สร้าง โพธาราม ให้เป็น เมืองท่องเที่ยว เล่ม 1
ÍÀÔªาµÔ ÈÔรÔÍØ´มàÈรÉ°
1
ปฐมบท
ต้
องขอออกตัวไว้ก่อนว่า เนื้อหาในบทความนี้ มิได้เขียนเพื่ออวดอ้างว่าตัวเองมีความรู้หรือ ยอดเยี่ยมกว่าผู้อื่นใด ด้วยในวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 (วันตรุษจีนปี 2552)... ใหญ่ (ร้านเบเกอรี่หน้าอำเภอ) และ ¼Á ได้มีการนัดหมาย à¾×è͹æ และ ผู้ใหญ่หลายท่าน มานั่งพูดคุยกันถึงเรื่องจะทำอย่างไรถึงจะฟื้นฟู เศรษฐกิจของโพธารามให้กลับมาคึกคัก ครึกครื้น เหมือนสมัยก่อน ด้วยผมได้เฝ้าดูความเป็นไปของโพธารามอยู่นับสิบปี ทั้งได้วิเคราะห์และวิจารณ์ว่า โพธารามจะ ต้องเงียบและซบเซาตลอดไป ถ้าไม่มกี ารคิดใหม่แบบสร้างสรรค์ ประชากรในโพธารามจะน้อยลงไปเรือ่ ยๆ เพราะคนรุ่นใหม่จะอพยพหนีไปอยู่ที่เมืองอื่นๆกันหมด เพราะเศรษฐกิจไม่ดี เงินทองไม่สะพัด หลายคนอาจคิดแย้งว่า เวลาเทศกาลต่างๆ ก็จะมีคนเข้ามาเทีย่ วชมมากมาย แต่ผมให้ความเห็นไปว่า หลังจากจัดงานเทศกาลต่างๆที่แต่ละครั้งใช้เงินไปอย่างมากแล้ว โพธารามก็จะมาเหมือนเดิม... เงียบและวังเวง! ถ้าอย่างนั้นประเด็นอยู่ที่ไหนเล่า? 2
การนัดประชุมพูดคุยจึงเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2552 นี้ เป็นการนัง่ จิบชา จิบกาแฟ พูดคุยกันแบบคนกันเอง โดยแต่ละท่านได้พดู ถึงประเด็นและปัญหาต่างๆ ของบ้านเราอย่างมากมาย โดยพอสรุปได้ว่า มีวธิ เี ดียวทีจ่ ะ ¿„นœ ¿ูเศรษ°กิจโพธาราม ให้กลับมาอีกครัง้ จะต้องทำให้บา้ นเราเป็น เมืองท่องเทีย่ ว โดยอาศัย ตลาดบน ที่ยังเหลือ ห้องแถวไม้เก่าแก่อายุนับร้อยป‚อยู่มากมาย นี่คือเสน่ห์และสีสันของ บ้านเราที่พวกเราต่างมองข้ามไป พวกเราต้องคิดแบบใหม่ๆ เริ่มจากการ อนุรักษ์ของเก่า เพื่อก้าวหน้าเติบโตแบบยั่งยืน! ที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ เราต้องทำเป็น ตลาดนัดของอร่อย แล้วนำ วิกครูทวี มาเป็น จุดขาย!?! และต้องขอเน้นย้ำว่า ประเด็นสำคัญที่สุด คือ การ¿„œน¿ูเศรษ°กิจ...มิใช่เรื่องอื่นใด! ในที่ประชุมได้สรุปว่าให้ อาจารย์สรายุทธ ไปค้นคว้าหา ข้อมูลของโพธาราม ขึ้นมา เพื่อนำมา เป็นข้อมูลของโพธาราม และใช้เป็นแนวทางวางแผนแบบสร้างสรรค์ต่อไป 3
ชมรม
อย่าลืม...โพธาราม สร้าง โพธาราม ให้เป็น เมืองท่องเที่ยว
อีกทั้งเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กลับมาสู่ผู้คนบ้านเราอีกครั้ง และให้ผมไปร่างโครงการต่างๆที่คิดไว้ว่าเป็นอย่างไร? ทำไม? และจะทำเช่นใด?...ผมจึงได้รา่ งแนวคิดแผนงานต่างๆแบบคร่าวๆนีข้ น้ึ โดยใช้ชื่อว่า ชมรม
อย่าลืม...โพธาราม
สร้างโพธารามให้เป็นเมืองท่องเที่ยว
หนึ่ง...ฟื้นฟูเศรษฐกิจ วิถีชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง สอง...อนุรักษ์อาคารเก่า ผู้อาศัยเข้าใจ ได้ใจผู้เยือน สาม...บ้านเมืองน่าอยู่ ชุมชนสวยงาม และข้อสรุปสำคัญว่า พวกเราน่าจะได้รวมกลุ่มตั้งเป็น ชมรม หรือเป็น คณะกรรมการ เพือ่ จะได้เป็นพลังสร้างสรรค์งานทีค่ ดิ วางแผนไว้ ในเล่ ม นี ้ จ ึ งได้ ข อเสนอแนะเป็ น ชมรมอย่ า ลื ม ...โพธาราม กาลข้างหน้ามีการเปลีย่ นแปลงอย่างไร คงเป็นเรือ่ งของทีป่ ระชุมทีจ่ ะ ได้ตกลงกันต่อไป ท้ายสุด...พวกเราเป็นกลุ่มคนที่เพียงคิดดี หวังดีต่อโพธาราม เพื่อจะได้ก้าวหน้าพัฒนาเทียมไหล่ เทียบชั้นเพื่อนบ้านต่างอำเภอได้ มิได้หวังผลทางการเมือง มิได้หวัง ลาภ-ยศ-สรรเสริญ อื่นใดเลย! และความคิดทีเ่ สนอแนะนี้ ก็เป็นเพียงความคิดเห็นชัน้ ต้นของผม ที่เห็นมาน้อย ผ่านโลกมาไม่มาก ข้างหน้าหวังว่าจะได้รบั การชีแ้ นะ และแนะนำจากท่านผูร้ ทู้ ง้ั หลาย ผมหวังว่า พวกเราคงได้รบั ความร่วมมือจากทุกท่าน เข้าร่วมเป็นหนึง่ ในสมาชิกของกลุ่มที่จะจัดตั้งขึ้น เพื่อรวมเป็นพลังที่จะสร้างสรรค์ให้ โพธาราม กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง! ÍÀÔªÒµÔ ÈÔÃÔÍØ´ÁàÈÃÉ° 28 เมษายน 2552 ผูป้ ติระสานงาน ดต่อพูดคุยได้ที่ผู้ประสานงานประชุม 2 ท่าน • ประจำโพธาราม นายปรี พระเวกโทร. (เอก)089 โทร.254 08 5005 1942 8183 • ใหญ่ (ฮุน้ เบเกอรี ่ หน้ชาาอำเภอ) (ฝ่ายโพธาราม) • ส่วนกลาง กรุงเทพฯ นายอภิชาติ ศิรอิ ดุ มเศรษฐ (ชาติ) โทร. 08 9668 5127 • ชาติ โทร. 089 668 5127 (ฝ่ายกรุงเทพฯ) 5
ชมรม
อย่าลืม...โพธาราม
สร้างโพธารามให้เป็นเมืองท่องเที่ยว หนึ่ง... พื้นฟูเศรษฐกิจ วิถีชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง สอง... อนุรักษ์อาคารเก่า ผู้อาศัยเข้าใจ ได้ใจผู้เยือน สาม... บ้านเมืองน่าอยู่ ชุมชนสวยงาม
1
