Dpumag17

Page 1

New Lifestyle… style DPU

ชะลอวั ย และฟื้นฟูสุขภาพ ศาสตร์ของคนรักสุขภาพ

Green Planet Robot Challenge

August-October


คุยกันก่อน Happy New year, Welcome to New Semester, Welcome to ASEAN Community ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ สวัสดีท่านผู้อ่าน ทุกท่านกับสิง่ ใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ครับ “สิง่ ใหม่ๆ” ท�ำให้สดชืน่ และคึกคักเสมอ ผลิตภัณฑ์ ใหม่สร้างสีสันให้ตลาด ดาราใหม่สร้างความกระชุ่มกระชวย ให้วงการ ชุดกีฬาใหม่ทำ� ให้เราอยากออกก�ำลังกายมากขึน้ ความรู้ใหม่ๆ ท�ำให้โลกพัฒนาขึ้น DPU ของพวกเรามีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง ต้ อ นรั บ ปี ใ หม่ นี้ แน่ น อนว่ า แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความก้ า วหน้ า ของ Progressive University อย่างแน่นอน หลักสูตรใหม่อันทันสมัยของหลายๆ คณะ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท น่าสนใจมากๆ ครับ วิทยาลัยนานาชาติจีนใหม่ของเรา (ICSC) ทีม่ คี วามเชีย่ วชาญด้านสังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ งานวิจยั เด่นๆ ของอาจารย์รนุ่ ใหม่ไฟแรง การปรับปรุงพืน้ ที่ใหม่ของมหาวิทยาลัย ให้สวยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายในเล่มยังพาทุกท่านไปพบกับ ดาว-เดือนคู่ใหม่ของDPU รวมถึงผอ.หลักสูตรชะลอวัย และนักศึกษา ปริญญาโทที่มีดีกรีเป็นแพทย์ชื่อดัง และดารา พิธีกร นางฟ้านักปั่น (จักรยาน) ผู้มคี วามสามารถหลายด้าน คุณหมอมาศ คุณหมอแนนและ คุณหวานหวานครับ ขอให้สนุกกับการพบอะไรใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น และเร้าใจ ไปกับ DPU ของพวกเราทุกคนครับ

บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ศิลปกรรม ที่อยู่

2 | DPU MAG

อาจารย์วีรพล สวรรค์พิทักษ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด

Contents

คุยกันก่อน Update สิ่งละอันพันละน้อย Progressive People In Focus Special Column Smart Tips Success Inter Zone Around Campus Opinion Education Life Graduate On The Way

อาจารย์วีรพล สวรรค์พิทักษ์ บุษบา แสนประเสริฐ ประภัสสร มณฑา, ธนัชพร เทพทวี, สงคราม ม่วงมะลิลัย, เกศริน จิตอ�่ำ, จารุวัลย์ ชัยวงค์ ธนัตถ์สรณ์ ชูงาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชืน่ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 www.dpu.ac.th, E-mail:pr_dpu@dpu.ac.th, Facebook.com/dpu.ac.th

2 3 4 6 8 10 12 14 16 18 20 22 24 27


UPDATE

New Lifestyle… style DPU

“เดี๋ยวนี้ DPU ของเราเปลี่ยนไปเยอะนะ” คงเป็นค�ำพูดทีน่ กั ศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้า ที่หลายๆ คนในมหาวิทยาลัยฯ ต่างพูดถึง เนือ่ งจากคณะกรรมการพัฒนาฯ ได้อนุมตั งิ บ ประมาณ ในการปรับปรุงพืน้ ทีห่ ลายส่วน เพือ่ ให้เราชาว DPU มีความสุขในการท�ำงานมาก ขึ้น รวมทั้งการให้บริการกับนักศึกษาที่ทัน สมัยมากขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นการสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับมหาวิทยาลัยฯ ไม่ว่าจะ เป็นการปรับปรุงห้องสมุดให้มีพื้นที่สะดวก สบาย เพือ่ ทีจ่ ะเข้ามาหาความรู้ในบรรยากาศ ที่โมเดิร์นขึ้น รวมทั้งยังจัดให้มีร้านกาแฟอยู่ ในห้ อ งสมุ ด เหมื อ นกั บ ในต่ า งประเทศ ซึง่ นักศึกษาสามารถอ่านหนังสือ เล่นโซเชียล

ดร.ณัฏฐพงศ์ จันทราทิพย์ ผู้ช่วยอธิการบดีสายงานพัฒนาด้านกายภาพ

ทานอาหารว่าง และจิบกาแฟร้อนๆ ในเวลา เดียวกัน อีกไม่นานหลักสูตรธุรกิจการบิน ก�ำลัง จะมีการสร้างอาคารเรียนใหม่ พร้อมกับมี เครื่องบินที่อ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการ เรียนการสอนของนักศึกษาในอนาคต คณะ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็ ได้รับอนุมัติให้สร้าง สปาขึ้นมาใหม่ เพื่อให้บริการแก่คนภายนอก ซึ่งตั้งอยู่ที่ช้ัน 1 ของหอพัก DPU 3 จะมี ก�ำหนดการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และสิน้ เดือนมกราคมนี้ ฝ่ายทะเบียนซึง่ ก�ำลัง อยู่ระหว่างการปรับปรุงโฉมใหม่ จะพร้อมให้ บริการ แก่นักศึกษา ท�ำให้มีความสะดวก สบายมากขึ้น นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยฯ มีแผนที่จะปรับปรุงห้องพยาบาล และคณะ บัญชี ให้มีภาพลักษณ์ที่ทันสมัยขึ้นในเดือน มีนาคมนี้ หวังว่าชาว DPU ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ รวมทัง้ นักศึกษา จะมีความสุข ในการใช้บริการในส่วนต่างๆ ที่ปรับปรุงให้ สวยและทันสมัยขึ้นในอนาคตนะครับ DPU MAG | 3


สิ่งละอันพันละน้อย

ใช้ Open Data ปราบคอร์รัปชัน

Open Data เป็นค�ำค่อนข้างใหม่แต่มี อิทธิฤทธิ์อย่างยิ่งในการปราบคอร์รัปชัน และก�ำลังเป็นกระแสที่มาแรงในระดับโลก ลองมาดูกันว่ามันช่วยให้ประชาชนมีความ หวังในการจัดการโรคร้ายนี้ได้อย่างไร Open Data มาจากแนวคิดที่ว่าข้อมูล บางอย่างควรที่จะมีการเปิดเผยอย่างเสรีให้ ทุกคนน�ำไปใช้ และตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ ตามประสงค์ อ ย่ า งไม่ มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ในเรื่ อ ง ลิขสิทธิ์หรือการควบคุมในลักษณะต่างๆ เป้าหมายของ Open Data ก็คล้ายกับ เรื่อง open ในเรื่องอื่นๆ ในยุคเสรีนิยมของ โลกปัจจุบัน เช่น Open Sky (เปิดท้องฟ้า เสรียอมให้มสี ายการบินได้โดยไม่จำ� กัดและมิ ให้บริษทั ใดผูกขาด อีกทัง้ ไม่ควบคุมราคาตัว๋ ) 4 | DPU MAG

Open Source (ไม่มลี ขิ สิทธิ์ในเรือ่ ง softwareฯ) Open Access (การเปิดเสรีในการ เข้าถึงบริการของรัฐ การใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) จริงๆ แล้วหลักการในเรื่องนี้มีมานาน แล้วเพราะสาธารณชนตระหนักดีวา่ การเปิด เผยเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นประโยชน์ ดังเช่นความเป็น เสรีของเนื้อหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นัก วิทยาศาสตร์จำ� นวนมากเชือ่ ว่าสิง่ เหล่านีเ้ ป็น สมบัตขิ องมนุษยชาติไม่ใช่ของบุคคลใดหรือ บริษัทใด ในยุคอินเตอร์เน็ต Open Data ยิ่งมี ความหมายมากขึ้นเพราะข้อมูลที่เปิดเผย เช่น จากภาครัฐซึ่งประชาชนเป็นนายนั้น สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง

รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

และสามารถน�ำไปวิเคราะห์ต่อได้ง่าย กลุ่มประเทศ EU มีข้อตกลงในเรื่อง Open Data ของภาครัฐซึ่งเรียกว่า Open Government Data กล่ า วคื อ ประเทศ สมาชิกควรเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้เพื่อสอง เรื่อง หนึ่ง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพใน การใช้ จ ่ า ยเงิ น ภาษี อ ากรที่ เ ก็ บ มาจาก ประชาชน สอง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ในการท�ำงานของภาครัฐ สิ่งส�ำคัญที่อยู่ ใจกลางของเรื่ อ งนี้ ก็ คื อ การป้ อ งกั น และ ปราบปรามคอร์รัปชัน ข้อถกเถียงส�ำคัญก็ คื อ ทั้ ง หมดเป็ น เงิ น ของประชาชน ดั ง นั้ น เจ้ า ของก็ มี สิ ท ธิ รู ้ ว ่ า น�ำ ไปใช้ จ ่ า ยอะไรและ อย่างไร อังกฤษเป็นประเทศที่ก้าวหน้ามากที่สุด


