Dpumag19

Page 1

DPU ปั้นนักธุรกิจ DPU Second Job 10 เหตุผล โชว์เจ๋งแค่ 1 ไม่พอ...ยุคนี้พี่ขอ 2 “เพราะธุรกิจคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ ในทุกอาชีพ” ที่คนเลือกจะมี Second Job February - April


คุยกันก่อน สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านที่มี Business DNA อยู่ในหัวใจ หลายท่าน อาจสงสัยว่า “เราไม่ได้ท�ำธุรกิจซักหน่อย” แต่ลองดูรอบๆ ตัวของท่าน สิครับ จะพบว่าธุรกิจต่างๆ อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านขายเสื้อผ้า ร้านค้าออนไลน์ โรงแรม รีสอร์ท หรือแม้แต่ธุรกิจการศึกษา ไม่แน่นะครับอ่าน DPU mag จบปุ๊ป อาจอยากท�ำธุรกิจปั๊ปเลยก็ได้ จากปณิธานท่านผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ที่ว่า “นักธุรกิจเป็นผู้สร้างชาติ” ท�ำให้พวกเรามั่นใจมาก ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นในการปลูกฝัง Business DNA ให้กับ นักศึกษาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง รวมไปถึงแนวคิด Second Job ที่ผลการ ส�ำรวจพบว่า Generation Y หรือวัยรุ่นยุคใหม่จะมีการท�ำอาชีพที่สอง ที่ประสบความส�ำเร็จไปพร้อมๆ กับอาชีพแรก ในเล่มนี้จะพาไปชม ตัวอย่างของนักศึกษาของเราหลายคนที่ประสบความส�ำเร็จกับการ ท�ำงาน หวังว่าอ่านแล้วจะได้ไอเดียในการท�ำธุรกิจนะครับ

ที่ปรึกษา บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ศิลปกรรม ที่อยู่

2

อาจารย์วีรพล สวรรค์พิทักษ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด

Contents

คุยกันก่อน Update สิ่งละอันพันละน้อย Progressive Life In Focus Progressive People Smart Tips Success Inter Zone Around Campus Opinion Education Life Graduate On The Way

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฑัณฑกานต์ ดวงรัตน์ อาจารย์วีรพล สวรรค์พิทักษ์ บุษบา แสนประเสริฐ ประภัสสร มณฑา, ธนัชพร เทพทวี, สงคราม ม่วงมะลิลัย, เกศริน จิตอ�่ำ, จารุวัลย์ ชัยวงค์ ธนัตถ์สรณ์ ชูงาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชืน่ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

www.dpu.ac.th E-mail:pr_dpu@dpu.ac.th Line : @dpu_progressive ( ใส่มี @ ข้างหน้าด้วยนะ) FB : dpu.ac.th Twitter : @dhurakijpundit Instagram : dpu_progressive

2 3 4 6 8 10 12 14 16 18 20 22 24 26


UPDATE

ท�ำไมต้อง

Second Job

เชือ่ ว่าหลายคนคงเห็นภาพยนตร์โฆษณา ชิน้ ใหม่ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กนั แล้ว ชอบใช่ไหมครับ เพราะเราตัง้ ใจท�ำจริงๆ ตัง้ ใจ คั ด เลื อ กตั ว แสดง (ซึ่ ง เป็ น นั ก ศึ ก ษา DPU ทั้งหมด) ตั้งใจถ่ายหนังออกมาให้สวย ตั้งใจตัดต่อ ตั้งใจลงเสียง ตั้งใจเขียนบท และ ที่ส�ำคัญหนังเรื่องนี้มาจากเรื่องจริงครับ เราพูดคุยกันหลายครัง้ กว่าจะได้คอนเซ็ปต์ หนั ง โฆษณาออกมาว่า มหาวิท ยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ของเราจะน�ำเสนอเรือ่ งอะไรทีเ่ ป็นตัวเรา “โจทย์ง่าย แต่คิดยาก” ทีมงานครีเอทีฟ โปรดิ ว เซอร์ รวมถึ ง ผู ้ บ ริ ห ารคิ ด กั น ด้ ว ย ค�ำถามข้อเดียวว่า “ท�ำอย่างไรก็ ได้ ให้หนัง โฆษณาออกมาแล้วเป็น DPU” จะเอาชือ่ อืน่ มา ใส่แทนคนก็ไม่เชื่อ นั่นหมายความว่าโฆษณา ชิน้ นีเ้ ป็น DNA ของมหาวิทยาลัยของเราจริงๆ คอนเซ็ ป ต์ ที่ ว ่ า ก็ คื อ “Second Job” นั่นเองครับ เราท�ำการวิจัยเล็กๆ จากการ สอบถามนักศึกษา และศิษย์เก่าจ�ำนวนหนึง่ ใน หลากหลายคณะ หลากหลายวงการ แล้วก็ เจอสิง่ หนึง่ ซึง่ น่าสนใจมากๆ คือ วัยรุน่ GenY ปัจจุบันนี้ ไม่ ได้ท�ำงานเพียงอย่างเดียว แต่มี งานที่สองที่เรียกว่า Second Job ท�ำควบคู่ ไปด้วย แนวคิดนี้ไม่ได้หมายถึงการท�ำอาชีพ เสริมเล็กๆ น้อยๆ แต่หมายถึง การท�ำงานที่ สองอย่างจริงจังควบคู่ไปกับงานหลัก และที่ ส�ำคัญต้องประสบความส�ำเร็จอย่างดีเยี่ยม ทั้งคู่ เรียกว่างานหลักก็ดัง งานที่สองก็ปัง นั่นเอง ถ้าเราดูจากคุณลักษณะหนึ่งของคนรุ่น ใหม่หรือ Generation Y คือ การมีหัวใจการ เป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Spirit) กล่าวคือมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะมีธุรกิจเป็น ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบมีหน้าร้านจริงๆ หรืออยู่บนโลกออนไลน์ตาม Facebook, Website หรือ Instagram ก็ตาม ยิ่งถ้าได้ ดูจากผลส�ำรวจคน Gen Y กว่า 40% ทีก่ ำ� ลัง มองหาอาชีพที่สองที่จะท�ำควบคู่ ไปกับงาน

หลั ก ยิ่ ง พบว่ า การเป็ น ผู ้ ประกอบการนี่ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ ง เล่นๆ (https://www.bot. or.th/Thai/phrasiam/ Documents/Phrasiam_3_2556/no.15.pdf) ห า ก พิ จ า ร ณ า จ า ก ตัวอย่างในต่างประเทศจะพบ ว่าคนอเมริกนั กว่า 7 ล้านคนมี Second Job (ข้ อ มู ล จาก ส� ำ นั ก ง า น ส ถิ ติ แ ร ง ง า น ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า) สาเหตุ ที่ มี ห ลาย ประการ ทั้ ง ความต้ อ งการรายได้ เ สริ ม ความชอบส่วนบุคคล การสืบทอดธุรกิจของ ครอบครัว และอีกมากมาย แต่สงิ่ ทีส่ นับสนุน ทีส่ ำ� คัญทีท่ ำ� ให้คน Gen Y ในยุคนีท้ ำ� ธุรกิจได้ ง่ายขึ้นคือ การเติบโตของโลกออนไลน์ ไม่ว่า จะเป็นสือ่ สังคมออนไลน์ (Social Network) หรือการเติบโตขึ้นอีกครั้งของการค้าขาย แบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เอง ก็ตาม จากการคาดการณ์ของส�ำนักงาน พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การ มหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA พบว่า ในปี 2558 มูลค่า E-Commerce ในประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 2,107,692.88 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.69 ของมูลค่าขายสินค้า และบริการทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจาก ปี 2557 ร้อยละ 3.65 จึงสรุปได้ว่า E-Commerce ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ 4G ช่วย สนับสนุน (ในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็มี SuperWifi ที่เร็วที่สุดติดตั้งทั้ง 100% นะครับ) แล้วจะท�ำอะไรดี นีเ่ ป็นค�ำถามสุดฮิตที่โดน ถามบ่อยที่สุด เพื่อให้ทุกท่านมั่นใจในงาน ที่สองมากขึ้น เอาสูตร TTT ไปลองคิดดูครับ Trends ดูตลาดหน่อยว่าเค้าก�ำลังฮิตอะไรกัน ดูอนาคตของธุรกิจหรืองานนัน้ ๆ ด้วย ถ้าใคร

ถามผมว่าธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพเป็นอย่างไร ตอบได้เลยครับ สดใสแน่นอน เช่น ธุรกิจชะลอวัย ธุรกิจด้านการแพทย์ Talents คือพรสวรรค์ ของเรา ทุกคนมีพรสวรรค์นะครับ อาจจะแตก ต่างกันออกไป แต่มีแน่ บางคนท�ำอาหารเก่ง บางคนแต่งตัวเก่ง บางคนปลูกต้นไม้เก่ง บางคนชอปปิงเก่ง นี่เป็นพรสวรรค์ทั้งนั้น การเริ่มธุรกิจด้วยสิ่งนี้ ท�ำให้เราท�ำธุรกิจได้ ง่ายครับ โดยเฉพาะงานที่สองควรเป็นงานที่ อาศั ย พรสวรรค์ เ ป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น Time Management การบริหารเวลาเป็นเรื่อง ส�ำคัญมากส�ำหรับผู้ที่ต้องการจะมีงานที่สอง หรื อ แม้ แ ต่ ก ารเลื อ กที่ จ ะท� ำ งานที่ ส องใน บางเวลา เช่น Jackson ครูสอนสโนว์บอร์ด ของผมที่ Niseko ประเทศญีป่ ุ่น เค้ามาญีป่ ุ่น แค่ 2-3 เดือนทุกปี เพือ่ มาสอนสกี และสโนว์บอร์ด เป็นอาชีพทีส่ องของเขา นัดกับเขาอีกทีปหี น้า เลยครับ อย่างที่ได้กล่าวไปครับว่า Second Job ต้องประสบความส�ำเร็จพร้อมๆ ไปกับ งานหลักครับ เห็นไหมครับว่ามีทางเลือกมากมายที่จะ หาอาชีพที่สอง (Second Job) แต่ถ้ามีแล้ว รับรองว่า สนุก มีรายได้เพิ่ม และเท่ห์แน่นอน แต่ตอ้ งอย่าลืมน�ำกลยุทธ์ทางธุรกิจไปปรับใช้ ด้วยนะ เพราะธุรกิจเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ในทุก อาชีพครับ

3


สิ่งละอันพันละน้อย

เพือ่ ยิม้

อาหาร

รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4


เมือ่ คืนผมกินข้าวกับแชมป์หมากรุกโลก บังเอิญผ้าปูโต๊ะเป็นตาหมากรุกใช้เวลาเป็น ชั่วโมงกว่าที่ไอ้เสือจะส่งเกลือให้ผมได้