เกริ่น…มีเรื่องเล่าขาน จนกลายเป็นตำนานแห่งความภาคภูมิใจ ที่คนโพธารามมักจะเล่าและ บอกต่อ เพื่อถ่ายทอดจากชนรุ่นหนึ่งถึงชนอีกรุ่นหนึ่งว่า “ในสมัยก่อนนั้น...คนบ้านโป่ง คนราชบุรี จะแต่งตัวดีๆ ใส่รองเท้าหนังขัดมัน ขับรถเบนซ์โก้หรู คันโต เข้ามากู้เงินคนโพธาราม แต่ ค นในโพธารามจะแต่ ง ตั ว ปอนๆ ใส่ ร องเท้ า แตะ นั่ ง รถไฟไปเก็ บ ดอกเบี้ ย ที่ บ้ า นโป่ ง และ ราชบุรี” ความภาคภูมิใจว่า เราเป็น “อำเภอเมือง” หนึ่งในสามของราชบุรี (อีกแห่งคือ อำเภอเมือง บ้านโป่ง) “อำเภอเมือง” ไม่ได้เป็นที่ตั้งของตัวจังหวัด แสดงให้เห็นว่า อำเภอนี้ใหญ่โตกว้างขวางและ มีผู้คนพลเมืองหนาแน่น จนได้รับการประกาศเป็น อำเภอเมือง มาตั้งแต่ครั้งอดีต อีกทั้ง โพธาราม เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญบนลุ่มแม่น้ำแม่กลองมานานนับร้อยๆปี เจ้าเมืองมอญ ที่ปกครองแถบทองผาภูมิ สังขละบุรี ก็ตั้งนิเวศน์สถานอยู่ที่ โพธาราม (อาจจะอยู่แถวชุมชนมอญ แถบวัดคงคาราม ริมแม่น้ำแม่กลอง ที่จะต้องสืบค้นต่อไป) เป็นเมืองที่มีพลเมืองมาก กระทั่งเมื่อ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตก พระองค์ก็ยังเสด็จขึ้นที่ ตลาดโพธาราม วันนี้ยังปรากฏถนนสายหนึ่งมีชื่อว่า “ถนนทรงประพาส” เป็นหลักฐานยืนยัน ไม่ใช่เพียงเท่านั้น โพธาราม เป็น แหล่งปะทะสังสรรค์ของผู้คนหลากชาติพันธุ์ เป็นชุมชน แห่งความสมานฉันท์ ที่งดงามและน่าทึ่งอย่างไม่น่าเชื่อ! ใน ตลาดโพธาราม คนไทยเชื้อสายจีน เป็นพลเมืองกลุ่มใหญ่ รอบนอกออกไปบริเวณ ริมแม่น้ำ แม่กลอง คนไทยเชื้อสายมอญ จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ถัดออกไป กลางทุ่งห่างแม่น้ำแม่กลอง คนไทยเชื้อสายลาว ก็ตั้งชุมชน ทั้งหมดปะปนผสมปนเปกับ คนไทย ที่เป็นหลักในพื้นที่ กลายเป็น ผู้ ค นชนชาวโพธาราม ที่ มี เ สน่ ห์ แ ละสี สั น ของเผ่ า พั น ธุ์ วั ฒ นธรรมที่ ย ากจะหาที่ ไ หนเสมอเหมื อ น เป็น “สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ” ที่ ชาวโพธาราม รู้สึกว่าบ้านของตนเอง มีและเป็น แต่วันนี้ จะเห็นแต่ผู้คนบ่นถึงเรื่องเศรษฐกิจย่ำแย่ ตลาดไม่คึกคัก ชุมชนเงียบเหงา คนหนุ่มสาว ผู้เป็นกำลังและเป็นอนาคต เดินทางจากไป เข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ บ้านโป่ง ราชบุรี ฯ คนโพธาราม มองชุมชนรอบข้างด้วยหัวใจรันทด และห่อเหี่ยว! - บ้านโป่ง ได้ก้าวหน้า พัฒนาเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่โต ผู้คนคึกคัก เศรษฐกิจแสนครึกครื้น - ราชบุรี เป็นชุมทางสู่ภาคใต้ ผู้คนมั่งคั่ง ประชากรหนาแน่น และกำลังก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ - ดำเนินสะดวก ได้ล้ำหน้าเป็นจุดหมายปลายทาง ของนักเดินทางทั่วโลก และคงไม่ต้องพูดว่า ผู้คนจะหน้าชื่นยิ้มแย้มเช่นไร อำเภอระดับเดียวกับเรา พวกเขาได้เดินหน้าก้าวเท้าสู่สังคมภายนอก โดยยืดอกเชิดหน้าได้อย่าง ภาคภูมิ แล้วเหลียวกลับมามองที่...โพธาราม!?!?!?! แล้วดั่งถูกสายฟ้าฟาดลงกลางใจ!
ขณะที่ คนโพธาราม เหลียวตามองแต่อำเภอใหญ่ๆระดับใกล้เคียงกัน พลันก็เกิดมีน้องเล็กสุด นอกสายตา โผล่ขนึ้ มา-แต่งตัว-อวดโฉม-เปิดตัว-เชิดหน้า ออกสูผ่ คู้ นสังคมภายนอก...ตำบลเจ็ดเสมียน “เจ็ดเสมียน ไม่เห็นมีอะไรเลย!” คนโพธารามมักจะพูดกันเช่นนี้อยู่เสมอ ตำบลเล็กๆในเขตอำเภอเมืองโพธารามทีไ่ ม่มอี ะไรเลยในสายตาคนโพธาราม แต่ใน 2-3 ปี ทีผ่ า่ นมานี้ เจ็ดเสมียน กลายเป็นที่รู้จักและจดจำว่า จะเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางไปเยือนใน ครั้งหน้าของ...คนกรุงเทพฯ ความสำคัญ สิ่งที่พวกเขาได้รับไปเต็มๆนอกจาก ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และหน้าตา คือ “เศรษฐกิจ” ที่นำเงินทองจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนเล็กๆของพวกเขา วันนี้พวกเขากำลังปรับปรุง ให้เมืองเขาน่าดู น่าชมขึ้นไปอีก ท้ายสุด พวกเขาก็จะมีกินมีใช้ เมืองน่าอยู่ก็จะกลายเป็นที่น่าใช้ชีวิต น่าเข้ามาพักอาศัย! เมือ่ ดูจากสภาวะรอบตัว และบรรยากาศรอบด้านแล้ว วันนีถ้ งึ เวลาที่ “โพธาราม” จะกลับมาอีกครัง้ กลับมาเพือ่ ฟืน้ ฟูเศรษฐกิจทีก่ ำลังย่ำแย่และถดถอย กลับมาฟืน้ ฟูความมัน่ ใจ ความภาคภูมใิ จ กลับมา ฟื้นฟูความเป็น บ้านที่น่าพำนัก เมืองที่น่าอยู่ เรือนที่น่าใช้ชีวิต! ยังมิสายเกินไป เพราะพวกเรายังมีทรัพยากรอันมีค่าอยู่อีกมากมาย และโดยเฉพาะทรัพยากรที่ สำคัญที่สุดคือ โพธาราม ยังมี “คน”…ที่ต่างรักและหวงแหนบ้านนี้ เรือนนี้ ทั้งยังมีแรง มีกำลังวังชา มีสติปัญญาที่จะร่วมมือกัน พาบ้านเรา โพธาราม ก้าวเดินไปข้างหน้า บทความนี้จึงเกิดขึ้น! อาจจะเป็นเพียงความคิดเดียว-ยังไม่ได้ขัดเกลา-ยังไม่สมบูรณ์-หรืออาจจะไม่ใช่ เพียงแต่ว่า อยากให้ ผู้คนชนชาวโพธาราม ได้รับรู้ว่า ณ...เวลานี้มีคนกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่มี ผลประโยชน์แอบแฝง หรือ ไม่มีอามิสสินจ้างใดๆ ต่างได้เข้ามาร่วมใจกัน หวังเพียงเพื่อฟื้นฟู โพธาราม กลับขึ้นมายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนบ้านได้อีกครั้ง!?!
2
เป้าหมาย...ฟื้นฟูเศรษฐกิจ อนุรักษ์อาคารเก่า บ้านเมืองน่าอยู่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ นี่เป็นประเด็นแรก และประเด็นสำคัญที่เราจะทำให้ โพธาราม กลับมาคึกคัก มีชีวิตชีวาอีกครั้ง...และด้วยวิธีใดเล่า!?! ข้อเสนอแนะ...ทำให้ โพธาราม เป็น เมืองท่องเที่ยว !?!?!?!?! บ้าหรือ? ใครจะมาเที่ยว? โพธารามมีอะไรเที่ยว? ฝันมากไปหรือเปล่า? ...หลายท่านอาจจะมีคำถาม ที่มีคำตอบในตัวเองแล้วว่า...บ้านเราคงเป็นได้แค่นี้! แต่เราจะปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ต่อไปหรือ!?! ถ้าคำตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า เมื่อบ้านเราไม่มีอะไร ก็สร้างขึ้นมาสิ!
