เอกสารประกอบการบรรยาย “Chiang Mai Textile เรียนรู้ สืบสาน สร้างสรรค์งานสิ่งทอ” โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
# เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน #เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ #ChiangMaiCityofCraftsandFolkAr t#CMCCFA
ผ้าซิ่นตีนจก ในจังหวัดเชียงใหม่
โดย คุณ วสิน อุ่นจะน�ำ ผู้เชี่ยวชาญผ้าและสิ่งถักทอไทย
นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเมืองแห่งใหม่ขึ้นในที่ราบ ระหว่างแม่น�้ำปิงและดอยสุเทพ เมื่อพ.ศ.1839 พร้อมทั้งขนานนาม เมืองว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็น เมืองหลวงที่ส�ำคัญของล้านนาผ่านความเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุดใน รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช และโรยราลงในรัชสมัยพระเจ้าเมกุฏ สุทธิวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ จึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามามากกว่า 200 ปี ชาวเมืองเชียงใหม่ จ�ำนวนไม่น้อยได้ถูกกวาดต้อนโยกย้ายไปยังพม่าจนเกือบจะเป็น เมืองร้าง กระทั่งพ.ศ.2317 พระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่า และฟื้นฟู เมืองเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้ง ภายใต้การช่วยเหลือของพระเจ้าตากสิน เมืองเชียงใหม่จึงกลายเป็นเมืองศูนย์กลางที่ส�ำคัญของล้านนาอีก ครั้ง ภายใต้การปกครองของเจ้านายเชื้อเจ็ดตน ก่อนที่จะถูกรวมให้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม และประเทศไทยในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการ ทางสังคมมาอย่างยาวนาน ท�ำให้มีการสั่งสมเอกลักษณ์ทางด้าน ประเพณีวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การแต่งกาย เอกลักษณ์การแต่งกายที่ส�ำคัญของผู้หญิงชาวเชียงใหม่ คือ “ผ้า ซิ่น” ผ้าซิ่นที่ผู้หญิงชาวเชียงใหม่ในอดีตนิยมเป็นอย่างมาก มี 2 ชนิด ได้แก่ ซิ่นตาและซิ่นตีนจก อันเป็นรูปแบบผ้าซิ่นที่สืบทอดมา อย่างยาวนานของชาวไทยวน ผ้าซิ่นโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ส่วนหัวซิ่น เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนสุดของผ้าซิ่นตีนจก โดย ทั่วไปมักประกอบขึ้นจากผ้า 2 ชิ้น คือ ผ้าสีขาวและสีแดงเย็บต่อกัน บ้างครั้งก็อาจเป็นผ้าสีแดงหรือสีด�ำเพียงชิ้นเดียว ส่วนตัวซิ่น เป็นลายขวางล�ำตัว เรียกว่าลาย “ตา” หรือ “ก่าน” ชาวเชียงใหม่จะทอลายริ้วนี้ด้วยการขึ้นฝ้ายเส้นยืนให้เกิด ลาย แต่เมื่อน�ำมานุ่งจะตะแคงลายให้ขวางกับล�ำตัว สีที่เป็น เอกลักษณ์ คือ สีเหลือง
ส่วนตีนซิ่น ส่วนนี้จะเป็นตัวก�ำหนดความแตกต่างของซิ่น ตาและซิ่นตีนจก คือ หากเป็นซิ่นตา ส่วนตีนซิ่นจะเป็นผ้าทอธรรมดา สีแดงเข้ม สีน�้ำตาล หรือด�ำ หากเป็นซิ่นตีนจก เชิงจะทอด้วยเทคนิคจกสลับสีเส้นไหม ไหมเงิน และไหมค�ำเป็นลวดลายอย่างงดงาม การทอตีนจกแสดง ถึงความละเอียดประณีต และความมีรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของหรือ ผู้ทอเอง ลวดลายตีนจกในแต่ละท้องที่ ก็จะมีเอกลักษณ์แตกต่าง กันไป ซึ่งเป็นผลมาจากรสนิยม การรับรู้สุนทรียภาพทางความงามที่ แตกต่างกันออกไป หรืออาจเป็นผลมาจากวัสดุที่ใช้ทอในแต่ละท้อง ที่ต่างกัน ผ้าซิ่นตีนจกที่ปรากฏหลงเหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่ใน ปัจจุบันของจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏในตัวเมือง หรือเวียงเชียงใหม่ อ.สันป่าตอง อ.จอมทอง อ.แม่แจ่ม อ.ฮอด และอ.ดอยเต่า
ภาพแสดงส่วนประกอบของผ้าซิ่น
