A Solution to Phra Viharn Temple

Page 1

แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร: ปัญหาและข้อเสนอแนะ โดย ดร.สุวนั ชัย แสงสุขเอี่ยม อดีตสมาชิกสภาทีป่ รึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ suwanchai.ss@gmail.com 19 มิถนุ ายน 2554 1. ความเป็ นมา คณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา เมือ่ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้มมี ติท่ี 32 COM 8B.120 ให้ข้นึ ทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็ นมรดกโลก โดยให้ กัมพูชาส่งแผน บริหารจัดการฉบับสมบูรณ์พร้อมทัง้ แผนทีฉ่ บับสรุปสุดท้ายให้ศูนย์มรดกโลกภายในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ถึงแม้ คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยได้คดั ค้านการขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารเป็ นมรดกโลกต่อ คณะกรรมการมรดกโลกทัง้ ในสมัย ประชุมดังกล่าวและในสมัยประชุมที่ 33 ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน แต่ไม่บงั เกิดผล กัมพูชาได้ยน่ื รายงานสถานการณ์อนุ รกั ษ์ปราสาทพระวิห ารพร้อมแผนบริหารจัดการปราส าทพระวิหารต่อศูนย์ มรดกโลกเมือ่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เพือ่ ให้คณะกรรมการมรดกโลกได้พจิ ารณาอนุมตั ใิ นการ สมัยประชุมที่ 34 ณ เมืองบราซิเลีย ประเทศบราซิล ช่วงวันที่ 25 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 แต่ปรากฏว่าศูนย์มรดกโลกได้ จัดทําเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3 ซึง่ รายงานสรุป สถานการณ์อนุรกั ษ์ปราสาทพระวิหา รตามรายงานของ กัมพูชาและส่งให้กรรมการมรดกโลก และผูท้ เ่ี กี่ยวข้องในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทัง้ ๆ ทีต่ ามกฎขัน้ ตอนการ ปฏิบตั ิ (Rules of Procedure) ของคณะกรรมการมรดกโลกในข้อ 45 ได้กาํ หนดให้เอกสารทีเ่ กี่ยวกับวาระการประชุม ต้องส่งให้กรรมการมรดกโลก และผูท้ เ่ี กี่ยวข้องอย่างน้อยหกสัปดาห์ก่อนเริ่มสมัยการประชุม ไทยซึง่ มีนายสุวทิ ย์ คุณ กิตติ เป็ นหัวหน้าคณะผูแ้ ทนได้ขอให้ทป่ี ระชุมเลือ่ นการพิจารณาเอกสารดังกล่าวออกไปก่อน โดยมีเหตุผลทีส่ าํ คัญคื อ แผนบริหารจัดการทีก่ มั พูชาเสนอมีการกําหนดเขตกันชน (Buffer zone) ทีไ่ ม่ชดั เจนซึง่ อาจรุกลํา้ เข้ามาในเขตไทย จึง ควรรอให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา (JBC) ได้สาํ รวจและจัดทําหลักเขตแดนในบริเวณดังกล่าวให้เสร็จ สิ้นก่อน ในขณะทีก่ มั พูชาซึง่ มีนายซกอานเป็ นหัวหน้ าคณะผูแ้ ทนยืนยันให้ทป่ี ระชุมพิจารณาอนุมตั แิ ผนบริหารจัดการ ดังกล่าว ซึง่ ทําให้ทงั้ สองฝ่ ายตกลงกันไม่ได้ ในทีส่ ุด เมือ่ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ประธานกรรมการมรดกโลก ชาวบราซิลได้เข้ามาไกล่เกลีย่ จนทัง้ สองฝ่ ายตกลงกันได้โดยให้เลือ่ นการพิจารณาเอกสารดังกล่าวไปใน การประชุม คณะกรรมการมรดกโลกครัง้ ต่อไป ในวันที่ 25–27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มกี ารประชุมหารือระหว่างไทยกับกัมพูชาทีส่ าํ นักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ในเรื่องแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร แต่กไ็ ม่สามารถบรรลุขอ้ ตกลงใดๆ ได้ ถึงแม้นางอิ รนิ า โบโค วา ผูอ้ าํ นวยการใหญ่ยูเนสโกได้เข้ามาช่วยเรื่องการเจรจาของทัง้ สองฝ่ ายก็ตาม ดังนัน้ เรื่องดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กบั มติของ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการมรดกโลก ในสมัยประชุมที่ 35 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรัง่ เศส ช่วงวันที่ 19–29 มิถนุ ายน พ.ศ. 2554 โดยเรื่องปราสาทพระวิหารได้จดั อยู่ในวาระที่ 7B ลําดับที่ 62 และคาดว่า คณะกรรมการมรดกโลกจะ พิจารณาเรื่องกล่าวในวันที่ 23 หรือ 24 มิถนุ ายนนี้ 2. แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารทีก่ มั พูชาเสนอนัน้ ได้จดั ทําโดย ดร.ดิเวย์ กัพ ต้า (Dr. Divay Gupta) ชาวอินเดียซึง่ เป็ นสถาปนิกการอนุ รกั ษ์และผูเ้ ชี่ยวชาญการบริหารจัดการมรดก และเคยได้รบั มอบหมายจาก ICOMOS