ในรอบ 3-4 ปีทผ่ี า่ นมารัฐบาลอังกฤษได้เปิด เผยข้อมูลของภาครัฐเป็นปริมาณมหาศาล โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในเรื่ อ งการใช้ จ ่ า ยงบ ประมาณ ผลปรากฏว่ากลุม่ ประชาสังคมและ ประชาชนน� ำ ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ม าวิ เ คราะห์ ประเมิน และได้ข้อสรุปมากมายที่ท�ำให้เกิด ประสิทธิภาพในการใช้ งบประมาณมากขึ้น เป็นที่มั่นใจได้ว่าพนักงานภาครัฐของ อังกฤษจะระมัดระวังในการใช้จ่ายและทุ่มเท การท�ำงานมากขึ้นเพราะต่อนี้ ไปมีผู้คนเป็น ตาสับปะรดที่คอยจับตามองและเป็นแขนขา ในการปราบคอร์รัปชันโดยใช้ข้อมูลเหล่านี้ เป็นตัวน�ำทาง ในปี 2007 จ�ำนวน 30 กลุ่มสนับสนุน Open Government Data โดยได้ประชุม กันที่เมือง Sebastopol ในรัฐคาลิฟอร์เนีย และได้ ร ่ ว มกั น ประกาศ 8 หลั ก การของ Open Government Data ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 complete. ข้อมูลสาธารณะ ทั้งหมดต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน ยกเว้น ที่เกี่ยวกับความมั่นคง ความเป็นส่วนตัว ฯลฯ ข้อ 2 primary. ต้องเปิดเผยข้อมูลพื้น ฐาน มิ ใ ช่ ก ารวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล มาให้ แ ล้ ว (ไม่ต้องการถูกบิดเบือนหรือท�ำให้เข้าใจผิด) ข้อ 3 timely. ต้องเปิดเผยข้อมูลเร็ว ที่สดุ ที่ทำ� ได้เพื่อรักษาคุณค่าของข้อมูลหาก ช้าไปก็ ไม่ทันการณ์ เช่น ข้อมูลก่อนการ ประมูล หรือข้อมูลก่อนเริ่มโครงการ ฯลฯ ข้อ 4 accessible. ต้องเปิดเผยอย่าง กว้ า งขวางที่ สุ ด ให้ แ ก่ ป ระชาชนเพื่ อ วัตถุประสงค์ที่กว้างขวางที่สุด ข้อ 5 machine processable. ต้อง เป็นรูปข้อมูลที่สามารถน�ำไปวิเคราะห์ ได้เชิง อิเล็กทรอนิกส์ (ข้อมูลที่ให้มาเป็นกล่องหรือ มัดเชือกมาเพื่อให้ไปแกะหาความจริงเองใช้ ไม่ได้) ข้อ 6 non-discriminatory. เปิดเผย ข้อมูลให้ใครก็ได้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ข้อ 7 non-proprietary. ข้อมูลอยู่ใน รูปแบบที่ไม่ทำ� ให้ใครเป็นเจ้าของหรือควบคุม ได้แต่เพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ข้อ 8 license-free. ข้อมูลต้องไม่มขี อ้ ห้ามในเรื่องสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์เครื่องหมาย การค้า หรือข้อจ�ำกัดในเชิงการค้า อาจมีการ ผ่อนผันได้ในเรื่องเกี่ยวกับความลับทางการ ค้าหรือความมั่นคง ลองจินตนาการดูว่าถ้ามีการอัพโหลด ข้อมูลงบประมาณไทยทัง้ หมดสูส่ าธารณชน

จะเกิดอะไรขึ้นในสังคมเรา เชื่อว่าจะมีคนน�ำ ไปแยกว่าแต่ละจังหวัด แต่ละ อบต. ได้รบั เงิน งบประมาณเท่าใด มีการก่อสร้างโครงการใด บ้าง และถ้ายิง่ เปิดเผยผลการใช้งบประมาณ ปีที่ผ่านมาว่าใครเป็นผู้ประมูลได้ในโครงการ ใดด้วยราคาเท่าใด อบต. ได้รับเงินเท่าใด ใช้ทำ� อะไรไปบ้าง ฯลฯ เหล่านีเ้ ป็นวิธกี ารแก้ไข ปัญหาคอร์รัปชันที่ชะงัดโดยทั้งหมดไม่มีค่า ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพียงนโยบาย Open Data ของภาครัฐก็สามารถปราบคอร์รัปชันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าข้าราชการไทยระดับรองอธิบดีขึ้นไป ทุกคนต้องเปิดเผยทรัพย์สนิ เหมือนรัฐมนตรี ต้ อ งเปิ ด เผยในปั จ จุ บั น หน้ า ตาของ คอร์รัปชันในบ้านเราจะเปลี่ยนไปเพียงใด ปัจจุบัน Open Government Data ใน บ้านเรามีอยู่พอควรแล้ว ไม่เชื่อลองเหลียว ไปดูการเปิดเผยทรัพย์สนิ ของสมาชิก สนช. ดูก็ได้ ขอแต่ให้อยู่ในรูปแบบของ machine processable เท่านั้นแหละ ข้าราชการและ นั ก การเมื อ งไทยจะมี พ ฤติ ก รรมในเรื่ อ ง คอร์รัปชันเปลี่ยนไปมาก Open Data ก�ำลังคืบคลานมาสูบ่ า้ นเรา แต่ยังช้าอยู่ ในยุคปฏิรูปประเทศไทย ไอเดีย นีส้ มควรได้รบั การพิจารณาเพราะไม่เสียเงิน เพิ่ ม และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพยิ่ ง ในการปราบ คอร์รัปชัน Open Government Data คมยิ่งกว่า ดาบในการปราบโรคร้ายซึง่ เปรียบเหมือนกับ ปลวกที่ก�ำลังกินบ้านเมืองของเราอยู่การ จัดการกับอารมณ์

DPU MAG | 5


Progressive Life

พ า เปดิ บ้านจ ภ ย ก ั ศ ์ ว ช โ ั ด ง าน U D P @ U P t s 2 e 016 D Ed u F

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) จัดงาน EduFest@DPU มหกรรมแนะแนว การศึกษาต่อ ภายใต้ธีม “Live & Learn” เตรียมต้อนรับนักเรียน นักศึกษา และผูส้ นใจ เข้าร่วมงาน เพื่อค้นหาตัวตนและแนวทาง การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในคณะที่ใช่ และสาขาวิชาทีช่ นื่ ชอบ เปิดบ้านโชว์ศกั ยภาพ ทุกคณะ ทุกสาขาวิชา ตอกย�้ำคุณภาพด้าน การเรียนการสอนที่พัฒนาไม่หยุดยั้ง และ เน้นน�ำความรู้สู่การพัฒนาอย่างก้าวหน้า พร้อมกิจกรรมให้รว่ มสนุก ลุน้ รับของรางวัล มากมาย

6 | DPU MAG


โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ เป็นประธานในการเปิดบ้านต้อนรับ น้องๆ นักเรียนทีม่ าร่วมงาน พร้อมกับกล่าว ว่าให้นักเรียนที่เข้าร่วมงานได้สนุกสนานกับ การเรียนรู้ และได้ทดลองการปฏิบัติจริง ใน 12 คณะและ 3 วิทยาลัย ภายใต้บ้านหลัง ใหญ่ของ DPU “การใช้ชีวิตอยู่ ในมหาวิทยาลัยไม่ ได้ หมายความว่า ชีวิตจะต้องมีแต่การเรียน เพียงอย่างเดียว ต้องท�ำกิจกรรม ตักตวง วิชาความรู้ได้ดี มีสงั คมทีด่ แี ละต้องมีเพือ่ นที่ ดี และหวังว่าการเปิดบ้านต้อนรับนักเรียนใน ครั้ ง นี้ จะช่ ว ยให้ ทุ ก คนเห็ น โอกาส เห็ น อนาคตและเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการค้ น หา

แนวทางในการเลื อ กเรี ย นต่ อ ในระดั บ อุดมศึกษาต่อไป” ภายในงานมีการแสดงแฟชั่นโชว์ จาก คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ต่อด้วย แดนซ์ มั น ส์ ๆ กั บ คณะศิ ล ปกรรมศาสตร์ พร้อมสนุกกับ Mini Concert จากนักศึกษา ศิลปิน DPU และการแสดงดนตรีสด จาก ชมรมดนตรีสากล และสุดมันส์ ไปกับ Mini Concert จากนักแสดงซีรีย์ “รักป่วนมอ” ซีรีย์รักใสๆ วัยเรียน และการแสดงอื่นที่น่า สนใจมากมาย เรียกได้ว่าทุกคณะ ทุกหน่วย งาน จัดเต็มทุกพื้นที่ บรรยากาศภายในงาน เต็มไปด้วยความ สนุกสนานและรอยยิ้มของนักเรียนที่เข้ามา ในรัว้ ของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์แห่งนี้

DPU MAG | 7


IN FOCUS

DPU ยกเครื่องหลักสูตรการศึกษา ตอกย�้ำ มหา’ลัยก้าวหน้า Progressive University

ปี 2558 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธุรกิจ บั ณ ฑิ ต ย์ ไ ด้ จั ด สรรงบประมาณในการซื้ อ เครื่องบินเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนจริงปฏิบัติ จริง ภายใต้การเรียนการสอนของคณะการ ท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ มหาวิทยา ลัยฯ ยังได้เดินหน้าในการพัฒนา นวัตกรรม สือ่ การเรียนการสอน สิง่ อ�ำนวยความสะดวก เพื่อนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความ เข้มข้นในด้านหลักสูตร จึงได้เปิดหลักสูตร ใหม่ และปรับปรุงสาขาวิชาเดิมเพือ่ ให้ตรงกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน และแนวโน้ม อาชี พ ที่ ต ้ อ งการในอนาคต ทั้ ง ในระดั บ ปริญญาตรีและปริญญาโท ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี เ ริ่ ม กั น ที่ ค ณะ เศรษฐศาสตร์ ได้เพิ่มหลักสูตรใหม่ ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต “สาขาวิชาการ สือ่ สารเศรษฐกิจ” โดยเน้นผลิตบุคลากรด้าน 8 | DPU MAG

สื่อสารมวลชนสายเศรษฐกิจ เน้นเรียนเกี่ยว กับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เศรษฐศาสตร์ จุลภาคและมหภาค การวิเคราะห์พฤติกรรม การบริ โภคสื่อ โครงสร้างตลาดธุรกิจการ สื่อสารและอุตสาหกรรมการสื่อสาร ขณะ เดียวกันก็สามารถน�ำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ มาประยุกต์ ใช้ในการศึกษา สามารถวิเคราะห์ บทความ ข่าวเศรษฐกิจจากสือ่ ต่างๆ ได้อย่าง รอบด้าน อาทิ ด้านการค้า การลงทุน การเงิน อัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจมหภาค ภาวะ การจ้างงาน ภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนวิเคราะห์ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจต่อการท�ำธุรกิจ ทั้ง ในและต่างประเทศ ท�ำให้ผู้เรียนรู้จักประยุกต์ ใช้ความรู้วิชาเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ ข่าวเกีย่ วกับเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำ ระดับปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ ได้ เปิดหลักสูตรใหม่เช่นเดียวกัน คือหลักสูตร “เศรษฐกิจดิจิทัล” หลักสูตรนี้ได้เรียนรู้เกี่ยว กับโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ


การสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ระบบสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ร่วมกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารที่มีต่อสังคมสมัยใหม่ เทคนิคและ วิ ธี ก ารรั ก ษาความปลอดภั ย ของข้ อ มู ล ประเด็นทางอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ การ จั ด การความเสี่ ย ง การจั ด การข้ อ มู ล ให้ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ กระบวนการวิ เ คราะห์ แ ละ ออกแบบข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร รวมถึงการ เรียนเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การ ตลาดดิจิทัลและสื่อใหม่ เมื่อจบไปแล้วผู้เรียน สามารถก้าวสู่อาชีพนักวิจัยด้านเศรษฐกิจ ดิจิทัล นักวิเคราะห์ ผู้ก�ำหนดนโยบายและ วางแผนโดยใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศด้ า น เศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงสาขาวิชาให้มี ความทันสมัยเพื่อตอบรับการขยายตัว ก้าว เข้าสูส่ อื่ ดิจทิ ลั และตลาดแรงงานทีเ่ ปลีย่ นไปใน ปัจจุบนั โดยปรับจากหลักสูตรเดิมคือ นิเทศ