ผ้าซิ่นตีนจก แบบเวียงเชียงใหม่ ในหนังสือที่ระลึกงานอนุสรณ์ถวายแด่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 วันที่ 9 ธันวาคม 2516 ได้กล่าวเกี่ยวกับพระราช กรณียกิจด้านการฟื้นฟูการทอผ้าของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ไว้ดังนี้ “การทอซิ่นยกดอก ได้ทรงรวบรวมผู้ช�ำนาญในการทอซิ่นตีนจกจากหมู่บ้านวัดดวงดีมาทอที่โรงกี่ในวัง... ...ซิ่นตีนจกนี้เป็นการฝีมือ ชั้นศิลปะสมัยโบราณ โดยเก็บดอกด้วยมือทีละดอกและพร้อมกันไป เจ้านายสมัยโบราณใช้ไหมทองเป็นไหมยืนท�ำริ้วที่ผืนซิ่น แล้วต่อด้วย ตีนจกยกดอกด้วยไหมทองบนพื้นสีแดง ส�ำหรับทั่วไปใช้จกยกดอกด้วยไหมสีต่างๆ ภายหลังมีซิ่นยกดอกจกด้วยมือใช้ไหมทองทั้งผืน เพียงผืน เดียว คือ ของแม่เจ้าเทพไกรสรหรือทิพเกสรพระชนนีของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเท่านั้น และได้ทรงรับไว้เป็นมรดกด้วย ได้ทรงใช้ซิ่น ไหมทองจกด้วยมือผืนนี้เป็นตัวอย่างในการเก็บดอกส�ำเร็จ ซึ่งทรงคิดขึ้นเองเรียกว่าเก็บเขาส�ำเร็จเป็นพระองค์แรก จึงได้มีซิ่นยกดอกมาจนถึง ทุกวันนี้ ได้ทรงจัดให้ช่างทอซิ่นของพระองค์ทอซิ่นยกดอกไหมทองขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อ พระราชทานแก่พระเทวีทุกพระองค์ในรัชกาล ได้ทรงส่งซิ่นยกดอกไหมทองถวายพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 ที่ทรงขอมาทุกพระองค์ ซิ่นยก ดอกจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันนี้...” จากข้อมูลดังกล่าวจึงท�ำให้ทราบในอดีตมีการทอผ้าซิ่นตีนจกในเขตก�ำแพงเมืองเชียงใหม่ บริเวณหมู่บ้านวัดดวงดี ต่อมาพระราช ชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงรวบรวมช่าง ให้เข้ามาทอผ้าตีนจก และผ้ายกดอกที่ได้ริเริ่มขึ้นที่โรงกี่ในคุ้ม ซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลือหลักฐานให้ได้เห็น อีกต่อไปแล้ว
(ภาพซ้าย) ผู้หญิงนุ่งซิ่นตีนจกไหมเงินไหมทอง ราชส�ำนักเชียงใหม่ (ที่มาภาพ : เพจผ้าและสิ่งถักทอไท) (ภาพขวา) ผ้าซิ่นตีนจกราชส�ำนักเชียงใหม่ทอด้วยฝ้าย สอดดิ้นเงิน (ที่มาภาพ : เพจผ้าและสิ่งถักทอไท)
รูปแบบของผ้าซิ่นตีนจกในเวียงเชียงใหม่นี้ อาจสันนิษฐานได้จาก ตัวอย่างผ้าที่ตกทอดในทายาทตระกูล ณ เชียงใหม่ ตระกูลคหบดีเชียงใหม่ และที่ ได้มีผู้เก็บสะสมส่วนตัวหลายท่าน โดยรูปแบบเป็นผ้าซิ่นที่ประกอบด้วยหัวซิ่นสี ขาว แดง หรือด�ำ ท�ำจากผ้าฝ้ายโรงงานของอังกฤษ บางครั้งเป็นผ้าพิมพ์ลาย หรือ ก�ำมะหยี่ ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบจากต่างประเทศที่หาได้ยาก ตัวซิ่นมีทั้งที่เป็นฝ้ายและไหม ไหมที่ใช้ทอเป็นไหมน้อยจากประเทศจีน เส้นเล็กบางแต่เหนียวมาก บางคนเรียกว่า “ไหมหยุ้มเดียว” เพราะสามารถรวบ ผ้าไหมทั้งผืนให้มาอยู่ในก�ำมือเดียวได้ คุณกรองทอง ชุติมา บุตรคนสุดท้ายของ หลวงอนุสารสุนทร ได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า จะมีคาราวานพ่อค้าวัวต่างจาก ยูนนานเดินทางมาเชียงใหม่ มักจะผ่านหน้าบ้านตึกของหลวงอนุสารสุนทรเสมอ ก่อนจะไปพักคาราวานบริเวณตรอกบ้านฮ่อในปัจจุบัน นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ จะคัดเลือกสินค้าที่มาจากยูนนานเก็บไว้ขาย หนึ่งในนั้นก็คือไหมน้อยเนื้อดีสีขาว สะอาด จะซื้อไว้น�ำไปให้ช่างทอที่สันก�ำแพงทอ เลือกสี ออกแบบลายเอง ช่างทอ บางคนก็มาซื้อไหมไปทอเองบ้าง ต่อมามีคนทอกันมากขึ้นจึงเลิกส่งไหมไปทอใน ที่สุด นอกจากตัวซิ่นที่เป็นไหมล้วนแล้ว ในผ้าซิ่นของสตรีชั้นสูงในราชส�ำนัก เชียงใหม่ยังพบว่า มีตัวซิ่นลักษณะพิเศษอีกแบบหนึ่ง คือ ตัวซิ่นเป็นลายขวาง สลับกับจกลายดอกไม้ขนาดเล็กเรียงเป็นแถว ซึ่งจะต้องใช้ไหมทองในการทอทั้ง ผืน ซึ่งตัวซิ่นลักษณะดังกล่าวนี้ ต้องอาศัยความช�ำนาญในการทอเป็นอย่างสูง และใช้วัสดุมีค่าจ�ำนวนมาก ท�ำให้ปรากฏตัวอย่างในปัจจุบันน้อยมาก ตัวซิ่น ลักษณะนี้ยังปรากฏในภาพถ่ายเจ้าหญิงอุบลวรรณาอีกด้วย
