วารสารชมรมอย่าลืมโพธาราม เล่ม 2

Page 1

เล่ม ¿„œน¿ูเศรÉฐกิจ วิถีชีวิตไม่เปลี่ยน

ÇѹÇÒ¹ ¤×Í͹Ҥµ

เรื่อง : ÍÀÔªÒµÔ ÈÔÃÔÍØ´ÁàÈÃÉ° Àาพ : ÊØÇ´Õ Íŧ¡µ (อุ๋ม-เพçÞศิลปŠ อายุ 17 ป‚)

1


ปฐมบท

ากหนังสือฉบับแรกทีใ่ ช้ชอื่ ว่า ชมรม สวัสดี ...โพธาราม ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็ น ชมรม อย่ า ลื ม ...โพธาราม เพื่ อ ให้ สอดคล้องกับความคิดคำนึง และตอกย้ำถึงว่า เมื อ งนี้ ยั ง ต้ อ งการความรั ก ความถวิ ล หา

และการเหลียวแลจากพวกเราทุกคน หนั ง สื อ ของ ชมรม อย่ า ลื ม ...โพธาราม

จะใช้เป็นสื่อกลางระหว่างชมรม ท่านสมาชิก และผูส้ นใจทัว่ ไป ในการทำความเข้าใจ ชีแ้ จง หรือ ตอบข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ โดยหนังสือเล่มนี้ จะออกมาแจกจ่ายในรายสะดวก ไม่มกี ำหนดเวลา ทีแ่ น่นอน ขึน้ กับจังหวะเวลา และงบประมาณทีม่ ี ในฉบั บ นี้ เ ราขอบอกเล่ า ถึ ง จั ง หวะก้ า วเดิ น ของชมรมฯ ที่ ผ่ า นมาและที่ จ ะเป็ นไป โดยมี

สิ่ ง สำคั ญ ที่ ช มรมฯ ขอเน้ น ย้ ำ คื อ “ฟื้ น ฟู เศรษฐกิจ วิถชี วี ติ ไม่เปลีย่ น” อันเป็นจุดหมายของ ชมรมฯ โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ใดๆทั้ ง สิ้ น ไม่ ว่ า ทางการเมื อ ง การแสวงหา

รายได้ ส่ ว นตั ว หากมี ผ ลกำไร-รายได้ ที่ พึ ง มี ทั้ ง หมดก็ จ ะถู ก นำไปใช้ เ พื่ อ ประโยชน์ ส่ ว นรวม ของคนโพธารามต่อไป


พวกเราร่ ว มกั น ทำงานด้ ว ยหั ว ใจบริ สุ ท ธิ์

เน้ น เพี ย งแค่ ไ ด้ พั ฒ นาชุ ม ชนโพธาราม ให้ ไ ด้ ก้าวหน้าอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความน่าอยู่อาศัย กระตุ้ นให้ ค นโพธารามเกิ ด ความรั ก หวงแหน และภาคภู มิ ใ จใน บ้ า นแม่ - เมื อ งพ่ อ ของตน

ซึ่งจะต่อยอดไปสู่การมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน ชื่นชมจากสังคมภายนอก พวกเรายั ง ทำงานที่ ต้ อ งใช้ ง บประมาณอยู่

จึงขอรับบริจาคจากผู้ศรัทธาทุกท่าน และขอเชิญ เข้าเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกของ ชมรม อย่าลืม ...โพธาราม เพื่ อ ร่ ว มกั น สร้ า งสรรค์ ชุ ม ชน

ของเราให้ก้าวหน้าอย่างงดงามต่อไป ร่วมบริจาคเข้าบัญชี เลขที่ 350-0-58950-6 บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาโพธาราม ชื่อบัญชี ชมรมอย่าลืมโพธาราม อภิชาติ ศิริอุดมเศรษฐ 8 สิงหาคม 2552

ชมรม

อย่าลืม...โพธาราม

ติดต่อผู้ประสานงาน • ผู้ประสานประจำโพธาราม นายปรีชา พระเวก (เอก) โทร. 08 1942 8183 • ผู้ประสานงานส่วนกลาง กรุงเทพฯ นายอภิชาติ ศิริอุดมเศรษฐ (ชาติ) โทร. 08 9668 5127


การตั้งชมรมฯ ครั้งนี้จะไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ว่าผลประโยชน์ทางการเมือง หรือทางการเงิน


ชมรม

อย่าลืม...โพธาราม

มรม อย่าลืม...โพธาราม ตัง้ อยูท่ ี่ บ้านแม่เลขา เลขที่ 10,12,14 ถ.โพธาราม ต.โพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 72000 บริเวณ ตลาดบน หั ว มุ ม ถนนท่ า นั ด ตั ด กั บ ถนนโพธาราม

(ข้างร้านโสภณคัลเลอร์แล็บ) กำหนดให้วนั อาทิตย์ ที่ 25 มกราคม 2552 (วันตรุษจีนปี 2552) เป็น วันเกิดของชมรม ด้วยเป็นวันนัดประชุมเพือ่ นๆ และผูใ้ หญ่หลายๆ ท่านเป็นครัง้ แรก โดยเป็นการ รวมตัวของคนทีม่ คี วามคิด-รสนิยม-วิสยั ทัศน์ตรงกัน และมี น้ ำใจเสี ย สละอย่ า งแท้ จ ริ ง เพื่ อ ก่ อ ร่ า ง สร้างชมรมฯ ขึ้นมา ในที่ประชุมวันนั้นได้เน้นย้ำชัดเจนว่า การตั้ง ชมรมฯ ครั้ ง นี้ จ ะไม่ มี ผ ลประโยชน์ แ อบแฝง

ไม่ว่าผลประโยชน์ทางการเมือง หรือทางการเงิน เพียงกาลข้างหน้า หากเกิดผลกำไรหรือรายได้ ใดๆที่พึงมี จะถูกนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์

ต่อส่วนรวมของชาวโพธารามต่อไปเท่านั้น กระนั้ น ก็ ยั ง มี บุ ค คลหลายกลุ่ ม แสดงความ เคลือบแคลงสงสัยว่า ชมรมฯ กำลังมีเป้าหมาย สิ่งใดกันแน่? ในขณะเดี ย วกั น อี ก หลายคนก็ ม องว่ า นี ่ เป็นเรือ่ งไร้สาระ และไม่มปี ระโยชน์อนั ใดต่อชุมชน นี้เลย! เราขอยืนยันว่าผู้ที่เข้ามาช่วยงานทุกท่านมา ด้วยใจบริสุทธิ์ มุ่งหวังเพียงการสร้างโพธาราม

ให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าอาศัย ให้โพธารามมีชอื่ เสียง ในสังคมภายนอก ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของ โพธารามคึกคัก เติบโตแบบยั่งยืนและพอเพียง ในเวลาไล่เลี่ยกับการก่อตั้งชมรม ก็เกิดเหตุ ไม่คาดฝันขึน้ ซึง่ หลายท่านเชือ่ ว่า เป็นการส่งสัญญาณ จากเทพยดาผู้คุ้มครองโพธาราม


