Tourism Authority of Thailand

Page 1





คำนำ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ จะเป็นโอกาสมหามงคลของปวงชนชาวไทยอีกวาระหนึง่ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) พิจารณาเห็นว่าน่าจะได้จดั ทำโครงการอันเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวมเพือ่ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ อนึ่ง ในโอกาส ๔๘ ปี แห่งการสถาปนาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ และจะมีอายุ ๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ นับเป็น ช่วงเวลายาวนานที่ยังมิได้มีการรวบรวมสรรพความรู้ที่เกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยอย่างเป็นระบบ แนวคิดการจัดทำหนังสือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวไทยจึงได้ก่อกำเนิดขึ้น ทรัพยากรการท่องเทีย่ วของไทยแบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรการท่องเทีย่ วประเภทธรรมชาติ เช่น หาดทราย ชายทะเล เกาะแก่ง ผาและเพิงผา ป่า เขา น้ำตก ถ้ำ น้ำพุร้อน บ่อน้ำร้อน ทะเลสาบ รวมถึงสิ่งที่กำเนิดขึ้นร่วมกาลสมัยกับประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ซากดึกดำบรรพ์เป็นอาทิ ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถาน และศาสนา เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน ศาสนสถาน รวมถึงพิพิธภัณฑสถาน ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม เช่น งานเทศกาล ประเพณี ศิลปะการแสดง ศิลปหัตถกรรม หอศิลป์ วิถีชีวิต ตลอดจนกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่นๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยได้สำรวจรวบรวมข้อมูลทรัพยากรการท่องเทีย่ วไทยมาโดยตลอด นับแต่กอ่ ตัง้ องค์กรเมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๓ และได้ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นไปโดยสะดวก ปลอดภัย และได้ความรู้ มีการจัดทำอนุสาร อ.ส.ท. จุลสาร ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว หนังสือ หนังสือภาพ แผ่นพับ ใบปิด (โปสเตอร์) โปสการ์ด บทความ สารคดี ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านการท่องเที่ยว และจัดให้มีการรับรองมาตรฐาน เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในนามของรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ฯลฯ แต่การนำเสนอข้อมูลโดย รวบรวมองค์ความรูท้ เ่ี กีย่ วกับการท่องเทีย่ วโดยเรียงลำดับอักษรจัดเป็นหมวดหมู่ เพือ่ สะดวกแก่การค้นคว้า เกิดขึน้ เป็นครัง้ แรกในโอกาสนี้ องค์ความรูด้ งั กล่าวจะเป็นฐานข้อมูลสำหรับนักท่องเทีย่ ว นักศึกษา และบุคลากรด้านการท่องเทีย่ ว ได้นำไปใช้ประกอบการส่งเสริมและพัฒนา การท่องเที่ยวไทย ซึ่งเป็นรากฐานประการหนึ่งของเศรษฐกิจประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีเป้าหมายประการหนึ่งให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปยังทุกภูมิภาค อนึง่ ในช่วงรอยต่อของความเปลีย่ นแปลงเช่นทุกวันนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ได้รบั สิทธิและหน้าทีใ่ นการบริหารจัดการทรัพยากร ต่างๆ รวมทัง้ ทรัพยากรการท่องเทีย่ วมากขึน้ กว่าในอดีต การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยตระหนักดีวา่ ทรัพยากรการท่องเทีย่ วหลายประเภท ยังมิได้มีระบบบริหารจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหากการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวขาดฐานข้อมูลที่ถูกต้องรองรับ ก็จะนำมาซึ่ง ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยว แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงได้กำหนดภาระหน้าที่ในการให้ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น หนังสือทรัพยากรการท่องเที่ยวไทยจึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการให้ความรู้นี้ด้วย การจัดทำทรัพยากรการท่องเที่ยวไทย แบ่งเป็น ๔ ชุด เริ่มต้นที่ภาคอีสาน ในโอกาสที่ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ เป็นปีท่องเที่ยวอีสาน และจะติดตามด้วยภาคกลาง - ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสือชุดนี้ เป็น ทรัพยากรการท่องเทีย่ วทีม่ ศี กั ยภาพ ซึง่ รวบรวมมาจากข้อเสนอแนะของท้องถิน่ และฐานข้อมูลส่วนหนึง่ ของการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ทัง้ นีโ้ ดยได้รบั ความร่วมมือจากผูเ้ ชีย่ วชาญ ผูม้ ปี ระสบการณ์สาขาต่างๆ ผูแ้ ทนหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน ร่วมเป็นทีป่ รึกษา อำนวยการ ดำเนินงาน ทั้งได้มีการประชุมตรวจสอบเนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อความถูกต้อง การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า องค์ความรูจ้ ากหนังสือชุดทรัพยากรการท่องเทีย่ วไทย จะเสริมสร้างความรูค้ วามเข้าใจ อันมีผลสืบเนื่องให้เกิดความสำนึกหวงแหนรักษามรดกที่ธรรมชาติและบรรพชนได้สร้างไว้ เพื่อให้คนไทยสามารถเป็นเจ้าบ้านผู้มีความรู้ มีศักดิ์ศรี และมีอัธยาศัยไมตรีต่อผู้มาเยือน มีการจัดการการท่องเที่ยวอย่างถูกวิธี ทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นจุดหมายปลายทางของ การท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโลกได้อย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 1

3/10/11 10:25:07 AM


53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 2

3/10/11 10:25:07 AM


สารบัญ ภูมินิเวศ

ภูมินิเวศ............................................................................ ๗ เทือกเขา............................................................................ ๘ แหล่งน้ำ............................................................................ ๙ ป่าไม้และพันธุ์พืช................................................................. ๑๒ สัตว์ป่า............................................................................ ๑๕ ภูมิอากาศ........................................................................ ๑๕

โบราณคดีและประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์............................................................ ๑๘ ยุคประวัติศาสตร์................................................................. ๒๐

กลุ่มชาติพันธุ... ์ .................................................................. ๒๖ ศิลปวัฒนธรรม

ศิลปกรรม........................................................................ ๓๒ วัฒนธรรม........................................................................ ๓๖

งานประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดอุบลราชธานี

53-09-096_001-044_ok18-3_J.indd 3

3/18/11 9:33:33 AM


ภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร

53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 4

3/10/11 10:25:16 AM


ภู มิ นิ เ ว ศ 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 5

3/10/11 10:25:20 AM


แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขตของภาคอีสาน

53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 6

3/10/11 10:25:26 AM


ภูมินิเวศ

ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย อยู่ระหว่างบริเวณรุ้งที่ ๑๔ - ๑๙ องศาเหนือ กับแวงที่ ๑๐๑ - ๑๐๖ องศา ตะวันออก ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ๑๙ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ (Kalasin) ขอนแก่น (Khon Kaen) ชัยภูมิ (Chaiyaphum) นครพนม (Nakhon Phanom) นครราชสีมา (Nakhon Ratchasima) บุรรี มั ย์ (Buri Ram) มหาสารคาม (Maha Sarakham) มุกดาหาร (Mukdahan) ยโสธร (Yasothon) ร้อยเอ็ด (Roi Et) เลย (Loei) ศรีสะเกษ (Si Sa Ket) สกลนคร (Sakon Nakhon) สุรนิ ทร์ (Surin) หนองคาย (Nong Khai) หนองบัวลำภู (Nong Bua Lam Phu) อุดรธานี (Udon Thani ) อุบลราชธานี (Ubon Ratchathani) และจั ง หวั ด อำนาจเจริ ญ (Amnat Charoen) พื้นที่รวม ๑๗๐,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร (๑๐๖,๓๘๘,๗๕๐ ไร่) หรือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของพื้นที่ประเทศ

เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ภูมิสัณฐานของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง เรียกกันว่า ที่ราบสูงโคราช (The Khorat Plateau) เกิดจากการยกตัวของแผ่นเปลือก โลกในช่วงปลาย มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) เมื่อประมาณ ๒๕๑ - ๖๕ ล้านปี มาแล้ว พืน้ ทีโ่ ดยทัว่ ไปเป็นทีร่ าบลูกคลืน่ ลอน ตื้น ประกอบด้วยหินทรายเป็นส่วนใหญ่ สูง เฉลี่ย ๒๐๐ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ลาดเอียงเล็กน้อยจากด้านทิศตะวันตกลงไป ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ มีแนวเทือกเขายกตัวขึ้นมาเป็น

ขอบทีร่ าบสูง โดยขอบด้านทิศตะวันตกหันด้าน ชันไปทางทีร่ าบภาคกลาง ขอบด้านทิศใต้หนั ด้านชันไปทางที่ราบต่ำเขมร ส่วนขอบทาง ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกมีลำน้ำโขง ไหลผ่านเป็นเส้นกั้นเขตแดนประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พื้นที่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็น แอ่งกระทะ ๒ แอ่งใหญ่ คือ แอ่งโคราช และ แอ่งสกลนคร มีเทือกเขาภูพานที่พาดผ่าน ตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือของภาค คั่นระหว่างแอ่งทั้งสอง แอ่งโคราช อยูท่ างทิศใต้ ทิศตะวันตก และ ตอนกลางของภาคอีสาน มีพื้นที่ประมาณ ๓ ใน ๔ ของภาค สูงเฉลีย่ ๑๒๐ - ๑๗๐ เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรรี มั ย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ และจังหวัด อุบลราชธานี ล้อมรอบด้วยเทือกเขาเป็น ขอบแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันกำแพง พนมดงรัก และเทือกเขา ภูพาน ภายในแอ่งเป็นทีร่ าบลุม่ ลำน้ำมูน และ ลำน้ำชี กลางแอ่งมีทร่ี าบขนาดใหญ่ รูจ้ กั กันดี ในชือ่ ทุง่ กุลาร้องไห้ อยูใ่ นพืน้ ทีบ่ างส่วนของ จังหวัดสุรนิ ทร์ บุรรี มั ย์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร ในอดีตมีสภาพ รกร้างแห้งแล้ง เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ ภายหลังพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งปลูกข้าว หอมมะลิคุณภาพดี ส่งจำหน่ายไปทั่วโลก แอ่งสกลนคร อยู่ทางทิศเหนือและทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของภาคอีสาน มีพื้นที่ ประมาณ ๑ ใน ๔ ของภาค สูงเฉลี่ย ๑๔๐ - ๑๘๐ เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ครอบคลุม พืน้ ทีจ่ งั หวัดอุดรธานี เลย หนองคาย สกลนคร มุกดาหาร และจังหวัดนครพนม ตอนเหนือและ ตะวันออกมีลำน้ำโขงเป็นขอบแอ่ง ตอนใต้ และตะวันตกมีเทือกเขาภูพานเป็นขอบแอ่ง บริเวณกลางแอ่งเป็นทีร่ าบลุม่ ลำน้ำสงคราม

หนองหาร จังหวัดสกลนคร หนองน้ำธรรมชาติกว้างใหญ่ที่สุดของอีสาน หนองหาร อยู่ที่อำเภอเมืองสกลนคร จั ง หวั ด สกลนคร อยู ่ ส ู ง จากระดั บ ทะเล ปานกลางประมาณ ๑๖๐ เมตร กว้างประมาณ ๗ กิโลเมตร ยาวประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ลึก ประมาณ ๓ - ๘ เมตร พื้นที่ประมาณ ๑๒๖ ตารางกิโลเมตร (๗๘,๗๕๐ ไร่) เป็นแหล่งน้ำ ธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ รองจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทีร่ วมของน้ำจาก ลำห้วยหลายสาย และเป็นแหล่งน้ำใช้ ในการ เพาะปลูก เลีย้ งสัตว์ และทำประมง ซึง่ เป็นอาชีพ หลักของชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหาร หนองหาร มีเกาะมากกว่า ๒๐ เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บน เกาะมีวดั ร้างและพระพุทธรูปเก่าแก่ ตามเกาะ ต่างๆ มีตน้ ไม้ ใหญ่ขน้ึ หนาแน่น เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ของนกนานาชนิด บางเกาะมีศาลาพักผ่อน ชมทัศนียภาพ เช่น เกาะแก้ว เกาะดอนสะคาม และเกาะดอนสะทุง ฯลฯ หนองหารมีนำ้ เต็มอยูต่ ลอดปี เป็นแหล่ง ที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาเป็นระยะเวลายาว นาน ในประวัติได้ขนานนามชุมชนนี้ว่า เมือง หนองหารหลวง พืน้ ทีโ่ ดยรอบปรากฏร่องรอย การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ย้อนหลัง ไปถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์

และลำน้ำพุง บางบริเวณมีการทรุดตัวของ แผ่นดิน เกิดเป็นหนองบึงกระจายอยู่หลาย แห่ง ทีส่ ำคัญ เช่น หนองหาร จังหวัดสกลนคร และหนองญาติ จังหวัดนครพนม หมายเหตุ : หนองหาน สะกดตามอักขรานุกรมภูมิ- ศาสตร์ แต่ในจังหวัดสกลนคร สะกดว่า หนองหาร

53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 7

3/10/11 10:25:34 AM


เทือกเขาภูพาน อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย

เทือกเขา

ภาคอีสานทางด้านทิศตะวันตกและด้าน ทิศใต้ มีเทือกเขายาวต่อเนื่องกันเป็นขอบ ของทีร่ าบสูงโคราช ประกอบด้วยเทือกเขา เพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขา สันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก ส่วนตอน กลางค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาภูพานพาดผ่าน

ภูเขายอดตัด ( Table Land ) ภูมสิ ณ ั ฐานทีเ่ ป็นลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสาน คือ ภูเขายอดตัด หรือ ภูเขา ยอดราบรูปโต๊ะ เป็นภูเขาทีช่ น้ั หินมีแนวระนาบวางตัวขนานกับพืน้ โลกหรือเกือบราบ ลักษณะดังกล่าว เกิดจากแผ่นดินบริเวณดังกล่าวถูกยกตัวขึ้นมาตรงๆ โดยที่ชั้นหินไม่เกิดการเอนเอียงหรือเอียง เล็กน้อย พืน้ ดินโดยรอบถูกตัวการทางธรรมชาติ เช่น น้ำ และลมทีพ่ ดั พาเม็ดทรายมากัดเซาะพืน้ ที่ โดยรอบผุกร่อนทลายไป ส่วนที่เหลือก็คือภูเขา ภูเขายอดตัดทีเ่ ห็นได้ชดั เป็นทีอ่ า้ งอิงเสมอ คือ ภูกระดึง ในอุทยานแห่งชาติภกู ระดึง จังหวัดเลย เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ภูหลวง จังหวัดเลย และเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แต่ละแห่ง ล้วนมีทัศนียภาพงดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว อย่างมาก

แหล่งน้ำในภาคอีสานมองเห็นภูเขายอดตัดที่ภูกระดึง ในระยะไกล จังหวัดเลย

53-09-096_001-044_ok18-3_J.indd 8

3/18/11 9:34:08 AM


แหล่งน้ำ

(Tanghla) ในเขตที่ราบสูงทิเบต ไหลผ่าน ไทย ไหลเป็นแนวพรมแดนไทย - ลาว ตัง้ แต่ แม่น้ำลำธารตามธรรมชาติสายสำคัญ และไหลเป็ น แนวพรมแดนประเทศต่ า งๆ จังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ทีเ่ ป็น ‘เส้นเลือดใหญ่’ ของภาคอีสาน ได้แก่ ๖ ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา อำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี รวม แม่น้ำมูน แม่น้ำชี และแม่น้ำสงคราม ทั้ง ๓ และเวียดนาม เฉพาะในส่วนภาคอีสานของ ระยะทาง ๘๕๐ กิโลเมตร สายไหลจากด้านทิศตะวันตกไปยังด้านทิศ ทรัพยากรการท่องเที่ยวริมฝั่งและในแม่น้ำโขง ตะวันออกตามความลาดเอียงของที่ราบสูง แม่นำ้ โขง ให้กำเนิดธรรมชาติอนั งดงามมากมาย และเป็นทีม่ าของทรัพยากรการท่องเทีย่ ว ทัง้ ใน ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง เชิงเทศกาลงานประเพณี เช่น งานประเพณีแข่งเรือยาว ในจังหวัดที่ลำน้ำโขงไหลผ่าน หรือแหล่ง แม่นำ้ โขง เป็นแม่นำ้ นานาชาติ ความยาว ท่องเทีย่ วธรรมชาติ เช่น แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แก่งอาฮง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ตลอดสาย ๔,๕๙๐ กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ ซึง่ เป็นจุดทีล่ กึ สุดของลำน้ำโขง และเป็นบริเวณชม บัง้ ไฟพญานาค ในวันออกพรรษา แก่งต่างหล่าง ๑๐ ของโลก ปริมาณน้ำมากเป็นอันดับ ๖ และ แก่งหินขัน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติที่สำคัญบนแม่น้ำสายนี้อย่างน้อย ๓ แห่ง ของโลก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาทังกลา

บั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์บนลำน้ำโขง ค่ำคืนวันขึน้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณ เดือนตุลาคม) ซึง่ เป็นวันออกพรรษาของทุกปี ณ ริมฝั่งลำน้ำโขงในเขตอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และอำเภอใกล้เคียง มหาชน จากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางมาเพื่อรอชม ปรากฏการณ์ บัง้ ไฟพญานาค อย่างเนืองแน่น ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค มีลักษณะ เป็นลูกไฟทรงกลมที่พุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงและ ลำห้วยสาขาสู่อากาศ สูงประมาณ ๓๐ - ๕๐ เมตร หรือบางครัง้ อาจสูงถึง ๑๐๐ เมตร แล้ว หายไป ขนาดของลูกไฟ มีตง้ั แต่เท่าผลส้ม ไข่ไก่ นิ้วหัวแม่มือ เวลาที่เกิดไม่แน่นอน บางปีเกิด ตัง้ แต่หวั ค่ำ ประมาณ ๑๘.๐๐- ๒๐.๐๐ น. บางปี เกิดในเวลาดึก ประมาณ ๒๑.๐๐ - ๒๔.๐๐ น. หรือเลยไปถึง ๐๑.๐๐ - ๐๒.๐๐ น. ของวันใหม่ จำนวนลูกไฟทีเ่ กิดขึน้ ไม่เท่ากัน บางแห่งเกิด เพียง ๑ ลูก บางแห่งเกิด ๕๐ - ๑๐๐ ลูก หรือ มากกว่านัน้ สถานทีเ่ กิดส่วนมากเป็นลำน้ำโขง แต่ก็มีบางแห่งเกิดในห้วยหนองที่อยู่ใกล้กับ ลำน้ำโขง ถือเป็นปรากฏการณ์บนลำน้ำโขง ทีส่ ร้างความมหัศจรรย์ ใจและความประทับใจ ให้ผู้คน

คือ ปากบ้อง สามพันโบก และ แม่น้ำสองสี ปากบ้อง อยูท่ บ่ี า้ นสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอ โพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดที่แคบที่สุดของ ลำน้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ บางช่วงกว้างจนมอง ไม่เห็นฝัง่ ตรงข้าม แต่เมือ่ ถึงบริเวณปากบ้องทีม่ ลี กั ษณะ เป็นผาหินขนาบสองฝัง่ แม่นำ้ ได้บบี ให้ลำน้ำอันกว้างใหญ่ ไพศาลหดแคบลงเหลือเพียง ๕๖ เมตร กระแสน้ำจึงไหลเชีย่ ว ฝูงปลาทีว่ า่ ยทวนน้ำขึน้ ไปวางไข่ทาง ตอนบนของลำน้ำ ต้องใช้เวลาว่ายมากขึ้น จึงมาออกันบริเวณนี้ และกลายเป็นแหล่งชุมนุม หาปลาของชาวบ้าน สามพันโบก อยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิไ์ ทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแก่งหินเรียงราย กลางลำน้ำโขง ฤดูฝนจะจมอยู่ใต้น้ำ เมื่อถึงฤดูแล้ง โขดหินทรายรูปทรงแปลกตามากมาย จะโผล่พน้ น้ำให้ ได้ชม โขดหินบางแห่งมีขนาดใหญ่มากจนดูคล้ายภูเขา โบก เป็นภาษาพืน้ เมืองแปลว่า หลุม เนือ่ งจากบริเวณนี้ เต็มไปด้วยหลุมธรรมชาตินับพันหลุมบนลานหินทราย กลางลำน้ำ แม่น้ำสองสี อยู่ที่บ้านด่าน ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดที ่ ลำน้ำมูนไหลมาบรรจบกับลำน้ำโขง ชาวบ้านเรียกว่า สบมูน น้ำทีไ่ หลจากลำน้ำมูนจะเป็นสีเขียวคราม ส่วนน้ำที่ไหลจากลำน้ำโขงจะเป็นสีแดงหรือน้ำตาลขุ่น ดังคำกล่าวที่ว่า โขงสีปูนมูนสีคราม เห็นชัดเจนในช่วงหน้าแล้ง (ประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม)

53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 9

3/10/11 10:25:59 AM


แม่น้ำมูน

แม่น้ำมูน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขา สั น กำแพงบริ เ วณรอยต่ อ ระหว่ า งอำเภอ กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอ วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านแอ่ง โคราชในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรนิ ทร์ รอยต่อจังหวัดศรีสะเกษกับร้อยเอ็ด และจังหวัดอุบลราชธานี ไหลลงลำน้ำโขง ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวม ไทรงามพิมาย กลุ่มต้นไทรที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทรงามพิมาย อยู่ริมลำน้ำมูนในเขตเทศบาล เมืองพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา ห่างจากปราสาทหินพิมายประมาณ ๒ กิโลเมตร ลักษณะเป็นต้นไทร (Ficus benjamina L.) ตามธรรมชาติขึ้นเกาะกลุ่มกันหนาทึบ หลายร้อยต้น เต็มพืน้ ทีเ่ กาะขนาด ๑.๕ ไร่ ซึง่ มีคนู ำ้ เล็กๆ ล้อมรอบ สันนิษฐานว่ามีมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๓๕๐ ปี และกล่าวกันว่าเป็นกลุม่ ต้นไทรทีม่ อี าณาเขต กว้างใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกปีในหน้าน้ำ น้ำที่เอ่อล้นฝั่งลำน้ำมูนจะพัดพาแร่ธาตุต่างๆ มาทับถมเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ ทำให้ต้นไทรเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เกิดร่มเงาคล้ายมีหลังคาคลุมจนแสงแดดไม่สามารถส่อง ทะลุถึงพื้น ให้บรรยากาศร่มครึ้มแตกต่างจากบริเวณนอกร่มไทร

ความยาว ๖๔๑ กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำ ประมาณ ๗๐,๑๐๐ ตารางกิ โ ลเมตร (๔๓,๘๑๒,๕๐๐ ไร่) ลักษณะทางน้ำทอดตัว ในแนวตะวันตก - ตะวันออก ขนานไปกับ เทือกเขาภูพาน ลำน้ำสาขาที่สำคัญของ แม่น้ำมูน ได้แก่ ลำตะคอง ลำจักราช และลำ พระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ลำชีและลำเสียว จังหวัด สุรินทร์ ห้วยทับทันและห้วยสำราญ จังหวัด ศรีสะเกษ ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ และลำโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี แม่ น ้ ำ ชี มี ต ้ น กำเนิ ด จากเทื อ กเขา เพชรบูรณ์ บริเวณเขาพระยาฝ่อ เขายอดชี และเขาอุม้ นาง ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ไหลผ่าน แอ่ ง โคราชโดยไหลไปทางทิ ศ ตะวั น ออก ผ่ า นพื ้ น ที ่ ต อนกลางของภาคอี ส าน คื อ จั ง หวั ด ชั ย ภู ม ิ ขอนแก่ น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และจังหวัดยโสธร ก่อนจะไหล มาบรรจบกับลำน้ำมูนในเขตอำเภอเมือง อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แล้วไหล

10 53-09-096_001-044_ok18-3_J.indd 10

3/18/11 9:34:38 AM


ลงสูล่ ำน้ำโขง รวมความยาว ๗๖๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ ๕๕,๑๐๐ ตาราง กิโลเมตร (๓๔,๔๓๗,๕๐๐ ไร่) ลำน้ำสาขาที่ สำคัญของแม่นำ้ ชี คือ ลำน้ำปาวและลำน้ำพอง แม่นำ้ สงคราม เป็นแม่นำ้ สายสำคัญของ แอ่งสกลนครแถบภาคอีสานตอนบน มีตน้ น้ำ เกิดจากเทือกเขาภูพาน บริเวณภูผาเหล็ก

และภูผาหักอันเป็นรอยต่อระหว่าง จังหวัด สกลนครกับอุดรธานี ไหลเป็นรอยต่อพื้นที่ จังหวัดสกลนครกับอุดรธานี รอยต่อพื้นที่ จังหวัดสกลนครกับหนองคาย และจังหวัด นครพนม ก่อนจะไหลลงสู่ลำน้ำโขงที่อำเภอ ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม รวมความยาว ๔๒๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ ๒๐,๔๑๑

แก่งตะนะ ทำนบธรรมชาติบนลำน้ำมูน แก่งตะนะ อยูใ่ นพืน้ ทีต่ อ่ เนือ่ งระหว่างตำบลเขือ่ นแก้ว อำเภอสิรนิ ธร กับตำบลโขงเจียม อำเภอ โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ เมือ่ ลำน้ำมูนไหลมาถึง ดอนตะนะ ซึง่ เป็น เกาะใหญ่กลางลำน้ำ น้ำจะแยกเป็นสองสาย ไหลโอบดอนตะนะ ก่อนจะไหลมารวมกันอีกครัง้ บริเวณ แก่งตะนะ ทีอ่ ยูถ่ ดั ลงมาเล็กน้อย ตัวแก่งประกอบด้วยโขดหินน้อยใหญ่เรียงรายอยูใ่ นลำน้ำ เป็นเสมือน ทำนบธรรมชาติที่ขวางกั้นลำน้ำ น้ำที่ไหลเชี่ยวจะซอกซอนไปตามร่องและลานหินทราย นำพากรวดทรายมาขัดสีกัดกร่อนหิน เป็นรูปร่างต่างๆ ทีส่ วยงามแปลกตา บ้างเป็นรอยเว้าแหว่ง บ้างเป็นลานหินเรียบ และบ้างเป็นหลุมลึก คล้ายหม้อดินซึ่งศัพท์ทางธรณีวิทยาเรียกว่า กุมภลักษณ์ (กุมภะ เป็นภาษาบาลี แปลว่าหม้อ กุมภลักษณ์ คือ ลักษณะอย่างหม้อดิน ภาษาอังกฤษเรียก pothole) เกิดจากน้ำที่ไหลเชี่ยวพัดพา เอาก้อนหิน กรวดทราย มากัดเซาะหมุนวนอยู่ในหลุมจนเกิดเป็นแอ่งที่ก้นแอ่งกว้างกว่าปากแอ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางปากหลุมมีขนาดตั้งแต่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ ๒ เมตร แก่งตะนะเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้าน

ตารางกิโลเมตร (๑๒,๗๕๖,๘๗๕ ไร่) ที่ลุ่ม สองฝั่งแม่น้ำสงคราม โดยเฉพาะในเขต จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม เป็น ที่ราบน้ำท่วมถึง ในฤดูฝนจะเกิดทะเลสาบ เล็กๆ จำนวนมาก เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา ตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ของอีสาน

เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

เขื่อนขนาดใหญ่ในภาคอีสาน นอกจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติแล้ว ภาคอีสานยังมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำตาม พื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก เนื่องจากโครงสร้าง แผ่นดินประกอบด้วยหินทรายเป็นส่วนใหญ่ ดินที่ผุพังจากหินจึงเป็นดินทรายร่วน น้ำซึม ผ่านได้ง่าย ไม่เก็บน้ำ ฝนที่ตกแม้มีปริมาณ มากกว่าบางภาคของประเทศ แต่ดินทราย ไม่อมุ้ หรือกักเก็บน้ำให้ความชุม่ ชืน้ แก่ผนื ดิน จึงต้องมีการสร้างเขื่อนสำหรับกักเก็บน้ำไว้ ใช้อุปโภคบริโภคยามหน้าแล้ง เขื่อนที่สำคัญในภาคอีสาน เช่น เขื่อน ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา สร้างกั้น ลำตะคอง เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น สร้างกั้นลำน้ำพอง เขื่อนลำปาว จังหวัด กาฬสินธุ์ สร้างกัน้ ลำปาว เขือ่ นน้ำอูน จังหวัด สกลนคร สร้างกัน้ ลำน้ำอูน และ เขือ่ นสิรนิ ธร จังหวัดอุบลราชธานี สร้างกัน้ ลำโดมน้อย ฯลฯ เขื่อนต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีทัศนียภาพงดงาม และเป็นทรัพยากรการท่องเทีย่ วทางธรรมชาติ ที่สำคัญของภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมี เขื่อน ปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี กัน้ ลำน้ำมูน เป็น พื้นที่ที่มีการศึกษาด้านโบราณคดี จึงเป็น ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย

11 53-09-096_001-044_ok18-3_J.indd 11

3/18/11 9:35:20 AM


อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จังหวัดสกลนคร

ป่าไม้และพันธุ์พืช ภาคอีสานมีป่าไม้หลากหลายประเภท กระจายอยู่ทั่วไปตามส่วนต่างๆ ของภาค ส่วนใหญ่จะขึน้ ในลักษณะปะปนสลับกัน หรือ ผสมผสานกันไปไม่แน่นอน ประเภทของ ป่าไม้ ในภาคอีสานที่สำคัญ ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชืน้ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าบุ่ง ป่าทาม และป่าเขาหินปูน ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) บ้างเรียกว่า ป่าแดง ป่าโคก หรือ ป่าแพะ เป็น ป่าโปร่ง ไม้ผลัดใบ ในภาคอีสานสามารถ พบเห็นป่าชนิดนี้ได้มากที่สุด คือมากกว่า

ร้อยละ ๕๐ ของป่าทั้งหมด พบเห็นได้ทั่วไป แทบทุกพื้นที่ พื้นป่าเป็นดินกรวดลูกรัง เกิด จากการผุพังของหินศิลาแลง (Laterite) ผืนดินไม่อุ้มน้ำ แห้งแล้ง ความชื้นน้อย ไม้สำคัญ เช่น เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) รัง (Shorea siamensis Miq.) ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus C.F. Gaertn.) พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) ฯลฯ

ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) เป็นป่าค่อนข้างโปร่ง ไม้ผลัดใบ พบได้ทั้งบนที่ราบ เนินเขา และภูเขา มักพบ ร่วมกับป่าดิบแล้ง หรือบางครัง้ ก็พบคัน่ กลาง ระหว่างป่าเต็งรังกับป่าดิบแล้ง ป่าเบญจ- พรรณ ขึ้นอยู่บนดินหลากหลายประเภท พันธุ์ไม้ที่พบจะมีขนาดสูงใหญ่กว่าป่าเต็งรัง ไม้สำคัญ เช่น สีเสียด (Acacia catechu (L.f.) Willd.) ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) รกฟ้า (Terminalia alata Heyne ex Roth) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz) และไผ่ต่างๆ ฯลฯ ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าค่อนข้างทึบ ไม้ไม่ผลัดใบ พบได้ทั้ง ตามทีร่ าบ หุบเขา เนินเขา และภูเขา ดินชุม่ ชืน้ พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ยาง (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don) ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib) ฯลฯ ป่าดิบชื้น (Tropical Evergreen Forest) เป็นป่าทึบ ไม้ไม่ผลัดใบ พบทั้งบนที่ลุ่มและ ภูเขา ดินชุ่มชื้น พันธุ์ไม้สำคัญเหมือนกับ ป่าดิบแล้งแต่ขึ้นหนาแน่นกว่า

ประเภทของป่าที่พบในภาคอีสาน

ป่าบุ่ง ป่าทาม

ป่าเต็งรัง

12 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 12

3/10/11 10:26:30 AM


ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest, Lower Mountain Forest) พบบนภูเขาสูง ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตร จากระดับทะเลปาน กลางขึ้นไป พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้วงศ์ก่อ (FAGACEAE) ไม้สำคัญ เช่น ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC.) ก่อแป้น (Castanopsis diversifolia (Kurz) King) เหมือดคน (Helicia excelsa (Roxb.) Blume) ก่อน้ำ (Castanopsis calathiformis (Skan) Rehder & Wilson) พญาไม้ (Podocarpus neriifolius D.Don) ฯลฯ ป่าสนเขา (Coniferous Forest ) พบ ในเขตค่อนข้างแห้งแล้ง และเทือกเขาสูง ระหว่าง ๗๐๐ - ๑,๐๐๐ เมตร จากระดับ

ป่าเบญจพรรณ

ป่าดิบแล้ง

ทะเลปานกลางขึ้นไป มักพบขึ้นอยู่โดดๆ เป็นกลุม่ ไม่มพี นั ธุ์ไม้อน่ื ปะปน โดยแบ่งเป็น สองประเภท คือ สนสองใบ หรือ สนเปลือกดำ (Pinus merkusii Jungh. & de vriese) และสนสามใบ หรือ สนเปลือกแดง (Pinus kesiya Royle ex Gordon) ป่าบุ่ง ป่าทาม (Seasonal Flooded Forest) หรือพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ (wetland) เป็นบริเวณ รอยต่อระหว่างพื้นที่บกและพื้นที่น้ำ มีความ หลากหลายทางชีวภาพสูงยิง่ เป็นแหล่งขยาย พันธุ์ อนุบาลตัวอ่อนสัตว์ตา่ งๆ และเป็นแหล่ง อาหารของชุมชนริมลำน้ำมูน ลำน้ำชี และ ลำน้ำสงคราม ฤดูฝนน้ำท่วมเป็นแหล่งหาปลา ฤดูแล้งน้ำแห้งขอดเป็นแหล่งหาฟืน เห็ด หน่อไม้

