วารสารก้าวใหม่

Page 1

6.indd 3

14/9/2559 10:37:22


ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนา ปีที่ 9 ฉบับที่ 47 กันยายน-ตุลาคม 2559

สารบัญ

1 2 6 9 10

12

จากใจ สปสช.

“รางวัลทุนหมุนเวียน ปี 2559”

เรื่องเด่นจากปก

เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ

บทความพิเศษ

ทุกคนร่วมจ่าย เพื่อความยั่งยืน ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Q&A

ตอบข้อข้องใจ โดยสายด่วน สปสช. 1330

ก้าวน�ำความคิด

100 ปี การสาธารณสุขไทย

12 14 16 18 20 21

ก้าวไปด้วยกัน

อบต.แม่ฟ้าหลวง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านทดแทนยาแก้ปวด

ก้าวแห่งคุณค่า

รวมพลังระดมสมองพัฒนา หลักประกันสุขภาพเพิ่อประชาชน

ก้าวทันมายาคติ

Where to Invade Next

ก้าวทันโรค

5 เรื่องในระบบสาธารณสุข ที่รัฐควรปฏิรูปอย่างเร่งด่วน

Update สื่อ

คณะที่ปรึกษา : นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา นพ.วินัย สวัสดิวร นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ บรรณาธิการอ�ำนวยการ : ธีระพันธ์ ลิมป์พูน กองบรรณาธิการ : นิภาพรรณ สุขศิริ ศิรประภาว์ ผลิสินเอี่ยม ปิยนุช โปร่งฟ้า ดวงกมล อิทธิสารนัย อุษา ชีวจ�ำเริญ ดวงนภา พิเชษฐ์กุล นักเขียนประจ�ำคอลัมน์ : พญ.ชัญวลี ศรีสุโข นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ออกแบบ/จัดพิมพ์และเผยแพร่ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จ�ำกัด โทร 0 2903 8257-9

แวดวง UC

14

สถานที่ติดต่อ : ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ชั้น 2-4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2141 4000 โทรสาร 0 2143 9730

ข้อเขียนภายในฉบับเป็นความเห็น และทัศนะของผู้เขียนเพียงผู้เดียว

6.indd 2

14/9/2559 10:37:21


จากใจ สปสช. ความส�ำเร็จการบริหารกองทุนฯ ของ สปสช.ในครั้งนี้ เกิดขึ้นได้ เพราะความร่วมมือร่วมใจในการท�ำงาน จากทุกภาคส่วน

“รางวัลทุนหมุนเวียน ปี 2559” สวัสดีครับ...ผมขอกล่าวทักทายท่านผูอ้ า่ นก้าวใหม่ทกุ ท่านกันก่อน และขอให้ทา่ นผูอ้ า่ นทุกท่านสุขภาพกาย สุขภาพใจ ที่ดีและแข็งแรงครับ ขณะนี้แม้ว่าการสรรหาเลขาธิการ สปสช. ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ในส่วนของการบริหาร “กองทุนหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อให้ผู้มีสิทธิกว่า 48 ล้านคนเข้าถึงบริการ อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป ส�ำหรับฉบับนี้...ผมมีข่าวดีเกี่ยวกับผลด�ำเนินงานของ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มาแจ้งให้ท่าน ผู้อ่านรับทราบครับ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ผมได้เป็นตัวแทน สปสช.เข้ารับมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น และรางวัลทุนหมุนเวียนเกียรติยศ ประจ�ำปี 2559 จากกระทรวง การคลั ง มี พล.อ.ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี เป็ น ประธานในพิ ธี ม อบรางวั ล ด้ ว ยตนเอง นั บ เป็ น เกี ย รติ อย่างยิ่ง ปีนี้มีการมอบรางวัลทั้งสิ้น 17 รางวัล และรางวัลที่ สปสช. ได้รับมอบ คือ 1.รางวัลผลการด�ำเนินงานดีเด่น ประเภทกลุ่มเพื่อการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม โดย สปสช.ได้รับต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2551 และ 2.รางวัล ทุนหมุนเวียนเกียรติยศ รางวัลที่มอบให้กองทุนหมุนเวียน ที่ได้รับรางวัลดีเด่นต่อเนื่อง 5 ปี โดยครั้งนี้ สปสช.ได้รับมอบ เป็นครั้งที่ 2 ทั้งนี้รางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่นที่ สปสช.ได้รับมอบ ต่อเนือ่ งช่วง 9 ปีทผี่ า่ นมา และรางวัลกองทุนหมุนเวียนเกียรติยศ ที่ สปสช.ได้รับต่อเนื่องครั้งที่ 2 นี้ สะท้อนถึงประสิทธิภาพ การบริหารกองทุนของ สปสช. นอกจากการด�ำเนินงานทีเ่ ป็นไป ตามเกณฑ์ประเมินกองทุนหมุนเวียนทีก่ รมบัญชีกลาง กระทรวง การคลังก�ำหนด เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานตามนโยบาย รัฐบาลแล้ว ยังเป็นหน่วยงานที่มีระบบบริหารตามหลักธรรม

6.indd 1

มาภิบาลที่ดี โปร่งใส และตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ ที่เป็น หลักการส�ำคัญของการบริหารองค์กร รางวัลที่ สปสช.ได้รับนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจ ของ สปสช.ภายใต้การก�ำกับของบอร์ด สปสช. เป็นบทพิสูจน์ การท�ำงานตลอดระยะเวลา 14 ปีได้เป็นอย่างดี ที่ยังคงบริหาร กองทุนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง รอบด้าน แต่ ทั้ ง นี้ ผ มต้ อ งขอย�้ ำ ว่ า ความส� ำ เร็ จ การบริ ห าร กองทุนฯ ของ สปสช.ในครั้งนี้ เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือ ร่วมใจในการท�ำงานจากทุกภาคส่วน ทัง้ จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และบุคลากรสาธารณสุขในสังกัด ต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ท�ำให้เกิดกลไกการเข้าถึง บริ ก ารสุ ข ภาพที่ จ� ำ เป็ น ได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง และเท่ า เที ย มให้ กั บ ประชาชน และยังได้รับบริการอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ขณะเดียวกันยังเกิดประสิทธิผลช่วยให้ไม่ต้องล้มละลายจาก ค่ารักษาพยาบาล ดังนั้น รางวัลที่ สปสช.ได้รับมอบนี้ จึงนับเป็นความ ภาคภู มิ ใ จของทุ ก คนที่ มี ส ่ ว นร่ ว มท� ำ งานภายใต้ ร ะบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือที่ดีเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไป เพื่อร่วมพัฒนาระบบ หลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า ให้ เ ป็ น หลั ก ประกั น ชี วิ ต ที่ ดี เพื่อคนไทยทุกคนตลอดไป ...ขอบคุณครับ...

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา (นายศั กดิ์ชการ ัย ปฏิ กาญจนวั ฒนา) รองเลขาธิ บัติงานแทน เลขาธิกรองเลขาธิ ารส�ำนักงานหลั ขภาพแห่งชาติ การกประกั ปฏิบัตนสุิงานแทน เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขก้าภาพแห วใหม่ 1งชาติ 14/9/2559 12:28:15


เรื่องเด่นจากปก กองบรรณาธิการ

กว่าทศวรรษในการสร้าง หลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย เกือบ 50 ล้านคน เกิดจากการท�ำงาน แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และบุคลากรสาธารณสุข ในสังกัดต่างๆ โดยเฉพาะ กระทรวงสาธารณสุข เข้ามามีบทบาท ในการร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ที่ประชาชนมั่นใจ และผู้ให้บริการมีความสุข

ส� ำ นั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ (สปสช.) ในฐานะหน่วยงานทีบ่ ริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้การก�ำกับดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (บอร์ด สปสช) ได้น�ำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อให้บริการแก่ภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ด้วยระบบรายงาน NHSO Budget ที่รายงานสถานะ การโอนเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และระบบติดตาม การเบิกจ่ายเงินกองทุนผ่าน E-Financial Tracking ถือเป็น ก้ า วใหม่ ในการชดเชยค่ า บริ ก ารทางการแพทย์ เป็ น สอง นวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้

เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพ

2

ก้าวใหม่

6.indd 2

14/9/2559 12:28:17


NHSO Budget : ระบบรายงานสถานะการโอนเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ NHSO Budget เป็นระบบรายงานการ โอนเงินให้กับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพชาติ ซึ่งประกอบด้วยรายงานส�ำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการ ติดตามการโอนเงินกองทุนของแต่ละหน่วยบริการแยกตาม รายกองทุ น ย่ อ ย พร้ อ มด้ ว ยโหลดเอกสารรายละเอี ย ดการ โอนเงินได้ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาเมนูส�ำหรับผู้บริหารในการ ติ ด ตามรายงานการโอนเงิ น งบกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ แห่งชาติแบบ online โดยสามารถเลือกดูข้อมูลการโอนเงิน แยกตามรายกองทุนย่อยแบบภาพรวมในระดับเขต ระดับจังหวัด หรือตามรายหน่วยบริการ E-Financial Tracking : ก้าวใหม่ การชดเชย ค่าบริการทางการแพทย์ E-Financial Tracking เป็ น ระบบติ ด ตามการเบิ ก จ่ายชดเชยค่าบริการทางการ แพทย์ ข องงบกองทุ น ที่ มี การส่งเบิกผ่าน ระบบ E-claim โดยโรงพยาบาลสามารถ ติ ด ต า ม ส ถ า น ะ ข อ ง ก า ร ท� ำ งานและการประมวลผลจนถึ ง ขั้ น ตอนการถอนเงิ น ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนในแต่ละช่วงของกระบวนการ