อเมริกากับรัสเซียขัดแย้งกันรุนแรงเหมือนอดีตอีกครั้ง ทั้งสองฝ่ายไม่ ต้องการรบกันจึงคิดหาทางตัดสินข้อขัดแย้งโดยตกลงให้เวลา 5 ปี ไปเพาะพันธุ์ สุนขั ทีก่ ดั เก่งทีส่ ดุ เพือ่ เอามาเป็นตัวแทนสูก้ นั รัสเซียหาตัวดุทสี่ ดุ ของพันธุ์ Doberman มาผสมกับ Rottweiler ปนกับพันธุ์หมาป่าไซบีเรีย ได้ลกู ออกมาตัวใหญ่มาก ทั้ง ดุและกัดเก่งเหลือหลายจนต้องขังกรงเหล็ก ส่วนอเมริกานัน้ ได้สนุ ขั พันธุ์ Dachshund หรือหมาพันธุ์ ไส้กรอกตัวยาว 9 ฟุตมาสู้ ทันทีที่เปิดกรงก็วิ่งเข้าใส่กันเลย ไอ้เจ้า Dachshund พยายามวิ่งล้อมตัว ไอ้ตัวของรัสเซียก็ขู่และเห่าอย่างน่ากลัว เดี๋ยว เดียวเท่านั้นเองก็โดนเจ้าไส้กรอกกัดทีเดียวกลืนไปทั้งตัวเลย ฝ่ายรัสเซียส่ายหน้า บอกว่าไอทุม่ เทเพาะพันธุ์ จนได้หมาดุสดุ ๆ ยังสู้ไม่ได้ ยูท�ำยังไงถึงได้หมาพันธุด์ แุ ละ เก่งอย่างนี้ ฝ่ายอเมริกาก็ตอบว่าตลอด 5 ปีทผี่ า่ นมาเราใช้หมอผ่าตัดแต่งโฉมเพือ่ เปลี่ยนจระเข้ให้หน้าตาเหมือนหมา Dachshund ทนายความหัวใสสูค้ ดีให้ลกู ความขโมยของโดย อ้างว่าเมื่อแขนล้วงหน้าต่างเข้าไปขโมยของจะไป ลงโทษเจ้าของแขนได้อย่างไร ต้องลงโทษแขนจึงจะ ถูกต้อง ผู้พิพากษาจึงแก้เผ็ดโดยบอกว่าถ้าอย่าง นัน้ ตัดสินให้แขนติดคุก 6 เดือน เจ้าของแขน จะตาม ไปด้วยหรือไม่ก็ ได้ พอพูดจบจ�ำเลย ก็ถอดแขน ปลอมออกวางบนโต๊ ะ แล้ ว เดิ น ออกจากห้ อ ง พิจารณาไป ชายหนุ่มเดินไปพบขวดวิเศษบนชายหาด พอเปิดขวด genie ก็ออกมาทันทีบอกว่า จะขออะไรก็ได้หนึ่งอย่าง ชายหนุ่มก็บอกว่าอยากไปฮาไวแต่กลัวเครื่องบิน ขอให้สร้าง สะพานไปได้ไหม genie บอกโอโห ได้นะได้ แต่มนั สิน้ เปลืองมากนะ ไหนจะเหล็กจะซีเมนต์ตอ้ ง ปวดหัวมากเลย ขออย่างอื่นเถอะ ชายหนุ่มก็บอกว่าผมหย่ามา 3 หนแล้วไม่เคยเข้าใจผู้ หญิงเลย ถ้าอย่างนัน้ ช่วยเสกให้เป็นคนเข้าใจผูห้ ญิง รูว้ า่ เธอคิดและชอบอะไร รู้ใจเธอเวลา ร้องไห้ รู้ว่าจะท�ำยังไงให้เธอมีความสุข genie ขัดขึ้นและถามว่าสะพานไปฮาไวเมื่อกี้น่ะจะ เอาสองหรือสี่เลน 5


Progressive Life

ศูนย์รบั สมัครนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

แถ่น แทน แท๊น... Progressive Life ฉบับนี้ขอเอาใจน้องๆ ที่วางแผนจะมาเป็น น้องใหม่ DPU ค่ะ โดยจะพาไปทัวร์ ศูนย์รับ สมัครนักศึกษาใหม่กันค่ะ มาดูกันว่าที่นี่ ให้ บริการอะไรบ้าง หรือมีขั้นตอนการสมัคร อย่างไร ว่าแล้วเราไปดูกันเลย........

ขั้นตอนที่ 1 กรอกใบสมัคร + ตรวจเอกสาร 6

ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ (รู้ผลทันที)

ขั้นตอนที่ 3 ถ่ายรูป ท�ำบัตรนักศึกษา

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 กรณีกู้กองทุน (กยศ./กรอ.) ช�ำระเงิน พร้อมรับบัตรนักศึกษา สามารถยื่นเอกสารได้เลย


ศูนย์รบั สมัครนักศึกษาใหม่มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ของเราปักหมุดอยู่ที่ อาคาร ส�ำนักอธิการบดี ชั้น 2 ค่ะ เมื่อเข้ามาภายใน ศูนย์ฯ น้องๆ จะได้พบกับซึง่ ศูนย์บริการครบ วงจร (one Stop Service) ที่ น ้ อ งๆ จะสามารถจัดการทุกอย่างได้ภายในจุดเดียว สะดวกสบายมากๆ ค่ะ ซึง่ ก็จะมีพๆี่ นักศึกษา และเหล่าคณาจารย์มาคอยต้อนรับ มาอ�ำนวย ความสะดวกในทุกขั้นตอนการสมัคร และให้ ค�ำปรึกษาทัง้ ในเรือ่ งการเลือกคณะ สาขาทีเ่ รียน

ตลอดจนการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยกับ น้องอย่างอบอุน่ ทุกๆ วัน ส�ำหรับขัน้ ตอนการ สมัครเป็น นักศึกษาใหม่น้ันง่ายนิดเดียวค่ะ เพียง 5 ขัน้ ตอนเท่านั้น น้องๆ สามารถเป็น เฟรชชี่ DPU กันได้แล้ว เย้ๆๆ ส�ำหรับน้องๆคนไหนที่สนใจ อยากที่เข้า มาสมั ค รเรี ย นเป็ น เฟรชชี่ DPU’60 ห้ามพลาดเด็ดขาดสามารถติดตามข่าวสาร ได้ที่ Social Media ของมหาวิทยาลัยทุก ช่องทาง

www.dpu.ac.th E-mail:pr_dpu@dpu.ac.th Line : @dpu_progressive ( ใส่มี @ ข้างหน้าด้วยนะ) FB : dpu.ac.th Twitter : @dhurakijpundit Instagram : dpu_progressive

7


In Focus

DPU ปั้นนักธุรกิจตัวจริง โชว์เจ๋งแค่ 1 ไม่พอ...ยุคนี้พี่ขอ 2 !!! สวัสดีค๊า..DPU MAG เจ้าเก่าเจ้าเดิมมา แล้วค๊า..สมัยนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ใครๆ ก็สนใจท�ำธุรกิจกันมากขึ้น นั่นก็ขายครีม สร้างแบรนด์ ใหม่ โน่นก็พรีออเดอร์เสื้อผ้า บางคนก็เข้าครัวท�ำเบเกอรีส่ ง่ ร้านขนม ฯลฯ แค่ 1 ธุรกิจ 1 อาชีพ ก็ว่าเหนื่อยหนักแล้วใช่ มัย๊ ค่ะ.. ยังค่ะ!! ยังไม่พอ.. บางคนบอกแค่ 1 ไม่พอ ยุคนี้พี่ขอ 2 !! In Focus ฉบับนี้ได้ Inspiration จาก เรื่องจริง ตัวจริง เสียงจริง ไม่ใช่สแตนด์อิน ของศิษย์เก่าและศิษย์ปจั จุบนั ของ DPU ทีท่ ำ� อาชีพ 2 อาชีพควบคู่กันแบบมืออาชีพ

“เฟรม” ณัฐพล เครือกนก

ศิษย์เก่าคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล เจ้าของไอเดีย “ติ่งเกาหลี” สุดฮิต และ ฟรีแลนซ์งานภาพยนตร์/โฆษณา “เฟรม” เจ้าของ “ติง่ เกาหลี” ร้านอาหาร สุดฮิตไอเดียสร้างสรรค์ เล่าว่า หลังจากเรียน จบด้ า นภาพยนตร์ ก็ รั บ งานฟรี แ ลนซ์ ง าน ภาพยนตร์ โฆษณา MV เพราะเป็นสิ่งที่เรียน 8

มาและคิดว่าสามารถท�ำได้ดี แต่ด้วยความ ที่ชื่นชอบภาพยนตร์ซีรีย์เกาหลี และอยาก จะสร้างร้านอาหารเกาหลีแบบสไตล์โพจังมาจา (Pojangmacha) จึงใส่เกียร์เดินหน้าสร้าง ร้าน “ติ่งเกาหลี” ตามที่ใฝ่ฝัน “เมื่ อ ก่ อ นผมมี ค วามเชื่ อ แบบผิ ด ๆ มาตลอดว่า คนจะรวยต้องรวยมาก่อนถึง จะท�ำธุรกิจได้ แต่มันไม่ ใช่การเริ่มท�ำธุรกิจ สิง่ แรกทีต่ อ้ งมีคอื ไอเดียทีด่ แี ละไม่เหมือนคนอืน่ ส�ำหรับผมชอบแสวงหาความแตกต่างและท�ำ อย่างมีจุดยืน การท�ำธุรกิจร้านติ่งเกาหลี ก็เช่นกัน เมื่อมีไอเดียก็ต้องเริ่มลงมือท�ำเลย หากลงมือท�ำก่อนเราก็จะประสบความส�ำเร็จก่อน เมื่อก่อนผมไม่เคยเห็นความส�ำคัญของ วิ ช าที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การท� ำ ธุ ร กิ จ เพราะ ผมเรียนนิเทศศาสตร์ แต่เมื่อได้ท�ำธุรกิจจริง ผมเข้าใจเลยว่าความรู้เหล่านั้นมันส�ำคัญกับ ผมมากแค่ ไหน ตอนผมเรียนวิชาด้านธุรกิจ จะไม่ค่อยตั้งใจเพราะคิดว่าไม่ส�ำคัญ แต่ทุกๆ ความรูท้ ผี่ า่ นเข้าหูผมหรือบังเอิญได้ยนิ ทุกค�ำ สอนของอาจารย์ มันอาจเป็นเพียงเศษเสี้ยว ของความรู้ และสิง่ เหล่านัน้ ผมสามารถน�ำมัน มาปรับใช้ในการท�ำธุรกิจของผมได้จริง” ปั จ จุ บั น “ติ่ ง เกาหลี ” มี 8 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ ในอนาคตจะขยายสาขาไปตาม หัวเมืองต่างจังหวัดจนครบ 20 สาขา และจะ ปั้นแบรนด์ ใหม่สไตล์ Korean Street Food สู่ห้างสรรพสินค้าชั้นน�ำ

