินไป) มีอยู่ 8 ประเภท (Denkenkyo 2009) ดังนี้
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
45
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) 1) หมู่บา้ น (Villages) ได้แก่ชุมชนหมู่บา้ นในเขตชนบท มี 3 ลักษณะ ตามสภาพภูมปิ ระเทศ คือ หมู่บ้านภูเขา (Mountain Villages) หมูบ่ า้ นเกษตรกรรม (Farming Villages) และหมูบ่ า้ น ตามเกาะต่างๆ (Island Villages) หมูบ่ า้ นเหล่านี้แสดงออกถึง รากเหง้าของการอยู่อาศัยของชาวญีป่ ุ่นแท้ๆ ทีม่ คี วามสัมพันธ์ กับ เกษตรกรรม ป่ า ไม้แ ละการประมง อาคารที่อ ยู่อ าศัย ใน หมู่บ้านมีลกั ษณะพื้นถิ่นแตกต่างกันตามสภาพธรรมชาติ วิถี ชีวติ ประเพณีตามแต่ละภูมภิ าค ชุมชนในกลุ่มนี้ทข่ี น้ึ ทะเบียน แล้วมี 13 แห่ง ตัวอย่างเช่น หมู่บา้ น Shirakawa เมือง Ogi จังหวัด Gifu ซึง่ มีความสําคัญถึงอยูใ่ นบัญชีมรดกโลก 2) ย่านเมืองชุมทาง (Streetscapes of Post Towns) ในยุค เอโดะ (Edo 1600–1868) มีชุมชนทีจ่ กั รพรรดิหรือโชกุนจัดตัง้ เพื่อ ใช้เ ป็ น ที่พ กั ระหว่า งเดิน ทางไปยัง เมือ งหลัก ต่ า งๆ เมือ ง เหล่ า นี้ ป จั จุ บ ัน ตัง้ อยู่ต ามถนนสายหลัก ในต่ า งจัง หวัด มัก มี ศูนย์กลางเป็ นโรงเตี๊ยม มี 2 ประเภทคือโรงเตี๊ยมสําหรับ ผูป้ กครอง (ไดเมียว-Daimyo) เรียก Honjin และสําหรับ เจ้าหน้าที่ทวไปเรี ั่ ยก Wakijin บางแห่งจะมีย่านค้าส่ง มีการ สร้า งบ้ า นเรือ นตามถนนสายหลัก ทํ า ให้ เ กิด ทัศ นี ย ภาพที่ สวยงาม ชุ ม ชนในกลุ่ ม นี้ ท่ีข้ึน ทะเบีย นแล้ว มี 7 แห่ ง ตัวอย่างเช่น หมูบ่ า้ น Kameyama จังหวัด Mie
บทที่ 4
รูปที่ 4-1 หมูบ่ า้ น Shirakawa เมือง Ogi จังหวัด Gifu*
รูปที่ 4-2 หมูบ่ า้ น Kameyama จังหวัด Mie*
3) ย่านเมืองท่า (Streetscapes Related to Seaport) ลักษณะที่ เป็ นเกาะของญีป่ ุ่นทําให้มชี ุมชนทีเ่ กิดจากการค้าทางทะเลมาก ั ่ นออกและตะวันตก ชุมชนเหล่านี้พฒ ในสมัยก่อน ทัง้ ฝงตะวั ั นา ในยุคเอโดะเช่นเดียวกัน มีการสร้างถนนและร้านค้าบ้านเรือน ตามถนน ซึง่ เนื่องจากเป็ นเมืองการค้าทางทะเลจึงมีท่าเรือและ พ่ อ ค้า ชาวต่ า งประเทศเข้า มาค้า ขายและตัง้ ถิ่น ฐาน ทํ า ให้ ลัก ษณะอาคารมีส่ว นผสมผสานระหว่า งชาติต่ า งๆ กับ ญี่ปุ่น ชุมชนในกลุ่มนี้ท่ขี ้นึ ทะเบีย นแล้วมี 11 แห่ง ตัวอย่างเช่น หมูบ่ า้ น Hakodate จังหวัด Hokkaido รูปที่ 4-3 หมูบ่ า้ น Hakodate จังหวัด Hokkaido*
4) ย่านชุมชนริมถนนเมืองการค้า (Streetscapes of Merchant Structures) ชุมชนในยุคเอโดะอีกประเภทหนึ่งทีต่ งั ้ อยู่ ตามทําเลทีเ่ หมาะแก่การค้าขายมีหลายชุมชน เนื่องจากเป็ น ชุม ชนเมือ งที่มีก ารค้า ขาย เจ้า ของอาคารจึง มีเ งิน พอที่จ ะ ตกแต่งประดับประดาอาคารร้านค้าและบ้านเรือนที่ตงั ้ อยู่รมิ ถนน เกิด เป็ น ทัศ นี ย ภาพที่ส วยงาม ชุ ม ชนในกลุ่ ม นี้ ท่ีข้ึน ทะเบียนแล้วมี 20 แห่ง ตัวอย่างเช่น เมือง Kurashiki จังหวัด Okayama รูปที่ 4-4 หมูบ่ า้ น Kurashiki จังหวัด Okayama*
46
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
5) ย่านชุมชนริมถนนอุตสาหกรรม (Streetscapes Related to Industry) เป็ นชุมชนทีเ่ กิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต หรือการทําเหมืองแร่ในยุคก่อน มีการใช้เทคโนโลยีและวัสดุใน พื้น ที่ ขึ้น อยู่ ก ับ ประเภทของอุ ต สาหกรรม การเป็ น เมือ ง อุ ต สาหกรรมทํา ให้เ กิด มีก ารพัฒ นาบ้า นเรือ นที่ม ีเ อกลัก ษณ์ เฉพาะตัวและกิจการอุตสาหกรรมบางประเภทยังคงสืบเนื่องมา จนป จั จุ บ ั น ชุ ม ชนในกลุ่ ม นี้ ท่ี ข้ึ น ทะเบี ย นแล้ ว มี 8 แห่ ง ตัวอย่างเช่น หมูบ่ า้ น Kashima จังหวัด Saga รูปที่ 4-5 หมูบ่ า้ น Kashima จังหวัด Saga*
6) ย่านศาสนสถาน (Streetscapes Centered on Shrines or Temples) เป็ นชุมชนทีเ่ กิดจากการมีศาสนสถานเป็ นศูนย์กลาง ซึง่ แต่ละแห่งมีความแตกต่างกันตามคติความเชื่อของศาสนาใน แ ต่ ล ะพื้ น ที่ โ ด ย รว ม ชุ ม ช น ดั ง ก ล่ า ว มี ล ั ก ษณ ะสง บ มี ความสัม พัน ธ์ก ับ ประเพณี ท างศาสนา ชุ ม ชนในกลุ่ ม นี้ ท่ีข้ึน ทะเบียนแล้วมี 6 แห่ง ตัวอย่างเช่น หมูบ่ า้ น Kashihara, Imaicho จังหวัด Nara รูปที่ 4-6 หมูบ่ า้ น Imai-cho จังหวัด Nara*
7) ย่านหมูบ่ า้ นชงชา (Streetscapes of Teahouses) ในยุค เอโดะมีย่ า นสถานเริง รมย์ สํ า หรับ พ่ อ ค้ า และประชาชนซึ่ ง ประกอบไปด้วยการรวมกลุ่มของโรงนํ้าชาทีม่ กั มีหอ้ งส่วนตัวอยู่ บนชัน้ สอง สําหรับให้ความสําราญ ชุมชนในกลุ่มนี้ทข่ี น้ึ ทะเบียน แล้วมี 3 แห่ง ชุมชนที่มชี ่อื เสียงทีอ่ นุ รกั ษ์ไว้อย่างดีคอื ย่าน Gion ในจังหวัด Kyoto รูปที่ 4-7 ย่าน Gion จังหวัด Kyoto* 8) ย่านนิคมซามูไร (Streetscapes of Samurai Residents) ในยุ ค เอโดะนั ก รบหรื อ ซามู ไ รจะตั ง้ บ้ า นเรื อ นอยู่ ร อบๆ ปราสาทโชกุน เรียก Castle town ทีพ่ กั หรือนิคมของพวก ซามูไ รจะมีบ ริเ วณกว้า งขวาง มีก ารจัด สวน มีร วั ้ และประตู กําหนดขอบเขตชัดเจน นอกจากนัน้ ยังมีบ้านเรือนประชาชน และศาสนสถานอยู่ดว้ ย ย่านชุมชนในกลุ่มนี้ทข่ี น้ึ ทะเบียนแล้วมี 12 แห่ง ตัวอย่างเช่น เมือง Hagi ตําบล Horiuchi จังหวัด Yamaguchi รูปที่ 4-8 เมือง Hagi ตําบล Horiuchi จังหวัด Yamaguchi* *รูปที่ 4-1 ถึงรูปที่ 4-8 จาก www.japan-guide.com ค้นหาเมือ่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
47
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตารางที่ 4-3 จํานวนชุมชนประวัตศิ าสตร์ทข่ี น้ึ ทะเบียนตามกฎหมายอนุ รกั ษ์ของญีป่ นุ่ จําแนกตามประเภท (2009) ประเภทชุมชนประวัตศิ าสตร์ จํานวน 1. หมูบ่ า้ น (Villages) 13 2. ย่านชุมชนเมืองชุมทาง (Streetscapes of Post Towns) 7 3. ย่านเมืองท่า (Streetscapes Related to Seaport) 11 4. ย่านชุมชนริมถนนเมืองการค้า (Streetscapes of Merchant Structures) 20 5. ย่านชุมชนริมถนนอุตสาหกรรม (Streetscapes Related to Industry) 8 6. ย่านศาสนสถาน (Streetscapes Centered on Shrines or Temples) 6 7. ย่านหมูบ่ า้ นชงชา (Streetscapes of Teahouses) 3 8. ย่านนิคมซามูไร (Streetscapes of Samurai Residents) 12 รวมชุมชนทีข่ น้ึ ทะเบียน 80 ทีม่ า Denkenkyo (2009)
4.2.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมของญี่ปุ่นแบ่งได้เป็ น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กฎหมายหลัก ที่ใ ช้ใ นการอนุ ร กั ษ์ชุ ม ชนดัง้ เดิม ได้แก่ กฎหมายอนุ ร กั ษ์ ท รัพ ย์สิน ทางวัฒ นธรรม (Cultural Property Preservation Law) ค.ศ. 1950 กลุ่มที่ 2 คือกฎหมายทีท่ าํ ให้เกิดการอนุ รกั ษ์ใน ระดับท้องถิน่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิม ได้แก่ กฎหมายกระจาย อํานาจจากส่วนกลางสู่ส่วนท้องถิน่ (Local Autonomy Law) ค.ศ. 1947 กฎหมายผังเมือง (City Planning Law) ค.ศ. 1968) และ กฎหมายฟื้นฟูเมือง (Urban Redevelopment Law) ค.ศ. 1969 และกฎหมายสร้างบ้านแปงเมืองระดับชุมชน (Machizukri Ordinance) 1) กฎหมายอนุ รกั ษ์ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม (Cultural Property Preservation Law) ค.ศ. 1950 เป็ นกฎหมายทีป่ ฏิรปู การอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมของญีป่ นุ่ จากโบราณสถานและศาสนสถานสู่ ความหมายทีก่ ว้างขึน้ และได้รวมย่านหรือชุมชนทีม่ ลี กั ษณะสถาปตั ยกรรมจากการแก้ไขกฎหมายใน ค.ศ. 1975 ซึ่งทําให้เกิดระบบการอนุ รกั ษ์สําหรับชุมชนดัง้ เดิมที่ประกาศเป็ นเขตอนุ รกั ษ์ท่เี รียกว่า “ย่านอนุ รกั ษ์ชุมชนทีม่ กี ลุ่มอาคารสําคัญทางประวัตศิ าสตร์ (Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings)” ดังนี้ ก) ต้องมีการเสนอชุมชนทีจ่ ะอนุรกั ษ์จากระดับท้องถิน่ ในการประกาศขึน้ ทะเบียน ไม่ใช่สว่ นกลางประกาศ โดยท้องถิน่ ไม่ได้รบั ทราบ ข) ท้องถิน่ จะต้องบูรณาการข้อกําหนดการอนุรกั ษ์ไว้ในผังเมืองโดยวิธกี ารของ ท้องถิน่ เอง ค) รัฐบาลกลางจะเป็ นผูส้ ง่ เสริมและให้การสนับสนุนให้ทอ้ งถิน่ ทําได้โดยผ่านระบบ การเสนอโครงการเพือ่ ขอรับการสนับสนุน
48
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ง) พืน้ ทีท่ ป่ี ระกาศเป็ นเขตอนุรกั ษ์ยา่ นอนุรกั ษ์ชุมชนทีม่ กี ลุ่มอาคารสําคัญทาง ประวัตศิ าสตร์ (Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings) ตามกฎหมายนี้ จะมีสทิ ธิได้รบั แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ทัง้ เงินสนับสนุนและการลดภาษีจากทัง้ รัฐบาลกลางและ รัฐบาลท้องถิน่ 2) กฎหมายกระจายอํานาจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นท้องถิน่ (Local Autonomy Law) ค.ศ. 1947 กฎหมายนี้ ให้อํานาจท้องถิ่นในการดําเนิ นการบริหารจัดการในพื้นที่ด้วยตนเอง รวมทัง้ การออก ข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ ในด้านการอนุ รกั ษ์ ซึง่ มีมาก่อนกฎหมายกฎหมายอนุ รกั ษ์ การมีกฎหมายฉบับนี้ท่ี ออกมาก่อนกฎหมายอนุ รกั ษ์ทาํ ให้ทอ้ งถิน่ สามารถออกข้อกําหนดการควบคุมเพือ่ การอนุ รกั ษ์ได้อย่าง ไม่มปี ญั หา รวมทัง้ การจัดหาระบบแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ 3) กฎหมายผังเมือง (City Planning Law) ค.ศ. 1968 ประกาศใช้แทนกฎหมายผังเมืองฉบับ เดิม ค.ศ. 1919 เนื่องจากกระแสการกระจายอํานาจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นท้องถิน่ กฎหมายฉบับนี้จงึ ให้ อํานาจท้องถิ่นในการศึกษา วาง จัดทํา และประกาศใช้ผงั เมืองรวมได้ โดยผังเมืองรวมของญี่ปุ่น แบ่งเป็ น 2 ส่วน คือผังการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ (Land Use Plan) ซึง่ ออกเป็ นกฎหมายท้องถิน่ (Local Ordinance) ฉบับหนึ่ง กับข้อกําหนดโซนนิ่ง (Zoning Ordinance ประกอบไปด้วยการควบคุม FAR และพืน้ ทีป่ กคลุมอาคารหรือ BCR เป็ นหลัก) ซึง่ ออกลักษณะกฎหมายควบคุมอาคาร เมือ่ รายละเอียด ในผังการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ มีการเปลีย่ นแปลง ข้อกําหนดโซนนิ่งก็จะเปลีย่ นตามไปด้วยให้สอดคล้อง กัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์คอื หากท้องถิน่ ใดมีการประกาศเป็ นย่านชุมชน ประวัตศิ าสตร์ตามกฎหมายอนุ รกั ษ์ ค.ศ. 1950 ก็จะมีการกําหนดย่านนี้เป็ นประเภทการใช้ประโยชน์ ทีด่ นิ เพือ่ การอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ซง่ึ ทําให้ขอ้ กําหนดโซนนิ่งต้องเปลีย่ นแปลงตามไปด้วย 4) กฎหมายฟื้ นฟูเมือง (Urban Redevelopment Law) ค.ศ. 1969 ประเทศญี่ปุ่นได้ ประกาศใช้กฎหมายฟื้นฟูเมืองเพือ่ ให้รฐั บาลกลางสามารถพัฒนาพืน้ ทีเ่ พือ่ เพิม่ คุณภาพชีวติ และจัดหา ที่อยู่อาศัยพร้อมบริการสาธารณู ปโภค สาธารณู ปการในบริเวณขนาดใหญ่ได้ ในการนี้ หากพื้นที่ พัฒนาเมืองดังกล่าวมีอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนเป็ นอาคารสําคัญทางประวัตศิ าสตร์ตามกฎหมายอนุ รกั ษ์ก็ สามารถใช้งบประมาณจากการฟื้นฟูนนั ้ มาบูรณะอาคารได้ 5) กฎหมายสร้างบ้านแปงเมืองระดับชุมชน (Machizukuri Ordinance) เป็ นกฎหมายทีอ่ อก ในระดับท้องถิน่ เพื่อวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีอํานาจในการตัดสินใจในการ พัฒนาเมือง กฎหมายนี้สามารถออกเป็ นข้อกําหนดท้องถิน่ ได้แต่ทส่ี าํ คัญคือต้องมีกระบวนการให้กลุ่ม ผลประโยชน์และผูอ้ ยูอ่ าศัยดําเนินการร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญและเจ้าหน้าทีใ่ นการหาข้อตกลงในโครงการ เกีย่ วกับการพัฒนาเมือง 3 ลักษณะ ได้แก่ ก) การวางแผนการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ และข้อกําหนดโซน นิ่ง ข) การวางแผนโครงการเฉพาะพืน้ ที่ (Project Plan) และ ค) การกําหนดและออกข้อกําหนดใน ย่านอนุรกั ษ์ชุมชนประวัตศิ าสตร์ กฎหมายสร้างบ้านแปงเมืองระดับชุมชนนี้จะต้องมีกระบวนการทีเ่ ปิดโอกาสให้กลุ่มประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และได้กลายเป็ นกลไกสําคัญในการประกาศพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ยา่ นชุมชน โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
49
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ประวัตศิ าสตร์ กฎหมายนี้จงึ ใช้ในลักษณะบูรณาการร่วมกับการประกาศย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ตาม กฎหมายอนุรกั ษ์ ค.ศ. 1950 ได้ 6) กฎหมายภาษี มีขอ้ กําหนดให้แรงจูงใจทางภาษี 2 รูปแบบ คือการลดหย่อนภาษีเงินได้ ให้แก่บริษทั ห้างร้าน และเอกชน สําหรับการบริจาคที่มวี ตั ถุประสงค์ในการสนับสนุ นการอนุ รกั ษ์ มรดกวัฒนธรรมซึ่งเป็ นกฎหมายภาษีของรัฐบาลกลาง และ การลดภาษีอสังหาริมทรัพย์สําหรับ อาคารสําคัญที่มกี ารบํารุงรักษาตามสมควร ซึ่งการลดภาษีอสังหาริมทรัพย์น้ีเป็ นการดําเนินการใน ระดับท้องถิน่ ไม่ใช่รฐั บาลกลาง 4.2.4 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรกั ษ์ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุ รกั ษ์ของญี่ปุ่นมีในระดับรัฐบาลกลางและระดับท้องถิน่ องค์กร ระดับรัฐบาลกลางทีส่ าํ คัญคือ สํานักงานการวัฒนธรรม (Agency for Cultural Affairs-Bunka Cho) ซึ่งจัดตัง้ ใน ค.ศ. 1968 โดยการแก้ไขเพิม่ เติมกฎหมายอนุ รกั ษ์ ค.ศ. 1950 สํานักงานนี้สงั กัด กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่รบั ผิดชอบเกี่ยวกับการ อนุ รกั ษ์ทงั ้ หมดมีอาํ นาจตัดสินใจตามกฎหมายในด้านต่างๆทีเ่ กีย่ วกับการอนุ รกั ษ์รวมทัง้ การตัดสินใจ ให้ความช่วยเหลือทางด้านการให้แก่ทอ้ งถิน่ ทีส่ ง่ ข้อเสนอโครงการเพื่อการอนุ รกั ษ์ยา่ นประวัตศิ าสตร์ สํานักงานนี้ มีบ ทบาทสําคัญมากในการส่งเสริม ฝึ กอบรมและเป็ นที่ปรึกษาให้ท้องถิ่น และชุมชน สามารถดําเนินการในด้านการอนุ รกั ษ์ดว้ ยตนเองได้ องค์กรระดับท้องถิน่ ที่สําคัญมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือรัฐบาลท้องถิน่ อีกกลุ่มหนึ่งคือองค์กร ชุมชน รัฐบาลท้องถิ่นมีหน้ าที่ในการยื่นเสนอสํานักงานการวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนย่านชุมชน ประวัติศ าสตร์แ ละจัด หาแรงจู ง ใจในระดับ ท้อ งถิ่น นอกจากนั น้ รัฐ บาลท้อ งถิ่น ยัง สามารถเป็ น หน่วยงานทีข่ องบประมาณสนับสนุ นในการศึกษาหรือปกป้องแหล่งมรดกวัฒนธรรมทีข่ น้ึ ทะเบียนโดย จะต้องตัง้ งบประมาณสมทบด้วยตามกําหนด องค์ ก รชุ ม ชนเป็ น องค์ ก รอนุ ร ัก ษ์ ท่ี มีค วามสํ า คัญ มากในด้ า นการอนุ ร ัก ษ์ ย่ า นชุ ม ชน ประวัติศาสตร์ องค์กรชุมชนในท้องถิ่นมีประวัติความเป็ นมาตัง้ แต่ ค.ศ. 1930 โดยการจัดตัง้ กลุ่ม ผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างอํานาจต่อรองกับรัฐบาล เนื่องจากในกระบวนการการขึน้ ทะเบียนและ ขอรับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากชุมชนจึงต้องมีชุมชนร่วมในการ ดําเนินการด้วยเสมอ ในด้านการตัดสินใจ องค์กรชุมชนมักร่วมกับรัฐบาลท้องถิน่ จัดตัง้ กรรมาธิการ อนุ รกั ษ์ (preservation commission) ซึ่งเป็ นองค์กรระดับท้องถิน่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่าง แท้จริงระหว่างรัฐบาลท้องถิน่ กับประชาชน
50
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.2.5 แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์* นับตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1994 ประเทศญี่ปุ่นมีการให้แรงจูงใจทางการเงินสําหรับอาคารอนุ รกั ษ์และ ย่านประวัตศิ าสตร์ สามารถแบ่งได้เป็ นเงินช่วยเหลือ (grants) กับแรงจูงใจทางภาษี (tax incentives) 1) การให้เงินช่วยเหลือ (grants) แบ่งเป็ นเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางและเงินช่วยเหลือ จากรัฐบาลท้องถิน่ ก) เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง จะเป็ นงบประมาณจากรัฐบาลกลางโดยสํานักงาน การวัฒนธรรมเป็ นผูพ้ จิ ารณาและออกเป็ นประกาศของสํานักงานฯ โดยรัฐบาลท้องถิน่ ต้องส่งโครงการ ให้พจิ ารณา และเป็ นงบประมาณในลักษณะเงินสมทบ (matching fund) โดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) ย่ า นอนุ รั ก ษ์ ชุ ม ชนประวั ติ ศ าสตร์ ท่ี ข้ึ น ทะเบี ย นระดั บ ท้ อ งถิ่ น (Denkenchiku) สามารถของบประมาณช่วยเหลือได้ในการดําเนินงานต่อไปนี้ - การสํารวจสําหรับจัดทําแผนอนุรกั ษ์ - การสํารวจสําหรับจัดทําแผนป้องกันภัยพิบตั ใิ นพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ โดยรายละเอียดค่าใช้จ่ายทีใ่ ห้ความช่วยเหลือคือ ค่าสํารวจ ค่าจัดทําทําแผน อนุ รกั ษ์ หรือแผนป้องกันภัย ค่ารังวัด ทําผัง ค่าพิมพ์รายงาน ค่าใช้จ่ายด้านธุรการ โดยมีอตั ราการให้ ความช่วยเหลือแตกต่างกันตามสถานะทางการเงินของรัฐบาลท้องถิน่ ดังนี้ - ท้องถิน่ ทัวไป ่ สัดส่วนรัฐบาลกลางต่อท้องถิน่ 1:1 ของค่าใช้จา่ ย จริง (รัฐบาลกลางช่วยสมทบร้อยละ 50) - ท้องถิน่ ทีม่ คี า่ เฉลีย่ ดัชนีการคลังสามปี สดุ ท้ายสูงกว่า 1.00 (หมายถึงมีรายได้สงู กว่ารายจ่าย) ให้ในอัตรารัฐบาลกลางต่อท้องถิน่ 1: ค่าดัชนีนนั ้ (รัฐบาลกลางช่วย สมทบน้อยกว่าร้อยละ 50) - ท้องถิน่ ในเขตจังหวัด Okinawa รัฐบาลกลางจะออกให้ 4 ใน 5 ส่วนของค่าใช้จา่ ยทัง้ หมด หรือสัดส่วน 4:1 (รัฐบาลกลางช่วยสมทบร้อยละ 80) (2) ย่ า นอนุ รั ก ษ์ ชุ ม ชนประวั ติ ศ าสตร์ ท่ี ข้ึ น ทะเบี ย นระดั บ ประเทศ (Judenkenchiku) มีคา่ ใช้จา่ ยทีข่ อรับความช่วยเหลือได้ดงั นี้ - การต่อเติม ซ่อมแซม หรือย้ายอาคารอนุรกั ษ์ภายในย่าน - การปรับปรุงด้านหน้าอาคารอนุรกั ษ์ทม่ี ผี ลต่อการรักษาเอกลักษณ์ ของย่านอนุ รกั ษ์ - การก่อสร้างใหม่ ต่อเติม ซ่อมแซม หรือย้ายอาคารทีไ่ ม่ใช่อาคาร อนุรกั ษ์ แต่เป็นการส่งเสริมบรรยากาศของย่าน *
ข้อมูลส่วนหนึ่งโดยความอนุ เคราะห์จากอาจารย์พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปตั ยกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
51
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
- การปรับปรุงด้านหน้าอาคารอื่นๆ ทีไ่ ม่ใช่อาคารอนุ รกั ษ์ในย่านแต่ ช่วยส่งเสริมบรรยากาศของย่าน
- การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัย สัญลักษณ์ และป้ายประกาศต่างๆ ที่
จําเป็ นต่อการอนุรกั ษ์ในย่าน - การจัดซือ้ อาคาร หรือทีด่ นิ เพือ่ ประโยชน์ในการอนุรกั ษ์ยา่ น - ค่าใช้จา่ ยในการดําเนินการด้านธุรการ โดยมีอตั ราการให้ความช่วยเหลือแตกต่างกันตามสถานะทางการเงินของ รัฐบาลท้องถิน่ ดังนี้ - ท้องถิน่ ทัวไป ่ สัดส่วนรัฐบาลกลางต่อท้องถิน่ 1:1 ของค่าใช้จา่ ย จริง (รัฐบาลกลางช่วยสมทบร้อยละ 50) - ท้องถิน่ ทีม่ คี า่ เฉลีย่ ดัชนีการคลังสามปีสดุ ท้ายสูงกว่า 1.00 (หมายถึงมีรายได้สงู กว่ารายจ่าย) ให้ในอัตรารัฐบาลกลางต่อท้องถิน่ 1: ค่าดัชนีนนั ้ (รัฐบาลกลางช่วย สมทบน้อยกว่าร้อยละ 50) - ท้องถิน่ ในเขตจังหวัด Okinawa รัฐบาลกลางจะออกให้ 4 ใน 5 ส่วนของค่าใช้จา่ ยทัง้ หมด หรือสัดส่วน 4:1 (รัฐบาลกลางช่วยสมทบร้อยละ 80) - ท้องถิน่ ทีม่ คี วามกันดาร ให้ในอัตรา 2 ใน 3 ส่วน (รัฐบาลกลาง ช่วยสมทบร้อยละ 67) - กรณีการฟื้นฟูจากภัยธรรมชาติ ให้มกี ารจัดสรรตามแต่กรณี ข) การให้เงินช่วยเหลือจากท้องถิน่ โดยท้องถิน่ แต่ละแห่งจะมีขอ้ บัญญัตขิ องตนเอง ในการให้เงินช่วยเหลือย่านอนุ รกั ษ์ท่ขี ้นึ ทะเบียนระดับท้องถิ่นของตนเอง เช่น เมืองเกียวโต ได้ กําหนดไว้ 3 กรณีในการให้เงินสมทบเอกชนในการดําเนินการอนุรกั ษ์ ดังนี้ (1) เงินสมทบ 4 ใน 5 ของค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานโดยมีเงือ่ นไขต้องเป็ น การดําเนินการทีส่ ง่ เสริมเอกลักษณ์และบรรยากาศของย่านดังต่อไปนี้ - การปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกของอาคาร รวมทัง้ การทาสี เพือ่ ให้ เกิดเอกลักษณ์ - การฟื้นฟูอาคารเป็ นกรณีพเิ ศษเพือ่ ส่งเสริมสภาพแวดล้อม - การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยพิบตั ิ สัญลักษณ์ ป้ายต่างๆ (2) เงินสมทบ 2 ใน 3 ของค่าใช้จา่ ยในการดําเนินงานต่อไปนี้ - การต่อเติม ปรับปรุงอาคารอนุรกั ษ์เพือ่ ส่งเสริมเอกลักษณ์ของย่าน - การปรับปรุงด้านหน้าอาคารทีไ่ ม่ใช้อาคารอนุ รกั ษ์แต่เป็ นการ ปรับปรุงเพือ่ ส่งเสริมเอกลักษณ์ของย่าน - ค่าใช้จา่ ยอื่นๆ ทีจ่ าํ เป็ น เงินสมทบจากเมืองโตเกียวดังกล่าวไม่วา่ กรณีใดๆ จะต้องไม่เกิน 6,000,000 เยน 52
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
2) แรงจูงใจทางภาษี (tax incentives) ประเทศญีป่ นุ่ ได้สนับสนุ นให้เอกชนมีสว่ นร่วมในการ อนุรกั ษ์โดยมีแรงจูงใจทางภาษีทใ่ี ห้โดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิน่ 2 รูปแบบ ดังนี้ (1) การลดหย่อนภาษีเงินได้จากการบริจาค (income tax reduction from donation) บริษทั เอกชนสามารถนําเงินบริจาคเพื่อการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมมาขอลดหย่อนภาษีเงินได้โดยมี เงื่อนไขคือ ต้องเป็ นการบริจาคให้องค์กรทีท่ ําประโยชน์เพื่อสาธารณะทีม่ วี ตั ถุประสงค์ในการส่งเสริม ศิลปะ การอนุ รกั ษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม หรือแม้แต่การจัดตัง้ และดําเนินการ พิพธิ ภัณฑ์ เงินบริจาคนี้มจี าํ นวนเท่ากับการเพือ่ บริจาคเพือ่ สาธารณประโยชน์อ่นื ๆ และคิดแยกกันได้ นัน่ คือ หากบริษัทเอกชนใดบริจาคเพื่อการสาธารณะอื่นๆ เช่น เพื่อการศึกษาไปแล้วเต็มจํานวน ตามทีก่ ฎหมายกําหนดให้นํามาลดหย่อนภาษีได้กย็ งั สามารถบริจาคเพื่อการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรม ได้อีก เท่ า กับ จํ า นวนที่กํ า หนดนั น้ สํ า หรับ การลดหย่ อ นภาษี เ งิน ได้ส่ ว นบุ ค คลก็ส ามารถทํ า ได้ เช่นเดียวกัน โดยตัง้ แต่ ค.ศ. 2005 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เพิม่ สัดส่วนเงินบริจาคจากรายได้สุทธิจากร้อยละ 25 เป็ นร้อยละ 30 และจํานวนเงินบริจาคขัน้ ตํ่าที่นํามาขอลดหย่อนภาษีได้นัน้ ได้ลดลงจากเดิม คือ จาก 10,000 เยน มาเป็ น 5,000 เยน (2) การลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ (property tax abatement) โดยรัฐบาลกลางและ รัฐบาลท้องถิน่ บางแห่งจะลดภาษีอสังหาริมทรัพย์เพือ่ การอนุรกั ษ์ในลักษณะต่างๆ ดังนี้ (ก) อาคารที่ข้ึน ทะเบีย นเป็ น ทรัพ ย์สิน ทางวัฒ นธรรมสํ า คัญ (important cultural property) จะได้รบั การยกเว้นเสียภาษีอสังหาริมทรัพย์เพียงครึง่ หนึ่ง หรือบางแห่งรัฐบาล ท้องถิน่ อาจยกเว้นไม่ตอ้ งเสียภาษีเลยก็มี ภายใต้เงือ่ นไขต้องมีการบํารุงรักษาให้อยูใ่ นสภาพดี (ข) อาคารที่ไม่ได้ขน้ึ ทะเบียนหรืออยู่ในบัญชีอาคารสําคัญแต่ตงั ้ อยู่ในย่าน อนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ หากมีการปรับปรุงรูปลักษณ์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของย่าน อาจได้รบั การ ลดภาษี อ สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เช่ น กรณี เ มื อ ง Wasaka เทศบาลได้ กํ า หนดอั ต ราการลดภาษี อสังหาริมทรัพย์สาํ หรับอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนไว้ 1 ใน 2 หรือร้อยละ 50 ส่วนอาคารทีไ่ ม่ได้ขน้ึ ทะเบียน แต่อยูใ่ นย่านประวัตศิ าสตร์และมีการปรับปรุงสภาพให้เข้ากับเอกลักษณ์ของย่านจะได้รบั การลดภาษี อสังหาริมทรัพย์ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 (ค) กรณีมเี อกชนโอนหรือขายทรัพย์สนิ ทีข่ น้ึ ทะเบียนซึง่ เป็ นทรัพย์สนิ ทาง วัฒนธรรมสําคัญให้กบั รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิน่ หรือองค์กรอนุรกั ษ์ทม่ี กี ารระบุไว้ จะได้รบั การ ยกเว้นไม่ตอ้ งเสียภาษีเงินได้หรือภาษีอ่นื ๆ ทีเ่ กิดจากการขายหรือโอนทรัพย์สนิ นัน้
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
53
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.3 กรณี ศึกษาประเทศสหรัฐอเมริ กา
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะถือว่าเป็ นประเทศที่เป็ น “โลกใหม่” ที่มกี ารพัฒนาในยุคใหม่โดยผูอ้ พยพจาก ยุโรปเป็ นส่วนใหญ่ แต่ การอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมซึ่งในสหรัฐอเมริกาเองนัน้ เรียกรวมๆ ว่าการ อนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ (historic preservation) ก็มรี ะบบทีเ่ ป็ นมาตรฐานและใช้เป็ นแบบอย่างให้กบั หลายประเทศ รวมทัง้ ยัง มีก ารเปิ ด หลัก สูต รในระดับ อุ ด มศึก ษาในด้า นการอนุ ร กั ษ์ ส ถานที่ท าง ประวัตศิ าสตร์โดยตรงซึง่ ถือเป็ นวิชาชีพหนึ่งด้วย 4.3.1 วิ วฒ ั นาการของการอนุรกั ษ์ สิง่ ทีจ่ ะอนุ รกั ษ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกอย่างเป็ นทางการว่า สถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ (historic places) การอนุ รกั ษ์สถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้เริม่ มาจากภาครัฐและ ไม่ได้มาจากแหล่งโบราณคดี หากมาจากการกระแสการต่อต้านของประชาชนทีเ่ ทศบาลเมืองฟิ ลาเดล เฟี ย มลรัฐเพนซิลวาเนีย จะทําการรือ้ ทําลายอาคาร Independence Hall และแบ่งแปลงทีด่ นิ เพื่อ พัฒนาโครงการโดยเอกชน ใน ค.ศ. 1816 อาคารนี้เป็ นสถานที่ท่ปี ระกาศอิสรภาพและเคยใช้เป็ น ศาลาว่าการของมลรัฐซึง่ เป็ นเมืองหลวงของประเทศแห่งแรกจึงมีความสําคัญทางประวัตศิ าสตร์เป็ น อย่างมาก จนทําให้ประชาชนไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาพืน้ ทีต่ ามแผนของเทศบาล การต่อต้านประสบ ความสําเร็จจนทําให้มกี ารบูรณะอาคารดังกล่าวแทนการรือ้ ทําลาย การริเริม่ โดยภาคเอกชนนี้ได้มี ตัวอย่างต่อมาคือในปี ค.ศ. 1856 ได้มกี ารก่อตัง้ กลุ่มสตรีซ่งึ นํ าโดยนางแอนน์ พาเมลา คันนิงแฮม เพื่อรักษา Mount Vernon ทีเ่ ป็ นบ้านพักรวมทัง้ สวนโดยรอบของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน โดยระดมทุนขอซื้ออาคารและทีด่ นิ มาอนุ รกั ษ์ในขณะทีร่ ฐั บาลทุกระดับไม่ได้ให้ความสนใจ ซึ่งทําให้ ภาคเอกชนมีบทบาทในการเป็ นผูน้ ํ าด้านการอนุ รกั ษ์อาคารอย่างแท้จริงและการอนุ รกั ษ์นัน้ เริม่ จาก ความเกีย่ วพันกับบุคคลหรือเหตุการณ์สาํ คัญทางประวัตศิ าสตร์มากกว่าสถาปตั ยกรรม บทบาทของภาครัฐในการอนุ รกั ษ์ไม่ได้เริม่ จากอาคารหรือแหล่งโบราณคดี หากแต่เริม่ จาก การอนุ รกั ษ์แหล่งธรรมชาติคอื Yellowstone ทีม่ กี ารประกาศเป็ นเขตอุทยานแห่งชาติใน ค.ศ. 1872 จากนัน้ จึงได้มกี ารประกาศเขตพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ในแหล่งโบราณคดีโดยแห่งแรกคือ Mesa Verde ซึง่ เป็ น บ้านดินโบราณในมลรัฐโคโรลาโดในปี ค.ศ.1888 และการอนุ รกั ษ์พน้ื ที่ Casa Grande ในมลรัฐอริโซ น่าในปีต่อมาซึง่ เป็ นแหล่งโบราณคดีและประวัตศิ าสตร์แห่งแรกทีไ่ ด้รบั งบประมาณในการอนุ รกั ษ์จาก สภาคองเกรส การอนุ รกั ษ์พ้นื ที่โบราณคดีและประวัติศาสตร์ดงั กล่าวทําให้รฐั บาลได้ออกกฎหมาย เพื่อให้รฐั ได้เข้าครอบครองและบริหารจัดการพื้นที่โดยใช้อํานาจรัฐได้ คือกฎหมายโบราณสถาน (Antiquities Act) ในปี ค.ศ. 1906 ซึง่ กฎหมายดังกล่าวยังใช้คุม้ ครองมาจนถึงปจั จุบนั และต่อมาในปี ค.ศ. 1916 ได้มกี ารจัดตัง้ สํานักงานอุทยานแห่งชาติ (National Park Service) ขึน้ เพื่อรับผิดชอบด้าน การอนุรกั ษ์ ทัง้ พืน้ ทีธ่ รรมชาติและประวัตศิ าสตร์จนถึงปจั จุบนั 54
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ในขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็ยงั คงมีบทบาทสําคัญในด้านการอนุ รกั ษ์อาคารโดยรัฐบาลยัง ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องแม้ว่าจะมีกฎหมายโบราณสถานแล้วก็ตาม ทัง้ นี้เพราะกฎหมายโบราณสถาน นัน้ ครอบคลุมเพียงพื้นที่ทางโบราณคดีเท่านัน้ บทบาทของเอกชนที่สําคัญอีกโครงการหนึ่งคือการ อนุ รกั ษ์เมืองทัง้ เมือง คือเมือง Williamsburg มลรัฐเวอร์จเิ นีย ซึง่ เป็ นเมืองทีม่ คี วามสําคัญในยุคก่อน การประกาศอิสรภาพรวมทัง้ มีประวัตศิ าสตร์ในช่วงสงครามกลางเมือง โดยการนําของสาธุคุณ Dr. William Goodwin ทีไ่ ด้พยายามหาทุนในการบูรณะเมืองทัง้ เมืองซึง่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1923 ก็ได้รบั ทุนสนับสนุ นจากมหาเศรษฐี Rockefeller ในการซือ้ อาคารหลายอาคารและนํามาบูรณะ ปจั จุบนั เมือง นี้ได้เป็ นเมืองอนุ รกั ษ์มกี ารดูแลรักษาจากมูลนิธิ Williamsburg ที่มรี ากฐานมาจากบริษทั บริหารจัด การเมืองทีเ่ กิดมาจากการสนับสนุ นของ Rockefeller นันเอง ่ ต่อมาได้มกี ารอนุ รกั ษ์เมืองอื่นๆ ด้วย แต่ไม่ได้ใช้วธิ กี ารซือ้ เมืองทัง้ เมืองแบบ Williamsburg แต่หากเป็ นการใช้กฎหมายท้องถิน่ ควบคุมโดยผ่านทางกฎหมายผังเมือง ซึ่งมีการถ่ายโอนอํานาจ ทางการผังเมือง (City Planning Enabling Act and State Zoning Enabling Act) ตัง้ แต่ช่วงทศวรรษ ที่ 1920 โดยสหรัฐอเมริกาได้มกี ารออกกฎหมายถ่ายโอนอํานาจจาก มลรัฐและรัฐบาลกลางให้รฐั บาล ท้องถิน่ สามารถออกข้อกําหนดโซนนิ่ง (Zoning Ordinance) ได้เองซึง่ เป็ นผลให้ทอ้ งถิน่ สามารถออก ข้อกําหนดเพือ่ การอนุรกั ษ์ยา่ นประวัตศิ าสตร์ได้เองด้วย โดยเมืองแรกทีม่ กี ารประกาศคือ Charleston มลรัฐ North Carolina ในปี ค.ศ. 1931 ซึง่ มาจากเสียงเรียกร้องของประชาชนให้มกี ารรักษาย่าน ประวัตศิ าสตร์ จากนัน้ ก็มเี มืองอื่นๆ ตามมา ได้แก่ ย่าน Vieux Carre มลรัฐ New Orleans ในปี ค.ศ. 1936 เมือง San Antonio มลรัฐ Texas ในปี ค.ศ. 1939 เมือง Alexandria มลรัฐ Virginia ในปี ค.ศ. 1946 และเมือง Winston-Salem มลรัฐ North Carolina ในปี ค.ศ. 1948 กระแสการอนุ ร กั ษ์ ภ าคประชาชนทํ า ให้มีก ารจัด ตัง้ กองทุ น แห่ง ชาติว่ า ด้ว ยการอนุ ร กั ษ์ ประวัตศิ าสตร์ (National Trust for Historic Preservation) ขึน้ ในปี ค.ศ. 1949 โดยแรกเริม่ จะให้มี บทบาทคล้ายกองทุนแห่งชาติของประเทศอังกฤษ แต่มขี อ้ แตกต่างคือของอังกฤษเป็ นองค์กรเอกชน อย่างแท้จริงในขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็ นองค์กรทีร่ ฐั บาลยังให้การสนับสนุ นทางด้านการเงิน ซึ่งเป็ น ข้อจํากัดในการซือ้ ทรัพย์สนิ ทีม่ คี ุณค่าทางประวัตศิ าสตร์มาทําการบูรณะซึง่ อเมริกาไม่สามารถทําได้ มากเท่าของอังกฤษ บทบาทของกองทุนฯ จึงเน้นในด้านการสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาวิจยั ทางการ อนุ รกั ษ์มากกว่า โดยโครงการของกองทุนแห่งชาติฯ ทีป่ ระสบความสําเร็จมากทีส่ ุดโครงการหนึ่งคือ โครงการย่านถนนสายหลัก (Main Street Program) ซึง่ เริม่ จากโครงการนําร่องในปี ค.ศ. 1978 และ ประกาศเป็ นศูนย์ถนนสายหลักในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเป็ นการฟื้ นฟูถนนสายหลักของเมืองขนาดเล็กที่ เสือ่ มโทรมและมีความซบเซาทางเศรษฐกิจเนื่องจากการย้ายออกของประชากรและการพัฒนาห้างค้า ปลีกขนาดใหญ่ในพืน้ ทีช่ านเมือง ในปี ค.ศ. 1966 ถือเป็ นปี ทท่ี างรัฐบาลได้เข้ามาสนับสนุนการอนุ รกั ษ์อาคารและย่านประวัตศิ าสตร์ของภาคเอกชนอย่างแท้จริง โดยการออกกฎหมายอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ (National Historic Preservation Act) เป็ นการแยกการอนุรกั ษ์แหล่งโบราณสถาน โบราณคดี ซึง่ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
55
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
คุม้ ครองโดยกฎหมายโบราณสถาน ค.ศ. 1906 อยูแ่ ล้วออกจากสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ทเ่ี ป็นของ เอกชนโดยกฎหมายฉบับนี้กาํ หนดให้มหี น่วยงานระดับมลรัฐรับผิดชอบและสร้างระบบของการขึน้ ทะเบียนโดยกําหนดเกณฑ์พจิ ารณาและจะต้องมีการเสนอชื่อให้คณะกรรมการระดับมลรัฐพิจารณา ก่อนส่งให้รฐั บาลกลางโดยสํานักงานอุทยานฯ เป็ นผูพ้ จิ ารณาขัน้ สุดท้าย นอกจากนัน้ ยังได้มกี ารแบ่ง ประเภทสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ออกเป็ น 5 ประเภทได้แก่ อาคาร (Buildings) สิง่ ก่อสร้าง (Structures) วัตถุ (Objects) แหล่งหรือบริเวณ (Sites) และ ย่าน (Districts) ซึง่ หมายถึงเป็ นการ รับรองของรัฐบาลกลางในการอนุรกั ษ์ยา่ นชุมชนประวัตศิ าสตร์เป็ นครัง้ แรก การสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การอนุ ร ัก ษ์ ภ าคเอกชนของสหรัฐ อเมริ ก าโดยรัฐ บาลนั ้น ได้ มี ความก้าวหน้ามากขึน้ โดยในปี ค.ศ. 1978 ได้มกี ารออกกฎหมายปฏิรปู ภาษี (Tax Reform Act) ให้ เอกชนสามารถนําค่าใช้จา่ ยในการบูรณะซ่อมแซมอาคารมาขอหักลดภาษีเงินได้ได้โดยตรง (Tax Credit) ซึง่ ต่อมาได้มกี ารหาผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวโดยการตัง้ ราคาค่าซ่อมแซมสูง เกินจริงจึงได้มกี ารปรับกลไกและอัตราการหักภาษีใหม่ในกฎหมายภาษีในปี ค.ศ. 1986 และใช้มา จนถึงปจั จุบนั นอกจากนัน้ ยังได้มมี าตรการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ทงั ้ ในระดับรัฐบาล ระดับมล รัฐและรัฐบาลท้องถิน่ อีกหลายรูปแบบซึง่ จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป รูปที่ 4-9 อาคาร Independence Hall เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลวาเนีย เป็ นสถานทีท่ ป่ี ระกาศอิสรภาพและเคยเป็ น ศาลาว่ า การของมลรัฐ เป็ น อาคารจะโดนรื้อ ทํ า ลายจาก เทศบาลแต่ประชาชนมีการต่อต้านและประสบผลสําเร็จใน เก็บรักษาอาคาร (รูปจาก ดร.สายทิวา รามสูต)
รูปที่ 4-10 Mount Vernon บ้านพักอดีตประธานาธิบดีจอร์จวอชิงตัน เป็ นบ้านหลังแรกทีม่ กี ารซื้อบ้านและทีด่ นิ โดยรอบ ของภาคเอกชนเพื่อทําการอนุ รกั ษ์อาคารทีม่ คี ุณค่า ในขณะ ทีร่ ฐั บาลไม่ได้ให้ความสนใจ
รูปที่ 4-11 เมือง Williamsburg มลรัฐเวอร์จเิ นีย เป็ นเมืองทีม่ ี ความสํ า คัญ ในยุ ค ก่ อ นการประกาศอิส รภาพ ซึ่ง ในอดีต สภาพทรุดโทรมแต่มกี ารผลักดันจากสาธุคุณ Dr. William Goodwin โดยหาทุนในการบูรณะเมืองทัง้ เมือง และได้ทุน จากมหาเศรษฐี Rockefeller ในการซื้ออาคารเพื่อนํ ามา บูรณะ (รูปจาก Mr. William R. Chapman)
56
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตารางที่ 4-4 ลําดับวิวฒ ั นาการการอนุรกั ษ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ. พ.ศ. เหตุการณ์ 1816 2359 การต่อต้านการรือ้ อาคาร Independence Hall มลรัฐเพนซิลวาเนีย โดยกลุม่ ประชาชน 1853 2396 การรวมกลุม่ สตรีเพือ่ อนุรกั ษ์บา้ นของจอร์จ วอชิงตัน ชือ่ Mt. Vernon มลรัฐเวอร์จเิ นีย 1856 2399 มิสแอนน์ คันนิงแฮมก่อตัง้ กลุม่ สตรีและหาทุนเพือ่ ซือ้ และอนุรกั ษ์ Mt. Vernon อย่างเป็ นทางการ 1872 2415 รัฐบาลเริม่ มีบทบาทในการอนุ รกั ษ์จากพืน้ ทีธ่ รรมชาติ คือ การประกาศคุม้ ครองเขตอุทยานแห่งชาติ เยลโลว์สโตน 1888 2431 การประกาศแหล่งโบราณคดี Mesa Verde ให้เป็ นอุทยานแห่งชาติ 1889 2432 การใช้งบประมาณจากสภาคองเกรสเพือ่ การอนุ รกั ษ์แหล่งโบราณคดี Casa Grande เป็ นแห่งแรก ของประเทศ 1906 2449 การออกกฎหมายโบราณสถาน (Antiquities Act) เป็ นครัง้ แรก ครอบคลุมแหล่งโบราณคดีและวัตถุ โบราณ 1916 2459 การจัดตัง้ สํานักงานอุทยานแห่งชาติ (National Park Service) มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบด้านการอนุรกั ษ์ 1920s 2463 กฎหมายถ่ายโอนอํานาจให้รฐั บาลท้องถิน่ ออกข้อกําหนดโซนนิ่ง (Zoning Ordinance) เองได้ 1923 2466 การบูรณะแบบสร้างใหม่ (Reconstruction) ที่เมือง Williamsburg ทัง้ เมืองโดยมีผู้ให้ทุนคือตระกูล Rockefeller 1929 2472 การบูรณะเมืองที่ Greenfield Village ซึง่ สนับสนุนโดยภาคเอกชนเช่นเดียวกัน 1931 2474 เมือง Charleston มลรัฐเซาท์ แคโรไลนา เป็ นเมืองแรกทีอ่ อกเทศบัญญัตปิ ระกาศย่านอนุ รกั ษ์ของ เมืองชือ่ Battery โดยใช้ขอ้ กําหนดโซนนิ่งท้องถิน่ ใช้ชอ่ื โซนว่า “Old and Historic District” 1934 2477 รัฐ บาลตัง้ โครงการว่ า จ้ า งสถาปนิ ก และช่ า งภาพบัน ทึก ข้อ มู ล อาคารประวัติ ศ าสตร์ (Historic American Building Survey – HABS) ในช่วงเศรษฐกิจตกตํ่าเพือ่ ช่วยเหลือผูต้ กงาน 1936 2479 ท้องถิน่ ประกาศย่าน Vieux Carre ในเมืองนิวออร์ลนี ส์ ให้เป็ นเขตอนุรกั ษ์ดว้ ยกฎหมายท้องถิน่ 1949 2492 จัดตัง้ กองทุนแห่งชาติเพือ่ การอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ (National Trust for Historic Preservation) โดยการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากรัฐบาล 1966 2509 ออกกฎหมายอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ National Historic Preservation Act ซึง่ สนับสนุ นการ อนุ รกั ษ์ภาคประชาชนและท้องถิน่ โดยการจัดตัง้ สํานักงานอนุ รกั ษ์ในแต่ละมลรัฐและสร้างระบบการ เสนอชือ่ ขึน้ ทะเบียนรวมทัง้ การประกาศให้ย่านประวัตศิ าสตร์ (Historic District) เป็ นหนึ่งในประเภท ทะเบียนสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ดว้ ย 1968 2511 กองทุนแห่งชาติฯ จัดทํารายการโทรทัศน์เผยแพร่อาคารและย่านประวัตศิ าสตร์ เกิดความสนใจในวง กว้างทัวประเทศ ่ 1969 2512 การจัดตัง้ สมาคมเทคนิคการอนุรกั ษ์ เริม่ พัฒนาการสอนวิชาอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์เป็ นศาสตร์เฉพาะ 1976 2519 กฎหมายปฏิรปู ภาษี เป็ นรากฐานในการกําหนดแรงจูงใจทางภาษีในด้านต่างๆ 1978 2521 กฎหมายปฏิรปู ภาษีครัง้ ที่ 2 เริม่ ให้มกี ารใช้แรงจูงใจทางภาษีในการอนุรกั ษ์อาคารของเอกชน 1980 2523 โครงการถนนสายหลัก (Main Street Program) โดยกองทุนแห่งชาติฯ 1986 2529 การปรับปรุงรายละเอียดแรงจูงใจทางภาษีเพือ่ ป้องกันการฉ้อโกงและหาประโยชน์จากมาตรการลด ภาษี 1992 2535 เพิม่ เติมบทบาทของกลุม่ ชนพืน้ เมืองอเมริกนั ในกฎหมายอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ 1995 2538 กองทุนแห่งชาติ เป็ นอิสระจากการสนับสนุนของรัฐบาล
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
57
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.3.2 การขึน้ ทะเบียน และการบริ หารจัดการย่านชุมชนประวัติศาสตร์ ย่านประวัตศิ าสตร์ (Historic Districts) ของสหรัฐอเมริกาเป็ นหนึ่งในห้าประเภทของสถานที่ สําคัญทางประวัตศิ าสตร์ทก่ี ฎหมายอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ ค.ศ. 1966 ได้กาํ หนดไว้และหากมี ความสําคัญก็สามารถเสนอย่านประวัตศิ าสตร์ขน้ึ ทะเบียนได้โดยระบบการขึน้ ทะเบียนมีทงั ้ ระดับชาติ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น แต่ท่นี ิยมมากคือการขึน้ ทะเบียนระดับชาติเนื่องจากสามารถทําให้ ขอรับแรงจูงใจทางภาษีได้โดยตรงจากรัฐบาลกลาง การขึน้ ทะเบียนระดับชาติเรียกว่า National Register of Historic Place แต่สว่ นทีเ่ ป็ นย่านจะ ใช้คาํ ว่า Historic District แทน นอกจากนัน้ หากสถานทีห่ รือพืน้ ทีใ่ ดมีความสําคัญมากเป็ นพิเศษ จะ ใช้ช่อื ว่า National Landmark หรือกรณียา่ นจะใช้ว่า Landmark District ซึง่ สํานักงานอุทยานฯ จะ เป็ นผู้ดูแ ลรัก ษาฐานข้อ มูล ทะเบีย นนี้ ในการพิจ ารณาคุณ ค่า ความสําคัญ ของสถานที่สําคัญ ทาง ประวัตศิ าสตร์ ในกฎหมายอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ ได้ให้นิยามไว้ว่า “...ซึง่ มีความสําคัญต่อ สหรัฐ อเมริ ก าในด้ า นประวัติ ศ าสตร์ สถาป ตั ยกรรม โบราณคดี วิ ศ วกรรม และวัฒ นธรรม (…significant in American history, architecture, archaeology, engineering, and culture.)” ในทางปฏิบตั สิ าํ นักงานอุทยานแห่งชาติได้กาํ หนดเกณฑ์โดยประกาศเป็ นระเบียบรัฐบาลกลาง (Code of Federal Regulations) ในการประเมิน (criteria for evaluation) ว่าแหล่งใดเป็ นพืน้ ที่ ประวัตศิ าสตร์ทม่ี คี วามสําคัญในสองมิติ มิตแิ รกคือการมีบูรณภาพ (Integrity) และมิตทิ ส่ี องคือเกณฑ์ พิจารณา (Criteria) (Parker, et al 1985: 5; Tyler 2000: 93-96; Fowler 2003: 42) 1) มิตแิ รก คําว่า บูรณภาพ (integrity) หมายถึงสภาพของสถานทีห ่ รือแหล่งประวัตศิ าสตร์นนั ้ ยังมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด โดยในการพิจารณาได้แบ่งเป็ นด้านต่างๆ ดังนี้ ก) ทีต่ งั ้ (location) พิจารณาว่ายังตัง้ อยูท่ เ่ี ดิมหรือย้ายทีต่ งั ้ ใหม่ (1) รูปแบบ (design) หมายถึง รูปแบบทีไ่ ด้มกี ารออกแบบมาดัง้ เดิมนัน้ เปลีย่ นแปลงหรือไม่อย่างไร (2) สภาพโดยรอบ (setting) สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม หรือไม่ อย่างไร (3) วัสดุ (materials) มีการเปลีย่ นแปลงวัสดุจากเดิมหรือไม่อย่างไร (4) ฝี มอื ช่าง (workmanship) หมายถึงที่ผ่านมายังคงใช้วธิ กี ารซ่อมแซม แบบดัง้ เดิมหรือไม่อย่างไร (5) ความรูส้ กึ (feeling) เป็ นคุณสมบัตพิ เิ ศษของสถานทีท่ ท่ี ท่ี าํ ให้เกิดความ ประทับใจ (6) ความเกีย่ วพันกับบุคคลหรือเหตุการณ์สาํ คัญ (association) 2) มิตทิ ่สี อง คือ เกณฑ์พจิ ารณาว่าสถานที่ทางประวัติศาสตร์นัน้ มีความสําคัญอย่างไร สหรัฐอเมริกาได้กาํ หนดเกณฑ์ 4 ข้อ เป็ น A B C และ D ดังนี้ 58
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ก) เกณฑ์ A มีความเกีย่ วข้องกับเหตุการณ์ทม่ี สี ว่ นสําคัญในประวัตศิ าสตร์ของ อเมริกา เช่น หากแหล่งนัน้ เป็ นพืน้ ทีท่ เ่ี คยเป็ นสนามรบในสงครามกลางเมือง หรือเป็ นสถานทีท่ เ่ี กิด การทําร้ายชาวผิวดําในช่วงแบ่งแยกผิว ก็จะมีความสําคัญมาก ข) เกณฑ์ B มีความเกีย่ วข้องกับบุคคลสําคัญของชาติ เช่น สถานทีท่ เ่ี ป็ นบ้านเกิด ของ ดร.มาร์ตนิ ลูเธอร์คงิ จูเนียร์ ผูน้ ําด้านสิทธิมนุษยชน หรือสถานทีเ่ กิดของประธานาธิบดี นักวิทยาศาสตร์ทม่ี ชี ่อื เสียง ฯลฯ ค) เกณฑ์ C มีลกั ษณะทีเ่ ป็ นทีส่ ดุ ในกลุ่มเดียวกันในด้านประเภท ยุคสมัย หรือ วิธกี ารก่อสร้าง หรือเป็ นงานชัน้ สุดยอด หรือทีม่ คี ุณค่าทางศิลปกรรมสูง โดยมากมักใช้ในการประเมิน งานสถาปตั ยกรรมหรือสิง่ ก่อสร้างทางวิศวกรรมทีไ่ ม่ได้มคี วามเกีย่ วพันกับบุคคลหรือเหตุการณ์ทาง ประวัตศิ าสตร์ ง) เกณฑ์ D มีความสําคัญในการเป็ นแหล่งข้อมูลในยุคประวัตศิ าสตร์หรือก่อน ประวัตศิ าสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีทอ่ี าจไม่หลงเหลือซากอาคารแล้ว แต่ปรากฏหลักฐานทาง โบราณคดีจากการศึกษา ในกรณีน้ีขอ้ มูลทางโบราณคดีจะมีสว่ นสําคัญในการตัดสินใจด้านการพัฒนา พืน้ ทีใ่ นอนาคต ในเรื่องของเกณฑ์ดา้ นอายุนนั ้ ทรัพย์สนิ ทีม่ อี ายุเกิน 50 ปี จะถือว่ามีคุณสมบัตเิ ป็ นสถานที่ ทางประวัตศิ าสตร์ ทัง้ นี้ ทรัพย์สนิ ทีม่ อี ายุไม่ถงึ 50 ปี แต่มคี วามโดดเด่นทีเ่ ป็ นข้อยกเว้นพิเศษก็อาจ พิจารณาขึ้นทะเบียนได้ ในกรณีน้ีมกั ใช้กบั สถาปตั ยกรรมที่มชี ่อื เสียง เช่น อาคารที่ออกแบบโดย แฟรงก์ ลอยด์ ไรท์ ซึง่ บางแห่งมีอายุไม่ถงึ 50 ปี แต่ได้รบั การพิจารณาขึน้ ทะเบียนเป็ นทรัพย์สนิ ทาง ประวัตศิ าสตร์ นอกจากนัน้ ในกฎหมายอนุรกั ษ์ของสหรัฐอเมริกายังได้แยกประเภท (category) ของสถานที่ ทางประวัตศิ าสตร์ไว้ดว้ ยว่าประกอบไปด้วย ย่าน (district) แหล่งหรือบริเวณ (site) อาคาร (building) สิง่ ก่อสร้าง (structure) หรือ วัตถุ (object) รวมทัง้ ส่วนประกอบทีร่ วมอยู่ในมรดกฯ นัน้ ด้วย เช่น ชิน้ ส่วน (artifacts) บันทึก (records) และวัสดุทห่ี ลงเหลืออยู่ (material remains) ทีเ่ ป็ นยุค ประวัตศิ าสตร์หรือก่อนประวัตศิ าสตร์2 โดยในทางปฏิบตั ิ กรมอุทยานแห่งชาติได้ขยายความหมาย และยกตัวอย่างของแต่ละประเภทไว้กว้างๆ ซึง่ ในทางปฏิบตั อิ าจพบลักษณะอื่นอีกก็ได้ ดังนี้ (Parkeret al 1985: 9-11; Weeks et al 1995: 1) 1) อาคาร (รวมกลุ่มอาคาร) ก) เป็ นแบบอย่างของรูปแบบ (style) สถาปตั ยกรรมและยุคสมัย (period) หรือ วิธกี ารก่อสร้างโดยเฉพาะระดับภูมภิ าคหรือท้องถิน่ ข) อาคารหรือกลุ่มอาคารทีแ่ สดงออกถึงประวัตศิ าสตร์และพัฒนาการด้านการสือ่ สาร การวางแผน/ผังชุมชน การปกครอง การรักษาพืน้ ที่ เศรษฐกิจ การศึกษา วรรณกรรม ดนตรี และ 2
Section 301(5) of NHPA 1966 as amended
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
59
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ภูมสิ ถาปตั ยกรรมของพืน้ ทีน่ นั ้ ๆ ค) ร้านค้า ธุรกิจ หรืออาคารอื่นๆ ทีเ่ คยมีการดําเนินงานหรือทีเ่ คยเป็ นของกลุ่มชาติ พันธุห์ รือกลุ่มสังคม ง) กลุ่มอาคาร เช่น กลุ่มอาคารโรงงานทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์ จ) อาคารทีอ่ อกแบบโดยสถาปนิกหรือผูส้ ร้างชัน้ ยอด หรืออาคารสําคัญทีเ่ ป็ นผลงาน ของสถาปนิกชัน้ รองลงมา ฉ) สถาปตั ยกรรมทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร ช) อาคารทีม่ รี ปู แบบสะท้อนสถาปตั ยกรรมในกลุ่มเดียวกันทีเ่ หลือเป็ นจํานวนน้อย ซ) ทีท่ าํ งานหรือห้องทํางาน (studios) ทีศ่ ลิ ปิน นักเขียน นักดนตรีชาวอเมริกนั ใช้ สร้างสรรค์ผลงานทีม่ ชี ่อื เสียง ฌ) อาคารหรือสถานทีท่ เ่ี ป็นหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน เช่น โบสถ์ มหาวิทยาลัย ศูนย์ศลิ ปะ โรงละคร และสถานบันเทิง ญ) อาคารทีใ่ ช้เป็ นทีศ่ กึ ษาทดลองทีก่ ่อให้เกิดความก้าวหน้าหรือจุดเปลีย่ นทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือในศาสตร์อ่นื ๆ 2) แหล่งหรือบริเวณ (site) ก) แหล่งโบราณคดีทม่ี ขี อ้ มูลหรือมีความเป็ นไปได้ในการศึกษาวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ โบราณคดี ข) แหล่งโบราณคดีทม่ี ขี อ้ มูลทีแ่ สดงถึงประวัตศิ าสตร์ของท้องถิน่ มลรัฐ หรือประเทศ ค) แหล่งวัฒนธรรมทีม่ คี วามสําคัญต่อชุมชนพืน้ ถิน่ กลุม่ สังคม กลุ่มชาติพนั ธุ์ เช่น ตําแหน่งทีเ่ กิดเหตุการณ์สาํ คัญทางประวัตศิ าสตร์ หลุมฝงั ศพ หรือสถานทีเ่ คารพบูชาในยุค ประวัตศิ าสตร์หรือก่อนประวัตศิ าสตร์ ง) บริเวณทีม่ คี วามสําคัญเกีย่ วข้องกับเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ เช่น สนามรบ เส้นทางเดินทัพ จ) สุสานทีม่ คี วามเกีย่ วพันกับเหตุการณ์สาํ คัญหรือบุคคล หรือสามารถเป็ นสถานที่ เรียนรูเ้ กีย่ วกับประวัตศิ าสตร์หรือยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ ฉ) ซากปรักหักพังของสิง่ ก่อสร้างทีม่ คี ุณค่าทางสถาปตั ยกรรมหรือศิลปกรรม ช) แหล่งภูมทิ ศั น์ทม่ี นุ ษย์สร้างขึน้ ทีเ่ ป็ นบ่อเกิดแห่งหลักการ แนวคิด หรือต้นตํารับ ของภูมสิ ถาปตั ยกรรมหรืองานทีเ่ ป็ นแบบอย่างทีด่ ที ส่ี ดุ ของภูมสิ ถาปนิกทีม่ ชี ่อื เสียง 3) สิง่ ก่อสร้าง (structures) ก) สิง่ ก่อสร้างทางอุตสาหกรรมหรือวิศวกรรม เช่น เตาเผา ท่อส่งนํ้า ฝายกัน้ นํ้า สถานีสบู นํ้า เขือ่ น และทีเ่ กีย่ วกับสาธารณูปการต่างๆ
60
