75 ปี ดาราสมุทร

Page 1




สารบัญ สัญลักษณ์ 75 ปี ดาราสมุทร..............1 สารแสดงความยินดีจาก พระคาร์ดินัลและคณะพระสงฆ์..............6 สารแสดงความยินดีจาก นายกรัฐมนตรี............26 สารแสดงความยินดีจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ............27 สารแสดงความยินดีจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม............28 สารแสดงความยินดีจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุร............29 ี สารแสดงความยินดีจาก นายอำ�เภอศรีราชา............30 สารแสดงความยินดีจาก นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา............31 สารแสดงความยินดีจาก นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนดาราสมุทร............32 สารแสดงความยินดีจาก นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดาราสมุทร............33 เพลงสดุดีดาราสมุทร............34

อดีต...ดาราสมุทร..........39

ประวัติโรงเรียนดาราสมุทร............40 เล่าสู่กันฟัง............46 ทำ�เนียบครูเก่า............56 พัฒนาวิสัยทัศน์ เพื่อวิวัฒน์อัตตา............65 แบ่งปันวิทยสังเคราะห์...สู่สังคม............70

ปัจจุบัน...ดาราสมุทร.........77

โครงสร้างการบริหารงาน............78 นักเรียนโดดเด่นแห่งปี............84 ผลสัมฤทธิ์นักเรียน ..........94. กว่าจะเป็น............96 นักเรียนดาราสมุทร ปีการศึกษา 2554..........106 แผนแม่บทงานเฉลิมฉลองโรงเรียนดาราสมุทร 75 ปี..........168

ดาราสมุทร...ก้าวสู่ทศวรรษที่ 8.......174

วิสัยทัศน์ผู้บริหาร..........175 งานวิจัย “ดาราสมุทรทศวรรษที่ 8”..........185 เพลง OUR FATHER เพลง AVE MARIA..........196 เพลง 75 ปี ดาราสมุทร ศรีราชา..........197 เพลง ปรัชญาดาราสมุทร..........198 คณะผู้จัดทำ�..........199


1


2


3


อาเศียรวาท ราชสดุดี 84 พรรษา มหาราชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้า ปกกระหม่อม เมฆดำ�ปรก ศกนี้ ที่เศร้าหมอง ท้องถิ่นไทย หลายสถาน น้ำ�เอ่อนอง ดินสไลด์ ไหล่เขาพัง ฝังคนกัน ผ่านทุกข์มา น้�ำ ตานอง หลายหมู่บ้าน น้ำ�ท่วมไทย หลายจังหวัด จัดเต็มที่ น้ำ�ใจดี ที่หลั่งไหล ไทยทั้งผอง ประชาไทย ได้บรรเทา เราปรองดอง เป็นพี่น้อง ต้องช่วยกัน วันทุกข์ทน ภูมิแผ่นดิน ถิ่นไทย ห่วงใยนัก ธ ทรงรัก พิทักษ์ราษฎร์ ที่ขัดสน ถุงยังชีพ รีบส่ง ตรงปวงชน ไทยทุกคน พ้นทุกข์ภัย ยิ้มให้กัน จักรีวงศ์ ทรงปกป้อง คุ้มครองไทย ในประชา ฝ่าโศกศัลย์ ทรงห่วงใย ทุกพระองค์ ทรงช่วยราษฎร์ มิผัดวัน ความสุขสันต์ พลันคืนมา ทั่วฟ้าไทย แปดสิบสี่ พระชันษา มหามงคล พระกุศล ธ ทรงสร้าง ทางไสว พระบุญญา บารมี ที่เกรียงไกร โปรดช่วยให้ หายประชวร ล้วนเปรมปรีดิ์

4

องค์พ่อหลวง ของปวงชน ทรงทนทุกข์ เพื่อความสุข ชาวสยาม ความสุขศรี แผ่นดินธรรม ความร่มรื่น พื้นปฐพี พระบารมี พระปรีชา ปรกฟ้าไทย ก้มเกศน้อม พร้อมเหล่าข้า ดาราสมุทร จุดรวมชาติ ศาสน์สดใส ภักดีสุด ดาราสมุทร จุดปีไป เจ็ดสิบห้า ขอรับใช้ ชาวประชา ข้าภักดี ขอเป็นข้า ฝ่าพระบาท ร่วมชาติไทย รวมดวงใจ ใต้ร่มฉัตร จัดวิถี การศึกษา พาเยาวชน เป็นคนดี มีคุณค่า เอื้ออาทร ทำ�หน้าที่ แม่มารีย์ ที่อุปถัมภ์ นำ�ปกป้อง ทรงคุ้มครอง ปัดผองภัย ให้ถ่ายถอน ขอพ่อหลวง ดวงพระทัย ได้พระพร ข้ายอกร กราบพระองค์ ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร คณะครู บุคลากรสนับสนุน นักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี (นายพงศ์ธัช มิ่งมณี ผู้ประพันธ์)


5


สารแสดงความยินดี พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

ขอร่วมโมทนาคุณพระเป็นเจ้า ขอร่วมแสดงความยินดีตอ่ สังฆมณฑลจันทบุรี คณะผูบ้ ริหาร คณะครู และนักเรียนโรงเรียน “ดาราสมุทร ศรีราชา” โอกาสพิเศษฉลองครบรอบ 75 ปี แห่งการก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้ เป็นทีน่ า่ ยินดีและชืน่ ชมยิง่ ทีส่ งั ฆมณฑลจันทบุรี ได้พฒ ั นาและขยายบริการด้านการศึกษาสถาบัน การศึกษาแห่งนีม้ าโดยตลอด 75 ปี และมุง่ มัน่ ทีจ่ ะส่งเสริมการศึกษาให้แก่เยาวชนให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ และ เยาวชนเหล่านี้จะได้เป็นก�ำลังส�ำคัญของท้องถิ่นและประเทศชาติสืบไป การเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี ของโรงเรียนดาราสมุทรศรีราชา เป็นการยืนยันถึงความก้าวหน้าทัง้ ด้านอาคารสถานที่ และคุณภาพด้านการศึกษาและการบ่งชีถ้ งึ มาตรฐานการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ทั้งยังเป็นเครื่องหมายบอกให้เป็นที่ประจักษ์ว่า คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ตลอดจน ผู้ปกครองให้ความส�ำคัญของการศึกษาเป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพื่อให้บรรดาเยาวชนได้รับการศึกษาและการ อบรมอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นและสังคมที่ดีกว่าในอนาคต การทีโ่ รงเรียนได้ด�ำเนินงานด้านการศึกษาเป็นเวลายาวนานถึง 75 ปี เป็นพระพรพิเศษของพระเจ้า และแสดงถึงความวิรยิ ะอุตสาหะของผูก้ อ่ ตัง้ และผูด้ �ำเนินงานบนพืน้ ฐานทีส่ �ำคัญยิง่ คือ เพือ่ รับใช้พระเจ้า และสังคมไทย ความส�ำเร็จเหล่านี้ท�ำให้เกิดความภาคภูมิใจและเกียรติภูมิแก่สถาบันแห่งนี้ โอกาสนี้ขอส่งก�ำลังใจมายังคณะผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาให้ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ขอพระผู้เป็นเจ้าและพระแม่มารีย์ “Stella Maris” องค์อุปถัมภ์โปรดอ�ำนวยพรอันอุดมตลอดไป ขออ�ำนวยพร พระคาร์ดินัล ม.มีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราชกิตติคุณแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

6


สารแสดงความยินดี พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

“การศึกษาอบรมแบบคาทอลิก มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ในทุกมิติ ด้วยบรรยากาศของความ รักและความเอาใจใส่ เพื่ออบรมความเชื่อ จริยธรรม และศีลธรรม” (เทียบ แผนอภิบาลอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ค.ศ. 2011-2015 ข้อ 58-59) พระศาสนจักรให้ความส�ำคัญกับงานด้านการศึกษา และส่งเสริมให้ สถานศึกษาคาทอลิกเป็นสนามแห่งการอบรมและเป็นฐานเพือ่ การประกาศข่าวดี เป็นพยานถึงความรัก การ รับใช้ และเมตตาธรรม โรงเรียนดาราสมุทรเป็นโรงเรียนเก่าแก่และมีชื่อเสียง ได้รับอนุญาตให้ท�ำการสอนจากกระทรวง ศึกษาธิการอย่างเป็นทางการ เมือ่ วันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในอ�ำเภอ ศรีราชา และจากอดีตถึงปัจจุบนั โรงเรียนได้มกี ารพัฒนาขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจ ของคณะผู้บริหาร คณะครู ผูป้ กครอง นักเรียน ตลอดจนศิษย์เก่า จนท�ำให้เป็นที่ยอมรับและความภาคภูมใิ จ ของผู้ปกครองและบุคคลโดยทั่วไป นอกจากนี้หนึ่งในผู้บริหารที่ทุกคนมีความภูมิใจนั่นก็คือ คุณพ่อฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู ปัจจุบันคือพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ซึ่งได้ท�ำหน้าที่เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนดาราสมุทรใน ช่วง ปี ค.ศ. 1948-1953 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอร่วมโมทนาคุณพระเป็นเจ้า และร่วมแสดงความยินดีกับโรงเรียน ดาราสมุทร ศรีราชา ที่ได้ให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนมาเป็นเวลา 75 ปี รวมทั้งได้วางรากฐาน การศึกษาให้กับสามเณรผู้เตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ นับเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมและต่อพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และ บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนทุกท่าน ทีไ่ ด้มสี ว่ นพัฒนาให้โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้ามัน่ คง และ ขออ�ำนวยพรให้ทุกท่านมีพละก�ำลังในการท�ำหน้าที่ต่อไปด้วยความขยัน อดทน เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ขออ�ำนวยพร

พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประมุขแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

7


สารแสดงความยินดี พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

เนื่องในโอกาสฉลอง 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ขอแสดงความยินดี และโมทนาคุณพระเจ้าร่วม กับชาวดาราสมุทรทุกท่าน ขอให้การเฉลิมฉลองนีบ้ รรลุวตั ถุประสงค์และได้รบั ผลทีค่ าดหวังไว้ตามทีค่ ณะ กรรมการจัดงานตั้งไว้ทุกประการ โรงเรียนดาราสมุทรเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกในอ�ำเภอศรีราชา ก่อตั้งขึ้นโดยคุณประยูรและ คุณมณี สิริสันต์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2479 ต่อมาได้ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบัน และโอนกิจการให้ แก่สงั ฆมณฑลจันทบุรภี ายใต้การบริหารงานโดยบาทหลวงคาทอลิก และได้รบั ความร่วมมืออย่างดีจากผู้ ร่วมงานทีม่ คี ณ ุ ภาพและผูส้ นับสนุนทีม่ ใี จกว้าง ซึง่ ท�ำให้โรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าขึน้ เรือ่ ยๆ จนเป็นโรงเรียน ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ขอขอบคุณทุกท่านที่มีพระคุณต่อโรงเรียนดาราสมุทรทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว และยังมี ชีวิตอยู่ การเฉลิมฉลองนีท้ �ำให้เรามองกลับไปในอดีตซึง่ จากจุดเริม่ ต้นจนกว่าเวลานีเ้ ป็นการเดินทางทีย่ าว ไกลและผ่านประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อระลึกถึงอดีตก็ก่อให้เกิดความสุขแก่ผู้ที่อยู่ในช่วงเวลานั้น เมือ่ น�ำอดีตมาศึกษาก็กอ่ ให้เกิดประโยชน์แก่ปจั จุบนั และอนาคต การทีโ่ รงเรียนดาราสมุทรมีประวัตศิ าสตร์ ทีย่ าวนานและเข้มแข็งซึง่ มีบคุ คลจ�ำนวนมากร่วมกันสร้าง บ่งบอกถึงความเป็นดาราสมุทรในวันนี้ และยัง เป็นก�ำลังใจที่จะก้าวไปสู่อนาคตด้วยภารกิจส�ำคัญด้านการศึกษาอบรมของโรงเรียนดาราสมุทรยังคงอีก ยาวไกล และยังต้องการความร่วมมือและการสนับสนุนของทุกท่านต่อไป ขอพระพรของพระเจ้าสถิตกับชาวดาราสมุทร คณะผูบ้ ริหาร ครู ผูป้ กครอง ศิษย์เก่า ศิษย์ปจั จุบนั เจ้าหน้าที่ และบุคลากร ให้อยู่เย็นเป็นสุข อยู่ในศีลในธรรมตลอดไป และขอพระแม่มารีย์ องค์อุปถัมภ์ ของชาวดาราสมุทร ปกป้องทุกท่านให้ปลอดภัยจากภยันตรายและความชั่วช้าทุกประการ

พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

8


สารแสดงความยินดี พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จัดงานฉลองวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนประจ�ำ ปี 2554 ซึ่งในปีนี้ครบรอบ 75 ปี ขอแสดงความยินดีกับคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า พร้อมทั้งผู้มีพระคุณทั้งหลาย สรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้าและพระแม่มารีย์ที่ทรงพระกรุณา โปรดประทานพระพรความช่วยเหลือให้กิจการของโรงเรียนเจริญพัฒนาตลอดเวลา ทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย วิชาการ อาคาร สถานที่ บรรดาศิษย์เก่าหลายๆ ท่านมีต�ำแหน่งหน้าที่ส�ำคัญใน สังคม เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป ให้เราระลึกถึงและขอบคุณ คุณยอห์น และคุณอลิซ สิริสันต์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน วิลลา แสตลลา มารีส (ชื่อเดิม) และยกกิจการของโรงเรียนให้บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา ให้เราระลึกถึงและ ขอบคุณคณะผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าและผู้มีพระคุณทั้งหลาย ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่มี ส่วนช่วยให้กิจการของโรงเรียนเจริญก้าวหน้าตลอดเวลา 75 ปี อาศัยค�ำเสมอวิงวอนของพระแม่มารีย์ ผู้มีสมญานามว่า “ดาราสมุทร” องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงตอบแทนน�้ำใจดีของคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าและ ผู้มีพระคุณทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเป็นร้อยเท่าทวีคูณ และอ�ำนวยพรโรงเรียนดาราสมุทรให้ เจริญพัฒนาในทุกๆ ด้าน เป็นสถาบันพัฒนาตนให้เป็นพลเมืองดีของชาติและศาสนิกที่ดีของศาสนา มีส่วนช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติ และอยู่เป็นมิ่งขวัญของสังคมสืบไปชั่วกาลนาน

พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต

9


สารแสดงความยินดี อุปสังฆราชยอแซฟ ยอด เสนารักษ์ โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

ขอร่วมแสดงความยินดีในโอกาสอันเป็นมงคลยิง่ นี้ นับเป็นความชืน่ ชมยินดี เป็นความภาคภูมใิ จ เป็นเกียรติยศและเป็นสง่าราศี ของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะศิษย์เก่า บุคลากรสนับสนุน คณะครู คณะผู้ บริหารและชุมชนลูกหลานชาวศรีราชา ตั้งแต่อดีต ปี พ.ศ.2479 จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.2554 เบือ้ งหลังและแรงบันดาลใจคงต้องโมทนาคุณพระเป็นเจ้า ถวายเกียรติสรรเสริญองค์พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงมีพระบัญชาให้เราทุกคนไป “ประกาศข่าวดีแห่งความรักและความรอด” ให้กับคนทุกยุคทุกสมัย สังฆมณฑลจันทบุรกี ร็ บั เอาพันธกิจอันยิง่ ใหญ่นมี้ าด�ำเนินการ และได้ปฏิบตั ใิ ห้เป็นจริงตัง้ แต่แรกเริม่ จนถึง ทุกวันนี้ โดยยึดถือ “พระแม่มารีย”์ เป็นองค์อปุ ถัมภ์ของโรงเรียนเรือ่ ยมา คณะผูบ้ ริหารยุคแล้วยุคเล่าต่าง มีจดุ มุง่ หมายทีจ่ ะสืบสานพันธกิจแห่งรักและรับใช้ ตามบริบทและตามสภาพความเป็นจริงของสังคมแต่ละ สมัย ปัจจุบันเราเห็น “ต้นกล้า” ได้มีพัฒนาการเจริญเติบโต “ร่มไม้ใหญ่” แผ่กิ่งก้าน ให้ร่มเงา ให้ความสุข สันติและยังยืนหยัดอย่างมั่นคง เพื่อ “ประกาศข่าวดีแห่งความรักและความรอด” เพื่อเป็นสนามงานแพร่ ธรรม เพื่อพัฒนา “คน” ให้เจริญงอกงามเติบโตในทุกมิติของชีวิต ข้าพเจ้าภูมใิ จและถือเป็นเกียรติทไี่ ด้ศกึ ษาเล่าเรียนในสถาบันแห่งนี้ ได้มสี ว่ นร่วมและท�ำงานร่วม กันกับคณะผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง บุคลากรสนับสนุนและชุมชนชาวศรีราชา ในฐานะ “ประธาน กรรมการบริหารสถานศึกษา “ โดยมีคุณพ่อเสกสรร สุวิชากร เป็นผู้อ�ำนวยการ ข้าพเจ้ามีความสุขและยัง ส�ำนึกขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่มีส่วนร่วมในภารกิจที่ผ่านมา ถ้าไม่มีพวกท่าน ข้าพเจ้าก็คงท�ำอะไรไม่ได้ ยิ่งถ้าไม่มีพระเป็นเจ้า ไม่มีพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน เป็นแรงบันดาลใจ ทรงอ�ำนวยพระพร ปกปักรักษาและคุ้มครอง เราทุกคนก็คงท�ำอะไรไม่ได้เลย และก็คงจะไม่มีวันนี้ ก็คงจะไม่มีโอกาสฉลอง 75 ปี เช่นนี้ ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอ�ำนวยพระพร ให้ทุกคนเจริญเติบโตขึ้นในความรักต่อกัน พร้อมทั้ง ปณิธานที่จะสืบสานพันธกิจแห่งรักและรับใช้ต่อไป ด้วยความปรารถนาดี

บาทหลวงยอด เสนารักษ์ อุปสังฆราช 1 มิ.ย. 2543 - 15 มิ.ย. 2548

10


สารแสดงความยินดี บาทหลวงอาทร พัฒนภิรมย์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร โรงเรียนดาราสมุทร (Stella Maris: ภาษาลาติน) ถือก�ำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 จากกลุ่มนักเรียน เพียงหยิบมือเดียว จนกระทัง่ ปัจจุบนั มีนกั เรียนทัง้ ชาย-หญิง จ�ำนวนมากกว่าห้าพันคน และนักเรียนทีจ่ บจาก สถานทีศ่ กึ ษาแห่งนีน้ บั จ�ำนวนมหาศาล ถือได้วา่ มีสว่ นพัฒนาสังคมไทยไม่ใช่นอ้ ย เปรียบเหมือนมัสตาร์ดที่ หว่านลงในดิน แม้จะเป็นเมล็ดเล็กๆ แต่เมื่องอกขึ้นแล้วก็เป็นพุ่มไม้ใหญ่เป็นที่พักพิงของนกในอากาศ โรงเรียนดาราสมุทรก่อตั้งจากบุคคลสามัญเพียง 2 คน แต่เวลาผ่านมาจนกระทั่งบัดนี้ มีผู้บริหาร สืบทอดกันมาเป็นจ�ำนวนมาก ผู้บริหารบางคนในกลุ่มนี้เป็นบุคคลส�ำคัญทั้งทางสังคมและศาสนา เช่น พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ปีนี้ ต้องถือว่าเป็นปีมงคลทีท่ างโรงเรียนดาราสมุทรจัดงานฉลอง 75 ปี ตัง้ แต่โรงเรียนเริม่ ถือก�ำเนิด ขึ้น ทุกคนที่เกี่ยวข้องจงชื่นชมยินดีในพระพรนานาประการที่พระเจ้าประทานให้ตลอดเวลายาวนานมา และภูมิใจในคุณประโยชน์และความก้าวหน้าทั้งด้านสังคมและศาสนา ที่สถาบันอันทรงเกียรตินี้ได้สร้าง ขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ในวาระดิถีอันเป็นมงคลนี้ กระผมซึ่งเคยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้บริหารในอดีต เมื่อ 50-60 ปี มา แล้ว ขอแสดงความยินดีดว้ ยใจจริง ขอให้พระเจ้าและพระแม่มารียท์ รงคุม้ ครอง ประสิทธิป์ ระสาทพรอย่าง บริบูรณ์ สามารถเจริญเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปอีกนานๆ เพื่อมีส่วนในการพัฒนาประเทศชาติและศาสนา สืบไป ด้วยความปรารถนาดี

บาทหลวงอาทร พัฒนภิรมย์ 1 พ.ย. 2496 - 31 ต.ค. 2498

11


สารแสดงความยินดี บาทหลวงทัศไนย์ คมกฤส

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ในโอกาสทีโ่ รงเรียนดาราสมุทรจัดงานฉลองครบรอบการสถาปนาโรงเรียน 75 ปี ข้าพเจ้าในฐานะที่ เคยสอนและเป็นผูจ้ ดั การของโรงเรียนระหว่างปี การศึกษา พ.ศ.2505-2507 ขอแสดงความยินดีทโี่ รงเรียน ได้เจริญเติบโตอย่างน่าภาคภูมิใจตลอดมา ทั้งในด้านอาคารเรียน วิชาการ และจ�ำนวนนักเรียน ข้าพเจ้าจึงขออวยพรให้ผู้บริหาร คณะครู ศิษย์เก่า นักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนจงประสบ แต่ความสุขความเจริญตลอดไป และขอให้โรงเรียนนีไ้ ด้เป็นแหล่งประสิทธิป์ ระสาทวิชาความรูแ้ ก่เยาวชน ของชาติที่มีคุณภาพต่อสังคมตลอดไปตราบนานเท่านาน

บาทหลวงทัศไนย์ คมกฤส 1 ต.ค. 2505 - 1 มิ.ย. 2507

12


สารแสดงความยินดี บาทหลวงสมศักดิ์ นามกร

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ได้เปิดท�ำการสอนมาครบ 75 ปี ซึ่งนับว่าเป็นเวลา ยาวนานพอสมควร ผมขอร่วมโมทนาคุณพระเป็นเจ้า และขอบพระคุณแม่พระ ที่ได้ทรงอวยพระพรและ คุ้มครองสถาบันแห่งนี้ตลอดมา ผมขอร่วมแสดงความยินดีกบั คณะผูบ้ ริหาร บรรดาครูบาอาจารย์ทกุ ท่าน ทัง้ ในอดีตและปัจจุบนั ที่ได้ท�ำหน้าที่บริหาร ด�ำเนินการอบรมสั่งสอนนักเรียนด้วยความรับผิดชอบ เสียสละมุ่งมั่น และอดทน จนท�ำให้โรงเรียนแห่งนี้มีความเจริญก้าวหน้ามาตามล�ำดับ นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาจนทุกวันนี้ ตลอดเวลา 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทรได้รับความนิยมจากผู้ปกครองทั้งในอดีตและปัจจุบันโดยที่ ผูป้ กครองทัง้ จากอ�ำเภอศรีราชาเองและต่างจังหวัด ได้มอบความไว้ใจให้แก่โรงเรียนและได้สง่ ลูกหลานมา เรียนทีโ่ รงเรียนแห่งนี้ จนท�ำให้มจี �ำนวนนักเรียนเพิม่ ขึน้ ทุกปี และมีจ�ำนวนมากจนทุกวันนีศ้ ษิ ย์เก่าจ�ำนวน มากมายได้รับความส�ำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม และเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ และท�ำประโยชน์ให้ แก่สังคมไทยของเรา ผมเองในฐานะศิษย์เก่าและเคยเป็นผู้อ�ำนวยการ รู้สึกรัก ภูมิใจ และเป็นหนี้บุญคุณ โรงเรียนเป็นอย่างมาก ตลอดเวลา 75 ปี เราได้เห็นความเจริญก้าวหน้าทัง้ ทางด้านอาคารสถานที่ ซึง่ ประกอบด้วยอาคาร เรียนที่ใหญ่โต และทันสมัย จ�ำนวนหลายอาคารด้วยกัน อาคารห้องประชุมที่กว้างขวาง สนามกีฬาและ สระว่ายน�้ำ ฯลฯ ทั้งทางด้านจริยธรรม และวิชาการซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเราทุกคน ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ขอพระเป็นเจ้าทรงอวยพระพรให้แก่คณะผูบ้ ริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน สมาคมผู้ปกครอง และ สมาคมศิษย์เก่า ให้ประสบแต่ความสุขกาย สุขใจ และความส�ำเร็จในชีวิต

บาทหลวงสมศักดิ์ นามกร 1 ส.ค. 2512 - 3 ม.ค. 2514

13


สารแสดงความยินดี บาทหลวงวีระ ผังรักษ์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ในโอกาสที่โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ฉลองวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนครบ 75 ปี ขอร่วม ชืน่ ชมยินดีและขอบพระคุณพระเป็นเจ้าทีไ่ ด้อวยพรปกปักรักษา และทะนุบ�ำรุงให้โรงเรียนของเราได้เติบโต และก้าวหน้าเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน น่าชื่นชมยินดีที่ตลอด 75 ปี ที่ผ่านมา ทั้งทีมผู้บริหาร คณะครู บรรดาผู้ปกครอง คณะนักเรียน นักการ ศิษย์เก่า และผู้มีน�้ำใจดีมากมาย ต่างก็ร่วมมีส่วนจรรโลงให้ดาราสมุทรเป็นประดุจดาว ส่องแสง เป็นประกายเจิดจ้า ชีแ้ นวทาง และให้ความอบอุน่ แก่สงั คมรอบข้าง และทุกคนทีเ่ กีย่ วข้องกับโรงเรียนโดย ทั่วหน้ากัน ขอพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน ช่วยวิงวอนพระเป็นเจ้า เพื่อให้นาวาดาราสมุทรล�ำนี้ได้ แล่นฝ่าคลืน่ ลมและอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างสมศักดิศ์ รี และบรรลุถงึ ท่าโดยปลอดภัย ขอให้โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ที่รักยิ่งของเราได้ยืนหยัดสร้างคนดี มีคุณภาพ ส�ำหรับสังคมต่อไปอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง ขออวยชัย ดาราเจริญ ชโย ด้วยรักและผูกพัน

บาทหลวงวีระ ผังรักษ์ 29 ต.ค. 2518 - 12 เม.ย. 2526

14


สารแสดงความยินดี บาทหลวงสมศักดิ์ พรประสิทธิ์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร บุญใดหนา บุญพิสุทธิ์ บุญครูบา- บุญศิษย์ไซร้

สารส่งความยินดี น้อมนำ�พา “ดาราสมุทร” จุดไฟทาง สว่างไสว อาจารย์ กังวานไกล ไม่ระย่อ สืบต่อมา

เหลือจักกล่าว เหลือจักจา- เหลือจักจด เหลือกำ�ลัง

อ้างอิง ระนัยให้ เหลือจักจำ� ปัญญา

สิ่งพ้นผ่าน ครบได้หนา เพื่อนำ�มา พรรณนาพลัน

เกินคาดหมาย เกินถ้อยคำ� เกินกรอบคิด เกินเทิดเทิน

ใจคาดหวัง จำ�นรรจา กรอบพลัง วอนพระเจ้า

ดังคาดฝัน สรร-ระ-เสริญ ยังดำ�เนิน เฝ้าอวยพร

เจ็ดสิบห้าปี เจ็ดสิบห้าปี เจ็ดสิบห้าปี “เจ็ดสิบห้าปี

ที่วาระ ขอน้อมนบ ขอก้มกราบ ดาราสมุทร...

มาบรรจบ พระทรงศรี แม่มารีย์ พิสุทธิ์พร” ด้วยความรัก

บาทหลวงสมศักดิ์ พรประสิทธิ์ 2 เม.ย. 2523 - 14 ก.ค. 2527

15


สารแสดงความยินดี บาทหลวงทวี อานามวัฒน์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร “ 75 ปี...ดาวแห่งทะเล ” ร่วมขอบพระคุณพระเป็นเจ้า และชื่นชมยินดีโอกาส ฉลองครบรอบโรงเรียนดาราสมุทร 75 ปี มีความภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นทั้งศิษย์เก่า ในนาม...เด็กชายทวี อานามวัฒน์ นักเรียนปี พ.ศ.2504/ รุ่น 8 เลขประจ�ำตัว 2505 และได้มี ส่วนร่วมเสริมสร้างและส่องแสงความสว่างของ...ดาวแห่งทะเล “ดาราสมุทร” ที่ได้สืบทอดในชุมชนแห่งนี้ ยาวนานถึง...75 ปี ขออวยชัยดาราสมุทรเจริญ...ไชโย!

บาทหลวงทวี อานามวัฒน์ 2 เม.ย. 2526 - 14 ก.ค. 2527

16


สารแสดงความยินดี บาทหลวงบรรจง พานุพันธ์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร “ดาราสมุทร” หรือ “Stella Maris” เพียงได้ยินชื่อ ก็เล็งเห็นความหมาย และความส�ำคัญอันเป็น ภารกิจล�้ำลึก และยิ่งใหญ่ ดังเช่น “ ดวงดาวประจ�ำรุ่ง” น�ำทางชาวทะเลกลับสู่บ้าน ผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ อันอุดมและอบอุ่น พระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ของชาวดาราสมุทรทั้งหลาย ก็จะน�ำพาทุกคนไปพบบ้าน ที่อุดมด้วยปรีชาญาน ความรู้ และความสัจจริง บ้านแห่งความรัก ความสุข ความสงบและสันติ นั่นคือ “องค์พระเยซูคริสต์เจ้า” นั่นเอง และนีก่ ค็ อื ปณิธาน พันธกิจ อันยิง่ ใหญ่ ทีค่ ณะผูบ้ ริหาร คณะครู ศิษย์เก่า นักเรียนและผูป้ กครอง ได้ด�ำเนินการเรื่อยมาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันครบรอบ 75 ปี อย่างน่าภาคภูมิใจ ณ โอกาสอันส�ำคัญยิ่งนี้ ผมขอร่วมแสดงความชื่นชมยินดีกับโรงเรียนดาราสมุทร ส�ำหรับความ ส�ำเร็จต่างๆ และการเจริญเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง ขอพระแม่มารียอ์ งค์อปุ ถัมภ์ของโรงเรียน ได้โปรดคุม้ ครอง น�ำทาง และวิงวอนขอพรพระเจ้า ส�ำหรับคณะบริหาร คณะครู ศิษย์เก่า นักเรียน ผูป้ กครองและผูส้ นับสนุน โรงเรียนทุกท่านครับ

บาทหลวงบรรจง พานุพันธ์ 15 ก.ค. 2527 - 26 ก.ค. 2533

17


สารแสดงความยินดี บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ขอร่วมแสดงความยินดีกบั คณะบริหาร คณะครู และนักเรียน โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ในโอกาส ฉลองครบรอบวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน 75 ปี ในปีนี้ การสร้างมนุษย์ถือเป็นการสร้างที่มีคุณค่ายิ่งใหญ่กว่าการสร้างสิ่งอื่นใด ทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็น สิ่งสร้างของพระเจ้า เป็นทรัพยาการที่มีชีวิตและเป็นผู้ที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับโลก สังคม สิง่ แวดล้อม และมนุษย์ดว้ ยกัน โลกมนุษย์ของเราเจริญก้าวหน้าและพัฒนาได้เพราะมนุษย์ ในเวลาเดียวกัน โลกมนุษย์ก็สามารถล่มจมและเสื่อมสลายไปได้ด้วยมนุษย์เช่นกัน ดังนั้นหากมนุษย์คนหนึ่งต้องหลงทาง หรือหลงผิดไป หรือได้รบั การปลูกฝังให้มที ศั นคติไปในเชิงท�ำลาย เขาก็จะกลายเป็นผูท้ ที่ �ำร้ายโลก ท�ำร้าย สังคมและท�ำร้ายมนุษย์ดว้ ยกันเอง ดังนัน้ การให้การศึกษาอบรมมนุษย์ให้เป็นคนดี มีคณ ุ ธรรม สร้างสรรค์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว มีจิตสาธารณะ เห็นแก่ความดีของส่วนรวม ฯลฯ นับเป็นความต้องการที่ โลกและสังคมปัจจุบันต้องการ ขอแสดงความชืน่ ชมต่อภารกิจและการท�ำหน้าทีท่ บี่ รรดาผูบ้ ริหาร คณะครู และผูท้ เี่ กีย่ วข้องด้วย ในทุกๆ ฝ่ายทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ได้ท�ำหน้าที่ดังกล่าวด้วยความเสียสละ อดทน ยืนหยัด ในการรับใช้ ชุมชน และสังคม ในด้านการให้การศึกษาอบรมและสร้างมนุษย์เรื่อยมาจนครบ 75 ปี หวังว่าดาราสมุทร จะก้าวหน้าและพัฒนาต่อไปเพื่อการรับใช้สังคม และชุมชนให้ดียิ่งๆ ขึ้นในอนาคต ขอองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน ได้ประทานพระพรอย่างอุดม ให้กบั คณะผูบ้ ริหาร คณะครู คณะนักเรียน และผูเ้ กีย่ วข้องทุกๆ ฝ่าย ในปัจจุบนั ให้มคี วามสุข ความเจริญ ในการท�ำหน้าที่นี้ และในชีวิตส่วนตัวเสมอ

บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม 1 มิ.ย. 2530 - 24 มิ.ย. 2532

18


สารแสดงความยินดี บาทหลวงพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

75 ปี ทีแ่ ล้วของโรงเรียนดาราสมุทร เมือ่ เราย้อนกลับไปศึกษาประวัตศิ าสตร์ จากการบอกเล่าของ ผู้อาวุโส การศึกษาส่วนตัว หรือที่มีประสบการณ์ด้วยตัวเองในช่วงนั้นๆ ความเกี่ยวข้องกับโรงเรียน ไม่ว่า ในสถานภาพใดก็ตาม เราทุกคนต้องยอมรับว่าเป็นความประทับใจ และเป็นความสุขอย่างไม่มวี นั ลืมเลือน มีการเปลี่ยนแปลงมากมายใน 75 ปี ที่ผ่านมา การพัฒนาในทุกๆ ด้าน เป็นที่น่าภาคภูมิใจ และน่ายินดียิ่ง โอกาสอันน่าชืน่ ชมยินดีนี้ ผมขอร่วมแสดงความยินดีกบั คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต ผูล้ งนามแทน ผู้รับใบอนุญาต คุณพ่อลือชัย จันทร์โป๊ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ทุก หน่วยงานของโรงเรียน ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ตลอดจนบรรดาผู้มีอุปการคุณทุกท่าน อย่างไรก็ตาม แม้วิวัฒนาการ ความก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยก็เพื่อ ให้ทนั ต่อสถานการณ์ ความเจริญก้าวหน้าของโลก และความดีของทุกคนในครอบครัวดาราสมุทรแต่มอี ยู่ สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง และคงอยู่คู่โรงเรียนดาราสมุทรไปตลอดกาล นั่นก็คือ เราทุกคนเป็นลูกของ พระเป็นเจ้า ดังนั้น สมาชิกทุกคนของโรงเรียนดาราสมุทรจึงมีหน้าที่ดูแล เอาใจใส่ ให้ก�ำลังใจ มีความรัก ความเมตตาให้แก่กันและกันเสมอไป 75 ปี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้มีผู้ที่เสียสละ และอุทิศตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของโรงเรียน มากมายหลายท่านได้จบชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว หลายท่านยังมีชีวิตอยู่ เราจึงต้องระลึกถึงด้วยความซาบซึ้ง และกตัญญู ซึง่ ท่านเหล่านัน้ จะเป็นแรงบันดาลใจ และพลัง ให้ทกุ ท่านทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ในปัจจุบัน ได้ทุ่มเทเสียสละ และอุทิศตนเองเพื่อโรงเรียนสืบไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้า พระแม่มารีย์ องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน ได้โปรดอ�ำนวยอวยพระพรทุกท่าน และกิจการของโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า และประสบความส�ำเร็จตลอดไป

บาทหลวงพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ 27 ก.ค. 2533 - 16 พ.ค. 2540

