www.dpu.ac.th DPU MAG
คุยกันก่อน
สวัสดีทกุ ท่านครับ DPU MAG เล่มนี้ ด�ำเนินการมาถึงช่วงทีป่ ระเทศไทย ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 อย่างเต็มที่แล้ว พวกเราในนามของสถาบัน การศึกษาก็ได้จัดกระบวนการเพื่อให้ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตที่จะรองรับ งานในอนาคตไว้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการทีอ่ ธิการบดีของมหาวิทยาลัย ได้มนี โยบายในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นมหาวิทยาลัย ที่จะมีระบบการสร้างนักศึกษาที่จะมีความพร้อมมากๆ ด้วยการศึกษารูป แบบใหม่ ที่ทุกท่านจะได้เริ่มเห็นใน DPU MAG ฉบับนี้ ขอให้ติดตามการ เปลี่ยนแปลงของเรา นับแต่นี้ไปครับ “เพราะโลกเปลี่ยนไปแล้ว จะเรียนและ สอนแบบเดิมไม่ได้แล้วครับ”
ผศ.ดร. ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ รองอธิการบดีสายงานสื่อสารแบรนด์
Contents
ที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ศิลปกรรม ที่อยู่
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพียรศิริ เอกนิยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ ประภัสสร มณฑา, ธนัชพร เทพทวี, สงคราม ม่วงมะลิลัย, เกศริน จิตอ�่ำ, จารุวัลย์ ชัยวงค์, พัชรา สุขใย กวิน จันทรโตษะ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชืน่ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
www.dpu.ac.th E-mail : pr_dpu@dpu.ac.th Line : @dpu_progressive (มี @ ข้างหน้าด้วยนะ) FB : dpu.ac.th Twitter : @dhurakijpundit Instagram : dpu_dna DPU MAG
คุยกันก่อน Update สิ่งละอันพันละน้อย Progressive Life In Focus Progressive People Smart Tips Success Inter Zone Around Campus Opinion Education Life Graduate On tee Way
2 3 4 6 8 10 12 14 16 18 20 22 24 26
UPDATE
เน้นการคิด ผลิตนวัตกรรม สร้างธุรกิจขับเคลื่อนประเทศ Thailand 4.0 เป็นการวางแผนเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ และจะพัฒนาไปได้อย่างเต็มที่อย่างมีศักยภาพ ในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ต้องปฏิวัติตัวเองเพื่อรองรับต่อการ เปลีย่ นแปลง และสร้างกลุม่ คนยุคใหม่ ให้มคี ณ ุ ภาพ มีทกั ษะในการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาอาชีพในอนาคต ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในขณะที่ทุกภาคส่วนต่างขานรับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เพือ่ ช่วยกันขับเคลือ่ นประเทศไทยให้แข็งแรงและมัน่ คง มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ (DPU)ในฐานะสถาบันการศึกษาได้ปรับการเรียนการสอนใหม่ของ มหาวิทยาลัย มุง่ ผลักดันให้นกั ศึกษาทุกคนมีธรุ กิจ Start up ภายใต้แนวคิด “Real-World Business in Education” ท�ำให้นักศึกษาพบความส�ำเร็จ โดยไม่ต้องรอให้เรียนจบ ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ประเทศในอนาคต ดร.ดาริกา ลัทธพิพฒ ั น์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า เราต้องการเน้นสร้างนักศึกษาเพือ่ ตอบโจทย์ธรุ กิจของโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะการสร้างทักษะด้านธุรกิจให้กบั นักศึกษาทุกคน โดยปลูกฝัง DNA ของการท�ำธุรกิจ ไม่ว่าจะเรียนในคณะไหนสาขาอะไร ก็จะมีการเรียนวิชา หมวดพืน้ ฐานที่ ให้ความรูร้ อบด้านเกีย่ วกับ Thailand 4.0 เพือ่ ทีจ่ ะต่อยอด การท�ำธุรกิจบนพื้นฐานความต้องการของประเทศ “เรามองว่าการศึกษาเป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาคนทีจ่ ะน�ำองค์ความ รู้ไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศในด้านอืน่ ๆ ดังนัน้ การศึกษาไทยควรเน้น กระบวนการสร้างและพัฒนาให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ผลงานที่มีนวัตกรรมใหม่ ในอนาคต โดยที่ผ่านมาเราให้ความส�ำคัญกับ หลักสูตรด้านธุรกิจมาโดยตลอด แต่ ในปัจจุบันโลกของความเป็นจริงและ โลกของธุ ร กิ จ เป็ น เรื่ อ งที่ ซั บ ซ้ อ นมากขึ้ น เราจึ ง ก� ำ หนดทิ ศ ทางของ มหาวิทยาลัยให้ชัดเจนในการปฏิรูป New Business ของประเทศ เพื่อให้ สอดรับกับทิศทางการพัฒนาของภาครัฐภายใต้แนวคิด Thailand 4.0 ใน การขับเคลื่อนประเทศเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศทั้ง 5 อุตสาหกรรม เช่น ด้านธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยว ด้านอาหารและธุรกิจ สุขภาพ ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นผู้น�ำในการด�ำเนินธุรกิจในกลุ่ม ประเทศอาเซียนและประเทศจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ” โดยในปีการศึกษา 2560 จะเพิม่ ความเข้มข้นในการเรียนรูป ใหม่ ภาย ใต้ “Real-World Business in Education” ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ฝึก คิด วิเคราะห์ วางแผน น�ำไปสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือนวัตกรรม เรียนรู้ และเติบโตตามศักยภาพ ซึง่ นักศึกษาทุกคนจะได้เรียนเริ่มต้นท�ำธุรกิจของ ตนในศาสตร์ท่ีเรียนตั้งแต่หมวดวิชาศึกษาทั่วไปในปี 1 ซึ่งจะมีการเรียน
สังคมและเศรษฐกิจไทย 4.0 เศรษฐกิจดิจิทัล โลกของ AI และ IOTs นวัตกรรม หุ่นยนต์ เป็นต้น และเพิ่มความเข้มข้นในวิชาเอกที่จะมีรูปแบบการเรียนวิชา Capstone ซึ่งเป็นแนวทางการสอนเพื่ออนาคตโดยเน้นสร้างไอเดียในสถานที่ อ�ำนวยความสะดวกด้านอุปกรณ์ครบครัน เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจในการเริ่มต้น ท�ำธุรกิจ Startup โดยนักศึกษาจะได้เรียนรูก้ ารท�ำแผนธุรกิจ วางแผนธุรกิจอย่าง เป็นระบบ พร้อมหาแหล่งเงินทุนในการท�ำธุรกิจ เมื่อมีไอเดีย มีการวางแผนที่ดี มีแหล่งเงินทุนที่พร้อมสนับสนุนไอเดีย ต้องลงมือท�ำธุรกิจจริง ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ดังนัน้ ก่อนจบการศึกษานักศึกษาทุกคนจะมีธรุ กิจ Startup ติดตัวเป็นผลงานคนละ 1 project นอกจากนีย้ งั ให้ความส�ำคัญกับวิธกี ารสอนแบบใหม่ลดการเรียนรูเ้ ชิงเทคนิค และการท่องจ�ำ แล้วหันไปให้น�้ำหนักกับการสร้างทักษะในการเรียนรู้และปรับตัว ของผูเ้ รียนให้สามารถปรับตัวให้ทนั ต่อความเปลีย่ นแปลงกระแสโลกได้ตลอดเวลา สนับสนุนกระบวนการคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์นวัตกรรม ในการ ท�ำธุรกิจ Startup พร้อมจัดเตรียมพื้นที่สร้างสรรค์ ไอเดียใหม่ ให้นักศึกษาได้ ทดลองและเรียนรู้ ในการลงมือปฏิบตั จิ ริงผ่าน Maker Space พืน้ ทีก่ ารเรียนรูแ้ นว ใหม่ที่ ให้นักศึกษาได้มาลองคิด ลองลงมือปฏิบัติ เรียนรู้จากข้อผิดพลาด หา แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้อง ด้านอาจารย์ผู้สอนจะเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่จะไม่ประเมินจากคะแนนในห้อง สอบ แต่จะประเมินจากผลงานหรือนวัตกรรมที่นักศึกษาท�ำว่าประสบความส�ำเร็จ มากน้อยอย่างไร และเปลี่ยนสถานะจากผู้บรรยายเป็นโค้ชที่ค่อยให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำ ชี้แนวทางในการท�ำธุรกิจ Startup ให้ประสบความส�ำเร็จ พร้อมหาเครือ ข่ายหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้นักศึกษา ได้เรียนรู้ ในสายงานจริง “เราคาดหวังว่านักศึกษาของ DPU ทุกคนจะต้องมีแนวคิดหรือมีธุรกิจ Startup ที่สร้างนวัตกรรมของผู้ประกอบการในยุคดิจิตอล พร้อมสร้างบุคลากร ที่พบความส�ำเร็จ โดยไม่ต้องรอให้เรียนจบ พร้อมมีคุณภาพในสายวิชาชีพต่างๆ สู่สังคมเป็นแรงส�ำคัญของประเทศชาติ ให้เดินหน้าอย่างมีศักยภาพ พร้อมขับ เคลื่อนประเทศได้อย่างยั่งยืน” DPU MAG
3
สิ่งละอันพันละน้อย
9 ค�ำที่พ่อสอน
“9 ค�ำที่พ่อสอน” ซึ่งเป็นผลงานของทีมที่มีชื่อว่า Lovefitt ดังปรากฏใน อิ น เตอร์ เ น็ ต มาจากการรวบรวมพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ในหลายๆ โอกาส มีดังต่อไปนี้ 1 ความเพียร การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้าน เมืองก็ตาม มิ ใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้ เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำ� คัญทีส่ ดุ คือความอดทนคือไม่ ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้น ท�ำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึท�ำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการท�ำให้ ดี ไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะ เห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516)
รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4
DPU MAG
2 ความพอดี ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือ หลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดี ไม่ท�ำ เกินฐานะและก�ำลัง หรือท�ำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึง ค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าใน ระดับสูงขึน้ ตามต่อกันไปเป็นล�ำดับผลทีเ่ กิด ขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์ แท้ แ ละยั่ ง ยื น (พระบรมราโชวาท ในพิ ธี พระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540) 3 ความรู้ตน เด็กๆ ท�ำอะไรต้องหัดให้รตู้ วั การรูต้ วั อยู่ เสมอจะท� ำ ให้ เ ป็ น คนมี ร ะเบี ย บและคนที่ มี ระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและท�ำการ งานต่าง ๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคน ที่จะสร้างความส�ำเร็จและความเจริญให้แก่ ตนเองและส่ ว นรวมในอนาคตได้ อ ย่ า ง แน่นอน (พระบรมราโชวาท พระราชทานลง พิมพ์ ในหนังสือ วันเด็ก ประจ�ำปี 2521) 4 คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับ และจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยว นี้ด้วยเมือ่ รับสิง่ ของใดมา ก็จะต้องพยายาม ให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้าง ความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ท�ำให้หมู่ คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจ ซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ ไหนได้ก็ช่วย ด้วย จิตใจที่เผื่อแผ่ โดยแท้ (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521)
5 อ่อนโยน แต่ ไม่อ่อนแอ ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษา มารยาทอั น ดี ง ามส� ำ หรั บ สุ ภ าพชน รู ้ จั ก สัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่ออ่ นแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์สว่ น ตัวเพื่อส่วนรวม (พระบรมราโชวาท ในพิธี พระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496) 6 พูดจริง ท�ำจริง ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ท�ำอย่าง นั้น จึงได้รับความส�ำเร็จ พร้อมทั้งความ ศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วท�ำ คือ พูดจริง ท�ำจริง จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญในการส่งเสริม เกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้าง เสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ บุคคลและส่วนรวม (พระบรมราโชวาท ในพิธี พระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540)
7 หนังสือเป็นออมสิน หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์ ได้สร้างมา ท�ำมา คิดมาแต่ โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่ง ส�ำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็น ออมสิน เป็นสิ่งที่จะท�ำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้ โดยแท้ (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ คณะสมาชิกห้องสมุดทัว่ ประเทศ ในโอกาสที่ เข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท วั น ที่ 25 พฤศจิกายน 2514) 8 ความซื่อสัตย์ ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต เป็ น พื้ น ฐานของ ความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรม ให้เกิดขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็น คนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญ มั่นคง (พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อ เชิญลงพิมพ์ ในหนังสือวันเด็ก ปีพทุ ธศักราช 2531)
9 การเอาชนะใจตน ในการด�ำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจ ไม่กระท�ำสิง่ ใดๆ ทีเ่ รารูส้ กึ ด้วยใจจริงว่าชัว่ ว่า เสือ่ ม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความ ประพฤติทกุ อย่างทีร่ สู้ กึ ว่าขัดกับธรรมะ เรา ต้องกล้าและบากบัน่ ทีจ่ ะกระท�ำสิง่ ทีเ่ ราทราบ ว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็น ธรรม ถ้าเราร่วมกันท�ำเช่นนี้ ให้ได้ จริงๆ ให้ ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วย ค�้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วย ให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นล�ำดับ (พระราชด�ำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการ ประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513)
สมบัติอันล�้ำค่าวางอยู่ข้างหน้าแล้ว ถ้าไม่น�ำไปขบคิดต่อและปฏิบัติ ก็จะ เป็นการเสียโอกาสในชีวิตอย่างยิ่ง
DPU MAG
5
Progressive Life
โดดเด่นทุกคณะทุกวิทยาลัย
“ดาว – เดือน” DPU 2016
นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเหล่าบรรดาน้องใหม่ก็ต้องผ่านพ้นกิจกรรมการ ต้อนรับ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสานสัมพันธ์ พิธีบวงสรวง และพิธีบายศรีสู่ขวัญ ทั้งนี้ก็เพื่อ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุน่ น้อง รุน่ พีน่ นั้ เอง และทีพ ่ ลาดไม่ได้แถมยังเป็นกิจกรรม ที่สร้างสีสันให้น้องใหม่ได้คึกคัก และสนุกสนานไม่น้อย ก็คงไม่พ้น กิจกรรมการประกวด “ดาว-เดือน” ซึ่งแต่ละคณะจะคัดสรรหนุ่มหล่อ สาวสวยมากความสามารถมาประชันโฉม และโชว์ความสามารถพิเศษ เพื่อชิงชัยคว้าต�ำแหน่ง “ดาว-เดือน” มหาวิทยาลัยไปครอง
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรม และการบัญชี (CIBA) บริหารธุรกิจ ท๊อป นายญาณวุฒิ สวนยา กิ่ง นางสาววณิชยา ศิริกัญญา
6
DPU MAG
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรม และการบัญชี (CIBA) การบัญชี ฮิวโก้ นายเถลิงศักดิ์ ทั่งทอง น้อท นางสาวอดิศา สาทแก้ว
และคอลัมน์ Progressive Life ฉบับนี้ จะพาทุกคนไปท�ำความรูจ้ กั กับหนุม่ สาวดาว เดือนแต่ละคณะ จากรั้ว DPU มาให้รู้จักกัน ค่ะ
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรม และการบัญชี (CIBA) หลักสูตรนานาชาติ นิค นายณัฏฐ์สันต์ทัศน์ กิตติกวางทอง แก้ม นางสาวอริสา เทียวบรรเทิง
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภูมิผา นายศุภกร ศรียาภัย จิจิ นางสาวจิราพร ช่างเพ็ชรผล
คณะนิเทศศาสตร์ แมน นายสุพศิน แสงรัตนทองค�ำ เรย์ นางสาวภัทราพร เกตุแก้ว
วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและ ธันวา นายธันวา พานทอง วิศวกรรมศาสตร์ (CITE) เทคโนโลยีสารสนเทศ นอแนน นางสาวอรณี ยางธิสาร ชาล์ว นายชญช์ชอนพัช วิริยาทรพันธุ์ น�้ำตาล นางสาวนภัสสร ศิริกัณหา
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ซีนุ๊ก นายณัฐดนัย ชูชื่น ออย นางสาวศิรินารถ ยุติธรรม
วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและ วิศวกรรมศาสตร์ (CITE) วิศวกรรมศาสตร์ อู๋ นายธนกฤต เช้ากระจ่าง มุกดา นางสาวปาณิสรา เกิดทอง
คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ วิทยาลัยนานาชาติจีน – อาเซียน ลปศาสตร์ บอมป์ นายกฤษณกัณฑ์ คุ้มแถว คณะศิ Song Chenyu นายซ่ง เฉินหยู่ บี ส นายสิ ท ธิ เ ดช วิ ช ย ั ดิ ษ ฐ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ออม นางสาวกรรวี ญาณฤทธิ ์ Li Yang นางสาวหลี่ ยาง บั ว นางสาวสี ท อง ดวงแก้ ว เจเจ นายเทพฤทธิ์ ตันมี โอ้เอ้ นางสาวพิมลพรรณ เพ็ญสวัสดิ์ DPU MAG
7
In Focus