ศาสตร์บัณฑิต “สาขาวิชาวารสารศาสตร์” เป็นหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต “สาขา วิชาการสื่อสารมวลชนและนวัตกรรมสื่อ” โดยได้เพิม่ รายวิชาทีต่ อบโจทย์คนยุคใหม่ อาทิ การเล่าเรื่องข้ามสื่อ ภาษาเพื่องานสื่อสาร มวลชนและนวัตกรรมสื่อ จริยธรรมสื่อสาร มวลชนและนวัตกรรมสื่อ การเขียนรายงาน ข่าววิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งประกอบอาชีพได้ หลากหลาย ได้ แ ก่ นั ก ประชาสั ม พั น ธ์ นักโฆษณา นักสื่อสารการตลาด นักสื่อสาร มวลชน นั ก แสดง นั ก พากย์ นั ก เขี ย น ช่างภาพ นักจัดรายการ และผูผ้ ลิตสือ่ เป็นต้น การยกเครื่ อ งหลั ก สู ต รในครั้ ง นี้ นั บ เป็ น การตอกย�้ ำ ความเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ก้าวหน้า Progressive University สานต่อ แนวคิดของผู้บริหารที่จะน�ำเสนอการศึกษาที่ ดีให้กบั เยาวชน โดยมหาวิทยาลัยฯ ยังคงเดิน หน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตที่ มี คุ ณ ภาพอั น จะเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ในการ พัฒนาประเทศชาติต่อไป

DPU MAG | 9


PROGRESSIVE PEOPLE

DPU เปิดวิทยาลัยนานาชาติ

DPU-ICSC

หวังผลิตบุคลากรรองรับภาคธุรกิจอย่างมืออาชีพ

มหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ เปิ ด วิ ท ยาลั ย แห่ ง ใหม่ ภายใต้ ชื่ อ วิ ท ยาลั ย นานาชาติสังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ (DPU-ICSC) ขยายโอกาสการศึกษาโดย เน้นการเรียนการสอนแบบสากล ในรูปแบบ 3 ภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาจีน เพื่อรองรับการเติบโตของภาค ธุรกิจในอนาคต ดร.ฮาเวล กู้ คณบดีวทิ ยาลัยนานาชาติ สังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ (DPU-ICSC) กล่ า วว่ า การจั ด ตั้ ง วิ ท ยาลั ย นานาชาติ สังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ (DPU-ICSC) ได้รับความร่วมมือจากหลายมหาวิทยาลัย ชั้ น น� ำ ของโลก โดยเปิ ด สอนในหลั ก สู ต ร สังคมศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารภาครัฐ 10 | DPU MAG

และภาคเอกชน และหลักสูตรนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ทั้งใน ระดั บ ปริ ญ ญาตรี และปริ ญ ญาโท โดย อาจารย์ผสู้ อนเป็นอาจารย์ชาวต่างชาติ เป็น ผูท้ มี่ คี วามรูค้ วามสามารถ มีความเชีย่ วชาญ และเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก เช่ น จากออสเตรเลี ย สหรั ฐ อเมริ ก า สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ “เรามีการจัดตัง้ คณะกรรมการวิชาการ และการก� ำ กั บ ดู แ ลการเรี ย นการสอน เพื่อก�ำหนดรูปแบบการเรียนการสอนให้เข้า กับกระแสสังคมโลก รวมถึงดูแลและควบคุม มาตรฐานของหลักสูตรให้มีคุณภาพตาม หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการ เรียนการสอนทีเ่ ป็นสากลในรูปแบบ 3 ภาษา

ซึง่ จะเน้นทีภ่ าษาจีนกลางเป็นหลัก เสริมด้วย ภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อต้องการ ผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมทั้งด้านภาษา และวิชาชีพควบคู่กันไป” คณบดี กล่าว นอกจากนี้ ดร.ฮาเวล ยังกล่าวต่อว่า DPU-ICSC เป็นวิทยาลัยแห่งแรกและแห่ง เดี ย วของประเทศ เป็ น พั น ธมิ ต รกั บ ม ห า วิ ท ย า ลั ย ชิ ง ห ว า ( T s i n g h u a University) โดยร่วมมือกันในด้านวิชาการ หลักสูตรการเรียนการสอน รวมไปถึงงาน วิ จั ย ต่ า งๆ และยั ง ได้ ร ่ ว มมื อ กั บ องค์ ก าร สื่อสารมวลชนทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา สาธารณะรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมฝึกปฏิบัติงานจาก สถานที่ จ ริ ง เช่ น โรงละครบรอดเวย์


ดร.ฮาเวล กู้ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติสังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์

ที่นิวยอร์ก สถานีโทรทัศน์ CCTV กรุงปักกิ่ง สถานีโทรทัศน์ TVB ที่ฮ่องกง ฯลฯ เพื่อเป็น เวทีให้นกั ศึกษาได้ลงมือฝึกปฏิบตั สิ คู่ วามเป็น มืออาชีพ “นั ก ศึ ก ษาส่ ว นใหญ่ ที่ เ ข้ า มาเรี ย นที่ DPU-ICSC เป็ น นั ก ศึ ก ษาจี น ส� ำ หรั บ นักศึกษาไทยเราก็ ไม่ปิดกั้นโอกาสทางการ ศึกษา แต่ผู้เรียนต้องมีความรู้พื้นฐานภาษา จีน โดยทางวิทยาลัยได้จดั คอร์สสอนภาษาจีน ปรับพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ นักศึกษาอย่างน้อย 4-5 เดือนก่อนเรียนจริง จึงมัน่ ใจได้วา่ ระดับความสามารถของภาษาจะ ไม่ เ ป็ น อุ ป สรรคต่ อ การเรี ย นในวิ ท ยาลั ย นานาชาติสังคมศาสตร์และนิเทศศาสตร์” ดร.ฮาเวล กล่าว นั บ เป็ น อี ก หนึ่ ง ความก้ า วหน้ า ของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ ไม่หยุดยั้งใน การพั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ ใ หม่ พร้ อ มสร้ า ง บุคลากรทีม่ คี วามรูแ้ ละสามารถปฏิบตั งิ านได้ อย่างมืออาชีพ

ประวัติคณบดี

Dr. Howell Gu ชาวจีนสัญชาติ ออสเตรเลีย คณบดีวทิ ยาลัยนานาชาติสงั คม ศาสตร์และนิเทศศาสตร์ (International College of Social Sciences and Communication: ICSC) ส�ำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิ ท ยาลั ย ซิดนีย์ (University of Sydney) ประเทศ ออสเตรเลี ย และส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเอก คณะสั ง คมศาสตร์ สาขา เศรษฐศาสตร์และการจัดการด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงสิบปีทผี่ า่ นมานีม้ ปี ระสบการณ์ดา้ น การจัดการศึกษานานาชาติ ขณะเดียวกันก็ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานสมาคมเต้นร�ำสากล (International Dancing Sport Union: IDSU) และต�ำแหน่งผู้บริหารกลุ่มการศึกษา นานาชาติ –อเมริ ก า (AIEE Education Group) อีกด้วย DPU MAG | 11


SMART TIPS

เด็ก DPU เรียนดี กิจกรรมเด่น เป๊ะเว่อร์ Smart Tips ฉบับนี้ จะพาไปรู้จักกับตัวแทนแทนนศ. DPU หนุ่มสาววัยใสที่ไม่ว่าจะเรียน หรือท�ำกิจกรรม พวกเขาก็ทำ� ออกมาได้เป๊ะทัง้ คู่ จะมีเทคนิคอะไรให้เราได้นำ� มาปรับใช้บา้ ง ลอง ติดตามกันเลยค่ะ เริ่มต้นด้วยสาวสวยนักกีฬา “เฟิร์น” นางสาวศวิตา นามวงษ์ นศ.คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปี 3 วัย 20 ปี เกรดเฉลีย่ 3.97...ท�ำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ ?... “คุณพ่อสนับสนุนค่ะ ประกอบกับวางแผนว่า ตอนเฟิร์นเรียนจบประเทศไทยก็ก้าวเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนพอดี การเรียน ด้านนี้จะท�ำให้เรามี โอกาสในการท�ำงานมาก ขึ้น”...ท�ำกิจกรรมอะไรบ้าง ? …“กิจกรรม ส่วนของเฟิร์น จะเน้นไปด้านกีฬาว่ายน�้ำ ได้มี โอกาสเป็ น ตั ว แทนไปแข่ ง ขั น กี ฬ าระดั บ มหาวิทยาลัยและแข่งขันไตรกีฬา เป็นรอง ประธานชมรมว่ า ยน�้ ำ สอนว่ า ยน�้ ำ ให้ กั บ สมาชิ ก ชมรม และชอบท� ำ กิ จ กรรมอาสา สมัครต่างๆ ด้วย” ...กิจกรรมเยอะขนาดนี้ รู้สึกเหนื่อยบ้างไหม ?... “เหนื่อยบ้างแต่ก็ สนุกดีค่ะ เพราะได้ท�ำกิจกรรมที่เรารัก อีก อย่างกิจกรรมยังท�ำให้สงั คมเรากว้างขึน้ รูจ้ กั หน้าที่ของตัวเอง มีความรับผิดชอบ และมี วิ นั ย มากขึ้ น ”…การเรี ย น VS กิ จ กรรม ท�ำอย่างไรให้ออกมาดีทั้งคู่ ?.... “ต้องรู้จัก แบ่ ง เวลา รู ้ ว ่ า เวลานั้ น อะไรส� ำ คั ญ มุ ่ ง มั่ น และท�ำให้เต็มที่ค่ะ”

12 | DPU MAG

กิจกรรมอาสาต่างๆ ด้วยครับ”...หลายคน อาจจะมองว่าการท�ำกิจกรรม คือการเสีย เวลา?... “แต่ผมคิดว่า กิจกรรมจะช่วยท�ำให้ เราเป็นคนที่มีทักษะเพิ่มขึ้น ซึ่งวันหนึ่งทักษะ เหล่านี้ก็จะสามารถต่อยอดสู่การท�ำงานจริง ในอนาคตได้ ” …การเรี ย น VS กิ จ กรรม ท�ำอย่างไรให้ออกมาดีทงั้ คู่ ?.... “การบริหาร จัดการเวลาเป็นสิง่ ส�ำคัญ ผมจะจดบันทึก ลง ตารางทุ ก ครั้ ง ที่ มี กิ จ กรรม เพื่ อ จะได้ ไ ม่ พลาด”