ฟื้นฟูเศรษฐกิจ อนุรักษ์อาคารเก่า บ้านเมืองน่าอยู่
ห้องแถวไม้เก่าแก่ที่ดูไร้ค่า แต่คือเพชรที่รอการเจียระไนจากพวกเรา?
สถานที่หลายแห่งเขาใช้เงินทุนสร้างขึ้นมาจากพื้นที่โล่งๆไม่มีอะไรเลย อย่าง ตลาดน้ำสี่ภาคที่ พัทยา เขาก็ลงทุน สร้างทุ่งนาให้กลายเป็นเมืองเก่า ไปซื้อบ้านเก่าจากที่ต่างๆมาสร้างบนที่นาเก่า และทำทุกมุมให้สวย ให้เก่า ให้ดูขลัง ให้ดูเป็นพื้นบ้าน ให้ดูมีรสนิยม ให้ดูมีบรรยากาศ...แล้วก็ โปรโมทออกไป วันนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดตลาดไปแล้ว! หรือ ตลาดน้ำบางน้ำผึง้ ทีพ่ ระประแดง จากสวนผลไม้เก่า ทีม่ แี ต่ยงุ และแมลงร้าย พวกเขาก็คดิ ขึน้ มาว่า จะทำอย่างไรเพือ่ เศรษฐกิจจะได้พอมีพอกินขึน้ มาบ้าง ก็เกิดมีคนเสนอไอเดียว่า ปรับท้องร่องสวนผลไม้ เก่าเนือ้ ทีส่ กั 10 ไร่ ขึน้ มาเป็นตลาดน้ำ โดยการสร้างร้านค้าเป็นเพิงหมาแหงนขึน้ มา ให้ชาวบ้านนำอาหาร และสินค้าท้องถิน่ มาขาย แล้วก็ให้มเี รือพายขายของในท้องร่อง ปรับมุมโน้นให้นา่ ดู ปรับมุมนีใ้ ห้นา่ รักดูเก๋ไก๋ ...วันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของคนกรุงเทพฯไปแล้ว (แม้ว่าจะติดตลาดก็ใช้เวลาอยู่หลายปี) 10
ความงามอันมีเสน่ห์ของ ห้องแถวไม้ที่รอการปรับให้น่าดู!
หรือ รีสอร์ทหลายแห่ง โรงแรมหลายที่ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหลายหลัง ได้ลงทุนไปซื้อบ้านไม้เก่าๆ เศษไม้เก่าๆ มาปรุงขึ้นใหม่ ให้เหมือนกับห้องแถวไม้โบราณ ไปซื้อหาของเก่าๆ เช่น โต๊ะตัดผม โบราณ ป้ายชื่อร้านแบบโบราณ หม้อต้มกาแฟโบราณ โต๊ะ เก้าอี้แบบโบราณ ฯลฯ เงินก้อนเดียวกัน แต่ใช้แบบสร้างสรรค์ มีรสนิยม ให้ดูเป็นพื้นถิ่น พื้นบ้าน...ก็นำมาเป็นจุดขายได้ สิง่ ทีย่ กมา พยายามให้เห็นว่า จากไม่มอี ะไรเลย เขาใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ สร้างเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวขึ้นมาจากร่องสวน แปลงนา กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวไปได้! แต่ โพธาราม ยังมีกอ้ นเพชรเม็ดใหญ่ ทีว่ นั นีย้ งั ไร้คา่ ดูขะมุกขะมอม จมดิน จมโคลน รอผูม้ คี วามคิด สร้างสรรค์ นำขึ้นมาเจียระไน ขัดสีฉวีวรรณขึ้นมาเป็นอัญมณีอันเลอค่า นั่นคืออะไรหรือ? 11
ก่อนที่จะคำถามว่า ก้อนเพชรที่ยังไม่เจียระไนของโพธารามคือสิ่งใด เราจะต้องมองย้อนกลับไปหา กลุ่ ม เป้ า หมายที่ เ ราจะนำก้ อ นเพชรนี้ ขึ้ น มาขายก่ อ น เพื่ อ จะได้ เ จี ย ระไนเพชรก้ อ นนี้ ใ ห้ ต รงใจ ผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย คือ คนกรุงเทพฯ ทำไมต้อง คนกรุงเทพฯ? สิ่งสำคัญ พวกเราต้องดึงเม็ดเงินจาก ภายนอก เข้ามากินมาใช้ในบ้านของเรา กลุ่มคนมีกำลังซื้อ สูงสุดคือ คนชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ คนในกรุงเทพฯ นั้น ความต้องการพื้นฐานคือต้องการพักผ่อนในวันหยุดสั้นๆ เช่นเสาร์-อาทิตย์ เมืองท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯในรัศมีระยะการเดินทางราว 100-150 กม. คนกรุงเทพฯก็จะพากัน ขับรถ เดินทางไปเที่ยวชมแบบไปเช้า-กลับเย็น แล้วจะทำอย่างไรให้ โพธาราม เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวในช่วงสั้นๆแบบเสาร์-อาทิตย์ เราต้องหาความต้องการของคนกรุงเทพฯก่อน ว่าเขาชอบ เขาสนใจ และมีเป้าหมายในการ เดินทางอย่างไร? - เรือ่ งระยะทางต้องไม่ไกลเกินไป โพธาราม ห่างจากกรุงเทพฯเพียง 80 กม. หรือเพียง 1 ชัว่ โมง เท่านั้น! - คนกรุงเทพฯต้องการหาอะไรที่ไม่ซ้ำซากจำเจ • ไม่เหมือนเดิมๆที่พวกเขาพบเห็นอยู่ทุกวัน • ชอบเดินทางไปหาของกิน ยิ่งถ้าของกินอร่อยๆก็เป็นเป้าหมายสำคัญแรกๆ • พวกเขาโหยหา สาระจากอดีต วันนี้พวกเขารู้สึกว่า ปัจจุบันไม่มีเนื้อหามากพอให้พวกเขา ค้นหา อัมพวา สามชุก เจ็ดเสมียน หรือ ตลาดร้อยปีต่างๆ จึงตอบโจทย์ให้พวกเขาได้ดี • และมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย ลองมองมาที่ จุดขายของโพธาราม ก้อนเพชรที่ยังไม่เจียระไน คือ ห้องแถวไม้เก่าแก่-วิถีชีวิต ดั้งเดิม-อาหารอร่อย-บรรยากาศริมแม่น้ำแม่กลอง - โพธาราม เป็นศูนย์กลางของการเดินทางท่องเทีย่ วโดยรอบได้ เพราะมี วัดขนอน-วัดเขาช่องพราน -วัดคงคาราม-พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง-วัดหนองหอย-วันนี้ยังมีตลาดเก่า 100 ปีที่เจ็ดเสมียน ขึ้นมาอีก เมื่อเขาโปรโมท เราก็อาศัยการโปรโมทของเขา แล้วดึงคนให้แวะผ่านเข้ามาบ้านเราด้วย เมื่อเริ่มต้น เราต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เขาจะไม่พึ่งพาเราก็ตาม แต่เราต้องอาศัยจังหวะที่เขาทำอยู่แล้ว (ลองสังเกตดูป้ายโฆษณาจังหวัดราชบุรี จะมีรูปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ 3 แห่งอยู่ด้วยกันเสมอ คือ ตลาดน้ำดำเนินฯ-ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม-หนังใหญ่วัดขนอน ...2 แห่งสุดท้ายอยู่ใน อำเภอโพธาราม ทั้งสิ้น)...นี่คือ ก้อนเพชรที่รอการเจียระไนของเรา! 12
ระดม ผู้คน ชนชาวโพธาราม เข้ามาคิด เข้ามาเสนอความเห็น
3