DPU มีดี...ต้องขอโชว์ 7 วิทยาลัย และ 6 คณะตอบโจทย์อนาคต สวัสดีค่ะ DPU MAG ฉบับใหม่ ไฉไลกว่าเดิม..มาแล้วค๊า นับเป็นอีกปีที่ DPU ก�ำลังก้าวสู่ปีที่ 49 ก้าวแห่งการ พัฒนา ก้าวแห่งคุณภาพ ดังนัน้ วันนีข้ ออวดของดีมคี ณ ุ ภาพล�ำ้ หน้ากับ 7 วิทยาลัย 6 คณะ ทีต่ อบโจทย์อนาคต Thailand 4.0 อ่านจบแล้วจะรู้ว่าของดีมีอยู่จริง!!! เริ่ ม กั น ที่ วิ ท ยาลั ย แรก วิ ท ยาลั ย บริ ห ารธุ ร กิ จ นวั ต กรรมและการบั ญ ชี (College of Innovative Business and Accountancy :CIBA) เป็นการผนึกก�ำลัง ของ 4 คณะได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะ การบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัย นานาชาติ โดยบริหารจัดการแบบ Innovative management เป็นการบูรณาการร่วม กันของ 4 คณะ 10 สาขาวิชาและ15 หลักสูตร ทั้ ง ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ปริ ญ ญาโทและ ปริญญาเอก เปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตร International program หลักสูตร Bilingual และ หลักสูตร Trilingual
8
DPU MAG
ต่อมา วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (College of Innovative Technology and Engineering :CITE) เป็นการผนึกก�ำลังระหว่าง 2 คณะ ได้ แ ก่ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละคณะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการ ระหว่างศาสตร์ทางด้านไอทีและวิศวกรรม โดยมุ่งเน้น Data เป็นส่วนส�ำคัญ เน้นความ คิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญทางด้าน เทคโนโลยีแนวใหม่เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ ความรู้ ในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและ นวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (College of Integrative Medicine:CIM) เป็นสถาบันบ่มเพาะแพทย์และบุคลากรการ แพทย์ดว้ ยแนวคิด “สอนคนให้เป็นหมอ”และ “สอนหมอให้เป็นคน” พร้อมผลักดันธุรกิจ ด้าน Healthcare ส่งเสริมสุขภาพ บ�ำบัดโรค ฟื้นคืนสุขภาพ และการชะลอวัยให้กับผู้คน ร่วมสมัย
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้าน การบิน(College of Aviation Development and Training : CADT) ทีม่ งุ่ เน้นผลิต พั ฒ นา และฝึ ก อบรมนั ก ศึ ก ษาสู ่ ก ารเป็ น บุ ค ลากรด้ า นการบิ น ที่ มี คุ ณ ภาพและมี มาตรฐาน ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อรองรับต่อความต้องการและป้อนสู่ อุตสาหกรรมการบินระดับนานาชาติ พร้อม สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของ ไทยให้มคี ณ ุ ภาพทัดเทียมนานาชาติ วิทยาลัย นี้มีทีเด็ดตรงที่นักศึกษาทุกคนจะได้เรียนและ ฝึกปฎิบัติบนเครื่องบินจริง!!! มาถึงวิทยาลัยใหม่แกะกล่อง วิทยาลัย ครีเอทีฟดี ไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยี (College of Creative Design and Entertainment Technology หรือ ANT) ที่มุ่งสร้างนักสร้างสรรค์ที่สามารถ ผสมผสานงานศิลปะ และเทคโนโลยี เพือ่ ตอบ โจทย์ Digital Lifestyle ของคนยุคใหม่ นอกจากนี้ DPU ยังมีวทิ ยาลัยทีเ่ ปิดการ เรียนการสอนที่เป็นภาษาจีนถึง 2 วิทยาลัย ด้วยกัน คือ วิทยาลัยนานาชาติจีน-อาเซียน (CHINA-ASEAN International College : CAIC) และ วิทยาลัยนานาชาติสงั คมศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ (International College of Social Sciences and Communication : ICSC) ซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญา ตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีสาขาวิชา ให้เลือกเรียนหลากหลาย ใครทีส่ นใจเข้าเรียน ใน 2 วิทยาลัยนี้ ต้องมีทกั ษะด้านภาษาจีนพอ สมควร เพราะการเรียนการสอนทั้งหมดเป็น ภาษาจี น อาจารย์ เ ป็ น อาจารย์ ที่ ม าจาก ประเทศจีน และเพื่อนๆ นักศึกษาส่วนใหญ่ เป็นนักศึกษาชาวจีนเพราะมีนกั ศึกษาจีนทีม่ า เรียนที่ DPU กว่า 2,500 คน ซึง่ มากทีส่ ดุ เป็น อันดับ 1 ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เรียกได้ว่าเป็นสังคมชาวจีนย่อมๆ เลยแหละ
เมือ่ 6 วิทยาลัยผ่านไป ก็ถงึ คิวน�ำเสนอ 6 คณะ ขอบอกว่าอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ จริงๆ เริม่ ต้นจาก คณะนิตศิ าสตร์ปรีดพ ี นมยงค์ ทีเ่ ปิดการเรียนการสอนตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2518 กับปณิธานทีว่ า่ “นักกฎหมายต้องถึงพร้อมซึง่ คุณธรรม” โดยหลักสูตรของ คณะได้รบั การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งให้มคี วามทันสมัยและสอดคล้องต่อความต้องการ ของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตส�ำนึกในหลักวิชาชีพกฎหมาย และมีความรับผิด ชอบต่อสังคม ตามมาติดๆ กับคณะรัฐประศาสนศาสตร์มงุ่ สร้างบุคลากรภาครัฐที่ พร้อมด้วยความรู้ ความสามารถให้มีคุณธรรมเข้มข้นด้วยการบริหารงานภาครัฐ ครอบคลุมงานราชการในส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าค ส่วนท้องถิน่ รัฐวิสาหกิจ และองค์การ มหาชน เพือ่ รองรับความต้องการในอาชีพภาคราชการ ส่วน คณะการท่องเทีย่ วและการโรงแรม ได้จดั การเรียนการสอนเพือ่ รองรับการ เติบโตของอุตสาหกรรมด้านการท่องเทีย่ ว โดยสร้างบุคลากรด้านการท่องเทีย่ วและการ โรงแรมให้มคี วามรู้ ความสามารถ เสริมสร้างทักษะการสือ่ สารภาษาประเทศ เพือ่ ปฏิบตั ิ งานด้านการท่องเทีย่ วได้อย่างมีคณ ุ ภาพ มากันต่อกับความน่าค้นหาในศาสตร์ของภาษา ใน คณะศิลปศาสตร์ มุ่งเน้นพัฒนาและสร้างบุคลากรของประเทศที่มีความรู้ความ เชีย่ วชาญศาสตร์ทางด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และ ภาษาญีป่ นุ่ ให้สามารถ สื่อสารความหมายทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและการแปลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและถูกต้อง โดยมุง่ เน้นทักษะการเจรจาทางธุรกิจ อีก 2 คณะทีพ ่ กความเจ๋งมาโชว์ เริม่ ด้วย คณะศิลปกรรมศาสตร์ ทีม่ งุ่ เน้นให้ผู้ เรียนได้ออกแบบงานศิลป์ ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายใต้การคิดอย่าง สร้างสรรค์ และสามารถท�ำงานได้อย่างมีทกั ษะในความเชีย่ วชาญเฉพาะด้าน สอนทัง้ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ นอกจากนีย้ งั มีเวทีทพ ี่ ร้อมเปิดโอกาสให้ผเู้ รียนได้นำ� ผลงาน มาโชว์และแลกเปลีย่ นความรูก้ นั อย่างเต็มที ่ ปิดท้ายด้วย คณะนิเทศศาสตร์ ทีม่ งุ่ มัน่ สร้างนักนิเทศศาสตร์และนักสือ่ สารมวลชนยุคดิจทิ ลั ให้มคี วามเก่ง มีทกั ษะเชีย่ วชาญ และมีจริยธรรม ให้สามารถท�ำงานในสายอาชีพจริงได้อย่างมีคณ ุ ภาพ โดยการเรียน การสอนจะมุง่ เน้นการเรียนรู้ ควบคูก่ บั การลงมือปฏิบตั งิ านจริงในห้องปฏิบตั งิ านที่ เพียบพร้อมด้วยเครือ่ งมือทีท่ นั สมัย เป็นยังไงค่ะ... 7 วิทยาลัย และ 6 คณะ ทีอ่ ดั แน่นไปด้วยคุณภาพการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พร้อมทีจ่ ะปูทางทีส่ ดใสในอนาคตให้กบั นักศึกษาทุกคน.. แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ บ๊ายบาย ^^
DPU MAG
9
Progressive People
Webometrics
อันดับมหาวิทยาลัย Ranking ไหนในใจเธอ ลลิตา สันติวรรักษ์
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเว็บ สายงานสื่อสารแบรนด์ อาจารย์ประจ�ำวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
“อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ในประเทศไทย” “อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่น่าเรียนที่สุดของไทย” ในช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ เห็นประโยคดังกล่าว และอีกหลากหลายพาด หั ว ข่ า วที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด อั น ดั บ มหาวิ ทยาลั ยของประเทศไทย วัน นี้เ รามา ท�ำความรูจ้ กั กับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ เป็นที่มาของประโยคข้างต้นกันดีกว่า
Webometrics Ranking of World Universities หรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้วยเว็บโอเมทริกซ์ เป็นการจัด อันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ที่เริ่มต้นจากการวิจัยของนักวิจัยใน Cybermetrics Lab ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของหน่วยงานที่เป็น ก�ำลังหลักในการท�ำวิจยั ของประเทศสเปน เมือ่ ปี ค.ศ. 2004 โดย จุดเริม่ ต้นของการท�ำการวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์หลักเพือ่ ให้ผู้ใช้งาน เว็บไซต์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยเว็บโอเมทริกซ์ นั้น จะประกาศผลการจัดอันดับในเดือนมกราคมและกรกฎาคม ของทุกปี ส่วนตัวชี้วัดที่ใช้ในการค�ำนวณค่าคะแนนเพื่อจัดอันดับ มหาวิทยาลัยด้วยเว็บโอเมทริกซ์นนั้ ประกอบไปด้วยตัวชีว้ ดั 2 ส่วน ได้แก่ ตัวชีว้ ดั ทางด้าน Visibility คิดเป็น 50% ของคะแนนทัง้ หมด และตัวชี้วัดทางด้าน Activities อีก 50% ของคะแนนทั้งหมด 10
