เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ

Page 1


สารบัญ โครงการประชุ มวิชาการ กาหนดการประชุ มวิชาการ

หน้ า 1 3

การนาเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ห้ อง 1 ราชพฤกษ์ : หมวดอารักขาพืช ผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตร พืชเครื่ องดื่ม ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่ งแวดล้อม หมวดอารักขาพืช ผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตร 1 การศึกษาโรคไวรัสใบจุดวงแหวน การถ่ายทอดเชื้อทางเมล็ดพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ตา้ นทาน และ วิธีการจัดการโรคและศัตรู สาคัญของมะละกอ

8

2 การพัฒนาเครื่ องระเหยสารสกัดจากตัวอย่างพืชเพื่อวิเคราะห์สารตกค้าง ด้วยท่อลมร้อน

9

3 การวิจยั และพัฒนาปุ๋ ยอินทรี ย ์

10

หมวดอารักขาพืช ผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตร พืชเครื่ องดื่ม 4 การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดไรแดงของกุหลาบ

11

5 การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ

12

6 คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีกาแฟสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกในพื้นที่ส่งเสริ ม 13 และพัฒนาของโครงการหลวง 7 กระบวนการผลิตกาแฟอราบิกา้ ในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบ โครงการหลวง

14

8 การศึกษาวิธีการปลูกและการจัดการสวนที่ดีเพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟอราบิกา้ ที่ปลูกในสภาพร่ มเงา

16

9 การศึกษาและคัดเลือกชนิดผึ้งที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการผสมเกสรในไม้ผลและ กาแฟ

17

หมวดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม 10 การวิจยั การอนุ รักษ์และฟื้ นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์ของชุมชนบนพื้นที่สูง

18

11 การวิจยั และพัฒนาการปลูกไผ่บนพื้นที่สูง

19


หน้ า หมวดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม (ต่ อ) 12 การวิจยั เชิงปฏิบตั ิการเพื่อฟื้ นฟูและส่ งเสริ มการใช้ประโยชน์เห็ดท้องถิ่นบนพื้นที่สูง

20

13 การวิจยั เพื่อฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินบนพื้นที่สูง

21

ห้ อง 2 ชัยพฤกษ์ : หมวดประมง ปศุสัตว์ ไม้ ผล การสร้ างมูลค่ าเพิม่ จากความหลากหลายทางชี วภาพ การวิจัยเชิงพืน้ ที่ หมวดประมง ปศุสัตว์ 14 การศึกษาประสิ ทธิภาพการสื บพันธุ์ปูขน

23

15 การประเมินผลสาเร็ จของงานพัฒนาและส่ งเสริ มด้านปศุสัตว์ของมูลนิธิโครงการหลวง

24

16 การทดสอบชนิ ดชันโรงเพื่อเพิม่ ประสิ ทธิ ภาพการผสมเกสรในมะม่วงร่ วมกับเกษตรกร บนพื้นที่สูง

25

หมวดไม้ ผล การสร้ างมูลค่ าเพิม่ จากความหลากหลายทางชี วภาพ 17 การวิจยั และพัฒนาการผลิตองุ่น

26

18 ผลของการควัน่ ต้นต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless

27

19 ผลการสารวจการระบาดของโรคและแมลงของพืชตระกูลส้มในพื้นที่ต่างกัน 3 ระดับ

28

20 การศึกษาผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อผลิตผลของไม้ผลบนพื้นที่สูง

29

21 การวิจยั และพัฒนาต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์จากการวิจยั เพื่อนาไปสู่ การใช้ประโยชน์เชิง พาณิ ชย์ กรณี ศึกษาส่ งมอบผลงานวิจยั ให้แก่มูลนิธิโครงการหลวง

30

22 การศึกษาแนวทางการปลูกเลี้ยงตีนฮุง้ ดอย (Diaswapolyphylla Smith) เพื่อการใช้ประโยชน์ สาหรับอนุรักษ์และเสริ มสร้างอาชีพ

31

หมวดการวิจัยเชิงพืน้ ที่ 23 แผนงานวิจยั เกษตรนิเวศในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง

32

24 การวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่ น

33

25 การศึกษาระบบการปลูกพืชเพื่อเสริ มสร้างความมัน่ คงด้านอาหารในโครงการพัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงแม่สอง

34


หน้ า หมวดการวิจัยเชิงพืน้ ที่ (ต่ อ) 26 การวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนป่ าเมี่ยง

35

ห้ อง 3 กัลปพฤกษ์ : หมวดไม้ ดอกไม้ ประดับ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรู ปผลิตภัณฑ์ พืชผัก พืชไร่ หมวดไม้ ดอกไม้ ประดับ 27 ความก้าวหน้าของงานวิจยั การพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้สกุลซิมบีเดียมสาหรับงานผลิตของมูลนิธิ โครงการหลวง ตอนที่ 3

37

28 ความก้าวหน้าของงานวิจยั การปรับปรุ งพันธุ์กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซิ สสาหรับงานผลิตของ มูลนิธิโครงการหลวง ตอนที่ 2

38

29 การพัฒนาพันธุ์วา่ นสี่ ทิศ

39

หมวดวิทยาการหลังการเก็บเกีย่ ว การแปรรู ปผลิตภัณฑ์ พืชผัก พืชไร่ 30 การพัฒนาบรรจุภณั ฑ์ยอ่ ยสลายได้เพื่อการวางจาหน่ายผลพี้ชสด

40

31 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสพริ กจากพริ กหวานโครงการหลวง: ซอสหวาน ซอสเผ็ด และซอส เลียนแบบน้ าพริ กหนุ่ม

41

32 การศึกษาวิจยั วิธีการผลิตหัวพันธุ์กระเทียมโดยการมีส่วนร่ วมของเกษตรกร

42

33 การศึกษาวิธีการป้ องกันกาจัดด้วงงวงมันเทศญี่ปุ่น

43

34 ความก้าวหน้าการวิจยั คีนวั ในประเทศไทย

44

35 การประเมินและคัดเลือกประชากรถัว่ สาหรับพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง

45

หมวดพืชไร่ 36 ความดีเด่นของลูกผสมและสมรรถนะในการผสมของเฮมพ์

47

37 การคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ THC ต่า ให้มีเปอร์ เซ็นเส้นใยสู ง รุ่ นที่ 7

48

38 การศึกษาและพัฒนากระบวนการแปรรู ปผลิตภัณฑ์จากเส้นใยเฮมพ์

49

39 สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกข้าว-ถัว่ หมุนเวียนบนพื้นที่สูง

50


หน้ า การนาเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ 1

การประเมินทดสอบสายพันธุ์ของถัว่ ปากอ้าบนพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง

52

2

การทดสอบวิธีการจัดการปุ๋ ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนา

53

3

การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ขา้ วไร่ ทอ้ งถิ่นบนพื้นที่สูง ที่ทนทานแมลงบัว่ ไม่ไวต่อช่วงแสง และ 54 พันธุ์ขา้ วไร่ ทอ้ งถิ่นที่มีคุณภาพพิเศษทางโภชนาการ

4

การศึกษาช่วงเวลาปลูกเฮมพ์ที่เหมาะสมสาหรับการผลิตเส้นใยเฮมพ์

55

5

การคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์สายพันธุ์แท้

56

6

การศึกษาและพัฒนาชุดตรวจวัด THC อย่างง่ายสาหรับเฮมพ์ (THC strip test)

57

7

การรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอราบิกา้ คุณภาพดีเยีย่ มของโครงการหลวง

58

8

การศึกษาการปลูกกาแฟอราบิกา้ ภายใต้สภาพร่ มเงาร่ วมกับการจัดทาระบบอนุ รักษ์ดินและน้ าใน 59 พื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

9

การศึกษาวิธีการให้น้ าพร้อมน้ าหมักชีวภาพในการปลูกผักอินทรี ย ์

60

10 การศึกษาวิธีการควบคุมเสี้ ยนดินศัตรู พืชบนพื้นที่สูง

61

11 อิทธิพลของ IBA ต่อการชักนาให้เกิดรากขององุ่นพันธุ์ตน้ ตอ 6 สายพันธุ์

62

12 การเปรี ยบเทียบกิ่งพันธุ์ที่เสี ยบยอดบนต้นตอมะม่วงพันธุ์ตลับนาค

63

13 ฤทธิ์ ตา้ นอนุมูลอิสระและปริ มาณธาตุอาหารในมัลเบอร์ รี 7 พันธุ์

64

14 ผลของสารปี โตเลียมในการเปลี่ยนยอดพันธุ์โดยการต่อกิ่งกับไม้ผล (เสาวรส)

65

15 ผลของสารปี โตเลียมในการเปลี่ยนยอดพันธุ์โดยการต่อกิ่งกับไม้ผล ( อาโวคาโด )

66

16 การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์เสาวรสสาหรับพื้นที่สูง

67

17 การวิจยั รู ปแบบการปลูกราสพ์เบอร์ รี่บนพื้นที่สูง

68

18 การวิจยั และพัฒนาการผลิตต้นแม่พนั ธุ์ส้มปลอดโรคสาหรับพื้นที่สูง

69

19 การศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารสาหรับพืชตระกูลส้ม

70

20 ผลของขนาดหัวพันธุ์ต่อการเจริ ญเติบโตและคุณภาพดอกของว่านสี่ ทิศ

71


หน้ า การนาเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (ต่ อ) 21 การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์บวั ดินที่มีศกั ยภาพในการผลิตหัวพันธุ์เพื่อจาหน่าย

72

22 การคัดเลือก ปรับปรุ งพันธุ์สุกรลูกผสม และการทดสอบสู ตรอาหารที่เหมาะสม

73

23 การคัดเลือก ปรับปรุ งพันธุ์ สุ กรสายพันธุ์พ้นื เมืองแท้และพื้นเมืองลูกผสมเหมยซาน

74

24 การศึกษาเครื่ องหมายทางพันธุ กรรม สาหรับบ่งชี้ เอกลักษณ์ของสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง

75

25 การประยุกต์ใช้โปรแกรมฮอร์ โมนเพื่อเพิ่มอัตราการให้กาเนิดลูกแกะของแม่แกะพันธุ์ขนภายใต้ 76 สภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูง 26 ผลของการเติม Lactobacillus plantarum J39 ต่อคุณภาพการหมักและองค์ประกอบทางเคมีของ 77 หญ้าเนเปี ยร์ ปากช่อง 1 หมัก 27 การวิจยั การผลิตอาหารสัตว์อินทรี ย ์

78

28 การพัฒนาระบบก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็ นพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าและปั้ มน้ าบนพื้นที่สูง

79

29 การศึกษาพันธุ์ไก่พ้นื เมืองบนพื้นที่สูง

80

30 การศึกษาวัสดุรองพื้นคอกที่เหมาะสมสาหรับการเลี้ยงหมูหลุมบนพื้นที่สูง

81

31 การวิจยั เพื่อปรับปรุ งประสิ ทธิ ภาพการให้น้ าและปุ๋ ยแก่ไม้ผลสาคัญบนพื้นที่สูง

82

32 การปรับปรุ งกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักอินทรี ยข์ องโครงการหลวง

83

33 การศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็ นชุมชนคาร์ บอนต่าและยัง่ ยืน

84

34 การศึกษาการจัดการขยะและน้ าเสี ยของชุมชนบนพื้นที่สูง

85

35 การศึกษาชนิดไม้ทอ้ งถิ่นและการใช้ประโยชน์เพื่อการปลูกป่ าชาวบ้าน

86

36 การศึกษาชนิด/พันธุ์ไม้สนเพื่อปลูกเป็ นสวนป่ าและการอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการหลวงวัดจันทร์ 87 37 การฟื้ นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่ าไม้อย่างยัง่ ยืนภายใต้กระบวนการมีส่วนร่ วมของชุมชน บ้านวัดจันทร์

88

38 การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพร

89

39 การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโรคราสี เทาของพริ กหวาน

90

40 การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโรคแผลเน่าของอาโวกาโด

91


หน้ า การนาเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (ต่ อ) 41 การศึกษาและทดสอบประสิ ทธิ ภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเกษตรจากผลงานวิจยั แบบมีส่วนร่ วมของ 92 เกษตรกร 42 การศึกษาและคัดเลือกสารดึงดูดเพลี้ยไฟของเบญจมาศ

93

43 การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโรคราสี เทา (Botrytis) ของกุหลาบ

94

44 การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ตน้ แบบสาหรับแม่และเด็ก

95

45 การวิจยั และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสุ ขภาพสาหรับผูส้ ู งอายุ

96

46 การวิจยั และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เวชสาอางบารุ งผิวหน้าสาหรับกลางคืน

97

47 การศึกษาคุณลักษณะทางเภสัชเวท และข้อกาหนดมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร และสารสกัดพืช ท้องถิ่นบนพื้นที่สูงที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสาอางของมูลนิธิโครงการหลวง

98

48 การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสาอางนาโนสาหรับเส้นผม

99

49 การศึกษาระบบการปลูกพืชเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงโป่ งคา

100

50 การวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนทานาบนพื้นที่สูง

101

51 การวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในพื้นที่เฉพาะ

102

52 การทดสอบรู ปแบบการพัฒนาชุมชนต้นแบบโครงการหลวงในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบ โครงการหลวง

103

53 การศึกษาระดับการพัฒนาของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการพัฒนา 104 พื้นที่สูงแบบโครงการหลวง


การประชุมวิชาการ ผลงานวิจยั ของมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจยั และพัฒนาพืน้ ทีส่ ู ง (องค์ การมหาชน) ประจาปี งบประมาณ พ.ศ.2561 วันศุกร์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ----------------------------------------------1. หลักการและเหตุผล งานวิจัย ถื อ เป็ นรากฐานที่ ส าคัญ ต่ อ การพัฒ นางานของมู ล นิ ธิ โ ครงการหลวง ตลอดระยะเวลา4 ทศวรรษ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา มูลนิ ธิโครงการหลวง มุ่งมัน่ สื บสาน รักษา และต่อยอดงานวิจยั ในการพัฒนาคนและชุมชนโครงการ หลวงให้สามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้การดาเนิ นงานวิจัยเพื่ อตอบสนองเป้ า หมาย 4 ประการ คื อ (1) ช่ วยชาวเขาเพื่ อ มนุษยธรรม(2) ช่วยชาวไทยโดยลดการทาลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่ าไม้และต้นน้ าลาธาร (3) กาจัดการปลูกฝิ่ นและ (4) การรักษาดินและใช้พ้ืนที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยูส่ ่ วนที่เป็ นป่ า และทาไร่ ทาสวนในส่ วนที่ควรเพาะปลูก โดยงานวิจยั ของ มูลนิธิโครงการหลวงมุ่งหาองค์ความรู ้ใหม่ที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขปั ญหาการ ประกอบอาชี พของเกษตรกร การพัฒนาคุณภาพชี วิต ตลอดจนการอนุ รักษ์และฟื้ นฟูป่าต้นน้ าลาธาร ซึ่ งผลงานวิจยั ของ มูลนิ ธิโครงการหลวงในแต่ละปี จะมีชนิ ดและพันธุ์พืชชนิ ดใหม่ ตลอดจนวิธีการปฏิบตั ิ รักษา และการจัดการที่เหมาะสม เพื่อนาไปถ่ายทอดต่อเกษตรกรจานวนมาก สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เป็ นองค์กรขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงเพื่อเสริ มสร้างชุมชน บนพื้นที่สูงให้มีคุณภาพชีวติ และสิ่ งแวดล้อมที่ดี โดยดาเนินงานวิจยั ที่สนับสนุนงานของมูลนิ ธิโครงการหลวงในด้านต่างๆ และนาองค์ความรู ้และเทคโนโลยีของโครงการหลวงไปทดสอบและปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สูงอื่น รวมทั้ง สนับสนุนการวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเน้นการรวบรวม การเก็บรักษา การ สังเคราะห์และพัฒนานวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนเพื่อนาไปสู่ การเสริ มสร้างความมัน่ คงด้านอาหารและ การพัฒนาสิ นค้า ที่ เป็ นเอกลักษณ์ ของชุ มชนบนพื้นที่ สูง ในแต่ล ะแห่ ง ตลอดจนมี แนวทางฟื้ นฟูและใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและยัง่ ยืน งานวิจยั ของมูลนิ ธิโครงการหลวงและสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูงจึงมีความเกี่ยวเนื่ องกันอย่างใกล้ชิด ทั้งใน ด้านการดาเนิ นงานวิจยั และการใช้ประโยชน์จากงานวิจยั โดยในปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 มูลนิ ธิโครงการหลวงได้อนุมตั ิงบประมาณ ดาเนินงานวิจยั ใน 10 สาขางานวิจยั หลัก จานวน 36 โครงการ งบประมาณ 12,967,300 บาทและสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่ สู งได้รับอนุ มตั ิงบประมาณดาเนิ นงานวิจยั ภายใต้แผนงานวิจยั ใน 5 แผนงาน รวม 44 โครงการหลัก 92 โครงการย่อย งบประมาณ 84,453,000 บาทซึ่ งการจัดประชุมวิชาการผลงานวิจยั ครั้งนี้ เป็ นการนาเสนอผลสาเร็ จและความก้าวหน้าของการ ดาเนินงานวิจยั ของมูลนิ ธิโครงการหลวงและสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง และเสริ มสร้างความเข้มแข็งในการทางานร่ วมกันบน พื้นที่สูงตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านงานวิชาการระหว่างหน่วยงานเกี่ยวข้อง 2. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อนาเสนอผลงานวิจยั ของมูลนิ ธิโครงการหลวงและสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูงประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 2) เพื่อเผยแพร่ ผลงานวิจยั และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านงานวิชาการระหว่างหน่วยงาน 3) เพื่อส่งเสริ มกระบวนการมีส่วนร่ วมของเครื อข่ายพันธมิตรวิจยั ในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยัง่ ยืน 3.

กิจกรรม 1) การบรรยายพิเศษ 2) การนาเสนอผลการวิจยั ภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ 3) การจัดนิทรรศการ การนาผลงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์


(2)

4. หน่ วยงานรับผิดชอบ 1) งานวิจยั และศึกษาดูงานต่างประเทศ มูลนิธิโครงการหลวง 2) สานักวิจยั สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 5. วัน เวลา และสถานที่ วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 เวลา 08.30-16.00 น. อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหี ยะ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 6. ผู้เข้ าร่ วมประชุมจานวน 450 คน ประกอบด้วย มูลนิธิโครงการหลวง 1) ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวงและคณะกรรมการบริ หาร มูลนิธิโครงการหลวง 2) ผูป้ ระสานงานวิจยั และพัฒนาด้านต่างๆ ของมูลนิธิโครงการหลวง 3) ผูอ้ านวยการและหัวหน้าสถานี/ศูนย์พฒั นาโครงการหลวง 4) นักวิชาการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวง 5) นักวิจยั และนักวิชาการจากหน่วยงานเครื อข่าย สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 6) คณะกรรมการสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง 7) คณะอนุกรรมการวิจยั และพัฒนา สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง 8) ผูบ้ ริ หาร นักวิชาการ นักวิจยั และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง 9) นักวิจยั และนักวิชาการจากหน่วยงานเครื อข่าย 7.

ผลทีค่ าดว่ าจะได้ รับ 1) บุคลากรของมูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง และชุมชน ได้ทราบถึงผลงานวิจยั และสามารถ นาองค์วามรู ้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากผลงานวิจยั ไปใช้ในการพัฒนางานส่ งเสริ มอาชี พและการพัฒนา ชุมชนพื้นที่สูง 2) ข้อเสนอแนะเพื่อเป็ นแนวทางการวิจยั ต่อเนื่ องที่สามารถนาไปประยุกต์ใช้หรื อต่อยอดในการดาเนิ นงานวิจยั ของ มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง 3) ส่ งเสริ มเครื อข่ายการวิจยั ของนักวิจยั ของมูลนิ ธิโครงการหลวง สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูงและนักวิจยั จาก เครื อข่ายที่มีเป้ าหมายการทางานร่ วมกันในการวิจยั และพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง -----------------------------------------------


(3)

กาหนดการประชุมวิชาการผลงานวิจยั ของมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นทีส่ ู ง (องค์ การมหาชน) ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 วันศุกร์ ที่ 14 กันยายน 2561 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตาบลแม่ เหียะ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 09.15 น. ชมนิทรรศการความก้าวหน้าทางวิชาการและการนาเสนอผลงานวิจยั ภาคโปสเตอร์ พิธีเปิ ดการสัมมนา 09.15 – 09.25 น.

- กล่าวรายงาน : โดย ศ.ดร.พงษ์ศกั ดิ์ อังกสิ ทธิ์ ประธานคณะทางานวิจยั มูลนิธิโครงการหลวง

09.25 - 09.35 น.

- กล่าวเปิ ดงาน : โดย นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง

09.35 - 10.15 น.

- ปาฐกถา : เรื่ อง "นโยบายด้านการบริ หารงานวิจยั เพื่อการพัฒนางานบนพื้นที่สูงโครงการหลวง" โดย พลเอกกัมปนาท รุ ดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริ หารมูลนิธิโครงการหลวง

10.15 – 10.30 น. รั บประทานอาหารว่ างและเครื่ องดื่ม 10.30 – 11.10 น. บรรยายพิเศษเรื่ อง "นวัตกรรมจากผลงานวิจยั สู่การใช้ประโยชน์" โดย นางพรรณพิมล ชัญญานุวตั ร ที่ปรึ กษาสานักงานพัฒนาการวิจยั การเกษตร (องค์การมหาชน) 11.15 – 12.00 น. การนาเสนอผลงานวิจยั แบบบรรยายจานวน 3 ห้องย่อย ห้อง 1 ราชพฤกษ์ : อารักขาพืช ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเกษตร ห้อง 2 ชัยพฤกษ์ :ประมง ปศุสตั ว์ ห้อง 3 กัลปพฤกษ์ : ไม้ดอกไม้ประดับ 12.00 – 13.00 น. รั บประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.00น.

การนาเสนอผลงานวิจยั แบบบรรยายจานวน 3 ห้องย่อย ห้อง 1 ราชพฤกษ์ : อารักขาพืช ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเกษตร พืชเครื่ องดื่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม ห้อง 2 ชัยพฤกษ์ : ไม้ผลการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลายทางชีวภาพการวิจยั เชิงพื้นที่ ห้อง 3 กัลปพฤกษ์ :วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรู ปผลิตภัณฑ์ พืชผัก พืชไร่

หมายเหตุ บริ การอาหารว่ างและเครื่ องดื่ม เวลา 14.30-14.45 น.


(4)

การนาเสนอผลงานวิจยั ภาคบรรยาย ห้ อง 1 ราชพฤกษ์ :หมวดอารักขาพืช ผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตร พืชเครื่ องดื่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม หมวดอารักขาพืชผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตร ประธานรศ.ดร.นุชนาฎ จงเลขา / เลขานุการนางสาวจิราภรณ์ จันทวงศ์ 11.15 – 11.30 น. การศึกษาโรคไวรัสใบจุดวงแหวน การถ่ายทอดเชื้อทางเมล็ดพันธุ์การคัดเลือกพันธุ์ตา้ นทาน และวิธีการ จัดการโรคและศัตรู สาคัญของมะละกอ ดร.สุธาศินี นนทะจักร มูลนิธิโครงการหลวง 11.30 – 11.45 น.

การพัฒนาเครื่ องระเหยสารสกัดจากตัวอย่างพืชเพื่อวิเคราะห์สารตกค้างด้วยท่อลมร้อน นายวิทูรย์ บุญสง่า มูลนิธิโครงการหลวง

11.45 – 12.00 น.

การวิจยั และพัฒนาปุ๋ ยอินทรี ย ์ ดร.สุมาลี เม่นสิ น สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

12.00 – 13.00 น. รั บประทานอาหารกลางวัน / ชมนิทรรศการและผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ หมวดอารักขาพืชผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตร พืชเครื่ องดื่ม ประธานดร.อัญชัญ ชมภูพวง / เลขานุการ นายนาวิน สุ ขเลิศ 13.00 – 13.15 น. การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดไรแดงของกุหลาบ ผศ.ดร.มาลี ตั้งระเบียบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 13.15 – 13.30 น. 13.30 – 13.45 น.

13.45 – 14.00 น.

14.00 – 14.15 น. 14.15 – 14.30 น.

การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ ดร.อรอุมา เรื องวงษ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีกาแฟสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกในพื้นที่ส่งเสริ มและ พัฒนาของโครงการหลวง นายชวลิต กอสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษาปั จจัยที่มีผลต่อการเจริ ญเติบโตและคุณภาพของกาแฟอราบิกา้ ในพื้นที่โครงการหลวงและ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ดร.เรวัตร พงษ์พิสุทธินนั ท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษาวิธีการปลูกและการจัดการสวนที่ดีเพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟที่ปลูกในสภาพร่ มเงา ดร.สิ ทธิเดช ร้อยกรอง สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) การศึกษาและคัดเลือกชนิดผึ้งที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิ ทธิภาพการผสมเกสรในไม้ผลและกาแฟ ดร.นินาท บัววังโป่ ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.30 - 14.45 น. รั บประทานอาหารว่ างและเครื่ องดื่ม หมวดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม ประธานรศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกลุ / เลขานุการ ดร.สุ มาลี เม่ นสิน 14.45 – 15.00 น. การวิจยั การอนุรักษ์และฟื้ นฟูพืชท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์ของชุมชนบนพื้นที่สูง นางสาวพันธุ์ทิพย์ นนทรี สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 15.00 – 15.15 น. การวิจยั และพัฒนาการปลูกไผ่บนพื้นที่สูง นางสาวกมลทิพย์ เรารัตน์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 15.15 – 15.30 น.

การวิจยั เชิงปฏิบตั ิการเพื่อฟื้ นฟูและส่งเสริ มการใช้ประโยชน์เห็ดท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ดร.จารุ ณี ภิลุมวงค์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

15.30 – 15.45 น.

การวิจยั เพื่อฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินบนพื้นที่สูง นางสาวดารากร อัคฮาดศรี สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


(5)

การนาเสนอผลงานวิจยั ภาคบรรยาย ห้ อง 2 ชัยพฤกษ์ :หมวดประมง ปศุสัตว์ ไม้ ผล การสร้ างมูลค่ าเพิม่ จากความหลากหลายทางชีวภาพการวิจยั เชิงพื้นที่ หมวดประมงปศุสัตว์ ประธานรศ.ธีระ วิสิทธิ์พานิช / เลขานุการ นางสาวจิราวรรณ ปันใจ 11.15 – 11.30 น. การศึกษาประสิ ทธิภาพการสื บพันธุ์ปูขน นางสมพร กันธิยะวงศ์ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าจืด เขต 1 (เชียงใหม่) 11.30 – 11.45 น.

การประเมินผลสาเร็ จของงานพัฒนาและส่งเสริ มด้านปศุสตั ว์ของมูลนิธิโครงการหลวง ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมพล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11.45 – 12.00 น.

การทดสอบชนิดชันโรงเพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพการผสมเกสรในมะม่วงร่ วมกับเกษตรกรบนพื้นที่สูง นางสาวธีรนาฎ ศักดิ์ปรี ชากุล สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) รั บประทานอาหารกลางวัน / ชมนิทรรศการและผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์

12.00 – 13.00 น.

หมวดไม้ ผลการสร้ างมูลค่ าเพิม่ จากความหลากหลายทางชีวภาพ ประธานดร.ณรงค์ ชัย พิพฒ ั น์ ธนวงศ์ / เลขานุการ นางสาวศิวาภรณ์ หยองเอ่ น 13.00 – 13.15 น. การวิจยั และพัฒนาการปลูกองุ่น นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 13.15 – 13.30 น.

ผลของการควัน่ ต้นต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless นางสาวจิระนิล แจ่มเกิด สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

13.30 – 13.45 น.

ผลการสารวจการระบาดของศัตรู สม้ ในพื้นที่ต่างกัน 3 ระดับ ดร.อัจฉรา ภาวศุทธิ์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

13.45 – 14.00 น.

การศึกษาผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อผลิตผลของไม้ผลบนพื้นที่สูง ผศ.ดร.สุรินทร์ นิลสาราญจิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.00 – 14.15 น.

การวิจยั และพัฒนาต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์จากการวิจยั เพื่อนาไปสู่การใช้ประโยชน์ระดับชุมชนและเชิง พาณิ ชย์ นางสาวกรรณิ กา ศรี ลยั สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

14.15 – 14.30 น.

การวิจยั และพัฒนาเพื่อยกระดับภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์สมุนไพรของชุมชนบนพื้นที่สูงสาหรับ อนุรักษ์ รักษาสุขภาพ และเสริ มสร้างอาชีพ นางสาวอัปสร วิทยประภารัตน์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

14.30 - 14.45 น.

รั บประทานอาหารว่ างและเครื่ องดื่ม

หมวดการวิจยั เชิงพื้นที่ ประธานศ.เกียรติคุณดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวฒ ั น์ / เลขานุการดร.สิทธิเดช ร้ อยกรอง 14.45 – 15.00 น. แผนงานวิจยั เกษตรนิเวศในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง นางสาวเกษราภร ศรี จนั ทร์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 15.00 – 15.15 น.

ชุดโครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่ น นางสาวณัฐวรรณ ธรรมสุวรรณ์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

15.15 – 15.30 น.

ชุดโครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่ปลูกข้าวไร่ -ข้าวโพด นางสาวจุไรรัตน์ ฝอยถาวร สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ชุดโครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนป่ าเมี่ยง นางสาวกชพร สุขจิตภิญโญ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

15.30 – 15.45 น.


(6)

การนาเสนอผลงานวิจยั ภาคบรรยาย ห้ อง 3 กัลปพฤกษ์ :หมวดไม้ ดอกไม้ ประดับ วิทยาการหลังการเก็บเกีย่ ว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ พืชผักพืชไร่ หมวดไม้ ดอกไม้ ประดับ ประธาน รศ.ดร.ณัฐา โพธาภรณ์ / เลขานุการ นางสาวสิรินทร์ รัตน์ ผู้ยอดยิง่ 11.15 – 11.30 น. ความก้าวหน้าของงานวิจยั การพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้สกุลซิมบีเดียมสาหรับงานผลิตของมูลนิธิ โครงการหลวง ตอนที่ 3 ดร.วชิระ เกตุเพชร มูลนิธิโครงการหลวง 11.30 – 11.45 น.

ความก้าวหน้าของงานวิจยั การปรับปรุ งพันธุ์กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซิสสาหรับงานผลิตของมูลนิธิโครงการ หลวง ตอนที่ 2 ดร.วชิระ เกตุเพชร มูลนิธิโครงการหลวง

11.45 – 12.00 น.

การพัฒนาพันธุ์วา่ นสี่ ทิศ ดร.ประภัสสร อารยะกิจเจริ ญชัย มูลนิธิโครงการหลวง

12.00 – 13.00 น.

รั บประทานอาหารกลางวัน / ชมนิทรรศการและผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์

หมวดวิทยาการหลังการเก็บเกีย่ ว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ พืชผักพืชไร่ ประธานรศ.ดร.อุณารุจ บุญประกอบ / เลขานุการ ดร.กุลทินี ผิวนิล 13.00 – 13.15 น. การพัฒนาบรรจุภณั ฑ์ยอ่ ยสลายได้เพื่อการวางจาหน่ายผลพี้ชสด ดร.ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 13.15 – 13.30 น. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสพริ กจากพริ กหวานโครงการหลวง: ซอสหวานซอสเผ็ด และซอสเลียนแบบน้ าพริ ก หนุ่ม นางสาวจิรนันท์ โนวิชยั มูลนิธิโครงการหลวง 13.30 – 13.45 น.

การศึกษาวิจยั วิธีการผลิตหัวพันธุ์กระเทียมโดยการมีส่วนร่ วมของเกษตรกร ดร.จันทร์จิรารุ่ งเจริ ญ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

13.45 – 14.00 น.

การศึกษาวิธีการป้ องกันกาจัดด้วงงวงมันเทศญี่ปุ่น นางสาวนิตยาโนคา สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

หมวดวิทยาการหลังการเก็บเกีย่ ว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ พืชผักพืชไร่ (ต่ อ) 14.00– 14.15 น. ความก้าวหน้าการวิจยั คีนวั ในประเทศไทย ผศ.ดร.ปิ ติพงษ์ โตบันลือภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 14.15 – 14.30 น.

การประเมินและคัดเลือกประชากรถัว่ สาหรับพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง นายพุทธพงศ์ มะโนคา มูลนิธิโครงการหลวง

14.30 - 14.45 น. รั บประทานอาหารว่ างและเครื่ องดื่ม หมวดพืชไร่ ประธาน รศ.ดร.อานัฐตันโช / เลขานุการ นางสาวนฤมล ศรีวชิ ัย 14.45 – 15.00 น.

ความดีเด่นของลูกผสมและสมรรถนะในการผสมเฮมพ์ ดร.วีรพันธ์ กันแก้ว มูลนิธิโครงการหลวง

15.00 – 15.15 น.

การคัดเลือกและปรับปรุ งพันธุ์เฮมพ์ ดร.สริ ตา ปิ่ นมณี สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

15.15 – 15.30 น.

การศึกษาและพัฒนากระบวนการแปรรู ปผลิตภัณฑ์จากเส้นใยเฮมพ์ ดร.รัตญา ยานะพันธ์ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) การศึกษาระบบการปลูกพืชหมุนเวียนที่เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวบนพื้นที่สูง ดร.อดิเรก ปั ญญาลือ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

15.30 – 15.45 น.


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(7)

การนาเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย ห้อง 1 ห้องราชพฤกษ์


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(8)

การศึกษาโรคไวรัสใบจุดวงแหวน การถ่ ายทอดเชื้อทางเมล็ดพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ต้านทาน และวิธีการจัดการโรคและศัตรู สาคัญของมะละกอ สุธาศินี นนทะจักร์1* นุชนาฏ จงเลขา1 กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร1 จันทร์ฉาย จันธิมา1 เผ่าไท ถายะพิงค์ 1 ณัฐกฤตา สมเสี ยง2 พิเชษฐ์ ภาโสภะ3 ศศิพร ขุนผา4 ชยาณ์ ไชยประสพ4และ ณรงค์ชยั พิพฒั น์ธนวงศ์2 * Corresponding author: snontajak@hotmail.com

บทคัดย่ อ ทาการศึกษาโรคไวรัสใบจุดวงแหวนในมะละกอพันธุ์ Sun Lady ที่ส่งเสริ มให้ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง จานวน 4 ศู นย์/สถานี ได้แก่ สถานี เกษตรหลวงอิ นทนนท์, แม่หลอด ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่สะป๊ อก และ หมอกจ๋ าม ระหว่างตุ ลาคม 2559 ถึ งกันยายน 2560 ได้ตวั อย่างจากการส ารวจ 342 ตัวอย่าง ผลปรากฏว่าไม่ พ บ อาการของโรคไวรัสใบจุดวงแหวน ยกเว้นตัวอย่างที่ เก็บในระยะติ ดผลที่ ศูนย์ฯ หมอกจ๋ าม ได้พบอาการของโรค ไวรัสนี้ ตรวจพบคิ ดเป็ น 2% ส่ วนการศึ กษาและยืนยันการถ่ายทอดเชื้ อไวรัสใบจุดวงแหวนผ่านทางเมล็ดพันธุ์ใน มะละกอ จานวน 10 สายพันธุ์ โดยเมล็ด 5 สายพันธุ์ คือ Sun Lady, Flat Top, Synny Boy, 7101 และปากช่อง เก็บมา จากต้นที่เป็ นโรคไวรัส ณ แปลงทดสอบพันธุ์สถานี เกษตรหลวงปางดะส่ วนอีก 5 สายพันธุ์ ได้เมล็ดจากพันธุ์ที่เป็ น การค้าและจากต้นที่สมบูรณ์ คือ พันธุ์ Holland, Red Lady, มะละกอจีน และ G1 โดยทาการตรวจหาเชื้ อสาเหตุโรค ไวรัสใบจุดวงแหวนด้วยวิธี ELISA จานวน 100 ตัวอย่าง/พันธุ์ ผลปรากฏว่าไม่พบเชื้ อไวรัสดังกล่าวในเมล็ดพันธุ์ มะละกอทั้งหมด ทาการศึ กษาวิธีการจัดการโรคไวรัส และศัตรู ที่สาคัญในแปลงปลูก โดยใช้ตน้ กล้ามะละกอที่ ปลอดโรคไวรั ส จานวน 610 ต้น ปลู ก ทดลองที่ ส ถานี ฯ ปางดะ วางแผนการทดลองแบบ RCBD แบ่ งเป็ น 3 กรรมวิธีๆ ละ 10 ซ้ า (ต้น) คื อ กรรมวิธีที่ 1 ปลูกในโรงเรื อนตาข่ายแบบง่าย กรรมวิธีที่ 2 ปลูกสลับข้าวโพดหวาน และกรรมวิธีที่ 3 ปลูกในระบบเปิ ด (วิธีการเดิมที่ใช้ส่งเสริ ม) ผลการสารวจ ไม่พบโรคไวรัสในกรรมวิธีที่ 1 และที่ 2 เมื่อมะละกอมีอายุได้ 6 เดื อนหลังจากย้ายปลูก ส่ วนกรรมวิธีที่ 3 ตรวจพบโรคไวรัสมากถึง 20% บริ เวณด้านท้ายแปลง ทาการคัด เลื อกสายพันธุ์ มะละกอต้านทานโรคไวรั ส ใบจุ ด วงแหวน ณ ศู น ย์ฯ ทุ่ งเริ ง ซึ่ งเป็ นพื้ น ที่ เดิ มเคยปลู ก มะละกอพันธุ์ปากช่ องมาก่ อนโดยปลูกมะละกอจานวน 10 สายพันธุ์ (รหัส P001-010) ได้แก่ มะละกอพันธุ์ Sun Lady, Flat Top, Synny Boy, 7101, ปากช่ อง, Holland, Red Lady, มะละกอจี น, ไทนุ ง (9 สายพันธุ์ ใช้เมล็ด) และ Red Lady ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ ผลการตรวจสอบ พบว่าหลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว 2 เดือนพบโรคไวรัสใน มะละกอพันธุ์ปากช่องมากที่สุด คื อ 56% รองลงมาคือ พันธุ์ Red Lady, Sun Lady และ Flat Top ที่ 33%, 22% และ 11% ตามลาดับ จึ งทาการตัดทิ้ง ทาการสารวจต่อเนื่ องจนถึงเดือนที่ 6 ไม่พบอาการของโรคใดๆ เพิ่มเติ มในแปลง วิจยั ดังกล่าว และสามารถคัดพันธุ์ที่เหมาะสมและต้านทานโรคไวรัส ได้ จานวน 3 สายพันธุ์ คื อ P008, P009 และ P010 สาหรับออกส่ งเสริ มแก่เกษตรกรต่อไป คาสาคัญ โรคไวรัสใบจุดวงแหวน, มะละกอ

1

ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 งานพัฒนาและส่ งเสริ มไม้ผลเขตร้อน มูลนิ ธิโครงการหลวง ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 3 ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงทุ่งเริ ง ตาบลบ้านปง อาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 4 สถานีเกษตรหลวงปางดะ ตาบลสะเมิงใต้ อาเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(9)

การพัฒนาเครื่ องระเหยสารสกัดจากตัวอย่ างพืชเพื่อวิเคราะห์ สารตกค้ างด้ วยท่ อลมร้ อน วิทูรย์ บุญสง่า1* * Corresponding author: msn7029rpf@gmail.com

บทคัดย่ อ ทาการออกแบบและพัฒนาเครื่ องระเหยสารสกัดจากตัวอย่างพืชเพื่อนาไปใช้ในขั้นตอนการตรวจหาสาร กาจัด แมลงตกค้างด้วยชุ ด ทดสอบ GT pesticide test kit เครื่ องนี้ ประกอบไปด้วย ท่ อลมร้ อนในระบบควบคุ ม อุณหภูมิ ระบบเป่ าอากาศ และรวมถึงอุปกรณ์ที่ตอ้ งใช้ในการระเหยสารสกัดตัวอย่างไว้ในเครื่ องเดียวกัน ได้เครื่ อง ที่สามารถระเหยสารสกัดตัวอย่างได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ สะดวก รวดเร็ ว และปลอดภัยกว่าวิธีการระเหยแบบเดิ ม โดยสามารถระเหยตัวอย่างครั้งเดี ยวได้จานวน 25 ตัวอย่าง ภายใน 3 นาที 30 วินาที และจากการประเมินความพึง พอใจของผูป้ ฏิ บตั ิ การวิเคราะห์สารตกค้างประจาศู นย์/สถานี จานวน 13 คน แบบมาตรประมาณค่าตามวิธีของ เบสท์ (Best,1986) พบว่ามีความพึงพอใจต่อเครื่ องระเหยสารสกัดตัวอย่าง ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.37 ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน. 0.76) คาสาคัญ เครื่ องระเหยสารสกัดจากตัวอย่างพืช

1

ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่สาใหม่ มูลนิ ธิโครงการหลวง ตาบลโป่ งแยง อาเภอแม่ริม เชียงใหม่ 50180


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(10)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 3: การวิจยั และพัฒนาประสิ ทธิภาพปุ๋ยอินทรีย์ด้วยแบคทีเรียส่ งเสริมการเจริ ญเติบโตของพืช สุมาลี เม่นสิ น1* และกวีวฒั น์ บุญคาน1 * Corresponding author: linly317@gmail.com

บทคัดย่ อ การใช้ปุ๋ ยอิ น ทรี ย ์ที่ ผ สมจุ ลิน ทรี ย ์ส่ งเสริ ม การเจริ ญ เติ บ โตให้ ต ้น พื ช เป็ นแนวทางที่ ดี ข องการพัฒ นา ประสิ ทธิ ภาพปุ๋ ยสาหรับพืชอินทรี ยแ์ ละใช้แทนปุ๋ ยเคมีในพืช GAP บนพื้นที่สูง โครงการวิจยั นี้ ดาเนิ นการต่อเนื่ อง เป็ นปี ที่ 2 มีวตั ถุประสงค์เพื่อปรับปรุ งคุณภาพปุ๋ ยอินทรี ยส์ าหรับการเพาะปลูกพืชให้มีคุณภาพและปลอดภัย สรุ ป ผลการวิจยั ดังนี้ 1) แบคทีเรี ย 2 ไอโซเลท ได้แก่ MN6 มีคุณสมบัติตรึ งไนโตรเจน ละลายธาตุอาหารฟอสเฟต และ โพแทสเซี ยม ส่ วน FT2 สามารถตรึ งไนโตรเจนและผลิตฮอร์ โมนออกซิ นปริ มาณสู งถึง 0.4 mg/ml ถูกนามาเลี้ยง เพิ่ มปริ มาณในอาหารเหลวสู ตรกากน้ าตาลผสมแร่ ธาตุ และผสมกับวัสดุรองรับ เพื่ อผลิ ตเป็ นผงหัวเชื้ อจุลินทรี ย ์ PGPB เห็นได้ว่าสู ตรเพอร์ ไลท์ช่วยรักษาเซลล์แบคทีเรี ยในเกณฑ์ที่ดี หาซื้ อง่าย และราคาไม่แพงต้นทุนค่าวัตถุดิบ ต่อกิโลกรัม มีค่า 68 บาท ความเข้มข้นเชื้ อ MN6 หลังเก็บรักษา ณ อุณหภูมิหอ้ ง ระยะ 2 เดือน มีค่า 7.36log CFU/g ในขณะที่ FT2 มีปริ มาณเชื้อ 7.95 log CFU/g อย่างไรก็ตามสู ตรวัสดุรองรับที่เหมาะสมต่อการผลิตเชิงพาณิ ชย์ลาดับ รองลงมา คือ สู ตรไดอะตอมไมท์ ต้นทุนค่าวัตถุดิบต่อกิโลกรัมมีค่า 5 บาท พบความเข้มข้นเชื้อMN6เท่ากับ 6.8 log CFU/g และ FT2เท่ากับที่6.34log CFU/g2) การขยายปริ มาณผงหัวเชื้อ 2 สู ตร ในปุ๋ ยอินทรี ย ์ 4 สู ตร โดยบันทึกความ เข้มข้นเชื้ อหลังเก็บรักษาที่ อุณหภูมิห้องในห้องปฏิ บตั ิ การ นาน 1 เดื อน ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ผงเชื้ อ MN6 สู ตร เพอร์ ไลท์ เจริ ญได้ดีที่สุดในปุ๋ ยจากโครงการผักอินทรี ย ์ มีความเข้มข้นเชื้ อ 10.40CFU/gไม่แตกต่างอย่างมีนยั สาคัญ ทางสถิติกบั การขยายด้วยผงเชื้ อสู ตรไดอะตอมไมท์ในปุ๋ ยจากอินทนนท์ ที่ค่า 10.32 log CFU/g เช่นเดียวกัน ผงเชื้ อ FT2 สามารถเพิ่มปริ มาณได้ดีหลังจากการผสมผงหัวเชื้ อเพอร์ ไลท์กบั ปุ๋ ยโครงการผักอินทรี ยแ์ ละปุ๋ ยแม่ทาเหนื อ เชื้อมีความเข้มข้น 9.29 และ 8.87 log CFU/g ตามลาดับ คาสาคัญ ปุ๋ ยชีวภาพ แบคทีเรี ยที่มีความสามารถส่งเสริ มการเจริ ญเติบโตของพืช วัสดุรองรับ

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(11)

การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 5 : การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ ป้องกันกาจัดไรแดงของกุหลาบ มาลี ตั้งระเบียบ1* *Corresponding author: sriwannal@yahoo.com

บทคัดย่ อ การใช้ผ ลิ ต ภัณ ฑ์ชี วภาพเพื่ อ ป้ องกัน กาจัด ศัต รู พื ช มี ค วามปลอดภัยและไม่ ส่ งผลต่ อสิ่ งแวดล้อม สาร ชี วภัณฑ์จากเชื้ อรากาจัดแมลงมีขอ้ ได้เปรี ยบที่สามารถเข้าทาลายแมลงได้ทางผนังลาตัวจึงกาจัดศัตรู พืชได้ท้ งั กลุ่ม ปากกัดและปากดูด แมลงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในทุกระยะการเจริ ญเติ บโตตั้งแต่ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัย และ เมื่อแมลงตายเชื้ อรากาจัดแมลงจะแพร่ กระจายไปในธรรมชาติดว้ ยสปอร์ มีความคงทนในสภาพแวดล้อม ดิน หรื อ วัสดุปลูกจึงสามารถเข้าทาลายแมลงศัตรู พืชได้ต่อเนื่ อง กุหลาบเป็ นไม้ดอกที่ ปลูกต่อเนื่ องตลอดได้ท้ งั ปี และพบมี ศัต รู พื ช ทาลายมากโดยเฉพาะไรแดง งานวิ จยั นี้ มี วตั ถุ ประสงค์เพื่ อ วิจัยและพัฒ นาต้นแบบชี วภัณ ฑ์และศึ กษา วิธีการใช้ตน้ แบบชี วภัณฑ์ป้องกันกาจัดไรแดงของกุหลาบบนพื้นที่สูง โดยการผลิตบลาสโตสปอร์ เป็ นหัวเชื้ อแล้ว ใช้วสั ดุรองรับหัวเชื้ อเพื่อให้ผลิตโคนิ เดีย ผลการทดลองพบว่า จากวัสดุรองรับหัวเชื้ อที่ เป็ นผลิตภัณฑ์แป้ ง 3 ชนิ ด ได้ แ ก่ แป้ งข้ า วจ้ า ว แป้ งข้ า วโพด และแป้ งข้ า วสาลี เมล็ ด ข้ า วโพดบดละเอี ย ด สารพา 3 ชนิ ด ได้ แ ก่ Microcrystalline cellulose (MCC) talcum และ bentonite และการผสมสารพาร้ อยละ 10 ลงในผลิ ต ภัณ ฑ์ แป้ง ผลการทดลองพบว่า อัตราส่ วนระหว่างสารแขวนลอยต่อวัสดุรองรับหัวเชื้อ มีผลต่อระดับความเข้มข้นของโค นิ เดีย ส่ วนลักษณะของวัสดุรองรับหัวเชื้ อที่มีการผสมน้ า และไม่มีการผสมน้ าไม่มีผลต่อความเข้มข้นของโคนิ เดี ย อัตราส่ วนที่เหมาะสม คื อสารแขวนลอยต่อวัสดุรองรับหัวเชื้ อที่ 15:40 สาหรับวัสดุรองรับหัวเชื้ อ มีความสามารถ ในการผลิตโคนิเดียได้แตกต่างกันไปขึ้นอยูก่ บั ชนิดเชื้ อ ชนิดวัสดุรองรับหัวเชื้อ และระยะเวลาในการบ่มเชื้อ พบว่า เชื้ อรา Beauveria bassiana เจริ ญเติบโตได้ดีในผลิ ตภัณฑ์แป้ งสาลี และแป้ งสาลีผสมทัลคัม ส่ วนเมล็ดข้าวโพด บดละเอียด ให้ความเข้มข้นของเชื้ อรา Metarhizium anisopliae สู งที่ สุด รองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์แป้ งข้าวจ้าว และเมล็ดข้าวโพดบดละเอียดผสม MCC ที่ระยะเวลาการบ่มเชื้อ 7-10 วัน คาสาคัญ สารชีวภัณฑ์เชื้อรา กุหลาบ ไรแดงกุหลาบ เชื้อราสาเหตุโรคแมลง

1

สถาบันวิจยั เทคโนโลยีเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, จังหวัดลาปาง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(12)

การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 8: การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ ป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ อรอุมา เรื องวงษ์1* จุรีรัตน์ คาธรรม1 และกาญจนา วิชิตตระกูลถาวร2 *Corresponding author : On-uma.r@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ การคัดเลือกจุลินทรี ยป์ ฏิ ปักษ์จากพืชบนที่ สูง สามารถแยกเชื้ อแบคที เรี ยปฏิปักษ์ที่มีประสิ ทธิ ภาพเพื่อใช้ ในการป้ องกันกาจัดโรคราสนิ มขาวของเบญจมาศ ที่ เกิ ดจากเชื้ อรา Puccinia horiana ได้ จานวน 2 ไอโซเลท คื อ AK-MCL5 แยกได้จากสะระแหน่ และ KW-CAR17 แยกได้จ ากบัว บก เมื่ อ น าทั้ง 2 ไอโซเลท มาพัฒ นาเป็ น สู ตรชี วภัณฑ์ตน้ แบบชนิ ดผง โดยเปรี ยบเทียบกับสู ตรต่างๆ จานวน 7 สู ตร พบว่า เชื้ อแบคทีเรี ยปฏิปักษ์ ไอโซเลท AK-MCL5 เหมาะสมกับ สู ตรทัลคัม -1 และสู ตรทัลคัม-2 โดยมี ปริ มาณเชื้ อแบคที เรี ยปฏิ ปักษ์ห ลังผลิ ตทันที ใน ต้นแบบชี วภัณฑ์ชนิ ดผงเฉลี่ย 1.08 × 108 และ 1.01 × 108 cfu/ชี วภัณฑ์ 1 กรัม ตามลาดับ ส่ วนเชื้อแบคทีเรี ยปฏิปักษ์ ไอโซเลท KW-CAR17 เหมาะสมกับสู ตรแป้ งข้าวโพด และสู ตรทัลคัม-1 โดยมีปริ มาณเชื้ อแบคที เรี ยปฏิ ปักษ์หลัง ผลิตทันทีในต้นแบบชี วภัณฑ์ชนิ ดผงเฉลี่ย 3.67 × 107 และ 6.67 × 106 cfu/ชี วภัณฑ์ 1 กรัม ตามลาดับ การทดสอบ ความอยูร่ อดของเชื้อแบคทีเรี ยปฏิปักษ์ที่ผสมในอาหารแต่ละสู ตร พบว่า เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิหอ้ ง นาน 3 เดือน สู ตรทัลคัม-1 และสู ตรทัลคัม-2 มีปริ มาณเชื้ อแบคที เรี ยปฏิ ปักษ์ ไอโซเลท AK-MCL5 ที่ยงั คงมีชีวิตอยู่ในต้นแบบ ชี วภัณ ฑ์ช นิ ด ผง เท่ ากับ 3.45 × 107 และ 2.95 × 107 cfu/ชี วภัณ ฑ์ 1 กรั ม ตามลาดับ ส่ ว นเชื้ อแบคที เรี ย ปฏิ ปักษ์ ไอโซเลท KW-CAR17 ไม่ พ บการรอดชี วิต ของเชื้ อแบคที เรี ยปฏิ ปั กษ์ การทดสอบประสิ ท ธิ ภ าพของต้น แบบ ชี วภัณฑ์ ในการควบคุมโรคราสนิ มขาวเบญจมาศ ที่ เก็บรักษาไว้ 1 เดือน ด้วยวิธี detached leaf โดยพ่นสารละลาย ชี วภัณ ฑ์ลงบนใบเบญจมาศที่ เป็ นโรคราสนิ มขาว หลังจากการทดสอบเป็ นเวลา 7 วัน พบว่า ต้นแบบชี วภัณ ฑ์ สู ตรทัลคัม-1 และสู ตรทัลคัม-2 ที่ผลิตจากเชื้ อแบคทีเรี ยปฏิปักษ์ ไอโซเลท AK-MCL5 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 87.50% และ 71.51% ตามลาดับ ในขณะที่ตน้ แบบชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากเชื้ อแบคทีเรี ยปฏิปักษ์ ไอโซเลท KW-CAR17 พบว่า ต้น แบบสู ตรแป้ งข้าวเจ้า และสู ต รทัลคัม -2 มี เปอร์ เซ็ น ต์ย บั ยั้ง เท่ ากับ 48.33% และ 43.25% ตามลาดับ นอกจากนี้ เมื่อนามาศึกษาความเป็ นพิษหรื อผลกระทบหลังการใช้ชีวภัณฑ์แต่ละสู ตรต่อใบและดอกของเบญจมาศ พบว่า ต้นแบบชี วภัณฑ์จากเชื้ อแบคที เรี ยปฏิ ปักษ์ ไอโซเลท AK-MCL5 ในสู ตรทัลคัม-1 และสู ตรทัลคัม -2 และ ต้นแบบชี วภัณฑ์จากเชื้ อแบคที เรี ยปฏิ ปักษ์ ไอโซเลท KW-CAR17 ในสู ตรแป้ งข้าวเจ้า และสู ตรทัลคัม -2 ไม่พบ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนใบและดอกเบญจมาศ คาสาคัญ แบคทีเรี ยปฏิปักษ์ ชีวภัณฑ์ โรคราสนิมขาว เบญจมาศ