19


สารแสดงความยินดี บาทหลวงวิศิษฎ์ วิเศษเธียรกุล

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ในโอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี แห่งการก่อตัง้ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ขอร่วมสรรเสริญโมทนา พระคุณพระเจ้า และพระนางมารีอาองค์อุปถัมภ์ ของโรงเรียนเป็นพิเศษ ตลอด 75 ปี มีเรื่องราวที่ เรียงร้อยอยูต่ ลอดเส้นทางของกาลเวลา ขอขอบคุณคณะผูบ้ ริหาร คณะครูจ�ำนวนมากมายทีอ่ ทุ ศิ ตนเพือ่ ให้การศึกษาอบรมแก่นักเรียนแต่ละคน แต่ละรุ่น ให้มีขุมทรัพย์ของชีวิตทั้งคุณธรรม และปัญญา อันก่อ ให้เกิดคุณประโยชน์มากมายต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ในฐานะอดีตผูบ้ ริหาร และศิษย์เก่า ดส.4610 โรงเรียนดาราสมุทรศรีราชา จึงเป็นส่วนหนึง่ ทีส่ �ำคัญ ส�ำหรับชีวิตผมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงมีโอกาสได้ร่วมงานกับคณะครูระหว่าง พ.ศ.2539-2543 ขอพระเป็นเจ้าทรงอ�ำนวยพระพรให้แก่คณะผู้บริหาร คณะครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน ทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ อุทิศตนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มเปี่ยมด้วย คุณธรรม และปัญญาตลอดไป

บาทหลวงวิศิษฎ์ วิเศษเธียรกุล 10 มิ.ย. 2540 - 31 พ.ค. 2543

20


สารแสดงความยินดี บาทหลวงจิรพันธ์ สุจิรานุธรรม

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ประวัติศาสตร์อันยาวนาน 75 ปี ของการสร้างคนผ่านสถาบันการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และกระบวนการต่างๆ จากรุน่ สูร่ นุ่ ต่อเนือ่ งมายาวนาน มีศษิ ย์เก่ามากมาย มีผบู้ ริหารบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพ เข้ามามีส่วนร่วมในโรงเรียนรุ่นแล้วรุ่นเล่า มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวหน้า พัฒนาหลายประการ และ ต่อเนื่อง ขอร่วมแสดงความยินดีกบั โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ยินดีกบั สัมฤทธิผล ยินดีกบั ความก้าวหน้า ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ขอพระเป็นเจ้าได้ทรงอวยพระพร และขอพระแม่มารีย์ได้ทรงดูแลคุ้มครองโรงเรียน ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้อง และน�ำพาให้โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา มีความก้าวหน้าสืบต่อไป

บาทหลวงจิรพันธ์ สุจิรานุธรรม 1 มิ.ย. 2538 - 31 พ.ค. 2543

21


สารแสดงความยินดี บาทหลวงเสกสรร สุวิชากร

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร โอกาสนี้ขอแสดงความยินดี กับคณะผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทุกท่าน ตลอดจนบรรดา ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ที่โรงเรียนดาราสมุทรของเราก่อตั้ง และได้พัฒนาการศึกษาให้กับคนศรีราชา และจากที่ต่างๆ เป็นเวลาครบ 75 ปี ได้สร้างสรรค์บุคคลและบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับสังคมในทุก ภาคส่วน จึงนับเป็นโอกาสอันน่าชื่นชมยินดี ที่จริงเวลาที่ผ่านไป ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกในตัวเองถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โรงเรียนดาราสมุทร ก็เช่นเดียวกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และบุคลากรที่เข้ามาอยู่ ในนาวาล�ำนีก้ ม็ กี ารผลัดเปลีย่ นไปหลายครัง้ หลายสมัย แต่ทสี่ ดุ ไม่วา่ จะเปลีย่ นแปลงอย่างไร ดาราสมุทรก็ ยังคงต้องเป็นดาราสมุทรต่อไป ทีย่ งั เป็นทีย่ อมรับของคนในสังคม โดยเฉพาะคนศรีราชา ทีย่ งั คงให้ความ ไว้วางใจส่งบุตรหลานมาศึกษาในสถาบันแห่งนี้อย่างมากมาย จึงเป็นแรงผลักดันให้ทั้งผู้บริหาร ครู และ บุคลากรมีความมุ่งมั่นที่จะท�ำให้ความไว้วางใจนั้นยั่งยืน และเป็นความภาคภูมิใจตลอดไป โอกาสพิเศษนี้ ขอพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนได้เสนอวิงวอนขอพระพรส�ำหรับคณะ ผู้บริหาร คณะครู บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง ตลอดจนศิษย์เก่าทุกท่านให้มีความสุข ความเจริญ และขอพระแม่ปกป้องคุม้ ครองสถาบันแห่งนีใ้ ห้เป็นสถาบันทีส่ ร้างสรรค์คนดี ความดีเพือ่ เกียรติมงคลของ พระเจ้าตลอดไป

บาทหลวงเสกสรร สุวิชากร 14 ก.ย. 2543 - 7 ก.ค. 2549

22


สารแสดงความยินดี บาทหลวงประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

ขอร่วมโมทนาคุณพระเป็นเจ้า กับสถาบันโรงเรียนดาราสมุทร สถาบันให้การอบรมศึกษา คณะ ผู้บริหาร คณะครู บุคลากร และนักเรียน ในโอกาสฉลอง 75 ปี ถ้าบุคคลหนึ่งมีอายุ 75 ปี ก็ถือว่าเป็นบุคคลอาวุโส หมายความว่าผ่านประสบการณ์ชีวิตมา อย่างมากมาย ผ่านอุปสรรคนานัปการ และมีความมั่นคงจนถึงบั้นปลาย อันแสดงถึงความมุ่งมั่นพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเช่นกันกับ “ดาราสมุทร” “ดาราสมุทรสร้างคน และคนสร้างชาติ” โอกาสฉลอง 75 ปี ต้องชื่นชมบรรดาผู้บริหาร คณะครู ในอดีตทุกสมัย ที่ทุ่มเท เสียสละ อดทน ร่วมมือร่วมใจสร้างสถาบันดาราสมุทรแห่งนี้ ในการให้การอบรมศึกษา อันเป็นประโยชน์แก่สังคมและ ประเทศชาติ 75 ปี จึงเป็นความมั่นคง เป็นการประกาศความมุ่งมั่น และเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะสืบสานอดีต ปัจจุบัน ให้เข้มแข็ง ทันสมัย เพื่อจะสร้างอนาคตที่สดใสต่อไป โอกาสที่น่าชื่นชมยินดีนี้ ขอพระเป็นเจ้าประทานพระพรแห่งพระปรีชาญาณแด่คณะผู้บริหาร คณะครู บุคลากรสนับสนุน และนักเรียนทุกท่านให้ได้รับพระพร และเจริญก้าวหน้า ประสบความส�ำเร็จ ในชีวิต และมีความสุขตลอดไป

บาทหลวงประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ 15 มิ.ย. 2548 - 31 พ.ค. 2553

23


สารแสดงความยินดี บาทหลวงเอนก ธรรมนิต

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ขอแสดงความยินดีกบั ผูบ้ ริหาร คณะครู ศิษย์เก่า นักเรียน และผูป้ กครองในโอกาสการเฉลิมฉลอง ครบรอบการสถาปนาโรงเรียนดาราสมุทร 75 ปี อดีตทีผ่ า่ นมาขอระลึกถึงและส�ำนึกในบุญคุณของคุณพ่อ ซิสเตอร์ คณะครู บุคลากรสนับสนุนต่างๆ ที่ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ สร้างสรรค์ท�ำให้ดาราสมุทรเติบโตมาจนถึงวันนี้ ไม่ใช่เพียงตัวตึก ตัวอาคารแต่ เป็นภูมปิ ญ ั ญา คุณธรรมจริยธรรม ทีป่ ลูกฝังในตัวศิษย์ดาราสมุทรทุกคน และสร้างวัฒนธรรมทีด่ ใี นองค์กร สร้างสรรค์จิตวิญญาณครูที่รัก และอุทิศตนเพื่อศิษย์ตลอดมา ปัจจุบันขอเป็นก�ำลังใจ และร่วมยินดีในความก้าวหน้าของโรงเรียน ขอให้เกิดการสืบสานต่อ งานคุณภาพ สร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร ความรักสามัคคี ความเสียสละ เพื่อความดีส่วนรวม ซึ่งจะ เป็นอัตลักษณ์ของดาราสมุทรที่ยั่งยืนและมีคุณค่าต่อสถาบันสืบไป อนาคตขอให้ดาราสมุทรมีการจัดการศึกษาอบรมที่มีคุณภาพที่ยกระดับขึ้นไปโดยไม่ลืมรากฐาน แห่งคุณธรรมจริยธรรมส�ำหรับลูกศิษย์ทุกคน ขอพระเจ้า ขอพระแม่มารียอ์ งค์อปุ ถัมภ์ของโรงเรียนดาราสมุทรได้โปรดอวยพระพรให้ชาวดาราสมุทร ทุกคนได้ก้าวหน้าต่อไปในพระพร และความรักของพระเจ้าเสมอ

บาทหลวงเอนก ธรรมนิต 7 ก.ค. 2549 - 31 พ.ค. 2553

24


สารแสดงความยินดี บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ด้วยความส�ำนึกในพระพรแห่งพระปรีชาญาณและพระทัยเมตตากรุณาของพระเจ้า ผมขอร่วมเป็น หนึ่งเดียวกับคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียน บรรดาผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และผู้มีพระคุณทุกท่านขอถวาย พระพร และขอบพระคุณพระเจ้าที่ทรงประทานแรงบันดาลใจให้แก่บรรพชนผู้ก่อตั้ง และคณะผู้บริหารที่ เป็นพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาสชายหญิง ได้ตระหนักและเห็นความส�ำคัญต่อการจัดการศึกษาอบรมให้แก่ เด็กและเยาวชน ร่วมกันสืบทอดเจตนารมณ์ในการจัดการศึกษาอบรมของโรงเรียนดาราสมุทรมาอย่าง ต่อเนื่อง 75 ปี ขอร�ำลึกบรรพชนทุกท่านด้วยจิตกตัญญูรู้คุณ จากบ้านพักตากอากาศ “วิลลา สแตลลา มารีส” สถานที่สอนหนังสือแห่งแรก ได้รับการก่อตั้งเป็น “โรงเรียน วิลลา สแตลลา มารีส” และพัฒนาเจริญก้าวหน้าเป็น “โรงเรียนดาราสมุทร” อาศัยแสงสว่างแห่ง พระคริสตธรรม คณะผูบ้ ริหารทุกวาระสมัยได้ยนื หยัดต่ออัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก พร้อมทัง้ พัฒนาการ จัดการเรียนการสอน และกระบวนการให้การศึกษาอบรมเข้าสู่ปีที่ 75 ด้วยความภาคภูมิใจ เป็นที่ไว้วางใจ จากผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ชุมชนในอ�ำเภอศรีราชา และชุมชนใกล้เคียง ท่ามกลางกระแสการแปรเปลีย่ นของสังคม และความพร้อมทีจ่ ะเข้าสูก่ ารเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 โรงเรียนดาราสมุทรมุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาการจัดการศึกษาให้เป็นกระบวนการให้การศึกษาอบรมแบบ องค์รวมอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต และด้านวิชาการของผู้เรียน ให้สูงขึ้น เพื่อให้ผู้เรียน “เป็นคนดี มีความรู้ มีจิตสาธารณะ และเป็นสุข” ดังปณิธานที่มุ่งหวัง สามารถยืน หยัดอยู่รอดในสังคมอาเซียนได้อย่างมีจุดยืน รู้เท่าทัน มีจิตใจเอื้ออาทรและแบ่งปัน นี้คือพันธกิจส�ำคัญ ของโรงเรียนดาราสมุทรในการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 8 โอกาสเฉลิมฉลองวันสถาปนาโรงเรียนครบ 75 ปี ผมขอขอบคุณบรรพชนผู้ก่อตั้ง คณะผู้บริหาร คณะครู สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผูป้ กครองและครู ผูป้ กครองเครือข่าย บรรดาผูป้ กครองและผูม้ พี ระคุณต่อ โรงเรียนทุกท่านทีม่ สี ว่ นร่วมสรรค์สร้างโรงเรียนดาราสมุทรให้เป็นสถานศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพ ดังทีป่ ระชาชน ทัว่ ไปให้ความไว้วางใจและมีความเชือ่ มัน่ อาศัยค�ำเสนอวิงวอนของพระแม่มารีย์ องค์อปุ ถัมภ์ของโรงเรียน ขอองค์พระเยซูคริสต์ประทานพระพรอันอุดมแด่ทุกท่านให้ประสบแต่ความสุข สันติและความเจริญ ก้าวหน้าในชีวิตตลอดไป

บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต 1 มิ.ย. 2553 - ปัจจุบัน

25


สารแสดงความยินดี บาทหลวงดร.ลือชัย จันทร์โป๊

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร โอกาสฉลอง 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ขอร่วมแสดงความยินดี ภาคภูมิใจและขอบพระคุณ พระเป็นเจ้าที่ประทานพระพรแก่คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดมา ตลอดระยะเวลายาวนาน โรงเรียนดาราสมุทรเป็นที่คาดหวังของสังคมและชุมชน รวมทั้งภาครัฐ ที่ต้องการเห็นนักเรียนดาราสมุทรเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมสูง และเป็นผู้ช่วยให้สังคมมีคุณภาพขึ้น ใน ความคาดหวังต่างๆ ท�ำให้โรงเรียนได้พัฒนา เติบโต และได้สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพต่อประเทศชาติ และสังคมมากมายอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ในฐานะเป็นศิษย์เก่า มีความภูมใิ จในบุคลากรทีท่ �ำหน้าทีเ่ ป็นครูทมี่ แี รงบันดาลใจสูง และเป็นผูใ้ ห้ แรงบันดาลใจ เป็นผูจ้ ดุ ประกาย รวมทัง้ เป็นแบบอย่างชีวติ ทีด่ ี อุทศิ ตนท�ำให้ศษิ ย์มงุ่ ความเป็นเลิศประสบ ความส�ำเร็จในชีวิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ในนามผู้บริหาร ขอขอบคุณ คุณครูที่ช่วยกันสืบทอดข่าวดีของพระเยซูเจ้า ขอพระองค์ประทาน พระพรอย่างอุดมแก่ทกุ คน ขอขอบคุณผูป้ กครอง นักเรียน และผูเ้ กีย่ วข้องทีไ่ ด้ให้ความไว้วางใจ สนับสนุน ให้โรงเรียนได้เจริญก้าวหน้า

บาทหลวงดร.ลือชัย จันทร์โป๊ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนดาราสมุทร 25 ก.ค. 2533 - 30 เม.ย. 2538 1 มิ.ย. 2553 - ปัจจุบัน

26


สารแสดงความยินดี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร

การศึกษาเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มคี วามพร้อมทัง้ ในด้านความรูแ้ ละทักษะส�ำคัญทีเ่ ป็น ประโยชน์ตอ่ การด�ำรงชีวติ และการประกอบอาชีพ โรงเรียนจึงเป็นสถาบันหลักในการปลูกฝังวิทยาการแก่ ผูเ้ รียนเพือ่ ให้มคี วามรูค้ วบคูค่ ณ ุ ธรรม เป็นคนเก่งและคนดีของสังคม โดยเฉพาะเป็นการสร้างบุคลากรเพือ่ ตอบสนองความต้องการทุกภาคส่วนของสังคม และเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้กา้ วหน้า ต่อไปในอนาคต รัฐบาลได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการศึกษา จึงได้มนี โยบายเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดย การปฏิรปู ระบบความรูข้ องสังคมไทย ด้วยการยกระดับองค์ความรูใ้ ห้ได้ทงั้ มาตรฐานสากลและภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่น ด�ำเนินการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมทั้งปฏิรูป ครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชัน้ สูงอย่างแท้จริง สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดีและมีคณ ุ ธรรมเข้าสูว่ ชิ าชีพครู เพือ่ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู ตลอดจนสร้างโอกาสทางการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาใน สังคมให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มให้มีความเสมอภาคและเป็นธรรม รวมถึงการให้ความรู้อย่างมีคุณภาพทั้ง ในเชิงลึกและเชิงกว้าง ดิฉันขอแสดงความชื่นชมโรงเรียนดาราสมุทรที่ได้มีส่วนส�ำคัญในการส่งเสริมและ พัฒนาผู้เรียนโดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอน ทีท่ นั สมัยซึง่ ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมาโรงเรียนดาราสมุทรได้ผลิตบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพออกมาสูส่ งั คมเป็น จ�ำนวนมาก เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี ของโรงเรียนดาราสมุทร ดิฉันขออวยพรให้กิจการของโรงเรียนมี ความเจริญก้าวหน้า และขอให้คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ เพียบพร้อมด้วยก�ำลังกาย ก�ำลังใจและก�ำลังปัญญา เพือ่ ร่วมกันพัฒนา สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดไป

(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรี

27


สารแสดงความยินดี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ขอแสดงความยินดีและขอส่งความปรารถนาดีมายังผู้บริหาร บุคลากร นักเรียน สมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนดาราสมุทร สมาคมผูป้ กครองและครูโรงเรียนดาราสมุทร ในโอกาสทีโ่ รงเรียนดาราสมุทร ได้กอ่ ตัง้ มาครบ 75 ปี ในปีพุทธศักราช 2554 นี้ โรงเรียนดาราสมุทร เป็นโรงเรียนสหศึกษา จัดการศึกษาตัง้ แต่ระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเล็งเห็นความส�ำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาอย่างจริงจัง จัดรูปแบบ การบริหารจัดการทีท่ นั สมัย มีหลักสูตรทีเ่ หมาะสมกับผูเ้ รียนและท้องถิน่ ตามวิสยั ทัศน์ “บริหารการศึกษา ดี คุณภาพเด่น เน้นคุณค่าวัฒนธรรมองค์การ สะท้อนจิตตารมณ์พระวรสาร ชุมชนร่วมพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้า” ส่งผลให้โรงเรียนสามารถด�ำเนินงานและด�ำเนินการเรียน การสอนมาด้วยดีเป็นระยะเวลายาวนานถึง 75 ปี มีศษิ ย์เก่าทีส่ ร้างชือ่ เสียงให้แก่โรงเรียนเป็นจ�ำนวนมาก เป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ในนามของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ขออ�ำนาจสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ี่ ท่านเคารพนับถือ โปรดดลบันดาลให้คณะผูบ้ ริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน และบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง ประสบ แต่ความสุข มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง คิดหวังสิ่งใดขอให้ได้ในสิ่งอันพึงปรารถนาโดยทั่วกัน และขอให้ร่วมแรงร่วมใจกัน พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนดาราสมุทร ให้เจริญก้าวหน้า สืบไป

(นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

28


สารแสดงความยินดี นางสุกุมล คุณปลื้ม

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ในฐานะศิษย์เก่าของโรงเรียนดาราสมุทร ดิฉนั ขอแสดงความชืน่ ชมยินดี ในโอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ในเดือนพฤศจิกายน 2554 นี้ ระยะเวลา 75 ปี นับเป็นช่วง เวลาที่ยาวนาน ที่โรงเรียนได้สั่งสมเกียรติภูมิชื่อเสียง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นล�ำดับ ประการส�ำคัญคือ ได้รบั ความเชือ่ ถือไว้วางใจจากพ่อแม่ ผูป้ กครองทีส่ ง่ บุตรหลานเข้ามาศึกษาเล่าเรียนทีโ่ รงเรียนดาราสมุทร สถานศึกษาแห่งความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดชลบุรี จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านอาคารสถานที่ การจัดการเรียนการสอนที่ประยุกต์สื่อการ เรียนการสอน โดยเทคโนโลยีอันทันสมัย แสดงให้เห็นได้ว่า ผู้บริหารและคณะกรรมการโรงเรียนทุกท่าน มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล มีความมุ่งมั่นเอาใจใส่ ทุ่มเทเสียสละ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นแบบอย่างและ น�ำพาบุคลากรทุกระดับ ให้มีความรู้ ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน เป็นผลให้บุคลากร ครูอาจารย์ นักเรียน เป็นคนดี คนเก่ง มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดิฉันจึงรู้สึกภาคภูมิใจเป็น อย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนดาราสมุทรแห่งนี้ และขอเป็นก�ำลังใจให้ผู้ บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของโรงเรียนทุกคน มีก�ำลังกาย ก�ำลังใจ และมุ่งมั่นร่วมแรงร่วมใจ ที่จะ พัฒนาโรงเรียนดาราสมุทรให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ดิฉันขออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือ จงดลบันดาล ให้ทกุ ท่านประสบความสุข ความเจริญ มีสขุ ภาพกาย สุขภาพใจทีส่ มบูรณ์แข็งแรง เพือ่ จะได้รว่ มกันพัฒนา โรงเรียนดาราสมุทร ให้เจริญก้าวหน้า ประสิทธิ์ประสาทความรู้ เพื่อสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นอนาคต ที่ดีของชาติตลอดไป

(นางสุกุมล คุณปลื้ม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

29


สารแสดงความยินดี นายวิชิต ชาตไพสิฐ

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ได้รับอนุญาตเป็นทางการให้จัดตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2479 ภายใต้ ชื่อโรงเรียน วิลล่า สแตลลา มารีส ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในอ�ำเภอศรีราชา และได้รับอนุญาตให้ เปลีย่ นชือ่ เป็นโรงเรียนดาราสมุทรจนถึงปัจจุบนั โดยเปิดท�ำการสอนรูปแบบสหศึกษา สังกัดส�ำนักบริหาร งานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตัง้ แต่ระดับ ก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนในสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ภายใต้วสิ ยั ทัศน์ “บริหารการศึกษาดี คุณภาพเด่น เน้นคุณค่าวัฒนธรรมองศ์กร สะท้อนจิตตารมณ์พระวรสาร ชุมชน ร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้า” นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนดาราสมุทรได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยมี หลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ส�ำหรับนักเรียน ก่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองรวมทั้งชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ในโอกาสที่โรงเรียนดาราสมุทร ฉลองครบรอบ 75 ปี ผมขออวยพรให้ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู จงมีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ เพื่อร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนาการ ศึกษาให้เจริญก้าวหน้า และขอเป็นก�ำลังใจให้กบั นักเรียนทุกท่าน จงประสบความส�ำเร็จในการศึกษา เพือ่ เป็นพลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป

(นายวิชิต ชาตไพสิฐ) ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

30


สารแสดงความยินดี นายวิชัย สัมพันธรัตน์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา มีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา นักเรียนซึ่งจะเป็นก�ำลังส�ำคัญของประเทศชาติในอนาคต ให้เป็นผู้มีทักษะวิชาการ และทักษะทางสังคม ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นผู้มีคุณภาพและได้รับการพัฒนาในทุกมิติของชีวิตตามศักยภาพ ของแต่ละบุคคล ซึ่งนอกจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว โรงเรียนยังได้มีการบริหารจัดการด้านอาคาร สถานที่ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นส�ำคัญ โอกาสครบรอบคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนดาราสมุทร 75 ปี กระผมขอแสดงความชื่นชมยินดี ในผลงานต่างๆ ของโรงเรียน และขอร่วมเป็นก�ำลังใจในการด�ำเนินงานต่างๆ ให้ส�ำเร็จลุลว่ งตามทีม่ งุ่ หวัง ทุกประการ และขออวยพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดไป

(นายวิชัย สัมพันธรัตน์) นายอ�ำเภอศรีราชา

31


สารแสดงความยินดี นายธานี รัตนานนท์

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ผมขอแสดงความยินดี และส่งความปรารถนาดีมายัง คุณพ่อ คณะบริหาร ครู และนักเรียน รวมถึง บุคลากรต่างๆ ของโรงเรียนดาราสมุทร ทุกท่าน เนื่องในวาระส�ำคัญฉลองครบรอบการสถาปนาโรงเรียน ดาราสมุทร 75 ปี ตลอดเวลา 75 ปี เป็นที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ที่โรงเรียนแห่งนี้ผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพออกไป ศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้มากมาย แสดงให้เห็นว่ามีบทบาทส�ำคัญในตัวชี้วัดว่า โรงเรียนดาราสมุทร นั้นเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมากมาย จึงท�ำให้ประชาชนที่อยู่ในเขต หรือนอกเขตอ�ำเภอศรีราชา มีความ ตั้งใจส่งลูกหลานเข้ามาศึกษากันมากมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ถือว่าการศึกษาเป็นนโยบายของรัฐบาล เพือ่ ผลักดันให้เอกชนมีความ ก้าวไกลและประชาชนในท้องถิ่น เกิดความผาสุก และมีความเข้มแข็งต่อไป ในโอกาสอันส�ำคัญนี้ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ คุณพ่อ คณะบริหาร และนักเรียน พร้อมบุคลากร จงมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองด้วย จตุรพิธพรชัย ขอให้โรงเรียนดาราสมุทร ผลิตนักเรียนทีม่ คี ณ ุ ภาพ เพือ่ อนาคตทีก่ า้ วไกล และให้ประชาชน ชาวศรีราชาสืบต่อไป

(นายธานี รัตนานนท์) นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา

32


สารแสดงความยินดี นายมนัส วงษ์ ไทยวรรณ

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ผมขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนดาราสมุทรที่ครบ 75 ปี อย่างสง่างาม ด้วยความมุ่งมั่น วิริยะ อุตสาหะและเสียสละของคณะผูบ้ ริหารและครู จนโรงเรียนเป็นทีย่ อมรับของผูป้ กครองในการดูแลบุตรหลาน ทัง้ ในเรือ่ งการศึกษา อบรมบ่มนิสยั ให้มคี วามขยันหมัน่ เพียร อดทนและมีคณ ุ ธรรม พร้อมทีจ่ ะเป็นคนดี เพือ่ ท�ำคุณประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ ดังรุ่นพี่หลายๆ คนได้ปฏิบัติมา ขอบารมีพระผู้เป็นเจ้า และพระแม่มารีย์ โปรดประทานพรให้โรงเรียนดาราสมุทรได้มีโอกาส พัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปและอยู่เป็นมิ่งขวัญของสังคมไทย มีส่วนช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี ต่อไปตราบนานเท่านาน

(นายมนัส วงษ์ไทยวรรณ) นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนดาราสมุทร

33


สารแสดงความยินดี นายสมชาย พันนุช

โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนดาราสมุทร มีอายุครบ 75 ปี ซึ่งถือเป็นปีมงคลยิ่ง และในปีแห่งการ ครบรอบนีจ้ ะมีการเฉลิมฉลองการจัดกิจกรรมที่หลากหลายอย่างสมเกียรติตลอดปี กระผมในฐานะของ นายกสมาคมผูป้ กครองและครู โรงเรียนดาราสมุทร และในฐานะศิษย์เก่า ซึง่ ได้เล่าเรียนจบจากสถาบันแห่ง นี้ด้วยความภาคภูมิใจ รู้สึกดีใจทีได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนในทางที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการศึกษา ด้านคุณธรรมจริยธรรมของเด็กนักเรียนในปัจจุบัน อีกทั้งความก้าวหน้าของโรงเรียนอันเป็นที่ชื่นชมของ สังคมโดยทัว่ ไปว่า โรงเรียนดาราสมุทรของเราเป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ทมี่ มี าตรฐานเป็นทีย่ อมรับ ในระดับประเทศ และในความก้าวหน้าต่างๆ โรงเรียนของเรายังคงไว้ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนใน แนวทางของบาทหลวงคาทอลิก ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่ท�ำให้นักเรียนที่จบออกไปเปี่ยมด้วย ความรู้ ความสามารถ อีกทั้งยังเป็นก�ำลังใจส�ำคัญของสังคมไทยที่ร่วมกันพัฒนาประเทศตลอดมา ดังนั้น ในโอกาสฉลองครบรอบ 75 ปีนี้ กระผมขออวยพรให้โรงเรียนดาราสมุทร คณะผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนทุกคน จงประสบแต่ความส�ำเร็จ ความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นตลอดไป ด้วยความเคารพ

(นายสมชาย พันนุช) นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

34


ตราประจำ�โรงเรียน ดาวทะเล

หมายถึง สัญลักษณ์แทนชื่อ “ดาราสมุทร” และเป็นพระนามของ พระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน

วงกลม 3 วง

หมายถึง ความรู้ คุณธรรม และระเบียบวินัย

คบเพลิงคู ่

หมายถึง แสงสว่างแห่งวิชาการ และหลักธรรมที่จะต้องฉายแสง เคียงคู่กนั เสมอ

35


วิสัยทัศน์ บริหารจัดการศึกษาดี คุณภาพเด่น เน้นคุณค่าวัฒนธรรมองค์การ สะท้อนจิตตารมณ์พระวรสาร ชุมชนร่วม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้า

คำ�ขวัญ ระเบียบ ขยัน อดทน

คติพจน์ วิชาเลิศ เทิดคุณธรรม วินัยล้ำ� ค้�ำ ชูไทย

36


สีประจำ�โรงเรียน สีประจำ�โรงเรียน ขาว - น้ำ�เงิน สีขาว หมายถึง คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย

และค่านิยมที่ดีงาม สีน้ำ�เงิน หมายถึง ความมุง่ มั่น และพลังในการพัฒนา

ต้นไม้ประจำ�โรงเรียน ต้นหางนกยูง หมายถึง ความอดทนต่อ

สภาพ ดิน ฟ้า อากาศ และ ความเจริญรุ่งเรือง

ดอกไม้ประจำ�โรงเรียน ดอกดาวเรือง หมายถึง ดาวแห่งความรุ่งเรือง ดาว : ดารา เรือง : ความเจิญรุ่งเรือง สีเหลือง : ความเลื่อมใสศรัทธา ความงาม ความรุ่งเรืองแห่งศาสนา ความมีคุณธรรม จริยธรรม และความยึดมั่นความดี

37


เพลงประจำ�โรงเรียน

38


อดีต...ดาราสมุทร

39


น ย ี ด ร เ า ง ร ร า โ ิ ส ต ั ม ว ท ุ ะ ร ร ป

โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา กำ�เนิดในอาณาบริเวณอันเป็นที่ตั้งของ

โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ในปัจจุบัน ย้อนหลังไปเมือ่ ปี พ.ศ.2475 ภราดาคณะเซนต์คาเบรียลจากกรุงเทพฯ ได้สร้างบ้านพักตากอากาศ ที่อำ�เภอศรีราชา เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนในช่วงปิดภาคเรียน บ้านพักนี้ชื่อว่า “สแตลลา มารีส” คณะภราดาได้มอบหมายให้ครอบครัวของ คุณยอห์น และคุณอลิช ลาร์สันต์ ดูแลบ้านหลังนี้ ต่อมา ท่านทั้งสองได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น คุณประยูร และคุณมณี สิริสันต์

คุณประยูร สิริสันต์ 40

คุณมณี สิริสันต์


พ.ศ. 2479

คุ ณ ประยู ร เห็ น ว่ า การสอนหนั ง สื อ มี ประโยชน์ต่อลูกหลานชาวศรีราชา ประกอบกับ จำ�นวนเด็กเพิม่ ขึน้ จึงยืน่ หนังสือขอจัดตัง้ โรงเรียน ให้ถูกต้องตามระเบียบ และได้รับการอนุญาตเป็น ทางการ เมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ตั้งชื่อว่า โรงเรียนสแตลลา มารีส อันเป็น โรงเรียนราษฎร์ (เอกชน) แห่งแรกในอำ�เภอศรีราชา และในระหว่ า สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 คุ ณ ประยู ร ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสแตลลา มารีส เป็น โรงเรียนดาราสมุทร เพื่อให้เป็นไปตามรัฐนิยม ในขณะนั้น และได้รับอนุญาตเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

41


ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะภราดา เซนต์คาเบรียล ได้น�ำ นักเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ บางส่วนมาทำ�การสอนอยู่ที่ บ้านพักหลังนี้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป คุณประยูรจึงได้ตดิ ต่อคุณพ่อทีบ่ า้ นเณรพระหฤทัย ศรีราชา ขอย้ายนักเรียนไปเรียนที่อาคารไม้ หลังบ้านเณร

พ.ศ. 2487

คุณประยูรได้โอนกิจการดาราสมุทร ให้ กับมิสซังโดยมี คุณพ่อสงวน สุวรรณศรี ซึ่ง เวลานัน้ เป็นอธิการบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา เป็นผูร้ บั มอบโรงเรียน ปี พ.ศ. 2489 มีการสร้าง วัดพระหฤทัยศรีราชา เป็นอาคารไม้ 2 ชัน้ ชัน้ บน ใช้เป็นวัด ชัน้ ล่างใช้เป็นโรงเรียน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2494 นายฮัว่ เซีย้ ง กิจบุญชู ผูจ้ ดั การ ครูใหญ่ ปัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้สร้างอาคารถาวรหลังแรก เป็นเรือนไม้ทรง ปั้นหยา 2 ชั้น 5 ห้องเรียน

42


พ.ศ. 2507

บาทหลวงแหวน ศิรโิ รจน์ ผูจ้ ดั การได้สร้าง อาคารเซนต์จอห์นเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 15 ห้องเรียนและได้สร้างอาคารเซนต์ปอล เป็นหอประชุมอเนกประสงค์ในปี พ.ศ. 2510 จากนั้ น สร้ า งอาคารไม้ ชั้ น เดี ย วต่ อ จากอาคาร เซนต์จอห์น

พ.ศ. 2516

เนื่ อ งจากนั ก เรี ย นโรงเรี ย นดาราสมุ ท รมี จำ�นวนเพิ่มขึ้นทุกปี บาทหลวงประยูร นามวงศ์ ผูจ้ ดั การ ได้สร้างอาคารเซนต์เจมส์ เป็นตึกคอนกรีต สูง 3 ชั้น แทนที่อาคารหอพักเดิมในปี พ.ศ. 2516

พ.ศ. 2518

โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2519 โอกาส ครบรอบ 40 ปีของโรงเรียน บาทหลวงวีระ ผังรักษ์ ผู้จัดการ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโรงเรียน มากมาย เช่น เริ่มมีวารสารประจำ�โรงเรียนชื่อ “ร่มขวัญ” มีการสร้างห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ สร้างอาคารพระแม่มารี สำ�หรับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา สร้างอาคารเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ โอกาสครบ 40 ปี เป็นตึกคอนกรีตสูง 5 ชั้น แทนอาคารไม้เดิม และมีการพัฒนาในด้านการเรียน การสอนเพิ่มขึ้น

43


พ.ศ. 2529

โอกาสครบ 50 ปีโรงเรียน บาทหลวง บรรจง พานุพนั ธ์ได้สร้างอาคาร 50 ปี ใช้ส�ำ หรับ เป็นหอพักนักเรียนชาย ปัจจุบนั เป็นดาราสมุทร เนอร์สเซอรี่ พ.ศ. 2530 มีการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกในภาคตะวันออก จัดตั้งสมาคมศิษย์เก่า มีการพัฒนาการเรียน การสอน พร้อมทัง้ ปรับปรุงวงดุรยิ างค์ และมีการ พัฒนาด้านกิจกรรมต่างๆ มากมาย

พ.ศ. 2539

พ.ศ. 2543

โอกาสครบ 60 ปีโรงเรียน บาทหลวง พงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ ผู้อำ�นวยการ ได้รื้อ อาคารไม้ 2 ชัน้ ซึง่ เป็นอาคารเก่าสำ�หรับนักเรียน อนุบาล รือ้ อาคารหอพักข้างวัดพระหฤทัย และ รื้ออาคารพระแม่มารี แล้วสร้างอาคารใหม่เป็น รูปทรงเรือสูง 4 ชั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรม ราชกุมารี ทรงพระราชทานนามว่า “อาคาร สิริดารา” และเสด็จฯมาเป็นองค์ประธาน เปิดอาคารในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

บาทหลวงวิศิษฎ์ วิเศษเธียรกุล ผู้อำ�นวยการ ได้มีการสร้างอาคารสโมสรและสระว่ายน้�ำ ชื่ออาคารยูบีลี ซึ่งตรงกับปี ค.ศ. 2000 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาคารบูรณาการ

พ.ศ. 2545

44

บาทหลวงยอด เสนารักษ์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงเสกสรร สุวิชากร ผู้อำ�นวยการ ได้ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ ชื่อว่า “ศาลารวมใจ ต้านภัยยาเสพติด” ขึ้น ในบริเวณลานมัน (ลานโพธิ์เดิม) มีการปรับปรุง สนามฟุตบอลทั้ง 3 สนาม ปรับปรุงอาคารต่างๆ ให้ ส ามารถรองรั บ กั บ จำ � นวนนั ก เรี ย นที่ เ พิ่ ม ขึ้น มีแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ สวนหมอก สวน คณิตศาสตร์ มีห้องสมุดสำ�หรับนักเรียนระดับ ก่อนประถมศึกษา มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ และเครือข่ายในสถานศึกษา


พ.ศ. 2550

บาทหลวงประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ ผู้ลงนาม แทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงเอนก ธรรมนิต ผู้อำ�นวยการ ได้มีการสร้าง อาคาร 72 ปี (เซนต์ ลอเรนซ์) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 7 ชัน้ ปรับ ภูมิทัศน์ สร้างบาทวิถีมีหลังคา เพื่อบังแดดและฝนให้ นักเรียน ผู้ปกครองและครู โดยเชื่อมต่อกันทุกอาคาร พร้อมกับเปลี่ยนรั้วโรงเรียนให้ดูสง่างาม

ปัจจุบัน

โรงเรียนดาราสมุทร เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำ�นักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ศึกษาเอกชน และสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 11 ถนนสุขุมวิท อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ ทั้งหมด 79 ไร่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับเนอร์สเซอรี่ ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี โอกาสครบ 75 ปี โรงเรี ย น บาทหลวง วัชรินทร์ สมานจิต ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ ผู้อ�ำ นวยการ มีนโยบายการจัดการศึกษาสูท่ ศวรรษที่ 8 ด้วยปณิธาน อันมุ่งมั่น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิก ที่ว่า “การศึกษาอบรม คือ การ พั ฒ นาคนจากภายใน ปลดปล่ อ ยเขาให้ เป็ น อิสระจากเงือ่ นไขต่างๆ ซึง่ กีดขวางมิให้เขาบรรลุ ถึงการเป็นบุคคลทีม่ คี วามบริบรู ณ์” และ “การศึกษาทีค่ รบวงจรต้องรวมมิตขิ องศาสนาด้วย” เพือ่ “เป็นคนดี มีความรู้ มีจิตสาธารณะ และเป็นสุข” มีการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งเสริมเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน ปรับปรุงดาราสมุทร เนอร์สเซอรี่ อาคารสิริดารา สร้างห้องอาหารเพิ่มเติมสำ�หรับนักเรียนระดับ ประถมศึกษา และปรับปรุงภูมทิ ศั น์ให้รม่ รืน่ ขึน้ มีสภาพทีเ่ หมาะสมสำ�หรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนในทุกระดับ

45


เล่าสู่กันฟัง... พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เล่าว่า...

