ไฟฟ้าสาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 พ.ย.-ธ.ค.55

Page 1


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ทีฆายุโก โหตุ มหาราช

ภูวนาถ จอมจักรี ศรีสยาม

เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ไทยทุกนาม

ทั่วเขตคาม ขานค�ำ สดุดี

ห้าธันวา เฉลิมหล้า มหาสวัสดิ ์

พระขวัญรัฐ ฉัตรทอง ฉลองศรี

ข้าฯ พระบาท ขอมุ่งท�ำ แต่กรรมดี ถวายเป็น ราชพลี แด่ทรงธรรม์ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นพดา ธีรอัจฉริยกุล ผู้ประพันธ์


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ปีที่ 19 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555 E-mail : eemag@eit.or.th, eit@eit.or.th

ส า ร บั ญ

14

สัมภาษณ์พิเศษ

14

ดร.กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกรคนใหม่ มุ่นมั่นยกระดับวิศวกรไทยสู่สากล

มาตรฐานและความปลอดภัย

17

26

26 35

ขยายความมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าส�ำหรับประเทศไทย บทที่ 5 (ตอนที่ 1) : นายลือชัย ทองนิล เครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด ควรติดตั้งที่ใดบ้าง ? : รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช หลักปฏิบัติด้านการตรวจสอบ และการทดสอบการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย (ตอนที่ 5) : นายมงคล วิสุทธิใจ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ไฟฟ้าก�ำลังและอิเล็กทรอนิกส์กำ� ลัง

70

42 47

Blackout Restoration Plan (ตอนที่ 2) : นายณัฐพงษ์ ฉลาดคิด การใช้โปรแกรมจัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกันส�ำหรับการป้องกันหม้อแปลง (Protecction Coordination Program Usage for Transformer Protection) : รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช

54

ในแวดวง ICT : แนวโน้มโทรคมนาคม 4G (ตอนที่ 4) : นายสุเมธ อักษรกิตติ์

60

เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะ (ตอนที่ 4) Waste to Electricity Technology (Part 4) : นายธงชัย มีนวล การศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทย (ตอนที่ 4) การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดก�ำลังผลิต 1.5 MW ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) : นายศุภกร แสงศรีธร

ไฟฟ้าสื่อสารและคอมพิวเตอร์ พลังงาน

75

65

เทคโนโลยีและนวัตกรรม

93

70

75

ปกิณกะ

83 90 93

95

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ : การวิเคราะห์ความต่าง (ตอนที่ 1) Smart Grids : Gap Evaluation (Part 1) : นายธงชัย มีนวล การประยุกต์วิทัศน์คอมพิวเตอร์กับกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับไฟ : มิติ รุจานุรักษ์ พงศธร เกิดอรุณเดช และประพิน แสงเงิน trust : น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล ศัพท์วิศวกรรมน่ารู้ Method : นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล Innovation News พัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น : นายสันติภาพ ชุ่มมี ข่าวประชาสัมพันธ์

ความคิดเห็นและบทความต่าง ๆ ในนิตยสารไฟฟ้าสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผูเ้ ขียน ไม่มสี ว่ นผูกพันกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร สวัสดีทกุ ท่านครับ เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วเหลือเกินครับ นีก่ เ็ ป็นนิตยสารฉบับที่ 6 ของปี 2555 หรือฉบับส่งท้ายก่อนสิ้นปีแล้ว ผมและกองบรรณาธิการทุกท่านหวังเป็น อย่างยิ่งว่า นิตยสารไฟฟ้าสารของ วสท.จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย โดยหลายบทความทีไ่ ด้ลงพิมพ์ในนิตยสารไฟฟ้าสารเป็นบทความทีม่ คี ณ ุ ค่ายิง่ ในการช่วยให้ ข้อมูลวิชาการและวิทยาการเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย ในปี 2555 นิตยสาร ไฟฟ้าสารได้รบั เกียรติจากผูบ้ ริหารองค์กรชัน้ น�ำทีเ่ กีย่ วข้องกับแวดวงวิศวกรรมหลายท่าน ให้สัมภาษณ์ในหลายประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในมุมมองต่าง ๆ อย่างไรก็ดี กองบรรณาธิการทุกท่านจะได้รว่ มแรงร่วมใจพัฒนานิตยสารไฟฟ้าสารให้เกิดประโยชน์ แก่ท่านผู้อ่านเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก และหากท่านผู้อ่านท่านใดมีความประสงค์จะมีส่วนร่วม ในการปรับปรุงเพิม่ เติมประการใด ขอได้โปรดแจ้งความเห็นของท่านมายัง Email: eemag@eit.or.th ทางกองบรรณาธิการ จะได้รวบรวมความคิดเห็นของทุกท่านน�ำไปพิจารณาด�ำเนินการปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ในปี 2555 ที่ก�ำลังผ่านพ้นไปเมืองไทยของเราก็ถือได้ว่าไม่มีปัญหาภัยธรรมชาติหนักหนาเท่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากสภาพภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกสามารถบ่งชี้ได้ว่าขณะนี้พวกเราทุกคนก�ำลังอยู่บนโลก ทีไ่ ม่เหมือนเดิมอีกต่อไป นอกจากนีก้ ระแสการเปลีย่ นแปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ตา่ ง ๆ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้าน ICT ยิ่งท�ำให้โลกของเรามีพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจที่จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศภายในปี 2558 และปัญหา เศรษฐกิจชะลอตัวในหลายประเทศก็เป็นปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อการท�ำงานและด�ำรงชีพของพวกเราทุกคน ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านีไ้ ม่วา่ จะเป็นปัจจัยทางด้านกายภาพ ด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ รวมถึงด้านการเมืองและสังคม เป็นสิง่ ทีพ่ วกเรา วิศวกรสมัยใหม่ทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจให้ดีเพียงพอ จึงจะสามารถน�ำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อท่านได้ ในอนาคต การท�ำงานของวิศวกรในอนาคตคงไม่สามารถพึ่งได้เพียงศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ จ�ำเป็นต้องมี การบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้นหรือมองให้ครบทุกมิตินั่นเอง นิตยสารไฟฟ้าสารฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร ให้เกียรติสัมภาษณ์ถึง แนวทางการด�ำเนินงานของสภาวิศวกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมทั้งด้านวิชาการและวิศวกร ไทยให้พร้อมสู่การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ยังมีบทความวิชาการหลายบทความที่น่าสนใจ ข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของ วสท. และหน่วยงานต่าง ๆ เช่นเดิม ทั้งนี้ ท่านผู้อ่านสามารถ Download หรืออ่านนิตยสารไฟฟ้าสารในรูปของ E-Magazine ที่เป็นแบบ 4 สีทั้งเล่ม ได้ที่ http://issuu.com/eitmagazine และสุดท้ายผมขอขอบคุณผู้สนับสนุนนิตยสาร “ไฟฟ้าสาร” ทุกท่านที่ช่วยให้เรา ยังคงสามารถท�ำนิตยสารวิชาการให้ความรู้และข่าวสารแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านในช่วงที่ผ่านมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะให้การสนับสนุนตลอดไปครับ

สวัสดีครับ ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


เจ้าของ : สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 487 รามค�ำแหง 39 (ซอยวัดเทพลีลา) ถนนรามค�ำแหง แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0 2319 2410-13 โทรสาร 0 2319 2710-11 http://www.eit.or.th e-mail : eit@eit.or.th

คณะกรรมการที่ปรึกษา

ฯพณฯ พลอากาศเอก ก�ำธน สินธวานนท์ ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ศ.อรุณ ชัยเสรี รศ.ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ดร.การุญ จันทรางศุ นายเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ พล.ท.ราเมศร์ ดารามาศ นายอ�ำนวย กาญจโนภาศ

จันทร์เจนจบ, อาจารย์สุพัฒน์ เพ็งมาก, นายประสิทธ์ เหมวราพรชัย, นายไชยวุธ ชีวะสุทโธ, นายปราการ กาญจนวตี, นายพงษ์ศักดิ์ หาญบุญญานนท์, รศ.ศุลี บรรจงจิตร, รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช, นายเกียรติ อัชรพงศ์, นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์, นายเชิดศักดิ์ วิทูราภรณ์, ดร.ธงชัย มีนวล, นายโสภณ สิกขโกศล, นายทวีป อัศวแสงทอง, นายชาญณรงค์ สอนดิษฐ์, นายธนะศักดิ์ ไชยเวช

ประธานกรรมการ นายลือชัย ทองนิล

รองประธานกรรมการ นายสุกิจ เกียรติบุญศรี นายบุญมาก สมิทธิลีลา

คณะกรรมการอ�ำนวยการ วสท.

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายไกร ตั้งสง่า รศ.ดร.หรรษา วัฒนานุกิจ ศ.ดร.ต่อกุล กาญจนาลัย นายธเนศ วีระศิริ นายทศพร ศรีเอี่ยม นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ นายธีรธร ธาราไชย รศ.ดร.วันชัย เทพรักษ์ รศ.ดร.วิชัย กิจวัทวรเวทย์ นายชัชวาลย์ คุณค�้ำชู รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ผศ.ดร.วรรณสิริ พันธ์อุไร ดร.ชวลิต ทิสยากร รศ.ดร.พิชัย ปมาณิกบุตร นายชูลิต วัชรสินธุ ์ รศ.ดร.ทวีป ชัยสมภพ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย นางอัญชลี ชวนิชย์ ดร.ประวีณ ชมปรีดา รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายลือชัย ทองนิล นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ รศ.ด�ำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย รศ.ดร.ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์ นายเยี่ยม จันทรประสิทธิ์ ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ ผศ.ดร.ก่อเกียรติ บุญชูกุศล นายกุมโชค ใบแย้ม รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รศ.วิชัย ฤกษ์ภูริทัต รศ.ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ ผศ.ดร.สงวน วงษ์ชวลิตกุล รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์

นายก อุปนายกคนที่ 1 อุปนายกคนที่ 2 อุปนายกคนที่ 3 เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ โฆษก สาราณียกร ประธานกรรมการสิทธิและจรรยาบรรณ ประธานกรรมการโครงการ ประธานสมาชิกสัมพันธ์ ปฏิคม ประธานกรรมการต่างประเทศ ประธานกรรมการสวัสดิการ กรรมการกลาง 1 กรรมการกลาง 2 ประธานวิศวกรอาวุโส ประธานวิศวกรหญิง ประธานยุววิศวกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ประธานสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ประธานสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ โลหการ และปิโตรเลียม ประธานสาขาวิศวกรรมเคมี ประธานสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ประธานสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ประธานสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประธานสาขาภาคเหนือ 1 ประธานสาขาภาคเหนือ 2 ประธานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ประธานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ประธานสาขาภาคใต้

กรรมการ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

รายนามคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. 2554-2556 ที่ปรึกษา

นายอาทร สินสวัสดิ์, ดร.ประศาสน์ จันทราทิพย์, นายเกษม กุหลาบแก้ว, ผศ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์, นายโสภณ ศิลาพันธ์, นายภูเธียร พงษ์พิทยาภา, นายอุทิศ

ผศ.ถาวร อมตกิตติ ์ ดร.เจน ศรีวัฒนะธรรมา นายสมศักดิ์ วัฒนศรีมงคล นายพงศ์ศักดิ์ ธรรมบวร นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ นายสุธี ปิ่นไพสิฐ ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายภาณุวัฒน์ วงศาโรจน์ นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะท�ำงานกองบรรณาธิการนิตยสารไฟฟ้าสาร คณะที่ปรึกษา

นายลือชัย ทองนิล, นายปราการ กาญจนวตี, ผศ.ดร.วชิระ จงบุรี, นายยงยุทธ รัตนโอภาส, นายสนธยา อัศวชาญชัยสกุล, นายศุภกิจ บุญศิริ , นายวิชยั จามาติกลุ

บรรณาธิการ

ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู

กองบรรณาธิการ

ผศ.ถาวร อมตกิตติ์, นายมงคล วิสุทธิใจ, นายชาญณรงค์ สอนดิษฐ์, นายวิวัฒน์ อมรนิมิตร, นายสุเมธ อักษรกิตติ์, ดร.ธงชัย มีนวล, ผศ.ดร.ปฐมทัศน์ จิระเดชะ, ดร.อัศวิน ราชกรม, นายบุญถิ่น เอมย่านยาว, นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล, นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว, อาจารย์ธวัชชัย ชยาวนิช, นายมนัส อรุณวัฒนาพร, นายประดิษฐ์พงษ์ สุขสิริถาวรกุล, นายจรูญ อุทัยวนิชวัฒนา, น.ส.เทพกัญญา ขัติแสง, น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล

ฝ่ายโฆษณา

สุพจน์ แสงวิมล, กฤษณะ หลักทรัพย์, วีณา รักดีศิริสัมพันธ์

จัดท�ำโดย

บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด

539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22 A ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2247 2330, 0 2247 2339, 0 2642 5243, 0 2642 5241 (ฝ่ายโฆษณา ต่อ 112-113) โทรสาร 0 2247 2363 www.DIRECTIONPLAN.org E-mail : DIRECTIONPLAN@hotmail.com


Interview สัมภาษณ์พิเศษ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ดร.กมล ตรรกบุตร

นายกสภาวิศวกรคนใหม่ มุ่งมั่นยกระดับวิศวกรไทยสู่สากล

สภาวิ ศ วกรเป็ น องค์ ก รที่ ป ฏิ บั ติ ง านภายใต้ การเข้ามาด�ำรงต�ำแหน่งนายกสภาวิศวกรในครัง้ พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ท�ำหน้าที่กำ� กับดูแล นี้ ท่านมีความเห็นเกีย่ วกับการด�ำเนินงานของสภา ่ า่ นมาอย่างไร และมีภารกิจใดทีต่ อ้ งเร่ง งานวิศวกรรมควบคุมและผูป้ ฏิบตั งิ านวิศวกรรมควบคุม วิศวกรทีผ ให้สามารถตอบสนองต่อสังคมและมุง่ เน้นการก�ำกับดูแล ด�ำเนินการหรือสานต่อให้ส�ำเร็จ จากประสบการณ์ ที่ ส ะสมมาในการเริ่ ม ท� ำ งาน ช่วยเหลือสมาชิกให้มีเกียรติและศักดิ์ศรี เป็นวิศวกรที่ ในส� ำ นั ก งาน ก.ว./ก.ส. กระทรวงมหาดไทยมาก่ อ น ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้ ง แต่ ป ระมาณ พ.ศ. 2530 โดยท� ำ งานในคณะ ทั้ ง นี้ ในช่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมาสภาวิ ศ วกรได้ อนุกรรมการฯ ต่าง ๆ และการท�ำหน้าที่กรรมการในคณะ ด�ำเนินการจัดการเลือกตั้งกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 5 กรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (ก.ว.) (พ.ศ. 2555-2557) โดยมี ดร.กมล ตรรกบุตร ได้รับ ของกระทรวงมหาดไทยมาหลายสมัย และการท�ำหน้าที่ ความเห็นชอบให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสภาวิศวกรในครั้งนี้ กรรมการสภาวิศวกรมา 2 สมัย รวมทั้งที่สำ� คัญคือการ ซึ่งนิตยสารไฟฟ้าสารได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากนายกสภา ร่วมตอบค�ำถามต่าง ๆ ในเว็บบอร์ด ทัง้ ของวิศวกรรมสถาน วิศวกรคนใหม่ ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางการด�ำเนินงานของ แห่งประเทศไทยฯ และของสภาวิศวกรมาโดยตลอดจนถึง สภาวิศวกรต่อจากนี้ไป รวมถึงแนวทางความร่วมมือกับ ทุกวันนี้ สามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ในการด�ำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกันยกระดับมาตรฐาน ที่ ผ ่ า นมาของสภาวิ ศ วกรว่ า มี ทั้ ง ข้ อ ขั ด ข้ อ งเกี่ ย วกั บ ด้านวิศวกรรมของไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเกี่ยวกับการควบคุม การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม การประสานงานกับสมาคม ทิศทางต่อจากนี้ไปจึงน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

14


วิชาชีพวิศวกรรมต่าง ๆ และด้านอื่น ๆ จึงจะรวบรวม ประเด็นต่าง ๆ มาประกอบการวางแผนการบริหารจัดการ สภาวิ ศ วกร ก� ำ หนดนโยบายและแนวทางการท� ำ งาน ให้เป็นรูปธรรม โดยจะเน้นการมีสว่ นร่วมในการด�ำเนินการ รวมทั้งการท�ำงานเป็นทีมของทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องและ เป็นพันธมิตร เพื่อให้สภาวิศวกรเดินไปได้อย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใสต่อไป

ในปี 2558 ประเทศในอาเซียนจะรวมกันเป็นหนึ่ง ภายใต้ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (ASEAN Economic Community : AEC) สภาวิศวกรมี การเตรียมพร้อมรับมือเรื่องนี้อย่างไร และวิศวกร ไทยควรปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กับวิศวกรในภูมิภาคอาเซียน

กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยด�ำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย - การจัดกิจกรรมแถลงข่าวการร่วมมือกับ วสท. เมื่ อ วั น ที่ 29 กั น ยายน 2555 ที่ โ รงแรมโกลเด้ น ทิวลิป กรุงเทพฯ ในการที่จะน�ำพาวิศวกรของเราให้มี ความแข็งแกร่ง ทั้งด้านการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพ และการด�ำเนินการด้านต่างประเทศ AEC ที่ไทยก�ำลังจะ ต้องด�ำเนินการตามมติระหว่างชาติต่าง ๆ - การจัดกิจกรรมประชุมระดมสมองร่วมกับผู้แทน สมาคมวิชาชีพวิศวกรรมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2555 เพื่อ ให้เกิดความเข้าใจ เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติ แนวทาง การพัฒนาวิชาชีพ การเตรียมการด้านมาตรฐานวิชาชีพ อันเป็นปัจจัยส�ำคัญของชาววิศวกรอย่างแท้จริง - การตกลงด�ำเนินการจัดกิจกรรมกับกลุ่ม วสท. และสมาชิกสภาฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2555 นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการร่วมหารือใน ลักษณะเดียวกัน - ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สภาวิศวกร ในการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภัยพิบัติ และ คณะอนุกรรมการส่งเสริมความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพ วิศวกรรม

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตามที่ได้ร่วมหารือในเบื้องต้นกับคณะกรรมการ สภาวิศวกร เรื่องนี้ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนเรื่องหนึ่งที่ ส�ำคัญ จึงจะเสนอจัดตั้งฝ่ายต่างประเทศขึ้นในสภาวิศวกร เพื่อสนับสนุนให้การด�ำเนินการของคณะอนุกรรมการ การต่ า งประทศ ให้ มี ผ ลเชิ ง รู ป ธรรม ทั้ ง นี้ แนวทาง การด�ำเนินการจะท�ำการระดมสมองจากทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง เข้ามาด�ำเนินการต่อไป

จุ ด แข็ ง /จุ ด อ่ อ นของวิ ศ วกรไทยเมื่ อ เที ย บกั บ บทบาทของสภาวิ ศ วกรในการให้ ค� ำ แนะน� ำ แก่ วิ ศ วกรในประเทศอาเซี ย นเป็ น อย่ า งไร และมี ประชาชนอย่ า งทั น ท่ ว งที ใ นการรั บ มื อ ปั ญ หา แนวทางในการเพิ่มศักยภาพมาตรฐานวิศวกร อุทกภัย รวมถึงภัยพิบตั ิต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไทยอย่างไร คณะอนุ ก รรมการภั ย พิ บั ติ ที่ จ ะแต่ ง ตั้ ง ขึ้ น

ในการร่วมหารือเตรียมการจัดท�ำ Roadmap ของ จะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา มาร่วมกัน สภาวิศวกร ในเบื้องต้นพอจะสรุปได้ว่า วิศวกรไทยมี ก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินการที่เป็นรูปธรรมต่อไป ความรูแ้ ละความสามารถในการเรียนรู้ ปรับตัวให้สามารถ ควบคุ ม งานและแก้ ไ ขปั ญ หาหน้ า งานได้ เ ป็ น อย่ า งดี มีพื้นฐานทางสังคมที่ดีด้วย นับว่าเป็นจุดแข็งของวิศวกร ไทย แต่จุดอ่อนที่เห็นได้ชัดเจนก็คือเรื่องของการสื่อสาร ความสามารถในการวิเคราะห์ การใฝ่รเู้ กีย่ วกับวัฒนธรรม ของประเทศอาเซียน และการพัฒนาตนเองด้านวิศวกรรม อย่างต่อเนื่อง

แนวทางความร่ ว มมื อ ระหว่ า งสภาวิ ศ วกรและ หน่ ว ยงานอื่ น ทั้ ง ในประเทศและระดั บ สากล ใน การส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือ ทักษะความรู้ ด้ า นวิ ศ วกรรม เทคโนโลยี นวั ต กรรม และ การรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ขอทราบแนวคิดที่จะให้สภาวิศวกร และ วสท. ด�ำเนินการความร่วมมือในการท�ำกิจกรรมทีจ่ ะเป็น ประโยชน์ต่อวิศวกรไทยอย่างต่อเนื่อง

สภาวิศวกร และ วสท.ได้จัดกิจกรรมแถลงข่าวการ ร่วมมือกัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2555 ตามที่กล่าว ในระยะเวลาอั น สั้ น ตั้ ง แต่ ไ ด้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง มา ข้างต้น เพื่อพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมให้ก้าวหน้า และเป็น คณะกรรมการสภาวิศวกรสมัยที่ 5 นีไ้ ด้เริม่ งานประสานงาน ประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ดังนี้ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

15


1. ร่ ว มมื อ กั น พั ฒ นาวิ ช าชี พ ด้ า นวิ ศ วกรรมเพื่ อ รองรับการเปิดการค้าเสรี AEC ในปี 2558 2. ประสานความร่วมมือในการให้ความเห็นด้าน วิชาการแก่สาธารณะ กรณีเกิดภัยพิบัติ 3. สร้ า งมาตรฐานวิ ช าชี พ วิ ศ วกรรมส� ำ หรั บ ประเทศไทย 4. บริการสมาชิกทั้งสององค์กรให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น 5. ประสานความร่วมมือในการด�ำเนินกิจกรรม ด้านการต่างประเทศในฐานะตัวแทนด้านวิศวกรรมของ ประเทศไทย

ปั จ จุ บั น เรามี ป ระมวลหลั ก ปฏิ บั ติ วิ ช าชี พ และ จริยธรรมเหมาะสมกับวิศวกรไทย ทั้งที่จบใหม่และ ที่ท�ำงานแล้วในทุกสาขาหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อก�ำหนด บทบาทและหน้าที่ขั้นพื้นฐาน

องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการเดิม ทัง้ นี้ ในการจัดตัง้ คณะอนุ ก รรมการชุ ด ใหม่ ได้ ก� ำ หนดแนวทางการมี องค์ประกอบ 3 ฝ่าย คือ ผู้แทนจากสภาวิศวกร ผู้แทน จากหน่วยงานราชการ และผู้แทนจากภาคเอกชน คาดว่า จะสามารถท�ำให้การด�ำเนินการเป็นไปได้อย่างเป็นระบบ และสะท้อนภาพรวมได้ดีขึ้น

สภาวิศวกรมีนโยบายความร่วมมือกับสถาบันการ ศึกษาต่าง ๆ เพือ่ พัฒนาศักยภาพของวิศวกรไทย อย่างไร

ในท�ำนองเดียวกัน การรับรองปริญญาของสถาบัน การศึกษาด้านวิศวกรรมก็มีข้อบังคับและระเบียบปฏิบัติ ที่ค่อนข้างจะชัดเจน สามารถถือปฏิบัติได้เป็นอย่างดีอยู่ แล้ว แต่ข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นอาจมีผลมาจากองค์ประกอบ ของคณะอนุกรรมการเดิมเช่นกัน ทั้งนี้ ในการจัดตั้งคณะ อนุกรรมการชุดใหม่ได้กำ� หนดแนวทางการมีองค์ประกอบ 5 ฝ่าย คือ ผู้แทนจากสภาวิศวกร ผู้แทนจากหน่วยงาน ราชการ ผู้แทนจากสภาคณบดี ผู้แทนจากส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และผู้แทนจากภาค เอกชน คาดว่าจะสามารถท�ำให้การด�ำเนินการเป็นไปได้ อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงบวก และสะท้อนภาพรวมได้ดีขึ้น อย่ า งไรก็ ต าม ได้ ก� ำ หนดแผนงานที่ จ ะให้ มี การประชุมโต๊ะกลมเพื่อระดมสมองในเรื่องที่เกี่ยวกับ การก�ำหนดทิศทางของการผลิตวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการเพิม่ สาขาควบคุมขึ้น

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

สภาวิศวกรได้ออกข้อบังคับจรรยาบรรณเพื่อเป็น แนวทางการปฏิ บั ติ ข องวิ ศ วกรอยู ่ แ ล้ ว ในวาระของ คณะกรรมการสภาฯ สมัยนี้ คงจะพิจารณาปรับปรุงให้ เป็นปัจจุบันต่อไป

สภาวิศวกรมีนโยบายอย่างไรในการส่งเสริมหรือ ช่วยเหลือสมาชิก และพัฒนาวิศวกรไทย

คณะกรรมการสภาฯ สมัยที่ 5 ได้เตรียมจัดท�ำ นโยบายหลั ก ที่ จ ะสามารถสนองตอบเจตนารมณ์ ข อง พระราชบัญญัตวิ ศิ วกร พ.ศ. 2542 ในการควบคุมกลัน่ กรอง ความรู ้ ค วามสามารถของผู ้ ป ระกอบวิ ช าชี พ วิ ศ วกรรม ให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และนโยบายเร่งด่วน 3 ปี ทีจ่ ะสนองตอบนโยบายหลัก โดยมี วิสัยทัศน์ในการที่จะปรับปรุงองค์กรให้มีความเข้มแข็ง เป็ น เอกภาพ พั ฒ นาและสนั บ สนุ น มาตรฐานวิ ช าชี พ วิศวกรรมและขีดความสามารถของวิศวกร รวมทั้งการ เสริมสร้างความพร้อมสูร่ ะดับสากล ทัง้ นี้ คณะกรรมการฯ ได้รว่ มกันจัดเตรียมนโยบายและได้รว่ มกันพิจารณาจัดท�ำ Roadmap ครั้งแรกไปแล้ว หลังจากสรุปประเด็นแล้วจะ ได้ก�ำหนดนโยบายที่ชัดเจนต่อไป

สภาวิศวกรสมัยปัจจุบันมีแนวทางการเลื่อนระดับ วิศวกรเป็นอย่างไร

การเลื่อนระดับของวิศวกรจากภาคีวิศวกร เป็น สามัญวิศวกร เป็นวุฒิวิศวกร ก็มีข้อบังคับและระเบียบ ปฏิ บั ติ ที่ ค ่ อ นข้ า งจะชั ด เจน สามารถถื อ ปฏิ บั ติ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี อ ยู ่ แ ล้ ว ข้ อ ขั ด ข้ อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น อาจมี ผ ลมาจาก

16

ฝากข้ อ คิ ด ถึ ง สภาวิ ศ วกรและผู ้ อ ่ า นนิ ต ยสาร ไฟฟ้าสาร เรื่ อ งที่ เ ห็ น ว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ ส� ำ คั ญ คื อ แนวทาง การท�ำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน ควรที่จะ ด� ำ เนิ น การภายใต้ ค วามร่ ว มมื อ ในการท� ำ งานเป็ น ที ม ให้ความส�ำคัญกับทุก ๆ คนในทีมงาน ถ้าเป็นไปได้ควรที่ จะต้องก�ำหนดมาตรฐานการท�ำงานให้สอดคล้องนโยบาย ของส่วนรวม และเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้ง การปลูกฝังให้ผู้ปฏิบัติงานมีความภูมิใจในหน้าที่การงาน ให้บริการผู้เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือแนวคิดและหลักการท�ำงานของนายกสภา วิศวกรคนใหม่ ซึ่งความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องจะเป็นแรงผลักดันส�ำคัญที่ช่วยให้วิศวกรไทย มีความรู้ ความสามารถ เทียบเท่าได้กับประเทศอื่น ๆ ในระดับสากล


Standard & Safety มาตรฐานและความปลอดภัย นายลือชัย ทองนิล อีเมล : luachai@yahoo.com

ขยายความมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ส�ำหรับประเทศไทย บทที่ 5 (ตอนที่ 1) บทความทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น ความเห็ น ของผู ้ เ ขี ย น ในฐานะที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการในการจัดท�ำ มาตรฐานการติดตัง้ ทางไฟฟ้าฯ ไม่ได้เป็นความเห็นร่วมกัน ของคณะอนุกรรมการฯ การน�ำไปใช้อ้างอิงจะต้องท�ำด้วย ความระมัดระวังเนือ่ งจากเป็นความเห็นส่วนตัวของผูเ้ ขียน เท่านั้น ผู้เขียนหวังว่าจะเป็นความเห็นที่มีประโยชน์มาก และเพื่อความประหยัดพื้นที่ ผู้เขียนจึงไม่ได้ยกเนื้อความ ของมาตรฐานฯ มาลงไว้ในบทความทั้งหมด แต่จะยกมา เฉพาะบางส่ ว นที่ ต ้ อ งการอธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม เท่ า นั้ น และที่ส�ำคัญคือการใช้มาตรฐานจึงจ�ำเป็นต้องอ่านและท�ำ ความเข้าใจทัง้ เล่ม จะยกเพียงส่วนใดส่วนหนึง่ ไปใช้อา้ งอิง อาจไม่ถกู ต้อง ส่วนทีเ่ ป็นค�ำอธิบายจะใช้เป็นอักษรตัวเอียง บนพื้นสีเทา

ไม่ต�่ำกว่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่เดินรวมในช่องเดินสาย เดียวกันนี้ ปัญหาอาจเกิด ได้เ นื่องจากสายไฟฟ้ าตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.11 นั้น มีแรงดัน ไฟฟ้า 2 ระดับ คือ สายไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์ และ 750 โวลต์ ตัวอย่าง การเดินสายในรางเดินสายมีวงจรไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 230/400 โวลต์ เดินรวมกับวงจร 1 เฟส 230 โวลต์ และมีวงจรควบคุมกระแสตรงใช้แรงดัน 24 โวลต์ รวมอยู่ด้วย ทั้งหมดนี้เดินรวมในรางเดินสายได้ตามที่ อนุญาตไว้ในมาตรฐานฯ ข้อ 5.1.2.1 แต่สายไฟฟ้าทุกเส้น ต้องเป็นสายชนิดทนแรงดันได้ไม่ต�่ำกว่าแรงดันสูงสุด ซึ่งก็คือ 400 โวลต์ สายไฟฟ้าทุกเส้นที่ใช้งานจึงต้องเป็น ชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ (เช่น สายตาม มอก.11-2531 ตารางที่ 4) ถึงแม้จะใช้งานในวงจรที่มีแรงดัน 230 โวลต์ หรือ 24 โวลต์ ก็ตาม ข้ อ ผิ ด พลาดนี้ พ บมากกั บ การเดิ น สายใน อาคารชุดทีแ่ ต่ละห้องใช้ไฟแรงต�ำ่ 1 เฟส ระบบแรงดัน 230 โวลต์ สาเหตุจากแผงสายป้อนของแต่ละชั้นนั้นมักจ่าย ด้วยวงจร 3 เฟส ถึงแม้ว่าแต่ละห้องจะใช้ไฟ 1 เฟส ก็ตาม แต่สายเมนเข้าห้องชุดนัน้ เดินรวมกันในรางเดินสาย ซึ่งจะมีระบบแรงดันระหว่างสายบางคู่เป็น 400 โวลต์ การใช้สาย VAF ทีท่ นแรงดัน 300 โวลต์ จึงผิดมาตรฐานฯ ข้อนี้ ถ้าการติดตั้งท�ำเสร็จแล้วและจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนสาย ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง หมายเหตุ แรงดันใช้งาน 220/380 โวลต์ ที่เรียกกันทั่วไปนั้นจ่ายด้วยระบบแรงดัน 230/400 โวลต์ ในการคิดแรงดันจึงคิดที่ระบบแรงดันคือ 230/400 โวลต์

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ข้อ 5.1 ข้อก�ำหนดการเดินสายส�ำหรับระบบ แรงต�่ำ

ข้อ 5.1.2 การเดินสายไฟของระบบไฟฟ้าทีม่ แี รงดัน ต่างกัน ข้อ 5.1.2.1 ไฟฟ้าแรงต�ำ่ ทัง้ ระบบกระแสสลับและ กระแสตรง อนุญาตให้ติดตั้งสายไฟรวมกันอยู่ภายในช่อง ร้อยสายหรือเครื่องห่อหุ้มเดียวกันได้ ถ้าฉนวนของสาย ทั้งหมดที่ติดตั้งนั้นเหมาะสมกับระบบแรงดันสูงสุดที่ใช้ ไฟฟ้าแรงต�ำ่ ตามทีก่ ำ� หนดในมาตรฐานการติดตัง้ ทางไฟฟ้า หมายถึง ไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายไม่เกิน 1,000 โวลต์ ข้อส�ำคัญของข้อก�ำหนดนี้คือ สายไฟฟ้า ทุกเส้นที่เดินรวมกันนั้นจะต้องเป็นชนิดที่ทนแรงดันได้

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

17


ข้อ 5.1.2.2 ห้ามติดตั้งสายไฟที่ใช้กับระบบ แรงต�่ำรวมกับสายไฟที่ใช้กับระบบแรงสูงในท่อร้อยสาย บ่อพักสาย หรือเครือ่ งห่อหุม้ เดียวกัน ยกเว้น ในแผงสวิตช์ หรือเครื่องห่อหุ้มอื่นที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินสาย มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ห้ามเดินสาย แรงสูงและแรงต�่ำรวมในบ่อพักสายไฟฟ้าเดียวกันเพราะ ไฟฟ้ า แรงสู ง มี อั น ตรายมาก ในการปฏิบัติง านต้องใช้ ผูเ้ ชีย่ วชาญพิเศษ กรณีทชี่ า่ งไฟฟ้าทัว่ ไปลงไปในบ่อพักสาย เพือ่ ปฏิบตั งิ านกับสายแรงต�ำ่ อาจเกิดผิดพลาด เช่น ไปตัด สายแรงสูงซึ่งจะเกิดอันตรายได้ ส�ำหรับในแผงสวิตช์นั้นสายแรงสูงกับแรงต�่ำ จ�ำเป็นต้องอยูร่ วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติแผงสวิตช์ จะแยกส่วนของแรงสูงกับแรงต�ำ่ ไว้แล้ว และในการท�ำงาน กับแผงแรงสูงจะต้องท�ำงานโดยผู้ที่มีความรู้ความช�ำนาญ เท่านั้น รวมทั้งจะเป็นการท�ำงานขณะที่ดับไฟ จึงมั่นใจ ได้ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ

โลหะ ผ่านโครงสร้างโลหะที่เจาะเป็นช่องหรือรู ต้องมี บุชชิงยาง (Bushing Grommet) ยึดติดกับช่องหรือรูเพื่อ ป้องกันฉนวนของสายช�ำรุด ยกเว้น ช่องหรือรูที่มีขอบมน และผิวเรียบ 5.1.3.3 การเดินสายผ่านโครงสร้างอื่น ต้องมี ปลอกที่เป็นฉนวนไฟฟ้าสวม หรือจัดท�ำรูให้เรียบร้อยเพื่อ ป้องกันฉนวนที่หุ้มสายเสียหาย จุดประสงค์ของข้อนีก้ เ็ พือ่ ป้องกันสายไฟฟ้าช�ำรุด ระหว่างการติดตั้งและใช้งาน ซึ่งโดยปกติการเดินสาย ไฟฟ้าไปทีส่ ว่ นต่าง ๆ ของอาคารจะต้องเดินหลบโครงสร้าง ของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำ ได้ กรณีโครงสร้าง คอนกรีตก็ควรท�ำการเจาะรูเตรียมไว้ตงั้ แต่ทำ� การก่อสร้าง รวมทั้ ง มี วั ส ดุ ป ้ อ งกั น ฉนวนสายช� ำ รุ ด จากการเสี ย ดสี กั บ คอนกรี ต ด้ ว ย การเดิ น ผ่ า นโครงสร้ า งไม้ ที่ ต ้ อ งมี การเจาะรูผ่านจะต้องเจาะรูให้ห่างจากขอบไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันปลายสกรูหรือตะปูทิ่มถูก สายไฟฟ้าช�ำรุด ท�ำให้เกิดไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรได้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ข้อ 5.1.3 การป้องกันความเสียหายทางกายภาพ ของสายไฟ 5.1.3.1 การเดินสายผ่านโครงสร้างไม้ที่ต้อง เจาะรูผ่านกลางโครงสร้าง รูที่เจาะต้องห่างจากขอบไม่ น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร หากรูทเี่ จาะห่างจากขอบน้อยกว่า 30 มิลลิเมตร หรือเดินสายในช่องบากต้องป้องกันไม่ให้ ตะปูหรือหมุดเกลียวถูกสายได้ 5.1.3.2 การเดินสายที่มีเปลือกนอกไม่เป็น

ข้อ 5.1.4 การติดตั้งใต้ดิน การติ ด ตั้ ง ใต้ ดิ น ต้ อ งเป็ น ไปตามข้ อ ก� ำ หนด ดังต่อไปนี้ ข้ อ 5.1.4.1 ความลึ ก ในการติ ด ตั้ ง ใต้ ดิ น สายเคเบิลฝังดินโดยตรง ท่อร้อยสายหรือเครื่องห่อหุ้ม สายไฟฟ้าประเภทอื่นที่ได้รับการรับรองแล้ว ความลึก ในการติดตั้งต้องเป็นไปตามตารางที่ 5-1

ตารางที่ 5-1 ความลึกในการติดตั้งใต้ดิน ส�ำหรับระบบแรงต�่ำ

วิธีที่ 1 2 3 4

5 6

วิธีการเดินสาย ความลึกน้อยสุด (เมตร) สายเคเบิลฝังดินโดยตรง 0.60 สายเคเบิลฝังดินโดยตรงและมีแผ่นคอนกรีต 0.45 หนาไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร วางอยู่เหนือสาย ท่อโลหะหนาและหนาปานกลาง 0.15 ท่ออโลหะซึ่งได้รับการรับรองให้ฝังดินโดยตรงได้โดย 0.45 ไม่ต้องมีคอนกรีตหุ้ม (เช่น ท่อเอชดีพีอี และ ท่อพีวีซี) ท่อใยหิน หุ้มคอนกรีตเสริมเหล็ก 0.45 ท่อร้อยสายอืน่ ๆ ซึง่ ได้รบั ความเห็นชอบจากการไฟฟ้าฯ 0.45

หมายเหตุ 1) ท่อร้อยสายที่ได้รับการรับรองให้ฝังดินได้โดยมีคอนกรีตหุ้ม ต้องหุ้มด้วยคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร 2) ส�ำหรับวิธีที่ 4, 5 และ 6 หากมีแผ่นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร วางอยู่เหนือสาย ยอมให้ความลึกลดลงเหลือ 0.30 เมตร ได้ 3) ข้อก�ำหนดส�ำหรับความลึกนี้ไม่ใช้บังคับส�ำหรับการติดตั้งใต้อาคารหรือใต้พื้นคอนกรีตซึ่งหนาไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร และยื่นเลยออกไปจาก แนวติดตั้งไม่น้อยกว่า 150 มิลลิเมตร 4) บริเวณที่มีรถยนต์วิ่งผ่าน ความลึกต้องไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร

18


การติดตัง้ สายฝังดิน สามารถท�ำได้โดยการร้อยสายในท่อร้อยสายไฟฟ้าหรือฝังดินโดยตรง การติดตัง้ แต่ละวิธี ต้องเลือกสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการติดตัง้ ด้วย การเดินสายใต้ดนิ จะต้องระวังเรือ่ งความเสียหายภายหลังการติดตัง้ เช่น จากการกลบสายด้วยวัตถุแหลมคม และจุดที่รถยนต์วิ่งผ่านจะต้องฝังลึกตามมาตรฐานเพื่อป้องกันน�้ำหนักรถ ทีท่ บั จะไปท�ำให้สายไฟฟ้าหรือท่อร้อยสายช�ำรุดได้ จากตารางทีก่ ำ� หนดในมาตรฐาน ถ้ามีการป้องกันด้วยแผ่นคอนกรีต จะสามารถลดความลึกในการฝังดินได้ การก�ำหนดความลึกในการติดตั้งเป็นเพียงความลึกต�่ำสุดที่ยอมให้ท�ำได้เท่านั้น ในการติดตั้งจริงควรระวัง ปัญหาจากการขุดดินหรือถนนที่ขาดความระมัดระวังด้วย เพราะอาจขุดลงไปถูกสายไฟฟ้าขาดหรือช�ำรุดได้ ปัจจุบนั มักพบว่าท่อร้อยสายไฟฟ้าชนิดท่อเหล็ก เมือ่ ติดตัง้ ใช้งานไประยะหนึง่ อาจเกิดปัญหาเรือ่ งการผุกร่อน หรือเป็นสนิม โดยเฉพาะการติดตัง้ ในบริเวณทีด่ นิ มีความชืน้ สูง ควรมีการป้องกันเพิม่ เติมด้วย เช่น ทาด้วยคอมปาวด์ หรือหุ้มด้วยคอนกรีต

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปตัวอย่าง ความลึกในการติดตั้งใต้ดินตามตารางที่ 5-1

ข้อ 5.1.4.2 สายเคเบิลใต้ดินติดตั้งใต้อาคาร ต้องติดตั้งอยู่ในท่อร้อยสายและท่อร้อยสายต้องยาวเลยผนัง ด้านนอกของอาคารออกไป ข้อ 5.1.4.3 สายเคเบิลที่ฝังดินโดยตรง ส่วนที่โ ผล่ขึ้นจากดินต้องมีการป้องกันด้วยเครื่ องห่ อหุ ้ ม หรือท่อร้อยสายสูงจากระดับพืน้ ดินไม่นอ้ ยกว่า 2.40 เมตร และเครือ่ งห่อหุม้ หรือท่อร้อยสายต้องฝังจมลงในดินตามตารางที่ 5-1

รูปตัวอย่าง การเดินสายฝังดินโดยตรงตามข้อ 5.1.4.2 และ 5.1.4.3 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

19


ข้อ 5.1.4.4 การต่อสายหรือต่อแยกให้เป็นไปตามที่กำ� หนดไว้ในแต่ละวิธีการเดินสาย ส�ำหรับสายเคเบิล ใต้ดนิ ทีอ่ ยูใ่ นราง (Trench) อนุญาตให้มกี ารต่อสายหรือต่อแยกสายในรางได้ แต่การต่อและต่อแยกต้องท�ำด้วยวิธแี ละ ใช้วัสดุที่ได้รับการรับรองแล้ว การต่อสายใต้ดินสามารถท�ำการต่อสายได้ทั้งการต่อแยกและการต่อเพื่อเพิ่มความยาว แต่ข้อส�ำคัญคือ การต่อสายต้องใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ออกแบบไว้ส�ำหรับการต่อสายใต้ดินโดยเฉพาะซึ่งจะสามารถป้องกันน�้ำได้ จุดต่อสายจะต้องสามารถเข้าถึงได้ภายหลังการติดตัง้ ดังนัน้ ถ้าเป็นการเดินสายในท่อร้อยสายจะต้องต่อสายในบ่อพักสาย (Manhole หรือ Handhole) หรือกล่องอุปกรณ์การเดินสายเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการเดินสายฝังดินโดยตรงก็ไม่ต้องต่อ ในบ่อพักสาย

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปตัวอย่าง อุปกรณ์การต่อสายแบบฝังดิน (จาก NEC Handbook 2011)

ข้อ 5.1.4.5 ห้ามใช้วัสดุที่มีคม หรือเป็นสิ่งที่ ท�ำให้ผุกร่อน หรือมีขนาดใหญ่ กลบสายหรือท่อร้อยสาย ข้อ 5.1.4.6 ท่อร้อยสายซึ่งความชื้นสามารถ เข้าไปยังส่วนที่มีไฟฟ้าได้ ต้องอุดที่ปลายใดปลายหนึ่ง หรือทั้งสองปลายของท่อร้อยสาย ตามความเหมาะสม ข้อ 5.1.4.7 ปลายท่อซึ่งฝังอยู่ในดิน ณ จุดที่ สายเคเบิลออกจากท่อ ต้องมีบุชชิงชนิดอุด (Conduit sealing bushing) อนุญาตให้ใช้วัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติ ในทางป้องกันเทียบเท่ากับบุชชิงชนิดอุดแทนได้ ท่อร้อยสายฝังดินที่เดินไปเข้าบริภัณฑ์ไฟฟ้า เช่น แผงสวิตช์ อาจมีความชื้นเข้าไปตามท่อก่อให้เกิด ความเสียหายต่อบริภัณฑ์ไฟฟ้าได้ การป้องกันความชื้น คือต้องมีการอุดปลายท่อด้านที่ปลายใดปลายหนึ่งตาม ความเหมาะสม ปกติความชื้นสามารถเข้าในท่อร้อยสาย ไฟฟ้าได้โดยปนอยู่ในอากาศ ความชื้นนี้อาจเข้าไปในแผง สวิตช์และเกิดการกลัน่ ตัวเป็นหยดน�ำ้ เกาะตามส่วนต่าง ๆ ของแผงสวิตช์ เป็นสาเหตุของการกัดกร่อน ที่ส�ำคัญคือ ฉนวนไฟฟ้า เช่น Insulator ที่ใช้รองรับบัสบาร์หรือสวิตช์ ต่าง ๆ จะมีฝุ่นละอองมาเกาะท�ำให้เสื่อมสภาพการเป็น ฉนวน เกิดกระแสรัว่ ผ่าน (leakage current) เป็นต้นเหตุ

20

ของการเกิ ด Ground Fault ซึ่ ง จะท� ำ ให้ แ ผงสวิ ต ช์ เสียหายมาก ในการซีลท่อสามารถท�ำได้หลายวิธี เช่น โดย การใช้ Sealing Bushing ซึง่ เป็นผลิตภัณฑ์สำ� เร็จรูป หรือ โดยการใช้ Sealing Compound ที่น�ำมาผสมเอง หรือ โดยการใช้โฟมชนิดที่สามารถมาผสมเองที่จุดท�ำงานก็ได้

รูปตัวอย่าง การอุดท่อร้อยสายเพื่อป้องกันความชื้น

ข้อ 5.1.4.8 ในกรณีที่มีการเดินสายเคเบิล ใต้ดินเข้าไปในอาคาร ต้องมีการป้องกันฉนวนสายช�ำรุด เนื่องจากดินทรุด


ปกติ อ าคารจะมี ฐ านรากแน่ น หนา กรณี ที่ ดินทรุดตัวลงอาคารจะไม่ทรุดด้วย เมือ่ ดินทรุดลงสายเคเบิล จะทรุดตามด้วยและจะดึงปลายสายที่ยึดกับอาคารหรือ แผงสวิตช์จนสายหรือแผงสวิตช์ช�ำรุด การป้องกันท�ำได้ โดยการเผือ่ สายเหลือไว้ในบ่อพักสายส�ำหรับการเดินสาย ร้อยท่อหรือจุดก่อนทีจ่ ะร้อยเข้าท่อก็ได้ตามความเหมาะสม กรณีเดินสายฝังดินโดยตรงในตอนวางสายจะไม่ดึงจนตึง แต่จะทิ้งให้สายงอไว้บ้างเผื่อเกิดแรงดึงเมื่อดินทรุด

ด้วยสารเคลือบอินทรีย์ (Organic Coating) อนุญาต ให้ใช้ภายนอกอาคารได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก การไฟฟ้าฯ ก่อน การเดินสายด้วยท่อโลหะฝังดินต้องระวังเรื่อง ท่อร้อยสายผุกร่อนโดยเฉพาะในบริเวณที่เปียกชื้นหรือ มีสารเคมี กรณีทใี่ ช้ทอ่ โลหะฝังดินจึงควรป้องกันการผุกร่อน ตามที่กำ� หนดในมาตรฐาน เมื่อท่อที่ร้อยสายผุกร่อนจะมี น�้ำเข้าท่อเป็นปัญหากับสายไฟฟ้า การเดินสายจึงควรใช้ สายที่สามารถเดินฝังดินโดยตรงได้ เช่น สาย NYY ข้อ 5.1.5 การป้องกันการผุกร่อน แม้มาตรฐานจะไม่ก�ำหนดว่าต้องเป็นสายชนิดมีเปลือก ท่อร้อยสาย เกราะหุม้ สายเคเบิล (Cable armor) ก็ตาม แต่ตอ้ งอย่าลืมว่าเมือ่ ท่อร้อยสายช�ำรุดจะไม่สามารถ เปลือกนอกของสายเคเบิล กล่อง ตู้ ข้องอ (Elbow) ข้อต่อ ลากสายออกและร้อยสายเข้าไปใหม่ได้ จะเป็นปัญหา (Coupling) และเครื่องประกอบการเดินท่ออื่น ๆ ต้อง ในการซ่อมบ�ำรุงในอนาคต ใช้ วั ส ดุ ที่ เ หมาะสมหรื อ มี ก ารป้ อ งกั น ที่ เ หมาะสมกั บ ข้อ 5.1.6 การติดตั้งวัสดุและการจับยึด สภาพแวดล้อมที่สิ่งนั้นติดตั้งอยู่ การป้องกันการผุกร่อน ข้อ 5.1.6.4 สายไฟฟ้าในช่องเดินสายแนวดิ่ง ต้องท�ำทั้งภายในและภายนอกบริภัณฑ์ โดยการเคลือบ ด้วยวัสดุทที่ นต่อการผุกร่อน เช่น สังกะสี แคดเมียม หรือ ต้องมีการจับยึดที่ปลายบนของช่องเดินสายและต้องมี อีนาเมล (Enamel) ในกรณีทมี่ กี ารป้องกันการผุกร่อนด้วย การจับยึดเป็นช่วง ๆ โดยมีระยะห่างไม่เกินตามที่ก�ำหนด อีนาเมล ไม่อนุญาตให้ใช้ในสถานที่เปียกหรือภายนอก ในตารางที่ 5-2 ยกเว้น ถ้าระยะตามแนวดิง่ น้อยกว่าร้อยละ อาคาร กล่องต่อสายหรือตูท้ ใี่ ช้กรรมวิธปี อ้ งกันการผุกร่อน 25 ของระยะที่ก�ำหนดในตารางที่ 5-2 ไม่ต้องใช้ที่จับยึด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 5-2 ระยะห่างส�ำหรับการจับยึดสายไฟในแนวดิ่ง

ขนาดของสายไฟฟ้า (ตร.มม.) ไม่เกิน 50 70-120 150-185 240 300 เกินกว่า 300

ระยะจับยึดต�่ำสุด (เมตร) 30 24 18 15 12 10

สายไฟฟ้าที่เดินในแนวดิ่งที่มีความยาวสายมาก ๆ น�้ำหนักสายจะดึงจุดยึดสายด้านบนท�ำให้จุดยึดสาย เช่น ขัว้ เซอร์กิตเบรกเกอร์ช�ำรุด หรือฉนวนสายอาจช�ำรุดได้ จึงต้องมีการจับยึดสายเป็นระยะ ๆ เพือ่ ไม่ให้มีน�้ำหนักกระท�ำ ที่จุดจับยึดสายแต่ละจุดมากเกินไป สายขนาดใหญ่ที่มีน�้ำหนักมากจะต้องจับยึดให้ถี่ขึ้น มาตรฐานไม่ได้ก�ำหนดว่า จะต้องจับยึดด้วยอะไร ทั้งนี้เป็นไปตามการออกแบบและสินค้าตามที่มีในท้องตลาด ตามตัวอย่างในรูป เป็นการเดินสายร้อยท่อ การจับยึดที่สะดวกคือจับยึดที่กล่องต่อสาย ข้อควรระวังคือ อุปกรณ์ที่ใช้จับยึดควรเป็นฉนวนไฟฟ้าและไม่มีจุดแหลมคมที่อาจบาดหรือกดทับสายไฟฟ้าจนฉนวนช�ำรุดได้

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

21


รูปตัวอย่าง การจับยึดสายไฟฟ้าแนวดิ่ง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ข้อ 5.1.8 การป้องกันไม่ให้เกิดกระแสเหนี่ยวน�ำในเครื่องห่อหุ้มหรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะ ต้องป้องกันไม่ให้เกิดกระแสเหนี่ยวน�ำในเครื่องห่อหุ้มหรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะ ดังต่อไปนี้ ข้อ 5.1.8.1 เมื่อติดตั้งสายส�ำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับในเครื่องห่อหุ้มหรือช่องเดินสายที่เป็นโลหะ ต้องจัดท�ำไม่ให้เกิดความร้อนแก่โลหะทีล่ อ้ มรอบเนือ่ งจากผลของการเหนีย่ วน�ำ เช่น การรวมสายเส้นไฟทุกเส้นและตัวน�ำ นิวทรัล (ถ้ามี) รวมทั้งสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ในเครื่องห่อหุ้มหรือช่องเดินสายเดียวกัน ในการเดินสายควบ และใช้ท่อร้อยสายหลายท่อในแต่ละท่อร้อยสายต้องมีครบทั้งสายเส้นไฟ ตัวน�ำนิวทรัล และสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ข้อ 5.1.8.2 เมื่อสายเดี่ยวของวงจรเดินผ่านโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นสารแม่เหล็ก จะต้องจัดให้ผลจาก การเหนี่ยวน�ำมีน้อยที่สุด โดยการตัดร่องให้ถึงกันระหว่างรูแต่ละรูที่ร้อยสายแต่ละเส้น หรือโดยการร้อยสายทุกเส้น ของวงจรผ่านช่องเดียวกัน ข้อ 5.1.8.3 สายไฟแกนเดียวทุกเส้นของวงจรเดียวกัน รวมทั้งสายที่มีการต่อลงดินและสายดินต้องติดตั้ง ในท่อร้อยสายเดียวกัน หากติดตั้งในรางเดินสาย (Wireways) หรือรางเคเบิล (Cable trays) ให้วางเป็นกลุ่มเดียวกัน เมือ่ ไฟฟ้ากระแสสลับไหลในสายไฟฟ้าจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบ ๆ สายไฟฟ้าแต่ละเส้น มากน้อยตามจ�ำนวน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน เมื่อสายไฟฟ้าร้อยในท่อร้อยสายที่เป็นสารแม่เหล็ก จะเหนี่ยวน�ำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลใน ท่อร้อยสายท�ำให้ท่อร้อยสายเกิดความร้อนสูง เป็นสาเหตุให้ฉนวนของสายไฟฟ้าช�ำรุด แต่ถ้าในช่องเดินสายไฟฟ้า มีสายของวงจรเดียวกันครบทุกเส้น สนามแม่เหล็กของสายไฟฟ้าแต่ละเส้นจะหักล้างกัน ช่องเดินสายโลหะจะไม่ร้อน จากกระแสเหนี่ยวน�ำ หลายครัง้ ทีพ่ บว่า ในการเดินสายทีต่ อ้ งใช้สายไฟฟ้ามากกว่าเฟสละ 1 เส้น ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องการความสะดวก แต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงเดินสายรวมเฟสเดียวกันไว้ในท่อเดียวกันท่อละเฟส เพื่อความสะดวกในการท�ำเครื่องหมาย แต่ลักษณะนี้จะเป็นผลให้เกิดกระแสเหนี่ยวน�ำและท่อร้อยสายร้อนจนฉนวนช�ำรุด จากลักษณะนี้ การก�ำหนดจ�ำนวน สายนิวทรัลจึงต้องให้เท่ากับสายเส้นไฟด้วย

22


รูปตัวอย่าง ในแต่ละท่อร้อยสายต้องมีสายครบทุกเส้น ตามข้อ 5.1.8.1

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปตัวอย่าง การเดินสายผ่านแผ่นเหล็กตามข้อ 5.1.8.2

รูปตัวอย่าง สายไฟฟ้าของวงจรเดียวกันต้องร้อยในท่อเดียวกัน ตามข้อ 5.1.8.3

ข้อ 5.1.10 จ�ำนวนสายไฟฟ้าสูงสุดในท่อร้อยสาย ให้ค�ำนวณจากพื้นที่หน้าตัดรวมทั้งฉนวนและเปลือกของสายทุกเส้นในท่อร้อยสายรวมกันคิดเป็นร้อยละ เทียบกับพื้นที่หน้าตัดภายในของท่อต้องไม่เกินที่กำ� หนดในตารางที่ 5-3 ส�ำหรับสายไฟฟ้าตาม มอก. 11-2531 ตารางที่ 4 และตารางที่ 6 จ�ำนวนสูงสุดของสายไฟฟ้าขนาดเดียวกัน ที่ให้ใช้ในท่อโลหะตาม มอก. 770-2533 ให้ดูในภาคผนวก ญ.

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

23


ตารางที่ 5-3 พื้นที่หน้าตัดสูงสุดรวมของสายไฟทุกเส้นคิดเป็นร้อยละเทียบกับพื้นที่หน้าตัดของท่อ จ�ำนวนสายในท่อร้อยสาย สายไฟทุกชนิด ยกเว้น สายชนิดมีปลอกตะกั่วหุ้ม สายไฟชนิดมีปลอกตะกั่วหุ้ม

1 53 55

2 31 30

3 40 40

4 40 38

มากกว่า 4 40 35

พื้นที่หน้าตัดรวมฉนวนและเปลือกของสายไฟฟ้าหาได้จากผู้ผลิตสายไฟฟ้า ปัจจุบันมีตารางก�ำหนดจ�ำนวน ของสายไฟฟ้าส�ำหรับท่อร้อยสายแต่ละขนาดที่หาได้ทั่วไป แต่การใช้ตารางส�ำเร็จรูปต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะจ�ำนวนสายในตารางจะใช้สำ� หรับสายไฟฟ้าขนาดเดียวกันเท่านัน้ แต่ในทางปฏิบตั อิ าจมีสายหลายขนาดเดินรวมใน ท่อร้อยสายเดียวกัน ตัวอย่างการก�ำหนดขนาดท่อร้อยสาย ต้องการหาขนาดท่อร้อยสายส�ำหรับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วย สายไฟฟ้าตาม มอก. 11-2531 ตารางที่ 4 (T4) ขนาด 35 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.) จ�ำนวน 3 เส้น สายขนาด 25 ตร.มม. และ 10 ตร.มม. อย่างละ 1 เส้น ขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้ารวมฉนวน จากตารางของผู้ผลิตรายหนึ่งเป็นดังนี้ สายขนาด 35 ตร.มม. พื้นที่หน้าตัด = 104 ตร.มม. สายขนาด 25 ตร.มม. พื้นที่หน้าตัด = 86.6 ตร.มม. สายขนาด 10 ตร.มม. พื้นที่หน้าตัด = 40.7 ตร.มม. รวมพื้นที่หน้าตัดสายทั้งหมด = (3 x 104) + 86.6 + 40.7 = 439.3 ตร.มม. จากตารางที่ 5-3 สายไฟฟ้าที่เดินในท่อโลหะต้องมีพื้นที่หน้าตัดรวมกันไม่เกิน 40% ของพื้นที่ภาคตัดขวาง ภายในท่อ ท่อร้อยสายต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า = 439.3/0.4 = 1098 ตร.มม. หรือเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง = (1098x4/π) = 37.39 มม. เลือกท่อขนาด 40 มม.

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ุ หภูมิ ข้อ 5.1.13 การติดตั้งไฟฟ้าที่ผ่านผนัง ฉากกั้น ข้อ 5.1.14 เมือ่ เดินช่องร้อยสายผ่านทีม่ อี ณ พืน้ เพดาน หรือช่องท่อไฟฟ้า (Shaft) ต้องมีการป้องกัน แตกต่างกันมาก เช่น เดินท่อร้อยสายเข้า-ออกห้องเย็น ไม่ให้ไฟลุกลามตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของ ต้ อ งมี ก ารป้ อ งกั น การไหลเวี ย นของอากาศภายในท่ อ วสท. จากส่วนที่มีอุณหภูมิสูงไปส่วนที่มีอุณหภูมิเย็นกว่าเพื่อ ไม่ให้เกิดความควบแน่นเป็นหยดน�ำ้ ภายในท่อ ท่อร้อยสายไฟฟ้าทีเ่ ดินเข้าหรือออกจากห้องเย็น จะเกิดการควบแน่นของไอน�้ำในอากาศที่ไหลจากส่วนที่ อากาศร้อนกว่าไปยังส่วนที่เย็นกว่า ไอน�้ำที่เกิดในท่อนี้ จะเป็นสาเหตุให้ท่อร้อยสายผุกร่อน และยังอาจไหลไปยัง ส่วนอืน่ ๆ ของระบบท่อได้ กรณีทไี่ หลเข้าไปในกล่องต่อสาย ก็อาจท�ำให้เกิดไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรได้ ถ้าไหลเข้าใน อุปกรณ์ไฟฟ้าจะท�ำให้เสียหายได้ จึงต้องมีการป้องกัน การไหลเวียนของอากาศซึ่งสามารถท�ำได้หลายวิธีตาม ความเหมาะสม เช่น โดยการติดตั้งกล่องต่อสายและ ปิดผนึก (Seal) เป็นต้น รูปตัวอย่าง การป้องกันไฟลุกลาม

24


รูปตัวอย่าง การปิดผนึกเพื่อป้องกันการควบแน่นในท่อร้อยสาย

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 5.1.15 การเดินสายควบ อนุญาตให้วงจรไฟฟ้า เส้นไฟและนิวทรัล เดินควบสายได้โดยสายไฟฟ้าต้องมี ขนาดไม่เล็กกว่า 50 ตร.มม. สายที่เดินควบต้องเป็นสาย ชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน มีความยาวเท่ากัน และใช้วิธี ต่อสายเหมือนกัน

หมายเหตุ การเดินสายควบคือการใช้สายไฟฟ้าตั้งแต่ สองเส้นขึ้นไป โดยสายทั้งหมดมีการต่อที่ปลายสายทั้งสองข้างเข้า ด้วยกัน

การเดินสายควบต้องพยายามให้อมิ พีแดนซ์ของ สายเท่ากันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุด อิมพีแดนซ์ที่ แตกต่างกันจะเป็นผลให้กระแสของสายไฟฟ้าไหลไม่เท่ากัน อาจท�ำให้สายบางเส้นมีกระแสไหลเกินขณะทีเ่ ส้นทีเ่ หลือมี กระแสน้อยลง การทีก่ ำ� หนดให้สายไฟฟ้าต้องเป็นสายชนิด เดียวกัน ขนาดเดียวกัน มีความยาวเท่ากันและใช้วิธีการ ต่อสายเหมือนกัน เป็นเพียงข้อก�ำหนดพื้นฐานที่ต้องการ ให้สายแต่ละเส้นที่เดินควบกันมีโอกาสที่จะมีอิมพีแดนซ์ เท่ากันให้มากทีส่ ดุ แต่อมิ พีแดนซ์ของสายไฟฟ้าประกอบด้วย ความต้านทานและอินดักตีฟรีแอกแตนซ์ จึงมีปัจจัยอื่น ที่ต้องพิจารณาอีก เช่น การวางสาย และความประณีต ในการต่อสาย ในทางปฏิบัติจึงควรวัดกระแสของสาย ในแต่ละเส้นหลังจากจ่ายไฟแล้ว เพื่อความมั่นใจ ส�ำหรับ สายขนาดเล็กทีม่ กี ระแสไหลเกินเพียงเล็กน้อยก็อาจช�ำรุด ได้ง่าย ซึ่งสายขนาดใหญ่จะสามารถรับกระแสไหลเกินได้ มากกว่า การเดินสายควบจึงควรใช้กับสายขนาดใหญ่ จะให้ความปลอดภัยสูงกว่า

การเดิ น สายไฟฟ้ า ดู จ ะเป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ และ เป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้ออกแบบและติดตั้งต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษ เนื่องจากถ้าเลือกวิธีการเดินสายผิด ใช้สาย ไฟฟ้าผิดชนิด หรือติดตั้งไม่ถูกต้อง และจ�ำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง การติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง หมายถึงอายุการใช้งานสั้นลงรวมทั้งความเสียหายอื่น ที่ตามมาอีกมาก การเดินสายตามที่ก�ำหนดในมาตรฐาน การติดตั้งทางไฟฟ้าฯ มีหลายวิธี ในแต่ละสถานที่อาจมี วิธกี ารเดินสายได้หลายวิธี ในการเลือกใช้จะพิจารณาจาก ความเหมาะสมของสถานที่ การลงทุน ความสวยงาม รวมทัง้ พิจารณาระดับความคงทนและความปลอดภัยประกอบด้วย อย่างไรก็ตามในบางสถานที่จะมีข้อจ�ำกัดส�ำหรับบางวิธี การเดินสายที่ไม่อนุญาตให้ท�ำได้ ในการเลือกวิธีการ เดินสายจึงต้องดูรายละเอียดของแต่ละเรื่องประกอบด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นข้อก�ำหนดการเดินสายทั่วไปซึ่ง จะประยุกต์ใช้กับแต่ละวิธีการเดินสาย เท่าที่จะสามารถ น�ำไปใช้ได้ พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ

ประวัติผู้เขียน

นายลือชัย ทองนิล • ผูอ้ ำ� นวยการไฟฟ้าเขตมีนบุรี การไฟฟ้า นครหลวง • ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. • กรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 5

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

25


Standard & Safety มาตรฐานและความปลอดภัย รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช อีเมล : s.tanaboon@hotmail.com

เครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด ควรติดตั้งที่ใดบ้าง เครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ตั ด กระแส ไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วลงสู่บุคคลที่ไป สัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช�ำรุด เมื่อ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเครื่อง ตัดไฟรั่วสามารถตรวจได้ว่ามีกระแส รัว่ และจะท�ำหน้าทีต่ ดั วงจรไฟฟ้าออก เครื่ อ งตั ด ไฟรั่ ว จะปลดวงจรเมื่ อ มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวคนนั้น จึง จ�ำเป็นต้องเลือกชนิดที่ตัดวงจรไฟฟ้า ได้เร็ว ทัง้ นีเ้ พือ่ ลดเวลาทีก่ ระแสไฟฟ้า ไหลผ่านร่างกาย ข้อดีของเครื่องตัด ไฟรั่วคือสามารถป้องกันอันตรายได้ ทัง้ จากการสัมผัสกับสายมีไฟโดยตรง และสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้ าที่ช�ำรุด เครือ่ งป้องกันไฟรัว่ ลงดินจะใช้หลักการ ท�ำงานของการเกิดฟลักซ์หกั ล้างดังรูปที่ 1 และรูปที่ 2 ส่วนรูปที่ 3 แสดงวงจรการท�ำงาน ของเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วและไฟดูด โดยที่อุปกรณ์การตรวจจับจะต่อเข้า กับชันต์ทริฟ (Shunt trip) เพื่อสั่งให้ กลไกตัดวงจรไฟฟ้าออกเมือ่ กระแสไหล ไปจะไม่เท่ากับกระแสไหลกลับ และมี ปุม่ กดทดสอบ ทดสอบการท�ำงานของ เครื่องป้องกันไฟรั่วลงดินเพื่อทดสอบ เป็ น ประจ� ำ ตามระยะเวลาที่ ผู ้ ผ ลิ ต แนะน�ำ และที่ส�ำคัญจะต้องติดตั้งให้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

26

รูปที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้าจ่ายโหลดปกติ กระแสไหลไปจะเท่ากับกระแสไหลกลับ

รูปที่ 2 อุปกรณ์ไฟฟ้าช�ำรุดไฟรั่ว กระแสไหลไปจะไม่เท่ากับกระแสไหลกลับ จะเกิดฟลักซ์เอาต์พุต ตรวจจับได้ เพื่อส่งสัญญาณไปสั่ง ทริปเบรกเกอร์ ตัดกระแสไฟฟ้าออกจากวงจร


ถูกต้องด้วย ส่วนรูปที่ 3 แสดงรูปแบบ และส่วนประกอบของเครื่องป้องกัน ไฟรัว่ และไฟดูด โดยปกติจะท�ำงานเมือ่ กระแสรั่วลงดินไม่เกิน 30 mA และ ตามมาตรฐานจะยอมให้ค่ า กระแส แตกต่างอยู่ระหว่าง 10 ถึง 30 mA

1. มาตรฐานการป้ อ งกั น ไฟรั่วไฟดูดตามมาตรฐาน IEC 479

จะใช้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น บุ ค คลทั้ ง สัมผัสโดยตรงกับส่วนที่มีไฟฟ้าหรือ สัมผัสโดยทางอ้อม โดยการสัมผัสกับ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช�ำรุดมีกระแสไฟฟ้า รั่วไหล โดยปกติเครื่องป้องกันไฟรั่ว ลงดินส�ำหรับป้องกันบุคคลจะก�ำหนด ขี ด จ� ำ กั ด ที่ ค วามปลอดภั ย ของคน ไม่เกิน 30 mA และมีความไวในการตัด กระแสไฟรั่ ว หรื อ ไฟดู ด อยู ่ ร ะหว่ า ง 10 ms ถึง 30 ms (0.01 วินาที ถึง 0.03 วินาที) ดังรูปที่ 4 เมื่อมีกระแส ไฟฟ้ากระแสสลับ 50 Hz ไหลผ่าน จากมือลงสู่เท้าทั้งสองข้างคนเราจะมี ผลอย่างไรบ้าง

รูปที่ 3 วงจรและอุปกรณ์ของเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 4 มาตรฐานการป้องกันไฟรั่วและไฟดูดตามมาตรฐาน IEC 479

ระยะโซนหมายเลข 1 กระแสไหลผ่านไม่เกิน 0.5 mA ร่างกายปกติไม่รสู้ กึ อะไร ระยะโซนหมายเลข 2 กระแสไหลผ่านไม่เกิน 5 mA กล้ามเนื้อเกร็งตัวบ้าง 2. ชือ่ เรียกของเครือ่ งป้องกัน ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ตัดไฟรั่วไฟดูด ระยะโซนหมายเลข 3 กระแสไหลผ่านไม่เกิน 100 mA กล้ามเนือ้ เกร็งตัวรุนแรง ชือ่ เรียกเครือ่ งป้องกันตัดไฟรัว่ หายใจล�ำบาก ยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ระยะโซนหมายเลข 4 กระแสไหลผ่านไม่เกิน 1,000 mA หัวใจกระตุกหรือหยุด ไฟดูดมีการเรียกกัน 3 ชื่อดังต่อไปนี้ 2.1 เครื่ อ งตั ด กระแสไฟรั่ ว เต้น ไหม้ เซลล์ถูกท�ำลาย

ลงดิ น (Ground Fault Circuit Interrupter) หรือ GFCI หรือ CB หางหมู เซอร์ กิ ต เบรกเกอร์ ช นิ ด นี้ จะป้ อ งกั น และตั ด วงจรทั้ ง กระแส ไฟเกิ น ไฟช็ อ ต และกระแสไฟรั่ ว ลงดิน ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 GFCI เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้จะป้องกันและตัดวงจร ทั้งกระแสไฟเกิน ไฟช็อต และกระแสรั่วลงดิน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

27


2.2 เซอร์กติ เบรกเกอร์กระแส รั่วลงดิน (Earth leakage circuit breaker) หรื อ ELCB เซอร์ กิ ต เบรกเกอร์ ช นิ ด นี้ จ ะป้ อ งกั น และ ตัดวงจรเฉพาะกระแสรัว่ ลงดินเท่านัน้ ดังรูปที่ 6 ในการใช้งานจึงจ�ำเป็นต้อง มีฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ป้องกัน อีกชั้นหนึ่ง ดังในรูปที่ 7 ส่วนรูปที่ 8 เป็น ELCB รุน่ ทีม่ ี ทั้งเบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกินและ ไฟช็อต ร่วมกับเบรกเกอร์ป้องกัน กระแสไฟรั่วลงดิน

รูปที่ 6 ELCB เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้จะป้องกันเฉพาะกระแสรั่ว ลงดินเท่านั้น แต่จะไม่ป้องกันกระแสไฟเกิน และไฟช็อต

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

2.3 เซอร์กติ เบรกเกอร์กระแส ตกค้าง (Residual current circuit breaker) มีการสร้าง 2 ชนิด ก. เซอร์ กิ ต เบรกเกอร์ กระแสตกค้าง (Residual current circuit breaker) หรื อ RCCB เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้จะป้องกัน เฉพาะกระแสไฟรั่ ว ลงดิ น เท่ า นั้ น แต่จะไม่ปอ้ งกันกระแสเกินและไฟช็อต ดังรูปที่ 9 ข. เซอร์ กิ ต เบรกเกอร์ กระแสตกค้ า งมี โ อเวอร์ โ หลด (Residual current breaker with overload) หรือ RCBO ดังรูปที่ 10 เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้จะป้องกัน กระแสไฟเกิน ไฟช็อต และกระแสรัว่ ลงดิน ส่วนรูปที่ 11 เป็น RCBO ที่ท�ำ เป็นแบบเบรกเกอร์หางหมู

รูปที่ 7 ติดตั้งเบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกินและไฟช็อต ร่วมกับ ELCB ป้องกันกระแสไฟรั่วลงดิน

รูปที่ 8 เป็น ELCB รุ่นที่มีทั้งเบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกินและไฟช็อต ร่วมกับเบรกเกอร์ป้องกันกระแสรั่วลงดิน

รูปที่ 9 RCCB รุ่นนี้ป้องกันกระแสไฟรั่วลงดินเท่านั้น

28


รูปที่ 10 RCBO จะป้องกันได้ทั้งกระแสเกิน ไฟช็อต และกระแสรั่วลงดิน

3. เครื่ อ งป้ อ งกั น ตั ด ไฟรั่ ว ไฟดูด ควรติดตัง้ ทีใ่ ดบ้าง ?

