1
b side
2
b side
CONTENTS J U L Y 2 0 1 6 V o l. 1 2 N o. 1 4 1
Cover Story 04 Crazy Human Pelotons 06 Bike Interview 10 Bike Friend 13 Bike Trip 14 Bike Tips 16 Special 18 COVER STORY
BIKE FRIEND
CRAZY HUMAN PELOTONS
BIKE TRIP
BIKE INTERVIEW
BIKE TIPS
SPECIAL
04 06 10 18
COVER STORY
CRAZY HUMAN PELOTONS
BIKE INTERVIEW
SPECIAL
เมื่อ HIP Editor มีโอกาสได้ ‘ผ่าน’ โคเปนเฮเกน เมืองจักรยานเมืองหนึ่ง ของโลก งานนี้จึงไม่พลาดที่จะออกไป ดูคนปัน ่ และลงมือไปปัน ่ เทีย่ ว เพือ่ เก็บ เรื่องราวการปั่นของชาวโคเปนเฮเกน, ประสบการณ์ ก ารปั ่ น ท่ อ งเที่ ย วของ ตัวเอง และภาพสวยๆ มาฝากคนอ่าน
รู้จัก Andreas Walser กันไหม? ไม่ว่า จะรู้จักอยู่แล้ว, พอรู้จักบ้าง หรือว่า ไม่รู้จักเลย ก็อยากชวนให้อ่านเรื่องราว ของนักออกแบบคนนี้ เพราะจักรยาน ที่เขาเป็นคนออกแบบ ถึงจะไม่ใช่ชื่อฮิต ติดหู แต่เรื่องดีไซน์นั้นแสนจะสะดุดตา แถมคุณภาพยังเป็นเลิศอีกต่างหาก
‘มะตันเปิ้ล’ บก. Bike Section พา ‘มะตู ม – พี ร ะพล ชาวเชี ย งขวาง’ นักปัน ่ ชาวเชียงใหม่ดรี น ี กั กีฬาทีมชาติ ที่บรรดานักปั่นคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดี มาประเดิมคอลัมน์ใหม่ Bike Interview งานนี้ ว ่ า กั น ตั้ ง แต่ เ รื่ อ งความรั ก ใน จักรยาน ชีวิตนักกีฬาทีมชาติยันเรื่อง ความสวยความงามกันเลย!
พบกั บ เรื่ อ งราวการเดิ น ทางของ New Old Stock วงดนตรีสุดเก๋าจาก เชี ย งใหม่ ที่ มี โ อกาสได้ ไ ปบรรเลง เพลงร็อคกันถึงเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ พวกพี่ เ ขาไปกั น ยั ง ไง, งานนี้ ไ ปเล่ น ที่ไหนบ้าง, ไปเมืองจีนสนุกไหม แล้ว แฟนเพลงชาวจีนเขา ‘ร็อค’ กันแค่ไหน อยากรู้ต้องติดตาม...
digital contents www.hipthailand.net
3
b side
COVER STORY
1
ไปดูคนปั่น… และไปปั่นเที่ยว
COPENHAGEN เรื่อง/ภาพ : HIP Editor
2
3
ได้ยนิ เสียงร�ำ่ ลือเกีย่ วกับเมืองโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของ ประเทศเดนมาร์ ก ในแง่ การเป็นเมือ งหนึ่ งของโลกที่ได้ชื่ อว่ า ‘เมืองจักรยาน’ มานาน จนเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีโอกาสได้เดินทาง ‘ผ่าน’ โคเปนเฮเกน แม้ว่าจะผ่านไปแค่ 2 คืน จึงได้สัมผัสกับตัวเองเลยว่า จากเสียงร�่ำลือนั้นไม่ได้เกินเลยไป แต่อย่างใด และในแง่ของคนปัน่ จักรยาน ผมบอกกับตัวเองเลยว่า จะหาโอกาสกลับไปเที่ยวโคเปนเฮเกน แบบปั่นจักรยานชมเมือง ให้มากกว่านี้อีก (สักครั้งก็ยังดี)
4 4
b side
สัง เกตดู จ ากคนใช้จ กั รยานในเมือ ง และที่จ อดจัก รยาน ก็รูไ้ ด้เลยว่า คนที่น่ีใช้จกั รยานปัน่ กันในชีวติ ประจ�ำวันอย่างแท้จริง จักรยานทีใ่ ช้สญั จร ไม่ใช่จกั รยานน�ำ้ หนักเบา ราคาแพง ไม่ใช่จกั รยาน รุ่นใหม่สวยงาม แต่เป็ นจักรยานที่เป็ น ‘พาหนะ’ ไปไหนต่อไหนได้ ดังนัน้ ภาพแรกทีเ่ ห็นหลังจากลงรถไฟทีส่ ถานี Copenhagen Central Station จึงตืน่ ตะลึงกับทีจ่ อดจักรยานทีค่ นน�ำมาจอด เพือ่ โดยสารรถไฟ ไปยังทีต่ ่างๆ พอเดินออกมาตามถนนก็เห็นคนปัน่ จักรยานกันทัวไปหมด ่ ดูสนุก ดูสบาย และน่าถ่ายรูป เส้นทางส�ำหรับจักรยานในเมืองโคเปนเฮเกน (เท่าทีผ่ มได้เห็น) เชื่ อ มต่ อ กัน ไปทุ ก ถนน เน้น ให้ค วามสะดวกกับ คนปัน่ จัก รยาน และหลีกเลีย่ งอุบตั เิ หตุจากรถยนต์ คือ พยายามแยกถนนของจักรยาน กับรถยนต์ออกจากกันให้มากที่สุด แม้จะมีบา้ งที่บางถนนจักรยาน จะต้องลงไปใช้ท างร่ ว มกับรถยนต์ แต่ ก็ดูเหมือ นรถยนต์ในเมือง โคเปนเฮเกนจะถ้อยทีถอ้ ยอาศัยกับจักรยานเป็ นอย่างดี วันแรกทีไ่ ปถึงโคเปนเฮเกน หลังจากทีจ่ ดั การเรื่องกินและทีพ่ กั เรียบร้อย ก็เพลิดเพลินกับการเดินถ่ายรูปดูคนปัน่ จักรยานซะเป็นส่วนใหญ่ และเป้ าหมายของวันแรกทีเ่ มืองโคเปนเฮเกน นอกจาก ‘เดิน’ ส�ำรวจเมือง ก็คอื เดินไปเทีย่ วดู (ดืม่ ) ที่ Copenhagen Street Food ซึง่ มีลกั ษณะ โครงสร้างเป็ นโกดังขนาดใหญ่ มีรา้ นอาคารเครื่องดื่มแนว Street อยู่หลายร้าน และมีท่นี งั ่ ด้านนอกที่อยู่ติดกับริมน�ำ ้ ซึ่งเมือ่ ได้ไปลอง นัง่ ดื่มกินแลว้ บอกได้เลยว่าถูกใจมาก (มากขนาดที่ว่าอีกวันตัง้ ใจ กลับไปอีกรอบ... ด้วยจักรยาน)
9
10
5
6
7
8
1 ด้านนอกของ Copenhagen Street Food ในบ่ายวันแดดดี 2 นี่คือจักรยานเช่า พาหนะที่พาเราเที่ยว Copenhagen 3 ที่จอดจักรยานที่สถานี Copenhagen Central Station 4 จักรยานของใครก็ไม่รู้... สวยดี 5 ลานขายของมือสองข้างๆ ตลาด Torvehallerne ใน Copenhagen 6 เลนจักรยานและถนนส�ำหรับรถยนต์ แบ่งกันชัดเจนบนถนนใหญ่ในเมือง 7 เย็นๆ ยังมีแดด ก็ปั่นจักรยานมานั่งเล่นกัน ใครอยากดื่มอะไรก็ซื้อมา 8 ภาพที่ได้เห็นเป็นเรื่องปกติ คือคนปั่นจักรยานไปไหนมาไหนทั่วเมือง 9 ภาพที่เห็นเป็นเรื่องปกติอีกเช่นกัน คือที่จอดจักรยานไม่ค่อยจะมีพอ 10 จักรยานก็ต้องติดไฟแดงเหมือนกันนะครับ
วันทีส่ องในโคเปนเฮเกน ผมตกลงใจเช่าจักรยานจากร้านให้เช่าทีอ่ ยู่ใกล ้ๆ กับโรงแรม ทีพ่ กั (ผมพักใกลส้ ถานีรถไฟ Central Station) ในราคาค่าเช่า 100 โครนเดนมาร์กต่อวัน (ร้านเปิ ด 10 โมงเช้า และต้องคืนจักรยานก่อน 17:30 เพราะร้านจะปิ ด 6 โมงเย็น) แต่ถา้ หาก อยากจะเช่าแบบคืนวันรุ่งขึ้น ก็ตอ้ งจ่ายเพิม่ อีก 20 โครน (1 โครนเดนมาร์กคิดเป็ นเงินไทย ก็ประมาณ 5.50 บาท) การปัน่ จักรยานเพือ่ เดินทางในเมืองโคเปนเฮเกน ไม่ได้มกี ฎว่าต้องสวมหมวกจักรยาน แต่ถา้ ใครจะสวมก็ไม่ได้วา่ กัน ทีส่ ำ� คัญคือการปัน่ จักรยานบนถนนต้องรูก้ ฎ (ทีน่ ่ีขบั รถชิดขวา ปัน่ จักรยานก็ชดิ ขวาเช่นกัน) และต้องปฏิบตั ติ ามกฎ การให้สญั ญานมือเป็ นสิง่ จ�ำเป็ น ไม่วา่ จะ เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือจะชะลอ จะหยุด อีกอย่างคนที่น่ีปนั ่ จักรยานก็คือปัน่ จักรยาน ดังนัน้ จะไม่มใี ครมามัวหยุดเพือ่ ถ่ายรูปในเลนจักรยาน คือถ้าจะหยุดถ่ายรูปก็ตอ้ งหยุดออกมาถ่าย ด้านนอกเลนจักรยาน (ไม่เห็นใครปัน่ ไปเซลฟี่ ไปด้วย) และเมือ่ เช่าจักรยานได้แล ้ว ก็ได้ลองปัน่ จักรยานเทีย่ วโคเปนเฮเกนสมใจ แม้วา่ ช่วงแรก อาจจะดูงงๆ กับเส้นทางสักหน่อย ว่าจะไปทางไหนดี แล ้วจะต่อเชื่อมไปทางไหน ก็เลยได้หยุด เพือ่ ตรวจเช็คเส้นทางบ่อยหน่อย ในทีส่ ุดก็เลยเลือกทีจ่ ะปัน่ ไป Copenhagen Street Food ทีไ่ ปมาเมือ่ วาน เพราะอย่างน้อยก็พอจ�ำเส้นทางทีเ่ ดินไปเดินกลับได้ และลองปัน่ ไปเทีย่ วตลาด Torvehallerne ทีม่ ลี านขายของมือสองอยู่ใกล ้ๆ กัน ดูจากภาพทีผ่ มเก็บมาฝาก ก็พอจะเดากันได้ว่าการปัน่ จักรยานในเมืองโคเปนเฮเกนนี้ มีความสุขไม่นอ้ ย ส�ำหรับตัวผมเองก็อย่างทีบ่ อกล่ะครับ, ตัง้ ใจแล ้วว่าจะหาโอกาสกลับไปปัน่ ทีเ่ มืองนี้แบบปัน่ เทีย่ วจริงๆ จังๆ ให้ได้ ...อีกสักครัง้ ก็ยงั ดี 5