เท่าทีพ่ อ่ จ�ำได้ เริม่ แรกทีโ่ รงเรียนดาราสมุทรได้ชอื่ ว่า วิลลา สแตลลา มาริส (ค.ศ.1936) ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ปัจจุบันนี้ ต้องบอกก่อนว่าพ่อไม่เคยเรียนที่ดาราสมุทร เรื่องราว มันมีอยู่ว่า เมื่อปี ค.ศ.1940 ซึ่งในขณะนั้นสามเณราลัย พระหฤทัยศรีราชาด�ำเนินกิจการอยูแ่ ละมีโรงเรียนของตัวเองที่ ชือ่ ว่าพระหฤทัยเปิดด�ำเนินการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ไปสมัครเป็นเณร ทางคุณพ่อเจ้าวัด ก็ส่งไปที่บ้านเณรศรีราชา จึงได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนพระหฤทัย เรียน มัธยมปีที่ 1 ในปี 1940 นี้อยู่ในช่วงสงครามอยู่ ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ในภูมิภาค นี้ ประเทศไทยก็ได้ร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่นท�ำสงครามกับชาติอื่น ประเทศฝรั่งเศสก็เป็นประเทศ คู่สงคราม และรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้ทำ� สัญญาร่วมรบกับพันธมิตร ญี่ปุ่น ขณะนั้นผู้ใหญ่ของบ้านเณรศรีราชาซึ่งเป็นคุณพ่อชาวฝรั่งเศสก็ไม่สามารถจะอยู่ใน ประเทศไทยได้ จึงกลับประเทศ ท�ำให้กิจการของบ้านเณรและโรงเรียนพระหฤทัย ศรีราชา ไม่สามารถที่จะด�ำเนินต่อไปได้ จึงได้ปิดตัวลง หลังจากนั้นทางโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา อยู่ในภาวะสงครามกิจการด�ำเนินไม่สะดวกด้วยเหตุที่กองทัพญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ใช้ โรงเรียนอัสสัมชัญและบางแห่งเป็นที่ท�ำการ เพราะฉะนั้นทางคณะบราเดอร์เซนต์คาเบรียล จึงได้ให้นกั เรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ทีจ่ ะเรียนต่อทีเ่ รียนไปศรีราชา โดยใช้โรงเรียน ดาราสมุทรซึ่งคุณยอห์นเป็นเจ้าของด�ำเนินการ คุณยอห์นจึงจ�ำเป็นต้องหาที่สร้างโรงเรียน ใหม่ ซึ่งขณะนั้นกิจการของบ้านเณรศรีราชาปิดลง จึงได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารที่บ้านเณร ศรีราชาเป็นสถานที่ของโรงเรียนดาราสมุทร เปลี่ยนชื่อจากเดิม วิลลา สแตลลา มาริส มาเป็น ดาราสมุทรให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้น ดาราสมุทรจึงเริม่ ด�ำเนินการ โดยคุณยอห์นเรือ่ ยมา หลังจากปีค.ศ. 1940 สามเณรของบ้านเณรศรีราชาได้ถกู ส่งไปเรียนที่ บางนกแขวก และเมือ่ เหตุการณ์เข้าสูภ่ าวะปกติ ก็ให้สามเณรเหล่านีก้ ลับมาทีศ่ รีราชา โดยพัก 46


กินอยูแ่ ละได้รบั การอบรมทีบ่ า้ นเณรศรีราชา แต่ตอ้ งเดินไปเรียนทีโ่ รงเรียนอัสสัมชัญ ทุกวัน ส่วนโรงเรียนดาราสมุทรก็ด�ำเนินกิจการของตนไปนี้ จึงถือว่าบ้านเณรศรีราชา เป็นทีอ่ ยูท่ พี่ กั และเมือ่ ภายหลังสมัยพระคุณเจ้าสงวน ซึง่ อยูก่ รุงเทพฯก็ได้มอบหมาย ให้โรงเรียนอยู่ภายใต้การดูแลของบ้านเณรศรีราชา ก็ด�ำเนินการศึกษาไปโดยที่ให้ ครูสุนันเป็นผู้จัดการ เมื่อบ้านเณรได้รับภารกิจโรงเรียนดาราสมุทรก็ผลัดเปลี่ยน การรับผิดชอบที่โรงเรียนตั้งแต่ครูสุนัน ครูนาก และคุณพ่อบัณฑิต ท�ำหน้าที่เป็นทั้ง ครูใหญ่และผูจ้ ดั การ โรงเรียนมีเพียงอาคารหลังไม้ และก็มบี า้ นพักเล็ก ๆ ต่อมาทาง สังฆมณฑลจันทบุรีมีโครงการที่จะสร้างวัด ที่เป็นวัดไม้ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นวัด ชั้นล่าง เป็นโรงเรียน ก็ถอื ว่าเป็นสิง่ ใหม่ ส่วนโรงเรียนอัสสัมชัญก็ยงั เป็นโรงไก่อยู่ เพราะทาง คณะบราเดอร์ไม่ตงั้ ใจทีจ่ ะตัง้ โรงเรียนถาวร หากเหตุการณ์ทงั้ หลายเป็นปกติกจ็ ะย้าย กลับไปที่กรุงเทพฯ หากแต่ความนิยมมีมากขึ้น นักเรียนประจ�ำก็อยู่ที่นั่น ทางด้านบราเดอร์ เซนต์คาเบรียลจึงตัดสินใจที่จะด�ำเนินกิจการโรงเรียนอย่างเป็นกิจลักษณะ และได้ พัฒนาจนทุกวันนี้ ส่วนที่ดาราสมุทร ศรีราชามีการด�ำเนินกิจการพัฒนาให้เจริญ ก้าวหน้าประชาชนก็ให้ความสนใจ จ�ำได้ว่าตอนนั้นเป็นครูใหญ่มีนักเรียน 300 กว่าคน สถานที่จะต้องขยายแม้ว่าสร้างวัดให้เป็นโรงเรียนแล้วก็ตาม สามเณรมีเพิ่มมากขึ้น อาคารหลังไม้เดิมที่เป็นห้องอาหารให้สามเณรใช้

พระสังฆราชกิติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เล่าว่า...

สมัยก่อนเป็นเณร อยู่หอพักที่เป็นบ้านเณร มี คุณพ่อแสวง คุณพ่อศวง พระคาร์ดนิ ลั มีชยั มีพอ่ อาทร อยู่บางนกแขวก เปิดบ้านเณรปัจจุบันเป็นที่พัก ส�ำหรับพวกหัวไผ่ แปดริ้ว พนัสนิคม 30 คน อยู่ 2 ปี กรณีพพิ าทอินโดจีน ปิดวัด ปิดโรงเรียน ตอนเรียน เรียนที่อัสสัมชัญ เดินไปเรียน เรียน 2 ปีก็เลิกเบียดเบียน แล้วส่งกลับบ้าน บราเดอร์ คณะซาเลเซียนบอกว่า ใครสมัครเป็นเณรบ้าง มี 4 คน ปีแรกมี 6 คน บ้านเณรยัง ไม่เปิดจริง ๆ ปี 2 มีคุณพ่อบุญเนือง พ่อเรียนป.3- 4 ที่มีการเบียดเบียน ม.1-2 เรียน ดาราสมุทร ที่อัสสัมชัญ ม.3 กลับมาเรียนที่ดาราสมุทรปัจจุบัน บนบ้านไม้ เรียนไป ก็มเี ณรมาสมทบ นัน่ คือพระคาร์ดนิ ลั มีชยั จากบางนกแขวก สมัยทีพ่ ระสังฆราชสงวน เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีราชา และเป็นเจ้าของดาราสมุทร เรียน ม.4-6 ที่อัสสัมชัญ 47


จบก็มาเป็นครูที่โรงเรียน ดาราสมุทร พระคาร์ดนิ ลั มีชัยเป็นครูใหญ่ เพราะ เป็นครูนาน รุ่นพี่ไปเป็น เณรใหญ่หมด ท่านก็เลย ไม่ ไ ด้ ไ ป เลยต้ อ งบวช ที ห ลั ง ด้ ว ย สมั ย ก่ อ น ดาราสมุทรใช้เณรเป็นครู ทางราชการก็ตงิ ว่า ดาราสมุทร ท�ำไมครูเปลี่ยนบ่อยจัง ท�ำให้เริ่มมีรับครูที่เป็นฆราวาสเข้ามาสอน เหตุการณ์ไฟไหม้ ตลาดศรีราชา พวกเณรเข้าไปช่วยดับไฟ ทางร้านก็ให้เณรช่วยขนของเพราะว่าไว้ใจ สงครามโลก พ่ออยู่ ม.1-2 มีเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดเรือสินค้าบริเวณเกาะสีชงั ดังถึงบ้านเณร บินไปบินมาก็ถกู ยิงตกก็มที หารญีป่ นุ่ จับเชลยทหารฝรัง่ ถอดเสือ้ ตัวแดง เดินทางเพือ่ ไป พม่าผ่านจังหวัดกาญจนบุรสี มัยนัน้ ทหารญีป่ นุ่ นับถือศาสนาคริสต์กม็ ี อย่างวันอาทิตย์ก็ มาวัดชลบุรี เอาท๊อฟฟี่มาแจกเด็กๆ เณรสมัยก่อนอาบน�ำ้ ทะเล ไม่มีนำ�้ จืดอาบ นานๆ ก็ จะไปอ่างเก็บน�ำ้ บางพระมีบอ่ น�ำ้ ร้อน เตียงบ้านเณรสมัยก่อนเป็นไม้กระดานแผ่นเดียว ตอนกลางคืนก็มีเสียงโครมคราม มีเณรนอนตกเตียงแต่ก็นอนต่อถึงเช้า พวกเรา เป็นเณรเรียนอัสสัมชัญ เรียนฟรี จบก็ต้องสอนเรียนที่อัสสัมชัญ แต่ส่วนใหญ่จะ สอนที่ดาราสมุทร สอนครึ่งวันเรียนครึ่งวัน เรียนภาษาลาติน เณรที่อายุมากก็ได้ไป เป็นเณรปีนังก่อน เราอายุน้อยก็ต้องสอนเรียนที่ดาราสมุทรถึง 6 ปี รุ่นพี่ ๆ ไปกันก่อน เณรสอนเรียนเนื้อหาได้เข้มข้นมาก เทอม 1 จบ ม.1 เทอม 2 จบ ม.2 เณรก็ไม่มี ปริญญามาสอน จบ ม.6 ก็สอนได้

48


คุณพ่อมีคาแอล วีระ ผังรักษ์ เล่าว่า...

อาคาร 40 ปี ไม่ใช่ว่า โรงเรียนเราเลิศเลอ อาคาร เรียนเรายังสู้ อัสสัมชัญ เซนต์ปอลไม่ได้ แต่วา่ การเอาใจใส่ดแู ลเด็ก โรงเรี ย นตั้ ง อยู ่ ริมถนนสุขุมวิท สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นที่ปากต่อปาก ที่ส�ำคัญรับทั้งชายและหญิง เด็กในหมู่บ้านที่เล่นด้วยกัน พอคนใดคนหนึ่งมาเรียนดาราสมุทร อีกคนก็เลยต้อง ไปเรียนด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ทกุ คนในหมูบ่ า้ นต้องมาเรียนทีด่ าราสมุทรด้วย พ่อเริม่ ปรึกษาหลายกลุม่ บริหารมองดูวา่ ควรขออนุมตั สิ ร้างอาคาร จนคุณพ่อเศียร ยังบ่นกับ พ่อเลยว่า 8 ปีทอี่ ยูท่ นี่ ี่ มีการก่อสร้างตัง้ แต่วนั แรกจนถึงวันสุดท้าย คุณพ่อประยูรบอก ว่าการสร้างอาคาร 40 ปี มีความส�ำคัญและจ�ำเป็นที่จะใช้เป็นหอพัก รวมถึงแบ่งเป็น หอประชุมเล็กๆ ห้องวิทยาศาสตร์และห้องเก็บเครือ่ งมือต่างๆ โดยคิดว่าวันข้างหน้า โรงเรียนดาราสมุทร จะต้องมีหอประชุม การสร้างอาคาร 40 ปี จะต้องใช้เงินในการ ก่อสร้างมหาศาล จึงมีโครงการจัดหาเงิน

49


ขายสลาก มีการเรี่ยไรจากผู้ปกครอง ช่วยกันทุกวิธี จนอาคารนั้นเสร็จก็เปิดราวๆ ปี พ.ศ.2522 มีความยาวของตัวอาคาร 90 เมตร แต่มีหัวท้ายยาวอีก 9 เมตร สูง 5 ชั้น งบประมาณจริงใช้ประมาณ 7.2 ล้าน ทั้งหมดเป็นฝีมือของช่างเชง ขอให้ ช่างเชงท�ำให้สุดฝีมือ เพราะเราก็ได้อาคารที่ถูก แต่คุณภาพดีมาก นี่แหละคือ ที่มาของอาคาร 40 ปี พอใช้อาคารมาสักระยะหนึ่ง มองแล้วว่าห้องไม่เพียงพอ กับจ�ำนวนเด็ก วารสารร่มขวัญ ช่วงนัน้ พ่อยอดเป็นนักเรียนมัธยมปลาย อยูก่ บั บราเดอร์หลุยส์ พ่อยอดถือเป็นมือขวา ท�ำหนังสือโรงเรียน มีมาสเตอร์สัญญาเป็นรุ่นพี่ เพราะฉะนั้น คุณพ่อเขียว มาสเตอร์สมรักษ์สองคนนี้มีหัวทางศิลปะก็คิดท�ำกัน มองดูกว้าง ๆ ว่า เราจะพัฒนาโรงเรียนได้อย่างไร เป็นสือ่ อย่างหนึง่ ทีค่ วรท�ำ ทีอ่ สั สัมชัญจัดท�ำวารสาร ใช้มองดูความก้าวหน้าของโรงเรียน ไม่ใช่จะท�ำได้ทุกเรื่อง แต่ครูต้องมีความคิดรัก โรงเรียนและช่วยกันคิด ปรึกษากัน จ�ำได้แม่นย�ำมีการคุยกันอยูท่ หี่ อ้ งประชุม ครูหนุม่ ครูสาว ประชุมกัน 2- 3 ครั้งก่อนว่าร่มขวัญจะเกิดขึ้นมันก็ประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่ พ่อเองไม่ชอบท�ำอะไรครึง่ ๆ กลาง ๆ ถ้าท�ำแล้วก็ทำ� พอสมควรนะ มองก�ำลังของเรา ทีนี้ ครูหนุ่ม ครูสาวก็บอกอย่าลืมท�ำงานประชาสัมพันธ์ ทีนี้ก็ประชุมกันเสนอชื่อวารสาร มีทั้งเณรประตู เณรอโศก มีหลายชื่อ ร่มขวัญมาทีหลัง เริ่มแรกเพราะว่ามีประตู 1 2 3 4 เณรอโศก ค่อนข้างได้คะแนนมากกว่า รอบ 1 มีข้อแม้ต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ทีนี้ไม่ได้คะแนนตามนั้น เพราะถ้าได้คะแนนตามนั้นเราคงไม่มีวารสารชื่อร่มขวัญมา จนถึงทุกวันนี้ เพราะร่มขวัญเมื่อมาสเตอร์สัญญาเสนอเข้ามาตอนแรกได้คะแนน น้อย คนเสนอก็อธิบายความหมายของชื่อนี้ว่า เราอยู่ที่นี่มีความสุขเป็นที่ท�ำงาน เป็นโรงเรียน มีความสุขมันเหมือนกับว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกันขวัญดี อยู่แล้วอบอุ่น ในทีส่ ดุ แล้วร่มขวัญก็เลยชนะการโหวตชือ่ มาสเตอร์สมรักษ์วาดรูปสุดฝีมอื หากเรา ใช้ภาพถ่ายลงในร่มขวัญจะมีราคาแพง ต้องใช้วาดทุกเดือนออกเดือนละเล่ม ฉบับที่ 1 ท�ำกันไม่ทันเลยมาออกอีกเดือนหนึ่ง ทุกคนดูหัวเราะกัน มีคุณสวัสดิ์เป็นมือเขียน เรื่องให้แล้วก็ตรวจทานภาษา บอกว่าของที่เป็นคุณภาพเป็นหน้าเป็นตา ออกไปต้อง เป็นคุณภาพแล้วก็ภาษาต้องไม่ผิด เรื่องนี้ต้องใช้ความพยายาม เป็นหน้าเป็นตาของ โรงเรียน คุณสวัสดิร์ บั มาช่วยเขียน บทความส่งไปให้เขาจัดพิมพ์ฉบับที่ 1 ทุกคนหัวเราะ กัน มันเหมือนกับอุดมสาร จะต้องวาดให้ทันทุกเดือนแล้วต้องมาคัดภาพวาด ปีแรก ๆ จะเป็นภาพวาดทัง้ นัน้ แล้วก็เริม่ ปรับปรุงขึน้ เรือ่ ย ๆ ไปประชุมแล้วก็วเิ คราะห์กนั แต่พอ่ ก็บอกว่า พ่อก็ต้องเปลี่ยนอะไรที่พอเปลี่ยนกันได้ เมื่อมีนำ�้ ใจและตั้งใจ พ่อก็บอกแล้ว ว่าคนเรานี้นะ สักระยะหนึ่งก็ต้องถอยลงไปก�ำลังของเรามันก็ต้องถอยไป ความตั้งใจ บางทีกข็ เี้ กียจบ้าง ต้องมองล่วงหน้าไว้กอ่ นว่าต้องเกิดขึน้ อย่างแน่นอน ฉะนัน้ พ่อก็ปรับ ตัวได้ทำ� ใจได้วา่ ถ้าเมือ่ ไรคุณท�ำไม่ไหวแล้ว เลิกก็เลิก ซึง่ พ่อไม่ชอบแบบนี้ แต่วา่ ก็ทำ� ได้ คือท�ำคนเดียวก็ไม่ไหว แต่กพ็ งึ่ ตัวเอง เพราะฉะนัน้ เราตัดสินใจไว้วา่ เราหมดแรงแล้ว 50


เลิกก็เลิกไม่ได้ พ่อก็บอกไว้กอ่ นทีจ่ ะไปสิง่ อืน่ ๆ มัน ก็ธรรมดา แต่รม่ ขวัญมันก็คล้ายลูกของเราทุกคน ต้องช่วยกันประคับประคอง มันเป็นหน้าเป็นตา เป็นพลัง ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของเพราะฉะนั้น ทุกคนช่วยกันอุ้มช่วยกันลาก กี่ปีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 ไม่น่าเชื่ออยู่รอดมาได้ ซึ่งพ่อเองไม่เคยฝันขนาด นั้นท�ำใจไว้ว่ามันหมดแรงก็คือหมดแรง สะพานลอยนี้สร้างเตรียมไว้ส�ำหรับอาคาร 40 ปี เนื่องจากว่าถนนสุขุมวิท ก�ำลังขยายถนน หน้าโรงเรียนขยายแล้วกว้าง ถนนขยายกว้างล�ำบากมากเวลาข้าม มันเป็น 4 เลน และเราก็ใช้ทางม้าลาย โดยให้ลูกเสือไปช่วย ต�ำรวจก็ไปช่วย บางที ก็มาช้า บางทีก็มาไม่ทัน ลูกเสือจราจรของเราก็ไปช่วยแต่ว่ารถมันวิ่งสารพัดตรงนั้น มันเป็นเนินรถมันมาก็เร็วเหมือนกัน ทีน่ เี้ ด็กข้ามถนนได้ยนิ เสียงนกหวีดบางคนก็เชือ่ บางคนก็ไม่เชื่อมันก็ล�ำบากมากอันตรายมากไม่ว่ารถมันมาจากทิศใด เพราะว่ามัน เป็นทางยุทธศาสตร์กรมทางหลวงไม่ให้เราก็ไม่รู้ท�ำอย่างไร สะพานลอยทั่วประเทศ ไม่มีแห่ง เดียว ที่โคราชเพิ่งท�ำไปแต่ว่าเส้นนี้ติดต่อไปแล้วเขาว่าเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ ท�ำไม่ได้ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดในขณะนัน้ ก็เลยบอกว่าไม่เป็นไรเดีย๋ วมาช่วยกันนัดวัน พอเสร็จสิน้ จากกีฬาสี ขอคุณพ่อไปเจอกันที่ประจวบคีรีขันธ์ โอ้ดีเลยเจอคนจริงก็ไปจริงๆ คนที่ เรียกคือ กรมทางหลวง แล้วก็เทศบาล ให้ทงั้ 2-3 ฝ่ายมาช่วยกัน โรงเรียนทีต่ อ้ งการ เทศบาลต้องช่วยจัดหางบประมาณให้โรงเรียน กรมทางหลวงทีเ่ ป็นเจ้าของต้องอนุมตั ิ แล้วเทศบาลจะช่วยหาเงินให้โรงเรียน จากนัน้ คุณพ่อเรียกผูแ้ ทนจากเทศบาล นายก เทศมนตรีไปด้วยกันประชุม พอจะหางบประมาณมาช่วยสมทบทุนได้ไหม ตอนนั้น เทศบาลยอมเซ็นเพือ่ จะสร้างสะพานลอย ก็เกิดปัญหาการเมือง วันหนึง่ ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดเรียกนายกเทศมนตรีศรีราชาไปพบ แล้วหนังสือพิมพ์ฉบับหนึง่ ลงข่าวในหน้า กลางครึง่ หน้าว่า ผูว้ า่ ราชการสร้างสะพานลอยโอ๋โรงเรียนคนรวย โรงเรียนดาราสมุทร เป็นอย่างนัน้ เป็นอย่างนี้ โรงเรียนรัฐบาลไม่มใี ครเหลียวแล เราต้องมีเหตุมผี ล หลวงพ่อ ผูอ้ ปุ ถัมภ์โรงเรียนศรีราชาเตรียมสิง่ ต่าง ๆ ไว้ให้ ทีส่ ดุ แล้วท่านก็ชแี้ จงเราว่า โรงเรียน ศรีราชาเป็นโรงเรียนรัฐ เช้าเย็นเด็กมาถึงถนนสุขุมวิทต้อง ข้ามถนนเหมือนกัน 51


ก็ต้องข้ามไปเรียนก็มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน เป็นคนไทยและท�ำไมต้องเอาสะพานมา สร้างตรงบริเวณดังกล่าว ท่านเรียกเราว่าโรงเรียนคนรวย ท�ำไมไม่สร้างตรงปัม๊ น�ำ้ มัน เพราะว่าเด็กนักเรียนของดาราสมุทรมาก็ไปข้ามตรงนัน้ เลย สามารถใช้สะพานร่วมกัน ได้ 2 โรงเรียน ฟังแล้วก็มีเหตุผล แต่ใจพ่อต้องการให้คนที่จะท�ำบุญไว้เฉพาะส�ำหรับ อาคาร 40 ปี คือระยะห่างอีก 2 ปี มันก็เริ่มได้ แต่ถูกตัดหน้าไปก่อน มันได้จังหวะ พอดี ดาราสมุทรสนับสนุนงบประมาณ 2 แสน นักเรียน ตลอดจนคนใจบุญก็ชว่ ยกัน ทีนี้มันต้องมีปัญหาว่า เทศบาลตั้งงบไปแล้ว ผู้ว่าฯ สั่งนายอ�ำเภอไปประชุมกันนอก รอบสภาเทศบาล นายอ�ำเภอก็ต้องอ้อนวอนบอกว่าต้องการแบบนั้นนะ เพราะฉะนั้น ให้ช่วยไปขอจากเอสโซ่ ไทยออยล์ช่วยสนับสนุนเงินส่วนหนึ่งในการสร้าง ที่สุดจบลง เชิญผู้ว่าฯ มาเปิดเหมือนกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ใจดี เราก็บอกขอโทษที่ทำ� ให้ต้อง ล�ำบากเดือดร้อน ท่านบอกไม่กลัวถ้าจะเป็นประโยชน์ให้ใครต่อใคร

คุณพ่อเบเนดิกต์ ประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ เล่าว่า...

บ้านเณรกับโรงเรียน ตอน ที่ผมเข้ามาบ้านเณรปีนั้น โรงเรียน ดาราสมุทรมีคณ ุ พ่อเทพศิริ ศิรโิ รจน์ เป็นผู้จัดการ โรงเรียนดาราสมุทร ยังไม่ใหญ่โตโอฬารขนาดนี้ สถานที่ ทั่ว ๆ ไปคือ มีหลายประตู เรียกประตู 1 ถึงประตู 5 ประตู 1 ก็หอพัก ประตู 5 ก็ คือวัดศรีราชา เวลาลงรถประจ�ำทางจะต้องบอกให้ถกู ว่าลงประตูไหนของดาราสมุทร ร่องรอยเดิมก็พอมีให้เห็นบ้างในปัจจุบัน ซึ่งรั้วเดิมเป็นรั้วลวดหนาม เสาปูน ยังจ�ำ ได้ดี เตะบอลไปที่ลวดหนามที่ไร บอลก็แตกทุกที อาคารเรียนสมัยนั้นทางฝั่งเล็กมี อาคารไม้หลังยาว และเรือนปั้นหยา และอาคารชั้นเดียว ยาวตามถนนซึ่งมีห้องน�้ำ อยู่ด้านในสุด และทางฝั่งใหญ่ก็มีอาคารสามชั้นเพิ่งสร้างใหม่ และโรงอาหารไม้หลัง เล็ก ๆ เข้ามาชั้น ป.5 สมัยก่อนโรงเรียนดาราสมุทรก็เพิ่งจะรับครูหญิงรุ่นแรก สมัย นี้เองครูประจ�ำชั้นคือ คุณครูสุรางค์ ซึ่งยังเรียนอยู่ทางฝั่งเล็กอาคารเรือนไม้

52


พอ ป.6 ถึงย้ายมาอยู่ฝั่งใหญ่เหมือนยกระดับ เมื่อนักเรียนเพิ่มขึ้น ๆ จึงมีการสร้าง เรือนไม้ชนั้ เดียวเพิม่ ขึน้ ไปทางอาคาร 40 ปีปจั จุบนั พูดถึงความเกีย่ วพันของบ้านเณร กับทางโรงเรียน คิดว่าแยกกันไม่ออก เพราะโรงเรียนดาราสมุทรมีไว้สำ� หรับสามเณร นั่นเอง ซึ่งเราพูดตามประสาเด็ก ๆ ว่า เณรเป็นเจ้าของโรงเรียน ฉะนั้นครูจะตีเณร ก็ต้องเกรงใจลูกเจ้าของว่างั้นเถอะ เมื่อเป็นเช่นนี้ ระยะนั้นจึงมีมาสเตอร์เณรไปสอน มากมายหลายชั้น โรงเรียนมีงานอะไร เณรช่วยได้ก็ต้องไปท�ำ เช่น ไปช่วยขายของ ตอนเช้าและตอนเที่ยง รวมทั้งขายของห้องสหกรณ์ มาสเตอร์เณรต้องขับรถรับ นักเรียนทั้งเช้าเย็นโดยรถของโรงเรียนด้วย งาน ภารกิจจิปาถะของโรงเรียนก็อาศัย เณรไปท�ำทุกเรื่อง สมัยนั้นยังไม่รู้จักภารโรงคืออะไร ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไปตัดหญ้าที่ สนามฟุตบอล ซึ่งแต่ก่อนมิได้สวยงามขนาดนี้ เคยตักฉี่ของนักเรียนที่ที่ฉี่เบาท่อมัน อุดตัน ต้องไปทาสีกระดานด�ำเพื่อให้ดูใหม่เตรียมเปิดเรียน เป็นต้น

มาสเตอร์เกรียงไกร เรือนงาม เล่าว่า...

ห้อง LAB (สอนฟัง พูดภาษาอังกฤษ) นี้มีมาตั้งแต่สมัย พ่อประยูรแล้ว ตอนนั้นมีมาสเตอร์ถาวรสอนภาษาอังกฤษ ท่านบอกว่ายังไม่สามารถที่จะท�ำให้เด็กพูดภาษาอังกฤษ ได้ แล้วมาสเตอร์ไพศาล มาเป็นผู้สอน ระดับ ม.1 2 3 ที่ตึกพ่อประยูรก็ได้ผล ทีนี้ ก็มีปัญหาพอสอนไปได้สัก 3-4 ปีคือว่า นักเรียนนีเ้ กิดท�ำอุปกรณ์เสียบ่อย ซ่อมไม่ไหว

53


มาสเตอร์ไพศาลเขาก็มีปัญหาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษด้วย เพราะว่าท่านเอาจริงเอาจัง ผอ.บางคนมองว่าบีบบังคับเด็กเกินไปมาสเตอร์ไพศาลให้ท่องศัพท์ แต่ผอ.บางคน มองว่าเป็นการเสียเวลา มาสเตอร์ไพศาลก็เลยตัดสินใจลาออกไปอยู่ซาอุดิอาระเบีย ทีนคี้ นต่อมาครูอมั พิกา ก็ชว่ ยควบคุม แต่ไม่ได้สมั ผัสกับเครือ่ ง พอมาสเตอร์ประทาน ออกอีกคน แล้วมาสร้างตึกใหม่ ตึก 40 ปี ทีนี้มันต้องหาครูภาษาอังกฤษให้ได้ที่จะมา รับผิดชอบในส่วนนี้ ส่วนห้องพิมพ์ดีดมันเริ่มตั้งแต่มาสเตอร์สมคิดเป็นผู้ที่ไปอบรม พิมพ์ดดี แล้วก็มมี าสเตอร์ธรี ศักดิเ์ ขาก็จะสอนธุรกิจ มาสเตอร์สมคิดเขาสนใจพิมพ์ดดี ก็เลยไปซื้อพิมพ์ดีดมาในสมัยพ่อวีระ พอมาสมัยพ่อบรรจง พิมพ์ดีดนี้ก็ล้าสมัยไป แล้ว มาสเตอร์ทศั นัยไปเรียนคอมพิวเตอร์มา เลยขอให้หยุดสอนพิมพ์ดดี ไปเลย แล้ว ก็เริ่มให้เด็กเรียนคอมพิวเตอร์ โดยมีห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง ตอนนั้นเด็กประมาณ สองพันกว่าคน กิจกรรมลูกเสือในดาราสมุทร จริง ๆ แล้วเริ่มมาจากอนุกาชาดก่อน แล้วจึง เป็นเนตรนารีที่นักเรียนมัธยมต้องเรียนทุกคน แต่อนุกาชาดไม่ต้องแต่งเครื่องแบบ เพียงแต่ผูกผ้าพันคอเขียว ตั้งแต่ ม.1-ม.3 ต้องแต่งเครื่องแบบเป็นลูกเสือ แรก ๆ ไม่มใี ครอยากเป็น เพราะยังไม่รขู้ นบธรรมเนียมประเพณี พอมาสมัยพ่อประยูรท่านให้ ครูทกุ คนไปอบรม ผมก็ไปอบรมด้วย 2 คอร์ส ต่อมาสมัยพ่อวีระท่านริเริม่ จัดอบรมใน โรงเรียน เพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าอุปกรณ์และค่าสมัครลูกเสือ ทีนี้ครูของเราช่วยเหลือ กิจกรรมในค่ายลูกเสือวชิราวุธ แล้วได้รับการอบรมในค่ายจนกระทั่งมาสเตอร์อดุลย์ มาสเตอร์ธรี ศักดิไ์ ด้วฒ ุ มิ าเป็นวิทยากรอบรมครูเอง พอถึงเวลาเข้าค่ายประมาณเดือน พฤศจิกายนหรือธันวาคม ก็ไปเข้าค่ายที่ลพบุรี เด็กพอขึ้นม.1 ก็จะต้องเข้าค่ายอบรม ที่ค่ายลูกเสือมีอุปกรณ์ครบ ไม่ว่าจะเป็นการไต่เชือก การเข้าแค้มป์ไฟ ครูของเราเก่ง มากสามารถฝึกฝนให้เด็กของเราให้มีระเบียบวินัยดี

54


55











พัฒนาวิสัยทัศน์ เพื่อวิวัฒน์อัตตา โดย... งานพัฒนาบุคลากร

10-12 ตุลาคม 2554

ครู เรื่อง การเป็นศิษย์ของพระเยซูในวิถีชีวิต โดย บาทหลวงมหาโซโน โปรโบ

4 ตุลาคม 2554(ประถมศึกษา)

6 ตุลาคม 2554(มัธยมศึกษา)

วัด เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การ และประเมินผล เชิงระบบ โดย ว่าที่ร้อยตรี อรพงษ์ อาษาเอื้อ

17-18 สิงหาคม 2554(ประถมศึกษา)

27-28 สิงหาคม 2554(มัธยมศึกษา)

เรื่อง การพัฒนาศักยภาพด้านการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ โดย รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช

65


10 พฤษภาคม 2554

สมุทร เรื่อง จิตวิญญาณครูโรงเรียนดารา ก ลิ าทอ อัตลักษณ์การศึกษาค โดย ดร.ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย

7-9 มีนาคม 2554 (ปฐมวัย)

9-11 มีนาคม 2554 (ประถมศึกษา) 14-16 มีนาคม 2554 (มัธยมศึกษา)

เรื่อง สิทธิมนุษยชนศึกษา โดย รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร

12-18 ตุลาคม 2553

เรื่อง โดย

66

ง การฝึกอบรมวิชาผู้ก�ำ กับลูกเสือสำ�ั้นรอ สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้ช สูง (A.T.C.) คณะวิทยากรจากสมาคมสโมสรลูกเสือ รัตนโกสินทร์