ท�ำงานด้วยรายงานการจ่ายเงินแบบ Invoice (จ่ายตามเลขที่ ของ REP) ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่ม ประสิทธิการในการบริหารจัดการระบบข้อมูลการเบิกจ่าย ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยใช้กระบวนการท�ำงานแบบ ไร้รอยต่อ (Seamless operation) ตอบสนองความครบถ้วน ถูกต้อง และแก้ไขปัญหาการจ่ายชดเชยซ�้ำซ้อน กรณีการเบิก ผ่านหลายระบบหรือหลายกองทุน ด้ ว ยประสิ ท ธิ ภ าพจากการบริ ห ารงานกองทุ น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการปรับปรุงและพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง โดยวัดผลการด�ำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายตาม ภารกิจ จนท�ำให้ สปสช. ได้รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่นอย่าง ต่อเนื่อง 5 ปี จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โดยเมื่อ วันที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ. 2559 ได้รับมอบรางวัลทุนหมุนเวียน ดีเด่น ประเภทกลุ่มเพื่อการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม และรางวั ล ทุ น หมุ น เวี ย นเกี ย รติ ย ศ จาก พล.อ.ประยุ ท ธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึง่ เป็น 2 ใน 17 รางวัลประจ�ำปี พ.ศ. 2559 และสองรางวัลทีไ่ ด้รบั ครัง้ นี้ คือรางวัลแห่งความภาคภูมใิ จ ในฐานะ ที่ สปสช. เป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ภายใต้การก�ำกับและดูแลของคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “ความภาคภูมิใจไม่ใช่ของ สปสช. ฝ่ายเดียวเช่นกัน แต่ความส�ำเร็จและความภาคภูมิใจทั้งหมดมาจากหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และบุคลากรสาธารณสุข ในสังกัดต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขที่มีส่วนร่วม ในการท�ำให้เกิดความส�ำเร็จนี้” นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าว

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้รับมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น และรางวัลทุนหมุนเวียนเกียรติยศ จากกระทรวงการคลัง โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ก้าวใหม่

6.indd 3

3 14/9/2559 12:28:18


จุดเปลี่ยน จัดสรรงบปี 60 ลดภาระ เบิกจ่าย รพ. คล่องตัว บริการผู้ป่วย ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียม ประกาศเกณฑ์บริหารกองทุน ปีพ.ศ.2560 หลังบอร์ดให้ความ เห็นชอบ ยกเลิกกันงบผู้ป่วยนอกส่วนหนึ่ง แต่โอนงบทั้งหมด ให้ รพ. ส่วนงบผู้ป่วยในจ่ายระดับเขตรายเดือนตามข้อมูลที่ รพ.ส่งเบิก กันงบกรณีเฉพาะไม่เกิน 12% ของงบเหมาจ่ายรายหัว โอนการดูแลเด็กแรกเกิด กลับไปอยู่ในงบเหมาจ่ายตามปกติ และกันเงินไว้ปรับเกลี่ยให้ รพ.สธ. เพื่อหนุนการด�ำเนินงาน หน่วยบริการ ลดปัญหาอุปสรรคการโอนและเบิกจ่ายงบประมาณ แก้ปัญหา รพ.ขาดสภาพคล่อง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2559 มติคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 8 /2559 ได้ให้ความเห็นชอบประกาศ “หลักเกณฑ์การด�ำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2560” หลังจากนี้จะมีการน�ำเสนอต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. เพื่อลงนามประกาศและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป 4

โดยจุดเน้นการ จัดสรรงบปี 2560 เพื่อ ให้ ห น่ ว ยบริ ก ารมี ค วาม คล่องตัวในการให้บริการ มากขึ้น ลดวิกฤติการเงิน ลดภาระความยุ ่ ง ยาก ในการท�ำงาน ตลอดจน ลดอุ ป สรรคที่ จ ะท� ำ ให้ เกิ ด ปั ญ หาลง และเพิ่ ม กลไกให้ ท� ำ งานได้ อ ย่ า ง มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ เ พื่ อ สนั บ สนุ น หน่ ว ยบริ ก าร ให้ ก ารรั ก ษาและดู แ ล ประชาชนอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐาน ประเด็น ที่มีการปรับเปลี่ยนมีดังนี้ งบผู้ป่วยนอก เดิมมีการกันงบส่วนหนึ่งเพื่อจัดสรร ให้กับหน่วยบริการตามการให้บริการ เป็นการสนับสนุนการ จัดท�ำระบบข้อมูล แต่เพื่อให้งบส่งไปยังหน่วยบริการเพิ่มขึ้น และรวดเร็ ว ขึ้ น ในปี นี้ จ ะโอนงบผู ้ ป ่ ว ยนอกทั้ ง หมดให้ กั บ หน่วยบริการ และจะมีการปรับปรุงตัวชี้วัดอื่นเพื่อประเมิน การบริการแทน พร้อมกันนีไ้ ด้ปรับให้ใช้ขอ้ มูลประชากร ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 เป็นตัวแทนการจ่ายทั้งปี ซึ่งจะท�ำให้ จ�ำนวนงบประมาณทีห่ น่วยบริการได้รบั มีความชัดเจนและได้รบั งบประมาณอย่างรวดเร็วขึ้น งบผู้ป่วยในทั่วไป ปรับการบริหารโดยจ่ายงบระดับ เขตรายเดื อ นตามข้ อ มู ล ที่ ห น่ ว ยบริ ก ารส่ ง มาแต่ ล ะเดื อ น ซึง่ หน่วยบริการจะได้รบั เงินตามทีเ่ บิกจ่ายในเดือนนัน้ ไม่ตอ้ งรอ เหมื อ นในอดี ต โดยจะมี ก ารส่ ง ข้ อ มู ล กลั บ ให้ ห น่ ว ยบริ ก าร ในแต่ ล ะเขตได้ รั บ ทราบบริ ก ารที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเขตเพื่ อ ให้ หน่วยบริการประเมินคุณภาพของตนเอง งบบริการกรณีเฉพาะ โดยปี 2560 ได้จ�ำกัดวงเงิน ที่ชัดเจนไม่เกินร้อยละ 12 ของงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อลด ความกังวลของหน่วยบริการว่าจะมีการกันเงินที่ส่วนกลาง มากไป โดยปีนี้ยังได้ลดการจัดสรรกองทุนเฉพาะในการดูแล เด็กแรกเกิด ให้กลับไปอยู่ในงบเหมาจ่ายตามปกติ ขณะที่ ก ารบริ ก ารผ่ า ตั ด ตาต้ อ กระจกพร้ อ ม เลนส์แก้วตาเทียมให้ก�ำหนดเป้าหมายบริการระดับเขต และ เน้ น การควบคุ ม คุ ณ ภาพโดยเฉพาะผู ้ ป ่ ว ยที่ ต าบอดจาก ต้อกระจก ขณะที่การบริการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารี

ก้าวใหม่

6.indd 4

14/9/2559 12:28:18


ผ่ า นสายสวน และการบริ ก ารผ่ า ตั ด ข้ อ เข่ า เที ย ม จะเน้ น การมี ส ่ ว นร่ ว มของหน่ ว ยบริ ก ารทุ ก สั ง กั ด ในการจั ด ระบบ ลงทะเบียนรอการผ่าตัด โดยจ่ายให้หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียน ที่ได้คุณภาพที่เป็นหน่วยบริการรับส่งต่อ งบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หน่วย บริการสังกัด สป.สธ. ให้ใช้ประชากร ณ วันที่ 1 ก.ค. 2559 เป็นตัวแทนการจ่ายงบทั้งปี เช่นเดียวกับงบผู้ป่วยนอกเพื่อให้ งบประมาณถึงหน่วยบริการรวดเร็วขึ้น งบบริการการแพทย์แผนไทย มีการปรับเพิ่มตาม นโยบายนายกรั ฐ มนตรี ที่ ใ ห้ ส นั บ สนุ น การแพทย์ แ ผนไทย โดยได้ปรับเพิ่มจาก 10.77 บาท เป็น 11.61 บาทต่อผู้มีสิทธิ งบบริ ห ารจั ด การค่ า บริ ก ารผู ้ ป ่ ว ยนอก ผู้ป่วยใน ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ให้มีการกันงบไว้ไม่เกิน 1,900 ล้านบาท เพื่อการปรับเกลี่ย งบระดับประเทศ เขต และจังหวัด นอกจากนี้ยังกันงบไว้ไม่เกิน 7,700 ล้านบาท ส�ำหรับการปรับเกลี่ยเพิ่มงบเหมาจ่ายให้กับ โรงพยาบาลที่มีปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด โรงพยาบาลที่อยู่ใน พืน้ ทีท่ รุ กันดาร เสีย่ งภัย พืน้ ทีเ่ ป็นเกาะ และประชากรน้อย ซึง่ มี ประมาณ 200 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหางบไม่เพียงพอ งบการจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ มีตัว ชี้วัดกลางจ�ำนวนไม่เกิน 10 ตัว และระดับเขตสามารถเพิ่มเติม ได้ไม่เกิน 5 ตัว ส่ ว นงบการจั ด ซื้ อ ยาและเวชภั ณ ฑ์ ที่ ส ่ ว นกลาง ซึ่ง คตร.ได้เคยมีค�ำสั่งไม่ให้ สปสช.ด�ำเนินการ แต่ให้ด�ำเนินการ ขออนุมัติเป็นครั้งไป และภายหลังได้มอบให้ รมว.สาธารณสุข เป็นผู้อนุมัติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายการยาและ เวชภัณฑ์ที่จ�ำเป็นต้องจัดซื้อส่วนกลางเพื่อให้มีประสิทธิภาพ สู ง สุ ด ในการดู แ ลประชาชน โดยด� ำ เนิ น การผ่ า นองค์ ก าร เภสัชกรรม อาทิ ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาก�ำพร้า ยาต้านพิษ ยา บัญชี จ.2 น�้ำยาล้างไต ถุงยางอนามัย และข้อเข่าเทียม เป็นต้น

นอกจากนี้ ใ นส่ ว นการจั ด สรรงบตามค� ำ สั่ ง ม.44 ทั้งค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน และ เงินช่วยเหลือเบือ้ ต้นผูใ้ ห้บริการ ซึง่ ได้มกี ารเงินจ�ำนวน 0.10 บาท ต่อผู้มีสิทธิ ให้เป็นไปตามที่ รมว.สาธารณสุขประกาศโดย ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะท�ำให้ขวัญก�ำลังใจ ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดีขึ้น การจั ด ท� ำ ประกาศหลั ก เกณฑ์ ก ารด� ำ เนิ น งานและ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2560 นี้ สปสช.จัดสรรตามข้อเสนอ คณะกรรมการร่วม สธ.-สปสช. 7x7 คณะกรรมการแก้ปัญหา รพ.ขาดทุน ประกาศ ม.44 ข้ อ เสนอจากเวที รั บ ฟั ง ความเห็ น ทั่ ว ประเทศ และ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงาน หน่ ว ยบริ ก าร แก้ ไขปั ญ หาอุ ป สรรคการโอนและเบิ ก จ่ า ย งบประมาณ โดยเฉพาะโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ.ที่มีปัญหา สภาพคล่อง ทั้งยังส่งผลต่อการบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดูแลประชาชน ให้เข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ข้อมูล : ข่าว ส�ำนักเลขาธิการและประชาสัมพันธ์ สปสช.