“ไห่เหวิน” นาย จารุเกียรติ์ ศรีสุวรรณ นศ. คณะเศรษฐศาสตร์ ชั้นปี 4 วัย 22 ปี เกรดเฉลีย่ 3.32 ...ท�ำไมถึงเลือกเรียนสาขา นี้ ?... “ต้องยอมรับตรง ๆ เลยว่า ตอนแรก ไม่รู้ด้วยซ�้ำ ว่า “เศรษฐศาสตร์” คืออะไร แต่ โดยส่วนตัวเป็นคนชอบคิด วิเคราะห์ สนใจใน เศรษฐกิจ ชอบพูดคุยเพือ่ แลกเปลีย่ นมุมมอง คุณน้าเลยแนะน�ำว่าถ้ามีลักษณะนิสัยแบบนี้ น่าจะเลือกเรียน “คณะเศรษฐศาสตร์”...ท�ำ กิจกรรมอะไรบ้าง ?… “ผมเป็นคนไม่ชอบอยู่ เฉยๆ การท� ำ กิ จ กรรมจึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ผ ม โปรดปรานมาก เริ่มจากปี 1 ก็จะท�ำกิจกรรม คณะ ปี 2 ก็ได้รบั ความไว้วางใจให้เป็นประธาน ชมรม ปี 3 เป็นประธานคณะ ล่าสุดปี 4 ก็ได้ เป็นนายกสโมสรนักศึกษา ระหว่างทางก็ได้ทำ�


มาต่อกันด้วยหนุ่มหล่อเสียงดี ดีกรีนัก แสดงไอดอลวัยทีน “มาร์ค” นายวิทวัส ท้าวค�ำลือ นศ.วิทยาลัยนานาชาติ หรือ DPU International College (DPUIC) สาขา English for Business Communication (IBEC) เกรดเฉลี่ยสะสม 4.00 Wow …ท�ำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ ?... “เพราะที่นี่เราจะได้เรียนกับเพื่อนจากหลาก หลายประเทศ มี โ อกาสได้ แ ลกเปลี่ ย น วัฒนธรรมและภาษาด้วย ...ท�ำกิจกรรมอะไร บ้าง ?... “มาร์คชอบร้องเพลงครับ เลยรวม ตัวกับเพื่อนๆ ตั้งวงดนตรีครับ ชื่อว่า IC Band ก็จะเล่นตามงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ก็ จ ะสนุ ก และมี ค วามสุ ข ทุ ก ครั้ ง ที่ ไ ด้ เ ล่ น ครับ”...กิจกรรมให้อะไรกับเราบ้าง ?...“ฝึก ให้เรารู้จักแบ่งเวลา มีความรับผิดชอบ รู้จัก ความสามัคคี คล้ายกับการเล่นดนตรี หาก แต่ละคนไม่ฝึกฝนเครื่องดนตรีของตัวเอง ไม่ ฝึกร้อง ไม่แกะโน้ต วงดนตรีก็ล่มได้” …การ เรียน VS กิจกรรม ท�ำอย่างไรให้ออกมาดี ทั้งคู่ ?.... “เวลาของคนเรามีเท่ากัน 24 ชม. ครับ การวางแผนและแบ่งเวลาจึงเป็นเรื่อง ส�ำคัญ แบ่งเวลาดีเราก็สามารถท�ำทุกอย่างให้ ออกมาได้ดีครับ ”

ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยหนุ ่ ม นั ก กิ จ กรรมตั ว ยง เจ้าของเพจ “เกิดมาเป็นเด็กกิจกรรม” ที่มี ยอดไลค์ ก ว่ า 20,000 ไลค์ “นนท์ ” นายอานนท์ บัวภา นศ.คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ชั้นปี 4 วัย 21 ปี เกรดเฉลี่ย 3.67 …ท�ำไมถึงเลือก เรียนสาขานี้ ?... “คิดว่าเป็นสาขาวิชาที่ค่อน ข้างท�ำงานได้หลากหลาย ได้เรียนรู้รอบด้าน ทั้ ง งานเบื้ อ งหน้ า และเบื้ อ งหลั ง การผลิ ต รายการวิทยุและโทรทัศน์ และได้เรียนในส่วน ของวิชาสาขาอื่นๆที่สามารถน�ำมาประยุกต์ ใช้ได้อีกด้วย ...ท�ำกิจกรรมอะไรบ้าง ?... “มี หลายส่ ว นครั บ เช่ น กิ จ กรรมของกลุ ่ ม นักศึกษาทุนครอบครัวหัวกะทิ กิจกรรมของ คณะนิ เ ทศศาสตร์ กิ จ กรรมของสโมสร นักศึกษา จะท�ำทัง้ เบือ้ งหน้าและเบือ้ งหลัง เช่น การออกแนะแนวการศึ ก ษาให้ นั ก เรี ย น ม.ปลาย ท�ำกิจกรรมนันทนาการ เป็นต้น แต่ ที่ โดดเด่นและท�ำมากที่สุด จะเป็นกิจกรรม เบื้องหน้า คือการเป็นพิธีกร” ...กิจกรรมให้ อะไรกับเราบ้าง ?... “การท�ำกิจกรรมบ่อยๆ จะได้เรียนรูท้ กั ษะและสิง่ ต่างๆอยูเ่ สมอ และเรา

ก็ จ ะมี ป ระสบการณ์ ได้ พ บปะเพื่ อ นใหม่ ก่อเกิดมิตรภาพดี และยังเป็นใบเบิกทางสู่ โอกาสในชีวิตอีกมากมาย …การเรียน VS กิจกรรม ท�ำอย่างไรให้ออกมาดีทั้งคู่ ?.... “การจัดสรรเวลาและเรียงล�ำดับความส�ำคัญ ให้คำ� นึงว่าในเวลานัน้ สิง่ ใดส�ำคัญกว่ากัน ก็ให้ เลือกท�ำสิ่งนั้นก่อนครับ” อ่ า นเรื่ อ งราวของหนุ ่ ม สาวเรี ย นดี นักกิจกรรมกันไปแล้ว จะเห็นได้วา่ เทคนิคของ แต่ละคนไม่ ได้แตกต่างกันเลย โดยต่างให้ ความส� ำ คั ญ กั บ “การบริ ห ารเวลา” และ “จัดล�ำดับความส�ำคัญ” เอ๊ะ...!! หรือนี่แหละ คือสูตรลับของความส�ำเร็จ ใครอยากเรียนดี กิจกรรมเป๊ะปังแบบนี้ก็ลองน�ำไปปรับใช้กัน นะคะ

DPU MAG | 13


SUCCESS

ดร. ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์

Green Planet Robot Challenge

มาในช่วงนี้ ใครๆ ก็ต้องเน้นเรื่องการ อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม โลกสีเขียว ในแวดวงการ แข่ ง ขั น หุ ่ น ยนต์ ก็ เ ช่ น กั น ที่ ล ่ า สุ ด มี ก าร แข่งขันภายใต้หัวข้อ “The Green Robot Challenge 2015” จัดโดยศูนย์การค้า สุพรีม คอมเพล็ก ร่วมกับ ส�ำนักงานการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดเป็นประจ�ำต่อเนื่อง มาหลายปี โดยมีแนวคิดให้นกั เรียน นักศึกษา และบุคคลทัว่ ไป ได้มีโอกาสคิด ออกแบบ และ พั ฒ นาหุ ่ น ยนต์ โ ดยบู ร ณาการความรู ้ วิชาการในห้องเรียน เข้ากับการลงมือปฏิบตั ิ เพื่อให้หุ่นยนต์ท�ำภารกิจได้ส�ำเร็จ โดยทีมจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เข้าร่วมในประเภทบุคคลทัว่ ไปซึง่ ส่วนมาก จะเป็นทีมจากระดับมหาวิทยาลัยและบริษทั ที่ เปิดสอนด้านหุ่นยนต์ มาเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา The Come 14 | DPU MAG

Back2 คว้ารางวัลชนะเลิศ และทีมลูกเจ้าแม่ คลองประปา The Come Back1 ได้รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 ภายใต้แนวคิดของเกม การแข่งขันที่จ�ำลองให้หุ่นยนต์ท�ำการปลูก ต้นไม้ หุ่นยนต์จะต้องเตรียมดินและน�้ำในจุด ที่ก�ำหนดและหยอดเมล็ดพันธุ์ ลงในหลุม ปลูก โดยจุดสุดท้ายหุน่ ยนต์จะต้องโยนเมล็ด พันธุ์ลงในกระบะที่อยู่สูงและห่างออกไปให้ ลง ถือเป็นการชนะทันที ด้วยการคิดโจทย์ ลักษณะนี้ จะเป็นการปลูกฝังส�ำนึกที่ดีต่อ ธรรมชาติให้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน แม้วา่ การแข่งขันนีจ้ ะเป็นจุดเริม่ ต้น โดย เป็นเพียงการจ�ำลองการปลูกเท่านั้น แต่ใน ต่างประเทศมีการใช้หุ่นยนต์ปลูกต้นไม้หรือ การย้ายต้นไม้ขนาดใหญ่อย่างประสบผล ส�ำเร็จ หรือแม้กระทั่งการดูแลต้นไม้ที่พึ่ง ปลูกก็เป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีจ่ ะช่วยให้ตน้ ไม้


มีโอกาสเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ตอ่ ไป นักศึกษา ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ได้เรียนรู้ที่จะน�ำสิ่งที่ ได้ศึกษาในห้องเรียน มาปฏิบัติจริง จะต้อง ค้ น คว้ า แก้ ป ั ญ หาใหม่ ๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เป็นการฝึกลงมือปฏิบตั ทิ จี่ ะเห็นผลลัพธ์จาก ภาคทฤษฎี และที่ส�ำคัญเป็นการสร้างความ มัน่ ใจการท�ำงานเป็นทีมและประสบการณ์ทดี่ ี เยี่ยมให้กับนักศึกษา ในอนาคตทีมหุ่นยนต์ลูกเจ้าแม่คลอง ประปาก็ยังคงท�ำหุ่นยนต์เป็น 3 แนวทางคือ หุ่นยนต์เพื่อการแข่งขันเป็นการฝึกความ พ ร้ อมของนั กศึ ก ษา หุ ่ น ย น ต ์ เพื่ อ อุตสาหกรรมเป็นการต่อยอดงานวิจัย เช่น หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ หรือ หุ่นยนต์ขนส่งในโรงงาน และหุ่นยนต์ เพื่องานบริการเช่นหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูง อายุและผู้ป่วย