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ข) สิง่ ก่อสร้างทางการคมนาคม เช่น ทางรถไฟ ทางด่วนเก็บค่าผ่านทาง คลอง อุโมงค์ สะพาน อาคารโค้งกลม (Roundhouse อาคารรูปโค้งมักสร้างเพือ่ การบํารุงรักษารถไฟของ อเมริกา) ประภาคาร และท่าเรือ ค) โครงสร้างทีเ่ กีย่ วกับการเกษตร เช่น โรงเก็บเมล็ดพืช (Granaries) ทีเ่ ก็บเมล็ด ข้าวโพด (Corncribs) ไซโล ยุง้ ฉาง และ โรงเพาะผึง้ (Apiaries) ง) โครงสร้างทีเ่ คลื่อนทีไ่ ด้ทม่ี คี วามเกีย่ วพันกับกระบวนการการพัฒนาและ ประวัตศิ าสตร์ดา้ นการคมนาคม การอุตสาหกรรม สังคม นันทนาการ และการป้องกันประเทศ เช่น เรือ รถไฟ ม้าหมุน เครือ่ งบิน ชิน้ ส่วนอาวุธสงคราม 4) วัตถุ (objects) ก) วัตถุทม่ี คี วามสําคัญต่อการศึกษาวิจยั ทางประวัตศิ าสตร์หรือประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ เช่น ภาพเขียนสี, แท่งหิน เสาหินธรรมชาติ, ครกหรือหินทีถ่ ูกเจาะเป็ นรู (Bedrock Mortars), รูปปนั ้ (Statuary) และงานแกะสลักต่างๆ ข) วัตถุทม่ี คี วามสําคัญต่อวิถชี วี ติ และวัฒนธรรมของชุมชนและมีความเกีย่ วพันกับ ทีต่ งั ้ เช่น เสาโทเท็ม (Totem Pole-เสาไม้แกะสลักของชนพืน้ เมือง) นํ้าพุ งานประติมากรรมกลาง เมือง เครือ่ งหมายบนถนน เสาหลักไมล์ อนุสรณ์สถาน 5) ย่าน (districts) ก) กลุ่มอาคารทีต่ งั ้ อยูใ่ นสภาพแวดล้อมทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะเชิงพืน้ ทีแ่ ละเชิงกายภาพ เช่น กลุ่มอาคารทีแ่ สดงออกถึงมาตรฐานหรือรูปแบบทีเ่ ป็ นทีน่ ิยมของชุมชนหรือละแวกในช่วงใด ช่วงหนึ่ง ทัง้ นี้ อาจรวมอาคารอื่นๆ ก่อสร้างภายหลังทีแ่ สดงให้เห็นถึงพัฒนาการ การใช้ประโยชน์ใน พืน้ ที่ หรือองค์ประกอบของถนน หรือเมืองทีท่ าํ ให้พน้ื ทีน่ นั ้ มีเอกลักษณ์ ข) กลุ่มของอาคาร สิง่ ก่อสร้าง วัตถุ และ/หรือ แหล่ง ทีแ่ สดงออกถึงกลุ่มสังคม เศรษฐกิจ ชาติพนั ธุใ์ นยุคใดยุคหนึ่ง ค) พืน้ ทีก่ สิกรรมและโครงสร้างทีเ่ กีย่ วกับกสิกรรม เช่น ไซโล ยุง้ ฉาง คอกปศุสตั ว์ โรงเก็บเมล็ดพืช คลองชลประทาน ทีม่ สี ว่ นทําให้สถานทีน่ นั ้ มีเอกลักษณ์ ง) กลุ่มของอาคารหรือสิง่ ก่อสร้างทีแ่ สดงให้เห็นถึงการพัฒนาเทคโนโลยี หรือ อุตสาหกรรมของชุมชน มลรัฐ หรือประเทศ จ) กลุ่มอาคารทีแ่ สดงให้เห็นถึงรูปแบบการพัฒนาทางประวัตศิ าสตร์ในด้านต่างๆ ั ่ าย เช่น เศรษฐกิจ การค้า พาณิชยกรรม ตัวอย่างเช่น ชุมชนโรงสี โรงปนด้ ฉ) กลุ่มของแหล่ง สิง่ ก่อสร้าง และหรืออาคาร ทีม่ ขี อ้ มูลทางโบราณคดีทอ่ี าจแสดงให้ เห็นระบบของการตัง้ ถิน่ ฐานในยุคก่อนประวัตศิ าสตร์หรือยุคประวัตศิ าสตร์ หรือกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง กับยุคนัน้ ช) กลุ่มของอาคารทางการศึกษาและพืน้ ทีว่ า่ งทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น โรงเรียน หรือวิทยา เขตของมหาวิทยาลัย โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
61
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ซ) ภูมสิ ถาปตั ยกรรมทีโ่ ดดเด่น เช่น สวนสาธารณะขนาดใหญ่ทแ่ี สดงให้เห็นถึงงาน ของภูมสิ ถาปนิกทีม่ ชี ่อื เสียง หรือเป็ นต้นแบบแห่งแนวคิด (school of source) ทางภูมสิ ถาปตั ยกรรม ฌ) ภูมสิ ถาปตั ยกรรมทีเ่ กิดขึน้ จากกระบวนการของการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ และยังคง รักษามุมมองและลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมของกระบวนการนัน้ ความเป็ นย่าน (district) นัน้ อาจมีพน้ื ทีไ่ ม่ต่อเนื่องก็ได้ เช่น ย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยทีม่ แี หล่ง โบราณคดีอยูอ่ าจถูกการพัฒนาเมืองเช่น ทางหลวงหรือทางด่วนพาดผ่าน ทําให้ตอ้ งแยกพืน้ ที่ หรือ แหล่งทีต่ งั ้ ถิน่ ฐานโบราณตามแม่น้ําลําคลองทีอ่ ยูก่ ระจัดกระจาย ก็มกี ารแยกพืน้ ทีเ่ ช่นกัน นอกจากนัน้ รัฐบาลท้องถิน่ สามารถประกาศขึน้ ทะเบียนสถานทีป่ ระวัตศิ าสตร์ของตนเองได้ อีกต่างหาก และสามารถตัง้ เกณฑ์และการจัดลําดับเป็ นของตนเองได้โดยมีการประกาศเป็ นกฎหมาย ท้องถิน่ (local ordinance) โดยไม่จาํ เป็ นต้องใช้เกณฑ์หรือการจัดลําดับระดับชาติ ซึง่ การประกาศ โดยท้องถิน่ จะสามารถขอรับแรงจูงใจทีท่ อ้ งถิน่ นัน้ จัดหาให้ได้ ซึง่ ส่วนใหญ่จะอยูใ่ นรูปของการลดภาษี อสังหาริมทรัพย์ การโอนสิทธิการพัฒนา (transfer of development rights) และการโอนสิทธิ บางส่วนของอาคารเพือ่ การอนุ รกั ษ์ (preservation easement) 4.3.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในสหรัฐ อเมริก ามีก ฎหมายที่เ กี่ยวข้อ งกับ การอนุ ร กั ษ์ห ลายฉบับ ในที่น้ี จะเน้ น เฉพาะที่ เกีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์ภาคประชาชนและการอนุ รกั ษ์ยา่ นประวัตศิ าสตร์ ดังนี้ 1) กฎหมายอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ ค.ศ. 1966 เป็ นกฎหมายหลักทีใ่ ช้ในการอนุ รกั ษ์ และสนับสนุนการอนุ รกั ษ์ในปจั จุบนั ซึง่ เน้นการอนุรกั ษ์ในทรัพย์สนิ ของเอกชนมากกว่าทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็ น ของรัฐบาล โดยมีประเด็นสําคัญคือการจัดตัง้ องค์กรระดับมลรัฐเพื่อประสานงานระหว่างท้องถิน่ กับ รัฐบาลกลาง การกําหนดเกณฑ์และประเภทของสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ การกําหนดเกณฑ์ในการ รับรองรัฐบาลท้องถิ่นที่สามารถดําเนินการอนุ รกั ษ์ภายใต้นโยบายของรัฐบาลกลางได้ การกําหนด แหล่งเงินทุนและการช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการอนุ รกั ษ์ของเอกชน และการกําหนดอํานาจหน้าที่ ของสภาทีป่ รึกษาว่าด้วยการอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ซง่ึ จะเป็ นช่องทางทีใ่ ห้ประชาชนสามารถใช้ในการ ปกป้องแหล่งประวัตศิ าสตร์จากโครงการพัฒนาของรัฐบาล 2) กฎหมายอนุ รกั ษ์ระดับมลรัฐ เป็ นกฎหมายทีแ่ ต่ละมลรัฐออกเพือ่ ให้อาํ นาจแก้รฐั บาล ท้องถิน่ ทีอ่ ยูม่ ลรัฐนัน้ สามารถออกกฎหมายท้องถิน่ เพือ่ การอนุรกั ษ์ได้ เรียก State Enabling Legislation โดยมีการพัฒนากฎหมายนี้ในช่วงปี 1980 ทัวประเทศ ่ นอกจากนัน้ แต่ละมลรัฐยังสามารถออก กฎหมายอนุรกั ษ์ของตนเอง เรียก State Historic Preservation Act ซึง่ มีสาระสําคัญในการให้อาํ นาจ คณะกรรมการกลันกรองด้ ่ านการอนุ รกั ษ์ระดับมลรัฐ และการกําหนดกลไกในการอนุรกั ษ์ของรัฐบาล ท้องถิน่
62
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
3) กฎหมายระดับ ท้อ งถิ่น ซึ่ง นั บ ว่ า เป็ น กฎหมายที่สํ า คัญ ที่สุ ด เพราะเป็ น ผู้ป ฏิบ ัติ มี 2 ลักษณะคือ ก) กฎหมายท้องถิน่ ว่าด้วยการประกาศขึน้ ทะเบียนสถานทีห่ รือย่านประวัตศิ าสตร์ และ ข) กฎหมายโซนนิ่งในผังเมืองรวม ในด้านกฎหมายท้องถิน่ ว่าด้วยการประกาศสถานทีส่ าํ คัญหรือย่าน ประวัติศาสตร์ นอกจากการประกาศขึ้นทะเบียนระดับชาติแล้ว ท้องถิ่นสามารถออกกฎหมายขึ้น ทะเบียนสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์ของตนเองได้โดยออกเป็ นกฎหมายท้องถิน่ (Local Ordinance) ซึ่งรวมถึงย่านประวัติศาสตร์ดว้ ย ในการออกประกาศเพื่อขึน้ ทะเบียนดังกล่าวทัง้ ในระดับชาติและ ท้องถิ่น มีกลไกคือการเสนอชื่อเพื่อให้คณะกรรมการอนุ รกั ษ์ในระดับที่เกี่ยวข้องพิจารณาและต้อง ได้รบั ความยินยอมจากเจ้าของ ในกรณีของย่านประวัตศิ าสตร์ จะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากเสียง ส่วนใหญ่ของผูอ้ ยูอ่ าศัย กฎหมายอีกส่วนหนึ่งคือกฎหมายโซนนิ่ง ซึง่ หากในท้องถิน่ นัน้ มียา่ นอนุ รกั ษ์ ทีข่ น้ึ ทะเบียนระดับชาติหรือระดับท้องถิน่ ก็ดี ท้องถิน่ และชุมชนจะร่วมกันพิจารณาออกข้อกําหนดการ ใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ในผังเมืองรวม (Zoning Ordinance) ซึง่ เป็ นข้อกําหนดท้องถิน่ (ต่างจากของไทยที่ เป็ นกฎกระทรวงทีม่ าจากรัฐบาลกลาง) ในการควบคุมการพัฒนารวมทัง้ การกําหนดระยะ ขนาด ความสูง วัสดุ และรูปแบบของการพัฒนาด้วย แต่ส่วนมากจะไม่ควบคุมเรื่องการใช้สเี พราะเห็นว่า สามารถเปลีย่ นแปลงได้ภายหลัง นอกจากนัน้ แต่ละท้องถิน่ จะต้องกําหนดกลไกและกระบวนการในการตัดสินใจในการพัฒนา ย่ า นประวั ติ ศ าสตร์ โดยให้ มี ก ารจัด ตั ง้ คณะกรรมการกลั น่ กรองเพื่ อ การอนุ ร ัก ษ์ (Review Commission) ประกอบไปด้วยนักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการอนุ รกั ษ์ท่รี บั มอบอํานาจจาก นายกเทศมนตรีใ ห้พิจารณากลันกรองโครงการพั ่ ฒนาต่ างๆ รวมทัง้ การซ่อมแซมอาคารในย่าน อนุ รกั ษ์ทป่ี ระกอบไปด้วยอาคารทีม่ คี วามสําคัญขึน้ ทะเบียนเป็ นหลังๆ อาคารทีไ่ ม่ได้ขน้ึ ทะเบียนแต่ ช่วยส่งเสริมความสําคัญของย่าน และอาคารอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนส่งเสริมความเป็ นย่าน และผู้เสนอ โครงการจะต้ อ งอธิบ ายโครงการในการประชุ ม สาธารณะซึ่ง มีก ารจัด ตามวาระและประกาศให้ สาธารณะทราบโดยทัวกั ่ นโดยให้ผู้คดั ค้านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ก่อนที่คณะกรรมการจะ ตัดสินใจ 4) กฎหมายภาษี ในกฎหมายภาษีของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลระดับมลรัฐทีม่ กี ารให้แรงจูงใจ ด้านภาษี จะมีการกําหนดหลักเกณฑ์ของอาคารและมาตรฐานการซ่อมแซมอาคารที่สามารถนํ า ค่าใช้จา่ ยส่วนหนึ่งมาขอลดภาษีได้ 5) กฎหมายเคหะการและชุมชน (Housing and Community Development Act) ค.ศ. 1974 เป็ นกฎหมายทีม่ กี ารแก้ไขเพิม่ เติมหลายครัง้ กฎหมายฉบับนี้ได้ให้อํานาจกรมพัฒนาเมืองและเคหะ (Department of Housing and Urban Development-HUD) พิจารณาให้ทุนสนับสนุ นรัฐบาลท้องถิน่ ในการพัฒนาชุมชนโดยใช้เป็ นเงินก้อนเดียว(Community Development Block Grant) ซึง่ เป็ นทุนที่ ตอบสนองความหลากหลายของความต้องการของชุมชนซึง่ หากเป็ นชุมชนทีเ่ ป็ นย่านประวัตศิ าสตร์ท่ี ขึน้ ทะเบียนไว้แล้วก็สามารถใช้ทุนนี้ในการซ่อมแซมอาคารได้ดว้ ย ซึ่งการใช้กฎหมายนี้เป็ นที่นิยม
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
63
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
มากในชุมชนประวัตศิ าสตร์ทเ่ี ป็ นชุมชนผูม้ รี ายได้น้อย และทําให้เกิดการเปลี่ยนแนวคิดจากการรือ้ ทําลายชุมชน (slum clearance) มาเป็ นการฟื้นฟูและอนุรกั ษ์ชุมชนแทน 4.3.4 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรกั ษ์ ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์ภาคประชาชนและย่านประวัตศิ าสตร์ดงั นี้ 1) องค์กรอนุ รกั ษ์ระดับชาติ มีสาํ นักงานอุทยานแห่งชาติ (National Park Service) เป็ น องค์กรหลักที่ดําเนินการในด้านการออกมาตรฐานด้านการอนุ รกั ษ์ตงั ้ แต่การจัดทําแผนงาน วิธกี าร อนุ รกั ษ์ จนถึงการพิจารณาให้แรงจูงใจทางภาษีและการให้ทุนเพื่อศึกษาหรือจัดทําแผนอนุ รกั ษ์ระดับ ท้องถิน่ 2) สภาทีป่ รึกษาว่าด้วยการอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ (Advisory Council on Historic Preservation) เป็ นองค์กรทีม่ อี ํานาจสูงมากในการให้คาํ ปรึกษาประธานาธิบดีหรือสภาคองเกรสในด้าน ผลกระทบจากโครงการของรัฐบาลกลางที่อาจมีต่อสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ประชาชนและกลุ่ม อนุ รกั ษ์มกั ใช้ช่องทางของสภานี้ผ่านทางมาตรา 106 (Section 106) ในกฎหมายอนุ รกั ษ์ ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติในการปกป้องแหล่งประวัตศิ าสตร์ทไ่ี ด้รบั ผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น การสร้างทางหลวง การสร้างเขื่อน ฯลฯ ซึ่งสภาทีป่ รึกษาฯ สามารถเสนอให้ประธานาธิบดีออก คําสังยั ่ บยัง้ หรือหาหนทางเยียวยาผลกระทบจากโครงการก่อนที่จะมีการสร้างจริงหรือระหว่างการ ก่อสร้างก็ได้ 3) สํานักงานอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ระดับมลรัฐ (State Historic Preservation Office-SHPO) เป็ นองค์กรหลักด้านการอนุ รกั ษ์ระดับมลรัฐที่จดั ตัง้ โดยใช้งบประมาณจากรัฐบาลของมลรัฐเองตาม กฎหมายอนุ รกั ษ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ มีหน้ าที่กลันกรองข้ ่ อเสนอโครงการอนุ รกั ษ์จากรัฐบาล ท้องถิ่นและองค์กรอนุ รกั ษ์ต่างๆ เพื่อขอรับทุนสนับสนุ นจากรัฐบาลกลาง ข้อเสนอโครงการบูรณะ ซ่อมแซมอาคารจากเอกชนเพือ่ ขอรับแรงจูงใจทางภาษีของมลรัฐและรัฐบาลกลาง สนับสนุน ฝึกอบรม และเผยแพร่โครงการอนุ รกั ษ์ต่างๆ รวมทัง้ พิจารณากลันกรองการเสนอชื ่ ่อเพื่อขึน้ ทะเบียนระดับชาติ และระดับมลรัฐซึง่ ตามปกติทะเบียนระดับมลรัฐจะเป็ นทะเบียนเดียวกับทะเบียนระดับชาติ 4) กองทุนแห่งชาติวา่ ด้วยการอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ (National Trust for Historic Preservation) เป็ นกองทุนทีจ่ ดั ตัง้ โดยรัฐบาลแต่ปจั จุบนั แยกเป็ นอิสระไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐบาล มีสว่ นในการสนับสนุ นด้านการอนุ รกั ษ์ทุกรูปแบบรวมทัง้ การให้ทุนเพือ่ การศึกษาวิจยั ด้านการอนุรกั ษ์ รวมทัง้ การให้คาํ ปรึกษาเกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ระดับท้องถิน่ และโครงการทีป่ ระสบความสําเร็จมากคือ โครงการถนนสายหลักดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนัน้ บทบาททีส่ าํ คัญของกองทุนฯ คือการโน้มน้าว รัฐบาลกลางให้มกี ารปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอนุ รกั ษ์ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และความต้องการ ของชุมชน ซึง่ กองทุนฯ ได้ประเด็นต่างๆ มาจากการศึกษาวิจยั ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
64
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
5) รัฐบาลท้องถิน่ และคณะกรรมการกลันกรองงานด้ ่ านการอนุ รกั ษ์ เป็ นองค์กรทีม่ บี ทบาทใน ด้านการอนุ รกั ษ์ระดับท้องถิน่ มากเพราะเป็ นการดําเนินการตัดสินใจขัน้ สุดท้ายในการปรับปรุงพัฒนา อาคารและสถานที่สําคัญทางประวัติศ าสตร์ต ามที่ท้องถิ่นได้ข้นึ ทะเบีย นไว้แ ละได้ออกกฎหมาย ท้องถิน่ ในการควบคุม รัฐบาลท้องถิน่ จะสร้างความสัมพันธ์ในระบบการขึน้ ทะเบียนระดับชาติได้ดว้ ย การเสนอให้รฐั บาลกลางประกาศรับรองเพือ่ ให้เป็ น รัฐบาลท้องถิน่ ทีไ่ ด้รบั การรับรอง (Certified Local Government-CLG) โดยรัฐบาลท้องถิน่ จะต้องทําให้เกิดกระบวนการอนุ รกั ษ์ ดังนี้ ก) จะต้องมีการออกกฎหมายท้องถิน่ เพือ่ การอนุรกั ษ์ ข) จะต้องมีการบูรณาการการอนุรกั ษ์เข้ากับการพัฒนาเมืองโดยประกาศเขตอนุรกั ษ์ ในผังเมืองรวม ค) จะต้องมีกระบวนการกลันกรองการเปลี ่ ย่ นแปลงอาคารหรือย่านประวัตศิ าสตร์ โดยจัดตัง้ คณะกรรมการกลันกรองระดั ่ บท้องถิน่ อย่างเป็ นทางการ ข้อดีของการเป็ นรัฐบาลท้องถิน่ ทีไ่ ด้รบั การรับรองคือจะสามารถขอรับงบประมาณช่วยเหลือ จากสํานักงานอุทยานแห่งชาติซง่ึ เป็ นรัฐบาลกลางได้ 6) คณะกรรมการชุมชน ในสหรัฐอเมริกา คณะกรรมการชุมชนเป็ นองค์กรภาคประชาชนที่ สําคัญมากเพราะจะต้องมีสว่ นในการจัดสินใจในการขึน้ ทะเบียนเป็ นย่านประวัตศิ าสตร์และการสื่อสาร ภายในชุมชนเองเพือ่ สอดส่องดูแลโครงการพัฒนาต่างๆ คณะกรรมการชุมชนหลายแห่งทีข่ น้ึ ทะเบียน เป็ นย่านประวัตศิ าสตร์มกั จะจัดทําแนวทางการพัฒนาอาคาร (Design Guidelines) ไว้ใช้เป็ นกรอบ ให้กบั เจ้าของอาคารและคณะกรรมการกลันกรองไว้ ่ เป็ นเอกสารเพือ่ พิจารณาประกอบการตัดสินใจ 4.3.5 แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ สหรัฐ อเมริก ามีร ะบบแรงจู ง ใจที่ร ัฐ บาลให้ก ับ ประชาชนและองค์ ก รอนุ ร ัก ษ์ ท่ีมีค วาม หลากหลายและประสบความสําเร็จมากทีส่ ดุ ประเทศหนึ่งพอ โดยสามารถสรุปได้ดงั นี้ 1) เงินช่วยเหลือ (Grants) เงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุ นส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลกลาง โดย การจัดตัง้ กองทุนเพื่อการอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ (Historic Preservation Fund–HPF) ซึง่ เป็ นเงินทุน ั่ ทีไ่ ม่ได้มาจากภาษีประชาชนแต่มาจากส่วนหนึ่งของผลประโยชน์จากการให้เช่าพืน้ ทีช่ ายฝงทะเลเพื ่อ ขุดเจาะหานํ้ามันและกาซธรรมชาติซง่ึ มีมลู ค่ามหาศาลนับพันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี เงินจากกองทุน HPF มีผูด้ ูและคือสํานักงานอุทยานแห่งชาติซ่งึ จะให้เงินแก่รฐั บาลท้องถิน่ ทีไ่ ด้รบั การรับรอง (CLG) และองค์กรอนุ รกั ษ์ในลักษณะเงินสมทบเท่านัน้ ในอัตรา รัฐบาลกลาง:ผูร้ บั คือ 60:40 โดยมีสาํ นักงาน อนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แห่งมลรัฐ (SHPO) เป็ นผูป้ ระสานงานและกลันกรองในเบื ่ อ้ งต้น โดยมีหลักการ ดังนี้ ก) ร้อยละ 10 ของทุนที่ SHPO ได้รบั จะต้องจัดสรรให้แก่รฐั บาลท้องถิน่ ทีไ่ ด้รบั การ รับรอง (CLG) โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
65
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ข) ขอบข่ายของการใช้เงินจะไม่ได้ให้ใช้เพื่อซ่อมแซมแต่ให้เพื่อการสร้างฐานข้อมูล หรือการศึกษาวางแผนอนุ รกั ษ์ ดังนี้ (1) การสํารวจทรัพยากรทางประวัตศิ าสตร์ (2) การจัดทําแผนและกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมการอนุรกั ษ์ (3) การศึกษาและเสนอชื่อเพือ่ ขึน้ ทะเบียนระดับชาติ (4) การศึกษาวิจยั และผลิตสิง่ พิมพ์ (5) การสํารวจและตรวจสอบทางโบราณคดี (6) การจัดทําแผนก่อนการพัฒนาพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ เช่น จัดทําแนวทางการ พัฒนา 2) แรงจูงใจทางภาษี แบ่งได้เป็ น ก) การลดภาษี (tax credit) ซึง่ เป็ นการนําค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมอาคารมา หักภาษีเงินได้หรือภาษีการลงทุนโดยตรง เป็ นมาตรการที่มาจากรัฐบาลกลางโดยตรง (เนื่องจาก รัฐบาลกลางเป็ นผูม้ รี ายได้จากภาษีดงั กล่าว) โดยมีเงือ่ นไขดังนี้ (1) จะต้องเป็นอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนระดับชาติหรือเป็นอาคารทีส่ ง่ เสริมคุณค่า ในย่านประวัตศิ าสตร์ทข่ี น้ึ ทะเบียนระดับชาติ (2) เป็ นอาคารทีจ่ ะทําการฟื้นฟู (Rehabilitation) เพือ่ ปรับเปลีย่ นการใช้สอย (Adaptive Re-Use) โดยต้องได้รบั การรับรองจากรัฐบาลกลางโดยจะต้องเป็ นไปตามมาตรฐานการ ฟื้นฟู (Rehabilitation Standards) ทีก่ าํ หนดโดยรัฐบาลกลาง ปจั จุบนั สหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐานกลาง ทีป่ รับปรุงใหม่ตงั ้ แต่ปี ค.ศ. 1995 (3) ระยะเวลาการปรับปรุงจะต้องไม่เกิน 2 ปี แต่อาจขอขยายเวลาได้เป็ น กรณีๆ ไป (4) การใช้สอยทีเ่ ปลีย่ นใหม่น้ีจะต้องเป็ นกิจกรรมทีท่ าํ ให้เกิดรายได้เช่นเป็ น ร้านค้า โรงแรม ดังนัน้ การปรับปรุงอาคารเพือ่ ใช้เป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยของตนเองจะใช้ไม่ได้ แต่หากเป็ นที่ อยูอ่ าศัยให้เช่าจะทําได้ และจะต้องดําเนินกิจการให้เกิดรายได้น้ีเป็ นเวลาอย่างน้อย 5 ปี (5) อัตราการลดภาษีน้ีคอื นําค่าใช้จา่ ยในการฟื้นฟูรอ้ ยละ 20 มาขอหักลบ จากภาษีเงินได้โดยตรง (เรียก credit) โดยการหักลบนี้มรี ะยะเวลาหักได้ถงึ 20 ปี (6) มูลค่าของงานทีจ่ ะขอลดภาษีจะต้องสูงกว่า 5,000 ดอลลาร์ นอกจากรัฐบาลกลางแล้ว บางมลรัฐยังออกกฎหมายของตนเองให้สามารถขอรับการ ลดภาษีน้ีได้อกี โดยกําหนดสัดส่วนได้เองโดย เช่น รัฐจอร์เจียสามารถนําค่าใช้จ่ายมาลดภาษีเงินได้ได้ ถึงร้อยละ 25 นอกจากนัน้ ยังสามารถใช้มาตรการการนี้ผนวกกันได้ ทําให้อาจขอลดได้รวมกันถึงร้อย ละ 20+25=45 ของค่าใช้จา่ ยทัง้ หมด แต่บางมลรัฐก็ไม่มมี าตรการระดับมลรัฐเอง (ข) การเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ในอัตราคงที่ (Property Tax Abatement) มลรัฐ และรัฐบาลท้องถิน่ ส่วนใหญ่มกี ารเรียกเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Property Tax) ในอัตราค่อนข้างสูง 66
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
คือร้อยละ 1-2 ของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ทเ่ี ป็ นบ้านและทีด่ นิ ปกติราคาประเมินจะมีการปรับ ขึน้ ทุกปี (ยกเว้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอยทีร่ าคาประเมินจะลดลงตามสภาวการณ์ของพืน้ ทีน่ นั ้ ) ทัง้ นี้ เพื่อเป็ นรายได้ของมลรัฐในการบริหารกิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ความปลอดภัย ในการส่งเสริมการอนุ รกั ษ์บางมลรัฐจึงให้มกี ารเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ในอัตราคงทีใ่ นช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 8 ปี ภายใต้เงือ่ นไขต่อไปนี้ (1) ต้องมีการบูรณะหรือฟื้ นฟูอาคารทีเ่ ป็ นไปตามมาตรฐานกลางทีก่ ําหนด โดยไม่จาํ กัดการใช้สอย ดังนัน้ อาคารพักอาศัยของเจ้าของเองก็สามารถทําได้ (2) การบูรณะดังกล่าวจะต้องทําให้ราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์นนั ้ ขึน้ ไป อย่างน้อย 1 เท่าตัว โดยมลรัฐจะคิดราคาประเมินก่อนการบูรณะเท่านัน้ 3) การโอนกรรมสิทธิ ์เพือ่ การอนุ รกั ษ์ (Preservation Easements) คําว่า Easement แปลว่าสิทธิในทรัพย์สนิ ทีเ่ จ้าของทรัพย์สนิ นัน้ โอนหรืออนุ ญาตให้แก่ค่กู รณี ซึ่งในสหรัฐอเมริกาได้นําหลักการนี้มาใช้ในเรื่องการอนุ รกั ษ์ดว้ ยโดยเกี่ยวพันกับสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีโดยมีหลักการคือ อาคารอนุ รกั ษ์ทม่ี เี จ้าของเป็ นเอกชนจะต้องเสียภาษีอสังหาริมทรัพย์ตามปกติ ซึง่ ค่อนข้างสูงในแต่ละปี ดังนัน้ เพื่อลดภาระดังกล่าวเจ้าของอาคารอนุ รกั ษ์อาจโอนหรือบริจาคส่วน ของอาคารทีต่ อ้ งการอนุ รกั ษ์ เช่น ด้านหน้า (Façade) ให้กบั ผูร้ บั บริจาคซึง่ ตามกฎหมายกําหนดให้ เป็ นองค์กรทีไ่ ม่แสวงหาผลกําไรเป็ นผูด้ แู ล ทําให้ราคาทรัพย์สนิ ทีเ่ หลือนัน้ ลดลงส่งผลให้มภี าระในการ เสียภาษีน้อยลง นอกจากนัน้ ยังสามารถขอรับแรงจูงใจทางภาษีในรูปแบบต่างๆ ได้อกี การโอนสิทธิ เพือ่ การอนุ รกั ษ์น้ีมเี งือ่ นไขดังนี้ ก) จะต้องเป็ นการโอนอย่างถาวรโดยไม่มกี ารโอนกลับสูเ่ จ้าของ ข) เจ้าของทรัพย์สนิ มีหน้าทีด่ แู ลรักษาอาคารนัน้ ให้มสี ภาพดีอยูเ่ สมอ โดยเฉพาะการ อนุ รกั ษ์ รูปด้านหน้ าหรือส่ว นของอาคารที่มคี ุ ณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยองค์กรที่รบั โอนจะเป็ น ผูร้ บั ผิดชอบในการสอดส่องดูแล ส่วนพื้นที่ภายในสามารถปรับปรุงและต่อเติมได้ตามมาตรฐานที่ กําหนดและต้องได้รบั การอนุ ญาตจากคณะกรรมการกลันกรองของรั ่ ฐบาลทีร่ บั ผิดชอบ 4) การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Rights-TDR) การโอนสิทธิการ พัฒนาเป็ นแรงจูงใจที่ใช้ประโยชน์ จากมาตรการทางผังเมืองโดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้อกําหนดโซนนิ่ง TDR มีกําเนิดในสหรัฐอเมริกาตัง้ แต่มกี ารถ่ายโอนอํานาจให้ทอ้ งถิน่ ออกข้อกําหนดโซนนิ่งได้เอง ในช่วงทศวรรษที่ 1920 การใช้ TDR ในด้านการอนุ รกั ษ์ต้องใช้ในระดับท้องถิน่ เท่านัน้ เนื่องจาก ท้องถิน่ เป็ นผูอ้ อกกฎหมายโซนนิ่งเอง โดยมีหลักการคือการทีอ่ าคารอนุ รกั ษ์ไม่สามารถพัฒนาได้เต็ม ขีดจํากัดจึงอาจขายหรือโอนสิทธิในการพัฒนานัน้ ให้กบั อาคารที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อให้มกี ารพัฒนาได้ มากขึน้ กว่าทีก่ ฎหมายโซนนิ่งกําหนด เช่น ในพืน้ ทีท่ อ่ี าคารอนุ รกั ษ์นนั ้ ตัง้ อยู่มคี ่า FAR ทีพ่ ฒ ั นาได้ สูงสุดเท่ากับ 6 แต่อาคารอนุ รกั ษ์มคี ่า FAR เพียง 2 จึงสามารถโอนหรือขาย FAR ทีเ่ หลือให้กบั อาคารอื่นๆ ได้ เจ้าของอาคารอนุ รกั ษ์กจ็ ะได้รบั ผลประโยชน์จากเจ้าของอาคารทีต่ อ้ งการพัฒนามาก
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
67
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ขึน้ ซึ่งจะต้องเป็ นช่วงเวลาเดียวกันที่เจ้าของอาคารอนุ รกั ษ์ต้องการใช้เงินในการบูรณะฟื้ นฟูอาคาร โดยในมาตรฐานกฎหมายท้องถิน่ ทีจ่ ดั ให้มี TDR นัน้ มีเงือ่ นไขดังนี้ ก) ต้องมีขอ้ กําหนดโซนนิ่งทีเ่ หมาะสม ไม่ใช่กําหนดเพดานการพัฒนาไว้เหลือเฟื อ มากจนไม่เกิดความต้องการเพิม่ เติม ข) จะต้องเป็ นการโอนสิทธิในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงกันหรืออยูใ่ นย่านโซนนิ่งเดียวกัน เพราะ มิฉะนัน้ จะทําให้ภาพรวมของความหนาแน่นเปลีย่ นแปลงไปจากแผนพัฒนาเมืองได้ ค) ต้องมีการประเมินมูลค่าสิทธิประโยชน์ทเ่ี ป็ นธรรม ซึง่ ในทางปฏิบตั อิ าจเป็ นไปได้ ยาก ท้องถิน่ หลายแห่งจึงไม่ได้ใช้ค่าตอบแทนเป็ นตัวเงินแต่ใช้เป็ นแต้ม (Credit) ทีท่ อ้ งถิน่ ธนาคาร TDR เพือ่ เป็ นตัวกลาง ง) ต้องมีการพิจารณาสัดส่วนการพัฒนาระหว่างผูโ้ อนและผูร้ บั โอน เช่น 1:1 หรือ 2:1 แล้วแต่นโยบายของท้องถิน่ จ) การทีผ่ รู้ บั โอนสามารถพัฒนาอาคารได้มากกว่าข้อกําหนด จะต้องไม่มผี ลต่อการ ขอเปลีย่ นแปลงข้อกําหนดโซนนิ่งในย่านเดียวกัน เนื่องจากมีขอ้ กําหนดและเงื่อนไขมากมายนี้เอง จึงให้การโอนสิทธิการพัฒนาเกิดขึน้ ได้ไม่ มากนัก ซึง่ มักจะเกิดกับเมืองทีม่ คี วามหนาแน่ นสูงและมีความต้องการการพัฒนามาก เช่น นิวยอร์ก และชิคาโก แต่เมืองขนาดย่อมลงมาถึงแม้จะมีกฎหมายให้สามารถใช้ TDR ได้กไ็ ม่ค่อยปรากฏ กรณีศกึ ษาในด้านการอนุรกั ษ์อาคารเท่าใดนัก 5) การยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการพัฒนา (Development Impact Fee Exemption) รัฐบาล ท้องถิน่ บางแห่งอาจให้สทิ ธิพเิ ศษแก่เจ้าของอาคารที่ขน้ึ ทะเบียนระดับชาติหรือระดับท้องถิน่ หรือที่ ส่งเสริมย่านประวัตศิ าสตร์ทข่ี น้ึ ทะเบียนดังกล่าว หากมีการฟื้ นฟูอาคารและเปลี่ยนแปลงการใช้สอย ซึ่ง ตามปกติจ ะต้อ งเสีย ค่า ธรรมเนี ย มในการขออนุ ญ าตดัด แปลงอาคาร โดยหากเป็ น อาคารขึ้น ทะเบียนหรือส่งเสริมย่านประวัตศิ าสตร์จะได้รบั การยกเว้นไม่ตอ้ งเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว 4.4 กรณี ศึกษาประเทศอังกฤษ การอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมของอังกฤษ มีมาช้านานและได้ใช้วธิ กี ารและแนวทางเดียวกันกับดินแดน อื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ สกอตแลนด์ แคว้นเวลส์และไอร์แลนด์เหนือ 4.4.1 วิ วฒ ั นาการของการอนุรกั ษ์: จากโบราณสถานสู่ย่านชุมชนประวัติศาสตร์ อังกฤษเป็ นประเทศที่มรี ากฐานในด้านการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมมายาวนานและมีการ ปรับ ปรุ ง ตลอด เวลาแม้จ นป จั จุ บ ัน การอนุ ร ัก ษ์ ม รดกวัฒ นธรรมในอัง กฤษเริ่ม จากการศึก ษา ประวัตศิ าสตร์สถาปตั ยกรรมของอังกฤษ ชื่อ Chronologia Architectonica โดย John Aubrey ตัง้ แต่ 68
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ค.ศ. 1670 รวมทัง้ รายงานการสํารวจโบราณวัตถุของเมืองออกซฟอร์ดโดย Anthony Woods ใน ค.ศ. 1674 และรายงานการสํารวจโบสถ์ในหลายเมืองใน ค.ศ. 1727 โดย Browne Willis (Ross 1995: 10) ซึง่ ในช่วงดังกล่าวถือเป็ นการดําเนินการในลักษณะของอาสาสมัคร (voluntary efforts) เป็ นงาน ส่วนตัว มีผูก้ ล่าวว่าอาจไม่นับเป็ นกระบวนการของการอนุ รกั ษ์เนื่องจากไม่ได้ดําเนินการโดย ผูเ้ ชี่ยวชาญทางวิชาการ นอกจากนัน้ ยังไม่ได้มคี วามสัมพันธ์กบั การดําเนินการภาครัฐ และไม่มี ผลกระทบต่อสังคมและชุมชนในวงกว้าง การเคลื่อนไหวเกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ในระดับประเทศ เกิดขึน้ ในเมื่อนักคิด นักประวัตศิ าสตร์ท่ี มีช่อื เสียงคือ John Ruskin ได้เขียนบทความเกีย่ วกับความเห็นในเรื่องการอนุ รกั ษ์อาคารใน ค.ศ. 18493 ว่าควรให้ความเคารพความเป็ นของแท้ของอาคาร โดยควรปรับเปลีย่ นให้น้อยทีส่ ุด และใน ค.ศ. 1854 Ruskin ได้เริม่ แนวคิดให้สมาคมนักสะสมและค้าของโบราณ (Society of Antiquaries) ตัง้ กองทุนเพื่อรักษาอาคารในยุคกลาง แต่ไม่ค่อยมีการตอบรับทีด่ นี ักจากสมาคม ต่อมาใน ค.ศ. 1877 จึงมีการจัดตัง้ สมาคมเพื่อคุม้ ครองอาคารโบราณสถาน (Society for the Protection of Ancient Buildings-SPAB) โดย William Morris นักเคลื่อนไหวทางสังคมทีม่ ชี ่อื เสียงทีย่ งั คงมีอทิ ธิพลต่อคนใน รุ่นปจั จุบนั สมาคมดังกล่าวประสบความสําเร็จในการต่อต้านการบูรณะอาคารทีม่ ไิ ด้ให้ความเคารพ คุณค่าอันแท้จริงของอาคารในด้านวัสดุ ฝี มอื ช่าง และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวโยงกันหลายแห่ง แนวคิดของ Morris ทีม่ ที ม่ี าจาก Ruskin นัน้ มีอทิ ธิพลต่อการพิจารณาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมจาก การพิสจู น์ความเป็ นของแท้ (Test of Authenticity) ในการอนุรกั ษ์สมัยใหม่ทเ่ี ริม่ ในยุโรปสูร่ ะบบสากล ทีก่ ําหนดโดยยูเนสโกซึง่ มีกฎบัตรเวนิส (Venice Charter) ใน ค.ศ. 1964 เป็ นกรอบหลักในเวลา ต่อมา กฎหมายฉบับแรกทีม่ กี ารประกาศใช้ในเรื่องเกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมในประเทศ อังกฤษ คือพระราชบัญญัตคิ ุม้ ครองโบราณสถาน (Ancient Monument Protection Act) บังคับใช้ใน ค.ศ. 1882 ซึง่ ได้คุม้ ครองโบราณสถานจํานวน 68 แห่งรวมทัง้ Stonehenge อันมีช่อื เสียง กฎหมาย ฉบับแรกนี้เป็ นเพียงการประกาศปกป้องคุม้ ครองเท่านัน้ ยังมิได้มมี าตรการส่งเสริมใดๆ จากนัน้ ใน กลุ่ ม ของประชาชนผู้มีจิต อนุ ร กั ษ์ ได้ร วมกัน จัด ตัง้ “กองทุ น แห่ ง ชาติสํา หรับ สถานที่สํา คัญ ทาง ประวัตศิ าสตร์หรือธรรมชาติอนั สวยงาม” (National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) ขึน้ ใน ค.ศ. 1895 ซึง่ ต่อมาได้เป็ นองค์กรการกุศลทีเ่ ป็ นอิสระจากรัฐบาลทีเ่ ก่าแก่ทส่ี ุดและ ได้รบั ความเชื่อถือมากที่สุดแห่งหนึ่ งของอังกฤษและของโลก และเป็ นแม่แบบของการตัง้ กองทุน อนุ รกั ษ์โดยภาคประชาชนในหลายประเทศ ต่อมาใน ค.ศ. 1908 ได้มกี ารจัดตัง้ คณะกรรมาธิการ แห่งชาติว่าด้วยอนุ สรณ์สถานทางประวัตศิ าสตร์แห่งอังกฤษ (Royal Commission on the Historical Monuments of England) มีช่อื ย่อเป็ นภาษาอังกฤษว่า RCHM ขึน้ ซึง่ เป็ นองค์กรหลักของรัฐในการ 3
บทความของ John Ruskin ทีม่ ชี อ่ื เสียงในด้านปรัชญาการอนุ รกั ษ์สมัยใหม่คอื “The Lamp of Memory” ต่อมาได้มกี ารตีพมิ พ์รวมกับ บทความอื่นใน ค.ศ. 1891 ดูใน Ruskin, J. (1891). The Seven Lamps of Architecture. London: Hazell, Watson, and Viney)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
69
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
สํารวจ เก็บข้อมูล วางนโยบาย และวางแผนเกีย่ วกับโบราณสถาน โดยอํานาจของคณะกรรมาธิการฯ ได้ตราไว้ใน พ.ร.บ. โบราณสถานฉบับแก้ไข (Ancient Monuments Consolidation and Amendment Act) ใน ค.ศ. 1913 ในขณะเดียวกันก็มกี ารจัดตัง้ คณะกรรมการโบราณสถาน (Ancient Monument Board) ขึน้ โดยกฎหมายดังกล่าวด้วย การเปลี่ยนแปลงในด้านการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมในอังกฤษเห็นได้ชดั เจนหลังจากสิ้น สงครามโลกครัง้ ที่ 2 โดยใน ค.ศ. 1944 ได้มกี ารเริม่ ใช้ระบบการขึน้ บัญชีอาคารสําคัญ (Listing) เพื่อ ใช้ในการพิจารณาจัดลําดับความสําคัญในการอนุ รกั ษ์ โดยมีผรู้ บั ผิดชอบคือคณะกรรมการทีป่ รึกษา เรือ่ งการขึน้ บัญชี ต่อมาใน ค.ศ. 1947 การขึน้ บัญชีอาคารสําคัญนี้ได้ผนวกกับใน พ.ร.บ. การผังเมือง (Town and Country Planning Act) ซึง่ ถือเป็ นการเริม่ บูรณาการการอนุ รกั ษ์เข้าไปในการพัฒนา เมือง (Ross 1995: 22) โดยบัญชีนนั ้ ได้มกี ารจัดลําดับอาคารสําคัญไว้ดว้ ย ปจั จุบนั มี 3 ลําดับ คือ Grade I Grade II และ Grade II* (แรกเริม่ มี 4 ลําดับ คือ Grade I Grade II และ Grade II* และ Grade III โดย Grade III มีการยกเลิกใน ค.ศ. 1969) ซึง่ มีระดับความสําคัญต่างกัน โดยมาก Grade I และ II* เป็ นอาคารทีม่ คี วามสําคัญมาก มักกําหนดโดยผูท้ รงคุณวุฒ ิ ส่วน Grade II เป็ นอาคาร สําคัญที่ม กั กําหนดโดยชุ มชนและท้อ งถิ่น และในปี เ ดีย วกันนี้ ได้มีก ารสํา รวจและจัดทํา รายการ (Survey and Inventory) อาคารประวัตศิ าสตร์ทวประเทศเป็ ั่ นครัง้ แรกโดยคณะกรรมาธิการ RCHM ซึง่ ใช้เวลานานมากคือ 22 ปี จึงสําเร็จด้วยความยากลําบาก ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950s การพัฒนาเมืองในอังกฤษได้เกิดขึน้ อย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับ นโยบายในการกระจายอํานาจจากรัฐบาลกลางสู่รฐั บาลท้องถิน่ การพัฒนาได้ก่อให้เกิดมีการทําลาย อาคารที่ข้นึ บัญ ชีไว้ห ลายหลัง จึง ได้มีก ารหาหนทางลดแรงกดดัน การพัฒ นาที่จ ะทํา ลายอาคาร ประวัติศ าสตร์ ได้มีก ารแก้ไ ขกฎหมายโดยตรา พ.ร.บ.อาคารประวัติศ าสตร์แ ละโบราณสถาน (Historic Buildings and Ancient Monument Acts) กําหนดให้มเี งินทุนในการซ่อมแซมและ บํ า รุ ง รัก ษาอาคารประวัติศ าสตร์จ ากรัฐ บาล รวมทัง้ การขอยกเว้น ภาษีม รดกกรณี เ ป็ น อาคาร ประวัตศิ าสตร์ ใน ค.ศ. 1953 (Ross 1995: 165-166) ซึง่ ถือเป็ นการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อลด แรงกดดันจากการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงอีกประการคือการกระจายอํานาจไปยังแคว้นเวลส์และ สก็อตแลนด์ โดยให้มสี ภาว่าด้วยอาคารประวัตศิ าสตร์ (Historic Buildings Councils) ของแต่ละแคว้น แยกอิสระออกจากอังกฤษ และต่อมาใน ค.ศ. 1957 ได้มกี ารจัดตัง้ กองทุนประชาคม (Civic Trust) ขึน้ กองทุนนี้เป็ นองค์กรที่สามารถรับงบประมาณจากรัฐบาลกลางได้ในการจัดทําโครงการอนุ รกั ษ์ใน ระดับท้องถิน่ มีวตั ถุประสงค์หลักคือเพือ่ ปกป้องการพัฒนาทีไ่ ม่เหมาะสมโดยเริม่ ด้วยความสําเร็จจาก การต่อต้านโครงการของนักลงทุนในบริเวณ Piccadilly Circus ซึง่ ต่อมาได้รบั การสนับสนุ นด้วยการ เข้าเป็ นสมาชิกกองทุนจากรัฐบาลท้องถิน่ เป็ นอันมาก การขยายขอบเขตการอนุ รกั ษ์จากอาคารโดดๆ มาเป็ นการอนุ รกั ษ์ทงั ้ พืน้ ทีเ่ ริม่ ใน ค.ศ. 1966 จากรายงานการศึกษาวิจยั เมืองประวัตศิ าสตร์ 4 เมือง (The Four Towns reports) คือ Chester, Chichester, Bath และ York มีขอ้ เสนอแนะทีต่ รงกันโดยมิได้นัดหมายคือในการรักษาย่าน 70
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ประวัตศิ าสตร์ใจกลางเมือง จําเป็ นต้องพิจารณาประเด็นปญั หาต่างๆ หลายประเด็น ได้แก่ แรงกดดัน ทางเศรษฐกิจ ความต้องการเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยอาคารเก่า การจราจร และปญั หาสําคัญคือความ จําเป็ นในการมีงบประมาณเพื่อมิให้อาคารทรุดโทรม และในปี ต่อมาได้มกี ารประกาศใช้ Civic Amenities Act ซึง่ อาจแปลโดยความหมายได้ว่า พ.ร.บ.รักษาความเป็ นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน (คําว่า Amenities มีความหมายโดยทัวไปคื ่ อสาธารณูปการ และอีกความหมายหนึ่งคือสิง่ อํานวย ความสะดวกสาธารณะทีม่ คี วามสวยงาม เป็ นระเบียบเรียบร้อย) ซึง่ ได้ให้อํานาจรัฐบาลท้องถิน่ พร้อม ด้วยการสนับสนุ นจาก Civic Trust ในการกําหนดพืน้ ทีท่ ่มี คี วามสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และ สถาปตั ยกรรมทีม่ คี ุณค่าควรแก่การอนุรกั ษ์ ซึง่ ถือได้วา่ เป็ นต้นกําเนิดของการมีกฎหมายคุม้ ครองเพื่อ การอนุรกั ษ์ทงั ้ พืน้ ทีห่ รือทัง้ บริเวณ ไม่ใช่อาคารโดดๆ ในปี ต่อมา คือ ค.ศ. 1968 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การผังเมือง (Town and Country Planning Act) ฉบับใหม่ทม่ี กี ารเปลีย่ นแปลงในด้านการอนุ รกั ษ์ทส่ี าํ คัญ 2 ประการ ประการแรก คือ การให้อาคารทีเ่ ป็ นทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Buildings) สามารถขึน้ บัญชีเป็ นอาคาร สําคัญ (Listed Buildings) ได้ และประการทีส่ อง คือการกําหนดขัน้ ตอนการตัดสินใจในระดับท้องถิน่ ในการกําหนดพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area) โดยให้มกี ารจัดตัง้ คณะกรรมการท้องถิน่ สําหรับ พืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area Local Government Committee) ของแต่ละท้องถิน่ และให้มี กระบวนการหารือสาธารณะ (Public Consultation) โดยผูม้ สี ว่ นได้เสียประกอบไปด้วย ผูอ้ ยูอ่ าศัยใน พืน้ ที่ เทศมนตรี ผูแ้ ทนภาคธุรกิจ และนักวิชาชีพ เข้าร่วมในการหารือ แต่อาํ นาจในการตัดสินใจยังคง เป็ นดุลยพินิจของรัฐบาลท้องถิน่ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จากผลการวิจยั โดยผูเ้ ชีย่ วชาญทีศ่ กึ ษาเมืองประวัตศิ าสตร์ 4 เมือง ข้างต้น ได้นําไปสูก่ ารจัดตัง้ คณะกรรมการนโยบายการอนุ รกั ษ์ (Preservation Policy Group-PPG) ขึน้ ใน ค.ศ. 1970 คณะกรรมการนี้เป็ นคณะกรรมการระดับชาติ มีหน้าที่ในการพิจารณาการแก้ไข ปญั หาทีเ่ กิดขึน้ ในเมือง 4 เมืองทีศ่ กึ ษา รวมทัง้ การทบทวนสถานการณ์ในเมืองต่างๆ ทัวประเทศ ่ และการกําหนดข้อเสนอแนะในด้านกฎหมาย การเงิน และการบริหารจัดการเพื่อการอนุ รกั ษ์ ซึ่งใน รายงานได้กล่าวถึงการเปลี่ยนทัศนคติต่ออาคารอนุ รกั ษ์ทเ่ี ริม่ จะมีความคิดเห็นสาธารณะเข้ามามาก ขึน้ จากเดิมที่มแี ค่ผเู้ ชี่ยวชาญ โดยคณะกรรมการฯ ได้เสนอแนะว่าการพิจารณาว่าบริเวณใดควรจะ อนุ ร ัก ษ์ นั น้ ควรมาจากการตัด สิน ใจของท้อ งถิ่น (ซึ่ง โดยนั ย ท้อ งถิ่น ต้อ งมีก ระบวนการในการ ปรึก ษาหารือ กับ ภาคประชาชน) และรัฐ บาลกลางจะเป็ น ผู้พิจ ารณาให้ง บประมาณสนั บ สนุ น ต่อจากนัน้ อีก 2 ปี คือใน ค.ศ. 1972 ได้มกี ารปรับปรุง พ.ร.บ.การผังเมืองโดยให้มกี ารจัดสรร งบประมาณในการบํารุงรักษาอาคารประวัตศิ าสตร์จากรัฐบาลกลางเป็ นครัง้ แรก รวมทัง้ การควบคุม การรือ้ ถอนอาคารทีไ่ ม่ได้ขน้ึ บัญชีในพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ นอกจากนัน้ การรักษาคุณค่าของพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์มไิ ด้ จํากัดเฉพาะอาคารเท่านัน้ ใน ค.ศ. 1971 ได้มกี ารตรา พ.ร.บ.ความเป็ นระเบียบเรียบร้อยในเมืองและ ชนบท (Town and Country Amenities Act 1971) ซึง่ เป็ นการให้อํานาจรัฐบาลท้องถิน่ ในการ คุม้ ครองต้นไม้ในเขตอนุ รกั ษ์ ซึ่งมีการควบคุมทีเ่ ข้มงวดขึน้ ในการปรับปรุง พ.ร.บ. นี้ใน ค.ศ. 1974 โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
71
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ด้วย การตัง้ คณะกรรมการนโยบายของอังกฤษ ไม่ได้มอี ํานาจในการใช้กฎหมาย แต่ให้หน่ วยงานที่ เกีย่ วข้องออกกฎหมายแทน เช่น PPG กําหนดให้มกี ารลดภาษี แต่ผทู้ ด่ี าํ เนินการคือกรมสรรพากร เหตุการณ์ทเ่ี ป็ นจุดเปลีย่ นของการอนุ รกั ษ์ทม่ี าจากภาคประชาชนเกิดขึน้ ใน ค.ศ. 1974 ด้วย เมื่อพืน้ ที่ Covent Garden ทีต่ งั ้ อยูร่ มิ แม่น้ําเทมส์ใจกลางกรุงลอนดอนซึง่ เริม่ พัฒนาตัง้ แต่ ค.ศ. 1630 จนเป็ นตลาดค้าส่งสินค้าการเกษตรขนาดใหญ่ ได้มกี ารย้ายตลาดออกไปและรัฐบาลได้มโี ครงการ พัฒนาเป็ นศูนย์พาณิชยกรรมขนาดใหญ่ แต่ชุมชนและนักอนุ รกั ษ์ได้ต่อต้านโครงการดังกล่าว และ นํ ามาซึ่งการสํารวจและขึน้ บัญชีอาคารสําคัญในพืน้ ทีเ่ ป็ นจํานวนมากรวมทัง้ การฟื้ นฟูในเชิงอนุ รกั ษ์ พืน้ ทีซ่ ง่ึ แม้ในปจั จุบนั ก็ยงั มีดาํ เนินการอยู่ กระแสการอนุ รกั ษ์จากชุมชนและท้องถิน่ ดังมีกรณี Covent Garden เป็ นตัวอย่าง ทําให้ ชุมชนท้องถิน่ อื่นเห็นความสําคัญของการขึน้ บัญชี ทําให้จํานวนอาคารที่ขน้ึ บัญชีเพิม่ ขึน้ เป็ นอย่าง มาก จาก 120,000 แห่งใน ค.ศ. 1970 เป็ น 273,000 แห่งในปลาย ค.ศ. 1980 และเพิม่ เป็ น 395,000 แห่งใน ค.ศ. 1987 และประมาณ 500,000 แห่งใน ค.ศ. 1994 โดยร้อยละ 94 เป็ นอาคารทีข่ น้ึ บัญชี ระดับท้องถิน่ หรือ Grade II ส่วนจํานวนพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์หลังจากการประกาศใช้ Civic Amenities Act 1967 แล้ว จนถึง ค.ศ. 2001 มีจํานวนเกือบถึง 10,000 บริเวณ ซึง่ หากนับรวมอาคารทัง้ หมดที่ เกี่ยวข้องกับการอนุ รกั ษ์ทุกประเภทแล้ว มีจํานวนเท่ากับร้อยละ 5 ของอาคารทัง้ หมด (building stock) ในประเทศอังกฤษ การเพิม่ จํานวนอาคารและพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ทร่ี วดเร็วในช่วงดังกล่าว นอกจากกระแสการกระจาย อํานาจและการมีจติ สํานึกด้านการอนุ รกั ษ์ทงั ้ ในภาครัฐและประชาชนแล้ว การประกาศปี แห่งการ อนุ รกั ษ์มรดกสถาปตั ยกรรมโดยประชาคมยุโรป (European Architectural Heritage Year-EAHY) ใน ค.ศ. 1975 ยังเป็ นปจั จัยหนึ่งในการส่งเสริมให้มกี ารอนุรกั ษ์เพิม่ ขึน้ ด้วย โดยในอังกฤษเองได้มกี าร สนองตอบ EAHY ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการสนับสนุ นงบประมาณจากรัฐให้แก่กองทุน ประชาคม (Civic Trust) และการจัดตัง้ กองทุนมรดกสถาปตั ยกรรม (Architectural Heritage Fund) เป็ นงบประมาณจากรัฐบาลทีจ่ ะมอบให้กองทุนย่อยในท้องถิน่ ในลักษณะเงินกู้ มีรายงานว่าในช่วงปี มรดกสถาปตั ยกรรมยุโรป มีการจัดสรรงบประมาณ 450,000 ปอนด์ และกองทุนแห่งชาติของสก็อต แลนด์ได้รบั เงินนี้สว่ นหนึ่งในการดําเนินโครงการอนุ รกั ษ์บา้ นขนาดเล็ก (Little Houses Scheme) ทีม่ ี คุณค่าควรแก่การอนุ รกั ษ์ นอกจากนัน้ ยังมีการจัดตัง้ โครงการ SAVE Britain’s Heritage ซึง่ มีการจด ทะเบียนเป็ นองค์กรการกุศล ก่อตัง้ โดยกลุ่มนักเขียนเรื่องเกี่ยวกับสถาปตั ยกรรมและนักต่อสู้ด้าน อนุ รกั ษ์ มีบทบาทอย่างมากในช่วง 30 ปีทผ่ี า่ นมาในด้านการคัดค้านการทําลายอาคารประวัตศิ าสตร์ ต่อมาใน ค.ศ. 1979 ได้มกี ารตรา พ.ร.บ. โบราณสถานและพื้นที่โบราณคดี (Ancient Monuments and Archaeological Area Act) ขึน้ พืน้ ทีต่ าม พ.ร.บ. นี้สว่ นใหญ่หมายถึงบริเวณทีม่ ี อาคารสมัยใหม่ตงั ้ อยูแ่ ล้ว หรือกําลังมีโครงการจะสร้างอาคารใหม่ แต่มกี ารขุดค้นทางโบราณคดีและ พบหลักฐานเพิม่ เติม จึงต้องมีการกําหนดวิธกี ารทีไ่ ด้มาซึง่ การตัดสินใจว่าจะพัฒนาในรูปแบบใดโดย ที่ยงั สะท้อนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ การดําเนินการดังกล่าว ทําให้การพัฒนาโครงการ 72
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
สมัยใหม่เกิดขึน้ ในพืน้ ทีท่ เ่ี ป็ นแหล่งโบราณคดีได้ และมีการศึกษาในเรื่องของการแปลความและการ นําเสนอคุณค่ามรดกวัฒนธรรม (Interpretation and Presentation of Heritage Value) ทีไ่ ม่ใช่เพียง การบูรณะอาคารหรือสิง่ ก่อสร้างเท่านัน้ ดังนัน้ ในอังกฤษรวมถึงประเทศต่างๆ ในยุโรป จึงได้มกี าร พัฒ นาโครงการที่เ ป็ น ห้า งสรรพสิน ค้า สมัย ใหม่ ในขณะเดีย วกัน พื้น ที่ใ ต้ ดิน ก็มีก ารนํ า เสนอ ประวัตศิ าสตร์ของพืน้ ทีด่ ว้ ยการนําเสนอในรูปแบบทีห่ ลากหลาย จากปญั หาของการรวมงานอนุ รกั ษ์ไว้ในเรื่องของสิง่ แวดล้อมโดยการจัดตัง้ กรมสิง่ แวดล้อมที่ ซํ้าซ้อนกับท้องถิน่ และหน่วยงานอื่นใน ค.ศ. 1970 ได้นํามาสูก่ ารตรากฎหมายฉบับใหม่เพื่อแยกงาน อนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมออกมาต่างหาก คือ พ.ร.บ. มรดกแห่งชาติ (National Heritage Act) ใน ค.ศ. 1983 และในปี ต่อมา คือ ค.ศ. 1984 ได้มกี ารจัดตัง้ คณะกรรมาธิการว่าด้วยอาคารประวัตศิ าสตร์และ โบราณสถานแห่งอังกฤษ (Historic Buildings and Monuments Commission for England) เรียก สัน้ ๆ ว่า English Heritage เป็ นองค์กรอิสระและกลายมาเป็ นองค์กรทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับการบริหาร จัดการมรดกวัฒนธรรมในอังกฤษจนถึงปจั จุบนั การแยกงานมรดกวัฒนธรรมออกจากกรมสิง่ แวดล้อม มีความชัดเจนขึน้ ใน ค.ศ. 1992 ด้วยการจัดตัง้ กรมมรดกแห่งชาติ (Department of National Heritage) ซึง่ ต่อมาได้เปลีย่ นเป็ นกรมวัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา (Department of Culture, Media and Sport-DCMS) ในปี 1997
รูปที่ 4-12 เมือง Chester (รูปจาก www.englishtouristguide.com ค้นหาเมือ่ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553)
รูปที่ 4-13 เมือง Chichester (รูปจาก www.yourlocalweb.co.uk ค้นหาเมือ่ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553)
รูปที่ 4-14 เมือง Bath (รูปจาก www.bath-flat.co.uk ค้นหาเมือ่ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553)
รูปที่ 4-15 เมือง York (รูปจาก www.deliciousbaby.com ค้นหา เมือ่ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
73
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตารางที่ 4–5 แสดงวิวฒ ั นาการของการอนุ รกั ษ์ในอังกฤษ ค.ศ. 1670 1849 1877
พ.ศ. 2213 2392 2420
1882 1895
2425 2438
1908
2451
1913
2456
1944
2487
1947
2490
1953
2496
1957 1966 1967 1968 1969 1970
2500 2509 2510 2511 2512 2513
1971
2514
1972 1974 1975
2515 2517 2518
1979 1983 1984
2522 2526 2527
74
เหตุการณ์ การศึกษาประวัตศิ าสตร์สถาปตั ยกรรมโดย John Aubrey แนวคิดทีเ่ ป็ นรากฐานการอนุ รกั ษ์ปจั จุบนั โดยเคารพความเป็ นของแท้ โดย John Ruskin จัดตัง้ สมาคมเพื่อคุม้ ครองอาคารโบราณสถาน (Society for the Protection of Ancient BuildingsSPAB) โดย William Morris พระราชบัญญัตโิ บราณสถานฉบับแรก จัดตัง้ กองทุนแห่งชาติสาํ หรับสถานทีส่ าํ คัญทางประวัตศิ าสตร์หรือธรรมชาติอนั สวยงาม (National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) คณะกรรมาธิการแห่งชาติวา่ ด้วยอนุ สรณ์สถานทางประวัตศิ าสตร์แห่งอังกฤษ (Royal Commission on the Historical Monuments of England-RCHM) พ.ร.บ. โบราณสถานฉบับแก้ไข (Ancient Monuments Consolidation and Amendment Act) จัดตัง้ คณะกรรมการโบราณสถาน (Ancient Monument Board) เริม่ ระบบการขึน้ บัญชี (listing) และการจัดลําดับอาคารสําคัญเป็ น 4 ระดับ Grades I, II*, II & III ในกฎหมายผังเมือง บัญชีอาคารสําคัญ (listed buildings) ประกาศเป็ นทางการใน พ.ร.บ. การผังเมือง (Town and Country Planning Act) พ.ร.บ. อาคารประวัตศิ าสตร์และโบราณสถาน (Historic Buildings and Ancient Monument Acts) กําหนดให้มเี งินทุนในการซ่อมแซมและบํารุงรักษาอาคารประวัตศิ าสตร์ และการบรรเทาภาระภาษีมรดก กรณีเป็ นอาคารสําคัญในกฎหมายภาษีมรดก (Inheritance Tax Relief) จัดตัง้ กองทุนประชาคม (Civic Trust) เพือ่ ปกป้องมรดกฯ จากการโครงการพัฒนา การศึกษาวิจยั เมืองประวัตศิ าสตร์ 4 เมือง ทีเ่ สนอแนะให้มกี ารกําหนดงบประมาณในการบูรณะ Civic Amenities Act ให้ทอ้ งถิน่ กําหนดพืน้ ทีส่ าํ คัญทางประวัตศิ าสตร์และสถาปตั ยกรรม การกําหนดพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area) ใน พ.ร.บ. การผังเมือง 1968 ยกเลิกการจัดลําดับ Grade III ในระบบการขึน้ บัญชี จัดตัง้ กรมสิง่ แวดล้อม (Department of Environment-DoE) เพือ่ รวมงานอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมเข้ากับ งานอนุ รกั ษ์มรดกธรรมชาติ จัดตัง้ คณะกรรมการนโยบายการอนุ รกั ษ์แห่งชาติ (Preservation Policy Group-PPG) การให้อํานาจรัฐบาลท้องถิน่ คุม้ ครองต้นไม้ในเขตอนุ รกั ษ์ ใน พ.ร.บ. ความเป็ นระเบียบเรียบร้อยในเมือง และชนบท (Town and Country Amenities Act 1971) การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางในการบํารุงรักษาอาคาร ใน พ.ร.บ. การผังเมือง 1972 การต่อต้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐโดยชุมชนและแนวร่วมที ่ Covent Garden ประชาคมยุโรปประกาศปี แห่งการอนุ รกั ษ์มรดกสถาปตั ยกรรม (European Architectural Heritage YearEAHY) พ.ร.บ. โบราณสถานและพืน้ ทีโ่ บราณคดี (Ancient Monuments and Archaeological Area Act) พ.ร.บ. มรดกแห่งชาติ (National Heritage Act) จัดตัง้ องค์กรต่างๆ จัดตัง้ คณะกรรมาธิการมรดกแห่งอังกฤษ (English Heritage-Historic Buildings and Monuments Commission for England) และเริม่ การอนุ รกั ษ์สวนประวัตศิ าสตร์ อังกฤษให้สตั ยาบันในอนุ สญ ั ญาคุม้ ครองมรดกโลก
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
1990 1992 1997
2533 2535 2540
บทที่ 4
ปรับปรุง พ.ร.บ. การผังเมืองให้มกี ระบวนการปรึกษาหารือในกรณีพน้ื ทีอ่ นุ รกั ษ์ จัดตัง้ กรมมรดกแห่งชาติ (Department of National Heritage) แยกงานจากกรมสิง่ แวดล้อม เปลีย่ นกรมมรดกฯ เป็ น กรมวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา (Department of Cultural, Media and SportDCMS)