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 3.1 บ้ า นพั ก อาศั ย ส� ำ หรั บ แรงดันไฟฟ้า 220 V เฟสเดียว วงจร เต้ารับขนาด 10 A, 15 A, 16 A และ 20 A ทั้งหมดจะต้องมีเครื่องป้องกัน ตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ส�ำหรับพื้นที่ดังต่อไปนี้ รูปที่ 11 เมน RCBO 2 ขั้ว ส่วน RCBO ขั้วเดียว เป็นแบบเบรกเกอร์หางหมูเป็น ก. ห้องน�้ำ แรงดันไฟฟ้า วงจรย่อย เพื่อใส่เข้ากับตู้โหลดเซนเตอร์ ทั้งนี้ไม่ต้องติดตั้งเครื่องป้องกัน 220 V เฟสเดียว วงจรเต้ารับขนาด ไฟรั่วไฟดูดภายนอกตู้อีกเพราะจะไม่สวยงาม 10 A, 15 A,16 A และ 20 A ทั้งหมด ในห้ อ งน�้ ำ จะต้ อ งติ ด ตั้ ง ผ่ า นเครื่ อ ง ป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) นอกจากนี้ภายในห้องน�้ำถ้า มีเครื่องซักผ้าก็ต้องติดตั้งผ่านเครื่อง ป้ อ งกั น ตั ด ไฟรั่ ว ไฟดู ด ด้ ว ยเช่ น กั น อย่ า งไรก็ ต ามอาจใช้ เ ป็ น ชนิ ด ที่ มี เครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูดรวมอยู่ ที่ เ ต้ า รั บ ป้ อ งกั น ด้ า นปลายทางก็ ไ ด้ ดังรูปที่ 12

รูปที่ 12 เต้ารับติดผนังมีเครื่องป้องกันไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) รวมอยู่ภายในตัว

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

29


หรื อ มาจากแผงจ่ า ยไฟ ในบ้าน (Consumer unit หรือ Load center) ที่ผ่านเครื่องป้องกันตัดไฟ รั่ ว ไฟดู ด วงจรย่ อ ยด้ า นต้ น ทางก็ ไ ด้ ดังรูปที่ 13 แสดงการใช้เครือ่ งป้องกัน ตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ในห้องน�้ำ อย่ า งไรก็ ต ามอาจติ ด ตั้ ง เต้ า รั บ คู ่ อั น เดี ย วส� ำ หรั บ ทั้ ง อ่ า ง ล้ า งหน้ า ทั้ ง คู ่ หรื อ ติ ด เต้ า รั บ คู ่ 2 เต้ารับแยกให้แต่ละอ่างล้างหน้าก็ได้ ข. โรงรถและบริเวณงาน ซ่ อ มที่ อ ยู ่ ใ นต� ำ แหน่งระดับ พื้นหรือ ต�ำ่ กว่าระดับพืน้ วงจรจ่ายไฟฟ้าเต้ารับ ทุกตัวจะต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่ว ไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันบุคคลที่ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ จัดสวน เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ นอกจากนี้ต้อง จัดให้มีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด บริเวณที่ซ่อมรถหรือบริเวณโต๊ะซ่อม ไฟฟ้า ดังรูปที่ 14 ค. ห้องครัว เต้ารับส�ำหรับ เครื่องใช้ไฟฟ้าหุงต้มทั้งหมดมีโอกาส ที่ จ ะถู ก น�้ ำ วงจรจ่ า ยไฟฟ้ า เต้ า รั บ เครื่องใช้ไฟฟ้าหุงต้มทุกตัว รอบอ่าง ล้างจาน ต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่ว ไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ดังรูปที่ 15

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 13 แสดงการใช้เครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ส�ำหรับเต้ารับในห้องน�้ำ

รูปที่ 14 โรงรถและบริเวณงานซ่อม วงจรจ่ายไฟฟ้าเต้ารับทุกตัว จะต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI)

รูปที่ 15 ห้องครัว วงจรจ่ายไฟฟ้าเต้ารับเครื่องใช้ไฟฟ้าหุงต้มทุกตัว จะต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI)

30


ง. อ่างล้างจาน ที่ไม่อยู่ ภายในห้องครัว วงจรเต้ารับขนาด 10 A, 15 A, 16 A หรือ 20 A 220 V จะต้อง มีเครือ่ งป้องกันตัดไฟรัว่ ไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) และต้องติดตั้งอยู่ภายใน ระยะห่าง 1.80 เมตร จากมุมขอบนอก ของอ่างล้างจาน เนื่องจากมีเครื่องใช้ ไฟฟ้าหลายชนิดอาจถูกน�้ำได้ จ. ภายนอกอาคาร เต้ารับ ภายนอกอาคารที่ อ ยู ่ สู ง จากระดั บ พื้นต�่ำกว่า 2.0 เมตร และเข้าถึงได้ หรือเต้ารับภายนอกอาคารติดตั้งใกล้ รางน�ำ้ ฝน ต้องมีเครือ่ งป้องกันตัดไฟรัว่ ไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ดังรูปที่ 17 3.2 อาคารอื่นที่ไม่ใช่บ้านพัก อาศัยอันได้แก่ โรงแรม อพาร์ตเมนต์ ส�ำหรับแรงดันไฟฟ้า 220 V เฟสเดียว วงจรเต้ารับขนาด 10 A, 15 A, 16 A และ 20 A ทั้งหมดจะต้องมีเครื่อง ป้ อ งกั น ไฟรั่ ว ไฟดู ด (RCBO หรื อ GFCI) ส�ำหรับพื้นที่ดังต่อไปนี้ ก. ห้องน�้ำ แรงดันไฟฟ้า 220 V เฟสเดียว วงจรเต้ารับขนาด 10 A, 15 A, 16 A และ 20 A ทัง้ หมด ในห้องน�้ำที่ไม่ใช่บ้านพักอาศัยต้อง ติดตัง้ ผ่านเครือ่ งป้องกันตัดไฟรัว่ ไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ดังรูปที่ 18 ข. ห้องครัว แรงดันไฟฟ้า 220 V เฟสเดียว วงจรเต้ารับขนาด 10 A, 15 A, 16 A และ 20 A ทัง้ หมด ในห้องน�้ำที่ไม่ใช่บ้านพักอาศัยจะต้อง ติ ด ตั้ ง ผ่ า นเครื่ อ งป้ อ งกั น ตั ด ไฟรั่ ว ไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันอุบัติเหตุจากไฟดูดในบริเวณ พื้นที่อ่างล้างจาน พื้นที่เตรียมอาหาร และหุงต้ม เตาความร้อนแบบใช้สาย คอร์ดและเต้าเสียบชนิดเคลือ่ นย้ายได้ เช่น เตาไมโครเวฟ และเตาอบไฟฟ้า ที่ใช้ในภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน โรงอาหารหรือพืน้ ทีใ่ ช้งานคล้าย ๆ กัน

รูปที่ 16 ต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ส�ำหรับเต้ารับติดตั้งอยู่ภายใน ระยะห่าง 1.80 เมตร ส�ำหรับอ่างล้างจานที่ไม่อยู่ภายในห้องครัว

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 17 ต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ส�ำหรับเต้ารับติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร

รูปที่ 18 เต้ารับต้องมีเครื่องป้องกันตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) ส�ำหรับโรงแรมและอพาร์ตเมนต์ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

31


ค. อ่างน�้ำ ทุกชนิดไม่ว่า จะเป็นอ่างล้างจาน อ่างล้างหน้า หรือ อ่างล้างมือ เต้ารับที่อยู่ใกล้กับอ่าง น�้ำ ขนาด 10 A, 15 A, 16 A หรือ 20 A 220 V จะต้องมีเครื่องป้องกัน ตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO หรือ GFCI) และต้ อ งติ ด ตั้ ง อยู ่ ภ ายในระยะห่ า ง 1.80 เมตร จากมุมขอบนอกของอ่างน�ำ้ เมื่ อใช้ในห้องอาหารโรงเรียน ห้องอาบน�้ำ ห้องเรียน ห้องภารโรง หรือพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ดังรูปที่ 19 เป็นเต้ารับคู่ 2 เต้ารับ ติดตั้งอยู่ทางขวามือของ อ่างล้างจานระยะห่าง 1.80 เมตร จากมุมขอบนอกของอ่างล้างจาน

รูปที่ 19 เป็นเต้ารับคู่ 2 เต้ารับ ติดตั้งอยู่ภายในระยะห่าง 1.80 เมตร จากมุมขอบนอกของอ่างล้างจาน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

4. การติดตั้งเครื่องป้องกัน ตัดไฟรั่วไฟดูด

4.1 การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว ไฟดูดนอกตู้ แผงเมนไฟฟ้า การติดตัง้ แบบนี้ มี ค วามส� ำ คั ญ และควรระวั ง ในการติดตั้งอย่างยิ่ง ทั้งนี้ต้องให้อยู่ ในต�ำแหน่งที่ถูกต้อง กล่าวคือ ต้องไม่ตดิ ตัง้ เครือ่ งตัด ไฟรัว่ ไฟดูดด้านหน้าแผงเมนไฟฟ้าต่อ ไม่ถูกต้อง เครื่องตัดไฟรั่วไฟดูดจะไม่ ทริพเนื่องจากกระแสไฟที่รั่วลงดินจะ ไหลกลับมายังแผงเมนไฟฟ้า กลับมา รวมกับกระแสส่วนที่ไหลจากโหลด แล้วไหลกลับสู่แหล่งก�ำเนิดโดยผ่าน เครือ่ งตัดกระแสไฟรัว่ จะท�ำให้กระแส ทีไ่ หลไปและไหลกลับผ่านเครือ่ งตัดไฟ รัว่ เท่ากัน เครือ่ งจะไม่ตดั วงจร ดังรูปที่ 20 แต่ถ้าท�ำการกดปุ่มทดสอบเครื่อง ตั ด ไฟรั่ ว ไฟดู ด จะทริพ ปุ่มทดสอบ ดังกล่าวเป็นปุ่มทดสอบเพื่อยืนยันว่า เครื่ อ งตั ด ไฟรั่ ว ไฟดู ด ยั ง ท� ำ งานเป็ น ปกติไม่เสีย ซึง่ ไม่เกีย่ วกับการต่อวงจร เครื่องตัดไฟรั่วไฟดูดต่อถูกต้องหรือ ต่อผิด ส่วนรูปที่ 21 แสดงการติดตั้ง

32

รูปที่ 20 การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูดในต�ำแหน่งด้านหน้าแผงเมนไฟฟ้า จะไม่ทริพ ไม่ถูกต้อง

รูปที่ 21 การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในต�ำแหน่งด้านหลังแผงเมนไฟฟ้า จะทริพถูกต้อง


รูปที่ 22 แสดงการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด (RCCB) รวมอยู่ในตู้แผงเมนไฟฟ้าเดียวกัน

เครื่องตัดไฟรั่วในต�ำแหน่งด้านหลัง แผงเมนไฟฟ้าต่อถูกต้อง เครื่องตัด ไฟรั่วไฟดูดจะทริพ กรณีมีกระแสไฟ ที่ รั่ ว ลงดิ น และกลั บ มายั ง แผงเมน ไฟฟ้า กระแสไฟรั่วลงดินดังกล่าวจะ ไม่ผ่านเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด ท�ำให้ กระแสไหลผ่านเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด ไหลไปและไหลกลับไม่เท่ากัน เป็นผล ท�ำให้เกิดฟลักซ์เอาต์พุต ตรวจจับได้ เพื่อส่งสัญญาณไปสั่งทริพเครื่องตัด ไฟรั่วไฟดูด 4.2 การติดตั้งเครื่องตัดไฟ รั่ ว ไฟดู ด รวมอยู ่ ใ นตู ้ แ ผงเมนไฟฟ้ า เดียวกัน รูปที่ 22 แสดงการติดตั้ง เครื่องตัดไฟรั่ว การติดตั้งเครื่องตัด ไฟรั่วไฟดูดรวมอยู่ในตู้แผงเมนไฟฟ้า เดียวกัน ส่วนรูปที่ 23 แสดงวงจร การเดิ น สายเครื่ อ งตั ด ไฟรั่ ว ไฟดู ด (RCCB) และผ่ า นเมนเบรกเกอร์ ป้องกันกระแสเกินและลัดวงจร รวมอยู่ ในตู้แผงเมนไฟฟ้า (Consumer unit) เดียวกัน และรูปที่ 24 แสดงการติดตัง้ เครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด กระแสเกินและ กระแสลั ด วงจร เมนเพี ย งตั ว เดี ย ว (RCBO) รวมอยู่ในตู้แผงเมนไฟฟ้า

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 23 แสดงวงจรการเดินสายเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด (RCCB) โดยผ่านเมน เบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกินและลัดวงจร รวมอยู่ในตู้แผงเมนไฟฟ้า (Consumer unit) เดียวกัน

รูปที่ 24 แสดงตู้แผงเมนไฟฟ้า (Consumer unit) มีเมนเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO) พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

33


ส่วนการป้องกันวงจรย่อย อาจเป็น CB ธรรมดา หรือ CB ป้องกันไฟรั่วไฟดูด กระแสเกินและไฟลัดวงจรด้วย CB ชนิดหางหมู ส่วนรูปที่ 25 แสดงไดอะแกรมการเดินสายแผงเมนไฟฟ้า (Consumer unit) มีเมนเครื่องตัดไฟรั่ว ไฟดูด (RCBO)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 25 แสดงไดอะแกรมการเดินสายแผงเมนไฟฟ้า (Consumer unit) มีเมนเครื่องตัดไฟรั่วไฟดูด (RCBO)

เอกสารอ้างอิง 1. NEC, National Electrical Code Handbook, National Fire Protection Association, Quincy Massachusetts : 2011 2. www.tatc.ac.th/files/08122513132352_09012812121104.pdf 3. http://www.iansystem.com/image/catalogue/Rccb/i21_page2_9-3.pdf 4. www.sci-tech-service.com/.../consumerunit/consumer_unit.htm 5. ประมวลหลักปฏิบตั วิ ชิ าชีพ เรือ่ งการออกแบบ ติดตัง้ ตรวจสอบ และทดสอบ การต่อลงดิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ ฉบับร่าง 27 ธันวาคม 2553

ประวัติผู้เขียน

34

รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี • วุฒิวิศวกร แขนงไฟฟ้าก�ำลัง (วฟก.457) • กรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. 2554-2556


Standard & Safety มาตรฐานและความปลอดภัย นายมงคล วิสุทธิใจ

หลักปฏิบัติด้านการตรวจสอบและการทดสอบ การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย (ตอนที่ 5) ปัญหาการป้องกันอัคคีภัยอาคารประการหนึ่ง คือปัญหางานระบบวิศวกรรมความปลอดภัยจากอัคคีภัย โดยเฉพาะงานระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยที่มักพบว่าระบบไม่ท�ำงานในบางส่วน หรือทั้งระบบ หรือท�ำงานตรวจจับ อัคคีภัยในระยะเริ่มต้นช้าจนไม่สามารถเตือนภัยได้ทัน ทั้งนี้เพราะปัญหาการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน และที่สำ� คัญคือ ระบบขาดการบ�ำรุงรักษาตามมาตรฐานก�ำหนด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ การตรวจสอบระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย

อุปกรณ์ บริภณ ั ฑ์ และระบบสัญญาณเตือนอัคคีภยั การตรวจสอบอุ ป กรณ์ บริ ภั ณ ฑ์ และระบบ ทั้งที่ติดตั้งใหม่ ติดตั้งเพิ่มเติม หรือปรับปรุงจากที่ติดตั้ง สัญญาณเตือนอัคคีภัยมีหลักปฏิบัติโดยสังเขปดังต่อไปนี้ อยู่เดิม จะต้องท�ำการตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบกับแบบ หมายเหตุ ดูข้อก�ำหนดที่สมบูรณ์ทั้งหมดในประมวลหลัก และเอกสารของระบบ ซึ่งหากตรวจสอบพบว่าการติดตั้ง ปฏิบัติวิชาชีพฯ ของสภาวิศวกร พ.ศ. 2553 ระบบผิดไปจากแบบ ลักษณะการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมหรือมีสงิ่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคกีดขวางการท�ำงาน ที่ท�ำให้สมรรถนะการท�ำงานลดลงหรือสูญเสียไป เป็นต้น จะต้องด�ำเนินการแก้ไขและท�ำการทดสอบอุปกรณ์และ ระบบโดยรวมต่อไป

กรณี ที่ อุ ป กรณ์ ห รื อ บริ ภั ณ ฑ์ ติ ด ตั้ ง ในพื้ น ที่ เ สี่ ย ง อั น ตรายต่ อ การปฏิ บั ติ ง าน เช่ น พื้ น ที่ ก ารผลิ ต ที่ มี เครื่องจักรเปิดท�ำงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่แหล่งก�ำเนิด ไฟฟ้า พื้นที่มีไฟฟ้าแรงสูง พื้นที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี หรือเครือ่ งก�ำเนิดรังสี เป็นต้น สามารถเลือ่ นการตรวจสอบ ออกไปเพื่อรอให้หยุดการใช้งานในพื้นที่นั้นก่อน แต่จะ เลื่อนไปได้ไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 รอบของก�ำหนดการ ตรวจสอบ นับจากก�ำหนดเริ่มท�ำการตรวจสอบ

การตรวจสอบเอกสารของระบบฯ

เอกสารและประวัติการติดตั้งระบบสัญญาณเตือน อั ค คี ภั ย ต้ อ งจั ด เก็ บ ในตู ้ เ อกสารที่ อ ยู ่ ใ กล้ กั บ บริ ภั ณ ฑ์ ควบคุม หรือแสดงผลเพลิงไหม้ หรือในห้องศูนย์สั่งการ ดับเพลิง โดยมีฉลากหรือป้ายระบุขอ้ ความ “เอกสารระบบ สัญญาณเตือนอัคคีภยั ” ทีห่ น้าตูเ้ อกสารนัน้ และหากจัดเก็บ เป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ต้องพิมพ์เป็นเอกสารเพื่อให้ ใช้ตรวจสอบได้ ประกอบด้วย พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

35


1. เอกสารทีไ่ ด้รบั มอบเมือ่ การติดตัง้ ระบบแล้วเสร็จ

การส�ำรวจระบบฯ ติดตั้งในพื้นที่ป้องกัน

การส�ำรวจอุปกรณ์และบริภัณฑ์ทั้งหมดที่ติดตั้ง ก. เอกสารการตรวจรับงานติดตั้ง ที่ระบุจำ� นวน ในระบบฯ เปรียบเทียบกับรายละเอียดที่ระบุในเอกสาร และชนิดของอุปกรณ์ และบริภัณฑ์ทั้งหมดของระบบ แบบแปลนของระบบและข้อก�ำหนดมาตรฐานดังนี้ รวมถึงเอกสารบันทึกการติดตั้งในที่ซ่อน พร้อมผังวงจร 1. ส�ำรวจชนิดและจ�ำนวนที่ติดตั้ง เช่น และภาพประกอบ ก. พื้ น ที่ ป ้ อ งกั น ชี วิ ต เช่ น พื้ น ที่ ห ลั บ นอน ข. เอกสารบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงไปจาก เส้นทางหนีไฟแบบปิด ห้องบันไดหนีไฟ และโถงลิฟต์ ระบบที่ได้ออกแบบไว้แต่แรก เป็ น ต้ น ต้ อ งติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ ควั น ในจ� ำ นวนที่ ค. แบบแปลนแสดงการติดตั้งจริง ง. เอกสารคู่มือการใช้งานอุปกรณ์ บริภัณฑ์ สามารถครอบคลุมการตรวจจับในพื้นที่ป้องกันนั้นได้ ข. จ�ำนวนอุปกรณ์ตรวจจับในแต่ละโซนตรวจจับ เครื่องควบคุม และระบบโดยรวม ที่จัดท�ำขึ้นใช้เฉพาะกับ ต้ อ งไม่ เ กิ น จ� ำ นวนที่ ผู ้ ผ ลิ ต บริ ภั ณ ฑ์ ค วบคุ ม ระบบและ ระบบที่ติดตั้งนี้ เช่น • คู่มือการใช้งานอุปกรณ์และบริภัณฑ์ที่ใช้ มาตรฐานก�ำหนด ค. ห้องพักเดีย่ วทีป่ ระกอบด้วยหนึง่ ห้องหลักและ พร้ อ มด้ ว ยขั้ น ตอนการท� ำ งานของระบบ และขั้ น ตอน มีหอ้ งน�ำ้ ในตัว มีพนื้ ทีร่ วมกันไม่เกิน 46 ตารางเมตร และ การควบคุมการท�ำงานเครื่องควบคุมในสภาวะต่าง ๆ • คู ่ มื อ การติ ด ตั้ ง และการระบุ ข ้ อ ขั ด ข้ อ ง ผนังห้องพักเป็นวัสดุไม่ติดไฟ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ (Trouble shooting) ส�ำหรับระบบทีส่ ามารถระบุตำ� แหน่งได้ ควันในห้องหลักอย่างน้อย 1 จุด • คู่มือการใช้งาน รหัสผ่าน และโปรแกรม 2. ส�ำรวจต�ำแหน่งและความถูกต้องเรียบร้อยของ ก�ำหนดต�ำแหน่ง ก�ำหนดการท�ำงานอุปกรณ์หรือบริภัณฑ์ ส�ำหรับระบบที่สามารถระบุต�ำแหน่งได้ พร้อมด้วยข้อมูล การติดตั้ง เช่น ก. อุปกรณ์และบริภัณฑ์ ต้องติดตั้งอย่างมั่นคง ต�ำแหน่ง การท�ำงานอุปกรณ์และบริภณ ั ฑ์จากการก�ำหนด แข็ ง แรง ยึ ด แน่ น เข้ า กั บ ต� ำ แหน่ ง ติ ด ตั้ ง ได้ ม าตรฐาน ด้วยโปรแกรมดังกล่าว • คู่มือการบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์และบริภัณฑ์ การติดตัง้ ทางไฟฟ้า หากติดตัง้ ในพืน้ ทีเ่ สีย่ งต่อความเสียหาย ั ฑ์นนั้ ที่ใช้ พร้อมด้วยตารางปฏิบัติการบ�ำรุงรักษาเชิงป้องกัน ทางกลจะต้องมีการป้องกันให้กบั อุปกรณ์และบริภณ ข. ต� ำ แหน่ ง ติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ แ ละบริ ภั ณ ฑ์ ต ้ อ ง • รายละเอียดทางเทคนิคของอุปกรณ์และ บริภัณฑ์ที่ใช้ในระบบ พร้อมด้วยรายการค�ำนวณพิกัด สามารถมองเห็ น อุ ป กรณ์ ไ ด้ ทั้ ง ชุ ด สามารถเข้ า ถึ ง ได้ เซอร์กติ เบรกเกอร์หลักส�ำหรับระบบ และรายการค�ำนวณ และสะดวกต่อการบ�ำรุงรักษา ค. อุปกรณ์ตรวจจับชนิดจุดต้องติดในต�ำแหน่ง พิกัดแบตเตอรี่สำ� รองไฟส�ำหรับระบบ ที่มองเห็นได้ชัดจากทางเข้าพื้นที่ 2. บั น ทึ ก ประวั ติ ก ารบ� ำ รุ ง รั ก ษาของอุ ป กรณ์ 3. ส� ำ รวจสภาพแวดล้ อ มและอุ ป สรรคกี ด ขวาง บริภัณฑ์และระบบ ได้แก่ การท�ำงานในบริเวณติดตั้งอุปกรณ์หรือบริภัณฑ์ เช่น ก. ชุดรายงานสภาพของระบบ ก. อุปกรณ์และบริภัณฑ์ที่ใช้ติดตั้งต้องเป็นชนิด ข. ชุดรายงานการทดสอบระบบตามก�ำหนด ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ติดตั้ง โดยไม่มีผล ต่อการท�ำงาน การใช้งาน หรือทอนอายุการใช้งานลง และเป็นไปตามค�ำแนะน�ำของผู้ผลิต ได้แก่

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

36


ข. อุปกรณ์ตรวจจับต้องติดตัง้ ห่างจากสิง่ กีดขวาง การท�ำงาน เช่น (1) ห่างจากแนวรอยต่อระหว่างฝ้า เพดาน กั บ ผนั ง ฉากกั้ น หรื อ ชั้ น วางของไม่ น ้ อ ยกว่ า 300 มิลลิเมตร (2) ห่างจากหัวจ่ายลม ที่ตั้งอยู่ในระนาบ เดียวกันไม่น้อยกว่า 400 มิลลิเมตร ค. ฝ้าเพดานตะแกรง (1) กรณี ฝ ้ า ตะแกรงมี พื้ น ที่ ช ่ อ งโปร่ ง ให้ อากาศถ่ายเทได้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วน (ร้อยละ 67) ของพื้ น ที่ เ พดานทั้ ง หมด ต้ อ งติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ ที่เพดานบนเหนือฝ้าตะแกรงนั้น (2) กรณีฝา้ ตะแกรงในข้อ (1) มีพนื้ ทีส่ ว่ นทึบ ที่กว้างมากกว่า 2.0 เมตร ขนาดพื้นที่ส่วนทึบตั้งแต่ 5.0 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับทั้งที่เพดาน บนเหนือฝ้าตะแกรงและที่ฝ้าส่วนทึบด้วย

ง. อุปกรณ์ตรวจจับเมื่อเปิดใช้งานในภาวะปกติ ดวงไฟสัญญาณสีแดงจะต้องไม่ติดค้าง 2. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดล�ำแสง ก. ติดตั้งเข้ากับพื้นผิวที่มั่นคง แข็งแรง และ ไม่เคลื่อนตัว เช่น เสา ผนังก่ออิฐ ผนังคอนกรีต และ โครงสร้างหลัก เป็นต้น ข. ติดที่ระดับความสูงตามข้อก�ำหนดมาตรฐาน และต้องติดต�่ำลงมาจากฝ้าเพดานหรือหลังคาไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 750 มิลลิเมตร ค. อุปกรณ์ตรวจจับแต่ละชุดต้องติดตั้งห่างกัน ไม่เกิน 14.00 เมตร ง. อุปกรณ์ตรวจจับเมื่อเปิดใช้งานในภาวะปกติ ดวงไฟสัญญาณสีแดงจะต้องไม่ติดค้าง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 4. ส�ำรวจว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งนั้นไม่ขัดข้อง เสียหาย หรือถูกแก้ไขดัดแปลง หรือถูกห่อหุ้มเป็นอุปสรรคต่อ การท�ำงาน และพืน้ ทีต่ ดิ ตัง้ ไม่มสี ภาพแวดล้อมทีม่ ผี ลท�ำให้ สมรรถนะการท�ำงานของอุปกรณ์และระบบลดลงหรือ สูญเสียไป

การตรวจสอบอุปกรณ์และบริภัณฑ์ในระบบ

ตรวจสอบการติดตัง้ โดยพิจารณาความถูกต้องตาม มาตรฐานข้อก�ำหนดต�ำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์และบริภัณฑ์ ทั้งหมด ด้วยหลักปฏิบัติโดยสังเขปดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด ก. ติดตัง้ ทีฝ่ า้ เพดาน หรือผนัง ทีร่ ะดับความสูง ตามข้อก�ำหนดมาตรฐาน ข. ติดห่างผนัง ฉากกั้น หรือชั้นวางของ (หรือ เพดาน ในกรณีติดอุปกรณ์ตรวจจับที่ผนัง) ไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร และไม่เกิน 4.50 เมตร ค. กรณีตดิ ตัง้ ทีฝ่ า้ เพดานแนวระดับราบ ระหว่าง อุปกรณ์ตรวจจับแต่ละชุด ต้องติดห่างกันไม่เกิน 9.00 เมตร ส�ำหรับพื้นที่จัดไว้เป็นช่องทางเดิน ให้ดูข้อก�ำหนด มาตรฐาน

3. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศ ในท่อดูดลมกลับ ก. กล่องบรรจุอปุ กรณ์ตรวจจับต้องติดตัง้ เข้ากับ ท่อดูดลมกลับโดยตรงอย่างมั่นคง แข็งแรง ข. ท่อสุ่มตัวอย่างที่สอดขวางเข้ากับท่อดูดลม กลับ ต้องหันรูไปในทิศทางรับลมดูดกลับ

4. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศ หลายจุด ก. แนวท่ อ สุ ่ ม ตั ว อย่ า งอากาศต้ อ งติ ด ตั้ ง ใน ต�ำแหน่งที่เข้าถึงสะดวกต่อการบ�ำรุงรักษา ข. ท่อสุ่มตัวอย่างอากาศต้องเป็นท่อชนิดพีวีซี อย่างหนาสีขาวหรือท่อทองแดง มีข้อความว่า “แจ้งเหตุ เพลิงไหม้” บนท่อทุกระยะ 1.0 เมตร โดยตัวอักษรต้อง มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ค. หั ว ดู ด อากาศจะต้ อ งยื่ น เลยจากระดั บ ฝ้ า ไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 300 มิลลิเมตร ง. ระยะห่ า งระหว่ า งจุ ด สุ ่ ม ตั ว อย่ า งอากาศ ต้องห่างกันไม่เกิน 9.00 เมตร

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

37


5. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดกล้องโทรทัศน์ ก. ทิ ศ ทางการมองพื้ น ที่ ป ้ อ งกั น ของกล้ อ ง โทรทั ศ น์ ต ้ อ งไม่ มี สิ่ ง บดบั ง กี ด ขวาง ทั้ ง วั ต ถุ ทึ บ แสง วัตถุโปร่งแสง หรือวัตถุโปร่งใส เว้นแต่กระจกใสหน้าเรือน หุ้มกล้อง ข. ทิ ศ ทางการมองพื้ น ที่ ป ้ อ งกั น ของกล้ อ ง โทรทัศน์ต้องไม่ย้อนแสงสว่างจ้า หรือมองเห็นแสงจาก การสะท้อน โดยเฉพาะแสงอาทิตย์ ค. พื้ น ที่ ป ้ อ งกั น ต้ อ งมี แ สงสว่ า งเพี ย งพอกั บ การวิเคราะห์ภาพของกล้องโทรทัศน์ ตามที่ผู้ผลิตก�ำหนด 6. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุด ก. ติดตัง้ ทีฝ่ า้ เพดาน หรือผนัง ทีร่ ะดับความสูง ตามข้อก�ำหนดมาตรฐาน ข. ติดห่างผนัง ฉากกั้น หรือชั้นวางของไม่น้อย กว่า 300 มิลลิเมตร และไม่เกิน 3.60 เมตร ค. กรณี ติ ด ตั้ ง ที่ ฝ ้ า เพดานแนวระดั บ ราบ ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับแต่ละชุด ต้องติดห่างกันไม่เกิน 7.20 เมตร ส� ำ หรั บ พื้ น ที่ จั ด ไว้ เ ป็ น ช่ อ งทางเดิ น ให้ ดู ข้อก�ำหนดมาตรฐาน ง. อุปกรณ์ตรวจจับเมื่อเปิดใช้งานในภาวะปกติ หากมีดวงไฟสัญญาณสีแดง ดวงไฟจะต้องไม่ติดค้าง

8. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง ก. ทิ ศ ทางการมองพื้ น ที่ ป ้ อ งกั น ของอุ ป กรณ์ ต้องไม่มีสิ่งบดบัง กีดขวาง ทั้งวัตถุทึบแสง วัตถุโปร่งแสง หรือวัตถุโปร่งใส เว้นแต่กระจกใสหน้าเรือนหุ้มอุปกรณ์ ข. ทิ ศ ทางการมองพื้ น ที่ ป ้ อ งกั น ของอุ ป กรณ์ ต้องไม่ย้อนแสงสว่างจ้า หรือมองเห็นแสงจากการสะท้อน โดยเฉพาะแสงอาทิตย์ ค. ตรวจความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับ เปลวเพลิงชนิดตรวจจับการแผ่รงั สี (UV หรือ IR) กับพืน้ ที่ ป้องกัน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

7. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดเส้น ก. ต้องติดตั้งให้สามารถมองเห็นเส้นวงจรได้ โดยตลอดพื้นที่ ข. ต้องติดห่างผนัง ฉากกั้น หรือชั้นวางของ ไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร และไม่เกิน 3.60 เมตร ค. ต้ อ งติ ด ตั้ ง ให้ เ ส้ น วงจรตรวจจั บ แต่ ล ะเส้ น ห่างกันไม่เกิน 7.20 เมตร

ภาพตัวอย่างวงจรอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดเส้น

38


9. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ ก. ติดตัง้ อุปกรณ์ทที่ างเข้า-ออกพืน้ ทีป่ อ้ งกันและ ทางหนีไฟของแต่ละชั้นของอาคาร ในต�ำแหน่งที่เห็นได้ ชัดเจนและสามารถเข้าถึงเพื่อใช้งานได้สะดวก ข. ติดตั้งอุปกรณ์ใกล้กับประตูเข้าสู่ช่องบันได โดยติ ด ห่ า งจากกรอบประตู ด ้ า นซ้ า ยหรื อ ขวาไม่ เ กิ น 1.5 เมตร หากช่องประตูกว้างมากกว่า 12 เมตร ต้องติด ทั้ง 2 ด้าน ค. ติดตั้งอุปกรณ์ทุกระยะไม่เกิน 60 เมตรตาม แนวทางเดิน 10. อุปกรณ์เสียงแจ้งสัญญาณ ก. ติดตัง้ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณในต�ำแหน่งทีเ่ ห็น ทั้งชุดได้ชัดเจน ข. วัดค่าความดังของเสียงสัญญาณที่จุดใด ๆ ในอาคารนานไม่น้อยกว่า 60 วินาที ต้องได้ค่ามาตรฐาน

ก. ขนาดพืน้ ทีท่ ำ� งานด้านหน้าบริภณ ั ฑ์ จะต้อง มีระยะห่างประกอบขึน้ เป็นพืน้ ทีว่ า่ งตามมาตรฐานก�ำหนด ข. บริภัณฑ์ที่เปิดใช้งานปกติแล้วต้องอยู่ใน สถานะดังนี้ (1) ต้องปรากฏดวงไฟสีเขียวแสดงสถานะ การจ่ายไฟหลักเข้าระบบตามปกติ (2) ต้องไม่ปรากฏดวงไฟสีแดงแสดงสภาวะ แจ้งสัญญาณติดสว่างหรือกะพริบ (3) ต้ อ งไม่ ป รากฏดวงไฟสี เ หลื อ งแสดง สภาวะขัดข้องติดสว่างหรือกะพริบ (4) สวิตช์ควบคุมทุกชุดต้องอยูใ่ นต�ำแหน่ง ปกติ (5) แผงควบคุมการสื่อสารฉุกเฉินต้องมี ก�ำลังขับเครือ่ งขยายเสียงสูงกว่าก�ำลังขับใช้งานร้อยละ 25

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 11. อุปกรณ์แสงแจ้งสัญญาณ ก. ติดตัง้ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณในต�ำแหน่งทีเ่ ห็น ทั้งชุดได้ชัดเจน ข. ตรวจระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แจ้งสัญญาณ ต้องไม่เกิน 30.0 เมตร 12. บริ ภั ณ ฑ์ แ ผงควบคุ ม ระบบ แผงแสดงผล เพลิงไหม้ และแผงโมดูลต่าง ๆ

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

39


ตรวจสอบการจ่ายก�ำลังไฟฟ้าส�ำหรับบริภัณฑ์แผงควบคุมระบบ ดังนี้ 1. ก�ำลังไฟฟ้าหลักทีจ่ า่ ยให้กบั บริภณ ั ฑ์แผงควบคุม

ระบบ ก. ต้องจ่ายด้วยวงจรเฉพาะส�ำหรับระบบฯ ผ่าน เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีระบุ “ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” ข. พิ กั ด กระแสไฟฟ้ า ของเซอร์ กิ ต เบรกเกอร์ สอดคล้องกับค่ากระแสไฟฟ้าจากการค�ำนวณ ดังปรากฏ ในเอกสารตรวจรับงานติดตั้ง 2. แบตเตอรี่จ่ายก�ำลังไฟฟ้าส�ำรองให้กับบริภัณฑ์ แผงควบคุมระบบ ก. ลั ก ษณะของแบตเตอรี่ ต ้ อ งอยู ่ ใ นสภาพที่ ดี ไม่ปรากฏการบวม ข. ต้องไม่มีการพ่วงต่อสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ไปจ่ายไฟให้อุปกรณ์ หรือบริภัณฑ์อื่นใดนอกเหนือไปจาก บริภัณฑ์แผงควบคุมระบบอีก

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

40


ตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจคุมวงจรปิดปลายสาย การบันทึกผลการตรวจสอบ

ส�ำหรับการเดินสายวงจรระบบธรรมดา (Hard เมื่ อ ปฏิ บั ติ ก ารส� ำ รวจและตรวจสอบการติ ด ตั้ ง wire) แบบ class B เปรียบเทียบกับเอกสารและแบบ แล้วเสร็จ ผูต้ รวจสอบจะต้องสรุปรายงานผลการตรวจสอบ แปลนแสดงการติดตั้งจริง เพื่อจัดท�ำบันทึกการตรวจสอบและข้อคิดเห็นส่งมอบให้ กับเจ้าของอาคาร หรือตัวแทนเจ้าของอาคารที่จะต้อง ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างบริภัณฑ์แผง เก็บรวบรวมบันทึกการตรวจสอบตามก�ำหนดทั้งหมดเป็น แฟ้ ม ประวั ติ ข องระบบที่ ส ามารถเก็ บ เป็ น เอกสารหรื อ ควบคุมผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. ตรวจสอบการท�ำงานของอุปกรณ์หรือบริภัณฑ์ ในลักษณะสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยจะต้องเก็บรักษาประวัติ เชื่อมต่อการสื่อสาร (Interface) เช่น สวิตช์เครือข่าย ของระบบนี้ไว้อย่างดี เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี (Ethernet switch) ตามประมวลหลักปฏิบตั อิ นื่ ทีเ่ กีย่ วข้อง หมายเหตุ ดูตวั อย่างแบบรายงานและแบบบันทึกการส�ำรวจ 2. ตรวจสอบแผงต่อสายสัญญาณระบบเครือข่าย และการตรวจสอบทั้งหมดได้ ในประมวลหลักปฏิบัติวิชาชีพฯ (Patch panel) ตามประมวลหลักปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง ของสภาวิศวกร พ.ศ. 2553 3. ตรวจสอบการต่อสาย จุดต่อสายเข้ากับอุปกรณ์ หรือบริภัณฑ์ และจุดต่อระหว่างสายไฟฟ้าด้วยกันต้องมี เอกสารอ้างอิง ประมวลหลักปฏิบตั วิ ชิ าชีพ ด้านการตรวจสอบ และการทดสอบ สภาพที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือ การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย สภาวิศวกร พ.ศ. 2553 เป็นอุปสรรคต่อการท�ำงาน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตรวจสอบการเดินสายวงจรของระบบ

1. สายวงจรแจ้งสัญญาณต้องเป็นสายสัญญาณชนิด

ทนไฟ

2. การต่อสายมากกว่า 1 เส้นเข้ากับอุปกรณ์หรือ บริภัณฑ์ที่ขั้วต่อสายเดียวกัน สายแต่ละเส้นจะต้องใช้ หัวต่อสายชนิดที่เหมาะสมต่อกับขั้วต่อสายนั้น 3. การต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกันที่ภายนอกบริภัณฑ์ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จะต้องต่อภายในกล่อง ต่อสายด้วยขั้วต่อสาย หรือตัวต่อสายชนิดบีบย�ำ้ โดยต้อง มีเครื่องหมายแสดงที่กล่องเป็นตัวอักษรข้อความขนาด ความสูงไม่น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร ว่า “ระบบแจ้งเหตุ เพลิงไหม้” หรือทาสีด้วยสีเหลืองหรือสีส้ม

ประวัติผู้เขียน

นายมงคล วิสุทธิใจ • ป ระธานกรรมการร่างมาตรฐาน ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ วสท. • ป ระธานกรรมการร่ า งประมวล หลักปฏิบตั วิ ชิ าชีพด้านการตรวจสอบ และ การทดสอบระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย สภาวิศวกร • ประธานผูเ้ ชีย่ วชาญตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภยั อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

41


Power Engineering & Power Electronics ไฟฟ้าก�ำลังและอิเล็กทรอนิกส์ก�ำลัง นายณัฐพงษ์ ฉลาดคิด หัวหน้ากองวางแผนปฏิบัติการระบบส่งไฟฟ้า ฝ่ายควบคุมระบบก�ำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Blackout Restoration Plan (ตอนที่ 2)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

จากตอนที่ 1 เราได้เข้าใจในหลักการเบื้องต้นของ การท�ำ Blackout Restoration Plan ไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ ซึ่งเป็นตอนจบ เรามาศึกษาขั้นตอนการท�ำ Restoration การเชือ่ มโยงระบบไฟฟ้ากลับคืนสภาวะปกติ และการป้องกัน เพื่อไม่ให้ระบบไฟฟ้าเกิด Blackout ในอนาคต โดยมี รายละเอียดดังนี้

6. ขั้นตอนการท�ำ Restoration

จากพื้นที่ทั้งหมด 5 ส่วนนั้นอาจจะใหญ่โตเกินไป ส�ำหรับการท�ำ Restoration ดังนัน้ ส�ำหรับพืน้ ทีใ่ นแต่ละส่วน จะถูกก�ำหนดออกเป็นพืน้ ทีย่ อ่ ย (พิจารณาร่วมกับตารางที่ 1) ส�ำหรับการท�ำ Black Start โรงไฟฟ้าได้ดังนี้ 6.1 พื้นที่ย่อยในเขตพื้นที่ภาคกลาง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 6.1.1 พืน้ ทีส่ ว่ นภาคตะวันออก (A2) ก�ำหนด ให้โรงไฟฟ้าระยองเป็นโรงไฟฟ้า Black Start ซึ่งเป็น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันออก พร้อมทั้งจ่ายไฟฟ้าให้แก่ โรงไฟฟ้าบ่อวิน (IPP) และโรงไฟฟ้า IPT (IPP) โดย ก�ำหนดจุดเชือ่ มโยงไว้ที่ สฟ.อ่าวไผ่ (เชือ่ มโยงกับพืน้ ที่ A1) 6.1.2 พืน้ ทีส่ ว่ นภาคตะวันตก (A1) ก�ำหนดให้ โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนศรีนครินทร์เป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ า ยไฟฟ้ า ให้ แ ก่ ผู ้ ใ ช้ ไ ฟฟ้ า ในพื้ น ที่ ภาคตะวันตก พร้อมทั้งจ่ายไฟฟ้าให้แก่โรงไฟฟ้าราชบุรี,

