a side / :35
SPECIAL
:36 / a side
YOUNG AT HEART หากหัวใจยังมีไฟ
หากในวัยหนุ่มสาวเป็นช่วงชีวิตที่ก�ำลังมีไฟ เปี่ยมด้วยพลังในการ สร้างสรรค์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพลังเหล่านั้นจะคงอยู่กับแค่คนหนุ่นสาว เสมอไป เคยได้ยินค�ำว่า Young at Heart กันมั้ยคะ? ค�ำนี้ใช้เปรียบเทียบ คนรุ่นใหญ่ แต่หัวใจยังเต็มไปด้วยพลังเหมือนวัยรุ่น ประมาณว่าเก่าแต่เก๋า อะไรแบบนั้น HIP ฉบับขึ้นปี ท่ี 10 นี้จะพาไปพูดคุยกับ ‘ผูใ้ หญ่’ ทีน่ ่าเคารพทัง้ 5 ท่าน เขาและเธอ เหล่านี้คิดว่าคุณๆ รู จ้ กั หน้าค่ าตาและชื่อเสียง ว่ามีความเป็ นหนึ่งในตองอูตามบทบาท และหน้าที่ของแต่ละท่านดีอยู่แลว้ ฉะนัน้ เราจะไม่พูดมากถึงเกียรติประวัติอนั ยาวนาน แต่ จะพาเดินทางไปบนหนทางปัจจุบนั ที่พวกเขาและเธอ ก�ำลังด�ำเนินอยู่ อย่ างเชื่อมัน่ และไม่ลดละ แม้จะมีความร่วงโรยของวันวัยมาเป็ นอุปสรรค บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงเคยเป็ นผูส้ ร้างสรรค์ แต่ ‘ยังคง’ ท�ำมาตลอด และยังคงท�ำ ต่อไปอีกเรือ่ ยๆ โดยไม่ยอมปล่อยให้กาลเวลาเข้ามาท�ำร้าย หรือกลืนกินไฟฝันของตัวเองได้เลย ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของ ‘รุ่นใหญ่’ ทีอ่ าจจะหยุดวิง่ ไปนานแลว้ แต่ทแ่ี น่ๆ พวกเขา ยังไม่ยอมหยุดเดิน
a side / :37
:38 / a side
FLY ME TO THE MOON เดือนค้างฟ้า เพ็ญพักตร์ ศิริกุล เรื่อง: ชลธิดา ภาพ: ศมนภรณ์
เพ็ญพักตร์ ศิรกิ ลุ เป็นชาวเชียงใหม่โดยก�ำเนิด เข้าวงการบัญเทิงตัง้ แต่อายุยงั ไม่ครบยีส่ บิ ปี ปัจจุบันเธอล่วงสู่วัยห้าสิบสามกะรัต เป็นสาวเลขห้าที่ยังสวยสะพรั่งจนได้ฉายาสาวสองพันปี ข้อนี้ไม่เกินจริง และไม่เกินไป ใครได้เจอเธอตัวเป็นๆ ไม่อาจไม่ยอมรับความจริงข้อนี้ เรือ่ งความสวย ใครก็มีได้ ยิ่งในยุคนี้สวยสั่งได้ แต่ผู้หญิงชื่อ เพ็ญพักตร์ มีครบครันมากกว่านั้น ความส�ำเร็จประดุจเดือนค้างฟ้ าของเธอมาจากการสัง่ สม หลายประการ แต่สำ� หรับชีวติ นักแสดงเธอบอกว่ามีอยู่สองอย่าง ทีต่ อ้ งรักษา หนึ่งคือเวลา สองคือวินยั ถ้ารักษาได้จะดี และอยู่ ได้นาน ตลอดระยะเวลากว่าสามสิบปี ในการท�ำงานเธอบอกว่า แทบไม่เคยไปสาย น้อยครัง้ มากหากติดธุระจริงๆ “เก้าโมงเช้าก็จะตื่นแลว้ กระเด้งขึ้นมาจากเตียงเองเลย โดยอัตโนมัติ ไม่มแี บบแช่อกี นิดนึง คือตื่นเลย ตื่นปุ๊ บก็อาบน�ำ้ แต่งตัว แล ้วก็ออกจากบ้าน จะให้ลนั้ ลา ลัน้ ลาไม่เป็ น เป็ นคนที่ ท�ำอะไรเร็ว เพราะว่าด้วยลักษณะอาชีพของเรา บางวันกองถ่ายละคร นัดตอนเจ็ดโมงเช้า แล ้วโลเคชัน่ อยู่ไกล บ้านเราก็อยู่ในพื้นทีก่ าร จราจรค่อนข้างติดขัดอยู่แลว้ ก็ตอ้ งออกจากบ้านก่อนสักตีหา้ ตีหา้ ครึ่ง เพือ่ ไปให้ถงึ เวลานัดหมาย จะเป็ นคนตรงต่อเวลามาก ไม่วา่ จะท�ำงานอะไรก็ตาม เรือ่ งเวลาส�ำคัญ ถ้ารักษาเวลาของเราได้ดี ได้ตรง การท�ำงานกับผูค้ นหลากหลาย เขาจะยอมรับเราในจุดนี้” นัน่ อาจเป็ นเพียงแค่ คาถาแรกที่เธอร่ ายมนต์ให้ตวั เอง รักษาไว้อย่างยิง่ ยวด ข้อต่อมาทีห่ ลายคนคงอยากรู ้ และท�ำให้ สาววัยสามสิบอย่างเรายังรูส้ กึ เขินอายแกมประหม่าเบาๆ เวลาไป ยืนเทียบเคียงกัน ความสวยของเธอไม่ได้เปล่งปลังเต่ ่ งตึงเหมือน สาววัยแรกรุ่น แต่เป็ นความงามทีเ่ รียกกันว่า ‘มีเสน่ห’์ ยิง่ อายุ เพิม่ ขึ้นก็เหมือนอบร�ำ่ ให้เสน่หน์ นั้ หอมหวน คล ้ายกระดังงาลนไฟ ทีย่ ง่ิ ผ่านความร้อนจะยิง่ ส่งกลิน่ หอมฟุ้ง เธอเป็ นเช่นนัน้ แต่การ เป็ นอย่างนัน้ ของเธอไม่ได้เกิดจากการพยายาม คุณต่ายบอกว่า เธอแทบไม่ได้ออกก�ำลังกายอย่างใครๆ เขา โยคะก็ไม่มี อดอาหาร ยิ่ง ไม่ ต อ้ ง เธอเพีย งแต่ ใ ช้ชี วิต ในปกติ ป ระจ�ำ วัน อย่ า งเป็ น
ธรรมชาติทส่ี ุด ท�ำงานทุกอย่างด้วยตัวเอง ทัง้ งานบ้าน ลา้ งรถ รดน�ำ้ ต้นไม้ และอีกจิปาถะ ส่วนเรื่องอาหารการกินก็กินปกติ ไม่ค่อยฝื นตัวเอง เวลาเข้านอนก็หวั ค�ำ่ บ้าง ดึกดืน่ หรือเช้าบ้าง แล ้วแต่วา่ วันต่อไปมีกจิ ธุระอะไรทีต่ อ้ งท�ำ “เราอาจจะโชคดีท่ีเ ป็ น คนนอนง่า ย นอนกี่ โ มงก็ ไ ด้ ถ้าเหนื่อยหรือเพลีย บอกว่าง่วงปุ๊ บ ก็หลับเลย แล ้วอีกอย่างนึง ถ้าบอกไปก็อาจจะไม่เชื่อ เราเป็ นคนทีแ่ ทบจะไม่ได้ดูแลร่างกาย อะไรเลย ไม่ได้เล่นโยคะ ไม่ได้ออกก�ำลัง ไม่ได้เหมือนแบบที่ เขาต้อ งไปท�ำ กัน น่ ะ ก็ เ ป็ นอี ก อย่ า งที่ คิ ด ว่ า โชคดี อี ก แล ว้ คื อ ร่ า งกายเผาผลาญได้ดี ท�ำ ให้ไ ม่ ต อ้ งโหมออกก�ำ ลัง มาก ยิง่ ตอนนี้มาเปิ ดร้าน อยู่รา้ นถึงตีสองตีสาม กลางวันก็จะมาแล ้ว พอมาถึงร้านประมาณสามสี่โมงเย็น ก็รดน�ำ้ ต้นไม้ ท�ำอะไร ไปเรื่อยเปื่ อย แล ้วก็อยู่อย่างนี้ แล ้วก็ดม่ื และก็สูบ เป็ นอย่างนี้ ตลอด หรือ ว่ า ระบบร่ า งกายเราอาจจะชิน แล ว้ รึเ ปล่า ก็ ไ ม่ รู ้ เพราะการทีเ่ ราท�ำอาชีพนักแสดง เราก็ตอ้ งนอนดึกอย่างนี้อยูแ่ ล ้ว” นอกจากเรื่องความสวยสะดุดตา อาจถึงขัน้ สะกดใจ หลายคน ไม่วา่ จะมองในระยะใกล ้หรือไกล ผูห้ ญิงคนนี้เหมือน จะมีพลังบางอย่างแฝงอยู่ในตัว เป็ นส่วนผสมของความมัน่ ใจ ความเป็ นกันเอง แต่กร็ กั ษาระยะและท่าทางอยู่ในที ตลอดเวลา การพูดคุย เธอท�ำให้เราชื่นชมเธอมากขึ้น ลดความประหม่าลง แต่ไม่ถงึ กับให้รูส้ กึ สนิทชิดเชื้อจนเสียงานการ อาจจะเพราะเหตุน้ ี จึงท�ำให้เธอเป็ นที่รกั และมีเพื่อนฝู งพี่นอ้ งในวงการมากมาย หลายรุ่น ความน่ ารักบวกอัธยาศัยไมตรีน่ีก็อาจนับเป็ นอีกข้อ ทีท่ ำ� ให้เธอมีคนรักและชอบชื่นชมอยู่ไม่ขาด
a side / :39
“พยายามดูแลตัวเองเท่าทีท่ ำ� ได้ แต่เราเป็ นคนไม่ฝืน อย่างสมมติ ว่าวันนี้มาอยู่รา้ น มีความรูส้ กึ ตัวเองแบบว่าแย่ ไม่อยากเจอใคร ก็จะบอก น้องๆ ทุกคนว่า ขอไปนอนก่อนนะ แป๊ บนึง เดีย๋ วออกมา ก็จะแอบไป หลับครึง่ ชัวโมง ่ พอออกมาก็จะเหมือนเดิมละ เราว่าคนเราก็ต ้องรูต้ วั เนอะ ว่าตอนไหนไม่ไหวจริงๆ เราก็จะเบรกตัวเองอย่างนี้ ถามว่าตัง้ แต่เปิ ดร้าน ไม่เคยมาร้านไหม ไม่มาร้านก็แสดงว่าช่วงนัน้ อยู่กรุงเทพฯ แต่ถา้ อยู่ เชียงใหม่ มาทุกวัน อย่างทีบ่ อกนันแหละ ่ แว้บนึงขอไปนอน น้องๆ ทุกคน จะรูเ้ ลยว่าถ้าเราง่วง เดีย๋ วมา ไปนอนในห้องครัวบ้าง หลบอยู่สกั มุมนึง หลับแป๊ บนึงก็สดชื่นแล ้ว เราเป็ นคนรีเฟรชตัวเองได้ค่อนข้างเร็ว” ถามเธอว่ารูส้ กึ อย่างไรกับค�ำว่าสาวสองพันปี ทห่ี ลายคนเรียกขาน คุณต่ายบอกว่าอาจเพราะเธอมีวธิ ีการดู แลตัวเองแบบปล่อยไปตาม ธรรมชาติ ไม่ฝืน ถึงเวลากินก็กนิ เวลาพักผ่อนคือพักผ่อน การรูต้ วั เอง ว่าก�ำลังท�ำอะไรอยู่ และต้องท�ำอะไร ท�ำให้เธอจัดการกับชีวติ ได้ดี ทัง้ เรื่องงานและเรื่องส่ วนตัว เวลาท�ำงานก็เต็มที่ ส่ วนเวลาปาร์ต้ ี ก็สุดเหวีย่ งเหมือนกัน “เรื่องปาร์ต้ ีก็ยงั ไปอยู่ นะ แต่ ก็จะดู คิวว่าทีมละครนัดกี่โมง ถ้านัดเช้ามาก คืนนี้กไ็ ม่ออก จะบอกเพือ่ นๆ เลยว่า พรุ่งนี้มเี ช้า ไม่ไป เพื่อนๆ ทุกคนก็จะโอเค แต่ถา้ เกิดวันไหนเขานัดสิบเอ็ดโมง โอเค คืนนี้ปลิ้น (หัวเราะ) อาชีพเราต้องอยู่ในแสงสี อยู่กบั สภาพผู ค้ น ตลอดเวลา ไม่สามารถเลีย่ งได้ แต่เลีย่ งได้ทส่ี ุดคือเวลาอยู่บา้ น นัน่ น่ะ คือส่วนตัวทีส่ ุด แต่ถา้ ก้าวออกจากบ้านไปแลว้ เราก็จะรูต้ วั ว่าเราเป็ น คนของประชาชน เราก็ทำ� ตัวสนุ ก สดชื่นทีส่ ุด และด้วยนิสยั ส่วนตัว ของเราชอบทีจ่ ะมีเพือ่ นฝูง ทัง้ เพือ่ นรุ่นเดียว รุ่นพี่ รุ่นน้อง เราสามารถ แบบวันนี้ไปกับเพือ่ นรุ่นน้อง พรุ่งนี้ไปกับเพือ่ นรุ่นพีไ่ ด้” ด้วยฝี มอื บวกวินยั และความรับผิดชอบในฐานะนักแสดง ของเธอ ท�ำให้ผูจ้ ดั ละครไว้วางใจ และส่งบทมาให้เธอเล่นอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ทุกบทบาท ทุกการแสดงเธอเล่นได้หมดไม่ค่อยเกีย่ ง และทุม่ เท ฝี มอื ลงไปเต็มที่หากตกลงรับปากแลว้ ว่าจะท�ำงานนี้ หมายความว่า งานนัน้ ให้รอ้ ยเปอร์เซ็นต์ ถามเธอว่าเห็นแสดงมาแลว้ หลากหลาย บทบาทมาก มีบทไหนบ้างไหมทีเ่ ล่นไม่ได้ เธอบอกว่าก็มอี ยู่เหมือนกัน บทที่ไม่ถนัด แต่ส่วนมากผูจ้ ดั จะรูอ้ ยู่แลว้ ว่าดราม่าเหมาะสมส�ำหรับ นักแสดงหญิงคนนี้ทส่ี ุด “ส่วนใหญ่จะได้เล่นบทดราม่า เพราะจะเล่นได้ดกี ว่า ถ้าให้เล่น เป็ นตลกหรือว่าวี้ดๆ ว้ายๆ ถามว่าเล่นได้ไหม ก็เล่นได้ แต่เล่นไม่ถงึ :40 / a side
เพราะด้วยนิสยั เราไม่ใช่คนวี้ดขนาดนัน้ น่ะ แต่ถา้ เป็ นหนัง เราสามารถ เลือกบทได้ ถ้าเขาส่งบทมาให้อ่าน แลว้ ไม่ใช่ เล่นไม่ได้ หรือเป็ นบทที่ เอาใครเล่นก็ได้ เราก็จะบอกว่าบทนี้ไม่จำ� เป็ นต้องเป็ นเราก็ได้นะ หนังเดีย๋ วนี้ ถ่ายท�ำกันเร็ว สองเดือนก็ปิดกลอ้ งแลว้ อย่างเราเองก็จะเล่นประมาณ หกถึงสิบคิว ถ้าในคิวทีเ่ ราเล่นในเรื่อง แล ้วไม่มบี ทบาทอะไรเลย ไม่ได้ส่ง อะไรเลย ก็ไม่เอา เราถือว่าเขาจ้างเราด้วยวัยขนาดนี้แลว้ ไปเล่นแลว้ เราควรมีความหมายในเนื้อเรือ่ งด้วย” ล่าสุดเธอเพิง่ คว้ารางวัลนักแสดงน�ำหญิงยอดเยีย่ มจาก Starpics Thai Films Awards ครัง้ ที่ 10 ปี 2555 และรางวัลคมชัดลึกอวอร์ด ครัง้ ที่ 10 ปี 2555 จากภาพยนตร์เรือ่ ง ‘It Gets Better : ไม่ได้ขอให้มารัก’ รวมทัง้ นักแสดงน�ำหญิงยอดเยีย่ ม รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์ บันเทิง ครัง้ ที่ 21 ปี 2555 และรางวัลพระราชทานพระสุรสั วดี ครัง้ ที่ 29 สาขาผูแ้ สดงน�ำหญิงยอดเยีย่ ม จากภาพยนตร์เรื่อง ‘Home : ความรัก ความสุข ความทรงจ�ำ’ ทัง้ สองบทนี้คุณต่ายบอกว่าท้าทายความสามารถ ในฐานะนักแสดงมาก โดยเฉพาะบทสาวประเภทสองในเรื่อง ‘It Gets Better : ไม่ได้ขอให้มารัก’ ทีต่ อ้ งท�ำให้คนดูเชื่อให้ได้วา่ เธอ ‘เป็ น’ จริงๆ “บทท้าทายที่สุดเท่าที่ผ่านมาส�ำหรับเราคือ หนังเรื่อง ‘It Gets Better’ เราเป็ นผูห้ ญิงแต่ตอ้ งเล่นเป็ นกระเทย เราก็ตอ้ งท�ำให้กระเทย คือหนังเรือ่ งนี้เป็ นหนังของพวกเขา เราต้องท�ำให้เขายอมรับว่าเราเป็ นตัวเขา อันนี้ทา้ ทาย อีกบทนึงเรือ่ ง Home เรือ่ งนี้ในพาร์ทของเราต้องเล่นคนเดียว เกือบสามสิบเปอร์เซ็นต์ (ทัง้ สองเรื่องนี้ได้รางวัลด้วย) ใช่ แต่จะเป็ น ตัวการันตีวา่ เราประสบความส�ำเร็จในแง่ของนักแสดงหรือเปล่า อันนี้ไม่รู ้ เราบอกไม่ได้ ต้องให้คนทีเ่ ขาไปดูหนัง และคณะกรรมการตัดสินเอง” ท�ำงานในวงการบันเทิงมากว่าสามสิบปี ทัง้ ในฐานะนักแสดง นางแบบ ถ่ายโฆษณา หรือแม้กระทัง่ นักร้อง แถมยังมีงานเข้าอยู่ตลอด เป็ นใครก็ตอ้ งมีเบือ่ มีทอ้ กันบ้างล่ะ แต่เหนื่อยแล ้วจะท�ำอย่างไร เวลาท้อ แลว้ จัดการกับความรู ส้ ึกนัน้ แบบไหน คุณต่ ายบอกว่าส�ำหรับเธอเอง แน่นอนย่อมมีบ ้าง แต่เมือ่ เป็ นงานทีร่ กั แล ้ว พลังงานส�ำหรับการขับเคลือ่ น ย่อมไหลออกมาจากหัวใจเพือ่ เติมเต็มให้ร่างกาย “อารมณ์แบบเบือ่ ๆ ไม่เอาแลว้ ก็มนี ะ น่าจะเป็ นกันทุกคนแหละ เราก็มเี ป็ นบางช่วง เวลาท�ำงานเยอะ ก็จะมีช่วงทีเ่ ราแบบล ้า หมายถึงเรา เจอกับทีมงานหรือกับอะไรหลายๆ อย่าง ก็มบี ้าง เพียงแต่วา่ เราจะยึดหลัก ว่านี่เป็ นอาชีพเรานะ มนุ ษย์ทกุ คนก็มชี ่วงอารมณ์อ่อนไหว อารมณ์เบือ่ อารมณ์บา้ ๆ บอๆ แต่เรายึดอย่างนี้วา่ นี่เป็ นอาชีพของเรา ยังไงเราก็ตอ้ งท�ำ