1


ในการเตรียมรายงาน 2007 ICOMOS การประเมินการเสนอ ขอขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร เป็ นมรดกโลก และ ปัจจุบนั เป็ นสมาชิกของกลุม่ ผูเ้ ชี่ยวชาญระหว่างประเทศเฉพาะกิจ องค์การแห่งชาติพระวิหาร (National Authority of Preah Vihear: ANPV) ประเทศกัมพูชา

รูปที่ 1: เอกสารแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารทีก่ มั พูชายืน่ ต่อศูนย์มรดกโลก เป็ นที่น่าสังเกตว่าแผนบริหารจัดการนี้ไม่ได้จดั ทําโดยชาว กัมพูชา ทัง้ ๆ ทีก่ มั พูชา อ้างตลอดมาว่าปราสาทพระ วิหารเป็ นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศตน แต่กลับให้ชาวอินเดียเป็ นผูจ้ ดั ทํา แผนให้ แผนบริหารจัดการ ดังกล่าว แบ่งออกเป็ น 7 บท มีจาํ นวนทัง้ หมด 115 หน้า และมีเนื้อหาเฉพาะส่วนทีส่ าํ คัญทีเ่ กี่ยวกับ ประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่อง เขตแดนดังต่อไปนี้ 2.1 บทที่ 1 ความเป็ นมาและวิธีการ (Background and Approach) มีขอ้ ความในข้อ 1.1 ความเป็ นมา หน้าที่ 2 กล่าวว่า “ภายใต้สนธิสญั ญาฝรัง่ เศส -สยาม ค.ศ. 1904 และ 1907 เส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับไทย ตาม เทือกเขาดงรักได้ถูกกําหนดขึ้น ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 ตามคําพิพากษาของศาลยุตธิ รรมระหว่ างประเทศทีก่ รุ ง เฮก ปราสาทพระวิหารและบริเวณข้างเคียงได้กลับมาอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา” ปัญหาและข้อเสนอแนะ: ข้อความดังกล่าวอาจทําให้ผู ้ อ่านเข้าใจว่าเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามีความ ชัดเจน และทัง้ สองประเทศไม่มี ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด ซึง่ ไม่ตรงกับความเป็ น จริง ดังนัน้ จึงเป็ นหน้าทีข่ องคณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยทีจ่ ะต้องชี้แจงให้คณะกรรมการมรดกโลก และผูท้ เ่ี กี่ยวข้อง ได้ทราบ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ 2.2 บทที่ 2 มรดกทางวัฒนธรรมและความสําคัญของปราสาท พระวิหาร (The Culture Heritage and Significance of Temple of Preah Vihear) มีขอ้ ความในข้อ 2.1 ทีต่ งั้ ของปราสาทพระวิหาร หน้าที่ 8 กล่าวใน ตอนหนึ่ง ว่า “ปราสาทพระวิหารตัง้ อยู่ภายในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ” และ มีข อ้ ความ ในข้อ 2.3 สถาปัตยกรรมของปราสาทพระ วิหาร หน้าที่ 9 กล่าวในตอนหนึ่ง ว่า “ทรัพย์สนิ ถูกตัง้ อยู่บนพื้นทีส่ ูงทีย่ นื ่ ออกไปของ เทือกเขาดงรักซึง่ รู จ้ กั กันว่า พนมเปรีย ะฮ์วเิ ฮียร์ (ภูเขาทีพ่ าํ นักของผูจ้ าํ ศีลอันศักดิส์ ทิ ธิ ์) ใกล้เขตแดนกับประเทศไทย ” และในข้อ 2.3 อีกตอนหนึ่งว่า “ปราสาทสามารถเข้าถึงได้สองทางโดยผ่านบันไดใหญ่ ทางหนึ่งจากทิศตะวันออก และ อีกทางหนึ่งจากทิศเหนือ”

