วารสารกรมคุมประพฤติ ปีที่ 24 ฉบับที่ 1

Page 1

วารสาร

กรมคุมประพฤติ Probation Magazine

ISSN 0858-8619

01

ปีท่ี 24 ฉบับที่ ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561



สารบัญ

10 4

14 6

6 1 คนดี 1 ส�ำนักงาน “กลับตัว กลับใจ”

14 In Focus กล้าคิด กล้าท�ำ กล้าเป็น 1

8 Probation around the World ต่อยอดความส�ำเร็จ ก้าวต่อไปของ โครงการ TCTP 2

16 เจาะกิจกรรมเด่น ติดตามความเคลือ ่ นไหวและกิจกรรม ต่ า งๆ ของส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ ทั่วประเทศ

10 Spirit จิตอาสา รวมพลังใจทั้งหมดที่มี เพื่ อคืนคนดี สู่สังคม

ดร.ยศวันต์ บริบูรณ์ธนา บรรณาธิการวารสารกรมคุมประพฤติ

คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการ

นายประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ นางอัญชลี พัฒนสาร รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นายพยนต์ สินธุนาวา รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นายมณฑล แก้วเก่า รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นางยศวันต์ บริบูรณ์ธนา เลขานุการกรม นางสาวจิราวรรณ บุญญา นางสุวิมล ด�ำสุวรรณ นายปิยะศักดิ์ โชคอ�ำนวย นางสาวปิยนุช รักสัตย์ นางสาวปาณิศา ผลกษาปน์สิน นางสาวเหมือนแพร รุ่งเผ่าพันธุ์

ฝ่ายภาพ ฝ่ายประสานงาน และพิสูจน์อักษร ฝ่ายจัดการ ผู้จัดพิมพ์

นายณัฐ คชประเสริฐ นางเกศินี สกุลทับ

นางสาวณัฐกฤตา น�ำผล นางสาวศิริพร เอกอนงค์ กลุ่มประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร ส�ำนักงานเลขานุการกรม กรมคุมประพฤติ โทร. 0 2143 8824 บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่งแอนด์พริ้นติ้ง จ�ำกัด

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

12 นานาสาระ รูไ้ ว้ใช้ประโยชน์กบ ั 4 เรือ ่ งน่ารูเ้ กีย ่ วกับ สุขภาพ

ในท่ามกลางยุคดิจทิ ลั ทีส่ อื่ สิง่ พิมพ์ อย่ า งวารสาร นิ ต ยสาร ต่ า งพากั น ปรับตัวเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน วารสารกรมคุมประพฤติจึงไม่สามารถ หยุดนิ่ง แต่ต้องปรับตัวให้ทันสมัย โดย เราได้ ป รั บ โฉมใหม่ ทั้ ง เนื้ อ หา การ ออกแบบ และเพิ่มสีสัน ให้ดูน่าอ่านมาก ยิ่ ง ขึ้ น ซึ่ ง กองบรรณาธิ ก ารหวั ง ว่ า วารสารกรมคุมประพฤติในปีนี้ จะเป็นที่ ถู ก อกถู ก ใจท่ า นผู ้ อ ่ า นและหากท่ า น ต้ อ งการให้ เ ราปรั บ รู ป แบบเนื้ อ หา อย่างไร สามารถบอกกล่าวกันได้นะคะ และผู ้ ที่ เ สนอความเห็ น คิ ด มาได้ ถู ก ใจ กองบรรณาธิ ก าร เราจะมี ร างวั ล สมนาคุณให้ด้วย ส�ำหรับวารสารกรมคุมประพฤติ ฉบับนี้ ขอน�ำเสนอเรื่องราวของ “ตะวัน ฟาร์ม” ศูนย์แห่งการเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง อันเป็นตัวอย่างความส�ำเร็จ ของกรมคุมประพฤติที่ให้การช่วยเหลือ ติดตามดูแลบุคคลต้นแบบในโครงการ ก�ำลังใจ ในพระราชด�ำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์ เ จ้ า พั ช รกิ ติ ย าภา ซึ่ ง จะเห็ น องค์ความรู้ทางการเกษตรตามแนวทาง แห่งศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง นอกจากนี้ ยั ง มี บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายให้ ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันในเล่มนี้ค่ะ

3

4 บทความพิ เศษ “ตะวั น ฟาร์ ม ” ศู น ย์ แ ห่ ง การเรี ย นรู้ เศรษฐกิจพอเพี ยง

บทบรรณาธิการ


| บทความพิเศษ |

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

4

เรื่อง นางสาวสายฝน จันทะพรม และนายณัฐภูมิ อยู่ชัง พนักงานคุมประพฤติช�ำนาญการ

“ตะวันฟาร์ม”

ศู นย์แห่งการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพี ยง

ตะวันฟาร์ม หรือ ศูนย์แห่งการเรียนรูเ้ ศรษฐกิจ พอเพี ยง (ตะวัน ฟาร์ม ) แห่ ง นี้ พระเจ้ า หลานเธอ พระองค์เจ้าพั ชรกิติยาภา ได้เสด็จมาประทานก�ำลังใจ ่ มชม ให้กบ ั บุคคลต้นแบบและครอบครัว และได้ทรงเยีย การด�ำเนินการภายในศู นย์การเรียนรู้พร้อมประทาน ค� ำ แนะน� ำ เพื่ อ ให้ เ ป็ น ศู น ย์ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนของกลุ่ ม เกษตรแบบผสมผสาน และเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน ของประชาชนในพื้ นที่ ต่างพื้ นที่ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรผู้ท่ีสนใจเข้ามาศึ กษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง


นายเอกพล อินต๊ะชัย หรือ “เอก” ผู้ก่อตั้ง ตะวันฟาร์ม เป็นผู้ผ่านการอบรมโครงการก�ำลังใจใน พระด�ำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา รุ่นที่ 6 ได้น้อมน�ำแนวทางแห่งศาสตร์พระราชาและ น้อมน�ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการ ด�ำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวบนพื้นฐานของ สิ่ ง ที่ มี อ ย่ า งสมดุ ล โดยได้ น� ำ องค์ ค วามรู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ประกอบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มีภมู คิ มุ้ กัน และ พอประมาณ มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมภายใน พื้นที่นาของครอบครัว ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน ณ บ้าน หัวโล๊ะ ต�ำบลบัวสลี อ�ำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ร่วมกับบิดา คือ นายจันตุย้ อินต๊ะชัย ซึง่ เป็นประธาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เรียนรู้ ทดลอง ลองผิดลองถูก ปรับประยุกต์องค์ความรู้ต่างๆ พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นไปตามรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ ท�ำการขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงหมูหลุม เพาะพันธุ์ปลา เลีย้ งกุง้ ฝอย ท�ำโรงเรือนขนาดเล็กฟักไข่เพือ่ น�ำลูกไก่ ไปจ�ำหน่ายในพืน้ ทีห่ รือจุดรับซือ้ รวมทัง้ เลีย้ งไส้เดือน เพือ่ น�ำมูลไส้เดือนมาเป็นปุย๋ ส�ำหรับการท�ำการเกษตร เพาะปลูกในพืน้ ที่ และตัง้ ชือ่ ศูนย์การเรียนรูเ้ ศรษฐกิจ พอเพี ย งแห่ ง นี้ ว ่ า “ตะวั น ฟาร์ ม ” อั น หมายถึ ง “แสงสว่าง และความรุ่งเรือง” เหมือนดั่งชีวิตของ ตนเองและครอบครัวทีไ่ ด้รบั โอกาสและแสงสว่างจาก ฟากฟ้าสู่ผืนดิน

การศึกษาดูงานของทุกกลุ่มเป้าหมาย มิติทางเศรษฐกิจในการจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์ในศูนย์การเรียนรู้ รวมทั้งมิติในการ ประชาสัมพันธ์สำ� หรับการเป็นแหล่งท่องเทีย่ วเชิงเกษตรในพืน้ ที่ โดยร่วมมือ กับอาสาสมัครคุมประพฤติ หน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน ติดตามดูแล ช่วยเหลือและให้การสนับสนุน สงเคราะห์การด�ำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5

“ตะวันฟาร์ม” เป็นตัวอย่างความส�ำเร็จหนึ่งที่บุคคลต้นแบบ โครงการก�ำลังใจฯ ได้นำ� องค์ความรู้ และแนวทางแห่งศาสตร์พระราชา ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการก�ำลังใจฯ มาปรับประยุกต์กับวิถี ชี วิ ต ของตนเองและครอบครั ว สามารถท� ำ มาหาเลี้ ย งตนเองได้ ไม่ขดั สน และประการส�ำคัญ สามารถทีจ่ ะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้ลองผิดลองถูก จนตกผลึกเป็นความส�ำเร็จเช่นทุกวันนี้ ทั้งในการ ใช้ชีวิตและการด�ำเนินการภายในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ให้กับบุคคลอื่น ได้เกิดแสงสว่างและความรุ่งเรือง ตามความหมายของ “ตะวันฟาร์ม” ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แห่งนี้นั่นเอง ภาพ : ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

หัวใจส�ำคัญของการด�ำเนินโครงการก�ำลังใจฯ คือการที่ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถน�ำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการด�ำเนินชีวิตเมื่อ กลับไปพักอาศัยอยู่ในชุมชน ทั้งนี้ เพื่อให้การด�ำเนิน ชีวิตมีความพอประมาณ มีเหตุผลและเกิดภูมิคุ้มกัน ที่ดี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสังคม ส่งผลให้ ไม่หวนกลับไปกระท�ำความผิดซ�้ำอีก กรมคุมประพฤติ โดยส�ำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดเชียงราย ได้มีการติดตามและลงพื้นที่อย่าง ต่อเนือ่ ง โดยได้จดั ท�ำแผนการพัฒนาพืน้ ทีอ่ ย่างยัง่ ยืนใน มิตติ า่ งๆ ทัง้ ในมิตแิ ห่งความยัง่ ยืนทางการเกษตรและ ปศุสัตว์ มิติแห่งการเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรใน


| 1 คนดี 1 สำ�นักงาน | เรื่อง นางสาวศิริพร เอกอนงค์ นักวิชาการประชาสัมพั นธ์

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

6

“กลับตัว

กลับใจ” “สตางค์” (นามสมมุติ) ชายหนุ่ม อายุ 21 ปี เป็นเด็กก�ำพร้า พ่ อแม่เลิกร้างกัน อาศัย อยู่กับแม่ ตาและลุง พออายุ 5 ขวบ แม่ก็มา ด่วนจากไป ท�ำให้สตางค์จ�ำภาพความรักของ พ่ อ แม่ ไ ด้ น้ อ ยมาก สตางค์ มี ต าและลุ ง คอย ดู แ ล เมื่ อ เรี ย นถึ ง ชั้ น มั ธ ยมศึ กษาปี ที่ 2 เริม ่ ติดเพื่อน ติดเกม ไม่เข้าเรียนจนต้องออก ่ ด จากโรงเรียน ในทีส ุ ชีวต ิ ของสตางค์ขาดการ ดู แ ลเอาใจใส่ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด และด� ำ เนิ น ชี วิ ต ่ วมาตัง ่ ว ้ แต่เด็ก ไม่มห อย่างโดดเดีย ี ลักยึดเหนีย ในชีวิต


“ทุกวันนี้รู้สึก ภาคภูมใิ จ ทีม ่ ง ี านท�ำ มีรายได้ช่วยเหลือ ตนเอง ไม่เป็นภาระ ของทุกคน และขอ ขอบคุณครอบครัว ส�ำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดเชียงใหม่ สังคม และทุกคนที่ ให้โอกาสตนเองได้ กลับมามีชีวิตใหม่ อีกครั้ง”

โดยมีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 “ณ ตอนนี้ สตางค์รู้สึกมองเห็นอนาคตตนเองว่าจะเดิน ไปทิศทางใด” สตางค์ท�ำงานด้วยความตั้งใจ เป็ น มิ ต รกั บ ทุ ก คน มี สั ม มาคารวะ มี ค วาม รับผิดชอบในการท�ำงานเป็นอย่างดี และช่วยเหลือ งานผูอ้ นื่ ทุกครัง้ ทีม่ โี อกาส เมือ่ สิน้ สุดโครงการฯ สตางค์ได้ท�ำงานในต�ำแหน่งพนักงานท�ำความ สะอาดของส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ จั ง หวั ด เชียงใหม่ต่อจากโครงการคืนคนดีฯ ในอัตรา ค่าจ้างเดือนละ 7,200 บาท โดยระยะเวลา การจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ปัจจุบันนี้สตางค์ยังปฏิบัติงาน อยู่ที่ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่ ได้รบั โอกาสในการท�ำงานร่วมกับเจ้าหน้าทีข่ อง ส�ำนักงานฯ ท�ำให้มองเห็นคุณค่าของตนเอง ที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในภารกิ จ งานแก้ ไ ขฟื ้ น ฟู ผู้กระท�ำผิดให้กลับตนเป็นคนดี “ทุกวันนี้รู้สึก ภาคภู มิ ใ จ ที่ มี ง านท� ำ มี ร ายได้ ช ่ ว ยเหลื อ ตนเอง ไม่ เ ป็ น ภาระของทุ ก คน และ ขอขอบคุณครอบครัว ส�ำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดเชียงใหม่ สังคม และทุกคนทีใ่ ห้โอกาส ตนเองได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง”

ข้อมูลและภาพ: ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

ระหว่ า งที่ อ ยู ่ ใ นเรื อ นจ� ำ นั้ น สตางค์ เ ริ่ ม คิ ด ทบทวนถึงการกระท�ำที่ผ่านมา รู้สึกผิดกับสิ่งที่ ตนท�ำลงไป ท�ำให้ต้องมาชดใช้ความผิดอยู่ในนี้ ตากับลุงเริม่ เห็นถึงความตัง้ ใจจริงของสตางค์ที่ คิดจะกลับตัวกลับใจ จึงได้ยื่นเรื่องขออุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยศาลพิพากษาให้ เหลือโทษจ�ำคุก 2 ปี 10 เดือน 15 วัน และ ปรับ 1,500 บาท โทษจ�ำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีก�ำหนด 3 ปี ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงาน คุมประพฤติ จ�ำนวน 6 ครั้ง ภายในระยะเวลา 2 ปี ท�ำงานบริการสังคม จ�ำนวน 24 ชั่วโมง สตางค์ ไ ด้ เ ข้ า สู ่ ก ระบวนการคุ ม ความ ประพฤติ ข องส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ จั ง หวั ด เชียงใหม่ โดยส�ำนักงานฯ ให้คำ� แนะน�ำด้วยการ สัมภาษณ์เพือ่ เสริมสร้างแรงจูงใจ ซึง่ เป็นวิธกี าร เฉพาะทีช่ ว่ ยให้บคุ คลตระหนักถึงปัญหาของตน และลงมือปฏิบัติตามวิธีแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้ เหมาะสมกั บ บุ ค คลที่ มี ค วามลั ง เลต่ อ การ เปลีย่ นแปลง และวิธนี ที้ ำ� ให้สตางค์ได้กา้ วเข้าสู่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างคงที่ และถาวรได้ นอกจากนี้ พนักงานคุมประพฤติ ได้แนะน�ำให้มาสมัครงานในโครงการจัดจ้าง งานไทยเข้มแข็งฯ “โครงการคืนคนดีสู่สังคม” ของส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่

7

แม้จะมีความรักของตาและลุงทีม่ อบให้ก็ ไม่เพียงพอส�ำหรับเด็กอย่างสตางค์ หลังจาก ออกจากโรงเรียนได้ไปสมัครงานเป็นพนักงาน เสิร์ฟในร้านขายก๋วยเตี๋ยว “ร้านอ่องทิพย์” ซึ่ง เป็นร้านทีม่ ชี อื่ เสียง ในจังหวัดเชียงใหม่ มีรายได้ วันละ 150 บาท เป็นเวลา 1 ปี ได้ลาออก เปลีย่ นไปรับจ้างท�ำงานก่อสร้างในตอนกลางวัน วันละ 300 - 400 บาท ส่วนตอนกลางคืนรับจ้าง ดูแลเกสท์เฮาส์ คืนละ 200 บาท รวมแล้ว สตางค์มรี ายได้ประมาณวันละ 500 - 600 บาท ทุกวัน แต่ดว้ ยความทีช่ อบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ เงินที่หามาได้หมดไปกับการเล่มเกม จึงเปลี่ยนงานไปรับจ้างดูแลร้านอินเทอร์เน็ต และเกมออนไลน์ ท� ำ ให้ เ ริ่ ม ติ ด เกมมากขึ้ น คบหากับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ดี จนชักชวนกันไป ก่อเหตุลักทรัพย์และอาวุธปืนของลุงที่ได้เลี้ยง ดูมา ท�ำให้ถูกจับกุมด�ำเนินคดีในฐานความผิด ลั ก ทรั พ ย์ รั บ ของโจร และพระราชบั ญ ญั ติ อาวุธปืน เหตุการณ์ในครัง้ นีท้ ำ� ให้เกิดจุดเปลีย่ น ในชีวิตของสตางค์ ศาลชั้นต้นมีค�ำพิพากษาให้ จ�ำคุกอยู่ในเรือนจ�ำกลางเชียงใหม่ เป็นระยะ เวลา 8 เดือน “สตางค์ยงั จ�ำภาพความรูส้ กึ วันแรกทีเ่ ดิน เข้าไปในเรือนจ�ำได้ดีว่ากลัวสุดขีด” ในช่วง


| Probation around the World |

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

8

เรื่อง นายพรรษวุฒิ ปูชนียกุล พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ

ต่ อ ยอดความส� ำ เร็ จ

ก้ า วต่ อ ไปของ

โครงการ TCTP 2 เพื่อเป็นการต่อยอดโครงการ The Third Country Training Programme on the Development of the Effective Community-based Treatment of the Offenders in the CLMV Countries หรือเรียกสั้นๆ ว่า TCTP กรมคุมประพฤติได้ผนึกก�ำลังกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทย) และองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) สานต่อ ROADMAP ที่อยากเห็นงานคุมประพฤติตลอดจนมาตรการแบบ ไม่ควบคุมตัวในลักษณะอื่นๆ มีใช้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ก็เพื่อ ให้สามารถไปสู่เป้าหมายสูงสุดร่วมกัน คือ “งานคุมประพฤติอาเซียน” นั่นเอง


What we did? ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม มีกิจกรรมมากมายที่ให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ แลกเปลีย่ น ตลอดจนมีโอกาสได้สมั ผัสงานคุมประพฤติทไี่ ด้ปฏิบตั กิ นั อยูใ่ นส�ำนักงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งมอบหมายให้ผู้แทนจากประเทศ CLMV ออกแบบและวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบงานคุมประพฤติให้สอดคล้องกับ บริบทและสภาพสังคมของแต่ละประเทศ และกิจกรรมทีเ่ ป็นไฮไลท์ของการฝึกอบรม คือ การบรรยายจากผูท้ รงคุณวุฒจิ ากประเทศไทย ประเทศฟิลปิ ปินส์ และประเทศ สิงคโปร์ ตลอดจนผูเ้ ชีย่ วชาญจากสถาบัน UNAFEI ทีม่ าบรรยายระบบงานคุมประพฤติ ที่มีใช้อยู่ในประเทศของตน โดยในวันเปิดงานวันแรก ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการ ต้อนรับอย่างอบอุน่ จาก ศาสตราจารย์พเิ ศษ ดร.วิศษิ ฏ์ วิศษิ ฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง ยุติธรรม และ นายประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ ในฐานะเป็น ทัง้ เจ้าบ้านและเจ้าภาพในการจัดโครงการในครัง้ นี้ ทีพ่ เิ ศษไปกว่านัน้ ท่านปลัดกระทรวง ยุติธรรมได้ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ “การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับ การใช้มาตรการแบบไม่ควบคุมตัวในการสร้างความปลอดภัยแก่สงั คม” สร้างความ ประทับใจให้กับคณะผู้แทน CLMV และคณะผู้จัดงานเป็นอย่างยิ่ง

งานคุมประพฤติในกลุ่มประเทศ CLMV

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

• ประเทศกัมพูชา จะให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าทีค่ วบคูไ่ ปกับการร่างระเบียบเกีย่ วกับ อ�ำนาจหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ และการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบ การคุมประพฤติ ซึ่งอาจจะกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเรือนจ�ำให้เป็นส�ำนักงาน คุมประพฤติ เนือ่ งจากมีเรือนจ�ำอยูท่ วั่ ประเทศอยูแ่ ล้ว นอกจากนีจ้ ะให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับมาตรการแบบไม่ควบคุมตัว • ประเทศลาว จะให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในการควบคุมสอดส่องและแก้ไขฟื้นฟู ผูก้ ระท�ำผิดในชุมชน โดยแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการ จากประเทศไทยและญี่ปุ่น ในการส่งผู้เชี่ยวชาญไปวางระบบที่ประเทศลาว ส�ำหรับทิศทางการพัฒนาระบบต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล • ประเทศเมียนมา มีแผนทีจ่ ะยกร่างระเบียบเกีย่ วกับวิธกี ารคุมประพฤติสำ� หรับ ผู้กระท�ำผิดผู้ใหญ่ และจัดตั้งกรมคุมประพฤติภายใต้กระทรวงมหาดไทย แต่การด�ำเนินการตามแผนต้องขึ้นอยู่กับผู้ก�ำหนดนโยบาย • ประเทศเวียดนาม จะร่างระเบียบเกีย่ วกับแนวทางการคุมประพฤติและอ�ำนาจ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมและสอดส่องส�ำหรับผู้ได้รับการพักการลงโทษ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแลผู้กระท�ำผิดในชุมชน

9

ส�ำหรับโครงการ TCTP ปีที่ 2 นี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้กลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม ได้เรียนรู้ระบบการปฏิบัติต่อผู้กระท�ำผิดใน ชุมชนแบบลึกซึง้ มากยิง่ ขึน้ ทัง้ ในภารกิจสืบเสาะและพินจิ ควบคุมและสอดส่อง และการสงเคราะห์ช่วยเหลือ โดย โจทย์สำ� คัญของการอบรมครัง้ นี้ คือ ทุกประเทศใน CLMV จะต้องมีพิมพ์เขียว (BLUEPRINT) ติดมือกลับไปยัง ประเทศของตนเองเพื่ อ ใช้ เ ป็ น แนวทางและแผน ยุทธศาสตร์ในการก่อร่างสร้างระบบงานคุมประพฤติให้ เกิ ด ขึ้ น ได้ จ ริ ง ตามบริ บ ทและสภาพสั ง คมของแต่ ล ะ ประเทศ


| Spirit จิตอาสา | เรื่อง กลุ่มงานบริหารอาสาสมัครคุมประพฤติและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน

รวมพลังใจทั้งหมดที่มี วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

10

เพื่อคืนคนดีสู่สังคม

ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา นางนงนุช สอนราช อดีตครูผสู้ อนวิชาการงานอาชีพระดับมัธยม ผันตัว จนกลายมาเป็นประธานศูนย์ประสานงานอาสาสมัคร คุมประพฤติ อ�ำเภอพระพุทธบาท และน�ำวิชา ความรูท้ สี่ ะสมมาส่งต่อแก่ผถู้ กู คุมความประพฤติ “ดิฉันคิดว่าอาชีพเป็นสิ่งจ�ำเป็น จึงวางแผนงาน โครงการฝึ ก ทั ก ษะอาชี พ ให้ กั บ ผู ้ ถู ก คุ ม ความ ประพฤติ” จากการประสานองค์กรเครือข่ายที่ สามารถสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้บรรลุ เป้าหมาย อาทิ บริษัท ปูนซีเมนต์เอเชีย จ�ำกัด

(มหาชน) เหมื อ งหิ น ศิ ริ พั ฒ นา บริ ษั ท จ�ำหน่ายชิ้นส่วนไก่ และองค์กรบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ โ ดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทนต่ า งๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือฟื้นฟู ผูก้ ระท�ำผิดในชุมชนของตนเอง “ดิฉนั เห็นว่า การท�ำงานบริการสังคม เช่น การขุดลอก คลอง ถางหญ้าข้างถนน หรือท�ำความ สะอาดวัด หน่วยงานราชการ เป็นเพียงการ ท�ำงานให้หมดเวลาไปตามเงือ่ นไขเท่านัน้ แต่ ไม่ได้ความรูเ้ พือ่ พัฒนาตนเอง และสิง่ หนึง่ ที่ อาจเปลีย่ นใจคนกลุม่ นี้ เพือ่ เป็นทางเลือก ใหม่ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ด้วยความภาคภูมใิ จ นัน่ ก็คอื การส่งเสริม และฝึกทักษะวิชาอาชีพ พร้อมให้ความรู้ ด้านการตลาด และตลาดแรงงานในเวลา เดียวกัน”


“ดิฉันตั้งมั่นว่าอย่างไรก็ตามต้องหาวิธีฝึก ทักษะอาชีพแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติให้ ได้ เพราะอย่างน้อยเมื่อมารายงานตัวหรือหลัง การแก้ ไขฟื้นฟูบุคคลเหล่านี้ ต้องได้ความรู้ ทักษะอาชีพติดตัวกลับบ้านไปด้วย จากนั้น ก็รอเพียงการฟักตัวและเจริญเติบโตเบ่งบาน เป็นดอกไม้ให้ผู้คนทั่วไปได้ชื่นชมอีกครั้ง”

1.

หาเวลาฝึกทักษะเพิ่มเติม เพื่อให้เกิด ความช� ำ นาญและจ� ำ หน่ า ยเอง อาจ ประสานขอทุ น ประกอบอาชี พ กั บ ส�ำนักงานคุมประพฤติจงั หวัด พร้อมขึน้ ทะเบียน OTOP ที่พัฒนาชุมชนประจ�ำ อ�ำเภอ หากต้องการหาอาชีพเสริม น่าจะมี ระยะเวลาเข้ารับการอบรมอย่างน้อย 2-3 วัน พร้อมจัดจุดแหล่งรวมสินค้า จ�ำหน่ายสินค้า หรือจัดเป็นมหกรรม ตามวันส�ำคัญ ฝึกทักษะการรวมกลุ่ม ระดมหุ้นกัน เป็นกลุ่มหรือองค์กร ภายใต้ชื่อ “กลุ่ม คนดี มีน�้ำใจ” โดยให้ค�ำปรึกษารวม กลุม่ สร้างผลิตภัณฑ์ ขอรับความช่วยเหลือ จากโครงการภาครัฐ และน�ำผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มเข้าสู่ระบบตลาดประชารัฐ แสวงหาสถานที่ร้านจ�ำหน่ายสินค้าใน โอกาสต่อไป

2.

3.

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

ผูถ้ กู คุมความประพฤติทผี่ า่ นมา พบว่า ในระหว่าง เสริ ม ทั ก ษะนั้ น ผู ้ ถู ก คุ ม ความประพฤติ มีความสนใจ ตั้งใจ และให้ความร่วมมือในการ รับความรูท้ กุ ครัง้ จากประสบการณ์ในการสอน ทั ก ษะวิ ช าชี พ เห็ น ว่ า กิ จ กรรมนี้ เ ป็ น เพี ย ง กระบวนการหนึ่งที่เป็นการให้ความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการใช้แรงงานท�ำงานบริการ สังคม ซึ่งภายหลังไม่อาจบรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ที่ จะสามารถต่อยอดและยึดเป็นอาชีพได้เต็ม 100% เนื่องจากการให้ความรู้ด้านอาชีพเป็น ระยะเวลาสั้นๆ ไม่มีโอกาสทวนซ�้ำอีก อาจเป็น เพราะเงื่ อ นไขของระยะเวลาการคุ ม ความ ประพฤติ ทีผ่ ถู้ กู คุมความประพฤติจะหมุนเวียน มารายงานตัวตามระยะเวลาที่ศาลมีค�ำสั่งให้ รายงานตัวตามก�ำหนด อีกทั้งผู้ถูกคุมความ ประพฤติที่พ้นไปแล้ว ก็ไม่สามารถประกอบ อาชีพตามที่ได้รับการอบรม ฉะนั้น เมื่อสิ้นสุด การฝึกทักษะอาชีพ จะน�ำเสนอทางเลือกให้กบั ผู้ถูกคุมความประพฤติ ดังนี้

11

แผนงานฝึ ก อาชี พ แก่ ผู ้ ถู ก คุ ม ความ ประพฤติ เป็นโจทย์ส�ำคัญและท้าทายในการ ท�ำงานของอาสาสมัครคุมประพฤติทุกจังหวัด เป็ น อย่ า งมาก ส� ำ หรั บ ศู น ย์ ป ระสานงาน อาสาสมัครคุมประพฤติ พระพุทธบาท เองก็ ประสบกับปัญหาด้านงบประมาณ แต่กย็ งั ได้รบั การสนับสนุนจากสโมสรต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือ สร้างห้องปฏิบตั กิ ารงานอาหารและโภชนาการ ซึ่งสามารถบริการได้ทั้งผู้ถูกคุมความประพฤติ หรื อ ผู ้ ที่ ส นใจเสริ ม ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ การท� ำ อาหาร/ขนม “ดิฉนั ตัง้ มัน่ ว่าอย่างไรก็ตามต้องหาวิธฝี กึ ทักษะอาชีพแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติให้ได้ เพราะอย่างน้อยเมือ่ มารายงานตัวหรือหลังการ แก้ไขฟื้นฟูบุคคลเหล่านี้ ต้องได้ความรู้ทักษะ อาชีพติดตัวกลับบ้านไปด้วย จากนั้นก็รอเพียง การฟักตัวและเจริญเติบโตเบ่งบานเป็นดอกไม้ ให้ผู้คนทั่วไปได้ชื่นชมอีกครั้ง” จากกิจกรรมฝึกทักษะวิชาอาชีพให้กับ


| นานาสาระ |

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

12

เรื่อง นางสาวเหมือนแพร รุ่งเผ่าพั นธุ์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

รู้ไว้ใช้ประโยชน์กับ

4

เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับสุขภาพ


สุขภาพที่ดีเป็นสุดยอดปรารถนาของใครหลายๆ คน ดังนั้นหากมีตัวช่วยที่ดีเกี่ยวกับสุขภาพ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และวันนี้เราก็มี 4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพที่หลายคนอาจยังไม่รู้ มาฝากกันด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

กล้วย ช่วยลดอาการท้องอืดได้ ก่อนที่จะไปดูกันว่ากล้วยช่วยลดอาการท้องอืดได้อย่างไร เรา มารูจ้ กั กับอาการท้องอืดกันก่อน ท้องอืดเป็นอาการทีเ่ กิดแก๊สจ�ำนวน มากในกระเพาะอาหาร บางครั้งก็เกิดจากการรับประทานโซเดียม มากเกิน และเจ้ากล้วยนี่ล่ะค่ะที่จะช่วยท�ำให้อาการท้องอืดบรรเทา ลงได้ เพราะกล้วยมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะไปจัดการกับ ผลกระทบทีเ่ กิดจากโซเดียมส่วนเกินท�ำให้อาหารท้องอืดเบาบางลง แต่ถา้ คุณไม่อยากท้องอืดล่ะก็ หลีกเลีย่ งอาหารทีม่ เี กลือหรือโซเดียม มากเกินไปตั้งแต่แรกจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องมานั่งอึดอัดไงล่ะ

การออกก�ำลังกายตั้งแต่วัยรุ่น จะช่วยให้มีความจ�ำดีเมื่อแก่ตัวลง การเริ่มออกก�ำลังกายตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาว นอกจากจะท�ำให้ สุขภาพร่างกายแข็งแรงสืบไปจนถึงอนาคตแล้ว ก็ยังเป็นผลดีต่อ สมองอีกด้วย เพราะมีการศึกษาพบว่าการออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำ ในช่วงอายุ 20 ปีเป็นต้นไปจะช่วยให้มีความจ�ำที่ดีแม้วัยจะล่วงเลย ไปถึง 40 หรือ 50 ขึ้นไปแล้วก็ตาม

สุขภาพร่างกายของเราเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ หากเราดูแลรักษามันอย่างดีก็จะช่วยให้สุขภาพจิตใจของคุณดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากคุณ ปล่อยปละละเลยมันก็อาจจะท�ำให้ทงั้ กายและใจของคุณแย่ลง และนีก่ ค็ อื 4 เรือ่ งน่ารูเ้ กีย่ วกับสุขภาพทีเ่ ราน�ำมาฝากกัน ใครอยากมีสขุ ภาพดี ก็อย่าลืมท�ำตามเคล็ดลับสุขภาพเหล่านี้กันด้วย หรืออะไรที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพก็ควรหยุดท�ำโดยด่วนเลย เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง ข้อมูลจาก health.kapook.com

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

คุณเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าท�ำไมเวลาที่ชั่งน�้ำหนักในตอนเช้า และตอนเย็นถึงต่างกัน ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้กินเยอะมากมาย แต่นั่นก็เป็น เพราะน�้ำหนักของน�้ำในร่างกายที่มาจากอาหารที่มีรสเค็มหรือภาวะ มีประจ�ำเดือนของคุณที่ท�ำให้น�้ำหนักเหล่านี้ขึ้นหรือลงตลอดเวลา แต่ถา้ หากคุณต้องการทีจ่ ะจัดการกับเจ้าน�ำ้ หนักของน�ำ้ ทีม่ ใี นร่างกาย ล่ะก็ คุณควรจะไปปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาขับปัสสาวะก็ได้ค่ะ

การนัง่ ท�ำงานอยูก่ บั โต๊ะตลอดเวลาโดยไม่ลกุ ไปไหนทัง้ วันอาจจะ ท�ำให้คุณอายุสั้นลงโดยที่ไม่รู้ตัว นั่นก็เป็นเพราะว่าเมื่อร่างกาย ของเราไม่ได้ขยับเขยือ้ นไปไหนเลยก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย หรือแม้แต่ระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้นถ้าอยากจะ มีอายุทยี่ นื ยาว ก็หมัน่ ลุกจากโต๊ะท�ำงานบ้างนะคะ แค่เพียงลุกไปเข้า ห้องน�้ำก็ช่วยได้มาก หรือถ้าไม่อยากลุกก็ลองยืดเส้นยืดสายที่ โต๊ะท�ำงานดูนะคะ ก็ช่วยได้เหมือนกันค่ะ

13

น�้ำในร่างกายจะท�ำให้น้ ำ � หนักตัว ของคุณจะขึ้น-ลงอย่างน้อย วันละ 1 - 2 กิโลกรัม

การนั่งอยู่กับที่มากกว่าวันละ 11 ชั่วโมงท�ำให้อายุสั้นลง


| In Focus | เรื่องและภาพ: นางสาวปิยนุช รักสัตย์ นักวิชาการเผยแพร่ปฏิบัติการ

กล้าคิด กล้าทำ�

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

14

กล้าเป็น 1

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุตธิ รรม ในฐานะหน่วยงาน ที่ ขั บ เคลื่ อ นงานฟื้ นฟู สมรรถภาพผู้ ติ ด ยาเสพติ ด แม้จะเป็นในรูปแบบของการบังคับบ�ำบัด แต่การด�ำเนินงาน ของกรมคุ ม ประพฤติ โดยศู น ย์ ฟ ื้ นฟู สมรรถภาพ ผูต ้ ด ิ ยาเสพติดลาดหลุมแก้ว ได้นอ ้ มน�ำโครงการรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทู ล กระหม่ อ มหญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิรวิ ฒ ั นาพรรณวดี “เป็นหนึง ่ โดยไม่พึ่งยาเสพติด” มาใช้ กับผูเ้ ข้ารับการฟื้ นฟู สมรรถภาพผูต ้ ด ิ ยาเสพติดทีอ ่ ยูใ่ น ความรับผิดชอบ เพื่ อส่งเสริมการแสดงความสามารถ พั ฒนาศักยภาพผู้เข้ารับการฟื้ นฟู ฯ ให้มีความเชื่อมั่น กล้าคิด กล้าท�ำ กล้าแสดงออก และเกิดความภาคภูมใิ จ ในตั ว เอง ตลอดจนสร้ า งความรู้ แ ละทั ก ษะในการ แก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ส�ำคัญส�ำหรับ ผูเ้ ข้ารับการฟื้ นฟู สมรรถภาพผูต ้ ด ิ ยาเสพติด เพื่อกลับ ไปสู่สังคมอย่างปลอดภัยและห่างไกลยาเสพติด


ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

อยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่พึ่งยาเสพติด ต่อด้วย การประกวด To Be Number One Idol ศูนย์ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว ซึง่ แต่ละคนเฟ้นความสามารถทีเ่ ป็นจุดขายของ ตัวเองขึ้นมาโชว์ บ้างก็ร้องเพลง บ้างก็แสดง ดนตรี ไม่มใี ครยอมใคร และการแสดงดนตรีสด จากกี ต ้ า ร์ โ ปร่ ง ของผู ้ เ ข้ า รั บ การฟื ้ น ฟู ฯ ความสามารถระดับขึน้ เวทีแข่งขัน เป็นเสียงจริง ตัวจริงกันได้เลยทีเดียว รวมทั้งการแสดงละครของกลุ่มผู้เข้ารับ การฟื้นฟูฯ ที่แสดงให้เห็นถึงต้นตอของปัญหา และพิษภัย ตลอดจนผลของการกระท�ำผิดของ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด บางรายอาจได้รับ โอกาสตามแนวทางช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด แนวใหม่ของรัฐบาลที่มองว่า “ผู้เสพคือผู้ป่วย มิใช่อาชญากร” เข้าสูก่ ระบวนการบ�ำบัดฟืน้ ฟู ทัง้ ในรูปแบบสมัครใจ หรือรูปแบบบังคับบ�ำบัด และมี โ อกาสกลั บ คื น สู ่ สั ง คมเช่ น เดี ย วกั บ พวกเขาเหล่ า นั้ น ที่ ร อวั น จะเดิ น ออกจาก ศูนย์ฟน้ื ฟูสมรรถภาพผูต้ ดิ ยาเสพติดสูอ่ อ้ มกอด ของสังคมต่อไป

15

ศู น ย์ ฟ ื ้ น ฟู ส มรรถภาพผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด ลาดหลุมแก้ว น�ำโดย นางชลาทิพย์ โลหะศิริ ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์ฟน้ื ฟูสมรรถภาพผูต้ ดิ ยาเสพติด จึงจัดกิจกรรมโครงการ To Be Number One เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้แสดง ศักยภาพของตนเอง ทั้งการร้อง เล่น เต้น ร�ำ สร้างความสนุกสนานครื้นเครงและเป็นกันเอง พร้อมจัดแสดงนิทรรศการผลงานของผู้เข้ารับ การฟืน้ ฟูฯ ไม่วา่ จะเป็นพวงกุญแจ พิมเสน การ สาธิตกัดกระจกเป็นลวดลาย และการวาดภาพ ของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ฝีไม้ลายมือเรียกได้ว่า ไม่ ธ รรมดา นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารแสดงเต้ น ประกอบเพลง เก่งและดี To Be Number One จากผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ทั้งหญิงและชาย เรียก เสี ย งฮื อ ฮาจากผู ้ ช มอย่ า งมาก ต่ อ จากนั้ น เป็นการแสดงร�ำบายศรีที่มีความงามชดช้อย แม้จะใช้เวลาในการฝึกฝนเพียงไม่นานนัก รวมถึง การแข่งขันโต้วาทีว่าด้วยเรื่อง “ชายและหญิง ใครเก่งและดีกว่ากัน” ที่ต่างฝ่ายก็ฟาดฟันกัน อย่างสุดฤทธิ์ ท่ามกลางเสียงกรี๊ด เสียงเชียร์ จากกลุ่มผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ แต่ผลสุดท้าย ต่างก็เห็นถึงความส�ำคัญของทัง้ สองฝ่ายในการ


| เจาะกิจกรรมเด่น | เรื่อง นายณัฐ คชประเสริฐ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

ติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่างๆ ของส�ำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดปทุมธานี สาขาธั ญ บุ รี จั ด ท�ำงานบริ ก ารสั ง คม อบรมธรรมะ

ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครคุมประพฤติได้จัด กิจกรรมท�ำงานบริการสังคมแบบกลุ่มและกิจกรรมอบรม ธรรมะ ณ วัดราษฏร์ศรัทธาราม อ�ำเภอล�ำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี โดยมีผู้ถูกคุมความประพฤติเข้าร่วม กิจกรรมจ�ำนวน 156 คน อาสาสมัครคุมประพฤติ จ�ำนวน 6 ท่าน และเจ้าหน้าที่ 7 คน นอกจากนี้ นางนงเยาว์ เขี ย วสอาด ได้ ป ระชุ ม ร่ ว มกั บ เจ้าหน้าทีแ่ ละอาสาสมัครคุมประพฤติเพือ่ วางแผน แนวทางการท�ำงานร่วมกัน

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

16

ั หวัดฉะเชิงเทราสร้างการรับรู้ ส�ำนักงานคุมประพฤติจง งานคุมประพฤติ

ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ โดยมีการ ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในงานคุมประพฤติให้แก่ประชาชนทั่วไปและมีการรับ รายงานตัวผู้ถูกคุมความประพฤติ ซึ่งเป็นการช่วยอ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ถูกคุมความ ประพฤติในพื้นที่ด้วย ณ อ�ำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา คุมประพฤติภเู ขียวร่วมกิจกรรมจิตอาสา เราท�ำความดี ด้วยหัวใจ

ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดชัยภูมิ สาขาภูเขียว ร่วมกับ ส่ ว นราชการต่ า งๆ ผู ้ น� ำ ท้ อ งถิ่ น และประชาชนจิ ต อาสา “เราท�ำความดี ด้วยหัวใจ” ก�ำจัดสวะและวัชพืช ณ หนองนาแซง บ้านหินลาด ต�ำบลสามสวน อ�ำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้โครงการ “ความสุขจากพ่อ สู่ผืนแผ่นดิน” จัดโดยจังหวัด ชัยภูมิ เพื่อน�ำประชาชนจิตอาสาฯ ในพื้นที่ร่วมกันท�ำกิจกรรม สาธารณประโยชน์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ โดยมีนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็น ประธานในพิธีเปิด


ส�ำนั ก งานคุ ม ประพฤติ จั ง หวั ด ร้ อ ยเอ็ ด หารื อ ผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมส่งเสริม-พั ฒนาทักษะ การประกอบอาชีพ

ส�ำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดร้อยเอ็ด ด�ำเนินการท�ำบันทึกข้อตกลง MOU กั บ นายสทาวุ ฒิ สหพาณิ ช ย์ กุ ล (ผู ้ แ ทนจ� ำ หน่ า ยเนสท์ เ ล่ ) นายสิทธิชยั ลีธรศักดิส์ กุล ประธานบริษทั รุง่ เรืองกรุป๊ จ�ำกัด (อูซ่ อ่ มรถยนต์ และสถานประกอบการหลายแห่ง) ในโอกาสที่ส�ำนักงานคุมประพฤติจะ จัดกิจกรรม “ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพ” ในเดือน มีนาคม 2561 จากนัน้ จึงวางแผนจัดกิจกรรมให้ผถู้ กู คุมความประพฤติตาม ความสนใจต่อไป ซึ่งจะมีหน่วยงานกลุ่มพัฒนาพฤตินิสัย 3 แห่ง คือ ส�ำนักงานคุมประพฤติ เรือนจ�ำ และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน ในการอบรมความรู้และฝึกวิชาชีพต่างๆ และยินดีรับเข้าท�ำงาน หรือให้การสนับสนุน ั หวัดล�ำปาง จัดกิจกรรมท�ำ คุมประพฤติจง แนวป้องกันไฟป่า

ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดล�ำปาง จัดกิจกรรมท�ำ แนวกันไฟ ณ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เสริม ต�ำบล ทุง่ งาม อ�ำเภอเสริมงาม จังหวัดล�ำปาง โดยได้รบั เกียรติจาก นายสังคม คัดเชียงแสน นายอ�ำเภอเสริมงามเป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการ โดยมีเทศบาลต�ำบลเสริมงาม เทศบาล ต�ำบลทุง่ งาม หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าเสริมงาม และ ส่วนราชการในพื้นที่ ประชาชนจิตอาสาเราท�ำดีด้วยหัวใจ อาสาสมัครคุมประพฤติ และผูถ้ กู คุมความประพฤติเข้าร่วม กิจกรรมรวมทั้งสิ้นกว่า 200 คน ั หวัดนครสวรรค์ ส�ำนักงานคุมประพฤติจง ่ มบ้านกึง ่ วิถี เยีย

ส� ำ นั ก ง า น คุ ม ป ร ะ พ ฤ ติ จั ง ห วั ด ประจวบคีรีขันธ์ จัดโครงการค่ายปรับเปลีย่ น พฤติกรรมประจ�ำปี พ.ศ.2561 รุ่นที่ 2 ซึ่งมี การบรรยายให้ความรูเ้ รือ่ งยาเสพติด สร้างภูมคิ มุ้ กันทัง้ ร่างกายและจิตใจ รวมถึงการให้ ความรูเ้ กีย่ วกับกองทุนยุตธิ รรม การเข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรม ให้แก่ผเู้ ข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 20 คน ณ กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปีท่ี 24 | ฉบับที่ 01 | ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561

ั หวัด คุมประพฤติจง ประจวบคีรข ี น ั ธ์ จัดโครงการ ่ นพฤติกรรม ค่ายปรับเปลีย

17

ส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ จั ง หวั ด นครสวรรค์ ได้ ติดตามและสนับสนุนภารกิจงานตามโครงการบ้านกึ่งวิถี (บ้านร่มเย็น) อ�ำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ซึง่ รับสมาชิก คุมประพฤติที่มีความสมัครใจเข้าพักอาศัยเพื่อต้องการปรับ พฤติ ก รรมตนเองให้ มี ทั ก ษะชี วิ ต ด้ า นการเลิ ก ยาเสพติ ด และเรียนรู้หลักการใช้ชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งบ้านกึ่งวิถี (บ้านร่มเย็น) ได้รับคัดเลือกเข้าร่วม ประกวดโครงการขยะรีไซเคิล ในระดับจังหวัด โดยสมาชิกคุมประพฤติได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันประดิษฐ์ของเล่นภาคสนาม และกระถาง ต้นไม้ เพื่อเข้าร่วมการประกวด โดยการน�ำของพระธีระพันธุ์ บุญบาง อาสาสมัครคุมประพฤติและผู้ดูแลบ้านกึ่งวิถี


กิจกรรมอบรมทักษะชีวิตแนะแนวการศึ กษา และแนะแนวอาชีพ

ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกระบี่ จัดกิจกรรมอบรม ทักษะชีวิตแนะแนวศึกษาและแนะแนวอาชีพ โดยมีนายสนั่น ทองเนื้อขาว ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีฯ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีการอบรมทักษะชีวิต แนะแนวการศึกษาและแนะแนวอาชีพ รวมถึงหน้าทีพ่ ลเมืองและ เคารพกฎหมายแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติที่เป็นเด็กและเยาวชน พร้อมด้วยผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิด จ�ำนวนกว่า 51 คน ณ ศูนย์ยุติธรรมชุมชน กระบี่ - ท่าเรือ จังหวัดกระบี่

อธิบดีกรมคุมประพฤติลงพื้ นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขับเคลื่อนงานคุมประพฤติ

วารสารกรมคุมประพฤติ | Probation Magazine

18

นายประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมส�ำนักงานคุมประพฤติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ส�ำนักงาน คุมประพฤติจงั หวัดนราธิวาส ยะลาและปัตตานี อธิบดีกรมคุมประพฤติยงั ก�ำชับให้สำ� นักงานฯ น้อมน�ำแนวทางจากโครงการก�ำลังใจฯ โครงการห้องสมุด พร้อมปัญญา และโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (To Be Number One) มาปรับใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน เพื่อน�ำไป สูก่ ารเสริมสร้างและพัฒนางานในด้านต่างๆ นอกจากนี้ อธิบดีกรมคุมประพฤติได้รบั ฟังผลการด�ำเนินงาน รวมทัง้ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบตั งิ าน อันเป็นการสร้างขวัญและก�ำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ด้วย

ส�ำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 2 จัดกิจกรรม อบรมความรู้ผู้ถูกคุมความประพฤติ

นายมณฑล แก้วเก่า รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นประธานเปิดกิจกรรม อบรมความรูผ้ ถู้ กู คุมความประพฤติ เรือ่ งกฎหมายจราจรและความปลอดภัยบน ท้องถนน จัดโดยส�ำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 2 มีการบรรยายความรู้ ความเข้าใจในการใช้ร ถใช้ถนนอย่างถูกต้องและตระหนักถึงโทษของการ ดื่มแล้วขับ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจ�ำนวน 512 คน ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร


ขอความร่วมมือท่านผู้อ่าน ตอบแบบสอบถามความพึ งพอใจ ที่มีต่อวารสารกรมคุมประพฤติ ก ร ม คุ ม ป ร ะ พ ฤ ติ กระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้ จั ด ท� ำ วารสารกรมคุมประพฤติ ปีท่ี 24 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม 2560 –

พร้อมร่วมสนุกชิงรางวัล Flash Drive จ�ำนวน 3 รางวัล เพี ยงกรอกชื่อ-สกุล ชื่ อ หน่ ว ยงาน และเบอร์ ติ ด ต่ อ ท้ า ย แบบสอบถาม ภายในวันที่ 20 เมษายน

้ เพื่อเผยแพร่ มกราคม 2561 ขึน ข่ า ว ส า ร ส ร้ า ง ก า ร รั บ รู้ แ ล ะ ค ว า ม เ ข้ า ใ จ เ กี่ ย ว กั บ งานคุมประพฤติ ในการนี้

2561 และจะประกาศรายชื่ อ ผู้ โ ชคดี ใ น วารสารกรมคุมประพฤติฉบับถัดไป

กรมคุมประพฤติ จึงขอ ความร่วมมือท่านตอบ แบบสอบถามความ ่ ต พึงพอใจทีม ี อ ่ วารสาร กรมคุ ม ประพฤติ ไ ด้ ท่ี

https://goo.gl/nCQd6r

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมคุมประพฤติ ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 และ มาตรา 9 เช่น โครงสร้างองค์กรกรมคุมประพฤติ สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ สขร. 1 โดยมีดัชนีข้อมูลข่าวสาร ไว้บริการ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ยังมีศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ช่องทางการติดต่อ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมคุมประพฤติ ณ ห้องกลุ่มประชาสัมพั นธ์และการสื่อสาร กรมคุมประพฤติ ชั้น 4 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ www.oic.go.th/infocenter2/229 โทร. 0-2141-4740 E-mail: probation2558@hotmail.com


กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม Department of Probation, Ministry of Justice อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 4, 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2413-0635, 0-2143-8824 www.probation.go.th ศูนย์รับฟังความคิดเห็น โทร. 0-2141-4749 ตู้ ปณ.29 ปณฝ. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพมหานคร 10215

สายด่วน 1111 กด 78

กรมคุมประพฤติ Department of Probation


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.