42

โรงไฟฟ้าวังน้อย, โรงไฟฟ้า TECO และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ส� ำ หรั บ โรงไฟฟ้ า พลั ง น�้ ำ เขื่ อ นวชิ ร าลงกรณและเขื่ อ น ท่าทุ่งนานั้น ให้ท�ำการ Black Start เครื่องไว้เพื่อรอ การขนานเข้าระบบต่อไป พืน้ ทีใ่ นส่วนนีก้ ำ� หนดจุดเชือ่ มโยง ไว้ที่ สฟ.บางปะกง (เชือ่ มโยงกับพืน้ ที่ A2), สฟ.อ่างทอง 1 (เชื่อมโยงกับพื้นที่ D2), สฟ.อ่างทอง 2 (เชื่อมโยงกับ พื้นที่ D1), สฟ.บางสะพาน (เชื่อมโยงกับพื้นที่ C1) และ สฟ.สระบุรี 2 (เชื่อมโยงกับพื้นที่ B2) 6.2 พืน้ ทีย่ อ่ ยในเขตพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 6.2.1 พื้นที่ส่วนภาคตะวันออกเฉีย งเหนื อ ตอนกลาง (B2) ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขือ่ นอุบลรัตน์ เป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ ผูใ้ ช้ไฟฟ้าในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและ โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซน�้ำพอง ส�ำหรับโรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อน จุฬาภรณ์ ให้ทำ� การ Black Start เครือ่ งไว้เพือ่ รอการขนาน เข้าระบบต่อไป พื้นที่ในส่วนนี้ก�ำหนดจุดเชื่อมโยงไว้ที่ สฟ.ร้อยเอ็ด (เชือ่ มโยงกับพืน้ ที่ B3), สฟ.ชัยภูมิ (เชือ่ มโยง กับพื้นที่ D2), สฟ.น�้ำพอง 1 (เชื่อมโยงกับพื้นที่ B1) และ สฟ.ล�ำตะคอง (เชื่อมโยงกับพื้นที่ A1) 6.2.2 พื้นที่ส่วนภาคตะวันออกเฉีย งเหนื อ ตอนบน (B1) ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนน�้ำงึม โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขือ่ นน�ำ้ งึม 2 (ของ สปป.ลาว) เป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พื้นที่ในส่วนนี้ก�ำหนด จุดเชื่อมโยงไว้ที่ สฟ.อุดรธานี 1 (เชื่อมโยงกับพื้นที่ B2) 6.2.3 พื้นที่ส่ว นภาคตะวันออกเฉีย งเหนือ ด้านตะวันออก (B3) ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อน สิรนิ ธรเป็นโรงไฟฟ้า Black Start (อาจใช้โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนน�ำ้ เทิน 2 เป็นโรงไฟฟ้า Black Start ได้) และทยอย จ่ายไฟฟ้าให้แก่ผใู้ ช้ไฟฟ้าในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออกและโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะ (โรงไฟฟ้า IPP ของ สปป.ลาว) ส�ำหรับโรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนปากมูลนั้นให้ ท�ำการ Black Start เครื่องไว้เพื่อรอการขนานเข้าระบบ ต่อไป พื้นที่ในส่วนนี้ก�ำหนดจุดเชื่อมโยงไว้ที่ สฟ.ยโสธร (เชื่อมโยงกับพื้นที่ B2) 6.3 พื้นที่ย่อยในเขตพื้นที่ภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 6.3.1 พืน้ ทีส่ ว่ นภาคใต้ตอนบน (C1) ก�ำหนด ให้โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนรัชชประภาเป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ตอนบน พร้อมทัง้ จ่ายไฟฟ้าไปให้แก่โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนอม, โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ ส�ำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ขนอมนัน้ ให้ทำ� การ Black Start เครือ่ งไว้เพือ่ รอการขนาน เข้าระบบต่อไป พื้นที่ในส่วนนี้ก�ำหนดจุดเชื่อมโยงไว้ที่ สฟ.สุราษฎร์ธานี (เชือ่ มโยงกับพืน้ ที่ A1) และ สฟ.หาดใหญ่ 2 (เชื่อมโยงกับพื้นที่ C2) 6.3.2 พื้ น ที่ ส ่ ว นภาคใต้ ต อนล่ า ง (C2) ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนบางลางเป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ ภาคใต้ตอนล่าง พื้นที่ในส่วนนี้ก�ำหนดจุดเชื่อมโยงไว้ที่ สฟ.ปัตตานี (เชื่อมโยงกับพื้นที่ C1) 6.4 พื้นที่ย่อยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 6.4.1 พืน้ ทีส่ ว่ นภาคเหนือด้านตะวันตก (D1) ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขือ่ นภูมพิ ลเป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผใู้ ช้ไฟฟ้าในพืน้ ทีภ่ าคเหนือ ด้ า นตะวั น ตก พื้ น ที่ ใ นส่ ว นนี้ ก� ำ หนดจุ ด เชื่ อ มโยงไว้ ที่ สฟ.นครสวรรค์ (เชือ่ มโยงกับพืน้ ที่ D2) และ สฟ.ท่าตะโก (เชื่อมโยงกับพื้นที่ A1 และ B2)

6.4.2 พื้ น ที่ ส ่ ว นภาคเหนื อ ด้ า นตะวั น ออก (D2) ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขือ่ นสิรกิ ติ เิ์ ป็นโรงไฟฟ้า Black Start และทยอยจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ ภาคเหนือด้านภาคตะวันออก พร้อมทั้งจ่ายไฟฟ้าไปให้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ พื้นที่ในส่วนนี้ก�ำหนดจุดเชื่อมโยงไว้ที่ สฟ.พิษณุโลก 2 (เชื่อมโยงกับพื้นที่ D1 และ D3) 6.4.3 พื้นที่กลุ่มโรงไฟฟ้าลานกระบือ (D3) ส�ำหรับพื้นที่นี้จะให้โรงไฟฟ้าลานกระบือท�ำการ Black Start ขึ้นมาเพื่อจ่าย Load ให้แก่พื้นที่บริเวณใกล้เคียง แล้วรอเชื่อมโยงกับระบบที่ สฟ.ลานกระบือ *ส� ำ หรั บ พื้ น ที่ ใ นเขตนครหลวงนั้ น ไม่ มี โรงไฟฟ้าที่เป็น Black Start ได้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 7. การเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า

เมือ่ พืน้ ทีย่ อ่ ยในแต่ละส่วนท�ำการ Black Start ขึน้ มา ได้แล้ว จะเห็นได้ว่าระบบย่อยของแต่ละส่วนนั้นสามารถ จ่าย Load ได้เป็นปกติในปริมาณ 20-30% ของปริมาณ ผู้ใช้ไฟฟ้าปกติ ขั้นตอนต่อไปคือจะเชื่อมโยงระบบย่อย เหล่านั้นเข้าหากัน จากรูปที่ 1 แสดงพื้นที่ต่าง ๆ ของ ระบบไฟฟ้าในประเทศไทย พื้นที่แต่ละส่วนเชื่อมโยงกัน ด้วยสายส่งไฟฟ้าแรงสูงทั้ง 3 ระดับแรงดัน ซึ่งได้ก�ำหนด จุดเชื่อมโยงของแต่ละพื้นที่ไว้แล้ว โดยเป็นสถานีไฟฟ้า แรงสูงขนาด 230 kV และเป็นสถานีไฟฟ้าที่มีความมั่นคง ทางด้านไฟฟ้าเพียงพอ

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

43


ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 1 แสดงพื้นที่ด�ำเนินการทางด้านระบบไฟฟ้า

ภาค

เหนือ

ตะวันออกเฉียงเหนือ

พื้นที่ย่อยของ แต่ละภาค

โรงไฟฟ้า Black Start*

โรงไฟฟ้า Start Up*

ตะวันตก (D1) ตะวันออก (D2) รฟ.ลานกระบือ (D3) ตอนบน (B1)

BB SK NNG (NNG2)

-

โรงไฟฟ้ารอรับไฟ Station Service MM, FGD -

UR

CLB

NPO

SRD, (NTN2)

PMN

HHO

RE2

VRK, TN, BPK-C, WN-C KN-C, SRT-G -

BPK-T, RB, SB, TECO IPT, BWN KN-T, KA-T -

BPK, AT1, SR2, BSP AP SRT, HY2 PTN

ตอนกลาง (B2)

ด้านตะวันออก (B3)

กลาง ใต้

ตะวันตก (A1) และ เขตนครหลวง ตะวันออก (A2) ตอนบน (C1) ตอนล่าง (C2)

SNR RY RPB BLG

จุดเชื่อมโยง (สฟ.) TTK, NS PL2 LKB UD3 RE2, KK3, CYP, NR2

จากตารางเป็นตารางสรุปการท�ำ Restoration ซึ่งจะท�ำให้ได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และสามารถพิจารณาประกอบ กับภาพในรูปที่ 1 ได้ชัดเจนขึ้น *นิยาม 1. โรงไฟฟ้า Black Start หมายถึง โรงไฟฟ้าที่สามารถ Start Up ขึ้นมาได้ด้วย Black Start Diesel และท�ำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าให้แก่ Load ในพื้นที่ที่ก�ำหนดให้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังน�้ำ

44


2. โรงไฟฟ้า Start Up หมายถึง โรงไฟฟ้าที่สามารถ Start Up ขึ้นมาได้ด้วยระบบ Black Start Diesel และเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าอยู่ภายในโรงไฟฟ้าของตัวเอง เพื่อรอ Synchronize เข้าระบบต่อไป 3. โรงไฟฟ้ารอรับไฟ Station Service หมายถึง โรงไฟฟ้าที่ไม่สามารถ Start Up ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง จะต้อง รอรับไฟฟ้าจากระบบหรือจากโรงไฟฟ้าอื่น

8. การป้องกันเพื่อไม่ให้ระบบไฟฟ้าเกิด Blackout

แนวทางการป้องกันเพือ่ มิให้เกิดเหตุการณ์ Blackout ขึน้ มาได้นนั้ มีขอบเขตค่อนข้างกว้างขวาง และวิธกี ารหรือ มาตรการในการป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ดังพอสรุปได้ในตารางด้านล่างนี้ สาเหตุ 1. ไม่มีระบบป้องกัน เมื่อความถี่ของระบบลดต�่ำลง

การป้องกัน 1. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน คือ Under Frequency Relay ดังนี้ U/F Step 1 ปลด Load 10% ที่ Freq. 49.00 Hz U/F Step 2 ปลด Load เพิ่มอีก 10% ที่ Freq. 48.80 Hz U/F Step 3 ปลด Load เพิ่มอีก 10% ที่ Freq. 48.60 Hz U/F Step 4 ปลด Load เพิ่มอีก 10% ที่ Freq. 48.30 Hz U/F Step 5 ปลด Load เพิ่มอีก 10% ที่ Freq. 47.90 Hz 2. มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ Trip ออกจากระบบเป็นจ�ำนวนมาก 2. บ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ และ 2.1 ไม่สร้างโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่โตจนเกินไป 2.2 โรงไฟฟ้าหลาย ๆ โรง ไม่ควรเชื่อมโยงเข้าระบบที่ จุดจ่ายไฟเดียวกัน 2.3 มี Spinning Reserve ไม่น้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่สุดที่เดินเครื่องอยู่ในระบบ 3. ระบบส่งไม่มีเสถียรภาพที่ดีพอ 3. บ�ำรุงรักษาระบบส่งให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ และ 3.1 สร้างและปรับปรุงให้มีเสถียรภาพที่ดีพอ และสามารถ รองรับ Criteria N-1 ได้ 3.2 มีระบบป้องกันที่สมบูรณ์และครบถ้วน 3.3 ติดตัง้ อุปกรณ์ปอ้ งกันพิเศษ เช่น Generator Shedding Scheme, Rapid Load Shedding Scheme ฯลฯ 4. ขาดแคลนเชื้อเพลิง (ระบบผลิตหรือระบบจ่ายเชื้อเพลิงขัดข้อง) 4. ปัจจุบันใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอยู่ประมาณ 70% 4.1 ควรใช้เชื้อเพลิงให้หลากหลายชนิด 4.2 ให้โรงไฟฟ้าท�ำ On Line Switching Fuel ทุก ๆ 3 เดือน 4.3 จัดท�ำแผนฉุกเฉินกรณีระบบผลิตและระบบจ่ายก๊าซ ธรรมชาติขัดข้อง ร่วมกับ ปตท. และ UNOCAL

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ข้อสังเกต จากการที่ผู้เขียนได้เคยปฏิบัติงานทางด้านการควบคุมระบบก�ำลังไฟฟ้า พบว่า ทุกครั้งที่มีโรงไฟฟ้า Trip ออกจากระบบจะส่งผลให้คา่ ความถีข่ องระบบลดลง (จะมากหรือน้อยขึน้ อยูก่ บั ปริมาณ Generation ที่ Trip ออกไป) และค่า Power Output ของโรงไฟฟ้าประเภท Combine Cycle และ Gas Turbine จะมีค่าลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าโรงไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ได้ช่วยให้ความถี่ของระบบดีขึ้นเลย แต่ในทางตรงกันข้ามกลับท�ำให้ความถี่ ของระบบลดต�่ำลงไปอีก ดังนั้น หากในระบบไฟฟ้าใดมีโรงไฟฟ้าประเภทนี้อยู่มาก ๆ ก็ไม่น่าจะส่งผลดีให้กับระบบนัก พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

45


9. สรุป

เหตุการณ์ Blackout เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง จ�ำเป็นต้องรีบด�ำเนินการน�ำระบบกลับเข้าจ่ายไฟ ให้เร็วที่สุด Blackout Restoration Plan จึงเป็นมาตรการหนึ่งที่ได้เตรียมการและจัดท�ำไว้ และสิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ การวางมาตรการเพื่อหาทางป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ความหมายของอักษรย่อ อักษรย่อ AP BPK BPK-T BWN SR2 WN-C CYP HHO NNG2 NR2 RE2 UD3 BLG KA-T KN-T RPB SRT-G FGD MM NS U/F Relay MW

ความหมาย สถานีไฟฟ้าแรงสูง อ่าวไผ่ สถานีไฟฟ้าแรงสูง บางปะกง โรงไฟฟ้าพลังความร้อน บางปะกง สถานีไฟฟ้าแรงสูง บ่อวิน สถานีไฟฟ้าแรงสูง สระบุรี 2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม วังน้อย สถานีไฟฟ้าแรงสูง ชัยภูมิ โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนห้วยเฮาะ (สปป.ลาว) โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนน�ำ้ งึม 2 (สปป.ลาว) สถานีไฟฟ้าแรงสูง นครราชสีมา 2 สถานีไฟฟ้าแรงสูง ร้อยเอ็ด 2 สถานีไฟฟ้าแรงสูง อุดรธานี 3 โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนบางลาง โรงไฟฟ้าพลังความร้อน กระบี่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนอม โรงไฟฟ้าพลังน�้ำ เขื่อนรัชชประภา โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ สุราษฎร์ธานี เครื่องก�ำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน แม่เมาะ สถานีไฟฟ้าแรงสูง นครสวรรค์ Under Frequency Relay หน่วยวัดก�ำลังไฟฟ้า : 1,000 kW = 1 MW 1 MW = 1,000,000 W

อักษรย่อ AT1 BPK-C BSP IPT TECO CLB KK3 NNG NPO PMN SRD UR HY2 KN-C PTN SRT BB LKB PL2 SK Hz GWh

rpm

หน่วยวัดค่าความเร็วรอบ เป็น รอบ/นาที

kV

ความหมาย สถานีไฟฟ้าแรงสูง อ่างทอง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บางปะกง สถานีไฟฟ้าแรงสูง บางสะพาน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม IPT โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม TECO โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนจุฬาภรณ์ สถานีไฟฟ้าแรงสูง ขอนแก่น 3 โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนน�้ำงึม (สปป.ลาว) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม น�ำ้ พอง โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนปากมูล โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนสิรินธร โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนอุบลรัตน์ สถานีไฟฟ้าแรงสูง หาดใหญ่ 2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ขนอม สถานีไฟฟ้าแรงสูง ปัตตานี สถานีไฟฟ้าแรงสูง สุราษฎร์ธานี โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนภูมิพล โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ลานกระบือ สถานีไฟฟ้าแรงสูง พิษณุโลก 2 โรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขื่อนสิริกิติ์ หน่วยวัดค่าความถี่ เป็น Hertz หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า : 1 kWh = 1 Unit หรือ 1 หน่วย 1,000 kWh = 1 MWh 1,000 MWh = 1 GWh 1 GWh = 1,000,000 kWh = 1 ล้านหน่วย หน่วยวัดค่าแรงดันไฟฟ้า 1 kV = 1,000 Volts

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

เอกสารอ้างอิง • แผนการน�ำระบบกลับคืนสู่ภาวะปกติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศ ประจ�ำปี 2555 จัดท�ำโดย คณะท�ำงาน Restoration

46


Power Engineering & Power Electronics ไฟฟ้าก�ำลังและอิเล็กทรอนิกส์กำ� ลัง รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช อีเมล : s.tanaboon@hotmail.com

การใช้โปรแกรมจัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกัน ส�ำหรับการป้องกันหม้อแปลง (Protection Coordination Program Usage for Transformer Protection) 1. บทน�ำ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ระบบการป้องกันไฟฟ้าก�ำลังมีความจ�ำเป็นต้อง จัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกัน กล่าวคือ จะต้องจัดล�ำดับ เวลาการท�ำงานของอุปกรณ์ป้องกันที่มีอยู่ในระบบไฟฟ้า หลาย ๆ ตัว เพือ่ ทีจ่ ะสามารถแยกแยะว่าเมือ่ เกิดลัดวงจรแล้ว อุปกรณ์ป้องกันตัวที่อยู่ใกล้จุดลัดวงจรที่สุด ต้องตัดวงจร ก่อนอุปกรณ์ป้องกันตัวอื่น ๆ ที่อยู่เหนือถัดไป ดังรูปที่ 1 แต่กห็ าเป็นเช่นนัน้ ไม่ ในบางครัง้ เกิดการลัดวงจรด้านแรงต�ำ่ ของหม้อแปลงแล้วส่งผลท�ำให้ฟิวส์ป้องกันทางด้านแรงสูง นัน้ ขาดไปด้วย แสดงว่าจัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกัน หม้อแปลงไว้ไม่ดี ในการจัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกัน จ�ำเป็นต้องอาศัยเส้นโค้งเวลาและกระแสของอุปกรณ์ ป้องกันทั้งหมดเวลา-กระแส (Time-current ลงในเคิร์ฟ คุณลักษณะ Characteristic Curve) อันเดียวกัน

บทความนี้ ไ ด้ จ ากงานวิ จั ย ที่ ไ ด้ ท� ำ การศึ ก ษา ระยะเวลาการจัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกัน การเขียน เส้นโค้งเพื่อจัดล�ำดับความสัมพันธ์จ�ำเป็นต้องมีระยะห่าง ระหว่างเวลาของอุปกรณ์ป้องกันแต่ละเส้น ซึ่งระยะห่างนี้ เรียกว่าระยะเวลาเผือ่ (Margin time) ทัง้ นีเ้ พือ่ ป้องกันมิให้ ฟิวส์แรงสูง A ขาดพร้อมกับเมนเบรกเกอร์แรงต�่ำ B ทริป ่ การจัดล�ำดับความสัมพันธ์ เมือ่ เกิดการลัดวงจรด้านแรงต�ำ ของรีเลย์กระแสเกินเวลาผกผัน ควรให้มีระยะเวลาเผื่อ 0.3 ถึง 0.4 วินาที อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นรีเลย์แบบสแตติค ช่วงระยะเวลาเผื่อจะลดลงเหลือ 0.3 วินาที ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ระยะเวลาเผื่อ (Δt ไม่ต�่ำกว่า 0.3 วินาที) ของเส้นโค้งเวลา-กระแสของอุปกรณ์ป้องกัน

2. การป้องกันกระแสเกินหม้อแปลง

รูปที่ 1 การจัดความสัมพันธ์ของการป้องกันหม้อแปลง ระหว่างฟิวส์แรงสูง A และเมนเบรกเกอร์แรงต�่ำ B

การป้องกันกระแสเกินตามมาตรฐานการติดตัง้ ทาง ไฟฟ้าส�ำหรับประเทศไทย ฉบับปรับปรุง 2551 และ NEC 2011 table 450.3(A) การป้องกันหม้อแปลงระบบแรงสูง พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

47


2.1 การป้องกันหม้อแปลง ส�ำหรับหม้อแปลงทีม่ แี รงดันระบุมากกว่า 750 V หม้อแปลงแรงสูงต้องมีการป้องกัน กระแสเกินทั้งด้านไฟฟ้าเข้าและด้านไฟฟ้าออก ด้านไฟฟ้าเข้าถ้าใช้ฟิวส์ป้องกัน พิกัดกระแสของตัวฟิวส์ไม่เกิน 300 เปอร์เซ็นต์ของกระแสด้านไฟฟ้าเข้าของหม้อแปลง ด้านไฟฟ้าออกการป้องกันหม้อแปลง ส�ำหรับหม้อแปลงที่มีแรงดัน ระบุไม่เกิน 750 V ถ้าใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือฟิวส์ป้องกัน พิกัดกระแสของอุปกรณ์ป้องกันไม่เกิน 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสด้านไฟฟ้าออกของหม้อ ส�ำหรับขนาดปรับตั้งสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินส�ำหรับหม้อแปลงระบบ แรงสูงตามตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ขนาดปรับตั้งสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินส�ำหรับหม้อแปลงระบบแรงสูง ด้านไฟฟ้าเข้ามากกว่า 750 V

พิกัดอิมพีแดนซ์ ของหม้อแปลง Zk เซอร์กิตเบรกเกอร์ (เปอร์เซ็นต์) (เปอร์เซ็นต์)

ด้านไฟฟ้าออก มากกว่า 750 V

600%

300%

300%

250%

ไม่เกิน 750 V เซอร์กิต เบรกเกอร์หรือฟิวส์ (เปอร์เซ็นต์) 125%

400%

300%

250%

225%

125%

พิกัดของฟิวส์ (เปอร์เซ็นต์)

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (เปอร์เซ็นต์)

พิกัดของฟิวส์ (เปอร์เซ็นต์)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ไม่เกิน 6% มากกว่า 6% แต่ไม่เกิน 10%

2.2 กระแสอินรัช การเลือกขนาดอุปกรณ์ป้องกัน 3. การจัดความสัมพันธ์ของเวลาและกระแส ด้านไฟฟ้าเข้าของหม้อแปลง สามารถพิจารณาคุณลักษณะ ของฟิวส์แรงสูง ของกระแสอินรัชของหม้อแปลง (Inrush current) โดยปกติ เส้นโค้งแสดงความสัมพันธ์ของเวลาและกระแสของ หม้อแปลงจะมีกระแสอินรัชประมาณ 8 ถึง 12 เท่าของ ฟิวส์แรงสูง จ�ำเป็นต้องใช้ในการคัดเลือกขนาดทีเ่ หมาะสม กระแสโหลดเต็มที่ของหม้อแปลงเป็นเวลา 0.1 นาที ส�ำหรับป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ขณะที่สับสวิตช์ฟิวส์แรงสูงให้กับ ตามมาตรฐานของ NEMA ตัวฟิวส์ตัดตอนแรงสูง หม้อแปลงฟิวส์แรงสูงจะขาดทันที ดังรูปที่ 3 ได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดขาดเร็ว K (kwick) และ ชนิดขาดช้า T (tardy) ดังรูปที่ 4 ส่วนเพาเวอร์ฟิวส์เป็น ชนิดจ�ำกัดกระแส (Current Limiting Fuse) หรือฟิวส์ แรงสูงชนิด HRC ดังรูปที่ 5

รูปที่ 4 แสดงฟิวส์ลิงค์ และฟิวส์ตัดตอนแรงสูง

รูปที่ 3 ฟิวส์แรงสูง 20 A ขณะที่สับสวิตช์ฟิวส์แรงสูงให้กับ หม้อแปลง ฟิวส์แรงสูงจะขาดทันที (เวลา 0.1 วินาที) รูปที่ 5 เพาเวอร์ฟิวส์เป็นชนิดจ�ำกัดกระแส

48


5.2 ระยะเวลาเผื่อ (Margin time) การจัดล�ำดับ ความสัมพันธ์การป้องกัน ควรให้มีระยะเวลาเผื่อ Δt=0.3 วินาที เพื่อไม่ให้เบรกเกอร์แรงต�่ำทริปพร้อมฟิวส์แรงสูง หลอมละลายในเวลาเดียวกัน 5.3 ผลการทดสอบ ดังแสดงในรูปที่ 7 ถึงรูปที่ 18

รูปที่ 6 แสดงเส้นโค้งของฟิวส์ตัดตอนแรงสูงชนิด 20 K (ขาดเร็ว), 20 T (ขาดช้า) และ HRC 20 A

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 6 ส่วนแสดงความแตกต่างของเส้นโค้งเวลา ต่อกระแสฟิวส์ตอนแรงสูงชนิด 20 K (ขาดเร็ว), จะหลอม ละลายเร็วกว่าชนิด 20 T (ขาดช้า), ส่วนฟิวส์แรงสูงชนิด HRC ขนาด 20 A ที่ค่ากระแสน้อยจะหน่วงเวลาและ หลอมละลายนานกว่าฟิวส์ตัดตอนแรงสูงชนิด K และ T แต่ถา้ กระแสโหลดเกินจ�ำนวนมากหรือลัดวงจร ฟิวส์แรงสูง ชนิด HRC จะหน่วงเวลาและหลอมละลายเวลาสัน้ กว่าฟิวส์ ตัดตอนแรงสูงชนิด K และ T

รูปที่ 7 หม้อแปลง 250 kVA HV 22 kV 6.56A, LV 400 V 360 A, CB 400 A Thermal-magnetic

จากรูปที่ 7 กระแส Ib 360A กระแส 3.71 kA แถบหน่วงเวลา CB เมื่อใช้ fuse link 15K ไม่ผ่าน, หรือใช้ Fuse link 15T Δt = 2.16 s ผ่าน หรือใช้ HRC Fuse 16 A Δt = 2.16 s ผ่าน ในกรณีที่กระแสลัดวงจรสูงสุด 9.0 kA ทีแ่ ถบตัดแม่เหล็ก CB เมือ่ ใช้ Fuse link 15T Δt = 0.54 s 4. โปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบ ผ่าน หรือใช้ HRC Fuse 16 A จะหลอมละลายและ เป็นโปรแกรมชื่อ ABB Curve 1.0 ABB SACE ทริปพร้อม CB แรงต�่ำ S.p.A An ABB Group Company 2006

5. การทดสอบ

การทดสอบการใช้โปรแกรมจัดล�ำดับความสัมพันธ์ การป้องกันส�ำหรับการป้องกันหม้อแปลงดังต่อไปนี้ โปรแกรม ABB Curve 1.0 เส้นโค้งเวลา-กระแสของฟิวส์ตดั ตอนแรงสูงชนิด K เส้นโค้งเวลา-กระแสของฟิวส์ตดั ตอนแรงสูงชนิด T เส้นโค้งเวลา-กระแสของฟิวส์แรงสูงชนิด HRC 5.1 ขนาดหม้อแปลงทดสอบ ใช้หม้อแปลงทดสอบ ขนาด 250, 315, 400, 500, 630, 800, 1000, 1250, 1600 และ 2000 kVA ระบบแรงสูง 33 kV, 24 kV, 22 kV และ 12 kV อุปกรณ์ป้องกันแรงสูง ได้แก่ ฟิวส์ Type K, Type T และ HRC ส่วนระบบแรงต�่ำ 400 V และ 416 V อุปกรณ์ปอ้ งกันแรงต�ำ ่ ได้แก่ เซอร์กติ เบรกเกอร์ Thermalmagnetic trip และ Solid state trip

• • • •

รูปที่ 8 หม้อแปลง 250 kVA HV 22 kV 6.56A, LV 400 V 360 A, CB 400 A In = 400 A solid state

จากรูปที่ 8 กระแส Ib 360A แถบกระแส CB 1.78 kA และ 3.86 kA เมื่อใช้ Fuse link 12K แถบหน่วง เวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 12 T แถบหน่วงเวลานาน t1 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

49


(A,B) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือ ใช้ HRC fuse 16 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน ในกรณีที่ กระแสลัดวงจรสูงสุด 9.0 kA แถบทริปทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 12T Δt =0.32 s ผ่าน, หรือใช้ Fuse link 12K Δt =0.10 s หรือใช้ HRC fuse 16 A มีโอกาสหลอมละลาย และทริปพร้อม CB

จากรูปที่ 10 กระแส Ib 450A แถบกระแส CB 2.08 kA และ 4.61 kA เมื่อใช้ Fuse link 15K แถบหน่วง เวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 15T แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 16 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D ) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C) ผ่าน ในกรณีที่กระแส ลัดวงจรสูงสุด 11.4 kA แถบทริปทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 15T Δt =0.34 s ผ่าน, หรือใช้ Fuse link 15K Δt =0.10 s หรือใช้ HRC fuse 16 A มีโอกาสหลอมละลาย และทริปพร้อม CB

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

รูปที่ 9 หม้อแปลง 315 kVA HV 22 kV 8.27 A, LV 400 V 450 A, CB 630 A In = 500 A thermal- magnetic

จากรูปที่ 9 กระแส Ib 450A แถบกระแส CB รูปที่ 11 หม้อแปลง 400 kVA HV 22 kV 10.5 A, 4.52 kA แถบหน่วงเวลา เมื่อใช้ fuse link 20K ไม่ผ่าน, LV 400 V 580 A, CB 630 A In = 630 A solid state หรือใช้ Fuse link 20T Δt = 2.45 s ผ่าน หรือใช้ HRC Fuse 20 A Δt =0.85 s ผ่าน ในกรณีที่กระแสลัดวงจร สูงสุด 11.4 kA แถบตัดแม่เหล็ก CB เมื่อใช้ Fuse link จากรูปที่ 11 กระแส Ib 580A แถบกระแส CB 20T Δt = 0.51 s ผ่าน หรือใช้ HRC Fuse 20 A 2.75 kA และ 5.09 kA เมื่อใช้ Fuse link 20K แถบ มีโอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB หน่วงเวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 20T แถบหน่วงเวลา นาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 20 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน ในกรณีที่กระแสลัดวงจรสูงสุด 14.4 kA แถบทริปทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 20T Δt =0.35 s ผ่าน, หรือ ใช้ Fuse link 20K Δt =0.11 s หรือใช้ HRC fuse 20 A มีโอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB รูปที่ 10 หม้อแปลง 315 kVA HV 22 kV 8.27 A, LV 400 V 450 A, CB 630 A In = 630 A solid state

50


ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 32 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบ หน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B) Δt =0.35 s ผ่าน ในกรณีทกี่ ระแส ลัดวงจรสูงสุด 15.0 kA แถบทริปทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 30T Δt =0.98s ผ่าน หรือใช้ Fuse link 30K Δt =0.26s ไม่ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 32 A Δt =0.03s มี โอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB รูปที่ 12 หม้อแปลง 500 kVA HV 22 kV 13.12A, LV 400 V 720 A, CB 800 A In = 800 A solid state

จากรูปที่ 12 กระแส Ib 720A แถบกระแส CB 3.7 kA และ 8.0 kA เมื่อใช้ Fuse link 30K แถบหน่วง เวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 30T แถบหน่วงเวลา นาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) รูปที่ 14 หม้อแปลง 800 kVA HV 22 kV 21A, LV 400 ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 32 A แถบหน่วงเวลานาน t1 V 1150 A, CB 1250 A In = 1250 A solid state (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน ในกรณีทกี่ ระแสลัดวงจรสูงสุด 18.0 kA แถบทริปทันที CB จากรูปที่ 14 กระแส Ib 1150A แถบกระแส CB เมื่อใช้ Fuse link 30T Δt =0.58s ผ่าน, หรือใช้ Fuse 5.51 kA และ 12.0 kA เมื่อใช้ Fuse link 40K แถบ link 30K Δt =0.18s หรือใช้ HRC fuse 32 A มีโอกาส หน่วงเวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) หลอมละลายและทริปพร้อม CB ผ่าน หรือใช้ Fuse link 40T แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D ) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 40 A แถบหน่วงเวลาสัน้ t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B) Δt =0.31 s ผ่าน ในกรณีที่กระแสลัดวงจรสูงสุด 19.3 kA แถบทริปทันที Fuse link 40T Δt =0.91s ผ่าน, หรือใช้ Fuse link 40K Δt =0.30s ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 40 A Δt =0.027s มีโอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 13 หม้อแปลง 630 kVA HV 22 kV 16.53A, LV 400 V 900 A, CB 1250 A In = 1250 A solid state

จากรูปที่ 13 กระแส Ib 900A แถบกระแส CB 4.0 kA และ 9.0 kA เมื่อใช้ Fuse link 30K แถบหน่วงเวลา นาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน รูปที่ 15 หม้อแปลง 1000 kVA HV 22 kV 26.24A, หรือใช้ Fuse link 30T แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) LV 400 V 1440 A, CB 1600 A In =1600 A solid state พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

51


จากรูปที่ 15 กระแส Ib 1440A แถบกระแส CB 7.0 kA และ 15.5 kA เมื่อใช้ Fuse link 50 K แถบหน่วง เวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 50 T แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 50 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B) Δt =0.23s ไม่ผ่าน ในกรณีที่กระแสลัดวงจรสูงสุด 24.0 kA แถบทริปทันที รูปที่ 16 หม้อแปลง 1250 kVA HV 22 kV 32.8A, CB เมื่อใช้ Fuse link 50 T Δt =0.94s ผ่าน, หรือใช้ LV 400 V 1800 A, CB 2000 A In 2000 A solid state Fuse link 50 K Δt =0.30s ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 50 AΔt =0.02s มีโอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB จากรูปที่ 16 กระแส Ib 1800A แถบกระแส CB 9.2 kA และ 20.0 kA เมื่อใช้ Fuse link 65K แถบหน่วง เวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 65T แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือ ใช้ HRC fuse 63 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B) Δt =0.24s ไม่ผ่าน รูปที่ 17 หม้อแปลง 1600 kVA HV 22 kV 42A, ในกรณีทกี่ ระแสลัดวงจรสูงสุด 30.0 kA แถบทริปทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 65T Δt =0.87s ผ่าน, หรือใช้ Fuse LV 400V 2300A, CB 2500 A In 2500 A solid state link 65K Δt =0.25s ไม่ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 63 A Δt =0.035s มีโอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

จากรูปที่ 17 กระแส Ib 2300A แถบกระแส CB 11.50 kA และ 25.4 kA เมื่อใช้ Fuse link 100K แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 100T แถบหน่วงเวลา นาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสัน้ t2 (A,B,C,D) ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 100 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B) Δt ≥0.32s ผ่าน ในกรณีที่กระแสลัดวงจรสูงสุด 38.5 kA แถบทริป รูปที่ 18 หม้อแปลง 2000 kVA HV 22 kV 52.5A, ทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 100T Δt =1.30s ผ่าน, หรือ LV 400V 2880 A, CB 3200 A In 3200 A solid state ใช้ Fuse link 100K Δt =0.43s ผ่าน หรือใช้ HRC fuse 100 A Δt =0.123s มีโอกาสหลอมละลายและทริป พร้อม CB

52


จากรูปที่ 18 กระแส Ib 2880A แถบกระแส CB 14.6 kA และ 32.9 kA เมื่อใช้ Fuse link 100K แถบหน่วงเวลานาน t1 (A) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C) ผ่าน หรือใช้ Fuse link 100T แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน และ HRC fuse 125 A แถบหน่วงเวลานาน t1 (A,B,C,D) ผ่าน, แถบหน่วงเวลาสั้น t2 (A,B,C,D) ผ่าน ในกรณีที่ กระแสลัดวงจรสูงสุด 48.0 kA แถบทริปทันที CB เมื่อใช้ Fuse link 100T Δt =0.87s ผ่าน หรือใช้ HRC 125A หรือใช้ Fuse link 100K Δt =0.31s ผ่าน

6. สรุป

จากผลการทดสอบการใช้ โ ปรแกรมจั ด ล� ำ ดั บ ความสัมพันธ์การป้องกันส�ำหรับการป้องกันหม้อแปลง เป็นดังนี้ 1. จากผลการทดสอบพบว่าหม้อแปลง 250 kVA และ 315 kVA พิกดั แรงสูง 33 kV, 24 kV, 22 kV และ 12 kV แรงต�ำ ่ 416 V และ 400 V เซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นชนิด Thermal magnetic trip ขนาดฟิวส์แรงสูงต่อจ�ำนวนเท่า ของกระแสโหลดด้านแรงสูง ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ค่าอย่าง ต�ำ ่ 229% แต่ไม่เกิน 300% ของกระแสโหลดด้านแรงสูง 2. จากผลการทดสอบพบว่าหม้อแปลง 250 kVA ถึง 2000 kVA พิกัดแรงสูง 33 kV, 24 kV, 22 kV และ 12 kV แรงต�่ำ 416 V และ 400 V เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นชนิด solid state trip ขนาดฟิวส์แรงสูงต่อจ�ำนวนเท่า ของกระแสโหลดด้านแรงสูง ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ค่าอย่าง ต�่ำ 181% แต่ไม่เกิน 300% ของกระแสโหลดด้านแรงสูง

3. การจัดล�ำดับความสัมพันธ์การป้องกันส�ำหรับ การป้องกันหม้อทัง้ แปลง เพือ่ ไม่ให้เกิดกรณีทตี่ เู้ มนแรงต�ำ่ กระแสเกินมากในเวลาสั้น ๆ เป็นเหตุให้ทั้งเซอร์กิตเบรก แรงต�่ำทริปและฟิวส์แรงสูงขาดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน จึงต้องมีระยะเวลาเผื่อ Δt ไม่ตำ�่ กว่า 0.3 วินาที ของเส้น โค้งเวลา-กระแสของอุปกรณ์ป้องกัน ทั้งนี้ถ้าเลือกฟิวส์ ชนิดขาดช้า T และฟิวส์ชนิด HRC ระยะเวลาเผื่อ Δt จะเกิน 0.3 วินาที ส่วนฟิวส์ชนิดขาดเร็ว K อาจมีโอกาส ขาดเร็วกว่า 4. การเกิดค่ากระแสลัดวงจรสูงสุด ถ้าเลือกฟิวส์ แรงสูง ชนิดขาดช้า T ระยะเวลาเผือ่ Δt จะเกิน 0.3 วินาที แต่ถ้าเลือกฟิวส์แรงสูงชนิด HRC และฟิวส์ชนิดขาดเร็ว K อาจมีโอกาสหลอมละลายและทริปพร้อม CB 5. ขนาดฟิวส์แรงสูงต่อจ�ำนวนเท่าของกระแสโหลด ด้านแรงสูง อย่างต�่ำที่ 1.81 เท่าหรือ 181% ของกระแส โหลดด้านแรงสูง จะไม่เป็นปัญหาต่อกระแสอินรัช ทั้งนี้ จะไม่มีผลท�ำให้ฟิวส์แรงสูงขาดในเวลา 0.1 วินาที ในขณะ สับสวิตช์ฟิวส์แรงสูงต่อกระแสไฟฟ้าเข้ากับหม้อแปลง ในระบบ 6. การตั้งค่า CB ด้านไฟออก (แรงต�่ำ) ค่า Ib 100%

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ประวัติผู้เขียน

เอกสารอ้างอิง 1. ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช. การใช้โปรแกรมจัดล�ำดับความสัมพันธ์ การป้องกันส�ำหรับการป้องกันหม้อแปลง คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554 2. ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช. การป้องกันระบบไฟฟ้าก�ำลัง. ซีเอ็ด ยูเคชั่น. กรุงเทพฯ, 2538

รศ.ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี • วุฒิวิศวกร แขนงไฟฟ้าก�ำลัง (วฟก.457) • กรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. 2554-2556

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

53


Communication Engineering & Computer ไฟฟ้าสื่อสารและคอมพิวเตอร์ นายสุเมธ อักษรกิตติ์ อีเมล : sumeth.aksorn@gmail.com

ในแวดวง ICT : แนวโน้มโทรคมนาคม 4G (ตอนที่ 4) ในตอนที่แล้วเราได้พูดถึงการได้มาซึ่งคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) จ�ำนวน 11 คน ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติงานอย่างเต็มตัว เมื่อเดือนตุลาคม 2554 และแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสื่อสาร โทรคมนาคมเพื่อที่จะรองรับบริการ 4G ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึง มีการทดสอบการใช้เทคโนโลยี LTE เพื่อให้บริการ 4G ในประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่าง TOT, CAT, Digital Phone และ AIS ซึ่งสามารถ ดูรายละเอียดผลการทดลองได้ที่เว็บไซต์ของ AIS ในตอนนี้จะได้อัปเดต เรื่องราวในแวดวง ICT ต่อไป ส�ำหรับความคืบหน้าในเรือ่ งของ 3G ในประเทศไทยนัน้ ขณะนี้ กสทช. ได้เตรียมการที่จะเปิดประมูลคลื่นความถี่ 3G (2.1 GHz) คาดว่าจะสามารถ ด�ำเนินการได้ไม่เกินเดือนตุลาคม 2555 หรือภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ในการนี้ กสทช.ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ค�ำแนะน�ำด้านการออกแบบ การประมูลของบริษัท Cramton Associates มาจัดวางแนวทางในการประมูล ซึ่งหากท่านสนใจในรายละเอียดสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของ กสทช. (www.nbtc.or.th) เรามาดูความคืบหน้า 4G ของประเทศสหรัฐอเมริกากันบ้าง ขณะนี้ Verizon Wireless ผูป้ ระกอบการโทรศัพท์เคลือ่ นทีไ่ ด้รกุ กระหน�ำ่ สร้างโครงข่าย 4G โดยใช้เทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) ในตลาดใหม่อกี 27 เมือง และขยายพื้นที่บริการอีก 44 แห่ง เพื่อเสริมพื้นที่ที่ให้บริการอยู่แล้วให้ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศ พร้อมทั้งได้ประกาศว่าเมื่อโครงข่าย 4G LTE สร้างเสร็จแล้วจะมีพนื้ ทีใ่ ห้บริการทัง้ หมด 230 เมือง ซึง่ รวมถึงเมืองใหญ่ และเมืองเล็กในหลาย ๆ รัฐ ทั้งนี้ Verizon Wireless ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะ ให้บริการถึง 400 แห่งภายในปีนี้ ปัจจุบนั ผูใ้ ห้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีร่ ายใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ ประกอบด้วย AT&T, Sprint Nextel Corp., T-Mobile และ Verizon Wireless ต่างก็ประกาศว่า จะขยายโครงข่าย 4G LTE ให้ครอบคลุมพื้นที่และรองรับ ผูใ้ ช้บริการได้มากเท่าทีจ่ ะท�ำได้ ซึง่ คาดว่าจะเกิดแข่งขันด้านบริการและสงคราม ด้านราคาในอนาคต โดยที่ Verizon อ้างว่ามีพนื้ ทีใ่ ห้บริการครอบคลุมประชากร