2


ปัญหาและข้อเสนอแนะ: สําหรับข้อความที่ เกี่ย วกับบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ผูจ้ ดั ทําแผนเขียนใน ลักษณะทีท่ าํ ให้ผูอ้ ่านเข้าใจว่ามีบนั ไดทางขึ้นใหญ่สองทาง โดยเลือกทีจ่ ะกล่าวถึงบันไดทางทิศ ตะวันออกก่อนบันไดทาง ทิศเหนือ ซึง่ อาจทําให้ผูอ้ ่านเข้าใจว่าบันไดทางทิศตะวันออกเป็ นบันไดทางขึ้นหลัก แต่ ตามข้อเท็จจริงแล้วบันไดทางทิศ ตะวันออกเป็ นทางขึ้นทีเ่ รียกกันว่า “ช่องบันไดหัก ” โดยเป็ น บันไดหินที่มขี นาดเล็กและทางขึ้น โดยบันไดดังกล่าว มีความ สูงชันมาก ใช้เป็ นทางขึ้นมาจากฝัง่ เขมรตํา่ ซึง่ ก็คือกัมพูชาในปัจจุบนั บันไดทางทิศเหนือต่างหากทีเ่ ป็ นบันไดทางขึ้นหลัก ซึง่ มีขนาดใหญ่และอยู่ดา้ นหน้าตัวปราสาท บันไดดังกล่าวเป็ นบันไดหิน ช่วงแรกกว้างถึง 8 เมตร และยาว 78.50 เมตร ช่วงทีส่ องกว้าง 4 เมตร และยาว 27 เมตร บันไดดังกล่าวใช้เป็ นทางขึ้นจากฝัง่ ไทย คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยควรเสนอให้ ปรับปรุงเอกสารในประเด็นดังกล่าวให้ตรงกับข้อเท็จจริง และ สร้างความเข้าใจ ในเรื่องบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ให้กบั คณะกรรมการมรดกโลกและผูท้ เ่ี กี่ยวข้อง เพราะจะช่วยทําให้เกิดคําถามว่าแล้วทําไมปราสาทพระวิหารจึ งเป็ นของ กัมพูชาในเมือ่ ทางขึ้นหลักมาจากฝัง่ ไทย อันจะเป็ นประโยชน์ต่อการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็ นมรดก โลกต่อไป 2.3 บทที่ 3 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ (Management Strategy) มีการกําหนดวิสยั ทัศน์ ในข้อ 3.1 หน้าที่ 31 ไว้ดงั นี้ “ทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของปราสาทพระวิหาร และคุณค่าและความสําคัญทีเ่ กีย่ วข้องจะถูก อนุรกั ษ์และปกป้ องสําหรับคนในยุคนี้และในอนาคตโดยการส่งเสริมการบริหารจัดการทีย่ งยื ั่ น สถานที ่จะเฉลิมฉลองคุณค่าทีม่ เี อกลักษณ์ และความสําคัญ และ เข้าถึงได้ทุกคน ผ่านความเข้าใจที ่ เพิม่ คุณ ค่า และคุณภาพทีไ่ ด้จากประสบการณ์ มันจะดําเนินต่อไปเพือ่ พยายาม ให้เป็ น ดังสถานทางศาสนาทีม่ ชี วี ติ ชีวา และจะใช้คณ ุ ค่าสากลของมัน เพื่อ สนับสนุ นสันติภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและความมีชวี ติ ชีวาทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิน่ ของมัน สถานทีห่ วังทีจ่ ะสร้างตัวอย่างสํา หรับการบริหารจัดการและอนุรกั ษ์ มรดกทีต่ งั้ อยู่บนการเป็ นหุน้ ส่วนของชุมชน สถาบัน และองค์กร ในระดับท้องถิน่ ประเทศ และระหว่างประเทศ” ปัญหาและข้อเสนอแนะ: จากวิสยั ทัศน์ทก่ี าํ หนดมีการกล่าวถึง “เข้าถึงได้ทกุ คน ” และ “เพือ่ สนับสนุน สันติภาพ” แต่ปรากฏว่าหลังจากปร าสาทพระวิหารได้ข้นึ ทะเบียนเป็ นมรดกโลกแล้ว ในช่วงที่ กัมพูชาเปิ ดปราสาทพระ วิหารให้บคุ คลทัว่ ไปเข้าเยีย่ มชมได้ กัมพูชากลับไม่อนุญาตให้นกั ท่องเทีย่ วชาวไทยเข้าเยีย่ มชมปราสาทพระวิหาร ซึง่ ขัด กับวิสยั ทัศน์ทก่ี าํ หนดในเรื่อง “เข้าถึงได้ทกุ คน” และยิง่ ไปกล่าวนัน้ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็ นมรดกโลกยัง เป็ นต้นเหตุให้เกิดการความขัดแย้งและการสูร้ บกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณเขาพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง จนมีผูเ้ สียชีวติ ซึง่ เป็ นทหารและพลเรือน ทัง้ ไทยและกัมพูชาจํานวนมาก นอกจากนี้ในบางครัง้ กัมพูชายังใช้ปราสาทพระ วิหารเป็ น ฐานทีต่ งั้ ของกําลังทหารและอาวุธยุ ทโธปกร ณ์เพือ่ ต่อสูก้ บั ไทย ซึง่ ขัดกับ วิสยั ทัศน์ ทีก่ าํ หนดในเรื่อง “เพือ่ สนับสนุนสันติภาพ” อย่างชัดเจน คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยจึงควรยกประเด็นดังกล่าวซึง่ ขัดกับวิสยั ทัศน์ทก่ี มั พูชาได้กาํ หนด ให้คณะกรรมการมรดกโลกและผูท้ เ่ี กี่ยวข้องได้รบั ทราบโดยทัว่ กัน และเรียกร้องให้กมั พูชาดําเนินการแก้ไข 2.4 บทที่ 4 การบ่งชี้ประเด็นและข้อแนะนํ า (Identifying Issues and Recommendations) มีขอ้ ความ ในข้อ 4.1 ทรัพย์สนิ ของสถานที่ หน้าที่ 40 ดังนี้ “สถานทีม่ รดกโลกทีไ่ ด้ข้นึ ทะเบียนได้ถูกแสดงใน RGPP ทีล่ อ้ มปิ ดดังแสดงในหน้า 52 เขตทีแ่ ตกต่างตามที ่ แสดงใน RGPP เป็ นเขตชัวคราว ่ เพือ่ สะท้อนสถาน การณ์ปจั จุบนั ของสถานที ่ ในอนาคตมันเป็ นไปได้ทจี ่ ะขยายเขตนี้ ในความหวังของการรวมเกณฑ์อนื ่ เพือ่ ให้ได้คณ ุ ค่าอืน่ ของสถานที ่