1

ภาควิชากีฎวิทยา และโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(13)

คุณภาพทางกายภาพและองค์ ประกอบทางเคมีกาแฟสายพันธุ์ที่ได้ รับการคัดเลือก ในพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาของโครงการหลวง ชวลิต กอสัมพันธ์1* วราพงษ์ บุญมา1 ชัยวัฒน์ ชุ่มปั น2 วันชัย แก้ววิจิตร2 และพงษ์ศกั ดิ์ อังกสิ ทธิ์2 * Corresponding author : chawalit.k@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ คุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีกาแฟสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลื อกในพื้ นที่ ส่งเสริ มและ พัฒนาของโครงการหลวง เป็ นส่ วนหนึ่ งของงานวิจยั โครงการการคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอราบิกา้ คุณภาพเยี่ยมใน พื้นที่ส่งเสริ มและพัฒนาของโครงการหลวง มีวตั ถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณภาพทางกายภาพและองค์ประกอบทาง เคมีจากตัวอย่างที่ คดั เลือกโดย ผลงานนี้ เป็ นส่ วนของงานวิจยั ที่ กาลังดาเนิ นการอย่างต่อเนื่ อง ตัวอย่างกาแฟที่ ใช้ ทดสอบคุณภาพ เก็บเกี่ยวในฤดูเก็บเกี่ยว 2560/61 ผ่านการแปรรู ปโดยวิธีเปี ยก ผลการวัดขนาดและชัง่ น้ าหนักของ ผลกาแฟผลสดจากจานวน 36 ตัวอย่างที่ปลูกที่ สถานี เกษตรหลวงอินทนนท์ หน่ วยย่อยแม่ยะน้อย พบว่า กาแฟผล สุ กมีความกว้างเฉลี่ย 1.48 ซม.(1.32-1.61) ยาวเฉลี่ย 1.65 ซม. (1.46-1.86) หนาเฉลี่ย 1.35ซม. (1.20-1.50) สัดส่ วน ยาวต่อกว้างเฉลี่ย 1.12 (1.03-1.24) น้ าหนักผลสด 100 ผล เฉลี่ย 195.88 กรัม (149.61-242.05 กรัม) และมีเปอร์ เซ็นต์ ผลฝ่ อเฉลี่ ย 7.37% (0.67-30.33) กาแฟกะลามี ความกว้างเฉลี่ย 8.52 มม.(7.98-9.14) ยาวเฉลี่ย 11.80 มม. (10.9412.90) หนาเฉลี่ย 4.70 มม. (4.22-5.44) และสัดส่ วนยาวต่อกว้างเฉลี่ย 1.39 (1.23-1.53) น้ าหนักกาแฟกะลา 100 เม็ด หนักเฉลี่ย 20.46 กรัม (17.68-22.76) สารกาแฟมีความกว้างเฉลี่ ย 7.16 มม.(6.54-7.76) ยาวเฉลี่ย 9.40 มม. (8.1610.34) หนาเฉลี่ย 3.70 มม. (3.38-4.16) และสัดส่ วนยาวต่อกว้างเฉลี่ย 1.32 (1.10-1.48) น้ าหนักกาแฟสาร 100 เมล็ด หนักเฉลี่ย 17.29 กรัม (14.63-19.71) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของกาแฟคัว่ พบว่ามีสาร Caffeine เฉลี่ย 1.36% (1.11-1.61) Trigonellineเฉลี่ ย 0.79% (0.59-1.05) และ Chlorogenic acid เฉลี่ ย1.31% (0.97-1.67) สาหรั บ Caffeine,Trigonelline และ Chlorogenic acid เป็ นสารที่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพการชงดื่ม โดยที่ Trigonelline เมื่อมี มากรสชาติจะดี ส่ วน Caffeine และ Chlorogenic acid เมื่อพบมากคุณภาพการชงดื่มจะด้อย คาสาคัญ กาแฟอราบิกา้ คุณภาพทางกายภาพ องค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดกาแฟ

1 2

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(14)

กระบวนการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ไพโรจน์ วิริยจารี 1 ณฐิตากานต์ ปิ นทุกาศ2* ชวลิต กอสัมพันธ์3 ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ4 เรวัตร พงษ์พิสุทธินนั ท์1 และสุภกิจ ไชยพุฒ1 *Corresponding author. E-mail: nathitakarn.p@gmail.com

บทคัดย่ อ โครงการศึกษาปั จจัยที่มีผลต่อการเจริ ญเติบโตและคุณภาพของกาแฟอราบิกา้ ในพื้นที่โครงการหลวงและ โครงการพัฒ นาพื้ นที่ สู งแบบโครงการหลวงมี วตั ถุประสงค์เพื่ อศึ กษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ มีผลต่ อผลผลิ ตและ คุณภาพของกาแฟอราบิ กา้ โดยดาเนิ นการเก็บข้อมูลและศึ กษาวิจยั ในพื้นที่ ปลูกกาแฟอราบิ กา้ ในพื้ นที่ โครงการ หลวง 2 แห่ง และพื้นที่ส่งเสริ มอื่นๆ 1 แห่ง คือ 1) ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน 2) ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงห้วยน้ าขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชี ยงราย 3) โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่ สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชี ยงราย ผูว้ ิจยั ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ เกษตรกรผูผ้ ลิตกาแฟจานวน แห่ งละ 10 คน และเจ้าหน้าที่ แห่ งละ 1 คน และการจัดสนทนากลุ่มย่อยกับเกษตรกรผูป้ ลูกกาแฟอราบิกา้ บนพื้นที่ สู ง ผลจากการสั มภาษณ์ พ บว่า เกษตรกรส่ วนใหญ่ วิธีมีกระบวนการผลิ ต และแปรรู ป คล้ายคลึ งกัน รวมไปถึ ง การตลาดที่ จาหน่ ายให้กบั โครงการหลวง กาแฟอราบิ กา้ ที่ ปลูกเป็ นสายพันธุ์คาร์ ติมอร์ ส่ วนเกษตรกรศูนย์พฒั นา โครงการหลวงแม่ลาน้อยส่ วนใหญ่ปลูกกาแฟอราบิ กา้ สายพันธุ์ทิปปิ ก้า ซึ่ งปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ าทะเลปาน กลางตั้งแต่ 1,000-1,300 เมตร ลักษณะพื้นที่ การปลูกกาแฟส่ วนใหญ่เป็ นพื้นที่ป่าลาดชันตามไหล่เขา กระบวนการ ผลิตกาแฟอราบิกา้ ปลูกระบบอนุรักษ์ธรรมชาติ ระบบร่ มเงาซึ่ งมักปลูกร่ วมกับไม้ผลเขตหนาว ไม้ผลประเภทอื่นๆ เพื่อให้ร่มเงาและรักษาความชื้ นในดินสาหรับต้นกาแฟระยะแรก บางพื้นที่ปลูกต้นกาแฟในพื้นที่โล่งแจ้ง ซึ่ งทาให้ กิ่งกาแฟมีอาการไหม้ และปริ มาณผลผลิตลดลง ระยะห่ างระหว่างต้นตั้งแต่ 1.5-2 เมตร จานวนต้นต่อไร่ ประมาณ 400-700 ต้น ส่ วนการให้ปุ๋ยมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่มีการให้ปุ๋ยเคมีเป็ นหลักเหมือนกัน 1) เกษตรกร สมาชิ กศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ลาน้อย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 โดยให้ตน้ ละ 300 กรัมต่อต้น ปี ละ 2 ครั้ง ให้ในเดือน กุมภาพันธ์ และพฤษภาคม มีการให้ปุ๋ยคอกร่ วมด้วย 2) เกษตรกรสมาชิ กศูนย์พฒั นาโครงการ หลวงห้วยน้ าขุ่น ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-13 ในช่ วงเดื อนสิ งหาคม ปุ๋ ยเคมี สูตร 46-0-0 ในปริ มาณ 600 กรั มต่ อต้น จานวน 3 ครั้งต่อปี คื อ ครั้งที่ 1 ช่ วงเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 2 ช่วงเดือนสิ งหาคม และครั้งที่ 3 ช่วงเดื อนมีนาคมหรื อ หลังการเก็บเกี่ยว และปุ๋ ยสู ตร 3-24-24 ให้ในช่วงต้นกาแฟมีการติดผล มีการให้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ ยหมักประมาณ 2-3 กา มือต่อต้น รวมไปถึงการปลูกถัว่ มะแฮะ เป็ นพืชคลุมดิ น เพื่อตรึ งธาตุไนโตรเจนให้กบั ต้นกาแฟ และ 3) เกษตรกร สมาชิ กโครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ผสมกับปุ๋ ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราส่ วน 1 ต่อ 1 หรื อ 1 ต่อ 2 ปริ มาณการใส่ ปุ๋ยประมาณ 150 กรัมต่อต้น จานวน 2-3 ครั้งต่อปี โดยใส่ ปุ๋ย 2 ครั้ง ต่อปี ครั้งที่ 1 ช่วงเดือนมิถุนายน ครั้งที่สองคือ ช่วงเดือนสิ งหาคม โดยเกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ ยหมักที่ ท าใช้เองจากเปลื อ กกาแฟ ผสมกับ พด. 1 และกากน้ าตาล โดยให้ ต ้น ละ 200-300 กรั ม ส่ ว นการก าจัด วัช พื ช เกษตรกรมีการตัดและถอนวัชพืชทัว่ แปลงกาแฟอย่างสม่าเสมอ เพื่อลดพืชอาศัยของโรคและแมลงศัตรู กาแฟ การ ตัดแต่งกิ่งกาแฟ มีการตัดแต่งกิ่งกาแฟต้นที่สูงเกิน 2 เมตรหรื อต้นกาแฟแก่ ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อต้น กาแฟให้ผลผลิตสม่าเสมอ และสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต โรคและแมลงศัตรู ที่พบส่ วนใหญ่คือ ราสนิ ม หนอน


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(15)

เจาะลาต้น เพลี้ยหอย มดดา เป็ นต้น โดยเกษตรมุ่งเน้นการจัดการในแปลงกาแฟ ทาให้พบปั ญหาโรคและแมลงศัตรู ไม่มาก ส่ วนการเก็บผลกาแฟนั้นจะเก็บในตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคมของทุกปี โดยเลือกเก็บผลสี แดงและสุ กด้วย มือทีละผล เพราะถ้าหากเก็บผลที่ยงั ไม่สุกหรื อผลกาแฟที่สุกเกินไปจะทาให้กาแฟมีรสชาติฝาดหรื อรสชาติที่ไม่ดีได้ การแปรรู ป วิธีการและขั้นตอนการผลิตกาแฟกะลาจะคัดเลือกผลดีและผลเสี ยออกจากกันโดยการเลือกผลที่ลอยน้ า ออก บางรายเกษตรกรจะทาการคัดเลือกเมล็ดกาแฟที่สมบูรณ์ดว้ ยสายตา ซึ่ งในผลที่ลอยมักเป็ นเมล็ดที่มีแมลงที่เข้า ทาลายและเป็ นผลที่ มีเมล็ด ที่ ฝ่อแล้ว ส่ วนการปอกเปลื อกผลสด (Cherry) ออกจากกาแฟกะลาจะใช้เครื่ องปอก เปลือกกาแฟ ภายใน 24 ชัว่ โมง และแช่น้ าเพื่อล้างเมือกภายใน 24 ชัว่ โมง ระยะเวลาในการหมักขึ้นอยู่กบั อุณหภูมิ อากาศและลักษณะเมล็ดกาแฟ โดยหมักไม่มีการเปลี่ยนน้ า วิธีหมักนี้ ลองเอามือถูบริ เวณเปลือกกะลา เมล็ดจะรู ้สึก สากๆ ถือว่ากาจัดเมือกออกแล้ว และนาไปตากบนพื้ นยกสู ง ซึ่ งส่ วนใหญ่เป็ นแคร่ ไม้ยกจากพื้นประมาณ 0.5-2.5 เมตร สาหรับแต่ละพื้นที่ระยะเวลาตากไม่เท่ากัน โดยศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ลาน้อยใช้เวลาตาก 4-5 วัน ส่ วน ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงห้วยน้ าขุ่น และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลองเป็ นพื้นที่ที่มีสภาพ ท้องฟ้ าปิ ดและมีความชิ้นสู ง จึงใช้เวลาในการตาก 7-10 วัน โดยส่ วนใหญ่การวัดความชื้ นเจ้าหน้าที่จะใช้เครื่ องวัด ความชื้ น โดยในกาแฟกะลาควรมีความชื้นไม่เกิน 11% ซึ่ งเกษตรกรบางรายวัดโดยใช้วิธีฟันกัดเมล็ดกาแฟ ซึ่ งหาก ความชื้นในกาแฟกะลามากเกินไปจะทาให้เกิดเชื้ อราและคุณภาพของกาแฟกะลาจะต่าลดลง เมื่อแห้งแล้วจะเก็บไว้ ในกระสอบ แล้วนาไปเก็บไว้ภายบ้านของตนเอง โดยไม่วางซ้อนทับกัน เพื่อให้เกิดการระบายอากาศและไม่เกิ ด ความชื้นเพิ่มขึ้นภายในกาแฟกะลา ด้านการตลาด สมาชิกเกษตรกรศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ลาน้อย จาหน่ายใน รู ปแบบกาแฟกะลา ผ่านสหกรณ์โครงการหลวง ส่ งผลให้สมาชิ กสหกรณ์มีรายได้เพิ่มขึ้น และทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้ส นับสนุ นและเพิ่ มศักยภาพให้แก่ เกษตรกรเพื่ อเพิ่ มมูลค่ าของผลผลิ ต ทาให้เกษตรกรบางรายสามารถสร้ าง แบรนด์เป็ นของตนเอง จาหน่ ายทั้งรู ปแบบกาแฟกะลาและกาแฟคัว่ สมาชิ กเกษตรกรศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวง ห้วยน้ าขุ่นจาหน่ ายในรู ปแบบกาแฟกะลาให้กบั ทางศูนย์ฯ ทั้งนี้ ปัญหาที่ พบในช่ วงที่ ผลผลิตน้อย พ่อค้าคนกลาง ออกมารับซื้ อในราคาที่สูงกว่าทางศูนย์ฯ ทาให้เกษตรกรบางรายนากาแฟกะลาไปจาหน่ายให้กบั พ่อค้าคนกลาง และ เกษตรกรสมาชิ กโครงการพัฒนาพื้ นที่ สูงแบบโครงการหลวงแม่สลองจาหน่ ายในรู ปแบบกาแฟกะลาให้กบั ทาง ศูนย์ฯ ทั้งนี้เกษตรกรบางรายมีการจาหน่ายให้กบั พ่อค้าภายในหมู่บา้ น และพ่อค้าคนกลาง คาสาคัญ กระบวนการผลิต กาแฟอราบิกา้

1

Traditional Food Research and Development Unit, Science and Technology Research Institute, Chiang Mai University Department of Agricultural Economy and Development, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University 3 Highland Research and Training Center, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University 4 Department of Plant and Soil sciences, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(16)

การศึกษาวิธีการปลูกและการจัดการสวนที่ดเี พื่อเพิม่ ผลผลิตกาแฟอราบิก้าที่ปลูกในสภาพร่ มเงา สิ ทธิเดช ร้อยกรอง1 และสุมานี กันธวี 1 *Corresponding author : sithidechr@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ กาแฟเป็ นพื ชเศรษฐกิ จที่ สาคัญชนิ ดหนึ่ งสาหรั บชุ มชนบนพื้ นที่ สูง วิธีการปลูกและวิธีการจัดการดู แล รักษาที่ เหมาะสมกับบริ บทของพื้นที่ มีความสาคัญต่อการให้ผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรในแต่ละปี พื้นที่ สูง ของไทยยังมีขอ้ จากัดต่างๆ ในการใช้พ้ืนที่ทาการเกษตรรวมถึงการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มจานวนผลผลิตกาแฟอรา บิกา้ ด้วย ดังนั้นวิธีการเพิ่มผลผลิตด้วยระบบการปลูกและการจัดการสวนเดิมด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีวิธีการ จัดการสวนกาแฟภายใต้ร่มเงาจึ งต้องมี การศึ กษาเพื่ อเป็ นแนวทางที่ จะทาให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากพื้ นที่ ได้ เหมาะสมเชิ งอนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่ าไม้ มีผลผลิตนามาซึ่ งรายได้ โดยแบ่งกิจกรรมเป็ น 2 ประเด็นคือ 1) วิธีการ ปลูกกาแฟในสภาพร่ มเงา โดยปลูกต้นกาแฟในระยะ 1.5x2.0 เมตรจาวน 2 ไร่ ต้นกาแฟ 1,000 ต้น โดยปลูกภายใต้ ไม้ร่มเงา และไม้ทอ้ งถิ่นที่ มีระดับร่ มเงา 70 เปอร์ เซ็นต์ และปลูกไม้กล้วย และต้นลิงลาว เสริ มเพื่อเป็ นร่ มเงาและ เป็ นรายได้ มีการจัดการธาตุอาหารตามปฏิทินการดู แลรักษา ดาเนิ นการในพื้นที่เกษตรกรของศูนย์พฒั นาโครงการ หลวงป่ าเมี่ยงและตีนตกโดยเปรี ยบเทียบกับแปลงปลูกใหม่ของเกษตรกร จานวน 2 ไร่ (ชุดควบคุม) ประเด็นที่ 2) การศึ กษาวิธีการเพิ่มผลผลิ ตกาแฟแปลงเดิ มด้วยวิธีการตัดแต่งกิ่ ง หลังฤดูการเก็บเกี่ ยวปี 2559 ในพื้ นที่ เกษตรกร ของศูนย์พฒั นาโครงการหลวงป่ าเมี่ยง และตีนตก แห่ งละ 2 ไร่ หลังการตัดแต่งมีการตัดริ ดหน่อใหม่ให้เหลือ 1-2 หน่อ บารุ งต้นด้วยการให้ธาตุอาหารที่เหมาะสม ปี ละ 3 ครั้ง ควบคู่กบั การจัดการร่ มเงาด้วยการปลูกไม้ให้ร่มเงาเพิ่ม เช่ น กล้วย จันทร์ ทองเทศ การบู ร อาโวคาโด ผลการศึ กษาพบว่า ในแปลงกาแฟปลู กใหม่ที่มีการปลู กและการ จัดการสวนที่ดีน้ นั ต้นกาแฟอายุ 2 ปี มีการเจริ ญเติบโตได้ดีกว่าแปลงของเกษตรกรที่เป็ นชุดควบคุม โดยมีความสู ง เฉลี่ย 115 เซนติเมตร ขนาดทรงพุ่มกว้าง 117.2เซนติ เมตร และมีการออกดอกและติ ดผล การประมาณการผลผลิต อยูร่ ะหว่าง 1.2-1.7 กิโลกรัมต่อต้น เมื่อเปรี ยบเทียบกับต้นในแปลงควบคุมพบว่ามีผลผลิตเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม น้อย กว่าอย่างมี นยั สาคัญทางสถิติ โดยมีระดับความเข้มแสงภายในสวนกาแฟสู งสุ ดไม่เกิ น 1,300 ลักซ์ สาหรับสวน กาแฟปลูกเดิ ม ต้นกาแฟก่อนการตัดแต่งกิ่งโดยให้ผลผลิตต่อต้นต่าคือน้อยกว่า 0.5 กก. และเมื่อหน่อใหม่อายุ 2 ปี เพิ่มผลผลิตกาแฟต่อต้นได้ เฉลี่ย 0.9-2 กิโลกรัมต่อต้น สร้างรายได้ให้กบั เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น 12,000-15,000 บาท ต่อไร่ ขณะที่ แปลงเดิมของเกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ย 0.5 กิ โลกรัมต่อต้น คิ ดเป็ นรายได้ระหว่าง 3,000 –5,000 บาท ต่อไร่ คาสาคัญ กาแฟ อราบิกา้ การปลูก การจัดการสวน ร่ มเงา

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(17)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเลีย้ งผึง้ เพื่อการเพิม่ ผลผลิตพืชและคุณภาพนา้ ผึง้ โครงการย่ อยที่ 2: การศึกษาและคัดเลือกชนิดผึง้ ที่เหมาะสมในการเพิม่ ประสิ ทธิภาพ การผสมเกสรในไม้ ผลและกาแฟ นินาท บัววังโป่ ง1,*เจษฎากรณ์ โสภาวรรณ์1 เยาวลักษณ์ กาละดี1 พรประเสริ ฐ ธรรมอินทร์ 2 พิเชษฐ์ ภาโสภะ3 และฉันทลักษณ์ ติยายน4 *Corresponding author: ninat.entomol@gmail.com

บทคัดย่ อ ผึ้งเป็ นแมลงผสมเกสรที่ มีประสิ ทธิ ภาพและช่ วยเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชได้ ซึ่ งการผสมเกสรของผึ้งทาให้ ผลผลิตทางการเกษตรที่ เพิ่มขึ้ นเมื่อประเมินแล้ว อาจมีมูลค่าสู งกว่าผลิตภัณฑ์ผ้ ึง มูลนิ ธิโครงการหลวงได้ส่งเสริ ม ให้เกษตรกรชาวเขาปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาวชนิ ดต่าง ๆ เพื่อเป็ นอาชี พทดแทนการปลูกฝิ่ น พี้ชถือเป็ นพืชไม้ผล เขตหนาวที่ จาเป็ นต้องปรั บตัวเพื่ อเจริ ญเติ บโตในที่ สู งของประเทศไทย ซึ่ งปั จจุ บนั สภาพอากาศของโลกมี การ เปลี่ยนแปลง จึ งต้องมี การศึ กษานาผึ้งมาผสมเกสรเพื่อการแก้ไขปั ญหาเหล่านี้ จากการศึ กษาได้แบ่งกรรมวิธีการ ผสมเกสรพื้ชในโรงเรื อนทดสอบเป็ น 3 กรรมวิธี คื อ 1) ชุ ดควบคุม ไม่มีการใช้ผ้ ึงในการผสมเกสร(ปล่อยให้ผสม เกสรตามธรรมชาติ ) 2) ใช้ผ้ ึงพันธุ์เป็ นแมลงผสมเกสร และ 3)ใช้ผ้ ึงโพรงเป็ นแมลงผสมเกสรพบว่าผึ้งโพรงมีการ บินเข้าออกหาอาหารดีกว่าผึ้งพันธุ์ โดยวัดจรากการเข้าออกรังของผึ้งทั้งสองชนิ ด ซึ่ งผึ้งโพรงมีกาคเข้าออกรังอยู่ที่ 137 และ 156 ตัว/วัน ส่ วนผึ้งพันธุ์ มีการบินเข้าออกรังอยูท่ ี่ 75 และ 66 ตัว/วัน จากการผสมเกสรของผึ้งพันธุ์และผึ้ง โพรงพลฃบว่ามีเปอร์ เซ็นต์การติดผลของพี้ชไม่แตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ (22.19% และ 20.59%) ส่ วน ชุดควบคุมพบว่ามีเปอร์เซ็นต์การติดผลที่ 5.34% คาสาคัญ ผึ้งโพรง ผึ้งพันธุ์,การผสมเกสร ไม้ผล พี้ช

1

ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ (หน่วยวิจยั ขุนห้วยแห้ง) มูลนิ ธิโครงการหลวง 3 ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงทุ่งเริ ง มูลนิ ธิโครงการหลวง 4 ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพทยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(18)

การวิจยั การอนุรักษ์ และฟื้ นฟูพืชท้ องถิ่นเพื่อการใช้ ประโยชน์ ของชุ มชนบนพื้นที่สูง พันธุ์ทิพย์ นนทรี ย1*์ จารุ ณี ภิลุมวงค์1 กมลทิพย์ เรารัตน์1 และนิจปวริ ชศา ภพักตร์จนั ทร์1 *Corresponding author: pantip.nonsee@gmail.com

บทคัดย่ อ โครงการวิ จัย การอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ นฟู พื ช ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ การใช้ ป ระโยชน์ ข องชุ ม ชนบนพื้ น ที่ สู ง เป็ น โครงการวิจยั ที่ ได้ดาเนิ นการต่อเนื่ องในพื้นที่ เดิ ม และพื้นที่ ใหม่ เพื่อนาไปสู่ เป้ าเหมายให้ชุมชนร่ วมกันอนุ รักษ์ ฟื้ นฟู และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชี วภาพของชุมชนบนพื้นที่ สูงอย่างยัง่ ยืน รวมทั้งสร้างรายได้จาก ฐานชี วภาพของชุมชน โดย มีวตั ถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสารวจและรวบรวมองค์ความรู ้และวิธีการเพาะขยายพันธุ์ พืช การปลูกพืชท้องถิ่นของชุมชน 2) เพื่ออนุรักษ์ ฟื้ นฟู พืชท้องถิ่นในระดับครัวเรื อนและป่ า 3) เพื่อส่ งเสริ มการใช้ ประโยชน์ในชุ มชนและการพัฒนาต่อยอดเชิ งเศรษฐกิ จ 4) เพื่ อศึ กษาการปกป้ องคุม้ ครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและ ความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน ผลการศึกษาดังนี้ 1) สารวจและรวบรวมองค์ความรู ้ 84 หมู่บา้ น 10 ชนเผ่า รวม 6,728 องค์ความรู ้ จากพืช 1,262 ชนิด และศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่น 86 ชนิ ด (พื ชอาหาร 35 ชนิ ด พื ช สมุนไพร 51 ชนิ ด ) 2) การปลูกพื ช ท้องถิ่ นเพื่ อใช้ประโยชน์ จานวน 950 ชนิ ด (ใน 89 หมู่บา้ น) บริ เวณสวนหลังบ้าน จานวน 4,573 ครัวเรื อน และป่ าธรรมชาติ จานวน 2,188 ไร่ โดยพืชท้องถิ่นหายาก ของชุ มชนได้รับการปลูกฟื้ นฟู จานวน 165 ชนิ ด คิ ดเป็ น 75% ของพืชท้องถิ่นหายากในชุมชนทั้งหมด 226 ชนิ ด และ 3) ส่ งเสริ มการใช้ประโยชน์ในชุ มชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู ้โดยผูร้ ู ้ของชุ มชน การแลกเปลี่ยนความรู ้ จากผูร้ ู ้ภายนอกชุมชน การแลกเปลี่ยนพรรณพืช ระหว่างชุมชน 14 แห่ ง พืชจานวน 187 ชนิ ด การจัดทาหลักสู ตร ท้องถิ่นการอนุ รักษ์ ฟื้ นฟู ความหลากหลายทางชี วภาพ เพื่อใช้ในการเรี ยนการสอนร่ วมกับโรงเรี ยน การพัฒนา แหล่ งเรี ย นรู ้ และการพัฒ นาต่ อยอดเชิ งเศรษฐกิ จ โดยการรวมกลุ่ มสมาชิ ก ผูเ้ พาะขยายพัน ธุ์ จานวน 6 กลุ่ ม 4) ส ารวจและเก็ บข้อมู ลโครงสร้ างสังคมพื ช และการใช้ป ระโยชน์ ข องพื ช ในบริ เวณป่ าชุ มชนบ้านห้วยอี ค่ า ง (ศ.ทุ่งหลวง) พื้ นที่ ประมาณ 4,000 ไร่ เพื่อเป็ นข้อมูลสนับสนุ นการขอขึ้ นทะเบี ยนเป็ นพื้นที่ คุม้ ครองพืชท้องถิ่ น นอกจากการดาเนินการกิจกรรมที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้ว ทางโครงการวิจยั เล็งเห็นว่าเพื่อเป็ นการพัฒนาสู่ ความยัง่ ยืน ในการอนุรักษ์ ฟื้ นฟู และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน จาเป็ นต้องมีการสร้างคนรุ่ นใหม่ และกระบวนการเรี ย นรู ้ ใ ห้ กับ ชุ ม ชน เพื่ อ ให้ก ลุ่ ม คนเหล่ านี้ มี ค วามตระหนัก และเป็ นตัว แทนชุ ม ชนในการ ขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้ นฟู จึงได้มีการพัฒนาองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมของธนาคารอาหาร ชุมชนอย่างต่อเนื่ อง จานวน 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านห้วยอีค่าง (ศูนย์ฯ ทุ่งหลวง) บ้านป่ าแป๋ (ศูนย์ฯ แม่สะเรี ยง) บ้านป่ า กล้วย บ้านป่ าแดด (โป่ งคา) และการจัดทาหลักสู ตรชุ มชนเพื่อสร้างผูร้ ู ้รุ่นใหม่ 1 ชุ มชน (บ้านป่ ากล้วย) เพื่อการ นาไปสู่ เป้ าหมายให้ชุมชนร่ วมกันร่ วมกันอนุ รักษ์ ฟื้ นฟู และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชี วภาพอย่าง ยัง่ ยืนต่อไป คาสาคัญ ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง การถ่ายทอดองค์ความรู ้ การอนุรักษ์ ฟื้ นฟู พืชท้องถิ่น 1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(19)

การวิจยั และพัฒนาการปลูกไผ่ บนพื้นที่สูง กมลทิพย์ เรารัตน์1* และปวริ ศ ใจคา1 *Corresponding author : kamontip39@hotmail.com

บทคัดย่ อ การวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและสารวจความหลากหลายชนิ ดพันธุ์ไผ่บนพื้นที่โครงการพัฒนา พื้ นที่ สูงแบบโครงการหลวงและ (2) ศึ กษาและคัดเลื อกชนิ ดพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสมต่ อการนาไปใช้ประโยชน์ของ ชุมชน (3) ศึกษาการเติบโตของไผ่ที่ได้จากการเพาะเมล็ด และ (4) พัฒนาแหล่งรวบรวมพันธุ กรรมไผ่ที่ได้จากการ เพาะเมล็ด ผลการศึกษาสรุ ปดังนี้ (1) รวบรวมข้อมูลชนิ ดไผ่และการใช้ประโยชน์จากไผ่ในพื้นที่ โครงการพัฒนา พื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา บ่อเกลือ แม่จริ ม สะเนี ยน น้ าเคิม น้ าแขว่ง ขุนสถาน พบพระ ห้วยน้ าขาว และผาผึ้ง-ศรี คีรีรักษ์ รวม 27 ชนิ ด (2.1) ชนิดพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสาหรับการบริ โภคหน่อในชุมชน ได้แก่ ไผ่หวานอ่าง ขาง ไผ่กิมซุ ง ไผ่หยก ไผ่บงหวาน ไผ่บงบ้าน ไผ่บงใหญ่ ไผ่ซางหม่น ไผ่เป๊ าะช่ อแฮ ไผ่ตง ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่ไร่ ไผ่รวก ไผ่ซางป่ า ไผ่หก ไผ่ขม และชนิ ดพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสาหรับการใช้ลาในชุมชน ได้แก่ 1) เครื่ องจักสาน ได้แก่ ไผ่บงบ้าน ไผ่บงป่ า ไผ่ซางป่ า ไผ่ขา้ วหลาม ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ 2) ก่อสร้าง ได้แก่ ไผ่ตง ไผ่เลี้ยง ไผ่บงป่ า ไผ่บงบ้าน ไผ่ซางป่ า ไผ่รวก ไผ่ซางหม่น ไผ่สีสุก ไผ่หก ไผ่ยกั ษ์ ไผ่มากิ นหน่ อย ไผ่บงใหญ่ ไผ่วะโซ๊ ะ ไผ่วดั จันทร์ ไผ่โปก ไผ่ซางจี น (2.2) คัดเลือกชนิ ดพันธุ์ไผ่ที่มีศกั ยภาพต่อการนาลามาใช้ประโยชน์ จานวน ๓ ชนิ ด ได้แก่ ไผ่บงใหญ่ ไผ่โปก และไผ่ซ างจี น มาศึ กษาคุ ณ สมบัติทางกายภาพและเชิ งกล พบว่า ไผ่บงใหญ่ นามาใช้เป็ นวัสดุ ก่อสร้ าง ทดแทนการใช้ไม้เป็ นส่ วนของโครงสร้างที่ ถ่ายแรงในแนวตั้ง เช่น เสา และนาไปใช้เป็ นเครื่ องจักสานได้ ไผ่โปก นามาใช้เป็ นวัสดุก่อสร้างทนแทนการใช้ไม้เป็ นส่ วนของโครงสร้างที่ถ่ายแรงในแนวนอน เช่น คาน และไผ่ซางจีน นามาใช้เป็ นวัสดุก่อสร้างทนแทนการใช้ไม้เป็ นส่ วนของโครงสร้างที่ถ่ายแรงในแนวนอน เช่น คาน (3) ติดตามการ เติบโตของไผ่ที่เกิดจากการเพาะเมล็ด จานวน 6 ชนิ ด ได้แก่ ไผ่หวานอ่างขาง ไผ่รวกป่ า ไผ่ซางป่ า ไผ่เลี้ยง ไผ่หก และไผ่มนั หมู โดยเก็บข้อมูลต่อเนื่ องเป็ นปี ที่ 3 พบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลาที่ ระดับอกของไผ่ที่มีอายุลา 3 ปี และ 2 ปี พบว่า ไผ่หกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ย สู งสุ ด 30.75 และ 44.75 มิลลิเมตร ตามลาดับ และไผ่เลี้ยง มีค่าเฉลี่ยน้อยสุ ด 18.81 และ 25.89 มิลลิเมตรตามลาดับ สาหรับไผ่ที่มีอายุลา 1 ปี พบว่า ไผ่มนั หมู มีค่าเฉลี่ยสู งสุ ด 53.86 มิลลิเมตร และไผ่ซางนวล มีค่าเฉลี่ยน้อยสุ ด 31.11 มิลลิเมตร ทั้งนี้ในไผ่อายุลา 1 ปี มีไผ่หกและไผ่หวานอ่าง ขางกาลังเริ่ มแทงหน่อ แต่ยงั ไม่สามารถบันทึกข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกได้ สาหรับจานวนลาของไผ่ ทั้ง 6 ชนิด พบว่า ไผ่หวานอ่างขาง มีจานวนลาเฉลี่ยสู งสุ ด 21 ลาต่อกอ และไผ่รวกป่ า มีจานวนลาเฉลี่ยน้อยสุ ด 6 ลา ต่ อกอ (4) ได้คดั เลื อกพื้ นที่ บริ เวณแนวป่ าธรรมชาติ ซ่ ึ งติ ดกับพื้ นที่ แปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่ แปลงที่ 9 ของสถานี เกษตรหลวงปางดะ พื้ นที่ ประมาณ 4 ไร่ ระดับความสู ง 700-800 เมตร จากระดับน้ าทะเลปานกลาง ทาการปรั บ พื้นที่ ทาแนวระดับ และปลูกไผ่ที่ได้จากการเพาะเมล็ด จานวน 8 ชนิ ด ได้แก่ ไผ่ตงดา ไผ่เลี้ยง ไผ่ซางหม่น ไผ่ขา้ ว หลามกาบแดง ไผ่ซางป่ าไผ่หก ไผ่ไร่ และไผ่บงหวาน ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร คาสาคัญ ไผ่ การปลูกไผ่ ความหลากหลายของไผ่บนพื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(20)

การวิจยั เชิงปฏิบัตกิ ารเพื่อฟื้ นฟูและส่ งเสริมการใช้ ประโยชน์ เห็ดท้ องถิ่นบนพื้นที่สูง จารุ ณี ภิลุมวงค์1* และศุลิเชษฐ์ ทองกล่า1 *Corresponding author : suli.tong@gmail.com

บทคัดย่ อ การวิจยั เชิ งปฏิ บตั ิ การเพื่อฟื้ นฟูและส่ งเสริ มการใช้ประโยชน์เห็ดท้องถิ่นบนพื้นที่ สูง มีวตั ถุประสงค์เพื่อ สารวจและรวบรวมข้อมูลความหลากหลายและการกระจายตัวของเห็ดท้องถิ่นในแปลงทดสอบ ศึกษาและทดสอบ วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดท้องถิ่นที่ มีศกั ยภาพสาหรับบริ โภคและสร้างรายได้เสริ มให้กบั ชุ มชน และศึกษาแนวทางใน การอนุรักษ์ และฟื้ นฟูเห็ดท้องถิ่นสาหรับการใช้ประโยชน์และพัฒนาแหล่งเรี ยนรู ้การอนุรักษ์และฟื้ นฟูเห็ดท้องถิ่น โดยกระบวนการมีส่วนร่ วมของชุมชน จากการสารวจและรวบรวมข้อมูลความหลากหลายและการกระจายตัวของ เห็ดท้องถิ่นในพื้นที่ แปลงทดสอบบ้านแม่มะลอ โครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวง แม่มะลอ อ. แม่แจ่ม จ. เชี ยงใหม่ พบเห็ดแดง เห็ดไข่ เห็ดโคน เห็ดขมิ้น แต่ไม่พบเห็ดเผาะ ในส่ วนของแปลงทดสอบปั จจัยบางประการ ที่ มีผลต่ อ การเกิ ดของเห็ ดเผาะพบเห็ ดเผาะเกิ ด ในบริ เวณที่ มีร่องรอยของไฟไหม้ ส่ วนของการจัดจาแนกชนิ ด เห็ ด โคนปลวกสามารถจัด กลุ่ มของ Termitomyces sp. HL795, HL797 จากตัวอย่างที่ รวบรวมได้ โดยใช้ ITS4 และ ITS5 พบว่าเป็ นชนิ ดเดี ยวกับ Termitomyces heimii และเห็ดเผาะที่ พบสามารถจาแนกได้ 2 ชนิ ด คือ Astraeus odoratus และ A. sirindhorniae ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดโคนและจุลินทรี ยใ์ นรัง ปลวก สามารถแยกเชื้อแบคทีเรี ยได้ 30 ไอโซเลต และพบ Xylaria escharoidea เจริ ญอยูร่ ่ วมกันภายในรัง และ วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนและเห็ดเผาะในสภาพธรรมชาติอย่างง่าย สามารถทาได้โดยการใช้สปอร์ จากดอกเห็ดสด โดยตรง ในส่ วนของการหมุนเวียนวัสดุเพาะเห็ดพบว่าสามารถนาก้อนวัสดุเก่าจากการเพาะเห็ดสกุลนางรมมาเพาะ เห็ดฟาง เห็ดถัว่ และเห็ดซางได้ ในด้านการพัฒนาฐานเรี ยนรู ้และสร้างเครื อข่ายการอนุ รักษ์และฟื้ นฟูเห็ดท้องถิ่น ประกอบด้วยการขับเคลื่อนกิ จกรรมของกลุ่มให้มีการดาเนิ นงานอย่างต่อเนื่ องเพื่อฝึ กทักษะ การสร้างวิทยากรใน ชุมชนสาหรับถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู ้กบั ชุมชนอื่นหรื อผูส้ นใจในการเพาะเห็ด รวมทั้งการศึกษาดูงานจากผู ้ ที่ประสบความสาเร็ จแล้ว ซึ่ งเป็ นปั จจัยสาคัญที่ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้ นฟู และใช้ประโยชน์จากเห็ดท้องถิ่นใน ชุมชนอย่างยัง่ ยืน คาสาคัญ พื้นที่สูง เห็ดท้องถิ่น เห็ดโคน เห็ดเผาะ ฟื้ นฟูและส่งเสริ มการใช้ประโยชน์เห็ด

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(21)

การวิจยั เพื่อฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ ของดินบนพื้นที่สูง ดารากร อัคฮาดศรี 1 จุไรรัตน์ ฝอยถาวร1 และกาญจนัษ อนันตะ1 *Corresponding author: darakorn_kam@hotmail.com

บทคัดย่ อ โครงการวิจยั เพื่อฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินบนพื้นที่สูง มีวตั ถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการฟื้ นฟู ความอุดมสมบูรณ์ของดินบนพื้นที่สูงแบบมีส่วนร่ วมกับเกษตรกร ตามสภาพดินที่มีปัญหาในการปลูกพืชบนพื้นที่ สู ง 4 ลักษณะดิน ดังนี้ 1) พื้นที่ที่มีความลาดชัน ดิ นเสื่ อมโทรม มีการตัดถางและเผาก่อนปลูก (ข้าวไร่ ) ดาเนิ นการ ในพื้ น ที่ โ ครงการพัฒ นาพื้ น ที่ สู งแบบโครงการหลวงแม่ ส อง 2) พื้ น ที่ ที่ มีล ักษณะดิ น ทรายและมี หิ น ปน (มัน สาปะหลัง) ดาเนิ นในพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน 3) พื้นที่ที่มีความลาดชัน มีการ เผา ใช้ส ารเคมี และปลู กข้าวโพดติ ดต่ อกันเป็ นระยะเวลานาน (ข้าวโพดเลี้ ยงสัต ว์) ดาเนิ นการทดสอบในพื้ นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงโป่ งคาและ 4) กลุ่มพื้นที่ที่ปลูกพืชผักและใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่ อง (หอม ญี่ปุ่น) ดาเนิ นการทดสอบในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ โดยดาเนินการเก็บตัวอย่าง ดิ นก่ อนการทดสอบ และทดสอบเทคโนโลยีการฟื้ นฟู ความอุ ดมสมบู รณ์ ของดิ น โดยมี ความก้าวหน้าของการ ดาเนิ นงานในแต่ละสภาพพื้นที่ ดังนี้ 1) การทดสอบเทคโนโลยีการฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงข้าวไร่ ได้จดั ทาระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (คูรับน้ าขอบเขา ร่ วมกับปลูกหญ้าแฝกขวางความลาดชัน) การปลูกข้าวไร่ ร่วมกับ ถัว่ ลอด การปลู กพื ชตระกูลถัว่ สลับกับปลูกข้าวไร่ เพื่ อลดรอบการหมุ นเวียนพื้ นที่ ปลู กข้าวไร่ 2) การทดสอบ เทคโนโลยีการฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิ นในแปลงมันสาปะหลัง โดยปลูกถัว่ 4 ชนิ ด (ถัว่ เขียว ถัว่ ลิสง ถัว่ ดา และถัว่ พร้า) ระหว่างแถวมันสาปะหลัง ซึ่ งพบว่าการตัดต้นถัว่ ดาที่มีอายุ 45 วันคลุมแปลง และการปลูกถัว่ พร้ามีการ เจริ ญเติ บโตดี กว่ากรรมวิธีอื่น ๆ 3) การทดสอบเทคโนโลยีการฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิ นในแปลงข้าวโพด เลี้ ยงสัตว์ ได้จดั ทาระบบอนุ รักษ์ดินและน้ า (คูรับน้ าขอบเขา ร่ วมกับปลูกหญ้าแฝกขวางความลาดชัน) และปลูก ข้าวโพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถัว่ และ 4) การทดสอบเทคโนโลยีการฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงหอม ญี่ปุ่น โดยการจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสมและการปลูกพืชตระกูลถัว่ หลังปลูกหอมญี่ ปุ่น ซึ่ งในปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 ดาเนิ นการทดสอบในปี แรก จะดาเนินงานต่อเนื่ องเพื่อเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของดินและผลผลิตพืช ในปี 2562 ต่อไป คาสาคัญ ดินบนพื้นที่สูง ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(22)

การนาเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย ห้อง 2 ห้องชัยพฤกษ์


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(23)

การศึกษาประสิ ทธิภาพการสื บพันธุ์ปูขน คุณหญิงโกมุท อุ่นศรี ส่ง1 สมพร กันธิยะวงค์2 ประสาน พรโสภิณ2 วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์2 ประยูร อาทิ2 ศรัทธา ตาละกา2 วีระศักดิ์ โก๊ะเค้า1 และชานาญ มงคล1

บทคัดย่ อ การศึกษาประสิ ทธิ ภาพการสื บพันธุ์ปูขนที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างกัน 3 ชนิ ด ได้แก่ อาหารที่ 1 ประกอบด้วย อาหารเม็ดระดับโปรตีน 35% เสริ มวิตามินซี 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหารและ Astraxanthin 100 ppm อาหารที่ 2 อาหารเม็ดระดับโปรตี น 35% เสริ มวิตามินซี 60 มิ ลลิ กรั ม, วิตามินอี 2 กรัม, lecithin 5 กรัม, น้ ามันทู น่า 5 กรั ม และทูน่าเพส 10 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร อาหารที่ 3 อาหารเม็ดระดับโปรตีน 35% เสริ มวิตามินซี 60 มิลลิกรัมต่อ กิ โลกรั มอาหาร และไส้เดื อนดิ น เลี้ ยงพ่ อ แม่ พ นั ธุ์ปู ข นเป็ นระยะเวลา 60 วัน ก่ อนจับคู่ เพาะผสมพันธุ์ในเดื อน พฤศจิกายน ทาการเพาะพันธุ์ 2 ครั้ง ระหว่างปี 2560 และ 2561 การเพาะพันธุ์ในปี 2560 ใช้พ่อแม่พนั ธุ์ปูขนอายุ 1 ปี ผลการเพาะพันธุ์พบว่า แม่พนั ธุ์ปูขนที่ เลี้ยงด้วยอาหารที่ 1, 2 และ 3 แม่ปูวางไข่, จานวนไข่เฉลี่ยต่อแม่, อัตราการ ผสมติ ด, อัตราการฟั กไข่ , อัตรารอดตายระยะ zoea และจานวนตัวอ่อนลูกปู ขนเฉลี่ย ต่ อแม่ มี ดงั นี้ 60, 100, 100 เปอร์ เซ็ น ต์ ; 32,960.97, 53,670.00, 39,618.22 ฟองต่ อ แม่ ; 72.67, 91.0, 80.60 เปอร์ เซ็ น ต์ ; 73.31, 86.26, 75.97 เปอร์ เซ็นต์ ; 79.01, 76.94, 67.14 เปอร์ เซ็นต์ และ 29,365.66, 47,298, 31,119.80 ตัวต่อแม่ ตามลาดับ การเพาะพันธุ์ ในปี 2561 ใช้พ่อแม่พนั ธุ์ปูขนอายุ 1 ปี และ 2 ปี ผลการเพาะพันธุ์มีดงั นี้ แม่ปูวางไข่, จานวนไข่เฉลี่ยต่อแม่, อัตราการ ผสมติด, อัตราการฟั กไข่, อัตรารอดตายระยะ zoea และจานวนตัวอ่อนลูกปูขนเฉลี่ยต่อแม่ 20, 40, 20 และ 20, 40, 20 เปอร์ เซ็นต์ ; 9,000, 18,450, 12,800 และ 33,000, 30,600, 30,000 ฟองต่อแม่ ; 67.77, 96.08, 93.35 และ 90.60, 66.46, 65.00 เปอร์ เซ็นต์ ; 61.11, 88.54, 92.18 และ 89.39, 65.37, 62.33 เปอร์ เซ็นต์ ; 69.09, 58.36, 33.89 และ 83.33, 54.99, 64.17 เปอร์ เซ็นต์ ; 3,800, 6,400, 4,000 และ 27,500, 11,000, 12,000 ตัวต่อแม่ ตามลาดับ แม่พนั ธุ์ปูขนอายุ 2 ปี มีค่าเฉลี่ยจานวนไข่ต่อตัวและจานวนตัวอ่อนลูกปูขนต่อตัวมากกว่าแม่พนั ธุ์ปูขนอายุ 1 ปี (p<0.05) คาสาคัญ ปูขน ประสิ ทธิภาพการสื บพันธุ์

1 2

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200 ศูนย์วิจยั และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าจืดเขต 1 (เชี ยงใหม่)กรมประมง อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(24)

สถานการณ์ การส่ งเสริมด้ านปศุสัตว์ ของมูลนิธิโครงการหลวง จุฑาทิพย์ เฉลิมผล และสุกิจ กันจินะ 1 *Corresponding author: jutha073@gmail.com, sukitkjn@gmail.com

บทคัดย่ อ การดาเนิ นงานด้านปศุสัตว์ ช่ วยพัฒนาให้เกิ ดทางเลือกมากขึ้ นในการประกอบอาชี พในภาคการเกษตร ให้กบั เกษตรกรในพื้นที่ รับผิดชอบของมูลนิ ธิโครงการหลวง อย่างไรก็ตามการดาเนิ นการดังกล่าว ยังไม่มีการเก็บ รวบรวมข้อมูลเกษตรกรและข้อมูลการส่ งเสริ มการเลี้ยงสัตว์เพื่อการประเมินผลอย่างเป็ นรู ปธรรม การศึกษาครั้งนี้ จึ งมี วตั ถุป ระสงค์เพื่ อ รวบรวมข้อมูลการส่ งเสริ มการเลี้ ยงสัตว์ของมู ลนิ ธิโครงการหลวงในสัตว์ 5 ชนิ ด ได้แก่ ไก่เบรส ไก่กระดูกดา สุ กร แพะนม และกระบื อนม โดยได้ทาการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผูเ้ ลี้ยงสัตว์ของสถานี / ศู นย์พ ฒ ั นาโครงการหลวง จานวน 5 แห่ ง ได้แก่ ศู นย์พ ฒ ั นาโครงการหลวงทุ่ งเริ ง ศู นย์พ ฒ ั นาโครงการหลวง หนองขียว ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ สถานีวิจยั โครงการหลวงแม่หลอด และสถานีเกษตรหลวงปางดะ ผลการศึ กษาพบว่า เกษตรกรส่ วนใหญ่ เป็ นเพศชาย ร้ อยละ 76 อายุเฉลี่ ย 45 ปี ร้ อยละ 80 จบการศึ กษาระดับ ประถมศึกษา เกษตรกรเริ่ มเลี้ยงสัตว์จากความสนใจที่จะสร้างรายได้เสริ มหรื ออาจยึดเป็ นอาชีพหลักต่อไปได้ อีกทั้ง ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงมีการรับซื้ อในราคาที่ แน่ นอนและมีการส่ งเสริ มการเลี้ยงสัตว์โดยเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ฯ การส่ งเสริ มด้านปศุสัตว์ที่ได้มีการดาเนิ นการได้มีการส่ งเสริ มในหลายรู ปแบบ เช่น การอบรม การตรวจเยี่ยม การ ส่ งเสริ มรายบุ ค คล และรายกลุ่ม เป็ นต้น ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้ นที่ ระยะเวลา และความต้องการของ เกษตรกร ส่ วนความต้องการการส่ งเสริ มของเกษตรกร คื อ ต้องการให้มีการจัดศึกษาดูงานในฟาร์ มตัวอย่าง หรื อ ฟาร์มที่ประสบความสาเร็ จ ต้องการความรู ้เพิ่มเติมด้านอาหารสัตว์ และการจัดการฟาร์มมาตรฐาน คาสาคัญ การส่งเสริ ม การเลี้ยงสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง

1

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(25)

การทดสอบชนิดชันโรงเพื่อเพิม่ ประสิ ทธิภาพการผสมเกสรในมะม่ วงร่ วมกับเกษตรกรบนพื้นที่สูง ธี รนาฎ ศักดิ์ปรี ชากุล1*และอัจฉรา ภาวศุทธิ์ 1 *Corresponding author: teeranats@hrdi.or.th บทคัดย่ อ การทดสอบชนิ ดชันโรงเพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการผสมเกสรในมะม่วงร่ วมกับเกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยมี วัตถุ ประสงค์เพื่ อสารวจและคัดเลื อกชนิ ดชันโรงที่ เหมาะสมในการเพิ่ มผลผลิ ตมะม่วงบนพื้ นที่ สู ง ดาเนิ นงาน ทดสอบในแปลงเกษตรกร พื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้ า อ.เชี ยงดาว จ.เชี ยงใหม่ วาง แผนการทดสอบแบบ CRD ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ๆ ละ 3 ซ้ า ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ดอกที่ได้รับการผสมโดยชันโรง ชนิ ด Tetragonulalaeviceps กรรมวิ ธี ที่ 2 ดอกที่ ไ ด้รั บ การผสมโดยชัน โรงชนิ ด Lepidotrigonadoipaensis และ กรรมวิธีที่ 3 แปลงธรรมชาติที่มีแมลงอื่นๆเข้าช่วยผสม (แปลงควบคุม) ผลการทดสอบการเข้าหาอาหารของชันโรง 2 ชนิ ด โดยวัดอัตราการเข้าและออกรังของชันโรง พบว่าในชันโรงชนิ ด T. laevicep มีการเข้าและออกรัง อยู่ที่ 7 และ 8 ตัว /ชม. ส่ ว นชัน โรงชนิ ด L. doipaensis มี ก ารเข้า และออกรั ง อยู่ที่ 8 และ 10 ตัว /ชม. ผลการทดสอบ ประสิ ทธิ ภาพการผสมเกสรของชันโรงทั้ง 2 พบว่า กรรมวิธีที่ 3 แปลงธรรมชาติที่มีแมลงอื่นๆเข้าช่วยผสม (แปลง ควบคุมแบบเปิ ด) มีการติดผลมากที่สุด 45 ผลต่อต้น รองลงมาได้แก่กรรมวิธีที่ 1 ชันโรงชนิ ด T. laeviceps 40.6 ผล ต่อต้น และกรรมวิธีที่ 2 ชันโรงชนิ ด L. doipaensis7.1 ผลต่อต้น ในแปลงควบคุมแม้ว่าจะมีจานวนผลผลิตต่อต้น มากที่สุด แต่ผลผลิตมีขนาดไม่สม่าเสมอกัน โดยมีผลขนาดใหญ่ (เกรด AB) จานวน 8-12 ผล และขนาดเล็ก (ตกเกรด) จานวน 17-20 ผล แตกต่างกับกรรมวิธีที่ 1 ผลผลิตมีขนาดใหญ่สม่าเสมอกัน พบขนาดเกรดขนาดใหญ่(AB) ขนาด กลาง (S) และขนาดกลางผลลาย (S ลาย) จานวนเท่าๆ กัน และมีขนาดเล็ก (ตกเกรด) น้อย เพียง 4-5 ผล จึงสรุ ปได้ ว่า กรรมวิธีที่ 1 ดอกที่ได้รับการผสมโดยชันโรงชนิด T. laevicepsมีผลทาให้ปริ มาณและคุณภาพของมะม่วงดีที่สุด คาสาคัญ ชันโรง มะม่วงการผสมเกสร