ก้าวใหม่

6.indd 5

5 14/9/2559 12:28:19


บทความพิเศษ

โดย นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

ทุกคนร่วมจ่าย เพื่อความยั่งยืน ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศไทย มีระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุม คนไทยทุกคนมาตั้งแต่พ.ศ. 2545 หลังจากด�ำเนินการมา 13 ปี มีผลดังนี้ ประเทศไทยลงทุ น ด้ า นสุ ข ภาพร้ อ ยละ 4.6 ของ ผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ซึ่งนับว่าค่อนข้างต�่ำ เมื่อเทียบ กับประเทศที่มีรายได้ไกล้เคียงกัน ในการนี้ร้อยละ 80 เป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ซึ่งคิด เป็นร้อยละ 17 ของค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งหมด นับว่ารัฐลงทุน ด้านสุขภาพสูงมาก ท�ำให้ภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพของครัวเรือน มี เ พี ย งร้ อ ยละ 11 เท่ า นั้ น คนที่ ย ากจนลงหรื อ ล้ ม ละลาย จากการที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลก็ลดลงไปมากจนเกือบ เป็ น ศู น ย์ คนไทยที่มีความจ�ำเป็นต้องได้รับบริการสุขภาพ แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้มีน้อยมาก น้อยเท่าเทียมกับประเทศ OECD ซึ่งเป็นประเทศที่รายได้สูง ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ดี และเป็นตัวอย่างไปทั่วโลก ถึงขนาดที่นายกฯประยุทธ์ จันทรโอชา ได้รับเชิญไปน�ำเสนอที่ สมัชชาสหประชาชาติ ร่วมกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น แต่ก็มักจะมีค�ำถามส�ำคัญคือ รัฐจะรับภาระการลงทุน ด้านสุขภาพทีส่ งู นีไ้ ปได้อกี นานเท่าไร และจะมีทางเลือกอย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเงินของระบบสุขภาพ คนไทยทุกคน ควรจะร่วมลงทุน (หรือร่วมจ่าย) ใน ระบบหลักประกันสุขภาพหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร คณะกรรมการจัดท�ำแนวทางการระดมทรัพยากร เพื่ อ ความยั่ ง ยื น ของระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ได้ท�ำการศึกษาทางวิชาการ ระดมสมอง และรับฟังความเห็น จากผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียทั้งหมดแล้ว ได้ข้อสรุปว่า ระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ค วรมี เ ป้ า ประสงค์ ใน ระยะยาวสี่ประการ ย่อว่า S-A-F-E โดยมีเป้าหมาย 11 ข้อ ดังนี้ 6

S - Sustainability ความยั่งยืนด้านการคลังสุขภาพ หมายถึง แหล่งการคลัง ได้แก่ งบประมาณ เงินสมทบ และ รายจ่ายสุขภาพของครัวเรือน อยู่ในวิสัยที่ประเทศ รัฐบาล และ ครัวเรือน สามารถลงทุนด้านสุขภาพได้ในระยะยาว โดยดูจาก ตั ว ชี้ วั ด และเป้ า หมายที่ 1 ภายใน พ.ศ.2565 รายจ่ายสุขภาพ ทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ ตัวชีว้ ดั และเป้าหมายที่ 2 ภายใน พ.ศ.2565 รายจ่าย รัฐบาลด้านสุขภาพ ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายจ่ายรัฐบาลทัง้ หมด A – Adequacy ความพอเพียง หมายถึง รายจ่าย สุขภาพพอเพียง ส�ำหรับการจัดบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชน ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพ รวมทั้งยาและเทคโนโลยีทางการ แพทย์ ที่ จ� ำ เป็ น และป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ค รั ว เรื อ นประสบภาวะ ล้มละลายหรือกลายเป็นครัวเรือนยากจนจากการจ่ายค่ารักษา พยาบาล โดยดูจาก ตัวชีว้ ดั และเป้าหมายที่ 3 ภายใน พ.ศ.2565 รายจ่าย สุขภาพทั้งหมด ต้องไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ คือร้อยละ 4.6 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ตัวชีว้ ดั และเป้าหมายที่ 4 ภายใน พ.ศ.2565 รายจ่าย ของรัฐบาลด้านสุขภาพต่อรายจ่ายของรัฐบาลต้องไม่น้อยกว่า ที่เป็นอยู่ คือ ร้อยละ 17 ตัวชีว้ ดั และเป้าหมายที่ 5 ภายใน พ.ศ.2565 รายจ่าย นอกสุขภาพภาครัฐด้านสุขภาพ ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราย จ่ายสุขภาพทั้งหมด และรายจ่ายของครัวเรือนต้องไม่เกินระดับ ที่เป็นอยู่ คือ ร้อยละ 11.3 ของรายจ่ายสุขภาพทั้งหมด ตัวชีว้ ดั และเป้าหมายที่ 6 ภายใน พ.ศ.2565 อุบตั กิ ารณ์ ของครัวเรือนล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ต้อง ไม่เกินระดับที่เป็นอยู่ (พ.ศ.2556) คือ ร้อ ยละ 2.3 ของ ครัวเรือนทั้งหมด

ก้าวใหม่

6.indd 6

14/9/2559 12:28:20


ตั ว ชี้ วั ด และเป้ า หมายที่ 7 ภายใน พ.ศ.2565 อุ บั ติ ก ารณ์ ข องครั ว เรื อ นที่ ต ้ อ งกลายเป็ น ครั ว เรื อ นยากจน ภายหลังจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่เกินระดับที่เป็นอยู่ (พ.ศ.2556) คือ ร้อยละ 0.47 ของครัวเรือนทั้งหมด คณะกรรมการมีข้อเสนอว่า หากมีปัญหางบประมาณ ก็ให้ด�ำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินให้มากขี้น และหากจ�ำเป็นก็ให้รัฐเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งยังมีช่องทางท�ำได้ มีทางเลือก ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ หรือภาษีเฉพาะต่างๆ มาตรการการร่วมจ่ายนั้น ควรกระท�ำเพื่อการสร้างความเป็น ธรรม ไม่ใช่มุ่งเพื่อหาเงินมาโปะงบประมาณ F - Fairness goal ความเป็นธรรม มีหลักการทีส่ ำ� คัญ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม หรือการช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ระหว่างผู้แข็งแรงและผู้เจ็บป่วย และระหว่างผู้มีความ สามารถจ่ายมากกว่าและน้อยกว่า หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ดี-ป่วยรวย-จน ช่วยกัน” ซึง่ ส่วนนีแ้ หละทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงกับการร่วม จ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยมีรายละเอียด คือ

ความเป็นธรรมในการจ่ายเงินสมทบก่อนใช้บริการ ภายในระบบประกันสุขภาพภาครัฐแต่ละระบบ ตั ว ชี้ วั ด และเป้ า หมายที่ 8 ภายใน พ.ศ.2565 เพิ่มความเป็นธรรมของการจ่ายเงินสมทบระหว่ า งผู ้ มี สิทธิ ในระบบประกั น สั ง คมให้ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ตอนเริ่ ม ต้ น ระบบ ประกันสังคม เมื่อ พ.ศ.2534 โดยปรับเพิ่มเพดานเงินเดือน ส�ำหรับการค�ำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนให้เป็น 7 เท่า ของค่ า แรงขั้ น ต�่ ำ (อ้ า งอิ ง เมื่ อ เริ่ ม มี ร ะบบประกั น สั ง คมใน ปี พ.ศ.2534 ก�ำหนดเพดานเงินเดือนที่ 6.2 เท่าของค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ) ความเป็นธรรมในการจ่ายเงินสมทบก่อนใช้บริการ ระหว่างผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพภาครัฐทั้งสามระบบหลัก และการร่วมจ่าย ณ จุดใช้บริการ ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ 9 9.1 ภายใน พ.ศ.2565 บรรลุความเป็นธรรมของการ จ่ายเงินสมทบก่อนใช้บริการ (Pre-payment) ระหว่างระบบ หลักประกันภาครัฐทั้ง 3 ระบบหลัก มีข้อเสนอทางเลือก 2 ทาง

ก้าวใหม่

6.indd 7

7 14/9/2559 12:28:22


คือ คนไทยทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบ หรือ คน ไทยทุกคนไม่ต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบ 9.2 มีการระดมทุนจากการร่วมจ่าย ณ จุดใช้บริการ สุขภาพ หรือ Copayment at point of service ซึ่งหากมีการ เลือกใช้ข้อนี้ ต้องเป็นไปตามหลักการที่เสนอ ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ 10 ภายใน พ.ศ. 2565 บรรลุ ความเป็นธรรมในการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาลของแต่ละระบบ หลักประกันสุขภาพภาครัฐแต่ละกองทุนดังนี้ 10.1 รายจ่ายต่อหัวที่ปรับด้วยโครงสร้างอายุ ของ แต่ละระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ต้องมีค่าไม่ต่างจากค่า เฉลี่ยของทั้ง 3 ระบบหลัก ±10% 10.2 ก�ำหนดให้มีมาตรฐานการจ่ายเงินของแต่ละ ระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐให้แก่สถานพยาบาลเป็นราคา เดียวกันในทุกประเภทและระดับบริการ (อาทิเช่น ยา วัสดุการ แพทย์ และ ค่าน�้ำหนักสัมพัทธ์ของโรค DRG เป็นต้น) E - Efficiency goal ความมีประสิทธิภาพ หมายถึง การใช้ทรัพยากรในการด�ำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ด้านสุขภาพ โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทั้งในเชิงเทคนิค และ ในการจัดสรร ซึง่ ต้องค�ำนึงถึงความทันเวลา และความมีคณ ุ ภาพ ได้แก่ ตัวชีว้ ดั และเป้าหมายที่ 11 เพิม่ ประสิทธิภาพ โดยต้อง ค�ำนึงถึงคุณภาพควบคูก่ นั ไป โดยให้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐ ทุกระบบใช้ระบบงบประมาณปลายปิด ให้มมี าตรการและกลไก การเฝ้าระวังราคาและการควบคุมราคาการเบิกจ่ายของกองทุน และราคาค่าบริการ ยา และเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพ มีการ ใช้อ�ำนาจในการซื้อร่วมกันและมีการใช้มาตรการของรัฐบาล อย่างเหมาะสม กล่าวโดยสรุป คณะกรรมการเสนอเกี่ยวกับการร่วม จ่ายดังนี้ 1. การร่วมจ่าย ให้ใช้เป็นมาตรการเพื่อสร้างความ เป็นธรรมทางการคลังในระบบหลักประกันสุขภาพ ไม่ใช่เป็น มาตรการหลักในการระดมเงินมาโปะงบประมาณ หากเงิน ไม่พอ ก็ควรใช้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพเป็นหลัก และอาจ พิจารณาจัดเก็บภาษีเพิ่ม ซึ่งมีทางเลือกทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี เงินได้ และภาษีพิเศษ 2. มาตรการร่วมจ่าย ไม่ว่ามาตรการใด จะต้อง ไม่สร้างปัญหาทางการเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคม ควรช่วยเหลือ ไม่มีผลกระทบต่อการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ ไม่มีการดึงทรัพยากรสุขภาพทีมีอยู่อย่างจ�ำกัดไปกระจุกที่ผู้มี 8