24-25 ตุลาคม 2553

เรื่อง พันธกิจชีวิต จิตวิญญาครู โดย บาทหลวงจรัล ทองปิยภูมิ

24 กรกฎาคม 2553

เรื่อง เทคนิคการให้ค�ำ ปรึกษาเบื้องต้น ็ นภา กุลนราดล โดย ดร.เพญ

13 มิถุนายน 2553(ประถมศึกษา) 4 กรกฎาคม 2553(มัธยมศึกษา)

เรื่อง เลี้ยงลูกอย่างไรในวัยประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ

67


9 ตุลาคม 2552

เรื่อง ทฤษฎีใหม่ในการฝึกทักษะการคิด โดย ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา

26 เมษายน 2552

ที่ 21 เรื่อง การศึกษาคาทอลิกในศตวรรษ าย รฉ ย ชี เ ิ รว โดย ดร.ชัยณรงค์ มณเทีย

23 สิงหาคม 2551

สำ�เร็จ เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษที่ประสบความ โดย บาทหลวงสุรินทร์ ประสมผล

68


24 เมษายน 2551

เรื่อง การเรียนร่วม : ปัญหาครูปฐมวัย โดย อาจารย์นันทา โพธิ์คำ�

24 เมษายน 2551

เรื่อง การวัดและประเมินผล โดย บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ

21 เมษายน 2551

เรื่อง สุขภาพกายดี ชีวีเป็นสุข โดย ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธ์วงศ์

69


แบ่งปันวิทยสังเคราะห์...สูส ่ งั คม

โดย...สำ�นักบริหาร ร่วมกับ งานสัมพันธ์ชุมชน 29 กันยายน 2554 คณะผู้บริหารและครูโรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ศึกษาดูงาน ด้านการบริการ

15 กันยายน 2554 คณาจารย์ แ ละนิ สิ ต ภาค วิ ช าการจั ด การเรี ย นรู้ คณะ ศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย บูรพา ศึกษาดูงาน ด้านหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอน

26 สิงหาคม 2554 คณะผู้บริหารและครูโรงเรียน เอกชน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ศึกษาดูงาน ด้านการบริหาร จัดการสถานศึกษา

70


29 กรกฎาคม 2554 คณะผู้ บ ริ ห ารและคณะครู โรงเรี ย นบ่ อ วิ ท ยบางระกำ � จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาดูงาน ด้านการบริหาร จัดการสถานศึกษา หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน

26 กรกฎาคม 2554 ศู น ย์ น วั ต กรรมการบริ ห าร และผู้นำ�ทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ศึ ก ษาดู ง าน ด้ า นการจั ด ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

20 กรกฎาคม 2554 คณะผู้ บ ริ ห ารและครู โรงเรี ย น เอกชนสอนศาสนาอิส ลาม 22 โรงเรียน จำ�นวน 45 คน โครงการ ส่งเสริมการใช้หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานและหลักสูตรอิสลาม ศึกษาแบบบูรณาการ ศึกษาดูงาน ด้านการจัดการเรียน การสอน

71


1 กรกฎาคม 2554 คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร ศึกษาดูงาน ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

14 มกราคม 2554 คณะผู้บริหารโรงเรียน จันทศิริวิทยาและเทคโนโลยี เอเชียบริหารธุรกิจ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ศึกษาดูงาน ด้านการบริหาร จั ด การทั่ ว ไป ด้ า นวิ ช าการ ด้านธุรการและกิจการนักเรียน

15 พฤศจิกายน 2553 คณะผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เอเชี​ียแปซิฟิก เยี่ ย มชม กิ จ การลู ก เสื อ โรงเรี ย นดาราสมุ ท ร และ กิ จ กรรมลู ก เสื อ กองร้ อ ย พิเศษ

72


17 กรกฎาคม 2553 คณะครู ก ลุ่ ม บริ ห ารงาน ทั่วไป โรงเรียนโยธินบูรณา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ศึกษาดูงาน ด้านการบริหาร จัดการสถานศึกษา

15 กรกฎาคม 2553 คณาจารย์ แ ละนิ สิ ต คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา ศึกษาดูงาน ด้านหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน

21 มิถุนายน 2553 คณะนักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศึกษาดูงาน ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

73


17 ธันวาคม 2552 คณาจารย์ แ ละนิ สิ ต คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา ศึกษาดูงาน ด้านหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน

7 กันยายน 2552 คณะผู้บริหารและครู โรงเรียนเทพนิมิตศึกษา โรงเรียนธิดาแม่พระ จ.สุราษฎร์ธานี และโรงเรียนนารีวิทยา จ.ราชบุรี ศึกษาดูงาน ด้านการบริหาร จัดการ และการจัดการเรียน การสอน

16 กรกฎาคม 2552 คณาจารย์ แ ละนิ สิ ต คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา ศึกษาดูงาน ด้านการจัดการ เรียนการสอน และการจัด ชั้นเรียน

74


2 กุมภาพันธ์ 2552 ค ณ ะ ผู้ บ ริ ห า ร แ ล ะ ค รู โ ร ง เ รี ย น พ ร ะ ห ฤ ทั ย คอนแวนต์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ศึกษาดูงาน ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ

22 สิงหาคม 2552 คณะผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นใน สั ง กั ด สำ � นั ก งานเขตพื้ น ที่ การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ศึกษาดูงาน ด้านหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้

เป็นคนดี มีความรู้ มีจิตสาธารณะ เป็นสุข 75


76


77


โครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนดาราสมุทร อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2554 สังฆมณฑลจันทบุรี คณะกรรมการ รสจ. ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต คณะกรรมการโรงเรียน

คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ฝ่ายธุรการ-การเงิน

ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายบริหารหลักสูตร และงานวิชาการ

ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมผู้เรียน

ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายบริการ

ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายสำ�นักบริหาร

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ฝ่ายอภิบาลและ แพร่ธรรม

• งานหลักสูตร • งานวัดและ ประเมินผล • งานวิจัยและ นวัตกรรม • งานสื่อและ แหล่งเรียนรู้ • งานกิจกรรม พัฒนาผู้เรีย • งานทะเบียน • งานทั่วไปที่ได้ รับมอบหมาย

• งานส่งเสริม ระเบียบวินัย • งานดูแลช่วยเหลือ นักเรียน • งานพัฒนคุณภาพ ชีวิตนักเรียน • งานกิจการ นักเรียน • งานติดตามและ ประเมินผล • งานทั่วไปที่ได้ รับมอบหมาย

• งานบริการระดับ เนอร์สเซอรี่ / ปฐมวัย / ประถม ศึกษาปีที่ 1-2 • งานอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม • งานรักษาความ ปลอดภัย / ซ่อมบำ�รุง / ดูแล บุคลากรสนับสนุน • งานอนามัยและ สัมพันธ์ชุมชน • งานบริการ อาคารบูรณาการ • งานทั่วไปที่ได้ รับมอบหมาย

• งานประกัน คุณภาพ • งานพัฒนา บุคลากร • งานเทคโนโลยี สารสนเทศ • งานวางแผน และพัฒนา • งานวารสาร โรงเรียน • งานประสานงาน สมาคมศิษย์เก่า และสมาคม ผู้ปกครองและครู • งานทั่วไปที่ได้ รับมอบหมาย

• งานคำ�สอน • งานส่งเสริม คุณค่าทางศาสนา และวัฒนธรรม • งานองค์กร คาทอลิก • งานทั่วไปที่ได้ รับมอบหมาย

หัวหน้าระดับ • งานการเงิน • งานบัญชี • งานจัดซื้อ • งานธุรการและ งานสารบรรณ • งานทั่วไปที่ได้ รับมอบหมาย

78


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดาราสมุทร นายบุญส่ง พันเสือ นางสาวพันทิษา เจริญสุข นายสัญญา มังกร นายศรัณย์ ตั้งตระกูลทรัพย์ นายสมชาย พันนุช บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต บาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ นายประสาน ปทุมวัฒนเวทย์ นายศักดิ์อนันต์ เพียรการดี นางจารุวรรณ ส่างแก้ว นางพิไลพร พรหนองแสน นางสาวรัชนีวรรณ ไชยวงค์ นายธนวินท์ เลิศเกียรติคุณ นางสาวสวิตตา บุญพยุง นายเกษตร ถนอมรอด นางเตือน ติระยะพานิชกุล นางสาวประภาพร วิเศษเธียรกุล นางสายใจ สกุลเลิศมงคล นายสุชาติ กรีแก้ว สินทอง นางศิรินภา นายชุนณ์ลพัทธ์ ศรีภาเพลิน นายนพรัตน์ ไชยายงค์ พ.ต.ท.ศิริศักดิ ์ วงษ์วิวัตน์ นางธนาภา หัวใจ นายชาตรี สายพรหม นายธีรยุทธ์ กนกบรรพต นางอรวรรณ กุลเกลี้ยง นายสมเกียรติ วิลัยทอง นายพุทธมนต์ เหมือนเพ็ชร์ นายจำ�ลอง อริยธนพงศ์ นายอนุวัต นามดี นางฟองนวล วิจิตรบรรจง นางสุรภี ภาคย์ภิญโญกุล นายสุวิทย์ ธนสิริพัฒน์

ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา นายกสมาคม อุปนายกคนที่ 1 อุปนายกคนที่ 2 อุปนายกคนที่ 3 อุปนายกคนที่ 4 เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ เหรัญญิก ผู้ช่วยเหรัญญิก นายทะเบียน ผู้ช่วยนายทะเบียน ผู้ช่วยนายทะเบียน สาราณียากร ผู้ช่วยสาราณียากร ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ ปฎิคม ผู้ช่วยปฎิคม ผู้ช่วยปฎิคม ผู้ช่วยปฎิคม ผู้ช่วยปฎิคม วิชาการ วิชาการ วิชาการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ 79


ผู้ปกครองเครือข่าย ปีการศึกษา 2554 ผู้แทนระดับ อนุบาล 1

คุณเจษฎาภรณ์ ศรีสกุล ประธาน

คุณคัมภีร์ กาญจนนาภา รองประธาน

คุณพสิษฐ์ เวชสถล เลขานุการ

ผู้แทนระดับ อนุบาล 3

คุณบัณฑิต แดงขาวเขียว ประธาน

คุณวัชรีวรรณ วัชรเทศ รองประธาน

คุณปรารถนา แจ้งโห้ เลขานุการ

ผู้แทนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 2

คุณก่อเกียรติ เอี้ยพิน ประธาน

คุณธิดารัตน์ พูลกิจวิทยา รองประธาน

คุณภคพร ศุภพร เลขานุการ

ผู้แทนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4

คุณสมพร เตชะพะโลกุล ประธาน

80

คุณประทีป บุญประเวช รองประธาน

คุณจงจินต์ ปิ่นรัตน์ เลขานุการ

ผู้แทนระดับ อนุบาล 2

คุณพสิษฐ์ เวชสถล ประธาน

คุณเชิญขวัญ ยั่งยืน รองประธาน

คุณศศิธร ไชยประสิทธิ์ เลขานุการ

ผู้แทนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1

คุณสุวิทย์ ภิญโญธรรมากร ประธาน

คุณวันเพ็ญ กิจนุกูล รองประธาน

คุณจิรฐา สูยะชีวิน เลขานุการ

ผู้แทนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 3

คุณนฤมล ปลั่งพัฒนาพานิช ประธาน

คุณวิภาภรณ์ สุทธิ รองประธาน

รอ.รามิน เพ็งลี เลขานุการ

ผู้แทนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 5

คุณปิยะ วรรณไพเราะ ประธาน

คุณนุชรี ธรรมศิรารักษ์ รองประธาน

คุณแอนนา พงศ์ลดากูล เลขานุการ


ผู้แทนระดับ ประถมศึกษาปีที่ 6

คุณนพวรรณ ธิมาภรณ์ ประธาน

คุณสุทิน พิมทอง รองประธาน

ผู้แทนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1

คุณอมรรัตน์ แซ่หว่อง เลขานุการ

ดร.ณัฐวุฒิ พลอยอร่าม ประธาน

ผู้แทนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 2

นายสุชาติ พุกกะวรรณะ ประธาน

นางวราภรณ์ บุญทนาวงศ์ รองประธาน

ด.ต.ภิรมย์ โคสอน รองประธาน

นางยุวดี พัฒนกุล เลขานุการ

ผู้แทนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3

นางปนัดดา สังวันนา เลขานุการ

นายพันธ์เทพ พวงเจริญ ประธาน

ผู้แทนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 4

นายวิชัย ถาวรพงศ์ ประธาน

นายณัฏฐพล วิจิตรนพคุณ รองประธาน

นางจันทร์เพ็ญ กาญจนาคมา นันท์รองประธาน

นางธนัฏฐภรณ์ จีนจิตรมั่น เลขานุการ

ผู้แทนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 5

นางเย็น ธนสิริพัฒน์ เลขานุการ

นางนิภา หอรุ่งเรืองชัย ประธาน

นางชมพูนุต ปุ้งข้อ รองประธาน

ผู้แทนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6

คุณสมพร เตชะพะโลกุล ประธาน

คุณประทีป บุญประเวช รองประธาน

นพ.ธเนศ เลิศนิมิตธรรม เลขานุการ

81


คณะกรรมการบริหาร สมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนดาราสมุทร บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต

ที่ปรึกษา

ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต

บาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊

ที่ปรึกษา

ผู้อำ�นวยการโรงเรียนดาราสมุทร

นายเกรียงไกร เรือนงาม

ที่ปรึกษา

14 ถ.สุขุมวิท ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายฉัตรชัย ทิมกระจ่าง

ที่ปรึกษา

อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา

นายวิรุณชัย อธิปชาติศิริ

ที่ปรึกษา

8/1 ถ.สุขุมวิท ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายวิรัตน์ชัย เจ็งสืบสันต์

ที่ปรึกษา

14/4 ถ.สุขุมวิท อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายสรชัช ศรีสำ�อาง

ที่ปรึกษา

42/1 ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายมนัส วงษ์ไทยวรรณ

นายกสมาคม

117 ถ.เจิมจอมพล ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

พล.ต.ท.สุชาติ รัตนประเสริฐ

อุปนายกคนที่ 1

585 ซ.อยู่เย็น2 บางเขน กรุงเทพฯ 10900

นายณรงค์ศักดิ์ เซ็นภักดี

อุปนายกคนที่ 2

307/8 ม.5 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150

ผศ.บังเอิญ โอวาท

อุปนายกคนที่ 3

36/7 ม.6 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

เลขานุการ

15/54 ม.4 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

ผู้ช่วยเลขานุการ

44/30 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายเกรียงศักดิ ์ อินทรวงศ์ นายดิลก พิมพ์สกุล

82

นายกิตติศกั ดิ ์ กจิ โชคเจริญสกุล

ปฏิคม

45/3 ถ.สุรศักดิ์ 1 อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายชุมพล เทพหัสดิน ณ อยุธยา

ผู้ช่วยปฏิคม

11/24 ม.3 ซ.คมกฤส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายนพรัตน์ ไชยายงค์

นายทะเบียน

50/45 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายชัชวาล อินทุโศภน

ผู้ช่วยนายทะเบียน

9/265 ม.3 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายโสพรรณ บุญนาค

เหรัญญิก

155/52 ม.10 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110


นายอภิชัย สืบไทยพานิช

ผู้ช่วยเหรัญญิก

136 ถ.เจิมจอมพล ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายสัญญา มังกร

ประชาสัมพันธ์

8/31 ถ.เจิมจอมพล ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายวิจิตร สถิตธำ�มรงค์

ประชาสัมพันธ์

8/41 ถ.เจิมจอมพล ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายสุรพล สิริชัยเจริญกล

ฝ่ายประสานงาน

35/239 ซ.12 ม.ศรีาชาทาวเวอร์2 ม.3 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายประสาร ปทุมวัฒนเวทย์

ประชาสัมพันธ์

6/49 ม.4 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นางจารุวรรณ ส่างแก้ว

ฝ่ายประสานงาน

โรงเรี ย นดาราสมุ ท ร ต.ศรี ร าชา อ.ศรี ร าชา จ.ชลบุรี 20110

นายจำ�ลอง อริยธนพงศ์

กรรมการ

8/11 ถ.สุขุมวิท ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายพินิจ ศิโรรัตนาวาทย์

กรรมการ

8/12 ถ.สุขุมวิท ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายนพดล วนไพศาล

กรรมการ

10/8 ถ.สุรศักดิ์ ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายสถาพร แจ้งจำ�รัส

กรรมการ

217/2 ม.10 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายบุญยืน ใจหงษ์

กรรมการ

75/10 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายอวยพร ธนารักษ์

กรรมการ

76/21 ถ.สุรศักดิส์ งวน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายอนันต์ วนไพศาล

กรรมการ

40/7 ถ.สุรศักดิ์สงวน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายราชันย์ นุตเจริญกุล

กรรมการ

นายอำ�พล ทัสนชูเกียรติ

กรรมการ

76/21 ถ.สุรศักดิส์ งวน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายไพโรจน์ ภาคภิญโญกุล

กรรมการ

46/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

นายเกียรติศักดิ์ เวียงพระปรก

กรรมการ

28/12 ม.10 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

83


น ่ แ ห ด เ ง ่ ด ป ด โ ี น ี ย ร เ นกั ด้านเกมต่ออักษรภาษาไทย นายว.วัชรวงษ์ คงวัชระกุล

ชนะเลิศ การแข่งขันคำ�คมเกมต่ออักษรภาษาไทย ระดับประเทศ ชนะเลิศ แชมป์ประเทศไทย – ภาคตะวันออก – ภาคกลาง ชนะเลิศ วันวิชาการสัมพันธ์ (รสจ.) ตั้งแต่ 2547 – 2553 บิดา-มารดา นายพงษ์เทพ คงวัชระกุล นางเกสริน คงวัชระกุล - เป็นความภาคภูมิใจของครอบครัวมาก ที่มีลูกเป็นเด็กดี เป็นเด็กเก่งระดับประเทศ เป็นศักดิ์เป็นศรีแก่ วงศ์ตระกูล และได้สร้างชื่อเสียงที่ดีงามให้กับโรงเรียนดาราสมุทร จวบจนทุกวันนี้ - อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ มีความมุ่งมั่นที่จะทำ�ในสิ่งที่ดี รู้หน้าที่ของตนเอง มีความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณทุกท่าน - พ่อแม่ ต้องให้ความรัก ความอบอุ่น ใกล้ชิดลูก อย่าใช้อารมณ์กับลูก สนับสนุนในสิ่งที่ดี และพัฒนาลูกให้ ก้าวหน้า เป็นแบบอย่างในการดำ�เนินชีวิตให้กับลูกในทุก ๆ ด้าน - โรงเรียนดาราสมุทร เป็นสถาบันที่อบรมสั่งสอนทั้งทางด้านวิชาความรู้ ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม ให้กับ ชุมชนมายาวนานถึง 75 ปี ก็นับว่าเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป และจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากผูบ้ ริหาร ครู นักเรียน และผูป้ กครอง โดยอาศัยพระพรอันประเสริฐ จากพระแม่มารียอ์ งค์อปุ ถัมภ์ของ โรงเรียนดาราสมุทร

84


ด้านชีววิทยาโอลิมปิก นางสาวธนัชชา เลิศนิมิตธรรม

พ.ศ.2554 * ผ่านการอบรมวิชาการ สาขาชีววิทยา โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ของมูลนิธิ สอวน. ค่ายที่ 2 ประจำ�ปีการศึกษา 2553 (ระดับภาค) * ตัวแทนศูนย์ สอวน. มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 8 และเป็นผู้ผ่านการ คัดเลือกเข้าอบรมค่าย สสวท.สาขาชีววิทยา * ผ่านการอบรมคัดเลือก สาขาวิชาชีววิทยา ในโครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ( IMSO) บิดา-มารดา นพ.ธเนศ เลิศนิมิตธรรม ภญ.ทิพวรรณ เลิศนิมิตธรรม ความคิดเห็นของบิดามารดา 1. ความรูส้ กึ ต่อตัวนักเรียนทีไ่ ด้รบั รางวัลนี้ ภาคภูมใิ จกับความพยายามและความตัง้ ใจจริงของลูก ลูกได้เรียน รูว้ า่ ถ้ามุง่ มัน่ และตัง้ ใจทำ�จริง ๆ เราสามารถทำ�ได้ แม้จะยังเป็นเพียงก้าวเล็ก ๆ แต่กเ็ ป็นแรงกระตุน้ ให้กา้ ว เดินไปในทางที่ดีได้ต่อไป 2. มีวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไร ให้โอกาสลูกได้ทดลอง ได้เรียนรู้ และได้เลือกสิ่งที่อยากทำ� เพื่อค้นหาสิ่งที่ เหมาะสมกับตัวเอง และให้การส่งเสริมสนับสนุนเต็มความสามารถ รวมทั้งให้ก�ำ ลังใจไม่ว่าจะสมหวังหรือ ผิดหวัง ลูกจะมีครอบครัวอยู่เคียงข้างเสมอ 3. มองมาตรฐานของโรงเรียนดาราสมุทรที่ครบรอบ 75 ปี อย่างไร แม้ว่าโรงเรียนดาราสมุทรจะครบรอบ 75 ปี แต่มาตรฐานที่ไม่คิดว่าโรงเรียนจะเปลี่ยนแปลงไปเลย ก็คือ ความตั้งใจอบรมให้นักเรียนเติบโตเป็น คนดีของสังคม

85


ด้านเรียงความวันแม่แห่งชาติ เด็กหญิงวิริยะณัฐ พลอยอร่าม

รางวัลระดับประเทศ รางวัลที่ 2 การประกวดเรียงความ ระดับชั้นมัธยมศึกษา เรื่องอนาคตของชาติฝากไว้ ในมือแม่ เนื่องในโอกาสการจัดงานวันแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 36 ประจำ�ปี 2554 ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จัดโดย สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลอื่น ๆ - รางวัลชนะเลิศเรียงความทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรือ่ ง จุดประกาย ความคิดพัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ภาคตะวันออกในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา - รางวัลนักเรียนดีเด่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - รางวัลนักเรียนดีเด่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - รางวัลเยาวชนผู้ทรงคุณค่า ประจำ�ปี 2553 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553 - รางวัลเยาวชนผู้ทรงคุณค่า ประจำ�ปี 2554 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554 - รางวัลเหรียญทองการแข่งขันงานประติมากรรมนูนสูง วันวิชาการสัมพันธ์ (รสจ.) ครั้งที่ 21 บิดา-มารดา ดร.ณัฐวุฒิ พลอยอร่าม นางประนอม พลอยอร่าม ความคิดเห็นของบิดามารดาต่อรางวัลที่ได้รับ รูส้ กึ ภูมใิ จในตัวลูกทีไ่ ด้รบั รางวัลนี้ ลูกเป็นคนชอบอ่านหนังสือจึงแนะนำ�ให้ลกู เมือ่ เป็นนักอ่านก็หดั เป็นนักเขียนบ้าง และลูกก็สามารถนำ�ความรู้จากการอ่านหนังสือมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียนหรือหนังสืออ่านเล่น นำ�มา ประยุกต์ใช้ในการเขียนได้ เพราะการอ่านมากจะทำ�ให้เด็กมีความคิด มีจินตนาการ และพ่อแม่คอยแนะนำ� ให้อยู่ในโลกของความเป็นจริงด้วย วิธีการเลี้ยงดูลูก อบรมสัง่ สอนลูกให้มคี ณ ุ ธรรมจริยธรรมสอนให้ลกู เป็นคนดี เช่น สอนให้มจี ติ ใจรักกันต่อพีน่ อ้ งและเพือ่ นร่วมโลก เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น อย่าเห็นแก่ตัว และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่คอรัปชั่น สอนให้ท�ำ งานให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองให้ได้จะได้ไม่เป็นภาระของคนอื่น สอนให้มีกริยามารยาท ที่ดี อ่อนน้อมถ่อมตน และสอนให้รู้จักชีวิตที่พอเพียง รู้จักประหยัด รู้จักออมเพื่ออนาคตในวันข้างหน้า ความคิดเห็น 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร โรงเรียนดาราสมุทรเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ถึง 75 ปี เป็นโรงเรียนที่ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจ ในการส่งบุตรหลานมาเรียนทีด่ าราสมุทร เนือ่ งจากมีคณ ุ ครูทดี่ ที คี่ อยเอาใจใส่ดแู ลบุตรหลาน เอาใจใส่ในด้าน การสอนเป็นอย่างดีและเป็นโรงเรียนทีม่ เี อกลักษณ์โดดเด่นในทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านศิลปะ ดนตรี ด้านกีฬา

86


ด้านกีฬาเทนนิส

เด้กหญิงฤทัยภัทร ตรงต่อธรรม รางวัลที่ได้รับ - ชนะเลิศการแข่งขัน บางแสนโอเพน ครั้งที่ 15 รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี - รองชนะเลิศอันดับ 1 บางแสนโอเพน ครั้งที่ 16 รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี - รองชนะเลิศอันดับ 1 รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี - ชนะเลิศการแข่งขันบางแสนโอเพน ครั้งที่ 17 รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี - ชนะเลิศการแข่งขันบางแสนโอเพน ครั้งที่ 18 รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี บิดา-มารดา นายพินิจ ตรงต่อธรรม นางศิริพร ตรงต่อธรรม ความคิดเห็นของบิดา-มารดา 1. มีความรูส้ กึ ยินดีทลี่ กู สาวไปแข่งขันกีฬาเทนนิสแล้วสามารถทำ�ชือ่ เสียงให้กบั โรงเรียนดาราสมุทรของเรา และภูมิใจที่ได้รับรางวัลเยาวชนผู้ทรงคุณค่าของโรงเรียน ในวันเยาวชนแห่งชาติในปีนี้ ขอขอบพระคุณครู ผูฝ้ กึ สอนและผูใ้ ห้ความรูท้ กุ คนทีช่ ว่ ยฝึกสอนให้รกั การเล่นกีฬาเทนนิส จนสามารถทำ�ชือ่ เสียงให้กบั โรงเรียน การเลี้ยงดูให้ความรัก ความเข้าใจ อยู่แบบครอบครัวพี่ดูแลน้อง น้องช่วยเหลือพี่ พ่อแม่ดูแลและคอยให้ คำ�ปรึกษาได้ในทุก ๆ เรื่อง สอนให้รักเพื่อน ๆ จริงใจกับทุกคน นอบน้อม และต้องเป็นคนดีทั้งของ ครอบครัวและสังคม 2. โรงเรียนดาราสมุทรของเราตั้งมาจนปีนี้ครบรอบ 75 ปี ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน นั่นหมายความ ว่า โรงเรียนย่อมต้องมีมาตรฐานที่ดีเป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นสถาบันที่ทำ�ประโยชน์ให้กับส่วนรวม มานานในด้านการศึกษา ซึ่งดูได้จากศิษย์เก่าที่ประสบความสำ�เร็จนั้นมีอยู่มากมาย

87


ด้านกีฬากอล์ฟ

เด็กหญิงอัญมณี วงศ์อรุณ รางวัลที่ได้รับ 1. อันดับที่ 1 รายการ Callaway Junior World Golf Championship 2011 ประเทศสหรัฐอเมริกา 2. อันดับที่ 1 รายการ The 11th “Zhang Lian Wei” Cup International Junior Invitational 2011 ประเทศจีน 3. อันดับที่ 1 รายการ Truevisions International Junior Golf Championship 2011 4. อันดับที่ 1 รายการ Truevisions-Singha Junior Golf Championships 2011 5. อันดับที่ 1 รายการ PTD-ISF Junior Golf Open 2011 6. อันดับที่ 1 รายการ TGA-CAT Junior Golf Ranking 2011 (รอบชิง Junior world ) บิดา-มารดา นายอัศวิน วงศ์อรุณ นางเมรี วงศ์อรุณ ความคิดเห็นของบิดา-มารดา 1. มีความรู้สึกภูมิใจในตัวลูกมากที่ลูกสามารถทำ�กิจกรรมสองอย่างได้ดีพร้อม ๆ กันคือทั้งเรียนและกีฬา วิธีการเลี้ยงดู พยายามอยู่ดูแลแบบใกล้ชิด มีส่วนร่วมในการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน 2. เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานดีมาก

88


ด้านกีฬาว่ายน้ำ� นายจุฬากรณ์ นิลเทศ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ 10 รางวัล 1. กีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ จ.เพชรบุรี วันที่ 19-29 มกราคม พ.ศ. 2554 (ผลัดฟรีสไตล์ 200 ม. ที่ 3) 2. ชิงแชมป์ประเทศไทย (25M) ม.อัสสัมชัญ วันที่ 22-24 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ได้ 2 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง 3. ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ภาคกลาง 1 จ.ชลบุรี วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้ 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 4. ชิงถ้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.นครราชสีมา วันที่ 9-10 มิถุนายน พ.ศ. 2553 รางวัลชนะเลิศคะแนนรวม อับดับที่ 1 ได้ 6 เหรียญทอง 5 เหรียญทองแดง 5. ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี ารถ ร.ร.เตรียมทหาร วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 6. ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ม.อัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิวันที่ 6-10 เมษายน พ.ศ. 2554 7. ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตวันที่ 2-6 เมษายน พ.ศ. 2553 8. ชิงถ้วยเกียรติยศผูอ้ �ำ นวยการอูร่ าชนาวีมหิดลอดุลยเดช สระว่ายน้�ำ อูร่ าชนาวี วันที่ 5-6 กันยายน พ.ศ. 2552 9. True Visions ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553 10. ชิงถ้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ร.ร.ดาราสมุทรวันที่ 1-2 ตุลาคม พ.ศ. 2554 บิดา-มารดา นายอนิรุธ นิลเทศ นางสุขฤดี นิลเทศ ความเห็นของผู้ปกครอง ความภาคภูมใิ จในตัวลูก ความสำ�เร็จบนโลกใบนีม้ มี ากมายแต่สง่ิ ทีอ่ ยากให้เขามีคอื ความเข้าใจทีจ่ ะอยูอ่ ย่างมี ความสุขและรูจ้ กั หน้าทีข่ องตัวเองมีฝนั และมีความพยามทีจ่ ะเดินไปสูฝ่ นั ด้วยความเพียร อุปสรรคคือ บททดสอบทีจ่ ะทำ�ให้ เราเดินทางไปสูค่ วามสำ�เร็จ อดีต คือ บทเรียนอันยิง่ ใหญ่ ปัจจุบนั คือ สิง่ ชีอ้ นาคต เราจึงพยายามทีจ่ ะทำ�ให้เขามีความภาค ภูมใิ จในตัวเอง และเราก็จะร่วมแสดงความยินดีทเ่ี ขาประสบความสำ�เร็จ และร่วมกันแก้ไขเมือ่ พ่ายแพ้ และจะสนับสนุนให้ เขาก้าวเดินต่อไปอย่างมัน่ คง การเลีย้ งดู จากเด็กชายวัย 11 ปีเจ็บป่วยอยูเ่ ป็นประจำ� หมอบอกเป็นโรคขาดอาหาร ซึง่ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ แปลกมาก เพราะแม่ท�ำ ร้านอาหาร เราจึงบังคับให้เขาเล่นกีฬาอะไรก็ได้ สุดท้ายเขาเลือก “ว่ายน้�ำ ” ซึง่ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ หนักใจของ มาสเตอร์แตง เป็นอย่างมากเพราะเริม่ ตอนทีอ่ ายุมากเกินไป แต่กข็ อร้อง มาสเตอร์แตงว่าเราไม่ได้หวังให้เขาเป็นนักกีฬา แค่มสี ขุ ภาพดีกนิ อาหารได้มากขึน้ ก็พอแล้ว เราให้ก�ำ ลังใจและให้เขาลองใช้ความพยายาม ซึง่ ผลทีไ่ ด้รบั เกินความคาดหมาย สุขภาพแข็งแรงไม่ตอ้ งไปหาหมออีกเลย เมือ่ ให้เขาทดลองแข่งขันว่ายน้�ำ ไปทัง้ วัน เขาแข่งท่ากบได้ทา่ เดียวแต่กท็ �ำ ให้ความ สัมพันธ์ในครอบครัวดีขน้ึ เขาก็มคี วามภาคภูมใิ จในตัวเอง แม่ทเ่ี อาแต่ท�ำ งานพอถึงเวลาทีล่ กู ต้องไปแข่งก็ยอมทิง้ ร้านเพือ่ ไป เชียร์ลกู อย่างสนุกสนาน มิตรภาพเกิดขึน้ มากมาย แต่เราก็ท�ำ หน้าทีเ่ ป็นทีป่ รึกษาทีด่ ี และให้เขาเป็นคนทีเ่ ลือกทางเดินเอง ให้รจู้ กั วางเป้าหมายของชีวติ รูห้ น้าที่ มีความรับผิดชอบ และต้องบริหารเวลาให้ได้ทง้ั เรือ่ งเรียนและกีฬา ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี ขอขอบคุณ รร.ดาราสมุทรที่ได้ ให้การศึกษาและให้ความรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชิวีต 75 ปีที่เดินทางมาผ่านสิ่งต่างๆ มามากมายซึ่งเป็น ภาพแห่งความทรงจำ�ของเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ถ้าใครถามผมตอนนี้ว่า ร.ร.ดาราสมุทรเป็นอย่างไร? ผมพูดได้ เต็มปากว่าอยากจะแนะนำ�ให้น�ำ บุตรหลานเข้ามาเรียน ถึงจะไม่ติดลำ�ดับ 1 ถึง 100 ของ ร.ร.ชั้นนำ�ก็ตาม แต่ ดาราสมุทรก็มีหลายอย่างที่ ร.ร.อื่นไม่มี 89


ด้านกีฬาบาสเก็ตบอล นายชัชพงศ์ หมั่นหาดี

รางวัลที่ได้รับ - ได้รางวัลที่ 1 ของจังหวัดชลบุรี รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ในปี พ.ศ.2552 รายการสปอนเซอร์ - ได้เป็นตัวแทนของภาคตะวันออก รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ในปี พ.ศ. 2553 - ได้รับรางวัลที่ 1 ของจังหวัดชลบุรี รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ในปี พ.ศ.2553 รายการต้านภัยยาเสพติด - ได้รับรางวัลตัวแทนของภาคตะวันออกรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ในปี พ.ศ.2554 - ได้รับรางวัลออสตาร์นักกีฬาดีเด่นของโรงเรียนดาราสมุทร ในรายการ 10 ดาว - ได้รับรางวัลที่ 1 ของจังหวัดชลบุรี รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ในปี พ.ศ.2554 รายการต้านภัยยาเสพติด บิดา-มารดา นายวิรัช หมั่นหาดี นางศิราณี หมั่นหาดี ความรู้สึกต่อผลงานนักเรียน / การเลี้ยงดู / ความคิดเห็นของตึก 75 ปี - มีความรับผิดชอบและสนใจกับกิจกรรมต่างๆ ที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้นทุกๆครั้ง รวมทั้งการติดต่อประสาน งานกับเพื่อนและอาจารย์อย่างดี รู้จักขอคำ�ปรึกษา และขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ การเลี้ยงดู จะให้ อิสระกับความคิดและความถนัดในการตัดสินใจ ทั้งเรื่องเรียน และเรื่องกีฬา เพื่อจะได้รู้ตัวเองว่าชอบสิ่งใด หรือถนัดสิ่งใด จะได้เกิดความมั่นใจและความชอบ ทั้งเรื่องเรียนและเรื่องกีฬา และเปิดโอกาสให้คบหา และเรียนรู้กับเพื่อนๆ และคนรอบข้าง จะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและคนรอบข้างได้ดี รู้จักมีน้ำ�ใจ และ ให้อภัยกับความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น โรงเรียนเป็นที่ชี้นำ�ในด้านการพัฒนา ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นแนวทางชีวิตการรู้จักความจริงและรักความดี จึงทำ�ให้โรงเรียนยืนหยัดอยู่ได้ ตามคติพจน์ที่ว่า “ความรู้คู่คุณธรรม นำ�สู่วินัย”