ถึงแม้วา่ เราเบือ่ วันนี้ไม่อยากไปกองนี้เลยอะไรแบบนี้ แต่เราค่อนข้างโชคดี ที่แต่ ละกองถ่ายจะไม่ค่อยมีเหตุการณ์อย่างนัน้ เราจะสนิทกับน้องๆ ทุกคนในกองถ่าย ทัง้ ช่างหน้าช่างผม ตากล ้อง ทีมไฟ ผูก้ ำ� กับ นักแสดง ด้วยกัน ก็เลยไม่มคี วามรูส้ กึ ทีว่ า่ น่าเบือ่ ท�ำให้เรารูส้ กึ ว่ามีพลัง เวลาทีเ่ ราไป ท�ำงานทุกวันจะบอกตัวเองทุกครัง้ ว่า ท�ำงานแล ้วต้องสนุก ต้องมีความสุข ถ้าวันไหนทีม่ อี ารมณ์ไม่สนุกแล ้วเนี่ย วันนัน้ การท�ำงานจะแย่มาก” ความทีม่ เี พือ่ นฝูงมากหน้าหลายวงการ บวกกับความชอบปาร์ต้ ี สังสรรค์ ประกอบกับมีอยู่ช่วงหนึ่งทีเ่ ธอขึ้นมาถ่ายภาพยนตร์ทเ่ี ชียงใหม่ แล ้วหาร้านนัง่ ถูกใจยาก เลยตัดสินใจเปิ ดร้านของตัวเองขึ้นมา เพือ่ รับรอง เพือ่ นฝูงพีน่ อ้ งทีเ่ ดินทางมาเยีย่ มเยือนถึงเชียงใหม่ นัน่ จึงกลายเป็ นทีม่ า ของ ‘That’s Wine by Penpak’ ร้านดืม่ กินชิลล์ๆ ในย่านนิมมานเหมินท์ ที่เธอทัง้ บริหารและจัดการเองทุกอย่างตัง้ แต่ หน้าร้านไปจนถึงในครัว เพื่อ ให้ไ ด้บ รรยากาศที่ถู ก ใจตัว เองมากที่สุด เพราะเธอบอกว่าที่น่ี เปรียบเป็ นเหมือนบ้านหลังทีส่ องของเธอ “ถ้าย้อนกลับไปมีอยู่ช่วงนึงทีเ่ รามาถ่ายหนังอยู่เชียงใหม่ แล ้วเป็ น ช่วงทีเ่ ราได้หยุด ก็อยากหาร้านชิลล์ เล็กๆ น่ารักๆ ดืม่ ไง ในเชียงใหม่ ก็จะไม่ค่อยมีแบบทีช่ อบ ถ้าไม่แบบตืด๊ ๆ ไป ก็จะเป็ นร้านทีเ่ ด็กๆ เขานัง่ กัน ก็ เ ลยพูด กัน ว่า มาเปิ ด เองเลยดีก ว่า แล ว้ ก็ ห าร้า นนานอยู่ เ หมือ นกัน เป็ นปี กว่าจะได้รา้ น แล ้วก็มาท�ำเองเป็ นร้านเล็กๆ ตอนนัน้ อยูซ่ อย 9 ก็สนุก ในฐานะทีเ่ ราเป็ นเจ้าของร้าน สนุกเวลาทีม่ นี อ้ งนุ่งมาจากกรุงเทพฯ มีแขก มาจากกรุงเทพฯ ก็เหมือนเป็ นบ้านอีกหลังหนึ่งทีต่ อ้ นรับน้องๆ คือทุกคน มาเชียงใหม่ ทุกคนต้องแวะมาหา ก็สนุ ก กลายเป็ นแบบว่าจากเล็กๆ ตอนนี้ใหญ่ข้ นึ ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อย เพราะจากร้านเล็กๆ มีแค่ เก้าโต๊ะ แต่ ณ วันนี้มเี กือบสามสิบโต๊ะ น้องๆ ทีท่ ำ� งานด้วยก็มเี พิม่ ขึ้น “ คุณต่ายเล่าให้ฟงั ต่อว่าทีต่ ดั สินใจเพิม่ ขนาดร้านให้ใหญ่ข้นึ ไม่ใช่ แค่ รองรับกิจกรรมอย่างการแสดงคอนเสิรต์ หรือดนตรีสดที่เธอจัดหา มาสร้างความบันเทิงแก่ลูกค้าเป็ นประจ�ำทุกเดือน อีกเหตุผลหลักคือเรื่อง ผลประกอบการ ตลอดหนึ่งปี ทเ่ี ปิ ดร้านเธอบอกว่าแทบไม่ได้กำ� ไร เพราะ ร้า นขนาดเล็ก รายได้ก็ จ ะหมุน เวีย นกลายเป็ น ค่ า ใช้จ่ า ยภายในร้า น ถ้า จะท�ำ ร้า นให้อ ยู่ ไ ด้แ ละมีก �ำ ไรด้ว ย การเพิ่ม ขนาดร้า นให้ใ หญ่ ข้ ึน จึงเป็ นทางออกหนึ่ง ตอนนี้ That’s Wine by Penpak ย้ายมาอยู่ใน ซอย 7 บนถนนนิมมานเหมินท์เช่ นกัน และด้วยพื้นที่กว้างกว่าเดิม และเป็ นพื้นทีป่ ิ ดท�ำกิจกรรมได้เต็มที่ สามารถมีอาหารและเครื่องดื่มได้ หลายประเภทนอกเหนื อ ไปจากไวน์ รวมถึง พาร์ท ดนตรี เ รี ย กว่ า ฟูลอ็อพชัน่ กว่าเดิม นอกจากเพลงชิลล์เอ้าท์จากดีเจทีม่ ปี ระจ�ำทุกคืนแล ้ว สิ่ ง ที่ พิ เ ศษเพิ่ ม ขึ้ น มาคื อ ดนตรี ส ดที่ เ ธอตั้ง ใจว่ า จะจัด ให้บ่ อ ยขึ้ น ทัง้ เชิญศิลปิ นจากกรุงเทพฯ มาเล่น และใช้บริการวงดนตรีเชียงใหม่ “เราชอบจัดคอนเสิรต์ เกือบทุกเดือน ถ้ายังเป็ นร้านเล็กเหมือนเดิม ก็เอาไม่รอด ไม่ได้กำ� ไรอยู่แล ้ว ทีท่ ำ� ร้านมาตลอดหนึ่งปี น่ไี ม่ได้กำ� ไรหรอก ถัวเฉลีย่ แลว้ ก็คอื หมุนเวียนในร้าน แต่ถามว่าได้กำ� ไรไหม ไม่ได้ น้องๆ หลายคนที่ทำ� ธุ รกิจที่น่ี ก็คุยกับเขาก็ว่าเราตลอดว่าเจ๊ทำ� อะไรเนี่ย... ร้านแค่น้ จี ดั คอนเสิรต์ อีกละ ก็เลยคิดว่าไหนๆ เราเป็ นคนชอบท�ำกิจกรรม กับร้านอยู่ตลอดเวลา ต้องเอาร้านใหญ่ละ่ เพือ่ จะได้รองรับหลายๆ อย่าง ถามว่าทุกคนลงทุนก็อยากได้กำ� ไรอยู่แลว้ ก็ลองดูสกั ตัง้ ว่าเราขยายร้าน สเกลใหญ่ขนาดนี้แลว้ จะรอดไหม จะมีผลก�ำไรให้กบั ร้านกับตัวเอง แบบว่าแฮปปี้ บา้ งไหม ก็เลยตัดสินใจว่า อ่ะ ลุย! พอมาเปิ ดร้านทีน่ ่กี เ็ ลย กลายเป็ น ว่ า อยู่ เ ชี ย งใหม่ ม ากกว่ า กรุ ง เทพฯ จะกลับ ไปก็ ต่ อ เมื่อ มี การถ่ายละครแค่นนั้ เอง ถ่ายละครเสร็จปุ๊ บก็มาเชียงใหม่แล ้ว” แม้จะเริ่มท�ำธุรกิจของตัวเองอย่างจริงจังแลว้ แต่คุณต่ายบอกว่า ยังไม่คดิ ทิ้งวงการบันเทิงออกไปดูแลกิจการอย่างเต็มตัว เพราะอาชีพหลัก ของเธอยังคงเป็ นอาชีพนักแสดง ที่ไม่ใช่แค่ สร้างรายได้เท่านัน้ ยังคง เป็ นการรักษาคอนเนคชัน่ ทีม่ เี อาไว้ต่อยอดกับธุรกิจ ส�ำหรับเธอแล ้วไม่วา่ จะในบทบาทของนักธุ รกิจหรือนักแสดงทัง้ สองสิ่งนี้ไม่ต่างกัน อาชีพ นักแสดงให้ชอ่ื เสียง และมอบรายได้เพือ่ สานต่อการท�ำธุรกิจ ถึงจะทัง้ สนุก และทัง้ เหนื่อย โดยเฉพาะร้านทีย่ งั ต้องดูแลและประคับประคองให้ดำ� เนิน กิจการอยู่ได้ แต่กเ็ ป็ นความท้าทายทีเ่ ธอบอกว่าต้องลองเสีย่ งดูสกั ตัง้ “ทุกวันนี้ก็มคี วามสุขนะกับการทีเ่ รามาเปิ ดร้านของตัวเอง ถามว่า เหนื่อยไหม เหนื่อย ทุกคนแหละเวลาท�ำธุ รกิจอะไรก็เหนื่อยอยู่แลว้
เราไม่เคยตั้งเป้ากับตัวเองว่าอยากท�ำนั่น อยากท�ำนี่นะ เป็นโอกาส และจังหวะมากกว่า ที่เข้ามาแล้วท�ำให้เรารู้สึกว่าน่าลองดู ได้ก็ได้ ไม่ได้กไ็ ม่เป็นไร เราว่าทุกคนน่ะถ้าไม่ได้ทำ� อะไรเลย ชีวิตก็ไม่สนุก
ยิ่ง เป็ น ธุ ร กิ จ ที่เ ราเพิ่ง ก้า วขาเข้า มา กว่ า จะตัง้ หลัก ได้ ยืน ให้ม นั ่ คง ด้วยสองขา ต้องใช้เวลานานมาก แต่เราโชคดีทม่ี นี อ้ งๆ ทีมงาน เราจะบอก ทุกคนเลย ตัง้ แต่ ในครัวใหญ่ ครัวเล็ก และน้องๆ ที่อยู่ ดูแลลู กค้า ว่าเราไม่ได้รวย ไม่มเี งินเยอะขนาดที่แบบว่าท�ำอะไรก็ได้ มาท�ำร้านนี้ เราก็เป็ นหนี้อยู่นะ ก็จะบอกน้องทุกคน เราท�ำร้านใหม่ เราย้ายบ้าน ยังเป็ น หนี้ อ ยู่ แต่ ก็ จ ะพยายามดู แ ลน้อ งๆ ที่ท ำ� งานกับ เราให้ดีท่ีสุด เท่าที่จะท�ำได้ แต่ก็จะบอกทุกคนว่าใจต้องมาก่อน อยู่กบั เราขอแค่ ใจ เพราะถือว่าถ้าเราท�ำอะไรแลว้ ใจเรามัน่ คง เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราต้องท�ำงานด้วยกันรอด การทีเ่ ราเข้ามาท�ำงานตรงนี้ไม่ว่าจะในวงการ บัน เทิง หรือ ร้า นนี้ ก็ ต าม เราไม่เ คยตัง้ เป้ ากับ ตัว เองว่า อยากท�ำ นัน่ อยากท�ำนี่นะ เป็ นโอกาส และจังหวะมากกว่าทีเ่ ข้ามาแล ้วท�ำให้เรารูส้ กึ ว่า น่าลองดู ได้กไ็ ด้ ไม่ได้กไ็ ม่เป็ นไร เราว่าทุกคนน่ะถ้าไม่ได้ทำ� อะไรเลย ชีวติ ก็ไม่สนุก ต้องมีการลองเสีย่ งดูถา้ เราไม่เสีย่ ง ก็ไม่รูว้ า่ เราจะท�ำได้รเึ ปล่า” a side / :41
:42 / a side
THE TIMES THEY ARE Aเปลี่ยCHANGING นแปลงไม่เปลี่ยนแปร ดร.จุลทัศน์ กิติบุตร เรื่อง: ชลธิดา ภาพ: ภูมิ นริศชาติ
ดร.จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม (ร่วมสมัย) พ.ศ. 2547 ปัจจุบนั ท�ำธุรกิจส่วนตัวเป็นร้านอาหารชือ่ ร้านบ้านสวน รวมทัง้ เป็นทีป่ รึกษาขององค์กรทัง้ ภาครัฐและเอกชน และอาจารย์ผเู้ ชีย่ วชาญพิเศษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเป็นชาวเชียงใหม่ โดยก�ำเนิด ภายหลังจบจากคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ ก ลั บ มาอยู ่ ภู มิ ล� ำ เนาบ้ า นเกิ ด และสร้ า งสรรค์ ง านสถาปั ต ยกรรม ที่น�ำกลิ่นอายของล้านนามาประยุกต์ให้มีความร่วมสมัยมาโดยตลอด เขาเคยให้สมั ภาษณ์ถงึ ความใฝ่ ฝนั อันสูงสุดของตัวเองว่า อยากท�ำเมืองจ�ำลองของ ล ้านนาในอดีตทีม่ ที งั้ เรือกสวนไร่นา ทุ่งหญ้า และต้นไม้เขียวขจี เพือ่ ให้เป็ นแหล่งเผยแพร่ งานหัตถศิลป์ของสล่าพื้นเมืองไม่ให้สูญหาย และเป็ นการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมแบบล ้านนา ให้คงอยู่ (อ้างอิงจาก : บทความ ‘ฝันสูงสุดของศิลปิ นแห่งชาติ - อ.จุลทัศน์ กิติบุตร, นสพ. ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 19 ก.พ. 55) และในวันนี้ความฝันอันนัน้ เริ่มเป็ นรูปร่างขึ้นมาแล ้ว ภายใต้ช่ือ ‘บ้า นสวนศิ ล ป์ ’ ซึ่ง อยู่ ในบริเวณเดียวกับร้าน ‘บ้านสวน’ ต�ำบลสันผีเสื้อ อ�ำเภอเมือง เชียงใหม่ “อยากให้ตรงนี้เป็ น One Stop Survice ของงานหัตถกรรมต่างๆ ไม่วา่ จะผ้า, ร่ม, งานไม้ และเซรามิก เพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ วมาทีน่ ่ที เ่ี ดียวได้เห็นครบเลย แล ้วเราก็จะคัดเลือก ผูป้ ระกอบการทีเ่ ขาท�ำเกี่ยวกับสินค้าพวกนี้อยู่แล ้วให้เขาเอางานมาโชว์ ใครสนใจก็ซ้อื หากัน กลับไป ครบวงจรทัง้ สินค้า และการบริการ รวมถึงการจัดส่งด้วย เหมือนเป็ นจุดเริ่มต้น จากทีน่ ่แี ล ้วถ้าใครสนใจจะไปดูทอ่ี น่ื ต่ออย่างบ่อสร้าง หรือบ้านถวายก็ค่อยว่ากันไป เราก็จะ บอกทิศทางต่ อไปให้ ที่ทำ� ตรงนี้ข้ ึนมาก็เพราะอยากจะเห็นเรื่องของศิ ลปะวัฒนธรรม ของล ้านนาเราก้าวหน้า และช่วยให้คนทีท่ ำ� ของเหล่านี้อยู่ เขาได้เติบโตขึ้นไปอีก” ‘บ้า นสวนศิ ล ป์ ’ ออกแบบโดยอาจารย์จุล ทัศ น์ ประกอบด้ว ยอาหารหลัง ใหญ่ สู งสองชัน้ จ�ำนวนสองหลัง รู ปทรงเหมือนบ้านลา้ นนาแต่ยงั คงความร่วมสมัยตามสไตล์ การออกแบบของอาจารย์จลุ ทัศน์ เน้นความโปร่ง โอ่โถง เพือ่ ใช้เป็ นพื้นทีจ่ ดั แสดงสินค้า ในวันทีเ่ ราไปสัมภาษณ์ยงั ตกแต่งไม่เรียบร้อย แต่ก็พอได้เห็นสินค้าบางประเภททีจ่ ะน�ำมา แสดงวางเรียงรายอยู่ อาทิ โคมไฟตัง้ พื้นท�ำจากเหล็กจ�ำลองส่วนตัวโคมให้มีรูปทรง เหมือนตุง แต่ใส่ความร่วมสมัยเข้าไปในดีไซน์และวัสดุ ถัดออกไปเป็ นจ�ำพวกเฟอร์นเิ จอร์ไม้ หน้า ตาเหมือ นของเก่ า หรือ อาจจะเป็ นของสะสมก็เป็ นได้ นอกจากนี้ ยงั มีภาพเขียน และงานประติมากรรม อาจารย์จุลทัศน์บอกว่าน่ าจะสามารถเปิ ดท�ำการได้ในเร็ววันนี้ ตอนนี้เหลือการเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย a side / :43
ผมท�ำงานเหล่านีม้ าทัง้ ชีวติ ก็เพือ่ อยาก ให้ ทุ ก วงการ ไม่ ใช่ แ ค่ เ ฉพาะวงการ สถาปัตยกรรมเท่านั้นนะ อยากผลักดันให้ ความเป็นล้านนายังคงมีชวี ติ อยู่ ยังน่ารักอยู่
:44 / a side
“ตัวโครงสร้างผมออกแบบเอง แต่สนิ ค้าทีน่ ำ� มาจัดแสดง ได้มาจากแถวนี้ จากชาวบ้าน เอามารวมกัน เราอยากให้ชาวบ้าน มีงานท�ำ มีรายได้ดขี ้นึ ความเป็ นอยูก่ ด็ ขี ้นึ แต่บางคนเขาก็มองว่า ท�ำไมลา้ นนาสไตล์ถึงไปสู่อนาคตไม่ได้ ตรงนี้ก็น่าจะช่ วยจุด แรงบันดาลใจให้เมืองเรามีความพัฒนาขึ้นมา แบบอาศัยอดีตนะ เพราะอดีตก็เป็ นส่วนช่วยให้การเดินหน้าต่อไปในปัจจุบนั หรือ ก้าวสู่อนาคตชัดเจนและมีทิศทางที่ดี ไม่ใช่ว่าก้าวไปข้างหน้า จนมองไม่ เ ห็ น ฝุ่ น จะว่ า ไปแล ว้ ฝุ่ นของเราข้า งหลัง นัน่ ล่ ะ เป็ นสิง่ ทีง่ ดงาม” อาจารย์จลุ ทัสน์บอกว่าการทีจ่ ะน�ำความเป็ นลา้ นนาไปสู่ ตลาดโลกจะต้องเข้าใจความต้องการของตลาดก่อน ไม่วา่ จะเป็ น เทรนด์ หรือการจัดการอย่างมืออาชีพทีน่ ำ� เทคโลโลยีอนั ทันสมัย มาท�ำให้การส่งสินค้าหรือแม้แต่การจับการสะดวกและปลอดภัย สิ่ง ส�ำ คัญ ส�ำ หรับ การออกแบบหรือ แม้แ ต่ ก ารน�ำ วัฒ นธรรม มาเป็ นสินค้า เขาบอกว่าเราต้อง ‘ร่วมสมัยให้เป็ น’ “คือโชคดีทผ่ี มมาท�ำงานทางด้านออกแบบ แล ้วมีคนทีเ่ ขา ยอมรับว่างานแบบนี้เป็ นสไตล์เรา ซึง่ ไม่ใช่เฉพาะตัวตึก ตัวบ้าน หรืออาคารที่เป็ นลา้ นนาสไตล์ อย่างอื่นสามารถเป็ นได้หมด ไม่วา่ จะอาหารการกิน สินค้า วัสดุ หัตถกรรม ผ้า แฮนดิคราฟท์ ต่ า งๆ ทุก อย่ า งเป็ น ได้ห มด สามารถพัฒ นาให้ร่ ว มสมัย ได้ และถ้าจะก้าวออกจากพื้นทีไ่ ปสู่ตลาดโลก เราต้องเข้าใจตลาด และมีการจัดการที่ดี ไม่อย่างนัน้ เราก็ขายของไม่ได้ และต้อง ร่วมสมัยให้เป็ นด้วย ไม่ใช่อะไรก็เป็ น Contemporary หมด แต่ไม่ได้ทำ� ให้มคี วามเป็ นตัวเองอยู่ วัฒนธรรมแบบลา้ นนาก็มี ของดีของเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็ นเรื่องของธรรมชาติ ความศรัทธา และศิลปวัฒนธรรม เราไม่ควรลืมรากเหง ้าเหล่านี้ ไม่อย่างนัน้ เรา ก็ขายไม่ได้ เพราะสินค้าเราไม่มเี อกลักษณ์เฉพาะตัว” ในวงการสถาปัตยกรรม อาจารย์จุลทัศน์เปรียบเป็ น ปูชนียบุคคลคนส�ำคัญ โดยเฉพาะในทิศทางของสถาปัตยกรรม ร่วมสมัย นอกจากท�ำงานออกแบบทางด้านนี้แล ้ว ยังผลักดันให้ ความเป็ นลา้ นนาสามารถคงเอกลักษณ์และความสง่างามอยู่ ในโลกที่กำ� ลังเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยเฉพาะเชียงใหม่ เมือง ศูนย์กลางของภาคเหนือและก�ำลังจะกลายเป็ น Hub ของความ เจริญในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็ นธุรกิจ, การท่องเทีย่ ว หรือแม้แต่ การขนส่ง ในมุมมองของเขาเห็นว่าความเปลีย่ นแปลงย่อมเกิดขึ้น อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ การอนุรกั ษ์ให้คงรูปแบบเดิมไว้ ก็อาจไม่ใช่ หนทางทีด่ ตี ่อการ ‘รักษา’ เอกลักษณ์ล ้านนาอย่างยังยื ่ น เขาบอกว่า เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงเข้ามา นักออกแบบ กระทังผู ่ ้คนในเมืองเอง ต้องรูเ้ ท่าทันว่าจะเคลือ่ นตามอย่างไรโดยไม่ให้เสียตัวตน ในขณะ เดียวกันการปรับเปลีย่ นวิถอี ย่างมีศลิ ปะก็สำ� คัญไม่แพ้กัน “เราต้องเดินทางสายกลาง เชียงใหม่ต่อไปก็ตอ้ งก้าวไป สู่จดุ ทีเ่ รียกว่า Globalization แน่ แม่คา้ ขายของก็ตอ้ งพูดภาษา ต่างประเทศได้ เราต้องใช้ทกั ษะความรู ม้ าพัฒนาสิ่งที่เรามีอยู่ เช่ น เราอ่านหนังสือ ก็จะได้รูว้ ่า ณ วันนี้ ที่พกั อาศัยมีการ ออกแบบหรือแม้กระทังรู่ ปแบบไปถึงไหนแล ้ว เราคงไม่ปฏิเสธว่า ตอนนี้ไม่ได้มแี ค่บา้ น คอนโดมิเนียมที่น่าอยู่ก็มี เราก็อย่าไป ปฏิเสธ เพราะผมเชือ่ ว่าการอนุรกั ษ์และการพัฒนาต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่อนุรกั ษ์อย่างเดียว เราเห็นหมูบ่ า้ นเก่าๆ ในเวียดนาม เขาก็ ยังมีคอมพิวเตอร์ มีมอเตอร์ไซค์ คือทัง้ สองอย่างต้องเดินไปด้วยกัน อย่างเช่นล�ำพูนที่กำ� ลังจะกลายเป็ นเมืองใหม่ เราก็ไม่ปฏิเสธ แต่ตอ้ งเป็ นเมืองใหม่ทม่ี ตี กึ สวยๆ มีระยะห่างพอควร ไม่ใช่แน่น จนเกินไป เมืองในลักษณะนี้เป็ นเมืองในอุดมคติของเรา ไม่ใช่ เมืองใหม่ทเ่ี ป็ นเมืองสลัม คือเราต้องช่วยกันทุกคน คนทีจ่ ะอยู่
อาศัยก็ตอ้ งช่วยกันคิดด้วยว่าจะจัดการหรือออกแบบทีต่ วั เองจะ ต้องอยูอ่ ย่างไร ให้เหมาะสมกับการอาศัย และก็มสี ภาพแวดล ้อม ทีด่ ี ไม่ใช่รอให้เขาท�ำให้เสร็จแล ้วก็ค่อยมาปฏิเสธ ในเชียงใหม่เอง ก็เหมือนกัน อยากให้มตี น้ ไม้เยอะๆ ปลูกวันละต้นสองต้น เดีย๋ ว ก็น่า อยู่ ไ ปเอง (หัว เราะ) ปัญหาในตอนนี้คือเราไม่รูจ้ กั ขาย ธรรมชาติ หรือขายที่ว่าง มัวแต่ ไปปลู กสิ่งก่ อสร้างแน่ นๆ ตึกระฟ้ า สูงๆ แพงๆ เราท�ำไมไม่คดิ จะอยู่กบั ธรรมชาติ อย่างเรา มีทด่ี นิ อยูห่ นึ่งไร่ ก็ไปปลูกคอนโดซะเต็มพื้นที่ แล ้วจะมีประโยชน์ อะไร ร้อนก็รอ้ น เราไม่ Concern ถึงสภาพแวดลอ้ ม เรามี สภาพแวดล ้อมทีด่ อี ยู่แล ้ว ควรจะหาสัดส่วนทีเ่ หมาะสมระหว่าง สิง่ ปลูกสร้างกับธรรมชาติ ผมว่าครึ่งต่อครึ่งก�ำลังสวย ต้องรูจ้ กั ความพอดีของเรา ล ้านนาเชียงใหม่ของเราผมว่ายังไงก็ขายตัวเอง ได้อยู่แล ้ว” บทบาทของอาจารย์จลุ ทัศน์มหี ลากหลาย ทัง้ เป็ นสถาปนิก เป็ นอาจารย์ กระทัง่ เป็ นนักธุรกิจ การท�ำงานแม้ในอายุอานาม เท่ า นี้ เ ขาก็ ย งั คงท�ำ งานอยู่ และไม่ มีทีท่ า ว่ า จะรี ไ ทน์ต วั เอง ด้วยความตัง้ ใจว่าอยากจะสร้างสรรค์ให้วงการสถาปัตยกรรมล ้านนา สามารถอยู่ ร่วมไปกับกระแสสังคมสมัยใหม่อย่ างกลมกลืน อาจารย์จลุ ทัศน์บอกว่าทุกอย่างทีส่ ำ� เร็จขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากเขา เพียงคนเดียว แต่ตอ้ งยกเครดิตให้ทมี งานด้วย การมีทมี เวิรค์ ที่ดีก็ช่วยให้การท�ำงานทุกอย่างประสบผลส�ำเร็จ ส่วนตัวเขา ก็อยู่ในฐานะผูส้ นับสนุน และแนะน�ำเท่านัน้ “คนเราไม่สามารถท�ำอะไรคนเดียวได้ ต้องมีทีมเวิรค์ มีการคิด มีการประชุม ไตร่ตรอง อย่างไม่กว่ี นั มานี้มคี นมาปรึกษา ว่าจะปรับเวียงกุมกามอย่างไรในยุคใหม่ ซึง่ ทีน่ นั ่ เป็ นโบราณสถาน เราก็ตอ้ งส่งให้กรรมาธิการล ้านนาช่วยดูแล ไม่ใช่เราท�ำแค่คนเดียว แต่เราก็บอกวิธีการคิด คือหนึ่งจะต้องท�ำภูมทิ ศั น์ให้ร่มเย็นขึ้น เราก็ส่งทีมภูมทิ ศั น์ไปดู เราก็วางคอนเส็ปท์ จากนัน้ ก็มเี จ้าหน้าที่ และภูมิสถาปนิกคอยปฏิบตั ิงาน หรือมีสถาปนิกอื่นๆ ของ กรรมาธิการล ้านนาช่วยกันต่อยอดไปอีก ถ้าท�ำทุกอย่างคนเดียวหมด
ก็ไม่ใช่มนุษย์แล ้ว เราก็วางกรอบให้เป็นล ้านนาสไตล์ แล ้วจะ มีช่างหรือเจ้าของผลงานไปคิดมา เมืองนี้แฮนด์ดิคราฟท์ มีตงั้ เป็ นร้อยๆ เจ้า ก็แบ่งๆ กันไป ผลประโยชน์กจ็ ะตกเป็ น ของเมืองนี้ทงั้ หมด ผมท�ำงานเหล่านี้มาทัง้ ชีวติ ก็เพือ่ อยาก ให้ทุกวงการ ไม่ใช่แค่เฉพาะวงการสถาปัตยกรรมเท่านัน้ นะ อยากผลักดันให้ความเป็ นล ้านนายังคงมีชวี ติ อยู่ ยังน่ารักอยู่ อย่างโคมไฟพวกนี้ หรือผลงานจากบ้านถวายทีเ่ ราไปหยิบ มาอยู่ในบ้านสวนศิลป์ สามารถเอามาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ ให้เป็ นศิลปะทีย่ งั เดินได้ พัฒนาไปได้ ไม่อยากให้หยุดนิ่ง หรือตายไป” พลังงานในการขับเคลือ่ นความคิดสร้างสรรค์ หรือ แม้กระทัง่ สร้างแรงบันดาลใจให้อาจารย์จุลทัศน์อยู่เสมอ คือ ธรรมชาติ ศรัทธา และศิ ลปวัฒนธรรม ถ้าอยู่ใน สภาพแวดลอ้ มที่มคี วามร่มรื่นและความงดงาม ส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ยิ่งถ้ามีความเชื่อ และความศรัทธาประกอบด้วยแล ้ว ก็จะยิง่ เป็ นพลังผลักดัน ให้หาหนทางไปสู่ความส�ำเร็จ โดยเฉพาะแนวทางของ อาจารย์จุลทัศน์ท่ตี อ้ งการให้ศิลปวัฒนธรรมอันสวยงาม และทรงคุณค่าของล ้านนาให้อยูไ่ ด้อย่างสง่างามในโลกยุคใหม่ เขายิง่ ต้องพัฒนาไอเดียความคิดในการออกแบบให้ทนั ยุค ทันสมัยอยู่เสมอ “พลังผมมีสามอย่าง โดยเฉพาะเวลาท�ำงานเกีย่ วกับ สถาปัตยกรรม พลังอันแรกคือเราเห็นธรรมชาติ ความงาม ธรรมชาติ ต้นไม้ เห็นป่ าเห็นเขา เห็นดอย เห็นแม่น�ำ้ นี่เป็ นพลังทีจ่ ะฉุดเราไปหาสิง่ ทีเ่ ราออกแบบ พลังอันทีส่ อง เราเชื่อว่าความเชื่อและศรัทธาคือสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ุด คนเรา ถ้าไม่มคี วามเชือ่ ก็ไม่มคี วามรัก และสุดท้ายทีอ่ ยากจะเห็น ทีส่ ุดคือความเป็ นศิลปวัฒนธรรมของเมืองนี้ แต่เราไม่ได้ ก๊อปปี้ บางคนบอกศิลปวัฒนธรรมเป็ นโบราณคดี แต่เรา มองโบราณคดีทจ่ี ะไปสูค่ วามก้าวหน้า รุ่นคุณก็คดิ อีกอย่าง ไม่ เ หมือ นรุ่ น ผม อย่ า งเช่ นโคมไฟที่ประยุกต์มาจากตุง ทีเ่ ป็นกระดาษหรือผ้า เราก็เอามาท�ำเป็นโลหะ ก็ดรู ว่ มสมัยขึ้น คนก็ อ ยากใช้ และก็ ไ ด้พ ฒ ั นาให้ก า้ วไปสู่ แ หล่ ง ขาย ระดับโลกได้ เพราะฉะนัน้ ถ้าเรายังย�ำ่ อยู่ทเ่ี ดิม ไม่พฒั นา ก็ค งไม่ได้ เพราะคนก็เ ริ่ม ทัน สมัย ขึ้น การศึ ก ษาดีข้ ึน ความเป็ นอยู่ดขี ้นึ เขาก็อยากได้สง่ิ อะไรใหม่ๆ” “แลว้ ผมเป็ นคนที่อ่านหนังสือเยอะ อ่านทุกเล่ม ทุกฉบับ พวกแม็กกาซีนต่างๆ การอ่านหนังสือก็คอื ปัญญา ทีเ่ กิดขึ้น เราก็พอจะจับทิศทางได้ เช่น ปี น้ สี อี ะไรฮิต ทิศทาง อะไรทีค่ วรจะไป ไม่ใช่เราเก่งคนเดียว เราต้องอ่าน หนังสือ คือเพือ่ นทีด่ จี ริงๆ เล่มนึงบางทีอ่านสีถ่ งึ ห้ารอบ การอ่าน ก็เพือ่ เก็บข้อมูลว่าโลกนี้เขาไปถึงไหนแล ้ว อ่าน คิด แล ้วก็ สเก็ตช์ท้ งิ ไว้ แลว้ ก็ส่งต่อให้ทมี งาน หรือหน่วยงานต่างๆ อย่างเราเห็นว่าสถาปัตยกรรมของพิพธิ ภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศ ฝรัง่ เศสน่าสนใจ ก็เอามาปรับเข้ากับเวียงกุมกาม ท�ำเป็ น พระธาตุ ห รื อ กู่ ท่ีเ ป็ น กระจก ไม่ ใ ช่ เ ป็ น อิฐ ถ้า เป็ น อิฐ เหมือนเดิมก็คงไม่น่าสนใจ ก็มคี นตัง้ ชื่อว่า กู่แก้วกุมกาม เราก็มคี อนเส็ปท์ ใครจะไปต่อยอดอะไรต่อก็ได้ แต่ทา้ ย ทีส่ ุดแล ้วก็ตอ้ งใช้สง่ิ ทีอ่ ยู่ในพื้นทีข่ องเรา Culture ของเรา เพีย งแต่ ป รับ เปลี่ย นวัส ดุ ใ หม่ ที่จ ริ ง อายุ ข นาดนี้ แ ล ว้ ผมก็อยากจะพักนะ แต่มาคิดดูอกี ที ถ้าเราพัก สมองเราจะ ไม่ฟงั ก์ชนั ่ พอสมองเราไม่ได้ทำ� งาน ก็จะหลงลืมไป เพราะ ตอนนี้ใจเรา สมองเรา ยังท�ำงานได้อยู่ และการท�ำงาน อาชีพนี้ สามารถท�ำไปจนถึงหมดลมหายใจ” a side / :45
:46 / a side
TAKE ME HOME COUNTRY ROAD บนหนทางสู่บ้านอันเรียบง่าย รงค์ สุภารัตน์
เอ้ รงค์ สุภารัตน์
เรื่อง: ชลธิดา ภาพ: ภีศเดช
เอ้ - รงค์ สุภารัตน์ คือชื่อนักดนตรีที่หลายคนบอกว่าเขาแปลก ที่ว่าแปลก ไม่ใช่ตัวเขา แต่เป็นเนื้อหาในเพลงที่เขาเลือกมาถ่ายทอด ศิลปินผู้นี้มีเรื่องเล่าขาน ในบทเพลงที่แตกต่างไปจากคนอื่น แต่ต่างอย่างไร... หลายคนที่ยังไม่เคยฟังเพลง ของเขาอาจนึกไม่ออก เขาไม่ใช่นักแต่งเพลงที่ไม่รู้ว่า ‘ตลาด’ ต้องการ ‘ฟัง’ อะไร แต่เพลงขายได้หรือไม่ ไม่ใช่วถิ ขี องผูช้ ายชือ่ เอ้ สิง่ ทีเ่ ขาให้ความส�ำคัญมากกว่าคือ บทเพลงนั้นแต่งออกมาจากหัวใจหรือเปล่า และเขาเป็นนักดนตรีที่ท�ำเช่นนั้น ในชีวติ วัยรุ่นเขาเติบโตมากับดนตรีโฟล์ค และอาจจะเรียกว่า เพราะได้ ‘ครูด’ี ช่วยบ่มเพาะและปลูกฝัง หลายคนอาจทราบอยู่แล ้ว ว่าเขาเป็ นลูกศิษย์กน้ กุฏขิ อง จรัล มโนเพ็ชร ศิลปิ นโฟล์คซองค�ำเมือง ผูไ้ ด้รบั การยอมรับว่าเป็ นศิลปิ นผูย้ ่งิ ใหญ่แห่งยุคสมัย ออกอัลบัม้ ของตัวเองชุดแรกชื่อ ‘เรื่องราวในกรุงเทพฯ’ สังกัดร่องเสียงล�ำไย ซึง่ มี สุทธิพงษ์ ทัดพิทกั ษ์กลุ (ฮาร์ท) เป็ นโปรดิวเซอร์ เพลงทีโ่ ดดเด่น จากอัลบัม้ นัน้ คือเพลง ‘YOU’ และ ‘ห้องสุดท้าย’ จากนัน้ มีโอกาส ท�ำเพลงประกอบภาพยนตร์ร่วมกับ ภิทรู พลชนะ เมือ่ ได้มาท�ำงาน เพลงในสัง กัด ไมล์ส โตนของ มาโนช พุฒ ตาล ท�ำ ให้เ ขาได้ร บั การยอมรับว่าเป็ นศิลปิ น INDY ยุคแรกของไทย และต่อมาก็ได้ ท�ำผลงานชุดทีส่ ามคือชุด ‘เรา’ ก่อนจะห่างหายจากวงการเพลงไปนาน หลายปี และกลับมาสร้างงานร่วมกับเพือ่ นฝูงในวงการดนตรีหลายคน ร่วมกันท�ำอัลบัม้ ‘HUG’ ออกมาในปี 2550 ในนามของค่ายเพลงอิสระ ชื่อ ‘สนุกนึก’ (อ้างอิงข้อมูลจาก www.guitarsiam.com) นัน่ คือเรือ่ งราวก่อนหน้าทีเ่ ราจะได้มาพบและมีโอกาสได้พดู คุย กันแบบจริงจัง ในบ่ายวันหนึ่งของปลายปี 2556 ภายในร้านอาหาร เล็กๆ ชื่อ ‘พิซซ่าต้นไม้’ ริมอ่างเก็บน�ำ้ ขนาดใหญ่ในอ�ำเภอจอมทอง เขาย้ายตัวเองและครอบครัวอันประกอบด้วย เอ้, หลิน ภรรยา และ ลูกสาวเล็กๆ อีกสองคน มาอยู่บา้ นชัน้ เดียวริมอ่างเก็บน�ำ้ แห่งนี้มา ร่วมสามปี แล ้ว เหตุผลทีค่ ุณเอ้บอกว่าตัดสินใจมาอยู่ทน่ี ่ี ก็เพราะเบือ่ ความวุน่ วายในเมือง เขาชอบชีวติ เรียบง่าย และต้องการจะมีชวี ติ แบบนัน้ ที่ดิน ตรงนี้ จึง กลายเป็ น บ้า นหลัง ใหม่ ห ลัง จากย้า ยมาหลายแห่ ง และอาจจะกลายเป็ นบ้านหลังสุดท้ายส�ำหรับเขา “ผมอยูม่ าหลายทีม่ ากเลย เคยท�ำร้านอาหารทีบ่ ้านตรงคันคลอง ชลประทาน แล ้วก็ยา้ ยมาถนนคนเดิน ท�ำอยูส่ องสามปี แล ้วก็ยา้ ยกลับ ไปทีบ่ า้ นคันคลองชลประทาน หางดง ย้ายไปช้างคลาน แล ้วก็กลับมา ที่บา้ นคันคลองชลประทานอีก เหนื่อยแลว้ จนก็ยา้ ยมาอยู่ท่นี ่ีได้ สามปี กว่าแล ้ว ผมมาท�ำยุง้ ข้าวไว้เมือ่ สิบกว่าปี ก่อน แต่งงานปุ๊ บผมก็มา ซือ้ ทีผ่ นื นี้ เงินเหลือก้อนสุดท้ายก็เอามาซือ้ ทีต่ รงนี้ไว้แล ้วก็ไปผจญโชคใหม่ แต่เราก็ไม่รูว้ า่ วันหนึ่งต้องมาใช้ ต้องมาอยู่ตรงนี้ พอเรามาอยู่น่เี ราก็ รูส้ กึ ดี ถ้าสิง่ แวดล ้อมไม่ดี เราก็ทำ� งานออกมาไม่ดี ถ้าชีวติ ไม่ดี คุณจะ มีเวลาทีไ่ หนไปชืน่ ชมผูอ้ น่ื เขา แต่ประเทศนี้แปลก เราไม่ใช่วา่ ยากจน ขนาดนัน้ มีเหลือมีใช้เยอะแยะ กลับมองไม่เห็นคุณค่าศิลปะอะไรพวกนี้ a side / :47
แต่ยุคนี้ยงั ดีกว่ายุคผม เมือ่ ก่อนยุคผมล�ำบาก เดีย๋ วนี้คนยังให้ความส�ำคัญ ศิลปะเยอะ ฉลาดขึ้น มองเป็ น” ระหว่างรออาหาร เอ้ก็ชวนเราเดินชมบ้าน เริ่มจากพาไปในครัว บอกชื่อเมนู ท่ีเราจะกินกันให้กบั ภรรยาเรียบร้อย ก็เดินน�ำไปสู่เลา้ เป็ ด “เข้ามาเลย” เขาเปิ ดประตูสงั กะสีของเลา้ เป็ ดออก พลางเชื้อเชิญให้เราเดิน ตามเข้าไป “ตรงนัน้ แม่เป็ ดก�ำลังฟักไข่อยู่ มาดูส”ิ พูดเสร็จก็ช้ ไี ปใต้แผ่น สังกะสี แม่เป็ ดตัวอ้วนก�ำลังนอนกกไข่ เขาบอกว่าเลี้ยงเป็ ดไว้กเ็ พือ่ เอามาใช้ ท�ำอาหาร โดยเฉพาะเมนู STEFANO สู ตรเฉพาะมีท่ีเดียวในโลกก็มี เนื้อเป็ ดเป็ นส่วนประกอบของซอส เวลาจะใช้มาประกอบอาหารคุณเอ้ จะเป็ นคนลงมือเชือดเป็ ดเอง แน่นอนว่าซื้อทีต่ ลาดง่ายกว่าถ้าคุณอยากได้ เป็ ดสักตัว แต่เอ้บอกว่าเขาไม่ไว้วางใจในระบบการเลี้ยงของเป็ ดเหล่านัน้ อะไรที่เ ป็ น อุต สาหกรรมมากเกิน ไปมัก มีอ นั ตราย และเป็ ด ที่เ ขาเลี้ย ง ตามธรรมชาติแบบนี้ปลอดภัยมากกว่า นอกจากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ยงั มีพชื ผัก อีกหลายอย่างที่เขาทัง้ ปลูกไว้กิน และไว้รกั ษาอาการเจ็บป่ วย เขาบอกว่า พยายามอยูก่ บั ธรรมชาติให้มากทีส่ ดุ ต้นไม้ทีเ่ ขาปลูกจึงมีประโยชน์หลายด้าน อย่ างต้นขี้เหล็กเขาเล่าว่าตัวเองกับลู กๆ จะเด็ดยอดอ่ อนมากินทุกวัน วันละสองถึงสามยอด เพือ่ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ออกจากเลา้ เป็ ดเขาก็พาเดินชมสวนต่อ บนพื้นที่กว่าห้าไร่น้ ี ยังมี ทีว่ า่ งเหลือเฟื อส�ำหรับท�ำอย่างอืน่ ยิง่ มีนำ�้ ล ้อมรอบด้วยแล ้ว การท�ำเกษตร ยิง่ ง่าย ระหว่างพาเดินลัดเลยไปตามต้นไม้ร่มครึ้ม เขาพลางบ่นเรือ่ งทีแ่ ม่ยาย ให้คนงานมาจัดการตัดต้นไม้ออกไปเสียบ้าง ก่อนทีส่ วนจะรกกว่านี้ ทีบ่ ่น ไม่ใช่เรื่องตัดต้นไม้ แต่เขาไม่ชอบวิธจี ดั การกับต้นไม้เหล่านัน้ ด้วยการเผา ในอัลบัม้ ชุดแรกเขาเคยแต่งเพลงเกีย่ วกับสิง่ แวดล ้อมเอาไว้ ชือ่ เพลง ‘พริบตา’ เป็ นการพูดถึงสิ่งแวดลอ้ มในชีวติ ประจ�ำวัน ซึ่งเป็ นสิ่งที่เขามี ความสนใจส่วนตัวอยูแ่ ล ้ว เพราะนี่คอื เรือ่ งจริงทีเ่ กิดกับเราทุกคน แต่หลายคน ไม่สนใจ โดยเฉพาะการเผาป่ าเผาดอยทีเ่ กิดขึ้นตลอดหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เรื่องเหล่านี้รบกวนจิตใจเขาจนต้องถ่ายทอดออกมาเป็ นบทเพลง “เหตุการณ์สำ� คัญทีก่ ระตุน้ มากก็เรื่องเผาป่ าเผาดอยนี่ไง ท�ำให้เกิด หมอกควันทัง้ นัน้ เมือ่ วานก็ทะเลาะกับแม่ยายเรือ่ งเผาต้นไม้ ผมว่าให้คนอืน่ แต่ท่บี า้ นผมก็เป็ นซะเอง ผมก็ตอ้ งเลือกเอาระหว่างคนที่ผมพอจะคุยได้ :48 / a side
หรือว่าคนทีผ่ มคุยไม่ได้เลย อย่างแม่ยายนี่พอจะคุยได้วา่ ขอต้นนัน้ ต้นนี้ไว้นะ เขามาท�ำให้ฟรี เราไปขวางก็ไม่ถกู ไม่งนั้ เราอยู่ร่วมสังคมกันไม่ได้ เขากับผม ก็เป็ นสังคมเดียวกัน อันนี้ก็เป็ นเหตุการณ์นึง ผมไม่ชอบเลยการเผาป่ า เผาขยะ เดีย๋ วนี้ปีนึง ชาวนาปลูกข้าวสามฤดู ชาวนาหนึ่งคนเผาไร่สามครัง้ ต่อหนึ่งปี เผาครัง้ นึงมีควันมากกว่ารถยนต์ทค่ี ุณใช้อกี ” การเลือกมาเปิดร้านขายอาหารอิตาเลีย่ นจ�ำพวกพิซซ่าและพาสต้าของเอ้ ก็มาจากเหตุผลเรื่องของสิง่ แวดล ้อมด้วยเช่นกัน เขาบอกว่าอาหารไทยสร้าง ขยะเยอะกว่า และสร้างพฤติกรรมผูบ้ ริโภคแบบกินทิ้งกินขว้าง อย่างพิซซ่า ถ้ากินไม่หมดอย่างมากก็เหลือแค่แป้ ง เหลือแค่ซอส แต่อาหารไทยเหลือทัง้ ผัก ทัง้ เนื้อสัตว์ และมีความจุกจิกเรือ่ งวัตถุดบิ มากกว่า เขาเล่าด้วยว่าเคยท�ำร้าน อาหารมาหลายร้าน ตัง้ แต่ขายข้าวซอยสูตรจีนฮ่อทีถ่ นนช้างคลาน จนกระทัง่ มาขายอาหารอิตาเลีย่ น ถึงแม้จะท�ำร้านอาหารมาตลอด แต่ไม่ได้หมายความ ว่าเขาชอบท�ำอาหาร เหตุผลทีเ่ ขาเลือกประกอบอาชีพนี้กเ็ พือ่ ‘Make Money’ “ไม่ได้ชอบท�ำอาหารนะ แต่วา่ มันเมคมันนี่ ท�ำให้ผมอยู่ได้ ร้านอาหาร คือทีท่ ค่ี นเขามากิน เราแสวงหาบางสิง่ บางอย่าง เราต้องพาตัวเองไปสูท่ าร์เก็ต อันนี้คดิ แบบเอเชีย ตอนแรกขายข้าวซอย ขายขนมจีน รูจ้ กั ถนนช้างคลาน ซอยทีม่ สี ุเหร่ามัย้ ทีม่ ขี า้ วซอยขาย บ้านผมขายแบบนัน้ เลย เพราะคุณพ่อ เป็ นคนจีนฮ่อ โอ้โห หกเดือน แปดเดือน ไม่มสี ุนขั ไหนมารับประทานเลย ชาวบ้านเขาไม่รูว้ า่ ข้าวซอยเราเป็ นอีกอย่าง ของเราเป็ นข้าวซอยแบบคนจีนฮ่อ แลว้ หลังจากนัน้ ก็ทำ� ร้านอาหารอิตาเลี่ยน และก็ยา้ ยมาอยู่ท่ีน่ีก็เปิ ดเป็ น ร้านพิซซ่าขึ้นมา จังหวะพอดีว่ามีคนมากินแลว้ ไปเขียนรีววิ ในเว็บพันทิป ก็เลยเริ่มมีคนรูจ้ กั ” นอกจากท�ำร้านอาหารแล ้ว ตอนนี้ก็มงี านแต่งเพลงประกอบโฆษณา สารคดี เพลงประกอบภาพยนตร์เ ข้า มาอยู่ เ ป็ น ระยะๆ แต่ เ ขาบอกว่า การแต่งเพลงไม่ใช่รายได้หลัก เพราะงานเหล่านัน้ มีเข้ามาก็จริง แต่ไม่ได้มอี ยู่ ตลอด การท�ำร้านอาหารจึงเป็ นรายได้หลักที่เขาใช้ดูแลครอบครัว ฉะนัน้ การท�ำร้านอาหาร ถึงแม้จะไม่ได้ชอบ แต่มนั คือสิ่งหล่อเลี้ยงชีวติ ของเขา และครอบครัว ความใส่ใจจึงไม่ใช่แค่รสชาติเท่านัน้ ยังครอบคลุมไปถึง วัตถุดิบด้วยที่ทำ� เองเกือบทัง้ หมด ไม่ว่าจะเป็ นแป้ งพิซซ่า หรือว่าซอส จะมีตอ้ งซื้อบ้างก็ในส่วนทีเ่ ขาไม่สามารถท�ำขึ้นมาเองได้ เพือ่ ให้คนกินได้รบั
อาหารอร่ อ ยและมีคุ ณ ภาพกลับ ไป โดยทัง้ หมดทัง้ มวลนี้ เ ขาบอกว่ า มาจากความต้องการใช้ชวี ติ ให้เรียบง่ายทีส่ ุด “ผมเบือ่ ความวุน่ วาย ผมก็ทำ� ชีวติ ให้งา่ ยๆ ท�ำงานง่ายๆ ปกครองชีวติ ครอบครัวตัวเองง่ายๆ ไปข้างนอกนี่ยากหมด เจอคนเยอะแยะ ใครเป็ นใคร ก็ไม่รู ้ รูจ้ กั บ้าง ไม่รูจ้ กั บ้าง คุยยากก็มี ฟอร์มเยอะก็มี เกลียดตัวกินปลาไหล ก็มี แทงข้างหลังกันก็มี เยอะแยะสารพัด เราเบือ่ แล ้ว เราก็ทำ� ชีวติ ให้งา่ ยๆ ดีกว่า อย่างผมเข้าเมืองทีไปเล่นดนตรี ก็อยากท�ำตัวง่ายๆ ความเรียบง่าย ส�ำหรับผมเป็ นอาวุธชนิดหนึ่ง เป็ นคุณชนิดหนึ่ง แต่ทุกวันนี้เพือ่ นๆ พีๆ่ น้องๆ ผมทีอ่ ยู่ในเชียงใหม่ ไม่ค่อยมาใช้ชวี ติ แบบนี้ เหมือนเป็ นระบบทีถ่ กู หล่อหลอมมาเลย ว่าคนเล่นดนตรี ต้องรับจ้าง ค�ำ่ มาก็ตอ้ งแบกกีตาร์ สะพาย ไปเล่นร้านนัน้ ร้านนี้ เป็ นกรรมกรกลางคืนไปซะ หรือคนทีเ่ ป็ นมนุ ษย์เงิน เดือนทัวไปก็ ่ แล ้วแต่ คือเป็ นอะไรทีเ่ ซ็ตไว้แล ้วโดยวัตถุในเมือง แต่ชวี ติ ของผม แตกต่างออกมานิดนึง คือผมตัง้ รับอยู่ตรงนี้ รอลูกค้าเข้ามาหาผม ผมใช้ ชีวติ ง่ายๆ นี่คอื หลักการใช้ชวี ติ ” ระหว่างรับประทานอาหารกัน เขาขออนุญาตไปเปิ ดเพลง เสียงเพลง ทีล่ อยแว่วออกมาจากห้องนอนทีเ่ ป็ นห้องท�ำงานด้วย ประกอบด้วยเนื้อร้อง เพียงไม่ก่ีประโยค และกินเวลาเพียงนาทีกว่า เอ้เดินกลับมาพร้อมบอกว่า นี่คือเพลง ‘หุ่นยนต์ ภาคสอง’ เป็ นหนึ่งในอัลบัม้ ชุดใหม่ทเ่ี ขาก�ำลังท�ำอยู่ และในชุดนี้เขาอยากเล่นกัน ‘ธีม’ มากกว่าเนื้อหาทีเ่ ป็ นองค์ประกอบหลัก เขาอธิบายเพิ่มเติมว่าถ้าเพลงที่สมบู รณ์เป็ นแม่ ‘ธีม’ ก็คือลู ก การให้ ความสนใจกับธีมเพลง เหมือนกับการเหลือเยือ่ ใยเล็กๆ น้อยๆ เพือ่ แสดงถึง ความเอื้ออาธรต่อบทเพลง “อย่างเพลงทีเ่ ปิ ดให้ฟงั (เพลงหุน่ ยนต์ ภาคสอง) ผมพอใจตรงนี้แล ้ว ก็ให้ยาวแค่ น้ ีพอแลว้ ล่ะ แค่ นาทีกว่า ผมอยากให้เพลงมีซาวน์แบบไหน ผมตัดสินด้วยตัวเอง อันนี้คือความพึงพอใจ เข้าใจความสุขของตัวเอง เป็ นพิเศษ เวลาท�ำงานให้ตวั เองกับท�ำงานให้ผูอ้ น่ื ไม่เหมือนกัน เพลงของตัวเอง ผมเป็ นผูพ้ พิ ากษาว่าแค่ไหนถึงจะพอดี แต่ถา้ ท�ำงานให้คนอื่น ลูกค้าคือ พระราชา อย่างเพลงหุ่นยนต์ทค่ี ุณบอกว่าซาวน์ดจี งั ผมโฟกัสทีว่ า่ งานแบบนี้ เพลงแบบนี้ เครื่องดนตรีตอ้ งน้อยชิ้น ไม่ใช่วา่ โน่นนีเ่ ต็มไปหมด มีกตี าร์ เบสส์ กลอง แค่น้ จี บละ Simple is The Best ท�ำงานง่ายๆ เข้าไว้ เน้นทีอ่ ารมณ์ ผมจะชอบใช้ตวั โน้ตทีเ่ ขาไม่ใช้กนั สังเกตเวลาผมโซโล ท่วงท�ำนองแบบนี้ เขาไม่ค่อยใช้กนั สิง่ เหล่านี้เป็ นเพราะบรรยากาศของเพลง ตัวโน้ตของเพลง ส�ำหรับผมรูส้ กึ ว่าธีมส�ำคัญ ไม่ใช่วา่ ท�ำมา สิบเพลงแล ้วก็จบไป ผมว่าควรจะ มีเอื้ออาทร มีเยื่อใยหลงเหลือให้เป็ นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เป็ นเรื่อง ของรายละเอีย ดเล็ก ๆ น้อ ยๆ ที่เ กี่ ย วเนื่ อ งกัน อัน นี้ ก็ เ ป็ น สิ่ง หนึ่ ง ที่ ผมคิดว่า ผมไม่ได้ยำ� ่ อยู่กบั ที่ ผมสนใจธีมมากกว่าการจะมาเก็บภาพรวม ทัง้ หมด “เพราะวันเวลา ท�ำให้เรามองตัวเองว่าทีผ่ า่ นมาเรามีอะไรทีเ่ หมือนเดิมบ้าง มีอะไรทีไ่ ม่เติบโตบ้าง อายุเราเยอะขึ้น ร่างกายก็ทรุดโทรม แต่เอ๊ะ! ท�ำไม งานเราไม่โต อะไรแบบนี้ เรื่องนี้ไม่ได้วดั ทีต่ วั เงินนะ ขายหรือไม่ขาย ศิลปิ น ดังหรือไม่ดงั ไม่ได้เป็ นตัวชี้วดั นะ ผมว่าวัดกันทีเ่ ราท�ำไปแลว้ รึยงั มากกว่า นี่ ก็ เ ป็ นแรงบัน ดาลใจให้ท �ำ อัล บั้ม ชุ ด นี้ เพราะว่ า ผมยัง ไม่ ไ ด้ท �ำ เรื่องธีมเนี่ย มันไม่ค่อยมีคนสนใจ ทัง้ ทีม่ คี วามส�ำคัญมากๆ เป็ นความใส่ใจ ของผูผ้ ลิต ทีใ่ ส่ใจผลงานตัวเอง หลังจากงานขายจบไปแล ้ว เขายังตามมาหา ลู กค้าเขาอีก มีบริการหลังการขาย ธีมคือสิ่งที่เราได้จากหัวใจผู บ้ ริโภค ว่าเขาชอบ เราไม่แร้นแค้นกับเขา มีพเิ ศษมีโน่ นมีน่ีมามอบให้ ที่สำ� คัญ คือมาจากใจเรา” ศิลปิ นหลายคนแต่งเพลงด้วยความรูส้ กึ และอารมณ์ทแ่ี ตกต่างกันไป ความทุ ก ข์ก็ เ ป็ น สิ่ง หนึ่ ง ที่ข บั เคลื่อ นให้บ ทเพลงถู ก กลัน่ กรองออกมา เช่ นเดียวกับความรักที่มกั เป็ นแรงผลักดันที่ดีอยู่ เสมอ ส�ำหรับเอ้แลว้ เขาบอกว่าแต่งเพลงจากความรูส้ กึ รูส้ กึ อย่างไรก็เขียนให้ซือ่ สัตย์กบั ความรูส้ กึ ความเหงาก็เขียนจากความเหงา ความรักก็เขียนจากความรัก ความทุกข์ก็ เขียนจากความทุกข์ แต่ทุกเพลงที่เขียนขึ้นเขาจะพยายามหลีกเลีย่ งจาก สิ่งที่มีอยู่ ก่อน แม้กระทัง่ การลอกเลียนความส�ำเร็จจากผลงานก่ อนๆ ของตัวเอง เขายิง่ ไม่ทำ �
เราต้องหมุนไปข้างหน้าเรื่อยๆ ไม่ ใช่ ยึดติดกับมัน แบบนั้นมันไม่มีชีวิต ไม่มีการ เจริญเติบโต
“บางเพลงเขียนไปร้องไห้ไป เพราะเรารูส้ กึ แบบนัน้ อย่างเพลงหุน่ ยนต์ ภาคหนึ่ง คิดถึงเด็กมาก คิดถึงชีวติ วัยเด็กของผม บ้านยากจน เราไม่เหมือน คนอืน่ เขา สิง่ เหล่านี้กผ็ ลักดันให้เราคิดแทนผูอ้ น่ื ได้ รูส้ กึ แทนผูอ้ น่ื ได้วา่ ก็เจ็บ เหมือนเรา สิง่ นี้สำ� คัญ ความรักก็มอี ทิ ธิพลส�ำคัญเหมือนกัน ผมเขียนเพลง รักออกไปเยอะแยะ เพราะบางครัง้ ผมรู ส้ ึกรัก รู ส้ ึกดี แต่เราก็พยายาม หลีกเลีย่ งท�ำในสิง่ ทีค่ นอืน่ เขาท�ำไปแลว้ แม้กระทัง่ งานชิ้นเก่าๆ ของตัวเอง ก็ไม่ยึดติด เราต้องหมุนไปข้างหน้าเรื่อยๆ ไม่ใช่ยึดติดกับมัน แบบนัน้ มันไม่มชี วี ติ ไม่มกี ารเจริญเติบโต อย่างเพลงหุ่นยนต์ได้กระแสตอบรับทีด่ ี ผมเขียนมาจากอารมณ์ทผ่ี มห่วงหาเด็กๆ คิดถึงลูกๆ ของผม ในชีวติ ผม ทุกๆ วันนี้ได้พบเจอความรุนแรง หรือเห็นเด็กทีใ่ ช้ชวี ติ ข้างถนน คุยกับเพือ่ นๆ หลายคนทีเ่ ป็ นนักวิชาการ เขาบอกว่าเด็กพวกนี้ออกจากบ้านมา เพราะทะเลาะ กับพ่อแม่ เมือ่ ก่อนผมก็ทะเลาะกับพ่อแม่ เลยนึกถึงเด็กคนอืน่ ก็จนิ ตนาการ เป็ นเรื่องๆ ไป เลยฟันธงให้ออกมาเป็ นเพลงหุ่นยนต์ภาคสองดีกว่า เพราะ ตราบใดทีป่ ระเทศนี้ยงั มีความรุนแรงกระท�ำต่อเด็กๆ แล ้ว เพลงแบบนี้กค็ วร จะมีอยู่ เพราะผมถือว่าผมเป็ นศิลปิ นทีท่ ำ� เพลงเพือ่ ชีวติ คนหนึ่ง เพียงแต่วา่ เป็ นเพลงเพือ่ ชีวติ ทีม่ วี ธิ กี ารเล่าเรื่องแตกต่างจากคนอืน่ ” a side / :49
LIVE & LEARN อยู่เพื่อเรียนรู้และก้าวต่อไป รองศาสตราจารย์ พงศ์เดช ไชยคุตร เรื่อง: ชลธิดา ภาพ: ชิษณุพงษ์
อาจารย์หนุม่ - รศ. พงศ์เดช ไชยคุตร มีตำ� แหน่งปัจจุบนั เป็นคณบดี คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และไม่ใช่เพิ่งมาเป็นเอาตอนใกล้เกษียณ แต่ด�ำรงต�ำแหน่งนี้มาแล้วหลายสมัย นอกจากงานบริหารคณะ เขายังสอนในชั้น เรียนด้วย และไม่ ใช่แค่เป็นอาจารย์ อีกฐานะหนึ่งเขาคือศิลปินภาพพิมพ์ มีผลงาน Solo Exhibition ออกมาเป็นประจ�ำทุกๆ สองปี ในวัยที่อายุอานามมิใช่น้อย แต่ยังพ่วงทั้งภาระการบริหาร จัดการคณะฯ การสอน รวมทั้งรับผิดชอบต่อตัวเองในฐานะศิลปินที่ต้องท�ำงานศิลปะออกมาสู่สังคม อย่างต่อเนือ่ ง เขาบอกว่าทุกภาระหน้าทีท่ รี่ บั ผิดชอบเหนือ่ ย และยาก แต่หยุดไม่ได้ โดยเฉพาะการท�ำงานศิลปะ ถ้าหยุดเมื่อไหร่ ก็เ ท่ากับทิ้งทุกอย่างที่ท�ำมาไว้เบื้องหลัง การเป็นศิลปินต้องท�ำงานอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการขึ้นยอดเขา ถ้าเดินไปเรื่อยๆ ถึงจะช้า แต่ยังมีวันไปถึง แต่ถ้าย่อท้อต่อตัวเอง ไม่ยอม ก้าวเดินเสียที การจะไปสู่จุดที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นศิลปินนั้นเห็นจะยาก หรือไม่อาจเป็นไปได้เลย
หลัง จบจากสาขาภาพพิ ม พ์ป ริ ญ ญาตรี แ ละโท มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาได้รบั ทุนรัฐบาลโปแลนด์ไปเรียนต่อ ด้านศิลปะที่ Acadamy of Fine Art ประเทศโปแลนด์ บรรยากาศของการเรียนในตอนนัน้ ค่ อนข้างล�ำบาก ด้วย ประเทศโปแลนด์ในตอนนัน้ ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม ไม่ว่าจะเรื่องอาหารการกิน หรือที่อยู่อาศัย ทุกอย่างต้องถูก แบ่งสันปันส่วนให้ทกุ คนเท่ากัน และทุกอย่างมีลมิ ติ ระหว่าง ไปเรียนอยู่ทน่ี นั ่ นอกจากต้องท�ำงานไปด้วยแล ้ว ในเวลาว่าง เขาก็หาโอกาสไปชมงานศิลปะยังประเทศใกล ้เคียงอย่าง อิตาลี และฝรังเศส ่ ซึง่ เมือ่ สามสิบกว่าปีกอ่ นเขาบอกว่าเป็ นเรือ่ งยากมาก ทีน่ กั ศึกษาด้านศิลปะจะมีโอกาสได้ออกไปเปิ ดโลกกว้าง และ การไปเสพงานศิลป์ทย่ี โุ รปเป็ นเรือ่ งทีท่ กุ คนใฝ่ ฝนั เมือ่ ได้ไปแล ้ว เขาก็ใช้เวลาสองปี ทโ่ี ปแลนด์ตกั ตวงกลับมาเป็ นวัตถุดบิ ส่วนตัว ส�ำหรับขับเคลือ่ นพลังในการสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไป เมื่อกลับมาเมืองไทยก็มาเป็ นอาจารย์ประจ�ำภาควิชา ภาพพิมพ์อยูท่ ค่ี ณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรวมกลุม่ กับศิลปิ นหลายคนตัง้ กลุ่มศิลปิ นลา้ นนาขึ้นมา เพือ่ ร่วมกัน พัฒนาวงการศิลปะในเมืองนี้ เขาบอกว่าปัญหาของวงการศิลปะ บ้า นเราคื อ ไม่ ใ ห้ค วามส�ำ คัญ ต่ อ การปลู ก ฝัง ด้า นศิ ล ปะ สักเท่าไหร่ ท�ำให้ศิลปะโตช้า แม้แต่ในเมืองเชียงใหม่ทห่ี ลายคน มองว่ า เป็ น ศู น ย์ร วมของศิ ล ปิ น หลายแขนงก็ ต าม ซึ่ง ใน ต่างประเทศมีพ้นื ฐานด้านศิลปะทีด่ กี ว่า ไม่ว่าจะการให้เด็กๆ ได้รูจ้ กั กับศิลปะแขนงต่างๆ ด้วยการเรียนรู ผ้ ่านการชมงาน :50 / a side
ศิลปะในแกลเลอรี่ทม่ี อี ยู่มากมาย ท�ำให้ต่างชาติมคี วามเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มากกว่า และน�ำไปพัฒนาต่อยอดได้เร็ว “ฝรัง่ เข้า ใจศิ ล ปะมากกว่ า คนไทย เพราะพื้น ฐาน เขาวางมาดี อย่ างในยุ โรปนี่มีมิวเซียมให้เข้าดู ตลอดเวลา แต่บา้ นเราไม่มอี ย่างนัน้ เด็กๆ เลยไม่ค่อยมีพ้ นื ฐานด้านนี้ เขาจะไม่เข้าใจหรอกว่าภาพพิมพ์คืออะไร แต่เด็กฝรัง่ รูห้ มด ว่ า นี่ เ ป็ นงานเพ้น ท์ต้ ิ ง ในศตวรรษที่ เ ท่ า ไหร่ หรื อ เรื่ อ ง ประวัตศิ าสตร์ศิลป์ เพราะว่าเขาพาเด็กเข้ามิวเซียมแล ้วก็สอน กันในนัน้ เลย แต่ของเราตรงนี้มนั ขาด แล ้วก็พยายามกระตุน้ กันมาตัง้ นานก็เขยิบมานิดเดียว อย่างหอศิลป์ มช. จะครบ สิบห้าปี แล ้ว วงการศิลปะในเชียงใหม่กไ็ ม่ค่อยมีอะไรกระเตื้อง เท่าไหร่ แต่กท็ ำ� ให้วงการเป็ นอินเตอร์ข้นึ เยอะ หลังจากทีเ่ รามี พื้ น ที่ ต รงนี้ ให้น ัก ศึ ก ษาหรื อ ศิ ล ปิ นทั้ง ในประเทศและ ต่างประเทศได้มาแสดงงานให้ชมกัน” ดู เหมือนว่าสถาบันสอนศิลปะผลิตบุคคลากรเพื่อให้ จบออกไปเป็ นศิ ลปิ น มากกว่าจะไปท�ำงานเกี่ยวกับศิ ลปะ ด้านอืน่ ๆ โดยเฉพาะการเป็ นคิวเรเตอร์ (Curator : ภัณฑารักษ์) ที่มหี น้าที่คดั เลือกงานศิลปะเข้าจัดแสดงในแกลเลอรี่ หรือ แม้ก ระทัง่ นัก วิจ ารณ์ ศิ ล ปะที่มีค วามจ�ำ เป็ น มาก ส�ำ หรับ การพัฒนางานต่ อไปในทิศทางที่ดีข้ นึ อาจารย์หนุ่ มบอกว่า ปัญหาเหล่านี้แม้จะรูๆ้ กันอยู่แลว้ ว่าวงการศิลปะในเมืองไทย ขาดแคลนอะไรอยู่บา้ ง แต่เมือ่ มีการสังสมมานานจนแก้ ่ ไขยาก เพราะกลายเป็ นเรื่องของระบบการศึกษาไปแล ้ว
a side / :51
“เริ่มตัง้ แต่การศึกษาเลยทีไ่ ม่มเี มเจอร์เกี่ยวกับด้านนี้เลย ไม่ว่าจะ เป็ นคิวเรเตอร์หรือประวัตศิ าสตร์ศิลป์ ร่วมสมัย ไม่มใี นประเทศไทย ไม่มี ใครสอน เราก็เคยพูดกันนะว่าเราจะเปิดวิชาทฤษฎีศลิ ปะขึน้ มาเป็นปริญญาตรี แต่ก็หาคนสอนยาก เพราะคนที่จบด้านนี้มามีไม่มเี ยอะ แต่ว่าในอนาคต ก็อาจจะมี รวมคิวเรเตอร์และศิลปะร่ วมสมัยต่ างๆ เข้าไปด้วย อย่าง เชียงใหม่เอง แม้หลายคนจะมองว่าเป็ นเมืองศิลปะ แต่ผมว่าศิลปะในเมืองนี้ โตช้านะ ช้ามาก เพราะส่วนใหญ่ศิลปิ นจะท�ำเองหมดทุกอย่าง ไม่วา่ จะเป็ น คิวเรเตอร์ หรือว่าผูบ้ ริหาร ผมเองยังต้องรับต�ำแหน่งเป็ นคณบดีดว้ ยเลย ซึง่ จริงๆ แลว้ ก็รบั กันหลายบทบาทเกินไป หรือแม้แต่การเขียนบทวิจารณ์ เราก็ตอ้ งท�ำ เพราะว่าจริงๆ หน้าทีพ่ วกนี้น่ไี ม่มคี นท�ำงาน หรือมีแต่คนท�ำงาน เหล่านี้ก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าไม่มใี ครจ้าง อย่างเช่นงานคิวเรเตอร์ ถ้าคุณ ไม่โด่งดัง ก็ทำ� ฟรีทงั้ นัน้ แหละ หรือไม่ก็ค่าตอบแทนน้อย อย่างผมเอง ทุกวันนี้แม้จะมานังเป็ ่ นผู ้บริหารคณะฯ แต่กย็ งั ไม่รวู่ ้ าจะแก้ปัญหาของทัง้ ระบบ ทีส่ งั ่ สมมาช้านานนี้ได้ยงั ไง แต่กจ็ ะพยายามท�ำ ค่อยๆ ขยับไป” นอกจากงานบริหารคณะวิจติ รศิลป์ แลว้ อาจารย์หนุ่มยัง ‘บังคับ’ ให้ตวั เองผลิตผลงานศิ ลปะออกมาอย่ างต่ อเนื่อง เขาตัง้ เป้ าว่าจะต้อง แสดงงานทุกๆ สองปี และงานแต่ละครัง้ ก็มเี ดิมพันสูง เพราะไม่ใช่แค่เพียง ท�ำงานให้เสร็จทันตามก�ำหนดเวลา แต่ยงั หมายถึงความน่าเชื่อถือด้านฝี ไม้ ลายมือในฐานะศิลปิ น ฉะนัน้ งานทุกชิ้นต้องออกมาดีทส่ี ุดในแง่ของคุณภาพ และแนวคิด ส่วนจะขายได้หรือไม่ สิง่ นัน้ ไม่ใช่ประเด็นส�ำคัญ และผลงาน ภาพพิมพ์ในยุคหลังๆ มักใช้วธิ กี ารเล่าแบบ Appropriation Art น�ำผลงาน ศิลปะของศิลปิ นดังมาเล่าในบริบทใหม่ อย่างเช่นการน�ำภาพชุด The Last Supper ของ เลโอนาร์โด ดา วินชี เขาเปลีย่ นรายละเอียดใหม่ลงไปในภาพ โดยเลือกบุคคลที่มชี ่ือเสียงของโลกมาทัง้ หมด 13 คน แลว้ น�ำมาแทน ในต�ำแหน่ งเดิมของสาวกพระเยซู คริสต์ รวมทัง้ เปลี่ยนพระกระยาหาร บนโต๊ะให้เป็ นเมนู เปิ บพิศดารแบบไทยๆ หรือการจับภาพชีวิตคนไทย :52 / a side
ช่วงน�ำ้ ท่วมมาท�ำเป็ นผลงานภาพพิมพ์ในชื่อชุด To Be or Not To Be แม้จะไม่ใช่งานลอ้ เลียนแบบ Appropriation Art แต่ก็สร้างความรูส้ กึ แสบๆ คันๆ ได้ดเี ช่นกัน “ทุกวันนี้กย็ งั ท�ำงานศิลปะอยู่ และก�ำลังจะ One Man Show ต้นปี หน้า ทีก่ รุงเทพ ผมชอบท�ำงานแบบ Appropriation Art เอาบริบทผลงานศิลปะ ทีม่ ชี ่อื เสียงของศิลปิ นดังมาเล่าใหม่ ท�ำให้เข้ากับยุคสมัย อย่างงานชุด The Last Supper ผมก็เลือกคนทีม่ ชี อ่ื เสียงของโลกทีผ่ มชืน่ ชอบมาทัง้ หมด 13 คน ก็ให้มานัง่ กินอาหารประหลาดของประเทศไทยกัน มีทงั้ ดา วินชี (Leonardo da Vinci : เลโอนาร์โด ดา วินชี), แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh : วินเซนต์ แวน โก๊ะ) หรือโมนาลิซา (Mona Lisa : โมนาลิซา) เราก็เอามาแปลง ให้เห็นว่าเดีย๋ วนี้โลกเราอะไรก็เป็ นไปได้หมด เช่นกินหนู, กินหนอน แต่กเ็ ป็ น เรื่องปกติ เมือ่ ก่อนเขาตกอกตกใจ เดีย๋ วนี้กลายเป็ นเรื่องธรรมดา หรือ การเอาไอน์สไตน์ (Albert Einstein : อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์) เอามาลอ้ ว่าถ้ามาในยุคนี้ไอน์สไตล์จะเข้าใจศิลปะไหม How do you Understand Art อาจจะไม่เข้าใจว่าเดีย๋ วนี้ศิลปะไปถึงไหนแล ้ว หรือ แวน โก๊ะ ก็ตอ้ ง ไปอ่าน Art Today ใหม่ เพราะว่าบริบทศิลปะเปลีย่ นไปแลว้ เป็ นต้น งานของผมมีแ รงบัน ดาลใจมาจากการสรุ ป ปัญ หาในผมเจอในชี วิต ประสบการณ์ทงั้ หลายที่เราคิดว่า Attrack เรามาตัง้ นานแลว้ ก็เอามา สรุปรวบยอดสักที แต่ถามว่าแล ้วต่อไปจะท�ำยังไง ก็ยงั ไม่รู ้ ก็วา่ กันไปอีก อาจจะเลิก เรื่อ งนี้ ไ ปท�ำ เรื่อ งอื่น แต่ ว่า เวลาท�ำ งานศิ ล ปะแล ว้ แฮปปี้ ไง ถามว่างานผมขายได้ไหม ขายไม่ได้หรอก ผมลงทุนไปตัง้ หลายแสน แต่วา่ ก็โอเค อย่างน้อยๆ เราก็ได้เปิ ดให้เยาวชน เด็กๆ ทีเ่ รียนศิลปะได้เห็น ว่าการเป็ นศิลปิ น ต้องมีการท�ำงานต่ อเนื่อง ต้องมีอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ใช่เป็ นแฟชัน่ บอกว่าเรียนศิลปะแล ้วดูเท่ แค่นนั้ ก็ไม่เข้าท่านะ” ในขณะทีต่ อ้ งสอนหนังสือไปด้วย เขาก็ยงั ต้องรับบทศิลปิ น ฉะนัน้ การแบ่งเวลาให้ดีก็เป็ นเรื่องส�ำคัญ ในวันเวลาราชการก็สอนหนังสือไป ตามปกติ ส่วนการท�ำงานศิลปะถ้าไม่หลังเลิกงานก็เป็ นวันเสาร์อาทิตย์ แต่ถา้ ระหว่างนัน้ เกิดมีไอเดียขึ้นมา เขาจะใช้วธิ รี ่างไว้ก่อน ค่อยมาต่อยอด ทีหลัง แต่การเป็ นอาจารย์กบั การเป็ นศิลปิ นจ�ำเป็ นมัย้ ทีจ่ ะต้องท�ำควบคู่กนั ไป การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งน่าจะชัดเจนกว่า และควบคุมผลงานได้ดกี ว่า ส�ำหรับอาจารย์หนุ่มเขาบอกว่าการเป็ นอาจารย์สอนศิลปะจ�ำเป็ นต้องเป็ น ศิลปิ นในคราวเดียวกันด้วย เขาเปรียบเทียบว่าเหมือนแม่ครัวสอนท�ำอาหาร ถ้า ไม่ท ำ� กับ ข้า วให้ดู แล ว้ จะเอาอะไรไปสอนใครได้ การเป็ น อาจารย์ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าตัวเองยังไม่ทำ� งานศิลปะในฐานะศิลปิ น แลว้ จะไปบอก ให้นกั ศึกษาเป็ นศิลปิ นได้อย่างไร “ผมว่าการเป็ นอาจารย์ตอ้ งเป็ นศิลปิ นนะ เพราะว่าอะไร เพราะว่า เราต้องเป็ นตัวอย่างให้เด็ก คุณจะไปสอนเขา แต่คณ ุ ไม่ทำ � แล ้วใครจะเชือ่ ถือ แต่บางคนเขาก็บอกว่าไม่จำ� เป็ น อันนี้ผมก็ไม่รู ้ แต่จริงๆ ผมว่าจ�ำเป็ น ก็คณ ุ จะสอนให้เขาเป็ นศิลปิ น แต่ คุณไม่เป็ น แลว้ จะยังไงต่ อละ ผมก็งงนะ
มันไม่ได้อยูท่ งี่ านขายไม่ได้ มันอยูท่ คี่ ณ ุ ว่าจะท�ำงานต่อเนื่องไปถึงไหน แล้วเดี๋ยว คนเขาก็จะติดตามเอง ก็แค่นั้นล่ะ แต่ถ้า คุ ณ ห่ ว ยแตก ก็ ต ายตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น แล้วชีวิตก็ไม่มีอะไร
อย่างคนบางคนเขาอาจจะท�ำงานไม่ได้ หรือว่าหยุดไปนาน ก็จะฝื ดมาก สุดท้ายก็เลยไม่ทำ � ง่ายกว่า โอเค อาจจะเป็ นเพราะบันไดแรกคุณเป็ น ครูบาอาจารย์ ก็เลยกลัว กลัวงานจะไม่ดี กลัวงานจะไม่ถงึ อย่างทีต่ วั เอง เคยคอมเมนต์คนอืน่ เขาไว้ เพราะว่าในทีส่ ดุ ออกมาสูส่ าธารณชน เขาบอกว่า ไอ้นีง่ านห่วยนีห่ ว่า ทีส่ ดุ คุณก็เสียหน้าใช่ไหม เพราะเคยพูดซะเยอะแยะไปหมด อะไรอย่างนี้ เลยกลายเป็ นกล ้าๆ กลัวๆ ทีจ่ ะท�ำงานศิลปะ ตรงจุดนี้ละ่ เป็ น จุดอ่อนของศิลปิ นที่เป็ นอาจารย์ แต่ผมว่าท�ำไปเถอะ ขึ้นบันไดขัน้ แรก เดีย๋ วก็ไปต่อเอง แต่ว่าถ้าคุณจะกระโดดขึ้นไปชัน้ สูงเลย คงไม่ได้ ก็ตอ้ ง ค่อยๆ เดิน ตอนแรกอาจจะเชย แต่วา่ ในทีส่ ุดก็จะพัฒนาต่อไปได้เอง ผมก็ เคยหยุดไปพักนึงเหมือนกัน ตัง้ แต่กลับจากยุโรปก็ตงั้ ตัวไม่ได้ แล ้วตอนหลัง ก็ไปแสดงงาน แล ้วต้องขยัน ตัง้ โปรแกรมว่า ต้อง One Man Show ทุก 2 ปี พอตัง้ ธงแบบนี้ปุ๊บ ก็จะมีงานออกมาตามที่เราคิด เพราะเราไปติดต่ อ แกลเลอรี่ไว้แลว้ ถ้าไม่มีงาน เราก็แย่ เหมือนบังคับให้ตวั เองท�ำงาน แล ้วก็ตอ้ งดีดว้ ย เพราะถ้าไม่ดี คุณไปเสียเงินท�ำแคตตาล็อก ท�ำงานไปแสดง แทนทีค่ ุณจะได้แต้มบวก คุณกลับโดนด่ากลับมา แลว้ คุณจะไปท�ำท�ำไม นัง่ เฉยๆ ดีกว่า จะลงทุนทัง้ ทีคุณก็ตอ้ งท�ำให้ออกมาดี” ท�ำงานศิลปะมาร่วมสีส่ บิ ปี อาจารย์หนุ่มบอกว่ายังไม่เคยคิดจะหยุดท�ำ แม้ระหว่างทางอาจมีพกั บ้าง แต่ไม่เคยหยุด เขาบอกว่าสิง่ ทีศ่ ิลปิ นจ�ำเป็ น ต้องมีคอื วินยั ในการท�ำงาน ต้องมีความสม�ำ่ เสมอ และมีความอดทน เพราะ การจะเป็ นศิลปิ นให้ใครๆ ยอมรับได้นนั้ ไม่ใช่แค่ทำ� งานออกมาเพียงไม่ก่ชี ้ นิ หรือแสดงงานหนึ่งครัง้ แลว้ จะเรียกตัวเองว่าศิลปิ นได้ เขาบอกว่าศิลปิ น ต้องให้คนอืน่ เรียก ไม่ใช่ตวั เอง โดยเฉพาะศิลปิ นรุ่นใหม่ตอ้ งอดทนให้มาก ต้องคิด และท�ำอยูต่ ลอดเวลาถึงจะเรียกว่าเข้าใกล ้ความส�ำเร็จ “ต้องท�ำงานต่อเนื่องนะ อย่างศิลปิ นรุน่ ใหม่ๆ หรือแม้แต่นกั ศึกษาเอง ก็ตาม ถ้าคุณท�ำงานศิลปะตัง้ แต่ปี 1 ถึงปี 4 แล ้วคุณมีงานร้อยชิ้น ก็ยงั ถือว่า กระจอกงอกง่อยอยู่ ไปดูศิลปิ นจริงๆ ทีเ่ ขาท�ำงานกันมีเป็ นพันชิ้น แล ้วเขา
ท�ำทุกเทคนิค เขาคิดตลอดเวลา อย่างปิ กสั โซ (Pablo Ruiz Picasso : ปาโบล รุยซ์ ปิกสั โซ) ท�ำทุกเทคนิค ตัง้ แต่เซรามิก เพ้นติ้ง ภาพพิมพ์ ปัน้ ท�ำมาหมดแล ้ว หรือ ดา วินชี ก็เป็ นนักวิทยาศาสตร์ดว้ ย เป็ นเพ้นเตอร์ดว้ ย คือพวกนี้เขา ไม่ได้ทำ� งานแค่ ช้ ินสองชิ้นแลว้ ดัง เขาจะท�ำงานตลอดชีวติ ตรงนี้แหละ คุณต้องตระหนักเอาไว้ว่า อย่าไปพูดเล่นว่า แหม…เป็ นศิลปิ นผมยาว แล ้วก็ เดินไปเดินมา ผมว่าไม่เข้าท่า ไปหลอกชาวบ้านเขา ความหมายของศิลปิ น คือคุณต้องท�ำงานศิลปะ ไม่ว่าจะอยู่ไหนก็แลว้ แต่ ไม่ใช่เดินเท่ ทุกคน ก็เดินเท่ได้ ไม่เป็ นศิลปิ นก็ไว้ผมยาวได้ อย่าไปเรียกตัวเอง ต้องให้สังคมเรียก ซึ่งต้องปลูกฝังนะ จะมาบอกว่าต้องมีพรสวรรค์ถงึ จะท�ำงานออกมาได้ดี ผมว่าไม่ใช่ เป็ นวินยั ในการท�ำงานมากกว่า ทุกอาชีพต้องมีวนิ ยั ในการท�ำงาน ศิลปะก็เช่นกัน ถ้าคุณไม่มวี นิ ยั คุณก็ยืนไม่นานหรอก เดีย๋ วคุณก็เลิก แล ้วต้องมีความสม�ำ่ เสมอในการท�ำงาน ถ้าคุณไม่มวี นิ ยั คุณก็เจ๊ง “ถามว่าพลังในการท�ำงานของผมมาจากไหน ก็คอื วินยั ทีส่ ะสมแต้ม มาเรือ่ ยๆ แล ้วพอหันกลับไปดู โหย…งานเยอะเว้ย แต่ถา้ คุณไม่ทำ� สักที คุณ ก็ไม่มอี ะไรหรอก ได้แต่นงั ่ ฝันเพ้อเจ้อ คุณจะขึ้นดอยสุเทพ แต่ดนั นัง่ กิน เหลา้ อยู่ตนี ดอย แลว้ ก็บอกว่า เออ…เดีย๋ วกูจะเดินขึ้น ผมจะบอกเลยว่า เฮ้ย! มึงเดินได้เลย เดินขึ้นไปเรือ่ ยๆ ช้าก็ไม่เป็ นไร เดีย๋ วก็ถงึ เอง อันนี้แหละ คือพลังทีส่ ะสมมา ผมว่าไม่มอี ะไรพิเศษใดๆ แล ้วก็หาข้ออ้างกันว่าขายงาน ไม่ได้บา้ ง ไม่มใี ครสนใจบ้าง มันไม่ใช่นะ เพราะมันไม่ได้อยู่ทง่ี านขายไม่ได้ มันอยู่ทค่ี ุณว่าจะท�ำงานต่อเนื่องไปถึงไหน แล ้วเดีย๋ วคนเขาก็จะติดตามเอง ก็แค่นนั้ ล่ะ แต่ถา้ คุณห่วยแตก ก็ตายตัง้ แต่เริ่มต้น แลว้ ชีวติ ก็ไม่มอี ะไร หันกลับก็มแี ต่อะไรก็ไม่รู ้ ไม่มอี ะไรเป็ นสาระส�ำคัญเลย ก็เหมือนการเดิน ชีวติ ของเราแหละ ถ้าเราเป็ นคนไม่ได้เรื่องนะ ใช้เวลาทิ้งไปวันๆ พอแก่ง ั ๊ก แลว้ หันไปดู ก็จะพบว่าชีวติ ไม่มอี ะไรเลย เหมือนที่พ่เี หลิม (เฉลิมชัย โฆษิตพิพฒั น์) พูดว่าทุกอาชีพมึงต้องท�ำจริงเท่านัน้ ถ้ามึงท�ำห่วยแตก มึงก็ไม่ได้อะไร” a side / :53
ภาพ: ภีศเดช คัมภิรานนท์ :54 / a side
GET UP, STAND UP ชีวิตจังหวะบลูส์ วัชร เจริญพร
เรื่อง: ชลธิดา ภาพ: ศมนภรณ์ / ภีศเดช
‘ตุ๊ก บราสเซอรี่’ หลายคนคุ้น เคยชื่อนี้มากกว่า ‘วัชร เจริญพร’ ซึ่งเป็นชื่อจริงของเขา ส่วนฝั่งคอหนังสืออาจคุ้นเคยกับค�ำเรียกขาน ‘จิมี่ เฮนดริกซ์ แห่งลุ่มน�้ำปิง’ ที่เปรียบดังสมญานาม อันเลื่องลือ ซึ่งขจรขจายด้วยผู้มอบให้เป็นถึงพญาอินทรีแห่งฟ้าอักษร ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ เหล่านั้น คือสิ่งที่หลายคนได้ยิน เกี่ยวกับตัวของมือกีตาร์รุ่น เก๋าผู้นี้ แต่กับตัวเขาเอง ทุกครั้งเวลาพบกัน นอกจากรอยยิ้มเปี่ยมไมตรี ยังมีน�้ำจิตน�้ำใจแก่คนรุ่นน้อง เขาจะแทนตัวเองว่า ‘พี่ตุ๊ก’ ทุกครั้ง และถ้ า พู ด คุ ย กั น ถู ก คอเขาก็ จ ะเรี ย กว่ า น้ อ งอย่ า งเต็ ม ปาก และเมื่ อ ไรที่ เ ป็ น พี่ เ ป็ น น้ อ งกั น แล้ ว เขาก็จะเริ่มบรรเลงเพลงแห่งมิตรภาพให้ฟังอย่างสุดหัวจิตหัวใจ
แม้ ‘ตุก๊ บราสเซอรี่’ จะไม่ใช่คนเชียงใหม่ บ้านเกิดของเขาอยู่ นครสวรรค์ แต่กพ็ ลัดรังมาอยูเ่ ชียงใหม่สามสิบกว่าปี จนกลายเป็ นคนเมือง อูเ้ มืองแหลวแล่ด มีเพือ่ นฝูงมากหลายทัง้ ในวงการดนตรี สือ่ ฯ และศิลปะ ยังไม่นบั แฟนเพลง และลูกวงทีก่ ลายเป็ นลูกศิษย์ไปโดยปริยาย หนทางเข้าสูเ่ ส้นสายดนตรีของเขาเริม่ มาจากการฟัง ตุก๊ เล่าว่าบ้านเดิม ทีน่ ครสวรรค์อยูต่ รงข้ามกับโรงภาพยนตร์ มีเพลงให้ฟังตลอด และมีทกุ แนว ตัง้ แต่ไทยเดิมยันลูกทุ่ง ยิง่ ฟังมาก ก็ยง่ิ กลายเป็ นความชอบ แต่ตอนนัน้ ได้แต่ทำ� ตัวเป็ นผูฟ้ งั อยู่อย่างเงียบๆ เพราะที่บา้ นไม่สนับสนุ น กระทัง่ สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ โลกดนตรีของเขาก็เปิ ดขึ้น “เป็ นคนที่โตมากับดนตรี ชอบเล่นดนตรีนนั ่ แหละ อยากเล่น แต่พอ่ แม่ไม่อนุญาต ไม่สนับสนุนเลย ก็จนได้มาเชียงใหม่น่แี หละ ก็ตาตื่น เหมือนกัน เพราะเราเคยได้แต่ฟงั อย่างเดียว ก็มาเจอพวกรุ่นๆ เดียวกัน อย่างตอนนี้ท่ยี งั เล่นอยู่ก็มพี เ่ี ต๊ะ (อิทธินนั ท์ อินทรนันท์) ไปดูเขาเล่น เราก็ต่ืนตาตื่นใจมาก เชียงใหม่สมัยนัน้ น่ ะสุดยอดมาก แลว้ ก็มไี ม่ก่ีท่ี ทีเ่ ล่นกันแบบว่าเอาเป็ นเอาตายเลย เราก็กำ� ลังไฟแรงเพิง่ จะอายุสบิ เก้ายีส่ บิ ปี พอดีมาเรียนปี แรกโดนพักการเรียน ก็เลยว่างไปปี นงึ คราวนี้กล็ ยุ เลย ปกติ ที่ ส โมสรนัก ศึ ก ษาก็ มีเ ครื่อ งดนตรีอ ยู่ แ ล ว้ เราก็ ฝึ กเลยปี นึ ง เต็ ม ๆ แล ้วค่อนข้างจะบ้าคลังมาก ่ เล่นแบบสมใจอยากเลย จากตอนแรกก็ฝึก วาดรูปด้วย เพราะเราชอบศิลปะ ไปๆ มาๆ รูปเริบเลิกวาดเลย เล่นกีตาร์ อย่างเดียว พบเรียนจบก็ได้ทนุ ไปเรียนต่ออังกฤษ โลกดนตรีของเราก็ยง่ิ เปิดกว้างขึน้ ไปอีก เพราะทีน่ นทุ ั ่ กคนต้องเล่นเป็ นมืออาชีพ เราก็ซ ้อมหนักมาก ก็มโี อกาสไปเล่นแบ็คอัพให้วงโน้นวงนี้ พอเขามีออดิชนกั ั ่ นเราก็ไปออดิชนด้วย ั่ ฝี มอื เราในตอนนัน้ ก็เรียกว่าพอจะติดทีมชาติอยู่กบั เขาเหมือนกัน (ยิ้ม) ตอนนัน้ ก็เรียนไม่จบอีก เพราะติดใจดนตรี”
เล่นกีตาร์ได้หลากหลายแนวเพลง แต่ทท่ี ำ� ให้ใครๆ ก็รูจ้ กั เขาคือ ท่วงท�ำนองเพลงบลูสบ์ าดหัวจิตหัวใจ ใครเคยฟัง ตุก๊ บราสเซอรี่ เล่น ก็ตอ้ งยอมรับว่าส�ำเนียงกีตาร์ของเขาเป็ นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร และยากทีจ่ ะเลียนแบบ บทเพลงทีเ่ ขาเล่าขานผ่านการดีดสาย บวกกับเสียงร้อง ทุมปนแหบพร่ ้ า สะกดใจคนฟังให้หยุดนิง่ กับเพลงทีเ่ ขาเล่น หากเป็นเพลงช้า อาจถึงกับเรียกน�ำ้ ตา แต่ ถา้ เพลงเร็วก็ยากที่จะอดใจไม่ให้ลุกขึ้นเต้น แลว้ เอกลักษณ์เหล่านี้ท่กี ลายเป็ นกลิน่ อายเฉพาะของ ตุก๊ บราสเซอรี่ ได้มาอย่างไร เขาบอกว่าเกิดจากการฝึ กฝนเป็ นส�ำคัญ ส�ำหรับนักดนตรี พอถึงวันหนึ่งก็ตอ้ งมีลายเซ็นต์ของตัวเอง แม่นทฤษฎีแลว้ การปฏิบตั ิ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์น่าพึงพอใจจนกลายเป็ นท่วงท�ำนองของตัวเองให้ได้ นัน่ จึงจะเรียกว่าประสบความส�ำเร็จ “อาจจะเป็ นเพราะเราได้ตวั อย่างทีด่ ี อย่าง Bob Dylan นี่ชอบมาก คือชอบวิธกี ารคิด แล ้วตอนนัน้ เรายังหนุ่มๆ รุส้ กึ ว่าเพลงโดนมาก เขาเล่น เก่งมาก แลว้ ก็เป็ นคนทันสมัยมาก ล�ำ้ ยุค หลายๆ ครัง้ เราก็เลยชอบ เล่นโฟล์ค ชอบเล่นกีตาร์โปร่ง แลว้ ยิ่งพอได้มาเจอพี่ชายของแฟนเรา คุณภาสกร ณ เชียงใหม่ เขาก็เป็ นบรมครูอยู่ทน่ี ่ี เขาเล่นกีตาร์ตวั เดียว แต่เสียงมีครบทุกอย่าง เราเห็นแลว้ ก็อยากเล่นเลยล่ะ เห็นแลว้ แบบว่า มหัศจรรย์มาก เราอย่างท�ำอย่างนัน้ มาก เหมือนกับพอเราได้เจอคนเจ๋งๆ เขาเล่นดนตรีกนั เราก็อยากจะเล่นแบบนัน้ ได้ดว้ ย ส่วนมาเป็ นแนวทาง ของตัวเองได้ยงั ไงอันนี้ตอ้ งใช้เวลานิดหน่อย คือโอเคก่อนจะเล่นเราต้อง แกะเพลง ต้องฝึ กฝนมาก่ อน แลว้ ก็ใส่จินตนาการของตัวเองเข้าไป ว่าอยากให้เป็ นแบบนี้ แต่ก่อนจะท�ำได้แบบนัน้ ทฤษฎีตอ้ งแม่น เราต้อง เล่นเหมือนต้นฉบับให้ได้ก่อน แล ้วถึงจะดัดแปลงให้เป็ นของตัวเองได้” a side / :55
ใช้ชีวติ นักดนตรีมาร่วมสามสิบปี แถมยังมีรา้ น Brassarie ของตัวเอง ทีต่ อ้ งดูแล และเล่นดนตรีอยู่แทบทุกคืน ก็มบี า้ งทีเ่ หนื่อย ท้อ ไม่อยากเล่นแล ้ว แต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ อยากหยุด เขาบอกว่าสิ่งที่ทำ� ให้ยงั เล่นดนตรีอยู่อย่างสม�ำ่ เสมอ ถึงตอนนี้ตอ้ งอาศัยความดื้ออยู่เหมือนกัน แม้สง่ิ ทีเ่ ขาท�ำในฐานะนักดนตรีอาจจะ ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อใครมาก แต่เชื่อว่าต้องมีคนเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร บ้างล่ะน่ า ยิ่งเปิ ดร้านที่มีดนตรีสดแบบนี้ หมายความว่าลู กค้าเขาก็ตงั้ ใจมา เพือ่ ฟังเราเล่น ฉะนัน้ การเล่นให้ดที ส่ี ุดคือสิง่ ทีเ่ ขายึดมันมาตลอด ่ “บางทีกอ็ ธิบายล�ำบากนะ โอเค เราเคยแบบบ้าคลัง่ แบบเร่งสปี ดเน้นสปี ด บางครัง้ เล่นแค่โน้ตสองโน้ตแต่เล่นให้โดนเลย บางทีก็เล่นกีตาร์โปร่งตัวเดียว แลว้ เราก็รอ้ ง แต่ อย่างหนึ่งที่มอี ยู่ตลอด ไม่ว่าจะเล่นอะไร ถ้าพูดแบบจิก๊ โก๋ ก็คอื จริงใจทีจ่ ะเล่น ยอมแม้กระทัง่ ต้องเมาก่อน เพือ่ ให้ผลลัพธ์ออกมาทีด่ ที ส่ี ุด ก็ขอเมา ก็แลกกันประมาณนัน้ เคยรูส้ กึ ว่าไม่อยากเล่นดนตรีแลว้ มัย้ ไม่มนี ะ อาจจะมีปจั จัยหลายอย่างทีเ่ กิดขึ้นกับร้านเรา บางทีก็มบี างอารมณ์ เฮ้ย…เซ็งว่ะ คือมีไม่อยากจับเลยเหมือนกัน แต่ ก็ไม่เคยคิดว่าจะหยุดเล่น แค่ เหมือนกับ เดีย๋ วหมอบไว้ก่อน แต่สุดท้ายก็อดเล่นไม่ได้” แม้จะมีฝีมอื เป็ นทีย่ อมรับในวงกว้าง เคยทัวร์คอนเสิรต์ ในฐานะมือกีตาร์ ให้หลายวงดนตรี (อย่างล่าสุดเพิ่งไปออกทัวร์กบั วงคาราวาน) และมีลูกศิษย์ ทางดนตรีมากมาย แต่เขาก็ไม่ได้คดิ ว่าจะต้องโด่งดังเป็ นศิลปิ นเต็มตัวทีค่ นรูจ้ กั ไปทัว่ ประเทศ เขาบอกว่าถ้าดัง รายได้อาจจะมากกว่านี้ แต่ความสุขของเขาไม่ได้ อยู่ตรงนัน้ เพราะเขาเป็ นนักดนตรีประเภทรักทีจ่ ะเล่น ในแบบทีต่ วั เองอยากเล่น ส่วนปริมาณคนฟังจะมากหรือน้อยนัน่ ไม่ใช่ประเด็นหลักทีเ่ ขาสนใจ “เรื่องโด่งดังนี่ไม่คดิ เลย ไม่มเี อ็กซ์ตรีมแบบทีว่ า่ อยากโด่งดังเลย โอเคล่ะ เรื่องรายได้กอ็ ยากจะได้นะ แต่อย่างหนึ่งทีค่ ดิ ตลอดเวลา เวลาเล่นดนตรีทกุ ครัง้ ตัง้ แต่ไหนแต่ไรจนถึงทุกวัน บางวันมีแขกแค่โต๊ะเดียวก็เล่นเต็มทีเ่ ลย เพราะรูส้ กึ ว่า เขาตัง้ ใจมาฟังเรา แล ้วเรายืนยันในสิง่ ทีท่ ำ� อยู่ เรามีความสุข อันนี้จะไปเปรียบเทียบ กับมีช่อื เสียงโด่งดังได้หรือเปล่า ไม่แน่ใจน่ะ เรามีผูช้ มขนาดนี้ พอใจละ เพราะเรา ไม่ต อ้ งอธิบ ายอะไร เขาก็อยากมาดู เราเล่น ในแบบที่เราเองก็จ ะเป็ นอิสระ
พ่อครัวทีม่ หี น้าทีป่ รุงอาหารดีๆ รสชาติแปลกใหม่มาน�ำเสนอลูกค้า “จะไม่ค่อยเล่นเพลงที่ไม่ใช่แนวทางตัวเองสักเท่าไหร่ อาจจะมีบางวัน ทีเ่ ล่นเพลงดวงจ�ำปา เพลงลูกทุ่ง เพลงสตริง หรือป๊ อปจ๋าๆ หรือแจ็ซซ์ไปเลยก็มี ก็ จ ะแล ว้ แต่ อ ารมณ์ไ ป แต่ บ างทีก็ ไ ม่อ ยากรบกวนน้อ งๆ นัก ดนตรีร า้ นเรา เพราะไม่ได้ซอ้ มกันมาก่ อน ก็ไม่อยากให้เขาไขว้เขวมาก ก็จะเล่นคนเดียว หรือบางทีเพลงที่แขกขอ เราเล่นได้ แต่ไม่ได้ซอ้ ม ใจเราก็อยากเอ็นเตอร์เทน หมดแหละ แต่ทไ่ี ม่เล่น เพราะเล่นไม่ได้จริงๆ แต่ทจ่ี ะไม่ได้จริงๆ เลย คือลักษณะ แกมบังคับ คือไม่ได้ขอเพลง เรียกขู่เพลง อันนี้เป็ นนิสยั ส่วนตัว ถ้าโดนข่มขู่ ก็จะสวนทันที ไม่ค่อยยอมเท่าไร พูดกันดีๆ ได้ แต่ห ้ามขู่ ถ้าขูม่ าปุ๊ บ กูเบี้ยว (หัวเราะ) เราอยูใ่ นพื้นทีม่ าพอสมควร พอขูป่ บุ๊ เราพอเข้าใจได้ ถ้าเป็นเมือ่ ก่อนจะตอบโต้เร็วมาก ตอนนี้กถ็ อื ว่าเย็นมากแล ้วนะ เมือ่ ก่อนสมัยหนุ่มๆ นีค่ อื เลิกเล่นเลย ลงจากเวทีไปเลย คือเดีย๋ วนี้กม็ รี า้ นหลายร้าน ถ้าคุณชอบเพลงแบบนี้ คุณก็ตอ้ งรูจ้ กั ร้านทีค่ วรจะไป แต่ถา้ คุณอยากจะลองมาชิมดนตรีของทีน่ ่ี ทางร้านก็มแี บบนี้นะครับ ก็คุยกันไป สนุกๆ เมือ่ ก่อนอาจจะไม่ค่อยได้คดิ กลายเป็ นลมออกหูไปก่อน “เดีย๋ วนี้ก็มแี บบฮาๆ เลียนแบบหนัง Blues Brother ภาคแรก ทีร่ า้ น Brassarie เก่า จะมีขอ่ื เราก็ตดิ ป้ ายไว้ถ้าใครจะขอ Hotel California 100 เหรียญ Stairway to Heaven 150 เหรียญ Let It be 50 เหรียญ ถ้าใครขอเพลงเหล่านี้ ก็ช้ จี ะไปทีข่ อ่ื กลายเป็ นข�ำไป เคยมีคนบ้าจี้ดว้ ยนะ ยอมจ่ายจริง เราก็เล่นจริง คือทีต่ อ้ งท�ำอย่างนี้เพราะเราคิดว่าเราไม่ใช่ Jukebox น่ะ แล ้วต้องเล่นเพลงพวกนี้ ทุกวัน คิดดูสวิ า่ คนเป็ นนักดนตรีน่รี ูส้ กึ เหมือนถูกท�ำร้ายมากนะ เหมือนกับจะให้ เราแก้ผา้ อยู่นนั ่ น่ะ โอเค เดีย๋ วผมจะเต้นจ�ำ้ บ๊ะให้คุณดูก็ได้ จ่ายมา จะเล่นให้ เหมือนกิก๊ เลย บางทีมแี บบมาเหนือเมฆจะเอาเวอร์ชนั ่ Jessie King อีก แต่เป็ น การตอบโต้ทฮ่ี าๆ ไม่งนั้ เราเครียดตาย นักดนตรีทเ่ี ล่นดนตรีในบาร์น่ีจะต้องเจอ ปัญหานี้ บางที Hotel California ยังไม่ทนั จบเลย ขออีกแล ้ว อันนี้กเ็ ลยต้องมี กระบวณการจัดการกันหน่อย ถึงแม้วา่ จะเป็ นดนตรีในบาร์ เป็ นสิง่ ทีบ่ อกน้องๆ นักดนตรีทกุ คนอยู่เสมอว่า คุณไปเล่นทีไ่ หน เราควรทีจ่ ะมีความกล ้าทีจ่ ะน�ำเสนอ ทัศนคติของเรา ใจคอท่านผูช้ มจะไม่ฟงั เพลงอืน่ ของ The Eagles เลยหรือไงวะ
เป็นพันเป็นหมืน่ ครัง้ ทีเ่ ราเล่นทุกครัง้ เราเหนือ่ ยมาก เราเปียกโชก เราวางกีตาร์ลง แล้วเห็นคนฟังยิ้ม แบบมีความสุข นั่นคือความสุขของเรา ในการเล่น ก็ใจดี และตื้นตันใจ เห็นหลายๆ คนนักดนตรีทแ่ี บบเยีย่ มๆ ในโลก หรือพูดง่ายๆ ดนตรีบลูสน์ ่ีแหละ นักดนตรีบลูสท์ งั้ หลายแหล่ท่เี ก่ งๆ ก็เป็ น คนทีถ่ กู ทอดทิ้งทัง้ นัน้ พอศึกษาดีๆ เขาเป็ นคนทีม่ ศี กั ดิ์ศรีมาก เขารูว้ า่ ในสถานะ ทีเ่ ขาเป็ นนัน้ เป็ นอย่างไง สิง่ ที่ Robert Johnson ท�ำก็เพิง่ จะมีคนมาค้นพบเมือ่ ไม่นาน มานี้ Eric Clapton เอามาท�ำให้โลกของคนขาวฟัง จริงๆ Rolling Stones เอาเพลง Muddy Waters นักดนตรีบลูสค์ นด�ำมาเล่น ลองไปศึกษาเขาด้วย ความภูมใิ จ เล่นได้แบบมีศกั ดิ์ศรีมาก เยี่ยมมาก แต่ เขาก็ไม่ได้ตดั พ้ออะไร ว่าในยุคสมัยเขา ท�ำไมกูไม่ดงั คับฟ้ าวะ เราก็เลยชอบ แต่ไอ้ทว่ี ่าอยากมีอลั บัม้ เป็ นของตัวเองนัน้ เคยคิด แต่ไหว้ครูนาน ก็อาจจะมีในเร็วๆ นี้แหละคิดว่านะ เพราะเพือ่ นๆ น้องๆ หลายๆ คนก็บอกอยู่ตลอดว่าถ้าพร้อมเมือ่ ไหร่กบ็ อกละกัน เขารอที่จะช่วยเหลือเราอยู่ คือรอมานานจนเขาไม่คุยกันแลว้ เรื่องนี้ หมัน่ ไส้ อยากถีบ (หัวเราะ)” ดูเหมือนดนตรีจะอยู่ในจิตวิญญาณและลมหายใจของ ตุก๊ บราสเซอรี่ แต่ทกุ อย่างย่อมมีขอบเขตและเงือ่ นไขเฉพาะตัว แม้เขาจะบอกว่าเล่นได้หมดทุกแนว แต่ ข อ้ ยกเว้น ส�ำ หรับนักดนตรีผูน้ ้ ีคือ จะไม่เล่น ถ้าไม่สนุ ก ส�ำหรับเขาการให้ เกียรติกนั เป็ นเรื่องส�ำคัญ เขาในฐานะนักดนตรีก็มแี นวทางในการน�ำเสนอเพลง ทีช่ ดั เจนว่าเพลงแนวไหน เล่นอย่างไร และจะไม่ค่อยเล่นเพลงตลาด เพลงไหน เล่นกันเยอะๆ หาฟังที่ไหนก็ได้ ตุก๊ จะไม่เล่น เพราะเขาเชื่อว่าเพลงดีๆ ยังมี อีกมากมาย เหมือนอาหารถ้ากินข้าวผัดกระเพราทุกวันก็เบือ่ เขาเองก็เหมือน :56 / a side
มีเพลงอื่นที่น่าฟังอีกเยอะแยะไป ท�ำไมเสพกันอยู่แค่ น้ ีล่ะครับ ไม่กว้างเลย เพลงจะได้เพราะ และมีฮาร์โมนี่มากกว่านี้ คุณจะฟัง Take it Easy ทัง้ วันทัง้ คืน เลยเหรอ งัน้ ผมให้คุณกินข้าวผัดกระเพราทัง้ ปี เลยเอาไหม แต่เราไม่ได้กา้ วร้าว แต่เราคิดอย่างนี้ ฟังดูอาจจะจิก๊ โก๋มาก แต่เราท�ำให้มนั ดูขำ� ๆ เพราะว่าหน้าเรา มันไม่ขำ� อยูแ่ ล ้วล่ะ ก็เลยต้องอุปมาอุปไมยกันนิดหน่อย อย่างทีเ่ ห็นน้องๆ เพือ่ นๆ หลายคนเขาก็เข้าใจในสิง่ ทีเ่ ราคิด บางทีกม็ เี พือ่ นพาเพือ่ นมาใหม่ดว้ ยความภูมใิ จ ว่าจะพามาดู เพื่อนเล่นนะ แต่ มขี อ้ ห้ามในวงเล็บปี กกาใหญ่ ๆ เลยว่ามึงห้าม ขอเพลงมันนะ (หัวเราะ)” ทุม่ เทกับดนตรีและใช้ชวี ติ ‘หนักหน่วง’ มาตลอดจนถึงวัยนี้ นอกจากความ หลงใหลคลังใคล ่ ต้ ่อการเล่นดนตรี เขาบอกว่าดนตรียงั เหมือนยาบ�ำบัดทีร่ กั ษา ได้ทกุ โรคทัง้ ทางกาย และเยียวยาจิตใจ เคยมีคราวหนึ่งป่ วยมาก คิดว่าตัวเอง คงเล่นไม่ไหว และคืนนัน้ ก็ไม่คดิ จะเล่น แต่พอได้จบั กีตาร์กลายเป็ นลืมหมดทุกสิง่ ยิ่งเล่น ยิ่งสนุ ก ยิ่งติดลม แลว้ สุ ดท้ายก็กลายเป็ นค�ำ่ คืนที่ยืดเยื้อยาวนาน เหมือนเกิดมาใช้กรรมด้วยการเล่นดนตรี เหมือนดนตรีกบั เขาเกิดมาเพื่อเป็ น ส่วนหนึ่งของกันและกัน “เคยได้ยินต�ำนาน Crooss Road มัย้ เป็นเพลงสัญลักษณ์ท่ี Robert Johnson ยินดีทจ่ี ะขายวิญญาณให้ปิศาจไปเลย คุณเอาวิญญาณผมไปเลย แต่ขอให้ผมเล่นให้ดี ทีส่ ดุ ทุกครัง้ ทีผ่ มเล่น ไม่วา่ จะสถานการณ์ไหนผมขอเล่นให้ดที ส่ี ุด ลมหายเข้าใจ เข้าออกของผม ผมขอมอบให้คุณให้หมด แบบลิเกมากเลยนะเนี่ย แต่ทกุ ครัง้ ที่
ภาพ: ศมนภรณ์ สุ่นศิริ
เราเล่นก็ไม่รูห้ รอกว่าอยากมอบอะไรให้ผูช้ ม ถึงแม้วา่ จะเป็ นเพลงคัฟเวอร์แต่จะ พิถพี ถิ นั มาก เราจะไม่เล่นส่งเดช ข้าพเจ้าจะไม่เล่นเด็ดขาด ถ้าร้านยังไม่มแี ขกเข้ามา ข้าพเจ้าก็จะเหมือนฝึ กฝนไว้ก่อน ฝึ กซ้อมไว้ก่อนให้น้ วิ คล่องแคล่ว เสร็จแล ้วผูช้ ม เข้ามาผมก็จะเล่นให้คุณฟัง คุณมาเถอะครับ ผมจะเล่นให้ท่านฟัง คือท่านมา คนเดียวหรือมาเป็ นร้อย ผมก็จะมอบความสุขให้ท่านเหมือนเดิมครับ เป็ นแบบนี้ มาตลอด เพราะเรามีความสุขมากทีไ่ ด้เล่นและเห็นคนทีฟ่ งั เขามีความสุข เราไม่ได้ ตีความไปเองนะ เพราะเป็ นพันเป็ นหมืน่ ครัง้ ทีเ่ ราเล่นทุกครัง้ เราเหนื่อยมาก เรา เปี ยกโชก เราวางกีตาร์ลง แล ้วเห็นคนฟังยิ้มแบบมีความสุข นัน่ คือความสุขของเรา เลยเป็ นความตัง้ ใจของเราด้วยมัง้ ทีท่ ำ� ให้เรารูส้ กึ อยู่ลกึ ๆ ตัง้ แต่ครัง้ แรกว่าอยาก เล่นดนตรี แน่ นอนเรามีความสุขกับการที่ได้เล่นมาก เวลาได้เล่นคอร์ดใหม่ๆ เราจะตื่นเต้นมากเหมือนได้ของเล่นใหม่ ก็ซอ้ มมันอยู่อย่างนัน้ แหละ พอเราเอา ความปิ ติของเรามอบให้คนฟังแบบเต็มใจให้ เลยเหมือนเป็ นการเล่นที่มากกว่า หน้าที่ เป็ นส่วนหนึ่งในฝันว่าอยากให้คนฟังเขามีความสุขกับเพลงของเราจริงๆ หลายครัง้ เก็บโต๊ะเก็บเก้าอี้แลว้ คนเขานัง่ กันอยู่ ทุกคนมีความสุข ทุกคนแบบ แฮปปี้นะเรารูสึ้ กได้แล ้วเขาก็เดินตัวปลิวกลับบ้าน บางทีเขาก็อาจจะไม่ได้คิดอะไรหรอก แต่เราไม่ได้รูส้ กึ ว่าเราเบือ่ เราไม่เบือ่ กับการเล่นดนตรีเลย” การคุยกันด�ำเนินมาจนถึงช่วงท้ายของบทสนทนา บุหรี่ตวั แลว้ ตัวเล่า ถูกดับลงถาด แก้วทรงเตี้ยทีพ่ ร่องไปแลว้ หลายรอบ ชีวติ นักดนตรี โดยเฉพาะ นักดนตรีท่เี ป็ นเจ้าของร้านเหลา้ อย่างเขา ดู จะหลีกเลีย่ งเหลา้ ยาปลาปิ้ งไม่พน้
แน่นอนว่าใครๆ ก็รูว้ ่าท�ำลายสุขภาพ เลยถามเขาว่าคิดจะหยุดบ้างไหมในวัยนี้ เขาตอบกลับมาแบบติดตลกว่าอยู่รา้ นเหลา้ แลว้ ไม่ด่มื นี่เป็ นเรื่องยากมากเลยนะ ใครท�ำได้น่ยี กต�ำแหน่งอรหันต์ให้เลย แต่เดีย๋ วนี้ดว้ ยวัยทีม่ ากขึ้นก็ตอ้ ง ‘เบา’ ลง ไปบ้าง พยายามผ่อนปรน ไม่ตามใจตัวเองมาก เดีย๋ วจะเล่นดนตรีไม่ได้ “ตอนนี้ก็เข้าสู่วยั รุ่นตอนปลายแลว้ นะ (หัวเราะ) ก็ตอ้ งเบาสิง่ ทีเ่ คยห้าวๆ นัน่ ล่ะ ก็คอื ว่าเราเป็ นคนทีห่ า้ วมาก แต่ตอนนี้ก็เบาไปเยอะแล ้ว ยังดีหน่อยก็คอื เป็นคนนอนแล ้วหลับสนิท ถือว่าโชคดี แต่กอ่ นอยูก่ บั เพือ่ นฝูงนีจ่ ะเมามันกันยกใหญ่มาก แต่ตอนนี้กค็ อื ต้องเบา อันไหนทีม่ นั จะท�ำลายสุขภาพเรา ก็ไม่ถงึ กับเลิกนะ แต่ต ้องเบา แค่นนั้ เอง ดูแลสุขภาพก็เริ่มมีบา้ งนิดหน่อย แต่ไม่เยอะ อย่างเนื้อสัตว์ก็เลิกกิน เป็ นบางอย่าง คือรูน้ ะแต่ไม่ค่อยท�ำ ก็เป็ นซะอย่างนี้ บางทีกโ็ กรธตัวเอง รูแ้ ต่ไม่ทำ � เราก็ทำ� ซะมัง่ ไม่งนั้ เดีย๋ วหมดแรง บางครัง้ ทีซ่ า่ กับตัวเองมากๆ ก็เริม่ มีอาการแล ้วล่ะ ร่างกายก็จะเตือนเรา อันนี้กต็ อ้ งลดความดันทุรงั ลง อย่างการดืม่ ก็ใช้วธิ กี ารแบบพุทธ คือดับกิเลส ผ่อนปรนให้กับตัวเอง อย่างบุหรีน่ จ่ี ำ� กัดไว้เลยว่าไม่เกินซองนึง ยีส่ บิ มวน ให้โควตาแค่นนั้ ไม่มกี ารไปซื้อเพิม่ ถึงนายอดอยากแค่ไหน ก็โอเคไปไถน้องๆ ได้อกี คนละมวน เป็ นห้ามวน หลังจากนัน้ ก็นอน ตืน่ มาบ่ายๆ เริม่ ซ้อมดนตรีอาจจะ มีอกี สีห่ รือห้าตัวก็วา่ กันไป แต่เราต้องเด็ดขาด หมดแล ้วหมดเลย ส่วนเหล ้าก็โอเค กินทีม่ นั High Quality หน่อย น้อยแก้วลงหน่อย จะกินเยอะนานๆ ที เวลาเจอ เพือ่ นรักกันก็ซดั ให้เต็มทีอ่ ะไรก็วา่ กันไป เรือ่ งตายนี่กต็ อ้ งตายกันทุกคนอยูแ่ ล ้วล่ะ ไม่ได้กลัวตาย แต่ก่อนจะตายก็อยากให้ตวั เองได้ทำ� งานไปอีกสักหน่อย (ยิ้ม)” a side / :57
:58 / a side