DPU MAG
ตัวชีว้ ดั ทางด้าน Visibility หมายถึงการ มีตัวตนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือบนโลก ออนไลน์ของเว็บไซต์ของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยส่วนนี้จะวัดค่าคะแนนจาก Impact หรือ สิ่งที่มีผลกระทบต่อเว็บไซต์ ซึ่งการจัดอันดับ ของเว็ บ โอเมทริ ก ซ์ ใ ช้ ข ้ อ มู ล จากองค์ ก ร ภายนอกในการประเมินสิ่งที่มีผลกระทบต่อ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย โดยองค์กรดังกล่าว คือ Ahrefs และ Majestic โดยบทบาทของ องค์กรเหล่านี้ ท�ำหน้าที่นับจ�ำนวนการคลิก กลั บ มายั ง เว็ บ ไซต์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย จาก เนือ้ หาทีม่ กี ารเชือ่ มโยงทีป่ รากฏในเว็บไซต์อนื่ ส่ ว นตั ว ชี้ วั ด สุ ด ท้ า ยที่ มี สั ด ส่ ว นการ ค�ำนวณคะแนนในการจัดอันดับอีก 50% คือ ตั ว ชี้ วั ด ทางด้ า น Activities ที่ เ กิ ด จาก กิ จ กรรมต่ า งๆ ที่ ก ระท� ำ กั บ เว็ บ ไซต์ โดย กิจกรรมดังกล่าวประกอบไปด้วยส่วนย่อยอีก 3 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือส่วนของ Presence คิดเป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด ส่วนนี้ ค�ำนวณคะแนนการจัดอันดับจาก จ�ำนวนไฟล์ เว็บเพจทั้งหมดที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน และจ�ำนวนไฟล์ PDF ที่มีการใส่รายละเอียด ข้อมูลของไฟล์ หรือ Meta Data เรียบร้อย แล้ว ส่วนถัดมา คือส่วนของ Openness คิด เป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด โดยค�ำนวณ คะแนนจากจ�ำนวนการถูกอ้างอิงผลงานทาง ด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยใน Google Scholar และส่วนสุดท้าย ได้แก่ส่วนของ Excellence คิ ด เป็ น 30% ของคะแนน ทั้งหมด โดยสามารถค�ำนวณคะแนนได้จาก บทความทางด้ า นวิ ช าการที่ ถู ก ตี พิ ม พ์ ใ น วารสารระดับนานาชาติที่ ได้รับการยอมรับ โดยมีการชีว้ ดั คุณภาพจากเว็บไซต์ Scimago Group ซึง่ เป็นองค์กรในการจัดอันดับวารสาร และประเทศที่มีตัวชี้วัดทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยการจัดอันดับจาก Scimago Group นั้น อ้ า งอิ ง ข้ อ มู ล มาจากฐานข้ อ มู ล ทางด้ า น วิชาการของ Scopus และ Elservier ที่มี ความน่าเชื่อถือในระดับสากล
ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยเว็บโอ เมทริกซ์ครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2016 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของเรา อยู่ ในอันดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งในการจัดอันดับ ประจ�ำเดือนมกราคม ปี 2016 ที่ผ่านมา เรา อยู ่ ในอั น ดั บ ที่ 12 ของมหาวิ ท ยาลั ย เอกชนทั้งหมดใน ประเทศไทย จะเห็น ได้ว่ามหาวิทยาลัย ของเรามีการเลือ่ น อั น ดั บ ขึ้ น มาจาก ครั้งก่อนหน้าค่อน ข้างมากและนอก จากการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยด้วย ตัวชี้วัดด้านทั้ง 2 ด้ า นแล้ ว เว็ บ โอเมทริ ก ซ์ ยั ง จั ด อั น ดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ที่ ถู ก อ้ า งอิ ง ผลงานทางด้ า น วิ ช าการมากที่ สุ ด ที่ เ ผยแพร่ ใ น Google Scholar อี ก ด้ ว ย ซึ่ ง การจั ด อั น ดั บ นี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของเรามีผลงาน ทางด้ า นวิ ช าการที่ ถู ก อ้ า งอิ ง ใน Google Scholar เป็นอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัย เอกชนในประเทศไทย
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วย เว็บโอเมทริกซ์ที่ ให้ความส�ำคัญไปที่ปริมาณ ข้อมูลทีเ่ ผยแพร่บนโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการ จัดอันดับมหาวิทยาลัยจากองค์กรอื่น ๆ อีก เช่น QS World University Ranking, Times Higher Education World University Rankings จากนิตยสาร Times หรือ Academic Ranking of World Universities (ARWU) ซึ่งแต่ละองค์กรก็ มีการก�ำหนดตัวชี้ วัดที่ ใช้ ในการจัด อันดับที่แตกต่าง กันออกไป แต่โดย ส่วนใหญ่แล้วมุ่ง เน้ น ไปการน� ำ เสนอข้ อ มู ล ให้ ผู้ ส นใจไว้ ใ ช้ พิจารณาประกอบการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ดังนั้นหากจะกล่าวว่า เว็บโอเมทริกซ์เป็นการ จัดอันดับมหาวิทยาลัยทีม่ กี ารเผยแพร่ขอ้ มูล ที่เป็นประโยชน์มากที่สุดก็เป็นไปได้
DPU MAG
11
SMART TIPS
Tips for Thailand 4.0
รหัสใหม่ “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร อาจเกิดเป็นเครื่องหมายค�ำถามตัวใหญ่ๆ ส�ำหรับเราหลายๆคน ในฐานะ ตัวแทนของสถาบันการศึกษาที่ถูกก�ำหนดให้เป็น ด่านหน้าของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประเทศไทย 4.01 ครั้งนี้เลยอยาก จะหยิบยกเทคนิคการปรับปรุงแนวคิดเพือ่ เตรียมความพร้อมส�ำหรับขับเคลือ่ นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศกัน สักหน่อย Thailand 4.0 ยังคงเป็นเรื่องของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม นั่นคือการใช้เทคโนโลยี หรือค�ำว่า “Tech” มาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศโดยการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เข้าไปในโมเดลเดิม ทั้ง ในส่วนของการเกษตร(Agriculture), สุขภาพ (Heath), ยานยนต์(Automotive) และ การศึกษา ความบันเทิง เกม และข่าวสาร รวมตัวกันเป็น ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)
Agriculture หรือการเกษตร ต้องมีการ ปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาเป็น Smart Farm โดยมี ก ารการผนวกเทคโนโลยี ข องการ จัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เข้าไป ในการวิเคราะห์ตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิต และค้นหาความต้องการของผู้บริโภคตั้งแต่ มุมกว้าง จนถึงระดับเจาะลึกตัวผูบ้ ริโภคเป็น รายบุคคลผ่านการท�ำ Smart & Functional Food ซึ่งตัวผู้บริ โภคจะสามารถเลือก อาหารที่ดีต่อสุขภาพมีประโยนช์ และเหมาะ กับตัวของพวกเขาได้เอง โดยการเพิ่ม ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ(Data Driven) ผ่านกิจกรรมทางการตลาดบนผลิตภัณฑ์ และเพิ่มการส�ำรวจความพึงพอใจให้กลาย เป็นข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ให้ได้กพ ็ อ กรณีศกึ ษา มากมายในส่วนของ Food’s Security ที่ ประเทศสิงค์โปร์2 และเนปาล เคยโดดเด่น ในการท�ำวิจัยส่วนนี้ และ เพิ่มการต่อยอด การขายผ่านดิจิตัลแคมเปญของ ConAgra Food เป็นต้น 1 ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2 A Case study of Singapore’s Smart Governance of Food, 3 Nest API, Home Automation, Internet of Things, http://www.programmableweb.com/api/nest 12
DPU MAG
ธุรกิจทางด้านสุขภาพ ความสวยความ งาม ก็เพิ่มความเป็น Health Tech ลงไป เช่น แนวคิดของการรักษาโรคแบบทางไกล (Telemedicine) โดยการน�ำเทคโนโลยีดา้ น ไอทีมาประยุกต์ ในการสร้างสื่อการสอนใน การรักษาความเจ็บป่วยแบบง่ายๆ ทีส่ ามารถ ดูได้ผ่านแอพพลิเคชัน หรือ Smart TV แล้ว ใช้รูปแบบธุรกิจ Subscription Model มี ลั ก ษณะเก็ บ เงิ น รายเดื อ นใช้ บ ริ ก ารได้ ไ ม่ จ�ำกัด และเกิดการจ่ายจริงเมือ่ มีเคสทีส่ ำ� คัญ เท่าทีม่ กี ารใช้ เช่น เมือ่ ต้องการค�ำแนะน�ำจาก แพทย์ประจ�ำโดยไม่ต้องเดินทางเป็นต้น