ป่าดิบชื้น

สมุนไพร และเลีย้ งวัวควาย นักวิชาการอีสาน ขนานนามว่าเป็น ‘ตูก้ บั ข้าวของชุมชน’ ในอดีต มีปา่ บุง่ ป่าทามมากกว่า ๙๖๐ ตารางกิโลเมตร (๖๐๐,๐๐๐ ไร่) ต่อมาแปรสภาพเป็นพื้นที่ ป่าเกษตรอุตสาหกรรมปลูกไผ่และไม้โตเร็ว บุ่ง หมายถึง บึง ทาม หมายถึง พื้นที่ริมฝั่ง ป่าเขาหินปูน (Limestone Forest) เป็น พื้นที่มียอดเขาหินตะปุ่มตะป่ำ เต็มไปด้วย หลืบถ้ำ และมีป่าซึ่งพรรณไม้ต้องปรับตัวให้ เข้ากับแดดจัด กระแสลมผันผวน ชั้นดินตื้น เช่น วนอุทยานผางาม จังหวัดเลย

ป่าสนเขา

ป่าดิบเขา

13 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 13

3/10/11 10:26:35 AM


สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ผืนป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อยู่ในเขตป่าสงวน สะแกราช ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราช- สีมา ก่อตั้งโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อใช้เป็นสถานที่วิจัย สิง่ แวดล้อมและระบบนิเวศของป่าเขตร้อน ถือเป็นต้นแบบของ สถานีวจิ ยั ด้านป่าไม้แห่งแรกของไทย สถานีฯ ตัง้ อยูท่ า่ มกลางป่า พืน้ ทีป่ ระมาณ ๗๘ ตารางกิโลเมตร (๔๘,๗๕๐ ไร่) สูงระหว่าง ๗๒๐ - ๗๗๐ เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ปกคลุมด้วย ป่าดิบแล้ง และ ป่าเต็งรัง ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ทส่ี ดุ แห่งหนึง่ ของไทย และของโลก มีสตั ว์ปา่ ประมาณ ๓๘๐ ชนิด เช่น เก้ง (Muntiacus muntjak) หมูป่า (Sus scrofa) ไก่ป่า (Gallus gallus) ไก่ฟ้า พญาลอ (Lophura diardi) และนกต่างๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสห- ประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้รับรองสถานีวิจัย สิง่ แวดล้อมสะแกราช ให้เป็นพืน้ ทีส่ งวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) ได้รบั รางวัลอุตสาหกรรมท่องเทีย่ วไทยดีเด่น ประเภท แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ ภายในเขตสถานีฯ มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติพร้อม เจ้าหน้าที่นำชมป่าและให้ความรู้สำหรับผู้ที่มาเป็นหมู่คณะ มีเรือนพักรับรองและห้องประชุมสัมมนาทางวิชาการ

ผาหล่มสัก อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย

สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

ป่า ๕ ประเภทบนภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภกู ระดึง ครอบคลุมพืน้ ทีอ่ ำเภอภูกระดึง อำเภอภูหลวง จังหวัด เลย และอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะเป็นภูเขายอดตัด (Table Land) ตัดเรียบเกือบเป็นเส้นตรง จุดที่สูงที่สุดบนยอดภูสูง ๑,๓๑๖ เมตร จากระดับทะเล ปานกลาง พื้นที่ประมาณ ๖๐ ตารางกิโลเมตร (๓๗,๕๐๐ ไร่) ปกคลุมด้วยป่า ถึง ๕ ประเภททีร่ ะดับความสูงแตกต่างกันไป ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และ ป่าสนเขา (ทัง้ สนสองใบและสนสามใบ) นอกจากนีย้ งั มีทงุ่ หญ้าโล่งกว้าง ซึ่งพบพืชหายาก เช่น ก่วมแดงหรือไฟเดือนห้า (Acer calcaratum Gagnep.) พืชกินแมลง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce) รวมทัง้ ดอกไม้ป่า เช่น กุหลาบป่า (Rhododendron spp.) เอื้องม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima Lindl.) และเอื้องคำหิน (Eria lasiopetala (Willd.) Ormerod) ภายในเขตอุทยานเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น เก้ง (Muntiacus muntjak) กวาง (Cervus unicolor) ช้าง (Elephas maximus) และหมูป่า (Sus scrofa) รวมทั้ง นกนานาชนิด มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น จุดชมทิวทัศน์มุมสูง บริเวณริมขอบที่ราบบนยอดภู เช่น ผาหมากดูก ผาแดง ผาเหยียบเมฆ ผาหล่มสัก และผานกแอ่น ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีน้ำตกน้อยใหญ่มากมาย เช่น น้ำตกขุนพอง น้ำตกตาดฮ้อง น้ำตกถ้ำสอใต้ น้ำตกถ้ำสอเหนือ น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกธารสวรรค์ น้ำตกโผนพบ น้ำตกเพ็ญพบ และน้ำตกวังกวาง ฯลฯ

14 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 14

3/10/11 10:26:39 AM


ฝูงกระทิง เขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา

ภูมิอากาศ

สัตว์ป่า

สัตว์ป่าในภาคอีสานมีหลากหลายชนิด ขึน้ อยูก่ บั สภาพป่า ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจาก สัตว์ป่าในภาคอื่นๆ ของไทย เช่น ลิงแสม (Macaca fascicularis) เก้ง (Muntiacus muntjak) กวาง (Cervus unicolor) หมูป่า (Sus scrofa) ช้าง (Elephas maximus) ฯลฯ และนกชนิดต่างๆ แต่กม็ สี ตั ว์บางประเภทที ่ พบเห็นตามธรรมชาติได้เฉพาะในภาคอีสาน เท่านั้น ที่สำคัญ ได้แก่ กระทิง (Bos gaurus) เป็นวัวป่าชนิดหนึง่ ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล หน้าผากและ ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นสีขาวหรือเหลือง คอสั้น มีเหนียงคอห้อยยาว เขาสีเขียวเข้ม ปลายสีดำ เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ พบเห็น ตามธรรมชาติได้ที่บริเวณเขาแผงม้า ตำบล วังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราช- สีมา ปูทลู กระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn) หรือ ปูแป้ง ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ดูนลำพัน ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม สำรวจพบครั้งแรกเมื่อ

ปูทูลกระหม่อม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน จังหวัดมหาสารคาม

พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเชิญพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัย ลักษณ์ อัครราชกุมารี มาเป็นชือ่ วิทยาศาสตร์ ของปูชนิดที่พบใหม่นี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสทีท่ รงเจริญพระชนมายุ ๓๖ พรรษา ลิงแสมสีทอง (Macaca fascicularis) เป็นสัตว์ป่าประจำถิ่นของวนอุทยานโกสัมพี ตำบลหัวขวาน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม ส่วนที่อื่นๆ ในประเทศไทย หาดูได้ยาก

ภาคอีสานมีภมู อิ ากาศแบบร้อนชืน้ และ อยูภ่ ายใต้อทิ ธิพลของลมมรสุม ฤดูกาลต่าง ๆ จึงเกี่ยวข้องกับลมดังกล่าว แบ่งเป็น ๓ ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ฤดูหนาว (ประมาณกลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์) ลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือพัดพามวลอากาศเย็นและความ แห้งแล้งจากประเทศจีนเข้ามา ตอนเหนือ ของภาคซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนจะมีอากาศ หนาวเย็นกว่าทางตอนใต้ของภาค โดยเฉพาะ ในเขตจังหวัดเลย ซึง่ ได้ชอ่ื ว่าเป็นจังหวัดทีม่ ี อากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศ ฤดูรอ้ น (ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม) อากาศร้อนอบอ้าว และแห้งแล้ง ฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม) มีลมมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้พดั พาความชืน้ จากทะเลเข้ามา ประกอบกับ มักมีพายุดีเปรสชั่นซึ่งเคลื่อนตัวจากทะเล จีนใต้ผ่านประเทศเวียดนามเข้าสู่ภาคอีสาน ของไทย ทำให้ฝนตก

15 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 15

3/10/11 10:26:45 AM


ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

16 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 16

3/10/11 10:26:53 AM


โ บ ร า ณ ค ดี แ ล ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 17

17

3/10/11 10:26:59 AM


โบราณคดีและประวัติศาสตร์

ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ชอ่ื ว่าเป็นอูอ่ ารยธรรมสำคัญแห่งหนึง่ ของ ไทย ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมามีการค้นพบ หลักฐานการอยูอ่ าศัยของมนุษย์ยอ้ นหลังไป หลายพันปีนับตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้คนยังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม พัฒนาสู่ ยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งมีจุดแบ่งหรือรอยต่อที่ เกิดขึ้นของตัวอักษรหรือจารึก และเริ่มมี หลักฐานของการสร้างบ้านแปงเมือง ทีเ่ ด่นชัด ได้แก่ สมัยวัฒนธรรมทวารวดี สมัยวัฒนธรรม

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

ผาแต้มโขงเจียม แหล่งที่มีศิลปะถ้ำ จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ผาแต้ม อยูท่ บ่ี า้ นกุม่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอ โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในอุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม เป็นหน้าผาบนภูผาขาม หันหน้าไปทาง ลำน้ำโขง ปรากฏภาพเขียนสีกอ่ นประวัตศิ าสตร์ ๔ กลุม่ ตัง้ อยูใ่ กล้เคียงกัน คือ ผาขาม ผาแต้ม ผาหมอนน้อย และ ผาหมอน เรียกโดยรวมว่า ภาพเขียนสีกอ่ นประวัตศิ าสตร์ผาแต้มโขงเจียม มีภาพเขียนสีรวมกันไม่ตำ่ กว่า ๓๐๐ ภาพ เป็น แหล่งทีม่ ภี าพเขียนสีจำนวนมากทีส่ ดุ ในประเทศ ไทย มีทง้ั ภาพคน มือคน สัตว์ เครือ่ งใช้ และภาพ ลายเรขาคณิต ภาพเขียนสีเหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นว่าดินแดน แถบนี้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ประมาณ ๔,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีทแ่ี ล้ว มีการใช้ ตุม้ ซึง่ เป็น เครือ่ งจักสานใช้สำหรับจับปลา รูปทรงเรียวยาว คล้ายขวด มีปากผายเหมือนพาน แม่น้ำลำธาร เต็มไปด้วยสัตว์น้ำ ทั้งตะพาบ ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลาบึก ในป่ามีสตั ว์ชกุ ชุมทัง้ ช้าง ม้า กวาง กระทิง ที่สำคัญ คือ มีภาพคล้ายนาข้าว ซึง่ หากเป็นเช่นนัน้ ก็ถอื เป็นภาพการทำเกษตรกรรมเก่าแก่ที่สุดพบในประเทศไทย ปัจจุบัน ภาพส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพค่อนข้างชัดเจน การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดให้เป็น หนึง่ ในสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว UNSEEN THAILAND

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานทางโบราณคดี ส ำคั ญ ได้ แ ก่ ภาพเขียนสีบนเพิงผาของมนุษย์ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ ที่เรียกกันว่า ศิลปะถ้ำ ซึ่งพบ กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน ภูผาแต้ม จังหวัดมุกดาหาร นับร้อยแหล่ง มีทั้งภาพคนในอิริยาบถต่างๆ ขอม สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง (ลาว) เรื่อยมา เช่น เต้นรำ ล่าสัตว์ ภาพสัตว์ ภาพมือ ภาพ จนถึง สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และ สมัย วัตถุสิ่งของ เช่น มีด ธนู ลูกศร เครื่องมือ รั ต นโกสิ น ทร์ ก่ อ นจะเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของ หาปลา และภาพลายเรขาคณิต ส่วนใหญ่ เป็นภาพเขียนสีแดง สันนิษฐานว่าได้จากการ ประเทศไทยในปัจจุบัน นำดินเทศหรือแร่ฮีมาไทต์ (Hematite สูตร ซากดึกดำบรรพ์ ในภาคอีสาน ภาคอีสาน เป็นบริเวณทีพ่ บซากดึกดำบรรพ์จำนวนมาก ทัง้ ในรูปของ โครงกระดูกไดโนเสาร์ เช่นที่ ภูกมุ้ ข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ และภูเวียง จังหวัดขอนแก่น รอยตีนไดโนเสาร์ เช่นทีภ่ แู ฝก จังหวัดกาฬสินธุ ์ และภูหลวง จังหวัดเลย เปลือกหอย เช่นทีจ่ งั หวัดหนองบัวลำภู ไม้กลายเป็นหิน เช่นทีจ่ งั หวัดนครราชสีมา หลายแห่งมีรอ่ งรอยทีย่ งั สมบูรณ์ มีการสำรวจค้นคว้าวิจยั กลายเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทัศนศึกษาทีส่ ำคัญ ของภาคอีสาน ของประเทศ และในระดับสากล บางแห่งสร้างอาคารคลุมร่องรอยดึกดำบรรพ์นั้นไว้ เช่นทีอ่ ำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลายแห่งเปิดเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทง้ั ทีอ่ ยูก่ ลางแจ้งแสดงกระบวนการ ในหลุมขุดค้น และบางส่วนจัดแสดงในอาคาร เช่นที่ พิพิธภัณฑ์สิรินธร (ภูกุ้มข้าว) จังหวัดกาฬสินธุ์ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ กรมทรัพยากรธรณีมกี ารศึกษาและจัดให้ความรูอ้ ย่างเป็นระบบ ตามหลัก บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา และหากกล่าวเฉพาะซาก ดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ ภาคอีสานได้มีการค้นพบจำนวนมาก ทั้งชนิดกินพืชและกินเนื้อกระจายอยู ่ หลายจุดในบริเวณทีเ่ ป็นแนวเทือกเขา ซึง่ ประกอบด้วยหินตะกอนทีท่ บั ถมกัน ประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทราย และหินกรวดมน ในกลุม่ หินโคราช ซึง่ สะสมตัวบนแผ่นดินอีสานในช่วงมหายุค มีโซโซอิก (Mesozoic Era) เมือ่ ประมาณ ๒๐๐ - ๑๐๐ ล้านปีมาแล้ว และสันนิษฐานว่าเป็นช่วงทีไ่ ดโนเสาร์ มีชีวิตอยู่ แหล่งสำคัญทีม่ กี ารค้นพบ ได้แก่ ภูกมุ้ ข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์กินพืช มากกว่า ๖ โครง กระดูกมากกว่า ๖๓๐ ชิน้ ปัจจุบนั เปิดเป็น พิพธิ ภัณฑ์สริ นิ ธร และแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย นอกจากนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ยังมีแหล่งรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่ ภูแฝก อำเภอนาคู ภูเวียง ตำบลสนามบิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในอุทยานแห่งชาติภเู วียง พบซากดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ ทัง้ ชนิดกินพืชและกินเนือ้ ทีไ่ ม่เคยพบมาก่อนในโลก ๒ ชนิด ภายหลังตัง้ ชือ่ ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae, Martin, Buffaut Sutheethorn) และ สยามโมซอรัส สุธธี รนี (Siamosaurus suteethorni Buffetaut and Ingavat) ปัจจุบนั เปิดเป็น พิพธิ ภัณฑ์ไดโนเสาร์ภเู วียง จัดแสดงเรือ่ งราวการขุดค้นพบไดโนเสาร์ การกำเนิดโลก กำเนิดหิน แร่ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ภูหลวง พบรอยตีนไดโนเสาร์บริเวณผาเตลิน่ ในเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ภูหลวง จังหวัดเลย บนพืน้ หินทรายยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุประมาณ ๑๒๐ ล้านปี ซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน ได้แก่ ไม้ที่กลายเป็นหิน เช่นที่ บ้านโกรก เดือนห้า อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีการรวบรวมไว้ ใน พิพธิ ภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน และทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึง่ กรมทรัพยากรธรณีสร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นแหล่ง เรียนรู้เรื่องไม้กลายเป็นหิน ช้างดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์ด้วยเช่นกัน