วิทยาการหุ่นยนต์เป็นวิชาที่รวมสาขา วิ ช าอื่ น ๆ เข้ า ไว้ ด ้ ว ยกั น รวมทั้ ง ไฟฟ้ า เครือ่ งกล และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็น ประโยชน์ ท างการศึ ก ษามากหากน� ำ มา พัฒนาจะช่วยสรรสร้างนวัตกรรมใหม่อันจะ น�ำโลกไปสู่ความก้าวหน้าพร้อมกับพัฒนา โลกให้น่าอยู่ต่อไปอีกนาน

DPU MAG | 15


INTER ZONE

มารยาท

ในการขึ้นเครื่องบิน ส�ำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ อาจารย์สถาวร เลิศสุวรรณกุล อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาธุรกิจการบิน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม

“ถ้าจะบินไปเชียงใหม่ ต้องไปเช็คอินก่อน เครื่องออกกี่ชั่วโมง?” “กระเป๋าที่จะโหลด ใต้เครื่อง น�้ำหนักต้องไม่เกินกี่กิ โลกรัม?” “ถ้าน�ำ้ หนักกระเป๋าเกิน ต่อรองกับพนักงงาน ได้มั๊ย?” และค�ำถามอีกมากมายที่ประดังเข้า มาในหัวตลอดเวลา ดังนั้นคืนก่อนการเดิน ทางจึงไม่ง่ายเลยส�ำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ ที่จะได้ขึ้นเครื่องบินครั้งแรกจริงๆ แล้วการ เดินทางโดยเครื่องบินนั้น เริ่มตั้งแต่มาถึง สนามบินแล้ว ซึ่งโดยปกติควรมาท�ำการเช็ค อินที่เคาน์เตอร์เช็คอินก่อนเวลาเครื่องออก ซักพักใหญ่ๆ ซึง่ แต่ละสายการบินก็จะมีขอ้ ก�ำ หนดคล้ายๆ กัน เช่น ถ้าเดินทางโดยแอร์ เอเซีย เที่ยวบินภายในประเทศนั้นต้องท�ำการ

16 | DPU MAG

เช็คอินก่อนเวลาออกเดินทาง 45 นาที (หรือ 1 ชัว่ โมง) ส่วนถ้าเป็นเทีย่ วบินระหว่างประเทศ หรือบินไปกับแอร์เอเชียเอ็กซ์ ต้องท�ำการ เช็คอินอย่างน้อย 1 ชัว่ โมงก่อนเวลาออกเดิน ทาง แต่ นั่ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า จะมารี บ เช็คอินก่อนนานมากๆ ได้ เช่น บางคนคิดว่า เครื่องออก 9 โมงเช้า รีบมาสนามบินตั้งแต่ตี 4 ... อันนี้ก็เกินไป เพราะส่วนมากเคาน์เตอร์ เช็คอินจะเปิดบริการประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนเวลาออกเดินทางเท่านั้น เครื่องบินออก ตามเวลาครับ ถ้าคุณมาทัน เครือ่ งบินรอคุณ แน่นอน ด้านน�้ำหนักของกระเป๋าที่จะโหลดใต้ เครื่อง (Checked Bags) นั้น โดยทั่วไปจะ ก�ำหนดตามระยะทางบิน และประเภทของชั้น


โดยสาร เช่น ชั้นประหยัดนั้นจะได้น�้ำหนัก กระเป๋าที่ 30 กิโลกรัมต่อคน ชั้นธุรกิจได้ 40 กิโลกรัม และ ชั้นหนึ่งจะได้ที่ 50 กิโลกรัม เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายการบินอาจจะก�ำหนด ต่างกัน สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของ สายการบิ น นั้ น ๆ ประเด็ น คื อ ตอนขาไป (ขาออก) ไม่เท่าไหร่เพราะมีแต่ของจ�ำเป็น แต่ ตอนกลับนี่สิไม่รู้ของงอกมาจากไหน ซื้อกัน จนแทบจะปิดกระเป๋าไม่ลงดีไม่ดมี กี ระเป๋าเพิม่ มาอีกหลายใบ พอถึงหน้าเคาน์เตอร์เช็คอินก็ เลยมีปัญหาเรื่องน�้ำหนักกระเป๋าเกินจะต้อง เสียค่าปรับ บางคนว่าง่ายก็ยอมเสียเพิ่ม แต่ บางคนไม่ยอม ก็พยายามท�ำต่างๆ นาๆ มีทั้ง ต่อรอง ขอความเห็นใจ ด่าโวยวาย ร้องไห้ ถ่ายคลิป ท�ำร้ายร่างกาย หรือไม่กเ็ ปิดกระเป๋า จัดกันใหม่ตรงหน้าเคาน์เตอร์นนั่ แหละ แต่อย่า ลื ม ว่ า กระเป๋ า ที่ ถื อ ขึ้ น เครื่ อ ง (Carry-on Bag) หนักได้ไม่เกิน 7 กิโลกรัมต่อคน นะครับ ดั ง นั้ น เพื่ อ ความรวดเร็ ว ของทุ ก คนกรุ ณ า เตรียมให้พร้อมตั้งแต่ที่โรงแรมจะดีมาก ด้วยนิสัยที่นิ่งเป็นหลับขยับเป็นช็อปปิ้ง พอผ่านด่านต่างๆ มาแล้วก็จะเจอร้านค้า ปลอดอากรปลอดภาษีเต็มไปหมด บางคนก็ ซื้อกันเพลินจนลืมเวลาขึ้นเครื่อง รอจนเจ้า หน้าที่ประกาศเรียกชื่อค่อยรู้สึกตัว วิ่งกัน หน้าตาตื่นทั้งผู้โดยสารหน้าใหม่และเจ้าหน้าที่ ภาคพื้นมือใหม่ที่มาตาม เห็นภาพนี้ประจ�ำ

ตลกดีครับ คนนึงถือของพะรุงพะรัง อีกคน ถื อ วิ ท ยุ สื่ อ สารใส่ ส ้ น สู ง วิ่ ง กั น หน้ า ตาตื่ น พอได้ขึ้นเครื่องเป็นคนสุดท้ายก็ ได้รับเสียง ปรบมือเกรียวกราวจากผู้โดยสารเต็มเครื่อง ที่ก�ำลังนั่งรอคุณอยู่คนเดียว อารมณ์ตอน เดินไปที่นั่งแล้วทุกสายตามองมานี่มนั ช่างสุด ยอดจริงๆ ถึงแม้ว่าเครื่องบินสมัยนี้จะมีเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ไว้ ค อยบริ ก ารขณะเดิ น ทาง (IFE: In-flight Entertainment Systems) แต่ สภาพแวดล้อมในเครือ่ งบินนัน้ ตามธรรมชาติ ของมันส่งเสริมให้คนเดินทางเกิดความเครียด ได้ดี เพราะการที่คนเราต้องอยู่กับคนจ�ำนวน มากในพื้นที่จ�ำกัดเป็นเวลานานๆ มันเครียด ครับ แถมมีกฎข้อบังคับต่างๆ ทั้งที่รู้ไม่รู้อีก เยอะแยะท�ำให้จุดเดือดบางคนต�่ำกว่าปกติ เพราะฉะนั้นไม่ ใช่อะไรก็เอาแต่ความสะดวก ของตัวเองตามสไตล์ของคนรุน่ ใหม่ตอ้ งเห็นใจ คนอืน่ ด้วย เริม่ ตัง้ แต่การยกกระเป๋าเก็บบนที่ เก็บด้านบน (Overhead bin) นัน้ ไม่ใช่หน้าที่ ของพนักงานต้อนรับฯ ผู้โดยสารต้องท�ำเอง แต่บางคนจะช่วยยกอันนีก้ แ็ ล้วแต่ครับ ต่อมา กรุณารัดเข็มขัดตลอดเวลาขณะที่นั่งอยู่เพื่อ ความปลอดภัยของทุกคน เวลานั่งก็กรุณา เก็บเท้าของเราไว้ในที่ของเรา ไม่ใช่เอาไปพาด ที่ ว างแขนของคนข้ า งหน้ า หรื อ ข้ า งๆ แต่ อย่างไรก็ตามบางครั้งมันก็หลีกเลี่ยงไม่ ได้ท่ี

จะมีการกระทบกระทั่งกัน แต่ต้องระวังเพราะ ล่าสุดมีการออกพระราชบัญญัตวิ า่ ด้วยความ ผิ ด บางประการต่ อ การเดิ น อากาศ พ.ศ. 2558 ซึง่ ได้มกี ารระบุโทษไว้อย่างชัดเจน เช่น ถ้าทะเลาะกันท�ำร้ายร่างกายกัน อาจติดคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 80,000 บาท ถ้าเมาแล้ว หาเรื่อง อันนี้โทษสูงสุดคือติดคุก 5 ปี หรือ ปรับ 200,000 บาท อีกกรณีที่น่าสนใจและ ไม่คิดว่าจะมีคนท�ำ แต่ดันมีและไม่ใช่ครั้งเดียว ด้วย คือการผิดมาตรา 22 ว่าด้วยการแจ้ง ข้อความหรือส่งข่าวสารอันเป็นเท็จ เป็นเหตุ ให้ผู้อื่นตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้ง จาํ ทัง้ ปรับ ดังนัน้ ถ้าอยากคุยกับพนักงานต้อ นรับฯ หรือหาเพือ่ นใหม่ มุขเกีย่ วกับ “ระเบิด” อย่าใช้นะครับ จะเห็ น ได้ ว ่ า ข้ อ มู ล ต่ า งๆ นั้ น สามารถ ค้นหากันเองได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งคนรุ่น ใหม่อย่างเราๆ (ขอเป็นพวกหน่อยนะ) เรื่อง การหาข้อมูลนี่ไม่เกินความสามารถเลย และ พอรู้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับแล้ว อย่าลืมเรื่อง มารยาทในการอยู่ร่วมกันด้วย คิดถึงคนอื่น ให้มากหน่อย เอาใจเขามาใส่ ใจเรา และมีสติ ตลอดเวลา ... และขอให้เดินทางปลอดภัย นะครับ ....