นโยบายรัฐบาล ตามที่นายกประยุทธ์ จันทรโอชา ได้พูดไว้ว่า

จะไม่มีการยกเลิก ระบบ 30 บาท มีแต่จะท�ำให้ดีขึ้น

คนไทยทุกคนก�ำลังรอคอยว่า จะมีอะไรดีขึ้น รายได้สูง และต้องมีการกระจายรายได้จากการร่วมจ่ายอย่าง เป็นธรรม 3. การร่วมจ่ายก่อนป่วย ให้เลือกระหว่างการให้คนไทย ทุกคนร่วมจ่าย หรือไม่ก็ไม่ต้องมีใครร่วมจ่ายเลย 4. หากให้คนไทยทุกคนร่วมจ่าย ก็สามารถด�ำเนินการ ได้ เช่น ให้ข้าราชการไปใช้ระบบเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัย คือได้เงินเดือนเพิ่ม 1.3-1.5 เท่าของเงินเดือนเดิม และไปใช้ ระบบประกันสังคม ให้เพดานการจ่ายเงินสมทบในระดับประกันสังคมเพิม่ จาก 15,000 บาท เป็น ราวห้าหมื่นบาท ให้คนทีม่ สี ทิ ธิบ์ ตั รทอง จ่ายเงินประกันตามชัน้ ของราย ได้เป็น 3-5 ชั้น 5. หากให้คนไทยทุกคนไม่ต้องร่วมจ่าย ก็สามารถ ด�ำเนินการได้โดยรัฐรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนผู้ประกันตนใน ระบบประกันสังคม 6. การร่วมจ่ายหลังป่วย ให้ด�ำเนินการเก็บค่าบริการ ด้านสุขภาพ เฉพาะผูท้ มี่ รี ายได้สงู และต้องการใช้บริการทีม่ คี วาม สะดวกพิเศษ เช่น คลินิกพิเศษ ห้องพิเศษ เป็นต้น ซึ่งเป็นระบบ แบบเดียวกับประเทศสิงคโปร์ ข้ อ เสนอทั้ ง หมดนี้ ได้ น� ำ เสนอต่ อ รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว ดังนั้นการด�ำเนินการต่อไปก็ข้ึน กับนโยบายรัฐบาล ตามทีน่ ายกประยุทธ์ จันทรโอชา ได้พดู ไว้วา่ “ไม่มีการยกเลิกระบบ 30 บาท มีแต่จะท�ำให้ดีขึ้น” คนไทยทุกคนก�ำลังรอคอยว่า จะมีอะไรดีขึ้น ตามที่ นายกฯ กล่าวนะครับ.

ก้าวใหม่

6.indd 8

14/9/2559 12:28:22


Q&A

สายด่วน สปสช. 1330 ที่นี่มีค�ำตอบ

การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

Q A Q A

Q A

กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการรักษาพยาบาล (มาตรา 41)

ประเภทของความเสียหายมีกรณีใดบ้าง และอัตราการ จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่าไร ประเภทของความเสียหายแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร อัตราการจ่าย เงินช่วยเหลือ 240,000 แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2. สู ญ เสี ย อวั ย วะหรื อ พิ ก าร อั ต ราการจ่ า ยเงิ น ช่วยเหลือ 100,000 แต่ไม่เกิน 240,000 บาท 3. บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนือ่ ง อัตราการจ่ายเงินช่วย เหลือไม่เกิน 100,000 บาท * ทัง้ นี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาวินจิ ฉัยค�ำร้องขอรับ เงินช่วยเหลือเบื้องต้น จะเป็นผู้พิจารณา การยื่นค�ำร้องท�ำได้กี่วิธี และติดต่อยื่นค�ำร้องได้ที่ใด การยื่นค�ำร้องท�ำได้ 2 วิธี คือ ยื่นค�ำร้องด้วยตนเอง หรือ ส่งค�ำร้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปที่หน่วยรับค�ำร้อง (เหตุเกิดที่ใด ให้ยื่นที่หน่วยรับค�ำร้องในพื้นที่นั้น) ต่างจังหวัด ---> ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สปสช. สาขาเขตพื้นที่ 13 เขต (ที่อยู่ และเบอร์โทร ตามเอกสารแนบท้าย) สปสช.ส่วนกลาง ---> 120 หมู่ 3 อาคาร B ชั้น 2-4 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ10210 (การส่งค�ำร้องทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน ให้ยึดวันที่ ประทับตราเป็น วันยื่นค�ำร้อง) หากผู้ได้รับความเสียหายหรือทายาทไม่เห็นด้วยกับค�ำ วินิจฉัยของคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยค�ำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องด�ำเนินการเช่นไร ให้ ยื่ น อุ ท ธรณ์ ต ่ อ คณะกรรมการควบคุ ม คุ ณ ภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุข สถานที่ยื่นค�ำร้องเช่นเดียว กับข้อ 126 โดยยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หลังรับทราบผล การวินจิ ฉัย โดยค�ำวินจิ ฉัยชีข้ าดของคณะกรรมการควบคุม คุณภาพฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

Q A Q A Q A

กรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจาก การให้บริการสาธารณสุข (มาตรา 18 (4) )

พยาบาลสมปองนั่งมากับรถรถพยาบาลเพื่อส่งต่อคนไข้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ ไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพ สูงกว่า ขณะน�ำส่งเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลชนกับรถ กระบะ ท�ำให้พยาบาลสมปองได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ รุนแรงและเสียชีวติ ในทีเ่ กิดเหตุ กรณีนจี้ ะยืน่ ค�ำร้องขอรับ เงินช่วยเหลือได้หรือไม่ ได้ เนื่ อ งจากเป็ น ความเสี ย หายที่ เ กิ ด จากการให้ บ ริ ก าร สาธารณสุข

ประเภทของความเสี ย หายที่ เ กิ ด จากการให้ บ ริ ก าร สาธารณสุขมีอะไรบ้าง และอัตราการ จ่ายเงินช่วยเหลือ เท่าไร ประเภทของความเสี ย หายเหมื อ นกั บ กรณี ข องผู ้ รั บ บริการ คือ 1. เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร อัตราการจ่าย เงินช่วยเหลือ 240,000 แต่ไม่เกิน 400,000 บาท 2. สู ญ เสี ย อวั ย วะหรื อ พิ ก าร อั ต ราการจ่ า ยเงิ น ช่วยเหลือ 100,000 แต่ไม่เกิน 240,000 บาท 3. บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง อัตราการจ่ายเงิน ช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท * ทัง้ นี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาวินจิ ฉัยค�ำร้องขอรับ เงินช่วยเหลือเบื้องต้น จะเป็นผู้พิจารณา วิ ธี ก าร และสถานที่ ยื่ น ค� ำ ร้ อ งขอรั บ เงิ น ช่ ว ยเหลื อ กรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการ สาธารณสุขเป็นอย่างไร การยื่นค�ำร้องท�ำได้ 2 วิธี คือ ยื่นค�ำร้องด้วยตนเอง หรือ ส่ ง ค� ำ ร้ อ งทางไปรษณี ย ์ ล งทะเบี ย นไปที่ ห น่ ว ยรั บ ค� ำ ร้ อ ง (เหตุเกิดที่ใดก็ให้ยื่นที่หน่วยรับค�ำร้องในพื้นที่นั้น) ต่างจังหวัด ---> สปสช. สาขาเขตพื้นที่ 13 เขต (ทีอ่ ยู่ และเบอร์โทรตามเอกสาร แนบท้าย) สปสช.ส่วนกลาง ----> 120 หมู่ 3 อาคาร B ชั้น 2-4 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุง่ สองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 (การส่งค�ำร้องทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน ให้ยดึ วันทีป่ ระทับตรา เป็นวันยื่นค�ำร้อง) ก้าวใหม่

6.indd 9

9 14/9/2559 12:28:22


ก้าวน�ำความคิด นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ

100 ปี

การสาธารณสุขไทย ...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณาการงานด้านการแพทย์และการสุขาภิบาลมาอยู่ ด้วยกันในความรับผิดชอบของหน่วยงานใหม่หน่วยหนึ่ง โดยมี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์กรม พระยาชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอธิบดีคนแรก หน่วยงานใหม่นี้มีชื่อ ว่า “กรมสาธารณสุข” สังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึง่ ต่อมามีการ ยกฐานะเป็นกระทรวงการสาธารณสุข (เมื่อปี พ.ศ. 2485) การ ตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 นี้ ถือเป็น จุดเริ่มต้นของระบบการสาธารณสุขไทย 10

....ในวาระดังกล่าวกระทรวง สาธารณสุ ข ร่ ว มกั บ ภาคี เ ครื อ ข่ า ย สาธารณสุข 50 องค์กร จึงได้เตรียม การจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปี การ สาธารณสุขไทย (2461 – 2561) ขึ้น โดยได้ มี ก ารบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงร่ ว มมื อ กัน เริ่มวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ประธาน

ก้าวใหม่

6.indd 10

14/9/2559 12:28:24


.....กิจกรรมที่ส�ำคัญของงานดังกล่าวคือ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ถาวรและหอจดหมายเหตุขึ้น ภายในกระทรวงสาธารณสุข เพือ่ จัดแสดงเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ และการพัฒนาของงานสาธารณสุขในด้านต่างๆ การปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยท�ำให้โรงพยาบาลทุกระดับ เป็นพื้นที่สัปปายะ (สบาย) แก่ผู้คนที่ต้องไปใช้บริการมากขึ้น การส่งเสริมการศึกษาวิจัย และงานวิชาการด้าน ประวัติศาสตร์สาธารณสุข โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข (สวรส.) จัดท�ำแผนและระบบการสนับสนุน ส�ำรวจผูส้ งู วัยอายุ 100 ปีหรือมากกว่าทัว่ ประเทศ เพื่อการเรียนรู้และสร้างความตระหนักคุณค่าของการมีอายุ ยืนยาว คัดเลือกบุคคลต้นแบบในประวัตศิ าสตร์สาธารณสุข ซึ่งมีทั้งข้าราชการ อาสาสมัคร และแม้กระทั่งชุมชนต้นแบบ

ในเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 คือในอีก 2 ปีข้างหน้า จะเป็นปีที่ระบบการสาธารณสุข (แผนปัจจุบัน) ของไทย มีวาระอายุครบรอบ 100 ปี...

ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาร่วมมือกับสภาวิชาชีพ และภาคเอกชน สร้างและผลิตบุคคลากรเพื่อเทิดพระเกียรติ เป็นการพิเศษเฉพาะส�ำหรับวาระแห่งการเฉลิมฉลองครั้งนี้ จัดท�ำหนังสือ “100 เรือ่ งสุขภาพต้องรู้ คูค่ รัวเรือน” เพื่อเป็นคู่มือให้ความรู้ส�ำคัญๆในชีวิตประจ�ำวัน และเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน งานครั้ ง นี้ จ ะแตกต่ า งจากกิ จ กรรมครบรอบวาระ ที่หน่วยงานต่างๆ นิยมจัดกัน ซึ่งมักเน้นกิจกรรม (Event) ในรูปแบบต่างๆ แต่ส�ำหรับงาน 100 ปี การสาธารณสุขไทย จะมีเวลาด�ำเนินการถึง 3 ปี คือตั้งแต่ตุลาคม 2559 – กันยายน 2562 โดยยุทธศาสตร์การด�ำเนินการจะเน้นทั้ง 3 มิติด้วยกัน อันได้แก่ การเฉลิมฉลอง (Celebration) เช่น การจัดงาน มหกรรม การจัดงานแสดงผลงานด้านสุขภาพ การประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะให้ความส�ำคัญสูงสุด (Peak) ในปี 2561 – 2562 การจัด กิจกรรม (Event) ในรูปแบบต่างๆ เช่น การปลูกต้นไม้ การจัด สัปดาห์รณรงค์เรื่องสุขาภิบาล การเผยแพร่ภาพยนต์สารคดี ประวัติศาสตร์ การวางระบบ (System) ในเรื่องใหม่ๆ หรือเรื่อง ที่ต้องให้ความส�ำคัญมากขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ เช่น การดูแล ผู้สูงวัย การพัฒนาโรงพยาบาลให้มีระบรรยากาศที่รื่นรมย์ การพัฒนาแพทย์แผนไทย เป็นต้น ทั้งนี้ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ภาพลักษณ์และประจักษ์ พยานแห่งความส�ำเร็จของการสาธารณสุขไทย ซึ่งจะน�ำไปสู่ จังหวะก้าวใหม่ๆ ในการพัฒนาการสาธารสุขไทยในศตวรรษ 100 ปีทสี่ องให้กา้ วหน้า และตอบสนองความต้องการของสังคม ได้ดีขึ้นๆ ไปยิ่งกว่าเดิม...

ก้าวใหม่

6.indd 11

11 14/9/2559 12:28:24


ก้าวไปด้วยกัน กองบรรณาธิการ

อบต.แม่ฟ้าหลวง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านทดแทนยาแก้ปวด ช่ ว งเดื อ นสิ ง หาคมที่ ผ ่ า นมา นพ.ชู ชั ย ศรช� ำ นิ รองเลขาธิ ก าร ส� ำ นั ก งาน หลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ น� ำ ที ม สื่ อ มวลชนไปสั ม ผั ส คุ ณ ภาพชี วิ ต ของผู้สูงวัยในพื้นที่ อบต.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นผลจากการใช้สมุนไพร ในชุมชน มาประยุกต์แทนยาแผนปัจจุบน ั เพือ่ ลดการใช้ยาแก้ปวด กลุ่มต้านการอักเสบที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

แม้พื้นที่แม่ฟ้าหลวงมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่มีแนวทางจัดการและดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านของ แต่ละชนเผ่าได้ดี อาทิ หมอเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยล้านนา หมอพื้นบ้านเผ่าอาข่าหรือลาหู่ต่างมีการเรียนรู้และถ่ายทอด ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนพื้นบ้าน รวมทั้งผสมผสานทาง เลือกในการดูแลรักษาสุขภาพจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบนั ที่นี่การดูแลรักษาสุขภาพต่างมีเอกลักษณ์ทางความเชื่อ วิธีการ วินิจฉัยโรค กระบวนการในการรักษา และเครื่องมือเฉพาะกลุ่ม แตกต่างกันไป นายวีรชิต วรัญชิตกูล ประธานคณะกรรมการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนต�ำบลแม่ฟ้า หลวง นายวิเชียร สุวรรณรัตน์ สาธารณสุขอ�ำเภอแม่ฟ้าหลวง เปิดเผยว่า อบต.แม่ฟ้าหลวงมีรับผิดชอบประชากร 12,425 คน เป็นชาย 6,247 คน และหญิง 6,178 คน ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า ต่างๆ อาทิ อาข่า ลาหู่ จีนยูนาน ลั๊วะ ไทยใหญ่ และไทยลื้อ ประกอบอาชีพทางการเกษตร จ�ำหน่ายสินค้าของที่ระลึกให้แก่ นักท่องเที่ยว และท�ำงานในโครงการพัฒนาดอยตุง 12

ประชาชนที่นี่ดูแลรักษาสุขภาพตนเองในระดับหนึ่ง โดยการรักษากันเอง หรือพึง่ พาหมอพืน้ บ้านทีไ่ ด้รบั การยอมรับ ในชุมชน สลับกับการพึ่งพา รพ.สต. แม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาล หรื อ สถานบริ ก ารด้ า นสาธารณสุ ข ของรั ฐ ที่ เข้ า มามี บ ทบาท เพิ่มขึ้น การด�ำเนินงานด้านสาธารณสุขจึงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ในลักษณะพหุภาคี มีการรวมตัวกันเป็นทีมงานเพื่อร่วมปฏิบัติ งานด้านสาธารณสุข เนื่องจากการเจ็บป่วยมี 2 ลักษณะคือ ความเจ็บป่วยทางจิตใจ ซึง่ ไม่สามารถระบุได้แน่ชดั สืบเนือ่ งจาก ความเชื่อเรื่องเรื่องผีและเรื่องขวัญ จึงรักษาโดยการประกอบ พิธีกรรมเลี้ยงผี ไล่ผีส่งเคราะห์ เรียกขวัญ โดยหมอผีหรือ หมอขวัญท�ำพิธี และความเจ็บปวดด้านร่างกาย เช่น ไฟไหม้ น�้ำร้อนลวก ได้รับพิษ อัมพาต โรคข้อ กระดูกหัก เลือดลมและ ประจ�ำเดือนผิดปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ ชนเผ่าอาข่าและลาหู่ มีหมอพื้นบ้านท�ำหน้าที่ดูแลรักษาโดยผสมผสานหลาย ๆ วิธี ทัง้ ความเชือ่ พืน้ บ้าน เช่น การใช้ยาสมุนไพรในรูปของยาต้ม ยาฝน ยาบด ยาอบ การพึ่งพาหมอเป่าคาถาอาคมให้กระดูกติดกัน หรือท่องคาถาดับพิษ การพึ่งพาหมอผีประกอบพิธีกรรมแทงผี

ก้าวใหม่

6.indd 12

14/9/2559 12:28:24


ของอาข่า หรือหมอพระที่รักษาไข้โดยการลนเทียนหน้าแท่น บูชาในวิหาร รวมทัง้ พึง่ พาระบบแพทย์แผนใหม่ในรูปยาฉีดและ ยากินจากร้านขายยาหรือจากการเป็นอาสาสมัครที่ได้รับการ อบรมด้านสาธารณสุข คณะกรรมการบริ ห ารกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ องค์การบริหารส่วนต�ำบลแม่ฟ้าหลวง เห็นความส�ำ คัญของ การน�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้ร่วมกับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติดอยตุง ทีมหมอ ครอบครัว อาสาสมัครมูลฐานประจ�ำหมู่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านขาแหย่งพัฒนา จัดอบรมให้ความรูก้ บั กลุม่ ผูส้ งู อายุเกีย่ วกับ การดูแลสุขภาพ และท�ำลูกประคบและยาหม่องจากสมุนไพร เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีข้อจ�ำกัดในการใช้ NSAID ท� ำ ลู ก ประคบและน� ำ สมุ น ไพรมาใช้ รั ก ษาพยาบาลตนเอง ซึง่ นอกจากสืบทอดภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้านแล้วยังลดการใช้ยาแก้ปวด กลุม่ ต้านการอักเสบทีม่ ผี ลข้างเคียงต่อร่างกาย ทีส่ ำ� คัญผูส้ งู อายุ ได้พบปะพูดคุยท�ำให้จิตใจเป็นสุขเพิ่มขึ้น

ส� ำ หรั บ กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม และฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพ ผู้สูงอายุบ้านขาแหย่งพัฒนาซึ่งมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม มี ก ารประเมิ น สุ ข ภาพ ให้ ค วามรู ้ ด ้ า นสุ ข ภาพของผู ้ สู ง อายุ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการด�ำเนินกิจกรรมในงานประเพณี วั ฒ นธรรมของชนเผ่ า กลุ ่ ม ติ ด บ้ า น ที ม หมอครอบครั ว จะ เยี่ ย มบ้ า นและประเมิ น สุ ข ภาพต่ อ เนื่ อ งทุ ก 6-12 เดื อ น ส่งเสริมสุขภาพเฉพาะโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพ กลุ่มติดเตียง เน้ น การติ ด ตามดู แ ลอย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยที ม หมอครอบครั ว เป็ น การดู แ ลระยะยาวด้ า นสั ง คมและด้ า นจิ ต ใจจากภาวะ ซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อม นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมอบรม ให้ ค วามรู ้ แ กนน� ำ สุ ข ภาพประจ� ำ ครอบครั ว ในเขตหมู ่ บ ้ า น ที่รับผิดชอบ เพื่อให้แกนน�ำน�ำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับคน ในครอบครัว รวมถึงการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ต่างๆ ด้วยการออก�ำลังกายแบบยืดเหยียดเพื่อให้ผู้สูงอายุได้น�ำ ไปปฏิบัติที่บ้าน