เจ้าหญิงอุบลวรรณานุ่งผ้าซิ่นตีนจก ทอด้วยไหมเงินไหมทองทั้งผืน (ที่มาภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ผ้าซิ่นสตรีชั้นสูงในราชส�ำนัก เป็นซิ่นลายขวางสลับกับจกลายดอกไม้เรียงเป็นแถว (ที่มาภาพ : เพจผ้าและสิ่งถักทอไท)
ส่วนบริเวณเชิง หรือที่เรียกว่า “ตีนจก” ทอขึ้นจากเส้นไหมเนื้อ ละเอียด หากไม่เป็นไหมล้วน ก็มักจะพุ่งด้วยเส้นไหม ทอด้วยเทคนิคจก แทรกไหมสีต่างๆ ไหมเงิน ไหมทอง แล่ง หรือกระดาษทองพันกับฝ้าย ลวดลายจกมีลักษณะคล้ายคลึงกันแทบทุกผืน เรียกได้ว่าเป็นแบบ มาตรฐาน คือ มีลายหลักเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่เรียกว่า “โคม” ลายโคมมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด มีลายประกอบด้านบน 2 แถว และด้านล่าง 1 แถว มักเป็นลายนกคู่กินน�้ำร่วมต้น ปิดท้ายด้วยลายเชิง เรียกว่า “หางสะเปา” สีด�ำล้วน ซิ่นตีนจกแบบจารีตมักมีพื้นส่วนเชิง เรียก ว่า “เล็บซิ่น” เป็นสีแดง ต่อมาได้เกิดค่านิยมแต่งกายด้วยสีเดียวกันทั้งชุด ในปลายรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 7 ท�ำให้เกิดเล็บ ตีนจกหลากสี เช่น เล็บสีน�้ำเงิน สีม่วง สีบานเย็น สีเขียว เป็นต้น ซึ่งเล็บซิ่น นี้จะต้องเข้าเป็นสีเดียวกันกับตัวซิ่นที่ได้ทอเตรียมไว้ก่อน ลักษณะผ้าซิ่นตีนจกแบบเวียงเชียงใหม่นี้ เรียกได้ว่าเป็นแบบ มาตรฐานของผ้าซิ่นตีนจกของเจ้านายล้านนา เพราะพบในภาพถ่าย โบราณว่าซิ่นตีนจกที่เจ้านายล�ำพูน เจ้านายล�ำปาง เจ้านายแพร่ ก็ล้วน แล้วแต่สวมซิ่นตีนจกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงผ้าซิ่นตีนจกซึ่งทอให้เล็บซิ่นมีสีเดียวกับตัวซิ่น (ที่มาภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ผ้าซิ่นตีนจกที่ทอในเวียงเชียงใหม่ ในช่วง ร.6-ร.7 นิยมทอให้เป็นสีเดียวกันทั้งผืน ตามความนิยมการแต่งกายในยุคนั้น (สมบัติส่วนบุคคลของ น.ส.มนัสวัฒก์ ชุติมา)
รูปแบบตีนจกบนผ้าซิ่นแบบเวียงเชียงใหม่
ผ้าซิ่นตีนจก แบบสันป่าตอง อ�ำเภอสันป่าตองในอดีตเป็นแหล่งชุมชนส�ำคัญที่อยู่บน เส้นทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน�้ำ กองคาราวานพ่อค้า งัวต่างจะต้องผ่านชุมชนนี้เพื่อมุ่งหน้าไปสู่เมืองมะละแหม่ง ในขณะที่ แม่น�้ำปิงที่ไหลฟาดผ่านก็ท�ำให้มีเรือหางแม่ป่องที่จะมุ่งหน้าไปสู่ กรุงเทพฯ ต้องผ่านชุมชนแห่งนี้ด้วย จากงานวิจัยเรื่อง“การค้าและ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ ้ า ในภาคเหนื อ ของประเทศไทยจากมุ ม มองทาง ประวัติศาสตร์” ของแคทเธอรีน เอ.โบวี ชุมชนเหล่านี้เป็นศูนย์กลาง การปลูกฝ้ายและทอผ้าเพื่อส่งออกไปยังต่างแดน ท�ำให้พอจะทราบ ได้ว่าสันป่าตองในอดีตนั้น คงเป็นชุมชนที่มีการทอผ้าอย่างแพร่ หลาย แม้ในปัจจุบันแทบไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว ในบรรดาผ้าซิ่นตีนจกโบราณของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีชื่อ เสียงในด้านความงดงามและหายาก นอกเหนือไปจากผ้าซิ่นตีนจก โบราณแบบชาวเวียงแล้ว ก็คือผ้าซิ่นตีนจกจากอ�ำเภอสันป่าตอง นั่นเอง อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าประหลาดใจ ที่ผ้าซิ่นตีนจกโบราณของ สันป่าตองมักปรากฏอยู่อย่างมาก ในชุมชนชาวไทเขิน ไทยอง เช่น หมู่บ้านต้นแหน หมู่บ้านต้นกอก เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ ค่านิยม วัฒนธรรมชาวไทยวนในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาจากต่างแดนได้ เป็นอย่างดี ลักษณะของผ้าซิ่นตีนจกสันป่าตอง จะมีความใกล้เคียงกับ ตีนจกในเวียงเชียงใหม่มาก กล่าวคือ ลายหลักเป็นลายโคมที่มีขนาด ใหญ่ เห็นได้ชัดเจน ลายประกอบด้านบนมี 2 แถว ด้านล่าง 1 แถว มักเป็นลายนกคู่กินน�้ำร่วมต้นหรือลายเครือดอกไม้ หางสะเปาหยัก ฟันปลาแบบมาตรฐาน เส้นสะเปาสีด�ำล้วน แต่เอกลักษณ์ที่โดดเด่น