กลุ่มของ Auto Tech ยานยนต์ หรือ วิศวกรรมนั้น อยู่ ในกลุ่ม(Domain) ที่ไปได้ ไกลตั้งแต่การท�ำ Smart Industry โดยการ ใช้หุ่นยนต์ Robotics มาขับเคลื่อนการผลิต แทนคน, Smart Logistic การขนส่งอัจฉริยะ ผ่าน Smart Devices จ�ำพวก Internet of Things ที่ อุ ป กรณ์ ส ามารถพู ด คุ ย กั น ที่ ส� ำ คั ญ ภาคการศึ ก ษาสามารถเริ่ ม ต้ น ขั บ เคลื่อนได้ทันที เช่น Smart Home และ Smart Car ที่มีชุดพัฒนาและตัวจ�ำลองที่ ใกล้เคียงของจริงอย่าง Android Car ของ ระบบปฏิบัติการ Android และ Nest API3 ที่เป็นอุปกรณ์แจ้งเตือนได้ตั้งแต่อุณหภูมิ บ้าน เวลาเข้าออก เปิดปิด จับสัญญาณควัน โดยสามารถศึกษาได้ดว้ ยตัวเองได้ทนั ที และ สถาบันการศึกษาเองก็มเี วที ให้ทดสอบความ สามารถมากมายในการลงมือปฏิบัติจริง
กลุม่ ของดิจทิ ลั คอนเท็นต์ Digital Content นั้นยังคงอยู่ ในเรื่องของ ความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ Ebook เกม และสื่อการเรียนรู้ EdTech เพียงแค่ตอ้ งบูรณาการทัง้ หมดแล้ว รวมกันให้เกิดการพัฒนาความคิดและการ แก้ปญ ั หา โดยเฉพาะในแวดวง EdTech การ ศึกษาสมัยใหม่นั้น เริ่มใช้แนวคิด Extremes Gears พวกอุปกรณ์ดิจิตัลอย่าง นาฬิกา อัจฉริยะ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต เป็นเครือ่ งมือ หนึ่งให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นช่องทางการ ศึกษา และรูปแบบสื่อการเรียนรู้ ใหม่ๆ ก็ถูก จับลงในลักษณะของคอนเท็นต์ที่ย่อยง่าย เช่ น ภาพยนตร์ Infographic และเกม แน่นอนว่าการใช้ขอ้ มูลประกอบการตัดสินใจ Data Driven เป็นสิ่งส�ำคัญเช่นเดิม นอก เหนือจากการศึกษาแล้ว E-Services และ Fin Tech ก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน และเป็ น จุ ด เปลี่ ย นขยายธุ ร กิ จ ที่ เ รี ย กว่ า Startups ไอเดี ย ที่ พ บเจอในตอนนี้ ข อง E-Services คือการใช้ Machine Learning หรือ Ai ปัญญาประดิษฐ์ เช่น BOT ในการ เก็บข้อมูลวิเคราะห์ปัญหา แล้วตอบปัญหาผู้ บริ โ ภคได้ ทั น ที จ าก องค์ ค วามรู ้ ที่ ส ะสม เป็นต้น
นวัตกรรมที่มาขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 บางส่วนนั้นเราได้สัมผัสและได้ ใช้งานมันไป บ้างแล้ว แต่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น จากนี้ต่อไปพวกเราต้องท�ำการศึกษา เรียน รู้เกี่ยวกับมันให้มากขึ้น และที่ส�ำคัญไปกว่า นัน้ คือการตัดสินใจเริม่ ลงมือสร้างนวัตกรรม หรือประยุกต์ ใช้นวัตกรรมในงานของเรา, ซึง่ จะว่าไปแล้ว Thailand 4.0 ก็คือเส้นทางไป สู่ความเป็น Smart Country นี่เอง
คอลัมนิสต์ อ.บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์,อ.กรุณา แย้มพราย,อ.พนมพร ดอกประโคน อาจารย์จาก วิทยาลัยครีเอทีฟดี ไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยี (College of Creative Design and Entertainment Technology หรือ ANT)
DPU MAG
13
SUCCESS
ธรรมชาติ บ� ำ บั ด -ในมื อ แพทย์ Thailand 4.0 ยิง่ ก้าวสูด่ จิ ทิ อลยิง่ โหยหาธรรมชาติ ทิศทางประเทศไทย 4.0 ทีร่ ฐั บาลก�ำลังขับเคลือ่ นสูอ่ ตุ สาหกรรมใหม่ ในสถานการณ์ทสี่ งั คม ไทยก�ำลังด�ำเนินไปนี ้ Digital Economy ทีเ่ กิดขึน้ ก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้กา้ ว กระโดดอย่างรวดเร็ว พร้อมๆไปกับวิถชี วี ติ ผูค้ นทีเ่ ปลีย่ นไป ชีวติ มีความสะดวกสบายมากขึน้ แต่ก็ ผกผันเกินคาดเดา ผูค้ นจะใช้เวลาอยูก่ บั อุปกรณ์ digital มากขึน้ แต่กลับมีปฏิสมั พันธ์ทางสังคม น้อยลง การสัมผัสทางกายและเยือ่ ใยทางจิตใจในระหว่างมนุษย์กบั มนุษย์จะน้อยลงไปตามล�ำดับ ชีวติ ทีห่ า่ งไกลธรรมชาติทำ� ให้เกิดการเจ็บป่วยจากอาหารการกินและวิถชี วี ติ ทีเ่ ร่งรัดเคร่งเครียด นอนหลับพักผ่อนน้อย ไม่ออกกก�ำลังกาย โรคเสือ่ มของร่างกายมีมากขึน้ เซลล์รา่ งกายแก่เร็วกว่า อายุจริงผิวหน้ายับย่นและเกิดริว้ รอย ภูมติ า้ นทานตกต�ำ่ หรือกัดกินตัวเอง โรคจากผลกระทบทาง จิตใจทวีสงู ขึน้ สถิตโิ รคมะเร็งถีบตัวขึน้ มหาศาล การแพทย์แบบแผนซึง่ รักษาโรค “ตามกรอบ” ที่ ก�ำหนดไว้อาจไม่เพียงพอทีจ่ ะให้ตอบปัญหาสุขภาพได้ทง้ั หมด กล่าวโดยสรุป สภาพสังคมยิง่ Highly Digital มากขึน้ เท่าไร ชีวติ ก็ยงิ่ Highly Rigid มาก ขึน้ เพียงนัน้ ผูค้ นมีความเสีย่ งสูงทีจ่ ะเผชิญภาวะ “แล้งน�ำ้ ใจ” เหล่านีค้ อื สถานการณ์อนั สุกงอม พร้อมแก่การเกิดขึน้ ของ “การแพทย์บรู ณาการ” ซึง่ ตัง้ ขึน้ เพือ่ ตอบโจทย์สถานการณ์ประเทศไทย 4.0 ที่ได้ชอื่ ว่า “สังคมแห่ง Digital Economy” ณ วันนีเ้ ราต้องการสถาบันทีจ่ ะอบรมบ่มเพาะ แพทย์และบุคลากรการแพทย์ดว้ ยหลักปรัชญา “สอนคนให้เป็นหมอ” พร้อมกับ “สอนหมอให้เป็น คน” ต้องเป็นการแพทย์แห่ง “น�ำ้ ใจ” เพือ่ การส่งเสริมสุขภาพ บ�ำบัดโรค ฟืน้ คืนสุขภาพ และการ ชะลอวัยให้แก่ผค้ ู นร่วมสมัย เหล่านีเ้ ป็นทีม่ าของ “วิทยาลัยการแพทย์บรู ณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์” ทีผ่ มมีโอกาสเข้าไปนัง่ บริหารให้ “คอยติดตามข่าวต่อไป อย่ากระพริบตา”
14
DPU MAG
5 หลักสูตรชัน้ น�ำในวงการศึกษาของ CIM ปริญญาตรี
1. สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย 2. สาขาวิชาการประกอบอาหารเพือ่ สุขภาพ 3. สาขาบูรณาการสุขภาพและความงาม
ปริญญาโท
4. สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟืน้ ฟูสขุ ภาพ
5. สาขาวิชาการแพทย์บรู ณาการ
นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกลุ คณบดีวทิ ยาลัยการแพทย์บรู ณาการ (CIM)
ความรูส้ ขุ ภาพ คัดสรรเฉพาะทีถ่ กู หลักการ มีเหตุผล และผ่านประสบการณ์จริงในการรักษาผูป้ ว่ ย Facebook : วิทยาลัยการแพทย์บรู ณาการ College of Integrative Medicine CIM DPU ID Line : banchob
DPU MAG
15
INTER ZONE
เมืองไทย ในมุมมอง
นักศึกษาเกาหลี
สวัสดีคะ่ 안녕하세요ทักทายกันเป็นภาษาเกาหลีกอ่ นเลย เพราะนักศึกษา ต่างชาติทจี่ ะมาพูดคุยกับเราในฉบับนีเ้ ป็นน้องๆ ทีม่ าจากประเทศเกาหลี ใต้ หนึง่ ใน ประเทศท่องเทีย่ วยอดฮิตของคนไทยทีน่ ยิ มไปตามรอยซีรยี เ์ รือ่ งโปรด แต่ถา้ พูดถึงเมือง ไทยในสายตาคนเกาหลีเองจะเป็นอย่างไร และเพราะอะไรน้องๆ จากเกาหลีใต้จงึ เดิน ทางมาศึกษาเล่าเรียนทีม่ หาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กนั ต้องไปสอบถามจากน้องคิม ฮเยจี และน้องปาร์ค ซุนจู เรียนทีว่ ทิ ยาลัยบริหารธุรกิจเชิงนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)หลักสูตรบริหารธุรกิจ(นานาชาติ) กันเลยค่ะ คอลัมนิสต์ นางสาวภัทรี ภัทรโสภสกุล (โบกี้) นักศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสาร การตลาดและแบรนด์ ท�ำงานเป็น ผู้สื่อข่าว/ผู้ประกาศข่าว สปริงนิวส์ช่อง 19 พี่โบกี้ : แนะน�ำตัวหน่อยค่ะ 당신의 이름,나이,고향을 소개해주세요. ฮเยจี : สวัสดีคะ่ ฉันชือ่ คิม แฮจิ ชือ่ เล่นของฉันคือ ไอรินา่ ฉันอายุ 23 ปี เกิดทีก่ รุงโซล ประเทศเกาหลี ซุนจู : สวัสดีคะ่ ฉันชือ่ ปาร์ค ซุนจู อายุ 22 ปี มาจากมหาวิทยาลัย Chung-woon university ปัจจุบนั ฉันเรียนในสาขาวิชาการ จัดการธุรกิจสายการบินค่ะ พี่โบกี ้ : ก่อนเดินทางมาประเทศไทย น้องๆ คิดว่าประเทศไทยเป็นอย่างไรคะ 태국에서 살기 전, 태국에 대해 어떻게 생각하셨나요? ฮเยจี : ครอบครัวของฉันเคยมาเมืองไทยก่อนหน้านี ้ พวกเขาบอกว่าเมืองไทยมีสถานทีท่ สี่ วยงามมากมาย และผูค้ นก็ใจดี อากาศทีเ่ มืองไทยร้อนมากแต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะว่าทีน่ มี่ กี จิ กรรมหลายอย่างที่ให้ทำ � ซุนจู : ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศทีม่ สี ถานทีท่ อ่ งเทีย่ วมากมาย โดยเฉพาะอาหารไทยเป็นทีน่ ยิ มและขึน้ ชือ่ มาก ในเกาหลี และฉันก็ได้ยนิ มาว่าคนไทยใจดีมาก เพือ่ นชาวเกาหลีของฉันเคยบอกว่า ถ้าได้มาประเทศไทยจะไม่อยากกลับเกาหลีเลย ดังนัน้ ฉันยิง่ รูส้ กึ คาดหวังและตืน่ เต้นมากๆ พี่โบกี้ : แล้วตอนนีค้ ดิ ว่าประเทศไทยเป็นยังไงบ้างคะ 지금은 태국 어떻게 생각해요? ฮเยจี : การที่ได้มาอยูก่ รุงเทพฯเป็นอะไรทีน่ า่ ประทับใจมากกว่าทีค่ ดิ ทีส่ ำ� คัญคนไทยใจดีมากกับฉันค่ะ ทุกคนยิม้ ให้ฉนั เสมอ ซุนจู : ฉันเห็นด้วยกับสิง่ ทีเ่ พือ่ นฉันเคยบอกก่อนหน้านี้ อาหารอร่อย สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วสวยงามก็มมี ากมาย คนไทยส่วนใหญ่ชอบ ฟังเพลง ดูละคร และชอบทานอาหารเกาหลี ดังนัน้ ฉันจึงมีเรือ่ งพูดคุยกับเพือ่ นๆ ในมหาวิทยาลัยได้อย่างราบรืน่ แถมคนไทยใจดีมากๆ คอยช่วยเหลือฉันอยูเ่ สมอ
รู้หรือไม่???