b side
CRAZY HUMAN PELOTONS 1
A TINY ‘W’
ANDREAS WALSER รับท�ำเลื่อนหิมะส�ำหรับสุนัข และจักรยานระดับโปรทัวร์ เรื่อง : 52
ไมล์ตดิ จักรยานทีภ่ าษาอังกฤษเรียกว่า Bicycle Computer นี่ เอาเข้าจริงๆ ในยุคแรกๆ มันไม่มีอะไรเข้าไปข้องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เลยซักนิดนะครับ จนกระทัง่ สองสามปีหลังมานีเ่ องทีเ่ กิดกระแสความนิยม GPS Cycling Computer ขึ้นมา เริ่มมีฟังก์ชั่นต่างๆ รวมถึง สามารถแชร์ข้อมูลบนโซเชียลเน็ตเวิร์กได้นี่แหละ มันถึงค่อยสมกับการ ถูกจัดประเภทว่าเป็นคอมพิวเตอร์ขนึ้ มาซักหน่อย (Bicycle Computer หรือ Speedometer ใช้ได้โดยมีความหมายเดียวกัน แต่เห็นว่านิยม เรียก Bicycle Computer มากกว่า เนื่องจาก Speedometer ให้ความรู้สึกไปทางหน้าปัดรถยนต์สมัยก่อนที่รูปร่างคล้ายนาฬิกา คือเป็นแป้นกลม มีตัวเลขและมีเข็มชี้ความเร็วอยู่ตรงกลางมากกว่า ล่าสุดมีโปรเจ็คท์ระดมทุนใน Kickstarter ผลิตเจ้า Speedometer หน้าตาแบบดั้งเดิมที่มีเทคโนโลยีไม่แพ้ Garmin ใครสนใจลองหาชมได้ ที่นี่เลยครับ (www.omata.com)
6
b side
ไม่น่าเชือ่ นะครับว่าใช้เวลาเพียงแค่ไม่กป่ี ี GPS Cycling Computer ซึง่ มีราคาค่อนข้างสูง ก็กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ถีบเจ้า Bicycle Computer รูปแบบเดิมๆให้กลายเป็ นของล ้าสมัยกันไปเลยทีเดียว การวัดอัตราการเต้น ของหัวใจ รอบขา ถูกให้ความส�ำคัญมากขึ้น และดูเหมือนว่าจะยังไม่หยุด อยู่เพียงเท่านี้ ตอนนี้กระแสของเครื่องวัดวัตต์จากขาจานก็เริ่มกระเพือ่ ม เข้าจู่โจมกระเป๋ าสตางค์ของนักปัน่ จักรยานระดับ Weekend Cyclist มากขึ้นเรื่อยๆ ระวังตัวกันดีๆ นะครับ ผมก็เพิง่ จะตัดสินใจไปถอย GPS Cycling Computer ยีห่ อ้ ทีฮ่ ติ กันอยู่มาได้ไม่นาน ได้แรงบันดาลใจจากพี่โหน่ งเจ้าของหนังสือ HIP นีแ่ หละครับ เห็นแกใช้แล ้วก็ดูคล่องแคล่วดี ยิง่ พอได้ฟังแกคุยเรือ่ งฮาร์ทเรท แล ้วก็แอบคิดในใจว่าเอาวะ ขูดเงินออกจากตูเ้ อทีเอ็มเรียบร้อย ก็เดินเข้า ร้านจักรยานเลย กลับบ้านมาพยายามติดตัง้ อุปกรณ์ใหม่อยู่พกั ใหญ่ๆ ก็พบว่ามันไม่ค่อยจะง่ายอย่างที่คิดไว้แฮะ ไมล์จกั รยานรุ่นเก่ าๆ น่ ะ ซื้อกลับบ้านมาติดตัง้ เองแป๊ บเดียวก็เรียบร้อย อดคิดไม่ได้ครับว่าโลกของ จักรยานมันซับซ้อนขึ้น หรือไม่ผมก็คงตกขบวนตามวัฒนธรรมจักรยาน สมัยใหม่ไปเรียบร้อยแล ้ว เอาล่ะเข้าเรื่องได้ซกั ที
เกริ่ น มานานแสนนานก็ เ พราะอยากจะให้ค ล อ้ ยตามครับ ว่ า กว่าที่จกั รยานและอุปกรณ์ต่างๆ แต่ละชิ้นจะมาอยู่กบั เราในวันนี้ ก็มี บาดเจ็บล ้มตายกันไปมาก ตลาดจักรยานมันโหดและหิน เป็นความจ�ำเป็นนะครับ ทีผ่ ู ้ผลิตแทบทุกรายต้องพัฒนา เปลีย่ นแปลง น�ำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ทุกๆ ปี ซึง่ ก็คงจะมีทงั้ ส่วนทีเ่ ป็ นนวัตกรรมใหม่ แนวคิดใหม่จริงๆ และส่วนทีใ่ ช้ การตลาดเข้ามาช่ วย แต่ ก็ไม่มีอะไรที่จะมารับประกันได้อยู่ ดีครับว่า แนวคิดหรือสินค้านัน้ จะเอาตัวรอด เข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม การปัน่ จักรยานได้ อย่างที่ผมได้เกริ่นถึง GPS Cycling Computer ไปนัน่ ละครับ ถ้ามันเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ซกั สิบปี เหล่า Weekend Cyclist ก็อาจจะติดว่ามันเป็ นสิง่ ทีเ่ กินและไม่ยอมรับก็มคี วามเป็ นไปได้ แล ้วลองมา ติดตามดูกนั นะครับว่าเจ้า GPS Speedometer หน้าตาเชยๆ อย่าง Omata จะสามารถระดมทุนผลิตออกมาจ�ำหน่ายได้หรือเปล่า ในกระแสทีไ่ มล์จกั รยาน แข่งขันกันที่ฟงั ก์ชนั ่ ที่มากขึ้นและหน้าตาอันทันสมัย แต่ธุรกิจจักรยาน ก็มคี วามพิเศษอยูห่ นึง่ อย่างครับ นัน่ คือโดยส่วนมากแล ้วผู ้ทีเ่ ริม่ เข้าสูธ่ ุรกิจนี้ มักจะเป็นคนที่ ‘บ ้า’ จักรยานมาก่อนแทบทัง้ นัน้ ดังนัน้ เราก็คงยังจะมีนวัตกรรม ทีแ่ หวกแนว หรือแนวคิดทีไ่ ม่เหมือนใครให้เห็นกันได้เรื่อยๆ แน่ๆ ครับ “We’re innovative and ahead of the game” He Says “We don’t need to change every year. That’s why models like the adrenalin were produced for nearly 17 years” - “จักรยานของเรา มีแนวคิดและนวัตกรรมที่โดดเด่นก้าวล�ำ้ น�ำหน้าไปไกลเกินมาตรฐาน ของวงการจักรยานโลกปัจจุบนั ไปเป็ นอย่างมาก... เราจึงไม่มคี วามจ�ำเป็ นใดๆ ทีจ่ ะต้องปรับเปลีย่ นรุน่ ต่างๆ เป็นประจ�ำทุกปี เหมือนทีแ่ บรนด์อน่ื ๆ ต้องท�ำกัน นี่คือเหตุผลว่าท�ำไมโมเดลอย่าง Adrenalin (MTB) ถึงสามารถคงอยู ่ในสายการผลิตมาได้ยาวนานถึง 17 ปี ” - Markus Storck นัน่ สินะครับ เวลาทีอ่ า่ นข้อมูลประชาสัมพันธ์ของจักรยานทีอ่ อกใหม่ ในแต่ ละปี ก็มกั จะได้เห็นวลีประมาณว่า “ดีท่ีสุดของ...” อยู่ บ่อยๆ แล ้วปี หน้าก็จะมีรุ่นทีด่ กี ว่าออกมาอยู่ดี Markus Storck ก็คงจะร�ำคาญ อยู่เหมือนกันครับ สวนกระแสมันซะเลย ความกลา้ คิด กลา้ ทดลอง กลา้ สวนกระแสของ Markus Storck นี่เองที่ทำ� ให้จกั รยาน Storck มีบคุ ลิกไม่เหมือนแบรนด์อน่ื ๆ แต่เรือ่ งของ Markus Storck เอาไว้พูดถึง กันในคราวต่อๆ ไปดีกว่าครับ วันนี้พดู ถึงจักรยานทีไ่ ม่ใช่แค่สวนกระแส แต่ไม่อยู่ในกระแสเลยดีกว่าครับ
2
ไม่ว่า จะเป็ น เรื่อ งของการวัด วัต ต์ วัด อัต ราการเต้น ของหัว ใจ การเลือกใช้อปุ กรณ์ต่างๆ ของ Weekend Cyclist ซึง่ เป็ นตลาดทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ของจักรยาน มันกลายเป็ นวัฒนธรรมทีย่ ากจะคาดเดาส�ำหรับเหล่าผูผ้ ลิต ในปี 1989 LOOK ผู ้ผลิตจักรยานรายใหญ่ของฝรัง่ เศสล ้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในการน�ำเสนอ LOOK MAXone อุปกรณ์วดั วัตต์สำ� หรับจักรยานตัวแรก ของโลก Mavic เองก็เคยล ้มเหลวกับระบบเกียร์อเิ ล็กทรอนิกส์ชดุ แรกของโลก อย่าง Mavic ZAP ตัง้ แต่ปี 1993 และ Mektronic ในปี 1999 ทีใ่ ช้คำ� ว่า ล ้มเหลวไม่ได้หมายความว่าทัง้ ZAP และ Mektronic มันไม่ดนี ะครับ แต่มนั ล ้มเหลวเพราะมันขายไม่ได้! ในขณะทีอ่ กี 16 ปีตอ่ มา ระบบเกียร์ไฟฟ้ า ของ Shimano Di2 ได้รับการตอบรับอย่างล ้นหลาม (ทัง้ ZAP และ Mektronic เป็ นชุดเกียร์อเิ ล็กทรอนิกส์ท่ี ‘ไร้สาย’ นะครับ จนถึงปัจจุบนั Di2 ยังใช้ สายไฟอยู่เลย) Shimano เองก็เคยน�ำเสนอจานเบี้ยว Biopace ตัง้ แต่ ปี 1983 ซึง่ ก็ไม่ถอื ว่าประสบความส�ำเร็จและเลิกผลิตไปในช่วงต้นปี 90s ก่อนทีใ่ บจานเบี้ยวของ Rotor จะมียอดขายระดับถล่มทลาย (Shimano คงไม่เจ็บปวดซักเท่ าไหร่ ครับ เพราะความจริงแลว้ แนวคิดเรื่องจาน ทีไ่ ม่กลมนี้เป็ นของ Reydel ซึง่ ผลิตใบจาน Reydel Couronne Ovale ออกมาขายตัง้ แต่ในช่วงยุคปี 70s คิดก่อน ท�ำก่อน เจ๊งก่อนไปเรียบร้อย แล ้วครับ) เดีย๋ วนะ! ผมตัง้ ใจจะเขียนถึง Walser!