เรื่ อ งมี อ ยู่ ว่ า กลุ่ ม อาคารไม้ 2 ชั้ น ขนาด

3 ห้อง อายุเกือบร้อยปี ข้างร้านโสภณคัลเลอร์แล็บ บริเวณ ตลาดบน หัวมุม ถนนท่านัด ตัดกับ ถนนโพธาราม เป็นอาคารทีต่ งั้ อยู่ ใจกลางตลาดบน อันเป็นย่านเก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออาคารเรือนไม้ โบราณอยู่มากที่สุดของโพธาราม ขณะนี้กำลัง

อยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างถึงที่สุดและพร้อมจะ ถล่มพังลงมาได้ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อนั้นพื้นที่นี้จะ กลายเป็น ฟันหลออยูใ่ จกลางกลุม่ อาคารทีง่ ดงาม ที่สุดแห่งหนึ่งของโพธาราม ทางชมรมฯ จึงมี ความเห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ว่ า กลุ่ ม อาคารนี้ ค วรจะ

ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยเร็ว นับเป็นเหตุบังเอิญอย่างยิ่ง เมื่อทางชมรมฯ ติ ด ต่ อ ประสานงานไปยั ง เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ ค น ปั จ จุ บั น เพื่ อ ขออนุ ญ าตเข้ า ทำการปรั บ ปรุ ง ซ่อมแซม และขอเช่าพื้นที่ใช้เป็นที่ทำการชมรมฯ ต่อไป ซึง่ เจ้าของกรรมสิทธิค์ นปัจจุบนั ตอบกลับมาว่า “กำลั ง จะทำการรื้ อ ถอนทำลายในสั ป ดาห์ ห น้ า พอดี เพราะเกรงว่าหากปล่อยไว้ อาคารอาจ ถล่มลงมาเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนใกล้เคียงได้” พร้อมทั้งอนุญาตให้ชมรมฯ เข้าบูรณะได้ทันที เพราะลึกๆในใจตนก็ไม่อยากรื้อถอนอาคารอายุ เฉียดร้อยปีนี้เช่นกันด้วยความเสียดาย ไม่เพียงเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตให้เข้า บูรณะอาคารนัน้ ได้เพียง 1 วัน ในเวลา 21.30 น. คืนวันที่ 13 มิถุนายน 2552 ทางชมรมฯ ก็ได้ รับแจ้งว่า โครงสร้างหลังคาของบ้านนี้ได้ทรุดตัว ถล่มลงมาเกือบทั้งหมด! หลายคนเชือ่ ว่า คุณแม่เลขาเจ้าของบ้าน หรือ เทพยดาผู้คุ้มครองโพธาราม ได้ส่งสัญญาณมาว่า ...ถึงเวลาจะต้องรีบซ่อมแซมกลุม่ อาคารหลังนีแ้ ล้ว!

นับเป็นบุญของชมรมฯ ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์อาคาร ไม้โบราณนั้นเป็นผู้มีใจเมตตา อารีย์ มีน้ำใจงาม และวิสัยทัศน์กว้างไกล


ไม่ ว่ า นี่ จ ะเป็ น ปรากฏการณ์ ต ามธรรมชาติ หรือเกิดจากแรงผลักเหนือธรรมชาติก็ตาม แต่ก็ ส่ ง ผลให้ บ้ า นหลั ง นี้ ถู ก อนุ รั ก ษ์ ไ ว้ ไ ด้ ทั น ท่ ว งที เพราะหากช้าอีกเพียงไม่กอี่ ดึ ใจ โพธารามจะสูญเสีย เสน่ห์ อีกอย่างไปอย่างไม่สามารถจะเรียกกลับ คืนมาได้อีกเฉกเช่น อาคารโบราณอีกหลายหลัง ทีถ่ กู รือ้ ทำลายไป รวมทัง้ ของดีอนื่ ๆ อาทิ หาดทราย โพธาราม ที่ถูกการพัฒนาเข้ากลืนกิน ให้สิ่งดีๆ เหล่านี้มีเหลือเพียงความทรงจำที่พวกเราได้แต่ หวนคำนึง และบ่นถึงทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ในขณะนั้น ชมรมฯ เพิ่งจะเริ่มก่อตั้งและ สถานภาพทางการเงินอยูใ่ นสภาพที่ “น่าอเนจอนาถ” แต่การบูรณะกลุม่ อาคารนัน้ ก็เป็นเรือ่ งที่ “รอไม่ได้” การระดมทุนครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น

และการระดมทุนครั้งนี้เอง ทำให้พวกเราได้ รับรู้ว่า ยังมีคนโพธารามผู้มีจิตใจเสียสละเพื่อ ส่วนรวมอีกเป็นจำนวนมาก ได้รว่ มบริจาคทุนทรัพย์ และเครือ่ งไม้เครือ่ งมือทีจ่ ำเป็น ช่วยเหลือชมรมฯ เต็มกำลัง ผิดกับข้อครหา ในแง่ลบ ทีม่ กั จะได้ยนิ กันเสมอ เวลาพูดถึง...น้ำใจคนโพธาราม...ในยุคปัจจุบัน!

และนับเป็นบุญของชมรมฯ ทีเ่ จ้าของกรรมสิทธิ์ อาคารไม้ โ บราณนั้ น เป็ น ผู้ มี ใ จเมตตาอารี ย์

มีน้ำใจงาม และวิสัยทัศน์กว้างไกล ทั้งยังเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวมโดยแท้จริง ท่านอนุญาตให้ ชมรมฯ เช่าพื้นที่และอาคารหลังนั้นในอัตราที่ แทบไม่มีมูลค่า โดยมีข้อแม้สำคัญว่า ชมรมฯ จะต้องใช้กลุ่มอาคารนี้ ในกิจกรรมเพื่อส่วนรวม และสังคมเท่านั้น! จากน้ำใจนี้เอง ทางชมรมฯ จึงขออนุญาต นำชื่ อ มารดาของเจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ ใ นปั จ จุ บั น (ซึง่ เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิก์ ลุม่ อาคารนีม้ าก่อน) มาใช้เป็นชื่อกลุ่มอาคารนี้เพื่อเป็นเกียรติ นั่นคือที่มาของชื่อ...บ้านแม่เลขา วันนี้ เรามีที่ทำการชมรมฯ แล้ว จากนี้ไป พวกเราจะค่อยๆสร้างกิจกรรมที่สร้างสรรค์อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้ตรงกับแนวคิดของชมรมฯ ที่ว่า “ฟื้นฟูเศรษฐกิจ วิถีชีวิตไม่เปลี่ยน” ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไร? ภายใต้แนวคิด ‘วันวานคืออนาคต’ เราใช้วิธี การอนุรักษ์และสร้างคุณค่าให้กับประวัติศาสตร์ มาเป็น “จุดขาย” เพื่อชักชวนผู้คนจากภายนอก ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว-เยี่ยมเยือน ส่งผลให้ เกิดการจับจ่ายใช้สอยจากผูค้ นนอกพืน้ ที่ เป็นฐาน ของการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของโพธาราม ต่อไปในอนาคต กิจกรรมเป็นอย่างไร? 1. อนุ รั ก ษ์ ง านสถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ นโดย เฉพาะห้องแถวไม้-อาคารโบราณอายุนับร้อยปี และงดงาม ที่ยังเหลืออยู่มากมายของโพธาราม