ก้าวใหม่

6.indd 13

13 14/9/2559 12:28:25


ก้าวแห่งคุณค่า

รวมพลัง ระดมสมอง พัฒนา หลักประกันสุขภาพ เพื่อ ประชาชน “ระบบหลักประกันสุขภาพท�ำให้ประชาชนมีศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ดขี น ึ้ ไม่ตอ้ งล้มละลาย และมีบริการปฐมภูมท ิ ด ี่ ขี น ึ้ โจทย์สำ� คัญ คือ จะคงสิ่งดีๆ เหล่านี้ และสร้างสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ได้อย่างไร” นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุข ร่วมระดมสมอง (Retreat and Refection) ด้วยกันเพือ่ พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีผเู้ ข้าร่วม ประชุมกว่า 70 คน โดยช่วงแรก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข และประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ได้ให้แนวคิดในการประชุมระดมสมอง และ นพ.ศักดิ์ ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการ สปสช.ได้นำ� เสนอข้อมูล การพัฒนาระบบสาธารณสุขจากอดีตถึงปัจจุบนั เพือ่ เป็นข้อมูล ในการพัฒนาไปข้างหน้า

14

หลังจาก นั้นได้แบ่งกลุ่มและ น�ำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นใน ระบบหลักประกันสุขภาพ ตลอด 15 ปี ซึ่ง นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้น�ำเสนอไว้ในตอนหนึ่งว่า“ระบบหลักประกันสุขภาพท�ำให้ ประชาชนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดีขึ้น ไม่ต้องล้มละลาย และมีบริการปฐมภูมทิ ดี่ ขี นึ้ แต่อยากให้มรี ะบบบริหารจัดการ แบบกัลยาณมิตร เพิ่มการท�ำงานร่วมกับ อปท. และเพิ่มการ ดูแลตนเองของประชาชนมากขึ้น เพิ่มความเป็นเจ้าของใน

ก้าวใหม่

6.indd 14

14/9/2559 12:28:25


ระบบงบประมาณ เพราะค่าใช้จ่ายในอนาคตจะมากขึ้น ท�ำ มามีบทบาทในการพัฒนาระบบ แต่ยังไม่ประสบความส�ำเร็จ อย่างไรให้ 3 กองทุนเหมือนกัน โจทย์ส�ำคัญคือ จะคงสิ่งดีๆ ในการสร้างความเข้าใจว่า ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล เหล่านี้ และสร้างสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ได้อย่างไร” เป็นการลงทุน มิใช่ภาระ และยังอาจท�ำงานกับกลุ่มผู้ให้บริการ ไม่มากพอที่จะท�ำให้เกิดความเข้าใจเพื่อท�ำให้กลไกท�ำงานร่วม ประเด็นทีน่ า่ สนใจจากการระดมความเห็น ประกอบด้วย กันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ สภาพปัญหา 15 ปีทผี่ า่ นมา ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สังคมยังคงมีความเหลือ่ มล�ำ้ มาก เป็นอุปสรรคต่อ ประสบความเร็จในเชิง “เป้าหมาย” คือ ท�ำให้คนไม่ล้มละลาย การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ซึง่ เป็นผลต่อเนือ่ งจากการพัฒนาระบบสุขภาพมาอย่างยาวนาน ยังไม่มกี ารศึกษา Unit Cost รายโรค เพือ่ หาต้นทุน และประสบความส�ำเร็จในการท�ำให้ประชาชนตระหนักและรับ บริการที่แท้จริง รู้ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือสิทธิตามกฎหมาย ท�ำให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเฝ้าระแวดระวังหากมีภัย จุดเด่น คุกคามที่จะกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนโยบาย การเพิ่ม “คุณภาพ” บริการให้มากขึ้น และเน้น สาธารณะที่ประสบความส�ำเร็จมาก ถือเป็นโอกาสเพื่อการ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยให้ อปท.เข้ามามีบทบาท พัฒนา หลักร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ภายใต้การกระจายอ�ำนาจอย่าง ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินอย่างมี แท้จริง ยุทธศาสตร์และท�ำอย่างต่อเนือ่ ง จุดเด่นอยูท่ กี่ ารมีสว่ นร่วมของ ทุกภาคส่วนและต้องพัฒนาให้มั่นคงให้มากขึ้นต่อไป ข้อเสนอเพื่อการพัฒนา องค์กร ส. ต้องท�ำงานร่วมกัน และการบูรณาการ ความท้าทาย กับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง การสร้ า งความไว้ ว างใจซึ่ ง กั น และกั น ระหว่ า ง ต้องสร้างความเป็นเจ้าของระบบสุขภาพ โดย สธ.และ สปสช. กระจายการจัดการสุขภาพลงไปยังพื้นที่ให้มากที่สุด บทบาทส�ำคัญของ สปสช.คือ การสร้างสมดุลใน เข็มมุ่งเพื่อความยั่งยืนในการบริบาลสุขภาพคือ ทุกภาคส่วนต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน สร้างความเข้มแข็งให้การส่งเสริมป้องกันโรค หน้า ห้วงเวลาที่ผ่านมา สปสช.ประสบความส�ำเร็จในการสร้าง ต้องปฎิรปู ระบบสุขภาพ เช่น ปรับบทบาทของโรง การรวมตัวของภาคประชาสังคม สร้างช่องทางให้ประชาชนเข้า พยาบาลให้เหมาะสมกับบริบท ก้าวใหม่

6.indd 15

15 14/9/2559 12:28:25


ก้าวทันมายาคติ

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

เรื่องนี้เป็นสามัญส�ำนึก ผู้ป่วยและญาติมั่นใจว่าโรงพยาบาล จะให้การรักษาตามมาตรฐาน แม้ว่าจะมีเงินไม่พอจ่าย ส่วนแพทย์ต้องการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน โดยไม่ต้องพะวงเรื่องการเงิน ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หนังสารคดีปี 2015 ของไมเคิล มัวร์ เล่า เรื่ อ งดี ๆ หลายๆ เรื่ อ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในยุ โ รปหลาย ประเทศ ยกเว้นเรื่องสุขภาพ ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ล่ า ตรงๆ เพี ย งแฝงไว้ ในบางเรื่ อ ง เขาเล่ า เรื่ อ งสุ ข ภาพ ไปมากแล้วในหนังสารคดีอีกเรื่อง หนึ่งของเขา Sicko เมื่อปี 2007 ที่แฉระบบสุขภาพสหรัฐอเมริกา ว่าย�่ำแย่เพียงใด เมื่อเทียบกับ หลักประกันสุขภาพของสหราช อาณาจักร

16

หนั ง สารคดี เรื่ อ งใหม่ นี้ เ ปิ ด ฉาก ข�ำๆ ด้วยการแสดงแสนยานุภาพของกอง ทั พ สหรั ฐ ฯ และผลงานในอดี ต ตั้ ง แต่ สงครามโลกครั้งที่สอง เวียดนาม เกาหลี อิรัก อัฟกานิสถาน ไล่ไปทุกทวีป แล้วทิ้ง ค�ำถามไว้ว่าเราจะรุกที่ไหนต่อดี คือ Where to invade next? ไมเคิ ล ร่ า งอ้ ว น หน้ า ตากวน ประสาท แบกธงชาติสหรัฐอเมริกาลงเรือ บรรทุกเครือ่ งบิน เป็นสัญลักษณ์วา่ เขาพร้อม แล้วที่จะรุกคืบไปยุโรป เพื่อไปยึดเอา “ของ ดีๆ” กลับมาสหรัฐอเมริกา และเมือ่ เขายึดได้ อะไรแล้ว จะปักธงที่แผ่นดินนั้น

ก้าวใหม่

6.indd 16

14/9/2559 12:28:26


ที่ อิ ต าลี คนงานของโรงงาน สามารถลาพักผ่อนได้ปีละ 8-10 สัปดาห์ โดยได้รบั ค่าจ้าง ทัง้ นีย้ งั ไม่รวมวันหยุดพิเศษ และวันหยุดตามสิทธิอื่นๆ นายจ้างที่นั่นพูด ว่า “ก�ำไรของนายจ้างไม่มีอะไรขัดแย้งกับ ความสุขของลูกจ้าง” ประมาณนี้ ที่ฝรั่งเศส เด็กนักเรียนในโรงเรียน ได้กินอาหารกลางวันที่สวย น่ากิน และอุดม ด้วยคุณค่าอาหารจากฝีมอื เชฟทีต่ งั้ ใจท�ำงาน อย่างดีทสี่ ดุ นอกจากนีย้ งั พาไปดูวธิ สี อนเพศ ศึกษาในชั้นเรียนหนุ่มสาวที่สอนเรื่องการ ใส่ใจจิตใจคูน่ อน การประวิงเวลาดืม่ ด�ำ่ ความ สุขทางเพศ และการมีเซ็กซ์ที่ปลอดภัย ไมเคิลคั่นรายการด้วยการแสดง ให้เห็นว่าภาษีที่คนอเมริกันจ่ายไปนั้น คน อเมริกันไม่รู้ว่าไปไหนเพราะไม่เคยแจ้ง แต่ ถ้าแจ้งจะพบว่าร้อยละ 60 ไปทีก่ ารทหาร ใน ขณะที่ใบแจ้งภาษีของยุโรปจะแจ้งละเอียด ว่าภาษีของพลเมืองน�ำไปใช้อะไร เช่น การ ศึกษา การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ที่สหรัฐอเมริกา หากต้องการการ รักษาที่ดี ต้องมีการร่วมจ่าย ที่ยุโรป ไม่มีค�ำ ค�ำนี้ ที่ ฟ ิ น แลนด์ ไมเคิ ล พาไปดู ก าร ศึกษาที่ดีที่สุดในโลก โดยบอกไว้ก่อนว่าเมื่อ 20-30 ปีกอ่ น การศึกษาทีน่ กี่ ไ็ ม่เอาไหนพอๆ กับสหรัฐอเมริกา แต่ฟินแลนด์พาตนเองขึ้น สู่อันดับหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ที่นี่ไม่มีการบ้าน ไปโรงเรียนเมื่อ 7-8 ขวบ เด็กๆ อยู่โรงเรียนวันละ 3-4ชั่วโมง ไม่มีข้อสอบปรนัย เรียนรู้อย่างมีความสุข และมีความใฝ่ฝัน “เด็กๆ ไม่อยู่โรงเรียนแล้วกลับ บ้านไปท�ำอะไร” ไมเคิลถาม “ไปเล่น ท�ำกับข้าว ท�ำสวน ใช้ เวลากั บ ครอบครั ว ไปเที่ ย วผจญภั ย ไป พิพิธภัณฑ์” สารพัดกิจกรรมที่มนุษย์พึงมี ครูหลายคนช่วยกันตอบ เมื่ อ สมองและจิ ต ใจผ่ อ นคลาย เด็กๆ จะพัฒนาตนเองได้ดีที่สุด ครูใหญ่ที่ ฟินแลนด์ว่า

