ประมาณการเศรษฐกิจไทยป 2555 และป 2556
THAILAND'S ECONOMIC OUTLOOK 2012-2013 : DECEMBER
เดือนธันวาคม
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
http://www.fpo.go.th
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2012-2013 FISCAL POLICY OFFICE เป้าประสงค์ และ ยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1. ความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังของประเทศมีความแข็งแกร่งยั่งยืน เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักของ ระบบเศรษฐกิจไทย 2. การพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Financial System Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านการเงิน เพื่อให้ภาคการเงินแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 3. เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) + เสนอแนะนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาคและเศรษฐกิจฐานราก + เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 4. ความมีประสิทธิภาพ ความทันสมัย และความโปร่งใสในการท�ำงาน (Modernization of Management and Good Governance Promotion) + ด�ำเนินการเพื่อให้เป็นองค์กรเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับด้านความสามารถของบุคลากร + ด�ำเนินการเพื่อให้การท�ำงานและการให้บริการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ โดยใช้ระบบ IT ลดขั้นตอนการท�ำงาน
กลยุทธ์ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค : “เสาหลักด้านเศรษฐกิจมหภาคอย่างมืออาชีพ” “วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ แม่นย�ำ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน”
ช่องทางใหม่ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ
ขั้นตอนการใช้งานผ่านอุปกรณ์ iPad iPhone / ระบบปฏิบัติการ Android 1 โหลด App ชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store / Android Market 2 เปิด App “ebooks.in.th” แล้ว Search ค�ำว่า “Fiscal Policy Office” 3 เลือกหนังสือและบทความที่ท่านต้องการอ่าน เพื่อเก็บไว้ที่ตู้หนังสือ 4 เลือก Icon “Bookshelf” เพื่ออ่านหนังสือที่ต้องการ (ในครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน)
THAILAND’S ECONOMIC OUTLOOK 2012 : DECEMBER FISCAL POLICY OFFICE
สารบัญ 1. ประมาณการเศรษฐกิจไทย บทสรุปผู้บริหาร Executive Summary ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556 (ณ เดือนธันวาคม 2555) 1.1 สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556 1.2 ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556
หน้า
2. ภาคการคลัง : รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังปีงบประมาณ 2555 และในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556
43
3 7 11 12 30
3. บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ : Macroeconomic Analysis Briefings 3.1 อาเซียน ตลาดหลักที่ถูกมองข้าม 3.2 ทวายโอกาสที่ประเทศไทยไม่ควรพลาด 3.3 ฝรั่งเศสกับความเสี่ยงทางการคลัง 3.4 การปรับตัวของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทย 3.5 ผลกระทบจากแรงงานพม่าต่อไทย 3.6 QE4 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 3.7 เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ : เด็ดดอกไม้ สะเทือนทั้งดวงดาว
55 63 75 82 92 100 104
4. ภาคการเงิน : รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2555
112
5. Thailand’s Key Economic Indicators
116
คณะผู้จัดท�ำ : ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทรศัพท์ 02-273-9020 ต่อ 3257 โทรสาร 02-298-5602 / 02-618-3397 http:// www.fpo.go.th
บทสรุปผู้บริหาร
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556 (ณ เดือนธันวาคม 2555) รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556 “เศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 และมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2556” ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ ร้อยละ 5.7 โดยอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ อาทิ การเพิม่ รายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ การรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก โครงการรถยนต์คนั แรก โครงการ บ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล ซึง่ มีสว่ นสนับสนุนการใช้จา่ ยภายในประเทศ ขณะทีก่ ารบริโภค และการลงทุนภาครัฐยังมีบทบาทในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกมีการชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิต อุตสาหกรรมเพือ่ ส่งออกในบางสาขา ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากปีที่แล้ว ตามราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนแอลง ประกอบกับผลจากแนวทางการดูแลราคาน�้ำมันขายปลีก ของภาครัฐ ส�ำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่าง ต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5–5.5) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของ การลงทุนภาครัฐทีเ่ ร่งตัวสูงขึน้ และการปรับตัวดีขนึ้ ของเศรษฐกิจโลกเป็นส�ำคัญ ขณะทีอ่ ปุ สงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้ม ชะลอลง หลังจากที่มีการเร่งการบริโภคและการลงทุนเพื่อฟื้นฟูจากวิกฤตอุทกภัยไปมากแล้วในปีก่อน อย่างไรก็ตาม รายได้ภาคครัวเรือนทีค่ าดว่าจะปรับตัวดีขนึ้ จากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะการเพิม่ ค่าแรงรายวัน เป็น 300 บาททั่วทั้งประเทศ และโครงการรับจ�ำน�ำข้าว จะช่วยส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนไม่ชะลอลงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5–3.5) โดยอุปทานน�้ำมัน ในตลาดโลกคาดว่าจะเพิม่ ขึน้ แต่ยงั มีความเสีย่ งจากภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติทอี่ าจส่งผลให้ราคาธัญพืชโลกปรับตัวสูงขึน้ ทัง้ นี้ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวเพิม่ เติมว่า “การประมาณการเศรษฐกิจในปีหน้าจ�ำเป็นต้อง ติดตามปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เช่น ระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้า โดยเฉพาะปัญหาหน้าผาทางการคลังของสหรัฐอเมริกา และความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของ ยุโรป สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศคู่ค้าส�ำคัญ ๆ ของไทย รวมถึงความสามารถในการเบิกจ่ายงบประมาณ ของภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายด้วย”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
3
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 และปี 2556 (ณ เดือนธันวาคม 2555) 2555 f 2556 f (ณ ธันวาคม 2555) (ณ ธันวาคม 2555) เฉลี่ย เฉลีย่ ช่วง
2554 สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 4.0 3.5 3.7 2) ราคาน�้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) 105.6 109.4 113.0 3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 5.6 0.7 3.3 4) ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 10.1 1.7 3.5 สมมติฐานด้านนโยบาย 5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 30.50 31.10 30.7 6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 3.25 2.75 2.75 7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.77 2.89 3.17 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 0.1 5.7 5.0 2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 1.3 5.8 3.8 - การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.3 5.6 3.9 - การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.1 6.7 3.5 3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 3.3 14.5 10.2 - การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.2 16.1 9.2 - การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -8.7 8.5 14.0 4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 9.5 3.0 6.6 5) อัตราการขยายตัวปริมาณน�ำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 13.7 6.1 5.6 6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 17.0 9.5 9.4 - สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 14.3 3.9 10.0 - สินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 24.9 8.0 10.5 7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 5.8 3.0 2.1 - ร้อยละของ GDP 3.8 0.8 0.5 8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.8 3.0 3.0 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.4 2.1 1.9 9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของก�ำลังแรงงานรวม) 0.7 0.6 0.6 f = ประมาณการ โดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
4
3.2-4.2 108.0-118.0 2.3-4.3 2.5-4.5 29.70-31.70 2.25-3.25 3.12-3.22 4.5-5.5 3.3-4.3 3.4-4.4 3.0-4.0 9.2-11.2 8.2-10.2 13.0-15.0 5.6-7.6 4.6-6.6 8.4-10.4 9.0-11.0 9.5-11.5 0.1-4.0 0.0-1.0 2.5-3.5 1.4-2.4 0.5-0.7
1. เศรษฐกิจไทยในปี 2555 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 ฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียง ร้อยละ 0.1 โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต และการจ้างงาน ที่อยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้รายได้ภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับภาวะการเงินโดยรวมยังเอื้ออ�ำนวยต่อการบริโภค สะท้อน จากอัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวในระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 16.1 เนือ่ งจากการลงทุนในเครือ่ งมือ เครือ่ งจักรและการก่อสร้างจะขยายตัวสูง เพือ่ เป็นการชดเชยและซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ประกอบกับผูป้ ระกอบการ มีการขยายก�ำลังการผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศยังได้รับ แรงสนับสนุนของนโยบายภาครัฐ อาทิ การเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ การรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก โครงการ รถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะทีก่ ารบริโภคและการลงทุนภาครัฐยังคงมีบทบาทในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐ จะขยายตัวร้อยละ 6.7 และการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 ตามการใช้จ่ายในโครงการภาครัฐ ทั้งมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น อาทิ การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และมาตรการในส่วนของแผนการบริหารจัดการน�้ำในระยะยาว ของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่เริ่มทยอยลงทุนได้ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2555 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกสินค้าและบริการของไทยคาดว่าจะชะลอลงมาขยายตัวเพียงร้อยละ 3.0 เนือ่ งจากการส่งออกสินค้าได้รบั ผลกระทบ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึน้ โดยเฉพาะจากวิกฤตหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศยูโรโซน ประกอบกับความล่าช้า ในการฟื้นตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกในบางสาขา นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรยังมีแนวโน้มลดลง ตามปริมาณการส่งออกข้าว เนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในระดับสูงส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกได้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกด้านบริการคาดว่าจะขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ปริมาณ การน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะเร่งตัวสูงกว่าการส่งออก โดยจะขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายใน ประเทศ ประกอบกับความต้องการน�ำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายของภาคการผลิตจากเหตุการณ์อุทกภัย 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3 ลดลงจากปีก่อนหน้า ตามราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลก ที่อ่อนแอลง ประกอบกับผลจากแนวทางการดูแลราคาน�้ำมันขายปลีกของภาครัฐ นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรในประเทศ มีแนวโน้มปรับลดลงจากปีก่อน จากผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดในปริมาณที่มากขึ้น ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่า จะยังคงอยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.6 ของก�ำลังแรงงานรวม ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัด จะเกินดุลที่ 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของ GDP เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลที่ 9.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ตามมูลค่าสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะยังคงสูงกว่ามูลค่าสินค้าน�ำเข้า โดยคาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 8.0 ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
5
2. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2556 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5–5.5) โดยมีปจั จัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐทีค่ าดว่าจะขยายตัวได้ในระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 14.0 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 13.0–15.0) อันมีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งรายจ่ายงบประมาณและรายจ่ายตามแผนบริหารจัดการน�้ำ ในระยะยาวของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะเริ่มทยอยลงทุนได้มากขึ้นในปี 2556 ขณะที่การบริโภค ภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0–4.0) ตามการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีของรัฐบาล ในปี 2556 ที่คาดว่าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนการขยายตัว ของการส่งออกมากขึ้น โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าและบริการจะขยายตัวร้อยละ 6.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.6 และ ร้อยละ 7.6) ส่วนปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.6–6.6) อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลง ภายหลังจากทีม่ กี ารเร่งการบริโภคและการลงทุนเพือ่ ฟืน้ ฟูภายหลังเหตุการณ์ อุทกภัยไปมากแล้วในปีก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.4–4.4) ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.2-10.2) อย่างไรก็ตาม รายได้ ภาคครัวเรือนที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงรายวันเป็น 300 บาท ทั่วประเทศและโครงการรับจ�ำน�ำข้าว จะช่วยส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนไม่ชะลอลงมากนัก 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 2.5–3.5) ตามราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากคาดว่าอุปทานน�้ำมัน ในตลาดโลกจะเพิม่ ขึน้ จากการทีส่ หรัฐอเมริกาจะสามารถผลิตน�ำ้ มันเพือ่ ตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศได้เพิม่ มากขึน้ อย่างไร ก็ตาม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้งและอุทกภัยอาจส่งผลให้ราคาธัญพืชในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และจะส่งผ่านไปยัง ต้นทุนราคาอาหารสัตว์และราคาในหมวดเนื้อสัตว์ให้ปรับตัวสูงขึ้นตาม ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต�่ำ ที่ร้อยละ 0.6 ของก�ำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5–0.7 ของก�ำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอก ประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเล็กน้อยที่ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.0–1.0 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 9.4 พันล้านเหรียญ สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 8.4–10.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้าน�ำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่า สินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในปี 2556 จะขยายตัวร้อยละ 10.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.5–11.5) ขณะที่ มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.0–11.0)
6
Executive Summary
Thailand’s Economic Projection for 2012 and 2013 (As of December 2012) Thailand’s Economic Outlook Projection 2012 and 2013 The Thai economy in 2012 is forecasted to expand at a rate of 5.7 percent and it is projected to grow further in 2013. The Fiscal Policy Office (FPO), Ministry of Finance, announced Thailand’s economic projections as of December 2012. The Thai economy is forecasted to expand at a rate of 5.7 percent, as consumption spending and private investment have been stimulated by government measures e.g. the higher minimum wage policy for low-income workers and government officials, the first-time car buyer program, the first-time house buyer program, the reduction of corporate income taxes, and the rice pledging scheme, which have proved to be supportive of domestic spending. Public consumption and public investment still play important roles in boosting economic recovery. Nonetheless, external demand is anticipated to grow at a decreasing rate due to risks from the global economic slowdown, and a slow recovery in some parts of export-oriented industries. Meanwhile, headline inflation in 2012 is anticipated to be 3.0 percent, which is lower than the previous year. The decline is attributed to the slowdown in the growth of fuel prices due to the weakening fuel demand following the fragile global economic recovery and the government’s fuel retail price controls. For 2013, Thai economy is projected to grow at 5.0 percent (within a range of 4.5-5.5 percent). The main drivers will be the strong expansion of public investment and an improvement of global economy. Although, domestic demand from the private sector is expected to slow down after showing a high rate of expansion in 2012 from the reconstruction following the flood, higher household income resulting from government measures, especially the higher minimum wage policy for low-income workers of 300 Baht per day in all provinces and the rice pledging scheme, is expected to help prevent private consumption from declining sharply. In terms of price stability, headline inflation in 2013 is expected to be moderate at 3.0 percent (or within a range of 2.5–3.5 percent) due rising oil price and natural hazard risk that could be the cause of higher global grain prices. The Director-General of the FPO also added that “In composing the economic outlook projections, it is necessary to closely monitor several risk factors, ie. the speed of the economic recovery of Thailand’s major trading partners, especially the U.S. fiscal cliff and the progress of the European debt crisis solution, the budget disbursement rate, the impact of capital movements, and the political situations of other countries which may affect the Thai economy.”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
7
Major Assumptions and Economic Projections of 2012 and 2013 (As of Dec 2012) 2011 Major Assumptions Exogenous Variables 1) Average Economic Growth Rate of Major Trading Partners 4.0 (percent y-o-y) 2) Dubai Crude Oil Price (U.S. dollar per Barrel) 105.6 3) Export price in U.S. dollar (percent y-o-y) 5.6 4) Import price in U.S. dollar (percent y-o-y) 10.1 Policy Variables 5) Exchange Rate (Baht per U.S. dollar) 30.5 6) Repurchase Rate (Policy Rate) at year-end (percent y-o-y) 3.25 7) Fiscal-Year Pubic Expenditure (Trillion Baht) 2.77 Projections 1) Economic Growth Rate (percent y-o-y) 0.1 2) Real Consumption Growth (percent y-o-y) 1.3 - Real Private Consumption 1.3 - Real Public Consumption 1.1 3) Real Investment Growth (percent y-o-y) 3.3 - Real Private Investment 7.2 - Real Public Investment -8.7 4) Export Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 9.5 5) Import Volume of Goods and Services (percent y-o-y) 13.7 6) Trade Balance (billion U.S. dollar) 17.0 - Export Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 14.3 - Import Value of Goods in U.S. dollar (percent y-o-y) 24.9 7) Current Account (billion U.S. dollar) 5.8 - Percentage of GDP 3.8 8) Headline Inflation (percent y-o-y) 3.8 Core Inflation (percent y-o-y) 2.4 9) Unemployment Rate (percentage of total labor force) 0.7 f = forecast by Fiscal Policy Office, Ministry of Finance, Thailand
8
2012 f 2013 f (As of Dec 2012) (As of Dec 2012) Average Average Range
3.5
3.7
3.2–4.2
109.4 0.7 1.7
113.0 108.0–118.0 3.3 2.3–4.3 3.5 2.5–4.5
31.10 2.75 2.89
30.7 29.7–31.7 2.75 2.25–3.25 3.17 3.12–3.22
5.7 5.8 5.6 6.7 14.5 16.1 8.5 3.0 6.1 9.5 3.9 8.0 3.0 0.8 3.0 2.1 0.6
5.0 4.5–5.5 3.8 3.3-4.3 3.9 3.4–4.4 3.5 3.0–4.0 10.2 9.2–11.2 9.2 8.2–10.2 14.0 13.0–15.0 6.6 5.6–7.6 5.6 4.6–6.6 9.4 8.4–10.4 10.0 9.0–11.0 10.5 9.5–11.5 2.1 0.1–4.0 0.5 0.0–1.0 3.0 2.5–3.5 1.9 1.4–2.4 0.6 0.5-0.7
1. Thailand’s Economic Projections 2012 and 2013 1.1 Economic Growth The Thai economy in 2012 is projected to grow at an annual rate of 5.7 percent, returning to normal levels, following its sharp decline in 2011 to 0.1 percent. Private consumption is expected to grow at a rate of 5.6 percent due to the rehabilitation of the manufacturing sector and the improvement of employment which leads to an increase in household income. Moreover, financial condition would help support consumption as reflected by a high growth rate of consumer loans in the first 10 months of 2012, which stood at 18.6 percent. Likewise, private investment has also returned to the high levels, with an expected annual rate of 16.1 percent. This is in line with higher imports of the machinery for the industrial and construction sectors in response to flood damage restoration. Entrepreneurs also expand their productive capacity to support the domestic economic growth. In addition, domestic demand is supported by government measures e.g. the higher minimum wage policy for low-income workers and government officials, the first-time car buyer program, the first-time house buyer program, the reduction of corporate income taxes, and the rice pledging scheme which have proved to be supportive of domestic spending. Public consumption and public investment also still play important roles in boosting economic growth. It is expected that public consumption will grow at a rate of 6.7 percent and public investment is expected to grow by 8.5 percent, as a result of short term economic stimulus measures, such as an increase in salary rates for government officials and the 350-billion-baht longterm water management investment scheme, to be gradually invested after mid-2012. Nonetheless, export demand is anticipated to grow at a lower rate of 3.0 percent, mainly from the weaker external demand, due to the global economic slowdown and the European sovereign debt crisis, as well as a slower pace of recovery than previously expected of some export-oriented industries. Furthermore, exports of agricultural products are expected to drop this year mainly because of high rice prices which push Thai rice exports to face a challenge amid heightened global competition. However, export of services is expected to grow from the recovery of the tourism sector whereas the import volume of goods and services is expected to grow at a faster rate of 6.1 percent due to the domestic demand for raw materials and capital goods to refurnish property damaged in the flood of 2011. 1.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2012 is expected to be 3.0 percent, lower than that of the previous year due to the slower growth of world fuel and commodity prices, contributed by lower global demand, the government controls on fuel retail prices and the decrease in agricultural prices, given abundant supply. Unemployment is expected to stay at its current low level of 0.6 percent of the total labor force. On external stability, the current account in 2012 is projected to record a small surplus of USD 3.0 billion, accounting for 0.8 percent of GDP, as the trade balance is expected to face a lower surplus of USD 9.5 billion. Import growth in 2012 is expected to increase at 8.0 percent per year whereas the export value is predicted to grow by 3.9 percent.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
9
2. Thailand’s Economic Projections for 2013 2.1 Economic Growth The Thai economy in 2013 is projected to grow at an annual rate of 5.0 percent (or within a range of 4.5-5.5 percent). The main driver will be the continuous expansion of demand from public and external sectors. Public investment will grow at a high expected annual rate of 14.0 percent (or within a range of 13.0-15.0 percent) supported by the annual budget disbursement and the 350-billion-baht long-term water management investment scheme which will be continuously invested in 2013. Public consumption is expected to grow at a rate of 3.5 percent (or within a range of 3.0–4.0 percent) according to the continuous disbursement of the 2013 current expenditures. Furthermore, the global economy is expected to show an improvement in 2013, resulting in the expansion of exports of goods and services at a rate of 6.6 percent (or within a range of 5.6–7.6 percent). This is in line with expected higher imports, projected to grow at 5.6 percent (or within a range of 4.6-6.6 percent). Domestic demand from the private sector is expected to slow down to past levels following the completion of recovery efforts associated with last year’s flood. Private consumption is expected to grow slower from 2012 to a rate of 3.9 percent (or within a range of 3.4-4.4 percent) whereas private investment will grow at a rate of 9.2 percent (or within a range of 8.2–10.2 percent). Nevertheless, household income is expected to be higher from government measures, especially the higher minimum wage policy for low-income workers of 300 Baht per day in all provinces and the rice pledging scheme which would help prevent private consumption from declining sharply. 2.2 Economic Stability For internal stability, headline inflation in 2013 is expected to be 3.0 percent (or within a range of 2.5–3.5 percent), due to the slower growth of global oil prices, resulting from the higher global supply for fuel, especially from the U.S. that is increasingly producing more of its own fuel. However, natural hazard risk such as drought and flood may be the cause of higher global grain prices, which are passed on in the form of higher costs of meats and animal feed. Unemployment is expected to stay at its current low level of 0.6 percent (or within a range of 0.5-0.7 percent of the total labor force). On external stability, the current account in 2013 is projected to record a surplus of USD 2.1 billion, accounting for 0.5 percent of GDP (or within a range of 0.0-1.0 percent of GDP). Thailand’s trade balance is expected to record a smaller surplus at USD 9.4 billion (or within a range of USD 8.4–10.4 billion) following the higher imports. The import growth is expected to increase at 10.5 percent per year (or within a range of 9.5–11.5 percent) whereas the value of exports is predicted to grow by 10.0 percent (or within a range of 9.0-11.0 percent).
10
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556 (ณ เดือนธันวาคม 2555) ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 5.7 ในขณะทีอ่ ตั ราการ ขยายตัวปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5 โดยมีการปรับปรุงข้อมูลและสมมติฐาน ที่ส�ำคัญดังนี้ ปรับฐานข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ในปี 2555 ขยายตัวต่อเนือ่ ง ทีร่ อ้ ยละ 4.4 และร้อยละ 3.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ตามล�ำดับ ตามทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ❍❍
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจมหภาคในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 บ่งชี้ว่า ภาคบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง และมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงทีผ่ า่ นมา สะท้อนจากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วทีข่ ยาย ตัวระดับสูงถึงร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส�ำหรับด้านการผลิต ภาคการเกษตรยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ตามสภาวะภูมิอากาศที่เอื้ออ�ำนวยต่อการเพาะปลูก แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรปรับลดลง แต่มีนโยบายรับจ�ำน�ำข้าวของภาครัฐมี ส่วนช่วยให้รายได้เกษตรกรไม่หดตัวมากนัก ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 ตามการขยายตัว ในอัตราเร่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ในด้านการใช้จ่ายพบว่า เครื่องชี้การบริโภคและลงทุนส่งสัญญาณขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน ส�ำหรับการส่งออกสินค้าและบริการส่งสัญญาณ ชะลอตัวจากปีกอ่ น เนือ่ งจากปัญหาหนีส้ าธารณะในยุโรปทีย่ งั คงยืดเยือ้ และส่งผลกระทบต่อเนือ่ งมายังประเทศคูค่ า้ หลักส�ำคัญ ของไทย ส่วนการน�ำเข้าสินค้าและบริการยังคงขยายตัวอย่างต่อเนือ่ ง จากการเพิม่ ขึน้ ของการน�ำเข้าในหมวดสินค้าทุนและสินค้า อุปโภค-บริโภค ทั้งนี้ การขยายตัวของการน�ำเข้าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าตามระบบ กรมศุลกากรในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ขาดดุลที่ระดับ 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍
การเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) อัตราการขยายตัวของ 14 ประเทศคู่ค้า ในปี 2555 สศค. ประมาณการการขยายตัวของ 14 ประเทศคูค่ า้ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 3.5 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป เนือ่ งจากปัญหา หนี้สาธารณะ ในขณะที่ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจดังกล่าวสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ (2) ก�ำหนดสมมติฐาน ราคาน�ำ้ มันดิบดูไบในปี 2555 และปี 2556 ให้อยูท่ ี่ 109.1 และ 113 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตามล�ำดับ เนือ่ งจากอุปสงค์ทชี่ ะลอ ลงหลังเศรษฐกิจกลุม่ สหภาพยุโรปเข้าสูภ่ าวะถดถอย และเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเผชิญปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) (3) ปรับสมมติฐานราคาส่งออกในปี 2555 และปี 2556 ให้ขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 0.7 และร้อยละ 3.3 ตามล�ำดับ ตามการลดลงของราคา สินค้าเกษตรส�ำคัญ โดยเฉพาะราคายางพาราและการน�ำเข้าในปี 2555 และปี 2556 ให้อยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.7 และร้อยละ 3.5 ตามล�ำดับ (4) ปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 และปี 2556 ให้อยู่ที่ 31.10 และ 30.70 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มสหภาพยุโรปและปัญหา หน้าผาทางการคลังของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้มเี ม็ดเงินไหลเข้าสูภ่ มู ภิ าคเอเชียมากขึน้ (5) ก�ำหนดสมมติฐานอัตราดอกเบีย้ นโยบาย ในปี 2555 และในปี 2556 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.75 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์รอ้ ยละ 2.25-3.25) เนือ่ งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าหลักของไทย ท�ำให้อุปสงค์จากต่างประเทศลดลง ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับต�่ำ และ (6) รายจ่ายภาค สาธารณะในปีงบประมาณ 2556 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555–กันยายน 2556) คาดว่าจะอยู่ที่ 3.17 ล้านล้านบาท หรือขยายตัว ร้อยละ 9.4 จากปีก่อน และในปีงบประมาณ 2557 คาดว่าจะมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3.21 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยมีรายละเอียดสมมติฐานและผลการประมาณการ ดังนี้ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
11
สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2555 และปี 2556 1. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ 14 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย “สศค.คาดว่าในปี 2555 เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของประเทศไทย 14 ประเทศจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอลงจาก ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน และอุปสงค์โดยรวมของโลก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชียให้ขยายตัวในอัตรา ชะลอลง ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมเป็นระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 และการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมาท�ำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเนื่องจากปัจจัยฐานต�่ำ ในปีก่อนจากภัยธรรมชาติสึนามิและปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย “ทัง้ นี้ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจคูค่ า้ หลักของประเทศไทยในปี 2556 จะขยายตัวในอัตราเร่งขึน้ จากปี 2555 โดยขยาย ตัวทีร่ อ้ ยละ 3.9 จากวิกฤตหนีส้ าธารณะของยูโรโซนทีค่ าดว่าจะคลีค่ ลายมากขึน้ ตลอดจนมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจที่ มีอย่างต่อเนือ่ งภายหลังจากการเลือกตัง้ ทัว่ ไปของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทงั้ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ จีน ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก” ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย 14 ประเทศ (ร้อยละ) ประเทศคู่ค้าหลัก เรียงตามสัดส่วนมูลค่า 2553 ส่งออกปี 2554
2554
14 ประเทศคู่ค้า (77.5%) 6.3 1. จีน (11.8%) 10.4 2. ญี่ปุ่น (10.7%) 4.7 3. สหรัฐอเมริกา (9.8%) 2.4 4. สหภาพยุโรป (9.7%) 1.9 5. มาเลเซีย (5.6%) 7.2 6. ฮ่องกง (5.4%) 6.8 7. สิงคโปร์ (5.1%) 14.8 8. อินโดนีเซีย (4.5%) 6.2 9. ออสเตรเลีย (3.6%) 2.6 10. เวียดนาม (3.2%) 6.8 11. อินเดีย (2.3%) 8.9 12. ฟิลิปปินส์ (2.1%) 7.6 13. เกาหลีใต้ (2.1%) 6.3 14. ไต้หวัน (1.7%) 10.7
4.0 9.3 -0.6 1.8 1.5 5.1 4.9 4.9 6.5 2.5 5.9 7.5 3.9 3.6 4.0
2554
2555
Q1
Q2
Q3
Q4
Q1
Q2
Q3
ทั้งปี ทั้งปี 2555 f 2556 f YTD
4.8 9.8 0.0 1.8 2.4 5.0 7.8 9.1 6.4 1.8 5.4 9.2 4.9 4.2 6.6
3.6 9.5 -1.6 1.9 1.6 4.3 5.1 1.2 6.5 2.6 5.7 8.0 3.6 3.5 4.5
4.0 9.2 -0.5 1.6 1.3 5.7 4.3 6.0 6.5 2.9 6.1 6.7 3.2 3.6 3.4
3.6 8.9 -0.2 2.0 0.6 5.2 2.8 3.6 6.5 2.7 6.1 6.1 4.0 3.3 1.8
3.7 8.1 3.4 2.4 -0.1 5.1 0.7 1.6 6.3 4.4 4.1 5.3 6.3 2.8 0.4
3.7 7.6 3.9 2.1 -0.5 5.6 1.2 2.5 6.4 4.1 4.7 5.5 6.0 2.3 -0.2
3.1 7.4 0.5 2.5 -0.6 5.2 1.3 0.3 6.2 3.1 5.4 5.3 7.1 1.5 1.0
3.5 7.7 2.6 2.4 -0.4 5.3 1.0 1.4 6.3 3.9 4.8 5.4 6.5 2.2 0.4
3.5 7.8 2.3 2.3 -0.5 4.9 1.8 1.6 6.3 3.3 5.0 6.0 6.3 3.0 1.4
3.9 8.5 1.5 2.2 0.2 4.7 3.8 3.2 6.6 3.1 6.3 6.0 4.8 3.8 4.5
หมายเหตุ : เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำ�ให้ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.0
ที่มา : รวบรวมและประมาณการโดย สศค.
