2
CONTENT F E B R UA RY 2 0 1 9 Vo l . 1 5 N o . 1 7 1
Cover Story 04 Special 10 Travel 14 Trip 20 Bike Special 22 Run 28
04
14
Cover Story การเดินทางผ่านเรือ ่ งราวมากมาย จนก้าวเข้าสู่ ปีท่ี 13 ของ ‘ท่าช้าง คาเฟ่’ กับการเปิดศักราชใหม่ โดยย้ายเข้าบ้านหลังใหม่ ที่ชาวท่าช้างบรรจงสรรสร้างขึ้น เพื่ ออ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือนทุกคน ใครจะรู้ว่า ท่าช้างไม่ได้มีดีแค่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีเท่านั้น แต่ยังมีโครงการดีๆ อีกหลายโครงการที่คุณอาจคาดไม่ถึง
Travel บันทึกบนหลังเบาะมอเตอร์ไซค์ กับการเดินทางไกลและ กินเวลายาวนานถึง 36 วัน ที่ต้องพบเจอกับทุกสภาพอากาศ และถนนทุกรูปแบบ ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม บนเส้นทาง รอบขอบชายแดนประเทศไทย พร้อมกับภารกิจ ‘ขายเสื้อ’ เพื่ อน�ำเงินรายได้สนับสนุนทางการศึกษาให้กับเด็กๆ ในถิ่น ทุรกันดารตามเส้นทางที่เขาไป
3
C O V E R
S T O R Y
ท่าช้าง คาเฟ่ เชียงใหม่ ธุ ร กิ จ ที่ เ น้ น ก า ร แ บ่ ง ปั น เ พื่ อ สั ง ค ม แ ล ะ ค น ร อ บ ข้ า ง เรื่อง : iChiangmaiPR ภาพ : ภูมิ นริศชาติ
่ งราวมากมาย จนก้าวเข้าสูป ่ ว การเดินทางผ่านเรือ ่ ท ี ี่ 13 ของ ‘ท่าช้าง คาเฟ่’ แหล่งท่องเทีย ยามราตรี ที่ เ รี ย กได้ ว่ า เป็ น เอกลั ก ษณ์ ห นึ่ ง ของเมื อ งเชี ย งใหม่ ซึ่ ง ใครๆ ต่ า งร�่ ำ ลื อ เป็นเสี ยงเดียวกันว่า เป็นแหล่งรวมตัวของหนุ่ม - สาววัยรุ่นหน้าตาดี และบรรยากาศ ที่ผู้ท่ผ ี ่านไปมาต่างหลงใหลกับมนต์เสน่ห์ของ ‘ท่าช้าง คาเฟ่’ ด้วยบทเพลงไทยเกือบทุกยุค ่ ดีเจเปิดเพลงไหนขึน ้ มารับรองว่าร้องตามกันได้ ทุกสมัย ดึงดูดนักท่องราตรีจากรุน ่ สู่รน ุ่ เมือ อย่างแน่นอน และวันนี้ นับเป็นอีกก้าวที่สําคัญสําหรับ ‘ท่าช้าง คาเฟ่’ ที่ได้ฤกษ์งามยามดี เปิดศักราชใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ย้ายเข้าบ้านหลังใหม่ ที่ชาวท่าช้าง บรรจงสรรสร้างขึ้นเพื่ ออ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือนทุกคน ด้วยสไตล์อาคารย้อนยุค มีการจัดแบ่งโซนอย่างชัดเจน แถมตกแต่งแบบที่ใครเห็นก็ต้องชอบ แต่ใครจะรู้ว่าท่าช้าง ไม่ได้มีดีแค่นี้เท่านัน ้ แต่ยังมีโครงการดีๆ ที่คุณอาจคาดไม่ถึง
4
คุณรูห้ รือไม่วา่ จุดเริม่ ต้นของ ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ มีเพียง แค่ 7 โต๊ะ ไม่มแี ม้กระทัง่ หลังคา เรียกว่ายกไปยกกลับ ที่เขาเรียกกันว่า 7 โต๊ะในตํานาน ซึ่งเป็ นที่ให้เพื่อนฝู ง ได้มาสังสรรค์และพบปะ พูดคุยกันด้วยมิตรภาพและ ความอบอุ่น ซึง่ โต๊ะเหล่านัน้ ก็เพิม่ ขึ้นมาเรื่อยๆ และสําหรับ บ้านใหม่หลังนี้ก็ได้นาํ 7 โต๊ะในตํานานทีว่ ่ามาวางไว้ดว้ ย แต่ถูกตกแต่งให้มคี วามกลมกลืนกับโต๊ะ และโซนใหม่ๆ ที่สร้างในสไตล์ผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมยุโรป กับศิลปะเอเชียเข้าไว้ดว้ ยกันอย่างลงตัว
เต้ย - ณภัทร ทวีทอง
ผู ้จัดการร้าน ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ทํางานมาตั้งแต่วันแรก ของบ้านหลังนี้ ชายหนุ่ ม ที่ ห ลายคนคงคุ น้ หน้า คุ น้ ตากัน เป็ น อย่ า งดี เต้ย เล่าให้ฟงั ว่า “ท่าช้าง เริ่มจากการทําเสื้อยืดขาย ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ของพีจ่ อม - วมินทร์ ประกอบสุข ผูซ้ ง่ึ ชื่นชอบ บรรยากาศของการพูดคุยระหว่างการดืม่ จนเกิดไอเดียอยากท�ำ ร้า นนัง่ ดื่ม ในบรรยากาศชิ ล ๆ จนไปดู พ้ ืน ที่ส ํา หรับ เปิ ด ร้า น ซึ่ง ช่ ว งแรกๆ เป็ น การนํา รถโฟล์ค 3 คัน มาจอดและตัง้ โต๊ะ เป็ นแบบร้านนัง่ สบายๆ และมีการปรับเปลีย่ นไปตามยุค จนมาถึง ร้าน ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ทีใ่ หม่แห่งนี้ ทีม่ พี ้นื ทีก่ ว้างขวาง แบ่งเป็ นโซนต่างๆ แลว้ แต่ ความสะดวกของกลุ่มลู กค้าที่มีความต้องการมากขึ้น เช่ น กัน ทัง้ อยากมานัง่ คุ ย กับ เพื่อ น ในบรรยากาศด้า นนอก หรือ จะเป็ น นัง่ ไปโยกไปในโซนด้า นใน สํา หรับ ร้า นใหม่เ รามี พนักงานคอยให้บริการลูกค้ากว่า 100 ชีวติ เน้นบริหารงานแบบ พีน่ อ้ ง จนทําให้ทน่ี ่ีเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของเต้ยและน้องๆ พนักงานอีกหลายชีวติ เมือ่ ก่อนเราจัดร้านไป เล่นกันไป วิง่ ไล่จบั กัน แต่ในตอนนี้ภาพจําของเมื่อครัง้ ก่อน หล่อหลอมให้บรรยากาศ การทํางานก็ยงั คงเต็มไปด้วยความอบอุ่นของพีก่ บั น้อง รุ่นสู่รุ่น ทีย่ งั สามารถพูดคุย ช่วยเหลือซึง่ กันได้เหมือนอย่างเคย แม้วา่ ร้าน ในตอนนี้ จ ะกว้า งขึ้น แต่ ไ ม่ท าํ ให้ค วามรัก และความผู ก พัน ของคนในบ้านหลังนี้เล็กน้อยลงไปได้เลย”
5
คุณรูห้ รือไม่วา่ นอกจากความโดดเด่นเรื่องของสถานทีแ่ ล ้ว ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ยังเป็ น โรงเรียน ที่สอนคนจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งทางร้านใช้ระบบพี่นอ้ ง ใครมีปญ ั หา ทัง้ เรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว รุ่นพีจ่ ะคอยช่วยเหลือหรือให้คาํ แนะนํา และสําหรับน้องคนไหนทีอ่ ยาก ทดลองทํา หรืออยากเรียนรูใ้ นตําแหน่งอื่น หรือเพิม่ ความถนัดในด้านอื่นๆ เช่น ดีเจ, บาริสต้า, บาร์เทนเดอร์, ช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซค์, ช่างตัดผม ก็สามารถปรึกษารุ่นพี่ เพื่อที่จะได้พฒั นาทักษะในด้านอื่นๆ เมื่อจบจากโรงเรียนท่าช้างแห่งนี้ เขาจะมีทกั ษะ ด้านอาชีพที่หลากหลาย เพราะเขาได้คน้ พบสิ่งที่เขารัก เขาชอบ แต่ยงั มีวชิ าชีพติดตัว ออกไปใช้ชวี ติ ในสังคมภายนอกได้อย่างสบาย นอกจากนัน้ ทีส่ าํ คัญพวกเขาจะได้เรียนรู ้ เรื่องความรับผิดชอบทีส่ ูงขึ้นตามแต่ทกั ษะทีเ่ ขาได้เรียนรู ้
ปั้น - ชยธร ศรีวรรณวิทย์
ดีเจประจําร้าน ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ทํางานมากว่า 10 ปี ปัน้ ดีเจพูดน้อย เขาบอกว่า ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ แห่งนี้เป็ นยิง่ กว่า ครอบครัว เพราะทุกคนคือ พี่ น้อง ทีท่ าํ งานร่วมกันกว่า 10 ปี สอนให้ปัน้ รูจ้ กั คําว่า อดทน และรับผิดชอบมากขึ้น ให้ประสบการณ์ ที่ดีๆ สอนให้รูจ้ กั การใช้ชีวติ ในทุกวันนี้ ปัน้ บอกว่าจุดเริ่มต้น มาจากทีเ่ ขาสมัครเป็ นเด็กเสิรฟ์ จนวันหนึ่งปัน้ รูว้ า่ ตัวเองชอบเพลง ชอบดนตรี และอยากเรียนรูท้ จ่ี ะเป็ นดีเจ ปัน้ เก็บเกีย่ วประสบการณ์ ทีล ะเล็ก ละน้อ ย ขยับ ตัว เองตามลํา ดับ ขัน้ ที่ท างร้า นวางไว้ เพื่อเป็ นการฝึ กความอดทน จนเมื่อ 4 ปี ท่ีแลว้ ปัน้ มีโอกาส เรียนเป็ นดีเจอย่างจริงจัง ซึ่งได้รบั การสนับสนุ นเป็ นอย่างดีจาก พีจ่ อม - วมินทร์ ประกอบสุข พีใ่ หญ่ประจําบ้านท่าช้าง ทีส่ ง่ ให้เรียน โดยให้โจทย์เพียงแค่วา่ “พีเ่ น้นเพลงไทย สามช่า ลูกทุง่ เพลงเมือง จังหวะโจ๊ะๆ โดนใจวัยรุ่น มีสากลมาบ้างแต่เล็กน้อย” ด้วยต้องการ ทีจ่ ะสนับสนุนเพลงไทย จึงเลือกเปิ ดเพลงไทยร่วมสมัยทัง้ ยุคเก่า และยุคใหม่โดนใจวัยรุ่น จากคําพูดในวันนัน้ และการทีป่ นั้ ได้เรียน อย่างจริงจัง ทําให้ปนั้ ในวันนี้ เป็ นดีเจทีม่ หี ลายคนจับจองทัง้ เรื่อง การเปิ ดเพลง หน้าตา และการแต่ งตัว แต่ เห็นมัน่ ใจขนาดนี้ ปัน้ บอกว่าเปิ ดร้านใหม่วนั แรกผมตื่นเต้นจนมือสัน่ เพราะสถานที่ ใหญ่ข้นึ บูธดีเจทีส่ ามารถมองเห็นได้รอบด้าน ก็มบี า้ งทีท่ าํ ให้เขา ประหม่า แต่ก็ยงั ไม่ท้งิ ลายดีเจขวัญใจสาวๆ ทีเ่ มือ่ เปิ ดเพลงไหน ลูกค้าทัง้ ร้านสามารถร้องตามได้ทนั ที
6
อีกหนึ่งเสียงของความสําเร็จในวันนี้ของท่าช้างทีไ่ ด้เรียนรูจ้ าก ‘รุ่นสู่รุ่น’ คือ ดีเจเปิ ดเพลงประจําร้านอีกคน ทีเ่ ดินทางสายดนตรีตาม ปัน้ ดีเจรุ่นพี่
แคน - อนุภาพ บัวผัด
ดีเจประจําร้าน ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ระยะเวลาการทํางานกว่า 4 ปี อี ก หนึ่ ง หนุ่ ม ที่ ห ลงรัก ในเสี ย งดนตรี แคน เล่ า ว่ า แรกเริ่ ม เดิ ม ที เพื่อนชวนมาทํางานเสิรฟ์ ที่รา้ นท่าช้าง เหมือนกับพี่ๆ เพื่อนๆ แต่มพี ่ใี นร้าน เห็นแววความเป็ นดีเจ จึงชักชวน และฝึ กปรือฝี มอื กับปัน้ ดีเจรุ่นพี่ ใช้เวลาฝึ ก เพียง 2 อาทิตย์ แคนก็เปิ ดแผ่นทีร่ า้ นเลย โดยวิธกี ารสอนจะเน้นให้ลงมือทําจริง เปิ ด จริง แต่ ป นั้ จะคอยเป็ น พี่เ ลี้ย งทํา งานประกบกับ แคน จนเริ่ม ชํา นาญ จึงเปิ ดเองมาจนถึงปัจจุบนั ตอนนี้ทร่ี า้ นมีดเี จทัง้ หมด 3 คน ซึง่ จะหมุนเวียน การเปิ ด แผ่ น ทัง้ โซนด้า นใน และด้า นนอก ซึ่ง จะเปิ ด เพลงคนละสไตล์ ให้เหมาะกับโซนทีท่ างร้านจัดใหม่ สําหรับเรือ่ งการเรียน แคนหยุดเรียนไปก่อนทีจ่ ะเข้ามาทํางานทีร่ า้ นท่าช้าง แต่แคนเห็นพีๆ่ เพือ่ นๆ หลายคนกลับไปเรียนจนได้วุฒกิ ารศึกษา จึงท�ำให้แคน มีไฟและกลับไปเรียน กศน.อีกครัง้ จนได้วุฒิ ม.6 ซึ่งได้รบั การสนับสนุ น ด้านการเรียน การศึกษา จากท่าช้างเป็ นอย่างดี ด้วยต้องการให้นอ้ งๆ ทุกคน ในร้านที่ตอ้ งการเรียนต่อได้เรียน และทํางานเลี้ยงชีพไปด้วยในเวลาเดียวกัน เพือ่ ทีจ่ ะให้นอ้ งๆ ทุกคนมีวชิ าความรูต้ ดิ ตัวไปหลังจากนี้
7
คุณรู ห้ รือไม่ว่า ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ยังมีโครงการที่ทาํ เพือ่ ตอบแทนสังคม อีกมากมาย ทัง้ การมอบเงินสําหรับเป็ นทุนการศึกษาให้กบั น้องๆ โรงเรียน สอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่, สร้างและ ทํานุ บาํ รุงโรงเรียนให้กบั ครูและนักเรียนทีอ่ ยู่บนดอย, ช่วยเหลือพื้นทีเ่ กิดเหตุ ร้ายแรง อย่ างเช่ น ทีมหมูป่า ทางร้านได้มีการส่งทีมช่ วยเหลือไปยังพื้นที่ ในช่วงแรกๆ ทีเ่ กิดเหตุการณ์, ช่วยเหลือพื้นทีเ่ กิดอัคคีภยั หรืออุทกภัย เช่น การส่งอาหาร, ยา, น�ำ้ ดืม่ ให้กบั หน่วยงานทีอ่ ยู่ในพื้นที่ เพือ่ สร้างกําลังใจให้กบั ทีมงาน หรือจะเป็ นการส่งถุงยังชีพไปยังพื้นทีอ่ ทุ กภัยแทบทุกจังหวัดในประเทศ เลยก็วา่ ได้ เช่นเดียวกับการมอบเงินช่วยเหลือองค์กรอืน่ ๆ ทัง้ บ้านพักคนชรา, ศูนย์ผู ้ป่ วยโรงมะเร็ง และผู ้ป่ วยโรคเอดส์ ทีไ่ ม่ได้รบั การเหลียวแล ทางร้านก็มกี าร มอบเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่องมาเป็ นเวลากว่า 10 ปี โดยยึดหลัก ‘การทําธุรกิจ ทีต่ อ้ งแบ่งปันคืนสู่สงั คม’ ตามกําลังทีท่ างร้านมี และเห็นสมควร
หนึ่ง - ยุทธนา หิรัญภัทรภักดี
ผู ้จัดการหลักอีกคนหนึ่ง ทํางานมากว่า 10 ปี หนึ่ง รับหน้าทีใ่ นการจองโต๊ะภายในร้านทัง้ หมด ส�ำหรับ ลูกค้าทีอ่ ยากมาสนุกให้เต็มทีก่ บั ก๊วนแก๊ง แถมพ่วงด้วยตําแหน่ง ลูกค้าสัมพันธ์ ทีต่ อ้ งติดต่อประสานงานกับชุมชนรอบข้าง ภาครัฐ และภาคเอกชน ในช่ วงมีกิจกรรมต่ างๆ หนึ่งบอกว่า “ท่าช้าง เป็ นยิง่ กว่าพีน่ อ้ ง สุขและสนุกกับงานในทุกวัน” อีกทัง้ ยังรับผิดชอบ เรื่องการควบคุมแสง สี เสียง ดีเจ และบาร์ค็อกเทล เขาบอกว่า จริงๆ แล ้วท่าช้างทํางานเพือ่ สังคมมาตลอด หรือเรียกได้อกี อย่างว่า ‘ปิ ดทองหลังพระ’ ทัง้ การมอบทุนให้กบั โรงเรียนที่ทุรกันดาร ทัง้ ครู นักเรียน และอุปกรณ์ทข่ี าดแคลน ไม่เพียงเท่านัน้ เมือ่ เกิด เหตุการณ์เกีย่ วกับ น�ำ้ ท่วม หรือไฟไหมชุมชน จะมีการจัดข้าวกล่อง น�ำ้ ดืม่ อาหาร ยารักษาโรค ไปยังสถานทีน่ นั้ ๆ โดยทันที และยัง ทําการประสานงานกับหน่วยงานราชการทีเ่ กีย่ วข้อง สําหรับในพื้นที่ ต่างจังหวัด เมือ่ มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ทางร้านก็จะทําการมอบหมาย ทีมงานทีอ่ ยู่ตามจังหวัดต่างๆ ให้ช่วยเหลือตามความเหมาะสม
8
ในส่ ว นของภาครัฐ ท่ า ช้า งได้ม อบเสื้อ สะท้อ นแสงให้ก บั เทศบาล มอบเสื้อกันฝนให้กบั ตํารวจจราจร และการมอบทุนการศึกษาให้กบั ลูกข้าราชการ สําหรับชุมชน ทางร้านมีการจัดงานประจําปี คืองาน ‘เริงปอย’ ซึ่งจะมีการ จําหน่ายบัตร โดยรายได้ทงั้ หมดไม่หกั ค่าใช้จ่ายมอบให้กบั วัดป่ าแพ่ง, วัดกู่เต้า อีกส่วนมอบให้กบั ชุมชน เพือ่ นําไปใช้พฒั นาและใช้สอยตามแต่ละชุมชนต้องการ สําหรับช่วงวันเด็กของทุกปี จะมีการมอบของเล่น อุปกรณ์กีฬา ให้กบั น้องๆ โรงเรียนต่างๆ สําหรับสถาบันการศึกษาก็มเี ช่นกัน ทัง้ การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละมหาวิทยาลัย คุณรูห้ รือไม่วา่ ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ปิ ดให้บริการตรงเวลา นัน่ คือเวลาเทีย่ งคืน หรื อ 24:00 น. มาโดยตลอด ภาพจํา ของใครหลายคนคงเคยเห็น ภาพ คนมาต่อคิวตัง้ แต่พระอาทิตย์ยงั ไม่ตกดินในเกือบทุกวัน และโดยเฉพาะในทุกๆ เทศกาลนัน้ เพราะร้านเปิ ดให้บริการตัง้ แต่เวลา 17:00 - 24:00 น. ของทุกวัน และนี่คือความชัดเจนของร้านที่ตงั้ มัน่ มาโดยตลอด ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า แค่น้ ีนอ้ งๆ ก็สนุกกันมากพอแล ้ว เราควรแบ่งเวลาให้ทกุ คนได้เดินทางกลับบ้าน ถ้าสนุกพรุ่งนี้กม็ าเทีย่ วใหม่ เพราะยังไงร้านเราก็สนุกทุกวันเหมือนเคย คุณรู ห้ รือไม่ว่า ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ ยังมีฝนั ที่อยากให้นอ้ งๆ ด้อยโอกาส มาร่วมเป็ นหนึ่งในทีมงาน ซึง่ ได้วางโครง วางแผนไว้ในอีกไม่ชา้ นี้ โดยต้องการ ให้น้องๆ มาช่วยในส่วนสํานักงาน และในอนาคตอยากให้มีโซนแสดงความสามารถ ทางด้านดนตรีไทย ทัง้ เครื่องดีด สี ตี เป่ า ในช่วงกลางวัน ซึง่ ต้องการให้นอ้ งๆ ทีด่ อ้ ยโอกาส และน้องนักเรียนทีม่ คี วามสามารถทางดนตรีไทย ร�ำไทย ศิลปะไทย จะร่วมสมัย หรือประยุกต์ ได้มาร่วมแสดงความสามารถในลานแสดงทีท่ างร้าน จัดไว้ ตามความต้องการของ พีจ่ อม - วมินทร์ ประกอบสุข ทีอ่ ยากให้มกี าร เปิ ดร้านในช่วงกลางวันเพิม่ ซึง่ ต้องรอความพร้อมทัง้ ด้านสถานที่ บุคลากร และ อุปกรณ์ ให้ครบองค์กว่านี้อกี เล็กน้อย ความฝันทีอ่ ยากมีเวทีให้นอ้ งๆ ได้แสดง ความสามารถก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน สุ ด ท้า ยนี้ . .. คุ ณ รู ห้ รือ ไม่ว่า ‘ท่ า ช้า ง คาเฟ่ ’ ในอนาคตอยากสร้า ง สวนสาธารณะ ซึง่ ต้องการให้เป็ นสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มาก มีเครื่องเล่น เครื่ อ งออกกํา ลัง กาย โดยต้อ งการให้ค นในชุม ชนบริ เ วณใกล เ้ คี ย งได้ม า ออกกําลังกาย หรือใช้ประโยชน์จากสวนสาธารณะแห่งนี้ เพือ่ เป็ นการเชื่อมโยง คนทุกเพศทุกวัยในครอบครัว ให้ได้ใช้เวลาร่วมกันให้มากทีส่ ุด และถึงแม้วนั นี้ ‘ท่าช้าง คาเฟ่ ’ จะเป็ นร้านอันดับต้นๆ ของเชียงใหม่กต็ าม แต่เชือ่ อย่างหนึ่งว่า ท่าช้างจะไม่มวี นั หยุดทีจ่ ะพัฒนาตนเอง ทัง้ ในด้านการบริการ และบรรยากาศของร้าน และท่าช้างก็จะไม่มวี นั ลืมรับผิดชอบต่อสังคม ทีค่ งอยู่ ในสายเลือดชาวท่าช้างจนขึ้นปี ท่ี 13 และปี ต่อๆ ไป เพราะท่าช้างให้ความสําคัญ กับคนรอบข้าง สิง่ แวดล ้อม สังคม และชุมชน เสมอมา...