ของตีนจกสันป่าตอง ที่ท�ำให้มีความแตกต่างไปจากตีนจกแบบเวียง เชียงใหม่ คือ ลวดลายจะดูโปร่งกว่า เห็นพื้นสีด�ำได้ชัดเจน วัสดุที่ใช้ ค่อนข้างแสดงออกถึงความหรูหรา เพราะเป็นวัสดุที่ไม่มีในท้องถิ่น ต้องน�ำเข้ามาพร้อมกับพ่อค้าวัวต่าง โดยมักใช้ไหมน้อยหรือไหมบ้าน เป็นเส้นพุ่ง มีบ้างที่เป็นไหมล้วนทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน แต่พบไม่มาก นักวัสดุที่น�ำมาจกให้เป็นลวดลายมักเป็นไหมค�ำหรือกระดาษสีทอง ชนิดที่พันกับแก่นฝ้าย อาจจะมีแล่งบ้างแต่พบไม่มาก ใช้ไหมหลากสี เพิ่มเข้าไป เพื่อสร้างความน่าสนใจแก่ลายจก แต่สีเหล่านั้นจะไม่ ฉูดฉาด เช่น สีเขียวหัวเป็ด สีน�้ำเงิน สีม่วง สีบานเย็น เป็นต้น ตัวซิ่นที่ น�ำมาต่อกับตีนจก จะสัมพันธ์กับวัสดุที่ใช้ทอตีนจก หากตีนจกทอ ด้วยไหมล้วน ตัวซิ่นก็จะเป็นไหม แต่ถ้าตีนจกเป็นฝ้าย ตัวซิ่นก็จะเป็น ผ้าฝ้ายเช่นเดียวกัน จากการสอบถามสัมภาษณ์ผู้สูงอายุใน สันป่าตอง ระบุว่า ตัวซิ่นเหล่านี้จะมีพ่อค้าเร่น�ำมาขายในหมู่บ้าน โดยมากมาจากอ�ำเภอสันก�ำแพง นอกจากนี้ในสันป่าตองเองก็มีการ ทอตัวซิ่นฝ้าย ที่หมู่บ้านแม่กุ้ง มีลักษณะเป็นซิ่นตา ลายสามแลว (เป็นชุดลายสามเส้นเรียงต่อเนื่องกันทั้งผืน) มีสีสันต่างๆ หลากสี เส้น ยืนเป็นฝ้ายละหานเนื้อเหนียวเส้นเล็ก เส้นพุ่งเป็นไหมปั่นควบกับฝ้าย ชาวบ้านเรียกซิ่นชนิดนี้ว่า “ซิ่นแม่กุ้ง” ตามชื่อหมู่บ้านที่ทอ ผ้าซิ่นตีนจกแบบสันป่าตองมีความโดดเด่นด้วยลวดลายที่สวยงาม การคัดสรรวัสดุจากต่างแดนไม่ว่าจะเป็นเส้นไหม ไหมเงินและ ไหมทอง ล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุหรูหราที่สะท้อนถึงความรุ่งเรือง ทางการค้าของชุมชนสันป่าตองในอดีต อย่างไรก็ตามเป็นที่เสียดาย ที่ในปัจจุบัน การทอผ้าซิ่นตีนจกในสันป่าตองได้สูญหายไปแล้ว คง เหลือไว้แต่ผ้าโบราณที่มีจ�ำนวนอยู่น้อยชิ้น
รูปแบบตีนจกแบบอ�ำเภอสันป่าตอง
ผ้าซิ่นตีนจก แบบแม่แจ่ม ซิ่นตีนจกแบบแม่แจ่ม เป็นซิ่นตีนจกที่เป็นที่รู้จักของคน ทั่วไป เนื่องจากยังคงมีการทออย่างต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน อัน เป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศของเมืองแม่แจ่มที่แวดล้อมด้วย ภูเขาสลับซับซ้อน ไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการคมนาคมส่งขน จึงท�ำให้การ เปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเป็นไปอย่างล่าช้า ประกอบกับเมื่อเกิด กระบวนการท้องถิ่นนิยม ราว พ.ศ. ๒๕๓๐ ซิ่นตีนจกของเมืองแม่แจ่ม ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกายแบบล้านนาแท้ จึงท�ำให้มี การฟื้นฟูการทอซิ่นตีนจกแบบดั้งเดิม และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักของ คนทั่วไป ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของซิ่นตีนจกแม่แจ่ม คือ การทอ ลายจกให้แน่นจนแทบไม่เห็นพื้นสีด�ำด้านหลัง ซึ่งเป็นผลมาจาก ความนิยมใช้ฝ้ายเส้นใหญ่ทบกันจ�ำนวนหลายเส้น โครงสีของ ลวดลายจกเป็นสีวรรณะร้อน (warm tone colour) ซึ่งเป็นสีแท้ (hue colour) สีสันที่นิยมส่วนใหญ่ ได้แก่ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีน�้ำตาล และมีสีอื่นๆ เช่น สีเขียว สีม่วง สีชมพู สีฟ้า ประกอบอีกเล็กน้อย ความสดใสของการสลับสีในลวดลายนี้เอง ท�ำให้ซิ่นตีนจกแบบ แม่แจ่มมีความสวยงามและน่าสนใจ ลายของตีนจกแม่แจ่ม อาจแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ใหญ่ คือ ลายโคม และลายกุม - ลายโคม มีลักษณะเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็น ลายหลักของตีนจก ขนาบด้านบนและด้านล่างด้วยลายประกอบ ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า “ห้องนก” เพราะมักท�ำเป็นลายนกขนาดเล็กเรียง กันไปตลอดทั้งแถว การเรียกชื่อของซิ่นตีนจกแม่แจ่มประเภทลาย โคมนี้ มักเรียกตามชื่อลายโคม ลายขัน หรือลายส�ำคัญภายในโคม ซึ่ง เป็นลายหลัก เช่น ลายเชียงแสนหงส์ด�ำ ลายละกอน ลายโคมหัว หมอน ลายขันสามแอว ลายหงส์บี้ ลายหงส์ปล่อย เป็นต้น
- ลายกุม เป็นการน�ำเอาลายขนาดเล็ก มาจัดรูปแบบใหม่ ให้เป็นลายชนิดนั้นเรียงซ้อนกัน ตลอดทั้งแถบของลายจก เช่น ลาย ห้องนกกุม ลายนาคกุม ลายนกนอนหมู่ เป็นต้น บริเวณแถวด้านล่างสุดของท้องลายจก เป็นลายส�ำคัญที่จะ ต้องมีในตีนจกทุกๆ ผืนของแม่แจ่ม ลายดังกล่าวเรียกว่า “ลายหางสะ เปา” ลายหางสะเปาของแม่แจ่มมีลักษณะที่แตกต่างจากหางสะเปา ของตีนจกในแหล่งอื่นๆ คือ นิยมจกเส้นสะเปาสีขาวแทรกระหว่าง เส้นสะเปาสีด�ำ ชาวแม่แจ่มนิยมต่อตีนจกกับตัวซิ่นสีสดใส เช่น สีเหลือง สี เขียวอ่อน สีส้ม สีชมพู สีขาว เป็นต้น เพื่อให้รับกันกับสีของตีนจก ตัว ซิ่นเหล่านี้มักซื้อขายแลกเปลี่ยนมาจากเมืองจอมทอง นอกจากนี้ยัง ปรากฏความนิยมใช้ตวั ซิน่ ชนิดหนึง่ ต่อกับตีนจกลายเชียงแสนหงส์ดำ� ตัวซิ่นดังกล่าวเรียกว่า “ซิ่นหอมอ้วน” สันนิษฐานว่า ตัวซิ่นชนิดนี้ อาจ มีที่มีจากซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคมุก ซึ่งพบมากในกลุ่มชาวไทยวนที่ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดราชบุรี ลักษณะอันโดดเด่นของซิ่นตีนจกแบบแม่แจ่มที่กล่าวมาใน ข้างต้นนั้น เป็นผลมาจากพัฒนาการทางสังคมที่เกิดขึ้นภายในเมือง แม่แจ่ม ซึ่งเริ่มปรากฏเด่นชัดตั้งแต่ช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ท�ำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในวัสดุที่ใช้ในการทอผ้า อีกทั้งเป็นผลมาจากการ สั่งสม บ่มเพาะประสบการณ์ด้านการทอตีนจก การรับรู้ความงามใน ธรรมชาติที่รายล้อมอยู่ใกล้ตัว ก่อนจะตกตะกอนกลายเป็นซิ่นตีนจก ที่มีความสวยงามตามรสนิยมของผู้คนในลุ่มแม่น�้ำแจ่ม ดังเป็นที่รับรู้ ของผู้คนในปัจจุบัน
รูปแบบผ้าซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอแม่แจ่ม
ผ้าซิ่นตีนจก แบบจอมทอง ซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอจอมทอง เป็นที่รู้จักกันอย่างไม่แพร่ หลายนัก เนื่องจากพบไม่มากนักและอยู่ในคลังสะสมส่วนบุคคลเป็น ส่วนใหญ่ ในอดีตเมืองจอมทองเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างเส้นทางการค้า ส�ำคัญจากเชียงใหม่ไปสู่เมืองมะละแหม่ง โดยขบวนคาราวานพ่อค้า วัวต่างจะผ่านเมืองจอมทอง และเมืองแม่แจ่มอยู่เสมอ ท�ำให้ชุมชน เหล่านี้สามารถเข้าถึงวัตถุดิบเส้นใยที่ใช้ในการทอผ้าได้ง่าย ซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอจอมทองส่วนใหญ่ที่พบ มักใช้เส้นฝ้าย เนื้อละเอียดที่เรียกว่า “ฝ้ายพ่าย” และฝ้ายแดงน�้ำมัน บางผืนพบมี การใช้เส้นไหมและไหมทองอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก สีสันของลวดลาย จกอยู่ในวรรณะสีร้อน ได้แก่ สีเหลือง ส้มและขาว มีสีวรรณะเย็น ซึ่ง เป็นสีคู่ตรงข้ามแทรกบ้างเล็กน้อย เช่น สีเขียวหัวเป็ด สีน�้ำเงิน เป็นต้น เพื่อสร้างมิติให้แก่ลวดลาย เอกลักษณ์การใช้สีที่โดดเด่นของซิ่น ตีนจกจอมทองคือ นิยมใช้ฝ้ายสีเหลืองสดปั่นไกเข้ากับฝ้ายสีขาว เพื่อ ท�ำให้สีเหลืองมีความนุ่มนวล ละมุนตามากขึ้น ลายซิ่นตีนจกตระกูล นี้นิยมจกให้เป็นลายแบบมาตรฐาน คือ มีลายโคมเป็นลายหลัก เช่น ลายขอสิบหก ลายโคมกูด เป็นต้น ลายหงส์ในโคมนิยมหงส์ด�ำ ลาย ประกอบหรือห้องนก มักเป็นลายนกกินน�้ำร่วมต้นขนาดเล็ก ห้องนก จะขนาบด้านบนและล่าง เพียงด้านละ ๑ ห้องเท่านั้น ไม่นิยมซ้อน ห้องนกกันเป็นสองชั้น นอกจากนี้แทบจะไม่พบลายอิสระจ�ำพวกลาย กุมหรือลายโคมหลวงเลย ลวดลายมักเปรียวเล็ก ลายโคมมีขนาดเล็ก เนื่องจากกระแทกฟืมหนัก ท�ำให้เนื้อผ้าและลวดลายบีบแน่น คล้าย ซิ่นตีนจกของแม่แจ่ม นิยมต่อกับตัวซิ่นสีเหลืองหรือสีขาว อันเป็นที่ นิยมแพร่หลายในเมืองจอมทองและแม่แจ่ม เอกลั ก ษณ์ ส� ำ คั ญ ของซิ่ น ตี น จกแบบอ� ำ เภอจอมทอง สามารถสังเกตได้จากลายหางสะเปา ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ และ เห็นได้ชัด ขอหางสะเปาเป็นรูปเลขสามไทย (๓) กลับหัว ที่ปลายหัว ทั้งสองด้านขมวดเป็นลายขอที่เห็นได้อย่างชัดเจน
รูปแบบผ้าซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอจอมทอง
ผ้าซิ่นตีนจก แบบฮอด - ดอยเต่า (ซิ่นน�้ำท่วม) ซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอฮอดและดอยเต่า มีลักษณะที่ใกล้ เคียงกันมาก เนื่องจากพื้นที่ในสองอ�ำเภอนั้น ในอดีตเป็นแหล่งชุมชน เดียวกัน นักสะสมผ้ามักเรียกซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอฮอดดอยเต่า ว่า “ซิ่นน�้ำท่วม” ตามค�ำเรียกของพ่อค้าผ้าเก่า โดยมีสาเหตุมาจากการ ก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ในราวพ.ศ. ๒๕๐๑ ทางการได้ประกาศให้ผู้คน อพยพเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่สองข้างแม่น�้ำปิง ในบริเวณที่น�้ำจะ ท่วมขึ้นถึง พื้นที่บางส่วนของอ�ำเภอฮอด และดอยเต่า ได้รับผลกระ ทบนี้ด้วย ชาวบ้านในอ�ำเภอฮอดและดอยเต่าบางส่วนถูกอพยพไป ตั้งรกรากใหม่ในนิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพลที่รัฐบาลจัดไว้ให้ ชาว บ้านอีกส่วนหนึ่งได้อพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่ในอ�ำเภออื่น เช่น อ�ำเภอแม่แจ่ม จอมทอง สันป่าตอง ไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ อ�ำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ข้าวของเครื่องใช้ที่ส�ำคัญถูก น�ำติดตัวไปด้วย รวมถึงผ้าซิ่น เมื่อมีพ่อค้าของเก่าไปพบซิ่นตีนจกกับ ชาวบ้านที่อพยพหนีน�้ำท่วมมา จึงเรียกซิ่นเหล่านี้ว่า “ซิ่นน�้ำท่วม” และท�ำให้คนทั่วไปกลับไปเรียกซิ่นตีนจกจากแหล่งเดิมที่ไม่ได้ถูกน�้ำ ท่วม ว่า “ซิ่นน�้ำท่วม” ตามไปด้วย ในอดีตการเดินทางค้าขายระหว่างเชียงใหม่ กับกรุงเทพ อาศัยเป็นแม่น�้ำปิงเป็นหลัก ท�ำให้ชุมชนที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น�้ำปิง ขยายตัว เป็นชุมชนส�ำคัญที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ จึงไม่น่า แปลกใจนักเมื่อพบว่าชุมชนในบริเวณอ�ำเภอฮอด ดอยเต่า จังหวัด เชียงใหม่ ปรากฏผ้าซิ่นตีนจกตกค้างอยู่อย่างมากมาย เพราะการที่ ชาวบ้านคนหนึ่งทอผ้าซิ่นตีนจกออกมาได้นั้น จ�ำเป็นจะต้องมีโอกาส ในการเข้าถึงวัสดุฟุ่มเฟือย น�ำเข้าจากต่างแดนอย่าง เส้นฝ้าย ไหม หรือไหมเงินไหมทอง รูปแบบผ้าซิ่นตีนจกแบบอ�ำเภอฮอด– ดอยเต่า (ซิ่นน�้ำท่วม)
ลักษณะโดยรวมของซิ่นตีนจกกลุ่มนี้ คือ ทอด้วยฝ้ายตะวัน ตกที่น�ำเข้าจากพม่า เล็บซิ่นใช้ฝ้ายแดงน�้ำมันเส้นเล็กสีแดงสด รูป แบบของลวดลายที่ปรากฏมีความชัดเจน ขนาดใหญ่และดูโดดเด่น อันเกิดขึ้นจากการรักษาช่องว่างระหว่างลายอย่างสม�่ำเสมอ ท�ำให้ยัง สามารถมองเห็นท้องจกสีด�ำได้ชัด โครงสีโดยรวมแม้จะอยู่ในสี วรรณะร้อน อย่างสีเหลือง ส้ม และแดง แต่ก็นิยมใช้สีคู่ตรงข้าม เช่น สีเขียว สีฟ้า ในปริมาณที่ค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน บางครั้งอาจมี สีข้างเคียงที่เป็นตัวกลางเข้าเจือปนหรืออาจใช้สีแท้ที่หม่นหรือจางลง