The Knowledge magazine vol.1H

Page 1


CONTENTS 14

8

13

20

_ 2 _

3 WORD POWER

12 THE KNOWLEDGE

19 INSIDE

KNOWLEDGE ECONOMY

ความรู้สู่โอกาส 6 ONE OF A KIND เศรษฐกิจความรู้ ทางออกประเทศไทย? 8 DECODE

13 NEXTPERT DELICACY KNOWLEDGE

KNOWLEDGE MANAGEMENT

10 DIGITONOMY

NATIONAL KNOWLEDGE PARK

14 NEXT การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ จากฐานความรู้ 18 ความรู้กินได้ ทำ�ไมต้องความรู้กินได้

CAPITAL RETHINK

HUMAN CAPITAL INFRASTRUCTURE

20 SPECIAL FEATURE BBL มิตใิ หม่แห่งการเรียนรูส้ ร้างสรรค์ 22 TREND TALK โลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน 24 5 IVE 5 สิ่งเติมพลังสมอง 26 WHAT’S GOING ON กิจกรรมน่าสนใจ

ABOUT US

OFFICE OF KNOWLEDGE MANAGEMENT AND DEVELOPMENT

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.okmd.or.th

ที่ปรึกษา ดร.อธิปัตย์ บำ�รุง ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ บรรณาธิการบริหาร ดร.ปรียา ผาติชล รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หัวหน้ากองบรรณาธิการ ดร.อภิชาติ ประเสริฐ ผู้อำ�นวยการสำ�นักโครงการและจัดการความรู้

อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เเสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ฝ่ายศิลปกรรมและภาพถ่าย

บริษัท บอสฟอรัส จำ�กัด 9/2 หมู่บ้านเสรี ซอยลาดพร้าว 44 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทรศัพท์ 0 2736 8646 โทรสาร 0 2731 4195 อีเมล mybosphorus@yahoo.com

จัดทำ�โดย

สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 69 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น 18-19 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2105 6500 โทรสาร 0 2105 6566 อีเมล theknowledge@okmd.or.th

จัดทำ�ขึ้นภายใต้โครงการเผยแพร่กิจกรรมองค์ความรู้ โดยสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการนำ�องค์ความรู้มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ด้านการเรียนรู้ ต่อยอดธุรกิจ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจประเทศ


_ 3 _

KNOWLEDGE ECONOMY ความรู้สู่โอกาส Knowledge Economy เป็นคำ�ที่หลายคนคงเคยได้ยินมาตั้งแต่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 กำ�หนด หนึ่งในยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไว้ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพ คนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นสู่การพัฒนาสังคมไทยไปสู่เศรษฐกิจความรู้ ความรู้จะนำ�ไปสู่โอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างไร ร่วมหาคำ�ตอบได้ที่นี่


แม้วา่ จะมีการกล่าวถึง Knowledge Economy มานานแล้ว แต่ยงั ไม่มกี าร อธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจนของค�ำนี้ มากนัก ค�ำว่า Knowledge Economy มีการแปลเป็นภาษาไทยไว้หลากหลาย อาทิ เศรษฐกิจฐานความรู้ เศรษฐกิจ แห่งองค์ความรู้ และเศรษฐกิจแห่ง การเรี ย นรู ้ The Knowledge by O K MD ฉบั บ นี้ ข อใช้ ค� ำ แปลว่ า เศรษฐกิจความรู้ ที่อธิบายถึงการน�ำ ความรู้มาใช้ในการสร้างความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมซึง่ เป็น นโยบายที่รัฐบาลควรให้ความส�ำคัญ ต่อไปในอนาคต ในสมั ย หนึ่ ง เราคุ ้ น เคยกั บ ค� ำ ว่ า

โลกาภิวตั น์ หรือแนวโน้มของเศรษฐกิจ ที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดน และ ต่ อ มาเราได้ ยิ น ค� ำ ว่ า เศรษฐกิ จ สร้างสรรค์บ่อยขึ้น จนในปัจจุบันเรา ก�ำลังเข้าสูย่ คุ เศรษฐกิจดิจทิ ลั ทัง้ หมด ทีก่ ล่าวมานี้ มีปจั จัยขับเคลือ่ นทีส่ ำ� คัญ คือ “องค์ความรู้” ยุคโลกาภิวัตน์ที่ ความรูไ้ ร้พรมแดนทีเ่ ราสามารถเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ได้ทกุ ที่ ทุกเวลา ดังที่ Peter Drucker ได้กล่าวไว้ว่า ในยุคนี้จะไม่มีความรู้ เฉพาะท้องถิ่นอีกต่อไป ขณะเดียวกัน ความรูก้ ท็ ำ� ให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มคุณค่าและมูลค่าของสินค้าและ บริการในตลาดโลก นั่นคือ เราก�ำลัง

นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เป็นปัจจัย ขับเคลือ ่ นเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยมีความรูเ้ ป็นกลไกสำ�คัญ _ 4 _

ผลิตภัณฑ์น้ำ�มะพร้าวพร้อมดื่ม แบรนด์ “Coco Easy” รางวัล การออกแบบเชิงนวัตกรรม ประจำ�ปี 2557 จากสำ�นักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ

เข้าสูแ่ นวทางการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย การใช้ความรูห้ รือมันสมองของคนเป็น ปั จ จั ย ขั บ เคลื่ อ น ซึ่ ง ท� ำ ให้ เ ราต้ อ ง ท�ำความเข้าใจกับเศรษฐกิจความรู้ ที่ ก� ำ ลั ง มี บ ท บ า ท ส� ำ คั ญ ใ น ฐ า น ะ เศรษฐกิจยุคใหม่ เส้นทางจากเศรษฐกิจยุคเก่า สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ หากพิจารณาเส้นทางการพัฒนา เศรษฐกิ จ ในแต่ ล ะยุ ค จะพบว่ า มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการผลิตที่ แตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ในเชิง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยการผลิต ดั้งเดิมที่ก่อให้เกิดผลิตภาพการผลิต ของสินค้าและบริการ ประกอบด้วย ทีด่ นิ ทุน และแรงงาน ในช่วงแรกจะต้อง พึง่ พาปัจจัยการผลิตทีจ่ บั ต้องได้ หรือที่ เรียกว่าเป็นทุนธรรมชาติ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทรัพยากรธรรมชาติทมี่ อี ยู่ เช่น พืชผล ป่าไม้ แร่ เป็นต้น เราจะ เห็นได้จากสถิติการส่งออกสินค้าใน อดีตส่วนใหญ่นา่ จะเป็นสินค้าทีเ่ กิดจาก ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสินค้าเกษตรที่ ใช้ ท รั พ ยากรที่ ดิ น และแรงงานเป็ น ส�ำคัญ ต่อมาก็เปลีย่ นมาใช้ทรัพยากรที่ ใช้ทุนทางกายภาพ เช่น เครื่องจักร ที่ ยั ง ไม่ ซั บ ซ้ อ นมากและแรงงาน เป็นปัจจัยการผลิต ซึ่งสินค้าส่งออก ส�ำคัญยุคนัน้ เช่น สิง่ ทอ เครือ่ งนุง่ ห่ม ที่เรียกว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเบา หรืออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ยุคนี้ถือเป็นเศรษฐกิจยุคเก่า ที่ปัจจัย ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ มาจากปั จ จั ย ทางกายภาพ เมือ่ ระบบเศรษฐกิจมีความยุง่ ยาก และซับซ้อนขึน้ จ�ำนวนคูค่ า้ และคูแ่ ข่ง มากขึ้น การผลิตสินค้าและบริการใน รูปแบบเดิมๆ จึงต้องมีการปรับตัวสู่ เศรษฐกิจยุคใหม่ ทีใ่ ช้ทนุ ส�ำคัญในการ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ คือทุนมนุษย์ อัน ได้ แ ก่ ทุ น ทางปั ญ ญา และทุ น ทาง


หุ่นยนต์ดินสอ หุ่นยนต์ตัวแรก ของไทยที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ ภายใต้การสนับสนุนของ สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เศรษฐกิจ+ความรู้ = การใช้ความรู้สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ

วัฒนธรรม โดยทั้งหมดต้องอาศัยการ ขับเคลือ่ นด้วยการวิจยั และพัฒนาการใช้ นวั ต กรรม และการใช้ ค วามคิ ด สร้างสรรค์ ซึง่ เป็นการใช้ความรูเ้ ป็นตัว ขับเคลือ่ นทัง้ สิน้ จากที่กล่าวข้างต้นว่าเราก�ำลังอยู่ ในยุคเศรษฐกิจใหม่ทตี่ อ้ งอาศัยความรู้ เป็นปัจจัยในการขับเคลือ่ น หรือทีเ่ รียก ว่าเศรษฐกิจความรู้ ซึง่ ประกอบด้วยค�ำ 2 ค�ำ คือ เศรษฐกิจ กับ ความรู้ เมือ่ พูด ถึงค�ำว่าเศรษฐกิจ จะนึกถึงสิง่ ทีก่ อ่ ให้ เกิดรายได้ สิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการท�ำมา หากิน หรือปากท้องของคน ขณะที่

เมื่อพูดถึงความรู้ จะนึกถึงสมองหรือ สติปัญญา ที่เกิดจากการเรียนรู้ ค�ำว่า เศรษฐกิจนัน้ สามารถวัดค่าได้ เช่น การวัด อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึง่ หมายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการที่ ผลิตขึ้นในประเทศว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น มากน้ อ ยเท่ า ไร อย่างไรในแต่ละปี แต่การวัดองค์ความรู้ เป็นสิง่ ทีท่ ำ� ได้ยาก หากไม่ นั บ การเรี ย นรู ้ ที่ วั ด จากผล การสอบในระบบการศึ ก ษาที่ เ ป็ น ทางการแล้ว การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ การใช้ชวี ติ และสมองที่ ติดตัวมา รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์