18 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 18

3/10/11 10:27:03 AM


ทางเคมี Fe2O3) ซึง่ พบได้ทว่ั ไปในภาคอีสาน นำมาบดผสมน้ำจะได้น้ำดินสีแดงแล้วนำไป แต้มบนเพิงผา นอกจากนี้ ยังพบภาพที ่ เกิดจากการนำของแข็งปลายแหลมมาฝน จาร (ใช้เหล็กแหลมขูดหรือขีดให้เป็นรอย) หรือขูดขีดบนผนังหินเป็นรูปต่างๆ นอกจากศิลปะถ้ำแล้ว หลักฐานการ อยูอ่ าศัยของมนุษย์ยคุ ก่อนประวัตศิ าสตร์ ใน ภาคอีสานทีส่ ำคัญอีกประเภทหนึง่ คือ แหล่ง ขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งมีอยู่หลายร้อยแห่ง

มีอายุตง้ั แต่ ๕,๖๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ทีส่ ำคัญ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบา้ นโนนนกทา จังหวัด ขอนแก่ น แหล่ ง โบราณคดี บ ้ า นปราสาท จังหวัดนครราชสีมา และ แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดี เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสังคมมนุษย์ยุคที่ เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง รู้จักการ เพาะปลูกข้าว เลีย้ งสัตว์ ทอผ้า ทำเครือ่ งปัน้ ดินเผา และทำเครื่องมือ เครื่องใช้จากโลหะ

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา

มรดกโลกบ้านเชียง บ้านเชียง อยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีที่กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ พบโครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผาทั้งเขียนสีและไม่เขียนสี รวมทั้ง เครื่องมือเครื่องใช้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุประมาณ ๕,๖๐๐ - ๑,๘๐๐ ปี ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ขึ้น โดยการสร้างอาคารคร่อมลงบนหลุมขุดค้นทางโบราณคดี นับเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย จัดแสดงนิทรรศการ ถาวร ขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของโบราณวัตถุ ที่พบตามสภาพเดิม เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการประชุมขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ได้รับรองให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นมรดกโลก (World Heritage) ลำดับที่ ๔ ของประเทศไทย และลำดับ ที่ ๓๕๙ ของโลก

19 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 19

3/10/11 10:27:17 AM


ยุคประวัติศาสตร์

สมัยวัฒนธรรมทวารวดี สมัยวัฒนธรรมทวารวดีมอี ายุอยูใ่ นช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ จัดเป็นยุคประวัต-ิ ศาสตร์ยุคแรกของไทย มีต้นกำเนิดจาก วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ซึง่ ไทยรับมาจากอินเดีย ศูนย์กลางวัฒนธรรม อยู่บริเวณภาคกลาง ก่อนจะขยายอิทธิพล เข้าสู่ภาคอีสาน เมืองโบราณในสมัยวัฒน- ธรรมทวารวดีมักมีการขุดคูน้ำคันดินล้อม รอบ ผังเมืองมีรูปร่างไม่แน่นอน

พระพุทธรูปใหญ่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี วัดคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

โบราณวัตถุศิลปะทวารวดีที่พบในภาค อีสานมีมากมายหลายประเภท เช่น ซาก โบราณสถาน จารึก พระพิมพ์ แต่ทส่ี ำคัญและ พบจำนวนมากได้แก่ เสมา และ พระพุทธรูป เสมาสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ในภาค อีสานส่วนใหญ่ทำด้วยหินทราย รูปทรงคล้าย ใบหอก มีทั้งที่แกะสลักลวดลายและไม่แกะ สลัก พบปักกระจายอยู่บริเวณที่เคยเป็น โบราณสถานในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี รอง

เสมาหินทรายที่บ้านปากเป่งและบ้านนาหลัก จังหวัดเลย

เสมาพิมพาพิลาป ศิลปกรรมชิ้นเอกสมัยวัฒนธรรมทวารวดี เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเมืองโบราณ ในสมัยวัฒนธรรมทวารวดีที่มีขนาดใหญ่ อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ตัวเมืองมีคูน้ำคันดินรูปวงรี ล้อมรอบ ๒ ชั้น ยาว ๒,๐๐๐ เมตร กว้าง ๑,๓๕๐ เมตร กรมศิลปากรสำรวจพบซากสถูปเจดีย์ ๑๔ แห่ง ทัง้ เจดีย์ ฐานสีเ่ หลีย่ ม แปดเหลีย่ ม และทรงกลม ซากอุโบสถ วิหาร ๔ แห่ง ก่ออิฐประดับลวดลายปูนปั้น พระพิมพ์ดินเผา จำนวนมาก รวมทั้งใบเสมาหินทรายทั้งแบบเรียบและมี ลวดลายรวม ๑๓๐ ชิ้น หนึ่งในเสมาที่พบได้แก่ เสมาพิมพาพิลาป ทำด้วย หินทราย สลักภาพพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จ มายังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระราชบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) พระราชโอรส (พระราหุล) และ พระชายา (พระนางพิมพายโสธรา) ซึ่งเศร้าโศกตั้งแต่ พระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ด้วยทรงรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง เมือ่ พระชายาทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ ์ ก็ยังคงเศร้าโศก จนไม่สามารถไปเฝ้าได้ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังที่ประทับของพระนางพิมพา ยโสธรา ซึ่งได้สยายผมออกรองและเช็ดพระบาท เพื่อแสดงความเคารพสูงสุดตามประเพณี ต่อเมื่อได้ฟังธรรม ก็ทรงบรรลุพระโสดาบัน เสมาชิน้ นีม้ สี ภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แกะสลักด้วยฝีมอื ช่างชัน้ ครู ได้รบั การยกย่องจากบรรดา นักประวัติศาสตร์ศิลปะว่า เป็นงานศิลปกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ปัจจุบัน นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

ศาสตราจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม นักวิชาการด้าน ประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี ให้ความเห็นว่า เสมาหินเหล่านีม้ คี วามเกีย่ วพันกับ วัฒนธรรม หินตั้ง ซึ่งเป็นความเชื่อในลัทธิความอุดม สมบูรณ์และการนับถือผีบรรพบุรุษ อันเป็น ความเชื่อดั้งเดิมของคนในยุคก่อนประวัติ- ศาสตร์ โดยใช้หินตั้งเป็นหลักกำหนดเขต พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีกรรม ถือ เป็นภาพสะท้อนความเชื่อทางวัฒนธรรมที่ เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของภูมิภาคนี้ เมื่อ วัฒนธรรมทวารวดีเริ่มแพร่เข้ามาในภาค อีสาน ได้มีการนำความเชื่อท้องถิ่นเรื่อง หินตั้ง มาผสมผสานกับความเชื่อทางพระ พุทธศาสนาจากอินเดีย เกิดเป็นการสร้าง

เสมาหินปักบนดิน ทั้งเพื่อกำหนดขอบเขต พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง พระพุทธรูปสมัยวัฒนธรรมทวารวดี แบ่งตามลักษณะศิลปกรรมได้เป็น ๓ ยุค ยุคแรก แสดงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบคุปตะ และหลังคุปตะ พระพักตร์เป็นแบบอินเดีย จีวรบางแนบเนื้อ ยุคที่สอง อิทธิพลอินเดีย ลดลง มีลักษณะแบบพื้นเมืองชัดเจนขึ้นคือ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อเป็น ปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์ หนา และ ยุคทีส่ าม ได้รบั อิทธิพลศิลปะขอม เข้ามาปะปน คือพระพักตร์เหลี่ยม มีร่อง ระหว่างพระหนุ

20 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 20

3/10/11 10:27:26 AM


สมัยวัฒนธรรมขอม สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุอยู่ในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ มีศนู ย์กลางอยูใ่ น ประเทศกัมพูชา ได้ขยายอิทธิพลทางการเมือง และวัฒนธรรมเข้ามายังดินแดนอีสานของ ไทยอย่างเต็มที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (เป็นช่วงทีว่ ฒ ั นธรรมทวารวดีเริม่ เสือ่ มถอย) และเจริญรุ่งเรืองอยู่จนถึงประมาณปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงเสื่อมลงตามการล่ม สลายของอาณาจักรขอม โดยสมัยวัฒน- ธรรมขอมช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ เป็น วัฒนธรรมเนื่องในศาสนาฮินดู ต่อมาใน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ (ผู้สร้างปราสาทนครธม) แห่งอาณาจักร ขอม ได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ บรรดาปราสาทหิน น้อยใหญ่ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วภาคอีสานนับ ร้อยแห่ง โดยเฉพาะเขตอีสานตอนใต้ แถบ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และ จังหวัดศรีสะเกษ ผู ้ ค นในวั ฒ นธรรมขอม นิ ย มสร้ า ง ปราสาทหินเป็นศาสนสถานประจำเมือง เพือ่ ใช้ประกอบพิธกี รรมและประดิษฐานรูปเคารพ

ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

พระนอนวัดธรรมจักรเสมาราม พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เก่าแก่ ที่สุดในประเทศ วัดธรรมจักรเสมาราม หรือ วัดพระนอน บ้านคลองขวาง ตำบล เสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนคร ราชสีมา อยู่ภายใน เมืองเสมา ซึ่ง เป็นเมืองโบราณสมัยวัฒนธรรม ทวารวดี สิ่งสำคัญภายในวัด คือ พระพุ ท ธรู ป ปางไสยาสน์ ยาว ๑๓.๓ เมตร สร้างด้วยหินทรายแดงหลายชิ้นต่อกัน พุทธลักษณะเป็นศิลปะทวารวดียุคที่สอง คือ พระพักตร์คอ่ นข้างเหลีย่ ม พระขนงต่อเป็นปีกกา พระโอษฐ์หนา สันนิษฐานว่าสร้างขึน้ พร้อมกับ เมืองเสมา คือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ปัจจุบันอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ จัดเป็น พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารที่สร้างด้วย ศิลาแลงและหินทราย ปัจจุบันตัววิหารเหลือเพียงฐาน และวัดได้สร้างอาคารโถงคลุมไว้

ปราสาทหินนางรำ จังหวัดนครราชสีมา

ทางศาสนาทัง้ ฮินดู (ศิวลึงค์) และศาสนาพุทธ (พระพุทธรูป) ปราสาทประธานซึง่ อยูใ่ จกลาง ศาสนสถาน ถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ อันเป็นทีส่ ถิตของเหล่าเทพเจ้า สังเกตได้จากเครื่องบนปราสาทที่ทำเป็นชั้น ทรงกรวยหรือทรงพุ่มลดหลั่นกัน แต่ละชั้น ประดับด้วยกลีบขนุน (แท่งหินรูปสามเหลีย่ ม) สลักลายเทพเจ้าประทับในซุม้ โดยรอบ ส่วน

ต่างๆ ของปราสาทมักแกะสลักอย่างวิจิตร งดงาม เป็นภาพเทพเจ้า พระโพธิสัตว์ และ เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา ปัจจุบนั กรมศิลปากรได้บรู ณะปราสาทหิน ในสมัยวัฒนธรรมขอมหลายแห่ง จนอยู่ใน สภาพดี และกลายเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่นักท่องเที่ยว สนใจกันมาก

21 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 21

3/10/11 10:29:46 AM


พิมาย - พนมรุ้ง - เมืองต่ำ อลังการแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย บรรดาปราสาทหินในวัฒนธรรมขอมที่พบอยู่นับร้อยแห่งในประเทศไทย ปราสาทหินพิมาย และ ปราสาทพนมรุ้ง ได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สุด แห่งปราสาทหิน ทั้งในแง่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ความยิ่งใหญ่อลังการทางสถาปัตยกรรม และความวิจิตรงดงามของลวดลาย แกะสลักหิน ปราสาทหินพิมาย อยูใ่ นอุทยานประวัตศิ าสตร์พมิ าย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนคร ราชสีมา ตัวปราสาทมีขนาดใหญ่ สภาพสมบูรณ์ สร้างขึน้ เพือ่ ใช้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ศิลปะขอมแบบบาปวน นครวัด และบายน อายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ เป็นศูนย์กลางของเมืองพิมาย ซึ่งเป็นเมืองโบราณในสมัยวัฒนธรรมขอมที่ใหญ่และสำคัญที่สุด แห่งหนึ่งของไทย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคม การค้า และการปกครองของ บ้านเมืองในแถบลุ่มน้ำมูน ปราสาทพนมรุ้ง อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บ้านตาเป๊ก ตำบลตาเป๊ก อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เดิมสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เพื่อเป็นเทวาลัย บูชาพระศิวะ มีการก่อสร้างเพิม่ เติมต่อเนือ่ งกันมาตัง้ แต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ เมือ่ ถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงเปลี่ยนเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ศิลปกรรมที่พบ มีตั้งแต่ศิลปะขอมแบบแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัด และบายน ตัวปราสาทก่อด้วย หินทรายสีชมพู แกะสลักลวดลายวิจติ รงดงามยิง่ ทัง้ ลายพรรณพฤกษา เทพเจ้า และลายทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กับศาสนา ทีม่ ชี อ่ื เสียงทีส่ ดุ คือ ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ บนทับหลัง (แผ่นหินเหนือกรอบประตู) ด้านหน้าปราสาทประธาน ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทเมืองต่ำ อยู่ที่ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในบริเวณพืน้ ทีร่ าบต่ำกว่าปราสาทพนมรุง้ เป็นโบราณสถานแบบขอมขนาดใหญ่ สร้างขึน้ เป็นเทวาลัย ในศาสนาฮินดูไศวนิกาย มีคุณค่าทางโบราณคดีและศิลปกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย แผนผังได้สัดส่วน ลวดลายปูนปั้นและลายสลักบนหินทรายงดงาม ประกอบด้วยปราสาทก่ออิฐ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ๕ องค์ จากการขุดแต่งได้พบชิ้นส่วนปูนปั้น ศิวลึงค์ และทับหลังที่ สมบูรณ์สวยงาม มีอาณาบริเวณเป็นลานกว้าง แสดงแผนผังที่ชัดเจนของการจำลองภาพจักรวาล ตามคติโบราณ นักวิชาการโบราณคดีตง้ั ข้อสันนิษฐานว่า ปราสาทเมืองต่ำเคยเป็นศูนย์กลางการเก็บ ข้าวเปลือกของชุมชน

ปรางค์กู่

อโรคยศาล - ธรรมศาลา นอกจาก ปราสาทหิน ซึง่ สร้างขึน้ เพือ่ เป็นศาสนสถานประจำชุมชนแล้ว ในดินแดน อีสานยังพบโบราณสถานในสมัยวัฒนธรรมขอม อีก ๒ ประเภท คือ อโรคยศาล (ศาสนสถานซึง่ มีหน้าทีเ่ ป็นสถานพยาบาล) และ ธรรมศาลา (ทีพ่ กั คนเดินทาง) หลักฐาน จากจารึกทีพ่ บบริเวณปราสาทพระขรรค์ ในประเทศกัมพูชา กล่าวไว้วา่ พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอม (ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘) โปรดให้สร้างอโรคยศาลจำนวน ๑๐๒ แห่ง ควบคูไ่ ปกับธรรมศาลาจำนวน ๑๒๑ แห่ง ตามถนนสายสำคัญทีเ่ ชือ่ มระหว่าง เมืองพระนคร (ราชธานีขอม) กับเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักร ปัจจุบันในภาคอีสานของไทยค้นพบอโรคยศาลรวม ๒๓ แห่ง อยู่ในเขตจังหวัด ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม และจังหวัดสกลนคร เช่น ปราสาทสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทตาเมือนโต๊ด อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ฯลฯ ส่วนธรรมศาลา ค้นพบในอีสาน ๙ แห่ง อยูใ่ นเขตจังหวัดสุรนิ ทร์ จังหวัดบุรรี มั ย์ และ จังหวัดนครราชสีมา เช่น ปราสาทตาเมือน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรนิ ทร์ ปราสาทบ้านบุ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ฯลฯ

22 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 22

3/10/11 10:30:02 AM


สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง (ลาวจากเวียงจันทน์) ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมือ่ อาณาจั ก รขอมอ่ อ นแอและล่ ม สลายลง อิทธิพลจากวัฒนธรรมขอมค่อยๆ เสือ่ มสูญ ไปจากภาคอีสาน จนกระทั่งประมาณปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรล้านช้าง (ลาว) ซึง่ อยูใ่ นเขตลุม่ น้ำโขง มีศนู ย์กลางอยูท่ น่ี คร เวียงจันทน์ ได้ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรม เข้าสู่แอ่งสกลนคร (อีสานตอนบน) ก่อนใน ระยะแรก ต่อมาจึงค่อยๆ แพร่ลงสูแ่ อ่งโคราช (อีสานตอนล่าง) หลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรมที่

สำคัญของสมัยนีเ้ ป็นวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุเจดียซ์ ง่ึ พบได้ทว่ั ไป ส่วนใหญ่ เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม เรียกกันว่า ทรงบัว เหลี่ยม หรือ ทรงล้านช้าง (ลาว) โดยมี ต้นแบบจากพระธาตุหลวงที่นครเวียงจันทน์ และพระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ทั้ง สองแห่งถือเป็นปูชนียสถานที่ชาวอีสานและ ชาวลาวเคารพยิง่ ตัง้ แต่อดีตจวบจนปัจจุบนั สมัยอยุธยา - สมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เกิดความ วุน่ วายทางการเมืองขึน้ ภายในอาณาจักรล้าน