3 1-3 : Walser Model.5 จาก http://vive-le-velo.blogspot.de
7
b side
Walser
Walser เป็ นชือ่ ทีเ่ ป็ นทีร่ ูจ้ กั น้อยมาก และอาจจะเป็ นแบรนด์จกั รยาน ทีเ่ ล็กทีส่ ุดในโลก (ในปี 2004 เว็บไซต์ Velonews พูดถึง Walser ว่าเป็ น One-Man Operation in Switzerland) ตัง้ แต่เริ่มก่อตัง้ Walser ผลิตจักรยานออกมาเพียง 9 รุ่น 7 ใน 9 รุ่นนี้ใช้แพลตฟอร์มเดียวกัน นัน่ หมายความว่า Walser ออกแบบเฟรมจักรยานมาแค่ 3 รุ่น แล ้วผลิตขาย มาเกือบยี่สิบปี ! และทางเดียวที่จะเป็ นเจ้าของจักรยานทัง้ 9 รุ่นของ Walser ได้คือติดต่อผ่านทางอีเมล (http://www.walser-cycles.ch ไม่มสี งซื ั ่ ้อแบบออนไลน์นะครับ เมือ่ เข้าไปทีเ่ ว็บไซต์แล ้ว แต่ละรุ่นจะมีราคา บอกไว้โดยไม่มรี ายละเอียดใดๆ ทัง้ สิ้น การสังซื ่ ้อและขอรายละเอียดท�ำได้ โดยติดต่อไปทีอ่ เี มล walser-cycle@gmx.ch เท่านัน้ ) Andreas Walser เป็ นสถาปนิกชาวสวิตเซอแลนด์ทห่ี นั หลังให้กบั งานออกแบบบ้าน เพือ่ ทดลองงานใหม่ทท่ี า้ ทายกว่า ซึง่ ก็คอื การออกแบบ จักรยาน โดยเป้ าหมายแรกของ Walser คือการออกแบบจักรยานให้กบั Michael Rich นักจักรยาน Time Trial ที่มชี ่ือเสียงของเยอรมนี หลังจากร่วมท�ำงานด้วยกันอย่างใกลช้ ิด Andreas Walser เชื่อมัน่ ว่า ถ้าจะมีจกั รยานซักคันที่ Michael Rich ยอมรับได้แล ้วละก็ จักรยานคันนัน้ ย่อมจะเป็ นจักรยานที่ดพี อส�ำหรับทุกคน และในที่สุด Michael Rich ก็ยอมรับจักรยานของ Andreas Walser และใช้มนั ลงแข่งในรายการ World Time Trial Championship ในช่วงสัปดาห์แรกของการแข่งขัน Tour de France ปี 2003 Jan Ullrich ออกสตาร์ทได้อย่างย�ำ่ แย่ ในสเตจปกติไม่มวี แ่ี ววว่า Ullrich จะเป็ นผูท้ า้ ชิงทีส่ ูสกี บั แชมป์ เก่า Lance Armstrong ได้เลย แต่เมือ่ ถึง สเตจ Time Trial สเตจแรก Jan Ullrich กลับสร้างความตื่นตะลึง ด้ว ยการชนะเข้า สู่ เ ส้น ชัย โดยท�ำ เวลาดีก ว่ า Lance Armstrong ถึงหนึ่งนาทีครึ่ง ส่งผลให้ Jan Ullrich กลับเข้าสูก่ ลุม่ ผูน้ ำ� เวลารวมอีกครัง้ และผู ้ทีช่ ว่ ยให้ Ullrich สามารถสร้างปรากฏการณ์น้ไี ด้คือ Andreas Walser และ Walser Model.3 สัญญาที่ Jan Ullrich ท�ำไว้กับทีม Bianchi ในปี นนั้ เปิ ดโอกาสให้ สามารถใช้เฟรมและอุปกรณ์ตา่ งๆ นอกเหนือจากที่ Bianchi เตรียมไว้ให้ได้ และ Jan Ullrich ก็เลือกทีจ่ ะใช้จกั รยาน Time Trial ของ Walser รุน่ Walser Model.3 ทีพ่ รางตัวอยูใ่ นสีเขียว Celeste ติดโลโก้ Bianchi ของทีม
5 4-5 : Jan Ullrich in Walser Model.3 at Tour de France 2003
Walser Model.3 ถูกออกแบบด้วยแนวคิดแบบ Minimalist ตัดทอนและเรียบง่าย แต่กลับเป็ นความเรียบง่ายทีต่ งั้ ค�ำถามกับอุปกรณ์ มาตรฐานของจักรยานในสมัยนัน้ ในหลายๆ จุด Model.3 ใช้กะโหลก ที่มแี กนกลางสัน้ เพียงแค่ 50 มิลลิเมตร และมีระยะห่างของหางหลัง เพียงแค่ 110 มิลลิเมตร นัน่ หมายความว่าผูท้ ่คี รอบครอง Model.3 ทัง้ ในอดีตหรือ Model.3 ที่ Walser ขายอยู่ในปัจจุบนั หมดโอกาสทีจ่ ะ ใช้กะโหลกและดุมลอ้ หลังทีเ่ ป็ นอุปกรณ์มาตรฐาน (กะโหลกที่ Walser คัสตอมขึน้ เพือ่ ใช้ร่วมกับเฟรมของ Walser ในปัจจุบนั ยังเป็นกะโหลกเหลีย่ ม อยู่เลยครับ ในขณะที่ผูผ้ ลิตรายอื่นๆ หันมาใช้กะโหลกกลวงมาตัง้ แต่ ช่วงประมาณปี 2005 แลว้ ส่วนลอ้ หลังมีแบรนด์สุดหรู ของเยอรมนี ทีค่ นไทยรูจ้ กั ดีอย่าง Lightweight มาผลิตลอ้ หลังให้สำ� หรับ Walser โดยเฉพาะครับ ) นอกเหนื อ จากแกนกะโหลกและแกนดุ ม ล อ้ หลัง Model.3 ของ Ullrich ยังใช้ Integrated Handlebar ทีค่ สั ตอมขึน้ เป็นพิเศษ ส�ำหรับ Model.3 โดยเฉพาะ ดูเหมือนว่า Andreas Walser ก�ำลังท้าทาย โลกอุตสาหกรรมจักรยาน เหมือนกับที่ Jan Ullrich ท้าทายผูย้ ง่ิ ใหญ่ อย่าง Lance Armstrong ในวันนัน้ ความยิง่ ใหญ่ของ Lance Armstrong ในช่วงนัน้ เปรียบเสมือน ก�ำแพงยักษ์ขนาดมหึมาส�ำหรับ Jan Ullrich ผู ท้ ่ีมกั จะถูกเรียกว่า ‘Eternal Second Behind Armstrong’ ปี 2003 นี้เองที่ Ullrich มีโอกาส ใกลเ้ คียงทีส่ ุดทีจ่ ะก้าวข้ามก�ำแพงยักษ์น้ ี หลังจากกูเ้ วลาทีเ่ สียไปในช่วง ฟอร์มไม่ดใี นช่วงแรกกลับมาได้ ช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน เวลารวมของ Ullrich ตามหลัง Lance อยู่แค่ 40 วินาที นัน่ หมายความว่าการตัดสิน แพ้ชนะในครัง้ นี้ จะตัดสินกันในสเตจสุดท้าย ทีด่ ูเหมือนจะเป็ นใจให้กบั Jan Ullrich มากกว่า เนื่องจากสเตจสุดท้ายของ Tour de France ในปี นนั้ เป็ นสเตจ Time Trial ซึง่ Jan Ullrich เอาชนะ Lance Armstrong อย่างขาดลอยมาแลว้ ในการแข่งขันช่วงแรก แต่สุดท้าย Jan Ullrich ก็ไม่สามารถคว้าโอกาสนี้เอาไว้ได้
4 8
b side
สเตจ Time Trial วันสุดท้ายของ Tour de France ปี 2003 Jan Ullrich บนจักรยาน Walser Model.3 เหลือระยะห่างจากเส้นชัย และการเป็ นแชมป์ ครัง้ แรกเพียงไม่ก่กี โิ ลเมตร ดูเหมือนกับว่าก�ำแพงยักษ์ ทีข่ วางหน้าได้พงั ทลายลงแล ้ว Ullrich ก�ำลังจะได้แชมป์ Tour de France แต่ทกุ อย่างก็หายไปในช่วงเวลาแค่วนิ าทีเดียว Jan Ullrich ลืน่ ไถลล ้มลง ทีโ่ ค้งเล็กๆ ก่อนถึงเส้นชัย ส่งผลให้ Lance Armstrong ได้แชมป์ในปี นนั้ ไปครอง และสร้างสถิตชิ นะ Tour de France เจ็ดปี ตดิ กัน หลังจากชนะ อีกสองครัง้ ในปี 2004 และ 2005 ใกลเ้ พียงแค่ฝ่ามือเอื้อม กลับคว้าเอาไว้ไม่ได้ แต่ Jan Ullrich ก็ไม่เคยถูกจดจ�ำในฐานะของ ‘ผูแ้ พ้’ วลี ‘Eternal Second Behind Armstrong’ นัน้ ถูกกล่าวขึ้นโดยมีนยั ยะถึงการต่อสูอ้ นั ดุเดือด และเปี่ ยม ไปด้วยสปิ รติ ของสองนักจักรยานผูย้ ง่ิ ใหญ่ (เป็ นทีท่ ราบกันดีว่า Lance Armstrong มีปญั หาเรือ่ งการใช้สารกระตุน้ ในภายหลัง ซึง่ Jan Ullrich เอง ก็โดนข้อกล่าวหานี้ดว้ ยเช่นกัน แต่เราจะหรีต่ าลง และลืมเรือ่ งนี้เอาไว้ซักพัก) ใน Tour de France ปี 2001 เมือ่ Ullrich ล ้มลงระหว่างการแข่งขัน Lance ไม่ยอมไปต่อ แต่กลับหยุดรอจนกระทัง่ Jan Ullrich กลับขึ้น บนจักรยานก่อนจะเริ่มแข่งขันกันต่อ ใน Tour de France ปี 2003 หลัง จาก Ullrich ท�ำเวลารวมกลับขึ้นมาอยู่ในกลุม่ ผูน้ ำ � Lance Armstrong เป็ นฝ่ ายประสบอุบตั เิ หตุท่ี Luz Ardiden ฝ่ าย Jan Ullrich ก็ปฎิเสธทีจ่ ะ ใช้โอกาสนี้ทำ� เวลารวมทิ้งห่างออกไป ทัง้ ทีถ่ า้ ท�ำเช่นนัน้ Ullrich อาจจะ สามารถเอาชนะ Lance ไปได้ โดยทีไ่ ม่ตอ้ งมาตัดสินกันทีส่ เตจสุดท้าย แต่ Jan Ullrich ก็เลือกทีจ่ ะหยุดรอ จน Lance สามารถลุกขึ้นปัน่ จักรยาน ต่อไปได้เช่นกัน
หมายเหตุ: นอกเหนือจากออกแบบจักรยานแล้ว Andreas Walser ยั ง ออกแบบ และผลิตเลือ่ นหิมะทีใ่ ช้สนุ ขั ลากในระดับ ที่ได้เหรียญรางวัลโอลิมปิกอีกด้วย
ในปี 2004 Jan Ullrich ก็ยงั ยืนยันทีจ่ ะใช้ Walser Model.3 ส�ำหรับสเตจ Time Trial แต่เปลีย่ นจากสีเขียว Celeste มาเป็ นสีชมพู เนื่องจาก Ullrich ย้ายสังกัดจากทีม Bianchi เข้าสู่ทมี T-Mobile ทีม่ ี Giant เป็ นสปอนเซอร์ และถึงแม้วา่ จะมีนกั กีฬาระดับโปรทัวร์จำ� นวนมาก เลือกใช้จกั รยานของ Walser แต่ทงั้ หมดก็ถูกเพนท์ทบั ด้วยสีและโลโก้ ของสปอนเซอร์รายอืน่ ทัง้ สิ้น แม้กระทัง่ Walser Model.3 ที่ Karin Thurig ใช้แข่งและได้แชมป์ ในรายการ World Championships ก็เป็ นเพียงแค่ จักรยานสีดำ� เรียบๆ ไม่มสี ญั ลักษ์ของ Walser แม้แต่นอ้ ย ดูเหมือนกับว่า Andreas Walser พอใจแล ้วทีจ่ ะเป็น One-Man Operation in Switzerland เกือบ 20 ปีในวงการจักรยาน Walser ยังคงเลือกทีจ่ ะซ่อนตัวอยูเ่ งียบๆ การปรับเปลีย่ นครัง้ ล่าสุดของ Walser เกิดขึ้นเมือ่ ปี 2012 ทีท่ ำ� การปรับ Integrated Handlebar รหัส Bar 4 ให้เป็ นไปตามข้อบังคับของ UCI ในส่วนของเฟรม ทุกอย่างไม่มกี ารปรับเปลีย่ นใดๆ ทัง้ สิ้น ในปี 2008 แบรนด์จกั รยาน Focus จากเยอรมนี ร่วมมือกับ Walser ผลิตเฟรม Time Trial Focus Izalco โดยยกแพลตฟอร์มเกือบทัง้ หมด มาจาก Walser Model.5 (ปรับให้ใช้กบั อุปกรณ์มาตรฐานได้ โดยไม่ตอ้ งใช้เฉพาะกับอุปกรณ์ ที่ค สั ตอมขึ้น เป็ น พิเ ศษ) จนถึง ปัจจุบนั เฟรม Time Trial ของ Focus ก็ยงั คงมีรูปร่างหน้าตาทีค่ ง ความเป็ นเอกลักษณ์ของ Walser เป็นหลักฐานที่ Andreas Walser ได้แ สดงให้เ ห็ น ว่ า คุ ณ ค่ า ของ จักรยานที่ดี ไม่ได้หมายความว่า มันต้องทันสมัยทีส่ ุดเสมอไป
Karin Thurig 2004 at World Championship
9
b side
BIKE INTERVIEW
LANNA HERO พีระพล ชาวเชียงขวาง เรื่อง: acidslapper ภาพประกอบ: Harry Hendriks, Nukul Pichayapinyo, Sirinya Siwasilprasart และแพะภูเขา
เผลอแป๊บเดียวผมก็รับหน้าที่ดูแล Bike Section มาครบ 1 ปี ความตั้งใจ แรกเริ่ม ผมวางไว้ว่า Bike Section ควรจะมีคอลัมน์สัมภาษณ์วีรบุรุษ ทางจักรยานลงเป็นประจ�ำ แต่ 1 ปีที่ผ่านมากลับมีประเด็น หัวข้อ และกระแสที่ต้อง ตามจับมากมายจนไม่สามารถผลิตบทสัมภาษณ์บุคคลบนหลังเสือเจ๋งๆ ได้มาก ตามที่คิดไว้ ฉบับนี้ในฐานะ บก. จึงมิอาจไม่ด�ำเนินแผนการที่วางไว้แต่แรกได้
ทันทีทผ่ี มตัดสินใจยกหน้ากระดาษให้กับใครทีพ่ เิ ศษสักคน ชือ่ แรกๆ ทีแ่ ผ่หราอยูใ่ นลิสต์ ก็คอื เขาคนนี้... พีระพล ชาวเชียงขวาง หรือทีใ่ นวงการจักรยานเอิ้นกันว่า ‘มะตูม’ หนุ่มหน้าใส ชาวอ�ำเภอเชียงดาวบ้านเฮาคนนี้แหละครับ นักจักรยานเสือภูเขาทีมชาติไทย ดีกรีเหรียญทอง จักรยานเสือภูเขาซีเกมส์ และอีกเพียบรางวัลการันตีความเผ็ดร้อน ผมไม่รอช้า ติดต่ อ นัดสัมภาษณ์โดยพลัน...