ของแต่ละคนอาจจะวัดเป็นรูปธรรม ได้ยาก โดยเราเรียกองค์ความรู้ที่เกิด จากปัญญาว่า “ทรัพย์สนิ ทางปัญญา” และเมื่อน�ำทรัพย์สินทางปัญญาไป สร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้า และบริ ก ารของประเทศ ซึ่ ง เป็ น การน� ำ ความรู ้ ไ ปก่ อ ให้ เ กิ ด รายได้ อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม และเกิ ด เป็ น “เศรษฐกิจความรู”้ ทีม่ นี วัตกรรมและ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกลไกส�ำคัญ

_ 5 _


THAILAND

ประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรมหนัก

THAILAND

ประเทศไทย ในยุคเกษตรกรรม

THAILAND _ 6 _

ประเทศไทย ในยุคอุตสาหกรรมเบา

ภายใต้บริบทใหม่ที่เศรษฐกิจไทย เติบโตเฉลี่ยเพียง 3% ต่อปี ค�ำถามคือ ในเมื่อวันนี้จ�ำนวนประชากรไม่เติบโต จากการคาดการณ์ ข อง UN ในอี ก ไม่ถึง 100 ปี ข้างหน้า จ�ำนวนประชากร ไทยจะเริม่ ลดลง จนเหลือแค่ 42 ล้าน คนในปี พ.ศ. 2643 ประเทศไทยจะก้าว เดินไปข้างหน้าได้อย่างไรกัน? หากวินจิ ฉัยสาเหตุทปี่ ระเทศไทยมี อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง ส่วนหนึง่ เป็นเพราะประเทศไทยพึง่ พา ต่ า งประเทศในระดั บ สู ง มาก โดย สัดส่วนการส่งออกของไทยมากกว่า 50% ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมใน ประเทศ เมือ่ เศรษฐกิจของประเทศคูค่ า้

ชะลอตั ว การส่ ง ออกของไทยไปยั ง ประเทศคูค่ า้ ก็ลดลงด้วย และส่งผลต่อ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ดังนัน้ การที่ประเทศไทยจะยงยืนอยู่ได้ใน ตลาดโลกก็ต้องหันมาทบทวนจุดอ่อน ที่มีอยู่ และจุดอ่อนที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง ของประเทศไทยคื อ ประสิ ท ธิ ภ าพ แรงงานที่กระทบขีดความสามารถใน การแข่ ง ขั น ของไทยโดยตรง การที่ แรงงานมีประสิทธิภาพต�่ำส่งผลต่อ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริ ก าร หรื อ การสร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ ประเทศ ทางออกของประเทศไทยใน การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานจึงหนี ไม่ พ ้ น การต้ อ งเร่ ง สร้ า งและพั ฒ นา

ศั ก ยภาพทุ น มนุ ษ ย์ เ พื่ อ ให้ ส ามารถ สร้ า งนวั ต กรรม การวิ จั ย และการ พัฒนาทีจ่ ะเคลือ่ นไปสูก่ ารสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับสินค้าและบริการอันจะน�ำ ไปสู่การสร้างรายได้ให้กับประเทศ หากศึกษาบทเรียนจากประเทศที่ เคยประสบปั ญ หาภาวะเศรษฐกิ จ ซบเซาที่สามารถพัฒนามาสู่ประเทศ ที่มีรายได้ต่อหัวสูงในอันดับต้นๆ ของ โลกอย่างเช่น ฟินแลนด์ สวีเดน และ สิงคโปร์ จะพบว่าทั้ง 3 ประเทศเหล่านี้ ขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของ ประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจความรู้ ผ่ า นการพั ฒ นาทุ น มนุ ษ ย์ ทั้ ง สิ้ น โดยโมเดลของฟินแลนด์และสวีเดน


THAILAND

ประเทศไทย ในยุคทีใ่ ช้นวัตกรรม

_ 7 _

เน้นการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เพือ่ ให้เกิดนวัตกรรม ขณะทีส่ งิ คโปร์ให้ ความส�ำคัญอย่างมากกับการปฏิรูป การศึ ก ษาและมุ ่ ง เน้ น ให้ ป ระเทศ สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา หรือเรียกว่า Brain Center ซึง่ สิง่ ส�ำคัญ ที่ได้จากประสบการณ์ของ 3 ประเทศ นี้ คือ นโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการ ลงทุนในทุนมนุษย์ ที่ให้ความส�ำคัญ กับการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่ง หากหาความสั ม พั น ธ์ ข องความรู ้ ทีส่ ะท้อนจากดัชนีเศรษฐกิจความรูโ้ ดย ธนาคารโลกทีจ่ ดั ท�ำขึน้ ในปี พ.ศ. 2556 กับรายได้ต่อหัวในปีเดียวกัน จะเห็น

ได้วา่ ประเทศทีม่ ดี ชั นีเศรษฐกิจความรู้ อยู ่ ใ นระดั บ สู ง จะมี ร ายได้ ต ่ อ หั ว สู ง แปลว่ า การเติ บ โตของเศรษฐกิ จ ขึ้นอยู่กับการน�ำความรู้ไปขับเคลื่อน เศรษฐกิจนั่นเอง นโยบายรั ฐ บาลที่ จ ะขั บ เคลื่ อ น ประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 มีที่มา จากการพัฒนาองค์ความรู้และการ เรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนไปตามระยะเวลา ของการพั ฒ นาประเทศ ตามที่ ไ ด้ มี ก ารให้ นิ ย ามว่ า ประเทศไทย 1.0 คื อ ประเทศไทยในยุ ค เกษตรกรรม ประเทศไทย 2.0 คือประเทศไทยในยุค อุตสาหกรรมเบา ประเทศไทย 3.0 คือ

อ้างอิง: Asian Development Bank (2016), United Nations Population Division (2015), สถาบันอนาคตไทยศึกษา (2557)

ประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรมหนัก และประเทศไทย 4.0 คือประเทศไทย ในยุคทีใ่ ช้นวัตกรรม ในแต่ละยุคทีเ่ กิด การพัฒนาจะมีปัจจัยส�ำคัญคือ องค์ ความรูใ้ นการใช้เทคโนโลยีและการใช้ นวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงทุกยุค จุดเน้นหลักของประเทศไทย 4.0 จึง ต้องการขับเคลือ่ นคนไทยด้วยนวัตกรรม ซึง่ หากพูดถึงนวัตกรรม ปัจจัยขับเคลือ่ น ส�ำคัญที่จะไปสู่การสร้างนวัตกรรมคือ “ความรู”้ หรือสมองและสติปญ ั ญาของ คนที่ต้องมีความคิดผ่านกระบวนการ เรียนรูอ้ ย่างครบถ้วน


KNOWLEDGE MANAGEMENT การจัดการความรู้ สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศต้องอาศัยการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยบทบาท รั ฐ ค ว ร ค ร อ บ ค ลุ ม ตั้ ง แ ต ่ ก า ร ผ ลิ ต เ ผ ย แ พ ร ่ และต่อยอดองค์ความรู้ผ่านโครงสร้างพื้นฐานและ รูปแบบการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ แรงงานและสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทีใ่ ช้ขบ ั เคลือ ่ น เศรษฐกิจไทย

_ 8 _

การจะน�ำความรูไ้ ปต่อยอดเพือ่ ให้ เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมที่ ยกระดับศักยภาพคนให้พัฒนา เพื่อ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศได้ ใ นระยะยาวนั้ น กระบวนการเรียนรู้จะต้องเกิดขึ้นจาก การจัดการข้อมูลทีม่ อี ยูอ่ ย่างมหาศาล และมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก โดย องค์ประกอบของการเป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ที่ส�ำคัญคือ • เป็นสังคมทีม่ กี ารรวบรวมข้อมูล จั ด ระเบี ย บ และใช้ ข ้ อ มู ล จากทั้ ง ที่ มีการจัดเก็บและไม่มกี ารจัดเก็บให้ได้ มากที่สุดจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและ นอกองค์กร • เป็ น สั ง คมที่ มี ก ารวิ เ คราะห์

ข้ อ มู ล ให้ มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ มากขึ้ น ชัดเจนขึน้ และแพร่กระจายได้มากขึน้ • เป็นสังคมที่มีการจัดการข้อมูล และเครื่องมือที่เคลื่อนที่ได้ ด้วยระบบ งานที่ ท� ำ งานอยู ่ บ นอุ ป กรณ์ พ กพา เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เพื่อให้ เข้าถึงได้งา่ ย สะดวก รวดเร็ว และเป็น ปัจจุบนั • เป็นสังคมที่มีข้อมูลชัดเจนขึ้น ด้วยระบบดิจิทัลที่อธิบายได้ครบถ้วน มากขึ้ น ส่ ง เสริ ม การสร้ า งความคิ ด ใหม่ๆ โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ และข้อมูลเป็นปัจจุบันสามารถน�ำมา ใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ จ ริ ง มากขึ้ น ข้ อ มู ล ทีถ่ กู จัดเก็บ วิเคราะห์ และกระจายไป ได้ ร วดเร็ ว กว่ า เดิ ม มี ค วามเเม่ น ย� ำ

ครบถ้วน มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ แบบฉับพลันมากขึน้ ในปี พ.ศ. 2549 ธนาคารโลกได้เสนอ กรอบแนวคิดเกีย่ วกับเศรษฐกิจความรู้ ไว้ว่า เศรษฐกิจความรู้เป็นเศรษฐกิจ ที่ใช้ความรู้ในการสร้าง เผยแพร่ และ น�ำความรูไ้ ปใช้เพือ่ ส่งเสริมการพัฒนา เศรษฐกิ จ จุ ด เปลี่ ย นผ่ า นที่ ป ระสบ ความส� ำ เร็ จ ในการก้ า วสู ่ เ ศรษฐกิ จ ความรู้มีองค์ประกอบที่เปรียบเสมือน เสาหลักอยู่ 4 เสาส�ำคัญ ได้แก่ • นโยบายการจัดสรรทรัพยากร • การยกระดับแรงงาน • ประสิทธิผลของระบบนวัตกรรม • โครงสร้ า งพื้ น ฐานที่ ทั น สมั ย และเพียงพอ