ประมาณ 200 ล้านคนในปัจจุบัน และ จะขยายไปยังตลาดเล็ก ๆ อีก 200 กว่าเมืองซึ่งจะมีพื้นที่ให้บริการ แก่ประชากรอีก 60 ล้านคน ภายใน สิ้นปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ AT&T ที่ปัจจุบันมีพื้นที่ให้บริการประชากร ประมาณ 74 ล้านคน และวางแผน ที่ จ ะให้ ถึ ง 150 ล้ า นคน ภายใน สิ้ น ปี นี้ ส่ ว น Sprint Nextel ซึ่ ง ปัจจุบันยังไม่มีโครงข่าย 4G LTE คาดว่าจะสร้างโครงข่ายภายในกลาง ปีนี้ ซึ่งจะมีพื้นที่ให้บริการประชากร ประมาณ 123 ล้ า นคน ส� ำ หรั บ T-Mobile ได้ ป ระกาศว่ า เป็ น ผู้ประกอบการที่มีโครงข่าย 4G LTE ใหญ่ ที่ สุ ด ในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ให้บริการใน 229 พืน้ ที่ รวมประชากรที่ พร้อมใช้บริการประมาณ 220 ล้านคน จากข้อมูลดังกล่าวคาดการณ์ได้ว่าจะ เกิดสงครามด้านราคา การให้บริการ และราคาของสมาร์ทโฟนในอนาคต อันใกล้นอี้ ย่างแน่นอน และผูบ้ ริโภคจะ ได้รับบริการที่แตกต่างและหลากหลาย มากขึ้นด้วย ปัจจุบัน Verizon, AT&T และ T-Mobile ได้ ก� ำ หนดอั ต รา ค่าบริการด้านข้อมูล (Data plan) ซึง่ มีตวั อย่างเปรียบเทียบตามตารางที่ 1 ดังนี้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

54


ตารางที่ 1 อัตราค่าบริการด้านข้อมูลต่อเดือนของผู้ประกอบการในประเทศสหรัฐอเมริกา ปริมาณข้อมูล 1 GB 2 GB 3 GB 5 GB 10 GB

Verizon Wireless US$ 20 US$ 30 ไม่ได้ก�ำหนด US$ 50 US$ 80

AT&T ไม่ได้ก�ำหนด ไม่ได้ก�ำหนด US$ 30 US$ 50 ไม่ได้ก�ำหนด

T-Mobile ไม่ได้ก�ำหนด US$ 39.99 ไม่ได้ก�ำหนด US$ 49.99 US$ 79.99

หมายเหตุ - 1 GB (Gigabit) = 106 Bit ราคานี้ไม่รวมบริการ voice และอื่น ๆ Verizon และ AT&T จะเรียกเก็บเงินเพิม่ หากมีการโหลดข้อมูลเกินก�ำหนด (Overage Charge) ในอัตรา US$ 10/1 GB T-Mobile ไม่คิด Overage charge แต่จะลดความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลลงหากโหลดข้อมูลเกินก�ำหนด

ร า ส า ้ ฟ ไฟ อัตราค่าบริการนีห้ ากเปรียบเทียบกับค่าบริการ 3G (เทียม) ของเราแล้วนับว่าเราได้ใช้บริการข้อมูลในราคาทีถ่ กู พอสมควร หากไม่ตดิ ใจในเรือ่ งของความเร็วของโครงข่ายของผูใ้ ห้บริการ อย่างไรก็ตามเราควรรูว้ า่ การใช้งานประเภทใด หรือกิจกรรมอะไร จะใช้ปริมาณข้อมูลเท่าใด เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกใช้โปรโมชั่นที่ผู้ให้บริการก�ำหนด และให้ เหมาะสมกับ life styles ของแต่ละคน ตามตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ปริมาณการใช้ข้อมูลในแต่ละเดือน (GB/เดือน) ตามประเภทการใช้งาน

ประเภทการใช้งาน ดูวิดีโอออนไลน์ ฟังดนตรีออนไลน์ ดาวน์โหลดเกม และ App. ส่งรูปภาพ/เอกสาร ท่องอินเทอร์เน็ต เช็ก E-mail

นาน ๆ ครั้ง 1.46 0.60 0.09

บางครั้ง 5.86 1.17 0.90

เป็นประจ�ำ 8.79 1.76 3.52

ตลอดเวลา >10 2.34 5.27

0.09 0.45 0.18

0.90 1.17 0.59

2.20 3.66 1.14

4.39 5.86 1.76

เมือ่ พูดถึง 4G เราทราบว่าเป็นเทคโนโลยีทเี่ สริมความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล และผูใ้ ห้บริการหลายรายมักจะ โฆษณาว่าโครงข่ายของตัวเองให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงกว่าคูแ่ ข่ง ดังนัน้ ในยุค 4G นอกจากจะมีการแข่งขันและ สงครามเรือ่ งราคาค่าบริการแล้ว ยังมีการแข่งขันในเรือ่ งของความเร็วด้วย หลังจากที่ Verizon ได้สร้างโครงข่าย 4G LTE ตั้งแต่ปี 2554 และได้เป็นผู้นำ� ในเรื่องความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล จนกระทั่งปีนี้ AT&T ได้โหมลงทุนสร้างโครงข่าย 4G LTE เป็นของตนเอง ในขณะที่ Sprint Nextel และ T-Mobile ยังคงตามมาติด ๆ ที่จะลงทุนสร้างโครงข่าย 4G LTE ภายในสิ้นปีนี้ ดังนั้นสงครามด้านความเร็วในปัจจุบันของตลาดสหรัฐอเมริกาจึงมีคู่ต่อสู้ส�ำคัญ 2 ค่าย คือ Verizon และ AT&T

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

55


ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 1 ตัวอย่างการโฆษณาเกี่ยวกับความเร็ว โปรโมชั่นของ Data plan และพื้นที่ให้บริการ

จากการโฆษณาอวดอ้างเรื่องความเร็วของผู้ประกอบการเหล่านี้ ท�ำให้ บริษัท RootMetrics ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รวบรวมข้อมูล และท�ำการทดสอบการใช้งานของโทรศัพท์เคลือ่ นที่ สมาร์ทโฟน และเทคโนโลยี โครงข่าย รวมถึงการมีสว่ นร่วมกับผูบ้ ริโภคในการแนะน�ำผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามที่ผู้บริโภคต้องการ ได้ท�ำการทดสอบและเก็บข้อมูลในเรื่องความเร็วและ ประสิทธิภาพในการท�ำงานของโครงข่าย 4G LTE ของผูป้ ระกอบการ 2 รายข้างต้น โดยท�ำการทดสอบในหลายพื้นที่ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ไตรมาสแรก ของปี 2555 และท�ำการทดสอบหลายรูปแบบ ทั้งภายใน ภายนอกอาคาร ระหว่างขับรถ และทั้งกลางวัน กลางคืน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นการใช้งานตาม ความเป็นจริงประมาณ 50,000 ตัวอย่าง ท�ำให้ผู้บริโภคได้รับทราบความเร็ว และประสิทธิภาพการท�ำงานในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งผลปรากฏว่าการที่ ผู ้ ป ระกอบการได้ โ ฆษณาเกี่ยวกับ พื้นที่แ ละความเร็วในการให้บริการนั้น บางแห่งไม่ได้ครอบคลุมพืน้ ทีแ่ ละความเร็วตามทีไ่ ด้โฆษณาไว้ รวมทัง้ ความเสถียร ในการเชือ่ มต่อเพือ่ รับ-ส่งข้อมูลยังคงมีผลกระทบทีท่ ำ� ให้อตั ราหลุด (Data failure) สูง ทั้งนี้ RootMetrics ได้ทดสอบและเก็บข้อมูลใน 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ • เปรียบเทียบความเร็วในการให้บริการ 4G LTE ใน 15 พื้นที่ • การเข้าถึงโครงข่าย 4G LTE และความเชื่อถือได้ของการให้บริการ • ความเร็วเฉลี่ยของผู้ให้บริการแต่ละรายในการใช้งานจริง

56

• ความสามารถในการเชื่อมต่อ

ที่ได้ความเร็วสูงกว่า 5 Mbps ซึ่ง เป็นการรับประกันความเร็วเบื้องต้น ของ 4G • ความเชือ่ ถือได้ในการเชือ่ มต่อ และรับ-ส่งข้อมูล หรือความเสถียรของ โครงข่าย ซึง่ วัดด้วยจ�ำนวนเปอร์เซ็นต์ ของ Data failure สรุปผลการทดลองด้านความเร็ว ของทั้ง 2 ผู้ประกอบการ ปรากฏว่า AT&T ให้ความเร็วในการดาวน์โหลด 17.4 Mbps ในขณะที่ Verizon ให้ ความเร็ว 15.2 Mbps แต่ความเร็วใน การอัปโหลดใกล้เคียงกันที่ประมาณ 8 Mbps ทั้งนี้เป็นการทดสอบที่เป็น ความเร็วของ 4G LTE อย่างเดียว (Pure LTE download speed) ตาม รูปที่ 2


รูปที่ 2 ความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดและอัปโหลด ใน 15 พื้นที่ (pure LTE)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ การเข้าถึงโครงข่ายและความเชื่อถือได้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสาร จะเห็นว่า Verizon สามารถเข้าถึง ได้ง่ายกว่า AT&T ทั้งนี้เนื่องจาก Verizon ได้สร้างโครงข่าย 4G LTE จนใกล้ถึงจุดอิ่มตัว และพบว่าสามารถเข้าถึงและ ดาวน์โหลดข้อมูลได้ถึง 92.3% จากโครงข่ายของ Verizon และเพียง 66% จากโครงข่าย AT&T นั่นหมายความว่า ลูกค้าของ Verizon สามารถเข้าถึงหรือใช้ Mobile broadband ได้มากกว่าลูกค้า AT&T ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 ความสามารถในการเข้าถึงโครงข่าย 4G LTE

4G LTE เป็นเทคโนโลยีทดี่ แี ละมีประโยชน์ได้กต็ อ้ งใช้อปุ กรณ์สอื่ สารหรือสมาร์ทโฟนทีส่ ามารถรองรับเทคโนโลยีนี้ และอยู่ในพื้นที่ให้บริการเท่านั้น หากเราอยู่ในพื้นที่ไม่มีโครงข่าย 4G LTE ให้บริการ แต่มีโครงข่าย 3G, 2G เดิม ให้บริการอยู่ก็จะรับ-ส่งข้อมูลได้ช้าลง ดังนั้นเมื่อพิจารณาภาพรวมกว้าง ๆ ในมุมมองของผู้ใช้บริการแล้ว ความเร็ว เฉลี่ยที่ใช้งานได้จริงจากการทดลองใน 15 พื้นที่ จะพบว่า AT&T จะช้ากว่า Verizon เล็กน้อย ทั้งการดาวน์โหลดและ อัปโหลด ตามรูปที่ 4 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่ออยู่นอกพื้นที่ 4G LTE แล้ว Verizon ยังมี 3G, 2G รองรับอีก

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

57


รูปที่ 4 ความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดและอัปโหลดในลักษณะใช้งานจริง

ส�ำหรับพื้นที่ที่รับประกันความเร็วที่สูงกว่า 5 Mbps นั้น โดยภาพรวมแล้ว Verizon สามารถให้บริการได้ถึง 82% ของพื้นที่ให้บริการ ส่วน AT&T สามารถให้บริการได้เพียง 68% การทดสอบประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่าลูกค้า ของ Verizon มีความมั่นใจว่าสามารถใช้โครงข่าย 4G LTE ในการรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงในระดับที่น่าพึงพอใจ ในหลายพื้นที่เมื่อเทียบกับ AT&T ส�ำหรับประเด็นความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูล (Data failures) โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการจะน�ำเสนอ การให้บริการด้านข้อมูลทีเ่ ชือ่ ถือได้ (Reliable data service) หรือพูดง่าย ๆ ว่าเมือ่ เชือ่ มต่อแล้วไม่หลุดง่าย ซึง่ จากการทดสอบ จะพบว่าโครงข่ายของ Verizon มีโอกาสหลุดหลังจากการเชื่อมต่อน้อยกว่า AT&T นั่นหมายความว่าเปอร์เซ็นต์ของ Data failure ของ Verizon น้อยกว่าของ AT&T ทั้งการดาวน์โหลดและอัปโหลด ตามรูปที่ 5

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 5 อัตราการหลุด/ความผิดพลาด (Data failure) ของการรับ-ส่งข้อมูล

ข้อมูลจากการทดลองและทดสอบของ RootMatrics ข้างต้นนี้ จะเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ได้ทราบถึงประสิทธิภาพและความเร็วทีแ่ ท้จริงของโครงข่าย 4G LTE ว่า ผูใ้ ห้บริการได้โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หรือไม่ ซึง่ ข้อมูลอย่างนีห้ น่วยงานหรือผูร้ บั ผิดชอบในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิง่ สถาบันคุม้ ครองผูบ้ ริโภคในกิจการ โทรคมนาคม (สบท.) ของ กสทช.ควรจะศึกษาหาแนวทางทดสอบประสิทธิภาพของโครงข่ายผูป้ ระกอบการ และน�ำผล การทดสอบมาประกาศให้ผบู้ ริโภคชาวไทยทราบ เพือ่ จะได้เป็นเครือ่ งมือในการเลือกใช้บริการและควบคุมการโฆษณา

58


ให้ อ ยู ่ ใ นกรอบของความเป็ น จริ ง และไม่ให้ผู้บริโภคต้องตกเป็นเหยื่อ การโฆษณาที่เกินความจริง ตัวอย่าง เช่ น ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารเอกชนบางรายที่ โฆษณาว่ า สามารถให้ บ ริ ก าร 3G ได้ ที่ ค วามเร็ ว สู ง ถึ ง 200 Mbps ซึ่ ง ไม่ ท ราบว่ า มี ก ารทดสอบหรื อ รับรองและรับประกันความเร็วหรือไม่ และมีความเป็นไปได้แค่ไหน หรือมี เงื่อนไขอย่างไร เทคโนโลยี 4G LTE เป็ น พัฒนาการในการให้บริการที่เน้นไป ในเรื่องของข้อมูล Mobile internet, Multimedia การศึกษา และความบันเทิง ดังนัน้ การทีจ่ ะใช้เสียงบนโครงข่าย 4G ยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง เพราะเราทราบ แล้วว่าโครงข่าย 3G และ 4G เป็น เทคโนโลยีทใี่ ช้ IP (Internet Protocol) หรื อ Packet-based (Packet switching) นั่นหมายความว่าบริการ ด้านข้อมูลและ Application ต่าง ๆ จะวิ่ ง บน IP ซึ่ ง ผู ้ ป ระกอบการ หลายรายพยายามที่ จ ะแก้ ป ั ญ หา เหล่านี้เพื่อจะได้ให้บริการแก่ลูกค้า ได้ครบถ้วนทั้ง Voice และ Data โดยได้กำ� หนดแนวทางและเทคโนโลยี มาใช้แก้ปญ ั หาในเบือ้ งต้น 4 แนวทาง ดังที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้ว ดังนี้ - C i r c u i t S w i t c h e d Fallback (CSFB) เมื่อเครื่องลูกข่าย อยู ่ น อกพื้ น ที่ 4G และอยู ่ ใ นพื้ น ที่ 2G/3G สามารถใช้ Voice call ได้ผา่ น Circuit switched - Circuit Switched over Packet Switched (CS over PS) ตัวอย่างเช่น VoLTE - I M S - b a s e d ( I P Multimedia Subsystem-based) เช่น 3GGP IMS MMTel (Multimedia Telephony) over LTE ซึ่ ง เป็ น

การหลอมรวมโทรศัพท์พื้นฐาน และ Mobile Multimedia เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็น เทคโนโลยีที่หลายค่ายให้ความสนใจ - Over-the-top (OTT) ตัวอย่างเช่น Skype phone จากการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับ LTE (LTE World Summit 2012) ที่เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ก็ได้พดู ถึงหัวข้อ Voice over LTE (VoLTE) กันมาก และผูป้ ระกอบการหลายราย ยอมรับว่าอาจจะยังไม่สามารถเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นีต้ ามทีห่ ลายคนคาดหวัง ผู้ผลิตอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้บรรยายและให้แนวทางว่า การใช้ เทคโนโลยี IMS-based เพือ่ ส่งข้อมูลเสียงในรูป Packet วิง่ บนโครงข่าย IP LTE น่าจะเป็นทางออกที่ดีของ VoLTE แต่ยังจะต้องท�ำการศึกษาทดลองอีก สักระยะหนึง่ คาดว่าน่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปลายปีหน้า ซึง่ รายละเอียดของ เทคโนโลยีนี้จะได้น�ำเสนอต่อในฉบับหน้า

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 6 โลโก้งานประชุม LTE World Summit 2012 เมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2555

ผูป้ ระกอบการหลายรายเข้าใจและรูว้ า่ เทคโนโลยี LTE ได้เปิดตัวครัง้ แรก เมื่อปี 2552 โดยการเชื่อมต่อผ่าน Router และ Dongle ซึ่งเป็นการใช้ใน การดาวน์โหลด/อัปโหลดข้อมูลอย่างเดียว ต่อมาเริม่ มีการผลิตอุปกรณ์สอื่ สาร หรือสมาร์ทโฟน (Handset) ที่ใช้เทคโนโลยี Circuit Switched Fallback (CSFB) ที่ใช้หลักการในการส่งข้อมูลผ่าน 4G LTE และ Voice ผ่าน Circuit Switched network ซึง่ จะเห็นว่าในพืน้ ทีใ่ ห้บริการ 4G ยังคงต้องอาศัยโครงข่าย Circuit switched ร่วมด้วย ดังนั้นในวงการผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายและ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม จะต้องเลือกวิธีการที่จะน�ำเทคโนโลยี VoLTE ที่ เหมาะสมมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ต่อไป

เอกสารอ้างอิง [1] http://www.informatandm.com [2] www.rootmatrics.com [3] www.gigaom.com [4] www.verizonwireless.com, www.t-mobile.com, www.att.com

ประวัติผู้เขียน นายสุเมธ อักษรกิตติ์ • วุฒิวิศวกรไฟฟ้า วฟก. 557 • อดีตกรรมการมาตรฐานด้านเทคนิคของ กทช. • อดีตอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กสทช. • อนุกรรมการสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วสท. พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

59


Energy พลังงาน นายธงชัย มีนวล อีเมล : athme@hotmail.com

เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะ (ตอนที่ 4) Waste to Electricity Technology (Part 4) บทความตอนที่ 4 นีน้ ำ� เสนอเนือ้ หาเพิม่ เติมเกีย่ วกับ (Stoker) เตาเผาแบบฟลูอิดไดช์เบด (Fluidized Bed การน�ำเชื้อเพลิงขยะไปผลิตพลังงาน และผลกระทบต่อ Combustor) หรือเตาเผาแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) สิ่งแวดล้อมของเทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse- หรือไพโรไลซิส (Pyrolysis) Derived Fuel, RDF) ต่อเนื่องจากบทความตอนที่ 3 รูปแบบการใช้เชื้อเพลิงขยะผลิตพลังงานอาจแบ่ง ตามสถานทีแ่ ละวัตถุประสงค์ในการใช้งานออกเป็น 3 กลุม่ 7) การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงขยะ คือ ใช้ในสถานที่แปรรูปขยะ สถานที่อื่น และการใช้เป็น เชื้อเพลิงขยะสามารถใช้ผลิตทั้งพลังงานไฟฟ้าและ เชื้อเพลิงเสริม ดังต่อไปนี้ ความร้อน เพื่อใช้ในโรงงานผลิตเชื้อเพลิงขยะเองหรือ 7.1) การใช้ในสถานที่แปรรูปขยะ (On-Site) กระบวนการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น การใช้เชื้อเพลิงขยะเพื่อเป็นพลังงานในการผลิต เชื้อเพลิงหลักหรือเชื้อเพลิงเสริม เช่น กระบวนการผลิต แปรสภาพขยะเป็นเชื้อเพลิงขยะ โดยใช้เชื้อเพลิงขยะที่ ปูนซีเมนต์ในประเทศไทยได้น�ำเชื้อเพลิงขยะไปใช้เผา ผลิตได้กับอุปกรณ์เปลี่ยนรูปพลังงาน เช่น เตาเผาแบบ ร่วมกับถ่านหิน (Co-firing) เพือ่ ลดปริมาณการใช้ถา่ นหินลง ตะกรับ เตาเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด ระบบก๊าซซิไฟเออร์ รู ป แบบเตาเผาที่ ใ ช้ เ ปลี่ ย นเชื้ อ เพลิ ง ขยะให้ เ ป็ น ระบบไพโรไลซิส เป็นต้น ดังแสดงในรูปที่ 21 พลั ง งานความร้ อ น ประกอบด้ ว ยเตาเผาแบบตะกรั บ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 21 การผลิตเชื้อเพลิงขยะเพื่อใช้ ณ สถานที่ผลิต

60


กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงขยะและกระบวนการผลิตพลังงานเป็นกระบวนการเดียวที่ต่อเนื่องกัน 7.2) การใช้เชื้อเพลิงขยะในสถานที่อื่น การใช้เชือ้ เพลิงขยะในสถานทีอ่ นื่ จะใช้รว่ มกับอุปกรณ์ทใี่ ช้เปลีย่ นเชือ้ เพลิงเป็นขยะพลังงาน เช่นเดียวกับอุปกรณ์ทใี่ ช้ ณ สถานที่ผลิต เชื้อเพลิงขยะที่ผลิตได้จะถูกจัดเก็บไว้เพื่อรอการขนส่งไปยังสถานที่ต้องการจะใช้ ดังแสดงในรูปที่ 22

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 22 การผลิตเชื้อเพลิงขยะเพื่อใช้งาน ณ สถานที่อื่น

กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงขยะและกระบวนการผลิตพลังงาน แยกออกจากกัน อยู่คนละสถานที่ 7.3) การใช้เชื้อเพลิงขยะร่วมกับเชื้อเพลิงอื่น การใช้เชือ้ เพลิงขยะนีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ลดต้นทุนจากการใช้เชือ้ เพลิงเชิงพาณิชย์ทวั่ ไป เป็นการเผาไหม้เชือ้ เพลิง ขยะร่วมกับเชื้อเพลิงอื่น เช่น ถ่านหิน ดังแสดงในรูปที่ 23

รูปที่ 23 การใช้งานขยะเชื้อเพลิงร่วมกับเชื้อเพลิงอื่น พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

61


7.4) ตัวอย่างการใช้เชื้อเพลิงขยะในยุโรป ตารางที่ 8 แสดงปริมาณการใช้เชื้อเพลิงขยะส�ำหรับกิจการต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เช่น ผลิตไฟฟ้า ผลิตกระดาษ ผลิตซีเมนต์ เป็นต้น ในปี 2545 ตารางที่ 8 ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงขยะในยุโรป Country

Numbera)

Dedicated plant Italy Sweden United Kingdom Power Plant Germany Italy United Kingdom Paper mill Finland District heating plant Belgium Denmark Finland Sweden Cement kiln Austria Belgium Italy Denmark Netherlands Total Notes : T in trial C In construction a) Figures into brackets are referring to b) Paper and plastic pellets (PPDF)

Capacitya) (x 103 tpa)

(2) NI 1

Quantitya) (x 103 tpa) C 1,400 30

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

62

NI (3) 1

(1,200)

T 50

NI

200

NI NI 50 NI

NI NI 50 NI

NI 1 5 1 1

NI

NI 15 300 2.6 7b) ≈ 2,000

quantities for which information was in complete or uncertain


8) เชื้อเพลิงขยะที่ใช้ในการผลิตพลังงาน

โดยทัว่ ไปเชือ้ เพลิงขยะทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ หมาะสมทีจ่ ะ น�ำมาไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ Dust-RDF และ DensifiedRDF 8.1) Dust–RDF การใช้ Dust–RDF นัน้ ส่วนใหญ่จะใช้ในกระบวนการ เผาไหม้เชื้อเพลิงผง (Pulverized Fuel) เนื่องจากเป็น เชื้อเพลิงขยะมีความหนาแน่นต�่ำท�ำให้การขนส่งล�ำบาก ต้องใช้ในปริมาณมาก และใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงอื่น ทางเลือกอีกอย่างในการใช้งาน Dust-RDF คือ ใช้เป็น เชื้อเพลิงเสริมในการเผาท�ำลายกากตะกอนของเสียของ กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงขยะเอง เนื่องจากกากตะกอน ของเสียเหล่านั้นไม่สามารถเผาไหม้ได้ด้วยความร้อนจาก ตัวเอง การใช้ Dust-RDF เสริมเข้าไปท�ำให้สามารถเผาไหม้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8.2) Densified-RDF Densified-RDF หรือ d-RDF เป็นการน�ำเชื้อเพลิง ขยะผงมาเพิม่ ความหนาแน่นโดยการมาอัดขึน้ รูปเป็นแท่ง (รูปที่ 3.3-10) เพือ่ ให้การใช้ประโยชน์หลากหลายมากกว่า Dust-RDF สามารถใช้กับหม้อไอน�้ำขนาดเล็กไปจนถึง ขนาดใหญ่และสามารถใช้กับเตาเผาที่มีการใช้อยู่แล้ว คุณสมบัติการเผาไหม้ของ d-RDF ดังแสดงในตารางที่ 9 และตารางที่ 10 แสดงตัวอย่างค่าความร้อนของเชือ้ เพลิงขยะ

ตารางที่ 10 ตัวอย่างค่าความร้อนของเชื้อเพลิงขยะ Heating Type of Value As-Received Fuel (J/g) 12,000 to RDF 16,000 21,000 to Coal 32,000 11,000 to MSW 12,000 Source : CalRecovery, Inc.

Moisture Content (%)

Ash Content (%)

15 to 25

10 to 22

3 to 10

5 to 10

30 to 40

25 to 35

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 9 คุณสมบัติการเผาไหม้ของ d-RDF

รายการ คุณสมบัติ 1) ความหนาแน่น d-RDF จะมีความหนาแน่นอยู่ประมาณ และความร้อน 600 kg/m3 และค่าความร้อนประมาณ 20,000 kJ/kg ท�ำให้ในปริมาตร 1 m3 จะให้ความร้อนออกมา 12,000 MJ แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินแล้ว d-RDF จะให้ความร้อนออกมาในปริมาณ ที่ต�่ำกว่า แต่เมื่อเทียบกับขยะที่ไม่ได้มี การแปรรูปแล้ว d-RDF จะมีค่าความ หนาแน่นและค่าความร้อนที่สูงกว่า 2) ปริมาณเถ้า ปริมาณเถ้าใกล้เคียงกับถ่านหิน แต่เมื่อ เปรียบเทียบกับปริมาณความร้อนที่ใช้ เท่ากันแล้ว เถ้าจาก d-RDF จะมากกว่า 3) ความชื้น ปริมาณความชืน้ ยิง่ สูง ความร้อนทีไ่ ด้รบั ก็จะลดลง 4) ปริมาณคลอไรด์ d-RDF มี ป ริ ม าณการเกิ ด ก๊ า ซกรด และซัลเฟอร์ ไฮโดรคลอริก และกรดซัลฟูริคน้อยกว่า การเผาไหม้ถ่านหิน

9) ตัวอย่างการออกแบบเชิงหลักการ

9.1) ตัวอย่างข้อก�ำหนดในการออกแบบ รายละเอียดดังตารางที่ 11 เป็นข้อก�ำหนดในการ ออกแบบการผลิ ต ขยะเชื้ อ เพลิ ง แบบ BMT จากขยะ มูลฝอยเก่าจากบ่อฝังกลบ จากการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดระบบก�ำจัดขยะรวมของเทศบาล นครภูเก็ต ตารางที่ 11 ข้อก�ำหนดในการออกแบบการผลิตเชื้อเพลิงขยะ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ฝังกลบ

อัตราการย่อยสลายขยะอินทรีย์

ระยะเวลาการด�ำเนินขุดร่อน ประสิทธิภาพรวมของเครื่องจักร ส�ำหรับผลิตเชื้อเพลิงขยะ

300 ตันต่อวัน ร้อยละ 20 ของขยะทั้งหมด 300 วันต่อปี (10 เดือน) ร้อยละ 63

9.2) สมดุลมวลของระบบ จากข้อก�ำหนดในการออกแบบตามตารางที่ 11 เมื่อท�ำการฝังกลบขยะมูลฝอยปริมาณ 300 ตันต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี จะมีปริมาณขยะมูลฝอยในบ่อทั้งหมด 109,500 ตันต่อปี แต่เนือ่ งจากขยะมูลฝอยจะถูกย่อยสลาย ในระหว่างการฝังกลบร้อยละ 20 ดังนั้นจึงเหลือปริมาณ ขยะมูลฝอยเก่าในบ่อ 87,600 ตันต่อปี หากด�ำเนินการขุดรือ้ 300 วันต่อปี และปฏิบตั งิ าน วันละ 8 ชั่วโมง จะมีปริมาณขยะที่ขุดรื้อเพื่อน�ำมาร่อน คัดแยก 292 ตันต่อวัน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

63


บทความตอนต่อ ๆ ไปจะกล่าวถึงแนวคิด ความส�ำคัญ หากเครื่องจักรผลิตเชื้อเพลิงขยะมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 63 จะสามารถผลิตเชื้อเพลิงขยะได้ประมาณ ชนิด และหลักการท�ำงานของเทคโนโลยีการฝังกลบขยะ 185 ตันต่อวัน ส่วนทีเ่ หลืออีก 107 ตันต่อวัน จะน�ำไปเข้าสู่ กิตติกรรมประกาศ กระบวนการที่เหมาะสมต่อไป

10) การควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เนื่ อ งจากเชื้ อ เพลิ ง ขยะเป็ น เชื้ อ เพลิ ง ส� ำ หรั บ การเผาไหม้ ดังนั้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก การใช้งานเชื้อเพลิงขยะจึงเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการ เผาไหม้นั่นเอง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น เป็นมลพิษอากาศ มลพิษน�้ำเสีย และมลพิษจากขี้เถ้า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้งานเชื้อเพลิง ขยะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คุณภาพของเชื้อเพลิงขยะ องค์ ป ระกอบทางกายภาพและเคมี ข องเชื้ อ เพลิ ง ขยะ เทคโนโลยี ที่ ใ ช้ ใ นการเผาไหม้ แ ละการควบคุ ม มลพิ ษ สัดส่วนของการใช้เชื้อเพลิงขยะในการเผาไหม้ (เผาไหม้ โดยตรงหรื อ เผาไหม้ ร ่ ว มกั บ เชื้ อ เพลิ ง อื่ น ) เทคนิ ค ใน การเผาไหม้ เป็นต้น ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมอันเนือ่ งมาจากกระบวนการ ในการแปรรูปขยะเชื้อเพลิงที่มีการคัดแยกขยะมูลฝอย ในปลายทาง อาจเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับเทคโนโลยี การย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน (ซึ่งต้องมีการคัดแยก ของเสียอินทรีย์ออกมาจากของเสียที่ทิ้งรวมกันมา) การป้องกันผลกระทบสิง่ แวดล้อมทีเ่ กิดจากเทคโนโลยี การแปรรูปขยะเชือ้ เพลิงจึงใช้หลักการแบบเดียวกับเทคโนโลยี การย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน นั่นคือ สิ่งที่เหลือทิ้ง จากการคัดแยกมักน�ำไปก�ำจัดโดยการฝังกลบ ดังนั้น การป้ อ งกั น ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มจากสิ่ ง เหลื อ ทิ้ ง จาก กระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิงขยะนี้ จึงมีวิธีการป้องกัน ลั ก ษณะเดี ย วกั บ การฝั ง กลบขยะมู ล ฝอยแบบถู ก หลั ก สุขาภิบาล

ขอขอบคุณ ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู ที่ช่วยปรับปรุงให้บทความนี้ สมบู ร ณ์ ม ากยิ่ ง ขึ้ น และขอขอบคุ ณ บริ ษั ท พี อี เ อ อิ น คอม อินเตอร์เนชั่นแนล ที่สนับสนุนข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากการก�ำจัดขยะ, ผศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ และคณะ, เทศบาลนครภูเก็ตและศูนย์วิจัยการเผากากของเสีย มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า พระนครเหนื อ รวมทั้ ง ศูนย์วจิ ยั สิง่ แวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ทีอ่ นุเคราะห์องค์ความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมโครงการผลิตไฟฟ้า จากการก�ำจัดขยะ

เอกสารอ้างอิง [1] พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล, “ร่างรายงานฉบับ สมบูรณ์การศึกษาความเหมาะสมโครงการผลิตไฟฟ้าจากการก�ำจัด ขยะ”, มีนาคม 2555 [2] เทศบาลนครภูเก็ต, “โครงการศึกษาความเหมาะสมและ ออกแบบรายละเอียดในการลงทุนและด�ำเนินการฝังกลบขยะด้วย กระบวนการชีวภาพ-กลและรื้อบ่อฝังกลบเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิต พลังงานสะอาด” (โดย ศูนย์วจิ ยั การเผากากของเสีย มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ), มีนาคม 2554 [3] การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, “โครงการศึกษาความเหมาะสม การผลิตไฟฟ้าจากขยะ” (โดยศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย นเรศวร), มีนาคม 2553

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ประวัติผู้เขียน

64

นายธงชัย มีนวล ท�ำงานให้การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค ประมาณ 21 ปี ตัง้ แต่ พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน งานหลักที่รับผิดชอบในปัจจุบันเกี่ยวกับ การพัฒนาบุคลากรของ กฟภ.ให้มีความรู้ ความสามารถ และ ทักษะในด้านวิศวกรรม เทคนิค เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า, การพัฒนา ระบบผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน และการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ


Energy พลังงาน นายศุภกร แสงศรีธร กองพัฒนาระบบไฟฟ้า ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อีเมล : supakorn.sae@pea.co.th

การศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทย

ตอนที่ 4 การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดก�ำลังผลิต 1.5 MW ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) 1. บทน�ำ

เมื่ อ ฉบั บ ที่ แ ล้ ว ได้ ก ล่ า วถึ ง การพิ จ ารณาเลื อ กกั ง หั น ลมใน การผลิ ต ไฟฟ้ า ให้ เ หมาะสมกั บ พลังงานลม ณ จุดติดตัง้ เมือ่ ได้กงั หันลม ทีม่ คี วามเหมาะสมแล้ว ต่อไปก็จะเป็น การติดตั้งกังหันลม ณ ต�ำแหน่งที่มี ความเหมาะสมนั้น ซึ่งก่อนการติดตั้ง กังหันลมก็จะต้องมีการส�ำรวจเส้นทาง การขนส่งว่ามีสงิ่ กีดขวางการขนอุปกรณ์ รูปที่ 1 ค่าความเร็วลมและก�ำลังไฟฟ้าในช่วง 24 ชั่วโมง กังหันลมหรือไม่ เช่น มีสะพานลอย กีดขวาง มีจดุ หักโค้งทีย่ ากต่อการเลีย้ ว หรือมีทางลาดชันทีต่ อ้ งใช้รถขนส่งทีม่ ี เครื่องยนต์ก�ำลังดีหรือไม่ นอกจากนี้ จะต้องมีการส�ำรวจดินเพื่อใช้ส�ำหรับ การออกแบบฐานรากให้ ส ามารถ รองรั บ แรงที่ จ ะมากระท� ำ กั บ กั ง หั น ลมได้ ส� ำ ห รั บ ใ น ฉ บั บ นี้ จ ะ เ ป ็ น การกล่าวถึงการประเมินความสามารถ รูปที่ 2 ค่าการกระจายตัวของความเร็วลม ในการผลิ ต ไฟฟ้ า ของกั ง หั น ลม ซึง่ เป็นการประเมินหลังจากการจ่ายไฟ จากระบบควบคุมและตรวจสอบระยะไกล (Scada System) โดยข้อมูลทีเ่ ก็บไว้ เป็นระยะเวลา 1 ปี ใน Server ประกอบด้วย วันเวลา ความเร็วลม ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ ความเร็วรอบ โรเตอร์ ต�ำแหน่งการเคลือ่ นทีข่ อง Nacelle ก�ำลังไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้ในแต่ละช่วงเวลา 2. การประเมินผลการจ่ายไฟ อุณหภูมิของอุปกรณ์ที่สำ� คัญต่าง ๆ ซึ่งตัวอย่างของข้อมูลแสดงได้ดังรูปที่ 1 พลั ง งานไฟฟ้ า ที่ ผ ลิ ต ได้ จ าก ส่วนรูปที่ 2 จะเป็นค่าการกระจายตัวของความเร็วลมในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ กังหันลมจะถูกเก็บไว้ใน Server ซึ่ง ในรอบระยะเวลา 1 ปี ติดตั้งอยู่ที่สถานีกังหันลมผลิตไฟฟ้า จากรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าการกระจายตัวของลมในช่วงระยะเวลา 1 ปี ข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้ ส่วนใหญ่จะมีค่าความเร็วลมอยู่ในช่วงระหว่าง 2-7 เมตรต่อวินาที

ร า ส า ้ ฟ ไฟ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

65


และเมื่อพิจารณาความเร็วลมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน ได้ทั้งสิ้น 1,672,111 kWh ซึ่งแสดงค่าพลังงานไฟฟ้าสะสม พฤษภาคม 2554 ถึงเดือนมิถนุ ายน 2555 ทีไ่ ด้จากระบบ ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ได้ดังรูปที่ 5 Scada พบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวมีค่าความเร็วลมเฉลี่ย สูงสุดที่ 15.13 เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งในเวลาดังกล่าวกังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้ เท่ากับ 1,306 kW และค่าความเร็วลมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มีค่าสูงกว่าค่าเริ่มผลิตไฟฟ้าของกังหันลม ซึ่งแสดงได้ ตามรูปที่ 3

รูปที่ 5 พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ในส่ ว นของการประเมิ น ความสามารถการผลิ ต ไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจะใช้ตัวประเมินคือ Plant Factor หรือ Capacity Factor (CF) ซึ่งหาได้จากสมการ

รูปที่ 3 ค่าความเร็วลมในช่วงเวลา 1 ปี

CF = พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในหนึ่งช่วงเวลา x 100% ส�ำหรับความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของกังหัน ก�ำลังผลิตไฟฟ้าของกังหันลม x จ�ำนวนชั่วโมง ลมจะสอดคล้องกับพลังงานลมที่เคลื่อนที่ผ่านใบพัดของ กังหันลม ซึ่งจะท�ำให้กังหันลมสามารถผลิตก�ำลังไฟฟ้าได้ เมื่อพิจารณาผลการจ่ายไฟที่ผ่านมาตั้งแต่เดือน โดยลักษณะของก�ำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเป็นไปตามกราฟ พฤษภาคม 2554 จนถึงเดือนมิถุนายน 2555 พบว่า ก�ำลังไฟฟ้าของกังหันลมชนิดนั้น ๆ ส�ำหรับก�ำลังไฟฟ้า กังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,672,111 หน่วย และ ที่เกิดขึ้นของกังหันลมที่ติดตั้งที่อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัด มีจ�ำนวนชั่วโมงที่ผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 7,419 ชั่วโมง ดังนั้น สงขลา สามารถแสดงได้ดังรูปที่ 4 จะสามารถหาค่า CF ได้เท่ากับ CF = 1,672,111 kWh x 100% 1,500 kW x 7,427 = 15%

3. การตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าก�ำลัง

การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) ได้ดำ� เนินการตรวจวัด คุณภาพไฟฟ้าที่จ่ายจากกังหันลมผลิตไฟฟ้าในช่วงตั้งแต่ วันที่ 2-8 มกราคม 2555 ซึง่ ผลการตรวจวัดมีรายละเอียด ดังนี้ รูปที่ 4 กราฟก�ำลังไฟฟ้าของกังหันลม • ผลการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้า ตามมาตรฐานของ กฟภ.ระบุว่าที่ระดับแรงดัน จากการตรวจสอบความสามารถผลิตไฟฟ้าของ ไฟฟ้า 33 kV ระดับแรงดันไฟฟ้าต�ำ่ สุดต้องไม่เกิน 31.3 kV กังหันลมในช่วงเวลา 1 ปี พบว่า กังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้า และระดั บ แรงดั น ไฟฟ้ า สู ง สุ ด ต้ อ งไม่ เ กิ น 34.6 kV

66


หรือคิดเป็น 33 kV ±5% ซึ่งจากการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าทั้งสามเฟสที่จ่ายจากกังหันลมผลิตไฟฟ้าเชื่อมต่อกับระบบ จ�ำหน่ายพบว่าค่าแรงดันไฟฟ้าทั้งสามเฟสมีค่าดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้า PHASE A B C

Minimum (%) -3.19 -1.94 -2.78

Maximum (%) 4.48 4.57 4.77

Average (%) 1.49 2.01 1.86

CP 95 (%) 3.59 3.73 3.87

Count. 2,153 2,153 2,153

• ผลการตรวจวัดการไม่สมดุลของแรงดันไฟฟ้า

ตามมาตรฐาน กฟภ.ก�ำหนดให้การเกิดแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลต้องไม่เกิน 2% ซึ่งจากผลการตรวจวัดพบว่า ค่าแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ กฟภ. โดยมีค่าเฉลี่ยของแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลเท่ากับ 0.57% และที่ CP 95 มีค่าแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลเท่ากับ 0.94% รายละเอียดตามตารางที่ 2

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 2 การตรวจวัดการไม่สมดุลของแรงดันไฟฟ้า

Minimum (%) 0.08

Maximum (%) 1.12

Average (%) 0.57

CP 95 (%) 0.94

Count. 2,153

มาตรฐาน กฟภ. 2%

• ผลการตรวจวัดคุณภาพความถี่ระบบไฟฟ้า

ตามมาตรฐาน กฟภ.ก�ำหนดให้ความถีข่ องระบบไฟฟ้าต้องอยูใ่ นช่วง 50±0.5 Hz จากการตรวจวัดพบว่าความถี่ ของระบบไฟฟ้าเมือ่ กังหันลมเชือ่ มต่ออยูใ่ นระบบอยูใ่ นเกณฑ์มาตรฐานของ กฟภ. โดยมีคา่ ความถีต่ ำ�่ สุดเท่ากับ 49.9 Hz และค่าสูงสุดเท่ากับ 50.09 Hz รายละเอียดตามตารางที่ 3 ตารางที่ 3 การตรวจวัดความถี่ระบบไฟฟ้า

Minimum (%) -0.20

Maximum (%) 0.18

Average (%) 0.04

CP 99 (%) 0.12

Count. 2,153

• ผลการตรวจวัดค่าฮาร์มอนิกส์

ตามมาตรฐาน กฟภ.ก�ำหนดให้คา่ THDv ทีร่ ะดับแรงดันไฟฟ้า 33 kV ต้องมีคา่ ไม่เกิน 3% จากการตรวจวัดพบว่า แรงดันไฟฟ้าในแต่ละเฟสมีค่า THDv อยู่ระหว่าง 2.53-2.79% ที่ค่า CP 95 โดยมีค่าฮาร์มอนิกส์ลำ� ดับที่ 5 สูงที่สุด รายละเอียดผลการตรวจวัดตามตารางที่ 4 และรูปที่ 6 ตารางที่ 4 การตรวจวัดฮาร์มอนิกส์ Phase A B C

Minimum (%) 1.25 0.98 0.95

Maximum (%) 4.06 3.52 3.79

Average (%) 2.04 1.64 1.66

CP 95 (%) 2.79 2.49 2.53

Count. 2,153 2,153 2,153

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

67


ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 6 ค่าฮาร์มอนิกส์ที่ล�ำดับต่าง ๆ

จากผลการตรวจสอบด้านคุณภาพไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้จากกังหันลมสรุปได้วา่ 4.2 ค่าใช้จ่าย มีคณ ุ ภาพไฟฟ้าก�ำลังอยูใ่ นเกณฑ์มาตรฐาน และเพือ่ เป็นการประเมินคุณภาพ • เงิ น ลงทุ น คิ ด จากวงเงิ น ไฟฟ้าก�ำลังอย่างต่อเนื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะด�ำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งหมดที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คุณภาพไฟฟ้าก�ำลังเป็นระยะ ๆ ต่อไป ประกวดราคาได้ รวมค่ า บริ ห าร โครงการในช่ ว งด� ำ เนิ น การติ ด ตั้ ง 4. การวิเคราะห์ผลตอบแทน และหักลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหลือเป็น การวิเคราะห์ผลตอบแทนโครงการสามารถประเมินในเบื้องต้นได้จาก เงินลงทุนทั้งสิ้น 119.30 ล้านบาท เงินลงทุน ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการ และผลตอบแทนที่ได้จากการขาย • ค่าบ�ำรุงรักษา ประเมินจาก พลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟ โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ดังนี้ การบ� ำ รุ ง รั ก ษาที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยแบ่ ง 4.1 ดัชนีที่ใช้ในการวิเคราะห์ การบ�ำรุงรักษาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การวิเคราะห์ผลตอบแทนของโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมที่ ทุก ๆ 6 เดือน และทุก ๆ 1 ปี โดย อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ใช้อัตราส่วนลด 7% (WACC ของการไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษาต่อรอบ ส่วนภูมิภาค) และมีดัชนีในการวิเคราะห์ดังนี้ เป็นเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท และ คิดเป็นสัดส่วนกับเงินลงทุนเท่ากับ • ปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ร้อยละ 0.15% คิดอัตราเงินเฟ้อคงที่ • อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR) • อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : B/C) ตลอดอายุโครงการ 25 ปี • ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)

68


4.3 รายได้ • อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD เท่ากับ 31.15 บาท (ข้อมูลจากธนาคาร ก า ร ป ร ะ เ มิ น ร า ย ไ ด ้ ข อ ง แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 13 กันยายน 2555) การผลิตไฟฟ้าประเมินจากหน่วยผลิต ไฟฟ้ า ของกั ง หั น ลมในช่ ว งเดื อ น 4.5 ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ มิถุนายน 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม จากการวิเคราะห์โดยใช้สมมติฐานตามข้อ 4.2-4.4 สามารถสรุป 2555 ซึ่งเท่ากับ 1,345,948 kWh ผลตอบแทนได้ดังนี้ แล้ ว ประมาณการพลั ง งานไฟฟ้ า ที่ กรณีที่ 1 ไม่มีอัตราค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม ผลิตได้เพิ่มขึ้นปีละ 10% ไปจ�ำนวน 5 ปี และลดลงปีละ 10% ไปจ�ำนวน ผลตอบแทนทาง ดัชนี ผลตอบแทนทางการเงิน 3 ปี จนสิ้นอายุโครงการที่ 25 ปี เศรษฐศาสตร์ โดยพิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก NPV (ล้านบาท) -40.49 8.60 ที่ 3.2045 บาทต่อหน่วย รวมกับ IRR (%) 3.25 7.71 ค่า Ft ขายปลีกเฉลี่ยเท่ากับ 0.48 B/C 0.67 1.07 บาทต่อหน่วย (อ้างอิงข้อมูลราคาจาก Payback Period (ปี) 18 12 ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับกิจการ พลังงาน) และประมาณค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft คงที่ตลอดอายุโครงการ กรณีที่ 2 มีอัตราค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม 25 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ไม่มี ผลตอบแทนทาง อัตราค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม และมีอัตรา ดัชนี ผลตอบแทนทางการเงิน เศรษฐศาสตร์ ค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม ในกรณีที่มีอัตรา ทางเศรษฐศาสตร์ 1.78 50.87 ไฟฟ้ า ส่ ว นเพิ่ ม พิ จ ารณาว่ า ได้ รั บ ค่าเงินจ�ำนวน 3.50 บาทต่อหน่วย IRR (%) 7.18 11.56 เป็นระยะเวลา 10 ปี B/C 1.01 1.41

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 4.4 ความคุม้ ค่าทางเศรษฐศาสตร์ การประเมิ น ความคุ ้ ม ค่ า ทางเศรษฐศาสตร์ พิ จ ารณาจาก ความสามารถในการลดการใช้ น�้ ำ มั น ดิ บ เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลั ง งาน ในการผลิ ต ไฟฟ้ า มี ส มมติ ฐ านใน การพิจารณาดังนี้ • การผลิ ต ไฟฟ้ า 1 kWh จะใช้ พ ลั ง งานในการผลิ ต เท่ า กั บ 8.521 x 10-8 kToe • น�้ำมันดิบ 1 บาร์เรล-4 จะให้ พลังงานได้เท่ากับ 1.37 x 10 kToe • น�้ำมันดิบ 1 บาร์เรล มีราคา เท่ากับ 112 USD (one year forecast จาก www.oil-price.net ณ วันที่ 13 กันยายน 2555)

Payback Period (ปี)

10

8

จากผลการประเมินด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ พบว่า การผลิตไฟฟ้า จากกังหันลมตามโครงการมีผลตอบแทนที่ดี หากได้รับการสนับสนุนอัตรา ค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม โดยในปีสุดท้ายของโครงการจะมีก�ำไร 17,800,000 บาท และตามผลการวิเคราะห์นี้จะคืนทุนในระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้าหากให้โครงการ มีผลตอบแทนทีด่ ขี นึ้ ต้องพัฒนาโครงการเป็นกังหันลมแบบทุง่ กังหันลม เพือ่ ลด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์และค่าติดตั้งลง รวมทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องดูผลกระทบให้ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ด้วย

5. กิตติกรรมกระกาศ

ขอขอบคุณ ดร.ชูวงศ์ วัฒนศักดิ์ภูบาล ที่ให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ด้าน คุณภาพไฟฟ้าก�ำลัง รวมทัง้ ท�ำให้โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมส�ำเร็จลุลว่ ง ไปด้วยดี

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

69


Technology & Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม นายธงชัย มีนวล อีเมล : athme@hotmail.com

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ : การวิเคราะห์ความต่าง (ตอนที่ 1) Smart Grids : Gap Evaluation (Part 1) บทความโครงข่ า ยไฟฟ้ า อั จ ฉริ ย ะนี้ ก ล่ า วถึ ง ความแตกต่ า ง ระหว่ า งสภาวะที่ เ ป็ น อยู ่ ใ นปั จ จุ บั น และสภาวะที่ต้องการเป็นในอนาคต (Gap Evaluation) โดยกล่าวถึงกรณี ศึ ก ษาจากการประเมิ น ในเบื้ อ งต้ น เกีย่ วกับความแตกต่างระหว่างสภาวะ ปั จ จุ บั น ที่ ก ารไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าค (กฟภ.) และสภาวะที่ต้องการเป็น ตามวิสัยทัศน์ของ กฟภ. เนื้อหาที่ กล่าวถึงในกรณีศึกษาประกอบด้วย กลุ่มปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ กฟภ.สูง ได้แก่ โครงสร้างพืน้ ฐานด้านการสือ่ สาร การบริหารจัดการองค์กรเพือ่ ปรับปรุง ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ง านและ การเพิ่มผลผลิต คุณภาพการบริการ ความมั่ น คงปลอดภั ย ด้ า นกายภาพ และด้านไซเบอร์ การบริหารจัดการ ข้อมูล (Data Management) ระบบ งาน อุปกรณ์ และองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้ า และการบริ ห าร จัดการสินทรัพย์ขององค์กร บทความ ตอนต่อ ๆ ไปจะกล่าวถึงปัจจัยที่มี ผลกระทบปานกลางและผลกระทบต�ำ่ ส�ำหรับบทความที่เกี่ยวกับโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะฉบับนีข้ องดการรายงาน ความคืบหน้าเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

1. บทน�ำ

การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจ�ำเป็นต้องทราบทั้งขอบเขตและ ปริมาณงานที่ต้องด�ำเนินการ รวมทั้งวิธีการที่เหมาะสมในการท�ำงานเหล่านั้น ขอบเขตและปริ ม าณงานที่ จ ะต้ อ งด� ำ เนิ น การเป็ น ผลจากการวิ เ คราะห์ ความแตกต่างระหว่างสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสภาวะที่ต้องการจะเป็น ในอนาคต (Gap Analysis) หรือเรียกโดยย่อว่า “การวิเคราะห์ความต่าง” การวิเคราะห์ความแตกต่างดังกล่าวมีความจ�ำเป็นส�ำหรับการวางแผน และการปฏิบัติงานจริง การวิเคราะห์ความแตกต่างเกิดขึ้นหลายขั้นตอนและ หลายระดับ เช่น ระดับอุตสาหกรรม ระดับองค์กร ระดับกระบวนงาน ระดับ ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ เป็นต้น กฟภ.ร่วมกับทีป่ รึกษาด�ำเนินการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสภาวะ ทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั และสภาวะทีต่ อ้ งการจะเป็นในอนาคต สรุปผลการวิเคราะห์ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีผลกระทบต่อ กฟภ.สูง (High Impact) 2. กลุ่มที่มีผลกระทบต่อ กฟภ.ปานกลาง 3. กลุ่มที่มีผลกระทบต่อ กฟภ.ต�ำ่

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

70

2. ผลการวิเคราะห์

ผลการศึ ก ษาและวิ เ คราะห์ ค วามแตกต่ า งระหว่ า งสถานะปั จ จุ บั น (Current State) และสถานะวิสัยทัศน์ในอนาคต (Future Vision State) ของ โครงข่ายไฟฟ้า กฟภ.ในแต่ละส่วนพื้นที่ของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid Landscape) รวมทั้งสิ่งที่ต้องด�ำเนินการ/ข้อสังเกต ตลอดจนระดับของ ผลกระทบ (Impact Criticality) ในแต่ละกลุม่ พืน้ ทีข่ องโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่าอยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง หรือระดับต�ำ่ ดังนี้


1) กลุม่ ทีม่ ผี ลกระทบ (Impact Criticality) อยูใ่ นระดับสูง ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร

- การสื่อสารส่วนหลัก (Backbone) - การสื่อสารส่วนเชื่อมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Last mile) - ระบบบริหารเครือข่ายสื่อสารขององค์กร การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านและการเพิม่ ระบบบริ ห ารจั ด การก� ำ ลั ง คนภาคสนาม (Mobile ผลผลิต Workforce Management, MWM) คุณภาพการให้บริการ - แหล่งผลิตพลังงานแบบกระจาย - การจัดการโหลดแบบไดนามิก ความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพและด้านไซเบอร์ ระบบความมัน่ คงปลอดภัยขององค์กรทัง้ ทางกายภาพ (Physical) และด้านสารสนเทศ (Cyber Security) การบริหารจัดการข้อมูล ระบบบริหารจัดการข้อมูลขององค์กร (Enterprise Data Management System) โครงข่ายอัจฉริยะ ระบบ อุปกรณ์ แอปพลิเคชันและ - ระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (MicroGrid) องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า - มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Meter) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร ระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management System)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 2) กลุ่มที่มีผลกระทบระดับกลาง ประกอบด้วย

การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบตั งิ านและการเพิม่ ผลผลิตไฟฟ้า โครงข่ายอัจฉริยะ ระบบ อุปกรณ์ แอปพลิเคชันและ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า การวิเคราะห์ การวางแผน และการควบคุมสัง่ การระบบ ไฟฟ้า

ระบบบริหารข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าและระบบจัดเก็บรายได้ (Customer Information and Billing System) เซนเซอร์อัจฉริยะ (Smart Sensor) โครงข่ายอัตโนมัตแิ ละการฟืน้ ฟูตนเอง (self-healing)/ การควบคุมและการมอนิเตอร์ระยะไกล

3) กลุ่มที่มีผลกระทบระดับต�่ำ ประกอบด้วย

การอนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Appliance) ความปลอดภัยด้านสาธารณะ ผู้ปฏิบัติงาน อาคาร ความปลอดภัยของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย และสิง่ แวดล้อม ทรัพย์สิน และสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติ การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร ระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

71


ผลกระทบระดับสูงและระดับ ปานกลาง หมายถึง ต้องรีบด�ำเนินการ เพื่อปิดช่องว่างของความต่าง (Close GAP) โดยเร็ว 2.1) ความต้ อ งการหลั ก (Core requirements) สามารถจัดกลุ่มความต้องการ หลักของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของ กฟภ. ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 1.1) โครงสร้างพืน้ ฐานด้าน การสื่อสาร 1.2) ก า ร ป รั บ ป รุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพการปฏิ บั ติ ง านและ การเพิ่มผลผลิต 2) กลุ่มความต้องการพื้นฐาน 2.1) คุณภาพการบริการ 2.2) ความมั่นคงปลอดภัย ด้านกายภาพและด้านไซเบอร์ 2.3) การจัดการข้อมูล 2.4) โ ครงข่ า ยอั จ ฉริ ย ะ ระบบ อุปกรณ์ แอปพลิเคชันและ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า 3) กลุ่มการประยุกต์ใช้งาน 3.1) การวิเคราะห์ วางแผน และควบคุมสั่งการระบบไฟฟ้า 3.2) ก ารอนุ รั ก ษ์ แ ละใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 3.3) ค วามปลอดภั ย ด้ า น สาธารณะ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง าน อาคาร ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม 3.4) ก ารบริ ห ารจั ด การ สินทรัพย์ขององค์กร

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ของ กฟภ.ในอนาคต คุณสมบัติของเครือข่ายสื่อสาร ประกอบด้วย Broad Coverage, Two-Way, Security, Mission-Critical Support, Fast Response Time, Multiple Application Support, Availability, Scalability, Easy of Management, Standard Based, Total Cost of Ownership and Field Proven 2.3) คุณภาพการบริการ มาตรฐานการบริการของ กฟภ. ประกอบด้วย 1) มาตรฐานทางเทคนิค ได้แก่ มาตรฐานแรงดันไฟฟ้าที่จุดจ่ายไฟ มาตรฐานการเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า 2) มาตรฐานการให้บริการ ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานการให้บริการ ทัว่ ไป (เช่น การจ่ายกระแสไฟฟ้าคืนหลังจากระบบจ�ำหน่ายขัดข้อง การร้องเรียน เรื่องแรงดันไฟฟ้า การอ่านค่าหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริง ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า) และมาตรฐานการให้บริการที่รับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า ควรปรั บ ปรุ ง เพิ่ ม เติ ม มาตรฐานดั ง กล่ า วเพื่ อ รองรั บ บริ ก ารใหม่ ๆ ทีเ่ กิดขึน้ โดยการพัฒนากระบวนการท�ำงานของ กฟภ.ทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ หมายถึง การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทีส่ นับสนุนกระบวนการท�ำงานดังกล่าว ด้วย เช่น ระบบ OMS (Outage Management System) หรือระบบบริหาร ไฟฟ้าขัดข้อง การพัฒนากระบวนการด้านระบบปฏิบตั งิ านภาคสนาม (Mobile Workforce) การพัฒนากระบวนการบ�ำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และการพัฒนาระบบ Distribution Management ฯลฯ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

2.4) ความปลอดภัยทางกายภาพและไซเบอร์ 1) ระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพ ระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านกายภาพ ประกอบด้วย ระบบโทรทัศน์ วงจรปิด (CCTV) ซึ่งใช้กล้องชนิด IP, ระบบควบคุมการเข้า-ออก และระบบ ป้องกันการบุกรุกอาคารและ/หรือสถานีไฟฟ้า 2) ระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ ระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ส�ำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ จะต้องสนับสนุนความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และการรักษาความลับของ ข้อมูลที่รับ-ส่ง (ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ไฟฟ้า) โดยมุ่งเน้นการป้องกัน ทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ามีการรักษาความลับ (Confidentiality) ข้อมูลของลูกค้า ความครบถ้วนถูกต้องข้อมูล (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ปัจจุบันมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะมีหลายมาตรฐาน เนื่องจากการเชื่อมต่อกันหลายระบบงาน 2.2) โครงสร้างพื้นฐานด้าน เช่น มิเตอร์อจั ฉริยะ (Smart Meter) เชือ่ มโยงไปยังผูใ้ ช้ไฟฟ้า ระบบ SCADA การสื่อสาร เชื่อมโยงสถานีไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ในระบบจ�ำหน่าย ความต้ อ งการหลั ก ส� ำ หรั บ ตามเอกสาร NISTIR 7628 (Guidelines for Smart Grid Cyber การพัฒนาเครือข่ายสือ่ สารเพือ่ รองรับ Security) ของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

72


ได้ประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และก�ำหนดเป็นความต้องการเบื้องต้นไว้ อย่างไรก็ดี กฟภ.ควรก�ำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมโดยค�ำนึงถึงลักษณะของ การอินเตอร์เฟซอุปกรณ์ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ รวมถึงข้อจ�ำกัดและปัญหา ทีอ่ าจเกิดจากเทคโนโลยีของแต่ละอุปกรณ์และระบบเครือข่าย ทัง้ นีเ้ พราะมีทงั้ ส่วนของอุปกรณ์เดิม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น�ำมาใช้งานในโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ 2.5) การจัดการข้อมูล หลักการส�ำคัญในการก�ำหนดความต้องการด้านการจัดการข้อมูล คือ (1) ความเข้าใจต่อ Data Class and Data Characteristic ในโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะ (2) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุดหนึง่ เพือ่ สนับสนุนหลายกระบวนงาน (3) พิจารณาการออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบให้เป็นแบบกระจาย (Distributed) โดยสอดคล้องกับความต้องการด้าน Latency และขีดความสามารถ ของระบบต้นทาง (4) การวางแผนด้านการจัดการข้อมูลในแบบองค์รวม ส�ำหรับระบบ AMI ระบบ SCADA/DMS หรือระบบ MWM ฯลฯ เพื่อป้องกันการลงทุน ซ�้ำซ้อน (5) การออกแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้างข้อมูลทีส่ อดคล้องกับ Data Class และลักษณะของระบบงานหรือโปรแกรมประยุกต์ดา้ นการวิเคราะห์ขอ้ มูล

(6) C o m p l e x E v e n t Processing (CEP) เป็นกระบวนการ เพื่อวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ประเภทแจ้งเตือนหรือแจ้งเหตุการณ์ ซึ่งมิใช่ข้อมูลที่เกิดขึ้นตามจังหวะหรือ ตามความถี่ โดยทั่ ว ไปองค์ ป ระกอบใน การพัฒนาและใช้งานระบบสารสนเทศ ให้ส�ำเร็จมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ - บุคลากรและองค์กร - เทคโนโลยี - กระบวนการทางธุรกิจ ต้ อ งพั ฒ นาหรื อ ปรั บ เปลี่ ย น องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนไปพร้อมกัน นอกจากนั้ น ควรด� ำ เนิ น การพั ฒ นา และปรับเปลีย่ นกระบวนการทางธุรกิจ ไปพร้ อ มกั บ การออกแบบโครงข่ า ย ไฟฟ้าอัจฉริยะ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

73


2.6) ความปลอดภัยด้านต่าง ๆ (1) ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ต ่ อ สาธารณะ ประกอบด้วย มาตรการ ควบคุมความปลอดภัยที่กระทบกับ สาธารณะด้านความเสี่ยงภัยร้ายแรง และมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภยั (2) ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ด ้ า น ผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การฝึก อบรมด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล กฎเกี่ ย วกั บ การใช้ อุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล (Personal Protective Equipment, PPE) และ กฎระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ ทั่ ว ไปส� ำ หรั บ พนักงานช่วงที่มีการก่อสร้าง (3) ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ด ้ า น อาคารและทรัพย์สิน ประกอบด้วย ความปลอดภั ย ในบริ เ วณพื้ น ที่ ท� ำ การก่ อ สร้ า ง กฎความปลอดภั ย เกี่ ย วกั บ เครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ และ เครือ่ งจักร กฎความปลอดภัยเกีย่ วกับ การป้ อ งกั น และระงั บ เพลิ ง ไหม้ ต ่ อ อาคารและทรั พ ย์ สิ น และสาระ โดยสังเขปของกฎกระทรวงทีเ่ กีย่ วข้อง กับความปลอดภัยสถานที่ท�ำงาน (4) ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ต ่ อ สิง่ แวดล้อม ประกอบด้วย ด้านคุณภาพ อากาศ ด้านเสียง ด้านคุณภาพน�้ำ และด้านกากของเสีย

2.7) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร การบริหารสินทรัพย์ขององค์กรหรือ Enterprise Asset Management มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่ เกี่ยวข้อง (เช่น การลงทุน การบริหารจัดการและบ�ำรุงรักษา) โดยให้สมดุล กับคุณภาพของการให้บริการ การพัฒนางานด้าน Asset Management สามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ - Asset Management ในระดับของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ของสินทรัพย์ - Enterprise Asset Management เป็นการขยายขอบเขตงานเพื่อให้ ครอบคลุมการบริหารบุคลากร การบริหารวงจรของอุปกรณ์ และการมุ่ง ตอบสนองด้านการเงินขององค์กร - การพัฒนางานด้าน Asset Management เพื่อมุ่งไปสู่การบ�ำรุงรักษา Conditioned-based Maintenance

ร า ส า ้ ฟ ไฟ 2.8) การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการเพิ่มผลผลิต กฟภ.จ�ำเป็นต้องมุง่ เน้นในการพัฒนาศักยภาพขององค์กร โดยการพัฒนา เทคโนโลยีและพัฒนาสมรรถนะของพนักงาน กฟภ.ให้สามารถปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู ที่ช่วยปรับปรุงให้บทความนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าคทีส่ นับสนุนข้อมูลและบุคลากรส�ำหรับการวิจยั เกีย่ วกับ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เอกสารอ้างอิง [1] คณะท�ำงานฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, “ร่างรายงานการฉบับที่ 4 งานจ้างที่ปรึกษา จัดท�ำแผนที่นำ� ทาง (Roadmap) และศึกษาความเหมาะสมโครงการ PEA Smart Grids และ AMI” (เอกสารใช้ภายในองค์กร), กรกฎาคม 2555

ประวัติผู้เขียน

74

นายธงชัย มีนวล ท�ำงานให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประมาณ 21 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบนั งานหลักทีร่ บั ผิดชอบในปัจจุบนั เกีย่ วกับ การวิเคราะห์และวางแผนระบบไฟฟ้า, การพัฒนาระบบผลิต ไฟฟ้าจากขยะชุมชน และการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ


Technology & Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม มิติ รุจานุรักษ์ พงศธร เกิดอรุณเดช และประพิน แสงเงิน

การประยุกต์วิทัศน์คอมพิวเตอร์กับ กล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับไฟ บทน�ำ

โจทย์ดงั กล่าวมาจากนักศึกษาของผมคนหนึง่ ทีอ่ ายุ อานามมากกว่าผมหลายปีทเี ดียว คุณประพิน แสงเงิน เป็น เจ้าของบริษทั กล้องวงจรปิดและอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ บริษทั พิโคเทคโนโลยีเวิลด์ จ�ำกัด ซึง่ เข้าศึกษาในหลักสูตร ปริญญาโท ของภาควิชาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย ของ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ (ในขณะที่ผู้ร่วมวิจัยคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวผมอยู่ในภาควิชา วิศวกรรมไฟฟ้า) คุณประพินเข้ามาหาผมในห้องพร้อมเล่า ความฝันราง ๆ ให้ผมฟัง หลังฟังจบ กล่าวตามตรง ผมเอง ยังกังขาต่อความแม่นย�ำของเทคโนโลยีประมวลผลภาพ/ วิทัศน์คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับเพลิงไหม้ ผมมีคำ� ถาม คาใจ อะไรจะเกิดขึน้ หากเทคโนโลยีผดิ พลาด อย่างไรก็ตาม จากความตั้ ง ใจจริ ง ของคุ ณ ประพิ น และความสามารถ ของผู ้ ร ่ ว มวิ จั ย ท� ำ ให้ พั ฒ นาเทคโนโลยี ม าถึ ง ระดั บ หนึ่ ง ซึง่ คงไม่กล้ากล่าวได้วา่ ใช้ได้รอ้ ยเปอร์เซ็นต์ แต่กม็ ปี ระเด็น น่าสนใจดังที่จะน�ำเสนอในบทความนี้ครับ อย่างที่พบเห็นทั่วไปได้ปัจจุบันมีการติดตั้งกล้อง วงจรปิดในหลายสถานที่ เพือ่ ใช้ในการรักษาความปลอดภัย เป็ น ต้ น นอกจากนี้ เ มื่ อ พิ จ ารณาถึ ง อั ค คี ภั ย ซึ่ ง เป็ น ภัยคุกคามทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การใช้ กล้องวงจรปิดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการตรวจหาเปลวไฟ ก่อนที่จะลุกลาม อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถคาดเดาได้วา่ อัคคีภยั จะ เกิดขึน้ เมือ่ ไร ดังนัน้ ผูด้ แู ลต้องอาศัยการจ้องมองทีห่ น้าจอ แสดงผลเป็นเวลาต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดจาก มนุษย์ทเี่ กิดความเหนือ่ ยล้า โดยเฉพาะเมือ่ มีกล้องหลายตัว ติดตั้งอยู่

นอกจากนีก้ ารตรวจหาเปลวไฟนัน้ แม้เราสามารถใช้ อุปกรณ์ตรวจควันได้ อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ดังกล่าวมี รัศมีการท�ำงานทีแ่ คบ การจะติดตัง้ ให้ครอบคลุมพืน้ ทีต่ อ้ ง อาศัยอุปกรณ์หลายตัว จึงท�ำให้เสียค่าใช้จา่ ยทีส่ งู อุปกรณ์ ดังกล่าวยังมีข้อจ�ำกัดในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งได้ทั่วถึง หรือกรณีที่ห่างจากพื้นมาก เช่น พื้นที่ชุมชน ลานจอดรถ เปิ ด โล่ ง ลานในอาคาร อาคารโรงงานขนาดใหญ่ สวนสาธารณะ ผืนป่า ถนน ทางด่วน เมื่ อ พิ จ ารณาถึ ง ความจ� ำ เป็ น ของการตรวจหา เปลวไฟ และข้อจ�ำกัดของอุปกรณ์ตรวจควันทีม่ อี ยู่ ทางเรา จึ ง คิ ด ใช้ ก ล้ อ งวงจรปิ ด ในการตรวจหาเปลวไฟอย่ า ง อัตโนมัตดิ ว้ ยคอมพิวเตอร์ ซึง่ อันทีจ่ ริงแล้วก็เริม่ มีอปุ กรณ์ ดังกล่าวออกมาขายในท้องตลาดแล้ว แต่ความถูกต้อง แม่นย�ำก็ยังเป็นที่กังขาอยู่ ทางเราจะพัฒนาเปรียบเทียบ งานวิจัยกับงานวิจัยก่อนหน้าให้ดูครับ การใช้คอมพิวเตอร์ตรวจหาเปลวไฟได้โดยอัตโนมัติ อาศัยหลักการของการประมวลผลภาพ การประมวลผล ภาพพิจารณาแต่ละจุดในภาพ (Pixel) เป็นค่าดิจทิ ลั ผสมกัน ค่าดิจิทัลพื้นฐานที่ใช้คือ สีแดง สีเขียว และสีน�้ำเงิน ด้วย ค่าสีเหล่านีจ้ ะสามารถด�ำเนินการต่าง ๆ ได้ เช่น แยกพืน้ ที่ ที่มีสีคล้ายคลึงกับเปลวไฟแล้วตรวจสอบว่าพื้นที่ดังกล่าว เปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือไม่ [1] กล่าวคือ เปลวไฟจะมี การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หากเป็นแค่วัตถุที่มีสีเดียวกับ เปลวไฟจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การพิจารณา การเปลี่ยนแปลงของรูปร่างท�ำให้การตรวจหาเปลวไฟ มีความแม่นย�ำมากขึ้นกว่าวิธีการที่ไม่ใช้

ร า ส า ้ ฟ ไฟ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

75


โดยส่วนมากเปลวไฟจะมีสอี ยูใ่ นช่วงสีแดงไปจนถึง สีขาวแตกต่างกันตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป เปลวไฟที่มี อุณหภูมิไม่สูงมากจะมีสีออกแดงหรือสีส้ม เมื่ออุณหภูมิ เพิม่ ขึน้ จะเปลีย่ นสีไปจนใกล้สขี าวมากขึน้ เรือ่ ย ๆ นอกจาก อุณหภูมิที่ท�ำให้ไฟมีสีเปลี่ยนไปแล้ว วัสดุที่เผาไหม้ก็เป็น ปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้ไฟมีสีต่าง ๆ กันด้วย ในการทดลอง ของเรานั้นจะท�ำการทดสอบกับไฟเฉพาะ Class A และ Class B ดังแสดงในภาพที่ 1-4 นอกจากนี้ เ ปลวไฟเป็ น รู ป แบบของพลั ง งานที่ มี อนุภาค ดังจะเห็นได้จากเมื่อเราส่องไฟฉายไปยังเปลวไฟ ในเวลากลางคืน สีของเปลวไฟจะถูกกระทบโดยแสงไฟฉาย จึงเป็นที่น่าสนใจว่าเปลวไฟจะมีค่าสีแปรเปลี่ยนไปตาม ความสว่างของสิ่งแวดล้อมมากเพียงใด ในการแยกพื้นที่สีเปลวไฟ มีการใช้แบบจ� ำลอง สีตา่ ง ๆ เช่น RGB HSL และ YCrCb เป็นต้น แต่ละแบบจ�ำลอง ส่งผลให้การแยกพื้นที่มีประสิทธิภาพต่างกัน ซึ่งส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการตรวจจับเปลวไฟ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มกี ารท�ำวิจยั ว่าแบบจ�ำลองใดช่วยให้แยกพืน้ ทีเ่ ปลวไฟ ได้ดที สี่ ดุ แบบจ�ำลองสีแต่ละชุดมีขอ้ ดีขอ้ เสียทีแ่ ตกต่างกัน กล่าวคือ RGB นัน้ เข้าใจง่ายและใช้แพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ค่า RGB ของวัตถุเดียวกันจะไม่คงที่ที่ความสว่างต่างกัน ส�ำหรับ HSL และ YCrCb นัน้ มีคา่ L และ Y แยกต่างหาก ทั้ ง สองค่ า นี้ บ ่ งบอกถึงความสว่าง ดังนั้นวัต ถุเดีย วกัน จะมีค่า HS และ CrCb ค่อนข้างคงที่แม้ความสว่างของ สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไป ในบทความส่วนใหญ่หลังจากการตรวจสอบด้วย สีแล้ว ก็จะตามด้วยการสอบทานจากการเปลี่ยนแปลง รูปร่างของพื้นที่ มีการใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้ามาประเมิน รูปร่าง เช่น ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง [2] การเคลื่อนที่ ของพิกเซล [3] วิธีเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากขนาด ของเพลิงในภาพ กล่าวคือหากฉากหลังที่มีสีคล้ายไฟ มีขนาดใหญ่มากจะท�ำให้ขอบที่ใหญ่ที่สุดในภาพผิดพลาด และนี่คือจุดส�ำคัญที่เราจะเข้ามาแก้ไข ในงานวิจยั นีเ้ ราจะใช้ขอบของบริเวณทีม่ สี คี ล้ายคลึง กับเปลวไฟ แล้วพิจารณาการเปลีย่ นแปลงไปตามเวลาคล้ายกับ งานของ [2] อย่างไรก็ตามความแปลกใหม่ของงานเราคือ จะตรวจจับเปลวไฟโดยแบ่งภาพจากกล้องออกเป็นส่วน ๆ ขนาดเท่ากัน ตามมุมมองภาพจริง (Perspective View) จากความรู้ด้านวิทัศน์คอมพิวเตอร์ (Computer Vision) แล้วท�ำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปร่างในแต่ละส่วน

การวิเคราะห์รปู ร่างของเปลวไฟเมือ่ แยกแต่ละส่วน ในภาพจะต่างจากเดิม กล่าวคือ แต่ละส่วนในภาพอาจ ไม่ครอบคลุมไฟทัง้ ก้อน จึงมีความแตกต่างจาก [2] คือ แทนที่ จะเปรียบเทียบระหว่างการหารัศมีจากจุดศูนย์กลางไฟ จะใช้การนับจ�ำนวนพิกเซลไฟโดยตรง ทัง้ นีย้ งั มีสว่ นช่วยให้ อัลกอริทมึ ประมวลผลเร็วขึน้ ด้วย เนือ่ งจากไม่ตอ้ งหาขอบ และหารัศมี ท�ำให้ประมวลผลหลายส่วนย่อยในภาพแยกกัน ได้ในเวลาอันรวดเร็ว หลังจากนัน้ ก็ใช้วธิ กี ารวิเคราะห์ความถีก่ ารกะพริบ คล้ายกับ [2] คือ แปลงภาพพื้นที่เวลาของไฟจากภาพที่ เป็นภาพฟูเรียร์ แล้วดึงสัมประสิทธิ์ฟูเรียร์ออกมาสอน ปัญญาประดิษฐ์ให้ตัดสินใจแทนเรา นอกจากนี้เรายังสนใจปัญหาที่ว่า ควรใช้เลนส์ทาง ยาวโฟกัสเท่าใดต่อระยะห่างของเพลิงต่าง ๆ กัน ซึ่งก็จะ สรุปแนบท้ายในบทความนี้ด้วย ทั้งนี้อุปกรณ์วิทัศน์ที่ใช้ในการทดลองเป็นดังนี้ กล้ อ งสี JVC รุ ่ น TK-C9201EG, 1/3”, ความละเอียด 580 TVL กล้องสี JVC รุ่น TK-C9-301EG (IR Switch), 1/3”, ความละเอียด 580 TVL กล้องสี JVC รุ่น TK-C750E, 1/3”, ความละเอียด 330 TVL เลนส์ขนาด 1/3”, ระยะโฟกัส 2.8-12 mm เลนส์ขนาด 1/3”, ระยะโฟกัส 6-15 mm เลนส์ขนาด 1/3”, ระยะโฟกัส 5-50 mm และจากการออกแบบแบบจ� ำ ลองการทดลอง ดังภาพที่ 1 ได้ท�ำการ 1. ติดตัง้ เสายึดกล้องสามต้น โดยตัดท่อโลหะให้ได้ ความสูงไม่เกินหลังคาของอาคารทีท่ ดลอง โดยทีร่ ะยะห่าง ระหว่างเสาทั้งสามต้นเท่ากับ 15 เซนติเมตร 2. ระยะห่ า งระหว่ า งเสายึ ด กล้ อ งกั บ ถาดเผา เชื้อเพลิงเท่ากับ 6.30 เมตร 3. ติดตัง้ กล้องทัง้ สามตัวทีค่ วามสูงของเสายึดกล้อง เท่ากับ 2.5 เมตร อ้างอิงระดับเดียวกันกับขอบบนของฐาน วางถาดเผาเชื้อเพลิง 4. ท� ำ การปรั บ มุ ม กล้ อ งทั้ ง สามตั ว ให้ รั บ ภาพ เปลวไฟทีถ่ าดเผาเชือ้ เพลิงท�ำมุมกดต�ำ่ ประมาณ 30 องศา จากขายึดกล้อง