10
b side
มะตัน เปิ้ ล : อายุ เ ท่ า ไหร่ แ ล ว้ ? และตอนนี้ น อกจากรับ ใช้ช าติ แ ล ว้ มะตูมสังกัดสโมสรอะไรครับ? มะตูม : 30 ครับ สังกัดสโมสรทหารอากาศ Royal Thai Air Force Life And Living Bikenet Cycling Team ครับ มะตันเปิ้ ล : ส�ำหรับวงการจักรยานไทย 30 นี่ถอื ว่าหนุ่มหรือแก่? มะตูม : ค่อนปลายแล ้ว 555 แต่ถา้ ดูแลตัวเองดี ก็คงแข่งได้อกี ประมาณ 4-5 ปี ครับ มะตันเปิ้ ล : หลักๆ ตอนนี้เก็บตัวอยู่ทไ่ี หน? ขีร่ ถประเภทไหนเป็ นหลัก? ใครก�ำหนดตารางการแข่ง? มะตูม : อยูเ่ ชียงใหม่ครับ สโมสรฯ เขาจะวางให้เลยว่าตูมต้องไปงานไหนบ้าง แลว้ ก็แข่งเสือภูเขาเป็ นหน้าทีห่ ลัก และเสือหมอบเป็ นของแถมครับ 555 ถ้างานไม่ชนกัน ตูมไปหมดทุกงาน แต่ถ ้างานชนกันตูมจะเลือกเสือภูเขาครับ มะตันเปิ้ ล : แล ้วระดับทีมชาติละ่ ? มะตูม : ในย่านเอเชียนี่ถอื ว่าน้อยครับ ปี หนึ่งจะได้ไปแค่สองสามงานเอง เดีย๋ วนี้ซเี กมส์กไ็ ม่ค่อยจัดแข่งเสือภูเขาแล ้ว มะตันเปิ้ ล : อ๊ะ! ก่อนจะลึกเรือ่ งซีเกมส์ ขอย้อนกลับมาถึงประวัตขิ องมะตูมก่อน มะตูมปัน่ จักรยานครัง้ แรกเมือ่ ไหร่ครับ? ท�ำไมถึงเริ่มปัน่ ? และอีท่าไหน ถึงไปแข่ง? มะตูม : อายุประมาณ 13-14 นี่แหละครับ พอปัน่ ได้สกั พักก็เริ่มไปแข่งเลย งานเล็กๆ แถวๆ บ้านเรานี่แหละ เพือ่ นของพ่อชือ่ ว่า อาหลง (วิชยั เจริญชาติ) และพ่อพาไปปัน่ วันหยุด วันไหนมีแข่งอาก็พาไปดู พอถึงวันเกิดตูมก็เลย อ้อนพ่อ ขอแกซื้อจักรยานให้เป็ นของขวัญวันเกิด พอได้มาปุ๊ บ ก็บ ้าจักรยาน เลยครับ 555 อาหลงเป็ นคนชอบจักรยานมาก ทีบ่ ้านแกจะมีหนังสือจักรยาน เต็มไปหมด ตูมก็อาศัยอ่านหนังสือจักรยานทีบ่ า้ นแกประจ�ำ มะตันเปิ้ ล : แข่งครัง้ แรกทีไ่ หน? แล ้วเป็ นไงบ้าง? มะตูม : งานเสือภูเขาทางเรียบ ดอยติ ล�ำพูนครับ สภาพคือ... พัง! ปล่อยตัวออกไปได้ 5 กิโลเมตรขึน้ เนินวัดดอยติ โดนแซงทัง้ ขบวนเลยครับ 555 ความรูส้ กึ ตอนนัน้ ก็ไม่ได้คดิ เรื่องแพ้ชนะเลย แค่อยากไป อยากรูเ้ ฉยๆ น่ะ แต่ชอบครับ! มันท้าทายดี อาหลงก็คอยบิวท์ตลอดเลย หลังจากนัน้ ถ้าไม่ไกลเกิน ตูมก็ไปแข่งทุกงานเลย ไม่กไ็ ปออกทริปกับกลุม่ เขาไปทัว่ มะตันเปิ้ ล : แล ้วอีทา่ ไหนถึงกลายมาเป็ นนักจักรยานได้ละ่ ? เป็ นขาแรงรึยงั ? มะตูม : พออายุ 15 ก็เริ่มไปแข่งงานต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ รุ่น 15 ปี แถวภาคเหนือ ถ้าตูมไปก็เหนื่อยหน่อยนะ (พูดแบบเขินๆ) แลว้ ช่วงนัน้ งานแข่งชิงแชมป์ ประเทศไทยก็มกั มาจัดทีโ่ ซนภาคเหนือ ตูมเลยมีโอกาส ตามงานแข่งได้ มะตันเปิ้ ล : ลงแข่งงานชิงแชมป์ประเทศไทยครัง้ แรกตอนอายุ? คุณพ่อคุณแม่ สนับสนุนมัย้ ? แล ้วแบ่งเวลายังไง? มะตูม : 16 ครับ แต่ไปลงรุ่นจูเนียร์ (18) Class A เลยนะ ทีบ่ า้ นสนับสนุน มากครับ พ่อถึงกับบังคับให้ตูมซ้อมเลยล่ะ 555 เลิกเรียนปุ๊ บก็ตอ้ งซ้อม จักรยานเลย อดไปเล่นเกมกับเพือ่ นๆ 555 มะตันเปิ้ ล : ผลการแข่งชิงแชมป์ประเทศไทยครัง้ แรกเป็ นไงบ้าง? แล ้วตอนนัน้ รูส้ กึ ยังไง? มะตูม : ได้แชมป์ อนั ดับหนึ่งเลยครับ คะแนนตูมบี้มากับอันดับที่สอง แต่สนามสุดท้ายมาตัดสินที่เชียงใหม่ สนามบ้านเราเลย ช่วงนัน้ บ้ามาก ไปซ้อมทีป่ ่ าหลังสนาม 700 ปี ทกุ วัน มันมาได้เปรียบกันตอนขึ้นเขานี่แหละพี่ เด็ ก ดอยน่ ะ 555 เริ่ ม เห็ น ความต่ า งว่ า ตู ม ขึ้น เขาเก่ ง กว่ า บี้ก ัน มา แลว้ มาฉี กกันได้ตอนขึ้นเขานี่แหละ ตอนนัน้ คิดว่า... นี่เราก�ำลังจะได้ แชมป์ประเทศไทยจริงเหรอวะ? ตืน่ เต้น จะได้รับถ้วยพระราชทานจริงเหรอเนีย่ ? ได้ปีน้ ี ถ้าปี หน้าไม่ได้น่อี ายเขานะเว้ย คิดไปเรื่อยเลย มันตื่นเต้นน่ะพี่ มะตันเปิ้ ล : หลังจากทีฟ่ าดแชมป์ ไป พอกลับมาชีวติ เปลีย่ นมัย้ ? มีแมวมอง มาทาบทามมัย้ ? มะตูม : ก็ใช้ชีวติ ประจ�ำวันตามปกติ แต่ว่าซ้อมหนักขึ้นครับ ศักดิ์ศรี ค�ำ้ คอแลว้ ตื่นเช้าซ้อมก่อนไปโรงเรียน เริ่มซ้อมกับกลุม่ ขาแรงทัง้ หลายที่ รู จ้ กั พออายุ 17 ปุ๊ บก็มีคนมาทาบทามให้ไปเรียนโรงเรียนจ่ าอากาศ
ซึง่ ก็คอื การเข้าสังกัดสโมสรทหารอากาศนัน่ แหละครับ พอไปอยู่กรุงเทพฯ ก็งงๆ เพราะตู มเป็ นคนติดครอบครัว ต้องไปอยู่คนเดียวมันก็เหงาๆ พอเรียนได้ 2 ปี ก็บรรจุเป็ นทหารอากาศ เวลาซ้อมจักรยานก็นอ้ ยลง อายุกไ็ ปถึงรุ่น Open พอไปแข่งก็เจอเขี้ยวลากดินทัง้ นัน้ ผลงานก็ไม่ถอื ว่า เลวมาก แต่กไ็ ม่ดอี ย่างทีค่ ดิ แต่ยงั ป้ วนเปี้ ยนอยู่ในท็อปเท็นนะ มะตันเปิ้ ล : แล ้วท�ำอีท่าไหนถึงไปติดทีมชาติได้ละ่ ? มะตูม : พอเรียนโรงเรียนจ่าอากาศจบปุ๊ บก็เข้าประจ�ำการ ท�ำงานเป็ นทหาร สือ่ สาร เช้ามาก็เข้างานเช็คเครื่อง ถือหูฟงั อันนึงเดินตรวจ งานมันสบาย แต่ไปไหนไม่ได้ ตูมก็เลยเบือ่ มันไม่ใช่ชวี ติ ตูม เลยขอทางสโมสรออกมา เก็บตัวฝึ ก กรุงเทพฯ มันหาทีซ่ อ้ มยาก ก็เลยกลับมาเก็บตัวฝึ กอยู่เชียงใหม่ พอได้กลับมาฝึ กหนักอีกครัง้ ตูมก็เริ่มรู ส้ ึกว่าฟี ลนักแข่งมันเริ่มกลับมา เริ่มมันใจมากขึ ่ ้น ได้ไปแข่งปุ๊ บก็จดั เต็มเลย ผลงานก็ออกมาดี ทัง้ ชิงแชมป์ ประเทศไทยและกีฬากองทัพไทย ตอนนัน้ อายุประมาณ 20 ก็ถกู เรียกเข้าแคมป์ เพือ่ คัดตัวทีมชาติเตรียมไปซีเกมส์ 2007 (ไทยเป็ นเจ้าภาพ) เลย มะตันเปิ้ ล : บรรยากาศในแคมป์ เป็ นไงบ้าง? มะตูม : ตื่นเต้นสุดๆ เลยครับ ตูมเป็ นเด็กใหม่ดว้ ยไง เขาเรียกตัวมา 6 คน แต่คดั ไปแข่ง 4 คน สุดท้ายตูมก็ได้อยู่ใน 4 คนทีไ่ ด้เป็ นตัวแทนไทยไปแข่ง คืนวันก่อนแข่งนี่นอนไม่หลับเลยครับ คือมันตื่นเต้นน่ ะพี่ นักจิตวิทยา ประจ�ำทีมชาติกบ็ อกให้อ่านหนังสือไปเรือ่ ยๆ จนมันง่วง 555 ตืน่ มาก็ทำ� ตามรูทนี ทีต่ อ้ งท�ำก่อนแข่ง กิน วอร์ม ท�ำสมาธิ ประมาณนัน้ ครับ
คือพอเจออะไรมามาก คุยกับคนโน้นคนนี้ คุยกับนักจิตวิทยา อ่านหนังสือ คุยกับ นักกีฬาคนอื่นๆ มากขึ้น มันก็เริ่มเรียนรู้ ที่จะปรับวิธีคิดเหล่านั้นมาใช้ มะตันเปิ้ ล : ผลงานซีเกมส์ครัง้ แรกเป็ นไงบ้าง? มะตู ม : แข่ง ทัง้ หมด 5 รอบ พอออกตัว ปุ๊ บตู ม ก็ เ ข้า ไปอยู่ ใ นกลุ่ม 5-6 คนแรกเลย พอรอบทีส่ อง ตูมคิดว่าต้องท�ำอะไรแล ้วล่ะ ถ้าขืนปัน่ แบบนี้ ไม่ได้เหรียญแน่ ตอนนัน้ คิดว่าจะเท่ดว้ ยแหละ 555 ก็เลยดิ้นรนหาไลน์แซง มัวไปหมด ่ ได้ท่ี 5 กับที่ 20 มีค่าเท่ากัน แต่ท่ี 4 กับที่ 3 นี่ต่างกันเยอะเลยนะ มัน ต้อ ง 1-2-3 เท่ า นัน้ ! พอตะบี้ต ะบัน แซงก็ เ ลยหลุด ออกนอกไลน์ ชนใส่หนิ รถพัง! (ตีนผีหกั ) มะตันเปิ้ ล : ... (เจอซีนดราม่า! อ้าปากค้าง ตาเบิกโพลง) มะตูม : ตอนนัน้ คิดอะไรไม่ออก มันท�ำอะไรไม่ได้ จุดพิทซ่อมรถก็อยู่ไกล เกินไป ตูมเลยตัดสินใจ DNF (ออกจากการแข่งขัน) ระหว่างเดินจูงรถกลับ ก็นึกเสียดายเวลาที่เก็บตัวฝึ กซ้อมมาตัง้ หกเดือน แทบต้องทิ้งทุกอย่าง เพือ่ ทีจ่ ะมาจุดนี้ มะตัน เปิ้ ล : พี่อ ยากรู ม้ ากเลย ตู ม มีวิธีจ ดั การความคิด ตัว เองยัง ไง ในวันทีแ่ พ้น่ะ? มะตูม : มันก็เฮิรท์ นะพี่ แต่ ตูมก็คิดแบบบวกๆ ว่า มันแพ้เพราะรถ ไม่ได้แพ้เพราะตูม ก็แค่เสียใจทีไ่ ม่ได้ลองซัดให้หมดแรงน่ะ ถ้าแข่งจนจบ แล ้วแพ้ อารมณ์มนั จะจบ แพ้เพราะเราท�ำได้เท่านี้ แต่น่ยี งั ใส่ไม่สดุ แล ้วรถพัง ก็ไม่โทษตัวเองละกัน ช่างมันเถอะ มันไม่ใช่ทงั้ หมด พรุ่งนี้ก็ตอ้ งกลับมา ซ้อมอยูด่ ี ยังต้องกลับมาใช้ชวี ติ เหมือนเดิม ซีเกมส์คราวหน้าจะกลับมาใหม่!