นโยบายการจัดสรร ทรัพยากร

การยกระดับ แรงงาน

ประสิทธิผลของ ระบบนวัตกรรม

โครงสร้างพื้นฐานที่ ทันสมัยและเพียงพอ

เ พื่ อ ก ร ะ ตุ ้ น ใ ห ้ เ กิ ด การสร้ า งสรรรค์ ที่ มี ประสิทธิภาพ การใช้และ เผยแพร่ อ งค์ ค วามรู ้ ทีม ่ อ ี ยูเ่ พือ ่ ให้เกิดความ คิ ด ใ น ก า ร ต ่ อ ย อ ด องค์ ค วามรู ้ อ อกไป อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีม่ ที กั ษะและมีการศึกษา เ พื่ อ ใ ห ้ ส า ม า ร ถ ใ ช ้ ทั ก ษะใ น ก า ร ส ร ้ า ง หรื อ ใช้ ค วามรู ้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพ

หน่วยธุรกิจ ศูนย์วจิ ย ั มหาวิทยาลัย ทีป ่ รึกษา และองค์กรต่างๆ ที่ ส า ม า ร ถ พั ฒ น า องค์ ค วามรู ้ สู ่ ร ะดั บ โลก และใช้ความรู้นั้น ตามความต้ อ งการ ของท้องถิ่น

ที่สามารถเอื้อต่อการ สื่อสาร การเผยแพร่ และกระบวนการพัฒนา ข้อมูลข่าวสารและความรู้

_ 9 _

จากเสาหลั ก ทั้ ง 4 เสานี้ จ ะเห็ น ว่ า ภาครั ฐ หรื อ นโยบายสาธารณะ ที่ รั ฐ ควรจะต้ อ งด� ำ เนิ น การเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด กระบวนการเรี ย นรู ้ และการมุ่งสู่เป้าประสงค์ในการเป็น ประเทศที่ เ ข้ า สู ่ เ ศรษฐกิ จ ความรู ้ ที่ส�ำคัญ คือ อ้างอิงจาก: World Bank (2005)

• ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการ องค์ความรู้ • เพิ่ ม ช่ อ งทางในการเข้ า ถึ ง องค์ความรูใ้ ห้กบั คนทุกระดับ ทุกพืน้ ที่ อย่างทั่วถึง • กระตุ ้ น ให้ เ กิ ด การต่ อ ยอด องค์ความรู้ที่สามารถน�ำไปขยายผล

สู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้ • ส่งเสริมให้เกิดการน�ำงานวิจัย และพัฒนา และนวัตกรรมไปสร้างรายได้ เชิงพาณิชย์ • สนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่าย แ ล ะ ก ล ไ ก ก า ร เ ชื่ อ ม โ ย ง สั ง ค ม การเรียนรู้


CAPITAL RETHINK ทบทวนต้นทุนประเทศไทย

_ 10 _

เศรษฐกิจ ความรู้

การเพิ่มมูลค่า ด้วยความคิด สร้างสรรค์

การขับเคลื่อน “เศรษฐกิจความรู้” ที่ใช้ประโยชน์จาก ทุนมนุษย์ หรือพูดง่ายๆ คือสมองของคนในการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญา แทนการใช้ปัจจัยการผลิตทาง กายภาพอย่างทีด่ นิ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสัดส่วนของทุน ต่อแรงงาน เปรียบเสมือนการวางรากฐานด้านคนอันเป็นจุดอ่อน ของประเทศ ประเทศพัฒนาแล้วอย่างไต้หวันและเกาหลีใต้ ล้วนแต่เป็นเศรษฐกิจความรูท้ สี่ ำ� เร็จในการพลิกโฉมจากการ พึง่ พาอุตสาหกรรมเบาทีใ่ ช้แรงงานเข้มข้น ไปสูอ่ ตุ สาหกรรมหนัก ทีใ่ ช้ทกั ษะความรูส้ งู ด้วยการลงทุน ธนาคารโลกได้วเิ คราะห์ ตัง้ แต่หลังวิกฤตต้มย�ำกุง้ ว่า ไทยอ่อนแอเรือ่ งเศรษฐกิจความรู้ โดยเฉพาะทักษะและความสามารถทางเทคโนโลยี แต่เมือ่ เวลาล่วงเลยมา 20 ปี เราท�ำอะไรกันอยู?่ น่าจะถึงเวลาอีกครัง้ ทีภ่ าครัฐต้องกลับมาทบทวนการก�ำหนดบทบาทในการก�ำหนด นโยบายสาธารณะที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการ

คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น

ขับเคลือ่ นสูเ่ ศรษฐกิจความรูอ้ ย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมเสียที นโยบายอย่างเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิ จ สี เ ขี ย ว ล้ ว นเป็ น วิ ธี ก ารที่ มุ ่ ง ให้ ป ระเทศ กลับมาเติบโตอย่างมีคุณภาพและก้าวพ้น “กับดักรายได้ ปานกลาง” ทีพ่ งึ่ พาทุนมนุษย์เป็นส�ำคัญ และหาก “เสาเข็ม” นี้ ไ ม่ แ ข็ ง แรง คงยากนั ก ที่ เ ศรษฐกิ จ และสั ง คมไทยจะ ก้าวไปในทิศทางที่ก�ำหนดไว้ ในทางกลับกัน เศรษฐกิจ ความรู้เองก็มีความหมายกว้างกว่าการยกระดับเทคโนโลยี เพราะครอบคลุมการเพิม่ มูลค่าด้วยวิธกี ารหรือเครือ่ งมืออืน่ ๆ เช่น การน�ำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้เพื่อ (1) พัฒนาสินค้า หรือบริการใหม่ๆ (2) ผลิตสินค้าหรือบริการเดิมด้วยวิธใี หม่ ทีเ่ พิ่มผลิตภาพ จากข้อ (1) และ (2) ชีวิตของทั้งผู้บริโภค และคนท� ำ งานย่ อ มเปลี่ ย นแปลงไปหรื อ กล่ า วได้ ว ่ า คนเป็นกลไกหลักของการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจความรู้


SINGAPORE

KEI:

8.24 MALAYSIA

GDP PER CAPITA

$ 52,841

THAILAND _ 11 _

KEI:

6.06

PHILIPPINES

GDP PER CAPITA

$ 9,766

KEI:

5.44 GDP PER CAPITA

INDONESIA

$ 5,816

VIETNAM KEI:

4.25 GDP PER CAPITA

$ 2,899 KEI:

KEI:

3.23

3.02

$ 3,347

GDP PER CAPITA

$ 2,111

GDP PER CAPITA

ดัชนีเศรษฐกิจความรูข้ องประเทศในกลุม ่ อาเซียน KEI: Knowledge Economy Index • Economy Incentive Regime • Innovation • Education and Human Resource • ICT

อ้างอิงจาก: World Bank (2015)


Liverpool Knowledge Quarter

NATIONAL KNOWLEDGE PARK

อุทยานการเรียนรู้ระดับชาติ

_ 12 _

การพัฒนาเศรษฐกิจความรู้ต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่เป็นกลไก ในการยกระดับเศรษฐกิจให้เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน

ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ให้ความส�ำคัญกับการ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่ประชาชนในประเทศ อย่ า งทั่ ว ถึ ง เพื่ อ เป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ ห้ พ ร้ อ มขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ และ สังคมของประเทศให้กา้ วหน้าอย่างยัง่ ยืน การเร่งพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานทางปัญญาของประเทศ

การพัฒนาทุนมนุษย์

ให้มศ ี ก ั ยภาพสูงผ่านกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ใน หรือนอกระบบอย่างสมดุล ทั้งที่เป็น ศาสตร์และศิลป์

การสร้างและพัฒนา ระบบนวัตกรรม

ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ การเชือ ่ มโยงองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม กับภาคการผลิต และการพัฒนา ความร่วมมือของคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมและหน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้อง

รั ฐ บาลหลายๆ ประเทศได้ ส นั บ สนุ น การรวมกลุ ่ ม ขององค์ ป ระกอบเศรษฐกิ จ ความรู ้ อ ย่ า งจริ ง จั ง เช่ น Liverpool Knowledge Quarter, Dubai Knowledge Village หรือ Knowledge Economy Institute ที่สะท้อนให้เห็นว่า การเชือ่ มองค์ประกอบของเศรษฐกิจความรูใ้ ห้เป็นคลัสเตอร์

ในรูปแบบของอุทยานการเรียนรู้ระดับชาติที่ทันสมัยและ ให้บริการได้สอดคล้องกับพฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนใน ยุคดิจทิ ลั ทีข่ อ้ มูลข่าวสารและความรูใ้ หม่ๆ เกิดขึน้ ตลอดเวลา เพือ่ ให้เป็นพืน้ ทีเ่ รียนรูส้ าธารณะทีส่ ามารถจัดบริการแก่กลุม่ เป้าหมายต่างๆ ได้อย่างทัว่ ถึง กว้างขวางและ สามารถสนองตอบ บริบทการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้ทันท่วงทีและ 4 ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจความรูค้ อื

การสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

ให้สามารถสร้างแรงจูงใจในการ พัฒนาให้กับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา การใช้นโยบายการแข่งขัน การอำ�นวยความสะดวกในการเข้าถึง แหล่งทุน และการใช้มาตรการภาษี ที่จูงใจและเป็นธรรม

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ทัง้ โครงสร้างพืน ้ ฐานทางกายภาพ อาทิ ระบบเครือข่ายดิจทิ ลั ระบบคมนาคมขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐานทางการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ พื้นที่เรียนรู้สาธารณะ พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบ่มเพาะ พื้นที่ในการแสดงออก ซึ่งศักยภาพและผลงาน รวมถึงพื้นที่ พบปะระหว่างผู้สร้างสรรค์ ผู้ประกอบการ และผู้ลงทุน

หรือเครือข่ายระหว่างภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาชนนั้นส�ำคัญต่อบริบทของไทยในการสร้าง อุทยานการเรียนรู้ระดับชาติ เพื่อผลักดันไปสู่เป้าหมาย ของเศรษฐกิจความรูไ้ ด้อย่างเป็นรูปธรรม