นชุมชนต่างๆ มีการนำช่างฝีมือเข้ามาสอนผู้คนใ ต่อไป ทำงานศิลปะเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพ


โดยเฉพาะย่านตลาดบนที่ยังคงสภาพดี มีเสน่ห์ น่ามอง 2. ขยายขอบเขตการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ของโพธารามออกไปรอบๆ ไม่ จ ำกั ด แต่ เ พี ย ง ในเขตเทศบาลเท่านั้น 3. อนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม และศิลปะ ดั้งเดิม เช่น งานฝีมือ งานช่าง ศิลปหัตถกรรม ขนม อาหาร เป็นต้น 4. เชิญชวนกลุม่ นักเขียน ช่างภาพ นักท่องเทีย่ ว คนทำรายการโทรทัศน์ ที่นิยมชมชอบบรรยากาศ ของ ตลาดโบรา³ อาคารเก่า เข้ามาเที่ยวชม ทั้งนี้รวมถึงการเชิญชวนผู้คนในวงการท่องเที่ยว และสันทนาการต่างๆ เข้ามาเที่ยวชมโพธาราม อาทิ บริษัททัวร์ต่างๆ ชมรมวิ่ง ชมรมจักรยาน กลุ่ ม วาดภาพ กลุ่ ม นั ก ดนตรี ฯลฯ ให้ เ ข้ า มา ซึมซับบรรยากาศท้องถิ่นโพธาราม ซึ่งกลุ่มคน เหล่ า นี้ จ ะช่ ว ยเผยแพร่ ค วามงดงามของชุ ม ชน โพธารามออกสู่โลกภายนอก ผ่านสื่อต่างๆ อาทิ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และ อินเตอร์เน็ต 5. สร้างกิจกรรม อาทิ มีการนำช่างฝีมือเข้า มาสอนผู้ ค นในชุ ม ชนต่ า งๆ ทำงานศิ ล ปะเพื่ อ พัฒนาเป็นอาชีพต่อไป การร่วมมือกันรณรงค์ ปลูกต้นไม้ ร่วมมือกันปรับปรุงภูมิทัศน์ เก็บขยะ ทำเส้นทางเดินเท้า-ขี่จักรยานเที่ยว เป็นต้น 6. กระตุ้ น ให้ ค นโพธารามเกิ ด ความรั ก ความหวงแหน และภาคภู มิ ใ จใน ‘บ้ า นแม่ เมืองพ่อ’ ของตนเอง อาทิ นักเรียนโรงเรียน ขีจ่ กั รยานไปเทีย่ วชมศิลปะตามวัดวาอารามต่างๆ, พาเดินย่านห้องแถวเก่าๆ ให้อาคารโบราณต่างๆ เล่าเรื่องแต่หนหลัง บอกเล่าเรื่องความสำคัญ,

ทำประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นเอกสาร เป็นหนังสือ หรือ เว็บไซต์เพื่อใช้เผยแพร่ เป็นต้น 7. กำหนดกิจกรรมดึงผูค้ นใหม่ๆจากภายนอก เข้ามา แล้วให้ภายในโพธารามเปิดบ้านต้อนรับ ในความคิดที่ว่า ‘เป ดบ้านให้¼ู้เยือนได้ชม’ 8. ระดมทุนครั้งใหญ่จัดสร้าง ‘พระบรมรูป พระพุทธเจ้าหลวง ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5’ ที่เคย เสด็จประพาสตลาดโพธาราม เพื่อเป็นที่สักการะ บู ช าของชาวไทยทั้ ง มวล ทั้ ง เป็ น ศั ก ดิ์ ศ รี แ ละ หน้าตาของโพธาราม โดยนำไปประดิษฐานบนเขือ่ น ริมแม่นำ้ แม่กลองหน้าตลาดโพธาราม ตามแนวคิด ที่ว่า เมืองคนสวยโพธาราม เมืองเส้นทางเสดçจประพาสต้น เมืองáห่ง¼ู้คนสมาน©ันท์ เมืองร่วมเ¼่าพันธุ์ ไทย จีน มอÞ ลาว 9. ฯลฯ 9


ประวัติ

‘บ้านแม่เลขา’

บ้

านแม่ เ ลขา-ที่ ท ำการ ชมรม อย่ า ลื ม ...โพธาราม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 10,12,14 ถ.โพธารามบริ เ วณ ตลาดบน ตรงจุ ดตั ดของ ถนนท่านัด กับ ถนนโพธาราม ข้างร้านโสภณคัล เลอร์แล็บ เป็นกลุ่มอาคารห้องแถวไม้ชั้นเดียว 3 ห้องยาวติดกัน รากฐานเดิมมีอายุกว่า 100 ปี ตามการตั้งชุมชนของโพธาราม (โพธารามเป็น ชุมชนใหญ่มานานกว่าร้อยปี สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เสด็ จ ประพาสโพธารามยั ง ตรั ส ว่ า “จำนวน คนในโพธาราม มี ถÖ ง 40,000 คน มากกว่ า อำเÀอเมืองราชบุรเี สียอีก” ฉะนัน้ อาคารบ้านเรือน บริเวณนี้คงมีอยู่มานาน ก่อนพระพุทธเจ้าหลวง เสด็ จ ฯ โพธาราม) แต่ ฐ านของอาคารที่ เ ห็ น ในปั จ จุ บั น เป็ น อาคารใหม่ ที่ ส ร้ า งเมื่ อ ราว 83 ปีก่อน บนฐานเดิมของอาคารที่ถูกไฟไหม้ ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2469 แต่ เ มื่ อ เวลาผ่ า นไป กลุ่ ม อาคารไม้ เ หล่ า นี้ ก็ ท รุ ดโทรม จนหลั ง คาที่ มุ ง ด้ ว ยกระเบื้ อ งว่ า ว ทยอยหลุดร่วงหล่นลงทีละแผ่นสองแผ่นมานาน หลายปี และมีทีท่าว่าจะพังครืนลงมาได้ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง ทางชมรมฯ เล็ ง เห็ น ความสำคัญของกลุ่ม อาคารไม้นี้ ด้วยตัง้ อยูใ่ จกลางของอาคารห้องแถว ไม้ เ ก่ า แก่ และยั ง เป็ น สถานที่ ที่ ค นทุ ก คนที่ จ ะ เดินทางออกจากตลาดโพธารามต้องผ่าน จึงเห็น ว่าน่าจะเป็นการดีหากขออนุญาตทำการซ่อมแซม แล้วใช้เป็นที่ทำการชมรมฯ และนับเป็นเรื่องบังเอิญยิ่งว่า ทันทีที่ติดต่อ ขอเช่าใช้กลุ่มอาคารไม้นี้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้รับการตอบกลับมาว่า กลุ่มอาคารไม้นี้กำลังจะ ถูกรื้อถอนทำลาย ด้วยทรุดโทรมจนเกินเยียวยา 10