ข้อเสนอแนะ...ระดม ผู้คนชนชาวโพธาราม เข้ามาคิด เข้ามาเสนอความเห็น แต่ที่จะเสนอต่อ ไปนี้ ไม่ใช่ข้อสรุป ขอเน้นว่า...เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น! - ตั้ ง เป็ น “ชมรมอย่ า ลื ม ...โพธาราม” หรื อ คณะกรรมการร่ ว มโพธาราม หรื อ ……? โดยไม่เกี่ยวข้องกับ การเมืองและผลประโยชน์สิ่งใดทั้งสิ้น - ชมรมอย่าลืม...โพธาราม ต้องเป็นของทุกคนที่สนใจ ไม่ว่าคนนั้นจะเกิดที่ไหน จะอยู่ที่ไหน จะเป็นใครก็ได้ที่มีใจร่วมกัน (อย่าไปปิดกั้นความตั้งใจของผู้มีใจให้กับเรา) - ชมรมอย่าลืม...โพธาราม จึงเป็นทีร่ วมของพ่อค้า แม่คา้ ประชาชน ข้าราชการ นักการเมืองฯลฯ เพื่อร่วมมือกัน หาคนลงแรง หาคนช่วยทุนบ้าง แล้วหาคนทำงาน ทำไมไม่ให้ ฝ่ายการเมือง เป็นผู้ลงมือทำ - ควรจะได้รับความร่วมมือจาก ผู้คนชนชาวโพธารามทุกกลุ่ม ถ้าเกี่ยวกับการเมือง ฝ่ายตรงข้าม จะไม่ให้ความร่วมมือ - การเมืองไม่แน่นอน ผู้บริหารเก่าสร้างไว้ ผู้บริหารใหม่ไม่เอาด้วย ก็จะล้มโครงการเสีย - หน่วยงานหลายแห่งต้องการความร่วมมือจากชุมชนมากกว่า - แต่กระนั้นเราก็ต้องไม่ลืมว่า ฝ่ายการเมืองเป็นผู้บริหารทรัพยากร จึงต้องอาศัยความร่วมมือ ลงแรง ลงใจไปในทางเดียวกัน 13
วิกครูทวี โรงหนังเก่าที่เป็น “สมบัติของโพธาราม” ที่ควรอนุรักษ์และรักษา 14
4
สิ่งที่คิดทำ ให้ชมรมฯ สร้าง โพธารามเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่ ควรแตกต่างจาก ตลาดโบราณ หรือตลาดร้อยปีอื่นๆ แม้จะเป็นเมืองท่องเที่ยวแค่เพียงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็ยังดี นั่นหมายถึง เศรษฐกิจบ้านเราก็จะคึกคักตามมา โดยวิธี ชิมของอร่อย ชมหนังใหญ่โบราณ ช้อปสินค้าพื้นเมือง ชิดใกล้สาวสวยที่ตลาดห้องแถวไม้ ร้อยปีโพธาราม ตลาดนัดย่านตลาดโบราณ-อาคารเก่า ชมการแสดงในโรงวิกอายุ 80 ปี พลิกฟื้น ตำนานเล่าขานเรือ่ งราววัฒนธรรมชาวไทย ชาวจีน ชาวมอญ ชาวลาว ทีผ่ สมปนเปคือ...เสน่หส์ ดุ ยอด! รายละเอียด ขอเสนอว่าน่าจะใช้ วิกครูทวี ที่มีอายุ 60-70 ปีเป็นตัวชูโรง เพราะ วิก-หรือ โรงหนังเก่า ทีเ่ ป็นอาคารคอนกรีต แบบนีท้ วั่ ภาคตะวันตก หาดูทไี่ หนไม่ได้แล้ว วิกครูทวี เป็นอาคารเก่า ที่ยังสมบูรณ์ มีคุณค่าทางงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสูงมาก ได้พาสถาปนิกหลายคนมาดูแล้ว ทุกคน ตื่นเต้นที่ยังเห็นความสมบูรณ์ของอาคารนี้ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่าง คนทีร่ คู้ า่ และ คนทีม่ ฝี มี อื อาคารวิกครูทวี จะเป็น อาคารเก่าทีม่ ชี อื่ เสียงทีส่ ดุ ของภาคตะวันตกทีเดียว! ภายใน วิกครูทวี ยังมีจอหนัง ยังมีม้านั่งไม้แบบโบราณ ยิ่งที่นั่งไม้ชั้นบนเป็นเก้าอี้แบบโบราณ พับได้ ยังใช้งานได้ดี เราจะต้องทำให้ วิกครูทวี ได้รับประกาศให้เป็น สมบัติของโพธาราม (โดยทาง ชมรมฯ หรือทางเทศบาล หรือทางสมาคมสถาปนิกต่างๆ) เป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เราจะนำที่นี่เป็นจุดขายแรกๆก่อน ก่อนที่จะขยับไปจุดอื่นๆ ขอเสนอแนะตรงนี้คือ ให้มีการ เช่า วิกครูทวี เพื่อนำมาซ่อมปรับปรุง เพื่อใช้ที่นี่เป็น พิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่น-โรงละครท้องถิ่น-โรงหนังท้องถิ่น จัดให้มีการแสดงต่างๆ เป็นรอบๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว (ภัทราวดี ไปลงทุนหลายล้านบาทจัดการแสดงที่ บ้านดิน ห่างจากตลาดเก่าร้อยปีเจ็ดเสมียนเกือบ 1.50 กิโลเมตร เป็นแม่เหล็กที่ทำให้ตลาดเก่าเจ็ดเสมียนขึ้นมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้) ถ้าเราเอา วิกครูทวี มาเป็นจุดขายเริ่มต้น แล้ว ปิดถนนให้เป็นถนนคนเดินเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ ตรงหัวถนนโชคชัยจากสี่แยกถนนท่านัด แล้วเลี้ยวเข้าถนนโชคชัยทอดยาวไปผ่านวิกครูทวีจนถึงที่ โล่งกว้างข้างวิกครูทวี หน้าร้านหยูไห่ 2 และร้านหมูสะเต๊ะ บริเวณนีจ้ ะเหมือนจัตรุ สั กลางเมืองในยุโรป บรรยากาศบ้านเสาสูง ร้านจักรยานคุณดำ ที่ริมน้ำ ใกล้วัดไทรฯ คือเสน่ห์ที่เราควร อนุรักษ์และรักษาไว้ บริเวณนีถ้ า้ ใครคิดทำเป็น ทีพ ่ กั เล็กๆ จะสวยงามมาก เพราะบรรยากาศริมแม่น้ำ สวยที่สุด! 15
ถนนคนเดิน เน้นไปที่ สร้างเป็น ตลาดนัดของอร่อยโพธาราม เป็น หาบเร่แผงลอย เรียงรายมาถึง ข้างวิกครูทวี ปรับปรุงทีโ่ ล่งโดยเพิม่ ฉากหลังตกแต่งให้สวยงาม สิง่ สำคัญทีส่ ดุ ปรับปรุงวิกครูทวี ให้เป็น ศูนย์บนั เทิง โรงหนัง โรงละคร แล้วจัดให้มกี ารแสดงต่างๆ เป็นรอบๆ อาทิ...(ตัวอย่างใบโบรชัวร์แนะนำ) ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣
Œ͹ʹյ ¿„œ¹¤ÇÒÁ·Ã§¨Óᵋ˹ËÅѧ
ªÁÇÔ¶ÕÊÁÒ¹©Ñ¹· ¢Í§¼ÙŒ¤¹ËÅÒ¡àª×éÍªÒµÔ ä·Â ¨Õ¹ ÁÍÞ ÅÒÇ ·Õè µÅÒ´¹Ñ´¢Í§ÍËÍ º¹ ¶¹¹¤¹à´Ô¹ ºÃÔàdz µÅҴˌͧá¶ÇäÁŒÃŒÍ»‚...⾸ÒÃÒÁ ·Ø¡àÊÒà - ÍÒ·ÔµÂ
àªÔÞ·‹Ò¹¡ÅѺ仫ÖÁ«ÑººÃÃÂÒ¡ÒÈã¹Í´Õµ·Õè µÅÒ´¹Ñ´¢Í§ÍËÍ º¹ ¶¹¹¤¹à´Ô¹ ºÃÔàdz µÅҴˌͧá¶ÇäÁŒÃŒÍ»‚...⾸ÒÃÒÁ ¶¹¹´ŒÒ¹Ë¹ŒÒ ÇÔ¡¤ÃÙ·ÇÕ ËÃ×Í âç˹ѧâºÃÒ³ÍÒÂØ 80 »‚ ·ÕèÂѧÊÁºÙó áÅÐàËÅ×ÍáË‹§à´ÕÂÇã¹ÀÒ¤µÐÇѹµ¡ áÅÐ ªÁ¡ÒÃáÊ´§¾×鹺ŒÒ¹¢Í§â¾¸ÒÃÒÁ ã¹ ÇÔ¡¤ÃÙ·ÇÕ ·ÕèÍÇÅ´ŒÇºÃÃÂÒ¡ÒÈ âºÃÒ³-à¡‹Òá¡‹ ÊÑÁ¼ÑÊÇÔ¶ÕªØÁªÁÊÁÒ¹©Ñ¹· ¢Í§¼ÙŒ¤¹ËÅÒ¡àª×éÍªÒµÔ ä·Â ¨Õ¹ ÁÍÞ ÅÒÇ ·Õè»Ð·ÐÊѧÊÃä ¨¹à»š¹ÇԶբͧ ªÒÇ⾸ÒÃÒÁ 10.30 ¹. ªÁ ¡ÒÃáÊ´§¹Ò¯ÈÔÅ»ŠÁÍÞ â´Â ªØÁª¹ªÒÇÁÍÞ-ÊÂÒÁ ÇÑ´¤§¤ÒÃÒÁ 12.00 ¹. ªÁ ¡ÒÃáÊ´§«ŒÍÁµÑèÇËÅ‹Íâ¡ŒÇ â´Â ªØÁª¹ªÒǨչ-ÊÂÒÁ ªÒǵÅҴ⾸ÒÃÒÁ 13.30 ¹. ªÁ ¡ÒÃáÊ´§àªÔ´Ë¹Ñ§ãËÞ‹ÇÑ´¢¹Í¹ 15.00 ¹. ªÁ ¡ÒÃáÊ´§¾×鹺ŒÒ¹ÅÒÇ â´Â ªØÁª¹ÅÒÇ-ÊÂÒÁ ÇÑ´ºŒÒ¹ÊÔ§Ë ÇÑ´ºŒÒ¹àÅ×Í¡ 16.30 ¹. ªÁ ¡ÒÃáÊ´§¾×鹺ŒÒ¹·ŒÍ§¶Ôè¹â¾¸ÒÃÒÁ ÍÒ·Ô ÅӵѴ ÅÔࡠࢌҼÕÅÔ§ ࢌҼÕáÁ‹ÈÃÕ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ ✣✣ 1
