we love BMX
นางสาว อภิรฎา อัลภาชน์ 5314101367
editor talk
สวัสดี ค่ะ ผู้อ่านทุกท่าน หนังสือ เล่มนี้จัดทำ�ขึ้นเพราะว่า ส่วนตัวชอบ จักรยานBMX และอยากพาทุกท่านได้ ชมเสน่ห์ของมัน ทั้งรูปทรง และความ รวดเร็วเล็กกระทัดรัดพกพาไปได้ทุกที่ ที่ต้องการ
Contents ต้นกำ�เนิดBMX ประเภทBMX BMX FLATLAND BMX street BMX PARk BMX dirt BMX vert BMX racing photo BMX บรรณานุกรม
4,5,6 7,8 8,9 10 11,12 13 14,15 16,17 18,19 20
we love BMX
ต้นกำ�เนิดของ BMX
4
จักรยานBMXเกิดขึ้นประมาณยุค 70 ในทางตอนใต้ของคาลิฟอร์ เนีย โดยกลุ่มเด็กกลุ่มหนึ่งได้ปรับแต่งจักรยานขนาดล้อ 20นิ้ว ซึ่งพวกเขา ได้แรงบรรดาลใจจากการชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการแข่งขันจักรยานยนต์ Motocass แล้วทำ�ให้เป็นที่นิยมกันมากในตอนนั้น การแข่งขันจักรยาน วิบากแบบ BMX (Bicycle Moto Cross) ที่มีวงล้อขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 20 นิ้ว ในประเภทความเร็ว(Racing) ได้เป็นที่นิยมกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้แพร่ขยายไปทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว หลังจาก นั้นไม่นานนักขี่หลายๆคนได้ฝึกท่าทางพลิกแพลงผาดโผนในแบบต่างๆ เพื่อ ความสนุกสนาน และใช้โชว์ออฟกันในกลุ่มเพื่อนๆ ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะใน การควบคุมรถได้อย่างดี และเมื่อมีโอกาส ก็มักจะได้นำ�ท่านั้นมาออกโชว์กันใน ช่วงพักของการแข่งขัน หรือในการโปรโมท์ ให้กับสปอนเซอร์ของตน ซึ่งจะ เรียกความสนใจจากผู้คนได้ดีทีเดียว ต่อมาเมื่อมีท่าทางหลากหลายมากขึ้น นักขี่หล่าวนั้นได้หันมาเน้นฝึกแต่ท่าพลิกแพลง(Tricks) อย่างจริงจัง จนกระทั่งได้กลายเป็นกีฬาประเภทใหม่ที่เน้นฝึกเฉพาะแต่ท่าผาดโผนอย่าง เดียว และได้พัฒนาท่าพลิกแพลงเหล่านี้ให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
we love BMX
5
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในยุคนั้นท่ายังไม่มีมากนัก จึงมีการคิดค้นลีลาต่างๆ ออกมาใหม่ ตลอดเวลา นักขี่แต่ละคนจะมีท่าเป็นของตนเอง ไม่ค่อยจะซ้ำ�กัน นัก นักขี่กลุ่มนี้จึงถูกขนานนามว่า "Freestyler" และได้เริ่มมี การจัดการ แข่งขันเฉพาะทางขึ้น นักขี่ที่มีชื่อที่สุด คนหนึ่งในช่วงนั้น คือ Bob Haro ซึ่งถือได้ว่าเป็น "Father of Freestyle" (ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัทจักรยานที่ประสบความสำ�เร็จมากที่สุดบริษัทหนึ่ง)
ราวปี 1985 เป็นต้นมา ทางบริษัทผู้ผลิตจักรยานหลายๆราย ได้ มีการผลิตอะไหล่ ที่ทำ�ไว้สำ�หรับการเล่นท่า Freestyle ได้แก่ตัวถังที่มีที่ยืน ตรงหลักอาน, ที่ยืนตรงแฮนด์, ที่ยืนตรงแกนล้อ และตะเกียบฯลฯ การจัด แข่งขันเริ่มมีมากขึ้นมีการรวมตัวนักขี่ผาดโผน จัดตั้งเป็นทีม Freestyle อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงนี้เองที่สมาคม AFA(American Freestyle Association) ได้เข้ามาผูกขาดในการจัดแข่งขันครั้งใหญ่ๆ นักขี่เอือมกับ กติกาหยุมหยิม เช่น Flatland ก็ให้ใส่หมวกกันน๊อก และกรรมการ