9
S P E C I A L
HUMAN . NATURE . TOGETHER ‘Fjällräven Thailand Trail’
เดิ น ป่ า อย่ า งยั่ ง ยื น ใน ‘เส้ น ทางเดิ น ป่ า ระยะไกลชุ ม ชนขุ น น�้ ำ เงา’ เรื่อง/ภาพ : ศมนภรณ์ และ เพื่อนร่วมทาง
เราตระหนักถึงความส� ำคัญของธรรมชาติมากพอ หรือยัง? ภูเขายังอยูจ ่ ด ุ เดิม แม้เราจะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม เราเข้าไปรักษาหรือเข้าไปท�ำลาย? เราเข้าไปกอบโกยหรือ เข้าไปให้ประโยชน์กับชาวบ้านในพื้ นที่? นี่คือค�ำถามที่ยัง ่ ะเข้าไปรูจ คงค้างคาอยูใ่ นใจของเรา ก่อนทีจ ้ ก ั กับเส้นทาง เดินป่าระยะไกลชุมชนขุนน�ำ้ เงา จ.แม่ฮอ ่ งสอน
กิ จ ก ร ร ม นี้ ยั ง ช่ ว ย ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ นั ก เ ดิ น ป่ า ไ ด้ รู้ จั ก ‘วั ฒ ธรรมการเดิ น ป่ า ‘ ที่ ดี ว่ า เป็ น อย่ า งไร เราได้ เ รี ย นรู้ ท่ี จ ะ ‘พึ่ งพาตนเอง‘ แบกของทุกชิ้นโดยปราศจากความช่วยเหลือ ของลูกหาบ เราวิเคราะห์ของก่อนใส่เป้ว่าสิ่งไหนคือสิ่งจ�ำเป็น ในการใช้ชีวิตในธรรมชาติและในชีวิตจริง ‘ให้เกียรติผู้ร่วมทาง‘ ที่มาจากหลายถิน ้ ในสังคม ในป่าเราเท่าเทียมกัน ่ ฐานหลากชนชัน เราใช้ชีวิตอิสระบนพื้ นฐานของมิตรภาพ ช่วยเหลือและแบ่งปัน สิง ั และสิง ่ ด ุ ‘การรักษาธรรมชาติให้คงอยู‘่ ่ ดี ๆ ให้แก่กน ่ ส�ำคัญทีส เราล้ ว นชื่ น ชมความงามของธรรมชาติ นั่ น คื อ สาเหตุ ท่ี เ รา ออกไปเดินป่า การทีผ ่ ค ู้ นจ�ำนวนมากได้มโี อกาสสัมผัสกับความงาม ของธรรมชาติ สิง ่ ำ� คัญทีส ่ ด ุ คือจะต้องช่วยกันท�ำให้ธรรมชาติ ่ ทีส นัน ้ ยังคงงดงาม หลังจากทีเ่ ราเดินผ่านไป “Take nothing but pictures, leave nothing but footprints, kill nothing but time.” คุณไม่หยิบอะไรออกมาจากธรรมชาติ นอกภาพถ่ า ย คุ ณ ไม่ ทิ้ ง อะไรไว้ น อกจากรอยเท้ า ของตั ว เอง คุณไม่ฆ่าสิ่งไหนนอกจากเวลา และเมื่อนั้นเราก็จะได้สัมผัสกับ อิสรภาพของการเดินป่า และกลับออกมาด้วยความภาคภูมิใจ
กิจกรรม Fjällräven Thailand Trail 2019 ในเส้นทาง เดินป่าระยะไกลชุมชนขุนน�้ำเงา เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่จะ ใช้ Eco-Tourism (การท่องเทีย ่ วเชิงอนุรก ั ษ์) เป็นกลไกในการ สร้างรายได้ให้ชาวบ้านทีอ ่ ยูก ่ บ ั ป่าโดยไม่ตอ ้ งท�ำลายป่า สร้างรายได้ ทีต ่ อ ่ เนือ ่ งให้กบ ั ชาวบ้าน ด้วยการฟื้ นฟู เส้นทางและน�ำพานักเดินป่า จากในเมือง เข้าไปสัมผัสกับขุนเขาและป่าต้นน�ำ้ ทีย ่ ง ั หลงเหลืออยู่ ให้เห็นความจริงด้วยตาของตัวเองว่า ป่าทีอ ่ ยูห ่ า่ งตาและไกลใจนัน ้ ส�ำคัญต่อแม่น�้ำและชีวิตของพวกเขาอย่างไร และหวังว่าผู้คน จะพบหนทางที่ จ ะอยู่ ร่ ว มกั บ ธรรมชาติ แ ละป่ า ได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ตลอดจนรั ก ษาผื น ป่ า ที่ ยั ง คงเหลื อ อยู่ ไ ว้ ให้ เ หมื อ นทรั พ ย์ สิ น ทีม ่ ค ี ณ ุ ค่าของพวกเขาเอง
DAY 1 : START - เริ่ มเดิ น ท าง แม่ ป ะ - จอลื อ คี
ความพร้อมและการเตรียมตัวจึงขึ้นอยู่กบั ประสบการณ์ของแต่ละคน ทีเ่ คยผ่านมา เรือ่ งส�ำคญั คือ ‘น�ำ้ ’ เพราะเส้นทางทีเ่ ราจะเดินไปในวันนี้ไม่มแี หล่งน�ำ ้ เราจึงต้องส�ำรองนำ�้ ติดตัวกันไม่ตำ� ่ กว่า 3 ลิตรต่อวัน ให้พอไปถึงการประกอบ อาหารในตอนเย็น ทุกคนพร้อมและเตรียมตัว ชัง่ กระเป๋ าเช็คน�ำ้ หนัก เพือ่ ให้รูว้ า่ น�ำ้ หนักที่จะแบกไปนัน้ คือสิ่งของและอุปกรณ์ท่ีจ �ำเป็ นต่ อการใช้ชีวิตจริงๆ (อาจจะมีไม่จ �ำเป็ นบ้างแต่ก็อยากเอาไป) ส�ำหรับของเราเองชัง่ ได้ 14 กิโลกรัม (รวมน�ำ ้ 3 ลิตร และอาหารส�ำหรับ 4 วันแล ้ว) ถือว่าไม่มากไม่นอ้ ย เราภูมใิ จ ที่การเดินครัง้ นี้ท่เี ราต้องพึ่งพาตัวเองจริงๆ ไม่มคี วามช่วยเหลือจากลูกหาบ ถือเป็ นขัน้ ตอนแรกขอการสร้างวัฒนธรรมเดินป่ าทีด่ ี
07:00 น.เช้าวันแรกของการเดินทาง เราและนักเดินป่ าทุกคนมารวมพล กันที่ ‘ร้านอาหารบ้านไม้แดง’ ที่ถูกวางให้เป็ นจุดลงทะเบียนเพือ่ รับผ้าสีกลุ่ม สมุดบันทึก (Trekking Pass) แก๊สกระป๋ อง แผ่นไม้และถุงขยะ บรรยากาศ ภายในเมืองแม่สะเรียงที่มกั จะเงียบสงบก็คึกคักไปด้วยนักเดินป่ าที่แบกเป้ และแต่งตัวหลายสไตล์ ทุกคนมาจากหลากหลายที่ ทัง้ เกาหลี ไต้หวัน จีน ไทย ถึงต่างชาติต่างภาษา แต่ทร่ี ูก้ นั คือเราต่างก็รกั การใช้ชวี ติ กลางแจ้ง หรือ Outdoor เหมือนๆ กัน ทุกคนได้อ่านข้อมูลในเว็บไซต์งานอย่างละเอียด และบรีฟโดย ทีมงานทีต่ อ้ นรับทุกคนเป็ นอย่างดี 10
นักเดินป่ ากว่า 60 ชีวติ (และอีก 200 กว่าชีวติ ในรอบก่อนๆ) จะต้องนัง่ รถกระบะ 4WD ทีข่ บั โดยชาวบ้านในพื้นทีท่ ม่ี คี วามช�ำนาญเส้นทางเป็ นอย่างดี ซึ่งจะเข้าไปส่งพวกเราที่ ‘แม่ปะ’ จุดเริ่มเดินที่ความสู งประมาณ 900 เมตร จากระดับน�ำ้ ทะเล อากาศเย็นสบาย (เมื่ออยู่ในที่ร่ม) ส่วนแดดเมืองไทย ทีม่ ชี อ่ื เสียงเป็ นอย่างดีนนั้ ไม่ตอ้ งพูดถึง! เส้นทางของวันแรกถือว่ายังไม่โหดมาก (โดยค่ าเฉลี่ย) มีร่มไม้และวิวทิวทัศน์ให้ได้ถ่ายรู ปกันพอหอมปากหอมคอ แต่ละกลุม่ สีจะมีชาวบ้านเป็ นผูน้ �ำทาง เราอยู่สแี ดง ทีมแรกในการปล่อยตัวเสมอ (แต่กโ็ ดนสีอน่ื แซงทุกวัน) มันคือการจัดระเบียบอย่างหนึ่ง โดยทุกคนจะเข้าใจ ตรงกันว่า เราจะไม่แซงผูน้ �ำทาง และไปไหนทุกครัง้ จะต้องรอผูน้ �ำทางอยู่เสมอ ระยะทางกว่า 9 กิโลเมตร เราพบเห็นธรรมชาติทย่ี งั สมบูรณ์ สวยงาม ตลอดเส้นทางเราเดินลัดเลาะไปตามผืนป่ าและสันเขาลูกแล ้วลูกเล่า ก่อนจะไปถึง ทุ่งหญ้าสีทองขนาบด้วยวิวพาโนราม่าแบบ 360 องศา หายเหนื่อยเป็ นปลิดทิ้ง เมือ่ เดินมาถึงจุด Check Point 1 ที่ ‘จอลือคี’ ความสูง 1,150 เมตรจากระดับ นำ�้ ทะเล มี ‘ม่อนกองข้าว’ เป็ นจุดทีส่ ูงทีส่ ุดที่ 1,221 เมตรจากระดับนำ�้ ทะเล เรามาถึงที่น่ีตอนบ่าย 3 กว่าๆ เปิ ดสมุดรับตราปั ๊มจากสตาฟฟ์ ท่มี าตัง้ แคมป์ รออยูก่ ่อนแล ้ว มีขนมเปงม้ง (ขนมของคนไทใหญ่) และชาเปลือกไม้ ให้นักเดินป่ า ทุกคนกินเป็ นขวัญก�ำลงั ใจ (ต้องเอาแก้วส่วนตัวมาตักชาเอง ทุกคนใช้ของส่วนตัว ตลอดทริป ไม่มกี ารใช้แก้วพลาสติก) เดินส�ำรวจเลือกจุดกางเต๊นท์ เรารีบ กางเต๊นท์หาที่ร่มให้ตวั เอง ตากเสื้อผ้าชุ่มเหงือ่ ที่จะต้องใช้เดินต่ออีก 3 วัน นอนซักงีบ เพือ่ รอคอยเวลาในการพบปะของสมาชิกทุกคนในวันนี้ โดยมีสตาฟฟ์ ประจ�ำ CP เล่าเรื่องราวของจุดทีเ่ ราอยู่ในวันนี้ เบื้องหลังคือพระอาทิตย์ทก่ี �ำลังจะลับขอบฟ้ า ซ้อนทับกับสันเขาสวยงาม เรื่องราวของสถานที่น้ ีคือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เราก�ำลังจะเจอต่ อไป “ทีจ่ ุดนี้ คุณจะเห็นขุนน�ำ้ จอลือ แหล่งน�ำ้ อุดมสมบูรณ์ทหี่ ล่อเลี้ยงมวลชีวติ ทางเบื้องล่าง แต่เมือ่ คุณมองไปทางทิศเหนือทีเ่ ดินผ่านมา ก็จะเข้าใจได้วา่ ขุนน�ำ้ นัน้ ถูกทําลาย ได้งา่ ยดายเพียงใด ต้นน�ำ้ เล็กๆ ไหลรวมกันเป็ นแม่นำ� ้ สายใหญ่” เมือ่ พระอาทิตย์ อัสดง ความหนาวเย็นปะทะพวกเราในทันที (คืนนี้ตอ้ งโคตรหนาวแน่ นอน เราคิดในใจ) กิจกรรมรอบกองไฟ กินขนม ปั ๊มแผ่นไม้ด้วยเหล็กเผาร้อน และการ แลกเปลีย่ นเรื่องราวของนักเดินป่ า ค�ำ่ คืนนี้เราอิม่ เอมใจอย่างบอกไม่ถกู
DAY 2 : STORY - เรื่ อ งร า ว
จอลือคี - ดอยธง
ความตัง้ ใจที่จะตื่นมาดูพระอาทิตย์ข้ นึ และทะเลหมอกจางหายไปด้วย ความอบอุ่นภายใต้ถงุ นอน ความเกียจคร้านในการตื่นเช้ายังคงเป็ นนิสยั ทีเ่ รา ยังแก้ไม่หาย กิจวัตรยามเช้าในการหาท�ำเลทีเ่ หมาะแก่การขุดหลุมเพือ่ ขับถ่าย ต้ม น�ำ้ เพื่อ ท�ำกับ ข้า ว ดื่ม กาแฟ 3in1 และเก็บของทุกอย่ างยัดใส่กระเป๋ า เป็ นเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบบไฟลนก้น 9 โมงเราจะต้องพร้อมและ เริ่มต้นการเดินในวันใหม่ ทีจ่ ดุ เติมน�ำ้ ของวัน ชาวบ้านได้ช่วยกันน�ำขึ้นมาให้เรา ใช้เพือ่ การบริโภค ความส�ำคัญของนำ�้ ก็ยงั คงเป็ นอันดับหนึ่งที่เราต้องช่วยกัน ประหยัดไว้ส �ำหรับดืม่ และท�ำอาหารเท่านัน้ (เห็นใครเอาไปล ้างหน้าตีมอื หักเลย) 11
ความตื่นเต้นของวันนี้คอื เดินขึ้นจุดสูงสุดของเส้นทางที่ ‘ดอยธง‘ ระดับความสูง 1,650 เมตรจากระดับน�ำ้ ทะเล ตลอดเส้นทาง 8 กิโลเมตร ผ่านสันเขาทีเ่ ป็ นต้นน�ำ้ ของแม่นำ�้ ส�ำคัญในพื้นทีน่ ้ ี บรรยากาศการเดินในวันนี้สนุก เราเริม่ คุน้ หน้าคุน้ ตากับคนทีม่ กั จะแซงเราตลอดเวลา และคนทีม่ กั จะหยุดพักหายใจซักนิดก่อนเดินต่อ ทุกคนมีนำ�้ ใจในการ แบ่งกันถ่ายรูป (เพราะเข้าใจว่าการไม่มรี ูปเจ็บปวดแค่ไหน) เส้นทางสวยงาม เริ่มมีพรรณไม้แปลกตาตามความสูง ทีเ่ ปลีย่ นไป มีเนินหินชันพอให้เข่าได้โอดโอย แต่กย็ งั ถือว่าเดินชิลกินลมชมวิวกันจนไปถึงจุด Check Point 2 ทีด่ อยธง ภาพตรงหน้าคือพาโนราม่าสุดสายตา สามารถมองเห็นเส้นทางทีเ่ ราเดินมาตลอด 2 วันและมองเห็นเส้นทางทีเ่ ราจะ เดินไปในอีก 2 วันข้างหน้า (ปาดเหงือ่ ) ทุกคนเดินหาท�ำเลทองให้เต๊นท์สุดรัก... “วิววันนี้สวยทีส่ ดุ เลย” เรื่องราวของลุม่ นำ�้ แม่เงาในอดีตทีเ่ ราได้ฟงั เป็ นดัง่ หมูบ่ า้ นในนิทาน “ดินแดนทีผ่ ูค้ นล ้วนอาศัยอยู่กบั ธรรมชาติ เป็ นหนึง่ เดียว ปลูกข้าวไว้กินทัง้ ปี ชีวติ ทีน่ เี ่ รียบง่ายและเต็มไปด้วยความสุข แม้จะห่างจากค�ำว่าสะดวกสบาย ความคืบคลาน เข้ามาของวิถชี วี ติ สมัยใหม่ ผู ้คนล ้วนมีความต้องการและความจ�ำเป็ นทีจ่ ะต้องสร้างรายได้มารองรับรายจ่ายทีม่ าพร้อมกับ วิถชี วี ติ ชาวกระเหรีย่ งจ�ำนวนไม่นอ้ ยเปลีย่ นไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างถัวเหลื ่ องและข้าวโพด เมือ่ ถูกใช้ปีแลว้ ปี เล่า สารเคมีมากมายประกอบกับถูกฝนชะหน้าดิน จนท�ำให้ทีด่ นิ นัน้ เสือ่ มสภาพไม่สามารถฟื้ นตัวเป็ นป่ าหรือแม้แต่ปลูกข้าวได้ อีกต่อไป ถ้าชีวติ จริงเป็ นดัง่ นิทาน เราก็คงปิ ดท้ายเรือ่ งว่า ‘พวกเขาก็มชี วี ติ อยู่ดว้ ยความสุขตลอดกาลนาน’ เราจะหวัง ให้มนั เป็ นเช่นนัน้ แต่กค็ งต้องยอมรับกันว่า คงจะเป็ นเรือ่ งทีเ่ ป็ นไปไม่ได้ในโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว”