3


1. เส้นรอบอาณาเขตของสถานที ่ เส้นรอบอาณาเขตประกอบโดยหลักด้วยส่วนทีเ่ หลือของปราสาท (11 เฮกเตอร์) ตามทีไ่ ด้ข้นึ ทะเบียนในรายชือ่ มรดกโลก ไม่มสี งิ ่ ก่อสร้างใดได้รบั อนุญาตภายในเขตใจกลาง (core zone) ของปราสาท แนวการดําเนินการ ของเขตนี้ จะเป็ น การบูรณะ การอนุรกั ษ์ และการทําให้มนคงของสิ ั่ ง่ ก่อสร้างอนุสรณ์ (อ้างถึงแผนทีใ่ นหน้า 52) 2. เขตกันชน กันชนปัจจุบนั ครอบคลุม พื้นที ่ 644.113 เฮกเตอร์ อย่างไรก็ตามกันชนไม่ได้รวมพื้นทีท่ างทิศเหนื อและ ตะวันตกของปราสาท นี้ควรได้รบั พิจารณาอย่างชัวคราวเพราะการกํ ่ าหนดเขตแดนขัน้ สุดท้ายของกันชนจะได้ถูก กําหนด ตามผลของ JBC ระหว่างกัมพูชากับไทย มันได้ถูกเสนอโดยแผนบริหารจัดการนี้เพือ่ ขยายกันชนให้รวมบารายตะวันออกและตะวันตกทีต่ งั้ อยู่ทางทิศใต้ ของปราสาททีเ่ ชิงเขา ปราสาท Toch และสระนํา้ และพื้นทีม่ ศี กั ยภาพสูงทางโบราณคดีของมันใกล้กบั หมูบ่ า้ น K1 ภายใน กันชนของสถานที ่ มันสําคัญด้วย ว่า กันชนต้อง ถูก ขยายไปยังด้านทิศ ใต้อกี ด้วยสําหรับการพิจารณาทาง ประวัตศิ าสตร์และทางสิง่ แวดล้อมทีส่ อดคล้องตรงกัน สิง่ ก่อ สร้างเท่าทีน่ อ้ ยทีส่ ุดเพือ่ วัตถุ ประสงค์ของสิง่ อํานวยความสะดวก ให้ผูเ้ ยีย่ มชม สิง่ ทีท่ าํ ให้ ชวี ติ รืน่ รมย์ การบริหาร และการคุม้ ครอง ของสถานที ่ จ ะได้รบั อนุญาตภายในเขตนี้ โดยปราศ จากผลกระทบทีเ่ ป็ นผลร้าย ต่อ สถานที ่ ทางวั ฒนธรรม ทางสิง่ แดล้อม และทางทัศนวิสยั ไม่มสี งิ ่ ก่อสร้างหรือพื้นทีพ่ ฒั นาขน าดใหญ่เพือ่ วัตถุประสงค์ใดๆ จะได้รบั อนุญาตภายในเขตนี้ (อ้างถึงแผนทีเ่ ขตกันชนในหน้า 53) 2. เขตคุม้ ครองทางภูมทิ ศั น์ ระดับทีส่ ามของการคุม้ ครองได้ถูกเสนอด้วย ขอบเขตของพื้นทีค่ มุ ้ ครองทางภูมทิ ศั น์น้ ีถูกเสนอเพือ่ ให้มนใจว่ ั่ า ทรัพยากรและคุณค่า ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัตศิ าสตร์ ทัง้ หมดของสถานทีพ่ ระวิหารได้ ถูกนําเข้ามาพิจารณา ทางเข้าหลัก ทางเข้าประตูสู่สถานที ่ สามารถร ะบุทตี ่ งั้ ได้ใกล้กบั หมูบ่ า้ นของ Saem 17 ก.