we love BMX
6
เป็นคนธรรมดาไม่รู้จักการให้คะแนน โดยเฉพาะท่ายากๆหรือท่าใหม่ๆ แบนนักขี่ที่ไปแข่งงานอื่น จัดแบ่งรุ่น(Class)ละเอียดยิบ ซึ่งนอกจากจะแบ่ง ตามรุ่นอายุ ยังมีรุ่นสมัครเล่น(Amateur) และรุ่นมืออาชีพ(Pro) ซึ่งนักขี่จะ ลงได้หลายรุ่น ปัญหาจึงอยู่ที่คนที่มีฝีมือดียังไม่ยอม Turn Pro ง่ายๆเพราะ ยังหวงตำ�แหน่งอยู่ต่อมาในยุค 90 AFA ยกเลิกการจัดแข่ง ทำ�ให้วงการ เงียบเหงาไปพักหนึ่ง แต่ก็ได้ Mat Hoffman ซึ่งเป็นนักขี่ ได้ริเริ่ม จัดงาน แข่งขึ้นเองชื่อ Bike Stunt Series หรือ BS ซึ่งเป็นการปลุกผีวงการขึ้น มาอีกครั้ง และได้ประสบความสำ�เร็จอย่างสูง จนกระทั่ง ESPN ช่องกีฬา ยักษ์ใหญ่ได้มาติดต่อขอซื้อรายการต่อ จัดให้มีการนำ�ภาพจากการแข่งไป ออกอากาศทั่วโลก และต่อมาได้รวบรวมกีฬาสุดขั้วหรือ Extreme Sports เข้าไว้ด้วยกันภายใต้ชื่อ “X-GAMES”
we love BMX 7
ประเภทของBMX BMX FLATLAND การขี่จักรยานประเภทแฟลตแลนด์ เป็นการ ขี่จักรยานผาดโผนบนพื้นราบ โดยเน้นการทรงตัวและการเล่นท่าบนจักรยาน เสน่ห์ของการขี่ประเภทนี้อยู่ที่ความต่อเนื่องในการเล่นท่า โดยจะเล่นท่าหนึ่ง แล้วจะไปต่ออีกท่าหนึ่งโดยที่เท้าไม่สัมผัสพื้น BMX FLATLAND ได้เข้า มาในบ้านเราเมื่อประมาณ 10กว่าปีที่แล้ว และยังคงเป็นที่นิยมจนถึงทุกวัน นี้ BMX FLATLAND เป็นกีฬาเอ็กส์ตรีมที่มีความเสี่ยงไม่มาก สามารถ ที่จะเล่นได้ทุกวัย จะมีเล่นกันเป็นกลุ่มๆตามสวนสาธารณะ ตามลานจอดรถ กว้างๆ จะกระจายกันอยู่ในทุกๆจังหวัด โดยจะมีการจัดแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศ การแข่ง ขันประเภทแฟลตแลนด์จะเป็นการตัดสินจากการให้คะแนน การแข่ง ก็จะคล้ายๆกับยิมนาสติกลีลา แต่จะเป็นลีลาบนจักรยานBMX โดยมีการ แบ่งรุ่นการแข่งขันออกเป็นหลายรุ่นตามระดับฝีมือ ลักษณะการแข่งจะมี ด้วยกัน 2 แบบ คือการแข่งขันภายในเวลาที่กำ�หนดโดยมีกรรมการเป็นผู้ ให้คะแนนซึ่งจะพิจารณา จากความยากง่ายและความต่อเนื่องของท่าโดยไม่ให้ เท้าสัมผัสพื้น หากเท้าสัมผัสพื้นจะถูกหักคะแนนตามความเหมาะสม การ แข่งขันอีกแบบหนึ่งคือการแข่งขันแบบตัวต่อตัว ( Battle) คือการออก มาประชันท่ากันแบบตัวต่อตัว หากยังนึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงการชกมวย แต่จะใช้การเล่นท่าประชันกัน