90


ด้านศิลปะ

เด็กหญิงกัญญณัฐ ลูกจันทร์ รางวัลที่ภาคภูมิใจ 1. รางวัลชมเชย การประกวดวาดภาพโครงการ “ ใส่สสี านใจ ใฝ่สนั ติ ครัง้ ที่ 3” สหพันธ์สตรีเพือ่ สันติภาพโลก 2. รางวัลผลงานดีเด่น การประกวดวาดภาพชิงรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั “โครงการ 60 ล้าน รวมใจถวายสัจจะ เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา นวมินทรมหาราชา” 3. รางวัลชนะเลิศการประกวดวาดภาพหัวข้อ “สวนสัตว์ในจินตนาการของเด็ก” โดยสวนสัตว์เปิดเขาเขียว 4. รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง การประกวดวาดภาพ “ศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครัง้ ที่ 4” โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 5. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวาดภาพจินตนาการวิทยาศาสตร์ กิจกรรมเวทีนกั วิทยาศาสตร์ รุน่ เยาว์แห่งชาติ ครัง้ ที่ 5 6. รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดวาดภาพโปสเตอร์พร้อมคำ�ขวัญ “โครงการเยาวชนสัมพันธ์ 2553” บิดา-มารดา นายอนุวตั ร์ ลูกจันทร์ นางชำ�มะนาด ลูกจันทร์ ความภาคภูมิใจในตัวลูกและวิธีการเลี้ยงลูก บุตรสาวตัง้ แต่เขาเป็นเด็กจะสนใจเรือ่ งการเรียนดี จะใส่ใจกับการบ้านและงานทีค่ รูมอบหมายและความรับผิดชอบ ในงานทีท่ �ำ มีวนิ ยั ในการฝึกฝนฝีมอื อยูเ่ รือ่ ยๆ ความเอาใจใส่ในตัวเขา แม่กเ็ ลีย้ งดูปกติ แต่บอกเขาเสมอว่าถึงเวลากิน ก็กนิ เต็มที่ เวลาเล่นก็เล่นเต็มที่ เวลาเรียนก็เรียนสุดๆ รูจ้ กั ประหยัดใช้สง่ิ ของให้คมุ้ ค่า แบ่งเวลาให้เป็น มีน�ำ้ ใจ ไม่เห็นแก่ตวั เคารพครูอาจารย์ มีมารยาทอยูเ่ สมอ เป็นวิธกี ารทีแ่ ม่ดแู ลเอาใจใส่ในตัวของบุตรสาว ความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนดาราสมุทร ในโอกาสครบ 75 ปี ปัจจุบนั ได้ศกึ ษาอยูท่ โ่ี รงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี มาเป็นเวลา 9 ปี ตัง้ แต่ชน้ั อนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ในปี พ.ศ.2554 โรงเรียนดาราสมุทรครบรอบ 75 ปี ในการก่อตัง้ โรงเรียน ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมาทางโรงเรียนได้ มอบสิง่ ต่างๆ ให้มากมาย ไม่วา่ จะเป็นด้านการศึกษา การอ่าน การเขียน ประสบการณ์ชวี ติ ด้านวิชาการต่างๆ ด้าน กิจกรรม ด้านศิลปะและกีฬา และสิ่งสำ�คัญ อีกประการหนึ่งที่โรงเรียนดาราสมุทรได้ มอบให้คือ ความทรงจำ�ที่ดี ทุกๆ ครั้งที่ไป โรงเรียนจะรูส้ กึ มีความสุขมาก ได้เจอคุณครู เพื่อนๆ ที่ดี ทำ�ให้ตัวนักเรียนเองมีความ ผูกพันกับโรงเรียนเป็นอย่างมาก และอยาก จะขอขอบคุณทางโรงเรียนดาราสมุทรเป็น อย่างมากทีใ่ ห้การดูแล การอบรมสัง่ สอนตัว นักเรียนเป็นอย่างดีและขอให้พระแม่มารีย์ องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนดาราสมุทรได้ อวยพระพรให้ ค ณะผู้ บ ริ ห าร คณะครู นั ก เรี ย น ตลอดจนบุ ค ลากรทุ ก ฝ่ า ยของ โรงเรียนดาราสมุทร มีความสุขและความ เจริญก้าวหน้าตลอดไป 91


ด้านการถ่ายภาพ เด็กชายสิทธา เชาวน์ดี

รางวัลที่ภาคภูมิใจ ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายระดับนักเรียน ปี พ.ศ. 2554 บิดา-มารดา นายสานิต เชาวน์ดี นางบาหยัน เชาวน์ดี ความคิดเห็นของบิดามารดา 1. ความรู้สึกต่อตัวนักเรียนที่ได้รับรางวัล มีความรูส้ กึ ภูมใิ จและชืน่ ชมทีล่ กู ได้รบั รางวัลในครัง้ นี้ เพราะรางวัลนีเ้ ป็นรางวัลทีม่ คี า่ ทำ�ให้ลกู มีก�ำ ลังใจใน การเรียนและมีความตัง้ ใจในสิง่ ทีต่ นเองกล้าทำ� กล้าแสดงออก มีความเชือ่ มัน่ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในโอกาสต่อ ไปให้ดมี ากยิง่ ขึน้ 2. มีวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไร การเลีย้ งลูกคือ การเลีย้ งด้วยใจคือดูแลเอาใจใส่ลกู ในทุกๆ เรือ่ ง คอยอบรมสัง่ สอนลูกให้เป็นคนดีของสังคม และสิง่ ไหนดี ไม่ดคี วรให้ลกู รูจ้ กั การแยกแยะให้ลกู รูจ้ กั การคิดและแก้ปญ ั หาด้วยเหตุผล รูจ้ กั ช่วยเหลือตนเอง และผูอ้ น่ื 3. มองมาตรฐานของโรงเรียนดาราสมุทรที่ครบรอบ 75 ปี อย่างไร โรงเรียนดาราสมุทรมีมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอนให้กบั นักเรียนตามบริบทและอัตลักษณ์ของโรงเรียน ให้เด็กเป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีคณ ุ ธรรม จริยธรรม มีความรูค้ วามสามารถก้าวไปสูส่ งั คมอย่างมีความสุข

92


ด้านกิจกรรมลูกเสือ เด็กชายสิทธิศักดิ์ บัวจำ�รัส

หน้าที่ที่รับผิดชอบ ควบคุมการจราจรและรักษาความปลอดภัยในค่าย Pre-jamboree ลูกเสือคาทอลิกโลก งานชุมนุมลูกเสือเอกชนแห่ง ประเทศไทย งานชุมนุมยุวกาชาด งาน 100 ปีการลูกเสือไทย ในปี พ.ศ. 2553-2554 บิดา-มารดา นายอรุณ บัวจำ�รัส นางนงค์รกั บัวจำ�รัส ความคิดเห็นของบิดามารดา 1. ความรู้สึกต่อตัวนักเรียนที่ได้รับหน้าที่ ภูมใิ จทีใ่ ห้ลกู ได้ท�ำ กิจกรรมและรับหน้าทีเ่ ป็นผูค้ วบคุมการจราจร ถึงแม้จะต้องตากแดด ตากฝน ตากลม ก็ อยากให้ลกู ได้มปี ระสบการณ์ในการทำ�งานนัน้ ๆ หน้าทีท่ ล่ี กู ได้รบั นัน้ ไม่ได้รบั มาง่าย ๆ ต้องใช้เวลานานมาก จึงมีความภูมใิ จทีล่ กู ได้รบั หน้าทีน่ ้ี 2. มีวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไร สอนให้ลกู เป็นคนดี มีใจทีแ่ บ่งปันช่วยเหลือผูอ้ น่ื จัดให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการให้มาร่วมกิจกรรม ของลูกเสือ ให้รจู้ กั รับใช้ รูจ้ กั ซือ่ สัตย์ และหน้าทีข่ องตนเอง ให้รจู้ กั เอาตัวรอดด้วยตนเอง ให้อยูห่ า่ งเกมมาก ทีส่ ดุ เพือ่ จะได้ไม่ตดิ เกม 3. มองมาตรฐานของโรงเรียนดาราสมุทรที่ครบรอบ 75 ปี อย่างไร ดี ในการครบรอบ 75 ปีนี้มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียน ทำ�ให้เด็กมีความสนุกสนานในการทำ�กิจกรรม มีการสอน ทีด่ ขี นึ้ ในปีนี้ ทัง้ การสอบได้น�ำ ข้อสอบจากฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมลฑลกรุงเทพฯมาใช้สอบทำ�ให้เด็กมีความรูม้ ากขึน้ ตั้งแต่ลูกเข้าเรียนก็มีปีนี้ที่รอบ 75 ปี แล้วให้กิจกรรมแก่เด็กมากที่สุด

93


สถิติการติดตามผล นักเรียนที่ส�ำ เร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2545-2553 *รวบรวมโดย ... งานแนะแนว กลุ่มงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน*

นักเรียนที่ศึกษาต่อในโรงเรียนดาราสมุทร ปีการศึกษา / รุ่นที่ ปี 2545 รุ่น 44 ปี 2546 รุ่น 45 ปี 2547 รุ่น 46 ปี 2548 รุ่น 47 ปี 2549 รุ่น 48 ปี 2550 รุ่น 49 ปี 2551 รุ่น 50 ปี 2552 รุ่น 51 ปี 2553 รุ่น 52

94

ร้อยละ 44.80 48.40 57.90 52.00 41.40 36.20 52.10 57.51 64.89


สถิติการติดตามผล นักเรียนที่ส�ำ เร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2545-2553

นักเรียนที่ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปีการศึกษา / รุ่นที่ ปี 2545 รุ่น 20 ปี 2546 รุ่น 21 ปี 2547 รุ่น 22 ปี 2548 รุ่น 23 ปี 2549 รุ่น 24 ปี 2550 รุ่น 25 ปี 2551 รุ่น 26 ปี 2552 รุ่น 27 ปี 2553 รุ่น 28

ร้อยละ 46.67 54.60 49.36 61.22 74.53 66.33 75.92 70.93 75.33

95


ที่มา...ที่ไป... ศิลปะดาราสมุทร วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ศิลปะนั้นยืนยาวตลอดมา ศิลปะ เป็นวิชาที่สร้างสรรค์ให้นักเรียน เกิดความคิด จินตนาการที่หลากหลาย ตั้งแต่อนุบาล จนถึงระดับมัธยมปลาย 75 ปี ดาราสมุทรของเรามีมาสเตอร์ และคุณครูที่สอนในวิชาศิลปศึกษา หรือทัศนศิลป์ในปัจจุบัน นี้ เริ่มตั้งแต่ผู้บุกเบิกวาดฝีมือลายมือท่านแรกคือ มาสเตอร์ปริญญา โกศัลวัฒน์ ฉายา ไม่หล่อแต่ Art มาก เลย ในสมัยนั้น ตามมาด้วย มาสเตอร์ชาญณรงค์ โกศัลวัฒน์ ผู้มากด้วยฝีมือไม่แพ้พี่ชาย ท่านที่ 3 ตามมา มาสเตอร์ช�ำ นาญ ทองอุปการ สาวๆ เห็นแล้วกรีด๊ กันทุกคน ฝีมอื ด้านภาพไทยประยุกต์สดุ จะบรรยาย ท่าน ที่ 4 เป็นครูสาวตลอดกาล คุณครูอุบลรัตน์ กิติธรรมโม หรือครูแจ๋ว ขวัญใจเด็กอนุบาล ท่านที่ 5 มาสเตอร์ สุพัตร์ จตุพงษ์ ผู้หลงใหลในเทคนิคสื่อผสม ท่านที่ 6 เป็นคุณครูมาดเข้ม เต็มร้อยในศิลปะ ฉายาหญิงเหล็ก ที่เด็กๆ ตั้งให้ คุณครูช�ำ มะนาด ลูกจันทร์ ท่านที่ 7 มาสเตอร์พินิจ ตรงต่อธรรม เจ้าของประโยคยอดฮิต ติดกันมากมาย “ศิลปะ ไม่มผี ดิ ไม่มถี กู ” ปลูกฝังนักเรียนเปลีย่ นเป็นรักศิลปะ ท่านที่ 8 มาสเตอร์ปริญญา ประณิธาน หรือ ม.โผน ที่นักเรียนชอบเรียก ผู้มากมายด้วยฝีมือภาคทฤษฎี เจนจัดภาคปฏิบัติเยี่ยม ท่านที่ 9 มาสเตอร์ทรงศักดิ์ ชื่นตา หรือ ม.เช่ ผู้ศรัทธาศิลปะทุกแขนง ฝีแปรงเยี่ยมต้องยกให้ท่านที่ 10 มาสเตอร์บุญรอด วิริยะสิริเวช ฉายาอาจารย์หมอ ผู้มีลายเส้น สถาปัตย์ บาดใจยิ่งนัก นักเรียน ม.ปลายเลือกสายสถาปัตย์ ปรึกษาได้สบายมาก ท่านที่ 11 มาสเตอร์ณรงค์ชัย แซ่ลี้ ฉายาที่เด็กๆ รักและตั้งให้ ม.ชอนไช หรือ TOP BIGBANG ผู้เจนจัดถนัดงานภาพพิมพ์ ท่านที่ 12 ท่านสุดท้าย มาสเตอร์พฤทธิ์ พรหมเต็ม “ศิลปะรักสงบ สยบทุกความเคลื่อนไหว” ตลอด 75 ปี ที่ผ่านมา เราทุกคน มีปณิธานอันแรงกล้าเดียวกันที่จะสร้างสรรค์ลูกๆ ดาราสมุทรของ เรา ให้เป็นเด็กดี มีศิลปะในหัวใจ มีจินตนาการที่เปี่ยมล้น รางวัลที่ได้รับมานั้นมากมายนัก ตลอด 75 ปี ที่ น่าภาคภูมใิ จ แต่เราทุกคนภูมใิ จมากกว่ากับการทีไ่ ด้สร้างนักเรียนและเยาวชนของเราให้เป็นคนดี คนเก่งของ สังคม และประเทศชาติ เราจะผนึกกำ�ลังสร้างสรรค์ศิลปะให้กับเด็กตลอดไป ดังคำ�กล่าวที่ว่า “รักและให้

คือหัวใจของครูศิลปะ”

96


ลูกเสือกองร้อยพิเศษ การตั้งกองลูกเสือโรงเรียนดาราสมุทร เริ่มปี พ.ศ. 2517 โดยตั้งเป็นกองลูกเสือเหล่าเสนา โดยมีลูกเสือ ป.2-4 เรียกว่า ลูกเสือสำ�รอง ลูกเสือ ป.5-6 เรียกว่า ลูกเสือสามัญ ลูกเสือ ม.1-3 เรียกว่า ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ด้วยนโยบายของบาทหลวงพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ ปีการศึกษา 2540 ได้มีการก่อตั้งลูกเสือกองร้อย พิเศษขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้ 1. เพื่อให้ลูกเสือได้มีความรู้ทักษะและขบวนการทางลูกเสือ 2. เพื่อให้ลูกเสือมีจิตอาสาและบำ�เพ็ญประโยชน์ต่อสังคม 3. เพื่อให้ลูกเสือได้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี ปัจจุบนั มีมาสเตอร์วรี ศักดิ์ พูลกิจ มาสเตอร์สมหวัง พนาวัน และคุณครูบษุ บา พูลกิจ เป็นผูค้ วบคุมดูแล มีสมาชิก 24 คน ลูกเสือ 21 คน เนตรนารี 3 คน งานหลักที่ลูกเสือกองร้อยพิเศษได้ก�ำ หนดเป็นหน้าที่ต้อง ปฎิบัติร่วมกับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของโรงเรียน 1. งานจราจรในโรงเรียน เปิด-ปิดประตูรถให้พี่และน้อง 2. งานฉลองวัดบ้านเณร ฉลองวัดพระหฤทัยศรีราชา 3. งานเสกสุสานวัดพระหฤทัยศรีราชา งานที่ได้รับความไว้วางใจจากส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับประเทศ 1. งานชุมนุมลูกเสือคาทอลิกโลก 2. งานชุมนุมลูกเสือสำ�นักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) 3. งานชุมนุมยุวกาชาดแห่งประเทศไทย 4. งานชุมนุมลูกเสือ 100 ปีลูกเสือไทย จึงถือได้ว่า กองร้อยพิเศษ โรงเรียนดาราสมุทร ได้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน กิจกรรมต่างๆ ที่ นักเรียนได้ช่วยเหลืออย่างเต็มกำ�ลังความสามารถอย่างมีอุดมการณ์ และนำ�ไปสู่ความภาคภูมิใจของกอง ลูกเสือดาราสมุทร จนถึงทุกวันนี้ ภายใต้การดูแลของบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ นายกสมาคมลูกเสือ รัตนโกสินทร์ และผู้อำ�นวยการโรงเรียนดาราสมุทร

97


ทีมบาสเกตบอลโรงเรียนดาราสมุทร อดีต สมัย บาทหลวงบรรจง พานุพันธ์ (พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2533)

มัธยมปลายรุ่น 3 รุ่น 4 ไปร่วมการแข่งขันบางแสนคลาสสิค จัดโดย มศว. บางแสน ชลบุรี

เริ่มใหม่ 2532

สมัย บาทหลวงพงษ์นิรันทร์ นัมคณิสรณ์ และบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ (2533-2539) ให้เตรียมทีมไว้ต้อนรับการแข่งขันกับทีมอื่นๆ และเตรียมทีมสำ�หรับแข่งขันกับทีมอื่นๆ เป็นสำ�คัญ - กีฬานักเรียนจังหวัดชลบุรี (รุ่นอายุ 14 ปี ปี พ.ศ.2534 แชมป์ ปี พ.ศ.2535 รองแชมป ปี 36 แชมป์ ปี พ.ศ. 2537 แชมป์) - กีฬานักเรียนกองทัพอากาศ (ปี พ.ศ. 2536 รองแชมป์ รุ่นอายุ 16 ปี) o นักเรียนกรมพลศึกษา (ปี พ.ศ. 2536 รอบสาม ปี 37 รอบสอง) o นักเรียนกรุงเทพมหานคร (ปี พ.ศ. 2537 รอบสอง) o นักเรียนเขตการศึกษาที่ 12 (ปี พ.ศ. 2536 ปี พ.ศ. 2537 แชมป์ รุ่นอายุ 15 ปี รุ่นอายุ 17 ปี) o คัดเลือกตัวแทนจังหวัดชลบุรี (อันดับ 3 ) o คัดเลือกตัวแทนเยาวชน เขตการศึกษาที่ 12 o บางแสนคลาสสิค o นักกีฬาชุดแรกๆ รุ่นอายุ 14 15 16 17 และ 18 ปี ได้แก่ ชาญวุฒิ สถิพร ไพรัช สราวุธ ศุภชัย เจษฎา เทวินทร์ ทวีศักดิ์ วิทยา สรสิทธิ์ ภาณุฑัต และวุฒิ o นักกีฬาชุดที่ 2 รุ่นอายุ 14 15 16 ปี ได้แก่ภาณุพันธ์ สุรเชษฐ วันสว่าง ธงชัย พุทธิพงษ์ วีระพงษ์ ธวัชชัย นราวุฒิ พงษ์ศักดิ์ และสุทธิศักดิ์ สมัย บาทหลวงวิศิษฎิ์ วิเศษเธียรกุล และบาทหลวงจิรพันธ์ สุจิรานุธรรม (2539 – 2544) - กีฬานักเรียนจังหวัดชลบุรี (แชมป์รุ่นอายุ 16 ปี) - กีฬานักเรียนกองทัพอากาศ (ตกรอบ 2) - นักเรียนกรมพลศึกษา (รอบสาม) - นักเรียนกรุงเทพมหานคร (รอบสอง) - นักเรียนเขตการศึกษาที่ 12 (แชมป์รุ่นอายุ 14 ปี รุ่นอายุ 16 ปี) - คัดเลือกตัวแทนเยาวชนจังหวัดชลบุรี - ตัวแทนเยาวชนเขตการศึกษาที่ 12 (แชมป์)

98


- รองชนะเลิศเยาวชนแห่งชาติ เยาวชนสโมสรธนาคารกสิกรไทย รองแชมป์ คัดเลือกนักเรียนเอเชีย ปี พ.ศ. 2537 ได้แก่นายสถิพร คำ�สอน - รองชนะเลิศเยาวชนแห่งชาติ เยาวชนสโมสรธนาคารนครหลวงไทย เยาวชนแห่งชาติ ได้แก่ นายชาญวุฒิ ก๊กเครือ - บางแสนคลาสสิค - กลุ่ม 10 ดาว ปี พ.ศ. 2545 นายรัตนโชติ All star ปี พ.ศ. 2546 นายอมร All star สมัย บาทหลวงยอด เสนารักษ์ และบาทหลวงเสกสรร สุวิชากร (2544 – 2549) - กีฬานักเรียนจังหวัดชลบุรี (แชมป์ 16 ปี) - บางแสนคลาสสิค (รองแชมป์ ปี พ.ศ. 2548 จิรพงษ์ ชวิศร์ วรเมษฐ์ ณัฐวุฒิ ทวีศักดิ์) - กลุ่ม 10 ดาว (แชมป์ปี พ.ศ. 2547 อมร All star อาภากร กษิดิส อิทธิพล แชมป์ปี พ.ศ. 2548 จิรพงษ์ All star ชวิศร์ วรเมษฐ์ ณัฐวุฒิ ทวีศักดิ์) - คัดเลือกตัวแทนจังหวัดสปอนเซอร์ (รองแชมป์) - คัดเลือกภาคกลางและภาคตะวันออกสปอนเซอร์ รุ่นอายุ 14 ปี ชาย และรุ่นอายุ 16 ปี (รองแชมป์) - ชิงชนะเลิศสปอนเซอร์ แห่งประเทศไทย (รอบสาม รอบก่อนรองชนะเลิศ) สมัย บาทหลวงประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ และบาทหลวงเอนก ธรรมนิต (2549 – 2553) - รองชนะเลิศบาสเกตบอล อายุไม่เกิน 12 ปี ชาย รายการแข่งขันมินิบาสเกตบอล ปี พ.ศ.2548 ณ สนามโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี - กีฬานักเรียนจังหวัดชลบุรี (แชมป์รุ่นอายุ 16 ปี) - บางแสนคลาสสิค (แชมป์ ปี พ.ศ. 2549 อธิคม พ.ศ.2550 ทศพล รัชพล วิศิษฎิ์ วราฤทธ์ ) - กลุ่ม 10 ดาว (แชมป์ ปี พ.ศ. 2550 ทศพล All star รัชพล All star วิศิษฎิ์ All star วราฤทธิ์ All star แชมป์ ปี พ.ศ. 2551 พจน์ณรงค์ All star ศรัณย์ ชัยธวัช อรรณพ วสวัตติ์ นฤเบศร์ ณัฐพล All star - คัดเลือกตัวแทนจังหวัดสปอนเซอร์ (แชมป์รุ่นอายุ 13 ปี และ รุ่นอายุ15 ปี) - คัดเลือกภาคกลางและภาคตะวันออกสปอนเซอร์ (อันดับ 3 รุ่นอายุ 15 ปี และรุ่นอายุ 13 ปี รองแชมป์) - ชิงชนะเลิศสปอนเซอร์ แห่งประเทศไทย (รอบก่อนรองชนะเลิศ) พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน สมัย บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต และบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ - กีฬานักเรียนจังหวัดชลบุรี (แชมป์รุ่นอายุ 14 ปี รุ่นอายุ 16 ปี) - เข้าร่วมการแข่งขันรายการบางแสนคลาสสิค - เข้าร่วมการแข่งขันรายการกลุ่ม 10 ดาว - คัดเลือกตัวแทนจังหวัดสปอนเซอร์ (แชมป์) - คัดเลือกภาคกลางและภาคตะวันออกสปอนเซอร์ (รองแชมป์)

99


วงดุริยางค์ โรงเรียนดาราสมุทร

จากอดีตถึงปัจจุบัน วงดุริยางค์ของเรามีอายุยาวนาน

กว่า 50 ปีได้แล้ว อ้างอิงจากข้อมูลประวัติในหนังสืออนุสรณ์ 50 ปี ของโรงเรียน (หน้า 45) และจากคำ�บอกเล่าจากความทรงจำ�ของ มาสเตอร์กมล เอี้ยพิน อดีตครูใหญ่ ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของ วงดุรยิ างค์วา่ เริม่ ก่อตัง้ เมือ่ พ.ศ. 2502 สมัยของบาทหลวงศวง ศุระศรางค์ ในครั้งนั้นเป็นเพียงแค่ “วงกลองพาเหรด” มีนักดนตรีรวม 12 คน ใช้นำ�ขบวนนักกีฬาในงานกีฬาสีของโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2502 มี มาสเตอร์วิรุณชัย อธิปชาติศิริ เป็นครูผู้ดูแล หลังจาก นั้นมาก็เงียบหายไป จวบจนมาสมัยของบาทหลวงวีระ ผังรักษ์ ได้ ก่อตั้งวงดุริยางค์ขึ้น มีเครื่องดนตรีครบชิ้น ในปีพ.ศ. 2520 โดย นักเรียนดุริยางค์ในยุคแรกๆ นั้นจะเป็นสามเณรและนักเรียนหอพัก เสียส่วนใหญ่ มี มาสเตอร์วัฒนา ไชยสมบูรณ์ และ มาสเตอร์สมคิด โฉมไสว เป็นครูผู้ฝึกสอน กิจกรรมดำ�เนินต่อเนื่องถึงสมัยบาทหลวงบรรจง พานุพันธ์ เป็นผู้จัดการโรงเรียน (พ.ศ.2527) มาสเตอร์ชรินทร์ ชัยจอมแปลง รับหน้าที่เป็นครูผู้ฝึกสอน เริ่มมีนักเรียนทั่วไปเข้ามาร่วมกิจกรรม มีการใช้โน้ตแบบฝึกหัด บทเพลงที่มีความ เป็นสากลมากขึ้น ใช้เครื่องแบบวงเป็นชุดคล้ายๆ แบบของดุริยางค์ทหารเรือ เสื้อสีกรมท่า กางเกงขาวโดด เด่นเป็นสง่า สมัยบาทหลวงพงษ์นิรันดร์ นัมคณิสรณ์ และบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ เป็นผู้บริหาร ท่านทั้งสอง ต้องการให้พฒ ั นาวงดุรยิ างค์ให้ดยี งิ่ ขึน้ โดยสนับสนุนให้รว่ มการประกวดระดับประเทศเป็นครัง้ แรก เมือ่ พ.ศ. 2534 ณ สนามศุภชลาศัย การร่วมประกวดในครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำ�คัญ เพราะหลังจากนั้น มาสเตอร์ชรินทร์ ชัยจอมแปลง เสนอให้ทางโรงเรียนเชิญ อาจารย์อนุพงษ์ อมาตยกุล ซึง่ เป็นครูดรุ ยิ างค์ ของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เข้ามาช่วยปรับปรุงคุณภาพการบรรเลงของวง รวมถึงช่วยพัฒนาด้านต่างๆ ของกิจกรรมให้ได้มาตรฐานมากขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 เป็นต้นมา โรงเรียนให้การ สนับสนุนด้านเครื่องดนตรี และอุปกรณ์ โดยจัดซื้อเครื่องดนตรีคุณภาพมาตรฐานมาใช้ มีคณะวิทยากร เฉพาะเครือ่ งมาช่วยถ่ายทอดทักษะด้านดนตรีอย่างจริงจัง กลางปี พ.ศ. 2537 อาจารย์ขวัญ พงษ์ดนตรี มาเป็นครูประจำ�แทน มาสเตอร์ชรินทร์ ชัยจอมแปลง ซึ่งต้องกลับภูมิลำ�เนาด้วยเหตุจำ�เป็น จากนั้น เป็นต้นมากิจกรรมสามารถสร้างระบบงานด้านต่างๆ ตารางการฝึกซ้อมทีเ่ ป็นแบบแผน เริม่ มีนกั เรียนหญิง สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้มีครูผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในการร่วมดูแลด้วย

100


ต้นปีพ.ศ.2541 เราได้รางวัลชนะเลิศ ได้รบั ถ้วยพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช จากการประกวด วงโยธวาทิต นักเรียน นักศึกษาชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 17 บาทหลวงวิศิษฎ์ วิเศษเธียรกุล ผู้บริหารสูงสุดขึ้นรับถ้วยพระราชทานฯ ยังความปลาบปลืม้ ให้กบั ชาวดาราสมุทรทุกๆ คน นับเป็นเกียรติประวัติ อันน่าภูมใิ จยิง่ เรายังคงความต่อเนือ่ งของกิจกรรมอย่างไม่ลดละจนได้ รับรางวัล 2 เหรียญทองจากการประกวดวงดุริยางค์โลก ณ เมือง ซิดส์นี ประเทศออสเตรเลียในประเภทการแปรขบวน และเดินพาเหรด เมื่อปี พ.ศ. 2542 และกลับมาได้ รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีก 2 รายการในปี พ.ศ. 2543 คือ จากการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 19 และจากการประกวดวง คอนเสิร์ตแบนด์นักเรียนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ถือได้ว่าในปีนั้นเราได้ถึง 2 แชมป์ด้วยกัน โดยคณะครูผู้ ฝึกสอนประกอบด้วย อาจารย์อนุพงษ์ อมาตยกุล มาสเตอร์สาครินทร์ หวังสมบูรณ์ดี มาสเตอร์นิตินัย พึ่งยา ดูแลเรื่องการฝึกซ้อม ส่วนครูแม่บ้านมีคุณครูสมคิด แจ้งเนตร์ คุณครูฟองนวล วิจิตรบรรจง และคุณครู ฌานิพัฒน์ มีมุ่งกิจ ช่วยดูแลเรื่องความเป็นอยู่ระหว่างการเข้าค่าย และมีศิษย์เก่าหมุนเวียนกลับมาช่วย งานกันเป็นระยะ กล่าวได้ว่าระหว่างปี พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2544 เป็นยุคที่เฟื่องฟูมากของวงดุริยางค์เลยทีเดียว มีงาน ที่ต้องร่วมบรรเลงไม่ต่ำ�กว่า 60 งานต่อปี ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดในระดับประเทศอย่าง ต่อเนื่อง จนชื่อดาราสมุทร ศรีราชา เข้าทำ�เนียบการประกวดเป็นที่รู้จักกันดีในวงการ กิจกรรมการเข้าค่าย ฝึกซ้อมของวงดุริยางค์เป็นผลให้นักเรียนแต่ละรุ่น ได้ฝึกฝนทักษะทุกด้าน ได้รับประสบการณ์จากการซ้อม ซึง่ ส่งผลดีตอ่ ระบบทีต่ อ่ เนือ่ งของกิจกรรมเป็นอย่างมาก ได้รบั การสนับสนุนด้วยดีผา่ นกาลเวลาถึงสมัยของ บาทหลวงยอด เสนารักษ์ บาทหลวงประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ จนถึงปัจจุบัน คือบาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต และบาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ ที่ให้การสนับสนุน และผลักดันให้กิจกรรมรุดหน้าไป ด้วยภารกิจต่างๆ ที่นอกเหนือจากงานภายใน ทั้งในระดับอำ�เภอ จังหวัด แม้ระดับประเทศ วงดุริยางค์ของเรามักได้รับเชิญ ให้ร่วมบรรเลงมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพิธีรับเสด็จฯ พิธีเปิดอาคาร พิธีต้อนรับบุคคลสำ�คัญ งานลูกเสือ แม้แต่แห่ขบวนกฐินพระราชทานฯ งานลูกเสือชาวบ้านก็ผ่านวงเรามาแล้วทั้งสิ้น

ถึงทุกวันนี้ นับเป็นความภาคภูมใิ จต่อโรงเรียนดาราสมุทรของเรา รวมถึงบรรดาศิษย์เก่าทีจ่ บการศึกษา ไปในแต่ละรุน่ ปัจจุบนั ไม่มใี ครทีไ่ ม่รจู้ กั วงดุรยิ างค์โรงเรียนดาราสมุทร ด้วยความคงเส้นคงวาต่อการปฏิบตั หิ น้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์แบบ มีนักเรียนดุริยางค์ มาสเตอร์6 จบการศึกษาไปทุกปี และมีนักเรียน รุ่นใหม่สมัครเข้ามาเสมอ แต่ที่น่าชื่นชมยินดียิ่งกว่านั้นคือ ทุกวันนี้ศิษย์เก่าดุริยางค์ลูกดาราสมุทรแท้ๆ ที่จบการศึกษาไปแล้วยังกลับมาเป็นครูผู้ฝึกสอนประจำ�การอยู่ เพื่อสานต่อและถ่ายทอดประสบการณ์ ด้านต่างๆ ให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ร่วมกันรักษากิจกรรมให้คงอยู่คู่โรงเรียนดาราสมุทรของเราต่อไป

101


ว่ายน�ำ้ ทีมดาราสมุทร

ก่อนอื่นต้องขอบคุณทีมงานหนังสือ 75 ปีของโรงเรียนทีเ่ ปิดโอกาสให้ผมได้เล่าถึงประวัติความเป็นมา