DAY 3 : MEMO RY - คว าม ท ร ง จ� ำ ดอ ยธ ง - ห มื่ อ ห ะคี
“วันนี้จะได้อาบน�ำ้ ทีโ่ รงเรียน!” คือประโยคไม้ตายที่สร้างขวัญและก�ำลังใจให้กบั นักเดินป่ า ทุกคนในวันนี้ กลิน่ ไม่พงึ ประสงค์ทเ่ี พียงมองตาก็รูใ้ จ และความเหนียวตัวเกรอะกรังจากการเดิน 2 วัน ที่ไม่สามารถท�ำความสะอาดให้ดีไปกว่านี้ได้แลว้ จากทิชชู่เปี ยก เรารวมพลกันในเวลา 7 โมงเช้า พระอาทิตย์ยงั คงซ่อนตัวอยู่หลังสันเขา เมือ่ คืนหนาวกว่าคืนแรก หลายคนหน้าตาเหมือนหมีแพนด้า ประหนึ่งนอนไม่อม่ิ หลายๆ คนเริม่ มีอาการปวดขา เจ็บเท้า แต่เราสัมผัสได้วา่ ขวัญก�ำลงั ใจของทุกคน เต็มเปี่ ยมแรงเกิน 100! วันนี้คือวันทีจ่ ะต้องเดินไกลทีส่ ุด 19 กิโลเมตรจากระยะทัง้ หมดเกือบ 50 กิโลเมตร โดย ค�ำบอกเล่าจากสมุดบันทึกเพือ่ นรักทีเ่ ราพกติดตัวมาแลว้ 3 วันเขียนว่า “เราจะเดินต่อไปบนสันเขา ผ่านสัน ‘เซเทลู’่ ไปจนถึง Check Point ที ่ 3 ‘หมือ่ หะคี’ ทีร่ ะดับความสูง 930 เมตรจากระดับน�ำ้ ทะเล เราจะพักกันไม่ไกลจากหมู่บา้ น หมู่บา้ นนี้คือหมู่บา้ นทีไ่ กลทีส่ ุดแห่งหนึ่งบนขุนเขา หากจะมาจาก ทางถนน ซึง่ ไต่ระดับขึ้นเขามาสูงชัน และใช้สญั จรได้เฉพาะฤดูแล ้งเท่านัน้ ทีน่ ีค่ อื จุดชมวิวพระอาทิตย์ ตกดินทีส่ วยทีส่ ดุ ของเส้นทาง ตามชือ่ ภาษากะเหรีย่ ง ‘หมือ่ หะคี’ ทีแ่ ปลว่า ดินแดนอาทิตย์อสั ดง ทีน่ ี ่ เราจะได้เห็นว่าชาวบ้านกะเหรีย่ งสามารถอยู่ร่วมกับป่ าได้อย่างไร” “โคตรเหนือ่ ย!” คือค�ำจ�ำกัดความของวันนี้ ไกลไม่พอยังชันด้วย! สายรัดเข่าทัง้ 2 ข้างถูกน�ำ ออกมาใช้วนั นี้ น�ำ้ หนักกระเป๋ าบนหลังทีด่ ูจะไม่ลดลงเลย (ท�ำไมนะ?) กลายเป็ น ‘ภาระ’ ทีอ่ ยากจะ ทิ้งไว้แต่ก็ท �ำไม่ได้ เส้นทางในวันนี้เป็ นป่ าดงดิบทีง่ า่ ยต่อการหลง เราคนนึงทีพ่ กั บ่อยมาก มีเพือ่ น เป็ นเสียงหัวใจที่พร้อมจะหลุดออกมาจากร่างกาย สมองซีกซ้ายและขวาที่คอยเถียงกันว่าจะหยุด หรือไปต่อ จงเดินต่อไปให้ทนั พระอาทิตย์ตก ถ้ามืดแล ้วซวยแน่... เป็ นครัง้ แรกในชีวติ ทีน่ ำ �้ 3 ลิตร ทีเ่ ตรียมไปเกือบหมด! เราดืม่ น�ำ้ ไปถึง 3 ใน 4 ส่วนก่อนกินมื้อเทีย่ ง ต้องแก้ปญั หาด้วยการใช้นำ�้ ของ ชาวบ้านทีใ่ ช้ชา้ งขนมาวางไว้กลางทาง ต้มและเติมใส่ขวดส�ำรองไว้ (เป็ นนำ�้ จากธรรมชาติทไ่ี ม่ผ่าน การกรอง ไม่สามารถดื่มได้ทนั ทีเพราะอาจมีแบคทีเรียทีร่ ่างกายรับไม่ได้และไม่สบายก่อนเดินจบ) เกลือแร่ทกุ ซองทีเ่ ตรียมมาถูกผสมอยูใ่ นน�ำ้ ทีเ่ ราดืม่ ตลอดทัง้ วัน และจิตใจทีค่ อยสังให้ ่ เดินต่อไป เพือ่ นร่วมทางคอยให้ก �ำลังใจซึง่ กันและกัน ก่อนจะเข้าหมูบ่ า้ นในจุดปลายทางของวัน เราเห็น Trail Angle คือคุณครูและเด็กๆ ทีม่ าตัง้ ขายเฉาก๊วยเย็นๆ เราเริ่มได้ยนิ เสียงและเห็นหลังคาบ้าน ของชาวบ้าน เราใช้จิตใจอันเข้มแข็งพาร่างกายอันอ่อนเพลียไปถึง Check Point 3 ที่ ‘โรงเรียนบ้านแม่หาด’ พระอาทิตย์ก �ำลังลับขอบฟ้ า เพือ่ นร่วมทางทีม่ าถึงก่อน รอต้อนรับเราด้วยรอยยิ้มและหน้าตาสดชืน่ จากการอาบน�ำ ้ โห่รอ้ งและปรบมือต้อนรับการมาถึงของเราแ.ละอีกหลายคน... “โครตภูมใิ จเลยว่ะ” 12
DAY 4 : FINISH - ปลาย ท า ง หมื่ อ หะคี - สบ โขง
เสีย งของเด็ก ที่ก�ำลัง มาโรงเรีย นและเสีย งเพลงชาติต อ้ นรับ วัน ใหม่ วันสุดท้ายของการเดินในเส้นทางเดินป่ าระยะไกลชุมชนขุนนำ�้ เงา การได้กนิ ข้าวต้ม ผสมไข่ลวกในมื้อเช้า เหมือนร่างกายได้รบั พลังงานเต็มเปี่ ยม หัวทีห่ ายคันและ ร่างกายทีส่ ะอาดหลังอาบน�ำ้ เย็น และใส่ชดุ เก่าทีใ่ ส่มาแล ้ว 3 วัน... วันนี้เราอุดหนุน เด็กนักเรียนด้วยการซื้อข้าวเหนียวไก่ทอดเพือ่ ไปกินตอนกลางวัน และหลายๆ คน ได้ซ้อื ของกินของใช้ทม่ี าจากงานฝี มอื ของชาวบ้าน สร้างรายได้ให้กบั คนในชุมชน เรื่องราวของวันที่ 4 เริ่มปะติดปะต่อให้เห็นเป็ นภาพใหญ่ ทะเลหมอก ในหุบเขายังไม่จางหาย เราได้ยินเสียงน�ำ้ ตลอดเส้นทาง 13 กิโลเมตร เพราะเราก�ำลงั เดินเลียบนำ �้ เดินลงตามเส้นทางผ่านป่ าทีม่ ตี น้ ไม้สูงใหญ่ และเดินกลางแจ้งตัดผ่าน นาบนดอย ตากแดดเดินกันเกือบครึ่งวัน ลดระดับลงสู่เส้นชัยในการเดินที่ ‘สบโขง’ หมู่บา้ นริมน�ำ้ ที่สืบทอดโครงการพัฒนาป่ าไม้ตามแนวพระราชด�ำริ รอยยิ้มและมุกตลกตลอดวันของเพือ่ นร่วมทางในวันนี้ คือตะกอนทีก่ �ำลังจะไหล ไปรวมกันทีส่ บโขง เหมือนสายน�ำ้ น้อยใหญ่ทไ่ี หลไปรวมกันเป็ นแม่นำ�้ แม่เงา ตราปั ๊มเหล็กร้อนตัวสุดท้ายที่ก�ำลังจะประทับบนแผ่นไม้ เหรียญและ ของทีร่ ะลึกทีเ่ ราได้จากเส้นชัย คือเครือ่ งเตือนใจทีจ่ ะท�ำให้ตระหนักและย้อนนึกถึง ประสบการณ์ทไ่ี ด้ผ่านมา เราทิ้งขยะทีน่ �ำตดิ ตัวมาตัง้ แต่ตน้ ทางลงในจุดคัดแยกขยะ ทีป่ ลายทาง เราไม่ท้ งิ ขยะให้กบั ธรรมชาติ นอกจากของเสียทีอ่ อกจากร่างกาย เราแบกของทุกอย่างบนหลังของเราและเดินด้วยสองขาของเราเอง เราเล่นนำ�้ ในแม่นำ�้ กับเพื่อนใหม่ท่ีรูจ้ กั กันในเส้นทางนี้ เรากินอาหารจากฝี มอื ชาวบ้าน ทีโ่ คตรอร่อย มีงานเลี้ยงฉลองเล็กๆ แต่อบอุ่น ทีช่ าวบ้านในพื้นทีเ่ ข้ามามีส่วน ในการจัดร่วมกับทีมงานอาสาสมัครทีเ่ สียสละ คนเฒ่าคนแก่มดั มือเพือ่ เรียก ‘ขวัญ’ ให้กลับมา เป็ นความทรงจ�ำดีๆ ผ่านกองไฟทีใ่ ห้ความอบอุ่นแก่เราในคืนนี้ ขณะที่ เ รานัง่ พิ ม พ์บ ทความนี้ อ ยู่ เรายัง จ�ำความรู ส้ ึ ก ผ่ อ นคลาย ตอนนัง่ อยู่บนแพไม้ไ ผ่ กว่า 4 ชัว่ โมง ในวันทีเ่ ราต้องกลับเข้าเมืองแม่สะเรียง น�ำ้ เย็นๆ ทีส่ มั ผัสผ่านเท้า เมือ่ คนถ่อแพใช้ความช�ำนาญในการหลบหลีกก้อนหิน ให้แ พผ่ า นไปได้อ ย่ า งปลอดภัย ภาพถ่ า ยที่ อ อกมาไม่ ส วยเท่ า ตาเห็ น ความสมบู ร ณ์ ข องป่ าไม้แ ละธรรมชาติ เสีย งน�ำ้ ไหลจากแม่ น�ำ้ สายใหญ่ ในหุบเขาอันห่างไกลแห่งนี้... “นี่ อาจจะเป็ นแม่น�ำ้ ที่สวยที่สุดสายหนึ่ งของประเทศไทยก็เป็ นได้”
กิจกรรมรอบกองไฟส่งท้าย สร้างโดยชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องไม้ไผ่ ผสมผสานกับการออกแบบอย่างประณีตของอาสาสมัคร (ภาพโดย เชาวฤทธิ์ พู นผล)
ล่องแพระยะสั้นๆ 12 กิโลเมตร จากระยะทางทัง ้ หมด 40 กิโลเมตรของแม่นำ�้ เงา (ภาพโดย Fjallraven Thailand Trail)
Fjällräven Thailand Trail จั ด ขึ้ น ครั้ ง แรกในปี 2018 โดยชาวบ้ า นในพื้ น ที่ ต.แม่ ส วด อ.สบเมย จ.แม่ ฮ่ อ งสอน และโครงการพั ฒ นาป่ า ไม้ ตามแนวพระราชด� ำ ริ บ้ า นจื อ ทะ-สบโขง โดยการสนั บ สนุ น จากแบรนด์ Fjällräven จากประเทศสวี เ ดน, ร้ า น Thailand Outdoor Shop, มู ล นิ ธิ ธ รรมชาติ ไ ม่ จ� ำ กั ด , อุ ท ยานแห่ ง ชาติ แ ม่ เ งา, อ� ำ เภอสบเมย และอาสาสมั ค รจ� ำ นวนหนึ่ ง ผู้ จั ด ตั้ ง ความหวั ง ว่ า “ผู้คนจากในเมืองจะเห็นด้วยตา และเข้ า ใจด้ ว ยหั ว ใจของเขาเอง ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของป่ า ที่ มี ผ ลต่ อ แม่ น�้ ำ และส่ ง ผลไปจนถึ ง ชี วิ ต ทุ ก คนที่ ป ลายน�้ ำ แม้ จ ะอยู่ ใ นเมื อ งใหญ่ และต้ อ งการให้ ช าวบ้ า นที่ อ ยู่ กั บ ป่ า ได้ เ ห็ น จริ ง ว่ า ป่ า นั้ น สามารถสร้ า งประโยชน์ ที่ จั บ ต้ อ งได้ ให้ กั บ พวกเขาได้ โ ดยไม่ ต้ อ งตั ด ต้ น ไม้ แ ม้ แ ต่ ต้ น เดี ย ว” รายได้ ท้ั ง หมดหลั ง หั ก ค่ า ใช้ จ่ า ยแล้ ว จะจัดตัง ่ ใช้พฒ ั นา เส้นทางเดินป่านีต ้ อ ่ ไป ส�ำหรับใครที่สนใจอยากเข้าไปเดินในเส้นทางนี้ ้ เป็นกองทุน เพือ สามารถติดต่อโดยตรงได้ท่ี เส้นทางเดินป่าระยะไกลชุมชนขุนน�้ำเงา 13
T R AV E L
01
THE MOTORCYCLE DIARY บั น ทึ ก บนหลั ง เบาะมอเตอร์ ไ ซค์ ขี่ ร อบไทยใน 36 วั น เรื่อง /ภาพ : รณรงค์ บูรณัติ
-1เกียร์ว่าง... กับสิ่งที่ค้างในใจ สมัยตอนผมวัยรุ่น สิวอักเสบเพิ่งจะมาเยือน เคยนั่งคุยกับเพื่อนสนิทผู้ซึ่งหน้าตาเหมือนคิงคองว่า “ถ้าวันนึงตกงาน จะหาเรื่องขี่มอ(เตอร์)ไซค์ไปรอบประเทศกัน”
15 ปี ผ่านไป ประโยคสนทนาลอยๆ ในวันนัน้ ยังวนเวียนในใจของผม มาตลอด และวัน นี้ ผมคิด ว่า ถึงเวลาแลว้ ที่จะใช้พ้ ืน ถนนแทน ‘กระดาษ’ และขีดเขียนบันทึกเล่มนี้ดว้ ย ‘มอเตอร์ไซค์’ ผมได้ชกั ชวนพี่ๆ และเพื่อ นๆ หลายคนให้ร่ว มเดิน ทางไปด้วยกัน แต่ไม่มใี ครโรคจิตตอบรับค�ำชวนของผมเลย อาจจะด้วยระยะทางทีไ่ กลมากๆ กิ น เวลายาวนานนับเดือน ทัง้ ยังต้องอาศัยความอดทนและสันโดษระดับ 4
จึงจะท�ำให้ส�ำเร็จได้ แต่การขีม่ อเตอร์ไซค์รอบประเทศนัน้ จะกลายเป็ นแค่ทริปธรรมดาๆ บ้านๆ หากเราเดินทางเอา ‘มัน’ เพียงอย่างเดียว ผมจึงหารายได้ดว้ ยการ ‘ขายเสื้อ’ เพือ่ น�ำเงินรายได้ไปบริจาคให้เด็กๆ ในทีก่ นั ดาร เพือ่ สนับสนุนทางการศึกษาด้วย ผมคิดว่าการเดินทางครัง้ นี้จะสมบู รณ์เฟี้ ยวฟ้ าวมากขึ้น ถ้ามี ‘ใครสักคน’ ได้ประโยชน์จากการเดินทางบ้าๆ บอๆ ของผม 14
02
03
01. 02. 03. 04.