DELICACY KNOWLEDGE ความสำ�เร็จทางอาชีพของ Ferran Adrià ได้รับการยืนยันในฐานะหัวหน้าเชฟ และเจ้าของ El Bulli ซึ่งเป็นภัตตาคารระดับร้านมิชลิน 3 ดาวและเป็นร้านอาหาร อันดับ 1 จากร้านอาหารที่ดีที่สุด 50 ร้านทั่วโลกในปีพ.ศ. 2545 และติดอันดับ อย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี แต่สิ่งที่ทำ�ให้เขาได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกไม่ได้มาจาก การสร้างสรรค์อาหาร แต่เป็นการเสิร์ฟความรู้ให้กับผู้คน

เส้นทางธุรกิจอาหารของเชฟชาวสเปน Ferran Adrià เริม่ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2523 ด้วยการเป็นพนักงานล้างจานที่โรงแรม Playafels ในเมือง Castelldefels และพัฒนาความสามารถ อย่างต่อเนือ่ งจนกลายมาเป็นผูช้ ว่ ยหัวหน้าเชฟประจ�ำโรงแรม ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอาหารสแปนิชแบบ ดัง้ เดิมให้อย่างหมดเปลือก Ferran Adrià แสดงฝีมอื ในฐานะ เชฟอย่างเต็มตัวครัง้ แรกเมือ่ อายุ 19 ปี เพราะถูกเกณฑ์เข้า กองทัพและได้รับมอบหมายให้ท�ำหน้าที่พ่อครัว หลังปลด ประจ�ำการ เริม่ ต้นอาชีพในเส้นทางสายอาหารด้วยการเป็น ลูกมือในครัวทีร่ า้ น El Bulli และอีก 18 เดือนต่อมาก็พฒ ั นา ความสามารถจนกลายเป็นหัวหน้าเชฟ จุ ด เปลี่ ย นส� ำ คั ญ ของชี วิ ต Ferran Adrià เกิ ด ขึ้ น ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อมีการขายหุ้นร้านอาหาร 20% ให้กบั Miquel Horta นักธุรกิจจากกลุม่ Nenuco ซึง่ เป็นกลุม่ ธุรกิจ ขนาดใหญ่ในสเปน โดยน�ำเงินทุนประมาณ 28 ล้านบาทไป ขยายร้าน ซึง่ การได้ Horta มาเป็นหุน้ ส่วนช่วยให้รา้ นเติบโต อย่างก้าวกระโดดและขยายฐานลูกค้าไปยังกลุม่ นักธุรกิจและ นักการเมืองซึ่งช่วยให้คนทั่วโลกรู้จักกับความสามารถที่ สร้างสรรค์และน่าทึง่ ผ่านอาหารเมนูทใี่ ห้บริการใน El Bulli ซึง่ Ferran Adrià และทีมน�ำความรูด้ า้ น Molecular Gastronomy

มาพั ฒ นาและสร้ า งสรรค์ อ าหารภายใต้ แ น ว คิ ด Deconstructive คือการน�ำอาหารทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มทัง้ หลายมา ปรับเปลี่ยนซึ่งแก่นแท้โดยธรรมชาติของอาหารจะยังคงอยู่ แต่ลกู ค้าจะรูส้ กึ ได้ถงึ อุณหภูมิ รสชาติ และรสสัมผัสทีต่ า่ งไป ซึ่งเป็นแนวคิดที่สร้างความตื่นตะลึงและความพึงพอใจ ให้ลกู ค้าอย่างมาก แต่ El Bulli เป็นร้านอาหารทีไ่ ม่ใช่อยาก ใช้บริการตอนไหนก็ไปได้เพราะเปิดให้บริการแค่ 6 เดือน ต่อปีคือตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน-กลางเดือนธันวาคม ส่วนช่วงเวลาทีป่ ดิ ให้บริการ 6 เดือนนัน้ ทีมงานต้องไปเตรียม อาหารส�ำหรับเวิรค์ ช็อปประจ�ำปีที่ชื่อว่า El Bulli Taller ที่เมืองบาร์เซโลน่า แม้ธรุ กิจอาหารจะน�ำความส�ำเร็จมาให้อย่างท่วมท้นแต่ ก็พ่วงความกดดันมหาศาลจากการแข่งขันอย่างดุเดือด สถานการณ์ดังกล่าวท�ำให้ความสนุกสนานในการคิดค้น สิ่งใหม่ๆ ลดทอนลง ในที่สุด Ferran Adrià ตัดสินใจปิด ให้บริการร้านอาหารอย่างถาวรในปี พ.ศ. 2554 และเปิดตัวใหม่ ในฐานะ “ศูนย์บม่ เพาะความคิดสร้างสรรค์” ซึง่ น�ำแนวคิด และประสบการณ์ทเี่ ก็บเกีย่ วมาตลอดชีวติ การเป็นเชฟและ ผูบ้ ริหารทีป่ ระสบความส�ำเร็จมาเสิรฟ์ ความรูใ้ ห้ผคู้ นต่อไป

_ 13 _


_ 14 _

โลกกำ�ลังก้าวสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ส่งผลให้ การพัฒนาประเทศเป็นไปแบบก้าวกระโดดเกิดผลกระทบ ต่ อ วิ ถี ก ารดำ�เนิ น ชี วิ ต ของคนอย่ า งกว้ า งขวางแบบที่ ไม่ เ คยปรากฏมาก่ อ น การเตรี ย มความพร้ อ มสำ�หรั บ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ส่วนหนึ่งคือการนำ�กระบวนการ ค้นคว้าวิจย ั ขัน ้ สูง การกระตุน ้ ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวั ต กรรม รวมถึ ง การนำ�เอาองค์ ค วามรู ้ ที่ มี อ ยู ่ ในตัวคน (Tacit Knowledge) ในสาขาต่างๆ มาส่งต่อ ให้กบ ั ประชาชน เพือ ่ นำ�ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงเป็นผูม้ บี ทบาท ส�ำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและใช้ ประโยชน์จากองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม ต่างๆ โดยจะต้องช่วยขจัดอุปสรรคใน การเข้าถึงองค์ความรูใ้ หม่ๆ ทัง้ ในและ นอกประเทศ ผ่านการพัฒนาพื้นที่ที่ สามารถดึงดูดกิจกรรมสร้างสรรค์และการ ต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาโครงสร้าง พืน้ ฐานด้านการสือ่ สารสารสนเทศ การ พัฒนาต่อยอดทุนทางความรู้ การลด ช่องว่างทางการเรียนรู้ของประชาชน ในประเทศ และการพั ฒ นาระบบ กฎหมายที่ เ อื้ อ ต่ อ การพั ฒ นาและ


พิพิธภัณฑ์เซรามิกอิงเกอเดิมใช้ชื่อว่า Taipei County Yingko Ceramics Museum ต่อมาในปี ค.ศ. 2010 เมืองไทเปได้เปลี่ยนสถานะ เป็นเขตเทศบาลพิเศษ พิพิธภัณฑ์จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น New Taipei City Yingge Ceramics Museum

_ 15 _

Yingge Aesthetics Hall

เผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้าง การสร้างสิ่งแวดล้อมของเมืองให้ เป็นเมืองสร้างสรรค์ เพือ่ ช่วยให้เกิดการ แลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ละใช้ประโยชน์จาก องค์ความรู้และนวัตกรรมอย่างเต็มที่ จึ ง กลายเป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ที่ ห ลายๆ ประเทศเลือกใช้โดยเน้นการเข้าถึงและ การแลกเปลี่ ย นความรู ้ แ ละพั ฒ นา ทักษะทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ ยกระดับศักยภาพ ของทรั พ ยากรมนุ ษย์แ ละเศรษฐกิจ ของประเทศ ดังในตัวอย่างของประเทศ สิงคโปร์ ที่ให้ความส�ำคัญกับการวาง นโยบายที่ เ อื้ อ ต่ อ การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร

สร้างความร่วมมือเพือ่ การแลกเปลีย่ น เรี ย นรู ้ และดึ ง ดู ด ผู ้ เ ชี่ ย วชาญและ ผู ้ ที่ มี ค วามสามารถ ให้ เ ข้ า มาใช้ ประเทศสิงคโปร์เป็นฐานในการพัฒนา สร้างสรรค์นวัตกรรมและด�ำเนินธุรกิจ ซึง่ น�ำไปสูก่ ารขับเคลือ่ นประเทศให้เป็น ศูนย์รวมองค์ความรู้ และการยกระดับ มหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศ ในด้านการวิจยั พัฒนา รวมถึงการสร้าง ผู้ประกอบการในธุรกิจด้านเทคโนโลยี ซึ่งช่วยผลักดันประเทศสิงคโปร์ไปสู่ การเป็ น ศู น ย์ ก ลางของนวั ต กรรม ในภูมภิ าคเอเชีย

เขตอิ ง เกอ (Yingge) ทางตอน เหนือของประเทศไต้หวัน เป็นอีกหนึ่ง ตัวอย่างของการพัฒนาเมืองแห่งการ สร้างสรรค์เพือ่ ตอบโจทย์การฟืน้ ฟูและ การพัฒนาธุรกิจ เมื่อสถานการณ์การ แข่งขันของโลกเปลี่ยนแปลงไป โดย การน�ำองค์ความรู้ วัฒนธรรมท้องถิ่น และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสาน กันให้เกิดมูลค่าเพิม่ และสร้างความรับรู้ เพื่ อ ยกระดั บ เศรษฐกิ จ และสั ง คม โดยรวม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของ ชุ ม ชนและการปรั บ ตั ว ของธุ ร กิ จ ใน การน�ำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมา


_ 16 _

ประยุกต์ใช้ เมืองอิงเกอเดิมเป็นชุมชน ทีม่ ชี อื่ เสียงในการผลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผา มากว่า 200 ปี จนในช่วงปี พ.ศ. 2538 ที่ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาชะลอตัวและ ประสบกั บ ปั ญ หาการย้ า ยฐานการ ผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต�่ำกว่า ปัญหาดังกล่าวได้นำ� ไปสูค่ วามร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชนในการด�ำเนินโครงการและ มาตรการต่ า งๆ อาทิ การจั ด งาน Yingge Ceramics Festivals ในทุกปี ซึ่งเป็นที่รวมตัวของศิลปินและผู้สนใจ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นพื้นที่แลก เปลี่ยนเรียนรู้และน�ำเสนอนวัตกรรม และผลงานที่มีเอกลักษณ์ของศิลปิน รวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ซึ่ ง มี ศู น ย์ ก ลาง อยู่ที่พิพิธภัณฑ์และเชื่อมต่อกับย่าน ธุรกิจและสตูดโิ อทีก่ ระจายอยูโ่ ดยรอบ โดยใช้ แ นวคิ ด การพั ฒ นาเมื อ ง และการพัฒนาธุรกิจไปพร้อมๆ กัน ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือในและ ระหว่างประเทศ ระหว่างผูป้ ระกอบการ นักวิชาการ และศิลปิน ในการต่อยอด องค์ความรู้ พัฒนาทักษะ และพัฒนา ธุรกิจ โดยมีการน�ำเอาเทคโนโลยี เทคนิค การออกแบบ และวัตถุดิบแบบใหม่ๆ เข้ า มาใช้ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี ประสิทธิภาพ มีรปู แบบและคุณสมบัติ

Yingge Riverside Park

Yingge Ceramics Museum

ตรงตามความต้ อ งการของตลาด ส�ำหรับส่วนของการพัฒนาเมืองนั้น จะเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพ การรักษาศิลปวัฒนธรรม

Yingge Ceramics Museum

และการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ โดย มี ก ารพั ฒ นาเมื อ งอย่ า งมี แ บบแผน และให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวติ ของคนในชุมชนเป็นส�ำคัญ เมื่อพิจารณากรณีศึกษาของเมือง อิงเกอ จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับ สถานการณ์ของจังหวัดล�ำปาง ที่เป็น แหล่งผลิตเครือ่ งเคลือบดินเผาคุณภาพ ทีม่ ชี อื่ เสียงของประเทศไทยมากว่า 50 ปี ด้วยความได้เปรียบด้านภูมปิ ญ ั ญาพืน้ ถิน่ แรงงานฝีมือ และการค้นพบแหล่ง ดินขาวซึ่งเป็นวัตถุดิบส�ำคัญในการ ผลิตเซรามิก แม้จะมีการรวมตัวกันเป็น เครือข่ายอุตสาหกรรมเซรามิกย่อยๆ เพื่อประโยชน์ในด้านการตลาด การ ออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ความเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย ต่างๆ ยังคงจ�ำกัดวง และขาดความ เชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมต้นน�้ำ


เมืองลำ�ปาง แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของไทย ด้วยการพัฒนาจากภูมิปัญญาพื้นถิ่น จนเกิดเป็น ชามตราไก่งานเซรามิกท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ _ 17 _

กลางน�้ำ และปลายน�้ำ รวมถึงความ เชื่ อ มโยงกั บ อุ ต สาหกรรมสนับสนุน และหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ดังนัน้ การสร้างความร่วมมือและร่วมใจของ ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน ในการร่วมคิด ร่วมพัฒนา และร่วมหา ทางออกอย่างยัง่ ยืน จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญ ในการยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิก และเมืองล�ำปางให้เป็นเมืองแห่งการ สร้างสรรค์ โดยมุง่ เน้นการน�ำองค์ความรู้ เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ และความคิ ด สร้างสรรค์มาเป็นเครือ่ งมือในการเพิม่ คุณค่าผลิตภัณฑ์ และสร้างเมืองล�ำปาง ให้มชี วี ติ โดยการเติมเต็มกิจกรรมและ พื้นที่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ สร้างสรรค์นวัตกรรม ซึง่ จะน�ำไปสูก่ าร

ยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิก การสร้าง เอกลักษณ์ของพื้นที่ และการพัฒนา ต่อยอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ให้เป็นทีร่ บั รู้ ของคนในวงกว้างทัง้ ในและต่างประเทศ จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ ว่าการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ นอกจาก จะมีความจ�ำเป็นต่อการพัฒนาเผยแพร่ องค์ความรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม และ การส่งเสริมทักษะทีจ่ ำ� เป็นในศตวรรษที่ 21 ในฐานะพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยน เรียนรูแ้ ล้ว ยังเป็นส่วนประกอบส�ำคัญใน การยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชน และการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศอีกด้วย การสร้างเมือง ที่สามารถดึงดูดคนที่มีความสามารถ เป็นแหล่งเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เต็ม

ไปด้ ว ยการศึ ก ษาวิ จั ย และกิ จ กรรม สร้างสรรค์ทหี่ ลากหลาย เป็นพืน้ ทีท่ เี่ อือ้ ต่อการคิดนอกกรอบและการค้นหาตัวตน และที่ส�ำคัญเป็นแหล่งบ่มเพาะธุรกิจ สมัยใหม่ทเี่ ต็มไปด้วยโอกาส แต่สงิ่ เหล่านี้ จะเกิ ดขึ้ น ไม่ ไ ด้ ห ากขาดวิ สั ย ทั ศ น์ ที่ ชัดเจนร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนซึง่ ต้องเห็นความส�ำคัญ ของการร่วมคิดร่วมท�ำและการมีสว่ นร่วม ในกระบวนการตัง้ แต่ตน้ จนจบ เพือ่ ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันเชิง เปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ของประเทศ โดยเฉพาะในวันที่โลก ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ด้วยก้าวย่างทีร่ วดเร็วและรุนแรงอย่าง ไม่เคยปรากฏมาก่อน

Photo Credit: www.rtaiwanr.com, www.upload.wikimedia.org, www.facebook.com/YCMuseum, www.lampangcity.go.th, www.1000milesjourney.com, www.flickr.com/photos/ashishlin


_ 18 _

การทำ�มาหากินของพวกเราคนไทยเมือ ่ ก่อน จะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ เราแค่อาศัย ธรรมชาติ แรงงานและสติปัญญาที่ได้รับ การถ่ายทอดจากบรรพบุรษ ุ มาทำ�มาหากิน เลีย ้ งครอบครัวและสร้างรายได้กส ็ ามารถ มีชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย

สภาวการณ์ ป ั จ จุ บั น ท� ำ ให้ ก าร ท�ำมาหากินยากล�ำบากยิง่ ขึน้ เนือ่ งจาก บริบทหลายอย่างเปลีย่ นแปลงไปมาก เช่น ความรู้เรื่องการค้าขายของคน สมั ย ก่ อ นไม่ ส ามารถน� ำ มาใช้ ไ ด้ ใ น ระบบตลาดปั จ จุ บั น ท� ำ ให้ ทุ ก คน พยายามมองหาตัวช่วยเพื่อก้าวข้าม อุ ป สรรคและความยากล� ำ บากซึ่ ง ความรู ้ เ ป็ น ตั ว เลื อ กส� ำ คั ญ ที่ หลายพื้นที่น�ำมาใช้เพื่อแก้ปัญหา ที่ก�ำลังเผชิญอยู่ ศูนย์ความรู้กินได้ โดยส�ำนักงาน บ ริ ห ารและพั ฒ นา องค์ ค ว าม รู ้ (องค์การมหาชน) ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่ อ ช่ ว ยให้ ค นไทยในแต่ ล ะพื้ น ที่ สามารถท�ำมาหากินโดยน�ำ “ความรู้

ที่สอดคล้องกับยุคสมัย” มาผนวก เข้ากับ “สินทรัพย์ท้องถิ่น” ซึ่งเป็น ต้นทุนของแต่ละพื้นที่ เช่น ภูมิปัญญา ศิ ล ปวั ฒ นธรรม และวั ต ถุ ดิ บ ต่ า งๆ น� ำ มาพั ฒ นาเป็ น สิ น ค้ า หรื อ บริ ก าร ที่ ส อดรั บ กั บ การเปลี่ ย นแปลงและ สอดคล้ อ งกั บ บริ บ ทของท้ อ งถิ่ น ได้อย่างแนบเนียนและมีเอกลักษณ์ โดยน� ำ กระบวนการจั ด การความรู ้ (Knowledge Management Process) มาเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการสร้าง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกให้แต่ละพื้นที่ ใน 3 รูปแบบ คื อ 1) แหล่ ง เรี ย นรู ้ เพื่ อ การท� ำ มาหากิ น ในรู ป แบบ ศูนย์ความรู้กินได้ 2) องค์ความรู้เพื่อ การท�ำมาหากินซึง่ หลาย พืน้ ทีน่ ยิ มเรียกว่า

กล่องความรูก้ นิ ได้ และ 3) นักจัดการ ความรู้ ซึง่ เป็นคนของแต่ละ ท้องถิน่ ที่ ได้รับการพัฒนาสมรรถนะที่จ�ำเป็น หลายด้านเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ และพัฒนาความรู้เพื่อการประกอบ อาชีพทีเ่ หมาะสม ส�ำหรับคนในท้องถิน่ ตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล ปัจจุบัน ศูนย์ความรู้กินได้ท�ำงาน ร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยในหลายจั ง หวั ด เช่ น เชี ย งใหม่ น่ า น แม่ ฮ ่ อ งสอน อุบลราชธานี มุกดาหาร และสมุทรสาคร ใ ห ้ บ ริ ก า ร ค ว า ม รู ้ ท� ำ ม า ห า กิ น หลากหลายอาชี พ เพื่ อ ให้ ค นไทย น�ำไปพัฒนา คุณภาพชีวิตและสร้าง รายได้ ใ ห้ กั บ ตนเองและท้ อ งถิ่ น อย่างยั่งยืน