we love BMX 8 ซึ่งจะแข่งขัน 3 ยก โดยนักกีฬาจะผลัดกันออกมาแสดงท่าผาดโผน ใน 1 ยกจะเล่นท่าผาดโผนได้คนละหนึ่งชุด (ไม่ได้กำ�หนดเวลาและความยาวของท่า ต่อเนื่องส่วนใหญ่ จะไม่เล่นท่าต่อเนื่องกันยาวมากนักเพื่อป้องกันความผิด พลาด) เมื่อครบ 3 ยก กรรมการจะตัดสินให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะไป และ ยังมีการจัดแข่งแยกย่อยออกไปอีกเพื่อให้การจัดแข่งขันนั้นมีความน่าสนใจ และสนุกสนานมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การแข่ง BestTrick คือการแข่งว่าท่า ของใครยากและเจ๋งที่สุดเป็นผู้ชนะ การแข่งขันว่าใครเล่นท่าต่อเนื่องได้มาก ที่สุด และการแข่งขันว่าใครเล่นท่าได้นานที่สุด เป็นต้น BMX FLATLAND ลักษณะของจักรยาน BMX FLATLAND ช่วงของตัว รถจักรยานประเภทนี้จะสั้นกว่ารถประเภทอื่นๆ เพื่อให้ง่าย และสะดวกในการเล่ น ท่ า ผาดโผนโครงของรถแฟลตแลนด์ จ ะ ออกแบบมาให้สะดวกในการเล่นท่าและมีน้ำ�หนักเบา รูปทรงจะ โค้งบ้างเว้าบ้าง ชิ้นส่วนต่างๆก็จะแตกต่างกันกับประเภทอื่นๆ
we love BMX9
ทักษะของการขี่จักรยาน BMX FLATLAND โดยหลักๆเลย ก็จะเน้นการทรงตัวบนรถจักยานที่เคลื่อนไปเพียงล้อเดียว โดยเท้าของเรา จะยื่นอยู่บนที่พักเท้า ( Peg) ที่อยู่ตรงแกนล้อทั้งล้อหน้าและหลัง ทักษะ การใช้เท้าไถล้อเพื่อให้รถได้เคลื่อนที่ไป และทักษะการต่อเนื่องของแต่ละท่า การขี่จักรยาน BMX FLATLAND จำ�เป็นต้องใช้สมาธิ ความพยายาม และความอดทนสักนิดหนึ่งเพราะการฝึกหัดในแต่ละท่าอาจะจะต้องใช้เวลา มากพอดู บางท่าอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ แต่บางท่าก็อาจใช้เวลาแค่ไม่กี่ วัน แต่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความขยันฝึกซ้อมและความอดทน ถ้าหากคุณ เป็นคนใจร้อนแล้วละก็ ลองหันมาหัดเล่นจักรยาน BMX FLATLAND ดู มันอาจจะทำ�ให้คุณเป็นคนใจเย็นและมีสมาธิมากขึ้นก็ได้
we love BMX 10
BMX S TREET
การขี่จักรยานประเภทสตรีต เป็นการขี่จักรยานผาดโผน โดยอาศัย อุปกรณ์ในการเล่น จะเล่นท่าผาดโผนต่างจากประเภทแฟลตแลนด์ ซึ่งผู้เล่น จะขี่ออกไปเล่นกันตามท้องถนน หรือสวนสาธารณะ อุปกรณ์ที่ใช้เล่นก็มีอยู่ ตามท้องถนน เช่น ม้านั้ง ราวบันได ราวเหล็ก ริมฟุตบาท และเนินลาดชัน ต่างๆเป็นต้น แล้วขี่เล่นท่าผาดโผน ยกล้อ หมุนตัว หรือ ไถลกับราวเหล็ก ลักษณะของจักรยาน BMX STREET ช่วงของรถจักรยานประเภทนี้จะยาว กว่าของประเภทแฟลตแลนด์เล็กน้อย และรูปทรงจะไม่แปลกเหมือนรถจักยาน แฟลตแลนด์ ก็เพราะสตรีตไม่ได้ใช้สำ�หรับ เล่นท่าบนพื้นราบ รูปทรงจึงไม่ ออกแบบมาสำ�หรับเล่นท่าแต่จะเน้นไปในการขี่ และกระโดดซะส่วนใหญ่ ชิ้น ส่วนต่างๆ ก็จะแตกต่างกันด้วย
we love BMX 11 ทักษะที่ใช้ขี่จักรยาน BMX STREET ที่เน้นๆเลยก็คือ การกระ โดด ( Bunny Hop ) การยกล้อหน้า (Manual ) และการไถลบนราว ( Grind) และก็ยังมีท่าที่พลิกแพลงอีกมากมาย สำ�หรับจักรยาน BMX STREET จะต้องใช้ความกล้าพอควรเพราะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ค่อนข้างสูง ผู้เล่นจึงควรใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง และเมื่อคุณเล่นท่าพื้น ฐานของประเภทนี้ได้จนเป็นหมดแล้ว ที่เหลือก็อยู่ที่ใจคุณแล้วละว่า “กล้าพอหรือเปล่า”ที่จะเล่นท่าผาดโผนกับอุปกรณ์บนท้องถนนเหล่านั้น