ช้าง (ลาว) ทัง้ ทีน่ ครเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และ หลวงพระบาง ผูค้ นจากฝัง่ ลาวจึงอพยพลีภ้ ยั ข้ามลำน้ำโขงเข้ามาตั้งชุมชนสร้างบ้านแปง เมืองในภาคอีสานจำนวนมาก โดยอพยพ ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนปลาย สมัยธนบุรี จนถึงสมัยรัตน- โกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์ไทยหลาย รัชสมัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดั ตัง้ และยกฐานะชุ ม ชนต่ า งๆ ขึ ้ น เป็ น เมื อ ง ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นอำเภอและจังหวัด ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

พระธาตุพนม ต้นแบบของเจดีย์ล้านช้าง และศูนย์รวมจิตใจของชาวอีสาน พระธาตุพนม อยู่ในวัดพระธาตุพนมวรมหา วิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม ไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นครั้งแรก เมื่อใด มีเพียงตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะ พร้อมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปจากอินเดีย ร่วมกัน สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า เมื่อ พ.ศ. ๘ พระธาตุพนมเป็นพระธาตุทรงบัวเหลี่ยม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๑๒.๓๓ เมตร สูง ๕๓.๖ เมตร ฉัตรทองคำเหนือยอดพระธาตุ สูง ๔ เมตร องค์พระธาตุได้รบั การบูรณปฏิสงั ขรณ์ หลายครั้ง ครั้งสำคัญคือเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๓ โดย พระราชครูโพนสะเม็ก จากนครเวียงจันทน์ ทำให้ ได้รบั อิทธิพลรูปทรงส่วนยอดมาจากพระธาตุหลวง แห่งนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นทรงบัวเหลี่ยม ศิลปะ ล้านช้าง (ลาว) นับแต่นั้นมาพระธาตุพนมก็กลาย เป็นต้นแบบให้กับการสร้างพระธาตุสำคัญหลาย แห่งในภาคอีสาน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระธาตุพนมพังทลายลงทัง้ องค์ กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะขึน้ ใหม่ แล้วเสร็จเมือ่ พ.ศ. ๒๕๒๒ การบูรณะครั้งนั้นทำให้พบว่า องค์ พระธาตุสร้างคร่อมอยู่บนซากโบราณสถานขอม พระธาตุพนมถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้ง ชาวอีสานและชาวลาว ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีงานนมัสการพระธาตุพนม เป็นงานบุญที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของภาคอีสาน

23 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 23

3/10/11 10:30:06 AM


ผู้ไทบ้านภู จังหวัดมุกดาหาร

24 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 24

3/10/11 10:30:14 AM


ก ลุ่ ม ช า ติ พั น ธุ์ 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 25

25

3/10/11 10:30:21 AM


กลุ่มชาติพันธุ์

ภาคอีสานเป็นดินแดนอันกว้างใหญ่ มีขอบเขตพื้นที่ติดต่อกับสาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และประเทศ กัมพูชา ภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ ไทย ทัง้ ยังอยูใ่ กล้กบั ประเทศเวียดนามโดยมี สปป.ลาว คั่นกลาง ผู้คนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ จึงมีความหลากหลาย และเป็นส่วนสำคัญ ของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าสูงยิ่ง แต่ละกลุม่ มีวฒ ั นธรรมและเอกลักษณ์ทเ่ี ห็น ได้จากการแต่งกายในงานเทศกาลและงาน ประเพณีต่างๆ และมีภาษาที่หลากหลาย แตกต่างกันมากกว่า ๒๐ ภาษา จาก ๖๐ ภาษาทั่วประเทศ

ภาษาบอกชาติพันธุ์

ภาษาเป็นสิ่งหนึ่งที่จะบอกถึงชาติพันธุ์ได้ นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษาในภาคอีสานเป็น ๓ ตระกูลได้แก่ ตระกูลไท (Tai language family) ประกอบด้วยภาษาลาวอีสาน (Lao Isan) ผู้ไท (Phu Thai) ญ้อ (Nyaw) แสก (Saek) กะเลิง (Kaloeng) พวน (Phuan)

ชาวลาวอีสาน ตั้งถิ่นฐานอยู่ในทุกจังหวัด จากประเทศเวียดนาม เช่น ชาวแสก ที่ จังหวัดนครพนม บางส่วนอยูม่ าตัง้ แต่ดง้ั เดิม เช่น ชาวเขมรถิน่ ไทย ในจังหวัดสุรนิ ทร์ หรือ ชาวญัฮกุร ในจังหวัดชัยภูมิ ฯลฯ ชาวไทยโคราช

โย้ย (Yoy) ลาวเวียง (Lao Wiang) ลาวหล่ม (Lao Lom) ไทยเลย (Thai Loei) ไทยโคราช (Thai Korat) และภาษาไทยกลาง (Central Thai) ซึง่ เป็นภาษากลางของประเทศ ตระกูล ออสโตรเอเชียติก (Austro - Asiatic language family) ประกอบด้วยภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เขมรถิ่นไทย (Thailand Khmer) กูย (Kuy) โซ่ (So) โซ่ทะวืง (So Thavueng) บรู (Bru) ญัฮกุร (Nyah Kur) เญอ (Nyoe) และภาษามอญ (Mon) สุดท้ายคือ ตระกูลม้ง เมี่ยน ได้แก่ภาษาม้ง (Hmong) ทัง้ หมดคือภาษาของผูค้ นหรือกลุม่ ชาติ พันธุท์ ร่ี วมกันอยูใ่ นภาคอีสาน บางส่วนอพยพ มาจากบริเวณทีเ่ ป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในปัจจุบันเช่น

ถิ่นฐาน เอกลักษณ์ ประเพณี

กลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากดินแดน ซึง่ ในอดีตคือคนในแผ่นดินเดียวกัน ผลัดกัน ปกครองดูแล แต่ปัจจุบันถือเอาลำน้ำโขง เป็นพรมแดนกั้นเขต แบ่งเป็น

ผู้ไทโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้ไทบ้านโนนหอม จังหวัดสกลนคร

26 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 26

3/10/11 10:30:30 AM


กลุ่มชาติพันธุ์ ที่อพยพมาจากประเทศลาว ลาวอีสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด ของภาค มีทั้งที่อยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมและ อพยพข้ามลำน้ำโขงมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากภาษาลาว ญ้อ อีสานที่ใช้พูดกันเป็นหลักแล้ว เอกลักษณ์ สำคัญคือการยึดมั่นในฮีตสิบสองหรือจารีต ญ้อ (ย้อ) อพยพจากเมืองหินบูน ประเทศ ประเพณีทถ่ี อื ปฏิบตั ใิ นแต่ละเดือน ซึง่ สืบทอด ลาว ตรงข้ามกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัด นครพนม มาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนครพนม กันมานานนับศตวรรษ และจังหวัดสกลนคร มีวฒ ั นธรรมคล้ายคลึง รู้จักชาวลาวอีสานผ่านการท่องเที่ยว กับชาวลาวอีสานโดยทั่วไป เอกลักษณ์ที่มาจากฮีตสิบสองของชาว ลาวอีสานปรากฏใน งานประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี งานประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร งานบุญผะเหวดร้อยเอ็ด หรือ งานประเพณี บุญคูนลาน อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ฯลฯ ในงานดังกล่าว ศรัทธาของชาวอีสานทำให้ สามารถประดิษฐ์เทียนพรรษาอย่างวิจิตร มโหฬาร ประดิษฐ์บั้งไฟได้อย่างตระการตา สร้างสรรค์ผ้าผะเหวดเป็นภาพเกี่ยวกับพระ พุทธศาสนาหรือประดิษฐ์ขนั หมากเบ็ง รวมทัง้ บายศรีได้อย่างประณีตบรรจง และเมื่อถึง งานรื่นเริง ชาวลาวอีสานก็จะแสดงออกอย่าง สนุกสนานเต็มที่ด้วยเครื่องดนตรี พิณ แคน โหวด เช่นทีจ่ งั หวัดนครพนม หมอลำ หมอแคน เช่นทีจ่ งั หวัดขอนแก่น รวมถึงการฟ้อนและเซิง้ ในงานประเพณีตา่ งๆ ของทุกจังหวัด นอกจากนี้ ชาวลาวอีสานยังมีตัวอักษรเป็นของตนเอง คือ อักษรไทยน้อย และ อักษรธรรม ปรากฏ เช่นในฮูบแต้มบนผนังสิม (จิตรกรรมฝาผนัง ในโบสถ์พื้นบ้าน) ฯลฯ

รู้จักชาวญ้อผ่านการท่องเที่ยว ชาวญ้อจะรวมตัวกันในงานต่างๆ เช่น งานสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ ไทยลาว งานนมั ส การพระธาตุ ท ่ า อุ เ ทน งานนมัสการพระธาตุพนม และ งานประเพณี ไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม

กะเลิง

รู้จักชาวกะเลิงผ่านการท่องเที่ยว ชาวกะเลิงบ้านคำเตย รวมตัวกันจัด การแสดงทางวัฒนธรรมใน งานประเพณีไหล เรือไฟ จังหวัดนครพนมเป็นประจำทุกปีในช่วง เทศกาลออกพรรษา

โซ่ (โส้ ข่า ข่ากะโซ่) อพยพจากเมืองแถน ประเทศลาว มาตัง้ ถิน่ ฐานในจังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร นับถือพระพุทธศาสนา ควบคู่กับความเชื่อทางไสยศาสตร์ รู้จักชาวโซ่ผ่านการท่องเที่ยว ชาวโซ่ (โส้) จะรวมตัวกันจัดการแสดง ทางวัฒนธรรมใน งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม เป็นประจำทุกปีในช่วงออก พรรษา และมี ศูนย์วฒ ั นธรรมไทยโส้ ทีอ่ ำเภอ กุสมุ าลย์ จังหวัดสกลนคร ซึง่ จัด งานเทศกาล โส้รำลึก ทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

โซ่ทะวืง อพยพจากประเทศลาวมาตั้ง ถิ่นฐานที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเหลือผู้พูด ภาษาโซ่ (ทะวืง) เฉพาะทีอ่ ำเภอส่องดาว จังหวัด สกลนคร บรู อพยพลีภ้ ยั การปกครองของฝรัง่ เศส ในประเทศลาว มาตัง้ ถิน่ ฐานทีอ่ ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นับถือพระพุทธศาสนา ผสมผสานกั บ ความเชื ่ อ เรื ่ อ งไสยศาสตร์ ปัจจุบันยังคงมีประเพณีเลี้ยงผีบ้าน พวน อพยพจากเมืองเชียงของ ประเทศ ลาว มาตัง้ ถิน่ ฐานในภาคกลางและภาคอีสาน ชาวพวนมีรปู ร่างหน้าตาหมดจด กิรยิ างดงาม ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ผสมผสานกับ ความเชื่อเรื่องผี

กะเลิง อพยพจากแขวงสะหวันนะเขด (สุวรรณเขต) และแขวงคำม่วน ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสกลนคร จังหวัด นครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีความเชื่อ ผู้ไท (ผู้ไทย ภูไท) มีถิ่นฐานเดิมอยู่ใน เรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงผีบรรพบุรุษและจัด แคว้นสิบสองจุไท อพยพผ่านประเทศลาวและ พิธีกรรมดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน เวียดนามมายังจังหวัดสกลนคร นครพนม รู้จักชาวผู้ไทผ่านการท่องเที่ยว นอกจากภาษาแล้ว เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไทคือการแต่งกายชุดสีนำ้ เงินขลิบแดง มุกดาหาร หนองคาย อำนาจเจริญ อุดรธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์ ชาวผู้ไท การต้อนรับผูม้ าเยือนอย่างอบอุน่ พร้อมการฟ้อนทีอ่ อ่ นช้อยสวยงาม ปิดท้ายด้วยการดูดเหล้าอุรว่ มไห หรือ ชนช้าง เช่นที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ใน งานนมัสการพระธาตุพนม และ หลายกลุ่มสะกดคำเรียกชาติพันธุ์ของตนว่า งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม ก็สามารถชมฟ้อนของชาวผู้ไทได้เช่นกัน ชาวผู้ไทบางหมูบ่ า้ น ผู ้ ไ ทย และเรี ย กการฟ้ อ นอั น สวยงามว่ า ปรับตัวเข้ากับการท่องเทีย่ ว เปิดบ้านให้นกั ท่องเทีย่ วเข้ามาพัก หรือเรียกว่า โฮมสเตย์ (homestay) เช่นที่ หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ฟ้อนภูไท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ๒๕๕๐

27 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 27

3/10/11 10:30:34 AM


เญอ (เยอ) อพยพข้ามลำน้ำโขงมาตั้ง ถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษ โย้ย อพยพจากเมืองฮ่อมท้าว (ฮ่อม ท้าวฮูเซ) ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานในเขต อำเภออากาศอำนวยและอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับ ชาวลาวอีสานโดยทั่วไป กูย (กวย ส่วย) อพยพจากเมืองอัตตะปือ แสนแป ประเทศลาว มาตัง้ ถิน่ ฐานในจังหวัด บุรรี มั ย์ จังหวัดสุรนิ ทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ เอกลักษณ์คอื ภาษาพูดซึง่ คล้ายเขมรถิน่ ไทย หรือชาวไทยเชือ้ สายเขมร และที่โดดเด่นยิ่ง คือความสามารถในการคล้องช้าง ฝึกช้าง และมีช้างเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ (ลาวกลาง) และ ลาวหล่ม อพยพข้ามลำน้ำโขง ที่อพยพมาจากประเทศเวียดนาม มาอยู่ในภาคอีสานที่จังหวัดเลยด้วยเช่นกัน เวียด (เวียดนาม ญวน) อพยพลี้ภัย การปราบปรามผู้นับถือคริสต์ศาสนา (นิกาย รู้จักชาวกูยผ่านการท่องเที่ยว ชาวกูย (กวย ส่วย) เป็นต้นกำเนิดของ โรมันคาทอลิก) จากประเทศเวียดนามมาตัง้ งานแสดงช้างและงานกาชาดจังหวัดสุรินทร์ ถิน่ ฐานทีจ่ งั หวัดหนองคายและจังหวัดนครพนม งานประเพณีบวชนาคช้าง งานผู้สูงอายุและ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า สงกรานต์ช้าง และที่บ้านตากลาง จังหวัด อยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และอพยพมาอีกหลัง สุรนิ ทร์ ชาวกูยยังเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเทีย่ ว แบบ โฮมสเตย์ (homestay) ได้รับรางวัล พ.ศ. ๒๔๘๘ ลี้ภัยฝรั่งเศสที่เข้าปราบปราม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยประเภทชุมชน ขบวนการชาตินยิ มในเวียดนามมายังจังหวัด ดีเด่นด้านการท่องเทีย่ วจากการท่องเทีย่ วแห่ง หนองคาย จังหวัดนครพนม และจังหวัด ประเทศไทย (ททท.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ อุดรธานี รู้จักชาวเวียดนามผ่านการท่องเที่ยว ที่จังหวัดนครพนม ใน งานประเพณี ไหลเรือไฟ ช่วงออกพรรษา ชาวเวียดนามจะ แต่งกายชุด อ๊าวหย่าย มาร่วมขบวนการแสดง ทางวัฒนธรรม ส่วนที่ หมูบ่ า้ นมิตรภาพ ไทย เวียดนาม (บ้านโฮจิมินห์) ซึ่งเปิดตลอดปี มีนิทรรศการประวัติศาสตร์การเมืองของ เวียดนามที่ร่วมกับประเทศไทย นอกจากนี ้ เอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของเวียดนาม คือ อาหารญวน ซึ่งหารับประทานได้ทั่วไป ในจังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม และ จังหวัดอุดรธานี พิธีเซ่นศาลปะกำ จังหวัดสุรินทร์

ชาวกูย (กวย ส่วย)

แสก อพยพข้ามลำน้ำโขงจากเมืองแสก ประเทศลาว และเมืองรอง ประเทศเวียดนาม มาตัง้ ถิน่ ฐานในจังหวัดนครพนมและจังหวัด สกลนคร รู้จักชาวแสกผ่านการท่องเที่ยว ชาวแสกมีการแสดงคือ แสกเต้นสาก (คล้ า ยระบำลาวกระทบไม้ ข องภาคกลาง) อยู่ในงาน พิธีบวงสรวงองมู้ ที่ศาลเจ้าพ่อ เดนหวั่ว องมู้ จังหวัดนครพนม และยังมี การแสดงทางวัฒนธรรมใน งานประเพณี ไหลเรือไฟ ที่จังหวัดนครพนมเป็นประจำ ทุกปีในช่วงออกพรรษา