่ ูเขาหญ้า จ.ระนอง ผู้เขียนนั่งพักเหนื่อยและปล่อยใจว่างๆ ทีภ ชีวิตมีขึ้นมีลงดังตะวันและน�ำ้ ทะเล ปรัชญาชีวิตจากธรรมชาติท่อ ี ่าวนาง จ.กระบี่ ชีวิตที่ต้องด�ำเนินต่อไป ความไม่สงบไม่อาจหยุดความสุขเล็กๆ ได้ ที่หาดนราทัศน์ จ.นราธิวาส ลุงชาวประมงที่ใส่กางเกงในสีเฟี้ ยวที่สุดในหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต
-2ตบเกียร์หนึ่ง... เตรียมบึ่งยาวๆ
การเตรียมตัวในการเดินทางไม่มอี ะไรมาก ของใช้ สัมภาระ อุปกรณ์ แคมป์ ป้ ิ ง ก็ไม่ได้แตกต่างจากทริปขีม่ อเตอร์ไซค์ทวั ่ ๆ ไป เพียงแต่มอเตอร์ไซค์ ที่ผมเลือกใช้ในการเดินทางเป็ นรถขนาดกลางที่บรรทุกของได้ดี มีความเร็ว ไปได้เ รื่อ ยๆ สามารถซ่ อ มแซมรถเบื้อ งต้น เองได้ง่า ย เทคโนโลยีไ ม่ ต อ้ ง และน�ำ้ หนักไม่มากเกินไป ถ้าเกิดล ้มขึ้นมา ผมคนเดียวก็สามารถแก้ปญั หาเฉพาะหน้าได้แบบสวยๆ สิ่งที่ส �ำคัญมากที่สุดคือ ‘การวางแผนเส้นทางการเดินทาง’ เพราะว่า ผมเลือกทีจ่ ะเดินทางรอบขอบชายแดนประเทศไทย ไม่ใช่ขอบอ่างย่านรัชดาฯ ดังนัน้ เส้นทางต่างๆ ย่อมไม่ใช่เส้นทางหลักแบบ ‘นกั ท่องเทีย่ ว’ กระเจีย๊ วทองค�ำ (ฮา) แต่เราจะเดินทางแบบ ‘นักเดินทาง’ เพือ่ พบเจอสิง่ ใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ การวางแผนเรื่องระยะทางและความปลอดภัยจึงเป็ นสิ่งส�ำคัญที่สุดในทริปนี้ ผมเลือกทีจ่ ะเดินทางลงไปที่ ‘ภาคใต้’ ก่อน รวมถึง 3 จังหวัดชายแดนด้วย เพือ่ ไปให้พายุฝนกระหนำ� ่ ใส่เล่นๆ จากนัน้ ค่อยไปต่อยังภาคตะวันออก อีสาน และเหนือ ตามล�ำดบั ช่วงเวลาที่เดินทางคือ เดือนกันยายนถึงตุลาคม เรียกได้ว่าในหนึ่งวัน สามารถเจอทัง้ แดดเปรี้ยงๆ ไปจนเจอฝนกระหน�ำ่ แบบโรคจิต และอากาศหนาว เวลาขีใ่ นพื้นทีป่ ่ า เรียกได้วา่ สัมผัสรสจัดจ้านแบบข้าวแกงใต้เลยทีเดียว
04
15
-3หรอยๆ...เข้าเกียร์สอง
เช้า ที่ฟ้ าแจ่ ม ใสฟรุ ง้ ฟริ้ง ผมเริ่ม ต้น การผจญภัย ด้ว ยความ ‘มีส ติ’ ฟี ทเจอริ่งกับความ ‘บ้าคลัง’่ เส้นทางจากบ้านย่านนนทบุรี - นครปฐม - ชายแดน พม่า ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี - สวนผึ้ง ราชบุรี - เพชรบุรี - หัวหิน ดูจะ เป็ นการ ‘ยืดเส้นยืดสาย’ บิวท์อารมณ์วยั รุ่นอย่างเราๆ เหมือนดัง่ เพลงป็ อปใสๆ สร้างจังหวะการขีไ่ ด้อยู่พอสมควรในวันแรก จากนั้น ทุ ก อย่ า งของจัง หวะก็ เ ริ่ ม เข้า ที่ เ ข้า ทาง เส้น ทางหัว หิ น ประจวบ - ชุมพร - ระนอง ในสองวันถัดมาจึงเริ่มสนุกสนานมากยิง่ ขึ้น ผมได้ พี่ๆ เพื่อนๆ จากชุมพรที่ดูแลผมอย่างดี ขี่ร่วมทริปสัน้ ๆ มาส่งผมที่ระนอง เมืองทีเ่ อาแน่เอานอนกับฝนไม่ได้เลย แล ้วผมก็มงุ่ หน้าสู่ เขาหลัก จังหวัดพังงา และ ชายหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต ในวันถัดไปด้วย จากภูเก็ตที่แสนจะวุ่นวายด้วยนักท่องเที่ยวและการจราจรประมาณ น้องๆ สุขุมวิท ท�ำให้ผมรีบเก็บภาพบรรยากาศและดีดตัวเองมุ่งหน้าไปยัง อ่าวนาง - ไร่เลย์ จ.กระบี่ เพือ่ ชมพระอาทิตย์ตกทีช่ ายหาดทีส่ วยติดอันดับต้นๆ ของเมืองไทย วันรุ่งขึ้นผมตัง้ ใจจะขี่ไปสงขลา แต่ เปลี่ยนใจกลางทาง ผมเดินทาง จาก กระบี่ - พัทลุง - มุง่ หน้าสู่ 3 จังหวัดชายแดนทีย่ ะลา เพือ่ ใช้เวลาในแบบ ‘อัลเทอร์เนทีฟ’ ใน 3 จังหวัดทีเ่ ขาว่ากันว่า ‘ไม่ปลอดภัย’ ทีส่ ุดในประเทศ
05
การเดินทางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นนั้ แตกต่างกับจังหวัดอื่นๆ เล็กน้อย ก็คอื บรรยากาศทีค่ ่อนข้างเงียบ แต่คลาคลำ� ่ ไปด้วยรถเกราะของทหาร ตามถนนหลัก , ช่ ว งเวลาในการเดิน ทาง ผมเน้น เดิน ทางในเวลากลางวัน และหลีกเลีย่ งจุดอับซึง่ อาจเกิดอุบตั เิ หตุและอาจน�ำมาซึง่ เหตุการณ์ไม่ดไี ด้ ถึงแม้ว่าตามหน้าสือ่ จะบอกว่า ไม่ค่อยปลอดภัย แต่ผมกลับ ‘ค้นพบ ความงดงาม’ ได้อย่างเหลือเชื่อ วัฒนธรรมทีช่ ดั เจน ธรรมชาติทย่ี งั สดอยู่มาก ผูค้ นทีด่ ูเป็ นมิตรกับนักท่องเทีย่ ว น�ำ้ ใจไมตรีทม่ี มี าให้ผมขณะเดินทาง ดูจะสร้าง ความประทับใจให้ผมอย่างมาก จนอยากจะกลับไปเยือนใหม่ในเร็ววัน 3 วันใน ‘พื้นที่สีแดง’ ผมได้หยดหมึกขาวๆ ไว้หยดหนึ่ง ด้วยการ มอบอุปกรณ์กีฬาและสื่อการสอนให้กบั โรงเรียนบ้านเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส โรงเรียนทีส่ อนเด็กๆ ทีน่ บั ถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และเด็กพิการไปด้วยกัน ผมดีใจที่เป็ นนักขีค่ นแรกๆ ที่มามอบและท�ำกิจกรรมที่โรงเรียนแห่งนี้ และยังได้พๆ่ี เพือ่ นๆ บิก๊ ไบค์จากนราธิวาสมารวมตัวกันครัง้ แรกในกิจกรรม ครัง้ นี้ดว้ ย เรียกได้วา่ เป็ นหนึ่งในความประทับใจในชีวติ ผมอย่างมาก
06
ผมเริ่มด�ำดิง่ ไปกับภายในใจของตัวเอง เดินทางออกจาก 3 จังหวัดสีแดง มาด้วยความอิม่ เอมใจสุดๆ ก�ำลังใจในการเดินทางมีมากขึ้นเป็ นเท่าตัว และรูว้ า่ ‘ตัวเองก�ำลังท�ำอะไรอยู่’ ท�ำให้ผมหลงรักภาคใต้อย่างสุดหัวใจ วัน ถัด มาความงดงามของ คีรีว งศ์ ขนอม นครศรีธ รรมราช และ สุ ร าษฎร์ธ านี ก็ เ ข้า มากระแทกใจผมอีก อัญ มณี ข องอ่ า วไทยก็ ส วยงาม และมีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากฝัง่ อันดามัน ชนิดทีเ่ รียกว่า ‘กินกันไม่ลง’ ฝนทีก่ ระหน�ำ่ แบบบทเพลง ‘ฮาร์ดคอร์’ ลงมาตัง้ แต่ผมออกจาก 3 จังหวัด ชายแดนเป็ นเวลาเกือบหนึ่งอาทิตย์แล ้ว ไม่มวี นั ไหนเลยทีผ่ มจะตัวแห้ง ผมสงสาร ‘ตู ด ’ ผมมาก เพราะมัน ทัง้ ถู ก กดทับ จากการขับ ขี่ ความโรคจิต ของฝน และกางเกงทีอ่ บั ชื้น ซึง่ นัน่ ท�ำให้ผมสะใจมากยิง่ ขึ้นไปอีก ‘หนักกว่านี้กห็ ยุดกูไม่ได้’ บางครัง้ ผมก็คดิ ว่า ฝนอาจจะเป็ นรางวัลส�ำหรับผม ใช่แล ้ว - ฝนไม่ใช่อปุ สรรค แต่คอื รางวัลอันชุ่มฉ�ำ่ ที่ภาคอื่นไม่มี เหมือนคอยชโลมจิตใจให้อดทนต่อพายุต่างๆ ทีโ่ หมกระหน�ำ่ เข้ามา เพือ่ สอนให้เรารูว้ า่ ‘ท้องฟ้ าหลังฝนสวยงามเพียงใด’
07
05 รอยต่ อ ระหว่ า งตะวั น และดวงดาว กั บ ความงามที่ ถู ก หลบซ่ อ นให้ พ้ น เสี ย งระเบิ ด ที่ จ.นราธิวาส 06 การพาตั ว เองไปในจุ ด ที่ แ ย่ ๆ แล้ ว ผ่ า นพ้ น มั น มาได้ เราจะได้ ร างวั ล ที่ แ สนธรรมดา ที่ชื่อว่า ‘ความสุข’ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 07 ความน่ารักและเป็นกันเองของเด็กพิ การชาวพุ ทธและเด็กหญิงชาวมุสลิม ที่ศาสนา และเสียงปืนไม่อาจแบ่งความเป็นเด็กได้ 08 เราได้รางวัลของการเดินทางในแต่ละวันด้วยท้องฟ้าแบบนี้ เกาะช้าง จ.ตราด
08
16
-4ไหลไปเกียร์สาม... ฮิ
หลัง จากเก็ บ 14 จัง หวัด ภาคใต้ม าหมดแล ว้ การเดิ น ทางไปยัง ภาคตะวันออก อีสาน และภาคเหนือ ผมก็ได้พด่ี วิ อาร์ทไดเร็คเตอร์หนังโฆษณา รุ่นพีส่ ุดเซอร์เดินทางไปกับผมด้วย การเดินทางในภาคตะวันออกนัน้ สร้างความ ‘เซอร์ไพรส์’ ให้ผมไม่นอ้ ย อ�ำเภอที่ไม่คิดว่าจะดี กลับสวยงามแบบบอกไม่ถูก วิถชี าวบ้านที่เป็ นกันเอง ที่แ หลมสิง ห์ จ.จัน ทบุรี, ตกหมึก ดู พ ระอาทิต ย์จ มไปในทะเลที่เ กาะช้า ง, ขีเ่ ลียบหาดทีเ่ งียบสงบจนสุดชายแดนกัมพูชาทีบ่ า้ นคลองใหญ่ จ.ตราด, ลัดเลาะ สวนยางตามแนวตะเข็บชายแดนตะวันออกจนไปถึงอรัญประเทศ จ.สระแก้ว เหล่านี้ล ้วนเป็ นประสบการณ์ทเ่ี กินจินตนาการ การได้ก ระดกเบีย ร์เ ขมรกลางสายฝน หรื อ นัง่ ดู ฟ้ าผ่ า ในทะเล กลางความมืดมิด เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้มนั เป็ นความทรงจ�ำที่ ‘โคตรคูล’ ส�ำหรับผม บอกเลยว่า ผมดีใจและภูมใิ จมากทีอ่ อกเดินทางในครัง้ นี้
12
09 10 11 12
ครูล่ี ใช้ดนตรีเป็นสื่อการสอน ให้เด็กๆ เรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ ที่ จ.บุรีรัมย์ นี่ชุดกันฝนนะ ไม่ได้จะไปรบ ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พี่ดิวและเด็กๆ ชาวเขา ท�ำส้มต�ำกินกันอย่างสนุกสนาน ที่ดอยอ่างขาง เด็กและสามเณร แตกต่างกันแค่สมณะแต่หัวใจไม่ต่างกัน ที่เชียงคาน จ.เลย
09
-5ยาวไปเกียร์สี่... เด้ออ้าย
เราสองคนเริ่มต้นภาคอีสานที่อรัญประเทศ จ.สระแก้ว กลิน่ รองเท้า มือสองโรงเกลือผสมกับกลิน่ รองเท้าที่ชุ่มนำ�้ มาหลายวันของเราช่างหอมหวล แบบอินดี้ส้นิ ดี! เราขีต่ รงดิง่ กระดิง่ ลันไปที ่ ่ โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง จ.บุรรี มั ย์ เพือ่ น�ำเงินบริจาคไปมอบให้เด็กๆ ทีข่ าดแคลนทางการศึกษา สาเหตุทผ่ี มเลือก โรงเรียนนี้ เพราะ ‘โรงเรียนนี้ไม่ใช่โรงเรียน’ วิชาทีส่ อนนอกเหนือจากวิชาสามัญ คือ สอนให้เด็กเรียนรู ว้ ชิ า ‘ชีวติ ’ วิชาจัดการความรู ส้ กึ ภายใน วิชาปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ท�ำยารักษาโรค สมุนไพร โดยมีดนตรีพ้นื บ้านและทุ่งนาเป็ นสือ่ กลาง ทีส่ อ่ื สารกับชาวบ้านให้เข้าใจในแนวคิดนี้ ‘ครูล’่ี ครูทม่ี คี วามคิดนอกกรอบ นอกระบบการศึกษาไทย แต่อยูใ่ นระบบ ของชีวติ จริงๆ ได้สร้างโรงเรียนที่ท �ำจากกระต๊อบริมทุ่งนาเก่าๆ ให้กลายเป็ น สถานที่ท่ีสร้างแรงบันดาลใจให้กบั เด็กๆ หลายๆ คน ให้น�ำเอาวิชาความรู ้ ทีห่ อ้ งเรียนสีเ่ หลีย่ มไม่มสี อน ไปสร้างสรรค์รูปแบบชีวติ ของตัวเอง หลังจากกางเต๊นท์นอนริมบ่อปลาที่โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เรามุ่งหน้า ขีม่ อเตอร์ไซค์เลียบล�ำน�ำ้ โขง ล�ำน�ำ้ ทีห่ ล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของชาวอีสานตัง้ แต่ จ.อุบลราชธานี ผ่าน จ.นครพนม จ.หนองคาย จ.เลย เราใช้เวลาหลายวัน และ มีความสุขกับภูมปิ ระเทศริมโขงทีแ่ ปลกตาและน่าอัศจรรย์ เช่น ทีส่ ามพันโบก จ.อุบลราชธานี ทีไ่ ด้รบั การขนานนามว่า ‘เมืองแห่งพญานาค’ เรานัง่ เมาท์ม อยกับ พี่น อ้ งชาวลาวอย่ า งออกรส พร้อ มกับ แกล ม้ สายพันธุอ์ สี านแท้ๆ คอนทราสท์กบั เบียร์ไทยขวดสีเขียวทีใ่ ต้สะพานมิตรภาพ ยามค�ำ่ คืน เราได้สนทนากับพระสงฆ์ขณะพระอาทิตย์ก�ำลังลับล�ำโขงทีเ่ มืองเก่า เชียงคาน เหล่านี้ลว้ นเป็ นภาพความงามแบบไทยๆ หัวใจลาบก้อย ทีห่ าทีไ่ หน บนโลกนี้ คงบ่มแี น่ๆ เด้อ แม่นบ่?
10
11
17
‘เป็ น วัย รุ่ น มัน ก็ เ หนื่ อ ยแบบนี้ ’ เราตัด สิน ใจว่ า เพื่อ ความปลอดภัย เราต้องทิ้งรถไว้ในป่ า แลว้ เดินเท้าเพือ่ ผ่านป่ าไปให้ถงึ ตัวโรงเรียนให้ได้ก่อนมืด การเดินทางในวันนัน้ บวกกับสัมภาระที่เราต้องแบกเป็ นเรื่องไม่งา่ ยนะจ๊ะหนู ๆ แต่พอหันไปเจอเพือ่ นทีล่ ม้ ลุกคลุกคลานไปกับเราพร้อมรอยยิ้ม ท�ำให้ผมรูส้ กึ เป็ นเด็กน้อยอีกครัง้ ความประทับใจระหว่างทางเหล่านี้ งดงามขึ้นไปอีกร้อยเท่า เมือ่ เราเดินทางมาถึงตัวโรงเรียนตอนมืดพอดี ในค�ำ่ คืนที่ ‘ทางช้างเผือก’ แวะเวียนมาเยือน ณ โรงเรียนทีแ่ สนห่างไกล ท�ำให้ผ มค้น พบความงดงามของมนุ ษ ย์ เด็ ก ๆ ที่พู ด ไทยได้ม งั ่ ไม่ ไ ด้ม งั ่ ต่างมีมารยาทที่ดีมากๆ ความน่ ารัก และความเป็ นธรรมชาติของเด็กๆ ที่น่ี ท�ำให้ผมสงสารเด็กที่กรุงเทพฯ มากกว่า ที่พ่อแม่ปล่อยให้ไอแพดไม่มหี วั ใจ เลี้ยงลูกแทน! เด็กทีแ่ ม่ปะน้อย นอกจากอาหารทีด่ ูจะขาดแคลน แต่สง่ิ อื่นๆ เขาแทบไม่ได้รูส้ กึ ขาด นัน่ เพราะเขาไม่รูว้ ่าชีวติ มันต้องมีอะไรบ้าง นอกจาก การมีชวี ติ สถานที่แห่งนี้ได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงทางจิตใจ ท�ำให้ผม อยากจะเดินทางไปช่วยเหลือเด็กๆ ทีอ่ ยู่ห่างไกล ให้มคี วามรูท้ ดั เทียมกับเด็กๆ ในเมืองบ้าง จะได้ไม่ถกู คนเมืองเอารัดเอาเปรียบ น�ำ้ ตาแห่งความสุขเอ่อขอบตาผมบางๆ ผมโคตรดีใจที่ผมได้พาตัวเอง ออกเดินทางบ้าๆ ในทริปนี้ เพราะผมได้ใช้เวลาไปกับสิง่ ทีเ่ งินซื้อไม่ได้ไปแล ้ว
12
-6สุดปลอกปลัดบอก...ที่เกียร์ห้า เจ้า
เส้นทางจากอีสานตอนเหนืออย่างเชียงคาน จ.เลย ไปสู่ประตูลา้ นนา จ.น่ าน นัน้ ค่ อนข้างไกลอยู่ และใช้เวลาอยู่บนภูเขากับทางคดเคี้ยวค่ อนข้าง ยาวนาน วันนี้เราขีเ่ หมือน ‘ไส้จะไหลมากองทีห่ วั เข่า’ กว่าจะถึงน่าน เราก็ตอ้ ง ตบคาราวบาวแดงกันไปหลายขวด ตัวเมืองน่ านนัน้ ยังคงวิถีดงั้ เดิมอยู่ มาก แต่ รอบนอกโดยเฉพาะที่ อ.บ่อเกลือ ค่อนข้างเปลีย่ นแปลงไปพอสมควร ทีพ่ กั ราคาแพงๆ ชิคๆ คูลๆ ขึ้นอย่างกะดอกเห็ดรวมตัวไปก่อม็อบ อะไรก็แพงและตามกระแสไปจนหมด ผมไม่มเี งินมากพอทีจ่ ะพักแถวๆ นี้ เลยต้องขีร่ ถไปกางเต๊นท์ท่ี ‘อุทยานแห่งชาติ ดอยภูคา’ ทีห่ ่างออกไปราวหนึ่งชัว่ โมง และก็ไม่ท �ำให้เราผิดหวังเลย ด้วยความมืดและห่างไกลเมืองใหญ่ เราได้เห็น ‘ทางช้างเผือก’ ทัง้ ฝูง พาดผ่านท้องฟ้ า ชัดระดับ 4K ได้ทีน่ ่ี นับว่าเป็ นของขวัญหัวใจส�ำหรับผมอย่างมาก! การเดินทางผ่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนนัน้ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน สะใจไบค์เกอร์ทกุ คนอยู่แล ้ว เพราะภาคเหนือนัน้ ลว้ นเป็ นเส้นทางที่มภี ูเขา อากาศ ถนน ที่หลากหลาย วัฒนธรรมที่โคตรชิค และถูกจริตสาวกสายเหนืออย่างเราๆ ประสบการณ์ทพ่ี วกเราได้นอนบนกรงนกยูงและขีม่ า้ ใน อ.พร้าว ได้คุย กับฝรัง่ จนเมือ่ ยมือกว่าจะรูเ้ รื่องที่ อ.ปาย ได้ขม่ี อเตอร์ไซค์พชิ ติ กี่พนั โค้งก็ไม่รู ้ จนปวดท้องขี้ทแ่ี ม่ฮ่องสอน เทียบไม่ได้กบั หมืน่ ๆ โค้งทีผ่ มขีม่ ารอบประเทศ แต่ ทุก ทางตรงยาวๆ และทุก โค้ง ยากๆ ล ว้ นแต่ เ ป็ น ส่ ว นประกอบ ให้การเดินทางในชีวติ ของทุกคนนัน้ สมบูรณ์ ทีภ่ าคเหนือเราเลือกโรงเรียนแม่ปะน้อย โรงเรียนทีล่ กึ สุดในผืนป่ าแม่เงา อ.สบเมย เราท้าทายตัวเองด้วยระยะทาง 30 กิโลเมตรในป่ ากับการขีม่ อเตอร์ไซค์ ที่คุ ณ ครู ด อยบอกว่ า ‘ยัง บ่ มีบิก๊ ไบค์เ คยขึ้น ไปถึง ’ ผมเองก็ ใ กล จ้ ะขี่ร ถ มารอบประเทศแล ้ว คิดว่าความท้าทายแค่น้ ี ‘ธรรมดา’ ว่ะไอ้ทดิ แต่พอขีเ่ ข้าจริง ‘เช็ดเป็ ด’ สกิลล์เทพซีอสุ อย่างเราก็เอาตัวแทบไม่รอด เพียงเนินแรกทีโ่ คตรชัน ผสมกับ ขี้โ คลนแบบหนัง หมู ช่ ว งปลายฝน ท�ำให้พ วกเราล ม้ ระเนระนาด เหมือนโดนเด็กช่างกลรุมกระทืบ แถมรถน็อคไปซะงัน้ 2 คัน เหลือผมคนเดียว ทีร่ อดชีวติ จากสถาบันช่างกลแม่ปะน้อย (ฮ่าๆ)
13
14
18
15
12 เมืองปายยังพอมีมุมสงบๆ อยู่อีกเยอะให้เราได้พักใจ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 13 มาแป๊บเดียวลูกหลานเต็มไปหมด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 14 คนเราอยู่สูงกว่าหมาก็แค่ตอนยืน ทุกสิ่งล้วนมีคุณค่าของมัน ่ อแค่มก 15-17 ชีวต ิ เรียบง่ายกลางป่าของเด็กๆ และชาวบ้าน ทีข ี น ิ ก็เพียงพอ ทีแ่ ม่ปะน้อย สบเมย
-7ถอนเกียร์มอเตอร์ไซค์... เข้าเกียร์ความทรงจ�ำ
ตลอดระยะทาง 9,000 กว่ากิโลเมตร 36 วันรอบขอบประเทศไทย ผมได้พบเจอสิง่ ต่างๆ มากมายจริงๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็ น การได้นงั ่ สนทนากับ ผูก้ ารเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เกี่ยวกับปัญหาโจรใต้แบบลึกซึ้ง, การได้สนับสนุน ให้เด็กๆ ทัง้ ไทยพุทธ มุสลิม และเด็กพิการ ได้เล่นกีฬาร่วมกัน เป็ นเพือ่ นกัน และรักกันโดยไม่แบ่งศาสนาที่ จ.นราธิวาส, การได้เห็นคุณครูทน่ี �ำพาวิถพี อเพียง มาสอนเด็กๆ แบบไม่สนกระทรวงศึกษาธิการ และเราได้สนับสนุนแนวคิดนัน้ ที่ จ.บุรรี มั ย์, การได้เห็นเด็กๆ ทีห่ ่างไกลความเจริญ ยังมีครูทอ่ี ทุ ศิ ตน ยังมี การศึกษา ยังมีกนิ ยังมีชวี ติ บนแผ่นดินไทย ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เรื่องราวสุดพิเศษเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นแน่ๆ ถ้าเราคิด แลว้ ไม่ลงมือท�ำ ผมเองได้รบั แรงบันดาลใจจากสิง่ ทีผ่ มพบเจอมา และได้ถา่ ยทอดแรงบันดาลใจ ให้กบั คุณผูอ้ ่านไปแล ้วครับ ‘จงใช้เงินในสิง่ ทีเ่ งินซื้อได้ และใช้เวลาในสิง่ ทีเ่ งินซื้อไม่ได้’
16
ขอขอบคุณ : รอยัล เอนฟิลด์ ส�ำหรับมอเตอร์ไซค์ท่ด ี ี / แสงชัยไลท์ต้ง ิ ส�ำหรับ แผงโซล่าเซลล์ท่แี ม่ปะน้อย / ทุกๆ คนที่ช่วยอุดหนุนเสื้อเพื่อเด็กๆ / เกด เดียว พี่ดิว เต้ แอร์ พี่ๆ ชุมพรที่ร่วมเดินทาง / ครูล่ี ครูขลุ่ย ครูศรีนวล ที่อุทิศตัว เพื่อเด็กๆ / และทุกๆ คนที่เกี่ยวข้อง ‘ผมบอกไม่ได้ว่ามันคืออะไร คุณต้องออกเดินทางในแบบของคุณเอง’ ้ มได้คน และวันนีผ ้ พบความหมายของการเดินทางในชีวต ิ ของผมแล้วครับ
17
รักทุกคนครับ 19
T R I P
DREAM DESTINATIONS สะเมิ ง - กั ล ย า ณิ วั ฒ น า - ปา ย เรื่อง / ภาพ : อธิชา
ถ้าพู ดถึงการเดินทางไปปาย สิง ื ่ ทีไ่ ม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คอ ‘โค้งวัดใจ’ ความคิดแรกที่ลอยเข้ามาในหัวหลังจากที่รู้ว่า ตั ว เ อ ง ต้ อ ง ไ ป อ อ ก ท ริ ป ที่ มี อ� ำ เ ภ อ ป า ย เ ป็ น จุ ด ห ม า ย ป ล า ย ท า ง คือต้องเมารถแน่นอน ยาแก้เมาต้องมี! ถุงอ้วกต้องมา! เป็นสิง ่ าดไม่ได้ในทุกครัง ้ รถตูก ้ ร็ ส ู้ ก ึ ว่า ้ ทีไ่ ป แค่กา้ วเท้าขึน ่ ทีข จะเมารถแล้ว แต่เมื่อได้รับมอบหมายมา ใจต้องสู้กันหน่อย!
การเดินทางในครัง้ นี้ เราได้ร่วมทริป ‘Media Fam Trip เทีย่ วเก๋ไก๋... สไตล์เชียงใหม่’ ที่จดั โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงาน เชียงใหม่ โดยเราเป็ นตัวแทนของ HIP Magazine ไปออกทริปพร้อมกับ
พี่ๆ สื่อมวลชนเชียงใหม่อีกกว่าสิบคน กับการเดินทางด้วยรถตูบ้ นเส้นทาง ‘Romantic Road’ สะเมิง - กัลยาณิ วฒั นา - ปาย ต้องบอกก่ อนเลยว่า เป็ นทริปทีป่ ระทับใจมาก! จะมีอะไรน่าสนใจบนเส้นทางนี้บา้ ง ไปดูกนั เลย!
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่
หางดง - สะเมิง
จุดหมายแรกเรามากันที่ ‘อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่’ ทีใ่ นตอนนี้ ก�ำลังมีเทศกาลชมสวน Flora Festival 2018 - 2019 ‘เสน่หด์ นิ แดนสิบแสนนา’ (จนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์) ให้ได้สมั ผัสวัฒนธรรมด้านภาษา อาหาร งานศิลป์ ถิ่นธรรมชาติ กลิน่ อายความเป็ นลา้ นนา และถ่ายรู ปสวยๆ ชมสวนดอกไม้ หลากหลายสายพันธุท์ ร่ี วบรวมมาไว้ทน่ี ่ี เดินทางต่อมาอีกไม่นานก่อนเข้าสู่ตวั อ�ำเภอสะเมิง ผ่านไร่สตรอเบอรี่ ทีเ่ รียงรายชวนให้แวะตลอดทัง้ สองข้างทาง เราเลือกแวะเก็บสตรอเบอรี่กนั ชิลๆ ทีไ่ ร่ ‘นภ - ภูผา’ การเดินทางมาก็งา่ ยๆ ถ้ามาจากอ�ำเภอเมือง ผ่านศูนย์วจิ ยั ข้าวสะเมิง มาประมาณ 2 กิโลเมตร สังเกตป้ ายขวามือให้เลี้ยวเข้ามาอีก 200 เมตร ทีน่ ่ี ไม่ได้มเี พียงสตรอเบอรีใ่ ห้เราเดินเก็บเท่านัน้ แต่ยงั มีเครือ่ งดืม่ อาหาร และบริการ ห้องพักอีกด้วย เอาเป็ นว่าไม่ตอ้ งเดินทางไกลก็สามารถมาสัมผัสกับบรรยากาศ ของธรรมชาติแบบสบายๆ ทีล่ ้อมรอบไปด้วยป่ าเขาได้ครบในทีเ่ ดียว
ไร่ ‘นภ - ภูผา’ 20
จุดชมวิวแม่แดดน้อย
กัลยาณิวัฒนา
ส�ำหรับคืนวันแรก เรามาพักรับออกซิเจนกันที่ ‘FIO Watchan’ (ป่ าสนวัดจันทร์ อ.อ.ป.) โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ สถานทีพ่ กั ผ่อนในพื้นที่ ขององค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ ทีเ่ ขาว่ากันว่าเป็ น ‘ลิตเติ้ล ปางอุง๋ ’ โอบลอ้ ม ไปด้วยธรรมชาติในบรรยากาศเงียบสงบ และตื่นมาสูดอากาศดีๆ ในยามเช้า สัมผัสลมหนาวและหมอกขาวทีป่ กคลุมไปทัง้ ผืนป่ า ไฮไลท์ทพ่ี ลาดไม่ได้ส �ำหรับ คนทีม่ าเยือนทีน่ ่กี ค็ อื ‘อ่างเก็บนำ�้ ’ ซึง่ เป็ นจุดแลนด์มาร์คทีน่ กั ท่องเทีย่ วมักจะมา ถ่ายภาพ โดยมีแบ็คกราวด์เป็ นหมอกลอยตัวเหนืออ่างเก็บน�ำ ้ และในช่วงปลาย เดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ต้นเมเปิ้ ลของทีน่ ่ีจะเปลีย่ นเป็ นสีแดงส้ม สวยงาม รับประกันว่าทุกคนทีม่ าต้องประทับใจอย่างแน่นอน เราเก็บสัมภาระออกเดินทางต่อไปยัง ‘วัดจันทร์’ วัดทีม่ ปี ระวัตศิ าสตร์ ยาวนานมากกว่า 300 ปี สักการะพระธาตุเก่าแก่ ชมความงามของพระอุโบสถ ทีส่ ร้างด้วยไม้สกั ทองทัง้ หลัง และความโดดเด่นทีไ่ ม่เหมือนใครของพระอุโบสถ อายุกว่า 80 ปี ทีม่ ลี กั ษณะคล ้ายกับคนใส่แว่นตา เพราะในตอนแรกช่างตัง้ ใจ เจาะช่องด้านหน้าบริเวณจัว่ เพือ่ ให้มแี สงสว่างส่องผ่านเข้ามาภายในพระอุโบสถ โดยตัง้ ใจออกแบบให้เหมือนกับดวงตา ในตอนแรกตรงจุดนี้ไม่ได้มกี ระจก แต่ดว้ ยทางวัดกลัวว่าทรัพย์สนิ ในพระอุโบสถจะสูญหาย จึงน�ำกระจกกรองแสง มาติด ท�ำให้ได้ช่อื ว่าเป็ น ‘พระอุโบสถแว่นตาด�ำ’ หรือ ‘วิหารเรย์แบน’
วัดจันทร์
FIO Watchan (ป่าสนวัดจันทร์ อ.อ.ป.)
ปาย
มาปายครัง้ นี้ยาแก้เมารถเอาซะอยู่หมัด ก่อนเข้าตัวอ�ำเภอปาย เรามาแวะ กันที่ ‘น�ำ้ พุรอ้ นริมทาง บ้านเหมืองแร่ ’ ซึ่งอยู่ห่างจากอ�ำเภอปายประมาณ 15 กิโลเมตร และเพิง่ เกิดการระเบิดตัวเป็ นนำ�้ พุรอ้ นเมือ่ ปี 2556 ความพิเศษ ของที่น่ี ก็ คื อ น�ำ้ พุร อ้ นแห่ ง นี้ จ ะมีก ลิ่น ก�ำมะถัน น้อ ยกว่ า ที่อ่ืน (แต่ เ ราว่ า แทบไม่มกี ลิน่ เลยด้วยซ�ำ้ ) ใครทีผ่ ่านมาทางนี้ตอ้ งแวะถ่ายรูปและต้มไข่กนั ก่อน แม่คา้ ก็ใจดีเป็ นกันเอง แถมวิวทีน่ ่สี วยมาก ถึงเป็ นแค่จดุ พักทางผ่าน แต่ขอบอก เลยว่าต้องลองแวะสักครัง้ จากนัน้ มากินนมชมฟาร์มที่ ‘Romance Farm’ คาเฟ่ สไตล์คนั ทรี่ บนพื้นทีก่ ว่า 100 ไร่ ทีม่ ที ่งุ หญ้ากว้างใหญ่มองเห็นภูเขาและล�ำธาร พร้อมด้วย ฟาร์มแกะ โคนม และคอกม้า ให้ความรู ส้ ึกเหมือนได้ไปเดินเล่นในชนบท แถบยุโรป ด้านเมนู อาหารก็ใช้วตั ถุดบิ โฮมเมดจากฟาร์ม 100% เหมาะแก่การ มานัง่ ชิลๆ ชมพระอาทิตย์ตกดิน พร้อมเก็บภาพความประทับใจกลับบ้าน พอตกดึกก็ได้เวลาไปทีง่ าน JIVE Garden 13 เพือ่ ‘ออกไปไจฟ์ ชวี ติ ให้สนุ ก’ ต้องบอกก่อนเลยว่าเป็ นครัง้ แรกที่ได้มา พอลงรถมาก็ตอ้ งตกใจกับ ความยิง่ ใหญ่ของงาน และคนทีม่ างานกันเยอะจริงๆ ยิง่ ดึกก็ยง่ิ หนาว เลยต้อง สร้างความอบอุ่นให้กบั ร่างกายด้วยการเต้น! ไม่ว่าจะไปเวทีไหนก็มนั จัดเต็ม ทุกเวที เรียกว่าได้ไจฟ์ชวี ติ อย่างสนุกทัง้ คืน และทีแ่ น่ๆ ปีหน้าไม่พลาดอย่างแน่นอน! การเดินทางในครัง้ นี้ ต้องขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงานเชียงใหม่ และพีๆ่ สือ่ มวลชนเชียงใหม่ ทีส่ ร้างสีสนั ความสนุก และดูแลเป็ นอย่างดีตลอดทัง้ ทริป แถมยังได้เก็บความทรงจ�ำดีๆ พร้อมกับ ประสบการณ์ใหม่ๆ กลับบ้านไปแบบเต็มอิม่ จริงๆ 21
B I K E
S P E C I A L
CYCLING SHIMANAMI 2018 สองป่ ว น – ปั่ น - ญี่ ปุ่ น
(PART 2)
( ภ า ค 2 : วั นจ ริ ง )
เรื่อง / ภาพ : 55 Cycling Club www.facebook.com/55CyclingClub/
พยากรณ์อากาศที่ญี่ปุ่นไม่เคยพลาดเลยสั กครั้ง! ฟ้าใส กลิ่นทะเลพั ดโชยมา ถนนที่ไหล่ทางกว้างๆ นี่แหละ วันที่เราไฝ่ฝันก็มาถึง! วันที่เราจะปั่นเส้ นทางที่เขาว่า เป็นสรวงสวรรค์แห่งจักรยาน ที่อย่างน้อยนักปั่นควรมาสั มผัสสั กครั้ง ระยะทาง 70 กิโลเมตร เป็นความยาวที่ไม่ไกลไม่ใกล้เกินไป และเส้ นทางของเรานั้นพาดข้าม ทะเลเซโต้ ผ่าน 6 เกาะ และ 6 สะพาน
ใช่ครับ นัน่ คือเส้นทาง Shimanami-Kaido นัน่ เองครับ โดยวันนี้เราจะเดินทางจากเมือง Onomichi ไปยังเมือง Imabari แลว้ ปัน่ ย้อนกลับไปนอนพักที่เกาะ Oshima ทีเ่ ป็ นทีอ่ ยู่ของเกสต์เฮาส์เรา ส่วนวันงาน Cycling Shimanami 2018 เราจะปัน่ ในเส้นทางยอดนิยม อย่าง Course D ทีป่ นั ่ จากเมือง Imabari มาจนถึงเมือง Onomichi 22
Tips:
แต่ ล ะเกาะที่ ไ ปทั้ ง 6 เกาะ มีร้านสะดวกซื้ออยู่บ้างนะครับ ตามทาง ที่เราปั่น แต่ละเกาะจะเจออยู่ 1 - 3 ร้าน ซึง ่ ส่วนตัวผม แนะน�ำให้หาของกินติดตัว ไปหน่อยครับ ข้าวปั้นสาหร่ายสัก 1 - 2 ชิน ้ ก็ได้ครับ เผือ ่ ว่าหิวตอนกลางทาง ส่วนน�ำ้ ถ้ า ไม่ ไ ด้ ติ ด น�้ ำ หวานอะไรไป ก็ กิ น จาก กระติกเอา พกไปกระติกเดียวก็พอ
เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
ตื่นเช้ามาราวเจ็ดโมง เราก็รีบอาบน�ำ ้ และแต่งชุดจักรยานแบบจัดเต็ม พร้อ มกับ เสื้ อ กัน ลมที่ พ กมาจากเมื อ งไทย พร้อ มกระเป๋ าเป้ ใบน้อ ยๆ พกชุดจักรยานและของต่างๆ ทีส่ �ำคัญส�ำหรับจะไปนอนทีเ่ กาะ (ส่วนของอื่นๆ และกล่อ งจัก รยาน ก็ จ ะทิ้ง ไว้ท่ี Onomichi U2 ก่ อ น แล ว้ ค่ อ ยมาเอา) พอออกมาได้ไ ม่น าน รู เ้ ลยว่า ที่น่ี ห นาวมากครับ เลยต้อ งถอยกลับ ไปซื้อ Arm Warmer ที่ Giant Shop มาคู่นึง ราคาโหดกว่าเมืองไทย! จากนัน้ การทีจ่ ะเริ่มปัน่ เราต้องนัง่ เรือ Ferry จากฝัง่ Onomichi ไปยัง เกาะข้างๆ ทีช่ ่อื ว่าเกาะ Mukaishima สนนราคาค่าตัวที ๋ ่ 110 เยนต่อคนครับ (ราคารวมจักรยานแลว้ ) พอเรือจอดก็เดินตามชาวบ้านเขาออกจากท่า จากนัน้ ให้มองดูทพ่ี ้นื นะครับ จะมีเส้นสีฟ้าตีคู่กบั เส้นสีขาวไหล่ทาง ซึง่ นัน่ คือเส้นทาง Shimanami-Kaido ที่จะพาเราไปเมือง Imabari ครับ เราก็เริ่มต้นจาก เจ้าเส้นนี้เลย ง่ายมาก
ยินดีต้อนรับสู่ Shimanami Kaido
Tips:
เส้นทางที่เขาขีดสีฟา้ ที่ถนนไว้ เป็นเส้นทางทีเ่ ป็น Recommend Route ระยะทาง 70 กิโลเมตร แต่จริงๆ แล้ว เส้นทางนีย ้ ง ั มีทางระดับ Intermediate และแบบ Advance ซ่อนอยู่ด้วย
เราจะขึ้นไปได้ยงั ไง แต่จริงๆ แล ้ว ไม่ยากเลยครับ เพราะพอถึงจุดขึ้นสะพาน มันจะมีป้ายบอกให้เราเลี้ยวครับ พอเราเลี้ยวก็จะเจอลักษณะเหมือนทางขึ้นเขา ซึ่งทางก็ไม่ได้ชนั มากนะ สู งสุ ดราวๆ 5% เท่านัน้ แลว้ เส้นทางนี้ส่วนมาก เป็ นเส้นทางของจักรยาน บางช่ วงเป็ นวันเวย์ บางช่ วงมีสวนกัน (บางช่ วง ก็มมี อเตอร์ไซค์มาใช้ถนนร่ วมด้วยนะ) ปี นเขาขึ้นไปไม่นานก็ถงึ สะพานแรก แลว้ ครับ ชื่อสะพาน Innoshima (ชื่อเหมือนเกาะถัดไปเลย) ทางจักรยาน ของสะพานนี้จะอยู่ขา้ งใต้ของสะพานหลัก โดยเราจะใช้ทางร่วมกับจักรยานยนต์ สองข้างจะถูกกัน้ ด้วยลูกกรงนะครับ ซึ่งผมว่าเป็ นสะพานที่สวยงามและเสียว น้อยทีส่ ุด สะพานนี้ยาวประมาณ 1 กิโลเมตรครับ
ช่วงแรกจะเริ่มปัน่ ในเมืองบนเกาะ Mukaishima เมืองทีน่ ่ีจะออกแนว เล็กมากๆ เป็ นบ้านพักอาศัยกับร้านค้านิดหน่อย ส่วนรถทีน่ ่ีกข็ บั ไม่เร็วมากครับ แลว้ จะไม่ขบั มาเหยียบหรือทับเส้นสีฟ้าเลย ซึง่ ผมว่าเขาฉลาดในการวางแผน และออกแบบมากๆ เพราะไหนๆ จะสร้างสะพานก็รวดท�ำทางจักรยานเล็กๆ ให้ดว้ ย แล ้วก็ขดี เส้นสีฟ้าไปเรื่อยๆ น�ำทางไป จนถึงอีกฝัง่ นึง ลงทุนครัง้ เดียว ได้ทงั้ สะพานข้ามรถ และได้ทางจักรยานทีส่ วยๆ ด้วย ปัน่ ไปไม่น านก็อ อกจากตัว เมือ ง ไปเจอทะเลแลว้ ครับ บอกเลยว่า ลมแรงมากๆ แต่ทะเลก็สวยมากๆ เช่นกัน ทะเลบ้านเขาดูใส แต่เป็ นสีนำ�้ เงินดุๆ ไม่ค่อยมีชายหาดเท่าไหร่ครับ เราปัน่ ไปเรื่อยๆ ราวๆ 9 กิโลเมตร ก็จะมาถึง จุดทีจ่ ะพาเราขึ้นสะพานแลว้ ครับ ตอนมองจากไกลๆ ก็คิดนะว่าสะพานตัง้ สูง 23
Innoshima – Ikuchima – Omishima และพั กกลางวัน
จากสะพาน เราลงมายังเกาะ Innoshima ครับ ซึ่งผมแนะน�ำให้ปนั ่ ไปทาง Recommend ครับ (ปัน่ ไปทาง Advance แล ้วยากพอควร และทาง ค่อนข้างเปลีย่ วครับ) ซึง่ ทาง Recommend นี่เป็ นทางราบๆ ปัน่ ผ่านโซนโรงงาน ซะเยอะเลย (แต่ดูสะอาดสะอ้าน) ปัน่ ต่อไปอีกราวๆ 10 กิโลเมตร ก็ถงึ สะพาน ถัดไปครับ นัน่ คือสะพาน Ikuchi สะพานนี้ยาวแค่ 790 เมตรเท่านัน้ ซึง่ เวลาขึ้น ก็ข้นึ คล ้ายๆ กันนะครับ แต่สะพานนี้จะพาวนขึ้นไปด้านข้างสะพานแทน เราก็จะ ได้ปนั ่ เลนพิเศษข้างๆ รถยนต์ มีท่กี นั้ แยกคนละเลนชัดเจนนะ โดยจักรยาน ปัน่ สวนกันในเลนนี้ ซึง่ ผมว่าแบบไม่ตอ้ งมีลูกกรงมากัน้ นี่สวยมากๆ เลย (แม้วา่ จะเสียวกว่าหน่อยๆ) ปัน่ ไปถ่ายรูปไป ชมวิวไป จนไม่รูว้ า่ จะรีบปัน่ เร็วๆ ไปท�ำไม ต่อมาเราข้ามมายังเกาะ Ikuchima พวกเราก็เริ่มหิวและปวดห้องนำ�้ ครับ เลยแวะร้านข้างทาง เป็ นร้านขายปลาหมึกทอดแบบเทมปุระ คู่กบั นำ�้ ส้มคัน้ สด กินแลว้ สดชื่น และเติมพลังให้เราได้ดีมากๆ (ของมีช่ืออย่างนึงของหมู่เกาะ ทีท่ ะเลเซโต้คือส้มและมะนาวนะครับ สังเกตว่ามีปลูกกันเต็มสองข้างทางเลย) และที่เ กาะนี้ เ ราจะผ่ า นเมือ งท่ า ขนาดใหญ่ ท่ีมีช่ือ ว่า Setoda ที่น่ี มีร า้ นค้า ร้านอาหาร ร้านของฝาก และชายหาด ชื่อ Sunset Beach ให้เราแวะไป ถ่ายรูปเล่นได้ดว้ ย ปัน่ ไปเพลินๆ ท้องเริ่มร้องอีกครัง้ ดูเวลานี่เกือบเทีย่ งแลว้ นี่เราปัน่ มา ราวๆ 40 กิโลเมตรแลว้ แต่ไม่เหนื่อยเลย ส่วนหนึ่งเพราะอากาศเย็นสบาย เหมือนห้องแอร์ดว้ ย เอาเป็ นว่าเรารีบปัน่ ข้ามสะพาน Tatara (ซึ่งยาวเกือบ 1,500 เมตร!) เพือ่ แวะจุดพัก และกินข้าวกลางวัน หลัง จากที่เ ราไหลลงจากสะพาน Tatara มายัง เกาะ Omishima แนะน�ำว่าควรมาพักที่ Tatara Sogo Park ครับ ทีน่ ่ีนอกจากเป็ นสวนสาธารณะ สวยๆ ทีเ่ ราสามารถมองดูสะพาน Tatara จากด้านล่างได้แล ้ว ยังมีศูนย์อาหาร พิพิธ ภัณ ฑ์ และห้อ งน�ำ้ อย่ า งดี พวกเราหิว มากเลยจัด มื้อ ใหญ่ ไ ป ผมสัง่ ข้าวแกงกะหรี่หมูทอด ส่วนแฟนผมสัง่ ปลาหมึกทอดกับ Katsudon โดยรวม รสชาติดมี าก และราคาไม่แรงด้วยครับ
Tips:
ค ว า ม พิ เ ศ ษ ข อ ง ส ะ พ า น นี้ นอกจากทีจ ่ ะมุง ่ สูเ่ กาะถัดไปของเรา นัน ่ คือ เกาะ Omishima แล้ว ก็คอ ื เราจะข้ามจาก เขตเมืองโอโนมิจิ จังหวัดฮิโรชิมา ไปสูเ่ ขต เมืองอิมาบาริ จังหวัดเอฮิเมะด้วย 24
การปัน่ ทีเ่ กาะ Oshima เราปัน่ ทางทีเ่ ป็ น Recommended จากเหนือ ลงใต้ ฝ่ าเนินกลางเกาะ 2 เนินครับ ระยะทาง ราวๆ 10 กิโลเมตร (ถ้าไปทาง Intermediate หรือ Advance นี่เรียกว่าพาเราอ้อมเกาะ ระยะทางราว 15 กิโลเมตรเลย) แต่แค่ทางง่ายสุดก็ยงั เหนื่อยเหมือนกัน และกว่าจะไปถึง อีกฝัง่ ของเกาะก็ราวบ่ายสามโมงแลว้ ซึง่ จุดนี้ทอ้ งฟ้ าเริ่มครึ้มๆ แต่ววิ ทีเ่ ราเห็น จากตีนสะพาน Kurushima-Kaikyo จากด้านล่างแลว้ เห็นมันยาวไปแบบ สุดลูกหูลูกตา มันสวยงามมากๆ (ก็แน่ เพราะสะพานนี้ยาวตัง้ 4.2 กิโลเมตร) เรารีบปัน่ จักรยานเพือ่ หาทางขึ้นสะพาน ซึ่งสะพานนี้ค่อนข้างสู งมากๆ สะพานนี้เลยมีความพิเศษตรงที่มที างขึ้นผ่านทางวนๆ (แบบทางขึ้นที่จอดรถ ในห้างสรรพสินค้า) พอขึ้นไปถึง ฟี ลลิ่งแรกคือเสียวมาก ทัง้ จากความสู ง, ลมทีแ่ รงมาก, สะพานยาวมากๆ จนมองไม่เห็นปลายสะพานอีกด้าน, ทางจักรยาน ทีค่ ่อนข้างแคบ (และต้องขีส่ วนกัน), รูส้ กึ ว่ามันใกล ้กับรถยนต์ + รถก็วง่ิ เร็วด้วย แถมเวลาปัน่ บนสะพานมันจะรู ส้ ึกสัน่ ๆ นิดๆ ไม่มนั ่ คงเหมือนสะพานอื่นๆ ซึง่ พอทุกอย่างมารวมกันก็บนทอนความมั ั่ นใจในการปั ่ น่ ไปพอสมควร ผมรูส้ กึ เสียวว่าจะตกกับกลัวปลิวมากๆ แต่ตอนนี้ก็พยายามสลัดความกังวล ก้มหน้า ปัน่ ต่อไป ตัง้ เป้ าหมายทีจ่ ะถึงปลายสะพานอีกข้างให้เร็วทีส่ ุด พอถึง ปลายสะพานฝัง่ Imabari ผมรีบ ไหลลงเข้า ไปยัง เมือ งครับ เพราะจากตัวสะพานต้องเข้าไปอีกไกลพอควร เรายึดมัน่ ปัน่ ไปตามเส้นสีฟ้า จนในทีส่ ุดเราก็มาถึงจุดปลายของมัน ตรงศูนย์นกั ท่องเทีย่ วของเมือง Imabari แต่พอสังเกตดู บรรยากาศมันไม่ค่อยคึกคักอย่างที่คิดไว้เลย ไม่เหมือนตาม งานแข่งทัว่ ๆ ไป สุดท้ายเราจึงเข้าไปถามนักปัน่ ท่านอืน่ ๆ ซึง่ แกบอกว่าทีน่ ่ีไม่ใช่ ทีล่ งทะเบียน เพราะว่าเขาจัดกันที่ Shimanami Earth Land เราก็เลยต้องปัน่ ไปต่ออีกร่วมห้ากิโลเมตร!!! พอไปถึง ทีน่ ่เี ป็ นลานกว้างๆ ครับ แลดูคกึ คักมากๆ มีซมเกี ุ ้ ย่ วกับจักรยาน ละลานตาไปหมด ก่อนอืน่ เรารีบไปลงทะเบียนครับ ซึง่ นอกจากหมายเลขการแข่ง และเอกสารส�ำคัญในกระเป๋ าแลว้ ก็จะมีของดีประจ�ำเมืองต่างๆ ตามทางของ Shimanami Kaido ตัง้ แต่ผา้ ขนหนู นำ�้ มะนาว ผงแช่ตวั น�ำ้ ซอสหมักเนื้อ ผงดองขิง ฯลฯ (เยอะเกิน๊ นนนนน!!) พอเสร็จสิ้นกระบวนการทุกอย่างแลว้ เราก็ออกไปเยีย่ มชมตามซุม้ ต่างๆ สักพักบรรยากาศก็ดูครึ้มลงมากๆ พวกซุม้ ก็เริ่มปิ ดทัง้ ทีย่ งั ไม่ถงึ ห้าโมงดี แถมอากาศหนาวลงมากๆ ยิง่ กว่าอยู่ในตูเ้ ย็น ตอนทีเ่ ราปัน่ มาจากทีพ่ กั ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เราจับเวลา โดยปัน่ มาแบบไม่พกั (แถมมีลมส่งนิดๆ) ใช้เวลาประมาณ 1 ชัว่ โมง 15 นาที ดัง นัน้ ขากลับ ที่ต อ้ งปัน่ สวนลมก็ ค งใช้เ วลามากกว่ า เดิม นิ ด หน่ อ ย ราวๆ 1 ชัว่ โมงครึ่ง ก็น่าจะถึงทีพ่ กั หกโมงครึ่ง ยังไม่น่าจะมืดนะ แต่วา่ เราคิดผิดมากๆ
เกาะ Hakatajima – เกาะ Oshima – Ibamari
เราออกจาก Tatara Sogo Park ราวบ่ายโมง แล ้ววนทีเ่ กาะ Omishima แค่ ช่วงสัน้ ๆ จากนัน้ เราก็มาขึ้นสะพาน Omishima ซึ่งเป็ นสะพานทรงโค้ง ไม่เหมือนสะพานอื่น ตอนนี้ลมแรงขึ้นมากกว่าตอนเช้าจนจักรยานแทบปลิว พยากรณ์อากาศญี่ป่ ุนบอกว่าวันนี้จะมีลมแรงที่สุดในรอบเดือนเลย (หวังว่า พรุ่งนี้ลมจะไม่แรงแบบนี้นะ) พอลงสะพานก็ถงึ เกาะ Hakatajima ซึ่งก็เป็ น อีกเกาะทีเ่ ราผ่านแค่ช่วงสัน้ ๆ (แค่ประมาณ 2 กิโลเมตรเอง) เรียกว่าลงไปปัน่ ทีเ่ กาะแค่ครู่เดียวก็เตรียมขึ้นสะพานถัดไปแล ้ว ตอนนี้เวลาเกือบบ่ายสองแลว้ แต่ อากาศยังดีมากๆ ปัน่ สบายมากๆ แถมได้เห็นวิวสวยๆ นี่แทบไม่เหนื่อยเลย เรารีบขึ้นสะพาน Hakata-Oshima ทีเ่ ป็ นสะพานรองสุดท้ายของทริป สะพานนี้ยาวราวๆ 1 กิโลเมตร สุดปลายสะพาน คือเกาะ Oshima ทีเ่ ราจองเกสต์เฮาส์ไว้ครับ ทีแรกแผนการของเราจะปัน่ รวดเดียวไปรับหมายเลขการแข่งที่เมือง Imabari ก่อน แล ้วค่อยกลับมาพักทีเดียว แต่ปนั ่ ไปด้วยแบกของไปด้วยนานๆ นี่ก็ชกั เมือ่ ยไหล่ เลยขอเอาสัมภาระบางส่วนไปเก็บที่เกสต์เฮาส์ก่อน ซึ่งที่พกั ของเราในวันนี้มชี อ่ื ว่า Yadokari Guesthouse ครับ ซึง่ ตอนไปถึงเจ้าของยืนรอ ทักทายเราอยู่ ลักษณะของทีน่ ่ีเป็ นบ้านญี่ป่ นุ ชัน้ เดียวดัดแปลงมา นอนฟูกแบบญี่ป่ นุ , มีห อ้ งน�ำ้ /ห้อ งอาบน�ำ้ ใช้ด ว้ ยกัน (แต่ มีห อ้ งเดีย ว), มีค รัว และโต๊ะ นัง่ เล่น ใช้ดว้ ยกัน ส่วนจักรยานมีท่จี อดแต่อยู่นอกบ้าน (ควรมีท่ลี อ็ คเตรียมไปเอง) ทีห่ อ้ งมีปลั ๊กสามตาให้, มีฮตี เตอร์ให้ แต่ทจ่ี ะน่ากังวลหน่อยคือห้องล็อคไม่ได้ วันทีผ่ มไปมีคนพักด้วยอีก 2 ครอบครัว เป็ นคนญีป่ ่ นุ 1 ครอบครัว และคนจีน อีก 1 ครอบครัว (ซึง่ คนจีนจะไปปัน่ Course C แบบไป - กลับ 140 กิโลเมตร) คุยกันไปจนเพลิน ก็ดูโอเคนะ ทุกอย่างน่าจะดูราบรื่น จนกระทัง่ คุยกันถึงว่า พรุ่งนี้จะไปจุดปล่อยตัวอย่างไร เราก็เล่าให้ฟงั ว่า วันจริงตอนเช้ากะจะออกจากบ้านราวๆ ตี 5 แลว้ ปัน่ ไป (เนื่องจากเราเชื่อมัน่ ในความแข็งแกร่งของเรามากๆ) เจ้าของเกสต์เฮาส์ก็ท �ำหน้าตกใจแลว้ ทักว่า ตอนเช้ามันมืดและหนาวนะ ท�ำไมไม่ไปกับเราตอนเช้าล่ะ? 06:30 น. เราจะไปส่ง ทีท่ ่าเรือพร้อมกับคนจีน แลว้ เรือล�ำแรกจะออกไปตอน 7 โมง เราก็ตอบไปว่า 7 โมงนี่เขาเรียกรวมตัวแล ้ว ไปไม่ทนั แน่นอน (แล ้วทางด่วนบนเกาะก็ปิดตอน 06:00 น. ด้วยนะ) เจ้าของเกสต์เฮาส์ตกใจกว่าเดิม ท�ำหน้าเครียดๆ และพยายาม หาแผนการเดินทางอืน่ ให้ทนั เวลา เราก็ปล่อยเขาคุยและหาหนทางไป ส่วนเรา ก็ขอตัวก่อนนะ เพราะเดีย๋ วไปเอาหมายเลขไม่ทนั 25
ความเหน็บหนาวและลมทะเล
เราออกตัวกันราวๆ 17:15 น. พระอาทิตย์ตกเร็วมากๆ และเริม่ ลับขอบฟ้ า ไปราว 17:30 น. ถ้าคิดว่าปัน่ ขามาเสียวแล ้ว บอกเลยว่าขากลับเสียวกว่าเดิมมาก เพราะยิง่ ปัน่ ก็ยง่ิ มืด ทางก็มองเห็นยากขึ้น แถมอากาศเย็นและลมแรงกว่าเดิมอีก เป็ นลมต้านทีห่ นาวสะท้านเลย จนลงจากสะพานและฝ่ าเนินต่างๆ ใช้เวลาเกือบๆ 2 ชัว่ โมงเลย แถมวันพรุ่งนี้ตี 5 เราจะต้องมาเจอกับสภาพแบบนี้อกี รอบตอนปัน่ มาร่วมงาน พอถึงที่พกั ก็รีบอาบนำ �้ จอดรถไว้ขา้ งนอก และเตรียมรถกับเช็ครถ ครัง้ สุดท้ายครับ แล ้วก็มานัง่ คิดว่าพรุ่งนี้จะเอาไงดี เพราะตอนเช้าๆ น่าจะหนาว กว่านี้มากๆ แน่นอน ปัน่ ไปคงใช้เวลาไม่ตำ� ่ กว่า 2 ชัว่ โมงแน่ๆ ก�ำลังคิดเครียดๆ ฟุ้งซ่านๆ คนจีนทีพ่ กั อีกห้องก็เดินมา ขอบคุณทีท่ กั เรื่องเวลาปล่อยตัวเมือ่ เช้านะ เจ้าของเกสต์เฮาส์แกเลยแพลนว่าจะเหมารถไปส่งเราตอนเช้าทีจ่ ดุ ปล่อยตัวเลย โดยล ้อหมุนจากเกสต์เฮาส์ราวๆ ตี 5 ซึง่ ทันเวลาทางด่วนจะปิ ดตอน 6 โมงเช้า ผมตอบตกลงแบบไม่ลงั เลเลย คืนนี้หลับฝันดีละครับ (ปัน่ ไป - กลับ Onomichi รวม 140 กิโลเมตร ซึง่ เป็ นระยะไกลทีส่ ุด) และเริ่ม ปล่อย Course D ของเราตอน 08.13 น. ตรงเวลา ขบวนนักปัน่ ค่อยๆ เลือ่ น ไปเรื่อยๆ จนเห็นจุดเริ่มของเราเป็ นหน้าปากทางด่วน ข้างหน้ามีเวที และฝูงชน จ�ำนวนมาก แล ้วสัญญาณปล่อยตัวก็ดงั ขึ้นมา ช่วงเวลาแห่งการรอคอยได้มาถึงแลว้ ผมตื่นเต้นปนรูส้ กึ แปลกๆ ทีป่ นั ่ บนถนนปิ ด แบบโล่งๆ ไม่มรี ถยนต์เลย ทางด่วนก็ปิดให้ทงั้ 2 ฝัง่ (แต่เราปัน่ แค่ฝงั ่ เดียว และข้ามไปไม่ได้ดว้ ย) ออกตัวช่วงแรก คนเยอะมากและยังไม่ได้ ใส่กนั เต็มแรง (เว้นพวกกลุม่ หน้าๆ) ผมพยายามเกาะกลุม่ แล ้วค่อยๆ แซงช้าๆ พร้อมกับลากแฟนไปด้วย พยายามเร่งท�ำความเร็วแต่ได้ไม่มากนัก จากนัน้ เราผ่านอุโมงค์สนั้ ๆ พอโผล่มาอีกฝัง่ ก็เริ่มจะเห็นสะพาน Kurushima-Kaikyo ลิบๆ แลว้ ปกติเจองานแบบนี้ ผมชอบที่จะปัน่ เร็วๆ นะครับ แต่วนั นี้ไม่รู ้ จะปัน่ เร็วไปท�ำไม รางวัลก็ไม่มี แลว้ วิวแบบนี้ บรรยากาศแบบนี้ไม่ได้มที กุ วัน (สองปี มคี รัง้ ) แล ้วผมว่าเขาเตรียมงานดีมาก ถนนทีม่ รี อยต่อก็ปูผา้ ยางหนาๆ ให้ จะได้ไม่สะเทือน แถมยังมี Staff ยืนคุมเยอะมาก โค้งและโบกมือทักทายเรา ตลอดทางแทบทุก 100 เมตรเลย เราปัน่ ย้อ นทางเดิม ที่ป ัน่ มาเมื่อ วานทัง้ หมด เริ่ ม กัน ตัง้ แต่ ส ะพาน Kurashima-Kaikyo, สะพาน Hakata-Oshima, สะพาน Tatara แบบไม่ตอ้ ง
วันส�ำคัญในรอบสองปี
ผมและแฟนเตรียมตัว, เตรียมจักรยานและสัมภาระทุกอย่างพร้อมราวๆ ตี 5 นิดๆ คิดไม่ผิดที่ข้ ึนรถบรรทุกไปเพราะอากาศหนาวกว่าเมื่อวานอีก รถมารับเราตรงเวลา จากนัน้ ก็พาเราขึ้นทางด่วนไปส่งถึงจุดปล่อยตัวทันเวลา สบายๆ เราไปถึงจุดรวมพลราว 06:30 น. ซึง่ จุดนี้จะเป็ นจุดปล่อยของ Course B, C, D, E และ F ซึง่ แต่ละ Course ก็ยงั มีกลุม่ ย่อยอีกเพือ่ ไม่ให้ปล่อยตัว ทีละเยอะเกินไป (แล ้วทีน่ ่ีมบี ริการขนสัมภาระไปยังปลายทางให้นะ เราก็ฝากไป เพราะแบกปัน่ ไปเอง 70 กิโลกรัมนี่จริงๆ ก็เมือ่ ยไหล่ไม่ใช่นอ้ ย) พอจัดการ ตัวเองเสร็จทุกอย่างก็ลองดู ผูเ้ ข้าร่วมรายการปัน่ กับเราครับ ให้อารมณ์แบบ ปัน่ วัดใจหรืองานประจ�ำปี มากกว่า คนที่เข้าร่ วมมีหลากหลาย จักรยานก็มี หลากหลาย ซึง่ กล ้าพูดเลยว่า จักรยานของนักปัน่ ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ รอไปอีกสักช่วง คนก็ทยอยกันมาเยอะมากๆ จนเต็มถนน พอถึงเวลาปุ๊ บ เจ้าหน้าทีก่ ็เริ่มให้เรียงแถวเพือ่ ปล่อยตัวตามบล็อก เราก็ค่อยๆ ต่อคิว จูงรถ จักรยานไหลตามฝูงชนไปครับ ยิง่ ใกลจ้ ดุ ปล่อยตัว เสียงก็ดงั ขึ้นเรื่อยๆ ครับ ผมนี่ฮกึ เหิมมากทัง้ ทีไ่ ม่ได้ไปแข่งกะใคร หมด Course B ก็ต่อด้วย Course C 26
ลงไปที่เกาะข้างล่าง พอลงสะพาน Tatara ไปนิดหนึ่งก็ถึงจุดพักครึ่งทาง ตรงทีพ่ กั ทางด่วนบนเกาะ Ikuchima ทีจ่ ดุ นี้มที งั้ ขนม น�ำ ้ เกลือแร่ และ Signature อย่างมะนาวแบบกินเปลือกได้ (เป็ นของทีค่ นหยิบน้อยทีส่ ุด แต่ผมว่าอร่อยดี) เกาะ Ikuchima คือเกาะสุดท้าย และสะพาน Ikuchima ก็คอื สะพาน สุดท้ายทีไ่ ด้ข้นึ ทางด่วน จากนัน้ ก็ออ้ มลงจากทางด่วนทีเ่ กาะ Innoshima ครับ แอบผิดหวังนิดๆ อยากให้เราได้ปนั ่ ต่อบนทางด่วนยาวๆ จนถึง Onomichi เลย จากนัน้ เราก็ปนั ่ เส้นทางตามปกติของ Shimanami Kaido เลยครับ แต่เส้นทาง วันนี้พเิ ศษกว่าวันอื่นๆ เพราะข้างล่างเขาก็ปิดถนนให้บางส่วนนะ หรือแม้แต่ ตามสามแยก/สีแ่ ยก ก็มตี �ำรวจ/Staff คุมและคอยโบกรถให้ตลอด บรรยากาศ สองข้างทางนี่ตอ้ งบอกว่าสุดยอดมากๆๆ ชาวบ้านมีส่วนร่วมกับงานนี้ตลอดทาง ตัง้ แต่หนุ่มสาว เด็กน้อย ลุงป้ าน้าอา ออกมายืนดูกนั เต็ม โบกมือทักทายตลอด สองข้างทาง จากนัน้ เราข้ามเกาะ Innoshima ไปยังเกาะ Mukaishima ผ่านสะพาน Innoshima (ไอ้สะพานลูกกรง) จนไปถึงโรงเรียนมัธยมปลาย Mukaishima ซึง่ จุดนี้เขาให้เราเข้ามารอเพือ่ แบ่ง Group ขึ้นเรือเฟอร์ร่ี (แต่ไม่ตอ้ งจ่ายเงินแล ้ว) ข้ามไปยังเมือง Onomichi ซึง่ พอข้ามฝัง่ เสร็จ ก็ปนั ่ ตามที่ Staff โบกเรียกครับ ตัวเมืองฝัง่ Onomichi ไม่ได้ปิดถนนนะ แต่ไหล่ทางเขากว้างมากๆ จนไม่น่าจะ เป็ นปัญหา ค่ อยๆ ปัน่ มา ผ่านตัวเมือง ผ่านร้านรวงต่างๆ แลว้ เลี้ยวข้างๆ ลานโกดังเก่า จุดนี้กค็ อื เส้นชัยของ Cycling Shimanami 2018 นัน่ เองครับ!!!! ซึง่ เราถึงเส้นชัยราว 11 โมงครึ่ง ใช้เวลาปัน่ รวมพักราว 4 ชัว่ โมง (หรือถ้าไม่นบั เวลาพักก็ 3 ชัว่ โมง 30 นาที) มีปอมๆ มาเชียร์ มีช่างภาพมารอถ่ายรูป มีคน เยอะมาก มี Staff รับรถและน�ำทางเราไปที่จอดรถ มอบประกาศนียบัตร ทีพ่ ชิ ติ งานปัน่ ได้ส �ำเร็จ ส�ำหรับใครที่สนใจงานปัน่ นี้ เขาจะจัดกันอีกครัง้ ในปี 2020 นะครับ ส่วนคนที่ไม่อยากรอ ก็มาปัน่ เส้นทาง Shimanami Kaido ได้ตลอดครับ บรรยากาศใกลเ้ คียงกันครับ เป็ นหนึ่งในเส้นทางที่ผมว่าดีงาม สมกับที่ใครๆ เขาร�ำ่ ลือกันไว้จริงๆ ครับ
Tips: ทีส่ นามบิน Hiroshima ไม่มรี ถไฟไปถึงนะครับ ต้องอาศัย Shuttle Bus
ถ้าจะขึ้นที่สนามบินนี้ แนะน�ำให้ขึ้นจากเมืองฮิโรชิมาง่ายกว่าที่โอโนมิจิ หลักๆ คือ เรือ ่ งการขนจักรยานครับ เพราะ Shuttle Bus จากเมืองฮิโรชิมาใหญ่กว่าเยอะ แล้วก็มช ี อ ่ งเก็บของใต้รถ ทีย ่ ด ั กระเป๋า Move 2 ชัน ้ ได้พอดี แต่ถา้ Onomichi ต้องเอาจักรยานวางไว้ตรงทางเดิน ส่วนการขนผ่านแมวด�ำนัน ้ ท�ำไม่ได้ เพราะว่า แมวด�ำไม่มส ี าขาทีส ่ นามบินฮิโรชิมา แล้วก็ กล่อง Move มันใหญ่เกินกว่าทีบ ่ ริษัท จะรับขน (แถมถ้าเขารับ ราคาน่าจะหลักหมื่นเยน)
27
R U N
ขายไตไปวิ ง ่ Wa lt Di s n ey
World Ma rat h on We e ken d เรื่อง/ภาพ : หมออัญ สัมภาษณ์ : อาเหลียง
พู ดถึงดิสนียแ ์ ลนด์ ใครๆ ก็จะนึกถึงปราสาทในเทพนิยาย เจ้าหญิงผู้แสนเลอโฉม ตัวการ์ตูนอย่าง Micky Mouse, Minnie Mouse, Donald Duck และอื่นๆ อีกมากมายมาเป็น ขบวนพาเหรด ให้ เ ราตื่ น ตาตื่ น ใจเล่ น แต่ กั บ สาวน้ อ ย (อัญ : “เรายังถือว่าน้อยเหรอ 555”) นักวิง ่ ผูซ ้ ง ึ่ ใฝ่ฝน ั ่ คนหนึง มาตลอดกับโลกเทพนิยายแห่งนี้ เมื่อวันหนึ่งได้รู้ว่า มีงานวิ่ง ที่จัดในสวนสนุกของดิสนีย์แลนด์ มันท�ำให้หัวใจของเธอนั้น พองโต จนต้องพยายามวิ่งตามความฝันของเธอให้จงได้ RUN เล่มนี้ขอน�ำเสนอ ‘หมออัญ’ ผู้ไล่ตามความฝัน สู่ดิสนีย์เวิล์ดมาราธอน! 28
Q: ต้องขอให้แนะน�ำตัวก่อนเลยครับ
นลัทพร เดชพุทธวัจน์ ค่ ะ ชื่อเล่นชื่อ อัญ รับราชการเป็ นทันตแพทย์ อยู่โรงพยาบาลชุมชนที่อ �ำเภอพร้าว อายุ 32 ปี แต่ก่อนเป็ นนักกีฬาว่ายน�ำ ้ (ตัง้ แต่ เด็ก) แต่ มาเลิกเล่นตอนเรียนมหาวิทยาลัย แลว้ กลับมาเริ่มวิ่งอีกที ตอนปลายปี 2015 แล ้วก็ค่อยๆ จริงจังมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ A:
Q: ปกติลงงานวิ่งเยอะมั้ย?
ปี สองปี แรกลงเยอะนะ แต่หลังๆ เริม่ เบือ่ ๆ ก็เลยลงเฉพาะงานทีอ่ ยากลงจริงๆ ทีม่ นั ท้าทาย A:
Q: เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าว่า อะไรที่ท�ำให้เรามารู้จักงานวิ่งของดิสนีย์งานนี้?
ปกติเราก็ชอบอะไรแบบนี้อยู่แล ้ว อะไรทีม่ นั คิวท์ๆ แบบนี้ จนมีอยู่วนั หนึ่ง เราไปเจออินสตาแกรมของดิสนีย ์ แลว้ ปรากฏว่า อินสตราแกรมของดิสนีย ์ เขาก็โพสต์เหรียญที่เป็ นเหรียญเจ้าหญิงของดิสนีย ์ เราก็เริ่มสนใจไง ว่าอะไร ยังไง เราก็เริ่มตามข้อมูลของ Run Disney มาเรื่อยๆ ตัง้ แต่นนั้ แล ้วก็ตงั้ เป้ าว่า สักวันหนึ่งเราจะไปวิง่ งานของดิสนียใ์ ห้ได้ A:
Q: แล้วท�ำไมถึงตัดสินใจจะไปวิ่งปีนี้?
เป็ นเรื่องของวีซ่าด้วยแหละ ท�ำวีซ่าอเมริกาไว้สบิ ปี แล ้วเคยไปแค่ครัง้ เดียว เราก็ เ ลยคิด ว่า จะไปอีก สัก ครัง้ ดู ช่ ว งนัน้ เท่ า ที่ท �ำการบ้า นมา ก็ มีส องงาน ที่น่าสนใจ ก็คือ ‘Disney Princess Half Marathon Weekend’ กับ ‘Walt Disney World Marathon Weekend’ แต่เราดูช่วงเวลากับความคุม้ ค่า ในการเดินทางแล ้ว เราก็เลยเลือกงานหลัง A:
Q: ผมเคยเห็ น หมออั ญ โพสต์ รู ป เหรี ย ญ ได้ ตั้ ง 6 เหรี ย ญ แต่ ไ ปวิ่ ง แค่รายการเดียว?
จริง ๆ แล ้ว ตัว ‘Walt Disney World Marathon Weekend’ มันประกอบ ไปด้วยงานวิง่ 4 งาน และ 2 Challenge คือ วิง่ 4 วัน โดยแบ่งเป็ น 5k, 10k, Half Marathon และ Full Marathon เรียงกันไปวันละระยะ และ ถ้าวิง่ จบ ฮาล์ฟมาราธอนและฟูลมาราธอน จะได้เหรียญ Goofy และ ถ้าวิง่ ครบ 4 งานเลย จะได้เหรียญรูป Dopey (ตัวคนแคระจากเรือ่ ง Snow White) อีกเหรียญ รวมได้ 6 เหรียญ ซึง่ สองอันหลังนับเป็ น Challenge ของ Goofy และ Dopey ตามล�ำดบั A:
Q: แล้วคิดอะไรอยู่ ท�ำไมลง 4 รายการติดเลย?
เอาจริงๆ นะ ไหนๆไปแลว้ ก็ไปให้มนั สุด ก็เอาให้มนั คุม้ ดิ เราอยากได้ ทุกอัน (หัวเราะ) A:
Q: เอาจริงๆ มันไม่ได้ง่ายนะ ที่จะวิ่งได้ 4 งานติดในทุก ๆ วัน แล้วระยะก็เพิ่ ม ขึ้นมาอีกนะ มันต้องอาศัยความพยายามในระดับหนึ่งเลย
A: จริงๆ เราก็รูน ้ ะว่ามันท�ำยาก แค่ซอ้ มก็ยงั ยากเลย แต่เราตัดสินใจไปแลว้ เราก็ตอ้ งท�ำให้ได้ Q: แล้วการซ้อม หมออัญซ้อมยังไงครับ?
ก็ตอนนัน้ ลงรายการไว้ รายการ Until the Sundown น่ะ (วิง่ 70 กิโลเมตร) ก็รูส้ กึ ว่า ถ้าเราวิง่ งานนี้ได้ งานดิสนียช์ นั้ ก็ตอ้ งท�ำได้ เราสมัครงานดิสนียก์ ่อนไป Until เราก็เลยซ้อม เพือ่ ไปซ้อมทีง่ านนี้ เพือ่ ซ้อมไปงานดิสนียอ์ กี ที เอ๊ะ ท�ำไม ฟังดูงงๆ (หัวเราะ) แต่หลังๆ ก็มซี อ้ ม Back 2 Back (ซ้อมวิง่ ไกล ต่อเนื่อง) บ้าง เพราะว่าถ้าเราไม่ซอ้ มกลัวร่างกายไม่ชนิ A:
Q: แล้วที่บ้านคิดยังไงบ้าง ที่เราจะไปวิ่ง 4 วันติดแบบนี้?
(หัวเราะ) ทีแรกคิดว่าจะไปคนเดียว แต่แม่กเ็ ป็ นห่วงมาก เพราะว่าเคยเป็ น ฮีทสโตรก ตอนไปลากูน่าภูเก็ตมาราธอน ตอนนัน้ ไปกับเพือ่ น แม่ไม่ได้ไปด้วย พอบอกว่าจะไปคนเดียวแม่ก็เป็ นห่วง กลัวไม่มใี ครดูแล แม่เลยไปเป็ นเพือ่ น เราก็ตอ้ งคอยย�ำ้ กับแม่ตลอดว่า เราไปวิง่ แฟนซีนะ ไม่ตอ้ งห่วงงงง A:
Q: แล้วการเดินทางไปแข่งต่างประเทศอย่างอเมริกานี่เดินทางยากไหม?
ปกติมนั ไม่มบี นิ ตรงนะ มันต้องไปต่ออีกหลายต่อ เช่น ลงนิวยอร์คก่อน แล ้วค่อยไปออร์แลนโด้ ฟลอริดา้ (ทีต่ งั้ ของ Walt Disney World) เดินทาง ค่ อ นข้า งนานและราคาค่ อ นข้า งสู ง ทีแ รกไม่คิด ว่า ตัว๋ เครื่อ งบิน มัน จะแพง ขนาดนี้นะ แต่ เราเลือกที่จะไปแลว้ เราก็ตอ้ งเปย์เนอะ แทบจะต้องขายไต ไปวิง่ กันเลยทีเดียว (หัวเราะ) A:
Q: แล้วไปวิ่งแฟนซีจริงเหรอ?
จริงๆ การไปเทีย่ วดิสนียแ์ ลนด์ให้ครบทุกทีใ่ นโลกเป็ นความฝันของเรานะ แลว้ ไหนๆ ก็จะได้ไปวิง่ ในดิสนียท์ ่ใี หญ่ท่สี ุดในโลกแลว้ ด้วย แถมตัวการ์ตูน ก็เยอะเต็มไปหมดเลย ทีม่ าให้เราได้ถา่ ยรูปด้วยระหว่างทางทีว่ ง่ิ เราก็เลยคิดว่า จะวิง่ ไวไปท�ำไม ขอรูปสวยดีกว่า จริงมัย้ ? A:
29
Q: ไหนๆ ก็พูดถึงงานวิ่งของ ‘Walt Disney World Marathon Weekend’ มาแล้ว หมออัญช่วยอธิบายเกี่ยวกับการวิ่งทั้ง 4 แบบให้ฟง ั หน่อยครับ?
คือมันก็จะถูกแบ่งรายการออกเป็ น... 1. Walt Disney World 5k : วิง่ กันวันแรก ไม่มกี ารแข่งขัน นักวิง่ จะเยอะเป็ นพิเศษ เพราะเป็ นระยะสัน้ ๆ คนเข้าถึงง่าย ส่วนเราก็ไม่มอี ะไรมาก ไปแบบแฟนซี วันนัน้ แต่งตัวเป็ นแมวมารี ขอรูปสวยๆ แล ้วได้เหรียญ งานแรก ล่อไปชัว่ โมงกว่าๆ กับระยะ Fun Run เพราะมัวแต่ต่อแถวถ่ายรูปกับตัวการ์ตูน (จะถ่ายรูปกับตัวการ์ตูน จะต้องต่อแถวถ่ายรูป) 2. Walt Disney World 10k : ธีมทุกปี จะเป็ นเหรียญ Minnie Mouse คนก็ยงั เยอะอยู่ มีชงิ รางวัลด้วย แต่เราก็ไม่เอานะ เราตัง้ ใจแฟนซีอยู่ สูฝ้ รัง่ ไม่ได้ดว้ ยแหละ (หัวเราะ) วันนัน้ เราแต่งเป็ นเจ้าหญิง Belle จาก Beauty and the Beast ตัวการ์ตูนโปรดของเรา และไปถ่ายรูปกับตัวการ์ตูนทีร่ ูจ้ กั ตลอดทาง อันไหนไม่รูจ้ กั ไม่ควิ ท์ ก็ไม่หยุดนะ แต่การ์ตูนบางตัวแถวยาวมาก เราก็จะต้อง รอนานหน่อยเพือ่ ทีจ่ ะได้รูปคิวท์ๆ งานนี้ใช้เวลาวิง่ ไปชัว่ โมงกว่าๆ พอๆ กับระยะ Fun Run เมือ่ วานเลย (หัวเราะ) โดยสองงานแรกจะได้วง่ิ แค่ใน Kingdom เดียว จาก 4 Kingdom ชื่อว่า Epcot 3. Walt Disney World Half Marathon : คอนเส็ปท์ของเหรียญ จะเป็ น Donald Duck เราก็เลยแต่งตัวเป็ น Donald Duck ไปวิง่ วันนี้จะได้วง่ิ 2 Kingdom ซึง่ ปกติจะต้องนัง่ รถบัสหรือโมโนเรลไป แต่น่ีเราวิง่ ไปค่า เราจะได้ ผ่านจุดที่เรียกว่า Magic Kingdom ซึ่งมันจะมีปราสาทซินเดอเรลล่าตัง้ อยู่ เหมือ นกับ เป็ น แลนด์ม าร์ก ในดิส นี ย แ์ ลนด์ทุก ที่ใ นโลกเลย แล ว้ การที่เ รา ได้แต่งตัวเป็ นตัวการ์ตูนดิสนีย ์ วิง่ เข้าไปใน Magic Kingdom ได้ไปถ่ายรูป กับปราสาทตอนมืดๆ ทีม่ ไี ฟประดับทัง้ หลัง ท�ำเอาความฝันของเราถูกเติมเต็ม ไปในทันที เรียกได้ว่าฟิ นมากตอนที่ว่งิ เข้าไปแลว้ เห็นครัง้ แรก สรุปใช้เวลา ไปทัง้ หมดเกือบ 3 ชัว่ โมง เจอแดดร้อนไปพอสมควร A:
4. Walt Disney World Marathon : เป็ นงานวิง่ มาราธอน และเป็ น งานวิง่ วันสุดท้าย ปล่อยตัว 05:30 น. วันนี้จะวิง่ ผ่านสวนสนุกทัง้ 4 Kingdom รวมไปถึง ESPN Wide World of Sports Complex ด้วย ตอนแรกตัง้ เป้ า ไว้วา่ จะวิง่ สัก 5 - 6 ชัว่ โมง (คัทออฟ 7 ชัว่ โมง) คือกะจะแวะถ่ายรูปทุกจุด แต่ว่าสายๆ มาแดดมันแรงมาก เลยตัดสินใจวิง่ ให้จบเร็วขึ้น เพราะกลัวเป็ น ฮีทสโตรกอีกรอบ พยายามคุมเวลามากขึ้น (แต่ก็ยงั แวะถ่ายรูปกับตัวการ์ตูน เกือบทุกตัวอยู่ด)ี เพราะถ้าฮีทสโตรกกลับมาเล่นงานเรา จาก 6 เหรียญทีจ่ ะได้ จะเหลือ 3 เหรียญ แลว้ สิ่งที่ท �ำมาทัง้ หมดจะไร้ประโยชน์ทนั ที ตอนวิ่งก็ว่งิ ไปเรือ่ ยๆ ก็เจอตัวการ์ตูนทีเ่ รารูจ้ กั โผล่มาเรือ่ ยๆ และได้วง่ิ ผ่านสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว พร้อมกับโรงแรมของดิสนีย ์ ถนนไฮเวย์ของดิสนียเ์ อง เรื่องน�ำ้ และเกลือแร่ 30
ทุกก้าวที่เราวิ่ง มันคือความสุ ข มั น เ ป็ น เ ว ท ย์ ม น ต์ ที่ ท� ำ ใ ห้ เ ร า มีความสุขตลอดเส้นทางจริงๆ
ก็ดตี ลอดทาง มีอาสาสมัครมาช่วย แลว้ ถ้าเราได้วง่ิ ผ่านสวนสนุ กตอนช่วงที่ สวนสนุ กเปิ ดแลว้ เราก็จะได้ยนิ เสียงเชียร์จากแขกของสวนสนุ กอีกต่างหาก ฟิ นไปอีก ส่วนช่วงที่พกี ก็น่าจะช่วงกิโลเมตรที่ 35 ช่วงนัน้ แดดร้อนมาก ไม่ไหวแลว้ หมวกก็ไม่ได้ใส่ เดีย๋ วไม่เข้ากับคอสตู มที่แต่ งเป็ นสโนวไวท์ ในวันนี้ ก็เลยตัดสินใจเดินครัง้ แรกในการแข่งขันวิง่ ทางถนนทัง้ หมดในชีวติ (ฟังไม่ผดิ ครับ หมออัญไม่เคยเดินในระหว่างการแข่งขันเลยสักครัง้ เดียว) แต่เดินได้แป๊ บเดียวเท่านัน้ แหละ ก็มฝี รัง่ มาเชียร์ มาให้ก �ำลังใจตลอด ท�ำให้ เราเดินไม่ลงเลย มีก �ำลังใจวิง่ ตลอด ก็เลยวิง่ ไปได้เรือ่ ยๆ จนจบระยะมาราธอน แต่ๆๆ !! ตอนจบ เขาไม่ได้มเี สื้อ FINISHER ให้เหมือนเมืองไทยนะ มีหมวก FINISHER หูมกิ กี้เม้าส์ให้อนั นึง ส่วนเสื้อ ให้เราไปซื้อเองจ้า ทีส่ �ำคัญ มีขาย ตัง้ แต่วนั รับเบอร์วง่ิ แล ้วด้วย เรานี่ซ้อื มาใส่เปลีย่ นวันนี้เลย จะได้อนิ ... เอ้อ อีกอย่าง รูไ้ หมว่า งานนี้สามารถ Qualify ไปบอสตันได้ดว้ ยนะ ใครสนใจมาท�ำเวลาเพือ่ ทีจ่ ะไปสนามบอสตัน ก็มาลองกันได้นะ 5. Goofy’s Race and a Half Challenge : มันเป็ นชาเลนจ์อกี แบบ คือต้องจบฮาล์ฟกับฟูลมาราธอน แลว้ จะได้เหรียญ Goofy ส�ำหรับผูท้ พ่ี ชิ ติ ชาเลนจ์น้ ีได้ 6. Dopey Challenge : เป็ นชาเลนจ์ท่ีทา้ ทายที่สุดของงาน คือ ต้องวิ่งให้จบ รายการ 1 - 4 ที่กล่าวมา เพื่อที่จะได้เหรียญของ Dopey (คนแคระคนสุดท้องในเรื่องสโนวไวท์) Q: ฟังดูแล้ว อาณาจักรดิสนีย์ที่นี่ใหญ่มากเลยนะครับ
ประมาณ 25,000 เอเคอร์ เราก็เคยลองจิ้มเครื่องคิดเลขนะ มันประมาณ 100 ล ้านตารางเมตรค่ะ A:
Q: เยอะจัดเลย แล้วชอบอะไร ประทับใจอะไรมากทีส ่ ุดของการแข่งขันนีค ้ รับ?
ชอบพวกอาสาสมัคร คนเชียร์เยอะๆ นำ�้ ท่าโอเค และที่ส �ำคัญที่สุดคือ พวกตัวคาแรคเตอร์ ตัวการ์ตูนที่รอเราอยู่ขา้ งทาง สถานที่ว่งิ มันเหมือน ในจิน ตนาการ ไม่ สิ มัน เหนื อ ความคาดหมายของเราเข้า ไปอีก นี่ ม นั ทีข่ องชัน้ นนน... วิง่ ไปก็มคี วามสุขไป สนุกทีส่ ุดในชีวติ แลว้ แหละ นอกจาก นี้ หลังการแข่งขันแต่ละวัน เวลาเดินไปไหนในอาณาจักรดิสนีย ์ ไม่วา่ จะเป็ น บนรถเมล์ โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งช้อปปิ้ ง ไม่เว้นแม้กระทัง่ ในสวนสนุก แต่ละ Kingdom จะเจอแต่คนห้อยเหรียญเดินกันเต็มไปหมด แล ้วก็จะได้ยนิ แต่ค�ำว่า Congratulations บรรยากาศน่ารักดี A:
Q: แล้วอะไรที่เราไม่ชอบบ้าง ของสนามนี้?
อากาศอ่ะ อากาศตอนเช้าตอนรอปล่อยตัวหนาวมาก ลมแรง แต่พอสายๆ ก็รอ้ น ยิง่ ตอนทีว่ ง่ิ มาราธอน เขาปล่อยตัวช้าไป ร้อนมาก กลัวเป็ นฮีทสโตรก อีกอย่างก็เรื่องการเดินทาง เรามาจากเมืองไทย กว่าจะไปถึงอเมริกา ก็ใช้เวลา นานมากไปหน่อย A:
Q: ขอค�ำแนะน�ำส�ำหรับคนที่อยากไปสนามนี้หน่อยครับ?
เก็บตังค์เลยค่า เก็บเยอะๆ เลยนะ แล ้วก็ซอ้ มเยอะๆ ค่ะ
A: Q: สุดท้ายแล้ว ขอค�ำอธิบายสั้นๆ ของสนามวิ่งสนามนี้หน่อยครับ?
‘Every Mile is Magic’ มันเป็ นอย่างนัน้ จริงๆ นะ ทุกก้าวทีเ่ ราวิง่ มันคือ ความสุข มันเป็ นเวทย์มนต์ทท่ี �ำให้เรามีความสุขตลอดเส้นทางจริงๆ เป็ นไปได้ อยากให้มาลองกันเยอะๆ นะคะ A:
31