ม. ไปทางใต้ ซึง่ กําหนด แนวเขตของเขตคุม้ ครองทางภูมทิ ศั น์ ตรงนี้สามารถเป็ นจุดเริม่ ของเส้นทางและการค้นพบสถานทีข่ องผูม้ าเยีย่ มชม ซึง่ นําไปสู่ศูนย์ผูม้ าเยีย่ มชมชัน้ ทีส่ อง ทีเ่ ริม่ จากบันไดทางตะวันออก พิพธิ ภัณฑ์สากล ศูนย์การตีความ และสวนพฤกษา ศาสตร์กาํ ลังได้รบั การก่อสร้างทีจ่ ุดทางเข้าหลักของเขตคุม้ ครองทีห่ มูบ่ า้ นของ Saem 20 ก.ม. ทิศใต้ของปราสาท การก่อสร้างเพียงบางอย่างสําหรับวัตถุประสงค์ของการคุม้ ครองของสถานทีค่ วรได้รบั อนุญาตภายในเขตนี้ ไม่ มีสงิ ่ ก่อสร้างหรือพื้นทีพ่ ฒั นาขนาดใหญ่เพือ่ วัตถุประสงค์ใดๆ ควรได้รบั อนุญาตภายในเขตนี้ (อ้างถึง แผนทีเ่ ขตภูมทิ ศั น์ ในหน้า 54)” ปัญหาและข้อเสนอแนะ: RGPP (Revised Graphic Plan of the Property) ทีก่ ล่าวถึงข้างต้นนัน้ เป็ น แผนผังเดิมทีก่ มั พูชาได้ยน่ื ต่อศูนย์มรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกได้พิ จารณาแล้วตัง้ แต่เมือ่ ปี พ.ศ. 2551 ใน สมัยประชุมที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา และได้มมี ติท่ี 32 COM 8B.120 ให้กมั พูชาส่งแผนบริหาร จัดการฉบับสมบูรณ์พร้อมทัง้ แผนทีฉ่ บับสรุปสุดท้ายให้ศูนย์มรดกโลกภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ .ศ. 2553 แต่จนถึง ปัจจุบนั กัมพูชาก็ย ั งไม่ได้ส่งแผนทีฉ่ บับสรุปสุดท้ายดังกล่าว และยังคงใช้แผนผัง RGPP อ้างอิงแทนแผนทีใ่ นแผน บริหารจัดการฉบับนี้ ในแผนผัง RGPP ตามทีแ่ สดงในรูปที่ 2 นัน้ มีการกําหนดเขตกันชนโดยใช้ เพียงสัญญาลักษณ์เลข 2 แทน โดยไม่มกี ารลากเส้นแสดงอาณาเขตใดๆ ทัง้ สิ้น ซึง่ หากดู จากแผนผัง RGPP จะพบว่าเขตกันชนทีก่ าํ หนดไม่มี ความ ชัดเจนอย่างยิง่ จึงไม่ทราบได้ว่าครอบคลุมถึงพื้นทีบ่ ริเวณใดบ้าง และรุกลํา้ เข้ามาในเขตไทยหรือไม่ ดังนัน้ คณะผูแ้ ทน