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ มอญ ใน จังหวัดนครราชสีมา ม้ง ที่จังหวัดเลย และ ไทยโคราช อยูใ่ นจังหวัดนครราชสีมา จังหวัด ชัยภูมิ และบางส่วนของจั ง หวั ด บุ ร ี ร ั ม ย์ ชาวไทยโคราช บางส่วนสืบเชือ้ สายมาจากคน ภาคกลางที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยอยุธยา มาตั้งถิ่นฐานในเมืองนครราชสีมาซึ่งเป็น เมืองหน้าด่านสำคัญของกรุงศรีอยุธยา เพื่อ เป็นกำลังพลป้องกันข้าศึก วัฒนธรรมและ ภาษาของชาวไทยโคราชจึงผสมผสานระหว่าง ลาวอีสานกับไทยกลาง

28 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 28

3/10/11 10:30:45 AM


รู้จักชาวไทยโคราชผ่านการท่องเที่ยว เอกลักษณ์ประการหนึ่งของชาวไทย โคราชคือ เพลงโคราช เป็นเพลงพืน้ บ้านเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะคล้าย เพลงฉ่อยและเพลงอีแซวของภาคกลางที ่ หญิงชายร้องโต้ตอบกันด้วยไหวพริบ แสดง ในงานประเพณีสำคัญ เช่น งานประเพณี ลอยกระทงพระประทีปพระราชทาน ในเดือน พฤศจิกายน

กลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งอยู่ในพื้นที่มาแต่ดั้งเดิม เขมรถิน่ ไทย หรือชาวไทยเชือ้ สายเขมร อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และ จังหวัดบุรีรัมย์ ยังรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิม ของภาษาเขมร นับถือพระพุทธศาสนาผสม ผสานกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ มีภูมิ- ปัญญาการทอผ้า ดนตรี และวิถชี วี ติ ทีแ่ ตกต่าง จากชาวอีสานส่วนใหญ่อย่างชัดเจน

รู้จักชาวเขมรถิ่นไทยผ่านการท่องเที่ยว ชาวเขมรถิ่นไทยหรือชาวไทยเชื้อสาย เขมรมีภมู ปิ ญ ั ญาการทอผ้าไหม ได้แก่ ผ้าปูม ผ้าโฮล และ ผ้าอัมปรม เช่นที่ หมู่บ้านทอผ้า บ้านจันรม มีเอกลักษณ์ด้านการแสดงคือ กันตรึม เช่นที่ หมู่บ้านวัฒนธรรมดงมัน และ เรือมอันเร (รำสาก) ซึ่งหาชมได้ ใน งานสงกรานต์ หรือ งานแสดงช้าง นอกจากนี ้ ยังมีประเพณีเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ เพื่อ แสดงความกตัญญู พัฒนาเป็น งานประเพณี แซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ในปัจจุบัน

ญัฮกุร (เนียะกุร ชาวบน ชาวดง คนดง) อยู่ที่จังหวัดชัยภูมิและบางส่วนของจังหวัด นครราชสีมา นักภาษาศาสตร์พบว่าชาวญัฮกุร พูดภาษาคล้ายคลึงกับภาษามอญโบราณ ในจารึก จนนับได้ว่าเป็นภาษาเดียวกัน และ สันนิษฐานว่าอาจเป็นลูกหลานของมอญ โบราณสมัยวัฒนธรรมทวารวดีทย่ี งั หลงเหลือ อยู่ ในช่วงหนึง่ ภาษาญัฮกุรอยูใ่ นภาวะวิกฤต เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด ปัจจุบันมีการฟื้นฟู อนุรักษ์ เปิดเป็นวิชาเลือกในโรงเรียน และ เริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวที่เห็นคุณค่าของ กลุ่มชาติพันธุ์โบราณ รู้จักชาวญัฮกุรผ่านการท่องเที่ยว ปกติชาวญัฮกุรค่อนข้างเก็บตัว อาศัย อยู่ในป่าเขาริมขอบภาคอีสาน บริเวณเขา พังเหย จุดชมทิวทัศน์สุดแผ่นดิน ใน อุทยาน แห่งชาติป่าหินงาม และ บ้านนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ใน งานเทศกาล ท่องเที่ยวดอกกระเจียวงามจังหวัดชัยภูมิ อาจได้พบชาวญัฮกุรมาร่วมงานด้วยเช่นกัน

เรือมอันเร ของชาวไทยเชื้อสายเขมร

งานแสดงช้างและงานกาชาด จังหวัดสุรินทร์

29 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 29

3/10/11 10:30:56 AM


สิมวัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา

30 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 30

3/10/11 10:31:00 AM


ศิ ล ป วั ฒ น ธ ร ร ม 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 31

31

3/10/11 10:31:04 AM


ศิลปวัฒนธรรม

หน้าบัน วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ภาคอีสานได้ชื่อว่าเป็นอู่อารยธรรมที ่ สำคัญแห่งหนึง่ ของประเทศ ผูค้ นหลากหลาย เผ่าพันธุ์ ในดินแดนแห่งนี้ได้ร่วมกันสั่งสม มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็น จำนวนมาก ปรากฏในรูปของงานศิลปกรรม ทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และหัตถกรรม นอกจากนี้ ยังมีขนบธรรมเนียม ประเพณี อ ั น ดี ง ามที ่ ส ื บ สานกั น มาตั ้ ง แต่ บรรพบุรุษ

พระธาตุและธาตุสำคัญของอีสาน อีสานเป็นดินแดนที่ผู้คนยึดมั่นในพระพุทธ- ศาสนาอย่างหนียวแน่น จึงสามารถพบเห็นพระธาตุ ตั้งอยู่ทั่วไปในแทบทุกจังหวัด พระธาตุสำคัญ ที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปกรรมและเป็นศูนย์รวม จิตใจของผู้คนมีอยู่มากมาย เช่น พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพระธาตุ ที ่ ส ำคั ญ ที ่ ส ุ ด ของอี ส าน และเป็ น ต้ น แบบของ เจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมแบบล้านช้าง (ลาว) ลักษณะ พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นเจดีย์ฐานสูง ยอดทรงกรวยสี่เหลี่ยม ซึ่งส่ง อิทธิพลทางศิลปกรรมไปยังพระธาตุสำคัญหลายองค์ ในอีสาน พระธาตุเรณู จังหวัดนครพนม สร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๑ จำลองแบบมาจากพระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร เป็นพระธาตุ เก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมือ่ ใด องค์พระธาตุ เป็นเจดียท์ รงบัวเหลีย่ ม ก่ออิฐถือปูน สูง ๒๔ เมตร พระธาตุหนองสามหมื่น จังหวัดชัยภูมิ เป็นเจดีย ์ ทรงปราสาท ย่อมุม ก่ออิฐถือปูน ศิลปะพื้นเมือง ผสมกับศิลปะล้านช้าง (ลาว) และศิลปะล้านนา สูง พระธาตุเรณู จังหวัดนครพนม ๔๕.๓๐ เมตร พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย เป็น เจดียท์ รงบัวเหลีย่ ม ฐานเตีย้ องค์พระธาตุสงู ๑๙.๑๙ เมตร สร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ. ๒๑๐๓ เพือ่ เป็นสักขีพยาน ในความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) กับอาณาจักรอยุธยา ธาตุก่องข้าวน้อย จังหวัดยโสธร สร้างขึ้น ประมาณปลายสมัยอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ศิลปะผสมผสานระหว่างศิลปะล้านช้าง (ลาว) กับ ศิลปะล้านนา มีเรือ่ งเล่าเป็นนิทานพืน้ บ้านว่า ลูกชาย ได้พลั้งมือฆ่าแม่ด้วยอารมณ์โมโหหิวชั่ววูบ เมื่อ สำนึกผิดจึงสร้างเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร

ศิลปกรรม

สถาปัตยกรรม สามารถนับย้อนไปถึง สมัยวัฒนธรรมขอม ซึ่งทิ้งร่องรอยของ ปราสาทหินไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใน อีสานใต้ ปราสาทหินมีภูมิสถาปัตยกรรม หรือผังการออกแบบก่อสร้างค่อนข้างตายตัว มีทางเดินมุ่งสู่ปราสาทประธานซึ่งเป็นศูนย์ กลาง ส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีปราสาทบริวารและบรรณาลัย (ห้องเก็บ คัมภีร)์ เป็นอาคารประกอบ พร้อมกับบาราย

พระธาตุหนองสามหมื่น จังหวัดชัยภูมิ

พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย

ธาตุก่องข้าวน้อย จังหวัดยโสธร

32 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 32

3/10/11 10:31:26 AM


(อ่างเก็บน้ำในวัฒนธรรมขอม) วัสดุก่อสร้าง หลักคือหินทราย ศิลาแลง และอิฐ การเรียงอิฐ หรือหินใช้วิธีขัดเรียบจนสามารถวางเรียง ต่อกันได้แนบสนิท และใช้วิธียึดก้อนหิน โดยเจาะรูเสียบเหล็กรูปตัวไอ ( ) เพื่อความ มั่นคง ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมทีส่ ำคัญ เช่นทับหลัง เป็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางอยูบ่ นกรอบวงกบประตู ทำหน้าทีเ่ ป็นคาน รับน้ำหนัก สลักภาพสวยงามและมีคณ ุ ค่าต่อ การศึกษาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ เช่น ทับหลังรูป พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ ปราสาทพนมรุง้ จังหวัดบุรีรัมย์ หรือหน้าบัน เสากรอบประตู ทีม่ กั มีการแกะสลักลวดลายงดงามเช่นเดียว กับทับหลัง บางแห่งพบจารึกบอกเล่าเรื่อง การสร้างปราสาท เช่นที่ ปราสาทภูมิโปน จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ปราสาทดังกล่าวข้างต้น เดิมสร้างขึ้น เนื ่ อ งในศาสนาฮิ นดูไศวนิกาย ภายหลัง เมื่อขอมเสื่อมอำนาจ หลายแห่งก่อสร้าง เพิ่มเติมหรือดัดแปลงเป็นวัดในพระพุทธ- ศาสนาตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง (ลาว) ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาว อีสาน ได้แก่ ธาตุ พระธาตุ และสิม (โบสถ์) ชาวอีสานนิยมเรียก สถูป เจดีย์หรือสิ่ง ก่อสร้างที่ใช้บรรจุอัฐิธาตุของผู้ตายว่า ธาตุ ส่วนคำว่า พระธาตุ จะใช้เรียกเฉพาะเจดีย์ที่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตธาตุเท่านั้น สิ ม ในภาษาอี ส านหมายถึ ง โบสถ์ กร่อนเสียงจากคำว่า สีมา หมายถึงขอบเขต สิมวัดสระทอง (บ้านบัว) จังหวัดขอนแก่น

สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนา สิมของชาวอีสานมีลกั ษณะ เฉพาะตัวไม่เหมือนทีใ่ ด จุดเด่นคือมักมีขนาด เล็ก กะทัดรัด รูปทรงเรียบง่าย ได้สัดส่วน ลงตัว ใช้วสั ดุพน้ื บ้าน และมีการประดับตกแต่ง พอควร ไม่มากไม่น้อย ทั้งหมดนี้สะท้อนให้ เห็นถึงลักษณะนิสัยสมถะ และเปี่ยมด้วย

ความสามารถเชิงช่างของชาวอีสาน สิมอีสานมีทั้งสิมบกและสิมน้ำ (เดิม สร้ า งบนแพ ต่ อ มาสร้ า งสิ ม แล้ ว ขุ ด สระ โดยรอบ ปัจจุบันมีเหลือน้อยมาก) สิมบก มี ๒ ประเภท คือ สิมโปร่ง (สิมโถง) และ สิมทึบ ใช้วัสดุเช่นไม้ ดินดิบ และดินจี่ (ดินเผาหรืออิฐ)

สิมอีสาน สิมวัดแจ้ง จังหวัดอุบลราชธานี สิม (โบสถ์) พื้นบ้านอีสานจำนวนมากมีสภาพชำรุด ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา บ้างถูกรือ้ ทิง้ เพือ่ สร้างใหม่เป็น อุโบสถแบบภาคกลาง แต่ก็มีสิมพื้นบ้านจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงได้รับการบูรณะและดูแลจนอยู่ในสภาพดี เช่น สิม วัดสระทอง (บ้านบัว) จังหวัดขอนแก่น ซึง่ ได้รบั รางวัลด้าน การอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมแห่งเอเชียและแปซิฟิก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ (2002 UNESCO Asia - Pacific Heritage Award of Merit) จากองค์การการศึกษา วิ ท ยาศาสตร์ และวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ ห รื อ ยูเนสโก (UNESCO) สิมวัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น เป็นสิมทึบ มีทางเข้าออกด้านเดียว และมีฮูบแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังซึ่งสะท้อนวิถีชีวิต ของชาวอีสาน เช่นเดียวกับ สิมวัดสระบัวแก้ว ในจังหวัดขอนแก่นเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี สิมวัดศรีฐาน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นสิมทึบก่ออิฐถือปูน ศิลปะพืน้ บ้านบริสทุ ธิ์ สิมวัดกุดชุมใน จังหวัด ยโสธร เป็นสิมทึบสร้างด้วยไม้ ลวดลายประดับตกแต่งสวยงามแปลกตา สิมวัดศรีชัยราช จังหวัด ศรีสะเกษ เป็นสิมโปร่ง ก่ออิฐด้านหน้าและครึ่งหนึ่งของด้านข้างเปิดโล่ง สิมวัดวุฒวิ ราราม จังหวัดนครพนม เป็นสิมทึบ ศิลปะพืน้ บ้านผสมศิลปะญวน มีการก่ออิฐรูปโค้ง ตามประตูหน้าต่างแสดงอิทธิพลศิลปะยุคอาณานิคม สิมวัดพระเหลาเทพนิมติ จังหวัดอำนาจเจริญ มีรปู ทรงองค์ประกอบทีส่ มส่วน มีลวดลายพรรณพฤกษา ประดับตามส่วนต่างๆ ของสิมอย่างงดงาม บูรณะซ่อมแซมเรื่อยมาจนอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทั้งหลัง สิมวัดแจ้ง จังหวัดอุบลราชธานี รูปทรง เรียบง่าย ฝีมือประณีต จัดเป็นสิมอีสานที่สวยงามลงตัวที่สุดแห่งหนึ่ง

33 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 33

3/10/11 10:31:38 AM


ประติมากรรม มีทง้ั ทีเ่ ป็นภาพบุคคล เช่น ที่ ผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ แต่สว่ นใหญ่ เป็นพระพุทธรูปมีทั้งที่เป็นศิลปะพื้นเมือง และศิลปะล้านช้าง (ลาว) ประดิษฐานอยูต่ าม วัดวาอารามต่างๆ ทั่วทั้งภาคอีสาน ปั้นหรือ แกะสลักเป็นประติมากรรมลอยตัว จากไม้หรือ หินทรายเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก เช่น พระพุทธรูปหินทรายในสิมวัดไชยศรี จังหวัด ขอนแก่น หรือก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริม เหล็ก เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระ มงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ บางส่วน เป็นประติมากรรมนูนต่ำ แกะสลักบนเพิงผา เช่น พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่ภูค่าว จังหวัด กาฬสินธุ์ รวมถึงใบเสมาที่สลักภาพหรือ ลวดลายพรรณพฤกษาเช่ น ที ่ พ บในเมื อ ง โบราณฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ บางส่วนถูกนำไปจัดแสดงทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถาน

ประติมากรรมพระพุทธรูปอีสาน ประติมากรรมพระพุทธรูปอีสาน เกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ สมัยวัฒนธรรมทวารวดี มีการแกะสลักบนเพิงผาหิน ต่อมาจึงสลัก ก้อนหินทรายเป็นพระพุทธรูปลอยตัวฝีมอื ชาวบ้าน ภายหลังได้รบั อิทธิพลศิลปะล้านช้าง (ลาว) หรืออิทธิพลจากภาคกลางของไทย ช่างแกะสลักหรือช่างปั้นได้ออกแบบอย่างมีหลักเกณฑ์และเพิ่ม ความประณีตวิจติ รแตกต่างไปจากเดิม ซึง่ เป็นศิลปะท้องถิน่ และ มีจติ วิญญาณชาวอีสานแตกต่างกันไปตามยุค โดยทีใ่ นสมัยหลัง เน้นที่ความสูงหรือความใหญ่โตมองเห็นได้ ในระยะไกล พระพุทธรูปอีสานมีทง้ั ทีส่ ร้างเป็นปางมารวิชยั ปางไสยาสน์ และปางประทานพร

แห่งชาติขอนแก่น จิตรกรรม งานจิตรกรรมโบราณของ ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง กับพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับงานศิลป- กรรมแขนงอืน่ ๆ โดยพบภายในอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ ของวัดต่างๆ ชาวอีสานเรียก