“โป้” ศิระ ชัยทรัพย์

ศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด ผู้บริหาร “ภูเขางาม รีสอร์ท” และเจ้าของร้านกาแฟสุดชิค “ภู เ ขางาม รี ส อร์ ท ” ตั้ ง อยู ่ ที่ จั ง หวั ด นครนายก ซึ่ ง เป็ น ธุ ร กิ จ ของครอบครั ว จึงตั้งใจเข้าเรียนด้านบริหารธุรกิจโดยตรง เมื่อเรียนจบก็เข้ามาบริหารงานธุรกิจรีสอร์ท แบบเต็มตัว และเปิดร้านกาแฟ THE MEMORIZED เอาใจนักท่องเที่ยวคอกาแฟควบคู่กันไป “ผมเลือกไม่ผิดที่เรียนบริหารการตลาด เพราะผมได้นำ� ความรูท้ ไี่ ด้มาวิเคราะห์กลุม่ เป้าหมาย ของรีสอร์ทและร้านกาแฟของผมได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่มหลัก คือ กลุ่มตลาด สัมมนาของหน่วยงาน และ กลุม่ นักท่องเทีย่ ว ซึ่งถ้าเราตีโจทย์ออกว่ากลุ่มลูกค้าเราคือใคร การด�ำเนินงานธุรกิจของเราก็จะชัดเจนมากขึน้ ก่ อ นเรี ย นบริ ห ารผมช่ ว ยครอบครั ว บริหารงานรีสอร์ทแบบไม่มคี วามรูด้ า้ นธุรกิจเลย แต่เมือ่ ผมเรียบจบผมมีความรูด้ า้ นการด�ำเนิน งานธุ ร กิ จ มี มุ ม มองของนั ก การตลาด สามารถวิเคราะห์ปจั จัยทีจ่ ะท�ำให้ธรุ กิจของผม ประสบความส�ำเร็จและยัง่ ยืนได้ ความรูท้ กุ อย่าง ทีส่ มัยก่อนท่องจ�ำก่อนท�ำข้อสอบมันฝังอยู่ใน หัว และเราเองก็ดึงความรู้มันออกมาใช้ โดย ไม่รู้ตัว”


เพื่ อ เดิ น ทางไปสนามบิ น ท� ำ ให้ เ สี ย เวลา ซึง่ ปัญหานี้ คือโอกาสของธุรกิจ จนกลายเป็น ธุ ร กิ จ ขนส่ ง สั ม ภาระของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว AIRPORTELs “ส�ำหรับผมการท�ำธุรกิจเป็นเรือ่ งท้าทาย และน่าเรียนรู้ การทีเ่ ราได้เรียนรูก้ อ่ น ได้ทำ� ก่อน เป็นเรือ่ งที่ได้เปรียบครับ ถ้าเรามีความชอบใน เรื่ อ งไหน แล้ ว ปรั บ มาท� ำ ธุ ร กิ จ ต่ อ ยอดได้ ชีวิตการท�ำงานมีความสุขแน่ครับ”

“เด่น” เด่นพิพัฒน์ ใจตรง

นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าของและผูบ้ ริหาร 2 ธุรกิจ ผู้ได้แรงบันดาล ใจจากการเรียนที่ DPU ธุรกิจแรกของผมคือ บริษัทรับวางระบบ เครือข่ายเน็ตเวิร์กและให้บริการอินเตอร์เน็ต ไร้สายภายในอาคาร เป็นบริษัทที่เริ่มก่อตั้ง ด้วยตนเอง โดยได้รับเงินทุนส่วนหนึ่งจาก มหาวิ ท ยาลั ย และอี ก ส่ ว นหนึ่ ง จากการ กู้ธนาคาร ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคอนโด อพาร์ทเม้นท์ หอพักทีต่ อ้ งการวางระบบเครือข่าย เน็ตเวิร์กและอินเตอร์เน็ตไร้สาย การบริการ ของผมต้ อ งการให้ ทุ ก คนสามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ที่ ดี ไ ด้ โดยใช้ ร ะบบอิ น เตอร์ เ น็ ต ที่ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ ไม่ ใ ช่ มี แ ต่ ใ ช้ ง านไม่ ไ ด้ ห รื อ เชื่อมต่อไม่เสถียร” ส่วนธุรกิจที่ 2 ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท AIRPORTELs ซึ่งเป็นบริการจัดส่งสัมภาระ ระหว่างสนามบินและโรงแรมมายังสนามบิน โดยจับธุรกิจภาคการท่องเที่ยว เน้นกลุ่ม นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวต่ า งชาติ ใ ห้ ไ ด้ รั บ ความ สะดวกสบายและประทับใจมากที่สุด ไอเดียธุรกิจนีเ้ กิดจากรุน่ พี่ เดินผ่านหน้า โรงแรมเห็นสัมภาระของนักท่องเทีย่ ววางเต็ม หน้าล็อบบี้ โรงแรม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะฝาก กระเป๋าไว้กับทางโรงแรม แล้วค่อยกลับมารับ

อย่างจริงจัง โดยการหากลยุทธ์ใน การเจาะหา ลูกค้าทีเ่ คยมองข้ามไป หากลุม่ ผูข้ ายตามร้าน อาหารเอง สนุกค่ะ ได้เรียนรู้ เห็นโอกาสและ ปัญหาจริงๆ การเรียนนิเทศศาสตร์วชิ าทีเ่ ราอยากเรียน เพื่ อ น� ำ ไปพั ฒ นางานแสดง แต่ โ ชคดี ที่ มหาวิ ท ยาลั ย สอนความรู ้ ด ้ า นธุ ร กิ จ ให้ กั บ นักศึกษาทุกคน เราจึงน�ำไปปรับใช้ได้อย่างทันโลก สามารถเห็นโอกาสในอนาคตได้จริงๆ” นี่เป็นเพียงตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ ที่มี ความกระตือรือร้น และมองหาโอกาสใหม่ๆ เสมอ DPU พร้อมทีจ่ ะสร้างจุดแข็งทางธุรกิจ ให้กบั นักศึกษาทุกคณะ ให้มองเห็นโอกาสของ การท�ำธุรกิจยุคใหม่ เพราะเราเชื่อเหลือเกิน ค่ะว่าธุรกิจคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ ในทุกอาชีพ ว่า แต่..รับน�้ำผลไม้สกัดเย็นเพื่อสุขภาพไปชิมให้ ชื่นใจระหว่างอ่าน DPU MAG สักขวดมั๊ยค่ะ ^^ พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค๊า...

“เกว” เกวลี เณรจิ๋ว

นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ นักแสดงช่อง 7 และนักการตลาดไส้กรอก ChefO สาวน้อยคนเก่งทีเ่ รียนและท�ำงานควบคูก่ นั หนึ่งบทบาทคือนักแสดง และอีกหนึ่งอาชีพ คือการท�ำการตลาดให้กบั ธุรกิจไส้กรอกภาย ใต้แบรนด์ ChefO “ธุ ร กิ จ ไส้ ก รอกเป็ น ธุ ร กิ จ ของที่ บ ้ า น ซึง่ ท�ำมานานแล้ว ตอนแรกไม่ได้คดิ ว่าจะเข้ามา ช่วยธุรกิจอย่างเต็มตัว เพราะยังสนุกกับการเรียน และงานในวงการบั น เทิ ง แต่ พ อได้ เ รี ย น วิชาการท�ำธุรกิจ และการตลาด ท�ำให้เราเห็น ช่องทางของธุรกิจ จึงได้มาช่วยงานที่บ้าน

9


Progressive People

“สหรัฐ มานิตยกุล”

คว้าความฝัน..สู่ความส�ำเร็จ..กับเส้นทาง 7 สถานี!! ..พอดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกิน.. ไม่ต้องมาเขิน ฉันพูดจริงๆ ......

อุ ๊ ย !! สวั ส ดี ค ่ ะ ท่ า นผู ้ อ ่ า นทุ ก ท่ า น Progressive People ฉบับนี้ขออารมณ์ ดีดี๊ดีเป็นพิเศษ เพราะเรามีนัดสัมภาษณ์กับ “โปรเชน” สหรัฐ มานิตยกุล หนุ่มมาดเท่ห์ ศิษย์เก่าคณะนิเทศศาสตร์ DPU ดีกรีนกั กีฬา กอล์ฟ แชมป์ตีไกลประเทศไทย 3 สมัยซ้อน และ CEO & Manager Director บริษัท Reno Produce นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์ พิเศษด้านวิทยาและปรัชญา ที่ปรึกษาด้าน การผลิตสือ่ พิธกี รรายการกอล์ฟ คอลัมนิสต์ ฯลฯ บอกเลยผู้ชายคนนี้ไม่ธรรมดา!!

10


เมื่อต้นปีที่ผ่านมาผู้ชายคนนี้ ได้มากล่าว สุนทรพจน์ ในพิธีประสาทปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทุกคนที่ ได้ฟัง ต่ า งเห็ น พ้ อ งตรงกั น ว่ า เป็ น ค� ำ กล่ า ว สุนทรพจน์ทส่ี ร้างแรงบันดาลในอนาคตได้เป็น อย่างดี วันนี้จะขอหยิบยกค�ำกล่าวและข้อคิด ดีๆ ของ “โปรเชน” มากระตุ้นต่อมความ ก้าวหน้าสู่เส้นทางความส�ำเร็จของทุกคนค่ะ โปรเชน เล่ า ว่ า “เมื่ อ 13 ปี ที่ แ ล้ ว วั น ปฐมนิ เ ทศของมหาวิ ท ยาลั ย ผมเป็ น นักศึกษาใหม่ของ DPU ผมเข้าเรียนในคณะ นิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและ โทรทัศน์ ตอนนั้นผมถามตัวเองว่าสิ่งที่ผม เรียนคือสิง่ ทีผ่ มต้องการจริงๆ หรือไม่ เพราะ ตอนนัน้ ผมรักกีฬากอล์ฟ และคิดว่าจะหาราย ได้จากการเล่นกีฬากอล์ฟเพื่อเลี้ยงชีพ ผม ตัดสินใจท�ำทั้งสองอย่างรวมกัน สิ่งที่เกิดขึ้น ในวันนั้นวันที่ผมรับปริญญาคือ DPU ท�ำให้ ผมค้ น พบอี ก สิ่ ง ที่ ผ มรั ก คื อ การเป็ น นักนิเทศศาสตร์ และนัน่ คือจุดเริม่ ต้นของการ ท�ำงานและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผม ก่ อ นที่ จ ะมายื น ในจุ ด นี้ ไ ด้ ต ้ อ งพิ สู จ น์ ตั ว เองอยู ่ ต ลอดเวลาและพบเจออุ ป สรรค มากมาย แต่เพราะผมมีความฝันจึงท�ำให้ตอ้ ง เดินตามหามันให้ส�ำเร็จ ผมเชื่อว่าทุกคนมี ความฝันและหวังว่าจะไปยืนตรงปลายฝันให้ได้ การตามหาฝันของผมเหมือนกับการขึน้ รถไฟ