4.4.2 การขึน้ ทะเบียน และการบริ หารจัดการย่านชุมชนประวัติศาสตร์ อังกฤษมีระบบการขึน้ ทะเบียนมรดกวัฒนธรรมดังนี้ 1) กรณีโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี กําหนดโดย พ.ร.บ. โบราณสถานและพืน้ ที่ โบราณคดี (Ancient Monuments and Archaeological Area Act) ค.ศ. 1979 ซึง่ โดยทัวไปหมายถึ ่ ง แหล่งโบราณคดีและประวัตศิ าสตร์ทไ่ี ม่มผี อู้ าศัยแล้วในปจั จุบนั โดยเรียกชื่อทะเบียนนี้วา่ Scheduled Ancient Monuments จากข้อมูลในปี 1994 มีจาํ นวน 15,429 รายการ ั หาในเรื่อ งการขึ้น 2) กรณี โ บสถ์ ได้มีก ารแยกบัญ ชีอ อกต่ า งหากเช่ น กัน เนื่ อ งจากมีป ญ ทะเบียนโบสถ์ท่ยี งั มีการใช้งานอยู่ซ่งึ ส่วนใหญ่กฎหมายอนุ รกั ษ์จะมีปญั หากับพระซึ่งมักจะขอเป็ น ข้อยกเว้นจากการอนุ รกั ษ์ทงั ้ ในกฎหมายโบราณสถานและกฎหมายผังเมืองเนื่องจากพระต้องการ ปรับปรุงและต่อเติมโบสถ์ ซึง่ ต่อมาโบสถ์ต่างๆ ได้ถูกทําลายจากสงครามและการพัฒนาเมืองจํานวน มากจนมีกลุ่มพระทีต่ อ้ งการอนุรกั ษ์ไว้จงึ ได้มรี ะบบของตนเองซึง่ แบ่งเป็ น Grade เช่นกันและในส่วนนี้ รัฐบาลมักจะไม่เข้าไปยุง่ เกีย่ วด้วย โดยให้องค์กรทางศาสนาเป็ นผูด้ าํ เนินการเอง โดยมีทข่ี น้ึ ทะเบียน ไว้ในปี ค.ศ. 1994 (เรียก Listed Anglican Churches) จํานวน 12,970 รายการ 3) กรณีอาคารประวัตศิ าสตร์ เรียกการขึน้ บัญชี (Listing) ซึง่ เริม่ ในปี ค.ศ. 1944 โดยท้องถิน่ ใช้อาํ นาจตาม พ.ร.บ. การผังเมืองและชนบท มี 3 ระดับ จากปกป้องสูงสุดถึงตํ่าสุดเรียกเป็ น Grade คือ Grade I, Grade II* และ Grade II ซึง่ ส่วนใหญ่ใช้อายุสมัยเป็ นเกณฑ์ เดิมมี Grade III ด้วยซึง่ เป็ นการบันทึกเท่านัน้ ไม่ได้มสี ถานะทางกฎหมายรองรับเหมือนสามลําดับแรก ปจั จุบนั ไม่ได้ใช้แล้ว ในปี ค.ศ. 1994 มีอาคารที่ขน้ึ บัญชีทงั ้ 3 ระดับรวมกัน 447,043 รายการ (ที่เป็ นระดับสูงสุดคือ Grade I มี 6,078 รายการ) ปจั จุบนั มีกว่า 500,000 รายการแล้ว 4) ย่านอนุ รกั ษ์ (Conservation Areas) เช่นเดียวกับอาคารประวัตศิ าสตร์ คือมีการประกาศ โดยท้องถิ่นตามกฎหมายผังเมือง ซึ่งมีนิยามว่า “เป็ นพื้นที่ท่มี คี วามสําคัญทางสถาปตั ยกรรมหรือ ประวัตศิ าสตร์ในด้านลักษณะ รูปแบบ ซึ่งควรได้รบั การรักษาหรือส่งเสริม (areas of special architectural or historic interest the character of appearance of which it is desirable to preserve or enhance...)” ในปี ค.ศ. 1994 มียา่ นอนุ รกั ษ์ทป่ี ระกาศแล้ว 8,315 แห่ง และในปจั จุบนั ปี ค.ศ. 2009 มียา่ นอนุ รกั ษ์ทป่ี ระกาศแล้วเกิน 10,000 แห่ง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
75
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ในด้านการบริหารจัดการย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ (Conservation Areas) ซึง่ ได้มกี ารบูรณา การกับระบบผังเมืองและการพัฒนาเมืองในระดับท้องถิน่ มาตัง้ แต่ยุค 1960s ปจั จุบนั นับแต่ปี ค.ศ. 2006 ได้มกี ารบริหารจัดการโดยสังเขปดังนี้ 1) ตามปกติ ทุกเทศบาลจะต้องทําแผนพัฒนาเชิงบูรณาการอยู่แล้ว ซึง่ ในกรอบการพัฒนา ท้องถิน่ (Local Development Framework-LDF) กําหนดให้แผนพัฒนานัน้ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ก) แผนพัฒนา (Development Plan Documents-DPDs) หมายถึงแผนพัฒนาที่ เป็ นไปตามความต้องการเฉพาะของเมืองและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เชิงพืน้ ทีใ่ นระดับภาค (Regional Spatial Strategy) ข) รายละเอียดการดําเนินการ (Supplementary Planning Structure-SPS) หมายถึงรายละเอียดของแนวทางหรือแผนหรือกระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมในขัน้ ตอน ต่างๆ ในการจัดทําแผนนัน้ ค) วิธกี ารมีสว่ นร่วมของประชาชน (Local Authority’s Statement of Community Involvement-SCI) หมายถึงรัฐบาลท้องถิน่ จะต้องจัดทํามาตรฐานหรือขัน้ ตอนทีแ่ สดงให้เห็นว่าได้มี การให้ประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดทําแผนนัน้ จริงโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในขัน้ ของการตัดสินใจ ในโครงการพัฒนา 2) ในการบริหารจัดการดังกล่าว หากท้องถิน่ ใดมีพน้ื ทีอ่ นุ รกั ษ์เป็ นย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ จะต้องนํามาบูรณาการกับระบบการจัดทําแผนดังนี้ ก) ท้องถิน่ ต้องนําพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์เข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาตามกรอบ (LDF) ซึง่ การอนุรกั ษ์จะต้องเป็ นหนึ่งในแผนปฏิบตั กิ าร (Action Plan) ข) การประกาศเป็ นย่านอนุ รกั ษ์ (Designation) ท้องถิน่ พิจารณาตามหลักการว่ามี ความสําคัญทางสถาปตั ยกรรม ประวัติศาสตร์ เป็ นพิเศษหรือไม่ หากมีคุณค่าดังกล่าว จะต้องปิ ด ประกาศให้ป ระชาชนทราบเพื่อ ให้ไ ด้ก ารสนับ สนุ น จากภาคประชาชนเพื่อ นํ า เข้า ในแผนพัฒ นา ขัน้ ตอนนี้สามารถทําได้ในพืน้ ทีข่ นาดเล็กก่อนแล้วค่อยขยายพืน้ ทีเ่ มื่อประชาชนเห็นความสําคัญมาก ขึ้น ดัง นั น้ พื้น ที่อ นุ ร กั ษ์ อ าจเพิ่ม ขึ้น ได้ใ นแต่ ล ะปี ในขัน้ นี้ อ าจแจ้ง คณะกรรมการมรดกอัง กฤษ (English Heritage) ให้ทราบและรับรองคุณค่าความสําคัญเพื่อผนวกเข้าไปในฐานข้อมูล (Inventory) การประกาศนี้สาํ คัญมากเพราะหากอยู่ในฐานข้อมูลแล้วจะทําให้อาคารในพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์มสี ทิ ธิในการ ขอรับแรงจูงใจทางการเงินในรูปแบบต่างๆ จากรัฐบาลกลางและท้องถิน่ ได้ ค) หลังประกาศเป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์โดยอํานาจของท้องถิน่ ซึง่ เป็ นไปตามกฎหมายผัง เมือง (มาตรา 4 ของกฎหมายผังเมือง 1995) ท้องถิน่ จะต้องจัดให้มกี ระบวนการในการพิจารณาเมื่อ การเปลีย่ นแปลงในพืน้ ทีโ่ ดยต้องมีการปรึกษาหารือกับคณะผูเ้ ชีย่ วชาญก่อนการพัฒนาใดๆ
76
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ง) ท้องถิน่ ต้องแจ้งการประกาศและสถานะการเป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ให้หน่ วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลทุกระดับให้ทราบด้วยเพื่อจะได้ผนวกเข้าไปเป็ นข้อพิจารณาในโครงการต่างๆ ของแต่ละ หน่วยงานเพือ่ ลดผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ จ) ท้องถิน่ ต้องแจ้งเจ้าของทรัพย์สนิ ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ทุกราย จะเห็นได้ว่าการอนุ รกั ษ์ย่านประวัติศาสตร์ในอังกฤษนัน้ มีการบูรณาการเข้ากับการพัฒนา เมืองอย่างแท้จริงโดยเฉพาะในเรื่องของการมีสว่ นร่วมของประชาชนและการกําหนดแผนการอนุ รกั ษ์ ไว้ในกระบวนการในการจัดเตรียมและปฏิบตั ใิ ห้เป็ นไปตามพัฒนาเมือง 4.4.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การปกป้องมรดกวัฒนธรรมของอังกฤษได้มกี ารแยก โบราณสถาน (Ancient Monuments) ออกจากอาคารประวัตศิ าสตร์ (Historic Buildings) และใช้กฎหมายคนละฉบับ รวมทัง้ ได้แยกองค์กร และการบริหารออกเป็ นกฎหมายต่างหากอีก นอกจากนัน้ ยังมีการขึน้ ทะเบียนโบสถ์แยกเป็ นบัญชีอกี ต่างหากด้วยซึง่ จะไม่ขอกล่าวถึงเพราะไม่เกีย่ วข้องกับการศึกษานี้ ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการศึกษามี ดังนี้ 1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องโบราณสถาน ปจั จุบนั ใช้ พ.ร.บ. โบราณสถานและ พืน้ ทีโ่ บราณคดี (Ancient Monuments and Archaeological Areas Act) ค.ศ. 1979 ซึง่ มีรากฐานมา จากกฎหมายโบราณสถาน ค.ศ. 1882 ที่มกี ารประการคุ้มครองแหล่งโบราณสถาน Stonehenge อันมีช่อื เสียง ซึง่ กฎหมายฉบับนี้ได้ให้ความหมายของโบราณสถานว่านับเฉพาะแหล่งโบราณคดี เช่น เนินดิน หลุมศพโบราณ คลองขุดโบราณ ซึง่ หมายถึงพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่มกี ารอยูอ่ าศัยของมนุ ษย์แล้ว ต่อมาได้ มีการแก้ไขกฎหมายใน ค.ศ. 1900 ให้โบราณสถานเข้าถึงได้จากสาธารณะ (Public Access) และต้อง แจ้งเจ้าของทรัพย์สนิ ในกรณีเป็ นของเอกชน ต่อมาได้มกี ารแก้ไขกฎหมายอีกใน ค.ศ. 1931 และ 1933 ให้มคี ณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติ เป็ นทีป่ รึกษาเกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์แหล่งโบราณสถาน และโบราณคดี กฎหมายดังกล่าวได้ถูกยกเลิกและใช้กฎหมายในปี ค.ศ. 1979 แทน โดยส่วนใหญ่ ยังคงแนวคิดเดิมในด้านนิยามของโบราณสถาน แต่ปรับให้สามารถใช้กบั สถานทีท่ ม่ี กี ารอยู่อาศัยได้ ด้ว ยแต่ ใ นกรณี ท่ีสํา คัญ จริง ๆ เท่ านัน้ แต่ ก็ไ ม่ไ ด้ร วมอาคารประวัติศ าสตร์ซ่ึงมีก ฎหมายกํา หนด ต่างหาก กฎหมายฉบับนี้มที ะเบียนโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีแยกต่างหากจากระบบ Listing เรียก Scheduled Ancient Monuments ดังได้กล่าวแล้วในข้างต้น 2) กฎหมายทีเ่ กี่ยวกับการอนุ รกั ษ์อาคารและย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ ได้แก่ พ.ร.บ.การผัง เมืองและชนบท (Town and Country Planning Act) ซึง่ ได้ออกมาหลายฉบับ โดยฉบับแรก เป็ น กฎหมายทีร่ วมการพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยและอื่นๆ (Housing, Town Planning, Etc. Act) ในปี ค.ศ. 1909 รวมทัง้ ฉบับที่ 2 ในปี ค.ศ. 1919 ต่อมาได้มกี ารแยกกฎหมายผังเมืองโดยรวมทัง้ เมืองและชนบทเป็ น พ.ร.บ. การผังเมืองและชนบท (Town and Country Planning Act) ใน ค.ศ. 1932 ซึง่ เป็ นครัง้ แรกทีม่ ี โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
77
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
การกํา หนดว่ า ก่ อ นที่จ ะมีก ารรื้อ ถอนอาคารที่มีคุ ณ ค่า จะต้อ งผ่า นขัน้ ตอนการปรึก ษาหารือ จาก คณะกรรมาธิการอนุ รกั ษ์ก่อน ต่อมาได้มกี ารกําหนดแนวคิดการขึน้ บัญชีอาคารสําคัญในกฎหมายผัง เมืองนี้ใน ค.ศ. 1944 และกลายมาเป็ นบัญชีทก่ี ฎหมายรับรองในกฎหมายผังเมือง ค.ศ. 1947 ต่อมา ได้มกี ารปรับปรุงกฎหมายผังเมืองอีกในปี 1968 ให้มกี ารกําหนดย่านอนุ รกั ษ์ (Conservation Areas) และให้รฐั บาลท้องถิน่ มีอํานาจในการประกาศและวางแผนบริหารจัดการโดยใช้ประกอบกับ พ.ร.บ. พัฒนาท้องถิน่ (Civic Amenities Act) ค.ศ. 1967 ซึง่ เป็ นกฎหมายถ่ายโอนอํานาจสูท่ อ้ งถิน่ ด้านการ บริหารจัดการเมืองที่รวมแนวคิดย่านอนุ รกั ษ์ไว้ดว้ ย กฎหมายผังเมืองนี้ให้อํานาจรัฐบาลท้องถิน่ ใน การประกาศขึน้ บัญชีอาคารสําคัญ (Listing) ทีม่ ี 3 ระดับ (Grade I, II* และ III) รวมทัง้ การกําหนด ย่านอนุรกั ษ์ดว้ ยดังกล่าว 3) กฎหมายทีเ่ กีย่ วกับการบริหารจัดการและองค์กร ได้แก่ พ.ร.บ. มรดกแห่งชาติ (National Heritage Act) ค.ศ. 1983 กฎหมายฉบับนี้มที ม่ี าจากกฎหมายฉบับอื่นๆ ก่อนหน้าเช่นกันทีว่ ่าด้วย เรื่องการบริหารจัดการ องค์กรรับผิดชอบและการให้เงินสนับสนุ น ซึง่ ในกฎหมาย ค.ศ. 1983 นี้ได้ให้ มีการจัดตัง้ และกําหนดบทบาทของคณะกรรมาธิการมรดกแห่งอังกฤษ (English Heritage-Historic Buildings and Monuments Commission for England) ซึง่ ได้จดั ตัง้ ในปีต่อมา 4.2.4 องค์กรอนุรกั ษ์ การอนุ รกั ษ์ ใ นอัง กฤษ สามารถดําเนิ น การได้แ ละมีพฒ ั นาการโดยตลอดเนื่ องจากมีก าร ทํางานทีป่ ระสานกันเป็ นอย่างดีระหว่างองค์กรของรัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอาสาสมัคร องค์กรทีม่ ี บทบาทอาจแบ่งได้เป็ นองค์กรในภาครัฐและองค์กรอาสาสมัคร องค์กรต่างๆ มีลกั ษณะและบทบาท พอสังเขป ดังนี้ (Ross 1995: 51-71) 1) องค์กรภาครัฐ ประกอบไปด้วยหน่วยงานจากรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิน่ โดยหน่วยงานรัฐบาลกลาง ประกอบไปด้วย ก) กรมสิง่ แวดล้อม (Department of Environment-DoE) ก่อตัง้ ใน ค.ศ. 1970 ตาม สมัยนิ ยมในยุคนัน้ ที่เริม่ มีการตระหนักเรื่องสิง่ แวดล้อม โดยกรมนี้ได้รวมเอาส่วนต่ างๆ ของการ พัฒนาทัง้ ด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน รวมทัง้ การนํ าการพัฒนาเมืองและการคมนาคม ขนส่งเข้ามาด้วย ในส่วนของมรดกวัฒนธรรมภายในกรมนี้ได้มี 2 งานหลักทีส่ าํ คัญ งานแรก คือการ ตัง้ คณะอํานวยการโบราณสถานและอาคารประวัตศิ าสตร์ (Directorate of Ancient Monuments and Historic Buildings-DAMHB) ซึง่ เป็ นคณะกรรมการทีป่ ระกอบไปด้วยเจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงจากภาครัฐ งานที่สองคือการสร้างเครือข่ายในภูมภิ าค ซึ่งทัง้ สองงานนี้ได้เกิดประเด็นทางด้านการซํ้าซ้อนของ การทํางาน โดยเฉพาะการมีเครือข่ายกับท้องถิน่ ซึง่ ในอังกฤษได้มกี ารกระจายอํานาจและดําเนินการ ด้วยท้องถิ่นเองมานานแล้ว ในที่สุดจึงได้มกี ารจัดตัง้ หน่ วยงานแยกออกจากกรมสิง่ แวดล้อม คือ
78
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
มรดกแห่งอังกฤษ เมือ่ ค.ศ. 1984 และกรมมรดกแห่งชาติใน ค.ศ. 1992 ซึง่ ถือเป็ นการสิน้ สุดบทบาท ของการจัดการมรดกวัฒนธรรมภายใต้กรอบของสิง่ แวดล้อม ข) กรมมรดกแห่งชาติ (Department of National Heritage-DNH) จัดตัง้ เมื่อ ค.ศ. 1992 ต่อมารวมอยูใ่ นกรมวัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา (Department of Culture, Media and SportDCMS) ถือเป็ นองค์กรหลักของรัฐบาลกลางทีใ่ ช้อํานาจรัฐในการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรม มีสถานะ คล้ายกรมศิลปากรของไทย โดยมีอาํ นาจหน้าทีห่ ลัก 6 ประการ คือ (1) กําหนดนโยบายด้านการโบราณคดีและการอนุรกั ษ์มรดกทีส่ ร้างขึน้ (2) สนับสนุนงบประมาณให้แก่ มรดกแห่งอังกฤษ กองทุนมรดกแห่งชาติ คณะกรรมาธิการโบราณสถานแห่งชาติ คณะกรรมาธิการศิลปกรรมแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ของ รัฐ (3) ขึน้ ทะเบียนโบราณสถาน (scheduling monuments) และขึน้ บัญชี (listing) อาคารสําคัญ (4) ดําเนินงานบูรณะซ่อมแซม การซือ้ ทรัพย์สนิ การกําหนดขัน้ ตอน และ การสงวนอํานาจในการประกาศเขตอนุรกั ษ์ (5) การให้เงินอุดหนุ นแก่องค์กรมรดกวัฒนธรรม (6) การยกเว้นคริสตจักรจากการควบคุมของการขึน้ บัญชี ค) คณะกรรมาธิการมรดกแห่งอังกฤษ (English Heritage) เป็ นชื่อเรียกสัน้ ๆ ของ คณะกรรมาธิการว่าด้วยอาคารประวัตศิ าสตร์และอนุ สรณ์สถานแห่งอังกฤษ (Historic Buildings and Monuments Commission for England) เป็ นองค์กรอิสระทีม่ หี น้าทีห่ ลักในการให้คําปรึกษาแก่ รัฐบาลในเรื่องมรดกวัฒนธรรมและส่งเสริมให้เกิดการอนุ รกั ษ์ การดําเนินงานของมรดกแห่งอังกฤษ ประสบความสําเร็จเป็ นอันมาก โดยมีการดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในทุกมิตทิ ุกระดับทัง้ รัฐ เอกชน องค์กรต่างๆ ภายใต้วตั ถุประสงค์หลัก 3 ประการ (1) อนุรกั ษ์และส่งเสริมสิง่ แวดล้อมประวัตศิ าสตร์ (Historic Environment) (2) ขยายโอกาสให้สาธารณะเข้าถึงมรดกวัฒนธรรมได้ (3) เพิม่ พูนความรูค้ วามเข้าใจของประชาชนเกีย่ วกับความสําคัญของ ประวัตศิ าสตร์ ง) คณะกรรมาธิการว่าด้วยอนุสรณ์สถานทางประวัตศิ าสตร์ (The Royal Commissions on Historical Monuments-RCHM) เป็ นองค์กรเก่าแก่ทจ่ี ดั ตัง้ มาตัง้ แต่ ค.ศ. 1908 ทีเ่ ริม่ ต้น ด้วยการจัดทําทะเบียนอาคารทีม่ คี ุณค่า ปจั จุบนั มีหน้าทีเ่ กีย่ วข้องกับแหล่งโบราณคดีรวมทัง้ การให้ ข้อมูลข่าวสาร แต่หน้าทีห่ ลักคือยังคงเป็ นศูนย์กลางข้อมูลด้านทะเบียนโบราณสถานของอังกฤษ หน่ ว ยงานของรัฐ ที่สํา คัญ นอกจากรัฐ บาลกลางคือ รัฐ บาลท้อ งถิ่น ซึ่ง ในอัง กฤษถือ เป็ น หน่ วยงานแนวหน้าของการดําเนินการภาคปฏิบตั ใิ นการอนุ รกั ษ์ เป็ นองค์กรทีม่ อี ํานาจทัง้ ทางปฏิบตั ิ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
79
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
และการตัด สิน ใจทางการเงิน ซึ่ ง ต้ อ งมีก ารดํ า เนิ น งานตามกรอบการพัฒ นาท้ อ งถิ่ น (Local Development Framework-LDF) ตามทีร่ ฐั บาลกลางกําหนดดังได้กล่าวมาแล้ว 2) กองทุนแห่งชาติ (National Trust) กองทุนแห่งชาติของอังกฤษเป็ นองค์กรอนุ รกั ษ์เอกชน ที่มชี ่อื เสียงและประสบความสําเร็จมากที่สุดในโลกจนเป็ นแม่แบบแห่งกองทุนอนุ รกั ษ์ของประเทศ อื่นๆ รวมทัง้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นรวมทัง้ ประเทศในเครือจักรภพ กองทุนแห่งชาติก่อตัง้ ในปี ค.ศ. 1895 โดยมีช่อื เต็มว่า กองทุนแห่งชาติเพื่อสถานที่ท่มี คี วามสําคัญทางประวัตศิ าสตร์หรือความงาม ทางธรรมชาติ (The National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) โดยเริม่ จากความพยายามในการอนุ รกั ษ์สวนและได้ขยายมาเป็ นพืน้ ทีท่ างธรรมชาติและอาคารในภายหลัง มี ผูก้ ่อตัง้ สามคน คือ Miss Octavia Hill, Sir Robert Hunter and Canon Hardwicke Rawnsley บทบาทของกองทุนแห่งชาติคอื การซื้อทรัพย์สนิ ที่มคี ุณค่าทางประวัตศิ าสตร์และที่มคี วามงามตาม ธรรมชาติมาดําเนินการอนุ รกั ษ์ บางแห่งทีม่ ศี กั ยภาพทางการพาณิชย์เช่น เป็ นโรงแรมหรือสถานทีจ่ ดั ประชุม ก็ดําเนินการเพื่อหารายได้ซง่ึ ได้รบั การยกเว้นภาษี เงินทุนมาจากค่าสมาชิกซึง่ ปจั จุบนั มีกว่า 3.5 ล้านคนและกําไรจากการดําเนินกิจการซึง่ จะกลายเป็ นเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุนต่อไป ในปี ค.ศ. 1937 รัฐบาลได้ออกกฎหมายรับรองกองทุนแห่งชาติเป็ นพระราชบัญญัตซิ ง่ึ ทําให้ กองทุนนี้ซง่ึ เป็ นกองทุนเอกชนสามารถดําเนินการซือ้ ทรัพย์สนิ มาดําเนินการอนุ รกั ษ์และมีการบริหาร จัดการกองทุนได้ ปจั จุบนั กองทุนนี้มพี น้ื ที่ธรรมชาติอยู่ในการดูแลถึง 612,000 เอเคอร์ (1,530,000 ั่ ไร่) รวมทัง้ พืน้ ทีช่ ายฝงทะเลที ป่ กป้องได้เป็ นระยะทางกว่า 700 ไมล์ (ราว 1,126 กิโลเมตร) และมี อาคารทีด่ แู ลถึงกว่า 200 แห่ง นอกจากกองทุนแห่งชาติแล้ว ยังมีองค์กรอื่นทีจ่ ดั ตัง้ โดยรัฐบาลอีกซึง่ มีบทบาททางด้านการ ให้งบประมาณ เช่น สภาอาคารประวัตศิ าสตร์เพื่ออังกฤษ (The Historic Buildings for England) ซึง่ จัดตัง้ โดยกฎหมายอาคารประวัตศิ าสตร์และพืน้ ทีโ่ บราณคดี ค.ศ. 1953 แต่เนื่องจากบทบาทของการ อนุ รกั ษ์ในเวลาต่อมาเป็ นของรัฐบาลท้องถิน่ และกองทุนแห่งชาติ องค์กรนี้จงึ ได้ลดความสําคัญลง 4.4.5 แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ในระบบการขึน้ บัญชีของอังกฤษไม่ได้บงั คับเจ้าของว่าต้องดูแลให้อยูใ่ นสภาพดี แต่สว่ นใหญ่ ประชาชนชาวอังกฤษจะรักษาอาคารของตนเองด้วยความภาคภูมใิ จในประวัตศิ าสตร์อนั เคยรุ่งเรือง ยิง่ ใหญ่ของตน แต่กม็ หี ลายกรณีทเ่ี จ้าของปล่อยให้ผุพงั ลงไปด้วยเหตุผลสองประการ คือ 1) ไม่มเี งิน ซ่อมแซมจริงๆ และ 2) ต้องการรือ้ แล้วสร้างใหม่เพราะราคาทีด่ นิ สูงขึน้ ในกรณีทม่ี กี ารปล่อยปละ ละเลย เจ้าพนักงานท้องถิน่ สามารถดําเนินการได้ 3 วิธกี าร ดังนี้ 1) พิจารณาว่าเป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยหรือไม่ หากเป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยจะใช้กฎหมายทีอ่ ยูอ่ าศัยแจ้งว่า อาคารนัน้ ไม่ผา่ นเกณฑ์มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยเนื่องจากมีสภาพทรุดโทรม ทําให้เจ้าของต้องมีการ ซ่อมแซม 80
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
2) แจ้งเจ้าของตามกฎหมายผังเมือง ค.ศ. 1990 ว่าให้รบี ซ่อมแซม หากไม่ดาํ เนินการภายใน 2 เดือนรัฐบาลสามารถซือ้ หรือเวนคืนได้ซง่ึ มีกระบวนการในการพิจารณาของรัฐบาล 3) รัฐบาลดําเนินการซ่อมเร่งด่วนให้และคิดค่าใช้จา่ ยกับเจ้าของภายหลังตามกฎหมายผัง เมือง ค.ศ. 1990 (ตอนที่ 54) ในด้านแรงจูงใจทางการเงินเพือ่ มิให้เกิดการปล่อยปละละเลยดังกล่าว อังกฤษมีวธิ กี าร ดังนี้ 1) เงินช่วยเหลือ (Grants) มีแหล่งเงินทุน 8 แหล่ง ดังนี้ ก) ทุนจาก พ.ร.บ. กองทุนอาคารประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดี โดยมีเกณฑ์ กว้างๆ ดังนี้ (1) เพือ่ ซ่อมแซมและรักษาอาคาร Grade I, II* เป็ นหลัก และ Grade II บาง แห่งทีม่ คี ุณค่าสูงเป็ นพิเศษ (2) เพือ่ รักษาทีด่ นิ ทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงอาคารทีข่ น้ึ บัญชีเพือ่ รักษาทัศนียภาพ (3) ซ่อมแซมและรักษาวัตถุทอ่ี ยูใ่ นอาคารสําคัญ (4) รักษาสวนและพืน้ ทีโ่ ดยรอบอาคารสําคัญ ข) เงินทุนสําหรับย่านอนุ รกั ษ์ (Conservation Area Grants) ตาม พ.ร.บ.การผัง เมือง 1990 รัฐบาลจะมีทุนในการปรับปรุงอาคารสําหรับย่านอนุ รกั ษ์ทม่ี กี ารประกาศโดยท้องถิน่ โดย เอกชนสามารถขอได้ทค่ี ณะกรรมาธิการระดับชาติโดยต้องได้รบั การสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิน่ ค) งบประมาณจากโครงการพัฒนาเมือง (Town Scheme Grants) ในกรณีทท่ี อ้ งถิน่ มีโครงการพัฒนาเมืองซึ่งรวมพื้นที่หรืออาคารอนุ รกั ษ์ด้วย สามารถใช้งบประมาณเพื่อการบูรณะ ซ่อมแซมภายใต้โครงการนี้ได้ ง) เงินทุนจากโครงการร่วมในย่านอนุ รกั ษ์ (Conservation Area PartnershipsCAPs) เป็ นเงินทุนแบบสมทบจากรัฐบาลกลาง ท้องถิ่น และเอกชน ที่ดําเนินการฟื้ นฟูภายในย่าน อนุ ร กั ษ์ วิธีก ารนี้ กํ า ลัง ได้ร บั ความนิ ย มเพราะเงิน ทุ น จากแหล่ ง อื่น ส่ว นใหญ่ มีจํา กัด รัฐ บาลต้อ ง จัดลําดับความสําคัญ จ) เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลท้องถิน่ (Local Authority Grants) รัฐบาลท้องถิน่ สามารถใช้งบประมาณช่วยเหลือการซ่อมแซมอาคารเอกชนได้ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง 1990 แต่สว่ น ใหญ่มจี าํ กัดมาก ฉ) ทุนจากสหภาพยุโรป (European Union Grants) สหภาพยุโรปมีงบประมาณเพื่อ ช่วยเหลือประเทศสมาชิกด้านการอนุรกั ษ์ตงั ้ แต่ปี 1984 ซึง่ มีหวั ข้อเฉพาะ (Theme) ของแต่ละปี ช) กองทุนสลากกินแบ่งเพื่อการอนุ รกั ษ์ (National Heritage Memorial Fund and National Lottery) กองทุนนี้ตงั ้ ขึน้ ในปี 1980 แทนกองทุนทีด่ นิ แห่งชาติ ซึง่ ส่วนหนึ่งมีทม่ี าจากการ ออกสลากกินแบ่งเพื่อมรดก (Heritage Lottery) ทีเ่ ป็ นทีน่ ิยมในอังกฤษ กองทุนนี้มใี ห้สาํ หรับเป็ นทุน หรือเป็ นเงินกูส้ าํ หรับซือ้ บํารุงรักษา หรืออนุ รกั ษ์ทด่ี นิ อาคาร หรือสิง่ ก่อสร้างทีม่ ภี ูมทิ ศั น์สวยงาม มี โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
81
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
คุณค่าทางประวัตศิ าสตร์ ศิลปกรรมและสถาปตั ยกรรม แต่ละปี มเี งินทุนประมาณ 320 ล้านปอนด์แต่ ไม่ได้ใช้เพือ่ การอนุรกั ษ์ทงั ้ หมดเพราะส่วนหนึ่งต้องนําไปช่วยกิจการอื่นของรัฐด้วย ซ) เงินกูจ้ ากกองทุนท้องถิน่ (Local Trust) ซึง่ เป็ นกองทุนหมุนเวียน โดยกองทุน ท้องถิน่ อาจได้รบั เงินตัง้ ต้นจากกองทุนมรดกสถาปตั ยกรรมของรัฐบาล 2) มาตรการทางภาษี (Tax incentives) อังกฤษไม่มกี ารให้แรงจูงใจทางภาษีโดยเฉพาะการ ลดภาษีเงินได้จากค่าบูรณะอาคารซึ่งใช้กนั อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา แรงจูงใจทางภาษีของ อังกฤษค่อนข้างมีการใช้อย่างจํากัดและมีเงือ่ นไขมากมาย ดังนี้ ก) การยกเว้นภาษีมรดก (Inheritance Tax Relief) ในอังกฤษมีการเก็บภาษีมรดก ในอัตราสูงซึง่ หากเป็ นอาคารทีข่ น้ึ บัญชี จะได้รบั การยกเว้นตามเงือ่ นไขดังนี้ (1) เป็ นอาคารทีม่ คี วามสําคัญ มีคุณค่าโดดเด่น โดยผูพ้ จิ ารณา คือ กรมสรรพากร (Inland Revenue) ซึง่ จะหารือกับคณะกรรมาธิการอนุรกั ษ์ (2) มีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม มีการอนุรกั ษ์ถูกต้องตามหลักการ (3) มีการเปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้ตามกําหนดเวลา (4) การยกให้หน่วยงานของรัฐหรือกองทุนหรือองค์กรทีไ่ ม่แสวงหาผลกําไร จะได้รบั การยกเว้นภาษีมรดกเช่นกัน ข) การยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิม่ (Value Added Tax Exemption) ในอังกฤษมีการเก็บ ภาษีมูล ค่าเพิ่มเหมือนกับไทยแต่ ในอัตราที่สูงกว่ามากคือร้อยละ 17.5 เนื่ องจากประชาคมยุโรป กําหนดให้มกี ารเก็บในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 15 (ในช่วงทีท่ าํ การศึกษา คือ ตัง้ แต่ 1 ธันวาคม 2009 ถึง 31 ธันวาคม 2010 อังกฤษได้ลดภาษีมูลค่าเพิม่ ชัวคราวลงมาที ่ ่รอ้ ยละ 15 เพื่อเป็ นการกระตุ้น เศรษฐกิจ) ในด้านการอนุ รกั ษ์ ตามกฎหมายสรรพากร ค.ศ. 1989 อาคารเอกชนทีข่ น้ึ บัญชีอาจได้รบั การยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิม่ จากค่าใช้จา่ ยในการปรับปรุงอาคารภายใต้เงือ่ นไขดังนี้ (1) ต้องมีการปรับปรุงตามรูปแบบทีไ่ ด้รบั การเห็นชอบจากรัฐ (2) ต้องมีการใช้เป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัยอย่างต่อเนื่องหรือหลังปรับปรุงแล้วต้องใช้ เป็ นทีอ่ ยูอ่ าศัย หรือ (3) มีการใช้เพือ่ การอยูอ่ าศัยรวม หรือใช้ประโยชน์เพือ่ การกุศล อาคารทาง ศาสนาจะได้รบั ประโยชน์ในกรณีน้ี 4.5 กรณี ศึกษาประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว ประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็มกี ารอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมที่เป็ นชุมชน ดัง้ เดิมเช่นเดียวกัน โดยได้นํากรณีศกึ ษาของประเทศต่างๆ พอสังเขป
82
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.5.1 ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ราชอาณาจักรเบลเยีย่ มเป็ นประเทศทีอ่ ยูใ่ นดินแดนทีม่ ปี ระเทศเก่าแก่ตงั ้ แต่ยคุ โรมัน (1 ศตวรรษก่อนคริสตกาล) และประเทศเป็ นประเทศเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1830 หรือประมาณ 180 ปี มานี้เอง ในช่วง ค.ศ. 1970-1980 ได้มกี ารเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารเนื่องจากมีความขัดแย้ง ่ บเฟลมิช จึงทําให้ตอ้ งมีการแยกการบริหารอิสระของทัง้ 2 พืน้ ทีแ่ ละแยก ของกลุ่มทีใ่ ช้ภาษาฝรังเศสกั ส่วนของเมืองหลวงออกมารวมเป็ น 3 รัฐ คือ วัลลูน(Walloon) เฟลมิช(Flemish) และนครหลวง บรัสเซลหรือฟลามส์(Vlaams) ซึง่ ส่งผลให้มกี ารแยกอํานาจตามกฎหมายในด้านการอนุ รกั ษ์ออกเป็ น อิสระแต่ละรัฐด้วยในปี ค.ศ. 1988 ในปจั จุบนั ทัง้ 3 รัฐ จึงมีกฎหมายอนุ รกั ษ์ของตนเอง มีขอ้ แตกต่าง กันเล็กน้อย ในเอกสารทีท่ บทวนได้ใช้ของรัฐวัลลูนเป็ นตัวอย่าง กฎหมายอนุ ร ัก ษ์ ห ลัก ของรัฐ วัล ลู น ประกาศใช้ ใ นปี ค.ศ. 1991 คื อ พระราชบัญ ญั ติ โบราณสถาน แหล่ง/บริเวณ และการขุดค้นทางโบราณคดี 1991 (The Decree on Monuments, Sites, and Excavations) ซึง่ มีการแก้ไขปรับปรุงในปี ค.ศ. 1993 และ 1999 โดยครัง้ หลังสุดได้มี การบูรณาการกับกฎหมายพัฒนาเมือง (Walloon Spatial and Town Planning and Heritage Code or WATUP) 1999 ซึง่ หมายถึงการดําเนินการใดๆ เกีย่ วกับการนุ รกั ษ์: ซือ้ ขาย เปลีย่ นแปลง บูรณะ ขุดค้น รือ้ ถอนทางโบราณคดี หรืออื่นๆ ต้องรวมอยูใ่ นกระบวนการขออนุ ญาตจากหน่ วยงานผังเมือง ทัง้ นี้เนื่องจากราชอาณาจักรเบลเยีย่ มมีอาคารเก่าอยูเ่ ป็ นจํานวนมากกว่าอาคารสมัยใหม่ และมีการใช้ ประโยชน์ต่อเนื่องซึง่ ไม่อาจแยกการอนุรกั ษ์ออกจากการพัฒนาเมืองได้ ในกฎหมายอนุ รกั ษ์ของเบลเยีย่ มมีการแบ่งประเภทมรดกวัฒนธรรมออกเป็ น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) อนุ สรณ์สถาน (Monuments) 2) กลุ่มอาคาร (Group of Buildings) 3) แหล่ง/บริเวณ (Sites) 4) แหล่งโบราณคดี (Archaeological Sites) ในด้านการปกป้องมรดกวัฒนธรรมนัน้ มี 4 ระดับ ตามการขึน้ บัญชี ได้แก่ 1) อยูใ่ นฐานข้อมูล (Inventory) เป็ นการขึน้ บัญชีให้วา่ ทรัพย์สนิ นัน้ มีความสําคัญและ อาจนํามาพิจารณาเมือ่ เกิดโครงการพัฒนาในกระบวนการพัฒนาเมือง แต่ไม่มมี าตรการปกป้อง คุม้ ครอง 2) การปกป้อง (Safeguard) หมายถึงการใช้วธิ กี ารปกป้องคุม้ ครองชัวคราวและหรื ่ อ เร่งเด่น (กฎหมายกําหนด 1 ปี) สําหรับทรัพย์สนิ ทีม่ คี วามเสีย่ วต่อการสูญสลาย 3) การขึน้ บัญชี (Listing) คือการรับรูแ้ ละการประกาศให้รฐั บาล ในการปกป้องมรดก วัฒนธรรมซึง่ จะทําให้ทรัพย์สนิ นัน้ ได้รบั แรงจูงใจของรัฐบาลคือ เงินช่วยเหลือและการยกเว้นภาษี การขึน้ บัญชีน้สี ามารถเสนอได้ 5 วิธกี าร คือ 1) เสนอให้รฐั บาลกลาง 2) เสนอจากกรรมาธิการในราช ่ ง้ แต่ 300 คนขึน้ ไป สํานัก 3) จากเจ้าของ 4) จากเทศบาล และ 5) จากประชาชนทัวไปตั โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
83
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4) มรดกทีส่ าํ คัญสูงสุด (Exceptional Immovable Heritage) หมายถึงการปกป้อง คุม้ ครองมรดกวัฒนธรรมทีใ่ ช้เกณฑ์พจิ ารณาตามอนุสญ ั ญามรดกโลก เมือ่ ปี ค.ศ. 1996 ในแคว้น Walloon มีจาํ นวนมรดกในขัน้ นี้ 133 รายการ (2001) ซึง่ หากมีการบูรณะจะได้รบั การช่วยเหลือ ร้อยละ 95 ในด้านที่เกี่ยวกับชุมชนดัง้ เดิมหรือย่านประวัตศิ าสตร์ มีการปกป้องโดยอยู่ในประเภทกลุ่ม อาคาร (Group of Buildings) ทีม่ ี Heritage Value โดยประกาศเป็ นบทเฉพาะในกฎหมายผังเมือง ปี 1999 เรียก Zone-Specific Communal Town Planning Regulations โดยในกฎหมายมีการควบคุม 3 ด้าน 1) ลักษณะเฉพาะ (ระยะ ด้านหน้า หลังคา และวัสดุ) จะต้องรักษาไว้ 2) องค์ประกอบเฉพาะอย่าง (ช่องเปิ ด ส่วนยื่นของอาคาร ส่วนประดับ ฯลฯ) ต้องมี กระบวนการปรึกษาหารือ 3) มีมาตรการปกป้องอาคารสําคัญทีม่ คี ุณค่าทางสถาปตั ยกรรมเป็ นพิเศษซึง่ กําหนด ในย่านนัน้ (อาจขึน้ บัญชีหรือไม่กไ็ ด้) แรงจูงใจมี 2 ประเภท 1) เงินช่วยเหลือ ให้เฉพาะมรดกทีข่ น้ึ ทะเบียนเป็ นแบบ listing มาจากแคว้น แต่มี จํานวนจํากัด สําหรับการบํารุงรักษาและการบูรณะในลักษณะเงินสมทบ ในรัฐ Walloon ตามปกติให้ ร้อยละ 60 (ร้อยละ 95 สําหรับมรดกทีส่ าํ คัญสูงสุดทีเ่ ป็ น Exceptional Immovable Heritage ดังกล่าว) ในแคว้น Flemish ต้องเป็ นอาคารทีเ่ ปิ ดให้สาธารณะเข้าชมได้ ช่วยในอัตราร้อยละ 25-60 จังหวัดช่วยร้อยละ 7.5-30 เมือง (Commune) ช่วยร้อยละ 7.5-30 โดยเงินช่วยเหลือ ทําให้เงิน ช่วยเหลือรวมกันทัง้ หมดจะได้รบั ประมาณร้อยละ 40-90 ในภาคนครหลวงบรัสเซลร้อยละ 25-40 โดยร้อยละ 40 จะช่วยกรณีเจ้าของเป็ นผูม้ รี ายได้ น้อยหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกําไร 2) การยกเว้นภาษี ก) ลดภาษีเงินได้แก่เจ้าของทีซ่ ่อมอาคาร listing เท่านัน้ และนํ าร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทีไ่ ม่ใช่ส่วนทีไ่ ด้รบั เงินช่วยเหลือ มาหักลดหย่อนภาษีได้สุทธิครึง่ หนึ่ง แต่ไม่เกิน 25,000 ยูโร โดยมีขอ้ แม้ตอ้ งเปิดให้สาธารณะเข้าชมได้ และไม่ใช่เป็ นอาคารให้ผอู้ ่นื เช่า ข) ลดภาษีเงินได้แก่ผู้บริจาคในการดําเนิ นโครงการอนุ รกั ษ์ ตัง้ แต่ 250500,000 ยูโร โดยลดได้ทงั ้ บุคคลและนิตบิ ุคคล ค) เงินบริจาคให้พพิ ธิ ภัณฑ์ของรัฐและชุมชน ได้ไม่เกินปี ละ 250,000 ยูโร ง) ยกเว้นภาษีมรดกหากยกให้รฐั หรือมูลนิธติ ามพินยั กรรม จ) ลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่เก็บในอัตราก้าวหน้าในอาคาร listing เท่านัน้ 84
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.5.2 สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐเช็กเป็ นประเทศทีเ่ ก่าแก่มปี ระวัตศิ าสตร์ยาวนาน รวมทัง้ การอนุ รกั ษ์ซ่งึ เริม่ จาก การก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติในปี ค.ศ. 1881 ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 (ช่วงรัชกาลที่ 5) มีการ จัด ตัง้ กรรมาธิ ก ารโบราณคดี ใ นสํ า นั ก ราชบัณ ฑิต และให้ มีก ารจัด ทํ า รายการบัญ ชีร ายการ โบราณสถานเป็ นครัง้ แรก และในปี ค.ศ. 1958 ได้มกี ารใช้กฎหมายอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรม (Law no. 22/1958 Concerning Cultural Heritage) ซึง่ มีระบบการขึน้ ทะเบียนและมีการกําหนดพืน้ ที่ อนุ รกั ษ์ยา่ นประวัตศิ าสตร์ใจกลางเมือง (Historic Core Conservation Site) ในกฎหมายนี้ดว้ ย ในปี ค.ศ. 1987 ได้มกี ารปรับปรุงกฎหมายอนุ รกั ษ์เดิมเป็ นกฎหมายอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรม ของชาติ (Law no. 20/1987 Concerning State Preservation of Cultural Heritage) ซึง่ แบ่ง ประเภทของมรดกวัฒนธรรมเป็ น 3 กลุ่ม 1) มรดกวัฒนธรรมทีเ่ ป็ นอสังหาริมทรัพย์ (Immovable Cultural Heritage) 2) มรดกวัฒนธรรมทีเ่ ป็ นสังหาริมทรัพย์ (Movable Cultural Heritage) 3) พืน้ ทีท่ ม่ี กี ารปกป้องทีเ่ ป็ นมรดกวัฒนธรรม (Territories Protection as Cultural Heritage Conservation Site) ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 มีการปฏิวตั ใิ นประเทศ ทีด่ นิ ไม่ใช่เป็ นของรัฐทัง้ หมดตามระบอบสังคม นิยมก่อนหน้านี้ จึงต้องมีการแก้ไขกฎหมายอนุ รกั ษ์ให้มอี ํานาจในการประกาศพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ในพืน้ ที่ ของเอกชนด้วย ในด้านแรงจูงใจ แม้วา่ จะเป็ นประเทศทีก่ าํ ลังพัฒนา แต่กม็ กี ารให้แรงจูงใจ ดังนี้ 1) เงินช่วยเหลือ ตามปกติการซ่อมแซม เจ้าของต้องซ่อมเองแต่อาจได้รบั เงินช่วยเหลือจากรัฐ ดังนี้ ก) ร้อยละ 50 หากมีการบูรณะทัง้ อาคาร ข) ร้อยละ 100 กรณีซ่อมแซมเฉพาะองค์ประกอบสถาปตั ยกรรม นอกจากนี้ยงั มีเงินช่วยเหลือผ่านทางโครงการทีร่ ฐั บาลตัง้ ขึน้ เพื่อบูรณะชุมชนประวัตศิ าสตร์ โดยในปี ค.ศ. 1997 กระทรวงวัฒนธรรม ได้จดั ทําโครงการเพื่อการอนุ รกั ษ์หมู่บ้านและภูมทิ ศั น์ (Program for the Preservation of Village Conservation Sites and Zone and Landscape Conservation Zones) ในปี ค.ศ. 1998 มีเงินสนับสนุ นผ่านทางโครงการฟื้นฟูชนบท (Program for the Renewal of the Countryside) 2) ภาษี มีการยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Tax) เป็ นเวลา 8 ปี หลังจากได้รบั อนุมตั ใิ ห้บรู ณะได้ โดยมีขอ้ แม้วา่ จะต้องเปิดให้สาธารณะเข้าชมได้ (Public Access) ปจั จุบนั (ปี 2001) สาธารณะเช็คมีอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนประมาณ 15,000 หน่ วย รวมทัง้ ทีป่ ระกาศเป็ นชุมชนและเมืองเก่ามีประมาณ 1,200 แห่ง ซึง่ แบ่งเป็ นการคุม้ ครอง 3 ระดับ ก) Urban Conservation Site ควบคุมเข้มข้น 35 แห่ง โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
85
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ข) Conservation Zone ควบคุมปานกลางมี 160 แห่ง ค) ส่วนทีเ่ หลือ อนุ รกั ษ์โดยเน้นการรักษาผังบริเวณ (Layout Space) 4.5.3 ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ประเทศเดนมาร์กเริม่ ใช้กฎหมายอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมฉบับแรกในปี ค.ศ. 1918 เป็ น พระราชบัญญัตอิ นุ รกั ษ์สถาปตั ยกรรม (The Preservation of Buildings Act 1918) ซึง่ หมายถึงการมี ทัง้ สิทธิและหน้าทีข่ องสังคมในการปกป้องทรัพย์สนิ ทางสถาปตั ยกรรมทีม่ คี ุณค่าและให้ความสําคัญ กับคุณค่าของอาคารมากกว่าการเป็ นเจ้าของโดยเอกชน ต่อมากฎหมายนี้ได้มกี ารแก้ไขครัง้ ล่าสุดใน ปี ค.ศ. 1997 ซึง่ ใช้แนวคิดการบูรณาการในโครงการพัฒนาเมือง กล่าวคือ หากมีโครงการพัฒนาหรือ ฟื้นฟูเมืองในระดับท้องถิน่ อาคารทีม่ คี ุณค่าความสําคัญจะได้รบั งบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมไป พร้อมกันด้วย ถือเป็ นหนึ่งในการดําเนินงานของโครงการทัง้ หมด ซึง่ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1990s เดนมาร์ก ได้ใช้ระบบการบูรณาการทีผ่ ่านทางเทคนิคการสํารวจและระบุสถานทีท่ ม่ี คี วามสําคัญทางวัฒนธรรม เรียก การสํารวจคุณค่าสถาปตั ยกรรมในสิง่ แวดล้อม (Survey of Architectural Value in the Environment-SAVE) และการบูรณาการมรดกวัฒนธรรมในกระบวนการวางแผน (Cultural Heritage in Planning-CHIP) ซึง่ รัฐบาลเดนมาร์กได้พยายามให้วธิ กี ารนี้ขยายไปทัวโลก ่ โดยในประเทศไทยก็ ได้มกี ารดําเนินการภายใต้โครงการ SAVE/CHIP เช่นเดียวกันในช่วงต้นปี ค.ศ. 2000s เดนมาร์กได้โบราณสถานและแหล่งโบราณคดีออกจากการอนุ รกั ษ์สถาปตั ยกรรม โดยแหล่ง โบราณสถานและโบราณคดีจะรวมอยูใ่ นกฎหมายการปกป้องพืน้ ทีธ่ รรมชาติ (Danish Protection of Nature Act 1992) ซึง่ หมายถึงการปกป้องโบราณสถานและสภาพธรรมชาติโดยรอบด้วย ซึง่ หมายถึง โบราณคดีใต้น้ําด้วย โดยในภาคผนวก (Annex) ของกฎหมายนี้ได้แบ่งโบราณสถานออกเป็ น 3 กลุ่ม ตามคุณค่าความสําคัญ ดังนี้ 1) กลุ่ม 1 โบราณสถานทีเ่ ห็นได้เด่นชัด เช่น หลุมฝงั ศพ อนุ สรณ์สถานทีเ่ ป็ นหิน ซากปรักหักพัง ฯลฯ จะต้องได้รบั การปกป้องอย่างเต็มที่ ไม่วา่ จะขึน้ ทะเบียนหรือไม่ (คล้ายกับพระราชบัญญัติ โบราณสถานของไทย) 2) กลุ่ม 2 โบราณสถานทีไ่ ม่อาจเห็นได้หรือไม่อาจระบุได้ชดั เจนนัก เช่น เขื่อน ฝาย บ่อนํ้า สะพาน ถนน สิง่ เหล่านี้จะได้รบั การปกป้องคุม้ ครองก็ต่อเมื่อเจ้าของได้รบั หนังสือแจ้งจากกระทรวง สิง่ แวดล้อมและพลังงาน (Ministry of Environment and Energy) ตามปกติโบราณสถานในกลุ่มนี้จะ มีการประกาศเขตปกป้อง (Protection Zone) หรือเขตอนุรกั ษ์เป็ นระยะ 100 เมตร โดยรอบ 3) กลุ่ม 3 โบราณสถานทีม่ อี ายุไม่มาก (กฎหมายโบราณสถานของเดนมาร์กได้แก้ไขอายุ โบราณสถานจากเดิม 100 ปี เป็ น 50 ปี ในเกณฑ์พจิ ารณาขึน้ ทะเบียน) และเกีย่ วข้องกับความเชื่อ ประเพณีพน้ื บ้าน มีการใช้มาตรการปกป้องไม่เคร่งครัด โดยรัฐบาลทําหนังสือแจ้งเจ้าของว่าทรัพย์สนิ นัน้ มีความสําคัญ แต่ไม่มกี ารกําหนดเขตปกป้องหรือเขตอนุ รกั ษ์เหมือนกลุ่ม 2 86
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ป จั จุ บ ัน มีอ าคารและสิ่ง ก่ อ สร้ า งที่ข้ึน ทะเบีย นตามกฎหมายปี ค.ศ. 1997 และระบบ SAVE/CHIP ประมาณ 9,200 หน่ วย โดยร้อยละ 58 เป็ นอาคารทีอ่ ยู่ในเขตเมือง ส่วนโบราณสถาน และแหล่งโบราณคดีมกี ารขึน้ ทะเบียนแยกต่างหากโดยสํานักงานพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ดังนี้ 1) โบราณสถาน ประมาณ 30,000 รายการ 2) ซากโบราณคดี ประมาณ 200,000 แห่ง 3) โบราณคดีใต้น้ํา ประมาณ 3,000 แห่ง ในด้านชุมชนประวัตศิ าสตร์ ได้มกี ารบูรณาการโดยปรากฏในกฎหมายอนุ รกั ษ์สถาปตั ยกรรม ปี ค.ศ. 1997 ซึ่งใช้ระบบ SAVE/CHIP ในการระบุ ซึ่งชื่อเต็มของกฎหมายนี้คอื The Listed Buildings and Protection of Buildings and Urban Environment Act 1997 ไม่มรี ะบบการแยก ประเภทออกเป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ชุมชนในเดนมาร์ก สําหรับด้านแรงจูงใจ เดนมาร์กมีแรงจูงใจ ดังนี้ 1) เงินช่วยเหลือหรือเงินงบประมาณผ่านทางโครงการฟื้ นฟูเมืองหรือทางโครงการ SAVE รัฐบาลเดนมาร์กจัดสรรงบประมาณในการบูรณะและอนุ รกั ษ์อาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนรวม 40-75 ล้าน DKK (Danish Krone (1 Krone=6.4 บาท) ซึง่ เป็ นจํานวนไม่มากเพราะอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนส่วน ใหญ่อยูใ่ นสภาพดีอยูแ่ ล้ว มีเพียงร้อยละ 2 เท่านัน้ ทีม่ สี ภาพทรุดโทรม นอกจากนัน้ เจ้าของหากมีการ ซ่อมแซมทีไ่ ด้มาตรฐานอาจขอรับเงินช่วยเหลือในส่วนเงินสมทบได้รอ้ ยละ 20-50 ของค่าซ่อมแซม 2) เงินกู้ มีเงินกูส้ าํ หรับการซ่อมแซมดอกเบีย้ ตํ่า (ราวร้อยละ 2) โดยจํานวนเงินกู้ สูงสุดเท่ากับราคาประเมินทรัพย์สนิ 3) มีการลดภาษีให้แก่เจ้าของอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนโดยคิดจากค่าเสื่อมราคารายปี ของ อาคารนัน้ ซึ่งคํานวณจากการประเมินราคาค่าซ่อมแซมและต้องใช้เงินนัน้ ในการซ่อมแซมหรือดูแล รักษาจริง 4.5.4 ฝรังเศส ่ นหนึ่งในประเทศแม่แบบของการอนุ รกั ษ์สมัยใหม่ให้แก่หลายประเทศ ประเทศฝรังเศสเป็ ่ รวมทัง้ ไทยด้ว ย ฝรังเศสมี ่ การอนุ รกั ษ์อย่างเป็ น ระบบตัง้ แต่ ปี ค.ศ. 1830 โดยการตัง้ หน่ วยงาน ปกป้องโบราณสถาน (Historic Monument Department) ปจั จุบนั มีกระทรวงรับผิดชอบคือ Ministry of Culture and Communication และในปี ค.ศ. 1913 มีการออกกฎหมายโบราณสถาน (Historic Monument Act) ซึง่ ในเวลาต่อมาได้มกี ารปรับปรุงแก้ไขหลายครัง้ ฝรังเศสไม่ ่ มกี ารกําหนดเกณฑ์ใน การพิจารณามรดกวัฒนธรรมตายตัว แม้แต่อายุกไ็ ม่นํามาเป็ นเกณฑ์บงั คับ แต่จะพิจารณาโดยคณะ ผูเ้ ชีย่ วชาญ การแก้ไขกฎหมายโบราณสถานครัง้ สําคัญๆ มีดงั นี้ 1) ปี ค.ศ. 1930 เป็ นการขยายขอบเขตโบราณสถานจากอาคารเดีย่ วๆ เป็ นพืน้ ที่ บริเวณ หรือภูมทิ ศั น์ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
87
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
2) ปี ค.ศ. 1943 ประกาศใช้บงั คับพืน้ ทีโ่ ดยรอบโบราณสถานออกไปเป็ นรัศมีโดยรอบถึง 500 เมตร ซึ่งหมายความว่าการดําเนินการใดๆ ในพืน้ ที่ดงั กล่าว แม้จะไม่ได้เป็ นโบราณสถานก็จะต้อง ผ่านการพิจารณาจากรัฐบาล 3) ปี ค.ศ. 1962 ประกาศพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area-Secteurs Sauvegardis) ซึง่ หมายถึงชุมชนประวัตศิ าสตร์ดว้ ย ปี ค.ศ. 2001 มีรายงานว่ามีการขึน้ ทะเบียนย่านอนุ รกั ษ์น้ีแล้ว 92 แห่งเป็ นเมืองเก่า (Historic Core) 4) ปี ค.ศ. 1983 หลังมีนโยบายกระจายอํานาจในปี ค.ศ. 1983 ฝรังเศสได้ ่ มกี ารอนุ รกั ษ์ใน ระดับท้องถิ่น โดยในการทําแผนพัฒนาเมืองของเทศบาล หากมีย่านประวัติศาสตร์กจ็ ะประกาศให้ เป็ นพืน้ ทีป่ กป้องเพื่อสถาปตั ยกรรม ผังเมือง และภูมทิ ศั น์ (Architectural Urban and Landscape Protection Zones) ซึง่ การดําเนินการจะเป็ นไปในลักษณะของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลางกับ รัฐบาลท้องถิน่ โดยให้อํานาจสถาปนิกของรัฐ (Official Architecture) ในการพิจารณาข้อเสนอของ การพัฒนาต่างๆ ในพืน้ ทีท่ ม่ี กี ารประกาศเป็ นเขตอนุ รกั ษ์ดงั กล่าว (ZPPAUPs)-Zones de Protection du Patrimoine Architectural Urbane et Paysager จนถึงปี ค.ศ. 2001มีเทศบาลทีม่ กี ารใช้ระบบ zone นี้ ประมาณ 300 แห่ง ลักษณะการปกป้องของฝรังเศสมี ่ 2 ระดับ คือ 1) ระดับขึน้ ทะเบียน (Clarification) ซึง่ มี คุณค่าสูงสุด และ 2) ระดับขึน้ บัญชีอยู่ในฐานข้อมูล (Supplementary Inventory of Historic Monuments) ปี ค.ศ. 2001 มีระดับขึน้ ทะเบียนประมาณ 15,000 รายการ และระดับขึน้ บัญชี 25,000 รายการ รวม 40,000 รายการ ในจํานวนนี้ประมาณครึง่ หนึ่งเป็ นทรัพย์สนิ ของเอกชน และจํานวน อาคารทีม่ กี ารปกป้องด้วยระบบนี้มเี พิม่ ขึน้ ปีละประมาณ 700 หน่วย ในด้านแรงจูงใจ มีดงั นี้ 1) เงินช่วยเหลือ ในด้านอาคารเอกชน ฝรังเศสจั ่ ดสรรงบประมาณเพื่อเป็ นเงินสมทบ ในการซ่อมแซม ร้อยละ 30-50 กรณีเป็ นอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียน (Classified) และร้อยละ 15-25 กรณี อาคารทีข่ น้ึ บัญชี (Supplementary Inventory) นอกจากนัน้ ยังสามารถใช้เงินงบประมาณในโครงการ ฟื้นฟูเมืองของรัฐบาลในเขตเมืองเก่า เรียก Operations programmes pour l’ amerioration de l’ habitat (OPAH=Planned Housing Improvement Operations) จากการเคหะแห่งชาติ (National Housing Improvement Agency) ซึง่ มีงบประมาณ 2.2 พันล้านฟรังก์ (ประมาณ 1.6 หมืน่ ล้านบาท) 2) ทางด้านภาษี ฝรังเศสเป็ ่ นประเทศทีเ่ อกชนสามารถบริจาคทรัพย์สนิ ทีม่ คี ุณค่า ทางวัฒนธรรมให้รฐั บาลแทนการเสียภาษีเงินได้ได้ สําหรับอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนหรือขึน้ บัญชี หากเปิด ให้สาธารณะเข้าถึงได้จะได้รบั การยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์ 3) เงินช่วยเหลือจากองค์กรหรือมูลนิธิเอกชน โดยเฉพาะมูลนิธิทงั ้ ที่เกี่ยวกับการ อนุ รกั ษ์โดยเฉพาะ (Foundation du Patrimoine=Historic Foundation) ตัง้ ปี ค.ศ. 1996, Foundation de France 1969 ซึง่ มูลนิธเิ หล่านี้จดั ตัง้ จากบริษทั เอกชนโดยนําผลกําไรทีต่ อ้ งเสียภาษี สูงๆ มาจัดตัง้ เป็ นองค์กรการกุศลแทน 88
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.5.5 ประเทศจอร์เจีย ประเทศจอร์เจียเป็ นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตรัสเซียก่อนทีจ่ ะมีการแยกประเทศใน ค.ศ. 1991 แต่กม็ ปี ระวัตศิ าสตร์เป็ นของตนเองมายาวนาน กฎหมายอนุ รกั ษ์ในจอร์เจียมีรากฐานมาจาก กฎหมายของสหภาพโซเวีย ตรัส เซีย ที่ออกในปี ค.ศ. 1977 คือ กฎหมายอนุ ร กั ษ์ ป ระวัติศ าสตร์ วัฒนธรรมและโบราณสถาน (Soviet Law on Protection and Application of Historical and Cultural Monuments) หลังจากเป็ นเอกราชแล้ว ประเทศจอร์เจียก็ได้ประกาศใช้กฎหมายปกป้อง มรดกวัฒนธรรม (Law on Cultural Heritage Protection) ของตนเองใน ค.ศ. 1999 ซึง่ ได้แบ่ง ประเภทมรดกวัฒนธรรมไว้ 6 ประเภท ได้แก่ 1) อนุสรณ์สถานทางโบราณคดี ได้แก่ เมืองโบราณ และหมูบ่ า้ นโบราณ 2) อนุ สรณ์ สถานทางประวัติศาสตร์ (Historical Monuments) หมายถึง พื้นที่ท่มี ี ความสัมพันธ์กบั เหตุการณ์หรือบุคคลทางประวัตศิ าสตร์ 3) สวนหรือภูมทิ ศั น์ทม่ี สี ุนทรียภาพ (Urban Parks and Landscape and Monuments) หรือ งานวิศวกรรม หรือกลุ่มของงานสถาปตั ยกรรมและส่วนประกอบ เช่น สวน ฯลฯ 4) อนุ สรณ์สถานทางสถาปตั ยกรรม (Architectural Monuments) เช่น ป้อม ศาลาประชาคม อาคารทางอุตสาหกรรม หรือส่วนของอาคารดังกล่าว 5) อนุ สรณ์สถานทางวิจติ รศิลป์ (Monumental Fine Art Monuments) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง รูปนูนตํ่า ประติมากรรม งานแกะสลักหิน ฯลฯ ในกฎหมายอนุรกั ษ์ใช้คุณค่าในด้านศิลปกรรม ประวัตศิ าสตร์ วิทยาศาสตร์ สุนทรียภาพ และ จิตวิญญาณ (Spiritual Value) ในการพิจารณา โดยแบ่งเป็ น 3 ระดับความสําคัญ 1) ระดับมรดกโลก คือ แหล่งทีข่ น้ึ บัญชีมรดกโลก 2) ระดับชาติ (National Significance) 3) ระดับท้องถิน่ (Local Significance) การพิจารณามีคณะกรรมการระดับชาติ 12 คน อํานาจมาจากประธานาธิบดี ในด้านย่านประวัตศิ าสตร์ เรียก Protection Zone ภายใต้กฎหมายอนุ รกั ษ์ 1999 ซึง่ เป็ นได้ ทัง้ ย่านทีม่ แี หล่งโบราณคดีหรือสถาปตั ยกรรมทีม่ คี ุณค่า รวมทัง้ สภาพทางธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม นอกจากนัน้ ยังอาจมีการบูรณาการกับกฎหมายผังเมือง (Urban Development Regulation Zone) และกฎหมายอนุรกั ษ์ทางธรรมชาติ (Natural Landscape Protection Zone) ได้ เนื่องจากเป็ นประเทศที่มรี ายได้ไม่สูง ประเทศจอร์เจียไม่มงี บประมาณในการช่วยเหลือใน การอนุ ร ัก ษ์ ม รดกวัฒ นธรรม อย่ า งไรก็ ต ามรัฐ บาลได้ ใ ห้มีก ารยกเว้น ภาษี บ างประเภท (Tax Exception) เพือ่ การอนุรกั ษ์ แต่ไม่ได้จงู ใจพอสําหรับภาคเอกชนในการลงทุนด้านอนุรกั ษ์
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
89