พระเหลาเทพนิมิต จังหวัดอำนาจเจริญ

จิตรกรรมฝาผนังว่า ฮูบแต้ม ส่วนใหญ่เขียน จากสีฝุ่น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และชาดก โดยมักสอดแทรกคติความเชื่อ พื้นเมือง หรือวิถีชีวิตของชาวบ้านลงภายใน ภาพด้วย

ฮูบแต้มในอีสาน แหล่งจิตรกรรมฝาผนัง หรือ ฮูบแต้ม ในอีสาน ทีท่ รงคุณค่าทางศิลปกรรมและยังอยูใ่ นสภาพดีมอี ยูเ่ ป็นจำนวนมาก เช่น ฮูบแต้มบนผนังสิม (โบสถ์) ที่ วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น เป็นภาพนิทานพื้นบ้านเรื่อง สินไซ (สังข์ศิลป์ชัย) และชาดกเรื่อง พระเวสสันดร เขียนเต็มผนังทุกซอกมุม ภาพเต็มไปด้วย ชีวิตชีวาและจิตวิญญาณของชาวอีสาน เช่นเดียวกับ วัดสระบัวแก้ว จังหวัดขอนแก่น เป็นภาพจากเรื่อง พะลัก พะลาม (พระลักษมณ์ พระราม) และ วัดสระทอง (บ้านบัว) จังหวัดขอนแก่นเช่นกัน นอกจากนีย้ งั มีฮบู แต้มบนผนังสิมที่ วัดจักรวาฬภูมพิ นิ จิ (วัดหนองหมืน่ ถ่าน) จังหวัดร้อยเอ็ด มีฮบู แต้มอยูบ่ ริเวณด้านนอกและด้านในสิม เป็นลายเส้น แบบพืน้ บ้าน ด้านนอกเป็นภาพพุทธประวัตติ อนมารผจญ ภาพพระพุทธองค์ขณะปลงพระเกศา มีพระอินทร์มารับนำไปประดิษฐานยังพระจุฬามณี และภาพ นรก สวรรค์ ด้านในเป็นวรรณคดีพน้ื บ้านเรือ่ ง สินไซ (สังข์ศลิ ป์ชยั ) วัดไตรภูมคิ ณาจารย์ จังหวัดร้อยเอ็ด มีฮบู แต้มบนผนังสิมด้านใน อายุประมาณ ๑๐๐ ปี เขียนเรื่องพุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ ตอนมารวิชัย และตอนปฐมเทศนา การเขียนลายเส้น ให้สี และการถ่ายทอดลักษณะท่าทางของ ตัวละคร ได้สัดส่วนประณีตบรรจงมาก ฮบู แต้มบนผนังสิม วัดหน้าพระธาตุ หรือ วัดตะคุ จังหวัดนครราชสีมา อยู่เหนือประตูด้านนอก และผนังด้านในทั้ง ๔ ด้านของสิม สันนิษฐาน ว่าน่าจะเขียนขึ้นประมาณปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีทง้ั ภาพพุทธประวัตติ อนมารผจญ ภาพพระจุฬามณีบนสวรรค์ ชัน้ ดาวดึงส์ ภาพทศชาติชาดก ภาพการสักการะรอยพระพุทธบาท เป็นต้น ที่สำคัญคือมีการสอดแทรกภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เช่น การทำนา หาปลา ค้าขาย เล่นว่าว ตีไก่ และภาพกามวิสยั ซึง่ เขียนได้อย่างมี ชีวติ ชีวา ได้รบั การยกย่องว่าเป็นฮูบแต้มทีง่ ดงามทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของอีสาน ฮูบแต้มบนผนังสิมหรือโบสถ์อีสาน เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว ที่สามารถใช้ศึกษาสภาพสังคม รวมทั้งการแต่งกายของผู้คนในอดีตได้ เป็นอย่างดี ฮูบแต้มวัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา

34 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 34

3/10/11 10:31:46 AM


หัตถกรรม ชาวอีสานได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มี ฝีไม้ลายมือเชิงหัตถกรรมอยู่ในสายเลือด งานหัตถกรรมส่วนใหญ่เกิดจากภูมิปัญญา บรรพบุรษุ ทีส่ ง่ ต่อจากรุน่ สูร่ นุ่ ทัง้ การหล่อโลหะ การทำเครื่องปั้นดินเผา และการทอผ้า ซึ่ง สร้างชือ่ เสียงให้แก่ชาวอีสานมากทีส่ ดุ เดิมที ชาวบ้านทำงานหัตถกรรมเหล่านี้ยามว่าง จากงานในไร่นาเพือ่ ไว้ ใช้ ในครัวเรือน ต่อมา จึงเริ่มจำหน่ายเป็นรายได้เสริม โดยเฉพาะ เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงฟืน้ ฟู สนับสนุน และส่งเสริมผ้าทอมือ อนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิม ผ่านโครงการซึ่ง ช่างทอผ้าบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม ต่ อ มาขึ ้ น กั บ มู ล นิ ธ ิ ส ่ ง เสริ ม ศิ ล ปาชี พ ฯ จากนั้นภาครัฐจึงได้เข้าส่งเสริมด้านเทคนิค มาผลิตเพื่อขาย โดยมีการพัฒนารูปแบบ ทั้งการสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษและการ เงินทุน และการตลาด หลายหมูบ่ า้ นจึงเปลีย่ น ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ถือเป็น สร้างงานสร้างรายได้ ให้ครอบครัว แหล่งผลิตงานหัตถกรรมอีสาน แหล่งผลิตงานหัตถกรรมชั้นเลิศของอีสานมีกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ ได้แก่ ผ้าทอมือ ทีข่ น้ึ ชือ่ เช่น ผ้าไหมมัดหมีข่ องชาวอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ถือเป็น แหล่งผลิตทอผ้าไหมทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ของภาคอีสาน ผ้าเขมรของชาวเขมรถิน่ ไทย (ชาวไทย เชือ้ สายเขมร) ในจังหวัดสุรนิ ทร์ เอกลักษณ์ คือ ผ้าปูม ผ้าโฮล และ ผ้าอัมปรม ผ้าแต่ละ ชนิดยังคงอนุรักษ์ลวดลายและขั้นตอนการทอแบบดั้งเดิม ทอด้วยไหมเนื้อละเอียด สีสันกลมกลืน ลวดลายงดงาม ฝีมือประณีต ผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไท อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทอด้วยวิธีจกผสมขิด เดิมนิยมสีแดงก่ำ ปัจจุบันพัฒนาหลากหลาย ตามความต้องการของตลาด เช่น สีครีม สีชมพูอ่อน สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว ฯลฯ กลุ่มทอผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนี้ หลายจังหวัดได้พฒ ั นาลายผ้าขึน้ ใหม่ เช่น ลายดอกกระเจียว จังหวัดชัยภูมิ ฯลฯ เครือ่ งปัน้ ดินเผา เช่น หมูบ่ า้ นด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะพิเศษ คือดิน ที่นำมาปั้นเป็นดินที่มีแร่เหล็กผสมอยู่ เมื่อนำมาทำเครื่องปั้นดินเผาจะได้เนื้อภาชนะสีแดง น้ำตาล และน้ำตาลแดง ผิวมันวาวสวยงามเหมือนโลหะ เมื่อเคาะจะมีเสียงใสก้องกังวานเหมือนเคาะระฆัง แตกต่างจากดินเผาจากที่อื่นๆ ถือเป็นดินพิเศษที่ธรรมชาติมอบแก่ชาวบ้านด่านเกวียน นอกจากนี้ ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ยังได้ฟื้นฟูลวดลายประกอบงานปั้นที่มีเอกลักษณ์คือ ลายเชือกทาบ จนเป็น สินค้าส่วนหนึ่งของชุมชนในปัจจุบัน งานหล่อโลหะ เช่น งานทำเครือ่ งทองเหลือง บ้านปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ทำเป็นเครื่องใช้หลากหลายรูปแบบ เช่น ผอบ เต้าปูน ลูกกระพรวน กระดิ่ง เชี่ยนหมาก หัวไม้เท้า ฯลฯ ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ โดยอนุรักษ์กรรมวิธีดั้งเดิม และ การทำประเกือมหรือลูกประคำ ของชาวบ้านโชค อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรนิ ทร์ เป็นลูกประคำเงินนำมาร้อยเป็นสร้อยคอ กำไล ต่างหู กระดุม เข็มกลัด ฯลฯ ลักษณะเด่นคือความละเอียดประณีตและทำด้วยมือทุกขั้นตอน เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน งานจักสาน เครือ่ งดนตรีพน้ื บ้าน และงานไม้ เช่น กระติบข้าว ทีจ่ งั หวัดยโสธร และจังหวัดหนองคาย พิณ แคน โหวด ที่จังหวัดนครพนม และเกวียนบ้านนาสะไมย์ จังหวัดยโสธร ฯลฯ

35 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 35

3/10/11 10:31:52 AM


วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของชาวอีสานผูกพันแน่นแฟ้น อยูก่ บั พระพุทธศาสนา ผสมผสานกับความเชือ่ ดั ้ ง เดิ ม เรื ่ อ งไสยศาสตร์ แ ละการนั บ ถื อ ผี วัฒนธรรมที่เด่นชัดที่สุดสะท้อนออกมาใน รูปของประเพณี ฮีตสิบสอง คำว่า ฮีต เป็น ภาษาอีสาน หมายถึง จารีต ส่วน สิบสอง คือ เดือนทั้ง ๑๒ ในรอบปี พุทธศาสนิกชนชาว อีสานทั้งหลาย จะมีงานบุญประจำเดือนที ่ แตกต่างกันไปทุกเดือน เป็นประเพณีปฏิบัต ิ ทีม่ มี าตัง้ แต่บรรพบุรษุ ใครฝ่าฝืนถือว่า ผิดฮีต จะถูกตั้งข้อรังเกียจจากสังคม โดยการนับ เดือนจะนับแบบจันทรคติ เริ่มที่เดือนอ้าย ประมาณปลายเดือนธันวาคม ฮีตสิบสอง มักเอ่ยคู่กับคองสิบสี่ ซึ่งหมายถึงแนวทาง ปฏิบัติของคนในครอบครัวจนถึงผู้ปกครอง บ้านเมือง เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ประเพณีฮตี สิบสอง ประกอบด้วย เดือน อ้าย บุญเข้ากรรม พระภิกษุจะต้องเข้าไปอยู ่ ในที่จำกัดเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์จากการ ต้องอาบัติ เดือนยี่ บุญคูนลาน เป็นพิธ ี สู่ขวัญข้าวบนลานนวดข้าว เพื่อความเป็น สิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์ เดือนสาม บุญข้าวจี่ นำอาหารคาวหวาน และข้าวจี่ ทีท่ ำ จากข้าวเหนียวนึ่ง ทาเกลือและไข่ไก่นำไป จี่ หรือย่างไฟให้สกุ นำไปถวายพระ ในเดือน เดียวกันนี้จะมีงานบุญมาฆบูชาด้วย

เดือนสี่ บุญผะเหวด (บุญพระเวสหรือ บุญมหาชาติ) ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกให้จบภายใน วันเดียว เดือนห้า บุญสงกรานต์ สรงน้ำ พระพุทธรูปเนือ่ งในวันปีใหม่ไทย และทำบุญ อุทศิ ส่วนกุศลให้ผลู้ ว่ งลับ เดือนหก บุญบัง้ ไฟ จุดบัง้ ไฟเพือ่ ขอฝนและบูชาอารักษ์หลักเมือง เดือนเจ็ด บุญซำฮะ (บุญชำระ) ทำบุญ บูชาสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิป์ ระจำบ้านประจำเมือง เพือ่ ชำระล้างความอัปมงคล เดือนแปด บุญเข้า พรรษา ทำบุญถวายปัจจัยข้าวของเครื่องใช้ และเทียนพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ เดือนเก้า

งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม

งานบุญคูนลาน จังหวัดอำนาจเจริญ

งานแข่งเรือยาวประเพณีราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

บุญข้าวประดับดิน ทำบุญอุทศิ ส่วนกุศลให้ผ ี (เปรต) ไม่มีญาติ เดือนสิบ บุญข้าวสาก (สลากภัต) ทำบุญ อุทศิ ให้ผอี กี ครัง้ และนำข้าวเปลือกข้าวเหนียว มาคั่วให้แตก แล้วเคี่ยวกับน้ำตาลอ้อย ห่อ ใบตองวางไว้ตามโคนไม้ ในวัดเพื่ออุทิศให้ ผู้ล่วงลับ เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ตักบาตรเทโว กวนข้าวทิพย์ แห่ปราสาทผึ้ง รวมทั้งงานไหลเรือไฟ ซึ่งเป็นงานใหญ่ของ ภาคอีสาน และ เดือนสิบสอง บุญกฐิน ทำบุญ และถวายผ้ากฐินแด่ภิกษุสงฆ์ ประเพณีตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน แต่เดิมต่างกลุม่ ต่างคุม้ วัดจะจัดกันเองภายใน ชุมชน ต่อมามีการส่งเสริมจากภาครัฐ หลาย ประเพณีจึงขยายตัวกลายเป็นงานประเพณี สำคัญประจำปีของจังหวัด เป็นที่สนใจของ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ นอกจากนี้ชาวอีสานยังมี ประเพณีการ แข่งเรือยาว เป็นวิถีชีวิตแสดงถึงความรู้คุณ ในสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ป่ี กป้องสายน้ำและแสดงถึง วิสยั รักการประลองเพือ่ ความสนุกสนานและ สามัคคี การแข่งเรือยาวในอดีต เกิดขึ้นตาม ฤดูกาลคือฤดูน้ำหลาก ส่วนการแข่งเรือยาว ปัจจุบนั ได้มกี ารจัดสรรเวลาให้สามารถแข่ง และชมกันได้อย่างต่อเนื่อง นับแต่ต้นไปจน ปลายฤดูนำ้ หลาก ประมาณเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ในลำน้ำทีไ่ หลผ่านจังหวัดต่างๆ เช่น ลำเซบาย ลำน้ำมูน ลำน้ำโขง ลำน้ำชี จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี ลำน้ ำ มู น จั ง หวั ด ศรีสะเกษ ลำน้ำโขง จังหวัดอำนาจเจริญ และ ลำน้ำชี จังหวัดยโสธร