DPU มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีนักศึกษาต่างชาติ ทั้งสิ้น 23 เชื้อชาติ ได้แก่ จีน,ลาว,เวียดนาม,กัมพูชา,ออสเตรเลีย,ภูฏาน,บราซิล,แคมมารูน,ฝรั่งเศส, ฟิลิปปินส์,อินเดีย,อิหร่าน,อิตาลี,ญี่ปุ่น,มาเลเซีย,เมียนมาร์,ปากีสถาน, เซอร์เบีย,สโลวีเนีย,ศรีลังกา,สวีเดน,อังกฤษ และ เกาหลี 16
DPU MAG
Park Sunju Kim Hyeji พี่โบกี้ : ชีวติ ในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นยังไงบ้างคะ เล่าให้ฟงั หน่อย 당신의 대학생활은 어때요? ฮเยจี : การเรียนที่ DPU เป็นสิง่ ทีฉ่ นั จะจดจ�ำไปตลอดชีวติ ทีน่ ที่ ำ� ให้ฉนั พบเจอผูค้ นหลากหลาย และท�ำให้ฉนั ได้เรียนรูจ้ ากความคิดทีแ่ ตก ต่างจากพวกเขาเหล่านัน้ ส�ำหรับในชัน้ เรียน อาจารย์ผสู้ อนใจดี เอาใจใส่ คอยช่วยให้ฉนั เรียนรูแ้ ละปรับปรุงพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เสมอ ฉันรูส้ กึ พอใจมากกับการใช้ชวี ติ ในรัว้ ของมหาลัยฯ แล้วฉันก็ชอบเล่าชีวติ ทีน่ ี่ให้เพือ่ นๆ ทีเ่ กาหลีฟงั ส่งรูปไปให้พวกเขาดู พอพวกเขาเห็นรูปก็อยากจะมาเรียนทีน่ เี่ หมือนกันค่ะ ซุนจู : ครัง้ แรกทีฉ่ นั ได้มาถึงที่ DPU ฉันประทับใจสิง่ แวดล้อมและสิง่ อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนรายวิชาและอาจารย์ผสู้ อนทีน่ ี่ พวกเขาพยายามทีส่ อื่ สารกับนักศึกษาเพือ่ ให้เราเข้าใจได้งา่ ย ซึง่ ท�ำให้ฉนั สามารถเรียนรูภ้ าษาอังกฤษและภาษาไทยไปพร้อมๆ กัน รวมถึงได้ เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมต่างๆ ทุกอย่างทีน่ มี่ คี วามหมายกับฉันมาก ฉันเองก็ชอบเล่าให้เพือ่ นเกาหลีของฉันฟังเกีย่ วกับประสบการณ์การณ์ตา่ งๆ ที่ได้มาเรียนทีน่ ี่ และการใช้ชวี ติ ที่ DPU และในตอนท้าย สองสาวยังได้บอกกับเราว่า ถ้าหากพวกเธอเรียนจบแล้ว เธอก็อยากจะ กลับมาเยีย่ มเพือ่ นๆ และอาจารย์ทมี่ หาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อกี ครัง้ ค่ะ ฮเยจี : ถ้าเรียนจบแล้วและฉันได้เป็นพนักงานต้อนรับบนเครือ่ งบิน ฉันอยากจะกลับมาเยีย่ มที่ DPU อีกเพราะว่าฉันมีความทรงจ�ำทีด่ เี กีย่ วกับทีน่ ี่ และฉันก็อยากกลับมาพบเพือ่ นๆ และ อาจารย์อกี ครัง้ นึงด้วยค่ะ ซุนจู : กลับมาค่ะ เพราะ DPU มีหลักสูตรการเรียนและระบบทีด่ มี ากส�ำหรับนักศึกษา หากเป็น ไปได้ฉนั ต้องการเรียนทีน่ มี่ ากกว่า 1 ปี ฉันเองก็หวังทีจ่ ะหางานท�ำในไทยนะคะ ขอเป็นก�ำลังใจให้สองสาวจากเกาหลีใต้เรียนจบไวๆ และได้มโี อกาสกลับมาประเทศไทยอีกนะคะ วันนีพ้ โี่ บกีล้ าไปแล้ว ไว้เจอกันใหม่คะ่ 또 만나자
DPU MAG
17
AROUND CAMPUS
MOU 20 สถาบันเครือข่ายวิชาชีพ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ 20 สถาบัน เครือข่ายวิชาชีพ จัดพิธลี งนามความร่วมมือทางวิชาการ เพือ่ ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพด้าน วิชาการ พัฒนากิจกรรมทีส่ ง่ เสริมผูเ้ รียนและคณาจารย์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในงานโดยได้รบั เกียรติจาก ดร.ดาริกา ลัทธพิพฒ ั น์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ลงนามร่วมกับผู้ แทนจาก 20 สถาบันเครือข่ายวิชาชีพ ประกอบด้วย โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวทิ ยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีกติ ติบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยาม ในพระอุปถัมภ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีรตั นโกสินทร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวราธิปบริหารธุรกิจ วิทยาลัยชีวศึกษาธนบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราฎร์ ในพระอุปถัมภ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการสุโขทัย วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก อี-เทค วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการเจ้าพระยา วิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีเกวลินบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีวบิ ลู ย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการนนทบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการบางบัวทอง วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีนรี ชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีวฒ ั นพฤาษาบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยเทคโนโลยีไทยวิจติ รศิลป จัดขึน้ ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพทิ กั ษ์ อาคาร 6 ชัน้ 7 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
18
DPU MAG
DPU คว้า 2 รางวัล บุคลากรดีเด่น และนักศึกษา ดีเด่น ประจ�ำปี 2559 จาก สสอท. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดพิธมี อบโล่ และเข็มเกียรติคณ ุ แก่บคุ ลากรดีเด่น นักศึกษาดีเด่น ทีม่ ผี ลงานดีเด่น สร้างคุณประโยชน์ให้กบั สถาบันอุดมศึกษาเอกชนและ ประเทศชาติ ประจ�ำปี 2559 ซงึ่ ในปีนมี้ หาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คว้า 2 รางวัลการันตีคณ ุ ภาพ ได้แก่ อาจารย์ สุวชั ชัย เขียวหวาน ได้รบั รางวัล “บุคลากรดีเด่นด้านกิจการนักศึกษา ระดับผูป้ ฏิบตั ”ิ และ นางสาวลัลลดา แก้วยอดครู นักศึกษาชัน้ ปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะแสดงประยุกต์ คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ ได้รบั รางวัล “นักศึกษาดีเด่น ประเภทศิลปวัฒนธรรมดีเด่น” ประจ�ำ ปี 2559 จากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมี ดร.ดาริกา ลัทธพิพฒ ั น์ อธิการบดี พร้อมคณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องกิง่ เพชร ชัน้ 3 โรงแรมเอเซียกรุงเทพ
เถ้าแก่น้อยครั้งที่ 19 วิทยาลัยบริหารธุรกิจเชิงนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy : CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดงานเถ้าแก่นอ้ ยครัง้ ที่ 19 ภายใต้หวั ข้อ “DPU NEW BUSINESS DNA ธุรกิจสายพันธุ์ใหม่สู่ Thailand 4.0” ภายในงานมีการแสดงผลงานแผนธุรกิจการออกร้านโดยนักศึกษา โดยมี ดร.ดาริกา ลัทธพิพฒ ั น์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเยีย่ มชมร้านค้าของนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อาจารย์เอกรัตน์ จันทร์รัฐิติกาล ผู้อ�ำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล(ฝ่ายไทย)
งานวัฒนธรรมไทยจีน “จีนไทยพี่น้องกัน” มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีความพร้อมในการก้าวเข้าสูค่ วามเป็นเลิศด้านจีน ทัง้ ทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดทีว่ า่ ”จีนไทย พีน่ อ้ งกัน” ซึง่ ทางมหาวิทยาลัยได้จดั กิจกรรมเผือ่ เผยแผ่วฒ ั นธรรมและเชือ่ มสัมพันธ์ไทยจีนอย่างต่อเนือ่ ง เช่น กิจกรรม”สีศ่ ลิ ป์ถนิ่ มังกร”ทีจ่ ดั งาน เปิดตัวขึน้ เมือ่ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 为促进中-泰两国在教育及文化方面的交流与合作,体现中-泰两国“中泰一家亲”的友好关系,泰国博仁大学积极组 织与开展各种中泰文化交流活动,如2016年11月10日开展的为期一个月的“中华四艺”文化月主题活动。
เนือ้ หาของงานเป็นกิจกรรมเสวนาเพือ่ แนะน�ำและจัดฝึกอบรมวัฒนธรรมจีนอย่างต่อเนือ่ งสามสัปดาห์ โดยมีนกั เรียนไทยและนักเรียนจีนให้ความ สนใจเข้ารับการอบรมเป็นจ�ำนวนมากกว่า 1,000 คน ซึง่ ในการฝึกอบรมวัฒนธรรมจีนในครัง้ นี้ ได้รบั การสนับสนุนจากคณะครูอาสาสมัครจากสถาบัน ขงจือ่ เส้นทางสายไหมทางทะเล ซึง่ มีสถานทีต่ งั้ สถาบันอยูภ่ ายในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยครูอาสาสมัครแต่ละท่านของสถาบันขงจือ่ ฯ นอกจาก จะมีความสามารถทางด้านการสอนภาษาจีนทีม่ คี ณ ุ ภาพสูงจากการคัดเลือกจากสถาบันฮัน่ ปัน้ ของรัฐบาลจีนแล้ว ยังมีความสามารถในศิลปวัฒนธรรม แขนงต่างๆของจีนทีโ่ ดดเด่นอีกด้วย 旨在让中泰学生亲自体验与学习中国文化,加深对中国文化的理解与认识,此次活动得到了海上丝路孔子学院志愿者 教师们的大力支持,共吸引了上千名中泰学生前来参加。海上丝路孔子学院志愿者教师由中国国家汉办选派,除了具 备高水平的汉语教学能力,还擅长中华才艺。