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.5.6 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มแี นวคิดในการอนุ รกั ษ์ในช่วงศตวรรษที่ 18 แต่กฎหมายที่ เกี่ยวกับการอนุ รกั ษ์เป็ นครัง้ แรกนัน้ เกิดขึน้ ในปี ค.ศ. 1902 ซึ่งได้ใช้เป็ นกฎหมายหลักจนกระทังปี ่ ค.ศ. 1974 ทีร่ ฐั บาลได้ออกกฎหมายปกป้องโบราณสถานในแคว้น Messe ซึง่ เป็ นหนึ่งใน 16 รัฐ ที่ ประกอบกันขึน้ เป็ นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เรียกว่า Law on the Protection of Historical Monuments of the State of Messe ซึง่ ในกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ครอบคลุมแค่แหล่งโบราณคดี โบราณสถาน ทางธรรมชาติเท่านัน้ แต่รวมถึงสภาพโดยรอบของสถานทีแ่ หล่งนัน้ ด้วย และยังรวมถึง การปกป้องสังหาริมทรัพย์ดว้ ย ซึง่ ต่อมาในช่วงปลาย ค.ศ. 1970s รัฐต่างๆ ในเยอรมันก็ได้มกี ฎหมาย ในทํานองเดียวกันใช้บงั คับทัง้ ประเทศ ซึง่ แต่ละรัฐ (State-Bundes Lander) มีอาํ นาจในการปกป้อง มรดกวัฒนธรรมในรายละเอีย ดแตกต่ างกัน ซึ่งไม่สามารถอธิบายลักษณะที่เ ป็ นมาตรฐานได้ท งั ้ ประเทศ ตัวอย่างเช่น ในแคว้น Thuringia ได้ออกกฎหมายปกป้องโบราณสถานในปี ค.ศ. 1992 (Law on the Protection of Historical Monuments of 1992) ซึง่ ได้ให้นิยามของมรดกวัฒนธรรมว่าที่ มีคุณค่าความสําคัญแก่สาธารณะในด้านประวัตศิ าสตร์ เทคโนโลยี ประเพณีพน้ื บ้าน (Folklore) หรือ ด้วยเหตุผลทางการผังเมือง ซึง่ ในกฎหมายนี้ได้รวมการอนุรกั ษ์ชมุ ชนหมูบ่ า้ น (Villages) เอาไว้ดว้ ย ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีไม่มกี ารกําหนดประเภท การจัดลําดับมรดกวัฒนธรรม แต่ให้ เปิ ดกว้าง แต่ในกรณีของย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ ในกฎหมายของแคว้น Thuringia ได้ใช้คาํ ว่า การ รวมกลุ่มของอาคาร (Composite Building Complex) ซึง่ ได้แบ่งกลุ่มนี้ออกเป็ น 3 กลุ่มย่อย พร้อม แนวทางในการอนุรกั ษ์ ดังนี้ 1) กลุ่มที่ 1 การก่อรูปของถนน จัตุรสั และลักษณะแห่งท้องถิน่ ซึง่ หมายถึงการ รักษาลักษณะเฉพาะของพืน้ ทีโ่ ดยเฉพาะยุคสมัย รูปแบบอาคาร และองค์ประกอบสถาปตั ยกรรมทีม่ ี ความหลากหลาย 2) กลุ่มที่ 2 ผังบริเวณซึง่ เป็ นลักษณะของท้องถิน่ (Typical Layout of Localities) ซึ่งหมายถึงการรักษาลักษณะเฉพาะของยุคสมัย โดยเฉพาะรูปแบบของที่ตงั ้ การตัง้ ถิน่ ฐาน ระบบ ถนน และโครงสร้างของการจัดรูปแปลงทีด่ นิ รวมทัง้ ป้อมปราการ (หลายเมืองมีป้อมปราการ) ต่างๆ 3) กลุ่มที่ 3 สวนและอุทยานประวัตศิ าสตร์ (Historical Parks and Gardens) ซึง่ ใช้ คําว่าการรวมกลุ่มของอนุ สรณ์สถาน (Monument Ensembles) ซึง่ หมายถึงความสัมพันธ์ของพืช พรรณ ทีต่ งั ้ และสถาปตั ยกรรมทีเ่ กีย่ วเนื่องกันทีท่ าํ ให้เกิดสังคมและวัฒนธรรรมของสังคมนัน้ เนื่องจากมรดกวัฒนธรรมของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รวมทัง้ อาคาร สิง่ ก่อสร้างเดีย่ ว และย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ หากมีการขึน้ ทะเบียน รายการทรัพย์สนิ จะเข้ารวมอยูใ่ นสํานักงานทีด่ นิ ของท้องถิน่ ซึง่ สามารถตรวจสอบสถานะได้อย่างรวดเร็ว
90
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมรี ะบบแรงจูงใจ ดังนี้ 1) การลดภาษีเงินได้จากรัฐบาลกลางหากมีการซ่อมแซม โดยเจ้าของสามารถนําค่า บูรณะซ่อมแซมมาหักออกจากภาษีเงินได้เป็ นเวลา 10 ปี ซึ่งการซ่อมแซมจะต้องได้มาตรฐานการ รับรองจากหน่ วยงานอนุ รกั ษ์และในสํานักงานทีด่ นิ (Land Office for the Protection of Historical Monuments) ของแต่ละแคว้น ซึง่ ทีผ่ า่ นมามีประมาณปีละ 250 ราย 2) แต่ละแคว้นอาจมีการให้เงินกูช้ ่วยเหลือ (Grants) ซึง่ คล้ายๆ หลายประเทศใน ยุ โ รป คือ การบู ร ณะอาคารที่ข้ึน ทะเบีย นจะเป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยส่ ว นหนึ่ ง ของโครงการฟื้ น ฟู เ มือ ง นอกจากนัน้ แต่ ละแคว้นยังจะได้รบั เงินอุดหนุ นเพื่อเป็ นเงินช่วยเหลือในการบูรณะซ่อมแซมจาก รัฐบาลกลาง โดยเฉพาะในโครงการอนุ รกั ษ์และฟื้ นฟูย่านประวัติศาสตร์ซ่งึ ส่วนใหญ่อยู่ในใจกลาง เมือง (Town Centers) 4.5.7 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ก่อตัง้ เป็ นประเทศสาธารณรัฐอิสระในปี ค.ศ. 1922 แต่ก่อนหน้านี้ได้มี การอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมมาแล้ว โดยการใช้กฎหมายของอังกฤษ คือ พระราชบัญญัตโิ บราณสถาน 1882 (The Ancient Monuments Protection Act 1882) ต่อมาหลังจากอังกฤษออกกฎหมายให้อสิ ระ ในการปกครองแก่รฐั บาลท้องถิน่ หลังจากปี ค.ศ. 1898 ไอร์แลนด์ได้เริม่ มีกฎหมายในเขตปกครอง ตนเอง และในปี ค.ศ. 1923 ได้มกี ฎหมายทีด่ นิ (Land Act 1923) ซึง่ รวมการคุม้ ครองโบราณสถานไว้ ด้วย หลังจากปี ค.ศ. 1930 การอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมของไอร์แลนด์ได้ใช้กฎหมายในเชิงบูรณา การ 2 ฉบับ(คล้ายระบบของอังกฤษ) คือกฎหมายโบราณสถานแห่งชาติ (The National Monuments Act) ค.ศ. 1930 และกฎหมายผังเมืองท้องถิน่ ซึ่งเดิมคือ Local Government (Planning and Development Act) ค.ศ. 1963 ปจั จุบนั คือกฎหมายวางแผนและพัฒนา (Planning and Development Act) ค.ศ. 2000 ซึง่ ได้กําหนดให้มพี น้ื ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area) ไว้ในกฎหมาย ผังเมืองตัง้ แต่แรกเริม่ โดยมีความหมายว่า สถานที่ พืน้ ที่ กลุ่มของสิง่ ก่อสร้าง หรือภูมทิ ศั น์เมือง ทีม่ ี ความสําคัญเป็ นพิเศษในด้านสถาปตั ยกรรม ประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สังคมหรือเทคนิคซึง่ สมควรได้รบั การปกป้องคุม้ ครอง ในปี ค.ศ. 1995 ได้มกี ารใช้กฎหมายมรดกฉบับใหม่ (Heritage Act) เพื่อให้มหี น่ วยงานทีม่ ี อํานาจสูงสุด คือ สภามรดก (Heritage Council) เป็ นผูร้ บั ผิดชอบและตัดสินใจเกี่ยวกับการ ดําเนินการอนุ รกั ษ์ แต่ในด้านการอนุ รกั ษ์ยา่ นชุมชนก็ยงั ใช้กฎหมายผังเมืองเดิม (1963) และปจั จุบนั (2000) เป็ นหลัก โดยรัฐบาลท้องถิน่ เป็ นผูก้ ําหนดแผนงานและโครงการสําหรับการดําเนินการ เช่น จะพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานหรือบูรณะอาคาร ทัง้ นี้ตอ้ งเป็ นไปตามนโยบายการอนุ รกั ษ์ของประเทศที่ กําหนดโดยสภามรดก โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
91
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ในด้านแรงจูงใจ ไอร์แลนด์ไม่ได้มกี ารให้แรงจูงใจมากนัก โดยมี 1) การลดภาษี (ไม่ได้กาํ หนดว่าภาษีอะไร) สําหรับเมือ่ มีคา่ ใช้จา่ ยในการบํารุงรักษา ซ่อมแซมและบูรณะอาคารทีไ่ ด้รบั การรับรองว่าเป็ นมรดกวัฒนธรรม โดยมีเงือ่ นไขว่าจะต้องเปิดให้ สาธารณะเข้าถึงได้ 60 วัน ต่อปี 2) เงินช่วยเหลือ ซึง่ ผ่านทางโครงการทีเ่ รียกว่า “Protected Structures” เป็ น โครงการจากรัฐบาลกลางทีใ่ ห้แก่รฐั บาลท้องถิน่ แต่งบประมาณในแต่ละปีนนั ้ น้อยมากในแต่ละ โครงการ (ประมาณ 1,200-12,000 ยูโรต่อโครงการ) 4.5.8 สาธารณรัฐอิ ตาลี สาธารณรัฐ อิต าลีจ ดั ตัง้ เป็ น ประเทศสาธารณรัฐ ในปี ค.ศ. 1861 เป็ น หนึ่ ง ในประเทศที่มี อิทธิพลอย่างมากต่อการอนุ รกั ษ์สมัยใหม่ โดยเฉพาะในแนวทางของ Camillo Boito ซึง่ เป็ นการ ผสมผสานแนวคิดสุดขัว้ ของการอนุ รกั ษ์จากประเทศฝรังเศส ่ คือ Violet-le-Duc กับของอังกฤษ คือ John Ruskin โดยใช้หลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากํากับ ซึง่ ต่อมาได้มผี ลต่อแนวคิดการอนุ รกั ษ์ใน ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิง่ กฎบัตรเวนิช 1964 เนื่องจากเป็ นประเทศที่มสี ถาปตั ยกรรมและสิง่ ก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ตงั ้ แต่สมัยโรมัน (1 ศตวรรษก่อนคริสตกาล) อยูเ่ ป็ นจํานวนมาก การอนุ รกั ษ์ของอิตาลีสว่ นใหญ่จงึ เน้นในเรื่องวิธกี าร บูรณะและมีกฎหมายหลายฉบับ ดังนี้ ปี ค.ศ. 1904 ได้ออกกฎหมายปกป้องและอนุ รกั ษ์โบราณสถาน (Act on Protection and Conservation of Monuments) โดยให้อาํ นาจรัฐบาลในการปกป้องทรัพย์สนิ ทัง้ ของรัฐบาลและเอกชน ในปี ค.ศ. 1922 ได้ มีก ฎหมายปกป้ องอนุ ส รณ์ ส ถานทางธรรมชาติ ซ่ึ ง รวมถึ ง อาคารที่อ ยู่ ใ น สภาพแวดล้อมนัน้ ด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 อิตาลีได้ประกาศใช้กฎบัตรอิตาลี ซึ่งเป็ นคู่มอื ในการ บูรณะโบราณสถาน และได้ออกกฎหมายในปี ค.ศ. 1939 ซึง่ ประกอบไปด้วยการอนุรกั ษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ กฎหมายชุดนี้ได้ใช้เรือ่ ยมาจนถึงปี ค.ศ. 1999 ในส่วนของการอนุ รกั ษ์ชุมชนประวัติศาสตร์หรือย่านประวัติศาสตร์ในเมือง ได้มกี ฎหมาย ฉบับแรกในปี ค.ศ. 1942 ซึ่งเป็ นช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ที่เกิดการทําลายอาคารประวัตศิ าสตร์ใน เมืองเป็ นจํานวนมาก จึงได้เกิดความจําเป็ นในการฟื้ นฟูเมืองซึง่ เกีย่ วพันกับการพัฒนาเมืองและการ จัดหาทีอ่ ยูอ่ าศัยซึง่ ขาดแคลนอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ต่อมาในปี ค.ศ. 1968 ได้มกี ารบูร ณาการการอนุ รกั ษ์ในกฎหมายทีอ่ ยูอ่ าศัย และกฎหมายการพัฒนาเมือง (Decree No. 1444) โดย กําหนดระบบโซนนิ่งของย่านอนุ รกั ษ์ประวัตศิ าสตร์ เรียก A Zone for Restoration and Urban Renewal ครอบคลุมพื้นที่ท่มี กี ารรวมกลุ่มของสิง่ ที่มคี ุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และ สิง่ แวดล้อมในเมือง (Urban Agglomeration of Historic, Artistic and Environmental Value) โดยมี การควบคุมเข้มงวดในด้านความหนาแน่นของกลุ่มอาคาร(Building Intensity), ความสูง(Height)และ 92
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ระยะห่างระหว่างอาคาร(Distance Between Buildings) รวมทัง้ การกําหนดพืน้ ทีเ่ พื่อการพัฒนา สาธารณู ปโภค ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ต้องใช้กฎหมายอื่นหลายฉบับควบคู่กนั ไป ตัง้ แต่ผงั เมืองจนถึง กฎหมายควบคุมอาคาร ในปี ค.ศ. 1972 อิตาลีได้ใช้นโยบายกระจายอํานาจ โดยถ่ายโอนอํานาจทางการผังเมือง ให้กบั ส่วนภูมภิ าค (Regional Administrative Authority-เรียก Region I) ซึง่ ทําให้เกิดแผนพัฒนาใน แต่ละแคว้นหรือภาคเร็วขึน้ กว่าเดิม เนื่องจากภูมภิ าคได้จดั ทําแผน (Regional Structure Plan) ของ ตนเอง ไม่ตอ้ งรอจากส่วนกลาง นอกจากนัน้ รัฐบาลกลางยังให้ออกกฎหมายพิเศษในการประกาศฟื้ น สภาพส่ว นของเมือ งในกรณี เ กิด ภัย พิบ ัติ เช่น แผ่ น ดิน ไหว หรือ นํ้ า ท่ ว มด้ว ย ซึ่ง มีผ ลทํา ให้ก าร ช่วยเหลือทางการเงินทีต่ อ้ งการอย่างเร่งด่วนเป็ นไปได้ ในด้านแรงจูงใจ อิตาลีไม่มกี ารตัง้ งบประมาณสําหรับช่วยเหลือในการซ่อมแซมอาคารของ เอกชนโดยตรง แต่ใช้วธิ กี ารทางภาษีแทน ดังนี้ 1) รายได้จากการเปิดพิพธิ ภัณฑ์ หรือสวนส่วนบุคคล ได้รบั การยกเว้นภาษี 2) การลดภาษีอ่นื ๆ เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีอสังหาริมทรัพย์ และภาษีมรดก 3) การลดภาษีมลู ค่าเพิม่ ประมาณครึง่ หนึ่งของทีเ่ ก็บในอัตราปกติ (อัตราปกติเก็บที่ ร้อยละ 20 เป็ นส่วนใหญ่) นอกจากนัน้ ยังมีการใช้ทุนจากสลากกินแบ่งมาช่วยในการบูรณะอาคารของรัฐ คล้ายระบบ ของอังกฤษ และยังมีการให้ทางเลือกแก่ผเู้ สียภาษีทต่ี ้องการลดหย่อน คือ สามารถบริจาคเงินมูลค่า ไม่เกินร้อยละ 0.8 ของภาษีเงินได้มาบริจาคให้กระทรวงวัฒนธรรมเพื่อการอนุ รกั ษ์แทนการบริจาคให้ วัดหรือองค์กรทางศาสนาซึ่งจะทําให้รฐั บาลมีเงินทุนในการบูรณะมรดกวัฒนธรรมทีเ่ ป็ นของรัฐมาก ขึน้ 4.5.9 สาธารณรัฐมอลต้า สาธารณรัฐมอลต้าเป็ นประเทศยุโรปแถบเมดิเตอร์เรเนียนทีเ่ ป็ นเกาะและมีขนาดเล็กทีส่ ุดและ มีความหนาแน่ นของประชากรสูงทีส่ ุดในยุโรป มอลต้าประกาศเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1964 (ใกล้เคียงกับมาเลเซียและสิงคโปร์) มีประวัตศิ าสตร์และสถาปตั ยกรรมเก่าแก่เหมือนประเทศอื่นๆ ใน ยุโรป ตัง้ แต่ยคุ ก่อนประวัตศิ าสตร์ ยุคกรีก โรมัน ยุคกลาง ต่อเนื่องจนถึงปจั จุบนั มอลต้ า มีก ารอนุ ร ัก ษ์ ม รดกวัฒ นธรรมตัง้ แต่ ก่ อ นประกาศเอกราช โดยการจัด ตัง้ กรม พิพธิ ภัณฑ์ (Museum Department) ในปี ค.ศ. 1903 และมีกฎหมายอนุ รกั ษ์โบราณสถาน (Antiquities Protection Act) ในปี ค.ศ. 1925 มีการปกป้องแหล่งโบราณสถานคล้ายพระราชบัญญัติ โบราณสถานของไทย ซึง่ ไม่ได้มกี ารคํานึงถึงเมือง ชุมชน หรือย่านประวัตศิ าสตร์
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
93
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ในปี ค.ศ. 1991 ได้มกี ารออกกฎหมายรักษาสิง่ แวดล้อม (Environment Protection Act) ซึง่ ได้รวมการปกป้องมรดกวัฒนธรรมไว้ดว้ ย แต่ไม่ได้กําหนดมาตรการทีเ่ พียงพอในการอนุ รกั ษ์ ซึง่ ทํา ให้กฎหมายอนุรกั ษ์โบราณสถาน ค.ศ. 1925 ยังคงใช้บงั คับอยู่ ในด้านการอนุ รกั ษ์ย่านประวัตศิ าสตร์ หรือชุมชนเมือง ได้เริม่ ในปี ค.ศ. 1992 โดยการออก กฎหมายพัฒนาเมือง (Development Planning Act) ค.ศ. 1992 โดยให้รฐั บาลกลางเป็ นผูจ้ ดั ทําแผน (เพราะทัง้ ประเทศมีเนื้อทีเ่ พียง 300 ตารางกิโลเมตร) ในกฎหมายฉบับนี้มกี ารกําหนดหลักเกณฑ์ใน การจัด ลํ า ดับ ความสํ า คัญ ของอาคารประวัติศ าสตร์ และแนวคิด ในการประกาศพื้น ที่อ นุ ร ัก ษ์ (Conservation Area) ซึง่ มีแม่แบบมาจากอังกฤษ คําว่าพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area) ใน มอลต้าส่วนใหญ่ใช้กบั ย่านประวัตศิ าสตร์ใจกลางเมือง แต่กม็ จี ํานวนหนึ่งทีป่ ระกาศใช้ในพืน้ ทีช่ นบท ต่างกับกฎหมายอนุรกั ษ์โบราณสถานทีม่ แี ม่แบบมาจากอิตาลี การจัดลําดับความสําคัญอาคารประวัตศิ าสตร์ของมอลต้าในกฎหมายพัฒนาเมืองมี 3 ลําดับ ซึง่ จะมีการระบุในพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ 1) ลําดับ 1 (Grade 1) ได้แก่ อาคารทีม่ คี ุณค่าโดดเด่น หรือมีประวัตศิ าสตร์สาํ คัญ ไม่ อนุ ญาตให้มกี ารรือ้ ถอน หรือเปลีย่ นแปลงใดๆ ทีจ่ ะมีผลต่อการทําลายและองค์ประกอบโดยรวมของ อาคาร รวมทัง้ ห้ามเปลีย่ นแปลงสภาพทัง้ ภายนอกและภายใน 2) ลําดับ 2 (Grade 2) ได้แก่ อาคารทีม่ คี วามสําคัญทางประวัตศิ าสตร์ไม่สงู นัก แต่มสี ว่ นช่วย ในด้านทัศนียภาพของพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ ตามปกติอาคารในกลุ่มนี้จะไม่ได้รบั อนุญาตให้รอ้ื ถอนได้ และ การเปลีย่ นแปลงภายในสามารถทําได้แต่ตอ้ งไม่รบกวนหรือทําให้เกิดความเสียหายแก่ภาพรวมของ สถาปตั ยกรรมและทัศนียภาพเมือง 3) ลําดับ 3 (Grade 3) ได้แก่ อาคารทีไ่ ม่มคี วามสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และสถาปตั ยกรรม อนุญาตให้มกี ารรือ้ ถอนได้และหากมีการสร้างใหม่จะต้องมีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม กฎหมายวางแผนพัฒนา 1992 ยังได้รวมถึงการจัดลําดับแหล่งโบราณคดี ในกรณีทต่ี อ้ งทําผัง โครงสร้างของเมืองด้วย โดยมี 4 ระดับ ดังนี้ 1) Class A มีความสําคัญสูงสุด ไม่อนุญาตให้มกี ารพัฒนาใดๆ ในพืน้ ที่ และมีการกําหนด พืน้ ทีก่ นั ชนออกไปไม่ต่าํ กว่า 100 เมตร โดยรอบเขตโบราณสถาน 2) Class B มีความสําคัญมากและต้องอนุรกั ษ์โดยป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย 3) Class C เป็ นแหล่งโบราณคดีทย่ี งั มีขอ้ มูลไม่ชดั เจนหรือไม่เพียงพอ ซึง่ อาจมีการกลบทับ หลังจากได้มกี ารขุดสํารวจและบันทึกผลทางโบราณคดีแล้ว 4) Class D เป็ นแหล่งโบราณคดีในประเภทเดียวกันกับทีพ่ บในทีอ่ น่ื ๆ ทัวไป ่ ให้มกี ารสํารวจ บันทึกเข้าในระบบฐานข้อมูล จึงกลบทับหรือสามารถให้มกี ารทําลายได้ มอลต้ายังไม่มรี ะบบแรงจูงใจให้เอกชน นอกจากงบประมาณที่รฐั บาลตัง้ ไว้สําหรับบูรณะ มรดกวัฒนธรรมของรัฐแล้ว ซึง่ เป็ นงบประมาณของรัฐบาลกลาง
94
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.5.10 ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ก่อตัง้ ราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1815 หลังจากมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ตัง้ แต่ ค.ศ. 1581 การอนุ รกั ษ์ของเนเธอร์แลนด์เริม่ โดยการนําของ Victor de Stuers (1843-1916) ซึ่ง ได้นํ า กลุ่ ม อาสาสมัค รบัน ทึก และจัด ทํ า ข้อ มู ล อาคารสํ า คัญ ๆ ซึ่ง ต่ อ มาคือ ระบบฐานข้อ มู ล โบราณสถานของรัฐบาล ระหว่างปี ค.ศ. 1903-1933 ซึง่ การเก็บข้อมูลนี้มาจากการทําลายอาคารเก่า เป็ นจํานวนมากจากการพัฒนาอุตสาหกรรมนัน่ เอง ในช่วงนัน้ รัฐบาลมีการจัดตัง้ กรมศิลปากร (Arts Department) ซึง่ ต่อมาได้เปลีย่ นเป็ นคณะกรรมการแห่งชาติ (National Committee) ในปี ค.ศ. 1903 และกรมอนุ รกั ษ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (The Netherlands Department for Conservation) ได้จดั ตัง้ ในปี ค.ศ. 1947 แต่ยงั ไม่มกี ารใช้กฎหมายใดๆ กฎหมายฉบับแรกในด้านการอนุ รกั ษ์ คือ กฎหมายโบราณสถานและอาคารประวัติศาสตร์ (Historic Buildings and Monuments Act) ได้มกี ารประกาศใช้ครัง้ แรกในปี ค.ศ. 1961 (ปี เดียวกับ พระราชบัญญัตโิ บราณสถานของไทย) และถูกยกเลิกโดยกฎหมายใหม่ในปี ค.ศ. 1988 โดยข้อ แตกต่าง คือ กฎหมายในปี ค.ศ. 1961 เน้นการอนุ รกั ษ์โดยรัฐบาลกลาง แต่ในปี ค.ศ. 1988 ได้มกี าร ถ่ายโอนอํานาจในการอนุรกั ษ์ให้กบั รัฐบาลท้องถิน่ ในกฎหมายปี ค.ศ. 1988 รัฐบาลกลางยังเป็ นผูป้ ระกาศขึน้ ทะเบียนแหล่งประวัตศิ าสตร์และ โบราณสถาน แต่ทอ้ งถิน่ สามารถขึน้ ทะเบียนโดยใช้กฎหมายท้องถิน่ ของตนเองได้เช่นกัน กฎหมาย ฉบับนี้ได้แยกประเภทแหล่งโบราณคดีออกจากอาคารประวัตศิ าสตร์ ซึง่ แหล่งโบราณคดีมกี ารปกป้อง คุม้ ครองโดยรัฐทัง้ หมด แต่ในส่วนของอาคารประวัตศิ าสตร์ มีทงั ้ อาคารเดีย่ ว และบริเวณ (Sites) โดย มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) อาคารหรือสิง่ ก่อสร้างหรือวัตถุทม่ี อี ายุ 50 ปี ขึน้ ไปและอยูใ่ นความสนใจของสาธารณะ ที่ มีคุณค่าในด้านสุนทรียภาพ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และประวัตศิ าสตร์ 2) บริเวณซึง่ มีอาคารตาม 1) ตัง้ อยูม่ ากกว่า 1 อาคารขึน้ ไป ทีม่ คี วามสําคัญในด้าน สุนทรียภาพ ความสัมพันธ์เชิงพืน้ ที่ หรือวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์ ซึง่ รวมทัง้ ทีเ่ ป็ นของรัฐและ เอกชน การประกาศให้เป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ตาม 2) อาจทําได้หลายหน่ วยงาน ทัง้ กระทรวงทีอ่ ยู่อาศัย ผังเมืองและสิง่ แวดล้อม และกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องมีการ ประสานงานกัน ปจั จุบนั มีพน้ื ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ดงั กล่าวประมาณ 340 แห่ง เนเธอร์แลนด์มรี ะบบแรงจูงใจดังนี้ 1) เงินช่วยเหลือ ก) ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1997 รัฐบาลมีการจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินสมทบ สําหรับ ช่วยเหลือในการบูรณะอาคารที่ข้นึ ทะเบียน โดยผนวกเข้ากับงบประมาณในโครงการบูรณะของ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
95
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
รัฐบาลท้องถิน่ โดยมีหลักเกณฑ์ คือ ให้รอ้ ยละ 50 สําหรับที่อยู่อาศัยและพืน้ ที่กสิกรรม ร้อยละ 30 สําหรับโบสถ์ และร้อยละ 20 สําหรับอื่นๆ เช่น ปราสาท กังหัน หอส่งนํ้ า ฯลฯ ซึง่ ต้องส่งโครงการให้ รัฐบาลกลางพิจารณาทุกๆ 4 ปี สําหรับเมืองที่มกี ารขึน้ ทะเบียนมากกว่า 100 แห่ง และมีกฎหมาย ท้องถิ่นปกป้องมรดกวัฒนธรรมของตนเองจะต้องรับผิดชอบงบประมาณอุดหนุ นของตนเอง แต่ เทศบาลขนาดเล็กจะต้องรวมกับเทศบาลใกล้เคียงในจังหวัดเดียวกันเพื่อให้รฐั บาลกลางพิจารณา จัดลําดับความสําคัญ เอกชนที่เป็ นเจ้าของทรัพย์สนิ ก็สามารถส่งข้อเสนอโครงการบูรณะได้ภายใต้ นโยบายนี้ โดยให้สภาเมืองพิจารณารวบรวมในขัน้ ต้น ข) เงินช่วยเหลือในการบํารุงรักษา (maintenance grants) มีไว้เพื่อช่วยเหลืออาคาร หรือวัตถุทห่ี ลังการบูรณะแล้วไม่สามารถมีรายได้พอเพียงต่อการบํารุงรักษาซึง่ ได้แก่ โบสถ์ ปราสาท ป้อมปราการ กังหันลม และปล่องไฟโรงงาน ส่วนทีอ่ ยู่อาศัยจะไม่มสี ทิ ธิได้รบั เงินช่วยเหลือนี้ โดยให้ เป็ นเงินสมทบร้อยละ 50 ของค่าบํารุงรักษา ค) เงินช่วยเหลืออื่นๆ โดยเฉพาะภัยพิบตั ติ ่างๆ เช่น ฝนกรด ฯลฯ 2) การลดภาษี (tax deduction) มี 3 ลักษณะ ก) ลดภาษีเงินได้จากค่าดูแลรักษาทรัพย์สนิ ซึง่ จํากัดเฉพาะอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนกับ รัฐบาลกลางเท่านัน้ ข) ภาษีบริษทั ได้รบั การยกเว้นหากมีการช่วยเหลือในการบูรณะอาคารของรัฐและที่ อยูอ่ าศัยของรัฐ ค) ภาษีคหบดี (wealth tax) เป็ นภาษีทม่ี ใี ช้ในบางประเทศ ใช้กบั ผูม้ ที รัพย์สนิ มาก เกินความจําเป็ นซึง่ ในเนเธอร์แลนด์ได้ยกเว้นให้กบั พืน้ ทีช่ นบท (rural estate) ตามทีป่ ระกาศใน กฎหมายรักษาทางธรรมชาติ (Natural act) ง) ภาษีจากการโอนทรัพย์สนิ (conveyance tax) ยกเว้นกรณีโอนให้มลู นิธแิ ละเพือ่ การบูรณะอาคาร 4.5.11 ราชอาณาจักรสเปน ราชอาณาจักรสเปนเป็ นประเทศทีเ่ คยเป็ นมหาอํานาจทางทะเลในช่วงศตวรรษที่ 16-17 ใน ด้านการอนุ รกั ษ์เริม่ ในปี ค.ศ. 1752 (สมัยอยุธยาตอนปลาย) มีการจัดตัง้ สถาบันศิลปะชัน้ สูง (Academia de Las Nobles Artes) ต่อมาเรียก Academia de San Fernando ซึง่ รับผิดชอบในการ พิจ ารณาอาคารที่มีก ารก่ อ สร้า งในพื้น ที่ส าธารณะ ในปี ค.ศ. 1803 ปรากฏคํา ว่ า โบราณสถาน (Monuments) ในพระบรมราชโองการของกษัตริย์คาร์ลอส ที่ 4 ในปี ค.ศ. 1911 ได้มกี ารออก กฎหมายควบคุมหากมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีจากการก่อสร้างอาคาร และได้มกี ฎหมายคุม้ ครอง โบราณสถานในปี ค.ศ. 1915 (Monuments Act) ต่อมาในปี ค.ศ. 1926 ได้มกี ารออกกฎหมาย คุม้ ครองและอนุ รกั ษ์งานศิลปกรรม (Decree on the Protection and Preservation of Artistic 96
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
Richness) ซึง่ มีการกําหนดทรัพย์สนิ ทางศิลปกรรมในกฎหมายนี้ ซึง่ ได้ขยายขอบเขตไปยังย่านใน เมืองที่มกี ารรวมกลุ่มของสถาปตั ยกรรมที่มคี ุณค่าด้ว ย ซึ่งในปี ค.ศ. 1931-1933 ได้มีการแก้ไข กฎหมายว่าทรัพย์สนิ ทางศิลปกรรมนัน้ แม้ว่าจะเป็ นของเอกชนก็อยู่ในอํานาจของรัฐในการปกป้อง คุม้ ครองด้วย ซึง่ ต่อมาได้มกี ารปรับปรุงในรายละเอียดและใช้บงั คับจนถึงปี ค.ศ. 1985 ในปี ค.ศ. 1976 ได้มกี ารปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ท่ดี นิ ในด้านการพัฒนาเมือง ซึ่ง สิง่ ก่อสร้างทีม่ คี ุณค่าด้านศิลปกรรมและประวัตศิ าสตร์จะต้องมีการบูรณาการโดยบรรจุเข้าไปในกรอบ ของการพัฒนาเมืองและแผนพัฒนาเมืองในระดับปฏิบตั ิการด้วย ซึ่งในช่วงนี้เอง ในปี ค.ศ. 1978 สเปนได้มีก ารกระจายอํา นาจการปกครอง ทํ า ให้ห น้ า ที่ค วามรับ ผิด ชอบในการอนุ ร ัก ษ์ ภ ายใต้ แผนพัฒนาเมืองกลายเป็ นของท้องถิน่ ซึง่ สภาเมืองต้องมีการดําเนินการ ในปี ค.ศ. 1985 ได้มกี ารยกเลิกใช้กฎหมายอนุ รกั ษ์ปี ค.ศ. 1933 โดยออกกฎหมายใหม่ฉบับ ที่ 16/1985 เรียกกฎหมายมรดกประวัตศิ าสตร์ของสเปน (Spanish Historical Heritage-Patrimonia Histories Espanal-LPHE) ซึง่ เหตุผลของการปรับปรุงกฎหมายมี 2 ประการ คือ การรองรับแนวคิด การอนุ รกั ษ์ของยูเนสโก และ ICOMOS และการประกาศใช้รฐั ธรรมนู ญของสเปนในปี ค.ศ. 1978 ที่ ให้มกี ารถ่ายโอนอํานาจการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมจากส่วนกลางไปยังรัฐบาลของแคว้น (Regions) ต่างๆ 12 แคว้น ซึ่งต่างก็ได้ทยอยออกกฎหมายอนุ รกั ษ์ของตนเอง ในช่วงปี ค.ศ. 1991-1999 ซึ่งมี หลักการคล้ายคลึงกัน และแต่ ละแคว้นก็มีทะเบียนและฐานข้อมูลเป็ นของตนเอง โดยมีการแยก ประเภทต่างๆ คือ อนุ สรณ์สถานทางประวัตศิ าสตร์ (Historical Monuments), สวน (Gardens), บริเวณ (Sites), สถานที่ (Places) และพืน้ ทีท่ างโบราณคดี (Archaeological Areas) ซึง่ ในกรณีน้ียา่ น ชุมชนในเมือง (Urban Settlements) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Historic Sites และเนื่องจากมีความ หลากหลายของแหล่งมรดกวัฒนธรรมในกฎหมายจึงได้เปิ ดกว้างให้มกี ารพิจารณา โดยใช้ดุลยพินิจ ว่าอย่างไรถึงจะเป็ นมรดกวัฒนธรรม โดยใช้คาํ ว่า Asset of Cultural Interest มีช่อื ย่อตามภาษาสเปน ว่า CIA ในกฎหมาย LPHE มีการจัดลําดับมรดกวัฒนธรรมเป็ น 3 ลําดับ ดังนี้ 1) ลําดับ 1 Upper Level-มีการปกป้องสูงสุดและต้องมีการประกาศให้เป็ น CIA 2) ลําดับ 2 Second Level-มีการปกป้องรองลงมา โดยต้องมีการประกาศกําหนดว่า ส่วนใดควรอนุ รกั ษ์ 3) ลําดับ 3 Third Level-เป็ นทรัพย์สนิ ทัวไปที ่ เ่ ข้าเกณฑ์ทไ่ี ม่ได้มกี ารประกาศให้เป็ น CIA แต่รฐั บาลแต่ละแคว้นอาจขึน้ ทะเบียนด้วยระบบของตนเองได้ ในด้านแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย LPHE กําหนดไว้ว่ารัฐบาลจะจัดหามาตรการ ทางการเงินในการช่วยเหลือเพือ่ การบูรณะและสงวนรักษาทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรม
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
97
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.6 การวิ เคราะห์เปรียบเทียบกรณี ศึกษา จากกรณีศกึ ษาประเทศต่างๆ ที่มกี ารอนุ รกั ษ์ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา พอจะวิเคราะห์ได้ ผลสรุปเป็ น 3 ประเด็นดังนี้ ประเด็ น ที่ 1 การแยกประเภทย่ า นประวัติ ศ าสตร์ ห รือ ชุ ม ชนดัง้ เดิม ออกจากแหล่ ง โบราณสถาน ประเทศกรณีศกึ ษาหลักทัง้ ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา มีการแยกประเภทย่าน ประวัตศิ าสตร์ไว้ต่างหาก โดยประกาศไว้ในกฎหมายด้วย โดยการแยกย่านประวัตศิ าสตร์น้ีมอี ยู่ 2 ลักษณะคือ 1) ประกาศโดยแยกประเภทในกฎหมายอนุ รกั ษ์ มีประเทศญีป่ นุ่ สหรัฐอเมริกา โดย ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายแยกแหล่งโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีออกต่างหาก อันเนื่องจากรัฐ ต้องเข้าครอบครองพืน้ ที่ 2) ประกาศเป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ในกฎหมายผังเมือง ประเทศทีใ่ ช้ระบบนี้ได้แก่องั กฤษ และประเทศในเครือจักรภพ การแยกประเภทย่านชุมชนประวัตศิ าสตร์ออกจากแหล่งโบราณสถานโบราณคดีนนั ้ เริม่ ใน ยุค 1960s (ตารางที่ 4-6) ซึง่ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริม่ มีการกระจายอํานาจการปกครองแล้ว ประเด็นที่ 2 การบูรณาการกับโครงการพัฒนาเมือง ไม่ว่าย่านประวัตศิ าสตร์จะมีการประกาศ ไว้ใ นกฎหมายอนุ ร กั ษ์ ห รือ กฎหมายผัง เมือ ง ทุ ก ประเทศจะมีก ระบวนการในการบู ร ณาการกับ โครงการพัฒนาเมืองทัง้ สิน้ โดยมีลกั ษณะการบูรณาการดังนี้ 1) มีการประกาศเป็ นพืน้ ที่อนุ รกั ษ์ในผังเมืองรวม โดยของอังกฤษใช้ประกาศในผัง ท้องถิน่ ซึ่งต้องระบุว่าอาคารใดขึน้ ทะเบียนและจัดลําดับด้วย ส่วนในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เมื่อมี การประกาศย่านอนุรกั ษ์ประวัตศิ าสตร์แล้วจะต้องออกกฎหมายท้องถิน่ เป็ นข้อกําหนดในผังเมืองรวม ด้ว ยเช่ น กัน โดยอาจแยกเป็ น ย่ า นการใช้ป ระโยชน์ ท่ีดิน โดยเฉพาะว่ า เป็ น ย่ า นอนุ ร ัก ษ์ หรือ มี ข้อกําหนดท้องถิน่ ทีม่ รี ายละเอียดซ้อนทับ (overlay) บนแผนผังแสดงการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ในอนาคต 2) เป็ นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้ นฟูเมือง ประเทศในยุโรปเกือบทัง้ หมดใช้วิธีการ บูรณาการเช่นนี้ คือหากพืน้ ทีใ่ ดหรือกลุ่มอาคารใดมีการประกาศให้เป็ นย่านอนุ รกั ษ์ หากมีโครงการ ฟื้ นฟู เมือง (urban renewal) ก็จะถูกบรรจุให้เป็ นเป้าหมายสําหรับการบูรณะ (restoration) ใน โครงการฟื้ นฟูเมืองนัน้ ด้วย ซึ่งมีขอ้ น่ าสังเกตคือ หน่ วยงานอนุ รกั ษ์กบั หน่ วยงานพัฒนาเมือง แม้จะ เป็ นคนละหน่ วยงานกันก็สามารถบูรณาการประเด็นของการอนุ รกั ษ์ได้ ทัง้ นี้โดยมีรฐั บาลท้องถิน่ เป็ น ส่วนเชื่อมประสานข้อมูลต่างๆ 3) เป็ นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนทีอ่ ยู่อาศัย หลายประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และในสหรัฐ อเมริกา ย่านประวัติศาสตร์ท่มี ีการขึ้นทะเบียนอาจเป็ นส่วนหนึ่ งของ โครงการพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยของผู้ท่มี รี ายได้น้อยที่ได้รบั การสนับสนุ นทางการเงินจากรัฐบาล กลางทําให้ มีงบประมาณในการบูรณะอาคารเก่าไปด้วย 98
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตารางที่ 4-6 สรุปการเรียกชื่อชุมชนดัง้ เดิมในกฎหมายอนุรกั ษ์ของประเทศต่างๆ ประเทศ
ชือ่ เรียกชุมชนดัง้ เดิมในกฎหมาย
ญีป่ นุ่
ย่านอนุรกั ษ์กลุ่มอาคารประวัตศิ าสตร์สาํ คัญ (Preservation Districts of Groups of Important Historic Buildings) สหรัฐอเมริกา ย่านประวัตศิ าสตร์ (Historic Districts) ถ้ามีคุณค่าสูงเรียก ย่านภูม ิ สัญลักษณ์ (Landmark Districts) อังกฤษ พืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Areas) ประกาศในผังเมืองรวมตาม พ.ร.บ. การผังเมืองและชนบท เบลเยียม จัดอยูใ่ นประเภทกลุ่มอาคาร (Groups of Buildings) ในผังเมืองเรียก Zone - Specific Communal Town Planning Regulations เช็ก พืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Cultural Heritage Conservation Sites) แบ่งเป็ น 3 ระดับ - พืน้ ทีค่ วบคุมเข้มข้น (Urban Conservation Site) - พืน้ ทีค่ วบคุมปานกลาง (Conservation Zones) - พืน้ ทีรกั ษาเฉพาะผังบริเวณ (Layout Space) เดนมาร์ก บูรณาการโดยใช้ระบบ SAVE & CHIP ตามกฎหมาย The Listed Buildings and Protection of Buildings and Urban Environment Act ฝรังเศส ่ เขตอนุรกั ษ์ ZPPAUPs - zones de protection du patrimonie architectural urbane et paysager จอร์เจีย พืน้ ทีป่ กป้อง (Protection Zones) ในกฎหมายอนุ รกั ษ์ 1999 อาจบูรณาการกับกฎหมายผังเมือง Urban Development Regulation Zones เยอรมนี แล้วแต่แคว้น เช่น Thuringia เรียก Composite Building Complex ไอร์แลนด์ พืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area) ในกฎหมายผังเมือง อิตาลี ประกาศเป็ นพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ เรียก Zone for Restoration and Urban Renewal ในกฎหมายทีอ่ ยูอ่ าศัยกับกฎหมายพัฒนาเมือง มอลต้า พืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ (Conservation Area) ในกฎหมายพัฒนาเมือง เนเธอร์แลนด์ บริเวณ (Sites) ทีม่ อี าคารมากกว่า 1 หลังขึน้ ไป สเปน
บริเวณ (Sites)
ปี ทป่ี ระกาศใช้ (ค.ศ.) 1975 1966 1968
จํานวน (ค.ศ. ทีม่ ขี อ้ มูล) 80 (2009) ประมาณ 13,000 (2009) ประมาณ 10,000 (2009)
1999
ไม่มขี อ้ มูล
1987
ประมาณ 1,200 (2001)
1997
ไม่มขี อ้ มูล
1983
ประมาณ 300 (2001)
1999
ไม่มขี อ้ มูล
ไม่มขี อ้ มูล 1963
ไม่มขี อ้ มูล ไม่มขี อ้ มูล
1968
ไม่มขี อ้ มูล
1992
ไม่มขี อ้ มูล ประมาณ 340 (2001) ไม่มขี อ้ มูล
1988 ช่วง 1990s
ประเด็นที่ 3 การให้แรงจูงใจ แทบทุกประเทศทีศ่ กึ ษามีการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ทัง้ เงินช่วยเหลือ การลดภาษีและอื่นๆ โดยมีลกั ษณะดังนี้ 1) การให้เงินช่วยเหลือ โดยส่วนมากอยูใ่ นลักษณะเงินสมทบซึง่ มีทงั ้ จากรัฐบาลกลาง ให้ทอ้ งถิน่ หรือรัฐบาลกลางเจ้าของอาคารหรือท้องถิน่ หรือท้องถิน่ ให้เจ้าของอาคาร ในอัตราส่วนที่ ั่ หลากหลาย ในฝงอเมริ กาและญี่ปุ่นการให้เงินช่วยเหลือในลักษณะเงินสมทบนี้ให้เพื่อ สํารวจ ศึกษา ั ่ โรป เงินช่วยเหลือนี้จะให้เจ้าของอาคารที่ทําการบูรณะซ่อมแซม วิจยั จัดทําแผน เท่านัน้ แต่ในฝงยุ ด้วยหากเป็ นอาคารทีม่ คี วามสําคัญมาก
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
99
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
2) การลดภาษี ประเทศทีม่ มี าตรการลดภาษีเป็ นทีน่ ิยมมากคือ สหรัฐอเมริกา ซึง่ เป็ น การนํ า ค่ า บู ร ณะอาคารมาหัก ลดภาษีเ งิน ได้โ ดยตรง นอกจากนั น้ ยัง มีก ารยกเว้น หรือ ลดภาษี อสังหาริมทรัพย์ การยกเว้นภาษีมรดก และการยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิม่ ในการบูรณะซ่อมแซม การให้เงินช่วยเหลือและการลดภาษีน้ี มีลกั ษณะร่วมกันแทบทุกประเทศ คือจะต้อง อยู่ในลักษณะการแข่งขัน (competitive basis) คือจะต้องมีการยื่นเสนอโครงการไม่ใช่รฐั บาลเป็ นผู้ ริเริม่ และรัฐเป็ นผูพ้ จิ ารณา ซึง่ จะต้องมีการตัง้ มาตรฐานของการบูรณะซ่อมแซมและเงือ่ นไขต่างๆ เช่น จะต้องมีการเปิ ดให้สาธารณะเข้าชมได้ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจะต้องมีการปรับปรุงเพือ่ ให้เกิดรายได้ นอกจากนัน้ การลดภาษีน้ีแทบทุกประเทศมีระบบของการลดหย่อนภาษีจากการ บริจาคทีม่ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ การบูรณะอาคารโดยเฉพาะ 3) แรงจูงใจอื่นๆ บางประเทศมีเ งินกู้ด อกเบี้ยตํ่ า หรือ บางประเทศมีการลดหรือ ยกเว้นค่าธรรมเนี ยมการขออนุ ญาตปรับปรุงอาคารที่ข้นึ ทะเบียนโดยการปรับปรุงอาคารนัน้ ต้อง เป็ น ไปตามมาตรฐานที่กํ า หนดและในสหรัฐ อเมริก า ยัง มีก ารโอนสิท ธิก ารพัฒ นา และการโอน กรรมสิทธิ ์บางส่วนของอาคารเพือ่ การอนุรกั ษ์ (façade easement) ด้วย (ตาราง 4-7) เป็ น ที่น่ า เสีย ดายว่ า ในขณะที่แ ทบทุ ก ประเทศจากกรณี ศึก ษา มีก ารแยกประเภทย่า น ประวัติศ าสตร์อ อกจากโบราณสถาน เนื่ อ งจากบริบ ทของการเป็ น เจ้า ของกรรมสิท ธิน์ ัน้ มีค วาม แตกต่ า ง ส่ ง ผลให้วิธีก ารปกป้ องคุ้ม ครองแตกต่ า งกัน ไปด้ว ย และยัง มีก ารบู ร ณาการเข้า กับ กระบวนการพัฒนาเมืองและการพัฒนาชุมชนทีอ่ ยู่อาศัย รวมทัง้ การกําหนดให้มแี รงจูงใจในลักษณะ ต่างๆ ซึง่ ประเทศต่างๆ เหล่านี้ ได้มกี ารดําเนินการหลังจากมีการกระจายอํานาจจากส่วนกลางสูส่ ว่ น ท้องถิน่ ซึ่งประเทศไทยได้มกี ฎหมายถ่ายโอนภารกิจตัง้ แต่ พ.ศ. 2542 แต่การดําเนินการเพื่อการ รักษาชุมชนดัง้ เดิม ด้วยการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอนุ รกั ษ์ การบูรณาการในกระบวนการพัฒนา เมืองและการจัดให้มแี รงจูงใจไม่ปรากฏว่ามีการนํามาใช้เลยในประเทศไทย
100
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
ตารางที่ 4-7 สรุปแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ด้านการอนุรกั ษ์ในประเทศทีศ่ กึ ษา ประเทศ ญีป่ นุ่
สหรัฐอเมริกา
อังกฤษ
เบลเยียม
เช็ก
เดนมาร์ก ฝรังเศส ่ จอร์เจีย เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี
เงินช่วยเหลือ 1) เงินสมทบจากรัฐบาลกลางตาม สัดส่วนรายได้ของท้องถิน่ สําหรับ จัดทําแผน 2) เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลท้องถิน่ ตามกฎหมายท้องถิน่ สําหรับการ ปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร 1) เงินสมทบจากรัฐบาลกลาง สําหรับจัดทําแผนหรือศึกษาสํารวจ ให้แก่ทอ้ งถิน่ และองค์กรอนุ รกั ษ์ 2) เงินช่วยเหลือบูรณะอาคารใน โครงการฟื้นฟูทอ่ี ยูอ่ ยูอ่ าศัย 1) เงินช่วยเหลือเพือ่ ซ่อมแซมจาก กองทุนอนุ รกั ษ์ 2) งบประมาณจากการพัฒนาเมือง 1) เงินสมทบ ร้อยละ 40-90 จาก รัฐบาลกลางและท้องถิน่
1) เงินช่วยเหลือไม่เกินร้อยละ 50 2) รัฐออกทัง้ หมดกรณีซ่อม องค์ประกอบสถาปตั ยกรรม 1) เงินช่วยเหลือโครงการ SAVE และโครงการฟื้นฟูเมือง 1) เงินสมทบ ร้อยละ 30-50 1) จากโครงการฟื้นฟูเมือง 1) จากโครงการอนุรกั ษ์ของรัฐบาล กลาง แต่มจี าํ นวนไม่มาก 1) กองทุนจากสลากกินแบ่ง
มอลต้า เนเธอร์แลนด์
1) เงินสมทบ ร้อยละ 20-50 2) เงินช่วยเหลือในการบํารุงรักษา
สเปน
มีแต่ไม่ได้ระบุละเอียด โดยร้อยละ 1 ของงบประมาณต้องจัดไว้ให้เพือ่ การ อนุ รกั ษ์
แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ลดภาษี 1) ลดหย่อนภาษีจากเงินบริจาค 2) ยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์ สําหรับอาคารขึน้ ทะเบียน 3) ลดภาษีอสังหาริมทรัพย์สาํ หรับ อาคารทีส่ ง่ เสริมย่านประวัตศิ าสตร์
อื่นๆ 1) ยกเว้นค่าธรรมเนียมอาคารขึน้ ทะเบียนหากโอนหรือขายให้รฐั
1) ลดภาษีเงินได้จากค่าใช้จา่ ยใน การฟื้นฟูได้รอ้ ยละ 20-25 2) เก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์คงที่ 8 ปี กรณีมกี ารซ่อมแซม
1) การโอนสิทธิการพัฒนา 2) การยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการ พัฒนาหากเป็ นอาคารขึน้ ทะเบียน
1) การยกเว้นภาษีมรดก 2) การยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิม่ จาก ค่าใช้จา่ ยในการปรับปรุงอาคาร 1) ลดหย่อนภาษีจากการบริจาค 2) ยกเว้นภาษีมรดกกรณีโอนให้รฐั 3) ลดภาษีเงินได้จากการซ่อมแซม 4) ภาษีอสังหาริมทรัพย์อตั ราคงที่ 1) ยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์ 8 ปี หลังจากซ่อมแซม
1) เงินกูด้ อกเบีย้ ตํ่า
1) ลดภาษีจากค่าเสือ่ มราคาบวกค่า ซ่อมแซม 1) ลดภาษีจากการบริจาค 1) มีการยกเว้นภาษีบางประเภท 1) ลดภาษี 10 ปี กรณีซ่อมแซม 1) นําค่าใช้จา่ ยในการบํารุงรักษามา ลดภาษี 1) ลดภาษีกรณีบริจาคให้รฐั 2) ลดภาษีเงินได้/อสังหาริมทรัพย์ 3) ยกเว้นภาษีจากการเปิด พิพธิ ภัณฑ์สว่ นบุคคล 1) ลดภาษีเงินได้จากค่าดูแล 2) ลดภาษีกรณีช่วยเหลือการบูรณะ 3) ยกเว้นภาษี/ค่าธรรมเนียมการ โอนกรณีโอนให้องค์กรอนุรกั ษ์ -
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
-
-
1) เงินกูด้ อกเบีย้ ตํ่า -
-
-
101
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4.7 กรอบการพิ จารณาเมืองมรดกโลก ป จั จุ บ ัน ในประเทศไทยได้มีค วามสนใจในเรื่อ งเมือ งมรดกโลกกัน มากขึ้น ส่ว นหนึ่ ง อาจเล็ง เห็น ประโยชน์ ใ นด้า นการพัฒนาเศรษฐกิจที่จ ะมาจากการท่อ งเที่ย วเชิง วัฒ นธรรม อย่า งไรก็ต ามใน กระบวนการของการพิจารณาขึน้ บัญชีเป็ นมรดกโลกนัน้ จะต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก ทัง้ ในด้า นข้อ มูล การบริห ารจัด การ โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง ในส่ ว นของเมือ งมรดกโลกนัน้ จะต้อ งมี กระบวนการของความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทัง้ ท้องถิน่ และประชาชนในพืน้ ทีด่ ว้ ย ในทีน่ ้ีจงึ สรุปสาระสําคัญของหัวข้อต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา หากพื้นที่ชุมชนดัง้ เดิมใดๆ มีความ สนใจในการดําเนินการสู่การเป็ นมรดกโลก ซึง่ หัวข้อนี้ประกอบไปด้วย ก) เกณฑ์พจิ ารณาของมรดก โลก ข) การแบ่งประเภทย่อยของเมืองมรดกโลก และ ค) การรักษาบูรณาการและความเป็ นของแท้ใน การดํารงสถานะเป็ นมรดกโลก 4.7.1 เกณฑ์พิจารณาของมรดกโลก องค์กรยูเนสโกได้ประกาศอนุ สญ ั ญาว่าด้วยการปกป้องมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทาง ธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) หรือเรียกสัน้ ๆ ว่าอนุ สญ ั ญามรดกโลก (World Heritage Convention) ในปี ค.ศ. 1972 และไทยได้ เข้าร่วมโดยให้สตั ยาบันรับรองอนุ สญ ั ญาดังกล่าวในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2528) ซึ่งในเวลาต่อมา ยูเนสโกได้ประกาศขึน้ ทะเบียนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติในประเทศไทย 5 แห่ง ได้แก่ สุโขทัยและเมืองบริวาร คือ ศรีสชั นาลัยและกําแพงเพชร, อยุธยา, แหล่งโบราณคดีบา้ นเชีย, อุทยานแห่งชาติหว้ ยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร, และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ยงั ไม่ปรากฏว่าไทยมี แหล่งมรดกโลกทีเ่ ป็ นเมืองหรือชุมชนประวัตศิ าสตร์ทย่ี งั มีผคู้ นอยูอ่ าศัยต่อเนื่องเหมือนหลายเมืองใน ทวีปยุโรปและในเอเชีย เช่นเมืองมาเก๊า ปีนงั และมะละกา ในการพิจารณาเป็ นมรดกโลกมีหลักเกณฑ์ท่ใี ช้อยู่อยู่ 10 ข้อ ซึ่ง 6 ใน 10 ข้อนัน้ ใช้สําหรับ มรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งเกณฑ์ดงั กล่าวต้องแสดงให้เห็นว่าแต่ละเกณฑ์นัน้ มีคุณค่าทางสากลอัน โดดเด่น (Outstanding Universal Value) หมายความว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งมรดกอื่นๆ ประเภทเดียวกันในโลกนี้แล้วจะต้องมีความโดดเด่นพิเศษกว่าแห่งอื่น เกณฑ์พจิ ารณา 6 ข้อ นัน้ เกีย่ วข้องกับการวิเคราะห์คุณค่าในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) การสร้างสรรค์อนั แสดงออกถึงความเป็ นอัจฉริยะของมนุษย์ 2) คุณค่าของมนุษย์ผา่ นทางงานสถาปตั ยกรรม เทคโนโลยี ศิลปะ ผังเมืองและการออกแบบ ภูมทิ ศั น์ 3) เป็ นหลักฐานหรือสถานทีท่ ม่ี ปี ระเพณีหรืออารยธรรมทีส่ าํ คัญ ทัง้ ทีย่ งั คงอยูใ่ นปจั จุบนั หรือ สูญหายไปแล้ว 102
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
4) แบบอย่างของสถาปตั ยกรรมหรือลักษณะภูมทิ ศั น์ทแ่ี สดงออกถึงประวัตศิ าสตร์ของ มนุษยชาติ 5) แบบอย่างของการตัง้ ถิน่ ฐาน การใช้ประโยชน์ทงั ้ จากผืนดินและผืนนํ้าทีแ่ สดงถึงวัฒนธรรม ทีม่ นุ ษย์กบั ธรรมชาติตอ้ งพึง่ พาซึง่ กันและกัน 6) เกีย่ วพันกับเหตุการณ์หรือความเชื่อทีม่ คี วามสําคัญในประวัตศิ าสตร์ เกณฑ์พจิ ารณาดังข้างต้นให้ใช้เกณฑ์หนึ่งเกณฑ์ใ ดหรือหลายเกณฑ์รวมกันก็ได้ ยกเว้น เกณฑ์ข้อ 6 จะต้องใช้ร่วมกับเกณฑ์อ่นื ๆ ประกอบในการเสนอคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อการ พิจารณา การตัดสินใจว่าพืน้ ทีใ่ ดเข้าเกณฑ์ในข้อใดนัน้ ขึน้ อยู่กบั การศึกษาประวัตศิ าสตร์ของพืน้ ทีแ่ ละ ความสําคัญของพืน้ ทีซ่ ง่ึ จะต้องมีหลักฐานทีจ่ บั ต้องได้ปรากฏอยู่ และจะต้องหาวิธกี ารในการปกป้อง ส่งเสริม และรักษาหลักฐานนัน้ ให้ปรากฏอยูอ่ ย่างถาวร 4.7.2 การแบ่งประเภทย่อยของเมืองมรดกโลก เมือ่ แรกใช้อนุ สญ ั ญามรดกโลก ยูเนสโกได้มกี ารกําหนดประเภทของมรดกโลกทางวัฒนธรรม ไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่ อนุ สรณ์สถาน (Monuments) กลุ่มอาคาร (Groups of Buildings) และแหล่งหรือ บริเวณ (Sites) 1) อนุ สรณ์สถาน หมายถึง งานสถาปตั ยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ส่วนของอาคาร ซาก โบราณคดี ถํ้า ซึง่ มีความสําคัญทางประวัตศิ าสตร์และวิทยาศาสตร์ 2) กลุ่มอาคาร ได้แก่ อาคารหลายหน่วยทีม่ คี วามคล้ายคลึงกัน ทัง้ ทีต่ งั ้ อยูต่ ดิ กันหรือกระจาย ตัวก็ได้ และมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับสภาพภูมปิ ระเทศ 3) แหล่งหรือบริเวณ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ของมนุ ษย์ทผ่ี นวกกับธรรมชาติ หรือพืน้ ทีท่ าง โบราณคดี ทีม่ คี ุณค่าทางประวัตศิ าสตร์ สุนทรียภาพ กลุ่มชาติพนั ธุ์ และมานุษยวิทยา ปจั จุบนั การกําหนดประเภทมรดกวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้นได้มกี ารขยายออกไป ทําให้มกี าร กําหนดมรดกวัฒนธรรมเฉพาะประเภทแยกย่อยขึ้นอีก 4 ชนิด คือ ภูมทิ ศั น์ วฒ ั นธรรม (Cultural Landscapes) เมือง (Towns) คลอง (Canals) และเส้นทาง (Routes) ซึง่ ส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับย่าน ชุมชนดัง้ เดิม หรือชุมชนประวัตศิ าสตร์ คือ เมือง (Towns) คําว่า เมือง ในความหมายของมรดกโลก หมายถึง เมืองประวัติศาสตร์กบั ศูนย์กลางเมือง (Historic Towns and Town Centers) ซึง่ ได้ผนวกเข้าไปในกรอบการพิจารณามรดกโลกในปี ค.ศ. 1987 โดยได้แบ่งเมืองออกเป็ น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เมืองทีไ่ ม่มผี คู้ นอยูอ่ าศัยแล้ว (Towns which are no longer inhabited) ซึง่ หมายถึงความ เสี่ยงต่อการถูกรบกวนจากการพัฒนาจะน้อย ทําให้สามารถรักษาสภาพดัง้ เดิมได้ง่าย รวมทัง้ การ ควบคุมเพือ่ การอนุรกั ษ์ทาํ ได้งา่ ย โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
103
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
2) เมืองทีย่ งั มีคนอยูอ่ าศัย (Historic towns which are still inhabited) ซึง่ เป็ นเมืองทีม่ กี าร พัฒนาก่อนหน้าและจะยังคงพัฒนาต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเมืองเกิดขึน้ ได้ง่ายจากแรงกดดัน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทําให้ยากต่อการรักษาสภาพดัง้ เดิม และเป็ นอุปสรรคในการวาง นโยบายด้านการอนุรกั ษ์ 3) เมืองทีเ่ กิดใหม่ในศตวรรษที่ 20 (New towns of the twentieth century) ซึง่ มีสถานะที่ เป็ นไปได้ทงั ้ เมือง 2 ประเภทข้างต้น และยังสามารถอธิบายกําเนิดของเมืองได้ชดั เจน แต่มคี วามเสีย่ ง สูงในด้านการเปลีย่ นแปลงและการพัฒนาทีค่ วบคุมได้ยาก กรอบในการอนุ รกั ษ์เมืองมรดกโลกในแต่ละประเภทย่อยได้มกี ารกําหนด ดังนี้ สําหรับเมืองทีไ่ ม่มผี คู้ นอยู่อาศัยแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองประเภทอื่นจะสามารถบริหาร จัดการได้ง่ายกว่า ดังนัน้ ในการพิจารณาจะเน้นในด้านคุณภาพการบูรณะ การรักษาความเป็ นเอก ลัก ษณะและลัก ษณะเฉพาะของเมือ ง บางส่ ว นของเมือ งที่มีค วามเกี่ย วพัน กับ เหตุ ก ารณ์ ท าง ประวัตศิ าสตร์จะต้องมีการนําเสนอทีช่ ดั เจน การศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีทม่ี คี วามจําเป็ นและต้อง บูรณาการเข้าไปในการดําเนินงานอนุ รกั ษ์ นอกจากการรักษาส่วนทีเ่ หลือของเมืองให้ดที ่สี ุดแล้วยัง ต้องรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้ได้มากทีส่ ดุ ด้วย ในกรณีของเมืองประวัตศิ าสตร์ท่ยี งั มีคนอยู่อาศัยมักมีความยากลําบากในการวางแผนการ อนุรกั ษ์เนื่องจากมีการรบกวนจากการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิง่ การพัฒนาในช่วงปฏิวตั อิ ุตสาหกรรม ทําให้เกิดกระบวนการเป็ นเมืองทีท่ าํ ลายหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ของเมือง ในการพิจารณาเมืองใน กลุ่มนี้จะเน้นทีค่ ุณค่าทางสถาปตั ยกรรมเป็ นหลักว่ายังคงแสดงออกถึงความสําคัญในอดีตทีเ่ ชื่อมโยง กับสถาปตั ยกรรมอย่างไร ส่วนข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ทเ่ี กีย่ วพันกับบุคคลหรือเหตุการณ์สาํ คัญนัน้ แม้จะมีคุณค่าสูงเพียงใดก็ตอ้ งพิจารณาควบคู่กบั สถาปตั ยกรรม ดังนัน้ ในการอนุ รกั ษ์จะต้องคํานึงถึง ระเบียบการจัดระเบียบเชิงพืน้ ที่ (spatial organization) โครงสร้าง (structure) วัสดุ (material) รูป ทรง (forms) และอาจรวมถึง การใช้ป ระโยชน์ ใ นอาคารหรือ กลุ่ ม อาคาร (functions) ที่จ ะต้อ ง สะท้อนให้เ ห็นถึงอารยธรรมที่มีความสืบ เนื่ อง เมืองในประเภทนี้ ยูเนสโกได้แบ่งย่อยออกเป็ น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) ลักษณะที่ 1 เมืองทีม่ อี ายุสมัยหรือวัฒนธรรมปรากฏเด่นชัดในยุคใดยุคหนึ่ง และได้มกี าร สงวนรักษาไว้โดยมีการรบกวนน้อยมากจากการพัฒนาสมัยใหม่ ในกรณีน้ีควรมีการปกป้องเมืองทัง้ เมืองซึง่ รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ 2) ลักษณะที่ 2 เมืองทีม่ วี วิ ฒ ั นาการเปลีย่ นแปลงตามยุคสมัยมาเป็ นลําดับ ซึง่ ยังสามารถเห็น ความแตกต่างระหว่างอดีตกับปจั จุบนั ซึง่ ในกรณีน้ีจะเน้นการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทม่ี ี ความโดดเด่นถ้ามี เช่น ภูเขาหรือทะเลสาบ การจัดระเบียบเชิงพืน้ ที่ เช่น ระบบถนนและโครงสร้าง ของเมือง 3) ลักษณะที่ 3 ศูนย์กลางเมืองประวัตศิ าสตร์ (historic centers) ซึง่ อยูใ่ นขอบเขตของเมืองที่ มีมาแต่โบราณ ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเมืองสมัยใหม่ ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาเรื่องขอบเขตทีเ่ หมาะสม 104
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 4
เป็ นสําคัญในการรักษาสภาพและองค์ประกอบของเมืองในส่วนนัน้ ไว้ ซึ่งจะพิจารณาขึน้ ทะเบียนก็ ต่ อ เมื่อ มีจํ า นวนอาคารและสิ่ง ก่ อ สร้ า งที่เ ป็ น โบราณสถานหนาแน่ น เพีย งพอที่ จ ะทํ า ให้ เ ห็ น ลักษณะเฉพาะของเมืองได้ ดังนัน้ การเสนอพืน้ ทีศ่ ูนย์กลางเมืองประวัตศิ าสตร์ทม่ี อี าคารเป็ นสําคัญ ตัง้ อยูอ่ ย่างกระจัดกระจายจะไม่ได้รบั การพิจารณา 4) ลักษณะที่ 4 ส่วนของเมือง (sectors) หมายถึง พืน้ ทีส่ ่วนใดส่วนหนึ่งของเมืองเก่าทีย่ งั หลงเหลืออยู่ ซึง่ เป็ นหลักฐานทีเ่ ชื่อมโยงให้เข้าใจได้ถงึ ลักษณะเฉพาะของเมืองประวัตศิ าสตร์ ในขณะ ทีส่ ่วนอื่นๆ ได้สูญหายไปหมดแล้ว ในกรณีน้ีส่วนที่เหลือดังกล่าวจะต้องมีความสําคัญเพียงพอที่จะ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของเมืองประวัตศิ าสตร์นนั ้ ในกรณีเมืองที่เกิดใหม่ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งในการพิจารณาของยูเนสโกมีความยากลําบาก พอสมควร เพราะมีเป็ นจํานวนมาก ดังนัน้ ในการพิจารณาจะเน้นทีป่ ระวัตศิ าสตร์แห่งการก่อตัง้ เมือง ซึง่ จะต้องมาจากเหตุผลหรือปจั จัยทีม่ คี วามสําคัญโดดเด่นเป็ นพิเศษ ในการพิจารณาเมืองมรดกโลกยูเนสโก จะให้ความสําคัญกับเมืองขนาดเล็กหรือเมืองขนาด กลางมากกว่าเมืองขนาดใหญ่ เนื่ องจากเมืองขนาดใหญ่ มีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้อยาก ลําบากกว่า และมีความเสีย่ งต่อการทําลายมากกว่า