DPU MAG | 17


AROUND CAMPUS

รางวัลประชาบดี

DPU Place โรงแรมที่เป็นมิตร ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ศิวนารถ ต่อสิ่งแวดล้อม 2558 หงษ์ประยูร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ ผูผ้ ลิตรายการ Deaf Channel 2 และรายการใจเท่ากัน ที่ได้เข้ารับประทาน รางวัล “ประชาบดี” เชิดชูเกียรติผู้ท�ำคุณ ประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ ในภาวะยากล�ำบาก จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสม สวลี พระวรราชาทิ นั ด ดามาตุ จั ด โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์

18 | DPU MAG

โรงแรม DPU Place รั บ โล่ G (Green Hotel) สถานประกอบการที่ผ่านการประ เมินฯ โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปี 2558 อาจารย์วชั รินทร์ เมฆา ผูจ้ ดั การทัว่ ไป หน่วยบริการปฏิคม โรงแรม DPU Place มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เข้ารับมอบโล่ ตราสัญลักษณ์ G (Green Hotel) เพื่อ แสดงให้เห็นว่า โรงแรม DPU Place เป็น โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปี 2558 ในระดั บ ดี จากกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ


รัฐธรรมนูญกับการใช้อ�ำนาจรัฐ

ลงนามความร่วมมือ

งานวันภาษาไทยแห่งชาติและสัมมนา รศ.ดร. สมบู ร ณ์ วั ล ย์ สั ต ยารั ก ษ์ วิ ท ย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จับมือ ธนาคาร งานวัฒนธรรม รองอธิ ก ารบดี ส ายงานวิ ช าการ พร้ อ ม ผู ้ บ ริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ ถ่ า ยภาพร่ ว มกั บ รศ.วุ ฒิ ส าร ตั น ไชย เ ล ข า ธิ ก า ร สถาบั น พระปกเกล้ า และ ศ . ด ร . บ ร ร เ จิ ด สิ ง ค ะ เ น ติ ค ณ บ ดี คณะนิ ติ ศ าสตร์ ส ถาบั น บั ณ ฑิ ต พั ฒ น บริ ห ารศาสตร์ ในงานเสวนาวิ ช าการ หัวข้อ “รัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบการ ใช้ อ� ำ นาจรั ฐ ” ณ มหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บัณฑิตย์

ไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) ลงนามความ ร่วมมือทางการศึกษาในรายวิชาสหกิจศึกษา โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ าก รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ และ คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้ จัดการใหญ่ ผูบ้ ริหารสูงสุดทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) เป็น ผู้ลงนามความร่วมมือด้านวิชาการในครั้งนี้ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ศูนย์วฒ ั นธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติและสัมมนางาน วั ฒ นธรรมซึ่ ง จั ด ขึ้ น เพื่ อ อนุ รั ก ษ์ ศิ ล ป วัฒนธรรมไทย สร้างความรู้และความเข้าใจ มี เ จตคติ ที่ ดี และเห็ น คุ ณ ค่ า ทางศิ ล ป วัฒนธรรมไทย โดย ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง ผู้อ�ำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานในพิธี ภายใน งานพบกั บ กิ จ กรรมพิ พิ ท ธพาที เรื่ อ ง “บทบาทละครย้อนยุคในสังคมปัจจุบนั ” โดย คุ ณ นั น ทวั น เมฆใหญ่ สุ ว รรณปิ ย ะศิ ริ ผศ.พิศศรี กมลเวชช ที่ปรึกษาอธิการบดี คุณนันทวัน รุ่งวงศ์พาณิชย์ นักเขียนบท ละครโทรทัศน์ ต่อด้วยกิจกรรมการแสดง นาฏศิลป์ชดุ “เซิง้ กระติบ๊ ” ของนักศึกษาจีน เอกภาษาไทย และกิจกรรมการขับร้องเพลง ไทยของนักศึกษาจีน และปิดท้ายด้วยการ แสดงจินตลีลาชุด “บ้านทรายทอง” จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

DPU MAG | 19


OPINION

“ส�ำรวจทุนมนุษย์ ไทย เมื่อก้าวสู่ AEC” ศักยภาพการแข่งขันหรือตัวฉุดรั้งการพัฒนา

ส�ำรวจทุนมนุษย์กับศักยภาพแข่งขันทางเศรษฐกิจเมื่อเข้าสู่ AEC พบ “สิงคโปร์” อันดับ 1 ตามด้วยมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขณะที่ไทยอยู่อันดับปานกลาง พบทุนมนุษย์สูง กว่าอินโดนีเซียแต่ศักยภาพแข่งขันท�ำได้น้อยกว่า ด้านภาคธุรกิจสะท้อนการศึกษาไม่ตอบ โจทย์ความต้องการของภาคประกอบการและทิศทางการพัฒนาประเทศ พบธุรกิจ SME ไทย สัดส่วนสูงถึง 2.4 ล้านราย แต่ 1 ใน 3 มีอายุขัยเพียง 3 ปี เหตุขาดแรงงานที่มีทักษะ หลากหลาย ผลิตก�ำลังคนไม่ตรงกับงาน ชี้จุดคานงัดพัฒนาก�ำลังคนเริ่มที่จังหวัดง่ายกว่า ประเทศถึง 100 เท่า น�ำร่องผลิตคนให้ตรงกับทิศทางเศรษฐกิจ 3 จังหวัด “เชียงใหม่-ภูเก็ตตราด”

20 | DPU MAG


เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ร่วมกับคณะ กรรมการส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรูแ้ ละคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดแถลง ข่าว “ส�ำรวจทุนมนุษย์ ไทยเมื่อก้าวสู่ AEC” ศั ก ย ภ า พ ก า ร แ ข ่ ง ขั น ห รื อ ตั ว ฉุ ด รั้ ง การพั ฒ นา ดร.เกี ย รติ อ นั น ต์ ล้ ว นแก้ ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานวิจัย ม.ธุรกิจ บัณฑิตย์ นักเศรษฐศาสตร์แรงงาน กล่าวว่า จากการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ ในปี 2015 โดยเวทีเศรษฐกิจโลก หรือเวิลด์อี โคโนมิคฟอรั่ม เพื่อสะท้อนถึงความส�ำคัญ ของการลงทุนและการพัฒนาด้านทรัพยากร มนุ ษ ย์ ต ลอดช่ ว งชี วิ ต โดยมี ก ารจั ด อั น ดั บ ประเทศทั้งสิ้น 124 ประเทศ พบว่าไทยอยู่ใน อันดับปานกลางที่ 56 โดยมีสิงคโปร์เป็น ประเทศทีม่ กี ารพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ตามด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย

“ปั ญ หาใหญ่ ข องไทยคื อ ขาดแคลน แรงงานที่มีทักษะ ซึ่งอยู่ ในอันดับที่ 5 ของ อาเซียน และอันดับที่ 69 ของโลก ขณะที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ มีความ สามารถในการจ้ า งแรงงานที่ มี ทั ก ษะได้ มากกว่า ส่วนประสิทธิภาพแรงงานไทยในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมาพบว่าผลิตภาพแรงงานไทยอยู่ ไนระดับคงที่ เนื่องจากการผลิตส่วนใหญ่ยัง คงใช้แรงงานไร้ฝมี อื โดยเฉพาะภาคเกษตรและ ภาคผลิ ต อุ ต สาหกรรมสิ่ ง ทอ นอกจากนี้ ความขาดแคลนทักษะแรงงานที่หลากหลาย เพื่ อ สร้ า งศั ก ยภาพการแข่ ง ขั น ของกลุ ่ ม ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งมีจ�ำนวนถึง 2.7 ล้านราย โดย 1 ใน 3 มีแนวโน้มจะปิดตัวลงภายใน 3 ปี หลังจากเริ่มกิจการ นอกจากนี้ สิ่งที่น่าห่วง คือหลังเปิด AEC ในปลายปี 58 แรงงาน

ศตวรรษที่ 21 ทีม่ คี วามรูแ้ ละการเปลีย่ นแปลง ทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว สิง่ ส�ำคัญคือต้อง สอนให้ เ ด็ ก ยุ ค ใหม่ มี ทั ก ษะในการท�ำ งานที่ จ�ำเป็น เช่น การท�ำงานร่วมกับผูอ้ นื่ ความคิด สร้างสรรค์ และการแก้ปัญหากลับมีความ ส�ำคัญมากขึ้น” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว คุณธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ นักวิชา การสสค. กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพ ประชากรให้ตอบโจทย์ทศิ ทางการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศต้องท�ำใน 2 กลุม่ ที่ ส�ำคัญคือ กลุ่มแรงงานในปัจจุบัน และ กลุ ่ ม เด็ ก เยาวชนที่ จ ะเป็ น แรงงานใน อนาคต โดยจุดคานงัดของการพัฒนา พบว่า การจัดการในพืน้ ทีจ่ งั หวัดง่ายกว่า ระดับประเทศถึง 100 เท่า และยังสอดรับ กั บ ทิ ศ ท า ง แ ผ น พั ฒ น า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ที่ มี ก ารแบ่ ง กลุ ่ ม อุตสาหกรรมและการบริการ หากมีการ ความเชื่ อ มโยงเรื่ อ งการเรี ย นและการ พั ฒ นา ทั ก ษะที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการของตลาดแรงงาน ท�ำให้เกิดการ ผลิตบัณฑิตไม่ตรงตามความต้องการ ของตลาดแรงงานและการพั ฒ นา เศรษฐกิจ ปัจจุบันมีจ�ำนวนนักศึกษาไทย ที่ โรงเรียนสายสังคมศาสตร์ ธุรกิจและ กฎหมายสูงที่สุดจ�ำนวนถึงร้อยละ 53 ขณะที่สายวิศวกรรมการผลิตและการ ก่ อ สร้ า งมี เ พี ย งร้ อ ยละ 9 สาย วิทยาศาสตร์ร้อยละ 8 และการบริการ พัฒนาคนในพื้นที่รองรับจะเป็นการพัฒนาที่ ร้อยละ 1.8 เท่านั้น “ซึ่ ง มุ ม มองจากภาคธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ ยั่งยืน ซึ่งขณะนี้ สสค.ได้ด�ำเนินการใน 3 คุ ณ ภาพการศึ ก ษาพบว่ า ประเทศไทยได้ จังหวัดน�ำร่องคือ เชียงใหม่ ตราด และภูเก็ต คะแนนคุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ จากการแถลงข่าว นักวิชาการต่างห่วง และวิทยาศาสตร์ต�่ำกว่าประเทศที่มีระดับทุน ว่าคนไทย อาจปรับตัวรับการแข่งขันไม่ได้ ซึ่ง มนุ ษ ย์ ใ กล้ เ คี ย งกั น โดยนั ก ธุ ร กิ จ ไทยให้ สะท้อนผ่านทักษะแรงงาน และระบบการศึกษา คะแนนคุณภาพการศึกษาในระดับ 3.89 ซึ่ง ของไทยในปัจจุบัน ดังนั้นสิ่งเร่งด่วนที่ ไทย ต�่ำกว่าเวียดนาม และอินโดนีเซีย และยังพบ ต้องมีการปรับตัวคือการจัดการศึกษาใหม่ ที่รองรับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ปัญหาลูกจ้างขาดทักษะ ตามที่นายจ้างคาดหวังในทุกด้าน ทั้ง หมั่นเติมทุนมนุษย์ด้วยการ ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะในอนาคตหาก การค�ำนวณ การบริหารจัดการ หรือแม้แต่ ไม่มีการปรับระบบการศึกษาใหม่จะท�ำให้มี ทักษะความสามารถเฉพาะทางวิชาชีพ ดังนัน้ ปัญหาการผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงาน การจัดการศึกษาเพียงล�ำพังของโครงสร้าง ท� ำ ให้ ศั ก ยภาพการแข่ ง ขั น ในการเข้ า สู ่ และสถาบันที่เป็นทางการจึงไม่เพียงพออีก AEC ของไทยไม่สามารถสู้กับประเทศเพื่อน ต่อไป แต่ตอ้ งเปิดกว้างให้ภาคเอกชน ท้องถิน่ บ้านได้ และหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมมือ เพราะโลกยุค