4


ฝ่ ายไทยจึงไม่ควรรับแผนบริหารจัดการดังกล่าวเพราะจะมีปญั หาเรื่องเขตกันชนรุกลํา้ เข้ามาในเขตไทย ได้ในภายหลัง และควรเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลก เลือ่ นการพิจารณา แผนการบริหารจัดการดังกล่าว ไปก่อนจนกว่ากัมพูชาจะได้ จัดทําแผนทีฉ่ บับสรุปสุดท้ายตามมติท่ี 32 COM 8B.120 ทีม่ กี ารกําหนดเขตต่างๆ ในแผนทีใ่ ห้มคี วามละเอียดถูกต้อง ชัดเจน หลังจาก JBC ได้สาํ รวจและจัดทําหลักเขตแดนในบริเวณดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว นอกจากนี้คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยควรใช้ประโยชน์ขอ้ ความทีก่ มั พูชาระบุในแผนบริหารจัดการดังกล่าวว่า “อย่างไรก็ตามกันชนไม่ได้รวมพื้นทีท่ างทิศเหนือและตะวันตกของปราสาท นี้ควรได้รบั พิจารณาอย่างชัวคราวเพราะการ ่ กําหนดเขตแดนขัน้ สุดท้ายของกันช นจะได้ถูกกําหนดตามผลของ JBC ระหว่างกัมพูชากับไทย ” ชี้ให้คณะกรรมการ มรดกโลกและผูท้ เ่ี กี่ยวข้องได้ตระหนักว่า กัมพูชาเองก็ได้ยอมรับว่า บริเวณปราสาทพระวิหารยังมีความไม่ชดั เจนของ เขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา และต้องรอจนกว่า JBC จะได้กาํ หนดเขตแดนในบริเวณดังกล่าวให้เสร็จสิ้นก่อน

รูปที่ 2: แผนผัง RGPP (Revised Graphic Plan of the Property) โดยหมายเลข 2 แสดงถึงเขตกันชน 2.5 บทที่ 5 การอนุ รกั ษ์และโบราณคดี – การประเมินและยุทธ์ศาสตร์ (Conservation and Archaeology – Assessment and Strategy) มีขอ้ ความในข้อ 5.4 การประเมิ นและการแทรกแซงเพือ่ การอนุรกั ษ์ หน้าที่ 75 กล่าวตอนหนึ่งดังนี้ “บันไดใหญ่และลานนาคราช บันไดทีย่ งิ ่ ใหญ่น้ ีไต่ข้นึ ไปยังส่วนทีล่ าดชันซึง่ นําไปสู่ทรี ่ าบสูงทีป่ ราสาทตัง้ อยู่ มันมี 159 ขัน้ บันไดบางขัน้ สลัก จากพื้นหิน บันไดขัน้ อืน่ ๆ ทําจากก้ อนหินทราย มันมีร ะเบียงสองข้าง ซึง่ บางตอนมีรูปสิงห์ตงั้ อยู่ บันไดนี้ส้นิ สุ ดทีพ่ ้นื ทางเดิน ยาว 25 เมตรทีก่ ระหนาบโดยราวซึง่ ทําเป็ นนาคราช พื้นทางเดินไปยังทิศตะ วันตกสามารถเห็น ได้จากลานนี้ นี้ ถูกสร้างบนขัน้ ทีข่ ้นึ ลงยาวไม่ต่อเนือ่ ง ของส่วนที ่ลาดชัน ประชิด กับแนวของชั้นกัน้ หินทรายที ่ เตี้ย นี้อาจถูกสร้างเพือ่ ชัก เบีย่ งนํา้ ไปยังสระนํา้ ทีเ่ ป็ นชัน้ ใกล้ตลาด” ปัญหาและข้อเสนอแนะ: ข้อความส่วนนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ผูจ้ ดั ทําแผนได้ยอมรับว่าบันได ทางขึ้นทางทิศ เหนือเป็ นบันไดทางขึ้นหลักซึง่ มีความยิง่ ใหญ่ แต่เป็ นทีน่ ่าเสียดายว่าผูจ้ ดั ทําแผนให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับจํานวนขัน้ ของบันไดที่