BMX PARK เป็นการขี่แบบเดียวกับประเภทสตรีต โดยเล่นกับอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นในรูป แบบสนาม SKATE PARK ซึ่งพัฒนาอุปกรณ์ในการเล่นมาจากอุปกรณ์ บนท้องถนน ให้ได้มาตรฐานและมีความน่าเล่นมากยิ่งขึ้นโดยอุปกรณ์ในสนาม จะถูกออกแบบและ จัดว่างในตำ�แหน่งที่เหมาะสม ในการแข่งขันจักรยาน BMX PARK จะทำ�การแข่งขันภายในเวลาที่กำ�หนดโดยมีกรรมการเป็นผู้ให้คะแนน ซึ่งจะพิจารณา จากความยากง่ายของท่าและความต่อเนื่องในการเล่นในแต่ละ อุปกรณ์ ในการแข่งขัน นักกีฬาสามารถเอาเท้าสัมผัสกับพื้นหรืออุปกรณ์ได้ โดยไม่ ถูกหักคะแนนเพื่อเป็นการหยุดพักหรือจัดท่าทางในการออกตัวในการ เล่นท่ากับ อุปกรณ์ต่อไป และสามารถใช้เท้าร่วมเล่นเป็นท่าผาดโผนได้อีกด้วย ส่วนลักษณะรถก็เป็นรถจักรยานประเภทสตรีตนั้นละครับ เพียงแค่เปลี่ยนสถาน ที่เล่นจากท้องถนน มาเป็นในสนามที่มีความเป็นมาตรฐานเท่านั้นเอง
we love BMX 12 ทักษะที่ใช้ขี่จักรยานประเภทนี้ก็ใช้ทักษะเดียวกับประเภทสตรีตนั้นละครับ แต่ จะเพิ่มในส่วนของการเล่นท่ากับอุปกรณ์ได้หลากหลาย และท่ากลางอากาศ เพิ่มเข้ามา ถ้าหากมีพื้นฐาน BMX STREET อยู่แล้ว ก็สามารถเล่น BMX PARK ได้อย่างไม่ยากนัก กีฬาประเภทนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ก่อนเล่นจึงควรใส่อุปกรณ์ป้องกันทุก ครั้ง เช่น หมวกกันน๊อค สนับเข่า สนับศอก และสนับแข้ง เป็นต้น
we love BMX 13
T R I D X B Mคือการขี่จักรยานผาดโผนกระโดดเนินดินโดยจะเน้นเล่นท่ากลาง อากาศเพียงอย่าง เดียว ลักษณะของสนามจะเป็นเนินดินคล้ายสนาม Motocoss มีเนินสำ�หรับกระโดดติดต่อกันหลายๆลูก ทำ�ให้การกระโดดเล่น ท่าผาดโผนกลางอากาศมีความต่อเนื่องกัน การแข่งขันในประเภท BMX DIRT จะทำ�การปล่อยตัวนักกีฬาที่ ละคน แล้วให้ทำ�การกระโดดเนินดินและเล่นท่ากลางอากาศ ให้ครบจำ�นวน เนินเดินที่กระโดด เนินดินก็จะมีจำ�นวนที่ไม่มากนัก นักกีฬาคนไหนที่เล่นท่า ได้ยากและเจ๋งที่สุดโดยไม่มีขอผิดพลาดเลยก็จะเป็นผู้ ชนะไป ลักษณะของจักรยาน ก็ใช้แบบเดียวกับ ประเภทสตรีต เพียงแค่เปลี่ยน ยางมาใช้เป็นแบบที่มีดอกยางหนาๆ ที่ใช้สำ�หรับสนามดินแบบMotocoss Pegs (ที่พักเท้า) ออกแค่นั้นเอง กีฬาประเภทนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ก่อนเล่นจึงควรใส่อุปกรณ์ ป้องกันทุกครั้ง เช่น หมวกกันน๊อค สนับเข่า สนับศอก และสนับ แข้ง เป็นต้น
we love BMX 14
BMX VERT
เป็นการขี่ผาดโผนโดยต้องใช้อุปกรณ์ในการเล่น โดยอุปกรณ์จะมีลักษณะเป็น โค้งของ Half Pipe แล้วเมื่อได้ยัง
ในการแข่งขันจักรยาน BMX VERT จะทำ�การแข่งขันภายในเวลาที่กำ�หนด การแข่งขันนักกีฬาสามารถเอาเท้าสัมผัสกับพื้นหรืออุปกรณ์ได้ โดยไม่ถูกหัก และสามารถใช้เท้าร่วมเล่นเป็นท่าผาดโผนได้อีกด้วย ทักษะของกีฬาประเภทนี้ จะใช้ทักษะค่อนข้างยากสักนิดหน่อย เนื่องด้วยอุปกรณ์ ที่จะต้องมีทักษะในการกระโดดลอยตัวกลับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Quarter Pipe การเล่น BMX PARK