ต่างด้าวในภาคการผลิตส�ำคัญของไทยจะ เคลือ่ นย้ายกลับประเทศ ซึง่ จะท�ำให้แรงงานมี ปัญหามากขึ้นอีก” ดร.เกียรติอนันต์ กล่าว ด ้ า น ศ . ด ร . ส ม พ ง ษ ์ จิ ต ร ะ ดั บ คณะกรรมการ สสค. กล่าวว่า ข้อค้นพบ ส�ำคัญจากการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุน มนุษย์พบว่า ระบบการศึกษาของไทยยังขาด

DPU MAG | 21


EDUCATION LIFE

มิดาวน- เดือ-น DPUพาส ปี 2558 ผ่านไปแล้วกับการประกวด ดาว-เดือน ปี 2558 ซึง่ การแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้นท�ำ เอาหลายๆ คนลุน้ จนตัวโก่ง และสุดท้ายผูค้ ว้า ต�ำแหน่ง ดาว-เดือน ของมหาวิทยาลัยไป ครอง ได้แก่ “น้องมิน” นางสาวมินนภา พึ่ ง ยนต์ และ “น้ อ งพาส” นายพั ช รพล สันติพร จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ พร้อมแล้วมารู้จักกับทั้งสอง คนกันเลยค่ะ ท�ำไมถึงเลือกเรียนที่นี่ ?? มิน : พาส :

มิน 22 | DPU MAG

เมื่อก้าวมาครั้งแรกรู้สึกได้เลยค่ะว่า ทีน่ อี่ บอุน่ ทัง้ อาจารย์ รุน่ พี่ ก็ตอ้ นรับ มินเป็นอย่างดี ผมชอบทีน่ นี่ ะ เพราะเป็นมหาวิทยาลัย ชั้ น น� ำ ที่ มี สื่ อ การเรี ย นพร้ อ มให้ นักศึกษาได้เรียนรู้ เดินทางก็สะดวก ครับ เพราะอะไรถึงมาประกวด ดาว - เดือน DPU มิน : รุน่ พีแ่ นะน�ำมาค่ะ ในระหว่างประกวด ก็มีเพื่อนๆ รุ่นพี่ รวมทั้งอาจารย์ ใน คณะก็คอย support เราในทุกๆ เรือ่ งด้วยค่ะต้องขอบคุณมากๆ ทีท่ กุ คนดูแลมินเป็นอย่างดี พาส : ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อยากลอง อะไรใหม่ ๆ เป็ น สิ่ ง ที่ ท ้ า ทายความ สามารถของเราดีครับ เพราะได้แสดง ความสามารถของตนเอง และได้เป็น แบบอย่างที่ดีของคนอื่นๆ ด้วยครับ


เทคนิคการเรียนและการแบ่งเวลา มิน : พาส :

จัดล�ำดับความส�ำคัญของงาน มินจะแยกความ ส�ำคัญให้ออกว่างานไหนควรส่งก่อน หรือหลัง ทะยอยท�ำทีละอย่างไม่ทิ้งไว้นาน จะช่วยให้ท�ำงาน ง่ายขึ้นค่ะ พอได้เป็นเดือน มหาวิทยาลัยก็มงี านมาติดต่อเยอะ ขึ้นท�ำให้เวลาเรียนน้อยลง ผมจึงต้องใช้เวลาที่ ว่ า งที่ เ หลื อ ทบทวนบทเรี ย น เวลาเรี ย นก็ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและท�ำความเข้าใจกับเนื้อหา ที่เรียน และท�ำงานส่งอาจารย์ ให้ตรงเวลาครับ เพราะตรงนีจ้ ะบอกถึงความรับผิดชอบของเราด้วย

ผลงานปัจจุบัน มิน : พาส :

พาส

ตอนนีม้ นิ มีงานแสดง คือ ละครธรรม น�ำชีวิต ช่อง 3 HD, ช่อง 7 เรื่อง แก้วหน้าม้า แสดงเป็น เมธาวดี , MV เพลงเมียผู้ ใหญ่บ้าน , ละคร เขยซ่ า ส์ พ่ อ ตาแสบ ของช่ อ ง จ๊ะทิงจาทีวี ยังไงก็ฝากทุกคนติดตาม ให้ก�ำลังใจมินด้วยนะคะ >///< ผลงานก็มีเล่นมิวสิควิดี โอและเล่น หนังสั้นให้กับรุ่นพี่ และก็เป็นตัวแทน นั ก กี ฬ า บ า ส เ ก ต บ อ ล ข อ ง มหาวิทยาลัยครับ กิจกรรมต่างๆที่ท�ำให้ประโยชน์อย่างไร กับเราบ้าง มิน : พาส :

มิ น เชื่ อ ว่ า การท� ำ กิ จ กรรมต่ า งๆ จะท� ำ ให้ เ รามี ป ระสบการณ์ ใ หม่ ๆ นอกเหนือจากห้องเรียน อย่างเช่น แสดงละคร ท� ำ ให้ มิ น เป็ น คนกล้ า แสดงออกและยังพัฒนาศักยภาพ ด้านการแสดงมากขึ้น ผมว่าการท�ำกิจกรรมจะช่วยให้เรา รู้จักกับเพื่อนมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์ การเล่นกีฬา นอกจาก จะช่วยให้รา่ งกายแข็งแรงแล้ว ก็ชว่ ย ให้เราผ่อนคลายจากการเรียนด้วย นะครับ

DPU MAG | 23


GRADUATE

“ชะลอวั ย

และฟื้นฟูสุขภาพ” ศาสตร์ของคนรักสุขภาพ

ศาสตร์ชะลอวัยหรือ Anti-Aging ก�ำลัง เป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิด ธุรกิจทางด้านสุขภาพและความงามเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง แรกเริม่ การศึกษาศาสตร์ทาง ด้ า นนี้ มี เ ฉพาะในอเมริ ก าและยุ โ รปเท่ า นั้ น ผนวกกับค่าใช้จา่ ยทีส่ งู ลิว่ ท�ำให้โอกาสเข้าถึง การศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ถูกจ�ำกัดเฉพาะ กลุ่ม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เล็งเห็น ถึ ง แนวโน้ ม กระแสโลกที่ ค วามส� ำ คั ญ ด้ า น สุขภาพจึงเปิด “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟืน้ ฟู สุขภาพ” เพื่อสร้างบุคลากรทางการแพทย์ ที่สามารถให้ค�ำแนะน�ำด้านสุขภาพแบบองค์ รวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสามารถ ดู แ ลสุ ข ภาพของตนเองและผู ้ ใ กล้ ชิ ด ให้ มี คุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างถูกต้อง

24 | DPU MAG

นายแพทย์มาศ ไม้ประเสริฐ ผู้อ�ำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


นายแพทย์มาศ ไม้ประเสริฐ ผู้อ�ำนวย การหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิ ช าวิ ท ยาการชะลอวั ย และฟื ้ น ฟู สุ ข ภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ศาสตร์ การชะลอวัยเป็นความรูเ้ กีย่ วกับพืน้ ฐาน ทาง ด้านการแพทย์และด้านสุขภาพ ที่ ให้ความ ส�ำคัญในเรื่องของสาเหตุและที่มาของความ เสื่อมของสุขภาพ โดยเน้นให้รู้จักการแก้ไขที่ ต้นเหตุของปัญหาทางด้านสุขภาพได้อย่างมี ประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักทางการ แพทย์ “หลักสูตรชะลอวัยและฟืน้ ฟูสขุ ภาพ เปิด การเรียนการสอนมากว่า 4 ปี ส่วนใหญ่ผทู้ มี่ า เรียนจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่ ต้องการพัฒนาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพของ ตนเอง สามารถแยกแยะได้ ว ่ า สิ่ ง ไหนเป็ น ประโยชน์ต่อสุขภาพ สิ่งไหนควรปฏิบัติ หรือ อาหารประเภทไหนควรรับประทาน กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือ นักโภชนาการ ฯลฯ ที่ต้องการน�ำความรู้ ไปต่อยอดในการ ประกอบวิชาชีพหรือธุรกิจได้ และกลุม่ สุดท้าย คือ กลุม่ ของบุคลากรทีม่ าเรียนวิทยาศาสตร์ เฉพาะด้านชะลอวัย” ผู้อ�ำนวยการหลักสูตร กล่าวถึงจุดเด่น ของหลักสูตรว่า มหาวิทยาลัยเน้นให้ผู้เรียน ทุกคนมีความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อน�ำวิชาที่เรียน ไปต่อยอดในการท�ำธุรกิจจริง จึงได้เพิ่มวิชา ใหม่ซึ่งเป็นวิชาที่ยังไม่เคยเปิดสอนที่ ไหนมา ก่อน คือ “วิชากฎหมายและธุรกิจเพื่อความ งาม” ผูเ้ รียนจะได้เรียนรู้ในเรือ่ งของการตลาด สามารถน�ำความรู้ไปต่อยอดในการประกอบ ธุ ร กิ จ ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง โดยมี อ าจารย์ ผู้ เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ แพทย์ ทนายความ อัยการหรือผูพ ้ พ ิ ากษาคดี มาถ่ายทอดประสบการณ์ ให้ผเู้ รียนได้รถู้ งึ ข้อ ควรระวังและปัญหาที่เคยเกิดขึ้น

“คณาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ป็นแพทย์ เกือบ 90% และเรายังได้เพิ่มคณาจารย์ ใน ส่วนของวิชาความรูพ ้ นื้ ฐานทางวิทยาศาสตร์ ผูเ้ ชีย่ วชาญเพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เข้าใจอย่างชัดเจน ถูกต้อง นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังได้เชิญ อาจารย์พิเศษหรือผู้ประกอบธุรกิจชื่อดังที่ ประสบความส�ำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล เอกชน คลิ นิ ค ความงาม สปา ฯลฯ มา ถ่ายทอดประสบการณ์ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูจ้ ริง จากประสบการณ์ จ ริ ง ” นายแพทย์ ม าศ กล่าวปิดท้ายถึงการพัฒนาด้านการแพทย์วา่ จุดประสงค์เดียวของการแพทย์ ในอนาคต ไม่ ใ ช่ แ ค่ พั ฒ นาด้ า นการรั ก ษาเท่ า นั้ น สิ่ ง ส�ำคัญทีส่ ดุ คือ ต้องพัฒนาระบบสาธารณสุข และบุคลากรด้านการแพทย์ของประเทศทั้ง ระบบด้วยให้มีคุณภาพด้วย “ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ” จึงเป็นอีก หนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจ ที่มุ่งหวังให้ผู้เรียน เกิดความรู้ความเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพ อย่างถูกต้อง รวมถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยง ต่างๆ ทีจ่ ะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพร้อม จะพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ในศาสตร์ ของสุขภาพให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

DPU MAG | 25


หมอแนน

พญ.ศรินภรณ์ ลิขิตธรรมกุล แพทย์ผิวหนังประจ�ำผิวดีคลินิค ก�ำลังศึกษา หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ “เวชศาสตร์ชะลอวัย หรือ Anti-Aging มั น เหมื อ นการต่ อ ต้ า น โดยในความเป็ น จริงแล้วคนเราทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยง ความแก่ ความเจ็บ ความตายได้ แต่ว่าเรา สามารถดูแลและชะลอกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ก่อนหน้านี้ตัวเราเองก็ไม่ ได้สนใจในการดูแล เรื่องสุขภาพเท่าไร จนได้มีโอกาสมาลงคอร์ส เรียน “เวชศาสตร์ชะลอวัย ส�ำหรับประชาชน” ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดขึ้น โดยลง คอร์สเรียนถึง 4 ครั้ง ซึ่งมันท�ำให้รู้ว่าศาสตร์ ชะลอวัยเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจและเราเองก็ ต้องการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง จึงตัดสินใจเข้า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาโท ในหลั ก สู ต ร วิ ท ยาการชะลอวั ย และฟื ้ น ฟู สุ ข ภาพที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พอได้มาเรียนศาสตร์การชะลอวัย เรารับ รู้ ได้เลยว่าทุกอย่างล้วนแล้วเกิดขึ้นเพราะ

หวานหวาน อรุณณภา พาณิชจรูญ ดาราและนักแสดง

ก�ำลังศึกษา หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ “เมื่ อ ก่ อ นคิ ด ว่ า การเรี ย นในหลั ก สู ต ร ดีๆ ในการจ�ำ แต่เราเองก็ตอ้ งมีความตัง้ ใจและ ชะลอวัยต้องเป็นแพทย์หรือผู้ที่ท�ำงานด้าน ต้องขยันทบทวนบทเรียนเช่นกัน การแพทย์ แต่พอศึกษาดูไม่ใช่เฉพาะแพทย์ที่ หลังจากที่เรียนได้สักระยะ เริ่มมองอะไร เรียน จบการตลาด จบวิศวกรรมศาสตร์ ก็ เป็นเหตุเป็นผลมากขึน้ เมือ่ ก่อนอ่านนิตยสาร เรียนได้ หากมีความสนใจก็สามารถเรียนได้ เกี่ยวกับสุขภาพ เขาบอกว่าการกินวิตามินซี โดยส่ ว นตั ว เองก็ มี ค วามสนใจในการดู แ ล จะช่วยป้องกันหวัด แต่เราก็อ่านไปโดยที่ไม่รู้ สุขภาพควบคู่กับการออกก�ำลังกายอยู่แล้ว ว่าแล้วตัววิตามินซี ไปเข้าไปท�ำงานยังไงกับ พอมีเวลาว่างจากงานละครก็รบี มาลงเรียนใน ร่ า งกายเรา พอเรี ย นเราสามารถคิ ด และ หลักสูตรนี้เลยค่ะ วิเคราะห์ ได้ว่าสิ่งที่กินเข้าไป มันเข้าไปช่วย ตอนแรกกังวลกลัวว่าจะเรียนไม่เข้าใจ เข้าไปเสริมกับร่างกายของเรายังไงบ้าง ตอน เพราะมันเป็นวิชาที่ต้องอิงกับวิทยาศาสตร์ นี้ก�ำลังน�ำสิ่งที่เรียนไปปรับใช้ ในการดูแลตัว แต่อาจารย์ผู้สนใจอธิบายให้เราเข้าใจได้ง่าย เอง ดูแลครอบครัวและคนรอบข้าง บ้างคนก็ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาลาติน ค�ำนี้แปลว่าอะไร โทรมาถาม ไลน์มาถามก็มี เพราะสิ่งที่เรา พอเอาไปต่ อ ท้ า ยกั บ อี ก หนึ่ ง ค� ำ จะแปลว่ า แนะน� ำ เขามั น มี ที่ ม าที่ ไ ปจริ ง ๆ ว่ า เกิ ด จาก สลาย หรือแปลว่าสร้าง อาจารย์จะมีเทคนิค อะไร” 26 | DPU MAG

การกระท�ำของเราเอง การกิน การพักผ่อน การปฏิ บั ติ ต น เพราะร่ า งกายของมนุ ษ ย์ เหมือนกัน มีกลไกเหมือนเดิม แต่เราจะดูแล และเข้าใจมันมากขึ้น บางอย่างที่ทางแพทย์ ปัจจุบันอธิบายไม่ได้ แต่การแพทย์ทางเลือก มีค�ำอธิบายได้ โดยยึดหลักทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถน�ำไปวิเคราะห์และรักษากับคนไข้ ได้จริง คนไข้ได้รับผลดีขนึ้ หมอเองก็ Happy หลักสูตรนี้ถือเป็นหลักสูตรเวชศาสตร์ ชะลอวัยที่ดีที่สุดในโลก และนับถือในตัวของ อาจารย์ผสู้ อนทุกท่าน การเรียนในห้องก็สนุก มากๆ เพราะมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์มา แชร์กรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้ถกเถียง วิเคราะห์หาเหตุผล ตอนเรียนในห้องทุกคนจะ สนใจมากเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่ผิดหวังที่ เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ค่ะ”


ON THE WAY

“Sevendays Cafe and Bakehouse” คาเฟ่สุดโปรด..ของเด็ก DPU “ข้าวไก่ย่างน�้ำจิ้มแจ่ว”

“Matcha Frappe Extra Whipped Cream” “Caramel Bamb”

“ข้าวซี่ โครงหมูอบ”

สวัสดีปีวอกค๊า...กลับมาพบกันอีกเช่น เคยกับ DPU MAG เจ้าเก่าเจ้าเดิม..แต่ที่เพิ่ม เติมคือความแซ่บ!!!! เพราะคอลัมน์ On The Way ฉบับนี้จะพิเศษสุดๆ เพราะเราจะพาทุก ท่านไปนั่งจิบกาแฟในบรรยากาศชิลล์ๆ ทอด อารมณ์ยามว่างกับคาเฟ่สไตล์ชคิ ๆ ถ้าอยาก รู้ว่าจะเป็นที่ไหน ตามกันมาเลยเจ้าค๊า...... “Sevendays Cafe and Bakehouse” คาเฟ่สุดชิคของเด็ก DPU ที่ตั้งอยู่ด้านหลัง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เป็นร้าน คาเฟ่น่ารักบรรยากาศสบายๆ แต่งร้านด้วย โทนสีส้มและสีน�้ำตาลดูอบอุ่นเหมาะกับการ นั่งพักผ่อน ติวหนังสือ คิดงานกลุ่ม หรือ จะจับกลุ่มนั่งเมาท์ก็แล้วแต่ชอบ “คุณปลา” เจ้าของร้าน เล่าว่า “ปกติเป็น คนทีช่ อบเลข 7 จึงเอาเลข 7 มาตัง้ ชือ่ ร้านเลย ได้ ชื่ อ ว่ า “Sevendays Cafe and Bakehouse” โดยตั้งใจเปิดร้านแบบไม่มีวัน หยุด ตัง้ แต่วนั จันทร์ ถึง วันอาทิตย์ เพราะคิด ว่าคนเราต้องทานอาหารทุกวัน และอยากจะ ต้อนรับลูกค้าทุกคนทีเ่ ข้าร้านอย่างเต็มใจ และ อยากให้ประทับใจในการบริการและต้องชื่น ชอบรสชาติของอาหารด้วย”

หากใครที่ได้เคยแวะมาลิ้มลองรับรองได้ ว่าจะไม่ท�ำให้ทุกคนผิดหวัง เพราะคาเฟ่แห่งนี้ อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ ทั้งของคาว ของ หวานและเครื่องดื่มหลากรส อาหารจานเด็ด คงจะหนีไม่พ้น “ข้าวซี่โครงหมูอบ” เนื้อนุ่ม ละลายในปาก หอมกลิ่นพริกไทย เสิร์ฟกับ ข้างสวยร้อนๆ ทานกับไข่ต้มยางมะตูมและ น�้ำซุป ใสรสชาติเยี่ยม มาฟินกันต่อที่ “ข้าวไก่ ย่างน�้ำจิ้มแจ่ว” เป็นข้าวไก่ย่างที่หน้าตาแสน จะธรรมดา แต่ขอบอกว่ารสชาติเข้มข้น ทาน คู่กับน�้ำจิ้มแจ่วสูตรเด็ดไม่เหมือนใคร ไปฟินกันต่อกับชาเขียวรสเลิศ “matcha frappe extra whipped cream” โดยทาง ร้านใช้ผงชาเขียวเกรดดีเยี่ยม เข้มข้นหอม อร่ อ ย เพราะชาเขี ย วน� ำ เข้ า จากญี่ ปุ ่ น แท้ 100% เรียกว่าคัดสรรของดีทสี่ ดุ มาเอาใจคน รักชาเขียว ตบท้ายด้วย “Caramel Bomb” สุขกับช็อคโกแลตไหลเยิม้ ด้านในฉ�ำ่ ด้วยคาราเมล ทานคู่กับไอศรีมวนิลาหวานเย็นอร่อยชื่นใจ นัน่ แหนะ!!! ว่าแล้วก็เก็บของคว้ากระเป๋า แล้วไปเจอกันที่ร้านเลยค่ะ ร้านเปิดทุกวันไม่มี วั น หยุ ด ตั้ ง แต่ เ วลา 10.30-21.00 น. นะคะ...รับรองว่าฟินกันถ้วนหน้าแน่นอนค๊า ^^ DPU MAG | 27



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.