5


ผิดพลาด ทีจ่ ริงแล้วบันไดนี้แบ่งออกเป็ นสองช่วง ช่วงแรกมี 162 ขัน้ และช่วงทีส่ องมี 54 ขัน้ นอกจากนี้ผูจ้ ดั ทํา แผนยังกล่าวตอนท้ายถึงตลาดและสระนํา้ ตลาดนี้ ผูจ้ ดั ทําแผนน่าจะหมายถึง ตลาดทีต่ งั้ อยู่ในฝัง่ ไทยก่อนถึงบันไ ดทาง ขึ้นดังกล่าว ซึง่ ตามข้อเท็จจริงแล้วตลาดนี้ชมุ ชนกัมพู ชาพึง่ เริ่มเข้ามาตัง้ ร้านค้าและแผงลอยเพือ่ ขายสินค้าให้ นักท่องเทีย่ วในปี พ.ศ. 2541 ไม่ได้มตี ลาดมาตัง้ แต่สมัยโบราณอย่างทีผ่ ูจ้ ดั ทําแผนเข้าใจ ส่วนสระนํา้ ทีก่ ล่าวถึงน่าจะ หมายถึงสระต ราวซึ่งเป็ นสระนํา้ อยู่ตรง บริเ วณลานหินเชิ งเขาพระวิหารในฝัง่ ไทย โดยสระตราวนี้ ถือว่าอยู่ในกลุม่ โบราณสถานประกอบของปราสาทพระวิหาร ทีอ่ ยู่ในเขตไทย เช่นเดียวกับ ผามออีแดง สถูปคู่ และแหล่งตัดหินทีไ่ ป สร้างปราสาท เป็ นต้น แต่ผูจ้ ดั ทําแผน กลับ ไม่ได้ให้ความสําคัญแก่สระตราว และส่วนประกอบอื่นๆ ทีอ่ ยู่ในฝั ่ งไทย เลย สิง่ ทีก่ ล่าวทัง้ หมดข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นว่าผูจ้ ดั ทําแผนยังมีความรูแ้ ละความเชี่ยวชาญไม่ เพียงพอเกี่ยวกับ ปราสาท พระวิหารและเขาพระวิหาร คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยควรเสนอให้ปรับปรุงเอกสารในส่วนนี้ให้ตรงกับข้อเท็จจริง 2.6 บทที่ 6 การดําเนิ นการแผนงาน (Implementing the Plan) มีขอ้ ความในข้อ 6.1 การคุม้ ครองที่ บัญญัตติ ามกฎหมาย หน้าที่ 97 กล่าวในตอนหนึ่งดังนี้ “ปราสาทพระวิหารปัจจุบนั ได้ข้นึ ทะเบียนเป็ นสถานทีม่ รดกโลก (ยูเนสโก) ได้ถูกคุม้ ครองในระดับชาติโดยพระ ราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัด ตัง้ สถานทีป่ ราสาทพระวิหาร (NS/RKM/0303/115) วันที ่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2003 มันได้รบั สนับสนุนอีกด้วยโดยกฎหมายอืน่ จํานวนหนึ่ง: 1. อนุกฤษฎีกา (Sub Decree) ว่า ด้วยการจัดตัง้ ป่ าทีค่ มุ ้ ครองสําหรับการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืชและสัตว์ “พระวิหาร” – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดขอบเขตของสถานทีป่ ราสาทพระวิหาร – 13 เมษายน ค.ศ. 2006 3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตัง้ ของ ANPV – 1 มิถนุ ายน ค.ศ. 2006 4. อนุกฤษฎีกาว่า ด้วยการวางรู ปแบบและการบริหารจัดการของสถานทีป่ ราสาทพระวิหาร – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 5. อนุกฤษฎีกาว่าด้วยการแต่งตัง้ คณะผูบ้ ริหารของ ANPV – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 6. อนุกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอชือ่ ทีป่ รึกษาใหญ่ต่อคณะผูบ้ ริหารของ NVPV – 31 ธันวาคม ค.ศ. 2007” และในข้อเดียวกันกล่าวอีกตอนหนึ่งดังนี้ “ตามพื้นทีท่ ไี ่ ด้ถูกเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เขตกันชน ตกอยู่ภายใต้พระราชกฤษฎีกา สําหรับ ป่ าที ่คมุ ้ ครอง สําหรับการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืชและสัตว์ และภายใต้การคุม้ ครอง ทาง สิง่ แวดล้อมและการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงเกษตร ป่ าไม้ สัตว์ป่า และประมง และ กระทรวงสิง่ แวดล้อมจะเป็ นผูม้ สี ่วนหลัก ในการ บริหารจัดการ กระทรวงการบริหารจัดการทีด่ ิน การพัฒนาให้เป็ น เมืองและการก่อสร้าง การทรวงการท่องเทีย่ ว แ ละ เจ้าหน้าทีอ่ นื ่ ระดับชาติและจังหวัด จะเข้ามาเกีย่ วข้องในประเด็นทีเ่ กีย่ วกับระบบบริหารจัดการ โดยเฉพาะภายในเขตกัน ชน อย่างเช่น การใช้ทดี ่ ิน วิถกี ารดําเนินชีวติ การจัดหาทีอ่ ยู่อาศัยและการก่อสร้าง การทําฟาร์ม และอืน่ ๆ” ปัญหาและข้อเสนอแนะ: เนื่องจากมีการอ้างอิงถึงกฎหมายต่างๆ ทีก่ มั พูชาได้ประกาศใช้ทเ่ี กี่ยวข้องกับปราส าท พระวิหารและบริเวณโดยรอบ ดังนัน้ หากไทยยอมรับแผนบริหารจัดการฉบับนี้ กัมพูชาอาจนํามากล่าวอ้างได้ว่าไทย ยอมรับสิง่ ทีก่ ฎหมายดังกล่าวได้บญั ญัตไิ ว้ได้ จากการตรวจสอบพบว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตัง้ สถานที่ ปราสาทพระวิหาร (NS/RKM/0303/115) วันที่ 11 มีนาคม ค .ศ. 2003 อนุกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตัง้ ป่ าทีค่ ุม้ ครอง สําหรับการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืชและสัตว์ “พระวิหาร” – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ กําหนดขอบเขตของสถานทีป่ ราสาทพระวิหาร – 13 เมษายน ค.ศ. 2006 มีการกําหนดอาณาเขตทีล่ ว่ งลํา้ เข้ามาใน