เพราะการเดินทางเราต้องพบกับสถานีตา่ งๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง” เริ่มจากสถานีแรก คือ สถานีแห่งการค้นพบตัวตน หลายคน มักนัง่ ถามตัวเองเช้า-เย็น อยูเ่ สมอว่าเราชอบ อะไร หรือเราถนัดที่จะท�ำอะไร ซึ่งถ้าคุณคิด แบบนีค้ ณ ุ จะไม่พบอะไรเลย การค้นพบตัวตน ของผม คือ การค่อยๆ สร้างตัวตน ลองท�ำ สิ่งต่างๆ เพื่อท�ำให้เราค้นพบสิ่งที่ชอบ ใครที่ พบแล้วจงท�ำมันให้เต็มที่ ส่วนใครที่ยังหาไม่ เจอจงออกไปลองท� ำ สิ่ ง ใหม่ ๆ ให้ ม าก แล้วหัวใจจะตอบคุณเองว่านี้คือตัวตนของ คุณหรือไม่ สถานีที่สอง สถานีแห่งความรัก เราต้องรักในสิ่งที่ท�ำ และมีความสุขกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า การท�ำใน สิ่งที่รักจะน�ำพาเราไปถึงความฝัน เพราะถ้า เรารักมันจริงๆ เราจะท�ำทุกอย่างเพื่อมัน สถานีที่สาม สถานีแห่งการเรียนรู้ ความไม่เก่งท�ำให้ ต้ อ งยิ่ ง เรี ย นรู ้ ดั ง นั้ น จงท� ำ ตั ว เป็ น น�้ ำ ที่ ไ ม่ เต็มแก้วตลอดเวลา เพราะมันสามารถเติม ความรู้อะไรลงไปเท่าไรก็ได้ ส่วนสถานีที่สี่ คือ สถานีแห่งความเชื่อ ก่อนที่จะพบ ปลายทางแห่งความฝัน เราต้องสร้างสิ่งที่ เรียกว่าความเชื่อ เพราะความเชื่อจะเปลี่ยน

ตัวเราให้เป็นสิ่งนั้นๆ เมื่อมีความเชื่อมั่นแล้ว คุณจะเปิดโอกาสให้กับตัวเอง และที่ส�ำคัญ ความเชื่อมั่นท�ำให้มนุษย์ ไม่หยุดที่จะฝัน สถานีที่ห้า คื อ สถานี แ ห่ ง ปั จ จุ บั น คนส่ ว นมาก เลิกล้มความฝันเพราะเอาตัวเองไปยึดติดกับ ความฝันมากเกินไป เมือ่ ใดทีล่ ม้ เรามัก จะคิดว่า ความฝันนั้นไกลจากความเป็นจริงออกไป เรื่อยๆ แต่เวลาจะเป็นตัวบอกให้เราเลิกท�ำใน สิ่งนั้น แต่สิ่งที่สวยงามที่สุดคือการอยู่กับ ปัจจุบัน เพื่อตามหาความฝันและท�ำมันให้ ส�ำเร็จ และจงเห็นความหมายในสิง่ ทีต่ วั เองท�ำ สถานีที่หก สถานีแห่งค�ำครหา ในช่วงเวลาที่ตาม หาความฝัน เราอาจจะเจอค�ำครหาของบางคน ที่บอกว่าเราท�ำไม่ได้ แต่ค�ำครหาเหล่านั้นมัน เหมือนเชือ้ เพลิงของพลังทีจ่ ะพิสจู น์ตวั เองว่า เราท�ำได้ สถานีสุดท้าย คือ สถานีประตูของความส�ำเร็จ ความ ส�ำเร็จของคนเราทุกคน มันไม่ได้ขนึ้ เกิดเพราะ ไสยศาสตร์ ไม่ได้เกิดจากการขอพรหรือการ บนบานศาลกล่าว แต่ความส�ำเร็จมันคือทาง เลือก ถ้าอยากจะประสบความส�ำเร็จจงเลือก ที่จะสร้างวินัยให้กับตนเองจนเป็นนิสัย และ ลองถามตัวเองอยูเ่ สมอๆ ว่าสิง่ ทีท่ ำ� อยูท่ กุ วัน นี้ มันดีพอที่จะพาคุณไปถึงความฝันหรือยัง หากค�ำตอบคือยังลองตั้งใจใหม่และลงมือท�ำ มันให้ดีและเต็มที่ เชื่อว่าความส�ำเร็จจะอยู่ ไม่ ไกลเกินเอื้อม เป็นยังไงคะ..เส้นทางของความฝันกับ 7 สถานีสคู่ วามส�ำเร็จของผูช้ ายคนนี้ หากอยาก จะประสบความส�ำเร็จในชีวติ อย่ากลัวทีจ่ ะเริม่ ต้น และอย่ า ท้ อ เวลาล้ ม เหลวนะคะ ว่ า แล้ ว ก็ สะบัดบ๊อบแล้วใส่เกียร์เดินหน้าท�ำทุกอย่างให้ เต็มที่และมีความสุขคะ DPU MAG ขอเป็น ก�ำลังใจให้กับทุกคนค่ะ ^^

11


SMART TIPS

10 เหตุผล

ที่คนเลือกจะมี Second Job ดร. เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย

การมีอาชีพที่สองหรือที่เรียกว่า Second Job กลายเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุม่ คนทีม่ อี ยู่ไม่เกิน 35 ปี เพราะส�ำหรับคนทีม่ ดี เี อ็นเอทางธุรกิจอยู่ในตัว การท�ำงานประจ�ำอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์ของการใช้ชีวิตได้ดีพอ อาจจะมีคนคิดว่าสาเหตุหลักของการมี Second Job คือต้องการรายได้ ในความเป็นจริง แล้ ว ส� ำ หรั บ คนยุ ค ใหม่ เหตุ ผ ลไม่ ไ ด้ ม ี แค่เรือ่ งเงิน การมี Second Job เป็นการตอบโจทย์ ความต้องการใช้ชีวิตที่หลากหลาย แม้แต่คน ที่รักงานประจ�ำ ไม่คิดจะย้ายไปไหนเลย ก็ยัง พยายามหาโน่นหานี่มาท�ำเพื่อให้ตนเองรู้สึก ว่ า ชี วิ ต มี คุ ณ ค่ า กลายเป็ น การเติ ม ไฟให้ สามารถท�ำงานประจ�ำได้ดีกว่าเดิม เพื่ อ ให้ เ ห็ น ภาพว่ า Second Job มีประโยชน์อย่างไร ลองมาดูผลส�ำรวจของ ผู้ที่เป็นพนักงานประจ�ำในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 23 ถึง 35 ปี จ�ำนวน 215 คน ว่าอะไรเป็นประโยชน์ส�ำคัญที่สุดที่จะได้ จากการมี Second Job ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ ว่าเหตุผลส�ำคัญทีส่ ดุ มีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน โดย 3 อันดับแรกมีดังนี้ 12

อันดับ 1 มีมมุ มองในการท�ำงานกว้างขึน้ (26.4%) ท�ำให้สามารถพัฒนาการท�ำงาน ประจ�ำได้ โดยเฉพาะในด้านการแก้ปญ ั หาทีย่ งั ไม่เคยเจอมาก่อน อันดับ 2 ท�ำให้รู้จักวางแผนและบริหาร เวลา (22.4%) การมีความรับผิดชอบเพิม่ ขึน้ จากการมี Second Job บังคับให้ต้องมีการ คิดและวางแผนล่วงหน้าว่าจะท�ำอย่างไรจึงจะ ไม่ให้กระทบกับงานประจ�ำ อันดับ 3 มีรายได้เสริม (15.4%) ช่วยให้ ชีวิตมีความมั่นคงมากขึ้น และรายได้เสริมนี้ ยังช่วยให้สามารถเลือกใช้ชวี ติ ได้ตามทีต่ นเอง ต้องการได้ด้วย ถ้ามาดูทงั้ 10 เหตุผลรวมกันจะเห็นว่า มี แค่ 15.4% ที่บอกว่ามี Second Job เพราะ เงิน ส่วนที่เหลืออีก 84.6% หรือประมาณ 6 ใ น 7 ค น เ ห็ น ว ่ า S e c o n d J o b


26.4%

มีมุมมองในการท�ำงานที่กว่างขึ้น ท�ำให้รู้จักวางแผนและบริหารเวลา

22.4% 15.4%

มีรายได้เสริม ได้มี โอกาสใช้ความสามารถที่ ไม่ ได้ ใช้ ในงานประจ�ำ

10.2%

สร้างเครือข่ายที่จะช่วยในการท�ำงานประจ�ำได้ดีขึ้น

8.5%

ได้ทดลองความเป็นไปได้ของธุรกิจที่สนใจ

5.1%

ลดความเครียดจากงานประจ�ำ

4.0%

ตอบสนองความชอบส่วนตัว เพิ่มโอกาสหากต้องการเปลี่ยนงานในอนาคต พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่องานในปัจจุบัน งานในอนาคต กิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด และเป็นอีก ช่องทางหนึง่ ในการเดินตามความฝัน โดยทีย่ งั ไม่ต้องเสี่ยงออกจากงานประจ�ำ ในเมือ่ Second Job มีประโยชน์มากมาย แบบนี้ หากเราจะท�ำบ้างก็ตอ้ งมีการเตรียมตัว กันให้ดี เริม่ จากศึกษาเรือ่ งทีเ่ ราสนใจให้ลกึ ซึง้ มากพอ ทั้งจากการอ่าน การออกไปพูดคุย หรืออาจจะไปช่วยงานคนอืน่ ก่อน เพือ่ ให้เข้าใจ ธรรมชาติของธุรกิจ แน่นอนว่าเราต้องสละ เวลาช่วงเย็นหรือวันหยุดเพือ่ ไปเรียนรู้ ถ้าเรา พร้อมจะลุย แสดงว่าเราชอบมันจริง แต่ถา้ เรา ยังอิดออดอยู่ ก็แสดงว่าเราอาจจะแค่อยาก แต่ไม่ได้ชอบมันมากพอจะเสียสละเวลาไปลุย กับมัน เมือ่ เรียนรู้ได้จนมัน่ ใจแล้วว่าพร้อมจะเดิน หน้าไปเอง ก็ควรจะเริ่มจากงานเล็กๆ ก่อน เพื่อให้เราได้มีเวลาปรับตัว ไม่ ให้กระทบกับ งานประจ�ำและวิถชี วี ติ ของเราจนเกินไป ไม่งนั้ แทนที่ Second Job จะคลายเครียด กลาย