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

76


รูปที่ 1 แบบจ�ำลองการทดลอง

(ก)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ (ข)

รูปที่ 2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

(ค)

(ง)

รูปที่ 4 ตัวอย่างไฟและวัตถุสีคล้ายไฟ (ก) ไฟคลาส A (ข) คลาส B (ค) วัตถุเคลื่อนที่ในทิศทางเดียว และ (ง) วัตถุเคลื่อนที่หลายทิศทาง

รูปที่ 3 การติดตั้งอุปกรณ์ส่วนฐานกล้องวงจรปิด และส่วนประมวลผลภาพ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

77


ขั้นตอนการเก็บข้อมูล

ภาคกลางวัน ทดลองเผาเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแล้วบันทึกภาพ โดยใช้กล้องที่มีความละเอียดของภาพเท่ากัน แต่ใช้เลนส์ ที่มีระยะต่างกัน ทดลองเผาเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแล้วบันทึกภาพ โดยใช้กล้องทีม่ คี วามละเอียดของภาพไม่เท่ากัน แต่ใช้เลนส์ ที่มีระยะเท่ากัน ทดลองเผาเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแล้วบันทึกภาพ โดยใช้กล้องประเภทเดียวกันและใช้เลนส์ที่มีระยะเท่ากัน แต่เปรียบเทียบฟังก์ชันพิเศษของกล้องกับกล้องที่ก�ำหนด ค่า Default ภาคกลางคืน ทดลองเผาเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแล้วบันทึกภาพ โดยใช้กล้องที่มีความละเอียดของภาพเท่ากันและใช้เลนส์ ที่มีระยะเท่ากัน แต่มีความไวในการรับภาพไม่เท่ากัน ทดลองเผาเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแล้วบันทึกภาพ โดยใช้กล้องที่มีความละเอียดของภาพไม่เท่ากัน แต่ใช้ เลนส์ที่มีระยะเท่ากัน รวมทั้งมีความไวในการรับภาพไม่ เท่ากัน

รูปที่ 5 ตารางหมากรุกที่ใช้ในการปรับเทียบกล้อง

การทดลองของเรา ซึง่ จุดนีก้ เ็ ป็นอย่างหนึง่ ทีผ่ มปวดหัวครับ คือหากเปลี่ยนกล้อง/เลนส์/วัสดุเผาไหม้/สิ่งแวดล้อมแล้ว ไม่ต้องท�ำการหาค่าเทรสโฮลด์ที่เหมาะสมใหม่ทุกครั้ง หรือ ค�ำตอบคร่าว ๆ ที่พอจะตอบได้คือเลือกเทรสโฮลด์ ที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ เทรสโฮลด์ที่มีค่าความถูกต้อง มากที่สุดนั่นเอง แล้วพยายามเลือกติดตั้งอุปกรณ์กล้อง และเลนส์ยี่ห้อเดิมครับ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ขั้นตอนปรับเทียบ

ส�ำหรับขั้นตอนที่หนึ่ง เราใช้อัลกอริทึมของ Open Source Computer Vision Library (OpenCV) ในการปรับ เทียบพารามิเตอร์ของกล้องเรียกว่า Intrinsic parameters ซึ่งประกอบด้วย Focal length, Optical axis และ Distortion parameters โดยใช้วัตถุที่รู้ขนาดแน่นอนเช่น ตารางหมากรุกดังรูปที่ 5 สาเหตุที่ต้องหาพารามิเตอร์ ดังกล่าวก็เพราะ 1) พารามิเตอร์ส่วนหนึ่งจ�ำเป็นส�ำหรับการแก้ไข ความโค้งของเลนส์ ท�ำให้แบ่งขนาดพืน้ ทีไ่ ด้ถกู ต้องมากขึน้ 2) พารามิเตอร์อกี ส่วนหนึง่ จ�ำเป็นส�ำหรับอัลกอริทมึ การบิดภาพให้แต่ละส่วนในภาพมีขนาดเท่ากัน

วิธีค้นคว้ามามีดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1

(1)

วิธีที่ 1 (ปรับปรุง)

(2)

วิธีที่ 2

(3)

วิธีที่ 3

(4)

วิธีที่ 4 (5)

ขั้นตอนตัดค่าสีไฟ

การตัดค่าสีไฟจะใช้ค่าเทรสโฮลด์ค้นคว้ามาจาก วิธีที่ 4 (ปรับปรุง) งานวิ จั ย ก่ อ นหน้ า หลายงานที เ ดี ย ว แล้ ว พิ จ ารณาว่ า ค่าเทรสโฮลด์ใดเหมาะสมส�ำหรับการตัดค่าสีไฟมากที่สุด ทั้งนี้เฉพาะอุปกรณ์ วัสดุเผาไหม้ และสิ่งแวดล้อมใน

78

(6)


วิธีที่ 5

ตารางที่ 1 ผลจากการตัดค่าสี

(7) วิธีที่ 5 (ปรับปรุง) (8)

วิธี (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)

True positive 36.95 73.42 84.09 6.48 35.82 64.64 33.95 62.73

False positive 20.85 25.06 10.67 2.93 4.05 5.44 3.48 4.87

ตัวชีว้ ดั ประสิทธิภาพของวิธเี ทรสโฮลด์มอี ยูด่ ว้ ยกัน สองค่า คือ True positive และ False positive ซึ่งมี ความหมายว่า เทรสโฮลด์เป็นไฟถูกต้อง และ เทรสโฮลด์ เป็นไฟทั้งที่เป็นฉากหลัง ตามล�ำดับ โดยตัวเลขที่คำ� นวณ จากตารางดังกล่าวเราได้เลือกวิธีที่ True positive จะเป็นอัตราส่วนเทียบกับพื้นที่จริง (ในหน่วยร้อยละ) กล่าวคือ เทรสโฮลด์เป็นไฟถูกต้อง/พื้นที่ไฟ เทรสโฮลด์ สูงสุด และ False positive ต�่ำพอสมควร คือ (3) โดยมี ตัวอย่างภาพการตัดค่าสีดังแสดงในรูปที่ 7 เป็นไฟทั้งที่เป็นฉากหลัง/พื้นที่ฉากหลัง ตามล�ำดับ จากวิธที งั้ ห้าทีร่ ะบุไปข้างต้น จะเห็นว่ามีการปรับปรุง จากงานวิจยั ก่อน ๆ สองวิธี เนือ่ งจากหากใช้คา่ เทรสโฮลด์ ตามนัน้ เลยจะส่งผลให้มคี า่ ความถูกต้องต�ำ่ มาก การปรับปรุง ดังกล่าวออกแบบมาให้ครอบคลุมภาพไฟในตอนกลางคืน (เราท�ำการทดลองตอนกลางคืนด้วย) ดังแสดงในรูปที่ 6 ซึ่งภาพสีจะกลายเป็นภาพขาว-ด�ำ เนื่องจากมีความสว่าง ไม่เพียงพอที่เซนเซอร์จะบอกสีได้ ซึ่ง (2), (6) และ (8) ครอบคลุมกรณีที่ภาพมีโทนสีเทา (R=G=B)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 6 ภาพไฟในเวลากลางคืน

รูปที่ 7 ตัวอย่างไฟและการตัดค่าสี

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

79


ขั้นตอนบิดภาพ

หลังจากตัดค่าสีได้แล้ว ต่อมาคือปรับให้ทุกส่วน ในภาพมีขนาดเท่ากัน เพื่อที่จะวิเคราะห์การกะพริบได้ อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีที่ใช้คือการบิดภาพ การบิดภาพ เป็นการแปลงภาพที่ถ่ายได้เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ในที่นี้ มุมมองที่ใช้คือมุมมองด้านบน (Top view) เนื่องจาก เรามีสมมุติฐานว่า พื้นที่ในฉากเป็นระนาบ ดังนั้นถ้าเรา บิ ด ภาพเป็ น มุ ม มองด้ า นบนซึ่ ง ตั้ ง ฉากกั บ ระนาบย่ อ ม ท�ำให้แต่ละส่วนในพื้นผิวระนาบมีขนาดเท่ากัน และอาจมี ท่านผู้อ่านบางท่านแย้งว่ามวลของเปลวไฟที่ลุกไหม้ไม่ได้ อยู่บนระนาบ แต่หากเราพิจารณาไฟเมื่อเริ่มลุกไหม้ว่า มีขนาดเล็ก ก็ดูจะสอดคล้องกับสมมุติฐานเรื่องการใช้ พื้นที่ระนาบได้ดี

รูปที่ 9 การบิดภาพและแบ่งภาพ

ขั้นตอนวิเคราะห์ความถี่

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 8 พิกัดของกล้องเทียบกับแกนของโลก

ก่อนจะได้ภาพมุมบนก็ตอ้ งบิดภาพก่อน การบิดภาพ จะใช้ เ มตริ ก ซ์ ตั ว หนึ่ ง เรี ย กว่ า Homography (H) H สามารถหาได้จากการใช้ฟงั ก์ชนั ส�ำเร็จรูปของ OpenCV ประมวลผลภาพวัตถุระนาบที่รู้ขนาดแน่นอน เช่น ตาราง หมากรุกดังรูปที่ 5 แล้วน�ำค่า H มาประยุกต์ใช้กบั สมการที่ (9) ซึ่งอันที่จริงเราก็ไม่ต้องโปรแกรมสมการเอง เพียงแต่ เรียกใช้ฟงั ก์ชนั ใน OpenCV อีกฟังก์ชนั หนึง่ มันก็จะจัดการ บิดภาพให้เราเอง (9) โดยที่ s คือพารามิเตอร์แปลงหน่วย q คือจุดบน ระนาบกล้อง คือจุดในโลกจริง ในการบิดภาพ ผู้อ่านเดาถูกไหมว่าเราแปลงจาก q เป็น หรือ เป็น q ค�ำตอบที่ถูกต้องคือ q เป็น ครับ นั่นคือแปลงจากภาพระนาบเฉียง ๆ ในกล้องเป็น ภาพที่ส่วนต่าง ๆ ในระนาบอยู่ห่างจากผู้สังเกตเท่า ๆ กัน ดังรูปที่ 9 ซึ่งมีการแบ่งภาพเป็นส่วน ๆ เท่ากันด้วย

80

เราจะท�ำการนับจ�ำนวนพิกเซลทีม่ สี ไี ฟในแต่ละส่วน ย่อย ๆ จ�ำนวนหลายเฟรมติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะเราจะ วิเคราะห์ความถี่การกะพริบของส่วนย่อย ๆ ดังกล่าวครับ ความถี่การกะพริบจะช่วยจ�ำแนกความแตกต่างระหว่าง ไฟกับวัตถุสีคล้ายไฟได้ การวิเคราะห์ความถี่การกะพริบ ก็คือการหาว่า ขนาดของไฟ (หรือวัตถุสีคล้ายไฟ) มีการเปลี่ยนแปลง ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงด้วยความถี่เท่าใด ทั้งนี้เราจะใช้ทฤษฎี ทางคณิตศาสตร์ตัวหนึ่งชื่อการแปลงฟูเรียร์ การแปลง ฟู เ รี ย ร์ ค วรด� ำ เนิ น การกั บ ข้ อ มู ล ที่ มี ค วามยาวเป็ น สอง ยกก�ำลัง ทีนี้ก็เกิดค�ำถามว่า เราจะใช้วิดีโอยาวกี่เฟรมดี จะ 2, 4, 8, ... เรามีค�ำตอบครับ เนือ่ งจากความถีก่ ารกะพริบของไฟอยูร่ ะหว่าง 1-10 Hz [4] ความถี่ที่ต�่ำสุดคือหนึ่งรอบต่อวินาที กล้องที่เรา เลือกใช้มีเฟรมเรต 25 เฟรมต่อวินาที เราคงพออนุมาน ได้ว่าน่าจะใช้การแปลงฟูเรียร์ที่ครอบคลุม 25 เฟรม ซึ่งความยาวที่เหมาะสมที่เป็นสองยกก�ำลังก็คือ 32 เฟรม นั่นเอง การดึงฟีเจอร์ในแถวที่กว้าง 32 นี้จะมีเพียง 17 ความถี่ที่แตกต่างกัน (สมมาตรกัน 16 ตัว และอีกตัวคือ ความถี่ศูนย์) และเสริมว่าเราได้ปรับขนาดให้ความถี่ศูนย์ มีขนาด 255 ดังนั้นจึงพิจารณาเพียง 16 ความถี่เป็นพอ หลังจากนั้นก็นำ� สัมประสิทธิ์ฟูเรียร์ทั้ง 16 ไปสอนปัญญา ประดิษฐ์ในขั้นต่อไปครับ รูปที่ 10 ตัวอย่างสัมประสิทธิ์ฟูเรียร์


ขั้นตอนตัดสินด้วยปัญญาประดิษฐ์

แค่ ไ ด้ แ ถบความถี่ จ ากการแปลงฟู เ รี ย ร์ ม า คอมพิ ว เตอร์ ก็ ค งไม่ ส ามารถบอกได้ ว ่ า เป็ น ไฟหรื อ ไม่ ใช่ไหมครับ ดังนั้นเราจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ตัวหนึ่งเป็น ผูต้ ดั สินใจในคอมพิวเตอร์ครับ ในทีน่ จี้ ะใช้โครงข่ายประสาท เทียม โครงข่ายประสาทเทียมมีแนวคิดเริ่มต้นมาจาก การศึกษาโครงข่ายงานไฟฟ้าชีวภาพในสมองของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาท และจุดประสานประสาท เชื่ อ มต่ อ กันจนเป็นเครือข่ายประสาทที่ท� ำ งานร่วมกัน ดังนั้นมนุษย์จึงใช้วิธีการเดียวกันนี้สร้างวิธีการค�ำนวณใน คอมพิวเตอร์ให้เหมือนกับโครงข่ายของเซลล์ประสาทใน สมองมนุษย์ หลังจากนั้นจะใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในการสอน คอมพิวเตอร์เพือ่ ให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ ตีความ หรือคาดคะเนความหมายของข้อมูลในลักษณะเดียวกัน ได้ ซึ่ ง โครงข่ า ยประสาทเที ย มนี้ มี ข ้ อ ดี คื อ ทนทานต่ อ ความไม่เป็นเชิงเส้นของข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดทาง คณิตศาสตร์ของโครงข่ายประสาทเทียมอยู่นอกเหนือ ขอบข่ายของบทความนี้ หลังจากใช้โครงข่ายประสาทเทียมแล้ว ผลที่ได้จะ ออกมาเป็นค่าระหว่าง 0-1 โดยมนุษย์เป็นผู้เลือกระหว่าง ขั้นตอนการสอนโครงข่ายประสาทเทียมว่า 0 หมายถึง ไม่ใช่ไฟ 1 หมายถึงไฟ ในขั้นใช้งานเราก็ตั้งเทรสโฮลด์ไว้ที่ 0.5 แล้วพิจารณาว่าแต่ละส่วนย่อยในชุดภาพ (32 เฟรม ดังที่อธิบายไว้ก่อนหน้า) ใดที่ส่งผลให้เกิดค่ามากกว่า 0.5 ก็จะถูกตัดสินว่าส่วนย่อยนั้นเป็นไฟครับ

นี่ จึ ง สอดคล้ อ งกั บ สมมุ ติ ฐ านที่ ว ่ า การใช้ เ พี ย งสี ในการตัดสินว่าเป็นไฟหรือไม่นั้น ไม่เพียงพอ 3. การปรับความไวแสงของกล้องให้คงที่ ภาพที่ได้ แทบไม่มีความแตกต่างในช่วงเวลากลางวัน ส่วนในเวลา กลางคืนไม่สามารถท�ำเช่นนัน้ ได้เนือ่ งจากจะท�ำให้ภาพมืด เกินไป รวมทั้งการใช้โหมด Wide Dynamic ก็แทบไม่มี ผลต่อภาพ จึงไม่จำ� เป็นต้องปรับตัง้ ความไวแสงหรือเลือกโหมด Wide Dynamic 4. ระดับราคาของกล้องมีผลต่อความละเอียดของ ภาพพอสมควร แม้ความละเอียดจะมีค่าเท่ากัน จึงควรเลือกใช้กล้องที่มีราคาระดับหนึ่ง 5. การเพิ่มความชัดเจนของภาพนั้น ความละเอียด ของกล้อง (330TVL 580TVL) มีผลน้อยกว่าทางยาว โฟกัสของเลนส์ ในทางปฏิบตั ิ เนือ่ งจากความละเอียดของ กล้องทีม่ ใี นตลาดมีให้เลือกจ�ำกัด และกล้องความละเอียด สูงมากก็มรี าคาแพงมาก ขณะทีท่ างยาวโฟกัสมีให้เลือกได้ กว้างขวาง รวมทั้งเลนส์หลายความยาวโฟกัสก็มี

ร า ส า ้ ฟ ไฟ บทวิเคราะห์

ในทีน่ ขี้ อน�ำเสนอการวิเคราะห์ในเชิงปฏิบตั เิ พิม่ เติม นะครับ น่าจะเป็นประโยชน์ในการติดตั้งจริง 1. การจับภาพเวลากลางวัน จะพบวัตถุอื่นที่มีสี คล้ายกับไฟได้ง่าย เช่น แสงแดดหรือวัตถุที่มีสีโทนแดง นี่ จึ ง สอดคล้ อ งกั บ สมมุ ติ ฐ านที่ ว ่ า การใช้ เ พี ย งสี ในการตัดสินว่าเป็นไฟหรือไม่นั้น ไม่เพียงพอ 2. การจับภาพเวลากลางคืน ได้รับผลกระทบจาก การปรับการรับแสงของกล้องให้สูง ท�ำให้ภาพของไฟ ไม่ ชั ด เจน เกิ ด แสงสะท้ อ นของไฟไปยั ง พื้ น ที่ โ ดยรอบ และยากในการหาพื้นที่ที่แท้จริง ลักษณะในเวลากลางคืน ดั ง กล่ า วเกิ ด กั บ กล้ อ งเดย์ ไ นท์ ม ากกว่ า กล้ อ งธรรมดา ดังแสดงรูปที่ 6

(ก)

(ข) รูปที่ 11 ไฟจากกล้องความละเอียดต่างกัน (ก) 330TVL กับ (ข) 580TVL ที่ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 15 มิลลิเมตร พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

81


ทางยาวโฟกัสที่มาก จะช่วยให้จับภาพไฟได้ชัดเจน เมือ่ พิจารณาว่าระบบดังกล่าวครอบคลุมพืน้ ทีข่ นาด ขณะที่ทางยาวโฟกัสที่น้อย จะท�ำให้สามารถจับภาพได้ ใหญ่กว่าเซนเซอร์ตรวจจับควันไฟหรือความร้อน และ ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ดังแสดงในรูปที่ 12 สามารถติดตั้งในที่ที่เซนเซอร์ไม่มีประสิทธิภาพพอ เช่น ในโรงงาน/คลังเก็บสินค้าทีม่ เี พดานสูง ระบบนีจ้ ะดูนา่ สนใจ ในการประยุ ก ต์ ใ ช้ ร ่ ว มกั บ ระบบตรวจจั บ ไฟปั จ จุ บั น ในตลาดหรือไม่ ท่านผู้อ่านสามารถฟีดแบ็กมาทางผม ได้นะครับ โดยความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อ งานวิจัยนี้ทีเดียว กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากส�ำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ ปี 2552 และปี 2554 ตลอดจนได้รับรางวัลชมเชย ประเภทซอฟต์แวร์ จากการประกวดผลงานวิจยั ICT Award 2010 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 12 ไฟจากเลนส์มุมกว้าง 2.8 มิลลิเมตร ที่ใช้กล้องความละเอียด 580TVL

จึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งติ ด ตั้ ง ทางยาวโฟกั ส ของเลนส์ ใ ห้ เหมาะกับขนาดของจุดที่สนใจว่าจะเกิดไฟหรือไม่ เพื่อให้ สามารถเห็นขนาดไฟได้ชัดเจน ในที่นี้เราอยากเสนอกฎ คร่าว ๆ ว่า (9)

บทสรุป

พอจะเห็นภาพแล้วสิว่า เราสามารถน�ำกล้องมา ตรวจจับไฟได้อย่างไร เทคนิคหัวใจก็คือการตัดค่าสีไฟ และการวิเคราะห์พฤติกรรมการกะพริบ ซึ่งแต่ละงานวิจัย ก็ จ ะมี แ นวทางการด� ำ เนิ น การทั้ ง สองแตกต่ า งกั น ไป ส่วนทีเ่ ราแตกต่างจากงานวิจยั ก่อนหน้าค่อนข้างชัดเจนคือ เราสามารถตรวจจับไฟได้แม้เปลวไฟมีขนาดเล็กกว่าวัตถุ สีคล้ายเปลวไฟในภาพ โดยใช้เทคนิคการบิดภาพและ แบ่งภาพเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน นี่ทำ� ให้อัลกอริทึมเราทน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมหรือสีไฟมากกว่าของ หลายงานวิจัย เพราะสามารถตั้งค่าเทรสโฮลด์การตัด ค่าสีไฟได้กว้าง กล่าวคือถึงแม้การตัดค่าสีไฟจะมี False positive เยอะ หรือส่วนที่เป็น False positive มีขนาด ใหญ่ เราก็สามารถก�ำจัดได้โดยการพิจารณาการกะพริบ ส่วนย่อย ๆ ที่มีขนาดเท่า ๆ กัน

82

แหล่งข้อมูล [1] B. U. Toreyin, Y. Dedeoglu, and A. E. Cetin, “Flame detection in video using hidden makov models,” IEEE International Conference on Image Processing, 2005. [2] H. Yamagishi and J. Yamaguchi, “A contour fluctuation data processing method for fire flame detection using a color camera,” IEEE Industrial Electronics Conference, 2000. [3] R. T. Collins, A. J. Lipton, and T. Kanade, “Moving object detection using adaptive subband decomposition and fractional lower order statistics in video sequences,” Elsevier, Signal Processing, 2002. [4] A. Hamins, J.C. Yang, and T. Kashiwagi, “An experimental investigation of the pulsation freuqency of flames,” Proc. Combust. Inst., 1992.


Variety ปกิณกะ น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล

ร า ส า ้ ฟ ไฟ สวัสดีค่ะผู้อ่านไฟฟ้าสารฉบับประจ�ำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2555 อันเป็นช่วงเวลาที่หลาย ๆ หน่วยงาน ทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนรัฐวิสาหกิจ ต่างมีการประเมินผลการด�ำเนินงานประจ�ำปีกนั ซึง่ ส�ำหรับระบบ จ�ำหน่ายไฟฟ้านั้น ก็มีค่าดัชนีที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้วย เรื่องราวท้ายเล่มไฟฟ้าสารฉบับ ส่งท้ายปีเก่านี้ ผูเ้ ขียนจึงขอน�ำเสนอข้อมูลดัชนีความเชือ่ ถือได้ของระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า ภายใต้ชอื่ ตอนว่า “trust” ค่ะ

1. ดัชนีความเชื่อถือได้

ดัชนีด้านหนึ่งที่ใช้ในการแสดงประสิทธิภาพของ ระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า คือ ดัชนีความเชื่อถือได้ (Reliability Index) ซึ่งดัชนีด้านความเชื่อถือได้ของระบบจ�ำหน่าย ไฟฟ้ามีอยู่ด้วยกันหลายค่า โดยการที่น�ำค่าดัชนีใดมาใช้ นั้นขึ้นอยู่กับความสะดวก ความพร้อมของข้อมูลที่บันทึก ได้ในระบบ ตลอดจนแง่มุมที่ต้องการสื่อความหมายของ ดัชนีแต่ละดัชนีว่าเหมาะสมเพียงใด ดัชนีที่เป็นที่ทราบกันดีในหลาย ๆ ประเทศ คือ SAIFI และ SAIDI ซึ่งนอกเหนือจากดัชนีทั้งสองนี้ยัง มีดัชนีอีกหลายตัวที่บางประเทศน�ำมาใช้ เช่น CAIDI, ASIFI, MAIFI เป็นต้น

(1)

1.2 SAIDI SAIDI (System Average Interruption Duration Index) คือ ระยะเวลาไฟดับเฉลี่ยต่อผู้ใช้ไฟ ทั้งหมดในระบบ มีหน่วยเป็น นาทีต่อรายต่อปี ค�ำนวณ จากผลรวมของผลคูณระหว่างจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบ จากเหตุการณ์ไฟดับแต่ละครั้งกับระยะเวลาที่ไฟดับแต่ละ ครั้งตลอดทั้งปี หารด้วยจ�ำนวนผู้ใช้ไฟทั้งหมดที่รับไฟจาก การไฟฟ้า ดังสมการ (2) (2)

1.1 SAIFI SAIFI (System Average Interruption Frequency 1.3 CAIDI Index) คือ จ�ำนวนครั้งไฟดับเฉลี่ยต่อผู้ใช้ไฟทั้งหมดใน CAIDI (Customer Average Interruption ระบบ มีหน่วยเป็น ครั้งต่อรายต่อปี ค�ำนวณจากผลรวม Duration Index) คือ ระยะเวลาไฟดับเฉลี่ยต่อครั้งของ ของจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบจากเหตุการณ์ไฟดับแต่ละ ผู้ใช้ไฟที่ได้รับผลกระทบ ค�ำนวณจากผลรวมของผลคูณ ครั้งตลอดทั้งปี หารด้วยจ�ำนวนผู้ใช้ไฟทั้งหมดที่รับไฟจาก ระหว่างจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบจากเหตุการณ์ไฟดับ การไฟฟ้า ดังสมการ (1) พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

83


แต่ละครั้งกับระยะเวลาที่ไฟดับแต่ละครั้งตลอดทั้งปี หาร จากผลรวมของจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบจากเหตุการณ์ ด้วยจ�ำนวนผูใ้ ช้ไฟทัง้ หมดทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ ดังสมการ (3) ไฟดับชั่วครู่แต่ละครั้งตลอดทั้งปี หารด้วยจ�ำนวนผู้ใช้ไฟ ทั้งหมดที่รับไฟจากการไฟฟ้า ดังสมการ (6) (3) (6) 1.4 CTAIDI CTAIDI (Customer Total Average Interruption Duration Index) คือ ระยะเวลาไฟดับเฉลี่ยต่อครั้งของ ผู้ใช้ไฟที่ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 1 ครั้ง ค�ำนวณจาก ผลรวมของผลคูณระหว่างจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบจาก เหตุการณ์ไฟดับแต่ละครั้งกับระยะเวลาที่ไฟดับแต่ละครั้ง ตลอดทัง้ ปี หารด้วยจ�ำนวนผูใ้ ช้ไฟทัง้ หมดทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยไม่นับซ�ำ้ ดังสมการ (4) (4) ดัชนี CTAIDI คล้าย ๆ กับค่าดัชนี CAIDI แต่ แตกต่างกันตรงที่การพิจารณาจะพิจารณาเหตุการณ์ที่ เกิดขึน้ กับผูใ้ ช้รายเดียวกัน คือไม่วา่ จะเกิดเหตุการณ์ขนึ้ กี่ เหตุการณ์ถอื ว่าเป็นเหตุการณ์เดียว (นับจ�ำนวนผูใ้ ช้ไฟฟ้า ครั้งเดียว) ในขณะที่ CAIDI จะพิจารณาทุกเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น

ระยะเวลาไฟดับชั่วครู่ขึ้นอยู่กับการนิยามในแต่ละ ประเทศ เช่น บางประเทศให้นิย ามเหตุการณ์ไฟดั บ ชั่วครู่ คือ เหตุการณ์ไฟดับที่มีระยะเวลานานไม่เกิน 5 นาที เป็นต้น 1.7 ASIFI ASIFI (Average System Interruption Frequency Index) คือ จ�ำนวนครั้งไฟดับเฉลี่ยต่อขนาดโหลดจาก หม้อแปลงทัง้ หมดในระบบ ดัชนีนคี้ ล้ายกับดัชนี SAIFI คือ เป็นการพิจารณาค่าความถี่ของเหตุการณ์ไฟดับที่เกิดขึ้น กับผูใ้ ช้ไฟ แต่การพิจารณาของ ASIFI นีจ้ ะใช้การพิจารณา ถึงขนาด kVA ของหม้อแปลง แทนการนับจ�ำนวนของ ผูใ้ ช้ไฟทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ โดยค�ำนวณจากผลรวมของก�ำลัง ไฟฟ้าติดตัง้ ของหม้อแปลงทีถ่ กู กระทบเมือ่ เกิดไฟดับแต่ละ ครัง้ หารด้วยขนาดก�ำลังไฟฟ้าติดตัง้ ของหม้อแปลงทัง้ หมด ในระบบ ดังสมการ (7) (7)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

1.5 CAIFI CAIFI (Customer Average Interruption Frequency Index) คือ จ�ำนวนครัง้ ไฟดับเฉลีย่ ต่อผูใ้ ช้ไฟที่ ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 1 ครั้ง ค�ำนวณจากผลรวมของ จ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบจากเหตุการณ์ไฟดับแต่ละครั้ง ตลอดทั้งปี หารด้วยจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับผลกระทบอย่าง น้อย 1 ครั้ง โดยไม่นับซ�ำ้ ดังสมการ (5) (5)

1.8 ASIDI ASIDI (Average System Interruption Duration Index) คือ ระยะเวลาไฟดับเฉลี่ยต่อก�ำลังไฟฟ้าติดตั้ง ของหม้อแปลงทั้งหมดในระบบ ค�ำนวณจากผลรวมของ ผลคูณระหว่างขนาดโหลดจากหม้อแปลงกับระยะเวลาไฟ ดับแต่ละครั้ง หารด้วยขนาดโหลดของหม้อแปลงทั้งหมด ในระบบ ดังสมการ (8)

(8)

1.6 MAIFI MAIFI (Momentary Average Interruption ค�ำอธิบายส�ำหรับสมการ (1) - (8) Frequency Index) คือ จ�ำนวนครัง้ ไฟดับชัว่ ครูเ่ ฉลีย่ ต่อผูใ้ ช้ n – จ�ำนวนครั้งไฟดับรวมทั้งปี ไฟทั้งหมดในระบบ มีหน่วยเป็น ครั้งต่อรายต่อปี ค�ำนวณ Ni – จ�ำนวนผูใ้ ช้ไฟทีถ่ กู กระทบเมือ่ เกิดไฟดับแต่ละครัง้ Di – ระยะเวลาที่ไฟดับแต่ละครั้ง (นาที) NT – จ�ำนวนผู้ใช้ไฟทั้งหมดที่รับไฟจากระบบ

84


NA – จ�ำนวนผูใ้ ช้ไฟทัง้ หมดทีไ่ ด้รบั ผลกระทบอย่างน้อย 1 ครั้ง (Number of Customers Affected) NMi – จ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ถูกกระทบเนื่องจากไฟดับแบบ ชั่วครู่แต่ละครั้ง Li – ขนาดโหลด kVA จากหม้อแปลงที่ถูกกระทบ เมื่อเกิดไฟดับแต่ละครั้ง LT – ขนาดโหลด kVA ของหม้อแปลงทัง้ หมดในระบบ

2. นิยามที่เกี่ยวข้องในการค�ำนวณค่าดัชนี

เหตุการณ์ไฟดับชั่วครู่ที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่ 2 ค่าคือ 1 นาที และ 5 นาที โดยการนิยามระยะเวลาไฟดับชั่วครู่ ให้มีค่ามาก ๆ นั้นจะส่งผลให้ค่าดัชนี SAIFI ที่คำ� นวณ ได้มคี า่ น้อยกว่าการนิยามระยะเวลาไฟดับชัว่ ครูท่ นี่ อ้ ยกว่า ตัวอย่างค่าระยะเวลาไฟดับชัว่ ครูท่ ไี่ ด้มกี ารนิยามไว้ ในบางประเทศได้แสดงไว้ในตารางที่ 2.1 ตารางที่ 2.1 ค่าระยะเวลาไฟดับชั่วครู่ ที่ได้มีการนิยามไว้ในบางประเทศ

การค� ำ นวณค่ า ดั ช นี ค วามเชื่ อ ถื อ ได้ ข องระบบ ประเทศ ระยะเวลาที่ก�ำหนด ไฟฟ้าในแต่ละประเทศนั้น อาจมีการให้ค�ำจ�ำกัดความที่ ไทย 1 นาที แตกต่างกัน ซึ่งนิยามที่มักส่งผลกระทบให้ผลการค�ำนวณ ลาว 1 นาที ค่าดัชนีของการไฟฟ้าแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ได้แก่ มาเลเซีย 1 นาที “เหตุการณ์ไฟดับชั่วครู่ (Momentary Interruption)” ออสเตรเลีย 1 นาที และ “เหตุการณ์ไฟดับใหญ่ (Major Event)” โดยจาก อินโดนีเซีย 5 นาที สถิ ติ ที่ ไ ด้ จ ากการส� ำ รวจผลการค� ำ นวณ SAIFI ของ สหรัฐอเมริกา 1 นาที หรือ 5 นาที การไฟฟ้าหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1990 อินเดีย 5 นาที ปี 1995 และปี 1998 พบว่า การนับรวมจ�ำนวนครัง้ ไฟดับ ชั่วครู่ในการค�ำนวณดัชนี SAIFI จะท�ำให้ค่า SAIFI สูง ฟิลิปปินส์ 10 นาที ขึ้นราว 3 เท่า และจากสถิติย้อนหลังในการค�ำนวณค่า SAIDI กรณีนบั รวมและไม่นบั รวมเหตุการณ์ไฟดับใหญ่ใน 2.2 ไฟดับใหญ่ ประเทศแคนาดา ประเทศอิตาลี และประเทศออสเตรเลีย เหตุการณ์ไฟดับใหญ่ (Major Event) หมายถึง พบว่าการนับรวมเหตุการณ์ไฟดับใหญ่ในการค�ำนวณค่า เหตุการณ์ไฟดับถาวรที่มีระดับความรุนแรงเกินกว่าที่ได้ ดัชนี SAIDI จะท�ำให้ค่า SAIDI สูงกว่ากรณีไม่นับรวม ออกแบบระบบไว้ (A catastrophic event that exceeds ประมาณ 10-30% the design limits of the power system) ซึ่งเหตุการณ์ ดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นและไม่ถูกน�ำมาคิดรวมในการ 2.1 ไฟดับชั่วครู่ ค�ำนวณค่าดัชนี SAIFI และ SAIDI บางการไฟฟ้าที่ไม่ได้ ไฟดั บ ชั่ ว ครู ่ (Momentary Interruption) มีการนิยามเหตุการณ์ดงั กล่าวไว้กจ็ ะคิดรวมเหตุการณ์ไฟ คื อ เหตุ ก ารณ์ ไ ฟดั บ ที่ มี ร ะยะเวลาไม่ เ กิ น ที่ ก� ำ หนด ดับที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบท�ำให้ค่าดัชนี SAIFI ซึง่ เหตุการณ์ไฟดับชัว่ ครูจ่ ะไม่นำ� มานับรวมในการค�ำนวณ และ SAIDI ที่ ค� ำ นวณได้ มี ค ่ า มากกว่ า การไฟฟ้ า ที่ มี ดั ช นี SAIFI แต่หากเหตุก ารณ์ใดมีระยะเวลาไฟดับ การยกเว้นไม่นำ� เหตุการณ์ไฟดับใหญ่มาพิจารณา เกิ น กว่ า ที่ ก� ำ หนดจะถื อ ว่ า เป็ น เหตุ ก ารณ์ ไ ฟดั บ ถาวร มาตรฐาน IEEE 1366-2003 Annex B : Major (Sustained Interruption) ซึ่งจะนับรวมในการค�ำนวณค่า events definition development ได้อธิบายวิธีการใน ดัชนี SAIFI และ SAIDI ด้วย การให้ค�ำนิยามของเหตุการณ์ไฟดับใหญ่ โดยพิจารณา การให้ค�ำจ�ำกัดความของเหตุการณ์ไฟดับชั่วครู่ จากการแจกแจงข้อมูลสถิติดัชนี SAIDI ในช่วงเวลา 5 ปี นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ IEEE ก�ำหนด พัฒนาเป็นวิธีการที่เรียกว่า “Two Point Five Beta” ซึ่ง ระยะเวลาของเหตุการณ์ไฟดับชัว่ ครูใ่ ห้ขนึ้ อยูก่ บั แบบแผน ผลการนิยามทีไ่ ด้ตามวิธกี ารดังกล่าวอาจจะแตกต่างกันไป การท�ำงานของอุปกรณ์ปอ้ งกันอัตโนมัตใิ นระบบ (Automatic ในแต่ละประเทศ นอกจากนีก้ ย็ งั มีบทความวิจยั ต่าง ๆ ทีไ่ ด้ Reclosing Schemes) ซึ่ ง ค่ า ระยะที่ ก� ำ หนดส� ำ หรั บ มีการปรับปรุงวิธีการหาค่า MEDs (Major Event Days) ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่อยู่ของประเทศนั้น ๆ เองอีกด้วย

ร า ส า ้ ฟ ไฟ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

85


จากการส�ำรวจการไฟฟ้าในต่างประเทศหลายแห่ง พบว่า 70% มีการก�ำหนดนิยามส�ำหรับเหตุการณ์ไฟดับ ใหญ่และไม่นับรวมในการค�ำนวณค่าดัชนี ซึ่ง 53% ของ การไฟฟ้าต่าง ๆ ดังกล่าวจะก�ำหนดนิยามตามที่รัฐบาล ของประเทศนั้นก�ำหนด เช่น การประกาศกรณีวิบัติภัย ภัยธรรมชาติ สาธารณภัย เป็นต้น ตั ว อย่ า งการนิ ย ามเหตุ ก ารณ์ ไ ฟดั บ ใหญ่ ข อง การไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น • เหตุการณ์พายุรุนแรง น�ำ้ ท่วม หรือเหตุจลาจล ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขไฟฟ้าขัดข้องตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป • เหตุการณ์ซึ่ง (1) หน่วยงานรัฐบาลประกาศให้ เฝ้าระวังภัยธรรมชาติในพื้นที่นั้น (2) เกิดความเสียหาย ทางกลเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่นั้น (3) ในช่วงระหว่าง

หรื อ ทั น ที ที่ ภั ย ธรรมชาติ ส งบพบว่ า มี ผู ้ ใ ช้ ไ ฟที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบมากกว่า 10% ของผู้ใช้ไฟทั้งหมดในพื้นที่นั้น และ (4) ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มเกิดภัย ธรรมชาติพบว่ามีผู้ใช้ไฟได้รับผลกระทบอย่างน้อย 1% ของผู้ใช้ไฟทั้งหมดในพื้นที่นั้น • เหตุการณ์ที่ท�ำให้เกิดไฟดับพร้อมกันหลาย ๆ จุด จนพนักงานแก้ไขกระแสไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถ เดินทางไปยังจุดเกิดเหตุได้ทุกจุด ตั ว อย่ า งผลของการนั บ รวม หรื อ ไม่ นั บ รวม เหตุการณ์ไฟดับใหญ่ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนี ความเชื่อถือได้รวมทั้งระบบ (ระบบก�ำเนิด ระบบสายส่ง และระบบจ�ำหน่าย) ของการไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศ แคนาดา ได้แสดงไว้ในตารางที่ 2.2