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(26)

การวิจยั และพัฒนาการผลิตองุ่น วิรัตน์ ปราบทุกข์ 1

บทคัดย่ อ การศึกษาและพัฒนาการปลูกองุ่นของโครงการหลวง ในปี พ.ศ. 2548-2550 ได้ระบบการปลูกองุ่นแบบ ใหม่ที่ทาให้ผลผลิตสู งในช่วงเวลาที่มีความต้องการของตลาด และมีคุณภาพดี อีกทั้งสามารถลดความเสี่ ยงจากโรค และแมลง และการใช้สารเคมี โดยประกอบด้วยวิธีการสร้างกิ่งแบบใหม่ที่เป็ นระบบระเบียบ วิธีการตัดแต่งแบบ ใหม่ คือแบบ 1 กิ่งตัดแต่ง 2 ต่อปี วิธีการจัดทรงต้นและระยะปลูก 3 แบบ คือ แบบตัว T ระยะปลูก 6x3 เมตร แบบ ตัว H ระยะปลูก 6x3 เมตร และแบบตัว T ระยะปลูก 6x1.5 เมตร และจัดกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตในฤดูหนาว ซึ่ งผลผลิตมีคุณภาพดีและไม่แข่งขันกับผลิตจากต่างประเทศ และจากการศึกษาวิจยั ต่อเนื่องระหว่างปี พ.ศ. 25482558 พบว่าการปลูกองุ่นตามระบบใหม่ของโครงการหลวงให้ผลผลิตสู งอย่างต่อเนื่ อง โดยในปี ที่ 10 ทรงต้นทุก แบบให้ผลผลิตสู งและไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ 35.25-47.63 กิโลกรัมต่อ 18 ตารางเมตรต่อครั้ง สาหรับการนา ผลการวิจยั ไปใช้ประโยชน์ พบว่าปัจจุบนั ในพื้นที่ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบ โครงการหลวง มีเกษตรกรที่ได้รับการส่ งเสริ มปลูกองุ่นตามระบบใหม่ของโครงการหลวง จานวน 498 ราย พื้นที่ 178.2 ไร่ ให้ผลผลิตแล้วรวม 70.4 ตันต่อปี มูลค่า 10.01 ล้านบาท นอกจากนี้ยงั ผลงานวิจยั ยังถูกนาไปใช้ประโยชน์ ในพื้นที่อื่นๆทัว่ ไป ส่ วนความก้าวหน้าการศึกษาและวิจยั ต่อเนื่อง พบว่าได้พฒั นารู ปแบบการจัดทรงต้นและระยะ ปลูกให้หลากหลายขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทรงต้นสู งแบบ ตัว T ระยะปลูก 1.2 x 8 เมตร และทรงต้นเตี้ยแบบแนวรั้ว แบบตัว Y และแบบตัว Y ดัดแปลง ระยะปลูก 1.5 x 8 เมตร เป็ นต้น มีการทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ที่ส่งเสริ มเพิ่มจากพันธุ์เดิม คือ Beauty Seedless จานวน 2 พันธุ์ ได้แก่ Perlette และ Flame seedless รวมทั้งมีการวิจยั และพัฒนาวิธีการปรับปรุ งคุณภาพผลผลิตโดยใช้ GA3 การบรรจุหีบ ห่อ และการตลาด สาหรับปัญหาที่สาคัญและต้องเร่ งศึกษาและวิจยั ต่อไป คือ การพัฒนาพันธุ์และวิธีการผลิตองุ่นที่ ให้ผลผลิตคุณภาพสู ง เนื่องจากปัจจุบนั คุณภาพผลผลิตยังต่ากว่าที่นาเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในฤดูฝน

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(27)

ผลของการควัน่ ต้ นต่ อการเพิม่ คุณภาพผลผลิตองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless จิระนิล แจ่มเกิด1*อัจฉรา ภาวศุทธิ์1ณิ ชากร จันเสวี1 คมสันต์ อุตมา1สุภาวดี ศรี วงค์เพ็ชร1และวิรัตน์ ปราบทุกข์1 *Corresponding author: hijiranil@gmail.com

บทคัดย่ อ การวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึ กษาวิธีการควัน่ ต้นที่สามารถเพิ่มคุณภาพผลผลิตขององุ่นพันธุ์ Beauty Seedless โดยทาการศึ กษาระหว่างเดือนสิ งหาคม 2560-เดือนมิถุนายน 2561ที่ สถานี เกษตรหลวงปางดะ อาเภอสะ เมิ ง จังหวัด เชี ยงใหม่ ซึ่ งมี ความสู งของพื้ นที่ จากระดับน้ าทะเล 680 เมตร วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 4กรรมวิธี ประกอบด้วย กรรมวิธีไม่ควัน่ ต้น (control)ควัน่ ต้นที่ระยะหลังดอกบาน 35 วันก่อนให้ผลผลิตในฤดูหนาว ก่อนให้ผลผลิตในฤดูฝน และก่อนให้ผลผลิตทั้ง 2 ฤดู เมื่อเก็บผลผลิตในฤดูหนาว (22 ธันวาคม 2560) พบว่าการควัน่ ต้นทุกกรรมวิธีมีขนาดของช่ อ ขนาดของผล สี ผิวผล ปริ มาณของแข็งที่ละลายน้ าได้ (TSS) ปริ มาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) และ สัดส่ วน TSS/TAไม่แตกต่างกันทางสถิติจากการไม่ควัน่ ต้น แต่การควัน่ ต้นในฤดูหนาวมีแนวโน้มทาให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุด (3.46 g) และมีสัดส่ วน TSS/TA มากที่สุด (20.80) และเมื่อเก็บ ผลผลิ ตในฤดู ฝน (22 มิ ถุนายน 2561) พบว่าวิ ธีการควัน่ ต้น ทุ กกรรมวิ ธี มี น้ าหนักผล สี ผิ วผล ปริ มาณTSS และ สัดส่ วน TSS/TA ไม่แตกต่างกันทางสถิติจากการไม่ควัน่ ต้น แต่มีน้ าหนักช่อ เปอร์เซ็นต์ช่อผลที่ผลแตกและเน่าเสี ย ต่อต้น และปริ มาณ TA แตกต่างกันทางสถิติ โดยการไม่ควัน่ กิ่งมีน้ าหนักต่อช่อและเปอร์ เซ็นต์ช่อผลที่ผลแตกและ เน่าเสี ยต่อต้นมากที่สุดคือ 112.20 กรัม และ 35 เปอร์เซ็นต์ตามลาดับ แต่มีปริ มาณ TA ต่าที่สุดคือ 0.69 คาสาคัญ องุ่น การควัน่ ต้น คุณภาพผลผลิต

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(28)

ผลการสารวจการระบาดของโรคและแมลงของพืชตระกูลส้ มในพื้นที่ต่างกัน 3 ระดับ อัจฉรา ภาวศุทธิ์1* จิระนิล แจ่มเกิด1 ธีรนาฎ ศักดิ์ปรี ชากุล1 คมสันต์ อุตมา1 สุ ภาวดี ศรี วงค์เพ็ชร1 จตุรงค์ สุทธนะ2 เรวัฒ พงศ์สกุล2 วิศรุ ต บุญเรื อง2 และวรากร รามะวุธ2 *Corresponding author : acrpwst@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษานี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อสารวจการระบาดของโรคและแมลงในแปลงปลูกพืชตระกูลส้ม เพื่อเป็ น แนวทางในการจัดทาแผนการจัดการโรคและแมลงศัตรู ส้มของแต่ละพื้นที่ ทาการคัดเลือกและสารวจแปลงผลิ ต หรื อแปลงเกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลส้ม 3 แห่ ง คือ สถานี วิจยั โครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชี ยงใหม่ (650 MSL) สถานี เกษตรหลวงปางดะ หน่วยวิจยั ส้มโป่ งน้อย อ.แม่วาง จ.เชี ยงใหม่ (890 MSL) และศูนย์พฒั นาโครงการ หลวงวัดจันทร์ อ.กัลยาณิ วฒั นา จ.เชี ยงใหม่ (980 MSL) โดยสารวจชนิ ดโรค 8 ชนิ ด แมลงศัตรู พืช 15 ชนิ ด และ แมลงศัตรู ธรรมชาติ 7 ชนิ ดในพื ชตระกู ลส้ม 3 ชนิ ด คื อ คัมควัท เลมอน และเกรพฟรุ ้ท ทุ กเดื อน ระหว่างเดื อน พฤศจิ กายน 2559 ถึงเดือนสิ งหาคม 2561 ผลการสารวจ 1) แม่หลอด มีการระบาดของแมลงศัตรู ส้ม 3 อันดับแรก คือ เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ และไรแดง ตามลาดับ โดยพบปริ มาณเพลี้ยอ่อนเพิ่มมากขึ้นจากปี พ.ศ.2560 ขณะที่ปริ มาณ ของเพลี้ยแป้ ง ไรสนิ มส้ม เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และหนอนเจาะผล รวมถึงโรคเมลาโนสและราดาที่ พบลดลง แต่ไม่พบ แมลงศัตรู ธรรมชาติ 2) โป่ งน้อย มีการระบาดของแมลงศัตรู ส้ม 3 อันดับแรก คื อ ไรแดง เพลี้ยไฟ และแมลงค่อม ทอง ตามลาดับ โดยพบปริ มาณของเพลี้ยอ่อน แมลงวันผลไม้ และไรแดงมากขึ้น ขณะที่แมลงค่อมทอง หนอนชอน ใบ และหนอนเจาะผลพบลดลง นอกจากนี้ พบแมลงศัตรู ธรรมชาติ ได้แก่ แมลงหางหนีบ ตัก๊ แตนตาข้าว แมลงช้าง ปี กใส ด้วงเต่ า และมวนเพชฌฆาต ซึ่ งจานวนที่ พบในปี พ.ศ.2560 และ 2561 ไม่ต่างกัน และ 3) วัดจันทร์ มีการ ระบาดของแมลงศัตรู ส้ม 3 อันดับ แรก ดังนี้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบ แมลงศัตรู ส้มในปี พ.ศ.2561 ส่ วนใหญ่ พ บลดลงเมื่ อเปรี ยบเที ยบปี พ.ศ.2560 รวมถึงโรคเมลาโนสและราดา แต่ ยงั พบโรคแคงเกอร์ พบในเก รพฟรุ ้ท นอกจากนี้ พบแมลงศัตรู ธรรมชาติ ได้แก่ มวนพิฆาต แมลงหางหนี บ ตัก๊ แตนตาข้าว และพบไข่แมลงช้าง ปี กใส มวนเพชฌฆาต และแมงมุมเพิ่มมากขึ้ น จากการสารวจทั้ง 3 พื้นที่ ซ่ ึ งมีระดับความสู งของพื้นที่ที่ต่างกันนั้น ชนิ ดแมลงศัตรู พืชและจานวนที่ พบต่างกันไป แต่เพลี้ยไฟยังเป็ นศัตรู ส้มที่พบมากที่ สุดทั้ง 3 พื้นที่ สาหรับปั ญหา หลักที่พบในแต่ละพื้นที่น้ นั ที่แม่หลอดพบปั ญหาเพลี้ยไฟและหนอนเจาะผลในปี พ.ศ.2560 แต่ในปี พ.ศ.2561 พบ การระบาดของเพลี้ยหอยที่มากขึ้น ขณะที่โป่ งน้อยยังพบปั ญหาเรื่ องโรคแคงเกอร์ ในเกรพฟรุ ้ทและแมลงวันผลไม้ และที่ วดั จันทร์ มีการระบาดของแมลงศัตรู ส้มลดลงและพบแมลงศัตรู ธรรมชาติ เพิ่ มมากขึ้ น แต่ยงั พบปั ญหาเรื่ อง เพลี้ยอ่อน เพลี้ ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ใน เกรพฟรุ ้ ท ผลจากการสารวจทั้ง 2 ปี จะสามารถนาไปวางแผนในการ ป้ องกันกาจัดโรคและแมลงในแปลงส้มของพื้ นที่ ท้ งั 3 แห่ ง โดยเน้นการใช้วิธีผสมผสานเพื่ อลดการใช้สารเคมี เกษตร และสามารถควบคุมการระบาดของโรคและแมลงศัตรู สม้ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คาสาคัญ การระบาด โรคและแมลง พืชตระกูลส้ม

1 2

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มูลนิธิโครงการหลวง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(29)

การศึกษาผลกระทบของสภาพภูมอิ ากาศที่มตี ่ อผลิตผลของไม้ ผลบนพื้นที่สูง สุรินทร์ นิลสาราญจิต1* สุริยา ตาเที่ยง1 และกนิษฐา เอื้องสวัสดิ์1 *Corresponding author : surinaggie@hotmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาความสัมพันธ์ของสภาพภูมิอากาศต่อระยะวิกฤติการผลิตไม้ผลบนพื้นที่สูงเพื่อเป็ นเครื่ องมือที่ นามาใช้พยากรณ์ ผลกระทบต่ อการให้ผลผลิตและการวางแผนแก้ไขบรรเทาความเสี ยหายที่ อาจเกิ ดขึ้ นจากการ แปรผัน ของสภาพภู มิ อ ากาศ โดยด าเนิ น การรวบรวมข้อ มู ล อุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาจากแปลงปลู ก พลับ พัน ธุ์ Xichu (พันธุ์ P2) และพลัมพันธุ์แดงบ้านหลวง ในพื้นที่ ศึกษาของโครงการหลวงสาหรับสร้างแบบจาลองใช้คาดการณ์ ผลกระทบของปั จจัยสภาพอากาศที่มีต่อระยะพัฒนาการของผลในระยะก่อนเก็บเกี่ ยว ผลการศึกษาพบว่าในพลับ พัน ธุ์ Xichu มี ค่ าอุ ณ หภู มิ สู งสุ ด รายวัน 4-5 วัน ก่ อ นการร่ วงเป็ นปั จจัย ที่ กระทบต่ อ การเติ บ โตของผลอ่ อ นได้ โดยเฉพาะในช่วงกลางเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1.5-2.2เซนติเมตร และแสดงความสัมพันธ์สมการแบบเชิ งเส้นอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ สาหรับใช้พยากรณ์ร้อยละการร่ วงของผลใน สถานี เกษตรหลวงอ่ า งขาง (ANK) และศู น ย์ พ ั ฒ นาโครงการหลวงแม่ แ ฮ (MHE) คื อ YPANK = 90.017– 5.991(4dTmax) และ YPMHE = –104.507+3.694 (5dTmax) ตามล าดับ ในขณะที่ พ ลัม พัน ธุ์ แ ดงบ้า นหลวงได้รั บ ผลกระทบจากค่าอุณหภูมิสูงสุ ดรายวันก่อนการร่ วง 5-9 วันในช่ วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมที่ ผลมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1.0-2.0เซนติเมตรในระยะก่อนการพัฒนาส่ วนของกะลา (endocarp) มักเกิดการร่ วง ได้มากและแสดงความสัมพันธ์สมการแบบเชิงเส้นอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติเช่นกันสามารถพยากรณ์ร้อยละการร่ วง ของผลในสถานี เกษตรหลวงอ่างขาง (ANK) และศู นย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง (MPL)ไว้ คื อ YDANK = 280.285–9.421(9dTmax)และ YDMPL = –616.591 + 24.670(5dTmax) ตามล าดั บ โดยแสดงค่ า สั ม ป ระสิ ท ธิ์ สหสัมพันธ์ (R) และค่าสัมประสิ ทธิ์ การตัดสิ นใจ (R2) อยู่ระหว่าง 0.999 – 1.000 ในระดับเป็ นที่น่าพอใจจากผลการ ประเมินผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนี โญหรื อลานี ญามาพิจารณาการผันแปรของการให้ผลผลิตนั้น แสดงให้ เห็ นความแตกต่ างกันของค่ าเฉลี่ ยปริ มาณผลผลิตที่ เพิ่ มขึ้ นและลดลงแตกต่ างกันไปตามระดับความรุ นแรงของ ปรากฏการณ์ ที่ เกิ ด ขึ้ น ซึ่ งยังจ าเป็ นต้อ งเก็ บ ข้อ มู ล ในระยะยาวน่ า จะเป็ นแนวทางศึ ก ษาผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงได้ คาสาคัญ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การร่ วงของผล สหสัมพันธ์ การถดถอย แบบจาลอง

1

ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(30)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากภูมปิ ัญญาท้ องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการย่ อยที่ 1 : การวิจยั และพัฒนาต่ อยอดต้ นแบบผลิตภัณฑ์ จากการวิจยั เพื่อนาไปสู่ การใช้ ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาส่ งมอบผลงานวิจัยให้ แก่ มูลนิธิโครงการหลวง กรรณิ กา ศรี ลยั 1* *Corresponding author : kannikas@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่ สูงได้ดาเนิ นการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชี วภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่ สูงมาอย่างต่อเนื่ อง ผลจากการวิจยั และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้รวมทั้งสิ้ น 38 ผลิตภัณฑ์ จากพืชกว่า 15 ชนิ ดเช่ น ชาเมี่ยง ฟั กข้าว หญ้าถอดปล้อง สี ฟันคนทา กิ่ งฝาง ว่านน้ า มะแตก มะแขว่น ตะไคร้ตน้ และน้ ามันงาขี้ มอ้ น เป็ นต้น แสดงให้เห็ นศักยภาพของพื ชบนพื้นที่ สูงหลายชนิ ด ที่ สามารถนามาเป็ น วัตถุดิบสาคัญในการเป็ นส่ วนประกอบของผลิตภัณฑ์เวชสาอางต่างๆ ได้ ซึ่ งสามารถต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้ท้ งั ในระดับ ชุ มชนและเชิ งพาณิ ช ย์ ก่ อให้เกิ ดการสร้ างรายได้แก่ ชุ มชนบนพื้ นที่ สู ง ตลอดจนเป็ นการเพิ่ ม ชนิ ด พื ช ทางเลือกหรื อพืชเสริ มให้กบั เกษตรกรบนพื้นที่สูงได้ ซึ่ งจะส่ งผลต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่นอย่าง เป็ นรู ปธรรมได้ ในระยะต่อมาสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูงมีนโยบายที่จะขยายผล และผลักดันการนาผลงานวิจยั ไปสู่ การใช้ประโยชน์เชิงพาณิ ชย์อย่างแพร่ หลาย และเริ่ มมีการส่ งมอบผลิตภัณฑ์จากการวิจยั ให้แก่มูลนิ ธิโครงการ หลวง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปี พ.ศ. 2561 รวมทั้งสิ้ น28ชนิดผลิตภัณฑ์ คิดเป็ นมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท (ข้อมูลจาก บัญชี โครงการผลิตภัณฑ์สมุนไพร มูลนิ ธิโครงการหลวง ณ วันที่ 15 สิ งหาคม 2561) ในส่ วนของการนาผลงานวิจยั ไปใช้ป ระโยชน์ ก รณี ส่ งมอบให้ แ ก่ มู ล นิ ธิ โ ครงการหลวงน าไปผลิ ต และจ าหน่ ายเชิ งพาณิ ช ย์ มี ข้ ัน ตอนการ ดาเนิ นงานเริ่ มตั้งแต่การวิเคราะห์โอกาสและศักยภาพกาหนดชนิ ดผลิตภัณฑ์ร่วมกับโครงการหลวง และนักวิจยั จากนั้นจึงทาการวิจยั และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) ในระดับห้องปฏิบตั ิการ แล้วจึงนาไปผลิตเชิ งการค้า (Upscale) ซึ่ งในขั้นตอนนี้ตอ้ งมีการจดแจ้งผลิตภัณฑ์กบั อย. ผ่านระบบ E submission ควบคู่กบั การออกแบบฉลาก ให้เป็ นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุ ข ตลอดจนคัดเลือกบรรจุภณ ั ฑ์ที่เหมาะสมสาหรับนาไปทดสอบตลาด และศึ ก ษาความพึ ง พอใจจากผู ้บ ริ โภค รวมทั้ ง การยอมรั บ ของผู ้บ ริ โภคในงานโครงการหลวงต่ อ ไป ใน ปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 นี้ได้ทาการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ตน้ แบบจากการวิจยั ที่มีศกั ยภาพสาหรับผลักดันนาไปสู่ การ นาผลงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์เชิ งพาณิ ชย์ และได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้มูลนิ ธิโครงการหลวงนาไปใช้ประโยชน์เชิ ง พาณิ ชย์ จานวน 6 ชนิ ด ได้แ ก่ (1) ผลิ ตภัณ ฑ์ทาความสะอาดสาหรั บเด็ก (head to toe foam wash)(2) ผลิ ตภัณ ฑ์ น้ ามันล้างเครื่ องสาอางแบบกันน้ า (Cleansing oil) และ (3) ชุ ดผลิ ตภัณ ฑ์ขจัดรั งแค (แชมพู ครี มนวด เซรั่ม และ มาส์ค) นอกจากนี้ยงั ได้ดาเนินการยื่นคาขอคุม้ ครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จากการวิจยั อีกด้วย คาสาคัญ ต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์การใช้ประโยชน์เชิงพาณิ ชย์ 1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(31)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้ านบนพื้นที่สูง การศึกษาแนวทางการปลูกเลีย้ งตีนฮุ้งดอย (Diaswa polyphylla Smith) เพื่อการใช้ ประโยชน์ สาหรับอนุรักษ์ และเสริมสร้ างอาชีพ อัปสร วิทยประภารัตน์1* และสุพินญา ขันติภาพ1 *Corresponding author : iamabsorn@gmail.com บทคัดย่ อ ตีนฮุง้ ดอย (Diaswa polyphylla Smith) เป็ นพืชสมุนไพรป่ าสาคัญของชุมชนบนพื้นที่ สูง ซึ่ งมีการเก็บหาเหง้าไป จาหน่ายจานวนมากเนื่องจากมีราคาสูงและไม่มีการเพาะขยายพันธุ์หรื อเพาะปลูกในเชิงเศรษฐกิจ ตีนฮุง้ ดอยเป็ นพืชล้มลุกมี เหง้าอยูใ่ ต้ดิน มีเจริ ญเติบโตช้าและมีแนวโน้มขยายพันธุ์ยาก การเก็บมาจาหน่ ายจากป่ าจึ งส่ งผลต่อความหลากหลายทาง ชี วภาพของทรั พยากรพืชชนิ ดนี้ การศึ กษานี้ ได้ทาการศึ กษาการผสมพัน ธุ์ การติ ดเมล็ด การเพาะขยายพันธุ์เมล็ด การ เจริ ญเติบโตของต้นกล้า และสารวจต้นตีนฮุง้ ดอยในสภาพธรรมชาติ เพื่อเป็ นองค์ความรู ้และแนวทางจัดการอนุรักษ์ ฟื้ นฟู การปลูก และสามารถเพาะขยายพัน ธุ์หรื อเพาะปลูกเป็ นรายได้เสริ มได้ โดยการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ตีนฮุง้ ดอยสามารถ ผสมพันธุ์ได้และดอกติดผลถึง 50 เปอร์ เซ็นต์ สามารถเก็บเมล็ดจากผลแก่ได้ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม โดยมีจานวน เฉลี่ย 36.50 เมล็ดต่อผล การเพาะขยายพันธุ์ดว้ ยเมล็ดในสภาพธรรมชาติมีแนวโน้มดี กว่าในสภาพโรงเรื อนที่ มีการให้น้ า สม่าเสมอ โดยการเจริ ญเติบโตของกล้าตีนฮุง้ ดอย พบว่า กล้าปี ที่ 1 ต้นเหนื อดินสู งเฉลี่ย 8.10 เซนติเมตร มีใบจานวน 1 ใบ เกิ ดบริ เวณปลายยอดของลาต้น เหง้าใต้ดินยาวเฉลี่ย 12.50 มิลลิเมตร มีจานวน 3-6 ปล้อง กล้าปี ที่ 2 ต้นเหนื อดิ นสู งเฉลี่ย 18.56 เซนติเมตร มีใบจานวน 4-5 ใบ เรี ยงแบบวงรอบบริ เวณปลายยอดของลาต้น เหง้าใต้ดินยาวเฉลี่ย 24.50 มิลลิเมตร มี จานวน 6-9 ปล้อง การสารวจต้นตีนฮุง้ ดอยในป่ าธรรมชาติจาก 4 แหล่ง พบต้นตีนฮุง้ ดอย จานวนเพียง 72 ต้น เป็ นต้นที่ มี ดอก 30.55 เปอร์เซ็นต์ และส่ วนมากเป็ นต้นไม่มีดอก 69.44 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ งอาจเป็ นต้นที่มีอายุ 2-3 ปี การผสมพันธุ์และใช้ เมล็ดเพาะขยายพันธุ์เพื่อผลิตกล้าสาหรับปลูกเป็ นรายได้เสริ มหรื อใช้ปลูกฟื้ นฟู จึงเป็ นแนวทางหนึ่ งเพื่อการใช้ประโยชน์ สาหรับอนุรักษ์และเสริ มสร้างอาชีพในตีนฮุง้ ดอย คาสาคัญ ตีนฮูง้ ดอย เมล็ดพันธุ์ การปลูกเลี้ยง การอนุรักษ์

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(32)

แผนงานวิจยั เกษตรนิเวศในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกษราภร ศรี จนั ทร์ 1* ณัฐวรรณ ธรรมสุวรรณ์1 กชพร สุขจิตภิญโญ1 และอัจฉรา ภาวศุทธิ์1 *Corresponding author: kesaraporns@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ แผนงานวิ จยั เกษตรนิ เวศในโครงการพัฒ นาพื้ น ที่ สู งแบบโครงการหลวง มี เป้ าหมายเพื่ อให้ได้ผ ล งานวิจยั ที่สามารถสนับสนุนการแก้ไขปั ญหาและพัฒนาระบบการเกษตรที่ สอดคล้องกับภูมิสังคมบนพื้นที่สูง ที่ มี ลักษณะกายภาพของพื้นที่และเป็ นที่ต้ งั ถิ่นฐานของกลุ่มชาติ พนั ธุ์ที่หลากหลาย ซึ่ งมีการประกอบอาชี พเกษตรกรรม กว่าร้ อ ยละ 87 การวิ จยั ประกอบด้วยกิ จกรรมหลัก 2 ส่ วน คื อ ส่ ว นที่ 1 การจัด เขตเกษตรนิ เวศของชุ มชนใน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ที่ สวพส. ได้ดาเนินการพัฒนาอาชีพ สังคม และสิ่ งแวดล้อม ระหว่างปี พ.ศ.2548-2560 ครอบคลุม 1,382 กลุ่มบ้าน ประชากร 527,978 คน ใน 12 จังหวัดภาคเหนื อและภาคกลาง สามารถ แบ่งออกเป็ น 5 เขตเกษตร ได้แก่ ชุมชนป่ าเมี่ยง ชุมชนที่ มีฐานจากการปลูกฝิ่ น ชุมชนทานาเป็ นหลัก ชุมชนที่ปลูก ข้าวไร่ -ข้าวโพดเป็ นหลัก และพื้นที่เขตร้อน ส่ วนที่ 2 การวิจยั เชิ งปฏิ บัติ การแบบมี ส่ วนร่ วมในชุ มชนน าร่ อง ประกอบด้วย (1) การกาหนดขอบเขต หน่วยการวิเคราะห์ท้ งั ที่เป็ นระดับกลุ่มบ้านและโครงการ (2) การทบทวนผลสาเร็ จการพัฒนาที่ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกร แกนน าสามารถผลิ ต อาหารที่ เพี ย งพอส าหรั บ ครั วเรื อ นและมี ร ายได้เพิ่ ม ขึ้ น และประเด็ น ท้า ทายที่ ย งั คงอยู่ (3) การวิเคราะห์คุณสมบัติระบบเกษตรประกอบด้วย 4 มิติ คื อ ผลิตภาพ เสถียรภาพ ความยัง่ ยืน และความเสมอภาค (4) การกาหนดโจทย์วิจยั ร่ วมกับชุ มชนเพื่ อ แก้ไ ขปั ญ หาและพัฒ นาศักยภาพด้านการเกษตรของท้องถิ่ น โดยใช้ หลักการกระจายตัวของปั ญหาที่ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่ วนใหญ่ ความสาคัญของปั ญหาต่อระบบการเกษตร ของชุ มชน และความรุ นแรงของปั ญหานั้นๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขหรื อสู ญเสี ยโอกาสที่ จะยกระดับการพัฒนา และเป็ นโจทย์ที่มี ค วามเหมาะสมกับ พื้ นที่ แ ละสอดคล้องกับ เป้ าหมายการพัฒ นา (5) การวิจยั ในระดับ แปลง ดาเนิ นการร่ วมกับเกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้ นที่ สูงแบบโครงการหลวง นาร่ องจานวน 6 แห่ ง ประกอบด้วย ขุนตื่นน้อย 38 ราย แม่สอง 27 ราย โป่ งคา 22 ราย ป่ าแป๋ 13 ราย สบโขง 10 ราย และ คลองลาน 8 ราย ลักษณะ งานวิจยั แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม คื อ การเพิ่ มผลผลิต/สัตว์เดิ มของท้องถิ่ น เปรี ยบเที ยบกับวิธีการเดิ มของเกษตรกร และการทดสอบพืชทางเลือกเพื่อสร้างรายได้ ผลผลิตที่สาคัญของแผนงานวิจยั คือเกษตรกรซึ่ งเป็ นผูใ้ ช้ประโยชน์ จากผลงานวิจยั เป็ นผูร้ ่ วมพัฒนาชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเขตเกษตรนิเวศของท้องถิ่น คาสาคัญ วิจยั เชิงพื้นที่ ระบบเกษตร พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(33)

ชุดโครงการวิจัยระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่ น ณัฐวรรณ ธรรมสุวรรณ์1 เกษราภร ศรี จนั ทร์ 1* พัฒนา มงคลวาท1 อัฉรา ภาวศุทธิ์1 สิ ทธิเดช ร้อยกรอง1 สุวมิ ล ศรี กนั ยา1 สุนิตรา อุปนันท์1 ธีระพล จิรโรจน์อาภา1 ปิ ยวัฒน์ ท่ออิ1 และ วิศิษฐ์ ยิง่ ยศอภิราม1 *Corresponding author: natthawan04@gmail.com

บทคัดย่ อ โครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่ น ดาเนิ นการในพื้นที่นาร่ อง คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่ นอย่างยัง่ ยืนขุนตื่นน้อย ตาบลแม่ตื่น อาเภอ อมก๋ อย จังหวัดเชี ยงใหม่ เป็ นพื้นที่ ภูเขาสลับซับซ้อน ห่ างไกล ทุรกันดาร มีสภาพอากาศหนาวเย็น มีความสู งจาก ระดับน้ าทะเล 800-1,200 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 19 หย่อมบ้าน 686 ครัวเรื อน ประชากรเป็ นชนเผ่ากะเหรี่ ยง 3,386 ราย ดารงชี พด้วยการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาเป็ นหลัก และเก็บของป่ าขาย ชุมชนมีฐานะยากจนและยังมีการลักลอบ ปลูกฝิ่ น ในปี พ.ศ. 2553 สวพส. ได้ส่งเสริ มการจัดการธาตุอาหารในข้าวนาส่ งผลให้ผลผลิตข้าวของชุมชนเพิ่มขึ้น ร้ อ ยละ 44.9 แต่ ในปี พ.ศ. 2559 ผลผลิ ต ข้าวนาของเกษตรกรลดลงร้ อยละ 20-35 เนื่ องจากการเข้าท าลายของ เพลี้ยกระโดดซึ่ งพบการระบาดทุก 3-5 ปี รวมทั้งการส่ งเสริ มกาแฟอราบิกา้ อินทรี ยซ์ ่ ึ งมีครัวเรื อนที่มีพ้ืนที่เหมาะสม กับการปลูกกาแฟ ร้อยละ 40 ของครัวเรื อนทั้งหมด ในปี 2559/2560 มีผลผลิตจาหน่าย 3,900 กิโลกรัม สาหรับพื้นที่ ปลูกฝิ่ นในปี 2559/2560 ลดลงจากปี 2550/2551 ร้อยละ 74.13 การศึ กษาวิจยั เชิ งปฏิบตั ิ การโดยกระบวนการมีส่วนร่ วมของนักวิจยั นักพัฒนา และเกษตรกร จานวน 38 ราย จาก 4 หย่ อ มบ้า น มี ว ัต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ สนั บ สนุ น การแก้ไ ขปั ญ หาและพัฒ นาระบบเกษตรของท้อ งถิ่ น ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย (1) การศึ กษาวิธีการจัดการแมลงศัตรู พื ช แบบผสมผสานเพื่ อเพิ่ มผลผลิ ตข้าวนา บนพื้ นที่ สูง ประกอบด้วยวิธีกล วิธีเขตกรรม และการใช้ชีวภัณฑ์ โดยจะสรุ ปอัตราการระบาดของแมลงศัตรู ขา้ ว และผลผลิตข้าวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561 (2) การศึกษาวิธีการบารุ งดิ นที่ เหมาะสมกับการจัดการแปลง กาแฟอราบิ ก้าในระบบอิ น ทรี ย ์ต ามค่ าวิ เคราะห์ ดิ น รายแปลง โดยใช้ปุ๋ ยหมักที่ ทาจากวัส ดุ ที่ มี ในท้องถิ่ น และ ปุ๋ ยอินทรี ยก์ ารค้าที่ให้ในแต่ละช่วงการเจริ ญเติบโตของต้นกาแฟต่อไป (3) การทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิต พืชท้องถิ่นและพืชทางเลือกเพื่อเป็ นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม คือ (ก) การทดสอบชนิ ดไม้ผล โครงการหลวงและไม้ผลพันธุ์การค้าปี ที่ 2 จานวน 2 ชนิด ที่เหมาะสมกับพื้นที่ความสู ง 800-1,000 เมตร และสู งกว่า 1,000 เมตร (ข) การทดสอบชนิ ด พื ช ผัก หลังนาเพื่ อ เป็ นแหล่ งอาหารและสร้ า งรายได้ พบพื ช ผัก หลังนาที่ มี ความเหมาะสมกับ พื้ นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในชุ มชน ได้แก่ ผักกาดกวางตุ ง ถัว่ ลัน เตา ผักขี้หูด และผักชี การวิจยั เชิงปฏิบตั ิการแบบมีส่วนร่ วมได้เสริ มสร้างกระบวนการเรี ยนรู ้ของเกษตรกร เกี่ยวกับศักยภาพของ ท้องถิ่น และความสามารถของตนเองในการแก้ปัญหาและยกระดับการพัฒนาด้านการเกษตรทั้งในส่ วนของพื ช อาหารหลัก พืชเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชทางเลือกที่เป็ นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ของครัวเรื อนทดแทนการปลูกฝิ่ น คาสาคัญ เกษตรนิเวศ วิจยั เชิงพื้นที่ การพัฒนาทางเลือก กะเหรี่ ยง พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(34)

ชุดโครงการวิจัยระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่ปลูกข้ าวไร่ -ข้ าวโพด โครงการย่ อยที่ 2 : การศึกษาระบบการปลูกพืชเพื่อเสริมสร้ างความมัน่ คงด้ านอาหารในโครงการพัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงแม่ สอง จุไรรัตน์ ฝอยถาวร2 จันทร์จิรา รุ่ งเจริ ญ1* บัญชา สุริยะจิตต์1กาญจนัษ อนันตะ1 *Corresponding author: ju_soil@hotmail.com

บทคัดย่ อ โครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่ ปลูกข้าวไร่ -ข้าวโพด ดาเนิ นการศึกษาในพื้นที่ โครงการ พัฒนาพื้ นที่ แบบโครงการหลวงแม่สอง อาเภอท่ าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่ งเป็ นชุ มชนที่ มีการปลูกข้าวไร่ บนพื้ นที่ ที่มี ความลาดชัน มี การตัดถางและเผาก่ อนปลู ก มี ความสู งระหว่าง 600 – 1,200 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง พื้ นที่ รับผิดชอบ จานวน 62 กลุ่มบ้าน 17 หมู่บา้ น มีจานวนประชากร 4,985 ครัวเรื อน จานวน 15,398 คน เป็ นชาย 8,107 คน และหญิง 7,292 เป็ นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ ยง ดารงชี พโดยการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาเป็ นหลัก พื้นที่ดาเนิ นงานหลัก คือหย่อม บ้านวะโดโกรซึ่ งมีพ้ืนที่ ขา้ วนาร้อยละ 35.55 และพื้นที่ ขา้ วไร่ ร้อยละ 64.45 ของพื้นที่ ปลูกข้าวทั้งหมด ปลูกข้าวไร่ แบบ ไร่ หมุนเวียน (5-6 ปี ) มีการถางป่ าและเผาเพื่อเตรี ยมพื้นที่ ในการปลูกข้าวและไม่มีระบบอนุ รักษ์ดินและน้ า ผลผลิตข้าว ไม่แน่ นอน โดยมีผลผลิตข้าวนาเฉลี่ย 353 กก./ไร่ และผลผลิตข้าวไร่ เฉลี่ย 212 กก./ไร่ จากการศึกษาวิจยั เชิ งปฏิบตั ิการ ในระดับ แปลงของเกษตรกรตั้งแต่ ปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2561ได้ด าเนิ น งานวิจัยเชิ งพื้ น ที่ เพื่ อสนับ สนุ น เป้ าหมายของการพัฒนาพื้นที่แม่สองที่มุ่งเน้นการเสริ มสร้างความมัน่ คงด้านอาหารของชุมชน โดยการเพิ่มผลผลิต ข้าว และเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งอาหารของครัวเรื อน พร้อมกับการเสริ มสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 ดาเนิ นงานแบบมีส่วนร่ วมกับเกษตรกร 3 หย่อมบ้าน ได้แก่ วะโดโกรยะแปทะ และ ซอแข่ ว าคี จานวน 27 รายโดยมี ว ตั ถุ ป ระสงค์เพื่ อ สนับ สนุ น การแก้ไ ขปั ญ หาและยกระดับ การพัฒ นาระบบ การเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ แม่สอง ประกอบด้วย 1) การเพิ่มผลผลิตข้าวนาบนพื้นที่สูงโดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวที่บริ สุทธิ์ ร่ วมกับการเลี้ยงปลาในนาข้าว2) การปลูกข้าวไร่ ร่วมกับระบบอนุ รักษ์ดินและน้ าเพื่อฟื้ นฟูความอุดม สมบูรณ์ของดินในพื้นที่ ปลูกข้าวไร่ และ 3)การทดสอบชนิ ดพืชทางเลือกสาหรับเป็ นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ จากการทดสอบพบว่า ได้เมล็ดพันธุ์ขา้ วนาพันธุ์บือโหย่ ซึ่ งเป็ นข้าวท้องถิ่นที่ ได้จากผลิตเมล็ดพันธุ์ขา้ วที่ บริ สุทธิ์ เป็ นเวลา 3 ปี และการปลูกข้าวต้นเดี ยวร่ วมกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวให้ผลผลิตข้าวสู งที่สุดเท่ากับ 1,156 กก./ไร่ โดยปลานิ ลเป็ นปลาที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาในนาข้าว และผลผลิตข้าวไร่ ที่ปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (คู รับน้ าขอบเขา ปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดชันและปลูกพืชตระกูลถัว่ สลับกับการปลูกข้าวไร่ ) ปี ที่ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 นอกจากนี้ พบว่าพืชทางเลือกที่ สร้างรายได้ระยะสั้น ได้แก่ถวั่ ลิสงพันธุ์กาฬสิ นธุ์2 ผลผลิ ตเฉลี่ย 257.41กก./ไร่ และมีรายได้สุทธิ เฉลี่ย เท่ากับ 1,835.5 บาทต่อไร่ ถัว่ ขาว ผลผลิตเฉลี่ย 57.88 กก.ไร่ และมีรายได้สุทธิ เฉลี่ย เท่ากับ 654.37 บาทต่อไร่ และพืชสร้างรายได้ระยะยาวได้แก่ มะม่วงและอาโวกาโด มีอตั ราการรอดตายเฉลี่ยร้อยละ 95 และ 94 ตามลาดับ โดยจะทาการเปลี่ยนยอดเป็ นพันธุ์การค้าได้ในปี พ.ศ. 2562 คาสาคัญ การวิจยั เชิงพื้นที่ขา้ วบนพื้นที่สูง การเลี้ยงปลาในนาข้าว ระบบอนุรักษ์ดินและน้ า

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(35)

ชุดโครงการวิจัยระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนป่ าเมี่ยง กชพร สุขจิตภิญโญ1*, ภาวิณีคาแสน1,ธีรนาฎ ศักดิ์ปรี ชากุล1 และวินยั จอมนงค์1 *Corresponding author : Khodchapornsu@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ ชุ ดโครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมี ส่วนร่ วมในชุ มชนป่ าเมี่ ยงดาเนิ นการศึ กษาวิจยั ในโครงการพัฒ นา พื้นที่สูงแบบโครงการหลวงป่ าแป๋ ต.ป่ าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชี ยงใหม่ครอบคลุม 13 หมู่บา้ น ภูมิประเทศส่ วนใหญ่เป็ น ภูเขา มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ร้อยละ 55 ตั้งอยูใ่ นอุทยานแห่ งชาติหว้ ยน้ าดังและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่ แสะ ความสู งเฉลี่ย700-1,200 เมตร ประกอบด้วยประชากร 3 ชนเผ่า ได้แก่ คนไทยพื้นเมือง กะเหรี่ ยง และลีซูจานวน 2,449 ครัวเรื อน มีรายได้เฉลี่ย 161,425.61 บาท/ปี แบ่งกลุ่มตามฐานการดารงชีพได้ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย (1)ทาสวน เมี่ ย งเป็ นหลัก และปลู ก กาแฟใต้ร่ ม เงา 2 หมู่ บ้าน ได้แก่ ขุน ห้วยพระเจ้า แม่ ไคร้ (2)ท าสวนเมี่ ยงเป็ นหลัก และ ผสมผสานด้วยการปลูกไม้ยืนต้น เช่ น มะแขว่น ลิ้นจี้ มะม่วง กล้วย ส้ม และพื ชผัก2 หมู่บา้ น ได้แก่ ป่ าแป๋ ปางมะ กล้วย(3) ทานาเป็ นหลักเก็บเมี่ยงและเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อจาหน่าย5 หมู่บา้ น ได้แก่ แม่แสะ แม่แมม แม่เลา ป่ ายางหนาด กิ่วถ้วย-ปางมะโอ และ (4) ทาสวนเมี่ยงและรับจ้าง/ค้าขายเป็ นหลัก 4 หมู่บา้ น ได้แก่ ปางลันแม่น้ าแขมผาเด็งท่าผา งานพัฒนาในระยะแรกดาเนินงานหลักในพื้นที่บา้ นปางมะกล้วยให้เป็ นแหล่งเรี ยนรู ้และต้นแบบการดารง ชี พด้วยการเกษตรผสมผสานที่ สร้างรายได้นอกเหนื อจากการทาสวนเมี่ยง ในปี งบประมาณ พ.ศ.2561 เพื่ อสร้าง ความเสมอภาคการยกระดับการพัฒนาระบบเกษตรของชุมชนอย่างทัว่ ถึง และเพิ่มเสถียรภาพของชนิ ดพืชที่ สร้าง รายได้ การวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมดาเนิ นการใน 2 หมู่บา้ น คือ บ้านกิ่วถ้วย-ปางมะโอและบ้านแม่ไคร้ ซึ่ ง เป็ นหมู่บา้ นเป้ าหมายในการขยายงานในระยะต่อไป กิจกรรมวิจยั ประกอบด้วย (1) การทดสอบปลูกฟั กทองญี่ปุ่น หลังนา เนื่ องจากพื้นที่ทาการเกษตรส่ วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 30 ในขณะที่เกษตรกรทานาปี ละ 1 ครั้ง และมีโอกาสเชื่อมโยงตลาดกับมูลนิธิโครงการหลวง จึงศึกษาวิธีการปลูกฟักทองญี่ปุ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2 วิธีการ คื อ การปลูกฟั กทองญี่ ปุ่นแบบจัดเถาและขึ้ นค้าง ร่ วมกับเกษตรกรบ้านกิ่ วถ้วย-ปางมะโอ 4 ราย พบว่า การปลูก ฟักทองญี่ปุ่นแบบขึ้นค้างให้ผลผลิตรวมต่อไร่ สูงกว่าการจัดเถาร้อยละ 33.67 โดยมีน้ าหนักต่อผลความกว้างของผล และความยาวของผล เฉลี่ยสู งที่ สุดเท่ากับ 1.85กิ โลกรั ม180.66 มิลลิเมตร และ 107.84 มิลลิเมตร ความหนาเนื้ อ 35.53 มิลลิเมตร ความหนาเปลือก 0.63 มิลลิเมตร และค่า TSS 12.30 (brix°)และ (2) การทดสอบเทคโนโลยีการเลี้ยง ผึ้งโพรงที่ ต่ อยอดจากการที่ เกษตรกรมี ทักษะในการหาน้ าผึ้ งป่ าอยู่แ ล้วเพื่ อได้น้ าผึ้ งมี ปริ มาณและคุ ณ ภาพโดย ทดสอบลักษณะโก๋ นผึ้งที่ มีผลต่ อการเข้าทารังของผึ้งโพรง 2 ลักษณะ คื อ โก๋ นผึ้งแบบไม้ไผ่สานและท่ อซี เมนต์ พบว่า หลังการวางโก๋ น4 เดือน ผึ้งโพรงเข้าทารังในโก๋ นผึ้งแบบไม้ไผ่สานร้อยละ 53.33 ส่ วนโก๋ นผึ้งแบบท่อซี เมนต์ ยังไม่พบการเข้าทารังของผึ้งโพรง คาสาคัญ วิจยั เชิงพื้นที่ ป่ าแป๋ ป่ าเมี่ยง ฟักทองญี่ปุ่นหลังนา ผึ้งโพรง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(36)

การนาเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย ห้อง 3 ห้องกัลปพฤกษ์


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(37)

ความก้ าวหน้ าของงานวิจยั การพัฒนาพันธุ์กล้ วยไม้ สกุลซิมบีเดียม สาหรับงานผลิตของมูลนิธิโครงการหลวง ตอนที่ 3 วชิระ เกตุเพชร1* อดิศร กระแสชัย2 ชลิต พงศ์ศุภสมิทธ์2 ยุพยง อินต๊ะก๋ อน1 และ รัตนาภรณ์ อะปะยัง1

Corresponding author: wachiraketpet@hotmail.co.th

*

บทคัดย่ อ ได้รวบรวมกล้วยไม้สกุลซิ มบีเดียมและสกุลใกล้เคี ยง จานวนทั้งสิ้ น 236 พันธุ์ โดยเริ่ มทาการปรับปรุ งพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2552 เป็ นต้นมา ที่ หน่ วยวิจยั ขุนห้วยแห้ง สถานี เกษตรหลวงอินทนนท์ อาเภอจอมทอง จังหวัดเชี ยงใหม่ ปัจจุบนั ได้ทาการผสมเกสรเพื่อสร้างลูกผสมแล้ว จานวน 9 ชุด รวมทั้งสิ้ น 228 หมายเลข ได้รับไม้ขวดแล้วจานวน 82 หมายเลข รอด 70 หมายเลข จานวน 7, 833 ต้น สาหรับการคัดเลือกลูกผสม ได้คดั เลือกลูก ผสมจากหมายเลขที่ ออกดอกแล้ว ได้คดั เลือกลูกผสมเบื้ องต้น จานวน 19 หมายเลข ได้ส่งหน่อไปเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ เพื่อเตรี ยมทดสอบ ผลผลิ ตและคุ ณ ภาพต่ อไป ขณะนี้ ได้รับไม้ขวดและออกขวดแล้วจานวน 9 หมายเลข 1,952 ต้น สาหรับการขึ้ น ทะเบียนพันธุ์ ในปี 2559ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนพันธุ์กบั สมาคมพืชสวนอังกฤษ (Royal Horticulture Society) และขึ้น ทะเบียนแล้ว 7 คู่ผสม ได้แก่ ปานแก้ว, ปานขวัญ, ปานจันทร์ , ปานตะวัน, ปานดาว, ปานชมพู และ Cleo Candy ใน ปี 2561 คาดว่าจะขึ้นทะเบียนพันธุ์เพิ่มเติม 5 พันธุ์ คาสาคัญ ซิมบีเดียม, การพัฒนาพันธุ์

1 2

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200 ที่ปรึ กษาโครงการ


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(38)

ความก้ าวหน้ าของงานวิจยั การปรับปรุ งพันธุ์กล้ วยไม้ สกุลฟาแลนอปซิส สาหรับงานผลิตของมูลนิธิโครงการหลวง ตอนที่ 2 วชิระ เกตุเพชร1* อดิศร กระแสชัย2 ชลิต พงศ์ศุภสมิทธ์2 เกียมศักดิ์ คาแปง1 มัทรี ศรี เริ ญ1 ธีรศักดิ์ กาตะโล1 และรัตนาภรณ์ อะปะยัง1 * Corresponding author: wachiraketpet@hotmail.co.th

บทคัดย่ อ ได้ปรับปรุ งพันธุ์ฟาแลนอปซิ สที่สถานี ฯ อินทนนท์ และสถานี ฯ ปางดะ ตั้งแต่ปี 2557 เป็ นต้นมา โดยได้ รวบรวมพันธุ์ท้ งั สิ้ น 223 พันธุ์ จานวน 5,075 ต้น ปั จจุบนั ได้สร้างลูกผสมทั้งสิ้ น รวม 298 หมายเลข ได้รับต้นกล้า ลูกผสม จานวน 262 หมายเลข จานวน 1,887 ขวด มี ตน้ กล้าทั้งสิ้ น 62,584 ต้น การคัดเลื อกลูกผสม ได้คดั เลื อก ลูกผสมที่ออกดอกแล้ว พบว่ามีลูกผสมที่ออกดอกแล้ว จานวน 36 หมายเลข พบว่าสามารถจดทะเบียนได้ท้ งั สิ้ น 28 หมายเลข สาหรับ การคัดเลื อกลูกผสมเบื้ องต้นเพื่ อขึ้ นทะเบี ยนในนามมูลนิ ธิโครงการหลวงได้คดั เลื อกลูกผสม เบื้ องต้น เพื่ อขึ้ นทะเบี ยน จานวน 2 ลูกผสม ที่ มีจานวนดอกมากกว่า 7 ดอกขึ้ นไป ได้แก่ RPF-301 จานวน 4 ต้น และ RPF-302 จานวน 6 ต้น ซึ่ งจะทาการขึ้นทะเบียนพันธุ์ตามระเบียบของมูลนิธิโครงการหลวง กับสมาคมพืชสวน อังกฤษ (Royal Horticulture Society) ต่อไป คาสาคัญ ฟาแลนอปซิส, การปรับปรุ งพันธุ์

1 2

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200 ที่ปรึ กษาโครงการ


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(39)

การพัฒนาพันธุ์ว่านสี่ ทิศ ประภัสสร อารยะกิจเจริ ญชัย1* และ เกียมศักดิ์ คาแปง1 * Corresponding author: phatsorn_233@hotmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาการพัฒนาพันธุ์ว่านสี่ ทิศครั้ งนี้ เป็ นการศึ กษากับว่านสี่ ทิศพันธุ์พ้ื นบ้านและพันธุ์ลูกผสมจาก ต่ างประเทศ การศึ กษาแบ่ งออกเป็ น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 เป็ นการศึ กษาลักษณะทางสัณ ฐานและ ช่ วงเวลาออกดอกของพืชทดลอง พบว่า ว่านสี่ ทิศทั้ง 3กลุ่มมีลกั ษณะคล้ายคลึงกันในแง่ของรู ปร่ างและสี ของหัว ส่ วนลักษณะที่ แตกต่างกันคือ ใบและดอก โดยมีเส้นกลางใบแตกต่างกัน และกลีบดอกมีรูปร่ างของกลีบ ลักษณะ ของปลายกลีบ และสี ของกลี บแตกต่ างกัน นอกจากนี้ สีของก้านชู เกสรเพศผู ้ สี ของก้านเกสรเพศเมี ย และสี ของ ละอองเรณู ก็แ ตกต่ างกันด้วย ส่ วนช่ วงเวลาออกดอกของแต่ ละพัน ธุ์ก็มีค วามแตกต่ างกัน การทดลองที่ 2 เป็ น การศึกษาการผสมเกสรของพืชทดลองโดยผสมแบบสลับพ่อแม่ จานวน 160 คู่ผสม ผลการทดลองพบว่า คู่ผสมที่ ผสมติ ดมีจานวน 86 คู่ โดยคู่ผสมที่ ผสมติ ดและฝั กอ่อนสามารถเจริ ญเติ บโตจนกระทัง่ ฝักแก่มี 42 คู่ และคู่ผสมที่ ผสมติดแต่ฝักอ่อนฝ่ อไปก่อนแก่มี 44 คู่ โดยฝักทั้งหมดฝ่ อไปภายใน 14-19 วัน ส่ วนคู่ผสมที่ผสมไม่ติดมีจานวน 74 คู่ผสม เมล็ดจากฝักแก่ไม่มีระยะพักตัว สามารถงอกภายใน 14-22 วัน โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ย 32.54-72.73% ต้นลูกผสมที่ได้จากการเพาะเมล็ดจานวน 14 คู่ผสมสามารถให้ดอกได้แล้ว คาสาคัญ ว่านสี่ ทิศ, การพัฒนาพันธุ์