จึงท�ำให้อยู่กับสีคู่ตรงข้ามได้อย่างกลมกลืน เช่นเดียวกันตัวซิ่นที่ใช้ ต่อตีนจก นิยมสีโทนขรึมสุขุม เช่น สีคราม สีน�้ำเงิน สีเขียวเข้ม สี น�้ำตาล เป็นต้น ซึ่งท�ำให้สีของตัวซิ่นรับกับตีนจกเป็นอย่างดี ลวดลายที่พบในซิ่นตีนจกตระกูลมีความหลากหลายมาก อันแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอ การประดิษฐ์ ลวดลายขึ้นใหม่ และการสอดสลับสีสันที่หลากหลาย เป็นการ แสดงออกถึงความมีชั้นเชิงทางศิลปะและความรุ่มรวยทางรสนิยม ลวดลายที่พบสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ - ลายมาตรฐานซึ่งประกอบด้วยลายหลักที่เป็นห้องโคม และลายประกอบขนาบทั้งด้านบนและล่างลายโคมที่ส�ำคัญ เช่น ลายโคมเป็ด ลายโคมนกน้อยบินซอน ลายโคมขันขอเบ็ด เป็นต้น ลายประกอบ เช่น ลายกาบสัก ลายเขี้ยวหมาหลวง ลายอีเนียวซอน ทราย เป็นต้น
- ลายกุมหรือลายเครือ หมายถึงลักษณะการน�ำลายใดลาย หนึ่งมาจกต่อเนื่องซ�้ำกันไปเต็มพื้นที่หน้าจก ได้แก่ ลายหงส์เครือ ลายกุดกุญแจ ลายโคมหัวขอกุด ลายกุดลาวเอ้ ลายก�ำปุ่งเต็มหน้า ลายเกล็ดงูเหลื่อม ลายเครือสายฟ้าหล้วง ลายเครือจ้างคุ เป็นต้น - ลายอิสระ ที่ทอขึ้นจากความพอใจของช่างทอ เช่น ลาย โคมหลวง คือ มีเฉพาะลายโคมเต็มหน้าจกโดยไม่มีลายประกอบ ลาย สร้อยนกดอกหมาก ลายห้องนกหงส์เครือขอนก เป็นต้น ผ้าซิ่นตีนจกที่ปรากฏในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้ แสดงออกถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่เด่นชัดและ ส�ำคัญ เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายคลึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง สิ้น โดยวัฒนธรรมการนุ่งผ้าซิ่นตีนจกนี้ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวไทยวน จากประวัติศาสตร์เมือง เชียงใหม่เมื่อราว 200 ปีมานี้ แม้จะมีการอพยพผู้คนต่างวัฒนธรรม เข้ามาอาศัยที่เมืองเชียงใหม่ แต่วัฒนธรรมการทอและนุ่งผ้าซิ่น ตีนจกก็มิได้เลือนหายไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน บางท้องที่ของ จังหวัดเชียงใหม่ มิได้มีการทอผ้าซิ่นตีนจกอีกต่อไปแล้ว แต่ก็ยังคงมี การอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมการทอและนุ่งผ้าซิ่นตีนจกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และนักอนุรักษ์ วัฒนธรรมล้านนาทั้งหลาย ซึ่งจะท�ำให้ผ้าซิ่นตีนจกจะยังคงอยู่คู่เมือง เชียงใหม่ไปอีกนานเท่านาน
ผ้าซิ่นตีนจกผืนนี้ ได้จากอ�ำเภอไชยปราการ แต่เดิมเจ้าของเป็นชาวหมู่บ้านตาล อ�ำเภอฮอด เป็นซิ่นตีนจกน�้ำท่วม ที่มีลักษณะพิเศษเนื่องจากตัวซิ่นทอด้วยเทคนิคมัดหมี่ (สมบัติส่วนบุคคลของ นายวสิน อุ่นจะน�ำ)
ผ้าที่ใช้ในครัวเรือน ของชาวเชียงใหม่ในอดีต
โดย คุณ วสิน อุ่นจะน�ำ ผู้เชี่ยวชาญผ้าและสิ่งถักทอไทย
ผ้าทอที่ชาวเชียงใหม่ใช้ในครัวเรือน ได้แก่ หมอน ผ้าหลบ ผ้าห่ม ผ้ากั้ง และสะลี ผ้าเหล่านี้จะทอขึ้นจากเส้นใยฝ้ายมีสีหลัก คือ ขาว แดง และด�ำ
ภาพหมอนผา หมอนหก และหมอนปล่อง จากซ้ายไปขวา (ที่มาภาพ : Instagram @satu.doitao)
1.หมอน หมอนของชาวเชียงใหม่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ หมอนที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวันและหมอนส�ำหรับเป็น เครื่องประกอบพิธีกรรม หมอนส�ำหรับใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เป็น หมอนขนาดกะทัดรัด เรียกว่า หมอนหก อันเนื่องมาจากลักษณะ การเย็บที่แบ่งช่องส�ำหรับยัดงิ้วหรือนุ่นออกเป็นช่องๆ จ�ำนวน 6 ช่อง บริเวณหน้าหมอนนิยมหุ้มด้วยผ้าสีแดง หรือตกแต่งด้วยลวดลาย จก เช่น ลายดอกจัน ลายโคม ลายม้า เป็นต้น ส่วนหมอนที่ใช้ใน พิธีกรรมมีลักษณะพิเศษกว่าหมอนทั่วไป มี 3 แบบ คือ หมอนเก้า หมอนผา เป็นหมอนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า และหมอนปล่อง ซึ่งเป็น หมอนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เว้นช่องตรงกลางหมอนไว้เป็นที่ว่าง และ มีหมอนกลมอีกลูกอยู่ตรงกลาง หมอนทั้งสามแบบซึ่งใช้ในพิธีกรรม นี้ จะประดับประดาตกแต่งอย่างงดงามที่หน้าหมอนด้วยการปัก แล่งเงินแล่งทองลงบนผ้าก�ำมะหยี่ น�ำออกมาใช้เฉพาะโอกาสพิเศษ เท่านั้น เช่น งานบวช งานแต่งงาน หรือท�ำถวายเป็นพุทธบูชา เป็นต้น