HUMAN CAPITAL

INFRASTRUCTURE ประเทศไทยควรวางรากฐานทางปั ญ ญาของสั ง คมไทย ด้ ว ยการสร้ า ง โครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้งในด้านการยกระดับความรู้ และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ผ่านแหล่งเรียนรู้รูปแบบต่างๆ การก�ำหนดกฎ ระเบี ย บให้ เ อื้ อ ต่ อ การลงทุ น ด้า นวิจัยและพัฒนา การชี้ น� ำ เทคโนโลยี แ ละ อุตสาหกรรมเป้าหมายส�ำหรับอนาคต ฯลฯ เพื่อยกระดับองค์ความรู้ของคนไทย และต่อยอดไปสู่การเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการบนพื้นฐานของนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์

Y OM

N CO

LE ITA

_ 19 _

DIG

EA TIV E

EC

ON

OM Y

KNOWLEDGE ECONOMY

CR

Public Policies

RESEARCH & DEVELOPMENT

INNOVATION

CREATIVITY

EDUCATION


BBL มิติใหม่

แห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ การกระตุ้นให้ประชาชนในทุกช่วงวัยเห็นความจำ�เป็นของการแสวงหาความรู้ พัฒนาทักษะ และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา จะทำ�ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งให้ สามารถดำ�เนินชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข

_ 20 _

สมองของมนุษย์เป็นทรัพยากรทีม่ คี า่ สามารถพั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ แ ละ สร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างไม่มีขีด จ�ำกัด และหากเราสามารถดูแลและ จัดการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนอย่าง เหมาะสม เพื่ อ ให้ ส มองได้ เ กิ ด การ พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเหมาะสมกับ ช่วงวัย ให้ทกุ คนสามารถค้นพบความ ชอบความถนัดและสามารถพัฒนา ตนเองไปในทิศทางที่เหมาะสม ก็จะ ช่ ว ยให้ ป ระเทศโดยรวมสามารถ ขั บ เคลื่ อ นไปได้ อ ย่ า งเต็ ม ศั ก ยภาพ ด้ ว ยเหตุ นี้ ในช่ ว งเวลา 10 ปี ที่ ผ่านมา นักวิชาการด้านการเรียนรูแ้ ละ นักประสาทวิทยาจ�ำนวนมากจึงหันมา ให้ความส�ำคัญกับการจัดการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาสมองและทักษะทีเ่ หมาะสมกับ โครงสร้างและการท�ำงานของสมองของ

คนในแต่ละช่วงวัย หรือที่เราเรียกว่า การจัดการเรียนรูต้ ามหลักการพัฒนาสมอง (Brain-Based Learning หรือ BBL) ตามหลักการทางประสาทวิทยา สมองของเด็กปฐมวัยจะมีพัฒนาการ อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เด็กสามารถ พัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดหากได้รับ การดูแลอย่างเหมาะสม โดยเมือ่ เข้าสู่ ช่วงวัยรุ่น เซลล์สมองจะถูกจัดเรียงตัว ให้มรี ะเบียบมากขึน้ และส่วนที่ไม่ถูก ใช้งานจะค่อยๆ ถูกริดทอน (Pruning) ออกไป ดั ง นั้ น การปลู ก ฝั ง ให้ เ ด็ ก มี พั ฒ นาการและทั ก ษะในทุ ก ๆ ด้ า น อย่ า งสมดุ ล จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ จ� ำ เป็ น ไม่ ว ่ า จะเป็ น ทั ก ษะด้ า นการเรี ย นรู ้ ทักษะด้านร่างกาย ทักษะในการอยู่ ร่ ว มกั บ ผู ้ อื่ น ในสั ง คม และทั ก ษะ ด้ า นอารมณ์ ซึ่ ง สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะเป็ น

พื้ น ฐานที่ ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ เด็ ก และ เยาวชนในการค้ น พบตนเองและ พัฒนาต่อยอดการเรียนรู้และความ เชีย่ วชาญไปตลอดชีวติ โดยเมือ่ มนุษย์ เรามีอายุเกินกว่า 20 ปี เซลล์สมองจะ ค่อยๆ ลดลง ดังนั้นการพัฒนาสมอง ให้มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และ พัฒนาทักษะใหม่ๆ จึงเป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็น ที่ต้องได้รับการสนับสนุน แม้จะเข้าสู่ วัยผูใ้ หญ่แล้วก็ตาม ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ (องค์การมหาชน) ตระหนักถึง ความจ�ำเป็นดังกล่าว จึงด�ำเนินการศึกษา และพัฒนาต้นแบบองค์ความรู้ในการ จัดการเรียนรูต้ ามหลักการพัฒนาสมอง (BBL) ซึง่ ประกอบด้วยหลักการส�ำคัญ 6 ประการ ที่ ส ามารถน� ำ ไปปรั บ ใช้ ในการจัดการเรียนรูข้ องคนในทุกช่วงวัย


หลักการ BBL

สมองต้องการ ทั้งอาหารกาย และอาหารใจ

สมองเรียนรู้ด้วย ความเข้าใจ มากกว่าการ ท่องจำ�

สมองเรียนรู้และ จดจำ�ได้ดีเมื่อ สมองส่วน อารมณ์เปิด

สมองสามารถ เรียนรู้ได้ทั้งแบบ ตั้งใจและไม่ตั้งใจ

สมองเรียนรู้จาก ของจริงไปหา สัญลักษณ์

สมองเรียนรู้ ได้ดีผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5

1

2

3

4

5

6

ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ให้แก่ เด็ ก เล็ ก วั ย รุ ่ น คนวั ย ท� ำ งาน และ ผู้สูงวัย ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้าน โครงสร้างและระบบการท�ำงาน อาทิ ในเด็ ก เล็ ก สมองส่ ว นเหตุ ผ ลมี ก าร พั ฒ นาช้ า กว่ า สมองส่ ว นอารมณ์ การเตรียมความพร้อมด้านอารมณ์ เพื่อให้เกิดความสนุกและมีความสุข จึงมีความส�ำคัญทั้งก่อนและระหว่าง กิจกรรมการเรียนรู้ ส่ ว นในกรณี ข องวั ย รุ ่ น สมอง ส่วนอารมณ์มีการเจริญเติบโตเต็มที่ ในขณะทีส่ มองส่วนเหตุผลอยูร่ ะหว่าง การพัฒนา รวมถึงปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบ

ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมน กลุ่มเพื่อน และสิ่งเร้าอื่นๆ ท� ำ ให้ วั ย รุ ่ น ชอบความท้ า ทายและ ต้ อ งการการยอมรั บ จากกลุ ่ ม เพื่ อ น ซึ่ ง สิ่ ง เหล่ า นี้ ผู ้ จั ด การเรี ย นรู ้ แ ละ ผูป้ กครองจะต้องมีความรูค้ วามเข้าใจ เพื่ อ ให้ ส ามารถจั ด การเรี ย นรู ้ แ ละ การเลีย้ งดูได้อย่างเหมาะสม ดังทีไ่ ด้กล่าวไว้ตอนต้นว่า ทรัพยากร มนุ ษ ย์ ถื อ เป็ น ทรั พ ยากรที่ มี คุ ณ ค่ า สูงสุด เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความเจริ ญ อย่ า งไม่ มี ขี ด จ� ำ กั ด ล้วนเกิดจากสมองมนุษย์ ซึ่งแตกต่าง จากทรั พ ยากรธรรมชาติ เงิ น ทุ น

เครื่ อ งจั ก ร และแรงงาน ที่ มี แ ต่ จ ะ ร่อยหรอลงไปทุกขณะ ดังนัน้ การพัฒนา สมองให้ ส ามารถเติ บ โตและเรี ย นรู ้ ได้ อ ย่ า งสมวั ย ให้ เ ป็ น คนรุ ่ น ใหม่ ทีม่ คี วามรูเ้ ท่าทัน สามารถเรียนรู้ ปรับตัว และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญในการยกระดับ คุ ณ ภาพพลเมื อ งของประเทศใน ทุกๆ ด้าน ไม่วา่ จะเป็นด้านเศรษฐกิจ สั ง คม และการเมื อ งการปกครอง เพื่อมุ่งพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ การเป็นเศรษฐกิจและสังคมความรู้ ในทีส่ ดุ

_ 21 _


โลกแห่งการเรียนรู้ ไร้พรมแดน

แนวโน้ ม กระแสการเปลี่ ย นแปลงต่ า งๆ ของโลกที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ส่ ง ผลกระทบโดยตรง กับวิถีชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงหลายมิติ เกิดการกระจายข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรม โดยเฉพาะในยุคสังคมดิจิทัลที่ทำ�ให้เรา สามารถเข้ า ถึ ง แหล่ ง ข้ อ มู ล ได้ จ ากปลายนิ้ ว เปิ ด โลกแห่ ง การเรี ย นรู ้ ทุ ก ที่ ทุ ก เวลา คนรุ ่ น ใหม่ ที่ กำ�ลั ง ก้ า วเข้ า มามี บ ทบาทในตลาดแรงงานปั จ จุ บั น มี พ ฤติ ก รรมและความคิ ด แตกต่ า งจาก คนรุ ่ น ก่ อ น ซึ่ ง ปรากฏการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เหล่ า นี้ ส ่ ง ผลต่ อ พฤติ ก รรมการเรี ย นรู ้ การทำ�งานและ การใช้ชีวิตของคนในสังคมอย่างมาก _ 22 _

ท่ามกลางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนา ทางด้านดิจิทัล สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการปรับ หลักสูตรและวิธกี ารสอนทีเ่ น้นการเรียนรูใ้ ห้เกิดประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง ความนิยมการเรียนรูน้ อกระบบมี มากขึ้น ผู้คนมองหารูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนได้รวดเร็ว นอกจากนี้

ยังเกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์และ รองรั บ การใช้ ง านอย่ า งเหมาะสมของคนแต่ ล ะกลุ ่ ม อาทิ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน คนในยุคนีจ้ ำ� เป็นต้องปรับตัว และพั ฒ นาศั ก ยภาพของตนเองอยู ่ เ สมอ ทั้ ง ในแง่ การท�ำงานและใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ครูอาจารย์ ผูป้ ระกอบการ ฯลฯ