1

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(40)

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ย่อยสลายได้ เพื่อการวางจาหน่ ายผลพีช้ สด ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป1* เพ็ญโฉม พจนธารี 1 วารี จารุ วฒั นายนต์1 และอาณัติ เจริ ญพงษ์ 2 * Corresponding author: siriwan_t@tistr.or.th

บทคัดย่ อ การพัฒ นาบรรจุ ภณ ั ฑ์ย่อยสลายได้เพื่ อการวางจาหน่ ายผลพี้ ช สดในการศึ กษาวิจยั นี้ เป็ นการพัฒ นาต่ อ ยอดจากการพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์เทอร์ โมฟอร์ มเพื่อทดแทนโฟม ซึ่ งประสบความสาเร็ จในการพัฒนาหลุมบรรจุผลที่ สามารถป้ องกันการช้ าระหว่างการขนส่ งได้อย่างสมบูรณ์และมีความยืดหยุ่นในการบรรจุ ประกอบด้วยหลุมบรรจุ 2 รู ปแบบ ได้แก่ หลุมบรรจุสาหรับผลขนาดใหญ่ คือ เกรดพิเศษ (Extra) และ เกรด 1 ที่สามารถบรรจุได้ 4 และ 5 ผล และ หลุมบรรจุสาหรับผลขนาดกลางและเล็ก คือ เกรด 2 และ เกรด 3 ที่สามารถบรรจุได้ 5, 7 และ 9 ผล ขึ้นกับ ขนาดผลพี้ช โดยทาการพัฒนาถาดหลุมบรรจุรูปแบบเดียวกันแต่ใช้วสั ดุบรรจุภณ ั ฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ที่หาซื้ อ ได้ภ ายในประเทศทดแทนแผ่น พลาสติ ก PET ผลลัพ ธ์ ไ ด้บ รรจุ ภ ัณ ฑ์ที่มี ส่ วนประกอบหลัก 3 ส่ วน ได้แ ก่ ฝา พลาสติ กใส ถาดหลุมบรรจุจากเยื่อชานอ้อย และ กล่องกระดาษแข็ง ซึ่ งทุกส่ วนสามารถย่อยสลายได้หากผลิตฝา พลาสติกใสด้วยพลาสติกย่อยสลายได้ โดยโครงสร้างบรรจุภณ ั ฑ์ที่พฒั นาขึ้นไม่มีการพิมพ์แต่อย่างใด แต่ได้รับการ ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกับสติ๊กเกอร์พ้ ีชและสติ๊กเกอร์โลโก้มูลนิ ธิโครงการหลวงได้เป็ นอย่างดี คาสาคัญ พี้ช พัฒนาบรรจุภณั ฑ์ บรรจุภณั ฑ์ยอ่ ยสลาย

1 2

ศูนย์การบรรจุหีบห่ อไทย สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี 12120 สถานีวิจยั เกษตรหลวงอ่างขาง มูลนิธิโครงการหลวง อาเภอฝาง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50320


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(41)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซอสพริกจากพริกหวานโครงการหลวง : ซอสหวาน ซอสเผ็ด และซอสเลียนแบบน้าพริกหนุ่ม ไพโรจน์ วิริยจารี 1* จิรนันท์ โนวิชยั 1 ศิริลกั ษณ์ อธิคมวิศิษฐ์1 อนุรักษ์ มะโน1 ณัฐวีร์ วงศ์สิงห์1 เรวัตร พงษ์พิสุทธินนั ท์ 2 สุ ภกิจ ไชยพุฒ2 และกชกร กันทากาศ1 * Corresponding author: rd.royalplant@gmail.com

บทคัดย่ อ การพัฒนาผลิตภัณ ฑ์ซอสพริ กจากพริ กหวานโครงการหลวงสามชนิ ด ได้แก่ ซอสหวาน ซอสเผ็ด และ ซอสเลี ยนแบบน้ าพริ กหนุ่ ม เพื่ อนาพริ กหวานของมู ลนิ ธิโครงการหลวงที่ มีปัญหาด้านผลผลิ ตล้นตลาด สิ นค้า ไม่ได้ตามมาตรฐานมาเพิ่มมูลค่า และยืดอายุการเก็บรักษา จากการพัฒนาสู ตรของซอสหวานจากพริ กหวานสี เหลือง ได้สู ตรที่ เหมาะสม คื อ พริ กหวานสี เหลื อง (ร้ อยละ 54.93) น้ าตาล (ร้ อยละ 13.93) น้ า (ร้ อยละ 9.93) กระเที ยม (ร้อยละ 7.02) มะม่วงบด (ร้อยละ 6.88) น้ าส้มสายชู (ร้อยละ 5.72) เกลือ (ร้อยละ 1.49) และแซนแทนกัม (ร้อยละ 0.10) ผลทางกายภาพ พบว่า ค่าเฉดสี (84.40 องศา) ค่าความสว่าง (42.95) ค่าความเข้มสี (32.95) และค่าความหนื ด (124 cps) ส่ วนผลทางเคมี พบว่าปริ มาณความชื้ น (ร้อยละ 72.02) ค่าวอเตอร์ แอคติวิต้ ี (aw) (0.93) ค่าความเป็ นกรดด่าง (pH) (4.00) และปริ มาณของแข็งที่ ละลายได้ท้ งั หมด (29.70 obrix) มีแบคที เรี ยทั้งหมดน้อยกว่า 10 โคโลนี ต่อ กรัม ไม่พบยีสต์และรา การทดสอบการยอมรับของผูบ้ ริ โภคพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับชอบเล็กน้อย-ชอบ มาก (5.58) จากการพัฒนาสู ตรของซอสเผ็ดจากพริ กหวานสี แดง ได้สูตรที่เหมาะสมคื อ พริ กหวานสี แดง (ร้อยละ 52.80) พริ กเม็คซิ กนั (ร้ อยละ 9.85) น้ ากระเที ยมดอง (ร้ อยละ 9.85) น้ าตาล (ร้ อยละ 8.95) น้ าส้มสายชู (ร้อยละ 8.50) กระเที ยม (ร้อยละ 7.16) เกลือ (ร้อยละ 1.65) พริ กชี้ ฟ้าสี แดง (ร้อยละ 1.12) และแซนแทนกัม (ร้อยละ 0.12) ผลทางกายภาพ พบว่า ค่าเฉดสี (89.05 องศา) ค่าความสว่าง (33.58) ค่าความเข้มสี (25.04) และค่าความหนื ด (223 cps) ส่ วนผลทางเคมี พบว่าปริ มาณความชื้ น (ร้อยละ 76.20) ค่าวอเตอร์ แอคติวิต้ ี (aw) (0.92) ค่าความเป็ นกรด-ด่าง (pH) (3.77) และปริ มาณของแข็งที่ ละลายได้ท้ งั หมด (22.50 obrix) มีแบคที เรี ยทั้งหมดน้อยกว่า 10 โคโลนี ต่อกรัม ไม่พบยีสต์และรา การทดสอบการยอมรับของผูบ้ ริ โภค พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับชอบเล็กน้อย-ชอบมาก (5.76) จากการพัฒนาสู ตรของซอสเลียนแบบน้ าพริ กหนุ่มจากพริ กหวานสี เขียว ได้สูตรที่เหมาะสมคือ หอมแดง (ร้อยละ 27.70) พริ กชี้ ฟ้าเขี ยว (ร้อยละ 25.86) น้ า (ร้อยละ 22.16) พริ กหวานสี เขียว (ร้อยละ 12.93) กระเที ยม (ร้อยละ5.54) น้ าตาลมะพร้าว (ร้อยละ 3.84) เกลื อ (ร้ อยละ 1.04) ยีสต์สกัด (ร้อยละ 0.61) กรดแอสคอร์ บิค (ร้อยละ 0.27) และ แซนแทนกัม (ร้ อยละ 0.05) ผลทางกายภาพ พบว่า ค่ าเฉดสี (96.88 องศา) ค่ าความสว่าง (46.46) ค่ าความเข้มสี (22.70) และค่ า ความหนื ด (1,792 cps) ส่ ว นผลทางเคมี พบว่ า ปริ ม าณความชื้ น (ร้ อ ยละ 84.82) ค่ า วอเตอร์ แอคติ วิต้ ี (aw) (0.96) ค่ าความเป็ นกรด-ด่ าง (pH) (4.26) และปริ ม าณของแข็ งที่ ล ะลายได้ท้ ังหมด (14.37 obrix) มี แบคที เรี ยทั้งหมดน้อยกว่า 10 โคโลนี ต่ อกรัม ไม่พ บยีสต์และรา การทดสอบการยอมรับของผูบ้ ริ โภค พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยูใ่ นระดับเฉยๆ-ชอบปานกลาง (4.19) คาสาคัญ พริ กหวานโครงการหลวง พริ กเม็กซิกนั ซอสพริ ก

1 2

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200 หน่วยวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ จังหวัดเชี ยงใหม่ 51000


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(42)

การศึกษาวิจัยวิธีการผลิตหัวพันธุ์กระเทียมโดยการมีส่วนร่ วมของเกษตรกร จันทร์จิรา รุ่ งเจริ ญ1 ณัฐธยาน์ สุ ริยวงศ์1 และสาธิต มิตรหาญ1 *Corresponding author : puntase@hotmail.com

บทคัดย่ อ กระเที ยม (Garlic) เป็ นพื ชสมุนไพรและเครื่ องเทศชนิ ดที่ นิยมนามาใช้เป็ นส่ วนประกอบในอาหารไทย ซึ่ งอุดมไปด้วยไฟโตนิ วเทรี ยนท์ที่มีประโยชน์ต่อร่ างกาย ปั จจุบนั ราคาขายกระเที ยมไทยถูกเบี ยดบังจากกระเทียม นาเข้าที่มีราคาถูกกว่า สาเหตุหนึ่ งที่กระเทียมไทยมีราคาขายที่สูงเนื่ องจากต้นทุนการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพิ่มมากขึ้น เกิ ดการระบาดของโรค/แมลง กระเที ยมที่ อ่อนแอต่ อโรคมี คุณ ภาพหัวต่ าฝ่ อเร็ ว อายุเก็บรักษาสั้น จึ งถูกกดราคา รับซื้ อ ส่ งผลต่อเนื่ องทาให้ขาดแคลนหัวพันธุ์กระเทียม ดังนั้น โครงการวิจยั จึงมีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการผลิต หัวพันธุ์กระเที ยมร่ วมกับเกษตรกรโดยมุ่งลดการใช้ปุ๋ยเคมี ให้ได้หัวพันธุ์กระเที ยมที่ มีอายุการเก็บรักษายาวนาน กลี บ พัน ธุ์ กระเที ย มมี คุ ณ ภาพส าหรั บ ปลู กในฤดู ต่ อไป การทดลองประกอบด้วย 3 กรรมวิ ธี คื อ 1) ใส่ ปุ๋ ยเคมี (แบบเดิ มของเกษตรกร) 2) ใส่ ปุ๋ยอิ น ทรี ยร์ ่ วมกับ ปุ๋ ยเคมี และ 3) ใส่ ปุ๋ ยอิ น ทรี ย ์ ซึ่ งด าเนิ นการทดลองร่ วมกับ เกษตรกรผูป้ ลู กกระเที ยมพื้ นที่ อาเภอบ้านโฮ่ ง และอาเภอเชี ยงดาว ผลการศึ กษา พบว่า ระยะ 60 วัน หลังปลู ก การเจริ ญเติบโตของกระเทียมทั้ง 3 กรรมวิธีไม่แตกต่างกัน มีจานวนใบตั้งแต่ 5 ใบขึ้นไป ใบกระเทียมของกรรมวิธี ใส่ ปุ๋ยเคมี (แบบเดิ ม) มีใบขนาดใหญ่ หนา สี เขี ยวเข้มกว่าแปลงที่ ใส่ ปุ๋ยอินทรี ย ์ แต่ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีใส่ ปุ๋ย อินทรี ยร์ ่ วมกับเคมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลาต้นกระเที ยมในกรรมวิธีใส่ ปุ๋ยเคมีมากกว่าการใส่ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ ย อินทรี ย ์ และใส่ ปุ๋ยอินทรี ย ์ คือ 7.95, 7.61 และ 7.31 มิลลิเมตร ตามลาดับ หลังเก็บเกี่ยวพบว่า พื้นที่อาเภอบ้านโฮ่งได้ น้ าหนักกระเที ยมสดสู งสุ ด 2,016 กิโลกรัมต่อไร่ ของกรรมวิธีใส่ ปุ๋ยเคมี รองมาคือการใส่ ปุ๋ยอินทรี ยร์ ่ วมกับปุ๋ ยเคมี และใส่ ปุ๋ยอิ นทรี ย ์ เท่ ากับ 1,853 และ 1,753 กิ โลกรัมต่ อไร่ ตามลาดับ สาหรับพื้ นที่ อาเภอเชี ยงดาวพบว่าผลผลิ ต กระเทียมสู งกว่าอาเภอบ้านโฮ่ง โดยเฉพาะกรรมวิธีใส่ ปุ๋ยอินทรี ยใ์ ห้ผลผลิตสู งถึง 2,962 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่ งมากกว่า กรรมวิธีใส่ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ ยอิ นทรี ยแ์ ละกรรมวิธีใส่ ปุ๋ยเคมี (2,762 และ 2,506 กิ โลกรัมต่ อไร่ ) สาเหตุที่ผลผลิ ต กระเทียมของกรรมวิธีใส่ ปุ๋ยเคมีในพื้นที่อาเภอเชี ยงดาวต่ากว่าใส่ ปุ๋ยอินทรี ยเ์ นื่ องจากในฤดูปลูกปี 2560-61 เกิดฝน ตกทาให้ใบกระเทียมแปลงที่ใส่ ปุ๋ยเคมีเกิดโรคใบจุด ใบไหม้ (เชื้ อราสาเหตุ) อายุการเก็บรักษาของทั้งสามกรรมวิธี ไม่แตกต่างกัน คือ น้ าหนักกระเทียมลดลง 59-60% แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องเก็บข้อมูลน้ าหนักกลีบพันธุ์กระเทียม จากแต่ ละกรรมวิธี เพื่ อ ที่ จะใช้ปลูกในฤดู ถดั ไป ซึ่ งกลี บพันธุ์ที่ มีค วามงอกสู งและงอกอย่างสม่ าเสมอเป็ นสิ่ งที่ เกษตรกรผูป้ ลูกกระเทียมต้องการมากที่สุด คาสาคัญ หัวพันธุ์กระเทียม ปุ๋ ยอินทรี ย ์ เกษตรกรมีส่วนร่ วม

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(43)

การศึกษาวิธีการป้ องกันกาจัดด้ วงงวงมันเทศญี่ปุ่น นิตยา โนคา1*หนึ่งฤทัย บุญมาลา1เกษมสันต์ อาษากิจ1และเพชรดา อยูส่ ุข1 *Corresponding author: nunoo.jaa@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษานี้ มี วตั ถุ ป ระสงค์เพื่ อ หาวิธีการป้ องกัน กาจัด ด้วงงวงมัน เทศญี่ ปุ่นโดยด าเนิ น การ ณ แปลง เกษตรกรของศู น ย์พ ัฒ นาโครงการหลวงหมอกจ๋ า ม อ.แม่ อาย จ.เชี ย งใหม่ วางแผนการทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 5 กรรมวิธีๆ ละ 3 ซ้ า ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 ชุ ด ควบคุ ม กรรมวิธีที่ 2 ใช้เชื้ อราเมทาไรเซี ยม รองก้นหลุมก่อนปลูก และฉี ดพ่น อัตรา 500 กรัม/น้ า 20 ลิตร สัปดาห์ละครั้ง กรรมวิธีที่ 3 รองก้นหลุมด้วยสารเคมี ไดโนทีฟูแรน อัตรา 5 กรัม/หลุม กรรมวิธี 4 ฉี ดพ่นสารเคมีฟิโปรนิ ล อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ า 20 ลิตร ก่อนปลูกและ หลังย้ายปลู กทุ กๆ 2 สั ป ดาห์ แ ละกรรมวิธีที่ 5 ฉี ด พ่ นเชื้ อราเมทาไรเซี ย ม อัต รา 500 กรั ม/น้ า 20 ลิ ต ร สลับ กับ สารเคมีฟิโปรนิ ล ทุกๆ 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากรรมวิธีที่ฉีดพ่นด้วยสารเคมีฟิโปรนิ ล อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ า 20 ลิตร ก่อนปลูกและหลังย้ายปลูกทุกๆ 2 สัปดาห์ มีการเข้าทาลายของด้วงงวงมันเทศญี่ปุ่นน้อยที่สุดร้อยละ 0.05 ซึ่ งแตกต่างกับกรรมวิธีอื่นๆ อย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับเชื่อมัน่ 95 เปอร์ เซ็นต์ รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ฉีดพ่น เชื้อราเมทาไรเซี ยม อัตรา 500 กรัม/น้ า 20 ลิตร สลับกับสารเคมีฟิโปรนิล ทุกๆ 2 สัปดาห์ พบการเข้าทาลายของด้วง งวงมันเทศร้อยละ 3.20 คาสาคัญ ด้วงงวง มันเทศมันเทศญี่ปุ่น การป้ องกันกาจัด

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(44)

ความก้ าวหน้ าการวิจยั คีนัวในประเทศไทย ปิ ติพงษ์ โตบันลือภพ1 ณรงค์ชยั พิพฒั น์ธนวงศ์ 2 เบ็ญจารัชด ทองยืน3 และ ปิ่ นปิ นัทธ์ จันทร์แหง1

บทคัดย่ อ เกษตรกรบนพื้นที่สูงบริ เวณภาคเหนือของประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืช หลักที่สามารถสร้างรายได้เพียง ไม่กี่ชนิ ด ทั้งนี้ ระบบเกษตรบนพื้ นที่ สูงเกื อบทั้งหมดเป็ นระบบเกษตรภายใต้สภาวะของฝน (rainfed agriculture system) โดยเกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ในช่วงเดือนเมษายน – ปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่ งเป็ นข้อจากัดสาคัญ ต่อการพัฒนาระบบเกษตรบนพื้นที่ สูงและจากัดรายได้และการพัฒนาสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ ดงั กล่าวเป็ นอีก สาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมองหาช่ องทางในการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกของตนโดยการบุกรุ กทาลาย ป่ าและมักจะมีลกั ษณะเป็ นการทาเกษตรกรรมแบบไร่ เลื่อนลอยเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่เดิมซ้ าๆ และขาดการ บารุ งดิ นส่ งผลให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และผลผลิตพืชที่เกษตรกรปลูกมีแนวโน้มลดลง คีนวั (Chenopodium quinoa Wild.) เป็ นพืชใหม่สาหรับประเทศไทย โดยคี นวั เป็ นพืชดั้งเดิมในแถบอเมริ กาใต้และเทื อกเขาแอนเดรี ยส ในปี 2013 คี นั ว ได้ รั บ เลื อ กจากองค์ ก ารอาหารและการเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ (Food and Agriculture Organisation; FAO) ให้ เป็ นพื ช เป้ า หมายส าหรั บ ความมั่น คงทางอาหารในศตวรรษต่ อ ไป ในปี พ.ศ.2556 นักวิจยั ไทย จึงเริ่ มศึกษาความเป็ นไปได้ในการผลิตคีนวั ในประเทศไทยภายใต้ความร่ วมมือระหว่างมูลนิ ธิโครงการ หลวง มหาวิท ยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันแหล่งพันธุ กรรมแห่ งชาติ ชิ ลี (National Investigation and Desarrollo, www.inia.cl) และสถานเอกราชทู ตชิ ลีป ระจาประเทศไทย ผลจากการศึ กษาพบว่า ภายใต้ส ภาพประเทศไทย สามารถเพาะปลูกคี นัวได้ในช่ วงปลายฤดู ฝน-ต้นฤดูหนาว ถึ งปลายฤดู หนาว ตั้งแต่ เดื อน ต.ค. – ม.ค./ก.พ. ซึ่ งมี อุ ณ หภู มิ เฉลี่ ย สู งสุ ด 20-30 0C ปริ ม าณน้ าฝนเฉลี่ ย 100.86 มิ ล ลิ เมตร ความชื้ น สั ม พัท ธ์ 49.38 - 88.87% และ ประชากรพืชที่ เหมาะสม คื อ 32,000 ต้นต่อไร่ อัตราธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี ยม ที่ เหมาะสม ที่ 30-50 กก.ต่ อไร่ ต่อมาคณะวิจยั ได้ประยุกต์การวิจยั ด้านการผลิ ต ขยายผลสู่ การส่ งเสริ มเกษตรกรในพื้ นที่ มูลนิ ธิ โครงการหลวง ผลิตเมล็ดคี นวั ต้นแบบเชิ งพาณิ ชย์ ได้ผลผลิต ในปี 2560-2561 จานวน 16,000 กิโลกรัม ต่อมาในปี พ.ศ.2559 สถาบันแหล่งพันธุกรรมแห่ งชาติชิลี ได้อนุเคราะห์เชื้ อพันธุกรรมคีนวั จานวน 24 กลุ่มเชื้ อพันธุกรรม เพื่อ การวิจยั คัดเลือก และพัฒนาสายพันธุ์คีนวั ที่ มีศกั ยภาพในการผลิตเชิ งพาณิ ชย์ท้ งั ด้านปริ มาณและคุณภาพผลผลิต คีนวั ภายใต้สภาพของประเทศไทยทั้งในเขตพื้นที่ การเกษตรที่ สูง และพื้นที่ราบซึ่ งอาจเป็ นพืชทางเลือกที่ สามารถ ส่ งเสริ มแก่ เกษตรกรภายในพื้ นที่ ทาการเพาะปลูกทดแทนพื ชดั้งเดิ ม หรื อเป็ นพื ชทางเลื อกที่ สอดแทรกภายหลัง ระบบการปลูกพืชหลักที่ขาดมูลค่าหรื อศักยภาพทางด้านการตลาด และส่ งเสริ มสร้างรายได้ให้กบั เกษตรกรในพื้นที่ เกษตรบนพื้นที่สูง และพื้นที่ราบของประเทศไทย โดยงานวิจยั ต่อเนื่ องนี้เบื้องต้นสามารถแบ่งกลุ่มพันธุ์ตามจานวน ผลผลิตต่อไร่ ได้ 2 กลุ่ม คือ จานวนผลผลิตเฉลี่ย 138.39 กิโลกรัมต่อไร่ และจานวนผลผลิตเฉลี่ย 188.04 กิโลกรัม ต่อไร่ ในลาดับต่อไปงานวิจยั มุ่งเป้ าเพื่อสร้างผลลัพธ์กลุ่มเชื้ อพันธุ กรรมที่ มีลกั ษณะทางการเกษตร (Agronomical phenotypic characteristics) ที่ ดีสามารถปรับตัวได้ดี และมีศกั ยภาพในการให้ผลผลิตได้ดีภายใต้สภาพพื้นที่เกษตร ทั้งบนพื้นที่สูงและเขตพื้นที่ราบในประเทศไทย คาสาคัญ คีนวั การปรับตัวของพืช สรี รวิทยาการผลิตพืช คุณภาพผลผลิต การคัดเลือกพันธุ์

1

ภาควิชาพืชไร่ นา คณะเกษตร (บางเขน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 ศูนย์วิจยั และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตร (บางเขน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 3 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(45)

การประเมินและคัดเลือกประชากรถั่วสาหรับพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง พุทธพงศ์ มะโนคา1* กาญจนา ปรังการ1 ณรงค์ บุญแก้ว1วีรพันธ์ กันแก้ว1 ณรงค์ จันทร์โลหิ ต1 และวิมล ปั นสุภา1 * Corresponding author : bee.puthapong@gmail.com

บทคัดย่ อ การประเมินและคัดเลือกประชากรถัว่ สาหรับพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวงได้ดาเนินการการวิจยั ในปี 2560-2561 โดยทาการคัดเลือกสายพันธุ์บริ สุทธิ์ ในถัว่ จานวน 5 ชนิด 11 ประชากรที่มีลกั ษณะการเจริ ญเติบโตดี ให้ ผลผลิตสู ง และผลผลิตมีคุณภาพดี จากการรวบรวมพันธุ์ที่มีการส่ งเสริ มกันอยู่ในปั จจุบนั บนพื้นที่โครงการหลวง และพันธุ์ที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆทาการปลูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ จากการศึกษาประชากรแล้วทาการประเมินและคัดเลือกประชากรถัว่ ทั้ง 5 ชนิด 11 ประชากร พบว่า 1. ถัว่ แดงหลวง 4 ประชากรพบว่า 1.1. ประชากรกลุ่มที่ 1 (MKS#8) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่งต่อต้น จานวนฝักต่อต้น จานวน เมล็ด ต่ อ ฝั กและน้ าหนัก 20 เมล็ด เท่ ากับ 23.43 กรั ม/ต้น , 61.46 ซม., 8.77 กิ่ ง/ต้น, 10.61 ฝั ก/ต้น 3.43 เมล็ด /ฝั ก และ 14.40 กรั ม ตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมิ น พบว่ามี ถวั่ แดงจานวน 22 ต้น มี ผ ลผลิ ตและ น้ าหนักเมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 2.44 – 57.93% และ 6.19 – 33.44% ตามลาดับ 1.2. ประชากรกลุ่มที่ 2 (หมอกจ๋ าม) มี ค่าเฉลี่ ยของผลผลิ ต ความสู งต้นจานวนกิ่ งต่ อต้น จานวนฝั กต่ อต้น จานวนเมล็ดต่อฝั กและน้ าหนัก 20 เมล็ด เท่ากับ 24.14 กรัม/ต้น, 61.75ซม., 11.40 กิ่ ง/ต้น, 11.32 ฝั ก/ต้น 3.35 เมล็ด/ฝั กและ 14.41กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 22 ต้น มีผลผลิตและ น้ าหนักเมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 3.55 – 90.54% และ 0.86 – 21.86% ตามลาดับ 1.3. ประชากรกลุ่มที่ 3 (USA) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่ งต่อต้น จานวนฝั กต่อต้น จานวน เมล็ดต่อฝักและน้ าหนัก 20 เมล็ด เท่ากับ 20.12 กรัม/ต้น, 56.43 ซม., 9.83 กิ่ง/ต้น, 9.08 ฝัก/ต้น 2.79 เมล็ด/ ฝักและ 15.87กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 22 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนักเมล็ด มากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 0.49 – 70.84% และ 0.12 – 39.56% ตามลาดับ 1.4. ประชากรกลุ่มที่ 4 (JPN) มี ค่าเฉลี่ ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่ งต่ อต้น จานวนฝั กต่ อต้น จานวน เมล็ดต่อฝั กและน้ าหนัก 20 เมล็ด เท่ ากับ 32.46 กรัม/ต้น, 116.34 ซม., 21.17 กิ่ ง/ต้น, 25.51 ฝั ก/ต้น 4.86 เมล็ด/ฝักและ 6.29 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 27 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนัก เมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 1.66 – 57.11% และ 0.18 – 15.39% ตามลาดับ 2. ถัว่ ขาว 3 ประชากรพบว่า 2.1. ประชากรกลุ่มที่ 1 (ปางดะ 1) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่งต่อต้น จานวนฝักต่อต้น จานวน เมล็ดต่อฝั กและน้ าหนัก 50 เมล็ด เท่ ากับ 19.86 กรัม/ต้น, 111.10 ซม., 12.17 กิ่ ง/ต้น, 27.28 ฝั ก/ต้น 5.48 เมล็ด/ฝักและ 8.19 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 27 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนัก เมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 0.68 – 86.26% และ 1.13 – 43.96% ตามลาดับ


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(46)

2.2. ประชากรกลุ่มที่ 2 (ปางดะ 2) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่งต่อต้น จานวนฝักต่อต้น จานวน เมล็ดต่อฝั กและน้ าหนัก 50 เมล็ด เท่ ากับ 19.86 กรัม/ต้น, 109.20 ซม., 14.25 กิ่ ง/ต้น, 24.73 ฝั ก/ต้น 6.19 เมล็ด/ฝักและ 8.58 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 19 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนัก เมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 1.41 – 120.45% และ 0.10 – 12.37% ตามลาดับ 2.3. ประชากรกลุ่มที่ 3(USA)มี ค่าเฉลี่ยของผลผลิ ต ความสู งต้นจานวนกิ่ งต่ อต้น จานวนฝั กต่ อต้น จานวน เมล็ด ต่ อ ฝั กและน้ าหนัก 50 เมล็ด เท่ ากับ 11.92 กรั ม/ต้น , 67.30 ซม., 6.17 กิ่ ง/ต้น, 15.19 ฝั ก/ต้น 4.03 เมล็ด /ฝั กและ 10.82 กรั มตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมิ น พบว่า มี ถวั่ แดงจานวน 25 ต้น มี ผ ลผลิ ตและ น้ าหนักเมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 0.66 – 168.43% และ 1.08 – 62.36% ตามลาดับ 3. ถัว่ อะซูกิ 2 ประชากรพบว่า 3.1. ประชากรกลุ่มที่ 1 (Taiwan) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่งต่อต้น จานวนฝักต่อต้น จานวน เมล็ดต่ อฝั กและน้ าหนัก 50 เมล็ด เท่ ากับ 11.10 กรั ม/ต้น, 42.94 ซม., 11.03 กิ่ ง/ต้น, 25.93 ฝั ก/ต้น 5.19 เมล็ด/ฝักและ 5.38 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 14 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนัก เมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 8.29 – 134.20% และ 2.64 – 49.29% ตามลาดับ 3.2. ประชากรกลุ่มที่ 2 (Elimo) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่งต่อต้น จานวนฝั กต่อต้น จานวน เมล็ดต่อฝักและน้ าหนัก 50 เมล็ด เท่ากับ 7.85 กรัม/ต้น, 37.89 ซม., 9.67 กิ่ง/ต้น, 17.00 ฝัก/ต้น 5.48 เมล็ด/ ฝักและ 5.00 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 23 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนักเมล็ด มากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 1.86 – 167.39% และ 0.10 – 21.61% ตามลาดับ 4. ถัว่ ลูกไก่ 1 ประชากรพบว่า 4.1. ประชากรกลุ่มที่ 1 (USA) มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่ งต่ อต้น จานวนฝั กต่อต้น จานวน เมล็ด ต่ อ ฝั กและน้ าหนัก 20 เมล็ด เท่ ากับ 15.52 กรั ม/ต้น , 92.18 ซม., 9.17 กิ่ ง/ต้น, 46.98 ฝั ก/ต้น 1.26 เมล็ด/ฝักและ 7.12 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 12 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนัก เมล็ดมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 3.07 – 318.74% และ 1.76 – 13.33% ตามลาดับ 5. ถัว่ ดา 1 ประชากรพบว่า 5.1. ประชากรกลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของผลผลิต ความสู งต้นจานวนกิ่งต่อต้น จานวนฝั กต่อต้น จานวนเมล็ดต่อ ฝักและน้ าหนัก 50 เมล็ด เท่ากับ 24.60 กรัม/ต้น, 122.39 ซม., 12.20 กิ่ง/ต้น, 22.28 ฝั ก/ต้น 4.92 เมล็ด/ฝั ก และ 11.02 กรัมตามลาดับ ซึ่ งจากการประเมินพบว่ามีถวั่ แดงจานวน 26 ต้น มีผลผลิตและน้ าหนักเมล็ด มากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 1.62 – 74.78% และ 0.08 – 16.79% ตามลาดับ การประเมินและการคัดเลือกต้นถัว่ ที่ มีคุณภาพและผลผลิ ตสู งจากประชากรถัว่ ทั้ง 5 ชนิ ด 11 ประชากร ข้างต้น จะได้นาเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ได้รับการคัดเลือกไปปลูกทดสอบเพื่ อประเมินและคัดเลือกในระดับต่อไป ซึ่ ง จะทาการคัดเลือกและพัฒนาเป็ นสายพันธ์บริ สุทธิ์ ในลาดับต่อไป คาสาคัญ การประเมิน การคัดเลือก ประชากร 1

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(47)

ความดีเด่ นของลูกผสมและสมรรถนะในการผสมของเฮมพ์ วีรพันธ์ กันแก้ว1* สุทศั น์ จุลศรี ไกวัล1 ศันสนีย ์ จาจด2 ประภัสสร ทิพย์รัตน์3 ต่อนภา ผุสดี2 และสริ ตา ปิ่ นมณี 4 * Corresponding author: weerapun@hotmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาความดี เด่ นของลูกผสมและสมรรถนะในการผสมของเฮมพ์ ได้ผสมพันธุ์ระหว่างสายพัน ธุ์ คัดเลือกจานวน 4 สายพันธุ์ ผสมแบบพบกันหมดโดยไม่มีการผสมกลับ ได้ลูกผสมจานวน 6 คู่ผสม ปลูกทดสอบ ลูกผสมเปรี ยบเที ยบกับพันธุ์ RPF1 และ RPF3 ที่ แปลงทดลองสถานี เกษตรหลวงปางดะ ช่ วงเดื อน กรกฎาคม – สิ งหาคม 2560 ผลการทดลองพบว่าลูกผสมชัว่ ที่ 1 แสดงค่าความดีเด่นเหนื อค่าเฉลี่ยของพันธุ์ RPF1 และ RPF3 ทั้ง ในทางบวกและในทางลบ และจากการวิเคราะห์สมรรถนะในการผสมพบว่าลักษณะปริ มาณสาร THC ถูกควบคุม ด้วยยีนทั้งแบบผลบวกและไม่เป็ นผลบวก คาสาคัญ เฮมพ์ ความดีเด่นของลูกผสม สมรรถนะในการผสม

1

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 3 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชี ยงใหม่ 191 หมู่ 8 ตาบลดอนแก้ว อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 4 สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 65 หมู่ 1 ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(48)

การคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ THC ตา่ ให้ มเี ปอร์ เซ็นเส้ นใยสู ง รุ่ นที่ สริ ตา ปิ่ นมณี 1* สายพันธุ์ กาบใบ1 ประภัสสร ทิพย์รัตน์2 อภิรักษ์ ดอกแก้ว1 และวิมล ปั นสุภา3 *Corresponding author : saritap@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ การปรั บ ปรุ ง พัน ธุ์ เฮมพ์ มี เป้ า หมายเพื่ อ ให้ ไ ด้พ ัน ธุ์ เฮมพ์ ที่ มี ป ริ มาณสารเสพติ ด THC ต่ า ผลผลิ ต เส้นใยสู ง และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้ดี ซึ่ งในปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้ดาเนิ นการ ต่อเนื่ องในการคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์เฮมพ์ที่มีสารเสพติด THC ต่า ให้มีเปอร์ เซ็นต์เส้นใย เพิ่ มสู งขึ้ นในรุ่ นที่ 7 (M7) ซึ่ งคัดเลื อกด้วยวิธีการคัดเลื อกรวม (Mass selection) ดาเนิ นการในเฮมพ์ 4 พันธุ์ คื อ RPF1 RPF2 RPF3 และ RPF4 ณ สถานี เกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชี ยงใหม่ ผลการคัดเลือก พบว่า เฮมพ์ท้ งั 4 พันธุ์มีเปอร์ เซ็ นต์เส้นใยเพิ่ มขึ้ นจากรุ่ นที่ 6 (M6) จากเปอร์ เซ็ นต์เส้นใยร้ อยละ 18.03, 18.25, 16.29 และ 18.51 ตามลาดับ มี เปอร์ เซ็นต์เส้นใยเพิ่มขึ้ นเป็ น ร้อยละ 22.00, 22.77, 21.37 และ 22.03 ตามลาดับ โดยที่ ทุกพันธุ์ยงั คง มี ป ริ ม าณ THC ต่ า กว่า ร้ อ ยละ 0.3 คื อ ร้ อ ยละ 0.058, 0.087, 0.047 และ 0.020 ตามล าดับ และมี ป ริ ม าณสาร Cannabidiol (CBD) เกินว่า 2 เท่าของปริ มาณ THC ทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยมีค่า CBD เท่ากับร้อยละ 0.772, 0.641, 0.967 และ 0.1180 ตามล าดับ และมี สั ด ส่ วน CBD/THC เท่ า กับ 26, 17, 22, และ 9 ตามล าดับ และเมื่ อ เปรี ย บเที ย บ เปอร์ เซ็นต์เส้นใยของเฮมพ์ที่ใช้ในการเริ่ มต้นการคัดเลือก (เปอร์เซ็นต์เส้นใยร้อยละ 16.54, 14.11, 16.41 และ 16.40 ตามลาดับ) พบว่า เฮมพ์แต่ละพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.96-8.66 ตามลาดับ เมื่อผ่านการคัดเลือกด้วย วิธี Mass selection เป็ นเวลา 7 รุ่ น คาสาคัญ เฮมพ์ ปรับปรุ งพันธุ์ สาร THC เปอร์เซ็นต์เส้นใย

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์เชี ยงใหม่ 3 มูลนิธิโครงการหลวง 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(49)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์ โครงการย่ อยที่ 3 : การศึกษาและพัฒนากระบวนการแปรรู ปผลิตภัณฑ์ จากเส้ นใยเฮมพ์ รัตญา ยานะพันธุ์1 สริ ตา ปิ่ นมณี 1* ฉัตรชัย สายสดุดี2 และมนูญ จิตใจฉ่ า3 *Corresponding author : rataya006@hotmail.com

บทคัดย่ อ การแปรรู ป เส้นใยเฮมพ์ในประเทศไทยในแบบดังเดิ มจะเป็ นการแปรรู ปด้วยมื อตามวิถีของชนเผ่าม้ง ส่ วนในการแปรรู ป เชิ งอุตสาหกรรมเริ่ มมี การศึ กษาวิจยั ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 แต่ อย่างไรก็ต ามในช่ วงแรกยังเป็ น การศึ กษาในวิธีการพื้นฐานเพื่ อปรับใช้กบั เครื่ องจักรอุตสาหกรรมที่ มีภายในประเทศ ซึ่ งปั จจุบนั ทางสถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้เริ่ มการวิจยั เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการแปรรู ปผลิตภัณฑ์จากเส้นใย เฮมพ์ร่วมกับผูเ้ ชี่ ยวชาญและภาคเอกชนเพื่อปรับใช้เทคโนโลยีที่มีภายในประเทศสาหรับการแปรรู ปเส้นด้ายเฮมพ์ ให้ มี คุ ณ ภาพเพื่ อ เผลิ ต ส้ น ด้า ยเฮมพ์ที่ เหมาะสมและมี คุ ณ ภาพได้ม าตรฐานเพื่ อการผลิ ต เครื่ อ งแต่ งกายทหาร โดยการศึ กษาครั้งนี้ ได้ศึกษาใน 2 กระบวนการแปรรู ปเส้นใยเฮมพ์ ได้แก่ (1) การศึ กษาการเตรี ยมเส้นใยเฮมพ์ โดยเปรี ย บเที ย บระหว่ า งหม้อ ต้ม แบบหมุ น กับ แบบไม่ ห มุ น ด้วยการต้ม ด้ว ยกรด H2SO4 เป็ นเวลา 60 นาที และฟอกขาวด้วยด่างเป็ นเวลา 60 นาที พบว่าการเตรี ยมเส้นใยด้วยวิธีการต้มในหม้อแบบหมุนแล้วนามาตัดให้มี ความยาวประมาณ 30-40 มม. ได้เส้นใยที่ ดีที่สุดก่อนเข้าสู่ ขบวนการ (2) การปั่ นเส้นด้ายผสมเฮมพ์ พบว่าการปั่ น แบบ Ring spinning โดยผสมเส้นใยเฮมพ์กับ ฝ้ ายในสัด ส่ วน 30:70 ด้วยขนาด เส้นด้ายเบอร์ 20 พบว่าเส้นด้าย ที่ เตรี ยมด้วยหม้อต้มแบบหมุน มีค่า Elongation 3.94 % และ Tenacity 132.44 กิ โลกรั มแรง และเส้นด้ายที่ เตรี ยม ด้วยหม้อต้มแบบไม่หมุน มีค่า Elongation 4.58 % และ Tenacity 118.97 กิ โลกรัมแรง ซึ่ งจากกระบวนการแปรรู ป ทั้งสองกระบวนการนั้นการเตรี ยมเส้นใยแบบต้มด้วยหม้อหมุนให้เส้นใยที่ขาวสะอาดและสามารถปั่ นเป็ นเส้นด้าย ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเหมาะสมกับการนาไปใช้ในกระบวนการผลิตเครื่ องแต่งกายทหารต่อไป คาสาคัญ เฮมพ์ แปรรู ปเส้นใย เส้นด้ายเฮมพ์

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) บริ ษทั ก้องเกียรติเท็กไทล์ จากัด 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุ งเทพ 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(50)

สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกข้ าว-ถั่วหมุนเวียนบนพื้นที่สูง อดิเรก ปั ญญาลือ1 และธัญพิสิษฐ์ ใจแข็ง1 Corresponding author: adirek_p311@hotmail.com

บทคัดย่ อ เกษตรกรบนพื้ นที่ สูงในประเทศไทยจะทาการเพาะปลูกข้าวปี และไม่มีการปลูกพื ชบารุ งดิ น ดังนั้นการ ปลูกข้าวหมุนเวียนกับพืชตระกูลถัว่ จึงเป็ นแนวทางในการปรับปรุ งบารุ งดินในพื้นที่ปลูกข้าวบนพื้นที่สูงการวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรการศึกษาครั้งนี้ดาเนินงานใน พื้นที่ บา้ นแม่วาก อาเภอแม่แจ่ ม จังหวัดเชี ยงใหม่ ระดับความสู ง 670 เมตรจากระดับน้ าทะเล ระยะเวลาเมษายน 2560- มีนาคม 2561วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) จานวน 5 วิธีการ 3 ซ้ า ได้แก่วิธีการที่ 1 ปลูกข้าวอย่างเดียว วิธีการที่ 2 ข้าว – ถัว่ ขาว วิธีการที่ 3 ข้าว – ถัว่ แดงหลวง วิธีการที่ 4 ถัว่ บารุ งดิน (ถัว่ แปะยี) – ข้าว – ถัว่ ขาว วิธีการที่ 5 ถัว่ บารุ งดิน(ถัว่ แปะยี)– ข้าว – ถัว่ แดงหลวง ผลการทดลองพบว่าผลผลิตข้าว ถัว่ ขาว และถัว่ แดงหลวงไม่ มีค วามแตกต่ างอย่างมี นัยส าคัญ ทางสถิ ติ ผลผลิ ต ของข้าวพบอยู่ระหว่าง 880– 912 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตของถัว่ ขาวพบระหว่าง 240 – 256 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตถัว่ แดงหลวงพบระหว่าง 160 – 208 กิโลกรัมต่อไร่ ในส่ วนของเศษซากพืชเหลือทิ้งและปริ มาณไนโตรเจนที่กลับคืนสู่ ดินนั้นพบมีความแตกต่างอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติ โดยเศษซากพืชในแปลงปลูกแบบหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1.4 – 1.6 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าวอย่าง เดียวในขณะที่ปริ มาณไนโตรเจนที่กลับคืนสู่ ดินเพิ่มขึ้นโดยวิธีการปลูกข้าว-ถัว่ 2.0 – 2.2 เท่าและการปลูกถัว่ บารุ ง ดิน (แปะยี) - ข้าว - ถัว่ ปริ มาณไนโตรเจนที่ กลับคื นสู่ ดินเพิ่มขึ้ น 2.6 – 2.7 เท่าเมื่อเที ยบกับแปลงที่ ปลูกข้าวอย่าง เดี ยว จากการทดลองแสดงให้เห็ นว่าการปลูกข้าวอย่างเดี ยวท าให้ส มดุ ลไนโตรเจนในดิ นเป็ นลบ พบระหว่าง 0.7 - 8.2 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ และวิธีการที่ปลูกข้าวนาอย่างเดียวสมดุลธาตุอาหารเป็ นลบมาที่สุดดังนั้นระบบ การปลูก ข้าว – ถัว่ จึ งเป็ นวิธีการลดการสู ญเสี ยของธาตุอาหารในพื้ นที่ ปลูกข้าว นอกจากนี้ ในอนาคตยังจะมี การ ประเมินร่ วมกับเกษตรกรบนพื้นที่สูงเพื่อปรับใช้กบั องค์ความรู ้ให้เกิดการทาเกษตรที่ยงั่ ยืนบนพื้นที่สูง คาสาคัญ ถัว่ สมดุลธาตุอาหารข้าว

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(51)

การนาเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(52)

การประเมินทดสอบสายพันธุ์ของถั่วปากอ้ าบนพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง กาญจนา ปรังการ1* วีรพันธ์ กันแก้ว1 วรรณกานต์ งามมาศประภัสสร1 ณรงค์ จันทร์โลหิ ต1 และวิมล ปั นสุภา2 * Corresponding author : pumpui.kanchana@gmail.com

บทคัดย่ อ จากการศึ กษาและทดสอบสายพันธุ์ของถัว่ ปากอ้า เพื่อทาการเปรี ยบเที ยบผลการเจริ ญเติบโตและผลผลิต ของถัว่ ปากอ้า เมื่ อปลูกในสภาพแวดล้อมที่ ต่างกันของมูลนิ ธิโครงการหลวง ได้แก่ สถานี เกษตรหลวงปางดะ (ความสู งจากระดับน้ าทะเล 720 เมตร ) ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงหนองหอย (ความสู งจากระดับน้ าทะเลปาน กลาง 850 – 1,460 เมตร ) ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงขุนวาง (ความสู งจากระดับน้ าทะเลปานกลาง 1,250 เมตร ) วาง แผนการทดลองแบบ RCBD (Ramdomized Complete Block Design) โดยทาการทดลอง จานวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แม่สาย 1 สายพันธุ์อ่างขาง สายพันธุ์ Windsor bean สายพันธุ์ Vroma และสายพันธุ์แม่สาย 2 พบว่าข้อมูล ทางสรี รวิทยาของถัว่ ปากอ้าทั้ง 3 พื้นที่มีอายุวนั ออกดอกอยูใ่ นช่วง 20-21 วัน อายุวนั ติดฝัก 50% อยูใ่ นช่วง 112-115 วัน และอายุวนั เก็บเกี่ยวอยู่ในช่วง 159-173 วัน วัน จากผลการเปรี ยบเทียบการเจริ ญเติบโตและผลผลิตของถัว่ ปาก อ้าเมื่อปลูกในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของมูลนิ ธิโครงการหลวงพบว่า ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงหนองหอยเหมาะ สาหรับการปลูกถัว่ ปากอ้าทั้ง 5 สายพันธุ์ที่สุด โดยสายพันธุ์แม่สาย 2 ให้น้ าหนักผลผลิตทั้งหมดต่อไร่ เฉลี่ยสู งสุ ด เท่ากับ 202.54 กิโลกรัม รองลงมาคือสายพันธุ์แม่สาย 1, สายพันธุ์ Vroma, สายพันธุ์อ่างขาง และสายพันธุ์ Windsor bean มีผลผลิตทั้งหมดต่อไร่ เท่ากับ 128.16, 111.17, 67.62 และ 49.74 กิโลกรัม ตามลาดับ รองลงมาคือ ศูนย์พฒั นา โครงการหลวงขุนวาง และสถานี เกษตรหลวงปางดะ มีน้ าหนักผลผลิตทั้งหมดต่อไร่ เท่ ากับ 156.22 และ 111.84 กิ โลกรั ม ตามลาดับ โดยพบว่าถัว่ ปากอ้าทั้ง 5 สายพันธุ์ส ามารถปรั บ ตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของศู นย์พ ัฒ นา โครงการหลวงหนองหอยได้ดี ในขณะที่ ส ถานี เกษตรหลวงปางดะและศู นย์พ ัฒ นาโครงการหลวงขุนวาง ไม่ สามารถทดสอบถัว่ ปากอ้าสายพันธุ์ Windsor bean และสายพันธุ์ Vroma ได้ เนื่องจาก ไม่มีการติดฝัก คาสาคัญ พันธุ์ถวั่ ปากอ้า การทดสอบสายพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน

1 2

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 สถานีเกษตรหลวงปางดะ ตาบลสะเมิงใต้ อาเภอสะเมิง จังหวัดเชี ยงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(53)

การทดสอบวิธีการจัดการปุ๋ยเพื่อเพิม่ ผลผลิตข้ าวนา จุไรรัตน์ ฝอยถาวร1 ดารากร อัคฮาดศรี 1 จันทร์จิรา รุ่ งเจริ ญ1 และกาญจนัษ อนันตะ1 *Corresponding author: jurairatf@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ การทดสอบวิธีการการจัดการธาตุอาหารข้าว เป็ นกิจกรรมหนึ่ งของโครงการวิจยั และทดสอบเทคโนโลยี การเขตกรรมที่ เหมาะสมสาหรับการปลูกข้าวบนพื้นที่ สูง มีวตั ถุประสงค์เพื่ อศึ กษาวิธีการจัดการปุ๋ ยในดิ นที่ เพิ่ ม ผลผลิ ต ข้าวบนพื้ นที่ สู ง ด าเนิ นการทดสอบแบบมี ส่ วนร่ วมกับ เกษตรกรในพื้ นที่ โครงการพัฒ นาพื้ นที่ สู งแบบ โครงการหลวง 5 แห่ง ได้แก่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ น้ าแขว่ง จ.น่าน โครงการพัฒนา พื้นที่ สูงแบบโครงการหลวงปางหิ นฝน แม่มะลอ และผาแตก จ.เชี ยงใหม่ จานวน 14 ราย ซึ่ งได้ทาการทดสอบ เปรี ยบเทียบการจัดการปุ๋ ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาในฤดูปลูกข้าวนาปี 2560 ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธี ที่ 1 การใส่ ปุ๋ยตามแบบของเกษตรกร (control) กรรมวิธีที่ 2 การใส่ ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน/พืช และกรรมวิธีที่ 3 คือ การใส่ ปุ๋ยอินทรี ย ์ 200 กิ โลกรัมต่ อไร่ ผลการทดสอบพบว่า การใส่ ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ทาให้ผลผลิ ตข้าวสู งกว่า กรรมวิธีอื่น ๆในพื้ นที่ โครงการพัฒนาพื้ นที่ สูงแบบโครงการหลวงผาแตก น้ าแขว่ง และบ่ อเกลือ โดยมีผลผลิ ต เฉลี่ ย 614 845 และ819 กิ โลกรั ม/ไร่ ตามลาดับ ส่ วนการใส่ ปุ๋ยอิ นทรี ยท์ าให้ผลผลิ ตข้าวสู งกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ในพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวงปางหิ นฝนและแม่มะลอ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 1,075 และ729 กิโลกรัม/ไร่ ตามลาดับ และในฤดูปลูกข้าวนาปี 2561 ทางคณะวิจยั ได้ดาเนินการทดสอบการจัดการธาตุอาหารข้าว เพื่อยืนยันผลการทดสอบอีกครั้งกับเกษตรกรรายเดิม และมีเกษตรกรนาผลงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์จานวน 39 ราย จากการทดสอบสามารถสรุ ป ได้ว่า การใส่ ปุ๋ยตามค่ าการวิเคราะห์ ดิน/พื ช และการใส่ ปุ๋ยอิ นทรี ย ์ สามารถเพิ่ ม ผลผลิตข้าวนาบนพื้นที่สูงได้ และเกษตรกรสามารถนาวิธีการใส่ ปุ๋ยอินทรี ยไ์ ปใช้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวนาในระบบ อินทรี ย ์ คาสาคัญ ข้าวนาบนพื้นที่สูง การจัดการธาตุอาหารข้าวนา

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(54)

ชุดโครงการศึกษาวิจยั การเพิม่ ผลผลิตข้ าวบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 3 : การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่ ท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ที่ทนทานแมลงบั่ว ไม่ ไวต่ อช่ วงแสง และพันธุ์ข้าวไร่ ท้องถิ่นที่มคี ุณภาพพิเศษทางโภชนาการ ศันสนีย ์ จาจด1* นริ ศ ยิม้ แย้ม2 วรวิทย์ สุขคาปา1 ศรันย์ ขาโท้1 ชนากานต์ เทโบลล์ พรมอุทยั 1 และสิ ทธิชยั ลอดแก้ว3 *Corresponding author : sansanee.cm@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาครั้งนี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อปรับปรุ งพันธุ์ขา้ วท้องถิ่นให้มีลกั ษณะที่ ทนทานต่อแมลงบัว่ ไม่ไวต่อ ช่วงแสงและมีองค์ประกอบทางโภชนาการพิเศษ ศึกษาคัดเลือกในลูกผสมชัว่ ที่ 7 และ 8 ทดลองใน 2 ฤดูปลูก คื อ ฤดู นาปรั งระหว่างเดื อนมี นาคม-มิ ถุนายน พ.ศ. 2561 และฤดู นาปี ระหว่างเดื อนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561 ผลการดาเนิ นการทดลองในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2561 ได้ปลูกขยายพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 7 ระหว่างพันธุ์ขา้ วไร่ พ้ืนเมือง จากที่ สูงจังหวัดน่ านและสายพันธุ์กา้ วหน้าต้านทานบัว่ 2 พันธุ์และพันธุ์สมัยใหม่ไม่ไวแสง 1 พันธุ์ จานวน 5 ชุ ด ปลูกในสภาพข้าวไร่ และข้าวนาสวน พบความแตกต่างระหว่างคู่ผสมและวิธีการคัดเลือกทั้งในลักษณะทางสัณฐาน และทางพืชไร่ ลูกผสมชัว่ ที่ 7 ทุกคู่ผสมกระจายตัวให้ผลผลิตสู งใกล้เคี ยงกับพันธุ์พ่อและสู งกว่าพันธุ์แม่พ้ืนเมือง และประชากรที่คดั เลือกในสภาพข้าวนาสวนทุกคู่มีค่าเฉลี่ยผลผลิตสู งกว่าการคัดเลือกในสภาพไร่ ได้คดั เลือกต้นที่ ให้ผลผลิ ตสู ง มีอายุออกดอกใกล้เคี ยงกัน และเก็บเมล็ดพันธุ์ชวั่ ที่ 8 สาหรับปลูกคัดเลือกในแปลงเกษตรกรและ สุ่ มวัดคุ ณ ภาพพิ เศษในเมล็ด พบว่าพันธุ์พ้ื นเมื องเจ้าเปลื อกดามี ค่าปริ มาณธาตุ เหล็กในเมล็ดสู งที่ สุด ส่ วนพันธุ์ พื้นเมืองเบล้อะมีค่าปริ มาณธาตุสังกะสี ในเมล็ดสู งที่สุด ลูกผสมชัว่ ที่ 7 ส่ วนมากมีค่าอยูร่ ะหว่างพันธุ์พ่อแม่ ลูกผสม ระหว่างพันธุ์พ้ืนเมืองพันธุ์เบล้อะกับ CMU-B2 และเจ้าเปลือกดากับปทุมธานี 1 มีค่าปริ มาณธาตุเหล็กและสังกะสี สู งกว่าคู่อื่น นอกจากนี้ ยงั ตรวจพบสารหอมในคู่ผสมระหว่างเจ้าเปลือกดาและปทุมธานี 1 นอกเหนื อจากลักษณะ ไม่ไวแสงและมีธาตุเหล็กและสังกะสี สูง เมล็ดพันธุ์จากลูกผสมชัว่ ที่ 7 ในแต่ละชุดนามารวมกันเพื่อสร้างลูกผสม รวมหมู่ชั่วที่ 8 ได้ 5 คู่ผสม คู่ ผสมละ 2 ประชากร โดยคัดเลือกแยกจากการปลูก 2 สภาพ รวมเป็ น 10 ประชากร และได้ปลูกลูกผสมชัว่ ที่ 8 จานวน 5 ชุดในฤดูนาปี พ.ศ. 2561 ในสภาพข้าวไร่ และข้าวนาสวนในแปลงเกษตรกร คาสาคัญ ข้าวท้องถิ่น แมลงบัว่ คุณภาพพิเศษ การปรับปรุ งพันธุ์