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
105
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
บทที่ 5 รายงานการสํารวจภาคสนาม ในบทนี้ จ ะกล่ า วถึง ผลจากการออกสํา รวจภาคสนามซึ่ง เป็ น การสํา รวจพื้น ที่ร ะดับ กว้า งที่ไ ม่ ล ง รายละเอียด เพื่อทําการระบุชุมชนดัง้ เดิมแต่ละภาคทีส่ ามารถนํ ามาบรรจุเป็ นฐานข้อมูลในเบื้องต้น ด้วย โดยมีเนื้อหาประกอบไปด้วย แผนงานการออกสํารวจ บัญชีรายชื่อชุมชนดัง้ เดิมที่ออกสํารวจ รวมทัง้ ข้อมูลพืน้ ฐาน ในส่วนท้ายได้มกี ารสรุปสถานการณ์ในภาพรวมของชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมที่ สํารวจด้วย 5.1 แผนงานการออกสํารวจ การสํารวจพืน้ ทีเ่ ป็ นการสํารวจอย่างเร็ว (reconnaissance survey) โดยมีวตั ถุประสงค์ในการเก็บและ ประเมินอย่างคร่าวๆ ข้อมูลในด้านต่างๆ ของพืน้ ทีช่ ุมชนทีจ่ ดั ไว้ในฐานข้อมูล ทัง้ ด้านกายภาพ ได้แก่ ที่ตงั ้ ลักษณะการตัง้ ถิ่นฐาน รูปแบบสถาปตั ยกรรม และด้านที่ไม่ใช่กายภาพ ได้แก่ กิจกรรมทาง สังคมและเศรษฐกิจ ซึง่ นอกจากข้อมูลด้านกายภาพและวิถชี วี ติ แล้ว ยังรวมถึงความพร้อมในด้านการ มีสว่ นร่วมของทัง้ ประชาชน ท้องถิน่ และจังหวัด การบริหารจัดการ และงบประมาณ ข้อมูลดังกล่าวได้จากการศึกษาเบือ้ งต้นจากเอกสารต่างๆ ว่ามีชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยทีใ่ ดบ้างทีเ่ ข้า ลักษณะชุมชนดัง้ เดิม รวมทัง้ รายชื่อชุมชนทีไ่ ด้จากการจัดประชุมสัมมนาทีผ่ า่ นมาจะได้เป็ นฐานข้อมูล เบื้อ งต้น และในช่ว งที่อ อกสํา รวจก็จ ะได้เ ก็บ ข้อ มูล เพิ่ม เติม จากการสัม ภาษณ์ ผู้ดํา เนิ น การหรือ ขับเคลื่อนโครงการ (actors) ในชุมชนซึง่ มีทงั ้ เจ้าของอาคาร กลุ่มองค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้บริหารท้องถิ่น ในเรื่องเกี่ยวกับจุดกําเนิดกิจกรรมที่ผ่านมา ปญั หา อุปสรรค รวมทัง้ หารือ เกี่ยวกับความเป็ นไปได้ในการให้มรี ะบบแรงจูงใจรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการอนุ รกั ษ์และพัฒนา ่ น ฟื้นฟูในระดับท้องถิน่ อย่างยังยื ข้อ มูล ที่ไ ด้ใ นด้า นกายภาพจะมีก ารประเมิน โดยรวมว่า ชุ ม ชนนัน้ มีอ าคารที่มีคุ ณ ค่า ทาง สถาปตั ยกรรม ในลักษณะอาคารเดีย่ วหรือกลุ่มอาคารที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะ (character) ของพื้น ที่ ทํา ให้เ กิด เอกลัก ษณ์ แ ตกต่ า งจากส่ว นอื่น ๆ ของเมือ งหรือ ไม่ ในส่ว นของวิถีชีวิต จะ พิจารณาว่ามีกจิ กรรมทางเศรษฐกิจ ซึง่ มีสนิ ค้าและบริการประเภทใดรวมทัง้ หัตถกรรม อุตสาหกรรม พืน้ บ้านและอื่นๆ ส่วนกิจกรรมทางสังคมประกอบไปด้วย ภาษา การแต่งกาย ศาสนา ความเชื่อ และ ลักษณะของการเป็ นอยูใ่ นชุมชน
106
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ตารางที่ 5-1 แสดงแผนงานการออกสํารวจ เดือนทีอ่ อก จังหวัด สํารวจ พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มิถุนายน พ.ศ. 2552
กรุงเทพมหานคร
กรกฎาคม พ.ศ. 2552 กันยายน พ.ศ. 2552
กาญจนบุร ี สมุทรสงคราม สุพรรณบุร ี
ตุลาคม พ.ศ. 2552
อุบลราชธานี
พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
พิษณุโลก พิจติ ร ตาก กําแพงเพชร ลําปาง
ยโสธร สุรนิ ทร์ ตราด ระยอง นครปฐม ลพบุร ี ราชบุร ี นครราชสีมา
บุรรี มั ย์ ชัยนาท สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย อุทยั ธานี นครสวรรค์ ธันวาคม พ.ศ. 2552
พิจติ ร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ลําปาง
บทที่ 5
รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม
ตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ชุมชนเรือนแพ อําเภอเมือง ตะพานหิน อําเภอตะพานหิน, และบางมูลนาก อําเภอบางมูลนาก ตรอกบ้านจีน อําเภอเมือง, และบ้านตาก อําเภอบ้านตาก ชุมชนเกาะทวี อําเภอเมือง และชุมชนนครชุม อําเภอเมือง ย่านสถานีรถไฟลําปาง อําเภอเมือง, ถนนประสานไมตรี อําเภอเมือง, กาดกองต้า อําเภอเมือง, และเถิน อําเภอเถิน ถนนปากแพรก อําเภอเมือง ตลาดนํ้าอัมพวา อําเภออัมพวา ตลาดบ้านสุด อําเภอบางปลาม้า, ตลาดเก้าห้อง อําเภอบางปลาม้า, ตลาดโพธิพระยา ์ อําเภอโพธิ ์พระยา, ตลาดสามชุก อําเภอสามชุก, และตลาดศรีประจันต์ อําเภอศรี ประจันต์ ถนนหลวง อําเภอเมือง, ถนนหลวง อําเภอพิบูลมังสาหาร, ถนนวิศษิ ฐ์ศรี อําเภอ เขมราฐ, และย่านสถานีรถไฟอุบลราชธานี อําเภอวารินชําราบ บ้านสิงห์ทา่ อําเภอเมือง ถนนบํารุงพัฒนา อําเภอสําโรงทาบ, ถนนเทพนิมติ และถนนเสรีธปิ ตั ย์ อําเภอศรีขรภูม ิ บ้านนํ้าเชีย่ ว อําเภอแหลมงอบ และตลาดคลองบางพระ อําเภอเมือง ถนนยมจินดา อําเภอเมือง ตลาดต้นสน อําเภอนครชัยศรี ชุมชนวัดเชิงท่า อําเภอเมือง ตลาดเจ็ดเสมียน อําเภอโพธาราม ตลาดปากช่อง อําเภอปากช่อง, ถนนสีคว้ิ อําเภอสีคว้ิ , ถนนเทศบาล 5 อําเภอเมือง, ตลาดโชคชัย อําเภอโชคชัย, ตลาดปกั ธงชัย อําเภอปกั ธงชัย, และถนนประชาชื่น อําเภอห้วยแถลง ถนนประชาสันติสขุ อําเภอนางรอง ตลาดวัดสิงห์ อําเภอวัดสิงห์ ชุมชนวัดพระธาตุเชิงชุม อําเภอเมือง และชุมชนท่าแร่ อําเภอเมือง ถนนธาตุน้อยนาเหนือ อําเภอเรณูนคร, ชุมชนหน้าประตูโขง อําเภอธาตุพนม, และ ถนนสุนทรวิจติ ร อําเภอเมือง ถนนมีชยั อําเภอเมือง, และท่าบ่อ อําเภอท่าบ่อ ถนนชายโขง อําเภอเชียงคาน, และบ้านนาอ้อ อําเภอเมือง เรือนแพสะแกกรัง อําเภอเมือง และตลาดเก่าอุทยั ธานี อําเภอเมือง ตลาดเก่าพยุหะคีร ี อําเภอพยุหะคีร,ี ตลาดเก่าหัวดงใต้ อําเภอเก้าเลีย้ ว, ตลาดทับกฤช ใต้อาํ เภอชุมแสง และตลาดชุมแสง อําเภอชุมแสง วังกรด อําเภอเมือง และท่าฬ่อ อําเภอเมือง ชุมชนวัดกงไกรลาศ อําเภอกงไกรลาศ และตลาดศรีนคร อําเภอศรนคร ตลาดท่าสัก อําเภอพิชยั และเมืองลับแล อําเภอลับแล ท่ามะโอ อําเภอเมือง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
107
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น
มกราคม พ.ศ. 2553
ร้อยเอ็ด ประจวบคีรขี นั ธ์ ชุมพร สุพรรณบุร ี ปราจีนบุร ี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา กรุงเทพมหานคร
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มีนาคม พ.ศ. 2553 เมษายน พ.ศ. 2553 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมุทรปราการ
บทที่ 5
ชุมชนวัดเกตุการาม อําเภอเมือง, ย่านสถานีรถไฟเชียงใหม่ อําเภอเมือง และหมูบ่ า้ น ต้นแหนน้อย อําเภอสันปา่ ตอง ถนนแชแล อําเภอกุมภวาปี และถนนพิศาลสารกิจอําเภอกุมภวาปี ย่านสถานีรถไฟขอนแก่น อําเภอเมือง, นํ้าพอง อําเภอนํ้าพอง และถนนเฉลิมพล อําเภอพล ตลาดเสลภูม ิ อําเภอเสลภูม ิ ตลาดทับสะแก อําเภอทับสะแก ย่านสถานีรถไฟชุมพร อําเภอเมือง และปากนํ้าหลังสวน อําเภอหลังสวน บางแม่หม้าย อําเภอบางปลาม้า กบินทร์บุร ี อําเภอกบินทร์บุร ี ถนนราชดําเนิน อําเภอเมือง, ปากพนัง อําเภอปากพนัง, เชียรใหญ่ อําเภอเชียรใหญ่ และย่านสถานีรถไฟทุง่ สง อําเภอทุง่ สง ห้วยยอด อําเภอห้วยยอด, เมืองเก่าตรัง อําเภอเมือง และกันตัง อําเภอกันตัง ชุมชนบ้านลําปํา อําเภอเมือง, ปากคลอง อําเภอควนขนุ น, ปากพะยูน อําเภอปาก พะยูน และชุมชนบางแก้ว อําเภอบางแก้ว เมืองเก่าสงขลา อําเภอเมือง, ถนนนิพทั ธ์อุทศิ 1 อําเภอหาดใหญ่, ชุมชนคลองแดน อําเภอระโนด, ชุมชนตลาดกลาง อําเภอระโนด และถนนชายวารี อําเภอระโนด ท่าช้างวังหลวง เขตพระนคร, กลุ่มตึกแถวหน้าพระลาน เขตพระนคร และชุมชนท่าเตียน เขตพระนคร ตลาดนํ้าบางพลี อําเภอบางพลี
ชุมพร
ชุมชนถนนหลังสวน อําเภอหลังสวน
จันทบุร ี
ชุมชนริมนํ้าจันทบูร อําเภอเมือง
ตาก นครพนม ราชบุร ี
ชุมชนตรอกบ้านจีน อําเภอเมือง ชุมชนถนนสุนทรวิจติ ร อําเภอเมือง ชุมชนตลาดบน อําเภอโพธาราม
5.2 บัญชีรายชื่อชุมชนดัง้ เดิ มที่ได้จากการสํารวจและเก็บข้อมูล ในการรวบรวมข้อมูล ได้รายชื่อชุมชนดัง้ เดิมทีไ่ ด้จากการออกสํารวจเพื่อนํ ามาจัดทําเป็ นฐานข้อมูล ทัง้ หมด 140 แห่งซึง่ มีจาํ นวนมากกว่าทีต่ งั ้ เป้าหมายไว้ 125 ชุมชน โดยมีจาํ นวนชุมชนจากภาคเหนือ 26 แห่ง ภาคกลางรวมภาคตะวันออก 32 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 แห่ง ภาคใต้ 27 แห่ง และกรุงเทพมหานคร 25 แห่ง ชุมชนดัง้ เดิมเหล่านี้สามารถแยกเป็ น 5 ประเภทดังได้กล่าวใน รายละเอียดไว้แล้วในบทที่ 2 ได้แก่ เรือนแพ ย่านชุมชนริมนํ้า ย่านถนนการค้า ย่านชุมชนหมู่บา้ น และย่านตลาด พบว่าชุมชนประเภทย่านถนนการค้ามีจํานวนมากทีส่ ุดถึง 67 แห่ง ส่วนประเภทที่มี จํานวนน้อยทีส่ ดุ คือประเภทเรือนแพมีเพียง 2 แห่ง (ตารางที่ 5-2)
108
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ตารางที่ 5-2 แสดงจํานวนชุมชนดัง้ เดิมจําแนกตามรายภาคและประเภทชุมชน ประเภทชุมชน* ภาค 1 2 3 4 5 ภาคเหนือ 1 8 9 8 ภาคกลางรวมตะวันออก 1 10 8 1 12 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 5 4 ภาคใต้ 3 18 2 4 กรุงเทพมหานคร 3 12 7 3 รวม 2 16 67 24 31 * ประเภทชุมชน 1 เรือนแพ 2 ย่านชุมชนริมนํ้า 3 ย่านถนนการค้า 4 ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5 ย่านตลาด
บทที่ 5
รวม 26 32 30 27 25 140
นอกจากชื่อชุมชนแล้ว ยังได้เก็บข้อมูลด้านการดําเนินงานในชุมชนด้วย ในที่น้ีได้แบ่งตาม ระดับความก้าวหน้าในการดําเนินงานฟื้นฟูชุมชนออกเป็ น 5 ระดับโดยเริม่ ตัง้ แต่ระดับ 0 ถึง 4 ดังนี้ 1) ระดับ 0 หมายถึงยังมิได้มกี ารดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุ รกั ษ์หรือฟื้ นฟู หรือยังไม่พบ ข้อมูล ในระดับนี้พบว่ามีชุมชนจํานวนมากทีส่ ดุ คือ 66 แห่ง 2) ระดับ 1 หมายถึงการริเริม่ โดยการศึกษาประวัตคิ วามเป็ นมาโดยเห็นได้จากรายงาน การศึกษาหรือวิทยานิพนธ์หรือการจัดทําข้อมูลเกีย่ วกับชุมชนไว้ประชาสัมพันธ์ พบว่ามีชุมชนอยูใ่ น ระดับนี้ 33 แห่ง 3) ระดับ 2 หมายถึงการมีองค์กรหรือกลุ่มชุมชนท้องถิน่ ทีก่ ่อตัง้ เพือ่ การฟื้นฟูหรืออนุ รกั ษ์ ชุมชน ทัง้ อย่างเป็ นทางการหรือไม่เป็ นทางการ พบว่ามีชุมชนอยูใ่ นระดับนี้ 25 แห่ง 4) ระดับ 3 หมายถึงการมีแผนงานหรือโครงการทีด่ าํ เนินการเกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ฟ้ืนฟู โดย แผนงานนัน้ จะต้องมาจากกระบวนการมีสว่ นร่วมทีช่ ุมชนเป็ นหนึ่งในกลุ่มผูม้ สี ว่ นได้เสียด้วย พบว่ามี ชุมชนอยูใ่ นระดับนี้ 6 แห่ง 5) ระดับ 4 หมายถึงมีการนําแผนมาปฏิบตั ใิ นระดับท้องถิน่ มีผลงานให้เห็นเป็ นรูปธรรม พบว่ามีชุมชนอยูใ่ นระดับนี้ 10 แห่ง โดยพบว่าส่วนใหญ่อยูใ่ นระดับยังมิได้มกี ารดําเนินการใดๆ จํานวน 66 ชุมชน รองลงมาคือใน ระดับของการเริม่ มีการศึกษาความเป็ นมามีจาํ นวน 33 ชุมชน และการมีองค์กรเพื่อการฟื้นฟูแล้ว 25 ชุมชนตามลําดับ (ตารางที่ 5-3)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
109
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ตารางที่ 5-3 แสดงจํานวนชุมชนดัง้ เดิมจําแนกตามรายภาคและระดับของการฟื้นฟู ระดับการดําเนินการอนุรกั ษ์/ฟื้ นฟู* ภาค 0 1 2 3 ภาคเหนือ 15 6 4 ภาคกลางรวมตะวันออก 7 7 10 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 3 1 ภาคใต้ 15 7 3 กรุงเทพมหานคร 3 10 7 2 รวม 66 33 25 6 * ระดับการดําเนินการอนุรกั ษ์/ฟื้นฟู 0 ไม่มกี ารดําเนินการใดๆ หรือยังไม่มขี อ้ มูล 1 มีการศึกษาวิจยั 2 มีการจัดตัง้ องค์กรระดับท้องถิน่ /ชุมชน ทัง้ แบบทางการและไม่เป็ นทางการ 3 มีการจัดทําแผนอนุรกั ษ์ฟ้ืนฟูโดยมาจากกระบวนการมีสว่ นร่วม 4 มีการปฏิบตั ใิ ห้เป็นไปตามแผน
บทที่ 5
4 1 4 2 3 10
รวม 26 32 30 27 25 140
นอกจากนัน้ ยังได้จดั ทําตารางสรุปชุมชนดัง้ เดิมทัง้ 4 ภูมภิ าค รวมกรุงเทพมหานครไว้ และ ในการจัดทําบัญชีรายชื่อชุมชนดัง้ เดิมทัง้ 140 ชุมชน ได้เตรียมแบบฟอร์มไว้สาํ หรับบันทึกข้อมูล โดย แบบฟอร์มประกอบไปด้วยเลขกํากับชื่อชุมชน ทีต่ งั ้ พิกดั ข้อมูลพืน้ ฐานเกี่ยวกับอายุ คุณค่าในด้าน ต่างๆ ทัง้ กายภาพและวิถชี วี ติ รายละเอียดหน่วยงานและช่องทางการติดต่อ ดังนี้
110
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
ตารางที่ 5-4 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคเหนือ ลําดับ
ประเภทชุมชน*
ชือ่ ชุมชน / จังหวัด 1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26
ชุมชนวัดเกตุการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ย่านสถานีรถไฟเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หมูบ่ า้ นต้นแหนน้อย อ.สันปา่ ตอง จ.เชียงใหม่ ถนนร่วมใจ อ.ตะพานหิน จ.พิจติ ร ตลาดบางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจติ ร ตลาดวังกรด อ.เมือง จ.พิจติ ร ชุมชนตลาดใต้ อ.เมือง จ.พิจติ ร ตรอกบ้านจีน อ.เมือง จ.ตาก ั ่ นออก อ.บ้านตาก จ.ตาก บ้านตากฝงตะวั ถนนร่วมมิตรและถนนประสานมิตร อ.เมือง จ.กําแพงเพชร ชุมชนนครชุม อ.เมือง จ.กําแพงเพชร กาดกองต้า อ.เมือง จ.ลําปาง ย่านสถานีรถไฟลําปาง อ.เมือง จ.ลําปาง ท่ามะโอ อ.เมือง จ.ลําปาง ถนนประสานไมตรี อ.เมือง จ.ลําปาง ถนนเถินบุร ี อ.เถิน จ.ลําปาง ถนนศรีพนมมาศ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ตลาดท่าสัก อ.พิชยั จ.อุตรดิตถ์ เรือนแพแม่น้ําน่าน อ.เมือง จ.พิษณุโลก ท่ากระบือ อ.พยุหะคีร ี จ.นครสวรรค์ ตลาดหัวดงใต้ อ.เก้าเลีย้ ว จ.นครสวรรค์ ตลาดทับกฤชใต้ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ตลาดชุมแสง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ถนนรานุกลู กิจ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ตลาดศรีนคร อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย ย่านสถานีรถไฟสวรรคโลก อ.เมือง จ.สุโขทัย
2
3
4
ลักษณะเขตการปกครอง 5
เทศบาลนครเชียงใหม่ การรถไฟแห่งประเทศไทย เทศบาลตําบลสันปา่ ตอง เทศบาลเมืองตะพานหิน เทศบาลเมืองบางมูลนาก เทศบาลตําบลวังกรด เทศบาลตําบลท่าฬ่อ เทศบาลเมืองตาก เทศบาลตําบลบ้านตาก เทศบาลเมืองกําแพงเพชร
เทศบาลเมืองกําแพงเพชร เทศบาลนครลําปาง การรถไฟแห่งประเทศไทย เทศบาลนครลําปาง เทศบาลนครลําปาง เทศบาลตําบลล้อมแรด เทศบาลตําบลศรีพนมมาศ เทศบาลตําบลท่าสัก เทศบาลนครพิษณุ โลก เทศบาลตําบลพยุหะ เทศบาลตําบลเก้าเลีย้ ว เทศบาลตําบลทับกฤช เทศบาลตําบลชุมแสง เทศบาลตําบลกงไกรลาศ เทศบาลเมืองศรีนคร เทศบาลเมืองสวรรคโลก
ระดับการดําเนินการ อนุรกั ษ์** 0 1 2 3 4
หมายเหตุ * ประเภทชุมชน ประกอบด้วย 1. เรือนแพ 2. ย่านชุมชนริมนํ้า 3. ย่านถนนการค้า 4. ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5. ย่านตลาด ** ระดับการดําเนินการอนุ รกั ษ์ ประกอบด้วย 0. ยังไม่ม ี 1. ศึกษาด้านเอกสารและงานวิจยั 2. การจัดตัง้ องค์กรอนุ รกั ษ์และการมีสว่ นร่วม ของชุมชน 3. การจัดทําแผนการอนุรกั ษ์อาคารและวิถชี วี ติ 4. การนําแผนอนุ รกั ษ์มาปฏิบตั ิ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
111
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
ตารางที่ 5-5 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคกลางและภาคตะวันออก ลําดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32
ประเภทชุมชน*
ชือ่ ชุมชน / จังหวัด ถนนยมจินดา อ.เมือง จ.ระยอง ถนนตราด – แหลมงอบ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ถนนธนเจริญ อ.เมือง จ.ตราด ถนนวชิรปราการ อ.เมือง จ.ชลบุร ี ชุมชนริมนํ้าจันทบูร อ.เมือง จ.จันทบุร ี ตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุร ี ตลาดศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุร ี ตลาดสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุร ี บ้านบางแม่หม้าย อ.บางแม่หม้าย จ.สุพรรณบุร ี ตลาดบ้านสุด อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุร ี ตลาดโพธิ ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุร ี ถนนพานิช อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ตลาดบ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ตลาดคลองสวน อ.บ้านโพธิ ์ จ.ฉะเชิงเทรา, อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ตลาดท่านา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ตลาดบางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม ตลาดต้นสน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ตลาดบางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตลาดบ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร บางน้อยนอก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ตลาดอัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ถนนปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุร ี ตลาดลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา คลองระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี คลองอ้อมนนท์ อ.เมือง จ.นนทบุร ี เรือนแพแม่น้ําสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทยั ธานี ตลาดสดเทศบาล 2 อ.เมือง จ.อุทยั ธานี ตลาดโพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุร ี ตลาดเจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุร ี ถนนพระราม อ.เมือง จ.ลพบุร ี ตลาดวัดสิงห์ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ตลาดกุม อ.กบินทร์บุร ี จ.ปราจีนบุร ี
3
4
ลักษณะเขตการปกครอง
1
2
เทศบาลนครระยอง เทศบาลตําบลน้าเชีย่ ว เทศบาลเมืองตราด เทศบาลเมืองชลบุร ี เทศบาลเมืองจันทบุร ี เทศบาลตําบลบางปลาม้า เทศบาลตําบลศรีประจันต์ เทศบาลตําบลสามชุก อบต.บางใหญ่ เทศบาลตําบลไผ่กองดิน เทศบาลตําบลโพธ์พระยา เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เทศบาลตําบลคลองสวน
5
ระดับการดําเนินการ อนุรกั ษ์** 0 1 2 3 4
เทศบาลตําบลนครชัยศรี เทศบาลตําบลบางหลวง
เทศบาลตําบลนครชัยศรี เทศบาลตําบลบางพลี เทศบาลตําบลบ้านแพ้ว เทศบาลตําบลกระดังงา เทศบาลตําบลอัมพวา เทศบาลเมืองกาญจนบุร ี เทศบาลตําบลลาดชะโด เทศบาล ต.คลองพระอุดม เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลเมืองอุทยั ธานี เทศบาลเมืองอุทยั ธานี เทศบาลเมืองโพธาราม เทศบาลตําบลเจ็ดเสมียน เทศบาลเมืองลพบุร ี เทศบาลตําบลวัดสิงห์ เทศบาลตําบลเมืองเก่า
หมายเหตุ * ประเภทชุมชน ประกอบด้วย 1. เรือนแพ 2. ย่านชุมชนริมนํ้า 3. ย่านถนนการค้า 4. ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5. ย่านตลาด ** ระดับการดําเนินการอนุ รกั ษ์ ประกอบด้วย 0. ยังไม่ม ี 1. ศึกษาด้านเอกสารและงานวิจยั 2. การจัดตัง้ องค์กรอนุ รกั ษ์และการมีสว่ นร่วม ของชุมชน 3. การจัดทําแผนการอนุรกั ษ์อาคารและวิถชี วี ติ 4. การนําแผนอนุ รกั ษ์มาปฏิบตั ิ
112
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
ตารางที่ 5-6 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลําดับ
ประเภทชุมชน*
ชือ่ ชุมชน / จังหวัด 1
1 2 3
ย่านสถานีรถไฟอุบลราชธานี อ.วารินชําราบ จ.อุบลราชธานี ถนนหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ถนนหลวง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
4
ถนนวิศษิ ฐ์ศรี อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
5 6
ถนนเทศบาล 5 และ ถนนเทศบาล 17 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตลาดปกั ธงชัย อ.ปกั ธงชัย จ.นครราชสีมา
7 8
2
3
ลักษณะเขตการปกครอง
4
5
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ระดับการดําเนินการ อนุรกั ษ์** 0 1 2 3 4
เทศบาลนครอุบลราชธานี เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
เทศบาลตําบลเขมราฐ
เทศบาลเมืองปากช่อง
เทศบาลตําบลปกั ธงชัย
ตลาดโชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ถนนเทศบาล 5 อ.เมือง จ.นครราชสีมา
เทศบาลตําบลโชคชัย
เทศบาลตําบลโคกกรวด
9 10
ถนนสีคว้ิ อ.สีคว้ิ จ.นครราชสีมา ถนนประชาชืน่ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
เทศบาลเมืองสีคว้ิ เทศบาลตําบลห้วยแถลง
11
ถนนรถไฟ 1 อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
เทศบาลเมืองบัวใหญ่
12 13
ถนนมีชยั อ.เมือง จ.หนองคาย ถนนพาณิชบํารุง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
เทศบาลเมืองหนองคาย เทศบาลเมืองท่าบ่อ
14 15
ถนนประชาสันติสขุ อ.นางรอง จ.บุรรี มั ย์ ถนนชายโขง อ.เชียงคาน จ.เลย
เทศบาลเมืองนางรอง เทศบาลตําบลเชียงคาน
16 17
เทศบาลตําบลนาอ้อ เทศบาลตําบลสําโรงทาบ
18 19 20
บ้านนาอ้อ อ.เมือง จ.เลย ถนนบํารุงพัฒนา อ.สําโรงทาบ จ.สุรนิ ทร์ ถนนเทพนิมติ และถนนเสรีธปิ ตั ย์ อ.ศีขรภูม ิ จ.สุรนิ ทร์ ชุมชนวัดพระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ชุมชนคาทอลิกท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร
21 22
ถนนธาตุนาน้อยเหนือ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ชุมชนหน้าประตูโขง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
23 24
ถนนสุนทรวิจติ ร อ.เมือง จ.นครพนม บ้านสิงห์ทา่ อ.เมือง จ.ยโสธร
25
ย่านสถานีรถไฟขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น
26 27
ตลาดนํ้าพอง อ.นํ้าพอง จ.ขอนแก่น ถนนเฉลิมพล อ.พล จ.ขอนแก่น
28 29
ถนนแชแล อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ถนนพิศาลสารกิจ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
30
ตลาดเสลภูม ิ อ.เสลภูม ิ จ.ร้อยเอ็ด
เทศบาลตําบลระแงง เทศบาลเมืองสกลนคร เทศบาลเมืองสกลนคร
เทศบาลตําบลเรณูนคร เทศบาลตําบลธาตุพนม
เทศบาลเมืองนครพนม เทศบาลเมืองยโสธร
การรถไฟแห่งประเทศไทย
เทศบาลตําบลนํ้ าพอง เทศบาลเมืองเมืองพล
เทศบาลตําบลกุมภวาปี เทศบาลตําบลพันดอน
เทศบาลตําบลเสลภูม ิ
หมายเหตุ * ประเภทชุมชน ประกอบด้วย 1. เรือนแพ 2. ย่านชุมชนริมนํ้า 3. ย่านถนนการค้า 4. ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5. ย่านตลาด ** ระดับการดําเนินการอนุ รกั ษ์ ประกอบด้วย 0. ยังไม่ม ี 1. ศึกษาด้านเอกสารและงานวิจยั 2. การจัดตัง้ องค์กรอนุ รกั ษ์และการมีสว่ นร่วม ของชุมชน 3. การจัดทําแผนการอนุรกั ษ์อาคารและวิถชี วี ติ 4. การนําแผนอนุ รกั ษ์มาปฏิบตั ิ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
113
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
ตารางที่ 5-7 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม ภาคใต้ ลําดับ
ประเภทชุมชน*
ชือ่ ชุมชน / จังหวัด 1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
ย่านเมืองเก่าสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ถนนนิพทั ธ์อุทศิ 1 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ชุมชนตลาดกลาง อ.ระโนด จ.สงขลา ถนนชายวารี อ.ระโนด จ.สงขลา ชุมชนคลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา ตลาดบางแก้ว อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ถนนควนขนุน-ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ชุมชนลําปํา อ.เมือง จ.พัทลุง ถนนเทศบาล 9 อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ถนนราชดําเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ตลาดปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ย่านสถานีรถไฟทุง่ สง อ.ทุง่ สง จ.นครศรีธรรมราช ถนนปากเชียร อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ถนนเพชรเกษม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ย่านเมืองเก่าตรัง อ.เมือง จ.ตรัง ถนนกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง ย่านเมืองเก่าภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต
18 19
ถนนบ้านดอน ถนนศรีไชยา ถนนชนเกษม อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ถนนหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร
20 21 22 23 24 25 26 27
ย่านสถานีรถไฟชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร ย่านสถานีรถไฟสวี อ.สวี จ.ชุมพร ตลาดทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ ถนนอุดมธารา ถนนศรีตะกัวป ่ า่ อ.ตะกัวป ่ า่ จ.พังงา ั ถนนอาเนาะรู อ.เมือง จ.ปตตานี ถนนเรืองราษฎร์ อ.เมือง จ.ระนอง ถนนบุรวี านิช อ.เมือง จ.สตูล ตลาดทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ อ.เมือง จ.เพชรบุร ี
2
3
4
เทศบาลนครสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลตําบลระโนด เทศบาลตําบลระโนด อบต.คลองแดน เทศบาลตําบลบางแก้ว เทศบาลตําบลมะกอเหนือ เทศบาลเมืองพัทลุง เทศบาลตําบลอ่าวพะยูน เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองปากพนัง เทศบาลเมืองทุง่ สง เทศบาลตําบลเชียรใหญ่ เทศบาลตําบลห้วยยอด เทศบาลนครตรัง เทศบาลเมืองกันตัง เทศบาลนครภูเก็ต
5
ลักษณะเขตการปกครอง
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ระดับการดําเนินการ อนุรกั ษ์** 0 1 2 3 4
เทศบาลเมืองหลังสวน
การรถไฟแห่งประเทศไทย เทศบาลตําบลนาโพธิ ์ เทศบาลตําบลทับสะแก ่ า่ เทศบาลเมืองตะกัวป ั เทศบาลเมืองปตตานี เทศบาลเมืองระนอง เทศบาลเมืองสตูล เทศบาลเมืองเพชรบุร ี
หมายเหตุ * ประเภทชุมชน ประกอบด้วย 1. เรือนแพ 2. ย่านชุมชนริมนํ้า 3. ย่านถนนการค้า 4. ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5. ย่านตลาด ** ระดับการดําเนินการอนุ รกั ษ์ ประกอบด้วย 0. ยังไม่ม ี 1. ศึกษาด้านเอกสารและงานวิจยั 2. การจัดตัง้ องค์กรอนุ รกั ษ์และการมีสว่ นร่วม ของชุมชน 3. การจัดทําแผนการอนุรกั ษ์อาคารและวิถชี วี ติ 4. การนําแผนอนุ รกั ษ์มาปฏิบตั ิ
114
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
ตารางที่ 5-8 รายชื่อชุมชนดัง้ เดิม กรุงเทพมหานคร ลําดับ
ประเภทชุมชน*
ชือ่ ชุมชน / จังหวัด 1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
สามแพร่ง ตลาดหัวตะเข้ ตลาดนางเลิง้ แยกแม้นศรี ซอยพระยาศรี ชุมชนท่าเตียน ชุมชนบ้านครัว ถนนพระอาทิตย์ ชุมชนกุฎจี นี ชุมชนบวรรังษี ท่าช้างวังหลวง ถนนอัษฎางค์ ตึกแถวเสาชิงช้า ตึกแถวบ้านหม้อ ถนนทรงวาด ชุมชนมอญบางกระดี่ กลุม่ ตึกแถวหน้าพระลาน ซอยเลือ่ นฤทธิ ์ ชุมชนวังแดง กลุม่ ตึกแถวถนนตะนาว กลุม่ ตึกแถวถนนบํารุงเมือง กลุม่ ตึกแถวถนนเฟื่องนคร คลองบางหลวง ชุมชนรถไฟสามเหลีย่ มจิตรลดา ชุมชนรถไฟมักกะสัน
2
3
4
ลักษณะเขตการปกครอง 5
ระดับการดําเนินการ อนุรกั ษ์** 0 1 2 3 4
เขตพระนคร
เขตลาดกระบัง เขตดุสติ เขตป้อมปราบศัตรูพา่ ย เขตพระนคร เขตพระนคร เขตปทุมวัน เขตพระนคร เขตธนบุร ี เขตพระนคร เขตพระนคร เขตพระนคร เขตพระนคร เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางขุนเทียน เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพา่ ย เขตพระนคร เขตพระนคร เขตพระนคร เขตภาษีเจริญ เขตราชเทวี เขตราชเทวี
หมายเหตุ * ประเภทชุมชน ประกอบด้วย 1. เรือนแพ 2. ย่านชุมชนริมนํ้า 3. ย่านถนนการค้า 4. ย่านชุมชนหมูบ่ า้ น 5. ย่านตลาด ** ระดับการดําเนินการอนุ รกั ษ์ ประกอบด้วย 0. ยังไม่ม ี 1. ศึกษาด้านเอกสารและงานวิจยั 2. การจัดตัง้ องค์กรอนุ รกั ษ์และการมีสว่ นร่วม ของชุมชน 3. การจัดทําแผนการอนุรกั ษ์อาคารและวิถชี วี ติ 4. การนําแผนอนุ รกั ษ์มาปฏิบตั ิ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
115
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
รูปที่ 5-1 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม หมูบ่ า้ นต้นแหนน้อย อ.สันปา่ ตอง จ.เชียงใหม่
116
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
รูปที่ 5-2 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม ถนนยมจินดา อ.เมือง จ.ระยอง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
117
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
รูปที่ 5-3 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม ถนนสุนทรวิจติ ร อ.เมือง จ.นครพนม
118
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
รูปที่ 5-4 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม ชุมชนลําปํา อ.เมือง จ.พัทลุง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
119
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
รูปที่ 5-5 ตัวอย่างบัญชีชุมชนดัง้ เดิม สามแพร่ง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
120
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
5.3 สรุปสถานการณ์และประเด็นหลักของชุมชนดัง้ เดิ มในประเทศไทย จากข้อมูลที่ศึกษาชุมชนดัง้ เดิมต่างๆ พบว่ามีความหลากหลาย ทัง้ ในด้านลักษณะการตัง้ ถิ่นฐาน รูปแบบสถาปตั ยกรรม วิถชี วี ติ รวมทัง้ การบริการจัดการชุมชนในการอนุ รกั ษ์และฟื้นฟู โดยส่วนใหญ่ พบว่ายังไม่มกี ารดําเนินการฟื้ นฟูใดๆ และหลายชุมชนยังไม่มขี อ้ มูล ในขณะที่อกี หลายชุมชนได้มี การศึกษาไว้แล้ว ประเด็นหลักของชุมชนดัง้ เดิมเท่าทีป่ ระมวลได้ มาจากการตัง้ เป้าหมายว่าจะให้เกิดการฟื้นฟู ชุมชนในอนาคตให้ได้ด้วยความยังยื ่ น ซึ่งจะต้องอยู่บนรากฐานของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดํา เนิ น การจากท้องถิ่น และผู้อยู่อ าศัย ในชุ มชนเองด้ว ย ในขณะที่รฐั บาลจะต้อ งสร้า งโอกาสและ ช่องทาง รวมทัง้ การจัดหาปจั จัยและทรัพยากรในการบริหารจัดการให้ดาํ เนินการได้อย่างโปร่งใส โดย มีประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ประเด็นด้านคุณค่าความสําคัญ ชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมมีคุณค่าพิเศษแตกต่างจากชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยทัวไป ่ การกล่าวเช่นนี้มกั เป็ นทีเ่ ข้าใจเฉพาะกลุ่มทีท่ ําการศึกษา นักวิชาการ องค์กรอนุ รกั ษ์ทเ่ี กี่ยวข้องหรือผูอ้ าศัยในชุมชนที่ เห็นคุณค่าเท่านัน้ ส่วนผู้ท่อี ยู่อาศัยในชุมชนเองส่วนใหญ่ หน่ วยงานท้องถิ่นที่ดูแล และนักลงทุน นักพัฒนา จะเห็นคุณค่าหรือไม่นนั ้ ขึน้ อยูก่ บั สถานการณ์และวิธกี ารในการส่งเสริมให้เกิดความรูค้ วาม เข้าใจ สําหรับชุมชนทีม่ คี วามชัดเจนเรื่องคุณค่าสถาปตั ยกรรมเช่นทีภ่ ูเก็ต กาดกองต้า หรือทีอ่ ยู่ใน เขตเกาะรัตนโกสินทร์ ปจั จุบนั ความเข้าใจเกีย่ วกับคุณค่าของชุมชนเริม่ จะเห็นได้ชดั ในทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง แต่สําหรับชุมชนที่ลกั ษณะสถาปตั ยกรรมไม่เด่นชัดนัก ซึ่งมีหลายแห่งมาก แม้แต่ผูท้ ่อี ยู่ อาศัยเองก็ยงั ไม่น่าจะทราบถึงคุณค่าความสําคัญในฐานะทีเ่ ป็ นมรดกวัฒนธรรม ก็จะเสีย่ งต่อการสูญ สลายได้งา่ ย แต่สงิ่ ทีส่ าํ คัญทีส่ ดุ คือการทีร่ ฐั บาลเห็นความสําคัญในเรือ่ งนี้ซง่ึ ปจั จุบนั ยังไม่มเี ท่าใดนัก เพราะถ้ า เห็น ความสํ า คัญ รัฐ จะต้ อ งมีม าตรการและกลไกที่เ อื้อ ให้ชุ ม ชนและท้อ งถิ่น สามารถ ดําเนินการอนุ รกั ษ์และฟื้นฟูได้ 2) ประเด็นด้านกรรมสิทธิ ์ในทรัพย์สนิ กรรมสิทธิ ์ในทรัพย์สนิ มีผลต่อสิทธิในการตัดสินใจว่าจะฟื้ นฟู อนุ รกั ษ์ หรือพัฒนาพืน้ ที่ จาก ข้อมูลเบื้องต้น พบว่ากรรมสิทธิ ์และสิทธิในทรัพย์สนิ นัน้ มีความซับซ้อน มีทงั ้ ที่เป็ นของเอกชน วัด สํานักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ กรมธนารักษ์ และหน่วยงานอื่นๆ ส่วนการครอบครองก็มที งั ้ ทีเ่ ป็ นเจ้าของเอง เช่าโดยตรง เช่าช่วง ซึ่งสิทธิในการตัดสินใจนัน้ ต่างกันและเป็ นสาเหตุให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงได้เพราะผูอ้ ยู่อาศัยที่ไม่ใช่เจ้าของก็จะไม่อยากซ่อมแซมเพราะไม่ใช่ทรัพย์สนิ ของตน ส่วนเจ้าของก็ไม่ได้อยูอ่ าศัยแต่เก็บเกีย่ วผลประโยชน์ ก็มกั อยากจะได้ผลประโยชน์สงู สุดโดยไม่คาํ นึง ว่าน่าจะอนุรกั ษ์หรือเก็บรักษาไว้หรือไม่
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
121
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 5
3) ประเด็นด้านกฎหมาย เนื่องจากการฟื้ นฟู ชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมเป็ นเรื่องที่เกี่ยวพันหลายภาคส่วน กฎหมายที่ เกีย่ วข้องกับการฟื้นฟูจงึ มีหลายฉบับแต่ไม่มฉี บับใดทีเ่ น้นในเรื่องนี้โดยตรง กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น พ.ร.บ. ควบคุ ม อาคารและกฎกระทรวงต่ า งๆ พ.ร.บ. การผัง เมือ ง พ.ร.บ. ส่ ง เสริม และรัก ษา สิง่ แวดล้อม พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุฯ ต่างก็มวี ตั ถุประสงค์บางข้อหรือหลายข้อในด้านการ อนุ รกั ษ์และฟื้ นฟู แต่กเ็ น้นในเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาด้วย จึงไม่สามารถนํ ามาใช้ได้อย่างชัดเจน ส่วนในเรื่องการจัดการทรัพย์สนิ ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆ เช่น พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดนิ และประมวลรัษฎากร 4) ประเด็นด้านแรงจูงใจ การรักษาชุมชนดัง้ เดิมเป็ นการอนุ รกั ษ์อย่างหนึ่งซึ่งหมายถึงการรอนสิทธิ ์ในการพัฒนาให้ เป็ นไปตามชอบใจ การรอนสิทธิ ์นี้ในหลายประเทศจึงต้องมีการบรรเทาผลกระทบด้วยการให้แรงจูงใจ ที่ไม่ต้องพัฒนาให้มากเกินไป แรงจูงใจดังกล่าวมีทงั ้ แบบที่ช่วยเหลือโดยตรง คือการให้ทุนในการ ซ่อมแซม หรือการช่วยเหลือทางอ้อมโดยการลดหย่อนภาษีสําหรับอาคารที่ต้องการอนุ รกั ษ์ ระบบ การให้แรงจูงใจนี้แม้จะมีในหลายประเทศแต่ประเทศไทยยังไม่มี 5) ประเด็นองค์กรรับผิดชอบและการมีสว่ นร่วม ดังได้กล่ าวแล้ว ว่า การฟื้ นฟู ชุ ม ชนดัง้ เดิมต้องเกี่ย วข้อ งกับ หลายภาคส่ว น การมีองค์ก ร รับผิดชอบเพียงแห่งเดียวจึงไม่น่าจะเป็ นไปได้ การดําเนินงานต้องเน้นการบูรณาการ การมีส่วนร่วม โดยเฉพาะหากมีการพิจารณาชุมชนดัง้ เดิมทัง้ กายภาพและวิถชี วี ติ จะทําให้มคี วามซับซ้อนมากกว่า เพียงแค่การรักษาอาคารอย่างเดียว
122
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
บทที่ 6 กรณี ศึกษาชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิม 4 พืน้ ที่ ในบทนี้จะกล่าวถึงการคัดเลือกชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมเพื่อเป็ นโครงการนํ าร่องของแต่ละภูมภิ าค รวมทัง้ ข้อมูลของชุมชนนํ าร่องทัง้ 4 พืน้ ที่ ในด้านประวัตคิ วามเป็ นมาและขอบเขต สภาพเศรษฐกิจ สังคม ลักษณะทางกายภาพ การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่ และข้อตกลงเบือ้ งต้นโครงการนํา ร่อง 6.1 การคัดเลือกและข้อมูลชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิ มเพื่อเป็ นโครงการนําร่อง ในโครงการนี้มกี ารคัดเลือกชุมชนดัง้ เดิมแต่ละภาคที่สามารถนํ ามาดําเนินการในด้านการอนุ รกั ษ์ ในทางปฏิบตั ิ โดยใช้งบประมาณสนับสนุ นส่วนหนึ่งจากการเคหะแห่งชาติในลักษณะเงินสมทบทีจ่ ะ เป็ นเงินเริม่ ต้นเพื่อเติบโตต่อไป (seeding fund) โดยให้มตี วั อย่างแต่ละภูมภิ าคจํานวน 1 แห่ง รวม 4 แห่ง (ไม่รวมกรุงเทพมหานครเนื่องจากเป็ นองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ลักษณะพิเศษ และสามารถ ดําเนินการได้เองแล้ว) จากชุมชนทัง้ หมด 115 แห่ง ในส่วนภูมภิ าค (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) พบว่าแต่ละแห่งมี สภาพการณ์ท่สี ามารถดําเนินงานด้านการอนุ รกั ษ์ในระดับที่ต่างกัน ซึ่งแม้จะแตกต่างกันก็สามารถ ดําเนินงานได้ทงั ้ สิ้น แต่ขอ้ จํากัดทางด้านงบประมาณสมทบที่มใี ห้เพียง 4 แห่ง จึงต้องมีการจัดทํา เกณฑ์พจิ ารณาเพือ่ การคัดเลือก ดังนี้ 1) เป็ นพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามเคลื่อนไหวด้านอนุ รกั ษ์หรือการรักษาชุมชนในระดับท้องถิน่ โดยการ เคลื่อ นไหวดัง กล่ า วอาจมาจากการเห็นคุ ณ ค่ า ความสําคัญ จากผู้นํ า หรือ ผู้รู้ หรือ อาจมาจากการ รวมกลุ่มของประชาชนทีค่ ดั ค้านโครงการพัฒนาของรัฐทีอ่ าจทําลายคุณค่าความสําคัญทางวัฒนธรรม ของชุมชน 2) มีการศึกษาโดยผูร้ ทู้ อ้ งถิน่ หรือโดยหน่วยงานอื่นๆ มาก่อนแล้ว ซึง่ หมายถึงท้องถิน่ มีผเู้ ห็น คุณค่าความสําคัญของพืน้ ที่ 3) มีโอกาสในการระดมทุนภายในท้องถิน่ ทัง้ จากภาครัฐและภาคเอกชนเพือ่ สมทบกับ งบประมาณของโครงการในการดําเนินงาน 4) มีผปู้ ระสานงานในชุมชนซึง่ สามารถผลักดันให้มกี ารดําเนินงานอย่างยังยื ่ นได้ ทัง้ นี้ ชุมชนที่มคี วามเข้มแข็ง และมีการสนับสนุ นจากท้องถิ่นอยู่แล้วจะไม่นํามาคัดเลือก เนื่ อ งจากยัง มีชุ ม ชนอื่น ๆ ที่มีท รัพ ยากรในการบริห ารจัด การน้ อ ยกว่า และมีค วามต้อ งการการ สนับสนุ นทางด้านการเงินเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนในลําดับต่อไปได้ โดยในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้มกี ารประชุมร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เพือ่ คัดเลือกชุมชนนําร่องจากชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม รายภาคภาคละ 3 ชุมชน ซึง่ ประกอบด้วย
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
123
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
1) ภาคเหนือ ได้แก่ ชุมชนตลาดใต้ จังหวัดพิจติ ร ชุมชนถนนรานุกลู กิจ จังหวัดสุโขทัย และ ชุมชนตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก 2) ภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ชุมชนตลาดวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ชุมชนริมนํ้า จันทบูร จังหวัดจันทบุรี และชุมชนถนนปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี 3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร จังหวัดนครพนม ชุมชนถนนชายโขง จังหวัดเลย และชุมชนบ้านสิงห์ทา่ จังหวัดยโสธร 4) ภาคใต้ ได้แก่ ชุมชนถนนหลังสวน จังหวัดชุมพร ชุมชนตลาดบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และ ชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ชุมชนตลาดใต้ จังหวัดพิจติ ร
ชุมชนถนนรานุกลู กิจ จังหวัดสุโขทัย
ชุมชนตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก
ชุมชนตลาดวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
ชุมชนริมนํ้าจันทบูร จังหวัดจันทบุร ี
ชุมชนถนนปากแพรก จังหวัดกาญจนบุร ี
ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร จังหวัด นครพนม
ชุมชนถนนชายโขง จังหวัดเลย
ชุมชนบ้านสิงห์ทา่ จังหวัดยโสธร
ชุมชนถนนหลังสวน จังหวัดชุมพร
ชุมชนตลาดบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
รูปที่ 6-1 ชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมรายภาคทีม่ ศี กั ยภาพเป็ นชุมชนนําร่อง 124
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ผลจากการประชุมร่วมกับการเคหะแห่งชาติ ได้คดั เลือกชุมชนนํ าร่องแต่ละภูมภิ าคไว้ คือ ชุมชนริมนํ้ าจันทบูร จังหวัดจันทบุรี ชุมชนตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก ชุมชนถนนหลังสวน จังหวัด ชุมพร และชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร จังหวัดนครพนม 6.2 ชุมชนนําร่องภาคเหนื อ: ชุมชนตรอกบ้านจีน ชุมชนตรอกบ้านจีนเป็ นชุมชนโบราณที่เติบโตขึ้นมาจากการค้าขายของชาวจีนที่เข้ามาอยู่อาศัย ภายในพืน้ ที่ มีรปู แบบและวิถชี วี ติ ทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะทีน่ ่ าสนใจ รวมไปถึงมีหน่วยงานจากทางภาครัฐ ภาคการศึกษา รวมไปถึงประชาชนในพืน้ ทีท่ ใ่ี ห้ความสนใจดูแลรักษาชุมชนดัง้ เดิมของตนเอง มีการ ดํา เนิ น งานไปแล้ว บางส่ว น จึง เป็ น อีก ชุ ม ชนหนึ่ ง ที่มีศ ัก ยภาพในการเป็ น ชุ ม ชนนํ า ร่อ งเพื่อ การ ขับเคลื่อนได้ 1) ประวัตคิ วามเป็ นมาของชุมชนตรอกบ้านจีน* ชุมชนตรอกบ้านจีนตัง้ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองตาก ตัง้ อยู่ทถ่ี นนตากสิน ตําบลระแหง อําเภอ เมือง จังหวัดตาก ห่างจากกรุงเทพมหานครราว 420 กิโลเมตร ประวัตคิ วามเป็ นมาในอดีตของตรอก บ้านจีนนัน้ ในอดีตนัน้ มีชาวจีนชื่อ “จีนเต็ง” อพยพเข้ามาอยู่ภายในพืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีนเพื่อทํา การค้าขาย ได้เข้าหุน้ ส่วนค้าขายกับพ่อค้าจีนอีกสองคนชื่อ “จีนบุญเย็น” และ “จีนทองอยู่” ต่อมา ภายหลังการค้าเจริญรุ่งเรืองมากขึน้ จึงเข้ารับราชการโดย “จีนทองอยู่” ได้รบั การแต่งตัง้ เป็ นหลวง บริรกั ษ์ประชากร ซึ่งสังกัดกรมการพิเศษเมืองตาก รับหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีฝิ่น อากรสุรา และ บ่อนเบี้ย ส่วน “จีนเต็ง” ได้รบั การแต่งตัง้ เป็ น หลวงอุตรภัณฑ์พานิช เป็ นนายอากรบ่อนเบี้ย และ สุดท้าย “จีนบุญเย็น” ได้รบั การแต่งตัง้ เป็ น หลวงจิตรจํานงวานิชนาม สังกัดกรมท่าซ้ายและยังเป็ น หัวหน้าชุมชนตรอกบ้านจีนด้วย โดยทัง้ สามท่านนี้ได้ร่วมทุนเปิ ดกิจการทําไม้แปรรูปในนามห้างกิม เซ่งหลี และมีการค้าขายไม้กบั เมืองเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร อีกทัง้ ได้เข้ารับช่วงผูกขาดการ จัดเก็บภาษีอากรทีเ่ มืองเชียงใหม่ ทําให้ตรอกบ้านจีนมีความเจริญรุง่ เรืองเป็ นอย่างมาก ต่อมาหลวงอุดรภัณฑ์พานิช “จีนเต็ง” ได้ชกั ชวนชาวจีนที่เชียงใหม่เข้ามาอยู่อาศัยที่ตรอก บ้านจีนเพือ่ ทําการค้าขายและได้แต่งงานกับผูห้ ญิงชาวเมืองตากชื่อ “นางก้อนทอง” มีบุตรชายหนึ่ง คนและตัง้ บ้านเรือนทําการค้าขาย ซึ่งเป็ นช่วงทีต่ รอกบ้านจีนมีความเจริญสูงสุด มีการก่อสร้างบ้าน ทรงไทยซึง่ ได้รบั อิทธิพลจากชาวจีน *
ข้อมูลรายงานโครงการอนุรกั ษ์และฟื้นฟูชุมชนตรอกบ้านจีน กลุ่มสถาปนิกเพือ่ การอนุ รกั ษ์และฟื้นฟูชุมชนตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก เมือ่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2552, ข้อมูลจากการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (http://thai.tourismthailand.org/attraction/tak-63-19401.html)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
125
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลวงอุดรภัณฑ์พานิช “จีนเต็ง” ได้มอบหมายให้ หลวงบริรกั ษ์ประชากร “จีนทองอยู”่ เป็ นผูจ้ ดั เก็บภาษีฝิ่น อากรสุรา บ่อนเบีย้ และหวย ก.ข. จนกระทังถึ ่ ง พ.ศ. 2452 รัฐบาล เริม่ เข้ามาจัดเก็บเอง ภายหลังละแวกหมู่บา้ นนี้จงึ มีแต่ลูกหลานชาวจีนดําเนินการค้าขาย ปลูกบ้าน ร้านค้า เริม่ มีถนนหนทางแต่เป็ นเพียงทางเดินเท้า ร้านค้าจะมีของขายทุกอย่าง ในซอยตรอกบ้านจีน จะมุงหลังคาบ้านชนกัน จึงเป็ นที่ร่มใช้เดินถึงกันได้ตลอด มีรา้ นขายถ้วยชาม ร้านผ้า ร้านหนังสือ เรียน ร้านเครื่องอัฐบริขารในการบวชพระ สถานที่ควรกล่าวถึงในสมัยนัน้ คือ สะพานทองข้ามปาก คลองน้อยซึง่ “คุณย่าทอง ทองมา” เป็ นผูส้ ร้างและเสาโทรเลขซึง่ ชาวบ้านมักจะเรียกว่า เสาสูง ตรอกบ้านจีนในสมัยนัน้ มีช่อื เรียก 3 ชื่อคือ เสาสูง ปากคลองน้อย และบ้านจีน ตรอกบ้านจีน เริม่ ซบเซาลงหลังจากสงครามโลกครัง้ ที่ 2 พ.ศ. 2484 ร้านค้าชาวจีนเริม่ อพยพไปอยู่ทอ่ี ่นื ภายหลัง สงครามโลกครัง้ ที่ 2 สงบลง การค้าขายจึงได้ขยายขึน้ ไปทางทิศเหนือ ต่อมาปี พ.ศ. 2495 เทศบาลได้ร้อื สะพานทองและถมคลองเป็ นถนน เริม่ มีรถยนต์ใช้และ หมูบ่ า้ นก็เริม่ กัน้ เขตแดนทีด่ นิ และล้อมรัว้ เพื่อบอกถึงอาณาเขตแปลงทีด่ นิ พ.ศ. 2497 มีรถยนต์เล็กๆ วิ่ง เข้า ออกได้ ป จั จุ บ ัน บ้า นจีน จึง เหลือ แต่ บ้า นเก่ า ๆ ซึ่ง ยัง คงลัก ษณะของสถาป ตั ยกรรมเดิม ไว้ ค่อนข้างสมบูรณ์
รูปที่ 6-2 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนตรอกบ้านจีน (แผนทีพ่ น้ื ฐานจาก www.google.com)
126
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
2) สภาพเศรษฐกิจสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาสภาพเศรษฐกิจในพืน้ ทีป่ จั จุบนั พบว่า บทบาททางการค้าของชุมชนลดลงจาก อดีตค่อนข้างมาก ดังจะเห็นได้จากจํานวนร้านค้าทีม่ อี ยู่น้อย และการอพยพของประชาชนไปตัง้ ถิน่ ฐานในกรุง เทพมหานครและพื้นที่อ่ืน ๆ ในจัง หวัด ตากกิจ การค้า ไม้ก็ไ ม่ไ ด้มีก ารดํา เนิ น การแล้ว อย่างไรก็ตาม การประกอบอาชีพค้าขายในปจั จุบนั มีลกั ษณะเป็ นเศรษฐกิจระดับชุมชนมักใช้ท่อี ยู่ อาศัยเป็ นแหล่งค้าขายและจําหน่ ายสินค้าบริเวณหน้าบ้าน ซึ่งยังคงความเป็ นเอกลักษณ์ในพืน้ ทีไ่ ด้ เป็ นอย่างดีประเภทของการค้าส่วนใหญ่เป็ น ร้านอาหาร ขายของชํา เช่น ร้านขายเมี่ยงโบราณแคบหมู ร้านก๋ วยเตีย๋ วถอดรองเท้า ร้านขายผัดไทย ร้านขายข้าวซอย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ ส่งเสริมให้เกิดรายได้ในพืน้ ทีด่ งั กล่าวมีกลุ่มลูกค้าเป็ นคนในจังหวัดตากซึ่งเป็ นกลุ่มลูกค้าดัง้ เดิมเป็ น สําคัญ (รูปที่ 6-3)
รูปที่ 6-3 กิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถชี วี ติ ทีน่ ่ าสนใจในชุมชนตรอกบ้านจีน
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
127
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ทางด้านสังคม ประชากรในชุ ม ชนตรอกบ้า นจีน มีเ ชื้อ ชาติท่ีสํา คัญ ได้แ ก่ เชื้อ ชาติไ ทยและเชื้อ ชาติจีน วัฒ นธรรมของสองเชื้อ ชาติด ัง กล่ า วจึง มีก ารผสมผสานเข้า ไว้ด้ว ยกัน ดัง จะเห็น ได้จ ากรูป แบบ สถาปตั ยกรรมที่เกิดขึน้ ในพื้นที่ เช่น การก่อสร้างบ้านเดี่ยวที่มปี ระตูเข้าออกแกะสลักตัวอักษรจีน เป็ นต้น ในส่วนของการนับถือศาสนา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาพุทธ มีวดั อยู่ในชุมชน คือ วัดสีตลาราม ส่งผลให้รปู แบบขนบธรรมเนียมประเพณีทเ่ี กิดขึน้ เป็ นการสืบสานวัฒนธรรมของชาว ไทยพุทธเป็ นสําคัญ เช่น การก่อพระเจดียท์ รายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็ นต้น ในส่วนการรวมกลุ่ม ทางสังคม ชุมชนมีการริเริม่ การอนุ รกั ษ์ ซึ่งมีการจัดทํากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยคณะ สถาป ตั ยกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพ ระจอมเกล้า เจ้า คุ ณ ทหารลาดกระบัง อย่า งไรก็ต าม โครงการดังกล่าว อยูใ่ นช่วงระยะเวลาเริม่ ต้น 3) ลักษณะทางกายภาพ ชุมชนตรอกบ้านจีนมีลกั ษณะเป็ นชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยตัง้ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองตาก เป็ นย่านที่ พัก อาศัย ภายในเมือ ง ซึ่ง ในอดีต นัน้ เคยเป็ น ย่า นการค้า ตัง้ อยู่ริม แม่น้ํ า ปิ ง แต่ ต่ อ มาในภายหลัง เทศบาลได้ถมทีด่ นิ เพือ่ ขยายพืน้ ทีท่ าํ ให้ชุมชนกลายเป็ นชุมชนริมถนนแทน ลักษณะทางกายภาพโดยรวมเป็ นอาคารบ้านเดีย่ วผสมเรือนแถวไม้ มีจํานวนชัน้ เพียง 1-2 ชัน้ ขอบเขตชุมชนที่มลี กั ษณะเฉพาะที่น่าจะเป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมที่ควรอนุ รกั ษ์ เริม่ ตัง้ แต่บริเวณ ถนนท่าเรือทางตอนเหนือไปจนจรดถนนไทยชนะ 1 ทางด้านทิศใต้ โดยอาคารทีม่ คี ุณค่านัน้ จะอยู่ใน ั่ บริเวณซอยตรอกบ้านจีนและถนนตากสิน ซึ่งตัง้ กระจายตัวอยู่บริเวณทัง้ สองฝงถนน คิดเป็ นเนื้อที่ ทัง้ หมด 74 ไร่ 1 งาน มีอาคารทัง้ หมด 242 หน่วย ลักษณะอาคารทีม่ คี ุณค่าทีม่ อี ยู่ภายในพืน้ ทีส่ ามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทเป็ นเรือนแถวไม้ และบ้านเดีย่ ว เรือนแถวไม้นนั ้ จะมีลกั ษณะชัน้ เดียวเป็ นส่วนมาก หลังคาทรงไทยประเพณี กระจายตัว ตามแนวซอยตรอกบ้า นจีน และถนนตากสิน การใช้อ าคารชัน้ ล่ า งในอดีต เป็ น ร้า นค้า แต่ ป จั จุ บ ัน ปรับเปลีย่ นเป็ นทีพ่ กั อาศัย มีเพียงบางหลังทีย่ งั เปิ ดเป็ นร้านค้าอยู่ หลังคามีความลาดชันสูงตามแบบ เรือ นไทย กระเบื้อ งหลัง คาเดิม เป็ น กระเบื้อ งดิน เผาหรือ กระเบื้อ งดิน ขอ แต่ บ างหลัง นั น้ มีก าร ปรับเปลีย่ นหลังคาเป็ นกระเบือ้ งลูกฟูกลอนใหญ่และลอนเล็ก ลักษณะเด่นของอาคารเรือนแถวไม้น้ีคอื ตัวบ้านจะยกสูงจากพื้นประมาณ 25 ซม. มีชานที่นัง่ ยื่นออกไปทางด้านหน้ าประมาณ 50 ซม. มี ลักษณะคล้ายบันไดก่อนทีจ่ ะเข้าสูต่ วั อาคาร ประตูดา้ นหน้าจะเป็ นบานเฟี้ยมไม้เป็ นแผ่นต่อกันโดยใช้ 10-20 บานต่อหลังซึ่งจํานวนแล้วแต่ขนาดของเรือนแถว ด้านบนมีเชิงชายยื่นออกมาประมาณ 50 ซม. เพื่อใช้ในการกันแดดกันฝน การตกแต่งนัน้ อาคารเรือนแถวไม้จะไม่ค่อยมีการตกแต่งแกะสลัก ลวดลายไม้ให้เห็นมากนัก จะเน้นทีร่ ปู ทรงอาคารทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ ส่วนประเภททีส่ องนัน้ จะเป็ นอาคารเดีย่ ว โดยส่วนมากจะก่อสร้างเป็ นอาคารสองชัน้ ชัน้ ล่าง ก่อสร้างด้วยไม้ผสมปูน ส่วนชัน้ บนก่อสร้างด้วยไม้หรือบางแห่งก่อสร้างด้วยไม้ทงั ้ หลังก็มี ซุม้ ทางเข้า 128