36 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 36

3/10/11 10:32:01 AM


เทศกาลงานประเพณีในอีสาน เทศกาลงานประเพณีในอีสาน ในอดีตมีต้นเค้ามาจากประเพณีที่ยึดถือฮีตสิบสองในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะ งานบุญสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาที่ชาวอีสาน ซึง่ จากบ้านไปทำงานแดนไกลต่างพากันกลับบ้านเพือ่ ร่วมทำบุญขึน้ ปีใหม่ สรงน้ำพระพุทธรูป พระภิกษุ รดน้ำขอพรจากบิดามารดา และเล่นสาดน้ำกันทัง้ ในเมือง ตามท้องถนนและอ่างเก็บน้ำเขือ่ นต่างๆ เป็นงานทีน่ กั ท่องเทีย่ วจะได้สมั ผัส ความเป็นอีสาน อย่างแท้จริง บางจังหวัดจะมีเพือ่ นบ้านจากสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) ข้ามลำน้ำโขงมาร่วมงาน เช่นที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดหนองคาย นอกจากนี้ ยังมีงานประเพณีเพื่อการท่องเที่ยวซึ่งมีพื้นฐาน จากวิถีชีวิตดั้งเดิม ส่งเสริมให้เป็นงานระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ ได้แก่ งานบุญผะเหวดร้อยเอ็ด หรือบุญเดือนสี่ จัดขึน้ ระหว่างวันเสาร์ - อาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด และบึงพลาญชัย กลางเมืองร้อยเอ็ด ในงานมีขบวนแห่เวสสันดร ๑๓ ขบวน ตามกัณฑ์เทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ จากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด และการ ฟังเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ ให้จบภายในวันเดียว นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงข้าวปุ้น (ขนมจีน) ตลอดงาน งานประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร หรือบุญเดือนหก จัดขึ้นในวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคม ที ่สวนสาธารณะพญาแถน เทศบาลเมืองยโสธร ชาวบ้านจะประดิษฐ์บั้งไฟอย่างสวยงามเข้าขบวนแห่ และ งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร ส่วนหนึ่งสร้างเป็นบั้งไฟที่สามารถจุดยิงขึ้นฟ้าบูชาพญาแถน ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทวดาผู้ดลบันดาลให้เกิดฝนตก งานแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี หรือบุญเดือนแปด เป็นงานบุญมีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งของอีสาน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ซึ่งเป็นช่วงวันเข้าพรรษา ณ ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดจะนำเทียนพรรษาที่บรรจงแกะสลักลวดลายเป็น เรื่องราวต่างๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา มาเข้าร่วมขบวนแห่ไป ทั่วเมือง มีวงดนตรีพื้นเมืองและฟ้อนรำนำหน้า เป็นที่ครึกครื้นไปทั่วทั้งเมือง งานประเพณีแห่ปราสาทผึง้ จังหวัดสกลนคร จัดขึน้ ในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึน้ ๑๒ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง (ประมาณเดือนตุลาคม) ของทุกปี ในช่วงกลางคืนของวันขึน้ ๑๓ ค่ำ ก่อนวันแห่ปราสาทผึง้ ชาวคุม้ ต่างๆ จะนำ จังหวัดสกลนคร ปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงามประดับโคมไฟหลากสีมาประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมือง งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม จัดขึ้นริมลำน้ำโขงบริเวณเขื่อนหน้าเมืองและตลาด อินโดจีน อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และช่วงเทศกาลออกพรรษา ประเพณีไหลเรือไฟมีความสัมพันธ์กับน้ำ และไฟเป็นสำคัญ ด้วยเชื่อว่าไฟจะเผาผลาญความชั่วร้าย ขจัดปัดเป่าความทุกข์ ส่วนการบูชาน้ำจะช่วยนำพาความอุดมสมบูรณ์และความร่มเย็น ในวันดังกล่าว ชาวบ้านจะนำโครงไม้ ไผ่ติดตั้งบนเรือหรือทุ่นขนาดใหญ่ ผูกตะเกียงน้ำมันกับโครงไม้ ไผ่เป็นภาพแสดง เรื่องราวต่างๆ ตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อถึงกลางคืน จะจุดตะเกียงแล้วปล่อยเรือไฟไหลไปตามลำน้ำ เป็นค่ำคืนที่ลำน้ำโขงดารดาษไปด้วยแสงจากตะเกียงนับหมื่นดวง ภาคอีสาน ยังมีเทศกาลงานประเพณีทอ้ งถิน่ อีกจำนวนมากตลอดทัง้ ปี ได้แก่ งานทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับพระพุทธศาสนา เช่น งานนมัสการพระธาตุ จังหวัดนครพนม จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดเลย งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก จังหวัดยโสธร งานของชุมชนคาทอลิก เช่น งานเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส สกลนคร งานประเพณีตามฮีตสิบสอง เช่น งานออกพรรษา (ตีคลีลูกไฟ) จังหวัดชัยภูมิ งานบั้งไฟล้าน ตำนานม้าคำไหล จังหวัดอุดรธานี งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย งานประเพณีบญ ุ ข้าวจีข่ องดีเมืองโพธิช์ ยั จังหวัดร้อยเอ็ด งานบุญคูนลาน สูข่ วัญข้าว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด งานประเพณี บุญคูนลาน อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ งานบางประเภทได้รบั การส่งเสริมให้เกิดขึน้ ใหม่ ได้แก่ งานตามฤดูกาลไม้ดอกไม้ผล เช่น งานเทศกาลดอกคูน เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น งานเทศกาลเงาะ ทุเรียนของดีศรีสะเกษ งานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ จังหวัดสุรินทร์ งานเทศกาลเทีย่ วหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปูข่ าว จังหวัด หนองบัวลำภู งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย จังหวัดเลย งานไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ฯลฯ งานที่เกี่ยวกับอาหาร เช่นที ่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสกลนคร และจังหวัดอุดรธานี ซึ่งต่างมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายมีตำรับอาหารเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกันไป งานประเพณีอื่นๆ เช่น งานแสดงช้างและงานกาชาด จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีชื่อเสียงยิ่งในอดีต งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด จังหวัดขอนแก่น งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และงานกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์ งานมรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ตลอดจน งานพิธีบวงสรวงองมู้ จังหวัดนครพนมของชาวแสก และ ประเพณีรำผีฟ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาวอีสานด้วยเช่นกัน

บทสรุป

ภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียง เหนื อ ของไทย เป็ น ดิ น แดนที ่ ร ่ ำ รวยทั ้ ง มรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ภาครัฐได้พยายาม พัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านี้ ด้วย

การปรับปรุงสร้างเสริมโครงสร้างพื้นฐาน ทัง้ ถนนหนทาง รถไฟ สนามบิน จุดบริการนัก ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านค้า ฯลฯ เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่นกั ท่องเทีย่ ว ควบคูก่ บั การ อนุรกั ษ์ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรธรรมชาติ โบราณวัตถุ โบราณสถาน และศิลปวัฒนธรรม

ให้มคี วามยัง่ ยืนสืบต่อไปในอนาคต โดยชุมชน ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ต่างให้ความร่วมมือเป็น อย่างดี ด้วยตระหนักว่าประโยชน์ทไ่ี ด้ไม่เพียง ตกอยูก่ บั ชุมชนของตน แต่ยงั หมายถึงเศรษฐกิจ โดยรวมของอีสานและของประเทศที่ดีขึ้น จากการท่องเที่ยวอีกด้วย

37 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 37

3/10/11 10:32:08 AM


บรรณานุกรม กรมทรัพยากรธรณี. ทำเนียบซากดึกดำบรรพ์ไทย นามยกย่องบุคคล. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๙. . ธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณีในประเทศไทย เอกสารประกอบภาพ ชุดที่ ๑. กรุงเทพฯ : กองธรณีวิทยา, ๒๕๔๔. . ธรณีวิทยาในประเทศไทย ฉบับปี ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย. . ธรณีวิทยาประเทศไทย. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐. . มรดกธรรมชาติทางธรณีวิทยาประเทศไทย. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๔. . แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา เอกสารประกอบภาพ ชุดที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักธรณีวิทยา, ๒๕๔๗. กรมศิลปากร, กองโบราณคดี. ศิลปะถ้ำสกลนคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๒. . กองโบราณคดี. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในอีสานบน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๓. . กองโบราณคดี. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในอีสานล่าง. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๓. . กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. . กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. . กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ก เล่ม ๑ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๐. . กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ก เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. . กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ข. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. . สำนักโบราณคดี. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๐. . ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๔๒. . อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ฉ ช ซ. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๖. . อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ฌ ญ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๘. . อดีตอีสาน. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๑. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ที่สุดอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๗. กระทรวงมหาดไทย. บันทึกนักปกครอง ๒๕๕๒. กรุงเทพฯ : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๑. . มหาดไทยชวนรู้ ๒๕๕๒. กรุงเทพฯ : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๑. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ๑๐๐ หมู่บ้านอีสานน่าเที่ยว. ๒๕๕๑. . คู่มือกิจกรรม เทศกาล งานประเพณี ประจำปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๒. . งานเทศกาลประเพณีที่น่าสนใจทางการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๓. . ชุมชนดีเด่นด้านการท่องเที่ยว ประจำปี ๒๕๕๐. . รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report) การศึกษาเทศกาลงานประเพณีไทยเพื่อการตลาดท่องเที่ยว ส่วนที่ ๑ ผลการศึกษาและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒. . รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report) การศึกษาเทศกาลงานประเพณีไทยเพื่อการตลาดท่องเที่ยว ส่วนที่ ๒ ประวัติเทศกาลงานประเพณีไทยทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒. . Thailand Salutes our Tourism Roll of Honour.

38 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 38

3/10/11 10:32:08 AM


คริปส์, ฟรานซิส. สภาพอีสาน.. แปลโดย “ตุลจันทร์”. กรุงเทพฯ : บริษัท ออฟเซ็ท จำกัด, ๒๕๕๑. คำพูน บุญทวี. ลูกอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เยลโล่การพิมพ์ (1998) จำกัด, ๒๕๔๕. โครงการ “เปิดทองหลังพระ - ท่องเทีย่ วสืบสานโครงการพระราชดำริ”. เปิดทองหลังพระ ท่องเทีย่ วสืบสานโครงการพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : บริษัท แอร์บอร์น พรินต์ จำกัด, ม.ป.ป. โครงการความร่วมมือมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสหวิทยาลัยอีสาน (๒๕๓๒). พจนานุกรมอีสาน - กลาง ฉบับ มข. - สวอ. . ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท, ๒๕๓๒. โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๘. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดีย สแควร์, ๒๕๔๖. ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์, วิไลรัตน์ ยังรอด. คู่มือท่องเที่ยวเรียนรู้ ปราสาทหินพิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๐. ธิดา สาระยา. รัฐโบราณในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : กำเนิดและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๓๗. นพวัฒน์ สมพื้น. งานช่างศิลปกรรมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัท ประชาชน จำกัด, ๒๕๔๒. บันทึกสิ่งแวดล้อมป่าเขตร้อน. กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ข่าวสด, ๔ กรกฎาคม, ๒๕๕๑. ประพิศ พงศ์มาศ. “ซากดึกดำบรรพ์ ในประเทศไทย,” นิตยสารศิลปากร. ๕๐ (๖) : ๒๗ - ๕๓. พิริยะ ไกรฤกษ์. ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, ๒๕๓๓. มณเฑียร ศุภลักษณ์. รอยพระพุทธบาทในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๔๑. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สังคมและวัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๙. ยงยุทธ บุราสิทธิ์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทย : โส้. กรุงเทพฯ : บริษัท เอกพิมพ์ไทย จำกัด, ๒๕๕๑. รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในมหามงคล เฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๓๐. จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๑ - ๕. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์, ๒๕๓๐. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด, ๒๕๔๖. . หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพฯ : หจก. อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๖ รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๑. ฤดีรัตน์ กายราศ. ปกิณกคดีวิถีไทยในเรื่องบัว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๑. วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรม หัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๘. . สารานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๕๐. . ผ้าไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๓๑. วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. ฮีตสิบสอง. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๘.

39 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 39

3/10/11 10:32:08 AM


วิโรฒ ศรีสุโร. ธาตุอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เมฆาเพรส จำกัด, ๒๕๓๙. . สิมอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เมฆาเพรส จำกัด, ๒๕๓๖. วีระพงศ์ มีสถาน. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทย : กะเลิง. กรุงเทพฯ : บริษัท เอกพิมพ์ไทย จำกัด, ๒๕๔๘. ศรีศักร วัลลิโภดม. สยามประเทศ ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแห่งราชอาณาจักรสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๓๙. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๗. สมใจ ดำรงสกุล. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์ เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษทั สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. ธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ. กรุงเทพฯ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๓๘. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ปฏิทินศาสนา ๒๕๕๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๑. สำนักงานวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. สารานุกรมชนชาติกูย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เนื่องในมหาวโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๘. นครปฐม : โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัย มหิดล, ๒๕๓๘. สำนักพิมพ์เมืองโบราณ. ภาพถ่ายทางอากาศ ๗ ปราสาทหิน มหัศจรรย์แห่งอีสาน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๒. สุมาลี เอกชนนิยม. ฮูบแต้มในสิมอีสาน งานศิลป์สองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๘. สุรพล ดำริห์กุล. แผ่นดินอีสาน. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๙. สุวิไล เปรมศรีรัตน์. “สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทย กับความหลากหลายทางชาติพันธุ์,” วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ๒๕ (๒) : กรกฎาคม - ธันวาคม, ๒๕๔๙. . และคณะ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย (Ethnolinguistic Maps of Thailand). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๗. โสภนา ศรีจำปา. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทย : เวียดนาม. กรุงเทพฯ : บริษัท เอกพิมพ์ไทย จำกัด, ๒๕๔๘. อภิญญา บัวสรวง, สุวิไล เปรมศรีรัตน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ญัฮกุ้ร. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เนื่องในมหาวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๑. อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์. นำเที่ยว ๗ ปราสาทหินแห่งอีสานใต้. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๖. อูท่ อง ประศาสน์วนิ จิ ฉัย. ซ่อนไว้ ในสิม : ก - อ ในชีวติ อีสาน Hidden Treasures. กรุงเทพฯ : บริษทั โฟคัลอิมเมจ พริน้ ติง้ กร๊ปุ จำกัด, ๒๕๕๑. Boonsong Lekagul and Philip D. Round. A guide to the Birds of Thailand. Bangkok : Darnsutha Press, 2005.

40 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 40

3/10/11 10:32:08 AM


เว็บไซต์ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (www.dmr.go.th) กรมศิลปากร (www.finearts.go.th) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (www.dnp.go.th) กระทรวงวัฒนธรรม (www.m-culture.go.th) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (www.sac.or.th) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล (www.lc.mahidol.ac.th) องค์การบริหารส่วนตำบล กระทรวงมหาดไทย (www.local.moi.go.th)

41 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 41

3/10/11 10:32:08 AM


โครงการจัดทำหนังสือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวไทย ชุดภาคอีสาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ คณะกรรมการอำนวยการ

๑ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๒ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศ ๓ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ๔ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ๕ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ๖ รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว ๗ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ๘ ที่ปรึกษา ๑๐ ๙ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ๑๐ อธิบดีกรมศิลปากร ๑๑ อธิบดีกรมการศาสนา ๑๒ อธิบดีกรมชลประทาน ๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๑๔ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ๑๕ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ๑๖ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๑๗ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑๘ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๑๙ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว

ค ณะกรรมการดำเนินงาน ๑ รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว ๒ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ๓ ผู้แทนกรมศิลปากร ๔ ผู้แทนกรมการศาสนา ๕ ผู้แทนกรมชลประทาน ๖ ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๗ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๘ ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ๙ ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ๑๐ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๑๑ นางสาวรำไพพรรณ แก้วสุริยะ

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

42 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 42

3/10/11 10:32:09 AM


๑๒ นายวิษณุ เอมประณีตร์ ๑๓ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรม ๑๔ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการการตลาด ๑๕ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ ๑๖ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง ๑๗ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ ๑๘ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒๐ ผู้อำนวยการกองเผยแพร่ตลาดในประเทศ ๒๑ ผู้อำนวยการกองข่าวสารท่องเที่ยว ๒๒ ผู้อำนวยการกองวารสาร ๒๓ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ในประเทศ ๒๔ ผู้อำนวยการกองผลิตอุปกรณ์เผยแพร่ ๒๕ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการการตลาด ๒๖ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดซื้อจัดจ้าง ๒๗ ผู้อำนวยการกองกฎหมายและระเบียบ ๒๘ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว ๒๙ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ๓๐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว ๓๑ ผู้อำนวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

43 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 43

3/10/11 10:32:09 AM


คณะผู้จัดทำ คณะที่ปรึกษา

ประธานกรรมการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายวันชัย ศารทูลทัต นายเสรี วังส์ไพจิตร ดร.โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ ราชบัณฑิต ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ คุณหญิงคณิตา เลขะกุล นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ นางสาววนิดา สถิตานนท์ นางสายสุนีย์ สิงหทัศน์ ดร.จำลอง เพ็งคล้าย ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม ผศ.วิโรจน์ ดาวฤกษ์ นางสุจิตรา กลิ่นเกษร นายสุรจิตต์ จันทรสาขา นายภราเดช พยัฆวิเชียร : ที่ปรึกษา ๑๑ นางสาวเพ็ญสุดา ไพรอร่าม : รองผู้ว่าการด้านบริหาร นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ : รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศ นายสุรพล เศวตเศรนี : รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน นางจุฑาพร เริงรณอาษา : รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด นายอักกพล พฤกษะวัน : รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว นายวันเสด็จ ถาวรสุข : รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ : ที่ปรึกษา ๑๐

คณะบรรณาธิการ

นางสาววนิดา สถิตานนท์ นางสายสุนีย์ สิงหทัศน์ นายพงศธร เกษสำลี นางศศิอาภา สุคนธรัตน์ นางสาวรำไพพรรณ แก้วสุริยะ นายวินิจ รังผึ้ง

กองบรรณาธิการ

นายอำพัน กิจงาม นายวารินทร์ จิระสุขทวีกุล นายนิติ แสงวัณณ์ นางสาวรัตนา ลักขณาวรกุล นางกุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ นายวิมล ชินวัฒน์ นายบุญส่ง คุ้มบุญ นางธมลวรรณ เรืองขจร นายรณพันธ์ กฐินะเสถียร นายก่อเกียรติ ฉัตรศิริวรกุล นายจารุเชฏฐ์ เรืองสุวรรณ นางสาวโสภา ลำเจียก นางสาวเกศมณี รัศมี นางสาวประภาพร จันตอม

ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ดำเนินการผลิต

© ๒๕๕๒ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ์การพิมพ์ซ้ำ และ/หรือลอกเลียนส่วนใด ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าด้วยสื่อใดๆ จะกระทำ โดยปราศจากการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก เจ้าของลิขสิทธิ์มิได้ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ISBN 978-974-679-185-4

44 53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 44

3/10/11 10:32:09 AM


53-09-096_001-044_ok10-3_J.indd 44

3/10/11 10:32:09 AM





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.