การแสดงเหล่านี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ว่า พวกเราอยู่อาศัยอย่างผสมกลมกลืน มีความ สมานฉันท์ระหว่างผู้คนเชื้อชาติต่างๆที่อยู่ในตลาดและรอบๆโพธาราม สร้างให้โพธารามมีวัฒนธรรม อันมีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยเฉพาะ คนสวยโพธาราม อันเลื่องชื่อไปทั่วประเทศ! แนวคิดแบบเก่า เช่น การจัดงานรูปแบบเดิมๆที่เคยเป็นมา อาทิ จัดดนตรี จัดลูกทุ่ง จัดลิเก จัดตลาดนัดของถูก จัดตลาดนัดต้นไม้ จัดตลาดนัดของอร่อย โดยใช้ที่ว่างบนเขื่อนหรือริมแม่น้ำ แม่กลองเป็นหลัก (เหมือนกับจัดงานหาดทราย, งานลอยกระทง) นั่นมิใช่สิ่งที่ผิดแปลกไปแต่อย่างใด! แต่เมื่อเราต้องการ กลุ่มเป้าหมายใหม่ เราต้องคิดใหม่! งานแบบเดิมๆที่เคยจัด อาจจะเน้น กลุ่มเป้าหมายเป็นแค่คนในพื้นที่ หรือ คนรอบนอกตลาด เช่นคนบ้านเลือก บ้านสิงห์ คนหนองโพ ฯลฯ ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ - - กลุ่มเป้าหมายที่เราจะพื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะเราต้องดึง กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อที่มากเพียงพอและจำนวนมาก นั่นคือ...คนกรุงเทพฯ ฉะนั้นต้องคิดแบบที่คนกรุงเทพฯ ต้องการและคาดหวังว่าจะมาเห็นอะไรที่บ้านของเรา!?! คำว่า ตลาดนัด จะต้องเริ่มตั้งแต่ มี อาหารแปลกๆอร่อย-เก่าแก่-หากินยาก ผสมกับของกิน ธรรมดาๆ ที่เราอาจจะต้องสร้างสรรค์โดยชุมชนต่างๆขึ้นมาใหม่ มีสินค้าพื้นบ้านมาขาย มีศิลปินมา เขียนภาพ มีภาพโปสการ์ดขาย คนเข้ามาถ่ายรูปอาคารเก่าๆ มาเที่ยวชมวิถีชีวิต! นี่คือคำตอบว่า ก้อนเพชรที่รอการเจียระไน คือสิ่งใด! บทสรุปข้อเสนอแนะแรก - นำ วิกครูทวี เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรม โปรโมทให้คนมาเที่ยว เสาร์-อาทิตย์ จัดเป็น ตลาดนัดแผงลอยหาบเร่ทมี่ กี ารออกแบบเก๋ไก๋ เป็นตลาดนัดของอร่อย ของโบราณ ของพืน้ บ้าน การแสดงจากผู้คนเชื้อชาติต่างๆ - จัดกิจกรรม ถ่ายรูปตลาดนัด โชว์รปู ถ่ายโบราณ มีนทิ รรศการภาพถ่ายของนักถ่ายรูปทัว่ ประเทศ - การโปรโมทเป็นสิ่งไม่ยาก เชิญผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แต่สิ่งสำคัญเราต้อง ทำงานให้ได้เป็นรูปเป็นร่างก่อน บ้ า นเสาสู ง ร้านจักรยาน ข อ ง คุ ณ ด ำ ริมน้ำ ใกล้วัดไทรฯ 17
18
ภายในวิกครูทวี มีจอหนัง มีม่านระบาย แบบโบราณ ดูงามเก๋ ดูเท่ๆ แต่คือเสน่ห์ ที่หาไม่ได้อีกแล้ว!
19
โพธารามนี้แสนโชคดี ทีย่ งั เหลือห้องแถวไม้เก่าแก่ อายุนับร้อยๆปีอยู่มาก ทั้งตลาดบน ตลาดล่าง 20
5
ความฝันต่อไป คนโพธาราม เคยพูดกันมาแล้วสิบๆปีว่า “เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว บ้านโป่งโชคดีที่เกิดไฟไหม้ครั้ง ใหญ่ เผาทั้งตลาดบ้านโป่งมอดหมด ห้องแถวไม้เก่าแก่ถูกเผาเกลี้ยง บ้านโป่งจึงสามารถได้สร้างตลาด ขึ้นใหม่เป็นห้องแถวคอนกรีตทั้งตลาด ไม่ เ หมื อ นโพธารามที่ ไ ฟไหม้ ค รั้ งใหญ่ เมื่ อ กว่ า 40 ปี ที่ แ ล้ ว ไฟไหม้ แ ค่ ต ลาดสดตอนกลาง แต่ ต ลาดบนและตลาดล่ า ง ไฟลามไปไม่ ถึ ง อาคารไม้ เ ก่ า แก่ ยั ง คงอยู่ ทำให้ โ พธารามไม่ เ จริ ญ เพราะตรอก ซอก ซอย แคบๆ ทำให้การคมนาคมการเดินรถลำบาก” แต่มาวันนี้ คนโพธาราม จะต้องพูดใหม่ว่า โพธารามนี้แสนโชคดี ที่ยังเหลือห้องแถวไม้เก่าแก่ อายุนับร้อยๆปีอยู่มากทั้งตลาดบน ตลาดล่าง นี่แหละคือก้อนเพชรเม็ดใหญ่ที่รอการเจียระไน เพื่อนำ ขึ้นมาใช้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น! ความฝัน เมื่อเราทำ ตลาดนัดของอร่อย พร้อม การแสดงที่วิกครูทวี แล้ว เมื่อนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวชม เขาต้องการเห็นสิ่งอื่นมากขึ้นอีก! จะต้องสร้างให้ ตลาดบน กลายเป็น แหล่งอนุรกั ษ์หอ้ งแถวไม้รอ้ ยปี หรือทำเป็น พิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้ง ที่มีชีวิต ที่ผู้คนสามารถเที่ยวชม ซึบซับบรรยากาศย้อนยุคได้ โดยยังมีผู้คนอาศัยอยู่ในอาคารเก่าแก่ เหล่านี้ ก่อนที่จะขยายไปสู่จุดอื่นๆของโพธารามต่อไป! 21
บรรยากาศหาบเร่แผงลอยแน่นขนัด ที่ถนนเลียบแม่น้ำ-เมืองสามชุก ไม่ให้ความรู้สึกที่ดีเลย
บน : ถนนสายที่ ปรับปรุงขึ้นมาแล้ว ขวา : ถนนที่ปรับปรุง ไม่ให้คนขายของแน่นเกินไป ของสามชุก
ความฝัน การอนุรักษ์ห้องแถวไม้โบราณ ควรจะได้รับการปรับปรุงให้น่าดู มีรสนิยม มีศิลปะ มิใช่งานเป็นลวกๆและรกรุงรังแบบ ตลาดสามชุก (ตลาดสามชุก ย่านที่ดูดีที่สุดอยู่ที่ซอย 1 บริเวณ บ้านขุนจำนงค์ ทีม่ กี ารปรับปรุงให้มรี สนิยมแล้ว ไม่ใช่มแี ต่รา้ นอาหารทีเ่ บียดเสียดยัดเยียด นักท่องเทีย่ ว ไปถึง ไม่มใี ครเห็นอาคารเก่า ไม่มใี ครรูส้ กึ ว่ามาถึงเมืองเก่าแก่ เพราะทุกคนมาเพียงแค่ ตลาดของกิน เท่านั้น ซึ่งไม่ยั่งยืน เขาจะไม่กลับมาใหม่ นั่นหมายความว่า เราจะทำมาหากินได้ไม่นาน) 22
ห้องแถวไม้เมืองทาคายาม่า มุมนี้เหมือนตรงไหนของโพธารามเอ่ย?
จะยกตัวอย่าง เมืองทาคายาม่า ใน ประเทศญี่ปุ่น ให้เห็น เมืองทาคายาม่า เป็นเมืองท่องเทีย่ วชือ่ ดัง โดยรอบมีทเี่ ทีย่ วมากมาย ในเมืองเป็นเมืองเก่าแก่อายุรอ้ ยปี มีการรือ้ อาคารเก่า สร้างเป็นอาคารคอนกรีต เหลือบริเวณหนึง่ ทีเ่ ป็นย่านการค้าเก่าๆทีย่ งั เก็บรักษาไว้ได้อย่างดี ย่านเมืองเก่าของเขา มีความยาวเท่ากับ ตลาดบน ของเรา (สัน้ -ยาวห่างกันไม่เท่าไหร่) เลยออกไป ก็เป็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ แต่ อาคารเรือนแถวไม้เก่าเหล่านี้ เขาได้ พัฒนาและตกแต่งอย่างมี รสนิยม จนกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง เป็นเสมือน พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต ด้านนอกอาคารไม้ทุกหลัง ยังรักษาความเป็นไม้ ดูเก่าๆ ซีดๆ ขลังๆ แต่ทุกๆห้องภายในจะมีการ ตกแต่งใหม่ ติดเครือ่ งทำความร้อน ติดแอร์ ตกแต่งทันสมัย บางบ้านยังขายของแบบโบราณอยู่ บางบ้าน ขายขนมแบบเก่า บางบ้านปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นที่พัก บางห้องเป็นร้านไอศกรีมทันสมัย ขายพิซซ่าก็มี กาแฟสมัยใหม่ก็มี 23
บรรยากาศของเมืองเก่าทาคายาม่า ที่แต่ละบ้านปรับปรุงอย่างน่าดู และทุกบ้าน ขายของอยู่ในบ้าน ไม่รุกล้ำออกมาบนถนนจนน่าเกลียด นักท่องเที่ยวจะได้เดินถ่ายรูป เดินซึมซับบรรยากาศร้อยปี ไม่ใช่แน่นด้วยหาบเร่แผงลอย 24
ที่สำคัญบนถนนแห่งนี้ไม่ให้ตั้ง หาบแร่แผงลอย เขาต้องการโชว์บ้านเก่าๆ เพื่อคนเดินมาถ่ายรูป อาคารไม้ได้สะดวก แต่ภายในปรับปรุงให้ทันสมัยได้ แต่อาคารทุกหลังตกแต่งเพื่อใช้เป็นห้องค้าขาย เขาพยายามเน้นให้รักษาสภาพให้คนได้เดินเที่ยวชมอาคารเก่าได้จริง และยังซื้อของได้ในทุกๆ ร้าน หาบเร่แผงลอยทั้งหมด จะให้ไปตั้งอยู่ที่ ลานโล่งหน้าจวนผู้ว่าราชการเก่า ที่อยู่ห่างออกไป ราว 150 เมตร ถ้าเราทำได้ โพธารามจะนำหาบเร่แผงลอยไปอยู่ที่บริเวณ ถนนคนเดิน หน้าวิกครูทวี และเก็บ ถนนตลาดบน ทั้งสายไว้ ปรับปรุง ห้องแถวไม้ร้อยปี เป็น ย่านพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที ่ มีชีวิต เป็นถนนคนเดินที่เดินเชื่อมติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยวกกลับไปที่ถนนท่านัด บริเวณหน้า ร้านไทยสเถียร วกกลับไปที่หน้าวิกอีกที หรือจะยาวต่อเนื่องไปถึง ถนนเนื่องประดิษฐ์ บริเวณร้าน กุนเชียงเฮียเพียวก็ได้! การค้าขายบนถนนตลาดบนน่าจะเป็นแค่แผงลอย ที่ อย่ามีหาบเร่ออกมาเกะกะบนถนนมากเกินไป ให้ใช้พื้นที่ภายในห้อง อาจจะมีแผงยื่นออกมาได้บ้าง แต่ต้องมีการตกแต่งแบบมีรสนิยม มีศิลปะ! ห้องแถวไม้เก่าแก่ เหล่านี้ สักวันเมือ่ มันเป็น พิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้งทีม่ ชี วี ติ จะกลายเป็น แหล่งท่องเทีย่ ว ที่ยั่งยืนไปชั่วลูกชั่วหลาน หลายห้องอาจจะถูกดัดแปลงเป็นร้านกาแฟ ร้านขายไอศกรีม เป็นบ้านพัก หลายๆห้องอาจจะกว้างขวาง อาจจะเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนเข้าไปชม จัดเป็นนิทรรศการว่าคนสมัย ก่อนอยู่อย่างไร ออกแบบอย่างไร (หลายๆบ้านรู้มาว่า ภายในตกแต่งสวยงาม กว้างขวาง อาจจะขอ ความร่วมมือ เปิดบ้านโชว์นักท่องเที่ยว แล้วจะตอบแทนเขาอย่างไรต้องคิดกันอีกครั้ง) บางบ้านอาจ จะทำฟู กโชว์ หรือ ทำขาย หรือเป็นร้านกาแฟโบราณ เป็นร้านขายยาโบราณ ขายของโบราณ ขายนาฬิกาโบราณ ร้านตัดผมโบราณ ร้านถ่ายรูปโบราณ เราต้องสร้างความแตกต่างกับตลาดโบราณหรือตลาดร้อยปีในที่ต่างๆ นี่เป็นสิ่งที่จะสร้างความ ยั่งยืนให้เศรษฐกิจโพธารามได้ วันนี้เราจะยังไม่เห็นภาพนั้น เพราะว่าเราต้องอาศัยความร่วมมือของทุกบ้าน แต่เมื่อยังไม่เห็นว่า มีความจำเป็น ก็ยังไม่มีใครปรับปรุงบ้านจนกว่าจะเป็นเมืองท่องเที่ยว ทุกบ้านจะปรับปรุงเพื่อต้อนรับ นักท่องเที่ยวกันเอง...จะต้องนำ การตลาด มาใช้ในการขอความร่วมมือ ถ้า ทุกบ้านได้รับประโยชน์ คงไม่มีใครไม่ร่วมมือหรอก! ทางชมรมฯ ควรจะ มีการหาทุนเพื่อช่วยรักษาอาคารไม้เก่าแก่แห่งนี้ หาคนช่วยออกแบบให้เป็น ย่าน พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต ออกแบบและตกแต่งให้ห้องแถวไม้เหล่านี้ดูเก่าแก่ โบร่ำโบราณ ดูขรึมขลัง มีเสน่ห์แบบย้อนยุค แต่ให้เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ ที่ทำมาหากินได้ มีรสนิยม อยู่สะดวก สบาย บรรยากาศมีศิลปะ อย่างนี้เศรษฐกิจจะเติบโตแบบยั่งยืน และหากินไปได้อย่างยาวนาน! และอาจจะมีคนถามว่า ทำไมต้องเป็น ถนนตลาดบน? คำตอบคือ ถนนตลาดบน เป็นบริเวณที่มี ห้องแถวไม้เก่าแก่ เหลืออยู่มากและหลากหลาย 25
ภาพจิตรกรรมที่โบสถ์วัดไทรฯ
และใกล้กับ วิกครูทวี มากที่สุด นำมาพัฒนารวมกันจะกลายเป็นเมืองที่น่าทึ่งที่สุดของภาคตะวันตก เลยทีเดียว! บริเวณนี้ ถ้าไม่สวย ภาพยนตร์ต่างๆ จะไม่เข้ามาใช้ที่นี่เป็น ฉากถ่ายหนังหรอก พวกเรา เพียงเก็บ ฉากหนัง ที่เป็นของเราอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างใหม่ ทำให้ ฉากหนังมีชีวิต ดึงคนเข้ามาเที่ยว ทั้งปี ไม่ใช่มีแค่นานๆครั้งที่จะมาใช้เป็นฉากถ่ายภาพยนตร์ ฝันต่อไป ถนนริมแม่น้ำ จากหน้าวิกครูทวีไปจนถึงวัดไทรฯ ยังมีของเก่า บ้านเก่า ให้ดูให้ศึกษา อยูม่ าก พวกเราควรนำ วัดไทรฯ ทีม่ ี ภาพเขียนโบราณ เป็นจุดขายต่อไป และเชือ่ มต่อไปถึง วัดคงคาราม เป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว อาคารเก่าแก่สองข้างทาง ควรได้รับการอนุรักษ์อย่างรวดเร็ว 26
ถนนริมแม่น้ำ จากหน้า วิกครูทวี ไปจนถึงวัดไทรฯ ยังมีของเก่า บ้านเก่า ให้ดูให้ศึกษา อยู่มาก
โบสถ์วัดไทรฯ คือสิ่งมีคุณค่าที่เรา ต้องอนุรักษ์ไว้ สุดชีวิต และฟื้นฟู ให้กลับมีเสน่ห์ น่าค้นหาอีกครั้ง!
ฝันต่อไป ถนนริมแม่น้ำจาก วิกครูทวี ไปจนถึง วัดไทรฯ ทำให้มีบรรยากาศของการพักผ่อน ขี่รถ จักรยานชม บ้านเก่า ไปจนถึง วัดไทรฯ ชุมชนริมแม่น้ำ วันนี้ยังมีบ้านที่มีเสาไม้สูงริมแม่น้ำอยู่ บ้านแถบนี้มีบรรยากาศดีมาก หากถูก ดัดแปลงเป็นร้านกาแฟ ชมแม่น้ำแม่กลอง ร้านอาหารเท่ๆ กินบรรยากาศแม่น้ำแม่กลอง หรือมีที่พัก แบบโฮมสเตย์แบบสวยสุดๆ เพราะบรรยากาศบริเวณนี้สวยมาก ถ้าเราทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว มี แผนที่ แจกว่าตรงไหนควรจะไปแวะเที่ยวบ้าง? มีประวัติยังไง? วัดไทรฯ แม้วันนี้จะถูกทำลาย รื้อศาลาไม้เก่าออกไป บรรยากาศเก่าๆหายไปหมด แต่ยังเหลือ โบสถ์ ที่มี ภาพวาดสวยงามอายุเป็นร้อยๆปี ที่สามารถชูเป็นจุดขายได้ต่อไป! 27
ชุมชนริมแม่น้ำ วันนี้ยังมีบ้าน ที่มีเสาไม้สูงริมแม่น้ำอยู่ บ้านแถบนี้มีบรรยากาศดีมาก
28
และ มีสงิ่ สุดยอดอย่างหนึง่ ที่ คนโพธาราม ลืมไปแล้ว คือ ประเพณีตามประทีปวัดไทรฯ โดยมี การ จุดประทีป หรือ จุดเทียนประดับบนกำแพงแก้วรอบโบสถ์วัดไทรฯ เป็น บรรยากาศที่เก่าแก่ ขรึมงาม มีเสน่ห์น่าหลงใหล ซึ่งจะมีพิธีนี้ใน วันลอยกระทง ซึ่งน่าจะได้รับการฟื้นฟูให้โด่งดังอีกครั้ง เหล่านี้เป็นสมบัติที่มีค่าที่จะต้อง ฟื้นฟูด้วยความรู้ มีรสนิยม มีศิลปะ ฝันต่อไป การท่องเที่ยวทั้งหมด อย่าเพียงมองไปที่ ตลาดโพธาราม เท่านั้น บรรยากาศของ เมืองริมแม่น้ำแม่กลอง ที่เหยียดยาวไปถึงวัดขนอน วัดคงคาราม ทางใต้ไปถึงวัดโชค วัดโพธิ์ไพโรจน์ เป็ น บรรยากาศและสี สั น ที่ ห าไม่ ไ ด้ ชุ ม ชนคนมอญทางวั ด คงคาราม วั ด ขนอน สร้ า งสรรค์ เ ป็ น โฮมสเตย์ หรือจัด ทัวร์ไหว้พระเก้าวัดโพธาราม ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงอาทิ
บ้านเสาสูง ริมแม่น้ำแม่กลอง บริเวณวัดไทรฯ คือสุดยอดของ อาคารบ้านเรือน ที่ควรอนุรักษ์ (ต่อไปควรคิดไปถึง แถบตลาดล่างวัดโชคด้วย) 29
โรงถ่ายหนังเหิงเตี้ยน ใกล้เมืองหังโจว ประเทศจีน เขาสร้างเมืองเก่าแบบห้องแถวไม้ ขึ้นมาเป็นฉากหนัง! แต่โพธารามมีฉากหนังที่ไม่ต้องสร้างและมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ด้วย ดูรูปจะเห็นว่าการโหยหาอดีตมีอยู่ทุกประเทศ
ไหว้พระเก้าวัดโพธาราม คือ วัดพระศรีอาริย์ วัดบ้านเลือก วัดคงคาราม วัดขนอน วัดโพธาราม วัดไทรฯ วัดโพธิ์ไพโรจน์ วัดโชค วัดเฉลิมอาสน์ หรือมี ทัวร์ลอ่ งเรือแม่นำ้ แม่กลอง ชมวิวสองข้างทางไปถึง เจ็ดเสมียนก็ได้ หรือจัด เป็นช่วงสัน้ ๆก็ได้ ฝันต่อไป เผยแพร่-ฟื้นฟู-ปรับปรุง-เพิ่มเติม-ตกแต่ง งานเทศกาลของบ้านเรา อาทิ เทศกาลกินเจ มีการ ลอยกระทงสาย ที่หาดูได้ยาก จัดให้ยิ่งใหญ่ระดับประเทศเลย ฟื้นฟู งานลอยกระทง ตามประทีปที่วัดไทรฯ ให้คนเดินเที่ยวแบบย้อนยุคจากบรรยากาศดั้งเดิมที่ วัดไทรฯ ไปสู่งานสมัยใหม่ที่ครึกครื้น คือ งานลอยกระทงที่เทศบาลจัดที่ริมเขื่อน งานแข่งเรือ ที่วัดไทรฯ ต้องคิดแบบใหม่ให้งามและโด่งดังระดับประเทศ โดยการโปรโมท คิดมุม ใหม่ๆขึ้น เป็นต้น 30
เมืองเก่าที่ข้างศาลเจ้าสามก๊ก เมืองเฉิงตู ประเทศจีน เขาสร้างเมืองเก่าขึ้นมาใหม่ บนที่รกร้างเดิม ที่เห็นทั้งหมดนี่สร้างใหม่เมื่อ 4 ปีที่แล้วนี่เอง แต่ของเราไม่ต้องสร้าง ไม่ตอ้ งทำใหม่ แต่ควรอนุรกั ษ์ฟนื้ ฟูให้มรี สนิยมและมีศลิ ปะทีค่ นอยูก่ ไ็ ด้ใช้ คนเทีย่ วก็ได้เสพ
ประเพณี ไ หว้ พ ระจั น ทร์ (ทุ ก บ้ า นที่ ต ลาดบนไหว้ พระจันทร์จะสวยแค่ไหน) ประกวดการตกแต่งโต๊ะไหว้ พระจั น ทร์ (ควรให้ ค นมี ค วามรู้ ม าพู ดให้ พ วกเราฟั ง ว่ า จะใช้สิ่งของตกแต่งอย่างไรบ้าง) งานเทศกาลหาดทราย ทีต่ อ้ งคิดใหม่ ฟืน้ ฟูบรรยากาศเก่า มิ ใ ช่ แ ค่ ใ ห้ ค นในท้ อ งที่ ม าเที่ ย วเท่ า นั้ น เราต้ อ งดึ ง ดู ด คนจาก กรุงเทพฯ จากจังหวัดต่างๆ อาจจะทำการแข่ง ก่อพระเจดีย์ทราย หรือ เป็นเทศกาลปั้นทรายระดับโลกให้ เหมือนกับที่พัทยา หรือในต่างประเทศเขาทำ หรือฯลฯ 31
เมืองฉงชิ่งเมืองใหญ่อันดับสองของจีน มีคนอาศัยอยู่ 20 ล้านคน ในเมืองมีแต่ตึกสูงๆ เขายังตกแต่งด้วยต้นไม้อย่างมีรสนิยม ถ้าโพธารามเป็นอย่างนี้บ้างล่ะ?