2.ผ้าหลบ หมายถึง ผ้าที่ใช้ปูอยู่ด้านบนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งโดยมากมักหมายถึงผ้าปูที่นอน ใช้ปูบนฟูกซึ่งชาวล้านนาเรียกว่า “สะลี” มีหน้ากว้างประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร น�ำผ้าสองชิ้นมา เย็บต่อกันตรงกลางเพื่อให้ได้ตามขนาดของฟูก แต่หากหน้าฟืมที่ใช้ ในการทอมีหน้ากว้างอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเย็บต่อกัน ในปัจจุบันเราไม่ พบหลักฐานว่า ผ้าหลบของชาวเวียงเชียงใหม่เป็นเช่นไร แต่จาก การสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่าน ล้วนให้การตรงกันว่า เป็นผ้า สีขาวสะอาด อาจเป็นผ้าฝ้ายทอมือหรือผ้าทอโรงงานก็ได้ อย่างไร ก็ตามในแถบอ�ำเภอตอนใต้ของเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ อ�ำเภอ สันป่าตอง อ�ำเภอจอมทอง อ�ำเภอแม่แจ่ม และอ�ำเภอฮอด ลักษณะ ผ้าหลบคล้ายคลึงกัน คือ เป็นผ้าฝ้ายทอมือสีขาว มีลวดลายทอด้วย เทคนิคจกหรือขิด บริเวณเชิงของผ้าหลบ ถักหรือฟั่นปลายฝ้ายที่ เหลือให้เป็นชายครุยอย่างประณีต ลวดลายที่ทอลงไปบนผืนผ้าจะมีรายละเอียดที่แตกต่าง กันออกไปตามพื้นที่ เช่น ผ้าหลบจากอ�ำเภอสันป่าตอง และ จอมทอง จะมีแถวลายจ�ำนวนมาก ตั้งแต่ 5 – 7 แถว ในขณะที่ผ้า หลบจากอ�ำเภอแม่แจ่ม ฮอด และดอยเต่า จะมีเพียง 3 แถว นอก เหนือจากใช้ผ้าหลบเพื่อปูนอนแล้ว ในบางคราวก็ยังน�ำมาใช้ ประกอบพิธีกรรมด้วย เช่น ในการบวชนาค แม่ของผู้บวชจะทอผ้า หลบไว้ล่วงหน้าจ�ำนวนมาก เพื่อเป็นเครื่องไทยทานประกอบ พิธีกรรม เป็นต้น
ภาพผ้าห่มตาโก้ง (ที่มาภาพ : เพจอาละวี ผ้าทอไทลื้อลายโบราณ จ.น่าน)
บริเวณเชิงของผ้าหลบจะเก็บเป็นลายอย่างงดงาม ด้วยฝ้ายสีน�้ำตาลแดงและด�ำ
3.ผ้าห่มแบบดั้งเดิมของเชียงใหม่ มี 2 แบบ คือ ผ้าห่มลาย แซง และผ้าห่มตาโก้ง ผ้าห่มลายแซงเป็นผ้าห่มที่ทอเป็นลายริ้ว ขนาดเล็กสีแดงหรือสีด�ำ บนพื้นสีขาว ซึ่งเกิดจากการขึงเส้นยืนให้ เกิดลาย ผ้าห่มลายแซงมีลักษณะคล้ายผ้าห่มของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ ยงและลัวะมาก ส่วนผ้าห่มตาโก้ง เป็นผ้าห่มที่ทอให้เป็นลายตาราง หรือตาหมากรุก ผ้าห่มทั้งสองแบบนี้มักทอให้เป็นลายสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากการเหยียบไม้ 4 ตะกอ บางครั้งชาว เชียงใหม่เรียกว่าผ้าห่มทั้งสองแบบนี้ว่า “ผ้าห่มลายดี” หมายถึงลาย สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนั้นเอง รูปแบบของผ้าห่มแบบดั้งเดิมจะต้อง น�ำผ้าสองชิ้นมาเย็บต่อกันตรงกลาง และเย็บที่ปลายผ้าทั้งสองด้าน ให้ติดกันเป็นวงกลม คล้ายผ้าซิ่น การเย็บเช่นนี้จะช่วยท�ำให้ผ้าห่มมี ความหนาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในฤดูหนาวหากต้องการให้มีความ อบอุ่นมากยิ่งขึ้น ก็จะใช้ปุยฝ้ายที่ตีแล้วมาปั้นให้เป็นเส้นกลมๆ เย็บ ต่อกันให้เป็นผืนแล้วสอดเข้าไประหว่างผ้าที่ทบกันสองชิ้น ชาว เชียงใหม่เรียกว่าผ้าห่มที่ยัดปุยฝ้ายนี้ว่า “ผ้านวมหรือผ้าลวม”
# เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน #เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ #ChiangMaiCityofCraftsandFolkAr t#CMCCFA