11
b side
มะตันเปิ้ ล : การแข่งรายการใหญ่ครัง้ ต่อๆ มาล่ะ? เริ่มเก๋าแล ้ว? มะตูม : ชิงแชมป์ เอเชียนี่คือโหดมาก ระดับโลกเพียบ เอเชียนเกมส์ ตูมก็ยงั นัวเนียอยู่ในท็อปเท็นทัง้ สองงาน เก๋าเหรอ... เรียกว่าเริ่มควบคุมได้ ดีกว่าพี่ คือพอเจออะไรมามาก คุยกับคนโน้นคนนี้ คุยกับนักจิตวิทยา อ่านหนังสือ คุยกับนักกีฬาคนอืน่ ๆ มากขึ้น มันก็เริ่มเรียนรูท้ จ่ี ะปรับวิธคี ดิ เหล่านัน้ มาใช้ มะตันเปิ้ ล : ซีเกมส์ 2009 ทีล่ าวล่ะ? มะตูม : ดราม่าครับ 555 จบอันดับทีส่ าม ไทยได้ทงั้ สามคน ปรากฎว่า กฎของซี เ กมส์ก ัน การผู ก ขาดรางวัล ห้า มประเทศเดี ย วรับ ทัง้ สามเหรี ย ญ ตู มได้ท่ี 3 เขาตัดตู มออกแลว้ ดันที่ 4 ขึ้น มาแทน ก็ เ พิ่ง รู ว้ ่ า มีก ฎแบบนี้ ด ว้ ย สรุปว่าได้ท่ี 3 แต่ไม่ได้เหรียญทองแดง มะตันเปิ้ ล : ซีเกมส์ 2011 ทีอ่ นิ โดนีเซีย? มะตูม : สนามฝนตก ตูมไม่ชอบครับ 555 ตู มได้ท่ี 7 ครับ อินโดฯ ได้ท่ี 1-2-3 เหมือนเดิมครับ ที่ 3 โดนปัดเอาที่ 4 ขึ้นมาแทน ทีน้ ีเข้าใจหัวอกเพือ่ นอินโดฯ คนนัน้ เลยครับ 555 มะตันเปิ้ ล : ก็ยงั คงซ้อมหนักเหมือนเดิม? มะตูม : ใช่ครับ เป็ นนักจักรยานอาชีพแล ้ว รับเงินเดือน ต้องท�ำผลงาน ถ้าผลงานไม่ดี ก็ต ้องกลับไปเป็ นพนักงานออฟฟิ ศ 555 มะตันเปิ้ ล : แล ้วซีเกมส์ 2013 ทีพ่ ม่าล่ะ? มะตูม : อันนี้จดุ เปลีย่ นของชีวติ เลยครับ นี่ เ ป็ นครั้ ง แรกที่ ที ม ชาติ ม าเก็ บ ตั ว ทีเ่ ชียงใหม่ คือตูมชอบมาก ภูมปิ ระเทศ ภูมอิ ากาศที่คุน้ เคย แถมได้โค้ชคนใหม่ ที่มีวิธีโค้ชชิ่งแบบที่ใช้นกั กีฬาเป็ นหลัก เพราะฉะนัน้ การซ้อมจะเปลีย่ นไปตามสไตล์ ของนักกีฬาแต่ละคน ตอนนี้มนั ก็ยง่ิ เข้าทาง ตูมเลย ไปลองสนามแล ้วยิง่ ชอบ สภาพสนาม เป็นแบบทีต่ มู ถนัดเลย เปลีย่ นจากรถ 26 นิ้ว มาใช้รถ 29 นิ้ว ด้วยรู ส้ กึ ดีกบั มันมาก ก็เลยมันใจว่ ่ างานนี้มเี หรียญแน่นอน มะตันเปิ้ ล : ปรากฎว่า? มะตูม : เหรียญทองครับ! มะตันเปิ้ ล : แข่ง 6 รอบ ตูมช่วยเล่า บรรยากาศตอนนัน้ ให้ฟงั หน่อยสิ ยิง่ รอบ สุดท้ายนี่ ตอนนัน้ คิดอะไร? มะตูม : ออกตัวปุ๊ บระเบิดพลังหนีเลยครับ น�ำมาตัง้ แต่เริ่ม แต่พอมันเป็ นสนามแนว ทีต่ ูมถนัด ตูมก็เริ่มรูจ้ กั ช่วงทีจ่ ะผ่อนแรง เพือ่ พักบ้าง แต่กย็ งั รักษาระยะห่างอยู่นะ ซัดกัน 6 รอบ หนีอินโดนีเซียสองคน กว่าจะหลุดก็รอบสุดท้าย มันคือความเก๋า นัน่ แหละพี่ ตอนขึ้น เขาจัด หนัก ทุ ก เนิ น แต่ พ อตอนเรี ย บต้อ งผ่ อ น ต้องคุมให้ได้ เมือ่ ก่อนตอนเป็ นเด็กตูมจะซัดไม่ยงั้ แล ้วไปหมดแรงตอนท้าย แต่คราวนี้มนั เริม่ เข้าใจว่าต้องผ่อนแรง กินน�ำ ้ เติมเจลอาหาร มันคุมจังหวะเกม ได้แลว้ น่ ะ รอบสุดท้ายนี่ท่องอยู่ในใจอย่างเดียวเลย... “รถอย่าพังนะ” มันหลอนนะพี่ ระหว่างทางจะเจอคนรถเสีย และยางรัว่ เต็มไปหมด
มะตันเปิ้ ล : มีอะไรอยู่ในหัวตอนทีผ่ ่านเส้นชัย? มะตูม : มันว่าง มันโล่ง หายวูบไปเลยพี่ อ่าาาาาาห์ เหมือนยกภูเขาออกจากอก มะตันเปิ้ ล : หลังจากหอบเหรียญทองกลับมาชีวติ เปลีย่ นไปมัย้ ? มะตูม : นิดหน่อยครับ แต่กไ็ ม่เยอะ มันก็แค่อเี ว้นท์นงึ ทุกอย่างก็กลับเป็ นปกติ ชื่อเสียงมันไม่จรี งั ครับ มะตันเปิ้ ล : แล ้วซีเกมส์กไ็ ม่จดั แข่งเสือภูเขาอีกเลย? มะตูม : 555555555 (หัวเราะดังมาก) มะตันเปิ้ ล : ยังคุยกับอาหลงอยู่มยั้ ? มะตูม : คุยครับ คุยตลอดเลย อาหลงสอนตูม เยอะมาก คื อ ตู ม กลายเป็ น คนที่คิ ด แบบ นักกีฬาน่ะ ต้องจริงจัง มันเหมือนแข่งทุกวัน แข่งกับตัวเองน่ ะ ปัน่ ขึ้นดอยสุเทพก็บ่นว่า โคตรเหนื่อยแต่ยงั ท�ำเวลาไม่ดีเลย อาหลง ก็จะสอนให้ตูมกลับมาคิดแบบคนธรรมดา ทัว่ ไปบ้า ง เป็ น วิธีคิด ของคนที่มีค วามสุ ข กับจักรยาน มาดอยสุเทพสวยจัง อากาศดี ถ่ายรู ปวิวสิ พอตูมอยู่ในช่วงแย่ๆ ตูมก็จะ คิดถึงเรือ่ งนี้ทแ่ี กสอน ให้ปันรี ่ แล็กซ์สบายๆ บ้าง อยากไปไหนก็ไป พอเข้าใจเรือ่ งนี้แล ้วตูมรูสึ้ กว่า ตูมโตขึ้นเยอะเลย มะตันเปิ้ ล : นอกจากจักรยานแล ้ว ตูมเล่นกีฬา อะไรอย่างอืน่ บ้าง? มะตูม : ช่วงหลังนีเ่ ล่นหลายอย่างเลย แก้เลีย่ น ออกไปวิง่ ไปตีแบดมินตัน พาแฟนไปฟิ ตเนส คือมันแก้เบือ่ ด้วย แลว้ ตูมก็รูส้ กึ ว่าจักรยาน มัน เป็ น เรื่อ งที่ต อ้ งท�ำ อยู่ แ ล ว้ แต่ อ ยากใช้ กล ้ามเนื้ออืน่ ๆ บ้าง และมันก็ทำ� ให้ตูมกลับมา ปัน่ จักรยานได้ดขี ้นึ ด้วย มะตันเปิ้ ล : มีอะไรฝากถึงชาว HIP Bike Section บ้างครับ? มะตูม : ไม่วา่ จะปัน่ เพือ่ วัตถุประสงค์ไหนก็ตาม ก็ขอให้ปนั ่ อย่างมีความสุขเถอะครับ ทุกวันนี้ ตูมซ้อมหนัก แต่กย็ งั มีความสุขกับมัน เราได้ มองเห็ น อะไรตั้ง เยอะที่ พ าหนะชนิ ด อื่ น มองไม่ทนั แล ้วก็ได้สุขภาพทีด่ อี กี ด้วย มะตันเปิ้ ล : ค�ำถามสุดท้ายแล ้วครับ ท�ำไมขาวจัง? นัก จัก รยานมัน ต้อ งเป็ น น่ อ งโบ้ๆ ตัว ด�ำ ๆ ไม่ใช่เหรอ? ดูแลตัวเองยังไง? มะตู ม : ใส่ ป ลอกแขน ปลอกขาทุก ครัง้ ครีมกันแดดนี่พอกเลยครับ Night Cream – Day Cream มากันครบ ที่สำ� คัญอยู่ท่ี การพัก ผ่ อ นด้ว ย ถ้า พัก ผ่ อ นเพี ย งพอ ผิวพรรณก็สดชื่นครับ นี่แหละครับบุคคลระดับฮีโร่ ของวงการ จักรยานของเชียงใหม่ และของประเทศไทย สิง่ หนึ่งทีผ่ มสัมผัสได้จากมะตูมก็คอื ตูมเป็ นหนุ่มทีไ่ ม่ถอื ตัว ยิ้มแย้ม อัธยาศัยดี มีวนิ ยั กับการฝึ กซ้อมสูงมาก และพร้อมจะเรียนรูทุ้ กสิง่ ทุกอย่าง เพือ่ พัฒนาตัวเอง เสมอ แถมยังมีทศั นคติทด่ี กี บั การใช้ชวี ติ ซึง่ สามารถน�ำไปปรับใช้ได้กบั ทุกเรือ่ ง ในชีวติ ได้ วันนี้ผมคุยกับมะตูมแล ้วรูส้ กึ ว่าได้อะไรมากกว่าเรื่องจักรยานจริงๆ จากนี้ไปเรามาช่วยกันให้ก�ำลังใจมะตูมในการแข่งขัน ทัง้ ในระดับประเทศ และระดับ นานาชาติกนั ครับ...