บ้านแม่เลขาก่อนการบูรณะ

และเกรงจะถล่มลงมาเป็นอันตรายต่อบ้านเรือน ใกล้เคียง เจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจุบันจึงยินดีให้ ชมรมฯ เช่าในอัตราที่แทบจะไม่มีมูลค่า โดยมี หัวใจร่วมกัน คือเพื่อ อนุรักษ์กลุ่มบ้านนี้ไว้เพื่อ ชาวโพธาราม ต่อไป 11 มิ.ย. 2552 ชมรมฯ ตกลงว่ า น่ า จะ ซ่อมแซม ปรับปรุงกลุ่มบ้านทั้ง 3 ห้อง ให้รีบ ติดต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจุบันโดยด่วน 12 มิ.ย. 2552 ติ ด ต่ อ เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ ในปัจจุบันได้ และรู้ข่าวว่าอาคารไม้ทั้ง 3 หลัง กำลั งจะถู ก รื้ อ ถวายวั ดในอี กไม่ ถึ ง 1 สั ป ดาห์


บ้านแม่เลขาวันแรกที่เริ่มบูรณะ

การบูรณะผ่านไปได้ประมาณ 30 วัน

สภาพภายในบ้านวันแรกที่เริ่มบูรณะ

การบูรณะผ่านไปได้ประมาณ 45 วัน

เจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เช่าในราคาแบบไม่มีมูลค่า จึ ง ขออนุ ญ าตนำชื่ อ คุ ณ แม่ ข องเจ้ า ของ กรรมสิ ท ธิ์ ใ นปั จ จุ บั น (เป็ น เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ คนก่อน) มาใช้เป็นชื่อกลุ่มอาคารไม้ทั้ง 3 ห้องนี้ ว่า บ้านแม่เลขา เพื่อเป็นเกียรติ 13 มิ.ย. 2552 21.10 น. ขณะกำลั ง ประชุ ม ผู้ มี ใ จร่ ว มกั น ในการก่ อ ตั้ ง ชมรมฯ ที่บ้าน พ่อก้วง (อำนาจ ศิริอุดมเศรษฐ) มีคน แจ้ ง ข่ า วว่ าโครงสร้ า งหลั ง คา บ้ า นแม่ เ ลขา พั ง ลงมาทั้ ง หมด ที่ ป ระชุ ม จึ ง รั บ รู้ เ ป็ น นั ย ว่ า “แม่ เ ลขา” เจ้ า ของบ้ า นเดิ ม คงรั บ รู้ แ ล้ ว

ทางชมรมฯ เล็งเห็น ความสำคัญของ กลุ่มอาคารไม้นี้ ด้วยตั้งอยู่ ใจกลางของอาคาร ห้องแถวไม้เก่าแก่

11


ักÉ์ คุณชุมพล อักพันธานนท์ ผู้เชี่ยวชาญการอนุรมสำคัญ อาคารโบราณ «ึ่งเล็งเห็นความงาม และควา เป็น ของกลุ่มอาคารโบราณเหล่านี้ จึงอาสาเข้ามา ผู้ประสานงานออกแบบ และต้ อ งการให้ รี บ ช่ ว ยกั น ซ่ อ มแซมกลุ่ ม บ้ า น ทั้ง 3 ห้องนี้เป็นการด่วน 14 มิ.ย. 2552 เริม่ การระดมทุน “เงินก้นถุง มงคล” จากทุ ก ฝ่ า ยจากผู้ ค นที่ มี หั วใจตรงกั น โดยเร่งด่วน พร้อมกันนั้นก็ได้รับความช่วยเหลือ จาก คุ³ชุมพล อักพันธานนท์ ผู้เชี่ยวชาญการ อนุ รั ก ษ์ อาคารโบราณ อ าคารโบราณ ซึ่ ง เล็ ง เห็ น ความงาม และความสำคัญ ของกลุ่มอาคารโบราณเหล่านี้ จึ ง อาสาเข้ า มาเป็ น ผู้ ป ระสานงานออกแบบ ช่วยจัดการ วางแผน และออกแบบ ให้โดยไม่ คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนค่าแรง 1

ค่ า วั ส ดุ ในบางคราวที่ ช มรมฯ ขาดแคลน ทุนทรัพย์ด้วย 17 มิ.ย. 2552 ทำพิธีสักการะเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขอทำการปรับปรุงซ่อมแซม บ้านแม่เลขา 18 มิ.ย. 2552 ช่ า งฝี มื อ ผู้ ป ระสานงาน ออกแบบ คุณพ่อก้วง สมาชิกชมรมฯ บางท่าน และสมาชิ ก ชุ ม ชนตลาดบนหลายท่ ตลาดบนหลายท่ า น ทำพิ ธี สั ก การะเจ้ า ที่ เ จ้ า ทาง ขอพรให้ ก ารซ่ อ มแซม บ้านแม่เลขาเป็นไปโดยราบรื่น 19 มิ.ย. 2552 งานปรั บ ปรุ ง ซ่ อ มแซมเริ่ ม เป็นวันแรก


การบูรณะผ่านไปได้ประมาณ 45 วัน

การบูรณะผ่านไปได้ประมาณ 55 วัน

ภายในบ้านราวæ 50 วันของการบูรณะ

สภาพโดยรอบของร้านโสภณ คัลเลอร แลçบ ที่ยังไม่ได้รื้อโครงเหลçกที่หุ้มบ้านออก

12 ส.ค. 2552 (วันแม่แห่งชาติ) การปรับปรุง บ้านแม่เลขา ใกล้เสร็จ เหลือการตกแต่งภายใน อีกเล็กน้อย 23 ส.ค. 2552 “ ท ำ บุ ญ ขึ้ น บ้ า น เ ก่ า บ้ า นแม่ เ ลขา” เพื่ อ ความเป็ น สิ ริ ม งคลทั้ ง อำนวยพรให้ บ้ า นแม่ เ ลขา ชุ ม ชนตลาดบน และ ชมรมฯ ได้ก้าวหน้าเติบโตต่อไป ป˜จจุบนั บ้านแม่เลขา เป็นอาคารห้องแถวไม้ ชัน้ เดียว 3 ห้อง ซ่อมแซมปรับปรุงจากอาคารเดิม ที่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น

วัตถุประสงค • เป็น ที่ทำการ ชมรม อย่าลืม...โพธาราม • เป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โพธาราม • เป็นศูนย์กลางกิจกรรมต่างๆ ของชมรมฯ และที่พบปะ ประชุม พูดคุยของสมาชิก • เป็นแหล่งรวบรวมของเก่า รูปภาพเก่า ของชาวโพธาราม ฯลฯ ให้ผู้คนต่างเมืองได้ชม • เป็นแหล่งรายได้ของชมรมฯ อาทิ จำหน่าย สินค้าเด่นในชุมชน โปสการ์ด ของทีร่ ะลึก ฯลฯ • ใช้เป็นที่ฝƒกอบรมงานอาชีพต่างๆ ของชุมชน • ฯลฯ 1


รายนามผู้บริจาคให้ ชมรม

อย่าลืม...โพธาราม

1. พ่อก้วง (อำนาจ ศิริอุดมเศรษฐ) 2. วิชาญ ตรองพาณิชย์ (บู้) 3. สมพล ศิริอุดมเศรษฐ (บจก. กริส มาร์เก็ตติ้ง) 4. อนุพงศ์ ศิริอุดมเศรษฐ 6. ทวีทรัพย์ นิปัทธหัตถพงศ์ (ใหญ่) 7. บจก. นีโอ ทราเวล 8. อภิชน อารักษ์วิชานันท์ 9. ธนาวดี อารักษ์วิชานันท์ 10. ศิริชัย ศิลปสมัย (หัวหินโฟโต้เอ็กซ์เพรส) 11. นายอำเภอดำรงชัย เนรมิตกตพงศ์ 12. สันติพงศ์ และดารณี อลงกต (ร้านเพ็ญศิลป์) 13. บุญชัย พันธุ์ภาไพ (เฮียชัย) 14. ป้าจิน (จินตนา) 15. ลุง บ้านอยูท่ วี่ ดั เกาะ เจ้าของบ้านเรือนไทย 3 หลัง

ไม้เก่า 1 กองใหญ่, พร้อมของเก่า, เก้าอีป้ นู ชุดใหญ่ ไม้เก่า 1 กองใหญ่ พร้อมประตูไม้บานเฟีย้ ม 1 ชุด 10,000.- 10,000.- 14,000.- 10,000.- 20,000.- 10,000.- 5,000.- 5,000.- 10,000.- มอบกระเบือ้ งว่าวอายุเกือบ 100 ปี ให้หนึง่ ชุด มอบกระเบือ้ งว่าวอายุเกือบ 100 ปี ให้หนึง่ ชุดใหญ่ มอบกระเบื้องว่าวให้ หนึ่งชุดสำคัญ

รายจ่ายของ ชมรม

อย่าลืม...โพธาราม ค่าใช้จ่ายของชมรมฯ ในการปรับปรุงซ่อมแซม ‘บ้านแม่เลขา’ ถึงวันที่ 16 ส.ค. 2552 1. ค่าแรงช่างฝีมือ 93,783. 2. รางน้ำ 3,000.- 3. ค่าอุปกรณ์ก่อสร้าง 28,000.- 4. ค่าไฟ 440.- 5. ค่าเช่าบ้านช่างฝีมือ 4,500.- 6. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้า และสุขภัณฑ์บางส่วน 10,000.- 7. อื่นๆ 8,000.- 14


16. สมภพ แซ่อั๊ง (เล็ก) 4,000.- 17. เบญญา มังกรกนกพงศ์ (น้อย ลำปาง) 2,000.- 18. พี่เต็มมาศ 3,000.- 19. ธนิต กระจ่างแจ่ม 1,000.- 20. วิชัย เก่งนำชัยตระกูล 5,000.- 21. ลออ จิตต์ทนงศักดิ์ 4,000.- 22. สุรชัย ตั้งชิงชัย 1,000.- 23. วนิดา บูรณะสัจจะ และณัชริดา อภัยรัตน์ 3,000.- 24. ยุวดี และสุขวัฒน์ ปราโมจนีย์ 3,000.- 25. รวีพร โกเมนเอก 3,000.- 26. สุรพล เนื่องสิกขาเพียร 2,000.- 27. ตระกูลลิมป์ชวลิต (หมอธีระ) 10,000.- 28. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 10,000.- 29. มงคล พจน์พงศ์สรรค์ 5,000.-

ผู้บริจาคที่ยังไม่ได้มีชื่อในบันทึกครั้งนี้ โปรดช่วยแจ้งทางชมรมฯ ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง ยังมีผู้บริจาคอีกหลายท่านที่ยังไม่ได้ ลงชื่อบันทึกในครั้งนี้ จึงขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วย ซึ่งเราจะนำชื่อท่านลง ในครั้งต่อไป และจะติดประกาศไว้ที่ ชมรมฯ เพือ่ เป็นทีป่ ระจักษ์ตอ่ ทุกๆท่าน อนึ่งการทำงานของชมรมฯ ยังต้องใช้ ปัจจัยอีกมาก จึงขอความสนับสนุน สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นแด่ โพธาราม โดยการช่วยกันบริจาคเข้าชมรมฯ ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

15


เรื่องและภาพ : ชาธร โชคภัทระ ตีพิมพ์ใน Travel Guide ปีที่ 5 ฉบับที่ 56 สิงหาคม 2552

เยื อ นถิ ่ น 1

โพธาราม

เมื อ งคนงามลุ ่ ม แม่ ก ลอง


สถานีรถไฟโพธาราม วันนี้ยังมีรถไฟสายใต้ วิ่งขึ้นล่อง ผู้คน ยังคึกคักไม่เคยเปลี่ยน

โพธาราม รุ่งเรืองด้วยการค้า ดังปราก¯หลักฐาน ในบันทึกพระราชหัตถเลขา ©บับที่ 4 ในรัชกาลที่ 5

ไปกี่ ค รั้ ง ก็ ป ระทั บ ใจกลั บ มาทุ ก ครั้ ง ” คือความรู้สึกของผมหลังกลับจาก โพธาราม ราชบุรี... ไม่ได้พดู เกินจริง แต่ยงิ่ ได้สมั ผัสอำเภอนีม้ ากขึน้ เท่าใด ก็ยิ่งทำให้รู้สึกผูกพัน และค้นพบเรื่องราว น่าสนใจ อีกนับไม่ถว้ น บางเรือ่ งราว บางซอกมุม เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ ชุมชน วัดวาอาราม ของกินอร่อยๆ ธรรมชาติงดงาม ฯลฯ แต่เหนืออืน่ ใด ผูค้ นทีน่ มี่ มี ติ รไมตรี เปีย่ มล้นจนประทับใจยากจะลืม เพี ย งชั่ ว โมงเศษจากกรุ ง เทพฯ ไปตาม ถนนเพชรเกษม ที่มุ่งหน้าลงใต้ พ้นเขตนครปฐม ไปนิ ด เดี ย ว เราก็ ไ ด้ รั บ การต้ อ นรั บ ของป้ า ย ขนาดใหญ่ ที่ มี รู ป สถานที่ ส ำคั ญ หลายแห่ ง ของราชบุรีโชว์หราอยู่ ทั้งวัดมหาธาตุ หนังใหญ่ วั ด ขนอน ตลาดน้ ำ ดำเนิ น สะดวก และภาพ จิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม พี่ชาวโพธาราม ซึ่งเป็นไกด์ส่วนตัวพาไปเที่ยวครั้งนี้เลยบอกว่า เห็ น ไหมล่ ะ ! จากภาพที่ เ ห็ น นั้ น เป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวของอำเภอโพธารามซะ 2 แห่งแล้ว คือ หนังใหญ่วัดขนอน และ วัดคงคาราม นี่คง พอจะบอกอะไรเราได้พอเลาๆ แต่ ก่ อ นจะเข้ า ถึ ง ตั ว โพธาราม จริ ง ๆ เราลองมาทำความรู้ จั ก กั บ อำเภอนี้ กั น สั ก นิ ด ดีกว่านะ โพธาราม เป็ น อำเภอใหญ่ ข องราชบุ รี จากอดีตจนปัจจุบนั โพธาราม รุง่ เรืองด้วยการค้า ดังปรากฏหลักฐาน ในบันทึกพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 4 ในรัชกาลที่ 5 กล่าวไว้ว่า “ตำบล โพธารามนี้เป็นที่ตลาดอย่างสำเพçง ยืดยาวมาก ¼ู้ ค นหนาáน่ น จำนวนคนในโพธารามมี ถÖ ง 40,000 มากกว่ า อำเÀอเมื อ งราชบุ รี เ สี ย อี ก ” 1


ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ อ าจเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ สายน้ ำ แม่ ก ลอง

ก็เป็นได้ เพราะสมัยก่อน ไม่มีถนน ผู้คนจึงใช้ เรื อ ขึ้ น ล่ อ งค้ า ขาย โพธารามจึ ง เติ บใหญ่ ขึ้ น

ในฐานะเมืองท่าริมแม่กลองอันคึกคักทีส่ ดุ แห่งหนึง่ โดยคนในตลาดส่ ว นใหญ่ คื อ ชาวจี น ที่ เ ข้ า มา

ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 มีทั้งเจ้าสัวและ กุลจี นี ทีท่ ำงานในโรงสีขา้ ว ทำโอ่งมังกร โรงโม่หนิ และค้าขายทั่วไป แต่ โพธาราม พิเศษกว่านั้น อีก เพราะเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมท้องถิ่น อั น ยิ่ งใหญ่ ข องคนถึ ง 4 ชนชาติ ทั้ งไทยแท้ ดั้งเดิม จีนอพยพโพ้นทะเล รวมถึงชาวมอญผู้มี บรรพบุรุษมาจากฝั่งพม่า และชาวลาวที่สยาม กวาดต้ อ นมาสมั ย ตี น ครเวี ย งจั น ทน์ ไ ด้ เ มื่ อ

ต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อเป็นดังนี้ โพธารามจึงคึกคัก และเต็มไปด้วยสีสันแห่งชีวิต 18

ส่วนชื่อของอำเภอ โพธาราม นั้น มีตำนาน เล่าว่า เมื่อสมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้มีชื่อว่า บ้านโพธิ์ ตาดำ เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นอยู่เป็นหมู่ใกล้บ้าน ของนายดำ ซึ่ ง เป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ดี ข องชาวบ้ า น

แถบนั้ น โดยสำเนี ย งของชาวจี น เรี ยกถิ่ น นี้ ว่ า “พอไจ่ล้ำ” และชาวมอญเรียกว่า “โพธาราม” ต่อมาเมือ่ สมัยจังหวัดราชบุรยี งั มีฐานะการปกครอง แบบมณฑล พระภักดีดนิ แดน (พลอย วงศาโรจน์) ปลั ด มณฑลราชบุ รี ได้ ป รั บ ปรุ ง เขตและนาม ตำบลใหม่ โดยเห็ น ว่ า ถิ่ น นี้ มี ต้ นโพธิ์ แ ละมี วั ด (อาราม) อยู่มาก จึงใช้ชื่อ โพธาราม (โพธิ์+ อาราม) ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม จริ ง ๆแล้ ว ตั ว อำเภอที่ ปกครองแถบนี้ ตั้งอยู่ ท่าน้ำตำบลเจ็ดเสมียน แต่เมื่อมีการตัดทางรถไฟสายใต้ พื้นที่ตรงกลาง ระหว่างแม่น้ำและสถานีรถไฟนั้นแคบ ตัวเมือง


ซ้าย : ห้องถ่ายภาพโบราณ ของ ร้านเสถียรทอง ได้บันทึกภาพและ เรือ่ งราวของคนโพธารามมารุน ่ แล้วรุน ่ เล่า กลาง : มุมเก๋กับอาคารเก่า ใครชอบถ่ายภาพแบบ Street Photography มาเที่ยว โพธาราม จะไม่ผิดหวังเลย ขวา : วิกครูทวี เป็นอาคารเก่า ที่ทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่งของ ตลาดโพธาราม หวังว่าสักวันวิกนี้ คงได้เปิดฉายอีกครั้ง

ขยายไม่ อ อก จึ ง ย้ า ยอำเภอมาตั้ ง ที่ ฝั่ ง ซ้ า ย

ริมแม่น้ำแม่กลอง ปลายตลาดโพธาราม ที่คง เป็ น ชุ ม ชนใหญ่ อ ยู่ แ ล้ ว ก่ อ นจะย้ า ยที่ ท ำการ อำเภออีกครั้ง ข้ามไปอยู่อีกฟากของสถานีรถไฟ เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว โพธาราม ในปั จ จุ บั น เปลี่ ย นแปลงและ เติบโตขึน้ ราวกับชีวติ คน เมือ่ กาลเวลาเปลีย่ นผ่าน มีไฟไหม้ตลาดหลายครั้ง จากเรือนแถวไม้สองชั้น ที่ มี ทั้ ง ตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่ า ง

จึ ง ได้ รั บ การปรั บ ปรุ ง ซ่ อ มแซม เป็ น ตึ ก ปู น

และตึกไม้ครึ่งปูนที่มีอายุเก่าแก่กว่า 50-60 ปี เป็นอย่างน้อย ทว่าเมื่อเราได้ลองเดินลัดเลาะไป ตามตรอกซอกซอยเล็ ก ๆ แล้ ว จะพบว่ า ยั ง มี

หมู่เรือนไม้เก่าทอดยาวเป็นพืดใหญ่ให้ได้ตื่นตา กั น อยู่ ด้ ว ย โดยเรื อ นเหล่ า นี้ มี อ ายุ ไ ม่ น้ อ ยกว่ า 100-120 ปีเลยทีเดียว! และที่สำคัญ เรือนไม้ยัง มีชีวิต เพราะยังมีผู้คนอาศัยทำมาค้าขายอยู่จริง มิได้หนีหายไปไหน ใครที่โหยหากลิ่นอายอดีต ของวันวานจึงเข้าไปสัมผัสได้ทุกเมื่อเชื่อวัน จากเดิมทีผ่ มเคยจินตนาการไปเองว่า โพธาราม คงเป็นอำเภอเล็กๆ แต่พอมาเห็นของจริงถึงกับ อึ้ งไปเลย เพราะที่ แ ท้ แ ล้ ว ย่ า นใจกลางที่ เ ป็ น ตลาดนัน้ ถือว่ากว้างขวางมาก ตัวตลาดสดก็ใหญ่โต มีของกินและพืชผักผลไม้ให้จบั จ่ายซือ้ หาหลากหลาย ใกล้ๆกันคือ แม่น้ำแม่กลอง ที่ยังใสสะอาดและ

ค่อนข้างกว้าง สามารถลงไปเดินเล่นชายตลิ่ง และชมสายน้ ำ ไหลเอื่ อ ยๆให้ เ ย็ น กายเย็ น ใจ

คนโพธารามเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยก่อน ยังไม่มี การสร้ า งตลิ่ ง ปู น ทุ ก ปี ย ามน้ ำ ลดระดั บ ต่ ำ สุ ด

จะเกิดหาดทรายกว้างกว่า 500 เมตร และยาว นับกิโลเมตรทีเดียว ทำให้เกิด เทศกาลหาดทราย อั น คึ ก คั ก ที่ มี วิ ก ลิ เ ก โรงงิ้ ว โรงภาพยนตร์ ดนตรีลกู ทุง่ และนัดขายของ เป็นทีว่ งิ่ เล่นของเด็กๆ ที่พบปะของหนุ่มสาว กิจกรรมทั้งหมดจัดอยู่บน หาดทรายผืนใหญ่ทวี่ า่ และสำคัญกว่านัน้ หาดทราย กว้ า งใหญ่ ยั ง เป็ น แหล่ ง เพาะถั่ ว งอกอั น ขึ้ น ชื่ อ

ในรสชาติหวานกรอบ ต้นอ้วนสั้นน่ากิน ถ้าขับรถยนต์มาเอง พอผ่านตลาดโพธาราม เราจะเห็ น ตรอกซอกซอยตั ด พาดผ่ า นไปมา

อยู่เป็นจำนวนมาก โดยในช่วงหน้า วัดโพธาราม 19


ข้างวิกครูทวีมีตรอกเล็กๆสั้นๆ ให้ลองชวนกันเดินเข้าไป จะทะลุไปถึงใจกลางของ ย่านเรือนไม้เก่าแห่ง โพธาราม ที่ยังหลงเหลือ

ความเก่าแก่ ของอาคาร ยังมีเรือ่ งเล่า จากอดีตแฝงเร้น อยูใ่ นทุกซอกมุม

มีซอยอยู่ซอยหนึ่งชื่อ ถนนทรงประพาสน์ ซึ่งคน ที่นี่ภาคภูมิใจ เพราะเป็นถนนที่ล้นเกล้ารัชกาล

ที่ 5 ทรงเคยจอดเทียบเรือไว้ทหี่ าดทราย แล้วทรง เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมาตามถนนเล็กๆสายนี้ เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎร์ ถ้ า จอดรถไว้ ที่ ล านจอดริ ม น้ ำ แม่ ก ลองใกล้ ตลาดสด ให้เดินตรงขึน้ เนินมา จากนัน้ เลีย้ วซ้ายแรก เดิ น เล่ น เลาะไปตามถนนสายเล็ ก ๆ เพี ย งไม่ กี่

ร้อยเมตรทางด้านขวา จะเห็นตึกคอนกรีตสองชัน้ ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ คนโพธารามเรียกว่า วิกครูทวี หรือโรงหนังครูทวี ซึ่งเมื่อสมัย 40-50 ปีก่อน

มี ลั ก ษณะไม่ ต่ า งกั บ Center Point แถว สยามสแควร์ที่กรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้เลย! เพราะเป็น ที่ พ บปะของวั ย รุ่ น และเป็ น วิ ก หนั ง แห่ ง เดี ย ว

ในแถบนี้ ภายในโรงแบ่ ง เป็ น ชั้ น บนและล่ า ง

20

ชั้นล่างเป็นม้านั่งไม้ยาว ส่วนชั้นบนบัตรราคา แพงกว่า เป็นม้านั่งไม้แบบพับได้ ซึ่งปัจจุบันแม้ ปิดกิจการไปแล้ว แต่สภาพทุกอย่างยังดีเยี่ยม! สถาปนิกจากกรุงเทพฯ หลายคนไปเห็นแล้วร้อง “ว้าว!” เพราะถือเป็นอาคารทีท่ รงคุณค่า ทางด้าน สถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่สุดแห่งหนึ่งในดินแดน ภาคตะวั น ตก ที่ ส ำคั ญ อย่ า ลื ม แวะชิ ม

หมูสะเต๊ะ รสเด็ด ข้าวหมูแดง และ ก๋วยเตี๋ยว เป็ด ที่ฝั่งตรงข้ามวิกครูทวีด้วยล่ะ อันนี้รับรอง จะติดใจครับ! ข้ า งวิ ก ครู ท วี มี ต รอกเล็ ก ๆสั้ น ๆ ให้ ล อง

ชวนกั น เดิ น เข้ า ไป จะทะลุ ไ ปถึ งใจกลางของ

ย่านเรือนไม้เก่าแห่ง โพธาราม ที่ยังหลงเหลือ เรียกตรงนี้ว่า ถนนโพธาราม เป็นถนนสายเล็ก รถวิ่งวันเวย์ มีฟุตบาทขนาดกำลังพอเหมาะให้ เดินชมวิถีชุมชน ที่ผสานรวมอดีตและปัจจุบัน เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว เรือนไม้สองชั้นแถบนี้ แบ่งเป็นคูหา บางบ้านกิจการค้าดีหน่อยก็อาจ เป็นเจ้าของ 2-3 คูหา ส่วนบ้านอยู่อาศัยก็มี เพียงคูหาเดียว (หนึ่งห้อง) หน้าแคบ แต่สร้าง ลึกเข้าไปใช้อยู่อาศัย ซึ่งผมรู้สึกประทับใจมากกับ โครงสร้างไม้ ประตูบานพับ ระเบียงทางเดิน และลวดลายไม้ฉลุ รวมถึงบางคูหาที่เป็นครึ่งปูน ครึ่งไม้ มีการวาดลวดลายไม้เถาประดับเหนือ กรอบวงกบหน้าต่าง สร้างความอ่อนช้อย สบายตา


ภายในศาลา วัดคงคาราม มีความงามขรึมขลัง และแปลกตา เพราะตกแต่ง ในแบบชาวมอÞ ไว้อย่างงดงาม

สบายใจทั้ ง แก่ ผู้ อ าศั ย และผู้ พ บเห็ น อย่ า งที่ สุ ด ลองเข้าไปพูดคุยกับผู้คนในบ้าน ทักทายกันด้วย รอยยิ้ม บางบ้านคุณยายกำลังนั่งกล่อมหลาน คุณตาไกวเปลให้เหลน บางบ้านเปิดเป็นร้านตัดเย็บ ตัดผม ขายยาจีน ถ่ายรูปโบราณ ขายขนมไทย บางบ้านกำลังนัง่ เอาข้าวเหนียวห่อใบตอง ทำเป็น ขนมตูดแหลม (หรือขนมหัวหงอก) เสร็จแล้วเอา ไปต้ม จิ้มกินกับน้ำตาลผสมเกลือและมะพร้าว ทว่าบางบ้านก็เป็นนักสะสมของเก่า ทั้งนาÌิกา โปสเตอร์หนัง ถ้วยกระเบื้องเคลือบ มีดดาบ-โล่ โบราณ ฯลฯ มาสะกิดใจให้จุดหนึ่งคือ ลองสังเกตดูแล้ว หลายบ้านมีรูปสาวงามแต่งกายสวยงามติดอยู่ บนฝาบ้าน ทำไมเมืองนี้มีคนสวยเยอะจัง? ก็ให้ มาถึงบางอ้อในที่สุด เพราะอย่างนี้นี่เองคำขวัญ