1

ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ , คณะเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ภาควิชาเกษตรที่สูงและทรัพยากรธรรมชาติ, คณะเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ 3 ศูนย์วิจยั ระบบการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(55)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์ โครงการย่ อยที่ 2 : การศึกษาช่ วงเวลาปลูกเฮมพ์ ที่เหมาะสมสาหรับการผลิตเส้ นใยเฮมพ์

รัตญา ยานะพันธุ์1* ศักดิ์ศิริคุปตรัตน์1 และ สริ ตา ปิ่ นมณี 1 *Corresponding author : rataya006@hotmail.com บทคัดย่ อ การวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกเฮมพ์มีเป้ าหมายในการลดต้นทุ นการผลิต และเพิ่มผลผลิ ต เฮมพ์นอกจากนั้นการมีพนั ธุ์เฮมพ์ และระยะปลูกที่เหมาะสมแล้ว การขยายการส่ งเสริ มการปลูกเฮมพ์ในเชิ งพาณิ ชย์ นั้น ถ้าสามารถปลูกเฮมพ์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้มีผลผลิตปริ มาณเพียงพอส่ งเข้าโรงงานแปรรู ปได้อย่าง ต่อเนื่ อง จึ งต้องมี การศึ กษาช่ วงเวลาการปลูกที่ เหมาะสมกับการผลิตเส้นใยเฮมพ์ เพื่ อป้ องกันการสู ญเสี ยจากการ ระบาดของโรครากเน่ าโคนเน่า และให้ได้ผลผลิตสู งสุ ดมีความเหมาะสมต่อการแปรรู ปเชิ งพาณิ ชย์ ทั้งนี้ ได้เริ่ มศึ กษา ในปี 2560 ซึ่ งพบว่าการปลู กช่ วงฤดู แล้ง ระหว่างเดื อนกุมภาพันธุ์ – เดื อนเมษายนนั้น การปลู กเฮมพ์ในเดื อ น เมษายนให้ผลผลิตต้นสดมากที่ สุด ดังนั้นในปี 2561 ได้ทาการทดลองเพื่ อยืนยันผลอีกครั้ง ดาเนิ นงานใน 2 พื้นที่ ได้แก่ สถานี เกษตรหลวงปางดะ จ.เชี ยงใหม่ และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ จ.ตาก โดย ทดสอบปลูกในทุ กเดื อนในฤดูแล้ง จานวน 4 เดื อน ได้แก่ มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน ซึ่ งที่ สถานี เกษตรหลวงปางดะ พบว่าการปลูกเฮมพ์ในเดื อนเมษายนมี ความสู งที่ สุด 318 เซนติ เมตร รองลงมาได้แก่ เดื อ น มกราคม และกุ ม ภาพัน ธ์ ที่ 238 และ 249 เซนติ เมตร ส่ วนเดื อ นมี นาคม มี ค วามสู งน้อยที่ สุ ด ที่ 230 เซนติ เมตร ส่ วนผลผลิตต้นสดในแต่ละเดือนเป็ นไปในทางเดียวกันกับความสู ง โดยผลผลิตต้นสดของเดือนเมษายนและเดือน กุมภาพันธ์สูงที่สุด คื อ 6.83 และ 6.29 ตัน/ไร่ ส่ วนในเดือนมกราคมและมีนาคมมีผลผลิตต้นสดน้อยที่สุด คื อ 4.88 และ 5.07 ตัน/ไร่ ตามลาดับ ในพื้ นที่ โครงการพัฒนาพื้ นที่ สูงแบบโครงการหลวงพบพระ พบว่าเดื อนเมษายนมี ความสู งมากที่สุด 340 เซนติเมตร ส่ วนเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม มีความสู ง 334 และ 320 เซนติเมตร ตามลาดับ และเดื อนมกราคม มี ค วามสู งน้อยที่ สุ ด 240 เซนติ เมตร ส่ วนผลผลิ ตต้นสดของเดื อนเมษายนสู งที่ สุ ด คื อ 9.49 ตัน/ไร่ รองลงมาคือเดือนมีนาคมและกุมภาพันธ์ คือ 7.20 และ 6.72 ตัน/ไร่ ตามลาดับ ส่ วนเดือนมกราคม มีผลผลิต ต้นสดน้อยที่สุด คือ 3.21 ตัน/ไร่ ซึ่ งจากผลการทดสอบทั้งสองพื้นที่การปลูกเฮมพ์ในเดือนเมษายนให้ผลผลิตต้นสด สู งที่สุด เหมาะสมกับการปลูกในช่วงฤดูแล้ง คาสาคัญ เฮมพ์ ช่วงเวลาปลูกเฮมพ์ที่เหมาะสม

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(56)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์ โครงการย่ อยที่ 4 : การคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ สายพันธุ์แท้

ศันสนีย ์ จาจด1* ต่อนภา ผุสดี1 รณชิต จินดาหลวง1 วีรพันธ์ กันแก้ว2 และวิมล ปันสุ ภา2 *Corresponding author : sansanee.cm@gmail.com บทคัดย่ อ โครงการวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อปรับปรุ งและคัดเลือกเฮมพ์สายพันธุ์แท้ในรุ่ นที่ 6 เพื่อทดสอบสมรรถนะ ในการรวมตัวของเฮมพ์สายพันธุ์แท้ รุ่ นที่ 5 และเพื่อทดสอบความเป็ นไปได้ในการสร้างพันธุ์สังเคราะห์ ของเฮมพ์ แบ่งการศึกษาวิจยั ออกเป็ น 3 งานทดลอง ประกอบด้วยงานทดลองที่ 1 การปรับปรุ งและคัดเลือกเฮมพ์สายพันธุ์แท้ ในรุ่ นที่ 6 ได้ปลูกประเมินลักษณะและผสมพันธุ์ระหว่างเครื อญาติ รุ่นที่ 5 จานวน 56 สายพันธุ์และสามารถผลิ ต เมล็ดพันธุ์รุ่นที่ 6 ได้จานวน 112 สายพันธุ์ พบความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างทุกลักษณะที่ ศึกษายกเว้นปริ มาณ เส้ น ใย ได้ค ัด เลื อ ก 24 สายพัน ธุ์ ป ลู ก ทดสอบในรุ่ น ลู ก รุ่ น ที่ 6 ขณะนี้ ก าลัง อยู่ ร ะหว่ า งการวิ เคราะห์ ข ้อ มู ล งานทดลองที่ 2 การทดสอบสมรรถนะในการรวมตัวของเฮมพ์สายพันธุ์คดั เลือกรุ่ นที่ 5 ปลูกเฮมพ์รุ่น S5 ที่ ผ่านการ คัดเลือก จานวน 42 สายพันธุ์เป็ นพันธุ์พ่อผสมกับพันธุ์ RPF3 เป็ นพันธุ์แม่ คัดเลือกและปลูกลูกผสมจานวน 24 คู่ ปลูกทดสอบรุ่ นลูก เก็บเกี่ ยวและบันทึ กลักษณะทางการเกษตรอายุ 90 วัน ขณะนี้ กาลังอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ ข้อมูล งานทดลองที่ 3 การประเมินความเป็ นไปได้ในการสร้างพันธุ์สังเคราะห์ของเฮมพ์ ได้สร้างประชากรพันธุ์ สังเคราะห์ของเฮมพ์ จากสายพันธุ์เฮมพ์รุ่น S5 จานวน 7 สายพันธุ์ ได้เมล็ดพันธุ์ประชากรพันธ์สังเคราะห์ ของเฮมพ์ 1 ประชากร มี น้ าหนักเมล็ดรวมทั้งหมด 443.8 กรัม จากนั้นปลูกประชากรพันธุ์สังเคราะห์ ของเฮมพ์ที่ได้ ในฤดู จานวน 1 ประชากร เพื่อประเมินผลผลิตและเปอร์ เซ็นต์เส้นใย ขณะนี้ กาลังอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ขอ้ มูลลักษณะ ทางการเกษตร และรอผลการวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์เส้นใยของลาต้น คาสาคัญ เฮมพ์ ปรับปรุ งพันธุ์ สาร THC เปอร์เซ็นต์เส้นใย

1 2

ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(57)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์ โครงการย่ อยที่ 5 : การศึกษาและพัฒนาชุดตรวจวัด THC อย่ างง่ ายสาหรับเฮมพ์ (THC strip test) ประภัสสร ทิพย์รัตน์1* จรู ญ จักรมุณี2 สมชัย ลาภอนันต์นพคุณ3 สมคิด เพ็ญชารี 4 และกอบบุญ บุญเย็น5 *Corresponding author : ptipparat@yahoo.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาและพัฒ นาชุ ด ตรวจวัด THC อย่างง่ายสาหรั บเฮมพ์ (THC strip test) ในครั้ งนี้ มีวตั ถุประสงค์ เพื่อให้สามารถตรวจวัดปริ มาณ THC ได้อย่างถูกต้อง แม่นยา สะดวกและรวดเร็ วยิ่งขึ้น ชุดตรวจวัดนี้ ประกอบด้วย แผ่นทดสอบ (strip) และเครื่ องตรวจวัด โดยแผ่น ทดสอบ (strip) ที่ ใช้ในการแยกสาร THC ในเฮมพ์ ยังคงใช้ หลักการโครมาโตกราฟี ผิวบาง (Thin Layer Chromatography, TLC) เนื่ องจากเป็ นวิธีเชิ งกึ่ งหาปริ มาณ (semiquantitative) ที ่ ไ ม่ต อ้ งใช้เ ครื่ อ งมือ พิเ ศษที ่ มีค วามซับ ซ้อ นและราคาแพง แต่มีป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ในการแยก สาร THC ออกจากสารประกอบอื่นๆ ที่ อยู่ในเฮมพ์สด มีความเฉพาะเจาะจง (specificity) ไม่มีการรบกวนจาก สารอื่น มีความถูกต้อง (accuracy) และมีความไว (sensitivity) สู งสามารถตรวจวัดปริ มาณสาร THC ปริ มาณ น้อ ยๆในตัว อย่า งเฮมพ์ไ ด้ โดยในขั้น ตอนการเตรี ย มตัว อย่า ง และขั้น ตอนการแยกสาร พัฒ นาเป็ นแบบ green analysis ใช้สารเคมีที่ไม่เป็ นพิษ (non-toxic) ลดปริ มาณการใช้สารเคมี (low waste) รวมทั้งพัฒนาระบบ ในการแยกสาร THC ในเฮมพ์ ทาให้การแยกสารทาได้ร วดเร็ วยิ่งขึ้ น จากนั้น ตรวจวัด สาร THC จากการเกิ ด ปฎิ กิริยาเฉพาะเจาะจงกับสาร Fast Blue Salt B ให้สีแดงและอ่านผลความเข้มของสี spot บนแผ่นทดสอบโดย ใช้เ ครื ่ อ งตรวจวัด ที ่ ใ ช้ห ลัก การ color analyzer โดยเป็ นการวัด สี จ ากการถ่า ยภาพจากกล้อ งมือ ถือ ร่ ว มกับ โปรแกรมสาเร็ จรู ปที่ พฒั นาขึ้น ซึ่ งมีความจาเพาะเจาะจง (specificity) และความไว (sensitivity) สู ง โดยปริ มาณ ต่ าสุ ด ของ THC ที่ อ่ านผลได้ชัด เจน เท่ ากับ 0.02 ไมโครกรั ม มี ช่ วงในการตรวจวัด ปริ มาณ THC ตั้งแต่ 0.02-2 ไมโครกรัมนอกจากนั้นจะได้พฒั นาต้นแบบชุดตรวจวัด THC อย่างง่ายสาหรับเฮมพ์ (THC strip test) ที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้งานได้ง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถอ่านผลเป็ นตัวเลขได้ รวมทั้งทดสอบความถูกต้องและประเมิน ประสิ ทธิ ภาพชุดทั้งในห้องปฏิบตั ิการและภาคสนามต่อไป คาสาคัญ เฮมพ์ THC ชุดตรวจวัด THC อย่างง่าย

1 ,5

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชี ยงใหม่ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ 4 ภาควิชาฟิ สิ กส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2,3


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(58)

ชุดโครงการวิจัยการคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนาการปลูกและการผลิตเพื่อเพิม่ คุณภาพของกาแฟอราบิก้าโครงการหลวง โครงการย่ อยที่ 1 :การรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์กาแฟอราบิก้าคุณภาพดีเยี่ยมของโครงการหลวง สิ ทธิเดช ร้อยกรอง1 และสุมานี กันธวี 1 ชัยวัฒน์ ชุ่มปั น2 และอิสรี ย ์ พันธ์จนั ทร์ 2 *Corresponding author : sithidechr@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ การส่ งเสริ มการปลูกกาแฟอราบิ กา้ บนพื้ นที่ สู งเป็ นแนวทางหนึ่ งในการพัฒนาด้านเศรษฐกิ จของชุ มชนบน พื้ นที่ สู งของโครงการหลวง เนื่ องจากกาแฟมี ศกั ยภาพในการปลูกในสภาพพื้ นที่ ป่า เจริ ญเติ บโตและให้ผลผลิ ตได้ดี ภายใต้อากาศเย็นและสร้างรายได้ให้กบั เกษตรกร ปั จจุบนั มีการปลูกกาแฟอย่างแพร่ หลายในหลายพื้นที่ แต่ยงั มีขอ้ จากัด อีกหลายๆ ปั จจัยที่มีผลต่อปริ มาณผลผลิตและคุณภาพของกาแฟ เช่น ปริ มาณผลผลิตไม่สม่าเสมอ เนื่ องจากมีการระบาด ของโรคราสนิ ม และไม่สามารถระบุสายพันธุ์กาแฟอราบิกา้ ที่แท้จริ งได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่เป็ นของ ไทยและแข่งขันกับกาแฟคุณภาพของต่างประเทศ จึงเกิดการศึกษารวบรวมและคัดเลือกลักษณะสายพันธุ์กาแฟอราบิกา้ ที่ มีศกั ยภาพด้านการเจริ ญเติ บโตการให้ผลผลิตและคุณภาพการชิ มที่ ดีของโครงการหลวง โดยการรวบรวมและคัดเลือก ต้นกาแฟจาก 12 แหล่งพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ที่ มีการปลูกอยู่เดิ มทั้งในพื้นที่ โครงการหลวงและสถาบัน นามาคัดเลือก และทดสอบการเจริ ญเติ บโต การต้านทานของโรคราสนิ ม การให้ผลผลิ ต และคุ ณภาพด้านรสชาติ ดี เยี่ยม ในแปลง ทดสอบของศูนย์ย่อยแม่ยะน้อย สถานี เกษตรกรหลวงอินทนนท์ จากผลการศึกษาในปี 2561 พบว่ามี 4 แหล่งพันธุ์ที่มี การให้ผลผลิต ได้แก่ พันธุ์จากอ่างขาง (AK1, AK2, AK3, AK4), พันธุ์จากอินทนนท์ (IN), พันธุ์จากป่ าเมี่ยง (PM) และพันธุ์จากตีนตก (TT) มีความสู งของต้นในแต่ละสายพันธุ์เฉลี่ยระหว่าง 118.2-149 เซนติ เมตร ความกว้างทรง พุ่มเฉลี่ ย 121.3-156.6 เซนติ เมตร และกาแฟจากอ่างขาง อินทนนท์ ป่ าเมี่ ยง และตี นตก มี น้ าหนักผลสดเฉลี่ ยได้ เท่ากับ 3,549.5 กรัม/ต้น, 2,918.4 กรัม/ต้น, 2ม907.2 กรัม/ต้น และ 3,817.2 กรัม/ต้น ตามลาดับ นาตัวอย่างกาแฟที่ ผ่านเกณฑ์ดา้ นการเจริ ญเติบโต การให้ผลผลิต และการไม่ปรากฏอาการของโรคราสนิม ทั้งหมดจานวน 64 ตัวอย่าง จากทั้ง 4 แหล่ งพัน ธุ์ มาวิ เคราะห์ คุ ณ ภาพทางกายภาพของเมล็ ด กาแฟ โดยบัน ทึ ก ความสมบู ร ณ์ ข องเมล็ ด และข้อบกพร่ องของเมล็ดกาแฟ (Defects) ได้จานวน 46 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์คุณภาพทางด้านรสชาติ (Cup test) ผลการวิ เคราะห์ ร สชาติ อ ยุ่ ร ะหว่ า งด าเนิ น การโดยสถาบัน ที่ ไ ด้รั บ การรั บ รองจาก SCAA (Specialty Coffee Association of America) โดยตัวอย่างกาแฟที่ ได้คะแนนมากกว่า 80 คะนแนนจะนามาใช้เพื่อใช้เป็ นต้นสายพันธุ์ กาแฟอราบิกา้ คุณภาพดีเยี่ยมสาหรับผลิตเมล็ดพันธุ์สาหรับงานส่ งเสริ มของโครงการหลวงต่อไป คาสาคัญ กาแฟ อราบิกา้ สายพันธุ์ โครงการหลวง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มูลนิธิโครงการหลวง

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(59)

การศึกษาการปลูกกาแฟอราบิก้าภายใต้ สภาพร่ มเงาร่ วมกับการจัดทาระบบอนุรักษ์ ดินและน้าในพื้นที่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ชวลิต กอสัมพันธ์1* วราพงษ์ บุญมา1 ชัยวัฒน์ ชุ่มปั น2 และสมชาย เขียวแดง2 *Corresponding author : chawalit.k@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ การศึ กษาการปลูกกาแฟอราบิ กา้ ภายใต้สภาพร่ มเงาร่ วมกับการจัดทาระบบอนุ รักษ์ดินและน้ าในพื้ นที่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็ นผลงานวิจยั ปี ที่ 3 จากระยะเวลา 4 ปี ของโครงการ วัตถุประสงค์หลักของการวิจยั คื อ เพื่ อศึ กษาต้นแบบการปฏิ บตั ิ ที่ดี (Best Practice) ในการปลูกกาแฟภายใต้ร่มเงา และเพื่ อศึ กษาการปลูกกาแฟ อราบิกา้ ภายใต้สภาพร่ มเงาร่ วมกับการจัดทาระบบอนุรักษ์ดินและน้ า งานวิจยั มี 2 ส่ วนคือการศึกษาแปลงที่ทรงพุ่มเต็ม พื้นที่ จากศูนย์ฯป่ าเมี่ยง ตี นตก อินทนนท์ ขุนช่ างเคี่ ยนและหนองหอย สถานี ละ 2 แปลง คื อในร่ มและกลางแจ้ง และ แปลงปลู กใหม่ ในพื้ นที่ บ้านป่ ากล้วย-ขุนยะ ภายใต้โครงการความร่ วมมื อระหว่างมู ลนิ โครงการหลวงและบริ ษ ทั ปิ โตรเลียมไทย จากัด ผลงานวิจยั นี้ เป็ นการนาเสนอผลการวัดสภาพอากาศรอบต้นพื ช ของแปลงกลางแจ้งและในร่ ม ผลต่ อการตอบสนองทางสรี รวิทยาบางประการและข้อมูลการเจริ ญเติ บโตของต้นกาแฟในแปลงที่ มีระบบอนุ รักษ์ ผลการวัดอุ ณ หภู มิ ความชื้ นสั มพัทธ์ และน้ าระเหยแบบต่ อเนื่ อง ในฤดู หนาว ร้ อน และฝน พบว่าอุ ณ หภู มิ มี ค่ า 14.26-24.09 ๐C แปลงกลางกลางแจ้งมี อุ ณ หภู มิ สู งกว่ าแปลงในร่ ม ค่ าเฉลี่ ยความชื้ น สั ม พัท ธ์ 59.33-96.79 % แปลงกลางแจ้งให้ค่าต่ ากว่าแปลงในร่ ม น้ าระเหย 0.29-7.96 mm day-1 ค่ าน้ าระเหยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนและ แห้ง น้ าจากแปลงกลางแจ้งจะระเหยมากกว่าแปลงในร่ ม ผลการวัดการตอบสนองทางสรี รวิทยาและธาตุอาหารในใบ พบว่ามี พ้ื นที่ ใบต่ อใบ 59.77-136.94 cm2 น้ าหนักใบแห้งต่ อใบอยู่ระหว่าง 0.49-1.38 g ค่ า specific leaf area (SLA) มีค่า 44.79-170.01 cm2g-1 พื้นที่ใบ น้ าหนักแห้งต่อใบ ค่า SLA ที่ได้จากแปลงในร่ มมีมากกว่าจากแปลงกลางแจ้ง แต่ค่า specific leaf weigh (SLW) ซึ่ งมี ค่ า 6.62-22.77 mg cm2 จากแปลงกลางแจ้งมี ค่ ามากกว่ า ค่ า SLW นี้ ใช้ ป ระเมิ น ประสิ ทธิ ภาพการสังเคราะห์และการสะสมสารสังเคราะห์ที่ใบ สาหรับธาตุอาหารในใบพบว่าตุไนโตรเจน 1.83-3.07% ที่ ได้จากแปลงในร่ มมี ความเข้มข้นมากกว่าที่ ได้จากแปลงกลางแจ้ง ส่ วนธาตุ อื่น ๆ เช่ นฟอสฟอรั ส โพแทสเซี ยม แคลเชี ยมและแมกนีเซี ยม ความแตกต่างระหว่างแปลงกลางแจ้งและในร่ มไม่เด่นชัด เป็ นที่น่าสังเกตว่าค่าที่ได้ต่ากว่าค่า มาตรฐาน การเจริ ญเติ บโตของต้นกาแฟในแปลงที่ ทดลองที่ จัดทาขึ้ นเพื่ อการอนุ รักษ์ดินและน้ า ซึ่ งมี 3 กรรมวิ ธี (1) ปลูกกลางแจ้ง จัดการแบบเกษตรกร (Control) ไม่มีระบบอนุ รักษ์ (2) ปลูกกลางแจ้ง จัดการแบบประณี ตตาม คาแนะนาของเจ้าหน้าที่ (3) ปลูกภายใต้ร่มเงาไม้ป่าหรื อไม้ผลจัดการแบบประณี ตตามคาแนะนาของเจ้าหน้าที่ พบว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลาต้น ความสู ง และจานวนกิ่งแขนงที่ 1 และอัตราการเพิ่มแบบสัมพัทธ์ต่อเดือนมีขนาด และจ านวนเพิ่ มมากขึ้ น ตามความเข้มข้นของการจัดการ กรรมวิ ธี ที่ 1 2 และ 3 มี ขนาดเส้ นผ่ าศู นย์กลางล าต้น ณ เดือน พฤษภาคม 2561 เฉลี่ย 1.99, 2.93 และ 2.35 cm ตามลาดับ มีความสู งเฉลี่ย 82.8, 114.4 และ 109.4 cm ตามลาดับ จานวนกิ่ งแขนงที่ 1 เฉลี่ ย 30.6, 43.9 และ 36.2 กิ่ ง ตามลาดับ อัตราการเพิ่ มขนาดเส้นผ่าศู นย์กลาวงลาต้น 0.54, 0.84 และ 0.67 cm month-1 ความสู ง 3.38 3.60 และ 3.60 cm month-1 และจานวนกิ่งแขนงที่ 1 2.72 2.95 และ 2.83 กิ่งต่อเดือน คาสาคัญ การแฟอราบิกา้ การอนุรักษ์ดินและน้ า ระบบเกษตรป่ าไม้ ผลตอบสนองทางสรี รวิทยา

1 2

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(60)

การศึกษาวิธีการให้ นา้ พร้ อมนา้ หมักชีวภาพในการปลูกผักอินทรีย์ นิตยา โนคา1* ณัฐพล กามล1 และเพชรดา อยูส่ ุข1 *Corresponding author : nunoo.jaa@gmail.com

บทคัดย่ อ งานวิจยั นี้ มีวตั ถุเพื่อศึ กษาวิธีการให้น้ าพร้อมน้ าหมักชี วภาพที่ เหมาะสมในการปลูกคะน้าฮ่องกงอินทรี ย ์ และมะเขื อ เทศอิ น ทรี ย ์ ด าเนิ น งานทดสอบ ณ แปลงเกษตรกรของศู น ย์พ ัฒ นาโครงการหลวงห้ ว ยส้ ม ป่ อย อ.จอมทอง จ.เชี ย งใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี ประกอบด้ ว ย 4 กรรมวิธีๆ ละ 3 ซ้ า คือ กรรมวิธีที่ 1 ให้น้ าตามวิธีปฏิบตั ิของเกษตรกร (วิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 ให้น้ าพร้อมกับน้ า หมักฮอร์ โมนไข่ อัตรา 20 ซี ซี ต่อน้ า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 ให้น้ าพร้อมกับน้ าหมักฮอร์ โมนไข่ อัตรา 40 ซี ซี ต่อน้ า 20 ลิตร กรรมวิธี ที่ 4 ให้น้ าพร้อมกับน้ าหมักฮอร์ โมนไข่ อัตรา 100 ซี ซี ต่อน้ า 20 ลิ ตร โดยให้น้ าหมักพร้อมกับ ฮอร์ โมนไข่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จากการทดสอบวิธีการให้น้ าพร้อมน้ าหมักชี วภาพในการปลูกคะน้าฮ่องกงอินทรี ย ์ พบว่ า กรรมวิ ธี ที่ 3 การให้ น้ าพร้ อ มกับ ฮอร์ โ มนไข่ อัต รา 40 ซี ซี ต่ อ น้ า 20 ลิ ต ร คะน้า ฮ่ อ งกงอิ น ทรี ย ์มี ก าร เจริ ญเติบโตทางด้านความสู งต้น ตั้งแต่หลังย้ายปลูก 7 วัน จนถึง 21 วัน ให้น้ าหนัก/ต้น และน้ าหนัก/พื้นที่ 6 ตาราง เมตร ทั้งก่อนและหลังตัดแต่งมากกว่ากรรมวิธีอื่น ส่ วนการทดสอบวิธีการให้น้ าพร้อมน้ าหมักชี วภาพในการปลูก มะเขื อเทศอินทรี ย ์ พบว่า กรรมวิธีที่ 3 การให้น้ าพร้อมกับน้ าหมักฮอร์ โมนไข่ อัตรา 40 ซี ซี ต่อน้ า 20 ลิตร ทาให้ น้ าหนักต่ อพื้ นที่ 8 ตารางเมตร ทั้งก่ อ นคัด (41.20 กิ โลกรั ม ) และหลังคัด (25.57 กิ โ ลกรั ม) และน้ าหนักรวม (80.71 กิ โลกรัม) มากกว่ากรรมวิธีอื่น จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการให้น้ าพร้อมกับน้ าหมักฮอร์ โมนไข่ อัตรา 40 ซี ซี ต่อน้ า 20 ลิตร เป็ นวิธีการให้น้ าที่ดีที่สุดในการปลูกคะน้าฮ่องกงอินทรี ยแ์ ละมะเขือเทศอินทรี ย ์ คาสาคัญ มะเขือเทศอินทรี ย ์ คะน้าฮ่องกงอินทรี ย ์ น้ าหมักชีวภาพ

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(61)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิม่ ผลผลิตและคุณภาพผักอินทรีย์ในพื้นที่โครงการหลวง โครงการย่ อยที่ 5 : การศึกษาวิธีการควบคุมเสี้ยนดินศัตรู พืชบนพื้นที่สูง

ปิ ยะวรรณ สุ ทธิประพันธ์ ณัฐดนัย ลิขิตตระการ และวิธุวดี แสงท้าว *Corresponding author: piyawanss43@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาวิธีการควบคุมเสี้ ยนดิ นศัตรู พืชบนพื้นที่ สูงมีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาสารวจชนิ ด ชี ววิทยา และ การแพร่ ระบาดของเสี้ ยนดิ นรวมทั้งสารวจชนิ ดของอาหารและประเมินการเข้าทาลายของเสี้ ยนดิ นที่ พบในแปลง ปลูกผักอินทรี ยข์ องมูลนิ ธิโครงการหลวง ได้แก่ สถานี เกษตรหลวงอินทนนท์ ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงทุ่งหลวง และศูนย์พฒั นาโครงการหลวงวัดจันทร์ โดยทาการสารวจชนิ ดและศึกษาชี ววิทยาของเสี้ ยนดิ นที่ พบทาลายในผัก อินทรี ยร์ วมทั้งการใช้กบั ดักเหยื่อล่อน้ ามัน สารวจชนิ ดของพืชอาหารเสี้ ยนดิ นและประเมินการทาลายพืชผักของ เสี้ ยนดิ น ผลการวิจยั พบการเข้าทาลายผักอินทรี ยข์ องเสี้ ยนดิ นจานวน 2 ชนิ ด คื อ เสี้ ยนดิ นทุ่ง Dorylus laevigatus (F. Smith, 1857) โดยตรวจพบการเข้ากัดกินบริ เวณรากพืชในแปลงผักอินทรี ยใ์ นพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ และเสี้ ยนดินถัว่ Dorylus orientalis Westwood, 1835 ที่สามารถตรวจพบในกับดักจากแปลงผักในพื้นที่ศูนย์พฒั นา โครงการหลวงทุ่งหลวง แต่บริ เวณพื้นที่ ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงวัดจันทร์ ยงั สารวจไม่พบเสี้ ยนดิ นทั้งในแปลง เพาะปลูกและในกับดักที่ วางล่อไว้ โดยการสารวจครั้งนี้ พบว่าเสี้ ยนดิ นสามารถเข้าทาลายชนิ ดของพืชผักอินทรี ย ์ อันได้แก่ ผักกาดเบบี้ฮ่องเต้ ผักกาดกวางตุง้ และผักกาดหัว ซึ่ งมีลกั ษณะความเสี ยหายของผักอินทรย์ที่เกิดจากการ เข้าทาลายของเสี้ ยนดิน คือ หากพบการเข้าทาลายในช่วงที่ตน้ ผักมีอายุนอ้ ย ผักจะแสดงอาการเหี่ ยว และแห้งตายใน เวลาต่อมา ซึ่ งพบอาการนี้ในผักกาดเบบี้ฮ่องเต้ และผักกาดกวางตุง้ สาหรับผักกาดหัว แม้จะไม่แสดงอาการเหี่ ยว แต่ ร่ องรอยการกัดกินหลังการเข้าทาลายจะตรวจพบหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทาให้ผลผลิตนั้นคุณภาพลดลงจนถึง อาจไม่สามารถจัดจาหน่ายได้

คาสาคัญ เสี้ ยนดิน ศูนย์พฒั นาโครงการหลวง ผักอินทรี ย ์


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(62)

อิทธิพลของ IBA ต่ อการชักนาให้ เกิดรากขององุ่นพันธุ์ต้นตอ 6 สายพันธุ์

ณรงค์ชยั พิพฒั น์ธนวงศ์1, ปิ ยธิดา อรุ ณพงษ์2, วิสนีย ์ โมรา2, ศิวาภรณ์ หยองเอ่น2, สมศักดิ์ รุ่ งอรุ ณ3 บทคัดย่ อ การพัฒนาและส่ งเสริ มองุ่นในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงในปัจจุบนั มีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และพบว่ า การผลิ ต ต้น กล้า องุ่ น ให้ แ ข็ ง แรงและเหมาะสมยังท าได้ย าก โดยเฉพาะการขยายพัน ธุ์ โ ดยวิ ธี ก าร เปลี่ยนยอด งานวิจยั นี้ จึงนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อเพื่อผลิตต้นกล้าองุ่นที่ แข็งแรงและทาการคัดเลือกพันธุ์ตน้ ตอ ที่เหมาะสมสาหรับพื้นที่ในงานส่ งเสริ ม โดยการนาองุ่นพันธุ์ตน้ ตอทั้ง ๖ สายพันธุ์ คือ No.22, SP.188, 5B, SP.190, SP.191 และ Brazil เข้าทาการเพาะเลี้ ยงเนื้ อเยื่อ ผ่านกระบวนการชักนาให้เกิ ดยอดและศึ กษาอิ ท ธิ พ ลของ IBA ต่อการเกิ ดรากและเข้าสู่ การคัดเลื อกต้นตอพันธุ์ที่เหมาะสม ในการทดลองใช้อาหารวุน้ สู ตร MS ประกอบด้วย น้ าตาลซู โครส 3% ผงวุน้ 0.8% และเติม BA ความเข้มข้น 1 ppm สาหรับการชักนาให้เกิดยอดและเพิ่มจานวนยอด จากนั้นนายอดที่ ผลิ ตได้เลี้ ยงในอาหารวุน้ MS เติ ม IBA ในระดับความเข้มข้นที่ ต่างกันที่ 0, 1และ 5 ppm เพื่อหา ความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการชักนาให้เกิดรากพบว่า องุ่นต้นตอ พันธุ์ No.22 และ SP.188 สามารถเกิดรากได้ดีใน สู ตรอาหารที่เติมด้วย IBA 5 ppm และ องุ่นต้นตอพันธุ์ 5B, SP.190, SP.191 และ Brazil สามารถเกิดรากด้วยอาหาร สู ตร IBA 1 ppm อย่างไรก็ตาม จากการทดลองในห้องปฏิ บตั ิ การจนถึ งขั้นตอนนาพืชออกจากขวดทดลองพบว่า องุ่นต้นตอพันธุ์ 5B และ Brazil มีลกั ษณะที่ ยากต่อการเพิ่มจานวนและการเจริ ญเติบโตไม่เหมาะสม ดังนั้นจึ งเก็บ ข้อ มูลการเจริ ญ เติ บ โตองุ่ นต้อตอพันธุ์ No.22, SP.188, SP.190และ SP.191 และพบว่าพันธุ์ No.22, SP.188 และ SP.191 มี การเจริ ญเติ บโตค่อนข้างดี งานทดลองต่อจากนี้ จะเปรี ยบเที ยบการปลูกองุ่นต้นตอระหว่างต้นกล้าที่ ได้ จากการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อและการขยายพันธุ์ดว้ ยวิธีตอนกิ่งเพื่อทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีและ การเจริ ญเติบโตในแปลงปลูกต่อไป คาสาคัญ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยือ่ องุ่นพันธุ์ตน้ ตอ

1

คณะเกษตรศาสตร์, วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรกรศาสตร์ งานพัฒนาและส่งเสริ มไม้ผลขนาดเล็ก, มูลนิ ธิโครงการหลวง 3 สถานีวิจยั ดอยปุย, มหาวิทยาลัยเกษตรกรศาสตร์ 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(63)

ศึกษาลักษณะสั ณฐานวิทยา การเจริญเติบโต และผลผลิตของมะม่ วงกลุ่มอินเดีย ในระบบทรงพุ่มเตีย้ โครงการย่ อย ปี ที่ 1 : การเปรียบเทียบกิง่ พันธุ์ที่เสี ยบยอดบนต้ นตอมะม่ วงพันธุ์ตลับนาค เจนจิรา ชุมภูคา1* ฉลองชัย แบบประเสริ ฐ1 ณรงค์ชยั พิพฒั น์ธนวงศ์ 2 แพรวพรรณ จอมงาม3 วันเพ็ญ ศรี แก้ว4 ชลธี จิตตาคา4 และประเสริ ฐ จอมดวง4 * Corresponding author: fagrjrc@ku.ac.th

บทคัดย่ อ การเปรี ยบเที ยบการเจริ ญเติ บ โตของมะม่วงกลุ่มอิ นเดี ย 5 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทอมมี่ แอทกิ นส์ อาร์ ทู อีทู เออร์ วิน ยู่เหวิน และหงจิ นหวง ที่ต่อกิ่งโดยวิธีเสี ยบลิ่มบนต้นตอมะม่วงพันธุ์ตลับนาค ปลูกทดสอบที่ ศูนย์พฒั นา โครงการหลวงหนองเขียว (มีความสู งจากระดับน้ าทะเล 750 เมตร) และศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแกน้อย (มีความ สู งจากระดับน้ าทะเล 1,300 เมตร) อ.เชี ยงดาว จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 วางแผนการทดลองแบบสุ่ มสมบู รณ์ (completely randomize design) มี 20 ซ้ า การศึ กษาพบว่า หลังเสี ยบยอด 4 เดือน กิ่งมะม่วงกลุ่มอินเดีย ปลูกทดสอบที่ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงหนองเขียว มีความสาเร็ จการเสี ยบติดบนต้น ตอตลับนาคได้ดีกว่ากิ่ งมะม่วงกลุ่มอินเดี ยปลูกทดสอบที่ ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงแกน้อย นอกจากนี้ หลังเสี ยบ ยอด 10 เดื อ น พบว่า ที่ ศู น ย์พ ัฒ นาโครงการหลวงหนองเขี ย ว ต้น มะม่ วงมี การรอดชี วิต ความสู งต้น เส้ นผ่า น ศูนย์กลางทรงพุ่ม และมีจานวนกิ่ งแขนง สู งกว่าที่ ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแกน้อย ดังนั้นพื้ นที่ ของศูนย์พฒั นา โครงการหลวงหนองเขียว มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะม่วงกลุ่มอินเดียได้ คาสาคัญ มะม่วง การเสี ยบยอด การรอดชีวติ การเจริ ญเติบโต

1

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 3 คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 4 มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(64)

การศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของมัลเบอร์ รีสายพันธุ์ไต้ หวันที่ได้ จากการคัดเลือกพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โครงการย่ อย ปี ที่ 2 : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณธาตุอาหารในมัลเบอร์ รี 7 พันธุ์ เจนจิรา ชุมภูคา1* ณัฐพงค์ จันจุฬา2 ณรงค์ชยั พิพฒั น์ธนวงศ์ 3 เบ็ญจารัชด ทองยืน3 และมาริ ษา สุขปานแก้ว4 * Corresponding author: fagrjrc@ku.ac.th

บทคัดย่ อ การศึ กษาปริ มาณฤทธิ์ ต้านอนุ มูลอิ ส ระ ปริ มาณสารประกอบฟี นอริ ค รวม ปริ มาณฟลาโวนอยด์รวม ปริ มาณวิตามินซี ปริ มาณแอนโทไซยานิน และปริ มาณธาตุอาหารของผลมัลเบอร์ รี 7 พันธุ์ ได้แก่ 1) เวียดนาม GQ2 2) ไต้หวัน 46C019 3) ไต้หวัน 228 4) ไต้หวัน 203 5) ไต้หวัน 108 6) ไต้หวัน Miaoli No.2 และ 7) ไต้หวัน Miaoli No.1 ทาการเก็บผลมัลเบอร์ รีในระยะสุ ก จากสถานี เกษตรหลวงปางดะ มูลนิ ธิโครงการหลวง อาเภอสะเมิง จังหวัด เชี ยงใหม่ ปลูกในระหว่างเดื อ นมกราคม พ.ศ. 2559 – มี นาคม พ.ศ. 2560 วางแผนการทดลองแบบสุ่ มสมบู ร ณ์ จานวน 50 ซ้ า พบว่า ผลมัลเบอร์ รีพนั ธุ์ไต้หวัน 203 มีปริ มาณฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ (7948 ไมโครโมลาร์ สมมูลของ Fe2+/กรัม), ปริ มาณสารประกอบฟี นอริ ครวม (391.78 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อ 100 กรัมของน้ าหนักสด) ปริ มาณฟลาโวนอยด์รวม (62.04 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของน้ าหนักสด), ปริ มาณวิตามินซี (76.92 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของน้ าหนักสด) และปริ มาณแอนโทไซยานิ นสู ง (808.00 มิลลิกรัม/100 กรัม น้ าหนักแห้ง) และปริ มาณธาตุ อาหาร (ธาตุ ไนโตเจน 2.48 %, ธาตุ โพแทสเซี ย ม 3.18 %, ธาตุ แคลเซี ยม 0.53 %, ธาตุ สังกะสี 23.33 ppm, ธาตุ แมงกานี ส 18.75 ppm และธาตุเหล็ก 64.00 ppm) สู งที่ สุด ดังนั้นมัลเบอร์ รีพนั ธุ์ไต้หวัน 203 จึ งเป็ นแหล่งของสาร ต้านอนุมูลอิสระและธาตุอาหารที่สามารถนามาใช้ประโยชน์ในอาหาร เครื่ องสาอาง และผลิตภัณฑ์ยาได้ คาสาคัญ Morus alba L. สารประกอบฟี นอลิกรวม ปริ มาณสารฟลาโวนอยด์รวม วิตามินซี แอนโทไซยานิน

1

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุ งเทพมหานคร 10220 4 สถานีเกษตรหลวงปางดะ ตาบลสะเมิงใต้ อาเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(65)

ผลของสารปี โตเลียมในการเปลีย่ นยอดพันธุ์โดยการต่ อกิง่ กับไม้ ผล (เสาวรส) ชูพงษ์ สุกมุ ลนันทน์1 สานิตย์ นิรพาธ1 วิมาน ศรี เพ็ญ1 และปิ ยธิดา อรุ ณพงษ์1

บทคัดย่ อ

1) การเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีโดยใช้วิธีการจุ่มกิ่งพันธุ์ดว้ ยสารปี โตเลียมเพื่อรักษาความสดของกิ่งพันธุ์ดี ให้มีชีวิตนานพอเพื่อให้เนื้ อเยื่อกิ่ งพันธุ์ดีกบั ต้นตอเชื่ อมต่อกันได้ดี พบว่า ได้ผลดี มากต่อกิ่ งได้ท้ งั หมดคิ ด เป็ นร้อยละ 100 2) การจัดการต้นตอเสาวรสโดยการใช้ปุ๋ย YVP 20-20-20 อัตรา 100 กรัม/น้ า 50 ลิตร ผ่าน ทางระบบน้ าทุกวันพบว่า ต้นตอมีความแข็งแรงสามารถเปลี่ยนเป็ นพันธุ์ดีได้ร้อยละ 100 จากเดิมได้ร้อยละ 50 และเปลี่ ยนได้เร็ วขึ้ น 30 วัน ต้นพันธุ์ ดีมีความสมบู รณ์ ดีมาก 3) การจัดการต้นแม่พนั ธุ์โดยใช้สาหร่ าย ( เคลแพ็ค ) 50ซี ซี ต่อน้ า 20 ลิ ตรทุ ก 7 วันพบว่า ต้นแม่พนั ธุ์มีความแข็งแรงใบมีสีเขี ยวเข้มและไม่พ บใบ แสดงอาการเหลืองในต้น การแตกยอดใหม่มากขึ้น 4) การอนุ บาลต้นพันธุ์ดีให้สมบูรณ์ก่อนส่ งให้เกษตรกร ปลูก พบว่า การใช้สาหร่ าย ( เคลแพ็ค ) 50 ซี ซี/น้ า 20 ลิตรทาให้กิ่งพันธุ์ดีแตกยอดใหม่บริ เวณโคนก้านใบได้ เร็ วขึ้น 3 วันใบใหม่มีสีเขียวเข้มแข็งแรงดี มากจ่ายให้เกษตรกรเร็ วขึ้น 7 วัน 5) การลดต้นทุนและการสร้าง โอกาสมีรายรับเพิ่มขึ้น ลดการสู ญเสี ยต้นตอที่ไม่สามารถเปลี่ยนยอดได้ร้อยละ100 หรื อมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็ น เงิน 825,000บาทต่อปี จากความต้องการต้อนพันธุ์ดีปีงบประมาณ 2562 จานวน 110,000 ต้น คาสาคัญ สารปี โตเลียม เสาวรส

1

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(66)

ผลของสารปี โตเลียมในการเปลีย่ นยอดพันธุ์โดยการต่ อกิง่ กับไม้ ผล ( อาโวคาโด ) ชูพงษ์ สุกมุ ลนันทน์1 สานิตย์ นิรพาธ1 และ วิมาน ศรี เพ็ญ1

บทคัดย่ อ ผลการต่อกิ่งอาโวคาโดโดยนากิ่ งพันธุ์ดีจุ่มในสารปี โตเลียมความเข้มข้นต่างๆก่อนต่อกิ่งและการใช้พารา ฟิ ล์มห่อหุม้ กิ่งพันธุ์ดีเพื่อรักษาความสดของกิ่งพันธุ์ดีพบว่า 1. ความสาเร็ จในการต่อกิ่งอาโวคาโด เดื อนกุมภาพันธุ์ 2561 ใช้สารปี โตเลียม150ซี ซี/น้ า 20 ลิตร ดีที่สุด ต่อกิ่งสาเร็ จร้อยละ 86.6 พาราฟิ ล์มต่อกิ่งสาเร็ จร้อยละ 73.3 เดือนมีนาคม 2561 ใช้สารปี โตเลียม 150ซี ซี/น้ า 20 ลิตร ดีที่สุดต่อกิ่งสาเร็ จร้อยละ 86.6 พาราฟิ ล์มต่อกิ่งสาเร็ จร้อยละ 73.3 และเดือนเมษายน 2561ใช้สารปี โตเลียม 180ซี ซี/ น้ า 20 ลิตร ดีที่สุดต่อกิ่งสาเร็ จทุกต้น (ร้อยละ100) พาราฟิ ล์มต่อกิ่งสาเร็ จร้อยละ 93.3 2. การลดต้นทุนและการสร้างโอกาสมีรายรับเพิ่มขึ้ น เป้ าหมายการผลิตต้นพันธุ์ดีจานวน 15,000 ต้น/ปี เที ยบค่าพาราฟิ ล์มกับค่าสารปี โตเลียม พบว่าต้องใช้พาราฟิ ล์มมูลค่า 6,000 บาท/ปี แต่ถา้ ใช้สารปี โตเลียมมีมูลค่า 405 บาท/ปี สามารถลดต้นทุนหรื อการสร้างโอกาสมีรายรับเพิ่มขึ้น จานวน 5,595 บาท/ปี และสามารถทางานได้เร็ ว ขึ้นประมาณ 200 ชัว่ โมง 3.ลดการเกิดโรคและแมลงกับต้นพันธุ์ดีจากวิธีเดิมได้ร้อยละ 20 คาสาคัญ สารปี โตเลียม อาโวคาโด

1

มูลนิธิโครงการหลวง 65 หมู่ 1 ตาบลสุ เทพ อาเภอเมือง จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(67)

การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์เสาวรสสาหรับพื้นที่สูง อัจฉรา ภาวศุทธิ์ จิระนิล แจ่มเกิด1 สุภาวดี ศรี วงค์เพ็ชร1 คมสันต์ อุตมา1 ณิ ชากร จันเสวี1 ศิวาภรณ์ หยองเอ่น2 และปิ ยธิดา อรุ ณพงษ์2 *Corresponding author: acrpwst@gmail.com 1*

บทคัดย่ อ จากการศึ กษาและคัด เลื อกพัน ธุ์ เสาวรสในปี พ.ศ. 2560 สามารถคัด เลื อกต้น เสาวรสที่ ให้ผ ลผลิ ตที่ มี คุ ณ ภาพดี แ ละมี ล ัก ษณะเด่ น จานวน 14 รหั ส คื อ SG01-09 SG02-5 SG02-9 SG03-2 SG03-6 SG04-5 SG04-10 SG05-8 SG07-6 SG08-4 SG09-2 SG09-3 SG09-4 และ SG09-6 ในปี พ.ศ. 2561 ได้ป ลู ก ทดสอบทั้ง 14 รหัส ใน แปลงปลูกกลางแจ้งโดยใช้คา้ งแบบรั้วและแบบผืนที่ ส ถานี เกษตรหลวงปางดะ อาเภอสะเมิ ง จังหวัดเชี ยงใหม่ เพื่อทดสอบการให้ผลผลิตและการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ผลการวิจยั เบื้องต้นเสาวรสที่ปลูกโดยใช้คา้ ง แบบรั้ วมี การออกดอกตั้งแต่ เดื อ นเมษายน 2561 และเริ่ ม เก็บ เกี่ ย วผลตั้งแต่ เดื อนมิ ถุ น ายน 2561 โดย SG02-9 และ SG09-6 แสดงลักษณะเด่นกว่ารหัสอื่น คือ SG02-9 มีผิวผลและสี เนื้ อเป็ นสี เหลือง น้ าหนักผลเฉลี่ย 183.6 กรัม มี ค่ าปริ ม าณของแข็งที่ ละลายน้ าได้ (TSS) เฉลี่ ย 18.75 องศาบริ กซ์ และค่ าสั ด ส่ วน TSS/TA เท่ ากับ 7.98 และ SG09-6 มีสีผิวผลสี ม่วง สี เนื้ อเป็ นสี ส้ม น้ าหนักผลเฉลี่ย 89.4 กรัม มีค่าปริ มาณของแข็งที่ละลายน้ าได้ (TSS) เฉลี่ย 16.5 องศาบริ กซ์ และค่าสัดส่ วนTSS/TA เท่ากับ 9.55 ขณะที่ เสาวรสที่ปลูกโดยใช้คา้ งแบบผืนมีการออกดอกและ เก็บเกี่ ยวผลช้ากว่าต้นที่ ปลูกโดยใช้คา้ งแบบรั้วและมีขนาดผลที่ เล็กกว่า สาหรับโรคแมลงที่ พบในแปลงทดสอบ พันธุ์ภายใต้คา้ งแบบรั้วและแบบผืน มีการระบาดของเพลี้ยไฟในช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคมและไม่พบในเดือน สิ งหาคม และพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน แมลงค่อมทองระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิ งหาคม เนื่ องจากยังไม่ สิ้ นสุ ดฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตจึงต้องเก็บข้อมูลต่อเนื่ องทั้งในเรื่ องปริ มาณผลผลิต คุณภาพผลผลิต และการปรับตัว ต่อสภาพแวดล้อมภายนอกของเสาวรสที่คดั เลือกแต่ละรหัสต่อไป คาสาคัญ เสาวรส คัดเลือก พันธุ์ พื้นที่สูง

1 2

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มูลนิธิโครงการหลวง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(68)

การวิจยั รู ปแบบการปลูกราสพ์ เบอร์ รี่บนพื้นที่สูง อัจฉรา ภาวศุทธิ์ จิระนิล แจ่มเกิด1 สุภาวดี ศรี วงค์เพ็ชร1 ณิ ชากร จันเสวี1 คมสันต์ อุตมา1 และศิวาภรณ์ หยองเอ่น2 *Corresponding author: acrpwst@gmail.com 1*

บทคัดย่ อ การวิจยั นี้ มีวตั ถุป ระสงค์เพื่ อศึ กษารู ปแบบการปลูกราสพ์เบอร์ รี่พ นั ธุ์ Amity ที่ ส ามารถเพิ่ มผลผลิ ตได้ ทาการทดลองระหว่างเดื อนพฤษภาคม 2560 ถึ งเดื อนสิ งหาคม 2561 ที่ สถานี เกษตรหลวงปางดะ อาเภอสะเมิ ง จัง หวัด เชี ย งใหม่ ซึ่ งมี ค วามสู งของพื้ นที่ จ ากระดั บ น้ าทะเล 680 เมตร วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 กรรมวิธีๆ ละ 15 ต้น ประกอบด้วย กรรมวิธีการปลูกลงดิ น (วิธีควบคุ ม) ปลูกในถุงพลาสติ กขาว และปลูกใน กระบะ ผลการวิจัยของปี ที่ 1 (พฤษภาคม-สิ งหาคม 2560) ราสพ์เบอร์ รี่ เริ่ มออกดอกในเดื อนมิ ถุน ายน 2560 และเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิ งหาคม 2560 โดยกรรมวิธีการปลูกในกระบะมีการแตกกิ่งข้างมาก ที่สุด (5.38 กิ่ง) อายุเก็บเกี่ยวผลอยูร่ ะหว่าง 26-28 วัน สาหรับคุณภาพผล กรรมวิธีการปลูกในกระบะมีน้ าหนักผล เฉลี่ย (2.24 กรัม) ขนาดของผล (1.62x1.54 ซม.) ซึ่ งมากกว่ากรรมวิธีอื่น ขณะที่ กรรมวิธีการปลูกในถุงพลาสติ ก สี ขาวมี คุณ ภาพผลผลิ ตดี ที่สุ ด โดยมี ปริ มาณของแข็งที่ ละลายน้ าได้ (11.54 องศาบริ กซ์ ) และสัดส่ วนระหว่าง ปริ มาณของแข็งที่ละลายน้ าได้ต่อปริ มาณกรดที่ไตเตรตได้ (5.92) สู งที่สุด หลังการตัดแต่งกิ่งในเดือนพฤศจิกายน 2560 ราสพ์เบอร์รี่เริ่ มออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนสิ งหาคม 2561 ทั้ง 3 มีอายุเก็บเกี่ยวผลระหว่าง 31.2-34.6 วัน โดยกรรมวิธีการปลูกในกระบะมีน้ าหนักผลเฉลี่ย (2.15 กรัม) และ ขนาดของผล (1.45x1.46 ซม.) มากกว่ากรรมวิธีอื่น ขณะที่การปลูกในถุงพลาสติกสี ขาวให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ในปี แรกแต่ ไ ม่ ส ามารถเก็ บ เกี่ ย วผลผลิ ต ได้ในปี ที่ 2 จึ งควรปลู ก ปี ต่ อ ปี เพื่ อ ให้ ผ ลผลิ ต ที่ ดี ดังนั้น การปลู ก ราสพ์เบอร์รี่ในกระบะจึงเป็ นรู ปแบบการปลูกที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีที่สุดทั้ง 2 ฤดูกาล คาสาคัญ ราสพ์เบอร์รี่ รู ปแบบ การปลูก