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
บ้านมีการแกะลวดลายไม้ ด้านในอาคารมีการตกแต่งที่สวยงาม บางหลังจะมีหลังคาสูงหลังคาเป็ น กระเบื้องซีเมนต์สเ่ี หลีย่ มขนมเปี ยกปูน บริเวณชัน้ สองจะมีระเบียงไม้ทงั ้ ทีเ่ ป็ นระเบียงเดียวตามห้อง หรือเป็ นเป็ นแนวยาวทัง้ ด้านหน้าของตัวอาคาร จากการสํารวจพบว่า ในย่านชุมชนตรอกบ้านจีนนี้ยงั มีอาคารทีม่ คี ุณค่าอยู่จาํ นวนมาก โดยมี อาคารทีย่ งั ไม่เปลีย่ นแปลงรูปแบบมากนักมีจาํ นวน 115 หน่วย คิดเป็ นร้อยละ 48 ของอาคารทัง้ หมด ส่วนอาคารทีย่ งั มีคุณค่าแต่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างแล้วมีจํานวน 72 หน่ วย คิดเป็ นร้อยละ 30 ของอาคารทัง้ หมด ส่วนอาคารที่สร้างขึ้นใหม่มสี ภาพเป็ นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2-4 ชัน้ พบมาก บริเวณด้านทิศเหนือของย่าน มีจาํ นวน 55 หน่วย คิดเป็ นร้อยละ 22 ของอาคารทัง้ หมด
รูปที่ 6-4 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนตรอกบ้านจีน
สรุปลักษณะเด่นของอาคารในย่านชุมชนตรอกบ้านจีนมีดงั นี้ - เป็ นอาคารเรือนแถว ส่วนใหญ่เป็ นไม้ - หลังคามีความลาดชันสูง ของดัง้ เดิมมุงด้วยกระเบือ้ งซีเมนต์ (กระเบือ้ งว่าว) - มีชานยืน่ ออกมาบริเวณด้านหน้าอาคาร และมีหลังคากันแดดกันฝน - ผนังและหน้าต่างเป็ นไม้ - มีระเบียงไม้ทบ่ี ริเวณชัน้ 2 ในบางหลัง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
129
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
อาคารเรือนแถวไม้ ภายในตรอกบ้านจีน
ประตูบานเฟี้ยมไม้
หลังคาทรงไทย กระเบือ้ งดินเผา
ลักษณะของชานบริเวณหน้าบ้าน
อาคารหลังคาทรงไทย มีระเบียงไม้ชนั ้ บน
ลักษณะของอาคารเดีย่ วและซุม้ ประตูทางเข้า
รูปที่ 6-5 ลักษณะทางกายภาพในพืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีน
4) การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่ ในระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 คณะทํางานในโครงการได้มกี ารลงพืน้ ทีแ่ ละ ประชุมร่วมกับ ผูแ้ ทนการเคหะแห่งชาติ (นายเรืองยุทธ์ ตีระวนิช) ผูแ้ ทนเทศบาลเมืองตาก และ ผูแ้ ทนชุมชนระแหง ที่ศูนย์พฒ ั นาผูส้ งู อายุ เทศบาลเมืองตาก หลังจากนัน้ คณะทํางานได้เข้าสํารวจ พืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีน สอบถามข้อมูลด้านประวัตศิ าสตร์ สภาพสังคมเศรษฐกิจของผูอ้ ยูอ่ าศัยจาก นายคม กาญจนสุต (เจ้าของบ้านเลขที่ 748) นางนิตยา แซ่แต้ (เจ้าของร้านผัดไทย เลขที่ 696) 130
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
นางวิไลวรรณ อินทร์อยู่ (เจ้าของบ้านเลขที่ 764) และอาจารย์ศรีรวญ โสภโณดร (เจ้าของบ้านโสภโณ ดร เลขที่ 798) โดยคณะทํางานได้นําเสนอความเป็ นมาวัตถุประสงค์และแนวทางการดําเนินงานของ โครงการ ซึง่ ทางเทศบาลเมืองตากและผูอ้ ยู่อาศัยในชุมชนตรอกบ้านจีนได้ให้ความสนใจในโครงการ เป็ นอย่างมาก สุดท้ายคณะทํางานได้สอบถามนายปูรณ์ ขวัญสุวรรณ (อาจารย์คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และนายรุจนิ ัมพร เกษเกษมสุข (กลุ่ม สถาปนิกเพื่อการอนุ รกั ษ์และฟื้ นฟูชุมชนตรอกบ้านจีน) ถึงแนวทางการปรับปรุงฟื้ นฟูชุมชนใน อนาคต
ประชุมร่วมกับตัวแทนเทศบาลเมืองตากและตัวแทน ประชุมร่วมกับผูอ้ ยูอ่ าศัยในตรอกบ้านจีน ชุมชนระแหง รูปที่ 6-6 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีน
5) ข้อตกลงเบือ้ งต้นโครงการนําร่อง ในการได้มาซึ่งโครงการนํ าร่อง กรณีชุมชนตรอกบ้านจีน ได้สรุปสถานการณ์ ขององค์กร ขับเคลื่อน (actors) กลุ่มต่างๆ ดังนี้ ก) องค์กรชุมชนและการรวมตัวของผูอ้ ยูอ่ าศัย ในย่านตรอกบ้านจีนมีชุมชนทีจ่ ดทะเบียนเป็ นชุมชนกับเทศบาลเมืองตากคือ ชุมชน ระแหง แต่ไม่ได้มบี ทบาทในด้านการอนุ รกั ษ์เท่าใดนัก องค์กรชุมชนที่มบี ทบาทในการอนุ รกั ษ์และ ฟื้ นฟูตรอกบ้านจีนคือ ชมรมตรอกบ้านจีนซึง่ รวมตัวโดยกลุ่มของผูอ้ าศัยทีเ่ ห็นความสําคัญและเข้าใจ คุณค่าของชุมชน ในขณะเดียวกันก็เป็ นผูศ้ กึ ษาค้นคว้ารวบรวมประวัตศิ าสตร์ของชุมชนด้วย ข) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีเ่ กีย่ วข้องในการอนุ รกั ษ์คอื เทศบาลเมืองตาก ในขณะที่ ทําการสํารวจเทศบาลได้มอบหมายให้กองสวัสดิการสังคมเป็ นผู้ประสานงาน ซึ่งยังไม่มแี ผนงาน อนุ รกั ษ์โดยตรง เพียงแต่มนี โยบายในการปรับปรุงย่านชุมชนตรอกบ้านจีนในเรื่องของ ถนน ทาง ระบายนํ้า
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
131
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ค) จังหวัด ในกรณีของชุมชนตรอกบ้านจีน ยังไม่มแี ผนงานในระดับจังหวัดทีช่ ดั เจนเกีย่ วกับการ อนุ รกั ษ์ฟ้ื นฟูชุมชนที่มคี ุณค่า แต่มผี ู้เชื่อมประสานคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีความใกล้ชดิ ชุมชน ซึง่ อาจจะนําไปสูก่ ารดําเนินงานในระดับจังหวัด เพือ่ เป็ นแบบอย่างแก่ชุมชนอื่นได้ต่อไป ง) กลุ่มสนับสนุนวิชาการและกิจกรรม กลุ่มทีม่ บี ทบาทสําคัญ คือ กลุ่มสถาปนิกเพื่อการอนุ รกั ษ์และฟื้ นฟูชุมชนตรอกบ้าน จีนซึ่งเป็ นกลุ่มอาจารย์และศิษย์เก่า คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง ทีไ่ ด้ทําการศึกษาและจัดกิจกรรมในชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องของ การอนุรกั ษ์ จากการที่ได้หารือกับองค์กรขับเคลื่อนดังกล่าว พบว่าที่ให้ความสนใจและสามารถเข้าร่วม โครงการนํ าร่องได้คอื กลุ่มชมรมตรอกบ้านจีนและกลุ่มสถาปนิกเพื่อการอนุ รกั ษ์ ซึ่งได้ตกลงจะใช้ งบประมาณ 40,000 บาทของโครงการนํ าร่องในการจัดทําต้นฉบับ แผนที่วฒ ั นธรรมชุมชน (atlas) ซึ่งยังไม่มใี นชุมชนและในกระบวนการของการทําแผนที่วฒ ั นธรรมชุมชนนี้จะสามารถสร้างความ ตระหนักให้แก่ทุกกลุ่ม และเทศบาลยังสามารถใช้เป็ นเอกสารอ้างอิงในการวางแผนยุทธศาสตร์และ แผนพัฒนาชุมชนได้
ก. สภาพปจั จุบนั
ข. สภาพหลังปรับปรุง
ก. สภาพปจั จุบนั ข. สภาพหลังปรับปรุง รูปที่ 6-7 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายในพืน้ ทีช่ ุมชนตรอกบ้านจีน
132
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
6.3 ชุมชนนําร่องภาคกลางและภาคตะวันออก: ชุมชนริ มนํ้าจันทบูร จากการลงสํารวจพืน้ ทีช่ ุมชนริมนํ้ าจันทบูร ทําให้ทราบข้อมูลว่า ชุมชนริมนํ้าจันทบูรแห่งนี้ได้รบั การ สนับสนุ นจากหน่ วยงานหลายๆ ฝ่าย ทําให้การดูแลรักษาย่านชุมชนดัง้ เดิมบริเวณริมนํ้ านัน้ มีความ เป็ นไปได้สงู รวมไปถึงสภาพอาคารต่างๆ ภายในพืน้ ทีค่ งมีความสมบูรณ์ทางด้านสถาปตั ยกรรมและ วิถชี วี ติ ซึง่ น่าจะเป็ นชุมชนนําร่องเพือ่ การขับเคลื่อนได้ 1) ประวัตคิ วามเป็ นมาของชุมชนริมนํ้าจันทบูร* ชุมชนริมนํ้ าจันทบูรตัง้ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี อําเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 250 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ ชื่อชุมชนริมนํ้าจันทบูรได้มาจากการประกวด ตัง้ ชื่อชุมชนเมื่อ เมษายน 2552 โดยการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมนํ้าจันทบูรซึง่ เป็ นคนในชุมชนอาสาสมัครเข้ามาร่วมกันพัฒนาเมื่อ กุมภาพันธ์ 2552 และพื้นที่พฒ ั นาครอบคลุม ั่ บ้านเรือนสองฝงถนนสุ ขาภิบาล ซึง่ เป็ นถนนหลักสายแรกของเมืองจันทบูร ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร จากย่านท่าหลวงไปถึงย่านตลาดล่าง ชุมชนริมนํ้าจันทบูรมีประวัตคิ วามเป็ นมายาวนานราว 300 ปี ตัง้ แต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ั ่ นออกของแม่น้ําจันทบุรมี าตัง้ ใหม่ทบ่ี า้ น มหาราชทรงย้ายตัวเมืองจันทบุรจี ากบ้านหัววังซึง่ อยู่ฝงตะวั ลุ่ม ตัวเมืองจันทบูรสร้างอยู่บนเนิน (บริเวณค่ายตากสินในปจั จุบนั ) และลาดลงมาถึงบริเวณริมฝงั ่ แม่น้ํ าจันทบุรี ย่านท่าสิงห์ ท่าหลวง เนื่องจากเมืองใหม่ทบ่ี า้ นลุ่มเป็ นพืน้ ทีท่ ําเลดี ติดแม่น้ํ าจึงมีการ ั ่ น้ําจากย่านท่าหลวง ขยายตัวทัง้ พืน้ ทีแ่ ละจํานวนประชากรมากขึน้ ซึง่ ขยายพืน้ ทีไ่ ปตามแนวริมฝงแม่ ซึง่ เดิมเรียกว่าตลาดเหนือ ตลาดกลาง และตลาดใต้ (ปจั จุบนั เรียกตลาดล่าง) ประกอบกับเมืองจันท ั่ บู ร เป็ นเมื อ งหน้ า ด่ า นที่ สํ า คั ญ ทางชายฝ งทะเลตะวั น ออก และมี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ท ั ้ง ทรัพยากรธรรมชาติ และมีความสงบร่มเย็นปลอดจากภัยสงครามกับพม่าในขณะนัน้ จึงทําให้เมือง จันทบูรเป็ นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าทัง้ ภายใน ประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ ชาวจีนที่มาค้าขาย และชาวญวนคริสต์ท่หี นีร้อนมาพึ่งเย็นตัง้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็ นผลให้ชุมชนริมนํ้ าจันทบูรในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมากทัง้ ด้าน เศรษฐกิจ และสัง คม โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง บริเ วณย่า นท่ า หลวงซึ่ง เป็ น ท่ า เรือ ใหญ่ ท่ีสํา คัญ ในการ คมนาคมและขนส่งสินค้าทัง้ ภายในและต่างประเทศซึง่ ส่วนใหญ่เป็ นชาวจีน ด้วยเหตุน้ีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงเลือกเมืองจันทบูรเป็ นสถานทีร่ วบรวมกําลัง พล อาวุธ เรือรบ และเสบียงอาหารเพื่อใช้ในการกอบกูเ้ อกราชจากพม่า (พ.ศ. 2310) ซึ่งนอกจาก *
ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ การพัฒนาย่านการค้า กรณีศกึ ษาย่านท่าหลวง จังหวัดจันทบุร ี ของ นางสาว ณิชกานต์ สวัสดิชยั , เอกสาร เผยแพร่ชุมชนริมนํ้าจันทบูร, เว็บไซต์ชุมชนริมนํ้าจันทบูร (http://www.chanthaboonriver.com/history.php), ข้อมูลจาก อาจารย์ ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
133
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
เหตุผลทางยุทธศาสตร์แล้ว พระองค์ยงั ทรงคุ้นเคยกับพื้นที่และชาวจีนในเมืองจันทบูรเพราะเคย ติดตามบิดามาค้าขายในเมืองจันทบูร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดฯ ให้ยา้ ยเมืองจากบ้านลุ่มไปสร้างเมืองใหม่ท่คี ่ายเนินวง (พ.ศ. 2377) ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นทีส่ งู และห่างไกลแม่น้ํา เพื่อป้องกันการรุกรานจากเวียดนาม แต่ไม่มเี หตุการณ์นนั ้ เกิดขึน้ ครัน้ ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงโปรดฯ ให้ชาวบ้านกลับมาอยูท่ บ่ี า้ นลุ่มเหมือนเดิม เพราะพืน้ ทีค่ ่าย เนิ นวงคับ แคบไม่เหมาะสมในการพัฒนาและขยายเมืองให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการ ปกครองแบบใหม่ของพระองค์ เมืองจันทบูรจึงตัง้ อยูท่ บ่ี า้ นลุ่มเป็ นการถาวรถึงปจั จุบนั และได้ตงั ้ ด่าน เก็บภาษียา่ นท่าหลวงให้เป็ นอําเภอท่าหลวง ซึง่ ด่านนี้เคยเป็ นศูนย์กลางการเดินทางและการพาณิชย์ ั่ ทางชายฝงทะเลตะวั นออกมาตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมืองจันทบูรหลายครัง้ ครัง้ แรกคือ พ.ศ. 2419 และครัง้ สุดท้าย คือ พ.ศ. 2450 ซึ่งครัง้ นี้ได้เสด็จมาเยีย่ มปลอบขวัญชาวตราดและชาวจันทบูรหลังจากทีร่ ฐั บาลไทย ่ และผลจากการทีฝ่ รังเศสยึ ่ ดเมืองจันทบูรเป็ นเวลานานถึง 11 ปี ได้รบั มอบ 2 จังหวัดนี้คนื จากฝรังเศส (ร.ศ. 112-123) ย่านท่าหลวงจึงเป็ นทีต่ งั ้ ของศูนย์ราชการทัง้ ของไทยและฝรังเศส ่ ตลอดแนวถนนมี การประกอบอาชีพทุกประเภท ชาวจีนส่วนใหญ่มอี าชีพค้าขาย และส่วนหนึ่งรับราชการ บริเวณท้าย ถนนส่วนใหญ่เป็ นกลุ่มชาวญวนคริสต์ซง่ึ ประกอบอาชีพทอเสือ่ และทําประมง
รูปที่ 6-8 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนริมนํ้าจันทบูร (แผนทีพ่ น้ื ฐานจาก www.google.com)
134
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
จากวิถีชวี ติ ที่ประกอบด้วยชาวจีน ญวน และไทย จึงมีการผสมผสานประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะและสถาปตั ยกรรมซึ่งกันและกัน ซึ่งสิง่ เหล่านี้ยงั คงดํารงอยู่ในพื้นที่ชุ มชนริมนํ้ าจันทบูรถึง ปจั จุบนั เช่น รูปแบบสถาปตั ยกรรม ความสวยงามของช่องลมไม้ฉลุขนมปงั ขิง ลูกกรงเหล็กหล่อลาย ดอกไม้ เป็ นต้น แต่กม็ บี างส่วนทีช่ ํารุดทรุดโทรมและสูญหายไปตามกาลเวลาและสถานการณ์ เช่น นํ้ าท่วม ไฟไหม้ การย้ายถิน่ ฐานของเจ้าของบ้านเดิม การรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ของผูอ้ าศัยอยู่ในปจั จุบนั เป็ นต้น 2) สภาพเศรษฐกิจสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ั ่ น้ํ าจัน ทบุรี ความเจริญรุ่งเรืองทางด้าน ชุมชนริมนํ้ าจันทบูรครอบคลุ มพื้นที่บ ริเวณฝ งแม่ การค้าของชุมชนมีจุดเริม่ ต้นตัง้ แต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) ซึง่ เป็ นผลมา ั ่ น้ํา จากความเหมาะสมของชัยภูมทิ ต่ี งั ้ โดยพืน้ ทีบ่ างส่วนเป็ นทีร่ าบสูงชันและบางส่วนลาดลงริมฝงแม่ ั ่ น้ําจันทบูรเป็ นแนวยาวประมาณ การตัง้ บ้านเรือนถิน่ ฐานทํามาค้าขายจึงเกิดขึน้ บริเวณริมฝงแม่ ั ่ นตกจะหนาแน่ นกว่าริมฝงตะวั ั ่ นออก เพราะเป็ นพืน้ ทีล่ าดลงสู่รมิ ฝงแม่ ั ่ น้ํา 1 กิโลเมตร ด้านริมฝงตะวั เหมาะแก่การคมนาคมขนส่งสินค้า การขยายตัวทางการค้าตามแนวเส้นทางนํ้ า ส่งผลให้ชุมชนเป็ น ที่ตงั ้ ของท่าจอดเรือค้าขายหลายแห่งและมีการติดต่อไปมาหาสู่ แลกเปลี่ยนค้าขายสินค้า เกิดเป็ น ทางเดินยาวและพัฒนาเป็ นถนนเพื่อใช้เป็ นทางสัญจรไปมาและค้าขาย ซึง่ ก็คอื ถนนสุขาภิบาล ถนน สายหลักของชุมชนในปจั จุบนั โดยสินค้าทีม่ กี ารค้าขายในอดีต ได้แก่ ผ้า เครือ่ งนุ่งห่ม อัญมณี เมื่อพิจารณาสภาพเศรษฐกิจในพืน้ ที่ปจั จุบนั พบว่า ประชาชนยังคงประกอบอาชีพค้าขาย เป็ นส่วนใหญ่ โดยใช้ทอ่ี ยูอ่ าศัยเป็ นแหล่งค้าขายและจําหน่ ายสินค้าบริเวณหน้าบ้าน รูปแบบการค้าที่ น่าสนใจและเป็ นเอกลักษณ์ในพืน้ ทีม่ รี ายละเอียดดังนี้ (รูปที่ 6-9) - ร้านขายขนมพืน้ เมือง ได้แก่ ร้านขายขนมไข่ป้าไต๊ ร้านขายขนมเบื้องญวน ร้าน ขายข้าวตังพี่จมิ๋ ร้านป้าต้อยขนมลืมกลืน ร้านกล้วยย่างลุงสุรนิ ทร์ ร้านขนมเทียนแก้วลุงจุ่น ร้าน ข้าวต้มมัดป้าสิงหา ร้านขนมแม่กมิ เซีย ร้านกุย้ ช่ายริมนํ้า ร้านบะจ่างเสียงสวรรค์ ร้านนํ้ าแข็งน้องมด ร้านขนมครกแม่ทองเหรียญ ร้านขนมปงั ปิ้ งเจ๊ตําลึง ร้านขนมปงั แม่รําเพย บ้านจันทบุรเี บเกอรี่ ร้าน ขนมไข่บา้ นขุนบูรพาภิผล ร้านสาคูฝนกะเดียว ร้านขนมปงั แม่ตาล ร้านขนมเฮ้ย…หนม เป็ นต้น - ร้านขายเครื่องดื่มและอาหารว่าง ได้แก่ ร้านกาแฟบ้านอัญ ร้านกาแฟลุงหวัน ร้าน กาแฟยินดี ร้านนํ้ าแข็งไสน้องมด กาแฟชนรมหมากรุกสกา ร้านนํ้ าสุขภาพคุณจี๋ ร้านขนมปงั ปิ้ งเจ๊ ตําลึง ร้านกาแฟเจ๊น้อย ร้านกาแฟพีโ่ จ เป็ นต้น - ร้านขายอาหารคาว ได้แก่ ร้านก๋วยจับป ๊ ้ าไหม ร้านส้มตําริมนํ้ า ริมนํ้ าตามสัง่ ป้า บุญเพิม่ ร้านจันทรโภชนา ร้านยําริมนํ้า ร้านข้าวแกงป้าติว๋ ร้านเนี้ย (อาหาร) ร้านข้าวมันส้มตําป้าภา ร้านก๋วยเตีย๋ วผัดนํ้ ากุง้ ร้านห่อหมกจิงเฮงหลี ร้านก๋วยเตีย๋ วป้าอารมณ์ศรี ผัดซีอว้ิ ราดหน้าป้าราตรี ร้านข้าวแกงเจ๊แจ๋ว ร้านก๋วยเตีย๋ วเจ๊อด๊ี ร้านกระเพาะปลาริมนํ้า เป็ นต้น โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
135
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
- ร้านขายที่ระลึกและสินค้าพืน้ เมืองภายในพืน้ ที่ ได้แก่ ร้านช่างกล้า (ของที่ระลึก) บ้านโภคบาล เป็ นต้น - ร้านอื่นๆ ได้แก่ ร้านขายยาจังกวนอัน เป็ นต้น สินค้าทีม่ ชี ่อื เสียงและเป็ นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ - ขนมพืน้ เมือง เช่น ข้าวตัง ขนมไข่ ไอศกรีมจรวด ขนมเบือ้ ง กุ่ยช่าย เป็ นต้น - อัญมณี เครือ่ งประดับ เช่น พลอย เป็ นต้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ ข้างต้น ส่งเสริมให้เกิดรายได้ในพืน้ ที่ โดยส่วนใหญ่กลุ่มลูกค้า เป็ นนักท่องเทีย่ วและคนในจังหวัดจันทบุรที เ่ี ป็ นลูกค้าดัง้ เดิม อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ เกิดขึน้ ใหม่และควรมีการดําเนินการดูแลและจัดการ คือ การเลี้ยงนกนางแอ่นในตึกแถวทีเ่ ป็ นที่อยู่ อาศัย เนื่ องจากอาจก่อให้เ กิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อีกทัง้ ทําลายทัศ นี ยภาพที่ สวยงามของชุมชนได้ ทางด้านสังคม ชุมชนริมนํ้าจันทบูรมีความหลากหลายทางเชือ้ ชาติ ไม่ว่าจะเป็ นกลุ่มชาวไทย ชาวญวน ชาว ั่ ม จีน ประชาชนส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ส่งผลให้มศี าสนสถานตัง้ อยูส่ องฝากฝงริ แม่น้ําจันทบูรและตลอดแนวถนนสุขาภิบาล ได้แก่ วัดโบสถ์เมือง วัดจันทนาราม วัดเขตร์นาบุญญา ราม ศาลเจ้าตัว้ เล่าเอี๊ย ศาลเจ้าปึ งกงม้า ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดพระแม่ปฏิสนธิ นิ ร มล เป็ น ต้ น ในส่ ว นของวัฒ นธรรมมีก ารผสมผสานวัฒ นธรรม 3 วัฒ นธรรมเข้า ไว้ด้ว ยกัน (วัฒนธรรมไทย จีนและญวน) ดังจะเห็นได้จากการแสดงงิว้ เป็ นภาษาไทย การตัง้ ชื่อร้านเป็ นภาษาจีน และคนเก่าแก่ทอ่ี ยูใ่ นพืน้ ที่ เป็ นต้น
รูปที่ 6-9 กิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถชี วี ติ ทีน่ ่ าสนใจในชุมชนริมนํ้าจันทบูร 136
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
3) ลักษณะทางกายภาพ ชุมชนริมนํ้ าจันทบูรมีลกั ษณะเป็ นชุมชนที่อยู่อาศัยตัง้ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี เป็ น ย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยภายในเมือง ซึง่ ในอดีตนัน้ เคยเป็ นย่านการค้าริมแม่น้ําจันทบุรี อีกทัง้ บริเวณนี้เคยเป็ น ศูนย์กลางของการเดินทางและการพาณิชย์ในแถบตะวันออกมาตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 4 อีกทัง้ ยังเป็ น ที่ตงั ้ ของจวนข้าหลวงประจําจังหวัดและเป็ นสถานที่ทําการของรัฐบาลด้านงานทางการปกครองอีก ด้วย ั่ ลักษณะทางกายภาพโดยรวมเป็ นอาคารตึกแถวและห้องแถวไม้สองฝงถนน มีตงั ้ แต่อาคาร ชัน้ เดียวถึงสีช่ นั ้ แต่โดยส่วนมากจะเป็ นอาคารสองชัน้ ขอบเขตของชุมชนทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะทีน่ ่ าจะ เป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมทีค่ วรอนุรกั ษ์ เริม่ ตัง้ แต่ บริเวณท่านํ้าเดิมทางทิศใต้ของถนนสุขาภิบาล 1 เลียบ ตามแม่น้ํ าขึน้ ไปทางทิศหรือไปจนสุดถนนซึ่งจะตัดกับถนนท่าหลวง ซึ่งเป็ นจะเป็ นอาคารทัง้ สองฝงั ่ ของถนน คิดเป็ นเนื้อทีท่ งั ้ หมด 39 ไร่ 97 ตารางวา มีอาคารทัง้ หมด 353 หน่วย อาคารที่มคี ุณค่าจะมีทงั ้ ที่ก่อสร้างด้วยไม้และปูน โดยจะเป็ นอาคารห้องแถวสองชัน้ สร้าง ต่อเนื่องกันไปตามแนวถนน ชัน้ ล่างใช้เป็ นร้านค้าและที่พกั อาศัย ส่วนชัน้ บนจะใช้เป็ นที่พกั อาศัย บริเวณประตูจะเป็ นบานเฟี้ ยมไม้ขนาด 4-6 แผ่นต่อห้องซึง่ ขนาดเปลีย่ นแปลงไปตามสัดส่วนของตัว อาคาร ด้านบนประตูจะเป็ นช่องลมรูปโค้งมีการแกะสลักไม้ท่เี ป็ นลวดลายธรรมชาติสวยงาม ส่วน บริเวณชัน้ สองจะมีสองรูปแบบ แบบแรกเป็ นผนังไม้ตเี กล็ดแบบแนวนอนบางหลังมีช่องระบายอากาศ อยูด่ า้ นบน หน้าต่างไม้แบบบานเปิ ดคู่หรือเป็ นชุดบานเปิ ดตลอดช่วงเสา รูปแบบทีส่ องเป็ นระเบียงไม้ ราวลูกกรงไม้โปร่ง ส่วนของหลังคาจะเป็ นรูปแบบทรงธรรมดาแต่วสั ดุนัน้ ใช้เป็ นกระเบื้องซีเมนต์รูป สีเ่ หลี่ยมขนมเปี ยกปูนหรือกระเบื้องว่าวแต่กม็ บี างหลังทีป่ รับเปลี่ยนไปใช้กระเบื้องซีเมนต์แบบเป็ น ลอนเล็ก ส่วนอาคารที่ก่อสร้างด้วยปูนมีลกั ษณะเป็ นอิฐก่อผนังและมีช่องทางเดินบริเวณด้านหน้ า ั ้ ่หวั เสา ส่วนบริเวณชัน้ ที่สองจะมีสองรูปแบบแบบ บริเวณเสาของอาคารบางหลังมีลวดลายปูนปนที แรกจะเป็ นการก่อสร้างแบบโบกปูนปิ ดทึบทัง้ หมดบริเวณชัน้ สองและแบบทีเ่ ป็ นระเบียงปูนทีม่ ลี ูกกรง ระเบียงปูนแบบโปร่ง ส่วนหลังคายังคงเป็ นกระเบือ้ งซีเมนต์สเ่ี หลีย่ มขนมเปี ยกปูนหรือกระเบื้องว่าว ั้ บอาคาร บริเวณหน้าต่างชัน้ ทีส่ องจะเป็ นบานหน้าต่างไม้เปิ ด บริเวณตัวอาคารมีลวดลายปูนปนประดั คู่ดา้ นบนเป็ นช่องเปิ ดเพื่อระบายอากาศและเป็ นช่องแสงให้แก่ภายในอาคาร โดยช่องแสงนี้จะมีการ แกะสลักไม้ปิดส่วนทีเ่ ป็ นกระจกซ้อนทับอีกที จากการสํารวจพบว่า ในชุมชนริมนํ้ าจันทบูรนี้ยงั มีอาคารที่มคี ุณค่าอยู่จํานวนมาก โดยมี อาคารทีย่ งั ไม่เปลีย่ นแปลงรูปแบบมากนักมีจาํ นวน 159 หน่ วย คิดเป็ นร้อยละ 45 ของอาคารทัง้ หมด ส่วนอาคารทีย่ งั มีคุณค่าแต่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างแล้วมีจํานวน 83 หน่ วย คิดเป็ นร้อยละ 24 ของอาคารทัง้ หมด ส่วนอาคารที่สร้างขึ้นใหม่มสี ภาพเป็ นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2-4 ชัน้ พบมาก บริเวณส่วนกลางของถนนสุขาภิบาล 1 ซึง่ เหตุผลทีอ่ าคารหายไปช่วงนัน้ เนื่องมาจากเกิดไฟไหม้ขน้ึ ในพืน้ ทีด่ งั กล่าว มีจาํ นวน 111 หน่วย คิดเป็ นร้อยละ 31 ของอาคารทัง้ หมด โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
137
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
รูปที่ 6-10 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนริมนํ้าจันทบูร
สรุปลักษณะเด่นของอาคารในชุมชนริมนํ้าจันทบูรมีดงั นี้ - เป็ นอาคารห้องแถว ส่วนใหญ่เป็ นไม้ - อาคารห้องแถวทีเ่ ป็ นปูนมีลวดลายประดับอาคารบริเวณด้านบนของประตูทางเข้า - หลังคามีความลาดชัน ของดัง้ เดิมมุงด้วยกระเบือ้ งซีเมนต์ (กระเบือ้ งว่าว) - มีชอ่ งทางเดินและเสาลอยด้านหน้าอาคารบางหลัง - ผนังและหน้าต่างชัน้ บนเป็ นไม้ ถ้าเป็ นอาคารทีก่ ่อสร้างด้วยปูนผนังก็จะเป็ นปูน - มีระเบียงไม้ชนั ้ บนในบางหลัง ถ้าเป็ นอาคารทีก่ ่อสร้างด้วยปูนก็จะเป็ นปูน
อาคารห้องแถวทีเ่ ป็ นไม้
138
อาคารห้องแถวทีเ่ ป็ นปูน
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ลวดลายบริเวณช่องระบายอากาศบริเวณประตูทางเข้า
ช่องทางเดินด้านหน้าอาคาร
ผนังและหน้าต่างชัน้ บนทีเ่ ป็ นไม้
ผนังของอาคารทีก่ ่อสร้างด้วยปูน
รูปที่ 6-11 ลักษณะทางกายภาพในพืน้ ทีช่ ุมชนริมนํ้าจันทบูร
4) การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่ ในระหว่า งวัน ที่ 27-28 เมษายน พ.ศ. 2553 คณะทํา งานในโครงการได้มีก ารออกพื้น ที่ ร่วมกับ ผูแ้ ทนการเคหะแห่งชาติ (นายเรืองยุทธ์ ตีระวนิช) และได้ประชุมหารือร่วมกับ นายประวุฒ ิ จิตงามสุจริต (รองนายกเทศมนตรีเมืองจันทบุร)ี ผูแ้ ทนจากเทศบาลเมืองจันทบุรี รวมทัง้ ผูแ้ ทนจากชุมชนริมนํ้ าจันทบูร ที่สํานักงานเทศบาลเมืองจันทบุรี โดยคณะทํางานได้นําเสนอความ เป็ นมาวัตถุประสงค์และแนวทางการดําเนินงานของโครงการ ซึง่ ทางเทศบาลเมืองจันทบุรไี ด้ให้ความ สนใจในโครงการเป็ นอย่างมาก แต่เป็ นที่น่าเสียดายที่ทางเทศบาลเมืองจันทบุรไี ม่มงี บประมาณ สนับสนุนด้านการอนุรกั ษ์แต่อย่างใด หลังจากนัน้ คณะทํางานได้เข้าร่วมสํารวจพืน้ ทีช่ ุมชน ประชุมร่วมกับ อาจารย์ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย นายอุกฤษณ์ วงษ์ทองสาลี และคณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมนํ้า จันทบูร นางสาวสายฝน แหล่งหล้า (นักวิชาการพาณิชย์ชาํ นาญการ) นางสาวรัตนิน สุพฤฒิพานิชย์ และนางสาวเเพรวพร สุข ษั เฐีย ร (นักศึก ษาปริญญาโทจากสถาบันอาศรมศิล ป์ ) ที่บ้า นเลขที่ 69 ภายในชุมชนริมนํ้ าจันทบูร โดยผูเ้ ข้าร่วมประชุมได้มกี ารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการ-
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
139
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ปรับปรุงฟื้ นฟูชุมชนในอนาคต ซึ่งทางคณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมนํ้ าจันทบูรเสนอว่าการอนุ รกั ษ์ และพัฒนาทีจ่ ะเกิดขึน้ นัน้ ควรให้ประชาชนในพืน้ ทีม่ สี ว่ นร่วมในกระบวนการอย่างแท้จริง สุดท้ายคณะทํางานได้เข้าพบ นายพูลศักดิ ์ ประณุทนรพาล (ผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุร)ี และ นายเลิศหล้า นาคะเกศ (พาณิชย์จงั หวัดจันทบุร)ี ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี เพื่อนําเสนอข้อสรุปทีไ่ ด้ จากการประชุมร่วมกับภาครัฐและเอกชน รวมทัง้ รับฟงั คําแนะนําจากผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุรี
ประชุมร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมนํ้าจันทบูร
ประชุมร่วมกับผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุร ี
รูปที่ 6-12 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ทีช่ ุมชนริมนํ้าจันทบูร
5) ข้อตกลงเบือ้ งต้นโครงการนําร่อง โครงการนํ าร่องกรณีชุมชนริมนํ้ าจันทบูร ได้มาจากการหารือกับชุมชนและพาณิชย์จงั หวัด โดยมีองค์กรอื่นๆ ทีข่ บั เคลื่อนด้วยมีขอ้ สรุปดังนี้ ก) องค์กรชุมชนและการรวมตัวของผูอ้ ยูอ่ าศัย ในย่านชุมชนริมนํ้ าจันทบูร มีชุมชนทีจ่ ดทะเบียนกับเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 ชุมชน คือ ชุมชน 3 และชุมชน 4 ซึง่ ทัง้ 2 ชุมชนมีพน้ื ทีก่ ว้างขวางกว่าย่านอนุ รกั ษ์ทไ่ี ด้นําเสนอ ทัง้ ชุมชน 3 และชุ ม ชน 4 มีค วามสัม พัน ธ์ ก ับ เทศบาลในด้า นการพัฒ นาชุ ม ชนเฉพาะด้า นสาธารณู ป โภค สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ แต่ไม่เกีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ ในด้านการอนุ รกั ษ์ ได้มกี ารรวมกลุ่มกัน ของผูอ้ ยู่อาศัยบริเวณสองฟากถนนสุขาภิบาลตลอดสายตัง้ แต่ย่านท่าหลวงถึงตลาดล่างกับจังหวัด จันทบุรี โดยสํานักงานพาณิชย์จงั หวัดจันทบุรใี ห้การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนริมนํ้ าจันทบูรให้เป็ น ย่านการค้าจังหวัดตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ โดยพัฒนาเป็ นแหล่งท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม เพื่อดําเนินการตามนโยบายฟื้ นฟูย่านการค้าดัง้ เดิมให้คกึ คักขึน้ โดยมีคณะกรรมการพัฒนาชุมชน ริมนํ้ าจันทบูรซึ่งประกอบไปด้วย ชาวชุมชนอาสาสมัตรเป็ นผูด้ ําเนินการ สํานักงานพาณิชย์จงั หวัด เป็ น ฝ่ า ยสนั บ สนุ น งบประมาณ และสถาบัน อาศรมศิ ล ป์ เป็ น ฝ่ า ยสถาป ตั ยกรรม ทํ า ให้ เ กิ ด ความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างกลุม่ อนุรกั ษ์กบั หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง
140
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ข) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) จากการที่ไ ด้ป ระชุมหารือกับเทศบาลเมืองจัน ทบุรี โดยรองนายกเทศมนตรีเ ป็ น ประธาน (วันที่ 27 เมษายน 2553) สรุปได้ว่าเทศบาลมีขอ้ จํากัดด้านการสนับสนุ นงบประมาณทีจ่ ะ ร่วมสมทบในโครงการนําร่อง ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัดพบว่ายังไม่มบี ทบาทในเรือ่ งนี้ ค) จังหวัด ในกรณี ชุ ม ชนริม นํ้ า จัน ทบู ร จัง หวัด จัน ทบุ รีนั บ ได้ว่ า มีบ ทบาทอย่ า งยิ่ง ในการ ขับเคลื่อนโครงการ โดยเฉพาะการมีงบประมาณในการดําเนินโครงการฟื้ นฟูเศรษฐกิจระดับย่านให้ เกิดเป็ นย่านการค้า ซึ่งทําให้เกิดกระบวนการฟื้ นฟูเศรษฐกิจของชุมชนรวมไปถึงการอนุ รกั ษ์อาคาร รวมทัง้ เกิดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดําเนินงานระหว่างชุมชนกับภาคราชการ ผู้ท่มี บี ทบาท สําคัญในกระบวนการนี้ของจังหวัดคือ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุรี (นายพูลศักดิ ์ ประณุทนรพาล) และ พาณิชย์จงั หวัด (นายเลิศหล้า นาคะเกศ) และนางสาวสายฝน แหล่งหล้า (คุณฝน) ง) กลุ่มสนับสนุนวิชาการและกิจกรรม สถาบันอาศรมศิลป์ คือ องค์กรสนับสนุนทีม่ บี ทบาทสําคัญอย่างยิง่ ในการอนุรกั ษ์และ ฟื้นฟูชุมชนริมนํ้าจันทบูร โดยมีนกั ศึกษาปริญญาโท 3 คน ทําวิทยานิพนธ์ในหัวข้อทีเ่ กีย่ วเนื่อง โดย ใช้แนวทางของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการระดับท้องถิน่ นักศึกษาทัง้ สามของสถาบันอาศรมศิลป์จงึ มีส่วนสําคัญในการศึกษา จัดกิจกรรม และเชื่อมโยงองค์กรขับเคลื่อน เข้าด้วยกัน ชุมชนและองค์กรทีเ่ กี่ยวข้องได้ให้ความสําคัญกับกลุ่มนักศึกษาของสถาบันอาศรมศิลป์ เป็ นอย่างมาก จากการหารือร่วมกับกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันอาศรมศิลป์ คณะกรรมการชุมชนริมนํ้ า จันทบูร และพาณิชย์จงั หวัด ได้มขี อ้ ตกลงในการจัดทําเอกสารแผนที่มรดกวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งมี แนวโน้มของงบประมาณสมทบได้จากจังหวัด
ก. สภาพปจั จุบนั ข. สภาพหลังปรับปรุง รูปที่ 6-13 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายในพืน้ ทีช่ ุมชนริมนํ้าจันทบูร
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
141
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
6.4 ชุมชนนําร่องภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อ: ชุมชนบริ เวณถนนสุนทรวิ จิตร ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รเป็ นชุมชนเก่าแก่อกี แห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม มีการผสมผสาน วัฒนธรรมที่หลากหลาย มีประวัติความเป็ นมาที่น่าสนใจ ปจั จุบนั กําลังมีการก่อสร้างสะพานข้าม แม่น้ําโขงแห่งที่ 3 ทีจ่ งั หวัดนครพนม เพือ่ เชื่อมโยงภูมภิ าคอินโดจีน ผ่านนครพนมไปยังแขวงคําม่วน ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีกําหนดแล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 หรือ ค.ศ. 2011 (วันที่ 11 เดือน 11 ปี 11) อันจะทําให้ในอนาคตจังหวัด นครพนมมีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและส่งผลให้ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รมีโอกาส ในการพัฒ นาเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางวัฒ นธรรมที่สํ า คัญ แห่ ง หนึ่ ง ดัง นั ้น ควรมีก ารส่ ง เสริม กระบวนการด้านชุมชนให้เป็ นชุมชนนํ าร่องเพื่อการอนุ รกั ษ์อาคารริมแม่น้ํ าโขงก่อนทีจ่ ะมีการพัฒนา แบบสมัยใหม่ ซึง่ อาจจะไม่เหลือร่องรอยมรดกวัฒนธรรมด้านสถาปตั ยกรรมในอดีตของชุมชน 1) ประวัตคิ วามเป็ นมาของชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร* ั ่ น้ํ าโขง อําเภอเมือง จังหวัดนครพนม ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รตัง้ อยู่บริเวณริมฝงแม่ ห่างจากกรุงเทพมหานครราว 740 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ เป็ นชุมชนทีไ่ ด้รบั วัฒนธรรมถึง 3 เชือ้ ั ่ น้ํา ชาติ ได้แก่ จีน ฝรังเศส ่ และเวียดนาม โดยประวัตคิ วามเป็ นมานัน้ ในอดีตเป็ นพืน้ ทีก่ ารค้าริมฝงแม่ โขง ต่อมาการค้าขายเจริญขึน้ เนื่องจากมีชาวจีนล่องเรือมาตามแม่น้ําโขงเพื่อทําการค้าขายกอปรกับ การที่มีช าวลาวและชาวเวียดนามเข้ามาค้าขายในพื้นที่ช่วง รัช กาลที่ 4-รัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็ นช่ว ง สงครามอิน โดจีน (พ.ศ. 2401-2483) ทํ า ให้พ้ืน ที่บ ริเ วณชุ ม ชนบริเ วณถนนสุ น ทรวิจิต รรับ เอา ั ่ น้ําโขงซึง่ รูปแบบบ้านได้รบั วัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามาภายในพืน้ ที่ เริม่ มีการก่อสร้างบ้านริมฝงแม่ อิทธิพลจากฝรังเศส ่ (ซึ่งมีอทิ ธิพลในอินโดจีนสําหรับช่วงเวลานัน้ ) โดยช่างชาวเวียดนาม (บ้านฝรัง่ ช่างญวน) ด้านหน้าอาคารหันหน้าเข้าถนนด้านหลังบ้านเป็ นชานยืน่ ลงไปในแม่น้ําโขง ซึง่ ถ้าพิจารณา ั่ ั่ จากฝงถนนจะเป็ นบ้านชัน้ เดียวแต่ถ้ามองจากแม่น้ํ าโขงฝงประเทศลาวจะเห็ นเป็ นอาคารสองชัน้ ริม ั ่ มแม่น้ํ าโขงจะปลูกพืชสวนครัว เช่น ต้นหอม ผักกาด ผักกวางตุ้ง แม่น้ํ าโขง ส่วนบริเวณชายฝงริ มะเขือเทศ เพือ่ ใช้บริโภคภายในครอบครัว และหากมีปริมาณมากพอก็อาจนําไปขายได้ดว้ ย ชาวฝรังเศสได้ ่ นําเอาศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่แก่คนในจังหวัดนครพนม โดยมีการก่อสร้าง โบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง ซึ่งก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469 ช่วงสมัยรัชกาลที่ 7) ทําให้ อาคารในบริเวณทางตอนเหนือของชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รได้รบั อิทธิพลจากฝรังเศสมี ่ การ ก่อสร้างอาคารด้วยปูนและมีรูปทรง ลวดลาย คล้ายกับอาคารของฝรังเศส ่ ส่วนอาคารใกล้เคียงจะมี *
ข้อมูลจากโครงการอบรมการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมไทยพืน้ ถิน่ อีสาน “บ้านริมโขง นครพนม” โดยคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ พระ จอมเกล้าฯ ลาดกระบัง, อนุ สาร อสท. ปี ท่ี 50 ฉบับที่ 11 เดือนมิถุนายน 2553, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนานาชาติ “สารัตถะวิพากษ์” โดย ธาดา สุทธิธรรม และ ธรรมวัฒน์ อินทจักร
142
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
รูปแบบอิทธิพลของฝรังเศสผสมกั ่ บจีนและเวียดนาม และมีขนาดสัดส่วนทีเ่ ล็กกว่าของฝรังเศส ่ ตาม ขนาดสรีระของชาวเอเชีย ในช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง (พ.ศ. 2483-2488) พืน้ ทีช่ ุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รถูกญีป่ นุ่ เข้ายึดครอง อีกทัง้ ชาวเวียดนามจํานวนมากได้อพยพหลบหนีภยั สงครามเข้ามาในประเทศไทย จาก ผลกระทบของสงครามทําให้ระบบเศรษฐกิจในพืน้ ที่หยุดชะงัก แต่กย็ งั มีการค้าขายอยู่ตลอดแนว ั ่ มแม่น้ําโขง ชายฝงริ ชาวเวียดนามได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยจํานวนมาก โดยเดินทางผ่านพรมแดนประเทศ ลาวแล้วเข้าสู่ประเทศไทยทีจ่ งั หวัดนครพนม ต่อมาภายหลังสงครามสงบลง ชาวเวียดนามส่วนหนึ่ง ประสงค์ทจ่ี ะกลับประเทศ ก่อนย้ายกลับประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามได้รว่ มกันก่อสร้าง “หอนาฬิกาเวียดนามอนุ สรณ์” เมื่อปี พ.ศ. 2503 เพื่อแสดงความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชทรงให้ทพ่ี กั พิงแก่ชาวเวียดนาม (รูปที่ 6-14)
รูปที่ 6-14 อนุ สรณ์หอนาฬิกาเวียดนามอนุ สรณ์ ก่อสร้างเมือ่ ปี พ.ศ. 2503
ั ่ น้ํ าโขงให้เป็ นทางเท้า เมื่อปี พ.ศ. 2540 เทศบาลเมืองนครพนม มีโครงการพัฒนาริมฝงแม่ และสวนสาธารณะทีย่ าวทีส่ ดุ ในประเทศไทย จึงได้ซอ้ื อาคารริมนํ้าจากเจ้าของอาคารทีป่ ระสงค์จะขาย จํานวนหนึ่ง แต่ยงั มีเจ้าของอาคารบางส่วนไม่ยนิ ยอมขาย เนื่องจากมีแนวคิดในด้านการอนุ รกั ษ์ ชุมชนไว้ ซึง่ กรณีดงั กล่าวในระหว่างทําการศึกษาโครงการนี้กย็ งั ไม่มขี อ้ ยุตวิ า่ จะอนุรกั ษ์หรือรือ้ อาคาร ออกให้เป็ นทีว่ า่ ง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
143
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
รูปที่ 6-15 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร (แผนทีพ่ น้ื ฐานจาก www.google.com)
2) สภาพเศรษฐกิจสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ั ่ น้ําโขง การวางตัวของชุมชนมีลกั ษณะเป็ น ชุมชนบริเวณสุนทรวิจติ รเป็ นชุมชนทีอ่ ยู่รมิ ฝงแม่ แนวยาวริมแม่น้ํา มีถนนสุนทรวิจติ รเป็ นเส้นทางคมนาคมสายหลัก นอกจากนี้ ยังมีถนนสายรอง เช่น ถนนเฟื่ องนคร ถนนลูกเสือ ถนนราชทัณฑ์ ถนนศาลากลาง ฯลฯ ที่ทําให้ง่ายแก่การเข้าถึงพื้นที่ ศูนย์กลางแหล่งค้าขายของตัวเมือง รูปแบบการค้าทีเ่ กิดขึน้ ในอดีตจนถึงปจั จุบนั ในพืน้ ที่เป็ นรูปแบบการค้าชายแดนเป็ นสําคัญ สืบเนื่องจากทําเลทีต่ งั ้ อยูท่ างตะวันออกของจังหวัดนครพนม มีแม่น้ําโขงเป็ นเส้นกัน้ พรมแดนเมืองท่า แขก แขวงคําม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทัง้ สภาพภูมปิ ระเทศทีม่ ลี กั ษณะโดดเด่น จากภูมทิ ศั น์รมิ นํ้าโขงทีส่ วยงาม ส่งผลให้พน้ื ทีแ่ ห่งนี้เป็ นทีต่ อ้ งการของนักลงทุนต่างๆ ทีต่ อ้ งการ ปรับสภาพพืน้ ทีแ่ ละอาคารให้ดงึ ดูดแก่นกั ท่องเทีย่ วทีเ่ ข้ามา โดยเฉพาะห้องแถวริมนํ้าเก่าแก่ แต่ดว้ ย ที่ต ัง้ จัง หวัด อยู่ไ กลทํา ให้ป จั จุ บ ัน นัก ท่ อ งเที่ย วมีน้ อ ย การค้า ขาย ลงทุ น ต่ า งๆ จึง เป็ น เศรษฐกิจ หมุนเวียนแค่ระดับในชุมชน แม้มกี ารผลักดันให้เปิ ดโครงการต่างๆ โดยความร่วมมือจากส่วนภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน แต่อย่างไรก็ตามกําลังซือ้ มีเพียงในท้องถิน่ จึงทําให้โครงการบางโครงการต้อง ยกเลิก เช่น โครงการถนนคนเดิน ถนนอาหารในการเปิ ดตัวปี ทอ่ งเทีย่ วนครแห่งแม่น้ําโขง โครงการ ออนซอนนครพนม หรืองานย้อนอดีตเมืองนครพนม เป็ นต้น ปจั จุบนั สํานักงานจังหวัดได้ปรับปรุง 144
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
จวนผูว้ า่ ราชการ(เดิม) ให้เป็ นพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ มีการจัดแสดงประวัตคิ วามเป็ นมาและภาพเล่า เพื่อ เป็ นแหล่งเรียนรูส้ าํ หรับประชาชนและนักท่องเทีย่ ว และมีนักประวัตศิ าสตร์ (น้องใบตอง) เป็ นผูด้ ูแล ประจํา เมื่อพิจารณาเศรษฐกิจในพืน้ ทีป่ จั จุบนั พบว่า ประชาชนยังคงประกอบอาชีพค้าขายเป็ นส่วน ใหญ่ โดยใช้ทอ่ี ยู่อาศัยซึง่ มีทงั ้ ห้องแถวริมนํ้าเก่าแก่ชนั ้ เดียว ตึกแถวสมัยใหม่และบ้านไม้ทงั ้ ชัน้ เดียว และสองชัน้ เป็ นแหล่งค้าขายและจําหน่ ายสินค้าบริโภคและอุปโภคบริเวณชัน้ ล่างของทีอ่ ยู่อาศัยและ หน้าบ้าน รูปแบบการค้าทีน่ ่าสนใจและเป็ นเอกลักษณ์ในพืน้ ทีม่ รี ายละเอียดดังนี้ (รูปที่ 6-16 และรูปที่ 6-17) - ร้านขายอาหาร เป็ นอาหารทัวไปและเอกลั ่ กษณ์ของอาหารอีสาน เช่น ร้านบ้านชมชล (ร้านกินลมชมวิว) ร้านปรีชารสแซ่บ ร้านยอดไก่ยา่ ง-ส้มตํา ร้านต้นยางริมโขง ร้านอาหารจําปาสัก เป็ นต้น โดยจะเปิดอยูใ่ นตึกแถว อาคารเดีย่ ว เป็ นส่วนใหญ่ - สถานทีพ่ กั แรม ได้แก่ โรงแรมเก่าแก่-เฟิสท์โฮเต็ล เป็ นต้น - ร้านอื่นๆ เช่น ร้านมณีพรรณขายพวงหรีด ร้านไพบูลย์ (เฮียเต้ย) ขายส่งยาสูบ เป็ นต้น เมื่อพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจในพืน้ ที่ จากการสัมภาษณ์หน่ วยงานราชการและการสํารวจ ภาคสนาม พบว่า สภาพเศรษฐกิจของชุมชนอาจมีการเพิม่ ขึน้ ของจํานวนนักท่องเที่ยวและร้านค้า เนื่องจากผลของการก่อสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ํ าโขงแห่งที่ 3 ซึ่งเป็ นโครงการทีส่ ร้างขึน้ เพื่อ ตอบรับการท่องเทีย่ ว การเกษตรและการค้าชายแดนต่างประเทศให้มากขึน้
รูปที่ 6-16 สถานทีส่ ะท้อนวัฒนธรรม ประเพณีทน่ี ่าสนใจของคนชุมชน โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
145
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
รูปที่ 6-17 วิถชี วี ติ และการผสมผสานวัฒนธรรมทางเชือ้ ชาติของคนในชุมชน
ด้านสังคม ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร เป็ นชุมชนทีม่ คี วามหลากหลายทางเชือ้ ชาติ เนื่องด้วยการอยู่ อาศัยทีต่ ่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษดัง้ เดิม และเป็ นชุมชนทีต่ ดิ ริมแม่น้ําโขงซึง่ เป็ นพรมแดนกัน้ ระหว่าง ประเทศ จึงมีทงั ้ ชาวไทย ชาวลาว ชาวจีนและชาวเวียดนาม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ โดยมีศาสนสถานสําคัญตัง้ อยู่บนถนนสุนทรวิจติ ร ได้แก่ วัดโอกาส อาคารพุทธ สมาคม โบสถ์นักบุญอันนาและศาลเจ้าพ่อคําแดง เป็ นต้น ในด้านภาษา วัฒนธรรม ความเป็ นอยู่ ยังคงมีความหลากหลายสืบเนื่องมาจากข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์และความสัมพันธ์จากประเทศเพื่อน บ้านทัง้ ชาวลาวและชาวเวียดนาม ดังสะท้อนให้เห็นได้จากหอนาฬิกาชาวเวียดนามอนุ สรณ์ อาหาร และขนมเวียดนาม กระเบือ้ งปูพน้ื ในทีอ่ ยูอ่ าศัย เป็ นต้น สําหรับประเพณีสาํ คัญทีข่ น้ึ ชื่อของชุมชนในพืน้ ทีร่ มิ นํ้าโขง ได้แก่ งานประเพณีไหลเรือไฟ ซึง่ เป็ นงานใหญ่ของจังหวัดจัดขึน้ ในช่วงเดือนตุลาคม มีการจัดเรือไฟให้ไหลล่องจากด้านเหนือลงไป ทางด้านใต้ให้ชมตามลํานํ้าโขงในคํ่าคืนของวันขึน้ 15 คํ่า เดือน 11 เรือไฟคือเรือขนาดใหญ่ทท่ี ําจาก โครงไม้ไผ่ จุดไฟ ให้ส่องสว่างสวยงามตลอดการล่องไปตามแม่น้ํ า เพื่อบูชาพระแม่คงคา จากการ สัมภาษณ์อาจารย์ เสนอ ลาภะ ครูชาํ นาญการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม มหาวิทยาลัย นครพนม ซึง่ เป็ นผูเ้ ชีย่ วชาญ และมีประสบการณ์ดา้ นสร้างเรือไฟ ทําให้ทราบว่าเรือไฟทีม่ ขี นาดใหญ่ ซึง่ ยาวถึง 60 เมตร ความสูงประมาณ 20 เมตร ใช้ตะเกียงทีท่ าํ จากกระป๋องเครื่องดื่มกาแฟขนาดเล็ก
146
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
บรรจุน้ํ ามันไบโอดีเซล จํานวน 9,000-12,000 ดวงขึ้นไป ขึ้นอยู่กบั ความละเอียดของลวดลายที่ ประดับตกแต่ง ใช้ช่างฝี มอื ประมาณ 50 คน เวลาก่อสร้าง 20-30 วันต่อลํา ค่าวัสดุคดิ ตามความยาว ของลําเรือ เมตรละประมาณ 6,000 บาท นอกจากนี้ มีการแสดงบนเวทีตามลาน ริมนํ้ า เช่น ลาน ตะวันเบิกฟ้า ลานจันทร์ส่องหล้า นอกจากนี้ ยังมีประเพณีอ่นื ๆ เช่น งานพาข้าวแลง งานสงกรานต์ งานประเพณีลอยกระทงซึง่ เป็ นงานใหญ่จดั เป็ นประจําทุกปี การรวมกลุ่มคนในชุมชน พบว่าผูอ้ ยู่อาศัยในชุมชนเคยมีการจัดทําโครงการอนุ รกั ษ์บา้ นเก่า ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการให้ขอ้ มูลเพื่อการสํารวจและเก็บข้อมูลพืน้ ที่ นอกจากนี้ ยังเคยมี การประชุมร่วมกันกับเทศบาลเมืองนครพนม ชุมชนหนองแสง ชุมชนวัดโพธิ ์ศรี ในแผนการอนุ รกั ษ์ พืน้ ที่ ต่อมาคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ ริเริม่ โครงการอนุ รกั ษ์ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม เทศบาลเมืองนครพนม โรงเรียน ปิ ยะมหาราชาลัย โรงเรียนนครพนมวิทยาคม โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบตั ิการ การอนุ รกั ษ์มรดก วัฒนธรรมพืน้ ถิน่ อีสาน บ้านริมโขง (22-24 มกราคม 2553) แก่นกั เรียน และประชาชน ซึง่ มีการตอบ รับเป็ นอย่างดี นักเรียนและประชาชน เกิดความเข้าใจเรื่องการอนุ รกั ษ์มรดกทางวัฒนธรรมด้าน สถาปตั ยกรรมเพิม่ ขึน้ มีการถ่ายทําวีดทิ ศั น์ของนักเรียนทีเ่ ข้ารับการอบรมถึงวิถชี วี ติ ชุมชนริมโขง ด้วยความภาคภูมใิ จ ชื่นชม และรักในชุมชนของตน 3) ลักษณะทางกายภาพ ชุม ชนบริเ วณถนนสุ นทรวิจิต รมีล กั ษณะเป็ น ชุม ชนที่อยู่อาศัยริม แม่น้ํ า โขง ตัง้ อยู่ใ นเขต เทศบาลเมืองนครพนม เป็ นย่านถนนการค้าดัง้ เดิม ซึง่ พืน้ ทีน่ ้ีเคยเป็ นย่านการค้าทีส่ าํ คัญโดยเฉพาะ บริเวณหอนาฬิกา จะเห็นได้จากรูปแบบทางสถาปตั ยกรรมของอาคารทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ของพืน้ ที่ ลัก ษณะทางกายภาพโดยรวมเป็ น ห้อ งแถวโบราณชัน้ เดีย วริม นํ้ า ที่ไ ด้ร ับ อิท ธิพ ลทาง สถาปตั ยกรรมฝรังเศส ่ ซึ่งปจั จุบนั มีเหลืออยู่น้อยมากตามจังหวัดต่างๆ ในขณะที่ถนนสุนทรวิจติ ร ยังคงมีให้เห็นพอสมควร โดยอาคารทีเ่ ป็ นอาคารโบราณจะเป็ นอาคารชัน้ เดียวมีทางเดินด้านหน้า ซึง่ อยู่บริเวณรอบหอนาฬิกา ขอบเขตของชุมชนที่มลี กั ษณะเฉพาะที่น่าจะเป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมทีค่ วร อนุ รกั ษ์อยู่บริเวณถนนสุนทรวิจติ ร เริม่ ตัง้ แต่ทางทิศเหนือบริเวณโบสถ์นักบุญอันนาเลียบแม่น้ํ าโขง มาทางทิศใต้ ผ่านจวนผูว้ า่ ราชการจังหวัด(หลังเก่า) ผ่านสถานีตํารวจ ผ่านหอนาฬิกาไปจรดถนนข้าง ศาลเจ้าพ่อหมืน่ คิดเป็ นเนื้อทีท่ งั ้ หมด 202 ไร่ 50 ตารางวา มีอาคารทัง้ หมด 315 หน่วย ั ่ น้ํ าโขงหากมองจากฝงถนนจะเห็ ั่ ลักษณะอาคารที่มคี ุณค่าตัง้ อยู่บริเวณริมฝงแม่ นเป็ นห้อง แถวไม้ชนั ้ เดียวผนังก่ออิฐถือปูนหนาประมาณ 1 ฟุต เป็ นแบบผนังรับนํ้าหนัก(wall bearing) แต่เมื่อ เข้าไปภายในจะเห็นว่าเป็ นอาคารสองชัน้ ซึง่ ชัน้ บนมีเป็ นระเบียงไม้ใช้เป็ นพืน้ ทีอ่ เนกประสงค์ ส่วนชัน้ ล่างเป็ นพืน้ ที่เก็บของและมีทางลาดลงไปสู่แม่น้ํ าโขง โดยห้องแถวเหล่านี้ได้รบั อิทธิพลรูปแบบการ ก่อสร้างมาจากอาคารโคโลเนียลแบบฝรังเศส ่ มีหลังคาเป็ นทรงจัว่ วัสดุเดิมทีใ่ ช้ในการมุงหลังคาเป็ น กระเบือ้ งดินขอซึง่ ในปจั จุบนั พบเห็นเพียงไม่ก่หี ลัง ซึง่ ปจั จุบนั จะเป็ นสังกะสีหรือกระเบือ้ งลอนขนาด โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
147
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
เล็ก บริเวณด้านหน้าของอาคารจะมีเสาลอยทําด้วยไม้โบกปูนทับที่ฐานเพื่อกันปลวกคํ้ารับชายคา เพื่อเป็ นทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร สําหรับบานประตูดงั ้ เดิมเป็ นบานเฟี้ ยมลูกฟกั ไม้กระดานดุน ส่วนใหญ่มี 6-8 บานแล้วแต่ความกว้างของช่วงเสา บนถนนสุนทรวิจติ รทางด้านทิศเหนือ มีอาคารทัง้ แบบเรือนแถวไม้ทงั ้ หลังและตึกแถวทีผ่ สม ทัง้ ปูนและไม้เข้าด้วยกัน ชัน้ ล่างส่วนมากก่อสร้างด้วยปูนบริเวณหัวเสามีลวดลายปูนปนั ้ ส่วนชัน้ ที่ สองเป็ นไม้และมีรปู แบบทัง้ ทีม่ รี ะเบียงและไม่มรี ะเบียง บางหลังมีลกั ษณะเด่นคือบริเวณชัน้ สองจะมี แผงกันแดดเหนือระเบียงเป็ นไม้ฉลุลวดลายล้อมรอบระเบียงรอบอาคารเป็ นแนวยาว หน้าต่างไม้บาน เปิ ดคู่ท่มี บี านเกล็ดกระทุง้ อยู่ในบานเดียวกัน ระเบียงเป็ นราวลูกกรงไม้โปร่ง ส่วนอาคารที่ก่อสร้าง ด้วยปูนทัง้ หลัง จะเป็ นอาคารทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากฝรังเศสโดยจะมี ่ ลกั ษณะเด่นคือเป็ นอาคารก่ออิฐถือ ั ้ นซุม้ โค้งทุกบาน ปูนสองชัน้ บริเวณด้านบนของหน้าต่างมีลายปูนปนเป็ จากการสํารวจพบว่า ในชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รยังมีอาคารที่มคี ุณค่าอยู่จํานวนมาก โดยมีอาคารทีย่ งั ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนักมีจํานวน 115 หน่ วย คิดเป็ นร้อยละ 37 ของอาคาร ทัง้ หมด ส่วนอาคารทีย่ งั มีคุณค่าแต่ถูกปรับเปลีย่ นรูปแบบไปบ้างแล้วมีจาํ นวน 58 หน่ วย คิดเป็ นร้อย ละ 18 ของอาคารทัง้ หมด และอาคารที่สร้างขึ้นใหม่มจี ํานวน 142 หน่ วย คิดเป็ นร้อยละ 45 ของ อาคารทัง้ หมด
รูปที่ 6-18 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร(ตอนบน)
148
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
รูปที่ 6-19 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร(ตอนกลาง)
รูปที่ 6-20 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร(ตอนล่าง)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
149
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
สรุปลักษณะเด่นของอาคารในชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ รมีดงั นี้ - อาคารห้องแถวก่ออิฐถือปูนผนังไม้ ด้านหน้าชัน้ เดียว ด้านหลังเป็ นสองชัน้ - ห้องแถวไม้สองชัน้ บริเวณชัน้ สองส่วนทีบ่ งั แดดจะมีไม้ระแนงฉลุลวดลาย ั้ - หลังคาเป็ นรูปทรงจัว่ หรือปนหยา ของดัง้ เดิมมุงด้วยกระเบือ้ งดินขอ - มีชอ่ งทางเดินและเสาลอยด้านหน้าอาคาร (เฉพาะอาคารบริเวณหอนาฬิกา) - ผนังและหน้าต่างชัน้ บนเป็ นไม้ - มีระเบียงไม้ชนั ้ บนในบางหลัง
อาคารห้องแถวไม้ภายในพืน้ ที่
อาคารสองชัน้ ทีก่ ่อสร้างด้วยปูนและไม้