พฤติกรรมการเรียนรู้

ระบบการศึกษา

ความนิยมการเรียนรู้นอกระบบ

ความรู ้ ใ หม่ ๆ มากมายนอก ห้องเรียน ท�ำให้ผู้คนในยุคนี้แสวงหา ความรู ้ ใ หม่ ๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและดิจิทัลมี การพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งท�ำให้ ผู ้ ค นเชื่ อ มต่ อ กั บ อิ น เทอร์ เ น็ ต แทบ ตลอดเวลา โลกดิจทิ ลั จึงเป็นส่วนหนึง่ ของการเรียนรูใ้ นปัจจุบนั

ความรู้ในทุกวันนี้มีมากมายและ แสวงหาได้งา่ ยขึน้ การเรียนรูใ้ นยุคนีจ้ งึ ไม่ใช่การเรียนเพือ่ ท่องจ�ำ แต่เป็นเรียน เพือ่ รู้ และรูเ้ พือ่ น�ำไปใช้ตอ่ ได้ สถาบัน การศึ ก ษาหลายแห่ ง จึ ง มี ก ารปรั บ หลักสูตรและวิธกี ารสอนทีเ่ น้นไปทีก่ าร เรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถ ประยุกต์ใช้ได้จริง มีการบูรณาการ สาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน

ผู ้ ค นมองหารู ป แบบการเรี ย นรู ้ ที่ยืดหยุ่น สามารถตอบโจทย์ความ ต้องการของผู้เรียนได้รวดเร็ว เลือก เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจได้ทันที ระบบ การเรียนรูท้ างออนไลน์เข้ามามีบทบาท มากขึ้นที่ท�ำให้สามารถเลือกเรียนรู้ได้ ตามทีต่ นเองสนใจ ภายใต้เวลา สถานที่ ตามทีต่ นเองสะดวก

ของคนเปลี่ยนไป

ต้องปรับตัว

มีมากขึ้น


รูปแบบการเรียนรู้ที่คนรุ่นใหม่สนใจ

51%

23%

เรียนรู้ด้วยตนเอง (จากการอ่านหนังสือ/อินเทอร์เน็ต /เรียนออนไลน์)

สนใจ workshop กับผู้เชี่ยวชาญ

17%

8% _ 23 _

สนใจการลงเรียน กับสถาบันการศึกษา/ สถาบันการฝึกอบรม

สนใจการเรียนรู้ จากการทำ�งาน (On the Job Training)

ผลสำ�รวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ (OKMD, 2014)

การเกิดนวัตกรรม

ภาคธุรกิจและเอกชน

การปรับตัว

ยุ ค นี้ เ ป็ น ยุ ค แห่ ง การพั ฒ นา นวัตกรรมการเรียนรูใ้ หม่ๆ ให้สามารถ ตอบโจทย์และรองรับการใช้งานอย่าง เหมาะสม เอือ้ ให้คนทุกวัยเข้าถึงข้อมูล ได้โดยสะดวก อาทิ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน คลิปวิดโี อ E-book ฯลฯ ข้อมูลมากมาย เหล่านีจ้ ำ� เป็นต้องมีระบบจัดการข้อมูล ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ รวมทัง้ ผูเ้ รียนก็ตอ้ งมี ทักษะคัดกรอง แยกแยะ และเลือกใช้ ให้เหมาะสม

ปั จ จุ บั น ภาคธุ ร กิ จ ได้ เ ข้ า มามี บทบาทในการร่วมพัฒนาคน พัฒนา บุคลากรของตน อาทิ การเปิดสถาบัน การเรียนรูแ้ ละพัฒนาทักษะให้ตรงกับ ความต้องการของธุรกิจ เน้นการเรียนรู้ ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ท�ำให้ผู้เรียนมี โอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้กับรูปแบบ การท�ำงานจริง

คนในยุคนีจ้ ำ� เป็นต้องปรับตัวและ พัฒนาศักยภาพของตนเองอยูเ่ สมอ ทัง้ ในแง่การท�ำงานและใช้ชีวิต ไม่ว่าจะ เป็นภาคธุรกิจ ครูอาจารย์ ผูป้ ระกอบการ ฯลฯ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ทีเ่ กิดอย่างรวดเร็วในยุคนี้

การเรียนรู้ใหม่ๆ

ร่วมพัฒนา

ของแต่ละสายอาชีพ


สิ่งเติมพลังสมอง

เมื่ออาณาจักรของความรู้นั้นกว้างไกลไม่สิ้นสุด เราจึงไม่ควรหยุดเติมความรู้ รวมทั้งแสวงหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ที่จะมากระตุ้นพลังความคิดสร้างสรรค์ให้เคลื่อนไหวอยู่เสมอ

_ 24 _

Health Back to Basic 2 ปีที่ผ่านมา Bodyweight หรือ การออกก�ำลังกายโดยใช้น�้ำหนักของ ร่างกายท�ำหน้าที่แทนอุปกรณ์ต่างๆ ได้รบั ความนิยมอย่างมาก ในสหรัฐอเมริกา เองหันกลับมานิยมการเต้นร�ำแบบง่ายๆ โดยเฉพาะการเต้นซุมบ้า (Zumba) ซึง่ เป็นการเต้นแอโรบิกสไตล์ละติน ผสม ผสานการระบ�ำหน้าท้อง และการเต้น ฮิ พ ฮอพ นอกจากจะท� ำ ให้ ร ่ า งกาย แข็งแรงแล้วยังสร้างความสนุกสนาน

ด้วยจังหวะเพลงเร้าใจ ท�ำให้ คนส่ ว นใหญ่ มี ค วามสุ ข กั บ การออกก� ำ ลั ง กายมากขึ้ น ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ช่ ว ยกระตุ ้ น ระบบ เผาผลาญ โดยเผาผลาญไขมัน ได้มากถึง 300-1,000 กิโลแคลอรี ต่อชั่วโมง อีกทั้งช่วยเพิ่มความ ยื ด หยุ ่ น และกระชั บ สั ด ส่ ว น ร่างกายอีกด้วย

หนังสือ The Digital Economy ท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ แนวคิ ด เรื่ อ ง เศรษฐกิ จ ดิ จิ ทั ล แบบเจาะลึ ก เพื่ อ เตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แค่เพียงส�ำหรับ นโยบายระดั บ ประเทศเท่ า นั้ น แต่ แนวคิดนีก้ ำ� ลังส่งผลไปกับทุกธุรกิจทัง้ ขนาดเล็ก ขนาดย่อม แม้จะเป็นการ ท�ำนายปรากฏการณ์เกี่ยวกับรูปแบบ เศรษฐกิ จ และสั ง คมที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ใน อนาคต แต่ความน่าสนใจคือหนังสือ เล่มนี้ถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยเมื่อระยะเวลาผ่านมากว่า 20 ปี พบว่าสมมติฐานของผู้เขียนใกล้เคียง กั บ ความจริ ง ในปั จ จุ บั น นี้ เหมาะ ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ต ้ อ งการท� ำ ความเข้ า ใจ เรื่ อ งเศรษฐกิ จ ดิ จิ ทั ล ในทุ ก ระดั บ www.dontapscott.com


CUEME Underwear ในโลกของอินเทอร์เน็ตทีท่ กุ สิง่ ล้วนเป็นได้ นับตัง้ แต่สมาร์ทวอช (Smart Watch) สมาร์ทชูส์ (Smart Shoes) หรือแม้กระทัง่ สมาร์ทไบค์ (Smart Bike) ซึง่ สามารถ สัง่ การได้จากสมาร์ทโฟนเพียงเครือ่ งเดียว ล่าสุด CUEME คือ สมาร์ทอันเดอร์แวร์ (Smart Underwear) หรือชุดชัน้ ในสัน่ ได้ 1 ใน 10 ของ Innovations for Asian Citysumers จาก Trendwatching.com โดยสัง่ ผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน เป็นอุปกรณ์บำ� บัดทางการแพทย์สำ� หรับคูร่ กั ทีอ่ ยูห่ า่ งกันไกลกัน ซึง่ ขณะนีไ้ ด้เริม่ ผลิตและจ�ำหน่ายในราคาชุดละ 1,900 บาท ผ่านแคมเปญ Taobao Crowdfunding

_

นิตยสาร Offscreen ์ นิตยสารราย 3 เดือน จากเมืองเมลเบิรน ออสเตรเลี ย มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ผู ้ ค น ในแวดวงการออกแบบเว็บไซต์และ การพัฒนาแอปพลิเคชัน ว่าด้วยเรือ่ งราว เชิงลึกของกลุ่มคนรุ่นใหม่ท่ีท�ำงานกับ อินเทอร์เน็ต และใช้เทคโนโลยีนี้ใน การสร้างสรรค์ธุรกิจให้ประสบความ ส�ำเร็จ พาไปส�ำรวจขัน้ ตอน กระบวนการใน การท�ำงานของเว็บไซต์ชอื่ ดัง ทีม่ าทีไ่ ปของ แอปพลิเคชันสุดฮิต หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านบทสัมภาษณ์สุดเข้มข้น ไปจนถึง การถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวจากเจ้ า ของ ประสบการณ์โดยตรง สอดคล้องกับ ชื่อของนิตยสาร เพราะ Offscreen นั่ น ก็ คื อ เรื่ อ งที่ อ ยู ่ น อกเหนื อ หน้ า จอ นอกเขตแดนของโลกดิ จิ ทั ล นั่ น เอง นอกจากนี้ยังเป็นนิตยสารที่เลือกใช้ กระดาษรี ไ ซเคิ ล 100% เพื่ อ เป็ น ส่วนหนึง่ ในการรักษาสิง่ แวดล้อมและ สร้างความยัง่ ยืนให้กบั โลกใบนีอ้ กี ด้วย www.offscreenmag.com