“ศั ก ดิ์ ศ รี ข องความเป็ น มนุ ษ ย์ เป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง ” เป็ น ค� ำขวั ญ ประจ� ำ ตั ว ของต�ำรวจโปรตุเกส และนั่นท�ำให้ไม่มีโทษ ประหาร “ไม่ใช่ว่าประกาศให้ยาเสพติดไม่ ผิดกฎหมายแล้วทุกอย่างจะเรียบร้อย” นาย ต�ำรวจระดับสูงให้สมั ภาษณ์ “เราต้องพัฒนา ระบบสุขภาพก่อน คนทุกคนได้รบั การรักษา ฟรีและดีด้วย” จะเห็นว่าสวัสดิการพื้นฐานของ ประเทศคือ การสาธารณสุข หากเรื่องนี้ดี รากฐานของอีกหลายๆ ปัญหาจะถูกขจัด ออกไปก่อนตั้งแต่แรก การแก้ไขเรื่องอื่นๆ จะง่ายขึ้น

Where to Invade Next เรื่องร่วมจ่ายหรือ co-payment เกิดขึ้นได้ แต่ต้องจ่ายก่อน เกิดบริการเท่านั้น ไม่ควรมีการขอให้ร่วมจ่ายขณะเกิดบริการ ที่สโลวีเนีย เรียนฟรีอย่างแท้จริง จนถึงระดับมหาวิทยาลัย ไม่มีใครที่จบมา พร้อมหนี้สิน ที่เยอรมนี พาไปดูความเป็นอยู่ ของคนงานโรงงานท� ำ ดิ น สอเฟเบอร์ ค าส เทล ความสุขในที่ท�ำงาน สวัสดิการที่ได้ อาหารกลางวันที่บ้าน และวันลาพักผ่อน นายจ้างไม่มสี ทิ ธิรบกวนลูกจ้างในวันลา ห้าม โทรศัพท์และห้ามส่งเมล์ ที่ โ ปรตุ เ กส พาไปดู ป ระเทศที่ ยาเสพติ ด มิ ใช่ สิ่ ง ผิ ด กฎหมาย ท� ำ ให้ ค ดี อาชญากรรมลดลง ผูต้ อ้ งขังลดลง อัตราการ ใช้ยาเสพติดลดลง

ไมเคิลพาไปดูแดนคุมขังนักโทษ อุกฉกรรจ์ในนอรเวย์ พวกเขาถูกกักบริเวณ แต่มบี า้ นส่วนตัวเช่นเดียวกับคนทัว่ ไป มีครัว และมีดท�ำครัวครบครันไม่เว้นแม้แต่ผตู้ อ้ งขัง คดีฆาตกรรม จ�ำนวนผู้ต้องขัง 115 คนโดย ใช้ผู้คุม 3 คน! เรื่องนี้เข้าใจยากจริงๆ ยังมีอีกบางเรื่องจากบางประเทศ รอให้ผู้สนใจเก็บเกี่ยวต่อ กล่าวเฉพาะประเด็นสุขภาพที่ เกี่ยวข้องสองเรื่องคือ เรื่องการร่วมจ่าย และเรื่ อ งหลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า สองอย่างนีไ้ ด้มาจากการจัดสรรภาษีทเี่ ป็น ธรรมและโปร่งใสมากกว่าอย่างอื่น กล่าว คือคนทุกคนจ่ายล่วงหน้าหมดแล้ว ก้าวใหม่

6.indd 17

17 14/9/2559 12:28:26


ก้าวทัน (โรค) โลก

ง อ ่ ื ร เ 5

พญ. ชัญวลี ศรีสุโข (chanwalee@srisukho.com)

ในระบบสาธารณสุข ที่รัฐควรปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ทีผ ่ า่ นประชามติของประชาชนชาวไทย กล่าวถึงระบบสาธารณสุขของรัฐ ไว้ว่า มาตรา 47 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการ สาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและ ขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มาตรา 48 สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและ หลังคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 258 ให้ด�ำเนินการปฏิรูป ประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิด ผลต่อไปนี้ ช. ด้านอื่น ๆ (4) ปรับระบบ ประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและ ประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการ เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกเท่า เทียมกัน (5) ให้มรี ะบบการแพทย์ปฐมภูมทิ ี่ มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม ในปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขของ รั ฐ ก� ำ ลั ง อยู ่ ใ นภาวะเสื่ อ มถอย จนท� ำ ให้ ประชาชนผู ้ ย ากไร้ ไ ม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง การ บริการทีม่ คี ณ ุ ภาพ และสะดวกเท่าเทียมกัน จากวิกฤต 7 ประการดังนี้ 1. วิกฤตการเงินของโรงพยาบาลรัฐ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบปัญหาโรงพยาบาล รัฐขาดสภาพคล่องประสบภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างต่อเนือ่ ง ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 -2558 โรงพยาบาลที่มีวิกฤตการเงิน จ�ำนวนมาก วิกฤตรุนแรงระดับ 7 มีจ�ำนวนกว่าร้อยโรง คิดเป็น ร้อยละ 10-20 ของจ�ำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด โดยเกิดขึ้นทุก ไตรมาส โดยเฉพาะไตรมาสที่3 ส่งผลให้การรักษาพยาบาล การ ป้องกันโรค ด้อยคุณภาพ 18

2. วิกฤตความแออัดของคนไข้ เมื่อมีระบบประกันสุขภาพเกิดขึ้น ใน 13 ปีที่ผ่าน มา พบจ�ำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในไปกระจุกแออัดกันที่โรง พยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โดยมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50-200 แม้กระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายและกลยุทธ์ลด ความแออัดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน แต่ก็ยังไม่ประสบผลส�ำเร็จ ส่งผลให้ควิ การรักษายาวนาน สภาพผูป้ ว่ ยทีล่ ำ� บากยากจน ต้อง นอนเตียงเสริม ใส่เครื่องหายใจในตึกผู้ป่วยสามัญ พบเห็นกัน เกือบทุกโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ 3. วิกฤตการฟ้องร้อง การร้องเรียน การฟ้องศาล แม้มีจ�ำนวนน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ของจ�ำนวนแพทย์ ทั้งหมด แต่เชื่อว่ามีมากกว่าที่เห็น เนื่องจากส่วนใหญ่มีการเจรา ไกล่เกลีย่ ก่อนเกิดคดี จนลงเอยด้วยการไม่ฟอ้ งร้อง ความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป ขาดความเชื่อมั่น ศรัทธา ส่งผลให้เกิดการแพทย์ปอ้ งกันตัว (Defense medicine) มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการตรวจรักษาคนไข้ เช่น โรคไส้ติ่ง อักเสบ สมัย 10 ปีกอ่ น วินจิ ฉัยโดยการตรวจทางคลินกิ ปัจจุบนั วินิจฉัยโดยการการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ไม่มีการผ่าตัด หรือท�ำคลอดที่โรงพยาบาลชุมชน มีการส่งต่อจากโรงพยาบาล ชุมชนเข้าโรงพยาบาลจังหวัดจ�ำนวนมากขึ้น เพราะคนไข้และ ญาติขาดความมั่นใจ

ก้าวใหม่

6.indd 18

14/9/2559 12:28:27


4. วิกฤตการกระจายแพทย์ จ�ำนวนแพทย์ทั่วประเทศประมาณ 5 หมื่นราย เกิน ร้อยละ 50 อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แพทย์จบใหม่ปี ละสองพันเศษ ลาออกจากราชการประมาณ 600 คน แพทย์ ในชนบทเป็ น แพทย์ จ บใหม่ และเปลี่ ย นหน้ า ทุ ก ปี แม้ ร ่ า ง รัฐธรรมนูญสนับสนุนการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แต่ยงั มีปญ ั หาในทางปฏิบตั จิ ากค่านิยมของแพทย์และประชาชนที่ ยัง ศรัทธาแพทย์เชีย่ วชาญ และแพทย์เชีย่ วชาญเฉพาะโรค (Board, Sub board) ซึ่งมีการเพิ่มจ�ำนวนผลิต 5. วิกฤตมาตรฐานการรักษา สาเหตุของการฟ้องร้องที่มากที่สุด คือปัญหาการ สื่อสาร และมาตรฐานการรักษา โรงพยาบาลรัฐหลายแห่งมี ข้อจ�ำกัดในจ�ำนวนคน เครื่องไม้เครื่องมือ เงินทุน ความรู้ความ ช�ำนาญของบุคลากร การบริหารยา การบริหารจัดการที่ดี มีข้อ จ�ำกัดของการส่งต่อ 6. วิกฤตภาระงาน ปัจจุบนั อัตราครองเตียงของโรงพยาบาลหลายแห่งเกิน ร้อยเปอร์เซ็นต์ บุคลกรทางการแพทย์รับภาระงานหนัก ข้อมูล จากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า แพทย์ส่วนหนึ่งปฏิบัติงาน 94 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ท�ำงานต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง มีเวลาพักน้อย ตรวจผู้ป่วยนอก ใช้เวลาคนละประมาณ 5 นาที เช่นเดียวกับ พยาบาลบางแผนกมีชั่วโมงท�ำงานที่มากเกินไป ท�ำให้เกิดความ ผิดพลาด บางแห่งการบริการทางพยาบาลต้องอาศัยญาติของ คนไข้ช่วยกัน 7. วิกฤตธรรมาภิบาลในโรงพยาบาลรัฐ กระบวนการปฏิ บั ติ ง านและระบบงานยั ง ไม่ เ ป็ น มาตรฐาน ยังไม่สามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ การพัฒนา สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจสนองตอบความคาดหวัง ของประชาชนได้ในบางโรงพยาบาล ส่วนหนึ่งไม่โปร่งใส ไม่ สามารถตรวจสอบได้ ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการพัฒนา และยังมีการเลือกปฏิบัติ ไม่เท่าเทียมกัน ในสิทธิการรักษา พยาบาลทั้งสามสิทธิ ประกันสังคม ข้าราชการ บัตรประกัน สุขภาพถ้วนหน้า