1.1 เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกใหญ่อนั ดับ 1 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 11.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้า รวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวต�่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการส่งออกในไตรมาสนี้ขยายตัวชะลอลงมากที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2543 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.2 โดยเป็นผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ของยุโรป ท�ำให้การส่งออกของจีนไปยังภูมิภาคนี้ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับ
12
ช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนซึ่งเป็นอีกปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สะท้อนจากการลงทุนในสินทรัพย์คงทนที่ขยายตัวตั้งแต่ต้นปีเพียงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในด้าน อุปทาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงชัดเจน สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่ขยายตัว เพียงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต�่ำที่สุดในรอบ 13 ไตรมาส ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ นั้นยังคงอยู่ในระดับดี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพที่ 1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555) เศรษฐกิจจีนมี
แนวโน้มขยายตัวดีขนึ้ เล็กน้อยจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสนีท้ เี่ ริม่ ขยายตัวเร่งขึน้ เล็กน้อย ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป แต่การส่งออกไป ยังภูมิภาคเอเชียขยายตัวเร่งขึ้น เป็นเหตุให้การส่งออกขยายตัวดีขึ้น ในด้านอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนยังคงขยายตัวดี สะท้อนจากยอดค้าปลีก เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาอยู่เหนือระดับ 100 อีกครั้งในช่วงดังกล่าว และ การลงทุนในสินทรัพย์คงทนขยายตัวตัง้ แต่ตน้ ปีถงึ เดือนตุลาคมทีร่ อ้ ยละ 20.7 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ในด้านอุปทาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกัน บ่งชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่จัดท�ำโดย HSBC ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่ปรับขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 50.0 จุดได้ โดยเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 50.5 จุด สะท้อนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี สะท้อนความส�ำเร็จของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า ในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทรงตัวในระดับ ต�่ำมากที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของจีน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากราคาอาหารสดที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.0 อาจท�ำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเร็ว ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าส�ำคัญของจีนที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและภาคเศรษฐกิจจริง ทั้งการลงทุน ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมของจีน อีกทั้งในปี 2554 ทางการจีนประกาศปรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป้าหมาย ในปี 2555 ที่ร้อยละ 7.5 จากร้อยละ 8.0 เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยลดขนาดภาคการส่งออกอันเป็นสาเหตุในการพึ่งพา อุปสงค์จากต่างประเทศ และให้ความส�ำคัญต่อภาคอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนทดแทน การปรับ เป้าหมายดังกล่าวบ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงในปีนี้ ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8.2 หรือในช่วงคาดการณ์ทรี่ อ ้ ยละ 7.7–8.7 ขยายตัว ในอัตราเร่งขึ้นจากปี 2555 ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป จะปรับตัวดีขนึ้ ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะด้านการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมทีก่ ำ� ลังได้รบั ผลกระทบจากวิกฤต ดังกล่าวได้รับอานิสงส์ไปด้วย ทั้งนี้ การเลือกตั้งของจีนที่จะมีขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555-กุมภาพันธ์ 2556 นั้นท�ำให้รัฐบาลจีน ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ในปีหน้าด้วย ประมาณการเศรษฐกิจไทย
13
1.2 เศรษฐกิจญี่ปุ่น (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 2 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.7 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราต�่ำที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น สาเหตุสำ� คัญจากภาคการส่งออกทีห่ ดตัวต่อเนือ่ งเป็นส�ำคัญ ทัง้ นี้ เมือ่ ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจญีป่ นุ่ หดตัว ร้อยละ -0.9 จากไตรมาสก่อน (%qoq_sa) ผลจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวในระดับต�่ำเท่ากันที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวดีตามมาตรการของรัฐเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.2 ของก�ำลังแรงงานรวม ขณะทีอ่ ตั ราเงินเฟ้อทัว่ ไปเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ -0.4 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น บ่งชีว้ า่ ประเทศญีป่ นุ่ เริม่ เข้าสู่ภาวะเงินฝืด (Deflation) ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต�่ำที่ช่วงร้อยละ 0.0–0.1 ต่อปี จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต�่ำ และเพื่อสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ภาพที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555) เศรษฐกิจญีป ่ นุ่ ชะลอลง
จากเศรษฐกิจโลกทีช่ ะลอตัวอย่างต่อเนือ่ งเป็นส�ำคัญ พิจารณาจากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายจัดซือ้ ภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม– พฤศจิกายน 2555 ปรับตัวลดลงสู่ระดับเฉลี่ยที่ 46.7 จุด ซึ่งดัชนีฯ อยู่ระดับต�ำ่ กว่า 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 สะท้อนถึง การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกใน 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ขยายตัวในอัตราต�ำ่ ที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผนวกกับอุปสงค์ภายนอกประเทศหดตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรปและกรณีพิพาทกับจีนประเด็น กรรมสิทธิ์หมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยู ซึ่งกระทบต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้าของทั้งสองประเทศ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกใน เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 กลับมาหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.7 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต�่ำในปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 นี้คาดว่าญี่ปุ่นจะยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีน ที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกรณีพิพาทประเด็นกรรมสิทธิ์หมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยูระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่ยืดเยื้อยาวนาน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าส�ำคัญอันดับ 1 ของญี่ปุ่น และเศรษฐกิจ ยุโรปที่เผชิญภาวะถดถอยในช่วงปีนี้ ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจญีป ่ นุ่ จะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 1.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น หรือใน ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.0–2.0 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากภาวะปัจจัยฐานต�ำ่ ที่หมดไปท�ำให้คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะ กลับไปขยายตัวที่ระดับศักยภาพดังเดิม
14
1.3 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 3 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.8 ของมูลค่า ส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศเป็นส�ำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 11.1 เร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวร้อยละ 10.9 ผลจากการลงทุนในหมวดการก่อสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยและเครือ่ งจักร เป็นส�ำคัญ ทัง้ นี้ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2555 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่า ณ ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ถึงแม้จะยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 7.8 ของก�ำลังแรงงานรวม ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 5.0 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ภาพที่ 3 แหล่งทีม่ าและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555) อุปสงค์ในประเทศ
ของสหรัฐอเมริกามีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐอเมริกา เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ถึง 284,000 ต�ำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 7.7 ของก�ำลังแรงงานรวม โดยมีทั้งต�ำแหน่งงานและแรงงานกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น เป็นสัญญาณบวกว่าผู้บริโภคเริ่มมี ความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ อีกทั้งยอดค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 ขยายตัว เร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ขณะที่ยอดจ�ำหน่าย รถยนต์ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 มีค่าเฉลี่ยที่ 11.6 ล้านคันต่อปี ดีขึ้นมากจากค่าเฉลี่ยปี 2554 ที่ระดับ 9.8 ล้านคันต่อปี และยอดจ�ำหน่ายบ้าน (Existing Home Sales) ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ 4.9 ล้านหลังต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 1.8 โดยคาดว่าในปี 2555 ส่วนหนึ่งจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศใช้มาตรการทางการเงินแบบ ผ่อนคลายเพิ่มเติมเป็นระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 (Quantitative Easing 3 : QE3) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 และวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0.0-0.25 จนกว่าภาคการจ้างงานจะฟื้นตัว อีกทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน 2555 ท�ำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ มากขึน้ โดยประมาณการอย่างไม่เป็นทางการว่าสูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงเผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากภัยธรรมชาติโดยเฉพาะเฮอร์ริเคนแซนดี้ที่ท�ำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดลง อีกทั้งประเด็นข้อถกเถียงเรื่องหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากข้อจ� ำกัด ด้านการคลังและความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยรวมได้ ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 หรือในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.72.7 ใกล้เคียงกับปีกอ่ นหน้าทีค่ าดว่าจะขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 2.3 โดยคาดว่าในปี 2556 เศรษฐกิจภายในของสหรัฐอเมริกาจะได้ รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะเป็นมาตรการด้านการเงินตามนโยบายทางการ เงินแบบผ่อนคลายด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต�่ำที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อเนื่องจนถึงกลางปี 2558 เป็นอย่างน้อย หรือ มาตรการทางการคลังผ่านการต่ออายุมาตรการทางภาษีบางมาตรการ ปัจจัยเหล่านีจ้ ะเอือ้ ให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้ดี ประมาณการเศรษฐกิจไทย
15
1.4 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 17 ประเทศ (ตลาดส่งออกใหญ่อันดับ 4 ของไทย : สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 9.7 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 หดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหดตัว ร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อน (%qoq_sa) จากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป ผลจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ หดตัวร้อยละ 1.3 และร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามล�ำดับ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราการว่างงาน โดยเฉลี่ยไตรมาสที่ 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 11.5 ของก�ำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มปรับตัว ลดลง ส่งผลให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง เอือ้ ให้ธนาคารกลางยุโรปสามารถปรับลดอัตราดอกเบีย้ นโยบายมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 0.75 ต่อปี ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ภาพที่ 4 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555) เศรษฐกิจยูโรโซน
หดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึง่ เริม่ เข้าสูภ่ าวะถดถอยเชิงเทคนิคแล้ว สะท้อนจากดัชนีผจู้ ดั การฝ่ายซือ้ ทัง้ ภาคอุตสาหกรรมและ ภาคบริการทีย่ งั คงอยูร่ ะดับต�ำ่ กว่า 50 จุดอย่างต่อเนือ่ ง โดยช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 อยูท่ รี่ ะดับเฉลีย่ ที่ 45.8 จุด และ ระดับ 46.4 จุด ตามล�ำดับ บ่งชีแ้ นวโน้มการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ด้านเสถียรภาพ ภาย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ลดลงเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ยของไตรมาสที่ 3 ปี 2555 อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ -2.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับเฉลี่ยที่ -2.6 สะท้อนจากอุปสงค์ในประเทศและ ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยูโรโซนที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ที่ยังคงอยู่ระดับต�่ำกว่า 0 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจใน ภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวม ขณะที่ภาคการค้าระหว่างประเทศยังคงขยายตัวได้ดี โดยมูลค่าการส่งออกเดือนตุลาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวร้อยละ 0.5 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 โดยในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในประเทศในกลุ่ม GIIPS ทีล่ กุ ลามไปยังกลุม่ เศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจเยอรมนีและเศรษฐกิจฝรัง่ เศสทีช่ ะลอตัวลงชัดเจน ทัง้ นี้ ยูโรโซนยัง ประสบปัญหาอัตราการว่างงานทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงเป็นประวัตกิ ารณ์ ซึง่ ส่งผลต่อความสามารถในการใช้จา่ ยของครัวเรือน ตลอดจน อาจก่อปัญหาทางสังคมได้ รวมทั้งประเด็นการที่ยูโรโซนแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ยูโรโซนเหนือและยูโรโซนใต้ ตามศักยภาพของ แต่ละประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมกระทบถึงเสถียรภาพของยูโรโซนทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะกลับมาขยายตัวได้อย่างเปราะบางที่ร้อยละ 0.2 หรือที่ช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ -0.3–0.7 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานต�่ำในปี 2555 อีกทั้งการสรุปการให้ความช่วยเหลือกรีซงวดที่ 3 วงเงิน 3.4 หมื่นล้านยูโร ซึ่งลดความเสี่ยงที่กรีซจะต้องออกจากยูโรโซน ท�ำให้คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวได้อย่าง เปราะบาง ท่ามกลางความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก
16
1.5 เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 25541) ➥➥ เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) ไตรมาส ที่ 3 ของปี 2555 ส่วนใหญ่ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อน ยกเว้น เศรษฐกิจฟิลิปปินส์และเวียดนามที่ ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวมได้รับผลกระทบผ่านช่องทางการส่งออก จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โลกจากวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ยังมีความเสี่ยงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกในหมวดสินค้าวัตถุดบิ และเชือ้ เพลิงทีห่ ดตัวอย่างเห็นได้ชดั เป็นส�ำคัญ ในด้านตลาดการส่งออก การส่งออก ไปยังจีนคูค่ า้ รายส�ำคัญของทุกประเทศในอาเซียนขยายตัวชะลอลงมากทีส่ ดุ ท�ำให้การส่งออกในไตรมาสนีข้ ยายตัวในอัตราชะลอ ลงถึงหดตัว และยังส่งผลกระทบต่อเนื่องสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการส่งออกในสัดส่วนที่สูงในอัตราชะลอตัว ตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนในประเทศยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจยอดค้าปลีกจะขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ด้านเสถียรภาพภายในประเทศของภูมิภาคอาเซียนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 พบว่า อัตราเงินเฟ้อโดยรวม เฉลีย่ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน จากราคาสินค้าทุกประเภท โดยเฉพาะราคาอาหารและราคาอสังหาริมทรัพย์ทปี่ รับตัวลดลง ตามการชะลอการใช้จา่ ยภายในประเทศ และมาตรการรัฐเพือ่ ควบคุมการปรับเพิม่ ขึน้ ของอัตราเงินเฟ้อ ทัง้ นี้ ยังมีความเสีย่ งจาก ราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ตารางที่ 2 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ) ประเทศ มาเลเซีย (5.6%) (สัดส่วนการส่งออกปี 2554) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy)
การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง
สิงคโปร์ (5.1%)
อินโดนีเซีย (4.5%)
เวียดนาม (3.2%)
ฟิลิปปินส์ (2.1%)
5.2
0.3
6.2
5.4
7.1
4.3 0.3 5.2 -6.8 2.2
0.4 -0.1 -0.2 -3.0 3.2
3.1 -0.3 2.4 -1.2 2.1
n/a n/a n/a n/a n/a
4.3 1.2 1.7 -0.7 -0.5
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 5 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy)
ภาพที่ 6 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (เดือน
ตุลาคม–พฤศจิกายน 2555) มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งจากปัจจัยภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและ ปัจจัยภายนอกประเทศที่เริ่มกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นและหดตัวลดลง ด้านเศรษฐกิจในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี อย่างต่อเนื่องตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเน้นเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น สะท้อนจากยอด ค้าปลีกที่ขยายตัวได้ดี ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การส่งออกของกลุ่มประเทศอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นและบางประเทศ หดตัวในอัตราชะลอลง เนือ่ งจากการส่งออกไปยังประเทศในภูมภิ าคเอเชียทีข่ ยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปยังจีนประเทศ คู่ค้าหลักที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น อีกทั้งจากปัจจัยฐานต�่ำในปีก่อนที่ประเทศไทยประสบเหตุการณ์อุทกภัยท�ำให้ ห่วงโซ่อปุ ทานชะงักงัน ท�ำให้การส่งออกไปยังอาเซียนด้วยกันทีข่ ยายตัวดีขนึ้ ทัง้ นี้ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศในภูมภิ าคอาเซียน ยังคงขยายตัวได้ดีตามการส่งออก สะท้อนจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้น เศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศในบทนี้นิยามตามสัดส่วนการส่งออกของไทยในระดับสูง นั่นคือ นับรวมเวียดนามทดแทนบรูไนที่มีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่า ทั้งนี้ หากนับเศรษฐกิจอาเซียน 5 ประเทศนิยามตามล�ำดับการรวมกลุ่มที่มีบรูไนนั้น จะมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 17.4 ของการส่งออกรวมในปี 2554
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
17
➥➥ ในปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยรวมจะขยายตัวชะลอลงจากปี 2554 โดย สศค.คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ในปี 2555 ชะลอลงจากปีก่อน ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.2 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก และเริ่มส่งผลกระทบต่อเนื่องสู่ ภาคเศรษฐกิจจริง ท�ำให้หลายประเทศในอาเซียน ภาครัฐด�ำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพือ่ กระตุน้ ภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศให้เป็นปัจจัยส�ำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจทดแทนภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้ปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยฐานที่อยู่ในระดับต�่ำของปี 2554 ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุม ่ อาเซียนโดยรวมจะขยายตัวเฉลีย่ ทีร่ อ้ ยละ 5.1 ขยายตัว เร่งขึน้ จากปี 2555 การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 2 ปีทผี่ า่ นมา ท�ำให้รฐั บาลของประเทศในกลุม่ อาเซียนเร่งปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจให้มีความสมดุลทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศมากขึ้น จากที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน โดยคาดการณ์ในปีหน้าการขยายตัวจะมาจากปัจจัยภายในประเทศทีร่ ฐั บาลมีมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจต่อเนือ่ ง ท�ำให้ ภาคอุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ และการขยายตัวจากปัจจัยภายนอก คาดว่าวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปจะมี แนวโน้มผ่อนคลายลง และเศรษฐกิจจีนจะกลับมาขยายตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน ท�ำให้อุปสงค์ของ ประเทศคู่ค้าส�ำคัญของประเทศในภูมิภาคนี้ขยายตัวดีขึ้น
1.6 เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลีย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.5 ของมูลค่าส่งออก สินค้ารวมในปี 2554) ➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชีย (ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน) และออสเตรเลียใน ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวชะลอลง จากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกทีส่ ง่ ผลให้ภาคการส่งออกปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ ดังกล่าวยังคงขยายตัวได้ ยกเว้นไต้หวัน โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.1 ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีขึ้น ผนวกกับภาคการส่งออก ปรับตัวดีขึ้นตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่การลงทุนหดตัว ด้านเสถียรภาพภายในประเทศพบว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ทีม่ ีเสถียรภาพมากขึ้นในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศดังกล่าวปรับตัวลดลง ยกเว้นอินเดีย ซึ่งอัตรา เงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ตามระดับราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ตารางที่ 3 แหล่งที่มาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ) ประเทศ (สัดส่วนการส่งออกปี 2554) อัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%yoy)
การบริโภคภาคเอกชน การบริโภคภาครัฐ การลงทุนรวม การส่งออกสุทธิ การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง
ฮ่องกง (5.4%)
ออสเตรเลีย (4.2%)
อินเดีย (2.1% )
เกาหลีใต้ (2.1%)
ไต้หวัน (1.7% )
1.1
3.1
5.3
1.5
1.0
1.7 0.6 1.3 -0.5 -1.4
1.7 0.6 1.3 -0.5 0.0
3.3 1.0 1.4 -1.4 1.0
0.8 0.5 -0.6 1.0 -0.2
0.5 -0.1 -0.1 0.6 0.1
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวของการส่งออก (%yoy) ภาพที่ 8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (%yoy)
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ปี 2555
(เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555) ชะลอลง โดยเฉพาะในส่วนของภาคการส่งออก สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกใน
18
เดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2555 ที่หดตัวต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักที่ชะลอลง โดยเฉพาะยูโรโซนที่ยังคงประสบปัญหา หนี้สาธารณะเรื้อรัง สอดคล้องกับภาคการผลิตที่ชะลอลง สะท้อนได้จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรกของ ไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวในระดับต�่ำและหดตัวในบางประเทศ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับตัวลดลงของการผลิตเพื่อ การส่งออกเป็นส�ำคัญ (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8) ➥➥ ในปี 2555 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม จะขยายตัวชะลอลงจากปี 2554 ส่วนหนึ่งจากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรปที่คาดว่าจะเรื้อรังต่อเนื่อง ผนวกกับเศรษฐกิจจีนส่ง สัญญาณชะลอตัว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศของกลุ่มประเทศดังกล่าวคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง และจะ เป็นปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวในปี 2555 ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ในเอเชียและออสเตรเลียในภาพรวม จะขยายตัวดีขึ้นจากปี 2555 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศของกลุ่มประเทศดังกล่าวที่คาดว่าจะขยายตัวดี ต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปจั จัยเสีย่ งจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากปัญหาวิกฤตหนีส้ าธารณะในยุโรป
2. ราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลก “ในปี 2555 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 109.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่อยู่ที่ 105.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยเป็นผลจากอุปสงค์น�้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มเอเชียและลาตินอเมริกา ประกอบกับ เหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านและชาติตะวันตกบริเวณช่องแคบฮอร์มซุ ในช่วงต้นปี รวมถึงมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ (QE3) ของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ราคาน�้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2555 อย่างไรก็ตาม จากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป ส่งผลให้อุปสงค์ น�้ำมันดิบขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัด ราคาน�้ำมันดิบจึงปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2554 “ส�ำหรับในปี 2556 คาดว่าราคาน�ำ้ มันดิบดูไบเฉลีย่ จะอยูท่ ี่ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยูท่ ี่ 108.0–118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) เพิม่ ขึน้ จากปี 2555 เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจโลกทีจ่ ะส่งผลต่ออุปสงค์ น�้ำมันดิบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ Non-OECD เป็นส�ำคัญ น�ำโดยกลุ่มประเทศเอเชีย ตะวันออกกลาง และ ลาตินอเมริกา อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปและการเพิ่มการผลิตน�้ำมันในประเทศของสหรัฐอเมริกา (Shale Gas) ยังคงเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในกรอบที่จ�ำกัด” ภาพที่ 9 สมมติฐานราคาน�ำ้ มันดิบดูไบ ในปี 2555 และปี 2556
2552
2553
2554
2555f
2556f
ที่มา : Reuters
➥➥ ราคาน�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2555 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 109.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปี 2554
ที่อยู่ ณ ระดับ 105.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คิิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.3 จากปี 2554 โดยราคาน�้ำมันดิบดูไบไตรมาสแรก ของปี 2555 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2554 จากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน�้ำมันดิบ ได้แก่ อียิปต์และ ลิเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน�้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ราคาน�้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลง อย่างต่อเนือ่ ง โดยมีสาเหตุจากเศรษฐกิจโลกทีช่ ะลอตัวลงจากความกังวลปัญหาหนีส้ าธารณะยุโรป และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ จีน ส่วนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ราคาน�้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการน�้ำมันดิบที่สูงขึ้น และมาตรการคว�่ำบาตร ประมาณการเศรษฐกิจไทย
19
การน�ำเข้าน�้ำมันดิบอิหร่านที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ราคาน�้ำมันดิบทรงตัว เนือ่ งจากปัญหาวิกฤตหนีส้ าธารณะยุโรปและปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal cliff) ของสหรัฐอเมริกา ส่วนในปี 2556 คาดว่าราคา น�้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 113.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 108.0–118.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ขยายตัว จากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.6 โดยเป็นผลจากอุปสงค์น�้ำมันดิบโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากประเทศกลุ่มเอเชีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา เป็นส�ำคัญ อย่างไรก็ดี ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป ปัญหา Fiscal cliff และการที่สหรัฐอเมริกาสามารถผลิต น�้ำมันดิบได้ (Shale Gas) จะเป็นการลดแรงกดดันต่อราคาน�้ำมันดิบ ท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบโลกปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก ➥➥ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน�้ำมันดิบดูไบในปี 2555 คือ (1) การขยายตัวของอุปสงค์ความต้องการ น�ำ้ มันดิบทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามการขยายตัวของกลุม่ ประเทศ Non-OECD โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศอินเดียเป็นส�ำคัญ ประกอบกับการลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ความต้องการน�้ำมันดิบในการใช้เป็นแหล่ง พลังงานเพิม่ สูงขึน้ อย่างไรก็ตาม ความต้องการน�ำ้ มันดิบของกลุม่ ประเทศยุโรปจะลดลงเนือ่ งจากปัญหาหนีส้ าธารณะ ยุโรป ขณะที่ (2) อุปทานน�้ำมันดิบโลกขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัด เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิต น�้ำมัน อาทิ อียิปต์ และลิเบีย ส่วนในปี 2556 คาดว่าราคาน�้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตาม การขยายตัวของประเทศในกลุม่ ประเทศเอเชีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา โดยมีปจั จัยทีก่ ดดันราคาน�ำ้ มันดิบ โลก ได้แก่ ปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป และปัญหา Fiscal cliff รวมถึงการเพิ่มอุปทานน�้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกา 1) อุปสงค์น�้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2555 ความต้องการน�้ำมันดิบ ทั่วโลกจะอยู่ที่ 89.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 88.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของประเทศนอกกลุ่ม OECD เป็นส�ำคัญ • ประเทศในกลุม่ OECD คาดว่าในปี 2555 มีความต้องการใช้นำ�้ มันดิบรวมที่ 46.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 46.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการปรับตัวลดลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือหดตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี เนื่องจาก การลดลงของความต้องการใช้น�้ำมันดิบในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นส�ำคัญ อันเป็นผลจากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป • ในขณะที่ประเทศนอกกลุ่ม OECD คาดว่าในปี 2555 มีความต้องการใช้น�้ำมันดิบรวมที่ 43.6 ล้านบาร์เรล ต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ 42.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยมีสาเหตุส�ำคัญจากความต้องการน�้ำมันของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging country) โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย และประเทศในกลุ่มอาเซียนบางประเทศ 2) อุปทานน�ำ้ มันดิบโลกทีเ่ พิม่ ขึน้ คาดว่าในปี 2555 ปริมาณน�ำ้ มันทีผ่ ลิตทัว่ โลกจะอยูท่ ี่ 91.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ ปี 2554 ทีอ่ ยูท่ ี่ 88.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิม่ ขึน้ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 2.9 จากปีกอ่ นหน้า ➥➥ ในกลุ่ม OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตน�้ำมันดิบในปี 2555 จะอยู่ที่ 37.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 35.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 2.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราขยายตัวร้อยละ 5.6 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้น มาจากประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม อุปทานน�้ำมันดิบของโลกมีปัจจัยเสี่ยง คือ เหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาและ ยุโรปออกมาตรการคว�่ำบาตรการน�ำเข้าน�้ำมันดิบจากอิหร่าน ➥➥ ส่วนในกลุม ่ Non-OPEC คาดว่าก�ำลังการผลิตในปี 2555 อยูท่ รี่ ะดับ 53.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2554 ที่อยู่ที่ 52.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้น จากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ประเทศรัสเซีย และประเทศจีน เป็นส�ำคัญ
3. ราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (ในรูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2555 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวในอัตราชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 0.7 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น โดยมีสาเหตุหลัก จากราคายางพาราทีห่ ดตัว และราคาสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกทีข่ ยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ นอย่างมาก ขณะทีร่ าคาสินค้า น�ำเข้าคาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 1.7 ตามราคาน�ำ้ มันดิบโลกทีข่ ยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ นหน้า รวมถึง ราคาสินค้าวัตถุดบิ ทีข่ ยายตัวเพียงเล็กน้อยจากปีกอ่ นหน้า เนือ่ งจากสภาพเศรษฐกิจตกต�ำ่ ทัว่ โลก ส่งผลให้ความต้องการ น�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ เพือ่ ท�ำการผลิตของภาคอุตสาหกรรมส่งออกชะลอตัวลง ขณะทีใ่ นปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรทีจ่ ะกลับมาขยายตัว อีกครัง้ จากราคายางพาราเป็นส�ำคัญ ประกอบกับสินค้าอุตสาหกรรมทีค่ าดว่าจะมีราคาสูงขึน้ ตามการฟืน้ ตัวของภาวะเศรษฐกิจ โลก ส่วนราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 จากการขยายตัวของราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคและสินค้าวัตถุดบิ เป็นส�ำคัญ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
20
ภาพที่ 10 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกและน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2555 และปี 2556 อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออก (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
อัตราการขยายตัวของราคาสินค้าน�ำเข้า (รูปดอลลาร์สหรัฐ)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ และ สศค.
3.1 ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าส่งออกในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 ขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ นอย่างมาก เนือ่ งจาก คาดว่าราคาสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดที่ร้อยละ 80.5 จะขยายตัวเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนตามอุปสงค์โลก ที่ลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป โดยในช่วง 11 เดือนแรก ดัชนีราคาสินค้า อุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีการหดตัวจากราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนแรก ดัชนีสินค้าเกษตรส่งออกหดตัวถึงร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ ดัชนีสินค้าส่งออกรวมขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี ท�ำให้คาดว่าราคาสินค้าส่งออกในปี 2555 จะขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 จากปีก่อน ส�ำหรับปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าส่งออกจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3-4.3) เร่งตัวขึ้น จากปี 2555 เนื่องจากคาดว่าราคาข้าวและยางพาราจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ดัชนีสินค้าเกษตรขยายตัว ประกอบกับคาดว่า ดัชนีสินค้าอุตสาหกรรมจะสามารถขยายตัวได้ตามอุปสงค์ที่ปรับตัวดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 3.2 ราคาสินค้าน�ำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ ราคาสินค้าน�ำเข้าในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.7 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขยาย ตัวของดัชนีราคาสินค้าเชือ้ เพลิงซึง่ มีสดั ส่วนร้อยละ 19.1 ของดัชนีรวม โดยในช่วง 11 เดือนแรกขยายตัวทีร่ อ้ ยละ 5.3 เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีสินค้าหมวดอื่น ๆ คาดว่าจะมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะดัชนีหมวดสินค้าวัตถุดิบ และกึง่ ส�ำเร็จรูปทีม่ สี ดั ส่วนสูงทีส่ ดุ ทีร่ อ้ ยละ 43.0 ของดัชนีรวม มีการขยายตัวเพียงเล็กน้อยทีร่ อ้ ยละ 0.6 ในช่วง 11 เดือนแรกของ ปี ซึ่งเป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ซบเซา ท�ำให้ภาคอุตสาหกรรมส่งออกมีการชะลอการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อท�ำการผลิต ส�ำหรับปี 2556 คาดว่าราคาสินค้าน�ำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5-4.5) ขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2555 โดยเป็นผลจากการเร่งตัวของราคาสินค้าวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัว ดีขึ้นจากปี 2555 ท�ำให้ภาคอุตสาหกรรมส่งออกมีการน�ำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ประกอบกับคาดว่าดัชนีสินค้าอุปโภค-บริโภคจะมี การขยายตัวจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2556
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
21
4. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “ในปี 2555 ค่าเงินบาทเฉลี่ยมีทิศทางอ่อนค่าลง จากค่าเฉลี่ยในปี 2554 ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ ที่ 31.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ปี 2556 ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือในช่วงคาดการณ์ระหว่าง 29.70–31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 11)” ภาพที่ 11 สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยในปี 2555 และปี 2556
ที่มา : Reuters
4.1 สถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา หากพิจารณาทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐปัจจุบันเทียบกับต้นปี 2555 แล้ว จะพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.66 (ภาพที่ 12) เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อย อีกทั้งมีเงินทุน ไหลเข้าตลาดทุนไทย โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรในช่วงเดือนมิถุนายน–พฤศจิกายน 2555 และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555 ซึ่งมีสาเหตุส�ำคัญจากความส�ำเร็จในการสรุปเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือกรีซก้อนที่ 3 วงเงิน 49.1 พันล้านยูโร โดยจะมีการเบิกจ่ายเงิน 34.4 พันล้านยูโร ภายในเดือนธันวาคม 2555 นี้ และเงินที่เหลือจะมีการเบิกจ่ายภายใน เดือนมีนาคม 2556 ประกอบกับเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาตัดสินใจด�ำเนินมาตรการทางการเงิน แบบผ่อนคลายเพิ่มเติมเป็นระลอกที่ 4 (QE4) ด้วยวงเงินเดือนละ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแบบไม่มีกำ� หนดสิ้นสุด หลังจากที่ มาตรการแทรกแซงในตลาดพันธบัตร (Operation Twist) จะสิ้นสุดลง ณ เดือนธันวาคม 2555 นอกเหนือจากการประกาศอัดฉีด เงินเข้าระบบของธนาคารกลางญี่ปุ่นวงเงิน 10 ล้านล้านเยน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้นักลงทุน กลับมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาค ท�ำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงดังกล่าวที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้นักลงทุนกลับมาซื้อ สินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาค ท�ำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงดังกล่าว
22
ภาพที่ 12 อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐรายวัน
ที่มา : CEIC / สศค.
ทั้งนี้ ในปี 2555 ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในปี 2554 มาอยู่ที่ ระดับเฉลี่ย 31.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยหลักคือ ภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ชะลอลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลง จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนและการชะลอ การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อไปยังเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคที่เน้นการส่งออกเป็น หลัก ปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้การส่งออกของไทยขยายตัวในอัตราที่น้อยกว่าการน�ำเข้า อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินมาตรการ ทางการเงิ น แบบผ่ อ นคลายของประเทศมหาอ� ำ นาจทางเศรษฐกิ จ จะส่ ง ผลให้ มี เ งิ น ทุ น ไหลเข้ า และจะเป็ น ปั จ จั ย ที่ ช่วยให้ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้ อีกทั้งดุลบัญชีการช�ำระเงิน (Balance of Payment) ในช่วง 11 เดือนแรกของ ปี 2555 ที่เกินดุลสะสม 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 13) เป็นอีกปัจจัยที่ท�ำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ ผ่านมา ภาพที่ 13 ดุลการช�ำระเงินของประเทศไทย ปี 2554-2555
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.2 แนวโน้มของค่าเงินบาทในระยะถัดไป ในปี 2556 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลีย่ ต่อดอลลาร์สหรัฐจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึน้ เล็กน้อยมาอยูท่ รี่ ะดับ 30.70 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 29.70–31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจัยหลักคือ ดุลการค้า ของไทยในปี 2556 ที่คาดว่าจะเกินดุล จากเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะฟื้นตัว ขึ้นเล็กน้อย จากความส�ำเร็จในการเจรจาสรุปเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือกรีซอย่างชัดเจนในเดือนธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ประมาณการเศรษฐกิจไทย
23
อีกทั้งคาดว่ารัฐบาลกลางจีนจะประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากที่เตรียมประกาศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในมณฑลต่าง ๆ ปัจจัยเหล่านี้จะท�ำให้ปริมาณการส่งออกของไทยขยายตัวเร่งขึ้นในอัตราที่สูงกว่าปริมาณการน�ำเข้า นอกจากนี้ จะส่งผลให้มี สภาพคล่องดอลลาร์ในตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้า นอกจากนี้ ดุลเงินทุนของไทยในระยะต่อไปคาดว่าจะยังคงมีความผันผวนสูง อันเป็นผลจากมาตรการการให้ ความช่วยเหลือประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ประสบปัญหา ตลอดจนมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ อาทิ มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 (QE3 และ QE4) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลให้มี สภาพคล่องดอลลาร์ในตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้น ตลอดจนการประกาศเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึง่ มาตรการเหล่านีอ้ าจท�ำให้นกั ลงทุนคลายกังวลในภาวะเศรษฐกิจได้ในระยะสัน้ และท�ำให้มเี งินทุนจ�ำนวนมากไหลเข้าสูป่ ระเทศ ในภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อย่างไรก็ตาม หากปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เริ่ม ปะทุขึ้นอีกครั้ง นักลงทุนอาจถอนเงินทุนกลับสู่แหล่งการลงทุนที่ปลอดภัย (Safe Haven) ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาท ตลอดจนค่าเงินในภูมิภาคอื่น ๆ มีความผันผวนตามไปด้วย
5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ต่อปี)”
“สศค.คาดการณ์ว่าในปี 2556 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.25-3.25 ➥➥ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ด�ำเนินนโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายต่อเนื่องในปี 2555 จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงชัดเจน โดยเฉพาะจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ ในยูโรโซนที่ยังคงเรื้อรังต่อเนื่อง ผนวกกับเศรษฐกิจจีนที่เริ่มส่งสัญญาณการขยายตัวชะลอลง ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อ ในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่งผลให้ในเดือนพฤศจิกายน 2555 กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ภาพที่ 14 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ทีม่ า : กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดย สศค.
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 2.75 (ช่วงคาดการณ์
2.50-3.50) ถึงแม้วา่ จะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อทีค่ าดว่าจะสูงขึน้ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ผนวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจ โลกที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2555 แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญที่อาจกระทบ ต่อภาคการส่งออกและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
24
ภาพที่ 15 สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ประมวลผลโดย สศค.
6. รายจ่ายภาคสาธารณะประจ�ำปีงบประมาณ 2555
“ปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายภาคสาธารณะ (ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล (2) รายจ่ายองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (3) รายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) สามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 2,894,502 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มจากปีงบประมาณ 2554 ซึ่งมีรายจ่ายภาคสาธารณะจ�ำนวน 2,769,757 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 124,745 ล้านบาท ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะคาดว่า จะสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 3,166,420 ล้านบาท ขยายตัวในช่วงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน” 6.1 กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลตั้งกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,380,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น การด�ำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล 400,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.4 ของ GDP2 ภายใต้ประมาณการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 1,980,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,855,841 ล้านบาท (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 53,918 ล้านบาท (3) รายจ่ายลงทุน 423,387 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายช�ำระคืน ต้นเงินกู้ 46,854 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้มีการออกพระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหาร จัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ส�ำหรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2556 มีจ�ำนวน 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการด�ำเนิน นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล 300,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.4 ของ GDP3 ภายใต้ประมาณการการจัดเก็บ รายได้รัฐบาลเท่ากับ 1,980,000 ล้านบาท โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,884,000 ล้านบาท (2) รายจ่ายลงทุน 467,000 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 48,600 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2555 11,572,300 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปี 2556 12,544,000 ล้านบาท
2 3
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
25
ตารางที่ 4 กรอบโครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 และ 2556 ปีงบประมาณ
2555
2556
1. วงเงินงบประมาณ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราเพิ่ม) 1.1 รายจ่ายประจ�ำ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.2 รายจ่ายลงทุน (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 1.3 รายจ่ายช�ำระต้นเงินกู้ (สัดส่วนต่องบประมาณ) (อัตราขยายตัว) 2. ประมาณการรายได้ (สัดส่วนต่อ GDP) (อัตราขยายตัว) 3. การขาดดุล/เกินดุล (สัดส่วนต่อ GDP) 4. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เบื้องต้น
2,380,000.0 20.6 9.7 1,840,672.6 77.4 10.4 438,555.4 18.4 23.4 46,854.0 2.0 43.9 1,980,000.0 17.1 11.9 (400,000.0) (3.5) 11,572,300.0
2,400,000.0 19.1 0.8 1,901,911.7 79.2 3.3 448,938.8 18.7 2.4 49,149.5 2.1 4.9 2,400,000.0 16.7 6.1 (300,000.0) (2.6) 12,544,000.0
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2556 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 2,555,395 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐาน การเบิกจ่ายร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ จ�ำนวน 2,473,512 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำ 1,895,701 ล้านบาท และ (2) รายจ่ายลงทุน 360,299 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี 217,512 ล้านบาท ส�ำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 18,000 ล้านบาท และการเบิกจ่ายตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ที่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 63,883 ล้านบาท
26
ตารางที่ 5 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลกลางปีงบประมาณ 2555 และ 2556 ปี ง บประมาณ 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 55
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี
2,380,000 93.0% 2,321,512 2,295,327 1,873,067 275,408 2,148,475 146,852
2,400,000 94.0% 2,555,395 2,473,512 1,895,701 360,299 2,256,000 217,512
1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)
26,185 24,422
81,883 18,000
1,763
63,883
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
6.2 งบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทัง้ สิน้ 312,228 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการจัดสรร งบประมาณเพิม่ มากขึน้ ส�ำหรับการใช้จา่ ยงบประมาณในการพัฒนาท้องถิน่ ทีป่ รับตัวสูงขึน้ ตามนโยบายการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ ภายในประเทศ ประกอบกับนโยบายการกระจายรายได้ของรัฐบาลที่เน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน
ตารางที่ 6 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 (หน่วย : ล้านบาท)
ปี ง บประมาณ 2555 รายจ่ายท้องถิ่น
295,713
ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 55 312,228
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
27
6.3 งบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2556 คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้จำ� นวน 298,797 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากในปี 2556 เป็นปีทรี่ ฐั บาลมีนโยบายส่งเสริม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในระยะยาว โดยรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ สูงสุด 5 ล�ำดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 7 สมมติฐานการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 6.4 สรุปรวมรายจ่ายภาคสาธารณะ ปี ง บประมาณ 2555 รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ
277,277
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 55 298,797
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
จากสมมติฐานการใช้จ่ายของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ใน ปีงบประมาณ 2556 ดังกล่าว ท�ำให้คาดว่าในปีงบประมาณ 2556 รายจ่ายภาคสาธารณะสามารถเบิกจ่ายได้ ทัง้ สิน้ 3,166,420 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายรัฐบาล 2,555,395 ล้านบาท รายจ่ายจากแผนปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง 2555 คาดว่าจะสามารถ เบิกจ่ายได้ 18,000 ล้านบาท และรายจ่ายจาก พ.ร.ก.ให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ ที่คาดว่าจะ มีการเบิกจ่ายได้ 63,883 ล้านบาท (2) รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 312,228 ล้านบาท และ (3) รายจ่ายลงทุน ของรัฐวิสาหกิจ 298,797 ล้านบาท
28
ตารางที่ 8 สมมติฐานการเบิกรายจ่ายภาคสาธารณะในปีงบประมาณ 2555 และ 2556 (หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555
ปีงบประมาณ 2556 คาดการณ์ ณ ธ.ค. 55
กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย อัตราเบิกจ่ายรายจ่ายงบประมาณ 1. รายจ่ายรัฐบาล (1.1+1.2) 1.1 รายจ่ายงบประมาณ (1)+(2)+(3) (1) รายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุน รายจ่ายรัฐบาลประจ�ำปี (1)+(2) (3) รายจ่ายเหลื่อมปี
2,380,000 93.0% 2,321,512 2,295,327 1,873,067 275,408 2,148,475 146,852
2,400,000 94.0% 2,555,395 2,473,512 1,895,701 360,299 2,256,000 217,512
1.2 รายจ่ายนอกงบประมาณ (1) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (2) พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายบริหารจัดการน�้ำ (วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท)
26,185 24,422 1,763
63,883
2. รายจ่ายท้องถิ่น 3. รายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจ 4. รายจ่ายภาคสาธารณะ (1+2+3)
295,713 277,277 2,894,502
312,228 298,797 3,166,420
81,883 18,000
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
29
ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 และปี 2556 1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะกลับมาขยายตัวได้ดีร้อยละ 5.7 จากปี 2554 ที่เศรษฐกิจขยายตัว ที่ร้อยละ 0.1 จากการที่ปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง ในขณะที่ปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) จากปี 2555” ➥➥ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.7 จากการขยายตัวในอัตราเร่งของอุปสงค์
ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ อาทิ การเพิ่มรายได้แรงงานรายวัน และเงินเดือนข้าราชการ โครงการรับจ�ำน�ำข้าวเปลือก โครงการรถยนต์คนั แรก โครงการบ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษี เงินได้นติ บิ คุ คล ซึง่ มีสว่ นสนับสนุนการใช้จา่ ยภายในประเทศ ขณะทีก่ ารบริโภคและการลงทุนภาครัฐยังมีบทบาทในการสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกมีการชะลอตัวลง เนือ่ งจากได้รบั ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โลก ประกอบกับความล่าช้าในการฟืน้ ตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมเพือ่ การส่งออกในบางสาขา ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ ภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากปีที่แล้ว ตามราคาน�้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์น�้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนแอลง ประกอบกับผลจากแนวทาง การดูแลราคาน�้ำมันขายปลีกของภาครัฐ ➥➥ ส� ำ หรั บ เศรษฐกิ จ ไทยในปี 2556 มี แ นวโน้ ม ขยายตั ว ได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งที่ ร ้ อ ยละ 5.0 (โดยมี ช ่ ว ง คาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่เร่งตัวสูงขึ้น และการปรับตัว ดีขนึ้ ของเศรษฐกิจโลกเป็นส�ำคัญ ขณะทีอ่ ปุ สงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลง หลังจากทีม่ กี ารเร่งการบริโภคและการลงทุนเพือ่ ฟื้นฟูจากวิกฤตอุทกภัยไปมากแล้วในปีก่อน อย่างไรก็ตาม รายได้ภาคครัวเรือนที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงรายวันเป็น 300 บาททั่วทั้งประเทศ และโครงการรับจ�ำน�ำข้าว จะช่วยส่งผลให้ การบริโภคภาคเอกชนไม่ชะลอลงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 2.5–3.5) โดยอุปทานน�้ำมันในตลาดโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจส่งผลให้ ราคาธัญพืชโลกปรับตัวสูงขึ้น ภาพที่ 16 ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
30
1.1 การบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
1.1.1 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การบริ โ ภคภาคเอกชนที่ แ ท้ จ ริ ง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตั ว ที่ ร ้ อ ยละ 6.0 เมื่ อ เที ย บกั บ ช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม หลังจากรับผลกระทบจาก ภาวะอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ได้คลี่คลายลง ประกอบกับได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับต�่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่ออุปโภค-บริโภคขยายตัว ต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการบริโภคจ�ำแนกตามรายหมวดส�ำคัญพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 การบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าคงทนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 28.9 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 20.9 โดยเฉพาะยอดขายในหมวดยานยนต์ที่ประกอบด้วยรถยนต์นั่งและรถบรรทุกส่วนบุคคล ที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ที่ร้อยละ 78.6 และร้อยละ 53.5 ส่วนรถจักรยานยนต์ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.4 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตใน หมวดยานยนต์ที่สามารถกลับมาผลิตได้กลับเป็นปกติ ท�ำให้สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น และนโยบายรถยนต์คันแรก ของรัฐบาลที่มีผลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ในขณะที่การบริโภคสินค้ากึ่งคงทน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะและสิ่งทอ ที่ใช้ในครัวเรือน ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ส่วน การบริโภคสินค้าไม่คงทน เช่น หมวดอาหาร เครือ่ งดืม่ ไฟฟ้าและประปา และของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อเนือ่ งจาก ไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยหมวดอาหารขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 ส่วนหมวดที่มิใช่อาหารขยายตัวร้อยละ 5.5 ฯลฯ
ภาพที่ 17 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 การบริ โ ภคภาคเอกชนที่ แ ท้ จ ริ ง คาดว่ า จะขยายตั ว ร้ อ ยละ 5.6 เร่ ง ขึ้ น จากปี 2554 ที่ ขยายตั ว เล็ ก น้ อ ยที่ ร ้ อ ยละ 1.3 โดยปั จ จั ย สนั บ สนุ น จากการฟื ้ น ตั ว ของภาคการผลิ ต และการจ้ า งงานที่ อ ยู ่ ใ นเกณฑ์ ดี ส่งผลให้รายได้ภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับภาวะการเงินโดยรวมยังเอื้ออ�ำนวยต่อการบริโภค สะท้อนจากอัตรา การขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่อง จากการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากต้นปี 2555 ในขณะที่การบริโภค ในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากปริมาณการจ�ำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 78.9 และ ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ตามล�ำดับปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริโภค
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
31
ภาคเอกชนในปี 2555 ได้แก่ 1) แนวโน้มระดับราคาสินค้าทั่วไปที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากราคาอาหารส�ำเร็จรูปและราคาน�้ำมัน ขายปลีกในประเทศ 2) การเกิดปัญหาภัยพิบัติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการผลิต สินค้า โดยเฉพาะการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดจะกระทบต่อการบริโภคของประชาชนโดยรวม และ 3) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ตามสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ➥➥ ในปี 2556 การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 3.4-4.4) ชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ซึ่งกลับมาขยายตัวอยู่ในระดับปกติ ภายหลังจากที่ความต้องการ การบริโภคที่อั้นมาจากช่วงอุทกภัยได้รับการตอบสนองไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่คาดว่าจะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน ในปี 2556 ได้แก่ 1) การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 จากปี 2555 ซึ่งเป็น การขยายตัวทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะจากอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศที่คาดว่าจะขยายตัว ได้ดี ตามภาคการส่งออกที่จะขยายตัวเร่งขึ้น ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่น่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2556 และ 2) ความต่อเนื่องของนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น นโยบายการรับจ�ำน�ำข้าวและการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน ขัน้ ต�ำ่ 300 ในจังหวัดทีเ่ หลือทัว่ ประเทศ ซึง่ จาก 2 ปัจจัยหลักดังกล่าวจะเป็นส่วนส�ำคัญในการสนับสนุนการบริโภคในปี 2556 ต่อไป
1.1.2 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 3.2 จาก ไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยเป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.2 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ในขณะที่รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลโดยรวม ในราคาประจ�ำปีมูลค่า 438.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ซึ่งแบ่งออกเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 264.6 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7.2 เป็นผลจากการปรับเงินค่าตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าทีข่ องรัฐตามนโยบายรัฐบาลเกีย่ วกับการปรับเพิม่ รายได้บุคลากรภาครัฐและประชาชน ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ 174.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 จาก การเพิม่ ขึน้ ในเกือบทุกหมวดรายจ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จา่ ยในบัญชีคา่ ใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่าย 2.380 ล้านล้านบาท โดยไตรมาสที่ 3 มีการเบิกจ่ายรวม 540.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 รายจ่ายเหลื่อมปี 23.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และการเบิกจ่ายจากโครงการตามแผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 8.2 พันล้านบาท รวมยอดเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 มีจ�ำนวน 572.9 พันล้านบาท ภาพที่ 18 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการบริโภคภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
32
➥➥ ในปี 2555 การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยปัจจัยหลักจากฐานต�่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการเบิกจ่ายได้น้อย จากปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 และนโยบายการกระตุน้ การบริโภคภายในประเทศ ส�ำหรับในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลมีวงเงินรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,840 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.4 ของกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ทั้งนี้ การบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในปี 2555 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่ รัฐบาลได้มีการอนุมัติการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างขั้นต�่ำ และการเร่งรัดการเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำให้ได้ร้อยละ 97.5 ของวงเงินรายจ่ายประจ�ำ (1,840 พันล้านบาท) ทั้งนี้ ทั้งปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายรายจ่ายประจ�ำได้ จ�ำนวน 1,873.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 95.7 ของวงเงินรายจ่ายประจ�ำ ➥➥ ในปี 2556 การบริโภคของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0-4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ทั้งนี้ พระราชบัญญัติกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2.4 ล้านล้านบาท โดยในจ�ำนวนนี้เป็นงบประมาณรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.2 ของวงเงิน งบประมาณ และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.2 การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
1.2.1 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 และเมื่อขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วพบว่า การลงทุนภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าการลงทุนในหมวด เครื่องมือเครื่องจักร (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ขยายตัวร้อยละ 18.2 เร่งขึ้นต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 เนื่องจากมีการเร่งลงทุนเพื่อชดเชยและซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัยในช่วง ปลายปีที่แล้ว โดยเฉพาะในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับ หมวดยานยนต์ทขี่ ยายตัวในอัตราเร่งทีร่ อ้ ยละ 29.9 จากไตรมาสก่อนทีข่ ยายตัวร้อยละ 15.3 โดยเฉพาะในส่วนของรถบรรทุกและรถบรรทุก โดยสาร ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภาคเอกชน (มีสดั ส่วนประมาณร้อยละ 25.0 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม) ในไตรมาส ที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.4 เนื่องจาก มีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากน�้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ส่งผลให้การก่อสร้างอาคารเพื่อ ที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ อาคารคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับการก่อสร้างอาคาร พาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ในขณะที่อาคารโรงงานขยายตัวต่อเนื่องเช่นกันที่ร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรม ภาคตะวันออกที่มีการอนุญาตปลูกสร้างอาคารเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายฐานการผลิตและรองรับการเป็นนิคมอุตสาหกรรม ภาพที่ 19 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
33
➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนทีแ ่ ท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.1 จากปี 2554 ทีข่ ยายตัวร้อยละ
7.2 เนือ่ งจากการลงทุนในเครือ่ งมือเครือ่ งจักรและการก่อสร้างจะขยายตัวสูง เพือ่ เป็นการชดเชยและซ่อมแซมความเสียหายจาก อุทกภัย ประกอบกับผูป้ ระกอบการมีการขยายก�ำลังการผลิตเพือ่ รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ทัง้ นี้ จากข้อมูล เชิงประจักษ์พบว่าในช่วง 11 เดือนแรกปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นมาก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร อาทิ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุน ขยายตัวที่ร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี ก ่ อ นหน้ า และปริม าณการจ�ำหน่ายรถยนต์เชิ ง พาณิ ชย์ ที่ข ยายตั ว เร่ ง ร้ อยละ 70.5 ส่ ว นการลงทุ นภาคเอกชนใน หมวดการก่อสร้างทีว่ ดั จากเครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจ อาทิ ปริมาณการจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ ขยายตัวต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 10.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น ในขณะทีด่ ชั นีราคาวัสดุกอ่ สร้าง (ทีส่ ะท้อนต้นทุนในการผลิตหรือการก่อสร้าง) ขยายตัวในอัตราชะลอลงทีร่ อ้ ยละ 3.7 จากปี 2554 ที่อยู่ที่ร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสะท้อนถึงราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการก่อสร้างอยู่ในระดับที่ ลดลงและเอื้อต่อการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง ➥➥ ในปี 2556 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 8.2-10.2 ) จากปี 2555 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 14.1 ชะลอลงจากปี 2555 เนือ่ งจากอุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มทีจ่ ะขยายตัว ในอัตราชะลอลงกลับสู่ระดับการขยายตัวปกติ ภายหลังจากที่ผู้ประกอบการได้เร่งลงทุนเพื่อฟื้นฟูไปมากแล้วในช่วงปี ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทีค่ าดว่าจะสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน ในปี 2556 ได้แก่ 1) การขยายตัวต่อเนือ่ งอุปสงค์ภายใน ประเทศจากปี 2555 โดยเฉพาะการลงทุนในส่วนของภูมิภาคที่มีการเพิ่มการลงทุน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในเขตเศรษฐกิจส�ำคัญ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และ 2) นโยบายภาครัฐในการกระตุน้ เศรษฐกิจ ด้านการลงทุน อาทิ การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 จากร้อยละ 23 ในปี 2555 นอกจากนี้ จากการทีภ่ าครัฐมีแผนการจะลงทุนวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ทีค่ าดว่าจะเริม่ ทยอยลงทุนได้มากขึน้ ในปี 2556 เป็นต้นไป นั้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชนได้ต่อเนื่อง
1.2.2 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริง ➥➥ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.6 จาก ไตรมาสก่อนหน้า ท�ำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยปัจจัยหลักมาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของ รัฐบาล และการเบิกจ่ายงบลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รวมถึงการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ทัง้ นี้ การลงทุนของ ภาครัฐทีแ่ ท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) การลงทุนในหมวดก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 11.3 เพิม่ ขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัว ร้อยละ 2.7 ปัจจัยหลักมาจากการก่อสร้างของภาครัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ขยายตัวร้อยละ 15.6 จากการเบิกจ่าย งบกลางเพื่อฟื้นฟู เยียวยา และแก้ไขปัญหาอุทกภัยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการซ่อมแซมถนน สะพาน ฝาย เป็นต้น ในขณะที่ การก่อสร้างภาครัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการต่อเนื่อง เช่น โครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ฯลฯ และ 2) การลงทุนในหมวด เครื่องมือเครื่องจักร ขยายตัวร้อยละ 17.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ปัจจัยหลักมาจากการลงทุนของ รัฐวิสาหกิจทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ร้อยละ 31.5 โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครือ่ งมือเครือ่ งจักร เช่น แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ของบริษทั ปตท.สผ. จ�ำกัด (มหาชน) เครือ่ งจักรส�ำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อุปกรณ์สอื่ สารโทรคมนาคม ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ฯลฯ ขณะที่บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) มีการน�ำเข้าเครื่องบินแอร์บัส ล�ำแรกรุน่ A380-800 มูลค่า 8.1 พันล้านบาท ส่วนการลงทุนของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ขยายตัวร้อยละ 4.2
34
ภาพที่ 20 ประมาณการอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีกอ่ น เร่งขึน้ จากปีกอ่ นหน้าทีห่ ดตัวร้อยละ 8.7 โดยปัจจัยหลักมาจากฐานต�ำ่ ของช่วงเดียวกันของปีกอ่ นทีม่ กี ารเบิกจ่ายได้นอ้ ย จากปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ส�ำหรับวงเงินรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2555 มีจ�ำนวน 438.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.4 ของวงเงินงบประมาณ 2555 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาล ตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไว้ที่ร้อยละ 72.0 พร้อมทั้งมีแผนการลงทุนในส่วนของแผนการบริหารจัดการน�้ำ ในระยะยาวของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 350.0 พันล้านบาท ที่เริ่มทยอยลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ทั้งปีงบประมาณ 2555 รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 275.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 65.0 ของวงเงินรายจ่ายลงทุน (438.6 พันล้านบาท) โดยอัตราการเบิกจ่ายที่ต�่ำกว่าเป้าหมายเป็นผลมาจาก พระราชบัญญัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ที่มีผลบังคับใช้ล่าช้าเป็นส�ำคัญ ➥➥ ในปี 2556 การลงทุนของภาครัฐที่แท้จริงคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 13.0-15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) เพิ่มขึ้นจากปี 2555 โดยมี ปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาลในการลงทุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งรายจ่ายงบประมาณและรายจ่ายตามแผน บริหารจัดการน�ำ้ ในระยะยาวของภาครัฐวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท ทีค่ าดว่าจะเริม่ ทยอยลงทุนได้มากขึน้ ในปี 2556 ทัง้ นี้ ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 448.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของ กรอบวงเงินงบประมาณ และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.3 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการทีแ ่ ท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 หดตัวทีร่ อ้ ยละ -2.8 เมือ่ เทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอลงจาก วิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่ได้ลุกลามไปยังประเทศคู่ค้าหลักอื่น ๆ ของไทย ที่มีการค้ากับกลุ่มสหภาพยุโรปในระดับ สูง เช่น จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้การส่งออกของไทยกลับมาหดตัวอีกครั้งหลังพึ่งฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัยในช่วง ปลายปี 2554 โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 ลดลงจาก ไตรมาสก่อนหน้า โดยในด้านของมิตสิ นิ ค้าพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 การส่งออกสินค้าหดตัวทีร่ อ้ ยละ 6.2 เนือ่ งจากสินค้าใน
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
35
หมวดหลักหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ 1.5 ตามการหดตัวของอิเล็กทรอนิกส์ที่ หดตัวทีร่ อ้ ยละ 18.8 และเครือ่ งใช้ไฟฟ้าทีห่ ดตัวทีร่ อ้ ยละ 6.9 ประกอบกับภาคเกษตรกรรมทีห่ ดตัวร้อยละ 16.1 ตามการหดตัวของ ข้าวและยางพารา เป็นส�ำคัญ รวมถึงสินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ 10.2 ในขณะที่สินค้าหมวดยานยนต์ ขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลงร้อยละ 13.5 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าทีข่ ยายตัวสูงทีร่ อ้ ยละ 41.0 และเมือ่ พิจารณารายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักหดตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน จากผลกระทบของ ปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป แต่ยังได้รับอานิสงส์ที่ดีจากการส่งออกไปยังอินเดียและออสเตรเลีย ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจาก การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นส�ำคัญ และส�ำหรับการส่งออกบริการในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 14.5 ภาพที่ 21 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ขยายตัวชะลอลงจากปี 2554
ที่ร้อยละ 9.5 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกประเทศลดลงตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ กลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศคู่ค้าหลักของไทย ที่มีการค้ากับกลุ่มสหภาพยุโรปในระดับสูง อาทิ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังประเทศดังกล่าวขยายตัวชะลอลงอย่างมาก ➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 (โดยมีชว่ งคาดการณ์ทรี่ อ้ ยละ 5.6-7.6) จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะใน สหภาพยุโรปในปี 2555 อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป
36
1.4 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง ➥➥ ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ปริมาณ การน�ำเข้าสินค้าและบริการหดตัวที่ร้อยละ 2.3 และเมื่อพิจารณาการน�ำเข้าสินค้าพบว่าหดตัวที่ร้อยละ 2.3 จากไตรมาส ก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.8 ตามการหดตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่หดตัวร้อยละ 17.2 และสินค้าเชื้อเพลิงที่หดตัว เช่นเดียวกันที่ร้อยละ 1.2 ในขณะที่ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภค-บริโภคยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 17.4 และร้อยละ 3.4 ตามล�ำดับ สอดคล้องกับปริมาณการน�ำเข้าสินค้ายานยนต์ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 50.1 ส�ำหรับปริมาณการน�ำเข้าบริการที่แท้จริงขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจาก ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1
ภาพที่ 22 ประมาณการอัตราการขยายตัวของปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า
จากการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ลดลงเป็นส�ำคัญ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว ท�ำให้ ผู้ผลิตเพื่อส่งออกลดการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบลง อย่างไรก็ดี การน�ำเข้าสินค้าทุนคาดว่าจะขยายตัวในระดับสูง เนื่องจากมี การเร่งน�ำเข้าเพื่อชดเชยเครื่องมือเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 นอกจากนี้ผู้น�ำเข้า ได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ➥➥ ในปี 2556 ปริมาณการน�ำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 4.6-6.6) จากเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุปสงค์ภายในประเทศก็ยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งการบริโภคและการลงทุน ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการทางภาครัฐของรัฐบาล และคาดว่าจะมีการน�ำเข้าสินค้า อุปโภค-บริโภคเพิ่มขึ้นในปี 2556
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
37
2. ด้านการค้าระหว่างประเทศ 2.1 มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ1 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 อยูท ่ ี่ 208.2 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกตามระบบ กรมศุลกากรพบว่าเมื่อหักผลของการส่งออกทองค�ำออก มูลค่าการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 โดยในช่วงไตรมาสแรกและต้นไตรมาสที่ 2 การส่งออกหดตัวจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรม เสียหายจากภาวะน�ำ้ ท่วมเมือ่ ปลายปี 2554 ส่วนในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 การส่งออกยังคงซบเซาจากผลกระทบ ของวิกฤตหนี้ยุโรปที่เริ่มลุกลามไปยังประเทศคู่ค้าหลักของไทย โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น ส่วนในไตรมาสสุดท้าย การส่งออกขยายตัวในอัตราเร่งเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากปัจจัยฐานต�่ำในช่วงภาวะน�้ำท่วมเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับสินค้าที่ส่งออกได้ดีในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 คือสินค้าประเภทยานยนต์และน�้ำมันส�ำเร็จรูป ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 32.5 และร้อยละ 33.9 ตามล�ำดับ ในทางกลับกัน มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรมีการหดตัวถึง ร้อยละ 19.0 ในช่วง 11 เดือนแรก โดยเป็นผลมาจากปริมาณการส่งออกข้าวที่ลดลง ประกอบกับราคายางพาราที่ลดลงจากปีก ่อน ทัง้ นี้ หากพิจารณารายตลาดพบว่า ในช่วง 11 เดือนแรก ตลาดทีข่ ยายตัวได้ดคี อื ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ทีม่ กี ารขยายตัว ร้อยละ 18.8 และร้อยละ 10.7 ตามล�ำดับ จากการส่งออกยานยนต์เป็นส�ำคัญ ส่วนตลาดทีม่ กี ารหดตัวมากทีส่ ดุ คือ สหภาพยุโรปที่ หดตัวถึงร้อยละ 10.1 จากปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปเป็นส�ำคัญ ภาพที่ 23 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ชะลอตัวลง
จากปี 2554 เนื่องจากภาคการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากภาวะน�้ำท่วมในช่วงต้นปี ท�ำให้ภาคอุตสาหกรรมเสียหาย ไม่สามารถผลิตสินค้าส่งออกได้ นอกจากนี้ ภาคส่งออกของไทยยังได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตหนีส้ าธารณะยุโรป ท�ำให้เศรษฐกิจ ประเทศคูค่ า้ ส�ำคัญของไทยชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศจีนและกลุม่ ประเทศอาเซียน ด้วยเหตุนจี้ งึ คาดว่าการส่งออกของไทยจะ สามารถขยายตัวได้เล็กน้อยจากปีก่อนหน้า โดยเกิดจากปัจจัยฐานต�่ำในช่วงน�้ำท่วมเป็นส�ำคัญ
มูลค่าการส่งออกตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
1
38
➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ที่ร้อยละ 9.0–11.0) เร่งตัวขึ้นจากปี 2555 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปี 2555 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตได้ในกรอบที่จ�ำกัด เนื่องจากปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขใน ระยะสั้น จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้า 2.2 มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ➥➥ มูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ2 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 อยูท ่ ี่ 200.1 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.4 ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการส่งออกตามระบบกรมศุลกากรพบว่า เมื่อหักการน�ำเข้า ทองค�ำที่มีความผันผวน การน�ำเข้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 ซึ่งการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าเกิดจากการน�ำเข้าสินค้าทุนและ สินค้าเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ โดยสินค้าทั้งสองประเภทขยายตัวร้อยละ 24.2 และร้อยละ 11.3 ตามล�ำดับ ในช่วง 11 เดือนแรกของ ปี 2555 ซึ่งการน�ำเข้าสินค้าทุนส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหมวดเครื่องจักรเพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายจากภาวะน�้ำท่วม นอกจากนี้ ยังพบว่าการน�ำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคยังมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 11 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 14.7 ตามการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นเครื่องจักรส�ำคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขณะที่การน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบ มีการหดตัวที่ร้อยละ 6.2 ในช่วง 11 เดือนแรก จากภาคส่งออกที่ซบเซา จึงมีการน�ำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตลดลง
ภาพที่ 24 ประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวทีร่ อ ้ ยละ 8.0 ชะลอลงจากปี
ก่อนหน้า เนือ่ งจากปัจจัยฐานสูงและการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดบิ ทีช่ ะลอลงตามการส่งออก รวมถึงราคาน�ำ้ มันดิบโลกทีป่ รับตัวเพิม่ ขึน้ ไม่สงู มากเช่นเดียวกับปีกอ่ น ท�ำให้มลู ค่าการน�ำเข้าน�ำ้ มันดิบชะลอตัวลงจากปีกอ่ น อย่างไรก็ดี การน�ำเข้ายังคงขยายตัวได้จาก สินค้าทุนและเครือ่ งจักรเป็นหลัก ซึง่ เป็นการน�ำเข้าเพือ่ ทดแทนเครือ่ งจักรทีเ่ สียหายจากเหตุการณ์นำ�้ ท่วมในช่วงปลายปีกอ่ นหน้า ➥➥ ในปี 2556 สศค.คาดว่ามูลค่าน�ำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 9.5-11.5) เร่งขึ้นจากปี 2555 เล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากการน�ำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงเป็นส�ำคัญ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการน�ำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่คาดว่าจะมีการเติบโตที่สูงขึ้นจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะ ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2555 มูลค่าการน�ำเข้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
39
2.3 ดุลการค้า3 ➥➥ ดุลการค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 เกินดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วง 8 เดือน
แรกของปี 2554 ทีเ่ กินดุล 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกทีส่ งู กว่ามูลค่าการน�ำเข้า โดย 11 เดือน แรก มูลค่าการส่งออกสินค้าอยูท่ ี่ 208.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะทีม่ ลู ค่าการน�ำเข้าสินค้าอยูท่ ี่ 200.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพที่ 25 ประมาณการดุลการค้า
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการขยายตัวของมูลค่าสินค้า
น�ำเข้าทีเ่ กิดจากการน�ำเข้าสินค้าทุนและเครือ่ งจักรเป็นส�ำคัญ ในขณะทีม่ ลู ค่าสินค้าส่งออกจะมีการขยายตัวชะลอลงจากปีกอ่ น จากปัญหาด้านวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปเป็นส�ำคัญ ส่งผลให้การเกินดุลการค้าลดลงจากปีก่อน ➥➥ ในปี 2556 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 8.4–10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ใกล้เคียงกับปี 2555 เนื่องจากคาดว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ในกรอบที่จ�ำกัด ขณะที่ การน�ำเข้าจะยังคงขยายตัวได้ดีจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและวัตถุดิบเป็นส�ำคัญ เป็นผลให้ในปี 2556 จะมีการเกินดุลการค้า ลดลงจากปี 2555 เล็กน้อย
3. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3.1 ดุลบัญชีเดินสะพัด ➥➥ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 เกินดุลเล็กน้อยที่ 2.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง
มากจากช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 ที่เกินดุล 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน เกินดุล 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ ขาดดุลรวม 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเงินบริการจ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการน�ำเข้าที่สูงขึ้น
ดุลการค้าตามระบบดุลการช�ำระเงิน (รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย)
3
40
ภาพที่ 26 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่มา : สศค.
➥➥ ในปี 2555 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.8 ของ
GDP ลดลงจากปี 2554 ที่เกินดุล 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการน�ำเข้าสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการน�ำเข้า สินค้าเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่เสียหายจากวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 สอดคล้องกับการลงทุนที่คาดว่าจะ ขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวชะลอลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางจากวิกฤตเศรษฐกิจ ยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นส�ำคัญ ➥➥ ในปี 2556 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีชว่ งคาดการณ์ที่ 0.14.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 0.0-1.0 ของ GDP) ลดลงเล็กน้อยจากปี 2555 ที่คาดว่าจะเกินดุล 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัว ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การน�ำเข้าเครื่องจักรเพื่อ ชดเชยเครื่องจักรเก่าเริ่มชะลอลง 3.2 เงินเฟ้อ ➥➥ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากปี 2554 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยมีสาเหตุหลักจาก
1) ราคาอาหารส�ำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นปี จากต้นทุนวัตถุดิบและเครื่องประกอบอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น และ 2) ราคา สินค้าในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น�้ำประปา และแสงสว่าง ปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของค่าน�้ำประปา และการปรับค่าไฟฟ้า อัตโนมัติหรือ ft ถึง 2 ครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดยานพาหนะและเชื้อเพลิงมีการขยายตัวชะลอลงจากปี ก่อนหน้า จากราคาน�้ำมันดิบโลกที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2554 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวด พลังงานและอาหารสดปรับตัวลดลงจากปี 2554 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
41
ภาพที่ 27 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่มา : สศค.
➥➥ ส�ำหรับปี 2555 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปจะอยูใ่ นระดับเดียวกับปี 2555 ทีร่ อ ้ ยละ 3.0 (โดยมีชว่ งคาดการณ์
ที่ร้อยละ 2.5-3.5) โดยเป็นผลจากราคาน�้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากคาดว่า อุปทานน�้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น จากการที่สหรัฐอเมริกาจะสามารถผลิตน�้ำมันเพื่อตอบสนองอุปสงค์ภายในประเทศ ได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวได้รวมผลของนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ และนโยบาย การเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนไว้ด้วยแล้ว (เพิ่มจากราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 25.30 บาทต่อกิโลกรัม) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ ร้อยละ 1.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.4-2.4)
42
ภาคการคลัง รายงานสรุปสถานการณ์ด้านการคลังปีงบประมาณ 2555 และในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 บทสรุปผู้บริหาร ในปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554–กันยายน 2555) ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.)) มีจำ� นวนทัง้ สิน้ 1,977.5 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการรายได้ ตามเอกสารงบประมาณ (1.98 ล้านล้านบาท) และสูงกว่าผลการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณก่อนหน้า จ�ำนวน 85.1 พันล้าน บาท หรือร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ รายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 2,114.8 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 20.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.0 แต่เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกัน ของปีกอ่ น 96.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 ส�ำหรับรายจ่ายรัฐบาล รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ จ�ำนวน 2,295.3 พันล้าน บาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 2,148.5 พันล้านบาท ซึง่ แบ่งเป็นรายจ่ายประจ�ำจ�ำนวน 1,873.1 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจ�ำนวน 275.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 90.3 ของกรอบวงเงิน งบประมาณ 2.38 ล้านล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบเหลือ่ มปีจ�ำนวน 146.9 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ลงทุนจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 24.4 พันล้านบาท ในส่วนของฐานะการคลัง ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจ�ำนวน 314.7 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.7 ของ GDP และท�ำให้ ดุลเงินสด (ก่อนการกู้เงิน) ขาดดุลทั้งสิ้นจ�ำนวน 305.0 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.6 ของ GDP ทั้งนี้ รัฐบาลได้ด�ำเนิน นโยบายการคลังแบบขาดดุลในปีงบประมาณ 2555 เพื่อฟื้นฟูประเทศภายหลังจากที่ภาคธุรกิจหลายภาคส่วนได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ส�ำหรับเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2555 มีจ�ำนวน 560.3 พันล้านบาท ❍❍ ส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลยังคงจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุล (Expansionary Fiscal Policy) ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2555 โดยในปีงบประมาณ 2556 มีการจัดท�ำงบประมาณแบบขาดดุลจ�ำนวน 300.0 พันล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ด�ำเนินงานตามโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 รวมถึง ได้มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ได้แก่ แผนบริหารจัดการน�้ำในระยะยาวของภาครัฐที่มีวงเงินลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มทยอยลงทุนได้มากขึ้นในปี 2556 และแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (ปี 2556-2562) ทีม่ มี ลู ค่า 2.27 ล้านล้านบาท ซึง่ ขณะนีอ้ ยูใ่ นระหว่างพิจารณายกร่างพระราชบัญญัตใิ ห้อำ� นาจกระทรวงการคลัง กูเ้ งินเพือ่ การลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศ พ.ศ..... ทัง้ นี้ การด�ำเนินนโยบายกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาลและการวางแผน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคและการจ้างงานสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อรองรับ การลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในอนาคต และเตรียมความพร้อมส�ำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ❍❍ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–ธันวาคม 2555) ผลการจัดเก็บรายได้สท ุ ธิ ของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) มีจำ� นวน 504.6 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 66.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.3 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.6 เนื่องจากผลจากการจัดเก็บที่มากกว่าประมาณการของ 3 กรมจัดเก็บภาษี และส่วนราชการอื่นจ�ำนวน 43.8 และ 36.1 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ประกอบกับฐานการจัดเก็บรายได้ต�่ำจากผลกระทบ ของปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 จึงท�ำให้การขยายตัวของการจัดเก็บรายภาษีส่วนมากมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก ส�ำหรับ การเบิกจ่ายงบประมาณ ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 785.9 พันล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 60.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณจากปีงบประมาณปัจจุบันจ�ำนวน 699.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 29.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (2.4 ล้านล้านบาท) ในส่วนของ ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
43
ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจ�ำนวน 286.7 พันล้านบาท และท�ำให้ ดุลเงินสดก่อนกูข้ าดดุลจ�ำนวน 404.1 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิน้ เดือนธันวาคม 2555 มีจำ� นวนทัง้ สิน้ 259.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2556 จ�ำนวน 300.0 พันล้านบาท ❍❍ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,875.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.47 ของ GDP เพิม่ ขึน้ จากเดือนตุลาคม 2555 จ�ำนวน 48.2 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.0 เนือ่ งจากหนีข้ องรัฐบาลเพิม่ ขึน้ จ�ำนวน 57.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการบริหารหนี้ที่เพิ่มขึ้น 30.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 ❍❍ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 48 แห่ง จ�ำนวนทั้งสิ้น 175.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.3 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ และผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 50.8 พันล้านบาท ประกอบด้วย (1) รัฐวิสาหกิจที่เบิกจ่าย ตามปีงบประมาณ 43.4 พันล้านบาท และ (2) รัฐวิสาหกิจปีที่เบิกจ่ายปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 7.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ
1. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554-กันยายน 2555) 1.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2555
ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) มีจ�ำนวน 1,977.5 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณ (1.98 ล้านล้านบาท) และสูงกว่า ผลการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณก่อนหน้าจ�ำนวน 85.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ รายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 2,114.8 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 20.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.0 แต่เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน 96.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญ ดังนี้ ❍❍ กรมสรรพากรจัดเก็บได้จ�ำนวน 1,616.2 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 8.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 แต่เพิ่มขึ้นจากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 100.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 โดยมีรายละเอียด ของภาษีที่ส�ำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 659.2 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 31.0 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 4.9 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 81.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.1 จากการบริโภคภายในประเทศและ การบริโภคสินค้าน�ำเข้าที่ขยายตัวได้ดี (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ 544.4 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 55.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 9.2 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 29.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์อทุ กภัยในช่วงปลายปี 2554 และ (3) ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา จัดเก็บได้ 266.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ รายได้ 12.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 และเพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 29.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 12.6 โดยเป็นผล จากภาษีที่เก็บจากฐานดอกเบี้ย เงินเดือน และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นส�ำคัญ ❍❍ กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้จ�ำนวน 379.7 พันล้านบาท ต�่ำกว่าประมาณการรายได้ 25.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ -6.3 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 โดยมีรายละเอียดของภาษี ทีส่ ำ� คัญ ดังนี้ (1) ภาษีสรรพสามิตน�ำ้ มันฯ จัดเก็บได้ 61.1 พันล้านบาท ต�ำ่ กว่าประมาณการรายได้ 44.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 42.4 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 56.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 48.2 โดยเป็นผลจากรัฐบาลมีนโยบายช่วยลดค่าครองชีพ ของประชาชนโดยการขยายเวลาการลดอัตราภาษีน�้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาท (2) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ 117.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 10.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 9.5 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 26.2 เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์จากปัญหาอุทกภัยและโครงการรถยนต์คันแรก ของรัฐบาล และ (3) ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 64.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 3.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 และเพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 โดยเป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
44
กรมศุลกากรจัดเก็บได้จำ� นวน 118.9 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 13.4 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 12.7 และเพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 16.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.6 โดยมีรายได้หลักจากอากรขาเข้าที่ จัดเก็บได้ 116.3 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 13.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 12.8 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 16.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 16.3 สอดคล้องกับมูลค่าการน�ำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัว ของภาคการผลิตหลังวิกฤตอุทกภัย โดยสินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) รถยนต์และส่วนประกอบ (2) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้กลและส่วนประกอบฯ (3) เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และ ส่วนประกอบฯ (4) เหล็กและเหล็กกล้า และ (5) พลาสติกและของที่ท�ำด้วยพลาสติก ❍❍ รัฐวิสาหกิจน�ำส่งรายได้จำ � นวน 122.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 18.7 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 18.0 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 24.2 โดยรัฐวิสาหกิจที่น�ำส่งรายได้ สูงกว่าเป้าหมายที่ส�ำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) และโรงงานยาสูบ ❍❍ หน่วยงานอืน ่ ๆ น�ำส่งรายได้จำ� นวน 115.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 8.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.8 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 โดยมีสาเหตุส�ำคัญจาก (1) กรมศุลกากรส่งคืนเงินกันไว้เพือ่ ชดเชยค่าภาษีอากรส�ำหรับผูส้ ง่ ออกสินค้าเหลือจ่ายจ�ำนวน 4.7 พันล้านบาท (2) กรมสรรพสามิต น�ำส่งเงินค่าใช้จ่ายเก็บภาษีท้องถิ่นคืนเป็นรายได้แผ่นดินจ�ำนวน 2.0 พันล้านบาท (3) กองทุนพัฒนาน�้ำบาดาลน�ำส่งรายได้ จ�ำนวน 2.0 พันล้านบาท และ (4) ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนน�ำส่งคืนรายจ่ายของนักเรียนทุนในต่างประเทศ จ�ำนวน 1.6 พันล้านบาท ❍❍
ตารางที่ 1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2555 ที่มาของรายได้
1. กรมสรรพากร - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ - อากรแสตมป์ - อื่น ๆ 2. กรมสรรพสามิต - ภาษีน�้ำมัน - ภาษียาสูบ - ภาษีสุราฯ - ภาษีเบียร์ - ภาษีรถยนต์ - ภาษีอื่น ๆ 3. กรมศุลกากร - อากรขาเข้า - อากรขาออก - รายได้อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรมภาษี 4. รัฐวิสาหกิจ 5. หน่วยงานอื่น รวมรายได้จัดเก็บ รายได้สุทธิรัฐบาล (หลังการจัดสรรให้ อปท.)
(หน่วย : ล้านบาท)
ประมาณการตามเอกสาร เปรียบเทียบกับ ปีนี้ ปีที่แล้ว งบประมาณ ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ (ต.ค. 54–ก.ย. 55) (ต.ค. 53–ก.ย. 54) 1,980,000 ล้านบาท (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1,616,176 266,091 544,446 94,097 659,198 40,827 11,154 363 379,653 61,061 59,915 53,500 64,893 117,145 1,099 118,943 116,295 323 2,325 2,114,772 122,749 115,746 2,353,267
1,515,666 236,339 574,059 81,444 577,632 35,614 10,299 279 399,779 117,914 57,197 48,624 61,498 92,844 1,088 102,882 99,968 241 2,673 2,018,327 98,795 107,256 2,224,378
1,624,800 254,000 599,800 94,000 628,200 38,000 10,550 250 405,000 106,000 57,000 51,400 61,500 107,000 1,105 105,500 103,100 100 2,300 2,135,300 104,000 107,400 2,346,700
1,977,453
1,892,318
1,980,000
6.6 12.6 (5.2) 15.5 14.1 14.6 8.3 30.1 (5.0) (48.2) 4.8 10.0 5.5 26.2 (3.1) 15.6 16.3 34.0 (13.0) 4.8 24.2 7.9 5.8
(8,624) 12,091 (55,354) 97 30,998 2,827 604 113 (25,347) (44,939) 2,915 2,100 3,393 10,145 16 13,443 13,195 223 25 (20,528) 18,749 8,346 6,567
(0.5) 4.8 (9.2) 0.1 4.9 7.4 5.7 45.2 (6.3) (42.4) 5.1 4.1 5.5 9.5 4.1 12.7 12.8 223.0 1.1 (1.0) 18.0 7.8 0.3
4.5
(2,547)
(0.1)
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
45
1.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณปีงบประมาณ 2555 การเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทงั้ สิน้ 2,295.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 2,148.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 90.3 ของกรอบวงเงิน งบประมาณ 2555 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 1,873.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 95.7 ของรายจ่ายประจ�ำ (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 275.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 65.0 ของรายจ่ายลงทุน รวมทั้งรายจ่ายเหลื่อมปีที่เบิกจ่ายได้จ�ำนวน 146.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตารางที่ 2 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลของปีงบประมาณ 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
อัตราเบิกจ่าย กรอบวงเงิน ผลการเบิกจ่าย ผลการเบิกจ่าย เทียบกับกรอบ ประเภทรายจ่าย งบประมาณ ของปีงบประมาณ ของปีงบประมาณ อัตราการเพิ่ม/(ลด) วงเงินงบประมาณ (ร้อยละ) รายจ่าย 2555 2555 2554 รายจ่าย 2555
1. รายจ่ายกรอบ งปม. 2,380,000 - รายจ่ายประจ�ำ 1,840,673 - รายจ่ายลงทุน 438,555 2. รายจ่ายเหลื่อมปี 201,861 รายจ่ายรวม (1+2) 2,581,861
2,148,475 1,873,067 275,408 146,852 2,295,327
2,050,540 1,786,982 263,558 127,355 2,177,895
4.8 4.8 4.5 15.3 5.4
90.3 95.7 65.0 72.7 88.9
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีการเบิกจ่ายเงินจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 24.4 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายสะสมตัง้ แต่เริม่ โครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็งทัง้ สิน้ 320.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.8 ของวงเงินทีไ่ ด้รบั อนุมตั จิ ำ� นวน 348.9 พันล้านบาท โดยสาขาทีม่ กี ารเบิกจ่ายสะสมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สาขาการประกันรายได้และการด�ำเนินงานอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องมีการเบิกจ่าย 40.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100.0 ของวงเงิน ที่ได้รับอนุมัติ (40.0 พันล้านบาท) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการเบิกจ่าย 182.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.9 ของ วงเงินที่ได้รับการอนุมัติ (182.4 ล้านบาท) และสาขาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มีการเบิกจ่าย 1.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97.3 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (1.31 พันล้านบาท) ขณะที่สาขาที่มีการเบิกจ่ายสะสมต�่ำสุด 3 อันดับ คือ สาขาพัฒนาการท่องเที่ยวมี การเบิกจ่าย 2.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.9 ของวงเงินทีไ่ ด้รบั อนุมตั ิ (5.4 พันล้านบาท) สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุขพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานมีการเบิกจ่าย 10.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 73.5 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (14.3 พันล้านบาท) และสาขา พลังงานมีการเบิกจ่าย 10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.8 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (12 ล้านบาท) ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้นจ�ำนวน 2,319.7 พันล้านบาท โดย แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 2,148.5 พันล้านบาท รายจ่ายเหลื่อมปีจ�ำนวน 146.9 พันล้าน บาท และโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ�ำนวน 24.4 พันล้านบาท นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2555 ได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้ตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคต ประเทศ พ.ศ. 2555 จ�ำนวนทั้งสิ้น 1,763 ล้านบาท
46
1.3 ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2555 ในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจ�ำนวน 314.7 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.7 ของ GDP2 และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจ�ำนวน 9.6 พันล้านบาท โดยมาจากรายรับจากการชดใช้เงินคงคลัง 53.9 พันล้านบาท และการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จ� ำนวน 28.8 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้นจ�ำนวน 305.0 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.6 ของ GDP ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสด ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทัง้ สร้างความมัน่ คงของฐานะการคลังโดยชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการกูจ้ ำ� นวน 344.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เงินชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 39.0 พันล้านบาท ท�ำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2555 มีจ�ำนวน 560.3 พันล้านบาท ตารางที่ 3 ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2555
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2554 จ�ำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,980,644 1,892,047 88,597 4.7 2. รายจ่าย 2,295,327 2,177,895 117,432 5.4 3. ดุลงบประมาณ (314,683) (285,848) (28,835) 10.1 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 9,646 177,150 (167,504) (94.6) 5. ดุลเงินสด (ก่อนกู้) (305,037) (108,698) (196,339) 180.6 6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 344,084 200,666 143,418 71.5 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน 39,047 91,968 (52,921) (57.5) 8. เงินคงคลังปลายงวด 560,337 521,290 39,047 7.5 รายการ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
2. โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 มีสาระส�ำคัญสรุป (ตารางที่ 5) ดังนี้ 2.1 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 2,400 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ ก่อนหน้า 20.0 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และคิดเป็นร้อยละ 19.1 ของ GDP
2
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เบื้องต้นปีงบประมาณ 2555 เท่ากับ 11,572.3 พันล้านบาท
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
47
ตารางที่ 4 โครงสร้างงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556
(หน่วย : ล้านบาท)
ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน เพิ่ม/ลด (ร้อยละ) จ�ำนวน เพิ่ม/ลด (ร้อยละ) 1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย 2,380,000.0 9.7 2,400,000.0 0.8 (สัดส่วน/GDP) 20.6 19.1 - รายจ่ายประจ�ำ 1,840,672.6 10.4 1,901,911.7 3.3 (สัดส่วน/งบประมาณ) 77.4 79.2 - รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 53,918.0 -52.9 - -100.0 (สัดส่วน/งบประมาณ) 2.2 - - รายจ่ายลงทุน 438,555.4 23.4 448,938.8 2.4 (สัดส่วน/งบประมาณ) 18.4 18.7 - รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ 46,854.0 43.9 49,149.5 4.9 (สัดส่วน/งบประมาณ) 2.0 2.1 2. รายรับ 2,380,000.0 9.7 2,400,000.0 0.8 (สัดส่วน/GDP) 20.6 19.1 - รายได้ 1,980,000.0 11.9 2,100,000.0 6.1 - เงินกู้ 400,000.0 - 300,000.0 -25.0 3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 11,572,300.0 9.8 12,544,000.0 8.4 โครงสร้างงบประมาณ
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
2.2 รายจ่ายส�ำหรับปีงบประมาณ 2556 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 2.2.1 รายจ่ายประจ�ำ จ�ำนวน 1,901.9 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณก่อนหน้า 61.2 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ 2.2.2 รายจ่ายลงทุน จ�ำนวน 448.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 10.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ 2.3 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ ได้ถกู จัดสรรจ�ำนวน 49.1 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณก่อนหน้า 2.3 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 โดยรายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของวงเงินงบประมาณ
48
ในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลได้มีการจัดท�ำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ดังนี้ ตารางที่ 5 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปีงบประมาณ 2556 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 1. ยุทธศาสตร์การสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคม 2. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 4. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคม 5. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 7. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 9. รายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ
(หน่วย : ล้านบาท)
ประมาณ จ�ำนวน ร้อยละ 2,400,000.0 100.0 491,482.0 20.5 204,537.1 8.5 228,395.8 9.5 625,443.3 26.1 57,682.1 2.4 19,636.3 0.8 7,982.2 0.3 330,686.4 13.8 434,154.8 18.1
ที่มา : ส�ำนักงบประมาณ
3. ผลการด�ำเนินนโยบายการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–ธันวาคม 2556) 3.1 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 ผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)) มีจ�ำนวน 504.6 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 66.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.3 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.6 เนื่องจากผลจากการจัดเก็บที่มากกว่าประมาณการของ 3 กรมจัดเก็บภาษีและส่วนราชการอื่นจ�ำนวน 43.8 และ 36.1 พันล้านบาท ตามล�ำดับ ประกอบกับฐานการจัดเก็บรายได้ต�่ำจากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 จึงท�ำให้ การขยายตัวของการจัดเก็บรายภาษีส่วนมากมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยมีรายละเอียดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ส�ำคัญ ดังนี้ o กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 346.2 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 25.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 และเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 24.2 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยภาษีทจี่ ดั เก็บได้มากกว่าประมาณการทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ (1) ภาษีมลู ค่าเพิม่ จัดเก็บได้มากกว่าประมาณการ 10.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.2 และเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 22.1 จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น สะท้อนถึง อุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศและการน�ำเข้ามากกว่าประมาณการ 5.7 พันล้านบาท และ 4.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 และร้อยละ 5.8 ตามล�ำดับ (2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บ ได้มากกว่าประมาณการ 5.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 10.4 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อน รายได้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้มากกว่าประมาณการ 5.2 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 6.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวหลังจากได้รับ ผลกระทบจากอุทกภัยในปีงบประมาณที่ผ่านมา o กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 119.1 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 17.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 16.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีที่จัดเก็บได้มากกว่าประมาณการที่ส�ำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต รถยนต์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 16.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 53.5 และเพิ่มขึ้นถึง 1.8 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 53.5 เป็นผลจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เป็นส�ำคัญ ส�ำหรับภาษียาสูบและ ภาษีเบียร์จัดเก็บได้มากกว่าประมาณการ 2.6 พันล้านบาท และ 2.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 19.9 และร้อยละ14.1 ตามล�ำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบเมื่อเดือนสิงหาคม 2555
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
49
o กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 30.9 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 0.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้มากกว่าประมาณการ 0.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากมูลค่าการน�ำเข้าโดยเฉพาะหมวดรถยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง สืบเนื่องจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก o รัฐวิสาหกิจ น�ำส่งรายได้ 21.2 พันล้านบาท น้อยกว่าประมาณการ 3.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 และลดลงร้อยละ 40.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน o หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 63.0 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 37.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 147.7 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 131.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จัดเก็บที่สูงกว่าเป้าหมายที่ส�ำคัญ ได้แก่ (1) รายได้จากค่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3 จี งวดที่ 1 จ�ำนวน 20.8 พันล้านบาท (2) การส่งคืนเงินที่กันไว้เพื่อชดเชยค่าภาษีอากรส�ำหรับ ผูส้ ง่ ออกสินค้าจ�ำนวน 8.2 พันล้านบาท (3) รายได้จากสัมปทานปิโตรเลียมจัดเก็บได้สงู กว่าประมาณการ 2.2 พันล้านบาท สาเหตุ มาจากมูลค่าการขายปิโตรเลียมทีส่ งู ขึน้ และ (4) เงินช�ำระหนีค้ า่ ข้าวจากโครงการขายข้าวรัฐบาลรัสเซียจ�ำนวน 1.1 พันล้านบาท o การคืนภาษีของกรมสรรพากร จ�ำนวน 68.1 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 10.0 พันล้านบาท หรือร้อยละ 16.5 ประกอบด้วยการคืนภาษีมลู ค่าเพิม่ 62.2 พันล้านบาท มากกว่าประมาณการ 11.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 23.7 และการคืนภาษี อื่น ๆ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์) จ�ำนวน 5.9 พันล้านบาท น้อยกว่า ประมาณการ 2.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 27.8 ตารางที่ 6 ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-ธันวาคม 2555) ประเภทรายได้
ปีนี้ (ต.ค. 55 – ธ.ค. 55)
ปีที่แล้ว (ต.ค. 54 – ธ.ค. 54)
ประมาณการ ตามเอกสารงบประมาณ 2,100,000 ล้านบาท
(หน่วย : ล้านบาท)
เปรียบเทียบกับ ปีก่อนหน้า ประมาณการ ประมาณการ (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. กรมสรรพากร 346,196 278,747 320,279 24.2 25,917 - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 59,770 52,016 54,129 14.9 5,641 - ภาษีเงินได้นิติบุคคล 90,928 68,801 85,696 32.2 5,232 - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2,138 712 920 200.3 1,218 - ภาษีมูลค่าเพิ่ม 177,709 145,525 167,301 22.1 10,408 - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 12,479 9,288 9,819 34.4 2,660 - อื่น ๆ 3,172 2,405 2,414 31.9 758 2. กรมสรรพสามิต 119,070 83,187 101,891 43.1 17,179 - ภาษีน�้ำมัน 15,550 14,428 19,110 7.8 (3,560) - ภาษียาสูบ 15,799 16,570 13,178 (4.7) 2,621 - ภาษีสุราฯ 13,007 13,322 14,847 (2.4) (1,840) - ภาษีเบียร์ 20,500 16,440 17,959 24.7 2,541 - ภาษีรถยนต์ 47,694 17,018 31,079 180.3 16,615 - อื่น ๆ 6,520 5,409 5,718 20.5 802 3. กรมศุลกากร 30,922 27,223 30,250 13.6 672 - อากรขาเข้า 30,252 26,662 29,680 13.5 572 - อากรขาออก 60 113 75 (46.9) (15) - อื่น ๆ รวมรายได้ 3 กรมภาษี 496,188 389,157 452,420 27.5 43,768 4. รัฐวิสาหกิจ 21,196 35,303 24,838 (40.0) (3,642) 5. หน่วยงานอื่น 62,979 27,252 25,422 131.1 37,557 รวมรายได้จัดเก็บ 580,363 451,712 502,680 28.5 77,683 รายได้สุทธิรัฐบาล 398,450 437,672 26.6 66,910 (หลังการจัดสรรให้ อปท.) 504,582 ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
50
8.1 10.4 6.1 132.4 6.2 27.1 31.4 16.9 (18.6) 19.9 (12.4) 14.1 53.5 14.0 2.2 1.9 (20.0) 9.7 (14.7) 147.7 15.5 15.3
3.2 สรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555พฤศจิกายน 2555) ผลการเบิกจ่ายรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายได้ทงั้ สิน้ 785.9 พันล้าน บาท เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ นจ�ำนวน 296.1 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 60.5 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยรายจ่ายรัฐบาลแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจ�ำนวน 699.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 59.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.2 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 (2.4 ล้านล้านบาท) รายจ่ายปีปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น (1) รายจ่ายประจ�ำเบิกจ่ายได้จ�ำนวน 641.4 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 59.8 และ (2) รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำ� นวน 58.4 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 53.2 โดยรายจ่ายทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 68.5 พันล้านบาท รายจ่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 51.0 พันล้านบาท รายจ่าย กองทุนหลักประกันสุขภาพ 42.0 พันล้านบาท เป็นส�ำคัญ ส�ำหรับรายจ่ายเหลือ่ มปีเบิกจ่ายได้จำ� นวน 86.1 พันล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 70.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 7) ตารางที่ 7 สรุปผลการเบิกจ่ายรายจ่ายรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556
(หน่วย : ล้านบาท)
ผลการเบิกจ่าย ช่วงไตรมาสแรก ประเภทรายจ่าย ของปีงบประมาณ 2556 (1) 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 699,780 - รายจ่ายประจ�ำ 641,366 - รายจ่ายลงทุน 58,415 2. รายจ่ายเหลื่อมปี 86,134 รายจ่ายรวม (1+2) 785,914
ผลการเบิกจ่าย ช่วงไตรมาสแรก ของปีงบประมาณ 2555 (2) 439,360 401,231 38,128 50,456 489,816
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) (1)/(2) 59.3 59.8 53.2 70.7 60.5
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือน ตุลาคม 2552–วันที่ 11 มกราคม 2556) มีการเบิกจ่ายรวมทัง้ สิน้ 321.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.2 ของวงเงิน 348.9 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน�้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ 2555–ธันวาคม 2555) มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 4.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของวงเงิน 350.0 พันล้านบาท
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
51
3.3 ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555-พฤศจิกายน 2555) ฐานะการคลังในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555–ธันวาคม 2555) รัฐบาลขาดดุลเงิน งบประมาณจ�ำนวน 286.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจ�ำนวน 117.4 พันล้านบาท ซึ่งมี สาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิจ�ำนวน 102.1 พันล้านบาท และการจัดสรรเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติก�ำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจฯ ที่เหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 19.8 พันล้านบาท และรายรับจากส่วนเกินการจ�ำหน่ายพันธบัตรสุทธิจ�ำนวน 1.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เงินขาดดุลจ�ำนวน 404.1 พันล้านบาท และท�ำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 259.1 พันล้านบาท (ตารางที่ 8) ตารางที่ 8 ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2555 1. รายได้น�ำส่งคลัง 499,203 405,014 2. รายจ่าย 785,914 489,816 3. ดุลเงินงบประมาณ -286,711 -84,802 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -117,426 -171,811 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ -404,137 -256,613 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 102,936 - 7. ดุลเงินสดหลังการกู้เงิน -301,201 -256,613
(หน่วย : ล้านบาท)
ร้อยละ 23.3 60.5 238.1 -31.7 57.5 17.4
ที่มา : กรมบัญชีกลาง และส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
3.4 หนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 4,875.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.47 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจ�ำนวน 48.21 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 57.05 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 โดยมีรายการส�ำคัญจากหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ การบริหารหนีท้ เี่ พิม่ ขึน้ 30.50 พันล้านบาท หรือร้อยละ 1.68 โดยระดับหนีส้ าธารณะคงค้างอยูใ่ นระดับทีม่ เี สถียรภาพ ซึง่ แบ่งออก เป็น 1) หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาท โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.26 ของหนี้สาธารณะคงค้าง 2) หนี้สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 96.32 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ 3) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก�ำหนดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 60.0 ภาพที่ 2 ยอดคงค้างหนี้สาธารณะและสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP รายเดือน
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
52
ตารางที่ 9 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 หนี้สาธารณะคงค้าง
1. หนี้ของรัฐบาล 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค�้ำประกัน) 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 5. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ หนี้สาธารณะรวม (1+2+3+4+5)
(หน่วย : ล้านบาท)
ณ เดือน ต.ค. 55 จ�ำนวน % GDP 3,402,463 30.5 1,052,369 9.4
ณ เดือน พ.ย. 55 จ�ำนวน % GDP 3,459,511 30.8 1,043,961 9.3
เปรียบเทียบกับ จ�ำนวน ร้อยละ 57,048 1.7 -8,408 -0.8
365,261 - 7,232 4,827,326
364,796 - 7,264 4,875,532
-465 - 31.7 48,206
3.3 - 0.1 43.3
3.3 - 0.1 43.5
-0.1 0.4 1.0
ที่มา : ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
3.5 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 2555 และในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556
o กรอบอนุมตั งิ บลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง จ�ำนวนทัง้ สิน้ 371.8 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมประจ�ำปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554-ธันวาคม 2555) จ�ำนวน 293.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 78.9 ของกรอบงบลงทุนอนุมตั ิ ประกอบด้วย (1) ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน สะสมประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ของรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทิน จ�ำนวน 11 แห่ง จ�ำนวน 235.7 พันล้านบาท หรือ คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 81.2 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ และ (2) ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมประจ�ำปีงบประมาณ 2555 ของรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณ จ�ำนวน 35 แห่ง จ�ำนวน 57.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 70.8 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ
ตารางที่ 10 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนประจ�ำปีงบประมาณ 2555 (เดือนตุลาคม 2554-ธันวาคม 2555) ปี 2556
รัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (1) บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) การประปาส่วนภูมิภาค การเคหะแห่งชาติ รวม (1)+(2)
งบลงทุนอนุมัติ 290,294 140,880 51,017 39,162 19,284 18,592 81,548 25,769 19,246 7,157 6,499 6,344 371,842
ผลการเบิกจ่าย ธ.ค. 55 92,679 65,317.07 7,208.7 7,748.296 6,225.307 1,328.434 - - - - - - 92,679
ผลการเบิกจ่ายสะสม % ผลการเบิกจ่ายสะสม (ต.ค. 54-ธ.ค. 55) ต่องบทุนอนุมัติ 235,732 81.20 111,753 79.32 41,024 80.41 36,504 93.21 19,059 98.83 7,685 41.34 57,719 70.78 10,175 39.48 18,079 93.94 5,137 71.78 5,860 90.16 6,309 99.44 293,451 78.92
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
53
o กรอบอนุมตั งิ บลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ของรัฐวิสาหกิจรวม 46 แห่ง จ�ำนวนทัง้ สิ้น 268.3 พันล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม–ธันวาคม 2555) จ�ำนวน 11.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 3.1 ของกรอบงบลงทุนอนุมัติ โดยเป็นการเบิกจ่าย งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีงบประมาณทั้งหมด เนื่องจากรัฐวิสาหกิจที่ด�ำเนินงานตามปีปฏิทินยังคงใช้งบลงทุน ของปีงบประมาณ 2555 ตารางที่ 11 ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2555)
งบลงทุนอนุมัติ ผลการเบิกจ่าย ธ.ค. 55 รัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (1) 228,237 - รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (2) 140,044 5,291 การรถไฟแห่งประเทศไทย 49,891 2,109 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 32,732 1,413 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) 8,903 30 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง 7,646 68 การประปานครหลวง 6,747 288 รวม (1)+(2) 368,281 5,291 ปี 2556
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
54
ผลการเบิกจ่ายสะสม % ผลการเบิกจ่ายสะสม (ต.ค.-ธ.ค. 55) ต่องบทุนอนุมัติ - 11,268 8.05 3,901 7.82 3,044 9.30 137 1.53 123 1.61 683 10.13 11,268 3.06
Macroeconomic Analysis Briefing บทวิเคราะห์ เรื่อง อาเซียน ตลาดหลักที่ถูกมองข้าม
1
บทสรุปผู้บริหาร เมือ่ พิจารณาข้อมูลตลาดส่งออกของประเทศไทย พบว่า ตลาดอาเซียนมีบทบาทต่อการส่งออก ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม) ที่มีสัดส่วนต่อการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของประเทศไทย รองจากสหภาพยุโรป ❍❍ การกระจายตลาดมายังอาเซียนมีขอ ้ ได้เปรียบหลายประการ ได้แก่ ความใกล้ชดิ ทางวัฒนธรรม ต้นทุนค่าขนส่งต�ำ่ ขนาดตลาด การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และศักยภาพของเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต ❍❍ เมื่อมองภาพของการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในอนาคต พบว่า ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย อาทิ ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปที่คาดว่าจะเรื้อรังยาวนาน และปัญหาการกีดกัน ทางการค้า ด้วยเหตุนี้ภาคส่งออกของไทยจึงควรหันมาให้ความส�ำคัญกับตลาดอาเซียนมากขึ้น ❍❍
1. บทน�ำ ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เศรษฐกิจไทยได้มีการพึ่งพาภาคส่งออกในระดับสูง โดยสัดส่วนภาคการส่งออกสินค้าและบริการต่อ GDP เฉลีย่ ในแต่ละปีสงู ถึงประมาณร้อยละ 70 สะท้อนให้เห็นถึงความเชือ่ มโยง ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในระดับสูง โดยจากภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้เปลี่ยนจากประเทศ น�ำเข้าสุทธิมาเป็นประเทศส่งออกสุทธิ2 ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยมีสาเหตุหลักจากการลดค่าเงินบาทในช่วงวิกฤตการเงิน เมื่อปี 2540 ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ท�ำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลง สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งทางการค้า ได้มากขึน้ ประกอบกับภาคธุรกิจทีเ่ ป็นแรงขับเคลือ่ นอุปสงค์ภายในประเทศได้รบั ความเสียหายอย่างรุนแรงจากวิกฤตในครัง้ นัน้ ท�ำให้อุปสงค์จากภายนอกประเทศด้านการส่งออกกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ภาพที่ 1 สัดส่วนการส่งออกสินค้าสุทธิต่อ GDP
ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลของ สศช. ผู้เขียน : นายพนันดร อรุณีนิรมาน เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ 2 การส่งออกและน�ำเข้าที่น�ำมาค�ำนวณเป็นข้อมูลการส่งออกและน�ำเข้าสินค้าเท่านั้น ไม่รวมบริการ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสุทธิ ด้านบริการ มาตลอด จากภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่สามารถท�ำรายได้ให้แก่ประเทศได้อย่างมหาศาลในแต่ละปี 1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
55
อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาคเอกชนของไทยจะสามารถพัฒนาธุรกิจการส่งออกจนกลายเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทย ในช่วงผ่านมา แต่กไ็ ม่สามารถปฏิเสธได้วา่ เศรษฐกิจไทยมีความผันผวนตามเศรษฐกิจโลกในระดับสูง ตัวอย่างเช่นในช่วงปี 2552 ทีม่ วี กิ ฤตเศรษฐกิจภาคการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึง่ มีผลท�ำให้เศรษฐกิจโลกหดตัว ได้สง่ ผลให้ภาคการส่งออกสินค้าของประเทศไทย หดตัวถึง 4 ไตรมาสติดต่อกัน (ภาพที่ 2) และยังได้ส่งผลต่อเนื่องไปสู่การหดตัวของ GDP ไทยในช่วงเวลาเดียวกัน (ภาพที่ 3) ส�ำหรับในปี 2555 ทีผ่ า่ นมา ภาคการส่งออกของประเทศไทยยังได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตหนีส้ าธารณะยุโรป และเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์สินค้าส่งออกของประเทศไทย ประกอบกับเหตุการณ์มหาอุทกภัยในช่วง ปลายปี 2554 ทีท่ ำ� ให้โรงงานหลายแห่งเสียหาย ได้สง่ ผลต่อด้านอุปทานสินค้าส่งออก ด้วยเหตุนจี้ งึ ท�ำให้คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในปี 2555 จะสามารถขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 3.9 โดยการขยายตัวนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยฐานต�่ำของปีก่อน ที่มีเหตุการณ์มหาอุทกภัย จึงไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าการส่งออกปี 2555 ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณา ภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่าแม้ว่าการส่งออกจะมีการหดตัวติดต่อกันถึง 4 ไตรมาส แต่เศรษฐกิจไทย (GDP) ในช่วง 3 ไตรมาสแรก ของปี 2555 ยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนือ่ ง โดยเป็นผลมาจากนโยบายกระตุน้ อุปสงค์ภายในประเทศทีส่ ามารถทดแทน ภาคอุปสงค์นอกประเทศที่ซบเซาได้
ภาพที่ 2 อัตราการเจริญเติบโต ของการส่งออกสินค้าของไทย
ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลของ สศช.
ภาพที่ 3 อัตราการเจริญเติบโต ของการส่งออกสินค้าและ GDP
ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลของ สศช.
ส�ำหรับแนวโน้มของการส่งออกในอนาคตพบว่ายังคงมีปจั จัยเสีย่ งทีส่ ำ� คัญอยูห่ ลายประการ ได้แก่ ปัญหาการกีดกันการค้า ของประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น Non-tariff barrier ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีมาตรการในการตรวจสารปนเปื้อน อย่างเข้มงวดของกุ้งไทยส่งออก และปัญหาด้านสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ประเทศไทยได้รับในการส่งออกสินค้า หลายประเภทไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าในอนาคตประเทศไทยจะทยอยถูกตัดสิทธิพิเศษดังกล่าว 3 ซึ่งจะท�ำให้สินค้าส่งออกของประเทศไทยหลายประเภทสูญเสียตลาดให้แก่สินค้าที่มีราคาถูกกว่าจากประเทศที่ยังได้รับ สิทธิพเิ ศษอยู่ เช่น เวียดนาม ฯลฯ และท้ายสุดคือปัญหาวิกฤตหนีส้ าธารณะยุโรปทีค่ าดว่าจะยังคงเป็นปัญหาเรือ้ รังทีส่ ง่ แรงกดดัน การส่งออกไทยในอนาคต
สหภาพยุโรปจะตัดสิทธิ GSP แก่ประเทศก�ำลังพัฒนาที่ธนาคารโลกได้จัดให้อยู่ในกลุ่ม high-income หรือ upper-middle income เป็นระยะเวลา 3 ปีล่าสุด ติดต่อกัน โดยปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ได้รับสิทธิเนื่องจากอยู่ในกลุ่ม upper-middle income เพียง 2 ปีติดต่อกัน (ปี 2554-2555) แต่โดยทีก่ ฎระเบียบได้กำ� หนดให้มกี ารทบทวนรายชือ่ ประเทศทีไ่ ด้รบั สิทธิ ในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ดังนัน้ ในกรณีทปี่ ระเทศไทยยังคงอยูใ่ นกลุม่ upper-middle ในปี 2556 จะมีผลให้สหภาพฯ ตัดสิทธิประเทศไทยหลังการทบทวนในวันที่ 1 มกราคม 2557 ทั้งนี้ จะให้ระยะเวลาปรับตัวโดยให้มีผลหลังจากวันที่ข้อตัดสิน การตัดสิทธินั้นมีผลบังคับใช้ไปแล้ว 1 ปี
3
56
2. ตลาดหลักที่โดนมองข้าม ด้วยปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวข้างต้น ท�ำให้ภาพการส่งออกของประเทศไทยไปยังตลาดหลักค่อนข้างจะไม่สดใส และ อาจเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ประกอบกับในช่วงหลังที่ทั้งสองตลาดเกิดวิกฤต ทางเศรษฐกิจ ท�ำให้การส่งออกไปยังตลาดหลักดังกล่าวมีบทบาทน้อยลง เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการของไทยได้ทำ� การกระจายตลาด ไปยังตลาดอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดอาเซียน เมื่อพูดถึงประเด็นด้านการส่งออก เรามักจะให้ความส�ำคัญกับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นหลัก โดยมักมองข้ามความส�ำคัญของกลุ่มอาเซียนไป ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตลาดอาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง ของเราโดยมีสัดส่วนที่ร้อยละ 24.3 ในปี 2554 และเริ่มมีบทบาทสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากพิจารณาจากภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่ามูลค่า การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.3 ในปี 2544 มาอยู่ที่ร้อยละ 24.3 ในปี 2554 สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มสูงขึ้นของตลาดอาเซียนต่อภาคการส่งออกของไทย
ภาพที่ 4 สัดส่วนการส่งออกไปอาเซียนต่อการส่งออกรวม ภาพที่ 5 สัดส่วนการส่งออกไป CLMV ต่อการส่งออกรวม
ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
ที่มา : ค�ำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้ หากพิจารณาลงรายละเอียดจะพบสิ่งที่น่าแปลกใจคือ กลุ่มตลาดย่อยในอาเซียนที่ประกอบไปด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ทีม่ กั ถูกมองข้ามว่าเป็นประเทศเล็ก ก�ำลังซือ้ น้อย กลับกลายเป็นหนึง่ ในตลาดหลักของประเทศไทย โดยจากข้อมูลในปี 2554 มูลค่าการส่งออกไปยัง CLMV มีมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 5 รองจากการส่งออกไป สหภาพยุโรป และหากพิจารณาภาพที่ 5 จะเห็นได้ว่าตลาด CLMV มีสัดส่วนต่อการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 10 ปีทผี่ า่ นมา โดยเพิม่ จากร้อยละ 3.1 ในปี 2544 มาเป็นร้อยละ 6.9 ในปี 2554 นับว่าตลาด CLMV เป็น “ตลาดหลักทีถ่ กู มองข้าม” อย่างแท้จริง
3. เราขายอะไรในอาเซียน ? เมื่อมองเห็นความส�ำคัญของตลาดอาเซียนแล้ว เราจ�ำเป็นต้องสืบค้นข้อมูลเชิงลึกว่าเราส่งอะไรไปขายในกลุ่มประเทศ อาเซียนเพื่อน�ำไปวางแผนต่อยอดในอนาคต ซึ่งตารางที่ 1 จะเป็นตารางสรุปข้อมูลที่ส�ำคัญของการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ อาเซียนทั้งหมด ดังนี้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
57
ตารางที่ 1 ข้อมูลด้านการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ สัดส่วน สัดส่วน อันดับ ประเทศ ในการส่งออกรวม ในการส่งออกรวม ปี 2554 ช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 1 มาเลเซีย 5.6% 5.3% 2 สิงคโปร์ 5.1% 4.8% 3 อินโดนีเซีย 4.5% 4.9% 4 เวียดนาม 3.2% 2.9% 5 ฟิลิปปินส์ 2.1% 2.1% 6 พม่า 1.3% 1.3% 7 ลาว 1.2% 1.6% 8 กัมพูชา 1.2% 1.6% 9 บรูไน 0.1% 0.1% รวม อาเซียน 9 24.3% 24.7%
สินค้าส่งออกส�ำคัญ 3 อันดับแรกของปี 2554
ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น�้ำมันส�ำเร็จรูป น�้ำมันส�ำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล น�้ำมันส�ำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น�้ำมันส�ำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า น�้ำมันส�ำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องดื่ม น�้ำมันส�ำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ น�้ำมันส�ำเร็จรูป น�้ำตาลทราย เครื่องดื่ม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ น�้ำมันส�ำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
ที่มา : ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ประมวลโดย สศค.
จากข้อมูลในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าคูค่ า้ ส�ำคัญของประเทศไทย 3 อันดับแรกในกลุม่ อาเซียน คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย โดยมีสินค้าส่งออกส�ำคัญ 3 อันดับแรก คือ น�้ำมันส�ำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและ ส่วนประกอบ ซึง่ เมือ่ พิจารณาลงรายละเอียดในส่วนของการส่งออกเครือ่ งจักรจะพบว่า การส่งออกเครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในการก่อสร้าง มีสัดส่วนมากที่สุดในการส่งออกสินค้าเครื่องจักรกลไปยังอาเซียน (ภาพที่ 6) โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 41.8 ของการส่งออกสินค้า เครื่องจักรกลทั้งหมดไปยังประเทศกลุ่มอาเซียน
58
ภาพที่ 6 สัดส่วนการส่งออกสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ในปี 2554
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ค�ำนวณโดย สศค.
4. ค้าขายกับอาเซียน ดีอย่างไร ? จากปัจจัยเสีย่ งของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปทีไ่ ด้กล่าวไปก่อนหน้า เราจึงควรยกระดับความส�ำคัญ ของตลาดอาเซียนเพื่อทดแทนการส่งออกของตลาดหลักในอนาคต นอกจากนี้ การค้าขายกับประเทศในกลุ่มอาเซียนยังมี ข้อได้เปรียบอีกหลายประการ ได้แก่ ❍❍ ความเข้าใจทางวัฒนธรรม – ประเทศในกลุม ่ อาเซียนโดยส่วนมากจะมีความใกล้ชดิ กันทางขนบประเพณีและวัฒนธรรม ศาสนา รวมถึงความรับรูถ้ งึ นิสยั ใจคอของคนแต่ละเชือ้ ชาติ จึงท�ำให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรมการบริโภค และสามารถหาตลาด ในการขายสินค้าได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพม่ามักนิยมใช้ขมิน้ ทาผิว ซึง่ เป็นสิง่ ทีผ่ ปู้ ระกอบการ ไทยสามารถรับรูไ้ ด้ จากความใกล้ชดิ ประกอบกับการช่างสังเกตนี้ จะท�ำให้ผปู้ ระกอบการไทยมีความได้เปรียบในการหาแนวทาง การส่งออกสินค้าชนิดต่าง ๆ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้มากขึ้น ❍❍ ประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง – เนือ ่ งจากการส่งสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในกลุม่ อาเซียนมีระยะทางทีใ่ กล้กว่าการส่งออก สินค้าไปยังตลาดหลักอืน่ ๆ โดยเฉพาะประเทศทีม่ ชี ายแดนติดต่อกับประเทศไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย จึงท�ำให้ การขยายตลาดในกลุม่ ประเทศอาเซียนมีตน้ ทุนค่าขนส่งทีต่ ำ�่ รวมถึงใช้เวลาน้อยกว่าการส่งออกไปยังประเทศอืน่ ซึง่ เป็นการเพิม่ โอกาสในการส่งออกสินค้าทีม่ ขี อ้ จ�ำกัดด้านเวลา อาทิ ของสดประเภทต่าง ๆ ด้วยเหตุนปี้ จั จัยด้านภูมศิ าสตร์จงึ เป็นหนึง่ ในจุดแข็ง ส�ำคัญของการค้าระหว่างประเทศอาเซียน ❍❍ ศักยภาพของเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต – ประเทศในกลุม ่ อาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศก�ำลังพัฒนา ดังนัน้ ในอนาคต ถ้ามีการจัดการที่ดี เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้จะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในระดับสูง ผิดกับประเทศพัฒนาแล้ว บางประเทศทีม่ คี วามอิม่ ตัวของเศรษฐกิจ ท�ำให้ไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับสูงอีกต่อไป อย่างเช่น ประเทศญีป่ นุ่ และสหภาพยุโรป ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ก�ำลังซื้อของประเทศกลุ่มอาเซียนในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ จึงเป็น โอกาสทีส่ ำ� คัญของธุรกิจส่งออกของประเทศไทยทีจ่ ะกระจายตลาดมายังอาเซียนมากขึน้ เพือ่ เพิม่ รายได้และกระจายความเสีย่ ง ❍❍ ขนาดตลาด – ตลาดอาเซียนมีประชากรรวมมากกว่า 600 ล้านคน นับเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีความต้องการซื้อ ในระดับสูง จึงเป็นผลดีต่อภาคส่งออกของประเทศไทยในการพึ่งพาก�ำลังซื้อเหล่านี้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
59
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) – ในปี 2558 ประเทศในกลุม่ อาเซียนจะมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจและสังคม จะมี การลดภาษีศุลกากรในสินค้าทุกประเภท ประกอบกับการสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ท�ำให้ต้นทุนการขนส่ง ลดลงและมีความสะดวกในการขนส่งมากขึ้น นอกจากนี้ การรวมตัวดังกล่าวยังก่อให้เกิดแรงดึงดูดกลุ่มทุนขนาดใหญ่ให้เข้ามา ลงทุนในอาเซียน ด้วยปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้การค้าขายระหว่างประเทศในอาเซียนจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ❍❍ เข้าก่อนได้เปรียบ – การสร้างตลาดแต่เนิน ่ ๆ นับเป็นความได้เปรียบในการสร้าง Brand loyalty ท�ำให้สนิ ค้าไทยติดตลาด นอกจากนี้ การเข้าไปบุกเบิกตลาดโดยอาศัยความใกล้ชิดและความเข้าใจทางวัฒนธรรมจะสามารถสร้าง Partner ทางธุรกิจ ที่แนบแน่นได้ เป็นผลดีต่อการขยายการส่งออกสินค้าในอนาคต ❍❍ อย่ า งไรก็ ต าม แม้ ก ารกระจายตลาดส่ ง ออกมายั ง ประเทศในกลุ ่ ม อาเซี ย นจะมี ข ้ อ ดี แ ละข้ อ ได้ เ ปรี ย บมากมาย ผูป้ ระกอบการของไทยก็ตอ้ งตระหนักถึงปัจจัยเสีย่ งส�ำคัญของประเทศในกลุม่ อาเซียน คือ ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน ความมัน่ คงด้านการเมือง และสุดท้ายคือความบอบบางของระบบเศรษฐกิจทีอ่ าจเกิดวิกฤตขึน้ ได้จากความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ❍❍
5. แนวทางการรุกตลาดอาเซียน การจะรุกไปยังตลาดอาเซียนต้องเริ่มต้นจากการดูภาพรวมทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ ในเบือ้ งต้นว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไรให้ตรงกับความต้องการของผูบ้ ริโภค ยกตัวอย่าง ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศบรูไน ซึ่งเป็นประเทศที่มีฐานะค่อนข้างดี ผู้บริโภคจึงมีความใส่ใจด้านคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก รวมถึงความสวยงาม ของผลิตภัณฑ์ ในขณะทีป่ ระเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศพม่า ผูบ้ ริโภคมักใส่ใจด้านราคาและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ เป็นหลัก เป็นต้น โดยการแบ่งตลาดข้างต้นถือเป็นการวิเคราะห์เบือ้ งต้นเท่านัน้ หากต้องการทีจ่ ะประสบความส�ำเร็จในการส่งออก สินค้าไปยังประเทศกลุ่มอาเซียน ผู้ประกอบการจะต้องเข้าไปคลุกคลีและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด และยังต้อง ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคอย่างละเอียด เพื่อที่จะหาจุดเด่น จุดด้อย และความต้องการอย่างแท้จริงของ ผูบ้ ริโภค ตัวอย่างเช่น ชาวสิงคโปร์นยิ มซือ้ เครือ่ งดืม่ ประเภทชา กาแฟ และน�ำ้ อัดลม มากกว่าน�ำ้ เปล่า เนือ่ งจากน�ำ้ เปล่ามีราคาแพง และน�ำ้ ประปาสามารถกินได้ ฯลฯ ดังนัน้ การทราบพฤติกรรมผูบ้ ริโภคในเชิงลึกดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์ตอ่ การวางแผนการค้า ได้อย่างชัดเจน4 นอกจากการส่งออกสินค้าแล้ว ทางภาคธุรกิจของประเทศไทยควรหาโอกาสไปลงทุนตั้งธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศเกิดใหม่อย่าง CLMV เนื่องจากมีต้นทุนที่ต�่ำกว่าทั้งด้านแรงงานและราคาสินค้าวัตถุดิบ เช่นเดียวกับประเทศ ญี่ปุ่นที่สามารถสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยได้อย่างแข็งแกร่ง และกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักนอกประเทศ ที่ท�ำรายได้ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นได้อย่างมหาศาล โดยภาครัฐควรจะมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวผ่านการให้ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการท�ำธุรกิจในต่างประเทศแก่ภาคเอกชน พร้อมทั้งปรับแก้กฎระเบียบบางประการเพื่ออ�ำนวยความสะดวก ด้านการลงทุนของภาคเอกชน
6. บทสรุป เมื่อดูแนวโน้มการส่งออกของประเทศไทยในอนาคตพบว่า การส่งออกไปตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป มีปจั จัยเสีย่ งต่าง ๆ ทีอ่ าจท�ำให้มกี ารขยายตัวชะลอลงในอนาคต ซึง่ ประกอบไปด้วยวิกฤตหนีส้ าธารณะยุโรปทีค่ าดว่า จะเรื้อรังยาวนาน มาตรการกีดกันทางการค้า (Non-tariff barrier) ที่ส่งผลให้สินค้าไทยมีต้นทุนสูงขึ้น รวมถึงการเสียสิทธิพิเศษ ทางศุลกากร (GSP) ที่จะทยอยเกิดขึ้นกับสินค้าต่าง ๆ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ผู้ส่งออกของไทยจึงควรกระจายตลาดเพื่อทดแทน ตลาดหลักเหล่านี้ในอนาคต จากข้อมูลการส่งออกทีบ่ ง่ ชีใ้ ห้เห็นว่า ในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา ผูส้ ง่ ออกของไทยกระจายตลาดมายังประเทศอาเซียนมากขึน้ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่อย่าง CLMV ที่มีบทบาทต่อภาคการส่งออกของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการของไทยจึงควรหันมาสนใจตลาดอาเซียนอย่างจริงจัง เนื่องจากประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในการส่งออกสินค้า ไปยังอาเซียนหลายประการ อาทิ การเปิด AEC ขนาดตลาดที่ใหญ่ ต้นทุนค่าขนส่งที่ต�่ำ และความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM)
4
60
ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการของไทยต้องเตรียมพร้อมในการรุกตลาดอาเซียนคือ การเรียนรู้สภาพเศรษฐกิจพื้นฐาน และ กฎระเบียบต่าง ๆ ในการท�ำธุรกิจของแต่ละประเทศ (ข้อมูลพืน้ ฐานบางส่วนของประเทศในกลุม่ อาเซียนสามารถดูได้จากตารางที่ 2 และตารางที่ 3) และสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ การเรียนรูภ้ าษาของประเทศเพือ่ นบ้าน หรือเพิม่ ความสามารถในการสือ่ สารภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน5 ปี 2554 หน่วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย GDP (PPP) $ million $ 602,216 1,124,631 463,689 Real GDP growth % 0.1 6.5 5.1 GDP as share of world (PPP) % 0.76 1.43 0.57 GDP per Capita (PPP) $ $ 7,633 4,094 13,672 Share to GDP (Demand side) Private Consumption % to GDP 51.4% 55.6% 49.8% Investment % to GDP 15.7% 24.4% 23.9% Government Consumption % to GDP 15.0% 8.2% 13.2% Export % to GDP 62.0% 49.5% 100.6% Import % to GDP 50.5% 38.3% 87.5% Net export % to GDP 12.5% 11.3% 13.1% เสถียรภาพเศรษฐกิจ Public debt % to GDP 40.8 25.0 52.6 Inflation %yoy 3.4 5.4 3.2 % of labor Unemployment 0.7 6.6 3.1 force สะท้อนความน่าลงทุน Population millions 70.7 244.2 29 Macroeconomic environment Rank 27 25 35 Infrastructure Rank 46 78 32 Financial market development Rank 43 70 6 ปี 2554 หน่วย เวียดนาม GDP (PPP) $ million $ 299,980 Real GDP growth % 5.9 GDP as share of world (PPP) % 0.38 GDP per Capita (PPP) $ $ 3,013 Share to GDP (Demand side) Private Consumption % to GDP 67.7% Investment % to GDP 34.9% Government Consumption % to GDP 7.2% Export % to GDP 78.4% Import % to GDP 90.5% Net export % to GDP -12.1% เสถียรภาพเศรษฐกิจ Public debt % to GDP 38.0 Inflation %yoy 18.6 % of labor Unemployment 2.2 force สะท้อนความน่าลงทุน Population millions 90 Macroeconomic environment Rank 106 Infrastructure Rank 95 Financial market development Rank 88
พม่า 82,678 5.5 n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. 44.3 8.2 6.0 (1990) n.a. n.a. n.a. n.a.
ฟิลิปปินส์ 391,119 3.7 0.50 3,631
สิงคโปร์ 314,906 4.9 0.40 53,591
แหล่งข้อมูล IMF IMF (WEO) WEF World Bank
70.8% 20.0% 9.7% 46.7% 48.8% -2.1%
36.0% 23.8% 9.7% 228.1% 194.5% 33.6%
National Statistics National Statistics National Statistics National Statistics National Statistics National Statistics
40.5 4.8 7.4 (2011)
100.8 5.2 2.0
IMF CIA World Factbook National Statistics
95.3 36 98 58
5.3 17 2 2
WEF WEF WEF WEF
กัมพูชา บรูไน ลาว 33,463 20,969 17,433 7.1 2.2 8.0 0.04 0.03 n.a. 2,080 45,506 (2010) 2,464 n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. n.a.
แหล่งข้อมูล IMF IMF (WEO) WEF World Bank
n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. n.a.
n.a. n.a. n.a. n.a. n.a. n.a.
National Statistics National Statistics National Statistics National Statistics National Statistics National Statistics
28.6 0.0 5.5 2.0 1.7 2.6 (2008)
57.4 7.60 1.4 (2005)
IMF CIA World Factbook National Statistics
n.a. n.a. n.a. n.a.
WEF WEF WEF WEF
14.4 91 104 64
0.4 1 57 56
ที่มา : รวบรวมโดย สศค.
ผู้เขียนขอขอบคุณ นางสาวพีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส�ำหรับข้อมูล
5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
61
ตารางที่ 3 อุปสรรคหลักในการท�ำธุรกิจของประเทศในอาเซียน Top 3 problematic factors for doing business อันดับ
(1)
(2)
ไทย Government instability Corruption Policy instability Inefficient government อินโดนีเซีย Corruption bureaucracy Inefficient government มาเลเซีย Corruption bureaucracy Inefficient government ฟิลิปปินส์ Corruption bureaucracy สิงคโปร์ Inflation Restrictive labor regulation เวียดนาม Access to financing Inflation พม่า n.a. n.a. Inadequately educated กัมพูชา Corruption workforce Poor work ethic in บรูไน Restrictive labor regualtion national labor force ลาว n.a. n.a. ที่มา : ข้อมูลจาก WEF รวบรวมโดย สศค.
62
(3) Inadequate supply of infrastructure Inadequately educated workforce Inadequate supply of infrastructure Insufficient capacity to innovate Inadequate supply of infrastructure n.a. Inefficient government bureaucracy Access to financing n.a.
บทวิเคราะห์ เรื่อง ทวายโอกาสที่ประเทศไทยไม่ควรพลาด
1
บทสรุปผู้บริหาร ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) มานาน โดยการลงทุนระหว่างประเทศตั้งแต่ประเทศพม่าเปิดประเทศในปี 2531–2553 ประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนสะสมในประเทศพม่าสูงที่สุด คือ ประเทศไทยที่มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 7,422.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 46.2 ของมูลค่าเงินลงทุน รองลงมา ได้แก่ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และจีน ตามล�ำดับ แต่หากพิจารณามูลค่าการลงทุนสะสมในช่วง 5 ปีล่าสุด ตั้งแต่ปี 2551–2555 พบว่ามูลค่า การลงทุนของประเทศไทยในประเทศพม่าอยูใ่ นล�ำดับที่ 4 รองจากจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ สะท้อนว่าในปัจจุบนั ต่างประเทศได้มีการเข้ามาลงทุนในประเทศพม่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ ❍❍ โครงการพัฒนาท่าเรือน�ำ ้ ลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย (โครงการทวายฯ) ประกอบด้วยท่าเรือ น�้ำลึกที่รองรับสินค้าได้ถึง 200 ล้านตันต่อปี นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองและรีสอร์ต โดยมีวงเงินลงทุน โครงสร้างพื้นฐานรวมเบื้องต้นประมาณ 200,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อ�ำเภอทวาย มณฑลตะนาวศรี ประเทศพม่า มีพื้นที่ประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร ซึ่งภาคเอกชนของประเทศไทยได้รับสิทธิในการพัฒนาและด�ำเนินการ บริหารโครงการตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ❍❍ การพัฒนาโครงการทวายฯ จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากศักยภาพในการเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาคและเป็นสะพานเชื่อมโยงเศรษฐกิจและ การค้าระหว่างเอเชียตะวันออกกับประเทศชายฝั่งตะวันตก (เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป) ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพจากระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งทีล่ ดลง ทัง้ นี้ จากผลการศึกษาของสถาบัน Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) พบว่า โครงการทวายฯ จะสร้างประโยชน์สงู สุดแก่ประเทศพม่า รองลงมา คือประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสเชื่อมโยงโซ่อุปทานการผลิตและการค้าไปถึงโครงการทวายฯ โดยคาดว่าจะสามารถ เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยประมาณร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการ ดังกล่าวประเมินว่าจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปริมาณเรือที่จะเข้ามายังท่าเรือแหลมฉบังอาจลดลง การค้าขายของประชาชนระหว่างเส้นทางกรุงเทพฯ ถึงท่าเรือแหลมฉบังจะซบเซา ❍❍ ความส�ำเร็จของโครงการทวายฯ จ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความชัดเจนของแผนการ ลงทุนในโครงการทวายฯ และแผนการระดมเงินทุน โครงการลงทุนเองต้องมีขนาดใหญ่ที่เหมาะสมและเป็นที่ สนใจของภาคเอกชน และการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศไทยทั้งเชิงลึกและกว้าง เพื่อจะดึงดูดนักลงทุน ที่สนใจเข้ามาลงทุนในโครงการทวายฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันอันจะท�ำให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนส�ำหรับ โครงการต�่ำลง ❍❍
1. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกับประเทศพม่า ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทดี่ ที างเศรษฐกิจและสังคมกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) มานาน โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ประเทศไทยมีมลู ค่าการค้ากับประเทศพม่ารวม 170.4 พันล้านบาท และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่ากว่าร้อยละ 80 เป็นมูลค่าการค้าชายแดน เช่น ด่านศุลกากรสังขละบุรี ด่านศุลกากรระนอง ด่านศุลกากรแม่สอด ฯลฯ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการจ�ำนวน 78.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่า ผู้เขียน : นายนิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจ มหภาค และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับค�ำปรึกษาและข้อแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
63
การน�ำเข้าสินค้าและบริการจ�ำนวน 91.5 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงส่งผลให้ประเทศไทย ขาดดุลการค้ากับประเทศพม่าถึง 12.7 พันล้านบาท โดยสินค้าส่งออกส�ำคัญ ได้แก่ น�้ำมันดีเซล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น�้ำมัน เบนซิน และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และสินค้าน�ำเข้าส�ำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ สัตว์น�้ำ และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ พบว่าประเทศพม่าจะเป็นคู่ค้าล�ำดับที่ 6 ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เมือ่ พิจารณาในมุมมองของประเทศพม่าพบว่า ในปี 2554 ประเทศไทยเป็นคูค่ า้ อันดับ 2 ของประเทศพม่า (หลังจากทีป่ ระเทศไทย เคยครองอันดับ 1 จนกระทั่งปี 2553 และปัจจุบันอันดับ 1 คือ ประเทศจีน) ส�ำหรับการลงทุนระหว่างประเทศตั้งแต่ประเทศพม่าเปิดประเทศในปี 2531–2553 คณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุน แห่งสหภาพพม่า (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการลงทุนจากต่างประเทศจ�ำนวน 430 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 16,055.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากประเทศผูล้ งทุนทัง้ หมด 31 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นประเทศทีม่ มี ลู ค่า เงินลงทุนสะสมในประเทศพม่ามากที่สุด คือ ประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 7,422.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.2 ของมูลค่าเงินลงทุน รองลงมา ได้แก่ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และจีน ตามล�ำดับ ประเภทธุรกิจทีม่ มี ลู ค่าการลงทุน มากที่สุด คือ พลังงาน รองลงมา ได้แก่ การขุดเจาะน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การขนส่ง และอุตสาหกรรมการผลิต ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามูลค่าการลงทุนสะสมในช่วง 5 ปีล่าสุด ตั้งแต่ปี 2551–2555 พบว่า ประเทศจีนเป็นประเทศ มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดถึง 13,671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 51.8 ของมูลค่าการลงทุน และประเทศมีมูลค่า การลงทุนประมาณ 2,176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.3 ของมูลค่าการลงทุน ซึ่งอยู่ในล�ำดับที่ 4 รองจากจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ จากข้อมูลข้างต้นสะท้อนว่าในปัจจุบันต่างประเทศได้มีการเข้ามาลงทุนในประเทศพม่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ แต่ปริมาณการลงทุนของประเทศไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับในอดีตจึงส่งผลให้มูลค่าการลงทุนของประเทศไทยสัดส่วน การลงทุนของประเทศไทยในประเทศพม่าปรับลดลงมาอยู่ล�ำดับที่ 4 ในปัจจุบัน ตารางที่ 1 การลงทุนจากต่างประเทศสะสมที่ได้รับการอนุมัติจากทางการพม่า (ตั้งแต่ปี 2531-28 กุมภาพันธ์ 2553) ประเทศผู้ลงทุน 1. ไทย 2. สหราชอาณาจักร 3. สิงคโปร์ 4. จีน 5. มาเลเซีย 6. ฮ่องกง 7. ฝรั่งเศส 8. สหรัฐอเมริกา 9. อินโดนีเซีย 10. เกาหลี 11. เนเธอร์แลนด์ 12. อื่น ๆ
จ�ำนวน (โครงการ) 60 50 73 29 36 32 2 15 12 37 5 79 430
เงินลงทุน ล้านเหรียญสหรัฐ
สัดส่วน (%)
7,422.10 1,861.00 1,592.40 1,333.90 898.3 510.2 469 243.6 241.5 239.3 238.8 1,005.50 16,055.60
46.2 12 9.9 8.3 5.6 3.1 2.9 1.5 1.5 1.5 1.5 7.3 100
ที่มา : ส�ำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.)
64
ภาพที่ 1 มูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี 2551-2555
ที่มา : Central Statistical Organization of Myanmar (CSO)
2. โครงการพัฒนาท่าเรือน�้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย 2.1 ความเป็นมา ตั้งแต่ปี 2551 ประเทศพม่ามีแผนในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนและ ท�ำธุรกิจภายในประเทศ ซึ่งโครงการพัฒนาท่าเรือน�้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย (โครงการทวายฯ) เป็นเพียงพื้นที่แห่งเดียว ที่มีการออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุนรองรับเงินลงทุนต่างประเทศ และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 รัฐบาลไทยและรัฐบาล พม่าลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสร้างท่าเรือน�้ำลึกทวาย และเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ภาคเอกชนไทยได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงกับกระทรวงคมนาคมของประเทศพม่าเพื่อพัฒนาโครงการทวายฯ 2.2 ลักษณะโครงการ โครงการทวายฯ ตั้งอยู่ที่อ�ำเภอทวาย มณฑลตะนาวศรี ประเทศพม่า พื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร ซึ่งภาคเอกชนของ ประเทศไทยได้รับสิทธิในการพัฒนาและด�ำเนินการบริหารโครงการตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ซึ่ง ประกอบด้วย ท่าเรือน�้ำลึกที่รองรับสินค้าได้ถึง 200 ล้านตันต่อปี นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเมืองและรีสอร์ต โดยภาคเอกชน และรัฐบาลไทยจะลงทุนเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนโครงการขนาดใหญ่ เช่น นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า โครงการพัฒนา แหล่งน�้ำ โรงกลั่นน�้ำมัน โรงงานปิโตรเคมี ฯลฯ ส�ำหรับวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวมเบื้องต้นประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยจะด�ำเนินการโดยเปิดโอกาสให้มีผู้เข้าร่วมลงทุนผ่านการระดมทางเลือก อาทิ การเพิ่มบทบาทการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน (Public-Private Partnership : PPP) หรือการระดมเงินทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) โดยโครงการทวายฯ มีองค์ประกอบส�ำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ (1) ท่าเรือน�้ำลึก ขนาดใหญ่พร้อมท่าขนถ่ายสินค้าจ�ำนวน 3 ท่า โดยท่าที่ 1 ขนส่งสินค้าเหลว เช่น ปิโตรเลียม (ความจุ 35 MT/ปี) ขนส่งสินค้าส่งออกและเหล็ก (ความจุ 50 MT/ปี) ฯลฯ ท่าที่ 2 ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ (ความจุ 45 MT/ปี) ขนส่ง สินค้าเทกอง เช่น ถ่านหิน ข้าวและน�้ำตาล (ความจุ 55 MT/ปี) ฯลฯ และส�ำหรับท่าที่ 3 เป็นท่าเรือเชื่อมโยงกับทางรถไฟสาย Dawei-Yunnan ของรัฐบาลจีน (2) นิคมอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 5 โซน คือ 1) โซน A พื้นที่อุตสาหกรรมหนักประเภทโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 MW และโรงงานเหล็ก 2) โซน B พื้นที่อุตสาหกรรมหนัก ประเภทก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน�้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้า 3) โซน C พื้นที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย 4) โซน D พื้นที่อุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น อุตสาหกรรมประกอบ รถยนต์ โรงงานผลิตยางรถยนต์ โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตยิปซัมบอร์ด ฯลฯ และ 5) โซน E พื้นที่อุตสาหกรรมขนาดย่อม เช่น โรงงานผลิตเสื้อผ้า เครื่องส�ำอาง ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
65
(3) เส้นทางโลจิสติกส์ (Transborder Corridor) จากท่าเรือน�้ำลึกทวายมายังชายแดนไทยที่บ้านพุน�้ำร้อน ต�ำบลบ้านเก่า อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ขนาดเขตทาง 220 เมตร ระยะทาง 160 กิโลเมตร ประกอบด้วย ถนน 8 เลน สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ทางรถไฟ ท่อส่งน�้ำมัน และท่อก๊าซธรรมชาติ 2.3 แผนปฏิบัติการก่อสร้าง โครงการทวายฯ มีแผนปฏิบัติการก่อสร้าง แบ่งเป็น 3 ระยะในช่วง 10 ปี ดังนี้ (1) ระยะที่ 1 (ปี 2554–2558) ครอบคลุมท่าเรือทางใต้ ถนนเชือ่ มโยงทวาย–ชายแดนไทย/พม่า 4 ช่องจราจร ด่านพรมแดน ถนนเชื่อมโยงสนามบินทวาย อ่างเก็บน�้ำขนาด 93 ล้านลูกบาศก์เมตร โรงไฟฟ้าถ่านหิน ถนนในเขตนิคมและระบบระบายน�้ำ ระบบประปา โรงบ�ำบัดน�้ำเสีย ที่พักอาศัย พื้นที่ราชการแบบเบ็ดเสร็จ (One–Stop Service) และ Township (2) ระยะที่ 2 (ปี 2556–2561) ครอบคลุมถนนในเขตนิคมอุตสาหกรรมและระบบระบายน�้ำเพิ่มเติม ถนนเชื่อมโยงทวาย– ชายแดนไทย/พม่าขยายเป็น 8 ช่องจราจร สร้างศูนย์การค้าและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกอื่น ๆ และ (3) ระยะที่ 3 (ปี 2559–2563) ครอบคลุมท่าเรือด้านเหนือ ถนนในเขตนิคมอุตสาหกรรมและระบบระบายน�้ำเพิ่มเติม รถไฟ สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซและท่อน�้ำมันเชื่อมโยงประเทศไทย ภาพที่ 2 ภาพจ�ำลองท่าเรือทวาย
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ภาพที่ 3 ภาพจ�ำลองแผนผังการพัฒนาบริเวณท่าเรือทวายและพื้นที่หลังท่า
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
66
2.4 ความคืบหน้าการด�ำเนินโครงการของประเทศพม่า (1) ด้านกฎหมายการลงทุน : ประเทศพม่าได้ออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone Law : SEZ) กับกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone Law : DSEZ) โดยให้สทิ ธิประโยชน์เบือ้ งต้นแก่นกั ลงทุน ต่างชาติทเี่ ข้ามาด�ำเนินธุรกิจ ได้แก่ ยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีศลุ กากรส�ำหรับเครือ่ งจักรกลและยานพาหนะเป็นระยะเวลา 5 ปี (2) ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน : รัฐบาลพม่าได้ขอความช่วยเหลือจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพือ่ หาแนวทางปรับปรุงระบบโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการเงินภายในประเทศให้เป็นมาตรฐานสากล ทัง้ นี้ IMF ได้เข้าส�ำรวจระบบ การเงินของประเทศพม่าแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2554 และจะด�ำเนินการอีกครั้งในปี 2555
3. การด�ำเนินการของไทย 3.1 ภาครัฐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบหลักการของแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงฝั่ง ตะวันตกกับประเทศพม่า และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของประเทศพม่า ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ (1) แนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงฝั่งตะวันตกกับประเทศพม่า (1.1) ก�ำหนดเป็นแนวนโยบายส�ำคัญของรัฐบาล ในการสนับสนุนโครงการพัฒนาท่าเรือน�้ำลึกและนิคม อุตสาหกรรมของพม่า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่รัฐบาลพม่าและรัฐบาลของประเทศคู่ค้าส�ำคัญของประเทศไทย รวมถึง นักลงทุนไทยและต่างชาติ (1.2) กรอบมาตรการและแนวทางการด�ำเนินงานของฝ่ายไทย (1.2.1) ระยะเร่งด่วนปี 2555 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ (ก) การสร้างความร่วมมือในลักษณะรัฐต่อรัฐเพือ่ สนับสนุนการพัฒนาโครงการทวายฯ ของประเทศ พม่า โดยมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศผลักดันให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่ายเพื่อ เป็นกรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีต่อไป ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 เห็นชอบร่างถ้อยแถลง ร่วมระหว่างไทย–พม่าเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (ถ้อยแถลง ร่วมฯ) อนุมัติให้รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธ�ำรง บุญทรงไพศาล) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามใน ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และหากมีความจ�ำเป็นต้องแก้ไขร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระส�ำคัญก่อนการลงนาม ซึ่งรวมถึง การปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่กระทบสาระส�ำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศ สามารถด�ำเนินการได้โดยไม่ต้องน�ำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ (ข) การเร่งเจรจากับทางการของประเทศพม่าเพื่อเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวและถาวรควบคู่กันไป กับเตรียมความพร้อม ณ จุดผ่านแดนบ้านพุน�้ำร้อน เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าข้ามแดนให้มี ประสิทธิภาพ (ค) การสนับสนุนนักลงทุนไทยไปลงทุนในประเทศพม่า โดยมอบหมายให้สำ� นักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเร่งออกมาตรการด้านการเงินและการลงทุนเพือ่ สนับสนุน ธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ จัดตัง้ ศูนย์บริการข้อมูลและให้ค�ำปรึกษาส�ำหรับนักลงทุนไทย และก�ำหนดมาตรการลดความเสีย่ ง ด้านการลงทุนและประกอบธุรกิจ (ง) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยรัฐบาลไทย เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการพัฒนา โครงการทวายฯ โดยมีทางเลือก เช่น เพิ่มช่องทางในการท�ำ Two–step loan ผ่านกลไกทางการเงินภายในประเทศ การให้ รัฐวิสาหกิจไทยไปลงทุนในโครงการย่อยบางส่วน และการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) เพื่อให้มีการร่วมลงทุนระหว่าง หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนของประเทศต่าง ๆ ฯลฯ โดยมอบหมายกระทรวงการคลังประสานงานกับภาคเอกชน ไทยพิจารณาแนวทางการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาโครงการทวายฯ และเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนของ โครงการในระยะยาว
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
67
(1.2.2) ระยะปานกลางช่วงปี 2556–2558 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อกับประเทศพม่า จากบริเวณชายแดนไทย–พม่าอย่างเต็มรูปแบบ ประกอบด้วย ระบบถนน รถไฟ สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซและท่อน�้ำมัน รวมทั้ง การเตรียมการพื้นที่เศรษฐกิจ ดังนี้ (ก) ระบบถนน พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชือ่ มโยงด่านบ้านพุนำ�้ ร้อนกับพืน้ ทีพ่ ฒ ั นาเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) ทีท่ า่ เรือแหลมฉบังและแหล่งเศรษฐกิจฝัง่ ตะวันออกของประเทศไทยและจัดให้เป็นโครงการ ที่มีล�ำดับความส�ำคัญสูง โดยก�ำหนดระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือทวายของประเทศพม่า อาทิ การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงภาคตะวันตก ประกอบด้วย (1) โครงการก่อสร้างทางมอเตอร์เวย์ หมายเลข 81 เส้นทางอ�ำเภอ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี–บ้านห้วยตลุง อ�ำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (2) โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ (ช่วงที่ 2) เส้นทางบ้านห้วยตลุง อ�ำเภอท่าม่วง–บ้านน�้ำพุร้อน อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 70 กิโลเมตร และ (3) โครงการ ขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรจากบ้านพุน�้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ทางหลวงหมายเลข 3208 บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จังหวัดราชบุรี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเชื่อมโยงโลจิสติกส์สู่ภาคใต้ ภาพที่ 4 ภาพจ�ำลองแนวทางการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางถนน เพื่อเชื่อมโยงโครงการทวายฯ กับประเทศไทย
ที่มา : มูลนิธิโลกสีเขียว
(ข) ระบบราง พัฒนาโครงข่ายขนส่งทางรางเชือ่ มโยงกับบ้านพุนำ�้ ร้อน อาทิ การพัฒนาเส้นทางรถไฟ เชื่อมโยงทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยให้มีศักยภาพในการเปิดประตูการค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาค เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับตลาดตะวันตก เช่น เอเชียใต้ แอฟริกา ยุโรป ฯลฯ โดยเป็น “เส้นทางลัดโลจิสติกส์” เส้นทางใหม่ของภูมภิ าคโดยไม่ตอ้ งผ่านช่องแคบมะละกา ซึง่ จะช่วยลดระยะเวลาในการขนส่ง เช่น การขนส่ง ระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองเชนไนเดิมต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 วัน หากมีท่าเรือทวายจะใช้เวลาลดลงเหลือ 3 วัน และการขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ กับยุโรปจะใช้เวลาลดลงประมาณ 7 วัน ฯลฯ ดังนั้น หากสามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟ จะท�ำให้เกิดความสะดวกและประหยัดมากขึน้ โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างทวาย-แหลมฉบัง–โฮจิมนิ ห์ ระยะทาง 1,304 กิโลเมตร แต่เส้นทางนี้ยังมี Missing Link ทางรถไฟอยู่ประมาณ 667 กิโลเมตร (ช่วงทวาย-กาญจนบุรี ช่วงอรัญประเทศ-คลองลึก ช่วงปอยเปต-ศรีโสภณ และช่วงพนมเปญ–โฮจิมินห์)
68
ภาพที่ 5 แนวเส้นทางโครงการรถไฟในอนาคตระยะทางตามแนวโครงข่ายถนน
ที่มา : รายงานการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของไทย
(ค) ระบบสายส่งไฟฟ้า พัฒนาแนวสายส่งไฟฟ้าที่มีความเหมาะสมเพื่อเชื่อมโยงสายส่งกับพื้นที่ โครงการทวายฯ และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าทีเ่ พิม่ ขึน้ ในเขตพืน้ ทีภ่ าคตะวันตกของประเทศไทย รวมทัง้ จัดท�ำแผนการลงทุน ในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบจ�ำหน่ายในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก (ง) ระบบท่อก๊าซและท่อส่งน�้ำมัน พัฒนาระบบท่อก๊าซและท่อน�้ำมันเชื่อมโยงกับพื้นที่ท่าเรือน�้ำลึก ทวาย และประสานงานร่วมกับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัวของ ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันตกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (จ) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณชายแดน โดยการพัฒนาประตูการค้าตามแนวชายฝั่งทะเล ตะวันตกของประเทศไทยและภูมิภาค รวมทั้งก�ำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่รองรับการพัฒนาท่าเรือน�้ำลึกทวายของประเทศ พม่า โดยมอบหมายจังหวัดกาญจนบุรีและกลุ่มจังหวัดภาคตะวันตกสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และศึกษาแนวทาง การพัฒนาและเตรียมความพร้อมของพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย (1.3) การสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของประเทศพม่า เพือ่ สนับสนุนให้โครงการพัฒนาท่าเรือน�ำ้ ลึกและ นิคมอุตสาหกรรมทวายประสบผลส�ำเร็จ รัฐบาลไทยควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (ก) การบริการคมนาคมและขนส่ง โดยเฉพาะระบบถนนเชือ่ มโยงต่อระหว่างโครงการทวายฯ สูด่ า่ นพรมแดน รวมทัง้ การวางแผนการปรับปรุงสนามบินทวาย การพัฒนาโครงข่ายถนนและรถเชือ่ มโยงระหว่างทวายและเมืองส�ำคัญในประเทศ พม่า เช่น ย่างกุ้ง เมาะละแหม่ง ฯลฯ และผลักดันการด�ำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบอ�ำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่ง ข้ามแดนภายใต้แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นำ�้ โขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Sub–region Cooperation : GMS) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (ข) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน โดยให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ อัตราแลกเปลี่ยนและระบบสถาบันการเงินตามมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถรองรับธุรกรรมด้านการเงินและการลงทุน ขนาดใหญ่ได้ (ค) การวางแผนและยกระดับแรงงานชาวพม่า ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้สามารถรองรับการพัฒนา และขยายฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศไทยในอนาคตได้ (ง) การวางแผนระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยให้ความช่วยเหลือด้านการประเมินผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมของโครงการและการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น หรือนักลงทุนชาว ตะวันตก ฯลฯ ในการลงทุนพัฒนาท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
69
ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย–เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่ เกี่ยวข้อง 3 ระดับ ได้แก่ (1) คณะกรรมการร่วมระดับสูงเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (2) คณะกรรมการประสานงานร่วมเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง และ (3) คณะอนุกรรมการ ใน 6 สาขา ได้แก่ ถนน ท่าเรือน�้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ระบบน�้ำ ระบบโทรคมนาคม ระบบรถไฟความเร็วสูง และ การพัฒนาชุมชน รวมทัง้ การด�ำเนินการด้านการเงิน ทัง้ นี้ คณะอนุกรรมการใน 6 สาขา ได้ยนื ยันทีจ่ ะยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของทั้งสองประเทศและภูมิภาคผ่านการด�ำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น ในปี 2557 จะด�ำเนินการก่อสร้างท่าเรือขนาดเล็ก ในปี 2558 จะด�ำเนินการก่อสร้างท่าเรือน�้ำลึก ถนน 4 เลน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ และในช่วงปี 2559–2563 จะด�ำเนินการก่อสร้างท่าเรือ น�้ำลึกระยะที่ 2 อย่างเต็มรูปแบบและเตรียมการด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ฯลฯ 3.2 ภาคเอกชน การจัดตั้งหน่วยงานพัฒนาโครงการ โดยภาคเอกชนไทยด�ำเนินการจัดตั้งบริษัท ทวายดีเวลลอปเมนต์ (Dawei Development Company Limited : DDC) ซึ่งมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่กว่าร้อยละ 70 โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวลลอปเมนต์ จ�ำกัด (มหาชน) และส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 30 ถือหุ้น โดยบริษัทเอกชนของประเทศพม่า
4. ความส�ำคัญและข้อจ�ำกัดและความเสี่ยงในการร่วมลงทุนในโครงการทวายฯ 4.1 ความส�ำคัญของโครงการทวายฯ การพัฒนาโครงการทวายฯ จะเป็นเครือ่ งมือในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของภูมภิ าคอาเซียน เนือ่ งจากศักยภาพในการเป็น ประตูการค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาค และเป็นสะพานเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเอเชียตะวันออกกับประเทศชายฝั่ง ตะวันตก (เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจากระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งที่ลดลง โดยไม่ผา่ นช่องแคบมะละกา เช่น การขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ และเมืองเชนไน ประเทศอินเดีย จะใช้เวลาลดลงประมาณ 3 วันผ่านท่าเรือทวาย จากรูปแบบการขนส่งเดิมทีต่ อ้ งผ่านประเทศสิงคโปร์ทใี่ ช้เวลาทัง้ สิน้ 6 วัน ฯลฯ ทัง้ นี้ จากผลการศึกษา ของสถาบัน Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) พบว่า โครงการทวายฯ จะสร้างประโยชน์สูงสุด แก่ประเทศพม่า รองลงมาคือประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสเชื่อมโยงโซ่อุปทานการผลิตและการค้าไปถึงโครงการทวายฯ โดยคาดว่า จะสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยประมาณร้อยละ 1.9 ในเบื้องต้นสามารถสรุปความส� ำคัญของ โครงการทวายฯ ต่อประเทศไทยได้ดังนี้ (1) พัฒนาประตูการค้า (Gateway) ฝั่งตะวันตกเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเปิดประตูการค้าการลงทุนของ ผู้ประกอบการไทยในประเทศพม่าและฝั่งตะวันตก ได้แก่ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบ มะละกา ซึง่ จะช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการขนส่ง ท�ำให้ผปู้ ระกอบการไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจมากยิง่ ขึน้ โดยมีรายงานการศึกษา2 พบว่า ในการเดินเรือจากท่าเรือแหลมฉบังผ่านประเทศสิงคโปร์ไปท่าเรือประเทศอินเดียใช้ระยะทาง ประมาณ 2,200 กิโลเมตร แต่หากมีการสร้างท่าเรือในมหาสมุทรอันดามัน อาทิ ท่าเรือทวายหรือท่าเรือระนองจะใช้ระยะทางใน การเดินทางประมาณ 1,300 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งทางเรือลงได้ แต่ต้นทุนการขนส่งทางถนนก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเบื้องต้นประโยชน์สุทธิที่คาดว่าจะได้รับประมาณ 109 เหรียญสหรัฐต่อ TEU (Twenty-Equivalent Unit) โดยในปี 2550 มี ปริมาณการขนส่งประมาณ 200,000 TEU ดังนั้น ประโยชน์สุทธิที่ภาคเอกชนจะได้ประมาณ 700 ล้านบาท
Study on Private - Initiative Infrastructure Projects in Developing Countries in FY2008 โดย UNICO International Corporation
2
70
ภาพที่ 6 แผนที่การเดินเรือในมหาสมุทรอินเดีย
ที่มา : www.daweidevelopment.com
(2) โครงการทวายมีส่วนยกระดับบทบาทของประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ซึ่งประเทศไทย ตัง้ อยูใ่ นภูมศิ าสตร์ทสี่ ามารถเชือ่ มโยงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภมู ภิ าคลุม่ น�้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region : GMS) ได้หลายเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (เมืองทวาย (พม่า)-นครโฮจิมนิ ห์ (เวียดนาม)) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (เมืองดานัง (เวียดนาม)-เมืองเมาะละแหม่ง (พม่า)) และเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (นครคุนหมิง (จีนตอนใต้)-กรุงเทพฯ) เมื่อท่าเรือทวายแล้วเสร็จจะช่วยยกระดับบทบาทของประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค และกระตุ้นปริมาณการขนส่งสินค้าตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าวระหว่าง ตลาดในภูมิภาคอาเซียน (3) โอกาสที่จะขยายฐานการผลิตอุตสาหกรรมต้นน�้ำ (Off–shore Production Base) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า เพื่อสนับสนุนการผลิตของฐานอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีความจ�ำเป็นต้องน�ำเข้าเหล็กกล้า กว่า 10 ล้านตันต่อปี น�้ำมันดิบประมาณ 300 ล้านบาร์เรลต่อปี และก๊าซธรรมชาติประมาณ 320 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี รวมทั้งรองรับการขยายฐานการผลิตจาก Eastern Seaboard ในอนาคตซึ่งเริ่มมีข้อจ�ำกัดของความสามารถการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) และปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นแหล่งพลังงานเพิ่มเติมจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย โดยปัจจุบันไฟฟ้าส�ำรองของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 16 จากการผลิตระดับ 32,000 เมกะวัตต์ ซึ่งปริมาณไฟฟ้าส�ำรองที่เหมาะสมควรอยู่ที่ร้อยละ 25 ของก�ำลังการผลิตไฟฟ้าปกติ ดังนั้น โครงการโรงไฟฟ้าทวาย เป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ในประเทศพม่าที่มีศักยภาพในการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงานเพิ่มขึ้น โดยสามารถช่วยลดความเสีย่ งของแหล่งผลิตไฟฟ้าจากการกระจายแหล่งเชือ้ เพลิง รวมทัง้ ช่วยเพิม่ ความเชือ่ ถือได้ของระบบไฟฟ้า ของประเทศไทยเนื่องจากเป็นแหล่งผลิตที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า (Load Center) ของประเทศไทย
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
71
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบขนาดพื้นที่ท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมทวายกับพื้นที่ Eastern Seaboard ของประเทศไทย สภาพ
ท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
1. ขนาดพืน้ ทีท่ า่ เรือและนิคม • 250 ตารางกิโลเมตร/61,775 เอเคอร์ อุตสาหกรรม
• พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง 1,422 เอเคอร์ • พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 2,902 เอเคอร์ (พืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรมทัง้ หมดในจังหวัด ชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ จังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 45,682 เอเคอร์)
2. ปริมาณสินค้าที่ใช้บริการ • ขีดความสามารถในการรองรับสินค้า ท่าเรือ ทั้ ง หมด 200 ล้ า นตั น ต่ อ ปี หรื อ เทียบเท่า 14 ล้านทีอยี ู ในปี 2580 เหล็ก 40 ล้านตัน
• ขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ ปีละ 7.7 ล้านทีอียูต่อปี โดยในปี 2551 มี ปริมาณตูส้ นิ ค้า 5.13 ล้านทีอยี ู (อันดับที่ 21 ของโลก)
• ความลึก 25-40 เมตร • พื้นที่ท่าเรือและเขตอุตสาหกรรม 250 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60,000 ไร่ • ท่าเทียบตู้คอนเทนเนอร์ 10 ท่า • ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 6 ท่า • ท่าเทียบเรือสินค้าเทกอง 6 ท่า • รองรั บ เรื อ ขนาดใหญ่ ไ ด้ ม ากกว่ า 100,000 เดทเวทตัน
• ความลึก 14-16 เมตร • พืน้ ทีข่ นาด 6,340 ไร่/ ความยาวท่า 250-700 เมตร • ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ 1 ท่า • ท่าเทียบเรือ Ro/Ro 1 ท่า • ท่าเทียบเรือโดยสารและเรือ Ro/Ro 1 ท่า • ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป ประเภทเทกอง 1 ท่า • อู่ต่อและซ่อมเรือ 1 ท่า • รองรั บ เรื อ สิ น ค้ า ขนาดใหญ่ ที่ สุ ด ไม่ เ กิ น 80,000 เดทเวทตัน
รูปแบบ
ที่มา : คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ สศช.
72
ท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรม Eastern Seaboard
ภาพที่ 7 แหล่งผลิตไฟฟ้าส�ำคัญของประเทศไทย
ที่มา : กระทรวงพลังงาน
ตารางที่ 3 ตัวอย่างโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพของประเทศพม่า โครงการโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพ 1. ฮัจจี 2. ท่าซาง 3. สาละวินตอนบน 4. สาละวินตอนล่าง 5. ยะวาทิต 6. ตะนาวศรี 7. โรงไฟฟ้าถ่านหินทวาย รวม
ก�ำลังผลิต (MW) 1,190 7,000 4,000 500 600 600 4,000 17,890
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
(4) พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดกาญจนบุรี โครงการทวายฯ สามารถ ช่วยขยายความเจริญด้านโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาอุตสาหกรรม การค้า การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจาก ประเทศเพือ่ นบ้านในพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจชายแดนของประเทศไทย ซึง่ เป็นการใช้ประโยชน์จากความเชือ่ มโยงด้านคมนาคมขนส่งของ ภูมิภาคอาเซียน และเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงระดับพื้นที่ ประมาณการเศรษฐกิจไทย
73
4.2 ข้อจ�ำกัดและความเสี่ยงในการร่วมลงทุนในโครงการทวายฯ โครงการทวายฯ จะเป็นตัวขับเคลือ่ นเศรษฐกิจแห่งใหม่ทสี่ ำ� คัญของเอเชียในอนาคต และเป็นประตูเชือ่ มเศรษฐกิจ การค้า กับประเทศในฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง ตะวันตก และแอฟริกา อย่างไรก็ตาม จะพบว่าการพัฒนาโครงการดังกล่าว จะเกิดผลกระทบตามมาในหลายด้าน ดังนี้ (1) หากมีทา่ เรือน�ำ้ ลึกทวายคาดว่าปริมาณเรือสินค้าทีจ่ ะเข้ามายังท่าเรือแหลมฉบังอาจจะลดลง การค้าขายของประชาชน ระหว่างเส้นทางกรุงเทพฯ ถึงท่าเรือแหลมฉบังจะซบเซา ภาครัฐจึงควรเตรียมมาตรการรองรับเพื่อบรรเทาปัญหา หรือสร้าง ความเชือ่ มโยงระหว่างการใช้ประโยชน์ทา่ เรือแหลมฉบังควบคูก่ บั ท่าเรือน�ำ้ ลึกทวาย ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองของ ประเทศพม่าจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าของประเทศไทย ความปลอดภัยบริเวณแนวชายแดน และปัญหาแรงงานต่างด้าว ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมเพิ่มขึ้น (2) ด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าโครงการทวายฯ จะมีพื้นที่ในการพัฒนาหลักในประเทศพม่า แต่พื้นที่ของประเทศไทยก็ได้ รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการดังกล่าว อาทิ ในงานวิจัยเรื่อง "HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน�้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า" ของ เดชรัต สุขก�ำเนิด จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการ วิเคราะห์จากที่ตั้ง ประเภท และขนาดของอุตสาหกรรมภายในโครงการเปรียบเทียบกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระบุว่ามี 6 ประเด็นหลักที่น่าเป็นห่วงคือ การปล่อยก๊าซกระจก มลภาวะทางอากาศ ทรัพยากรน�้ำ กากของเสีย ผลกระทบต่อชุมชนและวิถี ชุมชน และผลกระทบในฝั่งประเทศไทย โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงปีละ 30 ล้านตันหรือคิด เป็น 2 เท่าของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซของประเทศพม่า ในปี 2551 ทั้งประเทศ เกิดเถ้าถ่านหินปีละ 1.3 ล้านตัน โรงงานใน นิคมอุตสาหกรรมจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปีละกว่า 4.4 แสนตัน มลสารที่เป็นต้นเหตุของภาวะฝนกรด 1 ล้านตันต่อปี ใช้น�้ำจืดวันละ 5.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยะอุตสาหกรรมปีละกว่า 7 แสนตัน ชุมชนชาวพม่าได้รับผลกระทบกว่า 20 หมู่บ้าน 3.2 หมืน่ คน ส่วนในฝัง่ ไทย ผืนป่าตะวันตกอาจถูกตัดขาดและแนวถนนสายใหม่จากบางใหญ่ จังหวัดนนทบุร-ี นครปฐม-กาญจนบุรี จะขวางทางน�้ำหลาก ซึ่งอาจท�ำให้เกิดน�้ำท่วมหนักในอนาคต (3) ด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการก�ำหนดประเภทอุตสาหกรรมหลัก ในเขตนิคม อุตสาหกรรมที่จะดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุน เช่น ปริมาณวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเหล็ก ฯลฯ (4) ด้านการเงิน ขาดแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนการพัฒนาโครงการ อัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินของประเทศพม่า ที่ยังไม่เป็นสากล (5) ด้ า นกฎหมายและระเบี ย บที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กฎหมายการลงทุ น ในพื้ น ที่ เ ศรษฐกิ จ พิ เ ศษทวาย (Dawei Special Economic Zone : DSEZ) ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้นักลงทุนยังไม่เชื่อมั่นและไม่จูงใจที่จะไปลงทุนในโครงการ รวมทั้งขาดข้อมูล ที่ชัดเจนจากรัฐบาลพม่า
5. สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การพัฒนาโครงการทวายฯ จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนและจะเป็นการเปิดประตู การค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาค และเป็นสะพานเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเอเชียตะวันออกกับประเทศชายฝั่ง ตะวันตก (เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจากระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งที่ลดลงจาก ต้องใช้เวลาเดินทาง 6 วัน เหลือเพียง 3 วัน จากปัจจัยดังกล่าว ERIA คาดว่าจะสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทยประมาณร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ การที่ภาครัฐไปร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในโครงการทวายฯ จะช่วยลดแรงกดดัน จากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่จะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข่งค่าขึ้นได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการดังกล่าวจะเกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปริมาณเรือที่จะเข้ามายังท่าเรือแหลมฉบังจะลดลง การค้าขายของประชาชนระหว่างเส้นทาง กรุงเทพฯ ถึงท่าเรือแหลมฉบังจะซบเซา เป็นต้น ทั้งนี้ ความส�ำเร็จของการเข้าร่วมจ�ำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความชัดเจนของแผนการลงทุนในโครงการทวายฯ และแผนการระดมเงินทุนของภาครัฐเพื่อลดการแย่งสภาพคล่อง ในตลาดเงินโดยภาครัฐ (Crowding-out Effect) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลในทางลบต่อ การลงทุนและเศรษฐกิจโดยรวม 2) ตัวโครงการลงทุนเองต้องมีขนาดใหญ่ทเี่ หมาะสมและเป็นทีส่ นใจของภาคเอกชน ซึง่ จะต้องมีการก�ำหนดขอบเขตของ โครงการลงทุนเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนจะให้ความสนใจร่วมลงทุน 3) การพัฒนาตลาดการเงินของประเทศไทยทั้งเชิงลึกและกว้าง เพื่อจะดึงดูดนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในโครงการ ทวายฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันอันจะท�ำให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนต�่ำลง เป็นต้น
74
บทวิเคราะห์ เรื่อง ฝรั่งเศสกับความเสี่ยงทางการคลัง
1
บทสรุปผู้บริหาร ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่ก�ำลังเผชิญกับภาระทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางวิกฤต หนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซนที่ประสบปัญหา และส่งผ่านผลกระทบมายังเศรษฐกิจของประเทศ ต่าง ๆ ในยูโรโซน รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งยังส่งผลลบความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่ยัง คงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดังนั้น การด�ำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีข้อจ�ำกัดมากขึ้น ❍❍ นอกจากนี้ ในระยะต่อไปประเทศฝรั่งเศสยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทาง การคลัง ทั้งจากพฤติกรรมการใช้บริการด้านการแพทย์ของประชากรที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐอุดหนุนการใช้ บริการทางการแพทย์และค่ายาในระดับสูงต่อเนื่อง รวมถึงสังคมผู้สูงอายุที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาก อันจะส่ง ผลกระทบต่อรายจ่ายด้านเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ รวมถึงรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศฝรั่งเศสในอนาคต ❍❍ ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจ�ำเป็นต้องปรับโครงสร้างทางการคลัง โดยในช่วงที่ผ่านมาทางการ ฝรัง่ เศสได้ดำ� เนินมาตรการเพิม่ รายได้ และลดรายจ่ายภาครัฐในหลายส่วน ซึง่ คาดว่าจะส่งผลบวกต่อเสถียรภาพ ทางการคลังในอนาคต ❍❍ อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาด้านการคลังดังกล่าวควรได้รบ ั การติดตามอย่างใกล้ชดิ เนือ่ งจาก การแก้ไขปัญหาด้านการคลังจ�ำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ขณะทีป่ ระเทศฝรัง่ เศสยังคงตกอยูท่ า่ มกลางการแก้ไขปัญหา หนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศ GIIPS ที่เรื้อรังต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี ซึ่งความเชื่อมโยงทั้งในด้านการค้า และการเงินในระดับสูงกับกลุ่มประเทศดังกล่าว อาจส่งผลลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ รวมถึงเสถียรภาพทาง การคลังของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจท�ำให้ประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหาการคลังเรื้อรังต่อเนื่อง และอาจท�ำให้ การปฏิรูปทางการคลังของรัฐบาลฝรั่งเศสใช้ระยะเวลามากขึ้น อันจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของประเทศใน ระยะยาว ❍❍
1. บทน�ำ ฝรัง่ เศสเป็นหนึง่ ในประเทศทีม่ กี ารขาดดุลการคลังมายาวนาน ส่วนหนึง่ จากการทีภ่ าครัฐได้ใช้นโยบายกระตุน้ เศรษฐกิจมา อย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้อตั ราส่วนหนีส้ าธารณะต่อ GDP ของประเทศฝรัง่ เศสอยูใ่ นระดับทีส่ งู อันส่งผลกระทบต่อความเชือ่ มัน่ ของ นักลงทุนและต้นทุนการกูย้ มื ของประเทศฝรัง่ เศสในระยะต่อไป บทความนีไ้ ด้ศกึ ษาถึงเสถียรภาพทางการคลังของรัฐบาลฝรัง่ เศส และผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจฝรั่งเศส รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการคลังของประเทศฝรั่งเศสในระยะต่อไป
ผู้เขียน : นางสาวอาร์จนา ปาญกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ และนางสาวภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
75
2. ภาพรวมสถานะทางการคลังฝรั่งเศส ภาพที่ 1 หนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศสมาชิกยูโรโซน (ร้อยละ)
ที่มา : Eurostat
รัฐบาลฝรัง่ เศสต้องเผชิญกับภาระทางการคลังทีเ่ พิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ ง โดยแม้วา่ ตามสนธิสญ ั ญามาสทริชต์ ประเทศสมาชิก ยูโรโซนตกลงที่จะรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และมิให้การขาดดุลงบประมาณประจ�ำปี สูงเกินกว่าร้อยละ 3 ของ GDP อย่างไรก็ตาม ประเทศฝรั่งเศสไม่สามารถรักษาระดับหนี้สาธารณะและการขาดดุลการคลังตาม สนธิสัญญาดังกล่าวไว้ได้ โดยระดับหนี้สาธารณะอยู่สูงเป็นอันดับที่ 6 ของยูโรโซน (ภาพที่ 1) โดยล่าสุดในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 89.9 ของ GDP (ภาพที่ 2) ขณะที่ ณ สิ้นปี 2554 ประเทศฝรั่งเศสยังคงขาดดุลการคลังในระดับสูงที่ ร้อยละ 5.2 ของ GDP (ภาพที่ 3) ภาพที่ 2 หนี้สาธารณะต่อ GDP ฝรั่งเศส (ร้อยละ)
ที่มา : French National Institute for Statistics and Economic Studies
76
ภาพที่ 3 ดุลการคลังต่อ GDP ฝรั่งเศส (ร้อยละ)
2.1 สาเหตุการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะฝรั่งเศส หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัยส�ำคัญ ได้แก่ - มาตรการทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก วิกฤตเศรษฐกิจและ การเงินโลกในระหว่างปี 2551-2552 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจฝรั่งเศส ภาครัฐจึงจ�ำเป็นต้องด�ำเนินมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ (Expansionary fiscal policy) ในช่วงดังกล่าว ซึ่งได้ส่งผลให้รายจ่ายภาครัฐพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ โดย ในปี 2552 ภาครัฐเพิ่มรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงเงินทั้งสิ้น 38.3 พันล้านยูโร ขณะที่รายรับลดลงจากภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย (ภาพที่ 4) ท�ำให้ประเทศฝรั่งเศสขาดดุลการคลังสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2552 ที่ร้อยละ 7.6 ของ GDP (ภาพที่ 3) และระดับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมาก จากร้อยละ 68.2 ของ GDP ในปี 2551 เป็นร้อยละ 79.2 ในปี 2552 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 11.0 ในระยะเวลาเพียง 1 ปี (ภาพที่ 2) ภาพที่ 4 รายได้และรายจ่ายภาครัฐ (ร้อยละต่อ GDP)
ภาพที่ 5 โครงสร้างหนี้สาธารณะฝรั่งเศส
ที่มา : French National Institute for Statistics and Economic Studies
- รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมทีอ่ ยูใ่ นระดับสูง โดยฝรัง่ เศสเป็นหนึง่ ในประเทศทีร่ ายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมอยู่ ในระดับสูงที่สุดประเทศหนึ่ง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รายจ่ายเพื่อสวัสดิการสังคมปรับตัวสูงขึ้นมาก จากร้อยละ 3.1 ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2543 เป็นร้อยละ 10.3 ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2554 (ภาพที่ 5) ทั้งนี้ หากวิเคราะห์โครงสร้างรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม ภาครัฐในปี 2554 ที่มีมูลค่ารวม 320.9 พันล้านยูโร พบว่ารายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านการรักษาพยาบาล และรองลงมา คือเบี้ยเลี้ยงของผู้สูงอายุ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.5 และร้อยละ 32.3 ของรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมรวม ตามล�ำดับ (ภาพที่ 6)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
77
ภาพที่ 6 โครงสร้างรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมฝรั่งเศส ปี 2554
ที่มา : Ministère de l'Economie et des Finance, France
2.2 ผลกระทบจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น - ผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจฝรัง่ เศส การส่งผ่านผลกระทบของวิกฤตหนีส้ าธารณะในประเทศสมาชิก ยูโรโซนที่ประสบปัญหา (กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน หรือกลุ่มประเทศ GIIPS) มายังเศรษฐกิจจริงของประเทศ สมาชิกยูโรโซน ผ่านความเกีย่ วเนือ่ งเชือ่ มโยงในมิตกิ ารค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกยุโรป ผนวกกับระดับหนีส้ าธารณะ ฝรัง่ เศสในปัจจุบนั ทีอ่ ยูใ่ นระดับค่อนข้างสูง ส่งผลให้ภาครัฐไม่มเี ครือ่ งมือทีจ่ ะกระตุน้ เศรษฐกิจเพิม่ เติม อันท�ำให้เศรษฐกิจฝรัง่ เศส ชะลอลงต่อเนือ่ ง โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรก ปี 2555 เศรษฐกิจฝรัง่ เศสขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น (ภาพที่ 7) นอกจากนี้ อัตราการว่างงานยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2555 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ร้อยละ 10.3 ของก�ำลังแรงงานรวม (ภาพที่ 8) ภาพที่ 7 อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจฝรั่งเศส
ที่มา : CEIC
78
ภาพที่ 8 อัตราการว่างงานฝรั่งเศส
ที่มา : CEIC
- ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน หนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับเศรษฐกิจในภาพรวมที่ ยังคงอยู่ในภาวะที่เปราะบางนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกในปี 2551 ส่งผลให้ภาครัฐยังคงต้องใช้งบประมาณเพื่อ สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมากและกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Spread) ของประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนีเพิ่มสูงขึ้น (ภาพที่ 9) ท�ำให้ภาระดอกเบี้ยฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2552 ภาพที่ 9 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนรัฐบาลฝรั่งเศสและเยอรมนีอายุ 10 ปี
ที่มา : French National Institute for Statistics and Economic Studies
- จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการคลังดังกล่าวท�ำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่าง ๆ ได้ปรับลดอันดับ ความน่าเชือ่ ถือของพันธบัตรรัฐบาลฝรัง่ เศสลง โดยล่าสุดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 Moody’s ได้ปรับลดอัตราความน่าเชือ่ ถือ ประเทศฝรั่งเศสลง 1 ระดับ จากระดับสูงสุดที่ Aaa เหลือ Aa1 และมีแนวโน้มเชิงลบ (Negative Outlook) ภายหลังจากที่ S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 13 มกราคม 2555 ลง 1 ระดับ จากระดับสูงสุดที่ AAA มาอยู่ที่ระดับ AA+ และมีแนวโน้มเชิงลบ (Negative Outlook) ขณะที่ Fitch ได้ออกมาประกาศเตือนว่าอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ประเทศฝรั่งเศสในปี 2556 ประมาณการเศรษฐกิจไทย
79
อนาคต
2.3 ปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อเสถียรภาพการคลังฝรั่งเศสในอนาคต ปัญหาฐานะการคลังของประเทศฝรั่งเศสมีแนวโน้มเรื้อรัง จากความเสี่ยงภาระทางการคลังที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน
- พฤติกรรมการใช้จ่ายด้านบริการแพทย์ของประชาชนที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อเสถียรภาพ การคลังในอนาคต ประชาชนฝรัง่ เศสใช้บริการด้านการแพทย์ในระดับสูงต่อเนือ่ ง ส่งผลให้รายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลของ รัฐบาลฝรั่งเศส (Health Care Spending) อยู่ในระดับสูงเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศ OECD ที่ร้อยละ 11.6 ของ GDP (ภาพที่ 10) รองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเนเธอร์แลนด์ที่อยู่ที่ร้อยละ 17.6 และร้อยละ 12.0 ของ GDP ตามล�ำดับ ภาพที่ 10 รายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลของรัฐบาลฝรั่งเศส
ที่มา : OECD
- สังคมผู้สูงอายุที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายจ่ายภาครัฐ โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission : EC) คาดการณ์ว่า ในปี 2603 ประชากรผู้สูงอายุฝรั่งเศสจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยในจ�ำนวนนี้คาดว่า จ�ำนวนผู้สูงอายุมากจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 ส่วนหนึ่งจากการที่ประชากรยุค Baby Boom (ประชากรที่เกิดในระหว่างปี 24932503) มีอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy at Birth) เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ สังคม ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องดังกล่าวจะท�ำให้รัฐบาลจ�ำเป็นต้องเพิ่มรายจ่ายส�ำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ (1) ค่ารักษาพยาบาล และ (2) เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ EC ประเมินว่า สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลให้การใช้จ่ายภาครัฐบาลของฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นจากเดิม อีกร้อยละ 2 ของ GDP ระหว่างปี 2553-2603 ซึง่ ต�ำ่ กว่าประเทศสมาชิกอืน่ ๆ ในสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม งบประมาณรายจ่าย ภาครัฐเกีย่ วกับผูส้ งู อายุฝรัง่ เศสในปัจจุบนั ทีอ่ ยูใ่ นระดับสูงทีส่ ดุ ของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ในภาพรวมรายจ่ายภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง กับสังคมผู้สูงอายุฝรั่งเศสในอนาคตอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ภาพที่ 11) ภาพที่ 11 รายจ่ายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ (ร้อยละต่อ GDP)
ที่มา : European Commission (2009), Sustainability Report 2009
80
ภาคการคลังฝรัง่ เศสทีย่ งั คงมีความเสีย่ ง ท่ามกลางวิกฤตหนีส้ าธารณะในกลุม่ ประเทศอืน่ ๆ ทีย่ งั คงเรือ้ รังส่งผลให้ทางการ ฝรัง่ เศสต้องเร่งรัดแก้ไขและด�ำเนินมาตรการทางการคลังให้มคี วามเข้มงวด (Tightening Fiscal Policy) มากขึน้ ซึง่ รัฐบาลฝรัง่ เศส ได้ใช้นโยบายส�ำคัญแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนือ่ งในช่วงทีผ่ า่ นมา ถึงแม้วา่ นาย Francois Hollande ได้แสดงจุดยืนทีจ่ ะ กระตุน้ เศรษฐกิจมากกว่าการด�ำเนินนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง นับตัง้ แต่กอ่ นการชนะการเลือกตัง้ ในเดือนพฤษภาคม 2555 อย่างไรก็ตาม ภายหลังเข้ารับต�ำแหน่ง ท่าทีของนาย Hollande ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป โดยนาย Hollande ไม่ได้ ยึดติดกับนโยบายสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่ได้หาเสียงไว้
3. การแก้ไขปัญหาทางการคลังของรัฐบาลฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามปรับโครงสร้างทางการคลัง (Fiscal Consolidation) เพื่อลดผลกระทบ โดยทางการฝรั่งเศส ได้ออกร่างกฎหมายปรับโครงสร้างทางการคลังระหว่างปี 2554-2557 (Fiscal Consolidation in the Multi-Annual Budget Framework Law) ซึง่ มีเป้าหมายทีจ่ ะปรับลดระดับการขาดดุลทางการคลังให้ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ GDP ในปี 2556 และเหลือไม่เกิน ร้อยละ 2.0 ของ GDP ในปี 2557 เพือ่ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ในการท�ำแผน รักษาเสถียรภาพทางการคลัง (Stability Program) ในปี 2553 ซึ่งล่าสุดในเดือนธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุมัติ ผ่อนผันระยะเวลาในการตัดลดการขาดดุลงบประมาณของประเทศฝรั่งเศสให้อยู่ในระดับต�่ำกว่าร้อยละ 3.0 ของ GDP ไปอีก 1 ปี จากปี 2556 เป็นปี 2557 ทัง้ นี้ รัฐบาลฝรัง่ เศสออกมาตรการเพิม่ รายได้และลดรายจ่ายงบประมาณในหลายส่วน อาทิ การปฏิรปู การจัดเก็บภาษี เพือ่ สนับสนุนให้มกี ารลงทุนในเครือ่ งมือเครือ่ งจักรเพิม่ ขึน้ โดยมุง่ เน้นให้มปี ระสิทธิภาพการผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ (ผ่านการปรับลดอัตราภาษี แรงงานและภาษีเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่ได้ปรับเพิ่มอัตราภาษีอสังหาริมทรัพย์) นอกจากนี้ ทางการฝรั่งเศสได้ออกมาตรการ เพิ่มการจัดเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งได้เพิ่มอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้สูง ในส่วนของงบประมาณรายจ่าย ทางการฝรั่งเศสได้มีความพยายามที่จะปฏิรูประบบบ�ำนาญ (Pension Reform) เพื่อลดภาระรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม ผ่านการออกกฎระเบียบให้มีความเข้มงวดในการจ่ายเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุให้มากขึ้น อาทิ การเพิ่มอายุการเกษียณ การปรับเพิ่ม การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนบ�ำนาญ (Pension Fund) เป็นต้น นอกจากมาตรการต่าง ๆ ที่ประเทศฝรั่งเศสได้ด�ำเนินการเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังดังกล่าวแล้ว ทางการฝรั่งเศส จ�ำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานของภาครัฐ เนื่องจากสัดส่วนรายจ่ายประจ�ำที่ค่อนข้างสูง จากการที่มีพนักงานของรัฐ เป็นจ�ำนวนมาก (กว่าร้อยละ 20 ของก�ำลังแรงงานรวม) อีกทั้งจ�ำเป็นต้องมีการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในกระบวนการร่าง และตรวจสอบนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะท�ำให้งบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากการด�ำเนินมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประเทศ
4. สรุป ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่ก�ำลังเผชิญกับภาระทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ สมาชิกยูโรโซนทีป่ ระสบปัญหา และส่งผ่านผลกระทบมายังเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในยูโรโซนรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศ ฝรัง่ เศส อีกทัง้ ยังส่งผลลบต่อความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุนทัว่ โลกทีย่ งั คงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชดิ ดังนัน้ การด�ำเนินนโยบาย การคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีข้อจ�ำกัดมากขึ้น นอกจากนี้ ในระยะต่อไปประเทศฝรั่งเศสยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการคลัง ทั้งจากพฤติกรรม การใช้บริการด้านการแพทย์ของประชากรที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐอุดหนุนการใช้บริการทางการแพทย์และค่ายาในระดับ สูงต่อเนื่อง รวมถึงสังคมผู้สูงอายุที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาก อันจะส่งผลกระทบต่อรายจ่ายด้านเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ รวมถึงรายจ่าย ด้านสุขภาพของประเทศฝรั่งเศสในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจ�ำเป็นต้องปรับโครงสร้างทางการคลัง โดยในช่วงที่ผ่านมาทางการฝรั่งเศสได้ด�ำเนินมาตรการ เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายภาครัฐในหลายส่วน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อเสถียรภาพทางการคลังในอนาคต อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาด้านการคลังดังกล่าวควรได้รบั การติดตามอย่างใกล้ชดิ เนือ่ งจากการแก้ไขปัญหาด้านการ คลังจ�ำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ขณะทีป่ ระเทศฝรัง่ เศสยังคงตกอยูท่ า่ มกลางการแก้ไขปัญหาหนีส้ าธารณะของกลุม่ ประเทศ GIIPS ที่เรื้อรังต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี ซึ่งความเชื่อมโยงทั้งในด้านการค้าและการเงินในระดับสูงกับกลุ่มประเทศดังกล่าวอาจส่ง ผลลบกับภาพรวมเศรษฐกิจ รวมถึงเสถียรภาพทางการคลังของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจท�ำให้ประเทศฝรั่งเศสประสบปัญหา การคลังเรือ้ รังต่อเนือ่ ง และอาจท�ำให้การปฏิรปู ทางการคลังของรัฐบาลฝรัง่ เศสใช้ระยะเวลามากขึน้ อันจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ ของประเทศในระยะยาว ประมาณการเศรษฐกิจไทย
81
บทวิเคราะห์ เรื่อง การปรับตัวของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร อุตสาหกรรมการผลิตเครือ่ งใช้ไฟฟ้ามีบทบาทส�ำคัญต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยเป็น อย่างมาก สะท้อนได้จากสัดส่วนของการผลิตเครือ่ งใช้ไฟฟ้าในการผลิตอุตสาหกรรมรวมทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จากร้อยละ 3.7 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 5.8 ในปี 2552 หนึ่งในสินค้าที่อุตสาหกรรมหลักของไทยในหมวด เครือ่ งใช้ไฟฟ้า ได้แก่ เครือ่ งปรับอากาศ โดยการผลิตเครือ่ งปรับอากาศคิดเป็นน�ำ้ หนักประมาณร้อยละ 41.8 ของ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จึงท�ำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในสาขา การผลิตนีเ้ กีย่ วกับลักษณะและโครงสร้างของอุตสาหกรรม การฟืน้ ตัวของอุตสาหกรรมภายหลังเหตุการณ์อทุ กภัย รวมถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต ❍❍ แม้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงปลาย ปี 2554 แต่สามารถฟืน้ ตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึง่ เป็นปัจจัยสนับสนุนส�ำคัญต่อการฟืน้ ตัวของ GDP ของไทย อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศยังคงเผชิญอุปสรรคบางประการ เช่น ภาวะการแข่งขันในตลาด โลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจากจีน ที่สามารถครองส่วนแบ่งในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัญหา เชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปทีส่ ง่ ผลกระทบต่อก�ำลังซือ้ การเพิม่ กฎระเบียบข้อ บังคับของประเทศคู่ค้าต่อผลิตภัณฑ์ ตลอดจนอุปสรรคภายในประเทศ อาทิ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ และต้นทุนการผลิตที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มในการมีการปรับอัตราภาษีด้านสิ่งแวดล้อม ❍❍ ดังนั้น ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ� ำเป็นที่จะต้องหาแนวทางการปรับตัวและ ร่วมพัฒนา เพื่อให้อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศมีศักยภาพในการแข่งขันต่อไปได้ อาทิ การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ และการพัฒนาก�ำลัง แรงงาน ❍❍
บทน�ำ ภาคอุตสาหกรรมได้เผชิญกับมหาอุทกภัยไปในช่วงปลายปี 2554 ที่ส่งผลให้ภาคการผลิตต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์น�้ำท่วมบริเวณนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี ตลอดจนเหตุการณ์อทุ กภัยดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ทีไ่ ม่ โดนน�ำ้ ท่วม แต่เป็นการผลิตชิน้ ส่วนเพือ่ ประกอบต่อเนือ่ ง (Supply Chain) ส่งผลให้ GDP การผลิตภาคอุตสาหกรรม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 หดตัวลงอย่างรุนแรงร้อยละ 21.6 ต่อปี และยังคงส่งผลกระทบถึงไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ที่ยังคงหดตัว ต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.3 (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาไตรมาสที่ 2 ปี 2555 พบว่า GDP การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมา ขยายตัวเป็นบวกทีร่ อ้ ยละ 2.4 โดยปัจจัยส�ำคัญมาจากการฟืน้ ตัวของอุตสาหกรรมส�ำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ
1
82
ผู้เขียน : นายธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ เศรษฐกรช�ำนาญการ นางสาวอรอุมา หนูช่วย เศรษฐกรโท ส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง ส�ำนักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
ภาพที่ 1 อัตราการเปลี่ยนแปลงของ GDP ภาคอุตสาหกรรม
ที่มา : ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ค�ำนวณโดย สศค.
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาวะโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยพบว่า การผลิตเครื่องปรับอากาศมีบทบาทส�ำคัญ ต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยหากพิจารณาจากสัดส่วนการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อการผลิต ภาคอุตสาหกรรมรวมพบว่า เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 5.8 ในปี 25522 นอกจากนี้มีมูลค่าการส่งออก เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันจาก 1.08 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2543 เป็น 3.88 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 ซึ่งการผลิตเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 903 ของยอดการผลิตเครื่องปรับอากาศ ทั้งหมด ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศยังเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการฟื้นตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรมภายหลัง เหตุการณ์อุทกภัย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างรวดเร็ว โดยสะท้อนจากการผลิตเครื่องปรับอากาศที่หดตัว ร้อยละ 53.7 ต่อปี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มาเป็นขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ตามล�ำดับ จากสาเหตุ ส�ำคัญคือ อุปสงค์ที่ตกค้างทั้งจากในประเทศและต่างประเทศนับจากช่วงปลายปี 2554 ท�ำให้เกิดการเร่งผลิตในอุตสาหกรรมที่ มีความต้องการในช่วงการฟื้นฟูหลังน�้ำท่วม อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่ 3 กลับพบว่า การผลิตเครื่องปรับอากาศกลับ มาชะลอตัวลงไปเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เนื่องจากอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เน้น การผลิตเพื่อการส่งออก นั่นคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (EU) (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ
ที่มา : ส�ำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ค�ำนวณโดย สศค. 2 3
ที่มา : ค�ำนวณจาก http://www.nesdb.go.th/ ตารางที่ 19 Gross Domestic Product Originating from Manufacturing ข้อมูลอ้างอิงจากการสัมภาษณ์ คุณบรรจง คุณยศยิ่ง ต�ำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ บจ.มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูเมอร์ โปรดักส์ ประเทศไทย และเป็นหนึ่ง ในคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็น
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
83
จากความส�ำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตเครือ่ งปรับอากาศและแนวโน้มของอุตสาหกรรมดังกล่าวทีม่ คี วามอ่อนไหวต่อ ปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจึงด�ำเนินการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ และแนวโน้มของอุตสากรรมเครื่องปรับอากาศ โดยได้ท�ำการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการเกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรม ดังกล่าวโดยตรง4 ซึ่งสามารถน�ำมาสรุปเกี่ยวกับลักษณะและโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรม ปัญหาและอุปสรรค และแนวโน้ม ในอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ลักษณะและโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมการผลิตเครือ่ งปรับอากาศในประเทศไทย ประกอบด้วย 1) เครือ่ งปรับอากาศทีต่ ดิ ตัง้ ตามบ้านพักอาศัยและ อาคารส�ำนักงาน 2) เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ 3) คอมเพรสเซอร์ และ 4) ชิ้นส่วนประกอบอื่น ๆ ทั้งนี้ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ เครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่เป็นการผลิตภายในประเทศ โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตชั้นน�ำจากต่างประเทศ (ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา) ซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทย อาทิ บจ. มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) บจ. ซัมซุง (ประเทศไทย) บจ. พานาโซนิค เมนเนจเมนท์ (ประเทศไทย) บจ. แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) บจ. ซันโย (ไทยแลนด์) และอื่น เป็นต้น (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 ส่วนแบ่งตลาดเครื่องปรับอากาศ ปี 2553
ที่มา : กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทของเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศที่ใช้กันโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 1) เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) มีขนาดตั้งแต่ 9,000-30,000 BTU โดยตัวเครื่องแบ่งเป็น 2 ส่วนส�ำคัญ ได้แก่ ก) ส่วนที่อยู่นอกห้อง (Outdoor Unit หรือ Condensing Unit5) ประกอบด้วย Compressor แผงท่อระบายความร้อน และ พัดลมระบายความร้อน และ ข) ส่วนที่อยู่ภายในห้อง (Indoor Unit หรือ Fan coil Unit6) มีหน้าที่ท�ำความเย็น ซึ่งจะมีทั้งแบบ แขวนเพดาน แบบติดผนัง และแบบตัง้ พืน้ ซึง่ เครือ่ งปรับอากาศแบบแยกส่วนนัน้ เป็นสินค้ายอดนิยม (Product Champion) ของ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศของไทย
ข้อมูลเนื้อหาในบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากสัมภาษณ์และการอนุเคราะห์ข้อมูลจากคุณบรรจง คุณยศยิ่ง คอนเดนซิง ยูนิต (Condensing unit) หรือที่เรียกกันว่า “คอยล์ร้อน” หรือ “Outdoor unit” ท�ำหน้าที่ระบายความร้อน ซึ่งภายในเครื่องประกอบด้วย คอมเพรสเซอร์ แผงคอยล์ร้อน และชุดมอเตอร์พัดลม 6 แฟนคอยล์ ยูนิต (Fan coil unit) หรือที่เรียกกันว่า “คอยล์เย็น” หรือ “Indoor unit” ท�ำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้อง ซึ่งภายในเครื่องประกอบด้วย แผงคอยล์เย็นและชุดมอเตอร์พัดลม 4 5
84
2) เครื่องปรับอากาศแบบเเขวนติดหน้าต่าง (Window Type) มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 BTU เป็นเครื่องปรับอากาศ ที่รวมทั้ง Condensing Unit และ Fan coil Unit อยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งสามารถติดตั้งโดยการฝังที่ก�ำแพงห้องได้เลยโดยไม่ต้อง เดินท่อน�ำ้ ยา จึงเหมาะกับพืน้ ทีต่ ดิ ตัง้ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นบริเวณช่องหน้าต่างหรือเจาะช่องทีม่ ผี นังแข็งแรง หรือเหมาะส�ำหรับอาคาร ที่มีพื้นที่จ�ำกัดไม่สามารถติดตั้ง Condensing Unit ได้ อย่างไรก็ดี แบบ Window Type มีข้อเสียตรงที่ในช่วงเวลาเปิดเครื่องจะ มีเสียงดังจากการท�ำงานของ Compressor และท�ำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและผนัง นอกจากนี้ หากเครื่องมีขนาด ใหญ่เกินไปจะมีปญ ั หาในการติดตัง้ เพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน�ำ้ หนักมากได้ ส่งผลให้ในปัจจุบนั เครือ่ งปรับอากาศ ประเภท Window Type ไม่เป็นที่นิยมในบ้านเรา มีเพียงบางส่วนที่ผลิตเพื่อส่งออกไปบางประเทศ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ฯลฯ เนื่องจากลักษณะของอาคารหรือห้องชุดส่วนใหญ่ในประเทศดังกล่าวมีพื้นที่ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ในปัจจุบันการผลิตเครื่องปรับอากาศได้มีการพัฒนามากขึ้นตามความต้องการใช้สอยของผู้บริโภค โดยบาง บริษัทเริ่มมีการผลิตและจัดจ�ำหน่ายระบบปรับอากาศประเภทใหม่ที่สามารถควบคุมการท�ำงานของเครื่องปรับอากาศแต่ละตัว ได้จากส่วนกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เรียกว่าระบบ City Multi โดยที่ Condensing Unit (มีขนาด BTU ตั้งแต่ 38,200–477,700) เพียงเครื่องเดียว สามารถควบคุมเครื่องปรับอากาศได้ตั้งแต่ 1-50 เครื่อง ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ ในการติดตั้ง และ Fan coil Unit สามารถเดินท่อน�้ำยาได้ไกลถึง 100 เมตร ท�ำให้ง่ายต่อการออกแบบการติดตั้งและรองรับ การขยายระบบเพิ่มเติมในอนาคต (ภาพที่ 4) ภาพที่ 4 เครื่องปรับอากาศประเภท City Multi
ที่มา : http://www.lskair.com/product_citymulti.html
ตลาดส่งออกของเครื่องปรับอากาศไทย การผลิตเครื่องปรับอากาศของไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยมีการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียมาก ที่สุด (สัดส่วนร้อยละ 52.4) ตะวันออกกลาง (สัดส่วนร้อยละ 2.0) และอเมริกาใต้ (สัดส่วนร้อยละ 1.1) โดยตลาดส่งออก 5 อันดับ แรกของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย และสิงคโปร์ ตามล�ำดับ (ตารางที่ 1 และตารางที่ 2)
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
85
ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบรายภูมิภาค
(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบรายภูมิภาค ประเทศ 1. เอเชีย %yoy 2. ตะวันออกกลาง %yoy 3. อเมริกาใต้ %yoy
2553
2554
2555 (ม.ค.-พ.ย.)
2,182.10 14.84 81 27.11 44.3 20.47
2,032.80 16.18 77.9 32.83 41.1 20.62
2,372.50 16.71 113.7 45.87 47.8 16.3
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
ตลาดออสเตรเลีย ประเทศไทยมีการส่งออกเครือ่ งปรับอากาศและส่วนประกอบไปยังออสเตรเลียมากทีส่ ดุ โดยในปี 2554 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 367.13 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทยไปยังออสเตรเลียยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่าสูงถึง 367.20 ล้านเหรียญสหรัฐ และที่ส�ำคัญออสเตรเลียเป็นประเทศที่การน�ำเข้า เครื่องปรับอากาศมากเป็นอันดับ 9 ของโลก และที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นก็คือ ออสเตรเลียมีการน�ำเข้าเครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบจากไทยมากที่สุดถึงร้อยละ 39.5 ทั้งนี้ การน�ำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของออสเตรเลียมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามภาวะเศรษฐกิจของออสเตรเลียที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี ประกอบกับในปัจจุบันความนิยมของคนสมัยใหม่ที่ออกมาพักอาศัยเดี่ยวมากขึ้น ทั้งบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม ซึ่งจะเป็น ปัจจัยสนับสนุนให้ออสเตรเลียมีการน�ำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ตลาดอินโดนีเซีย ประเทศไทยส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบไปยังประเทศอินโดนีเซียมากเป็นอันดับ 2 รองจากออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออก 250.61 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 และใน 11 เดือนแรกของปี 2555 ไทยส่งออก เครื่องปรับอากาศไปยังอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเป็น 348.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดอินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ไทยต้องให้ ความส�ำคัญ เนือ่ งจากอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศทีม่ กี ารขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง โดยในไตรมาสที่ 3/2555 เศรษฐกิจ อินโดนีเซียขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่องจะเป็นปัจจัย บวกให้มีการน�ำเข้าสินค้าจากไทยอย่างต่อเนื่อง ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบรายประเทศ
(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
มูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ประเทศ 1. ออสเตรเลีย %yoy 2. อินโดนีเซีย %yoy 3. ญี่ปุ่น %yoy 4. อินเดีย %yoy 5. สิงคโปร์ %yoy 6. รวมทุกประเทศ %yoy ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
86
2553 384.26 27.32 203.6 43.53 254.44 20.78 158.94 119.26 194.27 37.72 3,403.14 37.62
2554
2555 (ม.ค.-พ.ย.)
367.13 -4.46 250.61 23.09 366.87 44.19 158.73 -0.13 218.81 12.63 3,881.24 14.05
367.2 5.3 348.8 52.31 321.56 8.01 242.65 58.6 199.82 -4.64 3,765.76 3.55
ส�ำหรับในส่วนของการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปยังตลาดอื่น ๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย และสิงคโปร์ ที่เป็นตลาดส่งออก หลักใน 1-5 อันดับแรกของไทยพบว่า ในช่วงเวลา 11 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์มีมูลค่าลดลงเมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีกอ่ น เนือ่ งจากเศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสูภ่ าวะชะลอตัว (เฉลีย่ 3 ไตรมาสแรกของปี 2555 Real GDP ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.4 ต่อปี ชะลอจากร้อยละ 4.9 ในปี 2554) ซึ่งกระทบต่อค�ำสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากไทย อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทยก�ำลังเผชิญภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตของอุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศจีนทีส่ ามารถเพิม่ ส่วนแบ่งการส่งออกในตลาดโลกอย่างต่อเนือ่ ง7 โดยมี ส่วนแบ่งตลาดกว่า 1 ใน 4 ของตลาดเครือ่ งปรับอากาศโลก ซึง่ ส่งผลกระทบต่อผูผ้ ลิตไทยค่อนข้างมาก แม้ไทยจะสามารถเพิม่ ส่วน แบ่งตลาดโลกได้เพิ่มขึ้น แต่ก็จัดว่าเป็นอัตราเพิ่มที่อยู่ในระดับต�่ำเมื่อเทียบกับการขยายตัวการส่งออกเครื่องปรับอากาศของจีน
ปัจจัยท้าทายของผู้ประกอบการไทย แม้อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศจะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ได้ค่อนข้างสูง เนื่องจาก การผลิตเครือ่ งปรับอากาศในประเทศไทยมีการใช้วตั ถุดบิ /ชิน้ ส่วนและส่วนประกอบภายในประเทศ (Local Content) ในอัตราส่วน ที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งมีการจ้างแรงงานภายในประเทศเป็นจ�ำนวนมากอีกด้วยและมีการขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศก�ำลังเผชิญกับปัจจัยท้าทายหลายประการ ดังต่อไปนี้ 1) การแข่งขันที่มากขึ้นจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีนและประเทศเกาหลีที่เร่งพัฒนาการผลิตให้มี คุณภาพมากขึ้น และสามารถคงต้นทุนการผลิตได้อยู่ในระดับต�่ำ 2) กฎระเบียบทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันบางประเทศคู่ค้าได้มีการน�ำกฎระเบียบหรือข้อจ�ำกัดต่าง ๆ มาบังคับใช้กับการค้าระหว่างประเทศ อาทิ การประกาศใช้ระเบียบ REACH8 ของสหภาพยุโรปส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าใน การจดทะเบียนสารเคมี และแนวโน้มการปรับเปลีย่ นสารเคมีทใี่ ช้ในเครือ่ งปรับอากาศและเครือ่ งท�ำความเย็นเพือ่ ลดความเสีย่ ง ต่อสุขภาพและสิง่ แวดล้อม ซึง่ มาตรการเหล่านีล้ ว้ นส่งผลกระทบต่อต้นทุนของอุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศของไทยทีต่ อ้ งปรับ เปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิต และหาแนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับกฎระเบียบเหล่านี้ 3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะ หากพิจารณาจากค่าจ้างแรงงานรวม (ในภาคการผลิตอุตสาหกรรมในราย อุตสาหกรรมย่อย) ที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหลังจากนโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต�่ำมีผลบังคับใช้ คาดว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับ ผลกระทบมากคือ อุตสาหกรรมที่เน้นแรงงานเป็นหลัก (Labor Intensive Industry) อาทิ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า มีต้นทุน ค่าจ้างเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 3.14–7.67 ของค่าจ้างรวมที่ต้องจ่ายเพิ่ม ซึ่งเป็นการกระทบต้นทุนในระดับต�่ำ (ตารางที่ 2) ส�ำหรับ ในส่วนของ บจ. มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูเมอร์ โปรดักส์ ประเทศไทย นั้น มีต้นทุนค่าจ้างแรงงานประมาณร้อยละ 6 ของราคา ขาย ขณะที่ยอดขายเครื่องปรับอากาศโดยรวมในประเทศของปี 2555 เทียบกับสองปีที่แล้ว ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 209 เนื่องจากผู้ประกอบการได้ผลิตเต็มก�ำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่สูง
จีนมีการส่งออกเครือ่ งปรับอากาศ จ�ำนวน 42.7 ล้านเครือ่ ง ในปี 2553 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 7.81 พันล้าน USD อัตราการขยายตัวร้อยละ 52.1 ต่อปี (%yoy) โดยมีราคาเฉลี่ยต่อเครื่องที่ 183 USD ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2560 จะมีปริมาณการจ�ำหน่ายเครื่องปรับอากาศรวมในตลาดโลกประมาณ 144.3 พันล้านเครื่อง (ที่มา : The statistics by China Customs) 8 กฎระเบียบการควบคุมเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป (REACH Regulation) มาจาก R : Registration (การจดทะเบียน) E : Evaluation (การประเมินความเสี่ยง) A : Authorization and Restriction (การอนุญาตและจ�ำกัดการใช้) และ CH : Chemicals (เคมี) 9 แนวโน้มความต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศปรับเพิ่มสูงขึ้นตามสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้ผู้ประกอบการในบริษัทต่าง ๆ ด�ำเนินการ เพิ่มก�ำลังการผลิตขึ้นอีกร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้ ประเมินว่าตลาดเครื่องปรับอากาศในประเทศไทย ปี 2555 จะเติบโตประมาณร้อยละ 10 มาอยู่ที่ 1 ล้านเครื่อง จากประมาณ 9 แสนเครื่อง เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแบรนด์มิตซูบิชิตั้งเป้าครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ไว้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 30 7
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
87
ตารางที่ 3 ร้อยละของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำที่มีต่ออุตสาหกรรมแต่ละประเภท ร้อยละของค่าจ้างที่ต้องจ่ายเพิ่ม อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย อุตสาหกรรมเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้และไม้ก๊อก อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ท�ำจากแร่อโลหะ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์รถพ่วงและรถกึ่งรถพ่วง อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
กรณีต�่ำ
กรณีสูง
6.44 11.05 10.7 8.87 9.71 4.58 3.75 5.65 3.14 3.78 2.09 6.73
11.07 18.13 17.76 15.41 14.91 7.96 7.65 10.42 5.99 7.67 4.26 11.62
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดยส�ำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
ดังนัน้ อัตราการปรับเพิม่ ขึน้ ของต้นทุนจากค่าแรงคาดว่าจะยังคงต�ำ่ กว่าอัตราการเพิม่ ขึน้ ของยอดขายทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ จากปัจจัยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ การปรับขึ้นเงินเดือนของภาครัฐ โครงการรับจ�ำน�ำสินค้าเกษตรที่ส่งผลให้ เกษตรกรมีรายได้เพิม่ ขึน้ จากราคาสินค้าเกษตรทีป่ รับสูงขึน้ และนโยบายปรับเพิม่ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ดังกล่าว ขณะทีก่ ารส่งออกคาดว่า จะยังคงมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดอเมริกาและตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันว่าผลกระทบต่อต้นทุน ค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย (Unit Labor Cost) และต้นทุนรวมต่อหน่วย (Unit cost) นั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ (นอกเหนือไปจาก ปัจจัยการเพิม่ ขึน้ ของค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ซึง่ กระทบต่ออุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศค่อนข้างน้อยดังกล่าว) ได้แก่ ผลิตภาพของแรงงาน ซึ่งหากมีการปรับเพิ่มควบคู่กันกับการปรับค่าจ้างก็จะช่วยลดแรงกดดันต่อต้นทุน ดังนั้น การปรับค่าจ้างขั้นต�่ำ 300 บาท จะเป็น การส่งสัญญาณให้เกิดการปรับตัวครัง้ ใหญ่ในการเพิม่ ผลิตภาพ ทัง้ จากการศึกษาฝึกทักษะ การลงทุนในเทคโนโลยี และการบริหาร จัดการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ (และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง) ทัง้ นี้ ส่วนทีส่ ร้างความกังวลให้แก่ผปู้ ระกอบการอุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศมากกว่าคือ ประเด็นของการขาดแคลน แรงงานที่มีฝีมือ (Skilled Labor) เนื่องจากปัจจุบันแรงงานในวัยท�ำงานไม่นิยมท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะจบ การศึกษาในสายวิชาชีพ (ปวช. และ ปวส.) มาโดยตรง ประกอบกับการเรียนการสอนในสายวิชาชีพ ณ ปัจจุบันก็ไม่ค่อยเน้น การพัฒนาฝีมือในภาคปฏิบัติเท่าที่ควร แต่จะเน้นการเรียนการสอนเพื่อการเรียนต่อในสายสามัญมากกว่า ดังนั้น อุตสาหกรรม เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่จ�ำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะและความช�ำนาญด้านการผลิตและการบริการหลัง การขายอย่างต่อเนือ่ ง จึงประสบปัญหาการขาดแคลนช่างบริการ (ติดตัง้ และบ�ำรุงรักษา) ค่อนข้างมาก ซึง่ จากปัญหาขาดแคลน แรงงานดังกล่าวท�ำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จ่ายค่าจ้างสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับค่าจ้างขั้นต�่ำที่ 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ ผู้ประกอบการกังวลมากคือประสิทธิภาพของแรงงานที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับค่าแรงที่สูงขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีของเครื่อง ปรับอากาศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความจ�ำเป็นที่ประสิทธิภาพและทักษะของแรงงานควรได้รับการพัฒนาให้สอดรับ กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังกล่าว
88
4) แนวโน้มการปรับภาษีสรรพสามิตเครือ่ งปรับอากาศ กรมสรรพสามิตได้มกี ารยกเลิกการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต เครือ่ งปรับอากาศทีม่ ขี นาดท�ำความเย็นต�ำ่ กว่า 72,000 BTU ต่อชัว่ โมง มาตัง้ แต่เดือนกันยายน 2552 อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการทบทวนว่าจะกลับมาเก็บภาษีดังกล่าวอีกครั้ง โดยจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการพบว่า แนวทาง การจัดเก็บสามารถแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือก ดังนี้ 4.1) การจัดเก็บในอัตราเดียวกันกับช่วงก่อนเดือนกันยายน 2552 คือ กลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตเครือ่ งปรับอากาศ ในอัตราร้อยละ 15 ของราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม 4.2) การจัดเก็บภาษีจากค่า EER (Energy Efficiency Ratio) โดยก�ำหนด “ค่ากลาง EER” ไว้ที่ 13 หากผูป้ ระกอบการ รายใดสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศมีค่า EER สูงกว่า 13 จะได้รับการปรับลดอัตราภาษี แต่หากผลิตได้ค่า EER ต�่ำกว่า 13 จะ ถูกจัดเก็บภาษีเพิ่ม โดยยกเลิกเกณฑ์ประหยัดไฟฟ้าในรูปแบบการติดฉลากประหยัดไฟ 4.3) การจัดเก็บ “ภาษีสรรพสามิตสิ่งแวดล้อม” ภายใต้แผนปฏิบัติการ “สรรพสามิตสีเขียว” (GREEN EXCISE TAX REFORM) ตามแนวคิด “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pay Principle) โดยแยกอัตราภาษีตามประเภทของน�้ำยาแอร์ อาทิ ผู้ประกอบการที่ผลิตเครื่องปรับอากาศประเภทที่ใช้น�้ำยาแอร์ R-410A ที่มีค่าการท�ำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential : GWP) = 1890 ควรเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น�้ำยาแอร์ R-407C ที่มีค่า GWP เพียง 1600 เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีการปรับอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าแนวทางใดก็จะส่งผลให้ราคาเครื่องปรับอากาศ ต้องปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนทางภาษีที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้แนวทางการจัดเก็บภาษีจะมีหลายทางเลือกดังกล่าว แต่ควรเป็นไป ในแนวทางที่บรรลุวัตถุประสงค์ส�ำคัญคือ เป็นการจัดเก็บเพื่อส่งเสริมหรือจูงใจให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบให้รองรับ การประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 5) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน�้ำยาแอร์ จากกฎระเบียบข้อบังคับที่ประเทศคู่ค้าก�ำหนดขึ้น ท�ำให้ ผูผ้ ลิตหรือโรงงานเครือ่ งปรับอากาศในประเทศไทยจ�ำเป็นต้องปรับตัว โดยในส่วนของน�ำ้ ยาแอร์นนั้ 10 ได้มกี ารปรับเปลีย่ นเพือ่ ลด ผลกระทบต่อสุขภาพและค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากเดิมที่เคยใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นเป็นสารจ�ำพวก CFCs (Chloro Fluoro Carbons) ซึ่งมีคุณสมบัติคือมีจุดเดือดที่ต�่ำกว่าสารทั่วไป จึงถูกน�ำมาใช้ในการท�ำความเย็น อย่างไรก็ดี เนื่องจากสาร CFC เป็นสารสังเคราะห์จากองค์ประกอบของธาตุ 3 ชนิด คือ คลอรีน (C) ฟลูออไรด์ (F) และโพรวีน (Cl) ซึง่ มีคณ ุ สมบัตไิ ปท�ำลาย โอโซนทีอ่ ยูใ่ นชัน้ บรรยากาศ โดยสาร CFC ในสารท�ำความเย็นของเครือ่ งท�ำความเย็นทีเ่ รารูจ้ กั กันก็คอื CFC-12 หรือน�ำ้ ยาแอร์เบอร์ 12 (R-12) ซึ่งเป็นสารท�ำความเย็นส�ำหรับตู้เย็น ตู้แช่ หรือตู้ท�ำน�้ำแข็ง และ CFC-11 หรือน�้ำยาแอร์เบอร์ 11(F-11) ซึ่งใช้ส�ำหรับ ล้างระบบท่อน�้ำยาแอร์หลังจากการซ่อมแซมระบบท่อ อย่างไรก็ตาม ต่อมากลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในประเทศยุโรปหรืออเมริกา ได้ก�ำหนดเป็นข้อบังคับใช้ให้ผู้ผลิตสินค้าที่ส่งป้อนให้กลุ่มลูกค้าประเทศดังกล่าวยกเลิกใช้สาร CFC ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งส�ำหรับ ประเทศไทยได้เข้าร่วมในพิธีสาร Montreal เมื่อปี 2528 และประกาศยกเลิกการใช้สาร CFC อย่างเป็นทางการในปี 254811 โดย เริม่ หันมาใช้สาร HCFC (Hydrochloroflurocabon) เป็นสารท�ำความเย็นทีม่ ผี ลท�ำลายชัน้ โอโซนเพียงร้อยละ 5 (มีคา่ ODP (Ozone Depletion Potential) = 5%) อาทิ น�ำ้ ยาแอร์เบอร์ 22 หรือ R-22 และ R-123 ซึง่ ใช้เป็นสารท�ำความเย็นในเครือ่ งปรับอากาศขนาด เล็กตามบ้านเรือนทัว่ ไป โดยในระยะต่อมาน�ำ้ ยาแอร์ได้ถกู พัฒนามาใช้สาร HFC (Hydroflorocabon) ซึง่ เป็นสารท�ำความเย็นทีล่ ด การท�ำลายชัน้ โอโซน (หรือมีคา่ ODP ใกล้เคียง 0) ได้แก่ น�ำ้ ยาแอร์เบอร์ R-134a R-407c12 และ R-410a ทีใ่ ช้เป็นสารท�ำความเย็น ระบบปรับอากาศในรถยนต์และเครื่องปรับอากาศตามบ้านในต่างประเทศ ทั้งนี้ ส�ำหรับในประเทศไทย สารท�ำความเย็น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันส�ำหรับเครื่องปรับอากาศตามบ้านเรือนทั่วไป คือ สารฟรีออน รหัส R410 เป็นหลัก ซึ่งมี
น�้ำยาแอร์ หรือ สารท�ำความเย็น หรือ น�้ำยาท�ำความเย็น หรือ ฟรีออน หรือ R หรือ F นั้นถูกผลิตขึ้นมาจากหินชนิดหนึ่งชื่อว่า ฟลูออสปาร์ ด้วยวิธีการหยด สารเคมีชนิดหนึ่งเพื่อให้หินนั้นเกิดการระเหิดเป็นแก๊สชนิดหนึ่งขึ้นมาเป็นสารไฮโดรฟลูออริค (HF) ที่มีสัดส่วนของ Hydrogen และ Fluorine ในระดับที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อรวมสารประกอบนี้เข้ากับคาร์บอนแล้วน�ำไปผลิตเป็นสารท�ำความเย็นในการผลิตน�้ำยาแอร์รุ่นต่าง ๆ 11 ตามข้อตกลงอนุสัญญาเวียนนา พิธีสาร Montreal ซึ่งเริ่มด�ำเนินการมาตั้งแต่ปี 2531 มีแผนที่จะเลิกการใช้สาร CFC ภายในปี 2539 และเลิกการใช้สาร HCFC (Hydro-Chloro-Fluoro-Carbon) ภายในปี 2573 โดยประเทศไทยเพิ่งประกาศยกเลิกการใช้สาร CFC ได้ในปี 2548 ช้ากว่าก�ำหนดการถึง 9 ปี ขณะนี้ประเทศไทย ได้ก�ำหนดใช้สาร HCFC-22 ที่มีอันตรายต่อชั้นบรรยากาศน้อยกว่าสาร CFC-12 แต่เทียบกับ 12 R-407C มีชื่อทางเคมีว่า Difluoromethane/Pentafluoroethane/Terafluoroethane ซึ่งมีค่าการท�ำให้เกิดภาวะเรือนกระจก GWP (Global Warming Potential) ต�่ำที่สุดคือ 1600 เมื่อเทียบกับน�้ำยาแอร์ R-22 ที่มีค่า GWP = 1700 และ R-410A มีค่า GWP = 1890 10
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
89
ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องท�ำการวิจัยและพัฒนาต่อไป เพราะในภาพรวมแล้วฟรีออนยังคงเป็นสาร ที่ตกค้างในบรรยากาศ (แม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อการท�ำลายชั้นโอโซนลดลง แต่ยังคงมีค่าก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกในระดับ ค่อนข้างสูง ขณะที่บางประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นและยุโรปมีการใช้สารฮาโลคาร์บอน แต่มีปัญหาเรื่องการติดไฟง่าย ส่วนสารโพรเพน แอมโมเนีย และ CO2 มีการใช้เป็นสารท�ำความเย็นเช่นกันโดยมีขอ้ ดีขอ้ เสียต่างกันออกไป และต้องพิจารณาถึงความสามารถใน การท�ำงานร่วมกับคอมเพรสเซอร์ดว้ ย) ทัง้ นี้ ส�ำหรับอุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศในไทย น�ำ้ ยาแอร์ยงั คงเป็นสินค้าทีผ่ ปู้ ระกอบการ ไทยยังคงต้องน�ำเข้าจากต่างประเทศ13 อาทิ จีนและอินเดีย เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากและอาจก่อให้เกิดมลพิษใน กระบวนการผลิต ดังนั้น การปรับเปลี่ยนคุณภาพของน�้ำยาแอร์ให้สอดคล้องกับข้อก�ำหนดของประเทศคู่ค้า จึงกระทบต่อต้นทุน ของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศให้สอดรับกับประเภทของน�้ ำยาที่ เปลี่ยนแปลงไป
แนวทางการพัฒนาของผู้ประกอบการไทย จากการแข่งขันทีร่ นุ แรงขึน้ ประกอบกับกฎระเบียบทางการค้าทีเ่ ข้มงวดขึน้ ดังนัน้ ทุกภาคส่วนทัง้ ผูป้ ระกอบการภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องจ�ำเป็นต้องร่วมมือกันยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศของไทย โดยแนวทางในการพัฒนาของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศมีดังนี้ 1) มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation) ในหลายด้าน อาทิ ด้านการออบแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาส่วนประกอบ ด้านกระบวนการผลิต ด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการ รวมทั้งสร้างมูลค่า (Value creation) ให้แก่ทุกภาคส่วนได้อย่างเป็นรูปธรรม 2) สร้างความจงรักภักดีกับตราสินค้า (Brand loyalty) เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น การท�ำให้ผู้บริโภคไว้ วางใจที่จะซื้อสินค้ายี่ห้อ (Brand) นั้น ๆ อย่างต่อเนื่องในหลายรุ่น จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นในการรักษายอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระยะยาว 3) หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย จ�ำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการวิจัย และพัฒนา (R&D) ที่เป็นรูปธรรมและสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในสายงานการผลิตได้มากขึ้น โดยเฉพาะการมุ่งเน้นให้มี การปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัยต่อสภาพแวดล้อมและกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่มีสัญชาติไทย คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากกว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากขาดโอกาสได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเท่าที่ควร ท่ามกลาง เทคโนโลยีทางการผลิตและกฎระเบียบข้อบังคับของอุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศทีเ่ ปลีย่ นไปอย่างรวดเร็ว ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการ SMEs จ�ำเป็นที่จะต้องปรับตัวโดยการพยายามผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการ ของตลาดที่มีความเฉพาะเจาะจง (Niche Market) มากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการต่างชาติที่มีขนาดใหญ่นั้นคาดว่าจะสามารถ รับมือกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งในส่วนนี้หน่วยงานภาครัฐควรหามาตรการเพื่อสนับสนุน ให้ผปู้ ระกอบการขนาดใหญ่ลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผปู้ ระกอบการสัญชาติไทย และแรงงานไทย สร้างความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทยควรมีการหารือร่วมกับ องค์กรระหว่างประเทศ เพือ่ หาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มคี วามเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม มีการท�ำลายชัน้ บรรยากาศและ เป็นอันตรายต่อผูใ้ ช้นอ้ ยทีส่ ดุ 14 ซึง่ ในปัจจุบนั ยังไม่มขี อ้ สรุปว่าน�ำ้ ยาชนิดใดจึงจะดีและเหมาะสมทีส่ ดุ โดยปัจจุบนั World Bank
เทคโนโลยีเครือ่ งปรับอากาศของไทยในปัจจุบนั ทีอ่ ยูใ่ นระดับทีไ่ ม่มคี วามซับซ้อนมากนัก เนือ่ งจากเป็นการน�ำชิน้ ส่วนส�ำเร็จรูปซึง่ ส่วนใหญ่ผลิตได้ภายในประเทศ (ประมาณร้อยละ 90) มาประกอบหรือดัดแปลงให้เหมาะสม แล้วจัดจ�ำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง โดยเฉพาะอุปกรณ์หลักอย่างคอมเพรสเซอร์ ท�ำให้ประเทศไทยมีศักยภาพทางการแข่งขันทัดเทียมกับคู่แข่งที่เป็นผู้น�ำด้านเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งได้ขยายการผลิตและการค้ามายังประเทศก�ำลัง พัฒนาที่มีค่าแรงต�่ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา 14 น�้ำยาแอร์ เกิดจากสารไฮโดรฟลูออริก (HF) ที่มีสัดส่วนของ Hydrogen และ Fluorine ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ หาก HF มีสัดส่วน Hydrogen มากเกินไป สารท�ำความเย็นนั้นจะ "ติดไฟ" และหากมี Fluorine มากเกินไป ถึงแม้ว่าจะได้ความสามารถในการท�ำความเย็นที่สูงแต่ราคาจะแพงกว่าและก่อปัญหาภาวะโลก ร้อนได้มากกว่า 13
90
สนับสนุนด้านงบประมาณบางส่วนในการปรับปรุงเพือ่ หาแนวทางทีเ่ หมาะสมส�ำหรับระบบท�ำความเย็นในเครือ่ งปรับอากาศ ขณะ เดียวกันการพัฒนาบุคลากรก็เป็นสิง่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งปฏิบตั คิ วบคูก่ นั ไป โดยกลุม่ อุตสาหกรรมเครือ่ งปรับอากาศได้มคี วามร่วมมือกับ องค์การสหประชาชาติ (UN) ในการที่จะฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้และท�ำลายสารท�ำความเย็นในเครือ่ งปรับอากาศ เพือ่ ให้การใช้และซ่อมบ�ำรุงเครือ่ งปรับอากาศมีความปลอดภัยสูงสุด
เป้าหมายในอนาคต อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับต่อการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง มากขึ้น ทั้งนี้ จากการที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องปรับ อากาศของไทยคาดหวังผลพลอยได้จาก AEC โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นผู้น�ำด้านการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องท�ำความเย็นในอาเซียน จากการยกระดับคุณภาพและสร้าง ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ 2) การขยายตลาด จากภูมิศาสตร์ของประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และ เวียดนาม 3) การควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การออกแบบ และพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด 4) การออกไปลงทุนในอาเซียน อาทิ กัมพูชาและพม่า เพือ่ ประโยชน์ทางด้านตลาด วัตถุดบิ ต้นทุนแรงงาน และภาษีจาก อาเซียน ทัง้ นี้ การบรรลุเป้าหมายข้างต้นจะต้องมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิตและออกแบบ เพือ่ ยกระดับจากผูร้ บั จ้างผลิต (OEM) เป็นผู้ที่พัฒนาสินค้าและตราสินค้าของตนเอง (ODM และ OBM) การพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับ ความต้องการ การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างความแตกต่างจากสินค้าจากจีน การบริหารต้นทุนในการขนส่ง ตลอดจน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทตี่ ระหนักถึงการเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์มคี ณ ุ ภาพมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานนานาชาติ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
91
บทวิเคราะห์ เรื่อง ผลกระทบจากแรงงานพม่าต่อเศรษฐกิจไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร การขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยเป็นปัญหาทีค่ วรได้รบั ความสนใจอย่างยิง่ จากภาครัฐ จ�ำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาท�ำงานในประเทศมีประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานจากประเทศ เพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่เข้ามาผิดกฎหมายตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) 3 สัญชาติ ❍❍ แรงงานพม่าที่เข้ามาท�ำงานในประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตรกรรม งานก่อสร้าง และ การประมง ซึ่งเป็นงานที่แรงงานไทยไม่นิยมท�ำ ซึ่งรวมกันประมาณ 900,000 คน ไม่รวมแรงงานที่เข้ามาผิด กฎหมายซึง่ ทางส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่ามีแรงงานพม่าใน ประเทศไทยทั้งหมดมากกว่า 3 ล้านคน ❍❍ การปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศพม่าอาจเป็นปัจจัยดึงดูดให้แรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทํางาน ในประเทศไทยตัดสินใจเดินทางกลับประเทศตนเอง ในขณะทีแ่ รงงานพม่าทีเ่ ดิมจะเข้ามาท�ำงานในประเทศไทย ก็อาจจะเลือกทํางานในประเทศแทน ซึ่งจะส่งผลซ�้ำเติมปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะใน กลุม่ สาขาการผลิตทีต่ อ้ งพึง่ พิงแรงงานด้อยทักษะทีม่ คี า่ แรงถูก ทัง้ นี้ Economic Intelligence Unit (EIU) คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพพม่าจะเติบโตเฉลีย่ ร้อยละ 4.8 ต่อปีในช่วงปี 2555-2556 และจะเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว เป็นร้อยละ 6.5 ต่อปีในช่วงปี 2557-2559 โดยมีสาเหตุส�ำคัญจากเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก ทิศทางการผ่อนคลายมาตรการควํ่าบาตร และผลมาจากการลงทุนทางด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานทาง เศรษฐกิจที่ขยายตัวในระดับสูง ❍❍ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าแรงงานพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 900,000 คน ถ้ามีการอพยพกลับประเทศของแรงงานพม่าจ�ำนวน 100,000 คน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจหดหัว ร้อยละ -0.1 จากกรณีฐาน ❍❍
1. การขาดแคลนแรงงานไทย แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตและเป็นทุนมนุษย์ที่มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาในทุกระดับ ทั้งระดับส่วนย่อยของระบบ เศรษฐกิจ คือแรงงานในภาคการผลิตทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ และระดับมหภาคของประเทศ กล่าวคือถ้า แรงงานในภาคการผลิตต่าง ๆ ของประเทศมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะและศักยภาพสูงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิต และประสิทธิผลต่อการผลิตสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ จะเห็นได้ว่าแรงงานเป็นปัจจัย การผลิตทีส่ �ำคัญและมีคณ ุ ค่าต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงทีผ่ า่ นมาปัญหาการขาดแคลนแรงงานทัง้ ด้านปริมาณ และคุณภาพได้ถูกกล่าวถึงอย่างมากและมีความรุนแรงมากขึ้นเป็นล�ำดับ
1
92
ผู้เขียน : ดร.พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และ ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
การขาดแคลนแรงงาน หมายถึง ภาวะทีอ่ ปุ สงค์แรงงานมีมากกว่าอุปทานแรงงานภายใต้คา่ จ้างและเงือ่ นไขการจ้างงาน หรือการขยายตัวของอุปสงค์ในตลาดแรงงานสูงกว่าการขยายตัวของอุปทาน นอกจากการขาดแคลนในเชิงปริมาณแล้วยังมี การขาดแคลนในเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ผู้ประกอบการไม่สามารถหาแรงงานที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการได้ (Qualified worker) เนื่องจากทักษะของแรงงานไม่ตรงกับความต้องการภายใต้เงื่อนไขการจ้างงาน การศึกษาโครงสร้างประชากรและก�ำลังแรงงานพบว่า ในปี 2554 ประเทศไทยมีจํานวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.00 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกําลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทํางาน 38.90 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีงานท�ำ 38.46 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.5 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 1.9 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกําลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทํางาน 15.10 ล้านคน เช่น แม่บ้าน นักเรียน คนชรา ฯลฯ (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 จ�ำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จ�ำแนกตามสภาพแรงงาน (หน่วย : พันคน)
สถานภาพแรงงาน
ปี 2554 54,004.1 38,900.4 38,711.3 38,456.9 254.4 189.1 15,103.7
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 1. ก�ำลังแรงงานรวม 2. ก�ำลังแรงงานปัจจุบัน 2.1 ผู้มีงานท�ำ 2.2 ผู้ว่างงาน 2.3 ก�ำลังแรงงานที่รอฤดูกาล 3. ผู้ที่อยู่นอกก�ำลังแรงงาน ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
เมือ่ จ�ำแนกโครงสร้างแรงงานตามภาคอุตสาหกรรมจะพบว่า ส�ำหรับจ�ำนวนผูม้ งี าน 38.46 ล้านคน ประกอบด้วยผูท้ ำ� งาน ในภาคเกษตรกรรม 14.62 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 23.84 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่แรงงานอยู่ในภาคการขายส่งและ การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ จ�ำนวน 6.01 ล้านคน ภาคการผลิต จ�ำนวน 5.48 ล้านคน และที่พักแรมและบริการด้านอาหาร จ�ำนวน 2.38 ล้านคน ซึ่งจัดเป็น 3 หมวดหลักของฝ่ายนอกภาคเกษตรกรรม (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 จ�ำนวนของผู้มีงานท�ำ จ�ำแนกตามสาขาการผลิต สาขาการผลิต 1. ภาคเกษตรกรรม 1.1 เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง 2. นอกภาคเกษตรกรรม 2.1 การท�ำเหมืองแร่ และเหมืองหิน 2.2 การผลิต 2.3 ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน�้ำและระบบปรับอากาศ 2.4 การจัดหาน�้ำ การจัดการและการบ�ำบัดน�้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล 2.5 การก่อสร้าง 2.6 การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
ปี 2554 14,618.7 14,618.7 23,838.2 50.0 5,479.8 104.9 89.0 2,375.6 6,010.5
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
93
ตารางที่ 2 จ�ำนวนของผู้มีงานท�ำ จ�ำแนกตามสาขาการผลิต (ต่อ) สาขาการผลิต 2.7 การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.8 ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 2.9 ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 2.10 กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 2.11 กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 2.12 กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค 2.13 กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 2.14 การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ การประกันสังคม 2.15 การศึกษา 2.16 กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 2.17 ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 2.18 กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ 2.19 กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคล 2.20 กิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศ 2.21 ไม่ทราบ จ�ำนวนแรงงาน
ปี 2554 971.9 2,577.2 187.9 407.9 110.5 275.0 425.2 1,571.3 1,272.3 665.8 237.7 735.5 256.3 3.8 30.1 38,456.9
ที่มา : ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
ตลาดแรงงานไทยมีลักษณะส�ำคัญที่สะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานอยู่ 5 ประการหลัก2 คือ (1) ตลาดแรงงาน ไทยประสบปัญหาแรงงานตึงตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด (2) ตลาดแรงงานไทยมีสัดส่วนแรงงานไร้ฝีมือถึงกว่าร้อยละ 80 และเป็นผู้มีงานท�ำที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 70 (3) ตลาดแรงงานมีความไม่สอดคล้องระหว่างอุปสงค์และอุปทานด้าน ทักษะและประสบการณ์ (Skill mismatch & Skill shortage) (4) ประเทศไทยมีขนาดของแรงงานนอกระบบขนาดใหญ่ และ (5) ประเทศไทยยังประสบปัญหาด้านคุณภาพแรงงานและคุณภาพการศึกษาอีกด้วย ซึ่งเป็นปัญหาทางโครงสร้างที่จะส่ง ผลกระทบต่อความสามารถในการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศในระยะยาว เนื่องจากการจัดการด้านแรงงานมีความซับซ้อน และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในหลายมิติ ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคมจ�ำเป็นที่ต้อง มีความเข้าใจในสาเหตุอย่างถ่องแท้ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างของสภาพปัญหา เพื่อสามารถหาแนวทางแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของแรงงานไทยในอนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ของแรงงานของประเทศโดยรวม จากข้อมูลจ�ำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตท�ำงานทั่วราชอาณาจักร ณ เดือนธันวาคม 2554 รวมทั้งสิ้น 1,950,650 คน จ�ำแนกประเภทคนต่างด้าวจากจ�ำนวนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ตามล�ำดับ กล่าวคือ คนต่างด้าวตามมติ ครม. 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) ได้รับอนุญาตฯ มากที่สุดจ�ำนวน 1,272,415 คน คิดเป็นร้อยละ 63.98 โดยแบ่งเป็น พม่า จ�ำนวน 905,573 คน กัมพูชา จ�ำนวน 235,521 คน และลาว จ�ำนวน 106,970 คน รองลงมาคือ ประเภทพิสูจน์สัญชาติ จ�ำนวน 505,238 คน คิดเป็นร้อยละ 25.90 ประเภททั่วไป จ�ำนวน 73,841 คน คิดเป็นร้อยละ 3.79 ประเภทน�ำเข้า จ�ำนวน 72,356 คน คิดเป็นร้อยละ 3.71 และประเภทส่งเสริมการลงทุน จ�ำนวน 25,817 คน คิดเป็นร้อยละ 1.32 ประเภทชนกลุ่มน้อย จ�ำนวน 24,351 คน คิดเป็น ร้อยละ 1.25 ประเภทตลอดชีพ จ�ำนวน 983 คน คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตท�ำงานทั่วราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบซ่อนตัวท�ำงานในประเทศไทยอีกเป็นจ�ำนวนมากที่ไม่สามารถ ระบุตัวตนและสัญชาติได้ (ภาพที่ 1) คัดมาจาก “การขาดแคลนแรงงานไทย : สภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข” ของ ดร.เสาวณี จันทะพงษ์ และนายกรวิทย์ ตันศรี
2
94
ภาพที่ 1 โครงสร้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยปี 2554
ที่มา : ส�ำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
ขณะที่ผลการส�ำรวจโครงสร้างแรงงานไทยในปี 2554 พบว่า มีจ�ำนวนผู้มีงานท�ำทั้งสิ้น 39.3 ล้านคน โดยเป็นผู้ท�ำงานที่ ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการท�ำงานหรือเรียกว่าแรงงานนอกระบบ 24.6 ล้านคน หรือร้อยละ 62.6 และที่เหลือเป็นผู้ท�ำงานในระบบหรือแรงงานในระบบ 14.7 ล้านคน หรือร้อยละ 37.4 ส�ำหรับแรงงานนอกระบบ เมือ่ พิจารณาตามเพศพบว่ามีจำ� นวนไม่แตกต่างกันมาก คือ เพศชาย 13.2 ล้านคน หรือร้อยละ 53.8 และเพศหญิง 11.4 ล้านคน หรือ ร้อยละ 46.2 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด นอกจากนั้น แรงงานนอกระบบท�ำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือร้อยละ 21.4 ภาคกลางร้อยละ 18.7 ภาคใต้ร้อยละ 13.3 และกรุงเทพมหานครมีแรงงาน นอกระบบน้อยที่สุดร้อยละ 5.1
2. แรงงานพม่าที่เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย จากตัวเลขของกรมแรงงานบ่งบอกได้ว่า แรงงานพม่าที่เข้ามาท� ำงานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2552 มีแรงงานพม่าที่เข้ามาผิดกฎหมาย มาตรา 13 ตามมติ ครม. 3 สัญชาติ มากกว่า 1 ล้านคน (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 จ�ำนวนแรงงานพม่าที่เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย
ที่มา : ส�ำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
95
เมื่อวิเคราะห์แรงงานพม่าทีเ่ ข้ามาท�ำงานในประเทศไทยจ�ำแนกตามประเภทกิจการพบว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตร และปศุสัตว์เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ภาคกิจกรรมก่อสร้าง และอันดับสาม ได้แก่ การประมงทะเล ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า งานส่วนใหญ่ทแี่ รงงานพม่าเข้ามาทดแทนแรงงานไทย ได้แก่ งานในภาคเกษตรกรรม ปศุสตั ว์ และก่อสร้าง ซึง่ ส่วนใหญ่แรงงาน ไทยเลิกที่จะประกอบกิจกรรมในสาขาเหล่านี้ (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 จ�ำนวนแรงงานพม่าจ�ำแนกตามประเภทกิจการ ประเภทกิจการ ประมง ต่อเนื่องประมงทะเล เกษตรและปศุสัตว์ กิจการก่อสร้าง กิจการต่อเนื่องการเกษตร ต่อเนื่องปศุสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ ช�ำแหละ กิจการรีไซเคิล เหมืองแร่/เหมืองหิน จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะ จ�ำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตหรือจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์จากดิน ผลิตหรือจ�ำหน่ายวัสดุก่อสร้าง แปรรูปหิน ผลิตหรือจ�ำหน่ายเสื้อผ้าส�ำเร็จรูป ผลิตหรือจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตหรือจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตหรือจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ขนถ่ายสินค้าทางบก น�้ำ คลังสินค้า ค้าส่ง ค้าปลีก แผงลอย อู่ซ่อมรถ ล้าง อัดฉีด สถานีบริการน�้ำมัน แก๊ส เชื้อเพลิง สถานศึกษา มูลนิธิ สมาคม สถานพยาบาล การให้บริการต่าง ๆ ผู้รับใช้ในบ้าน รวมทั้งหมด
จ�ำนวนแรงงานพม่า (หน่วยคน) 24,902 96,882 174,422 135,473 68,054 36,726 11,981 2,245 17,772 38,759 8,168 12,922 2,732 63,973 18,251 3,572 5,080 7,664 37,439 5,902 3,115 1,714 66,642 61,183 905,573
ร้อยละ 2.7 10.7 19.3 15.0 7.5 4.1 1.3 0.2 2.0 4.3 0.9 1.4 0.3 7.1 2.0 0.4 0.6 0.8 4.1 0.7 0.3 0.2 7.4 6.8 100.0
ที่มา : ส�ำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างแรงงานพม่าที่เข้ามาท�ำงานในประเทศกับจ�ำนวนแรงงานทั้งหมด เราจะพบว่ามีแรงงาน พม่าในแรงงานรวมสูงถึงร้อยละ 2.41 (ตารางที่ 4) หากวิเคราะห์ตามประเภทกิจการจะพบว่าส่วนใหญ่แรงงานพม่าจะอยู่ใน ภาคการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนเกินร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมด ส่วนในภาคการจัดหาน�้ำ การจัดการและ การบ�ำบัดน�้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล และการท�ำเหมืองแร่และเหมืองหิน มีสัดส่วนแรงงานพม่าสูงถึงร้อยละ 15.55 และ ร้อยละ 11.05 ตามล�ำดับ ซึ่งเราสังเกตได้ว่าแรงงานพม่าส่วนใหญ่จะอยู่ภาคที่แรงงานไทยไม่นิยมท�ำ และที่ส�ำคัญเป็นภาคที่ ไม่ต้องอาศัยทักษะสูง เช่น ภาคกิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคนิค และกิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ หรือกิจกรรมทาง การเงินและการประกันภัย ฯลฯ
96
ตารางที่ 4 สัดส่วนแรงงานพม่าจ�ำแนกตามประเภทกิจการต่อแรงงานทั้งหมด ปี 2554 1. ภาคเกษตรกรรม 1.1 เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง 2. นอกภาคเกษตรกรรม 2.1 การท�ำเหมืองแร่ และเหมืองหิน 2.2 การผลิต 2.3 ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน�้ำและระบบปรับอากาศ 2.4 การจัดหาน�้ำ การจัดการและการบ�ำบัดน�้ำเสีย ของเสีย และสิ่งปฏิกูล 2.5 การก่อสร้าง 2.6 การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ 2.7 การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 2.8 ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 2.9 ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 2.10 กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 2.11 กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 2.12 กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค 2.13 กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 2.14 การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ การประกันสังคม 2.15 การศึกษา 2.16 กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 2.17 ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 2.18 กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ 2.19 กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือนส่วนบุคคล ทั้งหมด
สัดส่วนแรงงานพม่า (ร้อยละ) 2.82 2.16 11.05 2.09 3.06 15.55 6.05 1.03 0.79 1.53 0.26 9.96 31.36 2.41
ที่มา : ส�ำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
3. แนวโน้มทางเศรษฐกิจและแนวทางพัฒนาของประเทศพม่า อุปสรรคส่วนใหญ่ของประเทศพม่า ได้แก่ ความมั่นคงทางการเมืองที่จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่จากสถานการณ์ ล่าสุด พม่าได้มกี ารปรับเปลีย่ นโครงสร้างทางการเมืองอย่างต่อเนือ่ ง โดยได้จดั ตัง้ รัฐบาลทีม่ ปี ระธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้า รัฐบาล เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 หลังจากได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 โดยพรรค Union Solidarity and Development Party : USDP ของรัฐบาลเดิมได้เสียงข้างมาก ภายหลังการเลือกตั้งซ่อมเมื่อปลายเดือนเมษายน 2555 ซึ่ง พรรค NLD ได้ทนี่ งั่ จ�ำนวนมาก การเมืองในพม่ามีแนวโน้มทีด่ ขี นึ้ จากการท�ำงานร่วมกันระหว่างประธานาธิบดีเต็ง เส่ง จากพรรค USDP และนางอองซาน ซูจี ผู้น�ำพรรคฝ่ายค้าน พรรค NLD ตอบสนองต่อความต้องการการปฏิรูประบบการเมืองของประชาชน โดยประกาศนโยบายก�ำจัดการคอร์รัปชัน ส่งเสริมการกระจายอ�ำนาจในการตัดสินใจ และมีการปรับเปลี่ยนรองประธานาธิบดี คนใหม่ รวมถึงการให้นางอองซาน ซูจี เดินทางไปเยือนนานาประเทศ
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
97
นอกจากนี้ ทางสหภาพยุโรป (European Union) ได้ผ่อนคลายการควํ่าบาตรและคืนสิทธิพิเศษ GSP (Generalized System of Preferences3) ให้แก่ประเทศพม่า โดยการยกเลิกการควํ่าบาตรขึ้นอยู่กับพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศพม่า และการปรองดองกับชนกลุ่มน้อย เงินลงทุนจากต่างประเทศ การพัฒนาฐานการผลิตเชื่อมโยงภูมิภาคด้วยการสนับสนุนด้าน เงินทุนเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากรจากประเทศตะวันตก Economic Intelligence Unit (EIU) คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพพม่าจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปีในช่วงปี 2555-2556 และจะเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วเป็นร้อยละ 6.5 ต่อปี ในปี 2557-2559 โดยมีสาเหตุสำ� คัญจากเงินลงทุนจากต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากทิศทางการผ่อนคลายมาตรการควํ่าบาตรในปี 2556 จากแผนภูมิที่ 3 เราจะสังเกตได้ว่าเศรษฐกิจของพม่าอยู่ ในอัตราการเติบโตที่มากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ภาพที่ 3 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพพม่า ปี 2007-2013
ที่มา : Economic Intelligence Unit (EIU)
เมื่อศึกษาทางด้านนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลพม่าเน้นการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่าง ประเทศมีความก้าวหน้าในการปฏิรูปจากการให้ความช่วยเหลือของ IMF แต่ยังไม่สามารถปรับได้อย่างเต็มระบบก่อนปี 2016 ส่วนทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจุบนั รัฐบาลพม่ามุง่ หวังทีจ่ ะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับประเทศทีใ่ ห้การ ช่วยเหลือทางการเงินซึ่งต้องการแรงขับเคลื่อนอย่างมาก นอกจากนี้ ทางประเทศพม่าได้มีการจัดตั้ง Myanmar Investment Commission เพื่อพัฒนาศักยภาพในการอนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศและนักลงทุนต่างชาติให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และ โปร่งใสขึน้ รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายการลงทุนจากต่างชาติ กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษและการพัฒนา ภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยมีการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมในรัฐกะเหรี่ยงแล้ว รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการลงทุนทางด้านโครงสร้าง พืน้ ฐาน อาจจะต้องมีความต้องการด้านแรงงานอย่างสูงซึง่ เป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึง่ ต่อการอพยพกลับประเทศของแรงงานพม่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่าอาจจะเป็นสาเหตุสำ� คัญต่อการทยอยกลับไปท�ำงานในประเทศของตัวเอง และสิง่ ทีน่ า่ จับตามองอีกอย่างหนึง่ คือ ค�ำพูดของนางอองซาน ซูจี ในการกล่าวทักทายกลุม่ ผูใ้ ช้แรงงานชาวพม่าทีศ่ นู ย์การเรียนรูแ้ รงงานข้าม ชาติ ณ จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 โดยนางอองซานกล่าวว่า “หากวันใดที่ประเทศพม่าเป็นประชาธิปไตย อย่างแท้จริง ก็อยากให้ชาวพม่าทุกคนกลับไปท�ำงานเพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศ เพราะไม่มีที่ไหนสุขใจเท่ากับที่บ้านของเรา” ซึ่งอาจจะเป็นตัวแปรส�ำคัญอีกตัวหนึ่งเช่นกัน 3
98
Generalized System of Preferences หมายถึง ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศที่พัฒนาแล้วให้แก่สินค้าที่มีแหล่งก�ำเนิดใน ประเทศที่ก�ำลังพัฒนา โดยลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าแก่สินค้าที่มีอยู่ในข่ายได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า ทั้งนี้ประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ จะเป็นผู้ให้แต่เพียง ฝ่ายเดียวไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการเคลื่อนย้ายกลับประเทศของแรงงานพม่า เมื่อเราศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ถ้าเกิดมีการอพยพกลับประเทศของแรงงานพม่าจะเกิดผลกระทบอย่างไร ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยข้อมูลล่าสุดมีแรงงานพม่าอยูใ่ นประเทศไทยทัง้ หมด 905,573 คน ส่วนใหญ่เป็น แรงงานที่เข้ามาตามกฎหมาย มาตรา 13 ตามมติ ครม. 3 สัญชาติ ซึ่งจากการศึกษาของ สศค.พบว่าถ้ามีการอพยพกลับประเทศ ของแรงงานพม่าทุก ๆ 100,000 คน จะส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวประมาณร้อยละ 0.1 จากกรณีฐาน ซึง่ ถ้าหากแรงงานพม่าอพยพ กลับประเทศมากขึ้น ผลกระทบต่อการจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
5. ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาของ สศช. ในด้านความต้องการแรงงานไทยในอนาคต โดยความต้องการแรงงานไทยในอีกสิบปีข้างหน้า จะสูงถึง 46.52 ล้านคน ซึ่งในความต้องการจ�ำนวนนี้จะต้องพึ่งพาแรงงานประเทศเพื่อนบ้านถึง 5.36 ล้านคน โดยเป็นแรงงาน จากประเทศพม่าจ�ำนวน 3.72 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าความต้องการแรงงานในอนาคตจะอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศพม่าจะกลายเป็นแรงผลักดันท�ำให้แรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทํางานใน ประเทศไทย อาจตัดสินใจเดินทางกลับประเทศตนเอง ในขณะที่แรงงานพม่าที่เดิมจะเข้ามาท�ำงานในประเทศไทยก็อาจเลือก ทํางานในประเทศแทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยยิ่งขึ้นได้ โดยเฉพาะในกลุ่มงานที่ต้องพึ่งพิง แรงงานด้อยทักษะ จากการประเมินในปัจจุบันพบว่าจะมีแรงงานชาวพม่าที่อาศัยและเข้ามาหางานทําในประเทศไทยอยู่ราว 1 ล้านคน ซึ่งในช่วงอีกไม่กี่ปีนี้บริษัทไทยที่ทําธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและภาคการเกษตรจะได้รับผลกระทบอย่าง มากจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้อยทักษะ จากการคาดการณ์ของ สศค. ถ้าเกิดปัญหาการอพยพกลับประเทศของแรงงานพม่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบ เศรษฐกิจไทย โดยในกรณีที่แรงงานพม่าอพยพกลับประเทศทั้งหมด ซึ่งเป็นจ�ำนวนเกือบ 1 ล้านคน จะท�ำให้เศรษฐกิจหดตัวถึง ร้อยละ 1.0 ซึ่งอาจท�ำให้การเติบโตเศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันปัญหาการขาดแคลน แรงงาน โดยการสร้างสิ่งจูงใจในการดึงดูดแรงงานต่างด้าว ยกตัวอย่างเช่น มาตรการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่ำที่มาอยู่ที่ 300 บาท โดยเฉพาะ 7 จังหวัดแรก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากอัตราเดิมใน 70 จังหวัดที่เหลือ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และจะเพิ่มอีก ใน 70 จังหวัดที่เหลือมาอยู่ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 และให้คงไว้ในอัตราเดิมอีก 2 ปี ที่มีผลบังคับ ใช้ต่อแรงงานต่างด้าวเช่นกัน นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีการวางแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวอย่างชัดเจน เนื่องจาก แรงงานต่างด้าวจ�ำเป็นต่อตลาดแรงงานไทยโดยท�ำงานในงานที่แรงงานไทยไม่นิยมท�ำโดยเฉพาะงานหนักประเภท 3 D งาน สกปรก (Dirty job) งานยาก (Difficult job) และงานเสี่ยง (Dangerous job) ทั้งยังมีความขยันอดทนในการท�ำงาน ในระยะยาว ควรมีการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน (Labour productivity) โดยภาครัฐและภาคเอกชนควรสนับสนุนการลงทุนในสินทรัพย์ทุน ให้มีจ�ำนวนเครื่องจักรต่อแรงงานมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยี เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีสมรรถนะสูงโดยจัดฝึกอบรมทักษะ ที่จ�ำเป็น รวมทั้งควรตั้งศูนย์มาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมว่าต้องการความสามารถเฉพาะทางเพียงใด เพื่อน�ำไปสู่กรอบการฝึกอบรมและทดสอบสมรรถนะที่สามารถควบคุมคุณภาพและรับประกันคุณภาพของแรงงานไทยต่อไป
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
99
บทวิเคราะห์ เรื่อง QE4 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
1
บทสรุปผู้บริหาร
เมือ่ วันที่ 12 ธันวาคม 2555 นาย Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve : Fed) ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing : QE) ระยะที่ 4 เพิ่มเติมเดือนละ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไม่มีก�ำหนดสิ้นสุด ❍❍ หากรวมถึงมาตรการ QE ระยะที่ 3 ที่ยังคงด�ำเนินการอยู่ จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบ การเงินโลกเพิ่มขึ้นเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป ❍❍ ทั้งนี้ แม้ว่าจ�ำนวนสภาพคล่องที่เข้าสู่ระบบดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกับ QE ระยะที่ 1 ที่ 8.82 หมืน่ ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (QE ระยะที่ 2 อยูท่ ี่ 5.95 หมืน่ ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) แต่คาดว่ามาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้จะไม่กระทบต่อภาคการเงินและภาคการส่งออกไทยดังเช่น 2 ครั้งก่อนหน้า เนื่องจาก มาตรการครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงการส่งผ่านมาตรการ ดังกล่าวไปสู่เศรษฐกิจจริงท�ำได้ดีขึ้น สะท้อนจากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งต่างจาก QE ทั้ง 2 ครั้งก่อนหน้า ❍❍ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือช่องทางของเงินทุนไหลเข้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ ว่านักลงทุนอาจเพิ่มการเก็งก�ำไรในตลาดสินทรัพย์อื่น ๆ มากขึ้น อาทิ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ดังเช่นในกรณีของ ฮ่องกง ซึ่งอาจส่งผลลบต่อเสถียรภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยในระยะต่อไปได้ ❍❍
1. บทน�ำ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 นาย Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve : Fed) แถลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 2 มาตรการ ซึ่งจะเริ่มด�ำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป ดังนี้ 1) มาตรการ Quantitative Easing (QE) ระยะที่ 4 หรือการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (Long-Term Treasuries) เดือนละ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่ก�ำหนดระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต�่ำลง เพื่อให้เอื้อต่อ การลงทุนโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ 2) การคงอัตราดอกเบีย้ ใกล้ระดับศูนย์ตอ่ เนือ่ งจนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือร้อยละ 6.5 ของก�ำลังแรงงานรวม โดยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 7.7 ของก�ำลังแรงงานรวม (เดือนพฤศจิกายน 2555) ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา Fed ได้ออกมาตรการ QE ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการเข้าซื้อตราสารที่มีสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์หนุนหลังที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgage Backed Securities : MBS) เพิ่มเติม เดือนละ 4.0 หมืน่ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่กำ� หนดระยะเวลาสิน้ สุด เพือ่ ลดระดับอัตราการว่างงาน โดยปัจจุบนั การจ้างงานยังคงขยายตัวใน อัตราต�่ำ และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง จึงจ�ำเป็นต้องกระตุ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนสหรัฐอเมริกา จากมาตรการทีก่ ล่าวมาทัง้ หมด ท�ำให้ตงั้ แต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไปจะมีสภาพคล่องอัดฉีดเข้าสูต่ ลาดเพิม่ ขึน้ รวม เดือนละ 8.50 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มาตรการรวมที่ก�ำลังจะด�ำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 นี้มีขนาดใกล้เคียง กับ QE ระยะที่ 1 ที่ 8.82 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ขณะที่ QE ระยะที่ 2 จะอยู่ที่ 5.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ น.ส.อาร์จนา ปานกาญจโนภาส เศรษฐกรปฏิบัติการ น.ส.พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ เศรษฐกรปฏิบัติการ และ น.ส.ภัทราพร คุ้มสะอาด เศรษฐกรตรี ส่วนวิเคราะห์เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพทาง เศรษฐกิจ และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ
1
100
การด�ำเนินมาตรการ QE ระยะที่ 3 ด้วยการเข้าซื้อ MBS ในปริมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน จะต้องใช้เวลา กว่า 30 เดือน เพื่อให้วงเงินรวมเท่ากับมาตรการ QE ระยะที่ 1 ที่มียอดคงค้างรวม 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การด�ำเนิน มาตรการ QE ระยะที่ 4 ด้วยการเข้าซื้อ Long-Term Treasuries วงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน จะต้องใช้เวลากว่า 14 เดือน เพื่อให้วงเงินเท่ากับการเข้าซื้อ Long-Term Treasuries ในการด�ำเนินมาตรการ QE ระยะที่ 2 ในบทความนี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการ QE4 ดังกล่าวต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจไทย รวมทั้งเสนอแนะนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว
2. ผลกระทบของมาตรการ QE ต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา คาดว่า อุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ จากการเข้าซือ้ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และ MBS ตามมาตรการ QE ระยะที่ 4 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐอเมริกาลดลง ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1.00–1.70 (ภาพที่ 1) โดย Fed คาดหวังว่าการด�ำเนินมาตรการ ดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจริงของสหรัฐอเมริกาผ่านกลไก 2 ประการ ได้แก่ 1) การเพิ่มขึ้นของการบริโภคและการลงทุนในประเทศจากความต้องการสินเชื่อที่น่าจะเพิ่มมากขึ้นจากอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ยืมที่ลดลง (Higher Demand for Loans) 2) การช่วยลดปริมาณการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ และการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนได้คล่องตัวขึ้น (Higher Supply for Loanable Funds) ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาสนองตอบต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยนับตัง้ แต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2554 สินเชือ่ ปรับตัวเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งทีร่ อ้ ยละ 5.3 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า (ภาพที่ 2) ภาพที่ 1 ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ที่มา : Federal Reserve Board และ CEIC
ภาพที่ 2 สินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ที่มา : Federal Reserve Board และ CEIC
การที่ Fed ด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องนี้ส่งผลให้ปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐในระบบเศรษฐกิจโลก เพิ่มขึ้น (Surplus of Dollar Liquidity) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในระยะต่อไปได้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน อยู่ในระดับต�่ำเพียงร้อยละ 2.2 ก็ตาม นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินดอลลาร์ส่งผลให้ปริมาณเงินบางส่วนไหลเข้ามายัง ภูมภิ าคเอเชียในช่วงทีผ่ า่ นมา อันเป็นแรงกดดันให้คา่ เงินต่าง ๆ ในภูมภิ าครวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่าขึน้ และอาจส่งผลให้ธนาคาร กลางในภูมิภาคเอเชียต่าง ๆ จ�ำเป็นต้องด�ำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มขึ้น ผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
101
3. ผลกระทบของ QE4 ต่อเศรษฐกิจไทย ส� ำ หรั บ ผลกระทบต่ อ เศรษฐกิ จ ไทยจากนโยบาย QE ระยะที่ 4 นั้ น คาดว่ า จะส่ ง ผลกระทบใน 2 ส่ ว น ได้ แ ก่ (1) ภาคการเงิน (Financial Sector) ผ่านการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทจากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เพิ่มขึ้น และ (2) ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ผ่านผลกระทบต่อการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ดังนี้ 1) ผลกระทบต่อภาคการเงิน ➥➥ ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมาตรการ QE จะท�ำให้ปริมาณเงิน ในระบบเพิม่ ขึน้ และอาจมีเงินไหลออกจากสหรัฐอเมริกาเข้าสูป่ ระเทศก�ำลังพัฒนาทีม่ พี นื้ ฐานทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งและมีระดับ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกา เช่น ประเทศไทย ท�ำให้ปริมาณเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) มายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น และกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากภาพที่ 3 ซึ่งแสดงผลกระทบจากการด�ำเนินมาตรการ QE ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยในช่วงดังกล่าวค่าเงินบาทได้แข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2552 ภาพที่ 3 ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
ภาพที่ 4 ดัชนีตลาดหุ้นไทย
ที่มา : CEIC รวบรวมโดย สศค.
➥➥ อย่างไรก็ดี คาดว่าผลกระทบจากการท�ำ QE ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 จะไม่ท�ำให้คา่ เงินบาทแข็งค่ารุนแรง
เท่า 2 ครัง้ ก่อน ส่วนหนึง่ ในช่วงมาตรการ QE ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก อันท�ำให้นกั ลงทุน ไม่เชื่อมั่นต่อตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาและยูโรโซน เนื่องจากมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างกันในระดับสูง ท�ำให้ เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้ามายังภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งต่างจากการด�ำเนินมาตรการ QE ระยะที่ 3 ใน วันที่ 13 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา ที่นักลงทุนเชื่อมั่นต่อตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกามากขึ้น สะท้อนจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ สหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้น (ดัชนีดาวโจนส์ปิดสูงขึ้นร้อยละ 1.55 จากวันก่อน) ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียรวมถึง ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก (ภาพที่ 4) กระนั้นก็ดี นักลงทุนยังจับตารอดูการเจรจาเรื่องเพดานหนี้สาธารณะ (Debt Ceiling) ที่จะมีขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งอาจยืดเยื้อและส่งผลให้มีการชะลอการลงทุนในตลาด สินทรัพย์ลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริการวมถึงเศรษฐกิจและการเงินโลกอีกครั้ง ➥➥ นอกจากนี้ สิง่ ทีน ่ า่ จับตามองในระยะต่อไป คือ ช่องทางเงินทุนไหลเข้า เนือ่ งจากในปัจจุบนั ตลาดหลักทรัพย์ ไทยมีอัตราส่วนราคาต่อก�ำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio : P/E Ratio) สูงถึง 17.5 เท่า ซึ่งสูงขึ้นมากจากช่วงต้นปีที่อยู่ ที่ประมาณ 12.0-13.0 เท่า โดยปัจจัยดังกล่าวอาจท�ำให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนในช่องทางการลงทุนอื่น ๆ ทดแทน ซึ่งเป็นไปได้ ว่านักลงทุนอาจเพิ่มการเก็งก�ำไรในตลาดสินทรัพย์อื่น ๆ อาทิ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ดังเช่นในกรณีของฮ่องกง ซึ่งอาจส่งผลลบ ต่อเสถียรภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป ➥➥ ทั้งนี้ แม้ว่าการ QE3 และ QE4 จะเพิ่มความเสี่ยงด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย อย่างไรก็ตาม เงินทุนส�ำรองระหว่าง ประเทศของไทยยังคงอยูใ่ นระดับสูงเพียงพอจะรองรับความผันผวนของเงินทุนเคลือ่ นย้ายดังกล่าวได้ โดยอยูใ่ นระดับสูงที่ 181.6 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 3.1 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
102
2) ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง ➥➥ ผลกระทบต่อภาคการส่งออก มาตรการ QE ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ที่คาดว่าจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับค่าดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกใน 2 ด้าน กล่าวคือ ❍❍ รายได้ของผู้ส่งออกลดลงทันทีเมื่อแปลงเป็นเงินบาท โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายย่อยที่ใช้วัตถุดิบภายใน ประเทศเป็นหลัก ❍❍ ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ด้ า นราคาของผู ้ ส ่ ง ออกลดลง และอาจส่ ง ผลกระทบต่ อ เนื่ อ งหาก ปริมาณการส่งออกลดลงในระยะต่อไป โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จะยังไม่เห็น ผลกระทบดังกล่าวผ่านยอดการส่งออก ณ ปัจจุบันอย่างชัดเจน เนื่องจากสัญญาค้าขายระหว่างประเทศมักจะท�ำไว้ล่วงหน้า ➥➥ ผลกระทบต่อการน�ำเข้า ค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น จะท�ำให้ต้นทุนสินค้าน�ำเข้าถูกลงเมื่อแปลงเป็น เงินบาท อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่องก็จะชะลอการน�ำเข้าสินค้าออกไป ท�ำให้ประโยชน์ จากการน�ำเข้าอาจยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน ➥➥ ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี ส่วนสนับสนุนให้มีนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา (สัดส่วนร้อยละ 3.6 ของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวรวมปี 2554) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คาดว่าค่าเงินบาททีอ่ าจแข็งค่าขึน้ จะไม่กระทบต่อจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วมากนัก เนือ่ งจากนักท่องเทีย่ วจากภูมภิ าคเอเชียมีสดั ส่วน สูงถึงร้อยละ 59.8 ของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวรวม ซึ่งคาดว่าประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของ ค่าเงินเช่นเดียวกับไทย นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการว่างงานปรับ ลดลงต่อเนื่อง จากระดับสูงสุดที่ร้อยละ 10.0 ของก�ำลังแรงงานรวมในช่วงปลายปี 2552 เหลือร้อยละ 7.7 ของก�ำลังแรงงานรวม (เดือนพฤศจิกายน 2555) ซึ่งคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลดีต่ออุปสงค์ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยรวม อันจะส่งผลบวกต่อ ภาคการส่งออกไทยไปยังสหรัฐอเมริกา (คู่ค้าส�ำคัญอันดับที่ 3 ของประเทศไทย) ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 9.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2554 รวมถึงภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยในระยะต่อไป
4. สรุป มาตรการ QE ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 จะเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจถึง 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ใกล้เคียงกับการด�ำเนิน QE ระยะที่ 1 (8.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) และคาดว่าจะส่งผลกระทบ ให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผันผวนเพิ่มขึ้น และอาจกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม มาตรการครั้งนี้ได้เกิดขึ้นใน ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงการส่งผ่านมาตรการดังกล่าวไปสู่เศรษฐกิจจริงท�ำได้ดีขึ้น สะท้อน จากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งต่างจาก QE ทั้ง 2 ครั้งก่อนหน้า จึงคาดว่าผลกระทบต่อค่า เงินบาทครัง้ นีจ้ ะไม่รนุ แรงเท่าทัง้ 2 ครัง้ ทีผ่ า่ นมา ประกอบกับมาตรการดังกล่าวจะกระตุน้ ให้อปุ สงค์ในสหรัฐอเมริกาปรับตัวดีขนึ้ อันจะส่งผลบวกต่อภาคการส่งออก รวมถึงการท่องเทีย่ วของประเทศไทยในอนาคต โดยเฉพาะในช่วงทีเ่ ศรษฐกิจยูโรโซนประสบ กับวิกฤตหนี้สาธารณะเรื้อรัง ประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ ช่องทางของเงินทุนไหลเข้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่านักลงทุนอาจเพิ่มการเก็งก�ำไร ในตลาดสินทรัพย์อื่น ๆ มากขึ้น อาทิ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ดังเช่นในกรณีของฮ่องกง ซึ่งอาจส่งผลลบต่อเสถียรภาพของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยในระยะต่อไปได้
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
103
บทวิเคราะห์ เรื่อง เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ : เด็ดดอกไม้ สะเทือนทั้งดวงดาว 1
บทสรุปผู้บริหาร การเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 (เวลาสหรัฐอเมริกา) ได้จบ ลง โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน นายบารัค โอบามา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อเนื่องเป็น สมัยที่ 2 เอาชนะ นายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันไปด้วยคะแนนเสียง 332 ต่อ 206 เสียง ❍❍ ชัยชนะของนายโอบามาในครั้งนี้มีคะแนนเสียงลดลงเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2551 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะภาคการจ้างงานยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ ท�ำให้ ชาวอเมริกันบางส่วนที่เคยเป็นฐานเสียงเดิมของพรรคเดโมแครตเปลี่ยนใจเลือกพรรครีพับลิกันแทน ❍❍ นโยบายทางเศรษฐกิจในสมัยที่ 2 ของการเป็นประธานาธิบดีของนายโอบามาอาจมีความแตกต่าง จากสมัยแรก โดยแม้ว่าในแง่ของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาน่าจะด�ำเนินนโยบายทางการเงิน แบบผ่อนคลายต่อเนือ่ ง แต่ในแง่ของนโยบายการคลัง โดยเฉพาะประเด็นหน้าผาทางการคลังน่าจะมีการถกเถียง ในสภาอย่างยืดเยื้อ เนื่องจากถึงแม้พรรคเดโมแครตจะได้จัดตั้งรัฐบาลอีกทั้งมีคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา หากแต่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเหมือนกับช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยในระหว่าง การเจรจา ตลาดการเงินโลกตลอดจนความเชื่อมั่นนักลงทุนน่าจะมีความผันผวนสูง คล้ายคลึงกรณีการเจรจา ขยายเพดานหนี้เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ❍❍ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่สามารถเลี่ยงผลกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ได้ แต่สามารถบรรเทาผลกระทบได้ดว้ ยการเร่งกระจายตลาดใหม่อย่างต่อเนือ่ ง เร่งสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐ เร่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิต ตลอดจนติดตามความคืบหน้าและผลกระทบ อย่างใกล้ชิด ❍❍
1. ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2555 การเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 (เวลาสหรัฐอเมริกา) ได้จบลง โดยผู้สมัครชิงต�ำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน นายบารัค โอบามา ได้รับเลือก เป็นประธานาธิบดีต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 เอาชนะ นายมิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันไป ด้วยคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral vote) 332 ต่อ 206 เสียง ถึงแม้ว่านายโอบามาจะชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของชาวอเมริกันต่อการบริหารประเทศของนายโอบามาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551–2555) อย่างไร ก็ตาม ชัยชนะที่นายโอบามาได้รับในครั้งนี้สูสีกว่าการเลือกตั้งครั้งแรกที่นายโอบามาชนะแบบถล่มทลายด้วยคะแนนเสียง 365 เสียง โดยในครั้งนี้ถึงแม้ว่านายโอบามาจะสามารถรักษาฐานคะแนนเสียงส่วนใหญ่ไว้ได้ แม้กระทั่งในรัฐที่คะแนนมีความสูสีสูง (Swing-vote states) แต่กลับเสียคะแนนเสียงในรัฐอินเดียนาและรัฐนอร์ทแคโรไลนาให้แก่พรรครีพับลิกัน
ผู้เขียน : ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ เศรษฐกรช�ำนาญการ ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ขอขอบคุณ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร และนายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ส�ำหรับข้อแนะน�ำ
1
104
ภาพที่ 1 ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2555
ที่มา : CNN
บทความนี้ได้วิเคราะห์สาเหตุทางเศรษฐกิจของผลการเลือกตั้งดังกล่าว อีกทั้งวิเคราะห์นัยของการเลือกตั้งในครั้งนี้ต่อ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบที่ประเทศไทยอาจได้รับ
2. นัยทางเศรษฐกิจต่อการเลือกตั้ง การทีน่ ายโอบามาได้รบั เลือกตัง้ ในสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียงของคณะผูเ้ ลือกตัง้ ทีล่ ดลงกว่า 33 เสียงสะท้อนความเชือ่ มัน่ ของชาวอเมริกันต่อรัฐบาลภายใต้การน�ำของนายโอบามาที่อาจสั่นคลอนไปบ้าง จากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังคงเปราะบาง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะฟื้นตัวดีขึ้นมามาก หลังจากที่ในช่วงวิกฤตการเงินโลก เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะ ถดถอยทางเทคนิค (Technical recession) ติดต่อกันถึง 1 ปีเต็ม ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 (นายโอบามาเข้ารับต�ำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552) ถึงแม้ว่าจะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่ม ยูโรโซนตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่เคยตกอยู่ในภาวะถดถอยอีกเลย ภาพที่ 2 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ปี 2551-2555
ที่มา : Bureau of Economic Analysis ค�ำนวณและรวบรวมโดย สศค.
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
105
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในช่วงสมัยแรกของนายโอบามาในภาพรวมจะขยายตัวดี แต่หากพิจารณาภาคการจ้าง งานจะพบว่าการฟืน้ ตัวของภาคการจ้างงานช้าและอ่อนแอกว่าการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจภาคส่วนอืน่ สะท้อนจากการจ้างงานนอก ภาคเกษตร (Non-farm payrolls) ซึ่งนับตั้งแต่นายโอบามาได้รับเลือกตั้งในสมัยแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 จนสิ้นสุดวาระ ในเดือนตุลาคม 2555 การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐอเมริกามีต�ำแหน่งงานที่หายไป (Job loss) กว่า 6.9 ล้านต�ำแหน่ง ในขณะเดียวกันมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4.8 ล้านต�ำแหน่ง ท�ำให้โดยสุทธิแล้วในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาต�ำแหน่งงานนอกภาคเกษตร สหรัฐอเมริกายังคงหายไปกว่า 2 ล้านต�ำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในภาคก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการเงิน ซึง่ เป็นสาขาทีไ่ ด้รบั ผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตซัพไพร์ม สอดคล้องกับอัตราการว่างงานทีป่ รับตัวสูงขึน้ มากจากร้อยละ 6.8 ของ ก�ำลังแรงงานรวม ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายโอบามาได้รับเลือกตั้งครั้งแรก สู่ระดับสูงสุดที่ร้อยละ 10.0 ในเดือนตุลาคม 2552 และล่าสุด ณ เดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.9 ซึ่งแม้จะปรับลดลงมามากจากจุดสูงสุดดังกล่าว แต่ยังคงสูงกว่าอัตราการว่างงานช่วงก่อนที่นายโอบามาจะได้รับต�ำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก ภาพที่ 3 ภาคการจ้างงานสหรัฐอเมริกา ปี 2551-2555
ที่มา : Bureau of Labor Statistics ค�ำนวณและรวบรวมโดย สศค.
ปัจจัยทางเศรษฐกิจเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ชาวอเมริกันบางส่วนซึ่งเคยเป็นฐานเสียงเดิมของพรรคเดโมแครต เปลี่ยนใจจากนายโอบามาไปหา “ทางเลือกใหม่” เช่นนายรอมนีย์ ดังที่เกิดขึ้นในรัฐอินเดียนาและรัฐนอร์ทแคโรไลนาใน การเลือกตั้งครั้งนี้
3. นัยของการเลือกตั้งต่อนโยบายทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ถึงแม้การเลือกตัง้ ดังกล่าวจะจบลงด้วยชัยชนะของนายโอบามา แต่ผลต่อนโยบายทางเศรษฐกิจในสมัยที่ 2 ของการเป็น ประธานาธิบดีอาจมีความแตกต่างจากสมัยแรก ดังนี้ ➥➥ นโยบายทางการเงิน
ทีผ่ า่ นมา นายโอบามาไม่เคยแสดงท่าทีคดั ค้านการด�ำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ภายใต้การน�ำของนายเบน เบอร์แนนกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน โดยเฉพาะการด�ำเนิน นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายรอบที่ 3 (Quantitative Easing 3 : QE3) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ผิดกับท่าที ของนายรอมนีย์ ซึง่ ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการด�ำเนินนโยบายของ Fed ทีผ่ า่ นมา โดยระหว่างการหาเสียง นายรอมนีย์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหากได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้วจะไม่ต่อวาระการด�ำรงต�ำแหน่งประธาน Fed ให้แก่นายเบอร์แนนกี้ ทันทีที่วาระปัจจุบันหมดลงในเดือนมกราคม 2557
106
ทั้งนี้ ชัยชนะของนายโอบามาจึงมีนัยต่อการด�ำเนินนโยบายทางการเงินของ Fed โดยมีความเป็นไปได้สูงว่า นายเบน เบอร์แนนกี้ จะได้รับการต่อวาระการด�ำรงต�ำแหน่งประธาน Fed และ Fed จะสามารถใช้มาตรการทางการเงินแบบ ผ่อนคลายได้อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการเงิน และภาค การจ้างงานได้ต่อไป ➥➥ นโยบายทางการคลัง
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก�ำลังจะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “หน้าผาทางการคลัง” (Fiscal Cliff) เนื่องจากมาตรการ ลดภาษีหลายมาตรการที่ได้มีการน�ำมาใช้ทั้งในสมัยรัฐบาลของนายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (ปี 2544–2551) ซึ่งได้รับการต่ออายุ เมื่อช่วงปลายปี 2553 และในสมัยของรัฐบาลนายโอบามาในสมัยแรก (ปี 2551–2555) ตลอดจนมาตรการการขึ้นภาษีต่าง ๆ ก�ำลังจะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 มาตรการลดภาษีดังกล่าว ได้แก่ ❍❍ มาตรการผ่อนปรนภาษีร้อยละ 2 ที่เรียกเก็บจากรายได้ของผู้ที่มีเงินเดือน (Payroll-tax cut) ❍❍ มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้สว ่ นบุคคล และเพิม่ ค่าลดหย่อนภาษีแก่คสู่ มรส โดยอัตราภาษีเงินได้สว่ นบุคคล ปัจจุบันและหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 (หากไม่มีการต่ออายุมาตรการ) จะเป็นไปตามตารางที่ 1 ตารางที่ 1 เปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลสหรัฐอเมริกาปัจจุบันและอัตราหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 รายได้ส่วนบุคคลต่อปี (ดอลลาร์สหรัฐ)
รายได้ของคู่สมรสต่อปี2 (ดอลลาร์สหรัฐ)
อัตราปัจจุบัน ปี 2555 (ร้อยละของรายได้)
อัตราใหม่ (ร้อยละของรายได้)
0-8,700 8,700–35,350 35,350–85,650 85,650–178,650 178,650–388,350 มากกว่า 388,350
0–17,400 17,400–70,700 70,700–142,700 142,700–217,450 217,450–388,350 มากกว่า 388,350
10 15 25 28 33 35
15 15 28 31 36 39.6
ที่มา : Internal Revenue Service
อีกทั้งจะมีการขึ้นภาษีและน�ำระบบภาษีใหม่มาบังคับใช้ ดังนี้ ❍❍ มาตรการขึ้นภาษีเงินได้จากเงินปันผล จากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 39.6 ❍❍ การน�ำระบบภาษีทางเลือก (Alternative Minimum Tax : AMT) มาบังคับใช้ • AMT คือ ระบบภาษีเงินได้สว่ นบุคคลทีผ่ มู้ รี ายได้นนั้ ๆ พึงจ่าย โดยการคิดภาษีระบบ AMT จะไม่มกี ารหัก ค่าลดหย่อนเท่ากับระบบปัจจุบัน ท�ำให้ผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง (ปีละ 100,000–600,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ต้องจ่ายภาษี เงินได้ส่วนบุคคลที่สูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปีละ 100,000–400,000 ดอลลาร์สหรัฐจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ❍❍ มาตรการขึ้นภาษีมรดก จากที่ปัจจุบันเรียกเก็บภาษีมรดกที่ร้อยละ 35 ของมรดกที่มีมูลค่าสูงกว่า 5.12 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55 ของมรดกมูลค่าสูงกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ❍❍ มาตรการภาษีตามกฎหมายการคุ้มครองผู้ป่วยและการรักษาพยาบาลในราคาที่เข้าถึงได้ ปี 2555 (Patient Protection and Affordable Care Act 2012) โดยเก็บภาษีเพิ่มเติมอีกร้อยละ 3.8 บนก�ำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital gain) และเงินปันผล และร้อยละ 0.9 จากเงินเดือนและเงินรายได้ เพื่อเอาเงินไปชดเชยสวัสดิการรักษาพยาบาล (Medicare หรือ “Obamacare”) ในกรณีที่คู่สมรสยื่นแบบเสียภาษีร่วมกัน
2
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
107
ประกอบกับกฎหมายควบคุมงบประมาณ ปี 2554 (Budget Control Act 2011) ซึ่งเป็นกุญแจส�ำคัญที่ช่วย ประคับประคองให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาสามารถผ่านพ้นปัญหาวิกฤตเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐอเมริกา (Debt Ceiling) ในช่วงปลายปี 2554 มาได้ มีการระบุว่ารัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาจ�ำเป็นต้องตัดลดรายจ่ายทันที (Automatic spending cut) ในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 หากรัฐบาลและสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพดานหนี้สาธารณะใหม่ได้ โดยการตัดลด ครั้งนี้จะมีขนาดใหญ่ถึงกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลา 10 ปี นายโอบามาได้แสดงจุดยืนในประเด็นหน้าผาทางการคลังอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงหาเสียงจนกระทั่งได้รับ ต�ำแหน่งว่า จะพยายามทุกวิถที างเพือ่ ให้การตัดลดงบประมาณรายจ่ายและการขึน้ ภาษีในครัง้ นีไ้ ม่มผี ลกระทบต่อผูม้ รี ายได้นอ้ ย เท่าใดนัก ในทางกลับกัน ผู้มีรายได้ปานกลางไปจนถึงผู้มีรายได้สูงอาจต้องรับภาระของหน้าผาทางการคลังในครั้งนี้มากกว่า คนกลุ่มอื่น ทั้งนี้ ทางออกของหน้าผาทางการคลังที่เป็นไปได้มี 3 กรณี ได้แก่ 1) กรณี “ตกหน้าผา” กล่าวคือ ไม่มกี ารต่ออายุมาตรการทางภาษีและปล่อยให้การตัดลดงบประมาณรายจ่าย เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึง่ ส�ำนักงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐอเมริกา (Congressional Budget Office : CBO) ได้ประเมินไว้ ว่า หากกรณีนเี้ กิดขึน้ จริงจะท�ำให้สหรัฐอเมริกาลดการขาดดุลงบประมาณปี 2556 ไปได้ถงึ ร้อยละ 3.3 ของ GDP จากร้อยละ 7.3 ของ GDP ในปี 2555 สู่ระดับร้อยละ 4 และท�ำให้หนี้สาธารณะสหรัฐอเมริกาลดลงต่อเนื่อง จากระดับปัจจุบันที่ประมาณร้อยละ 73.0 ของ GDP จะสามารถแตะระดับร้อยละ 58.0 ของ GDP ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่จะท�ำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาใน ไตรมาสที่ 4 ปี 2556 หดตัวแรงถึงร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือท�ำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาทั้งปี 2556 หดตัว ร้อยละ 0.3 อีกทั้งท�ำให้การจ้างงานลดลงกว่า 3.4 ล้านต�ำแหน่ง ส่งผลให้คาดว่าอัตราการว่างงาน ณ สิ้นปี 2556 จะอยู่ที่ระดับ สูงถึงร้อยละ 9.1 ของก�ำลังแรงงานรวม3 2) กรณี “ทางสายกลาง” กล่าวคือ มีการต่ออายุบางมาตรการและเริ่มปฏิบัติจริงบางรายการ จากสมมติฐาน ของ CBO ในกรณีฐาน จะมีการต่ออายุมาตรการทางภาษีทั้งหมด ยกเว้นเพียงแต่มาตรการผ่อนปรนภาษีร้อยละ 2 ที่เรียกเก็บ จากรายได้ของผู้ที่มีเงินเดือน อีกทั้งน�ำอัตราเงินเฟ้อเข้ามาค�ำนวณในการคิดภาษีระบบ AMT เพื่อให้ภาษีภายใต้ระบบ AMT ไม่ ส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยมากนัก และไม่มีการตัดลดรายจ่าย 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐโดยทันที หากแต่มีการพิจารณา ตัดลดรายจ่ายเป็นรายตัว ซึ่งภายใต้กรณีนี้ CBO ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ปี 2556 จะขยายตัวดีที่ร้อยละ 2.2 (หรือ ขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2555) โดยอัตราว่างงานจะไม่พุ่งสูงมาก คืออยู่ที่ร้อยละ 8.0 ของก�ำลังแรงงานรวม ณ สิ้นปี 2556 อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะสหรัฐอเมริกาจะพุ่งสูงขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 73 ของ GDP ถึง ระดับร้อยละ 90 ของ GDP ภายในปี 2565 3) กรณี “ต่อหน้าผา” กล่าวคือ มีการต่ออายุทุกมาตรการและไม่มีการตัดลดรายจ่ายใด ๆ เลย จะท�ำให้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้ตอ่ เนือ่ ง แต่จะท�ำให้สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาหนีส้ าธารณะทีน่ า่ จะพุง่ ขึน้ สูง โดยอาจสูงเกิน ร้อยละ 100 ของ GDP ได้ และอาจเป็นประเด็นให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชือ่ ถือปรับลดอันดับความน่าเชือ่ ถือของสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตลาดการเงินโลกในลักษณะคล้ายคลึงกับหรือรุนแรงกว่าการปรับลดความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 โดยสถาบันจัดอันดับ Standard and Poor’s จากระดับ AAA ลงสู่ระดับ AA+4
จาก “An update to the Budget and Economic Outlook : Fiscal Years 2012 to 2022”, Congressional Budget Office, August 2012 การปรับลดอันดับในครั้งนั้นก่อให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลกเป็นอย่างมาก โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงอย่างรุนแรงทั่วโลก ทั้งในตลาด สหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมถึงตลาดประเทศเกิดใหม่และตลาดเอเชีย ในขณะทีเ่ งินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึน้ มาก จากความกังวลในความเสีย่ งของภาวะเศรษฐกิจโลก
3 4
108
ถึงแม้ว่าแนวทางออกของปัญหาหน้าผาทางการคลังสหรัฐอเมริกาจะมีความเป็นไปได้หลายทาง แต่จาก การที่พรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านจากการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงได้เสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ในขณะที่พรรคเดโมแครตได้รับเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา (Senate) อาจท�ำให้ทั้ง 2 พรรคมีความขัดแย้งเรื่อง การตัดสินใจว่าจะต่ออายุมาตรการใด และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดการเงินและตลาดทุนทั่วโลกในระหว่าง การเจรจาได้ ทั้งนี้ การเจรจาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งระหว่างนายโอบามา และนายจอนห์ โบห์เนอร์ ผู้น�ำสภาผู้แทนราษฎร จากพรรครีพบั ลิกนั ส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้วา่ สหรัฐอเมริกาจะเลือกกรณี “ทางสายกลาง” ในการแก้ปญ ั หาหน้าผาทางการ คลัง โดยนายโอบามาได้กล่าวสุนทรพจน์วา่ เขายินดีและเต็มใจทีจ่ ะประนีประนอม (“I am open to compromise”) หากแต่ยงั คง แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าคนรวยจะต้องแบกรับภาระทางการคลังในครัง้ นีม้ ากกว่าคนจน พร้อมทัง้ เตรียมผ่านร่างกฎหมายผ่าน ทางวุฒิสภาเพื่อยืดอายุมาตรการลดภาษีส�ำหรับผู้มีรายได้ไม่ถึง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี หรือ 250,000 ต่อดอลลาร์ สหรัฐคูส่ มรสต่อปี ในขณะทีน่ ายโบห์เนอร์ยงั ไม่แสดงจุดยืนทีช่ ดั เจนว่าจะต่ออายุมาตรการใด หรือจะขึน้ /ลดภาษีและการใช้จา่ ย แบบใด หากแต่กล่าวเพียงว่าต้องดูรายละเอียดของทัง้ งบประมาณรายจ่ายและรายได้จดั เก็บ อย่างไรก็ตาม นายโบห์เนอร์แสดง ท่าทีไม่เห็นด้วยกับการเตรียมผ่านร่างกฎหมายฯ ผ่านวุฒิสภาของนายโอบามาในครั้งนี้ ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าในที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกาจะสามารถแก้ปัญหาหน้าผาทางการคลังให้ผ่านพ้น ไปได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นทางการเมืองโดยเฉพาะเสียงส่วนใหญ่ในสภา 2 สภาของทัง้ 2 พรรค จะเป็นปัจจัยส�ำคัญทีอ่ าจท�ำให้ การเจรจาแก้ปญ ั หาหน้าผาทางการคลังยืดเยือ้ โดยอาจมีการเล่นเกมทางการเมืองจนกระทัง่ วินาทีสดุ ท้าย ในลักษณะทีค่ ล้ายคลึง กับข้อขัดแย้ง (Congress gridlock) ในการปรับขึ้นเพดานหนี้ (Debt ceiling) เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา
4. ผลกระทบต่อประเทศไทยและแนวทางรองรับ ผลจากการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะนัยต่อการแก้ปัญหาหน้าผาทางการคลังได้กลายเป็นประเด็นส� ำคัญและ ความกังวลหลักของนักลงทุนทั่วโลก ประเทศไทยเองอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ ดังนี้ ➥➥ ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง : ช่องทางการค้าและท่องเที่ยว
กรณี “ตกหน้าผา” : จะกระทบต่อภาคท่องเทีย่ วและการส่งออกของประเทศไทย ทัง้ การส่งออกทางตรงไปยัง ประเทศสหรัฐอเมริกา และการส่งออกทางอ้อมไปยังประเทศอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นคูค่ า้ ส�ำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะประเทศ จีน ซึ่งอาจจะร้ายแรงในระดับใกล้เคียงกับวิกฤตการเงินโลกปี 2551 ทีเดียว แต่กรณีนี้มีความเป็นไปได้ต�่ำ ❍❍ กรณี “ทางสายกลาง” : ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยอาจกระทบบ้างจากอุปสงค์ที่ ชะลอตัวลงบ้าง แต่ผลกระทบอาจไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งคาดว่ากรณีนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด ❍❍ กรณี “ต่อหน้าผา” : การส่งออกของประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวได้ดี แต่สหรัฐอเมริกา อาจโดนปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ส่งผลกระทบตลาดการเงินโลกในลักษณะคล้ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ที่สหรัฐอเมริกา ถูก S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจากปัญหาเรื่องเพดานหนี้ กรณีนี้มีความเป็นไปได้ต�่ำ ❍❍
➥➥ ผลกระทบต่อภาคการเงิน
ช่วงเวลาในการเจรจาหาระหว่างทัง้ 2 พรรคเพือ่ หาแนวทางแก้ปญ ั หาหน้าผาทางการคลัง ตลาดการเงินโลก อาจมีความผันผวนสูง เนื่องจากเมื่อใดที่การเจรจาแก้ปัญหาส่งสัญญาณความไม่แน่นอนขึ้น นักลงทุนจะเกิดภาวะตื่นตระหนก และจะถอนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ตลอดจนตลาดพันธบัตรและตลาด โภคภัณฑ์ แล้วเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยโดยเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ดังนั้น หากการเจรจา แก้ไขปัญหายังไม่สิ้นสุด ตลาดการเงินโลกจะยังคงผันผวนสูง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดการเงินไทย ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
109
➥➥ แนวทางการรับมือ
ถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่และมีอทิ ธิพลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมหาศาล จนท�ำให้ ประเทศเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็ก อาทิ ประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากนโยบายทางเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้ แต่เราสามารถบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ❍❍ เร่งกระจายตลาดส่งออกใหม่ ที่ผ่านมาตลาดส่งออกของประเทศไทยมีการกระจายไปยังตลาดภูมิภาค อาทิ ประเทศจีนและอาเซียนมากขึ้น ดังภาพที่ 4 ภาพที่ 4 ตลาดส่งออกหลักของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2540-2554
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ค�ำนวณและรวบรวมโดย สศค.
ทัง้ นี้ ประเทศไทยสามารถใช้โอกาสจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนสามารถเป็นแหล่งผลิตและเป็นแหล่งอุปสงค์สุดท้าย (Final demand) ได้ในตัวเอง n ภาครัฐจ�ำเป็นต้องเร่งการเบิกจ่ายงบลงทุนเพือ่ พัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้สมบูรณ์ และเชือ่ มโยงกับประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าค ทัง้ การขนส่งทางราง ทางน�ำ้ ทางอากาศ คมนาคม และสาธารณูปโภค ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินประมาณ 2 ล้านล้านบาท ❍❍ เร่งสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยควรเร่ง กระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศเพื่อให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในยามที่เศรษฐกิจ โลกผันผวน ❍❍ เร่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิต n ปัจจุบนั นโยบายภาครัฐทีส่ นับสนุนการสร้างประสิทธิภาพในการผลิตส่วนใหญ่จะอยูใ่ นภาควิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะในรูปแบบของการให้สนิ เชือ่ (Productivity Improvement Loan) ทัง้ ทางเครือ่ งจักรและ ก�ำลังคน ผ่านธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) ตลอดจนจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน n ภาคเอกชนต้องมีกลยุทธ์เชิงรุกในการพัฒนาบุคลากรของตน ❍❍ ติ ด ตามความคื บ หน้ า และผลกระทบอย่ า งใกล้ ชิ ด โดยเฉพาะในภาคการเงิน ทั้งนี้ หากมีสัญญาณ การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรเข้าบรรเทาผลกระทบทันที
110
โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ผลการเจรจาระหว่างนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา และนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนสหรัฐอเมริกา พรรครีพับลิกัน เพื่อหาทางออกปัญหา Fiscal Cliff ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน โดยนายโอบามายังยืนยันข้อเสนอให้เพิ่มอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้มีรายได้สูงก่อน แล้วจึงท�ำแผนตัดลดรายจ่ายภาครัฐ ขณะทีน่ ายโบห์เนอร์ยงั ยืนยันทีจ่ ะไม่ให้ปรับขึน้ ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาเพือ่ ประโยชน์ของ คนอเมริกันส่วนใหญ่ แต่เสนอให้ปรับลดรายจ่ายภาครัฐลงแทน ❍❍
5. สรุป ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประจ�ำปี 2555 จะจบลงด้วยชัยชนะของนายโอบามาเป็นสมัยที่ 2 แต่ ด้วยคะแนนเสียงซึง่ สะท้อนคะแนนนิยมทีล่ ดลง ประกอบกับภาพรวมการเมืองสหรัฐอเมริกาทีพ่ รรครีพบั ลิกนั ได้รบั เสียงข้างมาก ในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่พรรคเดโมแครตซึ่งเป็นพรรครัฐบาลครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา ยังคงเป็นภาพเดิมเหมือนกับ ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา บ่งชี้แนวโน้มว่าจะมีความขัดแย้งกันในการด�ำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นหน้าผาการคลังในอนาคตอันใกล้นี้ ถึงแม้ว่าในที่สุดแล้วจะมีความเป็นไปได้สูงที่ทั้ง 2 พรรคจะหันหน้าเข้าหากันและ บรรลุข้อตกลงได้ก็ตาม แต่ก่อนหน้านั้นความไม่แน่นอนในการแก้ปัญหาดังกล่าวน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ ภาคการเงินมีความผันผวนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้ ในแง่ของประเทศไทยจึงควรเร่งการกระจายตลาดส่งออก เน้นการสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพ ในการผลิตและเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชดิ เพือ่ ให้ผลการเลือกตัง้ และแนวโน้มการเมืองสหรัฐอเมริกาไม่สง่ ผลกระเทือน ดังค�ำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว”
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
111
ภาคการเงิน
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ในช่ ว ง 11 เดื อ นแรกของปี 2555 อั ต ราดอกเบี้ ย เงิ น ฝากและอั ต ราดอกเบี้ ย เงิ น กู ้ ป รั บ ตั ว ลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 1 ปี ปรับลดลงจากร้อยละ 2.85 ณ สิ้นปี 2554 เป็นร้อยละ 2.55 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับลดลงจากร้อยละ 7.44 ณ สิ้นปี 2554 เป็นร้อยละ 7.19 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 (ภาพที่ 1) สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 3.25 ณ สิ้นปี 2554 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน 2555 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง1 ติดลบต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมา ❍❍ การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2555 เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคาร พาณิชย์จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากปี 2554 ขณะที่ในปี 2556 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2555 อัตราดอกเบี้ยจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันหรือลดลงเล็กน้อย สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ในปี 2556 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มที่จะปรับสูงขึ้น ตามอุปสงค์ ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง ผนวกกับอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าจะปรับตัวดีขึ้น และส่งผลบวกต่อภาคการส่งออก รวมถึงภาพรวมของเศรษฐกิจไทยตามล�ำดับ ❍❍
ภาพที่ 1 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงินอื่น2 (Depository institutions) ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน 2555 ขยายตัวเร่งขึ้น (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 สถาบันรับฝากเงินอื่นมียอด คงค้างของสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 13,088.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อ ขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวเร่งขึ้นของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อ ภาคครัวเรือน ตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศ โดยวิเคราะห์ตามผู้ให้สินเชื่อพบว่า ทั้งสินเชื่อของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึน้ ด้านเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินอืน่ มียอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 14,233.8 พันล้านบาท ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ ร้อยละ 1.0 เมือ่ เทียบกับเดือนก่อน จากการระดมเงินฝากเพือ่ รองรับการขยายตัวของสินเชือ่ และการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ ❍❍
ค�ำนวณโดยน�ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ 12 เดือนเฉลี่ย–อัตราเงินเฟ้อในช่วงเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน
1 2
112
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ภาพที่ 2 สินเชื่อในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 3 เงินฝากในสถาบันรับฝากเงิน
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้ า งเงิ น ฝากของธนาคารพาณิ ช ย์ ณ เดื อ นพฤศจิ ก ายน ปี 2555 ขยายตั ว เร่ ง ขึ้ น (ภาพที่ 4 และภาพที่ 5) ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างสินเชื่อภาคเอกชนจ�ำนวน 8,740.5 พันล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับ เดือนก่อน ด้านเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ยอดคงค้างเงินฝากจ�ำนวน 10,094.9 พันล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 29.0 เมือ่ เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.03 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ❍❍
ภาพที่ 4 สินเชื่อในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 5 เงินฝากในธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ยอดคงค้างสินเชื่อภาคครัวเรือนและยอดคงค้างสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือน พฤศจิกายน ปี 2555 ขยายตัวดีต่อเนื่อง (ภาพที่ 6) สินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของสินเชื่อรวมขยายตัวเร่งขึ้น ที่ร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจภาคการบริโภคที่ส่งสัญญาณการขยาย ตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นชัดเจน ขณะที่สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจซึ่งมีสัดส่วน กว่าร้อยละ 60 ของสินเชื่อรวม ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับเครื่องชี้ภาวะ เศรษฐกิจภาคการลงทุน ทั้งในส่วนของการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
113
ภาพที่ 6 ยอดคงค้างสินเชื่อครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
สินเชือ่ ธุรกิจในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ในขณะทีภ่ าคการเกษตรขยายตัวเร่งขึน้ (ภาพที่ 8) ยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการซึ่งยอดคงค้างสินเชื่อภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 44.3 ของสินเชื่อธุรกิจ (ภาพที่ 7) ขยายตัวเร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 11.1 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น เช่นเดียวกับยอดคงค้าง สินเชือ่ ภาคเกษตรกรรม ทีข่ ยายตัวเร่งขึน้ ต่อเนือ่ งเป็นไตรมาสที่ 3 มาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 19.7 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้างสินเชื่อ ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 42.6 ของสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 หดตัวลงมากขึ้น ส่วนหนึ่งจาก การที่บางสาขาอุตสาหกรรมยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากวิกฤตอุทกภัยที่ร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ❍❍
ภาพที่ 8 การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ภาพที่ 7 สินเชื่อแยกตามภาคธุรกิจ
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 9 โครงสร้างสินเชื่อผู้บริโภค
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
114
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
ยอดคงค้างสินเชื่อผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยสินเชื่อบุคคลเพื่อซื้อรถหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5.0 ของสินเชื่อรวม หรือร้อยละ 22.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการบริโภคสินค้าคงทนที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.0 ของสินเชื่อทั้งหมด หรือร้อยละ 55.0 ของสินเชื่อบุคคล ขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนมาอยูท่ รี่ อ้ ยละ 9.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีธรุ กรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ ขยายตัวดีตอ่ เนือ่ งในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ทีร่ อ้ ยละ 7.2 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ส�ำหรับยอดคงค้างสินเชือ่ บัตรเครดิต คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์รวม ในเดือนตุลาคม ปี 2555 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนมา อยูท่ รี่ อ้ ยละ 12.8 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ นหน้า ส่วนหนึง่ จากปัจจัยฐานต�่ำจากผลกระทบของวิกฤตอุทกภัย สอดคล้อง กับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนตุลาคม ปี 2555 ที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงวิกฤตอุทกภัยต่อเนื่องที่ระดับ 68.1 ❍❍
ภาพที่ 10 การขยายตัวสินเชื่อบุคคล ธนาคารพาณิชย์แยกประเภท
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
ภาพที่ 11 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ผ่านบัตรเครดิต
ที่มา : ธปท. / ประมวลผลโดย สศค.
กล่าวโดยสรุป สิ้นเดือนพฤศจิกายน ปี 2555 เงินฝากและสินเชื่อของสถาบันการเงินไทยขยายตัว เร่งขึ้น ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อธุรกิจขยายตัวดี ต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงขยายตัวดี ต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นมาก โดยเป็นการเร่งขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นส�ำคัญ จากการเร่งระดมเงินฝาก เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ถึง สถานภาพของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบนั พบว่ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนหนีท้ ไี่ ม่กอ่ ให้เกิดรายได้สทุ ธิยงั คงอยูใ่ นระดับ ต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.2 ของสินเชือ่ ทัง้ หมด ขณะทีส่ ดั ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสีย่ งยังคงอยูใ่ นระดับสูงทีร่ อ้ ยละ 16.0 ซึง่ สูงกว่าเกณฑ์ ที่กฎหมายก�ำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ❍❍
ประมาณการเศรษฐกิจไทย
115
Thailand’s Key Economic Indicators ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators)
116
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง FISCAL POLICY OFFICE
ส
เสนอแนะอย่างมีหลักการ
ศ ค
ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง คนคลังที่มีคุณภาพ
คณะผู้จัดท�ำ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ : boonchar@mof.go.th ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ดร.กุลยา ตันติเตมิท : kulaya.t@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนแบบจ�ำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ : wiparat@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ : pisitp@mof.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร : soraphol@fpo.go.th ผู้อ�ำนวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สิริกัลยา เรืองอ�ำนาจ : sirigunya@hotmail.com
ผู้รับผิดชอบรายภาคเศรษฐกิจ
ภาคการคลัง นรพัชร์ อัศววัลลภ : norabajra@mof.go.th คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com นิภัทร์ ชมบ้านแพ้ว : nipat44@hotmail.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com พีรพัฒน์ วงศ์ชัยวัฒน์ : wongchaiwat@hotmail.com สุธิรัตน์ จิรชูสกุล : j_suthi01@yahoo.com ภาคการค้าระหว่างประเทศ พนันดร อรุณีนิรมาน : panundorn.a@gmail.com อรุณรัตน์ นานอก : aobcy2000@hotmail.com ตลาดน�้ำมัน ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com เศรษฐกิจต่างประเทศ พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ : peerapan.ps@gmail.com ภัทราพร คุ้มสะอาด : phattraporn088@gmail.com ภาคการเงิน อาร์จนา ปานกาญจโนภาส : annulet@hotmail.com
อัตราแลกเปลี่ยน ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ : pim.hirankasi@gmail.com ภาคอุตสาหกรรม ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ : thammaritud@yahoo.com อรอุมา หนูช่วย : onumaneung@hotmail.com ภาคเกษตรกรรม กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com ภาคการท่องเที่ยว คงขวัญ ศิลา : nu_nub@yahoo.com รชานนท์ ฉิมเชิด : rachanon.fpo@gmail.com ภาคการบริโภค การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์ ยุทธภูมิ จารุเศร์นี : iam5111@msn.com กาญจนา จันทรชิต : kulmbe6@yahoo.com วรพล คหัฎฐา : worpol1@yahoo.com ด้านเสถียรภาพ ดารินทร์ เกตุเรืองโรจน์ : lexlexjung@hotmail.com
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2273-9020 โทรสาร 0-2298-5602 website : http://www.fpo.go.th