ร า ส า ้ ฟ ไฟ ตารางที่ 2.2 ค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าของ Pacific Gas & Electric Company ประเทศแคนาดา

กรณี

ปี 1997 1998 1999 2000* 2001* 2002* 2003* 2004* 2005* 2006

นับรวมเหตุการณ์ไฟดับใหญ่

SAIDI 171.4 317.1 157.3 170.7 261.2 400.8 208.0 205.3 249.4 280.5

SAIFI 1.711 2.145 1.503 1.438 1.647 1.763 1.411 1.426 1.549 1.728

MAIFI 4.419 3.821 2.405 2.302 2.306 2.698 1.878 1.875 1.870 1.716

ไม่นับรวมเหตุการณ์ไฟดับใหญ่

CAIFI 100.2 147.9 104.7 118.7 158.6 227.3 147.5 143.9 161.0 162.3

SAIDI 161.8 180.1 156.8 170.2 222.1 146.7 201.8 205.1 187.1 150.8

SAIFI 1.648 1.669 1.499 1.435 1.520 1.174 1.389 1.426 1.408 1.273

MAIFI 4.326 3.397 2.397 2.301 2.217 2.095 1.874 1.872 1.763 1.495

CAIFI 98.2 107.9 104.6 118.6 146.1 125.0 145.3 143.9 132.9 118.5

* มีการปรับปรุงค่าดัชนีให้สอดคล้องตามจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่นับได้จริง

ผลของเหตุการณ์ไฟดับใหญ่ทมี่ ตี อ่ ค่า SAIDI และ/ จากตารางที่ 2.2 จะสังเกตเห็นว่าการไม่นับรวม เหตุ ก ารณ์ ไ ฟดั บ ใหญ่ จ ะท� ำ ให้ ค ่ า ดั ช นี SAIDI ลดลง หรือ SAIFI ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอิตาลี ประมาณ 10-30% ในขณะค่าดัชนี SAIFI ลดลงประมาณ ประเทศแคนาดา และประเทศออสเตรเลีย แสดงไว้ในรูป 5-15% ที่ 2.1–2.3 ตามล�ำดับ

86


รูปที่ 2.1 ผลของเหตุการณ์ไฟดับใหญ่ที่มีต่อค่าดัชนี SAIDI ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2001-2003

รูปที่ 2.2 ความแตกต่างของค่าดัชนี SAIDI ในประเทศอิตาลี ระหว่างปี 1998-2002 กรณีนับรวมและไม่นับรวมเหตุการณ์ ไฟดับใหญ่และปัจจัยจากภายนอกระบบ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ รูปที่ 2.3 ความแตกต่างของค่าดัชนี SAIDI และ SAIFI ในประเทศแคนาดา ระหว่างปี 1997-2006 กรณีนับรวมและไม่นับรวมเหตุการณ์ไฟดับใหญ่

รูปที่ 2.4 ความแตกต่างของค่าดัชนี SAIDI และ SAIFI ในประเทศออสเตรเลีย ระหว่างปี 2004-2006 กรณีนับรวมและไม่นับรวมเหตุการณ์ไฟดับใหญ่ในเขตกลางเมือง เมือง และชนบท (Western Power)

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

87


3. ปัจจัยที่ท�ำให้ค่าดัชนีมีความแตกต่างกัน ค่ า ดั ช นี ค วามเชื่ อ ถื อ ได้ ข องการไฟฟ้ า ในแต่ ล ะ ประเทศนัน้ อาจมีความแตกต่างกันได้จากหลายปัจจัยด้วย กัน ซึ่งแต่ละปัจจัยอาจมีอิทธิพลมากน้อยแตกต่างกันด้วย ปัจจัยที่มักน�ำมาพิจารณา ได้แก่ รูปแบบลักษณะการจ่าย ไฟพื้นฐานของระบบ พื้นที่การจ่ายไฟ การนับจ�ำนวนผู้ใช้ ไฟ การนับ/ไม่นบั รวมเหตุการณ์ไฟดับชัว่ คราว/เหตุการณ์ ไฟดับใหญ่ ความส�ำคัญของพื้นที่การจ่ายไฟ เป็นต้น

• ใช้คา่ เฉลีย่ ผูใ้ ช้ไฟตามโหลดทีส่ ญ ู เสีย การไฟฟ้า ที่ใช้วิธีการนี้อาจยังไม่มีความพร้อมของข้อมูลมากพอที่ จะสามารถแยกแยะได้ว่า มีผู้ใช้ไฟที่ได้รับผลกระทบ เป็นจ�ำนวนเท่าใดในเหตุการณ์ไฟดับแต่ละครั้ง ดังนั้น จึงใช้ค่าเฉลี่ยจากโหลดที่สูญเสียแต่ละครั้ง (MW หรือ kVA) แล้ ว หารเป็ น จ� ำ นวนผู ้ ใ ช้ ไ ฟที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ ซึง่ ผลการค�ำนวณค่าดัชนีทไี่ ด้อาจมีความถูกต้องใกล้เคียง หรือมาก-น้อยกว่าค่าที่เกิดขึ้นจริงอย่างไร ขึ้นกับการใช้ ค่าเฉลี่ยโหลดต่อผู้ใช้ไฟ 1 ราย (MW / ราย) • ใช้จ�ำนวนผู้ใช้ไฟเท่า ๆ กันในทุกสายจ�ำหน่าย การไฟฟ้าที่ใช้วิธีการนี้อาจยังไม่มีความพร้อมของข้อมูล มากพอที่ จ ะสามารถแยกแยะได้ ว ่ า มี ผู ้ ใ ช้ ไ ฟที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบเป็นจ�ำนวนเท่าใดในเหตุการณ์ไฟดับแต่ละครัง้ ดั ง นั้ น จึ ง ก� ำ หนดค่ า เฉลี่ ย ของจ� ำ นวนผู ้ ใ ช้ ไ ฟที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบให้เท่า ๆ กันในแต่ละจุดโหลด หรือในแต่ละ สายจ�ำหน่าย ซึง่ วิธกี ารก�ำหนดเช่นนีจ้ ะท�ำให้จดุ โหลดหรือ สายจ�ำหน่ายมีความส�ำคัญเท่ากันไปหมดทุกจุด ผลการ ค�ำนวณค่าดัชนีที่ได้จะเป็นค่าโดยประมาณ

3.1 รูปแบบระบบและลักษณะการจ่ายไฟพืน้ ฐาน ของระบบ รูปแบบระบบ นับว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความแตกต่างของค่าดัชนี SAIDI และ SAIFI เป็นอย่าง มาก ซึ่งพบว่าสถิติของการไฟฟ้าที่มีการจ่ายไฟด้วยระบบ จ�ำหน่ายใต้ดินเป็นส่วนใหญ่จะมีค่า SAIDI และ SAIFI น้อยกว่าการไฟฟ้าที่มีการจ่ายไฟด้วยระบบจ�ำหน่ายเหนือ ดินเป็นส่วนใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัย แวดล้อมภายนอกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สัตว์ มนุษย์ ฟ้าผ่า อุบตั เิ หตุ ภัยธรรมชาติ สามารถสร้างความเสียหาย ต่ อระบบเหนื อ ดิ นได้ง่ายกว่าระบบใต้ดินนั่นเอง และ 3.3 การนับ/ไม่นับรวมเหตุการณ์ไฟดับชั่วคราว/ นอกจากรูปแบบระบบแล้ว ลักษณะการจ่ายไฟพื้นฐาน ของระบบ เช่น วงจรลูป ริงเมน หรือ เรเดียล รวมถึง เหตุการณ์ไฟดับใหญ่ ผลจากการนั บ /ไม่ นั บ รวมเหตุ ก ารณ์ ไ ฟดั บ อุปกรณ์ป้องกันภายในระบบก็ส่งผลต่อความแตกต่างของ ชั่วคราว/เหตุการณ์ไฟดับใหญ่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อ 2.1 ค่าดัชนีด้วย และข้อ 2.2 ตามล�ำดับ 3.2 การนับจ�ำนวนผู้ใช้ไฟ 3.4 พื้นที่การจ่ายไฟ ความส�ำคัญและความหนา วิ ธี ก ารที่ แ ตกต่ า งกั น ในการนั บ จ� ำ นวนผู ้ ใ ช้ ไฟ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้เกิดความแตกต่างของค่าดัชนี แน่นของโหลด ตารางที่ 3.1 เป็นค่าดัชนี SAIDI และ SAIFI SAIDI และ SAIFI ทีจ่ ะค�ำนวณออกมาได้เช่นกัน โดยการ เลือกใช้วิธีการนับจ�ำนวนผู้ใช้ไฟขึ้นอยู่กับความพร้อมของ ในเขตการจ่ายไฟทีเ่ ป็นพืน้ ทีเ่ มือง (Urban) ชนบท (Rural ข้อมูลของการไฟฟ้าแต่ละแห่ง วิธีการที่ใช้กันในปัจจุบัน – ระยะสายจ�ำหน่าย (Distribution Feeder) ไม่เกิน เช่น การนับตามจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับผลกระทบจริง 200 กิโลเมตร) และพืน้ ทีห่ า่ งไกล (Remote – ระยะสาย การใช้คา่ เฉลีย่ ผูใ้ ช้ไฟทีไ่ ด้รบั ผลกระทบตามโหลดทีส่ ญ ู เสีย จ�ำหน่ายยาวกว่า 200 กิโลเมตร) ของการไฟฟ้าต่าง ๆ การก�ำหนดจ�ำนวนผู้ใช้ไฟเท่า ๆ กันในทุกสายจ�ำหน่าย ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเห็นได้ว่าพื้นที่การจ่ายไฟที่มี ความส�ำคัญและมีความหนาแน่นของโหลดมากกว่าอย่าง เป็นต้น • นับตามจ�ำนวนผู้ใช้ไฟจริง การไฟฟ้าที่ใช้วิธี ในเขตเมือง จะมีคา่ ดัชนีความเชือ่ ถือได้ทดี่ กี ว่าเขตชนบท การนีเ้ ป็นการไฟฟ้าทีม่ คี วามพร้อมของข้อมูลเพียงพอทีจ่ ะ หรือพื้นที่ห่างไกลอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากในเขตชนบท สามารถนับจ�ำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ และพื้นที่ห่างไกลมีพื้นที่จ่ายไฟกว้าง ระยะสายจ�ำหน่าย ไฟดับแต่ละครัง้ โดยพิจารณาตามจุดโหลดทีเ่ กิดเหตุการณ์ ยาว ความหนาแน่นของโหลดน้อย จึงเป็นผลให้มีค่าดัชนี ไฟดั บ ได้ ซึ่ งผลการค� ำ นวณค่ า ดั ช นี ที่ ไ ด้ นั บ ว่ า มีความ ความเชื่อถือได้ที่ไม่ดีนัก ละเอียดและมีความถูกต้องสูงกว่าวิธีการนับแบบอื่น ๆ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

88


ดังนัน้ การปรับปรุงค่าดัชนีความเชือ่ ถือได้ของระบบไฟฟ้าทีจ่ า่ ยไฟในเขตชนบทและพืน้ ทีห่ า่ งไกลให้มคี วามเชือ่ ถือ ได้เท่ากับระบบในเขตเมือง จึงเป็นเรื่องที่ทำ� ได้ไม่ง่ายนักภายใต้ทรัพยากรที่จำ� กัด ตารางที่ 3.1 ค่า SAIDI และ SAIFI ในพื้นที่การจ่ายไฟต่าง ๆ ในประเทศออสเตรเลีย การไฟฟ้า Energy Australia Integral Energy Country Energy Australian Inland Energex Ergon Energy Western Power

SAIDI Urban 123 154 139 154 145 179 218

Rural 507 362 370 170 235 517 462

SAIFI Remote 1,279 994 820 566 N/A 997 N/A

Urban 0.14 0.83 1.50 1.04 1.54 2.30 2.70

Rural 3.16 2.13 2.74 1.25 2.31 4.90 3.89

Remote 6.22 4.34 4.85 2.44 N/A 5.60 N/A

ร า ส า ้ ฟ ไฟ (โปรดติดตามต่อฉบับหน้า)

เอกสารอ้างอิง 1. Yeddanapudi, Sree. “Distribution System Reliability Evaluation”. Iowa State University, 2011. 2. Power Distribution Planning Reference Book, H. Lee Willis, CRC Press, 2004, page 112. 3. IEEE 1366-2003, IEEE Guide for Electric Power Distribution Reliability Indices, IEEE-SA Standard Board, May 2004. 4. Summary of ASEAN’s Utilities Statistics 2006, The 4th meeting of The HAPUA Working Group No.7 – Power Reliability and Quality, Bali, Indonesia. 5. Experience with Regulation of Network Quality in Italy, UK and Netherlands, Electrical Power Quality and Utilization, Magazine, Vol. II, No.1, 2006. 6. IEEE/PES Working Group on System Design, “A Survey of Distribution Reliability Measurement Practices in the U.S.” IEEE Transactions on Power Delivery, Vol. 14, No. 1, January 1999.

ประวัติผู้เขียน

น.ส.นพดา ธีรอัจฉริยกุล • กรรมการสาขาไฟฟ้า วสท. • กองบรรณาธิการนิตยสารไฟฟ้าสาร

เก็บตกจากชื่อตอน “trust” ภาพยนตร์เรื่อง “trust” หรือชื่อไทยว่า “เหยื่อนรก ออนไลน์” เป็นภาพยนตร์แนว Drama - Thriller (Rate 18+) น�ำแสดงโดย ไคลฟ์ โอเว่น , แคทเธอรีน คีเนอร์ และ เลียนา ลิเบราโต้ เข้าฉายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 เล่าเรื่องราว สะท้อนสังคมในยุคที่อินเทอร์เน็ตแทรกซึมเข้าถึงทุกครัวเรือน โดยถ่ายทอดเรื่องราวความน่ากลัวของโลกออนไลน์ที่มีอยู่จริง ผ่านห้องสนทนาซึง่ เราไม่อาจไว้ใจใครได้ และไม่อาจคาดคิดได้ ว่าการพูดคุยผ่านสือ่ ดิจทิ ลั จะน�ำมาซึง่ เหตุการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลง ชีวิตไปโดยสิ้นเชิง

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

89


Engineering Vocabulary ศัพท์วิศวกรรมน่ารู้ นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

“Method” สวัสดีทกุ ท่านและขอแสดงความยินดีกบั นายกสภาวิศวกร ดร.กมล ตรรกบุตร และคณะกรรมการทุกท่านทีเ่ พิง่ ได้รบั การแต่งตัง้ กันไปเมือ่ วันที่ 20 กันยายน ทีผ่ า่ นมานี้ ในสมัยที่ 5 ซึง่ จะมีวาระระหว่าง พ.ศ. 2555-2557 ทั้งนี้ ทางสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า นิตยสารไฟฟ้าสาร ส่วนของค�ำศัพท์ของ วสท. ก็ขอแสดงความยินดีกับทุกท่าน และขอขอบพระคุณนายกฯ และ กรรมการสภาวิศวกรชุดเก่า พวกเราชาววิศวกรฯ ขอฝากความหวังกับ ท่านนายกฯ และกรรมการสภาวิศวกรทุกท่านทีจ่ ะช่วยสรรค์สร้างความดี ต่าง ๆ ให้กับแวดวงวิศวกรไทยสืบเนื่องต่อไป

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ขณะนี้ทุก ๆ ท่านคงเคยได้ยินเพลงและท่าเต้นที่กำ� ลังนิยมมาก มีผู้เข้าชมมากกว่า 400 ล้านครั้ง นั่นคือ “กังนัม สไตล์” (Gangnam Style) เป็นชื่อเพลงในอัลบั้มชุดที่ 6 ของ PSY หรือ ปาร์ก แจ ซาง ศิลปินชาวเกาหลีใต้ ในความหมายของ Gangnam นัน้ หมายถึง ย่านคนรวย ย่านธุรกิจ เช่น เยาวราช สีลม เหมือนกับทีป่ ระเทศอังกฤษในลอนดอนนัน้ ก็จะมียา่ นคนมีเงิน บริเวณ Mayfair, Knights bridge, และ Chelsea ตามความหมายแสลงและตามความหมายของเนื้อเพลงนี้หมายถึง ผู้หญิงแบบกังนัมสไตล์มีความสามารถที่เหมือนกัน คือเธอจะรู้ว่าเมื่อไรที่ต้องจะแอ๊บแบ๊ว และเมื่อไรที่จะต้องเซ็กซี่ เรียกได้ว่า อินโนเซ้นท์เป็นบางเวลา และ เซ็กซี่บ้างเป็นบางจังหวะ โดยมีค� ำพูด ติดว่า โอปป้า กังนัมสไตล์ ซึ่งแปลว่า พี่คะ มันคือกังนัมสไตล์ ทางส่วนค�ำศัพท์ ก็ขออนุญาตลงค�ำศัพท์เพือ่ นบ้านใกล้ ๆ นี้ ด้วยอีกค�ำหนึ่ง ส�ำหรับค�ำศัพท์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า ฉบับนีข้ อน�ำเสนอค�ำว่า Method หมายถึง วิธี ทีน่ ยิ มน�ำมาเป็นค�ำพยางค์หน้าของค�ำ อีกหลาย ๆ ค�ำที่นิยมน�ำมาใช้กัน ส�ำหรับค�ำศัพท์ในครั้งนี้ขอน�ำเสนอค�ำว่า “Method” [V] ซึ่งมีความหมายดังนี้ Method (เมท็อด) [V] วิธี, See also: วิธีการ, แนวทาง, ระเบียบ, แบบแผน, Syn.(Synonym : ค�ำพ้องความหมาย) mode, manner, way, standard

90


ตามที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่า Method นั้นนิยมน�ำมาเป็นค�ำพยางค์หน้าอีกหลาย ๆ ค�ำและให้ความหมาย ในแนวทางเดียวกัน ประกอบด้วยค�ำต่อไปนี้ Methodist [N] ผู้ยึดตามระเบียบ methodize [VT] ท�ำให้มีแบบแผน, Syn. organize methodical [ADJ] ซึง่ เป็นระเบียบ, See also: ซึง่ มีแบบแผน, ซึง่ ด�ำเนินตามแบบแผน, Syn. systemic, orderly, Ant. unsystemic, disorderly methodizer [N] ผู้มีระเบียบแบบแผน methodology [N] วิธีการ, See also: วิธี, หลักการ, Syn. system, arrangement methodically [ADV] อย่างมีแบบแผน, Syn. neatly methodologist [N] ผู้มีระเบียบแบบแผน, Syn. pedant methodological [ADJ] เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน, See also: เกี่ยวกับวิธีการ, Syn. technical method in one’s madness [IDM] มีจุดประสงค์ในสิ่งที่ทำ� , See also: มีเจตนาในสิ่งที่ทำ�

ร า ส า ้ ฟ ไฟ โดยในความหมายของค�ำว่า Method และค�ำที่มีคำ� ว่า Method อยู่น�ำหน้า ซึ่งมีความหมายตามที่ได้กล่าวไว้ ข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายค�ำที่มีความหมายใกล้เคียงและถูกน�ำมาใช้กันมากในแวดวงขณะนี้ ทางผู้เขียนได้ค้นหาและ เห็นว่าเป็นประโยชน์พอสมควร ที่หลาย ๆ ท่านเห็นแล้วคงคุ้นเคยกันมาก มีดังนี้ ศัพท์อังกฤษ technique

ศัพท์บัญญัติ

ตัวอย่าง

เทคนิค, กลวิธี

numerical technique – เทคนิคเชิงตัวเลข analytical technique – เทคนิคเชิงวิเคราะห์

วิธี

analytic method – วิธีวิเคราะห์ critical path method – วิธีวิถีวิกฤต

methodology

ระเบียบวิธี

research methodology – ระเบียบวิธีการวิจัย software development methodology – ระเบียบวิธีการพัฒนา ซอฟต์แวร์

algorithm

ขั้นตอนวิธี

Viterbi algorithm – ขั้นตอนวิธี วิเทอร์บี non-deterministic algorithm – ขั้นตอนวิธีเชิงไม่กำ� หนด

protocol

เกณฑ์วิธี

cryptographic protocol – เกณฑ์วิธีเชิงรหัสลับ network routing protocol – เกณฑ์วิธีการจัดเส้นทางโครงข่าย

process

กรรมวิธ,ี กระบวนการ manufacturing process – กรรมวิธีการผลิต production process – กระบวนการผลิต

method

procedure

กระบวนงาน

re-entrant procedure – กระบวนงานกลับเข้าใหม่ standard operating procedure – กระบวนงานปฏิบัติการ มาตรฐาน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

91


Easy Easy Think Part. +++++ Don’t worry to practice and speak English.

“Just say it and repeat several times.” The below several samples are for your practicing. “Method” เก้าอี้ไฟฟ้าเป็นวิธีการด�ำเนินการ ในการที่บุคคลจะถูก ฆ่าตาย เป็นการมัดติดอยูก่ บั เก้าอีแ้ ละเป็นการฆ่าทีผ่ า่ น ขั้วไฟฟ้าที่วางอยู่บนร่างกายของพวกเขา (เก้าอี้ที่ใช้กระแสไฟฟ้าช็อต ให้ถึงแก่ชีวิต)

The electric chair is an execution method in which the person being killed is strapped to a chair and electrocuted through electrodes placed on their body.

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

การทดสอบ C.B เป็นหลักการที่สำ� คัญ หนึ่งในตัวบ่งชี้ ของวิธีการทดสอบมีดังนี้ Icu = O – t - CO Ics = O – t – CO – t – CO ดังนั้นเราควรเลือกใช้ circuit breaker ที่มีขนาดพิกัด Ics = 100% Icu เพื่อความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า และกับ C.B

Test Circuit breakers are important principles. In one indicator of the test methods are as follows. Icu = O – t - CO Ics = O – t – CO – t – CO Therefore, we should choose the circuit breaker with a rated Ics = 100% Icu. For the safety of the electrical system and the CB.

หมายเหตุ : Icu = Rated ultimate short-circuit breaking capacity Ics = Rated service short-circuit breaking capacity t = time เป็นเวลาในการพักการท�ำงานของเซอร์กติ เบรกเกอร์ในส่วนเทอร์มอลให้กลับสูส่ ภาพปกติ ซึง่ ใช้เวลา 3 นาที O = การท�ำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดวงจร โดยการเกิดกระแสลัดวงจรตามพิกัดการทดสอบ C = การปิดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (การปิดวงจรโดยกลไก เพื่อความปลอดภัยในการทดสอบ) เอกสารและข้อมูลอ้างอิง 1. มาตรฐานติ ด ตั้ ง ทางไฟฟ้ า ส� ำ หรั บ ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2551) 2. Google แปลภาษา 3. LONGDO Dict. 4. เรือ่ งน่ารู้ ศัพท์บญ ั ญัติ ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า (ตอนที่ 4) ของ อ.ดร.ชนินทร์ วิศวินธานนท์ อาจารย์ประจ�ำ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กรรมการบัญญัติศัพท์ วิศวกรรมไฟฟ้า ราชบัณฑิตยสถาน 5. โบรชัวร์แสดงความยินดีของ สมาคมวิศวกรรม ปรับอากาศแห่งประเทศไทย

92

ประวัติผู้เขียน

นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล • คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี • เลขาฯ และกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. • ที่ปรึกษา สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย


Innovation News ข่าวนวัตกรรม สันติภาพ ชุ่มมี

พัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น

ร า ส า ้ ฟ ไฟ Innovation News ฉบั บ นี้ ข อพาทุ ก ท่ า นไปพบกั บ นวั ต กรรมที่ ส ามารถน� ำ พลั ง งานจาก แหล่งพลังงานหลากหลายรูปแบบมาให้ผู้ใช้งานได้ใช้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ที่ส�ำคัญกว่านั้น คือ ยังช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้ในปัจจุบันที่มีอุปกรณ์ทันสมัยมากมายแต่ไม่อยากให้ชีวิตสะดุดลง เมื่อต้อง ขาดแหล่งพลังงานในการชาร์จแบตเตอรี่ยามห่างไกลอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ

ตอบโจทย์ทุกการใช้ชีวิต

ต้องยอมรับว่าปัจจุบนั พลังงานส�ำรองส�ำหรับอุปกรณ์ พกพาต่าง ๆ มีความจ�ำเป็นอย่างมาก จึงท�ำให้มีการพัฒนา อุปกรณ์ส�ำหรับอ�ำนวยความสะดวกออกมาอย่างต่อเนื่อง และดู เ หมื อ นว่ า รู ป แบบของพลั ง งานหมุ น เวี ย นจะเป็ น ทางออกที่ดีที่สุด แต่ ด ้ ว ยลั ก ษณะและรู ป ร่ า งของอุ ป กรณ์ เ ชื่ อ มต่ อ ในอดีตยังไม่สามารถตอบสนองให้ทันกับการใช้งานในยุคสมัยนี้ ท�ำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จึงต้องหันกลับมา ใช้ที่ชาร์จแบตเตอรี่แบบทั่ว ๆ ไป ซึ่งสร้างความล�ำบากในยามต้องออกไปสู่พื้นที่ห่างไกล ReadySet คืออุปกรณ์ต่อพ่วงส�ำหรับชาร์จแบตเตอรี่ที่เรียกได้ว่าฉีกทุกกฎเกณฑ์เดิม ๆ ในอดีต ทั้งรูปลักษณ์ ที่กะทัดรัด ไม่เทอะทะ เต้ารับที่มีมาให้ก็ครบครัน จึงตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างพอดี พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

93


สร้างพลังงานได้ด้วยตัวเอง

ที่ส�ำคัญคือการเพิ่มขีดความสามารถในการส�ำรอง ไฟได้หลากหลายรูปแบบ ท�ำให้การบรรจุพลังงานรวมไปถึง การแจกจ่ายพลังงานออกไปกลายเป็นเรื่องง่ายส�ำหรับ คนที่ใช้งานในครั้งแรก นอกจากนั้น ReadySet ยังมาพร้อมกับแหล่ง พลังงานที่หลากหลาย ทั้งในส่วนของแผงโซลาร์เซลล์ แบบพกพาส� ำ หรั บ วั น ที่ มี แ สงแดด หรื อ การบรรจุ ไ ฟ ด้วยวิธีง่าย ๆ ผ่านอะแดปเตอร์ไฟฟ้าที่สามารถเสียบกับ เต้ารับไฟฟ้าทั่วไปได้ แต่ ใ นกรณี ที่ ไ ม่ มี แ ม้ แ ต่ แ สงแดดและไฟฟ้ า ก็ ยั ง สามารถเก็บพลังงานไว้ใช้ได้ด้วยการปั่นจักรยาน ถือเป็น อุ ป กรณ์ ส ร้ า งสรรค์ ที่ ดึ ง พลั ง งานรอบตั ว ออกมาใช้ ไ ด้ อย่างครบถ้วน

ร า ส า ้ ฟ ไฟ เพิ่มโอกาสให้แก่พื้นที่ห่างไกล

ด้วยระบบการท�ำงานทีห่ ลากหลายนีท้ ำ� ให้ ReadySet ถูกส่งตัว ไปยังทีต่ า่ ง ๆ ซึง่ ขาดแคลนพลังงาน อาทิ ประเทศในทวีปแอฟริกา ท�ำให้ การสื่อสารในพื้นที่ห่างไกลไม่ขาดตอนเพียงเพราะไม่มีไฟฟ้า หรือ การใช้พลังงานในรูปแบบอืน่ ก็สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ยั ง ท� ำ ให้ เ กิ ด การลดการใช้ พ ลั ง งานลงอย่ า งเห็ น ได้ ชั ด พร้ อ มกั บ การอนุรักษ์พลังงานไปในตัว ถื อ เป็ น อุ ป กรณ์ ง ่ า ย ๆ ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง การดึ ง พลั ง งาน ธรรมชาติกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เห็นแบบนี้แล้วเชื่อว่าในอนาคตอุปกรณ์ต่าง ๆ คงต้อง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้พลังงานทดแทนเข้าไปมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นแน่นอน

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม http://www.kickstarter.com/projects/mi\kelin/readyset-solar-kit-for-ipad-iphone-android-and-mor?ref=card

94


Variety ปกิณกะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ แสดงความยินดีนายกสภาวิศวกรคนใหม่

ร า ส า ้ ฟ ไฟ เมือ่ วันที่ 29 กันยายน 2555 สภาวิศวกร ได้จดั การแถลงข่าวพร้อมแสดงความยินดีแก่นายกสภาวิศวกรคนใหม่ ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ โดยมีผรู้ ว่ มแถลงการณ์ ประกอบด้วย นายสุวฒ ั น์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ นายไกร ตัง้ สง่า อุปนายก คนที่ 1 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ นายธเนศ วีระศิริ เลขาธิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ดร.กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร นายประสงค์ ธาราไชย อุปนายก คนที่ 2 สภาวิศวกร และนายเกชา ธีระโกเมน เลขาธิการ สภาวิศวกร ซึง่ คณะกรรมการทัง้ สององค์กรตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมของวิศวกรไทย รวมถึงการสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในชาติว่า วิศวกรไทยมีความสามารถและศักยภาพเพียงพอไม่ด้อยกว่าชาติใด รวมถึง เพื่อช่วยท�ำให้เกิดความกระจ่างต่อสาธารณชนในกรณีเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทั้งสององค์กรควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. ร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพด้านวิศวกรรมเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี ปี 2558 2. ประสานความร่วมมือในการให้ความเห็นด้านวิชาการแก่สาธารณะ กรณีเกิดภัยพิบัติ 3. สร้างมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรมส�ำหรับประเทศไทย 4. บริการสมาชิกทั้งสององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. ประสานความร่ ว มมื อ ในการด� ำ เนิ น กิ จ กรรมด้ า นการต่ า งประเทศในฐานะตั ว แทนด้ า นวิ ศ วกรรมของ ประเทศไทย

พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

95


กฟผ.คว้า 2 รางวัลดีเด่นที่ทำ� ตามมาตรการ EIA

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น ประจ�ำปี 2555 โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 นายพิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี มอบรางวัลแก่สถานประกอบการทีป่ ฏิบตั ติ ามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อม และมีการจัดการ สภาพแวดล้อมดีเด่น ประจ�ำปี 2554 (EIA Monitoring Awards 2011) โดยในครั้งนี้ กฟผ.ได้รับ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลดีเด่น ประเภทคมนาคม โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายน�้ำมันเชือ้ เพลิงส�ำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ โดยมี นายสุรพล วงศ์ธัญญกรณ์ ผู้อำ� นวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ เป็นผู้รับมอบรางวัล และรางวัลดีเด่น ประเภทพลังงานและ อุตสาหกรรมอื่น ๆ โครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โดยมีนายสุชา เหมือนแก้ว ผู้อำ� นวยการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ เป็นผู้รับมอบรางวัล พร้อมกันนี้ภายในงานยังมีการจัดเสวนา “ท�ำตามมาตรการ EIA แล้วดียังไง” และจัดแสดงนิทรรศการ “การจัดการและรักษาสภาพแวดล้อมโครงการต่าง ๆ ของสถานประกอบการ” ซึ่งจัดโดยส�ำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องวายุภักษ์ 5-6 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

กฟภ.จัดการแข่งขันทักษะทางช่าง ประจ�ำปี 2555

เมือ่ วันที่ 13-14 กันยายน 2555 การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) จัดให้มกี ารแข่งขันทักษะทางช่าง ประจ�ำปี 2555 ณ ศูนย์ฝึกปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง อ�ำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมีนายเสรี ปรัชญกุล รองผู้ว่าการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ เป็นประธานเปิดการแข่งขันดังกล่าว การแข่งขันประกอบด้วย การแข่งขันปฏิบัติงานฮอทไลน์, การแข่งขันเชื่อมสาย, การแข่งขันการเข้าหัว Termination ของสายเคเบิลใต้ดิน, การแข่งขันการท�ำ Protection Coordination ด้วยโปรแกรม DIgSILENT และการแข่งขันการวิเคราะห์ปญ ั หาความผิดปกติในระบบไฟฟ้าด้วยโปรแกรม PSCAD/EMTDC

96


กฟภ.จัดงานมหกรรมคุณภาพ (QC) ครั้งที่ 24

เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2555 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จัดงานมหกรรมคุณภาพ (QC) ครั้งที่ 24 ประจ�ำปี 2555 ณ ส�ำนักงานใหญ่ ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพฯ โดยมีนายวีระชัย โกยกุล รองผูว้ า่ การปฏิบตั กิ ารเครือข่าย เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานได้มีการน�ำเสนอผลงานคิวซี, งาน 5 ส และงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์คิดค้นจาก หน่วยงานต่าง ๆ ของ กฟภ.ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ร า ส า ้ ฟ ไฟ กฟภ.จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 52 ปี

เมือ่ วันที่ 28 กันยายน 2555 การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 52 ปี ณ ส�ำนักงานใหญ่ ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพฯ โดยมีนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ประธานกรรมการ กฟภ. นายณรงค์ศักดิ์ ก�ำมเลศ ผู้ว่าการ กฟภ. และแขกผู้มีเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมงานดังกล่าว

กฟน.จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนรักษ์ป่าชายเลน รุ่นที่ 8”

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัดกิจกรรม “YoungMEA ค่ายเยาวชน รักษ์ป่าชายเลน รุ่นที่ 8” น�ำเยาวชนสมาชิกเว็บไซต์ YoungMEA อายุระหว่าง 8-12 ปี จ�ำนวน 80 คน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยเกิดจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์ ป่าชายเลน ตลอดจนเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างถูกต้อง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ณ ค่ายพระรามหก อ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555

97


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ใบสั่งจองโฆษณา (Advertising Contract) นิตยสารไฟฟ้าสาร (Electrical Engineering Magazine) กรุณาส่งใบสั่งจองทางโทรสาร 0 2247 2363

ข้อมูลผู้ลงโฆษณา (Client Information)

วันที่.............................................. บริษัท / หน่วยงาน / องค์กร ผู้ลงโฆษณา (Name of Advertiser) :........................................................................................... ที่อยู่ (Address) :........................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................................................... โทรศัพท์/Tel :............................................................................โทรสาร/Fax :............................................................................ ชื่อผู้ติดต่อ/Contact Person :............................................................อีเมล/E-mail :.................................................................... ฉบับที่ต้องการลงโฆษณา (Order)

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

ฉบับเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 56 ฉบับเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม 56

ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 56 ฉบับเดือนกันยายน–ตุลาคม 56

อัตราค่าโฆษณา (Order) (กรุณาท�ำเครื่องหมาย

ในช่อง

ต�ำแหน่ง (Position)

ปกหน้าด้านใน (Inside Front Cover)

ปกหลัง (Back Cover) ปกหลังด้านใน (Inside Back Cover) ตรงข้ามสารบัญ (Before Editor - lift Page) ตรงข้ามบทบรรณาธิการ (Opposite Editor Page) ในเล่ม 4 สี เต็มหน้า (4 Color Page) ในเล่ม 4 สี 1/2 หน้า (4 Color 1/2 Page) ในเล่ม 4 สี 1/3 หน้าแนวตั้ง (4 Color 1/3 Page) ในเล่ม ขาว-ด�ำ เต็มหน้า (1 Color Page) ในเล่ม ขาว-ด�ำ สี 1/2 หน้า (1 Color 1/2 Page ) ในเล่ม ขาว-ด�ำ สี 1/3 หน้า (1 Color 1/3 Page ) ในเล่ม ขาว-ด�ำ สี 1/4 หน้า (1 Color 1/4 Page )

ฉบับเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน 56 ฉบับเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 56

มีความประสงค์สั่งจองโฆษณา “นิตยสารไฟฟ้าสาร”) อัตราค่าโฆษณา (Rates)

55,000 บาท 60,000 บาท 50,000 บาท 48,000 บาท 47,000 บาท 45,000 บาท 23,000 บาท 16,500 บาท 23,000 บาท 12,000 บาท 7,700 บาท 7,000 บาท

(Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht) (Baht)

รวมเงินทั้งสิ้น (Total).......................................................บาท (......................................................................................)

ผู้สั่งจองโฆษณา (Client)......................................................... ผู้ขายโฆษณา (Advertising Sales)..........................................

ต�ำแหน่ง (Position).......................................................... วันที่ (Date)............./......................../.............

วันที่ (Date)............./......................../.............

หมายเหตุ - อัตราค่าโฆษณานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม - เงื่อนไขการช�ำระเงิน 15 วัน นับจากวันวางบิล ทางบริษัทฯ จะเรียกเก็บเป็นรายฉบับ - โปรดติดต่อ คุณสุพจน์ แสงวิมล ประชาสัมพันธ์ นิตยสารไฟฟ้าสาร ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โทรศัพท์ 0 2642 5241-3 ต่อ 110, 133 โทรสาร 0 2247 2363 E-mail : EE.mag01@gmail.com เจ้าของ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) 487 รามค�ำแหง 39 (ซอยวัดเทพลีลา) วังทองหลาง กทม. 10310 ผู้จัดท�ำ : บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22A ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400


ใบสมัครสมาชิก/ใบสั่งซื้อนิตยสาร

นิตยสารไฟฟ้าสาร (Electrical Engineering Magazine) วันที่................................... ชื่อ-นามสกุล.................................................................................................................................................................... บริษัท/หน่วยงาน ............................................................................................................................................................ เลขที่......................................................อาคาร.......................................................ซอย................................................. ถนน.......................................................ต�ำบล/แขวง.......................................................................................................

ร า ส า ้ ฟ ไฟ

อ�ำเภอ/เขต..............................................จังหวัด......................................................รหัสไปรษณีย์...................................

โทรศัพท์..................................................โทรสาร....................................................E-mail:.............................................

ที่อยู่ (ส�ำหรับจัดส่งนิตยสาร กรณีที่แตกต่างจากข้างต้น).................................................................................................

....................................................................................................................................................................................... กรุณาท�ำเครื่องหมาย ในช่อง มีความประสงค์สมัครสมาชิกนิตยสาร “ไฟฟ้าสาร” มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกนิตยสารไฟฟ้าสาร ในประเภท : 1. บุคคลทั่วไป ครึ่งปี 3 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 1 เล่ม ราคา 220 บาท 1 ปี 6 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 1 เล่ม ราคา 440 บาท 2. นิติบุคคล ครึ่งปี 3 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 3 เล่ม ราคา 660 บาท 1 ปี 6 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 3 เล่ม ราคา 1,320 บาท แถมฟรี หนังสือเทคโนโลยีสะอาด จ�ำนวน 3 เล่ม มูลค่า 320 บาท 3. นิติบุคคลขนาดใหญ่ ครึ่งปี 3 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 5 เล่ม ราคา 1,100 บาท 1 ปี 6 ฉบับ รับนิตยสารฉบับละ 3 เล่ม ราคา 2,200 บาท แถมฟรี หนังสือเทคโนโลยีสะอาด จ�ำนวน 3 เล่ม มูลค่า 320 บาท และเสื้อ PREclub 1 ตัว มูลค่า 550 บาท ต้องการนิตยสารตั้งแต่ฉบับที่/เดือน................................................ถึงฉบับที่/เดือน...................................................... ช�ำระเงินโดย เช็คธนาคาร...............................................สาขา...........................................เลขทีเ่ ช็ค................................................ โอนเงินเข้าบัญชีประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด” ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรางน�ำ้ เลขที่บัญชี 052-2-56109-6 หมายเหตุ

• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินและใบสมัครสมาชิกมาที่ โทรสาร 0 2247 2363 โดยระบุเป็นค่าสมาชิก “นิตยสารไฟฟ้าสาร” เจ้าของ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) 487 รามค�ำแหง 39 (ซอยวัดเทพลีลา) วังทองหลาง กทม. 10310 ผู้จัดท�ำ : บริษัท ไดเร็คชั่น แพลน จ�ำกัด 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22A ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


ร า ส า ้ ฟ ไฟ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.