25 _

Podcast Radiolab หนึ่ ง ในพอดแคสต์ จ าก Radiolab ที่ บ อกเล่ า เนื้ อ หาที่ น ่ า สนใจ เข้าใจยากให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน ด�ำเนินรายการโดย Jad Abumrad และทีมงาน ที่ร่วมกันออกแบบการน�ำเสนอด้วยการเลือกใช้ทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิทยาศาสตร์ หมวดต่างๆ เพื่อให้สื่อสารได้อย่างเข้าใจภายใน 30 นาที โดยมีหัวข้อ ที่น่าสนใจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนักวิทยาศาสตร์ที่ส่งกล้องขึ้นไป บนฟ้าเพือ่ ลดอัตราการเกิดอาชญากรรมในเมือง หรืออธิบายเรือ่ งจุดตัด ระหว่างชีวภาพกับวิศวกรรม จึงเป็นหนึ่งในพอดแคสต์ที่มีทั้งความเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และความเป็นมนุษย์ทคี่ มุ้ ค่าต่อการฟังอย่างแน่นอน www.radiolab.org/series/podcasts


Chiang Mai Design Week 2016 (CMDW) Chiang Mai, Thailand

เทศกาลทีบ่ รรดานักออกแบบ ช่างฝีมอื ศิลปิน นักเรียน นักศึกษา ผูป้ ระกอบการ กลุม่ ธุรกิจและ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในเมืองเชียงใหม่ ได้รว่ ม กันจัดขึ้นเป็นโอกาสพิเศษในทุกปี เพื่อน�ำเสนอ นวัตกรรมด้านงานออกแบบหรือโปรเจ็กต์ใหม่ๆ ที่ น่าสนใจ ตลอดจนเพื่อเป็นพื้นที่ในการสนทนา แลกเปลีย่ นมุมมองและความรูด้ า้ นการออกแบบ โดยมี นั ก ออกแบบจากภู มิ ภ าคอื่ น ๆ ทั้ ง ใน และต่างประเทศมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ จั ด แสดงผลงาน และขยายช่ อ งทางธุ ร กิ จ สร้างสรรค์ไปพร้อมกัน www.tcdc.or.th _

VANCOUVER

26 _

learningforward

2016 ANNUAL CONFERENCE DEC. 3-7, 2016

VANCOUVER

Learning Forward’s 2016 Vancouver, Canada

การจัดการประชุมประจ�ำปีส�ำหรับ นักการศึกษา ครูผู้สอน รวมทั้งผู้น�ำ สถานศึกษาทัว่ โลก ซึง่ ปีนจี้ ดั ขึน้ ทีเ่ มือง แวนคู เ วอร์ ประเทศแคนาดา โดย ภายในงานได้มีการเชิญนักการศึกษา ชื่ อ ดั ง ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ซ่ึ ง โดดเด่ น ใน

การเรียนการสอนแต่ละด้านมาร่วม พู ด คุ ย และบรรยายความรู ้ ต ่ า งๆ นอกจากนั้ น ยั ง มี ก ารร่ ว มกั น ค้ น หา แนวทางแก้ ไ ขปั ญ หาที่ ค รู ผู ้ ส อน ต้องเผชิญในรูปแบบต่างๆ ทัง้ ทีเ่ กิดขึน้ ภายในห้ อ งเรี ย น โรงเรี ย น รวมทั้ ง

ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น การประชุ ม ครั้ ง นี้ จะเน้ น การค้ น หากลยุ ท ธ์ ที่ ท รงพลั ง รวมทั้ ง นโยบาย เพื่ อ ช่ วยสร้ า งผู ้ น�ำ ที่ทรงประสิทธิภาพให้แก่สถานศึกษา ทั่วโลก www.learningforwardconference.org


ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาฟิน (แลนด์) เชื่อหรือไม่ว่าเด็กไทยใช้เวลาเรียนหนังสือมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก? ถ้าไม่เชื่อ ลองนึกดูว่าแต่ละวันเราเห็นหน้าลูกกี่ชั่วโมง? แล้วคนเรียนหนักคือผู้ประสบความสำ�เร็จในชีวิต?

นอกจากเด็กไทยจะเรียนหนัก โดย นักเรียนชัน้ ประถมใช้เวลาในห้องเรียน เฉลีย่ มากกว่า 1,000 ชัว่ โมงต่อปีแล้ว (เทียบกับแค่ 650 ชัว่ โมงในฟินแลนด์) ภายใต้ ภ าวะการแข่ ง ขั น สู ง เด็ ก ที่ เข้าออกโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพฯ เพิม่ ขึน้ จาก 128,616 คนในปี พ.ศ. 2549 เป็น 209,350 คนในปี พ.ศ. 2556 แนวโน้ม ดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย ของเยาวชน และสุขภาพจิตของเด็ก และผูป้ กครอง นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิม่ เวลารู”้ อาจเป็นหนึง่ ในแสงสว่างปลายอุโมงค์ ด ้ ว ย เ จ ต น า ใ ห ้ เ ย า ว ช น เ รี ย น รู ้ ประสบการณ์ แ ละฝึ ก ฝนทั ก ษะที่ พั ฒ นาได้ จ ากการปฏิ บั ติ มากกว่ า ทฤษฎีหรือสมการต่างๆ เพือ่ ให้สามารถ น� ำ ไปปรั บ ใช้ ใ นการท� ำ มาหากิ น ได้ ในอนาคต แต่ เ ด็ ก เองอาจไม่ มี แรงบันดาลใจเพียงพอต่อการค้นคว้า เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะมองว่าประเมิน เป็นคะแนนไม่ได้ ดังนัน้ ต้องอาศัยการ ชีแ้ นะ และการจัดรูปแบบกิจกรรมที่ เหมาะสม สนองต่อความต้องการอัน หลากหลายของเด็กโดยครูกบั ผูป้ กครอง ส�ำหรับฟินแลนด์ทถี่ อื เป็นประเทศ ต้ น แบบการจั ด การศึ ก ษาในยุ โ รป ทางตอนเหนื อ นั้ น Pasi Sahlberg อธิบายเอกลักษณ์ของระบบการศึกษา

ในบ้านเขาว่า ไม่เน้นการแข่งขันว่า ใครเก่ง แต่ให้โอกาสการเข้าถึงอย่าง เท่าเทียมและท�ำให้การเรียนรูเ้ ป็นเรือ่ ง รื่นเริงที่ทั้งผู้เรียนผู้สอนต่างมีความสุข ที่ ก รุ ง เฮลซิ ง กิ ไม่ มี ใ ครรู ้ จั ก ค� ำ ว่ า กวดวิชา ไม่มใี ครวิง่ เต้นหาโรงเรียนมีชอื่ ให้ ลู ก เพราะส่ ว นใหญ่ พ อใจส่ ง ลู ก เรียนใกล้บา้ น ในมุมมองของ Pasi รูปแบบการ เรียนการสอนควรปรับเปลีย่ นจากระบบ ของการแข่งขันเป็นการสร้างปฏิสมั พันธ์ จากการก�ำหนดเนือ้ หาและวิธกี ารโดย รัฐเป็นการกระจายอ�ำนาจแก่บคุ ลากร ทางการศึกษาให้บริหารจัดการเอง จาก การยึ ด ติ ด กั บ ตั ว ชี้ วั ด เชิ ง ปริ ม าณ เป็นการคิ ดค้ น นวั ตกรรมการเรี ย นรู ้ ใหม่ๆ จากการสร้างบรรยากาศทางการ ในห้องเรียนเป็นการถ่ายโอนองค์ความรู้ อย่างเสรี จากการตัง้ ค�ำถามว่า “ใครเป็น ศิ ล ปิ น ผู ้ ว าดภาพนี้ ? ” เป็ น “ศิ ล ปิ น ต้องการสือ่ อะไร?” ถึงแม้ Pasi จะเตือนว่า ไม่ควรน�ำ ความส�ำเร็จของฟินแลนด์มาใช้เป็น พิมพ์เขียวส�ำหรับประเทศอื่นๆ เพราะ เงื่ อ นไขทางเศรษฐกิ จ สั ง คม และ วั ฒ นธรรมมี ผ ลต่ อ ความส� ำ เร็ จ ทาง การศึกษาไม่แพ้กนั แต่บทเรียนส�ำคัญ จากดินแดนผูส้ ร้าง Angry Birds คือ ถึง แม้ทา่ นจะเปลีย่ นระบบการศึกษาของ

ไทยไม่ได้ในวันนี้ แต่ส่ิงที่ท�ำได้ทันที คือ การกระตุกต่อมคิดของลูก หลาน คนรอบข้าง ด้วยการให้โอกาสเด็กและ เยาวชนไทยเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต และพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน จากแหล่งเรียนรูส้ าธารณะ ไม่วา่ จะเป็น พิพธิ ภัณฑ์ สนามเด็กเล่น สนามกีฬา วัด หรือแม้แต่โลกออนไลน์ ซึ่งล้วนเป็น อาณาจั ก รอั น กว้ า งใหญ่ ที่ มี ผ ลต่ อ พั ฒ นาการสมองและการต่ อ ยอด ความคิดสร้างสรรค์ บางที ที่ ลู ก หลานของเราต้ อ ง อดหลั บ อดนอนจนไม่ มี เ วลาคิ ด นอกกรอบ อาจเป็นเพราะความเข้าใจผิด ว่าเกรดคือตัวชีว้ ดั ของชีวติ เราอาจลืม ไปว่ า แหล่ ง เรี ย นรู ้ อี ก แห่ ง ที่ ถู ก ลื ม คือ “บ้าน” … Pasi Sahlberg ไม่ใช่ คนอื่นคนไกล เพราะพวกเราทั้งหลาย เป็น Pasi ในบ้านของเราได้ทงั้ นัน้ !

พบกับ Pasi Sahlberg ผู้ทรงอิทธิพล ด้านการศึกษา ที่จะพาคุณไปรู้จักกับ ระบบการศึกษาแบบฟินแลนด์ ที่เวลาเรียน น้อยลงแต่ผลลัพธ์มากขึ้นได้ในงาน OKMD Knowledge Festival 2016 ตอน มันส์สมอง ณ โรงละครเคแบงค์ สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน วันที่ 10 ธันวาคม 2559 นี้

_ 27 _



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.