3.5% 2.5% 2.0%

เป็นจะสร้างปัญหาให้เราหนักกว่างานประจ�ำ จะได้ไม่คุ้มเสียเอา ค�ำถามทิง้ ท้ายยอดฮิต คือ ถ้าเกิด Second Job มั น ปั ง ขึ้ น มาจะลาออกจากงาน ประจ�ำดีไหม? ค�ำตอบคือ ให้ดูทางเลือกอื่น ก่อนจะตัดสินใจลาออก เช่น เราจะหาคนมา ช่วยดูแ ลแทนแล้ ว ก็ ท� ำ ตั ว เป็ น CEO คอย บริหารได้ไหม ถ้าท�ำได้ก็ลองท�ำแบบนี้ไปก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่ารายได้ที่เข้ามามั่นคง เพียง พอ เป็นธุรกิจที่มอี นาคตจริง แล้วค่อยมาคิด อีกทีก็ยังไม่สาย อย่าลืมว่าส�ำหรับบางคน Second Job ไม่ได้เป็นแค่แหล่งรายได้ แต่มนั คือโอเอซิสทาง จิตใจของเขา เราถึงได้เห็นว่าท�ำไม Second Job เขาไปได้ดี แต่กเ็ ลือกจะไม่ลาออก นัน่ เป็น เพราะเขากลัวว่าถ้าท�ำให้มันกลายเป็นงาน ประจ�ำจะไม่รู้สึกสนุกเหมือนเดิมอีกต่อไป ขอให้สนุกกับ Second Job นะครับ

13


SUCCESS

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

ส่ง Thai deaf TV สร้างเจตคติที่ดี เพิ่มพื้นที่สื่อผู้พิการ “คนทีป่ ระสบความส�ำเร็จไม่ใช่แค่นกั ฝัน แต่เขามองเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่น” ประโยคนี้ น่ า จะเหมาะกั บ เรื่ อ งราวของอาจารย์ นั ก นิเทศศาสตร์คนหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ด้านสือ่ ให้กบั ผูพ ้ กิ ารอีกหลายๆ คน จากการ ท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมจนได้รับต�ำแหน่งทาง วิ ช าการเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ นั่ น คื อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวนารถ หงษ์ประยูร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ ผู ้ ผลั ก ดั น หลักสูตรด้านสือ่ สารมวลชนให้กบั คนพิการ เจ้าของแนวคิดและผู้สร้าง “ทีวีจอเงียบ” หรือ Thai deaf TV ด้วยการผลิตรายการ โทรทัศน์เพื่อคนหูหนวกแห่งแรกและแห่ง เดียวในประเทศไทย ผศ.ศิวนารถ หงษ์ประยูร ได้เล่าถึงจุด เริ่มต้นในการท�ำรายการโทรทัศน์ ภาษามือ เพื่อคนหูหนวกว่า เมื่อปี 2553 ได้มีโอกาส เรียนภาษามือจากมูลนิธสิ ง่ เสริมและพัฒนา คนหูหนวกไทย จึงได้รู้ถึงปัญหาของคนหู หนวก คือ คนทั่วไปมักเข้าใจว่าคนหูหนวก 14

สามารถอ่ า นหนั ง สื อ ได้ เ หมื อ นคนปกติ ดังนั้นจึงท�ำให้คนหูหนวกรับข้อมูลข่าวสาร และความบันเทิง ผ่านตัวอักษร จากสื่อสิ่ง พิมพ์บา้ ง อินเทอร์เน็ตบ้าง หรือแม้กระทัง่ สือ่ โทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์ ท�ำให้เกิดความ เข้าใจคลาดเคลื่อนบ่อยครั้ง ความจริ ง แล้ ว กลุ ่ ม คนหู ห นวกนั้ น ไม่ สามารถอ่านข้อความที่เราเห็นได้เหมือนคน ปกติ เพราะตลอดชีวิตของพวกเขามีแค่ ภาษามือ การอ่านภาษาของคนหูหนวกจะมี ค�ำและรูปประโยค แตกต่างออกไปจากภาษา หลัก ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดความคิดในการ สร้างรายการเพื่อคนหูหนวกขึ้น เพื่อแก้ ปัญหาการเข้าถึงโทรทัศน์ของกลุ่มคนเหล่า นี้ และน� ำ ไปสู ่ ก ารขยายโอกาส สามารถ พัฒนาตนเอง สร้างอาชีพ สร้างงาน เพิ่ม รายได้ให้กับผู้พิการ ด้ า นผลิ ต รายการนั้ น ผศ.ศิ ว นารถ กล่ า วว่ า “เราเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการท� ำ ที วี อินเทอร์เน็ตแบบง่ายๆ โดยมี พิธีกรคนหู หนวก จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย


ราชภัฎสวนดุสิต และมูลนิธิพัฒนาและส่ง เสริมคนหูหนวกไทย และนักศึกษาที่มีจิต อาสา เข้าร่วมเป็นทีมงานการผลิต จากนัน้ ได้ พัฒนามาเรื่อยๆ จนเกิดผลตอบรับที่ดีและ ขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น มหาวิทยาลัย เป็ น ส่ ว นส� ำ คั ญ ที่ ส นั บ สนุ น การผลิ ต เป็ น อย่างดีเสมอมา ท�ำให้ในภายหลังได้รบั รางวัล ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นประจ�ำปี 2556 จากสภาวิจัยแห่งชาติ และอีกรางวัลแห่ง ความภาคภูมิ ใจ คือ รายการ “ใจเท่ากัน” สามารถคว้ารางวัลประชาบดี ประเภทสื่อที่ น�ำเสนอกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อยู่ ใน ภาวะยากล�ำบาก จากกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์” “ผลงานที่ท�ำอย่างต่อเนื่องท�ำให้เราได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จาก ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการกิ จ การกระจายเสี ย ง กิ จ การ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ท�ำให้มีช่อง ทางการออกอากาศทางช่อง ทรูวิชั่น ไทย พีบีเอส และช่อง 10 รัฐสภา ซึ่งปัจจุบันก็ได้ พัฒนารูปแบบรายการให้เป็นมืออาชีพมาก ขึ้น ทั้งยังได้ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ ไทยพี บีเอส จัดอบรมพัฒนาทักษะให้คนหูหนวก พร้อมไปฝึกงานที่ไทยพีบีเอส และ สสส.” ด้วยความมุ่งมั่นสร้างเจตคติที่ดี ให้นัก สือ่ สารมวลชน ท�ำหน้าทีส่ อื่ อย่างสร้างสรรค์ เพือ่ ให้สงั คมเข้าใจและยอมรับศักยภาพของ คนหูหนวกมากขึน้ ในขณะเดียวกันก็ปลูกฝัง จิ ต สาธารณะให้ กั บ คนรุ ่ น ใหม่ ไ ปด้ ว ย

ผศ.ศิวนารถ หงษ์ประยูร จึงได้ส่งเรื่องเพื่อ เสนอขอต�ำแหน่งทางวิชาการ โดยมีชื่อว่า “การพัฒนารายการโทรทัศน์ภาษามือเพื่อ คนหูหนวกที่ทุกคนชมร่วมกันได้” (Thai Deaf TV) และได้ รั บ ต� ำ แหน่ ง ผู ้ ช ่ ว ย ศาสตราจารย์ ในที่สุด นับว่าการผลิตรายการโทรทัศน์ ภาษามือเพือ่ คนหูหนวกนีเ้ ป็นต้นแบบ รายการทีส่ ร้างสรรค์ สร้างสือ่ มวลชน ทีม่ คี ณ ุ ภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ จุดประกายให้คนในสังคมได้เห็นความ ส� ำ คั ญ ของคนกลุ ่ ม หนึ่ ง ที่ ต ้ อ งการ พื้นที่ ในการรับชมข่าวสารเหมือนคน ทัว่ ไป ท�ำให้มกี ำ� ลังใจสร้างสรรค์สงิ่ ดีๆ สู่สังคม ประเทศชาติ ...อย่างไรก็ตาม ความส�ำเร็จด้านชื่อ เสี ย งหรื อ ต� ำ แหน่ ง ทางวิ ช าการอาจเป็ น เพียงผลพลอยได้เท่านัน้ แต่การเป็นนักต่อสู้ เป็นผู้เริ่มท�ำ ผู้จุดประกายความหวัง ความ ฝัน สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นกับ สังคมต่างหาก คือความ ส�ำเร็จที่แท้จริง

สังคมยังมีความต้องการสื่อเพื่อคนพิการ และคนด้ อ ยโอกาสอี ก เยอะ แต่ สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น สมาคมเพื่อคนพิการเองก็ยังมีข้อจ�ำกัดในการ สร้างสือ่ พวกนีอ้ ยู่ เพราะฉะนัน้ หน้าทีข่ องสถาบัน การศึกษาก็คือ ท�ำอะไรก็ได้เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้ กับสังคม และสักวันก็จะมีคนท�ำตาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวนารถ หงษ์ประยูร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหลักสูตรวิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ผู้อ�ำนวยการ Thai Deaf TV 15


INTER ZONE

DPU Second Job

เพราะ “ธุรกิจคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ในทุกอาชีพ”

ทุกวันนี้มองไปทางไหนก็มีแต่คนท�ำ Second Job กันแทบทั้งนั้น ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ DPU เราเชื่อว่า “ธุรกิจคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ ในทุกอาชีพ” เราจึงสอนให้นักศึกษา เชีย่ วชาญในสาขาทีเ่ รียน และเสริมความรูด้ า้ นธุรกิจให้นกั ศึกษาทุกคนไปพร้อมๆ กัน ที่ DPU ไม่เพียงนักศึกษาไทยเท่านั้นที่ ให้ความสนใจท�ำ Second Job หรืออาชีพที่ 2 แต่ยังรวมไปถึง นักศึกษาต่างชาติด้วย Inter Zone เล่มนี้เราจะมาดูกันว่าน้องๆ นักศึกษาต่างชาติ คิดและมี วางแผนเกี่ยวกับ Second Job กันอย่างไรบ้าง >>

อลัน Mr. Nyi Nyi Lwin สัญชาติพม่า วิทยาลัยนานาชาติ DPUIC สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 3

“Second Job” ?

เดฟ Mr.David Chhun สัญชาติกัมพูชา วิทยาลัยนานาชาติ DPUIC สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 4

“Second Job” ?

“Second Job” เป็ น งานที่ ค ่ อ นข้ า ง ท้ า ทาย นั ก ศึ ก ษาส่ ว นใหญ่ จ ะได้ รั บ ประสบการณ์ตรงจากการท�ำธุรกิจมากกว่า การนั่งเรียนในห้องเรียน ได้เรียนรู้จากการ ปฏิบตั ิในสิง่ ทีท่ ำ� หรือทีเ่ ราสนใจอยูแ่ ล้ว ช่วยให้ เราเกิดความเข้าใจและสามารถจัดสรรเวลาได้ อย่างเป็นระบบทั้งในด้านการเรียนและการ ท�ำงาน

“Second Job” ที่อยากท�ำ ?

อยากเปิดร้านอาหารเล็กๆ ซึ่งผมชอบ และสนใจในด้านนี้อยู่แล้ว การเปิดร้านอาหาร จะช่วยให้ผมได้เรียนรูแ้ ละพัฒนาทักษะในด้าน ต่างๆ เช่น การจัดการ การขาย การสื่อสาร และสร้างความมั่นใจด้วย นอกจากนี้เพื่อให้ ร้านอาหารเล็ก ๆ ของผมสามารถเติบโตไปได้ ผมต้องหา partner เพื่อที่จะเรียนรู้ ในเรื่อง ของการลงทุนด้วย 16

เกนนี่ Ms. Thuy Thu Nguyen สัญชาติ เวียดนาม วิทยาลัยนานาชาติ DPUIC สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3

“Second Job” ?