และในวันที่ 25-26 มกราคม 2560 ด้วยความร่วมมือของ 5 หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย คือ สายงานกิจการนักศึกษา , สถาบันขงจือ่ เส้นทาง สายไหมทางทะเล , คณะศิลปศาสตร์ภาควิชาภาษาจีนธุรกิจ , วิทยาลัยนานาชาติจนี -อาเซียน และ วิทยาลัยนานาชาติสงั คมศาสตร์และนิเทศศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้จดั กิจกรรม เทศกาลวัฒนธรรมไทย-จีน ขึน้ โดยรวมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนอันยิง่ ใหญ่ตระการตาจาก นักแสดงมากความสามารถ ภารในงานมีการการจัดฝึกอบรมวัฒนธรรมไทย-จีน อาทิ การเขียนพูก่ นั จีน การตัดกระดาษจีน การจักสานไทย , และ การออกร้านอาหาร ขนม และเครือ่ งดืม่ ไทย-จีน โดยมีคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา เข้าร่วมงานตลอดทัง้ สองวันมากกว่า 500 คน 2017年1月25-26日,博仁大学学生活动部、海上丝路孔子学院、博仁大学人文学院经贸中文系、东盟学院及社会科学 与传媒学院联合举办“中泰文化节之新春联谊会”,除了精彩的中泰节目表演,活动还准备了中泰文化体验展台,如 中国书法、剪纸、泰国编织、中泰小吃等,共吸引了近千名师生前来参与。
และเพือ่ ให้สอดคล้องกับความเป็น DPU: New Business DNA ทางผูจ้ ดั จึงได้มกี ารจัดเสวนาในหัวข้อ”ความส�ำคัญของภาษาจีนในโลกธุรกิจ” โดยวิทยากรวัยรุน่ ที่ใช้ภาษาจีนในการท�ำงานจนโดดเด่นก้าวหน้ากว่าเพือ่ นในรุน่ เดียวกัน เช่น นายสถานีของสายการบินเสฉวนแอร์อายุนอ้ ยทีส่ ดุ เป็นต้น ซึง่ หัวข้อเสวนาครัง้ นี้ได้รบั ความสนใจจากนิสติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมฟังด้วย 13 คน 同时为了响应博仁大学New Business DNA的办学理念,活动还邀请了四川航空负责人等嘉宾为学校师生进行“论汉 语在世界经济中的重要性”主题座谈,该座谈还吸引了泰国农业大学13名学生前来参加。
ทัง้ นี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะมีโครงการจัดกิจกรรมเชือ่ มสัมพันธ์ไทย-จีนอย่างต่อเนือ่ ง โดยบุคลากรทีม่ คี วามโดดเด่นในแต่ละด้าน ไม่วา่ จะเป็น ปรัชญาจีน , ดนตรี , ประวัตศิ าสตร์ , การแพทย์ และวัฒนธรรม 此外,博人大学还将邀请中国哲学、音乐、历史、医学、文化等各界精英,积极开展中-泰文化交流活动。 DPU MAG
19
เกม OPINION
เพชรฆาตร้ายท�ำลายสุขภาพจริงหรือ ดูเหมือนว่าเกมจะเป็นสิง่ ส�ำคัญมากกว่าการเล่นเพือ่ ฆ่าเวลา แต่หากเล่นไม่เป็นเวลา ผลทีต่ ามมาเกินคาดคิด
จากการส�ำรวจของ “ธุรกิจบัณฑิตย์โพล” เกีย่ วกับเรือ่ งการเล่นเกม ซึง่ เฉพาะเจาะจงไปทีเ่ กม โปเกมอนทีม่ คี วามนิยมในช่วงเวลานัน้ ท�ำให้เราพบว่าการเล่นเกมนัน้ ส่งผลกระทบทัง้ ต่อร่างกาย ต่อ การเรียนหรือการท�ำงาน รวมไปถึงการมีปฏิสมั พันธ์กบั คนรอบข้างด้วย ซึง่ ผลกระทบด้านสุขภาพนัน้ คนทีเ่ ล่นเกมรับรูไ้ ด้วา่ หลังจากเล่นเกมนีม้ าช่วงหนึง่ แล้วจะมีอาการ ปวดกล้ามเนือ้ หลังส่วนคอและหลัง มีอาการตาพล่าเบลอ พักผ่อนน้อย ขับถ่ายไม่เป็นเวลา และอาการอืน่ ๆ ร่วมด้วย โดยอาการปวดกล้ามเนือ้ หลังส่วนคอและหลังนัน้ เป็นอาการทีเ่ กิดขึน้ เป็น ประจ�ำกับคนทีเ่ ล่นเกมไม่วา่ จะเล่นนานหรือไม่กต็ าม นอกจากนัน้ สิง่ ทีน่ า่ กังวลใจในเรือ่ งของผลกระทบต่อสุขภาพอีกประการหนึง่ คือยิง่ เล่นต่อเนือ่ งเป็น เวลานานขึน้ เท่าไรก็จะยิง่ มีสดั ส่วนของผูท้ มี่ อี าการตาพร่าเบลอมากยิง่ ขึน้
ตัง้ แต่ 10 ชัว่ โมงขึน้ ไปต่อวัน ไม่มผี ลกระทบด้านสุขภาพ 7 ถึงน้อยกว่า 10 ชัว่ โมงต่อวัน
อืน่ ๆ ขับถ่ายไม่เป็นเวลา
4 ถึงน้อยกว่า 7 ชัว่ โมงต่อวัน
พักผ่อนน้อย
1 ถึงน้อยกว่า 4 ชัว่ โมงต่อวัน
ตาพร่า/เบลอ น้อยกว่า 1 ชัว่ โมงต่อวัน
ปวดกล้ามเนือ้ หลังส่วนคอและหลัง 0 10 20 30 40 50
20
DPU MAG
สิง่ ทีก่ ล่าวมานีม้ กี ารยืนยันได้อย่างชัดเจนในการศึกษาวิจยั ทีท่ ำ� เป็นครัง้ แรกในกลุม่ ผูเ้ ล่นวิดโิ อ เกมในประเทศไทยเพือ่ ทีจ่ ะศึกษาผลกระทบทางด้านสุขภาพและทางสังคมด้านต่างๆ จากการเล่น เกมโปเกมอน (บรรจบ ชุณหสวัสดิกลุ และคณะ, 2559) ซึง่ อาจท�ำให้ผเู้ ล่นเกิดพฤติกรรมการติด เกมทีเ่ ป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมในระยะยาว (Weaver, J,B, et al, 2009) ผลการวิจยั ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการเล่นเกมนีม้ ผี ลเสียต่อการด�ำรงชีพและต่อสุขภาพร่างกายของผู้ เล่น โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูเ้ ล่นกลุม่ นักเรียน นักศึกษา ซึง่ ได้รบั ผลกระทบมากกว่าวัยท�ำงาน โดยรวม แล้วผลกระทบจะเกิดต่อเนือ่ ง ในลักษณะทีส่ ง่ ผลต่อการไม่ตง้ั ใจเรียนหรือไม่มสี มาธิในการเรียน การ พักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อันสามารถส่งผลกระทบต่อผลการเรียนและมีผลต่อประสิทธิภาพการท�ำงาน ได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ คนทีเ่ ล่นเกมเป็นเวลานานตัง้ แต่ 4-10 ชัว่ โมงต่อวัน จะเห็นผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกายทีป่ รากฏให้เห็นชัดเจน คือ ผลต่อกล้ามเนือ้ หลังส่วนคอและหลัง ท�ำให้เกิดกลุม่ อาการ ออฟฟิศซินโดรม รวมไปถึงการส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้
ผลกระทบจากการเล่นเกมโปเกมอนต่อการเรียน ของนักเรียน นักศึกษา
10 %
ไม่ตงั้ ใจเรียน / ไม่มสี มาธิในการเรียน
13 %
ง่วงนอน / อ่อนเพลีย 45.3 %
15 %
เข้าเรียนสาย เรียนไม่รเู้ รือ่ ง
18 %
ไม่ทำ� การบ้าน
รู้เช่นนี้แล้วท่านผู้อ่านที่ติดเกมงอมแงมนั้นควรจะตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาต่อ ร่างกายเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านคงไม่อยากให้เกมที่ท่านเล่นเพียงเพื่อฆ่าเวลานั้นกลายเป็น เพชรฆาตร้ายท�ำลายชีวิตท่าน
ผศ.ดร.ธิฏิรัตน์ เมฆบัณฑิตกุล ผู้อ�ำนวยการศูนย์บริการวิจัย
DPU MAG
21
EDUCATION LIFE
ฮัลโหลลลล...ห่างหายไปนาน หลังจากทีเ่ คยแนะน�ำทีม เลสเตอร์ ซิตี้ ไปแล้ว ทีมที่ มีเจ้าของเป็นคนไทยทีมเดียวในสโมสรพรีเมียร์ลกี อังกฤษ และยังคืนความสุขให้แก่ เยาวชนไทยด้วยโครงการ Leicester City International Academy ประเทศอังกฤษ รุน่ ที่ 2 ผ่านรายการ “GOAL สานฝันเด็กไทยไปเลสเตอร์” “GOAL สานฝันเด็กไทยไปเลสเตอร์” ถือเป็นรูปแบบรายการใหม่ ทีย่ งั ไม่เคยเกิดขึน้ มาก่อนใน ประเทศไทย เป็นเรียลลิตคี้ น้ หานักฟุตบอลเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี เพือ่ เป็นตัวแทนประเทศไทยไป อยู่ใน โครงการ Leicester City International Academy ประเทศอังกฤษ รุน่ ที่ 2 ซึง่ น้องเยาวชน ที่ได้รบั การคัดเลือกให้เป็นผูช้ นะจากรายการนี้ จะได้รบั ทุนการศึกษา มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท เพือ่ ศึกษาเรียนรูท้ กั ษะฟุตบอลในเลสเตอร์อะคาเดมี่ ตลอดจนได้รบั การศึกษาในระดับไฮสคูล ประเทศ อังกฤษ เป็นเวลา 2 ปีครึง่
22
DPU MAG
ล่าสุดได้ประกาศผลออกมาแล้วววววววว......น้องภูพาน เด็กชายตัวเล็กทีส่ ดุ ในทีม เข้าตา กรรมการได้ไปฝึกทักษะ ฝึกปรือวิชา ฝเี ท้า รับรองกลับมาทีมชาติไทยจะได้เยาวชนทีม่ คี ณ ุ ภาพ ด้านกีฬาฟุตบอลเพิม่ ขึน้ อีกหนึง่ คนอย่างแน่นอน “ทุกคนชอบมองข้ามคนตัวเล็ก แต่ภพู านได้ทำ� ให้ทกุ คนเห็นศักยภาพว่าคนตัวเล็กก็สามารถ ท�ำได้ และท�ำได้ดี มีทกั ษะ ปฏิภานไหวพริบ และการแก้ปญ ั หาดี ” โค้ชซิโก้ได้กล่าวไว้ ซึง่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ยังปลอบใจน้องๆ ที่ไม่ได้ไปเลสเตอร์ ซิตี้ ทัง้ 15 คน โดย การมอบทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มลู ค่า 5 ล้านนนนนนนนนน...ยาวไป 555+ โดยคุณสุทธิวรรธน์ บุรษุ พัฒน์ ผูช้ ว่ ยอธิการบดี พร้อม อาจารย์วรี พล สวรรค์พทิ กั ษ์ ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายสือ่ สารการตลาด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นตัวแทนมอบทุนการศึกษา และน้องๆ สามารถใช้ทนุ การศึกษาเมือ่ จบ ม.6 ได้ทนั ที แถมยังเป็นนักศึกษาทุนนักกีฬาของ มหาวิทยาลัย และยังมีโอกาสได้สานฝันต่อในสโมสรอืน่ ๆ อีกด้วย
น้องภูพาน พบธรรม วันดี “ท�ำหน้าทีเ่ ราให้ดที ส่ี ดุ ผลจะออกมาเป็นยังไงก็ไม่เป็นไร เราท�ำของ เราให้ดที ส่ี ดุ ก็พอ เพราะมันเป็นเรือ่ งของทีมมากกว่า ผมมองเรือ่ งการแข่งขันรองลงมาเสมอ” DPU MAG
23
GRADUATE
DPU
รุกผลิตนักนิเทศศาสตร์มืออาชีพ ตอบโจทย์การสื่อสารยุคดิจิทัล
“คุณภาพหลักสูตร คุณภาพอาจารย์ คือ เครือ่ งการันตีคณ ุ ภาพนักศึกษา”
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ใส่ ใจมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จึงปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกระแส สังคมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป พร้อมมุง่ สร้างคุณภาพอาจารย์ผสู้ อนโดยเน้นให้ผลิตงานวิจยั เพือ่ ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่มาถ่ายทอด ให้นกั ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารงานของหัวเรือท่านใหม่ อาจารย์กอบกิจ ประดิษฐ์ผลพานิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นักศึกษาต้อง “รูก้ ว้าง รูล้ กึ ” คณะนิเทศศาสตร์เน้นหลักสูตรทีต่ อบรับกับภาคธุรกิจ พร้อมการปรับหลักสูตรให้ทนั ต่อ กระแสสือ่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน มุง่ สร้างนักนิเทศศาสตร์ ให้สอดรับกับยุคดิจทิ ลั ทีส่ อื่ มีลกั ษณะหลอมรวม ในหลาย ๆ รูปแบบ บัณฑิตจะต้องพร้อมท�ำงาน ออนไลน์ ได้อย่างมืออาชีพ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ตอ้ งสามารถท�ำงานได้หลากหลายในสาย วิชาชีพ และต้องสามารถบูรณาการองค์ความรู้ได้ ในหลายศาสตร์ สร้างนักศึกษาให้คดิ เป็น จับ ประเด็นได้ และสร้างประเด็นอย่างมีคณ ุ ค่า ทีส่ ำ� คัญนักศึกษาทุกคนไม่ ใช่รกู้ ว้างแค่ ในต�ำราหรือ ในทฤษฎีทเี่ รียน ต้องรูจ้ ริงและรูล้ กึ ในศาสตร์ทนี่ กั ศึกษาอยากจะประกอบอาชีพในอนาคต ซึง่ นักศึกษาต้องค้นหาความชอบหรือความถนัดของตนเองให้เจอ อาจารย์ผสู้ อนเองต้องส่งเสริม นักศึกษาให้ถกู ทาง จุดนีจ้ ะท�ำให้นกั ศึกษาประสบความส�ำเร็จในชีวติ ได้ 3 สาขาสร้างนักนิเทศศาสตร์ เมือ่ สือ่ ในปัจจุบนั มีความหลอมรวม หลักสูตรการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับตาม คณะ นิเทศศาสตร์ DPU เปิดการเรียนการสอนใน 3 สาขาคุณภาพ คือ สาขาการสือ่ สารการตลาด ดิจทิ ลั สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และสาขาภาพยนตร์และสือ่ ดิจทิ ลั ซึง่ สาขาวิชา ทัง้ หมดนีม้ กี ารปรับเนือ้ หาหลักสูตรอย่างสม�ำ่ เสมอ นักศึกษาจะต้องสามารถท�ำงานได้ทกุ ศาสตร์ ของนักนิเทศศาสตร์ ในทุกแพลตฟอร์มอย่างเชีย่ วชาญ
อาจารย์กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ 24
DPU MAG
สร้างทีมอาจารย์เพิม่ ความแข็งแกร่ง นอกจากนีย้ งั ได้ตงั้ ทีมอาจารย์เพือ่ ดูแลเฉพาะด้าน เพือ่ เสริมความ แข็งแกร่งของหลักสูตร โดยแบ่ง ทีมดิจทิ ลั คือ มุง่ ผลักดันในทุกรายวิชา เกีย่ วข้องกับดิจทิ ลั เพิม่ มากขึน้ ทีมทีส่ องคือทีมวิจยั เราส่งเสริมให้ อาจารย์ทำ� วิจยั ในเรือ่ งต่างๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ต่อตัวอาจารย์และนักศึกษาได้เป็นอย่างดี ทีมทีส่ ามคือ ทีมเครือข่าย ที่ ติดต่อและประสานงานสร้างความร่วมมือกับองค์กรสือ่ ธุรกิจออนไลน์ ต่างๆ เพือ่ สร้างเครือข่ายทีแ่ ข็งแรง อีกทัง้ ยังมีการแลกเปลีย่ นการ เรียนรูร้ ะหว่างกัน และทีมสุดท้ายคือ ทีมการตลาดของคณะ ทีเ่ น้นการ สือ่ สารข่าวสาร จัดงานโชว์ผลงานของอาจารย์และนักศึกษา เพือ่ สร้าง ความมัน่ ใจให้แก่คนภายนอก
อาจารย์ประจ�ำ VS อาจารย์พเิ ศษ อาจารย์ผสู้ อนคณะนิเทศศาสตร์เป็นผูท้ มี่ คี วามรูแ้ ละความเชีย่ วชาญ และมีความแม่นย�ำในบทของตัวทฤษฎี นอกจากนีเ้ รายังเสริมทัพด้วยการ เชิญอาจารย์พเิ ศษทีเ่ ป็นทัง้ นักการตลาด สือ่ มวลชน ระดับประเทศ มา ถ่ายทอดความรู้และแนวคิดการท�ำงานจากประสบการณ์จริงในสาย วิชาชีพให้มาท�ำงานควบคูก่ บั อาจารย์ประจ�ำ เมือ่ องค์ความรูท้ งั้ สองส่วนมา ถ่ายทอดให้กบั นักศึกษานัน้ มันคือของจริง e-learning Week สร้างการเรียนการสอนผ่านสือ่ ออนไลน์ โดยจัด e-learning Week เรียนรูผ้ า่ นระบบออนไลน์เพือ่ สร้างกระบวนการเรียนการสอนสมัยใหม่ นักศึกษาไม่จำ� เป็นต้องเข้าเรียนในห้องสีเ่ หลีย่ ม ทัง้ สัปดาห์จะอนุญาตให้ นักศึกษาเรียนผ่านออนไลน์ ไม่วา่ จะอยูท่ บี่ า้ น อยูท่ พี่ กั ก็สามารถเรียนได้ อาจารย์เองก็จะได้เกิดการเรียนรู้ในการใช้สอื่ ออนไลน์ ในการปรับการเรียน การสอนให้เข้ากับนักศึกษาในยุคปัจจุบนั
การันตีคณ ุ ภาพ ป.โท และ ป.เอก ในส่วนของการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรของเราได้พฒ ั นาให้มคี วามทันสมัยมากขึน้ และเอือ้ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูล้ กึ ขึน้ โดย คณาจารย์ผสู้ อนทีม่ ปี ระสบการณ์ทงั้ ด้านวิชาการและวิชาชีพทีพ ่ ร้อมให้การดูแลการเรียนของนักศึกษาอย่างใกล้ชดิ เน้นการเรียนการสอนที่ ให้ผู้ เรียนเป็นศูนย์กลางเพือ่ พัฒนาความรูค้ วามเชีย่ วชาญจากสิง่ ทีน่ กั ศึกษาสนใจเพือ่ ตอบสนองผูเ้ รียนทีท่ ำ� งานด้านการสือ่ สารให้สามารถพัฒนาตนเอง เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในสาขาวิชาชีพทีต่ นเองสนใจ และนี... ่ คือทัง้ หมดของคุณภาพทีค่ ณะนิเทศศาสตร์ DPU พร้อมผลิตนักนิเทศศาสตร์ เพือ่ ป้อนสูเ่ ส้นทางสายวิชาชีพแบบมืออาชีพ
DPU MAG
25
ON THE WAY
HAPPY SPACE
Concept ของศูนย์อาหาร DPU จะไม่ ใช่ที่รับ
ประทานอาหารอย่างเดียวในชั่วโมงเร่งด่วน วันนี้ระบบการเรียนการสอนยุค Digital นั้นท�ำให้แนวความคิดของการปรับพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) การแลกเปลี่ยนความรู้ และแชร์ประสบการณ์ ในการท�ำธุรกิจใหม่ของคนยุคใหม่ ซึ่ง ไม่จ�ำกัดอยู่แค่ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว DPU สร้างมุมพบปะสังสรรค์ของ นักศึกษาใหม่ซงึ่ เปิดให้บริการแล้ว และจะด�ำเนินการปรับภาพลักษณ์ทงั้ หมดในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังจะมีการขยายเพิ่มพื้นที่ Learning Space ให้นักศึกษา โดยใช้ใต้อาคาร เฉลิมพระเกียรติเป็นจุดศูนย์กลาง และจะเชื่อมพื้นที่ต่อไปยังอาคาร 8 อาคาร 9 และจาก อาคารเฉลิมฯ ไปยังอาคาร 6 และอาคารเรียนของวิทยาลัยจีนฯ ในอนาคตจะขยายไปถึง บริเวณข้างอนุสาวรีย์ผู้ก่อตั้งฝั่งหน้าประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่ง เสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้เข้ากับยุค Thailand 4.0 ให้มากขึ้น
ดร.ณัฏฐพงศ์ จันทราทิพย์ รองอธิการบดีสายงานพัฒนาด้านกายภาพ 26
DPU MAG
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy): CIBA ซึง่ อยูร่ ะหว่างการ ประมูลราคาจากผู้รับเหมา จะเริ่มด�ำเนินการปรับปรุงพื้นที่ ในเดือน ตุลาคม 2559 นอกจากนี้การวางแผนก่อสร้าง “คลินิคการแพทย์บูรณาการ (Integrated Medicine Clinic)” ภายใต้การบริหารของวิทยาลัยการ แพทย์บูรณาการ (College of Integrative Medicine): CIM ก่อสร้างบริเวณที่จอดรถอาคาร 12 ซึ่งจะเป็นสถานประกอบการ ทางการแพทย์เปิดบริการให้กบั บุคคลทัว่ ไป และยังเป็นทีฝ่ กึ ปฏิบตั งิ าน จริงให้นักศึกษาของวิทยาลัยด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ น่าจะแล้วเสร็จ ก่อนสิ้นปีการศึกษา 2560 เชื่อว่าจะท�ำให้สภาพแวดล้อมภายใน มหาวิทยาลัยดูน่าเรียน
DPU MAG
27