6


เขตไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดขอบเขตของสถานทีป่ ราสาทพระวิหาร – 13 เมษายน ค.ศ. 2006 ในมาตรา 4 ได้กาํ หนดเขต 1 เขต 2 และเขต 3 ตามแผนที่ แสดงในรูปที่ 3 ทีเ่ กินเข้ามาในเขตไทย อย่างชัดเจน คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยจึงควรยกประเด็นนี้เป็ นเหตุผลประกอบการคัดค้านแผนบริหารจัดการดังกล่าว

รูปที่ 3: แผนทีป่ ระกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดขอบเขตของสถานทีป่ ราสาทพระวิหาร ค.ศ. 2006 2.7 บทที่ 7 โปรแกรมที่เสนอสําหรับการปฏิบตั ิ (Proposed Programs for Action) ในบทนี้ไม่มเี นื้อหา ส่วนทีส่ าํ คัญทีเ่ กี่ยวกับประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องเขตแดน ผูเ้ ขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็ นประโยชน์ต่อผูอ้ ่าน โดยทัว่ ไปทีจ่ ะได้ทราบถึงรายละเอียดทีส่ าํ คัญของแผน บริหารจัดการป ราสาทพระวิหารในส่วนทีม่ ผี ลกระทบต่อประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องเขตแดน รวมทัง้ หวังว่าจะเป็ น ประโยชน์แก่คณะผูแ้ ทนฝ่ ายไทยในนําไปใช้ประกอบการคัดค้านแผนบริหารจัดการดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกต่อไป

7


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.