การท� ำ ธุ ร กิ จ ได้ ในขณะที่ เ รี ย นอยู ่ สามารถน�ำสิง่ ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการท�ำธุรกิจ ได้จริง ซึ่งการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ จริงๆ จะเป็นวิธที จี่ ะเข้าใจทุกอย่างได้อย่างเร็ว ที่สุด และยังช่วยให้เราเพิ่มประสบการณ์มี โอกาสได้ลองเสี่ยงแม้จะผิดพลาด มี โอกาส ก้าวหน้า ได้เรียนรู้ เกิดความคิดทีห่ ลากหลาย จากสิ่งที่ท�ำ

“Second Job” ที่อยากท�ำ ?

อยากเปิดร้านอาหารเวียดนามในเมือง ไทย เพราะร้านอาหารเวียดนามในไทยยังมี น้อย บวกกับคนไทยวัยกลางคนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้สูงอายุจะมีความใส่ ใจในเรื่องการ กินเพือ่ รักษาสุขภาพเป็นอย่างมาก มีแนวโน้ม ของการกินผักเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและ เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในหมู่เยาวชนเพิ่มมาก ขึน้ ดังนัน้ ฉันจึงมองเห็นโอกาสของธุรกิจนี้

second job ไม่ได้เป็นการหารายได้เพียง อย่างเดียว แต่เป็นประโยชน์ ในการใช้ชีวิต ระหว่างเรียน สามารถน�ำมาปรับใช้ ในทักษะ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ การจัดการกับผู้คนและ ยังสามารถช่วยให้เรามองเห็นช่องว่างระหว่าง ทฤษฎีที่เราเรียนในชั้นเรียนกับความเป็นจริง ในการท�ำธุรกิจ และถ้าเราสามารถเข้าใจและ จัดการกับปัญหาช่องว่างเหล่านั้นได้ธุรกิจ ของเราจะประสบความส�ำเร็จ

“Second Job” ที่อยากท�ำ ?

ผม อยากเปิดร้านกาแฟ เพราะธุรกิจร้าน กาแฟนั้นไม่จ�ำเป็นต้องลงทุนในราคาที่สูงจน เกินไป ซึ่งท�ำให้หนทางการเปิดร้านกาแฟใน ระหว่างเรียนหรือ Second Job นั้นเป็นไปได้ ไม่ยาก คิดว่าเราควรเริ่มจากธุรกิจเล็กและ ค่อยๆเรียนรูก้ ระบวนการต่างๆของธุรกิจ


เรามาดูแนวคิดของน้องๆที่ก�ำลังท�ำ “Second Job” อยู่บ้างคะ ว่าพวกเขาคิด และท�ำอะไรบ้าง

เมฆ Mr. Zheng YanBin วิทยาลัยนานาชาติ สังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ ICSC สาขาวิชาการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน (หลักสูตรภาษาจีน)

“Second Job” ?

ผมคิดว่าเศรษฐกิจและสังคมในยุคนีเ้ ติบโตไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนัน้ การแข่งขันในหลายๆได้มันจึงสูงมาก เราจ�ำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ สังคมยุคนี้ด้วยเช่นกัน และการมีรายได้จากการท�ำงาน หรือ Second Job ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ท�ำให้เรามีเงินไว้ใช้ในยามจ�ำเป็น

Second Job ที่ท�ำ ?

ที่บ้านของผมเป็นหมู่บ้านที่มีเอกลักษณ์ ในเรื่องของวัฒนธรรม มีแร่ ธาตุมงคลต่างๆ ที่มีชื่อเสียง ผมขายสินค้าเหล่านั้นผ่านทางเว็บไซต์เถาเป่า ( ในเครือALIBABA ) ให้กับคนจีนและชาวต่างชาติ และขายสินค้าจาก ประเทศไทยด้วย ธุรกิจนีต้ น้ ทุนต�ำ ่ ผลตอบแทนดี มีรายได้อย่างรวดเร็ว และ อิสระ

แบม ศวิตา ปวีณวิทยโรจน์ วิทยาลัยนานาชาติ DPUIC สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 2 เชื้อสายเวียดนาม

“Second Job” ?

Second Job คือการท�ำงานไปด้วยเรียนไปด้วย

ลัคกี้ Mr. Huang RenZhe วิทยาลัยนานาชาติ สังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ ICSC สาขาวิชาการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน (หลักสูตรภาษาจีน)

“Second Job” ?

Second Job เป็นการท�ำธุรกิจในด้านที่ เราชอบ ในรูปแบบของการสร้างรายได้ โดย ไม่มีข้อจ�ำกัดตายตัว

Second Job ที่ท�ำ ?

ส่งออกสินค้าไทยไปประเทศจีน ในรูปแบบ ของธุรกิจเล็กๆ โดยเริ่มจากเพื่อนๆ คนรู้จัก หรือญาติชอบฝากซื้อสินค้าจากไทยในช่วงที่ ผมใกล้จะปิดเทอม ก�ำลังจะเดินทางกลับบ้าน ผมคิดว่า ผมต้องท�ำอะไรซักอย่าง ซึง่ เป็นการ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการสร้างราย ได้ แถมยังช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวได้มาก เลยครับ ซึ่งจะใช้เวลาในช่วงวันหยุดหรือหลัง เลิกเรียนในการท�ำงาน ความรูด้ า้ นการตลาด และการบัญชีท�ำให้บริหารการเงินของผมได้ เป็นระบบอนาคตผมอยากเป็นนักลงทุนการ เงินครับ

Second Job ที่ท�ำ ?

Viet Rolls แหนมเนืองแบบพร้อมทาน Ready to Eat อาหารส�ำหรับคนรักสุขภาพ โดยน�ำสูตรเด็ดจากครอบครัว ซึ่งมีเชื้อสายเวียดนามและความสนใจส่วนตัว มาต่อยอด ธุรกิจ โดยใช้เวลาว่างจากการเรียนในการผลิตและจ�ำหน่าย ผ่าน Facebook และบริการดิลิเวอร์รี่ อนาคตเล็งขยายสู่ ธุรกิจอาหารเวียดนามพร้อมทานทีห่ ลากหลายเมนูมากขึน้ ค่ะ ฝากถึงเพื่อนๆ “ คิดอยากจะท�ำอะไรให้ท�ำเลย ท�ำตอน ที่ยังไม่พร้อมนี่แหละ เพราะไม่เช่นนั้นเราก็ไม่รู้จะได้เริ่มต้น เมื่อไหร่”

การที่จะมีงานหลายอย่างนั้น หากไม่มี การวางรูปแบบการท�ำงานที่ชัดเจนก็อาจเกิด ผลเสียได้ ดังนั้นต้องเรียนรู้ที่จะวางรูปแบบ การท�ำงานให้เป็นระบบด้วยนะคะ เป็นก�ำลังใจ ให้ทุกคนมุ่งเดินตามความฝันในอาชีพตนเอง มีความสุขกับงาน และรายได้ที่เพียงพอและ ตอบโจทย์ ในชีวิตนะคะ ...^^ 17


AROUND CAMPUS

เปิดตัวหลักสูตร MAPS

แถลงข่าวเปิดตัวรายการ “GOAL”

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมสนับสนุนรายการ “GOAL สานฝันเด็กไทยไปเลสเตอร์” เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ กับรายการเรียลลิตี้ฟุตบอลครั้งแรกในประเทศไทย ในการคัดเลือก เยาวชนไทยเป็นตัวแทนประเทศไทยไปฝึกทักษะฟุตบอลในเลสเตอร์อะคาเดมี่ ประเทศอังกฤษ โดยมีคุณสุทธิวรรธน์ บุรุษพัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมงาน แถลงข่าวเปิดตัวรายการดังกล่าว เมื่อบ่ายวันนี้ ณ KING POWER โดยรายการจะออก อากาศเร็วๆ นี้ทางช่อง Workpoin 23

DPU จัดการอบรมหัวข้อ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”

18

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถ่ายภาพร่วม กับ คุณอ่อนอุษา ล�ำเลียงพล ประธานกลุ่ม เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุป๊ และนายกสมาคม โฆษณาแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยวิทยากร และกู รู ชื่ อ ดั ง ในงานแถลงข่ า วเปิ ด ตั ว หลั ก สู ต ร ‘การบู ร ณาการด้ า นสื่ อ และ กลยุ ท ธ์ ข องสิ น ค้ า -บริ ก าร’ (Media Appreciation and Product-service Strategies หรือ MAPS) หลักสูตรระยะสัน้ เรียนรู้การใช้สื่ออย่างฉลาดและสร้างสรรค์ จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดการ อบรมรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “แลก เปลีย่ นเรียนรู้ เรื่องลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” ในโครงการสุทธิครุศลิ ป์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วีสกุล อธิการบดีกิตติคุณ พร้ อ มด้ ว ย ดร.ดาริ ก า ลั ท ธพิ พั ฒ น์ อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ กล่าวต้อนรับและเป็นประธานในพิธี ในการนี้ ยั ง ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก พลเอกดาว์ พ งษ์ รั ต นสุ ว รรณ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง ศึกษาธิการ มาบรรยายพิเศษเรือ่ ง “นโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ : การลดเวลา เรียนเพิม่ เวลารู”้ จากนัน้ ก็ยงั มีการอภิปราย ในหัวข้อดังกล่าวจากนักวิชาการการศึกษา จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


ลงนามร่วมมือ

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถ่ายภาพร่วม กับ คุณลัดดา ฐานีพานิชสกุล รองกรรมการ ผู ้ อ� ำ นวยการสายงานพั ฒ นาองค์ ก รและ บริ ห ารงานบุ ค คล บริ ษั ท คิ ง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จ�ำกัด ในงานลงนามความ ร่วมมือทางการศึกษา ระหว่างมหาวิทยาลัย ธุ รกิ จบั ณฑิ ต ย์ และ บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด เพื่อขยายเครือ ข่ า ยให้ นั ก ศึ ก ษาได้ ฝ ึ ก ปฏิ บั ติ ง านจริ ง กั บ องค์กรธุรกิจชั้นน�ำ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์

ลงนามความร่วมมือ

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถ่ายภาพร่วมกับ คุณ Fan TingTing CEO สถานีโทรทัศน์ ไทย ซีซีทีวี (Thai CCTV) สถานีโทรทัศน์ผลิต รายการแบบสองภาษา ไทย-จีน ในพิธีลงนามความร่วมมือทางการศึกษา รายวิชาสหกิจ ศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าฝึกปฏิบัติงานจริงกับองค์กรสื่อสารมวลชนชั้นน�ำ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ประชุมยกระดับคุณภาพ การศึกษา

ดร.ดาริ ก า ลั ท ธพิ พั ฒ น์ อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถ่ายภาพร่วมกับ นายแพทย์ ธี ร ะเกี ย รติ เจริ ญ เศรษฐศิ ล ป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ใน งานการประชุมยกระดับคุณภาพการศึกษา ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จะยกระดับคุณภาพการ ศึกษาขัน้ พืน้ ฐานของกรุงเทพมหานครได้อย่าง ไร” ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