ของทีมว่ายน้�ำ ดาราสมุทรของเรา ทีมว่ายน้�ำ ดาราสมุทรนัน้ เริม่ ก่อตัง้ เมือ่ ปี 2544 ในยุคของบาทหลวงยอด เสนารักษ์ และบาทหลวงเสกสรร สุวิชากรในช่วงแรกมีผู้ฝึกสอนอยู่ 4 ท่านด้วยกันคือ มาสเตอร์วิทยา สิงต๊ะนะ มาสเตอร์อนุรักษ์ อรัญรุด มาสเตอร์วีระ ทะปะสบ และ มาสเตอร์ลาเมธ ส่างแก้ว มีนักกีฬาอยู่ 5-10 คน เราใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกเรียนในการฝึกซ้อม โดยแบ่งการดูแลนักกีฬาตามรุ่นอายุมาสเตอร์อนุรักษ์ มาสเตอร์วีระ จะดูรุ่นเล็กสุดตั้งแต่รุ่นอายุ 5-8 ปี พร้อมทั้งสอนนักเรียนขั้นพื้นฐานตรงนี้ถือว่าสำ�คัญมาก เพราะถ้าเด็กไม่ได้รับการสอนพื้นฐานที่ดีโตขึ้นก็จะสู้คนอื่นเขาไม่ได้ มาสเตอร์วิทยา ดูแลนักกีฬารุ่นอายุ 9-12 ปี ส่วนผมเองดูแลรุ่นโต เราซ้อมตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์หยุดวันอาทิตย์เพื่อให้นักกีฬาได้พักผ่อนรวม ถึงคุณครูด้วย หลังจากที่เราฝึกซ้อมอยู่หลายเดือนก็ได้พานักกีฬาของเราไปแข่งขันตามสถานที่ต่างๆ ที่ได้ มีการจัดการแข่งขันว่ายน้�ำ รายการแรกทีเ่ ราพานักกีฬาไปแข่งขันก็คอื สาธิตปทุมวันแชมป์เปีย้ นชิพ ซึง่ ถือว่า เป็นรายการที่หินมากเพราะมีนักกีฬาเก่งๆ มาแข่งมากและในรายการนี้เด็กของเราไม่ได้แม้แต่เหรียญเดียว เพราะรายการนีเ้ ขาไม่ได้แข่งแบบแจกเหรียญทุกฮีตแต่แข่งแบบ time final เมือ่ เรากลับมาถึงโรงเรียนก็มา นัง่ วิเคราะห์กนั ว่าทำ�ไมเราสูท้ มี อืน่ ไม่ได้เลยและนักกีฬาของเราห่างชัน้ มากถ้าเทียบกับทีมอืน่ มี 8 คน ก็ได้ ที่ 8 มี 6 คนก็ได้ที่ 6 มี 4 คนก็ได้ที่ 4 ซึ่งตรงจุดนี้ทำ�ให้พวกเราท้อแท้มากและประกอบกับหัวเรือใหญ่ ในตอนนัน้ คือ มาสเตอร์วรี ะได้หยุดพักร้อนทำ�ให้เรายิง่ หมดกำ�ลังใจทีจ่ ะทำ�ทีมต่อไป แต่เนือ่ งจากโชคชะตา ให้ชวี ติ เกิดมาเป็นโค้ชและสงสารเด็กๆ ทีอ่ ยูก่ บั เรามาก็หลายเดือนความผูกพันทีม่ ใี ห้กนั และกันจึงตัดสินใจ ที่จะสู้ต่อโดยการประชุมกันว่าเราจะวางแผนอย่างไรถึงจะไปถึงเป้าหมาย ก็ได้ข้อตกลงว่าเราต้องไปอบรม ผูฝ้ กึ สอน ต้องขอขอบคุณสมาคมว่ายน้ำ�แห่งประเทศไทยทีไ่ ด้จดั อบรมผูฝ้ กึ สอนว่ายน้ำ�ขึน้ ในขณะนัน้ ทำ�ให้ เราได้แนวทางในการฝึกซ้อมนักกีฬาว่ายน้ำ�มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนโค้ชด้วยกัน โดยเฉพาะโค้ชว่ายน้ำ�ของชมรมว่ายน้ำ�ปลายฝนอาจารย์ไพรวัลย์ สงคลัง ซึ่งท่านได้ให้ข้อคิดและข้อเสนอแนะ ต่างๆ มากมาย รวมถึงแนวทางในการวางโปรแกรมการฝึกซ้อมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ หลังจากนั้น ด้วยภาระหน้าที่ครอบครัวผู้ฝึกสอนอีก 2 ท่านก็โบกมือลาประกอบกับต้องขับรถรับส่งนักเรียนจึงไม่มีเวลา ในการดูแลนักกีฬา ตรงจุดนีผ้ มก็เข้าใจดีทกุ อย่างเมือ่ เหลือเพียงลำ�พังก็ตอ้ งมานัง่ คิดใหม่วา่ เราจะทำ�อย่างไร ดีเพราะการสอนเพียงคนเดียวมันจะเหนื่อยมาก แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดีคือ เราสามารถตัดสินได้เอง คนเดียว แต่ข้อเสียคือไม่มีเพื่อนที่คอยให้คำ�ปรึกษาหรือช่วยตัดสินใจ ดั่งสุภาษิตไทยที่ว่าคนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย แต่ถึงแม้โค้ชทั้ง 3 ท่านจะเปลี่ยนบทบาท แต่ก็ยังปลุกปั้นนักเรียนระดับพื้นฐานและส่งต่อ มาให้ผมอยู่ตลอดเวลาซึ่งต้องขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้กับโค้ชผู้ทรงคุณค่าทั้ง 3 ท่าน หลังจากผ่าน มรสุมต่างๆ มากมายทีมว่ายน้�ำ ดาราสมุทรก็เริ่มมีนักกีฬาเข้ามาสู่ทีมมากขึ้นจาก 5-10 คนก็มีนักกีฬาเพิ่ม เป็น 24 คน สาเหตุที่มีนักกีฬาเพิ่มขึ้นก็เพราะว่ามีการเปิดคอร์สสอนว่ายน้�ำ พื้นฐานทำ�ให้เห็นแววนักกีฬา ก็แนะนำ�ว่าถ้าสนใจให้มาร่วมฝึกซ้อมในช่วงเวลาดังกล่าว ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีตัวผมเองก็ลงมา จับสโตร์คให้นักกีฬาเองเหนื่อยมากแต่ก็มีความสุข อีกทั้งตระเวนไปอบรมตามสถานที่ต่างๆ ที่ได้จัดอบรม รวมถึงการอบรมโค้ชภาคกลาง 1 จัดโดยสมาคมว่ายน้�ำ จังหวัดชลบุรีซึ่งผมได้รับประโยชน์เป็นอย่างยิ่งและ ได้นำ�ความรู้เหล่านี้มาพัฒนานักกีฬาของเราจนในที่สุดวันหนึ่งความฝันก็เป็นจริงนั้นคือ นักกีฬาของเราได้ ถ้วยนักกีฬายอดเยี่ยมเป็นครั้งแรกคือ ด.ญ.ศุภาพิชญ์ ซอแก้ว ในรุ่นอายุ 5 ปีหญิง ผมดีใจมากเพราะเป็น ครั้งที่ทำ�นักกีฬาได้ถ้วยนักกีฬายอดเยี่ยมอันดับ 1 และเมื่อมีครั้งแรกก็มีครั้งต่อไปอีกเรื่อยๆ นี้หรือที่เขา เรียกว่าฟ้าหลังฝนจะงดงามเสมอ เมือ่ ผมได้ถว้ ยบุคคลแล้วก็อยากได้ถว้ ยทีม มีผปู้ กครองทีผ่ มรักและเคารพ 102


อยู่ท่านหนึ่งเคยถามผมว่าเมื่อไรทีมเราจะได้ถ้วยทีมบ้างค่ะมาสเตอร์ ผมตอบว่ายังไม่รู้เหมือนกันครับท่าน บอกว่าต้องมีสกั วันทีเ่ ป็นวันของเรา และแล้วฝันก็เป็นจริงทีมดาราสมุทรได้รบั ถ้วยคะแนนรวมประเภททีมครัง้ แรกทีจ่ งั หวัดจันทบุรี โดยได้อนั ดับที่ 3 แค่นผี้ มก็ดใี จมากแล้ว หลังจากนัน้ เราก็ได้รบั ถ้วยคะแนนรวมประเภท ทีมอยู่เรื่อยๆ ถึงแม้โรงเรียนของเราจะมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียนอยู่ทุกๆ 5 ปี แต่ทีมว่ายน้ำ�ของเราก็ ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารด้วยดีเสมอมา และในปีนี้โอกาสฉลอง 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร ทาง สมาคมผู้ปกครองและครูนำ�โดยท่านนายกสมาคมฯ สมชาย พันนุช คณะผู้บริหาร บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊ และคณะกรรมการสมาคมฯ ได้เล็งเห็น ความสำ�คัญของกีฬาว่ายน้ำ� ได้จัดให้มีการแข่งขันว่ายน้ำ�ดาราสมุทรแชมป์เปี้ยนชิพ ครั้งที่ 1 ชิงถ้วย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึง่ ก็ได้รบั การตอบรับเป็นอย่างดีจากชมรม ว่ายน้�ำ ต่างๆ ต้องขอขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างสูงทีท่ �ำ ให้ทมี ว่ายน้�ำ ดาราสมุทรมีวนั นีท้ จี่ ะขาดไม่ได้ อีกอย่างก็คอื ผูป้ กครองทุกๆ ท่านทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังความสำ�เร็จไม่รจู้ ะขอบพระคุณอย่างไร เพราะกีฬาว่ายน้�ำ เป็นกีฬาทีต่ อ้ งใช้งบประมาณสูงมากไหนจะค่าสมัคร ค่าชุด ค่าทีพ่ กั ค่าเดินทางตรงจุดนีถ้ า้ ไม่ชว่ ยกันทุกฝ่าย วันนีค้ งไม่มที มี ว่ายน้�ำ ดาราสมุทร ผูป้ กครองนอกจากดูแลลูกๆ ของตัวเองแล้วยังดูแลครอบครัวของโค้ชและ ตัวโค้ชด้วย ต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย ทำ�ให้ผมมีเวลาซ้อมได้เต็มที่โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ขอบคุณคูช่ วี ติ ก็คอื ภรรยาทีแ่ สนดีเข้าใจและให้ก�ำ ลังใจยามทีม่ ปี ญ ั หา ขอบใจลูกๆ ทีน่ า่ รักทัง้ สองทีเ่ ข้าใจพ่อ ขอบคุณคุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ที่ขอนแก่นลูกไม่ค่อยได้กลับบ้านบ่อยๆ เพราะต้องดูแลนักกีฬา คุณพ่อคุณแม่ ก็เข้าใจ ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ชาวพลศึกษาดาราสมุทรทุกคนที่ให้กำ�ลังใจตลอดมา สุดท้ายนี้ขออาราธนา คุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครองทุกท่านและให้มีความสุขความเจริญปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดไป

103


คณะกรรมการ โรงเรียนดาราสมุทร

104


พนักงานรักษาความปลอดภัย โรงเรียนดาราสมุทร

พนักงานทั่วไป โรงเรียนดาราสมุทร

105


นักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร ปีการศึกษา 2554

Nursery 1

คุณครูกิรณา ผังรักษ์ คุณครูพิมพ์วิไล ประทุมตรี คุณครูกฤติยา หาสุข 106


Nursery 2

คุณครูวารินทร์ แก่นวงษ์ คุณครูกิรณา ผังรักษ์ คุณครูพัชรีย์ แสงเพ็ชร

Nursery 3

คุณครูทิพากร ภู่ประเสริฐ คุณครูแววรัชนี ปัน้ ทอง 107


Nursery 4

คุณครูพัชรีพรรณ แสงธนาภรณ์ คุณครูญาณี มูลเมือง คุณครูบังอร ก๊ะบุญธง

Nursery 5

คุณครูกัญชลี เจริญกุศล คุณครูมยุรี คีรีประเสริฐนาม 108


Nursery 6

คุณครูนฤมล พุ่มทอง คุณครูตุ๊กตา ทศศะ คุณครูวรรณวิสาข์ พงษ์พนัส

Nursery 7

คุณครูสุชาวดี โพธิสาเกตุ คุณครูกิรณา ผังรักษ์ คุณครูรัตนาภรณ์ คำ�วันนา 109


อนุบาลศึกษาปีที่ 1/1

คุณครูมนัสนันท์ องอาจณรงค์ คุณครูสุนีย์ กิตติธรรมโม

อนุบาลศึกษาปีที่ 1/2

คุณครูรัตนา กลิ่นหอม คุณครูปัทมพร โพธิช์ ัยย้อย 110


อนุบาลศึกษาปีที่ 1/3

คุณครูสุวิมล คงคำ� คุณครูพรพิมล คำ�รนคงคา

อนุบาลศึกษาปีที่ 1/4

คุณครูวรรณี ไทยตรง คุณครูนิภา ศรีลี 111


อนุบาลศึกษาปีที่ 1/5

คุณครูพิศมัย ชัยแสง คุณครูสมใจ สิงขรมงคล

อนุบาลศึกษาปีที่ 1/6

คุณครูจิตรลดา มะหอม คุณครูสายใจ ประทุมตรี 112


อนุบาลศึกษาปีที่ 1/7

คุณครูกัณฑิมา โลกาวิทย์ คุณครูอโณทัย ปั่นทอง

อนุบาลศึกษาปีที่ 1/8

คุณครูศิริพร ตรงต่อธรรม คุณครูชลธิชา ราคาทรัพย์ 113


อนุบาลศึกษาปีที่ 1/9

คุณครูสุมาลี พันธ์อ้น คุณครูเจนจิรา พรภิกานนท์

114


อนุบาลศึกษาปีที่ 2/1

คุณครูสุชีรา กิจนีชี คุณครูสุพรรณนิภา บัวติ๊บ

อนุบาลศึกษาปีที่ 2/2

คุณครูปภาภัทร ศรีหิรัญเดชา คุณครูนภาพร เต็มสามารถ 115


อนุบาลศึกษาปีที่ 2/3

คุณครูเนาวรัตน์ สาระพิน คุณครูภัทราวดี โพธิ์แสน

อนุบาลศึกษาปีที่ 2/4

คุณครูกนกพร ขมสนิท คุณครูยุวดี มายอด 116


อนุบาลศึกษาปีที่ 2/5

คุณครูจิราภรณ์ วิจิตรวงศ์ คุณครูมาลี คำ�รนคงคา

อนุบาลศึกษาปีที่ 2/6

คุณครูกุลภรณ์ ภาชนะ คุณครูวชิริยา สีลานาค 117


อนุบาลศึกษาปีที่ 2/7

คุณครูไพรินทร์ ประทุมตรี คุณครูวิไลพร ล�่ำสัน

อนุบาลศึกษาปีที่ 2/8

คุณครูสุขประเสริฐ คล้ายลี คุณครูดวงพร วิทยานุกรณ์ 118


อนุบาลศึกษาปีที่ 3/1

คุณครูวันดี วิไลเขา คุณครูนวลศรี ผาแดงสง่า

อนุบาลศึกษาปีที่ 3/2

คุณครูเกสริน คงวัชระกุล คุณครูศุภนุช ซ้ายกาละคำ� 119


อนุบาลศึกษาปีที่ 3/3

คุณครูภาณุมาส สิงฆราช คุณครูพัชราภา คีรีกังวาล

อนุบาลศึกษาปีที่ 3/4

คุณครูศิริรัตน์ สวนบุญ คุณครูศิริพร วาปีทะ 120


อนุบาลศึกษาปีที่ 3/5

คุณครูกนกวรรณ โอบชลานุเคราะห์ คุณครูกรรณิการ์ ราชจำ�ปี

อนุบาลศึกษาปีที่ 3/6

คุณครูสุธิศา มาเอี่ยม คุณครูมณทกานต์ หิรัญรัตน์ 121


อนุบาลศึกษาปีที่ 3/7

คุณครูบุญชญา ธรรมสิรโชติ คุณครูรัฐรียา ราชจำ�ปี

อนุบาลศึกษาปีที่ 3/8

คุณครูจิราวรรณ โชติดิลก คุณครูอุไรวรรณ อุทกังกุล 122


ประถมศึกษาปีที่ 1/1

คุณครูสุวพร พรภิกานนท์

ประถมศึกษาปีที่ 1/2

คุณครูพิมพ์ผกา จิตต์สนอง

123


ประถมศึกษาปีที่ 1/3

คุณครูปรัชนันท์ มิ่งมณี

ประถมศึกษาปีที่ 1/4

คุณครูลลิดา เล็กเปลี่ยน

124


ประถมศึกษาปีที่ 1/5

คุณครูสุชาดา ธนกนกวรรณ

ประถมศึกษาปีที่ 1/6

คุณครูชนกนาถ นนท์ชนะ

125


ประถมศึกษาปีที่ 1/7

คุณครูสุชาดา ลูกจันทร์

ประถมศึกษาปีที่ 1/8

คุณครูอังคณา ศริพันธุ์

126


ประถมศึกษาปีที่ 2/1

คุณครูนัยนา ใจกล้า

ประถมศึกษาปีที่ 2/2

คุณครูสายใจ เจริญเตีย

127


ประถมศึกษาปีที่ 2/3

คุณครูกลิสรา ไทยงาม

ประถมศึกษาปีที่ 2/4

คุณครูปองสุข สุจริต

128


ประถมศึกษาปีที่ 2/5

คุณครูอภิญญา วรรธนะ

ประถมศึกษาปีที่ 2/6

คุณครูจิตรสุวรรณ ลีสีสุข

129


ประถมศึกษาปีที่ 2/7

คุณครูสมใจ ทะปะสบ

ประถมศึกษาปีที่ 2/8

คุณครูจิระนันท์ เมืองจีน

130


ประถมศึกษาปีที่ 3/1

คุณครูชุติมา ศิริศักดิ์ มาสเตอร์รุ่งโรจน์ ทรัพย์มาก

ประถมศึกษาปีที่ 3/2

คุณครูสมศรี พิทยาพงศ์พร

131


ประถมศึกษาปีที่ 3/3

คุณครูดวงพร เดือนขาว คุณครูปทิตตา ประเสริฐ

ประถมศึกษาปีที่ 3/4

คุณครูพรนิภา สุทธิธรรม มาสเตอร์สมหวัง พนาวัน 132


ประถมศึกษาปีที่ 3/5

คุณครูอรสา กันตะวงศ์ คุณครูสุนีย์ ยืนหยัดชัย

ประถมศึกษาปีที่ 3/6

คุณครูโสภา บูรณศีลสุนทร มาสเตอร์ชัยพันธ์ุ จตุพงษ์ 133


ประถมศึกษาปีที่ 3/7

คุณครูจุฑามาศ ถนอมนาม คุณครูเมตตา ยอดหอม คอร์อี้

ประถมศึกษาปีที่ 3/8

คุณครูสุวรรณี หนึ่งแววแดง คุณครูวีนัส แก่นวงษ์ 134


ประถมศึกษาปีที่ 4/1

คุณครูเนาวรัตน์ อินทุโศภน

ประถมศึกษาปีที่ 4/2

คุณครูแสงรวี พันธุเวช

135


ประถมศึกษาปีที่ 4/3

มาสเตอร์กำ�พล พันธุ์อุดม มาสเตอร์บุญรอด วิริยะสิริเวช

ประถมศึกษาปีที่ 4/4

คุณครูณัทธนภร หนูเหลือง

136


ประถมศึกษาปีที่ 4/5

คุณครูนิตยา ศรีวัลลภ

ประถมศึกษาปีที่ 4/6

คุณครูผ่องศรี ก่อเกียรติขจร คุณครูอรพินธิ์ เต้งชู 137


ประถมศึกษาปีที่ 4/7

คุณครูวลัยภรณ์ ศรีสวัสดิ์ คุณครูนัดดา อยู่แสนสุข

ประถมศึกษาปีที่ 4/8

มาสเตอร์สมพงษ์ แจ้งตระกูล คุณครูสรรสุณี ทองห่อ 138


ประถมศึกษาปีที่ 5/1

คุณครูปาริชาติ จันทร์โป๊

ประถมศึกษาปีที่ 5/2

คุณครูวณิชนันท์ เศวตสุนทรพันธ์ุ คุณครู​ูธิดา สังขมณี 139


ประถมศึกษาปีที่ 5/3

คุณครูรัตติกาล เอี่ยมเจริญศักดิ์ มาสเตอร์ปิยวัฒน์ ญาณกฤตยา

ประถมศึกษาปีที่ 5/4

มาสเตอร์นิกร คงคาสอาด มาสเตอร์เจนศักดิ์ บุญฤทธิการ 140


ประถมศึกษาปีที่ 5/5

คุณครูสถาพร วางขุนทด

ประถมศึกษาปีที่ 5/6

คุณครูกมลพร มงคลศิลา คุณครู​ูฟองนวล วิจิตรบรรจง 141


ประถมศึกษาปีที่ 5/7

มาสเตอร์อิศรานุวัฒน์ สมเงิน

ประถมศึกษาปีที่ 5/8

คุณครูวชิราภรณ์ สิงต๊ะนะ มาสเตอร์โสภณ จันทร์โป๊ 142


ประถมศึกษาปีที่ 6/1

คุณครูสมคิด แจ้งเนตร์

ประถมศึกษาปีที่ 6/2

มาสเตอร์โกวิท สุวรรณน้อย

143


ประถมศึกษาปีที่ 6/3

คุณครูสุธาวรรณ สุนทรสวัสดิ์ มาสเตอร์คมกฤษ จิตรชัยนานุกุล

ประถมศึกษาปีที่ 6/4

คุณครูนวลจันทร์ ขันธ์ชัยภูมิ มาสเตอร์อนุวัต นามดี 144


ประถมศึกษาปีที่ 6/5

คุณครูจรัสศรี จตุพงษ์ คุณครูช�ำ มะนาด ลูกจันทร์

ประถมศึกษาปีที่ 6/6

คุณครูยุพิน พรหมอนุมัติ มาสเตอร์เฉลิมชาติ กลิ่นสุคนธ์ 145


ประถมศึกษาปีที่ 6/7

คุณครูกมลทิพย์ ส่งเสริม มาสเตอร์ฉัตรชัย จันทร์พิทักษ์

ประถมศึกษาปีที่ 6/8

มาสเตอร์เจต บุณยฤทธิ์รักษา

146


มัธยมศึกษาปีที่ 1/1

มาสเตอร์อาณุรักษ์ ย้อยช่วง

มัธยมศึกษาปีที่ 1/2

คุณครูกรรณิการ์ เดชประมวลพล

147


มัธยมศึกษาปีที่ 1/3

คุณครูประนอม พลอยอร่าม

มัธยมศึกษาปีที่ 1/4

คุณครูสาลี่ ผลมี

148


มัธยมศึกษาปีที่ 1/5

คุณครูณิชาภัทร เอี่ยมสะอาด

มัธยมศึกษาปีที่ 1/6

คุณครูลินดา อานามนารถ

149


มัธยมศึกษาปีที่ 1/7

คุณครูสมพร วรศิลป์

มัธยมศึกษาปีที่ 1/8

คุณครูใบอ้อ สามะกิจ

150


มัธยมศึกษาปีที่ 2/1

คุณครูณศิกา ยิ่งยง

มัธยมศึกษาปีที่ 2/2

คุณครูศิริมา ขวัญหลาย

151


มัธยมศึกษาปีที่ 2/3

คุณครูจริยาภรณ์ ไทยธีระเสถียร

มัธยมศึกษาปีที่ 2/4

คุณครูทรงกต สร้อยโสม

152


มัธยมศึกษาปีที่ 2/5

คุณครูเพ็ญจันทร์ หาญสิงห์

มัธยมศึกษาปีที่ 2/6

คุณครูชาลินี อุทธา

153


มัธยมศึกษาปีที่ 2/7

คุณครูศรินยา อินทรโชติ

มัธยมศึกษาปีที่ 2/8

คุณครูพเยาว์ ลีรัตนชัย

154


มัธยมศึกษาปีที่ 3/1

คุณครูวรณัน บุญส่ง

มัธยมศึกษาปีที่ 3/2

คุณครูสุภาพรรณ บุญพรหม

155


มัธยมศึกษาปีที่ 3/3

คุณครูวันเพ็ญ รอบรู้

มัธยมศึกษาปีที่ 3/4

มาสเตอร์ชัชวาล อินทุโศภน

156


มัธยมศึกษาปีที่ 3/5

มาสเตอร์พงศ์ศรณ์ ถนอมวงศ์

มัธยมศึกษาปีที่ 3/6

มาสเตอร์วันชัย รัตนพันธ์

157


มัธยมศึกษาปีที่ 3/7

คุณครูสายสมร เจริญเตีย

มัธยมศึกษาปีที่ 3/8

มาสเตอร์ชัชวาลย์ ดีศรี

158


มัธยมศึกษาปีที่ 4/1

มาสเตอร์ทรงคุณ มังกรแสงแก้ว

มัธยมศึกษาปีที่ 4/2

คุณครูมรกต สิทธิพล

159


มัธยมศึกษาปีที่ 4/3

คุณครูอัมพา รอบครบุรี

มัธยมศึกษาปีที่ 4/4

มาสเตอร์ทศพร จิระสมประเสริฐ

160


มัธยมศึกษาปีที่ 4/5

มาสเตอร์อภินันท์ กุศลานันต์

มัธยมศึกษาปีที่ 4/6

มาสเตอร์พรเทพ วิธีธรรม

161


มัธยมศึกษาปีที่ 4/7

คุณครูมนัสนันท์ ศิริตันตราภรณ์

มัธยมศึกษาปีที่ 5/1

คุณครูทัสนา จิตตนฤมล

162


มัธยมศึกษาปีที่ 5/2

มาสเตอร์พีรพงษ์ พงศ์ประเสริฐ

มัธยมศึกษาปีที่ 5/3

คุณครูสิริกานต์ วารุณศาสตร์

163


มัธยมศึกษาปีที่ 5/4

คุณครูกัญญา พิมเสน

มัธยมศึกษาปีที่ 5/5

คุณครูวันวิสา อุ่นขจร

164


มัธยมศึกษาปีที่ 6/1

คุณครูเสาวนี เสถียรกุลพิทักษ์

มัธยมศึกษาปีที่ 6/2

คุณครูลัดดาวรรณ โหสุวรรณ

165


มัธยมศึกษาปีที่ 6/3

คุณครูมนต์ฤดี ศักดิ์ด�ำ

มัธยมศึกษาปีที่ 6/4

คุณครูไพรินทร์ ดูปริก

166


มัธยมศึกษาปีที่ 6/5

คุณครูนุศรา โรจน์พานิชกิจ

167


แผนแม่บทงานเฉลิมฉลอง โรงเรียนดาราสมุทร 75 ปี งาน/โครงการ/กิจกรรม 1. งานด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมบนพื้นฐานคุณค่า ทางศาสนาและวัฒนธรรม 1.1 โครงการมิติศาสนา พัฒนาชีวิต 1.1.1 กิจกรรมรณรงค์เทศกาลเข้าพรรษา / มหาพรต 1.1.2 กิจกรรมบรรพชาสามเณร และบวชศีลจาริณี 1.1.3 กิจกรรมค่ายธรรมะ 1.1.4 กิจกรรมกิจเมตตาเพือ่ ผูด้ อ้ ยโอกาสในสังคม 1.1.5 กิจกรรมฟื้นฟูจิตใจบุคลากร 1.2 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปลุกจิตอาสา 1.2.1 กิจกรรมอบรมจริยธรรมและโฮมรูม 1.2.2 กิจกรรมค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต 1.2.3 กิจกรรมชุมชนคนดี ดาราสมุทร 1.2.4 กิจกรรมติดตามช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับ ผู้ปกครองเครือข่าย 1.2.5 กิจกรรมรณรงค์คุณค่าและปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 1.2.6 กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาชุมชน 2. งานด้านการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ 2.1 โครงการการตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 2.1.1 สถาบัน ACC ด้านภาษาจีน 2.1.2 สถาบัน IPC ด้านภาษาอังกฤษ 2.1.3 สถาบัน สสวท. ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 2.2. โครงการแข่งขันทักษะและวิชาการ 2.2.1 Speech Contest 2.2.2 ประกวดวงโยธวาทิต 2.2.3 การแข่งขันว่ายน�้ำ 2.2.4 การประกวดเขียนพู่กันจีน 2.3 โครงการแข่งขันทักษะพิเศษ 2.3.1 A-Math

168

2.3.2 Crossword 2.3.3 ค�ำคม 2.3.4 นักเขียนรุ่นเยาว์ 2.4 โครงการพัฒนาบุคลากรตามกลุม่ สาระการเรียนรู้ 2.5 โครงการวิชาการสัมพันธ์ รสจ. ครั้งที่ 22 2.6 โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา “ดาราสมุทรในทศวรรษที่ 8” 3. งานด้านสัมพันธ์ชุมชน 3.1 โครงการชุมนุมศิษย์เก่า 3.2 โครงการดาราสมุทรเดินเพื่อสุขภาพการกุศล ฉลอง 75 ปีดาราสมุทร 3.3 โครงการเสริมสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง 4. งานด้านกิจกรรม 4.1 โครงการสือ่ สารสังคม เฉลิมฉลอง 75 ปี ดาราสมุทร 4.1.1 การรวบรวมประวัตศิ าสตร์ 75 ปี ดาราสมุทร 4.1.2 การจัดท�ำหนังสืออนุสรณ์ 75 ปี ดาราสมุทร 4.1.3 การประชาสัมพันธ์ 4.1.4 การจัดท�ำของที่ระลึก 4.2 โครงการจัดการแสดงกายกรรมจีน 5. งานด้านอาคารสถานที่ 5.1 โครงการบูรณะปรับปรุงอาคารสถานที่ 5.1.1 ขยายอาคารเนอร์สเซอรี่ 5.1.2 ยกระดับหลังคา ซ่อมบ�ำรุง และทาสี อาคารสิริดารา 5.1.3 ขยายโรงอาหารและสร้างห้องผลิตน�ำ้ ดื่ม อาคารบูรณาการ 5.1.4 ต่อเติมหลังคาศาลารวมใจและเกร็ดบังแดด 5.2 โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) และอาคารมัธยมปลาย 5.3 โครงการปรับภูมิทัศน์โรงเรียน


งาน/โครงการ/กิจกรรม 75 ปี

รณรงค์เทศกาลเข้าพรรษา / มหาพรต

บรรพชาสามเณร และบวชศีลจาริณี

169


ค่ายธรรมะ

กิจเมตตาเพื่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม

ฟื้นฟูจิตใจบุคลากร

170


ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต

สถาบัน ACC ด้านภาษาจีน

171


สถาบัน IPC ด้านภาษาอังกฤษ

การแข่งขันว่ายน้ำ�

172


นักเขียนรุ่นเยาว์

ปรับปรุงอาคารสถานที่

ปรับภูมิทัศน์โรงเรียน

Darasmutr Family Walk Rally ครั้งที่ 4

173


นักเขียนรุ่นเยาว์

ปรับปรุงอาคารสถานที่

ปรับภูมิทัศน์โรงเรียน

Darasmutr Family Walk Rally ครั้งที่ 4

173


174


ทิศทางดาราสมุทร...

นั บ แต่ ยุ ค โลกาภิ วั ฒ น์ ที่ แ พร่ ห ลายในช่ ว ง ทศวรรษที่ 1990 และกระแสลัทธิทุนนิยมเสรีใหม่ซึ่ง มีวัตถุนิยมและบริโภคนิยมเป็นตัวขับเคลื่อน ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของ มนุ ษ ย์ ใ นสั ง คมโลกอย่ า งเห็ น ได้ ชั ด ไม่ ว่ า จะเป็ น ใน ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม โลกทั้งโลกถูกเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี การสื่ อ สารที่ ไร้ พ รมแดน อั น เป็ น การเปิ ด ประตู สู่ “พหุวัฒนธรรม” พร้อมกับการไหลบ่าของวัฒนธรรม ที่หลากหลายเข้าสู่สังคมชาติต่างๆ อย่างมิอาจปิดกั้น ได้ การรับวัฒนธรรมต่างชาติโดยไม่ตระหนักรู้เท่าทัน และปฏิเสธค่านิยมที่ดีงามในวัฒนธรรมของตน ทำ�ให้ เกิดการสูญเสียอัตลักษณ์และคุณค่าของตน จนเกิด เป็นวิกฤตการณ์ด้านคุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งแสดงออกมาในรูปของอัตนัยนิยม (subjectivism) สัมพัทธ์นิยมทางศีลธรรม (moral relativism) และสูญ นิยม (nihilism) การศึกษาเป็นกลไกพืน้ ฐานหนึง่ ทีส่ �ำ คัญ ทางสังคม ในการหล่อหลอมอุดมการณ์และกระบวน ทัศน์ กล่อมเกลาจิตใจ สร้างมโนธรรมสำ�นึกที่ถูกต้อง ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาคุณค่าชีวติ มนุษย์ เต็มศักยภาพ พร้อมกับสร้างความตระหนักรูเ้ ท่าทันต่อ ผลของการเปลี่ยนแปลงในโลกที่กำ�ลังเกิดขึ้น และอยู่ รอดในสังคมได้ด้วยจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเป็นสุข

ด้วยความตระหนักถึงสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน และความพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 และด้วยความซื่อสัตย์ต่อ อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกที่ยึดมั่นในหลักการของ การให้การศึกษาอบรม ด้วยการพัฒนาคนจากภายใน ปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระจากเงื่อนไขต่างๆ และ หลอมรวมมิติคุณค่าทางศาสนาเข้าไปในกระบวนการ จัดการศึกษา เพือ่ พัฒนาผูเ้ รียนสูค่ วามเป็นคนบริบรู ณ์ ในทุกด้านอย่างสมดุลย์ โรงเรียนดาราสมุทรจึงมีพนั ธกิจ สำ�คัญ ในการสร้างคนให้เป็นคนบริบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปญ ั ญา อารมณ์ และสังคม พร้อมกับบูรณาการ วัฒนธรรม ความเชื่อ และชีวิต ประสานหลอมรวม ให้เป็นพลังชีวิตที่ดีงามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้เรียน เพื่อ “เป็นคนดี มีความรู้ มีจิตสาธารณะ และ เป็นสุข” ซึ่งเป็นอัตลักษณ์นักเรียนดาราสมุทร การ พัฒนาโรงเรียนดาราสมุทรในก้าวต่อไปสู่ทศวรรษที่ 8 จึงมิใช่เป็นเพียง “การปรับตัว” ให้เท่าทันต่อสภาพ การณ์ หากแต่ต้อง “ปฏิรูป” ตนเอง เพื่อความเด่น ชัดของอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ด้วยการปรับ กระบวนทั ศ น์ ข องการจั ด การศึ ก ษาสู่ ก ระบวนการ ให้การศึกษาอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น ควบคู่ไปกับ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพทางด้านวิชาการอย่าง ต่อเนื่อง 175


ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม จากปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน ที่ว่า “การ ศึกษา คือ การพัฒนาคนทั้งครบ” (Personal Wholistic Development) ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ พั น ธกิ จ การศึ ก ษา คาทอลิก และเพื่อให้การดำ�เนินงานเสริมสร้างอัตลักษณ์ โรงเรียนดาราสมุทรให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการ ปรับเสริมเนือ้ งานและทำ�ความเข้าใจจุดเน้นร่วมกันจาก “งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม” เป็น “งานส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม บนพื้นฐานคุณค่าทางศาสนาและ วัฒนธรรม” พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมฯ ขึ้น ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพือ่ ขับเคลือ่ นงาน ด้านนีโ้ ดยเฉพาะ และดำ�เนิน การเตรียมความพร้อมบุคลากร โดยแบ่งกลุ่มดังนี้ 1.1 นักเรียน : โรงเรียนได้ดำ�เนินการส่งเสริม คุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรมแก่นักเรียน ระหว่าง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยจัดกิจกรรมรณรงค์เทศกาลเข้าพรรษา ในภาคเรียนที่ 1 และ กิจกรรมรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรต ในภาคเรียนที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะของการ ลด ละ เลิก แบ่งปัน และเป็นบุคคลเพื่อผู้อื่น ซึ่งการรณรงค์ ดังกล่าวได้ด�ำ เนินการตลอดปีการศึกษา

176

1.2 บุ ค ลากร : เพื่ อ ให้ ค รู และบุ ค ลากร สนับสนุน มีความรู้และมีความเข้าใจในการจัดการ ศึกษาคาทอลิกเพิม่ มากขึน้ จึงจัดให้มกี ารอบรมครูเรือ่ ง “พันธกิจชีวิต จิตวิญญาณครู” โดย บาทหลวงจรัญ ทองปิ ย ะภู มิ ในวั น ที่ 24-25 ตุ ล าคม พ.ศ.2553 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สิทธิมนุษยชนศึกษา” โดย รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร และทีมงานในวันที่ 7-16 มีนาคม พ.ศ.2554 และฟื้นฟูจิตใจครู เรื่อง “จิตวิญญาณครูโรงเรียนดาราสมุทร : อัตลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิก” โดย ดร.ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 พร้อมกับให้การ ศึ ก ษาอบรมบุ ค ลากรสนั บ สนุ น เรื่ อ ง “วั ฒ นธรรม องค์กร” โดย บาทหลวงเฉลิม กิจมงคล ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2554 1.3 ผู้บริหาร : ประกาศนโยบายการจัดการ ศึกษาโรงเรียนดาราสมุทร โดยยกระดับจากการจัดการ ศึกษา (Education) ให้เป็นการศึกษาอบรม (Formation) ซึง่ ใช้เป็นนโยบายหลักในการจัดการศึกษาของโรงเรียน กล่าวคือ ให้ความสำ�คัญต่อการบ่มเพาะ ปลูกฝัง และ หล่อหลอมชีวิต เน้นคุณธรรมและจริยธรรมเป็นพื้น ฐานของชีวิต ให้ผู้เรียนเป็น “คนดี มีความรู้ เป็นสุข”


ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการดำ�รงชีวิต เน้น “คุณธรรมนำ� ความรู้” ให้ผู้เรียนเป็นคนเฉลียวฉลาดและเป็นบุคคล เพื่อผู้อื่น พร้อมทั้งเน้นย้ำ�ให้ครูเข้าใจถึงอัตลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิก ที่ต้อง “รวมมิติของศาสนา” เข้าไปใน การจัดการศึกษาด้วย ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้ประกาศ ให้กับผู้ปกครองทราบในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2553 และจัดทำ�แผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียนและ ผู้ปกครอง ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 พร้อม ทั้งบรรจุเข้าสู่แผนแม่บทงานเฉลิมฉลอง 75 ปีโรงเรียน ดาราสมุ ท ร โดยกำ � หนดให้ เ ป็ น นโยบายเร่ ง ด่ ว นที่ โรงเรียนต้องดำ�เนินการอย่างจริงจัง ซึ่งในแผนแม่บทฯ มีงาน 5 ด้านที่สำ�คัญ ดังนี้ (1) ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมบน พื้นฐาน คุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรม (2) ด้านการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ (3) ด้านสัมพันธ์ชุมชน (4) ด้านกิจกรรม (5) ด้านอาคารสถานที่ โดยในงานแต่ละด้านมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ เกิดความสำ�เร็จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแผนแม่บทงาน เฉลิมฉลอง 75 ปีโรงเรียนดาราสมุทรนี้ ได้รบั ความเห็น ชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ในการประชุมครั้งที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 และนำ�ไปศึกษาวางแผนร่วมกันใน คณะกรรมการโรงเรียน วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 พร้อมทัง้ ประกาศแก่บคุ ลากรทุกคน เพือ่ ให้รบั ทราบและ นำ�ไปปฏิบัติ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 1.4 วันที่ 9-11 เมษายน พ.ศ.2554 โรงเรียน ได้จัดให้มีกระบวนการประเมินผลการดำ�เนินงานปี การศึกษา 2553 โดยบุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมใน การประเมินจุดเด่น จุดด้อย และจุดที่ควรพัฒนาของ การดำ�เนินงาน พร้อมทั้งนำ�ผลการประเมินมาผนวก ประสานกับแผนแม่บทงานเฉลิมฉลอง 75 ปีโรงเรียน ดาราสมุทร ในการวางแผนงานสำ�หรับปีการศึกษา 2554 ต่อไป

