วารสารกรมคุมประพฤติ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

Page 1


บทบรรณาธิการ

“ธ สถิตในดวงใจ ตราบนิจนิรันดร์” สารบัญ เมื่ อ วั น ที่ 13 ตุ ล าคม 2559 ส� ำ นั ก พระราชวั ง ได้ มี ป ระกาศ เรื่ อ ง พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มหิ ต ลาธิ เ บศรรามาธิ บ ดี จั ก รี นฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต นับเป็นความวิปโยคครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศชาติที่ต้อง สู ญ เสี ย พระมหากษั ต ริ ย ์ ที่ ท รงครองแผ่ น ดิ น โดยธรรม ซึ่งกรมคุมประพฤติ และส�ำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมแสดงความอาลัยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมกับ น้อมน�ำพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้เป็นหลักในการท�ำงาน และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ดั ง ค� ำ ปณิธาน “ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป”

Contents บทความพิเศษ

ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับงานคุมประพฤติ การถ่ายโอนภารกิจการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ในระบบบังคับบ�ำบัดให้กับกระทรวงสาธารณสุข

คุมประพฤติอาเซียน

ความท้าทายในการใช้มาตรการแบบไม่ควบคุมตัว ใน ลาว และ กัมพูชา ผ่านทางสายตาของ UNAFEI

เรื่องเล่าคนคุมประพฤติ

“กรมคุมประพฤติ” องค์กรแห่งคุณธรรมจริยธรรม หน้าต่างความดีงาม

สังคมเดียวกัน

การเปลี่ยนวิธีคิดของผู้กระท�ำผิด

ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า กองบรรณาธิการวารสารกรมคุมประพฤติ

Probation Around the World

การใช้งานเครื่องติดตามตัวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) กรณีศึกษา จากเขตอ�ำนาจศาล 5 ประเทศในยุโรป

บทความพิเศษ

กรมคุมประพฤติยุคใหม่ ลุยสร้างภาวะผู้น�ำ

วิสัยทัศน์

“เป็นหน่วยงานแก้ไขฟื้นฟูและคุมความประพฤติ ผู้กระท�ำผิดกฎหมายอาญา โดยใช้มาตรการไม่ควบคุมตัว เพื่อความสงบสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน”

กองบรรณาธิการ

1 10 13 16 18 25 30

44

พันธกิจ

1. แก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำผิดในชุมชน 2. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และภาคีเครือข่ายในการดูแล แก้ไข บ�ำบัด ฟื้นฟู ผู้กระท�ำผิด

ที่ปรึกษา พันต�ำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ นายเพิ่มพูน พึ่งประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นายประสาร มหาลี้ตระกูล รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นางอัญชลี พัฒนสาร รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ บรรณาธิการบริหาร นางยศวันต์ บริบูรณ์ธนา กองบรรณาธิการ นางสุวิมล ด�ำสุวรรณ นางสาวพรสวรรค์ ศรีสังข์ นายปิยะศักดิ์ โชคอ�ำนวย นางสาวปิยนุช รักสัตย์ นางสาวเหมือนแพร รุ่งเผ่าพันธุ์ ฝ่ายภาพ นายณัฐ คชประเสริฐ นางเกศินี สกุลทับ ฝ่ายประสานงานและพิสูจน์อักษร นางสาวณัฐกฤตา น�ำผล นางสาวนันทพร สุนสาระพันธุ์ ฝ่ายจัดการ กลุ่มอ�ำนวยการและสื่อสารองค์การ ส�ำนักงานเลขานุการกรม กรมคุมประพฤติ โทร. 0 2143 8824 ผู้จัดพิมพ์ บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด


ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป

>> โดย ทีมงานวารสารกรมคุมประพฤติ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ประชาชนชาวไทย นับว่า โชคดีที่ได้มาอยู่ภายใต้ร่มพระบรมราชโองการ พระองค์ท่านได้โปรดพระราชทาน หลักการ ท�ำงานอันยิ่งใหญ่ให้ไว้แก่แผ่นดิน อีกทั้งพระองค์ยังทรงพระด�ำเนินเป็นแบบอย่างให้เห็น โดยแนวคิดการศึกษาอย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาที่จุดเล็กท�ำตามล�ำดับไปโดยรู้ถึงภูมิสังคม และรวบรวมเป็นวิธีคิดอย่างเป็นองค์กรรวม พร้อมประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ภายใต้ แนวทางที่ประหยัด เรียบง่ายและได้ประโยชน์สูงสุด ทุกกระบวนการจะต้องง่ายต่อการเข้าใจ อาศัยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ถือประโยชน์ของส่วนรวม นอกจากนี้ยังทรงมีความเข้าใจ ธรรมชาติอย่างถ่องแท้น�ำไปสู่การแก้ปัญหาของประชาชน ส�ำหรับการด�ำรงตนนั้น พระองค์ ท่านทรงให้ทุกคนเห็นว่าการให้และการเสียสละแม้ดูเหมือนขาดทุน แต่แท้จริงนั้น คือ ก�ำไรของสังคมอันยิ่งใหญ่ โดยเน้นให้ทุกคนพึ่งพาตนเองอย่างพออยู่พอกิน ท�ำงานอย่าง มีความรู้พระองค์ทรงริเริ่มทฤษฎีใหม่ก่อเกิดปรัชญาพอเพียง โดยมีความเพียรพยายาม เป็นก�ำลังใจอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายจะต้องรู้จักรักสามัคคีในจิตใจ ที่จะน�ำพาครอบครัว สังคม ชุมชนและประเทศชาติให้ผ่านพ้นภัยพาลไปได้ กรมคุมประพฤติ เป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงยุติธรรมที่จะอ�ำนวยความยุติธรรม ให้กับประชาชน และสังคม จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะน้อมน�ำและปรัชญาในการ ปฏิบัติหน้าที่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้ให้เข้ากับ หน่วยงาน ขององค์กร โดยจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงาน ไปจนถึ ง ระดั บ บริ ห าร จึ ง จะท� ำ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ร าชการจะสามารถด� ำ เนิ น ไปได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้า กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม น้อมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ “พระผูเ้ สด็จสูส่ วรรคาลัย” และขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรับสนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ตลอดไป.

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 1


เมื่อกล่าวถึงการส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผมทราบดีว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่หัวใจ ชาวไทยเจ็บปวดและโศกเศร้ากับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย และก่อให้เกิดการส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ท่านทรงงานหนัก อย่างไม่รู้จัก เหน็ดเหนื่อยเพื่อราษฎรของพระองค์ตลอด 70 ปี แห่งการครองราชย์ เมื่อได้ยินก็จะมีความภูมิใจทุกครั้งว่าเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ส�ำคัญที่ต้องรับผิดชอบ อย่างดีท่ีสุด โดยมีหน้าที่เป็นผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท เช่นเดียวกับ สมัยก่อนที่ข้าราชการคือผู้ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง และทรงไว้ วางพระราชหฤทัยให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในหลากหลายหน้าที่ ดูแลไพร่ฟ้าประชาชนของพระองค์ท่าน ท�ำให้เกิดความรู้สึกว่าเราได้ รับเกียรติอย่างสูงสุดนั้น เพราะฉะนั้นตัวผมเองจะต้องประพฤติปฏิบัติตน ให้อยู่ในกรอบศีลธรรม ระเบียบวินัยอันดีงาม ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้บรรลุเป้าประสงค์เกิดผลดีต่อทางราชการ ประชาชนอยู่ดีมีสุข อีกทั้ง แนวพระราชด�ำริโครงการต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ พอเพียง โครงการหลวงต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นโครงการที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง ทั้งสิ้น ผมและบุคลากรของกรมคุมประพฤติทุกคนจึงมีความรู้สึกเดียวกัน และขอรวมใจเป็นหนึ่งเดียวในการท�ำงานมีความตั้งใจอย่าง แน่ ว แน่ ที่ จ ะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ภ ารกิ จ ของกรมตามแนวทาง ของทางราชการและนโยบายของรั ฐ บาลให้ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ เป็ น การสนองพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อั น หา ที่สุดมิได้ของพระองค์ท่านด้วย

พันต�ำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ

2 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ในฐานะที่เป็นข้าราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ ได้ยึดหลักคิดของพระองค์ท่าน มาเป็นแสงสว่างน�ำทางมาโดยตลอด ความรู้และความสามารถที่มีประกอบกับ การมีจริยธรรม และน้อมน�ำแนวคิดที่ว่าข้าราชการจะบรรลุหน้าที่การงานได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกัน คือความรู้ ความสามารถ และ จริยธรรม เมื่อได้รับมอบหมายให้มาด�ำรงต�ำแหน่งรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ก็ได้น�ำแนวทางของพระองค์ท่านมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะ ด้านการบริหารงานโดยยึดหลักประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลักภายใต้ หลั ก การที่ ชั ด เจน และสร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว มให้ เ กิ ด ขึ้ น ในการด� ำ เนิ น การ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก รวมถึงศาสตร์ของพระราชาที่เรายึดใช้คือ เศรษฐกิจพอเพียง การให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้หลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ส่วน อีกหลักคือหลักธรรมาภิบาล แนวทางในการจัดระเบียบ เพือ่ ให้สงั คมของประเทศทัง้ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนสามารถอยู ่ ร ่ ว มกั น ได้ อ ย่ า ง สงบสุ ข และตั้ ง อยู ่ ใ นความถู ก ต้ อ งเป็ น ธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต และจริงใจต่อกัน

นายเพิ่มพูน พึ่งประสิทธิ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 3


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ตลอดระยะเวลา 70 ปี จะเห็นได้ว่าท่านทรงงานหนักมาก สิ่งที่ ท่านได้พูดอยู่เสมอว่าอาชีพท่าน คือ อาชีพราชการ ท่านยึดประชาชน เป็นหลัก ท�ำประโยชน์ให้กับประชาชน เพราะฉะนั้นในฐานะที่เรามารับราชการ เราก็นำ� พระราชด�ำริในโครงการต่าง ๆ พระราชกรณียกิจ รวมถึงพระราชด�ำรัส ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ มาปรับใช้ในการท�ำงาน ส่วนหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงถือว่าเป็นหลักส�ำคัญของคนทั่วไป หรือในบางส่วนของราชการก็ดี ซึ่งก็ควรท�ำอะไรแต่พอดี แต่ทุกอย่างก็มองผลสุดท้ายคือมองที่ประโยชน์ เมื่อเราเป็นข้าราชการก็ต้องมองประโยชน์ที่ส่วนรวม ประชาชน สังคม ว่าจะได้อะไร เราคงไม่เอาประโยชน์ของเราเป็นหลัก ส่วนเรื่อง ค่าตอบแทนก็เป็นเรื่องปกติของคนท�ำงาน ส่วนอีกหลักที่น�ำมาปรับใช้ในการท�ำงานนั้น คือ เวลาจะ ท�ำงานอะไรสักอย่างเราต้องรูใ้ ห้จริง ต้องเข้าใจ คนเราคงไม่รอบรูไ้ ป ทั้ ง หมดแต่ จ ะรู ้ ไ ด้ ก็ ต ้ อ งศึ ก ษา อี ก หลั ก หนึ่ ง ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ก็ อ ยู ่ ในหนึ่งของหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ คือในเรื่องของขันติ ความอดทน จะเห็นได้ว่าท่านทรงงานไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เราก็ พ ยายามที่ จ ะใช้ ห ลั ก นี้ ใ นการทุ ่ ม เทกั บ การท� ำ งานอย่ า งเต็ ม ความสามารถ ไม่ย่อท้อ และอดทนต่อทุก ๆ เรื่อง โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ ท�ำงานให้ส�ำเร็จบรรลุเป้าหมายและส่งผลต่อประชาชนโดยรวม อี ก ประการหนึ่ ง คื อ เข้ า ใจ เข้ า ถึ ง และ พั ฒ นา ตรงนี้ ก็ น� ำ มาปรั บ ใช้ ใ นการท� ำ งาน ของเราคื อ การท� ำ งานต้ อ งมี ค วามเข้ า ใจกั น ถึ ง จะท� ำ งานร่ ว มกั น ได้ เพื่ อ บรรลุ เ ป้ า หมาย ผลส�ำเร็จ ดังนั้น จึงยึดหลักเหล่านี้มาปฏิบัติใช้ ในการท�ำงานราชการเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

นายประสาร มหาลี้ตระกูล รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ

4 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ในเรื่ อ งของการท� ำ งานนั้ น สิ่ ง ที่ ข้ า พเจ้ า ยึ ด ถื อ มาตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ปฏิ บั ติ ร าชการ นั่ น ก็ คื อ ความเพียร ความพยายามบากบั่น ไม่ย่อท้อ ปฏิบัติ อย่างสม�่ำเสมอเพื่อให้เกิดความส�ำเร็จเพราะการท�ำงาน มักจะมีปัญหาอุปสรรคเยอะ กว่าเราจะผ่านอุปสรรค ในการท�ำงานมาได้ ถ้าเราไม่มีความเพียรความพยายาม ก็ ค งไม่ ขึ้ น มาถึ ง ณ จุ ด นี้ ความจริ ง แล้ ว ไม่ ใ ช่ แ ค่ เ พื่ อ ต�ำแหน่งหน้าที่ของเรา แต่มันเป็นเรื่องของงานด้วย คือเราก็ มีความรู้สึกภูมิใจหลาย ๆ อย่างในการท�ำงานที่กรมคุมประพฤติ ส่วนในเรื่องของการพอเพียงนั้น เราควรรู้ว่าเราจะใช้แค่ไหน ถึ ง จะพอเพี ย ง เพื่ อ ที่ จ ะให้ ชี วิ ต เราไม่ ต ้ อ งดิ้ น รนในสิ่ ง ที่ เ รา อยากได้อยากมี ส่วนเรื่องการท�ำงานก็เหมือนกันต้องพอเพียง ภายใต้ข้อจ�ำกัดต่าง ๆ การท�ำงานราชการมีเรื่องข้อจ�ำกัดเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน เรื่องเงิน เรื่องทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้ ตรงนี้เราต้องบริหารให้ได้ ภายใต้ข้อจ�ำกัด ซึ่งเราต้องยึดหลัก ว่าแค่ไหนถึงจะพอเพียงส�ำหรับในกิจกรรมต่าง ๆ

นางอัญชลี พัฒนสาร รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 5


ในช่ ว งตลอดระยะเวลาที่ ท� ำ งานมา สิ่ ง ที่ ข ้ า พเจ้ า ยึ ด ไว้ คื อ เมื่ อ ได้ รั บ มอบหมาย หรืองานที่ต้องท�ำ เราจะท�ำให้อย่างเต็มที่ที่สุด ตามพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของการท�ำงานนั้น เมื่อมีโอกาสและมีงานท�ำ เราควรเต็มใจท�ำโดยไม่จ�ำเป็นต้องตั้งข้อแม้หรือเงื่อนไข อันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ท�ำงานได้จริง ๆ นั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมท�ำได้เสมอ ยิ่งถ้าเรามีความเอาใจใส่ มีความขยันและซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบความส�ำเร็จในงานที่ท�ำสูงขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่ ได้รับมอบงานมาเราจะไม่บอกว่าเราท�ำได้ไหมหรือท�ำไม่ได้ เป็นงานของใคร ใช่งานของเราหรือเปล่า แต่มองว่าเมื่อมันมีงานนี้ผ่านเข้ามาก็แสดงว่า มันเป็นงานของเรา มันอยู่ที่เราต้องคิดว่าเราต้องท�ำยังไงให้มันบรรลุ หรือท�ำให้มันส�ำเร็จได้ เพราะทุกอย่างที่ท�ำแล้ว มันเป็นประโยชน์ ต่อราชการ สุดท้ายแล้วเราก็จะท�ำงานออกมาได้เรื่อย ๆ เพราะเรา ไม่เคยย่อท้อนี่คือสิ่งส�ำคัญ

นางพรประภา แกล้วกล้า

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการแก้ไขฟื้นฟูและกิจกรรมชุมชน

ถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะจากเราไป แต่ค�ำสอนและพระราชด�ำรัส พระบรมราโชวาทของพระองค์ ยังคงสถิตและตราตรึงอยู่ในใจของดิฉันและคนไทยตลอดไป ดิฉันได้ น�ำหลักค�ำสอนของพระองค์ท่านในการ มุมานะ บากบั่นในการท�ำงานให้ลุล่วงจนประสบความส�ำเร็จ การใช้ชีวิตที่พอเพียง รู้จักเก็บออม และการท�ำงานก็รู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ ท�ำให้ดิฉันมีแรงและพลังในการก้าวเดินในชีวิตต่อไป และขอสัญญาว่าจะเป็นพสกนิกรที่ดี ของคนไทยและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม การบริจาค การแบ่งปันต่าง ๆ เพื่อให้สังคม และประเทศชาติมีความผาสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป และจะขอเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ตราบชีวิตดิฉัน จะหาไม่

นางสาวเพียงฉัตร รุ่งเผ่าพันธุ์

พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ กองกิจการชุมชนและบริการสังคม

ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และโปร่งใส ปฏิบัติงานอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรมคุมประพฤติ และน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติราชการ เช่น จะใช้วัสดุส�ำนักงานอย่างประหยัด ช่วยประหยัดน�้ำ ประหยัดไฟ และ ยอมเสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่ออุทิศตนให้กับงานราชการ

นายศุภเกียรติ แสงวัฒนะ

เจ้าหน้าที่ธุรการ กองแผนงานและสารสนเทศ 6 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


อยากท�ำงานในภาพรวมของกรม คือตอบโจทย์ของกรม ท�ำงานให้ทันเวลา เราก็เหมือนเป็น คน ๆ หนึ่งที่จะท�ำให้ภารกิจของกรมขับเคลื่อนเดินหน้าไป อยากท�ำงานให้เร็วที่สุดเพื่อให้ทุกอย่างส่งต่อไป ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ส่งต่องานให้ผู้ที่รับช่วงต่อด�ำเนินงานได้อย่างรวดเร็วขึ้นและกระจายไปสู่ส�ำนักงาน ส่วนภูมิภาคให้ปฏิบัติภารกิจด้วยความเข้าใจและประสานงานได้ทันท่วงทีและสอดรับกันมากขึ้น ในส่วนของการท�ำงานข้าพเจ้าได้รับมอบหมายเกี่ยวกับคะแนนตัวชี้วัดก็ต้องใช้ความยุติธรรม ความแม่นย�ำ แต่ในขณะเดียวกันความแม่นย�ำก็ต้องมีความยืดหยุ่นในการพูดคุยหรือในการท�ำความเห็นให้เข้าใจ ซึ่งกันและกัน ข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นธรรมทั้งผู้ก�ำหนดข้อตกลงและผู้ปฏิบัติต้องมีความเห็นร่วมกัน เพื่อให้ภาพรวมประสบความส�ำเร็จ

นางสาวกุลพิชญ์ พรหมปรีชาวุฒิ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ กองบริหารทรัพยากรบุคคล

พระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเป็นสิ่งที่ยึดหลักในการท�ำงานมาตลอด คือในส่วน ของงานตรงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย วินัยข้าราชการ เพราะฉะนั้นในความเป็นธรรมต้องพิจารณา อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน และรอบด้านเราจึงไม่ยึดหลักกฎหมายเป็นใหญ่ แต่จะเป็นกรอบที่วางแนวทาง ส�ำหรับปฏิบัติหน้าที่ซึ่งสุดท้ายเราต้องยึดถือในหลักของความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง และจะบอกเพื่อนร่วมงาน เสมอว่า เวลาท�ำงานให้ยึดหลักยุติธรรม กฎหมายเป็นแค่เครื่องมือในการรักษาความยุติธรรม เราจึงไม่ควร ถือว่ามีความส�ำคัญกว่าความยุตธิ รรมทีแ่ ท้จริง เราควรจะต้องถือว่าความยุตธิ รรมมาก่อนกฎหมายและอยู่ เหนือกฎหมาย ซึง่ ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีใด ๆ โดยค�ำนึงถึงแต่ความถูกผิดตามกฎหมายเท่านัน้ ดูจะไม่เป็นการเพียงพอ จึงต้องค�ำนึงถึงความยุติธรรมซึ่งเป็นจุดประสงค์ด้วย การใช้กฎหมายจึงจะมี ความหมายและผลที่ควรจะได้

นายเกียรติภูมิ จารุเสน

นิติกรช�ำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวินัย กองบริหารทรัพยากรบุคคล

ในฐานะข้าราชการ ที่ส�ำคัญที่สุดก็คือการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เต็มที่ที่สุด จากที่ท่านทรงงาน มาตลอดระยะเวลาที่ ท ่ า นทรงครองราชย์ เ ราก็ จ ะเห็ น ได้ ว ่ า ท่ า นได้ ทุ ่ ม เทปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ อย่ า งเต็ ม ที่ ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นถึงพระมหากษัตริย์ก็ตาม ท่านก็ไม่มีความจ�ำเป็นที่จะต้องทรงงานหนักแต่ท่าน ก็ยังท�ำงานหนักเพื่อประชาชน เพราะฉะนั้นตัวผมเองเพิ่งได้เข้ามารับราชการก็รู้สึกว่าเราก็ต้องปฏิบัติ หน้าที่ของเราให้เต็มที่โดยดูจากที่ท่านทรงงานเป็นแบบอย่าง ท�ำงานด้วยความเต็มที่ ท�ำเพื่อประโยชน์ ของประชาชนอย่างแท้จริง เราเองก็จะยึดหลักนี้ในการท�ำงานรับราชการ สุดท้ายแล้วงานที่ท�ำนั้น ประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง คือยึดประชาชนเป็นหลัก เพราะถ้าประชาชนได้รับประโยชน์แล้ว นั่นคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถ้าเป็นของงานคุมประพฤติเราต้องคิดตลอดว่าภารกิจต่าง ๆ จะส่งผลต่อ การปฏิบัติของตัวบุคคลที่พลาดพลั้งกระท�ำผิดอย่างไรบ้างและไม่หวนกลับมากระท�ำผิดซ�้ำอีก

นายชนาพัทร์ มณีดุลย์

พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ กลุ่มต่างประเทศวิจัยและพัฒนา วารสาร กรมคุมประพฤติ | 7


เราต้องกลับไปที่ความเชื่อเดิมคือที่มาที่ไปของข้าราชการที่ต้องรับใช้แผ่นดิน ทุกวันนี้ผมคิดว่า ข้าราชการเองหรือประชาชนเองกับมุมมองที่เปลี่ยนไปที่ประชาชนทั่วไปมองว่า อาชีพข้าราชการเป็น อาชีพเจ้าคนนายคน ผมมองว่าผิดประเด็นเพราะว่าจุดประสงค์หลักของการเป็นข้าราชการตามทีใ่ นหลวง ท่านกล่าวไว้คือการรับใช้ประชาชน เพราะฉะนั้นแล้วเราไม่ได้มา ณ จุดนี้เพื่อเป็นเจ้าคนนายคนแต่เรา มาเพื่อรับใช้ประชาชนคือจุดประสงค์แรกเริ่ม ผมจะน�ำหลักการมาใช้คือให้พึงรู้ระลึกอยู่เสมอว่าการที่ เรามาท�ำตรงนี้เรามาเพื่อรับใช้ประชาชน เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็เหมือนที่ในหลวงเองก็ยึดประชาชน เป็นที่ตั้งก่อนแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องคอร์รัปชั่นต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะเรารู้ว่าเรามาท�ำเพื่ออะไร ท�ำเพื่อใคร สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนพึงระลึกถึงที่มาที่ไปว่าจริง ๆ แล้วเราควรจะท�ำประโยชน์ต่อไป ให้กับแผ่นดินในฐานะข้าราชการ

นายพรรษวุฒิ ปูชนีย์กุล

พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ กลุ่มต่างประเทศวิจัยและพัฒนา

ถ้ า เคยได้ ยิ น ค� ำ พู ด หรื อ หลั ก ปรั ช ญาที่ เ ล่ า ต่ อ ๆ กั น มาคื อ “ขาดทุ น ของเรา คื อ ประโยชน์ ของประชาชน” เป็ น การให้ มุ ม มองว่ า การที่ เ ราท� ำ งานอย่ า งทุ ่ ม เทถึ ง แม้ ว ่ า จะเหน็ ด เหนื่ อ ยและ เป็นหน่วยงานราชการไม่ได้เป็นหน่วยงานที่แสวงหาก�ำไรอยู่แล้ว ถึงเราเป็นภาครัฐจะขาดทุนแต่ก็ท�ำไป เพื่อประโยชน์ของประชาชน เพราะฉะนั้นการนึกถึงประชาชนและใช้ทรัพยากรของตัวเองให้เต็มที่ อย่างชาญฉลาดที่สุด ก็ถือเป็นการน้อมน�ำแนวพระราชด�ำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการท�ำงาน ทั้งส่วนบุคคลและในเชิงองค์กร ซึ่งทุกวันนี้กลับกลายเป็นว่าบางคนหรือบางองค์กรไม่ยอมขาดทุนและ ยั ง หาก� ำ ไรให้ กั บ ตั ว เองก็ ค วรจะระลึ ก ถึ ง ว่ า ท่ า นได้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี แ ละได้ ใ ห้ ค� ำ สอนอะไรมาบ้ า ง โดยเฉพาะท่านมีอัจฉริยะภาพในหลายด้านมาก เพราะฉะนั้นเป็นการบอกเราว่าเราต้องไม่หยุดพัฒนา ตัวเอง เราควรจะมีความรู้ในหลาย ๆ ด้าน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สายงานหลักของเรา ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ ท�ำได้ดีที่สุดแต่ก็ควรที่จะไม่หยุดพัฒนาตัวเองไม่หยุดเรียนรู้

นางสาวณัฐินี ณ เชียงใหม่

พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ กลุ่มต่างประเทศวิจัยและพัฒนา

ตั้งแต่ท�ำงานในหน่วยงานของราชการมาหากมีสิ่งใดที่เราช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานได้เราก็จะท�ำ โดยปกติชอบช่วยเหลือคนและรักองค์กร รักประเทศชาติ อะไรก็ได้ที่ท�ำแล้วเกิดประโยชน์ต่อสังคม ในความคิดคืออยากให้ทุกคนท�ำงานด้วยความเต็มใจและเต็มที่เพื่อองค์กร อยากให้ท�ำงานกันอย่าง มีความสุข และที่ส�ำคัญ อยากให้ทุกคนท�ำความดีและซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวมให้เหมาะสม กับการเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

นางสาวขวัญเดือน หนูชู

เจ้าพนักงานธุรการ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ส�ำนักพัฒนาการคุมประพฤติ 8 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ในฐานะที่อยู่ตรงนี้ ข้าพเจ้าก็จะเป็นคนดี ประหยัดมัธยัสถ์ในการใช้อุปกรณ์ของส�ำนักงาน ในส่วนของการท�ำงาน ข้าพเจ้ายึดหลักโดยมีความซื่อสัตย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับผิดชอบ อย่างเต็มความสามารถและมีความเสียสละ อย่างเช่นวันเสาร์-อาทิตย์ หากกรมมีภารกิจเร่งด่วนก็จะ มาปฏิบัติงานโดยค�ำนึงถึงประโยนช์ส่วนรวมและความรับผิดชอบต่องานเป็นที่ตั้ง

นางสาวเจียมรัตน์ ลักษณาวงศ์

เจ้าหน้าที่ธุรการ กองบริหารทรัพยากรบุคคล

ทางเราได้น้อมน�ำตามหลักค�ำสอนของพ่อหลวงมาสู่การปฏิบัติงาน คือเรื่องเกี่ยวกับการนึกถึง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และการปฏิบัติงานเราควรมีสติเป็นหลัก มีความอดทนเพื่อให้งานส�ำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยภาพรวม ของงานสารบรรณกรมคุมประพฤติแล้วจะปฏิบตั ดิ ว้ ยความรอบคอบ รับผิดชอบต่องานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย อุทิศเวลาให้กับราชการ มีความซื่อสัตย์ ความอดทน นึกถึงประโยชน์ของราชการเป็นหลัก

คณะบุคลากร งานสารบรรณ กลุ่มอ�ำนวยการและสื่อสารองค์การ

จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีเท่าที่ประชาชนคนหนึ่งจะท�ำได้และในฐานะลูกคนหนึ่งก็จะ เดินตามหลักแนวคิดปรัชญาที่ท่านเคยท�ำให้ดูเป็นแนวทางเราก็จะปฏิบัติตาม อย่างเช่น หลักในการท�ำงาน ก็คือความเสียสละต่อหน้าที่ เสียสละต่อเพื่อนร่วมงาน มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อยากให้อยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี มีอะไรก็ช่วยเหลือกันเพื่อให้เป้าหมายส�ำเร็จ

นางสาวสุนิสา เศวตดิษฐ

เจ้าพนักงานธุรการ ฝ่ายบริหาร ส�ำนักพัฒนาการคุมประพฤติ

ข้าพเจ้าใคร่น้อมน�ำแนวพระราชด�ำริของพระองค์ท่านเพื่อไปปรับใช้ตามหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา กับงานคุมประพฤติดังนี้ เข้าใจคือเข้าใจตัวตนบุคลิกภาพของผู้กระท�ำผิด เข้าถึงคือเข้าถึง สภาพปัญหาและความต้องการของผู้กระท�ำผิด พัฒนาคือมุ่งมั่นหมั่นศึกษาและประยุกต์ใช้ความรู้ ในการแก้ไขพฤติกรรมนิสัยอย่างต่อเนื่อง

นางสาวขนิษฐ ยมทัศน์

พนักงานคุมประพฤติช�ำนาญการ ส�ำนักผู้ตรวจราชการคุมประพฤติ ◆

◆◆ วารสาร กรมคุมประพฤติ | 9


บทความพิเศษ

>> โดย ส�ำนักพัฒนาการคุมประพฤติ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กับงานคุมประพฤติ กรมคุ ม ประพฤติ เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการคุมประพฤติ ทั้งในชั้นการพิจารณาคดีและชั้นหลังการพิพากษาคดีของศาล ตลอดจน เป็ น หน่ ว ยงานหลั ก เกี่ ย วกั บ การสงเคราะห์ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ภายหลั ง พ้ น จาก การคุมประพฤติ หรือผู้กระท�ำผิดหลังการปล่อยจากกรมราชทัณฑ์ ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 กรมคุมประพฤติมีการด�ำเนินงาน ที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง คือ การส่งเสริมให้ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ น้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ไปปรับใช้ในการด�ำเนินชีวิต โดยได้จัดส่งพนักงาน คุมประพฤติทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเข้ารับการอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ กรมราชทัณฑ์ ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อน�ำไปขยายผล ให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษจ�ำคุก ที่เข้ามาอยู่ ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ โดยการด�ำเนินงานของกรมคุมประพฤติ เป็นการด�ำเนินงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของกรมคุมประพฤติ ร่วมกับอาสาสมัคร คุมประพฤติ ตลอดจนเครือข่ายและภาคีต่าง ๆ เพื่อแนะน�ำให้ผู้ที่ได้รับ การพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษจ�ำคุก ได้น�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย งไปปรั บ ใช้ ใ นการด� ำ รงชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของแต่ ล ะบุ ค คล โดยเมื่ อ เรื อ นจ� ำ แจ้ ง รายชื่ อ ผู ้ ต ้ อ งขั ง และส่ ง ประวั ติ (Profile) มาให้ ส� ำ นั ก งาน คุมประพฤติ พนักงานคุมประพฤติจะเชิญอาสาสมัครคุมประพฤติ/เครือข่าย/ ภาคีอื่น ๆ ในพื้นที่เข้าไปเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน เพื่อแนะน�ำตัว สร้างสัมพันธภาพให้เกิดความคุ้นเคยไว้วางใจและยอมรับ ซึ่ ง กั น และกั น หลั ง จากผู ้ ต ้ อ งขั ง ได้ รั บ การปล่ อ ยตั ว และมาพบพนั ก งาน คุ ม ประพฤติ แ ล้ ว พนั ก งานคุ ม ประพฤติ จ ะชี้ แ จงขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ต น ตลอดจนสอบถามถึงเรื่องการด�ำเนินชีวิตภายหลังออกจากเรือนจ�ำเกี่ยวกับ การน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ เพื่อน�ำไปวิเคราะห์และ วางแผนในการติดตามสอดส่องแนะน�ำและติดตามช่วยเหลือต่อไป

10 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


นอกจากนีก้ รมคุมประพฤติได้มกี ารน�ำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำผิด ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติด้วย และจาก ผลการด�ำเนินการที่ผ่านมาผู้กระท�ำผิดหลายรายประสบ ความส�ำเร็จในการปรับปรุงตนเอง นอกจากจะสามารถ ด�ำเนินชีวิตจนเป็นที่พึ่งของครอบครัวแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับ ของสังคมอีกด้วย โดยจะขอกล่าวถึงสัก 2 ราย รายแรก อยู่ในพื้นที่ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดชัยนาท (ขอสงวน ชื่อและนามสกุล) เพศชาย อายุ 31 ปี มีคู่สมรสแล้ว มีบุตร 1 คน จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง เดิมประกอบอาชีพซ่อมรถยนต์และรถบรรทุก มีพฤติกรรมเที่ยวเตร่ ดื่มสุรา ถูกจับด�ำเนินคดีในฐาน ความผิดมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจ�ำหน่าย ศาลจังหวัดชัยนาทพิพากษา ลงโทษจ�ำคุก 5 ปี 4 เดือน ต่อมาได้รับพระราชทาน อภัยโทษ 1 ครั้ง เหลือโทษ 4 ปี 6 เดือน 26 วัน และ

ได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ หลังปล่อยตัวได้เข้ามา อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ และได้น้อมน�ำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการด�ำรงชีวิต คือนอกจากจะประกอบอาชีพซ่อมรถยนต์และรถบรรทุก เช่นเดิมแล้ว ยังประกอบอาชีพเสริมด้วยการตัดยางรถยนต์ เป็นกระถางต้นไม้หรือเป็นอ่างเลี้ยงปลาโดยใช้ระบบ การจ�ำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต การเพาะเห็ด และเลี้ยงกบ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล จึงมีโอกาสน�ำองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้ง ความรู้ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ ให้ กั บ ประชาชนในชุ ม ชนอี ก ด้ ว ย ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด รายนี้ มีการด�ำเนินชีวิตในลักษณะที่พึ่งพาตนเองได้ มีการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับตนเองด้วยการวางแผนการด�ำเนินชีวิต ของตนเองและครอบครัว รวมทั้งด�ำเนินชีวิตด้วยหลัก คุณธรรมเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชน

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 11


ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด อี ก รายหนึ่ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ส� ำ นั ก งาน คุมประพฤติจังหวัดเชียงราย (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) เพศชาย อายุ 60 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปี ที่ 3 มี คู ่ ส มรสพั ก อาศั ย อยู ่ ด ้ ว ยกั น ประกอบอาชี พ ท� ำ นา เลี้ ย งไก่ ปลู ก พื ช ผั ก สวนครั ว ต้ อ งโทษจ� ำ คุ ก ตลอดชีวิต ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, พ.ร.บ. อาวุ ธ ปื น ฯ ได้ รั บ พระราชทานอภั ย โทษ 4 ครั้ ง เหลือโทษ 17 ปี 24 วัน และได้รับการปล่อยตัวพักการ ลงโทษรายนี้ นอกจากจะมี อ าสาสมั ค รคุ ม ประพฤติ และเจ้ า หน้ า ที่ เ ทศบาลเป็ น ผู ้ ติ ด ตามช่ ว ยเหลื อ และ สงเคราะห์ ส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ จั ง หวั ด เชี ย งราย ยังได้สงเคราะห์ทุนประกอบอาชีพจ�ำนวน 2,000 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการน�ำไปซื้ออุปกรณ์ท�ำน�้ำหมักชีวภาพ อุ ป กรณ์ ใ นการเลี้ ย งไก่ พั น ธุ ์ พื ช ผั ก และได้ เ ข้ า ร่ ว ม อบรมโครงการ “ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุ ม ชน” ที่ จั ด โดยส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ จั ง หวั ด เชียงราย ก่อนต้องโทษผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้หลัก จากการท�ำนา ซึ่งรายได้ไม่พอใช้จ่าย มีหนี้สินเนื่องจาก การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย เที่ยวเตร่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา แต่ เมื่ อ เข้ า ร่ ว มโครงการฯ ท� ำ ให้ ท ราบถึ ง หลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียง มีการปรับเปลี่ยนวิถีการด�ำเนินชีวิต

12 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

ไปในทางที่ดีขึ้นโดยการ เลิกสูบบุหรี่ มีความประหยัด ในการใช้จ่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ สามารถใช้หนี้สินที่มีอยู่จนหมด นอกจากนี้ยังได้เพาะปลูกผักสวนครัว และผลไม้นานาชนิด ท�ำน�้ำหมักชีวภาพ ท�ำปุ๋ยจากมูลสัตว์ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี และสารขับไล่แมลง โดยปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภค ในครัวเรือน หากเหลือก็จะน�ำไปแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน หรือจ�ำหน่ายให้แก่คนในชุมชนในราคาถูก นอกจากผู้กระท�ำผิดทั้งสองรายข้างต้นนั้น ยังมี ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด อี ก จ� ำ นวนมากที่ ไ ด้ น ้ อ มน� ำ หลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ไปปรับใช้ในการด�ำเนินชีวิตตาม ความเหมาะสมของแต่ ล ะบุ ค คล ล้ ว นแล้ ว มี วิ ถี ชี วิ ต ที่ เ ปลี่ ย นไปในทางที่ ดี ขึ้ น บุ ค คลเหล่ า นี้ ถื อ เป็ น ความ ภาคภู มิ ใ จของกรมคุ ม ประพฤติ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ อาสาสมัครคุมประพฤติ รวมถึงภาคีและเครือข่ายต่าง ๆ ที่ ไ ด้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ และช่ ว ยกั น ประคั บ ประคองให้ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ปรั บ เปลี่ ย นแนวทาง การด�ำเนินชีวิตจนสามารถพึ่งพาตนเอง เป็นที่พึ่งของ ครอบครัว และเป็นพลเมืองที่ดีได้ ◆

◆◆


บทความพิเศษ

โดย กองพัฒนาการฟื้นฟูฯ

การถ่ายโอนภารกิจการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบ�ำบัด

ให้กับกระทรวงสาธารณสุข

ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีนโยบายให้กรมคุมประพฤติ ถ่ า ยโอนภารกิ จ การฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด ระบบบั ง คั บ บ� ำ บั ด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ให้กระทรวง สาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการด�ำเนินงานในระบบสมัครใจ และระบบ บังคับบ�ำบัด เนื่องจากบุคลากร มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ โดยตรงด้านการบ�ำบัดรักษา ทั้งนี้ ศูนย์อ�ำนวยการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดแห่งชาติ ได้มีค�ำสั่งที่ 8/2559 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษา แนวทางและการจัดระบบการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีปลัดกระทรวง สาธารณสุขเป็นประธานคณะท�ำงานขับเคลื่อนแผนงานป้องกัน ปราบปราม และบ� ำ บั ด รั ก ษาผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด และรองเลขาธิ ก าร ป.ป.ส. ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายเป็นเลขานุการร่วม อ�ำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการครอบคลุม ตั้ ง แต่ ก ารประเมิ น การดู แ ลสุ ข ภาพ การบ� ำ บั ด รั ก ษาผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด ของ หน่วยงานสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้อง การศึกษาผลกระทบ ข้อดี ข้อเสีย ของการปรับปรุงระบบการบ�ำบัดรักษา การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต่ อ การพั ฒ นาระบบสุ ข ภาพและดู แ ลบ� ำ บั ด รั ก ษาผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด รวมทั้ ง ผู้มีอาการทางจิตและประสาทจากยาเสพติด ตลอดจนพิจารณาหามาตรการ รองรับทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาผู้ใช้ยาเสพติด วารสาร กรมคุมประพฤติ | 13


กรมคุ ม ประพฤติ ประชุ ม หารื อ ร่ ว ม กับกระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงาน ป.ป.ส. และกรุงเทพมหานคร ซึ่งรับผิดชอบการฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว ในเขตพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร ตั้ ง แต่ เ ดื อ น กรกฎาคม 2559 เป็นต้นมา สาระส�ำคัญของ การถ่ายโอนภารกิจ มีดังนี้

1.