12
b side
BIKE FRIEND
BIANCHI CAFE & CYCLES
S T O C K H O L M ร้านกาแฟ-ร้านอาหารของแฟน Bianchi เรื่อง/ภาพ: HIP Editor
Bianchi Café & Cycles Slottsgatan 27, Vasteras Norrlandsgatan 20, Stockholm, SWEDEN www.bianchicafecycles.com IG: bianchicafe
เดือนก่อนมีโอกาสได้ผ่านไปเที่ยวที่เมืองสต็อคโฮล์ม, สวีเดน และได้เห็นเว็บไซต์ บางเว็บที่แนะน�ำร้าน Bianchi Cafe & Cycles ประมาณว่าเป็นร้านส�ำหรับคนใช้และ คนชอบจักรยาน Bianchi ก็เลยอดแวะไปดูไม่ได้ (แม้วา่ ตัวเองจะไม่ได้ปน่ั Bianchi ก็ตาม)
ความทีส่ ต็อคโฮล์มเป็ นเมืองใหญ่ทม่ี คี นใช้จกั รยานเยอะ Bianchi Café & Cycles จึงไปตัง้ อยูใ่ จกลางเมือง ส�ำหรับคนทีไ่ ม่ได้ปนั ่ จักรยานไปอย่างเรา ก็ไปลงทีส่ ถานีรถไฟใต้ดนิ Ostermalmstorg T-bana แล ้วเดินไปอีกนิดเดียว, ทีน่ ่นี อกจากจะขายกาแฟ เครือ่ งดืม่ ขนมแล ้ว ยังมีอาหารขายอีกด้วย มีบุฟเฟ่ ตใ์ ห้เลือกหลายแบบในมื้อกลางวัน และส�ำหรับคนดื่มแอลกอฮอล์ ก็ยงั มีส่วนที่เป็ นบาร์ แยกอยู่อกี มุมหนึ่งของร้านด้วย และไม่ใช่แค่รา้ นขายเครื่องดืม่ อาหารเท่านัน้ Bianchi Café & Cycles ร้านนี้ ยังมีบริการ ครบวงจร ทัง้ แผนกเซอร์วสิ ซ่อม เปลีย่ นอะไหล่ ร้านจ�ำหน่าย ทัง้ จักรยาน และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทัง้ เสื้อผ้ารองเท้ากระเป๋ าจักรยาน เรียกว่าใครทีเ่ ป็ นแฟน Bianchi อยู่แลว้ ถ้าผ่านไปร้านนี้มโี อกาส เสียตังค์แน่นอน (ติดตาม IG ของทีน่ ่ไี ด้ท่ี bianchicafe) ส�ำหรับผมขออุดหนุนกาแฟกับขนมก็พอ... แล ้วก็ขอเก็บภาพมาฝากนักปัน่ ชาว HIP Thailand นี่ละ่ ครับ 13
b side
BIKE TRIP
CRUEL MOUNTAIN ขุนเขาไร้น�้ำใจ
ฤดู ฝนส�ำหรับนักปัน่ หลายๆ ท่านดู จะไม่ถูกกันเท่าใดนัก ออกปันเจอฝน ่ กลับมาเสือ้ ผ้าเปรอะไปด้วยโคลน รถเลอะ ตอนปันตากฝน ่ มันก็สนุกอยู่หรอก แต่พอกลับมาเจอแม่บา้ นทีย่ นื เท้าสะเอวเป็ นยักษ์ ปักหลัน่ พ่อบ้านก็ฝ่อเป็ นลูกแมวตามระเบียบ (หลักการปกครอง กิจการภายในครอบครัว) แต่สำ� หรับบางท่านกลับชื่นชอบหน้าฝน เป็ นชีวติ จิตใจ เพราะอากาศหน้าฝนช่างมีมนต์เสน่ห ์ และอีกทัง้ หมอก ที่เจอได้ในภูเขาสูง การอัดจักรยานขึ้นยอดเขาสูง ต้องใช้พลังกาย และพลัง ใจมหาศาล ร่ า งกายต้อ งการออกซิเ จนในปริ ม าณสู ง การหายใจต้องสูดให้ลกึ ๆ เพือ่ ให้ร่างกายได้รบั ออกซิเจนอย่างเต็มที่ ยิ่งช่ วงไหนเป็ นหมอกล่ะคุณเอ๊ย... มันช่ างเป็ นความรู ส้ ึกสดชื่น ในแบบที่ชาวพื้นราบหามาเปรียบไม่ได้ ถึงแม้จะเอาลาบคัว่ จิน๊ ปิ้ ง และเบียร์เย็นๆ มาแลกก็ไม่ยอม ถ้ามันไม่มากพอ!!!
เรื่อง/ภาพ: Weekend Warrior
ขึ้ น ชื่ อ เรื่ อ งมาเหมื อ นจะเป็ น คอลั ม น์ แ ม่ ไ ม้ ม วยไทย เจริ ญ ทอง เกียรติบ้านช่อง ไม่ใช่ฮะ! แต่ผมจะพาไปปั่นเที่ยวไต่เขาช่วงที่ดอยบ้านเรา ก�ำลังครึ้มๆ เขียวๆ ต่างหาก
14
b side
14
b side
ส่วนตัวส�ำหรับผม ผมชอบการปัน่ จักรยานหน้าฝนเป็ นชีวติ จิตใจ เพราะเส้นทาง ระหว่างปัน่ นัน้ ช่างสวยงามและเขียวชอุ่ม อากาศสดชื่น ถนนหนทาง ผูค้ น ต้นไม้ ธรรมชาติรอบตัวดูมชี ีวติ ชีวา มันเป็ นเสน่ หท์ ่ผี มหลงใหล ผมไม่ค่อยสนใจเรื่อง ความสกปรกของเสื้อผ้า เปื้ อนได้กซ็ กั ได้ หรือการปัน่ จักรยานลุยฝนจะท�ำให้จกั รยาน มีโอกาสเกิดสนิม ต้องมาซ่อมบ�ำรุง ส�ำหรับผมแล ้วจักรยานก็คอื พาหนะทีจ่ ะน�ำเรา ไปสู่ความสุข ดังนัน้ ใช้งานมันไปเถอะ ใช้มนั ให้คมุ ้ ค่ากับเงินทีเ่ ราเสียไป แต่สง่ิ ทีไ่ ด้ มันประเมินค่าไม่ได้ ถึงแม้จะมีเงินมหาศาลก็ใช้เงินซื้อไม่ได้อยู่ดี และเหตุผลสุดท้าย คือ ‘อยูใ่ ต้ฟ้า อย่ากลัวฝน’ ออกมาลุยฝน ให้ร่างกายได้รบั สารความสดชืน่ จากน�ำ้ ฝน เพิม่ ความมีชวี ติ ชีวาในตัวเรากันดีกว่า ในฉบับนี้ผมจะพาไปตะลุยฝนทีห่ บุ เขาไร้รกั เป็ นหุบเขาทีไ่ ร้ส้นิ ซึง่ ความปราณี เป็ นเส้นทางที่นกั ปัน่ ในเชียงใหม่เกือบทุกท่านคุน้ หู แต่นอ้ ยคนนักที่จะไปเส้นนี้ ซึง่ ปลายทางของผมวันนี้คอื ‘สะเมิง’ แต่เดีย๋ วก่อน มันไม่ใช่เส้นสะเมิงทีท่ กุ ๆ ท่านรูจ้ กั แต่มนั คือการปัน่ ลงไปถึงตัวอ�ำเภอสะเมิงเลย แล ้วปัน่ กลับทางเดิม ไม่ใช่เส้นรอบสะเมิง ทีเ่ ราคุน้ ชินกัน ผมรับประกันได้วา่ การปัน่ เส้นนี้ถงึ แม้ระยะทางจะไม่เท่าเส้นรอบสะเมิง แต่ความโหดร้ายมันมากกว่าหลายเท่านัก ว่าแล ้วเรามาเริ่มกันเลย จะเริ่มเส้นทางนี้สามารถเริ่มได้จากสองทาง คือ ทางอ�ำเภอแม่รมิ ขึ้นโป่ งแยง แล ้วลงสูต่ วั อ�ำเภอสะเมิง แต่เพือ่ ความสะใจปนโรคจิตของผม ผมขอเริม่ จากแยกสะเมิง ทางฝัง่ อ�ำเภอหางดง ปัน่ ลัดเลาะไปทางกฤษดาดอย ผ่านร้านกาแฟชื่อดัง เดอะดอย และท่าช้างฮิลล์ จุดนัดพบของเหล่านักปัน่ ผมปัน่ ผ่าน ท�ำหน้าหยิง่ ผยอง ช�ำเลืองตามอง แบบไม่หนั หน้า โดยใช้แว่นด�ำพรางสายตา พร้อมร�ำพึงในใจ “ฮึ!!” พร้อมปัน่ ผ่าน อย่างไม่แยแส นาทีนนั้ คิดว่าตัวเองเท่สดุ ละ และคิดว่าคนทีอ่ ยูใ่ นร้านกาแฟน่าจะคิดว่า พีค่ นนี้เท่จงั ไม่แวะพักด้วย สงสัยขาแรงน่าดู (มันคือความจินตนาการสมัยเด็กล ้วนๆ เชื่อว่าในสมัยเด็กเวลาเราดู ละคร เรามักจะคิดว่าตัวเรานัน้ เป็ นพระเอกเรื่องนัน้ และจินตนาการว่าเรานี้ทงั้ หล่อและเท่ ทุกสายตาต้องจับจ้องมาทีต่ วั เราเป็ นแน่แท้) ผมพุง่ ตรงสูย่ อดเจ็ดพับโดยไม่แวะพัก ผ่านศาลา 12 สิงหา จุดพักอีกหนึ่งจุด ทีส่ งิ ห์นกั ปัน่ ชอบมาแวะพักกัน ส�ำหรับผมจุดนี้เป็ นจุด Turning Point จะจอดแล ้ว วนรถกลับหรือจะไปต่ อ คือช่ วงเวลาที่ยากล�ำบากในการตัดสินใจ แต่ คราวนี้ ความตัง้ ใจผมแน่ วแน่ ต้องไปถึงตัวอ�ำเภอสะเมิงให้ได้ ผมเลือกที่จะไม่พกั เลย และไหลรถลงผ่านเจ็ดพับอย่างรวดเร็ว แล ้วไต่ภเู ขายาวๆ อีกกว่า 6 กิโลเมตรจนถึง จุดสูงสุด ช่วงนี้เมฆเริ่มจับกลุ่ม พร้อมที่จะกลันตั ่ วลงมาเป็ นเม็ดฝน ผมยักไหล่ ผมไม่ลมื ที่จะจอดรถแลว้ ปล่อยลมยางลงเล็กน้อยให้ความดันในลมยางอ่อนลง แบบไม่ใส่ใจ พร้อมกับยิ้มรับว่าตกลงมาเลย สักพักเม็ดฝนเริ่มปรอยตกลงมา พอดี เพิม่ พื้นทีห่ น้าสัมผัสระหว่างยางกับพื้นถนน ป้ องกันอุบตั เิ หตุจากถนนลืน่ กับช่ วงที่ผมไต่ สู่จุดสู งสุด ก่ อนที่จะฟรีขาลงยาว 7 กิโลเมตร สู่อำ� เภอสะเมิง ระหว่างทางลงยาวนัน้ ผมสัมผัสกับเม็ดฝนทีถ่ าโถมใส่ใบหน้า พร้อมลมเย็นๆ เป็ นความรูส้ กึ ทีด่ สี ดุ ๆ จนลืมนึกถึงไปว่าเราไหลรถลงไปไกลเท่าไหร่ นัน่ หมายความว่า ขากลับเราต้องปัน่ กลับขึ้นมาเท่านัน้ นอกจากนัน้ ยังไม่พอ ยังมียอดเจ็ดพับดักหน้า อีก 1 ลูก!!! หืยยยย… ขนลุกว่ะ! ในขณะทีใ่ นใจผมก�ำลังนึกถึงเส้นทางขากลับ โครม!!! ผมสมาธิหลุดกับทางลงอันคดเคี้ยว และลืน่ จากฝนตก ตัวผมแถบขวา หมดความรูส้ กึ ไปชัว่ ขณะจากการไถลบนพื้นถนน หลังจากได้สติกลับมา ผมตรวจ เช็คร่างกายจากการบาดเจ็บต่างๆ โชคดีทไ่ี ม่มอี ะไรร้ายแรง มีเพียงแผลถลอกทีม่ อื , ใต้ข้อศอก และหัวเข่าเท่านัน้ ถือว่ายังห่างไกลหัวใจ ผมประคองรถขึน้ มาแล ้วขึน้ ควบอีกครัง้ เพือ่ ลงไปท�ำแผล ในใจตอนนี้ผมไม่ได้กงั วลความบาดเจ็บทีเ่ กิดขึ้น แต่กำ� ลังกังวลว่า จะปัน่ กลับยังไงพร้อมกับแผลสดๆ ทีเ่ พิง่ ได้รบั มาใหม่ๆ ต่างหากล่ะ!! เอาวะ! มาเองได้กต็ อ้ งกลับเองได้ หลังจากท�ำแผลเสร็จผมตัดสินใจปัน่ กลับ เป็ นการปัน่ กลับทีส่ ดุ แสนเจ็บปวด ทรมานขัน้ สูงสุดเท่าทีเ่ คยปัน่ มา เป็ นทริปทีเ่ ส้นทาง นอกจากจะโหดร้ายแล ้ว เมือ่ ประกอบกับอุบตั เิ หตุทไ่ี ด้รับระหว่างทาง มันช่างไร้ความเมตตา และปราณี อ ย่ า งสิ้น เชิง เป็ น หุบ เขาที่ไ ร้ร กั อย่ า งที่สุ ด เส้น ทางนี้ ข อจดจ�ำ ไว้ว่า จะกลับ มาใหม่อ ย่ า งแน่ น อน และสาบานว่า จะชวนเพื่อ นมาหลายๆ คนด้ว ย ให้ทกุ คนต้องยอมรับว่าสะเมิงนัน้ เป็ นขุนเขาไร้นำ�้ ใจ!!!