ลวดลายไม้ฉลุบริเวณแผงบังแดดชัน้ สอง
ช่องทางเดินด้านหน้าอาคาร
ลักษณะของระเบียงชัน้ ทีส่ องของอาคาร อาคารทีก่ ่อสร้างด้วยปูนอิทธิพลจากฝรังเศส ่ รูปที่ 6-21 รูปแบบอาคารบนถนนสุนทรวิจติ ร
150
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
4) การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่ ในระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 คณะทํางานในโครงการได้มีการลงพื้นที่ ร่วมกับ นายเรืองยุทธ์ ตีระวนิช ผูแ้ ทนการเคหะแห่งชาติ ดร.สมชอบ นิตพิ จน์ นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครพนม และนายธนพส รัตนรามา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ที่ สํานักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม หลังจากนัน้ คณะทํางานได้ประชุมร่วมกับ นายนิ ว ัต เจีย วิริย บุ ญ ญา นายกเทศมนตรีเ มือ งนครพนม นายวัฒ นศัก ดิ ์ เจีย วิริย บุ ญ ญา รอง นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม ฝ่ายการศึกษา นางสาวกัญญพัชร แย้มกมล รองปลัดเทศบาล และ รักษาการผูอ้ าํ นวยการกองสวัสดิการและสังคม นายสุรชัย พงษ์จาํ นง ผูอ้ าํ นวยการกองช่าง เทศบาล เมืองนครพนม ทีส่ าํ นักงานเทศบาลเมืองนครพนม นอกจากนี้คณะทํางานได้ประชุมร่วมกับ นายมงคล ตันสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดนครพนม ทีส่ าํ นักงานหอการค้าจังหวัดนครพนมอีก ด้วย โดยคณะทํางานได้นําเสนอความเป็ นมา วัตถุประสงค์และแนวทางการดําเนินงานของโครงการ สุดท้า ยคณะทํางานได้เ ข้าร่ว มสํารวจพื้นที่ชุมชน สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์อาคารทีม่ คี ุณค่าทางประวัตศิ าสตร์ในพืน้ ทีก่ บั นางสาวสุภรา ปราบใหญ่ หรือ คุณใบตอง ภัณฑารักษ์ผดู้ แู ลพิพธิ ภัณฑ์จวนผูว้ ่าราชการจังหวัดนครพนมหลังเก่า รวมไปถึงการเข้า พบ นายมงคล ตันสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดนครพนม นายกอบโชค เมธเมาลีเจ้าของร้าน ไพบูลย์ นางสาวมณีพรรณ รัตนโกศล เจ้าของร้านมณีพรรณ นายดุสติ วงค์พนิตกฤต (สถาปนิก บริษทั KRAFT KRON) และ ผศ.พวงเพชร รัตนรามา อาจารย์คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ผลการหารือกับองค์กรและชุมชนในพื้นที่พบว่าส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจในโครงการและ พร้อมสนับสนุนการดําเนินการปรับปรุงฟื้นฟู
ประชุมร่วมกับนายกเทศมนตรีเมืองนครพนมและ ประชุมร่วมกับประธานหอการค้าจังหวัดนครพนม และ เจ้าหน้าทีเ่ ทศบาล คณะ รูปที่ 6-22 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
151
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
5) ข้อตกลงเบือ้ งต้นโครงการนําร่อง ชุมชนถนนสุนทรวิจิตร มีกระบวนการในการริเริ่ม การอนุ รกั ษ์จากสถาบันการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้ศกึ ษาลักษณะทางสถาปตั ยกรรมไว้ และเกิดความเคลื่อนไหวของผูอ้ ยู่ อาศัยในการรักษาชุมชน แทนการพัฒนาให้เป็ นทางเดินและสวนสาธารณะริมแม่น้ําโขง ซึง่ ทําให้ตอ้ ง มีการรือ้ ย้ายชุมชน องค์กรขับเคลื่อนทีส่ าํ คัญในระดับต่างๆ ทีท่ ําให้ได้มาซึง่ ข้อตกลงโครงการนําร่อง มีดงั นี้ ก) องค์กรชุมชนและการรวมตัวของผูอ้ ยูอ่ าศัย พืน้ ทีอ่ ่นื ในย่านใกล้เคียงทีเ่ สนอให้อนุรกั ษ์อาคารบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร ประกอบไป ด้วยชุมชนที่จดทะเบียนกับเทศบาลเพื่อการพัฒนา มีอยู่ 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนโอกาส 1 ชุมชน โอกาส 2 ชุ ม ชนโพธิศ์ รี ชุ ม ชนหนองแสง 1 และชุ ม ชนหนองแสง 2 ซึ่ง ขอบเขตพื้น ที่ร วมกัน กว้า งขวางกว่า ย่านอนุ ร กั ษ์ ท่ีนํ า เสนอ ในขณะที่ก ระแสการอนุ ร กั ษ์ เ พิ่ง จะเริ่มต้น ซึ่งยัง ไม่มีก าร รวมกลุ่มของผูท้ อ่ี ยูอ่ าศัยทีแ่ น่ชดั มีเพียงชุมชนทีไ่ ด้จดทะเบียนกับเทศบาลไว้แล้วเท่านัน้ ข) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) กรณี ศึก ษาชุ ม ชนดัง้ เดิม ของถนนสุน ทรวิจิต รนัน้ องค์ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่น มี บทบาทในการส่งเสริมอนุรกั ษ์ มี 2 องค์กร คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม กับเทศบาลเมือง นครพนม สําหรับเทศบาลเมืองนครพนม ได้มกี ารหารือกับคณะผูบ้ ริหาร ซึง่ นายนิวตั เจียวิรยิ บุญญา นายกเทศมนตรีคนปจั จุบนั ได้เห็นความสําคัญของการอนุ รกั ษ์สภาพสถาปตั ยกรรมชุมชน แม้ว่าก่อน ั ่ น้ํ าโขง ในส่วนของ หน้านี้เทศบาลมีนโยบายในการรื้อย้ายชุมชนตามโครงการพัฒนาพืน้ ที่รมิ ฝงแม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม หลังจากได้ประสานงานกับ ดร.สมชอบ นิตพิ จน์ นายกองค์การ บริห ารส่ว นจัง หวัด นครพนม และนายธนพส รัต นรามา รองนายกองค์ก ารบริห ารส่ว นจัง หวัด นครพนม มีแนวโน้มในการให้การสนับสนุ นการจัดทําโครงการนํ าร่อง โดยเฉพาะ การจัดทําเอกสาร แผนที่มรดกวัฒนธรรม (Atlas) ซึ่งสามารถใช้เป็ นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการ อนุ รกั ษ์ชุมชน นอกจากนัน้ หอการค้าจังหวัดนครพนม ก็ยนิ ดีสนับสนุ นการจัดพิมพ์เอกสารร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ค) จังหวัด พาณิชย์จงั หวัดร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครพนมได้จดั กิจกรรมถนนคนเดินคล้าย กรณีเพือ่ การอนุ รกั ษ์ของชุมชนริมนํ้าจันทบูร และในส่วนทีม่ คี วามสําคัญต่อการอนุรกั ษ์ในภาพรวมคือ การปรับปรุงจวนผูว้ ่าราชการจังหวัด(หลังเก่า) ให้เป็ นพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิ่นซึ่งบริหารงานโดยจังหวัด และมีนางสาวสุภรา ปราบใหญ่ นักวิชาการท้องถิน่ เป็ นภัณฑารักษ์ดแู ลรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ง) กลุ่มสนับสนุ นวิชาการและกิจกรรม ในช่วงแรก การศึกษาด้านการอนุ รกั ษ์ชุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร ริเริม่ โดยคณะ สถาปตั ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาได้มกี ารจัดกิจกรรมอมรมเชิงปฏิบตั ิการการ อนุ ร กั ษ์ ม รดกวัฒ นธรรมพื้น ถิ่น บ้า นริม โขง และจัด ทํ า เอกสารเพื่อ การอนุ ร กั ษ์ ชุ ม ชน โดยคณะ 152
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
สถาปตั ยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทําให้เกิด ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถาบันการศึกษา นอกจากนัน้ คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ยังได้ดาํ เนินการร่วมกับองค์การบริหารส่วน จังหวัดนครพนม เทศบาลเมืองนครพนม และโรงเรียนมัธยมประจําจังหวัดทัง้ สองแห่ง ในการศึกษา ด้านการอนุ รกั ษ์ชุมชนบ้านริมโขงถนนสุนทรวิจติ ร แต่ยงั ไม่มโี ครงการหรือนโยบายที่ชดั เจนจาก ท้องถิน่ ดังทีไ่ ด้กล่าวแล้ว จากการหารือกับองค์กรขับเคลื่อนในจังหวัดนครพนม สรุปได้ว่ากิจกรรมของโครงการนําร่อง คือ การจัดทําเอกสารแผนทีม่ รดกวัฒนธรรมถนนสุนทรวิจติ ร เช่นเดียวกับกรณีชุมชนตรอกบ้านจีน และชุมชนริมนํ้ าจันทบูร โดยองค์กรที่จะสนับสนุ นงบประมาณได้คือองค์การบริหารส่ว นจังหวัด นครพนม และหอการค้าจังหวัดนครพนม
ก. สภาพปจั จุบนั ข. สภาพหลังปรับปรุง รูปที่ 6-23 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายพืน้ ทีช่ ุมชนบริเวณถนนสุนทรวิจติ ร
6.5 ชุมชนนําร่องภาคใต้: ชุมชนถนนหลังสวน อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จากการสํารวจเบือ้ งต้น พบว่าชุมชนถนนหลังสวน จังหวัดชุมพร มีศกั ยภาพในการเป็ นชุมชนนําร่อง เพื่อการขับเคลื่อนได้ ทัง้ นี้พจิ ารณาจากการที่ยงั คงมีอาคารที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนอยู่เป็ น จํานวนมาก มีการรบกวนจากการพัฒนาสมัยใหม่ไม่มากนัก ในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมก็ ยังมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนัน้ ยังมีนักวิชาการท้องถิน่ ที่ได้ทําการศึกษาย่านชุมชน ดัง้ เดิมด้วยเช่นกัน 1) ประวัตคิ วามเป็ นมาของชุมชนถนนหลังสวน* *
ข้อมูลจากเอกสารและการให้สมั ภาษณ์ของนายกฤษณะ ฉายากุล นักประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ , สํานักโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑสถาน แห่ง ชาติ( 2542). พิพ ธิ ภัณฑสถานแห่ง ชาติชุมพร. กรุง เทพฯ: กรมศิล ปากร. น.109-117. และเว็บไซต์ข องอํา เภอหลังสวน (http://langsuan.net78.net/prawat.html)
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
153
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ชุมชนถนนหลังสวนตัง้ อยู่ในอําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ห่างจากกรุงเทพมหานครราว 540 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ อําเภอหลังสวน มีประวัตคิ วามเป็ นมายาวนาน เคยเป็ นเมืองท่ามา ก่อนภายในบริเวณถนนหลังสวนนัน้ มีท่าเรือที่สําคัญคือท่าต้นประดู่ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กบั ถนนหลัง สวน มีสงิ่ ทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื มีตน้ ประดู่ขนาดใหญ่อยูบ่ ริเวณต้นนํ้า คนท้องถิน่ มักเรียกว่าท่าต้นโดแต่ใน ป จั จุ บ นั สภาพพื้นที่บ ริเ วณท่าเรือดัง กล่า วได้สูญหายไปแล้ว อําเภอหลังสวนได้ช่ือ ว่าเป็ นชุมชน เกษตรกรรมทีม่ กี ารทําสวนผลไม้ปลูกพืชเมืองร้อนเป็ นจํานวนมาก ที่มาของชื่อเมืองหลังสวนมีการ สันนิษฐานไว้ 2 ประการ ประการแรกเป็ นข้อสันนิษฐานของกระทรวงคมนาคมเมื่อ พ.ศ. 2459 ว่า น่าจะเพีย้ นมาจากคําว่า “รังสวน” หรือ “คลังสวน” หมายถึงทีร่ วมของสวนผลไม้หลายชนิด ประการที่ สองจากข้อสังเกตของพระยาอุปกิตศิลปสารทีว่ ่าในสมัยก่อนใช้ทางนํ้าในการเดินทางเป็ นหลัก ริมฝงั ่ ของแม่น้ํามีแต่สวนร่มครึม้ ส่วนบ้านเรือนนัน้ อยูล่ กึ เข้าไปในสวนร่องนํ้า จึงน่ าจะเป็ นทีม่ าของชุมชนที่ อยูห่ ลังสวน ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังสวนเป็ นหัวเมืองจัตวา มีการจัดเก็บภาษีแบบเหมา ซึ่งมี หลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2399 มีพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) เป็ นเจ้าเมือง ได้ขยายการ ผูกขาดอากรดีบุกจากระนองมายังเมืองพะโต๊ะและหลังสวนด้วย นอกจากคอซูเ้ จียง ณ ระนองแล้ว ยัง มีเจ้าเมืองในตระกูล ณ ระนอง อีกท่านคือ พระจรูญราชโภคากรต่อมาเรียก พระยาหลังสวน (คอซิม เต็ก ณ ระนอง) ที่ได้พฒ ั นาเมืองหลังสวน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ชุมชนถนนหลังสวน ที่ถือเป็ นถนน พาณิชยกรรมสายหลักของเมือง ซึ่งน่ าจะมีการพัฒนาในช่วงหลัง พ.ศ. 2400 เป็ นต้นมา โดยจะเห็น ได้จากเมื่อครัง้ เจ้าฟ้าภาณุ รงั สีสว่างวงศ์ (พระโอรสในรัชกาลที่ 4) เสด็จประพาสเมืองหลังสวนเมื่อ พ.ศ. 2427 ได้ทรงกล่าวถึงพระยารัตนเศรษฐีและพระยาหลังสวน ทีไ่ ด้พฒ ั นาบ้านเมือง มีการลงทุน ตัดถนน(น่าจะเป็ นถนนหลังสวนในปจั จุบนั ) สร้างสวน สร้างตึก โรงเรือน ตลาด** ทําให้ทราบว่าชุมชน ถนนหลังสวนนี้มอี ายุกว่า 120 ปีแล้วในปจั จุบนั หลังสวนเป็ นเมืองทีร่ ชั กาลที่ 5 เสด็จประพาสหลายครัง้ โดยเฉพาะเมื่อครัง้ เสด็จประพาสต้น ทางชลมารค รศ.108 (พ.ศ. 2432) และได้เสด็จประทับทีเ่ มืองหลังสวน ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ไว้ในถํ้าเขาเอน ได้ทรงให้บรู ณะเจดียห์ น้าถํ้าขึน้ มาใหม่แทนองค์เดิมทีท่ รุดโทรมและพระราชทานนาม ของถํ้าใหม่ว่า “ถํ้าเขาเงิน” ซึ่งในปจั จุบนั นัน้ ได้มกี ารปรับปรุงพืน้ ทีใ่ ห้เป็ นสวนสาธารณะสําหรับชาว หลังสวนโดยมีช่อื ว่า “สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ชุมพร (ถํ้าเขาเงิน)” ซึง่ อยู่หา่ งจากชุมชนถนนหลัง สวนประมาณ 4 กิโลเมตร ในด้านการบริหารการปกครอง ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังสวนเป็ นหัวเมืองชัน้ จัตวา จนถึง พ.ศ. 2439 มีสถานะเป็ นเมืองในเขตมณฑลชุมพร ซึง่ ประกอบไปด้วย ชุมพร หลังสวน ไชยา และกาญจนดิฐ ต่อมาใน พ.ศ. 2459 ได้ยกฐานะเป็ นจังหวัด ซึง่ แสดงให้เห็นว่าเป็ นเมืองทีม่ ขี นาดใหญ่ **
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรงั สีสว่างวงศ์ (2510). ชีววิ ฒ ั น์เทีย่ วทีต่ ่างๆ ภาคที ่ 7 (พิมพ์ครัง้ ที ่ 3). พระนคร: โรงพิมพ์คุรุ สภา, น.132.
154
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
แห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2468 จังหวัดหลังสวนได้ยุบรวมเป็ นอําเภอหนึ่งในจังหวัดชุมพร และมีช่อื ว่าอําเภอขันเงิน แต่คนทัวไปยั ่ งคงเรียกหลังสวนจนได้การเปลีย่ นชื่อเป็ นอําเภอหลังสวน เมือ่ พ.ศ. 2481 ซึ่งชุ ม ชนถนนหลังสวนก็ย งั คงเป็ นศูนย์ก ลางพาณิช ยกรรมของเมือ งตลอดมาจนถึง ปจั จุบนั
รูปที่ 6-24 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งชุมชนถนนหลังสวน (แผนทีพ่ น้ื ฐานจาก www.google.com)
2) สภาพเศรษฐกิจสังคม ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนถนนหลังสวนเป็ นย่านชุมชนถนนการค้า ลักษณะของชุมชนจะอยู่บริเวณแนวสองฝงั ่ ของถนนหลังสวน โดยมีถนนหลังสวนเป็ นเส้นทางคมนาคมสายหลักของพืน้ ที่ และยังเป็ นเส้นทาง สายสําคัญทีเ่ ดินทางต่อไปยังบริเวณปากนํ้าหลังสวน ในอดีตอําเภอหลังสวนเคยมีฐานะเป็ นจังหวัดหลังสวนมาก่อน แต่ภายหลังมีการเปลีย่ นแปลง การปกครองทําให้มปี รับเปลี่ยนจากจังหวัดเป็ นอําเภอและเป็ นส่วนหนึ่งของจังหวัดชุมพร แต่ถนน หลังสวนก็ยงั คงเป็ นย่านเศรษฐกิจทีม่ คี วามสําคัญต่อเนื่องจากอดีตมาจนถึงปจั จุบนั และยังเป็ นแหล่ง พาณิชยกรรมหลักของอําเภอ มีกจิ การการค้าทีต่ ่อเนื่องมากกว่า 100 ปี หลายแห่ง เนื่องจากเป็ นย่าน
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
155
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
พาณิชยกรรมสายหลัก จึงมีกจิ การพาณิชยกรรมหลายรูปแบบซึง่ สามารถแบ่งออกเป็ นได้ 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ - การค้าปลีก เช่น ร้านจักรวาลเซ็นเตอร์ทเ่ี ป็ นร้านขายรองเท้าทีเ่ ก่าแก่ภายในพืน้ ที่ ร้านไอ-โซนทีจ่ าํ หน่ายอุปกรณ์เครือ่ งเขียน ร้านอินทรียเ์ ป็ นร้านขายเสือ้ ผ้า ร้านสมจิตทีข่ ายผลไม้กวน ของฝากประจําพืน้ ถิน่ ร้านรับซื้อแผ่นยางพารา ร้านขายหนังสือ ร้านศึกษาภัณฑ์ ร้านข้าวต้นทีข่ าย ข้าวสารในพืน้ ถิน่ และร้านตัวแทนจําหน่ ายยาสูบซึ่งในอดีตร้านตัวแทนจําหน่ ายยาสูบนี้เคยเป็ นทีท่ ํา การของบริษทั “ฮับฟดั ” ซึ่งเป็ นบริษทั ทีร่ บั เหมืองแร่ดบี ุกจากเหมืองพะโต๊ะ เหมืองตําบลนาขา และ เหมืองนายหูต (หวูดรถไฟ) - การบริก าร เช่ น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุ ง เทพ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกรุงไทย ไปรษณียห์ ลังสวน ร้านตัดผม ร้านถ่ายเอกสาร ร้านซักอบรีด ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ร้านบุญเลิศการแพทย์และร้านทรงพันธ์การแพทย์ - สํานักงาน เช่น สํานักงานนิตศิ าสตร์ทนายความ - ร้านอาหาร ภายในพืน้ ทีย่ ่านชุมชนถนนหลังสวนมีรา้ นอาหารทีเ่ ก่าแก่เป็ นจํานวน มาก เช่น ร้านกาแฟซึ่งเป็ นทีน่ ัดพบสภากาแฟยามเช้า ร้านข้าวมันไก่ไหหลําทีไ่ ม่มมี นั ร้านข้าวแกง แม่เฉลียว ร้านน้องมัตข้าวต้มปลา ร้านขายนํ้าแข็งใสป้านงเยาว์ทเ่ี คยได้ลงหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ต่างๆ ฯลฯ (รูปที่ 6-26) ทางด้านสังคม ถนนหลังสวนเป็ นถนนทีม่ คี วามสําคัญยิง่ ของอําเภอหลังสวน ซึง่ ถ้ามีกจิ กรรมหรือวันสําคัญ ของอําเภอหรือของประเทศก็มกี ารจัดในบริเวณถนนสายนี้ เช่น ในช่วงวันแรม 1 คํ่าเดือน 11 ของทุก ปี ท่ถี นนหลังสวนจะมีการตักบาตรเทโว ซึ่งเป็ นประเพณีท่สี บื ทอดกันมามากกว่า 100 ปี รวมไปถึง ในช่วงวันขึน้ ปี ใหม่กจ็ ะมีการปิ ดถนนเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาร่วมตักบาตรบริเวณถนนสายนี้ และ การจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ฯ เนื่องในวันพระราชสมภพก็จะมีการ จัดกิจกรรมที่บริเวณถนนสายนี้เช่นเดียวกัน ดังนัน้ ถนนหลังสวนเป็ นถนนสายหนึ่งที่มคี วามสําคัญ อย่างยิง่ ภายในชุมชน และในทุกๆ วันแรม 1 คํ่าเดือน 11 ของทุกปี ของอําเภอหลังสวนจะมีงานประจําปีทส่ี าํ คัญและ เป็ น ต้น แบบก็คือ “การขึ้น โขนชิง ธง” ซึ่งเป็ น ประเพณีท่ีส ืบ ต่ อ กัน มาเป็ น เวลานาน และเป็ น การ แสดงออกถึงวิถชี วี ติ ทีเ่ กี่ยวของกับสายนํ้าของชาวอําเภอหลังสวน โดยบริเวณของถนนหลังสวนนัน้ จะมีการจัดขบวนแห่เรือทีใ่ ช้ในการแข่งขันประเภทต่างๆ ซึง่ มีการนําขบวนด้วยถ้วยพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ฯ และภายหลังจากมีการแห่งขบวนเสร็จแล้วจะมีปิ ดถนนแล้ว เริ่ม กิจกรรม “เปิดเมืองกินฟรี” โดยจะมีการนําอาหารมาแจกจ่ายให้แก่คนภายในพืน้ ทีท่ งั ้ ของคาวและของ หวาน ซึง่ เป็ นการแสดงนํ้าใจแก่คนต่างถิน่ และคนภายในพืน้ ที่ (รูปที่ 6-25)
156
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ขบวนแห่เรือสําหรับขึน้ โขงชิงธง (รูปจาก: คุณประพันธ์ ไกรศักดาวัฒน์ ส่งเข้าประกวดภาพถ่ายขึน้ โขงชิงธง ปี 2553)
บทที่ 6
ขบวนแห่เรือสําหรับขึน้ โขงชิงธงและอาคารโดยรอบ (รูปจาก: คุณ สัญชัย บัวทรง ส่งเข้าประกวดภาพถ่ายขึน้ โขนชิงธง ปี 2553)
การจุดเทียนชัยถวายพระพรบริเวณถนนหลังสวน (รูปจาก: เทศบาลเมืองหลังสวน)
ประเพณีการตักบาตรเทโวบริเวณถนนหลังสวน (รูปจาก: คุณทวีศกั ดิ ์ พุทธรักษา ส่งเข้าประกวดภาพถ่ายขึน้ โขงชิงธง ปี 2553) รูปที่ 6-25 ประเพณีวฒ ั นธรรมภายในพืน้ ที่
รูปที่ 6-26 กิจกรรมเศรษฐกิจทีอ่ ยูภ่ ายในพืน้ ทีย่ า่ นชุมชนถนนหลังสวน โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
157
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
3) ลักษณะทางกายภาพ ชุมชนถนนหลังสวนมีลกั ษณะเป็ นชุมชนที่อยู่อาศัยผสมพาณิชยกรรมตัง้ อยู่ในเขตเทศบาล เมืองหลังสวน ถือเป็ นย่านชุมชนพาณิชยกรรมสายหลัก (main street) ของเมืองซึง่ มีพฒ ั นาการตัง้ แต่ อดีตเมือ่ แรกสร้างเมืองจนถึงปจั จุบนั อย่างต่อเนื่อง ั่ ลักษณะเป็ นทางกายภาพโดยรวมเป็ นอาคารตึกแถวและห้องแถวสองฝงถนนสายหลั ก มี จํานวนชัน้ ตัง้ แต่ชนั ้ เดียวถึง 4 ชัน้ แต่โดยมากเป็ นสองชัน้ ขอบเขตของชุมชนที่มลี กั ษณะเฉพาะที่ น่ าจะเป็ นย่านชุมชนดัง้ เดิมทีค่ วรอนุ รกั ษ์ เริม่ ตัง้ แต่ซอยหลังสวน 1 ทางด้านทิศตะวันตกไปจนจรด ถนนด้านข้างเทศบาลเมืองหลังสวนปจั จุบนั ทางด้านทิศตะวันออก ในช่วงกลางถนนมีส่วนของย่านที่ ยื่นออกไปทางทิศใต้บริเวณถนนลูกเสือ คิดเป็ นเนื้อที่ทงั ้ หมด 63 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา มีอาคาร ทัง้ หมด 337 หน่วย ลักษณะอาคารที่มคี ุณค่าเป็ นเรือนแถวไม้ 2 ชัน้ สร้างต่อกันไปตามแนวถนน ชัน้ ล่างมักใช้ เป็ นร้านค้าส่วนชัน้ บนเป็ นทีพ่ กั อาศัย หลังคามีความลาดชันสูง (ประมาณ 30 องศา) กระเบือ้ งหลังคา ดัง้ เดิมเป็ นกระเบื้องซีเมนต์สเ่ี หลี่ยมขนมเปี ยกปูนหรือที่เรียกว่ากระเบื้องว่าว ซึ่งเป็ นทีน่ ิยมในช่วง 80-100 ปี ก่อน บางหลังก็ใช้แผ่นสังกะสีลอนซึ่งหากเป็ นของดัง้ เดิมจะมีความหนาและทนทานมาก ปจั จุบนั ห้องแถวหลายหลังได้เปลี่ยนเป็ นกระเบื้องซีเมนต์ลอนใหญ่และลอนเล็ก ลักษณะเด่นของ อาคารห้องแถวไม้น้ีคอื ชัน้ ล่างจะมีเสาลอย เกิดเป็ นช่องว่างใชเป็ นทางเดินภายใต้อาคาร มีความกว้าง ประมาณ 1.50 เมตร เสาลอยมีทงั ้ เป็ นไม้และปูน ส่วนมากเป็ นเสาสีเ่ หลีย่ มจัตุรสั มีการเซาะร่องเพื่อ การตกแต่งบ้าง มีกนั สาดยื่นเพื่อกันแดดกันฝน หลังคากันสาดมุงด้วยวัสดุเดียวกับหลังคาอาคาร บานประตูชนั ้ ล่างดัง้ เดิมเป็ นบานเฟี้ ยมไม้แผ่นเรียบ ส่วนใหญ่มี 8-10 บานแล้วแต่ความกว้างของ อาคาร ส่วนชัน้ บนมี 2 รูปแบบ แบบแรกเป็ นผนังไม้ตเี กล็ดซึง่ มีทงั ้ แบบแนวตัง้ และแนวนอนบางหลัง มีช่องระบายอากาศอยู่ดา้ นบน หน้าต่างไม้แบบบานเปิ ดคู่หรือเป็ นชุดบานเปิ ดตลอดช่วงเสา รูปแบบ ทีส่ องเป็ นระเบียงไม้ ราวลูกกรงไม้โปร่ง อาคารห้องแถวบางหลังมีลกั ษณะเด่นกว่าหลังอื่นๆ ในด้านการตกแต่งคือ ชัน้ ล่างเป็ นปูนมี ั ้ อนช้อยสวยงามคล้ายอาคารตึกแถวที่ภูเก็ต พังงา ระนอง ซึ่งน่ าจะได้รบั ลวดลายตกแต่งปูนปนอ่ อิทธิพลมาจาก ระนอง เนื่องจากแรกสร้างเมืองมีเจ้าเมืองที่มาจากระนองซึ่งค้าขายแร่ดบี ุก ภายใน อาคารมีการตกแต่งปานประตูหน้าต่างเป็ นไม้มลี วดลายฉลุเป็ นลายธรรมชาติสวยงามมาก จากการสํารวจพบว่า ในย่านชุมชนถนนหลังสวนนี้มอี าคารทีม่ คี ุณค่าทีย่ งั คงลักษณะดัง้ เดิม ไว้สงู มีการเปลีย่ นแปลงไม่มากนักอยูจ่ าํ นวน 84 หน่วย คิดเป็ นร้อยละ 25 ของอาคารทัง้ หมด อาคาร ทีม่ คี ุณค่ามีลกั ษณะดัง้ เดิมแต่ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงรูปแบบไปบ้างแล้วจํานวน 132 หน่วย คิดเป็ นร้อย ละ 39 ของอาคารทัง้ หมด ส่วนอาคารทีส่ ร้างขึน้ ใหม่มสี ภาพเป็ นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2-4 ชัน้ พบ มากบริเวณด้านทิศตะวันตกของย่าน มีจาํ นวน 121 หน่วย หรือคิดเป็ นร้อยละ 36 ของอาคารทัง้ หมด อาคารที่สร้างใหม่น้ีส่วนหนึ่งเป็ นเพราะไฟไหม้อาคารไม้เดิม เจ้าของจึงสร้างขึ้นใหม่ทดแทนเป็ น คอนกรีตเสริมเหล็ก 158
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
รูปที่ 6-27 แผนทีแ่ สดงตําแหน่งอาคารทีม่ คี ุณค่าชุมชนถนนหลังสวน
สรุปลักษณะเด่นของอาคารในย่านชุมชนถนนหลังสวนมีดงั นี้ - เป็ นอาคารห้องแถว ส่วนใหญ่เป็ นไม้ - หลังคามีความลาดชันสูง ของดัง้ เดิมมุงด้วยกระเบือ้ งซีเมนต์ (กระเบือ้ งว่าว) - มีชอ่ งทางเดินและเสาลอยด้านหน้าอาคาร - ผนังและหน้าต่างชัน้ บนเป็ นไม้ - มีระเบียงไม้ชนั ้ บนในบางหลัง - มีกนั สาดเหนือช่องทางเดิน
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
159
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
อาคารห้องแถว ถนนหลังสวน
ลักษณะช่องทางเดินใต้อาคาร
หลังคากระเบือ้ งซีเมนต์สเ่ี หลีย่ มขนมเปี ยกปูน (กระเบือ้ งว่าว)
ลักษณะบานหน้าต่างไม้ชนั ้ บนและ ประตูบานเฟี้ยมไม้ชนั ้ ล่าง
ชัน้ บนอาคารเป็ นผนังไม้และหน้าต่างไม้
ชัน้ บนอาคารแบบเป็ นระเบียง
รูปที่ 6-28 ลักษณะทางกายภาพในพืน้ ทีช่ ุมชนถนนหลังสวน
4) การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ที่ ในระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน พ.ศ. 2553 คณะทํางานในโครงการได้มกี ารหารือร่วมกับ นายกฤษณะ ฉายากุล นักประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีส่ าํ นักงานทนายความกฤษณะ ฉายากุล หลังจาก นัน้ ได้ประชุมร่วมกับ นายอวยชัย วรดิลก (นายกเทศมนตรีเมืองหลังสวน) และนายฉัตรชัย มีสถิตย์ (รองนายกเทศมนตรี) ทีโ่ รงแรมอวยชัย แกรนด์ สุดท้ายคณะทํางานได้เข้าพบ 160
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ (ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร) ในขณะเป็ นประธานในพิธีฉลอง 138 ปี สมโภชองค์เจดีย์หน้าถํ้าเขาเงิน ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ชุมพร (ถํ้าเขาเงิน) อําเภอหลังสวน เพือ่ นําเสนอความเป็ นมาวัตถุประสงค์และแนวทางการดําเนินงานของโครงการ ผลการหารือกับตัวแทนภาครัฐและเอกชนในพื้นที่พบว่าได้ให้ความสนใจในโครงการและ พร้อมสนับสนุนการดําเนินการ
การหารือร่วมกับผูว้ า่ ราชการจังหวัดชุมพร การหารือร่วมกับนายกเทศมนตรีเมืองหลังสวน และนายกฤษณะ ฉายากุล และคณะ รูปที่ 6-29 การหารือกับองค์กรและชุมชนในพืน้ ทีช่ ุมชนถนนหลังสวน
5) ข้อตกลงเบือ้ งต้นโครงการนําร่อง เมือ่ เปรียบเทียบกับ 3 ชุมชนนําร่องในภาคอื่น กรณีของชุมชนถนนหลังสวนเป็ นพืน้ ทีเ่ ดียวที่ ยังไม่เกิดขบวนการขับเคลื่อนใดๆ เกี่ยวกับการอนุ รกั ษ์นอกจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น (นายกฤษณะ ฉายากุล) และการรับทราบของนายกเทศมนตรีเมืองหลังสวน ซึ่งได้เคยมี โครงการแผนพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยของการเคหะแห่งชาติก่อนหน้านี้ สถานการณ์ขององค์กรขับเคลื่อนใน พืน้ ทีพ่ อสรุปได้ดงั นี้ ก) องค์กรชุมชนและการรวมตัวของผูอ้ ยูอ่ าศัย ในพื้นที่ท่เี สนอให้เป็ นย่านอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิม ชุมชนถนนหลังสวนเป็ นส่วนหนึ่ง ของชุมชนทีจ่ ดทะเบียนกับเทศบาลเมืองหลังสวน จํานวน 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนประชาเอือ้ อารีย์ และ ชุมชนห้าแยกธีระ และได้กล่าวแล้วว่า ยังไม่มขี บวนการอนุรกั ษ์ใดๆ เกิดขึน้ จึงไม่พบการรวมกลุ่มของ ผูอ้ ยูอ่ าศัย มีเพียงนักประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีอ่ าศัยอยูใ่ นชุมชนเท่านัน้ ดังนัน้ การส่งเสริมให้ผอู้ ยูอ่ าศัย เห็นความสําคัญของย่านชุมชนดัง้ เดิมนี้จงึ เป็ นเรือ่ งทีค่ วรดําเนินการอย่างยิง่ ข) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) จากการหารือกับนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหลังสวนและรองนายกเทศมนตรี ซึง่ ได้รบั ผิดชอบงานนโยบายและแผน (นายอวยชัย วรดิลก และนายฉัตรชัย มีสถิตย์) สรุปได้ว่าเทศบาล รับหลักการในด้านการอนุรกั ษ์ชุมชน และได้เสนอให้มกี ารบูรณะซ่อมแซมอาคารให้เป็ นตัวอย่างซึง่ จะ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
161
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ดําเนินการเอง และได้ให้ผดู้ าํ เนินโครงการเป็ นผูจ้ ดั ทําร่างแผนเพื่อการฟื้นฟูชุมชนดัง้ เดิมให้ฝา่ ยแผน ของเทศบาลได้นําไปใช้เป็ นกรอบในการทํางาน ค) จังหวัด นักประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ (นายกฤษณะ ฉายากุล) ได้นําคณะผูด้ ําเนินโครงการเข้า พบผูว้ า่ ราชการจังหวัดชุมพร ซึง่ ให้ความสนใจในด้านประวัตศิ าสตร์ของเมือง และผูว้ า่ ราชการจังหวัด ได้รบั ทราบและได้ขอ้ มูลของโครงการไว้เรียบร้อยแล้ว ง) กลุ่มสนับสนุนวิชาการและกิจกรรม ยังไม่พบว่ามีการศึกษา หรือการจัดกิจกรรมใดๆ ในด้านการอนุ รกั ษ์ชุมชนถนนหลัง สวนจากสถาบันการศึกษา ซึง่ ในประเด็นดังกล่าวก็จะมีการดําเนินการเช่นเดียวกัน จากการประเมินสถานการณ์ในด้านองค์กรการขับเคลื่อนและทรัพยากรในการจัดทํากิจกรรม โครงการนําร่อง เนื่องจากยังมิได้มกี ารริเริม่ โครงการหรือกิจกรรมอนุ รกั ษ์ รวมทัง้ ยังไม่มกี ารรวมกลุ่ม หรือองค์กรทีข่ บั เคลื่อนได้ โครงการนําร่องจึงควรให้ความสําคัญกับการประชาสัมพันธ์และสร้างความ ตระหนักในภาพกว้าง ซึ่งงบประมาณของโครงการที่มจี ํากัดคือ 40,000 บาท น่ าจะนํ าไปใช้ในการ จัดพิมพ์ สื่อ ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เทศบาลและชุมชนได้เห็นความสําคัญร่วมกัน อันจะนํ าไปสู่การ จัดทําแผนการอนุรกั ษ์ของเทศบาล ซึง่ นายกเทศมนตรีได้รบั หลักการไปแล้วในลําดับต่อไป
162
ก. สภาพปจั จุบนั
ข. สภาพหลังปรับปรุง
ก. สภาพปจั จุบนั
ข. สภาพหลังปรับปรุง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ก. สภาพปจั จุบนั ข. สภาพหลังปรับปรุง รูปที่ 6-30 ข้อเสนอการปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมอย่างง่ายพืน้ ทีช่ ุมชนถนนหลังสวน
จากข้อมูลชุมชนนํ าร่องทัง้ 4 ชุมชนนัน้ สามารถสรุปข้อมูลตําแหน่ งอาคารที่มคี ุณค่าภายใน ชุมชนออกมาได้ดงั ต่อไปนี้ (ตารางที่ 6-1) ตารางที่ 6-1 สรุปจํานวนอาคารทีม่ คี ุณค่าประเภทต่างๆ ภายในชุมชนนําร่อง 4 ชุมชน (จากการสํารวจ) ภาคเหนือ ชุมชนตรอกบ้านจีน อําเภอเมือง จังหวัดตาก* จํานวนบ้านทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่ พืน้ ทีศ่ กึ ษา (หน่วย) จํานวนอาคารทีม่ คี ุณค่า มาก (Value) จํานวนอาคารทีม่ คี ุณค่า ปานกลาง (Contributing) จํานวนอาคารสมัยใหม่ (None) ขนาดของพืน้ ทีศ่ กึ ษา (ไร่-งาน-วา)
ภาคกลางรวมภาค ตะวันออก ชุมชนริมนํ้าจันทบูร อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุร ี
ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนบริเวณถนน สุนทรวิจติ ร อําเภอเมือง จังหวัดนครพนม*
ภาคใต้ ชุมชนถนนหลังสวน อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
242
353
315
337
115
159
115
84
72
83
58
132
55
111
142
121
74-1-0
39-0-97
202-0-50
63-3-50
* หมายเหตุ จ.ตาก ตัดอาคารทีไ่ ม่มหี มายเลขออกไป เอาแต่อาคารทีม่ หี มายเลขอ้างอิงจากรายงานโครงการอนุ รกั ษ์และฟื้ นฟูชุมชน ตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก โดยกลุ่มสถาปนิกเพือ่ การอนุรกั ษ์และฟื้นฟูชุมชนตรอกบ้านจีน (พ.ศ. 2552) จ.นครพนม ตัดอาคารทีไ่ ม่มหี มายเลขกับคุณค่าออก
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
163
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
จากการศึก ษาองค์ก รขับ เคลื่อ นทัง้ 4 ชุ ม ชนและการได้ม าซึ่ง ข้อ ตกลงโครงการนํ า ร่อ ง สามารถสรุปรวมได้ดงั แสดงในตารางที่ 6-2 ตารางที่ 6-2 สรุปความสัมพันธ์ขององค์กรขับเคลื่อน (actors) ในการฟื้ นฟูชมุ ชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิ ม ระดับองค์กร ชุมชนที่จด ทะเบียนกับ เทศบาล
ตรอกบ้านจีน - ชุมชนระแหง (ไม่พบบทบาท)
ริ มนํ้าจันทบูร - ชุมชน 3 - ชุมชน 4 (ไม่พบบทบาท)
องค์กรที่ เกี่ยวกับการ ฟื้ นฟู ตัวเชื่อม ประสาน
- ชมรมตรอกบ้านจีน
- คณะกรรมการพัฒนา ชุมชนริมนํ้าจันทบูร
องค์กร ปกครองส่วน ท้องถิ่ น
- เทศบาลเมืองตาก
ตัวเชื่อม ประสาน
- ประธานชมรมตรอกบ้าน - ประธานคณะกรรมการ จีน พัฒนาชุมชนริมนํ้าจันทบูร - สมาชิกสภาผูแ้ ทน ราษฎรซึง่ มีความใกล้ชดิ กับชุมชน
จังหวัด
- ยังไม่พบบทบาท
- ประธานชมรมตรอกบ้าน - ประธานคณะกรรมการ จีน พัฒนาชุมชนริมนํ้าจันทบูร
- เทศบาลเมืองจันทบุร ี
กลุ่มสนับสนุน - กลุ่มสถาปนิกเพือ่ การ อนุรกั ษ์และฟื้นฟูตรอก / วิ ชาการ บ้านจีน - สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โครงการ นําร่อง
164
- แผนทีม่ รดกวัฒนธรรม (Atlas)
- พาณิชย์จงั หวัดจันทบุร ี - ผูว้ า่ ราชการจังหวัด สนับสนุน - สถาบันอาศรมศิลป์
- แผนทีม่ รดกวัฒนธรรม (Atlas)
-
ถนนสุนทรวิ จิตร ชุมชนโอกาส 1 ชุมชนโอกาส 2 ชุมชนโพธิศรี ์ ชุมชนหนองแสง 1 ชุมชนหนองแสง 2 (ไม่พบบทบาท) ยังไม่มกี ารรวมกลุ่ม
ถนนหลังสวน - ชุมชนประชาเอือ้ อารีย์ - ชุมชนห้าแยกพี ระ (ไม่มีบทบาท) - ยังไม่มกี าร รวมกลุ่ม
- ผ.ศ. พวงเพชร รัตนรามา - นายกฤษณะ (สถาบันเทคโนโลยีพระ ฉายากุล (นัก จอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ประวัตศิ าสตร์ ลาดกระบัง) ท้องถิน่ ) - เทศบาลเมืองนครพนม - เทศบาลเมือง - องค์การบริหารส่วนจังหวัด หลังสวน นครพนม (เชือ่ มโยงกับ หอการค้าจังหวัด นครพนม) - นางสาวสุภรา ปราบใหญ่ - นายกฤษณะ (ผูด้ แู ลพิพธิ ภัณฑ์จวนผูว้ า่ ฉายากุล (นัก ราชการจังหวัดนครพนม ประวัตศิ าสตร์ หลังเก่า) ท้องถิน่ )
- ยังไม่พบบทบาท
- ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดรับทราบ
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอม - ยังไม่ม ี เกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น - พิพธิ ภัณฑ์จวนผูว้ า่ ราชการจังหวัดนครพนม หลังเก่า - แผนที่ ม รดกวั ฒ นธรรม - โปสเตอร์ (Atlas) ประชาสัมพันธ์
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
จะเห็นได้ว่ามีชุมชนนํ าร่องถึง 3 ชุมชนทีไ่ ด้มขี อ้ ตกลงในการใช้กจิ กรรมขับเคลื่อนชุมชนคือ แผนที่มรดกวัฒ นธรรม (Atlas) * โดยแผนที่น้ี มีค วามเป็ น มาคือ เป็ น หนึ่ งในโครงการย่อยภายใต้ โครงการอนุ รกั ษ์สงิ่ แวดล้อมศิลปกรรม (Thailand Cultural Environment Project) ซึง่ เป็ นโครงการ ความร่วมมือด้านการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลไทยกับเดนมาร์ก โดยพัฒนาระบบและ กระบวนการจากระบบการสํา รวจคุ ณค่าทางสถาป ตั ยกรรมในสภาพแวดล้อม (Survey of Architectural Value in the Environment) ระบบการบูรณาการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมสู่ กระบวนการวางแผน (Cultural Heritage in Planning) ของประเทศเดนมาร์กและระบบของประเทศ ไทย ภายใต้ระบบเพื่อการอนุ รกั ษ์สงิ่ แวดล้อมศิลปกรรม (Cultural Environment Conservation System) โดยมีแนวคิดหลักคือ การปกป้องดูแลรักษาคุณค่าของพืน้ ทีอ่ ย่างองค์รวมและรอบด้านเน้น กระบวนการมีส่ว นร่ว มของชุ ม ชนในการร่ว มระบุ และให้ข้อ มูล ผ่า นการบอกเล่ า และการสํา รวจ ภาคสนาม ซึ่งเป็ นการกระตุ้นให้ชุมชนได้มชี ่องทางที่เป็ นรูปธรรมในการร่วมบริหารจัดการแหล่ง มรดกวัฒนธรรม อันสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาทีย่ งยื ั ่ น และหลักการกระจายอํานาจทีใ่ ห้ทอ้ งถิน่ มีบทบาทหน้าทีใ่ นการกําหนดทิศทางการพัฒนาของพืน้ ทีต่ นเอง แผนทีม่ รดกวัฒนธรรม (Atlas) คือ จุดอ้างอิงร่วมของทุกภาคส่วนในการระบุทรัพยากรทาง วัฒนธรรม อันเป็ นทุนทางสังคมที่สําคัญของชุมชนโดยมีพ้นื ฐานมาจากแนวคิดเรื่องอนุ รกั ษ์มรดก วัฒนธรรมทีม่ ชี วี ติ (Living Heritage) เน้นการพัฒนาชุมชนผ่านกระบวนการจัดการทรัพยากรทาง วัฒ นธรรมโดยเนื้ อ หาครอบคลุ ม อย่า งครบถ้ว นตัง้ แต่ พ ฒ ั นาการประวัติศ าสตร์ข องเมือ ง สภาพ องค์ประกอบทางกายภาพในปจั จุบนั รวมไปถึงองค์ประกอบทีส่ าํ คัญอื่นๆ เช่น บ้านเรือนเก่าแก่ ระบบ คูคลอง ต้นไม้ใหญ่ พันธุ์ไม้ใหญ่ พันธุ์ไม้พน้ื ถิน่ ฯลฯ อันเป็ นส่วนหนึ่งที่ประกอบกันเป็ นคุณค่าร่วม (Collective value) ของสิง่ แวดล้อมทางวัฒนธรรม ซึ่งมิใช่มแี ต่โบราณสถาน วัด วัง ทีม่ คี ุณค่าสูง เท่านัน้ ดังนัน้ แผนทีม่ รดกวัฒนธรรม จึงมิได้มุ่งหวังทีจ่ ะเป็ นหนังสือทีใ่ ห้รายละเอียดลึกซึง้ รอบด้าน ในแง่ของประวัตศิ าสตร์เชิงบรรยาย ซึ่งเป็ นหนังสือทีม่ อี ยู่แล้วอย่างมากมายในทุกพืน้ ที่ แต่มุ่งหวังที่ จะเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ดงั กล่าว และข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสํารวจภาคสนามเข้าสูผ่ งั ทางกายภาพผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ขอ้ มูลอย่างมีส่วนร่วม เพื่อทีจ่ ะได้นําไปใช้เป็ นฐานคิด และข้อมูลอ้างอิงในกระบวนการวางแผนในระดับท้องถิน่ ได้อย่างเหมาะสมและเป็ นรูปธรรมมากยิง่ ขึน้ นอกจากนัน้ แนวคิดในการจัดทําแผนที่มรดกวัฒนธรรมได้พยายามที่จะขยายกรอบนิยาม ของคําว่า “มรดกวัฒนธรรม” ให้ไปไกลกว่าคําว่าโบราณสถานด้วยการมองคุณค่า (value) ทัง้ ในมิติ *
กองอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (พ.ศ. 2548), แผนทีช่ ุมชน เมืองเก่าน่าน, กรุงเทพฯ: สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม, น. 1-2 กองอนุ รกั ษ์สงิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (พ.ศ. 2548), แผนทีช่ ุมชน เมืองเก่าลพบุร,ี ลพบุร:ี สํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม, น. ค-ง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
165
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ทางมนุ ษย์และวัฒนธรรม มิใช่เฉพาะด้านศิลปกรรมหรือความสวยงามเท่านัน้ ครอบคลุมการระบุ องค์ประกอบเพิม่ เติมทัง้ ในส่วนที่เป็ นรูปธรรมและนามธรรม เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา ฯลฯ และให้ค วามสํา คัญ กับ “ความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งองค์ป ระกอบหรือ นิ เ วศพื้น ที่” เท่ า ๆ กัน กับ ความสําคัญระดับปจั เจกขององค์ประกอบย่อยๆ แผนทีม่ รดกวัฒนธรรม มีรปู แบบและลักษณะทีเ่ ข้าใจง่ายสามารถเข้าถึงได้โดยคนทุกระดับ มี ลักษณะทีเ่ ป็ นพลวัตยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในอนาคต โดยจะเป็ นส่วนหนึ่งของมาตรการและเครื่องมือสําคัญ สําหรับหน่วยงานท้องถิน่ และประชาชนในการ ร่วมกําหนดทิศทางการพัฒนาพืน้ ที่ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไปในอนาคต แผนทีม่ รดกวัฒนธรรม มีประโยชน์ดงั ต่อไปนี้ 1. ชุมชนดัง้ เดิมทีจ่ ดั ทําแผนทีม่ รดกวัฒนธรรม จะมีระบบฐานข้อมูลทีม่ คี วามถูกต้อง รอบด้านครอบคลุมและตรงกับความคิดของท้องถิน่ ทีส่ ามารถแลกเปลีย่ นใช้งานกันได้ และเป็ นข้อมูล อ้างอิงร่วมระหว่างหน่ วยงานทีร่ บั ผิดชอบเพื่อประยุกต์ใช้ในกระบวนการวางแผนอนุ รกั ษ์และพัฒนา ในระดับท้องถิน่ 2. ส่งเสริมกลไกและเครื่องมือในการตรวจสอบเฝ้าระวังการพัฒนาเมืองใหม่ท่ไี ม่ เหมาะสม และการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะทําลายคุณค่าความสําคัญของพืน้ ทีเ่ มืองเก่า 3. ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของชุมชน ในกระบวนการวางแผนท้องถิน่ และการบริหาร จัดการมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็ นรูปธรรม ผ่านการสร้างเวทีสาธารณะเพื่อแสดงความคิดเห็น นับตัง้ แต่การให้ขอ้ มูล การระบุและประเมินคุณค่าความสําคัญของมรดกวัฒนธรรม รวมไปถึงการร่วม ตัดสินใจในสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตต่อพืน้ ที่ 4. สร้างความรูค้ วามเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าความสําคัญของพื้นที่เมืองเก่าเพื่อสร้าง การรับรูส้ าธารณะ อันจะนํ าไปสู่การสร้างแนวร่วม และเป้าหมายร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุ รกั ษ์ และพัฒนาพืน้ ทีไ่ ด้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของชุมชน องค์ประกอบของแผนทีม่ รดกวัฒนธรรมจะประกอบไปด้วย ส่วนของพืน้ ทีท่ ค่ี รอบคลุมพืน้ ทีท่ ่ี สําคัญในการพัฒนาเมืองมาตัง้ แต่อดีต โดยเนื้อหา แบ่งออกเป็ น 4 ส่วนดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ประวัตศิ าสตร์พฒ ั นาการเมือง แสดงข้อมูลอย่างย่อและรูปแบบการเปลีย่ นแปลงทาง กายภาพของเมือง อันเป็ นผลมาจากเหตุปจั จัยรอบด้านทัง้ ในด้านภูมศิ าสตร์ การเมือง การปกครอง รวมไปถึงมิตทิ างสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของพัฒนาการชุมชนดัง้ เดิม นับจาก อดีตจนถึงปจั จุบนั ส่วนที่ 2 คุณค่าความสําคัญและคุณลักษณะเด่นทางกายภาพของพืน้ ที่ ได้แก่ การวิเคราะห์ คุณลักษณะเด่นของพืน้ ทีใ่ น 3 ส่วนสําคัญคือ องค์ประกอบโครงสร้างเมือง สถาปตั ยกรรม และสภาพ ธรรมชาติและภูมทิ ศั น์ เพื่อแสดงข้อมูลในภาพรวมของพืน้ ที่ท่เี ป็ นโครงสร้างหลักทางกายภาพของ เมือง
166
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 6
ส่วนที่ 3 สาระสําคัญ (Theme) และพืน้ ทีส่ งิ่ แวดล้อมทางวัฒนธรรมทีส่ ําคัญ ได้แก่ ข้อมูลใน ระดับพืน้ ทีย่ อ่ ยเพือ่ ให้เห็นภาพในระดับรายละเอียด และแสดงถึงความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ ในระดับพืน้ ที่ ส่วนที่ 4 บทส่งท้าย แสดงผลลัพธ์หลักที่ได้จากการดําเนินการ และข้อเสนอแนะถึงความ เป็ นไปได้ในการนํ าแผนที่มรดกวัฒนธรรมไปใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างยังยื ่ นต่อไปใน อนาคต สําหรับแผนทีม่ รดกวัฒนธรรม (Atlas) ทีจ่ ะจัดทําขึน้ สําหรับชุมชนนําร่องทัง้ 3 ชุมชนนัน้ จะ ประกอบไปด้วย 1. บทนํา อธิบายถึงความเป็ นมาของโครงการ และประโยชน์ของเอกสาร 2. คุ ณ ค่ า ความสํ า คัญ ด้า นประวัติศ าสตร์ข องชุ ม ชน อธิบ ายความสํ า คัญ ของชุ ม ชนใน ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับเมือง 3. สภาพปจั จุบนั ของชุมชน อธิบายสภาพปจั จุบนั ของชุมชนในด้านกายภาพ และด้าน กิจกรรม สําหรับด้านกายภาพ เนื้อหาประกอบด้วยสัณฐานเมือง ภูมปิ ระเทศ การวางผัง การจัดกลุ่ม อาคาร และอาคาร ด้านกิจกรรม เนื้อหาประกอบด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และประเพณี 4. แผนทีแ่ สดงสภาพปจั จุบนั ด้านกายภาพและด้านกิจกรรม แผนทีแ่ สดงตําแหน่ งประกอบ เนื้อหาด้านกายภาพ และด้านกิจกรรมของชุมชน 5. สถานการณ์และประเด็นหลักของชุมชน อธิบายถึงประเด็นหลักของชุมชน ซึง่ จะเป็ นข้อมูล สําคัญในการฟื้นฟูชุมชนในอนาคตให้ได้ดว้ ยความยังยื ่ น โดยจะต้องอยูบ่ นรากฐานของการมีสว่ นร่วม ในการตัด สิน ใจดํ า เนิ น การจากท้ อ งถิ่น และผู้อ ยู่ อ าศัย ในชุ ม ชนเองด้ ว ย สํ า หรับ ประเด็น หลัก ประกอบด้ว ย ด้านคุณค่าความสําคัญของชุมชน ด้านกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ด้านกฎหมาย ด้าน แรงจูงใจ และองค์กรรับผิดชอบและการมีสว่ นร่วม 6. ข้อเสนอแนะ 7. บรรณานุกรม
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
167
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
บทที่ 7 การกําหนดมาตรฐานและตัวชี้วดั ในการรักษาชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิม ในการอนุ รกั ษ์ฟ้ื นฟูหรือพัฒนาชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิม เพื่อให้เป็ นทีอ่ ยู่อาศัยทีม่ สี ภาพแวดล้อมและ คุณภาพชีวติ ที่ดขี องประชาชนและเพื่อเป็ นการรักษาเอกลักษณ์อนั จะนํ ามาสู่ความภาคภูมใิ จของ เมืองนัน้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มกี ารดําเนินการในด้านนี้อย่างเด่นชัด คงมีแต่การดําเนินการ โดยท้องถิ่นแต่ละแห่งโดยลักษณะต่างคนต่างทํา ในขณะเดียวกัน ชุมชนดัง้ เดิมดังกล่าวก็ประสบ ปญั หาการสูญสลายด้วยปจั จัยต่างๆ จึงสมควรทีจ่ ะมีการกําหนดแบบแผนในการดําเนินการให้องค์กร ท้องถิน่ ชุมชน ภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐบาลกลางสามารถปฏิบตั ริ ว่ มกันได้ ในขณะเดียวกัน แบบแผนดังกล่าวนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นพอทีจ่ ะให้แต่ละท้องถิน่ สามารถกําหนดลักษณะเฉพาะของ ท้องถิน่ ตัวเองได้ดว้ ย แบบแผนดังกล่าวอาจนํามาจัดกลุ่มเป็ นมาตรฐานในช่วงแรกของการพัฒนาการ ด้า นการรัก ษาชุ ม ชนดัง้ เดิม ได้ เ ป็ น 4 กลุ่ ม มาตรฐานได้แ ก่ 1) มาตรฐานด้า นการระบุ คุ ณ ค่ า ความสํา คัญ 2) มาตรฐานด้า นการดํา รงรัก ษาคุ ณ ค่า ความสํา คัญ 3) มาตรฐานด้า นองค์ก รและ กฎหมายข้อบังคับ 4) มาตรฐานด้านการจัดทําแผนบูรณาการ นอกจากนัน้ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถ ดําเนินการได้ ในทีน่ ้ีจะกล่าวถึงการจัดทําแนวทางการพัฒนาอาคารด้วย 7.1 มาตรฐานด้านการระบุคณ ุ ค่าความสําคัญ สิง่ สําคัญประการแรกสําหรับการดํารงรักษาชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมคือ ความรูค้ วามเข้าใจในด้าน คุณค่าความสําคัญของพืน้ ที่ คุณค่าดังกล่าวจะต้องมาจากข้อมูลหลักฐานทีถ่ ูกต้องสามารถอ้างอิงได้ และความรูค้ วามเข้าใจในด้านคุณค่าความสําคัญนี้จะต้องเกิดขึน้ ในทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผูอ้ ยู่ อาศัยในชุมชน เจ้าหน้ าที่ ผู้บริหารท้องถิ่น ภาคธุ รกิจ นักวิชาการ และหน่ วยงานของรัฐ ดังนัน้ นอกจากเนื้อหาในด้านคุณค่าความสําคัญแล้ว การประสัมพันธ์ การสื่อความหมาย และการปลูก จิตสํานึกในเรื่องคุณค่าของพืน้ ทีจ่ งึ เป็ นสิง่ ทีล่ ะเลยมิได้ ซึ่งหากทุกฝ่ายมีความรูค้ วามเข้าใจทีเ่ ป็ นไป ในทางเดียวกันแล้วก็จะสามารถร่วมกันระบุหรือกําหนดว่าอะไรเป็ นสิง่ ที่ควรอนุ รกั ษ์ในชุมชนซึ่ง ประกอบไปด้วย สิง่ ทีจ่ บั ต้องได้และสิง่ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้และหลังจากมีการระบุแล้ว ควรจะมีการบันทึก หรือจดทะเบียนเพือ่ เป็ นฐานข้อมูล สิง่ ทีค่ วรอนุ รกั ษ์ในชุมชนด้วย ดังนัน้ มาตรฐานและตัวชีว้ ดั ในเรือ่ งของการระบุคุณค่าความสําคัญ มีดงั นี้ มาตรฐานที่ 1 การระบุคุณค่าความสําคัญ จะต้องมาจากการศึกษาทีเ่ ชื่อถือได้ในด้านประวัตศิ าสตร์ สถาปตั ยกรรม และโบราณคดีทเ่ี กีย่ วข้อง ทัง้ นี้ ให้คาํ นึงถึงทีว่ า่ งและพืน้ ทีเ่ พือ่ รักษาสิง่ แวดล้อมด้วย ตัวชีว้ ดั ในมาตรฐานนี้มดี งั นี้
168
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
ก) มีร ายงานการศึก ษาตามหลัก วิช าการที่เ ชื่อ ถือ ได้เ ป็ น เอกสารของทางราชการ เช่ น การศึกษาจากกรมศิลปากร สํานักงานวัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ หรืองานศึกษาวิจยั อื่นๆ ที่ได้ มาตรฐานทางวิชาการ ข) บทความที่เกี่ยวกับ ประวัติความเป็ นมาของอาคารหรือวิถีชวี ติ ในชุมชนที่ลงตีพมิ พ์ใน วารสารทีไ่ ม่ใช่วชิ าการ แต่เผยแพร่สสู่ าธารณชนเช่น วารสารท่องเทีย่ ว ค) บทความหรือเอกสารบันทึกที่เขียนขึน้ เป็ นส่วนตัว ยังมิได้ตีพมิ พ์เผยแพร่หรือผ่านการ กลันกรองตามหลั ่ กวิชาการ อาจเป็ นเอกสารทีใ่ ช้เพือ่ การศึกษาเบือ้ งต้นได้
รูปที่ 7-1 ตัวอย่างอนุ สาร อสท. ทีน่ ําเสนอข้อมูล ชุมชนดัง้ เดิมทีเ่ ผยแพร่สสู่ าธารณชน
รูปที่ 7-2 ตัวอย่างเอกสารรายงานการสํารวจ โบราณสถาน ในกรุงรัตนโกสินทร์
มาตรฐานที่ 2 การระบุคุณค่าความสําคัญจะต้องมาจากความคิดเห็นรอบด้าน การระบุคุณค่าความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม ไม่อาจมองเห็นหรือเข้าใจได้จากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านัน้ เพราะจะไม่ได้รบั ความร่วมมือในการดําเนินการอนุ รกั ษ์หรือฟื้ นฟู โดยเฉพาะอย่างยิง่ คนใน ชุมชนเอง ดังนัน้ การดํา เนิ น การให้เ กิดความเข้าใจว่า ชุมชนดัง้ เดิมนัน้ มีคุ ณค่า และความสําคัญ อย่างไร ควรได้มกี ารปรึกษาหารือแลกเปลีย่ นความคิดเห็น จากหลายฝา่ ยทีเ่ กี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เช่นจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ประชาชนในชุมชน กลุ่มเอกชน เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผูบ้ ริหารท้องถิน่ รวมทัง้ นักพัฒนาด้วย นอกจากนัน้ ควรมีกระบวนการในการตัดสินใจว่าอะไรคือสิง่ ที่ ควรอนุ รกั ษ์ในชุมชน อย่างโปร่งใสและเป็ นธรรม เช่น การแสดงความคิดเห็นและข้อมูลอย่างเปิ ดเผย และมีระบบลงคะแนนเสียงทีช่ ดั เจน มาตรฐานในข้อนี้มตี วั ชีว้ ดั ดังนี้ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
169
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
ก) มีการจัดประชุมสัมมนาทีม่ ผี เู้ ข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วนและมีเอกสารสรุปการประชุม ทีใ่ ช้ในการอ้างอิงได้ ข) มีการประชุมระหว่างกลุ่มทีเ่ กีย่ วข้อง แต่อาจไม่ครบทุกภาคส่วน ค) มีกระบวนการในการตัดสินใจว่าอะไรคือสิง่ ทีค่ วรรักษาในชุมชนอย่างโปร่งใสและเป็ นธรรม
รูปที่ 7-3 การหารือกับผูว้ า่ ราชการจังหวัดจันทบุร ี ชีแ้ จงถึงความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม
รูปที่ 7-4 การประชุมภายในเทศบาลเมืองนครพนม ชีแ้ จงถึงความสําคัญของชุมชนดัง้ เดิม
มาตรฐานที่ 3 การระบุคุณค่าจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทีจ่ บั ต้องได้กบั จับต้องไม่ได้ แม้วา่ สิง่ ทีค่ วรอนุรกั ษ์ในชุมชนจะให้ความสําคัญกับสถาปตั ยกรรมหรือองค์ประกอบทางกายภาพ เช่น ระบบถนน ที่ว่าง ฯลฯ แต่ในปจั จุบนั มิอาจละเลยองค์ประกอบที่ไม่ใช่กายภาพ เช่น กิจกรรมทาง เศรษฐกิจ สังคม วิถชี วี ติ คติความเชื่อ ฯลฯ ทีม่ อี ยู่ในชุมชนและเป็ นคุณค่าทางด้านจิตใจทีส่ ําคัญยิง่ อย่างไรก็ตามในที่น้ีไ ด้ให้ความสําคัญกับสถาป ตั ยกรรมเป็ นหลัก ซึ่งในชุมชนที่ไม่มลี กั ษณะทาง กายภาพเป็ นเอกลักษณ์แม้จะมีวถิ ชี วี ติ ทีน่ ่าสนใจ ก็ไม่อาจนับเป็ นชุมชนดัง้ เดิมในโครงการนี้ได้ ตัวชีว้ ดั ของมาตรฐานนี้ ได้แก่ ก) รายงานหรือผลการศึกษาด้านกายภาพและวิถชี วี ติ ทีร่ วมเป็ นชิน้ เดียวกัน ข) รายงานหรือผลการศึกษาด้านกายภาพอย่างเดียว ค) รายงานหรือผลการศึกษาด้านวิถชี วี ติ อย่างเดียว
170
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
รูปที่ 7-5 เรือไฟจําลองทีต่ งั ้ อยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์จวนผูว้ า่ ราชการ (หลังเก่า) แสดงถึงประเพณีการไหลเรือไฟของจังหวัดนครพนม