ภารกิจด้านการตรวจพิสูจน์

กรมคุ ม ประพฤติ ยั ง คงรั บ ผิ ด ชอบด� ำ เนิ น การตรวจพิ สู จ น์ ทั้ ง นี้ ในระหว่ า งการตรวจพิ สู จ น์ พนั ก งานคุ ม ประพฤติ จ ะเตรี ย มความพร้ อ ม ผู ้ เ ข้ า รั บ การตรวจพิ สู จ น์ เ พื่ อ สร้ า งสั ม พั น ธภาพและสร้ า งแรงจู ง ใจให้ กั บ ผู้รับการตรวจพิสูจน์ยอมรับการเข้ารับการฟื้นฟูฯ โดยบุคลากรสาธารณสุข จะเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในต�ำแหน่ง แพทย์และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่เหมาะสม กั บ ผู ้ เ ข้ า รั บ การฟื ้ น ฟู ฯ แต่ ล ะราย ส่ ว นบุ ค ลากรสั ง กั ด กรุ ง เทพมหานคร จะเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในต�ำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ นั้น ให้ส�ำนักงานคุมประพฤติ เสนอรายชื่ อ แพทย์ ส าธารณสุ ข จั ง หวั ด หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านด้ า นการ บ�ำบัดรักษายาเสพติดของส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร เมื่อทั้งสองต�ำแหน่งว่างลงหรือครบวาระ

14 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


2.

3.

ภารกิจด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด ประกอบด้วย

2.1 การฟืน้ ฟูสมรรถภาพผูต้ ดิ ยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว กระทรวง สาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับผิดชอบด�ำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด ส่วนกรมคุมประพฤติด�ำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป 2.2 การด�ำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัว กรมคุมประพฤติจะด�ำเนินการจัดส่งตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ไปยังสถานที่ เพื่อการฟื้นฟูฯ กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลคุณภาพ และมาตรฐานด้านการด�ำเนินงานของสถานที่เพื่อการฟื้นฟูฯ ด้านบุคลากร ของสถานที่เพื่อการฟื้นฟูฯ และด้านการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ

ภารกิจด้านกฎหมาย

กรมคุมประพฤติ ด�ำเนินการปรับแก้ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบ คณะกรรมการฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพผู ้ ติ ด ยาเสพติ ด ว่ า ด้ ว ยการตรวจพิ สู จ น์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในบางข้อ เป็นต้น การจัดท�ำประกาศ กระทรวงยุติธรรม เช่น การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยก�ำหนดให้ผู้ปฏิบัติงาน ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นต้น เพื่อให้ภารกิจด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นไปตาม เป้าหมาย กรมคุมประพฤติได้จัดท�ำแนวทางการด�ำเนินงานร่วมกันระหว่าง กรมคุมประพฤติ กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร และจัดชี้แจง เพื่อเตรียมความพร้อมของส�ำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศในการรองรับ การปรับภารกิจการฟื้นฟูฯ ภายในเดือนตุลาคม 2559

◆◆ วารสาร กรมคุมประพฤติ | 15


คุมประพฤติอาเซียน

>> พรรษวุฒิ ปูชนียกุล พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ กลุ่มต่างประเทศและวิจัยพัฒนา ส�ำนักพัฒนาการคุมประพฤติ

ความท้ า ทาย ในการใช้มาตรการแบบไม่ควบคุมตัว ใน ลาว และ กัมพูชา ผ่านทางสายตาของ UNAFEI นั บ ว่ า เป็ น ข่ า วดี อ ย่ า งยิ่ ง ที่ ใ นช่ ว งเดื อ น กุมภาพันธ์ปี 2560 ที่จะถึงนี้ กรมคุมประพฤติของเรา จะเป็ น เจ้ า ภาพในการจั ด งานฝึ ก อบรมเกี่ ย วกั บ งาน คุมประพฤติ ให้กับกลุ่มประเทศ CLMV อันประกอบ ไปด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานหลายภาคส่วนผนึกก�ำลังกัน จึ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด ขึ้ น มาได้ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น กรมของเรายั ง ได้รับเกียรติจาก UNAFEI ประเทศญี่ปุ่น องค์กรที่มี ความเชี่ยวชาญในด้านงานคุมประพฤติและมาตรการแบบ ไม่ควบคุมตัว มาเป็นวิทยากรรับเชิญในช่วงจัดฝึกอบรม อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสอันดี ที่ผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบัน UNAFEI จะได้ถา่ ยทอดประสบการณ์จริง จาก การลงพื้ น ที่ (จริ ง ๆ) ถึ ง อุ ป สรรคและความท้ า ทาย ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในการใช้ ม าตรการแบบไม่ ค วบคุ ม ตั ว ในลาว และกัมพูชา เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องเตรียมความพร้อม ก่อนที่การฝึกอบรมดังกล่าวจะมาถึง…

16 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

ประเทศกัมพูชา มีกฎหมายอาญาหลายมาตราด้วยกันที่เปิดช่องทาง ให้มีการใช้มาตรการแบบไม่ควบคุมตัวในเชิงลงโทษกับผู้กระท�ำผิด ตัวอย่างเช่น การก� ำ หนดโทษให้ ท� ำ งานบริ ก ารสั ง คมแทนที่ จ ะต้ อ งโทษจ� ำ คุ ก การ พักการลงโทษ การรอการลงโทษ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษา ดูงานของผู้เชี่ยวชาญจาก UNAFEI ท�ำให้ทราบว่าการใช้มาตรการแบบ ไม่ควบคุมตัวในประเทศกัมพูชานั้น ยังท�ำให้เกิดขึ้นจริงในเชิงปฏิบัติได้ยาก เนื่องจากผู้คนในสังคมยังคงหวาดกลัว และไม่เชื่อมั่นในตัวผู้กระท�ำผิดว่า จะกลับใจได้ อีกทั้งผู้กระท�ำผิดส่วนใหญ่ไม่ได้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน จึงเป็นการยากในการควบคุมและสอดส่อง และอุปสรรคประการสุดท้าย ที่น่าจะถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่สุดก็คือ การที่ขาดหน่วยงานที่มีหน้าที่ รับผิดชอบโดยตรงในงานด้านคุมประพฤติ นั่นเอง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao’s People Democratic Republic)

ส�ำหรับประเทศนี้ มีความคล้ายคลึงกับประเทศกัมพูชา เนื่องจากอันที่จริงแล้ว มีกฎหมายบัญญัติไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรที่เปิดช่องให้มีการน�ำมาตรการแบบไม่ควบคุมตัวไปใช้บังคับกับผู้กระท�ำผิด เช่น การให้เข้ารับการศึกษาโดยปราศจากการจ�ำกัดเสรีภาพ การคุมขังในบ้าน การรอการลงโทษ และการปล่อยตัว ก่อนก�ำหนดแบบมีเงื่อนไข ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการควบคุมและสอดส่องผู้กระท�ำผิดในระดับหมู่บ้าน โดย หัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้น�ำชุมชนนั้น ๆ อีกทั้งยังมีหน่วยงานเป็นการเฉพาะที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับยุติธรรมชุมชนของไทยเรา เรียกว่า ‘Village Mediation Unit’ จากที่กล่าวมา... อาจกล่าวได้ว่า ประเทศลาวมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งในการน�ำมาตรการแบบไม่ควบคุมตัวไปปรับใช้ได้จริง แต่ น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่ความท้าทายและอุปสรรคในการใช้มาตรการเหล่านี้นั้น ยังพบเห็นได้อย่างประจักษ์แจ้ง ทั้งนี้ ทางผู้แทนจาก UNAFEI ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ความท้าทายในการท�ำให้เกิดการใช้งานคุมประพฤติและมาตรการแบบ ไม่ควบคุมตัวให้เกิดขึ้นจริงในประเทศลาวนั้นประกอบไปด้วย การไม่มีหน่วยงานทางรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงในงานแก้ไข ผู้กระท�ำความผิดโดยชุมชน และที่ส�ำคัญการขาดโอกาสในการเข้าถึงการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากที่กล่าวมาในข้างต้น ทางกัมพูชาและลาวเอง คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมด้านงานคุมประพฤติที่จะ มาถึงในเดือนกุมภาพันธ์นี้นั้น จะได้เรียนรู้และพบช่องทางที่ท�ำให้งานคุมประพฤติหรือมาตรการแบบไม่ควบคุมตัว เกิดขึ้นได้จริง โดยเฉพาะในแง่ว่างานคุมประพฤติไทยนั้นท�ำอย่างไรถึงสามารถจัดตั้งให้เกิดงานคุมประพฤติขึ้นมาได้ ◆

◆◆ วารสาร กรมคุมประพฤติ | 17


เรื่องเล่าคนคุมประพฤติ

>> โดย นางสาวนฤมล แสนทวีสุข พนักงานคุมประพฤติช�ำนาญการ และนายบัณฑิต วงค์มั่น พนักงานคุมประพฤติ ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุบลราชธานี

“กรมคุมประพฤติ”

องค์กรแห่งคุณธรรมจริยธรรม หน้าต่างความดีงาม “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะท�ำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การท�ำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การท�ำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่ การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มอี ำ� นาจไม่ให้กอ่ ความ เดือดร้อนวุ่นวายได้”

พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512

ทฤษฎีล�ำดับความต้องการ (Hierarchy of Needs Theory)

ของ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้กล่าวไว้ว่า ความต้องการ ล�ำดับขั้นที่สองของมนุษย์คือ ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) เป็ น ความคาดหวั ง ที่ เ กิ ด จากสั ง คมมี ค วามปลอดภั ย สงบสุ ข ทั้ ง ต่ อ สภาพ ทางกายและสภาพจิตใจ ปราศจากเหตุอาชญากรรม เช่น การปล้น จี้ ข่มขืน ลักขโมย เป็นต้น รัฐทุกรัฐจึงออกแบบกลไกในการป้องกัน ปราบปราม และ ลงโทษผู้กระท�ำผิด เพื่อให้เกิดความส�ำนึกผิดและไม่หวนกลับไปกระท�ำผิดซ�้ำ การถู ก กระท� ำ โดยตั ว บทกฎหมายในถึ ง ที่ สุ ด เมื่ อ ต้ อ งรั บ โทษย่ อ มถู ก สั ง คม ตีตราว่า “เป็นคนไม่ดี” แต่วิธีการลงโทษในกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เราจะพบว่ า แนวโน้ ม ของการบ� ำ บั ด แก้ ไ ขฟื ้ น ฟู ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด โดยใช้ ชุ ม ชน นั บ เป็ น วิ ธี ก ารที่ เ หมาะสมและถู ก น� ำ มาใช้ ม ากที่ สุ ด การเปลี่ ย นภาระของ ผู้กระท�ำผิดในสังคมให้กลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ด้วยค�ำว่า “ให้โอกาส” จึงเป็น ที่มาของการคุมประพฤติ (Probation) ซึ่งมีพนักงานคุมประพฤติท�ำหน้าที่ ในการกลั่นกรอง ภายใต้กรอบกฎหมาย เพื่อมุ่งหวังให้ผู้กระท�ำผิด กลับตัว เป็นคนดี และเสริมก�ำลังใจให้กับกลุ่มคนเหล่านี้

18 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ดุ ล พาห ซึ่ ง แทนสั ญ ลั ก ษณ์ ข องกรมคุ ม ประพฤติ ภายใต้ ค� ำ จ� ำ กั ด ความที่ สื่ อ

ความหมายของความเป็นธรรมจากศาลสถิตยุติธรรมรูปบุคคล 3 คน อันหมายถึง ตัวแทน ของผู้กระท�ำผิด พนักงานคุมประพฤติ และประชาชนที่เข้ามาร่วมกับงานคุมประพฤติ เป็นการสื่อความหมายถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้ง 3 ในกระบวนการแก้ไข ผู้กระท�ำผิด หากมองรูปบุคคลเฉพาะคนกลาง (โดยปิดศีรษะของบุคคลที่อยู่ทั้งสองข้าง) จะเป็ น รู ป คนยื น กางแขนสั ม ผั ส จานของดุ ล พาห หมายถึ ง การท� ำ งานของพนั ก งาน คุมประพฤติ ผู้ซึ่งมาช่วยงานของศาลที่จะผดุงความยุติธรรมต่อสังคม จากสัญลักษณ์ ดุลพาห ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา พบว่ากรมคุมประพฤติต้องประสบกับปัญหา ภาวะ “งานล้ น คน” ซึ่งย่อมกระทบต่อเป้าหมายของงานที่เกิดขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่คน ในองค์กรทุกคนต่างมีความภาคภูมิใจในการท�ำงานคือ การได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้หลุดพ้นจากวงจรโง่ จน เจ็บ และภูมิใจทุกครั้งที่เห็นภาพของรอยยิ้มของคนในครอบครัว ที่ได้ลูกหลานกลับคืนมา ภารกิจงานดังกล่าวเปรียบเสมือน “การเปิดหน้าต่างแห่งความ ดีงามของมนุษย์ (Goodness) ซึ่งเกิดขึ้นจากองค์ประกอบสองด้านคือคุณธรรม (Morality/Virtue) หมายถึงคุณงามความดี ความประพฤติและจิตใจ มีพื้นฐาน มาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ ส่วนจริยธรรม (Ethics) เกิดขึ้นได้จากความมีปัญญาและเหตุผล” ผู้เขียนในฐานะคนในองค์กรของกรมคุมประพฤติ มีความเห็นว่า หัวใจในการ ท�ำงานเพื่อแก้ไขพฤติกรรมของคนนั้น ย่อมเกิดจากตัวแบบ (Model) ที่สังคมยอมรับ เห็นคุณค่า และยินดีที่จะเชื่อฟัง ปฏิบัติตาม สิ่งส�ำคัญที่สุดคือวัฒนธรรม และความ มีคุณธรรมจริยธรรมของคนในองค์กรแห่งนี้ จึงท�ำให้ได้รับรางวัล และการยกย่องจาก หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ รางวัลคุณธรรมแห่งชาติ ประเภทองค์กรของรัฐ ประจ�ำปี 2556 และรางวัลองค์กรต้นแบบด้านความซื่อตรง จากคณะกรรมการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ, รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจ�ำปี พ.ศ. 2559 ประเภทรางวัลการพัฒนาการบริการ ที่เป็นเลิศ “ระดับดีเด่น” และองค์กรโปร่งใสข้าราชการไทยหัวใจพอเพียง จากส�ำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหาร (ก.พ.ร.) เป็นต้น “การได้รับการยกย่องประกาศ เกียรติคุณดังกล่าว นับเป็นการเปิดหน้าต่างแห่งความดีงามให้สังคมได้รับทราบ ถึงความทุ่มเท เสียสละ และตระหนักในค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร” ซึ่งสะท้อน ถึ ง ระดั บ คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมที่ มี อ ยู ่ ใ นหั ว ใจของข้ า ราชการทุ ก คนที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ในกรมคุมประพฤติ ซึ่งเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่ขาวสะอาดและด�ำรงอยู่ได้ด้วยหัวใจ แห่งคุณธรรม และน�ำไปสู่เป้าหมาย “เป็นองค์กรชั้นน�ำในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำผิด แบบบูรณาการเพื่อความสงบสุขของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน”

❝ ภารกิจงานดังกล่าว เปรียบเสมือน การเปิดหน้าต่าง แห่งความดีงามของมนุษย์ (Goodness) ซึ่งเกิดขึ้นจากองค์ประกอบ สองด้านคือคุณธรรม (Morality/Virtue) หมายถึงคุณงามความดี ความประพฤติและจิตใจ มีพื้นฐานมาจากหลัก ศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ ส่วนจริยธรรม (Ethics) เกิดขึ้นได้จากความ มีปัญญาและเหตุผล

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 19


ภายใต้นโยบายกรมคุมประพฤติยุคใหม่ โดยมีพันต�ำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ ซึ่งมีนโยบาย “สร้างสังคมปลอดภัย ห่างไกลจากอาชญากรรม” ท�ำให้ปัจจุบันนี้สังคมเริ่มตระหนัก เข้าใจ รับทราบ และเห็นความส�ำคัญในภารกิจ งานคุมประพฤติมากขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงขอน�ำนโยบายกรมคุมประพฤติ ยุคใหม่ 4 ก. มาอธิบายประกอบความหมายที่ผู้เขียนได้ยกย่องว่า ภารกิจกรมคุมประพฤติ เป็นการเปิดหน้าต่างความดีงาม ซึ่งเกิดจากองค์กรที่ด�ำรงอยู่ได้ภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรม มาเป็นระยะเวลา 25 ปี ได้อย่างไร

หน้าต่างบานที่ 1 กลั่นกรอง

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การคัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เห็นว่า ดีที่สุด พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ นัยความหมายงานคุมประพฤติกับบทบาทหน้าที่ ในการกลั่นกรองผู้กระท�ำผิด ถือเป็นหัวใจและภารกิจหลักในการอ�ำนวยความยุติธรรมให้ แก่ประชาชน โดยมีพนักงานคุมประพฤติท�ำหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน ในการ ด�ำเนินงานสืบเสาะฯ และตรวจพิสูจน์ นับเป็นด่านแรกของการท�ำงานทั้งหมด เป้าหมาย ส�ำคัญคือ เพื่อน�ำเสนอข้อมูลที่มาจากการกลั่นกรองของพนักงานคุมประพฤติเพื่อเสนอต่อ ผู้มีอ�ำนาจ ซึ่งเป็นการคัดกรองว่าควรใช้วิธีการกับผู้กระท�ำความผิด เพื่อป้องกันอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นกับสังคม ในขั้นตอนของการกลั่นกรอง ก่อนที่จะเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์และส่งไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้นั้น ย่อมเกิดจากการน�ำเข้าพยานเอกสาร พยานบุคคล ซึ่งต้องเน้นการ รับฟังสอบถาม พูดคุยจากผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาตัวบทกฎหมายที่ เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา จากนั้นจะต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ ด้วยเหตุ ด้วยผล และด้วยความยุติธรรมเที่ยงธรรม เพื่อประกอบการตัดสินใจทางเลือกที่เห็นว่า เหมาะสมที่สุด ในขั้นตอนนี้พนักงานคุมประพฤติ ผู้ปฏิบัติงานได้น�ำหลักคุณธรรม จริยธรรม มาใช้คือ “การยึดหลักกฎหมาย จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และท�ำงาน ด้วยความรับผิดชอบ” ภายใต้ระยะเวลา ที่ก�ำหนด โดยยึดหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนและไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้ การไม่กระท�ำการอันใดที่จะ น�ำมาซึ่งความเอนเอียงในข้อมูล พนักงานคุมประพฤติจึงมีวาทะเด็ดในการท�ำงาน “แม้แต่น�้ำแก้วเดียวก็รับไม่ได้” ดังนั้นพนักงานคุมประพฤติจึงได้รับการยกย่องว่า เป็นบุคลากรในหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมองค์กรเข้มแข็ง และด�ำรงตนด้วยคุณธรรม จริยธรรม มุ่งเน้นภาพลักษณ์ของการท�ำงาน “ซื่อสัตย์สุจริต อุทิศและพัฒนาตน มุ่งผลสัมฤทธิ์ ผูกจิตสามัคคี มีวินัย เคารพในอาวุโส”

20 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


หน้าต่างบานที่ 2 กรอบ

เป็ น ที่ ย อมรั บ โดยทั่ ว กั น ว่ า เงื่ อ นไขส� ำ คั ญ ของงานคุ ม ประพฤติ คื อ การบั ง คั บ ใช้กฎหมายตามกรอบของบทลงโทษ ซึ่งเป็นมาตการในการแก้ไขผู้กระท�ำผิดในชุมชน ควบคุ ม ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ให้ อ ยู ่ ใ นภายใต้ เ งื่ อ นไขการคุ ม ประพฤติ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ งานควบคุมและสอดส่อง ซึ่งเป็นกระบวนการติดตาม ดูแล ให้ค�ำแนะน�ำและช่วยเหลือ ผู้กระท�ำผิดที่อยู่ระหว่างการแก้ไขฟื้นฟูในชุมชนภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติ เพื่อช่วยให้ผู้กระท�ำผิดสามารถปรับปรุงแก้ไขนิสัยความประพฤติและปรับตัวอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติ และไม่หวนกลับไปกระท�ำผิดซ�้ำ โดยมีพนักงานคุมประพฤติ ท� ำ หน้ า ที่ ใ ห้ ค� ำ ปรึ ก ษา แนะน� ำ ตั ก เตื อ น ช่ ว ยเหลื อ ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในทุ ก ด้ า น โดยอาศัยเทคนิควิธีต่าง ๆ เช่น การให้ค�ำปรึกษา การบ�ำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ การให้ความรู้และฝึกอาชีพ การส่งตัวเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น หลั ก คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรของ กรมคุมประพฤติ ในด้านนี้คือ หลักการครองตน ครองคน ครองงาน และด�ำรงตน เป็นแบบอย่างที่ดี เหตุที่กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากสังคมมีความคาดหวังกับบทบาทหน้าที่ ของพนักงานคุมประพฤติ ในการแก้ไขปรับเปลี่ยน บ�ำบัด ฟื้นฟูพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของผู้กระท�ำผิดให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่หลุดออกจากกรอบของ กฎหมายบ้านเมือง “หน้าต่างแห่งความดีงามบานที่ 2 คือกรอบ เป็นการบูรณาการ องค์ความรู้ทุกสหวิชาชีพ เช่น จิตวิทยา กฎหมาย สังคมศาสตร์ ซึ่งล้วนเป็น ทั้ ง ศาสตร์ แ ละศิ ล ป์ ใ นการแก้ ไ ขพฤติ ก รรมของคน ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของ กรมคุมประพฤติ ที่มุ่งให้บุคลากรน�ำหลักคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน” อาทิ การส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น บุ ค ลากรให้ ป ฏิ บั ติ ธ รรม การจั ด มุ ม สวดมนต์ ไ หว้ พ ระ การรณรงค์แต่งกายชุดข้าราชการในทุกวันจันทร์ การแต่งกายเสื้อสีขาวในทุกวันพุธ การประกวดการตอบค�ำถามด้านคุณธรรมจริยธรรม การยกย่องและเชิดชูเกียรติ คนดีศรีคุมประพฤติ ซึ่งแบบอย่างที่ดีงามในการครองตนสมเป็นข้าราชการภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น แม้ในบางครั้งเราจะพบว่า ด้วยภาระงานที่หนัก ท�ำให้เกิดความเครียดและกดดัน แต่เมื่อผลิตผลที่ออกมาจากการควบคุมสอดส่อง หรื อ เสร็ จ สิ้ น กระบวนการคุ ม ประพฤติ หรื อ สามารถแก้ ไ ขปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรม จนผู้หลงผิดกลับตนเป็นคนดี จะท�ำให้พนักงานคุมประพฤติสัมผัสได้ถึงอานิสงส์ของ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้หลุดพ้นจากวิบากกรรม ดังนั้น “แม้ในทางปฏิบัติกฎหมายจะเป็นกรอบของการลงโทษ บังคับสภาพ ให้กระท�ำหรือไม่กระท�ำการอันใด แต่คุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่เหนือกว่ากฎหมายมาก เพราะเกิดจากมโนส�ำนึกของพนักงานคุมประพฤติ ทีใ่ ช้ใจแก้ไขคนการปฏิบตั ติ นให้เป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้กบั สังคมจึงเป็นกรอบทีส่ มบูรณ์” นอกจากนี้ เราจะพบว่าภารกิจในงานควบคุมและสอดส่อง ได้พยายามสร้างการมี ส่วนร่วมของสังคมและชุมชน ตลอดจนน�ำระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ลดช่องว่าง และสร้างการเข้าถึงของประชาชน เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น วารสาร กรมคุมประพฤติ | 21


หน้าต่างบานที่ 3 กลับตัว

จากพระบรมราโชวาทใจความตอนหนึ่งความว่า “การท�ำให้บ้านเมืองมีความ ปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การท�ำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอ�ำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” จะพบว่าในภารกิจของงานคุมประพฤติ ปัจจุบันจะมุ่งเน้นการบูรณาการและน�ำภาค ประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขฟื้นฟูฯ ผู้กระท�ำผิดในชุมชน เนื่องจากชุมชน ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการดูแลและป้องกันสังคม ในการป้องกันอาชญากรรม เป็นการส่งเสริมให้ พ ลั ง ของชุ ม ชน เข้ า มาจั ด การกั บปั ญ หาของชุ ม ชน โดยพนั กงาน คุมประพฤติ จะมีหน้าที่ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำผิด ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพปัญหา และตามความต้องการเป็นรายบุคคล โดยเทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น การอบรมธรรมะ กฎหมายจราจร การให้ค�ำปรึกษาเชิงจิตวิทยา และการท�ำงาน บริการสังคม เป็นต้น แผนการแก้ไขฟื้นฟูฯ ที่ออกแบบมานี้ก�ำหนดขึ้นเพื่อให้โอกาส ผู้กระท�ำผิดได้ “กลับตัว” เห็นคุณค่าในชีวิตต่อตนเองและผู้อื่น และไม่กระท�ำผิดซ�้ำ อย่ า งไรก็ ต าม โดยธรรมชาติ แ ล้ ว มนุ ษ ย์ ทุ ก คนย่ อ มมี ค วามแตกต่ า งในด้ า นคุ ณ วุ ฒิ วัยวุฒิ เปรียบดังบัวย่อมมี 4 เหล่า การที่พนักงานคุมประพฤติได้ปฏิบัติหน้าที่เปรียบเสมือน สะพานแห่งความดีงาม ที่ทอดยาวและเปิดโอกาสให้ผู้หลงผิดได้คิดแก้ไขกลับตัวกลับใจนั้น พนักงานคุมประพฤติได้น�ำหลักคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานคือ “การยอมรับ และตระหนักในศักดิ์ศรี คุณคาของความเปนมนุษย์ ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ไม่มีใครอยากอธิบายหรือบอกเล่าความผิด สาเหตุที่ตนเองได้กระท�ำลงไปซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า เพราะเป็นการตอกย�้ำแผลในใจของตนเอง การเปิดหน้าต่างบานที่ 3 คือการให้โอกาส ผู้กระท�ำผิด ได้มีโอกาสกลับตนเป็นคนดี ซึ่งต้องระดมสรรพก�ำลัง ความรู้ ความสามารถ และความสมัครสมานสามัคคีในการท�ำงานเป็นทีม และความพร้อมทั้งสภาพร่างกาย จิ ต ใจ เพื่ อ ให้ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด และสั ง คมเกิ ด ความเชื่ อ มั่ น และยอมรั บ ในผลผลิ ต ที่ ไ ด้ ผ่ า นกระบวนการคุ ม ประพฤติ โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ความประหยั ด ความคุ ้ ม ค่ า ทรั พ ยากร หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งต้องตระหนักรักษา การไม่น�ำทรัพย์สินของราชการมาใช้ประโยชน์ ส่วนตัว เป็นต้น

22 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


หน้าต่างบานที่ 4 ก�ำลังใจ

ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า “ก�ำลังใจ” ในภารกิจมิติงานคุมประพฤติคือการ ช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้กระท�ำผิด ให้ผู้กระท�ำผิดได้รับโอกาสทางการศึกษา อาชีพ ฯลฯ ให้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เนื่องจากผู้ที่เข้าสู่กระบวนงานคุมประพฤติ ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ผู ้ ด ้ อ ยโอกาสทางสั ง คม อั น เป็ น สาเหตุ ที่ ท� ำ ให้ ค นกลุ ่ ม นี้ ข าดศั ก ยภาพ ในการแก้ไขปรับปรุงตนเอง การสงเคราะห์จึงเป็นการช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการ แก้ไขฯ และปรับปรุงตนเองเพื่อให้ช่วยเหลือตนเองได้ ปัจจุบันกรมคุมประพฤติได้น�ำ แนวทางจากโครงการก�ำลังใจในพระด�ำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งทั้งสองโครงการจะช่วยให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ตระหนักว่า ยังมีผู้ที่ เต็มใจให้โอกาส และเอาใจช่วยให้พวกเขาสามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ และเมื่อทุกคนได้รับโอกาสที่สมควรแล้วจะต้องรู้จักในการเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนอกจาก จะช่วยลดการกระท�ำผิดซ�้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้กลับมาเป็นประชากร ที่มีคุ ณ ภาพแล้ ว ยังมีส่วนที่จ ะช่วยให้สังคมส่วนรวมกลั บมาอยู ่ ร ่ วมกั นอย่ า งสงบสุ ข อีกด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมจริยธรรม ที่เป็นหลักส�ำคัญของการปฏิบัติงาน ในด้านนี้คือ “ความเมตตา”

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 23


กลั่นกรอง กรอบ กลับตัว ก�ำลังใจ

เป็นหน้าต่างทั้ง 4 บาน ที่ชาวคุมประพฤติมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มี ส่ ว นส� ำ คั ญ ในการช่ ว ยเหลื อ และป้ อ งกั น สั ง คมจากอาชญากรรม เป็ น งานที่ ส ่ ง เสริ ม สนับสนุนและผลักดันให้โอกาสผู้หลงผิดได้แก้ไขปรับปรุงตนเองเสียใหม่ และเปลี่ยน เป็ น พลั ง เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ สั ง คมในยามที่ บ ้ า นเมื อ ง มี ป ั ญ หามากมายหลายอย่ า งที่ ร อ การแก้ไข กรมคุมประพฤติ ถือเป็นแบบอย่างขององค์กรแห่งความดีงาม ในการน�ำ หลั ก คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมมาใช้ ใ นการปฏิ บั ติ ง านเพื่ อ ให้ บ รรลุ ผ ล โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การช่วยเหลือคนที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านของชีวิต กฎหมายจะเป็นเกราะก�ำบัง ให้งานราชการสัมฤทธิ์ผล คุณธรรมจริยธรรมจะท�ำให้งานราชการเกิดผลโดยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างจิตสํานึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับประชาชน ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรภาครัฐ ผู้ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการปฏิบัติหน้าที่ ตามนโยบายของรัฐและให้บริการแก่ประชาชน กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุตธิ รรม เป็นอีกหน่วยงานหนึง่ ทีผ่ เู้ ขียนมีความศรัทธา ในภารกิจแห่งความดี ที่ได้มอบให้กับองค์กรแห่งนี้ และเชื่อมั่นว่าภารกิจนี้เป็นการเติม ต้นทุนความดีงามให้กับสังคมอีกครั้ง ภายใต้บริบทของการเกื้อหนุนของพนักงาน คุมประพฤติ ที่พร้อมจะเปิดหน้าต่างแห่งความดีงามให้กับทุกคนได้อยู่ร่วมกันในสังคม อย่างปกติสุข ตามเจตนารมณ์ของงานราชการงานของแผ่นดิน สมดังที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้แสดงพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะ ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ◆

กฎหมาย

◆◆

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติวิธีด�ำเนินการคุมความประพฤติ ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522. พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545.

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

กลุ่ม LLK Group. พระบรมราโชวาท [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://siweb.dss.go.th/sci60/team100/artrid/ article4.htm (วันที่ค้นข้อมูล: 23 กันยายน 2559) ทฤษฏี ค วามต้ อ งการ [ออนไลน์ ] . เข้ า ถึ ง ได้ จ ากhttp://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/ Need_Theories.htm (วันที่ค้นข้อมูล: 23 กันยายน 2559) จรวยพร ธรณินทร์. ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.charuaypontorranin.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5375831&N type=6 (วันที่ค้นข้อมูล: 23 กันยายน 2559) นางสาวปาณพร สมบัติเปี่ยม. รายงานสรุปผลการปฏิบัติราชการด้านการบริหารจัดการในหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ของข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 6 รวมพระบรมราโชวาท.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://dict.longdo.com/search/*%E0%B8%81%E0%B8% A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87 (วันที่ค้นข้อมูล: 23 กันยายน 2559)

24 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


สังคมเดียวกัน

การเปลี่ยนวิธีคิด

>> โดย นายชัยศิษฏ์ วังแวว ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง

ของผู้กระท�ำผิด

ในสังคมปัจจุบัน ได้มีการออกกฎหมายซึ่งมีบทลงโทษ ทางอาญา เพื่อบังคับใช้กับผู้คนในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ สังคมเกิดความสงบสุข แต่ยิ่งออกกฎหมายมากเท่าไร ปรากฏว่า ยิ่งมีผู้กระท�ำผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น หากจะมีค�ำถามว่า แล้วผู้กระท�ำผิดเหล่านั้นไม่รู้กฎหมายหรือไม่ คงไม่ใช่ประเด็นปัญหา แต่ในฐานะคนของกรมคุมประพฤติซึ่งจะต้องตอบค�ำถามของสังคม ว่า กรมคุมประพฤติมีกระบวนการแก้ไขผู้กระท�ำผิดในสังคมชุมชน อย่างไร เพือ่ ให้เขาเหล่านัน้ กลับมาเป็นคนดีของสังคม หรืออย่างน้อย ก็ ไ ม่ ต ้ อ งไปกระท� ำ ผิ ด ต่ อ สั ง คมซ�้ ำ ขึ้ น อี ก ส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ หลาย ๆ แห่ ง ได้ มี ก ารน� ำ กระบวนการแก้ ไ ขผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด มาใช้ ในหลากหลายรูปแบบ ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง เล็ ง เห็ น ว่ า สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ในการแก้ ไ ขฟื ้ น ฟู ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด อยู ่ ที่ “พนักงานคุมประพฤติ” กล่าวคือ เมื่อผู้กระท�ำผิดมาพบพนักงาน คุมประพฤติแล้ว พนักงานคุมประพฤติมวี ธิ กี ารใดทีจ่ ะ ‘เปลีย่ นวิธคี ดิ ’ ของผู ้ ก ระท� ำ ผิด ซึ่ง ไม่เคยคิด ว่า สิ่ง ที่ต นเองกระท� ำ ลงไปนั้ น เป็ น ความผิดตามทีก่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้ หรืออาจจะคิดว่าเป็นการกระท�ำผิด เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสังคมไม่น่าจะได้รับความเสียหายมากนัก การเปลี่ ย นวิ ธี คิ ด ของผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด โดยพนั ก งานคุ ม ประพฤติ จึ ง มุ่งประสงค์ที่ จะท�ำให้ผู้กระท�ำผิดมองเห็นความผิดในพฤติกรรมของ ตนเองซึ่งได้กระท�ำลงไปแล้ว และเกิดความส�ำนึกผิดในการกระท�ำ ดังกล่าว อันจะน�ำไปสู่การละเว้นหรือหยุดยั้งพฤติกรรมนั้น ๆ ต่อไป

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 25


❝ หลักคิดที่นำ�มาใช้ ในการเปลี่ยนวิธีคิด ของผู้กระทำ�ผิด ได้มาจาก กระแสพระราชดำ�รัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงตรัสไว้ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

❞ หลั ก คิ ด ที่ น� ำ มาใช้ ใ นการ เปลี่ ย นวิ ธี คิ ด ของผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ได้ มาจากกระแสพระราชด� ำ รั ส ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรง ตรัสไว้ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ก่อนอื่นต้องเริ่มจากค�ำว่า “เข้าใจ” โดยพนั ก งานคุ ม ประพฤติ จ ะต้ อ ง ท� ำ ความเข้ า ใจในพฤติ ก รรมการ กระท�ำผิดของผู้กระท�ำผิดให้ถ่องแท้ แน่ ใ จจนเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ชั ด เจนว่ า อะไรเป็นสาเหตุที่ท�ำให้ผู้กระท�ำผิด ลงมื อ กระท� ำ ผิ ด ซึ่ ง มี ส าเหตุ ห ลั ก และสาเหตุย่อยมากมาย เป็นต้นว่า ปัญหาการควบคุมอารมณ์ ปัญหา ทางด้านจิตใจต้องการเรียกร้องความ สนใจ ฯลฯ ซึง่ ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหา ในกระบวนการคิดในการที่จะแก้ไข ปั ญ หาที่ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด เผชิ ญ หน้ า อยู ่ ในขณะนั้น หากมีกระบวนการคิด ที่ ถู ก ต้ อ ง ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ก็ ส ามารถ 26 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

ตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง หากไม่ได้ก็สามารถที่จะติดต่อ ขอรับความช่วยเหลือจากพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติได้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้วที่ผ่านมาพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัคร คุมประพฤติได้ “เข้าถึง” ผู้กระท�ำผิดหรือไม่ ค�ำว่าเข้าถึงในที่นี้ หมายความว่า ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ได้ ใ ห้ ค วามเชื่ อ ถื อ ความไว้ ว างใจ ความเชื่ อ ใจ และเชื่ อ มั่ น ในตัวของพนักงานคุมประพฤติและอาสาสมัครคุมประพฤติ ว่าจะเป็นผู้ที่ให้ ความช่วยเหลือแนะน�ำในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เขาก�ำลังเผชิญหน้าอยู่ ได้หรือไม่ เมื่อนั้น พนักงานคุมประพฤติและอาสาสมัครคุมประพฤติจึงจะ สามารถ “พัฒนา” ผู้กระท�ำผิดนั้น ๆ ให้กลับตนเป็นคนดีของสังคมได้ แนวทางที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของผู้กระท�ำผิดโดยพนักงานคุมประพฤติและ อาสาสมัครคุมประพฤติที่จะน�ำมาแลกเปลี่ยนความรู้ในกระบวนการแก้ไข ฟื้นฟูผู้กระท�ำผิด คือ วิธีการรับรายงานตัวหรือวิธีการให้ค�ำปรึกษาแบบ ป้อนข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการป้อนข้อมูล ย้อนกลับ และน�ำมาทดลองใช้กับผู้กระท�ำผิดและบุคคลในครอบครัวแล้ว พบว่า ผู้กระท�ำผิดและบุคคลในครอบครัว มีความเข้าใจในปัญหาของตนเอง และบุคคลรอบข้างได้มากขึ้นและสามารถที่จะก�ำหนดวิธีการในการแก้ไข ปั ญ หาด้ ว ยตนเองได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ดั ง จะขอยกตั ว อย่ า งมาให้ ท่ า นผู ้ อ ่ า นได้ ศึ ก ษาพอมองเห็ น ภาพในการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาดั ง กล่ า ว ดั ง นี้ เรื่องมีอยู่ว่า ในวันท�ำงานปกติ มีชายชรา อายุ 73 ปี คนหนึ่งซึ่งเป็นบิดา ของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เดินทางมาขอพบพนักงาน คุมประพฤติผู้ซึ่งรับผิดชอบฟื้นฟูฯ บุตรชายของตน อายุ 39 ปี ในโปรแกรม ผู้ป่วยนอก และยังอยู่ในระหว่างการบ�ำบัดฟื้นฟูฯ ของโรงพยาบาล โดย ชายชราดั ง กล่ า วขอให้ พ นั ก งานคุ ม ประพฤติ เ สนอขอปรั บ แผนการฟื ้ น ฟู บุตรชายจากโปรแกรมของโรงพยาบาลไปเป็นโปรแกรมควบคุมตัว ด้วยเหตุผล ว่า บุตรชายมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เคารพเชื่อฟังบิดามารดา แต่พนักงาน คุมประพฤติมีประสบการณ์ในการท�ำงานน้อย จึงขอความช่วยเหลือจากผู้เขียน


และเมื่อได้พูดคุยกันพอสมควรแล้ว จึงสอบถามถึงวัตถุประสงค์ ซึ่งก็ยังคง ได้รับค�ำยืนยันว่า จะขอให้ปรับแผนการบ�ำบัดเป็นแบบควบคุมตัว จึงได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีบุตรกี่คน ได้รับค�ำตอบว่า 3 คน โดยผู้เข้ารับการ ฟื้นฟูเป็นบุตรคนที่ 2 บุตรคนแรกประกอบอาชีพลูกจ้างบริษัทต�ำแหน่ง ผู้จัดการ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป บุตรคนสุดท้อง ประกอบอาชี พ รั บ ราชการครู เมื่ อ ป้ อ นข้ อ มู ล กลั บ ไปว่ า ในบรรดาบุ ต ร ทั้งสามคน ได้ดาวน์เงินซื้อรถยนต์ให้แก่บุตรคนใดบ้าง ค�ำตอบคือ บุตรคนแรก และคนสุดท้อง เหตุผลที่ไม่ได้ซื้อรถให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ด้วยเกรงว่าจะน�ำ รถไปขายน�ำเงินไปซื้อยาเสพ เมื่อป้อนข้อมูลกลับไปว่าบุตรคนใดให้เงินพ่อแม่ ใช้จ่าย กลับได้รับค�ำตอบว่าเป็นผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ นอกจากให้เงินใช้แล้ว ยังเป็นผู้น�ำเงินมาให้บิดามารดาซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน เมื่อถามว่าบ้านที่ได้ ซ่อมแซมแล้วยกมอบให้บุตรคนใด ได้รับแจ้งว่าเป็นบุตรคนแรก ถามว่าการที่ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ให้เงินตามที่บิดามารดาร้องขอ คิดว่าเขาต้องการอะไร และรู้สึกอย่างไรเมื่อบิดามารดาไม่ดาวน์รถยนต์ให้และยกมอบบ้านให้กับ พี่ชายคนโต ค�ำตอบที่บิดาของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้รับรู้ด้วยตนเองและ ตอบว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ รู้สึกน้อยใจและต้องการความรัก ความเอาใจใส่ จากบิดามารดา เช่นเดียวกับพี่ชายน้องชาย เมื่อให้ยืนยันความต้องการที่จะ ให้ปรับแผนผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ไปบ�ำบัดแบบควบคุมตัว จึงได้รับค�ำตอบว่า ยังไม่ต้องส่งไปบ�ำบัดแบบควบคุมตัว เพราะเข้าใจถึงความต้องการของ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ และจะเอาใจใส่ ให้ความรัก ก�ำลังใจ ช่วยเหลือให้ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ เลิกเสพยาเสพติดให้โทษให้ได้ นอกจากนี้จะได้น�ำเรื่อง ดังกล่าวไปบอกต่อมารดาของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ให้เข้าใจในตัวของผู้เข้ารับ การฟื้นฟูฯ มากขึ้น เมื่อผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ บ�ำบัดที่โรงพยาบาลครบ 120 วัน และได้มาพบพนักงานคุมประพฤติซึ่งได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบิดา มารดา ได้รับค�ำตอบว่า รู้สึกดีที่บิดามารดามีความเข้าใจและช่วยเป็นก�ำลังใจ ท�ำให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ สามารถเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและมีผลการ ฟื้นฟูฯ เป็นที่น่าพอใจ ภายหลังจากเวลาได้ล่วงผ่านไปหลายเดือน บิดาของ ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ ได้มาขอรับใบรับรองพ้นผิด เมื่อสอบถามข่าวคราวของ

ผู ้ พ ้ น ผิ ด ได้ รั บ แจ้ ง ว่ า ปั จ จุ บั น ได้ ไปท�ำงานอยู่ที่จังหวัดปัตตานี และ ส่งเงินมาให้บิดามารดาใช้จ่ายเป็น ประจ�ำทุกเดือน จากกรณีดังกล่าว จะเห็นได้ว่า พนักงานคุมประพฤติ เป็นเพียงผู้สอบถามและตั้งข้อสังเกต ให้บิดาของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ โดย น�ำข้อมูลจากค�ำตอบที่ได้รับ มาตั้ง เป็นค�ำถามและป้อนกลับไปยังบิดา ของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จนกระทั่ง เข้ า ใจและรั บ รู ้ ค� ำ ตอบตลอดจน วิธีการที่จะปฏิบัติต่อผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ด้วยความถูกต้องต่อไป ผู้เขียนจึง ใคร่ ข อเสนอแนวคิ ด ในการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาด้ ว ยวิ ธี ก ารป้ อ นข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เ ป ลี่ ย น วิ ธี คิ ด ข อ ง ผู ้ ก ร ะ ท� ำ ผิ ด บนหลักพื้นฐานที่เป็นจริงว่า เพราะ ผู้กระท�ำผิด คิดผิด จึงได้กระท�ำผิด หากสามารถท�ำให้ผู้กระท�ำผิดและ บุคคลในครอบครัวคิดถูกและปฏิบัติ ต่อกันอย่างถูกต้องแล้ว ผู้กระท�ำผิด นัน้ ๆ ย่อมสามารถทีจ่ ะเลิกกระท�ำผิด และควบคุมตนเองไม่ให้หวนกลับไป กระท�ำผิดซ�้ำ และกลับตนเป็นคนดี ของสังคมอย่างยั่งยืนสืบไป วารสาร กรมคุมประพฤติ | 27


วิธีการการป้อนข้อมูลย้อนกลับ

1. 2. 3.

การป้อนข้อมูลย้อนกลับ เน้นการป้อนข้อมูลไปที่พฤติกรรมของผู้กระท�ำผิดมากกว่าตัว ของผู้กระท�ำผิด เป็นการป้อนข้อมูลกลับในสิ่งผู้กระท�ำผิดก�ำลังกระท�ำอยู่ เพื่อให้ผู้กระท�ำผิด เล็งเห็นผลของการกระท�ำของตนเอง ว่าจะเกิดผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวอย่างไร การป้อนข้อมูลย้อนกลับ เน้นพฤติกรรมหรือภาพที่พนักงานคุมประพฤติมองเห็นในปัจจุบัน ไม่ควรน�ำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตมาป้อนกลับ เพราะว่าผู้กระท�ำผิดจะไม่ยอมรับ การป้อนข้อมูลย้อนกลับ เน้นที่การอธิบายมากกว่าการตัดสิน เป็นการให้ผู้กระท�ำผิดทบทวน พฤติกรรมและค�ำพูดของตน ในลักษณะของการน�ำเสนอ โดยพนักงานคุมประพฤติจะต้อง พยายามให้ผู้กระท�ำผิดแสดงความคิดเห็นให้เป็นกลางมากที่สุด เท่าที่จะท�ำได้ โดยชี้ให้เห็นว่า การกระท�ำนั้น ๆ จะเกิดผลดีและผลเสียต่อผู้กระท�ำผิดอย่างไร เพื่อให้ผู้กระท�ำผิดนั้น ๆ ตัดสินใจ เลือกการกระท�ำที่ถูกต้องและเหมาะสมส�ำหรับตนเอง การป้อนกลับจึงไม่ใช่การท�ำโทษ ไม่ใช่ การพูดสั่งสอน ไม่ใช่การตัดสินผิด - ถูก การป้อนข้อมูลย้อนกลับ เน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล เพื่อให้ผู้กระท�ำผิด เกิดความคิด และตัดสินใจด้วยตนเอง โดยค�ำนึงถึงความสามารถของตนและความเป็นไปได้ ที่ จ ะน� ำ วิ ธี คิ ด ดั ง กล่ า วไปปฏิ บั ติ ต ามก� ำ ลั ง ความสามารถของตน ทั้ ง นี้ พ นั ก งานคุ ม ประพฤติ พึงหลีกเลี่ยงการให้ค�ำแนะน�ำในลักษณะของการบังคับ เช่น พูดว่าคุณต้องมารายงานตัวให้ตรงเวลา แต่ควรอธิบายให้ผู้กระท�ำผิดมองเห็นประโยชน์และโทษของการมารายงานตัวว่า หากคุณมา ไม่ตรงเวลาจะท�ำให้เกิดผลกระทบอะไรต่อตัวคุณ การป้อนข้อมูลย้อนกลับ พนักงานคุมประพฤติจะต้องหาแนวทางเลือกหลาย ๆ ทาง เพื่อให้ ผู้กระท�ำผิดมีทางเลือก และรู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสมส�ำหรับตนเอง และสามารถน�ำไป ปรับปรุงแก้ไขตนเองได้ การป้อนข้อมูลย้อนกลับควรเน้นการให้ผู้กระท�ำผิดมองเห็นคุณค่า โดยพนักงานคุมประพฤติ ควรพิจารณาให้ข้อมูลที่เหมาะสม ในลักษณะของการชักชวนให้ผู้กระท�ำผิดมองเห็นคุณค่า ของตนเองและยินยอมทีจ่ ะลงมือปฏิบตั ติ าม มากกว่าการบังคับให้ทำ� ตามความต้องการของพนักงาน คุมประพฤติ การป้อนข้อมูลย้อนกลับ เน้นพฤติกรรมที่ผู้กระท�ำผิดสามารถน�ำไปปฏิบัติตามได้มากกว่า ไม่จ�ำเป็นต้องมีจ�ำนวนมาก แต่เน้นพฤติกรรมที่ส�ำคัญและจ�ำเป็นต้องท�ำก่อน ซึ่งหากมีสิ่งที่ จะต้องท�ำมากเกินไป อาจท�ำให้ผู้กระท�ำผิดเกิดความสับสนและไม่สามารถน�ำไปปฏิบัติได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การป้อนข้อมูลย้อนกลับ เน้นค�ำพูดให้อธิบายว่า “อะไร” มากกว่าถามที่ว่า “ท�ำไม” เป็น การเน้ น ข้ อ มู ล ที่ สั ง เกตเห็ น ได้ เ ป็ น รู ป ธรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพู ด หรื อ การกระท� ำ เช่ น มีพฤติกรรมอะไร (what) แสดงพฤติกรรมอย่างไร (how) เกิดขึ้นเมื่อไร (when) และเกิดที่ไหน (where) เป็นการให้ข้อมูลที่สังเกตได้เท่านั้น ส่วนข้อมูลที่เริ่มต้นด้วยค�ำว่า ท�ำไม (why) เป็นการ ให้ผู้กระท�ำผิดอธิบายถึงเหตุผลของการกระท�ำ ซึ่งจะท�ำให้เกิดการแปลความหมาย ท�ำให้มีโอกาส ผิดพลาดได้ จึงไม่ควรใช้ค�ำว่าท�ำไม

4.

5. 6. 7.

8.

28 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


สิ่งที่พนักงานคุมประพฤติพึงหลีกเลี่ยง

1.

การดุด่า ต่อว่าและต�ำหนิติเตียน ซึ่งเป็นการกระท�ำที่ไม่เหมาะสม เพราะจะท�ำให้ผู้กระท�ำผิด และบุคคลในครอบครัว เกิดความอับอายและหมดก�ำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการด�ำเนินชีวิต หากจ�ำเป็นที่จะต้องพูดติเตียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้กระท�ำผิดได้เล่าเรื่องราว จากมุมมองของเขาก่อน ว่าเหตุใดเขาจึงมีพฤติกรรมดังกล่าว หรือเหตุผลใดเขาจึงด�ำเนินชีวิต รูปแบบนั้น ๆ แล้วจึงป้อนกลับให้เห็นถึงความบกพร่อง ดังกล่าว พนักงานคุมประพฤติไม่ควรตั้งตนเป็นผู้ก�ำหนดพฤติกรรมให้ผู้กระท�ำผิดท�ำ ในการพัฒนา ความคิ ด เพื่ อ ปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมของผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ควรที่ จ ะให้ เ ขามี ส ่ ว นร่ ว มในการ พิจารณาว่า พฤติกรรมใดที่เขาสามารถปรับเปลี่ยนได้

2.

ปัจจัยของความส�ำเร็จของพนักงานคุมประพฤติ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

ต้องการเรียนรู้และท�ำความเข้าใจ พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ปัญหาที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์ และวิธีการใช้เทคนิคการป้อนกลับ ฝึกฝนความไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น มีทักษะในการสังเกตความรู้สึก อารมณ์ และปฏิกิริยา ของผู้อื่น ต่อการรับข้อมูลป้อนกลับ ฝึกความกล้าหาญในการสื่อสารข้อมูลป้อนกลับ ฝึกทักษะ เพิ่มความสามารถในการให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ความนับถือตัวเองและผู้อื่น

การสร้างบรรยากาศ และความไว้วางใจให้กับผู้กระท�ำผิด

มองเห็นคุณค่าและประโยชน์การป้อนกลับ การป้อนกลับไม่ใช่เป็นการข่มขู่ ให้บุคคลเกิด ความกลั ว แต่ เ ป็ น เรื่ อ งของการพั ฒ นาบุ ค คล พั ฒ นาข้ อ บกพร่ อ ง เพิ่ ม ศั ก ยภาพในการ ด�ำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลป้อนกลับช่วยในการพัฒนาบุคคลด้านอารมณ์ ไม่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวหรือเกิด ความกังวล ยอมรั บ ความจริ ง ว่ า พนั ก งานคุ ม ประพฤติ ไ ม่ ส ามารถเปลี่ ย นแปลงผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ได้ เ สมอ พนักงานคุมประพฤติเป็นเพียงผู้เปิดความคิดของผู้กระท�ำผิด ซึ่งผู้กระท�ำผิดเป็นผู้ที่คิด จะเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมด้วยตัวเอง โดยไม่มกี ารบังคับใด ๆ จึงเป็นบทบาทส�ำคัญของพนักงาน คุมประพฤติที่จะต้องฝึกทักษะ และปฏิกิริยาของผู้อื่นต่อการรับข้อมูลป้อนกลับ

แนวคิดในการเปลี่ยนวิธีคิดของผู้กระท�ำผิดด้วยวิธีการป้อนข้อมูลย้อนกลับดังที่ได้น�ำเสนอมานั้น หวังว่า คงเกิดประโยชน์แก่พนักงานคุมประพฤติที่ต้องการเห็นผู้กระท�ำผิดกลับตนเป็นคนดี อันเป็นการท�ำงานปิดทองหลังพระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตราบชั่วนิจนิรันดร์ ◆ ◆ ◆ วารสาร กรมคุมประพฤติ | 29


Probation Around the World >> กลุ่มต่างประเทศและวิจัยพัฒนา ส�ำนักพัฒนาการคุมประพฤติ

การใช้ ง าน เครื่องติดตามตัวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring: EM)

กรณีศึกษา จากเขตอ�ำนาจศาล 5 ประเทศในยุโรป ในปี พ.ศ. 2557 กรมคุมประพฤติได้ริเริ่มโครงการน�ำร่องการน�ำ เครื่องมือติดตามตัวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (EM) มาใช้กับผู้กระท�ำผิด ครั้งแรกในประเทศไทย ในประเทศอื่น ๆ มีการเริ่มน�ำ EM มาใช้ ก่อนหน้า ประเทศไทยและมี ก ารศึ ก ษาประสิ ท ธิ ภ าพและรู ป แบบวิ ธี ก ารใช้ ง านที่ หลากหลาย ซึ่ ง เป็ น ประโยชน์ ต่ อ งานคุ ม ประพฤติ ไ ทยให้ ไ ด้ ศึ ก ษาจาก ประสบการณ์ดังกล่าวและน�ำมาปรับใช้กับบริบทของสังคมไทย การศึกษาหนึ่งที่มีเนื้อหาครบถ้วนและครอบคลุมหลายประเทศ คือ การศึกษาประสิทธิภาพและการสร้างสรรค์การใช้งานเครื่องติดตามตัว แบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ จากเขตอ� ำ นาจศาล 5 ประเทศในยุ โ รป ประกอบด้วย เบลเยียม อังกฤษและเวลส์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ซึ่งได้เปรียบเทียบข้อมูลการใช้งาน EM ใน 5 ประเทศ และเสนอแนวทางการสร้างสรรค์การใช้งาน EM ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น Probation Around the World จึงขอพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชมการท�ำงาน ของทั้ง 5 ประเทศพร้อม ๆ กันในฉบับนี้

30 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ใช้ EM แบบไหน กับใครบ้าง EM ถูกใช้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมแตกต่างกันไปทั้ง 5 เขตอ�ำนาจศาล ตารางที่ 1 สรุปการ ใช้งาน EM ในแต่ละเขตอ�ำนาจศาลจ�ำแนกตามขั้นตอนของคดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า n คลื่นความถี่วิทยุ (Radio-frequency: RF) ถูกใช้งานในทั้ง 5 ประเทศ n สกอตแลนด์ที่ไม่ใช้ GPS และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา n EM สามารถใช้ร่วมกับการคุมประพฤติ แต่ประเทศเบลเยียม อังกฤษและสกอตแลนด์ ใช้เป็นการลงโทษ แบบเดียว (Standalone) โดยไม่ใช้ร่วมกับการคุมประพฤติ

ตารางที่ 1  กระบวนการในชั้นศาลที่ใช้ EM เบลเยียม ก่อนการไต่สวน ค�ำสั่ง/ค�ำพิพากษาของศาล โทษ/แทนการจ�ำคุก ปล่อยก่อนก�ำหนด หลังปล่อยตัวจากเรือนจ�ำ ควบคุมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ โปรแกรมเหยื่อคู่กรณี

RF ü ü

GPS ü

อังกฤษ และเวลส์ RF GPS ü ü ü ü

ü ü

ระยะ ทดลอง

เยอรมนี RF ü ü

GPS

ü ü

เนเธอร์แลนด์

สกอตแลนด์

RF ü ü ü ü ü

RF

ระยะ ทดลอง

GPS ü ü ü ü ü

GPS

ü ü ü ü

ระยะ ทดลอง

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 31


สัดส่วนผู้ติด EM เมื่อเทียบกับปริมาณผู้ต้องขังเป็นอย่างไร ตารางที่ 2  อัตราส่วนผู้ต้องขังและผู้ติด EM อัตราผู้ต้องขัง ต่อประชากร 1 แสนคน 148 139 105 76 69

อังกฤษและเวลส์ สกอตแลนด์ เบลเยียม เยอรมนี เนเธอร์แลนด์

ร้อยละผู้ติด EM ต่อจ�ำนวนประชากรผู้ต้องขัง 14 11 13 <1 4

ตารางที่ 2 นี้แสดงให้เห็นว่าอังกฤษมีอัตราผู้ต้องขังสูงที่สุดและมีการใช้ EM มากกว่าทุกประเทศ จ�ำนวน ประชากรผู้ต้องขังที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อความหนาแน่นของผู้ต้องขัง และ EM ถูกพิจารณาว่าเป็น เครื่องมือในการลดการจ�ำคุกทั้งในบริบทของจ�ำนวนคนและระยะเวลาการคุมขัง แต่ในเยอรมนีและเบลเยียม จ�ำนวนผู้ต้องขังกลับลดจ�ำนวนลงภายในระยะเวลา 10 ปี และ EM ไม่ได้ถูกใช้งานอย่างครอบคลุมใน 2 ประเทศ ดังกล่าว แม้ว่าอังกฤษใช้ EM มากที่สุดแต่กลับเทียบไม่ได้กับจ�ำนวนประชากรผู้ต้องขังจ�ำนวนมาก ความสัมพันธ์ของการใช้ EM และโทษจ�ำคุกน�ำไปสู่การตั้งค�ำถามต่อความสามารถของ EM ในการลด จ�ำนวนประชากรผู้ต้องขังว่าแท้จริงแล้ว EM ก�ำลังเพิ่มงานในกระบวนการยุติธรรมมากกว่าลดภาระงาน การศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า เมื่อการใช้โทษจ�ำคุกมากขึ้น การใช้ EM ก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อพิจารณาจ�ำนวนผู้ต้องขังที่ลดลง ในเบลเยียมอาจเป็นผลจากการใช้ EM ในปี 2556 กล่าวคือ เมื่อ EM ถูกใช้มากขึ้นจ�ำนวนผู้ต้องขังจึงลดลง อย่างไร ก็ตาม ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการใช้ EM ท�ำให้จ�ำนวนผู้ต้องขังลดลง

❝ อังกฤษมีอัตราผู้ต้องขังสูงที่สุดและมีการใช้ EM มากกว่าทุกประเทศ จำ�นวนประชากร ผู้ต้องขังที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบ ต่อความหนาแน่นของผู้ต้องขัง และ EM ถูกพิจารณาว่าเป็น เครื่องมือในการลดการจำ�คุก

❞ 32 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ใช้เทคโนโลยี EM แบบใดบ้าง EM เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ เ พื่ อ สนั บ สนุ น หลาย เป้าประสงค์ของระบบงานยุติธรรมทางอาญา การน�ำ EM ไปใช้จึงขึ้นอยู่กับเป้าหมายของระบบการท�ำงาน เทคโนโลยีหลักที่ใช้มี 2 แบบคือ RF และ GPS เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ใช้สอดส่อง การอยู่ในพื้นที่แบบไม่เคลื่อนที่ 4 ใน 5 ประเทศในการ ศึกษานี้ใช้ RF อย่างกว้างขวางมากกว่าระบบติดตามตัว แบบเคลื่อนที่ (GPS) โดยมาก RF ถูกใช้เพื่อจ�ำกัดเวลา ออกนอกสถานที่และควบคุมตัวภายในบ้าน ในเยอรมนี (Hesse) ยั ง ใช้ EM เพื่ อ ดู ว ่ า ผู ้ ถู ก คุ ม ประพฤติ ม าท� ำ กิ จ กรรมตามโปรแกรมคุ ม ประพฤติ ข องตนเองหรื อ ไม่ ผู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งส่ ว นใหญ่ ช อบเทคโนโลยี RF โดยให้ ความเห็นว่าควรจะใช้งานต่อไปเนือ่ งจากไม่แพง ใช้งานง่าย และถูกทดสอบการใช้งานแล้ว

เทคโนโลยี ติ ด ตามตั ว โดย GPS ถู ก ใช้ ง าน

มากน้อยแตกต่างกันไปใน 4 ประเทศ ยกเว้นสกอตแลนด์ ในเบลเยียม เยอรมนี และอังกฤษ GPS จ�ำกัดการใช้งาน กับผู้กระท�ำผิดที่มีความเสี่ยงสูง GPS มักถูกใช้ในลักษณะ จ�ำกัดไม่ให้เข้าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง บางกรณีใช้ GPS เพื่อ ก�ำหนดให้บุคคลอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง ตัวอย่างเช่น ใน เบลเยี ย ม GPS ถู ก บั ง คั บ ใช้ กั บ ผู ้ ที่ อ ยู ่ ร ะหว่ า งรอการ ไต่สวนให้อยู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง GPS มีประโยชน์ มากกว่า RF ในแง่ของการติดตามตัวบุคคลตามเส้นทางได้ (หากผู ้ ใ ส่ EM ไม่ ถ อดเสี ย ก่ อ น) แต่ ก ารใช้ ง าน GPS ล�้ ำ ขอบเขตของ RF ท� ำ ให้ เ ห็ น ว่ า EM อาจจะถู ก ใช้ ป ระโยชน์ อ ย่ า งไม่ เ หมาะสมและควรท� ำ ความเข้ า ใจ กับการใช้งานในรูปแบบอื่นที่เพิ่มเข้าไป GPS ถูกพิจารณาว่ามีความยืดหยุ่นและให้อิสระ กับบุคคลมากกว่า RF ทั้งยังให้ข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับ สถานที่ที่บุคคลไปในแต่ละวัน แต่ข้อเสียของ GPS ที่พบ ได้โดยทั่วไปคือ แบตเตอรี่หมดเร็วและสัญญาณอ่อน ในทางปฏิบัติ GPS มักถูกใช้ในการตั้งรับ เช่น เตือน เมื่อมีการท�ำผิดเงื่อนไข และ/หรือ ติดตามการเคลื่อนไหว ที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว มากกว่ า แสดงข้ อ มู ล การเคลื่ อ นไหว

❝ GPS ถูกพิจารณาว่า มีความยืดหยุ่นและให้อิสระกับบุคคล มากกว่า RF ทั้งยังให้ข้อมูลที่ละเอียด เกี่ยวกับสถานที่ที่บุคคลไปในแต่ละวัน

❞ ณ ขณะนั้น (real time) เทคโนโลยีที่ผสมทั้ง RF และ GPS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อศึกษาการใช้งานที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง ของทั้ ง 2 เทคโนโลยี ในทางปฏิ บั ติ เ ครื่ อ งมื อ ชนิ ด นี้ มีความยุ่งยากในการผลิตท�ำให้เกิดความล่าช้าระหว่าง รอเครื่องมือและต่อสัญญาใหม่ ในหลาย ๆ ประเทศที่ ศึกษาก�ำลังคิดหาวิธีการใช้ GPS กับผู้เสียหาย โดยเฉพาะ คดีความรุนแรงในครอบครัว (อังกฤษ) การใช้ EM เพื่อสอดส่องผู้ดื่มสุรายังอยู่ในระยะ เริ่ ม ต้ น ในอั ง กฤษได้ ท ดลองด� ำ เนิ น การโดยการเพิ่ ม ข้อบังคับห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในค�ำพิพากษา ให้คุมประพฤติ เทคโนโลยี SCRAM ถูกใช้เพื่อวัดระดับ แอลกอฮอล์ที่ผิวหนังผ่านเครื่องมือที่สวมอยู่ที่ข้อเท้า ท�ำให้การดื่มลดลงและเปลี่ยนแปลงไป เครื่องมือดังกล่าว ยังถูกน�ำไปใช้งานกับกลุ่มเป้าหมายอื่น วารสาร กรมคุมประพฤติ | 33


ใครคือกลุ่มเป้าหมาย EM ถูกน�ำไปศึกษาการใช้งานกับคนหลากหลาย กลุ ่ ม ในกระบวนการยุ ติ ธ รรม สะท้ อ นลั ก ษณะความ เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ ในกระบวนการยุติธรรม ไม่ มี ก ลุ ่ ม ใดถู ก ตั ด ออกเพื่ อ ไม่ ใ ช้ EM แม้ ว ่ า ผู ้ มี ค วาม ผิดปรกติทางจิตและผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจจะยังไม่เหมาะสมนักที่จะใช้ EM

การท�ำงานของ EM ต้องเชื่อมโยงกับที่อยู่อาศัย ถาวรของผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด นั้ น และต้ อ งไม่ เ ชื่ อ มโยงกั บ การ กระท�ำผิด ซึ่งอาจท�ำให้ผู้กระท�ำผิดบางคนไม่อยู่ในเกณฑ์ ที่ ส ามารถใช้ EM ได้ เช่ น ในอั ง กฤษมี ห น่ ว ยงาน สนับสนุนการประกันตัวจัดเตรียมที่พักไว้ส�ำหรับผู้กระท�ำผิด ที่รอการไต่สวนและผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัว โดย มีเงื่อนไขจ�ำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน แต่ในเบลเยียม ไม่มีที่อยู่อาศัยรองรับ ในขณะที่เนเธอร์แลนด์มีที่อยู่อาศัย ทางเลือกแต่มีอย่างจ�ำกัด GPS โดยส่ ว นใหญ่ จ ะถู ก ใช้ ง านกั บ ผู ้ ที่ มี ค วาม เสี่ยงสูงทั้งในด้านความรุนแรงและความบ่อยของการ กระท�ำความผิด ในทางตรงกันข้ามเนเธอร์แลนด์พจิ ารณา ว่า EM ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือการกระท�ำผิด ที่ รุ น แรง และก็ ยั ง ไม่ เ ห็ น ด้ ว ยทั้ ง หมดว่ า ควรใช้ EM กับผู้มีความเสี่ยงต�่ำ

EM ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง วัตถุประสงค์หลักที่เป็นที่ยอมรับของ EM คือ การเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้เสียหายและชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมาย ส�ำคัญของเยอรมนีที่จะใช้ EM กับผู้กระท�ำผิดที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อความรุนแรงและความผิดเกี่ยวกับเพศ และในแต่ละประเทศยังมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น n ประเทศเนเธอร์แลนด์มุ่งใช้ EM เพื่อการแก้ไขบ�ำบัดฟื้นฟูและใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ n เบลเยียมวัตถุประสงค์ของ EM คือ เพื่อลดความแออัดในเรือนจ�ำและลดค่าใช้จ่ายในการคุมขังนักโทษ n สกอตแลนด์ ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นแปลงจากวั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ การลงโทษโดยการจ� ำ กั ด อิ ส รภาพเป็ น เป้ า หมาย แบบผสม คือ มุ่งสนับสนุนการบ�ำบัดและป้องกันการกระท�ำผิด รวมทั้งจัดการความเสี่ยง n อังกฤษก็มีลักษณะเป้าประสงค์แบบผสมผสานเช่นกัน EM ถูกมองเป็นทางเลือกแทนการจ�ำคุก โดยท�ำให้ บุคคลไม่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจ�ำจึงเป็นการเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกจ�ำคุก n โครงการ Hesse ของเยอรมนียังใช้ RF เพื่อท�ำให้แน่ใจว่าบุคคลได้ใช้เวลานอกบ้านอย่างเป็นประโยชน์เพียงพอ n ในอังกฤษ, เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ EM ถูกใช้ในการสอดส่องกลุ่มผู้กระท�ำความผิดที่มีความเสี่ยงสูง ที่มีลักษณะที่เป็นภัยต่อสาธารณชนและเคยก่อเหตุคุกคามความปลอดภัยของชุมชน เทคโนโลยี GPS ถูกใช้เพื่อสอดส่องผู้กระท�ำผิดทางเพศเป็นหลัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการคุมประพฤติโดย พนักงานคุมประพฤติและทีมสหวิชาชีพ ในหลายประเทศที่ศึกษาโดยเฉพาะประเทศเยอรมนีอาจมีการ ใช้ EM ต่อเนื่องเกินกว่าระยะเวลาที่ศาลก�ำหนด

34 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


นอกเหนือจากเป้าหมายดังกล่าว การติด EM ยัง เอื้อให้บุคคลสามารถรักษาหรือสร้างความสัมพันธ์กับ ครอบครัว เพื่อนและชุมชนได้ บุคคลสามารถเรียนหรือ ท�ำงานได้อย่างต่อเนื่อง การติด RF EM ท�ำให้ การด�ำเนิน ชีวิตประจ�ำวันของบุคคลมีแบบแผนเพราะจ�ำกัดการออก นอกเคหะสถานยามวิกาล ประการที่สอง การติด EM เป็ น เหตุ ใ ห้ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด อยู ่ ห ่ า งจากคนหรื อ สถานที่ ที่ เกี่ยวข้องกับการท�ำผิดกฎหมาย ประการที่สาม ช่วยเพิ่ม ความเข้มข้นของการคุมประพฤติในชุมชน ประการที่สี่ EM เอือ้ ต่อการจัดการหรือประกอบมาตรการอืน่ ทางสังคม เช่น ผู้ที่ EM อาจจะเตรียมหางานเป็นผลจากมาตรการ ห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาล ประโยชน์ที่หลากหลาย เหล่านี้ท�ำให้ผู้กระท�ำผิดคืนกลับสู่สังคมได้และ EM ยัง สนับสนุนการใช้ชีวิตในชุมชนแทนการถูกคุมขัง แม้ว่าจะมีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของ EM และการกระท�ำความผิดไม่มากนักแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ EM กล่าวว่า EM ท�ำให้การกระท�ำผิดซ�้ำลดลง อย่างเห็นได้ชัด GPS ถูกพิจารณาว่ามีประโยชน์มากกว่า RF ในผลดังกล่าว เนือ่ งจากเป็นเครือ่ งขัดขวางการกระท�ำ ผิดซ�้ำที่ดี เช่น ต�ำรวจอังกฤษได้สร้างต�ำแหน่งจากการ ติดตามการเคลื่อนไหวของ GPS เพื่อเปรียบเทียบกับ รายงานข้ อ มู ล อาชญากรรม และใช้ แ สดงหลั ก ฐาน สนับสนุนการสืบสวนคดีและระบุข้อมูลที่ต้องสงสัย ทั้ง GPS และข้อมูลบางส่วนของ RF ใช้ประกอบการระบุ ว่าบุคคลเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรม ที่เกิดขึ้น ข้อมูลเวลาที่บุคคลอยู่ในเคหะสถานที่ได้จาก RF

การใช้ EM ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีความสัมพันธ์กับ การใช้ EM ในการคุมประพฤติ ในอังกฤษ งานคุมประพฤติ ขาดความน่าเชื่อถือจึงท�ำให้มีนโยบายให้น�ำ EM ไปใช้ แทนการคุมประพฤติ ในเยอรมนีมีการใช้ EM น้อยลง เนื่องมาจากมีมาตรการแบบไม่ควบคุมตัวที่หลากหลาย (การจ่ายค่าปรับและการคุมประพฤติ) ท�ำให้ EM ถูกมอง ว่าเป็นการลงโทษที่เบา ไม่สมสัดส่วนของโทษ ปัจจัย ที่สองของเยอรมนีคือระเบียบการป้องกันข้อมูลที่เข้มงวด และกระบวนการเข้าถึงข้อมูลเป็นตัวขัดขวางการใช้ EM ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ซึ่งให้ความส�ำคัญต่อการรักษา ข้อมูลเช่นกันกลับไม่มีกระบวนการที่ยุ่งยากเช่นนี้ ปัจจัย ที่สามคือส่วนกลางไม่มีนโยบายการใช้ EM ปัจจัยที่ท�ำให้ EM ถูกใช้มากในเบลเยียมและอังกฤษ แต่น้อยในประเทศอื่น ๆ คือต้นทุน แม้ว่าต้นทุน EM จะยังเป็นที่ถกเถียง แต่มีความเห็นเป็นไปในทางเดียวกัน ว่าต้นทุนของ EM ถูกกว่าการคุมขังอย่างมาก อย่างไร ก็ตามยังมีความตระหนักเพียงเล็กน้อยถึงความสามารถ ในการลดค่าใช้จ่ายโดย EM หากน�ำไปเปรียบเทียบกับ มาตรการแทนการกักขังอื่น ๆ

❝ ปัจจัยที่ทำ�ให้ EM ถูกใช้มากในเบลเยียม และอังกฤษแต่น้อยในประเทศอื่น ๆ คือต้นทุน แม้ว่าต้นทุน EM จะยังเป็นที่ถกเถียง แต่มีความเห็นเป็นไปในทางเดียวกันว่าต้นทุน ของ EM ถูกกว่าการคุมขังอย่างมาก

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 35


มีการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างไรบ้าง การด�ำเนินการ EM ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งได้เป็น 2 โมเดล ความแตกต่างของการเข้ามามีส่วนร่วมของ หน่วยงานเอกชนของ 2 โมเดลนี้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ

1) Anglo model (อังกฤษและสกอตแลนด์)

หน่วยงานเอกชนรับผิดชอบการให้บริการ EM ในส่วน ของอุปกรณ์และบริการด้านการควบคุมดูแล (ประกอบ ด้วยการติดตั้ง ยกเลิกการติดตั้งติดต่อกับผู้ถูกคุมประพฤติ ทางโทรศัพท์หรือการเยี่ยมบ้าน ติดตั้งห้องควบคุม รายงาน การก่อเหตุความรุนแรงและการฝ่าฝืนข้อก�ำหนด) Anglo model ให้หน่วยงานเอกชนด�ำเนินการทั้งหมด หน่วยงาน รั ฐ มี ห น้ า ที่ ก� ำ หนดข้ อ บั ง คั บ และดู แ ลการส่ ง รายงาน ไปยังเรือนจ�ำหรือศาล n ในอังกฤษก�ำหนดให้ EM มีลักษณะเป็น งานคู ่ ข นานกั บ กระบวนยุ ติ ธ รรมทางอาญา โดยการ บูรณาการเข้ากับงานคุมประพฤติและกระบวนยุติธรรม เพียงเล็กน้อย เช่น ใช้ EM กับผู้กระท�ำความผิด ก่อนไต่สวน ค�ำพิพากษาโดยเงื่อนไขใช้ EM เพียงอย่างเดียว และการ จ�ำกัดการออกนอกเคหะสถานยามวิกาล โดยหน่วยงานรัฐ ไม่มีส่วนร่วมจนกว่าจะเกิดการฝ่าฝืนมาตรการที่ก�ำหนด ให้ผู้กระท�ำความผิด ท�ำให้มีการประสานงานและติดต่อ สื่อสารระหว่างงานคุมประพฤติ ผู้จัดการคดีและบริษัท ผู้จัดหา EM น้อยมาก n เช่ น เดี ย วกั บ ในสกอตแลนด์ ค� ำ สั่ ง การ จ�ำกัดอิสรภาพถูกใช้ทั้งเป็นเครื่องมือเชิงเดี่ยว เช่น การ จ�ำกัดเวลาห้ามออกนอกบ้านและสถานที่ห้ามเข้า หรือ ใช้ค�ำสั่งดังกล่าวร่วมกับมาตรการโดยชุมชน ซึ่งครึ่งหนึ่ง ของงาน EM เป็นมาตรการจ�ำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน ที่ด�ำเนินงานโดยปราศจากหน่วยงานรัฐ

36 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

2) European model (เบลเยียม เยอรมนี

และเนเธอร์แลนด์) หน่วยงานเอกชนท�ำหน้าที่เพียงจัดหา อุปกรณ์ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีช่วยเหลือ n เยอรมนี ใ ห้ ห น่ ว ยงานเอกชนท� ำ หน้ า ที่ เพียงติดตั้งอุปกรณ์โดยมีหน่วยงานของรัฐด�ำเนินการ ต่อส่วนที่เหลือ n เนเธอร์แลนด์ลดบทบาทหน่วยงานเอกชน ลงโดยมีหน่วยงาน Transport and Support Service (TSS) ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารงานที่ เ กี่ ย วกั บ นั ก โทษเป็ น ผู ้ ติ ด ตั้ ง บ�ำรุงรักษา และคาดว่าจะท�ำหน้าที่ด�ำเนินการควบคุม การสอดส่ อ งดู แ ลด้ ว ย แต่ เ ป็ น ประเทศที่ มี รู ป แบบการ บูรณาการโดยกว้าง คือ EM อยู่ในงานของทั้งหน่วยงาน ราชทั ณ ฑ์ แ ละคุ ม ประพฤติ โดยพนั ก งานคุ ม ประพฤติ มี ส ่ ว นร่ ว มในทุ ก กระบวนการและเป็ น ผู ้ ตั ด สิ น ใจงาน ที่เกี่ยวข้องกับ EM n เบลเยียมกลับลดการมีส่วนร่วมลงจากเดิม โดยแบ่งงานออกเป็น 2 สาย ท�ำหน้าที่แยกกันในการ ดูแลงานทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับ EM คือ ผู้ช่วยงานยุติธรรม จากกระทรวงยุติธรรม (งานคุมประพฤติ) เป็นส่วนหลัก ในงานสอดส่องดูแลผู้ที่ถูกปล่อยตัวจากเรือนจ�ำก่อนก�ำหนด เมื่อรับโทษมาแล้วมากกว่า 3 ปี ในปัจจุบันกระทรวงยุติธรรม มีส่วนร่วมในงาน EM (ใช้กับผู้ต้องหาก่อนการไต่สวน และ จ�ำเลยที่ได้รับโทษน้อยกว่า 3 ปี) น้อยลงมาก ในขณะที่ หน่ ว ยงานเอกชนด� ำ เนิ น การรั บ ผิ ด ชอบเป็ น ส่ ว นมาก การบูรณาการร่วมกันจึงถือว่ายังเป็นส่วนน้อยในช่วงเวลา ที่ EM ถูกใช้งานมากขึ้นทั้งในแง่จ�ำนวนและลักษณะงาน โดยเฉพาะในผู้ต้องหาก่อนการไต่สวน การประสานงานกับ หน่วยงานยุติธรรมเป็นปัจจัยส่งผลต่อการด�ำเนินงาน EM หาก EM บูรณาการเข้ากับงานคุมประพฤติได้มากเท่าไร อ�ำนาจการตัดสินใจก็จะยิ่งเป็นอิสระมากขึ้น


❝ เยอรมนีมีระบบการดูแลข้อมูลที่เข้มงวดมาก มีการตรวจสอบและมักจะไม่ต้องการ เปิดเผยข้อมูลการสอดส่องดูแลบุคคล แม้กระทั่งกับหน่วยงานรัฐ ที่ดูแล EM ด้วยกันเอง

❞ ปัญหาการสื่อสารเป็นอุปสรรคหลักต่อการด�ำเนินงาน EM ในทุกประเทศ ในเบลเยียมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่ ล ่ า ช้ า เกิ ด ขึ้ น ระหว่ า งต� ำ รวจและศู น ย์ ก ารควบคุ ม สอดส่อง ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เกิดขึ้นระหว่างศาล หน่วยงานดูแลงาน EM และงานคุมประพฤติ อังกฤษ จัดให้หน่วยงานควบคุมดูแลและหน่วยงานต่าง ๆ ติดต่อ สื่อสารกันที่จุดเดียว ท�ำให้เอื้อประโยชน์ต่อระยะเวลา และขั้นตอนการแลกเปลี่ยนข้อมูล เบลเยียมเริ่มด�ำเนินการ ท�ำระบบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ EM และ ความเห็นต่าง ๆ โดยเปิดให้เจ้าหน้าที่ควบคุมสอดส่อง กระทรวงยุติธรรมและราชทัณฑ์สามารถเข้าถึงได้

ข้อมูลที่ได้จาก RF และ GPS เป็นประโยชน์ต่อ ต� ำ รวจทั้ ง ในแง่ ข ้ อ มู ล และเครื่ อ งมื อ สื บ สวนสอบสวน อย่างไรก็ตาม ศาลมีความกังวลต่อการน�ำข้อมูลไปใช้ อย่างผิดวัตถุประสงค์ ใน 4 ประเทศ (ยกเว้นเยอรมนี) ต� ำ รวจต้ อ งยื่ น ค� ำ ร้ อ งอย่ า งเป็ น ทางการและมั ก จะอยู ่ ในรูปของการเขียนเพื่อขอข้อมูลโดยให้ระบุข้อมูลเฉพาะ เจาะจงของบุคคลที่ต้องการ โดยด�ำเนินการผ่านทาง อัยการ (เนเธอร์แลนด์) ศูนย์ควบคุมสอดส่อง (เบลเยียม) และหน่วยงานจัดการกิจการผู้กระท�ำความผิดแห่งชาติ (National Offender Management Service: NOMs, อังกฤษ) เยอรมนีมีระบบการดูแลข้อมูลที่เข้มงวดมาก มี ก ารตรวจสอบและมั ก จะไม่ ต ้ อ งการเปิ ด เผยข้ อ มู ล การสอดส่องดูแลบุคคลแม้กระทั่งกับหน่วยงานรัฐที่ดูแล EM ด้วยกันเอง ข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ เ พี ย งพอและการขาดการมี ส ่ ว นร่ ว ม ของหน่วยงานยุติธรรมเป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการท�ำให้ EM ท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้พิพากษาและอัยการ ของเนเธอร์แลนด์ไม่ทราบถึงเทคนิคในการน�ำ EM ไป ใช้ ง านจริ ง เช่ น เดี ย วกั น กั บ อั ง กฤษและสกอตแลนด์ ที่ผู้พิพากษาและพนักงานคุมประพฤติมีความรู้เรื่อง EM ในระดับที่ไม่เท่ากัน มีหลักฐานยืนยันว่าการฝึกอบรม ให้ ค วามรู ้ แ ละท� ำ กิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งช่ ว ยเพิ่ ม ความ ตระหนักต่อ EM ท�ำให้เพิ่มการน�ำ EM ไปใช้และใช้ได้ เหมาะสมมากขึ้น วารสาร กรมคุมประพฤติ | 37


การสร้างสรรค์การใช้งาน EM สามารถท�ำในรูปแบบใดบ้าง ทั้ง 5 ประเทศที่ศึกษายังขาดการสร้างสรรค์วิธีการใช้งาน EM มีรูปแบบการใช้งานที่คล้าย ๆ กัน และ ส่วนใหญ่ EM ถูกใช้อย่างเป็นระบบระเบียบ โดยแบ่งพิจารณาได้ 2 รูปแบบ

1) ระยะเวลาและความจริงจังของการใช้ EM

EM สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นและใช้ได้ในต่างระยะเวลาและความเข้มข้นโดยไม่มีข้อจ�ำกัดทาง เทคโนโลยี EM ไม่ใช้เครื่องมือในการลงโทษเพียงอย่างเดียว ไม่มีข้อแนะน�ำว่า EM ควรใช้นานเท่าใดกับผู้กระท�ำผิด ที่รอการไต่สวน และกับผู้ต้องขังที่ปล่อยก่อนก�ำหนด โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาค�ำพิพากษาจ�ำคุกและข้อก�ำหนด การปล่อยตัวก่อนก�ำหนด แต่มีข้อแนะน�ำส�ำหรับจ�ำเลยที่มีค�ำพิพากษาแล้ว ศาลมักจะสั่งให้ติด EM 12 เดือนขึ้นไป อังกฤษและสกอตแลนด์ที่จะใช้ข้อก�ำหนดจ�ำกัดเวลาออกนอกเคหะสถานเต็มก�ำหนดที่ท�ำได้กับผู้ต้องขังปล่อย ก่อนก�ำหนด ในเยอรมนีเงื่อนไขการก�ำกับดูแลสามารถก�ำหนดได้โดยไม่มีเงื่อนไขระบุไว้ แต่เงื่อนไขจะถูกทบทวน ทุก ๆ 5 ปี การกระท�ำที่ก�ำหนดขึ้นโดยอยู่นอกเหนือค�ำสั่งศาล เช่น ต�ำรวจในอังกฤษสามารถใช้ EM ได้โดยไม่มีระยะ เวลาก�ำหนด อย่างไรก็ตามในทั้ง 5 เขตอ�ำนาจศาลที่ศึกษา EM ไม่สามารถใช้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีก�ำหนดระยะเวลา เนื่องจากการกระท�ำใด ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมีกฎหมายก�ำหนดระยะเวลาการปฏิบัติต่าง ๆ ก�ำหนดไว้ ความจริงจังของการใช้ EM เกี่ยวข้องกับค�ำสั่งจ�ำกัดอิสรภาพ RF เป็นเครื่องมือที่มักใช้ในค�ำสั่งประเภทนี้ อย่างไรก็ตามเบลเยียมใช้ GPS สอดส่องดูว่าผู้กระท�ำความผิดอยู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมงหรือไม่ ผู้กระท�ำผิดจึงต้อง พึ่งพาผู้อื่นในบางช่วงของการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน สามารถแบ่งรูปแบบของการจ�ำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน ออกเป็น 2 แบบ 1) แบบอังกฤษและสกอตแลนด์ จะพิจารณาระยะเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถาน 2) เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ จะก�ำหนดระยะเวลาที่มีอิสระสามารถออกนอกเคหะสถานได้ ตารางที่ 3 แสดงข้อก�ำหนดที่เป็นชั่วโมงในแต่ละวัน เห็นได้ว่าแต่ละประเทศก�ำหนดระยะเวลาห้ามออกนอก เคหะสถานตั้งแต่ 2 – 24 ชั่วโมง และมักจะมีระยะเวลาที่คล้ายกันในแต่ละกลุ่มผู้กระท�ำผิด ยกเว้นประเทศอังกฤษ ที่ความเข้มข้นหรือระยะเวลาก�ำหนดในแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป

ตารางที่ 3  ข้อก�ำหนดชั่วโมงที่อยู่ภายใต้มาตรการจ�ำกัดเวลาห้ามออกนอกเคหะสถานโดย EM ก่อนการไต่สวน มีค�ำพิพากษาแล้ว หลังปล่อยตัว จากเรือนจ�ำ

38 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

เบลเยียม อังกฤษและเวลส์ จ�ำกัด 24 ชม. จ�ำกัดสูงสุด ได้ถึง 24 ชม. จ�ำกัด 6-12 ชม. มีอิสระ น้อยสุด 4 ชม. สูงสุด 12 ชม.

จ�ำกัด 9-12 ชม.

เยอรมนี ไม่ระบุ

เนเธอร์แลนด์ มีอิสระ 2-17 ชม.

สกอตแลนด์

ไม่ระบุ

มีอิสระ 2-17 ชม. จ�ำกัด 12 ชม. มีอิสระ 2-17 ชม. จ�ำกัด 22 ชม.


การก� ำ หนดช่ ว งเวลาในแต่ ล ะวั น เป็ น สิ่ ง จ� ำ กั ด ความสร้างสรรค์การใช้ EM เนื่องจากไม่เปิดช่องให้ หรื อ ไม่ ส ามารถให้ “วั น หยุ ด ” แก่ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ที่ ถู ก ควบคุมสอดส่องโดย EM เพื่อเป็นการให้รางวัลต่อการ ปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างดี n แม้ว่าในเบลเยียมจะใช้ค�ำว่า “พักโทษ” กับ นักโทษแต่ก็ไม่มีการพักการควบคุมดูแล ทั้งยังเป็นประเทศ ที่ เ ข้ ม งวดกั บ การปฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขจ� ำ กั ด อิ ส รภาพ อย่างมาก เช่น นักโทษที่จ�ำคุกมาแล้ว 3 ปีหรือต�่ำกว่า มีระยะเวลา 4 ชั่วโมงที่สามารถออกนอกบ้านได้ แต่ จะต้องออกในช่วงเวลา 8.00 – 12.00 น. เท่านั้น หรือ ท� ำ กิ จ กรรมที่ เ ป็ น ประโยชน์ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด ในระยะเวลา 12 ชั่วโมงที่ก�ำหนด n ส� ำ หรั บ อั ง กฤษ ในทางทฤษฎี ก ารไม่ ก� ำ หนด ช่วงเวลาเปิดทางให้สร้างสรรค์การใช้งาน EM แต่ใน ทางปฏิ บั ติ มี ร ะเบี ย บที่ ชั ด เจนต่ อ เงื่ อ นไขก� ำ หนดเวลา ห้ า มออกนอกเคหะสถาน คื อ ห้ า มออกนอกบ้ า นเป็ น เวลา 12 ชั่วโมง ในระหว่างช่วงเวลา 19.00 – 7.00 น. n เนเธอร์ แ ลนด์ มี ลั ก ษณะที่ แ ตกต่ า งคื อ จ� ำ กั ด ระยะเวลาในช่วงวันหยุดที่จะออกไปท�ำกิจกรรมพักผ่อน ไว้มากกว่าระยะเวลาที่จะออกไปท�ำงานในวันธรรมดา n อั ง กฤษและสกอตแลนด์ จ ะยึ ด เงื่ อ นไข ที่ก�ำหนดโดยไม่เปลี่ยนแปลง เว้นแต่มีสถานการณ์เกิดขึ้น กับบุคคลนั้น ๆ n ในเบลเยี ย มและเนเธอร์ แ ลนด์ จ� ำ นวนชั่ ว โมง ที่ ส ามารถออกนอกบ้ า นได้ จ ะเพิ่ ม ขึ้ น ตามระยะเวลา ที่ปฏิบัติ เป็นเสมือนรางวัลแก่การปฏิบัติตามเงื่อนไข และเอื้อต่อการด�ำเนินชีวิตให้เป็นปกติอีกครั้ง n เนเธอร์แลนด์มีการปรับเวลาที่ออกนอกบ้าน ได้ที่ 3 ระดับ ตั้งแต่ 12 ชั่วโมงในวันธรรมดาและ 4 ชั่วโมง ในวันหยุด ไปจนถึง 17 ชั่วโมงในวันธรรมดา การตัดสินใจ ว่ า บุ ค คลควรอยู ่ ใ นระดั บ ใดขึ้ น อยู ่ กั บ การประเมิ น ความเสี่ยง n แต่ ไ ม่ มี ป ระเทศใดมี ร ะเบี ย บการยกเลิ ก EM ก่อนก�ำหนดตามแผนทีว่ างไว้เมือ่ บุคคลปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไข เป็นอย่างดี แต่มีสามารถขยายระยะเวลาได้เมื่อบุคคล ไม่ให้ความร่วมมือ

2) การเปลี่ยนเงื่อนไขการสอดส่องดูแล

ในทุกเขตอ�ำนาจศาลเห็นว่า ควรเปิดช่องให้ มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้หากมีเหตุที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ชั่วคราวหรือถาวรซึ่งเกี่ยวกับการ ก�ำหนดระยะเวลาห้ามออกนอกเคหะสถาน (RF) และ พื้นที่ห้ามเข้า (GPS) การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเป็นไปได้ ในทุ ก กระบวนการของศาลและขึ้ น อยู ่ กั บ ขั้ น ตอนคดี ของผู้กระท�ำผิด รวมถึงเงื่อนไขที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ยิ่งเงื่อนไขที่จะเปลี่ยนแปลงมีความส�ำคัญเท่าใด ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาโดย การมีส่วนร่วมของพนักงานราชทัณฑ์ อัยการและศาล ย่อมมีมากด้วย ในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์อนุญาต ให้พนักงานคุมประพฤติตัดสินใจการเปลี่ยนเงื่อนไขได้ ท�ำให้เอือ้ ต่อการปฏิสมั พันธ์ระหว่างพนักงานคุมประพฤติ และผู ้ ถู ก คุ ม ประพฤติ ท� ำ ให้ ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ และ พิจารณาสถานการณ์ของแต่ละบุคคลได้ ผลลบที่อาจจะ เกิดขึ้นเป็นไปได้ว่ายิ่งระบบการเปลี่ยนเงื่อนไขมีความเป็น ทางการมากเท่าใดระยะเวลาในการพิจารณาก็มากขึ้นตาม ซึ่งบางเงื่อนไขที่ขอเปลี่ยนแปลงอาจคาดการณ์ไม่ได้ เช่น ขออนุญาตไปร่วมพิธีศพ ดังนั้นกระบวนการที่ยืดหยุ่น และตอบสนองได้รวดเร็วจะช่วยเลีย่ งปัญหาจากเหตุการณ์ ที่คาดการณ์ไม่ได้เหล่านี้ มี ห ลั ก ฐานว่ า การขอเปลี่ ย นเงื่ อ นไขเกิ ด ขึ้ น ในทุกเขตอ�ำนาจศาลที่ศึกษา โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กระบวนการขอเปลี่ยนเงื่อนไขด�ำเนินไปได้อย่างราบรื่น ตราบใดที่เหตุผลที่ขอเป็นเหตุเป็นผลก็จะได้รับอนุญาต ยกเว้น 3 เหตุนี้ คือ การขอเปลี่ยนแปลงกรณี GPS ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล การขอเปลี่ยนพื้นที่ห้ามเข้าของ เขตอ�ำนาจศาลเนเธอร์แลนด์ และการเปลี่ยนระยะเวลา ออกไปท�ำกิจกรรมนอกบ้านให้นักโทษที่รับโทษมาแล้ว 3 ปีหรือต�่ำกว่าในเบลเยียม

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 39


การติดตั้งและถอดอุปกรณ์ท�ำโดยใครและเมื่อใด ❝ การถอดอุปกรณ์ทำ�ได้ในหลายสถานที่ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานอาจจะ ไปถอดอุปกรณ์ที่บ้าน ของบุคคลนั้น ๆ บุคคลที่ติด EM สามารถถอดอุปกรณ์เองได้ และนำ�ไปคืนยังสถานที่ที่แจ้งไว้

❞ ส่ ว นใหญ่ เ จ้ า หน้ า ที่ จ ะไปติ ด อุ ป กรณ์ กั บ บุ ค คล ที่บ้านหากเป็นการควบคุมสอดส่องทางโทรศัพท์หรือ การเยี่ ย มบ้ า น ภายหลั ง ศาลมี ค� ำ สั่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ค วร ด�ำเนินการติดตั้งอุปกรณ์โดยไม่ล่าช้า แต่บางเขตอ�ำนาจศาล เช่น ในอังกฤษและสกอตแลนด์การติดตั้งอุปกรณ์จะ ท�ำระหว่างช่วงเวลาที่ห้ามบุคคลออกนอกบ้าน (ตั้งแต่ 19.00 น.) และเที่ยงคืนของวันที่เริ่มมาตรการจ�ำกัด

40 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

การออกนอกเคหะสถาน ในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ มีระบบการติดตั้ง EM อย่างเป็นระบบระเบียบ การติดตั้ง มีจ�ำนวนจ�ำกัดในแต่ละวัน ในเบลเยียมหากจ�ำนวนการ ติดตั้งในแต่ละวันเต็มจ�ำนวน ผู้รอการติดตั้งอาจมากกว่า 1,000 ราย ทั้งใน 2 ประเทศดังกล่าวจะติดตั้ง EM ให้บางคดีก่อน ในกรณีนี้เครื่องมือต้องถูกติดตั้งภายใน 3 วัน (เนเธอร์แลนด์) และ 5 วัน (เบลเยียม) ข้อเสีย ของระบบดังกล่าว คือ ผู้ที่อยู่ระหว่างรอการติด EM ต้องรออยู่ในเรือนจ�ำต่อไป อย่างไรก็ตามกระบวนการ ดังกล่าวมีระเบียบด�ำเนินการง่ายกว่าการจัดการแบบ อังกฤษ การถอดอุปกรณ์ท�ำได้ในหลายสถานที่ เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานอาจจะไปถอดอุปกรณ์ที่บ้าน ของบุคคล นั้น ๆ บุคคลที่ติด EM สามารถถอดอุปกรณ์เองได้และ น�ำไปคืนยังสถานที่ที่แจ้งไว้ หรืออาจจะเดินทางไปยัง สถานที่ ที่ นั ด เพื่ อ ท� ำ การถอดอุ ป กรณ์ (เรื อ นจ� ำ ) การ ก�ำหนดจุดถอดคืน EM ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนการไป ถอด EM ที่บ้านให้ความรู้สึกที่ดีของการเริ่มต้นชีวิตใหม่


ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการฝ่าฝืนมาตรการและแนวทางปฏิบัติ การตรวจจั บ ของ EM ตอบสนองได้ ไ ว (Sensitive) กล่าวคือ มีรายงานการฝ่าฝืนมาตรการ

เพียงเล็กน้อยเป็นประจ�ำ เช่น RF รายงานเมื่อผู้ติด EM เข้าเคหะสถานช้ากว่าเวลาที่ก�ำหนดเล็กน้อย หรือ GPS แสดงรายงานเมื่อผู้ติด EM อยู่ในละแวกพื้นที่ห้ามเข้า ทันทีทันใดแม้จะยังไม่ได้เข้าในพื้นที่ หลายเขตอ�ำนาจศาล ผ่อนปรน การฝ่าฝืนเพียงเล็กน้อยเหล่านี้ และก�ำหนด ระดับการฝ่าฝืนค่อนข้างสูง เช่น ไม่ได้อยู่ในเคหะสถาน ในเวลาที่ก�ำหนดเกือบหรือ 1 ชั่วโมงเต็ม, ท�ำให้อุปกรณ์ ใช้ ง านไม่ ไ ด้ แกะอุ ป กรณ์ EM ออก เข้ า เขตพื้ น ที่ ห้ า มเข้ า และมี พ ฤติ ก รรมข่ ม ขู ่ เ จ้ า หน้ า ที่ ในเยอรมนี และเนเธอร์ แ ลนด์ ก ารดื่ ม เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ แ ละใช้ สารเสพติดถือเป็นการฝ่าฝืนมาตรการ

วิธีปฏิบัติเมื่อมีการฝ่าฝืนมาตรการ ใน 3 เขต

อ�ำนาจศาล (เบลเยียม, อังกฤษ และสกอตแลนด์) มีการ จั ด การที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น คื อ พิ จ ารณาว่ า เป็ น การฝ่ า ฝื น โดยไม่ พิ จ ารณาสอบถามผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด แตกต่ า งกั บ ใน เนเธอร์ แ ลนด์ ที่ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด มี โ อกาสที่ จ ะอธิ บ ายก่ อ น งานคุมประพฤติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าผู้กระท�ำผิด ฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือไม่ ในเบลเยียมมี 2 กระบวนการ คือ ผู้กระท�ำผิดที่ต้องโทษจ�ำคุกมากกว่า 3 ปีจะได้รับการ พิ จ ารณาจากเจ้ า หน้ า ที่ ใ นกระบวนการยุ ติ ธ รรมหาก ฝ่าฝืนมาตรการ EM ส่วนผู้กระท�ำผิดที่ต้องโทษจ�ำคุก น้ อ ยกว่ า 3 ปี ผู ้ จั ด การศู น ย์ ค วบคุ ม สอดส่ อ งจะเป็ น ผู ้ พิ จ ารณา ซึ่ ง การพิ จ ารณาโดยผู ้ จั ด การศู น ย์ ค วบคุ ม มี ค วามเข้ ม งวดมากกว่ า ในขณะที่ ศ าลจะพิ จ ารณา องค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การให้ความร่วมมือ ในมาตรการอื่น ๆ ถือเป็นการพิจารณาโดยเน้นบุคคล มากกว่าพฤติกรรมการฝ่าฝืน ทุกเขตอ�ำนาจศาลมีกลไก ให้ ผู ้ ถู ก ควบคุ ม สอดส่ อ งได้ อ ธิ บ ายเหตุ ที่ ไ ม่ ป ฏิ บั ติ ต าม มาตรการ โดยให้แสดงหลักฐานที่เป็นรูปธรรมประกอบ เช่น จดหมายนัดจากโรงพยาบาล หากหลักฐานมีความ น่าเชื่อถือจะถือว่าไม่ได้ผิดเงื่อนไข

โทษของการฝ่ า ฝื น มาตรการ EM มี ค วาม

แตกต่างกันไปตามแต่ละขั้นตอนที่บุคคลถูกด�ำเนินคดีอยู่ จึงอาจท�ำให้บุคคลเกิดความสับสนเมื่อชั้นการด�ำเนินคดี ของตนเองเปลี่ ย นไป การตอบสนองต่ อ การฝ่ า ฝื น เริ่ ม ตั้งแต่ส่งจดหมายแจ้งเตือนไปจนถึงเข้าจับกุมหรือเรือนจ�ำ เรียกตัวกลับ ส่วนใหญ่การกระท�ำผิดที่รุนแรงจะได้รับ การตอบสนองทั น ที จากการสั ม ภาษณ์ เ จ้ า หน้ า ที่ ในกระบวนการยุติธรรม พบว่า ส่วนหนึ่งมีความกังวลว่า ผู้ที่ผิดเงื่อนไข EM อาจได้รับการปล่อยตัวให้มาติด EM อีก เบลเยียมมีความไม่แน่นอนในการก�ำหนดโทษ การฝ่าฝืน โดยผู้คุมนักโทษพิจารณาจากความหนาแน่นของเรือนจ�ำ ขณะนั้น ในอังกฤษการตัดสินใจต่อการฝ่าฝืนขึ้นอยู่กับ ทีมงานศูนย์บังคับใช้กฎหมายที่หน่วยงานบริหารผู้กระท�ำผิด แห่งชาติ (NOMs)

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 41


EM จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต ความก้ า วหน้ า ในการใช้ EM อาจจะเกิ ด ขึ้ น ในหลายรูปแบบโดยผ่านขั้นตอนการพิจารณาคดีที่ยัง ไม่เคยใช้ EM และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเพิ่มการใช้งาน ในกระบวนการเดิมโดยขยายคุณสมบัติของผู้ที่สามารถ ติ ด EM ให้ ก ว้ า งขึ้ น เทคโนโลยี ใ หม่ จ ะเปิ ด ช่ อ งทาง การใช้ EM ให้เป็นไปได้อย่างกว้างขวางขึ้น โดย GPS เป็นเทคโนโลยีที่ถูกระบุว่าจะเพิ่มโอกาสในการควบคุม และสอดส่ อ งในระดั บ ที่ สู ง ขึ้ น ไปอี ก แต่ ข ้ อ ดี ข อง RF ก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนการใช้ EM อย่างไรก็ตาม ในแต่ละประเทศมีทิศทางการใช้ EM แตกต่างกันไปดังนี้ n ในทุกเขตอ�ำนาจศาลคาดว่าจะใช้ EM มากขึ้น ในอนาคต ยกเว้นเยอรมนีแม้ว่าจะมีการพิจารณาใช้ EM เพื่อลดผู้ถูกคุมขังก่อนการไต่สวน n สกอตแลนด์ บู ร ณาการกั บ หน่ ว ยงานทาง สังคมมากขึ้น n ขณะที่ เ บลเยี ย มยื น ยั น ที่ จ ะเพิ่ ม การใช้ ง าน EM แบบเดี่ยวต่อไป หลายเขตอ� ำ นาจศาลคาดการณ์ ถึ ง ความ เปลี่ ย นแปลงต่ อ EM ว่ า จะเป็ น ที่ รู ้ จั ก และยอมรั บ มากขึน้ ซึง่ เป็นผลมาจากการเปลีย่ นแปลงในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาโดยรวม โดยเฉพาะการน�ำ EM ไปใช้

42 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

เพื่อเน้นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแค่ท�ำนโยบาย EM หรือพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้น ส� ำ หรั บ ประเทศไทย ในปี 2557 และ 2558 ได้มีการน�ำ EM มาทดลองใช้กับส�ำนักงานคุมประพฤติ 18 แห่ ง จ� ำ นวนกว่ า 3,000 เครื่ อ ง EM ที่ ใ ช้ มี ทั้ ง เทคโนโลยี RF และ GPS โดยใช้กับผู้กระท�ำผิดภายใต้ การดู แ ละของส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ ใ นพื้ น ที่ น้ั น ๆ ทั้งก่อนและหลังพิจารณาคดี พนักงานคุมประพฤติเป็น ผู ้ ด� ำ เนิ น การติ ด ตามตามค� ำ สั่ ง ศาล โดยเอกชนเป็ น ผู ้ จั ด หาเครื่ อ งมื อ และติ ด ตั้ ง ระบบโปรแกรมบริ ห าร การท� ำ งานและระบบควบคุ ม การท� ำ งาน พนั ก งาน คุมประพฤติเป็นผู้เสนอความเห็นต่อศาลให้ติดเครื่องมือ กับผู้กระท�ำผิดโดยพิจารณาจากการประเมินความเสี่ยง หากมี ก ารกระท� ำ ผิ ด เงื่ อ นไขพนั ก งานคุ ม ประพฤติ จ ะ ร่ ว มมื อ กั บ อาสาสมั ค รคุ ม ประพฤติ เ พื่ อ สอบถามและ ติ ด ตามผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด นั้ น และเสนอรายงานไปยั ง ศาล ในปี 2559 ส�ำนักงานศาลยุติธรรมด�ำเนินการปรับแก้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งเพิ่มบทบัญญัติ ให้ ศ าลสามารถสั่ ง ใช้ อุ ป กรณ์ เ ป็ น เงื่ อ นไขหนึ่ ง ในการ สั่งคุมความประพฤติ


จะเห็นได้ว่าในบางประเทศยังมีการศึกษาทดลอง การใช้ EM กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือกลุ่มผู้กระท�ำผิด ที่แตกต่างกันออกไป การทดลองในประเทศไทยก็เช่นกัน จะช่วยสร้างแนวทางการใช้งาน EM อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในอนาคต กรมคุมประพฤติมีแผนขยายการใช้งาน EM ให้มากขึ้น โดยเพิ่มพื้นที่การใช้งานให้ครอบคลุม ทั่วประเทศ และก�ำลังศึกษาการใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น ตู้รับรายงานตัว (kiosk) รวมทั้งการใช้งานกับผู้เสียหาย ในคดีความรุนแรงในครอบครัว ปัจจุบัน EM ถูกใช้งาน เพื่ อ จ� ำ กั ด เวลาออกนอกเคหะสถานและจ� ำ กั ด พื้ น ที่ ห้ามเข้า ซึ่งจากการศึกษามีมุมมองต่อการใช้ EM 2 แบบ คื อ พิ จ ารณาเป็ น การจ� ำ กั ด เวลาและการให้ อิ ส รภาพ ซึ่งการมีมุมมองที่แตกต่างนี้ย่อมน�ำมาซึ่งการพิจารณา ที่ แ ตกต่ า งกั น และอาจส่ ง ผลต่ อ ความรู ้ สึ ก และการ ตอบสนองของผู้ถูกคุมความประพฤติ ซึ่งเป็นการเปิด มุมมองใหม่แก่ประเทศไทยจากผลการศึกษาดังกล่าว ประเทศไทยยังมีการด�ำเนินการที่สอดคล้องกับการศึกษา คือในปัจจุบันที่ให้เอกชนเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และติดตั้ง ระบบสอดคล้องกับ Europe model ซึ่งมีศูนย์กลาง ควบคุมการติดตามท�ำให้สามารถพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ EM ได้อย่างเป็นระบบและทันท่วงที เช่น หากมีศูนย์ควบคุมกลางพิจารณาการปรับเงื่อนไขเมื่อ ผู้ถูกคุมประพฤติให้ความร่วมมืออย่างดีจะช่วยส่งเสริม การปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมของบุ ค คลได้ เ มื่ อ มี ก าร ตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เหมาะสมทันที หากท่านผูอ้ า่ นสนใจเรือ่ งของ EM และรายงานการ ศึกษาของทั้ง 5 ประเทศ สามารถติดตามอ่านบทความ ฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ของกรมคุมประพฤติต่อได้ ◆

❝ ในอนาคต กรมคุมประพฤติ มีแผนขยายการใช้งาน EM ให้มากขึ้น โดยเพิ่มพื้นที่การใช้งานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และกำ�ลังศึกษาการใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น ตู้รับรายงานตัว (kiosk) รวมทั้งการใช้งานกับผู้เสียหาย ในคดีความรุนแรงในครอบครัว

❞ ◆◆

อ้างอิง:

Hucklesby A, Beyens K, Boone M, Dunkel F, McIvor G & Graham H (2016) Creativity and Effectiveness in the Use of Electronic Monitoring: A Case Study of Five European Jurisdictions, Journal of Offender Monitoring, 27 (2), pp. 5-14. วารสาร กรมคุมประพฤติ | 43


บทความพิเศษ

>> โดย ทีมงานวารสารกรมคุมประพฤติ

กรมคุมประพฤติยุคใหม่

ลุยสร้างภาวะผู้น�ำ จากสภาพสั ง คม และเศรษฐกิ จ ที่ เ คลื่ อ นตั ว เข้าสู่ยุคดิจิทัล ท�ำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จ� ำ เป็ น ต้ อ งปรั บ ตั ว ไปตามสถานการณ์ ที่ เ ปลี่ ย นแปลง ตลอดเวลา ซึง่ กรมคุมประพฤติกไ็ ด้เล็งเห็นถึงสภาวการณ์ ดังกล่าว จึงเร่งพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของ ผู้บริหาร ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน พร้อมที่จะ เผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์ และก้าวสู่ความทันสมัย กรมคุมประพฤติ จึงด�ำเนินการจัดโครงการพัฒนา ศักยภาพภาวะผู้น�ำ ส�ำหรับผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ ในการขั บ เคลื่ อ นภารกิ จ งานของกรมคุ ม ประพฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้เปรียบเสมือน คนกลางที่คอยรับและส่งต่อนโยบายจากผู้บริหารระดับสูง สู่การปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อ พัฒนาขีดความสามารถของผู้บริหารในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของกรมคุมประพฤติ พร้อมทั้งเสริมสร้าง ภาวะผู้น�ำ การบริหารจัดการ ทักษะด้านการประสานงาน และการสื่อสารส�ำหรับผู้บริหารให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น

44 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


ส� ำ หรั บ โครงการฯ ดั ง กล่ า ว มี ก� ำ หนดการจั ด อบรม จ�ำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นที่ 1 หัวหน้า กลุ่มงาน (ส่วนกลาง) และรองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน คุ ม ประพฤติ ทั่ ว ประเทศ จั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ 30 พฤศจิ ก ายน - 2 ธั น วาคม 2559 รุ ่ น ที่ 2 หั ว หน้ า ฝ่ า ยบริ ห ารงานทั่ ว ไป (ส่ ว นกลาง) และส� ำ นั ก งาน คุ ม ประพฤติ ทั่ ว ประเทศ จั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ 13 15 ธั น วาคม 2559 และรุ ่ น ที่ 3 หั ว หน้ า หน่ ว ยงาน (ส่ ว นกลาง) และส� ำ นั ก งานคุ ม ประพฤติ ทั่ ว ประเทศ จั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ 20 - 22 ธั น วาคม 2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี พั น ต� ำ รวจเอก ดร.ณรั ช ต์ เศวตนั น ทน์ อธิ บ ดี กรมคุมประพฤติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ

วารสาร กรมคุมประพฤติ | 45


46 | วารสาร กรมคุมประพฤติ


❝ กรมคุมประพฤติจะประสบความสำ�เร็จได้ เป็นผลมาจากผู้บริหารพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างภาวะผู้นำ�ของตน สามารถนำ�คน และองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำ�หนดไว้ได้นั่นเอง

P R O B AT I O N

การเสริมสร้างภาวะผู้น�ำนั้นเป็นเรื่องส�ำคัญอย่างมาก หลายองค์กร พยายามหาวิ ธี ก ารพั ฒ นาความสามารถของผู ้ บ ริ ห ารทุ ก ระดั บ เพื่ อ เป็ น ผู้ผลักดันความส�ำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กร ซึ่งอาจารย์เสริมพรรณ สุทธิธานี นักวิชาการอิสระ ได้บรรยายถึงบทบาท ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ และ คุณสมบัติที่ดีของผู้บริหารสมัยใหม่ไว้ ดังนี้

1. มีความรอบรู้ในสายงานของตน 2. มีความรู้และใช้หลักการบริหารงานสมัยใหม่ 3. ติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม 4. ศึกษาและยอมรับในแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ 5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา 6. มีแบบฉบับการเป็นผู้น�ำที่ถูกสถานการณ์ 7. มีความขยัน สู้งานทุกรูปแบบ 8. ต้องมีความอดทนต่อพฤติกรรมของบุคคล 9. มีความยุติธรรม จริงใจ และเด็ดขาด 10. มีความสามารถในการปกครองคน 11. มีความสามารถในการใช้คน 12. รับผิดชอบต่อผลงานของหน่วยงาน 13. สร้างและรักษาผลประโยชน์ขององค์กร 14. เป็นผู้ค้นหาวิธีปรับปรุงในการด�ำเนินงาน 15. มีสังคหวัตถุ 4 คือทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา

ฉะนั้ น กรมคุ ม ประพฤติ จ ะประสบความส� ำ เร็ จ ได้ เป็ น ผลมาจาก ผู้บริหารพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างภาวะผู้น�ำของตน สามารถน�ำคนและ องค์กรไปสู่เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ได้นั่นเอง วารสาร กรมคุมประพฤติ | 47


LEADERSHIP L earner E xample A rbitration D elegation E xperience R esponsibility S olver H uman Relation I ntellectual P ersonnality ◆

48 | วารสาร กรมคุมประพฤติ

◆◆

เป็นผู้ใฝ่รู้ เป็นตัวอย่างที่ดี มีความเด็ดขาด มอบหมายงานเป็น มีประสบการณ์ มีความรับผิดชอบ แก้ปัญหาเป็น มีมนุษยสัมพันธ์ สติปัญญาดี บุคลิกดี




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.