1 2

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มูลนิธิโครงการหลวง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(69)

ชุดโครงการการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชตระกูลส้ มปลอดภัยบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 3 : การวิจยั และพัฒนาการผลิตต้ นแม่ พันธุ์ส้มปลอดโรคสาหรับพื้นที่สูง

ปิ ยะมาศ ศรี รัตน์1*มาริ ษา สุ ขปานแก้ว2 บุญเตือน เล่าเปี่ ยม1 และมลธิรา ศรี ถาวร1 *Corresponding author: faaspym@hotmail.com

บทคัดย่ อ ในการวิ จยั และพัฒ นาการผลิ ต ต้นแม่พ ันธุ์ ส้มปลอดโรคส าหรั บพื้ นที่ สู ง ด้วยวิธีการเพาะเลี้ ยงเนื้ อเยื่ อ โดยส้ ม ที่ ใ ช้ใ นการศึ ก ษา 3 ชนิ ด ได้แ ก่ เกรพฟรุ ้ ท คัม ควัท และเลมอน ที่ ป ลู ก เลี้ ย งในพื้ น ที่ ข องหน่ ว ยวิ จัย ส้มโป่ งน้อย สถานี เกษตรหลวงปางดะ อาเภอแม่วาง จังหวัดเชี ยงใหม่ ทาการสุ่ มตัวอย่างของยอดส้มมาตรวจโรค โดยการตรวจสอบไวรั ส Citrus Tristeza Virus (CTV) ด้วยวิ ธี RT-PCR และตรวจสอบเชื้ อ สาเหตุ โ รคกรี น นิ่ ง (Greening disease) ด้วยวิธี PCR เพื่อคัดเลือกยอดส้มที่ ปลอดโรคสาหรับใช้เป็ นพืชเริ่ มต้นในการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ ผลการศึ กษาขั้นตอนการฟอกฆ่าเชื้ อบริ เวณพื้นผิว พบว่า การฟอกฆ่าเชื้ อด้วยสารละลายแอลกอฮอล์ความเข้มข้น ร้อยละ 70 โดยปริ มาตร ร่ วมกับสารละลายคลอรอกซ์ ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริ มาตร และสารละลาย Tween 20 ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 โดยปริ มาตร จากนั้นนาเนื้ อเยื่อมาแช่ ในสารยับยั้งการเจริ ญของจุลินทรี ย ์ ชนิ ด PPMTM ความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยปริ มาตร เป็ นเวลา 20 นาที เป็ นวิธีการที่ มีประสิ ทธิ ภาพ โดยในการฟอกฆ่าเชื้ อบริ เวณ พื้นผิวของชิ้นส่ วนข้อของเกรพฟรุ ้ท คัมควัท และเลมอน ที่ปลูกในแปลงปลูก มีค่าร้อยละของการปนเปื้ อน เท่ากับ ร้ อ ยละ 40 30 และ 30 ตามล าดับ และ มี ค่ า ร้ อยละของเนื้ อเยื่ อ เริ่ ม ต้น ที่ ส ามารถเจริ ญ เป็ นยอดอ่ อ นได้ เท่ ากับ ร้อยละ 50 60 และ 60 ตามลาดับ ในการศึกษาผลของอาหารเพาะเลี้ยงที่มีต่อการชักนาให้เกิดยอดและการเจริ ญของ ต้น อ่ อ นพื ช โดยท าการเพาะเลี้ ยงเนื้ อ เยื่ อ ส่ ว นตาข้า งที่ ป ลอดเชื้ อ บนอาหารเพาะเลี้ ย งกึ่ ง แข็ ง ที่ แ ตกต่ า งกัน จ านวน 9 สู ต ร ได้แ ก่ อาหารสู ต ร Murashige and Skoog medium (MS) สู ต ร woody plant medium (WP) และ สู ตร Linsmaier and Skoog medium (LS) ที่ มีความเข้มข้นขององค์ประกอบของสู ตรอาหารและซู โครสที่ แตกต่าง กัน ผลการศึ ก ษาเบื้ อ งต้น พบว่า การเพาะเลี้ ย งเนื้ อเยื่ อ ส้ ม ในอาหารสู ต ร ½ LS ที่ เติ ม ซู โ ครส 30 กรั ม ต่ อลิ ต ร มีแนวโน้มที่ ดีในการส่ งเสริ มการเจริ ญของเนื้ อเยื่อเริ่ มต้นให้เกิ ดยอด โดยในการเพาะเลี้ ยงเนื้ อเยื่อเกรพฟรุ ้ทบน อาหารสู ต ร ½ LS ที่ เติ มซู โครส 30 กรั มต่ อ ลิ ต ร มี ค่าการชักน าให้เกิ ด ยอด ร้ อยละ 70 ในการเพาะเลี้ ย งเนื้ อเยื่ อ คัมควัทบนอาหารเพาะเลี้ ยง 3 สู ตร ได้แก่ อาหารสู ตร LS ที่ เติ มซู โครส 30 กรัมต่ อลิ ตร อาหารสู ตร ½ LS ที่ เติ ม ซู โครส 30 กรัมต่อลิตร และ อาหารสู ตร ½ MS ที่เติมซู โครส 30 กรัมต่อลิตร มีค่าการชักนาให้เกิดยอด ร้อยละ 100 ในขณะที่ การเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อเลมอนบนอาหารสู ตร ½ WP ที่ เติ มซู โครส 30 กรัมต่ อลิ ตร และอาหารสู ตร ½ LS ที่ เติ มซู โครส 30 กรัมต่อลิตร มี ค่าการชักนาให้เกิ ดยอด ร้อยละ 80 และ ร้อยละ 70 ตามลาดับ ในปั จจุบนั ยังอยู่ใน ระหว่างการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยอดอ่อนเพื่อการศึกษาผลของอาหารที่มีต่อการเจริ ญของต้นอ่อนพืชตระกูลส้ม คาสาคัญ เกรพฟรุ ้ท, คัมควัท, เลมอน, Citrus Tristeza Virus (CTV), โรคกรี นนิ่ง, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยือ่

1

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2 สถานีเกษตรหลวงปางดะ มูลนิธิโครงการหลวง


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(70)

ชุดโครงการ การวิจยั และพัฒนาการผลิตพืชตระกูลส้ ม โครงการย่ อยที่ 4 : การศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารสาหรับพืชตระกูลส้ ม ยุทธนา เขาสุเมรุ 1* , ชิติ ศรี ตนทิพย์ 1 และ สันติช่างเจรจา1 *Corresponding author : khaosumain@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึกษาวิธีการจัดการดินและธาตุอาหารพืชตระกูลส้มบนพื้นที่สูงเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพ ผลผลิตส้ม 3 ชนิด คือ คัมควัท เลมอน และเกรฟฟรุ ้ท ณ หน่วยวิจยั ส้มโป่ งน้อย สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ. แม่วาง จ.เชี ยงใหม่ และ สถานี วิจยั โครงการหลวงแม่หลอด อ. แม่ริม จ.เชี ยงใหม่ โดยมีวิธีการดังนี้ คื อ วิธีการที่ 1. ใส่ ปุ๋ย ตามวิธีเกษตรกรปฏิบตั ิ (580 g N, 300 g P2O5 , 550 g K2O) วิธีการที่ 2. ใส่ ปุ๋ยปริ มาณ 1 เท่าของปริ มาณธาตุอาหารที่ ติดไปกับผลผลิต (1X Crop removal) วิธีการที่ 3. ใส่ ปุ๋ยปริ มาณ 2 เท่าของปริ มาณธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต (2X Crop removal ) และวิธีการที่ 4 ใส่ ปุ๋ยตามค่ าวิเคราะห์ ดิน โดยใช้ผลผลิ ต เป้ าหมายจากผลผลิ ตปี ที่ ผ่านมาคื อ 40 กิ โลกรั มต่ อ ต้น พบว่า ปริ ม าณธาตุ อาหารในดิ น แปลงทดลองมี ค วามเป็ นกรด ธาตุ อาหารหลักอยู่ในปริ มาณ ค่ อ นข้างสู งถึ งสู งมาก ธาตุ อ าหารรอง แคลเซี ย ม แมกนี เซี ย มอยู่ใ นปริ ม าณต่ า ยกเว้น แปลง เกรฟฟรุ ้ ท การ ตอบสนองของการการจัดการธาตุอาหาร พบว่าการจัดการปุ๋ ยตามวิธีเกษตรกรปฏิบตั ิของแปลงทดลอง ณ หน่วย วิจยั ส้มโป่ งน้อย ทาให้ขนาดใบของคัมควัทและเลมอนมีขนาดใหญ่กว่า วิธีการอื่น ส่ วนเกรฟฟรุ ้ทนั้น ใบมีขนาด ใกล้เคียงกัน สาหรับค่าความเขียวของใบ (SPAD) นั้น พบว่า การจัดการให้ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกรปฏิบตั ิ ให้ค่าความ เขียวของใบ มากกว่าวิธีการอื่น โดยเฉพาะ คัมควัท ในแปลงหน่วยวิจยั ส้มโป่ งน้อยโดยมีค่า 66.85 ส่ วนวิธีการอื่นมี ค่าอยู่ระหว่าง 58.26-60.86 ซึ่ งเป็ นไปในทางเดียวกันกับความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบซึ่ ง การจัดการปุ๋ ยตามวิธี เกษตรกรปฏิ บตั ิ มีค่ามากที่ สุด (2.56%) ในขณะที่ วิธีการอื่นๆ ไนโตรเจนมี ค่าระหว่าง 2.28-2.45 % ซึ่ งอยู่ในช่ วง ค่าที่ เหมาะสมที่ แนะนาให้ใช้กบั ส้มเขี ยวหวาน ยกเว้นการจัดการให้ปุ๋ย 1 เท่ าของปริ มาณธาตุอาหารที่ ติดไปกับ ผลผลิตและการให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบคัมควัท (1.87-1.97%) และในใบเล มอน (2.03-2.17%) ของแปลงทดลองสถานี วิจยั โครงการหลวงแม่หลอด และไนโตรเจนในใบเลมอน จากแปลง ทดลองหน่ วยวิ จัย ส้ม โป่ งน้อ ยมี ค วามเข้ม ข้น ของไนโตรเจนในใบ 1.96-2.22 % ซึ่ งมี ค่ าต่ ากว่าค่ าที่ เหมาะสม เล็กน้อย ในขณะที่ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและโพแทสเซี ยมในใบ มีค่าไม่ต่ากว่าค่าที่เหมาะสม โดยการให้ปุ๋ย ตามวิธีเกษตรกรปฏิบตั ิมีแนวโน้มทาให้ โพแทสเซี ยมในใบสู งกว่าวิธีการอื่น ส่ วนการออกดอกติดผลนั้น มีการออก ดอกติ ดผลใกล้เคี ยงกัน ยกเว้น เกรฟฟรุ ้ท ที่ มีการออกดอก ติ ดผลน้อยมาก (หมายเหตุ : ผลผลิตและคุณภาพของ ผลผลิต ในขณะวันที่นาเสนอ ยังไม่ถึงวันเก็บเกี่ยวผลผลิต) คาสาคัญ การจัดการดินและธาตุอาหาร, พืชตระกูลส้ม

1

สถาบันวิจยั เทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(71)

ชุดโครงการ การผลิตว่ านสี่ ทิศเพื่อตัดดอกเป็ นการค้ า โครงการย่ อยที่ 1 : ผลของขนาดหัวพันธุ์ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกของว่ านสี่ ทิศ ชัยอาทิตย์ อิ่นคา1* และโสระยา ร่ วมรังษี2* *Corresponding author : sunwins111@hotmail.com และ sorayaruamrung@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาผลของขนาดหัวพันธุ์ต่อการเจริ ญเติบโตและคุณภาพดอกของว่านสี่ ทิศ ได้ดาเนิ นการโดยคัดเลือก หัวพันธุ์ว่านสี่ ทิศ พันธุ์ Clown ขนาดเส้นรอบวงแตกต่ างกัน 5 ขนาด คื อ 1) <26 ซม. 2) 27-28 ซม. 3) >29-30 ซม. 4) >31-32 ซม. และ 5) >32 ซม. นาไปเก็บ รั กษาไว้ที่ ห้องเย็น อุ ณ หภู มิ 5 องศาเซลเซี ย ส นานประมาณ 2 เดื อ น ก่ อ นน าไปปลู ก ผลการทดลองพบว่าการปลู กด้วยหัวพัน ธุ์ข นาดใหญ่ ในกรรมวิธีที่ 4 และ 5 เมื่ ออายุพื ช 4-20 สัปดาห์หลังปลูก มีความยาวใบและจานวนใบมากกว่ากรรมวิธีอื่นที่ มีหัวพันธุ์ขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ ยงั พบว่า ในช่ วง 4-24 สัปดาห์ หลังปลูก กรรมวิธีที่ 1 และ 2 ไม่มีจานวนหน่ อเพิ่ มขึ้ น (1.0 หน่ อต่อต้น) และเมื่ อปลูกนาน 24 สัปดาห์พบว่าการใช้หวั ขนาดใหญ่ (กรรมวิธีที่ 4 และ 5) มีจานวนหน่อมากกว่ากรรมวิธีที่ 1 และ 2 ด้านคุณภาพ ดอก พบว่าการปลูกด้วยหัวใหญ่ (กรรมวิธีที่ 5) ดอกบานเร็ วที่ สุด (ใช้เวลา 64.0 วัน) ซึ่ งแตกต่างจากกรรมวิธีที่ 1 และ 2 ที่ มีจานวนวันตั้งแต่ปลูกถึงดอกบานมากที่สุด (บานช้าที่สุด) (70.0 และ 71.2 วัน ตามลาดับ) การใช้หัวเส้น รอบวงตั้งแต่ 29 ซม. ขึ้ นไป (กรรมวิธีที่ 3, 4 และ 5) มี เปอร์ เซ็ นต์การออกดอก 100 เปอร์ เซ็ นต์เท่ ากัน มากกว่า กรรมวิ ธี ที่ 1 และ 2 ที่ มี ก ารออกดอกเพี ย ง 17.0 และ 75.0 เปอร์ เซ็ น ต์ ตามล าดั บ นอกจากนี้ กรรมวิ ธี ที่ 5 มีเส้นผ่าศูนย์กลางดอก (20.8 เซนติเมตร) มากกว่ากรรมวิธีอื่น ส่ วนความยาวก้านดอกและจานวนช่อดอกไม่มีความ แตกต่างกันในแต่ละกรรมวิธีทดลอง คาสาคัญ ว่านสี่ ทิศ ขนาดหัวพันธุ์ ไม้ตดั ดอก

1*

สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2*


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(72)

ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไม้ ดอกที่เหมาะสมและสร้ างอาชีพให้ แก่ ชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 4 : การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์บัวดินที่มศี ักยภาพในการผลิตหัวพันธุ์เพื่อจาหน่ าย สิ รินทร์รัตน์ ผูย้ อดยิง่ 1* ดารารัตน์ ทิมทอง1 เบญจพร เสนางาม1 *Corresponding author : apiradeep@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ การวิจยั ครั้งนี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่ อรวบรวมและคัดเลื อกพันธุ์บัวดิ นที่ มีศกั ยภาพในการผลิตหัวพันธุ์เพื่ อ จาหน่าย จานวน 15 พันธุ์ ได้แก่ บัวดินพันธุ์ Australia candida, Full moon, ขาวหอม, Airie, Eastern pearl, Crimson sunset, Krakatua, Pride of Singapore, Bangkok yellow, Midas touch, Bubble, Heart throb, ไชยปราการซั น เซ็ ท , โอลโรสริ มดอย และ Pink emerald โดยปลู กหัวพัน ธุ์ในถุ งพลาสติ ก ขนาด 7x13 นิ้ ว ในดิ นผสมเป็ นวัส ดุ ป ลู ก (ดิ น แกลบด า ขุย มะพร้ าว และมู ลสั ต ว์ ในอัต ราส่ วน 1:1:1:1) ให้ปุ๋ ยเดื อนละ 2 ครั้ ง (ละลายปุ๋ ยสู ต ร15-15-15 รดในช่ วง 4 เดื อ นแรก และสู ต ร 13-13-21 รดในช่ วง 4 เดื อนหลัง) และรดน้ า 2 วันต่ อครั้ ง ด าเนิ นการทดลอง ระหว่างเดื อน กุมภาพันธ์-สิ งหาคม 2561 ที่ ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงห้วยลึก อาเภอเชี ยงดาว จังหวัดเชี ยงใหม่ พบว่า คุณภาพหัวพันธุ์บวั ดิ นก่อนปลูก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่ งพันธุ์ Pink emerald มีน้ าหนักสดหัวพันธุ์มากที่สุด คือ 19.00 กรัมต่อหัว และพันธุ์ Krakatua มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของหัวพันธุ์มาก ที่สุด คือ 29.40 มิลลิเมตร สาหรับการเจริ ญเติบโต และคุณภาพดอก หลังปลูก 28 สัปดาห์ พบว่า พันธุ์ Pink emerald มี ความสู งต้นเฉลี่ ยมากที่ สุ ด คื อ 31.91 เซนติ เมตร รองลงมาคื อพันธุ์ Crimson sunset มี ค วามสู งต้นเฉลี่ ย 30.41 เซนติ เมตร ส าหรั บ จานวนใบต่ อ ต้น พัน ธุ์ Australia candida มี จ านวนใบต่ อ ต้น เฉลี่ ย มากที่ สุ ด คื อ 34.91 ใบ รองลงมาคือ พันธุ์ Bubble มีจานวนใบเฉลี่ย 33.16 ใบ ส่ วนจานวนดอกต่อต้น พันธุ์ Full moon มีจานวนดอกต่อต้น เฉลี่ยมากที่สุด คือ 9.58 ดอก และยังพบว่าทุกพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์การงอกมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ คาสาคัญ การรวบรวม, การขยายพันธุ์, บัวดิน

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(73)

ชุดโครงการการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้ างประสิ ทธิภาพการผลิตสุ กรบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 1 : การคัดเลือก ปรับปรุ งพันธุ์สุกรลูกผสม และการทดสอบสู ตรอาหารที่เหมาะสม

ทศพล มูลมณี 1*, สุ ชน ตั้งทวีวิพฒั น์1,2, กัญญารัตน์ พวกเจริ ญ1 และ ปุณณะวุทฒ์ ยะมา1 *Corresponding author: tossapol.m@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ โครงการวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาสู ตรอาหารที่เหมาะกับสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวงโดยใช้วตั ถุดิบ จากท้อ งถิ่ น ร่ วมด้ว ย งานวิ จัย นี้ วางแผนการทดลองแบบ 2×2 แฟคทอเรี ย ล ประกอบไปด้วยสุ กร 2 สายพัน ธุ์ คือ สายพันธุ์โครงการหลวง RPPM (พื้นเมือง เหมยซาน และ เปี ยแตรง) และ สายพันธุ์โครงการหลวง ลูกผสม (พื้ นเมื อง เหมยซาน และดู ร็อค) และอาหาร 2 กลุ่ ม คื อ อาหารส าเร็ จรู ป และ อาหารส าเร็ จรู ป ร่ วมกับ เมล็ด ข้าวโพดหมัก ใช้สุกรสายพันธุ์ละ 8 ตัว น้ าหนักเริ่ มต้นเฉลี่ย 10 กก. สุ่ มสุ กรเข้าสู่ กลุ่มการทดลอง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 อาหารสาเร็ จรู ป+สุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง RPPM กลุ่มที่ 2 อาหารสาเร็ จรู ปร่ วมกับเมล็ดข้าวโพดหมัก+สุ กร สายพันธุ์โครงการหลวง RPPM กลุ่มที่ 3 อาหารส าเร็ จรู ป +สุ กรสายพันธุ์ โครงการหลวง ลูกผสม และกลุ่มที่ 4 อาหารสาเร็ จรู ปร่ วมกับเมล็ดข้าวโพดหมัก+สุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง ลูกผสม ผลการทดลองพบว่า ไม่พ บ อิ ท ธิ พ ลร่ ว ม (interaction) ระหว่ า งปั จ จัย ของสายพัน ธุ์ และอาหาร (P>0.05) ต่ อ น้ าหนั ก ตัว ที่ เพิ่ ม อัต ราการ เจริ ญเติ บโตเฉลี่ ยต่อวัน จานวนวันที่ ใช้เลี้ยง ปริ มาณอาหารที่ กินได้ท้ งั หมด และปริ มาณอาหารที่ กินเฉลี่ ยต่อตัว อัตราการแลกเนื้ อ และต้นทุนค่าอาหาร เมื่อเปรี ยบเที ยบระหว่างการใช้ และการไม่ใช้เมล็ดข้าวโพดหมักร่ วมกับ อาหารสาเร็ จรู ป พบว่า สุ กรทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่ได้รับอาหารที่ใช้เมล็ดข้าวโพดหมักร่ วมกับอาหารสาเร็ จรู ป มีปริ มาณ การกิ นอาหารทั้งหมดและปริ มาณการกิ นอาหารเฉลี่ยต่อตัวต่อวัน สู งกว่า กลุ่มที่ ไม่ใช้เมล็ดข้าวโพดหมักร่ วมกับ อาหารส าเร็ จรู ป (P<0.05) แต่ กลุ่ ม ที่ ไ ด้รั บ อาหารส าเร็ จรู ปเพี ย งอย่างเดี ยวมี อตั ราการแลกน้ าหนัก และต้น ทุ น ค่ าอาหาร (บาท/น้ าหนักเพิ่ ม 1 กก.) ดี กว่ากลุ่มที่ ได้รับ เมล็ดข้าวโพดหมักร่ วมกับอาหารสาเร็ จรู ป (P<0.05) เมื่ อ เปรี ยบเที ยบระหว่างสายพันธุ์ของสุ กร พบว่า น้ าหนักตัวที่ เพิ่ม อัตราการเจริ ญเติ บโตเฉลี่ยต่อวัน จานวนวันที่ ใช้ เลี้ยง ปริ มาณอาหารที่กินได้ท้ งั หมดและปริ มาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อตัว และอัตราการแลกเนื้อ และต้นทุนค่าอาหาร ไม่มีความแตกต่างระหว่างสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง RPPM และสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง ลูกผสม (P>0.05) ดังนั้นจึงสรุ ปได้วา่ สุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง RPPM และสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง ลูกผสม มีสมรรถภาพการ เจริ ญเติบโตไม่แตกต่างกัน แต่สุกรทั้ง 2 สายพันธุ์ มีอตั ราการแลกน้ าหนัก และต้นทุนค่าอาหารที่ดีเมื่อได้รับอาหาร ที่ไม่ใช้เมล็ดข้าวโพดหมักร่ วมกับอาหารสาเร็ จรู ป คาสาคัญ สุกรสายพันธุ์โครงการหลวง RPPM สุกรสายพันธุ์โครงการหลวง ลูกผสม สมรรถภาพการเจริ ญเติบโต

1

ภาควิชาสัตวศาสตร์ และสัตว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(74)

ชุดโครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้ างประสิ ทธิภาพการเลีย้ งสุ กรบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 2 : การคัดเลือก ปรับปรุ งพันธุ์ สุ กรสายพันธุ์พื้นเมืองแท้ และพื้นเมืองลูกผสมเหมยซาน

กรวรรณ ศรี งาม1* ศุภมิตร เมฆฉาย1 ประภาส มหินชัย2 และชัยวัฒน์ อาจิน1 บทคัดย่ อ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่ อคัดเลือก ปรับปรุ งพันธุ์ สุ กรสายพันธุ์พ้ื นเมืองแท้และพื้ นเมืองลูกผสม เหมยซานเพื่ อ ให้ เหมาะกับ การเลี้ ย งบนพื้ น ที่ สู ง โดยได้ท าการศึ กษาการผสมพัน ธุ์ สุ กรสายพัน ธุ์ แ ท้พ้ื น เมื อ ง เหมยซาน ลูกผสมสองสาย และลู กผสมสามสายจานวน 3 คู่ ผสมในแต่ ละสายพันธุ์ โดยสุ กรลูกผสมสามสาย มีน้ าหนักเฉลี่ยแรกคลอดและน้ าหนักหย่านมเฉลี่ยมากที่ สุด (1.00 และ 6.17 กิ โลกรัม/ตัว ตามลาดับ) เมื่อเที ยบกับ สุ กรสายพันธุ์ที่เหลืออย่างมีนยั สาคัญ (P<0.05) และอัตราการเจริ ญเติบโตเฉลี่ยต่อตัวของลูกสุ กรพบว่า สุ กรลูกผสม สามสายมีอตั ราการเจริ ญเฉลี่ยต่อตัวสู งที่ สุด (172.53 กรัม/วัน) สายพันธุ์เหมยซานแท้มีอตั ราการเจริ ญเติบโตเฉลี่ย ต่อวันต่าที่สุด (128.72 กรัม/วัน) (P<0.05) ในขณะที่จานวนลูกเกิดต่อแม่สุกรและจานวนลูกหย่านมต่อแม่สุกรพบว่า มี ความแตกต่ างอย่างไม่ มีนัยสาคัญ ทั้งสี่ สายพันธุ์ (P>0.05) ลูกสุ กรที่ ได้จากการผสมพันธุ์แต่ ละสายพันธุ์จะถู ก ทดสอบสมรถภาพการผลิ ต บนพื้ น ที่ สู งที่ มีค วามสู งแตกต่ างกันภายใต้ระบบภายใต้ระบบการเลี้ ยงสุ กรที่ ดีบ น พื้นที่สูง RPF-GAP: สุ กร คาสาคัญ สุกร สุกรพื้นเมือง ปรับปรุ งพันธุ์ สมรถภาพการผลิต

1 2

ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ จ.เชี ยงใหม่ 50200 ศูนย์วิจยั และบารุ งพันธุ์สตั ว์เชียงใหม่ จ.เชี ยงใหม่ 50120


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(75)

ชุดโครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้ างประสิ ทธิภาพการผลิตสุ กรบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 3 : การศึกษาเครื่ องหมายทางพันธุกรรม สาหรับบ่ งชี้เอกลักษณ์ ของสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง ศุภมิตร เมฆฉาย1*, วรรักษ์ หน่อสี ดา1, นันทนา โปธาคา1, วัชรพงศ์ นรพัลลภ1, ทฤษฎี คาหล่อ1, กรวรรณ ศรี งาม1 และ สุชน ตั้งทวีวพิ ฒั น์1 *Corresponding author : supamit.m@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ วัต ถุประสงค์ในการศึ กษาครั้ งนี้ เพื่ อศึ กษาเครื่ องหมายทางพันธุ กรรมของยีน melanocortin 1 receptor (MC1R), และ v-kit Hardy-Zuckerman 4 feline sarcoma viral oncogene homolog (KIT) สาหรับบ่งชี้ เอกลักษณ์ของ สุ กรสายพันธุ์ โ ครงการหลวง (พื้ น เมื องไทย x เหมยซาน x เปี ยแตรง และ พื้ น เมื องไทย x เหมยซาน x ดู ร็ อค) เครื่ องหมายพั น ธุ ก รรมของยี น MC1R และ KIT จ านวน 6 เครื่ องหมาย (MC1R283, MC1R305, MC1R727, MC1R729, KIT2678 และ KIT84291) ถูกนามาวิเคราะห์จีโนไทป์ ในสุ กรที่ มีลกั ษณะสี ดาล้วน จานวน 60 ตัวอย่าง และสุ กรที่มีลกั ษณะสี ไม่ดา (กลุ่มควบคุม) จานวน 40 ตัวอย่าง ผลการวิจยั พบว่า เครื่ องหมายโมเลกุลทั้งหมดแสดง ความผัน แปรในประชากรสุ ก รสายพั น ธุ์ โ ครงการหลวง โดยเครื่ องหมายโมเลกุ ล MC1R305, MC1R727 และ MC1R729 มีความสัมพันธ์กบั ลักษณะสี ดาของสุ กรอย่างมีนยั สาคัญ (P < 0.05) นอกจากนี้ เครื่ องหมายโมเลกุล KIT2678 มี แ นวโน้ม มี ค วามสัม พัน ธ์ กับ ลักษณะสี ด าของสุ กร (P = 0.08) โดยเครื่ อ งหมายโมเลกุล MC1R305, MC1R727, MC1R729 และ KIT2678 สามารถทานายลักษณะสี ด าของสุ กรสายพันธุ์ โครงการหลวงได้ถูกต้อง มีความแม่นยาเท่ ากับ 64.15, 68.86, 66.98 และ 63.20 เปอร์ เซ็ นต์ ตามลาดับ นอกจากนี้ เมื่ อพิ จารณาอิ ทธิ พลของ เครื่ อ งหมายโมเลกุ ล ร่ ว มกัน จ านวน 4 เครื่ อ งหมาย (MC1R305, MC1R727, MC1R729 และ KIT2678) พบว่ า สามารถทานายสุ กรที่มีลกั ษณะสี ดาได้ถูกต้องแม่นยาเท่ากับ 85.85 เปอร์ เซ็นต์ จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็น ว่า เครื่ องหมายโมเลกุล MC1R305, MC1R727, MC1R729 และ KIT2678 มีความสัมพันธ์กบั ลักษณะสี ดาของสุ กร สายพันธุ์โครงการหลวงอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ และเครื่ องหมายโมเลกุลดังกล่าว อาจใช้ในการคัดเลือกลักษณะ สี ดาในสุ กรสายพันธุ์โครงการหลวง คาสาคัญ เครื่ องหมายทางพันธุกรรม MC1R KIT สุกร โครงการหลวง

1

ภาควิชาสัตวศาสตร์ และสัตว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(76)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเลีย้ งแพะและแกะขนบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 1 : การประยุกต์ ใช้ โปรแกรมฮอร์ โมนเพื่อเพิม่ อัตราการให้ กาเนิดลูกแกะของแม่ แกะพันธุ์ขน ภายใต้ สภาพแวดล้ อมบนพื้นที่สูง

ทศพล มูลมณี 1* สุ ชน ตั้งทวีวิพฒั น์1,2 สมสิ ทธิ์ พรหมมา3 จักรี จิตจานงค์1 *Corresponding author: tossapol.m@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ โครงการวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อเปรี ยบเที ยบอัตราการเป็ นสัด อัตราการตั้งท้อง และความเข้มข้นของ ฮอร์ โมน Progesterone ในเลือดของแม่แกะพันธุ์ขนที่ไม่ต้ งั ท้องเมื่อได้รับโปรแกรมฮอร์ โมนเพื่อเหนี่ ยวนาการเป็ น สัดที่แตกต่างกัน 2 โปรแกรม ใช้แม่แกะพันธุ์ขนที่ ไม่ต้ งั ท้อง 20 ตัว สุ่ มแม่แกะเข้าสู่ กลุ่มการทดลองที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ ม คื อ กลุ่ มที่ 1 (n=10) แม่ แ กะได้รั บโปรแกรมกระตุ ้น 5 วัน ด้วย Controlled internal drug release (CIDR) + Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) + Prostaglandin F2α (PG) + Equine chorionic gonadotropin (eCG) แ ล ะ กลุ่ มที่ 2 (n=10) แม่ แ กะได้รั บ โปรแกรมกระตุ ้น 7 วัน ด้วย CIDR + GnRH + PG + eCG โดยแม่ แกะในกลุ่ มที่ 1 ได้รับการสอดแท่งฮอร์ โมน CIDR เข้าสู่ ช่องคลอดเป็ นเวลา 5 วัน (day -5 ถึง day 0) และในกลุ่มที่ 2 ได้รับการสอด แท่งฮอร์ โมน CIDR เข้าสู่ ช่องคลอดเป็ นเวลา 7 วัน (day -7 ถึง day 0) โดยในวันที่ ทาการสอดแท่งฮอร์ โมน CIDR (day -5 หรื อ day -7) แม่แกะทุกตัวได้รับการฉี ดฮอร์ โมน GnRH เมื่อครบระยะเวลา 5 วัน หรื อ 7 วัน (day 0) ทาการ ถอดแท่งฮอร์ โมน CIDR ออกจากช่ องคลอดของแม่แกะพร้อมทั้งฉี ดฮอร์ โมน PG และฮอร์ โมน eCG ร่ วมกับการใช้ พ่อพันธุ์แกะเข้าตรวจเช็คพฤติ กรรมการเป็ นสัดและผสมพันธุ์ หลังจากนั้น 23 วัน (day 23) นาพ่อพันธุ์แกะออกจาก ฝูง และตรวจการตั้งท้องด้วยเทคนิ ค Ultrasound ในวันที่ 52 หลังการถอดแท่งฮอร์ โมน CIDR (day 52) และทาการ เก็บตัวอย่างเลื อดจากแม่แกะเพื่ อนาไปวิเคราะห์หาความเข้มข้นของฮอร์ โมน Progesterone ด้วยเทคนิ ค Enzymelinked immunosorbent assay (ELISA) ผลพบว่า แม่พนั ธุ์แกะที่ ได้รับโปรแกรมฮอร์ โมนในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มี อตั ราการการเป็ นสัด (100% เที ยบกับ 100%) และอัตราการตั้งท้อง (70% เที ยบกับ 80%) ไม่แตกต่ างทางสถิ ติ (P=1.00 และ P=0.62 ตามล าดับ ) ความเข้ม ข้น ของฮอร์ โ มน Progesterone ไม่ มี ค วามแตกต่ างทางสถิ ติ ระหว่าง แม่พนั ธุ์แกะในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ในวันที่ สอดแท่งฮอร์ โมน CIDR แต่ในวันที่ถอนแท่งฮอร์ โมน CIDR (day 0) แม่ พ ัน ธุ์ แ กะที่ ไ ด้รั บ โปรแกรมกระตุ ้น 5 วัน มี ค วามเข้ม ข้น ของฮอร์ โ มน Progesterone มากกว่ า กลุ่ ม ที่ ไ ด้รั บ โปรแกรมกระตุ ้น 7 วัน (P=0.04) ดังนั้ น จึ งสรุ ป ได้ว่ าโปรแกรมกระตุ ้น 5 วัน และ 7 วัน ด้วยฮอร์ โ มน CIDR มีประสิ ทธิ ภาพไม่แตกต่างกันต่อการเหนี่ยวนาการเป็ นสัดและการเพิ่มอัตราการตั้งท้อง คาสาคัญ แกะขน โปรแกรมฮอร์โมน อัตราการให้กาเนิดลูกแกะ พื้นที่สูง

1

ภาควิชาสัตวศาสตร์ และสัตว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง 3 นักวิชาการสถาบันเกษตรหลวงอินทนนท์ ดูแลงานปศุสตั ว์ ณ หน่วยวิจยั ผาตั้ง 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(77)

ผลของการเติม Lactobacillus plantarum J39 ต่ อคุณภาพการหมัก และองค์ ประกอบทางเคมีของหญ้ าเนเปี ยร์ ปากช่ อง 1 หมัก เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ1* จิรารัตน์ วุน่ จันทร์1 ศิวชั สังข์ศรี ทวงษ์2 ณรงค์ฤทธิ์ ใจพลแสน1 และทศพล มูลมณี 1 * Corresponding author: saowaluck.y@cmu.ac.th

บทคัดย่ อ วัต ถุ ป ระสงค์เพื่ อ ศึ กษาผลของการเติ ม ต้น เชื้ อ Lactobacillus plantarum J39 ต่ อ คุ ณ ภาพการหมัก และ องค์ประกอบทางเคมี โดยทาการเตรี ยมต้นเชื้ อ L. plantarum J39 ที่ได้คดั แยกมาจากอาหารผสมครบส่ วนแบบหมัก (eTMR) ให้มีความเข้มข้น 106 CFU/g ทาการตัดหญ้าเนเปี ยร์ ปากช่ อง 1 ที่ อายุ 45 วัน ให้มีขนาด 2-3 เซนติ เมตร วางแผนการทดลองแบบสุ่ ม สมบู ร ณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่ งกลุ่ ม อาหารหยาบออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 อาหารหยาบสด กลุ่มที่ 2 อาหารหยาบหมักไม่เติมต้นเชื้ อ กลุ่มที่ 3 อาหารหยาบหมักเติมต้นเชื้ อ ที่ความเข้มข้น 106 CFU/g ในกลุ่มของอาหารหยาบหมักจะบรรจุอาหารหยาบใส่ ถุง 2 ชั้น ทาการดูดอากาศออกให้ หมด เพื่อให้มีสภาพไร้ออกซิ เจน ทาการหมักเป็ นระยะเวลา 21 วัน หลังจากนั้นสุ่ มเก็บตัวอย่างอาหารหยาบหมัก เพื่อทาการวิเคราะห์คุณภาพการหมัก ได้แก่ ค่าความเป็ นกรดค่าง (pH) และค่าแอมโมเนี ยไนโตรเจน (NH3-N) และ วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี โดยวิธี Proximate analysis และ Detergent method จากการศึ กษาพบว่าความเป็ น กรดด่าง (pH) ในกลุ่มอาหารหยาบหมักเติมต้นเชื้ อมีค่าต่ากว่ากลุ่มอาหารหยาบหมักไม่เติมต้นเชื้ อ และกลุ่มอาหาร หยาบสด อย่ า งมี นัย ส าคัญ ยิ่ ง (P<0.01) คื อ 3.85 เที ย บกับ 3.91 และ 5.04 ค่ า แอมโมเนี ย ไนโตรเจน (NH3-N) ในอาหารหยาบสดมี ค่าต่ าที่ สุด (4.49 % total N) ส่ วนอาหารหยาบหมักไม่เติ มต้นเชื้ อ(8.35 % total N) กับอาหาร หยาบหมักเติ มต้นเชื้ อ (7.74 % total N) มีปริ มาณไม่แตกต่างกันในทางสถิติ ปริ มาณวัตถุแห้ง (DM) และปริ มาณ อิ นทรี ยวัตถุ (OM) ของทั้ง 3 กลุ่ ม ไม่แ ตกต่ างกันในทางสถิ ติ (P>0.05) แต่ ปริ มาณโปรตี น (CP) ในกลุ่มอาหาร หยาบสดและอาหารหยาบหมักเติมต้นเชื้ อมีค่าสู งกว่าอาหารหยาบหมักไม่เติมต้นเชื้ ออย่างมีนยั สาคัญยิ่ง (P<0.01) คือ 6.51%, 6.29% เทียบกับ 5.98% ปริ มาณเยื่อใย (CF) และปริ มาณไขมัน (EE) ในกลุ่มอาหารหยาบหมักไม่เติมต้น เชื้ อ (4.82% และ 35.28%) และอาหารหยาบหมักเติ มต้น เชื้ อ (5.07% และ 35.53%) มี ค่ าสู งกว่าอาหารหยาบสด (3.71% และ 32.90%) อย่างมีนยั สาคัญยิ่ง (P<0.01) ปริ มาณเยื่อใยที่เป็ นผนังเซลล์ (NDF) ในกลุ่มอาหารหยาบหมัก ไม่ เติ ม ต้น เชื้ อ (70.37%) และอาหารหยาบหมัก เติ ม ต้น เชื้ อ (71.12%) มี ค่ า ต่ า กว่ า อาหารหยาบสด (72.57%) แต่ปริ มาณลิกโนเซลลูโลส (ADF) ในอาหารหยาบหมักเติ มต้นเชื้ อ (43.25%) มีค่าสู งกว่าอาหารหยาบหมักไม่เติ ม ต้นเชื้ อ (41.63%) และอาหารหยาบสด (41.03%) ส่ วนปริ มาณลิ กนิ น (ADL) ไม่ มีค วามแตกต่ างกัน ในทางสถิ ติ (P>0.05) จากการศึกษาสรุ ปได้ว่า อาหารหยาบหมักเติมต้นเชื้ อ Lactobacillus plantalum J39 ทาให้พืชหมักมีสภาวะ ความเป็ นกรดได้มากขึ้น และมีการสู ญเสี ยระหว่างกระบวนการหมักลดลงจึงมีคุณค่าทางโภชนะของพืชหมักดีข้ ึน คาสาคัญ หญ้าเนเปี ยร์ปากช่อง 1 หญ้าหมัก Lactobacillus plantalum J39 คุณภาพการหมัก องค์ประกอบทางเคมี

1

ภาควิชาสัตวศาสตร์ และสัตว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ศูนย์พนั ธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่ งชาติอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(78)

การวิจยั การผลิตอาหารสั ตว์ อนิ ทรีย์ สุคีพ ไชยมณี 1* นริ ศรา เกิดสุข1* รักษิณา บ้วนกียาพันธุ์1 *Corresponding author : sukeep65@gmail.com ,narissara@gmail.com

บทคัดย่ อ อุปสรรคสาคัญในการทาปศุสัตว์อินทรี ย ์ คือ การหาแหล่งวัตถุดิบอินทรี ยเ์ พื่อนามาทาอาหารเลี้ยงสัตว์ แต่ เนื่องจากการปลูกพืชอาหารสัตว์อินทรี ยย์ งั พบปัญหาเรื่ องแหล่งเมล็ดพันธุ์ และการให้ผลผลิตของพืชที่ยงั มีนอ้ ยเมื่อ เที ยบกับการปลูกแบบปกติ รวมทั้งต้องปลูกพืชในพื้นที่ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรี ยแ์ ล้ว ทาให้เกษตรกร ทัว่ ไปยังไม่สามารถทาได้ ดังนั้นการวิจยั ครั้งนี้จึงมีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตพืชอาหารสัตว์อินทรี ย ์ ชนิดต่างๆ เพื่ อนามาใช้เป็ นวัตถุ ดิ บ ในการประกอบสู ตรอาหารสั ตว์อิน ทรี ย ์ โดยศึ กษาการปลู กพื ช อาหารสั ตว์อิน ทรี ย์ 2 รู ปแบบ คือ 1. การทดสอบปลูกถัว่ เหลืองและถัว่ เขียว ซึ่ งแบ่งออกเป็ น 2 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ปลูกพืชบารุ ง ดิน + ไม่ใส่ ปุ๋ย และกรรมวิธีที่ 2 ไม่ปลูกพืชบารุ งดิน+ใส่ ปุ๋ยอินทรี ย ์ และ 2.การทดลองปลูกข้าวโพด ข้าว และข้าว สาลี ซึ่ งแบ่งออกเป็ น 3 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ปลูกพืชบารุ งดิน + ไม่ใส่ ปุ๋ย กรรมวิธีที่ 2 ใส่ ปุ๋ยอินทรี ย ์ และ กรรมวิธีที่ 3 ปลูกเหลื่อมด้วยถัว่ เขียว วางแผนการทดลองแบบ RCBD จานวน 4 ซ้ า ขนาดแปลง 2x5 เมตร ทดสอบ ในสถานี เกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชี ยงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า รู ปแบบที่ 1 การทดสอบปลูกถัว่ เหลืองและ ถั่วเขี ย ว ในกรรมวิ ธี ที่ 1 และกรรมวิ ธี ที่ 2 พบว่ า ผลผลิ ต ถั่ว เขี ย วในกรรมวิ ธี ที่ 1และกรรมวิ ธี ที่ 2 ที่ อ ายุเก็ บ เกี่ยว 110 มีผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 131.04 และ 192.16 กิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตถัว่ เหลืองในกรรมวิธีที่ 1 และกรรมวีที่ 2 ที่อายุเก็บเกี่ยว 110 วัน มีผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 203.06 และ 286.07 กิโลกรัมตามลาดับ และรู ปแบบที่ 2 การทดลอง ปลู ก ข้าวโพด และข้าวสาลี พบว่า ผลผลิ ต ข้า วโพดในกรรมวิ ธี ที่ 1 กรรมวิ ธีที่ 2 และกรรมวิ ธี ที่ 3 ที่ อ ายุ เก็ บ เกี่ ยว 120 วัน มีผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 954.86, 1,182.92 และ1,166.35 กิ โลกรัมตามลาดับ และผลผลิตของข้าวสาลี ในกรรมวิธีที่ 1 กรรมวิธีที่ 2 และกรรมวิธีที่ 3 ที่ อายุเก็บเกี่ ยว 80 วัน มี ผลผลิตต่ อไร่ เท่ ากับ 233.77, 299.79 และ 202.87 กิโลกรัมตามลาดับ เมื่อเปรี ยบเทียบผลผลิตของพืชอาหารสัตว์แต่ละชนิดในแต่ละกรรมวิธี พบว่าไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติ (P< 0.05) โดยการปลูกแบบกรรมวิธีที่ 1 มีตน้ ทุนที่ต่ากว่า กรรมวิธี 2 และกรรมวิธี 3 คิดเป็ น 4000, 7,400 และ 4,100 บาทต่อไร่ ตามลาดับ คาสาคัญ อาหารสัตว์อินทรี ย ์

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(79)

การพัฒนาระบบก๊ าซชีวภาพเพื่อใช้ เป็ นพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้ าและปั้มนา้ บนพื้นที่สูง

สุ ชน ตั้งทวีวพิ ฒั น์1,2,* องอาจ ส่ องสี 1 บุญล้อม ชีวะอิสระกุล1 กัญญารัตน์ พวกเจริ ญ1 วิไลพร ทัณฑะรักษ์2 และณัฐชนา อินติ๊บ1 และคาซูทากะ อูเมทสุ 3 *Corresponding Author, E-mail: agani002@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษานี้ มี วตั ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ น าก๊ าซชี วภาพมาใช้เป็ นพลังงานทดแทนกับเครื่ องยนต์ส าหรั บ ผลิ ต กระแสไฟฟ้ า และใช้ ปั๊ มน้ าขนาดเล็ ก บนพื้ นที่ สู ง ได้ แ บ่ ง ออกเป็ น 2 การทลอง คื อ การทดลองที่ 1 หาอัตราส่ วนของอากาศกับก๊าซชีวภาพ โดยใช้ก๊าซชี วภาพจากบ่อผลิตก๊าซชี วภาพขนาด 8 ลูกบาศก์เมตรของมูลนิ ธิ โครงการหลวง นามาผ่านชุดกรองก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ก่อนปล่อยเข้าเครื่ องยนต์ก๊าซโซลีนขนาด 6.5 และ 7.5 แรงม้า ผลปรากฏว่า สัดส่ วนของอากาศและก๊าซชี วภาพที่ทาให้เครื่ องยนต์จุดติ ด คือ 2:1 ถึง 4:1 หรื อเทียบเท่า กับมีค่าความเข้มข้นของก๊าซมีเทนในช่วง 12.6±1.25 ถึง 21.0±2.06% การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราการใช้ก๊าซชี วภาพ ของเครื่ องยนต์ก๊าซโซลีนขนาด 7.5 และ 6.5 แรงม้า สาหรับใช้ผลิ ตกระแสไฟฟ้ าและใช้ป้ ั มน้ า ตามลาดับ โดยใช้ ก๊ า ซชี ว ภาพจากบ่ อ ขนาด 1,500 ลู ก บาศก์ เมตร ของภาควิ ช าสั ต วศาสตร์ แ ละสั ต ว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ผลปรากฏว่าเมื่อใช้เครื่ องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้ า จานวน 300 และ 1,800 วัตต์ มีอตั ราการใช้ ก๊าซชีวภาพเท่ากับ 1.3 และ 1.64 ลูกบาศก์เมตรต่อชัว่ โมง ตามลาดับ ในขณะที่เครื่ องยนต์ปั๊มน้ าแบบ 3 กระบอกสู บ ที่มีท่อสู บน้ าขนาด 1 นิ้ ว เมื่อใช้อตั ราความเร็ วรอบ 80-100% ของเครื่ องยนต์ มีอตั ราการใช้ก๊าซชี วภาพ 1.08-1.19 ลูกบาศก์เมตรต่ อชั่วโมง ส่ วนเครื่ องปั๊ มน้ าแบบหอยโข่ งที่ มีท่อสู บน้ า 2 นิ้ ว เมื่อใช้อตั รากาลังความเร็ วรอบ 80100% ของเครื่ อ งยนต์ มี อ ตั ราการใช้ก๊าซชี วภาพเท่ ากับ 1.31-1.56 ลู กบาศก์เมตรต่ อชั่วโมง จากข้อมู ลข้า งต้น สามารถประมาณการจานวนสัตว์เลี้ยง และขนาดบ่ อผลิตก๊าซชี วภาพที่ เหมาะสมสาหรับครั วเรื อนเกษตรกรบน พื้นที่สูงได้ ซึ่ งจะเพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้ า และการปั้ มน้ าตามจานวนที่ใช้จริ งในแต่ละครัวเรื อนหรื อในแต่ ละพื้นที่ได้ คาสาคัญ ก๊าซชีวภาพ พลังงานทดแทน เครื่ องยนต์ขนาดเล็ก กระแสไฟฟ้า ปั้ มน้ า พื้นที่สูง

1

ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 มูลนิธิโครงการหลวง (Royal Project Foundation) 3 Graduate school of Animal and Food Hygiene, Obihiro University of Agriculture and Veterinary Medicine, Obihiro, Japan 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(80)

การศึกษาพันธุ์ไก่ พื้นเมืองบนพื้นที่สูง สุคีพ ไชยมณี 1* นริ ศรา เกิดสุข1* รักษิณา บ้วนกียาพันธุ์1 *Corresponding author : sukeep65@gmail.com ,narissara@gmail.com

บทคัดย่ อ ไก่ พ้ื น เมื อ งเป็ นสั ต ว์เลี้ ย งที่ อ ยู่ คู่ กับ เกษตรกรไทยมาช้า นาน โดยเลี้ ย งไว้เพื่ อ ใช้เป็ นอาหารโปรตี น ในครั ว เรื อ นและจ าหน่ า ยเป็ นรายได้เสริ ม อี ก ทั้งยัง ใช้ส าหรั บ พิ ธี ก รรมต่ า งๆ ของแต่ ล ะชนเผ่ า บนพื้ น ที่ สู ง ในปั จจุบนั มีความนิ ยมในการรับประทานไก่พ้ืนเมืองมากกว่าไก่เนื้ อตามท้องตลาดเนื่ องจากมีรสชาติที่ดี เนื้ อแน่ น แต่ อย่างไรก็ตามไก่ พ้ื นเมื องยังมีความหลากหลายของสายพันธุ์ มี การเจริ ญเติ บโตที่ ต่างกันตามสภาพของพื้ นที่ ที่เลี้ยง การเลี้ยงไก่ของเกษตรกรบนพื้นที่สูงส่ วนมากมีการเลี้ยงแบบปล่อยหรื อเลี้ยงหลังบ้านทาให้อตั ราการสู ญเสี ย ค่อนข้างมาก รวมถึงมีการนาไก่พ้ืนเมืองต่างถิ่นเข้ามาเลี้ยงและปล่อยให้ผสมพันธุ์กนั เองแบบธรรมชาติ ส่ งผลให้มี ไก่สายพันธุ์ลูกผสมเพิ่มมากขึ้นทาให้ไก่พ้ืนเมืองพันธุ์แท้ด้ งั เดิมเริ่ มหายไป ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ไก่พ้ืนเมืองบนพื้นที่สูงที่เกษตรกรสามารถใช้บริ โภค จาหน่ายและใช้ในพิธีกรรมตาม ความเชื่ อ รวมถึงมีศกั ยภาพในการส่ งเสริ มเป็ นอาชี พแก่เกษตรกรบนพื้นที่ สูง โดยวิธีการศึกษาทาการสารวจและ คัดเลื อ กลักษณะไก่ พ้ื นเมื อ งในพื้ นที่ ต่างๆ โดยเก็บ ข้อมู ลของเกษตรกรผูเ้ ลี้ ยงไก่ รวมไปถึ งลักษณะภายนอกที่ ปรากฏของไก่ พ้ื น เมื อ ง โดยการสุ่ ม เก็ บ ข้อ มู ล จากจ านวนตัวอย่ า งของประชากรไก่ ในพื้ น ที่ 10 พื้ น ที่ ได้แ ก่ (1) สายพันธุ์จากบ้านดง จ.แม่ ฮ่องสอน (2) สาย อ.ลี้ จ.ลาพู น (3) สายบ้านห้วยน้ ากื น อ.เวียงป่ าเป้ า จ. เชี ยงราย (4) สาย อ.จอมทอง จ.เชี ยงใหม่ (5) สายบ้านหาดส้มปอย อ.สะเมิง จ.เชี ยงใหม่ (6) สายบ้านปางแดงใน อ.เชี ยงดาว จ.เชี ยงใหม่ (7) สายดอยอินทนนท์ จ.เชี ยงใหม่ (8) สายบ้านยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชี ยงใหม่ (9) สาย จ.แม่ฮ่องสอน และ (10) สายบ้านแม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชี ยงใหม่ โดยพบว่าช่วงอายุของเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ เฉลี่ยอยูร่ ะหว่าง 46-55 ปี มีรูปแบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยกึ่งขัง ร้อยละ 65 และปล่อยลาน ร้อยละ 35 โดยร้อยละ 98 ของเกษตรกรเลี้ยงไก่เพื่อ บริ โภคในครัวเรื อน อีกทั้งทาการเก็บรวมรวบไก่พ่อพันธุ์จานวน 10 ตัว แม่พนั ธุ์ 50 ตัว โดยมาจากสายพันธุ์ในแต่ ละพื้นที่อย่างละ 6 ตัว อัตราส่ วนพ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พนั ธุ์ 5 ตัว พบว่าอายุไก่เมื่อเริ่ มผสมพันธุ์ได้มีอายุต้ งั แต่ 5 เดือน ขึ้ นไป เพศผูม้ ี น้ าหนักระหว่าง 1.0-1.5 กก. เพศเมี ย มี น้ าหนักอยู่ระหว่าง 0.8-1.2 กก. ลักษณะขนมี สีน้ าตาลแดง เหลือง ดาน้ าตาล ดา คอมีสีน้ าตาลแดง เหลือง ปี กมีสีเหลือง ดาน้ าตาล และหาง มีสีดา น้ าตาล เขียว ลักษณะหงอน แบบจักร ตุ ม้ หู สีแดงและสี ขาว สี แข้งมี สีเทาและสี ดา ความสู ง (วัดจากพื้ นผ่านดวงตาถึ งปลายหงอน) เฉลี่ ยตัวผู ้ เท่ ากับ 35.6 เซนติ เมตร ตัวเมีย เท่ากับ 27.7 เซนติ เมตรโดยมีลกั ษณะภายนอกบางส่ วนที่ คล้ายกันและบางส่ วนที่ แตกต่างกันไปในแต่ ละพื้นที่ อัตราการให้ไข่ ของแม่ไก่ เท่ากับ 522 ฟอง และอัตราการฟั กออกของไข่ มีค่าเฉลี่ ย เท่ากับ 68.97 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลในช่วงเดือน มิถุนายน ถึงเดือน สิ งหาคม พ.ศ. 2561) คาสาคัญ ไก่พ้นื เมือง พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(81)

การศึกษาวัสดุรองพื้นคอกที่เหมาะสมสาหรับการเลีย้ งหมูหลุมบนพื้นที่สูง สุคีพ ไชยมณี 1* นริ ศรา เกิดสุข1* รักษิณา บ้วนกียาพันธุ์1 *Corresponding author : sukeep65@gmail.com ,narissara@gmail.com

บทคัดย่ อ งานพัฒ นาและส่ งเสริ มปศุ สัตว์มูลนิ ธิโครงการหลวงร่ วมกับสถาบันวิจยั และพัฒ นาพื้ นที่ สูง (องค์การ มหาชน) ได้มีการวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีในการเลี้ ย งสัต ว์จนเกิ ด องค์ค วามรู ้ ด ้านการเลี้ ย งสัต ว์ช นิ ด ต่ างๆ การเลี้ยงหมูหลุม ก็เป็ นอีกหนึ่ งเรื่ องที่ มีการวิจยั และส่ งเสริ มแก่เกษตรกร ซึ่ งการเลี้ยงหมูหลุมในปั จจุบนั เกษตรกร ส่ วนใหญ่นิยมใช้แกลบเป็ นวัสดุรองพื้นคอก เนื่องจากหาได้ง่ายและมีปริ มาณมากกว่าวัสดุชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ปั จจุบนั แกลบเริ่ มมีการปรับราคาสู งขึ้น จึงมีการใช้วสั ดุรองพื้นชนิ ดต่างๆ เช่น ขี้เลื่อย เศษข้าวโพด ฟางข้าว ต้นถัว่ เปลือกถัว่ หรื อจากสิ่ งเหลื อทิ้ งสาหรับการเลี้ ยงหมูบนพื้ นที่ สูง ซึ่ งยังไม่มีรายงานที่ ชัดเจน เกี่ ยวกับชนิ ด ปริ มาณ ความถี่ และปริ มาณธาตุอาหารในปุ๋ ยจากหมูหลุม ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจยั ในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการใช้ วัสดุรองพื้นคอกจากสิ่ งเหลือทิ้งทางการเกษตรชนิ ดต่างๆ ที่ เหมาะสมสาหรับการเลี้ยงหมูหลุมบนพื้นที่สูง โดยได้ ท าการทดสอบการใช้ว สั ดุ ร องพื้ น คอกที่ ต่ างกัน จานวน 4 ชนิ ด ได้แ ก่ (1) แกลบ (2) เศษเหลื อ จากข้าวโพด (ต้น เปลือกและซัง) (3) เปลื อกกาแฟ (กะลา) และ (4) แกลบ+เศษเหลือจากข้าวโพด+เปลื อกกาแฟ วางแผนการ ทดลองแบบ CRD โดยใช้ลูกสุ กรหย่านมอายุ 1 เดือน จานวน 36 ตัว แบ่งการทดลองออกเป็ น 3 ซ้ าซ้ าละ 3 ตัว เลี้ยง ในคอกขนาด 2x3 เมตร ลึ ก 90 เซนติ เมตร เป็ นระยะเวลา 4 เดื อน เก็บ ข้อมู ลวัสดุ รองพื้ นก่ อน-หลังการทดลอง ขนาดของวัสดุรองพื้ น ก่ อน-หลังทดลอง และอุณหภู มิพ้ื นคอก ผลการศึ กษาพบว่า ปริ มาณแกลบ เศษเหลื อจาก ข้าวโพด (ต้น เปลือกและซัง) เปลือกกาแฟ (กะลา) และแกลบ+เศษเหลือจากข้าวโพด+เปลือกกาแฟ ที่ ใช้เป็ นวัสดุ รองพื้ นคอก มี ป ริ มาณเฉลี่ ยเท่ ากับ 152, 155, 162 และ 168 กิ โลกรั ม ตามลาดับ ขนาดของแกลบ เศษเหลื อจาก ข้าวโพด (ต้น เปลือกและซัง) เปลือกกาแฟ (กะลา) และแกลบ+เศษเหลือจากข้าวโพด+เปลือกกาแฟ เมื่อเริ่ มทดสอบ เฉลี่ยเท่ากับ 5.0, 4.5, 11.53, 15.65 มิลลิเมตร ตามลาดับ และหลังทดสอบมีขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 2.75, 2.25, 2.51, 2.66 มิลลิเมตร ตามลาดับ และเมื่อเดื อนที่ 4 ทาการวัดอุณหภูมิพ้ืนคอก 3 จุด ได้แก่ หน้าคอก กลางคอก และท้ายคอก พบว่า แกลบมีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 29.4 องศาเซลเซี ยส เศษเหลือจากข้าวโพด (ต้น เปลือกและซัง) มีอุณหภูมิเฉลี่ย เท่ากับ 29.4 องศาเซลเซี ยส เปลือกกาแฟ (กะลา) มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 29.5 องศาเซลเซี ยส และแกลบ+เศษเหลือ จากข้าวโพด+เปลือกกาแฟ มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 30.7 องศาเซลเซี ยสตามลาดับ ซึ่ งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) คาสาคัญ วัสดุรองพื้น หมูหลุม พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(82)

การวิจยั เพื่อปรับปรุ งประสิ ทธิภาพการให้ นา้ และปุ๋ยแก่ ไม้ ผลสาคัญบนพื้นที่สูง ชูชาติ สันธทรัพย์1*, ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ1 และ กนิษฐา เอื้องสวัสดิ์1 *Corresponding author: santasup@gmail.com

บทคัดย่ อ การศึ กษาวิจยั เพื่อปรับปรุ งประสิ ทธิ ภาพการใช้น้ าและปุ๋ ยแก่พืชสาคัญบนพื้นที่สูง ได้ดาเนิ นการในพื้นที่ ของเกษตรกร ณ สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง อ.ฝาง สถานี เกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง และศูนย์พฒ ั นาโครงการ หลวงแกน้อย อ.เชี ยงดาว จ.เชี ยงใหม่ ระหว่างเดื อน เมษายน 2561 ถึงเดื อน สิ งหาคม 2561 โดยวัตถุประสงค์เพื่ อ ประเมิ นความต้องการธาตุ อาหารและน้ า สาหรั บไม้ผลที่ สาคัญของมูลนิ ธิโครงการหลวง ได้แก่ สตรอว์เบอร์ รี่ เคพกูส เบอร์ รี่ และองุ่ น โดยท าการสุ่ มเก็บตัวอย่างพื ช แต่ ละชนิ ด ในระยะเก็บ เกี่ ยวผลผลิ ต บัน ทึ กน้ าหนักสด น้ าหนักแห้งของส่ วนเหนื อดิน (ลาต้นและผลผลิต) และวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหาร (N P และ K) ในแต่ ละส่ วนของพืช เพื่อนามาประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืช นอกจากนั้นยังทาการบันทึกข้อมูลสภาพอากาศ เพื่อนามาประเมินความต้องการน้ าในการผลิตไม้ผลแต่ละชนิด ผลการศึกษาพบว่า สตรอว์เบอร์รี่ (ผลผลิตเฉลี่ย 500 กรัม/ต้น) ต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน 1.45 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 0.31 กรัม/ต้น และโพแทสเซี ยม 3.54 กรัม/ต้น เคพกูสเบอร์ รี่ (ผลผลิตเฉลี่ย 3 กิ โลกรัม/ต้น) ต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน 35.86 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 17.5 กรัม/ต้น และโพแทสเซี ยม 76.96 กรัม/ต้น และองุ่น (อายุ 7 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 5.38 กิ โลกรัม/ต้น) มีความต้องการธาตุอาหาร ไนโตรเจน 75.14 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 7.40 กรัม/ต้น และโพแทสเซี ยม 61.04 กรัม/ต้น สาหรับความต้องการน้ าของ ไม้ผลทั้งสามชนิ ดตลอดระยะเวลาการผลิต ซึ่ งประเมินได้จากข้อมูลสภาพภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ พบว่า สตรอว์ เบอร์ รี่ มี ความต้องการใช้น้ า 509 มิ ลลิ เมตร เคพกูสเบอร์ รี่ มี ความต้องการใช้น้ า 619 มิ ลลิ เมตร และองุ่น มี ความ ต้องการใช้น้ า 588 มิลลิเมตร ซึ่ งปริ มาณความต้องการธาตุอาหารและน้ าที่ประเมินได้จากการศึกษาในครั้งนี้ จะถูก นามาใช้เป็ นแนวทางในการกาหนดอัตราการใส่ ปุ๋ยและการให้น้ าที่ เหมาะสมสาหรับการผลิตไม้ผลบนพื้ นที่ สูง เพื่อให้การจัดการปุ๋ ยและน้ าเป็ นไปอย่างมีประสิ ทธิ ภาพสู งสุ ด คาสาคัญ ความต้องการธาตุอาหาร, สตรอว์เบอร์รี่, เคพกูสเบอร์รี่, องุ่น

1

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(83)

การปรับปรุ งกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกีย่ วผักอินทรีย์ของโครงการหลวง ดนัย บุณยเกียรติ1 พิชญา พูลลาภ2 ชัยพิชิต เชื้อเมืองพาน3 มาโนช ปราครุ ฑ3 และมนตรี จันทา3

บทคัดย่ อ การศึกษาเพื่อปรับปรุ งกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักอินทรี ยข์ องโครงการหลวง มีวตั ถุประสงค์ เพื่อทดสอบและปรับปรุ งกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักอินทรี ยท์ ี่สาคัญของโครงการหลวง โดยนาวิธีการ ที่ดีที่ได้เสนอแนะไว้ในปี พ.ศ. 2560 ไปทดสอบปฏิบตั ิจริ งที่อินทนนท์ อ่างขาง ทุ่งหลวง ห้วยโป่ ง และทุ่งเริ ง แล้ว สารวจการสู ญเสี ยหลังการเก็บเกี่ยวระหว่างการเคลื่อนที่ในโซ่อุปทาน คือ แปลงปลูกเกษตรกร ศูนย์พฒั นาโครงการ หลวง ศู นย์ผลิ ตผลโครงการหลวง และร้ านค้าโครงการหลวง รวมถึ งศึ กษาอายุการวางจาหน่ ายของผักอิ นทรี ย ์ พบว่า ก่อนปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดกวางตุง้ มีการสู ญเสี ย 37.35 เปอร์ เซ็นต์ อายุการวางจาหน่าย 6.76 วัน เมื่อปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวแล้วการสู ญเสี ยลดลงเหลือ 18.72 เปอร์เซ็นต์ อายุการวางจาหน่าย เพิ่มขึ้นเป็ น 8.74 วัน โอ๊คลีฟเขียวก่อนปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีการสู ญเสี ย 35.65 เปอร์ เซ็นต์ อายุการ วางจาหน่าย 6.85 วัน หลังปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวการสู ญเสี ยลดลงเหลือ 19.54 เปอร์เซ็นต์ อายุการวาง จาหน่ายเพิ่มขึ้นเป็ น 9.32 วัน บัตเทอร์เฮดก่อนปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีการสู ญเสี ย 34.89 เปอร์เซ็นต์ อายุการวางจาหน่ าย 6.29 วัน หลังปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ ยวการสู ญเสี ยลดลงเหลือ 12.37 เปอร์ เซ็นต์ อายุการวางจาหน่ายเพิ่มขึ้นเป็ น 13.20 วัน กะหล่าปลีหวานก่อนปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีการสู ญเสี ย 24.43 เปอร์ เซ็นต์ อายุการวางจาหน่ าย 13.53 วัน หลังปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ ยวการสู ญเสี ยลดลงเหลือ 23.44 เปอร์ เซ็ นต์ อายุการวางจาหน่ ายเพิ่ มขึ้ นเป็ น 21.45 วัน ผักกาดหวานก่ อนปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บ เกี่ ย วมี การสู ญ เสี ย 25.39 เปอร์ เซ็ นต์ อายุการวางจาหน่ าย 5.98 วัน หลังปรั บปรุ งการจัด การหลังการเก็บเกี่ ย ว การสู ญ เสี ยลดลงเหลื อ 10.32 เปอร์ เซ็ นต์ อายุการวางจาหน่ ายเพิ่ ม ขึ้ นเป็ น 11.44 วัน เบบี้ ฮ่องเต้ก่อนปรั บปรุ ง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีการสู ญเสี ย 71.17 เปอร์ เซ็นต์ อายุการวางจาหน่าย 10.60 วัน หลังปรับปรุ งการจัดการ หลังการเก็บเกี่ ยวการสู ญเสี ยลดลงเหลือ 32.94 เปอร์ เซ็นต์ อายุการวางจาหน่ ายเพิ่มขึ้ นเป็ น 10.73 วัน และยอดซา โยเต้ก่อนปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ ยวมีการสู ญเสี ย 19.78 เปอร์ เซ็นต์ อายุการวางจาหน่ าย 6.75 วัน หลัง ปรับปรุ งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวการสู ญเสี ยลดลงเหลือ 3.26 เปอร์เซ็นต์ และมีอายุการวางจาหน่ายเพิ่มขึ้นเป็ น 7.50 วัน

1

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ และศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 3 ศูนย์ผลิตผลโครงการหลวงเชียงใหม่ มูลนิ ธิโครงการหลวง 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(84)

การศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็ นชุมชนคาร์ บอนตา่ และยัง่ ยืน สุมาลี เม่นสิน กัมปนาท ภักดีกลุ 2 สยาม อรุ ณศรี มรกต2 เอกณัฎฐ์ กระจ่างธิมาพร3 นายรณกร อาพันศรี 3 วธัญญู วรรณพรหม4 อลงกรณ์ งานดี4 ปานิดา สิ งห์บุญ1 และจิติมา ผลเพิ่มพูล1 *Corresponding author: Linly317@gmail.com 1*

บทคัดย่ อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกของมนุษย์เป็ นปั จจัย ส าคัญ ที่ ส่ งผลกระทบต่ อ สิ่ งแวดล้อ มและการพัฒ นาชุ ม ชนบนพื้ น ที่ สู ง การสร้ างเข้าใจและผลัก ดัน ให้ชุ มชน ปรั บ เปลี่ ยนและลดกิ จกรรมการปล่อ ยก๊าซเรื อนกระจก รวมถึ งสร้ างกลุ่มขับเคลื่ อนงานจะเป็ นแนวทางพัฒ นา ที่ยงั่ ยืนและชุมชนสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้เอง โครงการวิจยั นี้ดาเนิ นงานต่อเนื่ องเป็ นปี ที่ 3 มีวตั ถุประสงค์เพื่ อศึ กษาผลการยกระดับและพัฒนาชุ มชนโครงการหลวงให้เป็ นต้นแบบของชุ มชนบนพื้ นที่ สูง คาร์ บอนต่ าและยัง่ ยืน สรุ ปผลได้ดงั นี้ 1) ผลการยกระดับการพัฒนาจากกระบวนการขับเคลื่อนของชุมชน 12 แห่ ง 11 ศูนย์พฒั นาโครงการหลวง ให้เข้าสู่ มาตรฐาน โดยมีหน่วยงานเป็ นฝ่ ายสนับสนุน ค่าคะแนนผลการพัฒนา ระยะ 6 เดื อน (ตุ ล าคม 2560-มี น าคม 2561) อยู่ใ นช่ วง 84-65 บ้านปางบง ได้ค ะแนนสู งสุ ด ร้ อ ยละ 84 รองลงมาคื อ บ้านแม่ขนิ ลเหนื อ ศ.ทุ่งเริ ง ได้ร้อยละ 78 บ้านหนองหล่ม ส.อินทนนท์ บ้านป่ าเกี๊ ยะ ศ.แม่แฮ และบ้านห้วยน้ ากื น ศ.ห้ ว ยโป่ ง ได้ค ะแนนเท่ า กัน คื อ ร้ อ ยละ 75 ส่ ว นชุ ม ชนที่ มี ค่ า คะแนนต่ า สุ ด ร้ อ ยละ 65 คื อ บ้า นห้ ว ยห้ อ ม ศ.แม่ลาน้อย 2) ผลการจัดระดับความพร้อมในการขอยื่นรับรองมาตรฐาน โดยพิจารณาจากค่าคะแนนผลการพัฒนา และความร่ วมมือภายในชุมชน พบว่า บ้านปางบง ศ.ป่ าเมี่ยง มีความพร้อมสู งสุ ด ส่ วนชุมชน 7 แห่ ง มีความพร้อม ค่อนข้างสู ง และ 4 แห่ ง มีความพร้อมปานกลาง โดยทุกชุมชนได้จดั ตั้งกลุ่มขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนคาร์ บอนต่า ในแต่ละมิติการพัฒนา สมาชิ กส่ วนใหญ่และเจ้าหน้าที่ เข้าใจถึงขั้นตอนหลักของการตรวจประเมินผลการพัฒนา ชุมชนตามมาตรฐาน ในขณะเดียวกันชุมชนได้เริ่ มเตรี ยมการของกลุ่มคนให้ขอ้ มูล สถานที่ทากิจกรรม และเอกสาร ประกอบแล้ว และ 3) ปรับปรุ งเกณฑ์การประเมินของมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์ บอนต่าและยัง่ ยืน จนได้เกณฑ์ที่ครอบคลุมและเหมาะสมต่อการพัฒนาภูมิสังคมบนพื้นที่สูง 19 ข้อ 32 ตัวชี้ วดั ประกอบด้วย มิติการ พัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ (1) การเกษตรที่เป็ นมิตรกับสิ่ งแวดล้อม (2) การฟื้ นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ (3) การจัดการอนามัย สิ่ งแวดล้อมในชุมชน และ (4) ความเข้มแข็งของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง คาสาคัญ ชุมชนคาร์บอนต่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ โครงการหลวง การพัฒ นาอย่า งยัง่ ยืน พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยมหิ ดล 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(85)

การศึกษาการจัดการขยะและน้าเสี ยของชุมชนบนพื้นที่สูง สุมาลี เม่นสิ น1*และภัทราพร จิ๋วอยู1่ *Corresponding author : linly317@gmail.com

บทคัดย่ อ พื้นที่สูงเป็ นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งต้นน้ าที่สาคัญของประเทศไทย อย่างไรก็ตามชุมชนหลาย แห่ งบนพื้ น ที่ สู งยังบริ ห ารจัด การระบบกาจัด ขยะมู ลฝอยและน้ าทิ้ งไม่ ดี พ อจึ งปล่ อยของเสี ย ที่ เกิ ด ขึ้ น จากการ ดารงชี วิต ลงสู่ สิ่ งแวดล้อม โครงการวิจัยนี้ มีวตั ถุ ประสงค์เพื่ อศึ กษาระบบการจัด การขยะมู ลฝอยและน้ าเสี ย ที่ เหมาะสมส าหรั บ ครั วเรื อนและชุ ม ชนบนพื้ น ที่ สู ง และเพื่ อศึ กษาผลการบริ หารจัดการปั ญหาขยะมู ลฝอยและ น้ าเสี ยที่ มีประสิ ทธิ ภาพของชุมชนบนพื้นที่ สูง 12 แห่ ง สรุ ปผลการศึกษา ดังนี้ 1) ทุกชุ มชนคัดแยกขยะ 4 ประเภท หลังจากทราบวิธีการจัดการขยะตามหลักสุ ขาภิบาลที่ดี แต่ตอ้ งปรับปรุ งขั้นตอนและเพิ่มจานวนครัวเรื อนให้ปฏิบตั ิ ตามข้อตกลงของชุ มชนอยู่ ทั้งนี้ วิธีกาจัดขยะมี ท้ งั แบบรวบรวมในบ่ อขยะและเผา รวบรวมขยะและเผาในเตา หรื อส่ งให้องค์การบริ หารส่ วนตาบลจัดการต่อ เช่นเดียวกันต้องเพิ่มจานวนครัวเรื อนที่บาบัดน้ าทิ้งเบื้องต้นบริ เวณที่ ล้างจานและห้องครัวด้วยการติดตั้งถังดักไขมันต่อเชื่อมกับบ่อบึงประดิษฐ์ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ า หรื อการปล่อยน้ า ทิ้ งให้ซึ มลงในบ่ อดิ น หรื อแปลงปลู กต้น ไม้ภ ายในครั วเรื อน ผลการสุ่ มส ารวจปริ มาณขยะและการปล่ อยก๊ าซ คาร์ บอนไดออกไซด์ (CO2) ก่อนปรับระบบการจัดการขยะพบว่า ชุ มชนบ้านขอบด้ง มี ปริ มาณขยะสู งสุ ด 418.5 กิ โลกรั ม/วัน ส่ วนใหญ่ เป็ นขวดแก้ว ร้ อ ยละ 46.64 มี ค่ าการปล่ อ ย CO2 546.41 kgCO2e/kg/วัน ในขณะที่ บ้า น ห้วยข้าวลีบมีปริ มาณขยะน้อยสุ ด 12.27 กิโลกรัม/วัน โดยร้อยละ 42.55 เป็ นเศษอาหาร คิ ดเป็ นค่าการปล่อย CO2 1.39 kgCO2e/kg/วัน แต่เมื่อพิจารณาผลหลังปรับระบบการจัดการขยะเห็นได้ว่าชุมชนที่ปล่อย CO2 ลดลงมากที่สุด คือ บ้านเหล่าและบ้านห้วยน้ ากื นโดยลดลง ร้อยละ 96 และ 80 ตามลาดับ สาหรับการปรับปรุ งวิธีบาบัดน้ าทิ้งของ ครั ว เรื อ นเบื้ อ งต้น ด้ว ยการติ ด ตั้ง ถังดัก ไขมัน เชื่ อ มต่ อ กับ ระบบบึ ง ประดิ ษ ฐ์ อ ย่ า งง่ า ย (ต้น พุ ท ธรั ก ษา) ซึ่ งมี ประสิ ท ธิ ภ าพการบาบัด คุ ณ ภาพน้ าได้ดี กว่าวิธีอื่น พบว่าวิธีน้ ี ส ามารถกาจัด น้ ามันและไขมัน , ปริ มาณโปรตี น ทั้งหมด(ไนโตรเจน), ปริ มาณออกซิ เจนที่ จุลินทรี ยต์ อ้ งการใช้ในการย่อยสลายอินทรี ยส์ ารที่ มีอยู่ในน้ า และสาร แขวนลอย ออกจากน้ าล้างจานได้ดี คิ ดเป็ นค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.62, 27.72, 57.05 และ 82.14 เมื่อเที ยบตัวอย่างน้ าทิ้ง ก่อนผ่านและหลังผ่านระบบบาบัด ตามลาดับ 2) การผลักดันและสนับสนุ นให้ชุ มชนจัดตั้งกลุ่มขับเคลื่ อนงาน สิ่ งแวดล้อมส่ งผลให้หลายชุมชนเริ่ มปรับวิธีจดั การขยะมูลฝอยและน้ าทิ้งมากขึ้น เช่น บ้านห้วยน้ ากืน บ้านเหล่าและ บ้านป่ าเกี๊ยะน้อย คาสาคัญ ขยะ น้ าเสี ย การจัดการสิ่ งแวดล้อม ระบบบาบัดน้ าเสี ย พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(86)

การศึกษาชนิดไม้ ท้องถิ่นและการใช้ ประโยชน์ เพื่อการปลูกป่ าชาวบ้ าน ณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์ พิชิต ลาใย1 สมพร แม่ลิ่ม1 ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ1 กิตติศกั ดิ์ จินดาวงค์2 และกอบศักดิ์ วันธงไชย1 *Corresponding author: rdispk@ku.ac.th 1*

บทคัดย่ อ การวิจยั ครั้งนี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึ กษาชนิ ดไม้ทอ้ งถิ่นและการใช้ประโยชน์เพื่อการปลูกป่ าชาวบ้านใน พื้นที่โครงการหลวง จังหวัดเชี ยงใหม่ โดยศึกษาทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) การศึกษาเติบโตของชนิ ดที่ปลูกทดสอบ ในแต่ละระดับความสู งของพื้นที่ ต่างกัน 3 ระดับ ในพื้นที่ สูงค่อนข้างต่ า (ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่ทาเหนื อ) ได้แก่ แดง จาปี ป่ า มะขามป้ อม มะแขว่น และเกาลัด พื้นที่สูงปานกลาง (ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงทุ่งหลวง) ได้แก่ จาปี ป่ า กาลังเสื อโคร่ ง ลาพูป่า มะขามป้อม และเกาลัด และพื้นที่สูงค่อนข้างมาก (ศูนย์พฒั นาโครงการหลวงแม่แฮ) ได้แก่ จาปี ป่ า กาลังเสื อโคร่ ง ก่ อเดื อย มะขามป้ อม และเกาลัด 2) การคัดเลื อกแม่ไม้เพื่ อเก็บเมล็ดในพื้ นที่ ระดับ ความสู งต่างกัน 3 ระดับ 3) การศึกษาลักษณะเมล็ดไม้และวัสดุเพาะชาต่อการเติบโตของกล้าไม้ และ 4) การศึกษา คุณสมบัติเชิ งกลและด้านพลังงานของไม้และแนวทางการใช้ประโยชน์ไม้ ผลการศึ กษา 1) การเติ บโตของไม้อายุ 1 ปี พบว่า ชนิ ดไม้ที่มีอตั ราการรอดตายสู งกว่า 80 % ในพื้นที่ สูงค่อนข้างต่า ได้แก่ แดงและมะขามป้ อม ในพื้นที่สูงปานกลาง ได้แก่ มะขามป้อม ลาพูป่า และในพื้นที่สูงค่อนข้างมากได้แก่ มะขามป้อม กาลังเสื อโคร่ ง จาปี ป่ า และก่อเดือย ทั้งนี้ เกาลัดมีอตั ราการรอดต่ากว่าไม้ชนิ ดอื่นในทุกระดับความสู ง การเติบโตทางด้านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับชิ ดดิ น และความสู งทั้งหมด พบว่า ชนิ ดไม้ที่เติบโตได้ดีในพื้นที่สูงค่อนข้างต่าได้แก่ แดง และมะขามป้ อม พื้นที่สูงปานกลาง ได้แ ก่ ล าพู ป่ า มะขามป้ อ ม และก าลังเสื อโคร่ ง พื้ น ที่ สู งค่ อนข้างมาก ได้แ ก่ กาลังเสื อ โคร่ ง และมะขามป้ อ ม 2) การสารวจและคัดเลือกแม่ไม้ พบว่า พื้นที่โครงการหลวงแม่แฮ มีตน้ กาลังเสื อโคร่ งที่มีลกั ษณะเป็ นแม่ไม้ จานวน 4 ต้น ส่ วนทะโล้และมะแขว่น จานวน 11 ต้น และ 2 ต้น ตามลาดับ พื้นที่โครงการหลวงทุ่งหลวง พบต้นกาลังเสื อโคร่ ง และทะโล้มีลกั ษณะเป็ นแม่ไม้ จานวน 7 และ 4 ต้น ตามลาดับ ส่ วนไม้มะขามป้อม จานวน 2 ต้น และพื้นที่โครงการ หลวงแม่ทาเหนื อ พบต้นลาพูป่าและมะขามป้ อมมีลกั ษณะเป็ นแม่ไม้ จานวน 2 และ1 ต้น ตามลาดับ ส่ วนก่อเดือย ลาพูป่า และมะขามป้อม จานวน 6, 11 และ 8 ต้น ตามลาดับ 3) การทดสอบเมล็ดไม้ พบว่า เมล็ดก่อเดือย และ เมล็ด มะแขว่น มีความชื้ นเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 30.01 และ 6.72 ตามลาดับ มีความกว้างเมล็ดเฉลี่ย เท่ากับ 11.72 และ 2.22 มิลลิเมตร ตามลาดับ มีความยาวเมล็ดเฉลี่ย เท่ากับ 13.55 และ 2.72 มิลลิเมตร ตามลาดับ มีความหนาเฉลี่ยเท่ากับ 11.00 และ 2.19 มิลลิเมตร ตามลาดับ มีน้ าหนักเฉลี่ย เท่ากับ 858.75 และ 6.36 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด ตามลาดับ และ มีอตั ราการงอกในช่ วงระยะเวลา 30 วัน เฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 18.00 และ 14.75 ตามลาดับ สาหรับการผลิตกล้าไม้ ในช่วง 3 เดือนแรก พบว่า กล้าก่อเดือย และ กล้า มะแขว่น ที่เพาะชาในดินป่ าไม้มีการเติบโตดีกว่าดินป่ าไม้ผสมขุย มะพร้าว และดิ นป่ าไม้ผสมแกลบและขี้เถ้า และ 4) การทดสอบคุณสมบัติไม้ พบว่า ทะโล้ เป็ นไม้ที่มีเนื้ อแข็งปานกลาง มีความทนทานตามธรรมชาติต่า ถ้าทาการรักษาเนื้ อไม้ดว้ ยสารเคมีกส็ ามารถใช้ประโยชน์เป็ นโครงสร้างรับแรงได้ ส่ วนกาลังเสื อโคร่ งและมะแขว่น เป็ นไม้เนื้ ออ่อน มี ค วามทนทานตามธรรมชาติ ต่ าไม่เหมาะแก่ การใช้เป็ นไม้ โครงสร้ างรับแรง แต่ ส ามารถใช้ผลิ ต เป็ นเฟอร์ นิเจอร์ ของที่ ระลึ กได้ แต่ ตอ้ งผ่านการรั กษาเนื้ อไม้ดว้ ยสารเคมี สาหรับไม้ฟืน พบว่า ทะโล้ มะแขว่น และกาลังเสื อโคร่ ง ให้ค่าพลังงานความร้อน 4,565.43 4,610.63 และ 4,522.53 แคลอรี ต่อกรัม ตามลาดับ คาสาคัญ ป่ าชาวบ้าน ไม้ทอ้ งถิ่น การเติบโต แม่ไม้ เมล็ดไม้ วัสดุเพาะชา คุณสมบัติไม้ ไม้ฟืน 1

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ งานป่ าไม้ โครงการหลวง

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(87)

การศึกษาชนิด/พันธุ์ไม้ สนเพื่อปลูกเป็ นสวนป่ าและการอนุรักษ์ ในพื้นที่โครงการหลวงวัดจันทร์ กอบศักดิ์ วันธงไชย1*, สมพร แม่ลิ่ม1, ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ1, พิชิต ลาไย1, ณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์1, พรรษชล หนูเทพ1, กิตติ ศักดิ์ จินดาวงค์2, อาไพ พรลีแสงสุ วรรณ์3, และ สมชาย นองเนือง3 * Corresponding author : fforksw@ku.ac.th

บทคัดย่ อ โครงการนี้ มีวตั ถุประสงค์ เพื่ อศึกษาศักยภาพ และสถานภาพของไม้สนพื้นเมือง และสนต่างถิ่นในด้าน โครงสร้าง กาลังผลิต สมบัติไม้ รู ปแบบการใช้ประโยชน์ ความต้องการใช้ไม้ ในบริ เวณศูนย์พฒั นาโครงการหลวง วัดจันทร์ (หน่วยย่อยห้วยงู) อ.กัลยาณิ วฒั นา จ.เชียงใหม่ มีระยะเวลาทั้งสิ้ น 5 ปี ผลการศึกษาในปี ที่ 1 โดยสรุ ป ดังนี้ ผลการทดลองเบื้ องต้นเมื่อไม้สนมีอายุได้ 1 ปี พบว่าไม้สนต่างถิ่นมีอตั ราการเติ บโตและอัตราการรอดตายดี กว่า ไม้ส นพื้ นเมื อง ส่ วนสนสองใบยังอยู่ในระยะ grass stage จึ งไม่มีความเพิ่ มพูนทางความสู ง เมื่ อเปรี ยบเที ยบกัน ระหว่า งไม้ส นต่ า งถิ่ น ด้ว ยกัน แล้ว สนโอคาร์ ป า และสนเทคู นู ม านี่ มี ก ารเติ บ โตที่ ดี ก ว่ า สนคาริ เบี ย ในด้า น การติดตามการเจริ ญทดแทนของไม้สนสองใบในป่ าธรรมชาติพบว่าขึ้นอยู่กบั ระดับความหนาแน่นของหมู่ไม้เดิ ม เป็ นสาคัญโดยในระยะเวลา 1 ปี ที่ ผ่านมาความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้ นมาจากการเติ บโตจากลูกไม้เป็ นไม้หนุ่ มและ ไม้ใหญ่ ในด้านวนวัฒนวิธีเพื่อการจัดการสวนป่ าสนคาริ เบียพบว่าการตัดขยายระยะในทุกระดับความเข้มข้นมีผล ต่ ออัตราการเติ บโตของไม้ที่เหลื ออย่างมี นัยส าคัญ ในด้านข้อมูลพื้ นฐานในแปลงเกษตรกรผูเ้ ข้าร่ วมโครงการ ส่ งเสริ มปลูกไม้สน พบว่าสังคมพืชส่ วนใหญ่เป็ นป่ าสนผสมไม้ยางพลวงเป็ นหลักโดยมีโครงสร้างป่ าที่ไม่แน่นทึบ มากสามารถนากล้าไม้สนต่ างถิ่ นไปปลูกได้ ซึ่ งจะต้องทาการกาหนดจุดปลูกและวิธีการปลูกและดู แลในแต่ ละ แปลงในรายละเอียดต่อไป คาสาคัญ ชนิดพันธุ์ไม้สน การเจริ ญทดแทนตามธรรมชาติ โครงการหลวงวัดจันทร์

1

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิโครงการหลวง 3 ศูนย์วนวัฒนวิจยั ภาคเหนือ สานักวิจยั การจัดการป่ าไม้และผลิตผลป่ าไม้ กรมป่ าไม้ 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(88)

การฟื้ นฟูและใช้ ประโยชน์ ทรัพยากรป่ าไม้ อย่ างยั่งยืนภายใต้ กระบวนการมีส่วนร่ วม ของชุมชนบ้ านวัดจันทร์ นิตยา เมี้ยนมิตร1*, รัชนี โพธิแท่น1 และ กอบศักดิ์ วันธงไชย1 *Corresponding author : ffornym@ku.ac.th

บทคัดย่ อ การวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการฟื้ นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่ าไม้อย่างยัง่ ยืนภายใต้ กระบวนการมีส่วนร่ วม มีพ้ืนที่ เป้ าหมายสามหมู่บา้ น ในตาบลบ้านจันทร์ อาเภอกัลยาณิ วฒั นา จังหวัดเชี ยงใหม่ ได้แก่ บ้านวัดจันทร์ -ห้วยอ้อ บ้านแจ่มน้อย และบ้านเด่น ใช้การวิจยั เชิ งปฏิ บตั ิ การอย่างมีส่วนร่ วมเป็ นแนวทาง หลักร่ วมกับการเก็บข้อมูลเชิ งปริ มาณด้วยแบบสัมภาษณ์ จานวน 377 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสามหมู่บา้ น ยังคงมีการพึ่งพิงทรัพยากรป่ าไม้ในสัดส่ วนที่สูงโดยเฉพาะการเป็ นแหล่งไม้ใช้สอย ไม้ฟืน เก็บหาของป่ า และพื้นที่ เลี้ยงสัตว์ แม้นชุมชนจะมีการดูแลรักษาทรัพยากรป่ าไม้พ้ืนที่ มาอย่างต่อเนื่ อง แต่ยงั มีปัญหาพันธุ์ไม้คุณภาพดี ใน การใช้สอยและเป็ นไม้ฟืนลดจานวนลง กฎกติกาที่เป็ นจารี ตประเพณี ในการใช้ประโยชน์และดูแลจัดการป่ าเริ่ มลด ความสาคัญ การบังคับใช้กฎหมายป่ าสงวนแห่ งชาติเริ่ มเข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ ได้ร่วมกันกาหนดแนวทางในการฟื้ นฟู พื้นที่ป่าไม้ ดังนี้ 1) การฟื้ นฟูป่าใช้สอยของหมู่บา้ นและป่ าหัวไร่ ปลายนาของครัวเรื อน เช่น การส่ งเสริ มการปลูกไม้ สน ไม้ใช้สอยชนิดอื่นๆ 2) การติดตามผลกระทบจากการป้องกันไฟป่ าในพื้นที่ที่อยูใ่ นความดูแลของชุมชน 3) การ เสริ มสร้างศักยภาพของชุ มชนในการบังคับใช้กฎระเบี ยบ/ข้อตกลงในการใช้ประโยชน์จากป่ าในด้านต่างๆ ของ หมู่บา้ น และ 4) การสร้างการมีส่วนร่ วมในการฟื้ นฟูป่าต้นน้ าของหมู่บา้ น พร้อมทั้งกาหนดแปลงเกษตรกร จานวน 3 ราย ในพื้ นที่ ต าบลบ้านจันทร์ เพื่ อ เป็ นแหล่ งเรี ยนรู ้ แ ละจุ ด เริ่ มต้นในการขยายแนวคิ ด การฟื้ นฟู และอนุ รั กษ์ ทรัพยากรป่ าไม้สู่ชุมชน คาสาคัญ การมีส่วนร่ วมของประชาชน การฟื้ นฟูป่าไม้ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่ าไม้อย่างยัง่ ยืน บ้านวัดจันทร์

1

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(89)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้ านบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 2 : การศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพร สุนีย ์ จันทร์สกาว1 ณัฏฐกานติ์ จิรัณธนัฐ2 ปริ รัตน์ คนสูง2 ปราโมทย์ ทิพย์ดวงตา1 จักรพันธ์ จุลศรี ไกวัล1 แพรภคภร กุลนาจา3 กาญจนา ใจจ้อย4 สี วบูรณ์ สิ รีรัฐวงศ์/2 *Corresponding author : chsunee@gmail.com

บทคัดย่ อ สั งหยู เป็ นพื ช ที่ มี ป ระวัติ การใช้ต ามภู มิ ปั ญ ญาบนพื้ น ที่ สู งในการใช้ร ากและใบเพื่ อ บ ารุ งก าลัง และ ขับสารพิ ษจากร่ างกาย ซึ่ งพื ชที่ เรี ยกว่าสังหยูมีสองชนิ ดที่ แตกต่ างกัน (สังหยูใบเขี ยวและสังหยูใบแดง) ตามภู มิ ปั ญญาดั้งเดิมของชุมชนบนพื้นที่สูงใช้ประโยชน์จากรากสังหยู ซึ่ งการพัฒนาเป็ นผลิตภัณฑ์เชิ งพาณิ ชย์จาเป็ นต้อง ใช้เป็ นวัตถุดิบในปริ มาณมาก หากสามารถใช้ส่วนอื่นของต้นทดแทนจะสามารถใช้ประโยชน์จากต้นสังหยูได้อย่าง ยัง่ ยืนร่ วมกับป่ าโดยไม่กระทบหรื อทาลายต้นแม่ และสามารถให้ผลผลิตได้รวดเร็ วกว่าจากการปลูก การศึ กษานี้ จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสารสาคัญที่มีฤทธิ์ ทางชี วภาพจากส่ วนต่าง ๆ ของสังหยู ชนิดใบเขียวและใบแดง ตัวอย่าง สังหยูท้ งั สองชนิ ด ในส่ วนต่ าง ๆ ได้แก่ ราก ใบ ลาต้นหรื อกิ่ งขนาดใหญ่ นามาลดขนาด อบให้แห้ง บดเป็ นผง จากนั้นนามาสกัดด้วยตัวทาละลายชนิดต่าง ๆ (เฮกเซน เอทิลอะซี เตท แอลกอฮอล์ และน้ า) ด้วยวิธีการสกัดต่อเนื่อง หรื อวิธีการต้ม จากนั้นทาให้แห้ง สารสกัดที่ ได้มี 15 ตัวอย่าง นาไปทดสอบการเกิ ด apoptosis จากผลการทดลอง พบว่ า ที่ ค วามเข้ม ข้น 100 µg/mL สารสกัด หมายเลข 5 และ 11 ให้ ผ ลการเกิ ด apoptosis ที่ ดี โดยเห็ น ทั้ง early apoptosis และ late apoptosis โดยสารสกัดส่ วนที่ 5 เหนี่ยวนาให้เซลล์เกิดการตายแบบ early apoptosis โดดเด่นกว่า สารสกัดอื่น ดังนั้นในการศึกษาต่อไป สารสกัดส่ วนที่ 5 และส่ วนที่ 11 จะนามาแยกด้วยเทคนิ คทางโครมาโทกราฟี เละติดตามส่ วนที่ให้ฤทธิ์ ที่ดีที่สุดต่อไป คาสาคัญ สังหยูใบเขียว สังหยูใบแดง การสกัด apoptosis analysis

1

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 คณะเทคนิ คการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(90)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 1 : การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ ป้องกันกาจัดโรคราสี เทาของพริกหวาน สุมาลี เม่นสิ น1*และอุษา รวมสุข1 *Corresponding author : Linly317@gmail.com

บทคัดย่ อ รา Botrytis cinerea หรื อราสี เทา เป็ นเชื้ อสาเหตุ ทาให้ต ้นและผลพริ กหวานแสดงอาการเน่ า ส่ งผลให้ ปริ มาณและคุ ณ ภาพผลผลิ ตพริ กหวานบนพื้ นที่ สูงลดลงอย่างมากโดยเฉพาะช่ วงฤดู ฝน การใช้ชีวภัณ ฑ์เกษตร ป้ อ งกัน ก าจัด โรคพื ช เป็ นทางเลื อ กที่ ดี ในการสร้ า งความปลอดภัย จากสารเคมี ใ ห้ กับ เกษตรกร ผลิ ต ผล และ สิ่ งแวดล้อม ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 จึ งเริ่ มวิจยั และพัฒ นาชี วภัณ ฑ์ป้องกันกาจัดโรคราสี เทาของพริ กหวาน สรุ ปผลดังนี้ เชื้ อแบคทีเรี ย 262 ไอโซเลต ถูกแยกจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง 51 ชนิด ดินบริ เวณรากต้นพืชและปุ๋ ย 29 ตัวอย่าง เมื่ อนามาทดสอบประสิ ทธิ ภาพการยับยั้งการเจริ ญของเชื้ อราโดยวิธี Dual culture ในห้องปฏิ บตั ิ การ พบว่า เชื้ อ แบคที เรี ยปฏิ ปักษ์ ไอโซเลท 28 และ 98 มี ประสิ ทธิ ภ าพควบคุ มเชื้ อราสาเหตุ โรคสู งถึ ง 90 และ 80 เปอร์ เซ็นต์ ต่อมาได้คดั เลือกสู ตรอาหารเลี้ยงเชื้ อชนิ ดเหลวและสภาวะที่เหมาะสมต่อการเพิ่มปริ มาณเชื้ อแบคทีเรี ย ดังกล่าว ประกอบด้วย ค่าความเป็ นกรดด่าง (pH) ในอาหารเลี้ยงเชื้ อ และระยะเวลาการเลี้ยงเชื้อ ผลการศึกษาแสดง ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรี ยปฏิปักษ์ท้ งั 2 ไอโซเลท เจริ ญเติบโตได้ดีในอาหารสู ตรแป้ งถัว่ เหลือง pH 6 เลี้ยงเชื้อนาน 72 ชัว่ โมง ให้ปริ มาณเชื้ อสู งสุ ด 1.30×1010 และ 9.30×1010 cfu/ml ไม่แตกต่างอย่างมีนยั สาคัญที่ 95% กับอาหารสู ตร เมล็ดถัว่ เหลือง ปริ มาณเชื้ อเข้มข้น 6.30×1010 และ 3.30×1010 cfu/ml ตามลาดับ โดยมีตน้ ทุนวัตถุดิบของค่าอาหาร เลี้ยงเชื้อ 5.36 และ 3.26 บาทต่อลิตร คาสาคัญ ราสี เทา พริ กหวาน ลาต้นเน่า ผลเน่า พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(91)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 2 : การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ ป้องกันกาจัดโรคแผลเน่ าของอาโวกาโด สุมาลี เม่นสิ น1* และวิจิตรา บุรุษภักดี1 *Corresponding author: Linly317@gmail.com

บทคัดย่ อ เกษตรกรผูป้ ลูกอาโวกาโดบนพื้ นที่ สู งหลายแห่ งประสพปั ญ หาอาการแผลเน่ าบริ เวณโคนและลาต้น ในขณะเดี ยวกันการใช้สารเคมี มีความเสี่ ยงที่ สารพิ ษจะสะสมในร่ างกายเกษตรกรและผลิ ตผล ปั จจุบนั ชี วภัณฑ์ เกษตรได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่ องจากมีความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อม โครงการวิจยั นี้ เป็ นงาน ต่อเนื่องปี ที่ 2 จึงมีวตั ถุประสงค์เพื่อหาวิธีการใช้ตน้ แบบชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโคนเน่ารากเน่าของอาโวกาโด สรุ ปดังนี้ (1) ต้นแบบชี วภัณฑ์แบบผงที่ผลิตจากแบคที เ รี ย ปฏิ ปักษ์ ไอโซเลท SDF ซึ่ งใช้อาหารเลี้ยงเชื้ อสู ตรกากน้ าตาลผสม แร่ ธาตุและวัสดุรองรับหัวเชื้อสู ตรแป้งสาลี มีอตั ราการใช้เบื้องต้นที่สามารถยับยั้งการเจริ ญของเส้นใยเชื้อสาเหตุโรคดีที่สุด คือ 200 และ 250 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ 95% กับการใช้ 150 กรัม และ 300 กรัม โดยเปอร์ เซ็ นต์การยับยั้งมี ค่า 72.6, 72.6, 71.8 และ 71.8 ตามลาดับ (2) ผลการฉี ดต้นแบบชี วภัณฑ์เข้าต้นอาโวกาโด ที่ แสดงอาการในแปลงปลูกของเกษตรกร เปรี ยบเที ยบอัตราการใช้พบว่า อัตรา 150 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร ฉี ดทุก 14 วัน ควบคุมโรคได้สูงสุ ด อาโวกาโดแสดงอาการแผลเน่าที่โคนและลาต้น 40 เปอร์ เซ็นต์ เท่ากับการใช้สารฟอสโฟนิ คแอซิ ด ตามคาแนะนา เมื่อคิดเป็ นต้นทุนการใช้ตน้ แบบชี วภัณฑ์มีค่า 3.97 บาทต่อต้นต่อฤดูการ ต่ากว่าการใช้สารฟอสโฟนิ ค แอซิ ด คาสาคัญ ผลิ ต ภัณ ฑ์ชี ว ภาพเกษตร ชี ว ภัณ ฑ์ป้ อ งกัน กาจัด ศัต รู พื ช อาโวกาโด พื้ น ที่ สู ง โรคแผลเน่า

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(92)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 4 : การศึกษาและทดสอบประสิ ทธิภาพผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากผลงานวิจยั แบบมีส่วนร่ วมของเกษตรกร สุมาลี เม่นสิ น1* และวราภรณ์ พรหมศร1 *Corresponding author : Linly317@gmail.com

บทคัดย่ อ การทดสอบประสิ ทธิ ภาพต้นแบบผลิ ตภัณฑ์ในแปลงปลู กพื ชร่ วมกับเกษตรกรบนพื้ นที่ สู งเป็ นขั้นตอน สุ ดท้ายของการพัฒนาสารชี วภัณฑ์และสารทดแทนสารเคมี เกษตร ทางเลื อกหนึ่ งของการทาเกษตรที่ เป็ นมิ ตรกับ สิ่ งแวดล้อม โครงการวิจัยนี้ มี วตั ถุ ประสงค์เพื่ อประเมิ นประสิ ทธิ ภาพและความพึ งพอใจของเกษตรกรต่ อการใช้ ผลิ ตภัณฑ์จากผลงานวิจยั 2 ชนิ ด สรุ ปผลดังนี้ 1) การใช้ชีวภัณ ฑ์ ประกอบด้วย สารไล่แมลงสู ตรครี มและเชื้ อรา สาเหตุในแปลงปลูกถัว่ แขกระบบ GAP สามารถป้ องกันกาจัดแมลงวันเจาะลาต้นถัว่ ดี กว่ากรรมวิธีอื่น โดยเฉพาะ หลังการใช้ต้ งั แต่ สัปดาห์ที่ 6 แตกต่ างกันอย่างมี นยั สาคัญทางสถิติกบั วิธีการของเกษตรกรที่ ฉีดพ่นสารเคมีซ่ ึ งพบ จานวนต้นถัว่ แขกถูกทาลายเฉลี่ย 4.44 ต้น นอกจากนี้ ตน้ ทุนการใช้ชีวภัณฑ์ (85.89 บาท) ในพื้นที่ ทดสอบ 1 งาน ระยะ 6 สัปดาห์ ยังมีค่าต่ ากว่าวิธีการของเกษตรกรด้วย (266 บาท) อย่างไรก็ตามการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันความเสี ยหายจาก แมลงวันเจาะลาต้นถัว่ ในแปลงปลูกถัว่ แขกระบบเกษตรอินทรี ยซ์ ่ ึ งระบาดหนักในปี ที่ ผ่านมาให้ผลไม่เป็ นที่ น่า พอใจ เช่ นเดี ยวกับวิธีการของเกษตรกร 2) การใช้ต น้ แบบสารล่อ ดึ ง ดู ด แมลงที่ ผ สมใน paraffin gel ร่ ว มกับ กับดักกาวเหนี ยวแบบครอสจากผลงานวิจยั ช่ วยลดจานวนด้วงหมัดผักแถบลายในแปลงปลูกผักกาดขาวปลีของ เกษตรกรดีที่สุดโดยจานวนด้วงหมัดผักที่ติดกับดักแบบสะสมนับได้สูงสุ ด 26,042 ตัว (ระยะติ ดตั้ง 28 วัน) ส่ งผล ให้เกษตรกรมี ความพึ งพอใจต่ อการใช้สูงมาก คาสาคัญ สารไล่ แ มลงเชื้ อ ราสาเหตุ โ รคแมลง แมลงวัน เจาะลาต้น ถั่ว ชี ว ภัณ ฑ์ พื้ น ที่ สู ง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จังหวัดเชี ยงใหม่ 50200


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(93)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 6 : การศึกษาและคัดเลือกสารดึงดูดเพลีย้ ไฟของเบญจมาศ

จิราพร กุลสาริ น1* อภิวฒั น์ ธี รวุฒิกุลรักษ์2 และ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ 1 *Corresponding author: j.tayuti@gmail.com บทคัดย่ อ งานวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อลดการใช้สารเคมีในแปลงปลูกเบญจมาศบนพื้นที่สูง โดยศึกษาและคัดเลือก สารที่มีฤทธิ์ ดึงดูดเพลี้ยไฟจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และสกัดสารด้วยน้ า และเอทานอล จากพืชอาหาร ของเพลี้ยไฟ เพื่อใช้ทดสอบหาสารออกฤทธิ์ หลัก โดยแบ่งสารที่วิเคราะห์ได้จากพืชอาหารเป็ นกลุ่มสารสังเคราะห์ เลียนแบบธรรมชาติ ซึ่ งจากการนาไปทดสอบดึงดูดเพลี้ยไฟ พบว่า สารผสม (Methyl isonicotinate (MI) + Sabinene + Caryophyllene) ในสัดส่ วน 8 : 4 : 1 มีแนวโน้มให้ผลการดึ งดูดเพลี้ยไฟได้มากกว่าสารชนิ ดอื่นอย่างมีนยั สาคัญ ทางสถิติ (P<0.05) โดยดึงดูดเพลี้ยไฟได้ 43.89 เปอร์เซ็นต์ ส่ วนสารที่สกัดได้จากพืชอาหารเป็ นกลุ่มสารธรรมชาติ ได้แก่ สารละลายดอกเก๊กฮวยสดสี เหลื องสกัดด้วยน้ า และสารสกัดดอกเก๊กฮวยสดสี เหลืองสกัดด้วยเอทานอล ซึ่ งจากการทดสอบ พบว่า สารละลายปริ มาณ 5 หยด ที่ ได้จากดอกเก๊กฮวยสดสี เหลืองสกัดด้วยน้ า ให้ผลการดึ งดูด เพลี้ยไฟมากที่สุด 61.54 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อคัดเลือกสารผสม (MI + Sabinene + Caryophyllene) และสารละลายดอก เก๊กฮวยสดสี เหลืองสกัดด้วยน้ า มาทาการเปรี ยบเที ยบประสิ ทธิ ภาพ พบว่าสารละลายปริ มาณ 5 หยด ที่ ได้จากดอก เก๊ กฮวยสดสี เหลื องสกัดด้วยน้ า ให้ผ ลการดึ งดู ด เพลี้ ย ไฟดี ที่สุ ด ที่ 75.00 เปอร์ เซ็ น ต์ จากนั้น น ามาผลิ ต ต้น แบบ ผลิ ต ภัณ ฑ์ ส ารดึ ง ดู ด เพลี้ ยไฟโดยเติ ม สารรั ก ษาสภาพ vitamin E ความเข้ม ข้ น 1 เปอร์ เซ็ น ต์ โดยน้ าหนั ก และใช้ paraffin gel เป็ นตัวกลางชะลอการระเหยของสาร ร่ วมกับกับดักแบบขวดน้ าพลาสติก ซึ่ งมีแนวโน้มในการ นาไปพัฒนาเป็ นผลิตภัณฑ์ตน้ แบบกับดักเพลี้ยไฟที่เข้าทาลายเบญจมาศบนพื้นที่สูงต่อไปได้ คาสาคัญ สารดึงดูด เพลี้ยไฟ กับดัก สารละลายดอกเก๊กฮวยสดสี เหลือง

1

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(94)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง โครงการย่ อยที่ 9 : การวิจยั และพัฒนาชีวภัณฑ์ ป้องกันกาจัดโรคราสี เทา (Botrytis) ของกุหลาบ เกวลิน คุณาศักดากุล1 ชฎาพร ไชยลังกา 1 พรสวรรค์ อุ่นศิลป์ 1 และศิริมาศ ชัยชม2 * Corresponding auther : kaewalin.k3@gmail.com

บทคัดย่ อ จากการสารวจการระบาดของโรคราสี เทาบนพื้ นที่ เพาะปลูกกุหลาบของมูลนิ ธิโครงการหลวง 4 แห่ ง ได้แก่ สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง สถานี เกษตรหลวงอินทนนท์ สถานี เกษตรหลวงปางดะ และศูนย์พฒั นาโครงการหลวง ทุ่ ง เรา พบการระบาดของโรคราสี เทาในทุ ก พื้ น ที่ โ ดยมี ก ารเกิ ด โรคแตกต่ า งกัน ในช่ ว งร้ อ ยละ 0.17- 16.67 เมื่ อนาช่ อดอกที่ เป็ นโรคมาแยกเชื้ อด้วยวิธี tissue transplanting และทดสอบความสามารถการเกิ ดโรค พบเชื้ อรา Botrytis cinerea เป็ นเชื้ อสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้อย่างรุ นแรง และเมื่อนาเชื้ อ Endophytic actinobacteria (EA) และเชื้ อยีสต์ที่แยกและรวบรวมได้ จานวน 160 ไอโซเลท นามาทดสอบประสิ ทธิ ภาพยับ ยั้งเชื้ อราสาเหตุ โรคราสี เทาด้วยวิธี dual culture พร้อมทั้งทดสอบการป้ องกันโรคบนใบ กลี บดอก และช่ อดอกของกุหลาบพันธุ์ Avalanche สามารถคั ด เลื อ กเชื้ อ EAไอโซเลท CEN26 และเชื้ อ ยี ส ต์ ไอโซเลท CHY2 ที่ ส ามารถยับ ยั้ง การสร้ างสปอร์ ราสี เทาและลดการแสดงอาการของโรคบนช่ อดอกได้มากกว่า 75 % และจากการทดสอบสู ต ร อาหารที่ มีประสิ ทธิ ภาพในการเพิ่มปริ มาณของเชื้ อปฏิ ปักษ์ท้ งั สองชนิ ด ที่ มีความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ปั จจัย ได้แก่ สู ตรอาหาร และค่าความเป็ นกรด-ด่าง (pH) พบว่าการเลี้ยงเชื้ อ CEN26 ในสู ตรอาหาร International Streptomyces Project- 2 (ต้นทุนวัตถุดิบ = 68 บาท) ที่ มีค่าความเป็ นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 7 สามารถเพิ่มปริ มาณเชื้ อได้ เท่ากับ 6.2 × 109 cfu/ml จากค่าความเข้มข้นเริ่ มต้น เท่ากับ 2.1 × 105 cfu/ml และพบว่าการเลี้ยงเชื้ อ CHY2 ในสู ตรอาหาร Nutrient broth (ต้นทุ น วัตถุ ดิ บ = 32 บาท) ที่ มีค่าความเป็ นกรด-ด่ าง (pH) อยู่ที่ 6.8 สามารถเพิ่ มปริ มาณเชื้ อได้ เท่ า กับ 1.6 × 1010 cfu/ml จากค่ า ความเข้ มข้ น เริ่ มต้ น เท่ ากับ 1.9 × 105 cfu/ml โดยมี ร ะยะเวลาที่ เหมาะสมต่ อ การเลี้ยงเพิ่มปริ มาณอยู่ที่ 7 วัน การเก็บรักษา stock ในส่ วนของเชื้ อ Endophytic actinobacteria ไอโซเลท CEN26 สามารถเก็บรักษาได้ 2 รู ปแบบ ได้แก่ เก็บบนอาหารวุน้ เอียงที่ปิดปากหลอดแก้วด้วยพาราฟิ น แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซี ยส และเก็บ ในสภาพแห้งบนกระดาษกรองนึ่ งฆ่ าเชื้ อ การเก็บรั กษา stock ของเชื้ อยีส ต์ป ฏิ ปักษ์ ไอโซเลท CHY2 ได้ 2 รู ปแบบ ได้แ ก่ เก็ บ รั ก ษาในน้ ากลั่น ปลอดเชื้ อ และเก็ บ รั ก ษาเชื้ อ ในจุ ก แก้ว เล็ ก ๆ (glass beads) ที่ผสม 15 % glycerol เพื่อใช้ในการผลิตชีวภัณฑ์ต่อไป คาสาคัญ กุหลาบ ราสี เทา ชีวภัณฑ์ป้องกันและกาจัดศัตรู พืช เชื้อราโบทรัยทีส การควบคุมด้วยชีววิธี 1

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช มูลนิธิโครงการหลวง

2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(95)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากภูมปิ ัญญาท้ องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการย่ อยที่ 2 : การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้นแบบสาหรั บแม่ และเด็ก วริ นทร รักษ์ศิริวณิ ช1* และ ชนากาณ ศรี เมือง1 Corresponding author: warintorn.ruksiri@hotmail.com

บทคัดย่ อ โครงการวิ จัยนี้ มุ่ งพัฒ นาผลิ ต ภัณ ฑ์ต ้น แบบส าหรั บแม่ แ ละเด็ก ที่ มีส่ วนผสมจากพื ช บนพื้ น ที่ สู ง และ สามารถนาไปต่อยอดในเชิงพาณิ ชย์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ ามันบารุ งผิวสาหรับแม่และเด็ก ผลิตภัณฑ์ทาผื่นผ้าอ้อมในเด็ก และผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการหัวนมแตกสาหรับมารดาให้นมบุตร จากการทบทวนวรรณกรรม น้ ามันจากพืชบน พื้นที่ สูงชนิ ดต่าง ๆ เช่ น น้ ามันอาโวกาโด น้ ามันงาขี้ มอ้ น น้ ามันราข้าว น้ ามันมะกอก น้ ามันมะพร้าว และน้ ามัน มะแตก เป็ นต้น เพื่อคัดเลือกมาใช้ในตารับ และศึกษาสมบัติพ้ืนฐานของน้ ามันที่ คดั เลือก ความเข้ากันได้ในตารับ และปั ญหาการเหม็นหื นของน้ ามันที่จะส่ งผลต่อการพัฒนาตารับ จากนั้นจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ตน้ แบบสาหรับแม่และ เด็ก ทั้ง 3 ชนิ ด โดยคานึ งถึงประสิ ทธิ ภาพการให้ความชุ่มชื้ นแก่ผิวหนัง ไม่ระคายเคือง โดยมีลกั ษณะภายนอกของ ตารับใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่มีจาหน่ายในท้องตลาด เช่น สี ความใส ความหนืด และทดสอบความคงตัวของตารับ โดยทดสอบที่ สภาวะต่างๆ และทดสอบประสิ ทธิ ภาพผลิตภัณฑ์ตน้ แบบที่พฒั นาขึ้ นในระดับห้องปฏิบตั ิ การ เช่ น ประสิ ทธิ ภาพการให้ความชุ่มชื้ นแก่ผิวหนัง ประสิ ทธิ ภาพการกันน้ า ประสิ ทธิ ภาพการล้างออก จากนั้น จึงทดสอบ การแพ้และทดสอบความพึ งพอใจในอาสาสมัคร เปรี ย บเที ยบกับ ผลิ ตภัณ ฑ์สาหรับแม่และเด็กชนิ ดเดี ยวกันที่ มี จาหน่ ายในท้องตลาด ได้ผลิตภัณฑ์ตน้ แบบ 3 ประเภท ซึ่ งมีลกั ษณะ คุณสมบัติ และประสิ ทธิ ภาพการให้ความชุ่ ม ชื้นแก่ผิวหนัง ประสิ ทธิ ภาพการกันน้ า ประสิ ทธิ ภาพการล้างออก คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด มีความคงตัว ดี ในทุ ก สภาวะ และได้รั บ ความพึ งพอใจโดยรวมในอาสาสมัค รในเกณฑ์ดี ม าก โดยไม่ ก่ อให้ เกิ ด การแพ้ใ น อาสาสมัคร คาสาคัญ ผลิตภัณฑ์น้ ามันบารุ งผิวสาหรับแม่และเด็ก ผลิตภัณฑ์ทาผื่นผ้าอ้อมในเด็ก ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการหัวนมแตก สาหรับมารดาให้นม

1*

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(96)

ชุดโครงการย่ อยภายใต้ ชุดโครงการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากภูมปิ ัญญาท้ องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการย่ อยที่ 3 : การวิจยั และพัฒนาต้ นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสุ ขภาพสาหรับผู้สูงอายุ กนกวรรณ เกียรติสิน1* , รังษินี พงษ์ประดิษฐ1 , ศศิธร ศิริลุน1 , จุฑามาศ เจียรนัยกุลวานิช1 , อารยา ไรวา1 , รัตติรส คนการณ์1 และ วรรธิดา ชัยญาณะ1 *Corresponding author : ppp_pook@hotmail.com

บทคัดย่ อ ประเทศไทยกาลังก้าวเข้าสู่ สังคมผูส้ ู งอายุ และมีแนวโน้มของโรคอัลไซเมอร์ เพิ่ มสู งขึ้ น กอปรกับสังคม ปัจจุบนั ที่นิยมบริ โภคผลิตภัณฑ์เสริ มอาหารจากสมุนไพร อีกทั้งยังมีงานวิจยั ก่อนหน้านี้ ที่พบว่า ชาเมี่ยง (Camellia sinensis var. assamica) และงาขี้ มอ้ น (Perilla frutescens (Linn.) Britton) มีฤทธิ์ ที่ดีในการยับยั้งการเกิ ดโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นโครงการนี้ จึงมีวตั ถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสุ ขภาพจากชาเมี่ยง และน้ ามันงาขี้มอ้ น สาหรับผูส้ ู งอายุ ซึ่ งจะเป็ นการพัฒนาต่อยอดพืชทั้ง 2 ชนิ ดเพื่อเป็ นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริ ง โดยได้ทาการสกัดชาเมี่ยงด้วย 95% เอทานอลด้วยวิธีการหมัก และทาการสกัดน้ ามันงาขี้มอ้ นด้วยวิธีการสกัดเย็น หลังจากนั้นทาการศึกษาฤทธิ์ ในการยับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรส ฤทธิ์ ยับยั้งการเกิดออกซิ เดชันของกรด ไขมัน และฤทธิ์ ยับ ยั้งการเกาะกลุ่มของแอมัลลอยด์ เบต้า ของผงชาเมี่ ยง สารสกัดชาเมี่ ยง และน้ ามันงาขี้ มอ้ น ทาการวิเคราะห์หาปริ มาณฟิ นอลิครวมของสารสกัดชาเมี่ยง วิเคราะห์หาปริ มาณสารสาคัญและค่า peroxide value ในน้ ามันงาขี้มอ้ น และศึกษาสมบัติต่างๆก่อนการตั้งตารับผลิตภัณฑ์ของแกรนูลที่มีผงชาเมี่ยง สารสกัดชาเมี่ยง และ น้ ามันงาขี้ มอ้ น จากการศึ กษาพบว่าร้อยละผลผลิ ตของสารสกัดชาเมี่ ยงเท่ ากับ 0.72 ปริ มาณฟิ นอลิ ครวมเท่ ากับ 59.564 mg gallic acid equivalence ต่อ 1 กรัมสารสกัด ในส่ วนของน้ ามันงาขี้มอ้ นพบว่าประกอบไปด้วย โอเมก้า-3 ร้อยละ 69.83 โอเมก้า-6 ร้ อยละ 15.83 และ โอเมก้า-9 ร้ อยละ 8.75 จากผลการวิเคราะห์ ค่า peroxide value ของ น้ ามันงาขี้ มอ้ นเท่ากับ 0.78 มิ ลลิกรัมสมมูลต่ อน้ ามัน 1 กิ โลกรัม ผลการศึ กษาฤทธิ์ ในการยับยั้งเอนไซม์อะเซติ ล โคลีนเอสเตอเรส พบว่าสารสกัดชาเมี่ยง ผงชาเมี่ยง และน้ ามันงาขี้มอ้ นมีค่า IC50 เท่ากับ 1.83 µg/ml, 0.27 และ 1.34 mg/ml ตามลาดับ ผลการศึ กษาฤทธิ์ ยับยั้งการเกิ ดออกซิ เดชันของกรด พบว่าสารสกัดชาเมี่ยงและผงชาเมี่ยงมีค่า IC50 เท่ า กับ 27.47 และ 148.59 mg/ml ในขณะที่ น้ ามัน งาขี้ ม้อ นไม่ พ บฤทธิ์ ในการยับ ยั้ง ปฏิ กิ ริ ยาดัง กล่ า ว ผลการศึ กษาฤทธิ์ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของแอมัลลอยด์ เบต้า พบว่าสารสกัดชาเมี่ยง ผงชาเมี่ยง และน้ ามันงาขี้ มอ้ น มี ค่ า IC50 เท่ า กับ 83.18, 121 และ 223.6 µg/ml ตามล าดับ ในการเตรี ย มแกรนู ล ใช้อ ัต ราส่ ว นของผงชาเมี่ ย ง สารสกัดชาเมี่ยง และน้ ามันงาขี้มอ้ นในอัตราส่ วน 3.8:1:1 จากการศึ กษาพบว่าแกรนู ลมีค่าการสู ญเสี ยน้ าหนักจาก การทาแห้งเท่ากับร้อยละ 4.95 มีการไหลอยูใ่ นเกณฑ์ดี ขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 300 ไมครอน การกระจายของขนาด อนุ ภาคอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่ งแกรนู ลที่ ได้จะนาไปเตรี ยมเป็ นแคปซู ลและประเมิ นคุ ณ สมบัติของตารับในด้านต่ างๆ ต่อไป คาสาคัญ ชาเมี่ยง งาขี้มอ้ น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ แกรนูล 1

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(97)

ชุดโครงการย่ อยภายใต้ ชุดโครงการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากภูมปิ ัญญาท้ องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการย่ อยที่ 4 : การวิจยั และพัฒนาต้ นแบบผลิตภัณฑ์ เวชสาอางบารุ งผิวหน้ าสาหรั บกลางคืน ญานี พงษ์ไพบูลย์1* บัณฑิตา แสงสิ ทธิศกั ดิ์1 และ อัครพล หงส์กิตติยานนท์1 *Corresponding author : yneeppb@gmail.com

บทคัดย่ อ ในการวิจยั ครั้ งนี้ เ ป็ นการนาเอาพื ช ท้องถิ่ น บนพื้ นที่ สู งได้แ ก่ ใ บเมี่ ย งและฟั กข้า วมาเตรี ย มผลิ ต ภัณ ฑ์ เวชสาอางบารุ งผิวหน้าสาหรับกลางคืน นาใบเมี่ยงหมักมาสกัดโดยการหมักด้วยเอทานอล และนาไปแยก fraction ด้วยคอลัมน์โครมาโทกราฟี ได้สารสกัดคาเทชิ น เป็ นผงหยาบสี น้ าตาลแดง ส่ วนฟั กข้าว นาเยื่อหุ ม้ เมล็ดฟั กข้าวมา อบแห้งและสกัดโดยการหมักด้วยเฮกเซน:เอธิ ลอะซิ เตต (7:3) กรองเอาสารสกัดที่ได้ไประเหยเอาตัวทาละลายออก ได้สารสกัดฟั กข้าวเป็ นของเหลวสี แดงเข้ม นาสารสกัดที่ ได้ท้ งั สองไปทดสอบประสิ ทธิ ภาพในการต้านอนุ มูลอิ สระ ABTS และฤทธิ์ ยับ ยั้งเอนไซม์ไ ทโรซิ เนส พบว่า สารสกัดคาเทชิ นให้ผ ลการทดสอบที่ ดีกว่าสารสกัดฟั กข้าว นาสารสกัดทั้งสองมาเตรี ยมครี มทาผิวหน้าสาหรับกลางคืน ได้ครี มชนิ ดน้ าในน้ ามันของคาเทชิ นที่มีเนื้ อเนี ยน กลิ่นหอม สี เนื้ ออ่อนเกือบขาว และครี มสารสกัดฟั กข้าวเนื้ อเนี ยน กลิ่นหอม สี เหลืองอ่อนเกือบขาว นาครี มทั้ง สองไปทดสอบประสิ ทธิ ภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ABTS และฤทธิ์ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิ เนส ครี มสารสกัดคาเทชิ น สู ตร C-3 และครี มสารสกัดฟั กข้าวสู ตร FK-3 มีฤทธิ์ ในการกาจัดอนุ มูลอิสระ ABTS และฤทธิ์ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิ เนส ดีกว่าสู ตรอื่นๆ ซึ่ งจะนาผลิตภัณฑ์ท้ งั สองไปทดสอบความคงสภาพเบื้องต้น ทดสอบการระคายเคืองและประเมินความ พึงพอใจในอาสาสมัครต่อไป คาสาคัญ พืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูง เวชสาอาง ใบเมี่ยง ฟักข้าว ครี มทาผิวหน้ากลางคืน

1

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ, จังหวัดเชี ยงใหม่ 50000


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(98)

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากภูมปิ ัญญาท้ องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการย่ อยที่ 5 : การศึกษาคุณลักษณะทางเภสั ชเวท และข้ อกาหนดมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร และสารสกัดพืช ท้ องถิ่นบนพื้นที่สูงที่ใช้ ในผลิตภัณฑ์ เวชสาอางของมูลนิธิโครงการหลวง กฤษณา ภูตะคาม1*, ธนภัทร ทรงศักดิ์2, นันทพงศ์ ขาทอง1, สมพร ผลกระโทก1, นิรันดร์ พันธุ์เงิน2, ปฐมาภรณ์ ปฐมภาค3 และ ฟามีรา มะดากะ3 *Corresponding author : krisanap.p@rsu.ac.th

บทคัดย่ อ การศึ กษาคุ ณ ลักษณะทางเภสัชเวท และข้อกาหนดมาตรฐานวัตถุดิบและสารสกัดจากชาเมี่ ยง (สดและ หมัก) หญ้าถอดปล้อง และเยื่อหุ ม้ เมล็ดฟักข้าว ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสาอางของมูลนิ ธิโครงการหลวง มีวตั ถุประสงค์ เพื่ อศึ กษาและจัดทาคุ ณ ลักษณะทางเภสัชเวท รวมถึ งข้อกาหนดทางกายภาพ และหาสารกาหนดของสารสกัด สมุนไพรดังกล่าว สาหรับใช้ในการควบคุ มคุ ณภาพวัตถุดิบและสารสกัดที่ ใช้เตรี ยมผลิตภัณ ฑ์พืชสมุนไพรของ มูลนิ ธิโครงการหลวง จากการวิเคราะห์เครื่ องยาของชาเมี่ยงสด ชาเมี่ยงหมัก และเยื่อหุ ม้ เมล็ดฟั กข้าว ตามข้อกาหนด ของ Thai Herbal Pharmacopoeia และ WHO ประกอบด้ว ย การหาปริ ม าณความชื้ น โดยหาน้ าหนั ก ที่ ห ายไป ปริ มาณเถ้ารวม ปริ มาณเถ้าไม่ละลายในกรด ปริ มาณน้ ามันระเหย และปริ มาณสารสกัดด้วยวิธีสกัดเย็น พบว่าชา เมี่ยงสด ชาเมี่ยงหมัก และเยื่อหุ ม้ เมล็ดฟั กข้าว มีปริ มาณความชื้ นเฉลี่ย 9.16 ± 0.55, 6.39 ± 0.23 และ 5.50 ± 0.77 % (w/w) ตามลาดับ เมื่อนาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิ ดไปเผาให้เป็ นเถ้า พบว่าได้เถ้าสี ขาวที่ปราศจากคาร์ บอน ยกเว้นเถ้าจาก เยื่อหุ ้มเมล็ดฟั กข้าวที่ มีลกั ษณะเป็ นสี ดาปนขาว จึ งนาไปเผาซ้ าและได้ปริ มาณเถ้ารวมเฉลี่ ย 6.79 ± 0.79 % (w/w) สาหรับชาเมี่ ยงสดและชาเมี่ยงหมักมีปริ มาณเถ้ารวมเฉลี่ย 5.41 ± 0.03 และ 4.89 ± 0.09 % (w/w) ตามลาดับ และ พบว่าชาทั้งสองมีปริ มาณเถ้าไม่ละลายในกรดเฉลี่ยเท่ากันคือ 0.03 ± 0.02 % (w/w) ในขณะที่เยื่อหุ ม้ เมล็ดฟั กข้าวมี ปริ มาณเถ้าดังกล่าวมากกว่าของชาทั้งสองคือ 0.53 ± 0.51 % (w/w) เมื่อนาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิ ด ไปกลัน่ น้ ามันระเหย ด้วยไอน้ า พบว่าไม่พบน้ ามันระเหยจากชาเมี่ ยงสด ส่ วนน้ ามันระเหยจากชาเมี่ ยงหมักและเยื่อหุ ้มเมล็ดฟั กข้าวมี ปริ ม าณน้ อ ยมาก (น้อ ยกว่ า 0.10 mL) โดยมี สี เขี ย วหม่ น เป็ นแผ่ น ฟิ ล์ม เคลื อ บที่ ผิ ว น้ า และสี ส้ ม เข้ม เป็ นไขที่ อุณหภูมิห้อง ตามลาดับ การหาปริ มาณสารสกัดด้วย 95 % EtOH, MeOH และ EtOAc : hexane (30:70) พบว่าชา เมี่ยงหมักมีปริ มาณสารสกัดมากกว่าชาเมี่ยงสดในตัวทาละลายทั้ง 3 ชนิด โดยมีปริ มาณสารสกัดมากที่สุดใน MeOH คือ 21.02 ± 0.22 % (w/w) รองลงมาคือ ใน 95 % EtOH และ EtOAc : hexane (30:70) ตามลาดับ เช่นเดียวกับเยื่อหุ ม้ เมล็ดฟั กข้าวที่มีปริ มาณสารสกัดมากที่ สุดใน MeOH ซึ่ งมีค่าเท่ากับ 34.42 ± 1.10 % (w/w) จากการวิเคราะห์เครื่ อง ยาในครั้งนี้ สามารถนาข้อมูลไปจัดทาข้อกาหนดมาตรฐานวัตถุดิบและควบคุมคุณภาพสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ต่อไป คาสาคัญ ชาเมี่ยงสด ชาเมี่ยงหมัก เยือ่ หุม้ เมล็ดฟักข้าว การวิเคราะห์เครื่ องยา 1

วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิ ต วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิ ต 3 ศูนย์วิจยั พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิ ต 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(99)

ชุดโครงการย่ อยภายใต้ ชุดโครงการวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากภูมปิ ัญญาท้ องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการย่ อยที่ 6 : การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เวชสาอางนาโนสาหรับเส้ นผม วรรธิดา ชัยญาณะ1*, กรกนก อิงคนินนั ท์2, เนติ วระนุช3, ณัตฐาวุฒิ ฐิติปราโมทย์4 และวุฒิชยั วิสุทธิพรต5 *Corresponding author : wantida.chaiyana@gmail.com

บทคัดย่ อ งานวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสาอางนาโนสาหรับเส้นผมและหนังศี รษะในรู ปแบบ ระบบนาส่ งไขมันอนุภาคนาโนและไลโปโซม โดยใช้น้ ามันที่ได้จากพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ได้แก่ น้ ามันมะเยาหิ น น้ ามันราข้าว และน้ ามันงาขี้ มอ้ น ในการพัฒนาระบบนาส่ งไขมันอนุ ภาคนาโนได้ศึกษาผลของชนิ ดของไขมันแข็ง (กลีเซอริ ลโมโนสเตียเรท-1, กลีเซอริ ลโมโนสเตียเรท-2, ไขคาร์นอบา, เซตทิลแอลกอฮอล์, ไขงาขี้มอ้ น และ เซตเทีย ริ ลแอลกอฮอล์) ปริ มาณของไขมันแข็ง (ร้ อยละ 1, 3 และ 5) ชนิ ดของน้ ามัน (น้ ามันมะเยาหิ น น้ ามันราข้าว และ น้ ามันงาขี้ มอ้ น) ปริ มาณของน้ ามัน (ร้ อยละ 1, 2, 3, 4 และ 5) ชนิ ดของสารลดแรงตึ งผิว (ทวีน 80, ทวีน 60 และ สแปน 20) และปริ มาณของสารลดแรงตึงผิว (ร้อยละ 2, 4, 6, 8 และ 10) ซึ่ งพบว่าทุกปั จจัยมีผลต่อคุณลักษณะของ ตารับ โดยระบบนาส่ งไขมันอนุภาคนาโนพื้นที่มีขนาดอนุภาคเล็กและคงตัวดีที่สุด ประกอบไปด้วย กลีเซอริ ลโม โนสเตี ยเรท-2 ร้อยละ 3 น้ ามันราข้าวร้อยละ 2 น้ ากลัน่ ร้อยละ 93 และสแปน 20 ปริ มาณร้อยละ 2 ส่ วนการพัฒนา ตารั บไลโปโซมได้ศึ กษาผลของชนิ ดน้ ามันในต ารั บ (น้ ามันมะเยาหิ น น้ ามันราข้าว และน้ ามัน งาขี้ มอ้ น) และ ปริ มาณของน้ ามันในตารับ (ร้อยละ 0.2, 0.4, 0.6, 0.8 และ 1.0) ซึ่ งพบว่าทั้งสองปั จจัยมีผลต่อคุณลักษณะของตารับ โดยตารับไลโปโซมที่ มีขนาดอนุ ภาคเล็กและคงตัวดี ที่สุด ประกอบไปด้วยคอเลสเตอรอลร้อยละ 0.005 เลซิ ติน ปริ มาณร้อยละ 0.045 น้ ามันราข้าวร้อยละ 0.02 และน้ ากลัน่ ร้อยละ 99.93 ดังนั้นน้ ามันราข้าวจึ งมีความเหมาะสม ที่ สุ ด ในการน ามาพัฒ นาต ารั บ ผลิ ต ภัณ ฑ์เวชส าอางนาโน ทั้งระบบน าส่ งไขมัน อนุ ภ าคนาโนและไลโปโซม เพื่อนาส่ งสารสาคัญที่ เป็ นสารสกัดจากพืชท้องถิ่นบนพื้นที่สูงที่มีฤทธิ์ กระตุน้ การงอกของเส้นผม ได้แก่ หญ้าถอด ปล้อง ว่านน้ า โรสแมรี่ ออริ กาโน่ ลาเวนเดอร์ ขิง ข่า ขมิ้น และ/หรื อ ไพล เพื่อใช้เป็ นต้นแบบผลิตภัณฑ์เวชสาอาง นาโนสาหรับเส้นผม เพื่อทดสอบประสิ ทธิ ภาพในการกระตุน้ การงอกของเส้นผมและทดสอบความพึงพอใจใน อาสาสมัครต่อไป คาสาคัญ เวชสาอาง นาโนเทคโนโลยี เส้นผม

1

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ภาควิชาเภสัชเคมีและเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3 ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 4 สานักวิทยาศาสตร์เครื่ องสาอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5 ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิ รินธร 2


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(100)

ชุดโครงการวิจัยระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนที่ปลูกข้ าวไร่ -ข้ าวโพด โครงการย่ อยที่ 1 การศึกษาระบบการปลูกพืชเพื่อทดแทนการปลูกข้ าวโพดเลีย้ งสั ตว์ ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงโป่ งคา ณัฐวรรณ ธรรมสุวรรณ์1* เกษราภร ศรี จนั ทร์1 สุวมิ ล ศรี กนั ยา1 สุนิตรา อุปนันท์1 วุฒิพงษ์ แก้วยศ1 *Corresponding author: natthawan04@gmail.com

บทคัดย่ อ โครงการวิจัย ระบบเกษตรแบบมี ส่ วนร่ วมในชุ ม ชนที่ ป ลู กข้า วไร่ -ข้าวโพด กรณี ศึ กษาชุ มชนที่ ป ลู ก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดาเนิ นการในพื้นที่ นาร่ อง คื อ โครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวงโป่ งคา ตาบลพงษ์ อาเภอสันติ สุข จังหวัดน่ าน พื้ นที่ รับผิดชอบ 10 กลุ่มบ้าน มี ความสู งจากระดับน้ าทะเล 300–600 เมตร เป็ นพื้ นที่ เนิ นเขาและมีความลาดชันร้อยละ 25-35 ประชากร 1,653 ครัวเรื อน 5,505 ราย ส่ วนใหญ่เป็ นคนพื้นเมือง ประกอบ อาชี พเกษตรกรรม 2 ลักษณะ คือ (1) พื้นที่ลาดชันอาศัยน้ าฝน อยู่สูงกว่าแหล่งน้ า คิดเป็ นร้อยละ 70 ของพื้นที่ ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวไร่ เป็ นหลัก เกษตรกรบางส่ วนปรับเปลี่ยนเป็ นสวนยางพาราที่ เริ่ มให้ผลผลิตแล้ว และ (2) พื้นที่นามีน้ าชลประทาน ปลูกข้าวนาและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา แม้การวิจยั และการพัฒนาในระยะที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้เกษตรกรนาร่ องปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเดี ยวเป็ นการเกษตรที่ หลากหลาย แต่ยงั มี เกษตรกรอีกจานวนมากที่ยงั พึ่งพาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็ นพืชสร้างรายได้ จนกระทัง่ ในฤดูกาลเพาะปลูกปี พ.ศ. 2559 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่าที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่ งลดลงจากกิโลกรัมละ 7 บาท เหลือ 3.5-4.5 บาท และมีการจากัด ปริ มาณรับซื้ อในแต่ ละวัน การศึ กษาวิจยั เชิ งปฏิ บตั ิ การโดยกระบวนการมีส่วนร่ วมของนักวิจยั นักพัฒนา และ เกษตรกร จานวน 22 ราย จาก 5 กลุ่มบ้าน มีวตั ถุประสงค์เพื่ อสนับสนุ นการแก้ไขปั ญหาและพัฒนาระบบเกษตร ของท้องถิ่น คื อ (1) การปลูกทดสอบชนิ ดไม้ผลโครงการหลวงและไม้ผลพันธุ์การค้าปี ที่ 2 จานวน 2 ชนิ ด 6 พันธุ์ พบว่า อาโวกาโดพันธุ์ปิเตอร์ สันมีการเจริ ญเติบโตด้านความสู งต้นและขนาดทรงพุ่มดีที่สุด รองลงมาคือพิงค์เคอร์ ตนั และต้นตอ มะม่วงน้ าดอกไม้สีทอง โชคอนันต์ และมะม่วงแก้วมีการเจริ ญเติบโตไม่ต่างกัน มีการออกดอกและติดผล แล้ว (2) พื้ น ที่ ห ลังนา ได้ท ดสอบวิ ธีการป้ องกัน กาจัด แมลงศัต รู พื ช ในมัน เทศญี่ ปุ่ นพันธุ์ สี ม่วงและสี เหลื อง 2 กรรมวิธี พบว่าวิธีการปลูกแบบโครงการหลวงที่รองก้นหลุมด้วยสารป้ องกันกาจัดแมลงมีตน้ ทุนสู งกว่าที่ไม่รองก้น หลุม แต่ให้ผลตอบแทนมากกว่า เนื่ องจากมีอตั ราการเข้าทาลายของด้วงงวงมันเทศน้อยกว่าคือเพียงร้อยละ 7.078.92 ส่ งผลให้เกษตรกรมีผลผลิตที่จาหน่ายได้มากกว่า ซึ่ งเกษตรกรมีความพึงพอใจในผลตอบแทน แต่ยงั คงต้องหา วิธีการลดระยะเวลาในการจัดการเถา หญ้า และเด็ดดอก รวมทั้งการจัดการตลาดที่ชดั เจนขึ้น การวิจยั เชิงปฏิบตั ิการ แบบมีส่วนร่ วมได้เสริ มสร้างกระบวนการเรี ยนรู ้ของเกษตรกร เกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น และความสามารถของ ตนเองในการแก้ปั ญ หาและยกระดับการพัฒ นาชุ มชนด้านการเกษตรทั้งบนพื้ นที่ ลาดชันและพื้ นที่ หลังนาเพื่ อ ทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาสาคัญ เกษตรนิเวศ วิจยั เชิงพื้นที่ น่าน พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(101)

ชุดโครงการวิจัยระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในชุมชนทานาบนพื้นที่สูง เกษราภร ศรี จนั ทร์1* ประภาพร แสงศรี 1 ณัฐวรรณ ธรรมสุ วรรณ์1 ณฐภัทร สุวรรณโฉม1 และสุ นิตรา อุปนันท์1 *Corresponding author: kesaraporns@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ ชุ ด โครงการวิ จัย ระบบเกษตรแบบมี ส่ วนร่ วมในชุ ม ชนท านาบนพื้ น ที่ สู ง มี เป้ าหมายเพื่ อ สนับ สนุ น การแก้ไขปั ญ หาและยกระดับการพัฒ นาระบบเกษตรของท้องถิ่ น ดาเนิ นการในโครงการพัฒ นาพื้ นที่ สูงแบบ โครงการหลวงสบโขง ตาบลสบโขง อาเภออมก๋ อย จังหวัดเชี ยงใหม่ ซึ่ งเป็ นพื้นที่ระดับความสู ง 800-1,145 เมตร จากระดับน้ าทะเล ครอบคลุมชุ มชนกะเหรี่ ยง 7 กลุ่มบ้าน คือ บ้านแม่หลองหลวง บ้านแม่หลองน้อย บ้านบูแมะ บ้านกออึ บ้านพะเบี้ ยว บ้านมอคี และบ้านยางราชา ประชากรจานวน 458 ครัวเรื อน 2,975 คน ประชาชนร้อยละ 98 ดารงชี พ ด้วยการปลูกข้าวนาและข้าวไร่ เป็ นหลัก โดยมี พ้ื นที่ ปลูกข้าวนาจานวน 467 ไร่ ข้าวไร่ จานวน 179 ไร่ รวมทั้งปลูกมะเขื อเทศและพริ กแดงเป็ นพื ชเศรษฐกิ จ เลี้ ยงกระบื อ ไก่ สุ กรพันธุ์พ้ื นเมือง เพื่ อบริ โภคและประกอบ พิธีกรรม การวิจยั ในโครงการฯ สบโขง ปี แรก มีวตั ถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทุนการดารงชี พและคุณสมบัติของระบบ เกษตรของกลุ่มบ้านนาร่ อง คื อบ้านกออึและบ้านพะเบี้ ยว เพื่ อนาไปสู่ การกาหนดโจทย์วิจยั ร่ วมกับชุ มชน โดยการ สัมภาษณ์เกษตรกร ประชุมกลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่ วม และการวิจยั ในระดับแปลง การวิเคราะห์คุณสมบัติระบบ เกษตร 4 ด้าน คื อ ผลิตภาพ เสถียรภาพ ความเสมอภาพ และความยัง่ ยืน พบว่าในมิติผลิตภาพ คื อผลผลิตข้าวนา ของชุ มชนในปี พ.ศ. 2560 เพิ่มขึ้ นจากปี พ.ศ. 2559 ร้อยละ 21 แต่ยงั มีครัวเรื อนที่ขาดแคลนข้าวอีกร้อยละ 10 ใน มิติเสถียรภาพหมายถึงจานวนชนิ ดพืชที่สร้างรายได้ การระบาดของโรคและแมลงและราคาผลผลิตเกษตร พบว่า ชุมชนมีการปลูกพืชเศรษฐกิจเพียง 3 ชนิ ด ได้แก่ มะเขือเทศ พริ กแดง ที่กาหนดราคาโดยพ่อค้าภายนอก และพริ ก หวาน ที่ ส่งเสริ มโดยสวพส. ในส่ วนโรคและแมลงข้าวนาพบแมลงศัตรู ขา้ วได้แก่ เพลี้ยกระโดดสี น้ าตาล เพลี้ ย กระโดดหลังขาว และเพลี้ยจักจัน่ สี เขียว ระบาดรุ นแรงในปี พ.ศ. 2559 ส่ งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงร้อยละ 17 ในมิติ ความยัง่ ยืน ที่ครอบคลุมระบบการผลิตที่เป็ นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อมและแรงงานภาคครัวเรื อน พบว่า มีการใช้สารเคมี เกษตรอย่างเข้มข้นในการปลูกมะเขือเทศและพริ กแดงที่ปลูกบนที่ดอนและหลังนา มีการไถพรวนและยกร่ องแปลง ปลูกบนพื้นที่ลาดชันและย้ายพื้นที่เพาะปลูกทุก 1-2 ปี ในส่ วนของแรงงานครัวเรื อนเฉลี่ย 2 – 4 คน และมีแรงงาน แลกเปลี่ยนในระบบเครื อญาติ ในมิติความเสมอภาคเกษตรกร บ้านพะเบี้ยวเข้าร่ วมโครงการกับ สวพส. ร้อยละ 44 และบ้านกออึ ร้อยละ 70 และสามารถเข้าถึงบริ การของรัฐขั้นพื้นฐานได้ส่วนใหญ่ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติระบบ เกษตรนาไปสู่ การคัดเลือกโจทย์วิจยั ร่ วมกับเกษตรกรในปี แรกโดยใช้หลักเกณฑ์ 3 ประการ ได้แก่ การกระจายของ ปั ญหาที่เป็ นปั ญหาของคนส่ วนใหญ่ ความสาคัญของปั ญหาต่อระบบการเกษตรของชุ มชน และความรุ นแรงของ ปัญหา จานวน 2 โครงการย่อย ได้แก่ การจัดการแมลงศัตรู ขา้ วนาเพื่อรองรับการระบาดของแมลงศัตรู พืช และการ ทดสอบชนิ ดไม้ผล ไม้ยืนต้น ในแปลงไร่ หมุนเวียนในระบบอนุ รักษ์ดินและน้ าเพื่ อเป็ นพื ชทางเลือกสร้างรายได้ โดยได้ดาเนินการวิจยั ระดับแปลงร่ วมกับเกษตรกรจานวน 10 ราย คาสาคัญ วิจยั เชิงพื้นที่ ระบบเกษตร พื้นที่สูง

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(102)

ชุดโครงการวิจัยระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในพื้นที่เฉพาะ กชพร สุขจิตภิญโญ1*, ภาวิณี คาแสน1, อัจฉรา ภาวศุทธิ์ 1 และ อภิชาต เนื่องนิตย์1 *Corresponding author : Khodchapornsu@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ ชุ ดโครงการวิจยั ระบบเกษตรแบบมีส่วนร่ วมในพื้ นที่ เฉพาะ ดาเนิ นการวิจยั ในโครงการพัฒนาพื้นที่ สูง แบบโครงการหลวงคลองลาน อ.ขาณุ วรลักษบุรี จ.กาแพงเพชร ครอบคลุม 7 กลุ่มบ้าน ใน 5 ตาบล 3 อาเภอ ซึ่ งเป็ น ที่ อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าเย้า มูเซอ และกะเหรี่ ยง จานวน 284 ครั วเรื อน ที่ กรมป่ าไม้กนั ออกจากพื้ นที่ ป่ าสงวน แห่ งชาติ อุทยานแห่ งชาติ ค ลองลาน และอุทยานแห่ งชาติ แม่ วงก์ ความสู งของพื้ นที่ เฉลี่ ย 100-200 เมตร สภาพ อากาศร้อนและแห้งแล้ง ดิ นมีลกั ษณะเป็ นดินร่ วนปนทรายและลูกรัง ประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชี พรับจ้าง เป็ นหลัก และปลูกมันสาปะหลัง/ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็ นอาชี พเสริ ม แม้ว่าคลองลานมีขอ้ จากัดทางการเกษตรหลาย ด้าน แต่ยงั มีขอ้ ได้เปรี ยบในด้านการคมนาคมขนส่ งที่สะดวก และไม่ไกลจากตลาดรับซื้ อสิ นค้าเกษตรมากนัก เพื่อ สนับ สนุ น การแก้ไ ขปั ญ หาและยกระดับ การพัฒ นาระบบเกษตรในคลองลาน ปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้ ดาเนิ นการศึ กษาวิจยั ประกอบด้วย (1) การสารวจความต้องการสิ นค้าเกษตรของตลาด พบว่า พื ชผักหลายชนิ ด ประกอบด้วย ขึ้ นฉ่ าย ผักชี ไทย ต้นหอม คะน้ายอด ผักบุ ้งจี น กะหล่ าดอก กุยช่ ายขาว กุยช่ ายเขี ยว ตั้งโอ๋ ผักกาด กวางตุง้ ถัว่ งอก และมันเทศ มีราคาสู งในช่วงเดื อนสิ งหาคม-พฤศจิกายน โดยตลาดแต่ละระดับมีความต้องการสิ นค้า เกษตรและลักษณะการรับซื้ อที่แตกต่างกันออกไป (2) การทดสอบปลูกพืชทางเลือก ได้คดั เลือกพืชทางเลือกที่ นามา ทดสอบในระดับแปลงของเกษตรกร โดยคานึ งถึงความเหมาะสมของพื้นที่ โอกาสทางการตลาด และความสนใจ ของเกษตรกร 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (ก) กลุ่มพื้ นที่ ทาการเกษตร 1.2 ไร่ เกษตรกรส่ วนใหญ่ดารงชี พด้วยการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ และบางส่ วนมีการเช่าพื้นที่นอกหมู่บา้ นเพิ่ม ได้ทดสอบปลูกข้าวโพดเหลื่อมถัว่ เพื่อฟื้ นฟู บารุ งดิน ร่ วมกับเกษตรกร 3 ราย ในเดือนกรกฎาคม และปลูกถัว่ เขี ยวเหลื่อมในปลายเดื อนกันยายน และทดสอบ พันธุ์มนั เทศญี่ ปุ่นและพันธุ์พ้ื นเมื อง เพื่ อให้สามารถเก็บเกี่ ยวผลผลิตในเดื อนตุ ลาคม-พฤศจิ กายนที่ ตลาดมีความ ต้องการสู ง ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีปฏิบตั ิของมูลนิ ธิโครงการหลวง (ข) กลุ่มพื้นที่ทาการเกษตร 5 ไร่ ที่อาศัยน้ าฝน เป็ นหลัก ทดสอบปลู กน้อยหน่ าพันธุ์เพชรปากช่ องซึ่ งเป็ นพื ชใช้น้ าน้อยและทนแล้ง ในแปลงมันส าปะหลังเดิ ม ร่ วมกับการปลูกข้าวโพดเหลื่ อมถัว่ /มันสาปะหลังระหว่างแถวเพื่ อสร้างรายได้ขณะรอไม้ผลเจริ ญเติ บโต ร่ วมกับ เกษตรกร 4 รายๆ ละ 100 ต้น พบว่า หลังปลูกและตัดยอดได้ 2 เดือน ต้นน้อยหน่าเริ่ มแตกยอด และมีอตั ราการรอด ตายร้อยละ 98.25 และ (ค) กลุ่มพื้นที่ทาการเกษตร 5 ไร่ ที่สามารถนาน้ าจากแหล่งกักเก็บมาใช้ประโยชน์ ทดสอบ ชนิดผักที่มีราคาสู งในช่วงเทศกาลกินเจภายใต้โรงเรื อน เปรี ยบเทียบกับผลตอบแทนพืชผักเดิมที่เกษตรกรได้รับ คาสาคัญ วิจยั เชิงพื้นที่ คลองลาน พืชทางเลือก

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(103)

การทดสอบรู ปแบบการพัฒนาชุ มชนต้ นแบบโครงการหลวงในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง จารุ ณี ภิลุมวงค์1* และอานนท์ เทิดไพรพนาวัลย์1 *Corresponding author : jp.foodbank@gmail.com

บทคัดย่ อ โครงการนี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่ อศึ กษาและทดสอบรู ปแบบการพัฒนาชุ มชนในพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้ นที่ สูงแบบ โครงการหลวง โดยนาองค์ความรู ้จากการวิจยั และพัฒนาชุมชนต้นแบบโครงการหลวงที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสงั คมบนพื้นที่ สู ง มาเป็ นแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับชุ มชนตามกรอบตัวชี้ วดั การพัฒนาชุ มชนบนพื้นที่ สูง 3 ลักษณะภูมิสังคม ได้แก่ ชุมชนที่ปลูกข้าวเป็ นหลัก ชุมชนป่ าเมี่ยง และชุมชนที่ มีฐานจากการปลูกฝิ่ น โดยมีกรอบตัวชี้ วดั 3 ด้าน 21 ตัวชี้ วดั ประกอบ ด้วย ด้านเศรษฐกิจ 5 ตัวชี้ วดั ด้านสังคม 8 ตัวชี้ วดั และด้านสิ่ งแวดล้อม 8 ตัวชี้ วดั ให้คะแนนแต่ละตัวชี้ วดั ตั้งแต่ 1-5 คะแนน รวมทั้งหมด 105 คะแนน ซึ่ งเป้ าหมายของชุมชนต้นแบบโครงการหลวงต้องมีระดับค่าคะแนนไม่นอ้ ยกว่า 4 ผลการศึกษาสรุ ป ดังนี้ (1) แผนการดาเนิ นงานเพื่อยกระดับการพัฒนาชุ มชน 6 พื้นที่ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้ วดั ได้แก่ 1) ตัวชี้ วดั ที่ 1.1 มีชนิ ดพืช/ สัตว์ให้เกษตรกรเลือกประกอบอาชี พได้เหมาะกับสภาพภูมิสังคม 2) ตัวชี้ วดั ที่ 2.3 เป็ นชุมชนแห่ งการเรี ยนรู ้ 3) ตัวชี้ วดั ที่ 3.2 มี ระบบการอนุ รั กษ์ดิ นและน้ า 4) ตัวชี้ วัดที่ 3.4 มี การปลู กป่ าชาวบ้าน และ 5) ตัวชี้ วัดที่ 3.5 มี การฟื้ นฟู และอนุ รั กษ์ ความหลากหลายทางชี วภาพของป่ าธรรมชาติ (2) ผลการดาเนิ นงานตามแผนการพัฒนายกระดับชุ มชนตามกรอบตัวชี้ วดั 6 ชุมชน ดังนี้ 1) การปลูกไม้ผลแบบผสมผสานในพื้นที่ลาดชันภายใต้ระบบการอนุ รักษ์ดินและน้ าโดยปลูกร่ วมกับแนวหญ้า แฝก 2) การทดสอบเลี้ ยงผึ้ งโพรงในระบบวนเกษตรสวนเมี่ ยง 3) การสร้ างแหล่ งเรี ยนรู ้ หรื อแปลงตัวอย่ างในชุ มชน 4) การทดสอบปรับพื้นที่เป็ นขั้นบันไดเพื่อใช้ปลูกข้าวนา 5) การปลูกไผ่ในพื้นที่ทากิน เพื่อเป็ นแนวกันลมและสามารถตัดมา ใช้ประโยชน์ และ 6) การส ารวจรวบรวมความหลากหลายและภู มิ ปั ญญาการใช้ประโยชน์ พื ชท้องถิ่ น รวมทั้งการเพาะ ขยายพันธุ์พื ชสาคัญสาหรับการฟื้ นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน (3) การศึ กษารู ปแบบและกระบวนการขับเคลื่ อน กิจกรรมของชุมชนเพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบตั ิที่ดี ดังนี้ 1) การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู ้การใช้ประโยชน์จากพืช ท้องถิ่น 2) การศึ กษาดู งานเรื่ อง วิถีชีวิตชุ มชนป่ าเมี่ยงต้นแบบคนอยู่อาศัยร่ วมกับป่ า 3) การสาธิ ตและถ่ายทอดองค์ความรู ้ การปลูกข้าวต้นเดี ยวภายใต้ระบบนาน้ าน้อย และ 4) การรณรงค์ปลูกฟื้ นฟูพืชท้องถิ่น (4) ผลการประเมินการยกระดับชุมชน ตามกรอบตัวชี้ วดั การพัฒนาชุ มชนต้นแบบโครงการหลวงหลังการดาเนิ นกิ จกรรมร่ วมกับชุ มชน พบว่า บ้านปางยาง มีการ ยกระดับจานวน 11 ตัวชี้ วดั คะแนนรวม 73 คะแนน (ระดับ 3) บ้านห้วยโทน มีการยกระดับจานวน 10 ตัวชี้ วดั คะแนนรวม 67 คะแนน (ระดับ 3) บ้านแม่แมะ มีการยกระดับจานวน 15 ตัวชี้วดั คะแนนรวม 85 คะแนน (ระดับ 4) บ้านแม่พริ ก มีการยกระดับ จานวน 4 ตัวชี้ วดั คะแนนรวม 76 คะแนน (ระดับ 3) บ้านปางหิ นฝน มีการยกระดับจานวน 7 ตัวชี้ วดั คะแนนรวม 73 คะแนน (ระดับ 3) และ บ้านแม่มะลอ มีการยกระดับจานวน 11 ตัวชี้วดั คะแนนรวม 74 คะแนน (ระดับ 3) คาสาคัญ ชุมชนต้นแบบโครงการหลวง การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน สภาพภูมิสงั คมบนพื้นที่สูง ป่ าเมี่ยง นาข้าว ฝิ่ น

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


การประชุมวิชาการผลงานวิจยั ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2561

(104)

การศึกษาระดับการพัฒนาของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เกษราภร ศรี จนั ทร์ 1* ณัฐวรรณ ธรรมสุวรรณ์1 และกชพร สุขจิตภิญโญ1 *Corresponding author: kesaraporns@hrdi.or.th

บทคัดย่ อ การศึกษาระดับการพัฒนาของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวตั ถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุ ด ตัวบ่งชี้ ซ่ ึ งหมายถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อให้ชุมชนในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงใช้เป็ น เครื่ องมื อในการสะท้อนและประเมิ นระดับการพัฒ นาชุ มชนของตนเองโดยกระบวนการมี ส่วนร่ วมแทนการ ประเมิ น จากบุ ค คลภายนอกเพี ย งอย่ างเดี ย ว การพัฒ นาชุ ด ตัวบ่ งชี้ ต่ อยอดมาจากผลการศึ ก ษาแนวทางการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง: บทเรี ยนจาก 40 หมู่บา้ น โดยสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่ งชาติ (2551) โดยเน้นที่ชุดตัวบ่งชี้ในระดับผลลัพธ์และผลกระทบ จานวน 7 หมวด และการกาหนดค่าน้ าหนัก คะแนนของชุ ดตัวบ่ งชี้ ตามขั้นการพัฒนาของทฤษฎี ใหม่ 3 ขั้น ประกอบด้วย (ก) ขั้นเริ่ มต้น ที่ เน้นความพออยู่ พอกินของครัวเรื อน (30 คะแนน) มีตวั บ่งชี้ คือ (1) ความมัน่ คงด้านอาหาร (2) สภาพเศรษฐกิจที่มนั่ คง (ข) ขั้นที่ สองขั้นก้าวหน้า ซึ่ งเป็ นความอยู่ดีกินดีของกลุ่มและสิ่ งแวดล้อมของชุ มชน (40 คะแนน) มีตวั บ่งชี้ ประกอบด้วย (3) ระบบการผลิตที่ เหมาะสมกับภูมิสังคม (4) ความพร้อมของปั จจัยพื้นฐานและสวัสดิการชุมชน (5) กระบวนการ เรี ยนรู ้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (ค) ขั้นที่สามการพัฒนาเครื อข่ายความร่ วมมือกับส่ วนราชการ ภาคเอกชน และ ชุมชนอื่น (30 คะแนน) ประกอบด้วย (6) การจัดสรรใช้ประโยชน์ทรัพยากรในชุมชนอย่างยัง่ ยืน และ (7) มีระบบ กลุ่มและองค์กรในชุ มชนที่ มีการด าเนิ นงานตามหลักธรรมาภิ บาล รวมทั้งได้จดั ระดับการพัฒ นาของชุ มชน ตามค่าคะแนนรวมที่ ชุมชนประเมินตนเอง ออกเป็ น 4 ระดับ คือ ระดับ A ดีมาก มีค่าคะแนนมากกว่า 85 ขึ้นไป ระดับ ดี B1 = 76-85 ระดับ ดี B2 = 66-75 และระดับ C ปานกลางต่ า กว่า 66 คะแนน นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของชุดตัวบ่งชี้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับเป้ าหมาย การพัฒนาอย่างยัง่ ยืนแห่ งสหประชาชาติ พบว่ามี ความสอดคล้องสู งสุ ดในเป้ าหมายการขจัดความหิ วโหยและ ความยากจน การสร้างอาชี พ และเศรษฐกิ จที่ ดี การใช้ทรั พยากรอย่างยัง่ ยืนและรับผิดชอบ และการลดความ เหลื่ อมล้ า รวมทั้งได้ศึกษาประเภทของแหล่งทุ นทางการเงิ นเพื่ อการพัฒ นาชุ มชนฐานราก ที่ มาจากแผนงาน งบประมาณ และกองทุนของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนชุมชนในการยกระดับการพัฒนาตนเองจากระดับขั้นก้าวหน้า สู่ ระดับเครื อข่าย ที่สามารถประสานความร่ วมมือจากหน่วยงานภายนอกชุมชนได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ คาสาคัญ เศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่สูง การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน

1

สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.