ระยะที่ 2 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมบนพื้นฐานคุณค่าทางศาสนา และวัฒนธรรม เมื่อก้าวเข้าสู่ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนได้ ดำ�เนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียน อย่างจริงจัง โดยเริ่มจากต้นปีการศึกษา ผู้บริหารได้ ประกาศ “นโยบายการจัดการศึกษาสู่ทศวรรษที่ 8” ด้วยปณิธานอันมุ่งมั่น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ทีว่ า่ “การศึกษาอบรม คือ การพัฒนาคนจากภายใน ปลดปล่อยเขาให้เป็น อิสระจากเงือ่ นไขต่างๆ ซึง่ กีดขวางมิให้เขาบรรลุถงึ การ เป็นบุคคลที่มีความบริบูรณ์” และ “การศึกษาที่ครบ วงจร ต้องรวมมิติของศาสนาด้วย” พร้อมทั้งในบริบท ใหม่ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิด “การเผชิญกับวิกฤตการณ์ ด้านคุณค่า” ดังนั้นโรงเรียนดาราสมุทร จึงต้องพัฒนา ศักยภาพของผู้เรียนในทุกมิติของชีวิตอย่างมีดุลยภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของความเป็นบุคคลที่มีความ บริบูรณ์ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 6 ด้าน คือ

177


2.1 ด้าน IQ (Intelligence Quotient) : ความ ฉลาดทางสติปัญญา หรือเชาวน์ปัญญา IQ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเชาวน์ไว ไหวพริบ และ ความสามารถในการแก้ปญ ั หาด้านตรรกะ ตัวเลข ความ จำ� ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางการคิด วิเคราะห์ ซึ่งเกิดจาก 2 ส่วน คือ พันธุกรรมและการ เลี้ยงดู โดยปกติคนทั่วไปมีความเชื่อกันว่า คนไอคิวสูง มักจะเรียนเก่ง ฉลาด แต่ที่จริงแล้ว IQ มีผลต่อความ สำ�เร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น 2.2 ด้าน EQ (Emotional Quotient) : ความ ฉลาดทางอารมณ์ หรือ เชาวน์อารมณ์ คือ ความสามารถทางอารมณ์ในการดำ�เนิน ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดย ลักษณะของคนที่มี EQ ที่ดีจะมีหลัก “SMILE” เป็น องค์ประกอบ ดังนี้ S = Self-Awareness คือ การเข้าใจ ในตนเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ถนัดอะไร สามารถ ตรวจสอบและตระหนักรูถ้ งึ ความรูส้ กึ นึกคิดของตนเอง ในแต่ละช่วงขณะได้ M = Manage Emotion คือ การ เข้าใจภาวะอารมณ์ของตนเองว่าขณะนี้รู้สึกอย่างไร และจะตอบสนอง ควบคุม จัดการกับอารมณ์ของ ตนเองได้ดว้ ยวิธกี ารใด เป็นการบริหารสภาวะตึงเครียด ให้ผ่านพ้นไปได้ I = Innovate Inspiration คือ การสร้าง แรงบันดาลใจของตนเองให้เกิดขึ้น ด้วยพฤติกรรมแห่ง ความรู้สึกดี รู้สึกสุข เพื่อเป็นพลังในการทำ�สิ่งต่างๆ L = Listen with head and heart คือ การรู้จักฟังคนอื่น เป็น เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไวต่ออารมณ์ของผู้อื่น และ ตอบสนองต่ออารมณ์นนั้ อย่างเหมาะสม E = Enhance social skill คือ ทักษะทางสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ ปรับ ตัวเข้ากับผู้อื่น ประนีประนอมได้ เพื่อให้สัมพันธภาพ คงอยู่และต่อเนื่อง 2.3 ด้าน MQ (Moral Quotient) : ความฉลาด ทางจริยธรรมและศีลธรรม คือ การมีระดับจริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว

178


2.5 ด้าน SQ (Spiritual Quotient) : ความ ฉลาดทางด้านพลังจิต เป็นมิติใหม่ของความฉลาด คือ ความฉลาด ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและค่านิยมการ ตั้งเป้าหมายในชีวิตและการปกป้องตนเองจากความ ขุ่นเคืองทั้งหลาย การจัดความสมดุลย์ให้แก่อาชีพการ งานและชีวติ ครอบครัว และการทำ�งานช่วยเหลือผูด้ อ้ ย โอกาส ผู้ที่มี SQ สูงมีลักษณะดังนี้ เป็นคนอะลุ่มอล่วย รู้จักตนเอง ความสามารถในการผจญกับความทุกข์ ความสามารถในการรับแรงบันดาลใจ ความสามารถ ในการเห็นความสัมพันธ์ การมองภาพรวม และความ สามารถในการทำ�งานทวนกระแส เป็นต้น

ซึ่ ง ส่ ง ผลต่ อ การควบคุ ม ตนเองให้ มี ร ะเบี ย บวิ นั ย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความซือ่ สัตย์ มีความ รูผ้ ดิ รูถ้ กู อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสมั มาคารวะ สามารถ ควบคุมตนเองได้เพื่อไม่ให้ทำ�ในสิ่งผิด มีความดีที่เป็น รากฐานของการกระทำ�ดี และถือคำ�พูดเป็นเกียรติของ ตน ซึ่งต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยอาศัย ปัจจัย 3 ประการ คือ การสอนศีลธรรมโดยตรงให้กับ เด็ก การถ่ายทอดทางศีลธรรมจากผูใ้ หญ่ให้กบั เด็ก และ การถ่ายทอดความรักและวินัยให้กับเด็ก 2.4 ด้าน AQ (Adversity Quotient) : ความ สามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค คื อ ความสามารถทางร่ า งกาย จิ ต ใจและ กำ � ลั ง ใจ ที่ จ ะอยู่ กั บ การเปลี่ ย นแปลงหรื อ ความไม่ แน่นอนของชีวิตความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤต ให้เป็นโอกาส รักความก้าวหน้า มีความสู้ทน ไม่พ่าย แพ้ต่ออุปสรรค สามารถเผชิญและเอาชนะเพื่อบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้ คนที่มี AQ สูง จะมีจิตใจชอบการ ต่อสู้กับอุปสรรค ไม่รู้สึกท้อแท้

2.6 ด้าน VQ (Values Intelligence Quotient) : ความสามารถในการตระหนักถึงคุณค่าร่วม คือ ความสามารถในการเข้าใจองค์ประกอบที่ จำ�เป็นของความฉลาด เข้าใจและสามารถรับมือกับภูมหิ ลัง ของคน วัฒนธรรม ศาสนา สังคม เชื้อชาติ และระบบ ค่านิยมสากล หรือคนทัว่ ไปเรียกว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ซึ่งเป็นความตระหนักในคุณค่าร่วมของบุคลากรทุก คนในองค์กร นโยบายการจัดการศึกษาสู่ทศวรรษที่ 8 เพือ่ มุง่ สูค่ วามเป็นอัตลักษณ์นกั เรียนโรงเรียนดาราสมุทร คือ “เป็นคนดี มีความรู้ มีจิตสาธารณะ และเป็นสุข” นี้ ได้รบั ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ในการประชุมครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2554 และประกาศให้บุคลากร ได้รบั ทราบนำ�ไปปฏิบตั ิ ในวันที่ 24 มิถนุ ายน พ.ศ.2554 โรงเรี ย นได้ เริ่ ม ดำ � เนิ น กิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม นั ก เรี ย นให้ เ กิ ด คุ ณ ลั ก ษณะดั ง อั ต ลั ก ษณ์ นั ก เรี ย น ดาราสมุทร โดยจัดกิจกรรม ดังนี้ (1) ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ฝ่ า ยส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมผู้ เรี ย น ได้ ดำ�เนินการจัด “ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต” นักเรียน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยมีบาทหลวงภูวนารถ แน่นหนา และบาทหลวงอายุวัฒน์ โสนน้อย ระดับ มัธยมศึกษาปีท่ี 1-3 โดยบาทหลวงวิเชียร ฉันทพิรยิ กุล และ

179


ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยบาทหลวงเฉลิม กิจมงคล เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและมีความพร้อม ที่ จ ะพั ฒ นาศั ก ยภาพตามวั ย สามารถค้ น พบพลั ง สร้างสรรค์ในตนเอง มีจุดยืนและมีทักษะในการดำ�รง ชีวิต ซึ่งเนื้อหาของการอบรมสำ�หรับแต่ละระดับชั้น มาจากการสังเคราะห์และการประมวลสรุปข้อมูลจาก นโยบายการจัดการศึกษาโรงเรียนดาราสมุทร การวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของนักเรียน โดยครูประจำ�ชั้น การสำ�รวจความกังวลใจและ ข้อตั้งใจในการพัฒนาตนของนักเรียน และการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทีมวิทยากรองค์กรท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่อัตลักษณ์นักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร โดยการดำ�เนินค่ายพัฒนาคุณภาพชีวติ เริม่ ตัง้ แต่ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2554 (2) ค่ายธรรมะและค่ายฟื้นฟูจิตใจ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม าจากการสั ง เคราะห์ แ ละการ ประมวลสรุปดังกล่าว ได้นำ�มาเป็นกรอบแนวคิดหลัก ของเนือ้ หาสำ�หรับการจัด “ค่ายธรรมะ” และ “ค่ายฟืน้ ฟู จิตใจ” ซึง่ ฝ่ายอภิบาลและแพร่ธรรม เป็นผูด้ �ำ เนินงานให้ กับนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ในระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2554 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลัก ธรรมคำ�สอน และเข้าถึงแก่นธรรมของศาสนาที่ตนเอง นับถือ ซึ่งนักเรียนพุทธระดับประถมศึกษา เข้าค่าย 1 วัน ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขต สิรนิ ธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาชลบุรี และนักเรียนพุทธ ระดับมัธยมศึกษา เข้าค่ายธรรมะ 2 วัน 1 คืน ณ วัด เขาชีธรรมนิมิต ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ใน ระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2554 โดยมีพระครูอดุ มธรรมวาที และคณะพระวิทยากร จำ�นวน 8 รูปจากวัดประยูรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร เป็น ผู้ให้การอบรม เรื่อง “พุทธบุตร ธรรมกิจจา” และนักเรียน คาทอลิกเข้าค่ายฟืน้ ฟูจติ ใจ 2 วัน 1 คืน ณ ศูนย์อบรมคณะ รักกางเขน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และวัดนักบุญอันนา สระ ไม้แดง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2554 โดย บาทหลวงวีรชน ทองนพคุณ บาทหลวงธีรพงษ์ ก้านพิกุล 180

และบาทหลวงอายุวัฒน์ โสนน้อย เป็นผู้ให้การอบรม เรื่อง “ตามรอยเท้าพระเยซู และการเป็นศิษย์ติดตาม พระเยซู” การดำ�เนินกิจกรรมทั้ง 2 นี้มีความต่อเนื่อง และเสริมกันและกัน เพือ่ เสริมสร้างให้นกั เรียนสามารถ พัฒนาคุณภาพชีวิตจากภายในบนพื้นฐานคุณค่าทาง ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อเกิดคุณลักษณะที่เด่นชัด ของอั ต ลั ก ษณ์ นั ก เรี ย นโรงเรี ย นดาราสมุ ท รมากยิ่ ง ขึ้น นักเรียนในแต่ละชั้น ได้เกิดข้อตั้งใจในการปฏิบัติ ตน มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยครูประจำ�ชั้น กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง กิจกรรม อบรมจริยธรรมทุกวันศุกร์ต้นเดือน และการติดตาม พฤติกรรมนักเรียนร่วมกับผู้ปกครองเครือข่าย เป็นต้น (3) โครงการบรรพชาสามเณรและบวช ศีลจาริณี สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนดาราสมุทร ร่วมกับโรงเรียน ได้ดำ�เนินโครงการบรรพชาสามเณร และบวชศีลจาริณี ในระหว่างวันที่ 8 – 12 ตุลาคม พ.ศ.2554 ณ วัดจิตตภาวัน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และ วัดหนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อส่งเสริม


ให้ นั ก เรี ย นได้ เรี ย นรู้ ห ลั ก ธรรมคำ � สอนและนำ � ไป ปฏิ บั ติ ใ นชี วิ ต ประจำ � วั น ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเจริญ พระชนมพรรษา 84 พรรษา และโอกาสฉลองการ สถาปนาโรงเรียนดาราสมุทรครบ 75 ปี ซึง่ มีนกั เรียน ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 3 - มัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้า ร่วมบรรพชาสามเณร จำ�นวน 463 คน และศีลจาริณี จำ�นวน 356 คน (4) โครงการฟื้นฟูจิตใจครู โรงเรี ย นได้ ดำ � เนิ น การฟื้ น ฟู จิ ต ใจให้ แ ก่ ค รู ผู้ช่วยครู และเจ้าหน้าที่ โดย ครูคาทอลิก คริสเตียน และอิสลาม เข้ารับการฟืน้ ฟูจติ ใจในวันที่ 10-12 ตุลาคม พ.ศ.2554 ณ ศูนย์ฝึกอบรมบ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยคุณพ่อมหา โซโน โปรโบ เป็นวิทยากร ให้การอบรม เรือ่ ง “การเป็นศิษย์ของพระเยซูในวิถชี วี ติ ครู” และครูพุทธ เข้ารับการฟื้นฟูจิตใจในวันที่ 10-12 ำ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โดย ธันวาคม พ.ศ.2554 ณ วัดเขาถ้� พระครูอดุ มธรรมวาทีเป็นพระวิทยากรให้การอบรม ใน หัวข้อ “ชีวิตครูในวิถีพุทธ”

(5) โครงการฝึกอบรมวิทยากรเชิงปฏิบัติ การ..กระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา (TOT : Training of Trainer) สื บ เนื่ อ งจากการจั ด การอบรมสั ม มนา สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนศึ ก ษาให้ กั บ ครู ใ นปี ก ารศึ ก ษา 2553 และเพือ่ เป็นการส่งเสริมคุณธรรมสิทธิมนุษยชนให้เกิด ขึ้นในโรงเรียนอย่างจริงจัง จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรม กลุ่มครูแกนนำ�ขึ้นในวันที่ 13-16 ตุลาคม พ.ศ.2554 ณ โรงเรียนดาราสมุทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา บุคลากรของโรงเรียนให้เป็นผู้ฝึกอบรมสิทธิมนุษยชน ศึกษา และนำ�ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพ มี คณะครูจากโรงเรียนดาราสมุทรเข้ารับการอบรมจำ�นวน 35 คน และครูจากโรงเรียนปรีชานุศาสน์ จำ�นวน 5 คน โดย รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร และทีมวิทยากรจาก คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรม (ยส.) เป็น ผู้ให้การอบรม งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผูเ้ รียน มิได้มเี พียง กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น โรงเรียนได้บูรณาการ คุณธรรมและคุณค่าของกิจกรรมต่างๆ เข้าสูก่ ระบวนการ เสริมสร้างอัตลักษณ์นักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร เพื่อ พัฒนานักเรียนให้เป็นคนทัง้ ครบ โดยบูรณาการดังแผนภาพ

181


สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพ ควบคูไ่ ปกับการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม และดำ�รงความเป็นไทยของผู้เรียน จากสภาพการณ์ดงั กล่าว โรงเรียนดาราสมุทร เป็ น สถาบั น การศึ ก ษาแห่ ง หนึ่ ง ที่ ต้ อ งเท่ า ทั น ต่ อ การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงมี การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนดังกล่าว โดยดำ�เนินการดังนี้

ระยะที่ 3 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคม อาเซียน (ASEAN Community)

3.1 สร้ า งความตระหนั ก ให้ ค วามรู้ แ ละ ปลุกจิตสำ�นึกบุคลากรเห็นความสำ�คัญและผลกระทบ ของการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน โดยผูบ้ ริหารได้นเิ ทศครู เรื่อง “การเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเข้าร่วม ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2554 และให้บุคลากรนำ�ไปขยายผลสู่ นักเรียน

จากการที่ประเทศไทยและอาเซียนกำ�ลังก้าว สู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 การ ศึกษาได้ถูกกำ�หนดเป็นกลไกหลักในการนำ�อาเซียน ก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคม มี ศักยภาพในการแข่งขัน และอำ�นาจต่อรองการเจรจา กับกลุม่ ประเทศในภูมภิ าคอืน่ ๆ เพือ่ ให้สามารถรองรับ การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี และการไหล่บ่าของ วัฒนธรรม อีกทั้งประเทศไทยได้มีนโยบายเร่งรัดการ ปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สองเพื่อรองรับการ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยเน้นการจัดการเรียนการ

3.2 การเตรียมความพร้อมด้านการจัดการ เรียนรู้ โดยการทำ�ข้อตกลง (MOU) กับสถาบันทาง วิชาการ 3.2.1 สถาบัน IPC (International Pacific College) ประเทศนิวซีแลนด์ ในโครงการแลกเปลี่ยน ครูและนักเรียน เทคนิคการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และแลกเปลีย่ นวัฒนธรรม โดยมีการทำ�ข้อตกลงร่วมกัน ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2554 และได้มกี ารส่งครูจ�ำ นวน 5 คน นักเรียน 5 คน ศึกษา ณ ประเทศนิวซีแลนด์

182


ในโครงการพัฒนาการศึกษาสำ�หรับประเทศในกลุ่ม เอเชียแปซิฟิก ในระหว่างวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2554 ถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2554 และผลที่ได้รับจากการ พัฒนาครูและนักเรียน ได้นำ�มาสู่การจัดค่าย English Camp ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา วันที่ 19-21 สิงหาคม พ.ศ.2554 และนักเรียนระดับประถมศึกษา วัน ที่ 3-5 ตุลาคม พ.ศ.2554 ณ Horseshoe Point Resort พัทยา เพือ่ ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ทัง้ การพูด ฟัง อ่าน และเขียน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งเป็นการพัฒนาครูให้สามารถจัดกระบวนการ เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนเกิดความสุขและกล้า แสดงออกโดยใช้ภาษาอังกฤษ

จากกระบวนการเตรียมความพร้อมบุคลากร ด้านภาษาอังกฤษเหล่านี้ เพือ่ มุง่ ไปสูก่ ารยกระดับความ ร่วมมือกับ IPC ให้โรงเรียนดาราสมุทรเป็นศูนย์ภาษา อังกฤษ (English Language Center) เพื่อพัฒนาและ แลกเปลี่ยนนักเรียนและครูกับสถาบันในต่างประเทศ ต่อไป 3.2.2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย (สสวท.) โดยโรงเรียน ได้ท�ำ ข้อตกลงกับ สสวท. ในการให้โรงเรียนดาราสมุทร เป็นศูนย์การเรียนรูส้ าระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และศูนย์การเรียนรูส้ าระการเรียน

รูค้ ณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ของจังหวัดชลบุรี โดย ได้ทำ�ข้อตกลงร่วมกัน ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2554 3.2.3 ห้ อ งเรี ย นขงจื่ อ โรงเรี ย นอั ส สั ม ชั ญ พาณิชยการ (ACC) โรงเรียนได้ตกลงความร่วมมือ ด้าน การสอนภาษาจีน โดยปีการศึกษา 2553 ส่งนักเรียน 15 คน เข้าร่วมกิจกรรม Chinese Summer Camp ณ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ กิจกรรม Chinese Summer Camp ณ เมืองเทียนจิน ประเทศจีน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยส่งครู 1 คน และ นักเรียนมัธยมปลาย 10 คน และปีการศึกษา 2554 โรงเรียนรับครูอาสาสมัครชาวจีน จำ�นวน 2 คน มาสอน ภาษาจีนในระดับประถมศึกษา 3.3 งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา “ดาราสมุทรในทศวรรษที่ 8” วั น ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2554 โรงเรี ย น ดาราสมุทร ได้ลงนามข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) โครงการวิจัย “75 ปีโรงเรียนดาราสมุทร อัตลักษณ์-ภาพลักษณ์ สู่คุณภาพการศึกษาในทศวรรษ ที่ 8” โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ครู ผูป้ กครอง ชุมชน ศิษย์เก่าและประชาชนในด้านอัตลักษณ์ ภาพลักษณ์ และอนาคตภาพของโรงเรียนดาราสมุทรในทศวรรษที่ 8 ในมิติของนักเรียน กระบวนการจัดการภายในโรงเรียน การเรียนรู้และพัฒนา งบประมาณและทรัพยากร โดย มีกระบวนการวิจัย ดังนี้

183


ผลที่ได้จากงานวิจัยจะนำ�ไปสู่การวางแผนพัฒนาโรงเรียน ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม และ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง การก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 8 ของโรงเรียนดาราสมุทรนี้ เป็นกระบวนการให้การศึกษาอบรมอย่างเข้ม ข้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพตามวัย เพื่อ “เป็นคนดี มีความรู้ มีจิตสาธารณะ และเป็นสุข” ต้องได้รบั การปฏิบตั แิ ละพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง อันจะนำ�มาซึง่ ความเจริญก้าวหน้าของความเป็น บุคคลทั้งครบของผู้เรียนอย่างแท้จริง

184


ผลงานวิจัย 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร-อัตลักษณ์-ภาพลักษณ์-อนาคตภาพ สู่คุณภาพการศึกษาในทศวรรษที่ 8 ความเป็นมา

ด้วยความสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้า ที่ทรงประทานพระพรแห่งพระปรีชาญาณของพระองค์แก่ บรรพชน ทั้งที่เป็นบาทหลวง นักบวช และฆราวาสชายหญิง ผู้มีน้ำ�ใจดีทั้งหลายที่เห็นความสำ�คัญต่อการให้การ ศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนในอำ�เภอศรีราชา จึงได้ริเริ่ม และก่อตั้งโรงเรียนดาราสมุทรขึ้น โดยมีบาทหลวงจาก สังฆมณฑลจันทบุรผี ลัดเปลีย่ นกันมาทำ�หน้าทีบ่ ริหารโรงเรียนจากบ้านพักตากอากาศหลังเล็กๆ ในอำ�เภอศรีราชา ที่ มีชื่อว่า “วิลลา สแตลลา มารีส” ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้า และเจริญเติบโตเป็น “โรงเรียนวิลลา สแตลลา มารีส” ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในอำ�เภอศรีราชา มีนักเรียนเพียง 46 คน เก็บค่าเล่าเรียนคนละ 25 บาท/เดือน จวบ จนก้าวย่างสู่ “โรงเรียนดาราสมุทร” ในปี พ.ศ. 2484 ด้วยปณิธานอันมุง่ มัน่ ในการสร้างคนให้เป็นคนทัง้ ครบ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม และด้วยจิตตารมณ์แห่งการรักและรับใช้ ทำ�ให้โรงเรียนดาราสมุทรพัฒนาก้าวหน้า ย่างเข้าสู่ปีที่ 75 ด้วยความภาคภูมิเป็นที่ไว้วางใจจากผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ชุมชนในอำ�เภอศรีราชา และ ชุมชนใกล้เคียงด้วยจิตกตัญญูต่อบรรพชนและตระหนักถึงความสำ�คัญดังกล่าว ในโอกาสครบรอบ 75 ปีแห่งการ ก่อตั้งโรงเรียนดาราสมุทร จึงได้มีการศึกษาวิจัย 75 ปี โรงเรียนดาราสมุทร-อัตลักษณ์-ภาพลักษณ์-อนาคตภาพ สู่คุณภาพการศึกษาในทศวรรษที่ 8 เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำ�แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพือ่ ศึกษาวิเคราะห์อตั ลักษณ์และภาพลักษณ์ดา้ นคุณค่า (Brand Equity) ซึง่ ประกอบด้วยมิตดิ า้ นภาพลักษณ์ (Image) ความคุ้มค่า (Value) และความภักดี (Loyalty) และอนาคตภาพของโรงเรียนดาราสมุทรจากมุมมอง ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. เพื่อนำ�ผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลจัดทำ�แผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทศวรรษที่ 8

กรอบแนวคิดในการวิจัย

จากปรัชญาการศึกษา คติพจน์ คำ�ขวัญ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของโรงเรียนดาราสมุทร ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้าน บริหารจัดการ ด้านคุณภาพ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะผูว้ ิจยั ได้น�ำ แนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการวิจัย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 ส่วน อันประกอบด้วย 1) แนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ 2) แนวคิดเกี่ยวกับการกำ�หนดผลสำ�เร็จรอบด้าน 3) แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ด้าน คุณค่า 4) แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ 5) แนวคิดเกี่ยวกับความคุ้มค่า 6) แนวคิดเกี่ยวกับความภักดี 7) แบบจำ�ลอง (Model) ที่ใช้ในการวิจัย 185


แนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์

อัตลักษณ์ (Identity) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเองว่า “ฉันคือใคร” ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิสังสรรค์ ระหว่างตัวเรากับคนอื่น โดยผ่านการมองตนเองและการที่คนอื่นมองเรา อัตลักษณ์ต้องการความตระหนัก (awareness) ในตัวเราและพื้นฐานของการเลือกบางอย่าง นั่นคือเราจะต้องแสดงตนหรือยอมรับอย่างตั้งใจกับอัตลักษณ์ที่ เราเลือก ความสำ�คัญของการแสดงตนก็คือ การระบุได้ว่าเรามีอัตลักษณ์เหมือนกลุ่มหนึ่งและมีความแตกต่างจาก กลุ่มอื่นอย่างไร และ “ฉันเป็นใคร” ในสายตาคนอื่น (นัทธนัย ประสานนาม, 2550) คำ�ว่า “อัตลักษณ์” มีความแตกต่างจากคำ�ว่า “บุคลิกภาพ” เนื่องจากบุคคลอาจมีความเหมือนกันได้ในแง่ของ บุคลิกภาพ เช่นการมีนสิ ยั หรือลักษณะบางอย่างทีอ่ าจจะเหมือนกันได้ แต่การเหมือนกันในด้านอัตลักษณ์ของบุคคล นัน้ จะเกิดขึน้ ได้กต็ อ่ เมือ่ มีความรูส้ กึ ร่วมกันในด้านการตระหนักรู้ (awareness) บางอย่างเกีย่ วกับตัวตนของเรา หมาย ถึงการยอมรับในความเป็นตัวตน ประกอบเข้ากับการแสดงตัวตน (making oneself) ให้เห็นว่ามีความเหมือนหรือแตก ต่างอย่างไรกับกลุม่ อืน่ หรือบุคคลอืน่ การทีเ่ ราเลือกนิยามความหมายของตนเองและแสดงตนเองต่อบุคคลหรือสังคม ว่าเราเป็นใครนั้น เป็นกระบวนการของการเลือกใช้และแสดงออกซึ่งจะทำ�ให้รู้ว่าเราเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่น หรือกลุม่ อืน่ อย่างไรโดยผ่านระบบของการใช้สญ ั ลักษณ์ (Symbol) ซึง่ เป็นสิง่ ทีป่ ระกอบกันทัง้ ด้านอารมณ์ ความรูส้ กึ ภายในตัวเราและกระบวนการของโลกภายนอกที่เราเกี่ยวพัน เพราะมนุษย์เลือกใช้ความหมายหรือเปลี่ยนแปลง ความหมายที่เกี่ยวกับตนเองทั้งในกระบวนการที่เขาสัมพันธ์กับโลกและในส่วนของตัวตนที่มันซ้อนทับกันอยู่ ดังนัน้ จึงมีการจัดแบ่งประเภทของอัตลักษณ์เป็น 2 ระดับคือระดับอัตลักษณ์สว่ นบุคคล (personal identity) และระดับ อัตลักษณ์ทางสังคม (social identity) เช่นการที่สังคมกำ�หนดบทบาทหน้าที่และตำ�แหน่งทางสังคมให้กับเรา บทบาท ความเป็นลูก ความเป็นเพือ่ น หรือตำ�แหน่งในทีท่ �ำ งาน ระบบคุณค่าทีต่ ดิ ตัวเรามาตัง้ แต่เกิด ทำ�ให้เราเรียนรูแ้ ละเลือก ที่จะนิยามตนเองให้เหมาะสมในสังคม และมีการเลื่อนไหลปรับเปลี่ยนไปตามบริบท เช่นเมื่ออยู่ในครอบครัวก็จะมี บทบาทเป็นลูก เป็นพี่น้อง บางครั้งบทบาทและตำ�แหน่งอาจซ้อนทับกัน เช่นเราเป็นนักศึกษาในขณะที่เป็นสมาชิก ของกลุ่มเพื่อนในชั้นเรียน สัญลักษณ์ที่เราเลือกหยิบมาใช้ในการนิยามตนเองทั้งต่อสังคมและต่อตัวเองนั้นเกิดขึ้น ได้โดยผ่านระบบการสร้างภาพแทนความจริง เพราะการแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ต่างๆ จะกระทำ�โดยผ่านระบบ สัญลักษณ์ที่หลายรูปแบบ การที่เรามองตัวเราและพยายามเลือกนิยามความหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวตนของ แต่ละบุคคล กับสิ่งที่คนอื่นมองเห็นในตัวเราว่าอย่างไรนั้นอาจไม่สอดคล้องกันเสมอไป

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา คืออะไร

จากการทีท่ กุ โรงเรียนมุง่ เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ หรือจากการบริหารหลักสูตรทีเ่ น้นเนือ้ หาสาระเป็นหลัก ประกอบกับเมื่อมีระบบประเมินคุณภาพภายนอก โรงเรียนส่วนใหญ่ได้หันมาพัฒนาสถานศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมี คุณภาพตามมาตรฐานการประเมินภายนอก โดยจากการสำ�รวจสถานศึกษากลุม่ ทีไ่ ด้รบั การรับรองมาตรฐานคุณภาพ ในรอบที่ 2 (2549-2553)ในระดับดี-ดีมาก ว่า “สถานศึกษาได้ท�ำ การกำ�หนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ของตนเอง โดยได้เพิ่มมาตรฐานพิเศษ นอกเหนือจากมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. หรือไม่” พบว่า มีสถานศึกษาเพียงประมาณร้อยละ 40 เท่านั้น ที่มีการกำ�หนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน โดยเพิ่ม มาตรฐานพิเศษ นอกเหนือไปจากมาตรฐานที่กำ�หนดโดย สมศ. ซึ่งในอนาคต หากโรงเรียนส่วนใหญ่ หันมาพัฒนา สถานศึกษาตามกรอบการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.เพียงอย่างเดียว ปัญหาที่ตามมาคือ คุณภาพหรือ คุณสมบัตขิ องเด็กไทยก็จะเหมือนกันทัว่ ประเทศ โดยมีคณ ุ ภาพขัน้ ต่�ำ ตามทีป่ ระเทศเป็นผูก้ �ำ หนด คุณลักษณะเฉพาะ หรือความโดดเด่นเป็นพิเศษของบางโรงเรียนที่เคยโดดเด่นในอดีตก็จะสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย หากโรงเรียนไม่ ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทาง หรือลักษณะโดดเด่นเฉพาะทางของเยาวชนที่สำ�เร็จการศึกษาจากสถาน

186


ศึกษานั้นๆ ของนักเรียนก็จะสูญหายไป” จึงมีการกล่าวถึง “อัตลักษณ์ของสถานศึกษา” หรือ “เอกลักษณ์ของสถาน ศึกษา” กันอย่างกว้างขวางมากยิง่ ขึน้ โดยมีความเห็นร่วมกันว่า “นอกจากมาตรฐานขัน้ ต่�ำ ของเด็กไทยทีเ่ ป็นมาตรฐาน แกนกลางเหมือนกันทั่วประเทศ” แล้ว สถานศึกษาแต่ละแห่งหรือแต่ละกลุ่มควรมีการพัฒนาคุณสมบัติของนักเรียน ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง เป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษานั้นๆ “อัตลักษณ์ของสถานศึกษา” เน้นไปที่การกำ�หนดภาพความสำ�เร็จ (Image of Success) ที่ต้องการให้เกิดกับ ผู้เรียน หรือเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติโดดเด่นของนักเรียนที่สำ�เร็จการศึกษาจากสถานศึกษาแห่งนั้น เช่น โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย กำ�หนดว่าอัตลักษณ์ของลูกสวนกุหลาบ คือ “มีภาวะผู้นำ�และสุภาพบุรุษ” โรงเรียนสตรีวิทยา กำ�หนดคุณสมบัติ “ยอดนารี สตรีวิทยา” (สุพักตร์ พิบูลย์, 2553)

แนวคิดการกำ�หนดผลสำ�เร็จรอบด้าน (Balanced Scorecard)

แนวคิดในการขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของโรงเรียนด้วยการกำ�หนดผลสำ�เร็จอย่างสมดุลรอบด้าน (Balanced Scorecard) มากำ�หนดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำ�เร็จของการดำ�เนินงาน 4 ด้านคือ 1.1 มุมมองด้านนักเรียน (Student Perspective) เป็นการพิจารณาความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับคุณลักษณะของนักเรียนที่คาดหวัง 1.2 มุมมองด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายใน (Internal Process Perspective) เป็นการพิจารณาผล สำ�เร็จและแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพ คุณภาพของกระบวนการบริหารจัดการ และการจัด หลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน 1.3 มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) เป็นการพิจารณาปัจจัย ที่ใช้ขับเคลื่อนให้นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพตามที่คาดหวัง ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งให้ โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพและทักษะของครู ผู้บริหารโรงเรียน และ บุคลากรทางการศึกษา การเพิม่ สมรรถนะของโรงเรียนในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสารเพื่อการพัฒนา 1.4 มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร (Budget and Resource Perspective) พิจารณาปัจจัยส่งเสริม ให้การดำ�เนินงานบรรลุภาพความสำ�เร็จในด้านงบประมาณและทรัพยากร โดยคำ�นึงถึงแหล่งสนับสนุน อัตรากำ�ลัง ค่าใช้จ่าย ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ

แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ด้านคุณค่า

การศึกษาภาพลักษณ์ด้านคุณค่า (Brand Equity) ทำ�ได้หลายวิธี เช่น การวัดความแข็งแกร่งของภาพลักษณ์ ด้านคุณค่าจากความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในตราสินค้าและการรับรู้ด้านคุณค่าในตราสินค้า การประเมิน ประสิทธิผลของการรณรงค์โฆษณาและประชาสัมพันธ์ และการศึกษาความแข็งแกร่งของตราสินค้า ตามสมมติฐาน ที่ว่า ความเชื่อใจในสินค้าหรือบริการที่มีให้แก่ลูกค้าในปัจจุบันหรือในอนาคต และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสิน ใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จะก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการในปัจจุบันหรือในอนาคต โดยการ ศึกษาภาพลักษณ์ด้านคุณค่าสามารถวัดได้โดยตรงจากการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความตระหนักในตราสินค้า และทัศนคติต่อตราสินค้าหรือการรับรู้ในตราสินค้า ซึ่งหากพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในตราสินค้า และทัศนคติในตราสินค้ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกย่อมหมายถึง ความเชือ่ ใจในสินค้าหรือบริการ ซึง่ อาจนำ�ไปสูก่ าร ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการในปัจจุบันหรืออนาคต การใช้แบบจำ�ลอง (Model) ทางการตลาดอุปโภคบริโภคมาใช้ ศึกษาสถาบันการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ต้องประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม และมีความจำ�เป็นต้องพิจารณาคัดเลือกตัวแปร อย่างรอบคอบ 187


ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แบบจำ�ลองภาพลักษณ์ด้านคุณค่า ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ประการ ที่ ต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ ภาพลักษณ์ (Image) ความคุ้มค่า (Value) และความภักดี (Loyalty) ตามที่ เบอร์ค (Burke, 2001) ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งคณะผู้วิจัยมีความเห็นสอดคล้องกันว่า แบบจำ�ลองดังกล่าว สามารถปรับใช้การ ประเมิน ภาพลักษณ์ดา้ นคุณค่าขององค์กร กล่าวคือ องค์กรทีถ่ กู ประเมินว่า มีมลู ค่าขององค์ประกอบทัง้ 3 ประการ สูง แสดงถึงระดับของความแข็งแกร่งของคุณค่าขององค์กรสูง (มีภาพลักษณ์ดา้ นคุณค่าสูง) เมือ่ เทียบกับองค์กรอืน่ ๆ ความแข็งแกร่งของภาพลักษณ์ด้านคุณค่า ประกอบด้วยคุณสมบัติสำ�คัญ 2 ประการ คือ 1) ความสามารถที่จะตอบสนองความพึงพอใจและก่อให้เกิดความภักดีของผู้ใช้บริการปัจจุบัน 2) ความสามารถที่จะก่อให้เกิดความสนใจของผู้ที่จะใช้บริการรายใหม่ แผนภาพที่ 1 ภาพลักษณ์ด้านคุณค่าของโรงเรียนดาราสมุทร ภาพลักษณ์ (Image)

ความคุ้มค่า (Value)

ภาพลักษณ์ด้านคุณค่า ของโรงเรียนดาราสมุทร (Brand Equity)

ความภักดี (Loyalty)

องค์ประกอบหลักสามประการทีก่ อ่ ให้เกิดภาพลักษณ์ดา้ นคุณค่าของโรงเรียนดาราสมุทร ในมุมมองของผูม้ สี ว่ น เกีย่ วข้อง จึงประกอบด้วย ภาพลักษณ์ ความคุม้ ค่า และความภักดี ดังแผนภาพที่ 1 โดยทีอ่ งค์ประกอบด้านภาพลักษณ์ และความคุม้ ค่าจะดึงดูดความสนใจของผูท้ จ่ี ะใช้บริการรายใหม่ อันได้แก่นกั เรียนทีต่ อ้ งการศึกษาในโรงเรียนดาราสมุทร ในขณะทีอ่ งค์ประกอบด้านความภักดีตอ่ สถาบันก่อให้เกิดความคงไว้ซง่ึ ผูใ้ ช้บริการปัจจุบนั อันได้แก่นกั เรียนปัจจุบนั และ ประชาชนทัว่ ไปทีจ่ ะส่งบุตรหลานหรือแนะนำ�บุคคลให้สง่ บุตรหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียนดาราสมุทร

แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์

บรรทัดฐานและความมีคุณค่าเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำ�และพฤติกรรมในการอุปโภค บริโภค เกิดจาก การหล่อหลอมจากกฎเกณฑ์ ศีลธรรมจรรยาและบรรทัดฐานทางสังคม ทั้งที่เกิดขึ้นจากสังคมเองและจากการรับ อิทธิพลจากภายนอกสังคม บรรทัดฐานและความมีคุณค่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจลึกๆ ที่จะมีส่วนในการกำ�หนด ว่าควรทำ�หรือไม่ ควรซื้อหรือไม่ แต่หากว่าบรรทัดฐานของแต่ละปัจเจกบุคคล เช่น ความตระหนักในหน้าที่ ความ รับผิดชอบ ความยุติธรรม ความละอาย และความภักดี จะมีระดับแตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้บริโภคที่ตระหนักถึงสิ่ง แวดล้อมอาจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม การรับรู้และพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคมีส่วนสำ�คัญต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการ กล่าวคือ ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการอาจตัดสินใจซื้อโดยไม่ค�ำ นึงถึงตราสินค้า หรือซื้อโดย ไม่ได้เจาะจงว่าจะซือ้ สินค้าหรือบริการของตราใดเป็นพิเศษ เนือ่ งจากเป็นการทำ�ไปตามประเพณีนยิ ม เป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ ประจำ�วัน หรือเป็นสิง่ ทีต่ นเองทำ�เป็นนิสยั อย่างเช่น นักเรียนอาจเรียนกวดวิชาอย่างต่อเนือ่ งด้วยเหตุผลที่ เคยเรียนทุกครั้งเมื่อโรงเรียนปิดภาคเรียน โดยไม่ได้เจาะจงเลือกที่ใด ที่หนึ่งเป็นพิเศษ

188


ภาพลักษณ์โดยรวมจะสะท้อนถึงคุณลักษณะที่พึงปรารถนาของสินค้าหรือบริการ ภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่อธิบาย ได้จากสิง่ ทีผ่ บู้ ริโภคนึกถึงตราสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น นักเรียนชายมัธยมทีเ่ รียนอาชีวศึกษาเลือกเรียนด้าน ช่างมากกว่าด้านพาณิชย์เพือ่ แสดงถึงความเป็นลูกผูช้ าย ภาพลักษณ์อาจหมายถึงคุณลักษณะทีม่ องเห็นได้หรือรับรู้ ได้ เช่น เสรีภาพทางวิชาการ ความทันสมัย สังคมแห่งการเรียนรู้ ความสง่างาม และความเป็นผู้น� ำ

แนวคิดเกี่ยวกับความคุ้มค่า

การวัดความแข็งแกร่งของตราสินค้าอย่างสม่�ำ เสมอมีสว่ นช่วยในการตรวจสอบว่า ควรจะลงทุนเพิม่ หรือบริหาร จัดการตราสินค้าเพื่อการเติบโตในอนาคตได้อย่างไร การวัดความสามารถของตราสินค้าเริ่มจากการวัดมูลค่าของ ตราสินค้า โดยมีสมมติฐานที่ว่า ตราสินค้าที่มีความแข็งแกร่งหรือตราสินค้าที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่ง จะสามารถ สร้างกำ�ไรจำ�นวนมากให้กับธุรกิจ และตราสินค้าที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่ง สามารถกำ�หนดระดับราคาของสินค้า หรือบริการ ที่สูงกว่าคู่แข่งขันในระดับรอง ดังเช่น โรงเรียนที่มีการสอนเป็นภาษาอังกฤษสามารถกำ�หนดระดับราคา ของค่าเล่าเรียนได้สูงกว่าโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาไทย The Balanced Scorecard ให้ความสำ�คัญกับมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก จากข้อความที่ว่า “ธุรกิจต้องสร้างและ นำ�เสนอสินค้าและบริการที่ลูกค้าตระหนักในคุณค่า” (Kaplan and Norton,1996 : 63) เมื่อลูกค้าตระหนักในคุณค่า จะรับรูถ้ งึ ความคุม้ ค่าของสินค้าและบริการจากตราสินค้านัน้ ๆ ความคุม้ ค่าของตราสินค้ายังคงเป็นสิง่ ทีซ่ บั ซ้อนและ ยากในการกระทำ� ความคุ้มค่าในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ด้วยเหตุว่า ไม่ว่าสินค้าหรือบริการจะมีค่าเพียงใด มูลค่าของภาพลักษณ์จะถูกประเมินโดยอาศัยความรูส้ กึ หรือการรับรูข้ องผูบ้ ริโภค ดังนัน้ ทุกสิง่ ทีส่ ง่ ผลกระทบหรือมี ผลต่อความรูส้ กึ ของผูซ้ อื้ สินค้าหรือบริการและผูท้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการตัดสินใจซือ้ นัน้ จะมีผลต่อการวัดมูลค่าของ ภาพลักษณ์ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ซื้อจะมีผลกระทบต่อความรู้สึกต่อความคุ้มค่า จาก สิง่ ทีก่ ล่าวมา จึงอาจสรุปได้วา่ ความคุม้ ค่า หมายถึง มูลค่าทางการเงินทีล่ กู ค้ายินดีจา่ ยเพือ่ อุปโภค บริโภคผลิตภัณฑ์ ของตราสินค้านัน้ ๆ เทียบกับอรรถประโยชน์และมูลค่าเพิม่ ของสินค้าหรือบริการนัน้ ๆ หรือมูลค่าทางการเงินทีล่ กู ค้า ยินดีจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคผลิตภัณฑ์ของตราสินค้านั้นๆ เทียบกับอรรถประโยชน์ทางอารมณ์ สิง่ ทีส่ ามารถนำ�มาใช้พยากรณ์ความภักดีของลูกค้าก็คอื ความคุม้ ค่า ซึง่ เป็นไปตามหลักการทีว่ า่ ลูกค้าพิจารณา ซื้อสินค้าหรือบริการจะตรวจสอบและพิจารณาสินค้าหรือบริการในกลุ่มเดียวกัน และลูกค้าจะสร้างเกณฑ์เพื่อใช้ใน การตัดสินใจในการเลือกขึน้ ไว้ในใจ ภายใต้เกณฑ์ตา่ งๆ นี้ ทำ�ให้ลกู ค้าสร้างและจัดลำ�ดับความต้องการและความสนใจ ในการซือ้ ตามความคุม้ ค่า เมือ่ เปรียบเทียบความคุม้ ค่าของสินค้าหรือบริการแล้ว หากพบว่าสินค้าหรือบริการให้คา่ ของความคุม้ ค่ามากกว่า ลูกค้าย่อมจะตัดสินใจเลือกสินค้าหรือบริการนัน้ ไม่เพียงเท่านัน้ ปัจจัยทางด้านความคุม้ ค่า ยังขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยด้านความคิดและอารมณ์ประกอบกันด้วย จากสมมติฐานทีว่ า่ ณ มูลค่าปัจจุบนั ลูกค้าจะยังคงซือ้ สินค้าหรือบริการในตราเดียวกันกับที่ผ่านมา น่าจะใช้ไม่ได้กับการวัดทางการศึกษา เพราะลูกค้าจะไม่ซื้อสินค้าซ้�ำ ๆ อีก หากสอดคล้องกับสมมติฐานที่กล่าวนี้ ผลการศึกษาน่าจะพบว่า จะศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่าแม้ลูกค้าจะไม่ได้กลับมาเรียนอีก ลูกค้าอาจจะแนะนำ�เพื่อน ญาติ หรือลูกหลานให้มาใช้บริการของ โรงเรียน

แนวคิดเกี่ยวกับความภักดี

ในด้านการตลาดลูกค้าที่มีความเชื่อมั่นในตราสินค้าหรือบริการจะแสดงออกถึงความภักดี และมีทัศนคติที่ดี ต่อภาพลักษณ์โดยรวมของตราสินค้า ลูกค้าในกลุ่มดังกล่าวจะยินดี หรือยอมรับในคุณค่าใหม่ๆ ของภาพลักษณ์ได้ ง่ายขึ้น (Aaker, 1996; Lasswar, Mital, Snarma, 1995; Schultz, 1997) ข้อสรุปเช่นนี้สามารถขยายความในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ เช่น นักเรียนและผู้ปกครองที่มีทัศนคติที่ดีแสดงออกถึงความภักดีต่อโรงเรียนที่มีชื่อเสียง 189


และมีการรับรู้โดยภาพรวมว่าโรงเรียนนั้นเป็นโรงเรียนที่ดี ย่อมจะได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง เช่นเดียวกันหากกลุม่ ผูร้ บั บริการของโรงเรียนดาราสมุทรมองถึงความแข็งแกร่งของภาพลักษณ์โรงเรียนในการจัดการ เรียนการสอนและมีชื่อเสียงในการจัดการเรียนการสอนแล้ว กลุ่มผู้รับบริการดังกล่าวย่อมคาดหวังถึงประโยชน์ที่จะ ได้รับจากบริการการศึกษาของโรงเรียน โดยให้ความสนใจในการเลือกสถานศึกษา

แบบจำ�ลอง (Model) ที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยภาพลักษณ์ด้านคุณค่าของโรงเรียนดาราสมุทรศรีราชาในมุมมองของของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในทาง ตรงและทางอ้อมนี้ ใช้แบบจำ�ลอง “คุณค่าของสัญลักษณ์” ของ เบอร์ค (Burke, 2001) เป็นทฤษฎีพื้นฐานในการวิจัย และได้นำ�เอาแบบจำ�ลองของ Equitrak Brand Equity 1 เข้ามาผสมผสานไว้ด้วยกัน ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 แผนภาพที่ 2 กรอบและทฤษฎีพื้นฐานการวิจัย START 1

ตระหนัก

การยอมรับ

ชื่อเสียง ความแตกต่าง

ความตระหนัก

ความนิยม ไม่ตระหนัก

ยุติ

ความชื่นชอบ

ภาพลักษณ์ (Image)

CONT. 2

ความคุ้มค่า (Value)

ภาพลักษณ์ด้านคุณค่า ของโรงเรียนดาราสมุทร (Brand Equity)

ความภักดี (Loyalty)

STOP

Educational Institution Equity Model (EIQ Model) Adapt from : 1. Burke brand equity tracking system (http://www.burke.com), 2001 2. Equitrak TM brand equity model (http://www.managementfirst.com), 2001 3. Neal, W., Crum, K. “Modeling Brand Equity” (http://www.sdrnet.com), 2001 4. US News”American’s Best Colleges” (http://www.usnews.com/edu/college/ranking), 2002 5. Wongwanit, S., Viratchai, N. “Analysis of University ranking in Asia 1997-1999”, Office of Priministe, 3.Neal, W., Crum, K. “Modeling Brand Equity” (http://www.sdrnet.com), 2001 National educational office, 2001 1 Equitrak Brand Equity (Burke, 2001) เป็นแบบจำ�ลองที่ถูกพัฒนาและใช้ในการวัดและประเมินคุณค่าของสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้า โดยบริษัทวิจัยและให้คำ�ปรึกษา ด้านการตลาดชั้นนำ�ของประเทศอังกฤษ

190


ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาเกี่ยวกับอัตลักษณ์-ภาพลักษณ์ และอนาคตภาพของโรงเรียนดาราสมุทรครั้งนี้เป็นการศึกษาร่วมกัน ระหว่างคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และคณะนักวิจัยจากโรงเรียนดาราสมุทร โดย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method) ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน 1. การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการสำ�รวจ (Survey) 2. การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการจัดสัมมนา (Seminar)

ประชากร

1. ประชากรในการศึกษาเชิงสำ�รวจเป็นผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง (Stakeholders) กับโรงเรียนดาราสมุทร จำ�นวน 5 กลุม่ ประกอบด้วย 1) กลุ่มนักเรียน 2) กลุ่มผู้ปกครอง 3) กลุ่มศิษย์เก่า 4) กลุ่มบุคลากรของโรงเรียน และ 5) กลุ่มชุมชน และสังคม 2. ประชากรในการสนทนากลุ่มเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) กับโรงเรียนดาราสมุทร จำ�นวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มนักเรียน 2) กลุ่มผู้ปกครอง 3) กลุ่มศิษย์เก่า 4) กลุ่มบุคลากรของโรงเรียน และ 5) กลุ่มชุมชน และสังคม รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการโรงเรียน

กลุ่มตัวอย่าง

1. จากประชากรในการศึกษาเชิงสำ�รวจทัง้ 5 กลุม่ แต่ละกลุม่ มีจ�ำ นวนมากกว่า 2,000 คน (ยกเว้นบุคลากรของ โรงเรียน) เพือ่ ให้กลุม่ ตัวอย่างเป็นตัวแทนอย่างแท้จริงจึงกำ�หนดขนาดของกลุม่ ตัวอย่างกลุม่ ละ 400 คน รวม 2,000 คน 2. กลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่ม จำ�นวน 5 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าสนทนากลุ่มได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้ อย่างอิสระและมีโอกาสเท่าเทียมกันจึงกำ�หนดจำ�นวนของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 10-12 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. การวิจัยเชิงสำ�รวจ 1.1 แบบสอบถามให้ตอบด้วยตนเองจำ�นวน 4 ชุด สำ�หรับ • กลุ่มนักเรียน • กลุ่มศิษย์เก่า • กลุ่มผู้ปกครอง • กลุ่มบุคลากรของโรงเรียน 1.2 แบบสัมภาษณ์จำ�นวน 1 ชุด สำ�หรับกลุ่มชุมชนและสังคม 1.3 ประเด็นคำ�ถามหลักเกี่ยวกับ • อัตลักษณ์ของดาราสมุทร • ศิษย์เก่า • ชื่อเสียงทางวิชาการ • หลักสูตร • ครู-อาจารย์ • สถานที่สภาพแวดล้อม • นักเรียน • สภาพสังคม 2. การสนทนากลุ่ม 2.1 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนดาราสมุทร - ประเด็นการสนทนา เหมือนประเด็นแบบสอบถาม 2.2 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง - ประเด็นการสนทนาจากนี้ไปอีก 10 ปี • นักเรียน • งบประมาณและทรัพยากร • การเรียนรู้และการพัฒนา • กระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน 191


3. การวิเคราะห์ข้อมูล • วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติจากการสำ�รวจ • วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสนทนากลุ่ม 4. การจัดสัมมนา/ประชาพิจารณ์ • กลุ่มผู้เข้าร่วมจาก 5 กลุ่ม ประมาณ 300 คน • วิเคราะห์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ • นำ�เสนอร่างรายงานการวิจัย • เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

สรุปผลเบื้องต้น

อัตลักษณ์ของโรงเรียนดาราสมุทร อัตลักษณ์ของโรงเรียนดาราสมุทรในความคิดเห็นของกลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า โรงเรียนดาราสมุทร เป็นโรงเรียนคาทอลิกทีส่ อดแทรกการอบรมคุณธรรม จริยธรรม โดยมีคา่ เฉลีย่ ในข้อนีส้ งู สุดใน 4 กลุม่ คือกลุม่ นักเรียน ระดับประถมศึกษา นักเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มศิษย์เก่า ส่วนอีก 2 กลุ่ม คือกลุ่มบุคลากร และกลุ่มประชาชนทั่วไป มีความคิดเห็นว่าอัตลักษณ์ของโรงเรียนดาราสมุทร คือ มีชื่อเสียงด้านการเรียนการสอน ที่เน้นภาษาอังกฤษ และเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงในภาคตะวันออก เมื่อสอบถามถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของโรงเรียนดาราสมุทรเกือบทุกกลุ่มให้ค�ำ ตอบว่าเป็นโรงเรียนเอกชน ที่มีชื่อเสียง มีเพียงกลุ่มเดียวคือกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ตอบว่าเป็นโรงเรียนที่มีการสอนให้เป็นคนดี เมื่อพิจารณาปรัชญาโรงเรียนที่ว่าการศึกษา คือการพัฒนาคนทั้งครบ (Personal Wholistic Development) ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อจะได้เป็นคนบริบูรณ์ ผนวกกับความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่ต้องการ ให้นักเรียนดาราสมุทรไม่เพียงแต่เด่นด้านวิชาการ แต่ต้องการให้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนดีในสังคมต่อไป ซึ่ง จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่า นักเรียนของโรงเรียนดาราสมุทร ผู้ปกครอง รวมทั้งศิษย์เก่า คิดว่าอัตลักษณ์ ของโรงเรียนคือการสอนที่สอดแทรกการอบรมคุณธรรม จริยธรรม โดยสอดคล้องกับปรัชญาและความมุ่งมั่นของ ผู้บริหารที่ต้องการให้การเรียนการสอนของโรงเรียนโดดเด่นในเรื่องดังกล่าว ซึ่งผลจากการจัดการเรียนการสอนดัง กล่าว ได้เกิดขึน้ แล้วกับเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาทีม่ นั่ ใจทีจ่ ะตอบว่าโรงเรียนดาราสมุทรเป็นโรงเรียนทีม่ กี าร สอนให้เป็นคนดี นอกจากนี้จากการประชุมกลุ่มย่อยในกลุ่มผู้ปกครอง ยังให้ความคิดเห็นว่า นอกจากโรงเรียนดาราสมุทรเป็น โรงเรียนฝรั่งที่เน้นภาษาอังกฤษแล้ว ยังสอนให้เป็นผู้น� ำ มีจิตอาสา ที่ไม่ต้องเลิศด้านความรู้ แต่อยู่ได้ด้วยความดี

ภาพลักษณ์ของโรงเรียนดาราสมุทร

ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ ภาพลักษณ์ของโรงเรียนดาราสมุทรในด้านชื่อเสียงทางวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับค่อนข้างดี โดยกลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นเหมือนกันว่าภาพลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดในด้านวิชาการของโรงเรียนดาราสมุทร คือความนิยมในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ส่วนกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและกลุ่มประชาชนทั่วไป มีความคิด เห็นว่าภาพลักษณ์ในด้านวิชาการที่โดดเด่นที่สุดคือเรื่องการเป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป ส่วนกลุ่มศิษย์เก่านั้น มี ความเห็นว่าภาพลักษณ์ทโี่ ดดเด่นในด้านวิชาการมีความโดดเด่นเท่ากันใน 2 เรือ่ งนีค้ อื ทัง้ การเป็นทีย่ อมรับในสังคม ทั่วไปและความนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียน สำ�หรับกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษามีความคิดเห็นที่ต่างออกไป โดย นักเรียนระดับประถมศึกษาคิดว่าภาพลักษณ์ทางด้านวิชาการทีโ่ ดดเด่นของโรงเรียนดาราสมุทร คือนักเรียนโรงเรียน ดาราสมุทรมีความโดดเด่นทางวิชาการ อย่างไรก็ตามเมือ่ กล่าวถึงชือ่ เสียงทางด้านวิชาการของโรงเรียนดาราสมุทร จะพบว่า ในด้านวิชาการโรงเรียนยัง ไม่มีความโดดเด่นเท่าที่ควร แต่จะมีความโดดเด่นอย่างมากในด้านกิจกรรมกีฬา ดนตรี และศิลปะ ซึ่งโรงเรียนมีชื่อ เสียงในเรื่องเหล่านี้ในระดับประเทศ 192


ด้านครู-อาจารย์ ภาพลักษณ์ในด้านครูอาจารย์ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ผูป้ กครอง กลุม่ ศิษย์เก่า และกลุม่ นักเรียนระดับประถมศึกษา คิดว่าครูโรงเรียนดาราสมุทรเป็นคนดี มีความประพฤติ เหมาะสม ส่วนผูต้ อบแบบสอบถามกลุม่ อืน่ ๆ มีความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างออกไป ได้แก่ กลุม่ บุคลากรมีความคิดเห็นว่า ครูมีความเอาใจใส่ต่อนักเรียน ส่วนกลุ่มประชาชนทั่วไป มีความเห็นว่าครูมีความรู้ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ส่วนกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาคิดว่าครูมีความรู้ความสามารถทางวิชาการ จากการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า ครูโรงเรียนดาราสมุทรจะเด่นในเรื่องการดูแลเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดี แต่ยังมีการทำ�โทษที่รุนแรงหรือเข้มงวดกับนักเรียนไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วครูโรงเรียนดาราสมุทรมีความประพฤติดี มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ด้านนักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร ภาพลักษณ์ในด้านนักเรียนโรงเรียนดาราสมุทรในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วน ใหญ่ได้แก่ กลุ่มบุคลากร กลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความคิดเห็นตรงกันว่า ภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ที่สุดในด้านนักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร คือนักเรียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ส่วนกลุ่มศิษย์เก่าและกลุ่ม นักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีความคิดเห็นว่าทักษะการเข้าสังคม เป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของนักเรียนโรงเรียน ดาราสมุทร ส่วนกลุม่ ทีม่ คี วามคิดเห็นแตกต่างจากกลุม่ อืน่ ๆ คือนักเรียนระดับประถมศึกษาทีม่ คี วามคิดเห็นว่าภาพ ลักษณ์ในด้านนักเรียนที่โดดเด่นที่สุด คือนักเรียนเป็นคนดี สำ�หรับผลจากการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า ความคิดเห็นของทุกกลุ่มสอดคล้องกันในเรื่องของนักเรียนโรงเรียน ดาราสมุทร ซึง่ ทุกกลุม่ ให้ความเห็นว่านักเรียนโรงเรียนดาราสมุทรโดยภาพรวมเป็นเด็กทีเ่ รียบร้อย มีความประพฤติดี มีระเบียบวินัยมากกว่าโรงเรียนอื่นๆ ทั่วไป ด้านศิษย์เก่า ภาพลักษณ์ดา้ นศิษย์เก่าอยูใ่ นระดับค่อนข้างดีเช่นเดียวกัน โดยผูต้ อบแบบสอบถามกลุม่ ผูป้ กครอง กลุม่ บุคลากร และกลุม่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความคิดเห็นว่าศิษย์เก่าของโรงเรียนดาราสมุทรมีภาพลักษณ์ในเรือ่ ง ทักษะการเข้าสังคมและการทำ�งานมากที่สุด ส่วนกลุ่มประชาชนทั่วไปคิดว่าภาพลักษณ์ด้านศิษย์เก่าที่โดดเด่นคือ เรื่องความรู้ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ส่วนกลุ่มศิษย์เก่าเองนั้น มีความคิดเห็นว่าภาพลักษณ์ในด้านศิษย์เก่า ที่โดดเด่นมี 3 เรื่องด้วยกัน คือเรื่องทักษะการเข้าสังคมและการทำ�งาน ความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความ เป็นผู้นำ� สำ�หรับผลการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า ภาพลักษณ์ด้านศิษย์เก่าของโรงเรียนดาราสมุทรยังไม่แน่นแฟ้น ไม่ผูกพันกัน มีเพียงรุ่นแรกๆ ที่ยังติดต่อรวมกลุ่มกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องมีน้อย แต่ยอมรับเรื่องการ มีภาวะผู้น�ำ สูง ด้านหลักสูตร ภาพลักษณ์ด้านหลักสูตร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มบุคลากร กลุ่มนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาและกลุม่ ประชาชนทัว่ ไป คิดว่าภาพลักษณ์ในด้านหลักสูตรทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ คือเป็นประโยชน์ในการศึกษา ต่อมากทีส่ ดุ ส่วนกลุม่ ศิษย์เก่าและกลุม่ นักเรียนระดับประถมศึกษา มีความคิดเห็นว่าภาพลักษณ์ดา้ นหลักสูตรทีโ่ ดด เด่นที่สุด คือเรื่องการกำ�หนดหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน ผลของการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า หลักสูตรของโรงเรียนดาราสมุทรดีขึ้นเมื่อใช้หลักสูตรแกนกลาง โดยเฉพาะ 193


วิชาคณิตศาสตร์ ซึง่ ในความคิดเห็นของผูป้ กครองและนักเรียน มีความต้องการให้ปรับหลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับโรงเรียนอื่นๆ ได้ เช่นเดียวกับระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ ผู้ปกครองมั่นใจในหลักสูตร จึงนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับดังกล่าว ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ภาพลักษณ์ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อมนับเป็นด้านที่มีภาพลักษณ์ดีที่สุดในทุกกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้ตอบ แบบสอบถามเกือบทุกกลุ่ม ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มบุคลากร กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มศิษย์เก่า และกลุ่ม นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ความคิดเห็นเกีย่ วกับภาพลักษณ์ดา้ นสถานทีแ่ ละสภาพแวดล้อมทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ ว่า อาคารและสิง่ ก่อสร้างต่างๆ สวยงามและทันสมัย ส่วนกลุม่ นักเรียนระดับประถมศึกษาให้ความคิดเห็นว่าภาพลักษณ์ ด้านนี้ที่โดดเด่น คือเรื่องสถานที่เหมาะสมกับการเรียน สำ�หรับสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนดาราสมุทร พบว่า สถานที่มีความสวยงาม ทันสมัยก็จริง แต่ คับแคบเกินไปไม่เพียงพอที่จะรองรับจำ�นวนนักเรียน โดยดูปริมาณเด็กนักเรียนต่อห้องที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ ความเห็นว่าอึดอัดจนเกินไป รวมทั้งความแออัดของสถานที่ท�ำ ให้โรงเรียนดาราสมุทรไม่มีสนามเด็กเล่น ซึ่งนับเป็น ส่วนสำ�คัญในการพัฒนาศักยภาพของเด็กๆ ในด้านอื่นๆ นอกห้องเรียน ดังนั้นในการพัฒนาโรงเรียนในอนาคตจึง ควรคำ�นึงถึงจุดนี้ด้วย ด้านสภาพสังคม ภาพลักษณ์ด้านสภาพสังคม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับค่อนข้างดีเช่นเดียวกัน โดย กลุ่มประชาชนทั่วไป และกลุ่มบุคลากร มีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีความปลอดภัยในทรัพย์สินและร่างกายเป็น ภาพลักษณ์ด้านสภาพสังคมที่โดดเด่นที่สุด ส่วนกลุ่มศิษย์เก่า และกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เห็นว่า ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านนี้ คือเรื่องความรักพวกพ้อง (ความเป็นดาราสมุทร) ส่วนอีก 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้ปกครอง และกลุม่ นักเรียนระดับประถมศึกษามีความคิดเห็นทีต่ า่ งออกไป โดยกลุม่ ผูป้ กครองคิดว่าภาพลักษณ์ทโี่ ดดเด่นทีส่ ดุ คือเรื่องความปลอดภัยจากยาเสพติด อบายมุข และมลพิษต่างๆ ส่วนกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาคิดว่าความ ขยันเรียนเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดในด้านสังคม เมื่อพิจารณาจากผลการสำ�รวจข้างต้น พบว่ามีความสอดคล้องกับผลจากการประชุมกลุ่มย่อย ซึ่งทุกกลุ่มมี ความคิดเห็นว่า โรงเรียนดาราสมุทรมีความปลอดภัยจากอบายมุข รวมถึงยาเสพติดต่างๆ นอกจากนี้บรรยากาศ ในโรงเรียนยังเป็นไปอย่างเอื้ออาทรต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง ทำ�ให้บรรยากาศในโรงเรียนเต็ม ไปด้วยความอบอุ่น ซึ่งหาได้ยากจากโรงเรียนอื่นๆ ความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนและกลุม่ ผูป้ กครอง พบว่า ส่วนใหญ่จะไม่แน่ใจว่าจะศึกษาต่อหรือไม่ โดยเหตุผลทีน่ กั เรียนหรือผูป้ กครองโดยส่วนใหญ่อา้ งถึงคือ การไม่มน่ั ใจในคุณภาพการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนดาราสมุทร ทีจ่ ะส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคตได้

อนาคตภาพของโรงเรียนดาราสมุทร

อนาคตภาพของโรงเรียนดาราสมุทรในอีก 10 ปีข้างหน้าโดยมีปัจจัยของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทุกกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าโรงเรียนดาราสมุทรมีศักยภาพและความพร้อมเพียงพอเมื่อเทียบกับโรงเรียนทั่วไป ซึ่ง ทุกกลุ่มกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า โรงเรียนมาถูกทางแล้วในการที่จะใช้คุณธรรมจริยธรรมนำ�วิชาการ นอกจาก ต้องการให้นักเรียนโรงเรียนดาราสมุทรเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความโดดเด่นทางด้าน ภาษาต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูไทยกับนานาชาติก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาครูด้าน ภาษา เทคนิค และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนต่างๆ ให้ได้มาตรฐานในระดับสากล ความเห็นจากทุกภาคส่วนเกี่ยวกับอนาคตภาพของโรงเรียนดาราสมุทรในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ ส่วนใหญ่คิดว่า โรงเรียนควรมีการวางแผนพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้ 194


• ด้านนักเรียน ควรเน้นทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอืน่ ๆ ของประเทศสมาชิกประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน มีนกั เรียนแลกเปลีย่ นเพือ่ ศึกษาภาษา วัฒนธรรมของแต่ละชาติสมาชิก รวมทัง้ ควรมีปรับตัว ให้เข้าได้กับวัฒนธรรมที่หลากหลายในอนาคต แต่ยังต้องคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และความเป็นไทย การมี มนุษย สัมพันธ์ที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับนักเรียนชาติอื่นๆ ได้อย่างปกติสุข • ด้านหลักสูตร ควรมีเนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ทั้งภาษา วัฒนธรรม เทคโนโลยีต่างๆ ปรับ หลักสูตรให้เข้ากับสังคมพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของ คุณธรรม จริยธรรม รวมถึงมีจุดยืนในความเป็นเอกลักษณ์ไทย • ด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน ควรมีการบูรณาการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าไป ในทุกรายวิชา โดยให้ผปู้ กครองมีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน มีกระบวนการเรียนการสอนที่ เป็นมาตรฐานสากล เน้นการคิดวิเคราะห์ มีกจิ กรรมให้การเรียนการสอนน่าสนใจ มีการเน้นภาษาอังกฤษและ ภาษาต่างประเทศอื่นๆ โดยให้นักเรียนในทุกระดับใช้ภาษาต่างประเทศในชีวิตประจำ�วัน รวมทั้งการพัฒนา อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย • ด้านครูอาจารย์ ควรพัฒนาครูให้มีคุณภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ควรมี โครงการครูแลกเปลีย่ น เพือ่ ได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมและภาษาของชาติสมาชิก มีครูทมี่ คี วามสามารถในวิชาเฉพาะ มากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาครูให้ก้าวทันเทคโนโลยีแล้วนำ�มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน

เอกสารอ้างอิง

นัทธนัย ประสานนาม. “เพศ ชาติพันธุ์ และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ในภาพยนตร์เรื่อง Touch of Pink.” [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95248.html ปรีชา เมธาวัสรภาคย์ (2544). รายงานการวิจยั เรือ่ งสถาบันศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิกกับภาระกิจ ทางการศึกษาในประเทศไทย. (อัดสำ�เนา) วาสนา จันทร์สว่าง (2541). ภาพลักษณ์ กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์. วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ และ ปรีชา เมธาวัสรภาคย์ (2544). บทบาทการจัดการศึกษาเอกชนในเครือคาทอลิก. (อัดสำ�เนา) สุพักตร์ พิบูลย์ (2553). อัตลักษณ์ของสถานศึกษา คืออะไร จำ�เป็นอย่างไร เข้าถึงได้จาก http://www.drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html สุเทพ ทองมังกร (2529). การศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียนและสภาพที่เป็นจริง ของโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Drucker, P. F. (1993). The Effective Executive. New York : Harper Collins. Lunenburg, F.C. & Ornstein A.C. (1996). Educational Administration : Concept and Practices. Belmont, California : Wadsworth Publishing Company. Stogdill, Ralph M. (1974). Handbook of Leadership : A Survey of Theory and Research. New York : The Free Press Yukl, G. A. (1989). Leadership in Organizations. Englewood Cliffs : Prentice – Hall.

195


196


197


198


199


200


201


คณะผู้จัดทำ�หนังสืออนุสรณ์ 75 ปี ดาราสมุทร เจ้าของ

โรงเรียนดาราสมุทร 11 สุขุมวิท อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. (038) 311-133, (038) 312-784 โทรสาร (038) 323-188

ประธานกรรมการบริหารสถานศึกษา บาทหลวงวัชรินทร์ สมานจิต

ผู้อ�ำ นวยการโรงเรียน

บาทหลวง ดร.ลือชัย จันทร์โป๊

คณะที่ปรึกษา

นายพินิจ นายสมเกียรติ นายนพรัตน์ นางสาวประภาพร

บรรณาธิการ นายอนุชา

ศิโรรัตนาวาทย์ วิลัยทอง ไชยายงค์ วิเศษเธียรกุล

นายชาตรี นางเตือน นางฟองนวล นางศิริวรรณ

สายพรหม ติระยะพานิชกุล วิจิตรบรรจง วิลัยทอง

นางสาวเพ็ญพรรณ นางศิริพร นางนัทธี นางสาวเบญจรัตน์ นางเนาวรัตน์ นายพินิจ

อภิรติวานนท์ ตรงต่อธรรม พงษ์ดนตรี เรือนงาม อินทุโศภน ตรงต่อธรรม

อังคะหิรัญ

ผู้ช่วยบรรณาธิการ นายชัชวาล

อินทุโศภน

กองบรรณาธิการ นายอภินันท์ นายล่ำ�สัน นายพงศ์ศรณ์ นายวรพงษ์ นางสาวนริสา นายนิตินัย

ภาพถ่าย

นายวรพงษ์ นายสุรพล

กุศลานันต์ ลัดลอย ถนอมวงศ์ ปุณณะวรกุล ดิลกวุฒิสิทธิ์ พึ่งยา ปุณณะวรกุล จิตตยานันท์

“ขอขอบพระคุณพระแม่มารีย์ องค์อุปถัมภ์โรงเรียนดาราสมุทร ที่ได้ประทานพร วัน และเวลา ให้ทีมงานจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์ 75 ปี ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ทุกประการ” 202




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.