we love BMX 15
ท่อครึ่งวงกลม หรือ Half Pipe โดยผู้เล่นจะปั่นแล้วกระโดดขึ้นลงตความ หวะก็จะเล่นท่าผาดโผนกลางอากาศ โดยมีกรรมการเป็นผู้ให้คะแนนซึ่งจะพิจารณา จากความยากง่ายของท่า ใน คะแนนเพื่อเป็นการหยุดพักหรือจัดท่าทางในการออกตัวในการเล่นท่า กัอุปกรณ์ ส่วนลักษณะรถก็เป็นรถจักรยานประเภทสตรีตนั้นเอง มีความสูงมาก และมุมในการลอยตัวก็เป็นมุมที่ตั้งฉากกลับพื้นดิน จึงจำ�เป็น ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ก็จะอยู่ในสนาม SKATE PARK หรือคุณต้องมีทักษะใน อย่างค่อนข้างชำ�นาญแล้วนั้นเอง
we love BMX 16
BMX Racing
เป็นการขี่แบบแข่งความเร็วในระยะสั้นๆ รูปแบบลักษณะของสนาม แข่งจะออกแบบให้มีทางโค้งสลับกันไป และมีเนินสำ�หรับกระโดด เช่นเดียวกับ สนามของ Motocoss จักรยาน BMX Racing ได้เอามาในบ้านเรา เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นเป็นที่นิยมมาก แล้วก็ได้เงียบหาไป จากวงการเมื่อช่วง 10ปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันนี้ จักรยานBMX racing กำ�ลังกลับมาเป็นที่นิยม เริ่มมีการจัดแข่งขันมากขึ้น คนที่เคยเลิกไป ก็เริ่ม จะกลับมาปัดฝุ่นจักรยานคันเก่า หันมาปั่น BMX กันอีกครั้ง ในการแข่งขันจักรยานBMX Racing จะแข่งรุ่นการแข่งขันตามอายุ และตามความสามารถ มีการเก็บคะแนนสะสมแต่ละสนาม การแข่งขันใน หนึ่งรัน โดยปกติจะปล่อยตัวมากที่สุด 8 คัน แล้วหาผู้ชนะในแต่ละรันเข้า รอบต่อไป ขึ้นอยู่กับกติกาในการจัดแข่งขันในสนามนั้นๆ
we love BMX 17
ลักษณะของจักรยานBMX RACING ช่วงของรถจะยาวกว่า BMX ประเภทอื่น เพื่อช่วยเพิ่มหน้าสัมผัสกับพื้นสนาม ทำ�ให้ยึดเกาะสนามได้ดี ทำ�ให้ ง่ายต่อการกระโดดขึ้น ลง เนิน รูปร่างของตัวรถจะออกแนวทันสมัยรูปทรง ออกแบบมาตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้การขับขี่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ รูปทรงธรรมดาก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ ทักษะของการขี่จักรยานประเภท Racing โดยหลักๆก็จะเน้นการกระโดดเนิน การเข้าแบงก์ และการเร่งความเร็ว สำ�หรับท่านที่ไม่เคยขี่ Racing มาก่อนก็ไม่ ควรไปลองกระโดดเนินเองนะครับ เพราะอาจจะทำ�ให้เกิดอันตรายได้ บางคนที่เคย เห็นจากโทรทัศน์เห็นว่าง่ายๆ แต่ที่จริงแล้วก็อาจไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ควรจะศึกษา หรือขอคำ�แนะนำ�จากผู้ที่ขี่อยู่ก่อนแล้ว แล้วก่อนลงสนามทุกครั้งก็ควรจะใส่อุปกรณ์ ป้องกัน สำ�หรับท่านที่ชื่นชอบกีฬาความเร็วเป็นชีวิตจิตใจแล้วละก็ BMX ประเภทนี้น่าจะ เหมาะกับคุณมากที่สุด
we love BMX 18
we love BMX 19
we love BMX 20 บรรณานุกรม เครดิตจาก thaibmx บ้านรักของเรนั่นเอง http://etnies.com/team/bmx/aaron-ross/ http://unitedbikeco.com/2012/05/17/united-2013-complete-bikes