15
b side
15
b side
BIKE TIPS
SIZE DOES MATTER! ‘ขนาด’ ใครว่าไม่ส�ำคัญ เรื่อง/ ภาพประกอบ: @T
คนเราเกิดมา มีหูมีตา มีปาก มีฟัน ทุกส่วนนั้น เรามี เ หมื อ นกั น แต่ ไ ม่ เ หมื อ นกั น เพราะคนเรานั้ น แตกต่างกันไป และจักรยานก็เช่นกัน! ถึงแม้จกั รยานจะมีสองลอ้ เหมือนกัน แต่ก็มหี ลายแบบ หลายรูปทรง แถมแต่ละแบบก็ยงั มีหลายขนาดอีกด้วย
16
b side
ทับศัพท์วันละสองค�ำ
เพราะสรี ร ะของคนเรามีห ลากหลาย จนแทบจะเรี ย กได้ว่ า ไม่ จ �ำ กัด แต่จกั รยานมาในขนาดทีจ่ ำ� กัด บางยีห่ อ้ มาแบบ S M L หรือเป็ น 50 เซนติเมตร, 52 เซนติเมตร, 54 เซนติเมตร ส่วนรถจักรยานเสือภูเขามีขนาดเป็น 15 นิ้ว 17 นิ้ว 19 นิ้ว
ฟิ ต ติ้ ง = การปรั บ จั ก รยาน ให้เหมาะสมกับ ‘เป้าหมาย’ ในการขี่ จักรยานของเรา ไซส์ ซิ่ ง = การเลื อ กขนาดโครง (Frame) ของจักรยาน เพื่อให้ สามารถฟิ ต ติ้ ง ได้ อ ย่ า งเหมาะสม โดยให้ มี ก าร ‘ประนี ป ระนอม (Compromise)’ ให้น้อยที่สุด บก : ต�ำแหน่งการขี่ ‘ทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ’ มันคืออัลไล! นักเขียน : ก็จะขี่เพื่ออะไรล่ะ!
Phil Burt (Team Sky)
ความงุนงงจึงเกิดขึน้ อย่างรุนแรง แล ้วเราจะรูได้อย่ ้ างไรว่า รถจักรยานขนาดไหน จะพอดีกบั สรีระของเรา จะขีจ่ กั รยานสักคันท�ำไมมันยากแบบนี้! การหาขนาดจักรยานให้เหมาะสม (Sizing) เป็ นจุดเริ่มต้นทีส่ ำ� คัญส�ำหรับ ทุกท่าน ทัง้ ชายและหญิง เพราะการเลือกจักรยานทีผ่ ดิ ขนาด ท�ำให้การปรับจักรยาน ให้เหมาะสมกับเป้ าหมายในการขีจ่ กั รยานของเรา หรือทีเ่ รียกว่า ‘ฟิ ตติ้ง (Fitting)’ ไม่สามารถท�ำได้ หรือท�ำได้แบบ ‘ประนีประนอม (Compromise)’ การเลือกขนาดของจักรยาน จุดที่ตอ้ งให้ความส�ำคัญที่สุด คือความสู ง ของเบาะรถ ซึง่ เป็ นหนึง่ ในห้าจุดทีเ่ ราสัมผัสจักรยาน (อีกสีจ่ ดุ ทีเ่ หลือคือมือสองข้าง กับเท้าอีกสองข้าง)
จากประสบการณ์ของคุณลุง Phil Burt ซึง่ ท�ำงานกับ Team Sky พบว่า นักปัน่ บางคน มีการปรับตัวได้งา่ ยและเร็ว ไม่จจู้ กี้ บั ความพอดี ของรถจักรยานมากนัก Phil Burt ยกตั ว อย่ า งให้ ฟ ั ง ว่ า Geraint Thomas เคยจ�ำเป็นต้องใช้รถ จักรยานส�ำรองของนักปั่นคนอื่น แข่ง Tour de France ถึงครึ่งสเตจ แต่ก็ไม่รู้สึกถึง ความแตกต่างมากนัก ลุง Phil เรียกพวกนีว้ า่ ‘รับได้เยอะ (Macro Absorber)’ Geraint Thomas
ตรงกันข้ามกับอีกพวกหนึ่ง ลุง Phil ยกตัวอย่างของ Ben Swift ที่หากอาน ของจักรยานสูงหรือต�ำ่ กว่าทีเ่ คยเพียงเล็กน้อย ก็จะรูไ้ ด้ทนั ที และต้องปรับให้ถกู ต้องก่อนเสมอ ลุ ง Phil เรี ย กพวกเรื่ อ งมากแบบนี้ ว ่ า พวก ‘จัดละเอียด (Micro Adjuster)’
ความสูงของเบาะทีพ่ อดีๆ และขีไ่ ด้โดยไม่เกิดอันตราย หรือท�ำให้เกิดอาการ บาดเจ็บ ไม่ได้มาเป็ นค่ าวิเศษค่ าเดียว แบบมีนยั ส�ำคัญทศนิยมสามต�ำแหน่ ง ทีค่ ำ� นวณโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลนาบู หรือนาเม็ก
Ben Swift
เพราะความพอดีของแต่ละคน มันก็ไม่เท่ากันอยูด่ ี แม้แต่นกั ปัน่ คนเดียวกัน เพียงแค่ชวั ่ ข้ามคืน ความยืดหยุน่ ของกล ้ามเนื้อหลังขาทีเ่ ปลีย่ นไป ก็ทำ� ให้ตำ� แหน่ง ‘ทีเ่ หมาะสมทีส่ ุด’ เปลีย่ นไปได้แล ้ว ผูเ้ ชี่ยวชาญหลายคน เมือ่ จะพูดถึงความสูงของอานหรือระยะการปรับตัง้ จักรยานส่วนต่างๆ ให้เข้ากับผูข้ ่ี จะเลือกใช้คำ� ว่า ‘ช่วงระยะทีพ่ อเหมาะ’ หรือเรียก ให้หล่อกว่านัน้ ว่า ‘หน้าต่างของความเหมาะสม (Fit Window)’ (อ่านต่อฉบับหน้า) คริ คริ
ภาพประกอบ
เป้าหมายในการขี่ จักรยาน
แต่ ล ะคนอาจมี เ ป้ า หมาย ในการขี่แตกต่างกันไป การเข้าร่วม ร า ย ก า ร ขี่ จั ก ย า น ท า ง ไ ก ล จ น เอ๋อแดร็ก (Audax) การลูล่ มย่อม มี ผ ลพอๆ กั บ การจั ด ท่ า นั่ ง ขี่ ให้ น ้ อ งชายไม่ เ ย็ น ชามากเกิ น ไป เมื่ อ ต้ อ งอยู ่ บ นอานอย่ า งน้ อ ย 13 ชั่ ว โมง และต้ อ งออกแรงขี่ ได้ ดี ด ้ ว ย ส่ ว นการขี่ กั บ ซอยตั น คันคลองไฮสปีด หรือการขี่กลุ่มที่ มุ ่ ง หยามกั น ให้ อ ายจนลู ก บวช ท่ า นั่ ง ที่ ลู ่ ล มสุ ด ๆ และออกแรง ได้ ม ากที่ สุ ด ย่ อ มมี ผ ลมากกว่ า ‘น้ อ งชาย’ ที่ ห ายไปชั่ ว คราว เพียงเพราะถือหลักอธรรมประจ�ำใจ ว่า ‘ฆ่าได้แต่ขเี่ ร็วกว่าไม่ได้’ ส่วนการ ขี่ จั ก รยานไปซื้ อ ผั ก ที่ ป ากซอย ก็ อ าจเน้ น การนั่ ง สบาย ไม่ ส นใจ เรื่ อ งการลู่ล มหรือ การออกแรง มากนัก
เรื่องที่ต้องเลือก
- ต�ำแหน่งการขี่บนจักรยาน มักจะ ต้องเป็นการเลือกระหว่าง ความลูล่ ม ระยะเวลาที่ ส ามารถทนปั ่ น ได้ และแรงที่สามารถสร้างได้อยู่เสมอ - ท่านั่งที่ลู่ลมที่สุด และเอื้อต่อการ ออกแรงได้ ม ากที่ สุ ด อาจท� ำ ให้ เจ็บปวด ‘น้องน้อย’ จนสามารถ ทนอยูใ่ นท่านัน้ ได้นานเพียงไม่กนี่ าที - ท่าที่นั่งได้เป็นวันๆ และออกแรง ขี่ได้ดี อาจไม่ลู่ลมมากนัก ท�ำให้การ ท�ำความเร็วเป็นไปได้ยาก - ท่ า นั่ ง ที่ ลู ่ ล มและสบายอย่ า งที ่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน อาจท�ำให้แทบ ไม่สามารถออกแรงถีบบันไดปัน่ ได้เลย
https://www.appdisqus.com/2015/12/08/changing-kepler-22-b-to-namek.html http://cyclefit.co.uk/phil-burt-blog http://road.cc/content/news/145145-geraint-thomas-says-claim-90-cent-riders-stilldoping-insulting%E2%80%9D https://www.theguardian.com/sport/2014/sep/19/ben-swift-contract-extension-team-sky
17
b side
SPECIAL
NEW OLD STOCK
สวัสดีครับแฟนๆ HIP Magazine ทุกท่าน ผมโอ๋นกั ร้องน�ำ วง New Old Stock จากเชียงใหม่เองนะครับ กับการเดินทาง ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 กว่าปีมานี้ ตัวผมเองได้ยดึ อาชีพหลัก ในการร้องเพลงมาโดยตลอด ตามผับและบาร์ต่างๆ อย่างที่เขา บอกกันล่ะครับว่า ดนตรีคอื ภาษาสากล ผมมีเพือ่ นๆ จากทุกมุมโลก ผมได้สนทนากับเพื่อนต่างวัย ต่างภาษา ต่างเชื้อชาติ และล่าสุด ผมและวง New Old Stock ได้เดินทางไปเล่นนอกประเทศ ครัง้ แรก ด้วยความอนุเคราะห์และช่วยเหลือจากคุณคีท (หนุย่ Mojo) มันช่างเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่และเหนือกว่าค�ำว่าท้าทาย เพราะเราจะใช้ดนตรีเป็นสื่ออีกครั้ง แต่คราวนี้ ประเทศที่เรา ได้ไปท�ำการแสดงนั้น คือประเทศจีนครับ
เมื่อดนตรีร็อคจากเชียงใหม่ ไปบุกจีน (ตอน 1) เรื่อง: ธนา กิจเจริญวงศ์ (โอ๋) ภาพ: New Old Stock
18
b side
ส�ำหรับพวกเราการเดินทางครัง้ นี้เริ่มสนุกตัง้ แต่เริ่มวีซ่าแลว้ ครับ ในส่วนของการเดินทางไปประเทศจีนนัน้ มีดว้ ยกัน 2 วิธี คือไปเรือบิน หรือ รถนอนโดยสาร เราเลือกวิธีการเดินทางแบบความสบายส่วนตัว ผสมแอดเวนเจอร์เบาๆ นัน่ คือ รถโดยสารครับ ความรูส้ กึ ผมตอนนัน้ มันช่าง ว้าว! นี่คุณคีทก�ำลังพาเราย�ำ่ รอยต�ำนานอดีตเจงกิสข่านเลยนี่ ด่านแรกทีค่ ณุ ต้องเจอนันคื ่ อ สัมภาระต่างๆ ทีค่ ณุ ขนมันไป เราต้องลากมันขึน้ และลงเพือ่ น�ำไปสแกนทีด่ า่ นตรวจคนเข้าเมือง ซึง่ มีทงั้ หมดประมาณ 2-3 ด่าน เส้นทางเหล่านี้ ปกติแล ้วผมว่ามันเคยป๊ อปปูลา่ ร์มาก่อน เพราะนอกจาก จะใช้เงินไม่มากในการเดินทางแลว้ คุณยังสามารถขนอะไรต่อมิอะไร ไปได้โดยไม่จำ� กัดน�ำ้ หนักเหมือนเรือบิน ผมสังเกตดูเส้นทางนี้ส่วนมาก ในตอนนี้จะเป็ นของเหล่ารถบรรทุกเสียมากกว่า ทัง้ ลาว จีนและเพือ่ นบ้าน เราต้อ งใช้เ ส้น ทางนี้ เ พื่อ ขนส่ ง สิน ค้า ใช้เ วลาบนรถนอนทัง้ หมด ประมาณเกือบๆ สองวันครับ เป็ นการเดินทางทีห่ า้ มกิน ห้ามลงจากรถ บนรถไม่มหี อ้ งน�ำ ้ ขึ้นรถปุ๊ ปคุณจะเห็นเตียงสองชัน้ เรียงรายกันให้คุณ เลือกนอน แรกๆ ผมเองก็งง แต่พอรถออกได้สกั พักผมเข้าใจเลยครับ เพราะไม่ ว่ า คุ ณ จะตื่ น หรื อ หลับ อยู่ วิว เดีย วที่คุ ณ จะเห็น นัน่ คื อ ป่ า และความมืดไปตลอดเส้นทาง เมืองแรกที่รถจอดคือคุณหมิงครับ เรามีโ ปรแกรมเล่ น ที่น่ี ก นั 2 คื น โฮสเทลที่เ ราพัก มีค วาม HIP ยูนีคเอามากๆ และวิวจากทีเ่ ราอยู่น้ ี เห็นเมืองคุณหมิงในมุมมองแบบ เบิรด์ อายวิวได้สวยงามมาก อากาศราว 14 องศา ผมไม่รอช้าทีจ่ ะสังเบี ่ ยร์ มานัง่ เคลา้ กับบรรยากาศ รอบตัวผมเต็มไปด้วยคนต่างชาติ เพราะทีน่ ่ี คิดเป็ นเงินไทยแล ้วตกคืนละประมาณ 170 บาท ในห้องคุณจะนอนปะปน กับชาวต่างชาติประมาน 8 คน ผมเจอลุงเกาหลีและนายฝรัง่ ถักเดร็ดร็อค ทีถ่ อื เบียร์กระป๋ องและนอนอยูบ่ นเตียงตลอดเวลา แต่ไม่หลับ แน่นอนครับ บทสนทนาเกิดขึน้ แน่นอน พวกเขาเหล่านี้เคยมาไทยบ้าง เคยมาเชียงใหม่บ ้าง เขาชอบอาหารบ้านเรา เขาไม่ชอบนู่นนี่นนั ่ จะไปต่อทีน่ นั ่ นี่นู่น บลาๆๆ
DID YOU KNOW? ถ้าคุณหลงทางไม่วา่ กรณีใดๆ ทัง้ สิน้ ไม่รู้จะไปเริ่มต้นที่ไหน ยังไง ให้ขึ้น รถเมล์สาย 62 ไปลงที่ประตูจินหม่า (ประตูเมือง) แล้วขึ้นไปที่โรงแรม เดอะฮั ม ป์ บนนั้ น คุ ณ จะใช้ WiFi เพื่อติดต่อหรือหาข้อมูลได้ฟรีๆ
19
b side
NEW OLD ได้เวลาออกเดินชมสิครับ ละแวกทีเ่ ราพักเป็ นกลางใจเมืองคุณหมิง ชือ่ ว่า ประตูจ่ นิ หม่า ช้อปปิ้งมอลล์และผู ้คนทีเ่ ดินกันขวักไขว่ ลูกเด็กเล็กแดง ต�ำรวจ และคนแก่ มีให้เห็นกันทัว่ ๆ เมือง อาหารมือ้ แรกคุณคีทพาเราไปกินแถวๆ หลังโฮสเทลทีพ่ กั นันแหละครั ่ บ ก่ อ นที่ จ ะได้เ วลาซาวน์ เ ช็ ค คุ ณ คงนึ ก ไม่ อ อกว่ า เครื่ อ งเสี ย งที่ น่ี มันสุดยอดแค่ไหนครับ แอมป์กตี า้ ร์ทน่ี เ่ี กือบทุกร้านจะเป็ นตูส้ แต็คนะครับ เมซ่ า บ้า ง มาร์แ ชลล์บ า้ ง เอาเป็ น ว่ า เราลืม บ้า นเราไปก่ อ นนะครับ ทัง้ ร้านประดับด้วยรูปของศิลปิ นชาวร็อคยุค 70s - 90s ผมใจชื้นมาก เพราะผมนึกไม่ออกว่าคนจีนเขาฟังเพลงอะไรกัน แต่อย่างน้อยผมรูแ้ ล ้วว่า ทีน่ ช่ี าวร็อคแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ช่วงแรกส�ำหรับการเล่นมันช่าง... ว้าวว! เราอาจจะชิ น ตากับ คนที่ก ม้ หน้า ก้ม ตาเล่ น แต่ โ ทรศัพ ท์ใ นบ้า นเรา ถึงแม้คุณจะเล่นหรือบรรเลงอะไร นักดนตรีกม็ กั ถูกจัดให้เป็นของประดับร้าน ทีบ่ ้านเรา แต่ทน่ี เ่ี ราคือร็อคสตาร์ครับ เพลงแรกยันเพลงสุดท้าย สิง่ ทีค่ ณ ุ เห็น และได้ยนิ คือเสียงปรบมือบ้าง โยกตามเพลง บ้างก็สง่ เครื่องดืม่ กันขึ้นมา แบบไม่ขาดสาย ผมกล ้าพูดเลยครับว่าใครทีไ่ ด้ข้นึ เวทีทำ� การแสดงดนตรี ทีป่ ระเทศนี้ คุณจะลืมบ้านเราไปเลย นอกจากคุณจะได้จิตวิญญานคืนสูร่ า่ งแล ้ว ค่าจ้างทีน่ ท่ี ำ� ให้นักดนตรี เลิกไส้แห้งไปเลยครับ
20
b side
Who Are New Old Stock? คนที่น่ีให้เกียรติศิลปิ นมากๆ โดยเฉพาะหากเพลงที่คุณเล่น เป็ นเพลงทีเ่ ขารีเควสท์ คืนนัน้ คุณไม่ตอ้ งรับค่าตัวครับ ทิปจะถูกพับเป็ นนก และร่ อนมาที่เวที ผมมานัง่ มองตัวเองว่าที่ผ่านมาในบ้านเราคืออะไร ถึงทางวงเองจะเคยท�ำเพลงออกเทป และปัจจุบนั ก็ยงั อยู่กบั อาร์เอส ผมบอกตรงๆ เลยว่าอนาคตนักดนตรีบา้ นเราอาจจะต้องใช้เวลากัน อีกหลายสิบปี กว่าจะฟื้ นครับ เนื่องด้วยตอนนี้ปจั จัยหลักนัน่ คือเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่ไทย แต่ผมหมายถึงทัง้ โลกเลย ลุยกันต่อไปนะครับ ผมเชื่อว่า ศิลปิ นไทย ถ้าตัง้ ใจก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ ท้ายสุดนี้ ต้องขอขอบคุณเป็ นพิเศษครับ ส�ำหรับพีโ่ หน่ง สมชาย ขันอาษา จาก HIP Magazine ทีใ่ ห้โอกาสดีๆ กับพื้นทีด่ ๆี ตรงนี้มาแบ่งปัน ประสบการณ์ไม่รูจ้ บกับทุกท่านนะครับ ...จนกว่าจะเจอกันใหม่ตอนหน้าครับ
หลายคนอาจคุน้ เคยกับ New Old Stock เมือ่ ตอนทีพ ่ วกเขา อยู่ในสังกัด Iconic ของ โดม – ปกรณ์ ลัม (ตอนนี้พวกเขา ย้ายไปอยู่กับค่าย Yes! Music ในสังกัด RS) แต่หลายคน อาจไม่รู้มาก่อนว่า พวกเขาเคยสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง ในแวดวงดนตรีของเมืองเชียงใหม่ ในชือ่ เดิมอย่าง Mile High เป็นเวลาเกือบ 20 ปี และท�ำให้บรรดาคนฟังเพลงหรือนักดนตรี ในเชียงใหม่คุ้นเคยกับพวกเขากันเป็นอย่างดี ล่าสุดพวกเขา มีซิงเกิลใหม่อย่าง ‘แสงในความมืด (Darkness)’ เพลงร็อค สไตล์ยุค 80s – 90s ออกมาให้ได้ฟังกัน รวมทั้งยังคง ตระเวนเล่นดนตรีตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งก็รวมไปถึงการเดินทาง ไปเล่นดนตรี ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่พวกเขา น�ำเรื่องราวมาฝากคนอ่าน HIP ในครั้งนี้ด้วย
STOCK DID YOU KNOW?
คนจีนส่วนมากไม่พดู ภาษาอังกฤษ โหลดแอพพลิเคชัน่ แปลภาษาติดตัว ไปด้วยครับ
21
b side