ของโพธารามจึงได้เป็น “คนสวÂโพธาม คนงาม ºŒ า นโป† ง ” เพราะสาวโพธารามส่ ว นใหญ่ มี ทั้ ง จีนและมอญ ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องผิวพรรณผุดผ่อง อีกทั้งมีหน้าตารูปร่างสะโอดสะอง เห็นทีผมต้อง ไปโพธารามให้บ่อยขึ้นซะแล้วสิ! ส่วนใครที่มีเวลาเหลือ ขอแนะนำให้เดินจาก ย่านบ้านไม้เก่า ทะลุไปออกถนนเส้นเลียบริมน้ำ แม่ ก ลองบริ เ วณ วั ด ไทรอารี รั ก ษ์ เดิ น เล่ น ใต้ ร่ ม ไม้ ร่ ม รื่ น แวะไปทั ก ทาย ร้ า นลุ ง ดำ ซ่ อ มจั ก รยานเก่ า แล้ ว อาจจะเช่ า จั ก รยานปั่ น ไปถึ ง วั ด คงคาราม ชมวั ด มอญที่ มี ภ าพ จิ ต รกรรมฝาผนั ง งดงามไม้ แ พ้ ที่ ใ ดๆ หนึ่ ง วั น ã¹ โพธาราม สำหรับผมจึงแทบจะไม่พอเสียด้วยซ้ำ เพราะยังมีรายละเอียดอันน่าค้นหาอีกมาก และผม อยากชวนคุณไปด้วยกัน... 1


โพธาราม แห่ง วันวานคืออนาคต

พธาราม เป็ น เมื อ งที่ ค่ อ นข้ า งใหญ่ มี ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง

อย่างเมืองใหญ่ๆมี แต่ด้วยลักษณะเป็นเมืองปิด ไม่ใช่ เมืองทางผ่านเช่นเมืองราชบุรี และไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรม เช่นเมืองบ้านโป่ง โลกของชาวโพธาราม จึงเป็นดัง่ อีกโลกหนึง่ ทีม่ บี รรยากาศ สีสนั ความมีชวี ติ ชีวาไม่เหมือนใคร และดูสงบงาม อยู่ในที มีคนกล่าวไว้ว่า โพธาราม นี้เหมือน ถุงทอง ถ้าใคร

เห็นทองที่นอนอยู่ก้นถุง ก็ทำให้เมืองนี้รุ่งเรือง ดั่งได้ใช้ทอง

ให้เป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญที่จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปธรรมได้ง่ายที่สุด อยูท่ ี่ อาคารเก่าแก่ ทีม่ อี ยูม่ ากมาย ส่วนมากเป็นอาคารไม้โบราณ อายุนับร้อยๆ ปี มีความงดงามแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสูง การอนุรั ก ษ์ แ ละปรั บ ปรุ ง อาคารเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่จะ ทำให้โพธารามโดดเด่น กลายเป็นที่รู้จักของผู้คนภายนอกและ นำเม็ดเงินใหม่ๆ จากกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆจากภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะนั ก ท่ อ งเที่ ย ว เพื่ อ ฟื้ น ฟู เ ศรษฐกิ จ และเรี ย ก ความภาคภูมิใจ ของพวกเราชาวโพธารามกลับคืนมาโดยมี แนวคิดที่ว่า ‘วันวานคืออนาคต’

โพธาราม นี้เหมือน ถุงทอง ถ้าใครเห็นทองที่นอน อยู่ก้นถุง ก็ทำให้เมืองนี้รุ่งเรือง ดั่งได้ใช้ทอง

ให้เป็นประโยชน์ 22


อาคารเก่าเล่าเรื่อง กล่าวกันว่า อาคารเก่าๆ ก็เปรียบเสมือน คนเฒ่า พ่อแก่ แม่ชรา ยามเจ็บป่วยได้ไข้ ก็ต้องเยียวยา ดูแล รักษา หัวใจตีบตัน ก็ผ่าตัด ทำบอลลูน หัวเข่าเสื่อม กระดูกกร่อน ก็ผ่าตัด ดามเหล็ก ใส่น็อต ฟันผุ หมดสภาพ ก็ต้องถอน ใส่ของปลอม นั่น! เยียวยา...รักษา... แล้วลูกหลานก็ต้อง คอยดูแล ให้ถือไม้เท้าเวลาท่านเดิน นั่งรถเข็นเมื่อพาท่านออกไปไกลๆ เครื่องแต่งกาย เก่าซอมซ่อ เหม็น สกปรก ก็ปรับแต่งให้ดูภูมิฐาน...มีรสนิยม...สมวัย มองดูเพื่อนบ้านใกล้ไกล แล้วเหลียวดูท่าน ใส่เสื้อก็อย่าให้ดูแปลก สวมผ้าก็อย่าให้ดูต่าง กล่าวกันว่า อาคารเก่าๆ ก็เปรียบเสมือน คนเฒ่า พ่อแก่ แม่ชรา ถ้าเรารักท่าน เทิดทูนท่าน ก็ต้องช่วยกัน...อนุรักษ์ท่านไว้ ให้อยู่คู่กับพวกเราไป...นานแสนนาน…

อาคารเก่าๆ ก็เปรียบเสมือน คนเฒ่า พ่อแก่ แม่ชรา

23


โพธาราม...วันวานยังจำไม่ลืม โพธาราม... วันวานยังจำได้ ทุกข์ สุข สนุกสนาน ตลาดที่จอแจ ถนนที่คลาคล่ำ ทักทายโอภาปราศัย ซื้อขายต่อรอง ภาษาไทยเดียวกัน สำเนียงต่าง และลงเอยด้วยรอยยิ้ม โพธาราม... บ้านฉันยังจำได้ ห้องแถวไม้ เป็นแนวระเบียบ เหมือนหนัง มิตร ชัยบัญชา ที่ดูในวิกครูทวี สนุกเริงร่าในงานแห่เจ้า ขบวนเอ็งกอหล่อโก้วของชาวจีน งานหาดทราย มีงิ้ว หนัง ลิเก ดนตรี ครึกครื้น อิ่มอร่อย งามตาในงานประเพณี พี่น้องชาวมอญ-ลาว โพธาราม... วันวานยังคงอยู่ เพียงเราช่วยรักษา ประทับไว้ในหน้าบันทึก โพธาราม เมืองคนสวย จันหญง

ชมรม

อย่าลืม...โพธาราม

ทีท่ ำการชมรมฯ ตัง้ อยูท่ ี่ บ้านแม่เลขา เลขที่ 10,12,14 ถ.โพธาราม ต.โพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 72000 ติดต่อผู้ประสานงาน • ผู้ประสานประจำโพธาราม นายปรีชา พระเวก (เอก) โทร. 08 1942 8183 • ผู้ประสานงานส่วนกลาง กรุงเทพฯ นายอภิชาติ ศิริอุดมเศรษฐ (ชาติ) โทร. 08 9668 5127 4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.