19


OPINION

ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบนั ประชาชน แบกภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจบัณฑิตย์โพล มหาวิทยาลัยธุรกิจ บั ณ ฑิ ต ย์ ท� ำ การส� ำ รวจค่ า ใช้ จ ่ า ยของ ประชาชนในภาวะเศรษฐกิ จ ปั จ จุ บั น ใน กรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล จ� ำ นวน 1,088 คน ผลปรากฏว่า รายได้ของประชาชนทั่วไปเมื่อเทียบกับปี ทีแ่ ล้ว ร้อยละ 41.79 มีรายได้เท่าเดิม ร้อยละ 39.94 มีรายได้เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 18.27 มีราย ได้ลดลง แต่มีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 59.90 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ร้อยละ 26.64 มีรายจ่ายเท่าเดิม และร้อยละ 13.46 มีราย จ่ายลดลง เมือ่ ถามถึงพฤติกรรมการบริโภค สิ น ค้ า ของประชาชนเมื่ อ เที ย บกั บ ปี ที่ แ ล้ ว ประชาชนร้อยละ 45.30 หันมาซื้อประเภท สิ น ค้ า จ� ำ เป็ น ที่ ใ ช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น เพิ่ ม ขึ้ น ร้อยละ 38.83 ซื้อเท่าเดิม ร้อยละ 15.87 ซื้อลดลง ในขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือย ร้อยละ 35.21 ซื้อลดลง ร้อยละ 34.94 ซื้อเท่าเดิม และร้อยละ 29.85 ซื้อมากขึ้น

20


ภาระหนี้สินของประชาชนเมื่อเทียบกับปี ที่แล้ว ร้อยละ 44.20 มีภาระหนี้สินเท่าเดิม ร้อยละ 34.21 มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.59 มีภาระหนี้สินลดลง ส�ำหรับจ�ำนวน ทรัพย์สินเมื่อเทียบกับปีท่ีแล้วประชาชนส่วน ใหญ่ ร ้ อ ยละ 50.74 มี ท รั พ ย์ สิ น เท่ า เดิ ม ร้อยละ 33.33 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.93 มีทรัพย์สินลดลง เมื่อถามว่าจะท�ำอย่างไรถ้ามีรายได้ ไม่ เพียงพอกับค่าใช้จา่ ย ร้อยละ 45.86 ตอบว่า ยืมคนรอบข้าง ร้อยละ 33.89 ท�ำอาชีพเสริม ร้อยละ 12.27 กู้เงินจากธนาคาร (ในระบบ) ร้อยละ 7.01 จ�ำน�ำทรัพย์สิน ร้อยละ 3.89 กู้เงินนอกระบบ และอื่นๆร้อยละ 3.99 ตาม ล�ำดับ โดยประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือนอยูท่ ี่ 20,000 บาท และมีคา่ ใช้จา่ ยเฉลีย่ ต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท

ทางด้านผูป้ ระกอบการร้านค้าเมือ่ ถามถึง รายได้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ร้อยละ 37.74 มีรายได้ลดลง ร้อยละ 35.63 มีรายได้เท่าเดิม และร้อยละ 26.63 มีรายได้เพิม่ ขึน้ ในเรือ่ งค่า ใช้จ่าย ร้อยละ 57.62 มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.75 มีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม ร้อยละ 8.63 มีค่าใช้จ่ายลดลง โดยต้นทุนสินค้าของ ผู้ประกอบการเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ร้อยละ 44.34 มีต้นทุนสินค้าเท่าเดิม ร้อยละ 43.16 มีต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น และร้อยละ 12.50 มีต้นทุนสินค้าลดลง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ผู้ประกอบการร้าน ค้ า บอกว่ า มี ลู ก ค้ า ลดลง ร้ อ ยละ 40.60 มีลูกค้าเท่าเดิม ร้อยละ 34.50 และมีลูกค้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.90 โดยปริมาณการซื้อ สินค้าของลูกค้าในแต่ละครั้ง ร้อยละ 38.57 ระบุว่าซื้อในปริมาณที่ลดลง ร้อยละ 36.26 ซื้อเท่าเดิม ร้อยละ 25.17 ซื้อเพิ่มขึ้น

มธบ.โพล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ www.dpu.ac.th/dpurc โทร. 029547300 ต่อ 128 21


EDUCATION LIFE

DPU มอนี้มีดี (ยังไง) ใครใครก็เรียน DPU

ทุกวันนีม้ หาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย มีจำ� นวนเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ แต่กอ่ นคนมัก จะคิดว่ามหาวิทยาลัยเอกชนจะเหมาะส�ำหรับ คนที่เรียนไม่เก่ง หรือแอดมินชั่นไม่ติดเท่านั้น แต่.....ปัจจุบนั ความคิดเหล่านัน้ ก็ไม่ได้ดงั กว่า เสียงของหัวใจอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้มีเด็ก จ�ำนวนมากตัดสินใจทีจ่ ะเลือกเรียน ม.เอกชน 22

อย่างไม่ลงั เล อาจด้วยปัจจัยหลากหลาย เช่น คณาจารย์ผสู้ อนมีความเชีย่ วชาญทีถ่ กู คัดสรร มาแล้วเป็นอย่างดี มีอุปกรณ์และเทคโนโลยี ทั น สมั ย เพี ย งพอให้ ผู้ เ รี ย นได้ ใ ช้ จ ริ ง ๆ มีสภาพแวดล้อมที่ดี และยังการันตีว่าเมื่อจบ แล้วจะเป็นบัณฑิตคุณภาพ ที่ไม่วา่ จะไปสมัคร งานที่ไหนก็มีแต่องค์กรที่พร้อมจะอ้าแขนรับ จบแล้วมีงานรองรับแน่นอน !! มหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ (DPU) ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาสถาบันการ ศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง จัดเป็นสถาบันการศึกษา แห่งแรกที่ได้รับรางวัล ISO 9001 : 2008 ทัง้ ระบบ ทุกคณะ ทุกสาขาวิชา ทุกหน่วยงาน เป็ น แหล่ ง วิ ช าการที่ มี ค ณาจารย์ ร ะดั บ ปริ ญ ญาเอกและด� ำ รงต� ำ แหน่ ง วิ ช าการ

มากกว่า 53 % จะว่าไป เสียงลือ เสียงเล่าอ้าง หรือจะสู้เสียงจากผู้มีประสบการณ์จริง Education Life…..ฉบับนี้จึงพามาดู เหตุผลจากน้องๆ นักศึกษาใหม่ เฟรชชีป่ ’ี 59 จากรั้ว DPU ของเราค่ะว่าเพราะอะไรน๊า.....ที่ ท� ำ ใ ห ้ พ ว ก เ ข า ตั ด สิ น ใ จ เ ลื อ ก เ รี ย น ที ่ DPU ??


“โมเม” นางสาวดวงสุดา เรืองรัมย์ จบ ม.6 จากโรงเรียนวังน�้ำเย็นวิทยาคม นักศึกษาใหม่คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ “ที่ DPU มีรางวัลการันตีจ�ำนวนมาก เช่น ได้รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่มี ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาได้มาตรฐาน ประเภทดีเลิศ จากส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ท�ำให้เรามั่นใจในคุณภาพมาตรฐานของมหาวิทยาลัยว่า เมื่อจบไปแล้วจะไม่ตกงานแน่นอน” “นุ่น” นางสาววิภาดาลักษณ์ ดอกกระทุ่ม จบ ม.6 จากโรงเรียนบางบัวทอง นักศึกษาใหม่วิทยาลัยนานาชาติ (DPUIC) สาขาการจัดการการท่องเที่ยว “รู้สึกประทับใจตั้งแต่วันแรกที่เดินเข้ามาที่มหาวิทยาลัยค่ะ วันแรกที่ได้เข้ามา คือมาสอบชิงทุนการศึกษา คัน้ หัวกะทิ ทุกคนมีความเป็นกันเองมากค่ะตัง้ แต่ รปภ. หน้ามหาวิทยาลัย แม่บ้าน และบุคลากรที่พบเจอ ทุกคนมีความเป็นมิตรมาก คิดว่าถ้าเราเลือกอยู่ ในที่ที่เรามีความสุข เราก็จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ในขณะ ที่เราเรียนอยู่ ซึ่งจะท�ำให้เรามีความสุข จบออกไปก็จะมีความสุขเช่นเดียวกัน” “มะนาว” นางสาวพิมพ์ชนก ตะกรุดแก้ว จบ ม.6 จากโรงเรียนบางบัวทอง นักศึกษาใหม่คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน “ที่นี่มีทุนการศึกษาที่มอบให้กับเด็กๆ เยอะมากเลยค่ะ โดยเฉพาะ ทุนฮีโร่ ซึ่ง เป็นปีแรกทีม่ หาวิทยาลัยจัดขึน้ เพือ่ มอบให้กบั ประธานนักเรียนท�ำทีก่ จิ กรรมอย่าง ต่อเนื่อง แล้วเรามีโอกาสได้รับทุนนี้ ก็รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากเลย” “ไฟร์ท” นายระพีพัฒน์ เชื้อวงษ์บุญ จบ ม.6 จากโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบ�ำรุง นักศึกษาใหม่คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการโรงแรม “ผมรูส้ กึ ประทับใจในสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยมากครับ เข้ามาแล้วจะสัมผัสได้ถงึ ความร่มรืน่ อาจารย์ที่แนะแนวก็มีความเป็นกันเอง ให้ข้อมูลรายละเอียดในการเลือกคณะเรียนที่ใช่ ที่เราชอบได้ครบ ถ้วนชัดเจน” จะว่าไปมหาวิทยาลัยนัน้ มีมติ มิ ากกว่าชือ่ เสียงนะคะ เพราะยังมีมติ ิในด้านคุณภาพการศึกษาและชีวติ ของนักศึกษาอีกด้วย คงไม่มีผู้ปกครองท่านไหนอยากให้ลูกหลานเรียนแล้วต้องเครียดตลอดเวลา แต่ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เรียนแบบสบายๆ จนไร้จุดหมาย ดังนั้นการเลือกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ มากที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิต คิด...และตัดสินใจกันให้ดีๆ นะคะ...แล้วเจอกันที่ DPU นะ ^^ “ฟร้องซ์” นายปวริศ สงวนปรางค์ จบ ม.6 จากจากโรงเรียน เบญจมราชานุสรณ์ นักศึกษาใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า “เพราะคณะวิศวะที่น่ีขึ้นชื่อมากเลยนะครับ ได้รางวัลประกวด หุ่นยนตร์ 6 ปีซ้อน แสดงว่าที่นี่ต้องมีการเรียนการสอนที่ดี มี อาจารย์ผู้เชียวชาญในด้านวิศวกรรมจ�ำนวนมาก น่าจะท�ำให้ผมได้ มีโอกาสพัฒนาไปได้อีกไกล และอาจได้รางวัลแบบรุ่นพี่บ้างครับ”

#ใครใครก็เรียนDPU

23


GRADUATE

IT จัดเต็ม!!