รูปที่ 7-6 เรือทีใ่ ช้ในการแข่งขันขึน้ โขนชิงธงถูกเก็บรักษาไว้เป็ นอย่างดีของอําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
171
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
มาตรฐานที่ 4 จะต้องมีการบันทึกหรือจัดทําทะเบียน แหล่งทีม่ คี ุณค่าในชุมชนดัง้ เดิม หลังจากมีการศึกษาในด้านคุณค่าความสําคัญ และมีกระบวนการในการระบุว่าอะไรคือสิง่ ทีค่ วรค่าแก่ การอนุ รกั ษ์ในชุมชนทัง้ ด้านกายภาพและวิถชี วี ติ แล้ว จะต้องมีการบันทึกสิง่ ต่างๆ เหล่านัน้ อย่างเป็ น ทางการเพื่อประโยชน์ในการวางแผน หรือส่งเสริมต่อไปในอนาคต โดยการบันทึกนัน้ อาจทําได้หลาย วิธกี าร โดยมีตวั ชีว้ ดั ดังนี้ ก) มีการบันทึกในระบบของทะเบียนโบราณสถาน ข) อยูใ่ นบัญชีโบราณสถานทีย่ งั ไม่ได้ขน้ึ ทะเบียน ค) อยูใ่ นบัญชีแหล่งศิลปกรรม ภายใต้งานของสํานักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (สผ.) ง) อยูใ่ นบัญชีมรดกพืน้ ถิน่ ของสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จ) ขึน้ บัญชีโดยจังหวัดหรือท้องถิน่ ฉ) มีการบันทึกและพิมพ์เผยแพร่ในรูปของแผนทีม่ รดกวัฒนธรรม(Atlas) ช) การมีช่อื อยูใ่ นบัญชีอ่นื ๆ
รูปที่ 7-7 ตัวอย่างเอกสารแผนทีช่ ุมชน เมืองเก่าน่าน
172
รูปที่ 7-8 ตัวอย่างเอกสารแผนทีช่ ุมชน เมืองเก่าลพบุร ี
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
7.2 มาตรฐานด้านการดํารงรักษาคุณค่าความสําคัญ หลังจากทีไ่ ด้มกี ารระบุว่าอะไรคือสิง่ ทีค่ วรรักษาโดยการพิจารณาคุณค่าความสําคัญในชุมชนดัง้ เดิม แล้ว สิง่ ที่ตามมาก็คือการจะทําอย่างไรถึงจะดํารงรักษาคุณค่าความสําคัญของชุมชนนัน้ ได้ ทัง้ นี้ จะต้องคํานึงถึงการดํารงรักษาคุณค่าความสําคัญทัง้ สิง่ ที่จบั ต้องได้ ซึ่งหมายถึงองค์ประกอบทาง กายภาพต่างๆ และสิง่ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ ได้แก่วถิ ชี วี ติ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคม คติความเชื่อต่างๆ ซึง่ ในการดํารงคุณค่าความสําคัญนี้ มีมาตรฐานอยู่ 3 ประการ โดยมาตรฐาน 2 ประการแรกจะเน้นใน ด้านการดํารงรักษาองค์ประกอบทางกายภาพเป็ นหลัก ส่วนมาตรฐานที่ 3 จะเน้นในด้านการสืบทอด องค์ความรูใ้ นด้านต่างๆ ทัง้ กายภาพและวิถชี วี ติ ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 การกําหนดวิธกี ารอนุ รกั ษ์จะต้องสอดคล้องกับคุณค่าความสําคัญ การรักษาองค์ประกอบทางกายภาพที่สําคัญของชุมชนดัง้ เดิม เช่น อาคารที่ควรอนุ รกั ษ์ ระบบการ สัญจร สวน ที่เว้นว่าง ฯลฯ สามารถทําได้หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กบั ปจั จัยต่างๆ ด้วย วิธีการในการ อนุ รกั ษ์ อาจแบ่งได้เป็ น 4 ระดับใหญ่ๆ ได้แก่ 1) การสงวนรักษา (preservation) หมายถึงการรักษาสภาพทีป่ รากฏอยูไ่ ม่ให้เสื่อมสลายลง ไปกว่าเดิม 2) การบูรณะ (restoration) หมายถึงการทําให้กลับสูส่ ภาพเดิมเหมือนอย่างทีเ่ คยเป็ นมาก่อน ทัง้ นี้ จะต้องอาศัยข้อมูลหลักฐานทีเ่ ป็ นของเดิมทีพ่ สิ จู น์ได้ 3) การฟื้ นฟู (rehabilitation) หมายถึงการปรับปรุงอาคารหรือสถานที่ท่คี วรอนุ รกั ษ์ให้มี สภาพทีส่ ามารถใช้งานได้ในปจั จุบนั โดยมากมักมีการปรับเปลีย่ นประโยชน์ใช้สอยจากเดิม (adaptive re-use) ซึง่ บางครัง้ อาจให้มกี ารต่อเติมได้แต่ตอ้ งไม่ทาํ ลายคุณค่าความสําคัญของอาคารเดิม 4) การสร้างใหม่ (reconstruction) หมายถึงการสร้างสิง่ ทีห่ ายไปแล้วให้กลับขึน้ มาใหม่โดยมี เงือ่ นไขต้องสร้างบนพืน้ ทีเ่ ดิมและมีลกั ษณะเหมือนเดิมซึง่ ต้องใช้เอกสารหลักฐานทีอ่ า้ งอิงได้ การตัดสินใจว่าจะใช้วธิ กี ารใดนัน้ จะต้องมาจากข้อตกลงในท้องถิน่ ซึ่งควรคํานึงถึงปจั จัยที่ เกีย่ วข้องในการตัดสินใจ โดยปจั จัยพืน้ ฐานดังกล่าวมีดงั นี้ 1) ระดับและสาขาของคุณค่าความสําคัญ หากอาคารหรือสิง่ ก่อสร้างใดมีคุณค่าความสําคัญ มาก จะต้องเคร่งครัดในวิธกี ารอนุ รกั ษ์มาก เช่น อาคารทีม่ คี วามสําคัญและเหลืออยู่แห่งเดียวควรทํา การบูรณะให้กลับคืนมา หรือหากสิง่ ก่อสร้างนัน้ มีความสําคัญทางสถาปตั ยกรรมและศิลปกรรมมาก การสร้างขึน้ ใหม่หรือการฟื้ นฟูโดยการต่อเติมอาจไม่เหมาะสมเพราะจะไปทําลายคุณค่าทีแ่ ท้จริงทีม่ ี อยูเ่ ดิม ควรสงวนรักษาไว้เท่าทีเ่ ป็ นอยู่ 2) สภาพความสมบูรณ์ในปจั จุบนั สภาพปจั จุบนั เป็ นปจั จัยทีม่ คี วามสําคัญต่อวิธกี ารอนุ รกั ษ์ มาก หากอาคารหรือสถานทีท่ จ่ี ะอนุ รกั ษ์ยงั มีความสมบูรณ์อยูม่ าก ไม่ควรทีจ่ ะทําการรือ้ แล้วสร้างขึน้ ใหม่แ ม้จ ะมีง บประมาณ เพราะจะเป็ น การทํา ลายหลัก ฐานคุ ณ ค่ า ความสํา คัญ ของชุ ม ชนที่จ ะมี โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
173
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
ประโยชน์ต่อชนรุน่ หลัง แต่หากสภาพปจั จุบนั เหลืออยูน่ ้อยมากและมีหลักฐานของการก่อสร้างเดิมอยู่ ก็อาจสร้างขึน้ มาใหม่ให้เหมือนเดิมได้ 3) แผนงานการใช้สอยในอนาคต หมายถึงความจําเป็ นหรือนโยบายในการใช้สอยอาคารหรือ สถานทีท่ ค่ี วรอนุ รกั ษ์ หากต้องการใช้ประโยชน์เพื่อการค้า การฟื้ นฟูและเปลีย่ นการใช้สอยก็มคี วาม จําเป็ นทีจ่ ะต้องต่อเติมอาคารเพิม่ เติมขึน้ 4) ความสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยในอาคาร อาคารที่ควรอนุ รกั ษ์ส่วนใหญ่จะ สร้างก่อนการประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคารปจั จุบนั ดังนัน้ การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารควร คํานึงความปลอดภัยด้วย ดังนัน้ การเสริมโครงสร้างหรือการเสริมส่วนประกอบของอาคาร เช่น บันได หนีไฟหรือวัสดุกนั เพลิงไหม้ ควรมีได้มาตรฐานและเป็ นไปตามข้อกําหนดในปจั จุบนั ดังนัน้ วิธกี าร อนุรกั ษ์จะต้องคํานึงถึงในปจั จัยข้อนี้ดว้ ย เพือ่ ให้เป็ นไปตามมาตรฐานในด้านนี้ ได้กาํ หนดตัวชีว้ ดั ไว้ 2 ข้อ คือ ก) มีขอ้ ตกลงเพื่อกําหนดวิธกี ารอนุ รกั ษ์ในชุมชนหรือท้องถิ่น ได้แก่ การสงวนรักษา การ บูรณะ การฟื้นฟู และการสร้างขึน้ ใหม่ ข) มีการกําหนดปจั จัยในการเลือกวิธกี ารอนุรกั ษ์อย่างเหมาะสม
รูปที่ 7-9 อาคารไม้ทโ่ี ดนเพลิงไหม้ ทีอ่ าํ เภอกงไกรลาศ จังหวัดนครสวรรค์
174
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
รูปที่ 7-10 อาคารไม้ทโ่ี ดนรือ้ ถอนออกแล้วก่อสร้างอาคารใหม่ขน้ึ มาทดแทนบริเวณด้านหลังสถานีรถไฟท่าสัก อําเภอพิชยั จังหวัดอุตรดิตถ์
มาตรฐานที่ 2 การรักษาความแท้ (authenticity) และบูรณภาพ (integrity) จะต้องทําได้โดยใช้วสั ดุ ฝีมอื ช่างและวิธกี ารทีเ่ หมาะสม นอกจากการกําหนดวิธีการอนุ รกั ษ์ท่เี หมาะสมแล้ว ในการดํารงไว้ซ่ึงคุณค่าและความสําคัญของ ชุมชนดัง้ เดิม จะต้องยึดหลักของการรักษาความแท้ (authenticity) และบูรณภาพ (integrity) ให้ได้ มากทีส่ ุด ความแท้ หมายถึงคุณภาพของการอนุ รกั ษ์ทย่ี งั คงรักษาคุณค่าดัง้ เดิมไว้ได้ ซึง่ ประกอบไป ด้วยความแท้ทางด้านวัสดุ (material) ฝี มอื ช่าง (craftsmanship) รูปแบบ (design) และสภาพ โดยรอบทีเ่ กีย่ วเนื่อง (setting) ส่วนบูรณภาพหมายองค์รวมและความสมบูรณ์ของงาน ถึงการการ รักษาความแท้และบูรณภาพจึงเกีย่ วข้องกับการจัดหาวัสดุก่อสร้างทีเ่ ป็ นของดัง้ เดิม การมีช่างฝี มอื ที่ สามารถบูรณะซ่อมแซมอาคารได้และการสืบทอดงานช่างฝี มอื และอาจรวมถึงงานช่างสาขาต่างๆ ทีม่ ี ส่วนในการสร้างสรรค์วถิ ชี วี ติ และลักษณะทางกายภาพทีน่ ํามาซึง่ เอกลักษณ์ในพืน้ ที่ สําหรับมาตรฐานในการรักษาความแท้และบูรณภาพ มีตวั ชีว้ ดั ดังนี้ ก) มีบญ ั ชีและแหล่งวัสดุเพือ่ การอนุรกั ษ์ทเ่ี ข้าถึงได้สะดวก ข) มีแหล่งวัตถุดบิ และตลาดทีเ่ อือ้ ต่อการบูรณะอาคารและการประกอบอาชีพดัง้ เดิม ค) มีชา่ งฝีมอื และทะเบียนช่างฝีมอื ในด้านต่างๆ ง) มีการจัดตัง้ สมาคมหรือกลุ่มช่างฝีมอื ในด้านต่างๆ จ) มีการบันทึกเทคนิควิธกี ารในงานฝีมอื ช่าง
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
175
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
รูปที่ 7-11 ช่างฝีมอื ทีจ่ งั หวัดลําปาง (สล่า) ในปจั จุบนั เริม่ หาได้ยากมากขึน้
รูปที่ 7-12 ช่างแกะสลักกําลังแกะสลักช่อฟ้า รวมไปถึงส่วนประกอบอื่นๆ ทีจ่ งั หวัดลําปาง
มาตรฐานที่ 3 องค์ความรูแ้ ละวิธกี ารอนุรกั ษ์ควรมีการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง การดํารงอยู่ของชุมชนดัง้ เดิมอย่างมีคุณค่านัน้ จะต้องมีการสืบทอดองค์ความรูใ้ นด้านการอนุ รกั ษ์ อาคารรวมทัง้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม วิถชี วี ติ ทีม่ คี ุณค่า การสืบทอดองค์ความรูด้ งั กล่าวอาจทํา ได้หลายวิธี ตัง้ แต่การซึง่ มีตวั ชีว้ ดั ดังนี้
176
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
ก) มีการจัดทําเอกสาร ตํารา องค์ความรูเ้ กีย่ วกับวิถชี วี ติ ประเพณีทอ้ งถิน่ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้ศกึ ษา ข) มีการจัดทําเอกสารแนวทางการบูรณะซ่อมแซมอาคาร ค) มีการจัดทําหลักสูตรเพือ่ สอนการฝึกอบรม ง) มีการเรียนหรือฝึกอบรมในวิชาทีเ่ กีย่ วข้อง จ) มีจาํ นวนช่างฝี มอื ในด้านต่างๆ อย่างเพียงพอ ฉ) มีการจัดตัง้ แหล่งเรียนรูม้ รดกวัฒนธรรมของชุมชน 7.3 มาตรฐานด้านองค์กรและกฎหมายข้อบังคับ ่ นคือ องค์ประกอบสองประการทีส่ ําคัญของความสําเร็จในการรักษาและฟื้ นฟูชุมชนดัง้ เดิมอย่างยังยื การมีองค์ก รรับ ผิด ชอบและการมีก ฎระเบียบรองรับ ในด้านองค์กร ในที่น้ี ไม่ได้ห มายถึงองค์ก ร รับผิดชอบทีจ่ ดั ตัง้ โดยรัฐบาลและมีอยู่แล้ว เช่น กรมศิลปากรหรือสํานักงานสิง่ แวดล้อมซึ่งมีอํานาจ หน้าที่เกี่ยวข้องกับการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมตามกฎหมายแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรักษาชุมชน ดัง้ เดิมเพียงอย่างเดียวเท่านัน้ การรักษาชุมชนดัง้ เดิมซึ่งมีรากฐานมาจากความเข้มแข็งของผู้อยู่ อาศัยในชุมชนและการสนับสนุ นของท้องถิน่ จึงมีความสําคัญมากกว่า ในส่วนของกฎหมาย ระเบียบ หรือ ข้อ บัง คับ ก็เ ช่น เดีย วกัน การใช้ก ฎหมายอนุ ร กั ษ์ ท่ีมีอยู่เ ดิมเช่น พ.ร.บ. โบราณสถานอาจมี อุปสรรคเนื่ องจากลักษณะของกฎหมายไม่เอื้อต่ อการอนุ รกั ษ์โดยชุมชน ซึ่งน่ าจะมีกฎระเบียบที่ ออกมาในระดับท้องถิ่นเพื่อให้สามารถใช้เป็ นแนวทางในการปฏิบตั ิได้ มาตรฐานในด้านนี้ จงึ มี 3 ประการ ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 มีองค์กรทีร่ บั ผิดชอบด้านการอนุรกั ษ์อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรที่รบั ผิดชอบในด้านการอนุ รกั ษ์ควรมีการจัดตัง้ ในระดับท้องถิ่นและควรมีการเชื่อมโยงกับ องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง นอกจากนัน้ ยังน่ าจะมีการสอดประสานกับองค์กรที่มอี ยู่เดิมของชุมชน เพราะการรักษาชุมชนดัง้ เดิมคือทิศทางหนึ่งการพัฒนาชุมชนทีจ่ ะต้องมาจากความต้องการของชุมชน นันเอง ่ มาตรฐานในข้อนี้มตี วั ชีว้ ดั ดังนี้ ก) มีกลุ่มผูส้ นใจหรือมีสมาคมท้องถิน่ ด้านการอนุรกั ษ์ ข) มีกลุ่มทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับการรักษาชุมชนดัง้ เดิมโดยเฉพาะ ค) มีคณะกรรมการทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ในกรรมการพัฒนาชุมชน ง) มีคณะกรรมการกลันกรองโครงการพั ่ ฒนาหรืออนุรกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมในระดับท้องถิน่ จ) มีการเชื่อมโยงหรือประสานงานกับคณะกรรมการอนุรกั ษ์ระดับภูมภิ าคหรือระดับชาติ
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
177
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
รูปที่ 7-13 ทีท่ าํ การชมรมอย่าลืม...โพธาราม อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุร ี
รูปที่ 7-14 เอกสารเผยแพร่ทจ่ี ดั ทําโดยชมรมอย่าลืม...โพธาราม นําเสนอข้อมูลความเป็ นมาของชมรม รวมไปถึงแนวทางการจัดการในอนาคต
178
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
มาตรฐานที่ 2 มีระเบียบปฏิบตั ดิ า้ นการอนุรกั ษ์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากกฎหมายทีม่ อี ยูใ่ นปจั จุบนั แล้ว การมีกฎหมายหรือระเบียบปฏิบตั ใิ นระดับท้องถิน่ สําหรับการ อนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมก็เป็ นสิง่ ที่สําคัญ ซึ่งในประเทศไทยยังมีการนํ ามาใช้น้อยมาก โดยมีตวั ชี้วดั ทัง้ หมดในมาตรฐานข้อนี้ ดังนี้ ก) มีการประกาศเป็ นเขตโบราณสถานทัง้ ชุมชน ข) กําหนดเป็ นย่านอนุ รกั ษ์ในผังเมืองรวม ค) กําหนดเป็ นเขตอนุ รกั ษ์สงิ่ แวดล้อมศิลปกรรมตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิง่ แวดล้อม ง) มีขอ้ บัญญัตทิ อ้ งถิน่ กําหนดเป็ นพืน้ ทีห่ า้ มรือ้ ถอนหรือให้บรู ณะอาคารทีม่ คี ุณค่า จ) มีขอ้ กําหนดหรือกฎหมายคุม้ ครองงานศิลปกรรมหรืองานช่างฝี มอื ในชุมชน มาตรฐานที่ 3 มีการจัดทําแนวทางการพัฒนาหรือออกแบบหรือระเบียบปฏิบตั ใิ นการอนุ รกั ษ์ท่ี สามารถใช้อา้ งอิงได้รว่ มกัน แนวทางการพัฒนาอาคารหรือการสืบสานวิถชี วี ติ ในชุมชนควรได้มกี ารจัดทําเพื่อให้เป็ นหลักหรือเป็ น ข้ออ้างอิงร่วมกัน ทัง้ นี้เพือ่ ป้องกันการการพัฒนาทีไ่ ม่เหมาะสมหรือกิจกรรมทีอ่ าจทําลายคุณค่ามรดก วัฒนธรรมในชุมชน มีตวั ชีว้ ดั ดังนี้ ก) มีการจัดทําแนวทางการพัฒนาหรือแนวทางการออกแบบอาคารทีจ่ ะมีการสร้างใหม่ทม่ี า จากความเห็นชอบของทุกกลุ่ม ข) มีการจัดทําแนวทางการสืบสานระเบียบประเพณีหรือกิจกรรมทางวัฒนธรรมในชุมชน ค) แนวทางดังกล่าวจะต้องมีการเผยแพร่และนํามาใช้เป็ นเอกสารกลางสําหรับทัง้ หน่ วยงาน และชุมชน 7.4 มาตรฐานด้านการจัดทําแผนบูรณาการ การรักษาชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมจะต้องมีการดําเนินการในเชิงบูรณาการกับการพัฒนาเมืองในด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในจะต้องมีแผนงานและโครงการในการดําเนินการโดยเฉพาะในระดับ ท้องถิน่ ซึ่งปจั จุบนั มีทอ้ งถิน่ จํานวนไม่มากทีเ่ ริม่ จัดทําแผนดังกล่าว ซึ่งแผนดังกล่าวควรมีคุณสมบัติ อย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) ควรให้การอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมเป็ นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนา เมือง ซึง่ จะทําให้ผบู้ ริหารท้องถิน่ มีความสนใจและจะได้มกี ารบูรณาการเข้ากับการพัฒนาในด้านอื่นๆ ได้ 2) ควรมีการจัดทําแผนการอนุ รกั ษ์โดยเฉพาะ ซึ่งหากการอนุ รกั ษ์เป็ นส่วนหนึ่งของแผนการ พัฒนาแล้ว ควรมีการจัดทําแผนอนุ รกั ษ์โดยเฉพาะเพือ่ ให้เป็ นแนวทางรวมทัง้ จะได้มที รัพยากรในการ บริหารจัดการได้อย่างชัดเจน และ 3) แผนการอนุ รกั ษ์จะต้องได้รบั ความเห็นชอบจากผูอ้ ยู่อาศัยใน
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
179
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 7
ชุมชน เนื่องจากการวางแผนงานด้านการอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมต้องอาศัยการดําเนินงานจากผูท้ ่อี ยู่ อาศัยในชุมชนเป็ นหลัก ในการจัดทําแผนจึงควรได้รบั ความเห็นชอบจากผูอ้ ยูอ่ าศัยในชุมชนนัน้ ด้วย มาตรฐานและตัวชีว้ ดั ในส่วนนี้มดี งั นี้ มาตรฐานที่ 1 การอนุ รกั ษ์ชุมชนจะต้องเป็ นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเมือง มีตวั ชีว้ ดั ได้แก่ ก) การอนุรกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมเป็ นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาหรือแผนยุทธศาสตร์ของ จังหวัดและท้องถิน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ข) การอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมเป็ นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเชิงกายภาพ เช่น ผัง เมืองรวม แผนฟื้นฟูเมือง แผนเฉพาะพืน้ ที่ ค) การอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมเป็ นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของแผนวัฒนธรรม มาตรฐานที่ 2 มีการจัดทําแผนการอนุ รกั ษ์ชุมชนทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีตวั ชีว้ ดั ได้แก่ ก) แผนอนุ ร กั ษ์ ต้อ งมีเ นื้ อ หาเกี่ย วกับ การระบุ สิ่ง ที่ต้อ งอนุ ร กั ษ์ วิธีก ารอนุ ร กั ษ์ แผนงาน งบประมาณ และหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบทีส่ อดคล้องกับความเป็ นจริง ข) มีการจัดทําแผนอนุรกั ษ์จากท้องถิน่ ค) แผนอนุรกั ษ์มาจากการปรึกษาหารือในท้องถิน่ ง) มีการจัดทําแผนอนุ รกั ษ์จากส่วนกลาง มาตรฐานที่ 3 การจัดทําแผนอนุ รกั ษ์ตอ้ งได้รบั ความเห็นชอบจากผูอ้ ยูอ่ าศัยในชุมชน มีตวั ชีว้ ดั ได้แก่ ก) มีการจัดประชุมรับฟงั ความคิดเห็นหรือการหารือกับผูอ้ ยูอ่ าศัยในชุมชนอย่างเปิ ดเผยและ เท่าเทียม ข) มีการแลกเปลีย่ นข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องระหว่างกลุ่มผูม้ สี ว่ นได้เสียอย่างเปิดเผยและเท่าเทียม ค) มีกระบวนการในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจจากผูอ้ ยู่อาศัยในชุมชนอย่าง โปร่งใสและเป็ นธรรม เช่น การลงคะแนนเสียง.
180
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 8
บทที่ 8 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การศึกษาโครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยู่อาศัยและชุมชน เพื่อคงไว้ซ่งึ เอกลักษณ์และคุณค่าของ เมืองนี้ประกอบไปด้วย ก) การค้นคว้าหลักการอนุ รกั ษ์ในประเทศชัน้ นํ าต่างๆ เพื่อกําหนดกรอบใน การพัฒนาระบบการอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมในประเทศไทย ข) การสํารวจบริเวณที่มคี ุณสมบัติเป็ น ชุมชนดัง้ เดิมตามนิยาม และ ค) การลงพืน้ ที่ระดับชุมชนเพื่อหารือกับประชาชนและท้องถิน่ เพื่อให้ ทราบสถานการณ์ แนวคิด และนโยบายระดับท้องถิน่ โดยจากการดําเนินการศึกษาดังกล่าว นอกจาก จะได้กจิ กรรมทีใ่ ช้เพือ่ การขับเคลื่อนในการรักษาชุมชนดัง้ เดิมจํานวน 4 ชุมชนในบทที่ 7 แล้ว ยังอาจ สรุปประเด็นทีส่ ําคัญสําหรับการพัฒนา ให้เกิดการอนุ รกั ษ์ต่อไปได้ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ประเด็น ด้านกฎหมาย 2) ประเด็นด้านแรงจูงใจ และ 3) ประเด็นด้านองค์กร ทัง้ นี้ ทัง้ 3 ประเด็นจะเห็นได้ว่า ในประเทศกรณีศกึ ษาทัง้ หมด คือ ญีป่ นุ่ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ได้มกี ารเปลีย่ นแปลง แนวคิดการ อนุรกั ษ์จากโบราณสถานเดีย่ วมาเป็ นพืน้ ทีช่ ุมชนเมือง ซึง่ มีสงิ่ ทีจ่ ะต้องคํานึงถึงมากกว่าเทคนิควิธกี าร อนุ ร ัก ษ์ คือ กรรมสิท ธิใ์ นทรัพ ย์สิน นโยบายสาธารณะด้า นการพัฒ นาเมือ ง กลุ่ ม สัง คม กลุ่ ม ผลประโยชน์ในพืน้ ที่ และบทบาทของรัฐบาลท้องถิน่ ทัง้ เป็ นไปตามสถานการณ์ของสังคมการเมือง การปกครองนี้ มีความเป็ นประชาธิปไตย มีการคํานึงถึงสิทธิของประชาชน และทีส่ าํ คัญคือมีการถ่าย โอนอํานาจและภารกิจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นภูมภิ าคอย่างแท้จริง ซึง่ ประเทศไทยก็อา้ งโดยรัฐบาลว่าให้ ความสําคัญแก่เรื่องดังกล่าวเป็ นอย่างมาก และการเปลีย่ นแปลงเพื่อนําไปสู่การอนุ รกั ษ์ชุมชนเมืองที่ ประสบความสําเร็จทีเ่ ห็นได้ชดั จากทัง้ 3 ประเทศกรณีศกึ ษา คือมีการเปลีย่ นแปลงกฎหมายเกีย่ วกับ การอนุ รกั ษ์ ต่อมามีการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ และมีองค์กรด้านการส่งเสริมการอนุ รกั ษ์ท่ี ซับซ้อนมากขึน้ 8.1 ประเด็นในด้านกฎหมาย ในการส่งเสริมให้มกี ารอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิม มีประเด็นทางด้านกฎหมาย 2 ประการ ได้แก่ 1) การ เปลีย่ นแปลงกฎหมายอนุ รกั ษ์ และ 2) การบูรณาการการอนุ รกั ษ์กบั กฎหมายอื่น ในด้านการเปลีย่ นแปลงกฎหมายอนุ รกั ษ์ จะเห็นได้ว่าจากประเทศกรณีศกึ ษา ได้มกี ารแยก ประเภทพื้นที่ชุมชนเมืองออกมาต่างหาก แตกต่างจากโบราณสถานหรือแหล่งโบราณคดี เพราะมี ลักษณะต่างกัน โดยเฉพาะกรรมสิทธิ ์ในทรัพย์สนิ การใช้ประโยชน์ทย่ี า่ นอนุ รกั ษ์ชุมชนในเมืองนัน้ ยัง เป็ น มรดกวัฒ นธรรมที่มีชีวิต มีพ ลวัต รเปลี่ย นแปลงได้เ สมอ ซึ่ง การปรับ ปรุง กฎหมายอนุ ร กั ษ์ มี ลักษณะ 3 ประการคือ 1) มีการดําเนินการหลังนโยบายกระจายอํานาจจากส่วนกลางสูส่ ว่ นท้องถิน่
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
181
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 8
2) ออกเป็ นกฎหมายฉบับใหม่ ขณะทีก่ ฎหมายอนุ รกั ษ์เดิมทีเ่ น้นโบราณสถานทีต่ ายแล้ว ก็ ยังคงใช้บงั คับอยู่ 3) ให้อาํ นาจท้องถิน่ ในการประกาศเขตอนุรกั ษ์ได้เอง ซึง่ ถือเป็ นความรับผิดชอบของท้องถิน่ ในกรณีประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุ รกั ษ์ ได้แก่ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มิได้มกี ารปรับปรุงมาเป็ นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงหลังการมี พระราชบัญญัติกําหนดขัน้ ตอนถ่ายโอนภารกิจฯ หรือ พระราชบัญญัติ กําหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 การใช้ อํ า นาจในด้า นการอนุ ร ัก ษ์ จึง ยัง อยู่ ท่ีส่ ว นกลาง ซึ่ง มีค วามเหมาะสมในกรณี ก ารปกป้ องมรดก วัฒ นธรรมที่เ ป็ น โบราณสถานหรือ แหล่ ง โบราณคดี แต่ จ ะมีข้อ จํ า กัด ในเรื่อ งการลิด รอนสิท ธิใ น ทรัพย์สนิ กรณีเป็ นอาคารของเอกชน ดังนัน้ จึงน่ าที่จะมีการตรากฎหมายอีกฉบับเพื่อการอนุ รกั ษ์ มรดกวัฒนธรรมทีม่ คี วามหมายกว้างขึน้ ให้ประชาชนสามารถดําเนินการได้ โดยน่าจะมีลกั ษณะดังนี้ 1) มีวตั ถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุ รกั ษ์และฟื้ นฟูมรดกวัฒนธรรมในความหมายที่ กว้างขึน้ กว่าโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี 2) ให้อํ า นาจท้อ งถิ่น และชุ ม ชนในการประกาศเขตอนุ ร กั ษ์ ห รือ ขึ้น ทะเบีย นแหล่ ง มรดก วัฒนธรรมโดยส่วนกลางเป็ นผูก้ าํ หนดกลไกและมาตรฐานของประเทศและเป็ นผูร้ บั รอง 3) กํ า หนดให้ร ฐั บาลมีห น้ า ที่ส่ง เสริม และสนับ สนุ น โดยใช้ม าตรการทางเศรษฐศาสตร์ท่ี เหมาะสมเพือ่ ลดแรงกดดันด้านการลิดรอนสิทธิในทรัพย์สนิ การออกกฎหมายดังกล่าวจะทําให้รฐั บาลโดยกรมศิลปากรสามารถปกป้องโบราณสถานทีม่ ี อยู่เดิมได้ โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และประชาชนสามารถใช้ช่องทางของกฎหมายฉบับใหม่น้ีในการรักษามรดกวัฒนธรรม ท้องถิน่ ของตนเองได้ ในส่วนทีส่ องของประเด็นด้านกฎหมายคือการบูรณาการกับกฎหมายฉบับอื่น ในกรณีศกึ ษา ต่างประเทศ มีลกั ษณะรวมพอสรุปได้ดงั นี้ 1) การเชื่อมโยงกับกฎหมายผังเมือง โดยประกาศเป็ นพืน้ ทีอ่ นุ รกั ษ์ในแผนการใช้ประโยชน์ ที่ดนิ ที่สอดคล้องกับการประกาศขึน้ ทะเบียนเป็ นย่านอนุ รกั ษ์ในกฎหมายอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรม (ฉบับใหม่) ทัง้ นี้จะทําให้เกิดการบูรณาการ ซึ่งท้องถิ่นจะได้รบั การสนับสนุ นจากรัฐบาลกลาง และ ประชาชนจะสามารถดําเนินการได้จากการมีแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ 2) การบูรณาการกับกฎหมายฟื้นฟูเมือง ซึง่ จะต้องมีกองทุนในการฟื้นฟูและหากมีพน้ื ทีใ่ ดอยู่ ในเขตทีป่ ระกาศเป็ นเขตฟื้นฟูเมือง และมีอาคารหรือย่านทีข่ น้ึ ทะเบียนเป็ นมรดกวัฒนธรรมก็สามารถ ใช้งบประมาณบูรณะซ่อมแซมจากกองทุนฟื้นฟูเมืองนัน้ ได้ ประเทศไทยยังไม่มกี ารเชื่อมโยงย่านอนุ รกั ษ์ในกฎหมายผังเมืองกับการขึน้ ทะเบียนหรือขึน้ บัญชีย่านมรดกวัฒนธรรม เนื่องจากยังไม่มกี ารปรับปรุงทัง้ กฎหมายผังเมืองและกฎหมายอนุ รกั ษ์ซง่ึ ดําเนินการแยกส่วนเป็ นอย่างมาก นอกจากนัน้ ก็ยงั ไม่มกี ฎหมายฟื้ นฟูเมือง ซึ่งหากมีนโยบายการ 182
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 8
ประกาศใช้กฎหมายฟื้ นฟูเมืองก็น่าจะคํานึงถึงในการบูรณาการกับย่านชุมชนดัง้ เดิมด้วย เพราะส่วน ใหญ่จากที่สํารวจชุมชนดัง้ เดิมที่มคี ุณค่า จะมีสภาพทรุดโทรมอยู่ในข่ายของการฟื้ นฟูพ้นื ที่ได้เป็ น จํานวนมาก 8.2 ประเด็นด้านแรงจูงใจ จากการศึกษากรณีต่างประเทศพบว่า แทบทุกประเทศมีระบบการให้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์เพื่อ ลดแรงกดดันด้านสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สนิ ไม่ว่าจะเป็ นการให้เงินอุดหนุ นเพื่อซ่อมแซม การให้เงิน สมทบในการดูแลรักษาอาคารของเอกชน และทีพ่ บมากคือแรงจูงใจทางภาษี ได้แก่ การนําค่าใช้จ่าย ในการซ่ อ มแซมมาหัก ออกจากภาษีเ งิน ได้โ ดยตรง การยกเว้น ไม่ข้ึน ภาษีอ สัง หาริม ทรัพ ย์เ ป็ น ช่วงเวลา หรือยกเว้นไม่เก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ในอาคารหรือพืน้ ทีย่ ่านชุมชนทีข่ น้ึ ทะเบียนอนุ รกั ษ์ หรือการยกเว้นไม่เก็บภาษีมูลค่าเพิม่ ทีใ่ ช้ในการบูรณะซ่อมแซม กลไกทีส่ ําคัญคือ การจะได้รบั สิทธิ ทางภาษี น้ี จ ะต้อ งผ่ า นกระบวนการยื่น ข้อ เสนอจากเอกชน และการพิจ ารณาจากหน่ ว ยงานที่ รับผิดชอบ มิใช่ได้รบั สิทธิพเิ ศษนี้โดยอัตโนมัติ สําหรับประเทศไทย การได้รบั สิทธิการยกเว้นภาษีมแี ต่การส่งเสริมเศรษฐกิจ เช่น การยกเว้น ภาษีผู้ประกอบการต่ างประเทศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่ใ นด้านการรักษามรดก วัฒนธรรม ไม่เคยปรากฏว่าเกิดขึน้ ในประเทศซึ่งเป็ นสิง่ ที่น่าละอายอย่างยิง่ ดังนัน้ รัฐบาลน่ าจะได้ พิจารณาในประเด็นนี้ดว้ ย สําหรับโครงสร้างภาษีปจั จุบนั มีขอ้ เสนอแนะดังนี้ 1) ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล รัฐเก็บในอัตราก้าวหน้าและมีอตั ราทีส่ งู มากในขัน้ สูงสุดคือกว่าร้อย ละ 30 การให้มแี รงจูงใจด้านการนํ าค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนอนุ รกั ษ์มาขอเป็ น ส่วนลดหย่อนภาษี น่าจะเป็ นแรงจูงใจทีม่ คี วามเป็ นไปได้ 2) ภาษีอสังหาริมทรัพย์ ปจั จุบนั ของไทยมีการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบํารุง ท้องที่ ซึง่ เก็บในอัตราตํ่าและไม่ค่อยเป็ นธรรมคือ มีการลดหย่อนทีข่ น้ึ กับขนาดแปลงทีด่ นิ ไม่ใช่ราคา ทรัพย์สนิ (ที่ดนิ และสิง่ ปลูกสร้าง) ดังนัน้ การใช้ภาษีทงั ้ 2 ประเภทเป็ นแรงจูงใจไม่น่าจะเป็ นไปได้ อย่างไรก็ตาม จากการที่รฐั บาลมีนโยบายปรับปรุงภาษีอสังหาริมทรัพย์ โดยจะยกเลิกภาษีทงั ้ 2 ประเภท และใช้ระบบการเก็บภาษีแบบเก็บตามราคาประเมินทรัพย์สนิ ซึ่งจะทําให้รฐั บาลท้องถิน่ มี รายได้มากขึน้ ก็อาจนํามาใช้เป็ นแรงจูงใจได้โดยทรัพย์สนิ ทีอ่ ยู่ในย่านอนุ รกั ษ์ชุมชนหรืออาคารทีข่ น้ึ ทะเบียนอนุ รกั ษ์ จะได้รบั การยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็ นการชดเชยกับการเสียสิทธิในการ พัฒนา ประเด็นในด้านภาษีทส่ี ําคัญอีกประการหนึ่งคือการเลี่ยงภาษี ซึง่ น่ าจะมีสาเหตุทม่ี าจากทัง้ ผู้ เสียภาษีเองกับรัฐบาล ผูเ้ สียภาษีมกั มีการเลีย่ งภาษีเนื่องจากการไม่เห็นประโยชน์ของการเสียภาษีท่ี จะนํามาสูก่ ารพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนรัฐบาล ก็มกั จะมีขอ้ สังเกตในการนํ าเงินภาษีมาใช้ประโยชน์ทม่ี กั จะมีเรื่องของการฉ้อราษฎร์บงั หลวง ทําให้ โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
183
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 8
ประชาชนผูเ้ สียภาษีไม่มคี วามเชื่อมันว่ ่ าเงินภาษีทเ่ี สียไปจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะได้เท่าใด ซึง่ ในประเด็นนี้เป็ นเรื่องของการพัฒนา ธรรมาภิบาลในสังคมไทยด้วย รัฐจึงควรให้ความสําคัญและ แก้ไขปญั หาในเรือ่ งนี้ดว้ ย 3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในปจั จุบนั รัฐบาลมีการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการซือ้ ขาย อสังหาริมทรัพย์ ซึง่ มีขอ้ ยกเว้นในกรณีการซือ้ ขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้แสวงหากําไร หากต้องการ ส่งเสริมด้านการอนุ รกั ษ์อาคารทีม่ คี ุณค่า อาคารทีเ่ ป็ นโบราณสถานหรือขึน้ ทะเบียนโบราณสถาน ก็ ควรเป็ นทรัพย์สนิ ทีอ่ ยูใ่ นข่ายได้รบั การยกเว้นไม่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากไม่มโี อกาสในการ พัฒนาได้เต็มทีอ่ ยูแ่ ล้ว 8.3 ประเด็นด้านองค์กร ปจั จุบนั องค์กรทีม่ อี าํ นาจหน้าทีห่ ลักในการอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมคือ กรมศิลปากร ซึง่ หากเป็ นกรณี ของการอนุรกั ษ์ยา่ นชุมชนดัง้ เดิมทีเ่ ป็ นการริเริม่ จากท้องถิน่ แล้วจะมีเป็ นจํานวนมาก กรมศิลปากรไม่ อาจเป็ นองค์กรทีเ่ ข้ามารับผิดชอบดูแลได้อย่างทัวถึ ่ งแต่เพียงหน่ วยเดียว ดังนัน้ จึงมีการสนับสนุ นให้ องค์กรท้องถิน่ มีบทบาทมากขึน้ ในด้านการอนุรกั ษ์ดงั นี้ ก) ภาคประชาชน หากมีระบบแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ประชาชนน่ าจะหันมาอนุ รกั ษ์ มรดกวัฒนธรรมของท้องถิน่ มากขึน้ ซึง่ ปจั จุบนั จะเห็นได้ว่ากระแสการอนุ รกั ษ์ชุมชนท้องถิน่ นัน้ มีมาก ทัง้ ในเขตเมืองและชนบท จึงควรสนับสนุ นให้ประชาชนสามารถดําเนินการอนุ รกั ษ์เองได้ ซึง่ นอกจาก การให้มรี ะบบแรงจูงใจแล้ว ยังต้องมีกระบวนการของการปรึกษาหารือร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญ และการจัด ให้มแี หล่งเรียนรูใ้ นด้านประวัตศิ าสตร์ สถาปตั ยกรรม ประเพณี วิถชี วี ติ ของท้องถิน่ ซึง่ หากประชาชน มีความเข้าใจก็จะหันมาอนุ รกั ษ์กนั มากขึน้ ข) รัฐ บาลท้องถิ่น ซึ่งมีหลายระดับหากท้องถิ่น ระดับใดพร้อมน่ าจะมีบุคลากรที่สามารถ ดําเนินการในด้านการอนุ รกั ษ์ชุมชน ซึง่ ประกอบไปด้วยวิชาชีพ สถาปนิก นักผังเมือง ซึง่ เป็ นอัตราที่ มีการกําหนดตําแหน่ งไว้แล้วในกรอบของการกระจายอํานาจและอาจให้มนี ักอนุ รกั ษ์ นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ เพิม่ ขึน้ ด้วย หรืออาจให้มกี ารจัดฝึ กอบรมเสริมสร้างสมรรถนะเกี่ยวกับเรื่องการ อนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมในเมือง โดยเฉพาะกระบวนการในการวางแผนการอนุ รกั ษ์ยา่ นชุมชนดัง้ เดิม ก็จะทําให้ทอ้ งถิน่ สามารถดําเนินการได้ ค) องค์กรเอกชนทีไ่ ม่แสวงหาผลกําไร ในต่างประเทศองค์กรทีไ่ ม่แสวงหาผลกําไรมีอยู่เป็ น จํานวนมากและเป็ นหนึ่ งในกลไกที่ทําให้การอนุ รกั ษ์มรดกวัฒนธรรมประสบความสําเร็จ องค์กร ดังกล่าวสามารถสนับสนุ นการอนุ รกั ษ์ได้ ตัง้ แต่การช่วยเหลือด้านวิชาการ การสํารวจ เก็บข้อมูล เทคนิคการอนุรกั ษ์ หรือแม้แต่การให้ทุนสนับสนุ นด้านการอนุ รกั ษ์ รัฐบาลหลายประเทศตระหนักดีว่า ไม่สามารถดําเนินการอนุ รกั ษ์เองได้ จึงต้องอาศัยองค์กรเหล่านี้ แต่จะอํานวยโอกาสให้ทาํ ได้โดยการ
184
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บทที่ 8
ยกเว้นภาษี จากกิจการสาธารณะและการใช้เงินบริจาคมาลดหย่อนภาษี และทีส่ ําคัญองค์กรเอกชน การมีการเชื่อมโยงหลักคิดทางวิชาการกับหน่วยงานอนุรกั ษ์ของประเทศ 8.4 บทบาทของการเคหะแห่งชาติ การดําเนินการเกี่ยวกับการรักษาชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมนัน้ เกี่ยวข้องกับบุคคลและองค์กรหลาย หน่วย การเคหะแห่งชาติกถ็ อื เป็ นหน่วยงานหลักทีเ่ กีย่ วข้องด้วยเช่นกัน ทัง้ นี้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ ของหน่วยงานตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัตกิ ารเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ทีน่ อกจาก จะมีบทบาทในด้านการจัดหาทีอ่ ยู่อาศัยแล้ว ยังรวมถึงการจัดให้มสี าธารณูปโภค สาธารณูปการ สิง่ อํานวยความสะดวกแก่ผอู้ ยูอ่ าศัย และทีส่ าํ คัญคือการพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวติ ทีด่ ี ขึ้นทัง้ ในทางสังคม เศรษฐกิจ และสิง่ แวดล้อม ซึ่งกรณีชุมชนดัง้ เดิมนัน้ เป็ นที่อยู่อาศัยที่ต้องการ ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค และหลายชุมชนก็ตอ้ งการปรับปรุงด้านสภาพการอยูอ่ าศัย วิถชี วี ติ และ สภาพแวดล้อมด้วย นอกจากนัน้ จากการศึกษาเบือ้ งต้นในโครงการนี้ พบว่าชุมชนทีอ่ ยู่อาศัยดัง้ เดิมหลายแห่งมี สภาพเสื่อมโทรมจากการเปลีย่ นแปลงโครงข่ายคมนาคมและการเข้าถึง กลายเป็ นชุมชนแออัด ขาด โอกาสทางเศรษฐกิจ และมีระบบสาธารณูปโภคทีต่ ่ํากว่ามาตรฐาน ในกรณีน้ีการเคหะแห่งชาติจะมี บทบาทสําคัญอย่างมากตามวัตถุประสงค์ขอ้ (4) ของมาตรา 6 ในพระราชบัญญัตกิ ารเคหะแห่งชาติฯ ทีส่ ามารถปรับปรุง รือ้ หรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรมให้มสี ภาพการอยู่อาศัย สิง่ แวดล้อม เศรษฐกิจและ สังคมดีขน้ึ เพื่อให้บ ทบาทหน้ าที่ข องการเคหะแห่งชาติเ ป็ น ไปตามวัต ถุ ป ระสงค์ด งั กล่ า ว การเคหะ แห่งชาติ อาจดําเนินการในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิมได้ดงั นี้ 1) ร่วมมือกับหน่ ว ยงานที่เกี่ย วข้อง โดยเฉพาะองค์กรภาคท้องถิ่นทัง้ ฝ่ายรัฐและเอกชน รวมทัง้ กรมศิลปากร ในการจัดทําแผนฟื้ นฟูและอนุ รกั ษ์ชุมชนดัง้ เดิมในเขตเมือง เพื่อให้สามารถ รักษาเอกลักษณ์ของเมืองไว้ และเป็ นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสภาพการอยูอ่ าศัยในชุมชน 2) การมีบทบาทเป็ นองค์กรสนับสนุ นให้เกิดเครือข่ายชุมชนที่อยู่อาศัยดัง้ เดิมเพื่อคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ขี องผูอ้ ยู่อาศัย โดยอาจจัดตัง้ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนดัง้ เดิม และใช้มาตรฐานทีอ่ ยู่ อาศัยและชุมชนเพื่อคงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมืองนี้เป็ นกรอบในการช่วยเหลือ แลกเปลีย่ น องค์ค วามรู้ และประสานงานกับ หน่ ว ยงานที่เ กี่ย วข้อง ทัง้ นี้ รวมถึง การร่ว มผลักดัน ให้เ กิดระบบ แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ทเ่ี หมาะสม 3) การจัดทําโครงการปรับปรุงฟื้ นฟูชุมชนดัง้ เดิมทีม่ สี ภาพเสื่อมโทรม ซึง่ เป็ นหน้าทีข่ องการ เคหะแห่งชาติโดยตรงอยูแ่ ล้ว และในกรณีน้ีเป็ นชุมชนดัง้ เดิม ควรนํ าแนวทางปฏิบตั ติ ามมาตรฐานที่ ได้ทาํ การศึกษาในโครงการนี้ไปประยุกต์ใช้รว่ มกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องด้วย.
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
185
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บรรณานุ กรม
บรรณานุกรม กลุ่มสถาปนิกเพือ่ การอนุรกั ษ์และฟื้นฟูชมุ ชนตรอกบ้านจีน (พ.ศ. 2552). รายงานโครงการอนุ รกั ษ์ และฟื้นฟูชุมชนตรอกบ้านจีน จังหวัดตาก. กรุงเทพมหานคร. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง. กองโบราณคดี กรมศิลปากร (พ.ศ. 2532). ทฤษฎีและแนวปฏิบตั กิ ารอนุ รกั ษ์อนุ สรณ์สถานและแหล่ง โบราณคดี. กรุงเทพฯ: หิรญ ั พัฒน์. กองโบราณคดี กรมศิลปากร (ม.ป.ป.). รายงานการสํารวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 3 ประเภทวัง ศาลเจ้า อนุ เสาวรีย์ อาคารร้านค้า. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สมาพันธ์. เขต รัตนจรณะ (พ.ศ. 2529). เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริน้ ติง้ (หน้า 69-89) คณะทํางานจัดทําแผนการจัดการภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม (พ.ศ. 2550). แผนการจัดการภูมทิ ศั น์วฒ ั นธรรม ชุมชนริมแม่น้ ําโขง ถนนสุนทรวิจติ ร เทศบาลเมือง นครพนม. นครพนม: เทศบาลเมืองนครพนม คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2546). รายงานการปฏิบตั กิ ารเรือ่ งกล ยุทธ์ฟ้ ืนฟูชุมชนเมืองริมนํ้า. กรุงเทพฯ: บริษทั ศูนย์ถ่ายอินเตอร์ จํากัด. คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2547). รายงานสัมมนาวิชาการ สถาปตั ยกรรม...บ้าน...เมือง. ขอนแก่น:โรงพิมพ์พระธรรมขันต์. คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2551). โครงการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ของสํานักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย:์ การศึกษาเพือ่ กําหนดแนวทางใน การปรับปรุงฟื้นฟูยา่ นใจกลางเมืองในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดชลบุร.ี กรุงเทพมหานคร. ไฮสปี ด ก๊อปปี้เซ็นเตอร์. ณิชกานต์ สวัสดิชยั (พ.ศ. 2552). การพัฒนาย่านการค้า กรณีศกึ ษาย่านท่าหลวง จังหวัดจันทบุร.ี วิทยานิพนธ์บณ ั ฑิต สาขาการผังเมือง คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฐากูร โกมารกุล ณ นคร (พ.ศ. 2553). “นครพนมริมโขงและวันคืนทีย่ นื หยัด” อนุสาร อสท. 50(11): 78-91 ธาดา สุทธิธรรม (พ.ศ. 2549). รูปแบบแผนผังชุมชนอีสานสายวัฒนธรรมไท (Settlement Patterns of Tai Culture in the Northeast Thailand). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. ปิยะ ปิโย (พ.ศ. 2553). “ตรอกบ้านจีน ถิน่ เดิมตามกาลเวลา” อนุ สาร อสท. 50(11): 106-117 “ประวัตอิ าํ เภอหลังสวน”. http://langsuan.net78.net/prawat.html (สืบค้นวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553)
186
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บรรณานุ กรม
ปรีดา หุตะจูฑะ (พ.ศ. 2546). พัฒนาการและรูปแบบการตัง้ ถิน่ ฐานของชุมชนริมนํ้าบ้านบางแม่หม้าย จังหวัดสุพรรณบุร.ี วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาค และเมือง คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พวงเพชร รัตนรามา (พ.ศ. 2553). เอกสารโครงการอบรมการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมไทยพืน้ ถิน่ อีสาน บ้านริมโขง นครพนม.คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา (พ.ศ. 2550). แลเลลันตา จากสึนามิสชู่ วี ติ ทีท่ ระนง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ทางช้างเผือก. ยงธนิศร์ พิมลเสถียร (พ.ศ. 2552). อาคารทีม่ คี ุณค่าควรแก่การอนุรกั ษ์บนถนนเจริญกรุงตอนบน. กรุงเทพฯ: อิโคโมสไทย. เรืองศักดิ ์ ดําริหเ์ ลิศ (พ.ศ. 2545). ประวัตศิ าสตร์บา้ นครัวและการต่อต้านทางด่วนซีดโี รดของชาว ชุมชน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. สวช. (พ.ศ. 2551(ก)). คูม่ อื การบริหารจัดการงานวัฒนธรรม ของภาคีเครือข่ายวัฒนธรรม. เอกสาร ลําดับที่ 31/2551. กลุ่มเครือข่ายวัฒนธรรม. สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2551(ข)). คูม่ อื การจัดเก็บข้อมูลและการจัด กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ภูมปิ ญั ญาช่างฝีมอื พื้นบ้าน โครงการภูมฐิ านภูมเิ มือง. เอกสารลําดับที่ 16/2551. กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม. สํานักส่งเสริมและเผยแพร่วฒ ั นธรรม. สํานักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กระทรวงวัฒนธรรม. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (พ.ศ. 2549). แผนทีม่ รดกทาง วัฒนธรรมนครลําปาง. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ อี.ที. พับลิชชิง่ . สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (พ.ศ. 2548). แหล่งสิง่ แวดล้อมทาง วัฒนธรรมริมคลองอ้อมนนท์. กรุงเทพมหานคร. อมรินทร์พรินติง้ แอนด์พลับบลิชชิง. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (พ.ศ. 2548). แผนทีช่ ุมชนเมืองเก่า ลพบุรี ลพบุร.ี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (พ.ศ. 2548). แผนทีม่ รดกทาง วัฒนธรรมทับเทีย่ ง. ตรัง.สํานักงานเทศบาลนครตรัง. สํานักโบราณคดี กรมศิลปากร (พ.ศ. 2550). แนวทางการอนุ รกั ษ์โบราณสถานสําหรับพระสงฆ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พรินติง้ แอนด์พลับบลิชชิง. สํานักโบราณคดีและพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2552). พิพธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติ ชุมพร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติง้ แอนด์พลับบลิชชิง. ______________. (พ.ศ. 2536). การประชุมสันนิบาตองค์กรชาวไหหลํา ครัง้ ที ่ 11. ศาลเจ้าเค่งจิวกง โตะ: หลังสวน.ชุมพร.
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
187
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บรรณานุ กรม
ACHP (Advisory Council on Historic Preservation) (2009). “Case Digest: Section 106 in Action” summer 2009 report, Washington DC. Asano, Satoshi (1999). “The Conservation of Historic Environment in Japan” Built Environment. 25(3): 236-243. Baker, Joe (2006) “Monumental Endeavor: The Life and Times of the Antiquities Act”, Common Ground. Summer 2006, pp. 14-27. Cassity, Pratt (2001). Maintaining Community Character: How to Establish a Local Historic District. Washington, DC: NTHP. Delafons, John (1997). Politics and Preservation: A policy history of the built heritage 18821996. London: F & FN Spon. Denkenkyo (2009). http://www.denken.gr.jp (accessed November 30, 2009) English Heritage. http://www.english-heritage.org.uk (accessed March 11, 2009) HPD (Historic Preservation Division) (2008). SFY 2008 Annual Report, July 1, 2007 – June 30, 2008. Georgia: HPD Georgia Department of Natural Resources. Hobson, Edward (2004). Conservation and Planning: Changing values in policy and practice. London: Spon Press. Holn, U. (1997). “Townscape Preservation in Japanese Urban Planning” Town Planning Review. 68(2): 213-255. Howard, J. Myrick (2003). “Nonprofits in the American Preservation Movement”, Chapter 10 in Stipe, Robert E. (ed.). A Richer Heritage: Historic Preservation in the Twenty-First Century. Chapel Hill & London: The University of North Carolina Press. Fitch, James Marston (1990). Historic Preservation: Curatorial Management of the Built World. Charlottesville: University Press of Virginia. Fowler, John M. (2003) “The Federal Preservation Program” Chapter 2 in Stipe, Robert E. (ed.). A Richer Heritage: Historic Preservation in the Twenty-First Century. Chapel Hill & London: The University of North Carolina Press, pp. 35-89. Ishida, y. (1988). “Ogai Mori’s and Tokyo’s Building Ordinance” in Ishizuka, H. & Ishida, Y. (eds.). Tokyo: Urban Growth and Planning 1868-1988, Tokyo: Iwanami Shoten, 83-86.
188
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บรรณานุ กรม
Longuel, Isabelle & Vincent, Jean-Marie (2001) “France” in Pickard, Robert (ed.) (2001b). Policy and Law in Heritage Preservation. London: Spon Press, pp. 92-112. Manley, Sandra and Guise, Richard (1998) “Conservation in the Built Environment” in Greed, Clara and Roberts, Marion (eds.) Introducing Urban Design: Interventions and responses. Essex: Longman, pp. 64-86. MEXT (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology) (2006). http://www.mext.go.jp/b_menu/hakusho/html/hpac200601/002/001.htm (accessed December 1, 2009) MEXT 2007. FY 2006 White Paper on Education, Culture, Sports, Science and Technology. Tokyo: MEXT. National Park Service (2009). Federal Tax Incentives for Rehabilitating Historic Buildings: statistical Report and Analysis for Fiscal Year 2008. Washington DC: U.S. Department of Interior, National Park Service. National Trust. www.nationaltrust.org.uk/main/w-trust/w-thecharity/w-history_trust.htm (accessed 10 February 2009) National Trust for Historic Preservation (1966). With Heritage So Rich. NY: Random House. Natural England (2009). www.naturalengland.org.uk (accessed 10 February 2009) Pendlebury, John (2001). “United Kingdom” in Pickard, Roberts (ed.) (2001). Policy and Law in heritage Conservation. London: Spon Press, pp. 289-313. Pickard, Robert (ed.) (2001a). Management of Historic Centres. London: Spon Press. Pickard, Robert (ed.) (2001b). Policy and Law in Heritage Preservation. London: Spon Press. Primoli, Mark (2000). Tax Aspects of Historic Preservation. U.S. Internal Revenue Service. Punter, John (1999). Design Guidelines in American Cities: A review of design policies and guidance in five west coast cities. Liverpool: Liverpool University Press. Ross, Michael (1995). Planning and the Heritage: Policy and procedures. Second edition, London: F & FN Spon. Royal Commission on the Ancient and Historical Monuments (RCAHM). http://www.rcahms.gov.uk (accessed 11 March 2009) SAVE Britain’s Heritage. http://www.savebritainsheritage.org (accessed 11 February 2009) โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
189
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
บรรณานุ กรม
Schuster, J. Mark, et. al. (eds.) (1997). Preserving the Built Heritage: Tools for Implementation. Salzburg Seminar, Hanover and London: University Press of New England. Sorensen, Andre (2004). The Making of Urban Japan. London: Routledge. Stipe, Robert E. (ed.) (2003). A Richer Heritage: Historic Preservation in the Twenty-First Century. Chapel Hill and London: The University of North Carolina Press. Tyler, Norman (2000). Historic Preservation: An introduction to Its History, Principles, and Practices. New York: W.W. Norton & Company.
190
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
คณะผูด้ าํ เนินโครงการ
คณะผูด้ าํ เนินโครงการ สถาบันวิ จยั และให้คาํ ปรึกษาแห่งมหาวิ ทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์บริ การวิ ชาการ วิ จยั และออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และสาขาวิ ชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิ ทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยความร่วมมือกับ ฝ่ ายวิ ชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ หัวหน้าโครงการและผูเ้ ชีย่ วชาญหลัก ดร. ยงธนิศร์ พิมลเสถียร
ทีป่ รึกษาด้านกฎหมาย ดร. เอกบุญ วงศ์สวัสดิกุล ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านแผนเมือง นางจารุณี พิมลเสถียร
ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการอนุรกั ษ์ นายปริญญา ชูแก้ว ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านระบบสารสนเทศทางภูมศิ าสตร์ นางสาวพุฒพรรณี ศีตะจิตต์
ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสิง่ แวดล้อมเมือง นางสาววราลักษณ์ คงอ้วน
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ประจําสาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ประจําคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ประสําสาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจยั ประจําโครงการ อาจารย์ประจําสาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ประจําสาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผูช้ ว่ ยวิจยั นายกิตติศกั ดิ ์ อัครโพธิวงศ์ นายพิสฐิ หวังวิศาล นางสาวกฤติยา สําราญบํารุง
ผูช้ ว่ ยวิจยั ผูช้ ว่ ยวิจยั ผูช้ ว่ ยวิจยั .
โครงการศึกษาวิจยั มาตรฐานทีอ่ ยูอ่ าศัยและชุมชน เพือ่ คงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง