HIP Magazine DECEMBER 2018 (Section B)

Page 1

1


CO NTENT D EC E M B E R 2 0 1 8 Vo l . 1 5 N o . 1 6 9

Bike Run Trip Trek Travel Change Event

10

16

Trip ‘ดูเลเล’ โฮมสเตย์แห่งใหม่ในอ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ด้วย รูปแบบที่พักที่แตกต่างจากที่อ่น ื ทุกคนต้องใช้ชีวิตและ ท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ตามความตั้งใจของเจ้าของบ้าน ที่อยากให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น เหมือนได้ไปพั กที่บ้านของ ญาติสนิทสักคนหนึ่ง

04 06 10 12 16 22 24

Travel หลังจากที่ พี่โหน่ง - สมชาย บก.ของเรา และจุย ๋ จุย ๋ ส์ เคยหอบหิ้วจักรยานเดินทางจากเชียงใหม่ไปปั่นกันที่เมือง Nasu และ Nikko ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสองปีก่อน ปีน้ท ี ั้งคู่ น�ำจักรยานไปปั่นที่ญ่ป ี ุ่นอีกครั้ง โดยคราวนี้ต่างจากหนก่อน ตรงที่ไปปั่นกันที่เมือง Aizu และ Nasu กับมีคณะนักปั่น จากกรุงเทพฯ ไปร่วมปั่นท่องเที่ยวในทริปนี้ด้วย

2


3


B

I

K

E

K CYCL ING CLU B คลั บของคน รั ก จั ก รยาน

เรื่อง :acidslapper ภาพ : K Cycling Club

ลมหนาวมาแล้ ว !!! -- ลมหนาวไปแล้ ว !!! ไวเหมื อ นโกหกเลยเนาะ ดี ใ จ ที่อากาศหนาว รีบขนเสื้อผ้า Winter Collection ออกมาซักเตรียมเฟี้ ยว ตากผ้า ยังไม่ทันแห้งมันกลับกลายเป็นฤดูร้อนไปซะอย่างงั้น #ฮานี่บะ

แต่ ก็ น ะ ก็ ส ญ ั ญากัน แล ว้ ไงว่ า พวกเรา จะแข็งแกร่ง อากาศปรวนแปรแค่น้ ีทำ� อะไรสายถึก อย่างพวกเราไม่ได้หรอกนะ ยิง่ ส�ำหรับเหล่าชาวเสือ น่องเหล็กแลว้ ไม่ว่าจะหนาวขี้หดตดหาย จะร้อน ตับแลบ จะแดดเปรี้ยงแบบไม่เกรงใจ SPF50+++ เมฆครึ้มบรรยากาศอวมๆ เหนียวเนื้อเหนียวตัว มืดเร็ว แมลงบินเข้าปาก ฯลฯ จะอะไรก็มาเหอะ! ขออย่างเดียว แค่ฝนอย่าตกเป็ นใช้ได้ หลังจากช่วงหลายเดือนที่เฉอะแฉะในนาม ฤดู ฝนที่ผ่านมา พวกเราชาวจักรยานก็ไม่ค่อยจะ ร่าเริงกันนัก (ขี้เกียจล ้างรถ 555) ต้องเสียโมเมนตัม ในการออกก�ำ ลัง กายให้ก ับ กระแสความนิ ย ม ในการวิง่ แต่ยงั ไงซะ ช่วงเดือนพฤศจิกายนลากไป จนถึง เดือ นกุม ภาพัน ธ์ ก็ ย งั คงเป็ น ช่ ว งที่ดีท่ีสุ ด ส�ำหรับการปัน่ จักรยานเสมอ แม้ว่ า ช่ ว งที่ ผ่ า นมากระแสจัก รยานจะ เงียบเหงาว้าเหว่สุดจะทนก็ตาม แต่ส่วนตัวผมเอง ผมเชื่อว่ามันจะไม่หายไป ยังไงมันก็ตอ้ งกลับมา แหม ก็จกั รยานของแต่ละคนนี่ปากันไปเรือนหมืน่ 4

เรือนแสนทัง้ นัน้ จะให้ปัน่ เหยาะๆ แหยะๆ แป๊ บเดียว แลว้ เลิกมันก็ดูจะหน่ อมแน้มเกิน เดีย๋ วจะหาว่า บ้าบอ ขาดสติ เกาะกระแส เอาเงินเข้าฟาด แล ้วก็ ไม่เอาจริง 555 และแล ้วสมมติฐานของผมก็ถกู ! เพราะช่วงที่ กระแสจักรยานซบเซาไป กลับกลายเป็ นว่าระบบ หรือวงการก็ได้คดั กรองเอาเฉพาะคนที่รกั จริงไว้ จึงได้เกิดทีม กลุม่ หรือชมรมจักรยานเพิม่ มากขึ้น ในแง่จำ� นวนอาจจะไม่มากเท่าตอนทีก่ ระแสเฟื่ องๆ แต่ถา้ มองในระดับคุณภาพแล้ว อย่างก๊ะดาวนาเม็ก! ซูเปอร์ไซย่าเดินกันเกลือ่ นกลาดเชียว ออกทริปทีนงึ กลุม่ เปโลตองตัง้ ความเร็วกัน 40 กิโลเมตร/ชัว่ โมง ลากกัน ไปสี่สิบ กว่ า แล ว้ ไปยิง ทิ้ง ยิง ขว้า งกัน อีก ...บ้าไปแล ้ว!!! ผมเองมีโ อกาสไปรู จ้ กั กับ กลุ่ ม จัก รยาน กลุม่ หนึ่งทีเ่ พิง่ ก่อตัง้ กันขึ้นเมือ่ ไม่นานมานี้ แต่คน ในกลุ่ ม ก็ พ รรคพวกกัน นี่ แ หละ คุ น้ หน้า คุ น้ ตา กัน อยู่ แ ล ว้ ฝี เ ท้า แต่ ล ะคนนี่ ก็ จ า้ นจัด เหลือ เกิน กลุม่ ทีว่ า่ นี้กค็ อื ‘K Cycling Club’ นัน่ เองครับ


K Cycling Club ก่ อ ตั้ง ขึ้ น มาจาก ร้านจักรยาน K Cycling ซึง่ เจ้าของร้านคือ คุณเก๋ แห่งร้าน K Love Phone อุปกรณ์โทรศัพท์มอื ถือ Accessory และ Gadget สินค้าดิจติ อลเทคโนโลยี ต่างๆ ทีม่ สี าขาทัว่ ภาคเหนือทีเ่ ราคุน้ ตากันนี่แหละ คุณเก๋เล่าให้ฟงั ว่า แกเริม่ จากร้านขายโทรศัพท์มอื ถือ แล้วแกก็มาชอบการขีม่ อเตอร์ไซค์ ประเภทขีท่ อ่ งเทีย่ ว แบบทริปไกลๆ อะไรประมาณนัน้ แต่พอวันหนึ่ง ได้ลองจักรยาน ปรากฏว่าชอบมาก!!! สถานทีท่ เ่ี คย ขี่มอเตอร์ไซค์ไปเที่ยว พอได้ลองปัน่ จักรยานไป ความรู ส้ กึ มันคนละเรื่องเลย จากที่เคยพึ่งพาการ ควบตะบึงของเครื่องยนต์ กลายมาเป็ นการรีดเค้น พลังงานของร่างกายเราเอง ยิ่งถ้าแข็งแรงขึ้นก็จะ สามารถปัน่ ไปไกลได้มากขึ้น มันก็ยง่ิ มีเรื่องท้าทาย เพิม่ มากขึ้น มีเส้นทางทีอ่ ยากไปพิชติ ให้ได้ไม่รูจ้ บ จากนัน้ พอคุณเก๋เริ่มมาเข้ากลุม่ ปัน่ จักรยาน กับชมรมซอยตันหรรษา ได้พบบรรยากาศของกลุม่ นักปัน่ ทีส่ นุกสนาน ก็เลย ‘บ้า’ จักรยาน เริ่มติดตาม ข่าวสาร กระแส และเทคโนโลยีของวงการจักรยาน จากเดิมที่สนใจพวก Accessory และ Gadget ต่างๆ อยู่แลว้ ก็พบว่าวิวฒั นาการทางเทคโนโลยี ของจักรยานมันน่าสนุ กมาก จึงเริ่มสะสมรถตัง้ แต่ เฟรมโครโมลี่ อลูมเิ นียม มาจนถึงคาร์บอนไฟเบอร์ ทีก่ ำ� ลังได้รบั ความนิยมมากในปัจจุบนั คุณเก๋บอกว่า จักรยานมันคือการจับคู่ เฟรมกับลอ้ เฟรมแบบนี้ ต้องใช้กบั ล ้อแบบนัน้ ก็ทดลองเปลีย่ นไปเปลีย่ นมา ตามประสาคน ‘บ้า’ ไปเรื่อยๆ จนมันลงตัว ทีน้ ี พอจักรยานคันหนึ่งลงตัวแล ้ว มันก็จะมีอะไหล่เหลือ ก็เลยประกอบรถคันใหม่ข้นึ อีก เล่นไปเล่นมา รูต้ วั อีกทีกม็ รี ถเต็มบ้าน!!!

จากเหตุการณ์ดงั กล่าว คุณเก๋เลยเกิดไอเดีย ในการเปิ ดร้านจักรยานขึ้น เพือ่ ให้เป็ นพื้นที่ท่รี วม คนบ้าจักรยานให้มาพบมาแลกเปลีย่ นกัน มาเจอกัน มาปัน่ ด้วยกัน โดยที่รา้ นจะต้องมีรถให้ดู มีของ ให้ลองจริงๆ และที่สำ� คัญคือคุณเก๋จะได้มโี อกาส ลอง Accessory และ Gadget ต่างๆ เองด้วย เรีย กว่า ถือ โอกาสทดลองของด้ว ยตัว เอง จะได้ ตอบค�ำถามได้แบบคนที่เคยมีประสบการณ์จริงๆ โดยทีล่ ูกค้าก็สามารถมาลองรถ ลองอุปกรณ์ต่างๆ ได้ดว้ ยความสบายใจ เพราะเป็ นนโยบายทีท่ างร้าน จะไม่คุกคามและกดดันลูกค้าให้ซ้อื ของ เพราะการ ปัน่ จักรยานมันมีมากกว่าการซื้อ - ขายรถและอะไหล่ แต่ ม นั ครอบคลุ ม ไปถึง การดู แ ลรัก ษาและการ ซ่อมบ�ำรุง ก็เลยเกิดไอเดียที่อยากจะสร้างสังคม ของนักปัน่ ขึ้น จึงเป็ นทีม่ าของร้าน และการตัง้ คลับ จักรยาน K Cycling Club ขึ้นมา ภายใต้คอนเส็ปท์ ทีว่ า่ ‘คลับของคนรักจักรยาน’ มาเล่น มาปัน่ มาแต่งรถ มาแชร์ประสบการณ์การปัน่ และเรื่องเทคนิคต่างๆ ด้วยกัน เป็ นคลับแห่งความสนุก และเป็ นมิตรทีด่ ี กับทุกทีมจักรยาน K Cycling ตัง้ อยู่ทโ่ี ครงการ Bizpoint 2 ตรงสีแ่ ยกแม่เหียะสมานสามัคคี (ชื่อยาวจังเนาะ!) ถนนเชียงใหม่ – หางดง เยื้องๆ กับบิก๊ ซีหางดง ภายในร้านมีหลายโซน โซนร้านจักรยาน มีรถชัน้ น�ำ หลายแบรนด์ อะไหล่ Accessory และ Gadget เจ๋งๆ เพียบ ส่วนโซนคาเฟ่ กม็ กี าแฟ ขนม เค้กอร่อยๆ นัง่ จิบ นัง่ ดื่ม ชมรถสวยๆ พู ด คุ ย กัน ตามประสา คน ‘บ้า’ จักรยาน และโซนเซอร์วสิ ให้บริการซ่อม จักรยาน จะแต่ งหรือจะเปลี่ยนอะไหล่ก็จดั ให้ได้ มาทีเ่ ดียวแล ้วครบวงจรเลยว่างัน้ เหอะ ขณะที่กิจกรรมทัง้ หลายของ K Cycling Club ก็ มีท งั้ ที่จ ดั ทริ ป ในแต่ ล ะสัป ดาห์ห รื อ ใน แต่ละเดือน โดยส่วนใหญ่จะนัดรวมตัวกันทีห่ น้าร้าน เพราะมีพ้นื ทีจ่ อดรถยนต์สะดวก ทริปส่วนใหญ่ทจ่ี ดั ก็มกั จะเป็ นทริป 100+ กิโลเมตร เพือ่ จะได้เอาใจ ขาโหด High - Performance เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ ก็พอจะขี่กนั ช�ำนาญแลว้ จะได้ถอื โอกาสทดสอบ ประสิทธิภาพของรถกันด้วย แต่ก็ไม่ได้ท้ งิ มือใหม่ เพราะในทริปก็จดั ให้มรี ถมาร์แชลล์และรถเซอร์วสิ คอยดูแลนักปัน่ ทัง้ หลายด้วย คุณเก๋บอกว่าการจัด ทริปยาวๆ แบบนี้ นอกจากจะเป็ นการลองของ ลองอุป กรณ์ แ ล ว้ ยัง เป็ น การยกระดับ คุ ณ ภาพ การปัน่ ให้กบั นักปัน่ ด้วย จะได้เป็ นแรงบันดาลใจ ให้กบั นักปัน่ คนอืน่ ทีส่ นใจอยากมาร่วมทริป ทีส่ ำ� คัญ คือแกอยากพัฒนาน้องๆ เยาวชนในกลุม่ ให้เก่งขึ้น แต่ ยงั คงมุ่งเน้นการสร้างความสนุ กสนานในการ ปัน่ จักรยานและทริปจักรยานเสมอ นอกจากการจัดทริปจักรยานแล ้ว K Cycling Club ยังจัดคลินิกจากผูเ้ ชี่ยวชาญมาแนะน�ำการวิง่ การว่ายน�ำ ้ การ Test รถ Time Trial และการปัน่ จักรยานส�ำหรับนักไตรกีฬาทัง้ หลาย ซึ่งถือเป็ น กิจกรรมทีน่ ่าสนใจมาก เพราะได้ตอ่ ยอดการเล่นกีฬา 5

จากจักรยานไปสู่กีฬาอื่นๆ ที่สำ� คัญ K Cycling Club ยังยืนยันพร้อมสนับสนุนกิจกรรมกีฬาต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะจักรยานเพียงอย่างเดียว พอถามถึง แนวทางหรื อ ทิศ ทางของกลุ่ ม คุณเก๋บอกว่าตอนนี้กำ� ลังท�ำทีมจักรยานเสือหมอบ ส่งน้องๆ เยาวชนไปแข่งตามรายการต่างๆ มีการ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม เพราะกีฬา จัก รยานเป็ น เรื่อ งของอุป กรณ์ท่ีมีค วามเสีย หาย และสึกหรอ ส่วนการเลือกนักกีฬามาท�ำทีมแข่งนัน้ แกไม่ได้เลือกจากการไปหานักกีฬาเก่งๆ มาร่วมทีม แต่ใช้วธิ ปี นั้ เด็กๆ เยาวชนลูกหลานของเหล่าพ่อๆ ที่ ‘บ้าจักรยาน’ ทัง้ หลายนี่แหละ (เหตุผลข้อนี้น่าจะ ส�ำคัญมากทีเ่ หล่าภริยาจะเซ็นอนุมตั !ิ !! 555) ก็ตรง ตามคอนเส็ปท์การสร้างสังคมจักรยานพอดีเลย ถึงกระนัน้ ทาง K Cycling Club ก็ยงั ยินดีรบั ฟัง ไอเดีย ข้อคิดเห็น หรือสิง่ ทีค่ วรปรับปรุงพัฒนาต่างๆ จากเพือ่ นๆ นักปัน่ เพือ่ น�ำมาสร้างความหลากหลาย ให้กบั การจัดกิจกรรม จัดทริป จะได้ตรงตามกระแส หรือตรงตามความต้องการของนักปัน่ จริงๆ ส่วนแผนในอนาคตของ K Cycling Club นอกจากจะท�ำ ที ม จัก รยานส�ำ หรับ แข่ ง ขัน แล ว้ คุณเก๋เปรยๆ ว่าอยากจะจัดทริปท่องเที่ยวที่ไกล กว่าเดิม ระดับนอนค้างอ้างแรมกันไกลๆ ไปเลย เพราะส่วนตัวแกและสมาชิกอีกหลายคนในกลุม่ นัน้ ต่ า งก็ ห ลงใหลบรรยากาศในการปาร์ต้ ี ห ลัง จาก ออกทริปโหดๆ กันมาก 555 สุดท้ายนี้หากนักปัน่ ท่านใดสนใจจะเข้าร่วม K Cycling Club ก็ตดิ ตามได้ท่ี kcyclingclub.com หรือที่ Facebook : Kcyclingclub แล ้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ


R U

N

RUNNING SA F ETY วิ่ งไ ด้ . .. ไ ม่ ต า ย ... เรื่อง : อาเหลียง ภาพ : คุณหมอเนตร

สวัสดีครับ รบกวนคุณหมอเนตรแนะน�ำตัวเองหน่อยครับ

นายแพทย์กลุ บุตร แก้วศิริ อายุ 37 ปี เคยท�ำงานทีโ่ รงพยาบาลยะลา, โรงพยาบาลบั นนังสตา, โรงพยาบาลฝางและปัจจุบนั ท�ำงานทีโ่ รงพยาบาลนคร ่ ก ่ ง ในยุคทีม ี ารแข่งวิง ่ กันทุกวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นเรือ พิงค์ครับ

ธรรมดา ทุ ก คนที่ ไ ปวิ่ ง ก็ ย่ อ มจะแข็ ง แรงขึ้ น ซึ่ ง ก็ นั บ เป็ น เรื่องที่ดี แต่ในทางกลับกัน ก็มีข่าวการล้มป่วยและเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจ เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมงานวิ่งด้วยเช่นกัน คอลัมน์ Run ได้รบ ั เกียรติจาก คุณหมอเนตร – กุลบุตร แก้วศิริ ผูท ้ อ ี่ ยูใ่ นแวดวงการวิง ่ และเคยช่วยเหลือนักวิง ่ ทีเ่ กิดอาการ โรคหั ว ใจหยุ ด เต้ น กะทั น หั น ในงานวิ่ ง แห่ ง หนึ่ ง ได้ อ ย่ า ง ทั น ท่ ว งที โดยคุ ณ หมอเนตรจะมาแบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ่ วกับการออกก�ำลังกายทีด ่ ต และความรูด ้ ๆ ี เกีย ี อ ่ ใจ ให้ทก ุ ท่าน ได้อ่านกันในฉบับนี้ครับ

คุณหมอเป็นแพทย์ทางด้านไหนครับ?

เป็ นแพทย์ หู คอ จมูกครับ หน้าทีก่ ็จะมีการตรวจ OPD ผูป้ ่ วยนอก ผูป้ ่ วยใน กับผ่าตัดทางหู คอ และจมูกครับ อะไรที่ท�ำให้คุณหมอเนตรสนใจในเรื่องการวิง ่ ครับ?

เอาจริ ง ๆ ผมก็ อ อกก� ำ ลัง กายอยู่ แ ล ว้ นะ เป็ นมาตั้ง นานแล ว้ ตัง้ แต่ เ รี ย นแล ว้ แหละ แต่ ไ ม่ ไ ด้ม ากไม่ ไ ด้ม าย สัป ดาห์ล ะครัง้ สองครัง้ ครัง้ ละชัว่ โมง อะไรประมาณนัน้ 6


เป็นคนสุขภาพดีอยู่แล้ว?

จะว่าอย่างนัน้ ก็ได้นะ ไม่กนิ เหล ้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ทอ่ี อกมาวิง่ จริงๆ จังๆ เป็ นเพราะว่าตอนนัน้ เบือ่ ครับ คือชายไทย เมือ่ ถึงจุดๆ หนึ่งแล ้ว มีครอบครัว มีลูก ท�ำงาน กิจวัตรมันจะวนๆ กันไปทุกๆ วัน มันก็ทำ� ให้เกิดความรูส้ กึ เบือ่ ไปโดยปริยาย แล้วมีจุดเปลี่ยนตรงไหนครับที่ท�ำให้หันมาวิ่ง?

เรือ่ งของเรือ่ งคือน้องสาวผมเรียนทีค่ ณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. เขาได้บตั ร งานวิง่ CMU Marathon ครัง้ แรกมา เขาเลยมาถามว่า สนใจจะสมัครลงวิง่ ไหม ช่วยมหาวิทยาลัยหน่อย ไอ้เราก็คดิ ว่าเสียเงินทัง้ ทีกต็ อ้ งเอาให้สุดสิ ระยะไกลสุด คือระยะอะไรก็เอาระยะนัน้ ไปเลย บอกตามตรงว่าระยะ 42 กิโลเมตร ตอนนัน้ ไม่ได้คิดอะไรมากนะ เพราะเราซ้อมวิง่ อยู่แลว้ แต่ว่าไม่ได้วง่ิ จริงจัง ก็ดูเวลา Cut Off ว่าให้เวลาเท่าไหร่ พอเราค�ำนวณแล้วคิดว่าไหว ก็เลยตามเลย ไปตามนัน้ คิดซะว่าเหมือนเดินป่ าทีเ่ ราชอบเดิน เริ่มต้นก็มาราธอนเลยเหรอครับ แล้วผลเป็นอย่างไรบ้างครับ?

6 ชัว่ โมงกว่าครับส�ำหรับครัง้ แรก แต่ พอจบมาก็เหมือนร่ างกายเรา เป็ นอีกคนเลยนะ รูส้ กึ ว่าเราฟิ ตมากขึ้น จากทีเ่ ราซ้อมแค่สองเดือน ซ้อมไกลสุด แค่ 20 กิโลเมตรเอง ตอนนัน้ คิดว่าเอาแค่ให้ทนั ถ้าไม่ทนั ก็ยอมขึ้นรถไปซะ แต่จะพยายามไปเรื่อยๆ เท่านัน้ เอง แต่มนั ก็จบเว้ย หลังจากจบมาราธอนแรกแล้วท�ำอะไรต่อครับ?

มีเพือ่ นผม ชื่อมนมน เข้ามาทักว่า วิง่ มาราธอนแรกจบแล ้ว ไปขอผ้าบัฟ จากพีป่ ๊ อกได้นะ ไอ้เราก็ตอ้ งไปเข้ากรุป๊ 42.195 ในเฟซบุก๊ ก่อน เพือ่ ไปลงทะเบียน คือผมจะต่างกับคนอืน่ นะ คนอืน่ เวลาจะไปมาราธอนแรก เขาต้องหาความรูก้ ่อน ว่าจะต้องซ้อมยังไง เตรียมตัวยังไงบ้าง ส่วนผมนี่ไม่มเี ลย ก็ได้อ่านเรือ่ งราวต่างๆ ของคนอื่นที่จบมาราธอนแลว้ มาเขียนการบ้านลงในกลุ่มนี้ อ่านแลว้ เริ่มรู ส้ กึ มีแรงบันดาลใจ (มีทหี ลังจากวิง่ จบไปแล ้ว) กับเริ่มเห็นคนอืน่ ทีเ่ วลาดีๆ ก็เอามา เป็ นเป้ าหมายให้ตวั เองบ้าง อย่างเช่นผูห้ ญิงอายุเยอะๆ ทีว่ ง่ิ ได้เวลาดีๆ ก็เอาเป็ น แบบอย่าง ทัง้ ทีต่ อนนัน้ เราคิดว่าเราจบ 6 ชัว่ โมงแล ้ว คิดว่าแน่แล ้วนะ แต่พอ ได้อ่านเยอะๆ ก็พยายามปลอบใจตัวเองนะ ว่าเขาเป็ นนักกีฬามาก่อนมัง้ ส่วนเรา มันมือสมัครเล่น ซึง่ อันทีจ่ ริงแล ้ว มือสมัครเล่น ซ้อมดีๆ ก็ทำ� ได้ครับ แล้วจากแรงบันดาลใจเหล่านั้น ส่งผลอะไรกับคุณหมอเนตรบ้างครับ?

อีกสิบเดือนหลังจากนัน้ ก็จบมาราธอน Sub4 เลยครับ ตอนนัน้ ช็อกเลย

เข้าโรงพยาบาล!!

ไม่ใช่ครับ ช็อกตกใจน่ะครับ

หลังจากนั้นมีการหาความท้าทายอะไรใหม่ๆ ไหมครับ?

อ่านบทความทีอ่ าเหลียงเขียนครับ โป่ งแยง 100 กิโลเมตร อ่านแล ้วรูส้ กึ ว่า อยากลองบ้าง ชอบตรงทีเ่ ขียนว่า เส้นทางเดียวกัน แต่เรื่องราวของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน ปี ถดั มาเลยลองสมัครเลย และจบด้วยเช่นกัน แต่ความรูส้ กึ จริงๆ เวลาไปวิง่ เทรลผมไม่ค่อยชอบเท่าวิง่ ถนนนะ มันเดินๆ วิง่ ๆ เราวิง่ ยาวๆ แบบอีลทิ ไม่ได้ ตัวก็มอมแมม แต่กต็ งั้ เป้ าไว้ว่าเหมือนมาเทีย่ วละกัน ปี ละครัง้ เทีย่ วป่ ายาวๆ คุณหมอเนตรคิดว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา วิ่งแล้วได้อะไรบ้างครับ?

ชัด ๆ เลยคือความฟิ ตครับ เหมือนทีน่ ิชคุณเอาค�ำพูดคนอืน่ มาบอกว่า ถ้าคุณจะวิง่ วิง่ แค่กโิ ลเดียวก็พอ แต่ถา้ อยากเปลีย่ นชีวติ ลองไปวิง่ มาราธอนซะ มันไม่ได้เปลีย่ นชีวติ ขนาดที่ว่าเปลีย่ นทัศนคติอะไรแบบนัน้ นะ แต่มนั เปลีย่ น พฤติกรรมการใช้ชวี ติ ให้ดขี ้นึ เช่นการมีวนิ ยั หรืออย่างน้อยทีส่ ุด คือตื่นสาย เหมือนเดิม แต่วง่ิ ไปท�ำงานแล ้วเหนื่อยน้อยลง 7


แล้ ว จุ ด ไหนที่ ท� ำ ให้ คุ ณ หมอเนตรรู้ สึ ก ว่ า การแพทย์ เ ริ่ ม ต้ อ งเข้ า มา เกี่ยวข้องกับการวิ่งได้แล้ว?

ทีจ่ ริงมันก็เกี่ยวข้องกันมานานแล ้วนะครับ แต่สำ� หรับผมเอง ต้องย้อนไป ในเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นที่สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงใหม่ก่อน ที่มพี ่คี นหนึ่ง เสียชีวติ เนื่องจากภาวะหัวใจวาย เหตุการณ์นนั้ ท�ำให้ผมสะเทือนใจมาก เนื่องจาก พีค่ นนัน้ คือผมไม่ได้รูจ้ กั เขาเป็ นการส่วนตัวนะ แต่ว่าเขาเป็ นขาแรง เป็ นคน สุขภาพแข็งแรง วิง่ สม�ำ่ เสมอ ไม่ใช่คนทีเ่ ห่อวิง่ แลว้ ไง อายุก็ไม่ต่างกับผมมาก เรียกว่าไลฟ์ สไตล์คล ้ายกับผมเลย แต่อยู่ดๆี เขาก็น็อกแล ้วก็จากไปเลย เรื่องนี้ ท�ำให้ผมจิตตกมาก ถึงกับงดออกงานวิง่ ไปสักระยะหนึ่งเลยทีเดียว เพราะว่า การตายในสนามเนี่ยมันมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่แล ้ว เรียนแพทย์มาก็ทราบดี แต่วา่ พอเป็ นคนทีป่ จั จัยคล ้ายๆ กับเราแล ้วเนี่ย มันท�ำให้เราหดหูน่ ะ เหมือนเห็นตัวเอง ในอนาคตยังไงยังงัน้ เราก็กลับมาคิดอีกทีวา่ การออกก�ำลังกายเนี่ย มันเหมือน การท�ำลายสุขภาพ แต่เป็ นการท�ำลายเพือ่ สร้างขึ้นมาใหม่ให้ดกี ว่าเก่า แน่นอนว่า ตอนสร้างขึ้นมาใหม่หรือผลลัพธ์จากการออกก�ำลังกายเนี่ยดีแน่ๆ ล่ะ แต่ขนั้ ตอน การท�ำลายหรือออกก�ำลังกายนี่แหละ เป็ นช่วงทีห่ วั ใจท�ำงานหนัก โอกาสจะพัง ก็พงั จากจังหวะนัน้ แหละ ยิง่ ตอนแข่ง หัวใจท�ำงานหนักๆ ล่ะ ถ้าเป็ นอะไรขึ้นมา ตอนนัน้ พอดี ครอบครัวจะอยู่อย่างไร บอกตรงๆ เลยว่าจิตตกไปพอสมควร แต่พอเกิดอีกเหตุการณ์ ที่ผมเองได้เป็ นหนึ่งในผูป้ ระสบเหตุท่เี ข้าไป ช่วยนักวิง่ ที่เป็ นอาการเดียวกัน ในงานวิง่ งานหนึ่ง แลว้ เขารอดชีวติ กลับบ้าน ไปใช้ชวี ติ ได้ตามปกติ มันเหมือนปลดล็อกความรูส้ กึ ในใจทีม่ นั ค้างคามาตลอด ภาพในคลิปที่เห็นคนยืนมุงดูคนที่หวั ใจวายนอนอยู่ แลว้ มีคนช่วยแค่ไม่ก่ีคน กับอีกงานทีผ่ มลงไปช่วยเอง แล ้วคนทีม่ งุ ทุกคนช่วยเหลือผูป้ ่ วยเป็ น มันท�ำให้ ผมรูส้ กึ ว่าสังคมไทยควรตระหนักถึงการช่วยเหลือผูป้ ่ วยฉุกเฉินตรงนี้ได้แล ้ว แลว้ ทุกวันนี้ คนไข้ท่ผี มช่วยได้ เขาก็มาแอดเฟซบุก๊ ผม คุยกับผมได้ มันท�ำให้ผมรูส้ กึ ดีมากๆ จากวันนัน้ ทีเ่ ขาเกือบไม่รอดแล ้ว หัวใจหยุดเต้นเชียวนะ แต่วนั นี้กลับมาเล่นเฟซบุก๊ แอดเพือ่ นคุยกับผมได้ มันรูส้ กึ ดีใจแบบบอกไม่ถกู เลยนะครับ

คุณหมอคิดว่าในปัจจุบันนี้ สั งคมการวิ่งและการออกก�ำลังกายเนี่ย นักวิ่งเราควรเรียนรู้อะไรนอกเหนือจากวิธีการซ้อมบ้างครับ?

การกูช้ พี เบื้องต้นครับ อย่างการ CPR เนี่ย ถ้าใครรูเ้ รือ่ งพวกนี้ มันเหมือน การสร้างชีวติ ที่สองให้กบั ผูป้ ่ วยเลยนะครับ ถ้าเรารูเ้ องคนเดียว เราก็พอช่วย ผูอ้ น่ื ได้ แต่ถา้ คนอืน่ รู ้ เขาก็สามารถช่วยผูอ้ น่ื ได้เหมือนกัน รวมถึงช่วยเราได้ดว้ ย เช่นกันครับ จริงๆ กลไกการท�ำงานของหัวใจมันซับซ้อน แต่เอาง่ายๆ ว่า ถ้าหัวใจ หยุดเต้นเนี่ย ปั ๊มทีจ่ ะส่งเลือดไปเลี้ยงทัว่ ร่างกายมันหยุดท�ำงาน เราก็ตอ้ งหาทาง ให้เลือดไปเลี้ยงทัวร่​่ างกายให้ได้เท่าทีจ่ ะท�ำได้ เพือ่ ไม่ให้อวัยวะขาดเลือดแล ้วตาย บางคนกลัวว่าปั ๊มหัวใจแล ้ว ซีโ่ ครงหัก ปอดจะแตก ผมอยากจะบอกว่า ถ้าผูป้ ่ วย อยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นแลว้ ท�ำอย่างไรก็ได้ให้หวั ใจกลับมาท�ำงานได้ก่อน เป็ นอันดับแรก ซีโ่ ครง ปอด เหล่านี้เราพอรักษาได้ แต่หวั ใจเนี่ย ถ้าไม่ช่วยให้ ส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะอืน่ ๆ ได้แล ้ว ถ้าเกิดสมองตายขึ้นมา มันก็จบเหมือนกัน เห็นคนหมดสติ ถ้าจับชีพจรเป็ นก็ประเมินไป แต่ถา้ ก�ำ้ ๆ กึ่งๆ ไม่แน่ใจ ปั ๊ม CPR ไปก่อน ระหว่างที่รอความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ผดิ ครับ ถ้าคุณไม่ทำ� อะไรเลย แล ้วคนไข้หวั ใจไม่เต้นจริงๆ ก็ตายอย่างเดียวครับ 8


ส่วนเรือ่ งอืน่ ๆ เช่นตัวนักวิง่ เอง ผมก็อยากให้ลองมองกลับมาดูตวั เองดีๆ อีกครัง้ ว่าก�ำลังท�ำอะไรกันอยู่ ซ้อมวิ่งกันมากเกินไปมัย้ เพราะการวิ่งเนี่ย มันถือว่าเป็ นกีฬาเบสิก ไม่ว่าจะเป็ นกีฬาอะไรก็ตามที่ใช้ขา เวลาบาดเจ็บแลว้ พอได้กายภาพจนลงน�ำ้ หนักขาไหว การออกก�ำลังแรกๆ ทีจ่ ะอนุญาตให้ทำ� ก็คอื การเริม่ วิง่ เหยาะๆ ดังนัน้ การวิง่ คือกีฬาทีค่ ่อนข้างอ่อนโยนต่อขาเรามากทีส่ ุดแล ้ว ไม่มใี ครท�ำให้เราเจ็บนอกจากเราเอง หากคุณบาดเจ็บจากการวิง่ ขึ้นมา ให้รูไ้ ว้เลย ว่าคุณก�ำลังวิง่ เกินก�ำลังของขาคุณทีจ่ ะรับได้ Too Fast, Too Far ,Too Soon คือเหตุงา่ ยๆ ของการบาดเจ็บ ถ้าซ้อมๆ อยู่แล ้วเจ็บขึ้นมา ให้ฉุกใจคิดได้เลยนะ ว่าไม่พน้ 3 เรื่องนี้ วิง่ เร็วไป, วิง่ ไกลไป, วิง่ ถีไ่ ปแล ้ว จงหยุดซะ เอาเข้าจริงการหักห้ามใจให้หยุดมันก็จะยากนิดหนึ่ง ช่ วงที่เจ็บเนี่ย มักจะเจ็บตอนทีฟ่ อร์มดี ซึง่ ก็แน่ละ่ เพราะตอนนัน้ คุณจัดโปรแกรมซ้อมทีเ่ ข้มข้น เกินขีดจ�ำกัดของตัวเองอยู่ นักวิง่ หลายคนจะก้าวข้ามกิเลสตรงนี้ไม่ได้ เสียดายไง กลัวว่าถ้าหยุดซ้อมแลว้ จะอ่อนแอลง ก็ทนไป คิดว่าเจ็บนิดเจ็บหน่อย เดีย๋ วก็ เป็ นปกติเองแหละ กว่าจะรูต้ วั อีกทีกก็ ล ้ามเนื้อฉีก เอ็นพัง หนักสุดก็กระดูกหัก ไปแล้ว ทุกคนทีอ่ อกมาวิง่ ใหม่ๆ เนี่ย ให้ระลึกไว้เสมอว่าเราไม่ใช่นกั กีฬา ไม่ได้มี ต้นทุนทีด่ เี หมือนพวกนักกีฬาบางคน ทีผ่ ่านมากินเหล้า สูบบุหรี่ ปาร์ต้ เี ป็ นสิบๆ ปี ก่อนจะมากลับใจเริ่มวิง่ ไม่ก่เี ดือน คือมันเป็ นเรื่องดีนะทีค่ ดิ ได้ หันมาดูแลตัวเอง แต่เราอย่าไปคาดหวังว่าเราจะท�ำได้ดเี หมือนนักกีฬาทีบ่ ่มเพาะร่างกายมาอย่าง ยาวนาน กีฬาวิ่งไกลเนี่ย สังเกตว่าช่วงพีกของนักกีฬาจะอายุค่อนข้างเยอะ เพราะต้องใช้เวลา ใช้วนิ ยั ต่อเนื่องเพือ่ การสร้างร่างกายทีท่ นทาน ผมคิดว่า นักวิง่ ระยะไกลทัง้ หลายในระดับมือสมัครเล่น ทีท่ ำ� มาหากิน อาชีพอื่นอย่างเราๆ สิ่งส�ำคัญไม่ใช่การลงคอร์ท เทมโป้ หรือสปี ดเวิรก์ อื่นๆ แต่เป็ นการเก็บเล็กผสมน้อย วิง่ ไปเรื่อยๆ อย่างมีวนิ ยั เหมือนการหยอดกระปุก ถ้าคุณหยอดทุกวัน กระปุกมันก็จะแน่ นขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน การฝึ กแบบอืน่ เป็ นการต่อยอดขึ้นมาให้เร็วขึ้น แรงขึ้น ในร่างกายทีพ่ ร้อม ที่พ้ นื ฐานแน่ น หากตอนนี้ร่างกายคุณยังไม่ไหวก็ไม่ตอ้ งท�ำ ยังไงผมก็เชื่อว่า ใครก็ตามทีว่ ง่ิ เรื่อยๆ วิง่ นานๆ ซ้อมได้หลายๆ ชัว่ โมงอย่างต่อเนื่องเนี่ย ต่อให้ ทฤษฎีไม่แน่น แบบแผนการซ้อมไม่ได้มลี ูกเล่นเยอะแยะ ก็สามารถท�ำ Sub4 ที่ร ะยะฟู ล มาราธอนได้ห มดแหละครับ แต่ ก่ีเ ดือ นกี่ปี ก็ ว่ า กัน ไปตามวิน ยั และต้นทุนร่างกาย ณ วันแรก อีกอย่างทีอ่ ยากแถม คือการซ้อมโซน 2 ครับ ทุกวันนี้ผมเห็นบางคน เริ่มวิง่ มาได้ไม่เท่าไหร่ก็ไปลงคอร์ทกันแลว้ ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่นะ นักวิง่ ใหม่ๆ ผมอยากแนะน�ำให้ซอ้ มความทนทานก่อน ให้หวั ใจ ให้ร่างกายได้ปรับตัวก่อน พร้อมแล ้วค่อยเพิม่ ความเร็ว

การฝึ ก โดยคุ ม โซนหัว ใจ มัน เป็ น การฝึ ก โดยที่เ อาหัว ใจเป็ น ตัว ตัง้ ว่าเราจะวิง่ เร็วเท่าไหร่ก็ได้ วิง่ นานเท่าไหร่ก็ได้ ไม่สน แต่อย่าให้หวั ใจเต้นเกิน ทีต่ งั้ ใจไว้ อาจจะใช้วธิ งี า่ ยๆ โดยใช้เครื่องอ่านการเต้นของหัวใจ ทีเ่ ดีย๋ วนี้มอี ยู่ใน นาฬกิ าหลายๆ รุ่นแล ้ว แต่โดยส่วนตัวผมชอบ Talk Test มากกว่า คือการวิง่ ไป แลว้ ลองพูดประโยคยาวๆ โดยไม่ให้ตดิ ขัดได้ ผมว่ามันเป็ นอาการทีแ่ สดงได้ ชัดเจนกว่าว่าหัวใจเราไหวหรือไม่ไหว ฝื นหรือไม่ฝืน มันฟ้ องออกมาเอง แล ้วซ้อม แบบนี้ไปเรือ่ ยๆ ความเร็วมันจะมาเองนะ อย่าไปแคร์วา่ โซนสองของเรา ตอนแรก อยู่ทเ่ี พซ 8 หรือเพซ 9 ซ้อมไปเถอะ เดีย๋ วมันก็เร็วขึ้นเอง อย่าไปเทียบกับพวก ทีมชาติ ทีโ่ ซนสองของเขาคือเพซ 4 เพราะรถเครื่อง 1,000 ซีซี กดเกียร์สอง ย่อมเร็วกว่าเกียร์สองของรถเครื่อง 90 ซีซอี ยู่แล ้ว คุณหมอเนตรมีอะไรที่อยากจะฝากให้กับนักวิ่งอีกไหมครับ?

อยากฝากให้ตงั้ สติกนั นิดหนึ่ง ว่าทุกวันนี้ว่ิงเพราะอะไร วิ่งเพื่อเอา ความเร็วสวยๆ ไปลงสตราว่า เอาไว้อวดคนอื่น แต่เบื้องหลังหอบแทบตาย ยอมเอาหัวใจไปเสีย่ ง หรือว่าวิง่ เอาสุขภาพ แล ้วอยู่ดว้ ยกันไปนานๆ ยอมวิง่ ช้าๆ ไปนานๆ แลว้ มีความสุ ขกับครอบครัว มันไม่มีอนั ไหนถูกหรือผิดนะครับ อ่าน HIP เล่มนี้ออก ก็แสดงว่าโตๆ กันแลว้ ทีบ่ า้ นอนุ ญาตให้ทานกาแฟได้ ก็ตอ้ งคิดเองเป็ นแล ้วนะ ท�ำอะไรก็อย่าเกินก�ำลังตัวเองแล ้วกัน เพราะเราตัง้ ใจวิง่ เพือ่ สุขภาพนะ หนีโรงพยาบาลกัน อย่าให้ออกก�ำลังกายแลว้ บาดเจ็บจนต้อง เข้าโรงพยาบาลกันอีกรอบล่ะครับ ้ คอลัมน์ครับ ขอบคุณคุณหมอเนตรมากนะครับ ส�ำหรับข้อคิดดีๆ ตลอดทัง

- อ้อๆ มีอกี อย่างๆ อะไรครับ?

- งานอดิเรกไม่ได้มีแต่ออกไปวิง่ นะครับ เรายังมี BNK48 ด้วย ผมคามิเนยครับ อ๊บๆ จบเรื่องกันอย่างนี้จริงดิ?

- รับรองว่าเปลืองตังค์ไม่แพ้ลงสมัครงานวิง่ แน่นอนครับ 555


T

R

I

P

D OO LAYLAY

ในห้วงค�ำนึงของความคิดถึง เรื่อง : ชวัลวัฒน์ ภาพ : ชวัลวัฒน์ / Doolaylay

ถ้าพู ดถึง ‘โฮมสเตย์’ หลายๆ คนคงมีภาพจ�ำ ่ ักในลักษณะบ้านเป็นหลัง ทีจ ่ ะมีคนมาดูแลเรา ของทีพ ตอนเข้ า พั ก พาเราเดิ น ไปที่ ก ระท่ อ มสั ก หลั ง หนึ่ ง เอาอาหารแต่ละมื้อมาเสิร์ฟให้แล้วก็ไป

แต่ท่นี ่ีจะท�ำให้คุณลืมความคิดเดิมไปอย่างแน่ นอน ‘ดูเลเล’ โฮมสเตย์ท่ี ถู ก โอบล อ้ มไปด้ว ยธรรมชาติ อ นั อุ ด มสมบู ร ณ์ ข อง กัลยาณิวฒั นา อ�ำเภอเล็กๆ ทางตะวันตกของเชียงใหม่ ทีเ่ กิดจาก ความตัง้ ใจของ โอม - ธิตพิ นั ธ์ กิง่ เพชรรัตน์ และครอบครัว ทีอ่ ยากให้ ทุกคนทีม่ าเยือนรูส้ กึ อบอุ่น เหมือนได้ไปพักบ้านญาติสนิทสักคนหนึ่ง ก่อนหน้าทีจ่ ะเป็ น ‘ดูเลเล’ ย้อนกลับไปเมือ่ ไม่กป่ี ี ก่อน ในตอนที่ ถนนลาดยางยังเข้าไม่ถงึ แทบทุกทีไ่ ม่มสี ญั ญาณโทรศัพท์ โอมเริ่มต้น จากการท�ำโฮมสเตย์ในชือ่ ‘บูเดอช่า’ ซึง่ อยูไ่ ม่ไกลกันมาก แต่ตดิ ปัญหา เรื่องเสียงที่ไปรบกวนชาวบ้าน เพราะว่าตัง้ อยู่ในชุมชน และมีพ้ นื ที่ ไม่กว้างมาก จนกระทัง่ เมื่อได้เจอท�ำเลที่ดีและกว้างขวางกว่าเดิม ขยับออกมาจากชุมชน สามารถท�ำกิจกรรมได้สะดวกกว่า จึงมีความคิด อยากสร้างบ้านขึ้นตรงนี้ 10


ส่วนทีม่ าของชือ่ บ้าน โอมบอกว่า “ดูเลเล เป็ นภาษาปกาเกอะญอ ผมรูจ้ กั จากเพลง ‘ดูเลเล’ ของคลี (Klee Bho) ชอบค�ำนี้มาก ก็เลย ถามคลีถงึ ความหมายของค�ำนี้ คลีบอกว่าแปลได้หลายความหมาย แปลว่าความคิดถึง, ห้วงค�ำนึง หรืออดีตที่ผ่านมา แลว้ เรายังจดจ�ำ คิดถึงมันอยู่ ผมคิดว่าเป็ นความหมายทีด่ ี เลยเอามาใช้เป็ นชื่อบ้าน” ดูเลเล ยังคงความเป็ น บูเดอช่า ไว้อย่างชัดเจน ตามความตัง้ ใจ ของโอม การมาพักที่น่ีอาจจะไม่สะดวกสบายเหมือนที่อ่นื ๆ ทุกคน ต้องใช้ชวี ติ และท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน “ผมอยากให้คนทีม่ าได้สมั ผัส ความเป็ นโฮมสเตย์จริงๆ ได้ใช้ชวี ติ อยู่กบั แขกทีม่ าพักในวันเดียวกัน โดยเจ้าของบ้านจะเป็ นคนเชื่อมโยงแขกแต่ละคน ท�ำกิจกรรมร่วมกัน เวลากินข้าวก็กนิ ด้วยกัน เราไม่ได้ขายเตียงนอน ขายทีพ่ กั มันจะไม่ถกู จัดเตรียมให้เป็ นระเบียบเรียบร้อย แต่เราขายประสบการณ์ ขายการ เชื่อมโยงผูค้ นให้ได้ใช้ชีวติ อยู่ร่วมกันในช่วงเวลาหนึ่งที่น่ี ให้รูส้ กึ ถึง ความเป็ นบ้านจริงๆ” โอมพูดถึงโฮมสเตย์ในค�ำจ�ำกัดความของเขา เสน่ ห ข์ องที่น่ี คื อ ความงามของธรรมชาติท่ีแ ตกต่ า งกัน ไป ในแต่ละฤดู มีทะเลหมอกให้ชมได้ตลอดทัง้ ปี เพียงเดินมาทีร่ ะเบียงบ้าน กับความสงบตัดขาดจากโลกภายนอก เพราะแทบไม่มีสญั ญาณ โทรศัพท์เลย และยังมีกจิ กรรมไฮไลท์ทท่ี กุ คนไม่ควรพลาด คือการ ไปเยือน ‘ดอยไม่มชี ่อื ’ ทีม่ วี วิ แบบพาโนราม่า จุดชมพระอาทิตย์ตกดิน

โอม - ธิตพิ นั ธ์ กิ่งเพชรรัตน์ : เจ้าของบ้าน

โดยมีฉ ากหน้า เป็ น ขุน เขาอัน เขีย วขจีข องป่ าอ�ำ เภอกัล ยาณิ ว ฒั นา บางพลบค�ำ่ ในวันทีฟ่ ้ าเป็ นใจ จะสามารถชมความงามของทางช้างเผือก ได้อย่างชัดเจน ถูกใจคนชอบท้องฟ้ าและดวงดาวเป็ นอย่างยิง่ ในอนาคต บ้านหลังนี้จะถูกต่อเติมไปเรือ่ ยๆ ดังนัน้ คนทีม่ าเยือน ในแต่ละครัง้ ก็จะได้เห็นการเติบโตของบ้านไปด้วย รวมทัง้ จะมีกจิ กรรม ที่เชื่อมโยงกับวิถชี ีวติ การท�ำการเกษตร อย่างเช่นการลงแปลงปลูก สตรอเบอรี่ภายในบริเวณบ้าน นอกจากนี้โอมยังตัง้ ใจว่าจะใช้ท่ีน่ี เป็ นทีส่ ำ� หรับแปรรูปกาแฟด้วย ดูเลเล เพิง่ เปิ ดตัวอย่างเป็ นทางการไปเมือ่ ปลายเดือนตุลาคม ทีผ่ ่านมา โดยจัดงานเปิ ดบ้านเป็ นงานดนตรีเล็กๆ บรรยากาศอบอุ่น และมีผูเ้ ข้าร่ วมซึ่งลว้ นแต่ เป็ นคนที่เคยมาเยือนบูเดอช่ าแลว้ ทัง้ นัน้ ตามความตัง้ ใจของโอม ทีอ่ ยากเรียกเพือ่ นให้กลับบ้านมาเจอกัน และจากนี้ไป ดูเลเลก็พร้อมแลว้ ทีจ่ ะต้อนรับผูม้ าเยือนทุกคน ให้ได้มี ‘ห้วงค�ำนึงแห่งความคิดถึง’ เป็ นของตัวเอง

** ดูเลเล ตั้งอยู่ท่ห ี มู่บ้านแม่แดดน้อย ต�ำบลแม่แดด อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ บ้านอยู่ก่อนถึง อบต.แม่แดด 500 เมตร ทางเข้า ้ เนินไปอีก 50 เมตร จะถึงตัวบ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 08 1164 9717 หรือที่ Facebook : Doolaylay ** อยูท ่ างขวามือจากถนนหลัก จากนัน ้ ขึน


T

R

E

K

ANNAPURNA CIRCUIT

(PA RT 3 )

ความฝั น ที่ ยั ง ค้ า ง ค า (ตอนจบ) เรื่อง / ภาพ : SHAKY3345 Camera : Contax TVS Film : Ilford Pan 100

ผมและเพื่อนอีก 5 ท่าน เดินทางจากประเทศไทยมุ่งสู่ ประเทศเนปาล ในภารกิจแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม และการตามหา ความฝันที่ยังค้างคาของตัวผมเอง กับการเดิน Trekking บนเส้นทาง Annapurna Circuit เพื่อหาแรงบันดาลใจ และการจัดงานแสดงแลกเปลี่ยนศิลปะและดนตรีให้กับชาวเนปาล 12


ส�ำหรับพวกเรา บ่อยครัง้ ทีผ่ มหันไปมองข้างหลัง และคิดในใจว่า “เราไต่มาถึง ตรงนัน้ ได้อย่างไร?” ถ้าผมยอมแพ้ทค่ี วามสูง 4,000 เมตร เหมือนเมือ่ 8 ปี ก่อน ผมคงไม่ได้สมั ผัสความอิม่ เอมใจแบบนี้ ระหว่างทางอันแสนจะลาดชันทีอ่ นั ตรายและเต็มไปด้วยหินลอย ผมลืน่ ล ้ม หลายครัง้ เพราะความรีบทีต่ อ้ งแข่งกับเวลา ถ้าผมช้ากว่าเวลาทีก่ ำ� หนด พายุทราย และลมแรงจากช่ องเขาอาจพัดตัวผมให้ตกลงไปก้นเหวด้านล่าง มีตวั อย่าง บ่อยครัง้ ทีผ่ ูพ้ ชิ ติ ยอดเขาสูงส�ำเร็จแต่กลับต้องจบชีวติ ตอนขาลงจากเขา ระหว่ า งทางผมพบหนุ่ ม วิศ วกรคอมพิว เตอร์ช าวอิน เดีย ท่ า นหนึ่ ง ก�ำลังเดินขึ้นสวนทางขึ้นไปยัง Thorong La Pass เขามีนำ�้ ในกระติกเพียง 1 ลิตร กับจิตใจทีก่ ลา้ หาญ ผมสังเกตเห็นเขาทรุดลงกับพื้น ท่าทางหมดแรง ด้วยความเห็นใจ ผมจึงมอบน�ำ้ ดืม่ บางส่วนและยาแพ้ความสูงให้กบั เขา 2 เม็ด ท่าทางเขาดีใจมาก เหมือนคนรอดตาย ก่อนเย็นพวกเราทัง้ 4 ก็เดินมาถึงเมือง Muktinath (ตัง้ อยู่ในเขตเมือง Mustang) ภายในเมืองคับคัง่ ไปด้วยผูแ้ สวงบุญที่หลัง่ ไหลมาจากทุกสารทิศ เชื่อกันว่าหากได้แสวงบุญที่แหล่งธรรมทัง้ 4 ของอินเดียแลว้ ควรมาที่วดั นี้ สักครัง้ เพราะวัดแห่งนี้เป็ นสถานทีศ่ กั ดิ์สทิ ธิ์สำ� หรับทัง้ ชาวฮินดูและชาวพุทธ หลังจากทีพ่ วกเรารายงานตัวทีจ่ ดุ Check Point เราลงความเห็นกันว่า จะสิ้นสุดการเดินเท้าในทริปนี้ ปกติแลว้ ต้องใช้เวลาไม่ตำ� ่ กว่า 45 วันในการ เดินเท้า ถึงจะจบทริป Annapurna Circuit แต่เพราะความเจริญเข้ามาถึง ถนนลาดยางและสนามบินจึงตามมา ท�ำให้ทกุ อย่างง่ายขึ้นกว่าเมือ่ 10 ปี ก่อน วันนี้เวลายังพอเหลือ พวกเราลงความเห็นว่าจะไม่พกั แรมกันที่เมือง Muktinath เราจึงหันไปใช้บริการรถ Jeep ส่วนตัว มุง่ หน้าลงไปยังเมือง Jomsom (ความสู งจากระดับน�ำ้ ทะเล 2,736 เมตร) เพื่อที่ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นจะได้ ต่ อเครื่องบินเล็กไปยังเมือง Pokhara (สนามบิน Jomsom ขึ้นชื่อว่าเป็ น สนามบินทีอ่ นั ตรายติดอันดับแห่งหนึ่งของโลก!!!) หลัง จากเดิ น หาที่ พ กั อยู่ น าน เราก็ ไ ด้ท่ี พ กั ราคาถู ก ที่ ค นท้อ งถิ่ น นิยมพักกัน ซึง่ กลิน่ และเสียงสนทนาก็รบกวนการพักผ่อนของพวกเราพอสมควร แต่ดตี รงทีส่ ถานทีอ่ ยู่ใกล ้กับสนามบิน แถมวิวโดยรอบเป็ นยอดเขาสูงทีป่ กคลุม ไปด้วยหิมะ ภายในเมืองผมได้พบเห็นนักปี นเขาจากทุกทัว่ สารทิศ ทัง้ มืออาชีพ และมือสมัครเล่นเดินกันขวักไขว่ บ้างก็เป็ นอาสาสมัครที่มาจากองค์กรต่างๆ บ้างเป็ นฮิปปี้ ส่วนมากจะเป็ นชาวยุโรป เมืองนี้มที พ่ี กั สะดวกสบาย อาหารยังคงรสชาติเหมือนเช่นเคย หลังจาก มื้อค�ำ่ จบลง พวกเราต่างแยกย้ายกันไปพักผ่อน

หลังจากผ่านเส้นทางที่ยากล�ำบากมาหลายวัน ต้องแยกทางกับเพื่อน ร่วมคณะอีก 2 คนทีเ่ จ็บป่ วยจนต้องยุตกิ ารเดินทางลงกลางคัน ในทีส่ ุดพวกเรา 4 คนทีเ่ หลือ ก็มาถึง Thorong La Pass ได้สำ� เร็จสมตามทีต่ งั้ ใจเอาไว้ และภารกิจที่รอเราอยู่ต่อจากนี้ คือการกลับไปสมทบกับคุณโอ๋และ คุณหมีท่ีเมืองกาฐมาณฑุ กับการจัดงานแสดงแลกเปลี่ยนศิลปะและดนตรี ตามแผนทีว่ างไว้ และเมือ่ ภารกิจทุกอย่างเสร็จสิ้นลง เราก็จะได้กลับบ้านกัน หลังจาก ผม, คุณอ๋อง, คุณจุย๋ จุย๋ ส์ และ เชฟน้อย เดินข้ามผ่านช่องเขา Thorong La Pass (ความสูงจากระดับน�ำ้ ทะเล 5,416 เมตร) ในประเทศเนปาล ได้สำ� เร็จ แต่การเดินทางของพวกเรานัน้ ยังไม่จบสมบูรณ์ เราทัง้ 4 คนยังต้อง ไต่ลงผาสูงเสียดฟ้ าเพือ่ ลงไปยังเมือง Muktinath (ความสูงจากระดับน�ำ้ ทะเล 3,800 เมตร) กว่า 4 ชัว่ โมงแห่งการเดินลงอย่างเดียวจึงเป็ นงานหนักไม่ใช่เล่น


ตี 5 ของเช้าวันต่อมา เสียงสนทนาของนักแสวงบุญชาวอินดียกลุม่ ใหญ่ ปลุกให้ผมตื่น ถึงตอนนี้ ขาทัง้ สองข้างของผมแทบจะไม่มแี รง คงเป็ นเพราะ การเดินลงเขาชันหลายชัว่ โมง ไม่ใช่ผมคนเดียวที่เป็ น เชฟน้อย คุณจุย๋ จุย๋ ส์ และคุณอ๋อง ต่างก็มอี าการเช่นเดียวกับผม ค่าตัวเครื ๋ ่องบินไปยัง Pokhara นัน้ แพงมาก คิดเป็ นเงินไทยประมาณ 3,500 บาท (ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 25 - 30 นาที) แต่วา่ ก็ยงั ดีกว่า ต้องเดินเท้าสลับกับนัง่ รถประจ�ำทางไปอีก 2 อาทิตย์ แถมวันที่เราเดินทาง เทีย่ วบินของพวกเราล่าช้าไปอีก 2 ชัว่ โมง เหตุเพราะสภาพอากาศปิ ด ผมฆ่าเวลา ไปกับการนอนกลางสนามหญ้า เหม่อมองท้องฟ้ า บนท้องฟ้ าขณะนัน้ คับคัง่ ไปด้วยเครือ่ งบินเล็กและเฮลิคอปเตอร์หลากหลายสีสนั ทีบ่ นิ อ�ำนวยความสะดวก คอยช่วยเหลือนักปี นเขาทีเ่ จ็บป่ วยตามจุดต่างๆ บนยอดเขาสูง เมื่อเครื่องบินสองใบพัดขนาดเล็กซึ่งเป็ นยานพาหนะของเราในวันนี้ มาถึง ผมโชคดีทไ่ี ด้นงั ่ หน้าสุดติดกับนักบิน วิวของผมจึงมีทงั้ ความหวาดเสียว ความสวยงาม และความตื่นตาตื่นใจ จนกระทัง่ 30 นาทีแห่งความตื่นเต้นจบลง เมือ่ เครื่องบินลงจอดทีส่ นามบิน Pokhara เมืองทีม่ ที ะเลสาบน�ำ้ จืดขนาดใหญ่ ตัง้ อยู่ใจกลางของเมือง คุณอ๋องพาพวกเราไปพักกันทีเ่ กสต์เฮาส์ทเ่ี ขาเคยมาพัก เมื่อ 8 ปี ก่อน เจ้าของเกสต์เฮาส์จำ� คุณอ๋องได้ พวกเราจึงได้รบั การต้อนรับ เป็ นอย่างดี วันนี้ทพ่ี กั ของเราอยู่ฝงั ่ ตรงข้ามของทะเลสาบ วิวจึงดีงามตามไปด้วย Pokhara เป็ นเมืองสงบน่าอยู่ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ หรือเริ่มต้น การปี นป่ ายไต่เขา อาหารการกินมีให้เลือกมากมาย อุปกรณ์เดินป่ าและปี นเขา ราคาไม่ต่างจากทีก่ าฐมาณฑุมากนัก

ตลอดทัง้ วันไปจนถึงดึก พวกเราทัง้ 4 ต่างฉลองกันอย่างเมามัน เริ่มกัน ตัง้ แต่รา้ นอาหารข้างถนน ริมทะเลสาบ จนไปจบกันที่ Bar Rock! เช้าวันต่อมา เรานัง่ เครื่องบินขนาดเล็กมุ่งสู่กาฐมาณฑุ (Kathmandu) เมืองหลวงของเนปาล วันนี้ตรงกับวันคล ้ายวันที่ Mr. Apa Sherpa ชาวเนปาล สามารถพิชติ ยอดเขาเอเวอเรสต์ (ความสูงจากระดับน�ำ้ ทะเล 8,848 เมตร) ได้สำ� เร็จ เป็ นครัง้ ที่ 21 ผูค้ นมากมายต่างยืนรอดูฮโี ร่ของพวกเขา ขณะทีเ่ ขากล่าวสัน้ ๆ กับสือ่ มวลชวนว่า “Luck is very important. You need to be lucky,” ทีก่ าฐมาณฑุน้ ี พวกเราทัง้ 6 คน (รวมคุณโอ๋และคุณหมี เพือ่ นร่วมคณะ ของพวกเราทีเ่ จ็บป่ วยระหว่างทาง จนต้องจบทริปนี้ลงกลางคันทีเ่ มือง Manang และต้องบินฉุกเฉินกลับมารักษาตัวทีก่ าฐมาณฑุ) ยังมีภารกิจสุดท้ายอีกอย่าง ทีต่ อ้ งท�ำเพือ่ ให้บรรลุตามเป้ าหมายทีว่ างไว้ นัน่ คือการจัดงานแสดงแลกเปลีย่ น ศิลปะและดนตรี ที่หอศิลป์ แห่งหนึ่งซึ่งตัง้ อยู่นอกตัวเมือง งานนี้คุณจุย๋ จุย๋ ส์ รับหน้าที่เล่นดนตรีและร้องเพลงแจมกับศิ ลปิ นท้องถิ่น คุณโอ๋และคุณหมี รับหน้าที่เพนท์กำ� แพงด้านหน้าทางเข้าของหอศิลป์ แห่งนี้ ส่วนผม คุณอ๋อง และเชฟน้อย รับหน้าทีด่ ูแลท�ำอาหารให้กบั ผูม้ าร่วมงานทุกคน งานนี้ชาวบ้านและ นักศึกษา รวมถึงศิลปิ น ต่างให้ความสนใจโครงการของพวกเรา รวมทัง้ แวะเวียน มาให้กำ� ลังใจพวกเรากันอย่างคับคัง่ พวกเราทัง้ 6 คนจึงไม่เหงา และรับรูไ้ ด้ถงึ ความโอบอ้อมอารีทช่ี าวเนปาลมีให้กบั พวกเรา หลังจากเสียงปรบมือภายในงานจบลง ประธานในพิธีได้มอบผ้าพันคอ ให้กบั พวกเราทุกคน เพื่อเป็ นการแสดงการต้อนรับและขอบคุณแก่ พวกเรา ทีจ่ ดั การแสดงในครัง้ นี้ 14


ส่วนอีกวัน พวกเราทัง้ 6 คนได้รบั เชิญให้ไปร่ วมงานเลี้ยงอาหารค�ำ ่ ทีร่ า้ นอาหารเนปาลในย่าน Thamel เจ้ามือในวันนี้เป็ นชาวเนปาลพูดไทยชัดแจ๋ว ญาติของเขาคนหนึ่งเคยมาร่วมงาน Dear Himalaya From Nepal ทีร่ า้ น Warm Up Cafe เขาเลยอยากตอบแทนและขอบคุณพวกเราทีใ่ ห้ความส�ำคัญ กับประเทศของเขา โดยก่อนทีม่ ้อื ค�ำ่ อันแสนวิเศษจะจบลง คุณลุงเจ้าของร้าน ผูใ้ จดีได้กล่าวกับพวกเราทุกคนว่า “อย่าลืมพวกเขาและประเทศเล็กๆ แห่งนี้” ส่วนพวกเราก็ให้คำ� มัน่ สัญญากลับไปว่าจะกลับมาที่เนปาลอีกครัง้ แน่ นอน เมือ่ โอกาสและเวลาอ�ำนวย จากนัน้ ก็เป็ นวันแห่งการจับจ่ายซื้อหาของฝากของแต่ละคน ตัวผมเอง ใช้เวลาหมดไปกับการเดินช้าๆ ชื่นชมย่านเมืองเก่า ซึมซับบรรยากาศรอบข้าง ก่อนทีจ่ ะกลับไปใช้ชวี ติ ในโลกศิวไิ ลซ์ตามเดิม และแล ้วก็มาถึงวันเดินทางกลับของพวกเรา ทีส่ นามบินนานาชาติตริภวู นั หรือที่เรียกสัน้ ๆ ว่าสนามบินตริภูวนั หรือเรียกอีกชื่อว่าสนามบินกาฐมาณฑุ ซึ่ง เป็ น สนามบิน หลัก ของกรุ ง กาฐมาณฑุ และยัง เป็ น สนามบิน นานาชาติ เพียงแห่งเดียวของประเทศ ผมเห็นผูค้ นมากมายทีม่ ารอรับญาติพน่ี อ้ งของเขา บางกลุม่ มาเป็ นคันรถเพือ่ มารับญาติพน่ี อ้ งของเขาเพียงคนเดียว ภายในห้องพักผูโ้ ดยสารขาออกระหว่างประเทศ ผมมองเห็นเครื่องบิน ของสายการบินทีจ่ อดรอรับพวกเรากลับบ้าน ผมรูส้ กึ ถึงความอบอุ่น ปลอดภัย และเริ่มรูส้ กึ คิดถึงบ้านเป็ นครัง้ แรกในรอบหลายๆ วัน จนกระทัง่ เมื่อ ข้า วราดกะเพราไก่ ถูก เสิร ์ฟ มาตรงหน้า บนเครื่อ งบิน พร้อ มกับ เสีย งค�ำ กล่า วสวัส ดีจ ากกัป ตัน ดัง ผ่ า นล�ำ โพงเล็ก ๆ เหนื อ ศี ร ษะ ความรูส้ กึ อบอุ่นและผ่อนคลายจึงบังเกิด เหมือนได้กลับถึงบ้านแล ้วจริงๆ

การเดินทางและการท�ำกิจกรรมต่างๆ ในครัง้ นี้ คงจะประสบความส�ำเร็จ ไม่ได้ ถ้าหากพวกเราทัง้ 6 คน ไม่ได้รบั ความช่วยเหลือจากผูม้ อี ุปการคุณ และผูส้ นับสนุนทุกท่าน ทีต่ ่างก็ให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ถ้าไม่มที กุ ท่านแล ้ว โครงการดีๆ แบบนี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน ผมในฐานะหนึ่งในผูก้ ่อตัง้ โครงการ Dear Hmalaya From Chiang Mai และเป็ นตัวแทนของเพือ่ น ร่วมคณะ จึงขอกล่าวค�ำขอบพระคุณทุกๆ ท่านไว้ ณ ทีน่ ่ี การเดินทางไปสู่ Annapurna Circuit ทีป่ ระเทศเนปาลของพวกเรา สิ้นสุดลงแล ้วเพียงเท่านี้ แต่โครงการของเรายังคงจะด�ำเนินต่อไป โดยในปี หน้า จะเป็ นการผจญภัยในเมียนมา ประเทศเพือ่ นบ้านของเรานี่เอง โปรดติดตาม เรื่องราวของพวกเราต่อไปนะครับ นมัสเตทุกท่านครับ ขอขอบคุณ : บุญรอดบริวเวอรี่, Triumph, Warm Up Cafe, ThaChang Cafe, Aiya Cafe, Ristr8o, ComPeung, Box Hostel n Cafe, ฟิล์มนิยม, NN Camera และ RAAW coffee bar ที่ร่วมสนับสนุนให้เกิดการเดินทางในครั้งนี้ 15


T

R

A V

E

L

H I P C YCLING JAPAN 2018

ปั่ นจั ก รย าน ท่ อ งเที่ ย ว Ai zu แ ละ N a su เรื่อง : สมชาย ภาพ : Ride Experience x HIP

เมื่ อ เดื อ นพฤศจิ ก ายน สองปี ก่ อ น ผมและจุ๋ ย จุ๋ ย ส์ ได้ มี โ อกาสหอบหิ้ ว จั ก รยานจากเชี ย งใหม่ ไปปั่นที่ประเทศญี่ปุ่น ตอนนั้นเราไปปั่นที่เมือง Nasu และ Nikko ที่อยู่จังหวัด Tochigi มาปีนี้ เมื่อเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา เราได้กลับไปปั่นจักรยานที่ญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ไปปั่นที่ Nasu และ Aizu ที่อยู่ในเขต จังหวัด Fugushima ซึ่งครั้งนี้ก็มีเพื่อนนักปั่นจากกรุงเทพฯ ร่วมเดินทางไปปั่นกับเราด้วย

โครงการ HIP Cycling Japan เป็ นการร่วมมือกันของ HIP จากเมือง เชียงใหม่ ประเทศไทย และ Ride Experience (website: ride-experience. com / Facebook: Ride Experience) ทีอ่ ยู่ทเ่ี มือง Nasu ประเทศญี่ป่ นุ วางเป้ าหมายไว้วา่ จะชวนเพือ่ นๆ นักปัน่ จากเมืองไทย ไปปัน่ จักรยาน (ท่องเทีย่ ว ดืม่ กิน) ทีป่ ระเทศญีป่ ่ นุ ปี ละครัง้ โดย Mr. Tetsuya Yamamoto จากทาง Ride Experience บอกว่า เดือนทีอ่ ากาศดีทส่ี ุดทีน่ ่าไปปัน่ จักรยานท่องเทีย่ ว ก็คอื เดือนพฤษภาคม และ ตุลาคม ปี น้ เี ราเลือกเดือนตุลาคม ช่วงประมาณวันที่ 20 กว่าๆ เพราะคาดว่าอากาศ จะเริ่มเย็นๆ หนาวๆ บ้างแลว้ แต่ คงไม่หนาวจัดเหมือนเดือนพฤศจิกายน ที่ผ มเคยเจอเมื่อ สองปี ก่ อ น และเดือ นตุล าคมเป็ น เดือ นที่ใ บไม้ต ามภูเ ขา ในญีป่ ่ นุ เปลีย่ นสี คาดว่าถ่ายรูปออกมาน่าจะสวยงาม เราวางโปรแกรมว่า จะปัน่ จักรยานท่องเทีย่ ว กินลม ชมวิว ชมธรรมชาติ ขึ้นเขาบ้าง ลงเขาบ้าง กันสัก 3 วัน และมาเทีย่ วกรุงโตเกียวเพือ่ ดืม่ กินช้อปปิ้ ง ดูแสงสีกนั สัก 1 คืนก่อนกลับบ้าน ผมก็เลยวางแพลนว่า เราจะไปนอนนอกโตเกียว 16


4 คืน นอนในโตเกียว 1 คืน โดยให้โจทย์ทาง Ride Experience ผูป้ ระสานงาน ทางญี่ป่ นุ ว่า ทุกคืนทีพ่ กั นอกโตเกียว ขอให้ทพ่ี กั มีออนเซ็นทุกที่ เพราะเชื่อว่า เมื่อปัน่ จักรยานมาเหนื่อยๆ ทัง้ วันแลว้ การได้แช่ ออนเซ็นจะท�ำให้ร่างกาย ผ่อนคลายและสดชื่น การวางแผนไปปัน่ จักรยานทีญ ่ ป่ี ่ นุ ของเรา ทาง Ride Experience เป็ น ผูจ้ ดั การเรื่องการวางเส้นทาง จัดหารถเซอร์วสิ รถขนจักรยาน มีไกด์นำ� ปัน่ จักรยาน (ซึง่ ก็คอื คุณเท็ตซุยะนัน่ แหละครับ) มีช่างภาพ (คนเดียวกับคนขับรถ เซอร์วสิ ) และก็มบี ริการให้เช่าจักรยาน (ดีๆ) ส�ำหรับปัน่ ทีญ ่ ป่ี ่ นุ ด้วย แต่พวกเรา ทัง้ ทีมทีไ่ ปรอบนี้ สมัครใจทีจ่ ะขนจักรยานไปจากเมืองไทยกันเอง เพือ่ สัมผัส ประสบการณ์การถอด ประกอบ แพ็ค และหอบหิ้วจักรยานใส่กระเป๋ าไปยังต่างแดน บางคนในกลุ่ม ที่ไปรอบนี้ บอกว่า “เอารถเราไปเองถ่ายรู ปออกมา เท่กว่านะพี”่ - จริงครับ! ส�ำหรับตัวเครื ๋ ่องบินไป - กลับจากเมืองไทย ทีแรกเลยที่ผมคิดไว้คือ ซื้อกันอิสระ ใครอยากบินสายการบินไหนก็ได้ไม่เกีย่ ง ขอให้ไปถึงสนามบินนาริตะ ตอนเช้าวันเดียวกันเป็ นใช้ได้ (เราไปถึงเช้าวันที่ 21 ตุลาคม) ช่วงทีเ่ ราไปเรียกได้วา่ เป็ นช่ วงอากาศดีของญี่ป่ ุนปี น้ ี หมดพายุฝนแลว้ ใบไม้เริ่มจะเปลี่ยนสีแลว้ แน่นอนว่าตัวเดิ ๋ นทางจากเมืองไทยไปญี่ป่ นุ ไม่ถกู แน่ ผมและจุย๋ ตัดสินใจเลือก Air Asia X เพราะประหยัดสุด เวลาไฟลท์ไป - กลับ ดอนเมือง - นาริตะ ทีอ่ อก กลางคืนก็โอเคเลย ผมกดมาได้ 9 พันกว่าบาท ของจุย๋ ได้มา 1 หมืน่ บาทกับอีก ไม่ก่รี อ้ ย คนอืน่ ๆ ก็เลยเดินทางด้วย Air Asia X กันหมด บางคนกดซื้อชัน้ Business / Premium Flatbed ของ Air Asia X สบายๆ กันไป ส�ำหรับกระเป๋ าจักรยาน ซึง่ ทางสายการบินจัดเป็ นอุปกรณ์กฬี า ก็สามารถ กดซื้อได้ตามน�ำ้ หนักทีเ่ ราต้องการเลยนะครับ ราคาต่อเทีย่ ว ส�ำหรับ 20 กิโลกรัม เหมือนจะอยู่ท่ี 1,500 บาท แต่ สำ� หรับการไปปัน่ รอบนี้ของ HIP x Ride Experience ทาง Thai Air Asia X ได้ช่วยสนับสนุ นค่ าอุปกรณ์กีฬา ของพวกเราแต่ละคน ก็ถอื โอกาสขอบคุณมา ณ ทีน่ ้ ีดว้ ยนะครับ


วันแรกเมื่อถึงสนามบินนาริตะ เราเดินทางสู่เมือง Nasu ด้วยรถตู ้ ส�ำหรับคน 1 คัน และส�ำหรับขนกระเป๋ าจักรยานอีก 1 คัน เพือ่ ไปประกอบจักรยาน ทีอ่ อฟฟิ ศของ Ride Experience ก่อนทีจ่ ะฝากกระเป๋ าจักรยานไว้ทอ่ี อฟฟิ ศใน Nasu หลังจากนัน้ คนพร้อมจักรยานทัง้ หมดก็โดยสารรถเซอร์วสิ มุง่ หน้าขึ้นภูเขา ต่อไปยัง Takuya Onsen ทีอ่ ยู่ในเขต Fugushima กว่าจะถึงทีพ่ กั ของวันแรก คือมืดค�ำ ่ ลงรถมาก็หนาวเลยครับ คือหนาวกว่าทีค่ ดิ ไว้ ก็ตอ้ งพึง่ การแช่ออนเซ็น ก่อนจะไปกินอาหารค�ำ่ พร้อมดืม่ เล็กน้อย เพือ่ เตรียมตัวปัน่ วันรุ่งขึ้น วันที่สองที่ไปถึง ซึ่งก็คือการปัน่ วันแรก ออกสตาร์ทกันแบบหนาวๆ ท่ามกลางวิวสองข้างทางที่สวยงามและแปลกตา แม้ว่าอากาศจะหนาวอยู่บา้ ง ในช่วงเช้าๆ แต่เหมือนทุกคนจะเตรียมอุปกรณ์กนั หนาวมาดี ในขณะทีต่ วั ผมเอง รู ส้ ึก ว่า ยัง หนาวไม่เ ท่ า สองปี ก่ อ น แต่ พ อถึง ช่ ว งลงเขาแต่ ล ะครัง้ ก็ เ อาเรื่อ ง อยู่เหมือนกัน ปัน่ วันแรกนี่คอื อากาศหนาวเย็น แต่เหงือ่ ชุ่มอยู่ขา้ งใน สนุกและ เพลิดเพลินดีกว่า ความที่ก่อนจะเดินทางครัง้ นี้ ผมซ้อมมาค่อนข้างน้อย จึง พยายามปัน่ แบบประคองตัวไปเรือ่ ยๆ ดีทค่ี ณ ุ เท็ตซุยะทีเ่ ป็ นไกด์ ไม่ได้ปนั ่ เร็วนัก และจอดพักค่ อนข้างบ่อย ปัน่ ไปแวะถ่ายรู ปไป วันแรกจึงจบระยะทางราว 70 กิโลเมตร แบบสบายกายและสบายใจ เย็นมาถึงทีพ่ กั ใน Aizu แช่ออนเซ็น กินเบียร์คลายเส้น และอาหารค�ำ่ ในโรงแรม วันต่อมา ทางคุณเท็ตซุยะ เน้นปัน่ พาชมแหล่งท่องเทีย่ วใน Aizu ท�ำให้ จอดบ่ อ ยและปัน่ ได้ร ะยะไม่ ม ากนัก อีก ทัง้ เส้น ทางก็ เ ป็ น เส้น ไหลลงเขา เป็ นส่วนมาก รวมแล ้วทัง้ วันปัน่ แค่ประมาณ 30 กิโลเมตร ดีทม่ี วี วิ สวยๆ ให้ได้ ถ่ายรูปอยู่เยอะ ก็พอสนุกสนานกันได้ แต่เหมือนว่ายังปัน่ กัน ‘ไม่อม่ิ ’ ก็หมดวัน ซะก่อน แล ้วก็ตอ้ งนัง่ รถเซอร์วสิ เพือ่ ต้องเดินทางต่อไปยังเมือง Nasu เมืองทีผ่ ม กับจุย๋ เคยมาปัน่ แลว้ เมือ่ สองปี ก่อน และรู เ้ ลยว่าวันรุ่งขึ้นการจะปัน่ ขึ้นภูเขา Nasu นัน้ ต้องเตรียมร่างกาย (ตัวเอง) ให้ดี วันทีส่ ามของการปัน่ เรียกได้วา่ สนุกทีส่ ุดนะครับ และถูกใจเพือ่ นนักปัน่ ร่ ว มทริป ทุก คน แม้ว่า ระยะทางรวมจะไม่ม ากแค่ ประมาณ 60 กิโลเมตร แต่คณ ุ เท็ตซุยะก็จดั ให้ปนั ่ และเทีย่ วกันอย่างครบรส จากโรงแรมทีพ่ กั เราต้องปัน่ ขึ้นเนินยาวๆ และมีความชันพอสมควรอยูห่ ลายครัง้ กว่าจะถึงจุดแวะพักจุดแรก

18


แถมยังมีละอองฝนโปรยปรายอีกด้วย แต่หลังจากนัน้ ก็ดูเหมือนนักปัน่ จาก กรุงเทพฯ จะสนุกสนานกับการไต่ดอยญีป่ ่ นุ กันถ้วนหน้า เส้นทางนี้จากจุดพักแรก จนถึงข้างบนภูเขา Nasu ผมเคยผ่านมาแล ้ว จึงค่อยๆ ขึ้นไปช้าๆ แบบไม่รบี ร้อน เพราะอยากจะเซฟเรี่ยวแรงเอาไว้ในช่วงบ่ายบ้าง และด้วยเพราะอากาศทีด่ มี าก ในวันนัน้ ช่วยให้ไม่เหนื่อยมากนัก พอได้ปนั ่ บนถนนทีเ่ คยผ่านมาแล ้วครึ่งหนึ่ง ก็ดูเหมือนว่า จุดหมายทีค่ ดิ ไว้วา่ ทัง้ สูงทัง้ ไกล อยู่ใกล ้กว่าทีค่ ดิ เอาไว้เยอะ อย่างทีบ่ อกนะครับ วันทีส่ ามของการปัน่ นี่คอื ครบจริง ทัง้ ขึ้นดอย ลงดอย ไปเทีย่ วชมธรรมชาติดว้ ยการนัง่ กระเช้าขึ้นไปภูเขาก่อนมื้อเทีย่ ง ตกบ่ายเย็นก็ปนั ่ ไปกินขนมกินเค้ก จนเย็นจึงได้เวลาปัน่ กลับโรงแรม ซึง่ โรงแรมทีพ่ กั อยู่บนเขา นะครับ นัน่ หมายถึงว่า ต้องปี นดอยกันอีกในช่วงเย็นก่อนถึงโรงแรม ผมเอง ยอมรับเลยครับว่า ‘หมดแรง’ จริงจัง ตอนปัน่ คิดถึงแต่เบียร์เย็นๆ อย่างเดียว พูดถึงเรื่อง เบียร์ ตลอดเวลา 3 วันที่ปนั ่ จักรยานในญี่ป่ ุน ทุกมื้อ กลางวันและช่วงบ่ายตามจุดแวะต่างๆ ผมและคุณฟู จาก Stories Group ก็จะ มองหน้ากันเหมือนจะชวนกินเบียร์ตลอด แต่คุณเท็ตซุยะไกด์ของเรา ก็แจ้งว่า “สมชายซัง ถ้ายูจะกินเบียร์ ก็ตอ้ งหยุดปัน่ เลย เอาจักรยานแลว้ ก็ตวั ยูข้นึ รถ เซอร์วสิ เลย แต่ถ ้าจะปัน่ ก็ยงั ไม่ให้กิน จนกว่าจะปัน่ จบ” ตามนัน้ ครับ ชัวโมงสุ ่ ดท้าย ของการปัน่ วันทีส่ ามนี่คดิ ถึงเบียร์อย่างเดียวเลย (ฮา) หลังจบการปัน่ วันทีส่ าม พวกเราจัดการแพ็คจักรยานลงกระเป๋ าจักรยาน ทันที ก่ อนที่จะออกไปปาร์ต้ ีนอกโรงแรม เพราะวันรุ่งขึ้นเราจะเดินทางจาก Nasu เข้าโตเกียวโดยรถไฟชินคันเซน โดยไม่ตอ้ งแบกกระเป๋ าจักรยานไปด้วย เพราะทาง Ride Experience จะขนจักรยานไปให้เราที่สนามบินนาริตะ ในวันทีเ่ ราจะเดินทางกลับ เห็นมัย้ ครับว่าไปปัน่ ทีญ ่ ป่ี ่ นุ กับ HIP Cycling Japan สะดวกสบายดีจริงๆ ทีเ่ มือง Nasu นอกจากจะมีสถานทีอ่ อนเซ็นดีๆ มีภมู ปิ ระเทศสวยงาม เนื้ออร่อยแล ้ว เมืองนี้ยงั เป็ นมีเบียร์ทร่ี สชาติดมี ากอีกด้วย นัน่ คือ Nasu Kohgen Beer ซึ่งผมเองมีโอกาสได้ชิมเมื่อสองปี ก่อน แลว้ ยังรู ส้ ึกติดใจในรสชาติ แต่กไ็ ม่เคยเห็นเบียร์ยห่ี ้อนี้สง่ ไปขายทีเ่ มืองไหนในญีป่ ่ นุ (ทีผ่ มได้มโี อกาสไปเยือน มานะครับ) มาคราวนี้กเ็ ลยตัง้ ใจว่า นอกจากปัน่ จักรยาน แช่ออนเซ็นแล ้ว จะชวน ชาวคณะนักปัน่ สายดืม่ ด้วยกันมาชิม Nasu Beer ด้วย ก็เลยบอกกับคุณเท็ตซุยะ ไกด์น กั ปัน่ และผู ป้ ระสานงานเจ้า ของพื้น ที่ เขาก็ เ ลยถือ โอกาสพาพวกเรา ไปเยีย่ มชมชิมถึงถิน่ ผลิตโรงเบียร์ Nasu Kohgen เพือ่ ให้เราได้ชมิ เบียร์คราฟท์ สดจากแท็ป และเพือ่ ซื้อแบบขวดไปกินต่อในคืนส่งท้ายที่ Nasu อีกด้วย

19


รถไฟชินคันเซนจากสถานี Nasushiobara เข้ามากรุงโตเกียวใช้เวลาวิง่ ประมาณหนึ่งชัว่ โมงกว่าๆ เท่านัน้ จะว่าไปแล ้ว ก็สะดวกมาก ส�ำหรับคนทีไ่ ปเทีย่ ว โตเกียวแล ้วอยากจะไปปัน่ จักรยานท่องเทีย่ วเล่นๆ แถว Nasu (แบบไม่ได้ปนั ่ จริงจังเป็ น 2 - 3 วัน) โดยเฉพาะคนที่มี JR Pass สามารถติดต่อกับทาง Ride Experience ไว้ลว่ งหน้า แล ้วนัง่ ชินคันเซ็นไป เช่าจักรยานปัน่ สักครึ่งวัน ดูทพ่ี กั ทีม่ ที แ่ี ช่ออนเซ็น นอนเล่นสักหนึ่งคืน ชิม Nasu Beer แล ้วค่อยเดินทาง กลับโตเกียวในอีกวันก็สามารถท�ำได้อย่างสบาย แต่ว่าถ้าไปในช่วงฤดูหนาว พื้นทีแ่ ถบนอกตัวเมืองและบนภูเขา Nasu ทีผ่ มและเพือ่ นๆ ไปปัน่ จักรยาน ก็จะกลายเป็ นแหล่งเล่นสกีของชาวญีป่ ่ นุ และนักท่องเทีย่ วทีช่ ่นื ชอบความหนาว แต่เท่าทีไ่ ด้ไปเยือนเมืองนี้มาแล ้ว 2 ครัง้ ในเวลาห่างกันประมาณ 2 ปี ดูเหมือนว่า นักท่องเทีย่ วชาวไทย จะไปเทีย่ วที่ Nasu ยังไม่มากนักนะครับ

ส�ำหรับโปรแกรม HIP Cycling Japan ที่ทาง HIP ร่ วมมือกับ Ride Experience ในปี หน้าก็คยุ เกริน่ กันไว้แล ้วว่าคงจะท�ำต่อเนื่องอีก แต่คงจะ เปลีย่ นพื้นทีใ่ นการปัน่ ในญีป่ ่ นุ ไปทางเมืองอืน่ ๆ ดูบ ้าง ซึง่ ทาง Ride Experience ก็พร้อมทีจ่ ะเซอร์วสิ พวกเราทุกๆ พื้นทีใ่ นญีป่ ่ นุ นะครับ คาดว่าคงจะเป็ นช่วงเดือน ตุลาคมเช่นเดียวกับปี น้ ี ซึง่ เป็ นช่วงก่อนทีญ ่ ่ปี ่ นุ จะเข้าสู่ฤดูหนาวนัน่ แหละครับ แต่ถา้ ใครอยากจะมาปัน่ แบบพวกเราที่ Nasu ในปี น้ ี ทาง Ride Experience ก็ยนิ ดีเป็ นอย่างยิง่ เพราะชาวเมืองบอกเลยว่าอยากให้นกั ท่องเทีย่ วและนักปัน่ จักรยานชาวไทยไปเทีย่ วทีเ่ มืองของพวกเขา เมือ่ จบจากการปัน่ จักรยานท่องเทีย่ ว 3 วันเต็ม นอนอยู่นอกโตเกียว 4 คืน พวกเราทัง้ หมดก็เข้าไปตะลุยโตเกียวกันต่ออีก 1 คืน เมืองอย่างโตเกียว แม้วา่ จะมาเทีย่ วหลายครัง้ แต่ถา้ มีโอกาสได้มาแวะสัก 1 - 2 คืน ก็ยงั ไม่น่าเบือ่ 20


หรอกนะครับ โตเกียวเป็ นมหานครที่การเดินทางโดยรถไฟสะดวก มีอาหาร อร่อยๆ ให้เลือกกินเยอะ ส�ำหรับผมแลว้ ที่โตเกียวไม่จำ� เป็ นต้องไปร้านดัง ก็ยงั รูส้ กึ ว่าอร่อย (ส่วนหนึ่งคงเป็ นเพราะบรรยากาศมันพาไป) ทีโ่ ตเกียว พวกเราแยกกันไปเดินดูของตามความชอบ เราใช้ย่านชิบูย่า เป็ นศูนย์กลาง เพราะมีให้ครบหมดทุกอย่าง บางคนเลือกทีจ่ ะไปช้อปปิ้ ง จุย๋ จุย๋ ส์ เลือกทีจ่ ะไปร้านแผ่นเสียง ส่วนผมเลือกทีจ่ ะไปสัมผัสร้านเล็กๆ นัง่ ละเลียดเบียร์ ราคาโปรโมชัน่ กับของปิ้ งย่าง ก่ อนที่ม้ อื เย็นเราจะนัดเจอกันเพื่อกินเนื้อย่าง แลว้ ไปจบทีร่ า้ นคราฟท์เบียร์ ทีด่ ูเหมือนว่าระยะหลังมานี้ในญี่ป่ นุ โดยเฉพาะ ทีโ่ ตเกียว จะเป็ นทีฮ่ ติ ของนักดืม่ คราฟท์เบียร์มากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงนี้ญ่ปี ่ นุ เองก็กำ� ลังปรับปรุงนครโตเกียวอย่างมาก เพราะอีกไม่นาน มหกรรมกีฬาโอลิมปิ ค ปี 2020 ก็จะถูกจัดขึ้นทีม่ หานครแห่งนี้

บทส่งท้ายส�ำหรับเรือ่ งเล่าของการมาเยือนญีป่ ่ นุ รอบนี้… ถ้าพูดถึงการมา เทีย่ วญีป่ ่ นุ แล ้วมาปัน่ จักรยานด้วย โดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็ นเรือ่ งน่าสนุกนะครับ โดยเฉพาะการได้ปนั ่ ตามต่างจังหวัดของญี่ป่ นุ ได้เรียนรูอ้ าหารการกินท้องถิน่ ได้เห็นความเป็ นอยู่ของผู ค้ นนอกเมืองใหญ่ ที่สำ� คัญคือ ถนนที่ญ่ีป่ ุนตาม ต่างจังหวัดปัน่ ปลอดภัยดีมาก รถยนต์นอ้ ย ผูค้ นเป็ นมิตร แต่กจ็ ะมีขอ้ เสียคือ ยิง่ ห่างไกลจากเมืองใหญ่ๆ ก็จะสือ่ สารกับคนพื้นทีล่ ำ� บากสักหน่อย (ถ้าใครสนใจ จะน�ำจักรยานมาปัน่ เอง แบบไม่ได้ใช้ไกด์) ปี หน้าเจอกันอีกแน่นอนครับ HIP Cycling Japan 2019 สนใจติดต่อ Ride Experience www.ride-experience.com / Facebook : Ride Experience ขอขอบคุณ สายการบิน Thai Air Asia X (www.airasia.com)

21


C

H

A

N

G

E

REDUCE P LASTIC USE ขอ งน่ า พก ช่ ว ย ลด ‘ พลา ส ติ ก’ เรื่อง : ชวัลวัฒน์

ตั้งแต่ลืมตาตื่นนอน ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ไปจนเข้านอน ในหนึ่งวันเราจะพบเจอสิ่ งของที่ท�ำจากพลาสติกจ�ำนวนมาก สิ่งของเหล่านี้อายุสั้น มักจะกลายเป็นขยะที่ใช้เวลาย่อยสลาย นานถึง 450 ปี แถมทั้งโลกยังทิ้งขยะพลาสติกลงมหาสมุทร มากถึง 8 - 13 ล้านตันต่อปีอีก ซึ่งเมื่อทุกสิ่ งมีส่วนผสม ของสารเคมี เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จะแตกเป็นพลาสติกชิ้นเล็กๆ ้ ส่งผลเสีย ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า กระจายในอากาศและน�ำ ต่อสุขภาพของมนุษย์ รู้อย่างนี้แล้ว HIP เลยขอแนะน�ำ 4 ของน่าพก เพื่อช่วยกัน ‘เปลี่ยน’ ให้โลกนี้ดีขึ้น เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของทุกๆ คน

22


แก้ ว พลา สติ ก > แก้ ว /ข วด ประจ� ำ ตั ว

เปลี่ยน : มาพกแก้วหรือขวดประจ�ำตัว บอกลาภาชนะพลาสติก ทีใ่ ช้ครัง้ เดียวแลว้ ทิ้ง มีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ พกไว้ด่มื น�ำ้ ระหว่างวัน หรือพกไว้เอาไปใส่เครื่องดื่มที่รา้ น เดีย๋ วนี้มหี ลายร้าน ทีใ่ ห้ส่วนลดส�ำหรับคนทีพ่ กแก้วมาเองด้วยนะ

ถุ ง พ ล า ส ติ ก > ถุ ง ผ้ า

เปลี่ยน : มาใช้ถงุ ผ้าแทนถุงพลาสติก จะช้อปปิ้ งของกี่ช้ นิ ก็ใช้ถงุ แค่ใบเดียว ช่วยลดขยะไปได้เยอะมาก แถมเดีย๋ วนี้ยงั มีให้เลือก หลายไซส์ หลากหลายลวดลาย แจกฟรีบอ่ ยอีกต่างหาก

หลอ ดพลา สติ ก > หลอ ดประ จ� ำ ตั ว

เปลี่ยน : มาใช้หลอดประจ�ำตัวทีใ่ ช้ซำ�้ แล ้วล ้างได้ ควบคู่กบั แก้ว หรือขวดประจ�ำตัว ปฏิเสธหลอดพลาสติกใช้ครัง้ เดียวแลว้ ทิ้ง เพราะหลอดพลาสติกชิ้นเล็ก รีไซเคิลล�ำบาก เดีย๋ วนี้ก็มใี ห้เลือก หลายรูปแบบ เช่น หลอดไม้ไผ่, หลอดสแตนเลส, หลอดยาง

ก ล่ อ ง โ ฟ ม, ถุ ง ร้ อ น > ปิ่ น โต, ก ล่ อ งข้ า ว

เปลี่ยน : มาใช้ป่ิ นโตหรือกล่องข้าวเวลาไปซื้ออาหาร ช่วยลดกล่องโฟมและ ถุงร้อนใส่แกงไปได้เยอะ แถมมีให้เลือกหลายแบบ ถ้าให้ดคี วรเลือกแบบทีม่ ชี ่อง แบ่งประเภทอาหาร และเอาเข้าไมโครเวฟได้ (อย่าลืมพกช้อนส้อมมาด้วยล่ะ)

นอกจาก 4 วิธีขา้ งต้นแลว้ ยังมีอกี หลายวิธีทช่ี ่วยลดขยะพลาสติก เช่น แยกขยะให้งา่ ยต่อการน�ำไปแปรรูป ขยะเปี ยกก็จะกลายเป็ นปุ๋ย ขยะรีไซเคิลจะหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่, เลือกใช้สนิ ค้าแบบเติม หมดก็เติมใหม่ ไม่เพิม่ ขยะ เกินความจ�ำเป็ น, หัดซ่อมแซมสิง่ ของทีเ่ สีย ใช้ให้คุม้ ก่อนจะทิ้ง, ลดการกินทิ้งกินขว้าง เป็ นต้น ลองเปลี่ยนแปลงกันคนละนิดละหน่ อย ปฏิเสธการสร้างขยะทุกรู ปแบบ คิดให้ดีก่อนใช้และทิ้ง เพื่อชีวติ และสิง่ แวดล ้อมทีด่ กี นั เถอะ 23


E

V

E

N

T

C HIANG M AI DESIGN W EEK 2018 รู้ ไ ว้ ก่ อ นไป ‘เทศก า ลง า น อ อ กแ บ บ เ ชี ย ง ให ม่ ’ เรื่อง : HIP Team ภาพ : CMDW2018

Chiang Mai Design Week ก�ำลังจะกลับมาพบกับชาวเชียงใหม่และผู้คนจากที่อื่นๆ ที่หลงใหลในเรื่องราวของการออกแบบกันอีกครั้ง ส� ำหรับใครที่อยากจะรู้ว่าปีนี้เขามีอะไร ่ า่ สนใจบ้าง เราขอน�ำเรือ ่ งราวบางส่วนมาแนะน�ำ ก่อนจะไปเจอกันทีง ่ าน 8 – 16 ธันวาคมนี!้ ทีน กิจกรรมบันดาลใจ

สถานทีท่ แ่ี วะไปได้เลย มีงานดีๆ ให้ได้เข้าร่วมแน่ๆ ก็ได้แก่หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่, หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่, พิพธิ ภัณฑ์พ้ นื ถิ่นลา้ นนา และหอภาพถ่า ยล า้ นนา เป็ น ต้น ขณะที่ริม แม่น�ำ้ ปิ ง จะมีกิจ กรรมจัด กัน ที่ โรงแรมศรีประกาศ และส�ำหรับที่ TCDC เชียงใหม่นนั้ ก็มที งั้ นิทรรศการ เสวนา และเวิรก์ ช็อป ให้เลือกเข้าร่วมงานกันตามแต่จะสนใจ เรียกว่าจะไปตรงไหน ของเมือง ก็ได้สมั ผัสบรรยากาศของการออกแบบได้เหมือนๆ กัน

แน่นอนว่า CMDW นัน้ เต็มไปด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมายหลากหลาย รูปแบบ ทีด่ ูแล ้วน่าสนใจไปหมด ส�ำหรับปี 2018 นี้ กิจกรรมต่างๆ ภายในงาน ถูกแบ่งออกเป็ น 7 กลุม่ ได้แก่ 1. นิทรรศการ (Exhibitions) ผลงานจากกลุ่มธุ รกิจ, กลุ่มนักออกแบบ และนักสร้างสรรค์, กลุม่ ช่างฝี มอื และกลุม่ องค์กร 2. เสวนา (Talks) ที่น�ำ นัก ออกแบบและนัก สร้า งสรรค์ม าแชร์มุม มอง และประสบการณ์ของพวกเขา 3. เวิรก์ ช็อป (Workshop) ให้ผูร้ ่วมงานได้ลงมือทดลองปฏิบตั ิจริงในหัวข้อ ทีต่ นสนใจ 4. เยี่ยมชม (Tours) กับการสัมผัสประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ ในพื้นทีจ่ ริง 5. สังสรรค์ (Parties) มาพบปะเพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรู ้ และสนุกสนานร่วมกัน ในบรรยากาศเป็ นกันเอง 6. อีเว้นท์ (Events) หลากหลายกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงของการจัดงาน ให้เลือกเข้าร่วมกันตามความสนใจ 7. ตลาด (Markets) รวมสินค้าและร้านค้ามากมายหลายประเภท จากฝี มอื การคิดและสร้างสรรค์ของเหล่านักธุ รกิจ, นักออกแบบและนักสร้างสรรค์ และช่างฝี มอื

‘เสียง’ จากนักสร้างสรรค์

แน่นอนว่านีค่ อื งานทีน่ กั สร้างสรรค์ทงั้ หลาย ไม่วา่ จะทีเ่ ชียงใหม่ จากทีอ่ น่ื ๆ ในเมือ งไทย และจากต่ า งประเทศ จะมาส่ ง เสีย งผ่ า นผลงานสร้า งสรรค์ ของพวกเขาและผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นการแสดงผลงานคอลเล็กชัน่ ใหม่ๆ การเสวนา การเปิ ดสถานทีใ่ ห้คนทีส่ นใจได้เข้ามาเยีย่ มชม การท�ำเวิรก์ ช็อป ไปจนถึง การออกร้า นขายของที่เ กิ ด จากฝี มือ ของพวกเขาให้ค นที่ช่ืน ชอบ ได้เลือกซื้อหา ซึง่ แน่นอนว่า สิง่ ต่างๆ ทีจ่ ะปรากฏภายในงานนี้ ย่อมต้องผ่าน การคิดและการลงมือท�ำที่ใส่ใจถึงคุณภาพอย่างเต็มที่ เพราะทุกๆ คนที่มา ร่ ว มน�ำ เสนอผลงานในครัง้ นี้ ต่ า งก็ รู ด้ ีว่า Chiang Mai Design Week คือหนึ่งใน ‘โอกาส’ ส�ำคัญ ที่ผลงานจากฝี มอื ของตนจะได้ทำ� ความรู จ้ กั กับ ผูค้ นมากมายที่มาในงาน เอาเป็ นว่าแค่ ไปดู สารพัดงานที่ขนมาโชว์กนั ในปี น้ ี ก็น่าจะช่วยขัดเกลาตัวเองให้แหลมคมมากยิง่ ขึ้น สมตามสโลแกนของงานแน่ๆ

ไปได้ทั่วเวียง

สิ่งที่เอามาบอกกันตรงนี้เป็ นแค่ รายละเอียดเบื้องต้นของงานเท่านัน้ ใครที่อ ยากรู ว้ ่า กิจ กรรมแต่ ล ะอย่ า งมีอ ะไรบ้า ง, แต่ ล ะวัน จะต้อ งไปที่ไ หน ตอนกีโ่ มง, งานอีเว้นท์ทจ่ี ดั กันเยอะแยะนัน้ ต้องไปทีไ่ หนยังไง ก็ลองเข้าไปติดตาม ข้อมูลข่าวสารของงานกันได้ท่ี chiangmaidesignweek.com และเฟซบุก๊ Chiang Mai Design Week

ถนนนิมมานเหมินท์, ย่านกลางเวียง, ริมแม่นำ�้ ปิ ง และที่ TCDC เชียงใหม่ คื อ พื้น ที่ 4 แห่ ง ที่จ ะเป็ น พื้น ที่ห ลัก ๆ ในตัว เมือ งเชีย งใหม่ ท่ีจ ะมีก ารจัด กิจกรรมต่างๆ ในงาน Chiang Mai Design Week 2018 ซึง่ แต่ละแห่งก็จะมี สถานทีจ่ ดั กิจกรรมแยกย่อยออกไปอีก อย่างเช่นทีน่ มิ มานเหมินท์ ให้ไปตัง้ หลัก ที่ One Nimman เพราะว่าทีน่ นั ่ จะมี Pop Market ส่วนถ้าเป็ นย่านกลางเวียง 24


25


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.