หลักสูตรครบเครื่อง ตอบโจทย์โลกยุคดิจิตอล เมื่ อ พู ด ถึ ง ยุ ค ของการเปลี่ ย นแปลง มาถึงยุคแห่งความก้าวหน้า ก็ต้องนึกถึง เทคโนโลยีและดิจิตอล สิ่งเหล่านี้เข้ามามีส่วน เกีย่ วข้องกับเราในทุกๆ ด้าน กระทัง่ เข้ามาอยู่ ในกิจวัตรประจ�ำวันของเราก็ว่าได้ ท�ำให้ภาค การศึกษาตื่นตัว มองเห็นโอกาสการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ตอบ โจทย์ทั้งความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน ธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมรวมถึงเทรนด์ดจิ ทิ ลั ที่เปลี่ยนไปได้อย่างตรงจุด เช่นเดียวกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่พัฒนาเนื้อหา หลักสูตรอย่างไม่หยุดยัง้ เพือ่ ตอบรับกับโจทย์ ของคนยุคใหม่ทตี่ อ้ งการก้าวล�ำ้ น�ำเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร ไพรีเกรง ผู้อ�ำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อธิบายเกีย่ วกับ หลั ก สู ต รวิ ท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศว่า 24

หลักสูตรนี้นอกจากจะเหมาะส�ำหรับผู้ที่ เรี ย นจบปริ ญ ญาตรี ห ลั ก สู ต รเทคโนโลยี สารสนเทศแล้ว ยังเหมาะส�ำหรับผู้ที่มีความ สนใจในเรือ่ งไอที ผูท้ จี่ ะก้าวไปเป็นผูบ้ ริหารยุค ใหม่ และผู ้ ที่ ม องหาความท้ า ทายทางด้ า น เทคโนโลยี ซึ่งไม่จ�ำกัดเฉพาะคนที่เรียนด้าน ไอที คนที่จบสาขาอื่นก็เรียนได้ เพราะว่าที่นี่ปู ความรู้พื้นฐานก่อนเริ่มเรียนอยู่แล้ว “ที่ผ่านมาเราเน้นย�้ำการสอนทักษะทั้ง ด้ า นไอที และเทคโนโลยี ค วบคู ่ กั น ไป ขณะเดียวกันก็ ได้พัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับ กระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่ นักศึกษาได้เรียนรู้ ในเรื่ อ งของการวิ เ คราะห์ ก ารใช้ เ ครื่ อ งมื อ เทคโนโลยีสารสนเทศ บวกกับองค์ความรูด้ า้ น การบริหารจัดการระบบงานในธุรกิจ ด้าน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้านการพัฒนา ซอฟต์แวร์ และด้านบริหารจัดการ รวมถึงการ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ที่ มี เ รื่ อ งไอที เ ข้ า มาเกี่ ย วข้ อ ง เพื่อสร้างระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์และ คุ้มค่า”


ถ้ า ถามว่ า เรี ย นจบด้ า น IT ไปแล้ ว สามารถท�ำอะไรได้บ้างนั้น ผศ.ดร.วรภัทร ได้ ตอบว่า เราสามารถน�ำความรู้ที่เรียนไปต่อ ยอดในอาชีพทีท่ ำ� งานเพือ่ เพิม่ โอกาสทางการ แข่ ง ขั น ด้ า นธุ รกิ จ หรือ ต่อ ยอดสู่ก ารเป็น ผู้บริหารทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจ จะเป็นได้ทั้ง Chief Information Officer (CIO) หรือ Chief Technology Officer (CTO) คนทีค่ อยดูแลบริหารจัดการทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร รวมถึงเป็น ผู้วางแผนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของทางองค์กร เป็นต้น “ในเรือ่ งความพร้อมของห้องปฏิบตั กิ าร นั้ น ก็ ไ ม่ ท� ำ ให้ ผู้ เ รี ย นผิ ด หวั ง เพราะเรามี โครงสร้างหลักที่ดีมาก เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้ มี ก ารอั พ เดทเวอร์ ชั น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ห้องปฏิบัติการการเรียนการสอน เราก็ ใช้ คอมพิวเตอร์แม็ค ทุกเครือ่ งพร้อมทีจ่ ะใช้งาน ส�ำหรับวิชาทีต่ อ้ งใช้เทคโนโลยีแลปแบบพิเศษ ยิ่ ง กว่ า นั้ น คื อ อาจารย์ ผู้ ส อนยั ง เป็ น ผู ้ ท รง คุ ณ วุ ฒิ เ พี ย บพร้ อ มด้ ว ยประสบการณ์ ซึ่งแต่ละท่านมีผลงานทางวิชาการและสร้าง ผลงานการวิจัยอย่างต่อเนื่อง” ไม่แต่เพียงเท่านี้หลักสูตรยังเสริมทัพ จัดเต็ม ด้วยการร่วมมือกับบริษัทภายนอก ในการจั ด หลั ก สู ต รให้ ส อดรั บ กั บ ความ ต้องการของภาคอุตสาหกรรรม ตลอดจนมี การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยี ใหม่ อยู่เสมอ ขณะเดียวกันยังได้เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเพื่อมาบรรยายให้ ความรูท้ างด้านธุรกิจเสริมให้กบั นักศึกษาอีก ด้วย ฉะนั้นในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้นจึงอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ เพราะที่นี่เรา สอนให้ คิ ด เป็ น และน� ำ แนวคิ ด วิ ธี ก ารใช้ เทคโนโลยีที่ ได้เรียนนั้นมาปรับใช้ ให้ถูกต้อง เหมาะสม “เมื่อเทคโนโลยีที่เราศึกษาไปดับลง ก็ มี ตั ว ใหม่ ม าแทนที่ ดั ง นั้ น เราจะสอนให้ นักศึกษาสามารถน�ำแนวคิดเดิมมาปรับใช้ให้ เข้ า กั บ เทคโนโลยี ตั ว ใหม่ อย่ า งไรได้ บ ้ า ง ซึ่ ง ตรงนี้ เ ราได้ ส อนนั ก ศึ ก ษาอยู ่ เ สมอ” ผศ.ดร.วรภัทร ไพรีเกรง กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร ไพรีเกรง ผู้อ�ำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

25


ON THE WAY

“British Cycle Square” คาเฟ่แนวใหม่ ... ถูกใจนักปั่น

สวัสดี...สวีดัด กลับมาพบกันอีกแล้วกับ DPU MAG ส�ำหรับคอลัมน์ On The Way ฉบับนีบ้ อกเลยห้ามพลาด เพราะเราจะพาท่าน ที่ ชื่ น ชอบและรั ก การปั ่ น จั ก รยานเป็ น ชี วิ ต จิตใจไปดื่มด�่ำกับบรรยากาศอันแสนจะคลาส สิกพร้อมเปิดโลกทัศน์ ใหม่ๆ เป็นแหล่งพบปะ แลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ที่ เ อาไว้ ร องรั บ ส�ำหรับนักปั่นอีกด้วย คงอยากจะรู้กันแล้วสิ ท่า !!! ว่าจะเป็นสถานที่ไหนถ้าพร้อมแล้วตาม มาให้ไว..... British Cycle Square คาเฟ่นี้ตั้งอยู่ หลังมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เป็น ทั้งร้านขายและซ่อมจักรยานพร้อมบริการ ด้วย เครือ่ งดืม่ เบเกอรี่ และอาหารทีม่ รี สชาติ แสนอร่อย ภายในร้านถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชัน้ แรกเปิดบริการเป็นคาเฟ่เหมาะส�ำหรับเอา ไว้นั่งพบปะพูดคุย เฮฮา ปาร์ตี้ นั่งชิวเอ้าท์ หรือจะถ่ายรูปชิค ๆ กับเพือ่ นก็ได้พร้อมกับมี มุมส�ำหรับเซอร์วิสซ่อมจักรยานของลูกค้าที่ มีปัญหา ส่วนชั้นสองจะเป็นที่วางจักรยาน ทีท่ างร้านได้นำ� เข้ามาจากประเทศอังกฤษรวม ถึงเป็นช็อปขายอุปกรณ์เสริมส�ำหรับจักรยาน โดยเฉพาะ ทัง้ 2 ชัน้ ถูกตกแต่งด้วยปูนเปลือย ท�ำให้รู้สึกถึงกลิ่นอายของความอบอุ่นเช่น เดียวกับบริการของทางร้านซึ่งมีความเป็น กันเองกับลูกค้า 26


ในส่วนเมนูซิกเนเจอร์ที่ทางร้านอยากจะ ให้มาลิม้ ลองความอร่อยนัน่ ก็คอื “Affogato” เซตนีป้ ระกอบด้วยไอศกรีมวานิลลาพร้อมกับ กาแฟเมื่ อ ราดลงบนไอศกรี ม ท� ำ ให้ ตั ด กั น อย่างลงตัว มาต่อกันที่เมนู “Chocolate caramel monkey waffle” ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง เมนูในหมวดเบเกอรีท่ ที่ างร้านอยากจะแนะน�ำ ในหนึ่งจานจะมีวาฟเฟิลเคียงคู่กับไอศกรีม ช็อกโกแลตพร้อมด้วยวิปครีม หลั ง จากที่ ไ ด้ ลิ้ ม ลองความอร่ อ ยของ เบเกอรี่ กั น ไปแล้ ว ก็ ม าต่ อ กั น ในส่ ว นของ เครื่องดื่มที่ทางร้านได้น�ำเสนอ มาอีก 2 เมนู อย่าง “Italian soda blue curacao” ทีผ่ สม น�ำ้ บูลฮาวายมิกซ์รวมกับโซดา ตกแต่งด้วยใบ สะระแหน่และลูกเชอร์รี่สีแดงสด เมนูสุดท้าย คือกาแฟ “Mocha” ที่ทางร้านได้คัดเลือก เมล็ดกาแฟมาเป็นอย่างดีมีรสชาติเข้มข้น หวานหอมนุ่มละมุนลิ้นเหมาะสมอย่างมาก ส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟรับรองไม่ผิด หวัง จะมัวรอช้ากันอยู่ท�ำไมละคร้าบ... !!! รีบ มากันเถอะที่ British Cycle Square ร้านนี้ เปิ ด บริ ก ารทุ ก วั น โดยวั น จั น ทร์ - วั น ศุ ก ร์ เปิ ด บริ ก ารตั้ ง แต่ เ วลา 8.00-20.00 น. และวันเสาร์-วันอาทิตย์จะเปิดบริการตั้งแต่ เวลา 7.30-20.00 น. หรือสามารถสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-591-5987 ขอย�้ำอีกทีว่าสถานที่นี้จะเสิร์ฟทั้งความรู้และ ความอร่อยไปพร้อมๆ กันอย่างแน่นอน

“Chocolate caramel monkey waffle” “Affogato”

“Mocha”

“Italian Soda Blue Cuiacao”

27



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.