จัดเทศกาลประกวดไม้ดัด บอนไซ ไม้แคระ หินสวยงาม เพราะบ้านเราเป็นแหล่งสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้อยู่ที่ เขาแร้ง (อ่านรายละเอียดในข้อถัดไป) ฝั น ต่ อไป ทำให้ โ พธารามเป็ น เมื อ งท่ อ งเที่ ย ว เราควรจุ ด ขายให้ ม ากๆ สิ่ ง ที่ จ ะทำต่ อไปคื อ น่าจะทำให้ โพธารามร่มรื่น ต้นไม้ร่มครึ้ม เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในภาคกลาง ปลูกต้นไม้มากๆ อย่าตัด ยิ่งไม้ใหญ่ต้องควรเก็บรักษา และสิ่งที่น่าทำอีกอย่างคือ สร้างให้ โพธารามเป็นเมืองแห่งไม้ ใหญ่ตัดแต่งคล้ายบอนไซยักษ์ คนบ้านเราอาจจะไม่รู้ว่าที่ เขาแร้ง ข้ามแม่น้ำไปฝั่งโน้น เป็นแหล่งผู้มีฝีมือในการทำ ไม้ดัด ไม้แคระ ไม้ใหญ่ตัดแต่ง หรือ บอนไซทั้งขนาดจิ๋วและขนาดยักษ์ติดระดับโลก เคยไปชนะที่หนึ่งใน ญี่ปุ่นมาแล้ว สุดยอดฝีมือเหล่านี้ เป็นเพียงชาวนา หน้าแล้งจะออกไปหาขุดตอไม้ใหญ่ เพื่อนำมา ตัดแต่งเป็น บอนไซยักษ์ ไปประดับตามอาคารบ้านเรือนทั่วประเทศ 32
ถ้าเราจะสร้างให้ โพธาราม เป็น เมืองแห่งไม้ใหญ่ตัดแต่ง ผู้คนจะกล่าวขานไปทั้งประเทศ อาจจะ เป็นทั้งโลกก็เป็นไปได้ เพราะไม่มีใครเคยทำมาก่อน สุดยอดฝีมือเหล่านี้อยู่ใกล้บ้านเรา เป็นคนของพวกเรา ถ้าให้เขามาเป็นที่ปรึกษา วางแผน ว่าจะ ปลูกไม้ชนิดไหนทีไ่ ม่แพง ดูแลง่าย ต้นไม้เก่าทีม่ อี ยูจ่ ะทำอย่างไรบ้าง - - บ้านเราจะมีชอื่ เสียงเลือ่ งลือ ระบือไปไกล! นำสิง่ ทีร่ อบๆบ้านเรามีอยูแ่ ล้วเข้ามาผสมผสานกับเสน่หข์ องโพธาราม จัดทุกอย่างขึน้ ใหม่ แต่องิ กับ ของเก่าที่เคยมีอยู่แล้ว (หรือที่เราตั้งใจทำขึ้น - หรือมีอยู่) แต่ทุกอย่างจะต้องทำการโปรโมทไปทั่ว โดยอาศัยสื่อต่างๆ โดยเฉพาะโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ ทุนอย่างไร อย่างแรกต้องเสนอแนะไปทางผู้บริหารต่างๆ ให้คิดแบบเดียวกันก่อน การบริหารเงิน ที่มีอยู่ไม่ว่า จะปลูกต้นไม้สักต้น จะสร้างอาคารเล็กๆสักหลัง ต้องมีคนออกแบบ อย่างมีรสนิยม อย่างมีศิลปะ และเน้นย้ำว่า ต้องคิดอยู่อย่างเดียว ทำเมืองให้สวย เป็นเมืองท่องเที่ยว! ทำไม เราเห็นคนสร้างสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาอย่าง ตลาดน้ำ 4 ภาค ที่พัทยา นั่นสร้างขึ้นมาจาก ที่โล่งๆ ไม่มีอะไรเลย เขายังเน้นสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาได้ ทุกอย่างจะออกแบบเพื่อการ ท่องเที่ยว ดูสวยงามไปหมด อย่างเช่นการจะออกแบบ ศาลาริมแม่น้ำสักหลัง ต้องออกแบบให้มี รสนิยม มีสไตล์ดูเก่าๆงดงามโบราณ ขรึมๆ ซีดๆ เป็นศิลปะ อาจจะเป็นแบบไทยผสมจีน สร้างเสร็จ ไม่นาน ศาลาริมน้ำก็จะกลายเป็นของเก่าไป คนจะมาถ่ายรูป ถ้านำเงินก้อนเดียวกัน ไปสร้างศาลา คอนกรีตที่แข็งทื่อ ก็กลายเป็นสิ่งพื้นๆ ไม่มีคุณค่า (เพียงเน้นย้ำให้เห็นว่า เงินก้อนเดียวกันแท้ๆ สามารถสร้างสิ่งที่แตกต่างกันได้ โดยอาศัยความคิดเชิงสร้างสรรค์) สำหรับการออกแบบ การซ่อมแซม การปรับปรุง การวางภูมิสถาปัตย์ ให้เมืองสวยงาม ควรจะ ปรึกษาผู้รู้ซึ่ง คณะสถาปัตยกรรมทุกมหาวิทยาลัยต่างยินดีให้คำปรึกษา โดยเฉพาะทาง ศิลปากร ทับแก้ว ที่อยู่ใกล้บ้านเรามากที่สุด หรือ ทางสมาคมสถาปนิกสยาม ทั้งยังมี สถาบันสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสิ่งสำคัญ คือ ความร่วมมือของเจ้าของพื้นที่เป้าหมาย ต้องไปทำความเข้าใจ ขอความคิดเห็น ให้ช่วยวิพากย์วิจารณ์ ช่วยติติง เพื่อเดินทางไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน! สรุป ความตั้งใจแรกและสำคัญที่สุดคือการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจโพธาราม และ ต้องอย่างยั่งยืนมี คุณภาพด้วย แม้หนทางดูยากเย็นและยาวไกล แต่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่พวกเราจะร่วมมือกันทำ ขึ้นมาได้ ให้เหมือนกับผู้คนเก่าแก่ของบ้านเราได้ร่วมมือสร้าง โพธาราม ขึ้นมา...ไม่มีก้าวแรก ก็ไม่มี ความสำเร็จ 33
34
ตามประทีป ที่พระธาตุอินทร์แขวน รัฐมอญ ประเทศพม่า ใช้ประทีปดินเผาดิบไม่เคลือบ เป็นความงามแบบพื้นบ้าน ควรนำมาใช้ที่วัดไทรฯ จะเป็นความงาม ที่สร้างชื่อให้โพธาราม
35
บรรยากาศของ ถนนเนื่องประดิษฐ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่คดโค้ง ได้จังหวะสวยงาม หลายท่านยังไม่รู้ว่ามุมนี้ คือ มุมสุดยอดของ เรือนแถวไม้โบราณ ที่หาไม่ได้จากที่ไหน เป็นมุมขวัญใจนักถ่ายรูป ทีเดียว (ส่วนมากจะเป็น ถนนตรงๆแต่มุมนี้คดโค้ง สวยที่สุด) 36