5 เรื่องในระบบสาธารณสุข ที่รัฐควรปฏิรูปอย่างเร่งด่วน มีดังนี้ 1. แก้ไขวิกฤตการเงินการคลังของโรงพยาบาลรัฐ ที่ขาดสภาพคล่องอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดการจ�ำกัดคุณภาพการรักษาพยาบาล ปัจจุบันมีคณะท�ำงานระดับต่าง ๆ แต่การแก้ไขยังไม่เป็น บรรลุผล ทั้งเพราะงบประมาณมีไม่เพียงพอ ทั้งส่วนหนึ่ง เชื่อว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการบริหารงาน 2. สร้างเสริมพลังประชาชน เราคือหมอคนแรกและคนสุดท้ายของตนเอง คน เราจะมีสุขภาพแข็งแรงไม่ได้ขึ้นอยู่กับหมอและโรงพยาบาล ประชาชนทุ ก คนต้ อ งได้ รั บ การส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ดู แ ล สุขภาพของตนให้แข็งแรงเป็นพื้นฐาน เห็นความส�ำคัญของ การรับวัคซีน การตรวจคัดกรองโรค การป้องกันโรค การคุม ก�ำเนิด เตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ มีความรู้ที่ถูก ต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เข้าใจการแพทย์ เข้าใจวัฎจักร เกิดแก่เจ็บตาย สามารถละโลกนี้ไปอย่างมีศักดิ์ศรี 3. เสริมพลังบุคลกรทางการแพทย์ ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฎิบัติ สร้างแรงจูงใจ ให้มี ความสามัคคี มีคุณธรรม ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการดูแล สุขภาพประชาชน ให้บรรลุตัวชี้วัดสุขภาพที่ส�ำคัญ 4. ทบทวนนโยบายสาธารณสุขที่ส�ำคัญ เช่น การผลิต การกระจายแพทย์ กฎหมายใหม่ ทางการแพทย์ ภาระงาน ค่าตอบแทน มาตรฐานการรักษา การส่งต่อ การผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 5. สร้างโรงพยาบาลคุณธรรม มีการบริหาร การจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่น ความถูกต้องประโยชน์สว่ นรวม พอเพียง ประหยัด ประชาชน พึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุข บริการด้วยน�้ำใจ มีมาตรฐาน ยุ ติ ธ รรม เคารพในศั ก ดิ์ ศ รี ข องบุ ค คลอื่ น เป็ น จิ ต อาสา เพื่อประโยชน์ส่วนรวม จนโรงพยาบาลสามารถช่วยเหลือ ตนเองได้ในที่สุด ก้าวใหม่

6.indd 19

19 14/9/2559 12:28:27


Update สื่อ

กองบรรณาธิการ

สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือ “คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการ ระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข” ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อธิบายถึง แนวทางการบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง การเข้าร่วมด�ำเนินงาน ของหน่วยบริการและศูนย์พัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (CARE MANAGER) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (CAREGIVER) และ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สื่อนิวมีเดีย สื่อโทรทัศน์ ติดตามชมสกู๊ป “หลักประกันสุขภาพ” ออกอากาศทุก วันเสาร์ ช่วงข่าวภาคค�่ำ เวลา ประมาณ 20.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิรน์ ไนน์ (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)

สื่อวิทยุ อัพเดทเรื่องราวที่สดใหม่ทุกเรื่อง ที่คุณควรรู้เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพ ได้ ทุกวันอังคารทางรายการ “คลื่นความคิด” FM 96.5 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป หรือฟังย้อนหลังได้ทาง WWW.YOUTUBE. COM/สปสช. 20

ก้าวใหม่

6.indd 20

14/9/2559 12:28:29


แวดวง UC โดยหนูนิด พบกันอีกแล้วคร้า... กับ “หนูนิดสะกิดดาวววววว” กว่าจะมาเจอกันฉบับนี้ ท่านผู้อ่านคิดถึง หนูนิดเหมือนกับที่หนูนิดที่คิดถึงท่านผู้อ่านบ้างรึเปล่า... แต่ไม่ว่าจะห่างหายท่านผู้อ่านนานแค่ไหน หนูนิดก็ไม่ลืมท�ำการบ้าน คอยตามเก็บเรื่องราวดีๆ เด่นๆ ของคนในแวดวงสาธารณสุขมาฝากนะคะ... และฉบับนี้ก็เหมือนเดิม... หนูนิดมีเรื่องราวเด่นๆ มาน�ำเสนอ ขอเริ่มกันเลยดีกว่านะคร้า.... ไปกั น ที่ จั ง หวั ด พิ จิ ต ร ...ที่นี่ทราบมาว่า นพ.กิตติ โชติ ตั้ ง กิ ต ติ ถ าวร ท่ า น ผอ.รพ.สมเด็จพระยุพราช ตะพานหิ น ได้ รั บ รางวั ล แพทย์ดีเด่นในชนบทของคณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คนที่ 42 ประจ�ำปี 2558 ไปหมาดๆ โดยคุณหมอก ลับมาท�ำงานในภูมิล�ำเนาบ้านเกิดตั้งแต่ หลังเรียนจบในปี 2530 ที่โรงพยาบาล ตะพานหินแห่งเดียวเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี ถือเป็นผู้ที่มีความเสียสละ ทั้งยัง เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโรง พยาบาล ท�ำให้ชาวบ้านได้รับการรักษา

พยาบาลที่ดี และยังส่งเสริมให้คนในชุมชน รักษาสุขภาพ จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ แพทย์รุ่นน้องที่เห็นคุณค่าการท�ำงานในโรง พยาบาลชุมชน ถือเป็นความโชคดีของชาวบ้านใน อ� ำ เภอตะพานหิ น และใกล้ เ คี ย ง แหมน่ า อิจฉาจริง งานนี้หนูนิดขอติดดาวดวงใหญ่ๆ ให้ท่าน นพ.กิตติโชติ ไปเลยห้าดวงนะคร้า

มาต่อกันที่จังหวัดชัยภูมิ ที่โรงพยาบาล หนองบัวระเหว หนูนิดแอบได้ยินมาว่า เค้าพึ่ง คว้ า รางวั ล ศู น ย์ บ ริ ก ารหลั ก ประกั น สุ ข ภาพใน หน่วยบริการดีเด่น ประจ�ำปี 2558 ประเภท รพ.ชุมชน ของ สปสช.กันไปเองนะจ๊ะ จะไม่ได้ รางวัลนี้ได้ไง ก็ท่าน นพ.เฉิดพันธ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ ผอ.รพ.หนองบัวระเหว เป็นผู้ที่ให้ความส�ำคัญ ต่องานคุ้มครองสิทธิอย่างมาก เพื่อให้ชาวบ้านที่นี่ เข้าถึงการรักษาภายใต้ระบบบัตรทอง ท่านเริ่ม ตั้งศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ ระบบบั ต รทองเริ่ ม ตั้ ง ไข่ ควบคู ่ กั บ การพั ฒ นา โรงพยาบาลภายใต้ มาตรฐาน H.A. จน มีผลงานโดดเด่น ทั้ง ช่วยลดปัญหาขัดแย้ง ในระบบสาธารณสุข แหมมมม...ท่าน ผอ.รพ.หนองบั ว ระเหว ห่วงชาวบ้านในพืน้ ทีข่ นาดนี้ หนูนดิ ซาบซึง้ ใจ แทนนะคร้า... คงต้องให้คะแนนเต็มติดดาวห้าดวง กันไปเลยจร้า...

6.indd 21

ปิ ด ท้ า ยฉบั บ นี้ กั น ที่ จั ง หวั ด สระบุรีกันดีคะ ที่โรงพยาบาลสระบุรี มีการจัดโครงการ “สร้างเครือข่าย และเพิ่มศักยภาพพยาบาลเพื่อการ ฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพผู ้ ป ่ ว ยในระยะ กึ่ ง เฉี ย บพลั น ” โดย นพ.สุ ร โชค ต่างวิวฒ ั น์ ท่าน ผอ.รพ.สระบุรี เล็งเห็น ความส� ำ คั ญการดู แลผู ้ ป่ ว ยกลุ ่ มนี้ ที่ คาดว่าจะมีจำ� นวนเพิม่ ขึน้ ทัง้ จากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอุบตั -ิ เหตุต่างๆ รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เฉพาะที่จังหวัดสระบุรี มีผู้ป่วย

กลุม่ นีถ้ งึ 7,210 คน จึงต้องมีการเตรียม ความพร้อมรองรับเพือ่ ช่วยฟืน้ ฟูผปู้ ว่ ย เหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ ป้องกันความพิการ นับเป็นโครงการดีๆ ที่ต้องช่วยกันสนับสนุน งานนี้ต้องชื่นชม นพ.สุรโชค ทีท่ ำ� งานนึกถึงแต่ผปู้ ว่ ยขนาดนี้ หนูนดิ ของสะกิ ด ดาว มอบดาวให้ ท ่ า น ผอ.รพ.สระบุรีห้าดวงเลยนะจ๊ะ... ฉบับนี้ “หนูนดิ ” ของบ๊ายบาย ไปก่อน ฉบับหน้าจะมาสะกิดดาวดวง ใหม่กันต่อนะคร้า... สวัสดีค่ะ

14/9/2559 12:28:30


ช่องทางการสื่อสารใหม่!! จาก สปสช.

NHSO Social Media

สายด่วน

สปสช. 1 3 3 0

บริการข้อมูลให้ค�ำปรึกษาด้านหลักประกันสุขภาพ

หลั ก ประกั น สุ ข ภาพของคนไทย เราดู แล 6.indd 4

12/9/2559 21:09:52


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.